[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 18 กรกฎาคม 2564 15:03:59



หัวข้อ: แบบธรรมเนียมพุทธศาสนา ไทย ลาว กัมพูชา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 กรกฎาคม 2564 15:03:59
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68677793070673_Lord_Buddha_2_Copy_.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://2.bp.blogspot.com (ที่มาภาพ)

   พระพุทธศาสนา ไทย ลาว กัมพูชา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33394047369559_121698590_1946847945455285_364.jpg)
การเรียนหนังสือของเด็กผู้ชายในสมัยก่อน อาศัยวัดเป็นหลัก โดยมีพระภิกษุเป็นผู้อบรมสั่งสอน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39680124777886_217496367_535180761166209_8337.jpg)
เจดีย์วัดมหาธาตุ หรือวัดธาตุน้อย เมืองหลวงพระบาง  
จากอักษรในพระเจดีย์ว่าสร้างด้วยพระราชศรัทธาของพระราชอัยกามหาเทวีเจ้า
ในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ บูรณะใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๓๔



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61384570557210_121000266_1938161066323973_995.jpg)
สมเด็จพระมหาสังฆราช (นิล เตียง สุวณฺณเกสโร)
สมเด็จพระมหาสังฆราช (นิล เตียง สุวณฺณเกสโร) แห่งกัมพูชา เป็นสมเด็จพระมหาสังฆราชฝ่ายมหานิกายที่สำคัญในรัชกาลสมเด็จพระนโรดม ประสูติเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก พ.ศ.๒๓๖๘ ตรงกับวันที่ ๓กรกฏาคม ค.ศ.๑๘๒๔ ที่เมืองโพธิบาท เขตเคียนสวาย เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี เกิดสงครามสยาม-เวียดนาม ท่านถูกกวาดต้อนมาประเทศไทยพร้อมครอบครัว

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๘ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ กรุงเทพ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเรื่อยมาและเข้าสอบเปรียญ๑-๒ ถึงเปรียญ ๙ ใน พ.ศ.๒๓๘๘ และได้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ ปีเดียวกัน

ต่อมาเมือพระองค์ด้วงได้ครองราชย์สมบัติในกัมพูชาได้นิมนต์ไปสืบศาสนาในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์จนได้เป็นพระสังฆราชเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒ ท่านมีบทบาทในการบูรณะวัดโบราณ และสร้างวิหารพระแก้วมรกต และสร้างวัดเพิ่มเติมขึ้น ท่านสิ้นพระชนม์เมื่อ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๖



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14277704225646_211017947_527624441921841_8659.jpg)
การตีคลีในบุญนมัสการพระธาตุหลวง
กีฬาตีคลี เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่มีมาช้านาน เเละจัดการละเล่นในบุญนมัสการพระธาตุหลวงตั้งเเต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความสามัคคีกัน โดยอุปกรณ์ในการตีคลีนั้นได้เเก่ ไม้ตีที่ทำจากตอไม้ไผ่รูปทรงแบบไม้ฮอกกี้ ลูกคลีกลึงเป็นรูปทรงกลมจากไม้มีน้ำหนักเบา
 
การปฏิบัติในการตีคลีในบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้ จะเเบ่งเป็นสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายรัฐกับฝ่ายประชาชน มีความเชื่อกันว่า หากปีไหนฝ่ายรัฐชนะ จะทำให้ประชาชนทุกข์ยากลำบาก ไม่มีความสุขในปีนั้นๆ แต่ถ้าว่าฝ่ายประชาชนชนะ บ้านเมืองจะมีความสุข อุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณธัญญาหาร มีความสุขบริบูณร์ดีในปีนั้นๆ ดังนั้นทุกครั้งฝ่ายประชาชนต้องเอาชนะให้ได้เสมอ

กติกาในการเล่นก็คล้ายๆ ฟุตบอล คือฝ่ายใดสามารถตีเข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าก็ชนะไป



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16654959279629_187136256_507487963935489_2622.jpg)
เจดีย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์
เจดีย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์ อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นเจดีย์ฐานเล็กแต่ทรงสูง อยู่ทางด้านใต้ของวัด สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และถือเป็นสัญลักษณ์ตราประจำวัดด้วย

เจดีย์นี้มีลักษณะองค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทรงสูงชลูด ฐานขนาด ๑๕.๔๐ เมตร ทำเป็น ๓ ชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้ง ๔ ด้าน ชั้นที่ ๔ ตอนบนเป็นองค์ระฆัง ส่วนยอดทำเป็นแท่นบัลลังก์ และปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์หลวงพ่อแสงนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดลพบุรีและใกล้เคียงเป็นอันมาก

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้เขียนถึงเจดีย์หลวงพ่อแสงว่าผู้สร้าง คือ พระอาจารย์แสง ดังปรากฏในตำนานเมืองลพบุรีว่า ที่ท้องทุ่งพรหมาศอยู่ใกล้เมือง มีพระเจดีย์สูงที่วัดมณีชลขัณฑ์ องค์ ๑ แลเห็นได้แต่ไกล ชวนให้สำคัญว่าเป็นของสร้างไว้แต่โบราณ แต่แท้จริงเป็นของพระภิกษุองค์ ๑ ชื่อพระอาจารย์แสง เป็นผู้คิดแบบสร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงชลูด กำลังเอนไปทางทิศใต้จนมีผุ้ให้สมญานามว่า หอเอนเมืองลพบุรี เล่ากันว่า หลวงพ่อแสงผู้สร้างวัดนี้ สร้างเจดีย์ความสูงขนาด ๕-๖ ชั้น โดยไม่ใช้นั่งร้าน สร้างเสร็จแล้วก็กระโดดลงมาแล้วหายตัวไป



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97080969603525_186508261_497673628250256_2951.jpg)
วัดพระพุทธโฆสาจารย์
วัดพระพุทธโฆสาจารย์ กรุงพนมเปญนี้ เป็นวัดโบราณ ตามประวัติว่า เจ้าพญายาต (พระบรมราชา) ผู้สถาปนาพนมเปญเป็นราชธานีครั้งเเรก โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อครั้งย้ายมาจากบาสาณ (ศรีสันธร) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคลองเจินด็อมแฎม(จีนตีเหล็ก) ทางทิศเหนือของพนมโฎนปึญ (วัดพนม)

เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพเอกของสยามสมัยรัชกาลที่ ๓ ช่วงหนึ่งได้นำทัพไปขับไล่กองทัพญวนที่เข้ามาก่อความวุ่นวายในกรุงพนมเปญ ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสยาม ครั้นสำเร็จแล้ว ท่านก็บูรณะวัดวาอาราม พร้อมจารึกเรื่องราวไว้ ณ วัดพุทธโฆสาจารย์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58585942826337_185844854_496871498330469_1483.jpg)
นามสมเด็จพระราชาคณะ กรุงกัมพูชา
นามสมเด็จพระราชาคณะ กรุงกัมพูชา ในอดีต
ปัจจุบัน ยังใช้อยู่ไม่กี่ชื่อ เเบ่งเป็นสำรับ ดังนี้
๑.สำรับเอก
-ศักดินา ๑๐๐๐๐
         สมเด็จพระสังฆราชาธิบดี
         สมเด็จพระสุคนธาธิบดี
         สมเด็จพระธรรมลิขิต
         สมเด็จพระโพธิวงศ์
         สมเด็จพระวันรัตน
-ศักดินา ๙๐๐๐
         สมเด็จพระมหาพรหม
         สมเด็จพระมหาธาตุ
-ศักดินา ๘๐๐๐
         สมเด็จพระศีลสิทธิวาตม์
๒. สำรับโท ศักดินา ๑๐๐๐๐
         สมเด็จพระมหาปัญญาวงศา
         สมเด็จพระพุทธวงศ์
         สมเด็จพระธรรมโฆษา
         สมเด็จพระสารีบุตร
         สมเด็จพระมัคญาณ
๓. สำรับตรี ศักดินา ๑๐๐๐๐
         สมเด็จพระอริยวงศา
         สมเด็จพระพุทธโฆษา
         สมเด็จพระธรรมเสนาบดี
         สมเด็จพระนิโรธ
         สมเด็จพระมุนีปทุม
.
จากทำเนียบนาม ภาคที่ ๓ ตำราทำเนียบบันดาศักดิ์กรุงกัมพูชา หนังสืออนุสรณ์งานศพเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) พิมพ์ปี ๒๔๖๕



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79270627349615_183858715_494622128555406_6756.jpg)
ฌาปนกิจพระเถระ (ไม่ทราบชื่อ) ที่จังหวัดกันดาลในอดีต


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58957540326648_165573894_471985804152372_3337.jpg)
ขบวนแห่พระเถระ ให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำ ในวันขึ้นปีใหม่ลาว หลวงพระบาง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28647322456041_198463382_2164596393680438_442.jpg)
กุฏิพระ ที่เมืองสุย เชียงขวาง ลาว ถ่ายเมื่อปี ๑๙๓๓ ภาพถ่ายโดย Ecole  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26359522673818_204137226_2162419677231443_258.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62463099716438_204424042_2162419770564767_120.jpg)
พระภิกษุทางเหนือของลาว
พระภิกษุทางเหนือของลาวสวมหมวกกาบ (ขะโจมหัว, โจมหัว,หว่อม )
เป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์จากการเถราภิเษก ทั้งยังป้องกันความหนาวด้วย
เพราะทางเหนือจะหนาวมากในฤดูหนาว



ขอขอบคุณที่มา : เพจบรรณาลัย & พุทธศาสนาไทย ลาว กัมพูชา