[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 22:31:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ  (อ่าน 52 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2566 23:03:18 »

The Memoirs of Haji Sulong :  ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 20:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก มูลนิธิฮัจยีสุหลง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธงชัย วินิจจะกูล ร่วมรำลึก 69 ปีที่หะยีสุหลงถูกอุ้มหายช่วยฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี และเป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น ทว่าถูกทำให้หายไป “ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี” การอุ้มหายได้สร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล โปรดอย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="429" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FHajiSulongFoundation%2Fvideos%2F661043779038539%2F&amp;show_text=true&amp;width=560&amp;t=2180" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา บรรยายหัวข้อ “หะยีสุหลงในความทรงจำของสังคมไทย” ในงาน “รำลึก 69 ปีการถูกบังคับสูญหายของหะยีสุหลง” 13 ส.ค. 2566 ณ บ้านหะยีสุหลง อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้แนวคิด “The Memoirs of HAJI SULONG” ร่องรอยความทรงจำต่อหะยีสุหลงผ่านบันทึกและจดหมาย</p>
<p>แม้ ศาสตราจารย์ฯธงชัย ออกตัวว่ามีความรู้เกี่ยวกับปาตานีและหะยีสุหลงไม่มาก เพราะเป็นเรื่องยากและซับซ้อนเกินกว่าที่ตนเองจะทุ่มเทให้ แต่กลับเป็นนักประวัติศาสตร์ชื่อดังที่คนปาตานี/ชายแดนใต้อย่างฟังมากที่สุดคนหนึ่งในสิ่งที่คนพื้นที่ก็ “รู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้..?”</p>
<p>อะไรที่ทำให้ศาสตราจารย์ฯ ธงชัย สนใจเรื่องปาตานีและหะยีสุหลง อีกทั้ง กรณีหะยีสุหลงสามารถบอกอะไรได้กว้างกว่ากรณีของหะยีสุหลงเองได้อย่างไร ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีในช่วง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ความเข้าใจของตนเองต่อปาตานีนั้นตื้นเขินมาก แต่เริ่มสะกิดใจครั้งแรกตอนเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980-2000 ที่มีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 100 ครั้งในจังหวัดใหญ่ๆ แต่ตอนนั้นเริ่มสังเกตว่าทำไมจังหวัดปัตตานีไม่เคยจัด แต่ไม่พยายามหาคำตอบว่าทำไม</p>
<p>“คนจัดไม่อยากจัด หรือคนจัดอยากจัดแต่จัดไม่ได้ หรือคนจัดไม่อยากจัดเพราะถ้าจัดแล้วจะเกิดปัญหาเลยไม่อยากจัด อะไรก็แล้วแต่” ระหว่างนั้นก็อ่านไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ปาตานีมากมาย แต่มีข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เป็นภาษาอังกฤษให้อ่านพอสมควร</p>
<p>“ผมไม่ทราบว่า หนังสือของอิบรอฮิม ชุกรี Controversial (เป็นที่ถกเถียง) ผมอ่านเพราะมีในห้องสมุด ผมอ่าน Hikayat Patani เพราะมีให้อ่าน ผมอ่าน Sekarah Melayu โดยไม่สนใจไม่รับรู้ว่า ตอนนั้นเรื่องไหนสำคัญไม่สำคัญมาก”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว แต่เขาพูดไม่ได้</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมประวัติศาสตร์ปัตตานีไม่เคยจัดแต่ไม่ได้คำตอบ จนกระทั่งย้อนไปดูประวัติศาสตร์ไทยและอ่านประวัติศาสตร์ปาตานีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นเหลนของหมอ “บรัดเลย์” ชื่อ ซิสโก้ แบรดลี่ ซึ่งสนใจประวัติศาสตร์การค้าระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปาตานีจากลูกศิษย์คนนี้</p>
<p>ธงชัย เล่าว่า ตนได้คำตอบเรื่องนี้ในปี 2545 เมื่อมีคนชวนให้มาพูดถึงเรื่องเล่าจากปัตตานี “ผมก็เล่าว่าทำไมประวัติศาสตร์ปาตานีจึงขัดฝืนกับประวัติศาสตร์ไทยในหลายมิติ เล่าจบก็มีคนมาแสดงความยินดีจนทำตัวเองรู้สึกงงว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้พูดอะไรที่แปลกประหลาดมาก</p>
<p>“ผมมาเข้าใจทีหลังนานพอสมควรว่า ผมพูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วแต่เขาพูดไม่ได้ คนที่นี่นักวิชาการท้องถิ่นรู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าผมจะต้องรู้จักปาตานีให้มากขึ้น”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า จากนั้นไม่นานเกิดเหตุการณ์ในปี 2547 ซึ่งชวนให้ถอยไปพักหนึ่ง เพราะตระหนักอย่างจริงจังว่า เรื่องเล่าสารพัดเกี่ยวกับปาตานีนั้น มีลักษณะบางอย่างที่รู้สึกว่าไม่เหมือนที่อื่น แต่ตอนนั้นยังอธิบายไม่ได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร</p>
<p>“พอเกิดเหตุปี 2004(2547) ผมรู้เลยว่า เรื่องราวมันซับซ้อนและยากเกินกว่าผมจะเข้าใจ หลังจากนั้นสิ่งที่ผมทำได้ก็คือค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ติดตาม...จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่กล้ากระโจนลงมา ผมเข้าใจว่าปัญหามันซับซ้อนเกินกว่าจะทุ่มเวลาให้อย่างมากมายถึงจะเข้าใจ”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ตนเองบอกไม่ได้ว่าความสนใจของสังคมไทยต่อหะยีสุหลงเป็นอย่างไร แต่บอกได้ว่าเขาไม่รู้เรื่องหรอก และบอกได้แค่ว่าตนเองเข้าใจเรื่องหะยีสุหลงอย่างไร ซึ่งตนก็ไม่ใช่ตัวแทนของสังคมไทย “แน่ๆ สิ่งที่ผมคิดหลายอย่างเป็นเรื่องที่สังคมไทยไม่ยอมรับ”</p>
<p>“ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงในแง่การเป็นนักการศาสนาที่วิเศษวิโสคนหนึ่งหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงจะเป็นกรณีสำคัญที่สุดยิ่งกว่ากรณีอื่นๆหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจว่าปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานีในรอบ 200-300 ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดหรือไม่ ผมคิดว่าไม่สำคัญด้วยซ้ำไป”</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความสนใจที่ตนมีเป็นความสนใจเชิงกว้าง และพยายามจะเข้าใจว่าหะยีสุหลงพอก็จะบอกอะไรกับเราได้บ้าง โดยฝากให้คิดว่า กรณีหะยีสุหลงฉายให้เราเห็นภาพใหญ่ของเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง ตนจะไม่ตอบเพราะยังเป็นการบ้านที่ยังตอบไม่ชัด แต่พอมีแนวที่จะเล่าให้ฟัง และไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า กรณีหะยีสุหลงไม่ใช่แค่ตัวหะยีสุหลงตัวคนเดียว รายละเอียดต่างๆ ในความทรงจำที่คุณเด่น (โต๊ะมีนา ลูกของหะยีสุหลง) เล่าให้ฟัง คือสิ่งที่ลูกหลานญาติมิตรต้องเก็บไว้และสำคัญมาก แต่สำหรับเขาและคนปาตานีที่เป็นคนนอกครอบครัวก็อาจไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน แต่หาแง่มุมอื่นให้เห็นว่ากรณีนี้สำคัญมาก</p>
<p>ธงชัยให้เหตุว่า เพราะเรื่องเล่าเกี่ยวกับหะยีสุหลง เหมือนกับคำในภาษาอังกฤษ 2 คำง่ายๆ คือ Microcosm กับคำว่า Macrocosm (จักรวาล) โดยคำว่า Microcosm เป็นกรณีที่จะฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของตัวเอง</p>
<p>(Microcosm ภาษาไทยแปลว่า พิภพเล็ก หมายถึง ชุมชน สถานที่ หรือสถานการณ์ที่ถือเป็นการสรุปคุณสมบัติหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ใหญ่กว่ามากในลักษณะย่อส่วน)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี</span></h2>
<p>ธงชัย อธิบายว่า กรณีหะยีสุหลงถึงจะมีรายละเอียดเฉพาะกรณีมากมาย ซึ่งต่างจากกรณีอื่นๆอีกเยอะเลย แต่เป็นหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่สามารถจะเป็น Microcosm หมายถึงใช้ให้เห็นภาพใหญ่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสยามกับปาตานีอย่างน้อยใน 200 กว่าปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าได้</p>
<p>“ถ้าเราจับเรื่องนี้มาศึกษาในแง่ประวัติศาสตร์ ศึกษาความทรงจำในกรณีนี้ให้ดี ทั้งจากแง่มุมของญาติ จากแง่มุมของคนในท้องที่ที่ไม่ใช่ญาติ จากแง่มุมคนนอก จากแง่มุมของกรุงเทพ จากแง่มุมของหน่วยงานความมั่นคง ผมเชื่อว่า กรณีนี้จะช่วยฉายให้เราเห็นมิติที่สำคัญๆแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานี ได้”</p>
<p>ธงชัยได้ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิหลังของหะยีสุหลงที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องครอบครัว แต่เคยคิดหรือไม่ว่า ความสำคัญของอูลามา(นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม) ในปาตานีในยุคนั้นเป็นอย่างไร ในความสัมพันธ์กับเชื้อสายเครือญาติฝ่ายสุลต่านเก่าของปาตานีและในที่อื่นๆ และกับความสัมพันธ์ที่มีกับเครือข่ายอำนาจในกรุงเทพฯ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น</span></h2>
<p>ธงชัย ย้ำว่ากรณีหะยีสุหลงไม่ใช่กรณีเฉพาะในมิติของการเป็นตัวแทนให้เห็นความสัมพันธ์นี้ แต่(เป็นตัวแทน)ในแง่ที่กว้างขึ้นกว่านั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามของหะยีสุหลงในการที่จะสร้างและปรับปรุงการศึกษา โรงเรียนศาสนาและความพยายามนำข้อเรียกร้อง 7 ข้อยื่นเสนอไปยังกรุงเทพฯ</p>
<div class="more-story">
<p>อ่านข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงทั้ง 7 ข้อ</p>
<ul>
<li>จัดรำลึก 69 ปี หะยีสุหลง เปิดจดหมายจากเรือนจำ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย-ปาตานี </li>
</ul>
</div>
<p>เราอาจจะมองในแง่หนึ่งเป็นเรื่องเฉพาะ 7 ข้อ แต่คิดหรือไม่ว่า ความพยายามอันนี้ก็เหมือนกับหรือเป็นทำนองเดียวกับความพยายามอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับกรุงเทพฯ และกรณีเหล่านั้นอาจจะมีแบบแผนและมีความเกี่ยวพันกัน จนกระทั่งรัฐที่กรุงเทพฯ เข้าใจผิด ไม่ไว้ใจหรือจนกระทั่งมองในแง่ร้าย</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าข้อเรียกร้อง 7 ข้อไม่ได้เป็นเพียงข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงโดยเฉพาะเท่านั้นแต่เห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่คนในท้องถิ่นหลายรุ่นหลายกรณีพยายามเรียกร้องและยังพยายามมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ความพยายามที่เกิดขึ้นก็ยังไม่ใช้ครั้งแรก แม้มีลักษณะเฉพาะแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามหลายครั้ง และเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับปาตานีซึ่งดำเนินมาอย่างน้อยถึง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความพยายามของหะยีสุหลงนี้เกิดขึ้นในแบบแผนความสัมพันธ์ในรอบ 200 ปี และก่อนหน้านั้นประมาณ 2-3 แบบแผนใหญ่ๆ ที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้แนะนำเพราะฉะนั้นแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆไม่ใช่เรื่องเล็ก จุดเล็กๆที่เป็นเรื่องใหญ่มาก</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี</span></h2>
<p>“เรานึกถึงหะยีสุหลง ณ ปีนี้ พร้อมๆ กับแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหาย”</p>
<p>ธงชัย ชวนคิดถึงในแง่ประวัติศาสตร์ทางกฎหมายว่าถ้า ถ้าไม่พูดถึงการอุ้มหายในแง่มุมกฎหมายแล้วการอุ้มหายคืออะไร แปลตรงตัวการอุ้มหายก็คือการเอาตัวไปสังหารและทำให้หายไป</p>
<p>“การอุ้มหาย” เรามักจะแปลแค่ว่า “การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับไม่มีอยู่ไม่มีอยู่” ที่จริงประโยคไม่จบแค่นี้ ประโยคที่ยาวก็คือ</p>
<p>“การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การอุ้มหาย คือการสร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล</span></h2>
<p>การอุ้มหาย คือ การสร้างเงาให้บันทึกไว้ แทบตลอดกาล เจ้าของผู้ทำให้เกิดเงา อาจจะถูกทำให้สูญหายไปแล้ว แต่เงากลับไม่หายไปด้วย ทุกคนรับรู้ถึงเงา และทุกคนเห็นสิ่งที่หายไปผ่านเงาของสิ่งที่ถูกทำให้หายไป</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าเพราะฉะนั้นแล้วการอุ้มหายจึงไม่ได้แปลตามภาษาไทยว่า คือการลักพาและทำให้หายไป แต่การอุ้มหายคือภาวะตามที่เขาเขียนในหนังสือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Silence Un forgetting (เงียบจนลืมไม่ลง) ก็คือทำให้เกิดภาวะที่ลืมไม่ได้ จำไม่ลง อยู่ตรงกลางระหว่างการลืมกับการจำ จะบอกว่าจำได้ 100% ก็ไม่ใช่ เพราะวัตถุของความทรงจำได้มันหายไปแล้ว จะบอกว่าเราลืมเราก็ไม่ลืม ก็เงาของมันกลับไม่หายไป</p>
<p>การอุ้มหาย คือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ไม่มีอยู่ ทำให้เกิดภาวะของเงาหลอนต่อคนที่ยังอยู่ตลอดเวลา คือทำให้เห็นสิ่งนั้นโดยตระหนักถึงการไม่มีอยู่ของมัน เขาได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของเงาตัวนั้น ตัวสิ่งนั้นได้หายไปแล้ว แต่ศึกษาว่าคนรับรู้เรื่องเงานั้นอย่างไร และตรงนี้บอกถึงสังคมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี</p>
<p>จากกรณีของหะยีสุหลงนี้ธงชัยเห็นว่าอาจทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีในรอบ 200 ปีก็เป็นไปได้</p>
<p>“ผมอยากชวนให้สนใจเรื่องหะยีสุหลง ไม่ใช่ในฐานะลูกหลานญาติพี่น้อง แต่ในฐานะกรณีของสังคมที่จะช่วยฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่ มากกว่ากรณีของหะยีสุหลง ไม่ใช่เพียงกรณีเดียว แต่เป็นหนึ่งในไม่กี่กรณีที่ช่วยฉาย เป็น microcosm แบบนี้ได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง</span></h2>
<p>การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะของการเป็นอมตะ การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง” (บทกวีของ ซะการีย์ยา อมตยา 2558) บทกวีบทนี้คือ Ontology (ภววิทยา)ของภาวะอุ้มหายเพราะฉะนั้นอนาคตถ้าจะมีการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานี หรือศึกษาปัญหาจังหวัดภาคใต้ เราสามารถศึกษาได้หลายแง่หลายมุมจากหลายกรณี</p>
<p>ธงชัยเชื่อว่ากรณีหะยีสุหลงน่าจะเป็นกรณีสำคัญที่ทำให้เกิด Microcosm ที่ฉายภาพที่ใหญ่กว่านั้นได้ หมายถึงการสร้างฐานข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ การไล่ถามว่าญาติพี่น้องคนไหนมีความทรงจำอย่างไร หรือคนในท้องที่มีความทรงจำอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ และต้องไม่ปิด ใครจะชอบมาก ใครจะชอบน้อย ใครจะชอบปานกลาง ใครจะไม่ค่อยชอบก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจทั้งหมด แล้วจะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-ปาตานีที่กว้างขึ้น ถ้ามีข้อมูลก็เปิดเผยออกมา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่ายให้ถกเถียงกัน</span></h2>
<p>ธงชัยเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยไปเสวนาที่ ม.อ.ปัตตานีเมื่อ 10 กว่าปีก่อนว่า ให้แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่าย อย่าไปโกรธอย่าไปเกลียด และที่สำคัญเถียงกันได้ แต่อย่าตีหัวกันก็แล้วกัน แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ด้วยกัน เพราะประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องไม่ได้มีหนึ่งเวอร์ชั่น ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องมีหลายเวอร์ชั่นในขณะเดียวกันได้</p>
<p>เขากล่าวต่อว่าถ้าฝ่ายความมั่นคงจะเข้าใจเรื่องธรรมดาสามัญของมนุษย์ ก็ยอมให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ของปาตานี ทุกกรณี รวมถึงกรณีหะยีสุหลง เปิดเผยเอามา แบออกมาในที่สาธารณะ แล้วมาแลกเปลี่ยนถกเถียงกัน บนหลักพื้นฐานแค่ว่า อย่าตีหัวกัน จะเป็นประโยชน์มาก</p>
<p>ส่วนใครจะหยิบยกประวัติของหะยีสุหลงขึ้นมาทบทวนขยายความ ในแง่ไหน ควรปล่อยให้ เกิดขึ้นโดยหลักที่ว่าอย่าตีหัวกัน หากใครจะเอาข้อเรียกร้อง 7 ข้อ กลับมาทบทวนใหม่ พิจารณาใหม่ เชื่อว่าไม่มีใครเอา 7 ข้อมาใช้อย่างเดิมโดยไม่มีการปรับ แต่ควรจะต้องถกเถียงกันพูดคุยกัน อย่าระแวงสงสัยกัน และไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</span></h2>
<p>ธงชัยย้ำว่าตั้งแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไปจนถึงการขบคิดถึงอนาคต และขอทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำกับหะยีสุหลงเมื่อ 69 ปีก่อน คือการทำลายสายพิราบ สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงทำหลายกรณีในประเทศไทย เช่นการฟ้องการจับเด็ก ได้ 2-3 ปีที่ผ่านมาด้วยข้อหาสารพัดนี้กำลังทำร้ายคนที่ยินดีจะพูดคุยและทำลายสายพิราบ</p>
<p>กรณีที่เล่นงานพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน คุณกำลังทำลายสายพิราบ ไม่ได้แปลว่าเราต้องเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล แต่อย่างน้อยอย่ารังแก อย่าเล่นนอกเกมนอกกติกา เราควรจะพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนกันได้ทะเลาะกันได้บนพื้นฐานว่าอย่าตีหัวกัน แค่นั้นเองซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ต่ำมาก</p>
<p>ก่อนจะถึงวันนั้น ผมเชื่อว่าการสืบค้นและการศึกษาเรื่องหะยีสุหลงจะมีประโยชน์มากต่อการสร้างภาวะเช่นนั้น และเมื่อถึงวันนั้นการศึกษา การสืบค้นเรื่องหะยีสุหลงจะช่วยผลักดันความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีเป็นไปในแง่ที่สร้างสรรค์มากขึ้น บนหลักพื้นฐานง่ายๆ อย่าตีหัวกัน</p>
<p>“ผมเชื่อว่าถึงวันนั้นมันมีทางออก ที่ทุกฝ่ายยินดีจะพร้อมรับ พร้อมปรับเข้าหากันคนละนิดคนละหน่อย และถึงวันนั้นถ้ามันมีจริง เราจะต้องขอบคุณหะยีสุหลง ขอบคุณบ้านโต๊ะมีนาที่มีส่วนช่วยให้เราได้เรียนรู้อดีตให้เรามีความหวังต่ออนาคต ให้เราค่อยๆ หาทางที่จะอยู่ร่วมกันในอนาคตอย่างมีสันติได้ “</p>
<p>ฟังบรรยายเต็มได้ระหว่างนาทีที่ 36.20-1.10.30 ที่</p>
<p>https://www.facebook.com/HajiSulongFoundation/videos/66104377903853</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105485
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“ยามขึ้นอย่าหลง ยามลงอย่าท้อ” ธงชัย ประสงค์สันติ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1124 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2559 18:15:13
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 375 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 392 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 294 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 214 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 02:08:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.205 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 18:34:57