[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: Compatable ที่ 13 กันยายน 2555 15:58:23



หัวข้อ: ขิง สุดยอดสมุนไพรในตำนาน
เริ่มหัวข้อโดย: Compatable ที่ 13 กันยายน 2555 15:58:23
ขิง สุดยอดสมุนไพรในตำนาน

(http://g1.s1sf.com/3/12/jpg/115/2310858.jpg)

     ขิง เป็นสมุนไพรที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาลนานมาแล้ว

     โดยปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่านและผลงานเขียนของขงจื๊อ (เมื่อกว่า 3000 ปีมาแล้ว) และขิงก็มีอยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมายาวนาน
     ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 50-60 ปีที่รับประทานขิงเป็นประจำมีประสิทธิภาพของสมองดีขึ้น "ขิง มีส่วนช่วยให้ neuroprotective function ดีขึ้น" Kathleen McFarlane ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของออสเตรเลียกล่าว "นั่นก็หมายความว่าขิงมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน"
     นอกจากนี้การใส่ขิงป่น 100 กรัมลงไปในสลัดหรือผัดผักที่ท่านรับประทานเป็นประจำ ก็เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับอาหารได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย นอกจากจะช่วยบำรุงสมองแล้ว ขิงยังมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดได้อีกด้วย ขิงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งอาการอักเสบของข้อต่อและกล้ามเนื้อ เปรียบเสมือนยาบรรเทาปวด (Analgesic) "สำหรับการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ, การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยขิงในส่วนผสมควบคู่กับการรับประทานยาปฏิชีวนะ ช่วยให้อาการปวดกล้ามเนื้อหายได้ไวขึ้น" Pam Stone ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากประเทศออสเตรเลียกล่าว

     สำหรับประโยชน์ของน้ำขิงก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน

     การดื่มน้ำขิงอุ่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการคัดจมูกและบรรเทาอาการหวัดได้ การใส่น้ำมะนาว แล้วน้ำผึ้งผสมกับชาขิงร้อนๆก็มีสรรพคุณเป็นยาที่ดีมากมาย รวมไปถึงอาการปวดท้องจากอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ท้องอืดท้องเฟ้อ "การดื่มน้ำขิงอุ่นๆทุกเช้าสามารถช่วยให้ลำไส้ของท่านทำงานได้ดีมากขึ้น"  McFarlane กล่าว และการวิจัยของประเทศออสเตรเลียก็ค้นพบอีกว่าขิงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และอาจช่วยต่อต้านโรคเบาหวานได้

    ขิง ช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงการทำงานของช่องท้องและลำไส้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตและ หัวใจของเรา และอวัยวะเหล่านี้ก็จะทำงานดีขึ้นหากได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากขิง

    ขิงช่วยป้องกันไม่ให้ bad cholesterol LDL แข็งเป็นแผ่น ซึ่ง bad cholesterol นี้จะส่งผลเสียกับระบบโลหิตภายในร่างกายและเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

    "การรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากขิงเป็นประจำ สามารถช่วยบำรุงร่างกายของท่านได้ดีเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตามก็ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นดีที่สุด" McFarlane กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา : 108health


หัวข้อ: Re: ขิง สุดยอดสมุนไพรในตำนาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มิถุนายน 2556 09:03:23
.

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/34/Zingiber_officinale_-_K%C3%B6hler%E2%80%93s_Medizinal-Pflanzen-146.jpg/250px-Zingiber_officinale_-_K%C3%B6hler%E2%80%93s_Medizinal-Pflanzen-146.jpg) ขิง
ภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขิง เป็นพืชที่มีฤทธิ์เสริมสุขภาพและรักษาโรค สารสำคัญในขิงที่ชื่อ 6-จิงเจอรอล (6-gingerol) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดปริมาณไขมันในเลือด ต้านการรวมตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้น การกินขิงจึงเหมาะสำหรับการดูแลความดันเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ
         แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้
         ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ
         เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
แก่น : ฝนทำยาแก้คัน
 
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร


ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  และ หนังสือ อาหารกับสุขภาพ