[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 07:12:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 ก.พ. 2567  (อ่าน 50 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567 12:53:27 »

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 ก.พ. 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-25 12:11</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>หารือ ตม.เกาหลีใต้ ลดปัญหาคนไทยถูกปฏิเสธเข้าเมือง เพิ่มแรงงานไทยทำงานถูกกฎหมาย</strong></p>
<p>นายรุจ ธรรมมงคล อธิบดีกรมการกงสุล พร้อมด้วยนายบัญชา ยืนยงจงเจริญ อุปทูต ณ กรุงโซล ได้พบหารือกับนายอี แจยู ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสาธารณรัฐเกาหลี และนายคิม จองโด อธิบดีกรมนโยบายตรวจคนเข้าเมือง ณ สำนักงานใหญ่ตรวจคนเข้าเมืองสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา</p>
<p>ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือในการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งรวมถึงชาวไทยที่พำนักในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย การขอให้ฝ่ายเกาหลีใต้ปรับปรุงระบบ K-ETA ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อลดปัญหานักท่องเที่ยวไทยถูกปฏิเสธเข้าเมือง และการส่งผู้ประสานงานตรวจคนเข้าเมืองของสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อปฏิบัติงานในไทย</p>
<p>นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมแรงงานไทยมาทำงานแบบถูกกฎหมายในเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรม ก่อสร้าง เกษตร และสาขาบริการที่เพิ่งเปิดใหม่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร โลจิสติกส์</p>
<p>ทางการไทยยังขอให้ฝ่ายเกาหลีใต้ส่งเสริมการยกระดับแรงงานแบบไร้ฝีมือของไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นแรงงานมีฝีมือจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 พันคนต่อปี  รวมถึงส่งเสริมการส่งแรงงานตามฤดูกาล และแรงงานมีฝีมือในสาขาอู่ต่อเรือมาทำงานในเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น</p>
<p>ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีคนไทยอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีประมาณ 200,000 คน</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 25/2/2567</p>
<p><strong>เชิญชวนแรงงานไทยอายุ 17 ปี ขึ้นไป ทดสอบประเมินคุณสมบัติเป็นแรงงานทักษะเฉพาะประเทศญี่ปุ่น</strong></p>
<p>นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้รับการประสานจากสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่นได้จัดทำแผนการจัดทดสอบเพื่อประเมินคุณสมบัติเป็นแรงงานทักษะเฉพาะประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย สำหรับทักษะงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2567</p>
<p>นายคารม กล่าวว่า กรมการจัดหางาน ได้กำหนดวัน และสถานที่ทดสอบเพื่อประเมินคุณสมบัติเป็นแรงงานทักษะเฉพาะประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย สำหรับทักษะงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง ดังนี้</p>
<p>1.วันที่ 27 และ 29 กุมภาพันธ์ 2567 กำหนดสถานที่สอบ ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า อาคารเกษมนครา อาคารที่ 2 ห้อง STN 10988 ชั้น 6 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น.</p>
<p>2.วันที่ 4 - 6 และวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2567 กำหนดสถานที่สอบ ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า อาคารเกษมนครา อาคารที่ 2 ห้อง STN 10988 ชั้น 6  ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น.</p>
<p>สำหรับคุณสมบัติผู้ทดสอบ จะต้องมีอายุ 17 ปี ขึ้นไป ณ วันที่สมัครทดสอบ โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา</p>
<p>“ขอให้แรงงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นในสถานะแรงงานที่มีทักษะ (แรงงานฝีมือ) เตรียมความพร้อมล่วงหน้า ขอให้พิจารณาไตร่ตรองการโฆษณาชักชวนและข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบคอบ เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ฉวยโอกาส แสวงหาประโยชน์จากกระบวนการจัดสอบภาษาและทดสอบทักษะฝีมือในสาขาอาชีพต่าง ๆ ของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะในประเทศไทย หากมีข้อสงสับประการใด สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กองบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-6708 ในวันและเวลาราชการ” นายคารม ย้ำ</p>
<p>ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย, 24/2/2567</p>
<p><strong>รมว.แรงงานยืนยันไม่ล้มเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ชี้ กม.เปิดช่องให้ รมว.แต่งตั้งกรณีฉุกเฉิน</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ากระทรวงแรงงานจะชงแก้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันกันสังคม (ฉบับที่…) พ.ศ… โดยตัดที่มาของคณะกรรมการประกันสังคมที่มาจากการเลือกตั้ง ว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ ว่าตนจะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยแก้มาตรา 8 วรรคสาม ตัดสิทธิคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ที่มาจากการเลือกตั้งออก</p>
<p>รวมถึงกรณีที่เพิ่งมีการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2566 ซึ่งบอกว่าเป็นการล้มการเลือกตั้ง ซึ่งตนขอชี้แจงยืนยันว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว จะย้อนกลับไปสู่การแต่งตั้งเพื่ออะไร แต่ในส่วนของกฎหมายที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น เป็นเรื่องของเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว เป็นกฎหมายที่เสนอต่อเนื่องมากจากรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งมีการระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น เราจึงคิดว่า หากมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถเลือกตั้งได้ ก็ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้แต่งตั้ง แต่ขออย่ากังวล เนื่องจากมาตรา 9 กำหนดให้บอร์ดประกันสังคม พิจารณาว่าจะเห็นด้วยกับที่รมว.แรงงานเสนอหรือไม่ ตนเข้าใจที่มีคนกังวลและสงสัยเรื่องนี้แต่ยอมรับว่า ถ้อยคำในกฎหมายออกมาคลุมเครือไม่ชัดเจน ในส่วนนี้ตนจะมีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งก่อนเสนอเข้า ครม.</p>
<p>“ยืนยันว่าเรายังมีการเลือกตั้งแน่นอน ไม่มีใครสามารถไปลบล้างได้ โดยวาระละ 2 ปี แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัย เกิดภัยพิบัติ โรคระบาดเหมือนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก็ให้รมว.แรงงาน แต่งตั้งมา เราไม่สามารถให้มีการเว้นวรรคได้ เพราะสิทธิประโยชน์มีมากมาย ต้องมีกรรมการทำงานต่อเนื่อง ส่วนหากไม่มีเหตุสุดวิสัย เราก็จะมีการเลือกตั้งไปตามกฎหมาย” นายพิพัฒน์ กล่าวและว่า ตนหรือนักการเมือง ไม่มีไม่มีสิทธิไปวุ่นวายในบอร์ด สปส.แต่อย่างใด</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 23/2/2567</p>
<p><strong>สธ.เปิดโอกาส ป.ตรีทุกสาขา เรียนพยาบาล 2 ปีครึ่ง แก้ปัญหาขาดแคลน</strong></p>
<p>นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบข้อเสนอจากสถาบันพระบรมราชชนก(สบช.) ร่วมกับสภาการพยาบาล ในการผลิตพยาบาลเพิ่มในได้ภายใน 10 ปี หรือจำนวน 10,000 คน เฉลี่ยปีละ 2,500 คน โดยเปิดโอกาสให้ผู้จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ มาศึกษาต่อในคณะพยาบาลศาสตร์อีก 2 ปีครึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาพยาบาลขาดแคลน</p>
<p>โดยจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2568 เนื่องจากปัจจุบันพบว่า มีปัญหาขาดแคลนพยาบาลในการดูแลประชาชน บางพื้นที่มีพยาบาล 1 คน ต่อประชากร 700 คน อย่างไรก็ตาม จากภาพรวมเฉลี่ยยังขาดแคลนอยู่ถึง 51,420 คน ในภาพรวมพบว่าพยาบาล1 คนต้องดูแลประชากร 343 คน ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดเกณฑ์และสัดส่วนของพยาบาล 1 คน ต่อประชากร 270 คนเท่านั้น</p>
<p>สำหรับประเทศไทย พบว่า มีปัญหาการกระจายกำลังคนด้านสุขภาพในส่วนภูมิภาค 42 จังหวัดที่มีสัดส่วนมากกว่า พยาบาล 1 คน ต่อประชากร 400 คน และมี 15 จังหวัดที่มีสัดส่วน พยาบาล 1 คน ต่อประชากร 500 คน</p>
<p>และมีถึง 5 จังหวัด ที่พบสัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อประชากรจำนวนมาก คือ  1.หนองบัวลำภู สัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อประชากร 712 คน 2.บึงกาฬ สัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อพยาบาล 608 คน</p>
<p>3.เพชรบูรณ์ สัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อประชากร 572 คน 4.กำแพงเพชร สัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อประชากร 571 คน และ 5.ศรีสะเกษ สัดส่วนพยาบาล 1คน ต่อประชากร 569 คน</p>
<p>นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ไม่เพียงแต่เรื่องการผลิตพยาบาล ยังมีอีกโครงการที่ล่าสุด ครม.มีมติเห็นชอบผลิตทีมหมอครอบครัว ซึ่งเป็นการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ 9 สาขา เพื่อไปประจำในหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฯ พยาบาล ทันตแพทย์ชุมชน เภสัชกรชุมชน แพทย์แผนไทย ผู้ช่วยทันตแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล นักจัดการฉุกเฉินชุมชน และนักวิชาการสาธารณสุข คาดจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 37,234.48 ล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี เมื่อผลิตครบจะมีคนเข้าสู่ระบบราว 6.2 หมื่นคน</p>
<p>ที่มา: Thai PBS, 21/2/2567</p>
<p><strong>พ่อแรงงานไทยในอิสราเอลจี้รัฐบาลเร่งเจรจาช่วยลูกชายถูกจับเป็นตัวประกันเกือบ 5 เดือน</strong></p>
<p>นายวิลาศ แทนนา อายุ 64 ปี ชาวตำบลบ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ พ่อของนายพงษ์ศักดิ์ แทนนา อายุ 36 ปี หนึ่งในแรงงานไทยทำงานอยู่ที่ประเทศอิสราเอล และถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.2566 ที่เกิดเหตุการณ์สู้รบวันแรก จนถึงขณะนี้ผ่านไปเกือบ 5 เดือนแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว มีเพียงทางการไทยและตัวแทนที่ประสานช่วยเหลือแรงงานแจ้งว่าลูกชายและแรงงานไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกันรวม 8 คน ขณะนี้ยังปลอดภัยดี</p>
<p>ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านของนายวิลาศ พ่อของนายพงษ์ศักดิ์ หนึ่งในแรงงานไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกันและยังไม่ได้รับการปล่อยตัว ก็ยังตั้งตาเฝ้ารอลูกชายกลับสู่อ้อมกอดอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้ทางการได้แจ้งว่าลูกชายจะได้รับการปล่อยตัวช่วงปีใหม่ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังเงียบหายไปยังไม่เห็นมีการปล่อยตัวคนไทยเพิ่มอีกเลย ในฐานะคนเป็นพ่อที่ห่วงลูกชายก็พยายามติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งได้ติดต่อสอบถามกับนายสันติ บุญพร้อม ซึ่งเป็นหัวหน้างานซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันพร้อมกัน แต่ได้รับการปล่อยตัวกลับมาที่บ้านเกิดแล้ว เพื่อให้ช่วยสอบถามข่าวคราว และประสานช่วยเหลือลูกชายอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งก็ได้รับการยืนยันเพียงว่าลูกชายยังปลอดภัยดี แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อไหร่ และไม่ทราบว่าเพราะเหตุผลอะไรลูกชายกับแรงงานอีกรวม 8 คนยังไม่ได้รับการปล่อยตัว  </p>
<p>จึงอยากวิงวอนให้รัฐบาล หรือทางการไทยที่เกี่ยวข้อง เร่งหาแนวทางเจรจาช่วยเหลือแรงงานไทยที่ยังถูกจับเป็นตัวประกัน ให้กลับบ้านอย่างปลอดภัยทุกคนโดยเร็ว เพราะเกรงหากเกิดการสู้รบขึ้นอีกระลอกจะไม่ปลอดภัย   แต่ก็ภาวนาขอให้ลูกปลอดภัยและได้รับอิสราภาพโดยเร็ววัน</p>
<p>ด้านนายสันติ บุญพร้อม หนึ่งในแรงงานไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกันและได้รับการปล่อยตัวกลับบ้านเกิดอย่างปลอดภัยก่อนหน้านี้ ได้เล่าให้ฟังว่า  ช่วงที่ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกันตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2566  ก็นำไปควบคุมตัวไว้สถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างคับแคบแต่ก็ไม่ได้ทรมานหรือบังคับให้ทำอะไร และให้อาหารรับประทานทุกวันก็ดูแลค่อนข้างดี  แต่ไม่ให้ออกไปไหนถึงเวลาก็เอาอาหารมาให้กิน  แต่ก็ยังได้ยินเสียงปืนระเบิดทุกวัน </p>
<p>ส่วนนายพงษ์ศักดิ์ ซึ่งถูกจับตัวตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2566 วันเดียวกัน ยืนยันว่า เห็นถูกจับตัวไปจริง  แต่ไม่ได้ถูกคุมขังในสถานที่เดียวกันและตนก็ไม่รู้ว่าที่ไหน  แต่หลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวมาแล้ว ก็ได้ติดต่อไปหาคนรู้จักที่อิสราเอลเพื่อถามข่าวคราวเกี่ยวกับแรงงานไทยที่เหลือ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าพงษ์ศักดิ์  และแรงงานไทยอีกจำนวน 8 คน  ยังปลอดภัยดี  ส่วนเหตุผลที่ยังไม่มีการปล่อยตัวตนก็ไม่ทราบ  แต่ก็พยายามติดต่อประสานและแจ้งทางครอบครัวพงษ์ศักดิ์ ทราบเป็นระยะ</p>
<p>ที่มา: แนวหน้า, 21/2/2567</p>
<p><strong>ก.แรงงาน หารือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ยันผู้พิการได้รับสิทธิภายในกำหนด พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ ยกระดับการให้บริการ</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นางสาวบุณยวีร์ ไขว้พันธุ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ให้การต้อนรับ นายปรีดา ลิ้มนนทกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ และคณะ กรณีเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือถึงนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขอให้ช่วยตรวจสอบพฤติกรรมทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 9 กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจทำให้คนพิการ และผู้ดูแลคนพิการถูกละเมิดสิทธิในการขอรับการส่งเสริมอาชีพ ณ บริเวณโถงด้านล่าง อาคารกระทรวงแรงงานและห้องประชุมเทียน อัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน</p>
<p>นายอารีกล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับแรงงานทุกคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการให้โอกาสคนพิการได้มีงานทำ ในเรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีได้เน้นย้ำเป็นพิเศษ ที่ไหนไม่มีการจ้างงานคนพิการขอเพิ่มให้มีตามกฎหมาย ซึ่งวันนี้ต้องขอบคุณมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการที่เป็นตัวเชื่อม เป็นตัวกลาง ในการประสานให้คนพิการได้มีงานทำ ซึ่งหากไม่มีท่านกระทรวงแรงงานก็ทำงานลำบาก ในส่วนของหนังสือที่ยื่นไว้นั้น กระทรวงแรงงานได้ให้กรมการจัดหางานตรวจสอบตามข้อร้องเรียนดังกล่าว จากการสอบถามผู้ประสานงานของบริษัทผู้ให้ความช่วยเหลือในการให้สิทธิผู้พิการตามมาตรา 35 ซึ่งเป็นผู้ให้สิทธิผู้พิการทั้ง 11 ราย ยืนยันว่ามิได้ต้องการยกเลิกการให้สิทธิผู้พิการแต่อย่างใด และทราบเป็นอย่างดีว่ากระบวนการตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบสิทธิผู้พิการ ตลอดจนการอนุมัติ มีกำหนดดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี</p>
<p>ส่วนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานมีแนวปฏิบัติเรื่องการขอใช้สิทธิ มาตรา 35 อย่างชัดเจน รวมทั้งระบุเอกสารที่ต้องใช้เพื่อดำเนินการอย่างครบถ้วน โดยประกาศผ่านหน้าเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ซึ่งในกรณีนี้เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานได้ปฏิบัติตามขั้นตอน และเรียกเอกสารเท่าที่จำเป็นตามที่ระบุไว้ใน “แบบคำขอการให้ความช่วยเหลืออื่นใด” (กกจ.พก. 2-7) อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้กรมการจัดหางานพิจารณาลดขั้นตอน ลดการขอเอกสาร เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากที่สุด และวางแนวทางเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวในการแก้ไขหรือเรียกรับเอกสารเพิ่มเติม</p>
<p>“กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัวให้ดีขึ้น วันนี้ผมรับรู้ถึงความกังวลใจของผู้พิการทุกท่าน และขอยืนยันว่าทุกท่านจะได้รับสิทธิแน่นอน” นายอารีกล่าว</p>
<p>นางสาวบุณยวีร์กล่าวว่า นายจ้าง สถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ต้องรับผู้พิการเข้าทำงาน อัตราส่วน 100 คน ต่อ 1 คน ซึ่งหากไม่ประสงค์จะจ้างงานคนพิการ หรือส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถเลือกให้สิทธิตามมาตรา 35 แทนได้ โดยมูลค่าของสัญญาต้องไม่น้อยกว่า 119,720 บาทต่อปี ซึ่งกระบวนการให้สิทธิ-รับสิทธิ ผู้พิการตามมาตรา 35 มีกำหนดยื่นความประสงค์ให้สิทธิภายในวันที่ 31 ธ.ค. ของทุกปี ณ สำนักงานจัดหางานท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร และทำหนังสือถึงสำนักงานจัดหางานจังหวัด ในพื้นที่ที่ผู้พิการขอรับสิทธิ เพื่อตรวจสอบสิทธิให้ผู้พิการ</p>
<p>นางสาวบุณยวีร์กล่าวอีกว่า หากถูกต้องจะยืนยันการให้สิทธิ เพื่อพิจารณาอนุมัติสิทธิและแจ้งต่อสถานประกอบการ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสาร และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งรายละเอียดที่ต้องแก้ไขแก่ผู้ประสานงานบริษัทเรียบร้อย โดยผู้ประสานของบริษัทผู้ให้สิทธิพร้อมจะดำเนินการตามที่ได้รับแจ้ง ซึ่งคาดว่าสามารถอนุมัติได้ภายในวันที่ 1 มี.ค. 2567</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 21/2/2567</p>
<p><strong>ก้าวไกลค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เปลี่ยนบอร์ดเลือกตั้ง เป็นแต่งตั้ง ฉะ ก.แรงงาน ถอยหลังลงคลอง</strong></p>
<p>ที่รัฐสภา นายเซีย จำปาทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร แถลงกรณีการแก้ไขร่างพระราชบัญัตติ (พ.ร.บ.) แรงงาน ว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้เสนอร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่.) พ.ศ…. ไปยังสำนักเลขารัฐมนตรี โดย พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการแก้ไขจากฉบับเดิมหลายมาตรา</p>
<p>สิ่งที่สำคัญที่ตนในฐานะ ส.ส.สัดส่วนเครือข่ายผู้ใช้แรงงานพรรคก้าวไกล และ ส.ส.ทุกคน ขอคัดค้าน คือ เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแก้ไขที่มาของคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตนและนายจ้าง (บอร์ดประกันสังคม)</p>
<p>โดยให้เปลี่ยนจากเดิมที่เป็นแบบเลือกตั้งไปเป็นแบบแต่งตั้ง ตามเนื้อหาในร่างกฎหมาย ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี</p>
<p>เมื่อก่อนนั้น การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม จะมาจากการเลือกตั้งของผู้แทนสหภาพแรงงาน โดยมี 1 เสียง ไม่ว่าสหภาพแรงงานจะมีสมาชิก 5,000 คน หรือมีสมาชิกแค่ 50 คน ก็มี 1 เสียงเท่ากัน ซึ่งประเทศไทยมีจำนวนสหภาพแรงงานเพียงแค่ราว 1,400 แห่งเท่านั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนสถานประกอบการ</p>
<p>มีสถานประกอบการจำนวนมากที่ไม่มีสหภาพแรงงาน และมีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้นจึงไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งๆ ที่พวกเขาจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือน</p>
<p>ที่ผ่านมา ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากพยายามเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากผู้ประกันตน คือ 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ แต่ก็ไม่เคยได้รับการตอบรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด จนต่อมาเมื่อมีการทำรัฐประหารปี 2557</p>
<p>พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ได้กระทำการซ้ำร้ายกว่าเดิม ในวันที่ 8 พ.ย. 2558 โดยมีคำสั่งที่ 40/2558 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคมใหม่ทั้งหมด แทนที่ชุดเดิมที่มาจากการเลือกตั้งโดยผู้แทนสหภาพแรงงาน</p>
<p>ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนได้ร่วมกับพี่น้องแรงงานในการติดตามทวงถามต่อ รมว.แรงงาน สำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง โดยช่วงต้นเดือน ต.ค. 2566 สำนักงานประกันสังคมประกาศให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิเลือกตั้ง เริ่มลงทะเบียนภายในวันที่ 12-31 ต.ค. 2566 และจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา</p>
<p>หลังการเลือกตั้งสำนักงานประกันสังคมได้ประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการ และประกาศรับรองในวันที่ 23 ม.ค. 2567 ปรากฏว่าผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 7 ไม่ใช่คนเดิมตามประกาศแรก จึงทำให้มีคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผลคะแนนการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม</p>
<p>ประชาชนมองเห็นความไม่ชอบมาพากลหลายประการ ทั้งกระบวนการประชาสัมพันธ์จัดการเลือกตั้ง กติกาที่กีดกันผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติออกจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้เลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง การรับรองคะแนนที่ล่าช้าไปอย่างต่ำ 2 เดือน และผลการเลือกตั้งทางการที่จู่ๆ ก็เปลี่ยนตัวกรรมการไป 1 คน</p>
<p>วันนี้กระทรวงแรงงานได้เสนอร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่.) พ.ศ….. เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยในเนื้อหาของร่างกฎหมายนั้นเหมือนว่าประกันสังคมต้องการจะย้อนเวลาตามหายุค คสช. กลับไปล้าหลังกว่าเดิม</p>
<p>ดังที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นี่เป็นสิ่งที่ล้าหลังและถอยหลังอย่างยิ่ง</p>
<p>การที่ นายบุญส่ง ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการประกันสังคม ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยอ้างว่าใช้งบประมาณจัดเลือกตั้ง เกือบ 100 ล้านบาท แต่คนมาใช้สิทธิไม่ถึงล้านคนจากผู้ประกันตน 24 ล้านคน ผู้ที่มีสิทธิ 10 ล้านกว่าคน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้สรุปบทเรียนการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ว่าเกิดจากอะไร</p>
<p>การประชาสัมพันธ์น้อยไปหรือไม่ การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมมีปัญหาจริงหรือไม่ การเดินทางไปหน่วยเลือกตั้งที่อยู่ห่างไกลร่วมร้อยกิโลทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถไปใช้สิทธิ์ได้จริงใช่หรือไม่</p>
<p>มิหนำซ้ำ หน่วยเลือกตั้งเหล่านี้หลายหน่วยก็ไม่รับรองผู้พิการด้านต่างๆ อีกด้วยหรือเปล่า ปัญหาอุปสรรคต่างๆ เป็นอย่างไร ควรจะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้การเลือกตั้งในครั้งหน้าดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า ทำไมถึงกลับมาแก้ไขกฎหมายให้ถอยหลังลงคลองเช่นนี้</p>
<p>“หรือที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานและสำนักงานประกันสังคม ไม่เคยคิดอยากให้มีการเลือกตั้งในรูปแบบ 1 สิทธิ 1 เสียง มีใครได้ประโยชน์อะไรจากการแต่งตั้งบอร์ดประกันสังคมหรือไม่ วันนี้ในเมื่อเรามีกฎกติกาที่ก้าวหน้ามาไกลแล้ว ทำไมถึงได้มีความพยายามดึงถอยหลังกลับไปอีก วันนี้ผมและคณะจึงขอคัดค้านในประเด็นดังกล่าว รวมถึงขอเชิญชวน ครม. ทุกท่านมาร่วมคัดด้านกับเราด้วย</p>
<p>เพราะเราต้องการให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ใช่เป็นประชาธิปโดยน้อยลง ดังนั้น ในการเลือกตั้งขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของผู้ใช้แรงงาน เราจึงสมควรปกป้องความศักด์สิทธิ์ของกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่มัวหวาดระแวงการเลือกตั้งเยี่ยงรัฐบาลเผด็จการ” นายเซีย กล่าว</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 21/2/2567</p>
<p><strong>จับตาแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทยส่อผิด กม. 1-4 ล้านคน จี้รัฐเร่งแก้ไข</strong></p>
<p>สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตฯ ไทยจับตาแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทยเพิ่ม แม้ตัวเลขถูกกฎหมายจะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ก็เริ่มมาผิดกฎหมายที่ยังตรวจสอบได้ยากอีกจำนวนนับล้านคน ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการอาจพุ่งกว่า 4 ล้านคน รัฐต้องเร่งวางนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน ชี้ช่องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเหตุไทยยังต้องพึ่งพิงแรงงานเหล่านี้สูงเหตุคนไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย และขาดแคลนแรงงานขณะที่คนไทยก็ไม่ทำงานหลายประเภท ย้ำดีกว่าเปิดฟรีวีซ่าให้ทุนจีนสีเทามาแย่งอาชีพคนไทยกินรวบจนไม่เหลืออะไร</p>
<p>นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย “ECONTHAI” เปิดเผยว่า สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือจากปัญหาสงครามกลางเมืองในเมียนมาที่ดำเนินมาระยะเวลาหลายเดือนและมีการเกณฑ์ทหารของรัฐบาลทำให้คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งมุ่งเข้ามายังประเทศไทยทำให้เกิดการทะลักเข้ามาจำนวนมากซึ่งอาจจะส่งผลต่อวิกฤตและโอกาส โดยเห็นว่าไทยควรให้ความสำคัญต่อแรงงานเมียนมาเพราะไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ (Complete Aged Society) สัดส่วนคนสูงวัยมีถึง 20% (เฉลี่ยอายุ 40 ปี 7 เดือน) ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยต้องเคลื่อนไป Smart Technology และ AI ขณะเดียวกันไทยยังต้องพึ่งพิงแรงงานเข้มข้นทั้งอุตสาหกรรม บริการ และเกษตรกรรม รัฐบาลจึงควรมีความชัดเจนถึงนโยบายแรงงานต่างด้าวว่าจะไปในทิศทางใดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด</p>
<p>ปัจจุบันพบว่าแรงงานเมียนมาที่เข้ามายังไทยเป็นการติดต่อผ่านญาติ-เพื่อนที่ทํางาน มีค่าใช้จ่ายแบบ “One Stop Service” คนละประมาณ 20,000 บาทเป็นราคารับ-ส่งถึงที่อยู่ในประเทศไทยจนถึง กทม. ปัจจุบันแรงงานเมียนมาถูกกฎหมายที่อยู่ในไทยมีประมาณ 2.374 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 76.2% ของแรงงานต่างด้าวรวมกันในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแรงงานถูกกฎหมายเมียนมาเพิ่มขึ้น 5.74 แสนคน เข้ามาตาม MOU (มาตรา 59) ประมาณ 2.742 แสนคน และตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จํานวน 2.099 ล้านคน ในจํานวนนี้ยังไม่รวมแรงงานเมียนมาผิดกฎหมายอีกนับล้านคน อย่างไรก็ตาม บางข้อมูลมีการระบุว่ามีมากกว่า 4 ล้านคนแล้ว</p>
<p>“ขณะนี้แรงงานเมียนมาส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม-บริการ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนยานยนต์และผลิตยางรถ, เสื้อผ้า, ก่อสร้าง, ประมง, ร้านอาหาร-แรงงานยกเคลื่อนสินค้าในภาคโลจิสติกส์ ตลอดจนทํางานตามบ้านครัวเรือน แรงงานผิดกฎหมายส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตรและปศุสัตว์ เช่น กรีดยางพารา, ตัดอ้อย, มันสําปะหลัง, เลี้ยงหมู-ไก่, สวนผักฯลฯ งานเหล่านี้ขาดแคลนคนและแรงงานไทยเลือกที่จะไม่ทํา แรงงานเมียนมาส่วนใหญ่อยูใน กทม. ตามด้วยจังหวัดสมุทรสาครซึ่งถือเป็นย่างกุ้งแห่งที่ 2 ในไทย ที่เหลือกระจายอยู่จังหวัดที่เป็นฐานอุตสาหกรรม เช่น สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม ฯลฯ” นายธนิตกล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ ปัญหาสงครามกลางเมืองเมียนมายังทำให้เส้นทางการค้าในเมียนมาถูกตัดขาด รวมถึงผลกระทบต่อไทยนั้นชายแดนไทยจากชายแดนแม่สอดไปเมืองย่างกุ้งถนนหลักถูกทําลายต้องวนเข้าทางเก่าผ่าน "เมืองกอกาเระ" เป็นเส้นทางเสี่ยงจากอุบัติเหตุ และอยู่ในเส้นทางที่กําลังรบกัน อีกทั้งต้องอ้อมและเสียความคุ้มครองทำให้ค่าขนส่งจากศูนย์ขนส่งเมียวดีไปเมืองย่างกุ้งค่าขนส่ง (รถ 22 ล้อ) ราคา 28,000 บาทเพิ่มเป็น 60,000 บาท และจากชายแดนไทยข้ามสะพานมิตรภาพไปศูนย์ขนส่งเมียวดีระยะทาง 16 กิโลเมตร มีด่านกะเหรี่ยง 5 ด่าน เสียภาษีเถื่อนเพิ่มจากคันละ 750 บาทเป็น 1,500 บาท ส่งผลให้ปริมาณสินค้าในเมียนมาลดลงและมีราคาสูงขึ้น</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 20/2/2567</p>
<p><strong>รองเลขาธิการ สปส. แจงเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเป็นร่างเดิมที่เคยเสนอแก้ไขไว้ตั้งแต่ปี 2565 แต่ตกไปเพราะมีการยุบสภาในปี 2566</strong></p>
<p>เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567  นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงประเด็นที่สื่อสังคมออนไลน์ ได้โพสต์ว่ากระทรวงแรงงานได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมที่ให้บอร์ดใช้ระบบแต่งตั้งกรรมการเหมือนเดิม อีกทั้ง ยังตั้งข้อสังเกตถึงการพยายามยกเลิกระบบเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนอาจถูกผลักดันโดยกลุ่มอำนาจเก่าของกระทรวงแรงงานที่ฝังรากอยู่มาอย่างยาวนาน</p>
<p>นางมารศรี ชี้แจงว่า ในร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. มีการแก้ไขที่มาของการได้มา คณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน และนายจ้างไม่ได้เพิ่งเสนอแก้ไข หลังจากมีการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมตามที่เป็นข่าว แต่เป็นร่างเดิมที่เคยเสนอแก้ไขไว้ตั้งแต่ปี 2565 แต่ตอนนั้นต้องตกไป เพราะมีการยุบสภาในปี 2566 โดยวิธีการได้มาซึ่งกรรมการให้เป็นไปตามที่ รมว.แรงงานประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นั้น มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้มาจากการเลือกตั้ง เป็นวิธีการสรรหาแต่อย่างใด เพราะในร่าง มาตรา 8 ได้กำหนดวิธีการได้มา ไว้ 2 วิธี ได้แก่ 1) การเลือกตั้ง หรือ 2) วิธีการสรรหา โดยเหตุผลที่กำหนดเช่นนี้ เนื่องจากหากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ในกรณีเกิดโรคระบาด หรือกรณีเกิดภัยพิบัติ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เพื่อให้การบริหารกองทุนไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากกรรมการหมดวาระลง (บอร์ดรักษาการ) จะไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบในบางเรื่องได้ จึงกำหนดให้  รมว.แรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถประกาศกำหนดวิธีการอื่น เช่น การสรรหาคณะกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ได้ ทั้งนี้ หลักการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ยังคงมีอยู่เช่นเดิม ประกอบกับในการเสนอร่างกฎหมาย ทุกขั้นตอนมีการเผยแพร่และผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ทั้งในชั้นก่อนเสนอเข้า ครม. และชั้นการตรวจร่างของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา</p>
<p>ที่มา: newtv18, 19/2/2567</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 57 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2567 12:21:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 ม.ค.-4 ก.พ. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 04 กุมภาพันธ์ 2567 12:28:00
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 ก.พ. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 61 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2567 14:50:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 ก.พ.-3 มี.ค. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2567 16:11:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 4-10 มี.ค. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 37 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2567 13:44:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.275 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 เมษายน 2567 09:17:34