[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 13:17:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม. ชี้กรณีประกันภัยโรคโควิด 19 ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แนะเยียวยาคนไม่ได้ค่าสินไ  (อ่าน 39 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มีนาคม 2567 23:38:09 »

กสม. ชี้กรณีประกันภัยโรคโควิด 19 ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แนะเยียวยาคนไม่ได้ค่าสินไหม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-15 19:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพ: กสม.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. ชี้กรณีประกันภัยโรคโควิด 19 ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แนะเยียวยาคนไม่ได้ค่าสินไหม</p>
<p>15 มี.ค. 2567 วันนี้ (15 มี.ค.) ทีมสื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แจ้งต่อผู้สื่อข่าวว่า สุภัทรา  นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์กรณีประกันภัยโรคโควิด 19 ที่ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค </p>
<p>สุภัทรา  เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 และเดือนมกราคม 2566 ระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เห็นชอบให้บริษัทประกันวินาศภัยขายกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ และปล่อยให้บริษัทประกันวินาศภัย 5 แห่ง ขายกรมธรรม์จนประสบปัญหาการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ต่อมาบริษัทประกันวินาศภัย 4 แห่ง ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ คปภ. จึงได้แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) เป็นผู้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยของบริษัททั้งสี่ ผู้ร้องเห็นว่า คปภ. คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ กปว. คณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสมและเพียงพอเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค เมื่อผู้ร้องติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้ยื่นเอกสารเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยประเภท “เจอจ่ายจบ” ผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทประกันวินาศภัย 4 แห่งที่ได้ซื้อกรมธรรม์ไว้ ซึ่งต่อมาผู้ร้องต้องยื่นคำทวงหนี้ค่าสินไหมทดแทนต่อ กปว. แทนนั้น ผู้ร้องได้สอบถามความคืบหน้าไปยัง กปว. หลายครั้งแต่ไม่เคยได้รับแจ้ง และเห็นว่าการชำระหนี้คืนเป็นไปด้วยความล่าช้า จึงขอให้ตรวจสอบ</p>
<p>กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รับรองให้บุคคลมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ เสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว และรับรองสิทธิของผู้บริโภค โดยรัฐต้องจัดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค</p>
<p>จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปี 2565 บริษัทประกันวินาศภัย 36 แห่ง ได้ขายกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมประมาณ 50 ล้านฉบับ โดยมี คปภ. เป็นผู้ให้ความเห็นชอบแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัย ภายหลังปรากฏว่า มีผู้เอาประกันภัยจำนวนมากไม่ได้รับความสะดวกในการขอค่าสินไหมทดแทน มีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือบอกเลิกสัญญากรณีตามคำร้องนี้เมื่อบริษัทประกันวินาศภัย 4 แห่ง จาก 5 แห่ง ไม่สามารถชำระค่าสินไหมทดแทนได้และถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ โดย คปภ. ได้แต่งตั้ง กปว. เป็นผู้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แทนนั้น ปรากฏว่า มีผู้มายื่นคำทวงหนี้จาก กปว. กว่า 683,000 ราย รวมเป็นเงินมากกว่า 60,000 ล้านบาท แต่เงินกองทุนของ กปว. มีไม่เพียงพอ และมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถกู้เงินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ ส่งผลให้อาจต้องใช้เวลาถึง 40 ปี จึงจะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยทุกรายได้ ขณะที่บริษัทประกันวินาศภัยแห่งที่ 5 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ มีคำสั่งให้บริษัทประกันวินาศภัยแห่งที่ 5 หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ดี การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากผู้เอาประกันภัยยื่นเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง บริษัทยังสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้</p>
<p>จากข้อเท็จจริงดังกล่าว มีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 กรณีที่บริษัทประกันวินาศภัย 5 แห่ง เสนอขายกรมธรรม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เห็นว่า บริษัทประกันวินาศภัยย่อมเห็นความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ แต่ยังคงขายกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และประกอบกิจการโดยไม่มีมาตรการรองรับความเสี่ยงหรือประเมินความสามารถในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของตน จนไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย จึงเป็นการดำเนินการที่กระทบสิทธิของผู้บริโภค อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทประกันวินาศภัย 4 แห่ง ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ กสม. จึงไม่อาจมีข้อเสนอแนะไปยังบริษัททั้งสี่ได้ แต่เห็นควรมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบริษัทประกันวินาศภัยแห่งที่ 5</p>
<p>ประเด็นที่ 2 กรณีที่ คปภ. และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้ความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ไม่มีการกำกับดูแลบริษัทประกันวินาศภัยอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้บริษัทประกันวินาศภัย 4 แห่ง ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับความสะดวกในการยื่นเรื่องขอรับค่าสินไหมทดแทนและติดตามเรื่อง เป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ประเด็นที่ 3 กรณีที่กองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) และคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัย (ผู้ถูกร้องที่ 9) ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยล่าช้า และไม่แจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการ เห็นว่า ผู้ถูกร้องทั้งสองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัย เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รับรองไว้ การที่ กปว. ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยล่าช้าและไม่แจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ผู้ร้องทราบ จึงเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 จึงมีข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า</p>
<p>(1) ให้บริษัทประกันวินาศภัยแห่งที่ 5 เร่งชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย และให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะนายทะเบียนกำกับดูแลการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากบริษัทไม่สามารถชำระค่าสินไหมทดแทนได้ ให้ คปภ. ร่วมกับคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจอย่างเคร่งครัด</p>
<p>(2) ให้ คปภ. และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เร่งแก้ไขพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อกำกับดูแลและเข้าแก้ไขปัญหาการดำเนินกิจการของบริษัทประกันวินาศภัยได้อย่างทันท่วงที โดยกำหนดแนวทางในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยที่ร้องเรียนเกี่ยวกับการยื่นขอรับชำระค่าสินไหมทดแทนและมีกระบวนการติดตามเรื่องที่มีประสิทธิภาพ</p>
<p>(3) ให้กองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) และคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัย เร่งกู้เงินหรือจัดหาเงินจากสถาบันการเงินตามหน้าที่และอำนาจ เพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย และหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความเป็นไปได้ในการออกตราสารหนี้และกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการเพิ่มอัตราเงินสมทบจากการขายเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย</p>
<p>(4) ให้กระทรวงการคลังและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเร่งพิจารณาจัดหางบประมาณ แหล่งเงินทุน หรือแนวทางการช่วยเหลืออื่น เพื่อให้ กปว. มีเงินเพียงพอสำหรับนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัย</p>
<p>นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ไปยัง คปภ. และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้กำหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยขึ้นอีกในอนาคต และกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยจัดทำสรุปรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายด้วยถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย รวมทั้ง แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงบการเงินและรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย ให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้ ให้หารือร่วมกับ กปว. เพื่อกำหนดประเภทของเอกสารที่ คปภ. ต้องส่งให้ กปว.โดยเร็วหลังจากมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่อให้ กปว. ใช้ประกอบการพิจารณาชำระบัญชีและชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด</p>
<p>ทั้งนี้ ยังมีข้อเสนอแนะให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ปฏิบัติตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะการเยียวยาผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะเดียวกันขึ้นอีกในอนาคต</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108441
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 422 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 433 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 331 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 337 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 251 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.163 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 17:36:25