[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 04:53:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แพลตฟอร์มทลายมายาคติแม่บ้าน จาก 'คนรับใช้' สู่ 'ผู้ให้บริการ' ขณะที่กฎหมา  (อ่าน 38 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 เมษายน 2567 17:50:17 »

แพลตฟอร์มทลายมายาคติแม่บ้าน จาก 'คนรับใช้' สู่ 'ผู้ให้บริการ' ขณะที่กฎหมายยังตามคุ้มครองไม่ทัน
 


<span>แพลตฟอร์มทลายมายาคติแม่บ้าน จาก 'คนรับใช้' สู่ 'ผู้ให้บริการ' ขณะที่กฎหมายยังตามคุ้มครองไม่ทัน</span>
<span><span>user007</span></span>
<span><time datetime="2024-04-18T16:11:13+07:00" title="Thursday, April 18, 2024 - 16:11">Thu, 2024-04-18 - 16:11</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>วรันธร ตังคไชยนันท์ : รายงาน</p><p>ที่มาภาพปกบางส่วนจาก blog.beneat.co&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เมื่อแพลตฟอร์มสร้างความสัมพันธ์ในการจ้างงานใหม่และทลายมายาคติแม่บ้านจากที่เคยถูกเรียกเป็น “คนรับใช้” สู่การเป็น “ผู้ให้บริการ” ขณะที่กฎหมายคุ้มครองยังตามไม่ทัน</p>
<h3>“เวลาเราเดินตามข้างทางโดยเฉพาะในกรุงเทพ เรามักจะเห็นพี่ๆที่สะพายข้าวของพะรุงพะรังเเล้วก็มีเครื่องมือที่อาจจะเดาได้ว่าเป็นเครื่องมือทําความสะอาดหรือเปล่า นี่เเหละคือพี่ๆ แม่บ้านฟรีเเลนซ์ที่เราอาจจะเจอในชีวิตประจําวัน ทั้งรับงานเองเเละรับงานผ่านแอพพลิเคชั่น”&nbsp;</h3><p>คำกล่าวของ ญาดา ช่วยชําเเนก ผู้ทําวิทยานิพนธ์ปริญญาโทเรื่องแม่บ้านฟรีเเลนซ์ เรื่อง “ปรากฎการณ์ของเเรงงานหญิงในสังคมเมืองร่วมสมัย ในมิติการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย” ในขณะทํางานเป็น nongovernmental organization (NGOs) ในมูลนิธิกลุ่มปราถนาดี โดยเผยเเพร่ข้อมูลผ่านทางการเเพร่ภาพสด Memory mobility multiplicity the series ep.7 ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC &nbsp;เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 &nbsp;</p>
<p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53662291185_3ccdf58e23_b.jpg" width="1024" height="690" loading="lazy"></p><h2>จาก ‘นายจ้าง-ลูกจ้าง’ สู่ ‘ลูกค้า-ผู้ให้บริการ’&nbsp;</h2><p>ญาดา ช่วยชําแนก กล่าวว่า ปัจจุบันแม่บ้านไม่ใช่สาวจากต่างจังหวัดที่เข้ามาในเมืองเพียงอย่างเดียวที่มีมุมมองทางด้านลบ มักจะถูกกดขี่ &nbsp;แต่ความสามารถในการทำความสะอาดที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิดก็ทำให้เราสามารถเป็นแม่บ้านได้ โดยสามารถดูข้อความได้จากแอพพลิเคชัน BeNeat ที่กล่าวว่า “ใคร ๆ ก็เป็นแม่บ้านได้” รวมไปถึงการผลักดันให้เป็นแม่บ้านมืออาชีพ มากขึ้นจากการเปิดคอร์สต่าง ๆ อย่างเช่น วิทยาลัยดุสิตธานี และศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร การเป็นแม่บ้านจึงไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทการเป็นแรงงานระดับล่าง หรือแรงงานไร้ทักษะ ได้อีกต่อไป ในขณะเดียวกันลักษณะการจ้างงานก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันจากอยู่ติดที่ก็เปลี่ยนเป็นไปเช้าเย็นกลับ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของนายจ้างกับแม่บ้านเปลี่ยนไปด้วย จากการอยู่กับนายจ้าง ก็ต้องกินอยู่ด้วยกัน ทำให้อำนาจของแม่บ้านั้นมีน้อยกว่า โดยเห็นได้ชัดเจนว่านายจ้างจะเรียกมาใช้งานตอนไหนก็ได้ แต่ความสัมพันธ์แบบไปเช้าเย็นกลับ อาจจะไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้างอีกต่อไป โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น “ลูกค้า-ผู้ให้บริการ” ที่ลูกค้าต้องรับราคาค่าจ้างผู้บริการให้ได้ เพื่อที่จะได้รับการบริการอย่างมืออาชีพ ซึ่งความสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนนี้ส่งผลให้แม่บ้านสามารถ ยกระดับฐานะของตนเองได้และสามารถท้าทายภาพจำของ “แม่บ้าน” ได้เป็นอย่างดี</p><p>ญาดา ในฐานะผู้วิจัย ระบุว่า ตนทำการสำรวจแม่บ้านมา 5 คน คือ เอ้ มา หมวย นีและจอย พวกเขาได้เริ่มจากการเป็นคนรับใช้ในบ้านโรงแรมบริษัท ช่างเสริมสวย สาวโรงงาน และขายของ มาสู่การเป็นแม่บ้านฟรีแลนซ์ โดยผู้วิจัยได้ทําการยกเเนวคิดเรื่อง “ทุน” ของ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu นักปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส) ซึ่งประกอบไปด้วยการสะสม “ทุนทางวัฒนธรรม” คือการทำให้ทักษะการทำความสะอาดเป็นสินค้า จากทักษะการทำความสะอาดของผู้หญิงที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดส่งผลให้มีอำนาจในการต่อรองในตลาด สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ โดยผ่านการเทรนด์การเป็นแม่บ้านในโรงแรมมาก่อน ก่อให้เกิดความเป็นมืออาชีพ ทำให้สามารถต่อรองราคาที่สูงขึ้นได้ เป็นต้น ต่อมาเป็น “ทุนทางสังคม”คือการมีเครือข่ายคนรู้จัก เครือข่ายนายจ้าง และแอพพลิเคชันที่มีการใช้ในแม่บ้านหน้าใหม่ ที่จะนำมาสู่ปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานซึ่งความสำเร็จของแม่บ้านฟรีแลนซ์คือ เมื่อลูกค้าติดใจจากการทำงานของแม่บ้านในแอพลิเคชันแล้วอาจจะมีการจ้างงานกันต่อไปนั่นเอง แต่ผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในงานแม่บ้านแอพลิเคชันก็มีเช่นกัน เพราะการที่จะมีเป็นแม่บ้านแอพลิเคชันได้นั้น จะต้องมีทักษะในการใช้แอพพลิเคชันเสียก่อน ส่งผลให้ไม่มีเครือข่ายทางสังคมและหันมารับงานแบบปากต่อปาก ซึ่งนำไปสู่ผลสุดท้ายคือไม่มีงานนั่นเอง และสุดท้ายคือทุนทางด้าน “ความสามารถในการเคลื่อนย้าย” โดยให้ความสนใจกับประสบการณ์ที่แม่บ้านเจอมาก่อนผ่านทุนทั้งสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เท่ากัน จนนำมาสู่การเป็นแม่บ้านฟรีแลนซ์ ดังนั้น ยิ่งเคลื่อนที่ได้เร็ว ได้ไว ได้ไกล ได้กว้าง ก็จะยิ่งสร้างรายได้ที่มากกว่า</p><p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53660953857_62b2edd218_b.jpg" width="1024" height="578" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption" dir="ltr">ภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร – SAC. (2567, มีนาคม 29). แม่บ้านฟรีเเลนซ์: ปรากฎการณ์ของเเรงงานหญิงในสังคมเมืองร่วมสมัย ในมิติการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย [วิดีโอ]. Youtube. https://www.youtube.com/live/HuyPqveO6Yc?si=PaXhBjj1_Np7r0xv</p><p>เมื่อผู้วิจัยเทียบจำนวนชั่วโมง งานที่ทำ และเงินเดือนแล้ว ค่อนข้างมีจำนวนที่สูง เนื่องจากความเร็วของยานพาหนะมอเตอร์ไซด์ของพี่นีที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว และสะดวกกว่ารถโดยสารสาธารณะที่ต้องใช้เวลาเดินทางทำให้จำนวนงานที่สามารถรับงานได้ในแต่ละวันมีจำนวนน้อยกว่า</p><h2>ความสัมพันธ์ทางด้านการเปลี่ยนเเปลงทางสังคมในด้านเศรษฐกิจ&nbsp;</h2><p dir="ltr">จากการที่รัฐต้องการจะเปลี่ยนประเทศที่มีเกษตรกรรมหลักให้กลายเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมเเละการบริการเป็นหลัก จึงทําให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ในเขตเมือง ส่วนชนบทก็จะเล็กลงเรื่อยๆ เพราะเเรงงานย้ายถิ่นจากชนบทเข้าเมืองที่มีตลาดเเรงงานจํานวนมากในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ในขณะเดียวกันก็มีความเจริญเกิดขึ้นในภาคเกษตรของชนบท อย่างเช่น มีการใช้รถไถ เครื่องเก็บข้าวต่างๆ เข้ามาแทนเเรงงานภาคเกษตร ดังนั้น เเรงงานจากภาคเกษตรจึงต้องเข้ามาทํางานในเมืองแทน แต่คําถามก็คือตลาดเเรงงานในภาคอุตสาหกรรมมันมีเพียงพอหรือเปล่าสำหรับเเรงงานจากชนบทที่ย้ายเข้าเมืองมาทํางาน? ในขณะเดียวกันเเรงงานจากภาคชนบทก็อาจจะไม่ได้มีการศึกษาที่สูงมาก ทักษะในการทํางานจึงมีไม่เยอะ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “เเรงงานไร้ทักษะ” เเละถ้าหางานที่มั่นคงทําไม่ได้ก็จะกลายเป็น “เเรงงานนอกระบบ” ซึ่งมีจํานวนมากในปัจจุบัน โดยเป็นงานที่ไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนงานบ่อย ได้ค่าเเรงน้อยอาศัยเเรงกายมาก และไม่ได้มีกระบวนการพัฒนาให้พวกเขาเหล่านี้ไปสู่เเรงงานอาชีพ ซึ่ง“แม่บ้าน” ก็จัดเป็นเเรงงานนอกระบบเช่นกัน ที่เข้ามาพร้อมเเรงผลักทางเศรษฐกิจเเละสังคม เนื่องจากมีฐานะยากจนหรือเห็นญาติๆ ที่ไปทํางานในกรุงเทพกลับมาพร้อมการใส่ทองหยองเเละขบวนกฐิน จึงเกิดความคิดที่ว่า “ถ้าฉันไปทำงานที่กรุงเทพ ฉันก็จะทําเเบบนี้ได้”</p><p dir="ltr">เมื่อคนในกรุงเทพมีมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานมันก็เปลี่ยน ลักษณะบ้านเดี่ยวแบบเดิมนั้นมีไม่เพียงพอแล้ว ส่วนหนึ่งก็เป็นศูนย์กลางของภาคธุรกิจ จึงเกิดตึกระฟ้าขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นคอนโดหรูต่างๆ เรียงรายจนเกิดความแออัด และด้วยความต้องการที่จะเข้ามาอยู่ในกรุงเทพนั้นสูง ที่อยู่อาศัยจึงกระจายจากเมืองชั้นในออกไปเมืองชั้นนอกมากขึ้นเกิดเป็น city คอนโดมิเนียมที่มีห้องขนาดเล็ก ดังนั้นจึงเปลี่ยนบริบทการทำงานจากการเป็นแม่บ้านแบบประจำ มาเป็นแม่บ้านแบบไปเช้าเย็นกลับ</p><p dir="ltr">ญาดา สรุปด้วยว่า แม่บ้านฟรีเเลนซ์ เป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างมีความเป็นอิสระ เเต่ก็ไม่ได้อิสระขนาดนั้น ลักษณะของการจ้างงานจึงเป็นการตกลงกับผู้ว่าจ้างว่าจะทํางานกี่ชั่วโมง รับค่าจ้างเท่าไหร่ งานก็จะมักเป็นการบอกกันปากต่อปาก เเละแอพพลิเคชั่น อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น BeNeat มีลักษณะงานจะคล้ายๆ grab หรือ ondemand application ต่างๆ ที่ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าจะโพสต์ว่าต้องการแม่บ้านไปทํางานที่นู่นที่นี่ และแม่บ้านเองก็ต้องเข้าไปสร้างโปรไฟล์ของตนเอง พอมีลูกค้าลงงาน แม่บ้านก็ต้องไปกดเเย่งกันเองเพื่อให้ได้งาน แน่นอนว่าการทําผ่านแอพก็จะต้องมีการหักค่าใช้จ่ายอย่างพวกค่าคอมมิชชั่น ค่าบริการต่างๆ บางแอพก็จะหักภาษี หัก VAT หักค่าโอนเงิน และค่าจ้างทําของ 3% ซึ่งสุดท้ายเเล้ว จำนวนเงิน 500 บาท ที่เราจ่ายให้กับทางแอพพลิเคชั่น โดยกำหนดให้แม่บ้านมาทํางาน 2 ชั่วโมง สุดท้ายเเล้วแม่บ้านอาจจะได้เงินเพียงเเค่ 350 บาท เพราะฉะนั้น แม่บ้านหลายๆคนอาจจะใช้ช่องทางนี้ในการเข้าสู่ตลาดเเรงงาน และ เมื่อ “การบอกปากต่อปาก” เป็นสิ่งที่ผู้ว่าจ้างจะไว้ใจจ้างมากที่สุด ดังนั้นแม่บ้านที่เหลืออยู่โดยไม่มีเครือข่ายทางสังคมทั้ง ผู้ว่าจ้าง และเพื่อนร่วมงงาน จึงจำเป็นต้องมาหาลูกค้าในแอพพลิเคชั่นก่อน ซึ่งบางคนอาจจะทําคู่กันโดยหาในแอพลิเคชั่นหรือหางานเองข้างนอก และบางคนก็อาจจะมาหาเพื่อให้รู้ว่าตลาดลูกค้านั้นคือใครเเล้วก็จะไม่ต้องงานใช้แอพพลิเคชั่นอีกเลย</p><h2>กฎหมายที่ยังตามคุ้มครองไม่ทัน</h2><p dir="ltr">เมื่อพิจารณาจากบทความ&nbsp;"ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานแพลตฟอร์มศึกษากรณีธุรกิจแม่บ้านบริการออนไลน์" เมื่อปี 2565 ของ&nbsp;ชนิตร์นันท์ ทอนสูงเนิน นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (ส่วนกลาง) คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่พิจารณาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุัมครองด้านสวัสดิการของแรงงานแพลตฟอร์มที่แม่บ้านบริการออนไลนก็เผชิญปัญหาร่วมเนื่องจากยังไม่มีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน ทั้งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533...&nbsp;</p><p dir="ltr">ชนิตร์นันท์ ทอนสูงเนิน กล่าวว่า ระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มนั้น นำมาซึ่งความเสี่ยงและต้นทุนต่อคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น การปฏิสัมพันธ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเกิดบนฐานความสัมพันธ์ที่ยังขาดความแน่นอน การซื้อขายหรือจ้างงานผ่านแพลตฟอร์มมิได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนคอยกำกับ โดยเฉพาะกลไกทางกฎหมายที่ช่วยปกป้องคุ้มครองด้านแรงงานอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับแรงปกติโดยทั่วไป และที่สําคัญประโยชน์จากการเข้าถึงโอกาสและประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มไม่ได้กระจายไปอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มคน</p><p dir="ltr">บทความของ ชนิตร์นันท์ มองว่า “ธุรกิจแม่บ้านบริการออนไลน์” ตามความหมายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) หมายถึง แรงงานที่อยู่ในการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (informal sector) ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจการขนาดเล็ก ตั้งได้ง่าย มีลักษณะเป็นธุรกิจในครัวเรือน มักใช้วัตถุดิบในประเทศมีการใช้แรงงานเป็นหลัก และมีการดัดแปลงเทคโนโลยีง่ายๆ มาใช้ เป็นแรงงานอิสระที่ทํากิจกรรมเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บขยะ คนเก็บเศษกระดาษและโลหะ แรงงานรับใช้ในบ้านที่รับค่าจ้างจากครัวเรือน ผู้รับงานไปทําที่บ้าน และคนงานในโรงงานที่ไม่ขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นลูกจ้างแอบแฝง (disguised wage workers) ในเครือข่ายการผลิตและเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระในสถานประกอบการขนาดเล็กมากซึ่งทํางานด้วยตนเอง หรือมีสมาชิกในครอบครัว หรือมีผู้ฝึกงานหรือมีลูกจ้างช่วย</p><p dir="ltr">อีกทั้งแรงงานนอกระบบ ยังหมายถึง ผู้ใช้แรงงานที่ทํางานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานอย่างเป็นทางการหรือเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมาย ส่วนใหญ่เป็นการจ้างแบบปากเปล่า รวมทั้งอาจไม่มีนายจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้ทํางานอยู่ในสถานประกอบการ ไม่มีการจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่แน่นอน รวมทั้งยังหมายรวมถึงกลุ่มคนผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ทํางานชั่วคราว และที่สําคัญแรงงานกลุ่มนี้ไม่ยังไม่รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางสังคมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครอง ส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น ทั้งยังไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม ทําให้ไม่มีหลักประกันด้านความมั่นคงและการชดเชยต่างๆ เช่น ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม จ่ายไม่แน่นอน ไม่ตรงเวลา ไม่มีประกันความปลอดภัยในการทํางาน ไม่มีเงินออมยามเกษียณ และไม่มีเงินชดเชยหลังเลิกจ้าง&nbsp;</p><p dir="ltr">ส่วน “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5”&nbsp; ได้ให้คํานิยามของคําว่า ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร และยังให้คำนิยามของคําว่า ผู้ว่าจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดยจะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสําเร็จแห่งการงานที่ทํานั้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงปัญหาในเรื่องการคุ้มครองแม่บ้านออนไลน์ในธุรกิจแรงงานแพลตฟอร์มว่าหากมิใช่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วนั้น ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่กลับถูกมองว่าเป็นแรงงานนอกระบบ</p><p dir="ltr">แต่ในปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังไม่ครอบคลุมไปถึงแรงงานนอกระบบ จึงทําให้แม่บ้านบริการออนไลน์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามสถานะทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และส่งผลให้เกิดปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองด้านสวัสดิการของแรงงานแพลตฟอร์ม ดังนี้</p><p dir="ltr"><strong>1) พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537</strong></p><p dir="ltr">กฎหมายเงินทดแทนได้กําหนดให้นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้างโดยตรงโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของนายจ้าง โดยกฎหมายเงินทดแทนนี้มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทํางานให้แก่นายจ้าง โดยกําหนดให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นในสํานักงานประกันสังคมและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน แล้วให้กองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทของลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตายหรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ซึ่งแม่บ้านออนไลน์ภายใต้ธุรกิจแรงงานแพลตฟอร์มควรที่จะได้รับการคุ้มครองในเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน</p><p dir="ltr"><strong>2) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518</strong></p><p dir="ltr">ในส่วนของแม่บ้านออนไลน์ภายใต้ธุรกิจแรงงานแพลตฟอร์มนั้น ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มมีอํานาจควบคุมบังคับบัญชาผู้ทํางานแพลตฟอร์มผ่านทางแพลตฟอร์มด้วยกฎระเบียบ การแต่งกาย ข้อบังคับในการให้บริการ มีการประเมินคะแนนซึ่งส่งผลถึงความสามารถในการรับงานครั้งต่อไปหรืองานที่มีมูลค่าสูงขึ้นและมีการลงโทษเมื่อทําผิดกฎระเบียบ แม่บ้านออนไลน์จึงสมควรที่จะได้รับความคุ้มครองในด้านสวัสดิการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนเกี่ยวกับการแจ้งข้อเรียกร้อง และการระงับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้สิทธิแก่นายจ้างและลูกจ้างในการจัดจ้างองค์กรของตนเพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างและการทํางาน และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองฝ่าย อีกทั้งให้สิทธิ แก่ลูกจ้างในการจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้าง เพื่อให้นายจ้างได้หารือในกิจการต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันและกัน ซึ่งมีการตกลงในเรื่องสภาพการจ้าง หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือ การท างาน กําหนดวันและเวลาทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือทํางาน</p><p dir="ltr"><strong>3) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533</strong></p><p dir="ltr">แรงงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มประเภทแม่บ้านออนไลน์นี้ยังมีสถานะภาพที่คลุมเครือในกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผลพวงจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากความสัมพันธ์ที่ไม่สมมาตร สัญญาที่ไม่เป็นธรรม และผลักภาระเกือบทั้งหมดให้แรงงาน เช่นการแบกรับความเสี่ยงในด้านสุขภาพ การเจ็บป่วยและการเข้าไม่ถึงหลักประกันสิทธิแรงงาน ซึ่งในส่วนของแม่บ้านออนไลน์ภายใต้ธุรกิจแรงงานแพลตฟอร์มนั้น เมื่อต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพหรือตาย ก็ไม่มีบัทบัญญัติกฎหมายในเรื่องดังกล่าวที่ให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือแต่อย่างใด</p><p dir="ltr"><strong>เมื่อพิจารณาตามกฎหมายต่างประเทศในส่วนของ “บทบัญญัติของกฎหมาย California Proposition 22”</strong></p><p dir="ltr">พบว่า นิติสัมพันธ์ของแม่บ้านบริการออนไลน์และแพลตฟอร์มบริการนั้น มีการจัดให้แรงงานอยู่ในกลุ่มผิดประเภทที่จะไม่ได้รับสิทธิและการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่นายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งแพลตฟอร์มบริการย่อมได้รับประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้แก่แม่บ้านบริการออนไลน์</p><p dir="ltr">ดังนั้น ชนิตร์นันท์ มีข้อเสนอในบทความดังกล่าวว่า</p><p>1. ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 เป็ นการขยายความคุ้มครองให้กับบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายได้</p><p>2. ควรมีการร่างกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบ ดังนี้</p><p dir="ltr">2.1)แก้ไขนิยามกําหนดให้แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมถึง ‘แรงงานอิสระ’ หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ&nbsp;</p><p dir="ltr">“ผู้ประกอบอาชีพอิสระ” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างหรือให้บริการ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรือผู้ประกอบอาชีพอื่นที่ไม่มีนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน“ผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้</p><ul><li><p dir="ltr">(1 )ผู้ประกอบอาชีพบริการขนส่งคนโดยสาร สิ่งของ หรืออาหาร ทําความสะอาดหรือบริการอื่นๆผ่านผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยได้รับค่าตอบแทนการงานที่ทําจากผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล&nbsp;</p></li><li><p dir="ltr">(2)ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างหรือให้บริการอื่นที่ไม่มีลักษณะตาม คือได้รับค่าตอบแทนการงานที่ทําจากผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการนั้น ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง</p></li></ul><p dir="ltr">2.2) กําหนดมาตรฐานในการคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ การกําหนดสัญญามาตรฐานที่มีความเป็นธรรม กําหนดสวัสดิการ กําหนดมาตรฐานการทํางานที่เป็นธรรมต่อผู้ทํางาน เป็นต้น</p><p dir="ltr">2.3) กําหนดการคุ้มครองด้านสวัสดิการที่เชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ทํางานเช่นเดียวกับผู้ประกันตน</p><p dir="ltr">2.4) กําหนดให้มีองค์กรควบคุมกํากับที่มีตัวแทนจากผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือกึ่งอิสระ</p><h2>ร่างกฎหมายที่ถูกตีตก</h2><p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53662168629_c35c07255a_b.jpg" width="1024" height="748" loading="lazy"></p><p>&nbsp;</p><p class="text-align-center picture-with-caption" dir="ltr">ภาพมาตรา 3 และ 4 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เสนอโดย เซีย จำปาทอง</p><p>อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายที่&nbsp;เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาปัดตก ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เสนอโดย เซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ โดยมีผู้ลงมติ 402 ราย เห็นชอบ 149 ไม่เห็นชอบ 252 เสียง ซึ่งมีหนึ่งประเด็นสำคัญคือเปลี่ยนนิยาม “ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน</p><p dir="ltr">มติชนออนไลน์ รานงานปฏิกิริยาจากกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา ด้วยว่าภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ลูกจ้างเหล่านี้มีสิทธิและโอกาสมากขึ้นจากเดิม โดยกฎหมายดังกล่าวคือ ร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ. …ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ</p><p dir="ltr">ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเพิ่มขึ้น 11 ประเด็น &nbsp;เช่น นายจ้างต้องประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยวันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง (ชม.) และมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชม. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาตามความจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี ให้ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วันและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานช่วงเวลา 22.00 – 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานวันหยุด ให้นายจ้างแจ้งการจ้างและการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ต่อพนักงานตรวจแรงงาน ให้ลูกจ้างที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาไปศึกษาอบรมและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541” โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับฟังความคิดเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมายแล้ว จากนี้ไปกฤษฎีกาจะตรวจสอบรายละเอียดก่อนประกาศบังคับใช้ต่อไป</p><div class="note-box"><p><span style="-webkit-text-stroke-width:0px;background-color:rgb(239, 212, 231);color:rgb(42, 42, 42);display:inline !important;float:none;font-family:Sarabun, sans-serif;font-size:18px;font-style:normal;font-variant-caps:normal;font-variant-ligatures:normal;font-weight:400;letter-spacing:normal;orphans:2;text-align:start;text-decoration-color:initial;text-decoration-style:initial;text-decoration-thickness:initial;text-indent:0px;text-transform:none;white-space:normal;widows:2;word-spacing:0px;">สำหรับ วรันธร ตังคไชยนันท์ ผู้เรียบเรียงงานชิ้นนี้ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานประจำกองบรรณาธิการข่าวประชาไท ซึ่งมาจาก สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</span></p></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แม่บ้าhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1" hreflang="th">แพลตฟอร์http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">วรันธร ตังคไชยนันทhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87" hreflang="th">เรงงานหญิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%81" hreflang="th">ญาดา ช่วยชําแนhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/04/108865
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวด่วน] - ผู้ให้บริการ AIS ยื่นคำร้องศาลฯ ยกเลิกคำสั่งห้ามแพร่ภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 131 กระทู้ล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2565 13:44:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - เจาะหุ้นน้องใหม่ PRTR ผู้ให้บริการ HR solution น่าสนใจอย่างไรถึงทำให้ JMART เข้าซื้อหุ้น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 92 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2566 16:46:16
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 356 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 268 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.207 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 06:55:17