[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพุทไธศวรรย์ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา  (อ่าน 424 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 ธันวาคม 2566 15:05:00 »







วัดพุทไธศวรรย์
ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดพุทไธศวรรย์  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับพระนครด้านใต้ ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ ๔๖ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมบรมกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระตำหนักที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก" ก่อนที่จะยกข้ามแม่น้ำไปสร้างพระราชวังที่ตำบลหนองโสน หรือที่เรียกว่า “บึงพระราม” ในปัจจุบัน และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๑๘๙๓  ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ.๑๘๙๖ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง  ในปัจจุบันยังเหลือซากโบราณสถาน เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่นๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย

ที่ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ ซึ่งสร้างมีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดกกับเรื่องสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ลังกาทวีป ภาพเหล่านี้ฝีมืองามมาก แต่น่าเสียดายที่ภาพลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว  ที่มุขเด็จพระปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระเจ้าอู่ทอง  รูปพระเจ้าอู่ทองนี้เดิมทำเป็นเทวรูป  ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาล เสด็จออกไปซ่อมเพนียดที่พระนครศรีอยุธยาทรงพบเข้า จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้เชิญเทวรูปนั้นลงมากรุงเทพฯ แล้วโปรดให้หล่อแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดร ส่วนรูปที่เรียกกันว่า “พระเจ้าอู่ทอง” ในปัจจุบันเป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนตรงมุขข้างปรางค์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม  วัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ยอดปรางค์อีกครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑




พระพุทธรูป ๓ องค์ในพระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
พระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน ภายในมีพระพุทธรูป ๓ องค์ขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี
ที่ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงายอยู่บนฐานเขียง ได้รับการปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น


วิหารพระพุทไธศวรรย์เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมทางด้านยาวรวม ๖ ช่อง เจาะประตูทางเข้า ๑ ช่อง
โดยองค์พระพุทธไสยาสน์หันพระเศียรตรงกับช่องประตูทางเข้า แสดงให้เห็นถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม


คนส่วนใหญ่นิยมมากราบไหว้พระนอนในวิหารพระพุทไธศวรรย์ ขอพรเรื่องการงาน




ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
อาคารหลังนี้ไม่ปรากฏชื่อที่แท้จริงในเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในสมัยหลังได้สมมติเรียกอาคารหลังนี้ว่า
“ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์”  อาคารหลังนี้ไม่น่าจะเป็นตำหนักหรือเรือนที่พักได้ หากแต่พิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง
ถัดจากพระอุโบสถออกมาเหมือนกับอาคารทรงตึกที่วัดเจ้าย่า จึงชวนให้คิดว่าอาคารหลังนี้น่าจะเป็นศาลาการเปรียญของวัด



ในอาคารชั้น ๒ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ.๒๒๓๑ - ๒๒๔๕





งานจิตรกรรมสมัยอยุธยาบนตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  เขียนภาพเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม และวัฒนธรรม  
ที่ผนังสกัด (ด้านกว้าง) ทางด้านทิศเหนือเขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังสกัด (ด้านกว้าง) ทางทิศใต้เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ
ผนังด้านแป (ด้านยาว) ทางทิศตะวันออกเขียนภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท
ณ ประเทศลังกา และผนังด้านแป (ด้านยาว) ทางทิศตะวันตกเขียนภาพทศชาติชาดก







850-32

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงพ่อเปลื้อง วิสัฏโฐ วัดใหญ่ชัยมงคล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 894 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2562 14:50:49
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อกลั่น ธัมมโช วัดพระญาติการาม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 917 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2562 18:56:05
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อหวล ภูริภัทโท (พระพุทไธศวรรย์วรคุณ) วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 725 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2564 18:23:29
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อเฉลิม เขมทัสสี วัดพระญาติการามอ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1415 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2564 16:15:49
โดย ใบบุญ
วัดศรีโพธิ์ ต.คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 590 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2566 16:04:14
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.374 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 31 ตุลาคม 2567 12:23:04