[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 19 กรกฎาคม 2563 12:10:56



หัวข้อ: ทำไมต้องให้น้ำเกลือแล้วใช้น้ำเปล่าไม่ได้หรือ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 19 กรกฎาคม 2563 12:10:56
ทำไมต้องให้น้ำเกลือแล้วใช้น้ำเปล่าไม่ได้หรือ ?

          หลายคนเข้าใจผิดเอาจริงๆ จังๆ ในเรื่องน้ำเกลือ คือไปนึกทึกทักว่าน้ำเกลือเป็นยาวิเศษ ถ้าต้องเข้าโรงพยาบาล หรือ แม้แต่ไปพบหมอ ต้องขอร้องให้ ให้น้ำเกลือ โดยให้เหตุผลร้อยแปดพันเก้า เช่น จะได้อ้วนท้วนแข็งแรงสุขภาพดี กินได้ นอนหลับ เป็นต้น ส่วนบางคนเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่งเลย

คือเชื่อว่าการให้น้ำเกลือเป็นสัญญาณว่าคนไข้อาการหนักแล้ว อย่างนี้ต้องอธิบายให้ฟังทั้งคู่เสียแล้วละ

เรื่องเป็นอย่างนี้ค่ะ

ตามปกติแล้วร่างกายของคนเราจะเสียน้ำออกไปจากร่างกาย โดยการขับถ่ายเป็นน้ำปัสสาวะ หรือเป็นเหงื่อ หรือเป็นไอน้ำออกมาทางลมหายใจ รวมแล้วจะมีน้ำที่ขับออกมาจากร่างกายวันหนึ่งราว 2 ลิตรครึ่ง เราจึงต้องการน้ำเข้าไปแทนที่โดยการดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ

แต่เมื่อผู้ป่วยเสียน้ำมากกว่าปกติ เช่น ท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก ไข้สูง เสียเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น แพยท์จึงต้องให้น้ำเข้าไปทดแทน โดยให้น้ำเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง แต่เนื่องจากน้ำกับเลือดมีความเข้มข้นต่างกัน จึงเติมเกลือลงไปในน้ำ เพื่อให้มีความเข้มข้นเท่ากับเลือด นอกจาก

นั้นน้ำเกลือยังช่วยเปิดเส้นเลือดไว้ เพื่อให้เลือดหมุนเวียน จนยาที่ผสมอยู่สามารถไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงเส้นเลือดดำได้อย่างราบรื่น   น้ำเกลือจึงไม่ใช่ทั้งยาวิเศษ และสัญญาณอันตรายอะไรเลย เป็นขั้นตอนที่มีเหตุผลของการฟื้นฟูร่างกายของเราเท่านั้นเอง

(https://www.apexprofoundbeauty.com/wp-content/uploads/2019/12/S__3407951.jpg)



หัวข้อ: Re: ทำไมต้องให้น้ำเกลือแล้วใช้น้ำเปล่าไม่ได้หรือ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 19 กรกฎาคม 2563 12:13:38
     น้ำเกลือในยุคแรก คือ น้ำ ผสมเกลือ (NaCl)​ในความเข้มข้น 0.9% เพราะได้ความเข้มข้นใกล้เคียง​กับความเข้มข้นเลือด และผลิตง่ายไม่แพง และยังมีการผสมในความเข้มข้นน้อยลง เป็นขนาด 1/2, 1/3 จนถึง​1/5 ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ​โรคที่ใช้และผู้ใหญ่​หรือ เด็กอายุเท่าไหร่​ อีกทั้ง ยังมีการ

ผสมน้ำตาลเด็กซโตรส  เพื่อให้พลังงาน​ด้วย แต่มีการศึกษา​ต่อมาพบว่าการให้น้ำเกลือ​แบบสมดุล​ (balance salt solution) ซึ่ง​มีทั้ง K, Ca, lactate หรือ acetate จะช่วยให้สมดุล​เกลือ​แร่และดุลกรดด่างในเลือดดีกว่า​ จึงนิยมใช้กลุ่ม​นี้มากขึ้น​ แต่ทั้งนี้​น้ำเกลือแต่ละ​ชนิดมีข้อบ่งชี้ต่างกัน

จึงแล้วแต่​แพทย์​พิจารณา​   น้ำเกลือจริงๆ​ก็จัดเป็นยาอย่างนึง​ เพราะมีทั้งคุณและโทษ มีข้อบ่งใช้​ และข้อบ่งห้าม

ชนิดของน้ำเกลือ

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า น้ำเกลือเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำ และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่อาจมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย เราแบ่งตามความเข้มข้นของน้ำเกลือได้ดังนี้

        1.น้ำเกลือชนิดนอร์มัลซาไลน์ (Normal Saline Solution: NSS) คือ น้ำเกลือแบบธรรมดา ความเข้มข้นอยู่ที่ 0.9 % เป็นค่าที่เท่ากับเกลือที่อยู่ในกระแสเลือดของคนทั่วไป
        2.5% เดกซ์โทรส (5% Dextrose in water: 5%D/W) เป็นน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเดกซ์โทรสอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ในระดับความเข้มข้น 5 % โดยไม่มีส่วนผสมของเกลือแร่
        3.5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS: 5% D/NSS) เป็นการผสมระหว่างน้ำเกลือธรรมดากับน้ำตาลเดกซ์โทรส 5 %
        4.5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) เป็นการผสมระหว่างน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้มข้น 5 % ร่วมกับน้ำเกลือความเข้มข้น 0.3 % ซึ่งน้อยกว่าน้ำเกลือธรรมดา

การใช้น้ำเกลือในทางการแพทย์

หลายคนเข้าใจผิดว่า น้ำเกลือเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือยาบำรุงเลือด เป็นตัวช่วยรักษาบาดแผล หรือฆ่าเชื้อ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด

ในทางการแพทย์จะใช้น้ำเกลือเพื่อประโยชน์ด้านการรักษาผู้ป่วยหลายด้าน เช่น

       ผู้ที่มีอาการท้องเดิน
       ผู้ที่อาเจียนอย่างหนัก จนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
       ผู้ที่เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อก เป็นลม หมดสติ
       ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำตามปกติได้
       ผู้ที่มีมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
       ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัด
       ผู้ป่วยที่ต้องใช้สารน้ำเป็นทางผ่านก่อนส่งยาเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ง่ายต่อการฉีดยา โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวหลายๆ ครั้งใช้เป็นอาหารทดแทน


ข้อควรระมัดระวังในการใช้น้ำเกลือ

    แม้น้ำเกลือจะมีความปลอดภัย ทว่ามีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะแบ่งประเภทการใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในช่วงนั้นๆ  ตามหลักการแพทย์ น้ำเกลือเป็นตัวช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย และบรรเทาอาการบางอย่าง แต่ในการใช้งานจะต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้

       1.ผู้ป่วยที่มีภาวะบวมน้ำ หรือเป็นโรคไตวาย จะต้องใช้อยู่ในความดูแลของแพทย์ ไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นมาก เพราะเสี่ยงที่จะทำให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหัวใจวาย หรือน้ำคั่งในปอดจนเป็นภาวะปอดบวมน้ำตามมา
       2.กรณีที่มีผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือที่มีส่วนผสมของ NSS แต่ให้เลือกใช้น้ำเกลือในที่มีความเข้มข้นเพียง 0.3 % ก็เพียงพอ
       3.หลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือพร่ำเพรื่อ แต่ให้เฉพาะกับคนที่จำเป็นต้องได้รับเท่านั้น เนื่องจากน้ำเกลือเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของร่างกาย การได้รับมากเกินไปย่อมส่งผลเสียตามมา
       4.น้ำเกลือที่นำมาใช้จะต้องมีความเข้มข้นเท่ากับ "เกลือที่อยู่ภายในเลือด" หากได้รับน้ำเกลือที่เข้มข้นต่างไปจากนี้อาจส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล ได้รับเกลือแร่ที่เข้มข้นมากเกินไปจนเสียชีวิตตามมาได้
       5.กรณีพบอาการหนาวสั่น รู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการผิดปกติอื่นใดในระหว่างให้น้ำเกลือ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลในทันที     
       6.พึงตระหนักว่า การให้น้ำเกลืออาจเกิดผลข้างเคียงได้หลายประการ เช่น อาการปวดบริเวณที่ให้น้ำเกลือ การติดเชื้อ เส้นเลือดดำอักเสบ ภาวะน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติ เกิดลิ่มเลือด และอุณหภูมิในร่างกายต่ำ


          จะเห็นได้ว่า น้ำเกลือคือ น้ำที่มีความเข้มข้นเท่ากับน้ำในร่างกายของเรา เมื่อเกิดภาวะต่างๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้น้ำเข้าไปทดแทนโดยไม่ผ่านการดื่ม จำเป็นต้องใช้น้ำเกลือ   ที่สำคัญควรใช้น้ำเกลือภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเกลือแตกต่างกันนั่นเอง




          ที่มาhttps://www.honestdocs.co/saline-solution-types-and-uses] [url]https://www.honestdocs.co/saline-solution-types-and-uses (http://[url)[/url]