[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 พฤษภาคม 2567 04:53:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : เลิกกันทีชีววิทยาเก่า-เอาชีววิทยาใหม่เสียที  (อ่าน 1498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2553 16:03:37 »




ผู้เขียนออกไปอยู่นอกวงการวิทยาศาสตร์และวิชาการมหาวิทยาลัยมานานตั้งแต่ปี 1973 หลังจากที่ทำงานสอนนักเรียนแพทย์มานานร่วม 20 ปี นั่น-นับเป็นเวลาร่วมสี่สิบปี จึงคิดว่ายาวนานพอที่จะลืมเรื่องราวที่เกี่ยวกับความสำคัญของวิชาการต่างๆ ลงไปบ้าง แต่ความคิดที่เกี่ยวกับบทบาทหรือท่าทีของนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ในด้านที่เกี่ยวข้องระหว่างนักวิทยาศาสตร์ (สายประยุกต์) ของบ้านเรากับนักวิทยาศาสตร์ “ฝรั่ง” หรือแม้แต่สาธารณชนทั่วไปที่เป็น “ฝรั่ง” นั้น ดูท่าเราจะมีการเกรงใจและพยายามเอาใจ กระทั่งรู้สึกว่าจะมีความเชื่อถือ “ฝรั่ง” เป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะเป็นนิสัยของคนไทยที่มักจะใจกว้าง ยิ้มง่ายใจดี ชอบต้อนรับขับสู้ชาวต่างชาติอยู่แล้วเป็นนิสัย - โดยเฉพาะหากว่าคนต่างชาติคนนั้นมีชื่อเสียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการสายตน - เอาใจจนบางครั้งเถียงกันเองโดยลืมความใจกว้างยิ้มง่าย ทิ้งไปไหนก็ไม่รู้ และนั่นคือมุมมองของผู้เขียนที่มองนักวิทยาศาสตร์นักวิชาการของบ้านเราจากประสบการณ์ส่วนตัวเมื่อสี่สิบปีก่อน ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ก็ขอโทษด้วย ทั้งในปัจจุบันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิม  ประชากรโลกกับที่บ้านเรามากเพิ่มขึ้นมาก และเนื่องจากมหาวิทยาลัยเฉพาะของรัฐมีมากขึ้นถึง 6 เท่าตัว นักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการของบ้านเราจึงเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่าที่มาของวิชาการต่างๆ ยกเว้นศิลปะและวรรณคดีส่วนใหญ่ ที่พูดมายืดยาวก็เพื่อชี้ให้ชัดว่าการเรียนการสอนและวิชาความรู้ที่เรามีหรือเราเรียนมาเป็นเวลาถึง 150 ปีนั้น แทบทั้งหมดทั้งสิ้นเลยนั้นที่ไม่ใช่ของเรา ของตะวันออกมาตั้งแต่ต้นแต่เป็นของ “ฝรั่ง” เขา ความคิดความเห็นของเราที่ทำให้เราเกรงใจและเอาใจฝรั่งอาจจะเกิดจากเหตุนี้ก็ได้ หรือเป็นทั้ง 2 สาเหตุรวมกันก็ได้ วิทยาศาสตร์และวิชาการต่างๆ ก็ยิ่งไปกันใหญ่ ที่มาหรือการพัฒนาก้าวหน้าของวินัยวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาการต่างๆ โดยทั่วไปของไทยจึงมักจะล่าช้าหรือตามหลังเมืองนอกมากถึง 10-20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ (frontier sciences or  sciences at the cutting edges) ที่ไม่มีในตำรา เราจึงไม่รู้หรือไม่สนใจ อย่าลืมว่าวิทยาศาสตร์กายภาพนั้นพูดความจริงทางวัตถุตามที่ตาเราบอก วิชาอื่นๆ เช่นวิชาที่เรียกกันว่าวิทยาศาสตร์สังคม เป็นต้นว่า   เศรษฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ตามวิทยาศาสตร์ที่ตาเห็นถึงใช้ๆ กันเป็นแถว ตาหูที่เป็นอวัยวะประสาทสัมผัสรับรู้เพื่อให้มนุษย์-ที่รับรู้แตกต่างกับสัตว์ทุกชนิดประเภทเลยที่มีตาหูของมัน - อยู่ในโลกในจักรวาลที่มี 3 มิตินี้สามารถอยู่ได้รอดจึงกลายเป็นอวัยวะที่บอกความจริงที่แท้จริงไป แล้วเราจะมีศาสนาที่บอกว่าการรับรู้ของเราที่ได้จากตาและอวัยวะประสาทสัมผัสทั้งหมด คือมายาไว้ทำไม?


เรารู้ว่า มันมีวิชาควอนตัมฟิสิกส์หรือควอนตัมเม็คคานิกส์เป็นทางการมาตั้งแต่ปี 1927 แล้ว ควอนตัมฟิสิกส์ให้ข้อมูลที่สุดแสนจะพิสดารที่มีหลายๆ อย่างเป็นไปคล้ายๆ กับปาฏิหาริย์ “เหมือนผีหลอก” แต่ที่สำคัญกว่า คือมีความถูกต้องและแม่นยำที่สุดสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทั้งหมดทางวิทยาศาสตร์ เหนือกว่าวิทยาศาสตร์คลาสสิกเก่าได้แม่นยำกว่าดังที่นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ถ้าหากฟิสิกส์คลาสสิกเก่าถูกต้องได้ 99% ควอนตัมเม็คคานิกส์จะถูกต้องกว่าได้ถึง 99.99% ทีเดียว และนักวิทยาศาสตร์หรือจริงๆ แล้ว - นักฟิสิกส์ที่เรียกกันว่านักฟิสิกส์แห่งยุคใหม่ - จะมองว่านักฟิสิกส์ทั่วๆ ไปว่าควอนตัมฟิสิกส์ แม้จะถูกต้องกว่าก็จริง แต่โดยทั่วไปมักไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ เพราะมันเป็นเรื่องที่แสนจะเล็กละเอียดระดับอะตอมหรือเล็กว่าอะตอมเข้าไปอีก จึงไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งถ้าหากเราเอามนุษย์ (หรือคน) ว่าสำคัญที่สุดหรือเป็นศูนย์กลางแล้ว ชูอัตตาว่าเป็นใหญ่ที่สุดแล้ว  (anthropocentric) เราก็จะลดตัวเองจากมนุษย์มาเป็น “คน” ตามที่ท่านพุทธทาสว่า ซึ่งการเป็นคนที่มีวิวัฒนาการทางชีววิทยาจากไพรเมตก็ไม่ได้ดีกว่าการเป็นสัตว์สักเท่าไร ประโยชน์ที่มนุษย์ต้องการคือ  เอามาใช้ประจำวันนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงเขาไม่เรียกวิทยาศาสตร์หรอก เขาเรียกว่า “เทคโนโลยี”  ครับ! ซึ่งเทคโนโลยีก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เลย เพราะว่าวิทยาศาสตร์คือความรู้ที่ตอบเราว่าธรรมชาติที่อยู่รอบตัวนั้นคืออะไร? และทำงานอย่างไร? มันไม่ใช่ความรู้อะไรเลยที่จะบอกเราว่า มันเอามาใช้ได้ไหม?  และตีราคาค่างวดได้เท่าไหร่? มันเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ของวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่คนนำมาใช้เพื่อทะนุบำรุงตัณหาของตัวเองหรือให้คนอื่นได้ประโยชน์ คือการส่งต่อไปซึ่งกิเลสตัณหานั้นๆ ที่เรียกเสียโก้หรูว่า  ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีไง!! และที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้เขียนคือ คิดว่าที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับควอนตัมเม็คคานิกส์น่าจะเป็นเพราะว่า ควอนตัมเม็คคานิกส์นั้นมีความสอดคล้องต้องกันกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่อุบัติขั้นทางตะวันออกที่จีนกับอินเดีย และศาสนาทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก่อนหน้านี้ไปไม่นานนักวิทยาศาสตร์แทบจะทุกคนในโลกจะต้องถือว่างมงายไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงเชื่อไม่ได้  เพราะว่ามันไม่ใช่ความรู้ (knowledge) ตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิงที่มีเหตุผล พิสูจน์ได้และทำซ้ำโดยใครหรือที่ไหนก็ได้ และศาสนานั้นก็อยู่ตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์จนพูดจากันไม่ได้ดังที่เรารู้กันอยู่ แต่ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่แต่นักฟิสิกส์ของฝรั่งที่เมืองนอกเท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ทุกแขนงได้พากันหันมาเชื่อถือฟิสิกส์ใหม่ยิ่งกว่าคลาสสิคัลฟิสิกส์มากขึ้นจนมีจำนวนที่ไล่เลี่ยกัน ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาใหม่ๆ ในเอเชีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะขาดการสนับสนุนงานวิจัยอย่างจริงๆ จังๆ หรืออาจจะเพราะเรามัวเมาสำลักเงินและความสุขทางกายชั่วครั้งชั่วคราวก็ได้ แต่ในอดีตนั้นแม้นักวิทยาศาสตร์ใหญ่ๆ หลายคนได้รับรางวัลโนเบล รวมทั้งไอน์สไตน์ก็ไม่เชื่อจนวันที่ตัวเองตาย โดยพูดว่า “พระเจ้าไม่เล่นการพนันหรอก” (God dose not play dice) ซึ่งหมายความว่าพระเจ้าย่อมจะไม่โกหกหรอก เลยทำให้นักวิทยาศาสตร์ธรรมดาทั่วๆ ไปพลอยไม่เชื่อควอนตัมฟิสิกส์ไปด้วย  ในบรรดาของวิชาวิทยาศาสตร์สายตรงที่มีอยู่ 3 สาขาใหญ่นั้น
บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายทั้งปวงในโลกก็มีแต่นักชีววิทยาหรือนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา เช่น แพทย์ นักตัดต่อพันธุกรรม หรือนักวิศวพันธุกรรมศาสตร์ เป็นต้น เราทุกคนรู้ว่าชีววิทยานั้นทางวิทยาศาสตร์มีแต่เพียงทฤษฎีการวิวัฒนาการทางชีววิทยาเฉพาะทางด้านกายภาพเป็นรากฐาน ซึ่งการทำให้ทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน หรือดารวินิซึ่มเป็นวิทยาศาสตร์ - ที่ไม่สมบูรณ์เลย - ซึ่งได้มาจากการติดตามสังเกตอย่างเป็นระบบเพียงอย่างเดียว คือ ทำซ้ำไม่ได้ และทำโดยใครหรือที่ไหนก็ไม่ได้ และการสังเกตก็หยาบ ซึ่งทำโดยคนคนเดียวโดยอาศัยตาหูหรืออวัยวะประสาทสัมผัส - ที่เบี้องต้นทีแรก - ของคนคนเดียว ซึ่งแน่นอนหามาตรฐานไม่ได้ ทั้งเมื่อตายแล้วนานๆ กลับไม่เคยพบฟอสซิลของสัตว์ในไฟลัมติดกันมีลักษณะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงให้เห็น เช่น นก กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งๆ ที่ทฤษฎีของดาร์วินบอกว่า การเปลี่ยนแปลงระหว่างชั้นและไฟลัมต่างๆ ของสัตว์นั้นจะมีความต่อเนื่องกันและกัน (continuity)


ชีววิทยาเก่าหรือดาร์วินิซึ่ม (ทุกวันนี้เรียกนีโอ-ดาร์วินิซึ่มที่เหมือนดาร์วินิซึ่มทุกอย่าง ยกเว้นเพิ่มบวกเรื่องพันธุกรรมศาสตร์ (genetics) เข้าไปด้วย) ซึ่งเป็นรากฐานของวิชาชีววิทยา - วิทยาศาสตร์สายตรงหรือสายหลักอันที่ 3 หรือวิทยาศาสตร์วิชาสุดท้าย ซึ่งใหม่กว่าเพื่อน คือมีอายุราวๆ 150 ปี - ที่เมแวน- โฮ (เป็นนักชีววิทยาของมหาวิทยาลัยโอเพน อังกฤษ และเป็นคนอิโป มาเลเซีย เมืองใหญ่ที่อยู่ตรงข้ามกับปีนัง) ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่แย่ที่สุดและแยกย่อยย่อส่วน (reductionism) อย่างที่สุด นักวิทยาศาสตร์ที่แสลงหรือแพ้คำว่า “องค์รวม” (holism) อย่างที่สุด เพราะนักชีววิทยาส่วนใหญ่มากๆ ถือว่าเป็นตรงกันข้ามกับหลักการแยกย่อยย่อส่วนของตน ซึ่งถ้าหากนักชีววิทยาคนไหนชอบใช้คำว่าองค์รวมในความหมายที่แท้จริงแล้วไซร้ ก็ให้ถือได้ว่าเป็นนักชีววิทยาแห่งยายุคใหม่ (new biologist) ซึ่งนักชีววิทยาของบ้านเราน้อยคนนักจะรู้จัก
แล้ว-นักชีววิทยาแห่งยุคใหม่ หรือชีววิทยาใหม่ (New Biology) คืออะไรไม่ทราบ?


ความจริง เรื่องชีววิทยาใหมนี้ ผู้เขียนได้เขียนอย่างละเอียดมาแล้วในปี พ.ศ. 2546 ในวารสารพิเศษของคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล และตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว ในโอกาสนี้จึงขอเล่าอย่างย่อๆ โดยมีเป้าหมายที่เป็นชื่อเรื่องของบทความบทนี้ คือวิชาชีววิทยาใหม่นี้ได้ก่อตั้งเป็นกิจจะลักษณะมาเมื่อ 15 ปีก่อน (Willis Harman : New Biology, Ions, vol 35 1996) ซึ่งบัดนี้ก็ถึงเวลาที่วงวิชาการที่บ้านเรา - ประเทศไทย - ที่ดังได้บอกไปแล้วมีช้ากว่าเมืองนอกประมาณ 10-20 ปี เลยเอาเวลาที่เราช้ากว่าเมืองนอก 15 ปีเป็นเกณฑ์ เพื่อที่จะได้ทันเมืองนอกเขาตามที่เราช้ากว่าเขาตามปกติ 


เมื่อเดือนพฤษภาคมที่มหาวิทยลัยเทมเปิล ที่รัฐเพนซิลวาเนีย มีนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงจำนวน 23   คน รวมทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลได้เดินทางมาเข้าประชุม โดยมีวาระของการประชุมเพียงอย่างเดียวคือ  วิชาชีววิทยาซึ่งขึ้นกับการสังเกตของคนคนเดียว แม้ว่าเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ก็ตามที แต่ทุกวันนี้ไม่แน่ว่าเป็นความจริงทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของความบังเอิญ (chance or random) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านฟิสิกส์ได้มีฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะควอนตัมเม็คคานิกส์เกิดขึ้น ซึ่งให้ความจริงที่แท้จริงยิ่งกว่า และที่สำคัญอย่างยิ่งได้พิสูจน์ให้เห็นว่าคลาสสิคัลฟิสิกส์ของนิวตันที่ชีววิทยานำมาใช้เป็นหัวหอกให้เราเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งชีวิตได้มากขึ้น ทีนี้ เมื่อฟิสิกส์ละเอียดยิ่งขึ้น ชีวิตก็ละเอียดมากขึ้นด้วย ดังนั้นที่เราเรียนเรารู้เรื่องราวของชีวิตแต่เพียงการสังเกต  “เบื้องต้น” อาจจะไม่พอกับคำว่าวิทยาศาสตร์ แม้ว่าเดี๋ยวนี้แม้ว่าเราจะทำวิทยาศาสตร์เต็มรูปแบบและวิธีการอยู่แล้วก็ตาม เรา-นักชีววิทยาจะต้องรู้และติดตามควอนตัมฟิสิกส์ด้วย ซึ่งที่ประชุมต่างก็ยอมรับมติเช่นนั้นเป็นเอกฉันท์ แต่ที่ประชุมมีความเห็นไม่ตรงกันว่าชีววิทยาจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร?  อย่าไรก็ตาม ในที่สุดทุกคนก็เห็นว่าในช่วงนี้ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปของมันเช่นนี้ไปก่อนสักระยะหนึ่ง จนกระทั่งนักชีววิทยาส่วนมากเรียนรู้ฟิสิกส์จนไม่เข้าใจด้วยตนเองถ่องแท้ และนักชีววิทยาทั้งหลายก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปเอง


นั่นคือ มติที่ประชุมทางชีววิทยาในปี 1996 ซึ่งตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา นักชีววิทยา (ที่เมืองนอก) ก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง และยอมรับทฤษฎีควอนตัมเม็คคานิกส์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันจึงมีแต่นักชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์สังคมทุกสาขา โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ชีววิทยาของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาใหม่ๆ ของเอเชียเท่านั้นที่ส่วนใหญ่มากๆ ไม่ หรือไม่อยากเปลี่ยนแปลง.


http://www.thaipost.net/sunday/220810/26472

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2492 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2771 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2553 08:52:02
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2085 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2032 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2081 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.356 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กันยายน 2566 10:09:18