[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 17 พฤษภาคม 2557 05:00:09



หัวข้อ: พระไตรปิฎกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ค้นพบได้ที่ประเทศจีน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 พฤษภาคม 2557 05:00:09
.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTuYbAkls_WRx1vjhZkOpO6kfaUJvw-VUIRZ0rkmaQvOgKFl1BX)

คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ค้นพบที่ประเทศจีน

จะมีหลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจนกันแล้วว่า จีนเป็นชาติแรกในโลก ที่คิดการพิมพ์หนังสือได้ ฝรั่งเองแม้จะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่...เรื่องการพิมพ์ ก็คุยไม่ออก

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ เขียนไว้ ตีพิมพ์ในหนังสือคติธรรม-คติโลก (สำนักพิมพ์บรรณาคาร พ.ศ.2511) จีนเริ่มพิมพ์หนังสือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 7 สมัยราชวงศ์ฮั่น

ครั้งแรกทีเดียว มีผู้คิดใช้วิธีอัดก๊อบปี้ จากตัวอักขระที่จารึกไว้บนแผ่นหินหรือแผ่นไม้  ต่อมาพัฒนาการเจริญขึ้นตามลำดับ ใช้วิธีแกะเป็นตัวนูนบนแผ่นไม้ แล้วใช้หมึกทา เอากระดาษนาบพิมพ์ติดหนังสือขึ้นมา

ครั้นต่อมา วิชาพิมพ์เจริญก้าวหน้า จนถึงแกะตัวพิมพ์ได้

เมื่อปรารถนาจะพิมพ์ ก็ใช้วิธีเรียงตัวพิมพ์เอา การเรียงพิมพ์กำเนิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้อง แต่มาเจริญแพร่หลายต่อสมัยราชวงศ์หงวนและเหม็ง

วิชาการพิมพ์ของจีน เช่น วิธีนาบพิมพ์ แม้จะมีมาก่อนสมัยถัง คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ก็ยังนิยมใช้คัดลอกกัน

ครั้นถึงสมัยถัง ในหมู่พุทธบริษัทนิยมพิมพ์ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ไว้ในแผ่นกระดาษบูชา

ต่อมา จึงได้คิดพิมพ์พระสูตร บางเอกเทศขึ้น

อาจารย์เสถียรบอกว่า เอกสารพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ พระสูตรของพระพุทธศาสนาชื่อวัชรปรัชญาปารมีสูตร

มิสเตอร์สติน นักขุดค้นโบราณวัตถุ ค้นพบพระสูตรพิมพ์นี้ ในถ้ำแห่งหนึ่งของเมืองตันฮอง มณฑลกานสู เมื่อ พ.ศ .2450

ปัจจุบัน ต้นฉบับเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์กรุงลอนดอน

ในหนังสือเล่มนี้ มีข้อความบอกถึงอายุ ดังนี้ “ศักราชฮัมทงปีที่ 9 เดือน 4 วันที่ 15 เฮ่งกาย (ชื่อคน) สร้างขึ้นเป็นธรรมทานอุทิศ บูชาแด่บิดามารดาทั้งสอง”

ศักราชฮัมทง ปีที่ 9 ตรงกับ พ.ศ.1411 ราวพันกว่าปีมาแล้ว

ถึงกระนั้น ตลอดสมัยราชวงศ์ถัง ก็ยังมิได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎก ตราบลุถึงสมัยซ้อง

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง เมื่อศักราชไคเป้า ปีที่ 4 (พ.ศ.1514) พระเจ้าซ้องไทโจ๊วฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ มีพระราชโองการให้ขุนนางใหญ่ ชื่อ เตียซ่งสิ่ง ไปชำระรวบรวมพิมพ์พระไตรปิฎก ที่มณฑลเสฉวน

พระไตรปิฎกฉบับนี้แล้วเสร็จในรัชกาลพระเจ้าซ้องไทจง พ.ศ.1526 กินเวลา 12 ปี

เรียกว่าพระไตรปิฎก ฉบับไคเป้า

นับเป็นพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ที่เก่าที่สุดในโลกของพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน

พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีของฝ่ายเถรวาท ที่ตีพิมพ์เก่าที่สุด ไม่ใช่จารึกและคัดลอก อาจารย์เสถียรเชื่อว่า คือพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ของไทย เมื่อ พ.ศ.2431 สมัยรัชกาลที่ 5

พระไตรปิฎกฉบับไทย นับเวลาก็ช้ากว่าฉบับของจีน 917 ปี.