[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 17 มีนาคม 2566 16:44:33



หัวข้อ: "แม่เตาไฟ" ในครัวโบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 มีนาคม 2566 16:44:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76529053888387_336650840_2389464597882428_109.jpg)

แม่เตาไฟ

แม่เตาไฟ เป็นอุปกรณ์สำคัญชนิดหนึ่งมีประจำครัวเรือนทั่วไป หรือตามที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในชนบทมาแต่สมัยโบราณ ใช้สำหรับรองรับกองไฟเตาไฟแบบต่างๆ ในการหุงข้าว ต้ม แกง หรือสำหรับก่อไฟขึ้นเคียงข้างกระดานไฟ เพื่อให้ความร้อนแก่หญิงเมื่อแรกคลอดลูกได้อยู่ไฟตามประเพณีโบราณ


แม่เตาไฟสำหรับครัวเรือน  
ในสมัยก่อน บ้านเรือนนิยมสร้างด้วยไม้ ตามครัวไฟหรือห้องครัวหรือที่เฉพาะไว้สำหรับหุงข้าวต้มแกงในแต่ละเรือนๆ นั้น มักทำพื้นครัวปูด้วยฟากไม้ไผ่ ไม้รวก ไม้หมาก ไม้เหลาชะโอน  ครัวไฟบางบ้านที่เจ้าเรือนมีฐานะมั่งคั่งอาจปูพื้นด้วยกระดานดูแน่นหนาขึ้น  ด้วยเหตุที่พื้นเรือนครัวทำด้วยไม้ดังกล่าว จึงต้องมีแม่เตาไฟเป็นอุปกรณ์รองรับเตาไฟแบบต่างๆ ที่ได้ใช้ก่อหรือติดไฟสำหรับหุงข้าวต้มแกง โดยแม่เตาไฟทำหน้าที่ป้องกันลูกไฟไหม้ลามหรือตกลงที่พื้นครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ต่อไปได้

ในกรณีที่ตั้งแม่เตาไฟในโรงนาหรือที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในชนบท โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งซึ่งมิได้กั้นฝาแบ่งเป็นห้องหับแยกเป็นครัวต่างหากออกไป หัวเตาไฟจึงเป็นบริเวณเฉพาะส่วนที่ชาวบ้านแต่ก่อนถือว่าสำคัญ จึงต้องจัดการยกพื้นหัวเตาไฟให้สูงขึ้นกว่าพื้นดิน ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยอยู่นั้น

บนพื้นแม่เตาไฟประจำครัวแต่ละแห่งๆ จำเป็นต้องมีสิ่งที่นำมาใช้หนุนภาชนะสำหรับหุงต้ม อย่างง่ายก็ได้แก่ “เส้า” คือการนำเอาอิฐก้อนเขื่องๆ ๓ ก้อนมาวางเป็นเส้า ๓ มุม ให้สูงพอหนุนหม้อข้าวหม้อแกง หรือบ้างก็ใช้เตาเหล็ก ๓ ขาอย่างที่เรียกว่า "เกียง" หรือ “เคียง” วางบนแม่เตาไฟ ซุนไม้ฟืนเข้าไปข้างใต้และก่อไฟทำการหุงต้ม  ข้างๆ แม่เตาไฟยังต้องมีอ่างดินหรือโอ่ง ใส่น้ำเตรียมไว้สำหรับดับไฟฟืนที่ปลิวไปตกตามพื้น

ภายหลังมีผู้ทำเตาไฟอย่างจีนแบบที่เรียกว่า “เตาอั้งโล่” เป็นเตาชนิดใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงติดไฟสำหรับหุงข้าวต้มแกงออกจำหน่าย ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวก ไม่ค่อยมีควันและเขม่าไฟ และยังปลอดภัยกว่าการใช้เตาชนิดใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ความนิยมใช้เตาอั้งโล่หรือเตาชนิดใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงได้แพร่หลายขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว


700-26


หัวข้อ: Re: "เกียง" - "แม่เตาไฟ" ในครัวโบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 มีนาคม 2566 20:51:06

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87066877798901_336742591_656810803119458_9137.jpg)
ในวิถีชนบทที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ มีการใช้ฟืน วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติในการหุงหาอาหาร
โดยตั้งภาชนะ เช่น หม้อ กระทะ บน "เกียง" หรือ "เคียง" ที่ทำจากเหล็กสามขา โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60358979014886_336485373_1957836864552552_641.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90427446820669_336763251_3415029948765377_542.jpg)

"เกียง"

"เกียง" หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เคียง" หมายถึง ขาตั้งสำหรับรองรับหรือตั้งหม้อบนกองไฟ (tripod for supporting pots on fire) ทำจากเหล็กสามขา มีวงกลมยึดข้างบน ใช้แทนก้อนเส้าในเวลาประกอบอาหาร ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จะมีวิถีชนบทที่ต้องอาศัยและพึ่งพาธรรมชาติ จะใช้เชื้อฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม โดยใช้เกียง ๓ ขา ตั้งหม้อหุงข้าว หรือตั้งหม้อทำอาหาร

ฟืน เป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ และถือเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนชนิดหนึ่ง ได้มาจากท่อนไม้หรือเศษไม้ที่นำมาใช้เผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ผ่านการแปรรูป (ต่างจากเชื้อเพลิงไม้ประเภทอื่นๆ เช่นถ่านไม้) ส่วนใหญ่จะตัดมาจากต้นไม้โดยตรง, ตากให้แห้ง, หรือเก็บรวบรวมจากเศษไม้แห้ง โดยฟืนไม้แห้งจะเผาไหม้ได้ดีกว่าไม้สดชนิดเดียวกัน


700-26


หัวข้อ: Re: ก้อนเส้า - "แม่เตาไฟ" ในครัวโบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 กรกฎาคม 2566 15:35:13
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46639848127961__._Copy_.JPG)
ภาพ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) กรุงเทพฯ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59819848338762__2_Copy_.JPG)
ภาพ จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29782635594407__Copy_.JPG)
ภาพ จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


ก้อนเส้า

ก้อนเส้า (น.) หมายถึง ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา เป็นหนึ่งในประเภท
เตาไฟที่เก่าแก่ที่สุด อาจเกิดจากการนำก้อนอิฐ หรือก้อนหิน หรือก้อนดิน จำนวนสามหรือสี่ก้อนที่มี
ขนาดใกล้เคียงกันมาวางเรียงเป็นวงกลม ให้มีช่องว่างตรงกลางสำหรับก่อไฟ   จากนั้นจึงนำภาชนะ
หุงต้มวางบนก้อนเส้าเพื่อประกอบอาหาร  กลุ่มก้อนหินจะช่วยให้วางภาชนะหุงต้มได้สะดวกมั่นคง 
ถือเป็นรากฐานของการใช้ไฟเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
   

800-32