คุณค่าอาหารของผักผลไม้สีต่าง ๆ

(1/3) > >>

เงาฝัน:
Tweet





คุณค่าอาหารของผักผลไม้สีต่าง ๆ

"ผักผลไม้สีต่างๆ จะมีสารอาหารสำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มากมาย" ดังนี้ :

ผักผลไม้สีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง
ผักผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง จะมี ส่วนประกอบของสารสำคัญชื่อแอนโธไซ-ยานิน (anthocyanin) ซึ่งสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง (ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน) ชะลอความเสื่อมของดวงตา นอกจากนี้ แอนโธไซยานิน ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย

ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง มันสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ มันเทศสีม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน น้ำว่าน-กาบหอย เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิ้ลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด ลูกหม่อน(มัลเบอรี่) บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่ ฯลฯ

                    

ผักผลไม้สีเขียว
ผักผลไม้ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว เช่น สีเขียวเข้ม เขียวอ่อน เขียวปนเหลือง และเขียวขาว ซึ่งมีสารอาหารสำคัญอยู่มากมาย เช่น คลอโรฟิลล์ และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์กลุ่ม ลูทีน (eutein) และซีแซนทิน (zeaxanthine) อินโดล (indoles) ไธโอไซยาเนต (thiocyanate) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ลูทีนและซีแซนทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคศูนย์จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นใครที่อยากถนอมสายตาไว้ ใช้งานนานๆ ก็ต้องกินผักที่มีลูทีนและซีแซนทีนบ่อยๆ ซึ่งมีอยู่มากในผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม แตงกวาทั้งเปลือก ซูกินีทั้งเปลือก ถั่วแขก ถั่วลันเตา ข้าวโพด อะโวคาโด มัสตาร์ด ฯลฯ

อินโดล เป็นสารประกอบไนโตรเจน ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับให้สร้างเอนไซม์ออกมาใช้ในการต้านมะเร็ง ป้องกันไม่ให้ DNA ถูกทำลายลุกลามจนกลายเป็นเนื้อร้าย และยังเป็นตัวเร่งการกำจัดฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่มดลูกและที่เต้านมที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนตัวนี้ได้ อินโดลมีมากในผักวงศ์กะหล่ำ เช่น แขนงกะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี คะน้า หัวไชเท้า ฯลฯ

ไธโอไซยาเนต สารตัวนี้มีอยู่ในผักสีเขียวแทบทุกชนิด
ฟลาโวนอยด์ มีมากใน องุ่น เชอรี่ แอปเปิ้ล ส้ม มะนาว

นอกจากนี้แล้ว ผักผลไม้สีเขียวชนิดอื่นๆ เช่น ผักกาด ขาว บวบ หน่อไม้ฝรั่ง ชะอม ใบชะพลู ใบทองหลาง ใบย่านาง สะตอ ขึ้นฉ่าย กุยช่าย มะเขือหลากชนิด ฯลฯ ซึ่งล้วนมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และซีลีเนียม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานให้แก่ร่างกาย

                                     

ผักผลไม้สีขาว
พืชผักและผลไม้ที่มีสีขาว สีชา และสีน้ำตาล มีสารประกอบสำคัญหลายชนิดที่นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น สารประกอบกำมะถันจากกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ฟลาโวนอยด์หลายชนิด เพ็กติน และเส้นใยจากผลไม้หลายอย่าง

ผักสีขาวอย่างกระเทียม ต้นกระเทียม หัวหอม กุยช่าย ขึ้นฉ่าย เซเลอรี่ (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) เห็ด ฯลฯ มีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายคือ อัลลิซิน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอก

หอมหัวใหญ่ แอปเปิ้ล ต้นกระเทียม ผลฝรั่ง ชาขาว ชาเขียว มี ฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของ เซลล์มะเร็ง และลดการต้านยา ในเซลล์มะเร็ง

ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีสารไอโซฟลาโวน ที่มีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจนอย่างอ่อน เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจน (ฮอร์โมน ที่ได้จากพืช) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

เนื้อสีขาวและเปลือกของผลมังคุด มีสารแซนโทน (xanthone) (กลุ่มของฟลาโวนอยด์) สารตัวนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า ต้านเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อวัณโรค ต้านเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยรักษาระดับน้ำตาล ในเลือด ให้เหมาะ และรักษาระบบภูมิคุ้ม-กันให้อยู่ในสภาพที่ดี (ปัจจุบันมีการจำหน่ายสารสกัดและเครื่องดื่มแซนโทน จากมังคุด ในประเทศสหรัฐอเมริกา)

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย สารสำคัญในลูกเดือยที่ชื่อ กรดไซแนปติก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในตำรา การแพทย์แผนจีนใช้ลูกเดือยรักษาโรคมะเร็งและอาการอื่นๆ มานานแล้ว และปัจจุบันก็มีการทดลองใช้ สารสกัดไขมัน จากลูกเดือย ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วย

ขิงและข่า เป็นพืชอาหารที่มีฤทธิ์ เสริมสุขภาพและรักษาโรค สารสำคัญในขิงที่ชื่อ 6-จิงเจอรอล (6-gingerol) มีฤทธิ์ต้าน การอักเสบ ลดปริมาณไขมันในเลือด ต้านการรวมตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการกินขิงจึงเหมาะ สำหรับการดูแลความดันเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือด หัวใจอุดตันได้

เหง้าข่า มีสารกาลานาน เอ และ บี (galanal A, B) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมีสารต้านการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ได้

เมล็ดงา (ทั้งขาวและดำ) มีสารเซซามิน (และสารอื่นๆ อีกหลายชนิด) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มปริมาณวิตามินอี ในร่างกาย การกินเมล็ดงาในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถลดไขมันในกระแสเลือด และลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดได้

ธัญพืช เมล็ดถั่วต่างๆ จมูกข้าวสาลี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีกรดไฟติก ซึ่งมีคุณสมบัติดูดจับโมเลกุล ของโลหะ มีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดโคเลสเตอรอล ลดไขมันและปริมาณน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร (และผลไม้อื่นๆ ที่ทำแยมได้) มีสารเพ็กตินซึ่งเป็นเส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเส้นใยดังกล่าว มีความสามารถจับตัวกับน้ำตาล และปลดปล่อยโมเลกุลของน้ำตาลออกสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปริมาณ น้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ ช่วยลดความอยากอาหาร ให้ความรู้สึกอิ่มหลังกิน จึงเป็นอาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้

นอกจากนี้ ยังมีผักผลไม้สีขาวอีกหลายชนิดที่เราควรกินสลับสับเปลี่ยนกันไป ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ละมุด แห้ว เมล็ดแมงลัก ผักผลไม้สีขาว และสีน้ำตาลชนิดอื่นๆ



เงาฝัน:

ผักผลไม้สีเหลือง-สีส้ม
พืชผักที่มีสีเหลืองและสีส้ม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด เช่น วิตามินซี แคโรทีนอยด์ (สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ได้แก่ เบต้า-แคโรทีน แอลฟา-แคโรทีนฯ) และสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งสารอาหารสำคัญในพืชผัก ผลไม้กลุ่มนี้ จะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคต้อกระจก ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดี

ผักผลไม้ที่มีสีส้ม ส้มอมเหลือง และเหลืองอ่อน เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ขนุน แคนตาลูป มันเทศ ลูกพลับ ทุเรียน เสาวรส ขมิ้นชัน (ใช้รักษาโรคกระเพาะ) ฯลฯ ล้วนอุดมไปด้วยสารมหัศจรรย์ที่ชื่อว่า เบต้าแคโรทีน และ ความจริงแล้วสารเบต้าแคโรทีนก็มีอยู่ในผักผลไม้สีเข้มแทบทุกชนิด เช่น พริกแดง มะเขือเทศ ตำลึง คะน้า ผักโขม ฯลฯ ซึ่งเราสามารถกินทดแทนกันได้ แต่อาจจะได้รับสารเบต้าแคโรทีนไม่มากเท่าพืชผักสีส้มเท่านั้นเอง
                              
ผักผลไม้ สีแดง
ผักผลไม้ต่างๆ ที่มีสีแดง จะมีสารตัวที่ชื่อว่า ไลโคพีน (lycopene) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่พืชผัก ต่างๆ เช่น มะเขือเทศ พริกแดง แตงโม กระเจี๊ยบแดง ฝรั่ง มะละกอ หัวบีทรูท สตรอเบอรี่ เชอรี่ เมล็ดทับทิม ฯลฯ คุณประโยชน์ของ ไลโคพีนในพืชผักผลไม้เหล่านี้คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยชะลอ ความเสื่อม ของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง (มะเขือเทศ จึงได้รับการขนานนามว่า เป็นพืชแห่ง ความงาม ที่สาวๆ รู้จักกันดี) และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด

สำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินผักผลไม้ สุขภาพมักจะไม่ค่อยดี อาจป่วยเป็นหวัดได้ทั้งปี ทั้งนี้ก็เพราะร่างกายขาดภูมิคุ้มกันหรือขาดสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในพืชผัก สารพัดชนิด นั่นเอง และเมื่อเรารู้แล้วว่าผักผลไม้หลากสีเหล่านี้มีคุณค่ามากต่อสุขภาพ ดังนั้นในการนำมาประกอบเป็นอาหาร เราก็ควร ถนอมสารสำคัญเหล่านี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลายไปกับความร้อนให้ได้มากที่สุด

ขั้นตอนในการปรุงอาหารเพื่อรักษาวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารสำคัญไว้ให้มากที่สุด คือ การหุงต้มในเวลาอันสั้น หรือผัก บางชนิด กินสดได้เลยก็ยิ่งดี ควร ล้างผักให้สะอาดก่อนหั่น แล้วอย่าหั่นชิ้นเล็กจนเกินไปเพราะจะทำให้มีช่องทาง ที่สารอาหาร จะสลายออกไปมากขึ้น

ฮิปโปเครตีสเคยพูดเอาไว้ว่า "อาหารคือยา ยาก็คืออาหาร" คำพูด นี้ยังคงเป็นสัจธรรมอยู่เสมอ ซึ่งถ้าเรากินอาหาร ได้ถูกสัดส่วน อย่างพอเหมาะ อาหารที่กินเข้าไปก็เปรียบเสมือนยาที่ช่วยรักษาดูแลร่างกายให้แข็งแรง และหากเกิดเจ็บป่วย ขึ้นมา นอกเหนือจากยาที่ต้องกินเพื่อรักษาโรคโดยตรงแล้ว อาหารทุกชนิดก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ ถ้าเรารู้ และเลือกกิน ให้เหมาะกับโรคที่เป็นอยู่

ข้อมูลอ้างอิง:
นิตยสารหมอชาวบ้าน, สิงหาคม ๒๕๔๘.

นิตยสารสรรสาระ, ตุลาคม ๒๕๔๕.
นิตยสาร "HEALTH & CUISINE", ๒๕๔๖.
http://www.asoke.info/.

 (:88:)   http://www.oursiam.net/content/view.php?id=137

เงาฝัน:




หนึ่งวันกิน 7 สี เพื่อสุขภาพดี

สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ถึงกับแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้ 5-9 หน่วยรับประทาน (serving) ต่อวัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ชายให้รับประทาน 9 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงให้รับประทาน 7 หน่วยต่อวัน และเด็กรับประทาน 5 หน่วยต่อวัน ซึ่งใน 1 หน่วยการรับประทานนั้น ประกอบด้วย ผักสด 1 ถ้วย ผักที่ผ่านการปรุงแล้วครึ่งถ้วย และผลไม้อีกครึ่งถ้วย แต่ในหนึ่งหน่วยของการบริโภคผักและผลไม้นั้น ยังมีเรื่องของสีสันเป็นองค์ประกอบหลักในการเลือกรับประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
  
    ผักผลไม้แต่ละชนิดนอกจากจะให้คุณประโยชน์แตกต่างกันแล้ว ยังมีสีสันที่ต่างกันไปอีกด้วย ซึ่งสีสันของผักผลไม้นั้นไม่ใช่แค่ส่วนประกอบช่วยเพิ่มความเชิญชวนในการรับประทานเท่านั้น แต่สีสันที่มีอยู่ในผักผลไม้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ซึมผ่านเข้าไปในแต่ละอวัยวะภายในร่างกายเพื่อช่วยบำรุงทั้งสมอง สายตา หัวใจ และส่วนต่างๆ ของร่างกายอีกมากมาย เพราะฉะนั้นสีสันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในแต่ละวันเราจึงควรรับประทานผักผลไม้ให้ครบทั้ง 7 สี เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายเราเอง ผัก ผลไม้ที่เราพบเห็นและบริโภคกันอย่างเอร็ดอร่อยนั้น มีสีสันที่แตกต่างหลากหลายกันไปตามแต่ละชนิด แต่บางคนอาจจะงงๆ และสงสัยว่าผัก ผลไม้สีไหนให้ประโยชน์อย่างไร และการรับประทานผักผลไม้ให้ครบทั้ง 7 สีในหนึ่งวันนั้นควรจะต้องรับประทานผักผลไม้และพืชพรรณใดเข้าไปบ้าง

                                                                        

                       ข้อมูลข้างล่างนี้เป็นการแบ่งแยกสีสันของผักผลไม้ทั้ง 7 สี รวมถึงบอกสรรพคุณ
                                         ที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนต่างๆ ไว้ดังนี้
  
สีแดง ผักผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีสันร้อนแรงสีนี้ ได้แก่ มะเขือเทศ ส้มโอสีชมพู แตงโม ซึ่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงปอด โรคมะเร็งที่หัวใจและปอด ผักผลไม้สีแดงช่วยป้องกันได้

สีแดง - ม่วง ผักผลไม้ที่ให้สีสันนี้ ได้แก่ องุ่น ลูกพรุน แครนเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ลแดง สำหรับคนที่อยากได้ชื่อว่าเป็นคนฉลาดควรต้องรับประทานผัก ผลไม้ในกลุ่มนี้ เพราะผลไม้สีแดง-ม่วง จะเข้าไปช่วยบำรุงการทำงานของเซลล์สมอง ใครอยากเป็นอัจฉริยะก็ต้องรับประทานผักผลไม้สีนี้กันเยอะๆ

สีส้ม ผักผลไม้ในสีสันที่ยั่วยวนชวนรับประทานนี้ ได้แก่ แครอต มะม่วง แอปริคอต แคนตาลูป ฟักทอง มันฝรั่งหวาน ผลไม้จำพวกแตง พิเศษสุดสำหรับสาวๆ ที่อยากเป็นสาวสุขภาพดีและมีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งนวลเนียนแล้วล่ะก็ ผักผลไม้สีส้มสามารถช่วยได้ แถมยังช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย

สีส้ม-เหลือง ผักผลไม้ในประเภทนี้ ได้แก่ ส้ม ส้มเขียวหวาน พีช มะละกอ เนคทารีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงหัวใจ และกระเพาะอาหาร และสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือท้องผูก สีส้ม-เหลืองก็พอช่วยได้ และในสีส้ม-เหลืองนี้ยังมีวิตามินซีจำนวนมาก ผักผลไม้สีส้ม-เหลืองยังบำรุงระบบเซลล์ในร่างกาย และมีความสารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ได้อีกด้วย
  
            

สีเหลือง-เขียว ผักผลไม้ประเภทนี้ ได้แก่ ผักขม อโวคาโด แตงโมฮันนีดิว กะหล่ำเขียว
ผักกาดเทอร์นิพ ข้าวโพดเหลือง ถั่วลันเตา ผักผลไม้สีนี้มีประโยชน์ช่วยบำรุงตับของเราให้แข็งแรง และยังกระตุ้นระบบการฟอกของเสียต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย ส่วนสาวๆ ที่กังวลเรื่องริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าสีเหลือง-เขียว ก็สามารถกำจัดริ้วรอยที่ไม่พึงประสงค์ออกไปได้

สีเขียว ผักผลไม้ประเภทนี้ ได้แก่ บร็อกโคลี่ หัวกะหล่ำปลี กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีจีน ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบุ้ง แน่นอนว่าที่เราเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดกันเสมอๆ ว่ากินผักบุ้งจะทำให้ตาหวาน เพราะว่าพืชผักผลไม้สีเขียวนี้จะมีวิตามินเอเยอะ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการบำรุงสายตาของเราให้มีสุขภาพดี

สีขาว-เขียว ผักผลไม้ในประเภทสุดท้ายนี้ ได้แก่ กระเทียม ใบกระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ลูกแพร์ ใบเอนไดฟ์ ประโยชน์ของผักผลไม้สีนี้ก็คือ ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ ใครไม่อยากเป็นโรคหัวใจก็ต้องบริโภคผักผลไม้สีขาว-เขียวกันเยอะๆ แล้วก็ได้รู้กันแล้วว่าผักผลไม้ทั้ง 7 สี แบ่งเป็นสีสันประเภทไหนกันบ้าง ตอนนี้ก็เหลือแค่ว่าเราจะเลือกรับประทานกันให้ถูกวิธีได้หรือก็ไม่เท่านั้น
 

ขอบพระคุณที่มาจาก นสพ.ข่าวสด
 (:88:)   http://www.bareo-isyss.com/17/health.php

เงาฝัน:



กินดอกไม้ป้องกันโรคภัย ซ่อนกลิ่นมีสารต้านมะเร็งสูง

เท่าที่อ่านมา เขาบอกว่า..จริงๆแล้วคนทุกคนมีมะเร็งอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น..จะเป็นมะเร็งหรือไม่ก็อยู่ที่เราดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งหรือไม่..การดูแลตัวเอง อยู่ที่การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์หรือไม่ อยู่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำหรือไม่..เก็บข้อมูลของสาเหตุการเกิดมะเร็งเอาไว้พอประมาณ..แต่วันนี้อยากเห็นสีสวยๆของดอกไม้ และพืชผักผลไม้สีหลากหลาย สีสวยๆ ที่ดีมีประโยชน์หากเรานำมารับประทาน..อิ..กินอาหารที่เป็น ดอกไม้ พืชผัก ผลไม้ สีต่างๆที่ดีมีประโยชน์ให้มากพอและสลับกัน  อย่ากินอะไรอย่างเดียวอยู่ทุกมื้อ  จะเป็นมะเร็งเอาได้เนาะ..อะ ดอกไม้ ใช่ว่าจะสวยอย่างเดียว ดอกไม้ก็มีประโยชน์ป้องกันโรคภัยได้เหมือนกัน อย่างกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่น..ไม่น่าเชื่อเนาะ..

ทั้งกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่นให้สารต้านมะเร็งสูง มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ  นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการสำนักบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.เป็นผู้ประสานงานโครงการอาหารและโภชนาการ สนับสนุนการปลูกพืชปลอดสารเคมี ทั้งผักและดอกไม้



นายสง่ากล่าวถึงการนำดอกไม้มาประกอบอาหารว่า ดอกไม้มีความแตกต่างจากผักหรือใบไม้คือ มีสีหลาก หลายทั้งม่วง ส้ม แดง เหลือง ขาว เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไฟโตเคมีคอล เช่น สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งดอกไม้ที่รับประทานกันอยู่แล้ว เช่น ดอกแคแกงส้ม ดอกขจร ใช้ใส่ในไข่เจียว ดอกโสนผัดไข่ แต่โครงการดอกไม้กินได้ นำดอกไม้หลาก หลายชนิดมารับประทาน เช่น ดอกซ่อนกลิ่น ดอกกุหลาบ ชบา ดาวเรือง เข็ม กล้วยไม้ ทำได้หลากหลายเมนูตั้งแต่ กล้วยไม้ทอดกรอบ ต้มจืด ยำ



"พืชผักสีม่วงแดงช่วยป้องกันมะเร็ง ส่วนเส้นใยช่วยระบบขับถ่ายดี ไม่ท้องผูก ดอกลีลาวดี หรือจำปานำมาชุบแป้งทอดสรรพคุณขับลม ขับปัสสาวะ อ่อนเพลีย ดาวเรือง บำรุงสายตา แก้ตาเจ็บ ไอ คางทูม ทาแผล หลอดลมอักเสบ น้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน ส่วนชบา ดาหลา สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ กุหลาบ ดอกบัว มีน้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ดอกลิลลี่คลายเครียด" นายสง่ากล่าว

       ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข หัวหน้าโครงการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษที่ดอยแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หลักในการเลือกดอกไม้กินได้ ให้เลือกตามภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ถ้าสัตว์กินได้ คนก็กินได้ เพิ่มความมั่นใจด้วยการเลือกดอกไม้ปลอดสารพิษ ไม่ฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งโครงการฯได้จัดแปลงสาธิตไว้ที่ดอยแม่วาง เป็นแหล่งดูงานของเกษตรกร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน สสส.ตั้งเป้าหมายให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ รับประทานดอกไม้ นานาชนิด.



ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

เงาฝัน:




นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย ให้คำแนะนำว่า การกินผักหลากสีส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะผักเป็นแหล่งรวมของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งผักยังมีกากใยช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยนำคอเลสเตอรอล สารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมสารพิษภายในร่างกาย

      ทั้งนี้ ขณะนี้ผู้คนมักจะมองข้ามการกินผัก โดยส่วนใหญ่นิยมกินแต่เนื้อ ขนมหวานแทน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็กและสูงอายุต้องได้รับสารกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีวิตามินซีมาก ซึ่งวิตามินซีที่จะทำหน้าที่สำคัญในการทำให้เซลล์ผิวหนัง กระดูกอ่อน เอ็น กล้ามเนื้อ ผนังเส้นเลือด โครงสร้างภายในกระดูก ช่วยให้ฟันแข็งแรง และการที่จะได้รับใยอาหารให้เพียงพอ




สีของพืชผัก-ผลไม้ ให้คุณค่าต่างกันอย่างไร


สารสีแดง มีสาร Cycopene เป็นตัวพิวเม้นท์ให้สีแดง ในแตงโม มะเขือเทศ สาร Betacycin ให้สีแดงในลูก ทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxydants ซึ่งจะช่วย ป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิด

สารสีส้ม ผักและผลไม้ สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสาร Betacarotene ซึ่งมีศักยภาพ ต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีด ที่กินมะละกอ หรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตร ของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอท วันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลอง กินมะละกอ ห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิว หน้าที่เป็นฝ้า ให้หายได้ โดยไม่ต้อง พึ่งครีมแก้ฝ้าเลย

        สารสีเหลือง พิกเม้นต์ Lutein คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกัน ความเสื่อม ของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น

                  

        สารสีเขียว พิกเม้นต์คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียว แก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัด กลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย

       สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วง ที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า สารตัวนี้ช่วยลบล้างสาร ที่ก่อมะเร็ง และสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยง ในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย

        รู้อย่างนี้แล้ว รีบเดินหน้าหา พืชผักผลไม้ ที่ให้คุณประโยชน์ ตามสีสันกันเถอะค่ะ แล้วมาลด ละ เลิก อาหารฟ้าสต์ฟู้ดยี่ห้อเมืองนอก ที่รังแต่จะทำให้เราอ้วนกันเสียที เริ่มวันนี้ยังไม่สาย เพื่อสุขภาพที่ดี และความสดชื่น และอ่อนเยาว์ของทุกคนนะจ้ะ..


 (:88:)    http://www.oknation.net/blog/kanis/2009/12/10/entry-1

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป