เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 12:42:52 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 12:45:27 » |
|
ดังมีเรื่องของพระเถรีรูปหนึ่ง ซึ่งท่านแสดงไว้ในอรรถกถาขุททกนิกายเถรีคาถา ท่านได้อุปมาโทษของกามไว้มากมาย ถ้าหากว่าเราได้ฟังแล้ว ก็อาจจะเป็นเหตุให้เราเกิดความเบื่อหน่ายในกาม หรือว่าเห็นโทษของกาม คิดที่จะออกจากกาม ผู้นั้นก็มีหวังที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ถ้าหากว่ายังไม่เห็นโทษของกามแล้ว
กามก็จะทำให้ต้องเป็นทุกข์ท่องเที่ยวไปนับภพชาติไม่ถ้วน คือในอดีตก็ต้องเป็นทุกข์ ท่องเที่ยวมานับชาติไม่ถ้วน ในปัจจุบันนี้เราก็ยังติดใจในกามอีก กามก็จะพาให้เราท่องเที่ยวไปในภพชาติต่อไปอีกไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดทุกข์เอาเมื่อไร จึงได้นำเรื่องของพระเถรีรูปนี้ที่ท่านแสดงโทษของกามมาให้ท่านฟัง
คือพระเถรีรูปนี้ในอดีตชาติท่านได้เคยบำเพ็ญบารมีสร้างสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ มาแล้วหลายพระองค์ พระเถรีรูปนี้ในสมัยที่ท่านยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ
ท่านได้ท่องเที่ยวไปเกิดในสวรรค์ตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์จนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วที่ไปเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นก็ได้เป็นมเหสีของท้าวเทวราชทั้ง ๕ ชั้น ได้เสวยความสุขท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพโลกสวรรค์ ได้เสวยความ สุขอันเป็นทิพย์มากมายหาประมาณไม่ได้
เมื่อพ้นจากโลกสวรรค์ลงมาเกิดอยู่ในมนุษย์ก็ได้เกิดในตระกูลสูง ๆ ได้เกิดในตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ได้เสวยความสุขมากมาย เพราะท่านเป็นผู้ที่สร้างสมกุศลมามากมาย กุศลอันนี้ก็ทำให้ท่านท่องเที่ยวไป ในสุคตินับภพชาติไม่ถ้วน ในการที่ท่านท่องเที่ยวไปในภพชาติต่าง ๆ เหล่านั้น ท่านก็พยายามเจริญกุศลที่จะให้ถึง ความพ้นทุกข์อยู่เสมอ จนกระทั่งมาถึงพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กรกฎาคม 2555 21:31:31 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 12:49:08 » |
|
ท่านได้มาเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าโกญจะ อยู่ที่กรุงมันตาวดี ได้พระนามว่าสุเมธา วันหนึ่งพระนางสุเมธาพร้อมด้วยราชธิดาที่มีวัยคราวเดียวกันและเหล่าทาสี ก็ได้พากันไปฟังธรรมในสำนักของพระภิกษุณี เป็นเหตุให้พระนางสุเมธา เกิดความเลื่อมใสในธรรม เห็นทุกข์โทษภัยของวัฏฏะทำให้พระนางเกิดความ เบื่อหน่ายในกาม ไม่ประสงค์ที่จะทำกิจของฆราวาสต่อไป จึงได้ขออนุญาต
พระชนกชนนีออกบวช แต่พระชนกชนนีได้บอกว่าได้ถวายลูกให้กับ พระเจ้าอนิกรัตตะ แห่งกรุงวารณวดีแล้ว พระนางสุเมธาก็กล่าวว่า ลูกยินดีแต่เฉพาะในพระนิพพาน ไม่ยินดีในภพอีกต่อไป เพราะถึงแม้ว่าภพนั้นจะเป็นทิพย์ แต่ภพนั้นก็ไม่ยั่งยืนไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้นจะป่วยกล่าวไปใยถึงกามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ กามเหล่านี้ ก็ล้วนแล้วแต่ว่าเป็นของว่างเปล่าไม่มีแก่นสารสาระ มีรสอร่อยน้อย เหมือนกับหยาดน้ำที่คมมีดซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอันตราย เพราะมีความคับแค้นมาก มีทุกข์มากให้ผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต กามจึงมีความเผ็ดร้อน
เปรียบเหมือนกับงูพิษที่มีอันตราย เพราะมีภัยเฉพาะหน้า หมายความว่างูจะไป ในที่ไหน ถ้ามีคนพบเห็นแล้วก็มักจะถูกตีถูกฆ่าให้เป็นอันตรายฉันใด แม้กามก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าใครไปยินดีในกามแล้ว ก็จะมีแต่ความทุกข์เดือดร้อนเป็นส่วนมาก แต่พวกคนเขลาที่ไม่รู้เหตุผลความจริง ก็พากันติดอยู่ในกาม จึงเป็นเหตุให้ต้องเป็นทุกข์ท่องเที่ยวไปชั่วกาลนานตามกรรมของตนที่ทำมา
เพราะคนเขลาไม่เคยที่จะสำรวมกายวาจาใจ ก็มักจะเพลิดเพลินในกาม การที่เพลิดเพลินในกามก็เป็นเหตุให้ทำแต่บาปกรรมเพิ่มพูนอยู่เรื่อย ๆ เป็นเหตุ ให้ต้องไปสู่อบายทุคติ ต้องได้รับทุกข์โทษภัยแสนสาหัส เพราะคนเขลาไม่มีปัญญา ไม่รู้จักทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน คือไม่คิดที่จะทำประโยชน์ช่วยตนให้พ้นจากทุกข์ ก็เพราะถูกอำนาจของอวิชชาตัณหาปิดบังไว้ จึงทำให้ไม่รู้จักโทษของกาม
คือไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ๔ เมื่อไม่รู้จักอริยสัจจ์ ๔ ก็จะต้องเป็นทุกข์ท่องเที่ยวไป ในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะว่ายังมีความหลงไหลติดใคร่ยินดีในกาม ก็ยังปรารถนาจะไปเกิดในภพภูมิที่มีความสุข คนส่วนมากในโลกต่างก็ปรารถนา กามสุขกันทั้งนั้น ก็เพราะเหตุไม่รู้จักอริยสัจจ์ ๔ คือไม่รู้จักทุกข์เป็นต้น
พวกที่เป็นคนเขลาไม่รู้เหตุผลความจริงจึงไม่หวาดสะดุ้งกลัวต่อโทษของกาม เพราะว่าไม่เคยเห็นโทษของกามมีแต่หลงใหลยินดีรักใคร่ในกาม จึงเป็นเหตุให้เขา ต้องเกิดในภพบ่อย ๆ และการเกิดในภพบ่อย ๆ ของพวก ยินดีรักใคร่ในกาม ส่วนมาก ก็ไปเกิดในอบาย เพราะเหตุว่าความยินดีในกามเป็นเหตุให้ลืมทำกุศล
เมื่อไม่ได้ทำกุศลมัวแต่เพลิดเพลินยินดีในกาม การเพลิดเพลินยินดีในกาม ก็เป็นเหตุให้ทำบาปอกุศล เมื่อตายไปแล้วจึงไปเกิดในอบายได้ง่ายกว่าที่จะไปเกิดในมนุษย์ ท่านถึงได้บอกว่าภพภูมิของสัตว์ทั้งหลายที่ไปเกิดได้ง่าย คือการไปเกิดในอบาย ส่วนคติทั้งสองคือคติที่เป็นมนุษย์กับคติที่เป็นเทวดาสัตว์ทั้งหลายไปเกิดได้ยาก เพราะบุญเป็นของที่สัตว์ทั้งหลายทำได้ยาก แต่ส่วนที่ไปเกิดในอบายได้ง่าย เพราะสัตว์ทำบาปกันได้ง่าย เมื่อได้ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ควรที่จะ พิจารณา ถึงตนเองว่า เรามีความยินดีเพลิดเพลินในกามจนกระทั่งลืมทำบุญกุศลหรือเปล่า
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 17:23:22 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 12:56:37 » |
|
ถ้าหากว่าเรามัวแต่เพลิดเพลินในกามลืมทำกุศล เราก็จะต้องไปสู่ทุคติได้ง่าย เพราะฉะนั้นสัตว์ที่ไปเกิดในทุคติจึงมีมากว่าสัตว์ที่มาเกิดในสุคติ เมื่อพระนาง สุเมธาได้เล่าโทษของกามให้พระชนกชนนีฟังแล้วก็บอกว่า พระนางไม่ยินดีในกาม ยินดีแต่ในการออกบวช ขอให้พระชนกชนนีอนุญาตให้ลูกได้บวชเถิด ลูกไม่ขวนขวาย ในกิจของฆราวาสอีกต่อไปแล้ว จะพากเพียรเจริญภาวนาเพื่อที่จะละชาติชรามรณะให้สิ้นไป ถ้าหากว่าพระชนกชนนีจะอ้อนวอนให้ยินดีในกาม พระนางก็ไม่เห็นกามว่ามีแก่นสารอะไรเลย จึงได้พรรณนาโทษของกามให้พระชนกชนนีฟังอีก เพราะว่าการที่สัตว์โลกทั้งหลายยินดีในกาม ก็คือยินดีในร่างกายของตนเอง ยินดีในร่างกายของผู้อื่น การที่ยินดีในร่างกายของตน หรือว่าในของผู้อื่นความจริงก็ยินดีในสิ่งที่ไม่มีสาระ
เพราะร่างกายล้วนแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก ไม่มีอะไรที่จะเป็นของดีเลย ฉะนั้นพระนางสุเมธา ก็ตั้งใจที่จะบวชเพื่อที่จะดับกิเลสตัณหาให้หมดไป และเพียรพยายามที่จะเจริญพรหมจรรย์ เพื่อที่จะให้พ้นจากภพชาติไป และพระนางได้อธิบายถึงคุณความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในกาลนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นแล้ว ลูกได้ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว อขณะนี้ก็ได้เว้นแล้ว “ อขณะ ” ก็หมายถึงว่าการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ส่วนขณะลูกก็ได้แล้ว คือได้มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ ฉะนั้นลูกขอบวชประพฤติศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ถ้าหากว่า พระชนกชนนีไม่ยอมให้บวชก็จะไม่เสวยอาหารคือจะยอมตายอย่างเดียวถ้าหากว่าไม่ได้บวช
เมื่อพระชนกชนนีพยายามจะเกลี้ยกล่อมพระนางสุเมธาให้ยินยอมเป็นคฤหัสถ์จึงกล่าวว่า ลูกยังเป็นสาวอยู่ควรที่จะยินดีบริโภคในกามเพราะว่าพ่อได้ถวายลูกให้กับพระเจ้าอนิกรัตตะแล้ว ลูกก็จะได้เป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัตตะ จะเป็นผู้มีอำนาจ มีโภคทรัพย์ มีความเป็นใหญ่ มีความสุขในราชสมบัติมากมาย ขอให้ลูกบริโภคกามเถิดอย่าเพิ่งไปประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ หรือว่าไปออกบวชเลย เพราะการประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์นั้นทำได้ยาก ฝ่ายพระนางสุเมธาได้ยิน พระชนกชนนีกล่าวอย่างนี้ ก็บอกว่าพวกอำนาจราชสมบัติต่าง ๆ หรือว่าความสุขในกามต่าง ๆ ลูกไม่ได้ปรารถนาเลย เพราะเหตุว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระแก่ลูก แต่ส่วนการบวชหรือความตายเท่านั้นจะมีแก่ลูก ถ้าหากว่า พระชนกชนนีไม่ยอมให้บวช และพระนางก็บอกว่าจะไม่ยอมวิวาห์เป็นอันขาด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 16:48:16 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 13:09:23 » |
|
พระนางได้ยกเอาความปฏิกูลของร่างกายแสดงแก่พระชนกชนนีต่อไปว่ากายของมนุษย์ หรือของสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแล้วแต่เป็นของเน่าเป็นของปฏิกูลเหมือนหนอนเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นคลุ้งดุจถุงหนังที่บรรจุซากศพ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดไหลอยู่เป็นนิจ
ซึ่งคนเขลายึดว่าเป็นเราหรือว่าเป็นของเรา แต่ความเป็นจริงแล้วกายนี้เป็นก็เหมือนซากศพเป็นของปฏิกูล ที่ฉาบด้วยเนื้อและเลือดเป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายจำพวก คือพวกหนอนต่าง ๆ เหล่านี้จะมีอยู่ในร่างกายของเรา อาศัยกินร่างกายของเราเป็นอาหารและเมื่อตายแล้วร่างกายนี้ถูกเอาไปทิ้งแล้ว ในป่าช้าก็ยังเป็นอาหารของแร้งกา หรือว่าสัตว์ทั้งหลายต่อไปอีก
เมื่อกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครกสกปรกอย่างนี้ ก็ได้ถามพระชนกชนนีว่าเพราะเหตุใดจึงได้เอาซากศพของตนยกให้กับพระราชาเล่า เพราะว่าล้วนแล้วแต่เป็นของที่ไม่ดีทั้งนั้น เพราะกายนี้ถ้าหากว่าปราศจากวิญญาณไปแล้ว ก็เปรียบเหมือนกับท่อนไม้ที่ไม่มีประโยชน์ที่เขานำไปทิ้งที่ป่าช้า ให้เป็นอาหารของเหล่าสัตว์มีสุนัขจิ้งจอกและสุนัขบ้านเป็นต้น
เมื่อเอาไปทิ้งคือตายไปแล้วแม้แต่บิดามารดาของตนก็ยังเกลียด เมื่อเอาซากศพไปทิ้งที่ป่าช้าแล้วพอกลับมาถึงบ้านก็ต้องอาบน้ำชำระร่าง กายให้สะอาด เพราะเห็นว่าการไปในสถานที่นั้นเป็นสิ่งปฏิกูลโสโครก เพราะฉะนั้นขนาดว่าเป็นลูกของตัวเองก็ยังรังเกียจแล้ว ถ้าหากว่าเป็นคนอื่นแล้วเขาจะรังเกียจขนาดไหน แต่คนทั้งหลายที่โง่เขลาเวลาที่ยังไม่ตาย
ก็ชื่นชมยินดีในร่างกายนี้ว่าเป็นสาระเป็นของสวยงามเป็นของเที่ยง ก็ด้วยอำนาจของตัณหาความรักใคร่ยินดีปิดบังไว้จึงไม่เห็นร่างกายว่าเป็นของปฏิกูล ต่อเมื่อวิญญาณจากไปแล้วเป็นของเน่าเหม็นจึงจะเห็นว่าเป็นปฏิกูล คือไม่สามารถที่จะทนกลิ่นกายนี้ได้
เพราะเหตุนี้บัณฑิตทั้งหลายจึงได้กล่าวว่าร่างกายนี้ความจริงก็คือสภาพที่เป็นขันธ์อายตนะ ธาตุที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งแล้วก็เป็นเหตุให้แล่นไปในภพต่าง ๆ การที่ขันธ์ตั้งขึ้นมาแล้วก็มีชาติความเกิดเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นก็จะต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตายไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นพระนางจึงไม่ปรารถนาจะเข้าสู่การวิวาห์ เพราะว่าบุคคลใดที่ได้มารู้จักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่แสดงถึงสังสารวัฏฏ์อันมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้จักจบ และทุกข์ที่นับวัฏฏะไม่ได้ หมายความว่าสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาก็ไม่รู้ว่าตั้งต้นมาตั้งแต่เมื่อไรและจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อไร ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย เพราะความที่ยินดีติดใจอยู่ในกาม เป็นเหตุให้ต้องวนเวียนไปในภพชาติไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าหากว่าบุคคลใดมาประพฤติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการรักษาศีลประพฤติพรหมจรรย์ออกบวชคือออกจากกาม แม้ว่าจะเป็นการ ประพฤติที่ลำบาก แต่ทำให้พ้นจากทุกข์เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 17:52:47 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 13:18:08 » |
|
อนุปุพพิกถา ตอนที่ ๗ “ หลุมถ่านเพลิง ” ดังท่านอุปมาการประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นความลำบาก เหมือนกับว่าถูกแทงด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม และถูกแทงอยู่ทุกวันตลอดเวลา ๑๐๐ ปี แต่การประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นทุกข์ลำบากอย่างนี้ แล้วเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพานพ้นจากวัฏฏะได้ก็ยังประเสริฐกว่าความยินดีในกามที่เห็นว่ามีความสุข ก็จะเป็นเหตุให้ต้องท่องเที่ยวเป็นทุกข์ไปในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะจะถูกชาติชราพยาธิมรณะเบียดเบียนอยู่ตลอดไปซ้ำแล้วซ้ำอีกที่ต้องไปเกิด ในเทวดาบ้างในมนุษย์บ้าง หรือว่าไปเกิดในกำเนิดของสัตว์เดรัจฉานบ้างในหมู่อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก ก็ยิ่งจะต้องประสบกับความทุกข์มากมาย เพราะว่าในอบายนั้นมีการเบียดเบียนทำร้ายกันและมีความทุกข์แสนสาหัสหาประมาณไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าการที่จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาก็ไม่ใช่ว่าจะมีความสุขอยู่ตลอดกาล เพราะฉะนั้นถึงไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าไม่ประพฤติพรหมจรรย์แล้วการไปเกิดเป็นเทวดานั้นก็ไม่อาจที่จะช่วยให้พ้นจากภพชาติการเกิดไปได้
เพราะไปเป็นเทวดามัวแต่ไปเพลิดเพลินในกามสุข ก็เป็นเหตุให้หลงเพลิดเพลินยินดีเป็นโลภะ การไปเกิดเป็นเทวดาก็ช่วยให้พ้นทุกข์ไม่ได้ เพราะเหตุว่ายังมีความเร่าร้อนอยู่ด้วยกามราคะ การยินดีในกามก็จะต้องประสบกับความทุกข์ความคับแค้นมาก เพราะโลกียสุขนั้นมีความแปรปรวน ปรุงแต่งให้เกิดทุกข์เรื่อยไป
ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า “ สุขอื่นอันยิ่งกว่าสุขคือพระนิพพานไม่มี ” พระนิพพานนั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นชนเหล่าใดที่มาประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นก็สามารถที่จะบรรลุ พระนิพพาน พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ และในวันนี้แหละลูกก็จะออกบวชคือไม่ปรารถนาที่จะบริโภคกามอีกต่อไป
และพระนางก็บอกว่ากามนี้ไม่มีสาระแก่นสาร เพราะกามทั้งหลายลูกเบื่อแล้ว คือเป็นเสมือนกับของที่คายออกแล้ว ก็เป็นเหมือนอย่างกับรากสุนัข เป็นของสกปรก พระนางไม่ยินดีแล้วในกาม เปรียบเหมือนกับว่าเป็นตาลยอดด้วน ที่ชื่อว่าตาลยอดด้วน ก็หมายถึงว่าต้นตาลถ้าหากว่าไม่มียอดแล้วก็ถึงแก่ความตายฉันใด เพราะฉะนั้นนางก็บอกว่านางตายแล้ว ขาดแล้วจากกามฉันนั้น คือไม่ปรารถนาไม่ยินดีในกาม วันนี้นางก็จะออกบวช
ขณะที่พระนางกำลังกราบทูลพระชนกชนนีอยู่อย่างนั้น พระเจ้าอนิกรัตตะ ก็เสด็จมาถึงกรุงมันตาวดี พอพระนางสุเมธาทราบ ก็ใช้พระขรรค์ตัดพระเกสา แล้วก็ทรงปิดปราสาท เอาผมเป็นกสิณมนสิการให้เห็นว่าเป็นของปฏิกูล ขณะที่บริกรรมอยู่นั้นก็เป็นเหตุให้พระนางได้บรรลุ ปฐมฌาน ออกจากฌานแล้ว ก็ยกองค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงของ องค์ฌาน นั้น
เพราะเหตุว่าในอดีตชาติพระนางได้เคยทำฌานทำวิปัสสนามามากมายในอดีตภพ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความปรารถนาที่จะออกจากกามจริง ๆ แล้ว จิตใจมุ่งอยู่ที่จะถึงพระนิพพาน ต้องการความพ้นทุกข์ ก็เป็นเหตุให้พระนางปฏิบัติธรรม ทำให้ บรรลุธรรม นั้นได้โดยสะดวก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 18:38:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 13:32:16 » |
|
อนุปุพพิกถา ตอนที่ ๗ “ หลุมถ่านเพลิง ” ฝ่ายพระเจ้าอนิกรัตตะ เมื่อเสด็จมาถึงแล้วก็เข้าไปหาพระนางสุเมธาอ้อนวอนขอให้พระนางทรงวิวาห์กับพระองค์ แต่พระนางก็บอกว่า กามทั้งหลายนางตัดขาดแล้ว โมหะของนางก็ปราศไปแล้ว จึงได้ทูลพระเจ้าอนิกรัตตะว่าอย่าได้ทรงเพลิดเพลินในกามเลยจงเห็นโทษของกามเถิด เพราะว่าความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มีดังเช่นพระเจ้ามันธาตุราช ซึ่งเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นเจ้าแห่งทวีปทั้ง ๔ มีชมพูทวีปเป็นต้น ทรงเป็นยอดของผู้ที่บริโภคกามอย่างดีเลิศ
คือได้บริโภคกามทั้งในมนุษย์คือในขณะที่ท่านเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็ได้รับความสุขในมนุษย์และเทวดา คือท้าวสักกะก็ยังมาเชิญพระองค์ให้ไปเสวยความสุขในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือมารับเอาพระเจ้ามันธาตุราชไปเสวยความสุขอยู่ในชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งสิ้นอายุของท้าวสักกะ ไปถึง ๓๖ พระองค์ ท้าวมันธาตุราชก็ยังไม่ตายแต่ก็ยังไม่ทรงอิ่มในกาม ผลที่สุดก็ต้องกลับมาเมืองมนุษย์ แล้วก็เสด็จสวรรคตไปทั้งที่ความปรารถนาของพระองค์นั้นยังไม่ได้เต็มเลย
แล้วพระนางสุเมธาก็ยังเปรียบอีกว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ ถึงแม้ว่าเทวดาจะหลั่งรัตนะ คือทำรัตนะให้ตกลงมาเป็นฝนตลอดโดยรอบของบุรุษทั้ง ๑๐ ทิศ บุรุษเหล่านั้นก็ไม่รู้จักอิ่มในกามและทั้ง ๆ ที่ไม่อิ่มในกามก็ต้องพากันตายไป และยังบอกอีกว่าถึงแม้ว่าฝนนั้นที่เป็นพวกกหาปณะต่าง ๆ ที่ตกลงมาจะมากมายเท่าไร ความอิ่มในกามของคนทั้งหลายก็ย่อมไม่มีที่สุด ในที่สุดก็ต้องตายจากไป พระนางจึงได้แสดงโทษของกาม ให้พระเจ้าอนิกรัตตะฟังต่อไปอีก โดยเปรียบกามทั้งหลายให้พระเจ้าอนิกรัตตะฟัง
คือเปรียบกามว่าเหมือน “ ดาบและหลาว ” ที่เปรียบว่าเหมือนดาบและหลาว ก็เพราะอรรถว่าดาบมีหน้าที่คอยตัดศีรษะของสัตว์โลกให้ตายไปไม่มีที่สิ้นสุด จึงได้เปรียบกามว่าเหมือนกับดาบและหลาวทั้งหลาย
และยังเปรียบกามว่าเป็นเหมือนหัวงูดังที่กล่าวไปแล้วว่ามีภัยเฉพาะหน้า คือคนเห็นงูก็จะต้องตีงู กามก็เหมือนกันถ้าหากว่าใครไปหลงติดในกามก็มีภัยที่จะต้องคอยระวังมาก อย่างเช่นคนที่ยินดีในกามก็จะถูกทำร้ายให้เจ็บป่วยต่าง ๆ ฉะนั้นจึงได้ เปรียบกามว่าเป็นเหมือนกับหัวงู
และกามทั้งหลายยังเปรียบเหมือน “ คบเพลิงหญ้า ” เพราะอรรถว่าเผาคือใครที่ถือคบเพลิงหญ้า ถ้าหากว่าไม่ปล่อยคบเพลิงหญ้า ๆ ก็จะลุกไหม้เผาลนผู้นั้นให้ถึงแก่ความตาย ผู้ที่ยินดีในกามก็เหมือนกันทั้ง ๆ ที่ยังไม่อิ่มในกาม กามนั้นก็เผาให้เร่าร้อนเหมือนกับถูกไฟไหม้ผลที่สุดก็ต้องตายไป
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 19:28:15 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 13:34:30 » |
|
จึงได้เปรียบกามว่าเหมือนกับคบเพลิงหญ้า และกามทั้งหลายยังเปรียบเหมือนกับ “ ท่อนกระดูก ” เพราะอรรถว่ามีรสอร่อยน้อย คือท่อนกระดูกไม่มีรสอร่อยเท่าไร แต่ว่าผู้บริโภคไม่รู้ถึงความจริง คือที่ว่าอร่อย ความจริงก็อร่อยในน้ำลายของตัวเอง ท่านจึงได้เปรียบกามว่าเหมือนท่อนกระดูก คือจะบริโภคเท่าไรก็ทำให้เพลิดเพลินแต่ว่าไม่ทำให้อิ่มได้
เพราะกามจะบริโภคเท่าไรก็ไม่รู้จักอิ่ม และกามทั้งหลายท่านก็ยังเปรียบว่า เป็นของที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก เพราะว่าเป็นมูลรากแห่งทุกข์ คือทำให้มีภพชาติการเกิดนั่นเอง
และท่านยังได้เปรียบกามทั้งหลายว่าเหมือนกับ “ ก้อนเหล็ก ” ที่ร้อนโชน แต่ผู้ที่ไม่รู้ว่าเหล็กร้อนไปจับเข้า เป็นเหตุให้ต้องได้รับความทุกข์แสนสาหัส เหมือนกับคนที่ไม่เห็นโทษของกาม ไปเพลิดเพลินยินดีในกาม ก็ต้องเป็นทุกข์ท่องเที่ยวไปไม่มีที่สิ้นสุด
และกามทั้งหลายยังเปรียบด้วย “ ผลไม้ ” เพราะอรรถว่าถูกหักราญ หมายความว่า ต้นไม้ที่มีผลดกก็จะถูกบุคคลทั้งหลายเก็บกิน คือถูกสอยบ้างถูกหักกิ่งหรือว่าตัดรานกิ่ง เก็บเอาผลลงมาทำให้ต้นไม้นั้นย่อยยับลงไปฉันใด คนที่หลงกามมาก ๆ ก็เช่นกัน ย่อมจะเป็นทุกข์ฉันนั้น คือทำให้ต้องถูกฟัน ถูกยิง ถูกผ่าตัดอวัยวะ เพราะเหตุที่ หลงในกาม แย่งกามกันกิน
และกามทั้งหลายท่านยังเปรียบด้วย “ ชิ้นเนื้อ ” เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณะ คือชิ้นเนื้อเป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นใครที่เห็นชิ้นเนื้อแล้วต่างก็แย่งชิงกันที่จะเอามาเป็นเจ้าของ ก็เป็นเหตุุุ ให้เกิดการต่อสู้กัน ทำให้ได้รับทุกขเวทนาเจ็บป่วยไปต่างๆ ก็เพราะความปรารถนาในกาม
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กรกฎาคม 2555 21:04:56 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 13:51:41 » |
|
และกามทั้งหลายท่านยังเปรียบด้วย “ ความฝัน ” เพราะอรรถว่า ปรากฏขึ้นมานิดหน่อย คือเป็นของหลอกลวงซึ่งไม่ใช่ของจริง ท่านจึงเปรียบว่าเหมือนกับเป็นมายากลของคนเล่นกล คือความฝัน พอตื่นขึ้นมาแล้ว ความฝันก็หายไปหมด กามทั้งหลายที่เราหลงเพลินยินดีก็มีความไม่เที่ยง
คือเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปเช่นกัน ยังหลอกลวงให้เราหลงยินดีเพลิดเพลินทำให้เกิดทุกข์โทษต่าง ๆ ท่านจึงได้เปรียบกามว่าเหมือนกับความฝัน คือยินดีเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเอง ความยินดีก็หายไปเหมือนกับความฝันที่ตื่นขึ้นมาแล้วก็หายไปหมดฉะนั้น
และกามทั้งหลายท่านยังเปรียบเหมือน “ ของที่ยืมเขามา ” เพราะอรรถว่าเป็นของใช้ได้ชั่วคราว คือของที่เรายืมเขามาก็เพียงแต่ให้เกิดความยินดีนิดหน่อย คือเอามาใช้แก้ทุกข์ได้ชั่วคราว แล้วก็ต้องส่งคืนเขาไป และการจะส่งคืนเขาไป ก็ให้มีการอาลัยอาวรณ์ในสิ่งนั้น ไม่อยากจะส่งคืนสิ่งนั้นไป แต่ก็ต้องส่งเขาไป เพราะผู้ยินดีในกาม ในที่สุดตัวเองก็ต้องตาย
กามทั้งหลายท่านยังเปรียบเทียบด้วย “ หอกและหลาว ” เพราะอรรถว่าทิ่มแทงขันธ์ ๕ ให้เกิดทุกขเวทนาเจ็บป่วยอยู่เสมอทั้งกายและใจ คือผู้ใดที่ไปพัวพันในกามที่จะไม่เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจย่อมไม่มีเลย
กามทั้งหลายก็ยังเปรียบเหมือน “ หัวฝี ” เพราะว่าเป็นที่ไหลออกของสิ่งที่ไม่สะอาด เหมือนกามเป็นที่ไหลออกของกิเลส คือทำให้เกิดทุกข์เกิดความลำบากยุ่งยากให้ถึงแก่ความตายไม่มีที่สิ้นสุด
กามทั้งหลายก็ยังเปรียบเหมือนกับ “ หลุมถ่านเพลิง ” เพราะอรรถว่าทำให้ร้อน อย่างยิ่ง คือผู้ใดที่หลงยินดีในกามท่านก็อุปมาว่าเหมือนกับตกลงไปในหลุมถ่านเพลิง หลุมถ่านเพลิงก็ย่อมจะเผาไหม้บุคคลนั้นให้ถึงแก่ความตาย
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงทุกข์โทษภัยของกาม ว่ามีแต่ให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนให้เกิดความลำบาก ต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฎฎ์วนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด และการที่วนเวียนไป
ก็เพราะความหลงถ้าได้รับความสุขก็ชื่นชมยินดี แต่พอเวลาได้รับความทุกข์ขึ้นมา ก็เศร้าโศกเสียใจ เพราะฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงได้กล่าวว่ากามนี้มีแต่อันตราย เพราะหลงเพลิดเพลินในกามเป็นเหตุให้ทำอกุศล และจะไปพระนิพพานก็ไปไม่ได้ กามก็ทำอันตรายแก่ พระนิพพาน คือทำให้ไม่พ้นจากทุกข์
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กรกฎาคม 2555 20:33:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 14:07:38 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มกราคม 2554 22:40:08 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
sometime
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 15:06:01 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 15:29:29 » |
|
เพราะเหตุนี้น้ำตาน้ำนมน้ำเลือดของแต่ละคนจึงได้มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นสัตว์โลกที่มัวลุ่มหลงยินดีในกามก็ต้องประสบกับความทุกข์ มาอย่างแสนสาหัสด้วยกันทั้งนั้น แต่เพราะเราวิปลาสจึงไม่ได้รู้สึกถึงความทุกข์เหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะประสบกับความทุกข์ก็พยายามที่จะหาทางให้พ้นจากทุกข์ ” การที่ปรารถนาอยากจะให้พ้นจากทุกข์ ก็คือไปแสวงหาความสุขและการที่ไปแสวงหา ความสุขนั้นก็คือการได้ทุกข์กลับมา ที่จะพ้นไปจากทุกข์ไม่มีเลย
แต่เพราะพวกที่โง่เขลาหลงอยู่อย่างนี้ก็เพราะเหตุว่าไม่เคยได้สดับคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ที่ตรัสรู้ความจริง ซึ่งเป็นผู้เปิดสิ่งที่ปิดให้คนทั้งหลายได้เห็นความจริง และเป็นผู้ที่บอกทางแก่คนหลงทางให้หายหลงโดยตามประทีปเอาไว้้้ เพื่อให้คนมีจักษุจักได้เห็นทาง ส่วนผู้ที่ไม่เห็นทางก็ต้องเป็นทุกข์คร่ำครวญร่ำไห้ไปประสบกับ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจบ้าง ที่น่าพอใจบ้าง ก็ต้องท่องเที่ยวไปในวัฏฏะนั้นไม่มีที่สิ้นสุด และการท่องเที่ยวไปของสัตว์โลกทั้งหลายส่วนมาก ก็ท่องเที่ยวไปในอบายมากกว่าที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดาได้
และท่านยังบอกอีกว่าสัตว์ทั้งหลายที่ไปเกิดในอบายแล้ว ท่านก็ยังอุปมาอีกว่าเหมือนกับ เต่าตาบอดตัวหนึ่งที่ท่องเที่ยวอยู่ในมหาสมุทร คือพอ ๑๐๐ ปีทีหนึ่งเต่านั้นก็จะโผล่หัวขึ้นมาจากน้ำทีหนึ่ง
ถ้าหากว่าหัวเต่าที่โผล่หัวขึ้นมานั้นสามารถที่จะสวมกับเสวียนที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรได้ เต่าตัวนั้นจึงจะพ้นจากอัตภาพของความเป็นเต่ามาเกิดเป็นมนุษย์ได้ แต่ถ้าหากว่าโผล่หัวขึ้นมาแล้วไม่ได้สวมเข้าไปในเสวียนก็จะต้องเป็นเต่าท่องเที่ยวไปอีก หรือว่าต้องวนเวียนเกิดอยู่ในอบายนั้น ไม่สามารถที่จะออกมาจากอบายได้ เพราะว่าการเกิดอยู่ในอบายนั้น ไม่มีโอกาสที่จะได้ทำกุศล แต่การที่จะได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์จะต้องได้มาโดยยากกิด ที้ กิด ที้ ) จงไป จงไป (ปอ ลอ กิด ที้ ) ไปยังฟากฝั่งโน้น
(ปอ ลอ เจง กิด ที้ ) ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ( ผู่ ที สัก พอ ลอ ) ไปสู่ความเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2554 16:14:38 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 15:31:39 » |
|
อนุปุพพิกถา ตอนที่ ๗ “ หลุมถ่านเพลิง ”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 07:30:01 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2554 12:37:45 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กำลังโหลด...