[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 20 เมษายน 2555 16:41:21



หัวข้อ: ถาม - ตอบปัญหาธรรมเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 20 เมษายน 2555 16:41:21
(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=33106.0;attach=2113;image)



หมายเหตุ...ภาพนี้เป็นภาพจากพระเมรุส่วนเนื้อหาข้อธรรมมาจากบร์อดสนทนาธรรมบ้านธรรมมะโดยท่าน อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์และคณะวิทยากร



(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=33106.0;attach=2115;image)



ถาม.......คำว่า ทำคืน ในพระไตรปิฎกมีความหมายโดยละเอียดอย่างไรบ้าง

ตอบ......ทำคืน คือ การที่บุคคลรู้ว่าตนเองทำผิด

เมื่อทำผิดแล้ว ก็ทำคืนตามธรรม คือ โดยถูก

ต้อง การทำคืน จึงหมายถึง การแสดงโทษของตนเองว่าตนเองทำผิด เพื่อที่จะได้แก้ไข

ตนเอง และประพฤติในสิ่งที่ดีต่อไป การทำคืน จึงเป็นการยอมรับโทษและแสดง

โทษให้ผู้อื่นทราบเพื่อแก้ไข

สำหรับเพศพระภิกษุ ท่านย่อมล่วงอาบัติ ข้อบัญญัติของพระภิกษุ เมื่อทำผิดแล้วรู้

ว่าตนเองทำผิด ย่อมจะต้องมการทำคืน คือ การแก้ไขในสิ่งที่ทำผิดไปแล้ว เช่นหาก

ต้องอาบัติเล็กน้อย การทำคืนที่ถูกต้อง ก็คือ การปลงอาบัติ นี่คือ การทำคืนที่ถูกต้อง

คือ การกระทำที่แก้ไขให้ออกจากอาบัติ และ หากอาบัติหนัก มีสังฆาทิเสสก็ต้องทำ

การทำคืนที่ถูกต้อง สมควรแก่กรรมนั้น คือ การอยู่ปริวาส แต่ถ้าเป็นการทำปาราชิกมี

การเห็นโทษได้ แต่กรรมนั้น ทำคืนไม่ได้ คือ ไม่สามารถแก้ไขให้ลับมาได้เป็นเพศ

พระภิกษุได้

ดังนั้น........การทำคืน{ตามธรรม}......คือ การประพฤติแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับกรรมที่ได้

ทำผิดไป - ทำคืน คืนจากผิดมาสู่สิ่งที่ถูก

ชีวิตประจำวันของปุถุชน เป็นธรรมดาที่ย่อมมีการทำผิดไปบ้างด้วยอำนาจกิเลส แต่

เมื่อทำผิดแล้ว ผู้ที่เป็นบัณฑิต ย่อมเห็นโทษของกิเลสนั้น และตั้งใจประพฤติสิ่งที่ดีใหม่

ด้วยการแก้ไขพฤติกรรมก็ชื่อว่า เป็นการทำคืน ทำคืนจากที่เคยกระทำผิด มาสู่การกระ

ทำที่ถูกขึ้น ก็จะเป็นผู้เจริญในพระศาสนาเพราะ ผู้ที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว

กระทำคืน ประพฤติสิ่งที่ดีใหม่ กุศลย่อมเจริญขึ้น เพราะเห็นโทษของกิเลส แม้กิเลสจะ

เกิดอยู่เป็นธรรมดา แต่ปัญญาก็ค่อยๆเห็นโทษกิเลสนั้น กุศลก็เกิดสลับด้วยและ

เมื่อมีผู้อื่นทำผิดแล้วผู้นั้นขอโทษ ผู้ที่เป็นบัณฑิตก็ย่อมรับโทษของผู้นั้นโดยธรรม คือ...............

ให้อภัย เพราะเขาได้สำนึกและเห็นโทษในการกระทำของเขาแล้วความเป็นผู้ที่เห็นโทษในการกระทำผิด และ ทำคืน แก้ไขในสิ่งที่ถูกต้อง

และให้อภัยผู้อื่นเมื่อผู้อื่นรับผิด แสดงโทษ จึงเป็นคุณธรรมของบัณฑิตและสิ่งเหล่านี้จะเกิดเจริญ

ขึ้นได้ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นเพราะปัญญา

นั่นเองที่จะรู้ว่าอะไรเป็นโทษไม่เป็นโทษ และจะปรับปรุงแก้ไข ทำคืนถูกต้องอย่างไร

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=33073.0;attach=2101;image)