[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ หนังสือแนะนำ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 04 มีนาคม 2564 15:17:13



หัวข้อ: เจาะลึก “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” กับ “กฎหมายคู่สมรส” ต่างกันอย่างไร!
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 04 มีนาคม 2564 15:17:13

เจาะลึก “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” กับ “กฎหมายคู่สมรส” ต่างกันอย่างไร!

สาระสำคัญของ พ.ร.บ คู่ชีวิต .......คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้

       การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้
       กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
       กำหนดให้กรณีที่ผู้เยาว์จดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
       กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจ ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกันกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
       กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตโดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและสินทรัพย์ร่วมกัน
       คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ และคู่ชีวิตสามารถฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง มาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองก็ได้
       เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
       กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา 1606, 1652, 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม

(https://img.wongnai.com/p/800x0/2020/07/11/edf3aa9932d349eb87bac82c9f514d9d.jpg)

 "ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต" กับ "กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส" นั้น มีหลักการ 6 ประการที่ “เหมือนกัน”


     1.ไม่ว่าจะเป็นชายและหญิง หรือ หญิงและหญิง หรือ ชายและชาย ต่างมีสิทธิหมั้นและสมรสกันได้
     2.การหมั้นหมายหากมีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง
     3.มีข้อห้ามในการจดทะเบียน คือ ห้ามสมรสซ้อน ห้ามสมรสกับบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และห้ามสมรสกับญาติตามสายโลหิต
     4.การจัดการสินสมรสนั้นบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
     5.รับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
     6.รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้

 
(https://img.wongnai.com/p/800x0/2020/07/11/36a9d4ad94e34033883dc66b8fd1d302.jpg)

ข้อ “แตกต่าง” ระหว่างร่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต กับกฎหมาย คู่สมรส

1.ชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสกันได้กรณีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยามจากพ่อแม่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้บุคคลทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะหญิง-หญิง หรือ ชาย-ชาย มีอายุ 18 ปีแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน

2.การมอบของหมั้น สำหรับคู่สมรสชายหญิง กำหนดให้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่าย “ผู้หมั้น” มอบให้แก่ “ผู้รับหมั้น” หรือ สามารถแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้

3.การมอบสินสอดให้ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง ใน ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือ สามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้

4.การเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐได้ตามกฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส และ สามี-ภริยา ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตนั้น กำหนดให้ได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส เช่น สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ การรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม

(https://img.wongnai.com/p/800x0/2020/07/11/b68196c79557468e964527ee2b532cf9.jpg)

ที่มา https://www.wongnai.com/articles/act-spouse (https://www.wongnai.com/articles/act-spouse)