11 พฤศจิกายน 2567 02:23:24
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ห้องสมุด
.:::
ว่าว : มรดกวัฒนธรรมไทย
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ว่าว : มรดกวัฒนธรรมไทย (อ่าน 2034 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
ว่าว : มรดกวัฒนธรรมไทย
«
เมื่อ:
10 เมษายน 2563 15:36:35 »
Tweet
ว่าวลม เป็นเครื่องเล่นที่นิยมของเด็ก โดยเฉพาะในหมู่เด็กผู้ชาย นิยมเล่นกันในช่วงเดือนยี่ เดือนสาม และเดือนสี่ คือเวลาประมาณ
เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่กำลังเกี่ยวข้าวและเสร็จจากการเกี่ยวข้าวแล้ว เด็กผู้ชายจะทำว่าว
ชักประกวดประชันกันว่าของใครจะขึ้นสูงและยอดนิ่งอยู่ในอากาศได้ดีกว่ากัน
.
ว่าว
มรดกวัฒนธรรมไทย
.
ว่าว
เป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาก็ไม่แพงมากนัก หรือถ้าสามารถทำเองได้ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวัสดุที่ใช้ทำก็เป็นวัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย แต่การทำต้องมีทักษะว่าวจึงจะขึ้นได้ดี เรียกว่าติดลม การเล่นว่าวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มิได้เป็นการเล่นเพียงแต่สนุกสนานเหมือนกับปัจจุบันนี้เท่านั้น มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจของตำนานว่าวไทย
ประวัติและความเป็นมาของว่าวไทย
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวมิได้ใช้เฉพาะเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่มีการใช้ว่าวในการสงคราม คือตอนที่พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นกบฏ พระเพทราชาสั่งกองทัพไปปราบเมืองไม่สำเร็จ ในครั้งที่ ๒ แม่ทัพอยุธยาคิดเผาเมืองอุบายหนึ่งนั้นใช้หม้อดินบรรจุดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬาไปถึงหม้อดินดำระเบิดตกไปไหม้บ้านเมืองจากประวัติศาสตร์ตอนนี้ปรากฏเป็นชื่อว่าวจุฬาเป็นครั้งแรก
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังคงเป็นการละเล่นและกีฬาที่นิยมโดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนาน สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันคือท้องสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นตามที่โล่งกว้าง หรือตามท้องนาทั่วไป ซึ่งไม่มีต้นไม้เป็นที่ขัดขวางของการเล่น และสะดวกต่อการเล่น ต่อมาประเทศมีการพัฒนา ผู้คนมากขึ้น ทำให้สภาพในเมืองหลวงหรือตัวเมืองในจังหวัดอื่นๆ มีชุมชนแออัด สิ่งก่อสร้างตึกรามและสายไฟต่างๆ เป็นสิ่งกีดขวางของการเล่นว่าว ประกอบสภาพเศรษฐกิจทำให้คนต้องดิ้นรนทำมาหากิน ไม่มีจิตใจที่จะคิดสนุกสนานไปชมการเล่นว่าวได้ดังแต่ก่อน จึงทำให้วงการกีฬาว่าวซบเซาไประยะหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้มีหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนได้ร่วมมือกันฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้ง โดยการจัดงาน "มหกรรมว่าวไทย" ณ บริเวณท้องสนามหลวง มีการประกวดว่าวชนิดต่างๆ มากมาย ทั้งว่าวแผง ว่าวประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และว่าวตลกขบขัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในงานนี้ด้วย และในปีต่อมาคือ พ.ศ.๒๕๒๗ ทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานนี้อีกเรียกว่า "งานประเพณีว่าวไทย" ณ ท้องสนามหลวง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เสด็จฯเป็นองค์ประธานอีกครั้ง ส่วนสำคัญคือการประกวดว่าวภาพและการแข่งขันว่าวจุฬา กับว่าปักเป้า นอกจากนั้นมีนิทรรศการว่าวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ประชาชนได้ชม และในปีต่อๆ มาทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานประเพณีการเล่นว่าวขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาชมเป็นอย่างมาก ได้ความสนุกสนาน และเชียร์กันขณะมีการแข่งขันว่าว ณ บริเวณท้องสนามหลวง
การทำว่าวจากภูมิปัญญาของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน มีอยู่ ๕ ประเภท
๑.การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ ใช้ใบตองตึงเป็นวัสดุในการทำตัวว่าว ใบตองตึงไม่ใช่ใบกล้วยเป็นใบไม้ทางภาคอีสานในอดีตใช้ห่ออาหาร ลักษณะเป็นใบใหญ่ ๆ นำมาตากแห้งหรือใบไม้อื่นๆ เช่น ใบกระบอก ใบยางแดง ใบมะม่วงหิมพานต์ หรือใบไม้ต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ เป็นการทำว่าวลักษณะง่าย นำใบไม้มาต่อเชือกติดหาง ซึ่งเด็กๆ ในชนบทภาคต่างๆ นิยมนำมาทำเล่นเรียกว่า ว่าวใบไม้
๒.การทำว่าวจากกระดาษธรรมดาหรือกระดาษทำว่าว ขั้นตอนวิธีการทำเริ่มจากมีแบบแผนมากขึ้นวิธีการทำตัดกระดาษทำว่าวตามแบบ ติดกระดาษทำว่าวเข้ากับโครงว่าทำจากไม้ไผ่ ผูกซุงต่อเชือกต่อหางหรือไม่มีหางก็ได้ การทำว่าวประเภทนี้จะมีการทำแบบ การขึ้นโครง การวัดตัดที่มีสัดส่วนสมดุลย์ เช่น ว่าวประทุน หรือว่าวกระป๋อง ว่าวอีลุ้มเป็นว่าวไม่มีหาง แต่ถ้ามีหางจะเรียกว่าว่างปักเป้ามา ว่าวหัวฉีก ว่าวปลา ว่าวปลาปีกแอ่น ฯลฯ
๓.การทำว่าวมีลักษณะซับซ้อนมากกว่าประเภทที่ ๒ ติดอุปกรณ์เสริมทำให้เกิดเสียงขณะที่นำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าเรียกว่า แอกหรือสะนู หรือธนู มีลักษณะทำจากไม้ไผ่ทรงกระบอกส่วนกลางกลวงนำมาติดเข้ากับโครงว่าวบริเวณส่วนหัวของว่าว เมื่อว่าวกินลมบนท้องฟ้าจะมีเสียงดังแอกๆ เสียงจะยาวหรือสั้น ดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำแอก เช่น ว่าวควาย ว่าวนกปีหมอน ว่าวนกปีกแอ่น ว่าววงเดือน หรือที่ประเทศมาเลเซียเรียกว่า ว่าวบูรันบูแล
๔.การทำว่าวในลักษณะแผงความเชื่อเครื่องลางของขลัง การทำว่าวรูปผีและการเล่นว่าวผีมีลักษณะไม่แตกต่างกับการเล่นว่าวชนิดอื่นๆ แต่แผงด้วยความเชื่อ เมื่อชักว่าวขึ้นท้องฟ้าปลิวขาดตกบนหลังคาบ้านหรือบริเวณบ้านใคร บ้านนั้นต้องมีการนิมนต์พระมาสวดหรือทำบุญให้ครบ ๗ วัน มิฉะนั้นจะถือว่าโชคร้ายหรือจะมีเรื่องไม่ดีเข้ามาสู่บ้าน ลักษณะของว่าวผีส่วนหัวเป็นหน้าผีแลบลิ้นยาวๆ พุงโตเหมือนหนังตะลุง มีแขนมีขา จะดูว่าเป็นผีตัวผู้หรือผีตัวเมียให้สังเกตที่อวัยวะเพศ มีผ้าสีแดงเรียกว่าตะปิ้งปิดบริเวณอวัยวะเพศ เอกลักษณะของว่าวทำให้คนพบเห็นน่ากลัว และติดแอกเพื่อทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเวลาชักอยู่บนท้องฟ้า
๕.การทำว่าวมีการออกแบบตกแต่งพิเศษทำให้สวยงามมีรูปร่างแปลกๆ เช่น ว่าวแมงปอ ว่าวงู หรือว่าวประดิษฐ์อื่นๆ เช่น ว่าวสิงห์ ของบริษัทบุญรอด ว่าวประเภทสวยงามทุกชนิด
ปัจจุบันว่าวแบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ
๑.ว่าวแผง
คือว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้าง และส่วนยาว ตัวอย่างเช่น ว่าวจุฬา ปักเป้า อีลุ้ม หรือว่าวรูปสัตว์ ต่างๆ
๒.ว่าวภาพ
คือว่าวที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษเพื่อแสดงแนวคิด ฝีมือในการประดิษฐ์ แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ ๓ ชนิด คือ ว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด และว่าวประเภทตลกขบขัน
ว่าวแผงเท่านั้นที่นิยมนำมาคว้าหรือแข่งขันกัน ส่วนว่าวภาพจะทำสำหรับชักขึ้นอวดรูปร่างว่าวมากกว่าและนิยมชักให้ลอยนิ่งอยู่ในอากาศให้คนชม
ว่าวจุฬา
ถือเป็นว่าวเอกลักษณ์ประจำชาติไทย มีรูปร่างเหมือนดาว ๕ แฉก หรือมะเฟืองผ่าฝาน สามารถบังคับให้เคลื่อนไหว
ในท่าต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว และสง่างาม กีฬาว่าวพนันถือว่าว่าวจุฬาเป็นว่าวตัวผู้ ใช้เล่นตัดสินแพ้-ชนะกับว่าวปักเป้า ซึ่งถือ
เป็นว่าวตัวเมีย ว่าวจุฬามีอาวุธประจำตัวติดอยู่ตรงสายว่าว เรียกว่า "จำปา" ใช้สำหรับเกี่ยวเหนียง หาง และสายป่านของว่าว
ปักเป้า หากว่าวจุฬาเกี่ยวเหนียง หรือสายป่านว่าวปักเป้าได้ ๒ รอบ ว่าวปักเป้าจะผ่อนไม่ออก
ข้อมูล : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ/เล่มที่ ๓๗/เรื่องที่ ๔ ว่าว
ว่าวปักเป้า
ถือเป็นเอกลักษณ์ของว่าวภาคกลาง และเป็นว่าวประจำชาติไทยเคียงคู่กับว่าวจุฬา มีโครงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
คล้ายว่าวอีลุ้ม แต่โครงไม้ไผ่ส่วนที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของว่าวอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางยาวถ่วงที่ปลายและมีอาวุธ เรียกว่า "เหนียง" ขณะ
ลอยอยู่ในอากาศจะส่ายไปส่ายมา โฉบเฉี่ยวในท่าต่างๆ ได้อย่างฉับไวคล่องตัว เมื่อถึงฤดูแข่งขันว่าวพนัน หากพบเห็นว่าวจุฬามักเห็นว่าว
ปักเป้าลอยพัวพันอยู่ด้วยเสมอ
ข้อมูล : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ/เล่มที่ ๓๗/เรื่องที่ ๔ ว่าว
ว่าวงู
เป็นว่าวรูปสัตว์ที่นิยมเล่นทั่วทุกภาคโครงว่าวทำง่ายๆ เป็นส่วนหัวและส่วนหาง
ส่วนหัวมีรูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู แต่ด้านบนโค้งมนคล้ายหัวงูกำลังแผ่แม่เบี้ย
หางทำจากกระดาษย่น ยาวเรียวคล้ายหางงู รูปทรงที่ดูแปลกตาและสีสันฉูดฉาด
ทำให้สวยงามโดดเด่น ถ้าเขียนเกล็ดจะสวยงามมากขึ้น ว่าวงูเป็นว่าวแผงที่ขึ้น
ง่ายที่สุด เพราะมีหางที่ถ่วงให้ขึ้น แต่การเล่นว่าวงูหรือว่าวแผงอื่นๆ ต้องเล่นใน
สภาพลมกำลังดี หากลมแรงมาก ว่าวจะควงทุกตัว
ข้อมูล : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ/เล่มที่ ๓๗/เรื่องที่ ๔ ว่าว
ว่าวในแต่ละภาคของประเทศไทย
ถ้าจะกล่าวถึงเอกลักษณ์ของการทำว่าวในแต่ละภาคของประเทศไทยแล้วก็ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้เล่น และก็ขึ้นอยู่วัยของผู้เล่นด้วย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะทำยากขึ้นมาหน่อย ว่าวไทยในแต่ละภาคของประเทศไทย แยกได้ดังนี
ภาคกลาง
ว่าวที่เล่นกันมีรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวหาง ว่าวอีแพรด ว่าวอีลุ้มส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ
ภาคเหนือ
ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ โดยมีโครงทำจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมีแกนกลางอันหนึ่ง และอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวก็คล้ายๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหางและพู่และมีชนิดเดียว ไม่มีหลายประเภทเหมือนภาคกลาง ลักษณะของว่าวก็เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม โดยหาซื้อว่าวตามท้องตลาด ซึ่งเป็นว่าวรูปแบบใหม่ ๆ คือรูปสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวนก
ภาคตะวันออก
ว่าวที่มีรูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบที่เหมือนกับภาค อื่น ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวหัวแตก ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวกระดาษ และว่าวใบมะกอกส่วนว่าวรูปแบบจากต่างประเทศไม่เป็นที่นิยมในภาคนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมืองกัน และว่าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ว่าวหาง หรือว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไปได้แก่ว่าวอีลุ้ม (หรือว่าวอีลุ่ม) ว่าวปลาโทดโทงและว่าวประทุน บางครั้งก็มีการแข่งขันในงานบุญ เช่น บุญกุ้มข้าวใหญ่ การแข่งขันว่าวนี้ตัดสินได้หลายอย่าง เช่น ว่าวสวย ว่าวที่ขึ้นได้สูงที่สุดหรือว่าวที่มีเสียงดังเพราะที่สุด ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีจัดการแข่งขันว่าวเป็นกีฬาพื้นเมืองของจังหวัด
ภาคใต้
ในภาคใต้นี้มีว่าวเล่นกันจำนวนมากโดยเฉพาะในเขตจังหวัดสงขลา มีว่าวที่มีรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ว่าวนก ว่าวนกปีกแอ่น ว่าวนกยูง ว่าวปลาวาฬ ว่าวปลาปีกแอ่น ว่าวควาย ว่าวใบยาง และว่าวกระป๋อง หรือว่าวกระดาษ เป็นต้น ในเขตจังหวัดที่อยู่ใต้สงขลาลงไปนั้น ชาวบ้านนิยมเล่นว่าววงเดือนอย่างเดียว ว่าวที่มีรูปแบบอื่นๆ ไม่นิยมประดิษฐ์กัน และที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งของภาคใต้คือ มักนิยมติดแอกหรือที่เรียกกันว่าสะนู หรือธนู ไว้ที่ส่วนหัวของว่าว
หากจะกล่าว ถึงว่าวไทยด้วยกันแล้ว ว่าวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ว่าวจุฬา กับว่าวปักเป้า แม้จะทำเล่นกันเฉพาะในภาคกลางก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติไทย มีลักษณะผิดแปลกแตกต่างกับว่าวของชาติต่าง อย่างสิ้นเชิง ทั้งรูปร่าง ทั้งการเคลื่อนไหวในอากาศ กล่าวคือเป็นว่าวที่สวยงามด้วยรูปทรงและฝีมือที่ประดิษฐ์อย่างประณีตที่สุด และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวได้ด้วยอาการต่างๆ อย่างสง่างามและคล่องแคล่วว่องไว ด้วยสายป่านที่ชักว่าวนั้นเพียงสายเดียว ตรงข้ามกับว่าวนานาชาติ ที่มีความสวยงามที่สีสันแพรวพราว
แต่ส่วนมากลอยลมอยู่เฉยๆ ไม่อาจบังคับให้เคลื่อนไหวอย่างว่าวจุฬาและว่าวปักเป้าได้ ว่าวจุฬา มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉก มุมไม่เท่ากัน ไม่มีหาง ผูกคอซุงที่อก ทำให้ส่ายไปมาได้ ส่วนว่าวปักเป้ารูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผูกคอซุงที่อกเช่นเดียวกัน มีหางยาวไว้ถ่วงน้ำหนักที่มุมล่างของตัวว่าว
กติกาการแข่งขัน
ถ้าดูจากขนาดรูปร่างแล้ว ว่าวจุฬามีขนาดใหญ่เป็น ๒เท่าของว่าวปักเป้า หรืออาจโตกว่าปักเป้า บางตัวมีความยาวถึง ๒ เมตร ว่าวจุฬามีอาวุธคือ "จำปา" เป็นไม้เหลาโค้งประกบติดสายป่านต่อจากคอซุงลงมา ติดประมาณ ๓-๕ ดอก ประโยชน์คือใช้สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้าให้ตาย แล้วจะได้ชักรอกไปกินเสีย
ส่วนว่าวปักเป้ามี "เหนียง" เป็นห่วงป่านติดใต้คอซุงลงมา เอาไว้คล้องตัวว่าวจุฬา ในวงการแข่งขันว่าว ถือว่าว่าวจุฬาได้เปรียบกว่าว่าวปักเป้าโดยรูปร่างและอาวุธ กติกาจึงต้องต่อให้ว่าวปักเป้า ๒ ต่อ ๑
ปักเป้าจะแพ้จุฬาได้หลายกรณี เช่น
๑.จุฬาคว้าตัวปักเป้าติด และทำให้ตายคือ ปักเป้าผ่อนสายป่านไม่ได้ เพราะ "จำปา"จุฬาบีบรัดหางพาดซุงหรือสายเครื่องป่านจุฬา
๒.กินหางตัวเอง คือหางปักเป้าพันกันเอง
๓.ตัวว่าวปักเป้ากระดาษขาดมากจนว่าวเอียงสายแร่งหัวหรือปีกขาด ไม้อกหรือปีกหัก หางขาดเหลือแต่ตัวว่าวหรือตัวว่าวขาด เหลือแต่หางติดป่านจุฬา
๔.สายเหนียงขาด
๕.ตัวปักเป้าลอดซุงจุฬา แล้วจะยาวหรือสั้นกว่าก็ตาม
๖.ทำร้ายจุฬาจนกระดาษขาด หรือสักขาดเป็นรูโต ไม้อกหรือปีกหรือขากบหัก
๗.ป่านมัดซุงจุฬา
๘.จุฬาเข้าตาร้ายประกบติดกัน หรือเข้าเหนียง เป็นต้น
ถ้าขณะเมื่อจุฬาพาปักเป้าไปยังไม่ถึงมือ ปักเป้าเกิดหลุดขาดลอยตามลมมาตกในเขตปักเป้าได้ ก็เป็นอันล้มเลิกกันไปในเที่ยวนั้น จุฬาจะเอาปักเป้าเป็นแพ้ไม่ได้ ส่วนจุฬาจะแพ้ปักเป้าเมื่อต้องติดปักเป้าตกดินกลับขึ้นอีกไม่ได้ จะตกด้วยประการใดๆ เช่น ติดต้นไม้ตกขาดลอยติดกันไป หรือขาดหน้ารอกมาจับได้ในเขตศูนย์ของปักเป้า ถึงแม้ว่าว่าวทั้งสองจะยังขึ้นอยู่ไม่ตกดินก็ตาม หรือแม้แต่จะแฉลบลงดินด้วยมือคนชักว่าวของจุฬา
ก็ตาม เมื่อตกลงในเขตปักเป้าแล้วก็เป็นอันต้องแพ้ปักเป้าทั้งสิ้น แต่ถ้าเมื่อก่อนจะตก ว่าวหลุดจากกันไปในอากาศโดยไม่ติดพันแต่อย่างใด ก็เป็นอันเลิกกันไปไม่แพ้และชนะ ผู้ชมการแข่งขันว่าวสนุกสนานตรงที่แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ต่างเอาใจช่วยว่าวที่ตนคาดว่าชนะ มีผู้เปรียบว่าวจุฬาซึ่งโฉบส่ายไปมาเหมือนนักเลงโตว่าเป็นฝ่ายชาย และเปรียบว่าวปักเป้าที่ตัวเล็กและโฉบฉวัดเฉวียนว่าแม่เปรต หรือเป็นฝ่ายหญิงก็มี เวลาแข่งว่าวจะมีการบรรเลงดนตรีไทยคือวงปีพาทย์ให้เข้ากับท่วงทำนองการต่อสู้ของว่าวจุฬาและปักเป้าด้วย เป็นที่สนุกสนานกันมากมีผู้สนใจชมไม่แพ้ยามมีนักขัตฤกษ์ทีเดียว
นั่นก็เป็นรายละเอียดของตำนานว่าวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อเขียนของ เนื้อหาและภาพประกอบจากของ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ในหนังสือตำนานว่าวไทย
กล่าวได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ในอดีตที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง และถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลังให้ได้เห็นสามารถทำตามและคิดรูปแบบใหม่ในลักษณะต่างๆ ของว่าวไทย นอกจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว สิ่งสำคัญคือมีความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนร่วมกันสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของไทย
ในการเล่นว่าวนั้น วิธีการเล่นจะแยกไปตามระดับของผู้เล่น กล่าวคือ ถ้าผู้เล่นเป็นเด็กเล็กก็จะเล่น
ว่าวอี่หาง
คือว่าวที่มีหาง เพราะว่าวจะทรงตัวในอากาศได้ดีกว่า
ว่าวอี่หลุ้ม
โดยมักจะให้ผู้ใหญ่นำเอาว่าวผูกกับเชือกที่ไม่ยาวนักไปโยงกับไม้แล้วยกตั้งขึ้นให้ลอยล้อลมเล่นอยู่ริมเพิงพักใกล้กับ
ตาลาง
หรือลานนวดข้าว บางทีก็ใช้เชือกที่ไม่ยาวนักผูกกับว่าวแล้ววิ่งไปมาเพื่อให้ว่าวลอยขึ้น ซึ่งก็จะมีการหกล้มหรือว่าวไปเกี่ยวตอซังข้าวหรือกิ่งไม้ข้างทาง พอเด็กโตขึ้นก็จะใช้เชือกยาวขึ้นผูกกับว่าวแล้ววิ่ง จนกระทั่งเด็กมีอายุประมาณ ๘-๑๐ ปี ก็อาจใช้ด้ายกลุ่มหลายกลุ่มมาต่อเข้าแล้วม้วนกับกระป๋องนมเปล่าหรือขวดน้ำเปล่า
(
ดูภาพ
)
โยงกับว่าวแล้ววิ่งไปกันตามที่โล่ง พอว่าวลอยสูงขึ้นก็ค่อยๆ ผ่อนด้ายสายป่านทีละน้อย ว่าวจะลอยสูง
ติดลมบน
จึงจะหยุดแล้วยืนดูว่าวและคุยกันเล่นในหมู่เพื่อนเด็ก พร้อมกับ
หน็อกว่าว
คือกระตุกว่าเป็นระยะๆ เพื่อให้ว่าวโคลงตัวหรือเคลื่อนไหวตามต้องการ
เมื่อเด็กโตขึ้นก็อาจเล่นว่าวให้พลิกแพลงกว่าเดิม โดยมักจะเล่น
ว่าวอี่หลุ้ม
เพราะว่าวมักจะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ต้องคอยดึงเชือกบังคับให้ลอยสูงขึ้นหรือผ่อนป่าน เมื่อเห็นว่าว่าวทำท่าควงสว่านจะทิ่มลงดิน เป็นต้น เมื่อมีประสบการณ์บังคับว่าวสูงขึ้นแล้วก็มักจะเล่นบังคับว่าวของตนไปตัดสายว่าวของผู้อื่น โดยทำ
ป่านแก้ว
คือนำเอาเศษแก้วมาตำให้ละเอียดคลุกกับแป้งเปียกแล้วเอาเชือกว่าวในส่วนที่คาดว่าจะใช้ไปตัดสายป่านว่าวตัวอื่นซึ่งยาวประมาณ ๑๕ เมตร มาชุบกับแป้งเปียกนั้นแล้วตากให้แห้งและต่อกับ
สายอก
ว่าวและส่วนที่เหลือต่อเข้ากับเชือกสายป่านปกติ เมื่อเห็นว่ามีผู้เล่นว่าวอยู่ก็จะบังคับว่าวของตนขึ้นสู่อากาศในระดับใกล้เคียงกับว่าวตัวก่อน พอได้จังหวะก็จะบังคับให้ว่าวของตนโฉบเข้าหาว่าวตัวก่อนแล้วผ่อนสายว่าวของตนโดยเร็ว ให้ตัวว่าวเสียระดับความสูงและพาเอา
ป่านแก้ว
ครูดกับสายเชือกของว่าวตัวก่อน ความแข็งคมของเศษแก้วและแป้งเปียกจะบาดสายป่านของว่าวตัวนั้นให้ขาดลอยไปได้ ทั้งนี้หากโตแล้วและผู้เล่นชำนาญการเพียงพอก็อาจเล่นพนันกันด้วยก็มี
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล
- ตำนานว่าวไทย จากหนังสือตำนานว่าวไทย เขียนโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง)
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๗ / เรื่องที่ ๔ ว่าว / ประเภทของว่าว
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ / เล่มที่ ๑๒ / เรื่อง ว่าว/ว่าวลม
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน 2563 16:09:50 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
Re: ว่าวควาย : มรดกวัฒนธรรมไทย
«
ตอบ #1 เมื่อ:
29 ตุลาคม 2566 14:23:06 »
ว่าวควาย
เมื่อสายฝนโปรยปรายเริ่มจางหาย สิ่งที่ประชาชนคนไทยตั้งตารอต่อจากนี้ คงหนีไม่พ้นลมหนาว เพราะนอกจากความเย็นสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าแอร์ ยังเหมาะกับเครื่องเล่นชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่คู่บ้านเรามาอย่างช้านาน ลอยอยู่ในอากาศได้ มีรูปร่างและสีสันมากมาย ใช้สายป่านบังคับทิศทาง สร้างจากไม้ไผ่ เชือก และกระดาษ นั่นก็คือ “
ว่าว
”
ในประเทศไทย มีการเล่นว่าวกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งแต่ละภาคก็มีสไตล์แตกต่างกันออกไป แม้จะยกว่าวจุฬาเป็นว่าวประจำชาติก็ตาม อย่างเช่นภาคกลาง เล่น “ว่าวปักเป้า” กันเยอะ ภาคตะวันออก เล่นพวก “ว่าวอีลุ้ม” “ว่าวหาง” “ว่าวหัวแตก” ทางภาคอีสาน ก็ชอบเล่น “ว่าวสองห้อง” และมักมีการจัดแข่งขันว่าวกันในงานบุญต่าง ๆ ส่วนภาคเหนือได้มีการพัฒนาใช้ความร้อนช่วยให้ลอยสูงขึ้นไปโดยไม่ต้องใช้สายป่าน คล้ายกับบอลลูน เรียกว่า “ว่าวล้านนา” หรือเรียกแบบคุ้นหูคนยุคนี้ว่า “โคมลอย”
และภาคใต้ ก็เป็นอีกท้องถิ่นที่มีคนชอบเล่นว่าวอยู่มาก โดย “ว่าววงเดือน” พบเห็นได้บ่อยสุดในย่านนี้ แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งเมื่อฤดูเก็บเกี่ยวได้สิ้นสุดลง ชาวสตูลคิดอยากแสดงการร่วมสรรเสริญรำลึกบุญคุณของเหล่าควายที่ได้ช่วยทำไร่ไถนาอย่างเหน็ดเหนื่อย จึงได้มีการคิดค้นพัฒนาสร้างสรรค์ว่าวรูปร่างหน้าตาเหมือนควายกำลังกินหญ้าให้เด็กๆ ได้เอามาเล่นกัน
จนถือกำเนิดออกมาเป็
น “
ว่าวควาย
” และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูล
โดยทั่วไป ว่าวควายเกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวจุฬากับว่าววงเดือน โดยตอนล่างจะขึ้นโครงเป็นรูปร่างหัวควายแทนรูปวงเดือน ส่วนที่ทำเป็นเขาควายนั้น จะต้องยาวโค้งรับกับปีกว่าวส่วนบนอย่างเหมาะสม ที่สำคัญยังมีการแบ่งตัวผู้ตัวเมียด้วยท่านผู้ชม!! โดยว่าวควายตัวผู้จะมีลักษณะเขาที่โค้งมนเข้าหาลำตัวว่าวมากกว่าตัวเมีย เมื่อเวลาว่าวลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่าวควายตัวผู้จะลู่ลมส่ายหัวไปมาคล้ายธรรมชาติของควายตัวผู้เวลากินหญ้า ต่างกับว่าวควายตัวเมียที่จะมีเขาสั้นกว่าเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าจึงมักจะลอยนิ่งดูเป็นกุลสตรีเรียบร้อยตามแบบฉบับควายตัวเมีย
ชาวสตูลจะนำว่าวควายไปใช้แข่งทั้งในแบบความไวในการไต่ระดับความสูง หรือแข่งด้านความไพเราะของเสียงเวลาลู่ลม บ้างก็ตกแต่งด้วยกระดาษสีวาดลวดลายให้สวยงามแล้วเอาไปประดับบ้าน หรือนำไปเป็นของที่ระลึก สำหรับให้แขกบ้านแขกเมือง
จะเห็นได้ว่านอกจากเป็นของเล่นอมตะผ่านกาลเวลาอยู่มาจนบัดนี้ ว่าวยังทำหน้าที่เหมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภูมิปัญญาโบราณกับยุคสมัยปัจจุบันเข้าด้วยกันผ่านงานศิลปกรรมที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ถือเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ต้องบอกว่าเล่นง่ายสบายกระเป๋าตังกว่าโดรนยุคนี้เยอะเลย
ขอขอบคุณ เพจ
อนุสาร อ.ส.ท.
(ที่มาข้อมูล/ภาพ)
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...