[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤษภาคม 2567 21:05:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'เดวิด ลอย' กับ หนทางแห่งโพธิสัตว์  (อ่าน 1616 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.83 Chrome 17.0.963.83


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 มีนาคม 2555 02:08:50 »



เดวิด ลอยกับเรื่องราวพุทธศาสนา สังคม และการเมือง ฯลฯ ในมุมตะวันตก

อีกเวทีของนักวิชาการด้านศาสนาและปรัชญา เดวิด ลอย ผู้มีประสบการณ์ด้านสมาธิภาวนา มีความสนใจด้านเซน และภูมิปัญญาตะวันตก เมื่อเร็วๆ นี้เขาเดินทางมาบรรยายและเปิดตัวหนังสือเรื่อง“เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม” ณ สวนโมกข์กรุงเทพฯ



 โดยก่อนหน้านี้ พระไพศาล วิสาโล ได้เขียนถึงแนวคิดเดวิด ลอย ว่า

 “ในด้านหนึ่งเขาชี้ให้เห็นว่า ปัญหาและปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกสมัยใหม่นั้น ถึงที่สุดแล้วมีรากเหง้ามาจากความรู้สึกพร่อง ซึ่งหลอกหลอนผู้คนอยู่ในเวลานี้  ไม่ว่าปัญหานั้นจะได้แก่ ความลุ่มหลงในบริโภคนิยม การมุ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีขีดจำกัดตามแนวคิดทุนนิยม การทำลายธรรมชาติแวดล้อมอย่างไม่บันยะบันยัง และความหลงใหลในสงคราม หากปฏิเสธเรื่องนี้ ก็ยากที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้"

 มองทุกอย่างเชื่อมโยงกัน ไม่ว่าเรื่องชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และธรรมชาติ โดยเดวิด ใช้แนวทางพุทธศาสนามาเป็นหนทางในการแก้ปัญหา

 "เขานำเอาหลักธรรมไปใช้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจประเด็นปัญหา หรือปรากฏการณ์ร่วมสมัย รวมทั้งมีส่วนร่วมในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์แก่โลกสมัยใหม่แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา เพราะทำให้พุทธศาสนามีการปรับตัวอย่างสอดคล้องกับยุคสมัยและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น  แทนที่จะนำเอาคำสอนเดิมๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทเก่าเมื่อหลายศตวรรษที่แล้ว มาผลิตซ้ำและถ่ายทอดอย่างไม่มีความเปลี่ยนแปลง  ทั้งๆ ที่โลกหาได้หยุดนิ่งไม่”  พระไพศาล กล่าวไว้

 ในการบรรยายครั้งนี้ เดวิด ลอย พยายามโยงไปถึงเรื่อง "เงิน" เพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมคนในโลกสมัยใหม่ ถึงคลั่งไคลเงินมากกว่าคนในอดีต ส่วนเรื่อง "กามารมณ์" ก็ต้องมีวิธีการมองอย่างเข้าใจ ตามด้วยเรื่อง สงคราม เกี่ยวกับอำนาจ และกรรม เป็นคำถามใหญ่ของคนตะวันตก โดยเฉพาะการมีตัวตนที่ทำให้เกิดปัญหามากมายในสังคม

 เรื่องหลักที่เขากล่าว คือ คนเรามักคิดว่า ปัญหาอยู่นอกตัวเรา ไม่ว่าเรื่องไม่มีงานทำ ไม่มีแฟน ไม่มีรถ ฯลฯ แล้วคิดว่า ปัญหารอบตัวเราเป็นความทุกข์ ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เราจะมีความสุข

 “ถึงแม้คนเราจะไม่มีปัญหาภายนอก เราก็สร้างปัญหาจากภายในขึ้นมาเอง คำถามก็คือ ความคิดของเรา ทำให้เป็นปัญหาได้อย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะพื้นฐานของตัวเรา สิ่งที่พระพุทธองค์พยายามจะพูดคือ การไม่มีตัวตน ท่านปฎิเสธความคิดที่แบ่งแยกกับตัวเรา ความรู้สึกที่มีตัวตนไม่ใช่ความจริง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เป็นภาวะทางจิตวิทยาที่เราเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก เมื่อเราพัฒนานิสัยความคิด และเรียนรู้ภาษา ประสบการณ์จากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์"

 เดวิด ลอย โยงถึงตัวตนที่ถูกสร้างขึ้นจากนิสัยหรือแนวโน้มความคิดบางอย่าง เพราะเราต้องการรู้สึกว่า เรามีอยู่จริง  ดังนั้นความรู้สึกมีตัวตน จึงเป็นความหลงอย่างหนึ่ง

  "ความรู้สึกว่ามีตัวตน ก็เหมือนเราขาดอะไรบางอย่าง มีความรู้สึกพร่อง จนเกิดอวิชชา(ความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวะเป็นจริง) ทำให้เรารู้สึกไม่พอ มีบางอย่างขาดหายไป แต่เราไม่รู้ว่าคืออะไร เราจึงพยายามมองหาตัวตนของเราจากภายนอก แล้วคิดว่าเงิน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯตอบสนองได้"

  แต่ในทางพุทธ สิ่งภายนอกไม่มีทางตอบสนองความรู้สึกที่ขาดหายไป เรื่องนี้ เดวิด ลอย บอกว่า ความรู้สึกมีตัวตน เหมือนเงาที่ครอบงำ เงาที่ว่าคือ ความรู้สึก เพราะครูในโรงเรียนสอนให้มีตัวตน ก่อนหน้านี้เราเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ไม่มีตัวตนมาก พอเป็นวัยรุ่นก็สร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง

 "จริงๆ ตัวตนที่แท้จริงไม่มีอยู่จริง เป็นแค่เงา และความรู้สึกมีตัวตนประกอบด้วยนิสัย การคิด การแสดงปฎิกิริยา ถ้าเราเข้าใจ ก็จะรู้ว่า สมาธิและภาวนาสำคัญอย่าง ไร เวลาที่เราทำสมาธิ เราก็จะเห็นอารมณ์ความรู้สึก อาจารย์เซนเคยบอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ การปล่อยวางตัวเอง ลืมตัวเอง  โลกไม่ได้แยกจากเรา"

 ในฐานะคนอเมริกัน เดวิด บอกว่า ตอนเด็กๆ ก็มีความรู้สึกขาดเหมือนทุกคน และในสังคมอเมริกามีการสอนให้เราคิดว่า เงินคือ คำตอบ แต่เงินไม่ใช่สิ่งที่ตอบสนองความรู้สึกเราได้

 “ถ้าเรามีความรู้สึกขาดหรือพร่อง อยากวิ่งหนี เป็นเหตุให้เราทำงานๆ โดยไม่สนใจปฎิบัติ เรามุ่งว่าในอนาคตชีวิตจะดีขึ้นมีความสุข  สังคมอเมริกาก็เหมือนกับเมืองไทย ผู้หญิงทั่วไปถูกเปรียบเทียบกับผู้หญิงบนทีวี และนิตยสาร พวกเธอได้รับการบอกว่า รูปร่างหน้าตาไม่ดีพอ ถูกทำให้รู้สึกว่า ขาดตลอดเวลา แม้แต่นางแบบหรือนายแบบ ก็ยังรู้สึกว่า ตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ เพราะสังคมทำให้รู้สึกขาด จึงเป็นปัญหาสังคม"

 เดวิด มีข้อแนะนำว่า มีวิธีการเรียบง่ายในการเปลี่ยนแรงจูงใจ เจตจำนง และวิธีที่สัมพันธ์กับผู้คน โดยเปลี่ยนจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งทำให้เกิดปัญหา เป็นความเมตตากรุณา หรือแรงจูงใจในเรื่องปัญญา
 "ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแรงจูงใจ สิ่งที่เราจะสัมพันธ์กับโลกก็จะเปลี่ยนไป"

  ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เดวิด บอกว่า  ไม่ใช่แค่ปัญหาบุคคล ยังมีปัญหาร่วม มีความทุกข์ร่วมทางสังคม และความทุกข์เหล่านี้ดำรงอยู่ในเชิงโครงการ ยกตัวอย่าง ระบบโครงสร้างเศรษฐกิจต้องการกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดหุ้น ผู้ลงทุนต้องการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูง ผู้บริหารจึงถูกกดดัน เพื่อทำกำไรให้องค์กร

 "ขณะที่ระบบเศรษฐกิจต้องเติบโต แต่โลกธรรมชาติไม่สามารถรองรับการเติบโตได้ ยกตัวอย่างในอเมริกามีกองทัพใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขามีอำนาจมาก มีศัตรูตลอดเวลา ถ้าไม่มีศัตรูก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะลงทุนในกองทัพ ซึ่งเป็นความก้าวร้าว และความโกรธของสังคมอเมริกัน"

 นอกจากนี้เขายังโยงให้เห็นว่า สื่อในอเมริกาเอง ก็ต้องการเงินจากการโฆษณา และมีบางคนบอกว่า การโฆษณาก็เหมือนการตกปลา เบื้องหลังของรายการทีวีก็คือ การใช้เบ็ดตกปลา ส่วนผู้บริโภคก็คือ ปลา เพราะสื่อต้องการให้เราต้องการบริโภคมากขึ้น

 "นี่คือ ฟองสบู่ของสังคมที่รายรอบพวกเรา แทนที่สื่อจะทำความเข้าใจกับปัญหาสำคัญ ให้ข้อมูลและความรู้ สื่อก็ไม่ได้ทำหน้าที่ ถ้าสื่อจริงใจในการทำหน้าที่ คนก็จะบริโภคน้อยลง และสิ่งที่ผมพยายามพูดก่อนหน้านี้ คือ การตื่นรู้ การทำความเข้าใจหนทางสู่โพธิสัตว์ หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องลี้ลับ แต่ผมเข้าใจหนทางแห่งโพธิสัตว์อีกแบบหนึ่ง พวกเราที่เข้าใจเรื่องการตื่นรู้ ความไม่มีตัวตน ก็จะรู้ว่าเราจะอยู่กับความคิดแบบนี้ได้อย่างไร อันนี้คือหนทางแห่งโพธิสัตว์อีกแบบ ก็คือ การเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตตามความเข้าใจและปัญญาหรือความกรุณาที่เกิดขึ้น เหมือนเช่นอาจารย์ท่านหนึ่งสรุปว่า

 เมื่อฉันมองเข้าไปภายใน และเห็นว่าฉันไม่เป็นสิ่งใด นั่นคือ ปัญญา
 เมื่อฉันมองไปภายนอก และเห็นว่า ฉันเป็นทุกสิ่ง นั่นคือ ความรัก ความกรุณา
 และระหว่างความกรุณากับปัญญา ก็เป็นสิ่งที่สวยงาม"

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/society/20120316/442122/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มีนาคม 2555 02:20:52 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ ( เดวิด โบห์ม )
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2013 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 05:14:01
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.353 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:09:30