[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤษภาคม 2567 14:37:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน : “อาชีพอิสระ” V.S. “แรงงาน” การต่อสู้ทางความคิดในโซเชียลมี  (อ่าน 43 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 เมษายน 2567 00:05:31 »

เมื่อโรงงานคือท้องถนน : “อาชีพอิสระ” V.S. “แรงงาน” การต่อสู้ทางความคิดในโซเชียลมีเดีย
 


<span>เมื่อโรงงานคือท้องถนน : “อาชีพอิสระ” V.S. “แรงงาน” การต่อสู้ทางความคิดในโซเชียลมีเดีย</span>
<span><span>sarayut</span></span>
<span><time datetime="2024-04-13T23:12:15+07:00" title="Saturday, April 13, 2024 - 23:12">Sat, 2024-04-13 - 23:12</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>พฤกษ์ เถาถวิล&nbsp;</p><p>&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">การถกเถียงว่าไรเดอร์เป็น “อาชีพอิสระ” หรือ&nbsp;“แรงงาน” ในโซเชียลมีเดีย ผ่านเพจกลุ่มของไรเดอร์ เข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ ความร้อนแรงดูจะถึงจุดสูงสุด ในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เมื่อร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกล ที่จะแก้ไขนิยามลูกจ้างให้ครอบคลุมคนทำงานทุกประเภท รวมทั้งไรเดอร์ เข้าสู่สภาฯ ในชั้นรับหลักการ<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ในช่วงวันของวันที่ 6 มีนาคม 2567 เพจใหญ่ที่มีจุดยืนว่าไรเดอร์คืออาชีพอิสระ โพสต์ 3 สเตตัส แสดงความกังวลต่อกฎหมายของก้าวไกล ในช่วงค่ำ ภายหลังสภาฯลงมติ ปรากฏสเตตัส&nbsp;“โชคดีของไรเดอร์....คว่ำแล้ว ร่างก้าวไกล ให้เข้าระบบกึ่งแรงงาน...” มีผู้เข้ามากดแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นสนับสนุนจำนวนมาก ส่วนเพจมีจุดยืนไรเดอร์คือแรงงาน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดไม่แพ้กัน 7 มีนาคม 2567 มีควันหลงหลังเหตุการณ์ เมื่อลูกเพจของฝ่ายหนึ่งพาดพิงเพจอีกฝ่ายหนึ่ง แอดมินเพจที่ถูกพาดพิงจึงออกมาโต้ตอบ แอดมินเพจอีกฝ่ายจึงโต้ตอบ เกิดเป็นการบริภาษกันข้ามเพจ<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประเด็นอาชีพอิสระ หรือแรงงาน คือใจกลางความคิดที่แตกต่างกันในหมู่ไรเดอร์ ที่พร้อมปะทุเป็นความขัดแย้ง คาดได้ว่าประเด็นนี้ยังไม่จบ และจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อสถานะของไรเดอร์ในอนาคต&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;"><strong>ความคิดว่าไรเดอร์เป็นอาชีพอิสระมีที่มาอย่างไร ? </strong>บทความวิจัยชิ้นหนึ่ง<a href="#_edn1" name="_ednref1" title>[1][/url] ชี้ว่า เกิดจากความต้องการของบริษัทที่จะควบคุมความคิดของไรเดอร์ สังเกตได้จากโฆษณาของบริษัท จากถ้อยคำประเภท&nbsp; “มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเราเพื่อสร้างชีวิตที่ดีขึ้น” “มาเป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจที่ได้ให้ความสุขกับผู้บริโภคนับล้าน”&nbsp;“งานที่เป็นเจ้านายตัวเอง” “ฟู้ดฮีโร่ผู้ทุ่มเทเพื่อทุกมื้ออร่อย” การนำเสนอคลิปโฆษณาไรเดอร์พายเรือส่งอาหาร ไรเดอร์ใส่บาตรพระแทนคนชรา การจัดชั้นไรเดอร์ตามผลงานและเรียกชั้นสูงสุดว่าชั้น&nbsp;“ฮีโร่” เมื่อถอดความหมายแฝงในโฆษณา ก็คือการสร้างคุณค่าของคนทำงานที่เป็น ผู้ประกอบการอิสระ ที่ไม่ย่อท้อ เชื่อมั่นภาคภูมิใจในตนเอง มีจิตบริการ บทความเรียกว่า <strong>การสร้างอัตลักษณ์ไรเดอร์ในฐานะ&nbsp;“ฮีโร่”</strong><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;"><strong><o:p></o:p></strong></span></p><p class="text-align-center" style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<img src="https://live.staticflickr.com/65535/53651355578_74a1c07c3f_w_d.jpg" width="309" height="400" loading="lazy">&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ภาพ 1&nbsp;&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53650268272_d5259abde3_w_d.jpg" width="310" height="400" loading="lazy"><p class="text-align-center" style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ภาพ 2<span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;" lang="TH">&nbsp;<o:p></o:p></span></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">(ภาพประกอบในบทความวิจัยข้างต้น (Mieruch &amp; McFarlane, 2023: 1237) ภาพ 1 เป็นเสื้อที่บริษัทจัดทำขึ้น มีภาพประกอบเป็น Superheroes ของ Marvel ส่วนภาพ 2 เป็นภาพ Riders as superheroes โดยศิลปินชาวฟิลิปปินส์ในนาม Kensuke Creations<a href="#_edn2" name="_ednref2" title>[2][/url]เป็นการแสดงความชื่นชมต่อไรเดอร์ในช่วงโควิด-19 ไรเดอร์นำภาพนี้ไปแชร์ต่อจำนวนมาก ภาพขวามือไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในประเทศไทยโดยตรง แต่คาดว่านำมาแสดงไว้เพื่อสื่อถึงการสร้างอัตลักษณ์ฮีโร่ให้ชัดเจนขึ้น) &nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">การโฆษณาของบริษัทมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของไรเดอร์ เมื่อสังเกตความคิดเห็นของไรเดอร์ในเพจต่างๆ พบว่า แม้ไม่ได้โอบรับอัตลักษณ์ฮีโร่เต็มตัว แต่ไรเดอร์จำนวนมากเชิดชูคุณค่าของผู้ประกอบการอิสระ (อาชีพอิสระ) ดังเห็นจากโพสต์ต่างๆ เช่น ความภาคภูมิใจในการเอาชนะอุปสรรค; การเลี้ยงดูครอบครัวด้วยความสามารถของตัวเอง; ความรู้สึกขอบคุณบริษัทที่ให้โอกาส; ความอบอุ่นใจจากเพื่อนร่วมอาชีพ หรือในบางโอกาสเมื่อมีผู้โพสต์ประสบการณ์ไม่ดีจากบริษัทหรือลูกค้า มีไรเดอร์จำนวนหนึ่งเข้ามาแสดงความเห็นเชิงตำหนิว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง&nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">อย่างไรก็ตาม ไรเดอร์ไม่ได้ยอมรับอัตลักษณ์ที่บริษัทหยิบยื่นให้เสียทั้งหมด ในบางเพจมีการสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นอีกขั้วหนึ่งคือ อัตลักษณ์แรงงาน ดังนั้นแทนที่จะภูมิใจในอาชีพและชื่นชมบริษัท ความเห็นส่วนใหญ่ในเพจคือ การร้องทุกข์ การไม่ได้รับความเป็นธรรม และเรียกร้องสิทธิแรงงานที่พึงได้รับ<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ตามแนวทางข้างต้น ผู้เขียนบทความนี้ได้สำรวจการแสดงความเห็นในเพจไรเดอร์ ในช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งเกิดการปะทะทางความคิด ทำให้เห็นว่า การแสดงความเห็นแม้หลากหลาย ใช้ถ้อยคำแตกต่างกัน แต่ลึกลงไปเป็นการต่อสู้ทางความคิดระหว่างอาชีพอิสระ กับแรงงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้&nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">อาชีพอิสระ: “ที่เรามาทำงานนี้เพราะมันอิสระ และมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น ใครไม่พอใจก็ไปทำงานประจำเถอะ...” “เอาจริงถ้าแบบงานประจำจะออกมาวิ่งทำไม ส่วนตัวผมนะชอบงานอิสระ...ไปไหนก็ไม่ต้องลา ญาติป่วยแม่พ่อป่วยไปหาได้เลย ไม่ต้องไปทำหน้าเศร้าขอลาหยุด” “เค้าไม่ได้บังคับให้เราไปขับ มันเป็นธุรกิจของเค้า ไม่พอใจก็อย่าไปให้เค้าเอาเปรียบ...เค้ามีกฎระเบียบแบบไหนมันเรื่องของเค้า ทางที่ถูกคือไรเดอร์ที่ไม่พอใจควรรวมตัวกันสร้างแพลตฟอร์มของตัวเอง... อย่าไปเรียกร้องอะไรเค้าเพราะมันเป็นเกมของเค้า” “ตอนสมัครเข้าไป เขากระชากมาเซ็นใบสมัครเหรอ !!!”<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">แรงงาน: “บางคน ไม่ต้องการมีกฎหมายมากำกับดูแล เพราะหากินกับช่องว่างทางกฎหมาย เมื่อมีคนมาเตะชามข้าว ย่อมเดือดร้อนเป็นธรรมดา...” “แปลกเรื่องแบบนี้มันควรมีบรรทัดฐานไว้ กลับไม่มี...ปล่อยให้นายทุนกำหนดราคา แล้วอ้างบอกเป็นแข่งขันทางธุรกิจ” “ฟรีเเลนซ์ห่าอะไร กฎระเบียบมากกว่างานประจำอีก” “เขาไม่หนีปัญหาไงครับ เขาเลือกที่จะทำเพื่อส่วนรวม สู้เพื่อความถูกต้อง คำที่ว่าเลิกวิ่ง ทำอย่างอื่น นั่นนี่โน่น คำพูดพวกขี้แพ้ครับ อะไรๆก็หนีๆๆๆ”&nbsp;<span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;"><strong>ทำไมไรเดอร์จำนวนหนึ่งจึงโอบรับความคิดอาชีพอิสระ ?</strong>&nbsp;ไม่ได้เป็นเพราะว่าไรเดอร์ไม่มีความคิดของตัวเอง แต่มีเหตุปัจจัยหลายประการ นับจากงานไรเดอร์สามารถเลือกเวลาทำงานได้จริง (แม้ว่าความสม่ำเสมอ และชั่วโมงทำงาน จะมีผลกระทบต่อการได้รับงาน) ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นในการหาเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัว และบางคนทำไรเดอร์เป็นงงจัง อีกทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงานไทย ไม่ได้คุ้มครองแรงงานอย่างเข้มแข็ง จึงไม่เห็นประโยชน์ที่จะอยู่ภายใต้กฎหมาย และหลายคนมีประสบการณ์ไม่ดีกับการเป็นลูกจ้าง &nbsp;ภายใต้วัฒนธรรมอำนาจนิยมแบบไทยๆ ดังนั้นการไม่เป็นลูกจ้าง/แรงงาน แต่มีอาชีพอิสระ จึงเป็นที่ปรารถนาของแรงงานไทย&nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">และบริษัทก็เลือกที่จะเล่น กับความต้องการเป็นอิสระของแรงงาน จึงเป็นที่มาของการหยิบยื่นอัตลักษณฮีโร่ หรืออาชีพอิสระ ความสำเร็จของการชวนเชื่อของบริษัท คือทำให้ไรเดอร์จำนวนหนึ่ง ยอมรับสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ สนใจแก้ปัญหาการทำงานในชีวิตประจำวัน เกรงว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานจะทำให้เสียความอิสระ เป็นปากเสียงปกป้องบริษัท เป็นปฏิกิริยากับไรเดอร์ที่ไม่คล้อยตามความคิดของตัวเอง อัตลักษณ์อาชีพอิสระ จึงเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท อำพรางความสัมพันธ์ที่ขูดรีดและไม่เท่าเทียมกันระหว่างบริษัทกับไรเดอร์<span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;"><strong>แนวโน้ม ?&nbsp;</strong>การเผชิญหน้าระหว่างความคิดสองแบบจะแหลมคมขึ้น เมื่อสภาพการทำงานและรายได้ของไรเดอร์เลวร้ายลง การเรียกร้องการคุ้มครองไรเดอร์จะเข้มข้นขึ้น ประเด็นเฉพาะหน้าที่ส่วนใหญ่เห็นพ้องคือการกำหนดค่ารอบขั้นต่ำ แต่บริษัทซึ่งมีอำนาจต่อรองเหนือกว่า จะใช้วิธีนิ่งเฉย และโต้ตอบเชิงจิตวิทยา ด้วยการขู่เรื่องการถอนตัวจากตลาด หรือทำให้ไรเดอร์เข้าสู่งานประจำ กลุ่มไรเดอร์คืออาชีพอิสระจะกลายเป็นแนวร่วมกับบริษัท เน้นการช่วยเหลือกันในปัญหาเฉพาะหน้าของการทำงาน (ปัญหาจากแอป ลูกค้า ร้านอาหาร อุบัติเหตุ เสียชีวิต) ช่วยกระพือเรื่องการถอนตัวของบริษัท เตือนเรื่องการ&nbsp;“เข้าระบบ” ที่จะสูญเสียความอิสระ ทำให้ทุกคนได้รับผลกระทบ&nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">โซเชียลมีเดีย จะเป็นพื้นที่ต่อสู้ทางความคิดที่สำคัญมากขึ้น การเป็นพื้นที่เปิดให้สาธารณะชนสามารถแสดงความคิดเห็น สนทนา โต้ตอบ จะมีหลายฝ่ายเข้ามาใช้เป็นพื้นที่ขับเคลื่อนความคิด<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ตัวแปรสำคัญคือ การผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ ของกระทรวงแรงงานฯ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาวาระ 3 ในสภาฯ กลางปีหรือภายในปีนี้ กระทรวงหมายมั่นจะให้เป็น เครื่องมือตอบโจทย์การจ้างงานยุคใหม่ แต่กฎหมายนี้มีประเด็นน่ากังวล คือกำหนดให้งานแพลตฟอร์ม รวมทั้งไรเดอร์ เป็นอาชีพ&nbsp;“กึ่งอิสระ” ซึ่งขัดกับความเป็นจริง<a href="#_edn3" name="_ednref3" title>[3][/url] และสวนทางกับความเห็นที่ว่าไรเดอร์คือแรงงาน<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">กระทรวงมักใช้โอกาสต่างๆในการสร้างความชอบธรรมให้กับร่างกฎหมาย เช่น เมื่อมีการร้องเรียนของไรเดอร์ กระทรวงจะให้คำตอบเป็นนัยว่า กระทรวงกำลังผลักดันกฎหมายที่จะเข้ามากำกับดูแลเรื่องนี้<a href="#_edn4" name="_ednref4" title>[4][/url] การจัดการประชุมหรือไปร่วมการประชุม เพื่อใช้โอกาสประชาสัมพันธ์ร่างกฎหมายของกระทรวง<a href="#_edn5" name="_ednref5" title>[5][/url] การผลักดันกฎหมายของกระทรวง จะใช้โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่สำคัญด้วย<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ประเด็นไรเดอร์คืออาชีพอิสระหรือแรงงาน เป็นใจกลางการต่อสู้ทางความคิดการคุ้มครองสิทธิแรงงาน โซเชียลมีเดียเป็นสมรภูมิสำคัญของการแสดงออก ที่ประสานไปกับปฏิบัติการจริงในสังคม&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<o:p></o:p></p><p style="line-height:normal;text-align:justify;text-justify:inter-cluster;"><strong>ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา วิธีการที่ผู้มีอำนาจใช้ได้ผลเสมอมาคือ การแบ่งแยก แล้วปกครอง ปลุกปั่นแรงงานเป็นฝักฝ่าย เสนอผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆ หาจังหวะผลักดันกฎระเบียบที่ได้ประโยชน์ ไรเดอร์ออกจากวงจรนี้ได้ ด้วยการไม่เผชิญหน้ากันเอง หันมาทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง ร่วมมือต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน&nbsp;</strong><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;"><strong><o:p></o:p></strong></span></p><p>
&nbsp;</p><div><p>&nbsp;</p><div id="edn1"><p><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><strong>อ้างอิง<o:p></o:p></strong></span></p><p>[1] Mieruch, Y., McFarlane, D. (2023). Gig Economy Riders on Social Media in Thailand: Contested Identities and Emergent Civil Society Organisations. Voluntas. 34, 1232–1242.&nbsp;https://doi.org/10.1007/s11266-022-00547-7&nbsp;<o:p></o:p></p></div><div id="edn2"><p><a href="#_ednref2" name="_edn2" title>[2][/url] THESMARTLOCAL, 10 March 2021, Artist Creates Delivery Superhero Characters, A Graphic Novel-Style Tribute To Our Hardworking Riders.&nbsp;https://thesmartlocal.ph/delivery-superhero-kensuke.../<o:p></o:p></p></div><div id="edn3"><p><a href="#_ednref3" name="_edn3" title>[3][/url] มีผู้วิจารณ์ร่าง พ.ร.บ. นี้ ในงานหลายชิ้น เช่น สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรม. 6 เมษายน 2564. ร่าง พ.ร.บ. แรงงานนอกระบบฉบับใหม่ เมื่อกฎหมายอาจอนุญาตให้บริษัทแพลตฟอร์มไม่ต้องรับผิดชอบคนงาน. https://www.facebook.com/JustEconLaborInstitute/photos/a.138359519556184/4010934635631967/?type=3&nbsp;; กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์. 30 เมษายน 2565.&nbsp;WAY Magazine. ข้อสังเกตต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานอิสระ (ที่ไม่อิสระ) และหลงลืมแรงงานนอกระบบ.&nbsp;https://waymagazine.org/critique-of-new-independent-worker-law-2/&nbsp;; โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสร้างอำนาจต่อรองเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบกลุ่มแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารและกลุ่มแรงงานส่งสินค้าในกิจการขนส่ง. 18 กุมภาพันธ์ 2566. (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานอิสระ กับผลกระทบต่อแรงงงานแพลตฟอร์ม.&nbsp;https://www.tcijthai.com/news/2023/2/article/12811 &nbsp;และดู วิทย์ บุณ. 10 กุมภาพันธ์ 2566.&nbsp;Thairath Plus. การเมืองเรื่องการผลักดัน&nbsp;‘กฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ’ ฉบับใหม่.&nbsp;https://plus.thairath.co.th/topic/politics&amp;society/102766&nbsp;<o:p></o:p></p></div><div id="edn4"><p><a href="#_ednref4" name="_edn4" title>[4][/url]&nbsp;NBT Digital0, 30 สิงหาคม 2566. ไรเดอร์รวมตัวยื่นหนังสือกระทรวงแรงงานขอสวัสดิการที่ดีขึ้น&nbsp; https://nbt2hd.prd.go.th/th/content/category/detail/id/2153/iid/210527<o:p></o:p></p></div><div id="edn5"><p><a href="#_ednref5" name="_edn5" title>[5][/url] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 22 กุมภาพันธ์ 2567. ร่างกม.คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คาดออกเร็วสุดมิถุนายน 2568. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/a43ee8dc-15d1-ee11-8101-00155d1aab77&nbsp;<span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p></div></div></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" hreflang="th">บทควาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">โซเชียลมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">โซเชียล มีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5" hreflang="th">พฤกษ์ เถาถวิhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/04/108817
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: ออฟฟิศซินโดรมกลางแจ้ง วิกฤตสุขภาพของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 61 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2566 23:05:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รมว.แรงงาน อัปเดตแรงไทยถูกจับในอิสราเอล 6 คน บาดเจ็บ 7 คน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 128 กระทู้ล่าสุด 08 ตุลาคม 2566 12:00:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: สหภาพขยายบทบาทสู่แรงงานแพลตฟอร์ม การปรับตัวขององค์กรแ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2567 22:26:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: อำนาจต่อรองของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 41 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2567 03:30:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: เป็นแรงงาน = สูญเสียความอิสระจริงหรือ ?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 27 กระทู้ล่าสุด 18 มีนาคม 2567 23:50:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.19 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 14 พฤษภาคม 2567 05:55:42