[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 03 มิถุนายน 2553 18:18:13



หัวข้อ: อหังการ์ กระทู้ 1
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 03 มิถุนายน 2553 18:18:13
(http://www.taklong.com/pictpost/t/96002C11.jpg)


Mantra of Avalokiteshvara (http://www.youtube.com/watch?v=eyIIObFyK4I#)



บุญเป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิต ฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุดกุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้นเพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณซึ่งเป็น เรื่องภายใน
ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก
ส่วนกุศล เป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก พระธรรมาจารย์ ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่าการเห็นแจ้งในธรรมญาณ
เรียกว่า กง ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า เต๋อ และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง
พร้อมทั้งทำ หน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ คำว่า กงเต๋อ มีความหมายว่า คุณธรรม
หรือ กุศลกรรม
เพราะการ ค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไป ให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม
การอธิบาย กงเต๋อ จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ ปราศจากอหังการจึงเป็น กง แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น เต๋อ
การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า กง และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึง เรียกว่า เต๋อ
การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า กง แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึง เรียกว่า เต๋อ
สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อน น้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมมือ นกันหมด
และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติม น้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว
ไม่ อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีกผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญ กุศลใด ๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ
พระธรรมาจารย์ ฮุ่ยเหนิง จึงกล่าวว่า ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริง ๆ
กุศลที่ได้รับ ย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาส เขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ
ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกติ นิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง กง ดังนั้น........................
เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อ สำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด เต๋อ คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรม คือ
กงเต๋อ ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป
แต่คนที่เย่อหยิ่ง จองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปวง
คน สมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้ เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
หรือไม่ มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์คนเหล่านี้จึงเจริญด้วยอหังการ
เพราะ ฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและ ไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ ที่............................................




.......................................อหังการ...............................



ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ คุณธรรม มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่งครอบงำโลกเอาไว้ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้า ใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ทที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถ บงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริง ๆ
หรือ แม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมน อย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ กงเต๋อ ว่าเมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี กง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่วแน่เมื่อนั้นเรียกว่ามี เต๋อ เพราะฉะนั้นกุศลจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน
ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่าง ความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริงการสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริง ๆ