[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 19 สิงหาคม 2566 17:04:33



หัวข้อ: ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา - ชมแหล่งเรียนรู้เรื่อง "โขน"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 สิงหาคม 2566 17:04:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45038031828072_.1_Copy_.jpg)
อุปกรณ์และฉากต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขน เก็บรักษาไว้ที่อาคารเรียนรู้เรื่องโขน
ณ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


พิพิธภัณฑ์ โขน
เรียน-รู้ เรื่องโขน และชมสถานที่เก็บอุปกรณ์ ฉากที่ใช้ในงานแสดงต่างๆ
ณ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


โขน (Khon) เป็นนาฏกรรมชั้นสูงที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่า การแสดงโขนเริ่มเข้ามาในสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและมีบทบาททางสังคมในฐานะเป็นมหรสพหลวงสำหรับพระมหากษัตริย์ และใช้แสดงในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้รับเอาลัทธิเทวราชาจากอารยธรรมขอมโบราณมาใช้ในการปกครองบ้านเมืองราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นั้น วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์อันกล่าวถึงเกียรติยศแห่งพระรามซึ่งเป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ จึงได้กลายเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรียบเสมือนเทวราชาหรือสมมติเทพ

นักวิชการหลายคนเชื่อว่านักบวชพราหมณ์ในพระราชสำนักน่าจะเป็นผู้เผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบของการสวดสาธยายตามคัมภีร์มหากาพย์ จากนั้นจึงใช้รูปเงาที่เกิดจากฉากสลักแผ่นหนังเป็นตัวละครตอนสำคัญต่างๆ ประกอบการสาธยายภาพเงาที่ปรากฏกระเพื่อมไหวบนจอผ้าตามแสงไฟ  ชวนให้ผู้ชมคล้อยตามและซึมซับเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ต่อมาภาพนิ่งจากตัวหนังจึงถูกประดิษฐ์เป็นท่าทางนาฏลักษณ์ให้สัมพันธ์กับผู้เชิดตัวหนัง เกิดการพัฒนาในการเล่าเรื่องรามเกียรติ์โดยใช้คนเป็นผู้แสดงและแต่งกายให้เกิดจินตนาภาพความเป็นเทพเจ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างสมจริงมากขึ้น

แม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าการแสดงโขนเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ข้อความที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาได้ระบุถึงพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งต้องจัดให้มีการ “เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์” หรือ กวนเกษียรสมุทรตามคติพราหมณ์ อันถือเป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับความเป็นพระจักรพรรดิราชของพระมหากษัตริย์ ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีจะแต่งกายเป็นเทวดา ยักษ์ และวานร โดยระบุชื่อตัวละครสำคัญไว้ คือ “พาลี สุครีพ มหาชมพู และบริวารพานร”

การประกอบพิธีชักนาคดึกดำบรรพ์นี้ แม้จะมิใช่การแสดงโขนอย่างชัดเจน แต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครและความเชื่อมโยงมาสู่การสร้างเครื่องแต่งกายตามลักษณะของตัวละครนั้นๆ จนคลี่คลายกลายเป็นมหรสพสำคัญของราชสำนักที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงขึ้นเพื่อความสนุกสนานเป็นสำคัญ

เมื่ออยุธยาล่มสลายลงในพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในทศวรรษต่อมา  โขนถือเป็นความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อมาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โขนในฐานะที่เป็นมหรสพหลวง โขนจึงมิได้เป็นการแสดงเพื่อมุ่งเพียงความสนุกสนานเท่านั้นแต่ยังเป็นกลไกทางวัฒนธรรมและสังคมที่สำคัญต่อการเชื่อมโยงสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน และเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26694766307870_1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54031355803211_2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92247603626714_3_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66119800259669_4_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94479096639487_5_Copy_.jpg)

-----------------------------


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25782336832748_7_Copy_.jpg)
หัวโขนที่ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ มีให้ชมทุกตัวละคร

ศิราภรณ์
ชมความงามวิจิตรบรรจง ของศิลปหัตถกรรมไทย
ในการทำชุดแต่งกายโขน ตลอดจนการตกแต่งด้วยอัญมณี
หนึ่งในงานฝีมืออันทรงคุณค่า ที่ต้องอาศัยฝีมือช่างชั้นสูงที่มีความละเอียดประณีต

ศิราภรณ์ (Siraporn) หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ เป็นงานศิลปะที่รวมงานประติมากรรมและจิตรกรรมเข้าด้วยกัน คณะทำงานจัดการแสดงโขนได้ศึกษางานศิลปกรรม หัวโขน ชฎา มงกุฎโบราณ ที่เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และงานศิลปกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะการแสดง เช่น หุ่นหลวง และหุ่นวังหน้า จากการศึกษาดังกล่าว จึงมีการนำลักษณะโครงสร้าง ลวดลาย จากงานศิราภรณ์และหัวโขนโบราณมาสร้างขึ้นใหม่ให้มีความงดงาม และปรับองค์ประกอบต่างๆ ให้มีน้ำหนักเบา เหมาะสมกับสรีระของนักแสดง แต่คงไว้ด้วยสัดส่วนความงามและองค์ประกอบศิลป์ตามตามแบบงานศิลปะไทยทุกประการ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80919080600142_10_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61359743194447_8_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89020873109499_13_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76625670658217_14_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22714920135007_24_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91002883306807_22_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21725290475620_21_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66396498348977_15_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15416413048903_16_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60318051733904_17_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82899483086334_18_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36160184856918_19_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80236165722211_20_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65252777189016_a1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12697523542576_a2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33740517165925_a3_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35704866838123_a4_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96840416557259_a5_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35286569595336_23_Copy_.jpg)
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89366464565197_b1_Copy_.jpg)


850/35


หัวข้อ: Re: ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา - ชมแหล่งเรียนรู้เรื่อง "โขน"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 สิงหาคม 2566 15:03:09
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74734344333410__1_Copy_.jpg)

หัวโขน


หัวโขน เป็นเครื่องประดับสวมหัวที่รวมหน้ากากและศิราภรณ์ประกอบกัน หัวโขนของไทยเป็นศิลปะที่ช่างฝีมือสรรค์สร้างด้วยความวิจิตรบรรจง เลียนแบบพระมหามงกุฎ พระชฎา และศิราภรณ์อื่นๆ ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ แต่ก็ได้หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจถูกมองว่าเป็น “การทำเทียมเจ้า” ด้วยการใช้วัสดุที่มีค่าน้อย น้ำหนักเบา เช่น ใช้กระดาษเป็นโครง ประดับลายด้วยการกระแหนะรักแล้วปิดทองประดับกระจก มิได้ประดิษฐ์ด้วยวัสดุมีค่า เช่น ทอง เพชรพลอย เหมือนเครื่องทรง

โดยที่กระดาษเป็นวัสดุที่ชำรุดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการแสดงที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ  มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงได้รื้อฟื้นภูมิปัญญาโบราณเกี่ยวกับการทำกระดาษข่อย ซึ่งมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีมาใช้เป็นวัสดุทำหัวโขน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45863235120971__2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13954881288938__3_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69903012199534_368677273_1686997811815892_246.jpg)

วิธีการและกระบวนการทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่โบราณ
และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อาจอธิบายได้โดยสังเขป ดังนี้


๑. การเตรียมวัสดุ วัสดุสำหรับทำตัวลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งหัวโขนเรียกว่า “รักตีลาย” ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมต่างๆ คือ รักน้ำเกลี้ยง ชันน้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกันแล้วเอาขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนงวดและเหนียวพอที่จะนำไปกดลงในแม่พิมพ์หินที่แกะไว้เป็นองค์ประกอบลวดลายต่างๆ เช่น กระจัง ก้านขด กระหนก และไข่ปลา เป็นต้น

๒. การเตรียมหุ่นต้นแบบ เป็นหุ่นที่จะใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดเป็นหัวโขน แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟ หรือทำด้วยไม้กลึง ปัจจุบันมักหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์  หุ่นหัวโขนชนิดครอบศีรษะและปิดหน้า มักทำเป็นหุ่นอย่าง “รูปโกลน” หรือใบหน้าอย่างคร่าวๆ มีเค้ารอยตา จมูก ปาก ขมวดผม ตามตำแหน่ง ส่วนหุ่นหัวมงกุฎ หรือชฎาแบบต่างๆ ก็ทำเป็นรูปทรงกระบอกกลางศีรษะไว้สำหรับสวมยอดไม้กลึงแบบต่างๆ

๓. การปิดหุ่นหรือพอกหุ่น เป็นการปิดกระดาษทับลงบนหุ่น โดยใช้กระดาษข่อย กระดาษสา หรือกระดาษฟาง อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัดเป็นแผ่นขนาดเล็กกว่าฝ่ามือ ทาแป้งเปียกให้ทั่ว แล้วปิดทับหุ่นหลายๆ ชั้นให้หนาพอที่จะคงรูปอยู่ได้เมื่อแห้ง และถอดศีรษะออกจากหุ่น จากนั้นนำหุ่นที่ปิดกระดาษไปผึ่งแดดจนแห้งสนิท แล้วนำมา “กวด” ด้วยไม้ ให้กระดาษที่ปิดไว้เข้ารูปเนียนเรียบ

๔. การถอดหุ่น คือการเอาศีรษะกระดาษออกจากหุ่น โดยใช้มีดปลายแหลมกรีดศีรษะกระดาษ จากตรงกลางด้านบนลงข้างหลังให้ขาด แล้วจึงถอดออกจากต้นแบบ จากนั้นนำไปเย็บประสานให้สนิทแล้วปิดกระดาษทับทั้งด้านนอกด้านในให้เรียบร้อย เรียกศีรษะกระดาษว่า “กะโหลก”

๕. การปั้นหน้าหรือกระแหนะ คือการใช้รักตีลายมาปั้นเพิ่มเติมลงบนกะโหลกให้ส่วนคิ้ว คาง ตา จมูก ปาก ปรากฏคมชัดหรือได้อารมณ์ตามที่ช่างต้องการ และปั้นเสริมส่วนโครงของเครื่องศิราภรณ์ เช่น ส่วนเกี้ยวรักร้อย ชั้นกระจัง ฯลฯ ในขั้นตอนนี้ ช่างต้องจัดทำส่วนประกอบของศิราภรณ์ ส่วนของหูและจอนหูหรือกรรเจียกสำหรับประกอบมงกุฏและชฎาที่หัวโขนนั้นๆ สวมอยู่ด้วย โดยใช้แผ่นหนังวัวแห้งมาตัดฉลุเป็นโครง แล้วปั้นรักตีลายให้ละเอียดงดงามต่อเนื่องในขั้นตอนต่อไป

๖. การปั้นรักตีลาย ใช้รักตีลายกดลงบนแม่พิมพ์เป็นลวดลายละเอียด เช่น ตัวกระจัง กระหนก ใบเทศ ก้านกระหนก ไข่ปลา ฯลฯ แล้วนำมาประดับตามตำแหน่งบนกะโหลกที่ได้ปั่นหน้าไว้ดีแล้ว

๗. การลงรักปิดทอง ใช้น้ำรักเกลี้ยงทาทับส่วนที่ทำเป็นลวดลายต่างๆ ที่ต้องการให้เป็นสีทอง ทาทิ้งไว้รอจนแห้งและเรียบสนิทดีแล้วจึงนำทองคำเปลวมาปิดทับให้ทั่ว

๘. การประดับกระจก การประดับพลอยหรือกระจก เป็นการตกแต่งส่วนละเอียด โดยเฉพาะลวดลายที่ไส้ตัวกระจัง ไส้กระหนก ไส้ใบเทศ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประกายแวววาว กระจกที่ใช้เรียกว่า กระจกเกรียบ ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ช่างทำหัวโขนจึงพลอยกระจกประดับแทน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89366464565197_b1_Copy_.jpg)


การฟื้นฟูผ้ายกทองแบบโบราณของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
ผ้ายก เป็นผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้เด่นชัดขึ้น ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในฐานะผ้าราชสำนักซึ่งทอด้วยไหมเนื้อละเอียด สอดแทรกลวดลายด้วยไหมเงินไหมทองที่บางเบา และทออย่างประณีต ลวดลายผ้าและกรวยเชิงมีลักษณะแบบราชสำนัก ใช้สำหรับเจ้านายชั้นสูง ทั้งเป็นผ้านุ่งโจงกระเบน นุ่งจีบ ทั้งใช้ห่อคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น  เนื่องจากมีกรรมวิธีทอที่ซับซ้อน ทำให้การทอผ้ายกเกือบจะสูญหายไป  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ และพระราชทานอาชีพเสริมแก่ราษฎร คือการทอผ้าฝ้าย ปักผ้า สานกระจูด และประดิษฐ์ดอกไม้ เกิดเป็นศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ เมื่อได้ทรงทราบว่าผ้ายกเมืองนครซึ่งมีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตกำลังจะขาดผู้สืบทอด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ที่ได้ฟื้นฟูศึกษากระบวนการทอผ้ายกแบบโบราณจากจังหวัดสุรินทร์ไปฝึกสอน

ปัจจุบันศิลปาชีพบ้านเนินธัมมังและบ้านตรอกแค ซึ่งเริ่มต้นจากการทอผ้าฝ้ายมาสู่การทอผ้าไหม พัฒนาจนสามารถทอผ้ายกทองเมืองนครได้อย่างงดงงาม เป็นการอนุรักษ์พร้อมกับการสร้างรายได้แก่สมาชิกชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้ายกราชสำนักมาตั้งแต่โบราณและนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายโขนพระราชทานด้วย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32064065419965__6_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41347327124741__7_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54755271971225__9_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54081476272808__8_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65572228365474__12_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75786213038696__10_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92042483099632__11_Copy_.jpg)


หัวข้อ: Re: ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา - ชมแหล่งเรียนรู้เรื่อง "โขน"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 สิงหาคม 2566 16:41:46
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18224958537353_1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91701886388990_2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36029085599713_3_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90192703323231_4_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56624040131767_5_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51925240291489_7_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94746428728103_8_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76114357180065_367472609_1687000931815580_249.jpg)


ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะกรรมแขนงต่างๆ ที่ใช้ประกอบการแสดงโขนพระราชทานในแต่ล่ะตอนที่ผ่านมา
จัดให้เรียนรู้ที่ อาคารเรียน-รู้ เรื่อง "โขน" ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ได้แก่ ฉาก เครื่องประกอบฉาก เช่น ท้องพระโรง พลับพลา แท่นบรรทม ราชรถ ฯลฯ  เพื่อให้การแสดงโขนมี
ความสมจริงบางชิ้นงานจึงประดิษฐ์ขึ้นจากระบบเทคโนโลยีทางวิศวกรรม สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ เพื่อให้
การแสดงเร้าใจ และน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมยิ่งขึ้นไป

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89366464565197_b1_Copy_.jpg)

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37869624793529_9_Copy_.jpg)
งานยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยช่างฝีมือของศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด
ใช้ไม้จริงในการสร้าง (ไม้..?..) ผู้โพสต์ถามไถ่มา แต่ยังหาสมุดที่ได้จดไว้ไม่พบ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25167499027318_11_Copy_.jpg)
ชิ้นงานจากไม้ แกะสลักเรียบร้อยแล้ว รอการนำไปประดับตกแต่ง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78424134891894_10_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87177482868234_13_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58293864296542_12_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89366464565197_b1_Copy_.jpg)



แผนกช่างเขียนภาพลายไทย (ฉากประกอบการแสดงโขน)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94490277187691__1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52131157740950__2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15661221163140__5_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58062012162473__6_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90369354560971__7_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18615493840641_30_Copy_.jpg)