[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ใต้เงาไม้ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 11:25:28



หัวข้อ: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 11:25:28
.

สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
ของ จอมปราชญ์-นักปราชญ์-กวีไทย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32259030308988_1.png) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/56831387264860_2.png)
หนูน้อยกับคุณแม่ ที่ริมหาดชะอำเหนือ จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้     เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา
เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา            หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจ ฯ

                      "วิวาห์พระสมุทร"
     บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                        (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24109569812814_1.jpg)
ความรักเหมือนโรคา    บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล            อุปสัคคะใดๆ
ความรักเหมือนโคถึก      กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดจากคอกไป          บยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้             ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง             บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย ฯ

                       "มัทนะพาธา"
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23484509686628_1.png) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์  
ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่
ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ          
ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน ฯ

                       "วิวาห์พระสมุทร"
    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       (รัชกาลที่ ๖)

หนาวลมห่มผ้าอุ่น       สบายใจ
หนาวฤดูผิงไฟ              อุ่นได้
หนาวอกพึ่งสิ่งใด            บ่อุ่น ได้เลย
หนาวอื่นหมื่นแสนไซร้      ไป่สู้ หนาวอารมณ์ ฯ

                       "ลิลิตพายัพ"
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85765752154919_1_1.png)
อันลมใดในโลกโยกมนุษย์      
สิ่งที่สุดลมลิ้นไม่สิ้นหวาน
น้ำผึ้งรวงรสอร่อยน้ำอ้อยตาล      
ไม่เปรียบปานชิวหาโอชารส ฯ

                  "คำกลอนสุภาษิต เรื่อง พาลีสอนน้อง"
    พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
          สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48418337148096_9.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
อันของสูงแม้ปองต้องจิต    
ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ        
หรือแย่งยื้อได้โดยไม่ยอม
ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง    
คงชวดดวงบุปชาติสะอาดหอม
ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม        
จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี ฯ

             บทละคอน เรื่อง "ท้าวแสนปม"
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       (รัชกาลที่ ๖)

* คำ "บทละคอน" สะกดตามต้นฉบับเดิม  ปัจจุบันเขียน "บทละคร"...ผู้โพสต์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30645047997434_1.png)
อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์  
ถึงฝั่งสิ้นสาดหายเข้าในฝั่ง
เสียงกลองดังฟังดูเพียงหูฟัง        
ปากคนดังอึงจริงยิ่งกว่ากลองฯ

                            "อิสสริญาณภาษิต"
     พระนิพนธ์ พระองค์เจ้าอิศริญาณ (โอรสกรมหมื่นอินทรพิพิธ)
            (ทรงนิพนธ์ขณะทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38097427868180_15.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ในโลกนี้ จะหาสิ่งไรที่ชื่นใจเท่าผู้หญิงที่รักไม่มีแล้ว
                 "เกินต้องการ" (น.๖๖)
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93270238281952_14.png)
ยามอาภัพอับจนเชื่อตนเถิด        
ไหนประเสริฐทำนั่นอย่าหวั่นไหว
เมื่อเคราะห์ร้ายตายไหนก็ตายไป        
อย่าหวั่นไหวงันงกไม่ตกลง

                 "ปกิณกสุภาษิต"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52438247576355_11.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
อันการเลือกหาผัวตัวไม่รัก
ทุกข์จะหนักฟูมฟกโอ้อกเอ๋ย
ถึงจะยวนชวนชมภิรมย์เชย
ใจก็เฉยอึ้งอ้ำไม่นำพา ฯ

                 "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18973597304688_13.png)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
อันนารีรูปงามทรามสวาท
ถ้าแม้ไร้มารยาทอันงามสม
คงไม่มีชายดีจะอบรม
มีแต่ชมเพื่อพลางแล้วร้างไป ฯ

                 "พระร่วง"  (บทละครร้อง)
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84855763696961_14.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
 แม้นกุศลเราสองเคยร่วมสร้าง    
ขอร่วมห้องอย่าได้ห่างเสน่หา
เสี่ยงผลที่ได้เพิ่มบำเพ็ญมา          
ขอร่วมชีวาร่วมวางชีวาวาย
เกิดไหนขอให้ได้ถนอมพักตร์        
ความรักอย่าได้ร้างอารมณ์สลาย
รักนุชอย่าได้สุดเสน่ห์คลาย          
ขอสมหมายที่ข้ามาดสมาทานฯ


                 "เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง"  
                  พระนิพนธ์ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์
                  (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37597292330529_5.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
เป็นทหารจะพะวงหลงเชย    
ละเลยราชกิจไม่บังควร
สงบศึกก็ได้อยู่เคหา            
เคียงคู่ภรรยาเฝ้าสงวน
เมื่อต่อตีไพรีที่มากมวล          
จะมัวหวนห่วงเมียย่อมเสียการ ฯ

                 "พญาราชวังสัน"  
                  พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                  (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70316460976997_7.jpg)
"วาสิฏฐี, เราขอให้ภาวนาบทธรรมนี้ไว้...
   ...ที่ใดมีความรัก, ที่นั้นมีความทุกข์"

                 "กามนิต (วาสิฏฐี)"  
                  โดย...เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76650388124916_8.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
...เพราะข้อความในพระเวทบทหนึ่งที่ยังเจนใจข้าพเจ้ามีว่า
"ศาสดาย่อมไม่กระหายอยากได้ศิษย์  แต่ศิษย์ต้องกระหายอยากได้ศาสดาเอง
  ... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยากได้ศาสดาผู้พ้นแล้วจากความร่านกระหายเช่นนั้น"ฯ...

                 "กามนิต - วาสิฏฐี"  
                  เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83985492380128_16.png)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
บรมบุรพะการีอันประเสริฐยิ่งกว่าบุรพะการีอื่นๆ ของเรา
คือ สมเด็จพระโลกะนาถศาสดาของเรานั้นแล,  แต่คนเราโดยมาก
หาใครได้นึกถึงพระพุทธเจ้าในฐานะเช่นนี้ไม่. โดยมากมักนึกถึงเสียว่า
พระพุทธเจ้าก็คือพระพุทธรูปที่ตั้งไว้ในอุโบสถและสถานที่ต่างๆ,
หรือบนที่บูชาในเรือนของตนนั้นเอง. ที่จริงนึกเช่นนี้ไม่ถูกเลย,
เพราะถ้าพระพุทธเจ้าเป็นแต่เพียงรูปที่ทำด้วยโลหะหรือศิลา
หรืออิฐปูนหรือไม้ฉะนั้นแล้ว, จะเป็นของน่ากราบไหว้อย่างไร?
วัตถุอย่างใดเล่าจะประเสริฐยิ่งไปกว่าเราตัวเองผู้เป็นมนุษย์;...ฯ"

                 "พระบรมราชานุศาสนีย์" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
                  แสดงคุณานุคุณ (คุณของบรมบุรพะการี)
                  เมื่อวันวิศาขบูชา ณ ค่ายหาดหลวงเจ้าสำราญ แขวงเพชรบุรี,
                  ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๑
                             (คัดโดยคงตัวสะกดเดิม)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 มิถุนายน 2557 13:49:40
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18921716221504_17.jpg)  ภาพวาด  ครูเหม  เวชกร
 ความรู้คู่เปรียบด้วย     กำลัง กายแฮ
สุจริตคือเกราะบัง           ศาสตร์พ้อง
ปัญญาประดุจดัง            อาวุธ
กุมสติต่างโล่ป้อง           อาจแกล้วกลางสนาม ฯ

                 "บทพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต"
                  ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
                  พระราชทานแก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97630116550458_2.png) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/27044044641984_2.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ร้อนอากาศอาบน้ำ     บรรเทา
ร้อนแดดพอแฝงเงา        ร่มได้
ร้อนในอุระเรา              เหลือหลีก
ร้อนอกราคหมกไหม้       หม่นเพี้ยงเพลิงรุมฯ"

                 "ลิลิตพายัพ"
                 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24109569812814_1.jpg)  ภาพจาก : 'กามนิต' เว็บไซต์สุขใจดอทคอม
โอ้โอ๋กระไรเลย      บมิเคย ณ ก่อนกาล!
พอเห็นก็ทราบซ่าน     ฤดิรักบหักหาย
ยิ่งยลวะนิดา             ละก็ยิ่งจะร้อนคล้าย
เพลิงรุมประชุมกาย      ณ อุรา บลาลด

                 "มัทนะพาธา"
                 พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
                 (* คัดโดยคงตัวสะกดเดิม)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15345624503162_2.png)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ชมโฉมประโลมสวาท    วรราชนารินทร์
รื่นรมยะสมจิน              ตนะพร้อมพระไภมี
เนาแนบสุดาดวง            จนล่วงลับซึ่งราตรี
ใสแสงพระสุรศรี            พยับเยี่ยมยุคันธร

                 "พระนลคำหลวง"
                 พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
                 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12284159411986_d1.gif)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
...โคมีแอก  ม้ามีบังเหียน
และเหยี่ยวมีกระดิ่ง ฉันใด
บุรุษก็มีกาม ฉันนั้น...

                 "ตามใจท่าน"
                 พระราชนิพนธ์  พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
                 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38097427868180_15.jpg)  เจ้าเงาะขับเสภา รจนาปั่นฝ้าย ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ความเอยความรัก                 เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน?
เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ,        หรือเริ่มในสมองตรองจงดี?
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง?         อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่องเกลี้ยงเลี้ยงรตี        ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอยฯ...

                 "เวนิสวาณิช"
                 พระราชนิพนธ์แปล  ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ
                 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)
                 จากบทละครเรื่อง 'The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26168765293227_4.jpg)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น    พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง       ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง             เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า          แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ.

                 โคลงนิราศ เรื่อง "นิราศนรินทร์"
                 นายนรินทรธิเบศร (นรินทร อิน) แต่ง เมื่อคราวตามเสด็จ
                 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกทัพไปปราบพม่าข้าศึก
                 ที่เมืองถลางและชุมพร  เมื่อต้นรัชกาลที่ ๒ ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79790055379271_18.jpg)  
อันว่าความกรุณาปรานี    
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ  
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินฯ.

                 "เวนิสวานิช"
                 พระราชนิพนธ์แปล  ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ
                 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)
                 จากบทละครเรื่อง 'The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ


ทรามวัยอย่าร้องร่ำ      กำศรวล
อยู่แม่อย่าเสวยครวญ      ลห้อย
บ่นานบ่หน่าย*นวล        แหนงเสน่ห์ นุชนา
เสรจ์ทับกลับถนอมสร้อย   อย่าเศร้าเสียศรี ฯ"


                 "ลิลิตตะเลงพ่าย"
                 พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส
* สมุดไทยเลขที่ ๔๓ ว่า แหนง
  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40455107473664_6.png) 'หุ่นขี้ผึ้ง' พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จ.นครปฐม
"การที่จะลงพระราชอาญาด้วยอาการใดๆ
มีตีและขังเป็นต้น...น่าจะไม่เป็นประโยชน์
เพราะลูกผู้ดีไม่ใช่สัตว์เดียรัจฉาน
ที่จะบังคับบัญชาได้ด้วยอาญา” ฯ


                 ประกาศกระแสพระราชดำริในเรื่อง เป็นลูกผู้ชาย
                 ใน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
                 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTAFWugS5bIDxWpBmJ6k5-Q-mlpwYDeUPEna6GhEbvYJNrOsFJ3VQ)  
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)

"...ฉันขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ ในวันนี้แล้ว
ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน
ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ
ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด.” ฯ


                 พระราชดำรัสจากพระโอษฐ์
                 เหตุการณ์วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
                 มีพระราชดำรัสฝากฝังพระราชโอรสและพระราชธิดาต่อขุนนางผู้ใหญ่และพระราชวงศ์ผู้ทรงอำนาจ
                 ทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (สมุหกลาโหม ภายหลังต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)
                 และพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่สุดที่ทรงรับราชการ
                 เข้าเฝ้าเพื่อรับสั่งราชการเป็นครั้งสุดท้าย และรับสั่งลา...


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPYiiOYgN2UBFRTgudLWBYbjRfp0WP2m4jmCT06y-3FUPyoJCJ)  ภาพวาดของ ครูเหม เวชกร
หนูตายตัวเดียว สามารถจะทำให้น้ำทั้งสระเป็นพิษได้ ฉันใด
อ้ายพวกยุแหย่ก็อาจจะทำให้คนร่วมชาติทั้งหมดเสียชื่อเสียง
สิ้นความนับถือของคนทั้งปวงได้ ฉันนั้น.


                 อัศวภาษิต
                 ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
                 ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94116764060325_6.jpg)  "ดูดอุ"  (เหล้าไห)
ภาพจาก : ผนังหอไตร วัดธาตุหลวงใต้ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภาพ : ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

บุคคลบางจำพวก เมื่อนึกไปถึงความยากลำบากของตนแล้ว
ก็มักหันเข้าหาความเพลิดเพลิน และความหลงใหลในสุรา.


                 อัศวภาษิต
                 ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
                 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29925543111231_DSC_0244.JPG)
จิตรกรรมฝาผนัง วัดป่าภูก้อน ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
พุทธศาสนิกชนย่อมได้รับความสั่งสอน ให้เผื่อแผ่เมตตาจิต
และมีความปรานี สังเวช ไม่ชั่วแต่แก่ผู้ที่ร่วมศาสนา
ย่อมทั่วถึงไปยังเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าศาสนาใดหรือลัทธิใด.


                 อัศวภาษิต
                 ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
                 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/e/ea/Inscription_of_Siamanusati.jpg/250px-Inscription_of_Siamanusati.jpg)
"โคลงสยามานุสติ"
ลายพระราชหัตถ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

                 ฯลฯ
หากสยามยังอยู่ยั้ง    ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง        ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง      ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย     หมดสิ้นสกุลไทย


                 สยามานุสติ
                 คำโคลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
                 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๑


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97134204415811_DSC_0008.JPG)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความอยากรู้-อยากทำ เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา"

                 วจนะภาษิตธรรม
                 คัดจาก กระดานผลงาน ณ ชาติภูมิสถาน ปอ.ปยุตฺโต
                 อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี

                  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42343392471472__3588_3619_3641_.gif)  ภาพวาด - ครูเหม เวชกร?
เคยตระโบมบัวมาดแก้ว    กับกร
เกี้ยวตระกองบงงอร           อุ่นเนื้อ
ปางร้างนิราสมร               มาเทวศ
ถวิลบวายรสเกื้อ              กอดเกี้ยวก่ายเขนย.


                 ลิลิตตะเลงพ่าย
                 พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
                 * ผู้ทรงพระนิพนธ์ได้นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
                 ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาของพม่า
                 มาเรียบเรียงเป็นวรรณคดียอพระเกียรติ

                  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21415233446491__3585_3635_3652_3621_.gif)  ภาพวาด - ครูเหม เวชกร
กำไลมาศชาตินพคุณแท้     ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที       จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก      ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย
แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย       เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย.


                 บทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                 * สลักไว้บริเวณด้านบนของกำไล พระราชทานแด่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
                    เจ้าจอมคนสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕

            
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67352477005786_r.gif)  ภาพพระปฐมสมโพธิ์ ของ ครูเหม เวชกร
พฤษภกาสร     อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง    สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย      มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี     ประดับไว้ในโลกา


                  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
                 พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

                 * คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณาเหลือเขาหนัง
                    มนุษย์ถึงกาลอาสัญ สูญสิ้นสารพัน คงไว้แต่ "ความชั่ว-ความดี".  
 
p. 7-9
p. 32/32


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤษภาคม 2558 15:28:07
.

.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65427685487601_K6608031_13_1_.jpg)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร

สิ่งใดๆ ในโลกนี้อันเป็นที่น่าปรารถนา
จะได้มาโดยไม่ต้องสละสิ่งอื่นแลกเปลี่ยนบ้างนั้น ไม่มีเลย

ถ้าวัตถุใดได้มาโดยง่าย และโดยไม่ต้องสละสิ่งอื่นแลกเปลี่ยนเลยนั้น
แท้จริงเป็นวัตถุอันไม่มีราคาเลย

                            จาก อัศวภาษิต
       พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

                  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16581945493817__3617_3627_3634_3605_3632_3617.gif)  ภาพวาด ครูเหม เวชกร
คนโดยมาก ดูรูปมากกว่าดูใจ
นิยมในเครื่องประดับประดาภายนอก
มากกว่าสติปัญญาและความสามารถ
ซึ่งเป็นเครื่องประดับภายใน


คนโดยมากนิยมในรูปอยู่มาก
ถ้าให้ภายนอกสุกใสอยู่แล้ว
ถึงภายในจะเป็นโพรงบ้างก็ไม่ใคร่ถือ

                   จาก...บทละครพูด เรื่อง มหาตมะ
                  พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)


                  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25178415204087_1291559595_1_.jpg)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร
"กาก็ดำ นกดุเหว่าก็ดำ"
อะไรเล่า! เป็นเครื่องแตกต่างระหว่างกาและนกดุเหว่านั้น
...เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ กาก็ร้องเสียงกา..กา...
นกดุเหว่าก็ร้องเสียงนกดุเหว่า อันไพเราะ

บัณฑิตผู้ฉลาด อาศัยฟังเสียงร้องประกอบการพิจารณานั้น
จึงทราบได้ว่าใครเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ใครเป็นผู้สกปรกโสมมเต็มไปด้วยเปือกตมคือกิเลสตัณหา

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ที่ใดไม่มีสัตบุรุษที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา ผู้พูดไม่เป็นธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ"
                   จาก..."ภาษิตโบราณ"  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93288569110963__3614_3619_3632_3624_3640_3609.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
ผู้ที่เกิดมาในตระกูลต่ำแล้ว แต่ประพฤติตนดี
ก็เสมอกับยกตนเองให้ขึ้นสู่ชาติอันสูง

                  จาก เรื่อง พระศุนหเศป (เศานห์ เศปาขยานัม์)  
                  พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
                  (ทรงแปลจากนิทานโบราณ ซึ่งมีในคัมภีร์เก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89686503012975__3623_3633_3621_3621_3616_3634.gif)
ภาพวาด พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

นาฏกะกลอนนี้ฉันมีจิต       ขออุทิศแด่มิ่งมารศรี
ผู้ยอดเสน่หาจอมนารี       วัลลภาเทวีคู่ชีวัน
ขอให้หล่อนรับพลีไมตรีสมาน       เป็นพยานความรักสมัครมั่น
เปรียบเหมือนแหวนแทนรักทุษยันต์       ให้จอมขวัญศกุนตลาไซร้
แต่ผิดกันตัวฉันไม่ลืมหล่อน       จนสาครเหือดแห้งไม่แรงไหล
จนตะวันเดือนดับลับโลกไป       จะรักจอดยอดใจจนวันตาย

                  บทกลอนพระราชนิพนธ์  
                  ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
                  แสดงถึงความรักที่ทรงมีต่อพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี - พระคู่หมั้น      

                          
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45361642042795__3586_3634_3623_.gif)
ภาพวาด พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

แสนเสียดายดวงจันทร์อันทรงกลด
งามหมดไม่มีราคีหมอง
พิศพักตร์วิไลลักษณ์น่าประคอง
นวลละอองลออเอี่ยมสำอางค์องค์...

                  บทกลอนพระราชนิพนธ์  
                  ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
                  แสดงถึงความอาลัยที่ทรงมีต่อพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
                  จากการที่พระองค์ทรงประกาศถอนหมั้น เมื่อเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓
                              
              
 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/92148112629850__3585_3634_3585_3637_1.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร

นางไห้หวนครวญหาจนฟ้าสาง       ยิ่งอ้างว้างวังเวงในหัวใจสมร
ได้เห็นแต่มัจฉาในสาคร       เป็นเพื่อนจรว่ายเรียงเข้าเคียงคลอ
แสงอรุณอุ่นอุราเมื่อคราเช้า       โอ้อกเราใครจะเห็นเยือกเย็นหนอ
มาเปล่ากายอายปลาน้ำตาคลอ       ยิ่งคิดไปก็ให้ท้อหทัยนาง
                  จาก..."ราชาธิราช-กากี"  
                  
                  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39836131243242__3585_3634_3585_3637_2.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร

แต่กรรมหลังยังไม่หมดไม่ม้วยมอด       จึงได้รอดชีวาตม์ไม่ขาดหาย
อรุณรุ่งพรุ่งพร่างกระจ่างพราย       ทะเลร้ายกลับเรียบเงียบเชียบลม
เหมือนชีวิตคิดไปแล้วใจท้อ       ไม่เที่ยงหนอเดี๋ยวก็ชื่นเดี๋ยวขื่นขม
อนิจจํ อนัตตาโปรดปรารมภ์       เอาธรรมข่มใจไว้ได้แหละดี
                  จาก..."ราชาธิราช-กากี"  


 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG)
วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
 
เห็นจะสิ้นอายุพระนคร       ให้อาวรณ์ผู้รักษาหามีไม่
เปนป่าหญ้ารกดังพงไพร       แต่จะสาปสูญไปในทุกทิวา
คิดมาก็เปนน่าอนิจจัง       ด้วยกรุงเปนที่ตั้งพระสาสนา
ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา       ปฏิมาฉลององค์พระทรงญาณ
ก็ทลายยับยุ่ยเปนผุยผง       เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร
ยังไม่สิ้นสาสนามาดรธาน       ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป
     
              พระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42718355771568_p19_1_.jpg)  ภาดวาดครูเหม เวชกร
พระพุทธองค์เสด็จไปศึกษากับคณาจารย์ต่างๆ
ในที่สุดทรงเห็นว่ามิใช่หนทางตรัสรู้ จึงละเลิกเสีย

๏ คราวเป็นสงฆ์ทรงเหลืองกระเดื่องเพศ      จงไกลเหตุมัวหมองให้ผ่องศรี
'เมื่อเป็นสงฆ์' ทรงศีลมุนินทร์ชี      อย่าให้มีคาวร้ายระคายองค์
ปฏิบัติอย่าให้กลัดเป็นแผลใน      อย่าทำให้พรตร้าวคาวแก่สงฆ์
อย่านอกรีตคิดร้ายทำลายองค์      อย่าเอาสงฆ์บังหน้าให้ราคี
สงวนศีลยินดียอมพลีร่าง      อย่าลบล้างศีลสงฆ์พระทรงศรี
หมดศรัทธาลาศีลมุนินทร์ชี      ไปครองที่ฆราวาสชูชาติไป
อย่าทำอย่างเสือสางพรางสีเสือ      ลวงให้เนื้อเชื่อลงไม่สงสัย
เห็นเหลืองเรื่อนึกว่าเนื้อใช่เสือไพร      จวบบรรลัยจึงรู้จักพยัคฆา
เมื่ออยู่ในสถานการใด       ยังพอใจก็จงอยู่รู้รักษา
ให้ชอบธรรมอย่าได้ละปฏิญญา      อย่าให้ภาวะนั้นอันตราย
ทำอย่างไรทำไปอย่าใฝ่ผิด       ไมตรีจิตประชาชนคนทั้งหลาย
จงเทิดทูนศาสนาอย่าให้อาย       ถึงตัวตายไว้ชื่อให้ลือ เทอญ ๚ะ
         วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ  ปปฺโปตุ พุทฺธสาสเน.


                      
p. 7-9      


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤศจิกายน 2559 16:45:10
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94053048102392__3609_3585_3604_3629_3585_3652.gif)

"ชื่นจิตร์จริงจริงจิตร์ชื่นเมื่อยื่นสลา
ตาต่อเนตร์เนตร์ต่อตาสุดาสมร
นิ้วเลียมลองเลียมนิ้วผูกคิ้วค้อน
วอนว่าสุดสุดว่าวอนจึงผ่อนตาม"


บทพระราชนิพนธ์เพลงยาวสังวาส
ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 ธันวาคม 2559 15:00:45

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41514951239029_sangaraj20.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57984951428241_r5_2.jpg)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36986049968335_rama9_mainpage.jpg)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74023331536187_ror_10.jpg)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 ธันวาคม 2559 15:34:29

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44548767556746__3609_3585_1.gif)

สงสารตัวกลัวภัยในเบญจขันธ์    
เป็นที่เกิดทุกข์เทวษเภทภยัน     ทั้งโรคันอันตรายระคายเคือง
นักปราชญ์ปรีชาชาญย่อมหาญหักมิได้รักรูปชีวิตสู้ปลิดเปลื้อง
เจริญเรียนวิปัสนาปัญญาเรือง บันลุเมืองอมรโมกข์ศิวาลัย
นิจจาเอ๋ยกระไรเลยโอ้เบ็ญจขันธ์     จะผูกพันตรากตรึงไปถึงไหน
ยามนอนก็ได้นอนสักอึดใจ     ควรหรือไม่เห็นว่าขันธ์นั้นมิดี
ยังจะหลงหมักหมมด้วยสมบัติ     ไม่หลีกละสละสลัดเอาตัวหนี
อันบาปมิตรสนิทต่อหน้าทั้งตาปี     จะยินดีก็แต่ได้สมใจนึก...
   

บทพระราชนิพนธ์เพลงยาวปลงสังขาร
ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)  
ทรงให้แง่คิด "ธรรมะ" แก่ผู้อ่านโดยตรง คือให้พิจารณาถึงภัยใน ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์)
อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ว่าเป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์

 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80789381638169_039.jpg)

ไร้ปิ่นดิลกราชย์ ละก็ชาติจะภินพัง,
ไหนเลยจะคงตั้ง อิศะรานุภาพครอง.
โลกเราสง่างาม ก็เพราะแสงตะวันส่อง,
สิ้นแสงระวีต้อง มละทั่วนะฉันใด;
อันปวงประชาเปรม ฤดิพึ่งพระเดชไท้,
เดชดับก็มืดใน ฤดิหม่นละแน่นอน.
ราตรีสว่างแจ้ง ก็เพราะแสงนิศากร,
โกฎิ์ดาว ณ อัมพร ก็บ่เท่าพระจันทร์เดียว,
อันว่าพระคุณเปรียบ วรโสมะนั่นเทียว
ไร้นาถะข้าเหลียว จะประสบพระเจ้าไหน?


"มัทนะพาธา"
พระราชนิพนธ์ร้อยกรอง
ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55364853019515_1..jpg)
จิตรกรรมพระวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ชาติเดียวกันทุกคน รักแต่ตนจะเสียที    
 
มัวแก่งและแย่งดี จนแตกพวกไม่ควรการ      
ทหารอย่าข่มเพื่อน พลเรือนก็เท่าทหาร      
พลเรือนอย่าใจพาล อย่าชิงชังซึ่งโยธา      
ต่างฝ่ายต้องพึ่งกัน ทุกสิ่งสรรพ์สำเร็จนา      
โบราณะสุภา ษิตะกล่าวก็ควรฟัง      
เสือพีเพราะป่าปก และป่ารกเพราะเสือยัง      
ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี      
ร่วมชาติต้องร่วมรัก และสมัครสามัคคี      
จงรักษะภักดี ต่อพระปิ่นนรากร      
ทั่วกันจงกั่นกาจ รักษาชาติสโมสร      
ศาสนาให้ถาวร อิศระอวะสาน      
ให้เกียรติขจรจบ บรรฦๅลบถึงบาดาล      
เทพไทในวิมาน ให้สรรเสริญทั้งโลกา      

จากพระราชนิพนธ์ "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89686503012975__3623_3633_3621_3621_3616_3634.gif)

”ดวงสวาท งามสิริวิลาสเฉลิมศรี
อาจผโอนจิตชายชาตรี ให้สิ้นรักชีวีเพราะหวังชม
แม้นมาดพลาดมือไม่เหมือนหมาย ควรวางวายดีกว่าอยู่คลาดสู่สม
นี่แลน้ำจิตที่พี่นิยม เกลียวกลมกอดประทับหลับไปเอย
จาก "เงาะป่า"
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71765561567412__3623_3634_3626_3636_3599_3600.gif)

• สุมาลีหลากๆ มากมวลมี ต่างๆ สีราวลายวิเลขา
เหมือนแสร้งแต่งล่อแมลงให้บินมา เพราะหมายว่ามีกลิ่นอันรินรวย
เปรียบเหมือนนางดรุณีอยากมีคู่ แต่งกายาล่อชู้ให้เห็นสวย
เพื่อจะลวงชายหลงและงงงวย แล้วเอออวยรับรักสมัครกัน
แต่มีบางมาลีสีอ่อนๆ กลิ่นขจรรื่นรมย์ลมพาผัน
ภุมรินยินดีที่สุคันธ์ เพราะรู้จักเลือกฟั้นที่ดีจริง
เปรียบสตรีผู้มีสุขุมชาติ มรรยาทน่าชมสมกับหญิง
บุรุษดีใฝ่ถนอมกล่อมเลี้ยงจริง เพราะรักยิ่งยงยอดจอดดวงใจฯ

จาก "สาวิตรี"
พระราชนิพนธ์ ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ ๖)



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2560 12:51:46
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41280338789025_18.jpg)

◎ เมื่อนั้น พระทรงจตุศีลยักษา
ครั้นเห็นนวลนางสีดา เสน่หาปลาบปลื้มหฤทัย
อั้นอัดกำหนัดในนาง พลางกำเริบราคร้อนพิสมัย
พิศเพ่งเล็งแลทรามวัย มิได้ที่จะขาดวางตา
ชะชะว่าโอ้ว่าสีดาเอ๋ย มางามกระไรเลยเลิศเลขา
ถึงนางสิบหกห้องฟ้า จะเปรียบสีดาได้ก็ไม่มี
แต่กูผู้รู้ยศธรรม ยังหมายมั่นมุ่งมารศรี
สาอะไรกับอ้ายอสุรี จะมิพาโคติกาตายฯ

คนจะเป็นเช่นใด ย่อมฉายให้เห็นเป็นกระจกเงาอันแจ่มใสอยู่ในลักษณะนิสัย
การแสดงออก และอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ ฉันใดก็ดี บทประพันธ์ของกวีใดก็ย่อมฉายให้เห็นอัธยาศัยและอารมณ์
ของกวีนั้น ฉันนั้น. รวมความว่าถ้อยคำสำนวนกลอนและโวหารการประพันธ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแสดงถึง
พระราชอัธยาศัยและพระอารมณ์ขององค์ผู้ประพันธ์ว่า น่าจะทรงมีพระนิสัยเปิดเผย ตรงไปตรงมา เด็ดเดี่ยว ห้าวหาญ
เอาจริงเอาจัง เป็นอย่างที่ว่า "ทรงเป็นนักรบ" เท็จจริงอย่างไรก็ขอฝากไว้ในดุลยพินิจของท่านทั้งหลาย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39836131243242__3585_3634_3585_3637_2.gif)

เวรใดแกล้งซัดให้พลัดพรากแสนระกำลำบากหนักหนา
ชลเนตรนองเนตรโสภา ปิ้มว่าจะสิ้นสุดปราณ
แต่นี้สืบไปภายหน้า ตัวข้าขอตั้งอธิษฐาน
จะไม่นิราสวงศ์วาร ตลอดกาลจวบสิ้นชีวี
เนตรเอ๋ยเจ้าเคยหลั่งชล ยามดลวิโยคโศกศรี
ครั้้นประสบเกษมเปรมปรีดิ์ ไฉนยังมีแต่น้ำตา

จากเรื่อง : อาหรับราตรี
ของ
เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16037266991204__3618_1.gif)

ยลโฉมวิมลพักตร์วรลักษณ์สง่าครัน
แฝงพักตร์ซ่อนกัน ดุจเดือนละหลบเงา
อกเรียมระทมทุก ขทเวทมิสร่างเซา
เหมือนมัจจุคร่าเอา ชิวเรียมพินาศลง
อ้าแม่ผะเชิญช่วย อนุกูลเถอะโฉม
ชีพเรียมจะคืนคง ก็เพราะนุชเยี่ยมกราย
กรคอยตระกองโอบ อรองคะโฉมฉาย
เผยหน้าเถอะอย่าอาย จะประคับประคองชม

เมื่อข้าพเจ้ากล่าวจบลง นางกล่าวตอบว่า:-

ยินถ้อยตระหนักโสต ดุจโลดละเหลิงลม
จิตน้องนิเตรียมตรม อุระรักสลักทรวง
พี่รักก็รักตอบ บ่มิมีอุบายลวง
ชายชาติทั้งปวง ฤดีเด็ดบ่ไยดี
จากเรื่อง : อาหรับราตรี
ตอนที่ ๓๐ เรื่องของคนต้นเครื่องของสุลต่าน
ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30451295649011__3629_3623_3618_3614_3619_1.gif)
ภาพวาดลายเส้นจากปากกาลูกลื่นสีดำ+ดินสอ 6B

ความหวังสวาทนุชปะทะแนบมิคลอนแคลน
จนดิ่งชะเลแดน ปฏิพัทเหลือหลาย
เหลือเรียมจะรักษา ทุมนาฤเคลื่อนคลาย
ชีพเรียมจะวอดวาย มละด้วยสิเน่ห์นาง
อ้าแม้ผิเรียมหาญ จะแขวะคว้านอุราพลาง
หยิบดวงหทัยวาง นยะเนตระน้องเห็น
จนจิตตะเรียมแล้ว วรนุชะจงเอ็น
ดูเถิดนะเนื้อเย็น ดุจชุบชีวาเรียม




หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 มีนาคม 2560 08:31:58

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27943046391010_112.jpg)

เทวันกลายรูปแม้นนารี
รูปลักษณะวิไล เลิศล้น
ลวงล่อเหล่ายักษี หวังสวาท
นำออกไปจนพ้น ฝั่งธาร
เทวดาชื่อ ธันวันตริ ได้ผุดขึ้นมาจากน้ำ และชูผอบน้ำอมฤตไว้เหนือศีรษะ  
พอธันวันตริผุดขึ้นพ้นทะเลน้ำนม เหล่ายักษ์ทั้งหลายก็กรูกันเข้าไปใกล้
พระนารายณ์ได้สติจึงแปลงกายเป็นหญิงงาม
----------------------------
จากเรือง "ลิลิตนารายณ์สิบปาง" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเพื่อสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี
เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีสนพระทัยเรื่องอวตารปางต่างๆ ของพระนารายณ์มาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27519939839839__3617_3637_3609_3634_3588_3617.gif)
ภาพวาดลายเส้น โดยปากกาลูกลื่นสีดำ + ดินสอ HB และ 4B

สีชัง ชังแต่ชื่อเกาะนั้นฤา จะชังใคร
ขอแต่ แม่ดวงใจ อย่าชิงชัง พี่จริงจัง
ตัวไกล ใจพี่อยู่ เป็นคู่น้อง ครองยืนยัง
ห่างเจ้า เฝ้าแลหลัง ตั้งใจติด มิตรสมาน ฯ

----------------------------
จาก "กาพย์เห่เรือ ล่องเรือพระนคร" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพลงสีชัง เป็นเพลงที่นำเนื้อร้องมาจาก “กาพย์เห่เรือฯ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชทานแก่หนังสือสมุทรสาร ซึ่งเป็นวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติ   
สง่า อารัมภีร อัญเชิญมาใส่ทำนองเพลง บรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์
ขับร้องครั้งแรกโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์




หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2560 15:47:47

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68827125512891__3623_3634_3626_3636_3600_3598.gif)
ทวยเทพเจ้าขา! นี่รูปใคร? รูปวาสิฏฐี ธิดาเศรษฐีช่างทองทีเดียวนี่นา!
ภาพวาดลายเส้น ประกอบการโพสท์วรรณกรรมเรื่อง "กามนิต วาสิฏฐี"

งามจริงดุจกล่าวอ้างทุกอัน
ยามหลับละเมอฝัน ห่อนเว้น
ลืมเนตรนึกกระสัน รักรูป น้องนา
งามจับจิตใจเต้น ติดต้อง ตางามฯ

----------------------------
จาก โคลงสุภาษิตบางปะอิน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๐ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู นพศก จ.ศ.๑๒๓๙  ในการเสด็จครั้งนั้นมีเจ้านายและข้าราชบริพารตามเสด็จมากมาย ระหว่างประทับที่บางปะอิน ทรงเกรงว่าเจ้านายที่ตามเสด็จจะเหงาอ้างว้าง ด้วยงานราชการไม่ค่อยจะมีราชกิจ  จึงทรงหาเหตุชวนเจ้านายให้แต่งโคลงตามกระทู้ที่ทรงคิด แต่ละกระทู้ ทรงกำหนดว่าด้วยคุณและโทษของความดีทั้งหลาย เช่น ความรัก ความชัง ความโทมนัส ความโสมนัส ความขลาด ความกลัว ความยุติธรรม ฯลฯ เมื่อทรงตั้งข้อใดยกขึ้นเป็นกระทู้แล้ว ก็ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย และโปรดให้เจ้านายทรงแต่งบ้าง โดยให้อธิบายความหมายของกระทู้ตามแต่จะคิดเห็นเองไม่มีกำหนด และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ให้นำมาอ่านถวายในเวลาเสด็จออกทุกๆ วัน เมื่อจบกระทู้หนึ่งแล้วก็จะพระราชทานกระทู้ใหม่ให้เจ้านายแต่งอีก เป็นเช่นนี้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67953943254219_9dc13bb94f3913b5fe6ed51a9f19d2.jpg)
ภาพวาด "นางศกุนตลา" ในจินตนาการของครูเหม เวชกร

นี่ฤๅบุตรีพระดาบสงามหมดหาใครจะเปรียบได้
อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้ มารดต้นไม้พรวนดิน
ดูผิวสินวลลอองอ่อน มลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
สองเนตร์งามกว่ามฤคิน นางนี้เปนปิ่นโลกา
งามโอษฐดังใบไม้อ่อน งามกรดังลายเลขา
งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า งามยิ่งบุบผาเบ่งบาน
ควรหรือมานุ่งคากรอง ควรแต่แต่งเครื่องทองไพศาล
ควรแต่เป็นยอดนงคราญ ควรคู่ผู้ผ่านแผ่นไผทฯ

----------------------------
ท้าวทุษยันต์ชมโฉมนางศกุนตลา
จาก "ศกุนตลา"  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
เรื่องศกุนตลานี้ ต้นเรื่องอยู่ในมหาภารต สมมติว่าเป็นเรื่องราวของกษัตริย์จันทรวงศ์องค์ที่ ๑
ซึ่งเป็นชนกแห่งกษัตริย์โกรพและปาณฑพ ผู้กระทำมหาภารตยุทธ์กันที่ตำบลกุรุเกษตร์
อันเป็นตัวเรื่องแห่งหนังสือมหาภารต



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13799309854706_DSC_0048.jpg)
จิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กทม.

จงตัดความเถิดในกามกิเลสหมั่นฟังเทศน์ดีกว่าเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง
จะได้เป็นหนทางที่อ้างอิง อย่าประวิงเลยไม่ดีตรงสีกา
ถึงท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่รู้ว่าชีวังจะสังขาร์
อนิจจังหนังเนื้อเป็นเหยื่อกา มรณาถมพื้นปฐพี
คิดผายผันการบุญถึงคุณพระ จงสละฝิ่นยาและอาหนี
ถือศีลห้าสมาทานเป็นการดี จะเป็นที่ช่วยได้เมื่อวายชนม์

----------------------------
จากเรื่อง นิราศเมืองนรก
ผู้แต่งนิราศเรื่องนี้ได้บวชเป็นสามเณร ถือสิกขาบำเพ็ญภาวนา วันหนึ่งขณะนั่งหลับตาภาวนา
ยมบาลได้มาชวนไปชมขุมนรกต่างๆ ได้เห็นพวกสัตว์นรกต่างๆ มากมายกำลังถูกลงทัณฑ์
ซึ่งยมบาลก็อธิบายถึงบาปกรรมของสัตว์นรกแต่ละประเภทให้ฟัง ผู้แต่งได้อาศัยโอกาสนี้
เล่าเรื่องสั่งสอนให้มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่จงสร้างแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว และให้ปฏิบัติธรรม
(ต้นฉบับเดิมจารลงสมุดข่อยถูกทอดทิ้งให้ผุพังไปตามกาลเวลา รองศาสตราจารย์ -
วิเชียร เกษประทุม ได้ปริวรรตเนื้อเรื่องจากอักขระเดิม เป็นอักขระปัจจุบัน.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18250246594349__MG_9473.jpg)
จิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กทม.

ใครจะไว้ใจอะไรตามใจเถิดแต่อย่าเกิดไว้ใจในสิ่งห้า
หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา สองสัตว์เขี้ยวเล็บงาอย่าวางใจ
สามผู้ถืออาวุธสุดจักร้าย สี่ผู้หญิงทั้งหลายอย่ากรายใกล้
ห้ามหากษัตริย์ทรงฉัตรชัย ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอย ฯ

----------------------------
จากเรื่อง นิทานเวตาล

นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องภาษิตและคติทางโลกโบราณเก่าแก่ เดิมเป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ
ต้นกำเนิดของเรื่องอยู่ในประเทศอินเดีย สมัยกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ขอ งริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38206761206189_SAM_5219.JPG)
ภาพจาก : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

จะกล่าวกลับจับความไปตามเรื่องถึงบาทเบื้องปรเมฐพระเชษฐา
องค์อภัยมณีศรีโสภา ตกยากอยู่คูหามาช้านาน
กับด้วยนางอสุรีนีฤมิต เป็นคู่ชิดเชยชมสมสมาน
ต้องรักใคร่ไปตามยามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดังสุริยฉาย
ทรงกำลังดังพระยาคชาพราย มีเขี้ยวคล้ายพระชนนีมีศักดา
พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักใคร่ ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา
เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลแล้วเห่ช้า จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี
จึงให้นามตามอย่างข้างมนุษย์ ชื่อสินสมุทรกุมารชาญไชยศรี
ธำมงค์ทรงมาค่าบุรี พระภูมีถอดผูกให้ลูกยา ฯ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85919655486941_IMG_3991.jpg)
ภาพจาก : กว๊านพะเยา  จังหวัดพะเยา

Three Things to wait for
Change    Decay   Death
อนิจจัง  ชรา  มรณะ


สิ่งใดในโลกล้วนเปลี่ยนแปลง
หนึ่งชราหย่อนแรง เร่งร้น
ความตายติดตามแสวง ทำชีพ ประลัยเฮย
สามส่วนควรคิดค้น คติรู้เตรียมคอย ฯ

จาก โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20857291461692__MG_6629.JPG)


ราตรีมีมากด้วยดารา
เปรียบประหนึ่งนัยนา มากกลุ้ม
กลางวันพระสุริยา มีเดี่ยว ดวงแม่
แต่โลกนี้มืดคลุ้ม เมื่อไร้แสงตะวัน

จาก ลิลิตพายัพ
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)



(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/18342552_209286822920339_7454654346580459926_n.jpg?oh=415e7d594dcced6df95486649610083f&oe=59C02771)

(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/18342603_209286982920323_4891821686768191340_n.jpg?oh=6323a634983ccf3be112e913573c116a&oe=59BFD921)

๒๔๙.ถึงยามบ่ายกราบกรานลาท่านหญิง เงยหน้าก็ .. งามยิ่ง .. เกินหญิงไหน
ก็รู้ว่า .. กรุ่นหอม .. นั้นหอมใคร พร้อมอุ่นไอไหลแอบลงแนบทรวง
๒๕๐. เนตรนั้นเหมือนชายตอบ .. แต่ลอบเหลียว หากแวบเดียว .. วูบดับจนลับล่วง
ใจเอยนั่น .. จันทร์เพ็ญลอยเด่นดวง ใช่หิ่งห้อยอาจล่วงขึ้นช่วงชิง
๒๕๑. ประสูติใต้ร่มบุญสกุลเจ้ามีรากเหง้าสูงส่ง .. เป็นองค์หญิง
จำเริญในตำหนักที่พักพิง ย่อมเฉกกิ่งดอกฟ้า .. เกินคว้าชม

ภาพประกอบ : ภาพเขียน อาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26181900832388_1.jpg)
ภาพประกอบ : หลังฉากอุปรากรจีน "งิ้ว" เทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

'ศุภมิตร'
คำว่า ศุภมิตร นี้ แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า 'มิตรที่ดีที่ประเสริฐ'
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับคำนี้มาก
ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานไปยัง นายประสาท สุขุม บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปเล่าเรียนที่ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ตอนหนึ่งว่า "เจ้าจงพยายามให้มีเพื่อนไว้มากที่สุดที่จะมากได้ แต่ส่วนมิตรนั้นเจ้าต้องพยายาม
เลือกเฟ้นไว้แต่เฉพาะ 'มิตรแท้' จริงๆ และมีไว้ให้น้อยที่สุด"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11855062097310__MG_3039.jpg)
ภาพ : การแสดงเอ็งกอ พะบู๊ เทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ปี ๒๕๖๐

เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้วแหนงหนี
หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์
หากยาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา

จาก ลิลิตนิทราชาคริต
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
----------------------------
pg.50 al.22



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39584448105759_44.jpg)
ภาพ : วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ฝูงชนกำเนิดคล้ายคลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ฤๅไหวฯ

พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระราชโอรส
ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อครั้งเสด็จประพาสอังกฤษ ใน พ.ศ.๒๔๔๐ นัยความหมายแห่งโคลง ทรงตักเตือน
พระราชโอรสมิให้ทรงถือยศศักดิ์ ที่มีพระชาติกำเนิดประสูติภายใต้พระมหาเศวตฉัตร
ทรงให้มองมนุษย์ว่าทุกคนย่อมมีกำเนิดที่เท่าเทียมกัน คือเป็น "คน" เหมือนกัน
ส่วนฐานะ ความรู้ ตลอดจนยศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งแสวงหากันได้
แต่สิ่งที่จะทำให้มนุษย์แต่ละรูปนามมีคุณค่าแตกต่างกันนั้นอยู่ที่ การประพฤติดีประพฤติชั่ว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90782085806131__3585_3634_3585_3637_.gif)
ภาพวาด : ครูเหม เวชกร

แล้วอุ้มน้องเข้าห้องท้ายบาหลีวางกากีลงกับฟูกให้เหนื่อยหาย
ค่อยตะโบมโลมกอดให้เคลื่อนคลาย ขวัญแม่สายสุดที่รักจงคงคืน
อันตัวพี่มีฤทธิ์ในเรือนี้ มิได้มีผู้ใดกล้ามาฝ่าผืน
จะรักเจ้าเฝ้าประจำทุกค่ำคืน ภัยอื่นมิให้น้องได้พ้องพาน ฯ
ราชาธิราช-กากี
นายตำรา ณ เมืองใต้


pg.50 al.22


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 พฤษภาคม 2560 13:14:20

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16621708290444__3623_3634_3626_3636_3599_3600.gif)

อันว่าความกรุณาปราณีจะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน
เปนสิ่งดีสองชั้น พลันปลื้มใจ แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล
เปนกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา ฯ

เวนิสวานิช
พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19914167664117_068.jpg)

ถ้าแม้ไม่ทำดีในแดนดิน
จะถวิลถึงสวรรค์นั้นอย่าหา


จากเรื่อง 'เวนิสวานิช'
พระราชนิพนธ์สุภาษิต
ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29663196785582_dk.gif)

ธรรมชาติย่อมมีของคู่กัน
โลกนี้มีอะไรที่ไม่คู่ได้เห็นอยู่ทั่วถ้วนล้วนเป็นสอง
ดวงจันทร์นั้นยังมีอาทิตย์ปอง เดินพบพ้องบางคราวเมื่อเช้าเย็น ฯ

จากเรื่อง 'เงาะป่า' พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

ความตอนนี้เป็นบทรำพึงของซมพลาตอนมาอยู่ในถ้ำที่ตนเลือกไว้
จัดไว้ว่าเป็นภาษิตและเป็นความจริงของโลก ให้แง่คิดว่า เมื่อมีสิ่งหนึ่งก็ต้องมีอีกสิ่งหนึ่งควบคู่กันไปเสมอ
เมื่อมีชายก็มีหญิง มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีความรักก็ต้องมีความชัง มีการพบกันก็ต้องมีการพลัดพรากจากกัน ฯลฯ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39144341813193_w1.gif)

The night hath a thousand eyes,  And the day but one;
Yet the light of the whole world dies. With the dying sun.
The mind hath thousand eyes, And the heat but one;
Yet the light of a whole life dies. When love is done
.
 F.W.Bourdillon.

ราตรีมีมากด้วยนัยนา
ราตรีมีมากด้วย นัยนา
ฝ่ายทิวะมีตา หนึ่งไซร้
แต่โลกลบอาภา................................................ มืดหมด
ยามตะวันตกไร้ เริดร้างราศี
มะโนมีมากด้วย นัยนา
ดวงจิตสิมีตา หนึ่งไซร้
แต่ชีพลบอาภา มืดหมด
ยามรักวิโยคไร้ เริดร้างราศี

ศรีอยุธยา, แปล. ดุสิตสมิต เล่มที่ ๕ ฉบับที่ ๘๖ หน้า ๑
หมายเหตุ "ศรีอยุธยา" พระนามแฝง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49419991465078_1.gif)

๏ งามจริงดุจกล่าวอ้าง ทุกอัน
ยามหลับละเมอฝัน ห่อนเว้น
ลืมเนตรนึกกระสัน รักรูป น้องนา
งามจับจิตใจเต้น ติดต้องตามงาม ฯ
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48764018673035__3604_3629_3585_3652_3617_3657.gif)

๏ งามนักรักแล้วยิ่ง เห็นงอน งามนา
ยิ่งพิศจิตจงสมร สุดปล้ำ
จักใคร่ออกโอษฐ์วอน วรนาฏ เรียมเอย
งามดั่งจักกลืนกล้ำ แกล่ไว้ในทรวง ฯ

จาก โคลงสุภาษิตบางปะอิน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 มิถุนายน 2560 16:33:26
วโส อิสฺสริยํ โลเก
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก  
...สคาถวรรค สยุตตนิกาย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86510984806550_12.JPG)
พระราชวังโบราณ-วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG)
พระราชวังโบราณ-วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา

อยุธยายศล่มแล้ว         ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตนบรร เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรร         ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า   ฝึกฟื้นใจเมืองฯ
...นิราศนรินทร์.... นายนรินทรธิเบศร (อิน) ประพันธ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG)
ภาพประกอบ : สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
จิตรกรรมผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

๏  พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุตดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญการร่วมคชยุทธ์         เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบว่าสองเราไซร้ สุดสิ้นฤามี ๚ะ  

จาก ลิลิตตะเพลงพ่าย พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้ทรงนิพนธ์ได้นำ
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหา -
อุปราชาของพม่ามานิพนธ์ยอพระเกียรติ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาประทับอยู่กับคอช้างภายใต้ร่มต้นไม้ใหญ่
ก็ทรงตะโกนไปด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า    “เจ้าพี่ เหตุไฉนจึงยังทรงช้างอยู่ใต้ร่มไม้เช่นนั้นเล่า เชิญเสด็จ
ขับช้างออกมาสิ มาสู้กันตัวต่อตัว ดังเราได้เคยฝึกหัดทดลองมาแล้วในยามศึกษาให้ทหารของเราได้ดู
แลเห็นเป็นขวัญตา ให้เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ากษัตริย์ยังมีความกล้าหาญอยู่เช่นกาลก่อน และยังมีความ
ชำนาญในการรบตัวต่อตัว และยังกระทำยุทธหัตถีได้”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60739254082242_a4.jpg)
เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธา
อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะศึกยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ปีขาลวันอังคารเดือนหน้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย
เจ้ากรุงจีนเอาแก้วอันแพรวพราย         มาถวายพระเจ้ากรุงอยุธยา
ให้ใส่ไว้ในยอดเจดีย์ใหญ่ สร้างไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงหงษา
เรียกวัดเจ้าพระยาไทยแต่ไรมา ให้ชื่อว่าพลายแก้วอันแววไว...”

วัดใหญ่ชัยมงคล แต่เดิมเรียกกันว่า วัดเจ้าพระยาไทย เนื่องจากวัดนี้เคยเป็นที่ประทับ
ของสมเด็จพระสังฆราช และเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้งไทย”  และชื่อวัดเจ้าพระยาไทยก็ยังปรากฏ
ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายแก้ว
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33613445278670_5.JPG)
สมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๑๑๔

๏  บุญเจ้าจอมภพพื้น แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ด่งงฤทธิราม รอญราพ แลฤๅ
ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกพาย ๚ะ๛

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42475119150347_9.JPG)
สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทหารมานมัสการพระพุทธชินราช และสวดชยมงคลคาถาก่อนการรบ
และภายหลังการรบได้นำศัตราวุธมาถวายเป็นพุทธบูชาทุกครั้ง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG)
สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา
ณ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๑๓๕
๏ ไพรินทร์รนาศเพี้ยง พลมาร
พระด่งงองค์อวตาล แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้ ประลาศเหล้าแหล่งสถาน ๚ะ๛

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49106435394949_1.jpg)
สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิศรภาพ โดยหลั่งทักษิโณทกเหนือแผ่นพสุธา
ด้วยพระสุวรรณภิงคาร ณ เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗
๏ เสรจ์เสวยสวรรเยศอ้าง ไอศูริย์ สรวงฤๅ
เย็นพระยศเดือนปูน เด่นฟ้า
เขษมศุขส่องสมบูรรณ์ บานทวีป
สว่างทุกข์ทุกธเรศหล้า แหล่งล้วนสรรเสรอญ ๚ะ๛


จาก ลิลิตตะเพลงพ่าย พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ผู้ทรงนิพนธ์ได้นำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาของพม่ามานิพนธ์ยอพระเกียรติ
(คัดโดยคงอักขรวิธีการสะกด การันต์ตามเดิม)
ภาพประกอบ : จิตรกรรมผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2560 17:14:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12789221066567__MG_0050.jpg)
๏ ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
พระจันทร์จรสว่างกลางโพยม ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย
แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน ฯ

พระอภัยมณี - สุนทรภู่
ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
(MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52544604200455_1.jpg)

๏ ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า มหาสมุทร ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน
แม้อยู่ใน ใต้หล้า สุธาธาร ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดครา
แม้นเนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ พี่ขอพบ ศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัว ตัวพี่ เป็นภุมรา เชยผกา โกสุม ปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำ อำไพ ใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลง สิงสู่ เป็นคู่สอง
ขอติดตาม ทรามสงวน นวลละออง เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป ...
ที่มา : พระอภัยมณี - สุนทรภู่
ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
(MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11450890782806__MG_0061.jpg)
ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
(MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร

มาดแม้นจะหาดวง วิเชียรช่วงเท่าคีรี
หาดวงพระสุริย์ศรี ก็จะได้ดุจดั่งใจ
จะหาโฉมให้เหมือนนุช        . จนสุดฟ้าสุราลัย
ตายแล้วและเกิดใหม่ ไม่ได้เหมือนเจ้านฤมล

พระรามครวญถึงนางสีดา
บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47309744647807__MG_7740.jpg)
ภาพจาก : พระตำหนักแดง ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร  กรุงเทพมหานคร

โอ้ว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน        . ไม่มีใครได้แค้นเหมือนตัวข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จึงมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิจ

ที่มา : อิเหนา  ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา  
บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70243682505355_songkran2_1_.jpg)

๏ งามดวงพระภักตร์เพี้ยง เพ็ญแข
งามเนตรชำเลืองแล เล่ห์ล้ำ
งามขนงก่งศิลป์แปร มาเปรียบ ปานฦๅ
กรรณดุจกลีบบัวก้ำ เกษคล้ำดำนิล
นาสิกสิ้นสุดพร้อม เพราคม
โอฐเอี่ยมเทียมชาดสม สะอาดแท้
ปรางค์เปล่งปลั่งน่าชม เชยชื่น จิตพ่อ
ศอดั่งศอหงส์แล้ เล่ห์ล้ำกลกลึง
ลิลิตพระฦๅ
ผู้แต่ง : พระราชครูพิเชต (กลัด) กวีเก่าเกิดครั้งรัชกาลที่ ๑
ภาพ : ภาพวาดฝีมือ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40879698097705_22_l..gif)
ภาพวาดด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ ดินสอ 4B และ 6B

สาหํ กมลคร๎ภาภัม์ อปัศ๎ยัน์ตี ห๎ฤทิ ป๎ริยัม์
๏ โอ้ว่าบดีกมละครรภ ปิยสัพพะทรามเชย
ห่างรักฤดีบ่มิสเบย ดุจะมืดบ่มีไฟ
น วิน์ทาม๎ยมรป๎รข๎ยัม์ ป๎ริยัม์ ป๎ราเณศ๎วรัม์ ป๎รภุม์ ฯ
๏ ดังฤๅจะพบปิยบดี วรศรีสถิตใจ
จอมปราณธปานอมรไตร             ทศะเทพะเทวัน ฯ
ตาม์ อัศ๎รุปริปูร๎ณาก์ษีม์ วิลปัน์ตึ ตถา พหุ           
๑๑๏ สิ้นวาจะทรามเสน่ห์ ปริเทวะรำพรรณ
อันอัสสุชลนั้น ฤก็นองณสองตา

จากเรื่อง พระนลคำหลวง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62382688787248_21.jpg)

๏ ระริกริ้วลิ่วคลื่น เลือนหาย
สุดโศกตรึงไม่คลาย จิตมั่น
บุญ-กรรมนำสืบสาย. ตายเกิด สืบเนื่อง
ทวิภพใครขีดคั่น เสมอฟ้า ร่วงดิน ๚ะ
Kimleng : ประพันธ์
"โคลงสี่สุภาพ"


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2560 15:38:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28014937539895_2.gif)
ภาพวาดระบายสีน้ำ

แม้เวียนวัฏปัฏิสนธิ์สถานใด     ขอให้ได้สมสุขเสน่หา
จนพบประสบสร้อยศาสดาอันโอฬาริกภาพจงพร้อมกัน
* เพลงยาวเจ้าฟ้าสังวาลย์ (สำนวนเดิม)

เจ้าฟ้าสังวาลย์ ทรงเป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าเทพ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) กับพระองค์เจ้าแก้ว (พระโอรสที่เกิดจากพระสนมในสมเด็จพระเพทราชา)

ภายหลังต่อมา เจ้าฟ้าสังวาลย์ ตกเป็นพระสนมเอกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นสตรีต้องห้าม ที่นำพาให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) เข้าสู่หายนะแห่งชีวิต ด้วยอาชญากรรมอันเป็นมหันตโทษ ดับสูญไปตามวิถีกรรม แม้หากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ทรงสามารถดำรงพระราชอิสริยยศต่อมาได้อีกประมาณ ๓ ปี ก็จักได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา (ภายหลังเจ้าฟ้ากุ้งสิ้นพระชนม์ประมาณ ๓ ปี - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคชรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๑)


อกเอ๋ยเคยสังวาส กรรมบำราศคลาศคลาสมร
นับเดือนเลื่อนปีจร ห่อนเห็นแล้วแก้วตาเรียม
พุ่มพวงดวงดอกฟ้า ในใต้หล้าหาไหนเทียม
โฉมงามทรามเสงี่ยม      เรียมรักเจ้าเท่าดวงใจ.
"เห่สังวาส" บทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34222829755809_3.JPG)

ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง         บาทา อยู่เฮย
จึงบอาจลีลา คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา         แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้   ส่งข้าอัญขยม ฯ
...โคลงพระราชปรารภความทุกข์....
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

ทรงเปรียบเทียบให้เห็นถึงวิกฤติแห่งปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก ก่อให้เกิดความขัดข้อง
ราวกับ ตะปูดอกใหญ่ตรึ้งบาทา อยู่เฮย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14277357442511__MG_7542.JPG)

เริ่มเรียนให้เร่งรู้         ทั้งสี่องค์ประมาณหมาย
หนึ่งฟังอย่าฟังดาย ให้ตั้งจิตกำหนดจำ
หนึ่งให้อุตสาหะ        เอาจิตคิดพินิจคำ
หนึ่งห้ามอย่าเอื้อมอำ ฉงนใดให้เร่งถาม
หนึ่งให้พินิจคิด         ลิขิตข้อสุขุมความ
พร้อมองค์จึงทรงนาม ว่าศิษย์แท้ที่ศึกษา

คำฉันท์ หลักหัวใจนักปราชญ์ ใน หนังสือสอนอ่าน "ประถมมาลา"

นักศึกษา-ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "นักปราชญ์" จะต้องประพฤติตาม สุ.จิ.ปุ.ลิ (หัวใจนักปราชญ์)
๔ ข้อนี้ ให้เป็นจริยาวัตรของตนทีเดียว   ในสมัยโบราณ การบันทึกข้อความ (ลิขิต) นับว่าสำคัญมาก
เพราะผู้รู้มีน้อย ท่านจึงตั้งไว้เป็นหัวใจตัวสุดท้าย เพราะสำคัญที่สุดของนักปราชญ์ การบันทึกความรู้ไว้
เป็นลายลักษณ์อักษร มีประโยชน์แก่ผู้ศึกษารุ่นหลังจะได้ดำเนินรอยตามและใช้ประโยชน์ในการค้นคว้า
นั้นๆ ต่อไป ตัวอย่างบันทึกในอดีต เช่น จดหมายเหตุของหลวงจีนฟาเหียน ที่ไปสืบพุทธศาสนาในอินเดีย
หลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชในอินเดีย หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัย เป็นต้น
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68827125512891__3623_3634_3626_3636_3600_3598.gif)

"โฉมเฉลาเยาวภาอย่าเฉลียว               พี่เคยเที่ยวเจนจิตทุกทิศา
ไม่เคยเห็นนารีที่ต้องตา จนพบแก้วกัลยาจึ่งสร้านรัก
พี่ขอร่ำคำขาดในชาตินี้      ไม่ขอมีคู่อื่นให้เสียศักดิ์      
แม้นนวลน้องไม่ปองปรองดองรัก ขอเชิญชักดาบฟันพี่บรรลัย”  

พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53153688295019_2.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18910535549123_1.jpg)
ภาพวาด : ครู เหม เวชกร

"แม้นเขารักอย่าดื้อทำถือสัตย์              เร่งเคร่งครัดกลัวภัยใหญ่มหันต์
คำนับนอบสามีทุกวี่วัน อย่าดุดันดื้อดึงตะบึงตะบอน
ครั้นสิ้นแสงสุริยาอย่าไปไหน จุดไต้ไฟเข้าไปส่องในห้องก่อน
ระวังดูปูปัดสลัดที่นอน    ทั้งฟูกหมอนอย่าให้มีธุลีลง     
ถ้าแม้นว่าภัสดาเข้าไสยาสน์    จงกราบบาททุกครั้งอย่าพลั้งหลง     
แม้นเมื่อยเหน็บเจ็บปวดในทรวดทรวง ช่วยบรรจงนวดฟั้นให้บรรเทา” 

สุภาษิตสอนหญิง : "ภู่" - (กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าคือ "สุนทรภู่")
วรรณกรรมนี้ สะท้อนฐานะของอดีตสตรีไทยตามที่เป็นมาในประวัติศาสตร์
ส่องให้เห็นคุณค่าของผู้หญิงที่ถูกกำหนดให้มีฐานะเป็นเมียที่ดี เป็นช้างเท้าหลัง
เป็นบุปชาติ และทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของชายที่เป็นใหญ่ หาเลี้่ยงครอบครัว กุมอำนาจเหนือกว่า


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 พฤษภาคม 2561 19:39:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45537859822312__MG_2441_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65324680879712__MG_2436_Copy_.jpg)
Photo by Mckaforce (แอ็ดมิน www.SookJai.com (http://www.SookJai.com))  

"โอ้องค์พระทรงนาค             พระแบ่งภาคมาล้างภัย
ริดเสี้ยนให้ตักษัย สงบสิ้นทั้งโลกา
ทั้งจักรสังข์บัลลังก์ทรง มาตามองค์พระจักรา
หวังรอนซึ่งพารา    ให้แหลกหล่มบรรลัยลาญ"    

จากเรื่อง รามเกียรติ์  ตอน ศึกนาคบาศ

"โขน" มรดกศิลป์แผ่นดินชั้นสูง
ปัจจุบันคนไทยมักไม่ใคร่ให้ความสำคัญในด้านวัฒนธรรมของชาติ หากเรายังคงละเลย
ไม่ส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปแขนงนี้ไว้ ย่อมเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อการดำรงความ
เป็นเอกลักษณ์ของชาติเรา  จึงสมควรที่เราจักตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่เป็นสมบัติ
ทางวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทยตลอดชั่วกาลนาน.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96595394238829_IMG_4687.jpg)
จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม

๏ งามพระเกียรติรถยศยง       . งามดังขุนหงส์
  สง่าสุวรรณพรรณราย    
๏ งามราชรถเลิศเฉิดฉาย       . กนกกอบลาย
  ลงยาราชาวดีศรี    
๏ งามราชธวัชตวัดวี       . พื้นแดงแสงสี
  สลับกับลายเงินทอง    
๏ งามพลนิกายก่ายกอง       . ธงทิวปลิวฟ่อง
  เขียวเหลืองระยับสลับแดง    
๏ งามสรรพาวุธรุทแรง       . แดดวับจับแสง
  สาตราประหนึ่งแววมณี    
๏ งามศุภฤกษ์ยามดี       . ให้ยกโยธี
  คลาจากนครบาดาล    
ฯ เชิด ฯ

จากเรื่อง  พระเกียรติรถ
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชนิพนธ์ พ.ศ.๒๔๕๙
พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่มีหมายเหตุ ไม่ทราบว่าทรงประดิษฐ์เรื่องขึ้นหรือทรงใช้เนื้อเรื่องมาจากไหน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90285049378871_4.jpg)

ทั้งโลกเปรียบเหมือนโรงละครใหญ่ ชายหญิงไซร้เปรียบตัวละครนั่น
ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน คนหนึ่งนั้นย่อมเล่นตัวนานา
คือแบ่งเป็นเจ็ดปางอย่างนี้ไซร้.    หนึ่งลูกอ่อนนอนไห้อยู่จ้าจ้า     
ในวงแขนพี่เลี้ยงกล่อมเกลี้ยงมา, จนกว่าจะสามารถอาจเลี้ยงตน.
สองคือเด็กนักเรียนแรกเขียนอ่าน        ถือย่ามผ่านไปพรางทางพร่ำบ่น
หน้าแฉล้มแจ่มปานพระสุริยน,    ไปโรงเรียนชอบกลราวหอยคลาน.   
ฯลฯ

ที่มา "ตามใจท่าน"
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

 



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 สิงหาคม 2561 19:20:56
(https://www.bloggang.com/data/r/rouenrarai/picture/1404061969.jpg)
ขอขอบคุณภาพจาก : www.bloggang.com

วานรวรราชเรื้อง พาลี
เรียกอนุชอุดมศรี       แน่งน้อย
องคตยศยงมี    ใจเสน่ห์    
มากล่าวพจนาพร้อง ถี่ถ้วนขบวนความ
--------------------  
นักสนมกรมชะแม่แม้น       สาวสวรรค์
นางในไพบูลย์พรรณ    แน่งน้อย  
เฝ้าไทภูทรงธรรม์       ธิปราช
อย่าใฝ่ในเสน่ห์คล้าย    เนตรเลี้ยวเลียมแสวง    
--------------------    
เมื่อเฝ้าเช้าค่ำคล้อย สกลกาล
จะย่อมออมกระยาหาร       หย่อนไว้
อย่ากินสิ้นเสร็จประมาณ  ประมูล ขนาด
เกลือกกวนป่วนท้องได้           ยากย้ายในวัน  
--------------------    
อนึ่งของกองโกศไว้       ในคลัง
อย่าคิดปิดแสวงหวัง    อาจเอื้อม    
เอาออกนอกคลังรัง แรงโทษ
อย่าได้มีใจเงื้อม       เงื่อนร้ายสลายคุณ
"โคลงพาลีสอนน้อง"
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โคลงพาลีสอนน้อง เป็นโคลงสี่สุภาพ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นยุคกวีเฟื่องฟูหรือยุคทองแห่งวรรณคดี สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ทรงมีพระราชปรารถนาอบรมสั่งสอนข้าราชสำนักและข้าราชการทั่วไป มีถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะ มีคุณค่าทางสุภาษิต เป็นแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในทำนองคลองธรรม มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงหยิบยกเอา “พาลี” ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ขึ้นมาพระราชนิพนธ์

ในรามเกียรติ์ตอนนั้นมีอยู่ว่า พาลีผู้ครองเมืองขีดขิน เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตายด้วยศรพระราม ได้เรียกสุครีพ (น้องร่วมมารดา) และองคต (ผู้เป็นบุตร) มาสั่งสอนข้อปฏิบัติในการที่จะรับราชการอยู่กับพระรามต่อไป  (สุครีพและองคตนี้ คือทหารเอกของพระราม)  ความสำคัญก็คือ เรียกทั้งน้องและลูกมาฟังคำสอน เช่นสอนว่า อย่าใฝ่ใจในเสน่ห์และห้ามทำชู้กับนางสนม นางใน ของพระเจ้าแผ่นดิน, ก่อนจะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินให้บริโภคอาหารแต่พอประมาณ อย่ากินมากเกินไป เพราะอาจทำให้ท้องปั่นป่วนในขณะเข้าเฝ้าได้ และไม่ยักยอก ฉ้อโกงทรัพย์ของหลวง เพราะจะได้รับโทษอย่างร้ายแรง เป็นต้น  



(http://lh5.ggpht.com/_REEBI8p4NjM/Sev-0SgU6tI/AAAAAAAAGvk/em-YzJgGZvM/s800/jakapun_20.jpg)
ภาพเขียนอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต

ผู้หญิงที่เป็นผู้หญิงจริงๆ เท่านั้น ที่ข้าพเจ้าต้องการแต่งงานด้วย
บ๊อบ โฮ้พ "Bob" Hope

.... บ๊อบ โฮ้พ ผู้นี้เป็นดาราตลก เขากล่าวในฐานะผู้ชายจริงๆ
ไม่ใช่ดาราตลก    และกล่าวเมื่อมีผู้รุมขอคำแนะนำจากเขาว่า
ควรจะแต่งงานกับหญิงชนิดใด
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14624511533313_P_20181007_100029.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48079966132839_P_20181007_100025.jpg)
กระดึงพรวน ประดับศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก
วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

"ใบโพสุสวรรณห้อย       รยาบย้อยบรุงรัง
ลมพัดกระดึงดัง        เสนาะศัพทอลเวง
เสียงดุจสังคีต    อันดึงดีดประโคมเพลง     
เพียงเทพบรรเลง รเรื่อยจับระบำถวาย"
ที่มา : ปุณโณวาทคำฉันท์
ของพระมหานาค วัดท่าท่าย  (กล่าวถึง "กระดึงพรวน")

กระดึงพรวน  เป็นเครื่องลั่นทำให้เกิดเสียง ใช้แขวนตามชายคาพระอุโบสถ พระวิหาร มณฑป  และริมปากบัวฝาละมีในพระสถูปเจดีย์   

กระดึงพรวน ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูปทรงคล้ายถ้วยชาคว่ำ ห้อยลูกตุ้มอยู่ข้างใน (เรียกว่า ลูกเน่ง) ตอนปลายตุ้มติดห่วงห้อยใบพานทำด้วยแผ่นโลหะเป็นรูปใบโพธิ์ เป็นที่สำหรับพานลมให้กวัดไกว เมื่อตุ้มไปกระทบตัวกระดึงทำให้เกิดเสียงดังกังวาน ไพเราะ

กระดึงพรวนนี้ นอกจากให้ใช้เป็นเครื่องให้เกิดเสียงแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับอาคารอีกด้วย  และในปัจจุบัน กระดึงพรวนยังได้รับความนิยมแพร่หลายไม่จำกัดอยู่แต่ภายในศาสนสถานอย่างสมัยโบราณเท่านั้น แต่มีการนำไปใช้แขวนตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ




หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2561 14:18:23
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37343269420994_6.JPG)
วโส อิสฺสริยํ โลเก - อำนาจเป็นใหญ่ในโลก  
...สคาถวรรค สยุตตนิกาย...

จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส
นับวันแต่จะยับนับไปที่ไหนจะคืนคงมา
ไป่ปรากฎเหตุเสียเหมือนดังนี้         มีแต่บรมสุขา
ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา      อนิจจาสังเวทนาใจ
ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ จะอาเภทกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา
ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาสิตท่านกล่าวเปนราวมา      จะตั้งแต่งเสนาธิบดี
ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมีจึงเสียทีเสียวงศ์กษัตราฯ
ที่มา : เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า
พระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
(คัดคงตัวสะกดเดิม)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG)

"ครานั้นขุนแผนแสนสนิท เรืองฤทธิ์ราวีจะมีไหน
เมื่อถึงคราวจะมีเหตุเภทภัยก็เกิดลางร้ายใหญ่หลายประการ
ผึ้งมาจับกกรูบูรพทิศ         วิปริตมากมายหลายสถาน
เห็ดขึ้นกลางเตาเท่าลำธาร     เต่าก็คลานขึ้นไปขี้บนที่นอน
แมวออกลูกห้าตัวหัวเป็นเต่า หมามีเขาขึ้นที่หน้าคล้ายกาสร
รุ้งกินน้ำในกระถางอ่างมังกร เหี้ยขึ้นหอนเห่าคนบนหลังคา..."

ที่มา : กลอนเสภาขุนข้างขุนแผน
คนแต่ก่อนถือลางชั่ว ลางร้ายบอกเหตุ หรือสิ่งอัปมงคลต่างๆ กันมาก
บทเสภานี้เกิดเหตุต่างๆ ขึ้นที่บ้านขุนแผน เป็นเสภาตลกที่ได้กล่าวถึงสิ่งที่คนไทยแต่ก่อนถือเป็นลางบอกเหตุร้าย
คัดจาก หนังสือธรรมคดี งานเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45601743832230_2656d03dbb666ac_1_320x200_.jpg)

• ความพยายาม ถ้าพยายามกระทำกิจอันเปนประโยชน์ก็นับว่าพยายามดี
แต่ถ้าพยายามในกิจซึ่งไร้ประโยชน์ และกลับจะให้โทษแก่ผู้อื่น จะนับว่าพยายามดี ด้วยฤๅ?

• อันภาษิตบุราณกล่าวว่า จงฝนทั่งให้เปนเข็ม แต่ถ้าจะมีผู้พยายามฝนทั่งจนเป็นเข็มจริงๆ
จะเปนประโยชน์อย่างใดบ้าง เพราะภาษิตบทนี้เป็นการเปรียบเทียบพอเปนอุทาหรณ์แห่ง
ความพยายาม เพราะฉนั้นผู้จะใช้ความพยายามจงไตร่ตรองเสียให้พอๆ ก่อนจะดี.
   

ดุสิตสมิต เล่ม ๑๑ ฉบับที่๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๖๔) หน้า ๑๕๐
สุภาษิตพระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร
มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คัดโดยคงพยัญชนะและตัวสะกดเดิม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42821075684494_hem_12_1_320x200_.jpg)
ภาพวาด ครูเหม เวชกร

การโค่นกล้วยอย่าไว้          . หน่อแนม
มักจะเสือกแทรกแซม     สืบเหง้า
โค่นพาลพวกโกงแกม          . กุดโคตร มันแฮ
จึ่งจักศูนย์เสื่อมเค้า     เงื่อนเสี้ยนศัตรู

โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สำนวนนี้หมายถึง การจะทำลายล้างคนพาลสันดานโกงให้สิ้นซาก ก็ต้องกำจัดให้หมดทั้งโคตรวงศ์ตระกูล
ไม่ให้เหลือเชื้อสายที่จะเกิดใหม่ได้ จึงจะปราบศัตรูได้หมดสิ้น



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46544381934735_P_20181002_130743_Copy_.jpg)
ภาพจาก วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) กรุงเทพฯ

คนเรา จะเป็นผู้ถือสัญชาติใด และถือศาสนาใดก็ตาม
ย่อมไม่ชอบและไม่ไว้ใจบุคคลที่ไร้ธรรม


จากเรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระราชนิพนธ์ ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มีนาคม 2562 18:24:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67187901462117__3620_3625_3637_.gif)

กามินทร์มือยุดเท้า          . เหยียดหยัด
มือหนึ่งเท้าเข่าขัด     สมาธิ์คู้
เข้าฌานช่วยแรงดัด. ทุกค่ำ คืนนา
ระงับราคอยากจะสู้     โรคร้ายภายใน ฯ

โคลงฤๅษีดัดตน
(ดัดตนแก้เส้นมหาสนุกระงับ)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78824011277821__MG_9468_Copy_.JPG)
ภาพจาก วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ

๏ แลดูอรุณไขแสง              แสงแดงเรื่อเรืองเวหา
ดูแชล่มเหมือนแก้มกัญญา โสภาแรกรุ่นดรุณราม
ดาวเดือนเลือนลับเวหน สุริยนผ่องพื้นภูมิสาม
แสงจับยอดไม้ใบงาม วามวามน้ำค้างเคลือบใบ
แสงจับรถแก้วแวววับ แสงจับเกราะทหารน้อยใหญ่
ดูพลสะพรั่งพร้อมไป ผ่องใสราวพลเทวัญ
จาก ศกุนตลา พระราชนิพนธ์ ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 14:12:29

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66275213037927_g1_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30244640674855_g2_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68592657314406_g3_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70917627298169_g4_320x200_.jpg)
ภาพเขียนสีน้ำอย่างวิจิตร ๔ ภาพ ฝีมือนายริโกลี ประกอบโคลงภาษิตของนักรบโบราณ

ภาษิตของนักรบโบราณ

นักรบฝรั่งเศสโบราณมีภาษิต สำหรับเป็นบรรทัดฐานแห่งความประพฤติของเขา ๑ บท
เป็นภาษิตที่น่าจับใจยิ่งนัก, มีข้อความดังต่อไปนี้


"Mon âme au Dieu,
Mon bras au roi,
Mon Coeur aux dames,
L’honner â moi."

ภาษิตบทนี้เป็นที่จับพระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก
จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำโคลงภาษาไทยขึ้นว่า


มะโนมอบพระผู้        เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์       เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักของข้า มอบไว้แก่ตัวฯ

แล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรชาวอิตาลีในกรมศิลปากร
ชื่อนายคาร์โล ริโกลี (Mr.Carlo Rigoli) เขียนภาพขึ้นไว้ ๔ ภาพ
เพื่อประกอบโคลงบทนั้น บาทละภาพ
 



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 15:09:25
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73454750122295_r1_.gif)
องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
อยู่บนรัตนบัลลังก์ใต้ควงไม้มหาโพธิ์ ในเย็นวันวิสาขะ ที่จะตรัสรู้

ภาพวาด ครูเหม เวชกร

๏ วาระพระประสูติ             ศุภกาล
อีกตรัสะรู้สัม โพธิ
อีกปรินิพพาน วันเอก อุดมแฮ
เราก็ควรน้อมศิ โรตม์ก้มวันทา
. .
๏ กายามะนัสน้อม นมัสการ
รำลึกพระคุณพระ โลกนาถ
ในเมื่อวิศาขวาร เพ็ญเพียบ
เทียนธูปอีกมาลาศ พรั่งพร้อมทูลถวาย
. .
๏ ด้วยกายและจิตพร้อม             วาจา
เคารพพระมุนินทร์ ศากยะ
ขอเดชพระมหา ไตรรัตน์
คุ้มขจัดพิบัติผละ โทษร้ายภัยพาล ฯ
จาก โคลงมหาวิชชุมาลี "สุโข พุทธานํ อุปปาโท" (ธรรมะบท, ขุททะกะนิกาย)
พระราชนิพนธ์ ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต (ตีพิมพ์ในหนังสือ "ดุสิตสมิต" เล่ม ๒ ฉบับที่ ๒๒ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๒)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22566410278280_ramayana_2_1_320x200_.jpg)

เมื่อทศกัณฐ์แปลงกายเป็นฤๅษี ไปซุ่มเงียบแอบดูนางสีดา ก็หลงใหลความงามของนาง
ดังบทละครในเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ใน รัชกาลที่ ๑ ให้ทศกัณฐ์รำพันว่า


๏ พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดังจันทร     พิศขนงก่งงอนดังคันศิลป
พิศเนตรดังเนตรมฤคิน พิศทนต์ดังนิลอันเรียบราย
พิศโอษฐ์ดังหนึ่งจะแย้มสรวล พิศนวลดังสีมณีฉาย
พิศปรางดังปรางทองพราย พิศกรรณคล้ายกลีบบุษบง
พิศจุไรดังหนึ่งแกล้งวาด พิศศอวิลาสดังคอหงส์
พิศกรดังงวงคชาพงศ์ พิศทรงดังเทพกินรา
พิศถันดังปทุมเกสร พิศเอวเอวอ่อนดังเลขา
พิศผิวผิวผ่องดังทองทา พิศจริตกิริยาจับใจ ฯ

ทศกัณฐ์ชมโฉมนางสีดาว่า “พิศเนตรดังเนตรมฤคิน”  มฤคิน คือ กวาง หรือ เนื้อ การเปรียบเทียบดวงตาของสตรีกับตากวาง ไม่ต่างจากบทละครสันสกฤต เรื่อง “มาลตีมาธว” ของ ภวภูติ กวีแขกที่พรรณนาว่า   “...นับแต่วันที่ข้าเห็นมาลตีเป็นครั้งแรก ดวงตาที่งามประดุจตากวาง ทำให้ข้าบังเกิดความเสน่หาในตัวนางอย่างลึกล้ำ...”  

ที่เปรียบเทียบดวงตาสตรีกับตากวางเพราะถือว่าดวงตาที่งามควรมีลักษณะเหมือนตากวาง คือ กลมโต ดำสนิท ใสแจ๋ว ซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา จึงจะถือว่างามพร้อม

นางสีดานับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์ ก่อนที่จะลงมาเกิดเป็น นางสีดา เธอคือ พระลักษมี เป็นมเหสีเอกของพระนารายณ์ ที่อวตารลงมาเกิดเพื่อเป็นคู่ครองพระนารายณ์ หรือก็คือ พระราม นั้นเอง  

ขอขอบคุณที่มาภาพ-ข้อมูล : คอลัมน์ จ๋าจ๊ะ วรรณคดี "งาม-งอม" หนังสือ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๙ พ.ย.- ๕ ธ.ค. ๒๕๖๒ และ เว็บไซต์ teen.mthai.com


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2562 16:42:38

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36488620481557_1266307596_1_Copy_.jpg)
รูปหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส "ผีเสื้อสมุทร" ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย นครปฐม
แรกเริ่ม ผู้ปั้น (อาจารย์ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ และคณะ)  กำหนดไว้ว่า จะสร้างรูป
ผีเสื้อสมุทรเป็นรูปยักษีที่ีมีหน้าตาดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว แต่จากการศึกษาค้นคว้า
ผีเสื้อสมุทรมีความน่ากลัวแต่เพียงชื่อ "นางยักษีผีเสื้อสมุทร" ในบทนิพนธ์ของท่าน
สุนทรภู่ น่าสงสารมาก ความน่าเกลียดน่ากลัวของผีเสื้อสมุทร ถูกความน่าสงสาร
น่าเห็นใจบดบังหมดสิ้น ดังนั้น อาจารย์ดวงแก้วจึงเปลี่ยนรูปแบบจากการสร้างรูปยักษ์
ที่น่ากลัวมาสร้างรูปยักษ์ที่น่าสงสารแทน.

๏ นิจจาเอ๋ยเคยอยู่เป็นคู่ชื่น    ทุกวันคืนค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง
จนมีลูกปลูกเลี้ยงเคียงประคอง      มิให้ข้องเคืองขัดพระอัชฌา
อยู่ดีดีทิ้งเมียมาเสียได้ เสียน้ำใจน้องรักเป็นนักหนา
จึงอุตส่าห์พยายามสู้ตามมา ขอเป็นข้าบาทบงสุ์พระทรงธรรม์ฯ

จากวรรณกรรมเรื่อง พระอภัยมณี : นางผีเสื้อสมุทรรำพันถึงความรัก ความจงรักภักดีที่มีต่อพระอภัยมณี

พระอภัยมณีถูกพระบิดาไล่ออกจากเมือง ได้เดินทางดั้นด้นมาถึงริมทะเล ได้พบพราหมณ์ ๓ คน ชื่อ โมราผู้ชำนาญการผูกหญ้าเป็นสำเภายนต์ท่องทะเล  วิเชียรผู้สามารถยิงธนูได้คราวละ ๗ ดอก และสานน ผู้สามารถเรียกลมฝนได้ตามใจปรารถนา พราหมณ์ทั้ง ๓ คนเกิดสงสัยในวิชาเป่าปี่ของพระอภัยว่าจะวิเศษสักเพียงใด พระอภัยมณีจึงเป่าปี่ให้ฟัง ทุกคนในที่นั้นถูกเสียงปี่สะกดจนหลับหมด ขณะนั้น นางผีเสื้อสมุทรซึ่งอาศัึยอยู่ในถ้ำใต้ทะเลผ่านมาเห็นพระอภัยมณีก็นึกรัก จึงสะกดพระอภัยมณีแล้วพาไปไว้ในถ้ำ แปลงตัวเป็นหญิงสาวสวยคอยปรนนิบัติ  ส่วนพระอภัยดูดวงตา เห็นไม่มีแววก็รู้ว่าไม่ใช่มนุษย์ แต่ต้องจำทนอยู่กินกับนางผีเสื้อสมุทร จนมีลูกชื่อ สินสมุทร

พระอภัยมณีเมื่อได้โอกาสจึงหนีนางผีเสื้อสมุทร โดยอาศัยลูกคือสินสมุทร ซึ่งมีอำนาจและพละกำลังเหมือนแม่ วางแผนออกอุบายให้นางผีเสื้อสมุทรไปจำศีลสะเดาะห์ แล้วสินสมุทรช่วยเปิดหินซึ่งปิดปากถ้ำออก แล้วพระอภัยมณีกับสินสมุทรก็มุ่งตรงไปยังเกาะแก้วพิสดารซึ่งมีพระโยคีผู้วิเศษพำนักอยู่.



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 มกราคม 2563 15:33:51
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58347219684057_008017_1_1_320x200_.jpg)
ภาพวาดครูเหม เวชกร

๏ โฉมแม่จักฝากฟ้า    เกรงอินทร หยอกนา
อินทรท่านเทอกเอา      สู่ฟ้า
โฉมแม่จักฝากดิน ดินท่าน แล้วแฮ
ดินฤขัดเจ้าหล้า      สู่สํสองสํ
๏ โฉมแม่ฝากน่านน้ำ    อรรณพ แลฤๅ
เยียวนาคเชยชํอก      พี่ไหม้
โฉมนางรำพึงจบ จอมสวาสดิ กูเอย
โฉมแม่ใครสงวนได้ เท่าเจ้าสงวนเองฯ

จากวรรณคดีเรื่อง กำสรวลโคลงดั้น : กวีพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความห่วงใย ความอาลัย ว่าเมื่อต้องจากกัน เขาจะต้องฝากนางไว้ที่ไหนดี จะฝากไว้กับฟากฟ้า ก็เกรงพระอินทร์จะนำนางไปเชยชม  จะฝากไว้กับพระแม่ธรณี ก็เกรงพระเจ้าแผ่นดินจะนำนางไปครอบครอง จะฝากไว้กับพระแม่คงคา ก็เกรงพญานาคจะนำนางไปเชยชม เห็นทีจะต้องฝากนางไว้กับตัวนางนั่นแหละ ให้นางรักษาเนื้อรักษาตนให้ดี

กำสรวลโคลงดั้น เคยเรียกกันว่า กำสรวลศรีปราชญ์ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดร่ายดั้น ๑ บท และโคลงดั้น ๑๒๙ บท อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิชาทางวรรณคดีไม่เชื่อว่าศรีปราชญ์มีตัวตนและเป็นผู้แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ และเห็นว่าผู้แต่งน่าจะเป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ โดยพิจารณาจากสำนวนโวหารการใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26461617400248_15_Copy_.jpg)
โบราณสถาน วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระนครศรีอยุธยา

ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรุงศรีอยุธยา
๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า     ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดีย์ลอออินทร์ ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ฯ
๏ พรายพรายพระธาตุเจ้าเจียนจันทร์ แจ่มแฮ
ไตรโลกเล็งคือโคม ค่ำเช้า
พิหารระเบียงบัน รุจิเรข เรืองแฮ
ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง ฯ
๏ ศาลาอเนกสร้าง     แสนเสา โสดแฮ
ธรรมาสน์จูงใจเมือง สู่ฟ้า
พิหารย่อมฉลักเฉลา ฉลุแผ่น ไส้นา
พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า หล่อแสง ฯ
๏ ตระการหน้าวัดแหว้นวังพระ
บำบวงหญิงชายแชรง ชื่นไหว้
บูรพาท่านสรรค์สระ สรงโสรจ
ดวงดอกไม้ไม้แก้ว แบ่งบาล ฯ
๏ กุฎีดูโชติช้อย    อาศรม
เต็มร่ำสวรรค์ฤๅปาง แผ่นเผ้า
เรือนรัตน์ภิรมย์ปราง สูรยปราสาท
แสนยอดแย้มแก้วเก้า เฉกโฉม ฯ
(โคลงกำสรวลสมุทร)

โคลงกำสรวลสมุทร แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของราชธานีศรีอยุธยาด้วยงานพุทธศิลป์ทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร พระมหาธาตุเจดีย์ กุฏิ ฯลฯ ที่พระมหากษัติรย์ทรงสร้างสรรค์ศาสนวัตถุอย่างยิ่งใหญ่ด้วยพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเพื่อสำแดงความมั่งคงและวัฒนาของบ้านเมือง  

พระมหานครแห่งนี้ปรากฏความรุ่งโรจน์ เป็นที่กล่าวขวัญถึง ไม่เฉพาะแต่ในหมู่ชนชาวอยุธยาเอง แต่ยังรวมไปถึงชนต่างชาติที่มีโอกาสเข้ามาเยือนพระอาณาจักรแห่งนี้ด้วย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41199407560957_1398927652_Garuda_o_1_320x200_.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซต์เจ้าของภาพ : พันทิปดอทคอม

๏ กางกรอุ้มโอบแก้วกากี
ปีกกระพือพาศรีสู่งิ้ว
ฉวยฉาบคาบนาคีเปนเหยื่อ
หางกระหวัดรัดหิ้วสู่ไม้รังเรียง ๚
๏ กางกรอุ้มโอบแก้ว           เจ้างามแพร้วสบสรรพางค์
ปีกปกอกเอวนางพลางคลึงเคล้าเต้าจรจรัล
ฉวบฉาบคาบนาคาเปนภักษาพาผกผัน
หางกระหวัดรึงรัดพันดั้นเมฆามาสิมพลี
บทเห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 พฤษภาคม 2563 18:46:08
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42343392471472__3588_3619_3641_.gif)
ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

๏ ถ้าแม้พี่เลือกได้ตามใจพี่จะไปพ้นที่นี้นั้นหาไม่
จะยืนชมขวัญตาผู้ยาใจกว่าจะได้สวมกอดแม่ยอดรัก ฯ
โอ้พ่อยอดยาจิตของมิตร์เอ๋ย         เมื่อไรเลยจะได้เชยชิดชม
กลิ่นหอมได้ดอมดม ห่างรักหักอารมณ์
โอ้แสนระทมระทวยเอย ฯ   .

บทร้องอันเดรกับอันโดรเมดา จากบทละครพูดเรื่อง 'วิวาหพระสมุท'
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 ตุลาคม 2563 14:29:35
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73580552761753__640x480_.jpg)

๏ สิ่งใดในโลกล้วนอนิจจัง
คงแต่บาปบุญยังเที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึงแน่น
ตามแต่บุญบาปแล้       ก่อเกื้อรักษา๚
โคลง ๔ เรื่อง ลิลิตพระลอ

ลิลิตพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา เป็นนิทานเรื่องทางล้านนา ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ในขณะเมื่อดำรงพระยศเป็นพระราชโอรส

วรรณคดีสโมสรยกย่องให้ "ลิลิตพระลอ" เป็นยอดลิลิต ถึงกับยกย่องเป็นตำรามาแต่โบราณ แม้หนังสือเรื่องจินดามณี ซึ่งพระโหราธิบดี แต่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนาราณ์มหาราชก็คัดโคลงในเรื่องพระลอมาใช้เป็นแบบในหนังสือนั้น  ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น และคนทั้งหลายนับถือว่าแต่งดีอย่างยิ่งอีกเรื่อง ๑ ถึงกระนั้นก็ไม่ทำให้ลดความนับถือลิลิตพระลอลงกว่าแต่ก่อน จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ลิลิตพระลอ เป็นยอดลิลิตกว่าเรื่องอื่น

ใครเป็นผู้แต่งลิลิตพระลอและแต่งเมื่อไร ปัญหานี้ดูเหมือนจะยังไม่เคยวินิจฉัยกันให้ถ้วนถี่  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานอธิบายและเสนอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือลิลืตพระลอไว้ว่า "ข้างท้ายลิลิตมีโคลงบอกชื่อผู้แต่งอยู่ ๒ บท  บทหนึ่งว่า "มหาราชเจ้านิพนธ์"  หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง  แต่อีกบทหนึ่งว่า "เยาวราชบรรจง" หมายความว่า พระราชบุตรของพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง ที่บอกแย้งกันดังนี้ส่อให้เห็นว่า ผู้แต่งโคลง ๒ บทนั้นเป็น ๒ คน และมิใช่ตัวผู้แต่งลิลิตพระลอ  โคลง ๒ บทเป็นของแต่งเพิ่มขึ้นแต่ภายหลัง ส่วนผู้แต่งลิลิตเองได้กล่าวไว้ในโคลงบานแผนกข้างต้นเรื่องว่า


              "เกลากลอนกล่าวกลการ      กลกล่อม ใจนา
              ถวายบำเรอท้าวไท้ธิราชผู้มีบุญ"

ปัญหาข้อที่ว่าหนังสือลิลิตพระลอแต่งเมื่อไร ข้อนี้ตัดสินใจได้ทันทีว่า แต่งก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลนั้น ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอมาใช้เป็นแบบโคลงสี่ คือบทที่ว่า

              "เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง          อันใด พี่เอย
              เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
              สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่
              สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือฯ

จึงเห็นควรถือเป็นที่ยุติไว้ ว่าลิลิตพระลอนั้นแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวในระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๒๖  ส่วนผู้แต่งนั้น จะว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดยากอยู่ ด้วยจะเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ทั้งนั้นเป็นอันรู้ไม่ได้แน่"...


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 พฤศจิกายน 2563 15:35:13
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17626879819565__640x480_.jpg)
"..ย่านท่าทรายมีร้านชำ ขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหม ผ้าลายกุศราช ย่ำมะหวด สมปักเชิง
สมปักล่องจวน สมปักริ้ว เมื่อข้าราชการทำหาย ไม่ทันจะมาหาเปลี่ยนก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า..ฯ
ตอนหนึ่งในหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม"

ขอขอบคุณเฟชบุ๊ก ร้านธงทองไหมไทย (ที่มาภาพประกอบ)

”ขุนแผนกับลูกชายพลายงาม     ได้ฟังความปรีดิ์เปรมเกษมศรี
นุ่งสมปักเข้าพลันในทันที       . ริบรี่มายังท้องพระโรงชัย
น่าสงสารแต่ฝ่ายพระท้ายน้ำ     ได้ยินคำกรมวังดังจับไข้
ผลัดสมปักตัวสั่นพรั่นฤทัย       เผลอไผลตามมาละล้าละลัง
ขุนแผนพลายงามเข้ามาก่อน     พระท้ายน้ำค่อยผ่อนมาทีหลัง
กราบกรานคลานตามตำรวจวัง     ต่างหมอบชม้อยคอยฟังพระบัญชา”

(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)

“ฝ่ายตำรวจในได้รับสั่ง       วิ่งออกจากวังขมีขมัน
ครั้นถึงจึงบอกพระไวยพลัน       . รับสั่งทรงธรรม์ให้เข้าไป
พระไวยได้ฟังเป็นการเร็ว     ฉวยผ้าพันเอวหาช้าไม่
รู้ข่าวการทัพขยับใจ       บ่าวไพร่ตามหลังเข้าวังพลัน
นุ่งสมปักลนลานคลานเข้าไป     บังคมไหว้ก้มหน้าอยู่ที่นั่น”


ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก

ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าฯ จะชักช้าร่ำไรไม่ได้

ตอนที่สมเด็จพระพันวษาให้ตำรวจไปแจ้งข่าวให้ ขุนแผน พลายงาม และพระไวย เข้าเฝ้า ดังกวีบรรยายว่า "นุ่งสมปักลนลาน" คือรีบร้อนเสียจนแทบจะทำอะไรไม่ถูก


“ผ้าสองปัก” หรือ “ผ้าสมปัก” เป็นผ้าไหมหน้าแคบ ต้องต่อให้กว้างโดยใช้ผ้าสองผืนต่อกันเรียกว่า “เพลาะ” เมื่อเพลาะแล้วจะกว้างประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร ยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา ๑/๒  เปรียบเสมือนเครื่องแบบที่ขุนนางข้าราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ใช้นุ่งเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน หรือตามเสด็จพระราชดำเนิน เขาไม่นุ่งกันมาจากบ้าน ออกจากบ้านจะเข้าวังก็ใช้ผ้าอื่นนุ่งมาก่อน ให้ทนายถือตามมานุ่งในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเข้าเฝ้าแล้วก็ผลัดออก

ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เป็นผ้ามีระดับ มิใช่ผ้าที่ใครอยากนุ่งก็นุ่งได้ เนื่องจากเป็นผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่ง ใช้เป็นเครื่องแบบเวลาจะเข้าเฝ้าฯ สมัยโบราณผู้ทำความดีความชอบจะได้รับพระราชทานเสื้อหรือผ้านุ่งเป็นรางวัล

ที่ต้องนุ่งกันในวังน่าจะเป็นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” ตอนหนึ่งว่า “...อันผ้าสมปักไหมนั้นเขาไม่นุ่งกันมาแต่บ้านมิได้ เขามานุ่งกันเอาในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเฝ้าแล้วก็ผลัด เห็นจะเพื่อรักษาไม่ให้ทรุดโทรมไปเสียเร็ว เห็นจะเป็นของหายาก...”

ธรรมเนียมการนุ่งผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เข้าเฝ้าฯ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มาถึงจุดเปลี่ยน

ประกาศการแต่งตัวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้ทราบว่า “...ธรรมเนียมข้าราชการนุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอมและฉีกขาด ก็ใช้นุ่งเข้ามาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ...”  จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย...”

ข้อมูลอ้างอิง : มติชนสุดสัปดาห์ สองปัก-สมปัก


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 16:29:38

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55382293669713_9.jpg)
พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

มหาชินธาตุเจ้า เจดีย์
เหมือนแท่งทิพสิงคี      คู่เพี้ยง
ฉัตรฅำฅาดมณีควรค่า เมืองเอ่
เปลวเปล่งดินฟ้าเสี้ยง สว่างเท้าอัมพเร
เจดีย์พระธาตุเจ้าศรีสถาน
โสภิตพะงาปาน เกศเกล้า
ทศมนมิมีปานพอคู่ ครบเอ่
ฤๅเลิศไตรทิพเท้า จุดาศรี
จาก โคลงนิราศหริภุญไชย


ผู้รจนา บรรยายความวิจิตรงดงามของพระบรมธาตุเจดีย์สีทองอร่าม ฉัตรยอดเจดีย์สร้างด้วยทองคำประดับอัญมณี แลดูสว่างไสวไปทั่วอากาศและปฐพี  .... ดังที่เราเห็นเป็นบุญตาสืบมาจนทุกวันนี้

โคลงนิราศหริภุญไชย แต่งขึ้นเพื่อถวาย “เจ้านาย” ระดับพระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร เป็นการเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุหริภุญไชยที่นครลำพูน ของยุวกษัตริย์เชียงใหม่ คือพระเมืองแก้ว ด้วยกระบวนยาตราขนาดใหญ่ มีการประโคมขับกล่อมมโหรีสลับกันตามรายทาง

โคลงนิราศหริภุญชัย นับเป็นโคลงนิราศเรื่องแรกในวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แต่งขึ้นประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว คือแต่งในปี พ.ศ.๒๑๘๐ หรือก่อนนั้นขึ้นไป ทุกคนที่ได้อ่านโคลงนิราศหริภุญชัยแล้ว ย่อมยอมรับว่าเป็นโคลงที่เก่าแก่มาก ทั้งไพเราะจับใจและเป็นแบบฉบับที่โคลงนิราศชั้นหลังได้เลียนมาใช้เป็นอันมาก

พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะเป็นสีทองอร่าม พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้นสี่มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น ๙ ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๐ วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดหลวงในจังหวัดลำพูนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในองค์พระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86624693249662_Phumin_Temple2_1_640x480_.jpg)

เท่าเรียมร้างจากเจ้า      เจียนพะงา
อกอ่วงอาดูรดา โมดม้วย
เต็มเลงอื่นใดฉลาเฉลิมเกศ มกุฎเอ่
แพงเจตในน้องถ้วย พี่ถ้วยเถิงอวร
จาก โคลงนิราศหริภุญไชย

เพียงแต่ที่พี่จากน้องมา  ใจพี่เป็นห่วงเป็นทุกข์แทบจะสิ้นชีวิต  
ถึงแม้จะมองหญิงอื่นแต่งงดงาม แต่จะหาใครเหมือนน้องได้ ไม่มี
...


กวีสอดแทรกเรื่องความโศกเศร้าของการที่ต้องจากหญิงคนรัก อันเป็น "ขนบ" ไม่ต่างไปจากฉากชมนกชมไม้
ที่เรารู้จักกันดีในการประพันธ์ "นิราศ" ที่พรรณนาฉากการเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน  และอาจเป็นเพียง
การรจนาให้เกิดคำประพันธ์ที่สมบูรณ์ตามแบบแผนที่มีมาแต่โบราณกาล






หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 พฤศจิกายน 2563 14:46:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96595394238829_IMG_4687.jpg)
จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม

๏ รถเอยรถวิมาน       กำกงแก้วประพาฬอลงกต
ห้ายอดหน้าบันเป็นหลั่นลด ช่อฟ้าช้อยชดบราลี
เทียมด้วยพลาหกตัวคะนอง     ลำพองเพียงพระยาราชสีห์
พาผ่านอากาศด้วยฤทธี      สารถีนั่งหน้าประนมกร
เครื่องสูงครบสิงกรรชิงรัตน์     กรรภิรมย์มยุรฉัตรประภัสสร
ปี่ฆ้องกลองแห่แตรงอน           อัมพรสนั่นครรชิต
งามทรงดั่งองค์เทวา               อันเสด็จลงมาจากดุสิต
งามรถเพียงรถพระอาทิตย์       งามพลแข่งฤทธิ์เหาะกันไปฯ

จากเรื่อง  รามเกียรติ์ ตอน  ท้าวมาลีวราชว่าความ


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มกราคม 2564 15:40:55
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42301945967806_141337816_1076231599559186_131.jpg)
ตัวอย่างท่ารำในสมุดไทยขาว "ท่าพรหมสี่หน้า"

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า         สอดสร้อยมาลาเรียงหมอน
เพียงไหล่ผาลาช้านางนอน     ภมรเคล้าแขกเต้าเข้ารัง
กระต่ายชมจันทร์จันทร์ทรงกลด         พระภะรตทิ้งสารมารกลับหลัง
ชูชายนาฎกรายเข้าวัง     มังกรหาแก้วมุจลินทร์
กินนรร่อนรำเลียบท่า         องค์พระรามาก่งศิลป์
มัจฉาลอยล่องฟ่องวารินทร์     หลงใหลได้สิ้นงามโสภา
สิงโตเล่นหางกวางโยนตัว     รำยั่วชักแป้งผัดหน้า
หงส์ทองลอยล่องในคงคา     เหราเล่นน้ำสำราญนัก
กรีดกรายย้ายย่างกวางเดินดง         พระนารายณ์ฤทธิรงค์ทรงขว้างจักร
ช้างสารหว่านหญ้าน่ารัก     พระลักษมณ์แผลงศรจรลี
กินนรฟ้อนฝูงยูงฟ้อนหาง     ขัดจางนางนางรำสองสี
ลมพัดยอดตองตวัดวี     สีซอสามสายย้ายเพลงรำ
รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้         รำชะนีร่ายไม้เฉื่อยฉ่ำ
เมขลาล่อแก้วลำนำ     แบบรำตามเยี่ยงโบราณมา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชนิพนธ์การแสดงชุด "พระภะรตเบิกโรง"  
โดยนำชื่อท่ารำที่ปรากฏอยู่ในกลอนตำรา มาเรียบเรียงเป็นบทกลอนสลับคำเพื่อใช้ในการ
แสดงเบิกโรง   วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักท่ารำของไทยมากยิ่งขึ้น แสดงถึง
พระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณที่มา : ศิลปวิทยาการ จาก สาสน์นสมเด็จ "SAN SOMDET"
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 พฤษภาคม 2564 20:09:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16963745363884_U12148366353853188351831401_1_.jpg)
ภาพวาด ครูเหม เวชกร

เห็นแก้ว แวววับ ที่จับจิต         ไยไม่คิด อาจเอื้อม ให้เต็มที่
เมื่อไม่เอื้อม จะได้ อย่างไรมี       อันมณี ฤๅจะโลด ไปถึงมือ

พระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 พฤศจิกายน 2564 18:08:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93848570601807_unnamed_Copy_.jpg)
ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร

๏ รอยรูปอินทร์มาหยาดฟ้า    มาอ่าองค์ในหล้า
แหล่งให้คนชม        แลฤๅ
ฯลฯ
๏ ฦๅขจรในแหล่งหล้า         ทุกทั่วคนเที่ยวค้า
เล่าล้วนยอโฉม      ท่านแล
เกียรติศัพท์ความงามของพระลอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน
พิศดูคางสรด  พิศศอกลมกลกลึง  สองไหล่พึงใจกาม อกงามเงื่อนไกรสร
พระกรกลงวงคช นิ้วสลวยชดเล็บเลิศ ประเสริฐสรรพสรรพางค์ แต่บาทางค์
สุดเกล้า พระเกศงามล้วนเท้า พระบาทไท้งามสม สรรพนา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52538710170321_Dnz9fxCW0AEnPLU_Copy_.jpg)
ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร

๏ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง    อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร      ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล  ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า      อย่าได้ถามเผือ
พระเพื่อน - พระแพง ปรับทุกข์กับพี่เลี้ยง (นางรื่น - นางโรย)
- เสียงเขาร่ำลือเรื่องใดกันหรือพี่?
- เขายกย่อง เทิดทูนพระเกียรติผู้ใดไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน
- พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) มัวแต่หลับใหลจนลืมตื่นเลยหรือพี่
- พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) ไปดูทีซิ เขาร่ำลือเรื่องใดกัน ไม่ต้องมาถามฉัน.


ที่มา วรรณกรรมเรื่อง ลิลิตพระลอ
เรื่องพระลอเป็นนิทานพื้นเมืองทางล้านนา นักปราชญ์แต่งเป็นกลอนลิลิตขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ราวระหว่าง พ.ศ.๑๑๙๑-๒๐๗๖ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 มกราคม 2565 20:50:24

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98446292099025_111_Copy_.jpg)

แต่ยังเยาว์คุ้มเท่าเป็นเอกองค์         ปิ่นอนงค์นางในทั้งซ้ายขวา
คิดว่าจะไว้ชื่อให้ลือชา       มิรู้ว่าเริงรวยไปด้วยครุฑ
ด้วยแรงราคจากรสพาราณสี       ไปลองเล่นฉิมพลีอันสูงสุด
ครั้นเบื่อหน่ายบ่ายเล่ห์เสน่ห์ครุฑ     กลับมายุดย้ายชมสมคนธรรพ์
หนึ่งแล้วสองมิหนำซ้ำสาม     เจ้าทำงามพักตราน่ารับขวัญ
เมื่อเป็นหญิงแพศยาอาธรรม์       จะให้เลี้ยงนางนั้นฉันใด
จาก บทกากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

กล่าวถึงเมื่อท้าวพรหมทัตพบนางกากี  ซึ่งพญาครุฑนำมาทิ้งไว้ที่พระลานหน้าพระมณเฑียร
ถ้อยคำที่ท้าวพรหมทัตได้ทรงเอ่ย ล้วนแต่เสียดสีประชดประชันก่อนจะนำนางกากีไปลอยแพ

เรื่องกากีนี้เป็นนิทานชาดก ในนิบาตชาดก หรือที่เรียกว่า กากาติชาดก สุสันธีชาดก และ กุณาลชาดก ซึ่งภิกษุชาวลังการจนาขึ้น  เป็นเรื่องเล่าที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเล่าแก่พุทธสาวกเพื่อให้เห็นข้อธรรม โดยกล่าวถึงทุกข์อันเกิดจากความประพฤติผิดในกาม ว่ามีพระราชาชื่อท้าวพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีมเหสีรูปงามและมีกลิ่นกายหอมนามกากี และมีคนสนิทเป็นคนธรรพ์ชื่อนาฏกุเวร ต่อมามีพญาครุฑที่อาศัยที่วิมานฉิมพลีชื่อเวนไตย ได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์มาเล่นสกาและพบกับนางกากี จึงเกิดความรักและลักพานางไปยังวิมานฉิมพลี นาฏกุเวรสังเกตเห็นจึงแปลงตัวเป็นไรแทรกไปในปีกตามไปยังฉิมพลี ในตอนกลางวันก็อยู่กับนางกากี กลางคืนก็แปลงกายมิให้พญาครุฑจับได้ ครั้นพอเวลาที่เวนไตยจะลงมาเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรจึงแปลงเป็นไรแฝงมาในปีกพญาครุฑกลับมายังกรุงพาราณสี  ขณะที่เล่นสกานาฏกุเวรก็ขับพิณถวาย โดยกล่าวถึงโฉมนางกากีและวิมานฉิมพลี ครั้นพอพญาครุฑได้ฟังก็ถามลองเชิงว่ารู้จักวิมานฉิมพลีได้อย่างไรเพราะไกลเกินกำลังมนุษย์จะไปถึง  นาฏกุเวรเล่าว่าแปลงเป็นไรแทรกไปในขนปีกพญาครุฑ ก็ทำให้พญาครุฑเกิดความอับอาย และนำนางกากีมาคืน ซึ่งความในนิบาตชาดกจบเพียงเท่านี้ แต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้นิพนธ์เพิ่มเติมให้นางกากีถูกลงโทษด้วยการลอยแพ.


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 มกราคม 2565 20:32:46
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74175836808151_K5346425_22.jpg)
ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

    เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน         ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่รังไหน
นอนไหนก็นอนได้       สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน
ลมพัดมาอ่อนอ่อน     เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย
    ดอกเอ๋ย     ดอกขจร
นกขมิ้นเหลืองอ่อน     ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย.

จาก เพลงนกขมิ้น (ขับร้อง-มโหรี)

อารมณ์ของเพลงนี้ สะท้อนความเหงาของคนจร
โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของนกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พเนจรร่อนเร่ หรือเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2565 12:08:56

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66972105329235_101876599_142775347373169_8217.jpg)
ภาพวาด ดินสอ 2B

    ๏ ผึ้งเอยผึ้งน้อย     เที่ยวล่องลอยลมรสมธูหวาน
รู้สึกรักหนักดวงกมลมาลย์         โดยเดือดดาลรักใหม่ไม่สมปอง
นึกใคร่เห็นตัวผู้ที่ตรูเนตร     ทุกข์เทวษหวานใจให้หม่นหมอง
โอ้ไฉนจะสมอารมณ์ปอง     เป็นคู่ครองคลึงเคล้าเย้ายวนเอยฯ (๔๙)

จากบทละครสันสกฤต เรื่อง "ปริยทรรศิกา" นาฏิกาสันสกฤต
พระราชนิพนธ์ ใน พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ กษัตริย์ภารตวรรษ (อินเดีย)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
โดยเทียบกับบทเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตและปรากฤต  ซึ่งได้แปลงแล้วจากอักษร
เทวนาครีเป็นอักษรโรมัน เพื่อถ่ายทอดให้ได้ใกล้เคียงความเดิมของผู้แต่งมากที่สุด


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มีนาคม 2565 15:55:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88607793922225_262862829_703541004367128_8777.jpg)

       มาจะกล่าวบทไป        ถึงองค์อสัญแดหวา
ซึ่งเป็นบรมอัยกา          สถิตยังชั้นฟ้าสุราลัย
จึงนิมิตกริชแก้วสุรกานต์      นามกรพระหลานจารึกใส่
ครั้นเสร็จเสด็จจากวิมานชัย          เหาะมากรุงไกรกุเรปัน ฯ
ครั้นถึงจึงวางกริชลง      ข้างพระองค์กุมารหลานขวัญ
อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ     กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า

ที่มา : "อิเหนา" (ตอนอิเหนาประสูติ)
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) 

กริช เป็นอาวุธสำคัญของชาวชวา ซึ่งต่อมาชาวมลายูและชาวหมู่เกาะอินโดนีเซียอื่นๆ ได้มีค่านิยมในการนำมาใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากถือว่าเป็นอาวุธสำคัญสำหรับต่อสู้ศัตรูป้องกันตัวแล้ว ชาวชวามลายูยังถือกันว่าเป็นเครื่องประดับอันสง่างามและทรงเกียรติ เช่นเดียวกับชาวยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ที่ถือว่าการคาดกระบี่นั้น ย่อมดูมีความงามสง่าและดูภาคภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวมลายู จึงถือเป็นคติว่า สมบัติ ๓ อย่างที่ผู้ชายสูงศักดิ์จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียไม่ได้ จึงประกอบไปด้วย ๑) บ้านดี ๒) ภรรยาดี และ ๓) กริชดี

สำหรับเหตุผลที่เวลาแสดงละครใน เรื่องอิเหนา แล้วตัวละครต่าง ๆ ที่เกิดมาในวงศ์เทวัญ เช่น อิเหนา สียะตรา สุหรานากง ฯลฯ จะต้องเหน็บกริชนั้น เป็นเพราะว่าตัวละครทุกตัวในวงศ์เทวัญ เมื่อประสูติแล้วต่างได้กริชประทานประจำตัวพร้อมจารึกชื่อ จากองค์ปะตาระกาหลาเกือบทั้งสิ้น




หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 เมษายน 2565 20:19:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36679565492603_p09_Copy_.jpg) 
ภาพวาดฝีมือครูเหม เวชกร
ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถี  
เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบเทวฑูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช  
ทรงเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
 


    "สพเพ  สํขารา  อนิจฺจาติ
สังขารไม่เที่ยงทั้ง    สากลย์
    ยทาปฺญายปสฺสติ
ผู้มั่นปัญญายล แยบนี้
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข
ย่อมเหลือเบื่อวังวนเวียนทุกข์
    เอส มคฺโควิสุทฺธิยาฯ
มรรควิสุทธิ์ดุจชี้ เชิดกว้างทางธรรมฯ"

ที่มา เรื่อง "สามกรุง"
พระนิพนธ์เรื่องสุดท้ายของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส."
โคลงบทนี้ แสดงความสามารถในตัวผู้นิพนธ์ ที่ทรงนำคาถาภาษาบาลีมาแปลเป็นโคลงสี่สุภาพ


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มิถุนายน 2565 19:43:08
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68218358771668_7_Copy_.jpg)    
ภาพประกอบ : ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

    • ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ         เมียตน
เมียแล่พันฤๅดล     แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเป็นคน     ฤาง่าย เลยนา
เลี้ยงยากนักท้าวไท้     ธิราชผู้มีคุณ ฯ

ที่มา : "ลิลิตพระลอ" นิยายพื้นบ้านของไทยเหนือ
ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

โคลงบทนี้ ให้ข้อคิดในเรื่องของ "ความรัก" และสอดแทรกคำสอน ว่า
การมีชู้กับหญิงอื่นสักร้อยคนก็ตาม ความรู้สึกซาบซึ้งในความรักความผูกพันก็ไม่เท่ากับเมียของตน
แต่ถึงจะมีเมียสักหนึ่งพันคน ก็ไม่อาจจะรักเมียเหล่านี้ให้เท่ากับแม่ของตนได้
แม่เป็นผู้ให้ตั้งแต่ให้ชีวิต ให้การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น แม้จะเหนื่อยยากแสนเข็ญเพียงไร แม่ก็ไม่ย่อท้อ
จึงไม่มีผู้ใดในผืนปฐพีนี้ จะมีพระคุณอันยิ่งใหญ่เทียบเท่า "แม่"


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 สิงหาคม 2565 13:50:42
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16588945893777_301043987_1451998091982533_252.jpg)
วิถีชีวิตในชนบท สปป.ลาว - ภาพจาก facebook

    กองเอ๋ยกองข้าว         กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่
เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร       ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน
เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ     สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น
ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์     หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)


หัวข้อ: Re: “กบและเขียดจะไล่กินงู” สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 กันยายน 2565 11:31:18
(https://jingjonews.com/wp-content/uploads/2020/03/2020-02-06-taipan-snake-3.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ jingjonews.com (ที่มาภาพประกอบ)

กบเขียดไล่กินงู

คำกล่าวนี้เป็นสำนวนโบราณของล้านนา แปลว่า กบและเขียดไล่กินงู ซึ่งเป็นปรากฏการณ์กลับตาลปัตรกับธรรมชาติ เปรียบเทียบว่า คนธรรมดาผู้ไม่มีอำนาจ หรือผู้ที่มีอำนาจน้อยสามารถเอาชนะผู้มีอำนาจมากได้

สำนวนนี้คนล้านนาพูดกันมานานนมเน เนื่องจากมีพุทธทำนายที่รู้กันทั่วไปในล้านนา เช่น ที่จารึกในคัมภีร์ใบลาน ที่วัดป่าสักน้อย ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จารไว้เมื่อปี ๒๔๙๒ กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว ๒,๕๐๐ ปี จะเกิดปัญหา “หมากน้ำเต้าจักจม หมากหินจักฟู” หมาจิ้งจอกจักไล่กัดเสือ ช้างจะพากันกินถ่านไฟแดง คนใจบุญใจกุศลจะต้องหาบ แต่คนใจบาปจะเดินตัวเปล่า พ่อค้าจะอาสาออกศึก น้ำไม่ลึกจะพากันทำที่ว่ายน้ำเล่น กบเขียดจะไล่กินงู พญาครุฑจะเป็นบริวารของกาดำ หมาจิ้งจอกจะกินอาหารจากถาดทอง และราชสีห์จะเป็นบริวารของหมาจิ้งจอก

ทั้งยังมีอุปมาปรากฏในตำนาน หมากน้ำเต้าจม หมากหินฟู ของวัดดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีความตอนหนึ่งว่า “…ฅนทังหลายฝูงเป็นน้อยก็มักแพ้ผู้เป็นใหญ่ ไพร่น้อยมักจูงใจแก่ฅนเมือง ก็อุปมาเป็นดั่ง กบเขียดไล่กินงู นั้นแล”

แสดงว่าสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นตกอยู่ในความเสื่อมถดถอยอย่างร้ายแรง คนในสังคมเกิดความแตกสามัคคี ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจใช้อำนาจตามอำเภอใจ

สังคมเกิดสับสนวุ่นวาย บ้านเมืองอยู่ในความไม่สงบ และผู้ปกครองไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ เกิดความทุกข์ยากทั่วทุกหนระแหง ทำให้คนสามัญซึ่งไม่มีอำนาจอยู่ในมือตกเป็นฝ่ายเหนือกว่า และสามารถกำราบชนชั้นผู้ปกครองได้ ดังกบหรือเขียดที่ไล่เขมือบกินงู ฉันนั้น

ตรงกับคำกล่าวทั่วไปที่ว่า กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม


ขอขอบคุณที่มา : ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



หัวข้อ: Re: นางสร้อยฟ้านางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 ตุลาคม 2565 18:11:57
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91629818661345_311975351_1497569964092012_416.jpg)
นางสร้อยฟ้า นางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" ที่วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

สร้อยฟ้าศรีมาลาว่าเจ้าค่ะ      ตั้งกระทะก่อไฟอยู่อึงมี่    
ต่อยไข่ใส่น้ำตาลที่หวานดี     แป้งมีเอามาปรุงกุ้งสับไป
ศรีมาลาละเลงแต่บางบาง      แซะใส่จานพานวางออกไปให้
สร้อยฟ้าเทราดแซะขาดไป       ขัดใจแม่ก็ปาลงเต็มทีj
พลายชุมพลจึงว่าพี่สร้อยฟ้า  ทำขนมหนาเหมือนแป้งจี่
พลายงามร้องว่ามันหนาดี           ทองประศรีว่าเหวยกูไม่เคยพบ
ลาวทำขนมเบื้องผิดเมืองไทย       แผ่นผ้อยมันกะไรดังต้มกบ  
แซะม้วนเข้ามาเท่าขาทบพลายชุมพลดิ้นหลบหัวร่อไป
ฝ่ายนางศรีมาลาชายตาดู       ทั้งข้าไทยิ้มอยู่ไม่นิ่งได้
อีไหมร้องว้ายข้อยอายใจ   ลืมไปคิดว่าทำขนมครก    
ชุมพลร้องแซ่แก้ไม่รู้สิ้นนานไปก็จะปลิ้นเป็นห่อหมก
สร้อยฟ้าตัวสั่นอยู่งันงก     หกแป้งต่อยกระทะผละเข้าเรือน

ขนมเบื้องถือเป็นขนมอวดฝีมือของกุลสตรีไทยมาแต่โบราณ ขนมเบื้องที่ดีผู้ทำต้องมีฝีมือในการละเลงให้บางและกรอบ
ตัวอย่างปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ตอน พระไวยให้ภรรยาทั้งสอง คือ นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้า
ทำขนมเบื้องมาเลี้ยงพลายชุมพล สร้อยฟ้าทำขนมเบื้องเป็นแผ่นหนา จึงสู้ศรีมาลาไม่ได้



หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2565 20:47:42

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52197043763266_a1.jpg)

       ร่าย          ◎ แถลงปางปวงดัสดร ม่านแลมอญมากมวญ ขบวนทับสัพพาวุธ มาประยุทธ์อยุธยา ปีระกาสัปดศก ยกเป็นกองเจารีย์
ต้อนตีตามตำบล  ปล้นทุกหนทุกแห่ง แย่งชิงบ้านชิงเมือง เปลืองกำลังไทยลง  ไทยไม่ปลงใจกัน  ยืนยันรับสัปรยุทธ์
สุดยำเยงไพรี  ขาดคนดีเป็นประมุข ปลุกหฤทัยให้ห้าว รบรักด้าวแดนเกิด ต่างเปิดเตลิดต่างตน  ต่างเสือกสนเล็ดลอด
ให้ปลอดภัยดัสกร ม่านแลมอญได้ที ตีถึงกรุงอยุธยา    พระราชาเอกทัศ ถนัดแต่เยี่ยงหยำเยอะ  เลอะราชการงานนคร
ดัสกรใช่ทัพกษัตริย์ ชิงได้ฉัตรมไหสุรย์ ในปีกุญนพศก นราธิปกปิ่นอยุธยา คราววาศนาโรยร่วง เหมือนมะม่วงงอมหล่น
นึกน่าข่นเคืองจิต ชวนให้คิดคำนึง  ถึงบางคาบบางครา ไทยปรีดาอิสรภาพ ปราบปรปักษ์หักหาญ ใช่แหลกลาญเช่นนี้
บางสมัยไทยกี้ กาจกล้าการณรงค์ ยิ่งแลฯ
กรุงศรีอยุธยา
(สมัยอยุธยาวสาน)
ปีกุญนพศก พ.ศ.๒๓๑๐
พระนิพนธ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
(น.ม.ส.)

คัดลอกโดยคงอักขระเดิม (ตัวหนังสือ, สระพยัญชนะ)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2565 14:14:32
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11250483410225_11_Copy_.jpg)
ภาพวาด ครูเหม เวชกร

หยุดยั้งพลังพิศโฉมฉงนเอาท้าวเสด็จดลตระบัดยังรัตน์บรรทม
วางท้าวเที่ยมท้าวสู่สม          เทพาชื่นชม           และแลประเมินสองศรี
แลนางลืมแลกษัตรีย์  แลพระนฤบดี         ลืมแลดูแก้วกัลยา
สองเท้าโฉมแปลกประดิมา     พระเห็นพรรษา      สรรเสริญคะคล้อยอวยพร
จากเรื่อง "เสือโค คำฉันท์"

พระมหาราชครู ได้ทดลองแต่งโดยใช้ระเบียบคำประพันธ์ของสันสกฤต
เชื่อว่าได้ผลเป็นที่พอใจ และนับเป็นประดิษฐการที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีไทย
ดังนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงมีพระบรมราชโองการให้พระมหาราชครู
แต่งเรื่องคำฉันท์ต่อไป และทรงเลือกเรื่องให้อีกด้วย


ขอขอบคุณ มูลนิธิครูเหม เวชกร


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 ธันวาคม 2565 12:42:10
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13705810407797_c44bf96aa770bb22069d36ca223486.jpg)
ภาพวาด ชูชก กับ นางอมิตดา (จิตรกร : ครูเหม เวชกร)

"กินหลายท้องแตก แบกหนักหลังก่อง"
(สำนวนล้านนา)

แปลว่า บริโภคอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้กระเพาะแตก
ถ้าแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป  ก็จะทำให้หลังโกงหรือหลังค่อม

เป็นคำสอนให้รู้จักประมาณตน อย่าคิดทำในสิ่งที่เกินกำลังหรือความสามารถของตน



650


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 มกราคม 2566 14:14:27

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60472134293781_1_Copy_.jpg)
ภาพวาด : ครูเหม เวชกร (มูลนิธิเหม เวชกร - ที่มา)

เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม  ดนตรี
อักขระห้าวันหนี      เนิ่นช้า
สามวันจากนารี       เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า    อับเศร้าศรีหมอง

สามวันจากนารี เป็นอื่น
สมเด็จพระเดชา ฯ




หัวข้อ: Re: เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2566 17:35:42
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39067363987366_1_Copy_.jpg)
ภาพวาด : ครูเหม เวชกร


”...ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ จะอาเพศกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา
มิรู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาษิตท่านกล่าวเป็นราวมา จะตั้งแต่งเสนาธิบดี
ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานบุราณมี จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา
เสียยศเสียศักดิ์นคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา
เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร
สารพัดจะเสียสิ้นสุด ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน
จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม
อันจะเป็นเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์
ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น    ป้องกันปัจจาอย่าได้มี
ที่ทำหาเป็นเช่นนั้นไม่ เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี
เหตุภัยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่จะสู้สักประการ
ศึกมาแล้วก็ล่าไปทันที มิได้มีเหตุเสียจึงแตกฉาน
ตีกวาดผู้คนไม่ทนทาน เผาบ้านเมืองยับจนกลับไป
จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่ ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา
ครั้นทัพเขากลับยกมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี
เลี้ยงลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเป็นผุยยับยี่
ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรีย์จนทุกวัน...”

เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า


พระบวรราชนิพนธ์ เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นงานเขียนอีกเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อความวิจารณ์ชนชนนำช่วงปลายสมัยอยุธยาค่อนข้างชัดเจน  โดยอธิบายสาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยา ว่า มีปัจจัยสำคัญมาจากชนชั้นปกครอง พระมหากษัตริย์ตลอดจนกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมมุ่งแสวงหาแต่อำนาจจนปล่อยปละละเลยราชการแผ่นดิน และระบบบริหารราชการงานเมืองยามศึกสงครามที่ไร้ประสิทธิภาพ  ทั้งการที่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงชุบเลี้ยงและเลือกใช้แต่บรรดาข้าหลวงเดิมที่ไม่เหมาะสมกับงานราชการโดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ แม้จะมีข้อคิดสุภาษิตโบราณเน้นย้ำว่าคนเหล่านี้ไม่ควรที่จะนำมารับราชการ รวมถึงการที่ชนชั้นปกครองมุ่งคำนึงถึงเรื่องยศศักดิ์ มิได้ใส่ใจในข้อราชการงานเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสงครามให้อ่อนกำลังลงไป กล่าวคือ ไม่มีการฝึกซ้อมยุทธวิธีการรบ เมื่อเกิดสงครามก็แตกทัพล่าถอยโดยง่าย

สอดคล้องกับงานนิพนธ์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เรื่อง สังคีติยวงศ์ และ พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ที่เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๒ และ พ.ศ.๒๓๓๘ ตามลำดับ  ปรากฎเนื้อความที่กล่าววิจารณ์พระราชจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ภาพความแปรปรวนของสังคม รวมถึงความไร้ประสิทธิภาพในการรบอย่างเด่นชัดเช่นเดียวกัน

"...สมเด็จพระเชษฐาธิราชเสวยราชย์ได้ ๘ ปีเศษ มีปรีชาน้อย มักหลงใหล ปราศจากความสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ ไม่มีวิจารณ์ในราชกิจทั้งหลาย ไม่มีใคร่ครวญในคุณแลโทษ ครั้งนั้นเสนาบดีแลอำมาตย์เป็นต้นก็ดี ชาวพระนครก็ดี พากันตั้งอยู่ในอสัตย์อธรรม ต่างก็เป็นคนทุจริตเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชาวชนบทแลชาวคามนิคมก็ได้บังเกิดความคับแค้น ด้วยเหตุทั้งหลายต่างๆ ชนทั้งปวงในบ้านในเมืองใหญ่เหล่านั้นก็พากันเสวยทุกข์มากมาย บังเกิดโรคมาก เกิดอุปัทวมาก ได้รับความโทมนัส อุปายาสเปนอันมาก ก็พากันมีอายุสั้น มหาภูติดินน้ำไฟลมทั้ง ๔ ก็วิปริตต่างๆ ผลหมากรากไม้ก็มีรศวิปริตไปหมด น้ำก็ปรากฏสีแดงดังเลือดนก..."

"...ลำดับนั้น มหาสุรโยธาก็พาพลนิกายมากมายมายังกรุงอโยธนคร ได้รบด้วยชาวพระนครทั้งหลาย แต่ชาวพระนครไม่รู้จักรบ ขี้ขลาดไม่เปนน้ำหนึ่งกัน ไม่เปนใจเดียวกัน ไม่ปลงงานเดียวกัน มีใจต่างๆ กัน ต่างพากันหนีเสีย..."


สังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย สมเด็จพระวนรัตนวัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑ แต่งภาษามคธ  พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ) เปรียญ แปลเปนภาษาไทย (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๖๖, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ณะพระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๔๖๖), หน้า ๔๐๒-๔๐๓.

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๐๗.


ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๖๕)


หัวข้อ: Re: ปางนั้นยังมีครุฑราช สุริยชาติลํ้าสกุณปักษา : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต ฯ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มีนาคม 2566 17:32:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33925058775477__MG_6187_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11852480636702__MG_6182_Copy_.JPG)


๏ ปางนั้นยังมีครุฑราช      สุริยชาติลํ้าสกุณปักษา
สถิตสถานพิมานรัตน์รมยา     ยอดมหาพฤกษาสิมพลี
ในเชิงเขาเมรุราชบรรพต   ปรากฏด้วยกำลังปักษี
บินหนักกวักละโยชน์ด้วยฤทธี         อาจจะข้ามนทีสีทันดร
ประกอบด้วยมนตรามหาเวท   ทั่วประเทศเกรงจบสยบสยอน
เคยเที่ยวเล่นเป็นสุขทุกนคร   สถาพรพูนสวัสดิ์อยู่อัตรา
จากเรื่อง กากี
กลอนสุภาพ ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
กวีเอกผู้หนึ่ง ในกรุงรัตนโกสินทร์


เรื่องกากี เป็นบทประพันธ์ที่รู้จักแพร่หลายในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา กวีไทยทั้งสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
นำเรื่องนี้มาประพันธ์เป็นร้อยกรองหลายรูปแบบ  นอกจาก กากี กลอนสุภาพ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  ยังมี
บทเห่เรื่อง กากี ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ


หัวข้อ: Re: พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 สิงหาคม 2566 16:25:38


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG)
"ยุทธหัตถี"
สมเด็จพระนเรศวรทรงเข้าชนข้างกับพระมหาอุปราชา พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก

     ภูมีมือง่าง้าว          ของอน
ฟันฟาดขาดคอบร       บั่นเกล้า
อินทรีย์ซบกุญชร เมือชีพ แลเฮย
เผยพระเกียรติผ่านเผ้า พี่น้องสองไท

จากเรื่อง "ลิลิตตะเพงพ่าย"  
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์


หัวข้อ: Re: สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงพระสุบิน : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 สิงหาคม 2566 13:25:24
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42233235802915_24_Copy_.jpg)
จิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

พ.ศ.๒๑๓๕  สมเด็จพระนเรศวรฯ  ตั้งพลับพลาค่ายหลวง  ณ บ้านม่วงหวาน ใกล้ทุ่งป่าโมก
ณ ที่นั้นทรงพระสุบินนิมิตว่า ได้ลุยน้ำไปพบจระเข้ใหญ่ตรงเข้ามาจะทำร้ายพระองค์ แต่ก็ทรง
ประหารจระเข้นั้นสิ้นชีวิตลงได้ โหรทำนายว่าจะทรงชนะศึกหงสาวดี ด้วยวิธีรบตัวต่อตัว
------------------------------

    พระกรายกรย่างเยื้อง            จรลี
ลุยมหาวารี       เรี่ยวกว้าง
พอพานพะกุมภีล์ หนึ่งใหญ่ ไสร้นา
โถมปะทะเจ้าช้าง จักเคี้ยวขบองค์
    พระทรงแสงดาบแก้วกับกร
โจมประจัญฟันฟอน       เฟื่องน้ำ
ต่างฤทธิ์ต่างรบรอน รานชีพ กันแฮ
สระท้านทุกถิ่นท่าถ้ำ ท่งท้องชลธี
    นฤบดีโถมถีบสู้ศึกธาร
ฟอนฟาดสุงสุมาร    มอดม้วย
สายสินธุ์ซึ่งนองพนานต์ หายเหือด แห้งแฮ
พระเร่งปรีดาด้วย เผด็จเสี้ยนเศิกกษัย

สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบิน
จากเรื่อง "ลิลิตตะเพงพ่าย"  
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์


หัวข้อ: Re:พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกสุพรรณมัจฉา : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 สิงหาคม 2566 15:54:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52808442753222__1_Copy_.jpg)
ภาพวาดพระอภัยมณีกับนางเงือก โดยอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต
(ขอบคุณภาพจาก blog.startdee.com)


๏ นางเงือกน้ำจำเสียงสำเนียงแว่ว     จะเจื้อยแจ้วจับทรวงดวงสมร
เหมือนเสียงองค์ภูวไนยให้อาวรณ์       ก็รีบจรแหวกว่ายจากสายชล
เห็นทรงฤทธิ์จิตปลื้มลืมความทุกข์ เกษมสุขชื่นชุ่มทุกขุมขน
นางเสือกขึ้นหาดทรายริมสายชล พลางน้อมตนอภิวาทกราบบาทมูล
"พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกสุพรรณมัจฉา"
จากเรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่




หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 กันยายน 2566 15:33:08
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43617680668830_88_Copy_.jpg)
ภาพวาด ครูเหม เวชกร

         สมณนับว่าเชื้อ          ชินบุตร
ประพฤติซื่อศีลบริสุทธิ์       ดับต้อง
จำแนกแจกธรรมพุท โธวาท สอนแฮ
แก่หมู่สาธุชนพร้อง       สดับรู้อมัตธรรม

โคลงสุภาษิตบางปะอิน
พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
.

ที่มาภาพประกอบ : มูลนิธิ เหม เวชกร


หัวข้อ: Re: ได้ฟังถ้อยคำนางสีดา เปรียบปรายด่าว่าไม่อาลัย : สำนวน-โวหารฯ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2567 14:57:57
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89691517957382_14355115_712223245592355_29342.jpg)

      ๏ เมื่อนั้นทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษา
ได้ฟังถ้อยคำนางสีดา   เปรียบปรายด่าว่าไม่อาลัย    
ยิ่งแสนพิศวาสในนํ้าเสียง   เพราะเพรียงไม่มีที่เปรียบได้
ยิ่งฟังยิ่งเพลินจำเริญใจ       ที่ในรูปรสวาที
กราบลงแล้วกล่าวสุนทรเจ้างามงอนจำเริญสวาทพี่
ทั่วทั้งสามภพธาตรี       ไม่มีใครเปรียบนงลักษณ์
……………...………… ………...…………….
เจ้าดั่งดวงมณฑาทิพย์     สิบหกช่องฟ้าไม่หาได้    
รักนางพ่างเพียงดวงใจจะถนอมมิให้ราคี
แม่อย่าสลัดตัดสวาทนุชนาฏช่วยชูชีวิตพี่    
เมตตาบ้างเถิดนางเทวี   ให้เป็นศรีสวัสดิ์สถาวร ฯ

แม้นางสีดาจะไม่รับรักตอบ และเข้าใกล้นางสีดาไม่ได้  แต่ทศกัณฐ์
ก็ยังมีความหวังจะได้นางสีดามาเชยชม ถึงจะถูกนางด่าว่าก็ไม่โกรธ
ไม่เลิกความพยายาม เพียรเจรจาหว่านล้อมและอ้อนวอนเซ้าซี้.
 
----------------------------

จากเรื่อง รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑)


หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 14:49:36
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93255670617024_21762013_1508297375874899_8409.jpg)

พระยามารร่านร้อนอาวรณ์ใจ   ฝันใฝ่ถึงองค์นางเทวี
แต่ผุดลุกผุดนั่งคลั่งคลุ้ม       ไฟราครึงรุมดั่งเพลิงจี้

...พอนางสำมนักขาผู้ซึ่งเป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ เล่าถึงความงามของนางสีดา
เพียงได้ยินกิติศัพท์ ทศกัณฐ์ก็ถูกไฟราคะรึงรุม ลุ่มหลงในความงามของนางสีดา   
คลั่งไคล้อยากได้นางมาเป็นของตน สอบถามแต่เรื่องความงามของนางสีดาจาก
นางสำมนักขา  จนในที่สุดถึงกับเผลอตัวกอดน้องสาวของตนเอง เพราะหลงคิด
ว่าเป็นนางสีดา

จากเรื่อง รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑)


หัวข้อ: Re: เป็นกระบี่สี่พักตร์แปดหัตถ์ : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 มีนาคม 2567 15:46:34
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54028231029709_4.jpg)
ภาพจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เรือพระราชพิธี"  กรุงเทพมหานคร

เป็นกระบี่สี่พักตร์แปดหัตถ์   เขี้ยวแก้วจำรัสประภัสสร
กุณฑลมาลัยอลงกรณ์   ขนเพชรอรชรรูจี
ดาวเดือนดวงตะวันช่วงโชติ       ออกมาจากโอษฐ์กระบี่ศรี
ส่องสว่างพ่างพื้นปัถพี   แล้วลงมายังที่บรรพตา

หนุมานเป็นวานรเผือก เกิดจากการที่พระอิศวรแบ่งกำลังตนเอง แล้วบัญชาให้พระพาย
นำเทพอาวุธไปซัดเข้าปากนางสวาหะ  โดยถือว่าพระพายเป็นบิดา หนุมานเกิดปีขาล
เดือนสาม วันอังคาร โดยกระโดดออกจากปากของนางสวาหะ  เมื่อเกิดก็ร่างใหญ่เท่า
เด็กสิบขวบ เพราะอยู่ในครรภ์มารดานานถึงสามสิบเดือน ในเวลาปกติหนุมานจะมีร่าง
เป็นลิงเผือกธรรมดา และพระรามซึ่งเป็นนารายณ์อวตารเท่านั้นจึงจะเห็น "กุณฑล -
ขนเพชร - เขี้ยวมณี" ได้

จากเรื่อง รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑)


หัวข้อ: Re: ไต่ไม้ลำเดียว : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 มีนาคม 2567 14:50:41
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20100713686810_888_Copy_.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ forfundeal.com (ที่มาภาพประกอบ)

ไต่ไม้ลำเดียว

ไต่ไม้ลำเดียว ประกอบด้วยคำว่า ไต่ กับ ไม้ลำเดียว  

ไต่ คืออาการที่เคลื่อนไปหรือคืบคลานไปด้วยความระมัดระวัง  

ไม้ลำเดียว ในที่นี้หมายถึงลำต้นของต้นไม้ ๑ ต้น หรือ ๑ ท่อน  

ไต่ไม้ลำเดียว นำมาใช้เป็นสำนวน หมายถึง กระทำการใด  ตามลำพังตัวคนเดียวโดยไม่มีที่พึ่งหรือไม่พึ่งพาผู้อื่น อาจพลั้งพลาดได้ ดังโคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ว่า


         “ไต่ ตพานพาดไม้   ลำเดียว
         ไม้ สั่นหวั่นกายเสียว   เมื่อเมื้อ
         ลำ ฦกที่พึ่งเหลียว        แลห่อน  เห็นเฮย
         เดียว ดั่งคนบเอื้อ    พึ่งผู้พาศนา”

หมายความว่า คนที่เดินไปบนสะพานที่พาดด้วยไม้ลำเดียว เมื่อไม้สั่นไหวก็รู้สึกหวาดเสียว ครั้นคิดจะหาที่พึ่งก็ไม่มี


ขอขอบคุณ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ที่มาข้อมูล)


หัวข้อ: Re: กำเนิดนางกากี : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 เมษายน 2567 15:00:00
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18280039727687_4444_Copy_.jpg)
ภาพวาด นางกากี ฝีมือครูเหม เวชกร

๏ นางรำจวนครวญคะนึงถึงดาวบส   อันทรงพรตอำไพอยู่ไพรสณฑ์
ลูกเกิดในพุ่มพวงดวงอุบล       เสาวคนธ์สร้อยสุวรรณกรรณิการ์
พระเด็ดได้เลี้ยงไว้ในอาวาส   แสนสวาสดิลูกน้อยเสน่หา
จึ่งให้นามกากีศรีสุดา       ถนอมมาจนรุ่นจำเริญใจ
อยู่วันหนึ่งพรหมทัตขัตติเยศ   สดับเหตุมีจิตให้พิสมัย
จึ่งเสด็จออกสู่ศาลาลัย       บังคมไทขอข้าไปในธานี
อภิเษกให้เป็นเอกอนงค์นาฏ   แสนสวาดิแนบน้องประคองฉวี
ร่วมสรงร่วมเสวยทุกราตรี       ร่วมที่ปัจถรณ์ที่นอนนาง ฯ

ที่มา กากี คำกลอนสุภาพ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

  เรื่องราวของนางกากี ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องกากี  มีความเป็นไปที่อยู่เหนือวิสัยของมนุษย์ปุถุชน
กวีได้ผูกเรื่องราวชาติกำเนิดและประวัติของนางไม่เหมือนสามัญมนุษย์ กล่าวคือ นางเกิดในดอกบัว
ฤาษีเก็บเอามาเลี้ยงไว้ นอกจากโฉมงามหานางใดไหนเปรียบปานมิได้แล้ว  นางยังมีกลิ่นกายหอม
ประหลาด ชายใดได้เห็นโฉมและเข้าใกล้ มักติดกลิ่นนางจนโงหัวไม่ขึ้น  โชคชะตากากีถูกกำหนด
ให้เป็นมเหสีของท้าวพรหมทัต แห่งนครพาราณสี ...เรื่องราวของนางกากีจบลง ตรงท้าวพรหมทัต
หักใจฆ่านางไม่ลง สั่งให้คนจับนางลอยแพไปออกทะเล
]