[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 พฤษภาคม 2567 13:25:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ข้าวต้มกุ๊ย” เมนูขวัญใจชาวโต้รุ่งถึงเคยเป็น “อาหารคนจน”?  (อ่าน 14 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2336


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2567 13:06:22 »



ข้าวต้มกุ๊ย และกับแนม

ทำไม “ข้าวต้มกุ๊ย” เมนูขวัญใจชาวโต้รุ่งถึงเคยเป็น “อาหารคนจน”?

ผู้เขียน - ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ -  ศืลปวัฒนธรรม วันพฤหัสที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2567



ข้าวต้มกุ๊ย อาหารยอดฮิตยามค่ำคืนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสังคมไทย ประกอบด้วยข้าวเมล็ดนิ่มในน้ำซุปสีใสบ้าง เขียวบ้าง ตามวัตถุดิบที่เลือกสรร พร้อมกับตั้งแต่หนึ่งอย่างไปจนถึงคนรับประทานจะพอใจ ที่คุ้นตากันบ่อย ๆ คงไม่พ้นผักบุ้งไฟแดง ผัดหอยลาย หรือผัดกุยช่ายขาวเต้าหู้หมูสับ ความอร่อยหลากหลายทำให้เมนูดังกล่าวมัดใจใครต่อใครได้อยู่หมัด 

แม้จะถูกใจคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ทว่าครั้งหนึ่งอาหารจีนอย่าง “ข้าวต้มกุ๊ย” กลับกลายเป็นอาหารที่ได้รับการตีตราว่าเป็น “อาหารคนจน”

อาหารจีน เป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมานานหลายศตวรรษ อาจเพราะคนจีนอพยพเข้ามาสยามเป็นระยะเวลานาน ทั้งคนจีนยังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยเป็นอย่างมาก ตามหลักฐานปรากฏว่าอาหารจีนถือว่าเป็นอาหารสำหรับชนชั้นสูง ไล่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จะเห็นร่องรอยอาหารของกลุ่มคนเหล่านี้มากมาย เช่น บันทึกของลา ลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสที่ระบุว่า

“ราชสำนักของสมเด็จพระนารายณ์เลี้ยงรับรองคณะราชทูตด้วยสำรับกับข้าวอาหารไทยมากกว่า 30 ชนิด ที่ปรุงตามต้นตำรับจีน”

ไม่เพียงหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ “กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรากฏรูปพ่อครัวชาวจีนกำลังยกสำรับไปเสิร์ฟ

ความสำคัญของอาหารจีนต่อชนชั้นสูง ไม่เพียงทรงอิทธิพลแค่ยุคอยุธยา แต่ยังล่วงเลยมาถึงช่วงกรุงรัตนโกสินทร์  

อย่างในตำรับอาหารสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 2 ก็มีการกล่าวถึงอาหารในวังที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากจีน อย่าง รังนกนึ่ง ซึ่งปรากฏผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ในพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่า 

  “รังนกนึ่งน่าซด       โอชารสกว่าทั้งปวง
   นกพรากจากรังรวง   เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน”

จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) อาหารจีนอย่าง “ไก่ผัดเล่าปี่” ก็ยังเป็นหนึ่งในพระกระยาหารโปรดของพระองค์

ในทางกลับกันก็มีอาหารจีนอยู่หลายประเภทที่ได้รับการตีตราว่าเป็น “อาหารของคนจน” หรือชนชั้นล่าง หนึ่งในนั้นคือ “ข้าวต้มกุ๊ย” หรือบางคนก็เรียกว่า “ข้าวต้มพุ้ย” เพราะมาจากวิธีกินข้าวของคนจีนที่ต้องยกชามข้าวต้มโดยใช้ตะเกียบ 

แล้วทำไม “ข้าวต้มกุ๊ย” ถึงได้รับการขนานนามว่าเป็นอาหารของคนจน? 

จากงาน “การเมืองวัฒนธรรมของ ‘อุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทย’: ความเป็นไทยที่ (เคย) กดทับ ‘อาหารเจ๊ก’ ‘อาหารลาว’” ของ อาสา คำภา นักวิจัยประจำสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า ส่วนหนึ่งมาจาก “ความหวาดกลัว” ของชนชั้นนำต่อกลุ่มคนจีนที่มีบทบาทอย่างมากในสยาม เพราะคนจีนมักจะมีหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ หรือสังคม จึงก่อให้เกิดความคิดเรื่อง “อุดมการณ์ชาติไทย” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านงานเขียนต่าง ๆ ของพระองค์ เช่น พวกยิวแห่งบูรพาทิศ พ.ศ. 2457

“อุดมการณ์ชาติไทย” ดังกล่าวแพร่ขยายความคิดไปในแทบทุกพื้นที่ ทำให้กลุ่มชนชั้นนำ และชาวสยามเริ่มมองว่า “ชาวจีน” เป็นอีกชนกลุ่มหนึ่งที่แตกต่าง และเริ่มมีทัศนคติต่อคนจีนในแง่ลบ กอปรด้วยวิถีชีวิตของกุลีจีนขณะนั้นที่มักใช้ชีวิตเร่งรีบ เนื่องจากต้องทำงานเพื่อให้ได้ปริมาณมากในเวลาจำกัด บริเวณสถานอโคจรต่าง ๆ เช่น โรงฝิ่น โรงบ่อน ทำให้ช่วงเวลากินข้าวของคนจีนมีภาพที่ไม่น่าดูนัก

แรงงานชาวจีนมักจะเลือกกินอาหารที่อิ่มท้อง กินง่าย ราคาถูก อย่าง “ข้าวต้มกุ๊ย” ซึ่งขณะนั้นมีราคาเพียงถ้วยละครึ่งสตางค์ แนมกับ นั่งยอง ๆ บนเก้าอี้ แล้วใช้ตะเกียบคีบข้าวกิน ซึ่งหากมองตามทัศนะของคนไทย ท่าทางพวกนี้ถือเป็นเรื่องไร้มารยาท และไม่สุภาพเรียบร้อย จึงพลอยทำให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ของข้าวต้มกุ๊ย

นอกจากนี้ อาสายังระบุไว้อีกว่าการสร้างภาพลักษณ์ให้ “ข้าวต้มกุ๊ย” เป็นอาหารของคนจน ยังเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจ

“สำหรับครอบครัวคนจีนในไทยสาเหตุที่พวกเขานิยมกินข้าวต้มเป็นอาหารหลัก (วันละ 2 – 3 มื้อ) ยังเกี่ยวข้องกับเหตุผลทางเศรษฐกิจ เพราะการกินข้าวสวยทุกมื้อจะทำให้ข้าวไม่พอกิน เนื่องจากคนจีนไม่ได้ทำนาซึ่งต่างจากคนไทย ดังที่กล่าวมาข้าวต้มจึงเคยเป็นภาพลักษณ์ ‘อาหารคนจน’ มาก่อนอีกด้วย” 

ส่วนชื่อข้าวต้ม “กุ๊ย” ซึ่งบางคนสันนิษฐานว่ามีที่มาจากคำว่าอันธพาล ก็เป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบว่าอาหารดังกล่าวเคยได้รับการหมิ่นแคลนในช่วงเวลานั้นเช่นเดียวกัน



... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_108493?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1ZnFxYvbGJaBRu3Zcevz59gpKxlCb3PfPmpu97mvyQZIrisNg0rLaae9s_aem_AQ0f_ncV8c7rarGd7CUNqhYgwaKEzml8LEWYpQCCNwCa-GwMh25V1nDqvw3V-KrqG_vNlHwmXLw5tZiDe-D1y92p

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.305 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้