[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 29 พฤษภาคม 2554 08:39:18



หัวข้อ: สิ่งที่ไม่ควรพูดจงอย่าพูด{ภาษาชาวบ้าน}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 29 พฤษภาคม 2554 08:39:18
(http://www.seesod.com/storage36/fod4XLH1ok1304866747/l.jpg)

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=19987.0;attach=1169;image)

(http://uyfz9q.bay.livefilestore.com/y1puwwLyY1hQGevKbPEFyCjgBoQn3NSNeo-y8gjotl_lxJ--glH5i3PgMx-t56j5hxrXEdhp0j_jvxReSFv7ti_moNX3z_jaCAr/hyooneunhye.gif?psid=1)



ถาม......มีคนเคยบอกว่าการที่เราพูดอย่างไม่คิด - คำพูดนั้นแม้จะเป็นเพียงคำสั้น ๆ

แต่ก็สามารถทำให้เสียมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่ไปได้ และได้ศัตรูมาเพิ่มจริงหรือเปล่า ?



ตอบ.......พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

เป็นเครื่องเตือนที่ดีทุกแง่มุมของชีวิต

รวมไปถึงการพูดด้วยการใคร่ครวญไตร่ตรองให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนจะพูดอะไรจะทำ

อะไร(ด้วยกุศล)ย่อมเป็นสิ่งที่ดีควรอย่างยิ่งที่จะเป็นอย่างนั้นการพูดเป็นสิ่งที่

สำคัญในชีวิตประจำวัน จำเป็นจะต้องพูดคุยสนทนากับผู้อื่นอยู่เสมอและเป็นที่น่า

พิจารณาว่าในวันหนึ่ง ๆ โดยปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้นย่อมเป็นไปหวั่นไหวด้วย

อำนาจของอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ตามการสะสมไม่ใช่ว่าจะพูดด้วยกุศลจิตตลอด

บางครั้งก็พูดด้วยอกุศลจิตจึงมีวจีทุจริตเกิดขึ้นค่อนข้างมากในชีวิตประจำวัน

แต่เวลาที่หิริ(ความละอายต่ออกุศลธรรม)โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่ออกุศลธรรม)
  
มีกำลังมากขึ้นก็จะทำให้พูดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้น

จะเป็นโทษเป็นภัยอย่างไรแต่เวลาที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นจะทำให้พิจารณาเห็นได้

ว่าสิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ก็สามารถที่จะเว้นไม่พูดในขณะนั้นได้    

ไม่ได้ห้ามการพูดไม่ใช่ไม่ให้พูดพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สิ่งใดที่พูดไป

แล้วแม้จะเป็นเรื่องจริงเป็นการเพิ่มอกุศลให้กับทั้งคนพูดและคนฟังก็ไม่ควรพูด

แต่ถ้าสิ่งใดเมื่อพูดไปแล้วเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งกุศลธรรมควรพูดแต่จะ

เป็นไปได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและเห็นประโยชน์

แต่ละบุคคลมีความประพฤติเป็นไปตามการสะสมถึงแม้ว่าเราจะพูดดีให้คำแนะ

นำที่ดีพูดความจริงให้เห็นโทษของอกุศลให้เห็นคุณของกุศล เป็นต้นแต่บุคคลนั้น

ไม่รับฟังไม่เห็นด้วยไม่ชอบก็มีแสดงว่าเขาเป็นศัตรูกับเราเพราะขณะนั้นเขา

เป็นอกุศลแต่เราจะไม่เป็นศัตรูของเขาคือไม่เป็นอกุศลไม่โกรธแ่ต่พร้อมเสมอ

ที่จะมีเมตตาเกื้อกูลเท่าที่จะเป็นไปได้หรือถ้าจะมองในทางกลับกันถ้าเป็นบุคคล

ที่สะสมมาดีเป็นบัณฑิตมีจิตน้อมไปในทางที่เป็นกุศลอยู่เสมอ เมื่อเราพูดผิดพูด

ไม่ดีก็จะไม่ถือโทษโกรธในความผิดดังกล่าวพร้อมที่จะให้อภัยและแนะนำให้เห็น

โทษดังกล่าวด้วยแต่ละบุคคลจึงเป็นแต่ละหนึ่งจริง ๆ

พระธรรม เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลสไม่ใช่การเพิ่มกิเลสเพราะฉะนั้น

ถ้าพิจารณาเห็นว่าสิ่งใดเป็นโทษไม่เป็นประโยชน์ก็ควรจะงดเว้นในสิ่งนั้นแล้ว

เจริญกุศลธรรมในชีวิตประจำวันมีการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม เป็นต้นความ

เข้าใจพระธรรมจะเป็นเครื่องปรุงแต่งให้มีความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย - ทางวาจา

และทางใจ...........................................



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 2 หน้าที่ 442



(:LOVE:)๓.สุตสูตร (:LOVE:)



ว่าด้วยสิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

{๑๘๓}สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร -

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถานใกล้พระนครราชคฤห์ครั้งนั้นแลวัสสการ -

พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ -

ภาคเจ้าว่าพระโคดมผู้เจริญข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนเห็นว่าเราเห็นอย่างนี้โทษแต่การพูดนั้นไม่มีผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนได้ฟังมาว่าเราได้ฟังมาอย่างนี้โทษแต่การพูดนั้น

ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนทราบ(ทางจมูก ลิ้น กาย)ว่าเราทราบ

อย่างนี้โทษแต่การพูดนั้นไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนรู้แจ้ง(ทางใจ)

ว่าเรารู้แจ้งอย่างนี้โทษแต่การพูดนั้นไม่มี

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนพราหมณ์เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็น

ทั้งหมดว่าควรกล่าวและไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่าไม่ควรกล่าวเราไม่

กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่าควรกล่าวและไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่าไม่

ควรกล่าวเราไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่าควรกล่าวและไม่กล่าวสิ่งที่

ทราบทั้งหมดว่าไม่ควรกล่าวเราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่าควรกล่าว

และไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่าไม่ควรกล่าวดูก่อนพราหมณ์แท้จริง

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใดทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้นกุศลธรรม

เสื่อมไปเรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นเห็นปานนั้นว่าไม่ควรกล่าวแต่เมื่อบุคคล

กล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใดทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญขึ้นเรา

กล่าวสิ่งที่ได้เห็นเห็นปานนั้นว่าควรกล่าวดูก่อนพราหมณ์เมื่อบุคคลกล่าว

สิ่งที่ได้ฟังมาอันใดสิ่งที่ได้ทราบอันใดสิ่งที่รู้แจ้งมาอันใดทำให้อกุศล

ธรรมเจริญขึ้นกุศลธรรมเสื่อมไปเรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น

สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้นสิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่าไม่ควรกล่าวแต่

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใดสิ่งที่ได้ทราบมาอันใดสิ่งที่รู้แจ้ง

อันใดทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญขึ้นเรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมา

เห็นปานนั้นสิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้นสิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า

ควรกล่าวครั้งนั้นแลวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป



(:LOVE:)จบสุตสูตรที่ ๓ (:LOVE:)



พึงพิจารณาวาจาที่จะพูด{จูฬราุหุโลวาทสูตร}



พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม 2 ภาค 1 หน้าที่ 267



{๑๓๐}ดูก่อนราหุลเธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจาเธอพึง

พิจารณาวจีกรรมนั้นเสียก่อนว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรม

ขอเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อ

เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์

เป็นวิบากกระมังหนอถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำ

กรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็น

อกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้วจีกรรมเห็นปานนั้น

เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียวแต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนา

จะทำกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนคนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียนทั้งคนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้

เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นผลดังนี้ไซร้วจีกรรมเห็นปานนั้นเธอ

ควรทำดูก่อนราหุลแม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยวาจาเธอก็พึงพิจารณา

วจีกรรมนั้นแหละว่าเราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้ย่อม

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียน

ทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบาก

กระมังหนอถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่าเราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา

วจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นและ

เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นวจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์

เป็นวิบากดังนี้ไซร้ธอพึงเลิกวจีกรรมเห็นปานนั้นเสียแต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่

พึงรู้อย่างนี้ว่าเราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็น

ไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียนทั้งตน

และผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้

เธอพึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้นดูก่อนราหุลแม้เธอทำกรรมด้วยวาจาแล้ว

เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่าเราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจาวจี -

กรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมี

ทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่าเราได้ทำแล้ว

ซึ่งกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้างเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นอกุศล

มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้วจีกรรมเห็นปานนั้นเธอพึงแสดง

เปิดเผยทำให้ตื้นในพระศาสนาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู

ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไปแต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่าเราได้ทำแล้ว

ซึ่งกรรมใดด้วยวาจาวจีกรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็น

กุศลมีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้เธอพึงมีปีติและปราโมทย์

ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ



(:LOVE:)เป็นกุศลก็ไม่พ้นจากสังสารวัฎฎ์ (:LOVE:)



ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฎฎ์ก็ไม่พ้นกรรมตั้งแต่ขณะเกิด

เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ต้องเกิด แต่ละคนเกิดมาต่างกัน

เพราะกรรมต่างกันกรรมนั้นมีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม

อกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วสามารถให้ผลได้เมื่อยังมีสังสารวัฎฎ์

เมื่อกลัวผลของอกุศลกรรม

ก็ควรเจริญกุศลกรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้

โดยเฉพาะกุศลกรรมที่จะทำให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์

เพราะเมื่อยังเป็นกุศลกรรมที่ทำแล้วก็ไม่พ้นจาก{สังสารวัฎฎ์}



ข้อมูนี้มาจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาบ้านธัมมะ 136 หมู่ 5 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230



ท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

จะเดินทางมาร่วมสนทนาธรรมที่บ้านธัมมะเชียงใหม่

วันที่ ๑๔ - ๑๕ - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔

ท่านสามารถเข้าร่วมการสนทนาและถามปัญหา

ตามวันเวลาต่อไปนี้

วันอังคารที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔

เวลา ๑๔:๐๐-๑๖:๓๐ น.

วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔

เวลา ๐๙:๓๐-๑๒:๐๐ น.ที่บ้านธัมมะ

และเวลา ๑๓:๓๐ - ๑๖:๐๐ น. ที่ห้องประชุมเดชะตุงคะ กองบิน 41

วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔

เวลา ๐๙:๓๐ - ๑๒:๐๐ น.

มีอาหารกลางวันจัดไว้สำหรับทุกท่าน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ..

มูลนิธิ ฯ 02 - 4680239 และบ้านธัมมะ 053 - 431678



My Blog...........http://7star2011.wordpress.com (http://7star2011.wordpress.com)



http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/07.%20Track%207.wma