[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 13:45:25



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 13:45:25


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-27.jpg)


ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]


ดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษที่จะนำไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ความคิดที่ว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามนี้
เห็นได้จากมีการนิยมใช้ดอกบัวเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยโดยทั่วไป

ดอกบัวได้ชื่อว่าเป็นพืชพันธุ์ไม้น้ำที่ทรงคุณค่าด้านความงามอันล้ำเลิศ พระอรรถกถาจารย์
เปรียบธรรมชาติของดอกบัวว่า มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาในพระพุทธศาสนา   
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดอกบัวอยู่มากมาย

นำมาฝากเป็นธรรมซีรี่ย์ครับ


(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQVk0zYIPnBiOgm7zmupDMBfaXfKRuTSy5AcphC6bBEsaNlpX0&t=1&usg=__FsHmAbvVyq7A9PIltURHRCORLlk=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 13:53:16

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-3.jpg)

  ดอกบัวเปรียบกับอนุพยัญชนะ

จากการศึกษาพระพุทธประวัติ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระลักษณะต่างกับสามัญชน พระพุทธลักษณะนั้นเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของมหาบุรุษ คือ พระพุทธเจ้า

ส่วนพระพุทธลักษณะอันเป็นข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ เรียกว่า อนุพยัญชนะ มีพระพุทธลักษณะ ๓ ประการซึ่งกวี ได้เปรียบเทียบกับดอกบัว คือ

 (๑) พระกรรณทั้งสองข้างมีสัณฐานอันยาวเรียวอย่างกลีบประทุมชาติ

 (๒) พระสรีระกายสดชื่นดุจดอกประทุมชาติ

(๓) กลิ่นพระโอษฐ์หอมฟุ้งเหมือนกลิ่นดอกอุบล

สมัยพุทธกาล พระพุทธสาวกที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อปลงอายุสังขารแล้ว ต้องไปทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อนิพพาน พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อดีตพระน้านางก็เป็นผู้หนึ่งซึ่งเมื่อทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลลาพระพุทธองค์เพื่อนิพพาน มีเรื่องว่า พระนางซบพระเศียรแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า

“ขอพระองค์ทรงอนุญาตหม่อมฉัน ขอพระองค์โปรดเหยียดพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย) และลายธงอันละเอียดอ่อนคล้ายกับดอกบัว”

พระนางทรงเปรียบพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับดอกบัว ดังคำบรรยายว่า

“พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท ซึ่งเป็นลายจักรคล้ายกับดอกบัวบาน มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง”



(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQdH-swBy_4P-YoQlzKSX1R8LQooOn4r1hkc4mSgQc5vEMXNh8&t=1&usg=__QtEdCJzM-eFyFMgGW5nwrfmKS1A=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 14:02:55

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-26.jpg)

  ดอกบัวเปรียบกับเวไนยสัตว์

จากการศึกษาเหตุการณ์ในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงมีความท้อพระทัยที่จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น เป็นธรรมอันลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ยากที่มนุษย์และสรรพสัตว์ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ พระองค์ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยเวไนยสัตว์ก็ทรงทราบว่าผู้มีกิเลสเบาบาง ที่อาจรู้ตามพระองค์ได้ก็มี พระองค์ทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว ๓ เหล่า คือ บัวเกิดในน้ำ บัวเสมอน้ำ และบัวพ้นน้ำ จึงมีคำอุปมาเวไนยสัตว์เหมือนดอกบัว แบ่งเป็น ๔ เหล่าตามอัธยาศัย คือ

๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์กล้า เพิ่งสอนให้รู้ได้โดยง่าย อาจรู้ธรรมพิเศษได้ฉับพลัน เปรียบเหมือนดอกปทุมชาติ ที่โผล่พ้นจากพื้นน้ำขึ้นจากพื้นน้ำมาแล้ว คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบานในวันนี้

๒. วิปจิตัญญู ผู้มีกิเลสค่อนข้างน้อย เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งยังตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓. เนยยะ ผู้มีกิเลสเบาบาง ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมปฏิบัติไปก่อน เพื่อบำรุงอุปนิสัยจนกว่าจะแรงกล้า จึงจะบรรลุธรรมพิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป

๔. ปทปรมะ ผู้มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ หาอุปนิสัยมิได้เลย ไม่สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำและเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-64.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 14:09:08

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/716/34716/images/buajit.jpg)


นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ กล่าวสาเหตุที่ภิกษุสามเณรจะพินาศเพราะพรหมจรรย์ ต้องละเพศไปสู่ฆราวาส ท่านว่าเพราะอันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว คือ

๑. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยพายุใหญ่พัดเอาหักโค่น เปรียบด้วยพระภิกษุสามเณรผู้ต้องลมปาก คือคำชักชวนของคนพาล มาชักน้ำเกลี้ยกล่อมให้จิตใจเห็นเคลิบเคลิ้มในโลกียวิสัย หน่ายรักจากพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์ไป

๒. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกกิมิชาติ คือหนอนเข้าเบียดเบียนกัดต้นกินใบ เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถูกโรคาพาธต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนตัดรอน จนไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ได้

๓. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกฝูงกินนรีเก็บเอาไปเชยชม คือมีผู้มาเด็ดไปจากต้น เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณร ถูกมาตุคาม (สตรี) ล่อให้ลุ่มหลงสิ้นศรัทธาในพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์

๔. ดอกบัวย่อมเป็นอันตราย ด้วยถูกเต่าและปลากัดกินเป็นอาหาร เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถูกพระยามัจจุราชคือความตายมาตัดรอนคร่าเอาชีวิตไปเสีย

๕. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยน้ำและโคลนตม ไม่บริบูรณ์เหือดแห้งหดไป เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ แต่เพราะกุศลหนหลังและวาสนาปัจจุบันไม่มี ก็เผอิญให้มีอุปสรรคขัดข้องต่าง ๆ ไม่สามารถทรงจำพระธรรมวินัยได้ เป็นเหตุให้ท้อถอยต้องลาเพศพรหมจรรย์ไป


(http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/6.gif)

http://www.flickr.com/groups/529758@N24/pool/page8/ (http://www.flickr.com/groups/529758@N24/pool/page8/)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 14:21:32

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-22.jpg)


  ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของผู้ปฏิบัติธรรม

ในการปฏิบัติธรรม เมื่อบุคคลละสิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ จิตย่อมเกิดปีติ กายย่อมเกิดความสงบ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น สงัดจากกามและอกุศลธรรม ความสุขใด ๆ ในโลกียธรรมนั้น ย่อมเปรียบไม่ได้กับความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบความสุขที่เกิดจากการบรรลุตติยฌานกับดอกบัวไว้ ดังนี้

เปรียบเหมือนในกอบัวเขียว (อุบล) กอบัวหลวง (ปทุม) หรือกอบัวขาว (บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ฉันนั้น

นอกจากนี้ พระพุทธโฆษาจารย์อธิบายถึงเหตุที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้ได้บรรลุธรรมขั้นตติยฌานนี้ไว้ว่า ผู้ที่บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นยอดสุดแห่งความสุข เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้เห็นเสมอกัน มีสติ อยู่เป็นสุข



(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-43.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 14:30:40

(http://farm4.static.flickr.com/3583/3790385009_d712754d96.jpg)


ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรม

พระมหาปันถก เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับความสุขจากการหลุดพ้น สิ้นจากกิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) และอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน) ทั้งปวง มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถกผู้เป็นน้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง จึงได้ขออนุญาตธนเศรษฐีผู้เป็นตาผู้ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ได้อนุญาตให้จูฬปันถกออกบวช จูฬบันถกก็ได้รับอนุญาตจากธนเศรษฐีให้ออกบวชได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาคุณบทหนึ่งแก่พระจูฬปันถก ความว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น

เพียงคาถาบทเดียวนี้เท่านั้น พระจูฬปันถกเรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายพยายามให้เธอเรียนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดเห็นว่าพระน้องชายเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา จึงตำหนิพระน้องชายแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงเสด็จไปเทศนา ได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้แก่พระจูฬปันถก ตรัสบอกให้บริกรรมด้วยคาถาว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) พร้อมกับให้พระจูฬปันถกลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วยขณะบริกรรมคาถา ในเวลาไม่นาน พระจูฬปันถกได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาอันแตกฉาน ๔ ประการ ได้แก่

อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)

ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)

นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา)

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ๑ ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ ๑ จูฬปันถกเป็นเอตทัคคะแล.....”



(http://www.vcharkarn.com/uploads/179/179845.png)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 14:45:35


(http://gotoknow.org/file/khonkhai/100_7404.jpg)


อีกเรื่องหนึ่ง อดีตนายช่างทอง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก (เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปฌายะองค์ใดองค์หนึ่ง ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น) ของพระสารีบุตร เมื่อบวชเป็นภิกษุ พระสารีบุตร สวยงาม จึงให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาอสุภกรรมฐาน๓๗ เธอพยายามพิจารณาอสุภกรรมฐานอยู่ตลอด ๔ เดือน ยังไม่พบคุณวิเศษแต่ประการใด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ คือ พระปรีชาญาณหยั่งรู้ ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่า ภิกษุหนุ่มผู้นี้เคยเป็นนายช่างทองมาแล้วถึง ๕๐๐ ชาติ การทำงานอยู่กับทองซึ่งเป็นสิ่งของสวยงาม ประกอบกับมีอุปนิสัยละเมียดละไมรักสวยรักงาม (ราคจริต) จึงควรนำสิ่งที่สวยงามเช่นดอกบัวเพื่อใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน

วันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน และนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุม แม้นั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุมนี้เข้าใจว่าภิกษุหนุ่มอดีตนายช่างทองรูปนี้อายุยังน้อย จิตใจจะต้องน้อมอยู่ในการรักความงาม ดอกปทุมนั้นมีขนาดเท่าจักร พระพุทธองค์ทรงทำให้เหมือนมีหยาดน้ำหลั่งลงมาจากใบและก้านเพื่อให้เหมาะกับอัธยาศัย ภิกษุหนุ่มได้นำดอกบัวไปวางไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิตรงหน้า แล้วบริกรรมว่า “โลหิตกํ โลหิตกํ” (สีแดง สีแดง)

จากนั้น ขณะที่ท่านกำลังเพลิดเพลินอยู่กับสีแดงอันสวยสดของดอกบัวนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้ดอกบัวซึ่งมีความสวยสดงดงามค่อย ๆ เหี่ยวเฉาลง สักครู่เดียวเกสรดอกบัวก็ร่วงไปเหลืออยู่เพียงฝักบัว เป็นเหตุให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาเปรียบเทียบถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยงถาวรเช่นกัน เมื่อจิตของภิกษุนั้นลงสู่วิปัสสนาญาณแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งโอภาส (แสงสว่าง) ไป ได้ตรัสว่า “เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย เหมือนคนตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล เธอจงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะนิพพาน ตถาคตแสดงไว้แล้ว”

จากการที่ภิกษุหนุ่มใช้ดอกปทุมทองเป็นเครื่องหมายกรรมฐาน และได้น้อมนำจิตใจให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะปฏิบัติกรรมฐาน จึงทำให้ได้สำเร็จอรหัตตผลในเวลาไม่นาน


(http://sl.glitter-graphics.net/pub/700/700656gz5t558mhe.gif)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 15:20:22

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/100/39100/blog_entry1/blog/2010-04-03/comment/579015_images/21_1270308036.jpg)

ดอกบัวเปรียบกับพระนิพพาน

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระยามิลินท์ ทรงโต้แย้งพระนาคเสน๕๓ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นสุขโดยส่วนเดียวนั้นตนไม่เชื่อ พระนิพพานนั้นเจือด้วยทุกข์ เพราะบุคคลผู้แสวงหาพระนิพพานนั้น มีอันต้องทำกายและจิตให้ร้อนรุ่ม ต้องกำหนดการยืน กำหนดการเดิน กำหนดการนอนและกำหนดอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วง ต้องบังคับอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องสละทั้งกายทั้งชีวิตและยังต้องละทิ้งทรัพย์สนและญาติมิตรอันเป็นที่รัก

พระนาคเสนจึงได้ถวายพระพรว่า พระนิพพานเปรียบเหมือนดอกบัว ดังนี้

พระนิพพานนั้นเป็นสุขโดยส่วนเดียวโดยมิได้เจือด้วยทุกข์ เปรียบเหมือนพระราชาเมื่อกำจัดข้าศึกได้แล้วก็ได้เสวยสุขโดยส่วนเดียว บุคคลก็เช่นกัน เมื่อต้องกำหนดการยืน การเดิน การนั่ง การนอนและอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วงแล้ว จึงได้เสวยพระนิพพานอันเป็นสุขโดยส่วนเดียว

เมื่อได้อธิบายโดยแจ่มแจ้งแล้ว พระนาคเสนยังได้เปรียบคุณของดอกบัวกับพระนิพพานว่า

ธรรมชาติของดอกบัว น้ำย่อมไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานอันกิเลสทั้งปวงไม่ซึมติดได้ฉันนั้น นี้แล คุณแห่งดอกบัวประการหนึ่ง ซึ่งควรคู่กับพระนิพพาน เปรียบเหมือนว่า น้ำฉาบติดดอกปทุมมิได้ ฉันใด ขอถวายพระพร กิเลสทั้งหลายทั้งปวง ก็ฉาบติดพระนิพพานมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร นี้คือคุณอย่างหนึ่งของดอกปทุมที่เทียบกันได้กับพระนิพพาน



(http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/222222/29958_122655297756500_100000360925471_204560_3485392_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 18:27:08

(http://www.kunnathum.com/wp-content/profile-pics/1.jpg)

การที่ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวเป็นสื่อในการพรรณนาเหตุการณ์ บุคคล หลักธรรม
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของดอกบัว ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ประเภทหนึ่งที่มีอยู่เกือบทุกมุมของโลก
ตามนัยในพระพุทธศาสนา
ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความสะอาดบริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรมครับ


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-13.jpg)

ดอกบัวแย้มบานรับแสงอาทิตย์อุทัยในยามเช้า  ย่อมงดงามด้วยเหตุ 2 ประการ คือ

ประการแรก บัวนั้นเป็นบัวพันธุ์ดี ดอกจึงมีสีที่งดงาม
ประการที่สอง บัวนั้นมีน้ำและโคลนตมคอยหล่อเลี้ยง

พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน จะเจริญงอกงามได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
ประการแรก พระภิกษุสามเณรมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
และตั้งใจออกบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

ประการที่สอง พระภิกษุสามเณรต้องอาศัยปัจจัย 4 อันควรแก่สมณะบริโภค
ซึ่งท่านทานบดีผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา นำมาอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยง ท่านจึงมีเวลาศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรม
ฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นเนื้อนาบุญให้แก่ชาวโลก

ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ จึงทำให้พระภิกษุสามเณรเจริญรุ่งเรืองเป็นอายุของพระพุทธศาสนา


อ้างอิง  : พระวิมลศีลาจารย์ พระพุทธโฆสาจารย์ จารวี มั่นสินธร
อ้างอิง  : พระไตรปิฎก

Credit by  : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html (http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html)
ภาพประกอบจาก  : อินเตอร์เน็ต


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 18:39:04

(http://www.baanlaesuan.com/plantlover/Webboard/images_board%5Creply_Q131A18.jpg)

ในภาษาบาลี เรียกมะลิว่า “สุมนา” ซึ่งแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ผู้ใจดี” อาจจะเป็นด้วยความหมายนี้ ประกอบกับการที่มะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ พระสูตรที่ชื่อ “สุมนเถราปทาน” ซึ่งพระสุมนเถระได้กล่าวถึงผลแห่งการถวายดอกมะลิในครั้งอดีตกาล ความว่า

      “ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีนามชื่อว่าสุมนะ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี ทรงสมควรรับเครื่องบูชาของโลก จึงเอามือทั้งสองประคองดอกมะลิที่บานดีบูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ด้วยการบูชาดอกไม้นี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๓๑ ...”

      ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส เคยกล่าวไว้ว่า “ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็น ชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มี ชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบาน ฉะนั้น”


(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ZUqrfd6y85TiEM:http://www.palungjit.com/buddhism/gallery/data/557/P-03.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 19:53:05


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR5NuHFLYLyA5rDiSp85jSd0GGkSwwpxUNki5-OybnFzdwNC34j)

(http://www.ainews1.com/images/pink_lotus.jpg)

ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว

ตอนนี้เป็นตอนที่สองเป็นเรื่องสระบัวในโลกมนุษย์ สระบัวในโลกสวรรค์ สระบัวในโลกบาดาลครับ มีคำบรรยายถึงสระบัวหรือสระโบกขรณี หลายลักษณะ เช่น สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาด ใช้เป็นที่อาบและดื่มกินได้

“สระโบกขรณี มีน้ำรสอร่อยใสสะอาดดารดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว”

นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่สระสนานและเล่นน้ำตั้งแต่บุคคลธรรมดาจนถึงพระโพธิสัตว์ เช่น มีคำบรรยายว่า “พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทธยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรงสนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล” ดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณีมีหลายชนิด มีทั้งปทุม บุณฑริก อุบล โกมุท โกกนุท จงกลนี ดังคำบรรยายว่า แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบรอบด้าน ..... สระโบกขรณีที่เนรมิตขึ้นด้วยดีน่ารื่นรมย์ใจ มีดอกปทุมบานสะพรั่งร่วงหล่นลงดารดาษ

เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารทรงเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้รับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีขึ้น ๓ สระ ภายในบริเวณราชนิเวศน์ สระที่หนึ่งปลูกปทุมบัวหลวง สระที่สองปลูกบุณฑริกบัวขาว สระที่สามปลูกอุบลบัวขาบตกแต่งให้เป็นสถานที่เล่นสำราญพระทัย สำหรับพระสิทธัตถราชกุมารร่วมกับพระสหายที่อยู่ในวัยเดียวกัน



(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSIjAQ9JIvZDNMeurssAd68r1lRQQQTh953xmh1cNLYr9apwxc&t=1&usg=__E319xom83HBf9msrV1uMyZxGmP0=)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 20:04:22

(http://4.bp.blogspot.com/_YasZeOZmYws/TH6J6wHYO2I/AAAAAAAAACs/J1aBRYnWIIg/s1600/122b.jpg)
http://guidetourthailandtoday.blogspot.com/ (http://guidetourthailandtoday.blogspot.com/)


พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้ซึ่งปฏิบัติดี เป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นจากอกุศลธรรมทั้งปวง หรือผู้ที่ละกิเลสอันเป็นมลทินแล้ว เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านี้ จิตเกิดความปราโมทย์ ปีติ และเกิดความสงบ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยนำมาเปรียบกับน้ำในสระโบกขรณีซึ่งสามารถบรรเทาความร้อน ความกระวนกระวาย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสบริสุทธิ์ เย็นสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ถูกความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้

ทรงอุปมาไว้ว่า


สระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด เย็น มีท่าดีน่ารื่นรมย์
คนที่ถูกแดดแผดเผาจากทิศใดก็ตาม
 เมื่อมาสระนี้แล้ว ย่อมบรรเทาความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้ฉันใด
 

พระศาสนาของพระองค์ก็ฉันนั้น คือ ถ้ากุลบุตรไม่ว่ามาจากชนชั้นวรรณะใด มาบวชเป็นบรรพชิต
มาถึงธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบระงับในภายใน

ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต)   ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่สมณะ


(http://lotusflowerimages.com/Lotus_Flower_IMG_1724.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553 20:25:31

(http://www.janicha.net/forum/imageupload/data/image/ksd2e0-4b9eee.jpg)

อย่างไรก็ตาม ดอกบัวไม่จำเป็นต้องเกิดในสระโบกขรณีเสมอไป แม้ในสระอื่นก็อาจมีดอกบัวเกิดขึ้นได้ เช่น มีคำบรรยายว่า บริเวณที่ไม่ไกลจากอาศรมของพระเวสสันดร๖๙ มีสระบัวอีกสระหนึ่ง ชื่อว่า “สระมุจลินท์” ซึ่งหมายถึงสระที่มีต้นจิกล้อมรอบ ในสระนี้ก็มีดอกบัวขึ้นมากมายเช่นกัน ดังคำบรรยายว่า

ดอกปทุมสีขาวดังผ้าโขมพัสตร์ สระนั้นชื่อสระมุจลินท์ ดารดาษไปด้วยอุบลขาว จงกลนี และผักทอดยอด อนึ่ง ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบานสะพรั่ง ปรากฏเหมือนไม่มีกำหนดประมาณ บานในคิมหันตฤดูและเหมันตฤดูแผ่ไปในน้ำแค่เข่า เหล่าปทุมชาติงามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง หมู่ภมรบินว่อนร่อนร้องอยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ สระโบกขรณีบริเวณภูเขาหิมพานต์นี้ มีชื่อเรียกว่า สระฉันทันต์ สระมันทากินี สระคัคครา ๒ สระแรกเป็นสระบัวขนาดใหญ่ กว้างยาว ๕๐ โยชน์ มีคำบรรยายว่า

สระฉัททันต์นั้น ทั้งส่วนยาวส่วนกว้างประมาณ ๕๒ โยชน์ ตรงกลางลึกประมาณ ๑๒ โยชน์ ไม่มีสาหร่าย จอกแหน หรือ เปือกตมเลย เฉพาะน้ำขังอยู่ มีสีใสเหมือนก้อนแก้วมณี ถัดจากนั้นมีกอจงกลนีแผ่ล้อมรอบ กว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากกอจงกลนีนั้น มีกออุบลเขียวตั้งล้อมรอบกว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากนั้น ที่กว้างแห่งละหนึ่งโยชน์ มีกออุบลแดง อุบลขาว ปทุมแดง ปทุมขาว และโกมุท ขึ้นล้อมอยู่โดยรอบ อนึ่ง ระหว่างกอบัว ๗ แห่งนี้ มีกอบัวทุกชนิด เป็นต้นว่า จงกลนีสลับกันขึ้นล้อมรอบ มีปริมณฑลกว้างได้หนึ่งโยชน์เหมือนกัน


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-41.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 13:29:34

(http://i116.photobucket.com/albums/o8/kedluvu/miscellenious/2234324882_f6b2f1cd88.jpg)

สระโบกขรณีมันทากินีนี้เป็นสระใหญ่ นอกจากจะมีดงแหนอยู่รอบสระแล้ว ยังมีป่าบัวล้อมรอบอีกหลายป่า ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสถานที่นี้ พระอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นสาวกองค์แรก เป็นหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ ได้ทูลลาพระพุทธเจ้าและพักอาศัยอยู่ฝั่งสระมันทากินี้เป็นเวลา ๑๒ ปี และได้ปรินิพพาน ณ ที่นี้

.....สระโบกขรณีมันทากินี มีประมาณ ๕๐ โยชน์ เนื้อที่ประมาณ ๒๕ โยชน์ของสระนั้น ไม่มีสาหร่ายหรือแหนเลย มีแต่น้ำสีเหมือนแก้วผลึกเท่านั้น อนึ่ง ถัดจากนั้นไป ในน้ำลึกประมาณสีข้างของช้างทั้งหลาย กว้างครึ่งโยชน์ เป็นป่าเสตปทุมตั้งล้อมรอบน้ำนั้น ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตปทุมใหญ่เท่านั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตกุมุท ต่อจากนั้นไปเป็นป่าเสตกุมุท ต่อจากนั้นไปเป็นป่านีลุบล ต่อจากนั้นไปเป็นป่ารัตตอุบล....”

     (http://www.wanramtang.com/images/mboard_1212815674/1212815674.jpg)
                  กกุฏฐานที

สระโบกขรณีดังกล่าว คือ สระฉัททันต์ สระมันทากินี และสระเทวทหะ เป็นสระที่เกิดเองตามธรรมชาติ ในบาลีมีกล่าวถึงสระโบกขรณีที่บุคคลขุดขึ้นมาด้วยเจตนาต่าง ๆ กัน กล่าวคือ มีผู้นิยมขุดสระบัวเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ หรือใช้อาบกิน เช่น สระคัคคราเป็นสระโบกขรณีแห่งหนึ่งที่มีความสวยงาม เหตุที่สระโบกขรณีนี้ชื่อว่า คัคครา เพราะพระมเหสีของพระราชาทรงพระนามว่าคัคคราทรงขุดไว้ โดยรอบฝั่งสระนั้นมีป่าต้นจัมปาใหญ่ ประดับประดาด้วยดอกไม้ ๕ สี มีสีเขียวเป็นต้น


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTaLE5w0WMJbdcWuER-H0pX0p4gFdpHRMcGjH5OTm_MgM5Upf4&t=1&usg=__G24Wp4Ekg0r7a7uA2KrVJwQ3NSo=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 13:55:02

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-25.jpg)

พระอรรถกถาจารย์ได้เปรียบสระโบกขรณีกับการปฏิบัติธรรมจนถึงพระนิพพานไว้ ดังนี้

พึงเห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้นเหมือนทางไปสระโบกขรณี พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติเหมือนบุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุพึงเห็นนิพพาน

             (http://www.amulet.in.th/forums/images/1561.jpg)

ทรงรู้บุคคลผู้บำเพ็ญปฏิปทา กำหนดนามรูป กระทำการกำหนดปัจจัย กระทำการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บำเพ็ญปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้อยู่ ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็นบุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้วนั่งหรือนอนเสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบำเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทำให้แจ้งซึ่งผลบรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือ นิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน


ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๑๙๙๖/๔๙๕


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-29.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 14:06:31
(http://www.flowersop.com/wp-content/uploads/2009/10/lotus-flower-21.jpg)

ในมโหสถชาดก มีคำบรรยายว่า ครั้งเมื่อมโหสถสร้างบรรณศาลาประจำหมู่บ้าน ก็มีความเห็นว่า หมู่บ้านใดไม่มีสระบัวประกอบ จะทำให้หมู่บ้านนั้นหมดความงามไป จึงได้สร้างสระโบกขรณีให้มีคดลดเลี้ยวนับด้วยพัน ให้มีท่าลงนับด้วยร้อยโดยความคิดของตน สระโบกขรณีนั้นดารดาษด้วยปทุมชาติ ๕ ชนิด  ทำให้ศาลานั้นเป็นที่น่าพักผ่อนหย่อนใจของคนที่ผ่านไปมายิ่งขึ้น

จากการศึกษาพบว่า มีผู้ขุดสระบัวเพื่อกิจการอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ใช้เป็นที่สาธารณะเหมือนสระโบกขรณีทั่วไป เช่น สระโบกขรณีแห่งหนึ่งในราชสำนักไพสาลี ขุดขึ้นมาเพื่อประสงค์ใช้น้ำในสระประกอบพิธีงานอภิเษกแห่งคณะราชตระกูล ดังคำบรรยายว่า การอารักขาสระโบกขรณีนี้แข็งแรงทั้งภายในและภายนอก เบื้องบนเขาขึงตาข่ายโลหะ แม้นกก็ไม่มีโอกาสเข้าไป

ในเวสสันดรชาดก มีเหตุการณ์ที่พระชาลีราชกุมารและพระกัณหาราชกุมารี  ชอบไปเล่นในสระโบกขรณี เมื่อชูชกขอพระราชกุมารและพระราชกุมารีจากพระเวสสันดร ในขณะที่พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ในป่า และพระเวสสันดรประทาน ๒ กุมารให้ตามที่ชูชกขอ แต่ได้ตั้งค่าตัวของชาลีกุมารเป็นทอง ๑,๐๐๐ แท่ง ส่วนกัณหากุมารีนั้นตั้งค่าตัวเป็น ทาสชาย ๑๐๐ หญิง ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ โคอสุภะ ๑๐๐ ทองคำแท่ง ๑๐๐ แท่ง เมื่อพระราชกุมารทั้งสองพระองค์ทรงทราบเหตุแห่งการมาของชูชก ด้วยความกลัว จึงหนีไปหลบซ่อนยังสระโบกขรณีเพราะคิดว่าจะไม่มีผู้ใดหาพบได้ ดังคำบรรยายว่า เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ ณ ที่ไร ๆ ก็วิ่งไปแต่ที่นี้บ้างที่โน้นบ้าง เลยเสด็จไปถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้มั่น ตกพระทัยกลัว ลงสู่น้ำ เอาใบบัววางไว้บนพระเศียร เอาน้ำบังองค์ประทับยืนอยู่


(http://www.vcharkarn.com/uploads/147/147440.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 15:04:22

(http://farm4.static.flickr.com/3106/2596235582_bf9d73529a.jpg)

สระบัวในโลกสวรรค์

พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงสระบัวในโลกสวรรค์ว่า โลกสวรรค์แต่ละชั้นซึ่งเป็นที่อยู่ของทวยเทพทั้งหลาย มีสระโบกขรณีสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ภายในสวน
เช่น คำบรรยายดังนี้ว่า

ในท่ามกลางพระนครสุทัสสนะ มีปราสาทเวชยันต์ อันเป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนคร มีสวนดอกไม้ชื่อว่า สวนนันทวัน กว้างพันโยชน์ ภายในสวนมีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อ มหานันทา สระหนึ่ง ชื่อ จูฬนันทา สระหนึ่ง รอบบริเวณสระกับขอบสระปูลาดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่สำหรับพักผ่อน แผ่นศิลาที่ปูรอบอยู่บริเวณสระใด ก็เรียกแผ่นศิลานั้นไปตามชื่อของสระนั้น

ทางทิศตะวันตกมีสวนชื่อว่าจิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า วิจิตรา สระหนึ่ง จูฬจิตรา สระหนึ่ง
ทางทิศเหนือมีสวนชื่อว่า สวนมิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ธัมมา สระหนึ่ง สุธัมมา สระหนึ่ง
ทางทิศใต้มีสวนชื่อว่า สวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ภัททา สระหนึ่ง สุภัททา สระหนึ่ง
สวนทั้ง ๔ นี้ เป็นสถานที่สำหรับเที่ยวพักผ่อนรื่นเริงของเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์



(http://cache2.artprintimages.com/p/LRG/27/2745/CXDTD00Z/joanne-wells-perrys-water-garden-lotus-flower-franklin-north-carolina-usa.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 15:14:19

(http://ih2.redbubble.net/work.5469418.1.flat,550x550,075,f.single-giant-lotus-flower-adelaide-botanic-gardens-jan-2010.jpg)

วิธุรชาดก มีเรื่องว่า ปุณณกยักษ์ได้เชิญชวนพระราชาแห่งอินทปัตตนคร กุรุรัฐ ให้ทอดพระเนตรสระโบกขรณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานนรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี๙๔ ทางดวงแก้วมณีของตน กราบทูลว่า

เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด ซึ่งเดียรดาษไปด้วยมณฑาลก ดอกปทุม และอุบลในสวรรค์นี้
เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่ก่อสร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ ซึ่งเกลื่อนกล่นด้วยฝูงปลานานาชนิดดารดาษไปด้วยหมู่ไม้ชนิดต่าง ๆที่ธรรมชาติได้เนรมิตไว้ในแก้วมณีนี้

          (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSzovkEpOA9swlxeXcPwfTISPtMuFP99e1Vj7IRy90bWx9gwMw&t=1&h=157&w=236&usg=__xmAnLJi0-RLqdwsoqiaK9dQH4OM=)

นอกจากจะมีสระโบกขรณีในเทพนคร แม้ช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างทรงของพระอินทร์ก็มีสระโบกขรณี สระโบกขรณีดังกล่าวนี้ มีลักษณะแปลกและพิสดารกว่าสระโบกขรณีอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สระโบกขรณีที่ปรากฏอยู่ที่งาช้างเอราวัณนั้น เกิดขึ้นจากอำนาจบุญบารมีของพระอินทร์เทพผู้ยิ่งใหญ่ สระโบกขรณีที่งาช้างเอราวัณ มีความพิสดาร ดังนี้

บนกระพอง (ของช้าง) หนึ่ง ๆ มีงากระพองละ ๒ งา บนงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณีงาละ ๗ สระ บนสระโบกขรณีสระหนึ่ง ๆ มีสระบัวละ ๗ สระ สระบัวสระหนึ่ง ๆ มีดอกบัวสระละ ๗ ดอก บนดอกบัวดอกหนึ่ง ๆ มีดอกละ ๗ กลีบ บนกลีบหนึ่ง ๆ มีนางอัปสรกลีบละ ๗ นาง ปรากฏชื่อว่าปทุมอัปสรทั้งนั้นฟ้อนรำอยู่



(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:88UdCblz1GiC1M:http://hotelvietnamonline.com/guide/vietnamflower/lotus/lotus_flower_2.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 15:25:42

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-28.jpg)

ในภพดาวดึงส์ ก็มีสระโบกขรณีชื่อ “นันทา” สระโบกขรณีนันทามีขึ้นเพราะว่า พระนางสุนันทา ชายาองค์หนึ่งของท้าวสักกะ ครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ พระนางเคยให้ขุดสระโบกขรณีไว้ให้ชนทั่วไปที่เดินทางมาได้อาบและดื่ม ครั้นพระนางสิ้นชีพก็ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้นแก่พระนางสุนันทา เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี๙๘ จึงมีสระโบกขรณีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดขึ้นมาคู่บุญของพระนางนอกจากนี้ยังมีสระโบกขรณีในวิมานชื่อต่าง ๆ ของเทพธิดาหรือของเทพบุตร สระโบกขรณีเหล่านี้มีขึ้นมาเพราะบุญเจ้าของวิมาน เพราะครั้งเมื่อเจ้าของวิมานนั้นเป็นมนุษย์ เคยทำประโยชน์ต่าง ๆ ถวายและบูชาพระ เช่น ที่พระวังคีสเถระ ได้ถามเทพธิดาองค์หนึ่งถึงเหตุที่นางได้ช้างอันสวยงามเป็นสิ่งคู่บุญ ความงามของช้างมีคำบรรยายว่า

ที่งาทั้งสองของพญาคชสาร ล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลงและมีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

เทพธิดานั้นตอบว่า นาควิมานอันประกอบด้วยสระโบกขรณีบังเกิดขึ้นแก่ตน เพราะตนเคยถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตเลื่อมใส และรู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ครั้นนางสิ้นชีวิต ก็ได้ไปบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ และมีบริวารยศ เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ มีนามว่ายสุตตรา

แม้ผู้มีจิตศรัทธาและร่วมอนุโมทนาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ในการทำบุญของผู้อื่น ก็จะเกิดผลบุญแก่ผู้นั้นให้ไปบังเกิดบนสวรรค์ มีวิมานประจำที่งดงามด้วยสระโบกขรณีเช่นกัน เช่นเรื่องของเทพธิดาองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้มีจิตเลื่อมใสในกรณียกิจของนางวิสาขา ซึ่งได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็บังเกิดวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม มีคำบรรยายว่า

ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
ดื่นดาษไปด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพยพัดโชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-52.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 15:36:36

(http://i116.photobucket.com/albums/o8/kedluvu/miscellenious/2386091863_041f0e980c-1.jpg)

สระบัวในโลกบาดาล

โลกบาดาลหรือนาคพิภพมีสระโบกขรณี ที่เหมือนกับสระโบกขรณีในโลกมนุษย์ เช่น ในภูริทัตชาดก มีเรื่องว่า สมัยเมื่อพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนาคราชในนาคพิภพชื่อว่า จัมเปยยกะ พระองค์มีฤทธิ์และอานุภาพมาก ทรงเบื่อหน่ายกับการกำเนิดเป็นเดียรัจฉาน ทรงมีพระประสงค์ที่จะถือศีลอุโบสถในเมืองมนุษย์ พระมเหสีทรงเตือนพระโพธิสัตว์ให้ระวังตนเพราะกลัวว่าพระองค์จะถูกทำร้ายจากมนุษย์ พระองค์ทรงบอกพระมเหสีให้ดูความเป็นไปของพระองค์ด้วยการสังเกตสัญลักษณ์จากน้ำในสระโบกขรณี ดังคำบรรยายว่า

                        (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRQUgs0_oBqdGmT_8ytxffNmEJ2MpO8F3koflFUlYPhhIpoHNM&t=1&usg=__DbBgjZJMBu0ObM0LKk4w2u8gagQ=)

มนุษยโลกนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงประทับอยู่ ณ ฝั่งโบกขรณีอันเป็นมงคล ทรงบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาว่า แม่นางผู้เจริญ หากใครทำร้ายเราให้ลำบาก น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่น หากครุฑจับ น้ำจักเดือดพล่าน หากหมองูจับ น้ำจักมีสีแดง

นอกจากนี้ มีคำบรรยายว่าในอสูรพิภพซึ่งอยู่ใต้ภูเขาพระสุเมรุราช อยู่ลึกจากโลกมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทราชมณเฑียร ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ท่ามกลางเมืองมีสระทอง ในสระทองนั้น ก็ยังมีดอกบัว ๔ ชนิด บานสะพรั่งรุ่งเรืองงามดังทอง



(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-30.gif)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 20 กันยายน 2553 16:01:15

(http://ih2.redbubble.net/work.3397584.2.flat,550x550,075,f.lotus-flower.jpg)

ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สามครับ นำมาฝากในเรื่องว่าด้วยดอกบัวกับพระพุทธเจ้า ดอกบัวกับพระธรรม ดอกบัวกับพระสงฆ์ ครับ

ดอกบัวกับพระพุทธเจ้า

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ดอกบัวมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหลาย ๆ เหตุการณ์ ดังนี้

มีคำบรรยายเปรียบพระพุทธเจ้ากับดอกบัว พระองค์ทรงละแล้วซึ่งทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ทั้งหลายไม่สามารถครอบงำหรือผูกมัดพระองค์ได้ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ดอกบัวก้านมีหนาม เกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น


ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๐/๒๓๗.

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcROzPm5VEpEDrLJfiKGTZ6ESqfnepiJAkDUDFcOX_SMY9-pHPQ&t=1&usg=__hwkhFDFtVE1TDsYKY0fB1KFHntI=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 กันยายน 2553 20:05:56
Wow

สุดยอดครับ โพสท์ไว้ของเก่าตั้งแต่ 10 พค. จนถึงตอนนี้ 20 กย.

ยาวจริง  ๆ


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 กันยายน 2553 20:08:48
ปล. หัวข้อนี้เคยมีคนอ่านมาตั้งแต่ตั้งกระทู้จนถึงตอนนี้เกือบ 1600 คน

 (:1:) (:1:) (:1:) (:1:)

ฮอทจริง ๆ

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 21 กันยายน 2553 07:54:03

(http://comps.fotosearch.com/bigcomps/UNN/UNN625/u10487722.jpg)

(http://gotoknow.org/file/localwisdom/RZbeauty.jpg)


พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นในโลกธรรม ๘ คือ ไม่ทุกข์ร้อนเพราะคำนินทา และไม่ยินดีด้วยคำสรรเสริญ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ผู้เที่ยวไปผู้เดียว มีปัญญา ไม่ประมาท ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
ไม่สะดุ้งเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่าย เหมือนลม
ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว เป็นผู้แนะนำผู้อื่น ไม่ใช่ผู้อื่นแนะนำ
นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศว่า เป็นมุนี


ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕//๒๑๕/๕๕๐.
 
              (http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/07/Y8117786/Y8117786-13.jpg)   

พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงตัดอนุสัย ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่ คือ สงสารได้แล้ว ทรงเป็นผู้ละแล้วซึ่งบุญและบาปทั้งปวง ดังพระพุทธพจน์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นจากน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก



(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSiIMncrd3RqTI29kuXP5tRmPgI8Z69ohjc_fikwgKQ7rLEJ_k&t=1&usg=__arJHf2Zi0HCnUJATQ055heR2jfQ=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 ตุลาคม 2553 05:12:57


(http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/water%20reflection/tong16.gif)
ขอบคุณที่มาภาพนี้จาก น้องต้องค่ะ


ในบาลีมีเรื่องเล่าว่า โทณพราหมณ์ ผู้เห็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและเมืองเสตัพพะ รอยพระบาทนั้นมีรอยกงจักรถึง ๑,๐๐๐ ซี่ ประกอบด้วยกงและดุม เป็นลักษณะซึ่งโทณพราหมณ์ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ความอัศจรรย์ของรอยพระบาททำให้โทณพราหมณ์เข้าใจว่าต้องมิใช่รอยเท้ามนุษย์ เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบโดยเปรียบดอกบัวกับพระองค์ว่า

พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) หรือดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิด เจริญเติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า



(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-34.jpg)

Credit by : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html (http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html)
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย : คุณ ebusiness
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 ตุลาคม 2553 07:43:00

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/23/15023/blog_entry1/blog/2009-08-20/comment/486191_images/10_1250734712.jpg)


พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงดอกบัวที่ผุดขึ้นรับพระบาทของพระพุทธเจ้าว่า สหาย ๒ คนชื่อครหทินและสิริคุต ครหทินเป็นสาวกของนิครนถ์ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนา ได้พยายามชักชวนให้สิริคุตผู้เป็นพุทธสาวกหันไปนับถือลัทธิเดียวกับตน ซึ่งอ้างว่าลัทธิของตนนั้นรู้จริงทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สิริคุตจึงทดสอบเหล่านิครนท์ด้วยการขุดหลุม ใช้เสื่อลำแพนคลุมไว้บนหลุมแล้วใส่อุจจาระไว้จนเต็ม ทำการอำพรางไว้ที่หน้าบ้านของตน จากนั้นนิมนต์สาวกของนิครนถ์มากินอาหารที่บ้าน ปรากฏว่าเหล่านิครนถ์ไม่รู้กลอุบาย ตกลงในหลุมอุจจาระที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นสิริคุตจึงขับไล่เหล่านิครนถ์ เพราะเห็นชัดว่าพวกนิครนถ์ไม่ได้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตตามที่ได้อวดอ้างไว้ ต่อมาครหทินคิดทดสอบบ้าง อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกไปฉันอาหารที่บ้านตน ครหทินได้ขุดหลุมถ่านเพลิงโดยใช้เสื่อลำแพนปิดอำพรางไว้เช่นกัน ครั้นพระพุทธองค์ทรงย่างเหยียบบนเสื่อ ถ่านเพลิงได้กลับกลายเป็นดอกบัวรองรับพระบาทไว้อย่างน่ามหัศจรรย์

มีคำบรรยายเหตุการณ์ว่า

พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลุมถ่านเพลิง เสื่อลำแพนหายไปแล้ว ดอกบัวประมาณเท่าล้อผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิง พระศาสดาทรงเหยียบกลีบบัว เสด็จไปประทับนั่งลงบนพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้
ความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เป็นผลให้ครหทินซึ่งเคยเลื่อมใสในลัทธินิครนถ์เปลี่ยนใจหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้น


ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๑/๑๔๕


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-35.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 ตุลาคม 2553 08:34:07

(http://www.watphrathan.com/main/attachment/Mon_1008/18_3_2d397209086e3d0.jpg)


ดอกบัวกับพระธรรม

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวบุคคลที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ควรปฏิบัติองค์คุณต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จอรหัตตผล องค์คุณที่ผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัตินั้น คือองค์ ๓ แห่งบัว ซึ่งได้กล่าวถึงธรรมดาของดอกบัวไว้ ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑. ย่อมเกิดและงอกงามในน้ำ แต่น้ำก็หาได้ติดบนใบบัวไม่
๒. เมื่อผุดขึ้นจากน้ำ ก็ลอยอยู่
๓. ต้องลมแม้เล็กน้อยก็สะบัดใบแกว่งไปมา

พระนาคเสนได้เทียบคุณสมบัติของดอกบัวกับผู้ปฏิบัติธรรมไว้ ดังนี้

๑. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในตระกูลและลาภยศสุขสรรเสริญ เป็นต้น
๒. เป็นผู้ครอบงำแล้วซึ่งโลกธรรมทั้งปวงแล้วลอยอยู่ในโลกุตตรธรรม
๓. การทำความสำรวมในกิเลสทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย เห็นกิเลสแม้เพียงเล็กน้อยเป็นเหตุให้หวั่นหวาด ดังพุทธภาษิตว่า ภิกษุมีปรกติเห็นภัยให้โทษ

พระนาคเสนถวายพระพรตอบพระยามิลินท์ โดยอุปมาพระพุทธเจ้ากับดอกบัวว่า ธรรมชาติของดอกบัวเกิดจากน้ำและเปือกตม แต่เมื่อดอกบัวโผล่พ้นน้ำก็มีรูปพรรณสวยงาม มีสีสวยสด มีกลิ่นหอมชวนชื่นใจ มิได้มีรูปพรรณ สีและกลิ่น เหมือนน้ำหรือเปือกตมเลย เช่นพระพุทธเจ้าที่มิได้มีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธบิดา หรือพระพุทธมารดานั้น



(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTwhTqBGsjQznKcf9z7EwUhOJ_L7FTtxZb7K0WdFEZnydreIdE&t=1&usg=__Sz0EkI8amKCXpDvFDKmI8BUUKE0=)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 ตุลาคม 2553 09:42:59

(http://www.igetweb.com/www/wongsing/gallery/505702.jpg)


มีคำบรรยายข้อปฏิบัติของพระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัวว่า

เพราะไม่ทำความชั่ว คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย

มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ

จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด



(http://www.watphrathan.com/main/attachment/Mon_1008/18_3_7fc3d12a49d2244.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: ขม..ค่ะึึ ที่ 16 ตุลาคม 2553 08:02:39
เก็บมาฝากค่ะ.. (:SY:)

(http://unpeudebonheur.u.n.pic.centerblog.net/wcztz2l5.gif)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 ธันวาคม 2553 15:09:09

(http://images.palungjit.com/attachments/18637d1238999981-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-lily_pad_lotus_flower-jpg)

พระพุทธโฆสาจารย์ได้อธิบายอารมณ์กรรมฐานเปรียบกับดอกบัวว่า

เหง้าบัวหลวงซึ่งใช้แพร่พันธุ์ และรากบัวจะฝังลึกแน่นอยู่ใต้ดินในน้ำ ซึ่งยากต่อการที่จะถอนขึ้นมา แม้ในอารมณ์กรรมฐาน
การกำหนดเหงื่อ (เสโท) เป็นอารมณ์ในกรรมฐาน เมื่ออารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติแน่วแน่ เป็นธรรมดาเหงื่อจะออกอยู่เป็นนิจ
จะไหลออกจากทุกรูขุมผมและขุมขน ทำให้ผู้ปฏิบัติกรรมฐานมีอารมณ์แน่วแน่ยิ่งขึ้น ท่านเปรียบไว้ว่า “เหมือนน้ำที่ไหลออกจากช่องกำเหง้าบัวและก้านบัว

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเหงื่อไหลเมื่ออารมณ์กรรมฐานแน่วแน่เว้นแต่
่ผู้ปฏิบัติจะกำหนดเพื่อให้รู้ว่าอาการไหลของเหงื่อเป็นเพียงสภาวะเท่านั้น
อาการนี้เป็นการกำหนดอารมณ์กรรมฐานวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธี

พระพุทธโฆสาจารย์อธิบายอารมณ์กรรมฐานโดยเปรียบกับดอกบัวไว้ดังนี้

คำว่า เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน) ที่ไหลออกตามช่องขุมขนเป็นต้น เหงื่อนั้นมีสีดังงาน้ำมันใส โดยสัณฐานมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาสชื่อว่าโอกาสแห่งเหงื่อ ซึ่งเป็นที่ที่มันจะพึงขังตั้งอยู่ทุกเมื่อดังโลหิตหามีไม่ แต่เมื่อใดร่างกายอบอ้าวอยู่ เพราะเหตุต่าง ๆ เช่น ร้อนไฟ ร้อนแดด และความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูเป็นต้น เมื่อนั้นมันจึงไหลออกตามช่องขุมผมและขนทั้งปวง ดุจกำสายบัวที่มีรากและเหง้าตัดไว้ไม่เรียบ ซึ่งคนถอนขึ้นจากน้ำฉะนั้น



(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-38.jpg)


หัวข้อ: Re: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 01 ธันวาคม 2553 16:08:55
สาธุ อนุโมทนาครับ


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 ธันวาคม 2553 16:19:24

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/23/15023/blog_entry1/blog/2009-08-20/comment/486191_images/46_1250752637.jpg)
http://www.oknation.net/blog/krudang/2009/08/20/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/krudang/2009/08/20/entry-1)

ดอกบัวกับพระสงฆ์

พระอรรถกถาจารย์ได้เปรียบพระสงฆ์กับดอกบัวไว้ดังนี้

ดอกบัวแม้จะเกิดขึ้นตามคูสกปรก ตามกองขยะที่เขาทิ้งทับถมไว้ริมถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น แต่ก็ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ คนย่อมเก็บมาทัดทรงประดับแม้ส่วนสูงของร่างกาย โดยปราศจากการรังเกียจถึงสถานที่เกิดอันแสนจะปฏิกูลของมันฉันใด “พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นเพศบรรพชิต เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์”๓๒ แม้จะเกิดในตระกูลยากจนเข็ญใจ เมื่อมาประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระวินัย พุทธศาสนิกชนก็ย่อมเลื่อมใสศรัทธาเคารพกราบไหว้ โดยปราศจากความรังเกียจถือชาติตระกูลฉันนั้น จะเห็นได้ว่าชาวอินเดียในอดีต มีการถือชาติชั้นวรรณะกันอย่างรุนแรงและจริงจัง การที่ชนผู้อยู่ในวรรณะสูง มายอมกราบไหว้ผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่านั้น โดยปกติแล้วจะมีไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากพระสงฆ์ผู้ที่มีคุณสมบัติเฉกเช่นเดียวกับคุณสมบัติของดอกบัวเท่านั้น

อีกเรื่องหนึ่ง พระโมคคัลลานะซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ “พระโมคัลลานะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในสมาธิฌาน บรรลุบารมีด้วยปัญญา”๓๔ พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้แสนโกฏิ โดยเปรียบพระโมคคัลลานะกับดอกบัวว่า

ท่านสิ้นอาสวะแล้วควรแก่การทักษิณา พระโมคคัลลานะผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว
เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายเสียได้ ไม่ติดอยู่ในสังขารเหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ

(http://www.thaidansk.com/images/stories/frontpage/f13.gif)


หัวข้อ: Re: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 01 ธันวาคม 2553 16:36:39
สาธุ ๆ ๆ ๆ


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 ธันวาคม 2553 16:42:24

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/23/15023/blog_entry1/blog/2009-08-20/comment/486191_images/9_1250734470.jpg)


พระอัสสชิเป็นพระมหาสาวกอีกองค์หนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนดอกบัว
ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกและเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร๓๖
ท่านมีบุคลิกที่น่าเสื่อมใส มีปัญญามาก มีคำยกย่องพระอัสสชิ
โดยเปรียบกับดอกบัวว่า

พราหมณ์นามว่าอัสสชิ
สาวกของพระองค์ ซึ่งหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
มีเดชแผ่ไป เที่ยวบิณฑบาตในครั้งนั้น .....
..... มีจิตสงบ เบิกบาน ดุจดอกปทุมที่แย้มบาน



(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/23/15023/blog_entry1/blog/2009-08-20/comment/486191_images/62_1250755404.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 ธันวาคม 2553 17:03:32

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-39.jpg)

ผู้ปฏิบัติธรรมที่สมาทานธุดงค์ ได้เป็นใหญ่ในพระบวรพุทธศาสนา
เป็นที่โสมนัสยินดี ย่อมมีแต่ความสุขสงบในสมาบัติ (ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)
เปรียบความสุขสงบในสมาบัติกับประทุมชาติบัวหลวงที่มีคุณถึง ๑๐ ประการ คือ

๑. เป็นของอ่อนนุ่มสนิท (สินิทฺทมุทุ)
๒. เป็นที่ตั้งแห่งความงาม (สุภนิยํ)
๓. มีกลิ่นหอม (สุคนฺธํ)
๔. เป็นที่รักแห่งชนทั้งหลาย (ปิยํ)
๕. ชนทั้งหลายปรารถนา (ปตฺถิตํ)
๖. ชนทั้งหลายสรรเสริญ (ปสฏฺฐํ)
๗. น้ำหรือเปือกตมไม่สามารถซึมซาบเปียกปนอยู่ได้ (ชลกทฺทมอนุปลิตฺตํ)
๘. ประดับด้วยใบอ่อนเกสรและกลีบ (อนุปตฺตเกสรกณฺณิกาทิ มณฺฑิตํ)
๙. มีหมู่แห่งแมลงภู่และแมลงผึ้งบินโฉบฉาบคาบเกสร (ภมรคณเสวิตํ)
๑๐. เจริญขึ้นแต่ในน้ำที่สะอาด (สีตลสลิลสํวทฺธํ)

มีคำบรรยายสรรเสริญสาวกของพระพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัว ว่า

ในกองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่
ยังมีดอกบัวมีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด
ในหมู่ปุถุชนผู้มืดมนผู้เปรียบได้กับกองขยะ
ก็ยังมีสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น

ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๕๘-๕๙/๔๕

ในตอนต่อไป การไหว้หรือการประนมมือ ที่เห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
ดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย โปรดติดตามครับ

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/23/15023/blog_entry1/blog/2009-08-20/comment/486191_images/59_1250755251.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 13:19:23


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/856/24856/images/lotus3.jpg)


ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สี่ ครับ
นำมาฝากในเรื่องว่าด้วยดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย

พุทธศาสนิกชนนิยมใช้สิ่งสักการะอันแสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
และความปราศจากมลทิน ดังนั้น เมื่อถือกันว่า
ดอกบัวเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์แล้ว พุทธศาสนิกชนก็นิยมใช้ดอกบัว
เป็นเครื่องบูชาพระโดยเฉพาะดอกบัวหลวง

ในอดีตพระเถระบางรูปได้เคยนำดอกบัวไปบูชาพระพุทธเจ้า และได้รับอานิสงส์
อันเลิศเพราะการบูชาเช่นนั้น และดอกบัวที่ใช้บูชานั้นมีทั้งชนิดบัวหลวงและบัวสาย

ในเอกปทุมิยเถราปทาน มีคำบรรยายว่า ครั้งเมื่อพระเอกปทุมิยเถระมีกำเนิดเป็นพญาหงส์
ในขณะที่กำลังเล่นน้ำในสระแห่งหนึ่ง ก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จผ่านมาทางนั้น เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาเป็นนายกของโลก
“.....จึงหักดอกบัวหลวงอันเป็นที่รื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว ข้าพเจ้ามีใจผ่องใส
ใช้จงอยปากคาบโยนขึ้นไปในท้องฟ้า ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด”

อานิสงส์ที่เกิดขึ้น เพราะการใช้ดอกบัวที่เกิดแก่พระเอกปทุมิเถระ
เป็นพุทธบูชาครั้งนี้ มีคำบรรยายว่า ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งพุทธบูชาพระพุทธเจ้าคุณวิเศษ เหล่านี้คือ
ปฏิสัมภิทา ๔  วิโมกข์ ๘  และอภิญญา ๖


(http://www.thummada.com/public_html/images/lotus_51.jpg)




หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 14:08:32


(http://fwmail.teenee.com/etc/img0/m149148.jpg)


พระนางยโสธรา เมื่อครั้งที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในเมืองอมรวดี
นางมีชื่อว่าสุมิตตา นางได้ถือดอกบัว ๘ กำเพื่อบูชาพระศาสดา ขณะรับเสด็จ
พระพุทธเจ้าทีปังกรพร้อมด้วยฤาษีสุเมธ
ฤาษีสุเมธได้อุทิศตนนอนทอดเป็นสะพาน เพื่อให้พระพุทธเจ้าทีปังกรและพุทธสาวก

(http://www.kaweeclub.com/uppic/ii/images122.jpg) (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSIrkFYJqxQvaneP-6CcJKtORwcuVnw_CgBh-ia5xEDeDoYulnPgw)

เหยียบผ่าน นางได้กล่าวแก่ฤาษีสุเมธว่า “ดอกบัว ๓ กำของหม่อมฉัน กับดอกบัว ๕ กำ
ของท่านนั้น จงมีผลเสมอกัน เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณของท่าน”
ดังนั้นแล้ว ฤาษีสุเมธจึงได้ถวายดอกบัว ๕ กำและตั้งจิตปรารถนาให้ได้บรรลุโพธิญาณ

ส่วนสุมิตตาได้ถวายดอกบัว ๓ กำแด่พระพุทธเจ้าทีปังกรด้วยจิตที่เป็นมหากุศล
จากการถวายดอกบัวในครั้งนั้น มีคำบรรยายอานิสงส์ที่นางได้รับว่า อุบาสิกานี้
จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีการกระทำเสมอกัน มีปกติทำร่วมกัน จักเป็นที่น่ารักเพราะ
การกระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน จักเป็นหญิงน่าดูน่าชม
น่ารักยิ่ง น่าชอบใจ มีวาจาอ่อนหวาน มีฤทธิ์ เป็นธรรมทายาทของท่าน .....

เรื่องราวเหล่านี้เป็นหลักฐานแสดงถึงค่านิยมของพุทธศาสนิกชน
ในการถือว่าดอกบัวว่าเป็นดอกไม้ที่มีคุณลักษณะเหมาะแก่การนำมาบูชาพระ


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ8uZsFOtqSf1qs7jwOIQZhtzB-m67zEEbbHT6gKG0Ect8ly5I&t=1&usg=__fuG7Xj8jxzEGdCSqqU5mf_r6Y48=)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 14:15:52


(http://uppic.net/full/4da59e8ec80904f12a26cdd3bb8da914)


ดอกบัวเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งพระตีปทุมิยเถระ ยังเป็นช่างดอกไม้ ได้นำดอกปทุมมา ๓ ดอก ด้วยหวังจะถวายพระราชา แต่ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ในละแวกตลาด ก็เกิดความคิดว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยดอกไม้เหล่านี้เมื่อตนนำไปบำรุงพระราชา ตนอาจได้รับบ้านหรือคามเขต หรือทรัพย์ ๑,๐๐๐ เป็นการตอบแทนเท่านั้น แต่ถ้านำดอกบัวนี้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ทรงฝึกคนที่มิได้ฝึกตนผู้แกล้วกล้า พระองค์ย่อมทรงนำสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวงผู้เป็นนาถะของโลกแล้ว ตนจักได้ทรัพย์ที่ยั่งยืน

                              (http://site.redlotusreiki.com/images/red_lotus.jpg)

มีคำบรรยายว่า ข้าพเจ้าเมื่อคิดอย่างนี้แล้ว จึงทำจิตใจของตนให้เลื่อมใส จับดอกบัวแดง ๓ ดอกโยนขึ้นไปในอากาศ ในครั้งนั้นพอข้าพเจ้าโยนขึ้นไป ดอกบัวแดงเหล่านั้นก็แผ่ (ขยายกลีบ) อยู่ในอากาศ ขั้วชี้ขึ้นข้างบน ดอกย้อยลงข้างล่างกั้นอยู่เหนือพระเศียรในอากาศ

มีคำบรรยายอานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายดอกบัวมีว่า นางเทพอัปสรทั้งหลายใช้กลีบบัวปูลาดวิมานนี้แล้วจักนุ่งห่มกลีบบัว นอนกลิ้งเกลือกอยู่ภายในวิมานที่ประเสริฐซึ่งลาดด้วยกลีบบัวดอกบัวแดงเหล่านั้น แวดล้อมวิมาน
ส่งกลิ่นหอมอบอวลด้วยกลิ่นทิพย์ฟุ้งไปในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ


(http://img156.imageshack.us/img156/9935/83348843.jpg)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 14:24:56


(http://www.tourthai.com/gallery/images027/lotus1.jpg)


ไม่เพียงแต่ดอกบัวเท่านั้นที่ศาสนิกชนนำไปบูชาพระ แม้แต่เมล็ดบัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอกบัว ก็มีผู้นำไปใช้เป็นพุทธบูชาด้วยเช่นกัน
ในผลทายกเถราปทาน มีเรื่องว่า พระผลทายกเถระผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ศึกษาจบศิลปศาสตร์ของพราหมณ์คือไตรเพท เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ เกิดจิตเลื่อมใส ได้ในพระพุทธองค์ ถวายเมล็ดบัวชนิดอร่อยพร้อมกับน้ำผึ้ง แล้วนำไปคล้องไว้ที่ปลายไม้ มีคำบรรยายว่า

ข้าพเจ้าคงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท อยู่ในอาศรมที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ เครื่องบูชาไฟและเมล็ดบัวขาวของข้าพเจ้ามีอยู่ ของทั้งหมดข้าพเจ้าใส่ไว้ในกระจาดแล้ว คล้องไว้ที่ยอดไม้ พระผู้มีพระภาค พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระเสวยเมล็ดบัวในขณะที่พระผลทายกเถระกำลังมองดู เพื่อทำให้พระเถระเกิดความโสมนัส และได้รับอานิสงส์แห่งการถวายเมล็ดบัว มีคำบรรยายว่า

ด้วยกุศลมูลนั้น ข้าพเจ้าได้เสวยสมบัติ ละความชนะและความแพ้ได้ บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหวในกัปที่ ๗๐๐ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุมงคละ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

ขุ.อป. (บาลี) ๓๒/๒๒/๒๒๐


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-36.jpg)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 14:34:23

(http://gotoknow.org/file/islandpk/lotus2.jpg)


จากการศึกษาพบว่า แม้แต่เหง้าบัวและรากบัว ก็มีผู้ใช้ถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุก ๆ ส่วนของดอกบัวนั้น มีคุณค่าที่บุคคลจะนำไปบูชาพระพุทธเจ้า มีคำบรรยายอานิสงส์การถวายเหง้าบัวและรากบัวของภิสมุฬาลทายกเถระว่า

ข้าพเจ้าไม่รู้จักความสุขที่เสมอด้วยความสุขนั้น
และความสุขที่ยิ่งไปกว่าความสุขนั้นแต่ที่ไหนเลย
อัตภาพสุดท้ายของข้าพเจ้ากำลังเป็นไปอยู่
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ .....
..... เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัวและรากบัว

อีกเรื่องหนึ่งครับ เมื่อพระมหาโมคคัลลานะจาริกไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านได้พบเทพธิดา ๔ องค์เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมาน เทพธิดาทั้ง ๔ มีวรรณะงาม เปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดาวประกายพรึก พระมหาโมคคัลลานะจึงได้ถามถึงเหตุที่ทำให้นางมีวรรณะงามเช่นนั้น เทพธิดาตนหนึ่ง “มีวรรณะดังปทุม มีตากลมดังกลีบปทุม”

                  (http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/%B4%CD%A1%BA%D1%C7%20215.jpg)

ตอบว่า นางได้เคยจัดอาสนะไว้เหนือดอกปทุมทั้งหลาย ซึ่งงดงามด้วยกลีบช่อและเกสรของดอกปทุมที่แย้มบานแล้วปูลาดด้วยผ้าขาวใหม่ ๆ นางได้วางดอกปทุม ๔ ดอก และพุ่มดอกไม้เหนือเท้าทั้ง ๔ ของอาสนะ ถวายพระเถระ เมื่อพระเถระนั่งเหนืออาสนะแล้ว นางบูชาพระเถระด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร โดยการโรยรอบ ๆ อาสนะ และตั้งจิตปรารถนาว่า “ด้วยอานุภาพบุญของดิฉันนี้ ขอจงมีสมบัติทิพย์ที่งดงามด้วยบัลลังก์เรือนยอดอันเป็นทิพย์ ในความเป็นไปทุกอย่าง ขอจงอย่าขาดดอกปทุมเลย”


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/10/Y7111061/Y7111061-1.jpg)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 14:58:27


(http://images.palungjit.com/attachments/19412d1240991789-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-m149075-jpg)


นอกจากมีการบรรยายถึงการใช้ดอกบัวเป็นพุทธบูชาและสังฆบูชาแล้ว
จากการศึกษาได้พบว่า บุคคลยังใช้ดอกบัวไปเป็นเครื่องสักการะกราบไหว้ผู้ที่ตนเคารพ

เช่นบิดามารดา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตน ดังที่พระกุสุมาสนียเถรีกล่าวว่า

ข้าพเจ้าวางดอกอุบล ๕ กำไว้บนหลังของข้าพเจ้าประสงค์จะบูชายัญ
ในสมาคมบิดามารดา
.....ข้าพเจ้าปูลาดอาสนะแล้วลาดดอกอุบลนั้นนิมนต์พระมหามุนีนำเสด็จไปยังเรือนของตน....
.....พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว
จึงถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายดอกไม้


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-48.jpg)



หัวข้อ: Re: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: คนดีศรีอยุธยา2 ที่ 17 มกราคม 2554 15:14:00
ภาพสวยมาก


หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 มกราคม 2554 15:33:43

(http://www.bloggang.com/data/v/visutthisiri/picture/1293933466.jpg)

มีคำบรรยายว่า แม้สัตว์บางชนิด เช่น " ช้าง " ยังใช้ " เกสรดอกบัว "
...... โปรยบูชาแด่ ......
" พระปัจเจกพุทธเจ้า" ดังที่ " พระปทุมเกสริยเถระ " กล่าวว่า



(http://4.bp.blogspot.com/_gEV-UK1OrBM/S77giUky8yI/AAAAAAAAAWg/okaGn65Npr4/s320/Untitled-5.jpg)


เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นช้างพลายตระกูลมาตังคะ
อาศัยอยู่ใกล้ที่พักหมู่ฤาษี (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า)
ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ จึงได้โปรยเกสรดอกบัวลงบูชา

อานิสงส์ที่ช้างพลายมาตังคะ ได้รับจากการใช้เกสรดอกบัวโปรยบูชา
แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยจิตที่เป็นกุศล
คือ บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง อานิสงส์จากการ
โปรยเกสรดอกบัวบูชาพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย


(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-47.jpg)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 24 มิถุนายน 2554 08:42:48


(http://farm4.static.flickr.com/3044/2640159755_c13d8bfabe_m.jpg)  (http://farm3.static.flickr.com/2080/2237672760_24ee7dfdd8_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2259/2236807603_64743f2343_m.jpg)  (http://farm4.static.flickr.com/3062/2612200898_95dfd8b839_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2313/2188884966_07399552c2_m.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3100/2629595059_08872f5372_m.jpg)  (http://farm4.static.flickr.com/3166/2637418867_4393843220_m.jpg)

(http://lotusflowerimages.com/Lotus_Flower_IMG_1724.jpg)

(http://lotusflowerimages.com/Lotus_Flower_IMGP7600-650.jpg)

(http://lotusflowerimages.com/Lotus-Flower-DSCN1628.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3054/2587898026_b9a23930dc.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3047/2575143897_66a8e69527.jpg)



(http://lotusflowerimages.com/Black_Lotus_Flower_IMGP7691-700.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2259/2236807603_64743f2343.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2151/2096461829_5b575de37f_o.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2285/2234324882_1051c82432_o.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2313/2188884966_07399552c2.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2153/2232440086_8e2cb124da.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3173/2638249870_8e79c92b2e.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2799/5846171083_c56e8fafe8.jpg)

(http://farm5.static.flickr.com/4135/4817452232_d7a5a44ace.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3177/5838562462_df6fcb0c88.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2080/2237672760_24ee7dfdd8.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3001/2662135066_f98f0f8633.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3132/2637419393_815607c0ff.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3062/2612200898_95dfd8b839.jpg)

(http://lotusflowerimages.com/Lotus_Flower_IMGP7706-250x375.jpg)

http://www.flickr.com/photos/21644167@N04/tags/hindu/page24/ (http://www.flickr.com/photos/21644167@N04/tags/hindu/page24/)
 (o0!)  http://lotusflowerimages.com/index.html (http://lotusflowerimages.com/index.html)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 24 มิถุนายน 2554 14:49:20


(http://farm4.static.flickr.com/3028/2898714342_e993df3f4d_m.jpg)  (http://farm3.static.flickr.com/2634/3798061113_229f0ebe0c_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2088/2288854833_5c74bf91a5_m.jpg)  (http://farm5.static.flickr.com/4102/4792481298_746a6c9fe6_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2153/2232440086_8e2cb124da_m.jpg)  (http://farm4.static.flickr.com/3063/2559467926_8b89d1a818_m.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3047/2575143897_66a8e69527_m.jpg)  (http://farm4.static.flickr.com/3114/2616891635_6964495d43_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2689/4335305312_312d8548ba_m.jpg)  (http://farm5.static.flickr.com/4005/4324526280_cb7f3886e9_m.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3034/2711611061_520d2841e2_m.jpg)  (http://farm4.static.flickr.com/3174/2723253093_8d971e9417_m.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2634/3798061113_229f0ebe0c.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3076/2629593829_c1c80457a0.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3174/2723253093_8d971e9417.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3206/2616890235_2acef7b12b.jpg)

(http://farm5.static.flickr.com/4005/4324526280_cb7f3886e9.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3091/2616890085_18394c6d1d.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3034/2711611061_520d2841e2.jpg)

(http://farm5.static.flickr.com/4102/4792481298_746a6c9fe6.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3063/2559467926_8b89d1a818.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3013/2617714186_f371eb8b3c.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3114/2616891635_6964495d43.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2088/2288854833_5c74bf91a5.jpg)

(http://farm3.static.flickr.com/2689/4335305312_312d8548ba.jpg)

(http://farm4.static.flickr.com/3028/2898714342_e993df3f4d.jpg)

(http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/cm99/picture/00024_5.jpg)

 (o0!)  http://www.flickr.com/photos/21644167@N04/tags/lotusflowers/page11/ (http://www.flickr.com/photos/21644167@N04/tags/lotusflowers/page11/)



หัวข้อ: Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 มิถุนายน 2556 12:58:46


(https://lh4.googleusercontent.com/-O4YdyavLo7Q/UaUz_7XRdCI/AAAAAAAAsv0/G-XsnP_zGI8/w506-h662-o/166709_598288756867641_312951929_n.jpg)

(https://lh6.googleusercontent.com/-b967Ml886_o/Ub_2jTmeVcI/AAAAAAAAYEg/hnbNvxjf9t0/w506-h337-o/IMG_9911.JPG)

(https://lh3.googleusercontent.com/-sYHeb7uzgCI/UcJY4WQhAVI/AAAAAAAAYZ0/Ej7LmkNTgnM/w701-h447-no/IMG_9870.JPG)

(https://lh6.googleusercontent.com/-1N3XgweDL00/UcJb36pHpFI/AAAAAAAAYao/-WeXmv8vfwU/w606-h429-o/IMG_9811.JPG)

(https://lh3.googleusercontent.com/-28h6TahwVfo/UbvMZIDRokI/AAAAAAAAka0/dR90FwSZccA/w480-h326-no/285722_157183784425052_216028294_n.jpg)

(https://lh6.googleusercontent.com/-ITznWMju67g/UcDlJfz73gI/AAAAAAAADEI/J3eL9t4oUdM/w606-h425-o/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87.JPG)

(https://lh5.googleusercontent.com/-m5T_Ct3RWxw/Ua_Gt1OfZYI/AAAAAAAAteY/QoBi5YE-wO0/w706-h481-o/316028_593305894014396_1750092164_n.jpg)

(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/c0.0.403.403/p403x403/534664_509487749071298_1638428974_n.jpg)

(http://www.lewisginter.org/fetch_images_guts.php?loc=../uploads/4df911e4a3fd4picture%20081%20copy.jpg&resize=682x)

(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c0.0.403.403/p403x403/526201_508678225818917_521125730_n.jpg)

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/482742_314731638652817_1146472137_n.jpg)

(https://lh5.googleusercontent.com/-tMUvborI-hc/Ua-4hJ7u1wI/AAAAAAAAY-E/IFxFx4t8YJ0/s606-o/tumblr_mn2tpyMMR91qb3v7ho1_1280.jpg-duongquocdinh.jpg)