[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 กันยายน 2566 03:13:34



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - องค์กรสิทธิฯ ร้องคืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังการเมือง-ยุติใส่โซ่ตรวน 'เก็ท โ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 กันยายน 2566 03:13:34
องค์กรสิทธิฯ ร้องคืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังการเมือง-ยุติใส่โซ่ตรวน 'เก็ท โสภณ' แถลงปฏิเสธอำนาจศาล
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-07 01:52</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผสานวัฒนธรรมฯเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และยุติการใส่โซ่ตรวนและกุญแจเท้ากับผู้ต้องขังซึ่งอาจเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขณะที่ 'เก็ท โสภณ' แถลงปฏิเสธอำนาจศาล พร้อมเรียกร้องคืนสิทธิประกันตัวประชาชน และยุติการใช้มาตรา 112 ต่อประชาชน</p>
<p>7 ก.ย.2566 ความคืบหน้ากรณีปรากฏเป็นภาพข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่ในวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา เก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมจากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อนัดสืบพยานที่ศาลอาญาธนบุรีในวันดังกล่าว โดย เก็ท ปรากฎตัวในชุดเครื่องแบบนักโทษพร้อมกุญแจเท้าพร้อมโซ่ล่ามกับขาทั้งสองข้างนั้น</p>
<p>มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Cross Cultural Foundation (CrCF) (https://www.facebook.com/photo/?fbid=781798780410467&amp;set=a.733019715288374)' 6 ก.ย. เรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และยุติการใส่โซ่ตรวนและกุญแจเท้ากับผู้ต้องขังซึ่งอาจเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยระบุว่า จาก เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา เก็ทถูกใส่กุญแจเท้าพร้อมโซ่ล่ามทั้งสองข้างระหว่างการเดินทางมาศาล ในพื้นที่ของศาล และในระหว่างการสืบพยานในห้องพิจารณาของศาลอาญาธนบุรี จากข้อกล่าวหาคดี 112 จากการจัดกิจกรรม “ฝืนฝอยหาตะเข็บ” เมื่อปี 2565 การใส่ชุดนักโทษและการใส่กุญแจและโซ่ล่ามระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผิดหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และอาจเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งถือเป็นความผิดตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ทั้งที่คดีอาญาที่ “เก็ท” ตกเป็นจำเลยนั้นเป็นคดีไม่ใช่อุกฉกรรจ์เป็นคดีเกี่ยวกับความคิดและเสรีภาพในการแสดงออก</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="769" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FCrCF.Thailand%2Fposts%2Fpfbid0Qr9HJRUMJ6Vo5R5dEduTo8BygN5BzTo1VDbn9vcV6W5s5kPRf8qPevXEaoqjPaMUl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>“เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ถือเป็นผู้ต้องขังคดีการเมือง จากการเป็นนักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ แม้ว่าปัจจุบันจะถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาตรา 112 ในระหว่างอุทธรณ์มาเป็นเวลา 13 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษเป็นเวลาถึงสามปีหกเดือนโดยไม่รอลงอาญา สิทธิในการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้นย่อมได้รับการคุ้มครอง คดีนี้เองก็ยังมีขั้นตอนการอุทธรณ์และฎีกาการที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในครั้งนี้ถือว่าไม่เคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการปล่อยตัวชั่วคราวและไม่เปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีอย่างเต็มที่</p>
<p>กรณีที่เกิดขึ้นกับ “เก็ท” และผู้ต้องขังคดีการเมืองซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ อีกอย่างน้อย 29 คน โดยเป็นผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีอย่างน้อย 19 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น 7 คน และเป็นผู้ที่กำลังอดอาหารประท้วง 2 คน ได้แก่ “วารุณี” และ “เวหา” กรณีเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการประกันตัว (ปล่อยตัวชั่วคราว) ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ</p>
<p>มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน เห็นว่าการกระทำดังกล่าวของกรมราชทัณฑ์ มีลักษณะที่ขัดกับหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ผู้ต้องขังคดีการเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี ตรงกันข้ามพวกเขาแสดงออกอย่างเอาจริงเอาจังว่าพร้อมต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อให้รัฐไทยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในความคิด ความเชื่อและการแสดงออกในทางการเมือง ซึ่งเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย</p>
<p>มูลนิธิผสานวัฒนธรรมมีข้อเรียกร้องให้ สำนักงานศาลยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ต้องตระหนักถึงสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้ต้องหา/จำเลยในคดีอาญา ขอให้ทบทวนการใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังโดยเฉพาะผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ให้สอดคล้องกับข้อห้ามตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ซึ่งมีใจความว่า “ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง” การใส่กุญแจเท้าพร้อมโซ่ล่ามกับขาทั้งสองข้างในระหว่างการพิจารณาและการเดินทางมาศาลถือเป็นความผิดตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 สำนักงานศาลยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้สิทธิดังกล่าวนี้ได้รับการคุ้มครองอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและหลักการด้านสิทธิมนุษยชน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'เก็ท โสภณ' แถลงปฏิเสธอำนาจศาล</span></h2>
<p>ขณะที่ โสภณ ออกแถลงการณ์ส่วนตัวปฏิเสธอำนาจศาล ไม่สังฆกรรมใดๆต่อศาลเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรม ไม่เพียงแต่ศาลอาญาธนบุรีเท่านั้น แต่ประท้วงถึงตุลาการทั้งหมด พร้อมขอเรียกร้องต่อตุลาการทั้งหมดดังนี้ 1. คืนสิทธิประกันตัวประชาชน และ 2.ยุติการใช้มาตรา 112 ต่อประชาชน</p>
<p>โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้</p>
<div class="note-box">
<p>แถลงการณ์</p>
<p>ข้าพเจ้าและประชาชนหลายร้อยคนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 ถูกกระทำย่ำยีจากกระบวนการยุติธรรมไทย ตำรวจ อัยการ ไปจนถึงผู้พิพากษา ตลอดจนการต่อสู้ในทางคดีความ มีประชาชนจำนวนมากถูกริดรอนสิทธิในการประกันตัว ถูกถอนประกัน ถูกพิพากษาอย่างไม่เป็นธรรมและไม่สมเหตุสมผล</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fget.vongola%2Fposts%2Fpfbid02vHyChHUhsB1LoH6rNRDvV5ivL6reCZJ7UoRiio87hBqgKEDERGHCuWEScqqcbUmZl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ตัวข้าพเจ้าเองถูกขังในเรือนจำ 3 ครั้ง เคยถูกขังในบ้านตัวเองด้วยคำสั่งศาลนานกว่า 7 เดือน นอกจากนี้ ณ เวลานี้ยังมีผู้ถูกคุมขังจากมาตรา 112 กำลังอดอาหารเพื่อประท้วงเรียกร้องสิทธิการประกันตัว 2 คน คือ วารุณี และ เวหา พวกเค้าอาจเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ แต่ศาลที่ควรเป็นที่เคารพและเป็นที่ดำรงความยุติธรรมกลับไม่สนใจใยดี ไม่ให้สิทธิการประกันตัวซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานแก่พวกเค้า</p>
<p>การประท้วงด้วยการอดอาหารทำร้ายร่างกายตัวเองดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรก อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซากในสังคม แต่นี่คือภาพสะท้อนเช่นกันว่า ศาลยุติธรรมในพระปรมาภิไธยก็กระทำความอยุติธรรมซ้ำซากจนผู้คนต้องออกมาเรียกร้องความยุติธรรมและสามัญสำนึกของตุลาการอย่างเอาเป็นเอาตายซ้ำแล้วซ้ำเล่า</p>
<p>แม้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 จะเคยแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 112 กับประชาชน อีกทั้งคดีความที่ถูกกล่าวโทษฟ้องร้องก็ไม่ได้มาจากการกล่าวหาโดยพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทน หรือสำนักพระราชวังเลย หากแต่มาจากการกล่าวโทษโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่กรณีในคดี สะท้อนถึงการบังอาจคิดแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ดีศาลในพระปรมาภิไธยก็ยังดำเนินคดีมาตรา 112 ต่อประชาชน ฝืนกระแสรับสั่งของในหลวงทั้ง 2 พระองค์ และยังสนับสนุนแนวดำเนินคดีที่คิดแทนสถาบันพระมหากษัตริย์</p>
<p>การใช้มาตรา 112 ในการดำเนินคดีและการไม่ให้สิทธิประกันตัวในการสู้คดีเป็นการกระทำที่ทำร้าย ทำลายชีวิตประชาชน ละเมิดนิติธรรม สร้างข้อครหาให้เกิดแก่สถาบันตุลาการและสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวคือพฤติกรรมที่ข้าพเจ้ากล่าวข้างต้น ไม่ได้ส่งผลดีต่อฝ่ายใดเลย แต่กลับส่งผลร้ายต่อสังคมอย่างถ้วนหน้าเสียด้วยซ้ำ ข้าพเจ้ามิอาจไว้วางใจและทำใจสังฆกรรมกับศาลในคดีมาตรา 112 ณ ศาลอาญาธนบุรีได้</p>
<p>ข้าพเจ้าขอประกาศปฏิเสธอำนาจศาล ไม่สังฆกรรมใดๆต่อศาลเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรม ไม่เพียงแต่ศาลอาญาธนบุรีเท่านั้น แต่ประท้วงถึงตุลาการทั้งหมด โดยข้าพเจ้าขอเรียกร้องต่อตุลาการทั้งหมดดังนี้</p>
<p>1.คืนสิทธิประกันตัวประชาชน</p>
<p>2.ยุติการใช้มาตรา 112 ต่อประชาชน</p>
<p>หากตุลาการสามารถกระทำการตามข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าซึ่งเป็นข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมได้ ข้าพเจ้าจะกลับมาเคารพกระบวนการยุติธรรมศาลดังเดิม แต่หากไม่มีใครยอมรับข้อเรียกร้องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพร้อมจะยกระดับการประท้วงทุกวิถีทาง ข้าพเจ้าพร้อมใช้ทั้งชีวิตเพื่อแลกมาซึ่งความยุติธรรมในสังคมที่แท้จริง</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%97-%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เก็ท โสภณ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูลนิธิผสานวัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศาลยุติธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรมราชทัณฑ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตรวน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กุญแจเท้า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ม.112[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประกันตัว[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ปฏิเสธอำนาจศาล[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105807