[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 พฤษภาคม 2567 17:24:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โองการแช่งน้ำ ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  (อ่าน 3547 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2560 12:27:03 »



เครื่องราชกกุธภัณฑ์จำลองทองคำ ประกอบด้วยพระแส้ วาลวิชนี (พัชนีฝักขาม) และพัดโบก
ศิลปะอยุธยาตอนต้น (พุทธศักราช ๑๙๖๗) พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา

.  โองการแช่งน้ำ ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  .
ผู้เรียบเรียง : กิมเล้ง


โองการแช่งน้ำ (ลิลิต) สะท้อนให้เห็นการผสมผสานของความเชื่อในสังคมไทย มีทั้งความเชื่อในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ พระรัตนตรัยในศาสนาพุทธ และผีตามความเชื่อแบบดั้งเดิม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าว่า อาลักษณ์เป็นผู้อ่านโองการแช่งน้ำ และเมื่ออ่านบทนมัสการเทพเจ้าแต่ละองค์เสร็จ พราหมณ์พระมหาราชครูก็จะนำพระแสงศรอาวุธประจำเทพเจ้าองค์นั้นๆ จุ่มในน้ำที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชผู้ใหญ่ผู้น้อยดื่ม  และได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายถึงพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ไว้ในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน มีความตอนหนึ่งว่า...มีคำบอกเล่าว่าแต่งขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ทรงสงสัยว่าน่าจะแต่งก่อนรัชสมัยนั้น และเมื่อทรงพิจารณาจากถ้อยคำตอนท้ายบทซึ่งกล่าวสดุดีพระมหากษัตริย์ใช้คำว่า “สมเด็จพระรามาธิบดี” จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า น่าจะหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา หรือที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าถ้อยคำน่าจะตกหล่นและผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก ทั้งยังมีคำศัพท์ที่เข้าใจยากอยู่ด้วย จนทรงสงสัยว่าอาจมีมาก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็เป็นได้

ราชประเพณีถือน้ำนี้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีมาแต่โบราณครั้งกรุงทวารวดีศรีอยุธยาโบราณ เนื่องจากเป็นบทอ่านในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จึงสันนิษฐานกันว่าผู้แต่งน่าจะเป็นพราหมณ์ในราชสำนัก ถ้อยคำที่ใช้มีคำเขมร สันสกฤต คำไทยโบราณ มีการแผลงอักษร การใช้สร้อยสลับวรรค ความบางตอนเป็นคำอรรถ ซึ่งยากแก่การเข้าใจ  เนื้อความหลักของลิลิตโองการแช่งน้ำเริ่มด้วยร่ายสามบท เป็นคำสรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ตอนต่อมาเป็นโคลงและร่าย เนื้อความว่าด้วยการสร้างโลกตามคติไตรภูมิ แล้วอัญเชิญพระรัตนตรัย ผีสางเทวดา และผู้มีฤทธานุภาพทั้งหลายมาชุมนุมเพื่อเป็นพยานในพิธี แล้วจึงเป็นคำสาปแช่งให้ผู้คิดร้ายไม่ซื่อต่อสมเด็จพระรามาธิบดีต้องประสบภัยพิบัตินานัปการ และอวยพรผู้ที่ซื่อตรงจงรักภักดีให้มีความสุขและลาภยศ

อนึ่ง คำแช่งน้ำที่พราหมณ์อ่านมีแบบเป็นโคลงแต่หารู้ว่าแบบโคลงอย่างไรไม่ เรียกแต่ว่าโคลงแช่งน้ำ ซึ่งต่อมา เปลื้อง ณ นคร ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า เป็นหนังสือเรื่องเดียวในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ กล่าวได้ว่าเป็นหนังสือกาพย์กลอนเรื่องแรกที่สุดที่ยังคงมีต้นฉบับอยู่... ประกาศแช่งน้ำนี้เป็นคำแช่งตรงตามชื่อ เป็นโองการสำหรับพราหมณ์อ่านประกาศแก่เทพยดาและผีปีศาจในเวลาทำพิธีถือน้ำ ซึ่งเป็นพิธีที่เสนาข้าราชการแสดงและสาบานตนว่า จะจงรักภักดีต่อหัวหน้า คือกษัตริย์ เดิมเขียนเป็นตัวหนังสือขอม เนื้อความเป็นคำภาษาไทย แต่งเป็นโคลงห้าสลับกับร่ายดั้น แต่แลเห็นได้ชัดว่า ไม่ถือเคร่งทางระเบียบบังคับของการประพันธ์ ผู้แต่งคงจะเป็นพราหมณ์

จะเห็นได้ว่า การใดที่ถือเป็นพิธีหลวงหรือเป็นพิธีในราชสำนักแต่โบราณ มักนิยมให้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบการ แม้ปัจจุบันพราหมณ์ที่รับราชการก็จะสังกัด กองพระราชพิธี แผนกพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อปฏิบัติหน้าที่สำคัญในงานพระราชพิธี ได้แก่ อ่านฉันท์กล่อมช้าง กล่อมพระอู่เจ้านาย กล่อมสมโภชพระแก้วมรกต อ่านฉันท์สดุดีสังเวย พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล และพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะถือว่า พราหมณ์เป็นบุคคลในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ที่ได้รับการยกย่องให้มีวรรณะเหนือกษัตริย์ก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีพิธีกรรมชั้นสูงในราชสำนัก พราหมณ์จึงได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ให้อ่านโองการสืบมา

โดยเฉพาะการอ่านโองการแช่งน้ำที่พราหมณ์เป็นผู้อ่านนั้น จิตร ภูมิศักดิ์ ได้แสดงความเห็นไว้ว่า “...โองการแช่งน้ำได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือนหนึ่งมนต์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า จึงให้พราหมณ์เป็นผู้อ่าน มิใช่ให้อาลักษณ์อ่านเหมือนคำแช่งอื่นๆ ที่กษัตริย์แต่ละองค์ได้มีรับสั่งให้แต่งขึ้นสำหรับรัชกาลของตน...” ซึ่งตรงกับประกาศการพระราชพิธีได้อธิบายถึงลิลิตโองการแช่งน้ำ ไว้ว่า “พราหมณ์อ่านเมื่อเวลาทรงศีลแล้ววันถือน้ำ” ซึ่งพิธีถือน้ำเป็นพระราชพิธีสำคัญสำหรับแผ่นดินที่มีสืบมาแต่โบราณไม่มีเว้นว่าง ถือกันว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง ส่วนที่มีความหมายเป็นพิเศษของพิธีก็คือ ให้ผู้เข้าร่วมพิธีสาบานทำสัตย์แล้วดื่มน้ำชำระพระแสง เป็นการสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีไม่คิดทรยศ แม้องค์พระมหากษัตริย์ก็โปรดเสวยน้ำชำระพระแสงก่อนด้วย เท่ากับพระองค์ได้พระราชทานสัจจะในอันที่จะทรงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในพระราชกรณียกิจต่อพสกนิกร

อาจสรุปได้ว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ ประกาศแช่งน้ำ แต่งขึ้นสำหรับใช้อ่านทำนองสำหรับใช้ในพิธีกรรมคือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือ พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเป็นพระราชพิธีสำคัญสำหรับแผ่นดินที่มีสืบมาแต่โบราณ ถือกันว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง โดยมีพราหมณ์เป็นผู้อ่านสืบทอดกันมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนปัจจุบัน ทำให้ทราบประเพณีพราหมณ์ที่ไทยรับมาไว้ในวัฒนธรรมไทยเป็นเวลาช้านาน

ปัจจุบัน ในหอสมุดแห่งชาติมีลิลิตโองการแช่งน้ำทั้งที่เป็นอักษรไทย อักษรขอม และอักษรคฤนถ์ ซึ่งนักวรรณคดีได้พิจารณาจากเนื้อหาและถ้อยคำภาษาที่ใช้แล้ว มีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น



อ่านทำนองโองการแช่งน้ำ
ร่ายโบราณ

๏ โอมสิทธิสรวง/ศรีแก้ว  แผ้ว/มฤตยู  เอางู/เป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้า/กลืนดิน  บินเอาครุฑ/มาขี่  สี่มือถือสังข์/จักรคธาธรณี  ภีรุ/อวตาร  อสูร/แลงลาญทัก  ททัค/-นิจรนาย ฯ

๏ โอมบรเม/ศวราย  ผายผาหลวง/อะคร้าว  ท้าวเสด็จ/เหนือวัวเผือก  เอาเงือก/เกี้ยวข้าง  อ้างทัดจันทร์/เป็นปิ่น  ทรงอินทร/ชฎา  สามตาม/พระแพร่ง  แกว่ง/เพชรกล้า  ฆ่าพิฆัน/จัญไร ฯ

๏ โอมชัยชัย/ไขโสฬสพรหมญาณ  บาน/เศียรเกล้า  เจ้าคลี่/บัวทอง  ผยอง/เหนือขุนห่าน  ท่านรังก่อดิน/ก่อฟ้า  หน้า/จตุรทิศ  ไทมิตร/ดา  มหา/กฤตราไตร  อมไตย/โลเกศ  จงตรี/ศักดิท่าน  พิญาณ/ปรมาธิเบศ  ไทธเรศ/สุรสิทธิพ่อ  เสวยพราหมาณฑ์/ใช่น้อย  ประถมบุญ/ภารดิเรก  บูรภพ/บรู้กี่ร้อย  ก่อมา ฯ
                                        ลิลิตโองการแช่งน้ำ



อ่านทำนองโองการแช่งน้ำ
โคลงห้า
๏ นานา/อเนกน้าว/เดิมกัลป์ จักร่ำ/จักราพาฬ/เมื่อไหม้
กล่าวถึง/ตระวันเจ็ด/อันพรุ่ง น้ำแล้งไข้/ขอดหาย
๏ เจ็ดปลา/มันพุ่งหล้า/เป็นไฟ วาบจตุ/ราบาย/แผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์/เป็นเผ้า แลบล้ำ/สีลอง
๏ สามรรถญาณคร/เพราะเกล้า/ครองพรหม ฝูงเทพ/นองบนปาน/เบียดแป้ง
สรลบเต็ม/พระสุธาวาส/แห่งหั้น ฟ้าแจ้งจอด/นิโรโธ
๏ กล่าวถึง/น้ำฟ้าฟาด/ฟองหาว ดับเดโช/ฉ่ำหล้า
ปลาดินดาว/เดือนแอ่น ลมกล้าป่วน/ไปมา
๏ แลเป็นแผ่น/เมืองอินทร์ เมืองธาดา/แรกตั้ง
ขุนแผน/แรกเอาดิน/ดูที่ ทุกยั้งฟ้า/ก่อคืน ฯ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ






พระคชาธารทองคำประดับอัญมณี ศิลปะอยุธยาตอนต้น (พุทธศักราช ๑๙๖๗)
พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา


สุวรรณภิงคารทองคำประดับอัญมณี เป็นเครื่องราชูปโภค ศิลปะอยุธยาตอนต้น
(พุทธศักราช ๑๙๖๗) พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา


ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับตัวเขียนอักษรต่างๆ (ภาพจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์-
วรรณคดีไทยสมัยอยุธยา ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับราชบัณฑิตยสถาน)


ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับอักษรคฤนถ์ (ภาพจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์-
วรรณคดีไทยสมัยอยุธยา ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับราชบัณฑิตยสถาน)


ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับอักษรไทย (ภาพจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์-
วรรณคดีไทยสมัยอยุธยา ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับราชบัณฑิตยสถาน)



เอกสารอ้างอิง : - สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง , โองการแช่งน้ำ,ลิลิต น.๗๕๐๘-๗๕๑๑ มูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, เล่ม ๑๕
                    - เสนาะศัพท์สดับทำนองร้อยกรองไทย, โองการแช่งน้ำ, น.๔๖-๔๙, โครงการสารานุกรมไทยฯ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                    - เว็บไซท์ วิกิซอร์ซ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มีนาคม 2560 19:29:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โองการแช่งน้ำ
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 269 กระทู้ล่าสุด 07 มกราคม 2566 13:00:48
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.436 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤษภาคม 2567 05:12:06