โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดีมีใน กทม.แล้วด้วย

(1/3) > >>

sithiphong:
Tweet

โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดีมีใน กทม.แล้วด้วย
ที่มา Fwd mail ครับ









โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดีมีใน กทม. มีแล้วด้วย
เรียก อีกอย่างว่า แมลงก้นกระดกค่ะ ลุงแหว่น
ที่กำแพงแสนมีจนจะเรียกได้ว่า เป็น1ในกลุ่มประชากรแล้วค่ะ
เพราะมี คณะเกษตรภาคพืชไร่อ่ะค่ะ เห็นว่า ปลูก ต้นอะไรสักอย่างที่แมลงชนิดนี้ชอบ
อีก อย่างที่ต้องระวังคือ ถ้าเจอ ห้ามตบห้ามตีค่ะ เพราะ ถ้าตัวมันแตก สารที่ไหลออกมาจะเป็นตัวเรียกเพื่อนมันมาค่ะ
เห็นเพื่อนที่อยู่หอในมหาลัย บอกว่า ถ้าเจอให้ใช้เทปแปะให้มันอยู่กับที่แล้วตายไปเองค่ะ
อ้อ จะบอกว่า ไบกอน ฆ่าไม่ตายค่ะ
เป็นแมลงวิวัฒนาการสูง
โปรดทราบ และ ระวังด้วย
ชื่อ ทางการของมันชื่อ แมลงด้วงน้ำำมัน
ถ้าโดนแล้วห้ามเกาเด็ดขาด เพราะมันจะลามไปเรื่อยๆ เลย หนองหรือน้ำเหลืองของเราจะทำให้ลามจากอีกจุดเพิ่มเป็นอีกจุดลาม เป็นแผล ใหญ่
และที่สำคัญตอนนี้แมลงนี้มีอยู่ใน กทม. แล้ว ด้วย
เรียน ทุกท่านทราบเพื่อเป็นการเตือนถึงอันตรายของแมล และ อาการที่เกิดขึ้น
(ตามภาพ ที่แนบมา) ดร.วัฒนา อู่วาณิชย์ เพื่อนที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเมล์มาให้เพื่อกระจายข่าวต่อด้วย ค่ะ
โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดี คนหลายคนถูกแมลงชนิดนี้ทำร้ายหลายรายแล้ว
หากโดน กรุณาพบแพทย์โดยด่วนมิฉะนั้นแผลจะลุกลามไปรวดเร็วมาก
แมลง ชนิดนี้จะไม่กัดหรือต่อย แต่ฉี่ของมันมีความเป็นกรดสูงมากและเป็นสาเหตุให้เกิดแผล ซึ่งหาก เกิดเป็นแผล
แล้วเอา มือไปถูกแผลนั้นให้รีบล้างมือโดยเร็ว
มิ ฉะนั้นจะเกิดแผลลุกลามไปยังที่ๆ เอามือไปสัมผัสต่อไปอีก

.

เงาฝัน:



(:SHOCK:)    (:SHOCK:)    (:SHOCK:)

หมีงงในพงหญ้า:
ทีแรกคิดว่าเป็นแค่ fwd mail โกหกเหมือนทั่ว ๆ ไป

เลยทดลองหาข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่าแมลงชนิดนี้เคยระบาดแถวน้ำตกสาริกาและอีกหลายท้องที่

นอกจากนี้ยังเคยมีคำเตือนจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดอีกด้วย ดังจะลงให้ดูต่อไปนี้





แค่สัมผัสก็เกิดอันตราย

สาธารณสุขเตือนภัยด้วงพิษ 2 ชนิด ด้วงก้นกระดกและด้วงน้ำมัน ระบุแค่สัมผัสก็เกิดอันตรายได้ "ด้วงก้นกระดก" หรือแมลงเฟรชชี่ เนื่องจากพบมากในช่วงเปิดเทอม ชอบอยู่ตามกองมูลสัตว์ ใต้ดิน กองไม้ ชอบเล่นกับแสงไฟในบ้านเรือน หากสัมผัสจะเกิดผื่นคัน แผลพุพอง ผิวหนังไหม้แดง ปวดแสบปวดร้อน มีไข้ หากถูกพิษบริเวณดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนด้วงน้ำมัน หากกินเกิน 3 ตัวจะเกิดอาการคออักเสบ กลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือด ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด สลบและเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลวได้ แนะวิธีแก้ เมื่อได้รับพิษให้ใช้น้ำสะอาด หรือแอมโมเนียล้างทันที

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. น.พ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงอันตรายจากแมลงมีพิษ โดยเฉพาะด้วงก้นกระดกและด้วงน้ำมันว่า ด้วงก้นกระดก หรือที่เรียกกันว่าแมลงเฟรชชี่ เนื่องจากพบมากในช่วงเปิดเทอม เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera วงศ์ Staphylinidae แมลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก มีความยาวเพียง 4-7 มิลลิเมตร และมีลักษณะจำเพาะคือปีกคู่แรกแข็งและสั้น ปีกคู่สองมีขนาดใหญ่ ลำตัวเล็กเรียว ส่วนท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกสังเกตเห็นได้ง่าย และมีลักษณะสีสันต่างกัน มีแหล่งอาศัยอยู่ตามกองมูลสัตว์ ใต้พื้นดิน ในกองไม้ แต่จะชอบบินเข้ามาเล่นแสงไฟ ในบ้านเรือนที่เป็นพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่เผลอไปสัมผัสได้


 
 
ด้วงปีกสั้น หรือด้วงก้นงอน

"ด้วงชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทยนั้นจะมีสีส้ม ชาวบ้านเรียกว่าด้วงปีกสั้น หรือด้วงก้นงอน เนื่องจากเมื่อเกาะอยู่กับที่จะชอบงอส่วนท้องขึ้นๆ ลงๆ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paederus fuscipes สำหรับอันตรายจากด้วงก้นกระดกหรือแมลงเฟรชชี่คือสารพิษชนิด paederin ซึ่งเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นคันหรือแผลพุพอง ผิวหนังไหม้แดง ปวดแสบปวดร้อน มีไข้ ถ้าถูกพิษบริเวณดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้" น.พ.ไพจิตร์กล่าว

น.พ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า สำหรับด้วงน้ำมันจะเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับด้วงก้นกระดก แต่ด้วงน้ำมันจะอยู่ในวงศ์ Meloidae และมีขนาดใหญ่กว่ามาก ชนิดที่พบบ่อยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mylabris phalerata ซึ่งมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร มีลักษณะจำเพาะ คือจะมีแถบสีเหลืองสลับดำอย่างละ 3 แถบขวางปีกคู่หน้า ในเมืองไทยมีการสำรวจพบด้วงน้ำมัน 4 สกุล ได้แก่ Epicauta Mylabris Cissites และ Eletica ชาวบ้านมักเรียกว่าด้วงมวน ด้วงไฟถั่ว หรือด้วงไฟเดือนห้า


 
 
สารพิษชนิด cantharidin

"อันตรายของด้วงน้ำมันมักเกิดจากมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกแมลงกินได้ จึงนำไปรับประทานซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้ารับประทานมากกว่า 3 ตัวขึ้นไป เนื่องจากด้วงน้ำมันมีสารพิษชนิด cantharidin ที่ก่ออันตรายแก่ผู้บริโภค โดยผู้ป่วยที่บริโภคด้วงน้ำมันเข้าไปจะมีอาการคออักเสบ กลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อุจจาระร่วง อาเจียนเป็นเลือด ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด สลบและเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว" น.พ.ไพจิตร์กล่าว

น.พ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ด้วงน้ำมันถ้าถูกรบกวนหรือถูกต้องตัวจะขับของเหลวสีเหลืองอ่อนที่มีสารพิษ cantharidin ออกจากข้อต่อของส่วนขา ถ้าพิษถูกผิวหนังก็จะเป็นตุ่มพุพองอักเสบได้ แต่โดยปกติแล้วแมลงทั้งสองชนิดนี้จะไม่กัดคน แต่ถ้าบังเอิญถูกแมลงไต่ตามร่างกาย แล้วไปตบตีหรือทำให้ลำตัวแตกหัก พิษในตัวแมลงจะถูกขับออกมาเป็นลักษณะของเหลวแล้วซึมเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว สำหรับแหล่งอาศัยของด้วงน้ำมันนั้นจะพบหากินตามแหล่งที่ปลูกพืช เช่น ต้นโสน ต้นถั่ว ต้นฝ้าย ต้นกระเจี๊ยบ และไม้ดอกต่างๆ แต่ไม่ได้บินเข้ามาเล่นไฟในเวลากลางคืน


 
 
ไม่ควรตบตี

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากเข้าใจคลาดเคลื่อน ระหว่างด้วงก้นกระดกและด้วงน้ำมัน โดยเรียกรวมกันว่าแมลงเฟรชชี่ สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนนั้น เนื่องจากลักษณะอาการของผู้ที่ได้รับพิษจากด้วงสองประเภทคล้ายกัน ความจริงแล้วแมลงเฟรชชี่ที่หลายคนเข้าใจกันนั้นคือด้วงก้นกระดก

"วิธีป้องกันภัยจากด้วงก้นกระดก และด้วงน้ำมันนั้น ประชาชนควรระวัง หากพบด้วงทั้งสองชนิดไต่ตามลำตัวไม่ควรตบตี เนื่องจากแมลงจะขับพิษออกมา ถ้าร่างกายสัมผัสถูกพิษให้รีบล้างน้ำสะอาดหรือเช็ดด้วยแอมโมเนียทันที นอกจากนี้ควรลดความสว่างของแสงไฟในเวลากลางคืน หรือปิดมุ้งลวดป้องกันแมลงให้มิดชิด เนื่องจากด้วงก้นกระดกมักเข้ามาเล่นแสงไฟในตอนกลางคืน รวมทั้งห้ามนำแมลงทั้งสองชนิดไปบริโภคโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้" น.พ.ไพจิตร์กล่าวเตือน

 
 

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
 
 



ข้อสังเกตุ แมลงนี้ระบาดเมื่อปี 2007-2008 จึงไม่ทราบแน่ว่าปัจจุบันยังระบาดอยู่อีกหรือไม่



sithiphong:
แมลงเป็นสัตว์ที่พัฒนาตัวเองได้ดี  เป็นประชากรของโลกที่น่าจะมีเป็นจำนวนมหาศาล 

ระวังไว้ดีกว่าตามแก้ไขครับ

.

【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪:



สธ.เตือนให้ระวังพิษจาก "ด้วงก้นกระดก" ทำให้เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน หากถูกพิษของด้วง ให้ล้างด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย และควรไปพบแพทย์...

13 พ.ค. นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงฤดูฝนนี้มักจะมี "ด้วงก้นกระดก" หรือที่เรียกว่า "ด้วงปีกสั้น"  "ด้วงก้นงอน" (Rove beetle) ชุกชุมกว่าฤดูอื่น ด้วงชนิดนี้เป็นแมลงที่มีประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ แต่มีพิษสำหรับคน ทำให้เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน แต่ไม่ถึงขั้นเสียชิวิต

โดยมีรายงานผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ ด้วงกระดกจะมีพิษชื่อว่า "เพเดอริน" (Paederin) อยู่ทั่วตัว ซึ่งด้วง 1 ตัว จะมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณ 0.025 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว พิษมีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ หากถูกผิวหนัง จะเกิดอาการอักเสบ แสบร้อน และพุพอง ส่วนใหญ่พิษจะมีในด้วงตัวเมีย ด้วงจะปล่อยน้ำพิษออกมาในกรณีที่ด้วงตกใจหรือถูกตี ถูกบีบ ถูกบดขยี้ เพื่อป้องกันตัว

โฆษกสธ.กล่าวอีกว่า หลังจากที่คนสัมผัสพิษด้วงกระดก อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่สัมผัส โดยหลังสัมผัสใน 24 ชั่วโมงแรก ผิวจะมีผื่นแดง คัน แสบร้อน และเกิดเป็นแผลพุพองภายใน 48 ชั่วโมง มีการอักเสบขยายวงใหญ่ขึ้น จากนั้นจึงตกสะเก็ดภายใน 8 วัน อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ในรายที่เป็นรุนแรง ผิวหนังจะอักเสบหลายแห่ง คล้ายงูสวัด บางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน เป็นผื่นบวมแดงติดต่อกันหลายเดือน หากพิษเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้

นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่เดือนมี.ค.-เม.ย.53 มีรายงานผู้ถูกพิษด้วงกระดกที่จ.ราชบุรี 26 ราย ทุกรายมีผื่นแดงที่ผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อน บางรายตาแดง และปวดหู ที่ผ่านมาเคยพบกลุ่มผู้ใช้แรงงานในจ.สมุทรปราการ เกิดอาการผิวหนังอักเสบเฉียบพลันจากด้วงกระดก 27 ราย พ.ศ.2536 ครั้งที่ 2 พ.ศ.2549 พบผู้ป่วยที่จ.นครสวรรค์ 113 ราย และที่จ.พระนครศรีอยุธยา 30 ราย ส่วนใหญ่มีผื่นแดงเป็นทางยาว ลักษณะคล้ายรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน ส่วนต่างประเทศ เคยมีรายงานที่เมืองโอกินาวะในพ.ศ.2512 มีผู้สัมผัสพิษด้วง เกิดอาการรุนแรง 2,000 กว่าราย และที่อินเดีย พ.ศ.2548 มีผู้ป่วย 123 ราย

"ลักษณะของด้วงกระดก จะมีลำตัวเป็นเงามัน ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีสีดำสลับส้ม มักจะงอท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น ปกติจะอาศัยอยู่ในบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟตามบ้านเรือนตอนกลางคืน โดยจะมีมากในฤดูฝน พบด้วงชนิดนี้ได้ทั่วโลกมากที่สุดที่อเมริกาเหนือ ซึ่งมีถึง 3,100 ชนิด สำหรับประเทศไทย คาดว่ามีประมาณ 20 ชนิด ตามปกติ ด้วงก้นกระดกจะไม่กัดหรือต่อยคน แต่คนจะได้รับพิษหากไปสัมผัส จับมาเล่น หรือตบ ตี บี้จนน้ำพิษแตกออกมา" นพ.สุพรรณ กล่าว

นพ.สุพรรณ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับการป้องกันด้วงก้นกระดก ขอให้ประชาชนระมัดระวัง โดยเปิดไฟในช่วงกลางคืนเท่าที่จำเป็น ก่อนนอนให้ปัดที่นอน หมอน ผ้าห่ม หรือเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะเด็กๆ อย่าจับด้วงมาเล่น ไม่ตบหรือตีเมื่อด้วงบินมาเกาะตามตัว และหากถูกพิษของด้วง ให้ล้างด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย และควรไปพบแพทย์


ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/82779


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป