สมอไทย สมุนไพรในพระไตรปิฎก

(1/2) > >>

Kimleng:
Tweet


       สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
        


พุทธโอสถ
สมอไทย  สมุนไพรโอสถทิพย์

ในสมัยพุทธกาล ยามพระพุทธองค์ทรงพระประชวร  หรือพระสงฆ์อาพาธ  มักเสวยหรือฉันสมอไทยเป็นยาหลัก  จนได้รับยกย่องว่าเป็นพุทธโอสถ   ดังมีพระพุทธรูปปางทรงฉันสมอปรากฏเป็นหลักฐาน  หรือตามพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระองค์ประชวรครั้งสุดท้าย ก็เสวยผลสมอไทยเหลือไว้ครึ่งลูก และพระราชทานผลสมอไทยครึ่งลูกนั้นแด่พระสงฆ์เป็นทานครั้งสุดท้าย

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ครั้งพุทธกาล  มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง  ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า  พระองค์จึงตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค”   และยังได้เล่าถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ครั้งเสวยพระชาติเป็นพระหรีตกิทายกเถระ ว่า ท่านได้นำผลสมอถวายแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า  ทำให้ทรงบรรเทาพยาธิทั้งปวง  จึงได้ทรงทำอนุโมทนาว่าด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่องระงับพยาธินี้  ท่านเกิดเป็นเทวดา  เป็นมนุษย์  หรือจะเกิดในชาติอื่น  จงเป็นผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง  และท่านอย่าถึงความป่วยไข้  ฉะนั้น เพราะการถวายสมอนี่เอง ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่ท่านเลย   นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน

ตำนานขานยังเล่าถึงกำเนิดสมอไทยว่า  ครั้งหนึ่งพระอินทร์กำลังเสวยน้ำอมฤต  บังเอิญน้ำอมฤตหยดหนึ่งหกลงมาบนพื้นโลก  กลายเป็นต้นสมอไทย  มีสรรพคุณแก้ได้สารพัดโรค จึงเรียกว่าโอสถทิพย์หรือผู้ให้กำเนิดชีวิต  กับอีกตำนานว่า ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้  พระอินทร์ทรงเห็นว่าพระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร  จึงได้นำผลสมอทิพย์มาถวาย


พระพุทธรูปปางฉันสมอ


สมอไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia Chebuia Retz  โดยทั่วไปเรียก สมอไทย  สมออัพยา  ภาคเหนือเรียก ม่าแน่  มะนะ    ต้นสมอไทย  เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง  ไม่ใหญ่โตมากมายแต่อาจจะถึงขนาดใหญ่ ได้เหมือนกันเมื่อเจริญเติบโตมากๆ  ในบางท้องที่ ๆ ดินดี  ใบโตขนาดใบกระท้อน  หนา  กลม  แต่ปลายใบแหลม  ดอกของสมอไทยเล็ก  ออกเห็นช่อสีเหลืองๆ เขียวๆ  มีผลกลมโตมีเหลี่ยมเล็กน้อย  สีเขียวๆ  แดงๆ  รสฝาดอมหวาน  ดอกจะออกเป็นช่อน่าดู    ส่วนที่นำมาใช้ได้แก่ ดอก ลูกแก่ ลูกอ่อน เนื้อลูกสมอ และเปลือกต้น   สมอไทยมีความพิเศษเหนือสมุนไพรอื่น ๆ สมตำนานเล่าขาน คือ เป็นสมุนไพรที่มีเกือบครบทุกรส ได้แก่ รสเปรี้ยว ฝาด หวาน ขม เผ็ด แถมยังมีรสเค็มและรสเมาแทรกอยู่ด้วย  ตามตำรายาไทยกล่าวว่า รสของยาบ่งบอกสรรพคุณของยา    อย่างกรณีของสมอมีสรรพคุณดังนี้
 
รสเปรี้ยว มีสรรพคุณกัดเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ ฟอกโลหิต  แก้ประจำเดือนไม่ปกติ  แก้โรคท้องผูก  ชำระล้างเมือกมันในลำไส้
รสฝาด   ช่วยสมานแผลในปากไปจนถึงแผลในกระเพาะลำไส้  แก้ท้องเสีย  แก้บิด  ซึ่งสรรพคุณของรสฝาดช่วยระงับการถ่าย (รู้ปิด)  ตรงกันข้ามกับรสเปรี้ยวซึ่งช่วยให้ถ่าย (รู้เปิด)  เมื่อลูกสมอไทยมีรสเปรี้ยวและรสฝาดผสานกัน  จึงมีสรรพคุณเป็นทั้งยาระบายและยาระงับการถ่าย คือ รู้เปิด รู้ปิด ไปในตัว
รสหวาน   บำรุงเนื้อ  บำรุงกำลัง
รสขม   แก้ไข้  บำรุงน้ำดี  ถอนพิษผิดสำแดง  ช่วยเจริญอาหาร
รสเผ็ด   ขับลมในกระเพาะลำไส้  แก้ปวดท้องจุกเสียด  ช่วยย่อยอาหาร
รสเค็ม   ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  แก้ประดงน้ำเหลืองเสีย
รสเมา   แก้พิษฝี  พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  แก้พยาธิต่าง ๆ  แก้ริดสีดวง  ระงับประสาท  ทำให้นอนหลับสบาย  

และเพราะสมอไทยมีหลายรส  เมื่อกินสมอไทยอย่างเดียวจึงเท่ากับกินสมุนไพรหลายอย่าง  กล่าวกันว่า ถ้าใครกินสมอไทยวันละ ๑ ลูกทุกวัน  โรคภัยไข้เจ็บจะไม่มากล้ำกลาย  วิธีกิน  เอาสมอไทย ๑ ลูก  แช่ในน้ำ ๑ แก้ว  เป็นเวลา ๑ คืน  ตื่นเช้ากินทั้งน้ำและเนื้อ  เป็นยาบำรุงกำลัง  ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีสรรพคุณบำรุงกำหนัดควบคู่กันไป  แต่สมอไทยกลับตรงกันข้าม คือแทนที่จะเพิ่ม กลับลดกำหนัด  อาจด้วยเหตุนี้  พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสมอไทยเป็นยาสำหรับพระสงฆ์ฉันบำรุงร่างกาย  แก้อ่อนเพลีย  โดยลดความกำหนัดไปในตัว

สรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ควรขยายความ คือแก้โรคท้องผูกเรื้อรัง  โดยสมอไทยไม่ใช่ยาถ่ายเท่านั้น แต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด  มีสมรรถภาพในการบีบตัว  ขับถ่ายได้คล่อง  วิธีกินสมอไทยแก้โรคท้องผูก ต้องกินวันละ ๓-๕ ลูกทุกวัน  จนอาการท้องผูกหายไป จึงหยุดกิน  สำหรับผู้ที่มีอาการไอ  เจ็บคอ  เสียงแห้ง  มีเสมหะติดคอ  คันคอยิบ  ให้เอาเนื้อลูกสมอไทยมาผสมเกลือและข่าแก่พอสมควร  ตำสามสิ่งนี้ให้แหลกเข้ากันดี  แล้วแบ่งอมขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย  ที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นไว้ใช้ต่อ  อาการไอคันคอยิบ ๆ จะหายไป  หลังจากอมยาต่อเนื่องราว ๑ สัปดาห์

 




ที่มา :
  - คอลัมภ์ “รู้ไปโม้ด”  โดย...น้าชาติ  ประชาชื่น   น. ๒๔  นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธที่ ๙ พ.ค. ๕๕
  - www.ajareeherb.com
  - student.nu.ac.th




wondermay:
หนำเลี้ยบ

         หนำเลี้ยบหรือสมอจีน ที่เรามักจะนำมาทำอาหารไม่ว่าจะผัด ต้ม หรือทอด ก็อร่อยถูกปากนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะต่อกระเพาะอาหารและปอด

         ตามปกติแล้ว เรามักจะนิยมกินผลสดของหนำเลี้ยบ โดยจะนำมาทำอาหารต่างๆ นั่นเอง โดยคุณสมบัติในการรักษาของหนำเลี้ยบก็มีมาก มาเริ่มต่อฤทธิ์ของหนำเลี้ยบที่มีผลต่อปอดก่อน จะรักษาโรคไอเรื้อรังได้ดีมาก นอกจากนี้สำหรับผู้เป็นพิษสุราเรื้อรัง ส่งผลต่อตับก็ช่วยได้เช่นกัน

         ส่วนคุณสมบัติต่อระบบทางเดินอาหารและกระเพาะอาหารนั้นก็จะมีสรรพคุณในการรักษาโรคเลือดไหลในกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวาร โรคบิดและโรคลำไส้อักเสบ

         นอกจากผลสดแล้ว หนำเลี้ยบดองยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอได้ดีมาก นับว่าประโยชน์ของหนำเลี้ยบมีมากจริงๆ

Kimleng:

- ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงพระประชวรท้องผูก  หมอชีวกโกมารภัจจ์ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ได้ถวายสมอเพื่อเป็นยาระบายให้แก่พระพุทธองค์  ภายหลังพระพุทธองค์จึงมีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันสมอ และมะขามป้อม เพือเป็นคิลานเภสัช (ยาสำหรับภิกษุ ยารักษาโรค) ได้โดยไม่ถือเป็นการต้องอาบัติ  หลักฐานปรากฎในพระวินัย ว่าด้วยสิกขาบท
 
- ถ้ามีโอกาส กิมเล้งมักชอบไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และชอบที่จะแวะที่วัดมเหยงค์  และได้ไปพบสมอไทยแช่อิ่ม ใส่ถุงเล็ก ๆ (ถุงละ ๕ บาท)  วางจำหน่ายที่ร้านค้าสวัสดิการของวัด   และบริเวณที่วางจำหน่ายสมอนั้น มีหนังสือเขียนไว้ว่ารับประทานได้ไม่จำกัดเวลา .

หมีงงในพงหญ้า:
จริง ๆ แล้วลูกสมอ หรือหนำเลี้ยบนี่

ถ้าจะให้ภิกษุทานได้ตลอดเวลาน่าจะเป็นลูกสมอดอง ดังคำของพระพุทธเจ้า...

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค”

นั่นน่าจะหมายความถึงลูกสมอที่ดองด้วยน้ำเยี่ยว (มูตร) ของวัว เท่านั้น (หรือเปล่า ?)

ลูกสมอดองเยี่ยววัว !! คิดแล้วกินไม่ลง !!

 (:NG:) (:RK:) (:NG:) (:RK:) (:NG:)

Kimleng:
อ้างถึง

ฯลฯ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค   ”

ฯลฯ



ที่มา :
  - คอลัมภ์ “รู้ไปโม้ด”  โดย...น้าชาติ  ประชาชื่น   น. ๒๔  นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธที่ ๙ พ.ค. ๕๕



จากการท้วงติงของนาย Mck.  จึงได้ตรวจสอบข้อมูลจากพระวินัยปิฏกแล้ว  ความปรากฎดังนี้


 อนุศาสน์ : คำสอนเบื้องต้น ที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกกล่าวแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ในเวลาอุปสมบท มี ๘ ข้อ แบ่งเป็น นิสัย ๔
    และอกรณียกิจ ๔

นิสัย ๔ คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต  ได้แก่

                  ฯลฯ
๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
ภิกษุในพุทธศาสนาฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำมูตรเน่าหรือน้ำปัสสาวะเป็นยา
ส่วนยาที่ผสมด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย จัดเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับภิกษุ

                

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป