[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2555 10:58:21



หัวข้อ: นวนิยาย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2555 10:58:21
.


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSU0JLTMQ7dRUHNphfFW7fRCt4I-qPOGg5tU8m3FzLszE2vudg-Gwy_V90)    นวนิยาย



นวนิยาย มาจากคำภาษาอังกฤษว่า novel  ซึ่งแปลจากภาษาอิตาลีว่า novella พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า นวนิยายเป็นบันเทิงคดีร้อยแก้ว ขนาดยาว ซึ่งนำเสนอเหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่และตัวละครที่มีพฤติกรรมและเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนสามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตามว่า เป็นประสบการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้นจริงได้  

นวนิยายปรากฏขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  โดยการแปลนวนิยายจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย  เรื่องแรกคือ เรื่อง “ความพยาบาท”  แปลโดย “แม่วัน” (พระยาสุรินทรราชา)  ได้รับความสนใจจากผู้อ่านมาก ทำให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศแปลนวนิยายเรื่องอื่น ๆ อีกในเวลาต่อมา  และทำให้เกิดนวนิยายไทยเรื่องแรกคือ “ความไม่พยาบาท”  ของหลวงวิลาสปริวัตร  

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นวนิยายไทยและนวนิยายแปลได้รับความนิยมมาก ทั้งนี้ เพราะมีวารสารและหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมากที่เป็นแหล่งพิมพ์นวนิยายเหล่านี้  นักเขียนนวนิยายในยุคต้น ๆ ของไทย ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  หลวงวิจิตรวาทการ  น.ม.ส.   เสถียรโกเศศ  

นวนิยายไทยยุคแรก ๆ นิยมเรื่องแนวรักโศก เช่นเรื่อง “ผิดถนน”  ของนายชิต  บุรทัต  ซึ่งใช้นามปากกาว่า แมวคราว  นวอาชญนิยาย เช่น นิทานทองอิน  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้นามปากกา “นายแก้ว – นายขวัญ”  

ทั้งนวนิยายไทยและนวนิยายแปลได้รับความนิยมควบคู่กันไป ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา  นวนิยายไทยได้รับความนิยมสูงกว่านวนิยายแปล  นักประพันธ์ในสมัยนี้ส่วนมากเป็นนักประพันธ์อาชีพ เช่น ดอกไม่สด (ม.ล.บุปผา  นิมมานเหมินท์)  มาลัย  ชูพินิจ  



ที่มา : คอลัมน์ "องค์ความรู้ภาษาไทย"  โดย ราชบัณฑิตยสถาน  น. ๒๓  นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕.