[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 13:26:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สงกรานต์: การแย่งชิงพื้นที่ทางโลกและพื้นที่ทางศาสนาของประเพณีประดิษฐ์ไทย  (อ่าน 39 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 เมษายน 2567 01:35:36 »

สงกรานต์: การแย่งชิงพื้นที่ทางโลกและพื้นที่ทางศาสนาของประเพณีประดิษฐ์ไทย
 


<span>สงกรานต์: การแย่งชิงพื้นที่ทางโลกและพื้นที่ทางศาสนาของประเพณีประดิษฐ์ไทย</span>
<span><span>sarayut</span></span>
<span><time datetime="2024-04-13T22:58:24+07:00" title="Saturday, April 13, 2024 - 22:58">Sat, 2024-04-13 - 22:58</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เจษฎา บัวบาล</p><p>&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เเม้สงกรานต์จะมาจากวัฒนธรรมอินเดียหรือศาสนาพราหมณ์ที่ปะทะกับความเชื่อท้องถิ่น แต่ในมิติศาสนาปัจจุบันแทบจะกลายเป็นอัตลักษณ์ของพุทธ กล่าวได้ว่า พุทธศาสนาแบบชาวบ้าน (popular Buddhism) ประสบความสำเร็จในการปรับตัวอย่างมาก แต่ในบริบทที่สงกรานต์เป็นประเพณีไทยที่ทุกคนเข้าถึงได้ รูปแบบกิจกรรมประดิษฐ์ที่หลากหลายนั้นจึงสะท้อนการต้องเเย่งชิงและเปิดพื้นที่ให้กับการฉลองในทางโลกด้วย
&nbsp;</p><p><strong>1. พัฒนาการของสงกรานต์ในฐานะประเพณีประดิษฐ์</strong>

สงกรานต์เป็นวัฒนธรรมร่วมของอาเซียน (และจีนบางส่วน) คือเเชร์วิถีปฏิบัติกัน ไม่ได้มีประเทศใดเป็นเจ้าของ ที่มาของสงกรานต์ตามศัพท์ก็ชัดว่ารับมาจากอินเดีย (แปลว่า เคลื่อน หมายถึงย้ายจากราศีจากมีนสู่ราศีเมษ) สุจิตต์ วงษ์เทศ เสนอว่า ช่วง 13-15 เมษานั้นเป็นปีใหม่ของอินเดีย ในราชสำนักอยุธยาก็ทำพิธีกรรมสงกรานต์แบบพราหมณ์ ซึ่งตามบันทึกของ ลาลูแบร์ (ทูตฝรั่งเศส) ประชาชนยังไม่รู้จักสงกรานต์ ปีใหม่ของชาวบ้านคือเดือนอ้ายหรือราวธันวาคม (วจนา วรรลยางกูร, 2559)</p><p>สงกรานต์เริ่มออกสู่สาธารณชนช่วงรัชกาลที่ 3 แต่ก็อยู่ในเมืองหลวง มีการเปลี่ยนมาใช้พระทำพิธีอุทิศบุญ และไม่มีการสาดน้ำ (มูลนิธิเล็ก-ประไพ, 2559) สุจิตต์เชื่อว่า การสาดน้ำเกิดหลัง 14 ตุลา (2516) ซึ่งรัฐบาลหันมาโปรโมทเรื่องเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว สำหรับวันปีใหม่ไทย รัชกาลที่ 5 ประกาศให้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันปีใหม่ในปี 2432 และถูกเปลี่ยนอีกครั้งให้เป็น 1 มกราคม โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี 2484 โดยสรุปคือ 13-15 เมษายน ไม่ได้เป็นปีใหม่ไทยแบบที่เชื่อกัน</p><p>ตามแนวคิดประเพณีประดิษฐ์ วัฒนธรรมหรือพิธีกรรมที่ถูกนำเสนอว่ามีมาช้านานหรือเป็นของดั้งเดิม แท้จริงแล้วถูกประดิษฐ์หรือเพิ่มเติมขึ้นตามช่วงเวลา สำหรับสงกรานต์ไทยอาจเป็นเพราะอยากอ้างว่านี่เป็นประเพณีดั้งเดิมเพื่อจะยืนยันอารยธรรมที่มีมายาวนานและสร้างอัตลักษณ์ของตน</p><p>โดยปกติแล้วประเพณีก็ถูกประดิษฐ์ทั้งนั้นรวมถึงวิสาขบูชาด้วย พระพุทธเจ้าไม่ได้สร้างหรือเคยอยู่ร่วมงานนี้ เพราะเป็นการจัดฉลอง/ระลึกถึงการเกิด การบรรลุธรรมและการตายของท่าน งานนี้เกิดในยุคหลังและพัฒนามาเรื่อยๆ จากการจัดกันเองในวัดเล็กๆ มาเป็นงานใหญ่ระดับชาติ เพื่อสร้างสำนึกความเป็นพุทธของชาวพุทธทั่วโลก เพื่อสื่อว่าศาสนาพุทธยิ่งใหญ่เป็นศาสนาโลกอันหนึ่ง แบบเดียวกับที่คริสต์มีงานคริสต์มาสเป็นต้น (เจษฎา บัวบาล, 2567, น. 70)</p><p>แต่สงกรานต์ประสบความสำเร็จในการตอบสนองคนทั้งทางโลกและทางศาสนา เช่นเดียวกับคริสต์มาสที่คนทั่วโลกร่วมฉลองได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดว่าตนออกนอกศาสนา ตามห้างก็มีการเเต่งชุดสีเเดง ติดที่คาดผมทรงเขากวาง หรือสวมชุดลุงซานต้า เช่นเดียวกับสงกรานต์ที่เต็มไปด้วยเสื้อลายดอก คือแม้จะเป็นคริสต์หรือมุสลิมก็ร่วมสนุกกับประเพณีนี้ได้ ใครสนใจกิจกรรมแบบทางโลกก็เล่นสาดน้ำ เดินทางท่องเที่ยว/เลี้ยงฉลองกัน ส่วนใครอยากเข้าหาศาสนา วัดก็เตรียมกิจกรรมแบบพุทธไว้ให้</p><p><strong>2. สงกรานต์ในพื้นที่ทางโลกและพื้นที่ศาสนา</strong>

จากที่เเต่เดิมเป็นแบบพราหมณ์และจัดในราชสำนัก สงกรานต์ในช่วง ร.3 ก็กลายเป็นแบบพุทธมากขึ้น เราอาจเรียกสิ่งนี้ว่า Buddha-ization สุจิตต์ วงษ์เทศ (2556) มองว่าการใช้พระทำพิธีกรรมอุทิศบุญให้บรรพบุรุษในช่วงนี้ยังสะท้อนถึงการต้องปะทะกับความเชื่อท้องถิ่นที่นับถือผีด้วย จากเดิมที่ทำพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ ศาสนาพุทธก็มีพิธีกรรมที่สมบูรณ์แบบให้ คือทำความสะอาดที่เก็บกระดูก นิมนต์พระไปสวดบังสุกุล ถวายอาหารพระและกรวดน้ำให้ผู้ตาย และมีพิธีสรงน้ำพระเป็นต้น &nbsp; &nbsp;</p><p>ช่วงที่ผมเป็นเณร ปี 2543 วันที่ 13 เมษายน ที่ป่าช้าควนลัง (สงขลา) มีการนิมนต์พระเณรจากวัดต่างๆ ไปทำพิธีบังสุกุลที่เก็บกระดูก (บัว) พระเเบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 รูป เดินสวดบทอนิจจา วะตะ สังขารา ฯ สั้นๆ จบเเล้วก็หยิบซองที่ใส่เงินนั้นแล้วเดินไปอีกบัวหนึ่ง ซึ่งวันนั้นเราจะได้ซองเยอะมาก ในราวครึ่ง ชม. ผมน่าจะได้เงินราว 3,000 บาท จำนวนเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าพระกลุ่มไหนสวดได้เร็วเเละเดินเร็วกว่ากัน ซึ่งปัจจุบันนี้ในภาคใต้ก็มักเอาวันที่ 13 นี้เป็นวันอุทิศบุญให้บรรพบุรุษอยู่</p><p>เพราะเมษายนเป็นช่วงเวลาปิดเทอม และกลัวว่าเด็กๆ จะเสเพลหรือไปฉลองสงกรานต์กันแบบโลกๆ พระไทยมีวิธีดึงคนเข้าสู่พื้นที่ศาสนาด้วย พระพยอม กัลยาโณ ได้จัดโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อนขึ้นครั้งแรกในปี 2521 (มูลนิิธิสวนเเก้ว, 2567) และมหาวิทยาลัยสงฆ์ มจร. ได้จัดตามในปี 2523 เป็นต้นมา มจร. พัฒนาโครงการนี้อย่างเป็นระบบ (พระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร, 2566, น. 221) พวกเขามีการส่งพระนิสิตไปปฏิบัติงานอยู่ก่อนแล้ว จึงใช้ช่วงโอกาสนั้นให้ช่วยอบรมเณรที่บวชภาคฤดูร้อนไปเลย และช่วงหลังยังมีหนังสือคู่มือ สื่อวีดีโอ เพลงธรรมะประกอบการบรรยายและใช้กันทั่วประเทศด้วย</p><p>ความเป็นพุทธที่เข้มขึ้นก็พบได้ในกลุ่มชาวพุทธเช่น สวนโมกข์ ที่พุทธทาสเองเทศน์โจมตีการฉลองสงกรานต์แบบโลกๆ ว่า “การที่จะไปเล่นสาดน้ำกัน .. มันเป็นสงกรานต์ของคนโง่ .. เป็นสงกรานต์ของเด็กอมมือหรือเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้อะไร” สงกรานต์แบบพุทธที่พุทธทาสเสนอคือ ตระหนักถึงวันเวลาที่ล่วงไปทุกขณะ (ตามศัพท์ของสงกรานต์คือ เคลื่อน/ย้าย) ใช้ชีวิตไม่ประมาท “มีความเศร้าสลดใจในความผิดพลาดที่แล้วมาแต่หนหลัง แล้วก็มีความตั้งใจที่จะทำเสียใหม่ให้ถูกต้องต่อไปข้างหน้า” (ฐานเศรษฐกิจ, 2566)</p><p>อาจเพราะต้องโปรโมทการท่องเที่ยวเเละทำให้สงกรานต์เป็นประเพณีไทยที่คนทุกศาสนาเข้าร่วมได้ สงกรานต์จึงมีมิติทางโลกที่คนสาดน้ำกันตามท้องถนน เปิดโอกาสให้ปะแป้งสัมผัสตัวกัน หรืออาจมีบางพื้นที่ที่ทั้งทางโลกและศาสนาใช้ร่วมกันเลย คือมีการวางพระพุทธรูปไว้ให้รดน้ำในบริเวณที่เล่นสงกรานต์ตามท้องถนนด้วย ความสำเร็จหนึ่งของการที่รัฐไม่ยอมให้ศาสนาเข้าไปยึดครองพื้นที่คือ ไม่ประกาศห้ามขายเหล้าโดยอิงกับศีล 5 แบบที่อ้างได้ในช่วงวิสาขะหรือเข้าพรรษาซึ่งเชื่อมโยงกับศาสนาได้โดยตรง (แม้จะเป็นประเพณีประดิษฐ์เหมือนกันก็ตาม)</p><p>สงกรานต์จึงถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทั้งสองแบบ ที่ยิ่งกว่านั้นคือ แม้องค์กรศาสนาจะไม่เห็นด้วย ก็ทำได้เเค่รณรงค์ให้มาฉลองแบบตัวเอง เช่น การก่อเจดีย์ทราย รดน้ำพระ อุทิศบุญให้ผู้ตาย ถวายอาหารให้พระ หรืออิสลามเองก็จัดอบรมจริยธรรมภาคฤดูร้อนตามแบบพุทธไปด้วย (มัสยิดฮิดายาตุดดีนียะฮ์, 2553)</p><p>สงกรานต์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนว่า ศาสนาพุทธปรับตัวได้ดีมาตลอด คือประดิษฐ์กิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อดึงคนเข้าวัด หลายที่จัดงานวัด อุทิศบุญให้อดีตเจ้าอาวาสในช่วงสงกรานต์ไปเลย ที่เกาะยอ (สงขลา) มีการจัดแห่เรือพระทางน้ำ ซึ่งชาวพุทธมักจะเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองพื้นที่ คือเมื่อออกจากวัดก็ไปฉลองแบบทางโลกต่อ แต่ทั้งนี้ โลกโซเชี่ยลที่เอื้อให้อำนาจรัฐส่วนกลางเข้าควบคุม/รู้เห็นได้ง่ายขึ้นก็ทำลายกิจกรรมบางอย่างไปด้วย ดังกรณีของการเปิดโอกาสให้พระเณรเล่นสงกรานต์กับฆราวาส/ผู้หญิง แบบที่พบในต่างจังหวัดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว</p><p><strong>อย่างไรก็ตาม สงกรานต์ยังเป็นประเพณีที่ไม่มีใครเข้าไปผูกขาดได้ว่าต้องจัดแบบนี้เท่านั้น แต่มีตัวอย่างกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ในปี 2558 กลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดพิธี “รดน้ำดำหัวคนเฒ่า เยาวชนก็เช่นกัน” เพื่อขอขมาเด็กรุ่นใหม่ ที่ไม่อาจทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ (MGR ONLINE, 2558) เป็นต้นด้วย สงกรานต์จึงเป็นตัวอย่าง Pop Culture ของไทย ที่เปิดโอกาสให้คนหยิบใช้และเเย่งชิงพื้นที่กิจกรรมกันอย่างหลากหลาย &nbsp; &nbsp;</strong></p><p>&nbsp;</p><p><strong>อ้างอิง</strong></p><p>เจษฎา บัวบาล. (2567). พุทธแบบไทยในอินโดนีเซีย. เข้าถึงจาก https://dukuntee.blogspot.com/2024/03/blog-post.html.</p><p>ฐานเศรษฐกิจ. (2566). "สงกรานต์" ในความหมาย พุทธทาสภิกขุ. เข้าถึงจาก https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/561935.</p><p>พระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร. (2566). การสร้างศาสนทายาทผ่านการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 6 (6), 213-226. เข้าถึงจาก https://t.ly/Xwkbq.</p><p>มัสยิดฮิดายาตุดดีนียะฮ์. (2553). โครงการอบรมจริยธรรม ภาคฤดูร้อน. เข้าถึงจาก https://t.ly/USVBZ.</p><p>มูลนิธิเล็ก-ประไพ. (2559). พระราชพิธีสิบสองเดือนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. เข้าถึงจาก&nbsp;
https://t.ly/Bf-Q_.</p><p>มูลนิธิสวนเเก้ว. (2567). โครงการที่ 1 : บวชเณรภาคฤดูร้อน ปี 2521. เข้าถึงจาก https://www.kanlayano.org/home/projects/projects_01.php.</p><p>วจนา วรรลยางกูร. (2559). สงกรานต์ไม่ใช่ปีใหม่ไทย สาดน้ำไม่ได้มาจากอินเดีย. เข้าถึงจาก
https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_104808.</p><p>สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). สงกรานต์ เป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์. เข้าถึงจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_106140.</p><p>MGR ONLINE (2558). กลุ่มพลเมืองโต้กลับรดน้ำดำหัวขอโทษเด็กกลางวัดอุโมงค์ สะพัด “ยิ่งลักษณ์” ขึ้นเชียงใหม่. เข้าถึงจาก https://t.ly/fasGM.</p><p>&nbsp;</p><p><strong>ที่มาภาพ: </strong>https://pixabay.com/th/
&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" hreflang="th">บทควาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C" hreflang="th">สงกรานตhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5" hreflang="th">เจษฎา บัวบาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C" hreflang="th">ประเพณีประดิษฐhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/04/108816
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 01:10:20