[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 03:53:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: vacate the greed  (อ่าน 8915 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:19:23 »




พักตาจิบกาแฟนิดนึงค่ะ น้อง"บางครั้ง"
 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

http://img222.imageshack.us/img222/8716/dc69663774664ad7d7824c3.gif
vacate the greed

สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:24:41 »


<a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma</a>

ครูอาจารย์ซึ่งเรามีหน้าที่ที่จะต้องให้ความเคารพนอบน้อมต่อท่าน เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่เป็นครูอาจารย์ 2. วิเสสอปจายนะ คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัย ด้วยการระลึกถึงพระคุณ พระพุทธคุณต่าง ๆ ในพระป๎ญญาคุณ พระอรหันตคุณ พระมหากรุณาธิคุณ เป็นต้น บุคคลที่ควรเคารพนอบน้อม มี 3 ประเภท
1. คุณวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มีศีลมีธรรม
2. วัยวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มีอายุมากกว่าเรา
3. ชาติวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มี ชาติตระกูลสูง หรือวงศ์สกุลสูง
วุฒิทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวนั้น ผู้มีวุฒิครบทั้ง 3 ประเภท เช่น พระมหากษัตริย์ แต่บุคคลทั่วไป บางคนมีคุณวุฒิมากกว่าแต่เขามีวัยวุฒิน้อยกว่า เราก็ควรแสดงความอ่อนน้อม ถ้าทาได้ก็จัดว่าเป็นบุญ




..................................อานิสงส์ของการเคารพนอบน้อม...................................



1. ทำให้เป็นผู้มีความรู้ ความฉลาดในธรรม
มีอายุยืน และมีผิวพรรณงดงาม
มีความสุขกายสุขใจ
มีเกียรติยศชื่อเสียง
มีกาลังกายและกาลังป๎ญญา
เมื่อจากโลกนี้ย่อมไปสู่สุคติ
เวยยาวัจจะ เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายในบุญ ได้แก่ การช่วยเหลือในกิจการงานที่เกี่ยวกับกุศลต่าง ๆ หรือ การช่วยเหลือทาการงานต่างๆ ที่ไม่มีโทษ เช่น งานด้านปริยัติ ด้านปฏิบัติ หรือการปฏิสังขรณ์ การทาความสะอาดวัด ปูชนียสถาน หรือการงานทางโลกที่ไม่มีโทษ เช่น งานของบิดา มารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง บุตร ธิดา จัดเข้าเป็นเวยยาวัจจะได้ 6. ป๎ตติทาน ป๎ตติทาน คือ การอุทิศส่วนบุญกุศล เป็นการให้ส่วนบุญกุศลที่ตนได้กระทาสาเร็จแล้วให้กับบิดา มารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว องค์ธรรมได้แก่ เจตนาที่ในมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทา แล้วมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
วิธีการอุทิศส่วนบุญกุศล คือ เมื่อขณะบุญต่าง ๆ ของเราสาเร็จแล้ว
ก็ตั้งเจตนาน้อมระลึกถึงบุญกุศลนั้นแล้วน้อมใจอุทิศขอให้บุญจงสาเร็จแก่บุคคลที่........................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 14:21:36 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:27:05 »



ล่วงลับไปแล้ว จะอุทิศให้อย่างเจาะจงผู้รับ หรืออุทิศให้อย่างไม่เจาะจงผู้รับก็ได้ จะกรวดน้า หรือไม่มีน้าก็ได้ สิ่งสาคัญอยู่ที่เจตนาที่มีจิตคิดจะอุทิศบุญ เมื่อได้อุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็มิใช่ว่าผลบุญนั้นจะลดน้อยถอยลงหรือหมดไปไม่ มีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นลาดับ อุปมาเหมือนการต่อแสงเทียนไปเรื่อย ๆ เป็นร้อยเป็นพันเล่ม แสงเทียนที่เทียนเล่มแรกก็ยังไม่ดับหรือหมดไป แต่แสงเทียนที่เกิดจากการต่อเทียนไปเป็นจานวนมากกลับจะทาให้เกิดความสว่าง ไสวยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับบุญที่อุทิศให้ไปไม่ทาให้ต้นบุญเดิมลดลง แต่ทำให้บุญเกิดขึ้นเพิ่มพูนมากขึ้น การอุทิศบุญกุศล กับการแผ่เมตตา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร การอุทิศส่วนกุศล คือการอุทิศบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าต้องการให้ผู้ที่ตายไปแล้วได้รับบุญที่เราได้ทาแล้ว ก็ทาได้โดยเมื่อทาบุญสำเร็จแล้วก็บุญกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว อย่างนี้เรียกว่า การอุทิศบุญ หรือ ป๎ตติทาน บุญจะเกิดกับญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยการป๎ตตานุโมทนา ถ้าต้องการให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้มีส่วนในบุญที่เราได้ทาแล้ว ก็ทาได้โดยการบอกกล่าวให้เขาเหล่านั้นทราบถึงบุญ เมื่อเขามีความยินดีในบุญและกล่าวอนุโมทนาด้วยบุญนั้นก็สาเร็จแก่เขา ฉะนั้นถ้าต้องการให้บุคคลที่รักที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับบุญ ก็ต้องให้เขาได้รู้และได้อนุโมทนาคือมีจิตยินดีในบุญ การแผ่เมตตา จะทำอย่างไร การแผ่เมตตา คือ มีความรักให้สัตว์ทั้งหลาย และเมตตาจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องเจาะจงกับสัตว์ทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ การแผ่เมตตาไปในบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วไม่มีผล สาหรับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ก็ควรทาในเรื่องการอุทิศบุญ เมื่อทราบว่าการอุทิศบุญทาอย่างไรกับบุคคลใด และการแผ่เมตตาควรปฏิบัติอย่างไรกับบุคคลใดแล้ว ต่อไปจะได้กระทาได้ถูกต้อง 7.ป๎ตตานุโมทนา
ป๎ตตานุโมทนา คือ การน้อมรับส่วนบุญที่บุคคลอื่นอุทิศให้ หรือเรียกว่าอนุโมทนาในส่วนบุญก็ได้ บุญกุศลทั้งหลายที่ได้ทาแล้วอุทิศให้แก่คนอื่น ๆ จะโดยกล่าวให้ด้วยวาจาหรือเขียนเป็นตัวอักษรก็ตาม จิตของผู้รับเกิดความโสมนัสขึ้นแล้วด้วย และกล่าวคาว่า สาธุ ย่อมสาเร็จเป็นกุศล หรือ การยินดีในบุญที่บุคคลอื่นได้ทาสาเร็จแล้ว เช่น เห็นบุคคลอื่นกาลังทาบุญกุศล เห็นปูชนียสถานที่เป็นวัตถุก่อสร้างจารึกชื่อผู้สร้างอุทิศถวายแล้ว ก็อนุโมทนาบุญกับเขา ก็เป็นป๎ตตานุโมทนา เป็นบุญแล้ว ตัวอย่าง พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปรตซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้พากันส่งเสียงร้องโหยหวน เพราะพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้ทรงแผ่ส่วนบุญไปให้ พระพุทธองค์จึงทรงแนะให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญกุศลไปยังเปรตทั้งหลาย เหล่านั้น เมื่อเปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนาในบุญของพระเจ้าพิมพิสารแล้วก็พ้นจากความเป็น เปรต 8. ธัมมัสสวนะ ธัมมัสสวนะ คือ การฟ๎งพระธรรม พระธรรมหมายถึง พระสัทธรรม คือ พระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะที่เป็นการคิดขึ้นมาเองของครูอาจารย์ ธรรมะนั้นไม่ใช่สัทธรรม คือไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า การฟ๎งธรรมที่แย้งและย้อนต่อคาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ชื่อว่าธัมมัสสวนะ ไม่เป็นบุญ ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นเหตุให้เกิดบาปอกุศล เพราะธรรมที่ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ธรรมที่นาไปสู่ความพ้นทุกข์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญ แต่กลับเป็นเหตุให้อกุศลเจริญ เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ประพฤติผิด ปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น การฟ๎งธรรมที่ผู้สอนบอกว่า ถ้ายิ่งทาบุญด้วยเงินจานวนมากเท่าไร ผลแห่งบุญก็ยิ่งจะมากเท่านั้น ผลบุญนั้นจะส่งได้เร็วขึ้นตามจานวนเงินที่ทา นี้เป็นอสัทธรรม ฟ๎งแล้วไม่เป็นบุญ แต่เป็นเหตุให้อกุศลเกิดขึ้น คือ เมื่อเชื่อเช่นนั้นก็เกิดความโลภ หวังผลบุญที่จะได้รับ ยิ่งทาบุญด้วยเจตนาที่ผิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 12:02:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:29:56 »



ส่วนการฟ๎งธรรมที่ผู้สอนกล่าวเรื่องบุญว่า บุญคือเจตนาที่เป็นกุศล การทาบุญทาได้หลายอย่าง เช่น การให้ทานเป็นการสละ เป็นการขัดเกลากิเลส คือ ความโลภ เป็นการขัดเกลามัจฉริยะ คือความหวงแหน การให้ทานต้องมีเจตนาที่ดีทั้ง 3 กาล ให้แล้วไม่หวังผลตอบแทน เพราะเข้าใจถูกแล้วว่าเมื่อทาเหตุดี ผลย่อมดี ให้แล้วไม่หวงแหนในสิ่งที่ให้ไปแล้ว เป็นต้น นี้เป็น สัทธรรม เป็นธัมมัสสวนะ การฟ๎งธรรม มี 2 ประการ
1. การฟ๎งธรรมเพื่อให้คนทั้งหลายชื่นชม คือ ปรารถนาว่าเมื่อบุคคลอื่นทราบ เขาก็จะกล่าวถึงเราว่าเป็นคนดีมีศรัทธา
มีศีลธรรม เป็นต้น อย่างนี้เป็นการฟ๎งที่มิได้เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาที่แท้จริง มีกิเลสซ่อนเร้นอยู่ ย่อมจะมีผลน้อย อานิสงส์น้อย
2. การฟ๎งธรรมที่ทาให้จิตใจอ่อนโยน คือ ปรารถนาเพื่อให้เกิดสติป๎ญญา เพื่อจะได้รู้จักคาสอนในพระพุทธศาสนา
รู้จักบุญรู้จักบาป และสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เป็นต้น การฟ๎งธรรมชนิด นี้ทาให้กุศลเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ย่อมมีผลอานิสงส์มาก
9. ธรรมเทศนา ธรรมเทศนา คือ การแสดงธรรม ธรรมเทศนานี้ก็เป็นไปในทานองเดียวกันกับธัมมัสสวนะ กล่าวคือ ต้องสอนธรรมที่เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเป็นธรรมเทศนา อานิสงส์ของการแสดงธรรม มี 2 ประการ 1. การแสดงธรรมที่ได้อานิสงส์มาก ผู้แสดงธรรมที่จะได้อานิสงส์
ต้องแสดงธรรมโดยเป็นลาดับ ต้องแสดงธรรมด้วยมีจิตอนุเคราะห์แก่ผู้ศึกษา ไม่ว่าผู้ศึกษาจะเป็นใครก็ตาม ก็มีจิตอนุเคราะห์เสมอเหมือนกันหมดไม่แบ่งชั้นวรรณะ ต้องแสดงธรรมโดยไม่มุ่งหวังในลาภ สักการะ สรรเสริญ มุ่งแต่จะให้สาเร็จประโยชน์แก่ผู้ศึกษา คือ เมื่อผู้ศึกษาเข้าใจในธรรมะที่ถูกต้องก็จะเจริญงอกงามในบุญ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ถึงอมตธรรมคือพระนิพพาน การแสดงธรรมเช่นนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมเทศนาที่แท้จริง จะเป็นเหตุให้ผู้แสดงได้บุญมากได้อานิสงส์มาก๒. การแสดงธรรมที่ได้อานิสงส์น้อย ผู้แสดงธรรมที่ไม่มีจิตอนุเคราะห์ผู้ฟ๎ง แสดงธรรม เพราะหวังลาภ สักการะ สรรเสริญ แสดงธรรมเพื่อให้คนรู้ว่าเราเป็นครูอาจารย์ เป็นผู้สอนธรรมะ เป็นต้น การแสดงธรรมอย่างนี้เป็นการแสดงธรรมชนิดที่มีกิเลสแอบแฝงอยู่ ผลอานิสงส์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับผู้แสดง ถ้าเกิดก็เกิดได้น้อย เพราะผู้แสดงธรรมนั้นมีอกุศลเกิดขึ้น อกุศลนี้เปรียบเสมือนตอที่ผุดขึ้นมากั้นกุศลที่จะเกิดขึ้น 10. ทิฏฐุชุกรรม ทิฏฐุชุกรรม คือ การกระทาความเห็นให้ตรงกับความเป็นจริง ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ (อ่านว่า กา - มัด - สะ - กะ - ตา - ยาน) คือ ป๎ญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง จะทำดีหรือทำชั่วก็ตาม ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น ธรรมที่เป็นป๎จจัยให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ มี 3 ประการ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 12:03:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:33:36 »



1. สุตมยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การเรียนนี้มุ่งหมายการศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นการแสดงความจริงของ ชีวิต มีเหตุมีผล เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เมื่อศึกษาแล้วย่อมทาให้เกิดความเข้าใจในคาสอน ส่งผลทาให้ผู้ศึกษามีการมุ่งมั่นในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น ได้ถูกต้อง
2. จินตามยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายเกี่ยวกับความมีโรค ไม่มีโรค ความโง่ ความฉลาด ความสุข ความทุกข์ อายุสั้น อายุยืน เหล่านี้เป็นต้น เมื่อคิดพิจารณาถูกต้องเช่นนี้แล้ว จึงเป็นเหตุให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ
3. ภาวนามยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการเจริญวิป๎สสนา เป็นป๎จจัยให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ มีการเห็นนามรูปพร้อมทั้งป๎จจัยของนามรูป เป็นต้น
ถึงแม้ว่า บุคคลทั้งหลายโดยส่วนมากจะยังไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของรูปนาม ไม่รู้ป๎จจัยอันเป็นเหตุเกิดของรูปนาม เพราะบุคคลยังยึดรูปนามขันธ์ 5 นี้ ว่าเป็นเรา เป็นของ ๆ เรา เป็นต้น แต่ถ้ามีความเห็นตรงตามสัมมาทิฏฐิ
วัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็นทิฏฐุชุกรรม คือ เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริงได้เช่นกัน ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ
เห็นว่า การทาบุญ ย่อมได้รับผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์
การบูชา ย่อมได้รับผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์
การเชื้อเชิญต้อนรับ ย่อมได้รับผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ คือ ผลดีมีประโยชน์
การทาดีทาชั่ว ย่อมได้รับผลของการทาดีทาชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ภพนี้ โลกนี้ (ป๎จจุบัน) มี เพราะมีการเกิด
ภพหน้าโลกหน้ามี เพราะคนตายแล้วยังมีกิเลส จึงต้องเกิดในโลกหน้าอีก
การทำดีทำชั่วต่อมารดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
การทำดีทำชั่วต่อบิดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง
ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เพื่อเข้าถึง มรรคผลนิพพานนั้นก็มี ในทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ เป็นเหตุให้มีกัมมัสสกตาญาณเกิดขึ้นในขันธสันดาน ดังนั้นควรสารวจว่าตนมีความเห็นใน 10 ประการนี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบถ้วนก็ควรศึกษาธรรมะและเจริญการปฏิบัติภาวนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 12:03:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:36:02 »



วัตถุกสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็นทิฏฐุชุกรรม คือ เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริงได้เช่นกัน ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ
เห็นว่า การทำบุญ ย่อมได้รับผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์
การบูชา ย่อมได้รับผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์
การเชื้อเชิญต้อนรับ ย่อมได้รับผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ คือ ผลดีมีประโยชน์
การทำดีทำชั่ว ย่อมได้รับผลของการทาดีทาชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ภพนี้ โลกนี้ (ป๎จจุบัน) มี เพราะมีการเกิด
ภพหน้าโลกหน้ามี เพราะคนตายแล้วยังมีกิเลส จึงต้องเกิดในโลกหน้าอีก
การทำดีทำชั่วต่อมารดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
การทาดีทำชั่วต่อบิดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง
ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เพื่อ เข้าถึง มรรคผลนิพพานนั้นก็มี ในทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ เป็นเหตุให้มีกัมมัสสกตาญาณเกิดขึ้นในขันธสันดาน ดังนั้นควรสารวจว่าตนมีความเห็นใน 10 ประการนี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบถ้วนก็ควรศึกษาธรรมะและเจริญการปฏิบัติภาวนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 12:04:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:41:34 »



เจริญมรรคการกระทาผลให้แจ้งการละกิเลสได้ ภาวะที่จิตปราศจากนิวรณ์ ความยินดียิ่งในสุญญาคาร เหล่านี้ชื่อว่า อุตริมนุสสธรรม รูปาวจรกุศลกรรม รูปาวจรกุศลกรรม เป็นการเจริญกุศลในขั้นสูง คือ การเจริญฌาน (อ่านว่า ชาน) ฌานนั้นให้ความสงบสุขอันเป็นความสุขที่ประณีตกว่ากุศลขั้นทาน ศีล ฯลฯ ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปาวจรกุศลกรรมเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน มี กสิณ 10 เป็นต้น (รายละเอียดอยู่ในบทเรียนชุดที่ 9)
โดยการกาหนดจิตให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว บุคคลเมื่อกาหนดจิตได้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียวได้ ทาให้สมาธิตั้งมั่น กาลังของสมาธิที่ตั้งมั่นและมากขึ้นๆ ตามลาดับ จะทาให้เกิดผลสาเร็จในการเจริญรูปฌาน ผลสาเร็จของการเจริญรูปฌาน มี 5 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ป๎ญจมฌาน ซึ่งแต่ละขั้นจะมีองค์ฌานประกอบดังนี้ ฌานที่ 1 เรียกว่า ปฐมฌานกุศล มีองค์ฌาน 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ 2 ทุติยฌานกุศล 4 วิจาร ปีติ สุข
พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสตินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสาภูมิ มีอายุ 4,000 มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสมาธินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสีภูมิ มีอายุ 8,000 มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยป๎ญญินทรีย์ จะเกิดในอกนิฏฐาภูมิ มีอายุ 16,000 มหากัปป์ ทิพยสมบัติของพรหม ผู้ที่ไปเกิดเป็นรูปพรหมด้วยอานาจของฌานที่ตนได้ จะเสวยทิพยสมบัติแห่งความเป็นพรหม มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี และเครื่องทรงอลงกรณ์ต่างๆ สวยสดงดงามประณีต และมีความสวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย เมื่อเกิดเป็นพรหมในรูปพรหม 16 ชั้น ดังกล่าวแล้ว ก็หาพอใจในฌานหรือในทิพยสมบัติของตนที่มีอยู่ไม่ ต้องการหาความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น โดยการเจริญอรูปาวจรกุศลต่อไปอีก มีรายละเอียดดังนี้ อรูปาวจรกุศลกรรม อรูปาวจรกุศลกรรม ผู้เจริญรูปาวจรกุศลจนถึงป๎ญจมฌานแล้ว ปรารถนาจะเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไป ก็ต้องเจริญในอรูปฌานต่อไป ตั้งแต่อากาสานัญจายตนฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อรูปาวจรกุศลมี 4 ระดับ แต่ละระดับมีองค์ฌาน 2 คือ อุเบกขาและเอกัคคตา เหมือนกันทั้ง 4 ระดับ ในแต่ละระดับมีอารมณ์ต่างกัน ฌานที่ 1 เรียกว่า อากาสานัญจายตนกุศล มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ฌานที่ 2 เรียกว่า วิญญานัญจายตนกุศล มีอากาสานัญจายตนกุศลเป็นอารมณ์ ฌานที่ 3 เรียกว่า อากิญจัญญายตนกุศล มีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 12:04:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #27 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 11:45:12 »



ฌานที่ 4 เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล มีอากิญจัญญายตนกุศลเป็นอารมณ์ ผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ผู้ที่เจริญอรูปฌานจนสาเร็จในแต่ละขั้นแล้วถ้าฌานยังไม่เสื่อม เมื่อตายจากภพนี้ กาลังแห่งอรูปฌานกุศลนั้นจะส่งผลเป็นวิปากนาเกิดในอรูปพรหม เป็นพรหมที่มีแต่นาม ไม่มีรูป อากาสานัญจายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ 1 คือ อากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุ 20,000 มหากัปป์ วิญญานัญจายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ 2 คือ วิญญานัญจายตนภูมิ มีอายุ 40,000 มหากัปป์ อากิญจัญญายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ 3 คือ อากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุ 60,000 มหากัปป์ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ 4 คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ มีอายุ 84,000 มหากัปป์
พระอภิธรรม คือ ชี้ให้เห็นถึงสภาวธรรมแห่งเหตุ และได้แสดงโดยนัยแห่งพระสูตร คือ ยกตัวอย่างประกอบไว้แล้ว กรรมที่แสดงไว้แล้วทั้งหมดนี้เป็นกรรมชนิดที่ส่งผลนาเกิด คือ เมื่อกรรมสาเร็จแล้วย่อมส่งผลนาวิบากให้เกิดขึ้น เป็นการแสดงความเป็นจริงแห่งวัฏฏะ คือ วงเวียนแห่งชีวิตว่า มีการเกิด มีการดารงอยู่ และก็มีการตาย แล้วก็มีเกิดใหม่ ดารงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป แล้วก็มีการเกิดใหม่ ดารงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป เป็นอย่างนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏฏะทุกข์ คือ ทุกข์เพราะยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะกรรมที่บุคคลทาไว้แล้วนั้นเป็นกรรมชนิดที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ
การจะ หลุดพ้นจากวัฏฏะ หรือ วงเวียนแห่งชีวิตนี้ ต้องทากุศลขั้นวิวัฏฏะ คือ มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์นี้ เพราะรู้และ
เข้าใจ ความเป็นจริงแห่งชีวิต แล้วทากุศลทุกอย่างก็เพื่อ มุ่งให้เป็นป๎จจัยให้พ้นไปจากวัฏฏะ เจริญกุศลขั้นป๎ญญาเพื่อขจัดกิเลสให้เบาบาง เพื่อประหาณกิเลสทั้งหลาย เมื่อกุศลขั้นวิวัฏฏะยังผลให้โลกุตตรกุศลเกิดขึ้นเมื่อไร เมื่อนั้นก็จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์เข้าสู่ความเกษมคือพระนิพพานได้



...........................................THE END...............................................


............................................of chapter one..............................................

http://forums.212cafe.com/boxser/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 14:29:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.225 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 22:16:02