[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 21:15:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมคนญี่ปุ่นชอบเมืองไทย? ( เป็นมุมมองน่าสนใจ )  (อ่าน 1322 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2559 23:51:10 »



ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
Tokyo University of Foreign Studies
       
       เรื่องคนไทยชอบไปญี่ปุ่นนั้นเป็นที่รู้กัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปญี่ปุ่นปีละไม่ต่ำกว่า 5 แสนคนใ นช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดี และคนที่ไม่ใช่แค่ชอบไป แต่ชอบอะไรต่ออะไรที่เป็นญี่ปุ่นแทบทุกอย่าง รวมทั้งระเบียบวินัย หรือ “ความเป๊ะ” ก็มีไม่น้อย ในทางกลับกัน ถ้าถามว่าคนญี่ปุ่นชอบเมืองไทยหรือไม่ ก็จะได้คำตอบที่น่ายินดีเช่นกันว่า “ใช่ คนญี่ปุ่นก็ชอบเมืองไทย” ผมต่อให้ด้วยว่า “คนญี่ปุ่นชอบคนไทย” และคำถามที่ใหญ่กว่านั้นคือ “ทำไม”
       
       เนื่องด้วยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา กระทั่งเข้าสู่เดือนสิงหาคม คนไทยอาจได้พบเห็นคนญี่ปุ่นมากขึ้นตามที่ต่าง ๆ ในเมืองไทย “ญี่ปุ่นมุมลึก” จึงขอแบ่งปันข้อสังเกต โดยมองจากผลไปหาเหตุ
       
       ก่อนอื่น อยากให้ลองสังเกตดู ในหลายสถานที่เด่นดังอย่างห้างแถวสยาม สวนจตุจักร วัดพระแก้ว อยุธยา อาจจะรู้สึกได้ว่าพบเห็นชาวญี่ปุ่นถี่กว่าปกติ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเดือนสิงหาคม คือ หน้าร้อนของญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มร้อนจริงจังในเดือนกรกฎาคมไปจนเกือบสิ้นเดือนกันยายน เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน และพนักงานบริษัทลาพักร้อน มีจำนวนมากที่เลือกไปพักผ่อนในต่างประเทศ หนึ่งในประเทศยอดนิยม คือ ไทย และหลายคนมาซ้ำ เพราะชอบเมืองไทย
       
       นักศึกษาชาวญี่ปุ่นเอกไทยบางคนของผมก็ชอบเมืองไทยมาก ขอแค่มีวันหยุดติดกันสักอาทิตย์เท่านั้นแหละ จะรีบหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกเพื่อบินมาเมืองไทยแทบทุกครั้งไป บางคนมาถี่กว่าอาจารย์คนไทยอย่างผมเสียอีก หรือพนักงานบริษัทที่ไม่เคยรู้จักเมืองไทยมาก่อน พอมีคำสั่งให้ย้ายมาประจำที่เมืองไทยก็ทำท่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่เมื่อได้มาอยู่จริงก็ชอบเมืองไทย บางคนพาครอบครัวมาด้วย ความชอบนั้นจึงแพร่ไปสู่ภรรยาและลูก ลูก ๆ ของเขาเหล่านั้นหลายคนกลายเป็นลูกศิษย์เอกไทยในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ เพราะชอบเมืองไทยแบบยกครอบครัวเลยทีเดียว
       
       เมื่อพิจารณาสถิติของจำนวนคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย จะพบว่าเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลของสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ ตอนนี้มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในเมืองไทย (และแจ้งสถานทูตอย่างเป็นทางการ) เกือบ 7 หมื่นคน เมื่อปีที่แล้ว
       
       
        ปี - จำนวน (คน)
       2554 - 49,983
       2555 - 55,634
       2556 - 59,270
       2557 - 64,285
       2558 - 67,424

       
       คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยบอกว่าเมืองไทย “ซุมิยะซุอิ” (住みやすい;sumiyasui) แปลว่า “อยู่อาศัยง่าย” ซึ่งก็ตีความได้ว่าไม่รังเกียจที่จะอยู่ (ถ้าถามคนไทย อาจจะได้คำตอบคนละอย่าง คำว่า “ง่าย” ในที่นี้คงจะหมายถึงความสะดวกสบายด้านสาธารณูปโภคและบรรยากาศที่รีบร้อนน้อยกว่าของญี่ปุ่น เพราะถ้า “อยู่” ในบ้านอย่างเดียว โดยไม่ออกไปข้างนอกเท่าไร กรุงเทพฯ ก็คงอยู่ง่าย แต่ถ้าออกจากบ้านเมื่อไร ความอยู่ง่ายจะหายไปทันที) ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือที่ชลบุรี
       
       เห็นตัวเลขไม่ถึงแสนอาจมองว่าแค่นี้เองหรือ? เปล่าเลย...นั่นคือ จำนวนผู้อยู่อาศัยระยะกลาง หรือระยะยาวที่แจ้งตัวตนให้สถานทูตได้รับรู้ ส่วนผู้ที่เข้าออกเมืองไทยระยะสั้น เช่น มาเที่ยว มาทำธุรกิจ มาประชุม รวมแล้วมีปีละล้านเศษดังนี้
       
       
จำนวนคนญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทยในช่วงปี 2554-2557
       ปี - จำนวน (คน)

       2554 - 1,103,073
       2555 - 1,341,063
       2556 - 1,515,718
       2557 - 1,256,307
       (http://www.jnto.go.jp/jpn/statistics/avrsih000004glc1-att/20160216_2.pdf)

       
          ถ้าไม่ชอบก็คงไม่มากันขนาดนี้ หากจะคิดว่าเพราะมีบริษัทญี่ปุ่นอยู่ในเมืองไทยเยอะ จึงจำเป็นต้องมา? ก็ไม่น่าจะใช่อีก เพราะคนที่มาทำงานประจำระยะยาวน่าจะตกอยู่ในข่ายผู้อาศัยซึ่งมีจำนวนไม่ถึงแสนข้างต้น ดังนั้น ย่อมอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีกเกือบล้านคงจะเป็นนักท่องเที่ยว และเพราะเหตุใดถึงชอบมาเมืองไทยกันเล่า



ถ้าตอบตามกรอบจะได้ประมาณว่า เมืองไทยสวย อาหารอร่อย ค่าครองชีพถูก บลา ๆ ๆ พอถามคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ก็จะได้คำตอบทำนองนั้นเช่นกัน ซึ่งสภาพความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่ผมคิดว่ามีเหตุผลที่ลึกกว่าและน่าหยิบยกมาคิดมากกว่าเหตุผลเดิม ๆ คือ “ความใกล้ชิดทางความรู้สึก” และ “ความขาด” ของคนญี่ปุ่น พอเป็นเรื่องนามธรรม บางครั้งก็หาเหตุผลได้ยาก แต่ผมจะลองพยายามดู
       
       จากการสังเกตพบว่า คนญี่ปุ่นกับคนไทยมีลักษณะที่เข้ากันได้ง่าย “โดยธรรมชาติ” เมื่อเทียบกับบางชาติ คือ มีลักษณะติดตัวที่ผมเองก็อธิบายไม่ได้แน่ชัดว่าคืออะไร อาจจะเรียกว่า “บรรยากาศ” หรือ “อัธยาศัย” หรือ “ออร่า” ก็คงไม่ผิดนัก เอาเป็นว่า เรียกว่า “ความใกล้ชิดทางความรู้สึก” ก็แล้วกัน และผมก็เชื่อว่าไม่ได้คิดไปเอง จริงอยู่แม้จะเป็นเรื่องของความรู้สึกที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่จากแนวโน้มที่ได้ยินมาและได้ประสบเอง ทำให้เชื่อเช่นนั้น
       
       สำหรับจุดนี้จะขอยกตัวอย่างประสบการณ์จากเรือเยาวชนเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ผมเป็นอดีตผู้เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนรุ่นที่ 34 เมื่อปี 2550 จากการใช้ชีวิตบนเรือในโครงการนี้ ร่วมกับเยาวชนของอาเซียนและญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน เป็นเวลาราว 2 เดือน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนจากไทยสนิทกับตัวแทนจากญี่ปุ่น ลาว และกัมพูชา มากที่สุด โดยเฉพาะกับญี่ปุ่นนี่เรียกได้ว่าติดต่อสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นหลังโครงการจนกระทั่งบัดนี้ ขณะที่ตัวแทนจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ก็จะสนิทกัน
       
       ลักษณะเช่นนี้ รุ่นพี่ ๆ เล่าว่า เกิดขึ้นทุกปี โดยไม่มีใครจัดสรร แต่มันเกิดขึ้นเองแบบไม่ตั้งใจ แน่นอนว่าภาษาคงมีอิทธิพลอย่างสูง ทว่า หากมองญี่ปุ่นกับไทย แม้ภาษาต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่แนวโน้มความใกล้ชิดก็ยังเป็นเช่นนั้นอย่างต่อเนื่อง ผมคิดเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ออกว่าทำไม แต่เดาว่าเป็นเพราะอะไรบางอย่างในความเป็นไทยกับความเป็นญี่ปุ่นนั่นเองที่ทำให้เข้ากันได้ง่าย คือนอกจากรอยยิ้มแล้ว สิ่งที่คนไทยใช้ทะลวงกำแพงความรู้สึกของคนญี่ปุ่นได้ดี ก็คือ “ความเปิดเผย” อาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม คนไทยจะทักและชวนคุย คนไทยคุยเก่ง ถามแทบจะทุกเรื่องของคู่สนทนา และบอกเรื่องตัวเองโดยที่บางทีคู่สนทนาก็ไม่ได้ถาม (ซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติที่แย่เสมอไป) ซึ่งเติมเต็มสิ่งที่คนญี่ปุ่นรอคอยอยู่ คนญี่ปุ่นเป็นประเภทรอตอบ ไม่ใช่รอถาม พอมีคนชวนคุย...หมายความว่าคนถามสนใจคนถูกถาม ก็พอดีกัน นั่นคือความเปิดเผยต่อกันและกัน หรือพูดเสียใหม่ก็คือ ความจริงใจ ที่นำไปสู่ความรู้สึกใกล้ชิด



   มาถึงตรงนี้ พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ว่า คนญี่ปุ่นนอกจากชอบเมืองไทยว่าด้วยแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ก็ยังชอบเพราะเมืองไทยมีคนไทยด้วย ในความเป็นคนไทยนั้น มีลักษณะที่คนญี่ปุ่นอยู่ด้วยแล้วอุ่นใจ ซึ่งสิ่งนั้นคนญี่ปุ่นขาด ว่าแต่ว่าสิ่งนั้นคืออะไร?
       
       คนญี่ปุ่นขาด “ความหย่อน” คนญี่ปุ่นตึงแทบจะตลอดเวลา ผมเคยเถียงกับเพื่อนญี่ปุ่นว่า “จะลวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (บังเอิญภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำว่า “มาม่า”) ทำไมจะต้องทำถึงขนาดจับเวลาให้มันได้ 3 นาทีเป๊ะ? ก็แค่เทน้ำร้อนใส่ พอผ่านไปสักพักแล้วเอาตะเกียบแตะ ๆ ดูให้รู้ว่านิ่ม แล้วก็กิน” ไม่ได้หรอก...คนญี่ปุ่นจะต้องให้เป๊ะแม้แต่ตอนลวกมาม่า เวลาของรถไฟก็เป๊ะ แต่งตัวก็เป๊ะ แต่งหน้าก็เป๊ะ กันคิ้วก็เป๊ะ พนักงานบริษัททุกระดับชั้นไม่ว่าจะใหญ่เล็กแค่ไหนก็ต้องใส่สูทเป๊ะ อยู่บนรถไฟก็ต้องเงียบเป๊ะ ทิ้งขยะก็ต้องแยกประเภทเป๊ะ ตอนสั่งก๋วยเตี๋ยว ลูกค้าจะขอเส้นครึ่งเดียวก็ไม่ให้ เพราะร้านกลัวว่าพอลดปริมาณเส้นแล้วรสชาติจะไม่เป๊ะ และอีกหลายเป๊ะ เป๊ะ เป๊ะ ในมุมหนึ่งความเป๊ะก็ดีอยู่หรอก แต่ถ้าตึงเป๊ะตลอดเวลา สติปัญญาก็จะถูกความเครียดเล่นงาน...ทีนี้ก็เละตุ้มเป๊ะ
       
       ในทางตรงข้าม พอมาเที่ยวหรือมาอยู่เมืองไทย ความบีบคั้นด้านเวลาหายไปเกือบหมดสิ้น (คงเพราะไม่สามารถกะเกณฑ์เวลากับเรื่องอะไรได้แน่นอน) มนุษย์เรา พอรู้ว่ายื้อไปก็เท่านั้น ทีนี้ก็จะปล่อยวาง คนญี่ปุ่นที่มาเมืองไทยจึงเลิกเป๊ะ สมองก็โปร่ง หมดความเครียด สบายใจ และยิ่งได้พบกับมิตรไมตรีแบบไทย ยิ้มง่าย ชวนไปบ้านง่าย ๆ ตักกับข้าวใส่จานให้ง่าย ๆ ขึ้นรถไฟปั๊บก็ควักโทรศัพท์ออกมาโทร.หาคนโน้นคนนี้ส่งเสียงลั่นง่าย ๆ หรือได้เห็นคนขับแท็กซี่คุยโทรศัพท์ไปด้วยขับรถไปด้วยง่าย ๆ เออแฮะ ถึงแม้จะไม่คุ้น...แต่ชีวิตก็มีรสชาติดี แบบนี้สิ...ชีวิตง่าย ๆ ทำงานกับคนไทยแล้วคนไทยมาสาย พอโผล่หน้ามาก็ยิ้มเผล่ แหะ ๆ ๆ เจ้านายไม่เอ็ดลูกน้อง แต่ค้อนให้หนึ่งทีง่าย ๆ แล้ววันรุ่งขึ้นเจ้านายก็มาสายบ้าง...ง่าย ๆ ชีวิตก็แบบนี้ จะเอาอะไรนักหนา...หรือไม่จริง พอคนญี่ปุ่นได้เจอความหย่อนแบบนี้บ้าง กรอบที่บีบคั้นความรู้สึกอยู่จึงถูกทลาย นี่แหละชีวิตง่าย ๆ แบบไทย สะดวกในแบบที่ไม่ตึง ง่ายในแบบที่ถ้าทนหงุดหงิดสักหน่อยเดี๋ยวมันก็ลุล่วง นี่คือสิ่งที่คนญี่ปุ่นขาด คิด...แต่ไม่ต้องมาก จึงไม่เครียด
       
       ผมสรุปเองสั้น ๆ ว่า คนญี่ปุ่นชอบเมืองไทย เพราะมีคนไทย เพราะคนไทยมีคุณลักษณะที่คนญี่ปุ่นขาด เพราะคนไทยมีบรรยากาศสบาย ๆ ซึ่งตอบสนองความรู้สึกของคนญี่ปุ่นตรงเป้าที่สุด อันที่จริง ความชอบที่คนญี่ปุ่นมีต่อเมืองไทยและคนไทยนั้น ถือเป็นกำไรของประเทศ ถ้าคนไทยบริหารจัดการความชอบนี้ในแบบที่ไม่เอาเปรียบและไม่มักง่ายเกินไป (ให้บริการอย่างซื่อสัตย์ อำนวยความสะดวกอย่างจริงใจ) คนญี่ปุ่นที่กำลัง “เตรียม” จะชอบเมืองไทยเพราะได้ยินกิตติศัพท์อยู่ ก็จะเลิกเตรียมและแปรสภาพมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ของเมืองไทยอย่างแน่นอน
       
       ฤดูร้อนนี้ เจอคนญี่ปุ่นที่ไหน ทักไปเลยว่า “คนนิชิวะ”— สวัสดี แค่นี้เอง...แล้วคนญี่ปุ่นจะพูดกันปากต่อปาก เฟซบุ๊กต่อเฟซบุ๊ก ไลน์ต่อไลน์ แพร่หลายยิ่งขึ้นว่าคนไทยน่ารัก
       
       **********
       คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies จะมาพบกับท่านผู้อ่านโต๊ะญี่ปุ่น ทุก ๆ วันจันทร์ ทาง www.manager.co.th

จาก http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000076018

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.409 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 00:33:44