[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 16:41:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (1) อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์ต้องอย  (อ่าน 40 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 มกราคม 2567 15:25:19 »

112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (1) อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-01-17 14:47</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>จารีตดั้งเดิมของสถาบันกษัตริย์ไทยมีอำนาจปกครองทั้งอาณาจักรและพุทธจักร มันทำให้เกิดปมยุ่งเหยิงทั้งต่อการปกครอง การเป็นเนื้อเดียวของรัฐกับศาสนา และอื่นๆ ที่จำต้องหาทางคลี่คลาย หากต้องการให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ การแก้มาตรา 112 การนิรโทษกรรมคดี 112 และการสร้างรัฐโลกวิสัยเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน</li>
<li>กษัตริย์พุทธไทยมีอำนาจเด็ดขาด (despotism) ในการปกครองทั้งอาณาจักรและพุทธจักร ต่างจากคริสต์ศาสนาในยุคกลางคริสต์ที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ขณะที่กษัตริย์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณไม่ได้</li>
<li>นับจากกบฏ ร.ศ.130 ถึงความขัดแย้งทางการเมืองหลัง 2475 จนถึงทุกวันนี้ แก่นของปัญหาคือความพยายามคงอยู่ของอำนาจแบบศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ กับความพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองด้วยแนวคิดอำนาจทางการเมืองแบบทางโลก</li>
<li>การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและการแก้ 112 คือการทำให้อำนาจแบบศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธมาอยู่ภายใต้หลักการโลกวิสัยหรือหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน</li>
<li>การนิรโทษกรรมคดี 112 คือการทำให้ประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยไม่ต้องถูกลงทัณฑ์ด้วยกฎหมายที่ปกป้องอำนาจแบบศาสนาของสถาบันกษัตริย์</li>
<li>ต้องทำให้อำนาจทางการเมืองในนามศาสนาหรืออำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอันเป็นระบบอำนาจแบบโลกวิสัย</li>
</ul>
</div>
<p>ข่าวฉาวที่กัดกร่อนความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพุทธศาสนาเกิดขึ้นแทบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นกรณียิบย่อยอย่างพฤติกรรมของพระไปถึงประเด็นครูกายแก้ว น้องไนซ์ เป็นต้น ถ้าพิจารณาในมิติว่าประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแบบไม่เป็นทางการและมีรัฐ-มหาเถรสมาคม-สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติคอยดูแลสอดส่องไม่ให้การตีความคำสอนขัดแย้งกับอุดมการณ์รัฐ พุทธศาสนาไทยจึงต้องเผชิญความท้าทายจากโลกที่เปลี่ยนไป</p>
<p>นับจากการชุมนุมของนิสิต นักศึกษาปี 2563 แนวคิดโลกวิสัยมีพื้นที่พูดคุยในสังคมไทยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการอิสระ ผู้ติดตามและผลักดันประเด็นนี้ผ่านเฟซบุ๊กของตนอย่างต่อเนื่อง ขยายองศาเรื่องโลกวิสัยออกไปอีกว่ามันเกี่ยวข้องไปถึงอำนาจของกษัตริย์และมาตรา 112 ด้วย</p>
<p>พูดอย่างย่นย่อ เพราะจารีตดั้งเดิมของสถาบันกษัตริย์ไทยมีอำนาจปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนาจักรจนเกิดปมยุ่งเหยิงที่ต้องหาทางคลี่คลาย หากต้องการให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/4879/46919271622_c28240ee08_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุรพศ ทวีศักดิ์ (คนกลาง) แฟ้มภาพ</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาสนา-โลกวิสัย ศรัทธา-เหตุผล</span></h2>
<p>คำว่า ‘secularism’ ที่มักแปลว่า ‘ฆราวาสวิสัย’ หรือ ‘โลกวิสัย’ ในมุมมองของสุรพศคิดว่า ‘ฆราวาสวิสัย’ สะท้อนการแยกระหว่าง ‘ฆราวาส’ กับ ‘นักบวช’ ได้ชัดเจน เขาให้เหตุผลโดยถอยกลับไปสู่การปฏิรูปศาสนาของพวกโปรเตสแตนท์ในยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการที่ฆราวาสแยกตนเองเป็นอิสระจากอำนาจนักบวชในการศึกษาคำสอนศาสนาและการอภัยบาปจากพระเจ้า</p>
<p>การปฏิรูปในครั้งนั้นยืนยันเรื่อง ‘ความเสมอภาคในสายตาของพระเจ้า’ อำนาจการตีความคำสอนในไบเบิ้ลของนักบวชกับฆราวาสเท่าเทียมกัน เพราะต่างก็มีเสรีภาพทางความคิดเห็น หรือ ‘freedom of conscience’ ในการตัดสินถูกผิดของคำสอนศาสนาเท่าเทียมกัน นำมาสู่การยืนยันว่าวิถีชีวิตแบบนักบวชและฆราวาสเท่าเทียมกันไปด้วย</p>
<p>“ไม่ใช่วิถีชีวิตนักบวชสูงส่งกว่าฆราวาสดังที่ศาสนจักรคาทอลิกถือกันมา ดังนั้น การเข้าใจคำสอนในไบเบิ้ล การเข้าถึงพระเจ้า หรือการอภัยบาปจากพระเจ้าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลกับพระเจ้าโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านนักบวชหรือศาสนจักรอีกต่อไป แต่ผมชอบใช้คำโลกวิสัยมากกว่า เพราะมันบ่งบอกการแยกกันระหว่างเรื่องทางศาสนากับเรื่องทางโลกที่สะท้อนประวัติศาสตร์การแยกศาสนาจากรัฐหรือ secularization ได้ชัดเจนกว่า”</p>
<p>สุรพศอธิบายว่ามันคืออิทธิพลจากการแยกระหว่าง ‘ศรัทธา’ (faith) กับ ‘เหตุผล’ (reason) ในยุคภูมิปัญญา เมื่อศรัทธาถูกจัดให้เป็นเรื่องทางศาสนาที่พิสูจน์ความจริงไม่ได้ด้วยหลักเหตุผล ส่วนเหตุผลถูกจัดให้เป็นเรื่องทางโลกคือเป็นเรื่องของความจริง ความรู้ต่างๆ และคุณค่าต่างๆ ทางโลกที่อธิบายได้ด้วยหลักเหตุผลและความเป็นวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่นเราพิสูจน์ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามอบอำนาจเทวสิทธิ์ให้พระสันตะปาปาปกครองทางจิตวิญญาณหรือความเชื่อของประชาชน และมอบอำนาจเทวสิทธิ์แก่กษัตริย์ปกครองบ้านเมือง ซึ่งเขาถือว่าอำนาจลักษณะนี้เป็นอำนาจเผด็จการทางความคิดความเชื่อและเป็นเผด็จการทางการเมือง นี่จึงปัญหาใหญ่ที่สุดที่จำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ</p>
<p>แนวคิดโลกวิสัยจึงเป็นการแยกเรื่องทางศาสนากับทางโลกออกจากกัน โดยถือว่าศาสนาเป็นเรื่องของศรัทธา หรือความเชื่อส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนผู้ศรัทธาต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ หรืออำนาจทางการเมือง ส่วนเรื่องทางโลกคือเรื่องสาธารณะต่างๆ เช่น ที่มาและความชอบธรรมของอำนาจทางการเมือง ระบบการปกครอง กฎหมาย การจัดองค์กรทางสังคมและการเมือง รวมทั้งวิถีชีวิตทางสังคมและการเมืองของพลเมือง การศึกษา ศิลปวิทยาการ และอื่นๆ</p>
<p>การแยกเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากรัฐศาสนา เช่น Cristian state เป็นรัฐโลกวิสัยหรือ secular state กล่าวคือเปลี่ยนจากอำนาจการปกครองในนามศาสนาเป็นอำนาจปกครองแบบทางโลก เช่น เดิมทีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป อำนาจอธิปไตยของกษัตริย์คืออำนาจเทวสิทธิ์ที่อิงความเชื่อศาสนาคริสต์ พอเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยของประชาชนเป็นอำนาจแบบทางโลกที่อิงหลักเหตุผลและความเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะที่มาและความชอบธรรมของอำนาจ สามารถตรวจสอบได้ด้วยหลักเหตุผลและความเป็นวิทยาศาสตร์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กษัตริย์พุทธไทย ผู้มีอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรม</span></h2>
<p>มองพุทธศาสนาไทยอย่างเปรียบเทียบกับคริสต์ศาสนาจะพบว่าแก่นแกนของพุทธศาสนาไทยก็คือพุทธศาสนาแบบที่ให้กำเนิด ‘รัฐพุทธศาสนา’ (Buddhist state) มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย กษัตริย์พุทธอ้างอำนาจ ‘การปกครองโดยธรรม‘ ที่มีความเป็นศาสนามากกว่ากษัตริย์คริสเตียนเพราะกษัตริย์คริสเตียนเป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนผู้มีบาปกำเนิดเสมอภาคกับประชาชนทุกคน ต่างเพียงแค่มีอำนาจเทวสิทธิ์ปกครอง</p>
<p>ขณะที่กษัตริย์พุทธถูกสถาปนาเป็น ‘หน่อพระพุทธเจ้า’ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จึงเป็นทั้งธรรมราชา เทวราชา สมมติเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ที่เป็น ‘เทวราชา’ ด้วยแปลว่าสถานะอำนาจของกษัตริย์ไทยอิงคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธ ส่วนกษัตริย์คริสต์เตียนกับศาสนจักรส่วนมากจะแยกกันปกครอง กษัตริย์ไม่มาเป็นนักบวช ไม่แต่งคัมภีร์ ไม่สอนศาสนา</p>
<p>แต่กษัตริย์พุทธมีออกบวช สอนศาสนา หรือเทศนาธรรมะ ทั้งยังแต่งคัมภีร์สำคัญทางศาสนาด้วย เช่น พระมหาธรรมราชาลิไทออกบวชและแต่งไตรภูมิพระร่วง รัชกาลที่ 4 บวชเป็นพระ 27 พรรษา ก่อตั้งธรรมยุติกนิกายเป็นนิกายของราชสำนัก รัชกาลที่ 5 ตั้งมหาเถรสมาคมเป็นศาสนจักรของรัฐ รัชกาลที่ 6 แสดงเทศนาเสือป่าที่ยืนยันว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย และให้กำเนิดอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น</p>
<p>“กษัตริย์พุทธไทยจึงมีอำนาจเด็ดขาด (despotism) ในการปกครองทั้งทางโลกและศาสนจักร กษัตริย์บางคนเป็นทั้งนักบวช แต่งคัมภีร์ เทศนาธรรมะ ก่อตั้งนิกายศาสนา แต่กษัตริย์ทุกคนเป็นผู้อุปถัมภ์หลักของพุทธศาสนา วางระบบการปกครองสงฆ์หรือตั้งศาสนจักรของรัฐ จัดการศึกษาสงฆ์ ออกกฎหมายควบคุมและลงโทษนักบวชที่ปฏิบัติผิดธรรมวินัย รวมทั้งวางนโยบายการศึกษาศีลธรรมพุทธศาสนาแก่ราษฎรตั้งแต่ยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา</p>
<p>“กล่าวได้ว่ากษัตริย์พุทธไทยปกครองทั้งบ้านเมืองและเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณด้วย ดังคำว่าพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือพระบารมีปกเกล้า ซึ่งหมายถึงผู้ใต้ปกครองต้องพึ่งพระบารมีของกษัตริย์โพธิสัตว์ในการเดินตามเส้นทางธรรมเพื่อบรรลุนิพพานในอนาคต ขณะที่ชาวคริสต์ยุคกลางพึ่งศาสนจักรเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อรอดจากบาปหรือเข้าถึงพระเจ้า กษัตริย์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณไม่ได้ สถานะอำนาจของกษัตริย์พุทธไทยจึงมีความเป็นศาสนามากกว่ากษัตริย์คริสเตียน”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผชิญความท้าทาย</span></h2>
<p>ด้วยสภาพที่ค่อนข้างสถิตนิ่งกับจารีตเดิมของพุทธศาสนาไทยเมื่อปะทะกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทำให้พุทธศาสนาไทยต้องเผชิญการท้าทาย แต่มิใช่ว่าการท้าทายเพิ่งเกิดขึ้นในยุคนี้ หากถูกท้าทายจากความคิดทางโลกมานานแล้ว</p>
<p>สุรพศยกตัวอย่างการถูกท้าทายจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เข้ามาในยุคอาณานิคมทำให้ชนชั้นนำยุค รัชกาลที่ 4 ต้องทิ้งคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงหันมาตีความว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุผลมีความเป็นวิทยาศาสตร์ หรือยุครัชกาลที่ 5 ถูกท้าทายด้วยข้อเสนอให้มีสภา (Parliament) เป็นปากเป็นเสียงแทนราษฎร ซึ่งแปลว่าอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อิงคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธถูกท้าทายด้วยแนวคิดอำนาจทางการเมืองแบบทางโลก ยุครัชกาลที่ 6 ถูกท้าทายด้วยแนวคิดชาตินิยม (nationalism) แบบทางโลก เช่น แนวคิดชาตินิยมแบบเสรีนิยมและสังคมนิยมจากตะวันตกและการปฏิวัติในจีน เป็นต้น จึงมีการสร้างแนวคิดชาตินิยมแบบชนชั้นนำสยามหรือราชาตินิยมภายใต้อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่ถือว่ากษัตริย์คือศูนย์กลางอำนาจปกครองทั้งชาติและศาสนา และเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า</p>
<p>“กบฏ ร.ศ.130 ในปี 2455 และการปฏิวัติสยาม 2475 ก็คือการท้าทายต่ออุดมการณ์ทางการเมืองที่ผนึกรวมพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญหนึ่งดังกล่าวโดยตรง และประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทางการเมืองหลัง 2475 จนกระทั่งทุกวันนี้ แก่นแกนของปัญหาก็คือความพยายามคงอยู่ของอำนาจแบบศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ กับความพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองด้วยแนวคิดอำนาจทางการเมืองแบบทางโลก ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ แบบที่ประเทศประชาธิปไตยเจริญแล้วเขาเป็นกัน”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แยกศาสนาจากรัฐ ปฏิรูปสถาบันฯ แก้ 112 คือเรื่องเดียวกัน</span></h2>
<p>“ประเด็นที่เป็นแก่นแกนของโลกวิสัยคือการเปลี่ยนจากรัฐศาสนาเป็นรัฐโลกวิสัยหรือเปลี่ยนอำนาจการปกครองแบบศาสนาเป็นอำนาจแบบโลกวิสัย ทีนี้สถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ไทยก็คือสถานะและอำนาจที่สูงส่งศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ที่อิงคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธ ถ้าเราเคยอ่านคำฟ้องคดี 112 ของอัยการ หรือเคยไปดูศาลตัดสินคดี 112 จะเห็นว่าเขาอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ และโยงมาที่มาตรา 112 ว่าเป็นบทบัญญัติที่ปกป้องสถานะของกษัตริย์ตามมาตรา 6</p>
<p>“ประเด็นคือสถานะเป็นที่เคารพสักการะเป็นสถานะทางศาสนาหรืออิงความเชื่อทางศาสนา เพราะในทางโลกวิสัยหรือแนวคิดอำนาจแบบทางโลกตามระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ประมุขของรัฐหรือผู้นำประเทศมีสถานะเป็นเกียรติของรัฐที่วิจารณ์ตรวจสอบได้ เพราะการมีเกียรติสัมพันธ์กับความมีเหตุผลและความเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น กษัตริย์อังกฤษ กษัตริย์บางประเทศในยุโรป หรือจักรพรรดิญี่ปุ่น ก็ไม่ได้มีอำนาจเทวสิทธิ์ หรือมีสถานะเป็นที่เคารพสักการะประดุจเทพที่แตะต้องไม่ได้ สถาบันกษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติที่รักษาไว้เป็นเกียรติของประเทศ ภายใต้หลักเสรีภาพและประชาธิปไตยเท่านั้น เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจทางโลกของประชาชนที่เหนือกว่าอำนาจประมุขของรัฐและรัฐบาล”</p>
<p>ดังนั้น การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและการแก้ 112 ก็คือการทำให้อำนาจแบบศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธมาอยู่ภายใต้หลักการโลกวิสัยหรือหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การนิรโทษกรรมคดี 112 คือการทำให้ประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยไม่ต้องถูกลงทัณฑ์ด้วยกฎหมายที่ปกป้องอำนาจแบบศาสนาของสถาบันกษัตริย์</p>
<p>พูดอีกนัยหนึ่งก็คือการนิรโทษกรรมคดี 112 ก็คือการทำให้การใช้สิทธิทางการเมือง สิทธิในเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกของประชาชนตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักการทางโลกไม่ต้องเป็นความผิดและถูกลงทัณฑ์นั่นเอง เป็นการยืนยันว่าระเบียบการเมืองแบบทางโลกอยู่เหนือหรือเป็นอิสระจากการครอบงำของอำนาจตามความเชื่อทางศาสนาใดๆ เรื่องเหล่านี้จึงเป็นสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง (political secularization) ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ให้เป็นจริง หรือทำงานได้จริง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จะยิ่งยากขึ้นหรือไม่?</span></h2>
<p>เมื่อถามต่อว่าการนำประเด็นแยกศาสนาจากรัฐกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แก้มาตรา 112 และนิรโทษกรรมคดี 112 จะยิ่งทำเรื่องซับซ้อนและขับเคลื่อนได้ยากขึ้นหรือไม่ สุรพศกล่าวว่า</p>
<p>“ที่จริงก็ไม่ใช่ผมนำสองเรื่องมารวมกัน แต่มันเป็นเรื่องเดียวกันตามที่พูดมาแล้ว เพียงแต่เราไม่พูดกันอย่างตรงไปตรงมา ทั้งที่ตามความเป็นจริงไม่เคยมีการแยกสถานะอำนาจของกษัตริย์ออกจากหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธอยู่แล้ว รัฐธรรมนูญก็บัญญัติชัดว่าพระมหากษัตริย์ต้องทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกและทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้</p>
<p>“ทีนี้ประเด็นหลักหรือแก่นของโลกวิสัยก็คือการไม่มีอำนาจทางการเมืองในนามศาสนาในกรณีประเทศประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐอย่างฝรั่งเศส หรือการเปลี่ยนอำนาจทางการเมืองในนามศาสนามาอยู่ใต้อำนาจแบบโลกวิสัย ในกรณีประเทศประชาธิปไตยมีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างอังกฤษและญี่ปุ่น การผลักดันเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ การแก้ 112 และการนิรโทษกรรม 112 จึงเป็นเรื่องเดียวกับการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมืองหรือเป็นการทำให้ระเบียบการเมืองแบบโลกวิสัยสามารถทำงานได้จริงโดยไม่ถูกครอบงำกดทับด้วยอำนาจแบบศาสนาใดๆ ดังที่พูดไปแล้ว”</p>
<p>ตรงกันข้าม สุรพศกลับเห็นว่าคำอธิบายแบบนี้จะช่วยให้มองเห็นความซับซ้อนและความยากของปัญหาการแยกศาสนาจากรัฐและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้ตรงตามเป็นจริงและชัดเจนทุกมิติมากกว่า</p>
<p>สุรพศเสริมว่าประเด็นการแยกศาสนาจากรัฐส่วนมากมันเถียงเรื่องรัฐควรอุปถัมภ์หรือไม่อุปถัมภ์ศาสนา ศาสนาจะเจริญหรือเสื่อม พุทธไทยจะแตกเป็นหลายนิกายไหม หรือนักบวชจะประพฤติผิดธรรมวินัยมากขึ้นหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นประเด็นรอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</span></h2>
<p>ทว่า ประเด็นหลักคือทำอย่างไรจะไม่มีอำนาจทางการเมืองในนามศาสนาหรือทำให้อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอันเป็นระบบอำนาจแบบโลกวิสัยดังที่สังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ทำสำเร็จมาแล้ว ถ้าแก้ประเด็นหลักนี้ได้ เรื่องรัฐจะอุปถัมภ์ศาสนาหรือไม่ จะยกเลิกหรือแก้กฎหมายองค์กรศาสนาพุทธ อิสลาม และอื่นๆ อย่างไร เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้อย่างเสรี เพราะรัฐโลกวิสัยบางแห่งก็ไม่อุปถัมภ์ศาสนาใดๆ เลย บางแห่งก็อุปถัมภ์ทุกศาสนาเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อพลเมืองที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ ด้วย</p>
<p>“ส่วนประเด็นศาสนาจะเจริญหรือเสื่อมในอนาคต ไม่มีใครตอบได้หรอกครับ ในสังคมประชาธิปไตยโลกวิสัยอย่างตะวันตกและที่อื่นๆ ศาสนาก็ยังปรับตัวอยู่ได้ตามบริบทที่เปลี่ยนไป”</p>
<p>นอกจากนี้ สุรพศยังเห็นว่าการที่ศาสนาเจริญรุ่งเรืองก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในยุคกลางที่ศาสนารุ่งเรืองถึงขีดสุดทำให้สถาปนาระบบการเมืองแบบเผด็จการในนามศาสนา ระบบชนชั้นวรรณะ หรือระบบฐานันดรเจ้า ฐานนัดรนักบวชขึ้นมากดขี่คนส่วนใหญ่ ปัจจุบันประเทศในยุโรปแถบที่เป็นรัฐสวัสดิการมีคนไม่นับถือศาสนามากขึ้น แต่การเมืองเป็นประชาธิปไตย สังคมมีศีลธรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากกว่าสังคมที่ไม่แยกศาสนาจากรัฐ</p>
<p>ส่วนจะถูกต่อต้านมากขึ้นหรือไม่ สุรพศให้เหตุผลว่า</p>
<p>“ที่ผมไม่กังวลเรื่องนี้มากนักเพราะขณะที่เรากลัวว่าจะถูกต่อต้าน เราอาจลืมความเป็นจริงไปว่าฝ่ายอนุรักษนิยมเขารุกคืบตลอดเวลาอยู่แล้ว เช่น รุกด้วยการทำรัฐประหารและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่เพิ่มความเป็นรัฐศาสนามากขึ้นโดยลำดับ เช่น เพิ่มอำนาจนำทางการเมือง (political hegemony) ของสถาบันกษัตริย์ การบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐมีหน้าที่อุปถัมภ์พุทธเถรวาทเป็นพิเศษและศาสนาอื่นที่รัฐรับรอง การเน้นปลูกฝังอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมผ่านสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา การสร้างสัปปายะสภาสถานที่แสดงสัญะของอำนาจทางการเมืองตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธเหนืออำนาจแบบโลกวิสัยของรัฐสภาที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของประชาชน เป็นต้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเผชิญการต่อต้านใดๆ ด้วยการพยายามอธิบายความเป็นจริงของปัญหาอย่างตรงไปตรงมากขึ้น”</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107662
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 145 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 160 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 193 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 171 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (จบ) พุทธไทยที่ขัดแนวทางพุทธะและประชาธิปไต
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 46 กระทู้ล่าสุด 20 มกราคม 2567 03:54:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.22 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 14:42:21