[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 05:18:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เลือกตั้งไต้หวัน: สรุปจุดยืน 3 ตัวเก็งประธานาธิบดี เรื่องเอกราชและความสัมพันธ์  (อ่าน 45 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 มกราคม 2567 19:01:23 »

เลือกตั้งไต้หวัน: สรุปจุดยืน 3 ตัวเก็งประธานาธิบดี เรื่องเอกราชและความสัมพันธ์กับจีน-สหรัฐฯ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-01-11 16:08</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>วันเสาร์ที่จะถึงนี้ (13 ม.ค.) จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ในไต้หวัน หนึ่งในประเด็นที่น่าจับตามองคือความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน ซึ่งผู้สมัครจากทั้ง 3 พรรคต่างก็เคยแสดงจุดยืนของตัวเองไว้ในการดีเบตทางการเมือง ว่าพวกเขามีมุมมองต่อเรื่องเอกราชของไต้หวันและความสัมพันธ์กับจีน-สหรัฐฯ อย่างไรบ้าง</p>
<p>การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ (13 ม.ค.) จะเป็นตัวปรับโฉมประเทศ ไม่ว่าจะในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนและกับสหรัฐฯ รวมถึงประเด็นภายในประเทศที่กระทบต่อชีวิตของผู้คนบนเกาะไต้หวัน 23 ล้านคนด้วย</p>
<p>จากโพลสำรวจความคิดเห็นในช่วงต้นปี 2567 ระบุว่า ผู้สมัคร วิลเลียม ไล ชิง-เต๋อ (William Lai Ching-te) รองหัวหน้าพรรครัฐบาลปัจจุบันคือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ยังคงมีคะแนนนิยมนำคนอื่นๆ ตามมาด้วย โหว โหย่วอี๋ (Hou Yu-ih) จากพรรคฝ่ายค้านพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ลำดับถัดมาคือ เคอ เหวินเจ๋อ (Ko Wen-je) จากพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP)</p>
<p>ใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้จะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบทอดจาก ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรค DPP ผู้ที่ได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวันในปี 2559 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2563 แต่ในรัฐธรรมนูญไต้หวันระบุห้ามไม่ให้ประธานาธิบดีคนเดิมดำรงตำแหน่งต่ออีกเป็นสมัยที่ 3</p>
<p>ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะต้องตัดสินใจเลือกผู้แทน 113 ที่นั่งเข้าสู่สภา ผลโพลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดที่ชนะคะแนนเสียงข้างมากในสภานี้ ซึ่งในสมัยปัจจุบันพรรคที่ได้ที่นั่งเสียงข้างมากคือ DPP</p>
<p>ถ้าหาก Lai ชนะในวันที่ 13 ม.ค. ที่จะถึงนี้ มันจะนับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกที่พรรค DPP หรือที่เรียกว่า "เต็นท์เขียว" สามารถครองตำแหน่งผู้นำได้เป็นสมัยที่สามติดต่อกันนับตั้งแต่ที่มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี 2539 เป็นต้นมา จากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งประธานาธิบดีในไต้หวันมีการผลัดเปลี่ยนกันไปมาระหว่างพรรค KMT ที่เรียกว่า "เต็นท์น้ำเงิน" กับพรรค DPP</p>
<p>ในการจัดโต้วาทีทางโทรทัศน์ของผู้สมัครทั้ง 3 พรรคเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2566 มีการเชือดเฉือนกันในประเด็นความสัมพันธ์กับจีน สำหรับทางการจีนนั้นพวกเขาไม่ได้มองว่าไต้หวันเป็นประเทศ แต่มองว่าเป็นมณฑลที่แยกตัวออกมาจากจีนและควรจะต้องถูกผนวกกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนและถ้าจำเป็นก็อาจจะมีการใช้กำลัง</p>
<p>ทั้ง Hou และ Ko ต่างก็ท้าทาย Lai ในเรื่องนโยบายของ DPP ต่อจีน ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคาบสมุทรไต้หวันแย่ลงและเป็นภัยต่อสันติภาพ โดยที่ Lai ได้โต้กลับข้อกล่าวหานี้และบอกว่าวิธีการแบบพรรคคู่แข่งจะทำให้ไต้หวันล้มเหลวในการปกป้องประชาธิปไตย</p>

ก่อนที่การเลือกตั้งจะมีขึ้น สื่อฮ่องกงฟรีเพรส ได้สรุปเนื้อหาแนวทางของผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 3 คนไว้ดังนี้
<p><span style="color:#d35400;"><strong>วิลเลียม ไล ชิง-เต๋อ จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า<strong> </strong>(DPP)</strong></span></p>
<p>Lai เป็นผู้สมัครตัวเต็งในคราวนี้ ในปัจจุบันเขายังคงดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีภายใต้รัฐบาลไช่อิงเหวิน ย้อนไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เขาเคยท้าชิงตำแหน่งผู้แทนพรรค DPP กับไช่อิงเหวินในการลงเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ก็ไม่ชนะ ทำให้เขากลายมาเป็นคู่หูของไช่ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในรอบถัดมา ซึ่งไช่และ Lai สามารถเอาชนะคู่แข่งคือ Han Kuo-yu ที่เป็นสายสนับสนุนจีนได้ในที่สุดด้วยคะแนนโหวตที่มากเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 8.17 ล้านเสียงนับเป็นร้อยละ 57.1</p>
<p>ในการเลือกตั้งครั้งนี้ Lai ได้แต่งตั้ง Hsiao Bi-khim ให้เป็นคู่หูลงเลือกตั้งร่วมกับเขา โดยที่ Hsiao Bi-khim เคยเป็นเอกอัครราชทูตไต้หวันประจำสหรัฐฯ ในทางพฤตินัย มาจนถึงเมื่อเดือน พ.ย. 2566</p>
<p>ในการโต้วาทีเมื่อช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา Lai กล่าวย้ำว่าเขาจะดำเนินตามแนวทางของไช่ในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนโดยจะยังคงสภาพที่เป็นอยู่ ทำการปกป้องไต้หวันและรักษาสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก</p>
<p>"โลกกำลังจับตามองทางเลือกของชาวไต้หวันระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ ประชาคมโลกรู้ดีว่ามีแค่ Lai Ching-te และ Hsiao Bi-khim เท่าน้ันที่จะสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่และเดินไปพร้อมกับมวลมิตรประเทศประชาธิปไตยได้" Lai กล่าว</p>
<p>Lai เป็นผู้ที่เริ่มต้นอาชีพการเมืองของตัวเองจากการเป็น ส.ส. และต่อมาก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองไถหนานทางตอนใต้ของประเทศ ในตอนที่ Lai ทำงานให้กับไช่อิงเหวินโดยรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2560-2562 เขาได้นิยามตัวเองว่าเป็น "คนทำงานแบบเน้นการปฏิบัติได้จริงเพื่อนำมาซึ่งเอกราชของไต้หวัน" Lai บอกอีกว่า "ไต้หวันเป็นประเทศที่มีเอกราชเป็นของตัวเองอยู่แล้วในชื่อว่าสาธารณรัฐจีน... ดังนั้นแล้วจึงไม่จำเป็นต้องประกาศเอกราชให้กับไต้หวันไปมากกว่านี้"</p>
<p>จุดยืนของ Lai เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งจีนและพรรคฝ่ายค้าน ในเดือน พ.ย. 2566 ทางการจีนเรียก Lai และ Hsiao ว่าเป็น "คู่หูหนุนเอกราช" และอ้างว่าสองคนนี้อาจจะเป็นภัยต่อสันติภาพระหว่างประเทศจีนกับไต้หวัน ในการดีเบตที่มีขึ้น Hou และ Ko ต่างก็มุ่งเป้าโจมตีจุดยืนของ Lai ในประเด็นจีน-ไต้หวันเช่นกัน</p>
<p>Lai โต้ตอบ Ko โดยกล่าวว่า "อธิปไตยของไต้หวันนั้นเป็นของประชาชนชาวไต้หวัน 23 ล้านคน ไม่ใช่ของจีน ... สาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้เป็นบริวารของกันและกัน นั่นคือความหมายของเอกราชของไต้หวัน"</p>
<p>นอกจากนี้แล้วนโยบายการเมืองของ Lai ยังมีเรื่องเกี่ยวกับแผนการให้เงินอุดหนุนด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น รวมถึงเรื่องการขึ้นค่าแรงและการลดภาษีด้วย</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>โหว โหย่วอี๋ จากพรรคฝ่ายค้านก๊กมินตั๋ง (KMT)</strong></span></p>
<p>Hou เป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคฝ่ายค้านพรรคใหญ่อย่างก๊กมินตั๋ง (KMT) เขาเคยเป็นนายกเทศมนตรีของนิวไทเปทางตอนเหนือของประเทศ และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวันด้วย Hou ได้รับความสนใจตอนที่เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอีกครั้งในเมืองที่อยู่รอบเมืองหลวงเมื่อปี 2565 โดยเอาชนะพรรค DPP ได้อย่างท่วมท้น ในปีนั้นการที่พรรค KMT ทำให้พรรค DPP ปราชัยในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ ถึงกับส่งผลให้ไช่ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค</p>
<p>ในผลโพลล่าสุดคะแนนนิยมของ Hou ก็ตามหลัง Lai มาติดๆ Hou ได้แต่งตั้งให้ Jaw Shaw-kong อดีต ส.ส. KMT และบุคคลในวงการสื่อเป็นคู่หูลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีร่วมกับเขา</p>
<p>Hou เข้าร่วมพรรค KMT มาตั้งแต่สมัยที่ประเทศไต้หวันยังอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของเจียงไคเช็กเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว Hou แสดงออกว่าเขาต่อต้านเอกราชของไต้หวันและต่อต้านแนวทาง "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ซึ่งเป็นแนวทางที่จีนนำมาใช้กับฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงเป็นข้อเสนอที่จีนยื่นให้กับไต้หวันถ้าหากจีนสามารถรวมไต้หวันเป็นชาติเดียวกันได้          </p>
<p>"ไม่เอาไต้หวันเป็นประเทศเอกราช ไม่เอาหนึ่งระเทศ สองระบบ ... ปกป้องอิสรภาพและระบอบประชาธิปไตยอย่างมั่นคง อนาคตของไต้หวันนั้นกำหนดโดยประชาชนในไต้หวัน 23 ล้านคน"  Hou กล่าวในการโต้วาทีผู้สมัครเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2566</p>
<p>แต่คู่แข่งของ Hou ก็ท้าทายเขาในเรื่องที่เขาและพรรค KMT มีจุดยืนที่ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนถึงแม้ว่าจีนจะทำตัวระรานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม Hou กล่าวปัดคำวิจารณ์โดยเน้นย้ำว่าเขาแค่พยายามจะทำให้จีนกับไต้หวันหันกลับมาเจรจากันเท่านั้น หลังจากที่จีนเลิกเจรจากับไต้หวันนับตั้งแต่ที่ไต้หวันมีรัฐบาลไช่อิงเหวิน</p>
<p>Hou ชี้ว่าเขาสนับสนุน "ฉันทามติ 2535" ซึ่งเป็นข้อตกลงเชิงนัยยะระหว่างจีนกับพรรคก๊กมินตั๋งว่าทั้งไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน แต่ทว่าข้อตกลงดังกล่าวนี้แต่ละคนสามารถตีความไปได้ในแนวทางของตัวเอง</p>
<p>ไช่อิงเหวินปฏิเสธแนวคิดฉันทามติ 2535 เธอกล่าวไว้เมื่อปี 2562 ว่า "พวกเราไม่เคยยอมรับฉันทามติ 2535" ซึ่งเป็นการพูดโต้ตอบคำปราศรัยของผู้นำจีนสีจิ้นผิง</p>
<p>Hou ยืนยันว่าการสื่อสารกันระหว่างสองระเทศในเรื่องฉันทามติ 2535 นั้นเป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดสงครามเท่านั้น แต่ทางไต้หวันเองก็ต้องเพิ่มสมรรถภาพความเข้มแข็งให้กับกองทัพของตัวเองด้วยเพื่อต้านทานการรุกรานของจีนที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น</p>
<p>ในแง่นโยบายภายในประเทศแล้ว Hou เสนอให้มีการเพิ่มเงินอุดหนุนจากภาครัฐสำหรับเยาวชนในด้านอุดมศึกษาและที่อยู่อาศัย</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>เคอ เหวินเจ๋อ จากพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP)</strong></span></p>
<p>Ko ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีไทเป เขาก่อตั้งพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP) เมื่อปี 2562 และจัดภาพลักษณ์ของตัวเองให้เป็น "พลังที่สาม" โดยดึงดูดผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่ชอบทั้ง DPP และ KMT เขาลงชิงชัยพร้อมคู่หูคือ Cynthis Wu Hsin-ying ส.ส. พรรค TPP ผู้เป็นลูกสาวของมหาเศรษฐีไต้หวัน</p>
<p>ก่อนหน้าที่ Ko จะมาเป็นนายกเทศมนตรีเขาเคยทำงานเป็นศัลยแพทย์มาก่อนเป็นเวลาประมาณ 30 ปี จากนั้นถึงดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีไทเประหว่างปี 2557-2565 ถึงแม้ว่า Ko จะเคยสนับสนุนการรณรงค์หาเสียงประธานาธิบดีพรรค DPP มาก่อน รวมถึงในสมัยของไช่อิงเหวินด้วย แต่เขาก็แยกตัวออกจากพรรครัฐบาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยกล่่าวหาว่าพรรคเพิ่มความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์จีน-ไต้หวันและไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นๆ ทั่วไปในประเทศได้</p>
<p>Ko กล่าวในช่วงโต้วาทีว่า การที่พรรค DPP กับ KMT มีอำนาจครอบงำในการเมืองไต้หวันในระยะยาวจะสั่งสมปัญหาจนเกิด "ความแตกแยกทางเชื้อชาติ ชุมชน และประเทศชาติ" Ko สัญญาว่าจะนำมาซึ่ง "ความสามัคคีในสังคม, ความปรองดองทางการเมือง และสันติภาพระหว่างคาบสมุทรไต้หวัน (หมายถึงระหว่างจีนกับไต้หวัน)"</p>
<p>อย่างไรก็ตาม Ko ก็เผชิญกับการโจมตี ซึ่งโดยหลักๆ แล้วผู้ที่โจมตีคือ Lai ในเรื่องที่ Ko อ้างว่า "ทั้งสองฟากฝั่งคาบสมุทรไต้หวันเป็นครอบครัวเดียวกัน" ซึ่ง Ko กล่าวปกป้องตัวเองว่าที่เขาพูดเช่นนั้นเป็นแค่ "การแสดงออกอย่างเป็นมิตร" เท่านั้น และบอกอีกว่าการปฏิสัมพันธ์กับจีนจะต้องตั้งอยู่บนฐานที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยและวิถีชีวิตของไต้หวันจะได้รับการคุ้มครอง"</p>
<p>Ko บอกอีกว่าไม่มีทางเลือกอื่นให้กับไต้หวันนอกจากการ "คงไว้ซึ่งสภาพเดิม" ไต้หวันจะต้องแสวงหาจุดยืนของตัวเองและจะต้องไปตกเป็นเบี้ยของการช่วงชิงกันระหว่างสหรัฐฯ กับจีน</p>
<p>ในเดือน พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ผู้สมัครฝ่ายค้านพยายามจะร่วมกันจัดตั้งพันธมิตรขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาชนะ Lai แต่การเจรจาหารือก็ล่มไปกลางไลฟ์สดช่องโทรทัศน์เนื่องจาก Hou และ Ko ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าใครควรจะเป็นผู้นำ</p>
<p>ในการหาเสียงนั้น Ko เน้นพูดถึงนโยบายเรื่องสวัสดิการสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาราคาที่อยู่อาศัยสูง ค่าแรงต่ำ และการดูแลผู้สูงอายุจากภาวะประชากรสูงวัย ถึงแม้ว่า Ko จะตามหลังในผลโพลคะแนนนิยม แต่ Ko ก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าร่วมขบวนหาเสียงของเขาและได้รับการติดตามจำนวนมากในบัญชีโซเชียลมีเดีย</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ระบบสภาไต้หวัน</strong></span></p>
<p>ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในไต้หวันจะต้องลงคะแนนเลือก ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งในสภา 113 ที่นั่ง ตามกฎการเลือกตั้งไต้หวันนั้นระบุว่า ส.ส. 73 รายจะ "มีที่มาจากเขต" ด้วยระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดโดยแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์</p>
<p>อีก 34 ที่นั่งที่เหลือจะมาจากการเลือกโดยระบบบัญชีรายชื่อหรือที่เรียกว่า "ปาร์ตีลิสต์" ในบัตรเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการกำหนดว่าแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งที่เหลือมากน้อยแค่ไหนตามระบบผู้แทนสัดส่วนที่มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ในกฎหมายเลือกตั้งของไต้หวันยังระบุอีกว่าทุกพรรคจะต้องมี ส.ส. อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิงในการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ</p>
<p>ที่เหลืออีก 6 ที่นั่งจะมาจากการเลือกโดยกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งคิดเป็นประชากรร้อยละ 2.5 ในไต้หวัน</p>
<p>ข้อมูลจากกกต.ไต้หวันระบุว่า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งร้อยละ 34.5 เป็นผู้หญิงสำหรับที่นั่งในสภาแบบ "แบ่งเขต" และแบบคัดเลือกโดยชนพื้นเมือง ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่มีระบบการเลือกตั้งแบบนี้ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา</p>
<p>ผลโพลแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็จะส่งผลให้ใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะยังคงต้องหาแนวร่วมทางการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐสภาให้ได้</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>เรียบเรียงจาก</strong></span></p>
<ul>
<li>Taiwan election 2024: The 3 presidential candidates and what they say about relations with China, HKFP, 06-01-2024</li>
<li>https://hongkongfp.com/2024/01/06/taiwan-election-2024-the-3-presidential-candidates-and-what-they-say-about-relations-with-china/</li>
</ul>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107589
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สหรัฐฯ ยันไม่พบข้อมูลมนุษย์ต่างดาวติดต่อคน
หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 2438 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 09:40:48
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
[ข่าวมาแรง] - ก.พาณิชย์ สหรัฐฯ เผยผู้ผลิตโซลาร์เซลล์จีนใช้อาเซียน-ไทย เป็นฐานเพื่อเลี่ยงภาษ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 143 กระทู้ล่าสุด 21 สิงหาคม 2566 00:44:47
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สหรัฐฯ คว่ำบาตรชาวรัสเซียที่มีส่วนในการลักพาตัว-ส่งตัวเด็กยูเครนข้ามแดน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 149 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2566 12:12:04
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สหรัฐฯ แฉ จีน ใช้งบหลักพันล้าน ปรับภูมิทัศน์ข่าวสารโลก สร้างภาพลักษณ์ใหม่
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 112 กระทู้ล่าสุด 11 ตุลาคม 2566 08:47:44
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สหรัฐฯ-13 ประเทศพันธมิตรเห็นชอบเงื่อนไขหลักในความคิดริเริ่ม IPEF
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 87 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2566 15:14:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.495 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 พฤษภาคม 2567 22:25:39