[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 08:59:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แก้ปัญหาสังคมสูงวัย ทำไมต้องให้สัญชาติ ? คุยกับ อดิศร เกิดมงคล  (อ่าน 54 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 มกราคม 2567 16:23:04 »

แก้ปัญหาสังคมสูงวัย ทำไมต้องให้สัญชาติ ? คุยกับ อดิศร เกิดมงคล
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-01-16 14:58</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สัมภาษณ์: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p>
<p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คุยเรื่องปัญหาเด็กเกิดในไทยแต่ไม่ได้สัญชาติ สู่ข้อเสนอให้สัญชาติเพื่อสร้างประชากรคุณภาพ แก้ปัญหาสังคมสูงวัย-ขาดแคลนแรงงาน กับ อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เด็กเกิดในไทยแต่ไม่ได้มีสัญชาติไทย แบ่งได้กี่กลุ่ม</span></h2>
<p>เด็กเกิดในไทยแต่ไม่ได้สัญชาติ ส่วนตัวคิดว่าแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ</p>
<ol>
<li>กลุ่มที่พ่อแม่มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มที่ได้รับการสำรวจตามนโยบายของประเทศไทยไปแล้ว</li>
</ol>
<p>ในเชิงกฎหมายจะได้สัญชาติง่ายหน่อย เพราะสามารถใช้หลักการที่พ่อแม่อยู่ประเทศไทยมาขอสัญชาติได้เลย แต่เข้าใจว่าปัญหาที่ติดขัดกันอยู่คือเรื่องขั้นตอนและกระบวนการในการตรวจสอบของรัฐที่มีความล่าช้าค่อนข้างมาก</p>
<p>2. ลูกของคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกฎหมาย </p>
<p>โดยหลักกฎหมายจะขอสัญชาติค่อนข้างยากกว่ากลุ่มแรกเล็กน้อย เพราะมีเกณฑ์ว่าจะต้องจบปริญญาตรีก่อนจึงจะสามารถยื่นขอสัญชาติได้ แต่จะได้สัญชาติหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง</p>
<p>3. ลูกของแรงงานข้ามชาติ</p>
<p>กลุ่มนี้มีเงื่อนไขคล้ายกับกลุ่มที่ 2 คือต้องจบปริญญาตรีก่อนจึงจะมีสิทธิยื่นขอสัญชาติได้ </p>
<p>4. กลุ่มที่พ่อแม่ไม่มีเอกสาร หรือเป็นกลุ่มที่รัฐมีมาตรการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น ผู้ลี้ภัย</p>
<p>กลุ่มนี้มีเงื่อนไขคล้ายกับกลุ่มที่ 2 และ 3 คือต้องจบปริญญาตรีก่อนจึงจะมีสิทธิยื่นขอสัญชาติได้ แต่ข้อจำกัดของกลุ่มนี้คือรัฐพร้อมจะให้สัญชาติแก่พวกเขาหรือไม่ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมการให้สัญชาติจึงดีกว่าไม่ให้</span></h2>
<p>เนื่องจากสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้วัยไปแล้ว มีการคาดการณ์กันว่าตัวเลขของคนไทย-กำลังแรงงานไทย จะหายไปประมาณ 6 ล้านกว่าคนในปี 2583 แต่ต่อมามีการคาดการณ์ว่า อีกสัก 10-15 ปีสถานการณ์นี้ก็น่าจะเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับประเทศไทยมีอัตราการเกิดที่ต่ำกว่าอัตราการตายมาตั้งแต่ปี 2564 หรือ 3 มาปีแล้ว ฉะนั้น การที่จะมีกำลังแรงงานเพื่อมาดูแลคนสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นประเด็นใหญ่  </p>
<p>เราจึงมองไปที่กลุ่มคนที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย มีชีวิตที่ผูกพันกับประเทศไทยไปแล้ว เวลาไปถามเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยส่วนใหญ่ว่าตอนนี้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนอะไร เด็กจะบอกว่าตัวเองเป็นคนไทยหมด นี่จึงเป็นการลงทุนที่ง่ายและเร็วกว่ารูปแบบอื่น</p>
<p>ทางเลือกมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่</p>
<ol>
<li>นำแรงงานข้ามชาติเข้ามา ให้สัญชาติไทย ให้สิทธิอยู่อาศัยในประเทศไทย</li>
<li>กระตุ้นการเกิด</li>
<li>ให้สัญชาติคนที่อยู่ในประเทศไทยมานานแล้วแต่ไม่มีสัญชาติไทย </li>
</ol>
<h2><span style="color:#2980b9;">อุปสรรคที่เด็กไม่มีสัญชาติแต่ละกลุ่มต้องเจอมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร</span></h2>
<p>4 กลุ่มจะมีอุปสรรคที่ต่างกันพอสมควร</p>
<p>เอากลุ่มแรกก่อน กลุ่มที่เราคิดว่าน่าจะง่ายกว่ากลุ่มอื่น คือกลุ่มที่พ่อแม่มีหลักฐานว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่ผ่านการสำรวจจากประเทศไทยแล้ว ประเด็นที่เป็นอุปสรรคหลักของคนกลุ่มนี้คือเรื่องระเบียบและขั้นตอนของรัฐ เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการขาดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการยื่นขอสัญชาติ เราเจอเคยเคสที่ยื่นขอสัญชาติเป็นปีแล้ว แต่พบว่าตัวพื้นที่ไม่ได้ส่งเรื่องเข้าไปที่ส่วนกลาง </p>
<p>ข้อเสนอจากหลายส่วนก็คือ การทำให้ขั้นตอนการขอสัญชาติจบที่จังหวัดนั้นๆ ได้หรือไม่ และการให้มีระบบติดตามเรื่อง ก็จะมีเว็บไซต์ให้เข้าไปติดตามได้ว่ายื่นเรื่องถึงขั้นไหนแล้ว ซึ่งมันก็ยังไม่ได้แก้ปัญหามากนักในทางปฏิบัติในพื้นที่ เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน งานจึงไปกองอยู่ที่งานทะเบียนราษฎร ประกอบกับพอต้องมีเรื่องการให้สัญชาติก็กลายเป็นมีประเด็นเรื่องความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้กระบวนการล่าช้า หรือถ้าเป็นในเคสผู้ใหญ่ที่ยื่นขอสัญชาติก็จะมีกระบวนการตรวจประวัติอาชญากรรมเพิ่มเข้ามาอีก</p>
<p>จากช่องโหว่เหล่านี้ เราจึงเสนอให้มีการทำ One Stop Service สำหรับการยื่นขอสัญชาติโดยเฉพาะ หากว่ามีหลักฐานที่ต้องขอในด้านงานทะเบียนก็สามารถดึงหลักฐานจากระบบทะเบียนออนไลน์มาได้เลย</p>
<p>สำหรับลูกของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พ่อแม่ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับประเทศไทยโดยตรง หรือกลุ่มผู้ลี้ภัย จะมีความยากตรงที่เงื่อนไขที่ว่าต้องจบปริญญาตรีก่อนจึงจะยื่นขอสัญชาติได้</p>
<p>ในบางกรณี พบปัญหาทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐต่อบุคคลไร้สัญชาติ หรือ การใช้ดุลยพินิจเกินขอบเขตของเงื่อนไขทางกฎหมาย ทำให้ ณ ปัจจุบันแม้จะมีนโยบายตามกฎหมายออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ในระดับพื้นที่ก็ยังปรากฏเด็กไร้สัญชาติที่ยังเข้าไม่ถึง หรือหากเข้าถึงก็เป็นไปอย่างล่าช้า</p>
<p>ที่ผ่านมาเคสที่เราพบบ่อยคือเรื่อง “การออกหลักฐานการเกิด” กฎหมายระบุว่าถ้าเด็กเกิดที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิดเพื่อยืนยันว่าเกิดที่ดังกล่าวจริง ที่เราเจอคือพ่อแม่ไม่มีเอกสาร โรงพยาบาลก็ไม่ออกใบรับรองการเกิดให้ ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่ที่โรงพยาบาลต้องทำ ไม่ว่าพ่อแม่จะมีเอกสารหรือไม่ก็ตาม </p>
<p>พอไปถึงอำเภอก็เจอปัญหาใหม่ บางอำเภอก็บอกว่าให้ไปหาทะเบียนบ้านของคนไทย หรือทะเบียนบ้านนายจ้างมาแสดงเพื่อจะยืนยันว่าคนไทยจะรับเด็กคนนี้เข้าในระบบทะเบียนบ้าน แม้ว่าตัวกฎหมายจะมีช่องทางให้ขึ้นทะเบียนประวัติในระบบทะเบียนบ้านกลางก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ก็ยังยืนยันว่าต้องมีทะเบียนบ้านคนไทยอยู่ เรื่องหลักฐานการอยู่ในไทยจึงเป็นอุปสรรคแรก</p>
<p>ต่อมาคือเรื่องการเข้าถึงการศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเอกสารและไม่มีสัญชาติไทย แม้ว่ากฎหมายไทยจะระบุให้รับเด็กทุกคนเข้าเรียนไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ แต่กระบวนการรับเด็กเข้าเรียนก็มีความยากพอสมควร  เราพบว่าเด็กที่เรียนจบในระดับประถมหรือมัธยมต้นไปแล้ว โอกาสที่พวกเขาจะเรียนต่อจนจบปริญญาตรีเริ่มมีน้อยลง เห็นสัดส่วนการออกนอกระบบการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งเราเข้าใจว่ามันเกิดจาก 2 ส่วน</p>
<p>หนึ่ง: ฐานะทางเศรษฐกิจ ที่เมื่อพ้นการศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้วเขาก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด</p>
<p>สอง: ความเข้าใจผิดของสถานศึกษาที่มองว่าเด็กไม่มีสัญชาติไทยจะเรียนต่อไม่ได้ หรือเรียนต่อก็ทำงานไม่ได้ ถูกกีดกันออกจากระบบ</p>
<p>สาม: ความยากลำบากของเด็กในเรื่องการเดินทาง ไปสอบ หรือสมัครเรียน</p>
<p>ถ้าไม่มีหลักฐานการเกิดตั้งแต่แรกก็จะไม่สามารถนำมาแสดงตัวว่าตัวเองเกิดที่ไทยได้ หรือว่าถ้าไม่สามารถเรียนจนจบปริญญาตรีได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญในแง่ของการยื่นขอสัญชาติ</p>
<p>ประเด็นสุดท้ายคือความเข้าใจและทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ไทยแต่แรก ดังนั้นถ้าจะเป็นไทยก็ต้องพิสูจน์กันมากหน่อย หรือความคิดที่ว่าถ้าพ่อแม่เป็นคนต่างชาติ ลูกต้องมีสัญชาติตามพ่อแม่ ซึ่งจริงๆ มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป ทำให้มีปัญหาพอสมควรในเรื่องการให้สัญชาติเด็กกลุ่มนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เกณฑ์จบปริญญาตรี ปรับให้ยืดหยุ่นกว่านี้ได้ไหม   </span></h2>
<p>ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ตนมองว่าการจะแก้ปัญหาเรื่องสัญชาติได้ต้องอาศัยเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจน เช่น ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะยกเว้นหรือใช้บางมาตราของกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งหลังจากที่ออกมาตรการมาแล้ว ในระดับการปฏิบัติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง</p>
<p>การให้สัญชาติไทยมี 2 แบบ </p>
<p>1. ยื่นขอสัญชาติตามปกติ ซึ่งกระบวนการยุ่งยากและใช้เวลานาน</p>
<p>2. ให้สัญชาติตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ชนกลุ่มน้อย ที่จะง่ายกว่าข้อแรก</p>
<p>ถามว่าในทางกฎหมายมันให้สัญชาติได้เลยไหม ถือว่าให้ได้ค่อนข้างง่าย แต่ปัญหาหลักคือทัศนคติที่เรายังไปไม่พ้นเรื่องความมั่นคงแบบเดิมที่ยังมองว่าประเทศไทยไม่ควรให้สัญชาติไทยง่าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ถ้าลูกแรงงานข้ามชาติเรียน กศน. จะยื่นขอสัญชาติได้ไหม</span></h2>
<p>ได้แต่ต้องจบปริญญาตรี ต้องเรียน กศน.ให้จบปริญญาตรี</p>
<p>จริงๆ การเรียน กศน. สามารถไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยเปิดได้ เช่น ม.รามคำแหง, ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ได้ ในกฎหมายก็ไม่ได้ระบุว่าจบ ม.รามคำแหงแล้วะขอสัญชาติไทยไม่ได้ ยังได้อยู่ เพียงแต่ว่าปัญหาจริงๆ มันคือความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปมากกว่า เวลาเจอเคสอย่างนี้เขาไม่ค่อยอยากจะรับเด็กเข้าเรียน หรือว่ารับก็จะตีความเป็น “นักศึกษาต่างชาติ” ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนสูงกว่าปกติเป็นเท่าตัว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีตัวอย่างต่างประเทศที่น่าสนใจไหม</span></h2>
<p>ภาวะการเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นตัวเร่งให้หลายประเทศเริ่มปรับตัว นานแล้วที่หลายประเทศมีการให้สัญชาติโดยการเกิด ส่วนไทยตัดเรื่องนี้ออกจากกฎหมายไปและเพิ่งจะกลับมาตอนแก้ไข พ.ร.บ. สัญชาติรอบล่าสุด หลายประเทศแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการทำให้กฎหมายมีความชัดเจนตั้งแต่แรก เข้าใจว่าเขามองในแง่การลงทุน เด็กคนหนึ่งเกิดในประเทศหนึ่ง ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพ การศึกษา แล้วอยู่ๆ จะปล่อยให้เขาหลุดมือไปก็เป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าเท่าไร    </p>
<p>เท่าที่เราดูเรื่องการเข้าสู่สังคมสูงวัย พบว่าประเทศที่มีความเข้มงวดในเรื่องการให้สัญชาติอย่างญี่ปุ่นก็เริ่มปรับท่าทีมากขึ้น ญี่ปุ่นมีอัตราประชากรลดลงมากเป็นอันดับ 1 ของโลก รองลงมาคือไทย และสเปน แต่ว่าเหลือแค่ไทยที่ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์เรื่องนี้</p>
<p>เราพยายามเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญในรัฐสภาเพื่อทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสังคมสูงวัย แต่ว่าในทางการเมืองก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ส่วนมาตรการกระตุ้นการเกิดก็ทำได้ไม่ไว ต้องแก้ไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ถ้าเราไปดูแผนของกระทรวงสาธารณสุขหรือของสภาพัฒน์ จะไปเน้นที่การคลอดปลอดภัยซึ่งยังไม่พอ เราจึงมองไปที่กลุ่มคนที่อยู่ในไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีประมาณ 5-6 แสนคน และเด็กที่เกิดในไทยเป็นระยะๆ ถ้าเกิดกลุ่มนี้ได้สัญชาติไทย เราก็จะมีประชากรเพิ่มขึ้นได้รวดเร็ว อีกทางเลือกก็คือไปดึงดูดประชากรที่มีศักยภาพมาเป็นคนของประเทศตัวเองคล้ายการให้สัญชาตินักกีฬา ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการแก้กฎหมายและเป้าหมายทางการเมืองมากพอสมควร</p>
<p> </p>
<div class="note-box">
<p>หมายเหตุ: ตามข้อมูลจากรายงานของ UNHCR พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 (ข้อมูลจนถึงปลายเดือนมิถุนายน) มีบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลไทยราว 553,969 คน และข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยในปี 2563 ระบุว่า มีบุคคลไร้สัญชาติมากกว่า 539,000 โดยเป็นเด็กราว 297,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งจำนวนที่สรุปมานี้คือจำนวนผู้ที่ได้มาลงทะเบียนกับทางการเท่านั้น</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคมผู้สูงอาhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107649
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ 'น้องสาววารุณี' กับ 13 วันผ่านไปที่พี่สาวอดอาหารน้ำทวงสิทธิประกันตัว 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 97 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2566 04:07:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ 2 ศิลปินข้างถนน เมื่อศิลปะถูกปิดกั้นด้วยกฎหมายและอำนาจนิยมแบบไทยไทย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 74 กระทู้ล่าสุด 20 กันยายน 2566 04:27:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ ต๋ง-ปูน ทะลุฟ้า เมื่อคนรุ่นใหม่ถูกตัดสินว่าเป็นอันธพาลในสายตาผู้พิพากษ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 87 กระทู้ล่าสุด 22 กันยายน 2566 23:24:34
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - [Live] คุยกับ 'สมัชชาคนจน' ทำไมถึงมาปักหลักชุมนุมเรียกร้องการแก้ไขปัญหากับรัฐบ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 70 กระทู้ล่าสุด 11 ตุลาคม 2566 05:43:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘อดิศร’ เห็นด้วยข้อเสนอ ยุบ กอ.รมน. มองเป็นรัฐซ้อนรัฐที่ทำให้ทหารมีอำนาจเหนือป
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 75 กระทู้ล่าสุด 30 ตุลาคม 2566 18:59:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.175 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 11:06:11