[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 พฤษภาคม 2567 00:59:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
หงุดหงิดจะตบ "ยุง" แต่บินหายวับไปกับตา กูรูแนะต้องมองจุดนี้ อึ้งเจอเกาะอยู่จริงๆ!!!
         


หงุดหงิดจะตบ "ยุง" แต่บินหายวับไปกับตา กูรูแนะต้องมองจุดนี้ อึ้งเจอเกาะอยู่จริงๆ!!!" width="100" height="100  ใครๆ ก็หงุดหงิด จะตบ “ยุง” แต่บินหายวับไร้ร่องรอย ผู้เชี่ยวชาญแนะให้มองที่จุดนี้ ชอบหนีไปเกาะอยู่ อึ้งเจอจริงๆ!!!
         

https://www.sanook.com/news/9399762/
         

 2 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ
 


<span>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-16T20:59:46+07:00" title="Thursday, May 16, 2024 - 20:59">Thu, 2024-05-16 - 20:59</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภัทรภร ผ่องอำไพ รายงาน/ถ่ายภาพ</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>“คนไร้บ้าน” แค่มีบ้านก็พอใจสุขสบายแล้วจริงหรือ?&nbsp;</p><p>โมเดลการสร้างสถานสงเคราะห์ชดเชยปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนไร้บ้านมีบ้านอยู่เพียงพอหรือแท้จริงแล้วเป็นไปตามความต้องการของคนไร้บ้านหรือไม่?</p><p>มิติของการแก้ปัญหาให้กลุ่มคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ได้รับการแก้ไขอย่างถูกจุดแล้วหรือไม่?&nbsp;</p><p>สารคดีตอนแรกซึ่งเป็นหนึ่งในสองตอนนี้จะได้ทำความรู้จักกับ คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่งใน กรุงเทพมหานคร พื้นที่บริเวณตรอกสาเกและพื้นที่หัวลำโพง เรื่องเล่าที่ต้องการสะท้อนความรู้สึก ความทรงจำ เกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ที่เรียกว่า “บ้าน” และภาวะที่กลับบ้านไม่ได้เพราะ “ไม่มีบ้าน” ให้กลับนั้นเป็นอย่างไร&nbsp;</p><h2>เรื่องเล่าจาก “คนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง”</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53725528199_90f90526e6_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">หนึ่ง วัย 38 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนแรกรู้จักในชื่อ หนึ่ง พื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัด อุบลราชธานี ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ กับพ่อแม่ พ่อประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ส่วนแม่ขายส้มตำ&nbsp;</p><p>หลังจากย่าของเขาเสียชีวิต ครอบครัวจึงย้ายถิ่นฐานกลับบ้านที่ อุบลฯ ตามเดิม แต่หนึ่งไม่ได้ตามไปด้วย แต่ไปได้งานเสิร์ฟอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิท&nbsp;</p><p>กระทั่งเจอโควิดระลอกแรก แม้เขาจะยังพอมีเงินจุนเจือให้สามารถประคองชีวิตอยู่รอดได้ แต่ชีวิตของหนึ่งต้องมาพบกับความอับจนเมื่อร้านอาหารนั้นสังกัดปิดตัวลงหลังจากเจอโควิดรอบสองด้วยว่าไม่สามารถแบกต้นทุนต่อไปได้ ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2565 เมื่อไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าห้องอีกต่อไป หนึ่งจึงตัดสินใจออกมาอาศัยพื้นที่บริเวณหลังสถานีหัวลำโพงที่เป็นพักพิง</p><p>“ถ้าถามว่าทำไมถึงไม่กลับไปพร้อมกับพ่อแม่ที่อุบลฯ ถ้าเป็นคนต่างจังหวัดจะเข้าใจว่างานในต่างจังหวัดมันไม่ได้มีเยอะ กลับบ้านมันก็เหนื่อยนะ”</p><h2>จากห้องเช่า เป็น “บ้านถาวร”</h2>หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>“วันแรกที่มานอน ก็กลัวนะ ไม่ใช่ไม่กลัว แต่มันเป็นภาวะต้องยอมจำนน คืนแรกหลับๆ ตื่นๆ ตลอด หลังจากนั้นก็มารวมกลุ่มนอนกับป้าๆ แถวๆ นี้เอา นอนไปนอนมามันก็ชินไปเองเรื่องอาหารก็ไม่ได้ลำบากอะไร เพราะมีคนมาแจกข้าวบ่อยจนกินไม่ทันต้องขอให้เขาให้อย่างอื่นแทน เช่น ยากันยุงบ้าง ยาลดปวดไข้บ้าง คนมาแจกเขาก็เข้าใจนะ บางคนก็ให้เป็นเงินสดแนบมาก็มี ลำบากบ้างเวลาจะอาบน้ำเข้าห้องน้ำหรือถ้าหนักสุดบางคนป่วยไม่มีบัตรประชาชนก็ตายตรงนี้เลย คนไร้บ้านแถวนี้ตายเป็นข่าวก็เยอะ แต่ก็ทำได้แค่มองดูเขาตายช่วยอะไรทำอะไรไม่ได้”</p><p>หนึ่ง เล่าว่า ในช่วงโควิดระลอกหลังที่เขาและเพื่อนที่อาศัยนอนสาธารณะแถวนั้นจำต้องคอยหลบเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หน่วยงานของ กทม. หน่วยงานเทศกิจ ฯลฯ ไม่ให้โดนจับ การรับมือกับสถานการณ์คนไร้บ้านช่วงนั้นถือว่าใช้มาตรการที่รุนแรงไม่ว่าจะเป็น ใช้รถทหารจับคนขึ้นรถ ใช้ปืนน้ำแรงสูงฉีดน้ำไล่ ทำให้เวลาที่ได้ยินเสียงรถหรือเห็นคนใส่ชุดสีชมพู คนแถวนี้เป็นที่รู้กันว่าต้องวิ่งหนี</p><p>“ตอนนี้มีงานทำอยู่แล้วเพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ที่อยู่อาศัย มันคงไม่สามารถเปลี่ยนจากห้องเช่ามาเป็นบ้านถาวรได้หรอก มันก็คงต้องเป็นบ้านเช่าแบบนี้ไปนั้นแหละ” หนึ่ง หัวเราะ</p><p>“มีบ้านต่างจังหวัดแก่ตัวอายุ 40 อย่างมากก็กลับบ้านได้ แต่คนที่ไม่มีบ้านอ่ะเขาจะยังไง” หนึ่ง กล่าว</p><h2>พิษเศรษฐกิจบีบบังคับให้กลายสถานะเป็น “คนไร้ที่พึ่ง”</h2>บังอร วัย 62 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">บังอร วัย 62 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนที่สองชื่อ บังอร วัย 62 ปี เป็นคนจังหวัด สมุทรปราการ ประกอบอาชีพขายของและขายผลไม้เดินทางจากสมุทรปราการมาขายผลไม้ในเมืองใกล้กับตลาดมหานาคและหาห้องเช่าใกล้ๆ เพื่ออยู่อาศัย แต่หลังจากเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เธอค้าขายได้ไม่ดีนัก เงินที่ได้ก็ไม่เพียงพอที่จะเช่าห้อง จนสุดท้ายเธอกลายสถานะมาเป็น “คนไร้ที่พึ่ง”</p><p>“ช่วงแรกที่มานอนใหม่ๆ ก็กลัวไม่กล้านอน แต่ว่าเห็นว่าแถวนี้ก็มีผู้หญิงด้วย และคนก็เยอะ ตอนช่วงโควิดก็มีคนมาแจกข้าว น้ำ และก็มีให้เงินด้วยบางคน ก็เลยอยู่ตรงนี้ นอนตรงนี้จนเป็นปีอ่ะ”</p><p>บังอร เล่าว่า ระลอกแรกของโควิด-19 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่เทศกิจ กทม. ไม่ได้เข้ามาช่วย ตรงกันข้ามกลับมองว่าไม่ทำมาหากิน และว่ากล่าว ติเตียน กลุ่มคนที่มาแจกของแจกข้าวว่าพฤติกรรมนี้เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มคนไร้บ้านมีนิสัยขี้เกียจ ไม่ยอมออกไปหางานทำ บ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เทศกิจ ไล่ไม่ให้คนมาแจกเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทให้เห็นบ่อยครั้ง&nbsp;</p><p>มาระลอกหลังที่มีเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาลเข้ามาตรวจฉีดวัคซีนโควิด-19 ดูแล รวมทั้งมีหน่วยงานภาคประชาสังคม (NGOs) เช่น เครือข่ายคนไร้บ้าน รวบรวมข้อมูลสอบถามความคิดเห็นพี่น้องคนไร้บ้าน และทำงานหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุน รวมทั้งเช็คสิทธิ์สวัสดิการต่างๆ ท่าทีของหน่วยงานก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น</p><p>“สำหรับตนไม่ได้ขออะไรเยอะขอแค่โอกาส ช่วยหาห้องเช่าในช่วงไม่มีบ้าน ไม่มีที่นอน ช่วยหางานให้ทุนในการช่วยเหลือให้ตั้งหลักได้ แค่นี้ตนก็พอใจแล้ว”</p><h2>“บ้าน” ที่กลับไม่ได้</h2>เวท วัย 50 ปี คนไร้บ้านที่นอนประจำแถวเทเวศร์ ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">เวท วัย 50 ปี คนไร้บ้านที่นอนประจำแถวเทเวศร์ ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง รายสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์ ชื่อ เวท วัย 50 ปี เป็นคนจังหวัด ราชบุรี อาชีพเดิมรับจ้างทำสวน แต่รายได้ไม่ดีมากนักจึงตัดสินใจเข้ามาทำงานที่ กรุงเทพฯ เป็นเด็กกระเป๋ารถเมล์ รับจ้างทั่วไป ปัจจุบันด้วยอายุที่มากขึ้นจึงไม่ได้ทำงาน อีกทั้งเขายังเคยประสบอุบัติเหตุถูกรถชนทำให้ขาพิการ</p><p>เวทเล่าว่าช่วงแรกไม่ได้นอนที่ไหนเป็นพิเศษย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ รวมกลุ่มนอนกับเพื่อนบ้าง นอนคนเดียวบ้าง แต่ไม่ได้ไปนอนแถวซอยตรอกสาเก ราชดำเนินฯ เพราะเห็นเจ้าถิ่นใช้กำลังทำร้าย ขโมยของบ้าง ปัจจุบันนอนอยู่ที่เทเวศร์ เพราะสงบเงียบกว่ามาก นานๆ ทีถึงจะกลับราชบุรี</p><p>“บ้านที่ราชบุรีที่เคยอยู่ ตอนนี้ไม่มีแล้ว”</p><p>“มีแต่ทะเบียนบ้าน ถ้าจะกลับก็ไปอยู่กับญาตินานๆ ทีผมจะกลับ ญาติก็มีจำได้บ้าง ไม่ได้บ้างเหมือนกัน เขาก็ไม่อยากให้เราอยู่” เวท กล่าว</p>ตรอกสาเก" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">ตรอกสาเก ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><h2>ป่วย ไข้ ไม่สบาย แก้ได้ถ้าเข้าถึงสิทธิ์</h2><p>เวท เล่าว่า เขามีบัตรประชาชน บัตรคนพิการเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีมูลนิธิอิสรชนที่พาไปทำเรื่องลงทะเบียนรักษา 30 บาทรักษาทุกโรค เวลาป่วยจึงไม่ได้กังวลเพราะใช้สิทธิ์รักษาตามบัตรได้ เจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลดูแลให้บริการดี แต่กรณีเพื่อนคนไร้บ้านที่รู้จักก็มีหลายคนที่ไม่มีบัตรประชาชน และยังไม่ได้ทำเรื่อง</p><p>“แต่ถ้าอย่างบางคนไม่มีบัตรอะไรเลย ป่วยที มันก็แล้วแต่เวรกรรมแต่ละคน”&nbsp;</p><h2>รัฐเสนอ “โครงการบ้านอิ่มใจ” และ “โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง”</h2><p>จากเรื่องราวของคนทั้งสามคน ทำให้เกิดคำถามว่าคนที่ไร้บ้านไร้ที่พึ่งพาอาศัยเขามีชีวิตกันอย่างไร มีใครให้ความช่วยเหลือพวกเขาบ้างหรือเปล่า ทางการดูแลเขาแค่ไหน เท่าที่ได้สำรวจทำให้ทราบถึงโครงการบ้าน 2 ชื่อ คือ “โครงการบ้านอิ่มใจ” และ “โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง” แล้วโครงการทั้งสองนี้เป็นอย่างไร อยู่ภายใต้การดูแลหน่วยงานไหน และใช้งบประมาณใด?</p><h3>‘บ้านอิ่มใจ’&nbsp;</h3><p>‘โครงการบ้านอิ่มใจ’ เปิดโครงการครั้งแรกวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้นมีแนวทางต้องการช่วยเหลือคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนมีรายได้น้อย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย&nbsp;</p><p>บ้านอิ่มใจเป็นห้องพักรายวัน ตั้งอยู่ที่สี่แยกแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย บริเวณสำนักงานการประปา สาขาแม้นศรี (เดิม) เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 64.70 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยรวม 10,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่เช่าของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อาคารตึกสูง 3 ชั้น แบ่งห้องพักเป็นห้องพักรวม ห้องพักชาย และห้องพักหญิง รองรับการเข้าพักได้วันละ 200 คน</p>บ้านอิ่มใจ" width="2048" height="1536" loading="lazy<p class="picture-with-caption">ที่มา : เฟสบุ๊ค บ้านอิ่มใจ กรุงเทพมหานคร</p><p>ต่อมา 14 มีนาคม 2562 ในสมัยที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีมติเห็นชอบให้คืนพื้นประปาแม้นศรี(เดิม) ให้กับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในเดือนกันยายน 2562 เนื่องจาก กทม. เช่าพื้นที่ดังกล่าวในอัตราปีละ 28 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2555 – 2562 รวมเป็นเงินราว 200 ล้านบาท แต่กลับใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่าประกอบกับคนไร้ที่พึ่งเข้าพักอาศัยอยู่ไม่มาก โดย กทม. กำหนดให้คนไร้ที่พึ่งออกภายในเดือนมิถุนายน 2562</p><p>ทั้งนี้ทาง กทม. ได้ย้ายมาเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด อาคาร 4 ชั้น ที่วัดบางพลัดแทน เพื่อรองรับให้กับ คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ในส่วนอัตราค่าเช่าเสียปีละ 100,000 บาท และสิ้นสุดสัญญาเช่าในปี 2565 จากนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับโครงการก็เงียบหายไป</p><p>จนกระทั่ง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ปรากฏข่าวเกี่ยวกับโครงการบ้านอิ่มใจอีกครั้ง โดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน มีแผนจะเปิดให้บริการโดยกลับไปเช่าพื้นที่สำนักการประปาสาขาแม้นศรี(เดิม) กับสำนักงานทรัพย์สินฯ อีกครั้งเป็นสัญญาเช่า 30 ปี ค่าเช่า 3 ปีแรก 2567-2569 เดือนละ 1,071,050 บาท หรือปีละ 12,852,600 บาท และหากเป็นไปตามแผนบ้านอิ่มใจจะได้เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2567</p><h3>‘ค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง’</h3><p>โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง คือ โครงการจัดที่อยู่อาศัยผ่านการมีส่วนร่วมของคนไร้บ้านในรูปแบบการ ‘แชร์’ ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ร่วมกับกองทุนเครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม&nbsp;</p><p>จุดประสงค์ของโครงการเพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน ส่งเสริมการทำอาชีพต่างๆ และจัดการการเงินผ่านกองทุนเก็บออม เพื่อนำไปสู่การตั้งหลักชีวิตในระยะยาว ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเสี่ยงทางสุขภาวะของคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ โดยให้คนไร้บ้านสมทบค่าเช่าร่วมกับโครงการฯ ในสัดส่วน 60:60 ของค่าเช่าห้อง ส่วนต่างที่เหลือร้อยละ 20 จะนำไปเป็นเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกคนไร้บ้านรายอื่นๆ หรือ สมทบในด้านอื่นๆ ต่อไป</p><p>วราวุธ ศิลปอาชา รมว. การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึง เงื่อนไขของผู้เข้าร่วมโครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง คือ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีงานทำ ห้องเช่าราคาถูกไม่เกิน 2,000 - 3,000 บาท เพื่อที่จะทำให้คนที่ประสบปัญหาไม่มีที่พักอาศัยสามารถมีที่อยู่และมีงานทำ กรณีคนไม่มีงานทำ กรมพัฒนาสังคมฯ จะช่วยหางานช่วยฝึกอาชีพให้ &nbsp;ซึ่งทางกระทรวง พม. ตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายในปี 2579 ประชาชนทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p><p>จากการที่เราได้สัมภาษณ์คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง หนึ่งและบังอรเป็น 2 คน ที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้และเห็นด้วยที่จะให้โครงการนี้มีต่อไป</p><p>“ตอนแรกจะเข้าโครงการบ้านอิ่มใจ แต่เพราะไม่มีใครไปด้วย คนที่เคยไปแล้วกลับมาเล่ามีทั้งดีบ้างไม่ดีบ้างก็เลยไม่ได้ไป หลักๆ ก็ไกลเกินคนเลยไม่อยากจะไปจนมาได้รู้จักกับ โด่ง และ พัฒน์ เพื่อนเครือข่ายคนไร้บ้าน ทั้งสองคนชวนให้มารู้จักกับ ‘โครงการเช่าบ้านคนละครึ่ง’ ตอนนั้นลงทะเบียนเข้าร่วมอยู่เฟส 3 ก็รู้สึกว่าไม่แน่ใจว่าโครงการดีไหม จนอยู่บ้านเช่ามีเจ้าหน้าที่ช่วยหางาน หน่วยงานสนับสนุนให้ทุนซื้อรถเข่งผลไม้ มีเงินผ่อนค่าห้อง ปัจจุบันก็ไม่ได้มานอนหัวลำโพงแล้ว ถ้ามีโครงการนี้อีกก็สนใจจะสมัครเข้าร่วมด้วย” บังอร กล่าว</p><p>“รู้จักโครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่งผ่านทาง โด่ง มูลนิธิที่อยู่เพื่อการพัฒนา เคยเข้าร่วมโครงการครั้งหนึ่ง รู้สึกว่าโครงการนี้ช่วยคนไร้บ้านได้เยอะมาก หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยดูในเรื่องหางาน พาทำบัตรประชาชน เช็คสิทธิ์การรักษาต่างๆ ให้” หนึ่ง กล่าว</p><p>แต่ก็ยังมีเสียงที่สะท้อนความกังวล อย่างเช่น เวท ที่ถึงแม้ว่าจะรับรู้เรื่องโครงการทั้งสองแล้ว แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมเลือกใช้ชีวิตนอนสาธารณะดั่งเดิม</p><p>“เคยได้ยินมาเหมือนกัน โครงการบ้านต่างๆ ที่ให้คนไร้บ้านไปอยู่ แต่ไม่อยากไป ไม่อยากเข้าไปยุ่ง มันมีกติกา กฏระเบียบที่เราฝืนไม่ได้ สถานที่มันรวมกลุ่มคนที่ต่างคนก็ต่างมาจากหลายที่ ต่างคนก็ต่างจิตใจกัน คนเร่รอนในกรุงเทพฯ รั่วเยอะ” เวท กล่าว</p><p>อย่างไรก็ตาม โครงการทั้งสองที่ว่ามา ยังอยู่ห่างไกลจากสถานะที่จะเป็นที่พักพิงให้คนที่ไร้ที่พึ่งได้อย่างจริงจัง ทั้งปัญหาที่เกิดจากภายในระบบราชการเองอย่างกรณีของบ้านอิ่มใจ เมื่อมีเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปลี่ยนผู้บริหารกรุงเทพมหานครแต่ละทีก็เปลี่ยนนโยบาย โครงการนี้จึงดูเหมือนจะกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น เอาตัวเองยังไม่รอด ดูไม่น่าจะเป็นที่พึ่งให้ใครได้ ส่วนโครงการบ้านคนละครึ่งนั้นก็ฟังดูดี แต่ทางปฏิบัติก็อาจจะยาก เพราะคนที่ไร้ที่พึ่ง ไร้อาชีพจริงๆ หรือ อาจจะมีอาชีพที่ไม่สามารถหารายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าได้แม้แต่ 2,000-3,000 บาทต่อเดือนก็จัดว่าเป็นเงินที่ไม่น้อย ยังไม่นับว่าจะมีที่อยู่อาศัยแบบนั้นให้อย่างเพียงพอหรือไม่</p><p>เห็นได้ว่าการช่วยเหลือกลุ่มคนไร้บ้านไร้ที่พึ่งนั้นมีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะแยะมากมายไม่ว่าจะเป็น รัฐ ภาคประชาสังคมและเครือข่ายรวมทั้งนักวิชาการ แต่ก็ยังดูเหมือนไม่มีแนวทางที่ยั่งยืนนักและการขาดรายได้ที่เพียงพอก็ยังอาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความต้องการ “บ้าน”เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสวัสดิการคุณภาพชีวิตที่ดีในฐานะประชาชนคนหนึ่งด้วย</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">คนไร้ที่พึ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">คนไร้บ้าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3" hreflang="th">กรุงเทพมหานคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ที่อยู่อาศัhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สวัสดิกาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%A3-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9E" hreflang="th">ภัทรภร ผ่องอำไhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109222
 

 3 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
หวยลาววันนี้ 29 พฤษภาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาววันนี้ 29 พฤษภาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 29/5/67 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 29 พ.ค. 67 หวยลาวย้อนหลัง หวยลาว 6 ตัว วันนี้ออกอะไร งวด 29 พฤษภาคม 2567
         

https://www.sanook.com/news/9398374/
         

 4 
 เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ประวัติ “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” อดีตกปปส. และผู้ก่อตั้งสื่อดัง
         


ประวัติ “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” อดีตกปปส. และผู้ก่อตั้งสื่อดัง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;รู้จัก “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” ว่าเขาคือใคร มีบทบาททางการเมืองและสื่อมวลชนอย่างไร
         

https://www.sanook.com/news/9398862/
         

 5 
 เมื่อ: 6 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"หนุ่ม กรรชัย" โผล่คอมเมนต์เป็นห่วง "นาย-ใบเฟิร์น" หลังส่องรูปทริปสวิสเซอร์แลนด์
         


&quot;หนุ่ม กรรชัย&quot; โผล่คอมเมนต์เป็นห่วง &quot;นาย-ใบเฟิร์น&quot; หลังส่องรูปทริปสวิสเซอร์แลนด์" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"หนุ่ม กรรชัย" โผล่คอมเมนต์เป็นห่วง "นาย-ใบเฟิร์น" หลังส่องรูปทริปสวิสเซอร์แลนด์
         

https://www.sanook.com/news/9399338/
         

 6 
 เมื่อ: 7 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย Kimleng - กระทู้ล่าสุด โดย Kimleng

        ภาพที่ ๘๑
การแข่งขันในเชิงยุทธศิลป์ได้จบลงแล้ว โดยยอมรับนับถืออันแน่นอนจากเจ้าชายทั้งหลายและประชาชน พระบิดาของเจ้าหญิงได้เข้ากอดพระสิทธัตถะ พร้อมกับกล่าวว่า ความจริงนั้นท้าวเธอพอพระทัยในเจ้าชายอยู่แล้ว เมื่อมาได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่สุดที่ใครจะเสมอเหมือนดังนี้ จึงปลื้มพระทัยนัก จึงจะขอมอบของขวัญอันสูงค่าให้ในครานี้ แล้วท้าวเธอก็ผายพระหัตถ์ไปทางเจ้าหญิงศรียโสธรา



         ภาพที่ ๘๒
ขณะนั้น เจ้าหญิงได้เตรียมประคองพวงมาลัยดอกมะลิที่หอมฟุ้ง พลางสยายผ้าสไบให้พ้นพระเศียร เปิดเผยโฉมพระพักตร์อย่างเต็มที่ต่อหน้าประชาชน แล้วทรงดำเนินผ่านเจ้าชายทั้งหลายไปด้วยพระสิริร่างอันงามเฉิดฉาย ตรงไปสู่พระสิทธัตถะ เพื่อประกาศการมอบพระองค์แด่เจ้าชายผู้ชนะเลิศในการแข่งขันยุทธศิลป์ในครั้งนี้ ต่อหน้าคนทั่วไปไว้เป็นพยาน



         ภาพที่ ๘๓
ท้าวเธอได้ย่อพระกายคารวะแด่พระสิทธัตถะอย่างน้อม แล้วประคองพวงมาลัยขึ้น พลางมองสบพระเนตรพระเจ้าชายอย่างตรง ประหนึ่งจะฉายกระแสพระเนตรแห่งนางให้เป็นคำพูดว่า "โปรดรับมาลัยนี้กับรับมอบตัวข้าพระองค์ทั้งกายและใจซึ่งเป็นสิทธิของพระองค์แล้ว" พระสิทธัตถะได้ก้มพระเศียรลงต่ำให้ท้าวนางเธอได้สวมมาลัยด้วยพระหัตถ์อย่างถนัด



         ภาพที่ ๘๔
พระสิทธัตถะสุดจะปลื้มพระทัย เป็นครั้งแรกในชีวิตซึ่งมีแต่หนักไปทางนักพรต บัดนี้ พระองค์มีดวงหทัยเช่นเดียวกับหนุ่มทั่วไปที่สมปองในรัก พระองค์ดำรัสอะไรไม่ออก นอกจากใช้พระเนตรเป็นสื่อสารแทนคำพูด และโอษฐ์ที่ยิ้มแฉ่งนั้นเป็นคำรับคำตอบอย่างลึก แล้วพระองค์จึงอ้าพระกรออกกอดประทับ เมื่อเจ้าหญิงได้ซบพระพักตร์ลงที่พระอุระของพระองค์ ประชาชนก็โห่ร้องกึกก้อง



         ภาพที่ ๘๕
ขอผ่านการกล่าวพิธีวิวาห์อันมโหฬารเสีย ลัดเข้าถึงสองพระองค์เสร็จพิธีแล้ว ได้เสวยสุขยังปราสาทที่ใหม่ที่สุด เยี่ยมที่สุด มีอยู่หลายชั้นสูงต่ำลดหลั่นกันมาตามเชิงเขา มีอุทยานที่สวยสดด้วยนานาพฤกษาดอกหอมและดอกสี มีพื้นที่ติดกับภูเขาหิมาลัย มีสายธารไหลผ่าน ซึ่งเชื่อมมาแต่สายธารแห่งเทพเจ้าเบื้องบน และสัตว์เลี้ยงอีกนานาชนิดเป็นอาภรณ์ของอุทยาน ดังหนึ่งสองพระองค์เสวยสุขอยู่แดนสวรรค์



         ภาพที่ ๘๖
ระเบียงด้านหนึ่งนั้น เสาที่เรียงรายเป็นภาพแกะสลัก ตั้งแต่ต้นจนถึงขื่อเพดาน ด้วยเรื่องพระกฤษณะเจ้าแห่งความรัก ตอนพื้นล่างไปมีสระบัวที่บานสะพรั่งมีกำแพงเตี้ย ๆ กั้นไว้เป็นชั้น ๆ ชั้นกลางนั้นมีซุ้มประตู สร้างรูปพระคเณศวรผู้เป็นเจ้าแห่งฤกษ์ ข้างเฉลียงมีตู้ปลาสร้างด้วยแก้วเจียระไน มีปลาพันธุ์งาม ๆ ว่ายวนเวียน ดูแล้วสุดจะเพลิดเพลินลืมทุกข์ทั้งมวล



         ภาพที่ ๘๗
ภายในปราสาททุกมุม จะมีนางล้วนแต่ร่างสะคราญ เป็นเจ้าหน้าที่คอยรับใช้ทั่วไป พร้อมดนตรีขับกล่อมอยู่ทุกโมงยามตลอดสรงเสวย สุดแต่ตื่นบรรทมเมื่อใด ดนตรีจะบรรเลงเยือกเย็นและเพราะพริ้งด้วยเสียงนางขับร้องล้วนแต่เนื้อเพลงที่เจริญหู มิยอมจะให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในโมงใดนาทีใด ประกาศห้ามคนทั้งหมดกล่าวคำ เรื่องแก่ เรื่องเจ็บ เรื่องตาย ในที่นั้น



         ภาพที่ ๘๘
ปราสาทอันสวยงามและอุทยานอันน่ารื่นรมย์นี้ เพียงมองด้วยตาเท่านั้นจะรู้สึกว่าสูงไม่แพ้เมืองแมนแห่งเทพเจ้า แต่ถ้ารู้ความจริงหลังฉากแล้วไซร้ สถานนี้คือที่คุมขังอันวิจิตรนั้นเอง กว่าจะเข้าออกได้ต้องผ่านกำแพงถึงสามชั้น และแต่ละชั้นมียามรักษาอย่างเอาชีวิตเป็นประกัน แม้แต่พระสิทธัตถะกว่าจะเข้าออก จะออกก็มิได้ เรื่องนี้เจ้าชายสิทธัตถะหาได้ทรงทราบไม่ นั่นคือคำสั่งของพระราชบิดานั่นเอง



         ภาพที่ ๘๙
พระสิทธัตถะเสวยสุขอยู่ในพระราชฐานอย่างลืมทุกข์ ลืมแก่ ลืมเจ็บ ลืมตาย ทุกโมงยามจะระเริงอยู่กับความรักในองค์ศรียโสธรา ไม่เคยได้สติเลยว่า พระองค์จะเป็นอย่างไรต่อไปภายหน้า ไม่เคยรู้เลยว่ามนุษย์ทุกคนเกิดแล้วต้องตาย พระองค์หมดทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นตัวของพระองค์เอง ลืมตาจากบรรทมก็พบแต่สุขแสนสุข เสียงดนตรีเล่า เจ้าหญิงเล่า สนมงาม ๆ เล่า จะคอยบำรุงบำเรอตลอดเวลามิเคลื่อนคลาย



         ภาพที่ ๙๐
ก่อนจะหลับ พระองค์เอาเศียรหนุนพระอุระของเจ้าหญิงผู้เป็นนางแก้วของพระองค์ และทั้งได้รับการลูบไล้จากพระหัตถ์น้อย ๆ ที่นุ่มนิ่มของเธอจนหลับไป ต่อบางเวลาพระองค์จะมีสติคืนตัว เมื่อเวลาทรงสุบินเห็นโลกมนุษย์นี้อลเวงนัก พระองค์จะผวาเพ้อออกมาในสิ่งที่ฝันเห็น และในทันที ดนตรีจะรีบขับกล่อมด้วยเพลงที่แสนระเริงกลมกล่อมขึ้นเสียทันกัน



         ภาพที่ ๙๑
พระองค์ทรงโปรดพิณอยู่คันหนึ่ง ซึ่งมีสายเป็นเงินเนื้อดี พิณนั้นถ้าวางที่ช่องทางลม จะเกิดกังวานประสานเสียงด้วยสายลมที่เสียดสี เกิดเป็นเพลงขึ้นได้ โดยหัวใจผู้ฟังประพันธ์ไปเอง กลับมีรสนิยมผิดไปกว่าคนบรรเลงด้วยมือ พระองค์มักโปรดให้วางพิณนั้นที่ทางลมเสมอ และน่าประหลาดที่คล้ายเทพเจ้าสิงมากับกระแสลม แล้วเสียดสีสายพิณให้เป็นเพลงที่เจ้าชายจะฟังได้เข้าใจเรื่องทั้งหมด



         ภาพที่ ๙๒
เพลงจากสายพิณที่เกิดโดยลมนั้น ดูจงใจจะให้ฟังประกอบรูปเรื่องได้ก็แต่เฉพาะหัวใจของพระมหาบุรุษเท่านั้น รู้เรื่องด้วยหัวใจสัมผัส เป็นเรื่องอลเวงของโลก ความทุกข์ยากแห่งปวงสัตว์ ชาวโลกละเมออยู่กับกามารมณ์ ละเมออยู่กับลาภและสิ่งเย้ายวน บางตอนคล้าย ๆ กับชาวโลกทั้งผองจะเรียกร้องให้พระองค์เป็นผู้เห็นใจเห็นทุกข์ เป็นศาสดาสอนชาวโลกให้สงบและพันทางวิบัติ



         ภาพที่ ๙๓
พระสิทธัตถะทรงคำนึงเนื้อเพลงในสายลมอยู่เงียบ ๆ วันหนึ่ง นักร้องประจำราชสำนักได้จดจำเนื้อเพลงหนึ่งมาร้องถวาย เนื้อเพลงนั้นกล่าวถึงโลกอันไพศาล กล่าวถึงแคว้นต่าง ๆ ไกลๆ ซึ่งมีอะไรต่ออะไรที่น่าดู พระองค์จึงครุ่นคิดอยากเห็นสิ่งนั้น ๆ ด้วยพระเนตร และยังสงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่นางขับร้องมานั้นยังจะเหมือนกับที่พระองค์ทรงรอบรู้ในเพลงตามสายพิณนั้นหรือไม่ และโลกที่พ้นจากพระราชฐานนี้จะกว้างใหญ่สักปานใด



         ภาพที่ ๙๔
พระสิทธัตถะได้สั่งให้คนไปทูลกับพระราชบิดา อยากจะออกเที่ยวชมพระนคร ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อยังเด็กเคยไปเที่ยวในวันแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งอนุญาต แต่รีบสั่งอำมาตย์ให้เร่งป่าวร้องชาวเมืองจงทำความสะอาดบ้านเมืองบ้านช่อง ตกแต่งให้งดงามจงทุกแห่ง ขอทานไม่มี คนแก่ไม่มี คนเจ็บไม่มี คนตายไม่มี นครกบิลพัสดุ์จะต้องผาสุกมิรู้จักดับมิรู้จักโทรม มีแต่เจริญรุ่งโรจน์ค้ำโลกอยู่กระนั้นนั่นเทียว



         ภาพที่ ๙๕
ครั้นถึงกำหนดชมพระนคร นายฉันนะได้จัดรถทรงงามหรู เทียมโคคู่ขาวผ่อง ซึ่งแต่งทั้งรถทั้งโคเพราเพริศตามแบบกษัตริย์ และทุกถนนก็เต็มไปด้วยความสดชื่นรื่นรมย์ โดยมารยาแต่งทำที่ราษฎรถูกผู้ควบคุมท้องถิ่นบังคับให้ทำ เจ้าชายสิทธัตถะจึงพบแต่ความหรรษาของปวงชน ถึงกับทรงรำพึงออกมาว่า ราษฎรเราช่างสุขสบายถึงปานนี้เชียวหนอ น่าปลื้มพระทัยนัก



         ภาพที่ ๙๖
อีกแดนหนึ่งห่างออกมา ก็คงมีแต่ความหรรษาเช่นแดนอื่น ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ไม่มีความทุกข์อยู่ในมนุษย์เลยจนคนเดียว แต่บัดใจนั้นเองก็เกิดโกลาหลขึ้น คือ มีคนชราผอมแห้งกะโผลกกะเผลกออกจากที่ซึ่งถูกบังคับให้ซ่อนตัว ตะแกหลุดออกมาได้ก็ร้องตะโกนด้วยเสียงแหบแห้งว่า หิวโหยเป็นกำลัง สุดจะทนซ่อนมิให้ออกภิกขาจารนั้นมิได้แล้ว ฝูงชนก็เข้ากีดขวางกันแกไว้ พระสิทธัตถะสงสัยพระทัยจึงสั่งหยุดราชรถ



         ภาพที่ ๙๗
พระสิทธัตถะได้สั่งให้คนทั้งหมด ปลดปล่อยชายชรานั้นไป แล้วสั่งนายฉันนะให้นำรถกลับพระราชวังที่แสนบรมสุข พระองค์เคร่งขรึมผิดไปจากเดิม ทั้งมีพระประสงค์จะอยู่โดยลำพังในราชอุทยาน ทรงครุ่นคิดแต่ในความรู้ใหม่ที่ได้พบมา ซึ่งนายฉันนะช่วยบรรยายถวายมาในระหว่างทางว่า คนเราทุกคน เมื่อพ้นจากเด็กก็โตเป็นหนุ่มสาว และนานปีเข้าก็แก่ชรา สังขารเหี่ยวย่นร่วงโรยดังที่เห็นนั้นทุกเพศ



         ภาพที่ ๙๘
พระองค์เริ่มเกิดทุกข์ในพระทัยเป็นครั้งแรก เป็นความทุกข์ซึ่งมาจากการห่วงใยและเสียดายร่างกายของพระองค์ว่าจะต้องเป็นไปดังชายชรานั้น จึงมิไยดีจะระเริงสุขดั่งเคย ไม่เสวยผลไม้นมเนย และเบื่อหน่ายดนตรี เฝ้าแต่ครุ่นคิดเสียดายร่างกายที่งดงามจะกลับกลาย ปราสาทที่งดงาม ทั้งอุทยานที่สวยสดทั้งหลาย ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เจ้าของผู้ครองก็จะมีร่างกายที่น่าเกลียดเดินปะปนอยู่กับของสวยงามเหล่านี้



         ภาพที่ ๙๙
เหล่าชาวที่นักดนตรีคงบรรเลงอยู่ตามหน้าที่ นักระบำร่างสะคราญยังนวยนาดวาดวงก้านไปตามจังหวะทั้งช้าและเร็วเร่าร้อนด้วยชั้นเชิงยั่วราคะ พระองค์ทุกข์ระทมพระทัย จึงมิโปรดปรานอย่างเคย ทั้งยังทอดพระเนตรนางนั้นด้วยการเปรียบเทียบว่า ร่างอันสะคราญนั้นอีกหลายปีข้างหน้าก็จะแปรผันไป เมื่อนางนั้นยังคงยึดวิชาร่ายรำอยู่ จะน่าเกลียดสักปานใดเมื่อร่างกายนางนั้นได้แปรรูปไปเสียแล้ว



         ภาพที่ ๑๐๐
สงสารอยู่แต่ยอดดวงหทัยของพระองค์ ที่เฝ้าทูลถามพระองค์ด้วยพระสุรเสียงละห้อยละเหี่ย ว่าพระองค์ไม่มีความสุขในข้าพระองค์นี้เสียแล้วหรือ คำนี้ก็เป็นครั้งแรกอีกที่พระองค์ได้ยิน และพระองค์ก็ไม่ทรงประสงค์จะได้ยินดังนี้ เพราะเป็นเสียงที่ทุกข์ระทมน้อยพระทัยของเจ้าหญิงด้วยเกรงจะหมดรักเธอ เหตุใดเล่าพระองค์จึงเป็นผู้ก่อให้แก่พระนางได้รับดังนี้ เกิดทุกข์เพิ่มขึ้นอีก เมื่อรู้ว่าเทพีผู้ยอดสวาทมีทุกข์



ขอขอบคุณ มูลนิธิ เหม เวชกร (ที่มาเรื่อง/ภาพ)
700
28.002 / 12.502

 7 
 เมื่อ: 8 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
สมบัติ บุญงามอนงค์ : เชลย ความทรงจำ หลังรัฐประหาร 2557 [คลิป]
 


<span>สมบัติ บุญงามอนงค์ : เชลย ความทรงจำ หลังรัฐประหาร 2557 [คลิป]</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-29T15:03:44+07:00" title="Wednesday, May 29, 2024 - 15:03">Wed, 2024-05-29 - 15:03</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="400" src="https://www.youtube.com/embed/BNh8HHizxEY?si=7EAV5AaLxkFDgRdH" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 67 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด พูดในกิจกรรม Truth Talk เล่าความทรงจำการถูกนำตัวเข้าค่ายทหารและความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรมหลังรัฐประหาร 2557 และการเมืองไทยที่การยึดอำนาจหมุนไปมาเป็นวังวนเหมือนภาพยนต์เรื่องบ้านผีปอบ</p><p>“ผมบอกนายสิบคนนี้ว่าพี่ ผมพูดตรงๆ นะ ผมคิดว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ที่ผู้ต้องหาอย่างผมจะต้องถูกควบคุมตัวไว้ในที่นี้โดยที่ผมไม่สามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อกับคนสนิท คนที่ไว้วางใจ หรือทนายความได้ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผมอยู่ที่ไหน</p><p>“ปรากฏเขาบอกว่าคุณสมบัติ คุณไม่ใช่ผู้ต้องหา คุณเป็นเชลย”</p><p>สำหรับกิจกรรม Truth Talk เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการวิสามัญยุติธรรม ซึ่งจัดขึ้นในวาระครบรอบสิบปี #ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</p><p class="text-align-center"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53748282129_e522608c63_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"></p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53747961271_76641a4647_k.jpg" width="2047" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53747961091_83b8b30181_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"></p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วิสามัญยุติธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">สมบัติ บุญงามอนงคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A" hreflang="th">คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-2557" hreflang="th">รัฐประหาร 2557[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109392
 

 8 
 เมื่อ: 8 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"น้องพราวตะวัน" ลูกแม่ยุ้ย ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ ทำ "น้ามิกค์ ทองระย้า" แพ้ทางเต็มๆ
         


&quot;น้องพราวตะวัน&quot; ลูกแม่ยุ้ย ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ ทำ &quot;น้ามิกค์ ทองระย้า&quot; แพ้ทางเต็มๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"น้องพราวตะวัน" ลูกแม่ยุ้ย จีรนันท์ ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ งานนี้ทำ "น้ามิกค์ ทองระย้า" แพ้ทางหลานสาวเต็มๆ
         

https://www.sanook.com/news/9398946/
         

 9 
 เมื่อ: 9 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคสงครามเย็น | หมายเหตุประเพทไทย EP.324
 


<span>วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคสงครามเย็น | หมายเหตุประเพทไทย EP.324</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-26T19:41:30+07:00" title="Sunday, May 26, 2024 - 19:41">Sun, 2024-05-26 - 19:41</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/YVKJ_jJtJw0?si=DWAu9x8KvYiRFGKj" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึงกำเนิดและพัฒนาการของวงดนตรีสุนทราภรณ์ กระแสนิยมดนตรีแจ๊ส และในยุคสงครามเย็น อิทธิพลของวัฒนธรรมอเมริกันยังส่งผลต่อการเลือกรับปรับตัวงานดนตรีของวงสุนทราภรณ์อีกด้วย</p><p>พร้อมแนะนำบทความ สุนทราภรณ์ใต้ปีกพญาอินทรี: อัสดงคตอเมริกานุวัตรกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุุคสงครามเย็น (อ่านบทความ) ของ บุญพิทักษ์ เสนีบุรพทิศ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์ในวารสารประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ฉบับที่ 47 มกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2565 #หมายเหตุประเพทไทย #สุนทราภรณ์</p><div class="more-story"><p><strong>หมายเหตุประเพทไทย</strong></p><ul><li>ยุคฟื้นฟูของเพลงลูกทุ่ง | หมายเหตุประเพทไทย EP.523</li><li>โลกร้อน ภัยแล้ง กระทบคนจน | หมายเหตุประเพทไทย EP.522 (LIVE)</li><li>หลานม่า และสิ่งประกอบสร้างทางอารมณ์ความรู้สึก | หมายเหตุประเพทไทย EP.521</li></ul></div><p>&nbsp;</p>หมายเหตุประเพทไทย" width="1920" height="1080" loading="lazy</div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">หมายเหตุประเพทไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สุนทราภรณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5" hreflang="th">ดนตรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99" hreflang="th">สงครามเย็http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">วัฒนธรรมป็อhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">ประวัติศาสตร์สังคhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109360
 

 10 
 เมื่อ: 9 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย ใบบุญ - กระทู้ล่าสุด โดย ใบบุญ

ท่านพุทธทาส (กลาง) คณะสงฆ์ และฆราวาส

อาหารมื้ออร่อยที่สุดของพุทธทาสภิกขุ คืออาหารชนิดใด

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2567


ระหว่างเข้าพรรษาปี 2477 พระธรรมโกศาจารย์ หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม 2449 – 8 กรกฎาคม 2536) แห่งสวนโมกพลาราม ได้กำหนดที่จะฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้น โดยงดพูดและงดติดต่อกับบุคคลภายนอก แต่ละวันท่านยังเขียนบันทึกลงใน “สมุดบันทึกธรรมปฏิบัติรายวัน” ที่ใช้กันในสวนโมกข์ ที่ภายหลังธรรมสภารวบรวมจัดพิมพ์เผยแพร่ในงานปลงศพของท่าน เมื่อปี 2536 โดยใช้ชื่อว่า “อนุทินการปฏิบัติธรรม” ซึ่งในที่นี้ขอนำเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง “อาหารมื้ออร่อยที่สุด” ที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้มานำเสนอดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ)


อาหารมื้ออร่อยที่สุด
อาหารมื้อที่มีความปรารถนาน้อยเปนเนื้อข้าว มีความสันโดษเปนกับข้าว เปนอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกนี้ บางคนกล่าวว่ามื้อที่หิว ข้อนั้นย่อมไม่แน่นอนนัก เพราะคนที่มีหิวบางคนก็ยังเลือกอาหาร และติเตียนเมื่อบริโภคแล้ว.

ข้าวสุกเปล่าที่เคี้ยวบดอยู่ในปากมีความสันโดษในห้วงแห่งดวงใจเปนกับ ย่อมหวานยิ่งกว่าข้าวสุกระคนด้วยนมข้นอย่างหวาน แต่เคี้ยวกลืนด้วยหัวใจแห่งชาวโลกธรรมดา! แม้ว่าตามธรรมชาติของแป้งข้าวในข้าวสุข เมื่อผสมกับน้ำลายแล้ว แปรธาตุเปนน้ำตาลรู้สึกหวานแก่ผู้เคี้ยวก็จริง แต่มันหวานไม่ถึง 1/100 ของข้างที่เคี้ยวและกลั้วด้วยน้ำลายอันผสมด้วยเชื้อแห่งสันโดษ.

เคยปรากฏแก่ข้าพเจ้าในบางครั้งว่า หวานจนขนลุกและเย็นซ่าไปทั่วตัว มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น จนรู้สึกว่า 3-4 คำก็พอแล้วสำหรับชีวิตในวันนี้ แต่ถ้าบางวันข้าพเจ้าเผลอลืมราดน้ำปรุงรสกล่าวคือความสันโดษนี่แล้ว ย่อมรู้สึกว่า ชาวบ้านช่างใจจืดแก่พวกเราเสียจริงหนอ! เขาไม่ให้อาหารที่เปนรสชาติแก่ลิ้นเสียเลย ทั้งที่วันนั้นมีการแกงไม่น้อยกว่า 2-3 อย่างก็มี

พระพุทธบิดาตรัสว่า จิตต์เปนธรรมชาติที่มีอารมณ์อันเดียว หมายความว่ามันเสวยอารมณ์ หรือรู้สึกอารมณ์ได้คราวละอัน ท่านจะป้อนอารมณ์อันไหนก็ให้แก่มันย่อมแล้วแต่ท่านจะเลือก เมื่อสันโดษเปนธรรมารมณ์ที่จิตเสวยอยู่แล้ว เมื่อนั้นมันย่อมเปนเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่อ้อน และไม่รู้สึกถึงการที่มันเคยเลี้ยงยากครั้งก่อนๆ หรือครั้งอื่นๆ เลย

เพราะมันมีอารมณ์อันเดียว เปนแต่มันเปลี่ยนอารมณ์เร็วมากเท่านั้น เมื่อท่านไม่ยอมให้มันเปลี่ยน ผูกมัดไว้แน่นกับเสาเขื่อนคือสันโดษเหมือนลูกโคที่เขาจะนำไปฆ่าแล้ว ผักล้วนๆ หรือข้าวสุกล้วน ไม่มีอะไรเจือปน ก็ทำความพอใจอิ่มเอมให้แก่จิตต์เท่ากันกับอาหารที่ท่านหลงเพ้อว่าวิเศษทั้งหลาย ซึ่งเปนอาหารชนิดยาเสพติดมากกว่า ถ้าทำถูกวิธีจิตต์จะมีอารมณ์อันเดียว และไม่อ้อนเลย

วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นโคกินหญ้าด้วยความสังเกตยิ่งกว่าทุกวัน เข้าใจว่ามันรู้สึกอร่อยเท่าที่พวกมันเปนทาสลิ้นเห็นอาหารตามภัตตาคารสูงๆ หรือแม่ครัวฝีมือดีเหมือนกัน วันหนึ่งข้าพเจ้าเลี้ยงปลาในสระด้วยข้าวสุกอย่างเดียว ข้าวสุกซึ่งมนุสส์กินแต่อย่างเดียวไม่ได้ แต่พวกปลามันเห็นเปนดุจว่า เทวดาเอาของทิพย์มาหว่านให้ทีเดียว นี่คือธรรมชาติ! มนุสส์ได้ยอมเปนขี้ข้าของปิสาจมหาอุบาทว์คือตัณหาในรสที่ลิ้นไปเสียแล้ว จึงกินข้าวสุกอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งที่มนุสส์ก็คือสัตว์ธรรมชาติชนิดหนึ่งเหมือนกัน

วันหนึ่งข้าพเจ้าสละทองหยิบ และขนมหม้อแกง และของอื่นบางอย่าง แทนที่จะบริโภคเอง ให้พวกปลานั้นกิน แต่มันหากินไม่ ดูเถิดธรรมชาติ!
มนุสส์สัตว์ธรรมชาติ ได้ละจากสิ่งที่บริสุทธิ์ ไปยึดสิ่งที่เศร้าหมอง เสพติดยาฝิ่นอย่างเงียบๆ ให้เป็นของจำเป็นสำหรับชีวิตด้วยการยึดถือ เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเปนของเลวทราม สิ่งที่ปรุงใหม่ และหายากเปนของดี เพราะอุปทานที่ลิ้น!…ข้าวต้องผัดต้องปรุงเสียก่อน จึงจะกินข้าวนั้นได้โดยไม่ต้องกินกับข้าว ซึ่งความจริงมันก็เหมือนกับข้าวนั่นเอง

ธรรมชาติต้องการอาหารที่บำรุง หาต้องการอาหารที่แสลงไม่, อาหารที่ปรุงยิ่งวิเศษยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น เปนแต่มีกลิ่น, สี, รส ฝั่งมนุสส์ให้โง่หลงผิดยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง


อ่านต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_75298?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0uOOP8NyCCAipYjZuYb7T8gH3eBGOt0MHWmNi8-ZFn3y9R00b5EPog8IY_aem_AVhiAZHhlJ_ik7pU-X0FxbniBfIPdqIxXBkF-Jt3K1OTaa7dG8L2b48G6EwNGWyFoUfwYNVv5hQIJCADJMjmGLHY

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.349 วินาที กับ 24 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤษภาคม 2567 21:40:27