[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 พฤษภาคม 2567 10:52:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างสรรค์หรือทำลาย 14,000 ล้าน ต้องแลกด้วยอะไร  (อ่าน 1673 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2559 04:38:54 »



<a href="https://www.youtube.com/v/HJmIk3qhZiM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/HJmIk3qhZiM</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/QnI3ZdgLGYs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/QnI3ZdgLGYs</a>




เหตุผลในการผลักดันโครงการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามีการอ้างถึงความจำเป็นที่ (ดูเหมือนจะ) คุ้มค่าและเป็นประโยชน์กับสังคมส่วนใหญ่ ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น ประเด็นการสร้างโครงการนี้เป็นที่น่ากังขาและมีข้อสงสัยจากหลายฝ่าย ตั้งข้อสังเกตและร่วมกันคิดพิจารณาในหลายเรื่อง ติดตามได้ในรายการ #ธรรมชาติมาหานคร ตอน ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างสรรค์หรือทำลาย วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 13:30 น. ทางนิวทีวี ทีวีดิจิทัล ช่อง 18 ออนไลน์ www.newtv.co.th/live

#newtv18 #นิวทีวี18 #newtvdocumentary #documentary #สารคดี #แม่น้ำเจ้าพระยา #National #water #การอนุรักษ์ #ธรรมชาติ


<a href="https://www.youtube.com/v/Bzqd0hv_Clk" target="_blank">https://www.youtube.com/v/Bzqd0hv_Clk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/0agIymWL9l0" target="_blank">https://www.youtube.com/v/0agIymWL9l0</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/SBsKwcB5Q0s" target="_blank">https://www.youtube.com/v/SBsKwcB5Q0s</a>
















ภาพ เพิ่มเติม https://www.flickr.com/photos/greenpeacethailand/sets/72157671208155675/


ทางเลียบบนเจ้าพระยา 14,000ล้าน ที่ต้องแลกด้วยรากเหง้าประวัติศาสตร์ไทย

“14,000 ล้านบาท อาจจะเป็นเงินภาษีของเราที่ถูกนำไปใช้ทำลายแม่น้ำเจ้าพระยาโดยที่เรายุติไม่ได้” คุณยศพล บุญสม ตัวแทนสมัชชาแม่น้ำ กล่าว
“ทางเลียบบนเจ้าพระยา พัฒนาหรือทำลาย?” นี่คือคำถามที่ประชาชนกำลังรอคำตอบที่ชัดเจนจากภาครัฐ ก่อนที่โครงการทางเลียบบนแม่น้ำเจ้าพระยาจะเริ่มก่อสร้างภายในเดือนมกราคม 2560 นี้ ที่น่ากังวลที่สุด คือ เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าโครงการนี้ทำไปเพื่ออะไร จะส่งผลกระทบเช่นไรบ้าง แม้แต่ชุมชนริมแม่น้ำกว่า 30 ชุมชนเองก็ยังไม่รู้รายละเอียดดีพอ ในเวลาที่เหลือเพียงไม่กี่เดือนกับการเดินหน้าก่อสร้างโครงการนี้

#RiverNotRoad #หยุดทางเลียบบนเจ้าพระยา

ช่วงสายของวันที่ 16 กรกฎาคม 2559 สองฝั่งริมน้ำเจ้าพระยาคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวและผู้คนต่าง ๆ มาเที่ยวและสัญจร  เมื่อคิดถึงเจ้าพระยาสิ่งที่เรานึกถึงคงไม่ใช่ถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 5-7 เมตร บนตอหม้อขนาบสองฝั่งแม่น้ำ แต่เป็นเอกลักษณ์ของแม่น้ำอย่างเรือ และชุมชนเก่าริมน้ำที่สืบทอดอัตลักษณ์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ท่ามกลางเรือที่สัญจรขวักไขว่ กลุ่มสมัชชาแม่น้ำและตัวแทนของกลุ่มคนรักแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 200 คน ได้มารวมตัวกันบนเรือเพื่อพูดคุยกันถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกรุงเทพฯ ที่เราไม่อยากสูญเสียไป และเปล่งเสียงบอกภาครัฐให้ “หยุดทางเลียบบนเจ้าพระยา” ที่คาดการณ์ว่าจะเป็นโครงการที่ทำลาย มากกว่าพัฒนาสองฝั่งน้ำ



"ทุกคนใช้แม่น้ำไม่ว่าแง่ใดก็แง่หนึ่ง การชมแม่น้ำ คือการยืนชมริมแม่น้ำไม่ใช่มีการปิดกันด้วยเขื่อน กำแพง หรือถนน มันฆ่าหมดในแง่ความรู้สึก ท้องน้ำและวิถีชีวิตไทยเดิมจะถูกทำลาย การที่บอกว่าชุมชนยึดครองแม่น้ำนั้นไม่ถูก เพราะเขาเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมายาวนาน เป็นบรรยากาศสาธารณะ แม่น้ำถูกใช้อยู่แล้วโดยกลุ่มธุรกิจ ชุมชน และประชาชนทั่วไป แต่การจะให้มหาชนมาใช้ต้องมีการให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนเลือกตัดสินใจ ไม่ใช่เป็นการตัดสินของภาครัฐ อย่าทำเลย โอกาสปรับปรุงเจ้าพระยายังมีอีกเยอะแยะ" อ.ขวัญสรวง อติโพธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม กล่าว

ไม่ใช่เพียงการทำลายชุมชน แต่คือการทำลายรากเหง้าประวัติศาสตร์ไทย

โครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยามีระยะทางรวมทั้งสิ้น 57 กิโลเมตร โดยในระยะแรกจะเริ่มต้นด้วยระยะทางนำร่อง 14 กิโลเมตร http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/56984/

 จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และมีกรอบระยะการทำงานให้แล้วเสร็จพร้อมส่งแบบก่อสร้างภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งในระยะ 14 กิโลเมตรมีชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจำนวน 33 ชุมชน โดยมี 9 ชุมชนที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกไล่รื้อ โดยจากข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่โครงการระบุไว้นั้น ภาพของเจ้าพระยาจะแปรเปลี่ยนไปอย่างถาวร

1. เปลี่ยนเมืองเวนิสตะวันออก เป็นเมืองถนนลอยน้ำ

ทางเลียบบนแม่น้ำเจ้าพระยามีความกว้าง 5-7 เมตร ปลูกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ มีเสาตอหม้อปักลงในลำน้ำกว่า 400 ต้น ชุมชนเล็งเห็นว่ามีการแฝงเจตนารมณ์เพื่อเป็นถนนรองรับการสัญจรด้วยรถยนต์มากกว่าเป็นทางเดินหรือทางจักรยาน อีกทั้งการลงตอหม้อขนาดใหญ่จำนวนมากนั้นจะยิ่งทำให้แม่น้ำแคบลง และแผ่นดินริมฝั่งแม่น้ำอาจทรุดลง เร่งให้ผลกระทบจากอุทกภัยทวีคูณ

2. เปลี่ยนชุมชนริมน้ำ เป็นชุมชนริมกำแพง

หากมองสองฝั่งเจ้าพระยาจะพบว่าปัจจุบันมีกำแพงเขื่อนสูง 2.85 เมตร อันมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่บดบังทิวทัศน์ระหว่างชุมชนและการเข้าถึงสายน้ำเท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาน้ำขังให้กับชุมชน ในอนาคตหากต้องตอบโจทย์โครงการนี้จะต้องสร้างกำแพงสูงขึ้นอีก 45 เซนติเมตร บดบังเอกลักษณ์ของเมือง วัด และพระราชวังเก่าไปจนสิ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางอุทกภัยต่อชุมชนในจังหวัดอื่นที่อยู่รอบเจ้าพระยาตอนบนทั้งหมด แม่น้ำเจ้าพระยาจะคับแคบลง ปิดกั้นระหว่างผืนดินกับผืนน้ำ ไม่ต่างอะไรกับคลอง หรือท่อระบายน้ำเส้นหนึ่ง

3. อัตลักษณ์ของชุมชนริมน้ำจะกลายเป็นสิ่งใด หากถูกตัดขาดจากแม่น้ำ

ถนนลอยน้ำขนาดใหญ่ และกำแพงสูง สองสิ่งนี้ก็เพียงพอที่จะปิดกั้นการเข้าถึงแม่น้ำของชุมชน หรือแม้แต่การสัญจรทางน้ำของประชาชน ยังไม่มีใครสามารถจินตนาการการใช้เจ้าพระยาผ่านกำแพงและตอหม้อได้ เรือเล็กจะสัญจรได้ดังเดิมหรือไม่ โป๊ะเรือสำหรับขึ้นลงเรือประจำทางจะอยู่ตรงไหน แล้วประวัติศาสตร์อันยาวนานของชุมชนที่ผูกพันมากับสายน้ำตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นจะต้องยุติลง กลายเป็นอื่นไป วัฒนธรรม วิถีชีวิตอันหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์จะสามารถหาจากที่ใดมาทดแทนได้

“เมื่อทราบข่าว 33 ชุมชนของเรากินไม่ได้นอนไม่หลับมาสามเดือน เราไม่รู้ไม่ได้ข้อมูลว่าโครงการนี้คืออะไร วันหนึ่งบอกเป็นทางคนเดินเป็นทางจักรยาน วันหนึ่งเป็นทางเลียบขนาดใหญ่ แล้วทำไปเพื่ออะไร ถามชุมชนก่อนไหม ช่วงปิ่นเกล้าถึงพระรามเจ็ดเป็นช่วงที่นักลงทุนจับจ้อง หากเร่งด่วนจำเป็นจริงทำไมไม่ทำช่วงที่เป็นบริเวณของโรงแรมก่อน แต่เริ่มที่บริเวณชุมชน ต่อไปสองฝั่งจะกลายเป็นสัมปทานของนายทุนใหญ่แน่นอน” คุณสรเทพ โรจน์พจนารัช – ตัวแทนเครือข่ายต่อต้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 33 ชุมชน กล่าว

“สถาพของชุมชนเจ้าพระยาจะเหลืออะไรถ้ามีถนนคอนกรีตขนาดยักษ์ ต้นทุนของเจ้าพระยาและกรุงเทพฯ คือความหลากหลายของชุมชน นี่คือสิ่งที่ประเทศที่มีแม่น้ำในเมืองหลวงพยายามอนุรักษ์และรักษา ในอนาคตข้างหน้าถ้าสูญเสียไปแล้ว กี่หมื่นกี่แสนล้านก็เอาคืนไม่ได้ ถ้าเราทุกคนร่วมกันแสดงออกเราจะมีพลังมากพอที่จะทำให้ภาครัฐรับฟัง ประชาชนมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องส่งเสียงให้รัฐบาลได้ทราบ มติประชาชนยิ่งใหญ่กว่ามติครม.” อ.ปริญญา เทวาณฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว

ขณะนี้ 33 ชุมชนริมน้ำกำลังรวมตัวกันติดป้ายคัดค้านทางเลียบแม่น้ำที่กำแพงของบริเวณชุมชน เนื่องจากเห็นว่าสิ่งที่ภาครัฐกำลังทำนั้นไม่ใช่การถามความคิดเห็นหรือแจ้งผลกระทบ แต่เพียงแค่ประชาสัมพันธ์โครงการ



“หลายโครงการของภาครัฐเข้ามาทันทีโดยไม่มีการตรวจสอบตรึกตรองอะไร  หากจุดประสงค์คือการทำทางให้เหมือนกับแม่น้ำเเซนของฝรั่งเศส หรือ แม่น้ำเทมส์ของอังกฤษ แต่เส้นทางริมแม่น้ำในเมืองใหญ่เหล่านั้นเป็นพื้นที่สาธารณะของรัฐที่ไม่มีชุมชน ไม่มีการก่อสร้างโครงการใหญ่ เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกๆ ที่ภาครัฐอยากจะสร้างประวัติศาตร์ความสวยงาม แต่หารู้ไม่ว่าจะกระทบกับชุมชน วัดวาอาราม โบราณสถาน ซึ่งมีกฎหมายที่ระบุไว้ว่าต้องอนุรักษ์” อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  กล่าวถึงนโยบายภาครัฐที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชน

“การมีแม่น้ำหลายสายในประเทศคือสรวงสวรรค์ เมื่อเจ้าพระยาเปลี่ยนไปเราจะโหยหาในสิ่งที่สาบสูญไปแล้ว สังคมไทยไม่เคยถามชุมชนสักคำ เราอ้างว่าทำเพื่อประเทศ เพื่อส่วนรวม เพื่อการเดินทาง คนที่จะมาตัดสินอนาคตแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างผู้กำหนดนโยบายเคยอยู่กับแม่น้ำมาหรือเปล่า คิดว่าเราควรมีการถามพูดคุยแสดงความคิดเห็นมากกว่านี้ หาความจริงว่าวิถีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเจ้าพระยาคืออะไร คุณค่าของชุมชนวิถีชีวิตแบบเก่าแท้จริงมีมูลค่า ในเมื่อการท่องเที่ยวเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ ราคามันสูงมากถ้าปล่อยให้เปลี่ยนแปลงจะน่าเสียดายมาก เพียงแค่ปรับปรุงเจ้าพระยานิดหน่อยก็สามารถสร้างมูลค่า โดยที่วิถีชีวิตยังคงอยู่ แต่เรามักไม่เห็นคุณค่าปล่อยให้สูญหาย ได้มาแต่เศษไม่ได้หัวใจที่ถูกทำลายไป” คุณมาโนช พุฒตาล ศิลปินนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าว

ถือเป็นการรวมพลังของกลุ่มคนอันหลากหลายที่มาร่วมกันปกป้องเจ้าพระยา ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ภาคประชาสังคม นักคิดนักเขียน ศิลปิน สถาปนิก และประชาชนทั่วไป รวมถึงตัวแทนจากจังหวัดอื่นที่กังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น มีตัวแทนจากคุ้งน้ำบางกระเจ้าและบางประกงมาร่วมให้คำมั่นว่าจะนำเรื่องนี้ไปเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด หรือแม้แต่ตัวแทนจากหมู่บ้านคลิตี้ล่างที่ตระหนักดีว่าหากผลกระทบเกิดขึ้นจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขฟื้นฟูนาน หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ กลุ่มคนเหล่านี้คือสมัชชาแม่น้ำที่ร่วมกันปกป้องเจ้าพระยาด้วยใจรักและหวงแหน ประกาศเจตนารมณ์ไว้ให้ภาครัฐทบทวนโครงการ พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนา หากการพัฒนานั้นสามารถอยู่คู่กับวิถีชีวิตชุมชน ไม่เช่นนั้นแล้วเจ้าพระยาจะกลายเป็นอื่น หรือกลายเป็นเพียงสายน้ำที่ไร้ชีวิต เพราะอัตลักษณ์วัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าของประวัติศาสตร์ไทย จะเอาโครงการมูลค่ากี่หมื่นล้านมาแลกก็ไม่มีทางคุ้ม




สิ้นสุดไปเรียบร้อยแล้วกับกิจกรรมล่องเรือเสวนา "นับถอยหลังปักทางเลียบทำลายเจ้าพระยา" ที่จัดขึ้นโดย ภาคีสมัชชาแม่น้ำ
สมัชชาต้องขอขอบคุณวิทยากรทุกๆท่าน ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นในความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำไมเราถึงต้องปกป้องแม่น้ำที่สำคัญนี้ของไทย และขอบคุณ ผู้ร่วมฟังทุกๆท่านทั้งผู้ที่เข้ามารวมฟังสดๆ และผู้ที่ร่วมฟัง Facebook Live จากทางบ้าน
----------
ร่วมลงชื่อยับยั้งการสร้างโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา : chn.ge/1tlD153
ลงชื่อเข้าร่วมเป็นสมัชชาที่ : bit.ly/29xVbgf
ติดตามข่าวสารได้ที่ : www.friendsoftheriver-th.com
และ Facebook page : Friends of the River
#หยุดทางเลียบบนเจ้าพระยา #RiverNotRoad

จาก http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/14000/blog/57049/

เพิ่มเติม https://www.facebook.com/friendsofthechaophrayariver/?ref=nf

https://www.youtube.com/channel/UCq3fMgc2Rd8Yyw4Wzy7-zKQ/videos?shelf_id=0&view=0&sort=dd

http://www.sookjai.com/index.php?topic=182714.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤศจิกายน 2559 04:42:29 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น: 000 ล้าน ต้องแลกด้วยอะไร  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[โพสทูเดย์] - ธ.ก.ส. เติม 30,000 ล้าน หนุนการเลี้ยงสุกร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 564 กระทู้ล่าสุด 05 มกราคม 2565 15:40:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - คน 1,400 ล้าน..ย้อนรอยประวัติศาสตร์จีน (ตอนที่ 7)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 393 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2565 16:48:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - สาวฝันโทรศัพท์หาย กลายเป็นเบอร์ให้โชค ถูกที่ 1 รับเงิน 12 ล้าน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 286 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2565 06:26:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[โพสทูเดย์] - ประกาศราชกิจจาฯแล้ว!!! ซื้อบ้าน-คอนโด ไม่เกิน 3 ล้าน ลดค่าโอนเหลือ 0.01%
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 288 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2565 13:22:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - ธนาคารกสิกรไทย รายงานผลประกอบการ ปี 64 กำไรสุทธิแตะ 38,053 ล้าน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 283 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2565 22:30:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.54 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 04:22:26