[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 11 มกราคม 2565 15:57:12



หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๖๙ มหาโพธิชาดก : ฤๅษีตัดสินคดี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มกราคม 2565 15:57:12

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13576513404647__500_320x200_.jpg)

พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๖๙ มหาโพธิชาดก
ฤๅษีตัดสินคดี

          พระกุมารเป็นลูกชายเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี เติบใหญ่เข้าเรียนศิลปศาสตร์จนสำเร็จแล้ว กลับมาช่วยกิจการของครอบครัวได้ระยะหนึ่ง ต่อมาตัดสินใจออกบวชเป็นพระฤๅษีอยู่ในป่าหิมพานต์ พอเข้าสู่ฤดูฝน ได้เข้าไปเที่ยวในเมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตเห็นทรงนิมนต์ให้เข้าพักในพระราชอุทยานในเมืองพาราณสี พระราชารับสั่งให้ขุนนางจัดเตรียมอาหารมาถวายพระฤๅษี พอรับอาหารเสร็จแล้วก็ทรงนึกถึงว่า ในวันข้างหน้า ราชตระกูลอาจให้โทษแก่เรา ถ้าจะมีอันตรายเกิดขึ้นจะมีใครช่วยเราได้
          ขณะนั้นพระฤๅษีเหลือบเห็นสุนัขโกไลยกะขนสีเหลือง ซึ่งเป็นสุนับตัวโปรดของพระราชา จึงหยิบข้าวสุกมาแสดงท่าทีล่อสุนัข พระราชาทรงทราบอาการ จึงรับสั่งให้คนนำอาหารใส่จานมาให้สุนัขกิน พอพระฤๅษีฉันอาหารเสร็จ พระราชาทรงนิมนต์ให้พระฤๅษีพักอยู่ในอุทยานต่อไป พระฤๅษีรับปากพระราชาว่าจะพักอยู่ในเมืองหลวง เป็นเวลาผ่านไป ๑๒ ปี จนพระราชามีอำมาตย์ถึง ๕ คน
          คนที่ ๑ เป็นนักอเหตุกวที มีคำสอนเป็นหลักว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปของมันเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
          คนที่ ๒ เป็นอิสรกรณวาที มีคำสอนว่า โลกนี้มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้น
          คนที่ ๓ เป็นปุพเพกตวาที มีคำสอนว่าเป็นหลักว่า สุข ทุกข์ เกิดขึ้นจากกรรมเก่าของเราทำทั้งนั้น
          คนที่ ๔ เป็นอุจเฉททวาที มีคำสอนว่า โลกนี้หรือโลกหน้าไม่มี
          คนที่ ๕ เป็นขัตตวิชชวาที มีคำสอนว่าเป็นหลักว่า ผู้คนควรฆ่าบิดามารดา มุ่งทำแต่ประโยชน์ของตน
          ทั้ง ๕ คนได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาคดีแทนพระราชา ตอนแรกก็เป็นธรรมดีอยู่ แต่พอนานเข้าเริ่มจะกินสินบน ทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
          ทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงไปร้องเรียนกับพระฤๅษีให้ช่วยตัดสินคดีเสียให้ถูกต้อง
          พระฤๅษีทนเห็นความเดือดร้อนของประชาชนไม่ไหว จึงไปช่วยตัดสินคดี ประชาชนพอใจมาก รวมถึงพระราชา ต่างขอร้องให้พระฤๅษีเป็นผู้พิพากษาต่อไป
          พระฤๅษีทูลตอบว่า “อาตมาภาพเป็นบรรพชิต การวินิจฉัยคดีไม่สมควรแก่กิจของอาตมาภาพ”
          พระราชาตรัสชี้ทางออกว่า ให้พระฤๅษีช่วยทำเป็นการชั่วคราวก่อน เฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นเพื่อความเจริญของบ้านเมืองและมหาชนทุกคน ฤๅษีจำใจต้องทำตามที่พระราชาขอร้อง ตัดสินคดีของชาวบ้านอย่างเป็นธรรม จนเหล่าอำมาตย์ทั้ง ๕ คนไม่พอใจ เนื่องจากทำให้เสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล อำมาตย์ทั้ง ๕ คิดหาทางทำให้พระฤๅษีออกจากวังไป จึงกราบทูลพระราชาว่า ฤๅษีกำลังสะสม กำลังคิดจะยึดราชบัลลังก์ของพระราชา แล้วทูลให้พระราชาลดการบำรุงพระฤๅษีลงไปเรื่อยๆ  ขณะที่อำมาตย์ทั้ง ๕ วางแผนลอบสังหารพระฤๅษีนั้น สุนัขโกไลยกะมาได้ยินเข้าพอดี จึงนำเรื่องไปบอกกับพระฤๅษีให้รู้ตัวและให้รีบหนีไป
          ขณะที่พระฤๅษีกำลังจะออกเดินทาง พระราชาตรัสถามฤๅษีด้วยคำพูดที่ไม่น่าฟัง พระฤๅษีก็เลยนึกในใจว่าจะพูดให้พระราชารู้สึกเสียบ้าง จึงกล่าวว่า “ตั้งแต่อาตมาภาพอยู่ที่นี่มา ๑๒ ปี ไม่เคยได้ยินเสียงสุนัขของพระองค์ร้องเสียงดังเลย มันเห่าเหมือนไม่เคยรู้จักกัน เพราะได้ยินพระราชารับสั่งให้อำมาตย์ทั้ง ๕ คนเตรียมการลอบสังหารอาตมาภาพ”
          พระราชาสำนึกผิด ทรงตรัสขอร้องให้พระฤๅษีอยู่ต่อไปอีก แต่ฤๅษียังยืนยันจะกลับไปยังป่าหิมพานต์ท่าเดียว “ถึงเวลาที่อาตมาภาพต้องไปเสียที”  ก่อนออกเดินทางยังให้คำสั่งสอนแก่พระราชาว่า “ขอพระองค์อย่าประมาทในการดำรงชีวิต ขอให้ดำรงอยู่ในธรรมตลอดไป” จากนั้นพระฤๅษีก็กลับไปยังป่าหิมพานต์
          อำมาตย์ทั้ง ๕ คน คิดว่าที่พระฤๅษีอยู่ได้นาน เพราะอัครมเหสี จึงคิดแผนการที่จะลอบปลงพระชนม์พระอัครมเหสี เพื่อที่จะไม่ให้พระฤๅษีกลับมาอีก จึงทูลความเท็จกับพระราชาว่าพระฤๅษีกับพระอัครมเหสี เขียนจดหมายติดต่อกันมาโดยตลอด แล้วยัดลงไปในหลุมคูถ เมื่อพระโอรสทั้ง ๔ ของพระนางทราบข่าวพระบิดาสั่งฆ่าพระมารดาโดยไม่มีความผิด จึงโกรธแค้น และตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระบิดา
          พระฤๅษีทราบข่าวก็กลับมาไกล่เกลี่ยไม่ให้พ่อลูกต้องฆ่ากันเอง ทูลบอกเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็เพราะอำมาตย์ทั้ง ๕ คน แล้วยังตำหนิคำสอนของอำมาตย์ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิดเป็นชอบ เป็นคำสอนผิดๆ อย่าได้นำมาประพฤติปฏิบัติเป็นอันขาด พระฤๅษีแสดงธรรมคำสอนต่างๆ นานา จนทำให้อำมาตย์ทั้ง ๕ คนไม่กล้าสบตา พระราชารับสั่งให้ประหารชีวิตอำมาตย์ทั้ง ๕ คน แต่พระฤๅษีห้ามไว้ พระราชาจึงลงโทษโดยการยึดทรัพย์สมบัติทั้งหมด แล้วขับไล่ออกจากเมืองไป จากนั้นพระฤๅษีก็กลับเข้าไปอยู่ในป่าหิมพานต์ตามเดิม
 

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความดำรงมั่นในศีลธรรม นำความสงบสุขมาให้”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อาทิ สีลํ ปติฏฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง และเป็นบ่อเกิดของความดีทั้งปวง (๒๖/๓๕๒)