[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 21:53:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สารานุกรม แหล่งรวมความรู้ทุกมุมโลก  (อ่าน 1847 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กันยายน 2559 20:22:31 »

สารานุกรม
แหล่งรวมความรู้ทุกมุมโลก


รัตน์ เปสตันยี

เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2451  บรรพบุรุษของท่านมาจากเปอร์เซียหลายร้อยปีก่อน ครอบครัวทำอาชีพค้าขาย เรียนหนังสือที่โรงเรียนอัชสัมชัญ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียและอังกฤษ จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ในปี 2475

ท่านเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์ 35 มม. เป็นผู้ก่อตั้งโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงมาตราฐาน 35 มม. ในนาม “บริษัท หนุมานภาพยนตร์” โดยมีผลงานเรื่องแรกคือ “สันติ–วีณา” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้เข้าร่วมประกวดในงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชียอาคเนย์ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2497 และได้รางวัลพิเศษจากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของเอเชียได้ดี

ท่านเป็นนักสร้างหนังชั้นครู ที่เป็นนักสร้างหนังทดลองยุคแรก ๆ ของไทย โดยมีผลงานเด่นหลายเรื่อง อาทิ ชั่วฟ้าดินสลาย(2498), โรงแรมนรก(2500), สวรรค์มืด(2501), และ แพรดำ(2504)

รัตน์ เปสตันยี ต่อสู้เพื่อวงการภาพยนตร์ไทยจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีอาการหัวใจวายกระทันหันขณะปราศรัยเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือภาพยนตร์ไทยอย่างจริงจัง ณ โรงแรมมนเฑียร จากนั้นถูกส่งไปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อย่างเร่งด่วน และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553




วันสันติภาพไทย

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 ได้ออก ประกาศสันติภาพให้การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามครั้งนั้นเป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประเทศไทยได้ตัดสินใจให้กลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ เมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2484 บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยไม่ปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านั้น และพร้อมที่จะจัดการส่งมอบคืนให้ดังเดิม

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐ แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกาคือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ ผู้แทนไทยในอังกฤษไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้น โดยติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์  ในเมืองไทย

เมื่อสงครามสงบลง การประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเป็นโมฆะ โดยสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาปี 2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันสันติภาพ”เพืิ่อระลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2




ไอแซค อาซิมอฟ  
ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov) เกิดในรัสเซียเมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2462 แต่พออายุ 3 ขวบครอบครัวก็อพยพไปสหรัฐอเมริกา เขารักการอ่านโดยเฉพาะนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มเขียนนิยายตั้งแต่อายุ 11 ปี เขาจบปริญญาเอกด้านเคมี และเป็นรองศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยบอสตัน แต่ในปี พ.ศ. 2495 เขาลาออกมาเขียนนิยายอย่างจริงจัง

อาซิมอฟกลายเป็นนักเขียนประจำให้กับนิตยสารวิทยาศาสตร์ดังๆหลายฉบับ และได้รับรางวัลฮิวโก 4 ครั้ง รางวัลเนบิวลา 1 ครั้ง เป็นนักเขียนที่สร้างผลงานไว้มากมายนับไม่ถ้วนในเวลาอันรวดเร็ว จนได้รับสมญานามว่า “เครื่องจักรสมองกลที่เขียนหนังสือได้”(อาซิมอฟได้เขียนหนังสือในหมวดใหญ่ๆ ของระบบทศนิยมดิวอี้ทุกแนวเนื้อหา ยกเว้นก็แต่แนวปรัชญาเท่านั้น) หนังสือที่อาซิมอฟเขียนไว้มีเกือบ 500 เรื่อง และที่เป็นบทความอีกหลายร้อยชิ้น  ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ หนังสือชุดสถาบันสถาปนา รวมทั้งหนังสืออีก 2 ชุด นั่นคือ Gactic Empire Series และ Robot series นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายแนวลึกลับและแฟนตาซี รวมทั้งสารคดีอีกจำนวนมาก  หนังสือของเขาที่แปลเป็นภาษาไทย เช่น Orbit, สถาบันสถาปนา  ฯลฯ

อาซิมอฟเสียชีวิตลงเมื่อปี 2535 ขณะที่อายุ 72 ปี โดยได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนรุ่นใหญ่ในบรรดานักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยจัดอยู่ในแนวหน้า เช่นเดียวกับ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ และอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 (Big Three) ในหมู่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา




เหม เวชกร

เหม เวชกร จิตรกรที่มีชื่อเสียงของไทย  เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม  พ.ศ.2446 ที่กรุงเทพฯ ในตระกูลขุนนางเก่า บิดาคือ หุ่น ทินกร ณ อยุธยา และมารดา ม.ล.สำริด พึ่งบุญ ณ อยุธยา หลังจากที่บิดามารดาแยกทางกัน เขาไปอยู่กับลุงคือ ม.ร.ว.แดง ทินกร ผู้ดูแลช่างอิตาเลียนที่มาก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เหมจึงพลอยได้ใกล้ชิดกับช่างชุดนี้ด้วย โดยเฉพาะ คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) หนึ่งในคณะจิตรกรผู้เขียนภาพพระราชประวัติบุรพกษัตริย์ ซึ่งได้กลายเป็นครูศิลปะคนแรกของเหม  หลังจากนั้นชีวิตก็ผกผันไปเป็นช่างเครื่องเรือโยง และช่างเครื่องในงานสร้างเขื่อนพระราม 6 ก่อนจะกลับเข้ากรุงเทพฯ เมื่ออายุราว 20 ปี มาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก

ต่อมาเขาร่วมกับเพื่อนตั้งสำนักพิมพ์ เพลินจิตต์ พิมพ์หนังสือนิยายเล่มละ 10 สตางค์ ปรากฏว่าขายดีมาก ด้วยมีภาพปกสีสันสวยงามฝีมือเหม เวชกร เล่มต่อมาก็ขายดีจนบางเล่มถึงกับพิมพ์ซ้ำเป็นหมื่นฉบับ

เหมเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะนักวาดภาพปก ผลงานของเขาตีพิมพ์แพร่หลายไปทั่ว และได้รับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวาง ราวปี 2478 เขาออกมาตั้งสำนักพิมพ์ของตัวเองชื่อ “คณะเหม” มีนักเขียนคนสำคัญเช่น ไม้ เมืองเดิม (ผู้ประพันธ์เรื่อง แผลเก่า)

ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีของชีวิตช่างเขียน เหมผลิตผลงานหลายหมื่นชิ้น มีตั้งแต่ภาพปก ภาพประกอบ นิยายภาพ หนังสืออ่านเล่น หนังสือเรียน ไปจนถึงรูปพระพุทธประวัติที่พิมพ์ให้เช่าใส่กรอบติดตามวัด ในสายตาของ “ศิลปิน” เขาเป็นได้เพียงช่างเขียน “งานตลาด” แต่สำหรับสาธารณชนแล้ว เขาคือผู้กำหัวใจของ “ความงามอย่างไทย” ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฝีมือการวาดภาพของเขา เคยพระราชทานพระราชวโรกาส ให้ครูเหมเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเขาไว้เป็นจิตรกร ในพระบรมราชานุเคราะห์ด้วย

เหมยังคงทำงานหนักจนกระทั่งสิ้นชีวิต สามทศวรรษหลังมรณกรรมของเหม ภาพประกอบเล็ก ๆ ที่เคยทำเงินให้เขาได้แค่ไม่กี่ร้อยบาทถูกประมูลในราคาเหยียบแสน และได้รับการยกย่องขึ้นทำเนียบศิลปินชั้นครูของเมืองไทย

เหม เวชกร ถึงแก่อสัญกรรม 17 เมษายน พ.ศ. 2497




จอห์น โคลเทรน

จอห์น โคลเทรน (John William Coltrane) นักเทเนอร์แซ็กโซโฟนแจ๊สผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน เกิด 23 กันยายน พ.ศ.2469 ที่เมืองแฮมเล็ต มลรัฐนอร์ท แคโรไลนา ในสมัยที่ยังมีการแบ่งแยกสีผิวกันอย่างรุนแรง โคลเทรนเติบโตมาด้วยการอบรมเลี้ยงดูแบบชนชั้นกลางทางใต้ เรียนศาสนาผ่านการร้องเพลงสวดในโบสถ์ พ่อของเขาเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น

โคลเทรนเริ่มเล่นอี-แฟลต ฮอร์น (E-Flat Horn) และเปลี่ยนเป็นคลาริเน็ตในวงประจำโรงเรียนไฮสคูล ในสมัยนั้นดนตรีสวิง (Swing) และบิ๊กแบนด์ (Big Band) กำลังเบ่งบานอยู่ในอเมริกา โคลเทรนได้ทำความรู้จักแจ๊สผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และตามตู้เพลงต่าง ๆ จนหันมาสนใจดนตรีแจ๊สอย่างจริงจัง ในระหว่างที่เรียนไฮสคูลปีสุดท้ายเขาก็เปลี่ยนมาเล่นอัลโต-แซ็กโซโฟน โดยได้แรงบันดาลใจจาก เลสเตอร์ ยัง (Lester Young) และ จอห์นนี ฮ็อดจ์ส (Johnny Hodges) สองนักดนตรีผู้สร้างตัวตนให้แซ็กโซโฟนโดดเด่นในเวทีแจ๊ส

ในปี 2486 เขาก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลวาเนีย เรียนดนตรีเพิ่มเติม จนกระทั่งถูกเรียกตัวไปรับใช้ชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประจำตำแหน่งนักดนตรีแห่งกองทัพเรือที่ฮาวายระหว่างปี 2488-2489 หลังจากสงครามเขาเปลี่ยนมาใช้เทเนอร์-แซ็กโซโฟน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของเขาตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

หลังสงครามเขาออกมาทำงานหลายอย่าง และเล่นดนตรีไปด้วย โดยเป็นมือแซ็กฯ ในวงของ เอ็ดดี “คลีนเฮด” วินสัน (Eddie “Cleanhead” Vinson) จากนั้นก็ย้ายไปเล่นกับวงบิ๊กแบนด์ของ ดิซซี กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) เมื่อแจ๊สพัฒนามาถึงยุค “บีบ๊อพ” (Bebop) โดยมีหัวขบวนเป็นนักอัลโต-แซ็กฯ หัวขบถอย่าง ชาร์ลี พาร์คเกอร์ (Charlie “Bird” Parker) วงของกิลเลสปีจึงต้องต้องย่อเป็นวงขนาดเล็กในปี 2494 ในช่วงนี้โคลเทรนก็เริ่มใช้เฮโรอีน (เลิกได้ในปี 2500) หลังจากนั้นเขาออกมาตั้งวงกับ จิมมี ฮีต (Jimmy Heath) เริ่มทดลองซาวด์ดนตรีใหม่ ๆ และได้อัดแผ่นเสียงอัลบัมแรกของตัวเองคือ “Blue Train” ในปี 2500 เมื่อ ไมล์ส เดวิส (Miles Davis) มาเห็นฝีมือจึงชักชวนเข้าร่วมวงควินเต็ต (Quintet–วงห้าชิ้น)

ในปี 2501 ในช่วงนี้โคลเทรนได้ฝากผลงานยอดเยี่ยมไว้หลายชุดในนามของวง “ไมล์ส เดวิส ควินเต็ต” (Miles Davis Quintet) อาทิ ‘Round About Midnight, Relaxin’, Workin’, Cookin’ และ Kind of Blue เมื่อเห็นว่าไมล์สก้าวต่อไปไปในวิถีโมดัลแจ๊ส (Modal Jazz) โคลเทรนก็เริ่มมุ่งหาแนวทางใหม่ ๆ ในปี 2503 เขาก็ออกมาฟอร์มวงควอเต็ต (Quatet—วงสี่ชิ้น) ของตัวเอง ร่วมกับ Eric Dolphy) อัลโต-แซ็กฯ และ ฟาโรห์ แซนเดอร์ (Pharoah Sanders) เข้ามาแทน ได้ออกผลงานระดับคลาสสิคไว้หลายชิ้น เช่น My Favorite Things, Impression และ Giant Steps

ภายหลังเขาเริ่มหันหน้าเข้าหาศาสนา พระเจ้า และการทำสมาธิ โดยใช้แซ็กโซโฟนเป็นพาหนะมุ่งเข้าสู่จิตวิญญาณ กลายเป็นอัลบัมอมตะตลอดกาลคือ A Love Supreme ในเดือนธันวาคมปี 2507

หลังจากนั้นโคลเทรนก็มุ่งข้าสู่ “ตัวตน” ในวิถีฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ออกอัลบัมก้าวหน้าออกมาอีกหลายชิ้น อาทิ Transition, Sun Ship, Ascension, Meditations และอัลบัมสุดท้ายคือ Interstellar Space ก่อนจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับในวันที่ 17 กรกฎาคม 2510 ในวัยเพียง 40 ปี

โคลเทรนนับเป็นหนึ่งในนักดนตรีแจ๊สหัวก้าวหน้า (Avant-garde Jazz) ผู้ถากถางวิถีแห่งฟรีแจ๊สให้แก่ดนตรีแจ๊สสมัยใหม่ และนับเป็นนักแซ็กโซโฟนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการดนตรีแจ๊ส และดนตรีแขนงอื่น ๆ ตราบจนทุกวันนี้


เรื่อง-ภาพ sarakadee.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กันยายน 2559 20:24:45 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ไร้สาระนุกรม คู่แข่ง สารานุกรม (wikipedia vs. uncyclopedia)
สุขใจ ตลาดสด
หมีงงในพงหญ้า 2 2891 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2552 19:29:52
โดย Sweet Jasmine
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.635 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 เมษายน 2567 16:08:31