[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 06:32:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 271 272 [273] 274 275
5441  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / Re: ไม่ถูกหวยก็ให้มันรู้กันไปข้างนึง (สิวะ) เมื่อ: 13 เมษายน 2555 05:42:38

เซียนหวยตัวจริงต้องอย่างนี้....โอ่งไหตีหวยยากกว่าเจ้าจิ้งจก ตุ๊กแก...ฯลฯ
 เจ้าพวกนั้นมันยังส่ายหัวกระดิกหาง ฯลฯ นะท่าน....








เห็นมะ...ได้เลขเด็ดแล้ว นั่งยิ้มแป้นเชียว






หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น




.
5442  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สัตว์ป่าหิมพานต์และพระเมรุมาศ(ตอนที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) เมื่อ: 12 เมษายน 2555 10:20:08




ตอนไปถ่ายภาพชุดนี้เค้ายังไม่ให้ถ่ายภา่พและยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปชมพระเมรุมาศเกือบไปแล้วมั๊ยล่ะ


 
ไปเก็บภาพมาได้แบบชิล ๆ   ชิลๆ  ชิลๆ ต้องไม่ธรรมดา


 
กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา




.



5443  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สัตว์ป่าหิมพานต์และพระเมรุมาศ(ตอนที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) เมื่อ: 11 เมษายน 2555 16:18:42






โอ๊ะ  แสดงว่ามีบุญนะเนี่ย...ที่อุตส่าห์เอาตัวรอดกลับมาได้...เจ้า Mck. เตรียมข้าวห่อ+โอเลี้ยง จะไปเยี่ยมแล้วน่ะ





.
5444  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / Re: พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ 2 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:37:14




     ยังมีต่ออีกนะ   รูปที่ ๓......ถึง ๑๔   สลึมสลือ   สลึมสลือ   สลึมสลือ   โปรดติดตาม





.
5445  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๒ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:33:52
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์


พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๒
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า


พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ   เป็นพระราชวงศ์ในราชสกุลชมพูนุท  พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าภุชงค์   พระนามฉายาว่า สิริวฑฺฒโน พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์  กับหม่อมปุ่น  ประสูติเมื่อ ณ วันศุกร์   แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย  ปีมะแม  จุลศักราช ๑๒๒๑  หรือตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒  ที่วังหน้าวัดราชบพิธฯ   มุมถนนราชบพิธกับถนนเฟื่องนคร   ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)    เป็นหม่อมเจ้าชายใหญ่  ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๓  กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์    เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้เล่าเรียนอักขรสมัยในสำนักเจ้าจอมมารดาสัมฤทธ  ซึ่งเป็นย่า  

ถึงรัชกาลที่ ๕  เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔  พอเกสากันต์แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้ตามเสด็จไปในเรือที่นั่งบางกอกคราวเสด็จประพาสอินเดีย  จนถึงเมืองสิงคโปร์    แล้วให้ทรงอยู่ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน Raffles เมืองสิงคโปร์  กับหม่อมเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ไปในคราวเดียวกัน   หลังจากนั้น ๙ เดือน  เสด็จกลับพระนคร   พอดีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น   จึงมีรับสั่งให้ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสอนภาษาที่นี่โดยไม่ได้เสด็จกลับไปสิงคโปร์อีก   นอกจากนี้ยังทรงศึกษาอักษรขอมจากพระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย อาจารยางกูร) จนทรงผนวชในปี พ.ศ. ๒๔๑๖

ครั้นพระชนมายุได้ 14 พรรษา เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖  ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ขณะดำรงพระยศเปนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์เปนพระอุปัชฌาย์   พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรขณะดำรงพระยศเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะเป็นพระอาจารย์     ทรงผนวชแล้วประทับ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม      ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดพระพุทธรัตนสถาน ๑๕ วัน  เวลาเสด็จบิณฑบาตก็โปรดให้ตามเสด็จด้วยทุกคราว จนเสด็จลาผนวช  

ครั้นออกพรรษาแล้ว  ทรงศรัทธาในสมณเพศจึงไม่ลาผนวช  จับเล่าเรียนภาษาบาลีต่อพระครูบัณฑรธรรมสโมธาน (สด)  แต่ยังเป็นอาจารย์ให้นิสสัยพระและให้ศีลสามเณรอยู่วัดราชบพิธ  และเรียนหนังสือไทยต่อพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) ต่อมาอีก  ครั้นพระครูบัณฑรธรรมสโมธานไปครองวัดนรนารถ จึงเรียนพระปริยัติธรรมต่อมากับหลวงญาณภิรมย์ (โพ) บ้าง และอาจารย์รอดบ้าง และได้เรียนภาษาสังสกฤตต่อพราหมณ์ซึ่งโปรดให้มาสอนอยู่คราว ๑  ครั้นพระชัณษาใกล้จะครบอุปสมบท  จึงทรงศึกษาพระวินัยแลเล่าสวดมนต์และปาฏิโมกข์จนจบ

เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้โปรดให้อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)เป็นพระอุปัชฌาย์   สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์  ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณที่พระธรรมวโรดมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณกร ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระราชาคณะเป็นพระบรรพชาจารย์   ได้รับพระนามฉายาว่า "สิริวฑฺฒโน" ผนวชแล้วกลับมาประทับที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามตามเดิม

ถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒  โปรดให้ทรงอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ) เป็นพระอุปัชฌาย์  ทรงผนวชแล้วกลับมาอยู่วัดราชบพิธตามเดิม  เล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อขุนปรีชานุสาสน์ (โต)  และอาจารย์รอดต่อมา  แล้วไปเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สา)  แต่เมื่อยังเป็นที่พระธรรมวโรดม ที่วัดราชประดิษฐ์บ้าง

ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕  โปรดให้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์  ได้แปลถวายหน้าพระที่นั่งวัน ๑  ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค  ได้พระราชทานตาลิปัตรเปรียญพื้นตาดปักดิ้นเป็นเกรียติยศ  ต่อมาถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙  ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกครั้ง ๑  ได้อีกประโยค ๑  รวมเป็น ๕ ประโยค

ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐  ทรงตั้งเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ  มีราชทินนามว่า หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต  คราวเดียวกับทรงตั้งพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรที่วัดราชบพิธ  เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน  

ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒  ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นชั้นธรรม  ตำแหน่งพระธรรมปาโมกข์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙  ทรงสถาปนาเป็นพระองค์เจ้า  และมีสมณศักดิเสมอพระพรหมมุนี  เจ้าคณะรองในคณะกลาง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ มีสำเนาประกาศดังนี้


คำประกาศ
ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล  เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๘ พรรณนา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม ตุรังคสังวัจฉระ ไพศาขมาศสุกรปักษ์ นวมีดิถีภุมวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ พฤษภาคมมาศ ปฐมมาสาหคุณพิเศษปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเปนพระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ถ้า
ดำรงอยู่ในฆราวาสได้รับราชการดี ก็จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเปนพระองค์เจ้าให้เปนพระเกียรติยศตามราชประเพณีมีมา  หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตนี้  โดยว่าทรงผนวชมิได้รับราชการแผ่นดินก็บริบูรณ์ด้วยวิจารณญาณ  ชำนาญในพระปริยัติธรรม เปนเปรียญ ๕ ประโยค ทรงคุณวุฒิวิริยภาพ ขวนขวายในธุระพระพุทธสาสนา ได้เคยเปนผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์แลเปนสภานายกแห่งมหามกุฎราชวิทยาลัย  ได้สั่งสอนพุทธมามกชนทั้งคฤหัสถ์แลบรรพชิต  ให้เข้าใจในกิจที่ควรปฏิบัติตามพุทธโอวาท  ประกอบด้วยมารยาตรควรแก่สมณวัตร  ปกครองสมณบริษัทโดยเรียบร้อย  มีอัธยาไศรยเมตตาต่อสหธรรมมิกพรหมจารรย์มั่นคงในพุทธสาสนา  เปนอจลพรหมจริยาภิรัต  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนาเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะ  แลต่อมาก็ได้ทรงรับอิศริยศักดิเพิ่มตำแหน่งเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะผู้ใหญ่เทียบยศเสมอเทพ  ภายหลังได้ทรงรับอิศริยยศตำแหน่งพระธรรมปาโมกข์  ได้รักษาสมณศักดิทั้งประเพณีราชการเรียบร้อยตลอดมา  ควรเปนสมณทายาทในสมณวงศ์ดำรงคุณธรรมสัมมาปฏิบัติ  ย่อมเปนที่เคารพนับถือแห่งพุทธสาสนิกบริสัช  แลได้เปนพระกรรมวาจาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อทรงผนวชเปนภิกษุ แลเปนผู้ถวายสรณแลศีลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเมื่อทรงผนวชเปนสมเณรหลายพระองค์ แลเปนพระอุปัธยาจารย์แห่งกุลบุตรเปนอันมาก  อนึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ทรงผนวชในพระพุทธสาสนา และดำรงคุณธรรมดังกล่าวมาแล้ว ในเวลานี้ก็มีน้อยพระองค์ สมควรเพิ่มพระอิศริยยศในราชตระกูลแลสมณศักดิให้ยิ่งขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนอิศริยยศหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มีราชทินนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต อังคีรสสาสนธำรง ราชวรพงศ์ศักดิพิบุลย์ สุนทรอรรถปริยัติโกศล โสภณศีลสมาจารวัตร มัชฌิมคณานุนายก สาสนดิลกบพิตร อัชนาม สถิต  ณ วัดราชบพิธสถิตย์มหาสิมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง ทรงศักดินา ๓๐๐๐ มีตำแหน่งสมณศักดิที่พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๘ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ

พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ สมบุรณคณาธิปัติ มัชฌิมสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
พระครูวินัยธร ๑
พระครูวินัยธรรม ๑
พระครูพุทธพากย์ประกาศ ๑
พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ ๑
พระครูสังฆบริหาร ๑
พระครูสมุห์ ๑
พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๘ รูป

ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธสาสนา เปนภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรในคณะตามสมควรแก่พระกำลังแลอิศริยยศซึ่งพระราชทานนี้  จงเจริญพระชนมายุพรรณ ศุข พละ ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒน์สถาพร จิรฐิติกาลในพระพุทธสาสนาเทอญฯ

ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓  โปรดให้ตั้งการพิธีตั้งกรมที่วัดราชบพิธ  ทรงสถาปนาเปนพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมณศักดิเสมอสมเด็จพระพุฒาจารย์เมื่อ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม

เพราะเหตุสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิญาณวโรรส สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม จึงทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ เป็นพระเจ้าวรวงศเธอและทรงเลื่อนสมณศักดิขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าตำแหน่งสกลสังฆปรินายก มีประกาศพระบรมราชโองการดังนี้


ประกาศ
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศทราบทั่วกัน

ด้วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีสงฆ์สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระวรวงศเธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทรงมีคุณูปการในทางพุทธสาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่งสนองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสืบไปได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ สถาปนาคำนำพระนามและฐานันดรศักดิขึ้น เปนพระเจ้าวรวงศเธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ เปนปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศเธอ กรมหลวง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐  สิริพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ๕ เดือน ๙ วัน ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๕ ปี ๘ เดือน ๕ วัน




กิมเล้ง : http://www.sookjai.com





.

5446  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๑ : พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:16:23
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์


พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร)  วัดมงกุฎกษัตริยาราม (ปัจจุบันเขียนเป็น มกุฏกษัตริยาราม) กรุงเทพมหานคร  
พระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนาม “พระธรรมปาโมกข์”  รูปแรก


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๑
(แฟง  กิตฺติสาโร)


     พระพรหมมุนี (แฟง)  วัดมงกุฎกษัตริยาราม (ปัจจุบันเขียนเป็น มกุฏกษัตริยาราม)   นามฉายาว่า กิตฺติสาโร  เกิดในรัชกาลที่ ๓  เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ปีระกา  พ.ศ. ๒๓๘๐   ตรงกับวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๐  บิดาชื่อ คง  มารดาชื่อ ปาน   บ้านเดิมอยู่คลองสามเสนฝั่งเหนือ  ตรงข้ามกับวัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)  อำเภอดุสิต  จังหวัดพระนคร   เมื่อจวนจะอุปสมบท ได้มาเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสี ยิ้ม)  ครั้งยังเป็นพระครูอยู่วัดโสมนัศวิหาร    และอุปสมบทที่วัดโสมนัศวิหาร  เมื่อปีมะแม  พ.ศ.๒๔๐๒   สมเด็จพระวันรัตน์ (พุทฺธสิริ ทับ)   แต่ครั้งยังเป็นพระพรหมมุนี เป็นอุปัชฌายะ   พระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสี ยิ้ม) ครั้งยังเป็นพระครูชื่อนั้น เป็นกรรมวาจาจารย์    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระพรหมมุนี (เหมือน)    แต่เมื่อยังเป็นพระอริยมุนีบ้าง  ในสำนักอาจารย์ทองบ้าง  เมื่อทรงสร้างวัดมงกุฎกษัตริย์  ท่านรับตำแหน่งเป็นพระสมุห์ในถานานุกรมไปอยู่วัดมงกุฎกษัตริย์ด้วย  เมื่อปีมะโรง พศ. ๒๔๑๑

     ถึงรัชกาลที่ ๕  เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓  ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค  ต่อมาถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙   เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์อีกครั้ง  ๑  แปลได้อีก ๔ ประโยค  รวมเป็น ๗ ประโยค  ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๒๔  ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระกิตติสารมุนีตามนามฉายาของท่าน  ครองวัดมงกุฎกษัตริย์  ต่อมาถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕  ทรงเลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่  ที่พระเทพโมลี  มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้


คำประกาศ
    ศุภมัสดุ ฯลฯ  (ลงวันศุกร์  เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕  ที่ ๑๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ พร้อมกับทรงตั้งหม่อมเจ้าพิมลธรรม)

     อนึ่งพระราชาคณะที่มีความรู้พระปริยัติธรรมปรากฏในสงฆมณฑลสมควรที่จะเลื่อนอิศริยยศมีอิกหลายรูป  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระกิตติสารมุนี เปนพระเทพโมลีตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆาราม ความวาสี สถิต  ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง   มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔  ตำลึง ๒ บาท  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสังฆวิชิต ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๔ รูป  ขอพระคุณทั้งปวงซึ่งรับราชทินนามเพิ่มอิศริยยศและนิตยภัตรในครั้งนี้  จงจิรฐิติกาลเจริญอายุวรรณ  ศุขพลปฏิภาณ คุณสารศิริสวัสดิ  ในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

     ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗  ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นพระธรรมปาโมกข์  ชั้นธรรมในคณะธรรมยุติกา เป็นตำแหน่งทรงตั้งขึ้นใหม่  มีสำเนาทรงตั้งดังนี้

คำประกาศ
    ศุภมัสดุ ฯลฯ (ลงวันพฤหัศบดี เดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ ๒๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓  พร้อมกับทรงตั้งหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์)

     อนึ่งพระราชาคณะที่มีความรอบรู้พระปริยัติธรรมปรากฏในสงฆมณฑล  สมควรที่จะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิแลพระสงฆ์ซึ่งทรงสมณคุณ  สมควรจะเปนพระราชาคณะแลพระครูมีอิกหลายรูป  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลี  เป็นพระธรรมปาโมกข์ยุตโยคยตินายก  ไตรปิฎกธารี  ธรรมวาทีคณฤศร  บวรสังฆาราม  ความวาสี  สถิต  ณ วัด มงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๕ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๕ รูป  ขอพระคุณทั้งปวงซึ่งรับพระราชทินนามเพิ่มอิศริยยศ แลนิตยภัตรในครั้งนี้ จงจิรฐิติกาล เจริญอายุวรรณ ศุขพลปฏิภาณ คุณสารศิริสวัสดิในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

พระพรหมมุนี (แฟง) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนาม “พระธรรมปาโมกข์”  เป็นรูปแรก

     ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นพระพรหมมุนี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ มีสำเนาประกาศที่ทรงตั้งดังนี้


คำประกาศ
    ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล  เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๒ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม วราหะสังวัจฉระกติกมาศ สุกรปักษ์ อัฐมีดิถี ศุกรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทร ศก ๑๑๘ พฤศจิกายนมาศ ทะสะมะมาสาหะคุณพิเศษ ปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระธรรมปาโมกข์   ประกอบไปด้วยวิริยานุภาพอันไพศาล  ทรงคุณวุฒิโดยอเนกประการ  เปนผู้รอบรู้พระปริยัติธรรมแตกฉานด้วยดี  ได้เปนพระอาจารย์แนะนำพระปริยัติธรรมถวาย  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  จนถึงได้เสด็จเข้าแปลในที่ประชุมพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  เฉพาะน่าพระที่นั่ง  กับได้เปนอุปัธยาจารย์อุปสมบทกุลบุตรผู้มีเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา  ให้สำเร็จกิจบรรพชาอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต  ทั้งเปนผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกหลวง  ลงพิมพ์สำเร็จทันการพระราชพิธีรัชฎาภิเศก  สมพระราชประสงค์ด้วยรูป ๑  แลเปนกรรมการของมหามกุฏราชวิทยาลัย  ช่วยจัดการเล่าเรียนอักษรสมัยภาษาไทยแลภาษามคธ  บำรุงพุทธสาสนาให้เจริญปรากฏทั่วไปในสยามรัฐมณฑล  สั่งสอนพุทธสาสนิกชนให้ประพฤติชอบตามพระธรรมวินัย  ทั้งพร้อมไปด้วยศีลสมาจารวัตร  มีความปฏิบัติสมควรแก่ธรรมทายาทเรียบร้อยตลอดมา  ควรเปนที่คารวะนับถือของพุทธมามะกะ บริษัททั้งคฤหัสถ์แลบรรพชิต บัดนี้ก็มีพรรษายุกาลเจริญยิ่งขึ้น สมควรจะเปนพระราชาคณะผู้ใหญ่ได้

     จึงมีพระบรมราชโองการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้สถาปนา พระธรรมปาโมกข์ เป็นพระพรหมมุนี มีราชทินนามในหิรัญบัตรว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายกตรีปิฎกธรรมาลงกรณ์ มัชฌิมคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต  ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง ตำแหน่งเจ้าคณะรองในคณะกลาง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ

     พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ สมบุรณ์คณาธิปัติ มัชฌิมสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
     พระครูวินัยธร  ๑
     พระครูวินัยธรรม  ๑
     พระครูพุทธพากย์ประกาศ  ๑
     พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ     ๑
     พระครูสังฆบริหาร  ๑
     พระครูสมุห์     ๑
     พระครูใบฎีกา  ๑     รวม  ๘  รูป

     ขอให้พระคุณทั้งปวงซึ่งรับราชทินนามแลเพิ่มอิศริยยศในครั้งนี้ จงจิรฐิติกาล เจริญอายุวรรณ  ศุขพลปฏิภาณคุณสารศิริสวัสดิ  ในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

     พระพรหมมุนี (แฟง)  ถึงมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ ตรงกับเดือน  ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓  อายุ ๖๔ ปี





กิมเล้ง : http://www.sookjai.com




.




5447  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: หยุดใจให้ไร้อยาก (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เมื่อ: 10 เมษายน 2555 16:40:24
 

  ได้ฟังธรรมพระอาจารย์แล้วสบายใจมาก ๆ  ... ๆ... ๆ. ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม รัก
5448  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: อาบัติปาราชิกยังพอแก้ไขได้ เมื่อ: 10 เมษายน 2555 14:56:39




เป็นคนหนึ่งที่ชอบฟังธรรมของพระอาจารย์สุรศักดิ์  เขมรํสี  หรือพระครูเกษมธรรมทัต แห่งสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมเหยงคณ์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  คือฟังเกือบทุกเช้า ระหว่างเตรียมอาหารใส่บาตร  (เป็นคนตื่นแต่ตี 4 จนเป็นนิสัย)   ท่านพูดโดยสรุปได้ว่าพระสงฆ์ที่ต้องอาบัตินั้น หากได้ปลงอาบัติแล้ว ศีลบริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ได้ แต่บาปนั้นยังติดตัวพระรูปนั้นอยู่ การปลงอาบัติไม่สามารถลบล้างบาปกรรมที่พระสงฆ์รูปนั้นได้กระทำไว้ได้.....แต่ในเรื่องของปาราชิกไม่ทราบมาก่อนค่ะ


 







.
5449  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / โอวาทธรรมท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต เมื่อ: 10 เมษายน 2555 14:31:14


"พระอรหันต์กลางกรุง" พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โอวาทธรรมท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ  เมื่อมียศก็เสื่อมยศ  เมื่อมีศุขก็มีทุกข์  เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้  จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์  ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ  ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม
นับประสาอะไร  พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดายังมีมารผจญ  ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเรา จะรอดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง ชมก็ช่าง  เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ
เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไรก็ช่างเขา  
บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง  พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
จะต้องไปกังวนกลัวใครติเตียนทำไม  ไม่เห็นมีประโยชย์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ
ธมฺมวิตกฺโก


                                    
Death is my friend


ก้อนเนื้อที่คอท่านซึ่งบวมออกมาเป็นก้อน ท่านว่าหมอตรวจพบก้อนนุ่มๆอยู่ภายใน แนะนำให้ผ่าตัดออกเพราะเป็นเนื้อร้ายหรือที่เรียกกันว่ามะเร็ง ท่านว่า "จะไปทำมันทำไม Death is my friend อันความตายนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลยเหมือนกับพวกคุณกลับจากที่ทำงานแล้วก็เปลี่ยน "เสื้อผ้า"







.
5450  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / รำลึกครบ 100 ปีไททานิค : 15 เม.ย. 55 เมื่อ: 10 เมษายน 2555 11:22:35


รำลึก 100 ปี “ไททานิค”
 


          
ในภาพยนตร์เรื่องไททานิค บทสรุปของเรื่องราวบนแผ่นฟิล์มคือการอับปางลงอย่างไม่มีวันกลับ พร้อมกับความรักนิรันดร์ของแจ๊คกับโรสที่กลายเป็นตำนานชู้รักเรือล่มอันยิ่งใหญ่ ทว่าในความเป็นจริงหลังจากเรือที่ไม่มีวันจมอย่างไททานิคชนหินโสโครกจนหักเป็นสองท่อนและจมลงเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2455 นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคนอีกกลุ่มที่ต้องรีบทำงานแข็งกับเวลาที่ผ่านไปเพื่อระบุว่าใครรอดและใครเสียชีวิต

เมืองฮาลิแฟกซ์ ในมณฑลโนวาสโกเทียของแคนาดา ท่าเรือใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ใกล้กับจุดที่ไททานิคจมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 1,200 กิโลเมตร คนในเมืองนี้จึงต้องรับบทบาทสำคัญในโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของศตวรรษที่ 20

เฟรเดอริค ลาร์ดเนอร์ กัปตันเรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ เรือวางสายโทรเลขใต้ทะเล ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อให้แล่นผ่านน้ำแข็งและหมอก มันถูกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับค้นหาสายโทรเลขใต้ทะเลลึกและซ่อมแซมสายเหล่านั้น แต่สำหรับครั้งนี้งานของเขาคือต้องไปถึงจุดเรือจมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และกู้ศพจากเรือไททานิคขึ้นมา ลูกเรือซึ่งเป็นคนท้องถิ่น 75 คนจากหมู่บ้านชาวประมงซึ่งอยู่ใกล้เมืองฮาลิแฟกซ์ที่สุดขนโลงศพขึ้นเรือลำนี้แทนที่สายโทรเลข พวกเขาจะได้รับค่าจ้างสองเท่าสำหรับช่วงเวลาน่ากลัวหลายวันที่รออยู่ข้างหน้าได้

ก่อนที่ไททานิคจะหักสองท่อนและจมลง มีผู้โดยสารเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่สามารถลงเรือชูชีพได้ พวกเขาถูกรับขึ้นเรือโดยสารที่ผ่านมาเพียงลำเดียวที่ไปถึงจุดเกิดเหตุ ส่วนคนที่เหลือถูกทิ้งไว้ให้เสียชีวิต ในคืนที่ไททานิคจม อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือลบสององศาต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ในสภาพเลวร้ายสุด ๆ เช่นนี้ กัปตันลาร์ดเนอร์รู้ว่าระยะเวลารอดชีวิตโดยเฉลี่ยนั้นไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง

เวลาเดียวกันนั้น จอห์น เฮนรี บาร์นสเตด นายทะเบียนของเมืองฮาลิแฟกซ์ ที่คอยจดบันทึกว่าใครเกิด ใครแต่งงาน และใครตายซึ่งตามปกติแล้วมันเป็นงานที่ไม่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่ในเวลานี้เพราะงานของเขาคือเตรียมการสำหรับศพผู้เสียชีวิต และระบุตัวตนของทุก ๆ ศพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเทคโนโลยีนิติวิทยาศาสตร์ในปี 1912 ห้องดับจิตทั้งเมืองถูกเตรียมให้ว่างไว้ และสัปเหร่อจากทั่วทั้งมณฑลก็เตรียมพร้อมที่จะทำงาน

บาร์นสเตดไม่ปล่อยให้มีสิ่งใดเป็นไปตามยถากรรม สมัยเป็นหนุ่ม บาร์นสเตดได้เห็นผู้บังคับบัญชาของเขาล้มเหลวในการทำภารกิจนำศพกลับบ้านจากเรืออีกลำของบริษัทไวท์สตาร์ ที่ชื่อ อาร์เอ็มเอส แอตแลนติก ซึ่งอับปางที่ชายฝั่งของมณฑลโนวาสโกเทีย  พวกเขาระบุตัวตนได้ไม่กี่ศพ ทรัพย์สินถูกขโมยและครอบครัวของพวกเขาต้องสิ้นหวัง บาร์นสเตดปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกไม่ได้

การระบุตัวตน การเขียนหมายเลข และทรัพย์สิน คือวิธีการของบาร์นสเตด ทุกศพจะถูกเขียนหมายเลข และหมายเลขนั้นพร้อมด้วยคำบรรยายรูปพรรณสัณฐานและรายการทรัพย์สินจะอยู่กับศพนั้นเสมอ

http://abroadcenter.com/admin/upload/module_cms/title_cms/img_35c39782a5f46a45addfbd98761a74cd.jpg
เมืองฮาลิแฟกซ์  มณฑลโนวาสโกเทีย  แคนาดา

17 เมษายน สองวันหลังจากไททานิคจมลง และยังไม่มีความชัดเจนว่าจริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หรือมีกี่คนรอดชีวิต บนเรือที่มาช่วยเหลือซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปนิวยอร์ก มีนางแมเดลีนซึ่งขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ห้าเดือน ภรรยาของผู้โดยสารที่รวยที่สุดบนเรือไททานิครวมอยู่ด้วย สามีของเธอคือ จอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ และหลานสาวของเขาคือแจ๊คกี้ แอสเตอร์ เดร็กเซล

เกือบสี่วันแล้วหลังจากเรือไททานิคจม เรือช่วยเหลือก็นำผู้รอดชีวิตกลับมาก็มาถึงนิวยอร์ก การกลับบ้านครั้งประวัติศาสตร์ของเรือลำนี้เกิดขึ้นตรงจุดที่ปัจจุบันคือท่าเทียบหมายเลข 54 ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว ในท่าเรือเวสต์ไซด์ของนิวยอร์ก พอเรือช่วยเหลือเข้าเทียบท่า เมื่อวินเซนต์เห็นแมเดลีนอยู่คนเดียว เขาก็รู้ว่าพ่อของเขาจะไม่มีวันได้กลับมาบ้านอีกแล้ว แต่ถ้ายังไม่พบศพและระบุตัวตน ก็ไม่มีใครแน่ใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับจอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ ไม่มีใครแน่ใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านั้นที่ไม่ได้กลับบ้าน

21เมษายน เรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ไปถึงจุดเรืออับปาง หลายศพลอยไปแล้ว แต่พวกลูกเรือก็ต้องประหลาดใจที่อีกหลายศพยังเกาะกลุ่มกันอยู่ท่ามกลางซากอับปางศพเหล่านี้ต้องถูกกู้ ถอดเสื้อผ้า ตรวจสอบ และจดบันทึกตามคำสั่งของบาร์นสเตด

ขั้นแรกศพถูกวางเรียงบนดาดฟ้าเรือ แล้วเสื้อผ้าก็ถูกถอดออก และสิ่งของแต่ละชิ้นจะถูกเขียนบรรยายและจดบันทึกไว้ หลังจากนั้นเสื้อผ้าจะถูกเผาเพื่อป้องกันพวกนักล่าของที่ระลึก จะต้องมีสองคนอยู่ด้วยเสมอขณะเก็บทรัพย์สินจากแต่ละศพ นี่หมายความว่าจะปล่อยให้มีสิ่งใดถูกเก็บไว้ผิดที่หรือถูกขโมยไปไม่ได้ รายการของที่อยู่ในกระเป๋าของผู้ตายถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยในการระบุตัวตน ทั้งบนเรือและบนฝั่งตรงกัน

หมายเลขซึ่งกำหนดให้ศพจะถูกส่งมอบให้บาร์นสเตดที่บนฝั่ง และจะอยู่กับบุคคลนั้นไปตลอดการจดบันทึกทั้งหมด หลักการระบุตัวตน การใส่หมายเลข และการเก็บทรัพย์สินของบาร์นสเตดยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในหน่วยงานกู้ภัย ดับเพลิง ตำรวจ และยามฝั่ง

22 เมษายน ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มีข่าวมาถึงเรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ว่าวินเซนต์ แอสเตอร์ได้เสนอเงิน 10,000 ดอลลาร์ หรือเท่ากับสองแสนห้าหมื่นดอลลาร์ในปัจจุบัน เป็นเงินรางวัลสำหรับการหาศพบิดา และก็ดูเหมือนจะมีคนได้รางวัลนั้น จอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ถูกระบุตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยอักษรย่อปักด้วยไหมในคอปกเสื้อของเขา โดยกระดุมข้อมือเพชร และเงินสด 3,000 ดอลลาร์ในกระเป๋า

แม้จะหาบางคนพบแต่ไม่ได้หมายความว่าทุคนจะได้กลับบ้าน เมื่อโลงศพ 70 โลงที่นำไปกับเรือถูกใช้จนหมด และศพมีสภาพแย่มากจนระบุตัวตนไม่ได้ การฝังศพในทะเลจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนั้น พวกเขาต้องอาศัยน้ำลึกอย่างน้อย 600 ฟุต และน้ำหนักถ่วงในผ้าห่อศพเพื่อป้องกันไม่ให้ศพลอยขึ้นมา กัปตันลาร์ดเนอร์คาดการณ์เรื่องนี้ไว้อยู่แล้ว จึงใส่ตะแกรงเหล็กมาในห้องเก็บสินค้าใต้ท้องเรือ ศพเกือบทั้งหมดที่ถูกฝังในทะเลนั้นเป็นผู้โดยสารชั้นสามหรือลูกเรือ ซึ่งถูกส่งกลับลงสู่ก้นทะเลลึกโดยมีพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเหมาะสม





5451  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: กิมเล้งพาเข้าครัว - ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วและไข่เค็ม เมื่อ: 10 เมษายน 2555 00:29:34

























ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
5452  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: กิมเล้งพาเข้าครัว - ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วและไข่เค็ม เมื่อ: 10 เมษายน 2555 00:20:21

ส่วนผสมแป้งชั้นนอก : ในชามคือแป้งขนมปัง+แป้งบัวแดง ร่อนแล้ว (ลายมือที่กระดาษอาจจะอ่านค่อนข้างยาก  กรุณาย้อนกลับไปดูสูตรข้างบนค่ะ )


ส่วนผสมแป้งชั้นใน : แป้งบัวแดง + เนยขาว  (ขออภัยด้วยค่ะ ที่เขียนด้วยลายมือว่าแป้งชั้นนอก ที่ถูกต้องคือแป้งชั้นในค่ะ)


วัสดุทำไส้ขนม : ถั่วกวนอบควันเทียน   ไข่เค็มดิบ


ปั้นไส้หุ้มด้วยไข่เค็มให้ได้ 140 ลูก


แป้งชั้นนอก :  ทำเป็นบ่อตรงกลาง  เติมน้ำตาลทราย น้ำ น้ำมันพืช นวดพอเข้ากันใส่เนยขาวนวดจนเนียน
เคล็ดลับส่วนตัว : พอนวดแป้งจนเนียนแล้ว  ฟาดแป้งแรง ๆ สัก 5-10 นาที แป้งจะเหนียวหนึบ มีประสิทธิภาพดีมาก  
เมื่อนำไปหุ้มแป้งชั้นในและการรีดแป้งม้วนแป้งจะไม่มีปัญหาแป้งชั้นในทะลักออกมา


พักแป้งไว้ประมาณ 10 นาที  ให้แป้งเซ็ทตัวได้ดี
 

แป้งชั้นใน :  ผสมแป้งกับเนยขาวนวดพอเป็นเนื้อเดียวกัน


ได้ดังนี้


ปั้นแป้งชั้นนอกและชั้นในเป็นก้อนกลม ๆ  ให้ได้อย่างละ 70 ลูก

 
นำแป้งชั้นนอกมาแผ่เป็นแผ่นกลม ๆ แล้วนำแป้งชั้นในวางตรงกลางหุ้มแป้งชั้นนอกให้มิดชั้นใน 
แล้วคลึงเป็นเส้นยาว ๆ (ะวังอย่าให้แป้งชั้นในทะลักออกมา)


ใช้ไม้รีดแป้งรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ (ถ้าไม่มีไม้รีดแป้ง ใช้ขวดกลมได้)


ม้วนแป้งไปเรื่อย ๆ


จะได้รูปร่างอย่างนี้


ตัดแบ่งครึ่ง


พลิกให้เห็นลายดังภาพ


คลึงให้เป็นแผ่นกลม 


นำไส้วางไว้ตรงกลาง  แล้วหุ้มให้มิดไส้


ที่เห็นใต้ผ้าขาวบางคือแป้งชั้นนอกที่ยังไม่ได้นำมาคลึง  ควรใช้ผ้าขาวบางคลุมไว้ มิฉะนั้นแป้งโดนลมทำให้แห้งคลึงยาก


รูปสำเร็จ


นำวางเรียงในถาดปูด้วยกระดาษไข  แต้มด้วยไข่แดงเตรียมนำเข้าอบ





5453  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / กิมเล้งพาเข้าครัว - ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วไข่เค็ม เมื่อ: 10 เมษายน 2555 00:17:19
กิมเล้งพาเข้าครัว - ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วไข่เค็ม


ส่วนผสม
แป้งชั้นนอก
แป้งขนมปัง  1 ถ้วย
แป้งบัวแดง  1 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย   1/2 ถ้วย
น้ำ 1/2 ถ้วย
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
เนยขาว 50 กรัม

แป้งชั้นใน
แป้งบัวแดง 2 1/2 ถ้วย
เนยขาว 150 กรัม

ไส้ถั่วกวน
ถั่วเขียวเลาะเปลือกดิบ 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
กะทิสด 1 ถ้วย
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
แบะแซ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ไส้ถั่วกวน
1. แช่ถั่วในน้ำอุ่นทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง  นำไปนึ่งให้สุกแล้วบดให้ละเอียดผสมน้ำตาลทราย เกลือ กะทิ กวนจนแห้ง  นำไปอบควันเทียน  
2. ปั้นไส้ถั่วกวน  โดยยัดไส้ไข่เค็มดิบให้ได้ 140 ก้อน

2. แป้งหุ้มไส้ขนม
1. ร่อนแป้งชั้นนอกทั้งสองชนิดรวมกัน
2. ทำเป็นบ่อตรงกลาง  ใส่น้ำตาลทราย  น้ำ  น้ำมันพืช  นวดพอเข้ากัน  ใส่เนยขาวนวดจนเนียนพักไว้ 10 นาที ให้แป้งเซ็ทตัว ปั้นเป็นก้อนกลม 70 ก้อน
3. ผสมแป้งชั้นในกับเนยขาวนวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน  ปั้นเป็นก้อนกลม 70 ก้อน
4. แผ่แป้งชั้นนอกหุ้มแป้งชั้นใน  คลึงตามยาว ม้วนลงจนเป็นแท่งกลม ๆ ตัดครึ่ง  
5. คลึงแป้งที่ตัดครึ่งเป็นแผ่นกลม นำไปห่อไส้ถั่วกวนไข่เค็มให้มิด  วางบนถาดทาเนยขาวหรือรองด้วยกระดาษไข  
6. ทาหรือแต้มหน้าขนมด้วยไข่แดง
7. นำไปอบด้วยไฟล่าง 180 องศาเซลเซียส  ประมาณ 15 นาที


แช่ถั่วในน้ำอุ่นประมาณ 6 ชั่วโมง  นำมาล้างให้หมดกลิ่นใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ


ใส่ลังถึงปูด้วยผ้าขาวบาง  นำไปนึ่งให้สุก


วัสดุทำไส้ถั่วกวน  :  ถั่วบดละเอียด   หัวกะทิสด  น้ำตาลทราย  เกลือ  แบะแซ   และเทียนอบ


กวนไส้ด้วยไฟค่อนข้างอ่อน ถ้าไม่หวานเพิ่มน้ำตาลทรายได้ค่ะ (ถ้ามีกระทะทองเหลืองควรนำมาใช้เพราะกระจายความร้อนได้ดีมากและช่วยประหยัดพลังงาน)


กวนพอแห้งไม่ติดกระทะเป็นพอ  อย่ากวนนานเกินไปมิฉะนั้นไขมันจากถั่วและกะทิจะแยกตัวใช้ไม่ได้ต้องทิ้งไป


ทิ้งไว้ให้เย็นนำไปใส่ภาชนะมีฝาปิด นำเทียนอบวางลงดังภาพ (ถั่วกวนต้องเย็นสนิทจริง ๆ มิฉะนั้นไอน้ำจะลอยไปที่ฝาปิดและหยดลงมาที่ขนมเมื่อปิดฝาภาชนะ)


จุดไฟที่ปลายเทียน


ปิดฝาภาชนะให้สนิท


ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง  ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจะหอมยิ่ง ๆ ขึ้น  (ที่ทำมานำเสนอครั้งนี้อบด้วยควันเทียนประมาณ 5 ครั้ง แล้วทิ้งไว้ค้างคืนหนึ่งคืน)
 





.
5454  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / กิมเล้งพาเข้าครัว - แกงคั่วปลาดุกปักษ์ใต้ เมื่อ: 09 เมษายน 2555 19:13:09
กิมเล้งพาเข้าครัว - แกงคั่วปลาดุกปักษ์ใต้


แกงคั่วปลาดุกปักษ์ใต้

เครื่องปรุง
ปลาดุกหั่นชิ้น  1/2 กิโลกรัม
หัวกะทิ (ที่บ้านจะซื้อหัวกะทิล้วน ๆ ไม่ผสมน้ำมาแช่ช่องแข็งติดตู้เย็นไว้เสมอ จะไม่ใช้กะทิกล่องค่ะ ไม่อร่อย)
ใบมะกรูด
พริกชี้ฟ้า
น้ำปลา

เครื่องปรุงน้ำพริก
พริกแห้งขี้หนูแห้ง 10-15 เม็ด
กระเทียมปอกเปลือก 2 หัว (เท่าที่สังเกต  อาหารใต้จะใช้กระเทียมมากกว่าหอมแดง)
หอมแดงปอกเปลือก 1 หัว
ผิวมะกรูด 2 ช้อนชา
ข่า 2 ช้อนขา
ตะไคร้ 1 ต้น
ขมิ้นสดปอกเปลือก ยาว 1 1/2 นิ้ว
พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
เกลือ
กะปิ 1 ช้อนชา


วิธีทำ
1. ปลาดุกล้างน้ำให้สะอาดนำไปใส่ภาชนะก้นลึกพอสมควร  ต้มน้ำใส่เกลือป่นให้น้ำร้อนจัดแล้วนำมาราดบนปลาพักไว้สักครู่ จึงเทน้ำลวกปลาทิ้ง   พักไว้ (จะช่วยดับคาวปลาทุกชนิด
    ได้ดีมาก ๆ ค่ะ)
2. โขลกเครื่องน้ำพริกแกงพอหยาบ ๆ ให้ได้กลิ่นหอมของน้ำมันจากสมุนไพรเครื่องแกงก่อน จึงนำไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร  หากไม่เมื่อยมือก็เชิญโขลกต่อไปตามอัธยาศัย
3. ใบมะกรูดนำมาหั่นฝอยส่วนหนึ่ง  และฉีกไว้โรยหน้าอีกส่วนหนึ่ง
4. นำกะทะตั้งไฟ  ใส่กะทิพอประมาณ เคี่ยวจนเป็นขี้โล้ (ไขมันแตกตัว) ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม
5. ใส่กะทิที่เหลือ  พอเดือดใส่ปลาดุกที่ลวกไว้   ใส่ใบมะกรูดหั่นฝอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลปีบ (ถ้าชอบหวาน : แต่ที่ทำไม่ได้ใส่เพราะกะทิก็หวานพอแล้ว)
6. ตักใส่จาน โรยด้วยใบมะกรูดฉีก  พริกชี้ฟ้าสีแดง  เพื่อให้สีสันสวยงาม



เครื่องปรุงน้ำพริกค่ะ อ้อขาดอย่างหนึ่งค่ะ  พริกแห้ง 10-15 เม็ด


โขลกบานครกเลย....คนสมัยก่อนเขาถือว่ายังใช้ไม่ได้...

ปลาดุกลวกแล้ว  พริกแกง  กะทิ  น้ำปลา  ใบมะกรูด  พริกชี้ฟ้าสีแดง (สำหรับแต่งสีสัน)


เคี่ยวกะทิให้น้ำมันแตกตัวในกะทะใบเก่ง  (ภาชนะในการปรุงอาหารสำคัญมากนะจ๊ะ...จะให้กลิ่นและรสแตกต่างกันอย่างแน่นอน...กะทะเทฟล่อนเหมาะสำหรับการทอดปลาเพื่อไม่ให้หนังปลาติดกระทะเท่านั้น)


ใส่เครื่องแกง และผัดด้วยไฟอ่อน ๆ จนหอมไปทั้งบ้าน

ใส่กะทิที่เหลือ  พอเดือดใส่ปลาดุก (ห้ามคน ใช้มุมตะหลิวพลิกชิ้นปลาได้เบา ๆ) จนเกือบสุกปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลปีบนิ๊ด.ด.เดียวเท่านั้น  ใส่ใบมะกรูดหั่นฝอย  


ตักใส่จาน โรยด้วยใบมะกรูดฉีก  พริกชี้ฟ้าสีแดง

และก็อย่าลืม
ไข่ฟูร้อน ๆ  กับน้ำปลาพริก ด้วยจ๊ะ


ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
5455  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / กิมเล้งพาเข้าครัว - แกงฮังเล เมื่อ: 09 เมษายน 2555 16:02:41
กิมเล้งพาเข้าครัว - แกงฮังเล


แกงฮังเล    เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวล้านนา  บางแห่งเรียกว่า แกงฮินเล  หรือ แกงฮันเล   มี ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน   เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ชาวล้านนาได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในครั้งอดีต  เนื่องจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี  มีภาษา  มีหนังสือ มีวัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง  เคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของราชอาณาจักรตองอู  ราชอาณาจักรอยุธยา  และราชอาณาจักรอังวะ  มาก่อนนั่นเอง

และสิ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาวล้านนาและราชอาณาจักรพม่าในอดีต   และเป็นที่มาของตำนานความรักอันสะเทือนขวัญและเล่าขานสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้    คือเรื่องราวของ
มะเมียะกับเจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่  (นางสาวมะเมียะ : พ.ศ. 2430-พ.ศ. 2505)   นางสาวมะเมียะเป็นสาวแม่ค้าชาวพม่าที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ล้านนา โดยเป็นหญิงสาวที่มีความรักมั่นกับเจ้าอุตรการโกศลแห่งนครเชียงใหม่ เมื่อครั้งที่เจ้าอุตรการโกศล น้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า แต่ความรักต้องจบลงด้วยความโศกสลด  

วิธีทำแกงฮังเล
เครื่องปรุง
- ขาหมู (ขาหน้า)   1  กิโลกรัม   (โดยทั่ว ๆ ไป นิยมใช้เนื้อหมูสันนอก และหมูสามชั้น  หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 2 x 2 นิ้ว  ในปริมาณเท่า ๆ กัน)
- กระเทียมปอกเปลือกแล้ว  1/2 ถ้วยตวง  (ตามภาพ : ใช้กระเทียมจีน เพราะถ้ารับประทานไม่หมด เมื่อนำไปอุ่นซ้ำหลายครั้งจะไม่เละเหมือนกระเทียมไทย)
- ขิงสดหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
- แกนสับปะรด  1/2 ถ้วยตวง (ใส่เพื่อให้เนื้อหมูนิ่มเร็วขึ้นค่ะ ไม่ต้องเคี่ยวนานเกินไป)
- ผงแกงฮังเล 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา
- ซีอิ็วดำหมักหมู 2 ช้อนชา
- น้ำมะขามเปียก
- น้ำตาลปีบ

ส่วนผสมเครื่องแกง
- พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ด 8-10  เม็ด
- หอมแดง 4 หัว
- กระเทียม 3 หัว  
- ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1 ช้อนชา
- กะปิ 2 ช้อนชา (หรือถั่วเน่า-มีขายที่ภาคเหนือ)  

วิธีทำ
1. หั่นเนื้อหมูกว้างยาวประมาณ 2 นิ้ว  นำไปคลุกกับซีอิ๊วดำ หมักทิ้งไว้นานประมาณ 10 นาที
2. โขลกเครื่องน้ำพริกให้ละเอียด (หรือหากจะปั่นเครื่องแกง  ควรโขลกเครื่องปรุงเสียก่อนพอหยาบ ๆ จะทำให้ได้กลิ่นหอมน้ำมันจากสมุนไพร)
3. นำเนื้อหมูที่หมักไว้ใส่หม้อเติมน้ำลงไปพอท่วมเนื้อหมูยกขึ้นตั้งไฟ   ใส่เครื่องแกง  แกนสับปะรด  พอร้อนใส่เต็มที่จึงใส่ผงแกงฮังเล   เคี่ยวด้วยไฟอ่อนสุด  จนหมูเปื่อย
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลปีบ  น้ำมะขามเปียก


ที่บ้านมีขาหมู จึงใช้ขาหมูแทนส่วนสันนอกและสามชั้น


ผงแกงฮังเล (ซื้อมาจากเชียงใหม่ ถ้าหาไม่ได้ใช้ผงกะหรี่แทนได้ค่ะ)


บนเขียงใกล้ๆ ตะไคร้ คือถั่วเน่า (เป็นเครื่องปรุงสำคัญของอาหารไทยภาคเหนือ ทำจากถั่วเหลือง ใช้แทนกะปิ)


คลุกซีอิ๊วดำกับหมู หมักไว้ประมาณ 10 นาที


โขลกเครื่องแกง


ให้ได้น้ำมันหอมจากสมุนไพร เช่น พริก ตะไคร้ หอม กระเทียม ไม่ต้องละเอียดมาก เมื่อยมือน่ะ  


นำไปบดต่อในเครื่องผสมอาหาร


เคล้าพริกแกงกับหมูให้เข้ากัน


ตั้งไฟผัดให้หอม (ไม่ต้องใส่น้ำมัน..คนสมัยโบราณเรียกวิธีนี้ว่าการรวน - รวนหมู - รวนไก่ ฯลฯ)




เติมน้ำลงไปให้ท่วมหมู  น้ำแกงเดือดเต็มที่ ใส่ผงฮังเล  เคี่ยวไฟอ่อนสุดๆ


เคี่ยวมาหลายชั่วโมงแล้ว ใส่กระเทียมปอกเปลือก ขิงซอย น้ำปลา น้ำตาลปีบ และน้ำมะขามเปียก


ชิมรสตามชอบ เคียวสักพักใหญ่ใช้ได้











5456  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / กิมเล้งพาทัวร์ - หาดเจ้าสำราญ เพชรบุรี เมื่อ: 09 เมษายน 2555 12:34:41





ทิวทัศน์ข้างทาง จังหวัดสมุทรสงคราม






http://www.sookjai.com/external/jaosamran-beach/DSC09950.JPG
http://www.sookjai.com/external/jaosamran-beach/DSC09951.JPG









..ศิลปินเม็ดทรายครับ




ยามบ่าย






ยามเย็น




5457  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / กิมเล้งลุยต่างแดน ....ตะลุยออสเตรเลีย เมื่อ: 05 เมษายน 2555 19:03:04
กิมเล้ง ลุยต่างแดน ภาค 2 ตอน... กิมเล้งตะลุยออสเตรเลีย



ที่เห็นในมือคือบูมเมอแรง



แสดงโชว์การขว้างบูมเมอแรง


1.
1 - 2 การแสดงโชว์การโกนขนแกะ (ถ้าจำไม่ผิดประมาณ 2-3 นาที)
ที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลีย ณ KOALA PARK

2.


..?....


ต่อค่ะ...โกนขนแกะ



หมีโคล่า (Koala)  ขนนิ่มมาก สามารถจับเล่นได้ไม่ดุร้าย



จิงโจ้..เจ้าพวกนี้ก็ไม่ดุร้ายเข้าไปจับเล่นได้เหมือนกัน



...จำไม่ได้..ที่ไหนไม่ทราบ  





...ที่ไหนก็ไม่รู้...จำไม่ได้



ล่องเรือที่อ่าวซิดนีย์ (Sydney) (ณ มหานครซิดนีย์)



...ที่ไหนก็ไม่รู้...จำไม่ได้อีกแหละ

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Sydney Aquarium










5458  นั่งเล่นหลังสวน / ลานกว้าง (มุมดูคลิป) / Re: ใส ๆ เบา ๆ สบาย ๆ นะจ๊ะ เมื่อ: 05 เมษายน 2555 14:22:10



เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้







....ข้าโดดก่อนละเจ้า Mck......ตัวใครตัวมันนะเฟ้ย.... บ๊าบบาย บ๊าบบาย บ๊าบบาย
.






.
5459  นั่งเล่นหลังสวน / ลานกว้าง (มุมดูคลิป) / นี่ก็เบา ๆ ใส ๆ สบาย ๆ นะจ๊ะ! เมื่อ: 04 เมษายน 2555 18:53:18




นี่ก็เบา ๆ ใส ๆ สบาย ๆ ...นะจ๊ะ!



กายกรรมนกหงษ์หยก.mpg

 
หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น





.
5460  นั่งเล่นหลังสวน / ลานกว้าง (มุมดูคลิป) / Re: ใส ๆ เบา ๆ สบาย ๆ นะจ๊ะ เมื่อ: 04 เมษายน 2555 13:24:52




                    
นาย Mck.!.. เอ็งแน่ใจแน่นะ  ว่างานนี้ใส .ๆ. . สบาย .ๆ .. นะจ๊ะ...?..

 หือ ?




.
หน้า:  1 ... 271 272 [273] 274 275
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.69 วินาที กับ 26 คำสั่ง