[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 11 มีนาคม 2557 16:55:38



หัวข้อ: พุทธศิลป์ถิ่นล้านนาประยุกต์ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน เชียงใหม่ กับประเพณีปอยหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มีนาคม 2557 16:55:38
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34330654972129_1.JPG)

วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน
(วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ความศรัทธาในเรื่องของศาสนาหรือความเชื่อต่างๆ ก่อให้เกิดสิ่งอันน่าอัศจรรย์มานักต่อนัก อย่างเช่นที่ “วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน" (วัดบ้านเด่น) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ก็สามารถเรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์ของศรัทธาได้เช่นกัน

ครูบาเทือง มีลูกศิษย์ลูกหาที่ให้ความเคารพนับถือมากมาย มีทั้งชาวไทย จีน ไทใหญ่ กะเหรี่ยง และชาวเขาหลายเผ่า เป็นเรียกขานว่า เป็นเกจิสหายหรือครูบาสองพี่น้อง คู่กับกับครูบาบุญชุ่ม เกจิดังแห่งสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งหากรูปใดรูปหนึ่งมีงานบุญสำคัญก็จะไปร่วมงานกัน และมีประชาชนที่ทราบข่าวแห่กันไปร่วมกราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่นเสมอ จึงมีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธานำเงินมาเป็นปัจจัยในการทำบุญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย

ตัวครูบาเทืองเอง ก็ไม่ต้องการจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้ ประกอบกับคิดอยากจะสร้างอนุสรณ์แห่งบุญที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา จึงได้มีการปรับปรุงก่อสร้างวัดเด่นฯ เสียใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บนพื้นที่ ๘๐ ไร่ ของวัด ที่มีทำเลที่ตั้งอยู่บนเนินสูงมองเห็นวิวทุ่งไร่ทุ่งนา

“ชื่อวัดแต่ก่อนชื่อวัดเด่นเฉยๆ ไม่มีต้นโพธิ์สักต้น แต่พอครูบามาอยู่ก็มีต้นโพธิ์ขึ้นมาให้เห็น แล้วต้นโพธิ์คนทางเมืองเหนือเขาเรียก “เก๊าสะหลี” ก็เห็นว่าชื่อมันเป็นมงคลดีก็เอามาตั้งเป็นสิริแก่วัดและที่ตั้งวัดแห่งนี้อยู่ในเขตเมืองเก่าสมัยโบราณที่ชื่อว่าเมืองแกน ก็เลยได้ชื่อวัดนี้มา”ครูบาเทือง เล่าถึงประวัติของชื่อวัดให้ฟัง

สำหรับรูปแบบการก่อสร้างนั้น เป็นแบบล้านนาประยุกต์ ที่ผสมผสานกับแนวคิดของครูบาเทืองเอง ที่ครูบาเรียกว่า “แนวสถาปนึก” คือคิดจะใส่อะไจะทำอะไรก็ทำ และต้องมีความมั่นคง ครูบาเทืองต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างวัดบ้านกับวัดป่า เพราะมีความเชื่อที่ว่าศาสนาอยู่ได้เพราะปฏิบัติ การแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องสำคัญ โดยยึดหลักการสร้างตามบุญ คงเพราะการสร้างตามบุญนี่เอง ที่ทำให้จนกระทั่งทุกวันนี้ วัดเด่นฯจึงมีขนาดสิ่งปลูกสร้างใหญ่และยังคงสร้างไม่แล้วเสร็จในหลายๆส่วน

แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม แต่ก็เริ่มมีคณะทัวร์มาแวะชมความโอฬารของวัดเด่นฯอยู่บ่อยครั้ง ความวิจิตรอันร่วมยุคสมัยนี้ ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านมาทางสิ่งปลูกสร้าง อาทิ พระอุโบสถอันอ่อนช้อยงดงาม มีพระประธานที่มีสีทองอร่ามประดิษฐานอยู่
....ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ “ผู้จัดการออนไลน์”

พระวิหารพระเจ้าปันตัน
สร้างจากไม้สักแกะสลักลวดลายประดิษฐ์ทั้งหลัง
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22986087203025_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54019660916593_5_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22576284822490_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89327947671214_5.JPG)
สถานที่ประดิษฐานพุทธปฏิมาอันงดงามยิ่ง และพระพุทธรูปทองคำองค์เล็กๆ
ขนาดสูงราวฝ่ามือ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์  
(พระพุทธรูปทองคำ ประดิษฐานในที่ปลอดภัย มีซี่ลูกกรงเหล็กหนากั้นล้อมรอบ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39987500301665_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82133768043584_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20512523460719_10.JPG)
ลวดลายแกะสลักอันวิจิตรงดงามของพระวิหารพระเจ้าปันตัน


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPakwElcxT4IeNyEQbR5o3Bz2LleFxAEAQfimRUxe0Gf_qRZwC)
ภาพจาก : www.komchadluek.net (http://www.komchadluek.net)

ประวัติครูบาเจ้าเทือง  นาถสีโล
ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล  ถือกำเนิดที่บ้านหัวดง บ้านเลขที่ ๗๓/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ ปีมะโรง (ปีสี) เป็นบุตรของพ่อมูล แม่หล้า หน่อเรือง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน  ๑. นางทับทิม หน่อเรือง  ๒. นายทุน หน่อเรือง  ๓. ท่านครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล (หน่อเรือง) ๔. นายสุทัศน์ หน่อเรือง เมื่อเยาว์วัยได้อยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของ พ่ออุ้ยตา แม่อุ้ยคำ พงษ์ปา และแม่อุ้ยหนิ้ว หน่อเรือง ตลอดมาจนถึงได้บรรพชา

บรรพชา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ เวลา ๑๐.๔๖ นาฬิกา ณ วัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  พระครูชัย สีลวิมล เจ้าคณะอำเภอสารภี วัดพระนอนหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์  ชื่อว่า สามเณร เทือง หน่อเรือง

อุปสมบท
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เวลา ๐๗.๑๙ นาฬิกา แรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ณ พัทธสีมาวัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  พระครูปุญญาภิวัฒน์ วัดขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูอินสม ปภากโร วัดหัวดง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  พระครูชัยสีลวิมล วัดพระนอนหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๒๐ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหัวดง
พ.ศ. ๒๕๒๒ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนบ้านศรีดอนไชย
พ.ศ. ๒๕๒๕ จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนสารภีพิทยาคม
พ.ศ. ๒๕๒๘ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
พ.ศ. ๒๕๒๘ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๕๒๙ สอบได้นักธรรมชั้นโท


พลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในพุทธศาสนา และมีต่อครูบาเทือง นาถสีโล
ก่อให้เกิดพลังสามัคคีอันยิ่งใหญ่ พัฒนาวัดเด่นจากวัดเล็กๆ ให้มีความใหญ่โตวิจิตรตระการตา
ทรงคุณค่าของงานพุทธศิลป์ถิ่นล้านนาประยุกต์ อันอ่อนช้อยงดงาม
จากแนวคิดของครูบาเทือง นาถสีโล
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21716888869802_1_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74783354583713_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85870132802261_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97174472941292_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64972651584280_11.JPG)









หัวข้อ: Re: พุทธศิลป์ถิ่นล้านนาประยุกต์ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน เชียงใหม่ กับประเพณีปอยหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มีนาคม 2557 18:52:20
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20862660391463_DSC_0824.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17188753311832_1_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44644192647602_DSC_0832.JPG)
ครูบาเทือง นาถสีโล (นั่งในเสลี่ยงคานหาม)
แห่รอบหมู่บ้าน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46918424632814_1.JPG)

ประเพณีปอยหลวง
งานบุญถวายทานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา
วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีปอยหลวง คือ งานฉลองถาวรวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อถวายวัดและเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชน เช่น วิหาร ศาลา โรงเรียน หอประชุม เป็นต้น นิยมทำการฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว ทำเป็นงานใหญ่โตเรียกว่า ปอยหลวง อุทิศสิ่งก่อสร้างเป็นของสงฆ์ และอุทิศบุญกุศลแก่บรรพชนด้วย ถ้าทำส่วนตัวเรียกว่า อุทิศกุศลไว้ภายหน้า หากอุทิศแก่คนตายไปแล้ว เรียกว่าอุทิศไปหาผู้ที่ถึงแก่กรรม

ตามปกติคนไทยไม่ว่าท้องถิ่นใด ต่างก็ยึดมั่นในพระศาสนาด้วยกัน ชาวเหนือก็เช่นเดียวกัน พระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของจิตใจ เป็นเครื่องหล่อหลอมให้ บุคลิกภาพนิสัยใจคอคนเหนือให้มีลักษณะอ่อนโยนพูดจาดีมีความไพเราะชวนฟัง มีกิริยามารยาทแช่มช้อยผสมผสานไปกับความงดงามของรูปร่าง หน้าตาด้วยก็ยิ่งเป็นเสน่ห์ที่ ทำให้คนในท้องถิ่นอื่นๆ มีความสนใจที่จะมาท่องเที่ยวในดินแดนแคว้นล้านนาไทยกันมากยิ่งขึ้น

จากการที่ชาวเหนือยึดมั่นในพระพุทธศาสนานี้เอง ทำให้มีการฝักใฝ่ในการทำบุญทำทานกันมาก จะเห็นว่าในท้องถิ่นภาคเหนือมีวัดมากมายแทบจะมีกำแพงติดๆกัน และคนเหนือก็มีความยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนตลอดมา เมื่อเสร็จจากการประกอบอาชีพแล้วก็จะมีเวลาที่จะไปทำบุญทำกุศลกันในช่วงที่ว่างงาน เหตุนี้งานทำบุญงานเฉลิมฉลอง ต่างๆ จึงมีชุกชุมในช่วงที่ว่างในฤดูหนาวต่อกับ ฤดูร้อน

ระยะเวลาที่นิยมทำบุญประเพณีปอยหลวงก็คือช่วงที่ปลอดจากฤดูฝนและประชาชนเว้นว่างจากการประกอบอาชีพแล้ว คือ ช่วงระยะเวลาเดือน ๕ จนถึงเดือน ๗ เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี)

ระยะเวลาที่มีงาน ปอยหลวงจะมีเวลาจัดงานประมาณ ๓-๗ วัน ตามแต่กำลังความสามารถของวัดที่เป็นเจ้าภาพ หากเป็นวัดใหญ่ๆ และมีความสำคัญมากก็จัดงาน ปอยหลวงกัน ๗ วัน ๗ คืน หากวัดเล็กก็จัดเพียง ๓ วันก็พอพอ

พิธีกรรม ก่อนวันงาน ๑ วัน จะมีการเตรียมของเรียกว่า วันดา (วันสุกดิบ) วันนี้คณะศรัทธาจะนำของมารวมกันเรียกว่า ฮอมครัว และในวันแรกของงานปอยหลวง จะมีการทานธงแบบต่างๆ ซึ่งเมืองเหนือเรียกว่า ตุง ช่อธงยาวและช่อช้าง จะนำตุงไปปักไว้บนเสาไม้ไผ่หรือไม้ซาง ตลอดแนวสองข้างทางเข้าวัด ตุงจะทำด้วยผ้าแพรหรือผ้าฝ้ายสีต่างๆอย่างสวยงาม ในงานปอยหลวงจะมีการแห่แหนเครื่องไทยทานจากหัววัดต่างๆ ไปร่วมทำบุญด้วยเรียกว่า แห่ครัวทาน ขบวนแห่ครัวทานจะมีช่างฟ้อนสาวรูปร่างสวยงาม แต่งกายแบบพื้นเมือง ฟ้อนนำหน้าครัวทานเข้าวัดด้วย วันสุดท้ายของงานปอยหลวง คณะศรัทธาจะแห่ครัวทาน หรือพุ่มเงินบ้านละต้นหรือหลายบ้านรวมเป็นหนึ่งต้น ครัวทานนี้จะมีการแห่กันตอนเย็น มีขบวนแห่อย่างสนุกสนาน กลางคืนจะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการสวดสมโภชหรือสวดเบิก และมีการสวดถึงอานิสงส์ของการก่อสร้าง วันรุ่งขึ้นมีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และกล่าวโอกาสเวนทานสิ่งปลูกสร้างขึ้น เสร็จแล้วถวายไทยทานพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี พระให้ศีลให้พรเป็นเสร็จพิธี
 
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการสวดสมโภชหรือสวดเบิก และมีการสวดถึงอานิสงส์ของการก่อสร้าง วันรุ่งขึ้นมีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และกล่าวโอกาสเวนทานสิ่งปลูกสร้างขึ้น เสร็จแล้วถวายไทยทานพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี พระให้ศีลให้พรเป็นเสร็จพิธี

สาระ เป็นการแสดงความยินดีที่ทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์แก่วัดและสาธารณะ รวมทั้งอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้น
...ข้อมูล เว็บไซต์ ประเพณีไทยดอทคอม

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ มีภารกิจอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
พอมีโอกาสว่างได้ไปเที่ยวชมวัดเด่นสะหรีฯ แห่งนี้ ถึงสองวันติดต่อกัน
(ดูวันแรกยังไม่จุใจ...สวยเหลือเกิน) วันรุ่งขึ้นหาโอกาสไปอีก
จึงได้ไปพบพิธีปอยหลวงของวัดแห่งนี้
จากแรงศรัทธาอย่างสูงยิ่งต่อบวรพุทธศาสนาของชาวบ้านในท้องถิ่น
ที่ร่วมแรงร่วมใจเสียสละแรงกาย เงินทอง สิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น
สำหรับพระภิกษุ สามเณร เช่น สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สมุด ดินสอ
แห่แหน ฟ้อนรำประกอบเสียงเพลงอันไพเราะของเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา
เพื่อนำไปถวายให้กับวัด ด้วยบรรยากาศที่สนุกสนานคึกคักของผู้เฒ่าผู้แก่

ต้นเงิน ธนบัตรฉบับละ ๒๐ บาท จากศรัทธาของประชาชน
สอดไว้ในซองพลาสติดใสอย่างหนา เสียบไม้นำไปปักเสา
(ต้นละหนึ่งแสนบาท) รวม ๒๐ ต้น
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81319424054688_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90723941599329_1_1.JPG)

แรงศรัทธา : ธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาท ปักประดับเป็นช่อชั้นรูปใบโพธิ์
(จำนวนธนบัตรในใบโพธิ์ ๑๐๐ ฉบับ รวม ๑๐,๐๐๐ บาทถ้วน)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31600881947411_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85793292025725_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89839830125371_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57352207973599_5.JPG)
ประชาชนในหมู่บ้าน รอเข้าขบวนแห่ พร้อมด้วยเสลี่ยงพุ่มเงินรูปใบโพธิ์
และข้าวของเครื่องใช้ที่จัดเตรียมไว้ถวายวัด

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29359336983826_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57810902057422_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63759637996554_DSC_0892.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34393510512179_DSC_0975.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68448876837889_DSC_0855.JPG)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33154330071475_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55523127896918_8_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76579597757922_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71955631838904_10.JPG)


  

 

ปอยหลวง วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น) (http://www.youtube.com/watch?v=Tk4gEVo524o#)
งานปอยหลวง วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่ ๒๐ กพ. ๒๕๕๗

งานประเพณีปอยหลวงของวัดแห่งนี้
ไม่มีการบอกบุญ หรือขึ้นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์  
ไม่ว่าจะเป็นภายในบริเวณวัด หรือตามถนนหนทางในหมู่บ้าน
และวัดไม่ได้จัดให้มีมหรสพใดๆ ทั้งสิ้น
(ผู้โพสต์ได้ทราบจากชาวบ้านท่านหนึ่งเมื่อใกล้าจะกลับเข้าเมืองเชียงใหม่...จึงขออยู่ชมต่อ)