[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 13:44:39



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 4-10 มี.ค. 2567
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 13:44:39
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 4-10 มี.ค. 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-10 13:27</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>ขอ สธ.เพิ่มอัตราพนักงานเปลและอัตราเงินเดือนตำแหน่งพนักงานเปลให้ รพ.ทั่วประเทศ</strong></p>
<p>นายออน กาจกระโทก สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ว่า ผู้ป่วยที่เดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ไม่ได้รับความสะดวกและได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากโรงพยาบาลมีพนักงานเปลที่มีหน้าที่ดูแลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่เป็นเด็กและคนชรา จึงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ญาติต้องช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกันเองด้วยความยากลำบาก และจากการสอบถามเรื่องอัตราเงินเดือนในตำแหน่งพนักงานเปล พบว่า มีอัตราเงินเดือนเพียง 9,000 - 10,000 บาท เท่านั้น ซึ่งถือว่ามีอัตราเงินเดือนที่น้อยมาก ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พิจารณาเพิ่มอัตราพนักงานเปลให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาและโรงพยาบาลอื่นที่มีอัตราไม่เพียงพอในการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ และขอให้พิจารณาเพิ่มอัตราเงินเดือนตำแหน่งพนักงานเปลของโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรดังกล่าวด้วย</p>
<p>ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา, 10/3/2567 (https://www.tpchannel.org/radio/news/25049)</p>
<p><strong>ประชุมบอร์ดประกันสังคมนัดแรก ที่ประชุมรับหลักการ ปรับสัดส่วนอนุกรรมการทำหน้าที่บอร์ดประกันสังคมประจำจังหวัดเพิ่มสัดส่วนผู้ประกันตนและนายจ้าง ขณะข้อเสนอการถ่ายทอดสดการประชุม ที่ประชุมขอไปทีละขั้นตอน</strong></p>
<p>วันที่ 9 มี.ค. 2567 หลังนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่ากังวลว่ากองทุนประกันสังคมกำลังเสี่ยงจะล้มละลายในอีกประมาณ 30 ปีข้างหน้า จึงมีแนวคิดจะขยายอายุเกษียณผู้ประกันตน พร้อมเพิ่มเพดานการเก็บเงินสมทบ ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ประกันตนผ่านโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง</p>
<p>ขณะที่ รศ.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ตัวแทนจากกลุ่มประกันสังคมก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่าน X โดยยืนยันว่า จุดยืนทีมประกันสังคมก้าวหน้า ไม่มีเรื่องการบังคับเพิ่มเงินสมทบ หรือ การขยายอายุเกษียณ โดยวิธีการที่จะทำให้ประกันสังคมยั่งยืนของกลุ่มประกันสังคมก้าวหน้า จุดยืนคือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่หลากหลายเพื่อจูงใจให้แรงงานกลุ่มใหม่ ๆ เข้าประกันสังคมรวมถึงการดึงเงินจากรัฐที่ค้างจ่ายเข้าประกันสังคม</p>
<p>ซึ่งมีผู้เข้ามาแสดงความเห็นกันอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ช่วยดูแลเรื่องการลงทุนของเงินประกันสังคม ขณะที่บางคนเสนอให้สามารถใช้สิทธิได้ว่า จะเลือกรับเป็นบำนาญหรือบำเหน็จ ซึ่งต้องรอดูว่า เรื่องนี้จะมีความคืบหน้าอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ รมว.แรงงานระบุว่า เป็นประเด็นเร่งด่วนที่อาจต้องหารือกับบอร์ดประกันสังคมชุดใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่หลังได้รับการเลือกตั้ง</p>
<p>ขณะที่การประชุมบอร์ดประกันสังคมชุดใหม่นัดแรก เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา หลังได้รับการเลือกตั้ง โดยมีวาระสำคัญในการประชุม คือ หลักเกณฑ์การคัดเลือกอนุกรรมการจังหวัด ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลักในการขับเคลื่อนประเด็นด้านนโยบายของประกันสังคม รวมถึงประเด็นเรื่องการเปิดเผยให้กองทุนมีความโปร่งใส ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ</p>
<p>เกศนคร พจนวรพงษ์ โฆษกทีมประกันสังคมก้าวหน้า ได้กล่าวสรุปการประชุมคณะกรรมการประกันสังคมครั้งที่ 1 ประจำวันที่ 8 มี.ค. 2567 ซึ่งมีประเด็นการประชุมที่สำคัญที่สุดสองเรื่อง คือ</p>
<p>1.) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม</p>
<p>ในส่วนของการแต่งตั้งอนุกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม โดยคณะอนุกรรมการนี้จะทำหน้าที่เป็นบอร์ดประกันสังคมประจำจังหวัด ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆที่บอร์ดประกันสังคมมอบหมาย สะท้อนปัญหาภายในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาด้านการบริการ การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพของผู้ประกันตน การจ่ายประโยชน์ทดแทน รวมถึงข้อเสนอในระดับจังหวัด</p>
<p>โดยในสูตรเดิมของการแต่งตั้งอนุกรรมการ จะใหึผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและจะมีสัดส่วนฝั่งผู้ประกันตนต่อนายจ้างต่อภาครัฐ โดยประมาณอยู่ที่ผู้ประกันตน 15% นายจ้าง 15% ภาครัฐและหน่วยงานภายนอก 70% โดยจำนวนอนุกรรมการจะขึ้นอยู่กับขนาดของจังหวัด</p>
<p>ทีมประกันสังคมก้าวหน้าเห็นชัดว่าสัดส่วนตามสูตรนี้ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสัดส่วนของภาครัฐและหน่วยงานภายนอกค่อนข้างมากกว่าผู้ประกันตนและนายจ้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งน่ากังวลว่าจะไม่สามารถสะท้อนความต้องการของผู้ประกันตนและนายจ้างได้ตามวัตถุประสงค์ของคณะอนุกรรมการ</p>
<p>ทีมประกันสังคมก้าวหน้าจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า ให้มีการปรับสัดส่วนฝ่ายผู้ประกันตนและนายจ้างให้เพิ่มมากขึ้น โดยมติที่ประชุมรับหลักการ 1 – 3 คน เพิ่มขึ้นเป็น 3 – 5 คน โดยฝ่ายผู้ประกันตนจะเปลี่ยนเงื่อนไขให้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่สังกัดอยู่ในสมาชิกองค์กรแรงงานหรือในสหภาพแรงงาน</p>
<p>2.) การเปิดเผยและถ่ายทอดสดการประชุมบอร์ดประกันสังคมต่อสาธารณชน</p>
<p>การเปิดเผยและถ่ายทอดสดการประชุมบอร์ดประกันสังคมให้แก่สาธารณะ ทางทีมประกันสังคมก้าวหน้ามีการเสนอให้มีการเปิดเผยการประชุมให้โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ การถ่ายทอดสดการประชุม เปิดเผยมติในการประชุม และแจ้งวาระการประชุมล่วงหน้าให้ผู้ประกันตนได้รับทราบ</p>
<p>โดยเบื้องตนที่ประชุมรับหลักการ แต่จะค่อย ๆ ขยับไปทีละขั้นตอน เช่น อาจจะมีการทำสื่อเผยแพร่การประชุม และอาจจะมีการแถลงหลังการประชุม เพื่อจะรับทราบผลตอบรับแล้วค่อยปรับไปตามความเหมาะสม</p>
<p>ด้าน นลัทพร ไกรฤกษ์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การคัดเลือกคณะอนุกรรมการ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องใช้เวลามาก เพราะสามารถกำหนดโดยคณะอนุกรรมการ และสามารถปรับได้เลยในการแต่งตั้งที่จะถึงนี้ ซึ่งก็หวังว่าจะมีสัดส่วนได้ตามที่กำหนดใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะสมเพิ่มขึ้น</p>
<p>ชลิต รัษฐปานะ บอกว่า ในฐานะที่ได้รับเลือกมาจากผู้ประกันตน ไม่ว่าทำสิ่งใดก็จะมีผู้ประกันตนจับตา และถือว่าการทำงานนี้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทีม ที่เวลาดำเนินการอะไรจะต้องบอกผู้ประกันตน</p>
<p>“ทางที่ประชุมค่อนข้างกังวลหลายเรื่อง เพราะต้องพูดชื่อบริษัท ต้องพูดชื่อคน ก็เกรงว่าจะไปผิดข้อกฎหมายอะไรสักอย่าง ก็คล้ายคลึงกับสภาฯ ดังนั้น ยังมีข้อกังขาอยู่เยอะเรื่องการถ่ายทอดสด แต่ทางทีมก็สนับสนุนให้โปร่งใสที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได ไม่ได้มองแค่ว่ากองทุนเท่านั้นที่จะโปร่งใสอย่างเดียว แต่ผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วมความเป็นเจ้าของกองทุนได้อย่างแท้จริงด้วย”</p>
<p>ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมครั้งต่อไปคาดว่าจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 19 มี.ค. นี้</p>
<p>ที่มา: The Active, 9/3/2567 (https://theactive.net/news/law-rights-20240309/)</p>
<p><strong>คนไทยเรียนจบแค่ ม.3 มีกว่า 20 ล้านคน แนะรัฐกู้วิกฤตทักษะแรงงานไทย</strong></p>
<p>8 มี.ค. 2567 หลังจากที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ธนาคารโลก (World Bank) ได้เผยแพร่ผลสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยพบว่าไทยเผชิญวิกฤตเยาวชนและประชากรวัยแรงงานขาดแคลนทักษะหรือมีทักษะพื้นฐานชีวิต ได้แก่ 1.การอ่านออกเขียนได้ 2.ทักษะด้านดิจิทัล และ 3.ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ต่ำกว่าเกณฑ์ในสัดส่วนที่สูง โดยปัญหาดังกล่าวคาดว่าได้สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20.1%</p>
<p>ทั้งนี้ 5 สถาบันวิชาการ ได้แก่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ ได้ร่วมกันวิเคราะห์นโยบายจากต่างประเทศในการพัฒนาทักษะพื้นฐานชีวิตทุกช่วงวัยที่ประสบความสำเร็จ และหารือกันถึงทางออกในการกู้วิกฤตทักษะคนไทย ในเวทีวิชาการ “Fostering Foundation Skills in Thailand กู้วิกฤตทักษะคนไทย หลุดพ้นความยากจน” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา</p>
<p>ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า การกู้วิกฤตทักษะคนไทยต้องทำเป็นระบบใหญ่ จริงจังและทุ่มเททรัพยากร ตัวอย่างรูปธรรมสำคัญ เช่น การทำ National Skill Program เป็นวาระแห่งชาติ โดยโปรแกรมนี้ต้องมีลักษณะเป็นขนมชั้น 3 ชั้น คือ</p>
<p>เริ่มจากชั้นกลาง คล้ายกับที่อินโดนีเซียทำ คือมีคูปอง มีระบบกลไกตลาด ให้คนที่รู้เรื่องทักษะจริงหรือรู้ว่าตลาดต้องการอะไรเป็น Suply Side เป็นผู้แจกคูปอง เป็นทักษะเฉพาะทาง ทักษะอาชีพต่าง ๆ เรื่องนี้ต้องทำขนานใหญ่ ต้องกล้าลงทุน </p>
<p>“ในอินโดนีเซียเขาทำเรื่องนี้เริ่มต้นที่ 5 ล้านคน ของไทยต้องวางเป้าหมายมากกว่านั้น อาจกำหนดกลุ่มเป้าหมายเลยว่าคนไทยทุกคนที่เรียนไม่เกิน ม.3 ความรู้ไม่มากนัก ตามโลกไม่ทัน คาดว่าน่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้านคน แน่นอนว่าต้องค่อย ๆ เริ่ม และมีการประเมินระหว่างทาง โดยประเภทของทักษะอาจเป็นเฉพาะทางก็ได้ แต่ต้องมีความหลากหลายรองรับเพียงพอ”</p>
<p>ส่วนชั้นล่าง หรือชั้น 1 ควรมีโครงการที่เป็น Skill Program ที่ส่งเสริมเรื่องทักษะพื้นฐานชีวิตให้กับทุกคน “ชั้นกลาง” หรือทักษะเฉพาะทาง สำหรับ “ชั้นบน” ต้องเป็นพื้นที่เฉพาะของกลุ่มเปราะบาง เช่น ประชากรนอกระบบ เด็กที่ออกนอกระบบ กลุ่มคนจน 15% ล่างสุดของประเทศ คนพิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ</p>
<p>กลุ่มนี้ต้องการการดูแลพิเศษด้วยโปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะ โดยการเสริม Foundation Skills ที่โยงกับกลุ่มคนยากจนขาดแคลนโอกาสที่สุด ถ้าเป็นไปได้ควรเป็น 3+2 ได้แก่ ทักษะดิจิทัล ทักษะรู้หนังสือ และทักษะอารมณ์และสังคม แล้วควรเพิ่มความรู้ทางการเงิน (financial literacy) และมีตัวย่อยคือความรู้ในการลงทุน (Investment literacy)  เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้ในการลงทุนจะลดการใช้จ่ายเงิน ลดการซื้อหวย ลดการดื่มเหล้า จะทำให้เงินนี้ออกดอกออกผลได้  </p>
<p>นอกจากนี้ยังมีตัวแถมที่สาม คือเรื่อง สุขภาพ และมาตราเสริมเรื่องอินเทอร์เน็ต โดยการมีอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับคนกลุ่มเปราะบาง  เพราะจะเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้อย่างมาก</p>
<p>ดร.สมชัย กล่าวต่อว่า คำถามที่ว่าเราต้องลงทุนอย่างไรหรือใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ เพื่อกู้วิกฤตทักษะประชากร คำตอบคือ “ใช้ให้เต็มที่ที่สุด” แต่ใจความสำคัญคือเราต้องทำอย่างชาญฉลาด ไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ</p>
<p>“ผมคำนวณดูอินโดนีเซียใช้ 9,000 บาทต่อคน ลองใช้ตัวเลขนี้กับคนไทย ด้วยตัวเลขผู้ที่การศึกษาต่ำกว่า ม 3 ราว 20 ล้านคน ใช้เงินน่าจะไม่ถึงแสนล้าน จริง ๆ อาจไม่ต้องใช้ถึงแสนล้าน เพราะทักษะแบบนี้โดยหลักการไม่จำเป็นต้องถูกฝึกใหม่ทุกปี</p>
<p>ดังนั้นงบประมาณจะประมาณ 60,000 ล้าน ประเด็นเรื่องเวลา คนจนไม่มีเวลาเรียนถึง 16 ปี ถ้าเราทำ platform ดี ๆ เด็กจากครอบครัวยากจนเรียน 6 ปี ไม่ถึง 10 ปี สามารถเก่งเรื่องทักษะพื้นฐานชีวิต ก็สามารถหาความรู้ด้วยตัวเองได้”</p>
<p>ดร.แบ๊งค์​ ​งาม​โชติ​อรุณ ​ผู้​อำนวยการสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ประเทศอินโดนีเซียสามารถพัฒนา​ทักษะ​แรงงาน​หลังวิกฤตโควิด​19 ระบาดด้วยโครงการชื่อ Kartu Prakerja (Pre-employment card) หรือเรียกย่อ ๆ​ ว่า Prakerja</p>
<p>โดยโครงการนี้ คือ ความร่วมมือที่ภาครัฐและเอกชน ช่วยกันสร้างเครื่องมือพัฒนา​ทักษะ​แรงงานที่สามารถแรงจูงใจให้​ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อยากเข้ามาเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของตัวเองอย่างเป็นระบบ และประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถปรับทักษะของประชาชนได้มากถึง 17.5 ล้านคน​  ในเวลาเพียง 3 ปี และเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตโควิด19</p>
<p>ดร.แบ๊งค์ กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการนี้สามารถสร้างทักษะที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับความต้องการของภาคเอกชน สามารถสร้างระบบตลาดความรู้หรือแพลตฟอร์ม (Platform and Marketplace) ที่มีคุณภาพช่วยจัดการเรียนรู้ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ มีระบบคัดสรรผู้ให้บริการอบรมทักษะ ทั้งภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน</p>
<p>โดยระบบดังกล่าว มีความยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจ มีระบบฐานข้อมูลประชาชนแยกตามรายได้ และข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการประเมินทักษะก่อนเรียนและแนะนำวิชาเรียนที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกเรียนอะไรหรือปรับทักษะใด และสามารถสร้างแนวทางกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วม เรียนจนจบหลักสูตรและสอบผ่าน</p>
<p>โดยการกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินเครดิตทุนการศึกษาให้กับผู้สอนเพียง 30% และกำหนดให้ได้รับเครดิตอีก 70% ได้หากสามารถผลักดันให้ผู้เรียนสามารถเรียนจนจบหลักสูตรและสอบผ่านมีการจ่ายเงินให้ผู้เรียนเพื่อระบบประเมินและติดตามผล</p>
<p>“หลังดำเนินโครงการ Prakerja​ เพียงปีเดียว ก็สามารถสร้างกลไกในการดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง​ที่อยู่ล่างสุดของสังคม​ และดึงเอกชนมาร่วมทำงาน​ มีผู้ผลิตเนื้อหามากถึง 181 หน่วยงาน สามารถสร้างสรรค์วิชาทั้งสิ้น 1,957 รายการสำหรับผู้เรียนราว 5.9 ล้านคนต่อปี” ดร.แบ๊งค์กล่าว</p>
<p>ขณะที่ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กสศ. ระบุว่า เวลาพูดถึงภาพรวมระบบการศึกษาจะพูดถึงเด็กและเยาวชนที่อยู่ในโรงเรียนภายใต้ระบบการศึกษาภาคบังคับ 15 ปีเป็นหลัก ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน แต่ไทยยังมีเด็กเยาวชนวัยแรงงานที่อยู่นอกรั้วโรงเรียนจำนวนมากถึง 20.2 ล้านคน และมีกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา ไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน อยู่บ้านเฉย ๆ เรียกว่ากลุ่ม NEET (Youth not in education , employment , or training) ราว 1.3 ล้านคน หรือราว 14.8%</p>
<p>ทั้งนี้ การจะทำให้ไทยหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางนโยบายต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย แผนการพัฒนาการศึกษาต้องมีมุมมองกว้างกว่าเขตรั้วโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิตเรื่องการทำงานต้องมีการเชื่อมโยงทั้งแนวตั้ง เช่น หน่วยจัดการเรียนรู้ มาตรฐาน การประเมิน คุณภาพผู้สอน และแนวนอน เช่น หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ รัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่น หลักสูตร โอกาสของตลาดแรงงาน</p>
<p>“โจทย์นี้ใหญ่มาก คงทำงานด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ได้ ไทยต้องมีหน่วยงานเจ้าภาพที่มาทำเรื่องนี้เหมือนอินโดนีเซียที่มี Prakerja เป็นเจ้าภาพทำงานกับดีมานด์ซัพพลาย ใช้กลไกตลาดสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยากปรับทักษะ มีการคัดเลือกหลักสูตรต่าง ๆ เชื่อมโยงการทำงานทั้งแนวนอนและแนวตั้ง คือทำทุกช่วงวัย มองตั้งแต่เด็กเยาวชนที่อยู่ในระบบ 15 ปีแรก จนถึงกลุ่มที่ต้องมีชีวิตอยู่อีก 50 ปีหลัง การออกแบบกลยุทธ์ของประเทศไทยต้องมีการเชื่อมต่อกันระหว่างช่วงวัยและระบบการศึกษาลักษณะต่าง ๆ ทั้ง ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และอื่น ๆ”</p>
<p>ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 8/3/2567 (https://www.prachachat.net/education/news-1518331)</p>
<p><strong>แรงงานประท้วง ทวงค่าจ้าง หลัง ITD ค้างจ่าย-ให้ไม่ครบหลายงวด</strong></p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดการชุมนุมของแรงงานต่างด้าว ภายในไซต์งานของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป เมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD โดยมีรายงานว่า เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่</p>
<p>PPTV ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแรงงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหลายจังหวัด ได้ข้อมูลตรงกันว่า หลายไซต์งานเจอปัญหาเรื่องการจ่ายค่าจ้างตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ปรากฎว่าช่วงเดือนธันวาคม 2566 บริษัทจ่ายค่าจ้างไม่ครบตามจำนวน บางแห่งได้รับเพียง 40-70% ของค่าจ้าง และแจ้งว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือให้ในงวดต่อไป</p>
<p>ต่อมาช่วงเดือนมกราคม 2567 แรงงานก็เจอปัญหาซ้ำอีก โดยได้รับค่าจ้างไม่ตรงตามวันที่กำหนด จากเดิมที่ได้ทุกวันที่ 5 และ 20 ของทุกเดือนก็ถูกเลื่อนออกไปอีก 2-3 วัน กระทั่งงวดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 แรงงานหลายไซต์งานไม่ได้รับค่าจ้าง และเลื่อนมาจนชนงวดวันที่ 5 มีนาคม 2567 แต่สุดท้ายบางไซต์งานก็ยังไม่มีการจ่ายค่าจ้างแต่อย่างใด ทำให้เกิดการประท้วงชุมนุมจากแรงงานบางแห่ง</p>
<p>แรงงานหลายคน เปิดเผยกับ PPTV ว่า การค้างจ่ายค่าจ้างส่งผลกระทบโดยตรงกับแรงงาน บางรายไม่มีเงินจ่ายค่างวดรถ ค่าที่พัก ทำให้ต้องไปกู้เงินจากที่อื่นมาจ่าย รวมถึงต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระที่เพิ่มขึ้น</p>
<p>เมื่อตรวจสอบไปที่เพจเฟซบุ๊กของบริษัท ยังพบผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ในลักษณะทวงค่าจ้าง แจ้งเรื่องการผิดนัดชำระค่าจ้าง ในโพสต์ต่างๆ อีกด้วย</p>
<p>ขณะที่การตรวจสอบความเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดีย ยังพบว่า ไซต์งานบางแห่ง ยังมีการนำข้าวสาร อาหารแห้ง มาแจกจ่ายให้กับคนงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นด้วยเช่นกัน</p>
<p>ทั้งนี้ เมื่อเวลา 10.45 น. PPTV ได้โทรศัพท์สอบถามไปยังฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ว่า ทางสำนักงานใหญ่ยังไม่ได้รับรายงานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีข้อมูลเพิ่มเติม จะแจ้งรายละเอียดกับสื่อมวลชนในภายหลัง</p>
<p>ที่มา: PPTV, 8/3/2567 (https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/218938)</p>
<p><strong>“กลุ่มแรงงานหญิง” บุกยื่นหนังสือทำเนียบ เนื่องในวันสตรีสากล เรียกร้องเพิ่มวันลาคลอด -ยกเลิก กม.เลือกปฏิบัติ-อุดหนุนงบแจกผ้าอนามัยฟรี ตัวแทนรับผิดหวังถูก จนท.สกัด ไม่ให้ใกล้ทำเนียบ</strong></p>
<p>กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง พร้อมเครือข่ายสตรี นัดรวมตัวยื่นหนังสือ เนื่องในวันสตรีสากล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องคุ้มครองไม่ให้ผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลหลากหลายทางเพศ ถูกกระทำรุนแรงหรือปฏิบัติไม่เป็นธรรม 6 ข้อ ประกอบด้วย</p>
<p>1.ให้รัฐบาลต้องรับประกันสิทธิลาคลอด 180 วัน โดยได้รับค่าจ้างตลอดการลา และจัดวันหยุดให้คู่ชีวิตทุกเพศลาเพื่อเลี้ยงลูกได้อย่างน้อย 30 วัน รวมถึงจัดให้มีสวัสดิการแม่และเด็กอย่างเหมาะสมถ้วนหน้า</p>
<p>2. รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องทำหน้าที่เป็น “หลักประกัน” สิทธิแรงงานของแรงงานหญิงและแรงงาน ทุกเพศ ด้วยการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด</p>
<p>3. ยกเลิกนโยบาย กฎหมาย ธรรมเนียม ที่เลือกปฏิบัติต่อสตรีและผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น การตรวจครรภ์ก่อนเข้าทำงาน, การตีตราผู้ต้องการยุติการตั้งครรภ์เป็นคนบาปหรืออาชญากร, การตีตราผู้ขายบริการทางเพศ</p>
<p>5. รัฐบาลและนายจ้างต้องเพิ่มสิทธิลาเมื่อมีประจำเดือน อย่างน้อยเดือนละ 2 วัน และเพิ่มวันลารับบริการอนามัยเจริญพันธุ์ทุกประเภท เช่น การยุติการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การตรวจครรภ์การฝากครรภ์ และการข้ามเพศ</p>
<p>6. รัฐบาลและนายจ้างต้องอุดหนุนงบประมาณการแจกจ่ายผ้าอนามัยฟรี ขยายบริการยุติการตั้ง ครรภ์ที่ปลอดภัยและบริการอนามัยเจริญพันธุ์อื่นๆ และจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะที่ถูก สุขลักษณะสำหรับแรงงานสตรี และแรงงานทุกเพศที่ทำงานบนท้องถนน</p>
<p>ทั้งนี้เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้การอยู่ การยุติความรุนแรงทางเพศ เพศสภาพ เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายตามกับที่ขายตามหลักสิทธิพื้นฐานมนุษยชน</p>
<p>ด้าน น.ส.ติมาพร เจริญสุข ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานสตรี ระบุว่าก่อนหน้านี้พรบ.เรื่องลาคลอดถูกบรรจุเข้าไปในสภาแล้ว ให้กลุ่มแรงงานมีหวัง ซึ่งไม่หวังที่จะได้วันหยุดถึง 180 วัน แต่ขอให้เป็นจุดเริ่มต้น ที่ไม่ใช่แค่ 98 วัน เพราะไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตร</p>
<p>ขณะที่ น.ส.ชนฐิตา ไกรศรีกุล ตัวแทนกลุ่มฯเราตระหนักในเรื่องของ คำจำกัดความที่กว้างขึ้น ของคำว่าวันสตรี วันนี้จึงรวมถึงข้อเรียกร้อง ของทั้งกลุ่มสตรีและของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไว้ด้วยกัน พร้อมยอมรับว่ารู้สึกผิดหวัง ที่ถูกกันไว้ไม่ให้เข้าใกล้ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากมีการประสานงานมาอย่างถูกต้อง ซึ่งที่จริงแล้ว ข้อเรียกร้องในวันนี้เป็นสิทธิ์ที่กลุ่มแรงงานสตรีควรจะได้ แต่ท่าทีการรับมือของเจ้าหน้าที่ เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น</p>
<p>ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 8/3/2567 (https://www.innnews.co.th/news/politics/news_686967/)</p>
<p><strong>สอวช. ถกพัฒนากำลังคนแรงงานทักษะสูง ตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต</strong></p>
<p>เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ในหัวข้อ “STEMPlus Platform การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทย” โดยมีผู้แทนจาก สอวช. กรมสรรพากร สำนักเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นที่สำคัญ.</p>
<p>ในช่วงแรก ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รองผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวถึงที่มาและความจำเป็นของ STEMPlus Platform กำลังคนสมรรถนะสูง ว่า จากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าจำนวนแรงงานบางสาขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน จึงได้ออกแบบ STEMPlus Platform ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความต้องการระหว่างผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และภาครัฐ นำไปสู่ความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต จากการดำเนินงานรับรองหลักสูตรฝึกอบรมและการจ้างงานทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ หรือ STEM มาตรการ Thailand Plus Package ผ่าน STEMPlus Platform มีการรับรองการจ้างงานทักษะสูงด้าน STEM แล้ว 5,725 ตำแหน่งงาน และมีเป้าหมายให้มีการจ้างงาน STEM เพิ่มขึ้นถึง 10,000 ตำแหน่งงานภายในปี 2567 ขณะที่หลักสูตรฝึกอบรมผ่านการรับรองแล้วกว่า 800 หลักสูตร ซึ่งมีผู้ผ่านการฝึกอบรมในทักษะที่อุตสาหกรรมเป้าหมายมีความต้องการแล้วกว่า 80,000 ราย และคาดว่ากำลังแรงงานของไทยจะได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นถึง 100,000 ราย ภายในปี 2567 นี้</p>
<p>อาจารย์วรรณภพ กล่อมเกลี้ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้แนะนำ STEMPlus Platform บริการที่ช่วยตอบสนองความต้องการด้านกำลังคนให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคคลทั่วไป อาทิ การขอรับรองการจ้างงานทักษะสูงด้าน STEM และการขอรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร มาตรการ Thailand Plus Package การแจ้งความประสงค์ความต้องการกำลังคน การเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองจาก อว. การฝากประวัติสำหรับการสมัครงานหรือเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ และสถิติกำลังคนด้าน STEM รวมทั้งแนะนำสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ที่ สอวช. ได้รับความไว้วางใจจากกรมสรรพากรในการพิจารณารับรองการจ้างงาน STEM และการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องตามมาตรการ มาเป็นระยะที่ 3 ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2568 พร้อมทั้งแนวทางการยื่นคำขอฯ ให้ผ่านการรับรอง</p>
<p>นอกจากนี้ยังมีการเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทย การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงและสิทธิประโยชน์สนับสนุน” โดยมี นายกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ร่วมด้วย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. นางสาวเสาวคนธ์ มีแสง ผู้อำนวยการกองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร และ ผศ.ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p>
<p>นายกานต์ ได้กล่าวชื่นชมโครงการ STEMPlus ที่ช่วยพัฒนาบุคลากรทักษะสูงเพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งได้นำเสนอแพลตฟอร์มนี้ต่อเครือข่ายนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย ทั้งนี้ จากผลจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD World Competitiveness Center ล่าสุด พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับดีขึ้นในทุกปัจจัย ทั้งสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของธุรกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในด้านการศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีอันดับที่ลดลง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต้องมาหารือกัน เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงกติกาโดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่ในทุกอุตสาหกรรมจะต้องคำนึงถึงและปรับตัว การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เมื่อภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันจะสามารถก้าวข้ามผ่านไปได้อย่างแน่นอน</p>
<p>ด้าน ดร.กิติพงค์ กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับประเด็นท้าทาย 4 อย่าง ได้แก่ 1. การเติบโตทางเศรษฐกิจช้า โดยเฉลี่ยในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมาเติบโตประมาณ 3.2% เท่านั้น 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กระทบต่อเรื่องการค้าและการลงทุน บริษัทส่วนใหญ่เริ่มสร้าง green profile เวลาจะทำความร่วมมือ จึงต้องคำนึงในเรื่องนี้ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกติกาโลกก็ต้องมีการปรับตัวในเรื่องนี้ด้วย 3. การกระจายรายได้ ยังมีกลุ่มประชากรที่อยู่ฐานของพีระมิด โดยเฉพาะคนที่อยู่ในต่างจังหวัดและชนบท ยากต่อการขยับ เราต้องทำให้กลุ่มเหล่านี้พัฒนาขึ้น และ 4. การพัฒนาคน ที่ต้องพัฒนาแรงงานทักษะสูง เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ชูพลังศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นที่หนึ่งในระดับภูมิภาคได้ใน 8 ฮับ ได้แก่ 1. ศูนย์กลางการท่องเที่ยว 2. ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ 3. ศูนย์กลางเกษตรกรรมและอาหาร 4. ศูนย์กลางการบิน 5. ศูนย์กลางการขนส่ง 6. ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต  7. ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และ 8. ศูนย์กลางการเงิน</p>
<p>ด้าน นางสาวเสาวคนธ์ ได้พูดถึงมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนากําลังคน อาทิ การส่งเสริมการลงทุนด้วยการหักรายจ่ายการลงทุนระบบอัตโนมัติ (automation) สนับสนุนการจ้างงานทักษะสูง  โดยการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% สำหรับผู้มีทักษะและความเชี่ยวชาญ หักรายจ่ายการจ้างงานผู้มีทักษะสูงด้าน STEM ได้ 1.5 เท่า และส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยการหักรายจ่ายการส่งพนักงานในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างในหลักสูตรทักษะสูงได้ 2.5 เท่า</p>
<p>ขณะที่ ดร.อรรถวิทย์ กล่าวว่า ในแวดวงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เราได้เตรียมรับมือกับวิกฤติด้านเทคโนโลยีมาแล้วกว่า 10 ปี และติดตามสถานการณ์ด้านดิจิทัลมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าวิกฤติด้านดิจิทัลต้องมาแน่ และยิ่งในสถานการณ์ภาวะโลกเดือด สังคมผู้สูงอายุ อัตราเกิดลดลง ยิ่งต้องเร่งวางแผนพัฒนาเด็กที่มีอยู่น้อยให้มีคุณภาพสูง ซึ่งศาสตร์ทางด้านดิจิทัล จะเป็นการเพิ่มผลิตภาพการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ได้มากที่สุด แต่ที่ผ่านมาหลักสูตรต่างๆ ไม่ได้ถูกปรับปรุงมากว่า 30 ปี ดังนั้นเพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างแบบเดิม จึงจำเป็นต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต</p>
<p>ที่มา: เดลินิวส์, 7/3/2567 (https://www.dailynews.co.th/news/3238959/)</p>
<p><strong>ภูมิใจไทย แจงเหตุคว่ำร่าง กม.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล หวั่นทำระบบนิเวศ ศก.พังทลาย</strong></p>
<p>นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวานนี้ (6 มี.ค.) มีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่เสนอโดยนายเซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานไว้อย่างชัดเจนว่า  แรงงานเป็นส่วนหนึ่งขององคาพยพ การดูแลลูกจ้างต้องควบคู่กับนโยบาย SME ที่ต้องดูแลนายจ้างด้วย แรงงานต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกัน SME ก็ต้องได้รับการดูแล มาตรการที่จะต้องช่วยให้พวกเขาสามารถอยู่ด้วยกันเป็นระบบนิเวศ</p>
<p>นายภราดร กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้เอง พวกตนจึงไม่สามารถรับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับของนายเซียได้ เนื่องจากแรงงานเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ แต่การแก้ไขเฉพาะส่วน