[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 09:06:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ร่วมถก 'ก้าวต่อไปหลักประกันสุขภาพไทย ยั่ง  (อ่าน 71 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 21:01:28 »

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ร่วมถก 'ก้าวต่อไปหลักประกันสุขภาพไทย ยั่งยืนหรือย่ำแย่'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-12-26 17:31</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: ทีมสื่อ สปสช.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นพ. 'ฉันชาย' ย้ำ เทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงคุ้มค่าหากทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ เผย รพ.จุฬาฯ จับมือ สปสช. คัดกรองผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง เข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูง ด้านที่ปรึกษาสมาคม รพ.เอกชน ระบุต้องสร้างความยั่งยืนให้ระบบด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน กรรมการ บอร์ด สปสช. ชี้อนาคตของของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นอยู่กับรัฐบาลและ สปสช. บริหารจัดการ</p>
<p> </p>
<p>26 ธ.ค. 2566 ทีมสื่อ สปสช. รายงานวันนี้ (26 ธ.ค.) ย้อนไปเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ คณะกรรมการจัดประชุมวิชาการระดับชาติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พร้อมด้วยมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมจัดการประชุมข้างเคียง (Side meeting) ในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 หัวข้อ "ก้าวต่อไปหลักประกันสุขภาพไทย ยั่งยืนหรือย่ำแย่" </p>
<p>โดยมีสมาชิกสมัชชาสุขภาพจากหลายภาคีเครือข่ายที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประชุม รวมถึงบุคคลสำคัญจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ ไซมา วาเซด (Saima Wazed) ประธานมูลนิธิ Shuchona ประเทศบังกลาเทศ และในฐานะว่าที่ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และอดีต รมว.สาธารณสุข ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53422060869_b6f585ffc4_b.jpg" /></p>
<p>ดร.นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และในฐานะกรรมการและเลขานุการร่วมจัดประชุมวิชาการระดับชาติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12-13 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมระดับชาติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประเทศไทย ซึ่งมีนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชนเข้าร่วมพูดคุยถึงประเด็นในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พร้อมกับมีแถลงการณ์ 12 ข้อเพื่อให้มีการดำเนินการทันที (Call for action) ร่วมกัน  </p>
<p>ทั้งนี้ การจัดประชุมข้างเคียงในงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จึงเป็นการนำประเด็นจากที่ประชุมระดับชาติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม และนำไปต่อยอดปรับปรุงในการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพในภาพรวมของประเทศ  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงคุ้มค่าหากทำให้ทุกคนเข้าถึงได้</span></h2>
<p>รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยช่วยทำให้มีการดูแลรักษาผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ความท้าทายในอนาคตคือความยั่งยืนในการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และได้เป็นผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้นจริงๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ในหลายโรงเรียนแพทย์ และยังเป็นสถานพยาบาลระดับตติยภูมิ จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับบริบทการบริการรักษาผู้ป่วยในประเทศที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะส่งผลต่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของรัฐบาล หากว่าเป็นเทคโนโลยีที่ผ่านการวิจัย และพบว่ามีความคุ้มค่าทั้งต่อประชาชน และการเงินการคลังของประเทศในระยะยาว แม้ว่าเทคโนโลยีนั้นอาจมีราคาแพงก็ตาม  </p>
<p>“หากเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความคุ้มค่าและมีความจำเป็นในการช่วยดูแลสุขภาพของคนไทย รวมถึงช่วยในการส่งเสริมป้องกันโรคก็ต้องนำเข้ามาและต้องวางระบบเพื่อให้เกิดการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันขบคิด” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ กล่าว  </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53422060844_ebdb770c27_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ฉันชาย สิทธิพันธ์</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สปสช.ทำระบบคัดกรองผู้ป่วยบัตรทองที่ต้องรักษาด้วยเทคฯ ขั้นสูงส่งต่อที่ รพ.จุฬา </span></h2>
<p>รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวต่อว่า สำหรับอนาคตโรงเรียนแพทย์เองต้องปรับตัวในการสอนนักศึกษาแพทย์ เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และตรงกับเป้าหมายการใช้ประโยชน์คือประชาชน ไม่ใช่เทคโนโลยีที่มีไว้เพื่อการอื่น หรือประโยชน์อื่นใด อีกทั้งบทบาทของโรงเรียนแพทย์ที่มีเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ นวัตกรรมการแพทย์ระดับสูงก็อาจต้องปรับตัว เพื่อใช้เทคโนโลยีนั้นกับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ป่วยในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท ซึ่งขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงส่งต่อมายังมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้ได้ใช้เทคโนโลยีนั้นในการรักษาตัว โดย สปสช. จะจ่ายค่ารักษาตามสิทธิให้  </p>
<p>"เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่เราอยากผลักดันให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น ในเมื่อโรงเรียนแพทย์มีเทคโนโลยี สปสช. ก็มีผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วนตามสิทธิประโยชน์ ก็จะส่งต่อมารักษา และโรงเรียนแพทย์ก็จะเบิกค่าใช้จ่ายกับ สปสช. แต่ประเด็นสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีที่ว่านี้เข้าไปถึงคนจำนวนมากได้ ก็อาจเป็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพิจารณา" รศ.นพ.ฉันชาย กล่าว  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอตั้ง 'คณะกรรมการส่งเสริมป้องกันโรค' เน้นยุทธศาสตร์ป้องกันโรค</span></h2>
<p>ด้าน นพ.สุรพล โล่ห์สิริวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต จะต้องคำนึงว่า ปัจจุบันมีการส่งเสริมป้องกันโรคที่ดีแล้วหรือยัง เพราะหากมีการส่งเสริมป้องกันโรคได้ดี ก็จะส่งผลให้ประชาชนไม่เป็นโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ซึ่งเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง และไม่มีผู้ป่วยหน้าใหม่ ก็จะส่งผลดีต่อทั้งระบบบริการสุขภาพและการจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งจะเป็นความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53420821742_b27aec413b_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุรพล โล่ห์สิริวัฒน์</span></p>
<p>นพ.สุรพล ระบุต่อว่า หากเป็นไปได้อยากให้มีคณะกรรมการส่งเสริมป้องกันโรค เหมือนกับที่มีคณะกรรมการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพ เพื่อมาทำงานและวางแผนการส่งเสริมป้องกันโรคโดยเฉพาะ</p>
<p>นพ.สุรพล กล่าวเสริมอีกว่า การสร้างองค์ความรู้ให้กับภาคประชาชนก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่การสร้างองค์ความรู้อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่ภาครัฐ อาจต้องสร้างระบบ หรือกลไกที่ให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้ โดยเฉพาะกับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ดูแลตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยทั้งระบบสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ให้บริการที่ภาระงานจะลดลง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รับมือโจทย์สังคมผู้สูงวัย</span></h2>
<p>ขณะที่ ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช กรรมการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนทุกคน และมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสมและเพียงพอ แต่ด้วยปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ที่จะมีจำนวนคนสูงวัยเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ยังป่วยด้วยโรค NCD ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย ในอนาคตก็อาจมีผลกระทบต่อการจัดงบประมาณเพื่อดูแลประชาชนได้เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น งบประมาณก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ที่ผ่านมาเราพบว่าหลายพื้นที่ใช้งบประมาณส่วนนี้ไม่หมด หรืออาจติดขัดกระบวนการต่างๆ ในการนำงบประมาณไปขับเคลื่อนส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณได้  </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53421743671_3bde5e7502_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ปรีชา พันธุ์ติเวช</span></p>
<p>"ในระยะยาว หากว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่เงินไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเพราะที่ผ่านมาเราใช้เงินส่วนนี้ไม่คุ้มค่า ก็อาจทำให้การดูแลผู้ป่วยไม่ครอบคลุม ไม่ทั่วถึง" ภก.ปรีชา กล่าว  </p>
<p>ภก.ปรีชา กล่าวอีกว่า ในเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเชื่อมโยงมายังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ และอาจบอกได้ว่าจะมีความยั่งยืนได้หรือไม่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของทั้งรัฐบาลและ สปสช. ด้วยเช่นกันที่จะบริหารจัดการอย่างไรสำหรับอนาคต รวมถึงการจัดสรรงบประมาณกรณีที่เกิดโรคอุบัติใหม่ที่ต้องไม่กระทบการงานด้านอื่นๆ เหมือนกับเหตุการณ์โควิด -19 ที่งานส่วนอื่นๆ ก็อาจได้รับผลกระทบเพราะงบประมาณถูกเกลี่ยไปจัดการโรคอุบัติใหม่ก่อน  </p>
<p>"ตอนนี้อาจยังตอบไม่ได้ว่าหลักประกันสุขภาพจะยั่งยืนหรือย่ำแย่ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลและความคิดเห็นจากการระดมสมองที่พวกเรามาแลกเปลี่ยนกันจะช่วยพัฒนาระบบให้ยอดเยี่ยมตามจังหวะการก้าวเดินได้แน่นอน" ภก.ปรีชา กล่าวในตอนท้าย  </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107392
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กิจกรรมไตรสิกขามหาบุญ ครั้งที่ 3 โดย พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1251 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2559 03:55:44
โดย มดเอ๊ก
งานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ 11 ที่ ประเทศอินเดีย
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
มดเอ๊ก 0 1677 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2559 21:19:54
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวด่วน] - ชวนคนกรุงร่วมเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะชงเข้าสมัชชาสุขภาพ กทม. ครั้งที่ 3
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 197 กระทู้ล่าสุด 29 พฤษภาคม 2565 22:46:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - กลุ่มสยามพิวรรธน์ต้อนรับผู้นำสตรีทั่วโลกร่วมสุดยอดผู้นำสตรีโลก ครั้งที่ 32
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 177 กระทู้ล่าสุด 23 มิถุนายน 2565 06:23:31
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์' เข้าให้การเพิ่มเติมต่ออัยการศูนย์ ศป.ทส. ครั้งที่ 2
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 14 มีนาคม 2567 13:23:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.221 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤษภาคม 2567 22:07:35