[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:30:20



หัวข้อ: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:30:20
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


http://www.watnyanaves.net/uploads/File/sounds/happy-working/happy-working_01.mp3



ทุกข์สำหรับเห็นสุขสำหรับเป็นนี่คือแก่นสาระแห่งพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องการมีชีวิต และสิ่งนี้เองที่ปรากฏให้เห็น
อย่างแจ่มชัดในวิถีแห่งปราชญ์ ปราชญ์แท้ๆ ผู้ทำให้ธรรมะปรากฏเป็นรูปธรรมได้ในทุกอิริยาบถ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2481 ณ บ้านเลขที่ 49 ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยหมู่เรือนแถวไม้สองชั้นบุราณ เรียงรายเป็นแนวยาวขนานไปกับแม่น้ำท่าจีน กลางร้านค้าผ้าจีนของ ท่านมหาสำราญ กับ แม่ชุนกี อารยางกูร เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร เด็กชายตัวเล็ก ๆ ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น และนับตั้งแต่นั้นมา เด็กชายขี้โรค ผอมบอบบาง แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศผู้นี้ ก็เติบโตขึ้นมาเพื่อเป็นปราชญ์แท้คนสำคัญแห่งยุคสมัย และปัจจุบันเด็กชายผู้นี้คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ครอบครัวอารยางกูร เป็นครอบครัวคนชั้นกลาง ทำธุรกิจการค้า แต่ฐานะไม่ได้มั่งคั่ง เพราะมีค่าใช้จ่ายมาก อันเนื่องมาจากท่านมหาสำราญมีลูกหลายคน และให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องการศึกษาเล่าเรียน พยายามส่งเสียลูกชายให้ได้เรียนสูงๆ ไปตามกำลังความสามารถ นอกเหนือไปจากการอบรมสั่งสอนในครอบครัว ในเรื่องความซื่อตรง ซึ่งท่านเล็งเห็นว่าเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบการค้า ส่วนแม่ชุนกีก็เป็นแม่ที่ดีเธอให้ความยอมรับต่อความคิดของท่านมหาสำราญผู้ เป็นสามี ถึงแม้หลายต่อหลายครั้ง ที่ครอบครัวจะต้องประสบปัญหาต่างๆ แต่พื้นฐานของครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกัน ประกอบกับคุณธรรมหลายๆ ข้อที่เด็กๆ ได้รับจากพร่ำสอน อบรม รวมถึงความอดทนเข้มแข็งของบุพการี ทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตนั้นๆ มาได้เสมอ


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:41:58
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


 เด็กชายประยุทธ์ เติบโตมาด้วยพื้นฐานเป็นคนใจเย็นและใจดี ขยันขันแข็ง อดทน ไม่เคยทะเลาะกับใคร และยังพร้อมกับให้ความสำคัญกับคนอื่น ๆ มากกว่าตัวเอง
สมัยเด็กเด็กชายประยุทธ์จะเป็นเด็กขี้โรค ผอม บอบบาง โดยอายุยังไม่ครบขวบก็ป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร และท้องร่วงอย่างรุนแรง ครั้นพอบรรพชาเป็นสามเณรก็เกิดเป็นไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคปอด รักษาจนหายตอนหลังก็เป็นโรคแพ้อากาศ หายใจไม่สะดวก ต่อมาก็เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากเป็นหูอักเสบหรือ มาสตอยด์ และในช่วงที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็เกิดเป็นนิ่วในกรวยไต และความที่ชอบเขียนหนังสือและจริงจังเสมอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อที่แขนเกิดเกร็งและอักเสบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกแขนไม่ได้ ต่อมาหลอดลมอักเสบ ตับไม่ปกติ ลำไส้พับ ไวรัสเข้าตา อักเสบ บวม ต้องปิดตาทั้ง 2 ข้าง อีกทั้งยังป่วยด้วยเส้นเสียงอักเสบ แพทย์สั่งห้ามพูด นอกจากนั้นยังมีอาการผิดปกติของกรามบนและกรามล่างไม่ได้ส่วน ต้องเข้าเฝือกรักษาอยู่นาน
แม้พระพรหมคุณาภรณ์จะอาพาธบ่อยแต่ท่านจะไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจเท่าไหร่ โดยบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดา  และการเป็นโรคนั่นโรคนี้บ่อย ๆ ถือเป็นประสบการณ์ส่วนตัวไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งท่านเคยบอกไว้ว่าถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย.................................
สำหรับการศึกษา เด็กชายประยุทธ์ เข้าศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนประชาบาลวัดยาง ด้วยความขยันและเป็นเด็กฉลาด แม้ว่าจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง แต่เด็กชายประยุทธ์ก็ใช้เวลาเพียง 3 ปีในการศึกษาจนสำเร็จระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นท่านมหาสำราญก็ได้ก็พาเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ามาศึกษาต่อ โดยเด็กชายประยุทธ์สามารถสอบติดโรงเรียนวัดปทุมคงคาได้ และเข้ามาอาศัยอยู่กับพี่ ๆ ที่เข้ากรุงเทพมหานครมาก่อนหน้านี้ ที่วัดพระพิเรนทร์ โดยอยู่ในการดูแลของพระศรีขันธโสภิต เจ้าอาวาส
เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เรียนหนังสือเก่ง จึงเป็นที่รักของครูและเพื่อนๆ แต่เส้นทางทางโลกของเด็กชายประยุทธ์ เปลี่ยนไปเมื่ออายุได้ 12 ปี ด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยคุกคามอยู่ตลอด โดยเฉพาะโรคท้องเสีย


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:44:49
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


วันแรกของการเปิดภาคเรียนขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เด็กชายประยุทธ์กลับบ้านมาก่อนเวลาเลิกเรียน เพราะอาการท้องเสียกำเริบอย่างหนัก ซึ่งประจวบกับที่ท่านมหาสำราญเดินทางมาหาลูกๆ ที่กรุงเทพมหานครพอดี ท่านเห็นอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จึงสงสารลูก ท่านจึงหารือกับพี่ ๆ ของเด็กชายประยุทธ์ ซึ่งมีความเห็นว่า ควรจะให้เด็กชายประยุทธ์บวชเรียนเสีย และกลับไปอยู่บ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ซึ่งเด็กชายประยุทธ์ก็ไม่ได้โต้แย้งอะไรนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตของเด็กชายประยุทธ์ กลายมาเป็นปราชญ์ทางธรรมคนสำคัญแห่งยุคสมัย
10 พฤษภาคม 2494 ณ วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร  ก็เข้าบวชเป็นสามเณร โดยมีหลวงพ่อวัดบ้านกร่าง พระครูเมธีธรรมสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งตลอด 1 ปีที่วัดบ้านกร่าง นอกเหนือจากการมุมานะเรียนนักธรรมตรีแล้ว สามเณรประยุทธ์ยังให้ความสนใจในการอ่าน โดยค้นเอาเอกสารเก่าๆ สมุดข่อยโบราณ หนังสือธรรมมะ ตลอดจนแบบเรียนภาษาอังกฤษและสารคดีความรู้ต่าง ๆ  และจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอ ทำให้สามเณรประยุทธ์สามารถสอบนักธรรมตรีในปีแรกที่บวชเรียนได้
จากนั้นก็ได้ไปเรียนนักธรรมโทและบาลี ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง กับหลวงพ่อพระวิกรมมุนี เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถึงแม้ว่าสุขภาพจะไม่ดี แต่สามเณรประยุทธ์ก็ไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยหลับในห้องเรียน ทั้งยังทุ่มเทในการเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ทุกครั้งที่ว่าง สามเณรประยุทธ์จะไปขลุกตัวอยู่ที่หอสวดมนต์ เพื่ออ่านหนังสือธรรมะ และจะมีสมุดจดบันทึกเล่มหนึ่ง ที่เส้นบรรทัดค่อนข้างถี่ เอาไว้สำหรับจดสรุปความหรือย่อความ
จากเนื้อหาในหนังสือหรือบทเรียนต่าง ๆ เล่มโต ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือนั้นอีก จากนั้นสามเณรประยุทธ์จึงไปสอบนักธรรมโท
พร้อมกับเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยมาพำนักที่วัดพระพิเรนทร์เหมือนเดิม
ในปีแรกที่มาพำนักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์อีกครั้งของสามเณรประยุทธ์ ก็สอบธรรมเอกได้ สำหรับบาลีนั้นสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2498 จากนั้นสามเณรประยุทธ์ก็มุ่งมั่นเรียนบาลี และสอบได้ประโยคสูงขึ้นทุกปี ต้นปี พ.ศ. 2504 แม่กองบาลีสนามหลวงได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุสามเณร
ผู้สอบได้เปรียญธรรม  9  ประโยค จำนวน 11 รูป ปรากฏว่า สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร วัดพระพิเรนทร์ สอบได้ลำดับที่  6  ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงสามเณร 3 รูปเท่านั้นที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในวงการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ของคณะสงฆ์ไทย ถือว่าสามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำคัญต่อตนเองและพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า มีความจำเป็นเลิศ มีความเข้าใจภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง และจะต้องเขียนหนังสือได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกตัวอักษร จึงจะสอบได้ เขียนผิดแม้แต่ตัวเดียวก็สอบตก หลายท่านจึงบอกว่าเรื่องนี้เป็นบุญวาสนาด้วย


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:47:17
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


หลังจากที่สามเณรประยุทธ์ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ รับสามเณรประยุทธ์ อารยางกูร เป็นนาคหลวง อุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า ปยุตฺโต มีความหมายว่า ผู้เพียรประกอบแล้ว
ต่อมาพระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ก็ตัดสินใจสอบเข้าศึกษาต่อในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเรียนบาลี ซึ่งหันมาใช้วิธีอ่านและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่มีเวลาไปเรียนในชั้นเรียนปกติ และในการศึกษาวิชาสามัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ปรากฏว่าท่านก็มีผลการเรียนดีเยี่ยม จวบจบปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี 2504 และได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำในแผนกเตรียมพุทธศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยเป็นกำลังหลักในการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
บนวิถีแห่งปราชญ์แท้ พระมหาประยุทธ์ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย ทั้งๆ  ที่ก็มีภาระงานอื่นๆ มากมาย จนสามารถแปลหนังสือแล้วเสร็จออกได้เมื่อ พ.ศ. 2506 ให้ชื่อว่า จารึกอโศก และในปี 2506 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการรูปที่สอง จวบจนปี 2507 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ เป็นการทำงานฝ่ายบริหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งท่านก็ทำได้ดี แต่ต่อมาไม่นานท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหันมาทำงานด้านวิชาการอย่างเดียว จนทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องในฐานะพระนักวิชาการตั้งแต่อายุ ยังน้อย แต่บทบาทของท่านนับวันจะแผ่ขยายออกไปในหมู่ปัญญาชนคนสำคัญทั่วประเทศ
นอกจากจะแปลหนังสือแล้ว พระมหาประยุทธ์ยังเขียนตำราเรียนธรรมะภาษาอังกฤษขึ้นสองเล่ม และยังขยายฐานต่อยอดด้วยความประสงค์จะให้พระนิสิตรู้คำศัพท์เพิ่มเติม จึงคิดทำ Dictionary of Bhuddhism ซึ่งพัฒนาการต่อมาได้กลายเป็นตำนานการทำงานหนังสืออ้างอิงทางพุทธศาสนาที่ สำคัญ และหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุง และขยายความ ซึ่งต่อมากลายเป็นหนังสือที่ถูกกล่าวขานยกย่องในเวลาต่อมาว่า เป็นหนังสืออ้างอิงพุทธศาสนาเล่มสำคัญที่สุด ร่วมสมัย และไม่เคยมีหนังสือเช่นนี้มาก่อน และท่านยังมีผลงานเขียนที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือจำนวนมาก หลายเล่มถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำนับร้อยครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณฯ ยืนยันว่าจะไม่รับค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อการจัดพิมพ์หนังสือของท่าน แต่หากมีผู้มอบถวาย ท่านจะบริจาคต่อไปยังโรงเรียน องค์กรการกุศลต่าง ๆ การบริจาคนี้รวมไปถึงเงินบริจาคจากการไปเป็นองค์ปาฐกหรือแสดงธรรมตามที่ได้ รับนิมนต์ ที่ได้กระทำมาตลอดยาวนานกว่า
สี่สิบปี


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:49:49
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


ในห้วงเวลานี้เองที่พระมหาประยุทธ์มีกิจนิมนต์มากมายมหาศาล ต้องไปแสดงปาฐากถาตามสถาบันการศึกษาองค์กรต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหัวข้อต่างๆ รวมทั้งรับนิมนต์ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงสามครั้ง อีกทั้งยังมีแขกมาพบท่านที่กุฏิโดยตรงแทบทุกวันไม่ได้ขาดแม้ในยามเจ็บป่วย แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกใดๆ หากแต่ต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันงามตอบปัญหาข้อซักถามอย่างละเอียดลออทุกแง่มุม แขกบางท่านใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะกราบนมัสการลากลับก็ล่วงเข้า 5 ทุ่ม 2 ยาม โดยหารู้ไม่ว่าท่านอาพาธ และหลังจากแขกกลับไปแล้ว ท่านก็ยังต้องทำงานต่อจนดึกดื่น บางครั้งงานเร่งก็ทำถึงรุ่งเช้า จนลูกศิษย์เกรงว่าสุขภาพจะทรุดลงกว่าเดิม จึงถามท่านว่า เหตุใดท่านเจ้าคุณฯ ไม่บอกไปว่ามีงานเร่งอยู่ หรือกำลังอาพาธ ให้กลับไปก่อน ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ มักจะกล่าวว่า ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นพระต้องมีปฏิสันถาร
ตลอดระยะเวลายาวนาน แห่งการทำงานหนัก เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนในที่สุดองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ถวายรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2537 และในปีถัดมา สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ได้ถวายตำแหน่งตรีปิฎกกาจารย์ อันหมายถึง อาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทั้งหมด ที่มีผู้ถวายแด่ท่านเจ้าคุณฯ ในระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมกับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต ที่ท่านสำเร็จมาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับรวมแล้วมีมากถึง 16 ใบ แต่ท่านเจ้าคุณฯ มิได้คิดว่ารางวัลที่เชิดชูเกียรติสำคัญนัก เพราะท่านระลึกเสมอว่า.....................................
ไม่ว่าจะมอบถวายรางวัลนี้แด่ท่านหรือไม่ ก็มิได้ทำให้พระเป็นอะไรขึ้นมา นอกจากความเป็นพระ รางวัลที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่การได้มอบให้อะไรที่เราเรียกว่าเป็นรางวัลรูปธรรม รางวัลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนสังคม และมนุษย์โดยทั่วไป มีความร่มเย็นเป็นสุข


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:51:42
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


ปฏิปทาจริยาวัตรอันงาม สงบเย็น แห่งท่านเจ้าคุณฯ นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย เป็นเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่ยังเป็นพระมหาประยุทธ์ จวบจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ จากชั้นสามัญ เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม มาโดยลำดับ กระทั่งปี 2547 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ แล้วก็ตาม ท่าก็ยังให้เกียรติผู้อื่นอย่างไม่เลือกวรรณะ การศึกษา ไม่เคยแสดงท่าท่าเป็นผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้ง ในยามที่นักวิชาการมาสนทนากับท่าน ท่านมักเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด รับฟังทัศนะคติของผู้อื่นด้วยความเมตตา ไม่เคยทำให้คู่สนทนารู้สึกเสียหน้า หรือแสดงภูมิใดๆ ข่มผู้สนทนาให้รู้สึกว่าตนเองรู้น้อย
ทั้งทางด้านวัตรปฏิบัตินั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยรบกวนผู้อื่นเลย ทุกวันนี้ท่านยังซักเครื่องอัฐบริขารของท่านเองอยู่ แม้ในช่วงหลังจะมีพระบางรูปช่วยเหลือท่านที่กุฏิ ด้วยเป็นห่วงสุขภาพและวัยที่เพิ่มขึ้น แต่ท่านมักจะบอกกับพระรูปนั้นอยู่เสมอว่า ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมทำเองได้
อย่างเวลาฉันท่านจะมีแค่ปิ่นโตเถาเล็กๆ ไม่มีการจัดสำรับหรูหรา เพราะท่านไม่อยากให้ญาติโยมลำบาก อีกทั้งท่านเจ้าคุณฯ ยังห่มจีวรสีสดที่ตัดเย็บจากผ้าธรรมดาทั่ว ๆ ไป สวมรองเท้าแตะยาง และเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่าในกุฏิของท่านจะไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ใดๆ เลย จะมีก็แต่เพียงวิทยุ ที่ท่านใช้เปิดฟังข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมบางตัวที่สำคัญกับการทำงานเผยแพร่ของท่าน หรือหากมีสิ่งของใดๆ เสีย ท่านก็จะลงมือซ่อมแซมเอง ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา วิทยุ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ จึงเป็นที่รู้กันดีว่างานอดิเรกของท่านคือ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้นั่นเอง
ท่านเจ้าคุณฯ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง มักน้อย หลีกเลี่ยงสิ่งของฟุ่มเฟือยทุกชนิด สมดังที่ท่านมักแสดงธรรมในเรื่องความสันโดษในวัตถุ แต่ไม่ถือสันโดษในกุศลธรรม และสิ่งที่เห็นได้เกือบทุกพื้นที่ภายในกุฏิของท่านเจ้าคุณฯ คือ หนังสือและชั้นเก็บหนังสือ จึงเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ง่าย และการไม่รบกวนใคร


หัวข้อ: Re: the way of philosopher
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 15:54:20
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)


(http://image.ohozaa.com/ik/m18_1.jpg)


 ตลอดชีวิตของพระมหาประยุทธ์ แม้จะเผชิญเรื่องราวต่าง ๆ มากมายแต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่ศิษย์หรือคนใกล้ชิดจะพบว่าท่านกำลังโกรธเคือง หงุดหงิด รำคาญใจ แม้แต่อาการเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ก็ไม่อาจทำให้ท่านแสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ กล่าวว่า อาตมาเป็นประเภทหนักเหตุผล พิจารณาที่เหตุ และผล ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ทุกข์เป็นสิ่งเรารู้ทันแล้วก็หาทางแก้ เราจะก้าวไปสู่จุดหมาย คือมีความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความสุขที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นเพราะทุกข์น้อยลง จนกระทั่งไม่มีทุกข์เหลือเลย เพราะอาตมามีความคิดนี้อยู่
ในใจตลอดเวลา คือทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ มีอุปสรรคอะไรก็ต้องพยายามเอาชนะให้ได้ แล้วเวลาทำอะไรก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุดด้วย
เหตุนี้จึงทำให้ท่านใจ
สงบเย็นปกติสม่ำเสมอ
และในที่สุดหลังจากจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์มายาวนานร่วม 40 พรรษา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของท่าน ทำให้สุขภาพ
เสื่อมทรุด ท่านจึงต้องย้ายไปพักฟื้นฟูสุขภาพอยู่ในที่ศาลากลางสระ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ที่ญาติโยมสร้างถวายถึง 3 ปี ในห้วงเวลานั้นหลายคนอาสาพาท่านไปดูที่ดินใหม่ ที่จะถวายให้ใช้สร้างวัด กระทั่งมาพบที่ดิน 11 ไร่ ด้านหลังพุทธมณฑล ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ดี สงบร่มรื่น และเหมาะสมที่จะเป็นสัปปายะ สำหรับการพำนักอาศัยของท่านในบั้นปลาย ญาติโยมจึงบริจาคซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดขึ้น จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีชื่อว่า วัดญาณเวศกวันหมายความว่า ป่าแห่งความรู้ หรือป่าของผู้เข้าสู่ญาณ
การถือกำเนิดแห่งปราชญ์แท้ ๆ แม้เพียงสักคนในท่ามกลางยุคสมัยอันแห้งแล้งประหลาดพิกลเช่นนี้ จักก่อให้เกิดความหวังใหม่ๆ ในความเข้าใจในทางสติปัญญาขึ้น ในชุมชนชาวพุทธ และโดยเฉพาะคณะสงฆ์


credit by .................................http://www.kapook.com (http://www.kapook.com)