[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 03:24:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ของผ้าไหมจีน  (อ่าน 80 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 121.0.0.0 Chrome 121.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2567 15:38:40 »


อิทธิพลของผ้าไหมแพรจีน ในราชสำนักหลวงพระบาง รัชสมัยของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์
พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าคำฝั้น พระมเหสีในพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ พระราชมารดาเลี้ยง
ในพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัทนา และ เจ้าฟ้าหญิงสมาธิ พระน้องนางเธอร่วมพระราชบิดา-ราชมารดา
กับพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัทนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว
ขอขอบคุณ เพจ บรรณาลัย (ที่มาภาพประกอบ)

ประวัติศาสตร์ของผ้าไหมจีน


ไหมจีน ความเงางามเป็นประกาย นุ่มนวล แข็งแรง ย้อมได้สวยงามสดใส ผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมนี้เป็นสินค้าอันดับ ๑ ที่ราชวงศ์ส่งออกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ และผ้าไหมยังคงเป็นสินค้ายอดนิยมไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม


ประวัติศาสตร์ของผ้าไหมในจีนย้อนหลังไปกว่า ๒,๐๐๐ ปี

จีนเป็นผู้ผลิตผ้าไหมรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกที่ผลิตผ้าไหมได้ร้อยละ ๗๘ ของผ้าไหมทั้งหมดในโลกรวมกัน มีเพียงอินเดียเท่านั้นที่มีอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหญ่ โดยมีผลผลิตประมาณ ๓๐,๐๐๐ เมตริกตัน

แหล่งผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจีน ส่วนใหญ่ผลิตทางตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ได้แก่ มณฑลเจียงซู เจ้อเจียง และเสฉวน เมืองต่างๆ เช่น ซูโจว หางโจว หนานจิง และเส้าซิง

ผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทออย่างประณีตจากเส้นใยโปรตีนของรังไหม การผลิตผ้าไหมเป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานและต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

การเลี้ยงไหมของจีน เป็นความรู้ที่นางลั่วจู่ สนมของจักรพรรดิหวงตี้ เป็นผู้สอนประชาชนจีนเมื่อกว่าห้าพันปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนจีนรู้เทคนิคการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหมตั้งแต่สมัยโบราณ

หลังจากที่จางเชียนในสมัยฮั่นตะวันตกได้บุกเบิกเส้นทางไปถึงตะวันตกแล้ว ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของจีนก็ได้แพร่หลายไปถึงยุโรป ชาวยุโรปเห็นผ้าไหมที่นุมนวลและหลากหลายสีสัน เลยถือเป็นของล้ำค่และแย่งกันซื้อ เล่ากันว่า จักรพรรดิซีซาร์ของโรมก็เคยฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าไหมจีนไปชมละคร ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งโรงละคร โคลัมบัสเคยกล่าวกับกะลาสีเรือว่า ระหว่างการเดินทาง ถ้าใครได้พบแผ่นดินใหญ่เป็นคนแรก ก็จะได้รางวัลเป็นเสื้อผ้าไหม ราคาของผ้าไหมขณะนั้นแพงเหมือนทอง   ขณะนั้น อาณาจักรโรมันต้องประสบปัญหาขาดดุลการคลัง เนื่องจากจ่ายค่านำเข้าผ้าไหมที่แสนแพง ด้วยเหตุนี้ พฤฒิสภาจึงลงมติห้ามจำหน่ายและสวมเสื้อผ้าไหมจีน แต่ก็ต้องประสบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นสูงทั้งหลายที่นิยมผ้าไหมจีน สุดท้าย อาณาจักรโรมันต้องยกเลิกข้อห้ามนี้ไปในที่สุด

ตอนแรกชาวยุโรปไม่ทราบว่าผ้าไหมจีนมากจากการเลี้ยงตัวไหมและถักทอเป็นผ้าไหม พวกเขานึกว่า ไหมสกัดจากต้นไม้ แล้วแช่น้ำเย็นจนกลายเป็นเส้นไหม พอทราบว่าผ้าไหมทำด้วยเส้นไหมที่มาจากการเลี้ยงตัวไหม พวกเขาตัดสินใจหาทางที่จะเรียนรู้วิธีเลี้ยงตัวไหมของจีน มีหลายตำนานที่กล่าวขานถึงวิธีการเลี้ยงไหมของจีนแพร่ไปยังตะวันตกได้อย่างไร จากบันทึกที่พระเสวียนจ้าง เขียนไว้ในบันทึกการเดินทางไปตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง ระบุว่า ทางตะวันตกมีแคว้นเล็กชื่อโคสตนะ ซึ่งอยากเรียนรู้วิธีการเลี้ยงตัวไหม ก็เลยขอความช่วยเหลือจากประเทศตะวันออก แต่ประเทศตะวันออกขณะนั้นปฏิเสธที่จะสอนให้ และตรวจตราตามด่านอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อนแพร่หลายไปยังต่างประเทศ ตามการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการประเทศตะวันออก ในที่นี้น่าจะเป็นราชวงศ์เป่ยเว่ยในสมัยนั้น กษัตริย์แคว้นโคสตนะเห็นว่าการขอความช่วยเหลือไม่เป็นผล ก็เลยคิดหาวิธีอื่น พระองค์ทรงของอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงประเทศตะวันออกโดยถือการส่งเสริมสัมพันธไมตรีเป็นข้ออ้าง และได้รับอนุญาตจากประเทศตะวันออก
 ก่อนจะอภิเษกสมรส กษัตริย์โคสตนะส่งทูตพิเศษไปลอบทูลเจ้าหญิงขอให้เจ้าหญิงทรงพยายามนำไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อนออกไปด้วย จ้าหญิงทรงยอมรับการร้องขอ ก่อนจะเดินทางเจ้าหญิงทรงลอบเก็บไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อนไว้ในพระมาลา เวลาออกจากด่าน เจ้าหน้าที่ตรวจค้นเสื้อผ้าและกระเป๋าทั้งหมด เพียงแต่ไม่กล้าตรวจค้นพระมาลาบนเศียรของเจ้าหญิง ด้วยเหตุนี้ ไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อนจึงถูกนำไปยังแคว้นโคสตนะและแพร่หลายต่อไปยังตะวันตก

การบันทึกที่ล้ำค่าของพระเสวียนจ้าง ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าเป็นจริงจากภาพพิมพ์สมัยโบราณที่พบในซินเกียงโดยนายสแตนลี่ ชาวฮังการี สัญชาติอังกฤษ ผู้เป็นนักผจญภัย ตรงกลางของภาพพิมพ์มีรูปสตรีที่ใส่อาภรณ์หรูหรา และใส่หมวก มีผู้รับใช้ทั้งซ้ายและขวา ผู้รับใช้ที่อยู่ซ้ายมือชี้ไปยังหมวกที่สตรีผู้นั้นใส่ สตรีผู้นี้คือเจ้าหญิงของประเทศตะวันออกที่นำไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อนไปยังตะวันตกนั้นเอง


ที่มา :
    - http://www.digitalschool.club
    - http://m.th.chinesesilk.com




ภาพเขียนการเตรียมผ้าไหมโดย Zhang Xuan ศิลปินสมัยราชวงศ์ถัง
(ตกแต่งภาพเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการ) ... ขอขอบคุณนิตยสารศิลปวัฒนธรรม (ที่มาภาพประกอบ)


ผ้าไหมคุณภาพสูงจะมีความนุ่มและเงางาม มีสีชัดเจน และสม่ำเสมอ ลักษณะที่แวววาวของผ้าไหม
เกิดจากโครงสร้างเส้นใยไหมที่มีลักษณะคล้ายปริซึมสามเหลี่ยม  หักเหแสงที่เข้ามาในมุมต่างๆ กัน
ทำให้ได้สีที่แตกต่างกัน  ผ้าไหมมีความแข็งแรงแต่ไม่ยืดหยุ่น ถ้ายืดแล้วจะไม่กลับมายาวเหมือนเดิม
นอกจากนี้ยังดูดซับความชื้น ปัญหาอย่างหนึ่งของไหมคือแมลงบางชนิดพบว่ามันอร่อย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2567 15:42:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.678 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 เมษายน 2567 21:23:19