[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 09 ตุลาคม 2558 19:00:06



หัวข้อ: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 ตุลาคม 2558 19:00:06
.

พระเครื่อง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27363507904940_1.jpg)
พระหูยาน กรุวัดปืนพิมพ์เล็ก

พระหูยานเป็นพระเนื้อชินที่ได้รับความนิยมมาแต่ในสมัยโบราณจากประสบการณ์ในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และพระหูยานที่พบนั้นก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด เช่น จังหวัดลพบุรี อันเป็นกรุต้นกำเนิดที่พบพระหูยานก่อนกรุอื่นๆ คือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นอกจากนี้ยังพบในกรุอื่นๆ อีก เช่น กรุวัดปืน กรุวัดอินทาราม เป็นต้น ในจังหวัดอื่นๆ ที่พบก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

พระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรี พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกรุแรก มีการพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระหูยานบัวสองชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง พระหูยานพิมพ์เล็ก และพระหูยานพิมพ์รัศมีแฉก เป็นต้น พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2430 พร้อมพระอื่นๆ อีกมากมาย ศิลปะของพระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรีล้วนเป็นศิลปะแบบลพบุรี เทียบเคียงได้กับศิลปะแบบบายนของขอม พระหูยานได้มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายจากผู้ที่ใช้พระหูยานห้อยคอ ส่วนมากก็จะเป็นประเภทอยู่ยงคงกระพันเป็นหลัก พระหูยานจึงเป็นที่นิยมเสาะหากันมาก กรุสุดท้ายเป็นกรุใหม่ที่ถูกพบในปี พ.ศ.2508 ซึ่งพระมีความสมบูรณ์มากมีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์พระ ศิลปะแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์เดียวกับพระกรุเก่าของวัดพระศรีฯ ที่พบในครั้งแรกๆ

พระหูยานอีกกรุหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้กันก็คือ กรุวัดปืน วัดปืนอยู่ตรงไหน ในปัจจุบันอาจจะไม่มีใครทราบกันนัก เนื่องจากแปรสภาพกลายเป็นตลาดไปเสียแล้ว วัดปืนแต่เดิมเป็นโบราณสถานที่ทรุดโทรมปรักหักพังไปจนไม่เหลือสภาพ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับป้อมปืนโบราณ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดปืน และต่อมามีผู้ไปขุดพบพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายพิมพ์ ถ้าไม่มีใครไปพบพระเครื่องนานเข้าก็จะลืมเลือนกันไป และไม่มีใครทราบว่าบริเวณที่แห่งนั้นเคยเป็นโบราณสถานมาก่อน พระกรุวัดปืนที่พบนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยมีพระวัดปืนห้อยคอ พระวัดปืนนั้นพบพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ ที่รู้จักกันมากก็คือพระนาคปรกกรุวัดปืน อันเป็นพระนาคปรกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดลพบุรี มีพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์จิ๋ว นอกจากนี้ก็ยังพบพระหูยาน กับพระซุ้มเรือนแก้วอีกด้วย

พระหูยานกรุวัดปืนนั้นพบน้อยมาก พระส่วนใหญ่ที่ขึ้นจากกรุจะชำรุดผุระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุวัดปืน พระหูยานกรุวัดปืนจะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่มีขนาดย่อมกว่า ผิวมักจะเป็นสีดำเทา พิมพ์ที่พบพระหูยานกรุวัดปืนมีพระพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก เนื่องจากพระหูยานกรุวัดปืนมีพบน้อยจึงค่อนข้างหายาก แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระพิมพ์ใหญ่นั้นหารูปยังยากเลยครับ เท่าที่เห็นรูปถ่ายจะเป็นพิมพ์เล็ก แต่ก็พบน้อยมากหารูปยากจริงๆ ครับ

พุทธคุณพระหูยานกรุวัดปืนก็เช่นเดียวกับพระหูยานกรุวัดพระศรีฯ และ พระนาคปรกกรุวัดปืน เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด พระหูยาน กรุวัดปืนเป็นพระหูยานกรุหนึ่งที่น่าสนใจมาก แต่ก็หายากนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดปืนพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94217070564627_2_3614_3619_3632_3627_3641_361.jpg)
พระหูยาน ชัยนาท พิมพ์บัว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผู้ที่ชื่นชอบพระเครื่องไม่ว่าจะอยู่วงนอกหรือวงในก็ตาม ต่างก็คงจะมีปัญหาเรื่องพระเครื่องบางชนิดที่เราไม่ทราบที่มาที่ไป คือไม่ทราบว่าเป็นพระกรุไหนในกรณีที่เป็นพระเก่าพระกรุ หรือเป็นพระที่เกจิอาจารย์สร้าง แต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดพระคณาจารย์รูปใดเป็นผู้สร้าง แต่พระเครื่องนั้นๆ เท่าที่พิจารณาดูแล้วว่าเป็นพระเก่า และเป็นพระที่น่าจะเป็นพระแท้ เพียงแต่ไม่มีประวัติข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่ององค์นั้น จนมีวลีในสังคมพระเครื่องที่ว่า "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด"

วลีนี้สำหรับท่านที่อยู่วงนอกได้ยินอาจจะนึกว่าเป็นคำเยาะเย้ย และไม่พอใจ แต่ความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เป็นแค่คำเปรียบเปรยเท่านั้นครับ ซึ่งโดยปกติก็จะพูดกันกับผู้ที่สนิทสนมกันเท่านั้น ความหมายก็คือพระนั้นๆ แท้ เพียงแต่ไม่ทราบประวัติข้อมูล จึงไม่ทราบที่หรือไม่ทราบวัดและประวัติของผู้สร้างเท่านั้นครับ

ในสังคมผู้นิยมพระเครื่อง หรือผู้เล่นหาในสนามพระนั้น ก็จะรู้แต่เพียงพระที่นิยมเล่นหาและมีผู้ที่ต้องการ หมายถึงมีผู้ที่รู้จักกันมากๆ มีการเผยแพร่ประวัติความเป็นมา จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีมูลค่าในความนิยมแลกเปลี่ยนได้ พระเครื่องที่รู้จักกันในสังคมผู้นิยมพระเครื่องถ้าจะเทียบกันเป็นสัดส่วนแล้ว

พระที่ในสังคมพระเครื่องรู้จักกันและ มีการเล่นหาน่าจะประมาณ 30-40% ของพระเครื่องที่มีทั้งหมด ทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์ อีก 60-70% ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก อาจจะรู้จักกันในท้องถิ่น หรือในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาเท่านั้น

ดังนั้นจึงมีพระเครื่องที่คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่รู้จักอีกมาก อาจจะมีปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น ประวัติข้อมูลที่ยังไม่มีการเผยแพร่ไปยังสังคมนัก ความต้องการเสาะหาของคนในท้องถิ่นก็มีส่วนสำคัญ ถ้าคนในพื้นที่ยังไม่ค่อยนิยมเสาะหา ก็ไม่มีการเผยแพร่ประวัติ แต่ถ้าคนในท้องที่เสาะหาก็จะมีผู้สนใจตามและสอบถามประวัติข้อมูล ซึ่งก็จะทำให้มีผู้รู้จัก และก็จะทำให้มีมูลค่าตามมา

ครับทีนี้เรามาดูพระเครื่องที่มีคนรู้จักและนิยมกันในสังคมผู้นิยมพระเครื่อง ที่เป็นสัดส่วนประมาณ 30-40% นั้น ก็มีจำนวนชนิดของพระเครื่องมากมายมหาศาล ซึ่งในคนคนหนึ่งก็ไม่สามารถรู้จักหรือมีความรู้ความชำนาญได้ทั้งหมด ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงๆ ก็จะมีความรู้ความชำนาญในแต่ละด้าน แต่ละประเภท หรือที่รู้จักมากหน่อยแต่ก็ไม่ครบทั้งหมด ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องจึงมีการพึ่งพาอาศัยกัน การประกวดพระเครื่องจึงต้องมีคณะกรรมการที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละประเภทเข้ามาตัดสินพระเครื่องประเภทนั้นๆ

เรากลับมาคุยกันถึงเรื่องพระแท้ที่ไม่ทราบที่กัน ก็อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่า มีพระเครื่องอีกมากมายที่ในสังคม ยังไม่ทราบที่มาที่ไป แต่เท่าที่พิจารณาดูแล้วว่าน่าจะ เป็นพระแท้ จากเป็นพระเครื่องที่ไม่ได้มีเจตนาล้อเลียนหรือทำให้เข้าใจไขว้เขวให้เป็นของที่อื่น คือไม่ได้มีเจตนาปลอมแปลง มีเอกลักษณ์ของตนเองชัดเจน ก็น่าจะเป็นพระเครื่องที่น่าจะแท้ เพียงแต่ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาเท่านั้น และอีกอย่าง ก็คือ เป็นพระเครื่องที่ผู้พิจารณาเขาไม่ทราบหรือรู้จักเท่านั้น คำตอบก็จะเป็นว่า ไม่ทราบที่หรือแท้ไม่ทราบที่ประมาณนี้ครับ

ตัวผมเองก็มีพระเครื่องประเภทนี้อยู่ เช่นกันครับ ขนาดผมเข้าสนามพระตั้งแต่ยุคปลายของสนามพระเครื่องวัดมหาธาตุ ต่อมาจนถึงสนามวัดราชฯ สนามท่าพระจันทร์ จนถึงทุกวันนี้ ผมก็ไม่ได้เข้าไปทุกวัน แต่ก็เข้าไปทุกครั้งที่มีเวลาว่าง เนื่องจากไม่ได้มีอาชีพ ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน แต่เป็นคนที่ชื่นชอบและศึกษาสะสมเท่านั้น พระเครื่อง ที่ได้มาจากผู้ใหญ่บ้าง คนรู้จักบ้าง เช่าหา มาบ้าง บางครั้งก็ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไร กรุไหน วัดใดเช่นกัน เอาเข้าไปสอบถามผู้ใหญ่ หรือคนคุ้นเคยในสนามก็ไม่มีใครทราบ บางอย่างกว่าจะทราบก็เป็นสิบปีก็มีกว่าจะเจอคนที่รู้จักพระนั้นๆ และก็มีอีกหลายอย่างที่จนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบที่มา ที่ไป แต่พระเครื่องนั้นๆ ก็มีแต่คนพูดว่าเก่าแท้นะแต่ไม่ทราบที่จริงๆ ครับก็ต้องค่อยๆ ค้นหาศึกษากันต่อไป แต่ก็เป็นเรื่องสนุกไปอีกอย่างหนึ่งนะครับ เพราะเมื่อมีเวลาว่างเราก็จะมีเรื่องที่ต้องค้นหาและค้นคว้าต่อไป

ครับกับเรื่องพระที่ยังไม่รู้จักกันแพร่หลายนั้นยังมีอีกมาก แต่เมื่อมีผู้รู้ประวัติ นำมาเผยแพร่ก็จะมีผู้รู้จักในสังคมมากขึ้น เรื่องที่ผมนำมาคุยกันในวันนี้ก็เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกันว่า อย่าไปมีอารมณ์หรือไม่พอใจในคำตอบ กับผู้ที่เราไปถามแล้วเขาไม่รู้ และตอบว่า "ไม่ทราบที่ครับ" มันเป็นเรื่องจริงที่เขาไม่ทราบไม่ใช่แกล้งไม่บอกนะครับ เหตุผลก็อย่างที่ผมได้กล่าวมาเสียยืดยาว แบบนี้ผมว่าดีกว่าพวกที่ไม่รู้แต่อวดรู้แล้วตอบผิดๆ มั่วๆ ไปนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดมหาธาตุ ชัยนาท ซึ่งไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักมาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41589155875974_4_3614_3619_3632_3610_3656_361.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12447889645894_3_3614_3619_3632_3610_3656_361.jpg)
พระบ่ยั่น'พระสรรค์นั่ง'กรุวัดท้ายย่าน

พระบ่ยั่น 'พระสรรค์นั่ง' กรุวัดท้ายย่าน เนื้อชินเงิน จ.ชัยนาท : สาระสังเขปพระเนื้อชิน โดยชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ

จ.ชัยนาท ในทุกวันนี้ แม้ว่าจะเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไรมากนัก แต่ก็เป็นเมืองที่มีความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเฉพาะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา เป็นเมืองแห่งนักรบผู้ห้าวหาญ ที่ยังเป็นความทรงจำของคนไทยตราบเท่าทุกวันนี้

ด้วยเหตุนี้ เมืองชัยนาท จึงมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาให้ลูกหลานได้มีความภาคภูมิใจ ในความยิ่งใหญ่ครั้งอดีตกาล ที่ยากจะลืมเลือน

ในวงการพระเครื่องเมืองไทย จ.ชัยนาท มีพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง สืบสานตำนานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าของพระเครื่องยอดนิยมที่เช่าหากันแพง ถึงหลักแสนขึ้นไป

ในส่วนของพระกรุ จ.ชัยนาท เป็นแหล่งพระกรุที่ล้วนเป็นพระหลักยอดนิยมของวงการพระ เป็นที่ต้องการแสวงหาของนักสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง

โดยเฉพาะ สรรค์บุรี อำเภอเดียวของเมืองชัยนาท ที่ได้ชื่อว่า เมืองพระ มีวัดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ วัด ที่มีการขุดพบพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมทั้งพระพุทธรูป อีกจำนวนหนึ่ง ที่มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง

จึงนับได้ว่า เมืองสรรค์ หรือ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นศูนย์รวมของพระเครื่องอันยิ่งใหญ่ในอดีตกาล จนมีชื่อเสียงโด่งดังมานานปี สมกับที่เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยโบราณ ที่ได้ก่อเกิดชายชาตินักรบผู้กล้าหาญ อย่างแท้จริง

พระกรุเมืองสรรค์ มีมากมายหลายพิมพ์ ที่โด่งดังรู้จักกันดี และหาชมในทุกวันนี้ได้ยากยิ่ง คือ พระหูยาน พิมพ์บัวชั้นเดียว ซึ่งขุดพบจากกรุต่างๆ อาทิ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน และกรุวัดส่องคบ พระหูยาน เมืองชัยนาท มีขนาดองค์พระใหญ่กว่า พระหูยาน เมืองลพบุรี และพระหูยาน กรุงศรีอยุธยา คือ มีความกว้างประมาณ ๒.๗ ซม. สูงประมาณ ๖ ซม.

อย่างไรก็ตาม องค์พระขนาดนี้ ไม่ถือว่าใหญ่โตอะไรมากนัก เป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับชายชาตรีไทย ที่นิยมพระนักรบ มีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นหลัก ซึ่งสามารถนิมนต์ขึ้นคอได้อย่างมั่นใจในพุทธคุณที่มีอยู่อย่างครอบจักรวาล

ชาวเมืองสรรค์แต่เดิมมานิยมใช้ พระหูยาน เมืองชัยนาท บูชาติดตัวเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย อีกทั้งเชื่อถือกันมานานแล้วว่า ใช้ดีด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี คมหอกคมดาบไม่ระคายผิว

แต่เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีขึ้นจากกรุน้อย ชายชาตรีเมืองสรรค์หามาบูชาประจำกายได้ยาก จึงพยายามหาพระพิมพ์อื่นมาใช้บูชาแทน

พระต่างพิมพ์ที่ชาวเมืองสรรค์ สืบเสาะหามาใช้ที่ว่ามีประสบการณ์เทียบชั้นได้เท่า พระหูยาน เมืองชัยนาท ซึ่งมีพุทธคุณด้านคงกระพัน สุดเหนียว ชนิดลุยแบบถึงไหนถึงกัน จนได้รับการเรียกขานว่า พระบ่ยั่น คือ พระสรรค์นั่ง อันเป็นพระพิมพ์นั่งของเมืองสรรค์ ที่มีการขุดพบใน จ.ชัยนาท เหมือนกันทั้งสองพิมพ์

พระสรรค์นั่ง ที่ใช้บูชาแทน พระหูยาน ที่กล่าวถึงนี้ สามารถแยกพิมพ์ได้ดังนี้
 ๑.พิมพ์ยกไหล่ ถือว่าเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
 ๒.พิมพ์ไหล่ตรง, ไหล่ตรงข้างเม็ด
 ๓.พิมพ์แขนอ่อน

 ในส่วนของ เนื้อพระสรรค์นั่ง สามารถแบ่งออกเป็น ๓ เนื้อ คือ เนื้อดิน, เนื้อชินเงิน และ เนื้อชินสนิมแดง (มีน้อยมาก) กรุ พระสรรค์นั่งทุกพิมพ์ ขึ้นจากกรุต่างๆ หลายกรุในเขตเมืองสรรค์ พร้อมๆ กัน

 กรุที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ กรุท้ายย่าน ส่วนกรุอื่นๆ เช่น กรุวัดบรมธาตุ, กรุวัดส่องคบ, กรุวัดมหาธาตุ, กรุสรรพยา, กรุเขื่อนชลประทาน ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะกรุต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ที่เป็นพระแท้ๆ มีความหายากเช่นกัน

พระสรรค์นั่ง ถือเป็นพระเครื่องที่อยู่ในความนิยมของนักสะสมมาช้านาน พระที่ขุดได้ที่ กรุวัดท้ายย่าน พระทั้งหมดที่พบมีพระเนื้อชินเงินจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อดิน ขนาดองค์พระเล็กกว่าพระหูยานเพียงเล็กน้อย คือ กว้าง ๒.๓ ซม. สูง ๓.๘ ซม.

พุทธลักษณะ เป็นพระรูปทรงแบบกรอบสามเหลี่ยมทรงสูง องค์พระนั่งปางมารวิชัยประทับอยู่บนฐานตรงแบบสองชั้น และพิมพ์ที่ประทับบนฐานตรงแบบชั้นเดียว

พระทั้ง ๒ พิมพ์ เทหล่อออกมามีพิมพ์พระที่ติดลึกนูนสูง แบบมีมิติ รูปทรงของแบบพระ เป็นแบบพิมพ์ที่เรียบง่าย พื้นด้านข้างองค์พระไม่มีลวดลายใดๆ

แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า พิมพ์พระมีความลงตัวที่สวยงามแบบเข้มขลังน่าศรัทธาเกรงขาม

พระสรรค์นั่ง ราคาเช่าหา พระสภาพทั่วไปอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ ส่วนพระสภาพสวยราคาจะสูงขึ้น เลยหลักหมื่นกลางขึ้นไป

คมชัดลึก


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ตุลาคม 2558 19:31:04
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30450935703184_5_3614_3619_3632_3648_3588_361.jpg)
พระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืน พิจารณาจากรูปที่คุณส่งมานั้น ผิดพิมพ์มากครับ และเนื้อก็ไม่น่าจะใช่นะครับ สรุปคือไม่น่าจะแท้ ลองดูเปรียบเทียบกับพระแท้ที่ผมนำมาให้ชมนะครับ

พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระเครื่องที่พบในองค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย ถูกขุดพบเมื่อประมาณปี พ.ศ.2493 ศิลปะเป็นแบบขอม พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สาเหตุที่ เรียกว่าพระร่วงหลังรางปืนก็เนื่องจากมีการพบพระแบบเดียวกันที่ลพบุรีก่อนแต่ของเมืองลพบุรีด้านหลังจะเป็นลายผ้าหยาบๆ ส่วนพระร่วงที่พบที่สุโขทัยนั้น มีพุทธลักษณะด้านหน้าคล้ายคลึงกัน แต่ที่ด้านหลังเป็นแอ่งร่องราง จึงเรียกกันว่าพระร่วงหลังรางปืน ในครั้งที่พบพระนั้นกล่าวกันว่า พบประมาณ 200 องค์เท่านั้น และในจำนวนนี้ก็ยังมีพระที่ชำรุดอยู่อีกด้วย ดังนั้นจำนวนของพระจึงน้อยมาก และหายากจึงทำให้เกิดการทำปลอมกันมาก และทำกันมานานมากแล้วครับ

พระร่วงหลังรางปืนที่พบในครั้งนั้นจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ ที่พบเป็นเนื้อชินบ้างแต่ก็น้อยมาก ผิวสนิมของพระร่วงหลังรางปืนจะเป็นสีแดงเข้มและแบบสีลูกหว้า มีสนิม ไขขาวปกคลุม ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูงมากในองค์ที่สมบูรณ์อยู่ที่หลักล้านครับ

และผมได้นำรูปพระร่วงหลังรางปืนแท้ มาให้ชมด้วยทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

ด้วยความจริงใจ
คำตอบในคอลัมน์นี้ไม่ควรถือเป็นข้อยุติและไม่ควรถือเป็นมาตรฐานในการซื้อ-ขาย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29783121910360_6_3614_3619_3632_3614_3636_359.jpg)
พระพิจิตรใบตำแย ของเมืองพิจิตร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะกล่าวถึงพระเครื่องที่เป็นพระกรุที่มีขนาดเล็กมากๆ และมีชื่อเสียงมากๆ ก็คงไม่พ้นพระเครื่องเมืองพิจิตร เช่น ถ้าเป็นพระเนื้อชินก็พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และถ้าเป็นเนื้อดินเผาก็พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า พระพิจิตรเขี้ยวงู ซึ่งโด่งดังมากมาตั้งแต่อดีตเป็นร้อยปีมาเลยทีเดียว

เมืองพิจิตรในสมัยโบราณก็เป็นเมืองนักรบ และเป็นเมืองหน้าด่านมาโดยตลอด อาจเป็นด้วยสาเหตุนี้กระมังพระกรุที่สร้าง ในสมัยนั้นจึงเน้นไปทางด้านคงกระพันชาตรีไว้เป็นหลัก พระเครื่องเมืองพิจิตรที่เป็นพระกรุมีชื่อเสียงโด่งดังมากในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นที่กล่าวขวัญกันมายาวนานว่าอยู่คงกันมีดหอกดาบ ปืนผาหน้าไม้ได้ชะงัดนัก ประมาณว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือดว่างั้นเถอะ ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก และที่รู้จักกันมากก็ประเภทพระองค์เล็กๆ

แต่ความจริงแล้วพระกรุพิจิตรเองก็มีพระองค์ขนาดที่โตกว่านั้นอีกหลายอย่าง เช่น พระพิจิตรหัวดง พระพิจิตรใบตำแย เป็นต้น พระของเมืองนี้ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน และมีเนื้อเป็นเอกลักษณ์ เนื้อจะออกเป็นแบบชินแข็ง และมักจะมีผิวออกสีดำ เรื่องโลหะที่มีคุณวิเศษของเมืองนี้ก็มีเหล็กน้ำพี้ อาจจะเป็นได้ว่าพระเครื่องที่เป็นพระกรุของเมืองนี้อาจมีส่วนผสมของเนื้อเหล็กน้ำพี้บ้างหรือเปล่า

ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ยังกล่าวถึงเมื่อตอนที่ขุนแผนจะตีดาบฟ้าฟื้น ก็ยังต้องไปเอาเหล็กน้ำพี้จากเมืองพิจิตรมาเป็นส่วนผสม เหล็กน้ำพี้มีชื่อเสียงมาแต่โบราณคือเหล็กน้ำพี้บ่อพระแสง เป็นได้ว่าคณาจารย์แต่โบราณเวลาจะผสมเนื้อพระอาจนำเอาเหล็กน้ำพี้มาเป็นส่วนผสมก็เป็นได้ จึงมีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันโดดเด่น และเป็นที่กล่าวขวัญมาจนทุกวันนี้

นอกจากพระเครื่องขนาดเล็กที่มีชื่อเสียงแล้ว พระกรุที่มีขนาดเขื่องหน่อยที่มีชื่อเสียงมากก็มีเช่นกันคือ พระพิจิตรหัวดง และพระพิจิตรใบตำแย พระพิจิตรหัวดง เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ตัดขอบเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายๆ กับพระท่ากระดาน ส่วนพระพิจิตรใบตำแย เป็นพระประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายๆ กับพระซุ้มอรัญญิกของพิษณุโลก หรือพระซุ้มเสมาทิศของอยุธยา พระพิจิตรใบตำแยนี้ในสมัยโบราณเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ชาวพิจิตรหวงแหนกันมากเช่นกัน มักจะนำมาถักลวดห้อยคอติดตัว มีประสบการณ์ทางด้านคงกระพันมากเช่นกันครับ

พระพิจิตรใบตำแย คนที่ไม่ใช่คนพิจิตรอาจจะไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากมีพระที่มีลักษณะคล้ายๆ กันอยู่หลายจังหวัดหลายกรุ แต่ความจริงเป็นคนละพิมพ์กัน มีส่วนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แตกต่างกันและแยกแยะได้ อย่างเช่นฐานของพระ ถ้าเป็นของเมืองพิจิตร ตัวฐานใต้องค์พระจะเป็นแบบฐานสำเภา ซึ่งมีลักษณะโค้งงอนขึ้น คล้ายๆ กับเรือสำเภา ผิดกับของกรุอื่นๆ พระพิจิตรใบตำแยแท้ๆ ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกัน ส่วนมากเจอแต่ของกรุอื่นมากกว่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรใบตำแย ของเมืองพิจิตร มาให้ชมกัน สังเกตที่ฐานพระจะเห็นว่าเป็นฐานแบบฐาน สำเภาครับ

ด้วยความจริงใจ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18445691673291_7_3614_3619_3632_3614_3640_360.jpg)
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน
พิมพ์สังฆาฏิยาว


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และเริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้าง โดย พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททอง ให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินการต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนั้นมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง จำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพฯ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส อ้วน วัดบรมฯ กทม. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั๋น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงครามและประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้ทั้งหมดเป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทางพุทธสมาคมฯ ได้เก็บรักษาไว้ จนในปีพ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด

พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระที่มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์สังฆาฏิยาว พร้อมทั้งโค้ดมาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54213835133446_9_3614_3619_3632_3585_3619_364.jpg)
พระกรุ วัดส่องคบ จ.ชัยนาท

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองเก่า และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกรุพระเครื่องอยู่หลายกรุเช่นกัน แต่เราๆ ท่านๆ มักจะคุ้นเคยอยู่กับกรุวัดท้ายย่านเท่านั้น เนื่องจากมีพระเครื่องดังๆ อยู่หลายอย่าง เช่น พระลีลาสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง และพระปิดตาเนื้อแร่ของกรุนี้ ความจริงจังหวัดชัยนาททั้งฝั่งจังหวัดและที่เมืองสรรคบุรีนั้นมีวัดเก่าแก่และกรุพระมากมายหลายกรุ เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวิหารพระ กรุวัดมหาธาตุ กรุทางพระ กรุท่าฉนวน เป็นต้น

ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึง พระกรุ วัดส่องคบ ซึ่งเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ.1916) การพบพระเครื่องนั้นมีการพบด้วยกันหลายครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2460 เป็นต้นมา และในปีพ.ศ.2494 ได้มีการขุดค้นองค์พระเจดีย์ และพบหลักฐานสำคัญคือ พบลานเงินจารึกประมาณ 10 แผ่น และได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2495

จารึกที่แปลออกมาแล้วมีข้อความตอนหนึ่งความว่า "แต่พระเสด็จเจ้านิพานได้ 1916 ปี เจ้าสัทธรรมมหาเถระศาสนาว่า มหาอุบาสก อุบาสิกา เพ่าใจ พ่อยี่ตัดผะ และแม่สร้อยมีใจศรัทธาก่อพระเจดีย์ อันตนหนึ่งได้ 5 วา 2 ศอก และแผ่ประเพณีมิให้หมองในครองธรรมนี้แล แต่เครื่องประจุพระทอง 20 พระเงิน 1 ตน พระดีบุก 161 เงินทองผ้าผ่อนมีค่ากว่าไว้ได้ 3 แสน 5 หมื่น 5 พันแล แต่กระทำบุญ กุฏิ วิหา ศาลา เสาธง ปรากฏเช่าหนังสือแต่เครื่องทั้งหลายนี้คิดเป็นมูลค่าได้ 5 แสน 5 พัน"

จารึกอีกแผ่นหนึ่งที่พบ เป็นจารึกปี 1956 แสดงว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมาอีก มีข้อความในจารึกแผ่นนี้ว่า "จึงเจ้าเถรศรี เทพศิริมานนท์เจ้าเมือง แม่นางสร้อยทอง ย่าออกศรีแม่อามและแม่น้อยผู้เป็นลูก พ่อวัวลูกเขย จึงมาประจุพระธาตุ 2 องค์ พระทอง 2 พระเงิน 2 แท่ง เงิน 1 พระพิมพ์ 117 แหวนอันหนึ่ง ผ้าสนอบลายหนึ่ง 1 เสื้อ 1 สไบ 1 เช็ดหน้าอันหนึ่ง ผสมค่าทั้งหลาย 210,000 คนครอกหนึ่ง" จารึกปี 1956 อีกแผ่นหนึ่งมีความว่า "จึงเจ้าศรีเทพศิริมานนท์ ปู่สิงหล เจ้าเมือง แม่นางสร้อย ย่าออกศรี ย่าพระ ย่าแม้น แม่เอาว์ แม่สาขา พ่อสาน้อยผู้เป็นลูกแม่วัง ปู่ยี่ พ่อไส แม่เพ็ง จึงชาวเจ้าทั้งหลายสโมธา มาก่อพระบรรจุธาตุ 2 พระทอง 2 พระเงิน 12 พระดีบุก 220 แต่พระ 262 แล"

แสดงให้เห็นได้ว่า พระเครื่องของกรุนี้มีการสร้างบรรจุไว้หลายวาระด้วยกัน ในการขุดพบนั้นมีการพบพระเครื่องด้วยกันหลายพิมพ์ และหลายเนื้อ นอกจากนี้ยังพบพระแผงแบบสมัยลพบุรีก็มีขึ้นมาจากกรุนี้ด้วย แต่การขุดค้นนั้นมีการขุดด้วยกันหลายครั้ง จึงไม่สามารถทราบว่ามีพระพิมพ์ใดๆ ได้ครบทุกพิมพ์ แต่เท่าที่ได้พบเห็นกันนั้นก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ พระลีลาลายดอกไม้ไหว มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ พระหูยาน พระซุ้มหน้าบรรณ (มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน) พระสรรค์นั่ง เนื้อชินเงิน พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระซุ้มโพธิ์ เป็นต้น

ครับพระกรุวัดส่องคบนี้เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดชัยนาท แต่พระเครื่องของกรุนี้อาจจะไม่ได้ค่อยพบเห็นกันบ่อยนัก และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึง จึงทำให้ข้อมูลมีน้อย และในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดส่องคบ ซึ่งหายากพบน้อยมาก มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37184657818741_8_3648_3627_3619_3637_3618_359.jpg)
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อสาย
วัดรวก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอำเภอพระประแดงเคารพเลื่อมใสมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อสาย วัดรวก ท่านมีเมตตาธรรมสูงช่วยเหลือและรักษาโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะวิชาต่อกระดูกมีชื่อเสียงมาก

หลวงพ่อสาย เกิดปีพ.ศ.2422 ที่บ้านตำบลบางผึ้ง สมุทรปราการ โยมบิดาชื่อแสง โยมมารดาชื่อวาย บิดามารดาเป็นชาวสวน มีฐานะดี พอท่านอายุพอสมควรบิดามารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือที่วัดรวก ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน พออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดรวก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระปลัดน้อย วัดโปรดเกษเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์อ้น วัดโปรดเกษฯ กับพระอธิการบุญ วัดแจงร้อน เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "จนฺทสุวณฺโณ" เมื่อบวชแล้วท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัย บาลี และยังสนใจวิปัสสนาธุระ โดยได้ตำราของเจ้าคุณพระญาณสังวร (ช้าง) พระอาจารย์วิปัสสนาชื่อดังของวัดโปรดเกษฯ เมื่อเรียนแล้วท่านก็ฝึกฝนมาตลอด

พอถึงปี พ.ศ.2455 วัดรวกว่างเจ้าอาวาสลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ท่านได้เอาใจใส่พัฒนาวัดปฏิสังขรณ์ของเก่าแก่ที่ชำรุดให้สมบูรณ์และก่อสร้างขึ้นใหม่หลายอย่าง เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนประชาบาล และโบสถ์ นอกจากนี้ยังได้อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อสายช่วยเหลือชาวบ้านทุกคนที่ทุกข์ร้อนและมาขอให้ช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ เนื่องจากท่านยังเชี่ยวชาญในเรื่องแพทย์แผนโบราณได้ประกาศนียบัตรแผนโบราณด้วย นอกจากนี้ท่านยังมีวิทยาคมสูงอีกด้วย มีผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อให้ช่วยรักษามากมาย เรื่องผสานกระดูกท่านก็มีชื่อเสียงมาก เรื่องวิชาประสานกระดูกท่านได้ศึกษามาจากหลวงพ่อตึ๋ง วัดสร้อยทอง

หลวงพ่อสายสนิทสนมกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงพ่อโม้ วัดสน ท่านได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวิชากัน จนได้รับคำชมจากพระอาจารย์ทั้งสอง มีชาวบ้านมาขอเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อสายเป็นประจำ เช่น ตะกรุดโทน เด่นทางด้านมหาอุด และไหมเจ็ดสีถักเป็นตะกรุด 7 ดอก เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน และได้สร้างพระเนื้อดินเผาประมาณ 500 องค์ มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันหายากครับ พอถึงปี พ.ศ.2494 ท่านอายุได้ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้านได้พร้อมใจจัดงานทำบุญฉลองอายุ และจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านประมาณ 1,000 เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หลวงพ่อสายท่านปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา เมื่อปลุกเสกเสร็จก็ออกแจกจนหมด เหรียญนี้มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ชาวพระประแดงหวงแหนกันมาก จัดเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของพระประแดงครับ

หลวงพ่อสายทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด และเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยท่านไม่สะสมทรัพย์ มีผู้มาถวายปัจจัยเท่าไรก็นำมาพัฒนาวัดหมดเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เมื่อถึงปี พ.ศ.2495 หลวงพ่อสายก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 73 ปี 49 พรรษา

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ





แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ตุลาคม 2558 20:03:26
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30425423673457_10_3627_3621_3623_3591_3614_36.jpg)
หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน

"จากภูมิปัญญาไทย สมัยโบราณ สู่ หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน"

"พระหลวงพ่อเงินบางคลาน" นับเป็นหนึ่งในอมตะพระยอดนิยมตลอดกาล นับเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ก็ยังคงมีผู้เคารพศรัทธาจัดสร้างเพื่อการบุญการกุศลกันอยู่เป็นประจำ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ทุกรุ่นทุกแบบล้วนทรงพุทธาคมเฉกเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับค่านิยมนั้นก็ขึ้นกับรุ่นกับแบบซึ่งแตกต่างกันไป

จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของพระหลวงพ่อเงินก็คือ "กรรมวิธีการหล่อแบบโบราณ" ที่เรียกว่า "หล่อดินไทย" ซึ่งคือการหล่อหุ่นเทียนจากแม่พิมพ์ ต้องนำหุ่นเทียนมาติดก้านฉนวนเป็นช่อ แล้วใช้ "ดินขี้วัว" พอกหุ่นเทียน เมื่อดินแห้งสนิทจึงนำหุ่นเทียนไปเผาไล่เทียนออกจากแม่พิมพ์ดินขี้วัว

จากนั้นจึงเททองเหลืองที่หลอมแล้วลงในเบ้า พอองค์พระเย็นก็แกะเบ้าดินขี้วัวออก ดังนั้น ขนาด พุทธศิลปะ และพุทธลักษณะขององค์พระทุกองค์จึงใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนกันทุกองค์เหมือนการปั๊ม ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูการใช้กรรมวิธีแบบนี้ได้ยากยิ่งนัก

วัดราษฎร์ศรัทธาราม (เนินกุ่มเหนือ) ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ปัจจุบันมี หลวงพ่อบุญส่ง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแล ท่านคอยเอาใจใส่ดูแลศาสนสถานและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด พระลูกวัด รวมถึงสาธุชนที่เข้าวัดทำบุญทำทานทุกคนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

เมื่อท่านพิจารณาสิ่งใดเริ่มชำรุด เสียหาย ทรุดโทรมลง ท่านจะดูแลซ่อมแซมและปรับปรุงเรื่อยมา เพื่อให้วัดเป็นที่เจริญหูเจริญตาแก่สาธุชนที่มาร่วมบุญ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านและท้องที่ใกล้เคียง

ปัจจุบันหลวงพ่อบุญส่งเห็นว่าศาลาการเปรียญหลังเก่าเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา ไม่สามารถใช้ในการประกอบกิจสงฆ์ได้ จึงดำริให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน บางคลาน ในลักษณะ "รูปหล่อโบราณ" เพื่อหาปัจจัยในการบูรณะศาลาการเปรียญให้ใช้ประกอบกิจสงฆ์ได้ดังเดิม ในชื่อ "หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน" ประการสำคัญคือ ท่านยังคงเอกลักษณ์ความเป็นหลวงพ่อเงินบางคลาน โดยใช้กรรมวิธีการสร้างแบบ "หล่อโบราณ"

ในการนี้ พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายสำนัก ตระหนักถึงเจตนารมณ์ที่จะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จึงร่วมแรงร่วมใจทั้งด้านชนวนมวลสาร และร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตกันอย่างพร้อมเพรียง

เนื้อชนวนมวลสารที่ได้มา จึงเป็นการรวบรวมจากหลายพระเกจิคณาจารย์ จากหลายสำนัก ทำให้เชื่อถือได้ว่าความเข้มขลังมีในองค์พระเต็มเปี่ยมอย่างแน่นอน และยังสร้างให้สีสันวรรณะขององค์พระมีความหลากหลายตามสภาพผิวโลหะ โดยจัดสร้างเป็นพิมพ์เศียรบาตร พิมพ์นิยมเศียรโต และพิมพ์แจกแม่ครัว ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับ

นอกจากนี้ ยังปรากฏเหตุอัศจรรย์ในช่วงหล่อองค์พระ ทั้งพระอาทิตย์ทรงกลด และมีฝนตกโปรยปรายลงมาเพียง 5 นาที เสมือนหลวงพ่อเงินท่านมาพรมน้ำมนต์ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระเนื้อหล่อนำฤกษ์โรงงาน" ยังได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว โดยหลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร อีกด้วย

กำหนดพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถ วัดราษฎร์ศรัทธาราม จ.พิษณุโลก ในวันที่ 24 พ.ย. 2558 โดยมีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมมากมายร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร, หลวงพ่อนงค์ วัดทุ่งน้อย จ.พิจิตร, หลวงพ่อมานิต วัดราชคีรีหิรัญญาราม จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อสม วัดสามเรือน จ.พิษณุโลก, หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อบุญส่ง วัดราษฎร์ศรัทธาราม จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อทุเรียน วัดศรีคีรีสุวรรณาราม จ.สุโขทัย, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พระสุวรรณภูมิ ภัททธัมโม วัดราษฎร์ศรัทธาราม โทร.08-7314-4097 ครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37131702941324_11_3627_3621_3623_3591_3611_36.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/21353054129414_13_3605_3632_3585_3619_3640_36.jpg)
หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ

หลวงปู่แย้ม กับตะกรุดคอหมา

พระครูปิยนนทคุณ หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดตะเคียน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

พระเกจิชื่อดังยุคปัจจุบัน ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะบรรดาทหารตำรวจทั้งหลาย ด้วยวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่เน้นพุทธคุณในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเข้มขลังยิ่งนัก ขนาดต้องไปชิงจากคอของสุนัขกันเลยทีเดียว

ท่านเพิ่งมรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2557 โดยสรีระไม่เน่าเปื่อย ณ ปัจจุบัน ยังคงบรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนไปกราบสักการะขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล

เดิมชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 ที่ ต.เจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในครอบครัวชาวนา บิดา-มารดา ชื่อ นายเพิ่ม-นางเจิม ปราณี

อายุครบบวชได้อุปสมบท ณ วัดหลักสองบำรุงราษฎร์ โดยมี พระครูคณาสุนทรนุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเหลือ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และ พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ปิยวณฺโณ"

เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและตั้งใจใฝ่ศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง สามารถสอบได้นักธรรมตรีเพียงแค่ในพรรษาแรก พอเข้าพรรษาที่ 2 ท่านเกิดอาพาธหนักจนต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้าน โดยใช้ยาต้มแผนโบราณ พอหายดีจึงกลับไปจำพรรษาที่วัดดังเดิม

จากนั้นมา ท่านก็เริ่มศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ค้นคว้าตัวยาสมุนไพรและคาถาอาคมที่ใช้กำกับยาจนแตกฉาน และเริ่มรักษาชาวบ้านเรื่อยมา จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ท่านยังใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมสร้างเสริมวิทยาอาคมให้เข้มขลังยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากที่มาขอความช่วยเหลือเยียวยาให้มากที่สุด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55483817267748_12_3605_3632_3585_3619_3640_36.jpg)
ตะกรุดคอหมา หลวงปู่แย้ม ยุคหลัง.

จนได้พบ หลวงพ่อสาย วัดทุ่งสองห้อง ผู้สืบวิทยาคมสาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งท่านได้เมตตาสอนสั่ง พร้อมแนะนำเกี่ยวกับเรื่องยันต์และเวทมนต์พระคาถาต่างๆ กอปรกับความมานะพากเพียรของพระภิกษุแย้ม จึงสำเร็จและได้เคล็ดวิชามาโดยไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะเรื่อง "ตะกรุด" จากนั้นมาชื่อเสียงของท่านก็เป็นที่เลื่องลือกระฉ่อน จนพรรษาที่ 10 โยมลุงได้มานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดตะเคียน

วัดตะเคียนในสมัยก่อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสวนส้มเขียวหวาน การเดินทางยังไม่สะดวก พระภิกษุที่จำพรรษาก็มีอยู่เพียงรูปเดียว คือ หลวงพ่อแดง เจ้าอาวาสวัด แต่หลังจากที่โยมลุงนิมนต์ท่านได้เพียง 7 วัน หลวงพ่อแดงก็มรณภาพ หลังจากงานศพท่านเจ้าอาวาสผ่านพ้นไป หลวงปู่แย้มได้มาจำพรรษาที่วัดตะเคียน ไม่นานเจ้าคณะอำเภอจึงให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส และต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา

หลวงปู่แย้ม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะเคียน มาร่วม 60 ปี ท่านใช้เวลาในการพัฒนาวัดมาโดยตลอด จากวัดร้างกลับกลายเป็นวัดที่สมบูรณ์เพียบพร้อม ความที่ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหามากมายที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมมาหาเป็นประจำ อีกทั้งถนนหนทางก็มีการพัฒนาปรับปรุงตัดถนนสายใหม่ผ่านทางเข้าวัด ทำให้สาธุชนเดินทางสะดวกขึ้นในการเข้ามาทำบุญทำทานที่วัด
 

วัตถุมงคลของหลวงปู่แย้ม มีหลายแบบหลายประเภท ทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผนยอดขุนพล, พระนางพญา, เสือปืนแตก, ตะกรุด ฯลฯ เอกลักษณ์ของวัตถุมงคลทุกชนิด คือ ท่านจะลง "ยันต์มหาเบา" ยันต์ครูซึ่งท่านศึกษามาจาก หลวงพ่อสาย และจารด้วยยันต์ "คาถาพระเจ้า 5 พระองค์" อันมีพุทธคุณสูงส่งเหนือยันต์ทั้งปวง มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบและมั่นคง จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ป้องกันภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด ไล่ภูตผี และกันเสนียดจัญไร

นอกจากนี้ ก่อนที่ท่านจะมอบให้แก่ลูกศิษย์ ท่านจะกำชับว่า "ใครจะยิงให้มันยิงไปเถอะ เดี๋ยวปืนมันก็แตก เอ้า เพี้ยง" ซึ่งเล่นเอาผู้รับขนลุกซู่ไปทั้งตัวทีเดียว

วัตถุมงคลที่สร้างชื่อและโด่งดังสุดๆ ก็คือ "ตะกรุดคอหมา" ซึ่งส่งผลให้วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของหลวงปู่แย้มทุกรุ่นทุกแบบเป็นที่แสวงหา และสนนราคาพุ่งขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ สืบสาวราวเรื่องมาแล้วได้ความดังนี้ ...

มูลเหตุของเรื่องนั้น เริ่มจากที่หลวงปู่แย้มท่านเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ซึ่งก็เกรงว่าบางครั้งสุนัขที่เลี้ยงอาจไปสร้างความเดือดร้อนจนเป็นที่ไม่พอใจหรืออาจถูกทำร้าย ท่านจึงคิดสร้าง "ตะกรุด" ก็เพื่อคล้องคอสุนัขทุกตัวของท่านเพื่อป้องกันภัย ท่านจารตะกรุดในน้ำด้วยสมาธิจิตอันแน่วแน่ แล้วนำไปผูกคอสุนัขทุกตัวของท่าน

จากนั้นมา สุนัขเหล่านั้นก็ไม่เคยได้รับความรุนแรงใดๆ จนชาวบ้านต่างสงสัย และเมื่อสอบถามกันไปมาก็ได้ความว่า หลวงปู่แย้มได้ผูก "ตะกรุดวิเศษ" ไว้ที่คอสุนัข บรรดานักเลงที่ชอบลองของ ก็นำปืนมาลองยิงสุนัขของหลวงปู่ ปรากฏว่าปืนแตก จนเกิดเป็นข่าวฮือฮาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บรรดาผู้คนที่ต้องการตะกรุดแบบเร็วๆ ก็แย่งเอาที่คอสุนัขของท่าน บางคนดีหน่อยไปบอกกล่าวขอกับท่าน จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน "ตะกรุดคอหมา ปู่แย้ม" อันเป็นที่เลื่องชื่อลือชานั่นเอง

หลวงปู่แย้ม ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2557 สิริอายุ 98 ปี ยังความโศกเศร้าแก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายยิ่งนัก แต่คุณูปการและความเข้มขลังในวัตถุมงคลของท่านยังคงจารึกในความทรงจำและเป็นที่นิยมอยู่ไม่เสื่อมคลาย ...

ขอปิดท้ายกันด้วย "คาถายันต์ตะกรุดคอหมา" ครับผม อุด ธัง อัด โท เม กะ มุ อุ ... หากมีจิตเข้มแข็งและสงบนิ่ง จะสามารถแคล้วคลาดจากอาวุธของศัตรูทั้งปวง

ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94022406389315_14_3605_3632_3585_3619_3640_36.jpg)
ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ
วัดฆะมัง จ.พิจิตร


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเครื่องรางของขลัง ประเภทตะกรุดกันบ้างดีกว่านะครับ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวขวัญถึงตะกรุด ที่มีชื่อว่าตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง มาบ้าง ซึ่งเป็นตะกรุดยอดนิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง ปัจจุบันหาชมของแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

ผมขอนำคำกลอนที่ คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ซึ่งท่านแต่งไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ในหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวท มาให้อ่าน ซึ่งกลอนนี้บอกเล่าเรื่องราวของตะกรุดหลวงพ่อพิธได้อย่างดีเยี่ยมครับ

   หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ดังกังวาน
   ชื่อกล่าวขานสร้างตะกรุด ปราบภูตผี
   ทั้งอยู่ยงคงศาสตรา บารมี
   คู่ชีวีมีตะกรุด มหากัน
   ตามตำนานท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน
   ท่านเจริญรอยตาม หลวงพ่อท่าน
   เรียนวิชาขมังเวทย์ เจนจบพลัน
   วิชานั้นสืบทอด คงชาตรี
   ตะกรุดท่านมีเรื่องเล่า กล่าวขาน
   ประสบการณ์ลือลั่น ในพื้นที่
   โดนยิงนั้นไม่ออก ขอบอกที
   มีตะกรุดคู่ชีวี กำบังกาย

หลวงพ่อพิธ ท่านเกิดที่ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2418 โยมบิดาคือขุนหิรัญสมบัติ (ประดิษฐ์) โยมมารดาชื่อปุย หลวงพ่อพิธ อุปสมบทในปี พ.ศ.2440 ที่วัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากที่ท่านได้บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่หลายวัดด้วยกัน เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ เช่น วัดหัวดง วัดบางคลาน ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเงินจนแตกฉานในทุกด้าน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา วัดใหญ่ (วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก) จากนั้นท่านจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดฆะมังจวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 70 ปี พรรษาที่ 48

หลวงพ่อพิธมีดวงตาที่ดูดุ จนในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ และในวันที่ฌาปนกิจศพท่านนั้น เจ้าหน้าที่วัดและลูกศิษย์กำลังเก็บอัฐิอยู่นั้น ทุกคนต่างตะลึงงันเมื่อได้พบดวงตาของหลวงพ่อพิธไม่ไหม้ไฟทั้งสองดวง ชาวบ้านจึงกล่าวขวัญกันว่า "หลวงพ่อพิธตาไฟ" ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดฆะมัง

หลวงพ่อพิธได้ทำตะกรุดแจกให้แก่ศิษย์ ซึ่งเป็นยันต์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอุยธยา เป็นยันต์หนึ่งในตำราพิชัยสงคราม และยันต์นี้ได้สืบทอดต่อมาจากหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จนถึงหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธเรียนมาจากหลวงพ่อเงินอีกต่อหนึ่ง ยันต์นี้เรียกกันว่า "ยันต์คู่ชีวิต" มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่ผู้ที่บูชา ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ โดยส่วนมากจะมีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง อั่วก็คือแกนกลางเป็นหลอดทองเหลือง ปกติจะมีบัดกรีเสริมหัวท้ายด้วยลวดทองเหลือง เนื้อโลหะที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้อฝาบาตร และที่พบส่วนใหญ่คือเนื้อตะกั่ว เข้าใจว่าเนื้อโลหะพิเศษคงจะมีผู้นำโลหะไปให้หลวงพ่อพิธทำเป็นพิเศษ ตะกรุดของหลวงพ่อพิธที่เราพบเห็นมากที่สุดก็คือครั้งที่ท่านทำให้ วัดสามขา เพื่อแจกให้แก่ผู้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดสามขา ตะกรุดคู่ชีวิตนี้ จะมีทั้งลงรักถักเชือกและชนิดเปลือยๆ ลายถักก็มีอยู่หลายแบบครับ

พุทธคุณของตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธมีประสบการณ์มากมาย เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นชาวเมืองพิจิตรต่างทราบกันดี ปัจจุบันหาตะกรุดหลวงพ่อพิธแท้ๆ ยากครับ และมีของปลอมเลียนแบบมาก การเช่าหาควรจะหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงเท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดคู่ชีวิตหลวงพ่อพิธ แบบมีลงรักถักเชือก จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวท ของ คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยมาให้ชมกันด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95816120712293_15_3585_3640_3617_3634_3619_36.jpg)
กุมารทองรุ่นแรก
หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม


สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ถ้าจะกล่าวถึงกุมารทอง ก็ต้องนึกถึงกุมารทองของหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม ถือว่าอยู่ในอันดับหนึ่งครับ และหลวงพ่อเต๋ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ลูกศิษย์ลูกหาก็มากมาย

หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2434 โยมบิดาชื่อจันทร์ โยมมารดาชื่อบู่ ตอนอายุได้ 7 ขวบ ก็ต้องไปอยู่กับหลวงลุงแดง ซึ่งเป็นลุงที่วัดกาหลง หลวงลุงแดงนั้นเป็นพระที่วิชาอาคมแก่กล้ามาก หลวงพ่อเต๋อยู่กับหลวงลุงแดงเพื่อเรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี พออายุได้ 10 ขวบ หลวงลุงแดงพาเดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดามารดา ต่อมาในปี พ.ศ.2449 จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงลุงแดง เรียนพระปริยัติธรรมและคอยดูแลหลวงลุงแดง

เมื่อหลวงพ่อเต๋อายุครบ 21 ปี ในปี พ.ศ.2454 จึงได้อุปสมบท โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์ทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "คงคสุวัณโณ" หลังจากที่บวชได้ไม่นานหลวงลุงแดงก็มรณภาพที่วัดกาหลง หลวงพ่อเต๋จึงต้องเดินทางไปจัดการงานศพของหลวงลุงแดง ก่อนที่หลวงลุงแดงจะมรณภาพนั้นท่านได้เคยฝากวัดสามง่ามไว้กับหลวงพ่อเต๋ให้ช่วยพัฒนาต่อให้เสร็จ หลวงพ่อเต๋ก็ได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่ามและได้พัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ทางด้านการศึกษาพุทธาคมนั้น หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษากับ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จนเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน ต่อมาก็ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ทั้งทางด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมต่างๆ และได้ติดตามหลวงพ่อแช่มออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ มากมาย หลวงพ่อเต๋เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนรักษาผู้ที่ป่วยไข้ให้หายได้ทุกราย จนชื่อเสียงของหลวงพ่อเต๋โด่งดังมาก มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาให้หลวงพ่อช่วยรดน้ำมนต์ปัดเป่าโรคภัยต่างๆ นานามากมายแทบทุกวันมิได้ขาด

หลวงพ่อเต๋ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในยุคแรกๆ นั้นจะสร้างตะกรุดโทนแจกแก่ลูกศิษย์ ในด้านพระเครื่องก็สร้างไว้หลายรุ่นเช่นกัน ทั้งเหรียญ พระเนื้อผง รูปเหมือนหล่อ ทั้งขนาดห้อยคอและบูชา ทุกรุ่นล้วนนิยมกันทั้งสิ้น ที่โด่งดังมากและมีผู้รู้จักมากในปัจจุบันก็คือกุมารทอง

หลวงพ่อเต๋มีอายุยืนมาก ท่านมรณภาพในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2524 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษาที่ 69 ส่วนร่างของท่านนั้นลูกศิษย์ให้เก็บรักษาไว้ในโลงแก้ว ทุกวันนี้จะมีคนเดินทางไปกราบไหว้เสมอ

ในวันนี้ผมได้นำรูปกุมารทอง รุ่นแรก พิมพ์หูยาว ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน (จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวทย์) มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 ตุลาคม 2558 20:14:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63680305331945_17_3614_3619_3632_3588_3619_36.jpg)
พระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด
วัดอินทรวิหาร


หลวงปู่ภู ศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จไว้ที่วัดอินทรวิหาร และได้รับความนิยมสูง เชื่อกันว่าหลวงปู่ภู ได้เก็บผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วย

พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทสโร) เกิดที่ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ.2373 เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย และได้เรียนหนังสือที่สำนักวัดท่าแค จนอายุได้ 21 ปี พ.ศ.2394 จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าคอย ได้รับฉายาว่า "จันทสโร" หลังจากนั้นท่านก็ได้ออกธุดงค์กับพระพี่ชายเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และอยู่จำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ โดยลำดับ ต่อมาได้ธุดงค์มาจนถึงกรุงเทพฯ เข้ามาจำพรรษาที่วัดสระเกศ วัดสามปลื้ม วัดม่วงแค วัดท้ายตลาด ตามลำดับ ท้ายที่สุดหลวงปู่ภูได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก ในขณะนั้น)

ระหว่างที่หลวงปู่ภูมาจำพรรษาอยู่กรุงเทพฯ นั้น ท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ และถือว่าเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง และเคยได้ออกธุดงค์ร่วมกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ หลายแห่ง ในการสร้างองค์หลวงพ่อโต วัดอินทร์ (พระศรีอริยเมตไตรย) ท่านก็มีส่วนช่วยสร้าง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพแล้ว หลวงปู่ภูก็ได้เป็นธุระในการสร้างต่อจวบจนกระทั่งหลวงปู่ภูมรณภาพ

หลวงปู่ภูดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทร์ ในปีพ.ศ.2432 และในปีพ.ศ.2435 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมานุกูล" เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร จนถึงปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 103 ปี พรรษาที่ 82

หลวงปู่ภูได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จ ในปีพ.ศ.2463 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ได้สมทบทุนในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ต่อให้เสร็จ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ ได้เพียงครึ่งองค์ ในขณะนั้นหลวงปู่ภู มีอายุ 90 ปี พระที่หลวงปู่ภู สร้างไว้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แซยิด พิมพ์แปดชั้น พิมพ์สามชั้น เป็นต้น

พระสมเด็จของหลวงปู่ภู ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีมูลค่าสูง ก็คือ พิมพ์แซยิด แขนหักศอก และพิมพ์แซยิด แขนกลม สภาพสวยๆ สมบูรณ์ ราคาหลักแสนครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันลงมา

หลวงปู่ภูเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปหนึ่ง และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทร์บ่อยๆ โดยเฉพาะครั้งที่มาสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ดังนั้นจึงเชื่อว่าหลวงปู่ภูมีผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด แขนหักศอก วัดอินทรวิหาร มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95920035905308_18_3614_3619_3632_3585_3619_36.jpg)
พระกรุวัดราชบูรณะ         พระขุนแผน กรุโรงเหล้า

จังหวัดพระนครศรีอยุธยานับเป็นศูนย์กลางทางด้าน "งานศิลปะ" นับเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยปีปรากฏงานประเภทหัตถศิลป์ เช่น เบญจรงค์ ลายรดน้ำ งานหัตถกรรม และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งงานประเภทหนึ่งที่น่าค้นคว้าศึกษาเป็นยิ่งได้แก่ "งานปฏิมากรรม" เนื่องจากมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หากเป็นอยุธยาบริสุทธิ์ จะว่างามแท้ก็ไม่งามมากทีเดียว ซึ่งอาจดูเค้าโครงจากยุคแรกๆ จนถึง ยุคหลังได้ว่า ...

ในยุคแรกนั้น งานปฏิมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาจะทำจากสัมฤทธิ์บ้าง มีการพอกศิลาก่ออิฐถือปูน ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีลักษณะงดงาม เคร่งครึม ที่เราเรียกว่า "ยุคอู่ทอง" ในราวปี พ.ศ.1893 พระพักตร์เคร่งขรึม มีศิราภรณ์ประดับ เช่น เศียรพระธรรมมิกราช ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเขมร โดยเฉพาะพระพักตร์

นอกจากนี้ยังนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ อย่างเช่นที่วัดพนัญเชิง ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับ "หลวงประเสริฐอักษรนิต" ว่า สร้างก่อนพระนครศรีอยุธยา 26 ปี และแพร่หลายมาจนถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เช่น พระที่วัดมหาธาตุ เนื่องจากอยุธยาเข้าไปมีอำนาจเหนือสุโขทัย ทำให้ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ส่งผลให้พระพุทธรูปอ่อนช้อยงดงามกว่าเดิม

ต่อมาศิลปะพระพุทธรูปเริ่มแสดงความเป็นตัวตนของอยุธยาชัดเจนขึ้น ทั้ง "พระพุทธรูปและพระเครื่อง" คือ เริ่มคลี่คลายจากความงามลง ดูเร่งรีบเพื่อรับศึกสงคราม มีไรพระศกใหญ่ เส้นสังฆาฏิหนา แลดูขาดจิตวิญญาณ เหมือนเช่นพระพุทธรูปสุโขทัยและอู่ทอง ส่วนฐานเพิ่มลวดลาย เช่น ดอกบัว นักษัตร กระจัง สัตว์ในวรรณคดี หรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ทำให้ฐานโค้งมากกว่า ปกติ เช่น พระพุทธโลกนาถ วัดพระเชตุพนฯ ที่อัญเชิญจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา หรือพระมงคลบพิตร เป็นต้น

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยหินทราย เพราะมีอิทธิพลเหนือเขมร แต่ช่างปูนยังสู้เขมรไม่ได้ ดังพระที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรี อยุธยา ผิดกับงานทาง จ.ลพบุรี ที่มีพระพุทธรูปหินทรายเช่นกัน (โดยเฉพาะ "ปางนาคปรก" งดงามมาก แล้วยังเริ่มลักษณะความเป็นสยามลงใน พระพักตร์ พบมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี) ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ส่งอิทธิพลโดยตรงต่องานสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีลักษณะไม่สู้จะงดงามนัก แต่เข้มขลังด้วยพุทธาคมแบบเขมร เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระกรุวัดตะไกรหน้าต่างๆ พระยอดธง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งแรก สยามก็รับอิทธิพลทางศิลปะของเมียนมาและมอญมาผสมผสานในงานปฏิมากรรมอยู่ยุคหนึ่ง เช่น วัดมอญจะมี "เสาหงส์" หันไปทางทิศที่เมืองมอญเก่าเคยตั้ง การสร้างเจดีย์ที่มีร่องรอยของเมียนมา เช่น เจดีย์ภูเขาทอง โดยเฉพาะที่ล้านนานั้นเมียนมาเข้าครอบครองเกือบ 200 ปี จึงรับอิทธิพลของเมียนมาไปอย่างมากมาย

จึงอาจสรุปลักษณะของ "พระเครื่องสมัยกรุงศรีอยุธยา" ได้ว่า ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปโดยตรง และสร้างเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในศึกสงคราม เช่น พระขุนแผน ในการสร้างนั้นมีทั้งเนื้อโลหะ เนื้อดิน สภาพไม่สู้งดงามนัก จนสิ้นอยุธยามาเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์

งานปฏิมากรรมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีอิทธิพลจากตะวันตกเข้าผสมผสานครับผม

ราม วัชรประดิษฐ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36390460655093_19_3626_3617_3648_3604_3655_35.jpg)
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กทม. มีพระสมเด็จที่สังคมผู้นิยมพระเครื่องให้ความนิยม คือพระสมเด็จอรหัง และเชื่อกันว่าเป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นผู้สร้างไว้ มูลค่าสูงและก็หายากในปัจจุบันครับ

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ชื่อ วัดสลัก ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี

สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักในปีพ.ศ.2326 จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็น "วัดนิพพานาราม" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนา

ในปีพ.ศ.2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ" และในปีพ.ศ.2346 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณะวัดมหาธาตุฯ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์" ในปีพ.ศ.2439

อย่างไรก็ตามชาวบ้านทั่วไปก็มักจะเรียกกันติดปากว่า "วัดมหาธาตุ" ที่วัดนี้อย่างที่ทราบกันว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ก็เคยย้ายจากวัดราชสิทธิ์ (วัดพลับ) มาประทับอยู่ที่วัดแห่งนี้ ครั้งเมื่อได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า สมเด็จฯ ได้สร้างพระเครื่องเนื้อผงไว้เป็นที่แจกจ่ายและบรรจุไว้

พระสมเด็จที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สร้างไว้ เป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยม เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังมักจะพบว่ามีจารอักขระเป็นอักษรขอมคำว่า "อรหัง" มีอีกแบบเป็นลักษณะตราประทับ คำว่า อรหังเช่นกัน จึงเป็นที่มาของคำเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระสมเด็จอรหัง" พระที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ 3 ชั้น หรือพิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกตุอุ หรือเกตุเปลวเพลิง พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็ก แบบมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล พระที่พบที่วัดมหาธาตุจะเป็นพระเนื้อผงออกสีขาว ขาวอมเหลือง และขาวอมเขียวก้านมะลิ

พระแบบพระสมเด็จอรหังยังพบอีกครั้งที่กรุเจดีย์วัดสร้อยทอง แต่พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อแดง มีเนื้อสีขาวบ้างแต่น้อย และเนื้อพระที่พบก็จะเป็นประเภทเนื้อหยาบทั้งเนื้อแดงและเนื้อขาว ส่วนพิมพ์ของพระจะเหมือนกัน ยกเว้นพระพิมพ์เล็กไม่พบในกรุวัดสร้อยทอง

พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กจะพบแต่เนื้อขาวเท่านั้น ด้านหลังจะมีจารอรหัง ทั้งพิมพ์มีประภามณฑลและไม่มีประภามณฑล พิมพ์เล็กนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าพระทุกพิมพ์ จึงหายากกว่า และมีการปลอมแปลงกันมานานแล้วครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56950722758968_21_3621_3611_._3614_3623_3591_.jpg)  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48372850939631_20_3621_3611_._3614_3623_3591_.jpg)
เหรียญหลวงปู่พวง ฐานวโร

"พระอธิการพวง ฐานวโร" หรือที่ ชาวบ้านทั่วไปรู้จักดีในนาม "หลวงปู่พวง ฐานวโร" เจ้าอาวาสวัดน้ำพุสามัคคี ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ศิษย์เอกสืบสายวิทยาคมจากพระครูวิชิตพัชราจารย์ หรือหลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก อ.เมืองเพชรบูรณ์ อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งเพชรบูรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับแนวหน้ารูปหนึ่งของเมืองมะขามหวาน ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 90 ปี พรรษา 69

หลวงปู่พวง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2467 ที่เมืองดอกบัว จังหวัดปทุมธานี เชื้อสายมอญ ได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เพชรบูรณ์ ทำอาชีพเกษตรกรรม บิดามารดาได้ให้บวชตั้งแต่เป็นสามเณร สามเณรพวงได้ปรนนิบัติหลวงพ่อทบมิได้ขาด ไม่ว่าจะล้างบาตร เทกระโถนน้ำหมาก หลวงพ่อทบเห็นในความเพียรตั้งใจจริงจึงได้ถ่ายทอดสรรพต่างๆ และวิปัสนากัมมัฏฐานการกำหนดจิต การฝึกกสินแต่ละกอง จนถึงการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัย ๒๑ ปีได้ฉายา“ ฐานวโร ”แปลว่า ผู้มีฐานะอันประเสริฐ ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับหลวงพ่อทบ หลวงพ่อทบให้ช่วยจารตะกรุดมั่ง ม้วนมั่ง ถักมั่ง  หลวงพ่อทบรักมากสอนให้จนหมด

หลวงพ่อทบไปมาหาสู่กับหลวงพ่อเขียน ที่สำนักขุนเณร หลวงพ่อทบจึงได้ฝากฝังศิษย์รักให้หลวงพ่อเขียนให้ช่วยประสาทวิชาเพิ่มเติม ทั้งด้านกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน ฝึกกสิน ๑o วิชาทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ เมื่อเรียนจนหมดจากหลวงพ่อเขียนจึงได้กราบลากลับมาเพชรบูรณ์

ได้พบหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย หลังจากทดสอบกำลังใจแล้วท่านจึงรับเข้าสำนักถ่ายทอดวิทยาคมให้หมดสิ้น หลังจากที่ได้ร่ำเรียนจนสำเร็จแล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่ออ้วนเพื่อออกธุดงค์ ปลีกวิเวกตามป่าเขา ตามถ้ำต่างๆ ได้ธุดงค์เข้าป่ารกชัชขึ้นเขา ลงเขา จนมาถึงเทือกเขารัง ณ บ้านน้ำพุ จ. เพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕oo ได้ปักกลดจำวัด ณ ที่แห่งนี้  ชาวบ้านศรัทธาในบารมีนิมนต์ให้สร้างวัดเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน

หลวงปู่พวง ฐานววโร ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามยิ่ง มีปฏิปทาที่มั่นคง สมถะเรียบง่าย จิตใจโอบอ้อมอารี ให้ความเมตตาทุกคนไม่แบ่งชนชั้น

ในวาระปีใหม่ 2557 หลวงปู่พวง ได้มอบหมายให้ทางคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งประเทศและต่างประเทศ รุ่นฉลองศาลา เพื่อนำรายได้มาบูรณะวัดและซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งวัตถุมงคลที่จัดสร้างเป็นเหรียญหล่อโบราณ รุ่นแรก และ ปิดตาอรหัง  จัดสร้างเนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะ 999 เหรียญ เนื้อสำฤทธิ์ 1999 เหรียญ เนื้อรวมมวลสาร 1999 เหรียญ ปิดตาอรหัง จัดสร้าง เนื้อแก้วนพเก้า เนื้อเมฆสิทธิ์ เนื้อแร่โคตรเศรษฐี เนื้อเชียงรุ่ง อย่างละ 500 องค์ เท่านั้น ปลุกเสกเดือนธันวาคม 2556 หลวงปู่พวง ปลุกเสกเดี่ยว 10 วัน 10 คืนเต็ม

ลักษณะของวัตถุมงคล เป็นเหรียญหล่อรูปใข่ หลังยันต์เพชรกลับ กลับร้ายกลายดี ผู้เสกต้องมีวิชาอาคมขึ้นสูงจึงจะทำออกมาได้ศักสิทธิ์ ได้ผล ซึ่งปัจจุบันหาผู้สืบทอดวิชานี้ไม่มีอีกแล้ว ส่วนพระปิดตาอรหังนั่งค่อมหลังยันต์สามใบพัดอานุภาพบรรยายไม่สิ้นด้วยใช้ได้ครอบจักรวาล

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่พวงล้วนเป็นที่นิยมของบรรดานักสะสมพระเครื่องและ ผู้สนใจอย่างแพร่หลายทั้งในจังหวัดและทั่วประเทศ เนื่องจากมีพุทธคุณสูงทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65232201293110_21_3621_3611_._3626_3617_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อสมยาอุไร

"พระครูศรีคณานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อสม" (สม ยาอุไร) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

เป็นศิษย์พระครูธรรมสารรักษา หรือหลวงปู่อ้น อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม นอกจากนี้ยังเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ ด้วย

มรณภาพเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2532 สิริอายุ 91 พรรษา 71

เหรียญเสมาหลวงพ่อสม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อสม อายุครบ 88 ปี สร้างจากเนื้อกะไหล่รมดำ และเหรียญรุ่นนี้ยังเป็นเหรียญที่หลวงพ่อสม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยวถึง 4 ครั้ง ที่อุโบสถ วัดดอนบุบผาราม ตั้งแต่ปี 2528 จนกระทั่งถึงปี 2532

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อสมหน้าตรง ด้านล่างเขียนว่า "หลวงพ่อสมยาอุไร" เขียนติดกัน ซึ่งคำว่า "ยาอุไร" เป็นนามสกุลเดิมของหลวงพ่อสม

ด้านหลังเป็นยันต์ "มะอะอุ" ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อสม ใต้ยันต์เขียนว่า "พ.ศ.๒๕๒๘" รอบเหรียญด้านล่างเขียนว่า "วัดดอนบุบผาราม รุ่นอายุครบ ๘๘ ปี" ส่วนที่ชาวบ้านเรียกกันว่ารุ่นคานหัก เนื่องจากเหรียญรุ่นนี้ไม่เคยนำออกมาแจกญาติโยมเลย หลังจากสร้างขึ้น จนกระทั่งหลวงพ่อสมมรณภาพ

วัดดอนบุบผาราม ได้เตรียมนำเหรียญรุ่นนี้ออกมาเพื่อแจกแต่ปรากฏว่าจะแบกจะดึงกล่องบรรจุเหรียญรุ่นนี้อย่างไร ก็ไม่ขยับออกมาแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวบ้านร่วมใจกันไปหาไม้คาน กระทู้ไม้ไผ่มาหาบหาม ก็หักทุกครั้ง

สุดท้ายต้องจุดธูปอธิษฐานขออนุญาตหลวงพ่อสม จึงสามารถเคลื่อนย้ายเหรียญรุ่นนี้ออกมาแจกชาวบ้านได้

ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า "เหรียญรุ่นคานหัก"

กล่าวกันว่า มีอดีตส.ส.พรรคชาติไทยคนหนึ่ง ประสบอุบัติเหตุ แต่รอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์ ชาวบ้านร่ำลือกันว่ามาจากพุทธคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อสม

ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าว ต่างเสาะหาบูชาเหรียญรุ่นคานหักเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน เหรียญหลวงพ่อสม รุ่นคานหัก ยังพอมีเหลือเพียงไม่มากเท่านั้น หาเช่าบูชาได้ที่วัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47123214602470_22_1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80298172144426_22_3621_3611_._3610_3633_3623_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม จ.ตราด

วัดศรีบูรพาราม เดิมเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนเมื่อปี พ.ศ.2500 ญาติโยมและชาวบ้านที่ศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างเป็นวัดขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "วัดเกาะตะเคียน" ฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ.2524 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดศรีบูรพาราม"

เป็นศาสนสถานที่เป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดตราดและเพื่อนบ้านใกล้เคียง ด้วยความเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลที่จัดสร้างโดยเจ้าอาวาสรูปแรกและรูปปัจจุบัน คือ พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ หลวงปู่บัว ถามโก ที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า "พระอาจารย์บัว"

เดิมชื่อบัว เป็นบุตรนายเชี๋ย-นางเตี่ยน มารศวารี เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ปีขาล ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ ปีพ.ศ.2469 ณ บ้านเลขที่ 3 หมู่ 3 ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด

ในวัยหนุ่มชอบศึกษาหาความรู้ด้านยาสมุนไพรและมีความชำนาญด้านงานช่าง จนอายุ 23 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดบุบผาราม ต.วังกระแจะ โดยมี พระครูคุณวุฒิพิเศษ วัดบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวัตรรัตนวงษ์สิทธิ์ วัดหนองบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมเรื่อยมา จนปี พ.ศ.2505 ย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะตะเคียน ปีพ.ศ.2508 สอบได้ชั้นนักธรรมเอก

ปี พ.ศ.2513 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆกิจบูรพา ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลวังกระแจะ

หลวงปู่บัวท่านเล่าว่า ในสมัยก่อนการศึกษาภาษาบาลียังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ท่านจึงไปศึกษาวิทยาคมและพระคาถาต่างๆ จากพระครูคุณวุฒิพิเศษ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเฉพาะ "วิชาหัวใจ 108" ทำให้รู้ถึงขั้นตอนและกรรมวิธีการทำ "น้ำมันงา" ที่มีพุทธคุณทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษากับนายเสียง ชาวบ้านหมู่บ้านหนองโพง ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องหนังเหนียวนัก โดยนายเสียงได้พาลูกชายมาฝากเรียนวิชา แต่ลูกไม่สนใจ นายเสียงกลัววิชาจะสูญหาย จึงได้ถ่ายทอดให้หลวงปู่จนหมด โดยแรกๆ ท่านไม่คิดว่าจะได้นำมาใช้ จนมาสร้างพระเครื่องเพื่อแจกให้ญาติโยมพกติดตัว ป้องกันพวกนักเลงที่สมัยก่อนมีเยอะมาก ปรากฏว่าเห็นผลเป็นที่ร่ำลือ จากที่ไม่มีผู้ใดสนใจก็พากันมาขอจนหมดไม่มีเหลือ

เป็นพระเกจิที่รักสันโดษ สมถะ มีวัตรปฏิบัติงดงาม เมตตาธรรมสูงส่ง ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดตราดและใกล้เคียง

เป็นหนึ่งในเกจิดังของภาคตะวันออกที่ไม่ว่าจะออกวัตถุมงคลมากี่รุ่นต่อกี่รุ่น ก็ล้วนทรงพุทธคุณแก่ผู้สักการะเป็นที่กล่าวขวัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เหรียญรุ่นแรก" ที่เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง ผู้มีไว้ครอบครองก็ต่างหวงแหน

การจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่บัว รุ่นแรกนั้น นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นปีที่วัดจะจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจึงได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือน" ขึ้นล่วงหน้าในปี พ.ศ.2523 ประกอบด้วย เนื้อทองคำกับเนื้อเงิน จำนวนไม่มากนัก นอกนั้นเป็นเนื้อทองแดงในราว 20,000 กว่าเหรียญ โดยหลวงปู่ได้ปลุกเสกเดี่ยวมาตลอด

จนก่อนงานปิดทองฝังลูกนิมิต ทางวัดได้นิมนต์พระเกจิ 9 รูปมาปลุกเสกอธิษฐานจิตอีกครั้ง เมื่อถึงวันงานผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมทำบุญตามแต่ศรัทธาจะได้รับมอบเหรียญทองแดง 1 เหรียญ หรือจะขอเพิ่มฝากลูกหลานก็ไม่ว่ากัน หลวงปู่เมตตาแจกให้หมด เรียกว่าได้รับแจกกันแบบไม่จำกัดจำนวน

เหรียญนี้เองนับเป็น "เหรียญรุ่นแรก" เมื่อจบงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปรากฏว่ามีเหรียญเหลืออยู่อีกจำนวนมาก หลวงปู่บัวได้ปลุกเสกอีกหลายครั้ง หลายวาระ และทางคณะกรรมการวัดได้นำออกมาให้เช่าบูชาในราคาเหรียญละ 10 บาท ซึ่งกว่าจะหมดใช้เวลาอยู่หลายปี

เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาแว่วว่าสูงขึ้นถึงหลักหมื่น ซึ่งนับวันจะหายากขึ้น และมีการทำเทียมออกมาเป็นจำนวนมากครับผม

ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79682497307658_23_3614_3619_3632_3585_3619_36.jpg)
พระกริ่งคลองตะเคียน

พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นที่เชื่อกันว่า น่าจะเป็นพระที่พระเกจิอาจารย์เป็นผู้สร้างขึ้นมากกว่าจะเป็นพระกรุ

ลักษณะพิเศษมีหลายอย่าง เช่น องค์พระคล้ายพระคงทางเหนือ ภายในกลวงอุดผงเม็ดใบลาน เวลาเขย่าจะมีเสียง เลยกลายเป็น "พระกริ่งเนื้อดินองค์แรกและชนิดเดียวของสยาม" องค์พระได้มีการขุดค้นพบที่ จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณที่เรียกว่า "ดงตะเคียน" มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่าน ยามแล้งน้ำจะแห้งขอด อันเป็นที่มาของชื่อ

พระกริ่งคลองตะเคียน แตกกรุในราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังการขุดค้นของกรมศิลปากรแล้ว สำนักโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้ง ของกลุ่มวัดเก่าถึง 3 วัด ได้แก่ วัดโคกจินดา ซึ่งพบพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่ในกลุ่มนิยม ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์หน้าใหญ่ หน้าเล็ก พระหน้ามงคล และหน้าฤๅษี

นอกจากนี้ ยังพบพระพิมพ์ปิดตาอีกหลากหลายพิมพ์ ซึ่งกำหนดตามศิลปะเฉพาะของวัดที่สำคัญคือ ลายมือจารหวัดๆ ที่สวยงามลงตัว อันถือเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ วัดที่สองคือ วัดสำเภาล่ม (วัดทำใหม่) พบพระปิดตามหาอุตม์ และพระพิมพ์สมาธิ ซึ่งมีลายมือจารเป็นตัวบรรจงสวยงามเช่นกัน แต่แตกต่างจากวัดโคกจินดาที่ลายมือจะเป็นเส้นหยาบไม่ประณีตเท่า วัดที่สามได้แก่ วัดช้าง ศิลปะจะด้อยกว่าสองวัดข้างต้น ลายมือจารค่อนข้างหวัด เส้นจารหนา ดูหยาบ ไม่สวยงามนัก แต่ก็ดูดุดันเข้มขลังไปอีกแบบ ประการสำคัญก็คือ เป็นพระยุคเดียวกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" สองวัดข้างต้น

พุทธลักษณะองค์พระ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ใต้ซุ้มใบโพธิ์เป็นเม็ดๆ ไม่สู้ประณีตนัก พบทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ด้านบนส่วนใหญ่เป็นรอยจีบแหลมขึ้นไป จะมีลักษณะกลมมนบ้างแต่มีน้อย ครูบาอาจารย์ เคยท่องให้ฟังถึงสรรพคุณว่า "หน้าใหญ่ ไหล่ยก อกต่ำ ผิวดำสนิท กันเขี้ยวขออสรพิษ ต้องคลองตะเคียน" เป็นการพิจารณาพระได้ส่วนหนึ่งก็คือ พระพักตร์จะกลมใหญ่, หัวไหล่ข้างขวาจะยกสูงกว่าหัวไหล่ข้างซ้าย แต่จะมีบ้างที่หัวไหล่บางองค์ไม่ยกขึ้น หากแต่ราบเรียบเท่ากันทั้งสองข้าง จะเรียก "พิมพ์ไหล่ลู่", ส่วนคำว่า "อกต่ำ" นั้น แบ่งเป็น 2 กระแสคือ อกไม่ชิดกับลำพระศอ ทำให้มองดูอกอยู่ต่ำกว่าพระชนิดอื่น

แต่บางคนเรียก "อกตั้ง" เพราะหน้าอก จะนูนใหญ่ตั้งขึ้นมา และผิวดำสนิท คือองค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำสนิทและละเอียดทั้งองค์ ผิวขององค์พระเป็นมันขลับ สืบเนื่องจากดินและใบลานที่นำมาจัดสร้าง อีกทั้งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจนำไม้ตะเคียนที่มีเนื้อละเอียดมาเป็นส่วนผสมด้วย หากถามว่าสีอื่นมีไหม? ต้องตอบว่ามีครับ เพราะเป็นพระผ่านการเผา มีสีน้ำตาลปนอยู่บ้าง บางที พบเป็นสีเนื้อผ่าน (คือมีทั้งสองสีในองค์เดียวกัน) แบบนี้ปลอมยาก

พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์นิยม จะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์หน้าใหญ่ กับ พิมพ์หน้าเล็ก แล้วยังมีพิมพ์เศียรแหลม กับ พิมพ์เศียรมน และพิมพ์ปิดตา ซึ่งพบน้อยมาก นำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในหลายยุคหลายสมัย

พระกริ่งคลองตะเคียน ยังเป็นพระที่ลือลั่นในเรื่องพุทธคุณ สมัยก่อนนิยมอาราธนาอมไว้ในปากเวลาสู้รบ เขาว่า "เหนียวจริงๆ" และน่าแปลกที่ยิ่งอาราธนาใช้หรือโดนเหงื่อไคลยิ่งมันขึ้นดำเป็นประกายแวววาวทีเดียว

ส่วนการสันนิษฐานว่าเป็นเกจิอาจารย์ขมังเวทย์สร้างขึ้น ไม่ใช่เป็นพระกรุนั้น เนื่องจากจะพบรอยจารอักขระจารเป็นพระคาถาด้วยเหล็กจาร ให้สังเกตดูรอยกดของเหล็กจารจะต้องเก่าลึกและเป็นลายมือเดียวกัน พบว่าลากยาวไม่ปรากฏลอยขาดของเส้น ดูเผินๆ คล้ายเป็นตัวเลขไทยสมัยโบราณ ในพระกริ่งคลองตะเคียน มักจะพบตัวเลข "๓ และ ๔" อยู่เสมอ มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นตัวย่อของคาถา "๓" คือ มะ อะ อุ ส่วนเลข "๔" คือ นะ มะ พะ ธะ พระคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า อันนับเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่ง

พระกริ่งคลองตะเคียน ได้รับความนิยมจากเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์สร้างสืบต่อกันเรื่อยมา ขนาดและรูปแบบบางครั้งก็แตกต่างกันไป "ของแท้รุ่นแรก" ราคาจับไม่ลงเลยครับ


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 06 พฤศจิกายน 2558 19:02:11
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75762921199202_24_3621_3614_._3650_3605_3623_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของสุพรรณฯ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ที่ประชาชนและชาวสุพรรณฯ เคารพและศรัทธามาก มีประชาชนมาสักการะเป็นจำนวนมากประจำทุกวัน

วัดป่าเลไลยก์และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ผู้ใดเป็นผู้สร้างไว้แต่แรกเริ่มนั้นไม่มีประวัติบันทึกไว้ในเชิงประวัติ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงสันนิษฐานไว้อย่างน่าฟังว่า "เดิมน่าจะเป็นวัดพุทธาวาสไม่มีพระสงฆ์ประจำ คงมีแต่พระพุทธรูปประจำอยู่ในคฤหะอย่างมณฑป มีหลังคาคลุมเฉพาะองค์พระนับเป็นมหาเจดีย์สถานสำคัญเป็นสักการบูชาของพุทธบริษัท เช่นเดียวกับเจดีย์ทั้งหลายในสมัยโบราณ พระพุทธรูปเดิมที่ประดิษฐานไว้ในคฤหะ นี้ เป็นปางปฐมเทศนา มีฝาผนังล้อมองค์พระพุทธรูป 3 ด้าน ต่อมาภายหลังได้ก่อสร้างขึ้นด้วยอิฐปูนให้โตใหญ่กว่าองค์เดิม ครั้นพระกรเบื้องขวา ที่ยกแสดงปางปฐมเทศนา ชำรุดหักพัง นายช่างผู้บูรณะเลือนความจำได้แปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ ประทับนั่งห้อยพระบาท ต่อมามีพุทธบริษัทไปนมัสการมากยิ่งขึ้นจึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา เป็นวัดสังฆารามในบริเวณวัดป่าฯ นี้ เดิมไม่มีอุโบสถ พัทธสีมา"

สรุปตามคำสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หลวงพ่อวัดป่าฯ เดิมเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ละม้ายเหมือนองค์หลังพระปฐมเจดีย์ และอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดยุคสมัย เช่น สมัยขุนหลวงพ่องั่วครองเมืองสุพรรณ สมัยอยุธยา พระยาสีหราชเดโชไชยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารวัดป่าฯ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเสด็จธุดงค์ประพาสจังหวัดสุพรรณบุรี ทรงพบพระป่าเลไลยก์รกร้างไม่มีพระสงฆ์ปกครอง นมัสการหลวงพ่อโตทรงเลื่อมใสมาก ได้อธิษฐานไว้ว่า ถ้าได้ขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ สร้างหลังคาและฝาโดยรอบถวาย ที่หน้าบันยังมีตรามงกุฎประทับอยู่ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปนมัสการหลวงพ่อโตและทรงแจกเหรียญเสมาที่หน้าวิหารใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสจังหวัดสุพรรณฯ ได้ทรงนมัสการหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นผลให้วัดป่าฯ เจริญขึ้นอีก โดยได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดป่าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462

ในปีพ.ศ.2462 นี้เองวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงยกฐานะวัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในการนี้ได้จัดให้ มีพิธีเฉลิมฉลองหลวงพ่อโตเป็นการมโหฬารและได้ออกเหรียญรูปหลวงพ่อโต โดยหลวงพ่อสอนอดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ครองวัดป่าเลไลยก์เป็นผู้ปลุกเสกเหรียญนี้ หลวงพ่อสอนเป็นพระสงฆ์ที่ชาวจังหวัดสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกมาให้ชมกัน ด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38414058047864_25_3614_3619_3632_3586_3640_36.jpg)  
พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า

ช่วงหลังๆ นี่มีข่าวคราวเรื่อง "พระขุนแผนแสนสนิท" ออกมาบ่อยๆ

วันนี้เลยขอนำเสนอพระขุนแผนกรุหนึ่งที่เรียกกันในวงการว่า "กรุหลังโรงเหล้า" หรือบางทีก็เรียก "กรุโรงเหล้า" ซึ่งชื่อกรุก็ดูแปลกๆ แล้ว เขามีแต่กรุวัดนั้น วัดนี้ นี่เป็นกรุโรงเหล้า

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาและพิมพ์ทรงเดียวกันกับ "พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา" และมีทั้งพิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก เช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันตรงที่เป็นพระที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเท่านั้น พระพิมพ์นี้ยังไปตรงกับ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี" อีกด้วย แต่แตกต่างกันตรงเนื้อหาที่สร้างด้วยดินขาว ดินเหลือง และดินดำ เป็นหลัก เมื่อเผาแล้วองค์พระจะออกเป็นสีขาวแบบเนื้อกระเบื้อง ทำให้เนื้อพระมีความแกร่งมากกว่า

นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ด้านหน้าติดถนนอู่ทอง ฝั่งตรงข้ามเป็นโรงงานสุราพระนครศรีอยุธยา ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หันหลังให้โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี (อันเป็นที่มาของการเรียกชื่อกรุ) ได้ขยายและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม โดยมีผู้ควบคุมการตกแต่งสถานที่ ชื่อ ท่านอาจารย์หลุย ชมชื่น มีคนงานทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยอิสลาม โดยส่วนใหญ่เกลี่ยดินได้วันละ 50 สตางค์

ในสมัยนั้นปรากฏว่าคนงานขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสิงห์หลาย" หรือ "วัดสิงห์ทลาย" ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน "พระขุนแผน" ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า" หรือ "พระขุนแผน กรุโรงเหล้า" เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท

ต่อมาได้มีการสร้างและขยายโรงงานต่างๆ เพิ่มเติมในแถบ ต.หัวแหลม บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดสามจีน" เพราะเดิมเป็นเขตวัดพระจีน แต่ต่อมาก็กลายเป็นวัดร้าง ซึ่งก็ยังติดต่อกับเขตโรงเรียนฝึกหัดครูฯ และทางเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยาได้จัดสร้างเป็นโรงเก็บน้ำประปา ในขณะก่อสร้างใช้รถไถปรับพื้นดิน ปรากฏพระขุนแผนเนื้อผงพิมพ์เดียวกันกับวัดสิงห์ทลาย บางองค์ก็เป็นเนื้อกระเบื้องเคลือบคล้ายของวัดใหญ่ชัยมงคล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15889730056126_25_1_3614_3619_3632_3586_3640_.jpg)
พุทธลักษณะของ "พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)" และที่พบบริเวณวัดสามจีน จะคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า "ขุนแผน" ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง และไม่พบพระเคลือบเหมือนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล โดยสามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์อกใหญ่" เนื้อขาวใบลาน และ "พิมพ์อกเล็ก" หรือ "พิมพ์แขนอ่อน" เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก

พระที่เรียกว่า "พระขุนแผน" นั้น เป็นที่ยอมรับกันทุกผู้ทุกนามในเรื่องพุทธคุณเข้มขลังที่ครบเครื่องครบครัน โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมสูงส่ง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ของพระขุนแผน ที่เรียกว่าเป็นการประชันกรุกันทีเดียว เรื่องมีอยู่ว่า ...

...ครั้งหนึ่ง มีเซียนพระ 3 คน แย่งกันจีบผู้หญิงคนเดียวกัน และแต่ละคนต่างก็จะมีของดีประจำตัวอยู่ โดย คนที่ 1 ห้อยพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล คนที่ 2 ห้อยพระขุนแผน กรุโรงเหล้า และคนที่ 3 ห้อยพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ผลปรากฏว่า คนที่ห้อยพระขุนแผน กรุโรงเหล้า สามารถชนะใจสาวเจ้าได้ ...


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91012242519193_25_2_3614_3619_3632_3586_3640_.jpg)
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจจะเป็นด้วยสาเหตุอื่นใดก็ตามแต่ เรื่องราวนี้ก็กลับกลายเป็นตำนานเล่าขานของพระขุนแผน 3 กรุที่มาประชันพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ในแวดวงพระเครื่องเมืองกรุงเก่าสืบต่อมา

ขึ้นชื่อว่า "พระขุนแผน" แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า (กรุโรงเหล้า)" ก็เช่นกัน แต่สนนราคาจะแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ที่สามารถแยกพิมพ์ออกว่าขึ้นจากกรุไหนก็จะได้เปรียบมากกว่าครับผม

ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31944636007149_26_3614_3619_3632_3626_3617_36.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

วันนี้ขออนุญาตพูดเรื่อง "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" ที่สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีเอกลักษณ์ง่ายๆ รู้กันทั่วไปคือ ไม่บรรจุกรุ เพราะท่านสร้างตามกำลังฤกษ์กำลังวัน แล้วแจกผู้คนที่มาตักบาตรไปเรื่อยๆ บางคนไปดักรอ อาจจะบุญน้อยหน่อยไม่เคยได้เจอท่าน อันนี้เองนำมาสู่การกดพิมพ์จากของจริงเพื่อทำเทียมไว้บูชา ไม่มีเจตนาจะซื้อขายแต่อย่างไร

ดังนั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงถูกทำเทียมเลียนแบบมานานแล้ว อายุก็ถึง พิมพ์ก็เหมือน ขาดแต่เนื้อหามวลสารเท่านั้น เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้จงหนัก

แล้วการดูพระนี่ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกกล่าวกันได้ตายตัว ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยเฉพาะการได้เห็นและสัมผัสองค์พระแท้ๆ มาเป็นจำนวนมาก ไม่มีกฎเกณฑ์เป็นตำรา นอกเสียจากความเพียรพยายามที่จะศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังและเป็นเหตุเป็นผล

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ คือ
เนื้อมวลสาร มวลสารที่ปรากฏบนพระสมเด็จวัดระฆังฯ แท้ทุกองค์ทั้งด้านหน้าด้านหลัง จะมีมากน้อยบ้างแล้วแต่ส่วนผสม ก็คือ เม็ดดำ เม็ดแดง จากผงพระซุ้มกอบด, มีก้อนสีขาวใส สีขาวขุ่น หรือสีเทาอ่อน แต่แข็งแกร่งฝังอยู่ในเนื้อพระที่เรียกว่า "แร่หิน" และมีผงขาวขุ่นก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า "ผงพุทธคุณ" และเม็ดสีขาวอมเหลือง เรียกว่า "เม็ดพระธาตุ" ซึ่งจะฝังอยู่ในรอยแยกของเนื้อพระ

บางทีเม็ดมวลสารเหล่านี้หลุดร่อนออกไป จะเกิดเป็นหลุมบ่อบนพื้นผิวพระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถือเป็นจุดพิจารณาความเก่าแก่ของพระได้เช่นกัน

เนื้องอก เป็นจุดสำคัญที่สุดที่บ่งบอกความเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ทุกองค์ที่เก่าถึงยุค ลักษณะเนื้องอกเป็นเม็ดเล็กๆ ผุดขึ้นจากเนื้อพระตามพื้นผิว เส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระ ซึ่งจะมีน้อยบ้างมากบ้างทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นเพราะมีส่วนผสมมวลสารเช่นเดียวกับ "พระวัดพลับ" ที่สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) สร้างเอาไว้ คือ "ผงธาตุสีวลี หรือผงวิเศษ" ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ได้นำมาคลุกผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ประกอบเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ เช่นกัน เมื่อผ่านกาลเวลายาวนานกว่าร้อยปี จะมีเนื้องอกผุดออกจากเนื้อพระเป็นเม็ดเล็กกลมใส สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล สีขาว ตามสีของเนื้อพระ

ทีนี้มาดูหลักการสำคัญที่บรรดา "เซียนใหญ่" เขามักใช้ในการตรวจสอบพระสมเด็จวัดระฆังฯ ในเบื้องต้น ซึ่งก็คือ
- ตรวจดูด้านข้าง...จะพบรอยลากของ "ตอก" เป็นขยักๆ
- ตรวจดูด้านหลัง...จะพบลักษณะสำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังฯ คือ หลังกาบหมาก หลังกระดาน หลังสังขยา และหลังเป็นแผ่นเรียบ โดยเฉพาะ "ขอบริมทั้ง 4 ด้าน" จะพบรอยประเล็กๆ เรียกว่า "รอยปูไต่" อันเกิดจาก "การตัดตอก" จากด้านหลังมาด้านหน้า
- พระแท้...จะมีน้ำหนักถ่วงมือเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากน้ำมันตั้งอิ้ว
- ของเทียม น้ำหนักเบา "พระแท้ครึ่งองค์ หนักกว่าพระเก๊ 1 องค์"
- ให้ดูการหดตัวของเส้น ที่ประกอบบนองค์พระให้เป็น วิธีนี้ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่า ตรวจสอบเส้นต่างๆ ของแม่พิมพ์

สำหรับ "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" ที่นำมาให้ชมองค์นี้ เป็นของ "คุณธนทัศน์ ทองเนียม" เป็นพระที่เป็นที่แน่ใจได้ว่าไม่ได้ลงกรุ และเอกลักษณ์เส้นสายก็ตรงตามแม่พิมพ์ที่เล่นกันมาแต่โบราณ

ที่สำคัญจะสังเกตเห็นว่า องค์พระเป็นคราบขาวทั่วทั้งองค์ คราบนี้ไม่ใช่คราบกรุ แต่เป็นคราบอันเกิดจากปูนขาวที่เป็นส่วนผสมหลักอย่างหนึ่งในองค์พระ หากถอดออกจากคอแล้วจะแห้ง หากใส่สัมผัสผิวและโดนเหงื่อแล้ว ก็จะเกิดเป็นรอยน้ำมันจับทั่วองค์

ดูจากลักษณะขององค์พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์นี้ น่าจะเข้าในเกณฑ์ "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ เอ" คือ เกศทะลุซุ้ม เนื้อเหลือง แกร่ง มีคราบฝ้าขาวปกคลุม

ขอขอบคุณท่านเจ้าของพระมา ณ ที่นี้ ที่กรุณาอนุเคราะห์ภาพมาให้ได้ทัศนากันครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97304300632741_27_3648_3627_3619_3637_3618_35.jpg)
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ รุ่นแรกปี พ.ศ.2460

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธาน้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน

ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา

เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร

อยู่วันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคก ได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาการแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์

หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษจันกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ

ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อ ปัจจุบันหาชมได้ยากพอสมควร ชาวบ้านในแถบนั้นหากมีก็จะหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ....แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28430093203981_28_3614_3619_3632_3614_3636_36.jpg)
พระพิมพ์ขุดสระใหญ่ พระขุดสระเล็ก และพระพุทธชินราช
ของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ และพระเครื่องของท่านล้วนแต่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น เช่น พระผงขุดสระใหญ่และเล็ก เหรียญพระกริ่งพุทธชินราช รูปหล่อ พระผงสมเด็จฯ เป็นต้น

หลวงปู่เผือกเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2412 ที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี โยมบิดาชื่อทองสุข โยมมารดาชื่อไข่ พออายุได้ 13 ปี บิดามารดาพาไปฝากกับพระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้ว เพื่อศึกษาเล่าเรียน พออายุได้ 21 ปีก็ได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีพระอาจารย์ทอง อุทยญาโณ วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่ม วัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญฺญธโร" เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อพระอาจารย์อิ่มมรณภาพ หลวงปู่เผือกก็ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์และชาวบ้านให้เป็นผู้ดูแลวัดแทนพระอาจารย์อิ่ม

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2442 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ปีพ.ศ.2443 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลราชาเทวะ พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (จ้อย) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร และในปีนี้เองท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูกรุณาวิหารี ปีพ.ศ.2487 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์องค์การสาธารณูปการ ใน อ.บาง พลี ปีพ.ศ.2496 หลวงปู่เริ่มอาพาธ และหลวงปู่เผือกก็ได้มรณภาพ ในปีพ.ศ.2501 สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69

หลวงปู่เผือกเป็นศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา และก็เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงปู่เผือกจะได้รับการนิมนต์ด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้รับนิมนต์ทุกครั้ง หลวงปู่เผือกได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น พระผงรุ่นขุดสระ ซึ่งในครั้งนั้นหลวงปู่ได้บูรณะวัดกิ่งแก้ว โดยถมที่ให้สูงขึ้นเนื่องจากพื้นที่วัดเป็นที่ลุ่ม หน้าน้ำน้ำจะท่วมทุกปี หลวงปู่จึงได้ขอแรงชาวบ้านให้มาขุดดินภายในวัดมาถมที่ให้สูงขึ้นเพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ บริเวณที่ขุดดินมาถมจึงกลายเป็นสระน้ำสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหน้าแล้ง และหลวงปู่ก็ได้ทำพระเครื่องเนื้อผงแจกให้แก่ผู้ที่มาร่วมขุดดินและช่วยสร้างโบสถ์

พระรุ่นนี้จึงเรียกกันว่า พระรุ่นขุดสระ พระรุ่นนี้มีสองแบบคือ แบบองค์ใหญ่ก็เรียกว่าพระขุดสระใหญ่ แบบพิมพ์เล็กเรียกว่าพระขุดสระเล็ก ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากหายากและราคาสูง พระเนื้อผงของหลวงปู่ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ ที่สร้างในคราวต่อมาอีกหลายพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพุทธชินราชหล่อด้วยโลหะ โดยสร้างแบบพระพุทธชินราชของวัดสุทัศน์ แต่ตราอกเลานั้นจะทำไว้ที่ฐานด้านหน้า วัตถุมงคลของหลวงปู่ก็ยังมีอีกหลายอย่างเช่น เหรียญรูปหลวงปู่ รูปถ่ายตะกรุด ฯลฯ ล้วนเป็นที่นิยมเสาะหาทั้งสิ้นในปัจจุบัน

ในวันนี้ผมได้นำพระพิมพ์ขุดสระใหญ่ พระขุดสระเล็ก และพระพุทธชินราชของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วมาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27210961861742_29_3614_3619_3632_3611_3636_36.jpg)
พระปิดตามหาลาภ เนื้อทองคำ

พระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อชุบ
วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี


"พระปิดตา" เป็นชื่อเรียกขานพระเครื่องอีกประเภทหนึ่ง ที่มีพุทธศิลปะแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแสดงถึงนัยทางธรรมะ และกลายเป็นความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างสูง ในแวดวงพระเครื่อง และพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะที่จัดสร้างโดยอดีตพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ

พุทธลักษณะโดยทั่วไปของ "พระปิดตา" องค์พระจะค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักก็จะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง ซึ่งในวงการเรียก "โยงก้น"

คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวาร ที่มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ยนั้น ได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ "พระมหาสังกัจจายนะ" หรือ "พระภควัมบดี" หนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระจากรูปร่างและผิวกายงดงาม ให้กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ ด้วยผลแห่งกุศลในอดีตชาติ

ประเทศไทยเราได้มีการสร้าง "พระปิดตา" มาตั้งแต่ในช่วงอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ และเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42671540296739_29_1_3614_3619_3632_3611_3636_.jpg)  
พระปิดตามหาลาภ เนื้อเงิน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36863550212648_29_2_3614_3619_3632_3611_3636_.jpg)
พระปิดตามหาลาภ เนื้อนวะโลหะ

มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่วจวบจนปัจจุบัน ที่โดดเด่นมี อาทิ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม), พระปิดตาวัดหนัง, พระปิดตาวัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่ศุข, พระปิดตาแร่บางไผ่วัดโมลี และพระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น ซึ่งสนนราคาเช่าหา ณ ปัจจุบัน ค่อนข้างสูง และหาได้ยากยิ่ง

สำหรับปีนี้มีพระปิดตารุ่นหนึ่งที่สร้างโดยพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมเป็นที่เคารพศรัทธามาแนะนำ นั่นคือพระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี หนึ่งในวัตถุมงคล "รุ่นเมตตา" เพื่อหารายได้จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ของวัด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41658946582012_29_3_3621_3614_._3594_3640_361.jpg)
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ

หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ หรือพระครูอดุลพิริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ เป็นศิษย์สายหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และสายหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สองพระเกจิชื่อดังของไทย

เกิดที่ จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2469 หลังจากอุปสมบทก็ออกธุดงควัตรเพื่อปลีกวิเวกและแสวงหาความรู้จนมาถึง จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างและพัฒนาพื้นที่จนกลายเป็น "วัดวังกระแจะ" อย่างสมบูรณ์ ด้วยบารมีของหลวงพ่อและการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพศรัทธาในตัวท่าน

ปี พ.ศ.2519 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในพระราชทินนาม พระครูอดุลพิริยานุวัตร ปัจจุบันท่านมีสิริอายุ 89 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอไทรโยค

สำหรับพระปิดตามหาลาภนั้น เป็นหนึ่งในชุดวัตถุมงคล รุ่นเมตตา อันประกอบด้วย เหรียญเมตตา, พระปิดตามหาลาภ และพระปรกใบมะขาม โดยจัดสร้างเป็นหลายเนื้อ และได้ประกอบพิธีบวงสรวงเททองนำฤกษ์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 26 กันยายน

สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษกจะจัดปลายปีนี้ ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม ณ มณฑลพิธีวัดวังกระแจะ โดยมีหลวงพ่อชุบ เป็นประธานจัดสร้างฝ่ายสงฆ์, นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานอุปถัมภ์ และนายธนน เวชกรกานนท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานจัดสร้างฝ่ายฆราวาส

ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 พฤศจิกายน 2558 20:13:00

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77568164260850_30_3648_3627_3619_3637_3618_35.jpg)
หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้
สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ของจังหวัดนนทบุรี ที่ชาวเมืองนนท์เคารพนับถือมากรูปหนึ่งก็คือหลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้ และเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นหายากมากในปัจจุบัน สนนราคาเหรียญสวยๆ ก็สูงมากเช่นกัน

หลวงปู่ช่วงเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 ที่บ้านในคลองบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โยมบิดาชื่อ สิงห์โต โยมมารดาชื่อ เฟี้ยม นามสกุล เพ็งแจ่ม เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดขวิด (วัดแสงสิริธรรม) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในละแวกบ้านของท่าน ต่อมาเมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเขมาภิรตาราม โดยมีพระครูเขมาภิมุขธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พออายุได้ 19 ปี ก็ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

พอปี พ.ศ.2424 จึงได้อุปสมบทที่วัดบางแพรกใต้ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2424 โดยมีพระอธิการทับ วัดนครอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการศรี วัดบางแพรกใต้ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ พระอาจารย์เสือ วัดนครอินทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทโชโต" เมื่อได้อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดบางแพรกใต้ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่านทั้ง 3 องค์ อีกทั้งทางด้านพุทธาคมต่างๆ ซึ่งทั้งสามองค์นี้ก็มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น

นอกจากนี้ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เรื่องวิชาโสฬสมงคลและไตรสรณาคมน์ เรียนวิชาทำผ้าประเจียดและธงแดงจาก พระธรรมานุสรี (สว่าง) วัดเทียนถวาย เรียนวิชาทำผงวิเศษห้าประการจากพระครูนิโรธมุนี วัดตำหนักเหนือ เรียนทางคงกระพันชาตรีกับหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

ในปี พ.ศ.2435 พระอาจารย์ศรี เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้มรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อแทน ต่อมาในปี พ.ศ.2450 หลวงปู่ช่วงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พอปี พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสวนใหญ่ เป็นพระสงฆ์ที่มีศีลจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในระเบียบวินัย และมีเมตตาธรรมสูง หลวงปู่ช่วงจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงปู่ช่วงได้สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ หอระฆัง เป็นต้น ทั้งเอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา จึงทำให้วัดบางแพรกใต้คืนสภาพจากความเสื่อมโทรมจนเจริญขึ้นเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

ท่านเป็นพระอุปัชฌายะ บวชคนมาตั้งแต่บิดาจนถึงบุตรหลาน เหลน นับอยู่ในเกณฑ์ยาวถึง 3-4 ชั้น แม้ในยามที่ชราภาพ ท่านก็สงเคราะห์คนอื่นตลอดมา ใครไปหาไม่มีผิดหวังต้องการอะไรให้ทันที

ในเทศกาลออกพรรษาจะมีลูกศิษย์มาให้ช่วยลงกระหม่อมมาก ท่านจะใช้ดินสอพองที่ได้ทำไว้มาลงให้ เรื่องวัตถุมงคลของท่านก็มีผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ตะกรุดพิสมร ซึ่งผู้ที่อยากจะได้นำวัสดุมาขอให้ท่านทำให้ ปัจจุบันหาดูได้ยากมากครับ ท่านเคยสร้างพระเครื่องเนื้อดินสอพองผสมผงวิเศษและใบแคอัดพิมพ์ ในคราวสงครามเอเชียบูรพา ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2488 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเป็นรุ่นแรกในการทำบุญฉลองอายุครบ 85 ปี ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาสูงและหายาก ในปี พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูนนทวุฒาจารย์ ในปี พ.ศ.2496 วัดลานนาบุญได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ช่วง ออกเป็นที่ระลึกในการจำลองพระคันธารราฐ ปี พ.ศ.2497 วัดบางแพรกเหนือ ได้มีการยกเครื่องบนก่อสร้างพระอุโบสถ

ในการนี้คณะกรรมการวัดผู้ดำเนินการได้ขออนุญาตหลวงปู่ขอสร้างเหรียญรูปท่านมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรูปอาร์มเหมือนเหรียญรุ่นแรก แต่ย่อขนาดลง เหรียญรุ่นสุดท้ายเป็นแบบรูปสามเหลี่ยมสองหน้า ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธโสธร ด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ช่วง สร้างในปี พ.ศ.2497 แต่ทว่ายังไม่ได้ออกมาแจก จนกระทั่งมรณภาพในปีต่อมาจึงนำมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน หลวงปู่มรณภาพในปี พ.ศ.2498 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 74

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของ หลวงปู่ช่วง รุ่นแรก ปี พ.ศ.2488 มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20524708264403_31_3627_3621_3623_3591_3611_36.jpg)
เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดงไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดีจะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรมและจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปีพ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60280233166283_32_3614_3619_3632_3585_3619_36.jpg)
พระกริ่งมหาเมตตาบารมี
"พระราชภัทรญาณ" (วิ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม จัดสร้าง "พระกริ่งมหาเมตตาบารมี" สืบสานตำรับพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีประวัติการสร้างพระกริ่งมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พ.ศ.2441

ตำราการสร้างพระกริ่ง เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา และสืบทอดมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ และที่พระมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี

สำหรับคำว่า กริ่ง มาจากคำถามที่ว่า กึ กุสโล (กิง กุสะโล) เป็นชื่อของ อเนญชา คือ นิพพุติ แปลว่า ดับสนิท ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน

การจัดสร้างพระมหาเมตตาบารมีในครั้งนี้ มีลักษณะรูปแบบองค์พระกริ่ง มีพระพุทธลักษณะประทับนั่งบนกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวัชระ มีขนาดใหญ่ พระพักตร์อิ่มเอิบสวยงาม

กราบขอหลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฎร์เรืองสุข (มาบลำบิด) ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ 3 วาระ วาระแรก เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2558 ที่กุฏิหลวงปู่ฮก หลังเสร็จพิธีได้นำเข้าโบสถ์หลังเก่าของวัดราษฎร์เรืองสุข

วาระที่สอง วันที่ 23 ส.ค.2558 ที่โบสถ์หลังเก่าของวัดราษฎร์เรืองสุข พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระสูตรที่แสดงเนื้อหาถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ทั้ง 4

วาระที่สาม เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2558 ในศาลาการเปรียญอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ "พระพุทธเสฏฐมุนี" พระประธานในศาลาการเปรียญ และยังเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหล่อยืนและนั่ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) อดีตพระสังฆราชและอดีตเจ้าอาวาส พระอุปคุต และพระสุนทรีวาณี ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีนายชาย ศรีสงวนสกุล ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส, หลวงปู่ฮก เป็นประธานจุดเทียนชัยและนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

พระราชภัทรญาณ (วิ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประธานดับเทียนชัย

จำนวนการจัดสร้าง 1.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อทองคำ 19 องค์  2.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นทองคำ 9 องค์  3.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นเงิน 59 องค์  4.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นทองแดง 99 องค์  5.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อชนวนก้นทองฝาบาตร 999 องค์

นอกจากนี้ ยังมีพระขุนแผนมหาเมตตาบารมีและพระปิดตามหาเมตตาบารมีอีกจำนวนหนึ่ง สมนาคุณแก่ผู้สั่งจองพระกริ่งรุ่นนี้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95233399503760_33_3614_3619_3632_3618_3629_36.jpg)
พระยอดขุนพลกรุวิหารพระ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุกันบ้าง สลับกันไปนะครับ พระเครื่องที่มีชื่อว่า พระยอดขุนพล มีการพบอยู่หลายกรุ หลายจังหวัด แต่พระทุกกรุก็จะมีชื่อกรุต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าเป็นพระกรุไหน พระยอดขุนพลเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่มีศิลปะและสีผิวสนิมสวยงามกรุหนึ่งก็คือ พระยอดขุนพล กรุวิหารพระ จังหวัดชัยนาท

ตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด บ้านหันพระ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เคยมีโคกดินอยู่กลางทุ่งนาอยู่โคกหนึ่ง เวลาช่วงน้ำหลาก น้ำจะท่วมเจิ่งไปหมดเหลือแต่โคกดินสูงอันเป็นที่ตั้งของซากวิหารเก่าที่หลงเหลือเพียงฐานเท่านั้น และมีการกล่าวขวัญกันว่า "ใครก็ตามมาอยู่อาศัยบนโคกนั้น มักเจ็บไข้ได้ป่วยกันเสมอ แม้วัวควายเพียงขึ้นไปสีที่จอมปลวกยังถึงกับชักดิ้นชักงอทีเดียว" ก็เป็นเรื่องเล่าของชาวบ้านในสมัยก่อน สถานที่แห่งนี้ในอดีตจึงเรียกกันว่า "วิหารพระ" กาลเวลาผ่านมาก็เรียกกันเพี้ยนและสั้นเข้าเป็น "หันพระ" ลำน้ำที่ติดกันก็มีชื่อเรียกว่า "ลำหันพระ" ไปด้วย

ร่องรอยของวิหารพระบนโคกดินในอดีตนั้น เนื้อที่ประมาณเกือบไร่ ฐานขอบก่อด้วยศิลาแลง ขนาดใหญ่ เคยมีคนเข้ามาแอบขุดหาพระกันหลายครั้งหลายคราว ได้พระไปบ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งพระที่พบก็มีพระพุทธรูปและพระเครื่องไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีการบันทึกว่าพบพระอะไรบ้าง จนกระทั่งมาถึงกลุ่มนายฉิ่ง นายแม้น จึงพบพระเครื่องในกระปุกสีน้ำตาลคล้ำ ขนาดไม่ใหญ่นัก ภายในก็พบพระเครื่องจำนวนที่สมบูรณ์สักร้อยกว่าองค์ ที่เหลืออีกเกือบครึ่งชำรุดหักพังเสียหาย พระที่พบมีพระร่วงยืนแบบลพบุรี แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นพระยอดขุนพล ซึ่งเป็นพระประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พิจารณาจากศิลปะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระศิลปะแบบลพบุรีตอนปลาย หรือ แบบอู่ทองสุวรรณภูมิ (อู่ทอง 1) พระยอดขุนพลมีพระโมลี 3 ชั้น ส่วนยอดคล้ายดอกบัวตูม มีไรพระศก สังฆาฏิเป็นปื้นใหญ่ ปรากฏเส้นขอบสบง ประทับนั่งอยู่บนฐานบัว ผิวพระมีคราบไขขาวจับอยู่บนองค์พระทั่วไป เมื่อล้างคราบไขขาวออก จะพบผิวสนิมแดงเข้มจับหนาตลอดทั้งองค์พระสวยงาม

พระกรุนี้ต่อมาก็มีคนร่วมหุ้นกันซื้อเหมามาจนหมดและกระจายไปสู่นักสะสม ปัจจุบันไม่ได้พบเห็นกันอีกเลย ด้วยคำว่ายอดขุนพลจึงทำให้เป็นที่นิยม และด้วยสีผิวสนิมแดงนั้นสวยงาม อีกทั้งพิมพ์ของพระก็มีความลึกชัด และงดงามด้วยศิลปะอู่ทองสุวรรณภูมิ ผู้ที่ครอบครองไว้จึงไม่มีการเปลี่ยนมือเข้ามาในสนามพระอีกเลย

จากข่าวการพบพระในครั้งนั้น ก็มีคนแอบเข้าขุดหาพระกันต่อเนื่องมาตลอด จนทุกอย่างพังพินาศไปหมดไม่หลงเหลือหลักฐานของฐานวิหารอีกต่อไป ครั้งหลังสุดได้มีผู้ใช้แทรกเตอร์เข้าไปพลิกฟื้นผืนดินขอบฐานศิลาแลงก็แหลกลาญลง จนไม่หลงเหลือโคกวิหารอีกต่อไป กลายเป็นทุ่งนาไปหมดแล้วในปัจจุบัน

ครับในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลกรุวิหารพระ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย โดยคุณพิศาล เตชะวิภาค (ต้อย เมืองนนท์) รองนายกสมาคม ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 ธันวาคม 2558 19:09:22
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28204722702503_1.jpg)
ตำนานพระนางพญา จ.พิษณุโลก
"วัดนางพญา จ.พิษณุโลก" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดใหญ่" และ "วัดราชบูรณะ"

ที่เรียกว่า "วัดนางพญา" สันนิษฐานว่ามาจากชื่อของพระวิสุทธิกษัตรี ซึ่งเป็นอัครชายาของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ต่อมาวัดถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานอันเนื่องจากศึกสงคราม กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ "พระนางพญา" วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง

ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือในปี ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ทรงมีพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า "....อนุสนธิรายงานวันที่ ๑๙ เวลาเช้า ๒ โมงเศษ ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่วัดมหาธาตุ แล้วเดินไปจนสุดถนน อันเป็นถนนเดิมปูด้วยอิฐลายสองตามถนนริมน้ำไปเข้าวัดนางพญา เดินไปริมคู ฤาสระรอบวัด...อนึ่ง ที่เล่าถึงเมื่อเวลาเช้านี้ขาดไปหน่อยหนึ่ง เมื่อเสร็จการจุดเทียนไชยแล้ว ไปดูวัดนางพญา ซึ่งอยู่ต่อจากวัดมหาธาตุติดกันทีเดียว วัดนี้มีแต่วิหารไม่มีอุโบสถ มีโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่ในนั้นโรงหนึ่ง พระสอน มีนักเรียนมาก ที่คับแคบไม่พอ..."

การพบพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก "ตรียัมปวาย" ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนในหนังสือ "ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ" ว่า มีโอกาสได้พบ ผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า "กรุพระนางพญา" เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝัง จมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม คราหนึ่งมีผู้หญิงชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นางถนอม มาขุดพบพระนางพญาที่บริเวณหน้ากุฏิได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย

ท่านตรียัมปวายยังได้บันทึกหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่า มีการพบพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกัน จากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก มีความว่า

"พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้ เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ ได้มีราษฎร ผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมาก และเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อย ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกัน และเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจดีย์นี้ ..."

พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา รูปทรงสามเหลี่ยม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้ทราบว่าพระนางพญาเป็นการผสมผสานทางด้านศิลปะของสุโขทัยและอยุธยา มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ ส่วนด้านหลังจะมีรอยหดตัวด้วยอายุการสร้าง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 500-600 ปี พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย

แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง, พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง, พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่, พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ, พระนางพญา พิมพ์เทวดา และ พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก นับเป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญ ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ มีพุทธลักษณะงดงามสง่า กอปรกับพุทธาคมที่ปรากฏเป็นเลิศเป็นที่เล่าขาน ทำให้ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี"

สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16851061830917_1.jpg)
พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ

ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระ นางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

กล่าวถึง "พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น" นั้น เป็นหนึ่งพิมพ์ใน "พระนางกำแพง" ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองกำแพงเพชร คือ มีปีกกว้าง และจัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังพบการแตกกรุพร้อมกับ "พระกำแพงซุ้มกอ" เนื้อขององค์พระก็มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน และเกสรดอกไม้

สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น อีกทั้งพุทธคุณก็เป็นเลิศครบครัน ทั้งด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เช่นเดียวกับพระกรุเก่าเมืองกำแพงเพชรทั้งหลาย

พระกำแพงเม็ดมะลื่น มีขนาดพิมพ์ทรงประมาณ 2.5-3.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร แบบลอยองค์บนฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน พระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้ม ตามศิลปะเชียงแสน และพระเกศยาวแหลม แบบศิลปะสุโขทัย อันนับเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรโบราณ ที่มองเห็นคุณค่าของศิลปกรรมแต่ละยุคสมัย และมุ่งถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยการรังสรรค์ออกมาในรูปแบบของพุทธศิลปะในองค์พระ

- พระพักตร์ มีลักษณะคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร แต่จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
- พระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่เป็นลักษณะใหญ่ข้างเล็กข้างไม่สม่ำเสมอ และเลือนรางมาก
- ในองค์ที่ชัดๆ จะปรากฏ พระขนง พระ นาสิก พระโอษฐ์ เพียงรางๆ เกือบลบเลือน
- พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏเพียงรำไร ในส่วนบนข้างปลายพระเนตร มีลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น ถ้าไม่พิจารณาให้ดีจะมองคล้ายว่าไม่มีพระกรรณ
- พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์
- พระอังสาคมชัดเจน ด้านซ้ายและด้านขวาอยู่ในระดับเดียวกัน และมีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นเล็กน้อย
- พระอุระ เป็นแบบอกตั้ง บางองค์ ดูอวบนูนเด่นชัดเจน บางองค์ก็ดูตื้นและ บอบบาง
- พระสังฆาฏิ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนในองค์ที่พระอุระลึก แต่ในองค์ที่พระอุระตื้นจะไม่ค่อยมีปรากฏ
- พระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงพระกัปประ (ข้อศอก) แล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) คล้ายพระนางกำแพงเพชร
- ลำพระองค์ มีทั้งแบบลึกและตื้น และเป็นทั้งศิลปะเชียงแสน และสุโขทัย
- พระอาสนะ เป็นแบบฐานเขียงหรือ ฐานหมอน
- บริเวณใต้พระชงฆ์ (แข้ง) ตรงกลาง เหนืออาสนะ มักจะมีเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์
- ปีก มีลักษณะใหญ่และกว้างมาก ในบางองค์จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก บางองค์ก็ดูราบเรียบ ขอบปีกจะไม่มีความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
- ด้านหลัง อูมนูนไม่มากก็น้อย และปรากฏรอยนิ้วมือให้เห็นในที

ด้วยพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน ที่มีความละเอียดนุ่มหนึกขององค์พระ และเมื่อผ่านกาลเวลาจะมี "รารัก หรือ ราดำ" ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วย เพราะรารักของแท้สีของรารักจะดำสนิท บางทีจึงเรียกว่า "ราดำ" และมีลักษณะตรงขอบเป็นหยักๆ ไม่เรียบเสมอ เหมือนแผลเป็นเวลาตกสะเก็ด

รารักจะมี 2 แบบ คือ พระที่ยังมีผิวอยู่ รารักจะไม่นูนสูง แบบที่สองคือ พระที่ไม่มีผิวเหลืออยู่แล้ว รารักจะนูนสูงกว่า

ถ้าเป็นของปลอมรารักจะเป็นสีดำกระด้างเพราะใช้หมึกดำมาหยดแล้วป้ายออกครับผม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61872235644194_2..jpg)
มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น
ตระกูลพระนางกำแพง จ.กำแพงเพชร ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ

นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย ฉบับที่แล้วได้พูดถึงพระนางกำแพงเม็ดมะลื่นกันไป ฉบับนี้มาดูอีก 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เริ่มด้วย "พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด" หนึ่งในพระนางกำแพง ก็จะสังเกตได้จากลักษณะของเส้นขอบ บังคับพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในตัว เพียงแต่ไม่มีการตัดขอบ จึงทำให้เหลือส่วนที่เป็นปีกทั้งข้างและด้านใต้ฐานพระลักษณะคล้าย "เม็ดมะเคล็ด" จึงนำมาเป็นชื่อของพิมพ์

พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด มีปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่ราคายังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณก็ไม่แตกต่างกันเลย เนื้อหามวลสารก็เช่นกัน เป็นเนื้อดินที่ละเอียด แข็ง และแกร่ง ปรากฏคราบกรุสีขาวนวลจับแน่นทั่วองค์ องค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดสีน้ำตาลมีน้อยหายาก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย สถิตอยู่ในเรือนแก้วรูปสามเหลี่ยมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งไม่เรือนแก้ว ทั้งสองแบบองค์พระสถิตบนพื้นฐานคล้ายรูปทรงของเม็ดมะเคล็ด ซึ่งโดยส่วนมากจะประณีต มีเพียงบางองค์ที่ทำเป็นปีกเหลือไว้บ้าง

- ลักษณะองค์พระด้านล่างจะป้อมอูมและนูน ส่วนด้านบนจะเรียวเล็ก และส่วนใหญ่จะกดพิมพ์มาตื้นแทบทุกองค์
- พระเศียรใหญ่ คล้ายทรงเทริด แต่ด้วยการกดพิมพ์ตื้นทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน
- พระเกศเรียว ช่วงปลายบานออกแบบทรงกรวย
- ภายนอกซุ้มเรือนแก้ว มีเนื้อเกินเป็นปีกกว้างออก แล้วโอบล้อมกลืนไปกับด้านหลังเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมดุล
- ด้านหลังองค์พระบางองค์จะพอเห็นลายนิ้วมือ แต่มักจะเลือนรางมาก

พระนางกำแพงพิมพ์ต่อมา คือ "พระนางกำแพงกลีบบัว"

พระนางกำแพงกลีบบัว มีการค้นพบครั้งแรกที่กรุพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2392 ต่อมาปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ กรุที่ได้รับความนิยมกันมากจะเป็น กรุวัดพิกุล และวัดป่ามืด เนื้อหามวลสารส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ส่วนมากเนื้อจะละเอียดหนึกนุ่ม หากผ่านการสัมผัสใช้มา ว่านดอกมะขามปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปบนองค์พระและรารัก หรือ ราดำ ปรากฏให้พบเห็นมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่พระที่พบขึ้นจากกรุนั้นๆ สำหรับเนื้อว่าน และเนื้อชิน ปรากฏให้พบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60807803645729_2.1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11643755477335_2.2.jpg)

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร อยู่บนอาสนะฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน แต่ปีกด้านข้างจะเรียวเล็กกว่าคล้ายกลีบบัว จึงนำลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งเป็นชื่อพิมพ์

พระนางกำแพงกลีบบัว มักมีขนาดไม่เท่ากัน คือตั้งแต่ 1.2 X 2.2 ซ.ม. จนถึง 1.6 X 3 ซ.ม. และยังสามารถแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในส่วนเกศไม่มากนักออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ

- พิมพ์เกศแฉก
- พิมพ์เกศปลี
- พิมพ์เกศบัวตูม  และ
- พิมพ์เกศเปลว

มาที่ "พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น" ลักษณะพิมพ์ทรงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรขาคณิตเหมือนพระนางพญา และก็เป็นไปตามชื่อพิมพ์อีกเช่นกัน คือ ลักษณะการกดพิมพ์ค่อนข้างตื้น ทำให้เส้นแสงรายละเอียดต่างๆ ไม่ชัดเจนนัก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย สถิตอยู่บนอาสนะฐานเขียง พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

- มีเส้นรางๆ จากโคนพระเกศมาจรดพระเมาลีด้านซ้าย
- พระสังฆาฏิเป็น 2 เส้น ปลายแหลมคม
- มีตุ่มข้างพระพาหาด้านซ้ายมือด้านใน
- เส้นชายจีวรพาดข้อพระหัตถ์ด้านซ้ายเป็นเส้นเล็กๆ รางเลือน
- มีเส้นพิมพ์แตกเฉียงจากพระหัตถ์ขวามายังพระชานุ

การพิจารณาพระนางกำแพงทุกพิมพ์ ในเบื้องต้นให้ดูที่เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน มีความละเอียดนุ่ม และมี "รารัก หรือ ราดำ" ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และยังเป็นจุดในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วยครับผม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40953745527399_3.jpg)
พระพิจิตร ป้อมเนื้อชิน
เมืองพิจิตร หรือเมืองวิจิตรตระการตา นั้น ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้าง แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว "เมืองพิจิตร" เป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย

นอกจากนี้ยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ และในสมัยอยุธยานั้น เมืองพิจิตรก็ยังได้เป็นหัวเมืองชั้นตรี ซึ่งถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญค่อนข้างสูงในสมัยโบราณ มีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรแม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา

ณ ปัจจุบัน เมืองพิจิตรขึ้นชื่อลือชานักในเรื่องพระเครื่องอันทรงคุณวิเศษ อีกทั้งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรแห่งวัดท่าหลวง ยิ่งทำให้ผู้คนรู้จักคุ้นเคยเมืองพิจิตร "ต้นตำนานชาละวัน-ไกรทอง" กันอย่างดี เมืองพิจิตรนี้มีพระเครื่องของดีมากมาย ด้วยเป็นเมืองหน้าด่านและเส้นทางเดินทัพมาแต่โบราณ ผู้คนจึงพกนำของดีติดตัว เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เป็นต้น

ของมงคลส่วนมากจะสร้างขึ้นโดยมี บ่อเหล็กน้ำพี้ พ่อพระแสง เป็นกระสายอาถรรพ์มีการสร้างพระพิจิตรให้เกศเฉียงตามลักษณะของหมวกทหารที่ถูกจัดให้เป็นกองหน้าจึงเรียกว่า "พระพิจิตรเกศคด" เหมือนกับการสร้างพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าที่เล็กมากจนสามารถฝังลงในร่างกายทำนองตะกรุดได้ บางองค์เกศจะคดนิดๆ แต่ขึ้นชื่อทางอยู่ยงคงกระพันและเหนียวหนึบเรียกว่าฟันไม่เข้าแล้วกัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73052538889977_3.1.jpg)
มีพระพิจิตรองค์สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใคร่จะขยายความให้ท่านผู้อ่านทราบ เนื่องด้วยเรียกหากันไม่ค่อยเคยชินและบางคนก็ไม่รู้จัก ทั้งที่เป็นของดีอันดับต้นๆ ของเมือง พระชนิดนี้ก็มีขนาดเล็กจิ๋วเรียกกันว่า "พระพิจิตรป้อม" เพราะขุดพบที่ป้อมวังบูรพา (อยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อก่อนเคยเป็นที่ตั้งโรงหนังคิงส์แกรนด์ และควีนส์ ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว)

พระพิจิตรป้อม ที่ขุดพบที่ป้อมวังบูรพานั้น เป็นพระเนื้อดินที่มีขนาดเล็กมากที่สุดในตระกูลพระพิจิตรด้วยกัน สัณฐานองค์พระเป็นรูปกลีบบัวกว้างประมาณ 0.5 ซ.ม. ส่วนสูงประมาณ 1.0 ซ.ม. กรอบด้านหน้า ยกเป็นเส้นนูน ล้อมรอบองค์พระประธาน ซึ่งประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานหมอนชั้นเดียว ส่วนพระพักตร์ทำเป็นเม็ดกลมต่อ พระเกศเอียงนิดๆ เข้าทำนอง "พิจิตรเกศคด" เป็นลักษณะเศียรลอยไม่ติดกับลำพระองค์ ส่วนพระอุระจะนูนเด่นออกมาชัดเจน วงพระกรรัดเป็นวงเยื้องไปทางซ้ายขององค์พระ ด้านหลังจะเป็นลายผ้าหยาบๆ แบนๆ เนื้อดินที่พบเป็นดินละเอียดมีหลากสี เช่น สีอิฐ สีแดง สีเหลือง สีพิกุลแห้ง สีเขียว เคยมีผู้พบเป็นเนื้อชินก็มี

มีเรื่องเล่าว่า ... เมื่อประมาณปี พ.ศ.2480 มีการลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ในเขตเมืองพิจิตรเก่า คนร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องมากมาย แต่ทางการตามจับได้ ผู้คนแห่ไปดูมากมาย หลังจากนั้นมีชายใบ้คนหนึ่งชี้ไปที่ก้อนดินที่จับตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ มีคนลองทุบดูเห็นข้างในเป็นพระเนื้อชินองค์เล็กๆ เต็มไปหมด ปรากฏว่าเป็น "พระพิจิตรป้อม เนื้อชิน" คนพบรอจนหมดอายุความ จึงนำออกให้เช่าในราวปี พ.ศ.2500 แต่พระไม่ได้รับการเก็บรักษาให้ดีจึงชำรุดผุพังเสียมาก ซึ่งภายหลังพระที่ชำรุดเหล่านี้ได้รับการบรรจุในรูปหล่อหลวงพ่อพิธ วัดหัวดง จังหวัดพิจิตร

พระพิจิตรป้อม นับเป็นของดีอย่างวิเศษของชาวเมืองพิจิตร ปัจจุบันหายากหาเย็นแล้ว ไม่ใคร่มีใครรู้ประวัติความเป็นมาจึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53174298629164_view_resizing_images_1_.jpg)
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
"เป็นพระเครื่องพุทธลักษณะศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลา พระเพลาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย คล้ายเรือสำเภา วงการพระจึงขนานนามว่า พิมพ์เข่าโค้ง"

พระนางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี" สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ หากจะแบ่งตามขนาดจะเรียกว่า "นางใหญ่" ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า และพิมพ์อกนูนใหญ่ ส่วน "นางเล็ก" ได้แก่ พิมพ์อกนูนเล็ก, พิมพ์สังฆาฏิ และพิมพ์เทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ สำหรับพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ก็คือ "พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง" ซึ่งเรียกชื่อพิมพ์ตามพุทธสรีระของพระเพลาและพระชานุ ที่มีลักษณะโค้งเล็กน้อย อันนับเป็นศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก เป็นพระเครื่องพุทธลักษณะศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางตรงพระเพลา พระเพลาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย คล้าย "เรือสำเภา" วงการพระจึงขนานนามว่า "พิมพ์เข่าโค้ง" การตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะตัดค่อนข้างชิดกับองค์พระ จนส่วนใหญ่จะตัดปลายพระกรรณและพระชานุขององค์พระขาดหายไปบ้าง เนื้อที่บริเวณปีกด้านข้างขององค์พระจะมีน้อยมาก พระพักตร์ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะเกลี้ยงๆ ไม่มีหน้าตาชัดนัก ลักษณะของพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์จะมีแผ่วบาง ไม่ชัดเจนเหมือน "พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41969836627443_view_resizing_images_1_.jpg)
อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาถึงศิลปะบนพระพักตร์ของพระนางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ในทุกพิมพ์นั้น ถึงจะมีพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ แต่ศิลปะจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเล็กน้อยเท่านั้น มิได้เป็นเส้นชัดเจนเหมือนพระนางเสน่ห์จันทร์ หรือพระในสกุลขุนแผน

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะมีเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น จึงค่อนข้างง่ายต่อการสังเกตและจดจำ วิธีการพิจารณานั้น นอกจากจะตรวจสอบคุณสมบัติของเนื้อดิน ผิวพระซึ่งถูกกัดกร่อน ความเป็น Plastic Cover และกรรมวิธีการตัดขอบแล้ว ลักษณะอีกประการคือ ให้ดูที่เม็ดผดซึ่งจะขึ้นอยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระ

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ขอ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง มีดังนี้
-โคนพระเกศมีลักษณะเหมือน "ปลีกล้วย"
-เส้นกระจังหน้าจะคมชัด และใต้เส้นกระจังหน้าจะเป็นรอยยุบเข้าไปเล็กน้อยเหมือนหน้าผากยุบ
-ซอกพระกรรณทั้งสองข้างจะปรากฏเม็ดผดยาวรีคล้ายเมล็ดข้าวสาร เรียงลงมาถึงปลายพระกรรณ
-ปรากฏเส้นเอ็นพระศอโค้งลงมาจรดพระอังสะ ดูประหนึ่งองค์พระใส่สร้อยสังวาล
-เส้นอังสะที่แล่นจรดพื้นซอกพระพาหาด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นคมชัดเป็นเส้นส่วนเกิน ผ่าจากใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ทะลุชายอังสะมาจรดพระผาสุกะ (ซี่โครง) ขององค์พระ
-ปลายพระกัประ (ข้อศอก) ซ้ายขององค์พระจะมีเส้นวิ่งเชื่อมจดปลายพระบาท
-ปลายพระหัตถ์ซ้ายจะแตกเป็นหางแซงแซว
-ปรากฏเม็ดผดรูปยาวๆ เรียงรายระหว่างช่วงท้อง 3 เม็ด

ส่วนด้านหลังของ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะปรากฏรอยเหี่ยวย่น ซึ่งมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ พื้นหลังลาดเอียงจากกลางองค์พระ เมื่อถึงขอบแม่พิมพ์ที่ตัดขอบจะกระดกขึ้นคล้ายขอบกระด้ง

เนื่องจากการยุบตัวของเนื้อดินที่มีอายุนานหลายร้อยปีและมีเม็ดผดเล็กๆ ขึ้นอยู่ทั่วไปครับผม


เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 มกราคม 2559 18:59:05
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95213764160871_34_3614_3619_3632_3651_3610_35.jpg)

พระใบขนุน
กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นกรุเก่าแก่ที่มีความสำคัญยิ่งกรุหนึ่งของจังหวัดและประเทศไทย มีการขุดค้นพบสมบัติล้ำค่าต่างๆ มากมาย ล้วนทรงคุณค่า ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมการช่างในสมัยโบราณ รวมถึงด้านพุทธศิลปะ จัดเป็นกรุเก่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน

ปีพ.ศ.2499 กรุวัดราชบูรณะเป็นข่าวโด่งดังเมื่อมีคนร้ายลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ได้ทรัพย์สมบัติอันมีค่าไปจำนวนมาก กรมศิลปากรจึง "เปิดกรุ" อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2500 ซึ่งยังปรากฏพบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองอีกจำนวนมากมาย

มีทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์แบบปาละ อินเดียภาคใต้รุ่นหลัง ลังการุ่นหลัง ชวา พม่า พระพุทธรูปทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อู่ทอง จนถึงอยุธยา มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางลีลาและพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำด้วยศิลาจำนวนหนึ่ง

ส่วนพระพิมพ์เป็นแบบปาละของอินเดีย และแบบทวารวดี ลพบุรี อยุธยา ซึ่งมีทั้งอยุธยาแท้และเลียนแบบสุโขทัย รูปพระสาวกเดี่ยว ได้แก่ พระสังกัจจายน์ ท้าวเวสสุวัณ รวมทั้งวัตถุล้ำค่าอื่นๆ เช่น จารึกอักษรขอมบนลานดีบุกเรื่องคำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธรรม, เครื่องเชี่ยนหมากทำด้วยโลหะ, คันฉ่องโลหะฝีมือช่างจีน ฯลฯ ซึ่งทำให้ได้ทราบถึงศิลปะอยุธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันทรัพย์สมบัติมีค่าทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา

พระใบขนุน มีต้นกำเนิดที่กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เช่นกัน เป็นพระที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็หาทำยายากเช่นเดียวกัน

ในคราวกรุแตกอย่างเป็นทางการ เมื่อ ปีพ.ศ.2500 นั้น ทางกรมศิลปากรได้นำพระใบขนุนออกจำหน่ายจ่ายแจกให้กับประชาชน แต่เนื่องจากขนาดความใหญ่ขององค์พระผู้คนจึงเช่าหากันน้อยมาก ซึ่งหารู้ไม่ว่าอีกไม่กี่ปีต่อมา "เที่ยวหากันให้ควั่ก" โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้เช่าจะนำไปใส่ฐานตั้งให้เห็นความงามทั้งสองด้าน เพื่อสักการบูชา เอกลักษณ์ของ "พระปางลีลา" นั้นจะคล้ายพระกำแพงศอก กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และมักนิยมปิดทองที่องค์พระลีลาด้วย

พระใบขนุนกรุวัดราชบูรณะ เป็นพระขนาดใหญ่ ดีไม่ดีจะใหญ่กว่าใบขนุนอีก เป็นพระที่สร้างตามคติการสร้างพระให้ครบพระธรรมขันธ์ เหมือนการสร้างพระกำแพงห้าร้อย ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยงดงามมาก เข้าใจว่าคงได้รับอิทธิพลมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเข้าไปมีบทบาททางการเมืองเหนือกรุงสุโขทัย ตั้งแต่สมัยขุนหลวงพะงั่วและสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา แล้วได้สร้างพระที่มีอิทธิพลสุโขทัยบรรจุในกรุเจดีย์ที่กรุงศรีอยุธยา

พระใบขนุนมีพุทธลักษณะใหญ่ มองคล้ายรูปสามเหลี่ยมบ้าง ห้าเหลี่ยมบ้าง ด้านบนมีรอยปาดเนื้อ มีพระปางลีลาเป็นพระประธานอยู่ตรงกลาง ภายใต้ซุ้มครอบแบบ คอระฆัง มีปรากฏทั้งสองหน้า ลักษณะทำตามพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากการโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระองค์เล็กๆ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย ประดับรายล้อมทั่วแผ่นใบขนุน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

พระใบขนุนเป็นพระเนื้อชินเงินอาบปรอท ให้สังเกตจะมีฟองหรือโพรงอากาศอยู่บนผิวปรอทที่ใดที่หนึ่ง หากไปพบองค์ที่มี ผิวสีดำไม่ใช่จะเป็นของเก๋นะครับ แต่เป็นเพราะจมดินจมโคลน หรือผ่านการบรรจุกรุทำให้เกิดปฏิกิริยาที่คนโบราณเรียกว่า "ปรอทตาย" ผิวจะกลายเป็นสีดำซีดๆ ไม่ใช่ดำมันแทน แต่ตามซอกก็ยังคงปรากฏร่องรอยของปรอทให้เห็นอยู่

แถมอีกนิด...ยังมีของดีที่เรียกว่าพระใบขนุน อีกชนิดหนึ่ง ขึ้นที่กรุวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย เรียกกันว่า "พระกำแพงใบขนุน" มีขนาดใหญ่พอๆ กัน แต่ทำจากเนื้อดิน เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลจากกำแพงเพชร บางคนเลยเรียกพระกำแพงใบขนุน องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง มีซุ้มกนกครอบองค์พระ ด้านหลังเรียบไม่ใช่พระสองหน้า ได้รับความนิยมมากเหมือนกัน เพราะชื่อดีเช่นกัน ก็คือชื่อ "ใบขนุน" นั่นเองครับ...คนโบราณนิยมปลูกต้นขนุน งานมงคลก็ทำขนมเม็ดขนุน เพราะจะได้ช่วยหนุนนำให้เจริญก้าวหน้า

ถ้าได้ "พระใบขนุน" เข้าไปอีกยิ่งเฮงใหญ่

เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25889742995301_36_3614_3619_3632_3648_3611_36.jpg)
พระเปื่อย พระกวาง พระแปด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเก่ากรุหนึ่ง ที่พบพระที่มีชื่อเสียงคือพระบาง กรุนี้ก็คือกรุวัดดอนแก้ว ชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ วัดอรัญญิกรัมมการาม นอกจากพระบางและพระเปิมที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดีแล้ว กรุนี้ยังพบพระอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ขนาดของพระค่อนข้างเขื่องหน่อยจนถึงพระแผงขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ในด้านคุณค่าทางด้านศิลปะแล้วสวยงามและมีคุณค่ามากครับ

วัดดอนแก้ว เป็นวัดหนึ่งในจตุพุทธปราการทิศตะวันออกของเมืองหริภุญชัยนครที่พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้างไว้ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของฝั่งแม่น้ำกวง ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูด้านตะวันออกประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศ บาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางขัดสมาธิเพชร 2-3 องค์ ซึ่งชำรุดหักพัง (ปัจจุบันได้มีการบูรณะให้เข้ารูปเดิม) พระพุทธรูปเหล่านี้เป็นแบบฝีมือช่างหริภุญชัย (ทวารวดียุคปลาย) นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก เป็นภาษามอญ

บันทึกการขุดหาพระเครื่องในวัดดอนแก้ว มีการขุดหาพระเครื่องกันมานมนานแล้ว ครั้งแรกๆ นั้นไม่อาจสืบทราบได้ เท่าที่สืบความได้คือ ในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามอินโดจีน ซึ่งกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันทั่วไปทุกแห่งหน และการขุดพระเครื่องที่กรุนี้ ก็เพราะยังมีผู้จดจำได้ว่าครั้งก่อนมีการขุดหาพระเครื่องกันที่นี่ และได้พระไปเป็นจำนวนมาก การขุดในครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ซึ่งเคยเป็นที่ขุดในครั้งก่อนๆ และได้พระนานาชนิดขึ้นมาเป็นอันมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระเปื๋อย พระกล้วย (ลักษณะคล้ายผลกล้วย) และ พระแผงต่างๆ เกือบทุกชนิดของพระสกุลลำพูน แต่ไม่พบพระรอดเลย

กล่าวกันว่า เจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ เจ้าหลวงลำพูนองค์สุดท้าย ถึงกับมาเฝ้าดูการขุดด้วยตัวเอง การขุดได้ดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือนจนคณะกรรมการจังหวัดได้ประกาศห้ามจึงเลิกรากันไป ร่องรอยการขุดในครั้งนั้นยังปรากฏเป็นหลุมเป็นแอ่งอยู่ทั่วไป

พระเครื่องที่สังคมผู้นิยมพระเครื่องรู้จักกันดีของกรุนี้ก็คือ พระบาง และพระเปิม ส่วนพระแผงและพระที่มีขนาดใหญ่ไม่มีใครพูดถึงกันเลย อาจจะเป็นเพราะไม่เหมาะที่จะนำมาห้อยคอก็เป็นได้ แต่วันนี้ผมจะนำมาแนะนำกันครับ พระที่มีความสวยงามแต่มีขนาดใหญ่องค์แรกก็คือพระกวาง ชาวบ้านในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระกวาง เนื่องจากที่ฐานของพระมีกวางหมอบอยู่สองตัว พระกวางนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีอัครสาวกนั่งอยู่ด้านข้างสองรูป ซ้าย-ขวา

ส่วนที่ฐานมีกวางหมอบอยู่ด้านละตัว และพระแปดก็เป็นพระแผงขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และมีพระอัครสาวกอีกหลายรูป รวมนับได้ 8 รูป ที่ฐานมีรูปหัวช้างอยู่ที่ฐานด้านละตัว ในสมัยก่อนคนท้องที่มักเรียกว่า พระช้าง ส่วนพระเปื๋อยเป็นพระขนาดใหญ่รูปพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร พระแผงขนาดใหญ่นี้มีคุณค่าทางด้านศิลปะ เนื่องจากมีรายละเอียดของศิลปะมาก ทำให้เห็นวิถีของศิลปะที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะคุปตะของอินเดีย

ผมเองชอบการอ่านศิลปะโบราณต่างๆ จึงชื่นชอบพระแผงขนาดใหญ่ด้วย และอีกอย่างหนึ่งถ้าเราศรัทธาในพระเครื่ององค์เล็กๆ ของกรุเดียวกันแล้ว พระแผงขนาดใหญ่ก็น่าศรัทธาด้วยเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีขนาดใหญ่เราก็สามารถนำมาทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้านได้ด้วย

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกวาง พระแปด (พระช้าง) และพระเปื๋อย จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63957770955231_37_3621_3611_._3648_3585_3659_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/25830496557884_37.1_3648_3627_3619_3637_3618_.jpg)
เหรียญระฆังหลวงปู่เก๋

"หลวงปู่เก๋ ถาวโร" หรือ "พระมงคลนนทวุฒิ" พระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนาที่ชาวเมืองนนทบุรีและปริมณฑล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลบางเขน

เกิดเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2455 ที่บ้านเลขที่ 17/3 หมู่ 5 ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี เข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา ด้วยการบวชเป็นสามเณรอยู่นานหลายปี

อายุครบ 20 ปี อุปสมบทที่วัดโตนด ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี มีพระครูชุ่ม เจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2480 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท ต่อมาย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ แต่ศึกษาบาลี ได้เพียง 2 ปี ปรากฏว่า พระอาจารย์จุ้ย เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี ถึงแก่มรณภาพ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำว่างลง ไม่มีใครมาดำรงตำแหน่งแทน

ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์เมืองนนทบุรี ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำอย่างเป็นทางการ ในเวลา 2 ปีต่อมา กลายเป็นเจ้าอาวาสที่มีอายุพรรษาน้อยที่สุดใน สมัยนั้น

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พ.ศ.2493 เป็นเจ้าคณะตำบลบางเขน พ.ศ.2511 เป็นพระอุปัชฌาย์   พ.ศ.2542 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลบางเขน

สมณศักดิ์ พ.ศ.2552 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระมงคลนนทวุฒิ

หลวงปู่เก๋ มีชื่อเสียงในฐานะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมชื่อดังในด้านพุทธคุณเมตตามหานิยม ที่ได้รับการนิมนต์ให้ร่วมพิธีปลุกเสก ในงานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลชื่อดังแต่ละรุ่นเป็นประจำแทบมิเคยได้ขาด

ปัจจุบัน หลวงปู่เก๋ เป็นเจ้าอาวาสวัดที่มีอายุยืนยาวที่สุด ปัจจุบันสิริอายุ 104 ปี

ในปี 2558 นายสุชาติ มาเกิด และคณะศิษยานุศิษย์ ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างเหรียญระฆังคว่ำ "รุ่นเสริมบารมี 104 ปี สมปรารถนา" โดยหลวงปู่เก๋ นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ในวันที่ 5 ธ.ค.2558 ซึ่งวัดจัดสร้าง 5 เนื้อ คือ เหรียญเนื้อเงินลงยา เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะ เหรียญเนื้ออัลปาก้า และเหรียญเนื้อทองแดง

วัตถุประสงค์สมทบทุนเข้ากองทุนดูแลรักษาหลวงปู่เก๋

เหรียญระฆังคว่ำหลวงปู่เก๋ ด้านหน้าเหรียญ มีขอบทั้งสองข้างเป็นรูปมังกร หลวงปู่เก๋นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ด้านล่างเขียน "ท่านเจ้าคุณเก๋"

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์หลวงปู่เก๋ ด้านล่างเขียนชื่อรุ่น "เสริมบารมี ๑๐๔ ปี สมความปรารถนา"

ติดต่อขอเช่าบูชาได้ที่วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี เท่านั้น
 
เรื่อง-ภาพ "เปิดตลับพระใหม่" ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74474127218127_38_3621_3611_._3627_3617_3640_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/38794332991043_38.1_3621_3611_._3627_3617_364.jpg)
วัตถุมงคลหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน

"ของของฉัน สร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะหมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้ม ครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของของฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆ เท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็นหนึ่ง บ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเลื่องถึงเมืองแมน"

วาจาสิทธิ์สุดท้าย ที่หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2546 ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู

พระครูหมุน หรือ หลวงปู่หมุน "พระอมตเถระ 5 แผ่นดิน" ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมรณภาพในปี พ.ศ.2546 รัชกาลปัจจุบัน

สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86

ตลอดการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ออกจาริกธุดงค์ ใฝ่ใจแสวงหาความรู้และวิทยาการต่างๆ เวลาส่วนใหญ่จะอยู่กับการออกธุดงควัตร มุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวทางแห่งองค์พระศาสดา เพื่อความมั่นคงถาวรแห่งพระบวรพุทธศาสนา ท่านเป็นพระเกจิสายพระป่าที่เคร่งกัมมัฏฐานอย่างแท้จริง ท่านจึงเป็นพระเถราจารย์ผู้สูงส่งด้วยอภิญญาณสมาบัติ มีพลังจิตตานุภาพสูงส่งทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤิทธิ์ จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของพระเกจิด้วยกัน อย่างเช่น หลวงตามหาบัว ได้บอกกับลูกศิษย์ว่า อยากได้วัตถุมงคลที่แรงด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ให้มาขอกับหลวงปู่หมุน หรือ หลวงพ่อกวย ก็ยังยกย่องว่าหลวงปู่ท่านหมุนเก่งมากๆ

จากการศึกษาประวัติของหลวงปู่หมุน เริ่มเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม และฝึกกัมมัฏฐานมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนอุปสมบทพระภิกษุจากพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมัฏฐานและวิทยาอาคม ในปี พ.ศ.2464 จึงเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทวิทยาและสมถะกัมมัฏฐานในชั้นที่สูงขึ้นไป จากครูบาอาจารย์หลายสำนักไปจนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อาทิ สำนักตักสิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ จ.อุบลราชธานี อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง อิทธิเจมหาราช ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต, สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงปู่ทิม วัดช้างให้, พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, หลวงปู่สี ฉันทสิริ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน, หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบพุทธาคมในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ราชอาณาจักรลาว อีกด้วย

ประมาณปี พ.ศ.2467 หลวงปู่หมุนได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ท่านก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จากนั้นจึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติวิปัสสนาธุระเพียงอย่างเดียว ประมาณปี พ.ศ.2487 อายุได้ 50 ปี ได้ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบโดยลำพังอีกครั้ง ในช่วงนี้เองท่านได้พบอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ท่านทั้ง 2 จึงนิมนต์ให้โปรดญาติโยม ณ วัดป่าหนองหล่ม ระยะหนึ่ง

หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์อยู่หลายสิบปี จนประมาณปี พ.ศ.2520 จึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งในยามนั้นมีอายุกว่า 200 ปี สภาพทรุดโทรมมาก ท่านก็ได้พัฒนาและสร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเหลือลูกศิษย์และสหธรรมิกอีกหลายวัด อาทิ วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง, วัดซับลำไย และศิษยานุศิษย์ในการสร้างถาวรวัตถุและประโยชน์ต่างๆ ต่อพระพุทธศาสนา จนเป็นที่มาของวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายต่อหลายรุ่น ด้วยล้วนปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์อย่างครบครัน

หลังจากหลวงปู่หมุนมรณภาพ ปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านกลายเป็นกระแสความศรัทธาและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับ "เหล็กน้ำพี้" ที่ว่ากันว่าฉมังนัก เป็นพระยอดนิยมที่มาแรงที่สุดสำหรับพระยุคปัจจุบัน และถือเป็นตำนานการสร้างพระเครื่องที่ทำจาก "เหล็กน้ำพี้" โดยใช้กรรมวิธีแบบหล่อโบราณ ซึ่งพระเกจิที่สามารถทำได้ต้องมีอภิญญาณสมาบัติชั้นสูง สามารถเพ่งกสิณทั้ง 4 จนทำให้ "เหล็ก น้ำพี้" ซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ละลายจนเทลงแม่พิมพ์ออกมาเป็นรูปแบบพระเครื่องได้ นั่นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุมงคลเหล็กน้ำพี้ของท่าน ยังไม่พบของทำเทียมเลียนแบบอีกด้วย

ในตระกูล "เหล็กน้ำพี้" ของหลวง ปู่หมุน คงต้องยกให้ "เหรียญหล่อเหล็กน้ำพี้ หลังหนุมานเชิญธง มนต์พระกาฬ" เป็นที่สุด

ลักษณะเหรียญด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่หมุน นั่งลอยองค์อยู่บนเหรียญ ด้านหลังเป็นยันต์หนุมานเชิญธง เพราะนับเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่ และหลวงปู่ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเองตลอดไตรมาส ทั้งยังเป็นรุ่นเดียวที่หลวงปู่ได้บรรจุมนต์พระกาฬสะท้อนกลับ และปลุกเสกครั้งใหญ่สำทับเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2543 ณ วัดบ้านจาน

พร้อมกันนั้นท่านยังได้กล่าวถึงเหรียญรุ่นนี้ไว้ว่า "ผู้ใดคิดร้ายผลร้ายนั้นย่อมสะท้อนกลับหรือเพียงคิดเป็นศัตรูคนคิดก็แย่" ครับผม

เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 มกราคม 2559 07:29:13
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83251531422138_39_3614_3619_3632_3611_3619_36.jpg)

พระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด
พระเครื่องที่เป็นพระกรุชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพระที่มีความนิยมมากในสมัยโบราณและมีความสวยงามทางด้านศิลปะ ก็คือพระปรุหนัง ทางด้านพุทธคุณนั้นก็โด่งดังมานานแล้วขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ยังบอกว่าเคยเห็นมาว่าเชื่อถือได้

พระปรุหนัง เป็นพระที่เป็นศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ และมีความงดงามมาก ที่เรียกกันว่าพระปรุหนังก็เนื่องมาจากศิลปะขององค์พระจะเทโปร่งเป็นลวดลายขององค์พระ คล้ายกับแผ่นหนังใหญ่ที่ฉลุโปร่งและใช้ในการเชิดมาแต่ในสมัยโบราณ พระปรุหนังถือเป็นการเทโลหะที่ยอดเยี่ยมของช่างสมัยอยุธยา

พระปรุหนังถือเป็นพระเนื้อชินยอดนิยมอันดับหนึ่งของอยุธยา พบในครั้งแรกที่กรุวัดมหาธาตุ ต่อมามีผู้พบที่กรุวัดพุทไธศวรรย์ วัดราชบูรณะ วัดประสาท เป็นต้น พระปรุหนังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์บัวเม็ด พิมพ์บัวก้างปลา พิมพ์ปรุ หนังเดี่ยว พิมพ์ลีลา และพิมพ์บัวเบ็ด

เอกลักษณ์ของพระปรุหนังคือจะเทโปร่งทะลุ และส่วนมากจะมีพระอัครสาวกประทับอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา นอกจากพิมพ์ปรุหนังเดี่ยวจะไม่มีอัครสาวก พระปรุหนังส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง มีบางองค์อาจจะเทตันบ้างก็มี ด้านหลังของพระปรุหนังจะเป็นแบบหลังเรียบ พระปรุหนังจะเป็นพระที่เป็นเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับที่องค์พระ บางองค์อาจจะมีการปิดทองมาแต่เดิมจากกรุ ไม่พบที่เป็นเนื้อชนิดอื่น ส่วนที่เป็นเนื้อดินนั้นจะเป็นพระที่เกจิอาจารย์สร้างในยุคหลังทั้งสิ้น

พระปรุหนังส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ฉลุโปร่ง ดังนั้นเมื่อผ่านอายุกาลมาหลายร้อยปี จึงมักจะหักชำรุดในส่วนที่บางที่สุดคือบริเวณพระศอ ซึ่งจะบางมาก ในสมัยก่อนผู้ที่จะนำมาห้อยคอมักจะป้องกันด้วยการนำแผ่นไม้มาขุดตามรูปกรอบพระ แล้วจึงนำพระปรุหนังฝังลงไปในกรอบไม้ก่อนนำมาห้อยคอ เนื่องจากการเลี่ยมในสมัยก่อนนั้นยังไม่ค่อยจะมี มักจะถักลวดห้อยคอ จึงต้องทำกรอบไม้ไว้ป้องกัน

พุทธคุณของพระปรุหนังนั้นเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน เคยมีผู้ถามหลวงพ่อกลั่นว่า พระกรุอยุธยามีพระอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ ท่านได้ตอบว่า พระปรุหนัง พระคลองตะเคียน พระวัดตะไกร และพระหลวงพ่อโตบางกระทิง เชื่อถือได้ เคยเห็นมา

พระปรุหนัง พิมพ์ที่นิยมมากที่สุดคือพระพิมพ์บัวเบ็ด เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีศิลปะที่งดงามที่สุด ในปัจจุบันหาพระปรุหนังยากมาก เนื่องจากพระชำรุดไปเสียมากในอดีต สนนราคาสูงครับ เช่าหาต้องระวังของปลอมเลียนแบบ ซึ่งมีการทำกันมานานแล้ว เพราะมีความนิยมมาแต่โบราณครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83663323066300_40_3648_3627_3619_3637_3618_35.jpg)

เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงปู่จื่อ
“วัดเขาตาเงาะอุดมพร” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 12 หมู่ 4 บ้านหัวหนอง ต.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ มีพระคณาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนา คือ พระครูสุวิมลภาวนาคุณ หรือ “หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต” สิริอายุ 72 พรรษา 38 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

เกิดวันที่ 17 มิ.ย. 2486 ณ ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ บิดามีเชื้อสายจีน มารดาเป็นชาวไทย

อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2518 ที่วัดศรีแก้งคร้อ ต.ช่องสามหมอ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ โดยมี พระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา พันธมุตโต

หลังจากบวชแล้ว ท่านฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต พระเถระแห่งภาคอีสาน วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เน้นศึกษาด้านพระวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นหลัก ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความสงบร่มรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ทราบภูมิประเทศ แหล่งประกอบอาชีพและปัญหาการประกอบอาชีพของชาวบ้านอย่างมากมาย

เป็นพระสายปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่วิชาเรื่องอักขระเลขยันต์และคาถาอาคม ชื่อเสียงโด่งดังจนชาวต่างชาติ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน มาหาท่านมิได้ขาด

ทุกวันนี้ ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร จึงเนืองแน่นไปด้วยคณะศรัทธา ยิ่งเป็นวันหยุดราชการวันเสาร์-อาทิตย์ จะมากเป็นพิเศษ

เมื่อปี พ.ศ.2523 ขณะท่านนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร ประชาชนชาวหนองบัวระเหวได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค  ท่านจึงพัฒนาแหล่งน้ำ “ลำเชียงทา” เป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำชี ใช้เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนหนองบัวระเหวและชุมชนใกล้เคียง โดยนำคณะสงฆ์ ลูกศิษย์ และชาวบ้านร่วมกันก่อสร้างเขื่อนดินด้วยงบประมาณอันน้อยนิดของผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณของทางราชการที่สนับสนุน  ทำให้ประชาชนใน อ.บ้านเขว้า อ.หนองบัวระเหว และ อ.เมืองชัยภูมิ มีแหล่งน้ำใช้ทางการเกษตรกรรมถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันคณะศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกสารทิศ เข้ามากราบนมัสการหลวงปู่จื่อ พบเห็นงานก่อสร้างมหาวิหารภายในวัดและขุดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ (บึงหนองบัวระเหว) ด้านหลังวัดกว่า 2,000 ไร่ ยิ่งเกิดความศรัทธาต่อปฏิปทา ความตั้งใจมั่นที่จะช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านของหลวงปู่จื่อในครั้งนี้ ประชาชนและสานุศิษย์ทั้งหลายต่างยินดีและเต็มใจร่วมบุญกันตามกำลังแรงศรัทธา

ในการนี้คณะศิษย์กราบขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหล่อ “รุ่นมหาเศรษฐี” ให้ทำบุญเช่าบูชา เพื่อจัดหาทุนทรัพย์ถวายร่วมก่อสร้างมหาวิหารและใช้จ่ายต่างๆ ตามแต่เห็นสมควร

รูปแบบเหรียญหล่อรูปไข่ หลวงปู่จื่อ รุ่นมหาเศรษฐี ประกอบด้วย เหรียญหล่อพุทธศิลป์มหาเศรษฐี (พิมพ์รูปไข่) เนื้อทองคำ, เนื้อเงินองค์ทองคำ ขอบทองคำ, เนื้อเงินองค์ทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงิน, เนื้อนวโลหะ, เนื้อทองผสม, เนื้อทองแดง, ช่อบูชาเนื้อมหาชนวน (ช่อละ 9 องค์)

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จื่อเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ ใต้ฐานรูปเหมือน เขียนคำว่า “พนฺธมุตฺโต”  ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีรูปอัฐบริขาร เขียนเลขไทย “๒๕๕๘” ขอบบนเหรียญ เขียนคำว่า “พระครูสุวิมลภาวนาคุณ (จื่อ) วัดเขาตาเงาะอุดมพร” ขอบล่างเหรียญ เขียนคำว่า “มหาเศรษฐี”  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร.
08-7823-7096, 08-2158-7956, 08-9651-6652

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79293696913454_41_3614_3619_3632_3609_3634_36.jpg)

พระนารายณ์ทรงปืน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500-1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย

พระปรางค์ประธานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มี พระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม

พระเครื่องที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรี และทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์ประธาน และรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแผ่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบ บายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น

พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่เริ่มมีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวรที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวก็มี เลยทึกทักเรียกกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน และเรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็น พระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ

พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีแล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ  
แทน ท่าพระจันทร์


.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92099943301743_view_resizing_images_3_.jpg)

พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทย ดังนั้น จึงมีวัดวาอารามมากมาย และเมื่อมีวัดเก่าแก่มากแล้วก็ย่อมจะมีพระเครื่องที่สร้างบรรจุไว้มากมายเช่นกัน พระเครื่องของจังหวัดสุโขทัยมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายกรุ เช่น พระร่วงยืนหลังรางปืน พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และอื่นๆ อีกมาก พระอีกกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องมากก็คือ วัดเจดีย์สูง

วัดเจดีย์สูง ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ไปทางทิศตะวันออกอยู่ใกล้ๆ กับวัดตะพังทองหลาง วัดเจดีย์สูงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่ง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ แต่เดิมคงเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในสมัยสุโขทัย ด้วยเหตุที่องค์พระเจดีย์มีขนาดสูงใหญ่ จึงมักจะเรียกกันว่าวัดเจดีย์สูงมาจนทุกวันนี้

วัดเจดีย์สูงเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยตอนปลาย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมทรงสูงแล้วจึงเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์แบบนี้อาจจะเป็นต้นเค้าของเจดีย์ตอนต้นกรุงศรีอยุธยา (อโยธยา) ของภาคกลางก็เป็นได้

บริเวณด้านหน้าของพระเจดีย์สูง พบฐานพระอุโบสถและพบร่องรอยพระเจดีย์รายอยู่ด้านหลัง ปัจจุบันเหลือเพียงองค์พระเจดีย์สูงเพียงองค์เดียว

มีการพบพระเครื่องของวัดเจดีย์สูงมากมาย ทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระที่พบมากที่สุดจะเป็นพระร่วงยืนปางเปิดโลก มีแบบพิมพ์ต่างๆ มากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน นอกจากนี้ก็พบพระนางแขนอ่อน ที่มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน พระนางแขนอ่อนที่พบที่วัดเจดีย์สูงนี้ ยังมีพบที่กรุวัดมหาธาตุ และกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งมีพิมพ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้ยังพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นหินแก้วจุยเจียสีขาว และพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นเนื้อว่านหน้าทองอีกด้วย แต่พบน้อยมาก

พระร่วงเปิดโลกกรุวัดเจดีย์สูงนี้ คนในสมัยก่อนมักจะเรียกว่าพระร่วงทิ้งดิ่ง เนื่องจากพระบาทของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้เท้าจะค่อนข้างจิกงุ้มลงมาด้านล่างมากกว่าของกรุอื่นๆ และปลายมือทั้งสองข้าง วางทอดทิ้งลงมาตรงๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้ครับ

พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQDhwRFXrn3I8IvsgXfCWNwZAXoMeCCM8PF84oITl5mTrNdh1zs)

พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง
"พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย" หรือ "หลวงพ่อโต" ประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันว่า "วัดเกษไชโย" ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดไชโย" หรือ "วัดเกษไชโย"

มาเริ่มปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่ที่ท่านเจริญวัย เรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" เมื่อประมาณปี พ.ศ.2400-2405 ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระเทพกวี"

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สมเด็จโต" ท่านชอบสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่าน โดยก่อนหน้านี้ได้สร้างมาแล้วสององค์ คือ พระปางไสยาสน์ หรือ พระนอน ที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืน ที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม

ที่วัดไชโยแห่งนี้ แรกเริ่มเดิมที สมเด็จโตท่านสร้างเป็นพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดิน แต่ไม่นานนักก็ทลายลงมา จึงต้องสร้างขึ้นอีกครั้งให้มีขนาดเล็กลงมาแต่ก็ยังนับว่าใหญ่มากอยู่ จนสำเร็จเป็น "หลวงพ่อโต" พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ปิดทอง และไม่ประณีตเกลี้ยงเกลานัก ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงสามารถมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นมาแต่ไกล

ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่ปีต้นของการปฏิสังขรณ์นั้น แล้วพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ.2438 ต่อมาในปี พ.ศ.2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการ ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร

"พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก มักมีรูปไว้กราบไหว้บูชากันแทบทุกครัวเรือน ด้วยประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์อย่างถ้วนทั่ว กล่าวกันว่า น้ำมนต์ของหลวงพ่อสามารถรักษาและแก้ไขโรคเคราะห์ต่างๆ ได้ และหลวงพ่อมักเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาเพื่อบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ

นอกจากนี้ ยังเล่าขานกันต่อมาว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโตกำลังจะล้มลงมาทับอีกด้วย

ในกาลต่อมา วัดเกษไชโย ทั้งยังเป็นต้นกำเนิด "พระสมเด็จ วัดเกษไชโย" อันเลื่องชื่อเป็นที่แสวงหายิ่ง รวมทั้ง "เหรียญ พระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461" เหรียญพระพุทธที่ได้รับการ ยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบเหรียญพระพุทธยอดนิยมของประเทศ

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13109253926409_14538377831453838001_1_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/31641034202443_14538377831453838015_1_.jpg)

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี"
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี" ภายในงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด ประจำปี 2559

มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังจำนวน 10 รูป ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร อาทิ พระราชวิทยาคม (ครูบาสาย กิตติปาโล) เจ้าอาวาสวัดท่าไม้แดง จ.ตาก ประธานในพิธีเจิมและปิดทองที่ต้นเทียนชัย พร้อมเป็นประธานจุดเทียนชัย

พระสงฆ์ 4 รูป ประกอบด้วย พระครูสมุห์สวิง วัดม่อนปรางค์, พระปลัดนพพร รองเจ้าอาวาสวัดใหม่เชียงแสน, พระใบฎีกาธีระพงษ์ วัดเสาหิน, พระทศวรรธ วัดเสาหิน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สวดพระพิธีธรรมพุทธาภิเษก สวดคาถาจุดเทียนชัยและสวดคาถาดับเทียนชัย

นายจรัล เตชะวิจิตรา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนมงคล ซ้าย-ขวา, นายวีระชัย ภู่เพียงใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนวิปัสสีซ้าย-ขวา, นายสำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ จุดเทียนธาตุ 4 อาทิ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ

นายชลิต ธนะวัฒน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนโลกุตระ หน้าพิธีธรรม 9 เล่ม, นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนอ่างน้ำมนต์

พระเกจิ 39 รูป อาทิ พระมงคลสุธี (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ พระครูสุวิธานศาสนกิจ (หลวงพ่อไพริน) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก, พระครู วรธรรมประยุต (หลวงพ่อทุเรียน) วัดศรีคีรีสุวรรณา ราม จ.สุโขทัย, หลวงพ่อชำนาญ ปัภสสโร จ.ระยอง, หลวงพ่อทองดี วัดโนนไทย จ.นครราชสีมา, หลวงพ่อทอง สุทธสีโล วัดพระพุทธบาทเขายายหอม จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร, พระครูสมุห์สมจิต วัดหนองหว้า จ.เพชรบุรี, พระครูปทุมวรกิจ (หลวงพ่อชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี,พระครู สุวรรณศิลาธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา,หลวงพ่อเกาะ อาภากโร วัดท่าสมอ จ.ชัยนาท, พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จากทั่วประเทศ 109 รูป ร่วมนั่งปรกและเจริญจิตภาวนาปลุกเสกเหรียญพระยาพิชัยดาบหักรุ่นรฤก ๒๓๔ ปี ในครั้งนี้

นายสำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเทิดทูนคุณงามความดีพระยาพิชัย ดาบหัก ทหารเอกพระเจ้าตากสินมหาราช ในฐานะวีรบุรุษ ที่ช่วยปกป้องประเทศชาติให้พ้นจากอริราชศัตรู และเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เตียงนอนสำหรับผู้ป่วย มอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทุกโรงเรียนใน จ.อุตรดิตถ์ และสมทบทุนช่วยเหลือคนพิการทางสมอง บ้านรื่นสุข จ.นครนายก

ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระยาพิชัยดาบหัก ในชุดแม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฏตัวหนังสือไทยว่า "พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์"

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤๅษี ตัวหนังสือ รฤก ๒๓๔ ด้านล่างของเหรียญ โดยยึดตัวเลขปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ.2325 นับถึงปัจจุบัน 234 ปี มาเป็นตัวหนังสือ "รฤก ๒๓๔"

สำหรับเหรียญพระยาพิชัยดาบหักที่จัดสร้าง "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี" จำนวน 2 รูปแบบ อาทิ เหรียญรูปไข่และเม็ดแตง ด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์,

ส่วนเหรียญอาร์ม ด้านหน้าเหรียญเป็นพระรูปเหมือนพระเจ้าตากสินมหาราช ด้านหลังเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ประกอบด้วย พระยาพิชัยดาบหักหลังยันต์เนื้อทองคำ, เนื้อเงินหน้าทองคำ นวโลหะหน้ากากเงิน, เนื้อเงินลงยารัตนชาติสีแดงและสีน้ำเงินไพลิน, เนื้อทองแดงเพิร์ท, สัตโลหะ, พระเจ้าตากสินหลังพระยาพิชัยดาบหักเนื้อทองคำลงยาสีแดงรัตนชาติ, หุ้มทองคำลงยาน้ำเงินไพลิน, นวโลหะ โลหะ 9 ชนิดเต็มสูตร, เนื้อทองแดงเพิร์ท

รวมจัดสร้างทั้งสิ้น 202,359 เหรียญ

เปิดตลับพระใหม่



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 18:20:12
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93899278922213_view_resizing_images_1_.jpg)
พระสมเด็จหลังไผ่
และเหรียญรุ่นแรกหน้าหนุ่มของหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด) วัดไผ่ล้อม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ชาวบางบาลและชาวอยุธยาเคารพศรัทธามาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายให้แก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง วัตถุมงคลของท่านนั้นมีประสบการณ์มากมาย

หลวงพ่อเอียด เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 ที่ตำบลสะพานไทย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อผัน โยมมารดาชื่อเสงี่ยม นามสกุลพูลพร ในวัยเด็กชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัดและสนใจใฝ่เรียน เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว หลวงพ่อแจ่ม เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมในสมัยนั้นเห็นว่าเป็นคนสนใจใฝ่เรียน จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไผ่ล้อม ตอนนั้นอายุได้ 14 ปี ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2485 โดยมีพระครูสุนทรวิหารกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์

ในระหว่างที่เป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงพ่อเอียดก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้นักธรรมตรีเมื่ออายุได้ 16 ปี และสอบได้นักธรรมโทเมื่ออายุได้ 18 ปี นอกจากนี้ยังท่องพระปาติโมกข์ได้ในขณะที่เป็นสามเณร พร้อมทั้งขยันขันแข็งในการช่วยงานวัดทุกอย่างเท่าที่กำลังทำได้

หลวงพ่อเอียด ได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2491 ที่วัดไผ่ล้อม โดยมีพระครูสุนทรวิหารกิจ (หลวงพ่อตุ้ม) วัดจันทาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถนอม วัดใหม่กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสาธรนวกิจ (หลวงพ่อแม้น) วัดบางบาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดไผ่ล้อม ศึกษาพระธรรมวินัย และสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อเอียดได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม อีกทั้งดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ดูแลปกครองพระลูกวัดมาเป็นอย่างดี จนถึงปี พ.ศ.2497 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมสืบต่อจากหลวงพ่อแจ่ม

หลวงพ่อเอียดได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดไผ่ล้อมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นระเบียบเรียบร้อย และส่งเสริมในด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณรให้ศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดไผ่ล้อม ในส่วนของลูกหลานแถบนั้นหลวงพ่อได้ส่งเสริมด้านการศึกษา โดยพัฒนาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนในด้านต่างๆ ในปี พ.ศ.2539 หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนวัดไผ่ล้อม จากเดิมที่เป็นอาคารไม้และทรุดโทรมให้เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น พร้อมจัดหาอุปกรณ์การศึกษาและตั้งทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนวัดไผ่ล้อมเป็นประจำทุกปี

หลวงพ่อเอียดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมและสมณศักดิ์ ดังนี้
ปี พ.ศ.2497 เป็นเจ้าอาวาส วัดไผ่ล้อม
พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรยติกิจ
พ.ศ.2511 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท และเป็นรองเจ้าคณะอำเภอบางบาล
พ.ศ.2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอบางบาล
พ.ศ.2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมานุวัตร

หลวงพ่อเอียดอบรมสั่งสอนศิษย์และชาวบ้านให้เป็นคนดีรักษาศีล 5 ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรมาปรึกษาท่านก็ให้ข้อแนะนำ และให้อดทนทำความดีทุกคน ส่วนที่เจ็บป่วยไข้มาให้รดน้ำมนต์หรือรักษาท่านก็รักษาให้หายทุกราย หลวงพ่อเอียดทำนายทายทักได้อย่างแม่นยำ เหมือนกับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า มีชาวบางบาลที่ไปกราบท่าน และมีเคราะห์หลวงพ่อได้ขอให้บวช บางรายก็บวชและไม่มีเหตุการณ์อะไร แต่บางคนก็ไม่ยอมบวช ต่อมาไม่นานก็ไปประสบอุบัติเหตุ เหมือนคำทักของท่าน ชาวบ้านเชื่อว่าท่านมีวาจาสิทธิ์

หลวงพ่อเอียดศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อแจ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ซึ่งหลวงพ่อแจ่มเป็นศิษย์ของหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ และได้ถ่ายทอดให้แก่หลวงพ่อเอียดจนหมดสิ้น นอกจากนี้หลวงพ่อเอียดยังได้ศึกษาจากหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์ หลวงพ่อถนอม หลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า และหลวงตาที่เคยมาจอดเรือที่ท่าน้ำวัดไผ่ล้อมไม่มีใครทราบว่าเป็นหลวงตารูปใด

หลวงพ่อเอียดมรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2558 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 67

หลวงพ่อเอียดได้สร้างวัตถุมงคลให้แก่ศิษย์ไว้หลายอย่างเช่น พระสมเด็จหลังไผ่ ซึ่งเป็นรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2513 และเหรียญรูปเหมือนหน้าหนุ่มรุ่นแรก ปี พ.ศ.2525

นอกจากนี้ก็มีตะกรุด แหวน กำไลข้อมือ เหรียญรุ่นต่างๆ ล้วนมีประสบการณ์มากมาย อย่างเหรียญเนื้อตะกั่วรุ่นปี พ.ศ.2539 ตำรวจบางบาลเช่าไปแล้วนำไปลองยิงนอกวัดปรากฏว่ายิงเท่าไรก็ไม่ออก จึงทำให้เหรียญรุ่นนี้หมดไปอย่างรวดเร็ว มีลูกศิษย์คนหนึ่งเสียชีวิตและใส่แหวนของท่าน เมื่อฌาปนกิจ ปรากฏว่าเผาเท่าไรก็ไม่ไหม้ จนต้องถอดแหวนออกเสียก่อนจึงเผาต่อไปได้ วัตถุมงคลของหลวงพ่อเอียดน่าบูชามากครับ ตัวผมเองก็ห้อยเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อครับ

ปัจจุบันสรีรสังขารของหลวงพ่อคณะศิษย์และชาวบ้านได้เก็บรักษาไว้ในโลงแก้ว ที่วัดไผ่ล้อม ท่านที่ผ่านไปทางถนนสายบางปะอิน-บางปะหัน ก็สามารถแวะสักการะหลวงพ่อได้โดยผ่านสี่แยกอยุธยา-เสนา ก็ตรงไปทางบางปะหันไม่ไกลจะเห็นป้ายบอกทางไปวัดไผ่ล้อม

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จหลังไผ่ และเหรียญรุ่นแรกหน้าหนุ่มของหลวงพ่อเอียดมาให้ชมครับ

ขอขอบคุณ คุณทูล บุญช่วย และคุณโจ๊ก อยุธยา ที่กรุณาเอื้อเฟื้อประวัติและรูปวัตถุมงคลครับ

ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49131621296207_14543600101454360048l_1_.jpg)
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15"

"พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินนั้น ด้วยความศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีการจัดสร้างกันมากมายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้าไม่นับ "รูปหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อเงิน" แล้วพระหลวงพ่อเงินรุ่นไหนค่านิยมสูงที่สุด ทุกคนต้องยอมรับว่า "รุ่นปี"15" นั้น โด่งดังมาก โดยเฉพาะที่ออกวัดบางคลาน จ.พิจิตร"

จากที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดีถึงกิตติศัพท์ความโด่งดังและพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก" ที่ออกในปี พ.ศ.2460 จัดสร้างโดย หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันก็ยังคงความนิยมและเป็นที่แสวงหา แต่สนนราคานั้น ต้องถามกันว่าสู้ไหวไหม ...

นอกเหนือจาก "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก" แล้ว พระหลวงพ่อเงินที่นับว่าโด่งดังสุดๆ ต้องยกให้ "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15" โดยเฉพาะที่ออกวัดบางคลาน จ.พิจิตร และยิ่งเป็น "พิมพ์นิยม" ปัจจุบันน่าจะเกิน ครึ่งล้านไปแล้ว ทั้งที่อายุองค์พระยังไม่ถึง 50 ปี เรียกว่าแรงจริงๆ

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 นี้ จัดสร้างโดย พระครูพิบูลธรรมเวท หรือหลวงพ่อเปรื่อง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ชื่อเต็มว่า "วัดหิรัญญาราม" ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร เพื่อหาปัจจัยมาบูรณะพระอุโบสถวัดบางคลาน ซึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ ได้เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพลตำรวจเอกสง่า กิตติขจร รมช.ต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกถึง 2 วาระ วาระที่ 1 ที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2514 วาระที่ 2 ที่วัดบางคลาน ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2515 อาจเป็นด้วยเหตุนี้ ทำให้การตอก "โค้ด" ใต้ฐานพระรูปหล่อจึงมีเลขไทยปั๊มเป็น "๑๔-๑๕" อยู่ในวงกลม ซึ่งติดเต็มบ้าง ไม่เต็มบ้าง อันหมายถึงการคาบเกี่ยวกันสองปี

กล่าวถึง "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 พิมพ์นิยม" จะสร้างเหมือน "รูปหล่อโบราณรุ่นแรก พิมพ์นิยม" ทุกประการ เพียงแต่เป็นการใช้เครื่องจักรปั๊ม ภายในองค์พระกลวงเพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง และปิดก้นด้วยทองเหลือง องค์พระมีฐานกว้างประมาณ 1.6-1.7 ซ.ม. ความสูงประมาณ 2.4-2.5 ซ.ม. ส่วนทองเหลืองกลมที่อุดก้นฐานจะเรียบเสมอกับฐาน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.4-4.5 ซ.ม.

จัดสร้างเป็นเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลืองอย่างละ 1,000 องค์ โดยแบ่งเป็นพิมพ์ย่อย 4 พิมพ์ คือ พิมพ์คอแอล, มือมีจุด, มือเลขแปด และพิมพ์นับแบงก์ การเช่าบูชาในช่วงนั้น เนื้ออัลปาก้า องค์ละ 100 บาท และเนื้อทองเหลือง องค์ละ 50 บาท

สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 พิมพ์นิยมนี้ พิมพ์ที่นิยมที่สุดคือ "พิมพ์คอแอล" ซึ่งมีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลือง จุดสังเกตที่คอด้านขวาของหลวงพ่อจะมีเส้นลากลงมาเป็นตัวแอลตัวใหญ่

- ผิวขององค์พระจะตึงแน่น และเนื่องจากเป็นพิมพ์ปั๊ม จึงมีการแต่งรอยตะเข็บข้างด้วยตะไบ รวมทั้งในร่องระหว่างสังฆาฏิกับชายจีวรซ้ายมือก็จะมีรอยแต่งด้วยตะไบในซอก
- มีเส้นขีดตรงหัวตาซ้าย
- ส่วนในหูจะมีส่วนเกิน(ตัดเกิน) ออกมาจากรูปหู
- ตรงปลายคางมีเส้นเล็กๆ เป็นฝอยๆ เชื่อมกับเนื้อคอ
- มองเห็นเส้นริ้วจีวรด้านขวาองค์พระสามเส้น และด้านที่พันแขนซ้ายเจ็ดเส้น
- ใต้ฐานหากเป็นเนื้ออัลปาก้าใช้มือลูบดูจะแอ่นเป็นท้องกระทะเล็กน้อย หากเป็นทองเหลืองจะตึงไม่แอ่น และมีเส้นรอยปั๊มตัดใต้ฐานเป็นวงๆ เรียกกันว่า "วงเดือน"

สำหรับพิมพ์ด้านหลังในทุกพิมพ์จะเหมือนกัน
- หลังใบหูมีเส้นเรียวคมชัดวิ่งขนานกับริมหู
- สระ "อิ" เหนือคำว่า "เงิน" ที่ปั๊มลงบนสังฆาฏิด้านหลัง มีลักษณะเหมือนหัวลูกศรปลายอยู่ล่าง
- ช่วงรอยต่อระหว่างองค์พระกับฐานเขียงด้านหลัง เมื่อใช้กล้องส่องไล่ดูจะเห็นบางส่วนเป็นรอยเสี้ยนเล็กๆ คล้ายกับรอยครูดของเครื่องปั๊ม เป็นแผงเล็กๆ วิ่งเชื่อมระหว่างก้นองค์พระกับฐานที่ท่านนั่งพอดี เป็น "จุดตาย" อีกประการหนึ่งครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26557446809278_view_resizing_images_1_.jpg)  (http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/pic-monk/monk-raja-12.jpg)
เหรียญพระสุนทรีวาณี สมเด็จพระสังฆราช(แพ)

"พระสุนทรีวาณี" นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมสืบทอดกันมาของวัดสุทัศนเทพวราราม นอกเหนือไปจาก "พระกริ่ง" อันลือเลื่อง เนื่องจากทรงพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏ

แต่เดิมภาพ "พระสุนทรีวาณี" หรือ "เทวนารี" สถิตอยู่บนดอกบัวนี้ สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ ทรงให้ หมื่นศิริธัชสังกาศ-เจ้ากรม (แดง) เขียนขึ้นประดิษฐานในพระตำหนักสมเด็จ

ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชวิจารณ์พระราชทาน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โดยมีพระราชดำริว่า อาจเกี่ยวเนื่องกับลัทธิมหายาน เพราะเป็นรูปดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางฟ้านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างพระมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว พระหัตถ์ขวาทำอาการกวักดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพับเพียบประนมมือ เบื้องบนมีรูปเทวดาถือเครื่องสักการะ ดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่างๆ

เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ทรงอธิบายว่า "รูปสุนทรีวาณี" นี้นั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ ทรงคิดขึ้นจาก "พระสูตสัททาวิเศษ แล้วให้หมื่นศิริธัชลังกาศ (แดง)-เจ้ากรม เขียนขึ้น โดยมีความหมายถึง พระธรรม ดอกบัวหมายถึง โอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ที่มีในพระคาถาดังนี้
"มุนินฺท วทนมพุทฺธ คพฺภสมฺภว สุนฺทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยหํ ปิณยตํ มนํฯ"

"วาณี" นางฟ้า คือ พระไตรปิฎก "มุนินท วทนมพุทธ คพภสมภว สุนทรี" คือ มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว ซึ่งก็คือ พระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า "ปาณีนํ สรณํ วาณี" คือ เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณทั้งหลาย และ "มยหํ ปิณยตํ มนํ" คือ จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี

พระอุปัชฌาย์(แดง) ยังได้กล่าวว่า อาจารย์ของท่านทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมคาถานี้ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติและเข้าที่ภาวนาทุกคราว ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย มีสมเด็จพระสังฆราช (วัดราชสิทธาราม) เป็นต้น ล้วนนับถือคาถานี้อยู่ทั่วกัน

จนกระทั่งอาราธนากัมมัฏฐานก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอามาผูกเป็นรูปปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่างหัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี ซึ่งทำเพียงดังอาการกวัก เพื่อจะให้ได้กับคำว่า "เอหิ ปัสสิโก โอปะนะยิโก" ซึ่งถือเอาความหมายว่าเรียกให้มา ดูดวงแก้วในหัตถ์ซ้าย เปรียบเป็น "อมตะ" รูปบุรุษเบื้องขวาเปรียบเป็น "ภิกษุสงฆ์สาวก" รูปสตรีเบื้องซ้ายเป็น "ภิกษุณีสงฆ์สาวิกา" เทวดาแถวล่างหมายถึง "เทวโลก" พรหมแถวบน หมายถึง "พรหมโลก" ต่างมาทำสักการบูชาน่านน้ำภายใต้ เปรียบด้วย "สังสารวัฏ" นาคและสัตว์น้ำ เปรียบเป็น "พุทธบริษัท"

สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ผู้โด่งดังในด้านการสร้าง "พระกริ่ง" ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมสะสมกันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ เมื่อทรงสร้างก็จะตั้งนามตามสมณศักดิ์ในขณะนั้น แต่สำหรับ "เหรียญสุนทรีวาณี" ที่ทรงสร้าง ไม่ได้ตั้งตามสมณศักดิ์ดังเช่นพระกริ่ง คงให้นามว่า "เหรียญสุนทรีวาณี" ตามต้นแบบที่มีมา

เหรียญสุนทรีวาณีนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างในสมัยเป็นที่พระพรหมมุนี ในปี พ.ศ.2464 โดยเอาแบบอย่างจากภาพพระสุนทรีวาณี ของ สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ มาเป็นแบบให้พระปลัดจิ๋ว ซึ่งเดิมเคยเป็นช่างทองมาเป็นผู้ออกแบบแกะแม่พิมพ์ขึ้นมา

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปทรงเสมา หูเชื่อม มีห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูป "พระสุนทรีวาณี" ประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร เหนืออาสนะกลีบบัว 2 ชั้น ชั้นบนเป็นบัวหงาย 11 กลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 7 กลีบ พระหัตถ์ขวายกขึ้นระหว่างพระอุระ มีลักษณาการแบบ "กวักเรียก" มีความหมายเพื่อให้ได้รับคำว่า "เอหิปสสิโก" พระหัตถ์ซ้ายถือดวงแก้ว อันเปรียบเสมือนพระสาวก ส่วนพระเศียรซึ่งเดิมของ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นมงกุฎ พระองค์ได้เปลี่ยนเป็นรูปองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นศาสดาของมวลมนุษย์และเทวดา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชวิจารณ์ภาพ "พระสุนทรีวาณี" นี้ พระราชทานในงานพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2471 อีกด้วยครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78484668789638_view_resizing_images_1_.jpg)
พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่-พิมพ์อกเล็ก

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน "พระขุนแผน" ถ้านึกถึงพระขุนแผนก็ต้องนึกถึงเมตตามหานิยม พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนก็มักจะชอบหาพระขุนแผนมาใส่ห้อยคอ เพราะนึกถึงความเจ้าชู้และมีเสน่ห์ของพระเอกขุนแผน แถมมีความเก่งกล้าในวิทยาคม จึงถูกใจชายหนุ่มในสมัยก่อนกันนัก

พระขุนแผนของสุพรรณบุรี กรุที่มีชื่อเสียงก็จะเป็นกรุวัดพระรูปและกรุวัดบ้านกร่าง พระกรุวัดบ้านกร่างนั้นมีมากมายหลายพิมพ์และมีแบบคู่คือพระพลายคู่ ก็ยังมีอีกหลายพิมพ์เช่นกัน วัดบ้านกร่าง ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ ตรงข้ามตัวตลาดและที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พระกรุวัดบ้านกร่างนี้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้สร้างไว้หลังจากเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญที่เสียสละชีวิตในการศึกครั้งนั้น

พระกรุวัดบ้านกร่างแตกกรุออกมาประมาณ ปีพ.ศ.2440 อาจจะเนื่องจากองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระล้มลง คนเฒ่าคนแก่ เล่าให้ฟังว่า เกิดมาก็เห็นพระบ้านกร่างนี้กระจัดกระจายอยู่ไปทั่วบริเวณวัด และเจ้าอาวาสในสมัยนั้นก็ได้ให้นำพระเครื่องทั้งหมดมากองรวมไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหารและในวิหารหลังเก่า ก็มีกองสูงถึงฐานชุกชี แสดงว่าจำนวนพระมีมากมาย คนในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครนำพระเครื่องจากวัดเข้าบ้าน จึงมีพระกองอยู่อย่างนั้น จะมีก็พวกเด็กแถววัดและเด็กวัด ที่นำเอามาร่อนลงน้ำให้กระท้อนกับพื้นน้ำเล่นว่าใครจะกระท้อนได้มากกว่ากัน หรือไม่ก็เอามาทอยกอง เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ ในสมัยนั้น แต่ก็ยังไม่มีใครกล้านำกลับไปบ้าน เพราะผู้ใหญ่จะดุเอาห้ามเอาของวัดเข้ามาไว้ที่บ้าน (ในสมัยพ.ศ.2440) ต่อมาที่ท่าน้ำวัดบ้านกร่างมักมีชาวเรือที่นำข้าวของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมาพักจอดเรือที่ท่าน้ำวัดในหน้าแล้ง ส่วนมากเป็นชาวนครชัยศรี สมุทรสาครและสมุทรสงคราม ก็เก็บกลับไปบ้านของเขาบ้าง บางคนเอาไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ ก็มาเอากันอีก พระก็เริ่มงวดลงไป ชาวบ้านก็จึงเริ่มเอาพระมาเก็บไว้บ้าง พวกหนุ่มๆ เอาพระพลายคู่ไปห้อยคอแล้วไปมีเรื่องกับคนต่างถิ่น ถูกฟันไม่เข้าก็จึงเริ่มมาหาพระที่วัดกันจนหมดไปในที่สุด ในสมัยก่อนผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า พระบ้านกร่างคู่นั้นสามารถแลกกับวัวได้คู่หนึ่งเลยทีเดียว

ต่อมาก็มีการตั้งชื่อพระพิมพ์ต่างๆ เช่น พระขุนแผนทรงพลใหญ่-เล็ก พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่-อกเล็ก พระขุนแผนใบมะยม พระขุนแผนใบพุทรา พระพิมพ์ พระประธาน พิมพ์ซุ้มเหลือบ พิมพ์เถาวัลย์ พิมพ์ใบไม้ร่วง พิมพ์ซุ้มประตู และพลายคู่พิมพ์ต่างๆ ฯลฯ ทำไม ต้องเป็นชื่อขุนแผน ก็เมืองสุพรรณนั้นตามวรรณคดีเป็นบ้านเกิดของขุนแผนตัวพระเอกของเรื่อง แม้แต่ถนนหนทางในสุพรรณฯ ยังตั้งชื่อตามวรรณคดีเลยครับ ชื่อพระกรุอื่นๆ ก็มีที่เป็นชื่อตามวรรณคดีทั้งนั้น ทีนี้พระที่มีชื่อว่าพระขุนแผนผู้คนก็นึกเอาว่าคงจะเก่งกล้าสามารถและมีเสน่ห์เมตตามหานิยมตามพระเอกในเรื่องขุนแผนด้วย พวกชายหนุ่มวัยรุ่นก็มักจะนิยมเสาะหากันใหญ่

ความจริงพุทธคุณของพระกรุวัดบ้านกร่าง นั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม แต่ร้อยทั้งร้อยคนที่หาพระขุนแผนนั้นชอบเจ้าชู้เกือบทั้งนั้นครับ ไม่ได้ว่าใครนะครับ แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเป็นอย่างนั้น ตัวผมเองเมื่อตอนวัยรุ่นก็ห้อยพระวัดบ้านกร่างเช่นกัน แหมใครจะไม่ชอบล่ะครับ แต่ปัจจุบันไม่ได้ห้อยแล้ว แม่บ้านไม่ให้ห้อยครับ สงสัยเขาจะอ่านวรรณคดีมากไป

ครับโม้มามากแล้ววันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดบ้านกร่าง ที่นิยมกันมากคือพระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จากหนังสืออมตยอดนิยมเมืองสุพรรณมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83344875648617_1.jpg)
พระปิดตากรุวัดนางชีพิมพ์ต่างๆ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดนางชีโชติการาม ภาษีเจริญ กทม. วัดแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานและน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีกรุพระเครื่องต่างๆ มากมาย ที่เป็นที่รู้จักกันมากก็คือพระปิดตาเนื้อตะกั่ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เรามาลองศึกษาประวัติของวัดและพระเครื่องที่พบในกรุของวัดนางชีกันครับ

วัดนางชีโชติการาม ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกกันสั้นๆ ว่า วัดนางชี วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ ว่ากันว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปในพระวิหารเป็นศิลปะแบบอยุธยา นอกจากนี้ยังเคยขุดพบแผ่นอิฐมีขนาดใหญ่หนาแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากตำนานกล่าวว่า วัดนางชีสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระชัยราชาธิราช สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.2078 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ตามประวัติกล่าวว่า สาเหตุที่สร้างเนื่องจากบุตรสาวเจ้าพระยาพิชิตมนตรี ชื่อ อิ่ม ป่วยอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งมีตาปะขาวมานิมิตเข้าฝันกับเจ้าพระยาพิชิตมนตรี ให้แก้บนด้วยการให้ลูกสาวบวชชี

ดังนั้นเจ้าพระยาพิชิตมนตรีจึงได้ให้แม่อิ่ม บุตรสาวบวชชี พร้อมทั้งสร้างวัดให้อยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดนางชี คณะผู้สร้างวัดนางชีในตอนแรกมี 3 ท่าน คือ เจ้าพระยาพิชิตมนตรี พระยาฤๅชัยณรงค์ และ ออกหลวงเสนาสมุทร วัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้กลายเป็นวัดร้างเพราะขาดการดูแลในช่วงสงครามระหว่างไทยกับพม่า

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงตอนปลายรัชกาล ซึ่งว่างจากการทำศึก พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำรวจตรวจตราวัดวาอารามนอกกำแพงเมือง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม โดยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า คหบดี ได้ร่วมกันสร้างและปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง

สำหรับวัดนางชี ท่านพระยาโชฎึกราชเศรษฐีซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีน ได้เป็นผู้ปฏิสังขรณ์โดยร่วมกับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระราชชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการบวชชีของพระองค์ โดยทำเป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบลวดลายของจีนทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระอารามหลวง ได้พระราชทานนามว่า "วัดนางชีโชติการาม"

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชานุชิต (จ๋อง) จัดการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทั่วพระอาราม และให้วัดนางชีเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี

วัดนางชีมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ตั้งแต่ครั้งโบราณแล้ว มีพิธีถวายการสรงน้ำและพิธีแห่พระบรมสารีริกธาตุโดยทางเรือไปตามแม่น้ำลำคลองเป็นงานประจำปี ชาวบ้านเรียกว่า "งานชักพระ"

ที่วัดนางชีแห่งนี้มีการพบพระกรุที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ราย โดยมีคนร้ายมาลักลอบขุด เพื่อหาสมบัติของมีค่า เจดีย์รายเหล่านี้เป็นเจดีย์เอกชนสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เป็นเจดีย์ไม่ใหญ่โตนัก ไม่มีใครทราบว่าคนร้ายได้อะไรไปบ้าง

ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 ในสมัยพระครูบริหารบรมธาตุเป็นเจ้าอาวาส ต้องการใช้พื้นที่ด้านหลังพระอุโบสถ และด้านหลังพระวิหาร จึงได้รื้อเจดีย์รายออก พบพระเครื่องเนื้อผง คือพระวัดท้ายตลาดเป็นจำนวนมาก สอบประวัติได้ความว่า พระปลัดช้อย อยู่วัดท้ายตลาดเป็นผู้นำมาบรรจุไว้หลายปี๊บ นอกจากนี้ยังพบพระโคนสมอ และพระเนื้อตะกั่วองค์เล็กๆ อีกมาก ทางวัดก็ได้แจกจ่ายชาวบ้านไปบ้าง และเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาเพื่อนำรายได้มาบูรณะวัด

ต่อมาได้มีการเปิดกรุครั้งที่ 2 ประมาณ ปีพ.ศ.2523-2524 ทางวัดต้องการใช้พื้นที่อีกจึงต้องรื้อเจดีย์รายอีกครั้ง ก็พบพระกรุวัดนางชีอีกครั้งมีหลายพิมพ์ บรรจุอยู่ในกระปุก น่าจะประมาณ 2,000 องค์ จึงเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาเพื่อนำรายได้มาบูรณะวัด พระในคราวนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ผิวปรอท ขาว เป็นส่วนมาก พระที่พบเป็นพระปิดทวาร หลายแบบ พระปางนาคปรก พระปรกโพธิ์ เป็นต้น

พระปิดตาของกรุวัดนางชีมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระปิดตาเนื้อชินตะกั่วของวัดหนัง จึงสันนิษฐานกันว่าพระที่สร้างบรรจุไว้นั้นอาจจะเป็นพระที่นำไปให้เจ้าคุณเฒ่า วัดหนัง ปลุกเสกก็เป็นได้ ปัจจุบันพระปิดตาวัดนางชีก็หายากแล้วครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตากรุวัดนางชีพิมพ์ต่างๆ มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81159627561767_2.jpg)
พระปิดตาพิมพ์มัดข้าวต้ม เนื้อเมฆพัด  
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ปี พ.ศ.2481 ในพิธีครั้งนี้พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เรืองวิทยาคมทั้งสิ้น พระเกจิอาจารย์ที่ผมจะกล่าวถึงก็คือหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครับ

พระครูธรรมสุนทร (จันทร์) วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ที่หมู่บ้านริมคลองเหนือ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โยมบิดาชื่อจีน โยมมารดาชื่อเคิ้ว นามสกุลจีนเครือ ชีวิตในวัยเด็กก็เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ใช้ชีวิตอย่างอิสระ หน้าที่ของท่านคือต้อนควายฝูงใหญ่ไปเลี้ยง อุปนิสัยเป็นคนจริง พูดเสียงดัง และค่อนข้างจะเป็นคนเขื่องอยู่ไม่น้อย เป็นหัวหน้าในกลุ่มเพื่อนฝูง

พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2440 ก็ได้อุปสมบทที่วัดหนองเสือ บ้านโป่ง โดยมีพระอธิการดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี (จันทรโชติ) วัดบ้านยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้ศึกษาอักขรสมัยทั้งขอมและไทย ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เริ่มศึกษาพระปริยัติและปฏิบัติกับพระอธิการดี จนมีความรู้แตกฉาน และทางด้านพุทธาคมนั้นก็ได้ศึกษากับพระอธิการดี และพระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอกอีกด้วย

ต่อมาท่านก็ได้สร้างพระปิดตาออกมาแจกกับชาวบ้าน ลูกศิษย์ลูกหา จนปรากฏในทางคงกระพันเล่าลือกันมาก ในราวปี พ.ศ.2466 พระอธิการดี เจ้าอาวาส ถึงกาลมรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2475 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูธรรมสุนทร หลวงปู่จันทร์มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

ในครั้งที่หลวงปู่จันทร์ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2481 ที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ทางคณะศิษย์ได้จัดงานแสดงมุทิตาจิต และสร้างเหรียญรูปท่านแจกเป็นที่ระลึก

นอกจากนี้ ท่านก็ยังได้สร้างพระปิดตาไว้หลายรุ่นหลายแบบ เช่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัด เนื้อตะกั่ว เนื้อชิน เนื้อพลวง เนื้อทองแดง และเนื้อผง เหตุที่สร้างไว้หลายเนื้อนั้น ก็เนื่องจากว่าท่านสร้างไว้หลายครั้งด้วยกัน ตั้งแต่เมื่อท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสด้วยซ้ำ จนถึงปีที่ท่านมรณภาพ ชาวบ้านโป่งจะหวงแหนพระปิดตาของท่านกันมาก

เนื่องจากมีประสบการณ์มากมายที่ชาวบ้านแถบนั้นประสบมา ทั้งแคล้วคลาด ทั้งอยู่ยงคงกระพันชาตรี ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพาท่านก็สร้างแจกทหารราชบุรีและจากที่อื่นๆ ที่เดินทางมาขอพระจากท่านเป็นจำนวนมาก การสร้างพระของท่านนั้นก็สร้างกันในวัด พระเณรชาวบ้านช่วยกันเทหลอมแล้วช่วยกันตกแต่ง หลวงปู่ท่านจะลงอักขระ แล้วปลุกเสกให้อีกครั้ง

ในวันนี้ก็นำพระปิดตาพิมพ์มัดข้าวต้ม เนื้อเมฆพัด ของท่านมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 20:03:48
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23589844587776_3.jpg)
พระปิดตาเนื้อผง เนื้อตะกั่ว และน้ำเต้ากันไฟ
ของหลวงปู่ชุ่ม วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซึ่งเราๆ ท่านๆ ก็รู้จักกันดีและจะนึกถึงสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) และพระสมเด็จวัดพลับ นอกจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แล้ว พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาวิปัสสนาสายของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สืบต่อมา และได้สร้างวัตถุมงคลไว้เช่นกัน

พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2396 บ้านเดิมของท่านอยู่ในสวนหลังวัดพลับ โยมบิดาชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อขลิบ เมื่ออายุได้ 10 ขวบท่านก็ได้ศึกษาอักษรสมัยในสำนักของพระอาจารย์ทอง วัดพลับ และได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระสังวรานุวงศ์เถระ (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาพระกรรมฐานกับหลวงปู่เมฆด้วย พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2417 ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระสังวรานุวงศ์ (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโตเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลัดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาภายหลังเมื่อสิ้นพระสังวรานุวงศ์เถระ (เมฆ) แล้ว หลวงปู่ชุ่มก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระสังวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) ต่อจนเชี่ยวชาญและจบหลักสูตรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก)

ในปี พ.ศ.2457 หลวงปู่ชุ่มอายุได้ 60 ปี ก็ได้รับพระราชทานพัดงาสาน และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรานุวงศ์เถระ พ.ศ.2458 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพลับ จนกระทั่งมรณภาพในปี พ.ศ.2470 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 53

หลวงปู่ชุ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระเครื่องทั้งชนิดเนื้อตะกั่ว เนื้อผง (หายาก) และเครื่องรางน้ำเต้ากันไฟ ซึ่งโด่งดังมาก และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันหาของแท้ยากมากครับ พุทธคุณปลอดภัยแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน ส่วนน้ำเต้ากันไฟนั้น อยู่กับบ้านเรือนป้องกันไฟ ป้องกันฟ้าผ่า และปกป้องคุ้มกันภัย

คนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่า ขนาดวัวที่มีผู้นำมาถวายไว้ที่วัดชื่อเจ้าด่าง ชอบออกเดินหากินไปเรื่อยเปื่อย บางครั้งออกไปไกลถึงแถวโพธิ์สามต้น แล้วไปเหยียบผ้าที่เขาย้อมตากไว้ เจ้าของมาเห็นเข้าก็เข้ามารุมทำร้าย แต่เจ้าด่างไม่เป็นอะไรเลย มีครั้งหนึ่งทหารเรือลองยิงก็ยิงไม่ออก เจ้าด่างนี้มีผ้าจีวรของหลวงปู่ชุ่มผูกคอไว้เป็นที่เล่าลือกันมาก และต่อมาจึงทราบว่าเป็นวัวของหลวงปู่ชุ่มวัดพลับ เรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่ชุ่มนั้นมีประสบการณ์มากมาย คนเฒ่าคนแก่แถวๆ นั้นต่างทราบกันดี

ลูกศิษย์ของหลวงปู่ชุ่ม ที่เป็นพระสงฆ์และรู้จักกันดี ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง) วัดบางปะกอก พระมงคลเทพมุนี (สด) วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม) วัดกลางบางแก้ว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาทั้งเนื้อผงและเนื้อตะกั่วและน้ำเต้ากันไฟของหลวงปู่ชุ่ม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม ของคุณพยัพ คำพันธุ์ มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45858425936765_1.jpg)
พระผงเจ้าคุณทิพย์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรุ่นเก่าๆ ที่ดี มีพิธีกรรมการสร้างดี เนื้อหามวลสารดี พิธีพุทธาภิเษกดี แต่สนนราคายังไม่แพงนัก ยังมีอีกมาก ในวันนี้จะมาคุยกันถึงพระดีที่น่าบูชาคือ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์โกษา ซึ่งเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ พร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

พระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) รับราชการในกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2429 จนกระทั่ง กราบทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีอายุมาก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2468 ท่านเจ้าคุณเป็นญาติห่างๆ กับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสนิทสนมกัน นอกจากนี้ยังสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆังฯ และท่านอาจารย์พา วัดระฆังฯ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป

ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เก็บรวบรวมดอกไม้บูชาพระ แล้วนำมาตากแห้ง รวบรวมผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ รวมทั้งว่าน 108 ชนิดไว้ และได้ไปปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ถึงเรื่องการนำมาสร้างพระ แล้วจึงแกะแม่พิมพ์ด้วยหินสบู่ ท่านเจ้าคุณเชี่ยวชาญทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์อยู่แล้ว จึงได้ดูฤกษ์ยามแล้วนุ่งขาวห่มขาว กดพิมพ์พระในระหว่างฤกษ์ พอหมดฤกษ์ก็หยุด โดยมีนายอั๋น นายชุ่ม เป็นลูกมือ

ส่วนการพุทธาภิเษกนั้นท่านเจ้าคุณทิพย์ได้ทูลขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นำพระทั้งหมดเข้าร่วมพิธีใหญ่ประจำปีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ประมาณปี พ.ศ.2460 ของวัดสุทัศน์

พระที่สร้างในครั้งนั้นท่านเจ้าคุณได้นำไปบรรจุเจดีย์ต่างๆ และส่วนหนึ่งได้แจกจ่ายให้แก่ลูกๆ หลานๆ ญาติมิตรที่รู้จักกันตามอัธยาศัย

พระที่สร้างในคราวนี้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น รูปลอยองค์แบบพระกริ่ง พระพิมพ์กลีบบัว พระพิมพ์เล็บมือ พระพิมพ์นางสมาธิขาโต๊ะ เป็นต้น พระส่วนใหญ่จะมีปิดทอง บางองค์ก็มีลงรักปิดทอง เนื้อพระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ มีทั้งที่เป็นเนื้อออกสีเขียว และสีออกน้ำตาล

พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์นั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ บางท่านอาจจะมีอยู่ที่บ้านแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็เป็นได้นะครับ ถ้าพบก็เลี่ยมห้อยคอได้เลยครับ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์เป็นพระดี พิธีดี เนื้อหามวลสารดี และเป็นพระเก่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระบางส่วนของท่านเจ้าคุณทิพย์ มาให้ชมกันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87838646686739_2.jpg)
รูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อโอภาสี

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด ฝั่งธนบุรี ผู้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์รูปอื่นจนได้รับสมญาว่า "ผู้บูชาไฟ เป็นพุทธบูชา" หรือ พระอภิญญาผู้สำเร็จ "เตโชกสิณ" เป็นที่เคารพศรัทธาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน

หลวงพ่อโอภาสี เดิมชื่อ ชวน มะลิพันธ์ เกิดที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2441 บรรพชาที่วัดโพธิ์ ในเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครและฝากตัวเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งอายุครบ จึงอุปสมบท โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ใฝ่ใจและมุ่งมั่นศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเจริญกรรมฐานโดยเพ่งพินิจ "กองกูณฑ์หรือเจริญกสิณเตโชธาตุ"

นอกจากนี้ยังฝากตัวเข้าศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อกบ ถ้ำเขาสาริกา พระเกจิผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นด้วย

ราวปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อโอภาสี เริ่มออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว คราหนึ่งท่านเดินทางมาปักกลด ณ บางมด อ.บางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงนำข้าวของเครื่องใช้และปัจจัยมาถวาย แต่ท่านก็นำไปเผาไฟจนหมด

ท่านกล่าวว่า "ความร้อนของมนุษย์นั้น ถูกเผาผลาญด้วยโลภะ โมหะ ภคะ อวิชชาฯ"

การที่ท่านนำของถวายไปเผานั้น เพื่อเป็นพุทธบูชาสักการะแด่อำนาจพุทธานุภาพ, อนุพุทธะปัจเจกพุทธะ อันเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ดลบันดาลให้อานุภาพเหล่านี้มาช่วยดับร้อนผ่อนคลายจิตใจมนุษย์ให้บรรเทาลง ด้วยอำนาจแห่งความมืดมน เพื่อเป็นการดับกิเลสทั้งหลายให้หมดไป

สร้างความศรัทธาแก่สาธุชนทั้งหลาย กิตติศัพท์และอภินิหารของท่านได้ปรากฏให้ชาวบ้านพบเห็นเรื่อยมา จึงได้ร่วมกันปลูกสร้างอาศรมให้ท่านพักอาศัยเรียก "อาศรมบางมด"

มรณภาพในปี พ.ศ.2498 โดยสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์ ลูกศิษย์จึงนำบรรจุในโลงแก้ว ประดิษฐานในพระมหาเจดีย์ในสวนอาศรมบางมด ปัจจุบันคือ "วัดหลวงพ่อโอภาสี" หรือ "วัดพุทธบูชา" ผู้ศรัทธาและประชาชนยังพากันไปกราบสักการะอยู่เป็นเนืองนิตย์ โดยเชื่อกันว่าการได้กราบไหว้ขอพรจากท่าน จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและประสบความสำเร็จตามปรารถนา

หลวงพ่อโอภาสี ได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง เพื่อแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพศรัทธามากมาย ซึ่งล้วนปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ครบทุกด้าน เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง

ฉบับนี้จะกล่าวถึง "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่ปัจจุบันมีค่านิยมสูงมาก และหาดูหาเช่ายากยิ่ง

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2495 ขณะจำพรรษาอยู่ที่อาศรมบางมด โดยจัดสร้างเพียงเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูเชื่อม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 ซ.ม.

ด้านหน้า ขอบยกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกหนากว่าชั้นใน ขอบชั้นในเป็นเส้นเล็กเรียวมากและติดชัดเป็นเส้นเดียวกันโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสีหน้าตรงครึ่งองค์ คล้องประคำ ข้างล่างเป็นเครื่องหมาย "กากบาท"

ด้านหลัง ขอบโดยรอบยกเป็นเส้นชั้นเดียว บรรจุพระคาถาของท่าน คือ "อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง" ตรงกลางเป็นเครื่องหมาย "สวัสติกะ" มีปลายหันไปทางขวา แสดงถึงความเป็นมงคลต่างๆ และเป็นเครื่องหมายแห่งชีวิตซึ่งมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด

อีกทั้งเป็นเครื่องหมายประจำของ "เทพอัคนี" ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำตัวของท่าน ซึ่งเป็นผู้บูชาไฟก็เป็นได้ ส่วนจุด 4 จุดในเครื่องหมายสวัสติกะ หมายถึง ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

พิมพ์ด้านหลัง ยังแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หนังสือใหญ่และพิมพ์หนังสือเล็ก หรือเรียกว่าพิมพ์ปอใหญ่และพิมพ์ปอเล็ก โดยสังเกตที่หางตัว "ป" ของคำว่า ปะฐะวีคงคา ถ้าแบนๆ คือ "พิมพ์ปอใหญ่" แต่ถ้าเรียวแหลม เป็น "พิมพ์ปอเล็ก"

การจะเช่าหานั้นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ห่วงต้องเป็นห่วงเชื่อม จะมีห่วงในตัวเฉพาะที่แจกกรรมการซึ่งใช้แม่พิมพ์เดียวกัน, เปลือกตาและลูกตาจะคมชัดมาก แม้ผ่านการใช้สึกมาแล้วก็ยังเห็นชัดเจน, เห็นฟันเป็นซี่ๆ คมชัดเจน, ริ้วจีวรจะพลิ้วเป็นธรรมชาติ คมชัด แต่ที่แจกกรรมการริ้วจีวรจะเบลอ เพราะแม่พิมพ์เริ่มชำรุด

นอกจากนี้ ข้างเหรียญที่ไม่ผ่านการใช้จะคมและรอยตัดขอบเหรียญจะสม่ำเสมอครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29486991051170_3.jpg)
เหรียญหล่อเจ้าสัวประทานพร 88 รุ่นแรก
 
"พระธรรมสิงหบุราจารย์" หรือ "หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม" เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน สอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม รู้ถึงการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

จนเป็นที่เคารพศรัทธาทั้งในฐานะพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์

ท่านเกิดในสกุล จรรยาลักษณ์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2471 ที่ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านศึกษาวิชากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ, พ่อท่านลี วัดอโศการาม, พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) จ.ขอนแก่น, พระราชสิทธิมุนี วิปัสสนาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ

ด้วยความประทับใจในปฏิปทาของผู้เป็นอาจารย์ หลวงพ่อจรัญมุ่งเผยแผ่ด้วยการเปิดสำนักกัมมัฏฐานขึ้นที่วัดอัมพวัน โดยจำลองแบบให้มีสภาพเหมือนวัดหนองโพ และยังเขียนหนังสือธรรมะ จัดพิมพ์เผยแผ่แจกจ่ายเป็นวิทยาทานแก่ผู้เข้ามาอบรมจำนวนมาก

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2559 สิริอายุ 88 พรรษา 68

ย้อนไปในปี พ.ศ.2557 พระครูปริยัติพรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดกลางพรหมนคร ขออนุญาตพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหล่อเจ้าสัวประทานพร 88 รุ่นแรก หลวงพ่อจรัญ" เพื่อหาทุนและสมนาคุณผู้เป็นเจ้าภาพสร้าง "ศูนย์วิปัสสนา วัดกลางพรหมนคร"

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ (ตามสั่งจอง), เนื้อเงิน หน้ากากทองคำ 99 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ หน้ากากทองคำ 99 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 999 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ หน้ากากเงิน 1,199 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,499 เหรียญ, เนื้อทองนพคุณ (อัลปาก้า) 2,999 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ (ทองเหลือง) 4,999 เหรียญ, เนื้อทองชมพู (ทองแดง) 4,999 เหรียญ

ลักษณะวัตถุมงคล ด้านหน้าเหมือนพระพิมพ์เจ้าสัวทั่วไป มีห่วงขวาง ด้านหลังมียันต์และอักขระขอมจม เป็นยันต์พุทธซ้อน, ยันต์มะอะอุ และยันต์นะเมตตา ด้านล่างมีลายเซ็น "พระธรรมสิงหบุราจารย์" และหมายเลขไทยกำกับ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันจันทร์ที่ 22 ธ.ค. 2557 เวลา 14.19 น. ที่อุโบสถวัดกลางพรหมนคร มีพระวิปัสสนาจารย์ร่วมพิธีแผ่เมตตาอธิษฐานจิต 15 รูป อาทิ พระภาวนาพรหมคุณ วัดกุฎีทอง, พระครูสุขุมธรรมานุยุต วัดธรรมวงษ์, พระครูภัทรธรรมคุณ วัดพัฒนา ธรรมาราม, พระครูวิธานปริยัติคุณ วัดแจ้งพรหมนคร, พระครูสุวรรณวิโรจน์ วัดทอง, พระครูวิริยโสภิต วัดพระปรางค์, พระครูสัทธาโสภิต วัดศรัทธาภิรมย์ เป็นต้น

สอบถามได้ที่วัดกลางพรหมนคร ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี โทร.08-9902-0900 และ 08-9088-8965

     เปิดตลับพระใหม่


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30811932476030_4.jpg)
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระรูปเหมือนหลวงปู่เก๋ ถาวโร

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขออนุญาตประชาสัมพันธ์พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลพระมงคลนนทวุฒ (หลวงปู่เก๋ ถาวโร) รุ่น 105 ปี สี่แผ่นดิน ณ วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 59 ซึ่งหลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยและได้รับเมตตาจากหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ ดับเทียนชัยในพิธีสำหรับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน หลวงปู่นนท์ สำนักสงฆ์เขาพรานธูป หลวงพ่ออ่าง วัดใหญ่สว่างอารมณ์ หลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ พระมหาเมืองอินทร์ วัดอนงคาราม หลวงพ่อทองหล่อ วัดพรหมรังสี พระครูปลัดประสิทธิ์ วัดสุนทรประดิษฐ์ โดยมีคุณนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ร่วมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยคุณสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ประธานคณะกรรมการจัดสร้าง คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ประธานที่ปรึกษา รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติในสังคมพระเครื่อง อาทิ คุณพิศาล เตชะวิภาค รองนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย คุณผูก รัศมี คุณชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง ฯลฯ โดยพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล พระมงคลนนทวุฒ (หลวงปู่ เก๋) รุ่น 105 ปีสี่แผ่นดิน ภายในงานได้มีการแจกวัตถุมงคล พระชัยวัฒน์เนื้อฝาบาตร หรือพระชัยวัฒน์แจกทาน แก่ประชาชนที่มาร่วมพิธี นอกจากนี้ คุณนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี และคุณสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ได้ร่วมกันทำลายบล็อกวัตถุมงคลเพื่อยืนยันเจตนารมณ์ที่ชัดเจน

สำหรับท่านที่สนใจวัตถุมงคลชุดนี้ของหลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ นนทบุรี สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2589-0500 ต่อ 1231, 1233 ได้ครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36013496998283_view_resizing_images_1_.jpg)
พระกริ่งเชียงตุง สมเด็จพระสังฆราช (แพ)

"สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงโปรดพิมพ์ "พระกริ่งจีนใหญ่" ที่มีความสวยงามในทุกมุมมอง โดยส่วนใหญ่พระองค์จึงใช้ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของพระยาศุภกรบรรณสาร (นุ่ม วสุธาร) ในการสร้างพระกริ่งของพระองค์ในทุกครั้งและทุกปี"

พระกริ่งเชียงตุง ปี 2486 นับเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้าย ในสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และยังเป็นการนำแม่พิมพ์ "พระกริ่งใหญ่เดิม" มาใช้ในการจัดสร้างอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย

การสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) โดยส่วนใหญ่แล้ว พระองค์จะใช้ "พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของ พระยาศุภกรบรรณสาร (นุ่ม วสุธาร) ผู้อำนวยการกองพระคลังข้างที่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตช่างทองหลวงฝีมือดี และรับอาสาทำแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยการใช้ตะกั่วตีหุ้มองค์พระกริ่งใหญ่ต้นแบบ ทำให้ได้ขนาดเท่ากับต้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์

สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงใช้ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของพระยาศุภกรบรรณสาร ในการสร้างพระกริ่งของพระองค์ในทุกครั้งและทุกปี เพราะทรงโปรดพิมพ์ 'พระกริ่งจีนใหญ่' ที่มีความสวยงามในทุกมุมมอง ในการสร้างครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2458 คือ "พระกริ่งพรหมมุนี" สมัยทรงครองพระสมณศักดิ์ ที่พระพรหมมุนี ครั้นเมื่อกรอกหุ่นเทียนเสร็จตามจำนวนที่จะเข้าหุ่นดินไทยแล้ว พระยาศุภกรบรรณสารก็จะนำแม่พิมพ์กลับไป และเป็นเช่นนี้ทุกครั้งไปมาตลอด

กระทั่งถึงปี พ.ศ.2466 ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงใช้แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่สร้าง "พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์" หรือ "พระกริ่งพุฒาจารย์" ก่อนที่พระยาศุภกรบรรณสารจะเอาแม่พิมพ์กลับคืนไป จากนั้นท่านก็ถึงแก่อนิจกรรม โดยยังไม่ได้นำแม่พิมพ์กลับมาถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทำให้การสร้างพระกริ่งหลังจากนั้นต้องเปลี่ยนไปใช้แม่พิมพ์อื่นเป็นเวลาถึง 10 ปี อาทิ พระกริ่งวันรัต ปี 2478-2479, พระกริ่งชนะคน ปี 2481 หรือ พระกริ่งพุทธนิมิต ปี 2484 เป็นต้น

จนเมื่อปี พ.ศ.2486 คุณหญิงศุภกรบรรณสาร ภรรยาของพระยาศุภกรบรรณสาร ได้นำ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ตะกั่วอันเดิมกลับมาถวายสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และในปีนั้นเอง ทรงโปรดให้หล่อพระกริ่งใหญ่โดยใช้แม่พิมพ์ตะกั่วเดิมนั้น เพื่อประทานแก่เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาและพระสงฆ์ที่จะเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ สาธารณรัฐเชียงตุง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า-เมียนมา) ถวายพระนามว่า "พระกริ่งเชียงตุง" โดยสร้างจำนวน 108 องค์ สถาปนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2486 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

พอถึงปีรุ่งขึ้น ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ "พระกริ่งเชียงตุง" จึงนับเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายในองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว)

หลังจากนั้นมา ท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) ได้นำ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" นี้ มาสร้างพระกริ่งของท่านอีกหลายรุ่น คือ พระกริ่งนวโลกุตตรญาณมุนี, พระกริ่งก้นถ้วยใหญ่, พระกริ่งบรรณรสมงคลมุนี และสุดท้าย พระกริ่งทองทิพย์ ในปี พ.ศ.2495 แม่พิมพ์ก็ชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้งานได้อีก

พระกริ่งเชียงตุง เป็นพระกริ่งที่ทรงสร้างโดยใช้ชนวนพระกริ่งรุ่นต่างๆ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเก็บไว้บนตำหนักสมเด็จฯ ผสมกับเนื้อชนวนพระกริ่ง ปี 2482 และแผ่นทองที่จารพระยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 รวมกับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 อีกจำนวนมาก กระแสเนื้อภายในจะออกสีนากอ่อนแล้วกลับเป็นสีน้ำตาล มีทั้งวรรณะอมเขียว ที่เรียกว่า "สีไพล (ว่านไพล)" คือออกสีเขียวเข้ม เพราะแก่ชนวนพระกริ่งนวโลหะ และวรรณะออกน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลอมแดง โดยมีท่านผู้รู้ได้ผูกคำพ้องจองกันว่า "พระกริ่งเชียงตุง พิมพ์กริ่งใหญ่ เนื้อเหลืองไพล อุดใหญ่ใกล้บัว"

พระกริ่งเชียงตุง จำนวน 108 องค์นี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แจกแก่เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่จะเดินทางไปเชียงตุง และศิษย์ผู้ใกล้ชิดไปประมาณ 30 องค์, เจ้าคุณใหญ่ (เสงี่ยม) ได้ขอไปอีกประมาณ 40 องค์ ส่วนที่เหลือท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เก็บเอาไว้เพราะเป็นรุ่นสุดท้าย ซึ่งมีจำนวนเพียง 20 กว่าองค์เท่านั้น

เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ พระกริ่งเชียงตุงที่เหลือจึงได้ตกอยู่กับ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ผู้เป็นศิษย์เอกครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77000466941131_6.jpg)
พระสมเด็จพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างในปี พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นพระที่สร้างในโอกาสที่สมเด็จพระสังฆราช (ญาณสังวร) ท่านได้สร้างไว้เมื่อคราวอายุครบ 5 รอบครับ

ในปี พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระชันษาครบ 60 ปี บรรดาศิษยานุศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช ได้ประชุมหารือกันจัดงานและหาของที่ระลึกเพื่อถวายให้แจกในงานวันแซยิดของท่านในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ และให้นำหลวงพ่อพระศรีศาสดามาเป็นแบบพิมพ์ ส่วนมวลสารนั้นให้ช่วยกันหามา แต่ต้องเป็นมงคลวัตถุอันทรงคุณค่าต่อการสร้างพระ ในครั้งนี้ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ ซึ่งมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระสังฆราช ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบถึงการจัดงานเฉลิมฉลองพระชันษา 60 ปี ของสมเด็จพระสังฆราช และได้ทูลขอพระราชทานผงที่ทรงสร้างพระสมเด็จจิตรลดาที่เหลือจากการที่ทรงสร้างพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงที่เหลือทั้งหมดให้แก่ ม.ล.เกษตร เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมอันเป็นมงคลแก่พระสมเด็จพระศรีศาสดาในครั้งนั้น

สำหรับการแกะแม่พิมพ์ เป็นหน้าที่ของกองกษาปณ์แห่งประเทศไทย โดยออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ มีพระศรีศาสดาประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว เมื่อแกะแม่พิมพ์แล้วได้ทดลองพิมพ์ออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ ม.ร.ว.ประสมศักดิ์ จรูญโรจน์ ดู ม.ร.ว.ประสมศักดิ์ดูแล้วให้ความเห็นว่าเนื้อที่ระหว่างยอดซุ้มกับองค์พระมีมากเกินไปจนแลดูโล่ง ให้นำแม่พิมพ์ไปแกะเพิ่มเส้นรัศมีเพื่อให้รูปแบบเกิดความสมดุล ช่างก็ได้นำแม่พิมพ์ไปแกะรัศมีกระจายออกจากเบื้องบนพระเศียรได้ 17 เส้น จากนั้นได้ผสมมวลสารพิมพ์พระสมเด็จพระศรีศาสดาจนหมดผง นับจำนวนรวมทั้งรุ่นลองพิมพ์ไม่มีรัศมี ได้จำนวน 6,164 องค์พอดี

เมื่อได้พระพิมพ์ทั้งหมดมาก็ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชแล้ว สมเด็จพระสังฆราชได้อธิษฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2516 จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นที่พระอุโบสถวัดบวรฯ ในวันที่ 28 กันยายน โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒินั่งปลุกเสก หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว สมเด็จพระสังฆราชทรงแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมแสดงมุทิตาจิตอย่างทั่วถึง และยังแจกต่ออีกจำนวนหนึ่ง พระที่เหลือจากแจกแล้วได้นำออกมาให้ประชาชนได้บูชาองค์ละ 200 บาท ได้เงินประมาณ 600,000 บาท จึงนำไปทอดกฐิน ณ วัด วังโพธิการาม จ.กาญจนบุรี

พระสมเด็จพระศรีศาสดาจึงเป็นพระที่น่าเก็บรักษาและบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้ที่บูชาเป็นอย่างมากครับ ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92327188990182_7.jpg)
หลวงปู่ขำ วัดหนองแดง

"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์ สมถะ

ปัจจุบัน สิริอายุ 88 ปี พรรษา 68

หลวงปู่ขำ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2471 ที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ โดยมีหลวงปู่รอด พรมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

หลวงปู่ขำ เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากญาติโยมเป็นอย่างดี ทำให้วัดแห่งนี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่ขำ อาทิ เหรียญรุ่นเจริญพร รุ่น 1, เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ รุ่น 2 เป็นต้น แต่ละรุ่นได้รับความสนใจจากคณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาค่อนข้างมาก ทำให้วัตถุมงคลเหล่านั้นมีราคาเช่าหาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากในปี 2559 เป็นปีที่หลวงปู่ขำ อายุครบ 88 ปี ในวันที่ 6 มี.ค.2559 วัดหนองแดง พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ เตรียมจัดงานมุทิตาสักการะ พร้อมจัดสร้างวัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ขำรุ่นแรก เพื่อมอบสมนาคุณผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาสักการะ และร่วมบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศาลาการเปรียญที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

วัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ขำรุ่นแรก ออกแบบเป็นรูปหลวงปู่นั่งขัดสมาธิ บริเวณสังฆาฏิ มีเลข ๑ หมายถึงเป็นรูปหล่อเหมือนรุ่นแรก และบริเวณฐานที่นั่งด้านหน้าต่อเนื่องไปด้านหลัง เขียนคำว่า "หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม" จำนวนการจัดสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย 1.ชุดกรรมการ มีเนื้อเงิน เนื้อปลอกกระสุนปืน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เปิดบูชา ชุดละ 1,800 บาท (หมดแล้ว) 2.เนื้อชนวน สร้าง 289 องค์ เปิดบูชา 300 บาท 3.ทองแดงรมดำ สร้าง 489 องค์ บูชา 200 บาท 4.เนื้อทองระฆัง สร้าง 200 องค์ แจกโรงทานและพุทธศาสนิกชนที่ร่วมงานวันที่ 6 มี.ค.2559 5.เนื้อตะกั่ว สร้าง 32 องค์ มอบคณะกรรมการจัดงาน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงปู่ขำเสกเดี่ยว ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2559

สนใจร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดหนองแดง โทร.09-8754-7234

     เปิดตลับพระใหม่


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 14 มีนาคม 2559 20:21:11
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83728025398320_1.jpg)
พระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่านลมหนาวพัดมาทำให้คิดถึงจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้น ถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหัวข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น

พระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่ก็มีครับ พระของกรุนี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสนซึ่งเป็นสกุลช่างล้านนา

พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้นเป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์

พระทั้งสองชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่อง คือมีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้นับเป็นพระเครื่องศิลปะล้านนาที่สวยงามมาก ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดี และยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจจะมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคน ในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89621762227680_2.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/92384955286979_2..jpg)
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท

พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ซึ่งคนรุ่นเก่ามักเรียกขานว่า "พระปิดตา บ่หยั่น" นับเป็นพระกรุหนึ่งเดียวในชุดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพลที่มีอายุการสร้างยาวนานที่สุด และด้วยพุทธคุณเป็นเลิศครบครัน จึงเป็นสุดยอดแห่งการแสวงหาของบรรดานักสะสมพระกรุเก่า รวมถึงผู้ชื่นชอบพระปิดตามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความที่หาของแท้ๆ ได้ยากยิ่งนัก ค่านิยมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

พระปิดตา วัดท้ายย่าน มีการค้นพบที่กรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากโบราณที่ยังพอมีเค้าโครงเก่าอยู่บ้างเท่านั้น นอกจากพระปิดตาแล้วยังพบพระลีลาเมืองสรรค์และพระสรรค์นั่งไหล่ยกบรรจุในกรุเดียวกัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสรรคบุรี ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองพระ" มีวัดร่วม 200 วัด เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสมัยอู่ทองที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อคราวสงครามก็นับเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการรบทัพจับศึก ผู้รู้หลายๆ ท่านลงความเห็นว่า พระปิดตาท้ายย่านนี้สร้างในราวกลางถึงปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะพบรวมอยู่กับพระเครื่องในสมัยเดียวกัน

พระปิดตา วัดท้ายย่าน เท่าที่พบมี 3 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อแร่พลวง เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อดินผสมผงใบลาน ซึ่งจะพบใน "พิมพ์กบ" เป็นส่วนใหญ่ สำหรับเนื้อที่ได้รับความนิยม คือ "เนื้อแร่พลวง" โดยเนื้อแร่พลวงนี้ เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อถลุงให้บริสุทธิ์แล้วจะมีความแข็งที่ผิวนอกแต่เนื้อในพรุน ไม่ยึดเกาะกันเหมือนโลหะชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อได้รับการกระทบหรือกระแทกแรงๆ จึงมักจะชำรุดแตกหักเป็นชิ้นๆ ทำให้การเก็บรักษาต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และพิมพ์เขียด ซึ่งในสามพิมพ์นิยมนี้ "พิมพ์กบ" นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม อาจเนื่องด้วยมีขนาดพอเหมาะพอดีกว่าทุกพิมพ์

พิมพ์ชีโบ
- ลักษณะพิมพ์ทรงค่อนข้างใหญ่กว่าทุกพิมพ์
- พระเศียรปรากฏเป็นเส้นนูน คล้ายสวมหมวกชีโบ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
- พระเมาลีเป็นต่อม
- ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสาลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ "ปิดทวาร"
- พระศอด้านหลังปรากฏเส้นพระศอ เป็นจุดเม็ดไข่ปลา ด้านล่างลงมาเป็นอักขระตัว "อุ"

พิมพ์กบ
- พิมพ์ทรงเล็กกว่าพิมพ์ชีโบ เมื่อมองจากด้านหลังองค์พระจะมีลักษณะคล้าย "กบ" จึงใช้เรียกชื่อพิมพ์
- พระเศียรไม่ปรากฏรายละเอียด บางท่านจึงเรียก "พิมพ์เศียรโล้น"
- ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสาลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ "ปิดทวาร"

พิมพ์เขียด
- มีพิมพ์ทรงเล็กที่สุดในสามพิมพ์
- พุทธลักษณะจะคล้ายพิมพ์ชีโบ แต่พระเศียรมียอดแหลม ยาว และเล็กกว่า แลดูคล้ายๆ เขียด
- ด้านหลังปรากฏอักขระขอม ตัว "อุ" เช่นเดียวกัน

ด้วยความเป็นพระกรุหนึ่งเดียวและมีอายุยาวนานที่สุดในชุดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศครบครัน ทั้งคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้ "พระปิดตา วัดท้ายย่าน" เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยพระที่พบมีจำนวนน้อยมาก การทำเทียมเลียนแบบจึงมีตามมามากมาย ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่

อันดับแรกให้พิจารณาเนื้อหาผิวพรรณธรรมชาติบนองค์พระเป็นหลัก ตามพื้นผิวขององค์พระจะปรากฏเส้นเสี้ยนและรอยย่นคล้าย "หนังช้าง" ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีมากหรือน้อยในแต่ละองค์ไม่แน่นอน ไม่ใช่ใช้ตะไบแต่ง ต้องดูลักษณะธรรมชาติให้ขาด นอกจากนี้จะมีคราบขี้กรุอันเกิดจากองค์พระบรรจุกรุเป็นเวลาเนิ่นนาน

จากนั้นจึงมาพิจารณาลักษณะพิมพ์ทรงว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15512931512461_view_resizing_images_1_.jpg)
พระเนื้อผง วัดวิเวกวนาราม (อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ )

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อผงที่น่าสนใจและน่าบูชามาก อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ คือพระชุดวัดวิเวกวนารามครับ พระชุดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร น่าสนใจอย่างไร เรามาร่วมศึกษากันนะครับ

พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้วพร้อมด้วยบุตร คือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่

ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้ เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ นั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียง ก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตล่ะก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถและพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"

หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระศาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถ เพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชาย คือนายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ ด้วยในปี พ.ศ.2511

หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่า ผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวก ต้องมาทางเรือเท่านั้น

เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหวจึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟันมาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านเพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน

พอถึงปลายๆ ปี พ.ศ.2512 นายแพทย์สุพจน์ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์

เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้วได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นแบบพระสมเด็จฯก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั๊มหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ

นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปี พ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก

พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุด จากกรุอยุธยา ชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างอุโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธรขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสมดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง

จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวกวนารามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้จะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดวิเวกฯ มาให้ชมกันด้วยครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 มีนาคม 2559 20:39:31
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41834522990716_5.jpg)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ความเคารพศรัทธาของประชาชนกับพระสงฆ์หรือพระเกจิอาจารย์นั้น เนื่องจากคำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ซึ่งก็มีอยู่หลากหลาย พระสงฆ์บางรูปก็มิได้สร้างวัตถุมงคลออกมาแจกจ่าย เพียงการเทศน์สอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม บางรูปท่านก็แจกวัตถุมงคลให้ไว้เป็นเครื่องระลึกถึงคำสั่งสอนของท่าน ซึ่งก็เป็นอุบายอย่างหนึ่งให้คนทำความดี เมื่อมีพระเครื่องของท่านห้อยคอไว้ก็ย่อมที่จะระลึกถึงคำสอนของท่านและละอายต่อการทำชั่วทั้งหลาย

พระเครื่องต่างๆ ที่คณาจารย์ท่านได้กรุณาสร้างไว้ให้แก่ศิษย์และชาวบ้านนั้นล้วนแต่ให้ไว้เป็นที่ระลึก และส่วนใหญ่นั้นศิษย์หรือชาวบ้านที่เคารพศรัทธาได้ขอร้องและขออนุญาตท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวพระสงฆ์รูปนั้นๆ แทบทั้งสิ้น เพื่อที่จะน้อมนำคำสั่งสอนของท่านไปปฏิบัติตามและสั่งสอนลูกหลานสืบต่อไป

พระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่มีการบรรจุไว้ในเจดีย์ก็เพื่อเป็นพุทธบูชาไว้เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา เมื่อผ่านอายุกาลไปนานปี และมีผู้ที่พบจะได้ทราบว่าเมื่อครั้งที่สร้างเจดีย์นี้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งที่มีคนเคารพนับถือและระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าองค์ผู้เป็นศาสดา

กาลสืบต่อมาเมื่อมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระสงฆ์รูปใดก็ย่อมจะอยากได้พระเครื่องที่ระลึกของพระสงฆ์รูปนั้นๆ หรือพระกรุที่ถูกบรรจุในองค์พระเจดีย์ที่เป็นพระเก่าๆ ก็ตาม เมื่อมีผู้อยากได้ก็ย่อมมีการเสาะหา และมีการให้สนนราคาเพื่อการได้ไว้ครอบครอง จึงทำให้เกิดมีมูลค่าราคาขึ้น และก็เกิดมีอาชีพของคนที่เสาะแสวงหาพระเครื่องเพื่อเอาไว้จำหน่าย และก็มีคนจำพวกมิจฉาชีพที่ทำพระปลอมเลียนแบบไว้หลอกลวงเพื่อขายด้วยเช่นกัน

ในส่วนของเรื่องอภินิหารหรือเรื่องพุทธคุณต่างๆ ในพระเครื่องนั้น เป็นเรื่องที่เกิดได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่สามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้กับบุคคลอื่น นอกจากการบอกเล่าเรื่องแปลกๆ หรือเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นกับตนให้ผู้อื่นฟังเท่านั้น และก็เกิดการบอกเล่ากันต่อๆ มา มีการเสริมแต่งเพิ่มเติมบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาของการบอกเล่าต่อๆ กัน

ความเลื่อมใสศรัทธากับความงมงายนั้นเป็นคนละเรื่องกัน แต่ก็มักจะถูกนำมาปะปนกันอยู่เสมอ ยิ่งในปัจจุบันหรือในยามที่ประชาชนมีจิตตก ไร้ที่พึ่งทางจิตใจ เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง หรือมีอุบัติภัยต่างๆ ก็ย่อมตกอยู่ในเรื่องของความงมงายได้ไม่ยากนัก จึงเกิดการล่อลวงให้ตกอยู่ในความงมงายอภินิหารต่างๆ ดังที่เราได้เห็นอยู่ในหลายๆ เรื่อง แทนที่จะระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา หรือพระคณาจารย์ต่างๆ ที่เราเคารพนับถือ ทำจิตใจให้สงบ มีสติ ตริตรองปัญหาต่างๆ และค่อยๆ แก้ไขไปตามแต่ที่จะทำได้ กลับไปหาความงมงายเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหา ซึ่งไร้เหตุผลและขาดสติโดยสิ้นเชิง

การที่มีพระเครื่องที่เราเคารพนับถืออยู่แล้วนั้นก็ควรจะนำมาเป็นกำลังใจ ระลึกถึงคำสั่งสอนของท่านและตั้งสติให้แน่วแน่ สงบนิ่ง แล้วใช้ปัญญาคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เราประสบอยู่ ให้ถูกต้องตามหลักของศาสนา ไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่ตลอดไป ย่อมเป็นไปตามหลักของธรรมชาติและหลักของศาสนา คือ เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป หนีไม่พ้นความจริงเรื่องนี้ได้ ไม่มีสุขใดอยู่กับเราตลอดไป และไม่มีทุกข์ใดอยู่กับเราตลอดไปเช่นกัน ไม่มีลาภยศสรรเสริญใดอยู่กับเราตลอดไป มีได้ก็เสื่อมได้เป็นธรรมดา ไม่ควรอาลัยอาวรณ์โศกเศร้าเสียใจ ปล่อยวางลงบ้างก็จะบรรเทาทุกข์ลงไปได้เอง ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย กินอยู่อย่างพอเพียง ก็จะพอพ้นวิกฤตไปได้ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ย่อมดับไปเป็นธรรมดา

ในวันนี้ผมขอนำรูปถ่ายของสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาให้เป็นกำลังใจแก่ทุกท่านครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24986956558293_1.jpg)
เหรียญรูปเหมือน ปี พ.ศ.2495
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร วัตถุมงคลที่สร้างไว้และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่งบัวรอบ และพระกริ่งไพรีพินาศ ซึ่งปัจจุบันมีราคาค่านิยมสูงมาก ความจริงวัตถุมงคลที่ได้สร้างไว้นั้นยังมีอีกมากที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าที่ควร ในวันนี้ผมจะแนะนำวัตถุมงคลที่สนนราคาไม่สูงนักมาให้ชมกันครับ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ ชื่น ซึ่งทรงเป็นโอรสของหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 เมื่อมีพระชนมายุพอ ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌายะ ในขณะที่ทรงบรรพชานั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แต่ปรากฏในหนังสือวัดบวรฯ ว่า ในระยะหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระภิกษุแล้วไม่ทรงรับเป็นพระอุปัชฌายะอีก แต่โปรดให้บวชอยู่ในวัดได้ แต่ต้องถือพระอุปัชฌายะอื่น ระหว่างทรงเป็นสามเณรอยู่นั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และทรงสอบได้เปรียญ 5 ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2433

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2435 ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (แฟง) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌายะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทั้งการบรรพชาในครั้งก่อน และการอุปสมบทในครั้งนี้ สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานพระราชูปถัมภ์และได้พระราชทานพระราชูปถัมภ์ตลอดมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์ สิ้นพระชนม์ ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2488 จึงทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในราชทินนามเดิม

ครั้นถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสังฆสมาคม 30 รูป โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์

ปัจฉิมกาล ครั้นเวลาหลังเที่ยงคืน วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับหน้าพระแท่นบรรทมในห้องประชวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 01.08 น. สิริพระชนมายุ 85 พรรษา

วัตถุมงคลที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงสร้างไว้นั้นมีหลายอย่าง ในวันนี้ขอแนะนำเหรียญรูปเหมือน ปี พ.ศ.2495 สนนราคายังไม่แพง แต่สูงด้วยพุทธคุณครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99431483447551_2.jpg)
เหรียญ "หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์

"หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า จนอาจกล่าวได้ว่า "ถ้าไปเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่ได้ไปกราบสักการะถือว่าไปไม่ถึงสุพรรณบุรีทีเดียว"

การสร้างวัตถุมงคล "หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์" นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งล้วนคงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระหลวงพ่อโตเสมอมา แต่ "เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก" ที่จะกล่าวถึงนี้ นับเป็นเหรียญเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นเหรียญพระพุทธอันดับหนึ่งของจังหวัด ที่ปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากนัก ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์การจัดสร้างแล้ว อาจเป็นด้วยพระเกจิผู้ปลุกเสก คือ "หลวงพ่อสอน" อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดป่าเลไลยก์ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวสุพรรณบุรี

พระครูโพธาภิรัต หรือ หลวงพ่อสอน เป็นชาวบ้านค่ายเก่า จ.สุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ไปราว 100-200 เมตร เกิดในราวปี พ.ศ.2408 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสิน-นางนิ่ม ตอนเด็กๆ ศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทยและอักขระขอมที่วัดประตูสาร เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2429 จึงอุปสมบทที่วัดประตูสาร

หลวงพ่อสอนเป็นพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการศึกษา ท่านมีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกล่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคม แล้วข้ามฟากมาเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดสุวรรณภูมิ และมาจำพรรษาวัดไชนาวาส (วัดชายนา) เพื่อศึกษาเพิ่มเติม ครั้นเมื่อทราบว่าหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า เป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐานและพระปริยัติธรรม ก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาจนแตกฉานอีกด้วย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระครูวินัยธร" ฐานานุกรมของพระวิบูลย์เมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ระยะหนึ่ง ขณะนั้นวัดป่าเลไลยก์ก็เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากอีกทั้งไม่มีพระจำพรรษา คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าถ้าปล่อยไว้เช่นนี้วัดป่าเลไลยก์ต้องร้างไปอย่างแน่นอน จึงมีมติแต่งตั้งให้ "พระครูสอน" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ในปี พ.ศ.2456 เพื่อฟื้นฟูสภาพวัดโบราณให้คงอยู่สืบไป

เมื่อเข้าปกครองดูแลวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อสอนก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำ 3 บ่อ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา ริเริ่มการศึกษาทั้งด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวสุพรรณบุรีและใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายได้เป็น "พระครูโพธาภิรัต" ก่อนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุ 67 พรรษา 46

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้พอสมควรซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางและหายากยิ่งในปัจจุบัน เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2461, เหรียญพระพุทธหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี พ.ศ.2462, เหรียญรูปเหมือนทรงอาร์ม ปี พ.ศ.2470 ฯลฯ

สำหรับเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์รุ่นแรกนี้ มีความสำคัญคือ จัดสร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ยกฐานะ "วัดป่าเลไลยก์" ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462 ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวตำบลรั้วใหญ่และชาว จ.สุพรรณบุรี ยิ่งนัก ในการนี้จึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง "หลวงพ่อโต" อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อโต" ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึก ความสำคัญประการที่สอง ก็คือสมัยนั้นเป็นสมัยที่หลวงพ่อสอนเป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ จึงได้รับปลุกเสกโดย "หลวงพ่อสอน" พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมและเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของสาธุชนนั่นเอง

เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าจำลองรูปหลวงพ่อโตพระประธานในปางป่าเลไลยก์ (ปาลิไลยก์) มีรูปช้างถวายกระบอกน้ำ ลิงถวายรวงผึ้ง ตกแต่งพื้นหลังอย่างสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ต่อมาลงมาเป็นปีที่สร้าง "๒๔๖๒" และอักษรไทยชื่อพระประธานว่า "หลวงพ่อวัดป่าเรไร"

ปัจจุบันยังคงเป็นที่ใฝ่ฝันของนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญโดยเฉพาะชาวสุพรรณบุรีครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38881037715408_3.jpg)
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม(ปั๊มโบราณ)

"วัดท่าหลวง" พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร เป็นวัดสำคัญของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ พ.ศ.2529

ได้รับแต่งตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจิตร แห่งที่ 4 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นที่ตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง ดำเนินการสอนโดย "พระมหาเจษฎากร วิสุทธิรังสี" พระวิปัสสนาจารย์ (ศิษย์พระธรรมมังคลาจารย์ หรือหลวงปู่ทอง สิริมังคโล เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)

นอกจากนี้ภายในวัดท่าหลวงยังเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมเพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในเชิงการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุ-สามเณร, เยาวชน, พุทธศาสนิกชน, มีโอกาสอบรม ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรม

พระมหาเจษฎากร พระวิปัสสนาจารย์ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง ระบุว่า วัดท่าหลวงเห็นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เห็นพ้องให้ขยายพื้นที่ศาลาปฏิบัติธรรม, บูรณะสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยให้จัดสร้างศาลาปฏิบัติธรรม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น มีพระราชวิจิตรโมลี (หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงเป็นประธานอุปถัมภ์และพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นประธานจัดสร้าง

พร้อมจัดสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์หลวงพ่อเงิน รวมทั้งรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (ปั๊มโบราณ) หารายได้สมทบทุนการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและบูรณะ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (ปั๊มโบราณ) จัดสร้างเนื้อทองคำ (ตามสั่งจอง), เนื้อเงิน 299 องค์, เนื้อนวะกลับดำ 500 องค์, เนื้อผสมดีบุก 2,000 องค์, เนื้ออัลปาก้า 500 องค์, เนื้อทองเหลือง 10,000 องค์  ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 5 วาระ วาระที่ 1 พิธีเททองนำฤกษ์ วันที่ 5 ส.ค.2557, วาระที่ 2 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม วันที่ 6 พ.ย.2557, วาระที่ 3 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดหนองดง อ.โพทะเล จ.พิจิตร วันที่ 25 ม.ค.2558, วาระที่ 4 พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ โดย หลวงปู่ทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่  วาระที่ 5 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่อุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร มีพระเถราจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต 26 รูป อาทิ พระราชวิจิตรโมลี (หลวงปู่บุญมี) วัดท่าหลวง ประธานจุดเทียนชัย, พระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงพ่อวิรัติ) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร, พระมงคลสุธี(หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์, หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ, หลวงพ่อทุเรียน วัดท่าดินแดง ฯลฯ

หลวงพ่อพยนต์ วัดหล่ายหนองหมี อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร เป็นประธานดับเทียนชัยเป็นต้น  ติดต่อได้ที่วัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร บางเนื้อทางวัดยังมีเหลืออยู่ โทร.09-3239-6199 และ 09-4824-9865 ทุกวัน

เปิดตลับพระใหม่


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60904754242963_4.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/59702223870489_4..jpg)
พระพิจิตรหัวดง

ไหนๆ ฉบับที่แล้ว ก็พูดคุยกันถึงเรื่องสุดยอดแห่งความนิยมของ "พระพิจิตร" ไปแล้ว ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า "พระตระกูลพระพิจิตร" นั้น ณ ปัจจุบันไม่ว่าพิมพ์ไหนกรุไหน ก็ล้วนทรงค่านิยมสูงถึงแม้จะลดหลั่นกันมา แต่ก็ทำให้กระเป๋าเบาได้เช่นกัน

ฉบับนี้ก็เลยขอหยิบยก "พระพิจิตรหัวดง" พระพิจิตรอีกพิมพ์หนึ่งที่มีต้นกำเนิดที่ จ.พิจิตร แท้ๆ พุทธคุณก็ล้ำเลิศไม่เป็นรองใคร ซึ่งอาจเป็นเพราะรู้กันในวงแคบ ไม่มีการกระจายหรือเผยแพร่เท่าที่ควร ในสมัยก่อนค่านิยมจึงอยู่ในลำดับปลายๆ จนถึงปัจจุบันจึงยังนับว่าถูกกว่า "พระพิจิตร" อื่นๆ ที่เราท่านยังพอหาดูหาเช่าได้อยู่ แต่ก็ยังมีการทำเทียมเลียนแบบเช่นกัน

พระพิจิตรหัวดง เป็นพระพิจิตรที่ถอดเค้าแบบมาจาก "พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี" ยอดขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ และป้องกันไฟ

ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย พระเกศ เป็นแบบ "เกศปลี" แหลมและยาว  พระพักตร์ใหญ่และยาว ดูเหมือนผิดส่วนคล้ายพระท่ากระดาน พระเพลายื่นล้ำมาทางด้านหน้าอย่างเด่นชัด คล้ายพระท่ากระดานเช่นกัน

พระพิจิตรหัวดงที่พบมีอยู่ 2 เนื้อ คือเนื้อชินเขียวและเนื้อชินเงิน โดย "เนื้อชินเงิน" จะมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย แต่รูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกัน ด้านหลังเป็นหลังลายผ้าเช่นเดียวกับพระสกุลพิจิตรทั่วไป

พระพิจิตรหัวดงที่มีการทำเทียมเลียนแบบออกมาเท่าที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเขียว จึงต้องใช้การพิจารณาให้ละเอียด

ในด้านพิมพ์ทรง จากเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้กล่าวไปแล้วจะหาความเป็นมาตรฐานค่อนข้างยาก อาจมีจุดตำหนิเล็กน้อยที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ความลึกของพิมพ์ พระเกศก็จะมีทั้งเกศตรงและเกศคด จนบางครั้งมองเป็นพระท่ากระดานก็มี จึงต้องมาดูกันที่ความเก่าของเนื้อองค์พระที่น่าจะมีอายุการสร้างมาไม่น้อยกว่าสมัยอยุธยา และปฏิกิริยาของเนื้อมวลสารที่ผ่านการบรรจุในกรุมาเนิ่นนานกว่า 4-5 ร้อยปี โดยพิจารณาจากคราบไข สนิมขุม และรอยระเบิด

"พระพิจิตรหัวดง เนื้อชินเขียว" ตามธรรมชาติแล้วจะไม่ระเบิดแตกปริเหมือน "เนื้อชินเงิน" แต่จะมี "คราบไข" ลักษณะเหมือนไขวัว ขึ้นเป็นเม็ดขาวใสพอกพูนซ้อนกัน บางองค์มีลักษณะใกล้เคียงกับไข่แมงดา บางท่านจึงเรียกว่า "สนิมไข่แมงดา" ถ้าเป็นสนิมเทียมเม็ดจะไม่เต่งและสดใสเป็นธรรมชาติ แต่จะมีลักษณะเป็นแผ่นๆ ติดกันเป็นพืด เมื่อล้างหรือแช่ด้วยทินเนอร์ก็จะละลายออกทันที ของแท้ๆ จะติดแน่นล้างออกยากมาก

ส่วน "พระพิจิตรหัวดง เนื้อชินเงิน" ต้องสังเกตความเก่าจากสนิมไข สนิมขุม และรอยระเบิด

สนิมไขในพระเนื้อชินเงินจะไม่เป็นเม็ดเต่งแบบเนื้อชินเขียว จะเป็นเพียงคราบไขสีขาวอมเหลืองเป็นเม็ดๆ ไม่เต่งนูน แทรกอยู่ในเนื้อองค์พระเป็นจุดๆ มากน้อยไม่เท่ากัน

สนิมขุม เป็นสนิมที่กัดกร่อนลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง คล้ายรอยขี้กลากที่ขึ้นตามผิว เมื่อส่องกล้องดูจะมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็นธรรมชาติ ส่วนสนิมเทียมนั้นจะใช้น้ำกรดหยดเพื่อกัดเนื้อองค์พระเป็นจุดๆ ไม่เป็นธรรมชาติเหมือนสนิมแท้

รอยระเบิด ในพระเนื้อชินเงินนั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่จะแสดงความเก่าออกมาจาก "รอยระเบิดแตกปริ" ที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเนื้อชินเงินที่มีส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว ซึ่งเมื่อผ่านกาลเวลากระทบกับความร้อนและความเย็นจึงเกิดการออกซิไดซ์ จะเป็นการแตกปริจากภายในออกสู่ภายนอก

ส่วนของเทียมจะระเบิดแบบภายนอกเข้าไปหาข้างในครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87796747311949_1.jpg)
พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ

หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีอาวุโสและเป็นที่เคารพศรัทธามากที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ "เมืองแปดริ้ว" มาแต่อดีต อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปรมาจารย์ทางพุทธาคม" ก็ว่าได้ เพราะลูกศิษย์ของท่านล้วนเป็นพระเกจิผู้มีชื่อเสียง ทั้งสิ้น อาทิ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ และหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ซึ่งได้ตำรับพระปิดตามาจนโด่งดังกระฉ่อน หรือแม้แต่หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ก็ยังได้วิชาทำผ้ายันต์และสีผึ้งจากท่าน เป็นต้น

หลวงปู่จีน สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายซึ่งล้วนทรงพุทธาคมเป็นที่กล่าวขวัญและนิยมสะสมทั้งสิ้น สุดยอดวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อลือเลื่องและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของประเทศที่หาได้ยากยิ่ง คือ "พระปิดตาเนื้อผง คลุกรัก" ด้านพุทธคุณนั้น ครบเครื่องครบครัน ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด

นอกจากนี้ ยังถือเป็น "ต้นกำเนิดพระปิดตาของเมืองแปดริ้ว" เนื่องจากลูกศิษย์ของท่านหลายรูปก็ได้สร้าง พระปิดตาตามแบบพระอาจารย์เช่นกัน

วัดท่าลาดเหนือ เป็นวัดเก่าแก่ เล่าต่อกันมาว่า สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจากพระตะบอง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 พอวัดสร้างเสร็จได้ประมาณปีเศษ ก็มีพระธุดงค์ผ่านมา 3 รูป ด้วยวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ให้จำพรรษาที่วัด ต่อมาพระ 2 รูป ได้ออกธุดงค์ต่อลงมาทางใต้ เหลือเพียง หลวงปู่จีน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่จีน ทราบจากการเล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่ สันนิษฐานว่าท่านเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดในราวปี พ.ศ.2397 ท่านเป็นพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมเป็นพิเศษ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนโบราณ และมีเมตตาธรรมสูง ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านทั้งเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยและเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจต่างๆ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองแปดริ้วและใกล้เคียง ต่อมากิตติศัพท์ของท่านเริ่มขจรไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านมรณภาพในราวปี พ.ศ.2440 สิริอายุ 83 ปี

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนั้น สันนิษฐานว่าท่านสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 โดยนำเนื้อผงพุทธคุณที่ผสมว่านวิเศษต่างๆ ตามสูตรเฉพาะของท่าน มาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน แล้วกดแม่พิมพ์พระปิดตา พระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนนำไปประกอบพิธีปลุกเสก ซึ่งท่านจะปลุกเสกตลอดทั้งพรรษา โดยพระต้องให้กระโดดออกมานอกบาตรได้จึงจะถือว่าสำเร็จ ซึ่งการจัดสร้างแต่ละครั้งจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากวิธีการสร้างทำได้ยากมาก

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ มีเส้นโค้งรอบองค์พระ พระเศียรโล้น พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร ด้านหลังส่วนใหญ่จะอูมเป็นแบบ "หลังเบี้ย" หรือ "หลังประทุน" แทบทุกองค์ มีการจัดสร้างเป็นหลายพิมพ์ พิมพ์ที่เป็นที่นิยม อาทิ พิมพ์แข้งหมอน, พิมพ์เม็ดกระบก, พิมพ์กลีบบัวใหญ่, พิมพ์กลีบบัวเล็ก และพิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น โดย "พิมพ์แข้งหมอน" นับเป็นพิมพ์นิยมที่สุดและพบน้อยมากที่สุดเช่นกัน

เอกลักษณ์สำคัญ ของพระปิดตาหลวงปู่จีน พิมพ์แข้งหมอน มีดังนี้
- เส้นซุ้มมีรอยขยัก 2 ตำแหน่ง คือ ระหว่างใต้พระ กรรณกับพระอังสาทั้งสองข้าง และระหว่างพระกัประ (ข้อศอก) กับพระเพลา ที่มีลักษณะคล้ายหมอน จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "แข้งหมอน"
- เส้นซุ้มด้านล่างใต้พระเพลาด้านซ้ายขององค์พระ จะชิดกับพระเพลาแล้วค่อยๆ ถ่างออก
- พระเศียรด้านบนลักษณะคล้ายครึ่งวงกลมโค้งลงมาถึงพระกรรณทั้งสองข้าง
- ลำพระพาหาทอดโค้งข้างซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาขององค์พระ
- ข้อพระหัตถ์ทั้งสองบรรจบกันที่ลำพระศอ
- ด้านหลังส่วนใหญ่จะอูมมาก

การพิจารณา "พระปิดตาหลวงปู่จีน เนื้อผงคลุกรัก" ให้ดูที่เนื้อขององค์พระ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะจุ่มรักหรือทารัก ดังนั้นจึงจะเห็นเนื้อในเฉพาะส่วนสูงที่ถูกสัมผัส เนื้อละเอียดแบบเนื้อกะลา ซึ่งแห้งและจัดมาก ถ้าถูกเหงื่อสีจะออกน้ำตาลเข้ม บางองค์เห็นรักเป็นเกล็ดในเนื้อ บางองค์ก็มีการปิดทอง ด้วยความที่จำนวนพระน้อยมากๆ และค่านิยมสูง ต้องใช้ความระมัดระวังและพิจารณาให้ถี่ถ้วนเป็นพิเศษถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษากูรูผู้ชำนาญการก่อนตัดสินใจครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76964350334472_2.jpg)
พระสุพรรณหลังผาล

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องต่างๆ ที่มีชื่อเรียกกันนั้น โดยเฉพาะกรุเก่าๆ ในสมัยที่สร้างนั้นจะมีชื่อเรียกอย่างไรไม่ปรากฏทราบชัด แต่ชื่อที่เรียกกันนั้นเป็นการตั้งกันเองในครั้งที่มีการพบพระตอนที่กรุแตกออกมา ก็ตั้งชื่อกันไปง่ายๆ ตามลักษณะรูปร่างบ้าง ชื่อตามสถานที่บ้าง แล้วก็เรียกกันต่อๆ มา

พระที่จะนำมาพูดคุยในวันนี้ก็คือพระสุพรรณหลังผาล กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ซึ่งขุดพบพร้อมๆ กับพระผงสุพรรณและพระอื่นๆ อีกมากมายในองค์พระปรางค์ วัดพระศรีฯ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ต่างคนต่างก็ตั้งชื่อเรียกพระแบบต่างๆ ไปตามลักษณะและรูปลักษณ์ของพระนั้นๆ เดิมทีเดียวพระสุพรรณหลังผาลมักเรียกกันว่า "พระพิจิตรหลังผาล" และไม่ทราบว่าทำไมจึงเรียกคำขึ้นต้นว่า "พิจิตร" ทั้งๆ ที่พระขึ้นที่สุพรรณฯ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนคำขึ้นต้นชื่อให้สอดคล้องกับจังหวัดที่ขุดพบพระเป็น "พระสุพรรณหลังผาล" ส่วนคำว่าหลังผาลนั้น เนื่องด้วยพระส่วนมากจะเป็นพระสองหน้า ที่ด้านหลังของพระส่วนมากจะมีรูปองค์พระเล็กๆ อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายๆ กับตัวผาลไถนา และมีเดือยต่อลงมาจากตัวผาลด้วย จึงเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า "พระสุพรรณหลังผาล" แต่พระสุพรรณหลังผาลตามที่ขุดพบนั้น ก็ยังมีลักษณะด้านหลังอีกหลายแบบ แต่ด้านหน้าจะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน เช่น พระสุพรรณหลังเรียบ ก็คือด้านหลังไม่มีรูปพระ แต่เป็นแบบเรียบๆ พระสุพรรณหลังผ้าก็เช่นเดียวกันด้านหน้าลักษณะเหมือนกัน แต่ด้านหลังเป็นรอยลายผ้าหยาบๆ พระสุพรรณหลังซุ้มระฆังฯ ก็เป็นรูปพระแบบซุ้มระฆังอยู่ที่ด้านหลังแทนหลังผาล พระสุพรรณหลังยันต์ พระพิมพ์นี้ด้านหลังคล้ายๆ กับพิมพ์หลังผาล แต่มีตัวอักขระยันต์เพิ่มเติมอยู่รอบๆ องค์พระด้านหลังที่เป็นผาล พระทั้งหมดในตระกูลพระสุพรรณหลังผาลนั้น เป็นพระเนื้อชินเงิน

พระสุพรรณหลังผาลนั้นมีจำนวนมากกว่าแบบอื่นๆ จึงนิยมเรียกและรู้จักกันมากกว่าในชื่อ "พระสุพรรณหลังผาล" ขนาดขององค์พระกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม. ส่วนพระสุพรรณหลังยันต์นั้นจะมีขนาดย่อมลงมากว่าพิมพ์อื่นๆ อยู่เล็กน้อย ศิลปะของพระสุพรรณหลังผาลเป็นแบบศิลปะอู่ทอง ในเรื่องของพุทธคุณนั้นจะเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยก่อน

ปัจจุบันก็หาชมพระสวยๆ ได้ยากเช่นกันครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควร ในส่วนของพระปลอมเลียนแบบนั้นก็มีการทำปลอมกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมากในสมัยก่อน การเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ หรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสุพรรณหลังผาลจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ครับ

ด้วยควมจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 มีนาคม 2559 20:41:43

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92601538201173_3.jpg)
พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ตามรอยนิราศเมืองสุพรรณ ของสุนทรภู่ที่เขียนไว้ และก็มีสถานที่ที่มีกรุพระเครื่องเก่าแก่และโด่งดังอยู่หลายกรุ กรุที่จะนำมาคุยกันคือกรุวัดสำปะซิว ซึ่งพระกรุเนื้อดินเผาของกรุนี้คือ พระซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปราง สุนทรภู่ได้เขียนโคลงนิราศเกี่ยวกับบ้านสำปะซิว ทำให้รู้ว่า สำปะซิวในสมัย พ.ศ.2379 มีสภาพการเป็นอยู่ บ้านเรือนเป็นอย่างไร

สำปะทิว งิ้วง้าวสล่าง กร่างไกร
ถิ่นท่าป่ารำไร ไร่ฝ้าย
เจ๊กอยู่หมู่มอญไทย ทำถั่ว รั้วเอย
ปลูกผักฟักกล้วยกล้าย เกลื่อนทั่วทางจร

ครับสำปะทิว ก็คือ สำปะซิว อาจจะมีการเรียกเพี้ยนกันมานานแล้วจนปัจจุบัน ในสมัยที่สุนทรภู่ผ่านไปในย่านนี้ คงเป็นชุมชนที่มีปะปนกันหลายเชื้อชาติ เช่นพวกคนจีน และชาวมอญ อาชีพก็ทำกสิกรรม ปลูกผัก ปลูกฝ้าย ทำไร่ไถนาเป็นหลัก ต่อมามีการพบกรุพระที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว แต่ไม่ได้พบที่ภายในวัด กลับพบที่บ้านของนายดี ซึ่งมีบ้านใกล้ๆ กับวัด ห่างกันประมาณหนึ่งเส้นไปทางเหนือของวัด นายดีขุดดินบริเวณรั้วบ้านและก็พบกรุพระโดยบังเอิญ มีทั้งพระบูชา ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะแบบขอมหรือลพบุรี นอกจากนี้ก็พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอีกจำนวนมาก เป็นพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา เป็นหลักรองมาก็เป็นพระท่ามะปราง และพบพระพิมพ์อื่นๆ อีกเล็กน้อย เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด

บริเวณใกล้ๆ กับวัดสำปะซิวยังมีการพบพระบูชาศิลปะแบบลพบุรีอีกหลายครั้งทางด้านทิศใต้ของวัด สันนิษฐานว่าบริเวณแถบนี้คงเป็นชุมชนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีการตั้งชุมชนอยู่กันต่อมา สำหรับพระเครื่องของกรุนี้ เท่าที่สังเกตดูน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยสุโขทัยปลายๆ โดยสร้างพระซุ้มนครโกษาล้อแบบลพบุรี และสร้างพระท่ามะปรางที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับของพิมพ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ซึ่งน่าจะมีอายุการสร้างใกล้เคียงกัน

ลักษณะพระเนื้อดินเผาของกรุวัดสำปะซิว จะเป็นเนื้อดินเผาค่อนข้างหยาบ มีเม็ดกรวดทรายในเนื้อพระ และเป็นประเภทเนื้อดินแกร่ง ผิวพระค่อนข้างหนา สีเป็นแบบพระเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงอิฐแบบดินเผา มีเป็นสีนวลๆ บ้าง และสีดำก็มีแต่จำนวนน้อย

พระกรุวัดสำปะซิว ไม่ได้ขุดพบในบริเวณวัด แต่ในสมัยก่อนนั้นเมื่อนำมาขายกันในตลาด มีคนถามว่าได้พระมาจากไหน ต่างก็มักจะตอบว่า "วัดสำปะซิว" เนื่องจาก ขุดได้ใกล้ๆ วัด จึงเรียกหากันว่าเป็นกรุวัดสำปะซิวกันเรื่อยมาทั้งๆ ที่ไม่ได้พบพระที่วัดสำปะซิวเลย

พระของกรุนี้พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันครับ ปัจจุบันก็หาของแท้ๆ ค่อนข้างยากแล้วครับ พระกรุวัดสำปะซิวเป็นพระอีกกรุหนึ่ง ที่น่าสนใจของเมืองสุพรรณครับ

วันนี้ผมนำรูปพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13621190107530_view_resizing_images_1_.jpg)
พระขุนแผนผงพรายกุมาร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน โลกของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าไปมาก รวดเร็วและกว้างขวางกว่าเดิมมาก การเข้าถึงก็ง่ายขึ้น เป็นในด้านดีของการพัฒนา ในส่วนของอีกด้านหนึ่งนั้น ผู้ที่เสพข้อมูลก็ต้องใช้วิจารณญาณในการเข้าถึงข้อมูลด้วยเช่นกันว่า ข้อมูลนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ในส่วนของสังคมพระเครื่องก็มีทั้งข้อดีและข้อมูลที่ไม่ค่อยถูกต้องด้วยเช่นกัน ดังนั้นการติดตามข้อมูลข่าวสารควรใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ และเลือกที่จะเชื่อหรือรับข้อมูลจากแหล่งใด

ที่ผมกล่าวมานี้ก็เนื่องจาก เท่าที่ติดตามดูทางโลกโซเชี่ยลที่เกี่ยวกับพระเครื่อง ก็เห็นมีข้อมูลอยู่มากมายที่ขัดแย้งกันบ้าง เป็นไปในทิศทางเดียวกันบ้าง ที่เป็นประเด็นขัดแย้งกันกับทางมาตรฐานสังคมพระเครื่องก็มาก มาตรฐานสากลที่ผมกล่าวถึงก็คือ การเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ ในด้านสังคมพระเครื่องนั้นหากมีการยอมรับของสังคมก็จะมีมาตรฐานในเรื่องมูลค่าของพระเครื่องนั้นๆ ของสังคมส่วนรวม สามารถนำมาซื้อ-ขายได้ ในสนามพระเครื่อง (ศูนย์พระเครื่องที่เป็นมาตรฐาน) มีคนรับเช่าหาในราคาที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐาน และมีการจัดเข้ารายการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชา พระเครื่องต่างๆ ที่จะเป็นที่ยอมรับจากสังคมนั้นจะต้องมีที่ไปที่มาชัดเจน มีประวัติหลักฐานที่แน่นอน จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม

เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีกรณีเกี่ยวกับพระเครื่องของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ คือพระขุนแผนผงพรายกุมาร การขัดแย้งกันเรื่องปีการสร้างว่า มีปีพ.ศ.2515 เป็นปีแรกที่สร้างพระขุนแผนผงพรายกุมาร โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง อ้างว่าพระขุนแผนผงพรายกุมารนั้นสร้างในปี พ.ศ.2515 และพระขุนแผนผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2516-2517 นั้น เป็นของปลอม และมีการกล่าวว่าร้ายทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยจนถึงบุคลากรในสมาคม

กรณีนี้เพื่อความชัดเจนของการสร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ทางสมาคมจึงได้จัดประชุมและแถลงข่าวในกรณีนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2559 ณ ห้องประชุมของสมาคม โดยมีการเชิญคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคล คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ คุณชินพร สุขสถิต และคุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ รวมถึงคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องฯ หลวงปู่ทิม นักนิยมสะสมพระเครื่อง ผู้ชำนาญการ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกแขนง เข้าร่วมประชุมและแถลงข่าว

คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวถึงประเด็นที่กำลังเป็นกระแสใน โซเชี่ยลเกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่มีนักสะสมบางกลุ่มกล่าวว่าจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2515 และกำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันและส่งผลกระทบต่อสังคมพระเครื่องโดยรวมอย่างมาก และขอยืนยันว่าส่วนตัวไม่ใช่ผู้ชำนาญการด้านพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จึงเรียนเชิญตัวแทนทางด้านคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลและคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม รวมถึงคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผู้มีความรู้ความสามารถร่วมชี้แจงว่าข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ตามหลักสากลนิยมของสังคมพระเครื่องให้การยอมรับปัจจุบันนี้ สร้างในปี พ.ศ.ใดบ้าง พร้อมทั้งกล่าวย้ำถึงเจตนารมณ์ของสมาคมไม่ได้กีดกันหรือคัดค้านในเรื่องการสร้างแต่อย่างใดและพร้อมเปิดกว้างรับฟัง ถ้ามีหลักฐานตามความเป็นจริง สมาคมก็จะบรรจุลงในรายการประกวดพระให้ แต่ถ้าไม่มีหลักฐานทางสมาคมก็ไม่สามารถบรรจุลงในรายการประกวดให้ท่านได้เช่นกัน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามแนวทางของความถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่ใช่เพียงพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่มีการถกเถียงกัน แต่รวมถึงพระเครื่องอีกหลายพระคณาจารย์

คุณชินพร สุขสถิต และตัวแทนคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม คุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดกับหลวงปู่ทิม และเข้าเป็นศิษย์หลวงปู่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ยืนยันว่าไม่มีการสร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารในปี พ.ศ.2515 และไม่เคยเห็นมาก่อน และพระขุนแผนผงพรายกุมารนั้น เริ่มสร้างในปลายปี พ.ศ.2516-17 โดยมีพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ทั้ง 2 อย่างมีบล็อกอยู่ 2 บล็อกคือ บล็อกหนึ่งและบล็อกสองเท่านั้น

คุณชินพร สุขสถิต ผู้เป็นศิษย์ของหลวงปู่ทิมอีกท่านหนึ่ง และเป็นผู้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายรุ่น กล่าวว่าตัวเขาเองได้เข้าไปกราบขอเป็นศิษย์หลวงปู่ทิม ในปีพ.ศ.2517 โดยการชักชวนของคุณเพียรวิทย์ เพื่อเข้ามาช่วยหาทุนในการพัฒนาวัด และสร้างศาลาภาวนาภิรัต คุณชินพรกล่าวว่า ตอนที่เข้าไปวัดครั้งแรกนั้นวัดยังไม่เจริญ และทางวัดมีพระให้เช่าบูชา เป็นเครื่องรางของขลังต่างๆ เช่น ผ้ายันต์ และพระองค์เล็กๆ อยู่ในตู้และยังไม่เคยเห็นพระขุนแผนผงพรายกุมาร ปีพ.ศ.2515

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องของหลวงปู่ทิมอีก 17 ท่าน ซึ่งก็เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ก็ยืนยันว่าพระขุนแผนผงพรายกุมาร ที่นิยมเป็นมาตรฐานนั้นก็คือ พระขุนแผนผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2516-17 เท่านั้น และเท่าที่ศึกษาสะสมมาก็ไม่เคยเห็นหรือได้ยินพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2515 พระชุดนี้เพิ่งมีการพูดถึงแค่สองสามปีมานี้เอง แต่ก็ไม่ได้สนใจนักเพราะก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีเจตนาอย่างไรในการนำมากล่าวอ้างถึง

สุดท้าย คุณพยัพ คำพันธุ์ กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย นำความชัดเจนมาสู่สังคมโดยรวม ไม่ได้มีอคติใดๆ แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับพระที่ยังไม่มีความชัดเจน หากมีหลักฐานมีข้อเท็จจริงมายืนยันด้วยเหตุและผล ทางสมาคมก็เปิดโอกาสรับพิจารณาไม่มีการปิดกั้น ส่วนตัวไม่ได้รับและตัดสินพระเครื่องมากว่า 20 ปี และเซ็นรับรองเพียงใบเซอร์ติฟิเคทของสมาคมเท่านั้น สิ่งที่ได้ร่วมประชุมและแถลงข่าวในครั้งนี้ เพื่อให้สังคมโดยรวมเป็นผู้วิเคราะห์รับไปพิจารณา สมาคมเป็นกลางสำหรับทุกฝ่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้หนึ่งผู้ใด

ก็เป็นที่ชัดเจนเกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ สำหรับในส่วนของกลุ่มผู้ที่ศรัทธาในพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2515 นั้นก็เป็นเรื่องของเฉพาะกลุ่ม แต่จะให้จัดบรรจุไว้ในการประกวดของสมาคมคงยังไม่ได้ เนื่องจากความชัดเจนยังไม่ปรากฏและไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนผงพรายกุมาร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่ บล็อกนิยม ปีพ.ศ.2517 มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42328086081478_view_resizing_images_1_.jpg)
พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเดิมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ดังนั้นจึงมีวัดวาอารามรวมทั้งเมืองลูกหลวง เมืองหน้าด่านต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรและศาสนา ในจังหวัดสุโขทัยจึงพบพระกรุต่างๆ มากมาย

พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของสุโขทัยก็มีมากหลากหลายชนิด มีพระร่วงนั่งอยู่แบบหนึ่งที่ปัจจุบันแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย จนทำให้ลืมเลือนกันไป คือพระร่วงนั่งกรุน้ำ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเป็นพระเครื่องที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากถึงเรื่องพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนเล่าขานเรื่องราวประสบการณ์ให้ฟังว่าเป็นที่เชื่อถือไว้ใจได้ แต่ก็เป็นพระที่หายากมาแต่ในสมัยก่อน เนื่องจากพระกรุนี้ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงมีพระที่สมบูรณ์ขึ้นมาจากกรุน้อยมาก

พระร่วงนั่งกรุน้ำ มีการพบมานานมาก จากการบอกเล่าประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว มีผู้เข้าไปขุดกรุพระหาสมบัติได้ลักลอบเข้าขุดในบริเวณวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งมีวัดและเจดีย์มากมาย สถานที่พบไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าตรงบริเวณใดแน่ แต่จากคำบอกเล่าและสังเกตดูพระเครื่องที่พบนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่า และก็เป็นที่มาของชื่อเรียกคำว่า "กรุน้ำ" คณะผู้ที่เข้าไปลักลอบขุดบอกเพียงว่าไปขุดบริเวณวัดมหาธาตุ ใกล้ๆ กับริมน้ำ และพบกรุพระ ก็ได้ขุดเข้าไปจนพบพระ แต่เมื่อถึงกรุพระนั้นปรากฏว่ามีน้ำท่วมพระกรุอยู่ประมาณ 70% ของกรุ ก็ได้พระมาจำนวนหนึ่งเป็นพระเนื้อชินเงิน ลักษณะเป็นพระร่วงนั่งปางสมาธิ มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พระส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขัง จึงทำให้องค์พระชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่สมบูรณ์น้อยมาก จากการบอกเล่าของผู้ที่เข้าไปขุดกรุนั้นบอกว่า ในกรุจะมีพระอะไรอีกหรือไม่นั้นไม่ทราบ เพราะขุดลงไปได้ไม่ลึกนักก็ต้องเลิกขุดเพราะน้ำท่วมขังจนไม่สามารถขุดต่อได้ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดผุพังเสียเป็นส่วนใหญ่จึงเลิกขุดต่อ

พระร่วงกรุน้ำที่พบจึงมีแต่พระร่วงนั่งปางสมาธิเท่านั้น พระกรุนี้ที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะคล้ายกันทุกพิมพ์ ผิดกันที่ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ขนาดองค์พระเป็นพระขนาดย่อม ใหญ่กว่าพระเชตุพนไม่มากนัก สูงประมาณ 2.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.7 ซ.ม. ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอครับ พระที่พบจะมีสนิมเกาะกินอยู่ตามองค์พระ บ้างก็มีผิวพระระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ หาพระสมบูรณ์ยากมาก เพราะตัวกรุถูกน้ำท่วมขัง

พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยก่อนเป็นที่หวงแหนกันมาก ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุน้ำแทบจะไม่เคยพบเห็นกันเลย ขนาดรูปพระก็ยังหายาก เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่มีประสบการณ์มากและหายากครับ

เพื่อกันลืมกันไป ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93800544821553_view_resizing_images_1_.jpg)
พระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดองค์หนึ่ง เราจะเห็นได้ว่ามีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกันอยู่หลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นทางภาคใต้หรือภูมิภาคใดก็ตาม เช่น ใน กทม. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันหมด เนื่องจากความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวดกันมากนั่นเอง พระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ปัตตานีที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่อาจารย์ทิมท่านได้สร้างไว้ล้วนแต่มีความนิยมมาก สนนราคาก็สูงตามไปด้วย แต่ก็มีอีกหลายๆ วัดที่เรายังสามารถเสาะหามาบูชาได้ไม่ยากนักอยู่เช่นกันครับ

ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่งซึ่งบางรุ่นนั้นมีความนิยมสูงและสนนราคาก็ค่อนข้างสูงเอาการอยู่ แต่ก็มีบางรุ่นที่ราคาไม่สูงนักและน่าบูชามาก ก็คือพระหลวงปู่ทวดของวัดสะแก อยุธยา ที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ดู่ (พรหมปัญโญ) ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมาก และมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหาหลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำตลอด ดังนั้นพระเครื่องที่ท่านสร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

การแบ่งแยกรุ่นบางพิมพ์คงทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสร้างไว้มากมายหลายรุ่นหลายวาระ หลายพิมพ์ จึงอาจจะแบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้ ประเภทพระบูชา ประเภทพระเครื่องเนื้อผง ประเภทเหรียญ และพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดลอยองค์ เป็นต้น

พระเครื่องหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่รู้จักกันดีก็คือเหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว สำหรับพระรุ่นนี้นั้นมีสนนราคาสูงมาตั้งแต่ในตอนที่พระออกใหม่ๆ แล้ว และในปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเป็นที่นิยม ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้วที่ผมจะกล่าวถึง สนนราคายังไม่สูงมากนักครับ ซึ่งเป็นพระหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกๆ ซึ่งหลวงปู่ทำแจก จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันในเรื่องพิมพ์นัก เมื่อท่านเห็นลูกศิษย์ของท่านแขวนพระหลวงปู่ทวด และท่านเห็นว่าสวยดี ท่านก็จะขอมากดแม่พิมพ์ไว้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรุ่นใดหรือวัดใด

หลังจากนั้นก็พิมพ์พระหลวงปู่ทวดด้วยเนื้อผงขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพศรัทธาไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐานกับท่าน จะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงขาวทุกพิมพ์ว่า "พระผงกัมมัฏฐาน" สำหรับพระหลวงปู่ทวดด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ พระดังกล่าวนี้เป็นพระที่ค้นพบภายในกุฏิของหลวงปู่ดู่ ภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่าบูชาไม่นานก็หมด พระเหล่านี้ทันยุคหลวงปู่ดู่อย่างแน่นอน บางองค์เป็นพระยุคแรกๆ ด้วยซ้ำไป

พระเครื่องของหลวงปู่ดู่ทุกรุ่นทุกพิมพ์ เป็นพระที่มีพุทธคุณสูงยิ่ง เนื่องจากท่านสนใจศึกษาทางด้านพุทธาคมจากหลายอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ทำให้มีความเข้มขลัง ต่อมาเคร่งครัดทางด้านปฏิบัติวิปัสสนาและเชื่อกันว่าท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่พระของท่านเกิดประสบการณ์กับผู้ใช้บูชามากมาย และมีค่านิยมสูงขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะพระที่สร้างในรูปลักษณ์ขององค์หลวงปู่ทวดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงมากนักและพอที่จะเสาะหากันได้ มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27876635268330_view_resizing_images_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/53558914694521_view_resizing_images_2_.jpg)
พระกริ่งรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช(แพ)

พระกริ่งเทพโมลี พระกริ่งรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (แพ ติสฺสเทว) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2441-2442 เป็นพระกริ่งที่มีความงดงามของพุทธศิลป์และความศักดิ์สิทธิ์ในพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏ โดยมีพุทธลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกริ่งอื่น ทั้งสายวัดบวรนิเวศวิหารและสายวัดสุทัศน์

เรียกได้ว่า มีเอกลักษณ์ที่ยากจะหากริ่งใดเสมอเหมือน ประการสำคัญคือจำนวนการสร้างน้อยมาก จึงหาดูหาเช่าของแท้ๆ กันได้ยากยิ่ง นับเป็นหนึ่งในสุดยอดพระกริ่งของไทยอันทรงคุณค่าและมีค่านิยมสูง

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) พระนามเดิมว่า แพ ประสูติในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรงจุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 บิดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำพูล่าง อ.คลองสาน ฝั่งธนบุรี

ถึงปีจอ พ.ศ.2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ "พระเทพโมลี" มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้...ให้เลื่อนพระศรีสมโพธิ์เป็น พระเทพโพลี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตรยภัตรเดือนละ ๔ ตำลึงกึ่ง มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆวิชิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ ...

จนเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2482 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช (องค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 89 พรรษา 66

ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ที่ "พระเทพโมลี" เมื่อปี พ.ศ.2441 นั้น ท่านจึงได้สร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ตามตำรับอย่าง "วัดป่าแก้ว" และ "พระกริ่งปวเรศ" ที่ทรงรำลึกถึง ซึ่งตำรับการสร้างมีพิธีอันละเอียดซับซ้อนและเต็มไปด้วยพิธีกรรมมากมาย ท่านได้ตรัสว่า "ดีในและดีนอก" หมายถึงเมื่อสร้างพระกริ่งออกมาแล้วจะต้องมีเสียงเขย่าดังของเม็ดกริ่งที่ดังกังวาน และไม่ปรากฏรูเจาะ-รูคว้านให้เห็น ซึ่งจะต้องทำให้เป็นเนื้อเดียวกับองค์พระ ซึ่งคือ "ดีใน"

สำหรับ "ดีนอก" คือ มวลสารแห่งเนื้อพระต้องตามสูตรอย่างโบราณ ประกอบไปด้วย ชิน น้ำหนัก 1 บาท, จ้าวน้ำเงิน (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) น้ำหนัก 2 บาท, เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท, ทองแดงบริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท, ปรอท น้ำหนัก 5 บาท, สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท, ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท, เงิน น้ำหนัก 8 บาท และทองคำ น้ำหนัก 9 บาท มาหล่อหลอมให้กินกันดี นำมาตีเป็นแผ่น แล้วจารยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 จึงจะได้ "เนื้อนวโลหะ" ออกมาเป็นสีนากสุก เมื่อปล่อยไว้นานเข้าจะกินอากาศเป็นผิวกลับดำ มีพรายเงิน พรายทอง แล้วแต่กระแสโลหะ และผิวดำมันวาวอย่างสีปีกแมลงทับ

นอกจากนี้ จำนวนการจัดสร้างก็ต้องถือคติกำลังวัน เช่น วันจันทร์ มีกำลังวัน 15 ก็สร้างพระ 15 องค์, วันอังคาร กำลังวัน 8 ก็สร้าง 8 องค์ เป็นต้น

"พระกริ่งพระเทพโมลี" ซึ่งเป็นพระกริ่งรุ่นแรกนั้น มีความสูง 4.2 ซ.ม. ฐานกว้าง 2 ซ.ม. กล่าวกันว่า พระกริ่งรุ่นนี้มีจำนวนการสร้างน้อยมาก โดยจัดสร้างเป็น 2 ครา ครั้งแรกในปี พ.ศ.2441 จำนวน 9 องค์ และสร้างอีกครั้งในปี พ.ศ.2442 อีกจำนวนหนึ่ง โดยรวมแล้วไม่น่าจะเกิน 20 องค์ ทำพิธีหล่อที่หน้ากฏิใหญ่ ในคณะ 11 วัดสุทัศน์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง เนื่องจากเป็นการหล่อที่สวยงามสมบูรณ์ ผิดกับพระกริ่งที่สร้างรุ่นหลังๆ เป็นอันมาก เป็นพระกริ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ของพระกริ่งสำนักใดมาจัดสร้าง เป็นพุทธศิลปะแบบไทยประยุกต์ โดยสร้างเป็น "เนื้อนวโลหะ" ภายในขาวคล้ายเงิน แล้วกลับดำสนิท

พระกริ่งวัดสุทัศน์ ที่สร้างในสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2441-2486 มีด้วยกันหลายรุ่น ซึ่งล้วนทรงคุณค่าและทรงพุทธาคมเป็นเลิศ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหา ทั้งสิ้น อาทิ พระกริ่งธรรมโกษาจารย์, พระกริ่งพรหมมุนี และพระกริ่งพุฒาจารย์ เป็นต้น แต่ด้วยจำนวนการสร้างในแต่ละรุ่นนั้นน้อยมาก ปัจจุบันจึงนับว่าหาได้ยากยิ่งนัก และรุ่นสุดท้ายที่พระองค์ทรงสร้างไว้ คือ "พระกริ่งเชียงตุง" ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486

หลังจากการสิ้นพระชมน์ของพระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) การสร้าง "พระกริ่งสายวัดสุทัศน์" ยังคงสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง

พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35994542224539_view_resizing_images_1_.jpg)
พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดที่สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดแห่งนี้ถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่สมัยพระเฑียรราชา จนถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และที่สำคัญคือพระเครื่องของกรุนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง คือพระขุนแผนเคลือบ

วัดใหญ่ชัยมงคล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัตเป็นประธานสงฆ์ มีชื่อเรียกว่าวัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว

ต่อมาในสมัยพระเฑียรราชาก่อนที่จะปราบดาภิเษก ยึดอำนาจจากขุนบรมวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้มีการประชุมแผนการและทำการเสี่ยงเทียนที่วัดแห่งนี้ ครั้นได้รับผลสำเร็จจึงอัญเชิญพระเฑียรราชาขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระมหาจักรพรรดิ

ครั้นแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ฯ เป็นที่พำนักของสมเด็จพระวันรัต ผู้เป็นเถระที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ความเคารพ และในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งหงสาวดี มีแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันทัพในสงครามครั้งนี้ ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาพระพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง และทรงได้รับชัยชนะ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วย และทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น พระราชทานนามว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล"

ต่อมาภายหลังได้มีการพบกรุพระในองค์พระเจดีย์องค์ใหญ่นี้ มีมากมายหลายพิมพ์ ทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระเครื่องที่เป็นเนื้อดินเผาได้รับความนิยมมากก็คือพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์แขนอ่อน ได้รับความนิยมอย่างสูง สนนราคาสูงมาก หายาก เนื่องจากพบพระที่สมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะชำรุดตั้งแต่ในกรุ พระเครื่องที่ได้รับความนิยมรองลงมาก็คือพระขุนแผนในพุทรา มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่พระเนื้อดินเผาจะได้รับความนิยมมากกว่า พระขุนแผนใบพุทรามีพบจำนวนมากหน่อยจึงมีแพร่หลายมากกว่า ขุนแผนเคลือบ แต่ในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากแล้วครับ

พระขุนแผนใบพุทรา มีรูปทรงกรอบกลมๆ และที่ฐานในก้านเดือยยาวลงมาจากฐานบัว ดูคล้ายๆ กับก้านและใบพุทรา จึงเรียกกันแบบนี้มาแต่เดิม ศิลปะของพระขุนแผนใบพุทราเป็นแบบอยุธยาบริสุทธิ์ เนื้อดินมีทั้งแบบเนื้อค่อนข้างละเอียด และเนื้อหยาบ ส่วนพระเนื้อชินมักจะตัดขอบเข้ารูปตามองค์พระ

พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังถี่ถ้วนหน่อยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 28 มีนาคม 2559 20:11:10
./size]
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33812744335995_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด เนื้อทองแดง

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมนั้น มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์ ในวันนี้ผมจะคุยถึงพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง คือ พระครูไพศาลธรรมวาที พอบอกอย่างนี้หลายท่านอาจจะงง แต่ถ้าบอกว่าหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด ก็ร้องอ๋อจริงไหมครับ หลวงพ่อห้อยสร้างวัตถุมงคล ไว้หลายอย่าง ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด

พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง อุปสมบท ปี พ.ศ.2435 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญัสสะ" หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้

นอกจากนี้หลวงพ่อห้อยยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย

หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่งเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อย ผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า "วัดหอมกรุ่น" ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่าวัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมาก ท่านจึงปรึกษามัคนายกวัดในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร

หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้วหลวงพ่อห้อยก็ได้เริ่มพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้น ในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญทำการสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมี นายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า "ห้อยศึกษาลัย" จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อท่านจึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยความร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า "โรงเรียนไพศาลประชานุกูล" หลวงพ่อห้อยมรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 48

ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุตม์ เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด เนื้อทองแดง มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12780088931321_14586531351458653148l_1_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/26322528926862_1458653173_3614_3619_3632_2_1_.jpg)
เหรียญนำโชคหลวงปู่สมภาร

"พระครูปัญญาวรากร" หรือ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อดีตพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ และเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

มีนามเดิม สมภาร อุนาพรหม เกิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2467 ที่ ต.ชมภูพร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย

อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดไชยมงคล ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มีพระอาจารย์ฮวด เป็นพระอุปัชฌาย์

มีความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น จึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติธรรมอยู่นานถึง 6 พรรษา  ต่อมา หลวงปู่มั่น ละสังขาร จึงเข้าร่วมกองทัพธรรมกับคณะหลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ออกธุดงค์ลงไปเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ และจำพรรษาปฏิบัติธรรมวนเวียนอยู่วัดแถบภาคใต้ นานหลายพรรษา

ในปี พ.ศ.2507 เดินทางกลับอีสานบ้านเกิด จำพรรษาอยู่วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าเป็นผู้มีความพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม ซึ่งหลวงปู่ได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

ในปี 2559 วัดป่าวิเวกพัฒนาราม มีโครงการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่เริ่มทรุดโทรม หลวงปู่สมภารจึงอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรูปเหมือนทรงสี่เหลี่ยม รุ่นนำโชค เพื่อมอบให้กับสาธุชนที่บริจาคปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้างกุฏิหลังดังกล่าว

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นนี้ มีขนาดกว้าง 3 ซ.ม. ยาว 4 ซ.ม. ไม่มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สมภารครึ่งองค์สวมแว่นตาเอียงหน้าห่มจีวรเฉียง อยู่ในกรอบรูปไข่ ด้านล่างสุด เขียนคำว่า "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร"  ด้านหลังเหรียญ มุมเหรียญมีอักขระยันต์มุมละหนึ่งตัว และบริเวณกลางเหรียญ เป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "นำโชค" ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนคำว่า "วัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.บึงกาฬ"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ถึง 4 วาระ มีพระเกจิคณาจารย์ดัง อธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย 1.หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม จ.ยโสธร 2.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ จ.สกลนคร 3.หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่ 4.หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.บึงกาฬ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ 6 เหรียญ เนื้อเงินหน้าทอง สร้าง 12 เหรียญ เนื้อเงินสร้าง 29 เหรียญ นวะหน้าเงิน 19 เหรียญ อัลปาก้า 99 เหรียญ สัมฤทธิ์ 39 เหรียญ และเหรียญฝาบาตรจำนวนหนึ่งให้แจกญาติโยม เป็นต้น

ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์โทร. 08-5002-8659, 08-4541-3420

[iเปิดตลับพระใหม่][/i]


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55862577383716_14587429161458742928l_1_.jpg)
พระสมเด็จหลวงปู่เช้า รุ่นผูกพัทธสีมา

"หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต" วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองปากน้ำโพ ที่เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

หลวงปู่เช้า ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น ท่านเกิดในสกุล ชัยบุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ในช่วงเยาว์วัย เรียนที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน โดยครูที่สอนเป็นทั้งพระและฆราวาส เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่  จากนั้น ตอบแทนคุณบิดา-มารดา เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดดงน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกาบุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่เช้า ประพฤติปฏิบัติตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด ท่านเดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระครูปลัดซ้าย พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า  เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุขจากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4 ตำราหลัก ของหลวงปู่ศุข คือ อิติปิโส จากพระใบ ฎีกาบุญยัง จนมีความชำนาญ และยังเดินทางไปเรียนวิชากับหลายพระอาจารย์ ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อเดิม ได้รับถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ คาถาคงกระพัน

ครั้นอายุมาก ล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำใย ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย ขออาราธนาหลวงปู่เช้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำใย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด

หลวงปู่เช้า มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2557 ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ สิริอายุ 92 พรรษา 72

ย้อนไปในปี พ.ศ.2525 วัดห้วยลำใย จัดงานพิธีผูกพัทธสีมา หลวงปู่เช้าจัดสร้าง "พระสมเด็จ รุ่นผูกพัทธสีมา" จำนวน 5,000 องค์ ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป แต่ด้านหลังมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน "ยันต์ดวง" บรรจุอักขระขอม "พุท ธะ สัง มิ" ด้านบนมีอักษรไทย "ผูกพัทธสีมา" ด้านล่างมีอักษรไทย "วัดห้วยลำใย" แต่ทางวัดมิได้เปิดให้เช่าบูชา แต่เก็บไว้อย่างดีที่กุฏิหลวงปู่เช้า

ซึ่งหลวงปู่เช้า อธิษฐานจิตปลุกเสก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึง พ.ศ.2557 จนท่านมรณภาพ

ในงานพิธีผูกพัทธสีมา วัดห้วยลำใย ปี พ.ศ.2525 ยังจัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ด้วย มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ฯลฯ โดยมีหลวงปู่เช้า เป็นประธานในพิธี

เดือนพฤษภาคม 2559 วัดห้วยลำใย เตรียมจัดงาน "พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เช้า" ซึ่งต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก จึงนำพระสมเด็จหลวงปู่เช้า รุ่นผูกพัทธสีมา ปี พ.ศ.2525 ที่เก็บไว้ ออกมาให้ประชาชนเช่าบูชา นำรายได้สมทบทุนงานพระราช ทานเพลิงศพ

พระสมเด็จหลวงปู่เช้า ที่มีสีฟ้าอ่อนนั้น วัดนำพระสมเด็จส่วนหนึ่งแช่ในน้ำหมึกพิมพ์ฝ่ามือหลวงปู่เช้า ส่วนที่มีสีขาวนวลไม่ได้แช่น้ำหมึกพิมพ์ฝ่ามือหลวงปู่

สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ โทร.08-0782-1280 ทุกวัน

เปิดตลับพระใหม่


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66179112841685_view_resizing_images_2_.jpg)
พระขุนแผน พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม จ.ปทุมธานี

"พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" หรือ "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคล "ตะกรุดลูกปืน"

ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจาก พ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส จากนั้นจึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน

การแจกตะกรุดลูกปืน พระอาจารย์อ๊อดแจกให้ญาติโยมทุกวัน โดยไม่มีการเรียกร้องเงินทอง ส่วนเงินที่ได้จากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด และก่อสร้างศาลาหลังใหม่

นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก และเหรียญเสมา "รุ่นเสาร์ ๕" โดยใช้มวลสารโลหะจำนวนมาก ประกอบพิธีบวงสรวง พุทธาภิเษก และนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม

ล่าสุด จัดสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง "พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร" เพื่อแจกคณะศิษย์ที่มาร่วมงานไหว้ครูในวันเสาร์ที่ 5 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา

บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องวัตถุมงคล เมื่อเอ่ยถึงพระเครื่องชั้นนำหรือ พระกรุยอดนิยมต่างๆ จำนวนมาก มักมีชื่อของ "พระขุนแผน" รวมอยู่ในลำดับต้น

และสำหรับพระขุนแผน ที่กล่าวขวัญถึงกันมาก คือ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี"

พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง เป็นพระกรุโบราณ มีอายุการสร้างยาวนานหลายร้อยปี กล่าวกันว่าความงดงามของพุทธศิลปะโดดเด่น ยิ่งนัก จัดเป็นพระยอดนิยมชั้นแนวหน้าของวงการมายาวนาน

พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง เป็นพระในสมัยอยุธยาตอนกลาง ศิลปะอ่อนช้อยสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สำคัญที่สุด คือ ในจำนวนพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีอยู่พิมพ์หนึ่ง คือ พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่

เป็นการเรียกชื่อพระเครื่องของคนสมัยหลัง ด้วยคนโบราณ สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น

พระกรุวัดบ้านกร่างก็เช่นเดียวกัน คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า พระวัดบ้านกร่าง

ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็นพระขุนแผน เชื่อว่าต้องการให้คล้องจองกับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน อันมีถิ่นกำเนิดในสุพรรณบุรี

พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร พระอาจารย์อ๊อด มีมวลสาร อาทิ กากยายักษ์ ผงพระพุทธรูป 100 ปี แร่เหล็กน้ำพี้ ไม้มงคล 108 ชนิด ผงธูปเก่า 56 วัด ดินใต้โบสถ์เก่าวัดสายไหม โดยพระอาจารย์อ๊อด นั่งกดพิมพ์ด้วยตัวเองทั้งหมด

พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร ลักษณะเป็นพระผงพิมพ์ห้าเหลี่ยม

ด้านหน้าเป็นรูปลักษณ์สมมติขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว

ด้านหลังทำ 2 แบบ คือ เป็นรูปลักษณ์พรายกุมารปั๊มหลังแบบ และจารยันต์นะมหาเศรษฐี จัดสร้างเพียง 556 องค์ และพระอาจารย์อ๊อดนั่งปรกอธิษฐานจิต เป็นเวลา 1 ไตรมาส ก่อนนำมาแจกให้กับคณะศิษยานุศิษย์ที่เข้าร่วมพิธีไหว้ครู จัดสร้างจำนวนไม่มาก

เปิดตลับพระใหม่


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 เมษายน 2559 20:27:03
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53567650169134_1.jpg)
พระกริ่ง 7 รอบสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งวัดบวรนิเวศฯ เป็นพระกริ่งอีกวัดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง วันนี้ผมขอแนะนำพระกริ่ง 7 รอบสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งเป็นพระกริ่งที่สำคัญและมีความนิยมสูง แต่ก็หายากในปัจจุบัน

พระกริ่งรุ่นนี้ทางวัดได้จัดสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ (84 พรรษา) สมเด็จพระสังฆราช และทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ในพิธีเททองพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัยอย่างยิ่ง

พระกริ่งรุ่นนี้ ถอดเค้ามาจากพระกริ่งพิมพ์พระประธานที่เอาไปออกที่วัดตรีทศเทพฯ เพียงแต่เอาหม้อน้ำมนต์ออก และตอกหมายเลข ๗ ไว้ที่ด้านหลัง รอยอุดของพระกริ่งรุ่นนี้เป็นรอยเจาะสว่านที่ใต้ฐานขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง เนื้อพระเป็นโลหะผสม วรรณะเหลืองอมเขียว จำนวนการสร้างประมาณ 500 องค์

พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศฯ เป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูงและหายากในปัจจุบัน ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาควรระมัดระวัง

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศฯ มาให้ชมทั้งด้านหน้าด้านหลัง และใต้ฐานครับ

แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14736430429749_2.jpg)
เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่นสร้างพระตำหนักฐานทัพเรือสัตหีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทหารและประชาชนคนไทยให้ความเคารพรัก และศรัทธาเป็นอย่างมาก

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.ธิดา ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหกลาโหม ในรัชกาลที่ 5

เสด็จในกรมฯ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2443 ได้เข้ารับราชการในราชนาวีไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2443 พระองค์ทรงมีพระอุตสาหะอย่างยิ่งในการก่อตั้งกองทัพเรือไทย ทรงรับภาระในด้านวิชาการ โดยทรงวางหลักสูตรการสอนนักเรียนนายเรือขึ้นมาใหม่ และทรงเป็นครูสอนนักเรียนด้วยพระองค์เอง

หลังจากเสด็จในกรมฯ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการสอนในโรงเรียนนายเรือได้ไม่นาน ก็มีการได้เปิดโรงเรียนนายเรือสมัยใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันทางกองทัพเรือได้ถือว่าวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"

พ.ศ.2463 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนติดต่อในการซื้อเรือรบ "พระร่วง" ซึ่งเป็นเรือรบที่ทันสมัยในสมัยนั้น และทรงได้นำเรือจากประเทศอังกฤษมาประเทศไทย ถือเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยได้เคยเดินเรือทะเลได้ไกลถึงขนาดนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2465 ก็ทรงได้ขอพระราชทานที่ดินอำเภอสัตหีบ ให้เป็นฐานทัพเรือ นับว่าพระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ผู้มองการณ์ไกล เพราะที่ดินแห่งนี้มีสถานที่ตั้งอันเหมาะสมทุกประการ ดังกองทัพเรือยังคงใช้เป็นฐานทัพเรือตลอดมาถึงวันนี้

พลเรือเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466

เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นที่รักเคารพของประชาชนชาวไทย และทหารเรือมาก ถือเป็นพระบิดาของทหารเรือ ประชาชนและทหารเรือมักเรียกท่านว่า "เสด็จเตี่ย" เนื่องจากความรักและเคารพในตัวพระองค์ท่านมาก พระองค์ทรงไม่เคยถือพระองค์ และทรงช่วยเหลือชาวบ้านในการรักษาโรคภัยต่างๆ พระองค์ทรงมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณ และเรื่องวิทยาคมมาก โดยทรงศึกษาและเป็นศิษย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป

ทางฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่นสร้างพระตำหนักฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมีหลวงพ่อนัส วัดอ่าวใหญ่ จ.ตราด เป็นประธานพุทธาภิเษก ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.19 น. ณ พระตำหนักกรมหลวงชุมพรฯ ฐานทัพเรือสัตหีบ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เคารพนับถือและศรัทธาในองค์กรมหลวงชุมพรฯ ร่วมทำบุญในครั้งนี้

โดยมีการจัดสร้าง
1.เหรียญเนื้อทองคำ ตามจำนวนสั่งจองไม่เกิน 99 เหรียญ
2.เนื้อเงินหน้าทองคำ 277 เหรียญ
3.เนื้อนวโลหะหน้าทองคำ 377 เหรียญ
4.เนื้อนวโลหะหน้าเงิน 677 เหรียญ
5.เนื้อนวโลหะ 777 เหรียญ
6.เนื้อทองแดง 17,777 เหรียญ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94044867530465_3.jpg)
ล๊อกเก็ตหลวงปู่สมภาร
 
"พระครูปัญญาวรากร" หรือ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อดีตพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐานของภาคอีสาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ และเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

มีนามเดิม สมภาร อุนาพรหม เกิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2467 ที่ ต.ชมภูพร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย (ขณะนั้น บึงกาฬ มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับ จ.หนองคาย)

อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดไชยมงคล ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก อีกทั้งมีความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น นานถึง 6 พรรษา

ต่อมาหลวงปู่มั่นละสังขาร หลวงปู่สมภารเข้าร่วมกองทัพธรรมกับคณะหลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ออกธุดงค์ลงไปเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ และจำพรรษาปฏิบัติธรรมวนเวียนอยู่วัดแถบภาคใต้ นานหลายพรรษา

ในปี พ.ศ.2507 เดินทางกลับอีสานบ้านเกิด จำพรรษาอยู่วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าหลวงปู่สมภารเป็นผู้มีความพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม ซึ่งหลวงปู่ได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับวัตถุมงคลของท่านมีการสร้างออกมาไม่กี่รุ่น อาทิ รุ่นปี 2545 เนื่องจากหลวงปู่ไม่ปรารถนาให้ญาติโยมและศิษยานุศิษย์ หลงใหลอยู่กับวัตถุมงคลมากกว่าพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในปี 2559 ทางวัดมีโครงการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่เริ่มทรุดโทรม หลวงปู่จึงอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล ล็อกเกตจัมโบ้ รุ่นแรก ขึ้นเพื่อมอบให้กับสาธุชนที่บริจาคปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้างกุฏิหลังดังกล่าว

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สมภาร ครึ่งองค์เอียงหน้า และห่มจีวรเฉียง ด้านหลังบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์และปิดด้วยเหรียญ ด้านบนเขียนว่า จัมโบ้รุ่นแรก และต่อมาเป็นอักขระยันต์ 3 แถว บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปวงกลม ด้านบนเขียนว่า พระครูปัญญาวรากร (สมภาร) ส่วนภายในวงกลมเป็นรูปอัฐบริขาร และเขียนว่า สร้างกุฏิ นอกวงกลมด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร และจากด้านขวาของขอบเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ พ.ศ.2559 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกถึง 5 วาระด้วยกัน

วัตถุมงคลรุ่นนี้จัดสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย 1.ฉากทองปิดหลังเหรียญเงิน สร้าง 29 เหรียญ บูชา 3,000 บาท 2.ฉากทองปิดหลังเหรียญอัลปาก้า สร้าง 99 เหรียญ บูชา 1,200 บาท 3.ฉากขาวปิดหลังเหรียญ ฝาบาตร สร้าง 199 เหรียญ บูชา 500 บาท และ 4.ฉากซีเปียปิดหลังเหรียญทองแดง สร้าง 29 เหรียญ แจกกรรมการ

ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 08-5002-8659/ 06-1939-9447



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87717236330111_4.jpg)
เหรียญหลวงพ่อชุม วัดตุยง จังหวัดปัตตานี

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีเหรียญอยู่เหรียญหนึ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2485 คือเหรียญพระครูพิบูลย์สมณวัตร (ชุม) ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงพ่อดำ วัดตุยง ในปี พ.ศ.2485

พระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2408 เป็นชาวบ้านนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โยมบิดาชื่อสีมา โยมมารดาชื่อชู เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กนั้น บ้านของท่านถูกผู้ร้ายปล้น โยมบิดาของท่านจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี พอท่านอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบูรพาราม อำเภอยะหริ่ง โดยมีพระครูบัวทอง เป็นพระอุปัช ฌาย์ พระเต่า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระเซ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสุวัณโณ" เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อชุมก็ย้ายไปจำพรรษาที่วัดตุยงตลอดมา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด และในปี พ.ศ.2446 ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระครูพิบูลย์สมณวัตร และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองหนองจิก

หลวงพ่อชุมเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พูดน้อย อัธยาศัยเยือกเย็น สุภาพอ่อนโยน เป็นที่เคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่อจะทำแบบอย่างให้เห็นแทนคำสอนของท่าน เช่น ตื่นแต่เช้าสวดมนต์ นั่งสมาธิ พอได้เวลาท่านจึงออกบิณฑบาต กลางวันถ้าไม่มีกิจนิมนต์ท่านจะหยิบไม้กวาดไปกวาดลานวัดทุกวัน ทำให้พระเณรที่อยู่ในวัดเห็น ดังนั้น ก็ต้องหยิบไม้กวาดออกไปกวาดลานวัดเช่นกัน ที่วัดนี้จึงสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย ตอนเย็นท่านก็นำพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน ในเวลากลางคืนท่านก็จะสวดมนต์นั่งสมาธิกรรมฐาน ท่านทำตัวอย่างให้พระในวัดเห็นและทำตามทุกวัน

ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆ นั้น สภาพภายในวัดเริ่มเสื่อมโทรมลงไปมาก หลวงพ่อชุมก็ได้สร้างและซ่อมแซมกุฏิสงฆ์ที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดและมีขนาดเล็ก และได้เริ่มสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุด โดยมีหลวงพ่อดำได้เป็นแม่แรงช่วยในการสร้างพระอุโบสถ แต่ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยหลวงพ่อชุมก็มรณภาพเสียก่อน หลวงพ่อดำจึงดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ

หลวงพ่อชุมได้ปฏิบัติศาสนกิจในตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองหนอง จิกด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งปี พ.ศ.2480 ท่านเริ่มชราภาพจึงได้ลาออกจากการเป็นเจ้าคณะเมืองหนองจิก และในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อชุมก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 5

ชาวบ้านหนองจิกเคารพนับถือหลวงพ่อชุมมาก และในปี พ.ศ.2485 ปีที่หลวงพ่อชุมมรณภาพ จึงได้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อชุมไว้เป็นที่ระลึก ปลุกเสกโดยหลวงพ่อดำ วัดตุยง เจ้าอาวาสรูปต่อจากหลวงพ่อชุม โดยทำเป็นเหรียญเนื้อทองแดง รูปไข่ และเหรียญอาร์ม แจกเป็นที่ระลึก

หลวงพ่อดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดตุยงก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวปัตตานีเคารพนับถือมากเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อชุม วัดตุยง ทั้งรูปไข่และรูปอาร์ม จากหนังสือพระเครื่องล้ำค่าเมืองใต้ มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85733377436796_14550920151455092093_1_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82807510387566_14550920151455092353_1_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54774959095650_14550920151455092363_1_.jpg)
พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก

จากคำปรารภและจดบันทึกของหลวงพ่อโอด หรือพระครูนิสัยจริยคุณ วัดจันเสน อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ ระบุว่า.....  “......วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานแล้วแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแถบนี้ อายุของวัดประมาณพันกว่าปี เท่ากับวัดจันเสน เมืองโบราณ ซึ่งชาวบ้านได้เข้าไปหักร้างถางป่าก็พบโบสถ์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ทำด้วยศิลาแลง ใบสีมาทำด้วยหิน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย องค์พระเป็นสีดำ ชาวบ้านพากันเรียกว่า หลวงพ่อดำ”

หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางสะดุ้งมาร เนื้อหินทรายดำ หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ที่ทำด้วยศิลาแลง

เนื่องจากพระพุทธรูปถูกปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ไม่มีหลังคาปกคลุมเป็นเวลานาน บางส่วนจึงชำรุดแตกหัก ซึ่งได้ซ่อมแซมและประดิษฐานไว้ในวิหารให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา

กรมการศาสนาอนุญาตให้สร้างเป็นวัด เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2520 ต่อมาได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้ตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2520 มีนามว่า “วัดโบสถ์เทพนิมิต” มีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันมาจำพรรษาที่วัดนี้มาโดยตลอด แต่ยังไม่มีพระรูปใดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ.2524 พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอตาคลี ได้มีบัญชาให้พระครูปลัดนุวัตร ฐิตญาโณ ประจำอยู่วัดนี้ และมีบัญชาให้สร้างอุโบสถหลังใหม่ ห่างจากอุโบสถหลังเดิม 15 เมตร โดยพระครูนิสัยจริยคุณอุปถัมภ์การก่อสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ

ย้อนไปปี พ.ศ.2551 พระครูนิมิตสันตยากร เจ้าคณะตำบลหัวหวาย เขต 1 และเจ้าอาวาสวัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) รูปปัจจุบัน ผู้สืบสายธรรมและพุทธคุณาคมจากหลวงพ่อจำนงค์ วัดสว่างวงษ์คณะกิจ ได้จัดสร้าง “พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก” มี เนื้อนวะ, เนื้อทองเหลือง, เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว รวม 4 เนื้อ เนื้อละ 500 องค์ เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างกำแพงวัด

ลักษณะวัตถุมงคล “พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก” เป็นรูปหล่อลอยองค์ ปางสะดุ้งมาร ที่ฐานด้านหน้ามีอักษรไทย “อู่ทอง” ส่วนที่ฐานด้านหลังก็มีอักษรไทย “วัดโบสถ์เทพนิมิต” อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ฐานเรียบไม่มีกริ่ง

มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมอธิษฐานจิต 5 รูป อาทิ หลวงปู่เสงี่ยม วัดใหม่สันติธรรม, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน, หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค, หลวงพ่อเร่ง วัดดงแขวน, หลวงพ่อ โฉม วัดเขาปฐวี เป็นต้น

ติดต่อบูชาได้ที่วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โทร.08-1284-3754 ทุกวัน


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 เมษายน 2559 20:04:50
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15916528097457_1.jpg)
เหรียญพระสมุห์ขิง
 
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญรูปพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น โดยเฉพาะเหรียญที่สร้างในสมัยเก่าๆ มีศิลปะสวยงามอยู่หลายเหรียญ เหรียญพระสมุห์ขิงเป็นเหรียญหนึ่งที่มีศิลปะสวยงามมาก และพระสมุห์ขิงก็เป็นพระสงฆ์ที่ชาวสมุทรปราการเคารพนับถือมากครับ

ข้อมูลของพระสมุห์ขิงเท่าที่ค้นดูก็ไม่พบข้อมูลของท่านมากนัก เท่าที่พอจะสืบความได้ก็คือ เกิดประมาณปี พ.ศ.2402 นามเดิมชื่อขิง ทราบเพียงว่าโยมบิดาชื่อ ก๋ง เป็นชาวบ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดกลางวรวิหาร ในปี พ.ศ.2422 โดยมีพระครูสุนทรสมุทร (เงิน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคูณ วัดในเดิมสองวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดจัน วัดพิไชยสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จนฺทสโร"

ท่านเป็นพระสงฆ์ซึ่งเพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรหมดจดงดงาม น่าศรัทธาเลื่อมใส ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (เล็ก คงคสุวณฺโณ) เจ้าอธิการองค์ที่ 10 ของวัดกลางฯ สมุทรปราการ ท่านสมุห์ขิงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางมาโดยตลอด จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2468 ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ครับเรื่องประวัติของท่านสมุห์ขิงก็สืบค้นได้เพียงเท่านี้

ทีนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญรูปท่านกันสักหน่อย เนื่องในงานฌาปนกิจศพของท่านนั้น พระวินัยธรรม (เทียน) ซึ่งเป็นพระที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นผู้ที่สร้างเหรียญนี้ไว้แจกเป็นที่ระลึก ซึ่งพระวินัยธรรมก็มีความเกี่ยวพันอยู่กับพระสมุห์ขิงอย่างแนบแน่น ในฐานะใดนั้นยังสืบไม่ได้แน่ชัด แต่จากอักขระขอมที่อยู่หลังเหรียญนั้น ถอดความได้ว่า "กตัญญูกตเวที" นั้นเข้าใจว่าคงจะสร้างเพื่อตอบแทนคุณความดี ของท่านสมุห์ขิงก็เป็นได้ครับ

ในงานฌาปนกิจศพพระสมุห์ขิงนั้น พระวินัยธรรมได้สร้างเหรียญปั๊มหูในตัว มีทั้งเนื้อเงิน สัมฤทธิ์ และทองแดง เพื่อแจกเป็นที่ระลึก ลักษณะโดยรวมคล้ายๆ กับรูปอาร์ม มีรูปพระสมุห์ขิงครึ่งองค์ ใต้ห่วงมีรูปใบโพธิ์ประกบอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหลังมีอักขระขอมแปลความได้ว่า "กตัญญูกตเวที อายุวัณโณสุขังพลัง" และมีคำว่า ที่ระลึกสมุห์ขิง ระบุปี พ.ศ.2468 เหรียญนี้ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกโดยพระคณาจารย์สายสมุทรปราการหลายรูปด้วยกัน นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านยังทรงกรุณาร่วมปลุกเสกเหรียญนี้ให้ด้วย

ครับเหรียญพระสมุห์ขิงนี้นอกจากจะเป็นเหรียญที่สวยงามในด้านศิลปะแล้ว ก็ยังเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ สนนราคาในปัจจุบันก็ยังไม่สูงมากนักและก็ยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ เช่นเคยครับผมได้นำรูปเหรียญเนื้อเงินซึ่งหายากกว่าเหรียญเนื้ออื่นๆ ในรุ่นเดียวกันมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37404757531152_2.jpg)
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์

หลวงพ่อเพ็ชร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ ต.พุดเลา อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมและคุณูปการอย่างสูงต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษาทั้ง พระภิกษุ-สามเณรและกุลบุตรกุลธิดา

เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวบ้านในพื้นที่และละแวกใกล้เคียง รวมทั้งสาธุชนโดยทั่วไป วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างนั้น ล้วนทรงพุทธาคม เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่นิยมสะสม

โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน ปี 2489" ซึ่งนับเป็นเหรียญรุ่นแรกและเป็นรุ่นเดียวที่ท่านสร้างไว้ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเบญจภาคีเหรียญเมืองกรุงเก่า ที่มีค่านิยมสูง อันดับต้นๆ ของจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง

พระครูธรรมการศึกษา หรือหลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวัฑฒโน เป็นชาว อ.บางปะหัน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ที่ ต.บ้านลี่

ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอมกับพระสมุห์ดิษย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ จนอายุ 16 ปี จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่ในความปกครองของพระครูปรากรมุนี (เกิด) ได้ศึกษามูลกัจจายน์กับอาจารย์ช้าง ผู้เป็นฆราวาส และเรียนบาลีกับพระประสิทธิสุตคุณ (จุ๊ย) และพระอาจารย์ทอง

เมื่ออายุ 22 ปี จึงกลับมาอุปสมบทที่วัดทอง อ.บางปะหัน โดยมีพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดศรีโพ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเปรม วัดม่วง และพระอาจารย์ป้อม วัดนาค เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายา "สิริวัฑฒโน" จากนั้นเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ

หลวงพ่อเพ็ชร์ปกครองวัดและพระลูกวัดด้วยความยุติธรรม พัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดและท้องถิ่น พัฒนาด้านการศึกษา สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนประชาบาล ท่านเป็นพระแบบครู ตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ท่านยังเชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณช่วยรักษาชาวบ้านและญาติโยมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านยังได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางเพื่อแจกจ่ายแก่สาธุชนไว้ป้องกันตัวและเสริมสิริมงคล อาทิ ตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์ ธงค้าขาย ธงกันไฟ ผ้าประเจียด ตะกรุดสาลิกา สีผึ้ง และน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ปรากฏและเป็นที่หวงแหนยิ่งนัก

หลวงพ่อเพ็ชร์ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2470, เป็นเจ้าคณะตำบลพุดเลา ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2478 และสมณศักดิ์สุดท้ายได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระครูธรรมการศึกษา ในปี พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นปีที่ท่านจะมีอายุครบ 80 ปีพอดี บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจึงพร้อมใจกันขออนุญาตจัดงานฉลองสมณศักดิ์และทำบุญอายุให้ท่านเป็นงานใหญ่ พร้อมขออนุญาตจัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญทั้งสองท่านมรณภาพอย่างสงบในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2493

สำหรับ "เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489" เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวนี้ ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หูเชื่อม ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ห่มจีวรลดไหล่ครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักษรไทยกำกับว่า "พระครูธรรมการ เพ็ชน์ วัดนนทรีย์" (สันนิษฐานว่า คำว่า "เพ็ชร์" ช่างแกะแม่พิมพ์ผิดจาก "ร" เป็น "น") ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม อ่านว่า "สัตถาระนุง อากัตทิตุง วิสัตเชตุง นาทาสิ สัตถาธะนุง นาทาสิ" คาถาบทนี้มีในตำนานพุทธชาดก เป็น "พระคาถามหาอุด" ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า "ที่ระลึกครบอายุ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๔๙๘"

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489 นี้ โด่งดังมากมาแต่โบราณ พุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ ยิ่งด้านคงกระพันชาตรีนั้นว่ากันว่า "จะฟันก็ฟันไม่เข้า ยิงเท่าไหร่ไม่มีออก" ทีเดียว

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49356936994526_3.jpg)
พระเนื้อผงพญาไม้ผุ รุ่นแรกของหลวงปู่เพิ่ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดกลางบางแก้วแต่เดิมมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันเรื่อยมา ในนิราศพระปฐมของสุนทรภู่ยังมีกล่าวไว้ว่า
   "ถึงบางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว
    เห็นแต่แนวคงคาพฤษาสลอน
    มีวัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร
    สง่างอนช่อฟ้าศาลาตะพาน
    ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน
    ต้นตะเคียนร่มรกปกวิหาร"

แสดงว่า วัดกลางบางแก้วนั้นเป็นวัดใหญ่ที่เจริญรุ่งเรือง สะอาดสะอ้านร่มรื่นมาตั้งแต่สมัยนั้น และตั้งอยู่ริมน้ำ ต่อมาในสมัยพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จมาที่วัดคงคารามเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 วัด คือ วัดตุ๊กตาและวัดใหม่สุประดิษฐ์ ท่านจึงได้ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดกลางบางแก้ว" เมื่อราวๆ พ.ศ.2465 ในสมัยที่หลวงปู่บุญเป็นเจ้าอาวาส

พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) ศิษย์เอกของหลวงปู่บุญ นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อเกิด โยมมารดาชื่อวรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว

มีสมเด็จพระสังฆราชแพ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณ ภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่าย ทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย

หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปลี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก

ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณ ศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76

หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงพญาไม้ผุ รุ่นแรกของหลวงปู่เพิ่มมาให้ชม ปัจจุบันหายากมากครับ

ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 25 เมษายน 2559 19:43:48
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32264096372657_6.jpg)
พระพุทธรูปอู่ทองแข็งสันคางคน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธรูปบูชาประจำบ้านกันครับ เราๆ ท่านๆ ก็คงเคยได้ยินผู้ใหญ่ในสมัยก่อนมักจะพูดถึงพระพุทธรูปบูชาประจำบ้านว่า พระพุทธรูปบูชานั้นควรจะหาพระพุทธรูปให้ครบสามอย่างก็คือ พระพุทธรูปอู่ทอง พระพุทธรูปเชียงแสน พระพุทธรูปสุโขทัย หรือที่เรียกกันสั้นๆ ให้เป็นมงคลนามว่า "อู่ แสน สุข" อันเป็นการนำชื่อศิลปะยุคสมัยของพระแต่ละยุคนำมาเป็นคำมงคล

พระพุทธรูปที่ผมจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ก็คือพระพุทธรูปอู่ทอง ซึ่งเป็นศิลปะการสร้างพระที่มีอายุยาวนาน เป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปที่มีกำเนิดขึ้นทางภาคกลางของประเทศไทย และดินแดนแถบนี้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรทวารวดี และต่อมาก็ถูกชาวขอมเข้ามาครอบครอง ศิลปะแบบอู่ทองจึงเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลจากที่ต่างๆ ผสมผสานกัน แต่การสร้างเป็นสกุลช่างไทย ศิลปะอู่ทองสามารถแบ่งได้ถึง 3 ยุค

พระพุทธรูปอู่ทองยุคแรกหรือบางท่านอาจจะเรียกอู่ทองสุวรรณภูมิ นั้นมีเกิดขึ้นมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 ศิลปะของพระพุทธรูปยุคนี้ยังมีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีและขอมผสมกัน พระรัศมีมักทำเป็นรูปดอกบัวตูม หรือคล้ายฝาละมี พระพุทธรูปในยุคนี้มักพบมากแถบจังหวัดสุพรรณบุรี

พระพุทธรูปอู่ทองยุคกลาง พระพุทธรูปยุคนี้ ยังคงมีอิทธิพลของขอมอยู่ แต่เริ่มคลี่คลายลงมามาก พระพักตร์ยังคงดูขรึม พระรัศมีบนพระเกตุมาลาเริ่มเป็นแบบเปลวเพลิง ลักษณะพระรัศมีแบบนี้อาจเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในศิลปะอู่ทองก่อน แล้วจึงให้อิทธิพลแก่ศิลปะสุโขทัยต่อมาก็เป็นได้ ศิลปะยุคนี้เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 พระพุทธรูปยุคนี้มักพบมากแถบ อ.สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

พระพุทธรูปอู่ทองยุคปลาย พระพุทธรูปแบบนี้มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปะปนมากขึ้น แต่ลักษณะเด่นของศิลปะอู่ทองยังคงอยู่ คือมีไรพระศก และฐานเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าใน ศิลปะยุคนี้อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 พระพุทธรูปยุคนี้ได้ค้นพบเป็นจำนวนมากในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.1967

พุทธลักษณะสำคัญเด่นของศิลปะอู่ทองก็คือ มีไรพระศก ชายจีวรหรือสังฆาฏิยาวปลายตัดเป็นเส้นตรง เน้นขอบสบงเด่นชัด ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย และฐานเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน พระทั้ง 3 ยุคจะมีลักษณะเด่นแบบนี้ทั้ง 3 ยุคครับ

พระพุทธรูปที่นิยมกันมาก ก็คือพระพุทธรูปอู่ทองยุคกลางหรือยุคที่ 2 ซึ่งมีพุทธศิลปะที่งดงามมาก มักเรียกกันแบบชาวบ้านว่า "แข็งสันคางคน" ตามพุทธลักษณะขององค์พระ พุทธลักษณะที่โดดเด่นก็ตามที่สายตามองเห็น หน้าแข้งขององค์พระมักจะเป็นสันหน้าแข้งเด่นชัดคือไม่กลมมน คางขององค์พระก็จะเห็นได้ชัดว่ามีการเน้นทำเป็นคางยื่นออกมาเล็กน้อย และตรงกลางของคางจะบุ๋มเว้าเด่นชัด เป็นจุดเด่นของพระยุคนี้ ฐานหน้ากระดานก็เน้นแอ่นเว้าเข้าในสวยงาม พระพุทธรูปอู่ทองยุคนี้การเททองนับว่ามีความชำนาญในการหล่อหลอมโลหะได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่จะเทโลหะได้บางมาก จนครูบาอาจารย์รุ่นเก่ามักจะเปรียบเปรยว่า "บางแบบเปลือกไข่" คือเทโลหะได้บางมากกว่ายุคอื่นๆ

พระพุทธรูปอู่ทองยุคกลางนี้แหละครับ ที่คนรุ่นเก่ายกย่องและมักจะหามาจัดชุดเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำบ้าน ในชุด "อู่ แสน สุข" เนื่องจากพุทธศิลปะของพระพุทธรูปอู่ทองยุคนี้มีศิลปะที่สวยงามมาก ถือว่าเป็นศิลปะที่คลาสสิคมากของยุคนี้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธรูปอู่ทองแข็งสันคางคน (อู่ทองยุคกลาง) มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71450220213996_view_resizing_images_1_.jpg)
พระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (สิงห์หนึ่ง) แบบพระเกศลูกแก้ว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ชมรมพระเครื่องอาจจะกลายเป็นชมรมพระบูชา เนื่องจากคุยเรื่องพระบูชาไปเมื่อวาน ก็คุยกันต่อนะครับ เรื่อง "อู่ แสน สุข" จะได้ครบๆ ได้พูดไปแล้วถึงอู่ หมายถึงพระศิลปะอู่ทอง

วันนี้มาคุยกันต่อถึงพระศิลปะเชียงแสนต่อครับ

เราคงจะเคยได้ยินผู้ใหญ่สมัยก่อนพูดถึงพระพุทธรูปเชียงแสนว่า พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง พระเชียงแสนสิงห์สองหรือสิงห์สาม อะไรประมาณนี้ ซึ่งเป็นการเรียกชื่อพระแบบพื้นบ้านไม่ใช่แบบวิชาการ ซึ่งความจริงก็คือการแยกยุคสมัยของพระเชียงแสนยุคต้น ยุคกลาง หรือ ยุคปลายเท่านั้นครับ เนื่องจากพระศิลปะแบบเชียงแสนมีการสร้างติดต่อกันมายาวนานครับ

พระศิลปะเชียงแสน หรือล้านนา เป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบลัทธิเถรวาทแบบเชียงแสน ซึ่งพบมากทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งแยกไว้เป็น 2 รุ่น รุ่นแรกเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย คือมีรัศมีสั้นเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวนม ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบมักทำเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ฐานมีกลีบบัวคว่ำบัวหงาย และเกสรบัวประกอบ ซึ่งเป็นศิลปะที่งดงามมาก

โดยพบที่เมืองเชียงแสนเป็นครั้งแรก จึงตั้งชื่อเรียกศิลปะแบบนี้ว่าศิลปะเชียงแสน ศิลปะแบบนี้ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรกอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19

สำหรับศิลปะเชียงแสนรุ่นที่สอง หรือเชียงใหม่นั้น เป็นแบบที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนแล้ว อายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 พระรัศมีรูปดอกบัวตูมเริ่มสูงขึ้น หรือในยุคต่อๆ มาเริ่มเป็นรูปเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์มักเป็นรูปไข่ แต่บางครั้งก็ยังคงกลมอยู่

แม้ลำพระองค์บางครั้งจะอวบอ้วนและพระอุระนูนตามแบบเดิม แต่ชายจีวรก็ยาวลงมาถึงพระนาภี ในยุค หลังๆ มักทำประทับนั่งขัดสมาธิราบ ฐานบางครั้งก็มีแบบเป็นลวดลายประกอบหรือเรียบไม่มีลวดลายประกอบก็มี ที่ทำเป็นแบบพระพุทธ รูปทรงเครื่องก็มี

พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคหลังๆ ได้แพร่หลายออกไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก แต่ฝีมือสู้แบบเชียงแสนไม่ได้ ศิลปะแบบเชียงแสนมีการสร้างต่อๆ มา ในตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 21-23

พระพุทธรูปบูชาที่คนรุ่นเก่าพูด ถึงคำว่า "แสน" มักหมายถึงพระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (เชียงแสนสิงห์หนึ่ง) ซึ่งมีความงดงามมาก เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันหาชมยากมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (สิงห์หนึ่ง) แบบพระเกศลูกแก้วมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55550160134832_1.jpg)
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง และพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระนางพญา พิษณุโลก พิมพ์เข่าตรง ซึ่งพระพิมพ์นี้แตกต่างจากพระพิมพ์อื่นในกรุเดียวกัน คือมีแม่พิมพ์อยู่สองแม่พิมพ์ ส่วนพิมพ์อื่นๆ เช่นพิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา(อกแฟบ) พิมพ์อกนูนเล็ก มีแม่พิมพ์อยู่เพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้น

พระนางพญา ถูกขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และเสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย ในครั้งนั้นได้มีการสร้างพลับพลารับเสด็จขึ้นที่บริเวณวัดนางพญา ในตอนที่ขุดหลุมปักเสาสร้างพลับพลานั้น ก็ได้พบกับกรุพระนางพญา และทางการได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จำนวนหนึ่ง ตลอดจนแจกจ่ายข้าราชบริพารที่โดยเสด็จในครั้งนั้นด้วย

พระนางพญาที่ถูกขุดพบ มีการบันทึกไว้ว่า มีพระอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญาพิมพ์เทวดา พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก เป็นต้น

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงและพิมพ์เข่าโค้งมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ที่เห็นได้ชัดก็คือที่บริเวณหน้าตัก พระพิมพ์เข่าโค้งจะมีลักษณะโค้งงอนขึ้น ส่วนพระพิมพ์เข่าตรงหน้าตักจะเป็นเส้นตรง ในส่วนพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงนั้น ยังสามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าตรง และพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงที่มีอยู่ 2 พิมพ์ มีส่วนที่แตกต่างกันคือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดาจะมีมือขวาขององค์พระทอดลงมาที่หัวเข่าขวา (ปางมารวิชัย) และปลายมือก็สิ้นสุดที่หน้าตัก ส่วนพระพิมพ์มือตกเข่านั้น มือขวาขององค์พระจะวางเลยหัวเข่าลงมาเล็กน้อย และส่วนมากพิมพ์มือตกเข่าจะตัดเลยหน้าตักลงมาแบบพระพิมพ์มือตกเข่า แต่จะเห็นได้ชัดว่ามือไม่ได้เลยลงมาจากหน้าตัก และในส่วนพระพิมพ์มือตกเข่าก็มีบ้างเหมือนกันที่บางองค์ตัดชิดหน้าตัก

ทีนี้ถ้าพระพิมพ์ตกเข่าในองค์ที่ตัดชิดหน้าตัก เราก็ไม่เห็นมือที่วางลงมาตกเข่าล่ะ จะสังเกตอย่างไร จุดสังเกตง่ายๆ อีกอย่างก็คือ พระทั้งสองพิมพ์จะมีเส้นชายจีวรที่แตกต่างกัน ให้สังเกตเส้นชายจีวรที่ห่มพาดลดไหล่ลงมาทางด้านขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเรา) ถ้าเป็นพิมพ์เข่าตรง จะเป็นเส้นโค้งปลายตวัดงอนขึ้นสูงเข้าหาใต้รักแร้ ส่วนพิมพ์มือตกเข่าเส้นชายจีวรจะพาดลงมาค่อนข้างตรงและยื่นลงมาเฉียงๆ ไม่ตวัดงอนขึ้นใต้รักแร้ และขนาดของเส้นชายจีวรก็มักจะเป็นเส้นที่หนาใหญ่กว่าพระพิมพ์เข่าตรงครับ

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง กับพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า ก็มีจุดสังเกตที่แตกต่างกันง่ายๆ ดังนี้ครับ แต่ความจริงในส่วนอื่นๆ ก็มีข้อแตกต่างกันเช่นกันครับ แต่สามารถแยกกันที่เห็นง่ายๆ ก็เพียงแค่นี้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง และพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า มาให้ชมเปรียบเทียบกันทั้งสองพิมพ์ครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58932852041390_2.jpg)
พระหูยานลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะพูดถึงพระกรุเนื้อชินเงิน โดยส่วนตัวผมเองชอบพระหูยานลพบุรีมาก ชอบที่ศิลปะขององค์พระ และตอนที่ยังเป็นวัยรุ่นนั้น ได้รับฟังผู้ใหญ่กล่าวขวัญถึงพระหูยานลพบุรีในทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีกันมาก

พระหูยานลพบุรี ตามรูปแบบศิลปะแล้วจัดอยู่ในรูปแบบศิลปะลพบุรี บางท่านอาจเรียกว่าศิลปะขอม ผมขออนุญาตขยายความเรียกชื่อศิลปะแบบลพบุรีหรือขอมกันสักหน่อย ศิลปะแบบนี้ขุดพบในประเทศไทยหลายแห่ง รูปแบบศิลปะคล้ายกับศิลปะที่พบในประเทศกัมพูชา ที่พบในประเทศไทยนั้นมีพบทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม พร้อมทั้งที่เป็นพระพิมพ์ และพบในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทางโบราณคดีกำหนดเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "ศิลปะลพบุรี"

การกำหนดอายุสมัยของศิลปะลพบุรีที่พบในประเทศไทยยังค้นคว้าไม่พบอักษรจารึกยืนยันอายุแน่ชัด จึงกำหนดอายุสมัยอนุโลมตามแบบอย่างศิลปกรรมในประเทศกัมพูชาซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกัน

ศิลปะที่พบในประเทศกัมพูชานั้นสามารถแยกออกเป็น
สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (Pre-Angkorian Period)
   ศิลปะแบบพมนดา ราว พ.ศ.1090-1150
   ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ.1150-1200
   ศิลปะแบบไพรกเมง ราว พ.ศ.1185-1250
   ศิลปะแบบกำพงพระ ราว พ.ศ.1256-1350
   ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ได้แก่ ศิลปะแบบกุเลน ราว พ.ศ.1375-1425

สมัยเมืองพระนคร (Angkorian Period)
   ศิลปะแบบพะโค ราว พ.ศ.1425-1436
   ศิลปะแบบบาเค็ง ราว พ.ศ.1436-1475
   ศิลปะแบบเกาะแกร์ ราว พ.ศ.1464-1495
   ศิลปะแบบแปรรูป ราว พ.ศ.1490-1515
   ศิลปะแบบบันทายไสรย ราว พ.ศ.1510-1550
   ศิลปะแบบเกลียง ราว พ.ศ.1515-1560
   ศิลปะแบบบาปวน ราว พ.ศ.1560-1630
   ศิลปะแบบนครวัด ราว พ.ศ.1650-1715
   ศิลปะแบบบายน ราว พ.ศ.1720-1780

สมัยหลังเมืองพระนคร (Post-Angkorian Period) ตั้งแต่ราว พ.ศ.1780

ครับก็นอกเรื่องไปหน่อยครับ ก็เพื่อจะได้เทียบเคียงอายุสมัยของศิลปะพระเครื่องที่เราพบ พระหูยานลพบุรี ค้นพบตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2440 เป็นครั้งแรก และก็มีการพบกันต่อๆ มาอีกหลายครั้ง พระที่พบในครั้งแรกๆ ที่พระปรางค์องค์ประธาน จะเรียกกันว่าพระกรุเก่า ผิวจะออกดำๆ ต่อมาได้มีการพบอีกครั้งในปี พ.ศ.2508 ที่บริเวณเจดีย์องค์เล็กหน้าองค์พระปรางค์ มีแบบพิมพ์เหมือนกันกับพระกรุเก่าทุกประการ แต่ผิวของพระจะมีผิวปรอทจับขาวทั้งองค์พระ มักเรียกกันว่า "กรุใหม่" แต่ก็เป็นพระที่สร้างในสมัยยุคเดียวกัน มีแบบพิมพ์เหมือนกันทุกอย่าง พิมพ์ที่พบมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นอกจากนั้นก็ยังมีพิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ข้างรัศมีอีก แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก

พระหูยานยังมีพบอีกที่วัดปืน วัดอินทราราม ศิลปะเหมือนๆ กัน แต่ตัวแม่พิมพ์เป็นคนละแม่พิมพ์กัน พระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรีไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใด หรือพบในกรุใดล้วนได้รับความนิยมทั้งสิ้น ปัจจุบันหายากมากครับ

ศิลปะของพระหูยาน เมื่อเทียบเคียงกับศิลปะที่พบตามปราสาทต่างๆ ของกัมพูชาแล้ว จะเหมือนกับศิลปะแบบบายน จึงทำให้เราสามารถเทียบเคียงอายุได้ว่า อยู่ในช่วงราว พ.ศ.1720-1780

ครับพระหูยานลพบุรีเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่มาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่ปัจจุบันก็หายากและมีสนนราคาสูงมาก ยิ่งพระที่สวยๆ ก็ยิ่งแพงมากตามลำดับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47550029555956_3.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักยอดนิยมที่มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมสูง และมีมูลค่าสูงเช่นกัน ก็คือ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ในปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก จึงทำให้มีผู้ที่อยากได้ไว้บูชายอมเช่าในราคาหลักหลายล้านบาทแต่ก็ใช่ว่าจะหาพระแท้ๆ ได้ เนื่องด้วยมีจำนวนน้อยส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งผู้ที่ครอบครองไม่ยอมให้เช่าบูชา

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ตามประวัติที่สืบค้นกันมาว่า ท่านเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2346-2351 บวชที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อบวชแล้วได้ออกธุดงค์มาทางภาคตะวันออก และมาถึงจังหวัดชลบุรี ปักกลดพักแรมอยู่ที่บริเวณวัดเครือวัลย์ ในสมัยนั้นบริเวณนี้ยังคงเป็นป่ารก และท่านก็ได้เทศน์โปรดญาติโยมให้เข้าถึงหลักธรรม จนชาวบ้านเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้วมาก และอาราธนาขอให้ท่าน อยู่จำพรรษาและชาวบ้านก็ได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น ต่อมาได้ชื่อว่า "วัดเครือวัลย์"

หลวงพ่อแก้วเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านในแถบนั้นมาก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนใดๆ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเรื่องการทำมาหากิน หลวงพ่อก็ช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันทำนุบำรุงวัดเครือวัลย์จนเจริญรุ่งเรือง มีเรื่องเล่ากันสืบต่อมาว่ามีแม่ค้าคนหนึ่งขายปลาอยู่ในตลาด บ้านแกอยู่ใกล้ๆ วัด ต้องเดินผ่านวัดทุกวันเพื่อไปตลาด วันหนึ่งเดินบ่นผ่านวัดมา หลวงพ่อแก้วได้ยินเข้าก็สอบถามดูเรื่องค้าขาย แม่ค้าคนนั้นก็บอกหลวงพ่อว่า ช่วงนี้ค้าขายไม่ค่อยดี ขายไม่หมด หลวงพ่อแก้วจึงให้พรว่า "เอ้าวันนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่านะ" ผลปรากฏว่าวันนั้นแม่ค้าคนนี้ก็ขายดี ขายหมดอย่างรวดเร็ว พอเช้าก็ไปใส่บาตรและเล่าให้หลวงพ่อฟัง หลวงพ่อก็ให้ศีลให้พร หลังจากนั้นต่อมาแม่ค้าคนนี้ก็ร่ำรวยขึ้นมาก และเป็นคหบดีคนหนึ่งของชลบุรีในสมัยนั้น

เมื่อหลวงพ่อแก้วสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ก็มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า เนื้อผงที่หลวงพ่อทำไว้นั้น มีพุทธคุณทางเมตตา สูงมาก ขนาดผงที่ติดตัวเด็กวัดในตอนทำพระและได้ไปล้างน้ำ ผงก็หล่นไปในตุ่มน้ำ พอดีมีหญิงสาวมาตักน้ำในตุ่มนั้นไปล้างหน้าก็เกิดจิตพิศวาสเด็กวัดคนนั้นขึ้นมา และได้แต่งงานกัน พอเรื่องนี้ร่ำลือกันไป คนที่มีพระผงปิดตาของหลวงพ่อแก้วบางคนก็เกิดนึกพิเรนทร์ นำพระของท่านไปขูดใส่น้ำให้หญิงสาวกิน และหญิงสาวก็เกิดหลงรักขึ้นมา และเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น มีคนไปฟ้องหลวงพ่อ ท่านจึงได้ห้ามปรามลูกศิษย์ และผู้ที่มีพระของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อยังแช่งไว้ว่า "ถ้าใครนำพระของท่านไปให้หญิงสาวกิน แล้วไม่รับเลี้ยงดูให้ดี ก็ขอให้เกิดความวิบัติ" จากนั้นก็ไม่มีใครกล้าทำอีกเลย

เรื่องเมตตามหานิยมของพระหลวงพ่อแก้วนั้นมีมากมายจนเล่ากันไม่หมด ชาวชลบุรีทราบดี ในสมัยก่อนมีคนในเมืองชลคนหนึ่ง ทำพระของหลวงพ่อแก้วปลอมแล้วนำไปหลอกขาย เมื่อได้เงินมาก็ได้ใจทำต่อไปอีกเรื่อยๆ จนได้เงินมามากพอสมควรก็ยังไม่หยุด ต่อมาก็มีสติวิปลาส และหมดเนื้อหมดตัวในที่สุด เรื่องนี้คนเมืองชลรุ่นเก่าๆ รู้ดี

หลวงพ่อแก้วสั่งสอนแก่ลูกศิษย์เสมอ ว่า ให้ประพฤติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ห้ามผิดลูกผิดเมียใคร ห้ามลักเขากิน ให้ขยันทำมาหากิน แล้วจะไม่อดตาย

ครับวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบมาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11680608077181_4..jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/95787887358003_4.jpg)  
พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497

"พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 ที่จัดสร้างโดยหลวงปู่ทิมเป็นรุ่นแรกนั้น นับเป็นสุดยอดแห่งวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงและค่านิยมสูงสุด ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระคณาจารย์"
  
หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ชาติไทยและทางพระบวรพุทธศาสนาอย่างคณานับ สร้างปาฏิหาริย์ต่างๆ มากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสและกล่าวขานกันสืบมา

แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีการสร้างวัตถุมงคล จนเมื่อถึงสมัยพระครูวิสัยโสภณ หรือหลวงพ่อทิม ธมฺมธโร แห่งวัดช้างให้ หรือ วัดราษฎร์บูรณะ จ.ปัตตานี
 
หลวงพ่อทิม ธมฺมธโร ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2455 ที่บ้านนาประดู่ จ.ปัตตานี ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาร่ำเรียนกับ พระครูภัทรภรณ์โกวิท (พระแดง ธมฺโธโต) พออายุได้ 18 ปี บวชเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดนาประดู่ ได้รับฉายา "ธมฺมธโร" จำพรรษาได้ 2 พรรษาก็เดินทางไปศึกษาที่สำนักวัดมุจลินทวาปีวิหาร แล้วจึงกลับมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนาประดู่

จนปี พ.ศ.2484 ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ จนได้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2493 และได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ.2509 ท่านมรณภาพใน พ.ศ.2512 สิริอายุ 57 ปี 36 พรรษา

หลวงปู่ทิมท่านมีความเคารพเลื่อมใสใน "หลวงปู่ทวด" เป็นอย่างสูง ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดช้างให้ จึงนับว่ามีความสำคัญยิ่งกับวัดช้างให้และหลวงปู่ทวด ท่านได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่วที่มีความรัก เคารพหลวงปู่ทวดด้วยเช่นกัน ท่านยังมีฌานสมาบัติที่สามารถติดต่อสื่อสารกับหลวงปู่ทวดได้ด้วย
 
หลวงปู่ทิมให้ความสำคัญกับการสร้าง "พระพิมพ์หลวงปู่ทวด" อย่างมาก มูลเหตุปรากฏตามบันทึกของ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้เขียนถึงการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดที่ได้เกิดนิมิตเห็นพระภิกษุชรานั่งบนดอกบัว เมื่อปรึกษากับหลวงปู่ทิมจึงได้มีการจัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด" ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับการอนุญาตจากหลวงปู่ทวด เป็น "พระพิมพ์หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497" ซึ่งเป็นที่ปรากฏและยอมรับกันว่าผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม เมื่อบูชาวัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ทวดแล้วต่างก็ประสบปาฏิหาริย์นานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคลและให้ประสบความสำเร็จในการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
 
พระพิมพ์หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 มีเนื้อมวลสารประกอบด้วย พระธาตุ ว่าน 108 และผงสีขาวใส บางองค์จะมีความละเอียดจับตัวแน่น บางองค์ก็หยาบฟู เนื้อในจะมีสีดำหม่นแกมเทาแก่ พื้นผิวปรากฏแร่ดินดำ หรือที่เรียกว่า "ว่านกากยายักษ์" อยู่ทั่วองค์พระ ไม่ว่าจะแก่ดินหรือแก่ว่าน จะมีมวลสารประกอบที่เห็นได้ชัดเจนทุกองค์ และมีผงขาวใสเป็นจุดอยู่ประปรายสัณฐานไม่แน่นอนสังเกตเห็นโดยง่าย ถ้ามองให้ดีๆ จะพบสีแดงคล้ายดอกพิกุลซอกซอนอยู่ตามเนื้อขององค์พระ

ลักษณะผิวขององค์พระ ถ้าไม่ผ่านการใช้หรือสัมผัสเหงื่อมาเลย หรือที่เรียกว่า "ผิวเดิม" จะออกสีดำหรืออมน้ำตาล บางองค์จะปรากฏ "ยางว่าน" ของมวลสาร ลักษณะเป็นไขขาวปูดขึ้นมาจากเนื้อในคล้ายๆ ยางมังคุด และมีฝ้าขาวเหมือนแป้งบางๆ ปกคลุมอยู่โดยทั่ว ลักษณะเนื้อจะต้องแห้งตามกาลเวลา ไม่ใหม่สดใสเหมือนของที่สร้างใหม่ๆ
 
พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 จะมีพิมพ์มากมายทั้งหมด 16 พิมพ์ อาทิ พิมพ์กรรมการ, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์พระรอด, พิมพ์กลาง, พิมพ์ต้อ, พิมพ์ชะลูด ฯลฯ ซึ่งในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ต่างกันแต่เพียงขนาดใหญ่ กลาง เล็กเท่านั้น และแต่ละพิมพ์จะมีความชัดเจน พระบางองค์มีรูเสียบไม้ส่วนล่างใต้ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบด้านข้างจะห่อเข้าหากันเล็กน้อยพอสังเกตได้ บางองค์บิดงออย่างเป็นธรรมชาติ และปรากฏรอยนิ้วมือคีบจับขึ้นจากเบ้าพิมพ์ บริเวณขอบข้างด้านล่างขององค์พระ
 
สำหรับด้านหลังเป็นหลังอูมนูนเล็กน้อยและหลังเรียบ บางส่วนจะปรากฏประกายดำวาวอย่างกากเพชร แต่ไม่ปรากฏทุกองค์ สันนิษฐานว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาแตะไว้ สำหรับองค์พระที่มีความสมบูรณ์มากๆ ไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อน ผู้ที่ไม่สันทัดจะไม่ค่อยสามารถสังเกตเห็นมวลสารดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ อย่างเด่นชัด
 
พระหลวงปู่ทวดพิมพ์ที่นิยมมากสุดในปัจจุบัน จะเป็นพิมพ์กรรมการและพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะ "พิมพ์ใหญ่ A ไหล่จุดหัวขีด" ที่นักสะสมเรียกกันสั้นๆ ว่า "พิมพ์หัวมีขีด" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53350329109364_5..jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/36837669461965_5.jpg)
พระกรุวัดตะไกร เมืองกรุงเก่า

พระกรุวัดตะไกร เป็นพระกรุเก่าแก่อีกหนึ่งพิมพ์ของเมืองกรุงเก่า หรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสม พระเครื่องพระบูชามาแต่โบราณ โดดเด่นมาพร้อมกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหาดูของแท้ๆ กันค่อนข้างยากเช่นกัน

วัดตะไกร ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคือ ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่องค์หนึ่งเป็นพุทธศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

การค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เล่ากันว่า ชาวบ้านได้พบเจอพระเนื้อดินที่วัดตะไกรมาราว 100 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งมีการแตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมาพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ต่อมาปรากฏว่า ผู้ที่บูชาพระติดตัวต่างมีประสบการณ์กันโดยถ้วนทั่วในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จึงต่างนำมาบูชาขึ้นคอ จากนั้นมาผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบมาถึงปัจจุบัน

พระกรุวัดตะไกร ที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อชินสนิมแดง แต่เนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงมีจำนวนน้อยมาก "พระเนื้อดิน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า องค์พระบางองค์ยังปรากฏมีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี

พระกรุวัดตะไกร มีพุทธลักษณะองค์ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย องค์ที่ติดชัด พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ นอกจากนี้ เส้นสังฆาฏิยังปรากฏชัดเจน

พุทธลักษณะโดยรวมของพระกรุวัดตะไกรจะคล้ายคลึงกันทุกองค์ แต่เพียงในส่วนพระพักตร์ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ, พิมพ์หน้าฤๅษี และพิมพ์หน้ามงคล โดย "พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ" ถือเป็นพิมพ์นิยม ด้วยเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังสามารถป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอได้อีกด้วย

พระกรุวัดตะไกร เนื้อดินเผา จะมีเอกลักษณ์เฉพาะสำคัญ คือ ที่ใต้ฐานจะมีรูรอยไม้เสียบทุกองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์ แต่สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงจะไม่มีรูดังกล่าว จุดสังเกตที่ใช้ในการพิจารณา มีดังนี้

 - รูใต้ฐานขององค์พระจะมีรูปร่างไม่แน่นอน
 - ขอบหรือปีกขององค์พระค่อนข้างบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะสังเกตได้ว่าองค์พระที่พบเห็นส่วนใหญ่มักขอบบิ่น
 - ด้านหลังจะมีรอยนิ้วมือจากการกดพิมพ์พระ

นอกจากนี้ ให้พิจารณาความเก่าของเนื้อองค์พระของพระกรุเก่า และสีสันวรรณะจากการเผาตามหลักการพิจารณาพระเนื้อดินเผาทั่วไป

สำหรับ พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมนั้น มีจุดตำหนิเพิ่มเติมดังนี้
- พระกรรณข้างขวาขององค์พระเป็นเส้นใหญ่หนา
- ปลายสังฆาฏิด้านล่างมีเส้นน้ำตก
- เหนือพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเป็นเส้นวิ่งขนานกับพระหัตถ์
- ชายจีวรบริเวณพระอุระมีเส้นขนาน
- บริเวณพระเพลาของบางองค์ปรากฏรอยเขยื้อนของพิมพ์

พระกรุวัดตะไกร นับเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่เลื่องลือมาแต่โบร่ำโบราณว่าเป็นเลิศยิ่งนักในด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ยังช่วยเสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงา และเมตตามหานิยม

ปัจจุบันแทบไม่ค่อยพบเจอพระแท้ เพราะผู้บูชาต่างเก็บไว้สืบทอดสู่ลูกหลานครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 เมษายน 2559 20:02:56
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15797772920793_1.jpg)

เสืองาแกะของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จ.นครสวรรค์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเครื่องรางงาแกะของนครสวรรค์นั้น โดยส่วนมากเราก็จะนึกถึงสิงห์งาแกะของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แต่ก็ยังมีคชสิงห์และเสือของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน ที่หายากมากเช่นกัน

หลวงพ่อเฮงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากในอดีต และในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นไปเมืองกำแพงเพชรทางชลมารค ก่อนที่ขบวนเสด็จฯจะมาถึง 2-3 วัน หลวงพ่อเฮงได้บอกให้ชาวบ้านสร้างปะรำพิธีต้อนรับเสด็จ โดยที่ชาวบ้านยังไม่มีใครรู้เรื่องการเสด็จประพาสทางชลมารค ต่างก็งงว่าจะสร้างไปทำไม แต่พอถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2449 ขบวนเสด็จฯก็ผ่านมาทางหน้าวัดเขาดิน และมีบันทึกจดหมายเหตุของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 บันทึกถึงการเสด็จฯ แวะเยี่ยมวัดเขาดิน โดยมิได้มีกำหนดการล่วงหน้า

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปที่วัดและพบกับหลวงพ่อเฮง ทรงแวะชมวัด ซึ่งหลวงพ่อเฮงกำลังสร้างศาลาการเปรียญอยู่ พระองค์พระราชทานเงินช่วยในการสร้างศาลาการเปรียญด้วย เป็นเงิน 100 บาท

หลวงพ่อเฮงเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านในย่านนั้นมาก โดยได้นิมนต์หลวงพ่อให้ปกครองวัดถึงสองวัด คือวัดเขาดินและวัดมหาโพธิ์ใต้ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันสองฝั่งแม่น้ำปิง หลวงพ่อเฮงเป็นพระปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาสูง ชาวบ้านเดือดร้อนในเรื่องใดมาปรึกษาหลวงพ่อก็ช่วยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเรื่องใดๆ ก็ตาม ต่างก็สมปรารถนาทุกคนไป ของขลังก็มีคนไปขอท่านมาก มีทั้งแหวนพิรอดทำด้วยด้ายถัก คชสิงห์งาแกะ เสืองาแกะ หมูโทนงาแกะ เป็นต้น ศิลปะของ คชสิงห์และเสืองาแกะนั้นสวยงามมาก

พุทธคุณนั้นเป็นที่ประจักษ์กันมามากต่อมาก ทั้งทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก เพราะหายากมากในปัจจุบัน สนนราคาสูง ของปลอมทำเลียนแบบมีกันมานานแล้วและมีมาก ของแท้นานๆ จะพบสักครั้ง

หลวงพ่อเฮงเกิดปี พ.ศ.2402 มรณภาพ ปี พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

หลวงพ่อเฮงยังเป็นที่รักเคารพของชาว นครสวรรค์ตลอดมาจนทุกวันนี้ครับ ในวันนี้ผมขอนำรูปเสืองาแกะของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวท มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
 แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90525179149376_2.jpg)
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดใหญ่อินทราราม จ.ชลบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชลบุรีมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้เคารพศรัทธามากมาย วันนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเกจิอาจารย์ของชลบุรีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งท่านก็เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชลบุรีเช่นกัน ท่านก็คือหลวงพ่อแดง วัดใหญ่อินทราราม อ.เมือง จ.ชลบุรีครับ

ในด้านประวัติภูมิหลังของท่านนั้น สืบค้นไม่ได้มากนัก ทราบเพียงแต่ว่าท่านเป็นชาวเขมร เกิดที่เมืองพระตะบอง ต่อมาได้บวชเป็นสามเณร แล้วเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีในกรุงเทพฯ ครั้นอายุครบบวชก็เดินทางกลับไปพระตะบองและอุปสมบทที่วัดกำแพง เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน

จากนั้นก็กลับมาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพฯ ในระหว่างที่ท่านมาศึกษาอยู่กรุงเทพฯ นั้น นานๆ ท่านก็จะมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่สักระยะหนึ่ง ครั้นต่อมาหลวงพ่อช้าง เจ้าอาวาสวัดกำแพงมรณภาพ ชาวบ้านก็ได้อาราธนาเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ซึ่งท่านก็ได้รับเป็นภาระ จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ฯ ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นสืบมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อแดงเป็นพระสงฆ์ที่บวชทั้งกายและใจ มีเมตตาต่อบุคคลโดยทั่วไป ท่านจึงเป็นพระเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลจริยวัตรหมดจดงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ในด้านคุณวิเศษนั้น ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในหลายๆ ด้าน

มีเรื่องเล่าบอกขานกันต่อๆ มา เช่น ท่านให้หวยจับยี่กีแม่นมาก มีคนไปขอหวยจากท่าน ถ้าท่านให้แล้วไม่เคยพลาด เจ้ามือหวยไม่เชื่อให้คนไปสืบดูว่าท่านให้ตัวอะไร พอทราบก็คัดเอาตัวนั้นออก ต่างก็นึกเยาะว่าหวยวันนี้เจ้ามือรับประทานแน่ แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก หวยตัวที่ท่านให้และเจ้ามือก็เอาออกแล้ว กลับเข้าไปอยู่ในถุงออกให้เขาถูกกันจนได้ คุณวิเศษของท่านอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำมนต์ของท่านวิเศษนักใช้ได้สารพัด แม้กระทั่งท่านเจ้าคุณวรพตปัญญาจารย์ วัดป่าฯ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่าน โดยเฉพาะหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกัน ก็ให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อแดงมาก ไปมาหาสู่และมักจะมาค้างอยู่กับหลวงพ่อแดงเป็นระยะ

หลวงพ่อแดงสร้างวัตถุมงคลไว้อยู่รุ่นหนึ่ง เนื่องมาจากในปี พ.ศ.2487 ท่านพร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ลูกศิษย์ของท่านได้จัดทอดกฐินที่วัดกำแพง เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท ในการนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวเมืองชลและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอันมาก มีผู้ร่วมเดินทางไปทอดกฐินประมาณ 800-900 คน ในสมัยนั้นถือว่ายิ่งใหญ่มาก โดยมีคุณสำเภา กีรติสุนทร เป็นผู้ดำเนินงานทั้งสิ้น งานนี้ก็สำเร็จไปด้วยดี

หลวงพ่อแดงได้สร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2486 เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมมือร่วมใจทำบุญทอดกฐินกับท่านในครั้งนั้น และวัตถุมงคลรุ่นนี้ก็เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวเท่านั้นที่ท่านสร้างวัตถุมงคลดังกล่าวนี้ประกอบด้วยเหรียญรูปไข่ใหญ่ มีด้วยกันสองเนื้อคือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง เหรียญรูปไข่เล็กเนื้อเงินลงยาราชาวดี เหรียญรูปใบสาเกเล็กเนื้อทองเหลือง แหนบ และแหวนเนื้อทองเหลือง

วัตถุมงคลของหลวงพ่อแดง วัดใหญ่นี้ชาวเมืองชลต่างก็หวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรูปไข่ เครดิตภาพจากเว็บท่าพระจันทร์ดอทคอม มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
 แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65393904306822_3.jpg)
พระปิดตา เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ยันต์น่อง หลวงพ่อทับ วัดทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตามหาอุดที่เป็นเนื้อโลหะและมีศิลปะงดงามที่สุด ผมว่าพระปิดตาของหลวงพ่อทับ วัดทอง เป็นที่หนึ่งครับ นอกจากความงดงามทางด้านศิลปะแล้ว ในด้านพุทธาคมก็ยอดเยี่ยมมากและจัดเป็นพระปิดตามหาอุดเนื้อโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเช่นกัน สนนราคาในปัจจุบันสูงมาก

วัดสุวรรณารามหรือที่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดทองนั้น ตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอก น้อย กทม. เป็นวัดเก่าแก่มาแต่เดิม ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งอยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น คือครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ ปัจจุบันกรมศิลปากรก็ยังคงทำนุบำรุงให้คงสภาพอยู่จนทุกวันนี้ ถือเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมากของกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยที่พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่อทับมาก ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายด้าน ทั้งทางด้านวิทยาคม ด้านงานช่างศิลป์ และเป็นพระสงฆ์ที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ทรงเคารพนับถือ

หลวงพ่อทับได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง แต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมากก็คือพระปิดตามหาอุด หลวงพ่อทับสร้างไว้หลายเนื้อ มีทั้งที่เป็นเนื้อชินตะกั่ว เนื้อโลหะผสมประเภทเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด และเนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตาของหลวงพ่อทับสร้างไว้ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม (หายากมาก) พิมพ์บายศรี พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์เศียรบาตรหรือพิมพ์เศียรโต พิมพ์ตุ๊กตา และพิมพ์ครึ่งซีก เป็นต้น

พระปิดตาทุกพิมพ์ของหลวงพ่อทับท่านจะกำหนดรูปแบบ การวางยันต์ที่องค์ โดยในขั้นตอนแรกจะทำหุ่นองค์พระด้วยขี้ผึ้งก่อน จากนั้นจึงมาวางตัวยันต์เป็นองค์ๆ ไป ตัวเลขยันต์หลวงพ่อทับจะเป็นผู้กำหนด โดยจะฟั่นเทียนขี้ผึ้งให้เป็นเส้นกลมยาวๆ คล้ายเส้นขนมจีน จากนั้นก็นำมาวางเป็นเลขยันต์ตามที่หลวงพ่อทับกำหนดทีละองค์ ดังนั้นพระปิดตาของหลวงพ่อทับจึงมีลักษณะคล้ายกัน แต่จะไม่มีองค์ใดที่เหมือน กันเป๊ะๆ เพราะการวางเลขยันต์นั้นจะวางทีละองค์ ตัวเส้นยันต์เองขอบก็จะม้วนเข้าในอย่างเส้นขนมจีนที่วางลงบนหุ่นองค์พระ สิ่งนี้ก็เป็นจุดสังเกตอย่างหนึ่งของการพิจารณาพระแท้ได้

หลวงพ่อทับมรณภาพในปี พ.ศ.2455 จึงถือได้ว่า หลังจากนั้นก็ไม่มีการสร้างพระของหลวงพ่อทับอีก ดังนั้นจึงพิจารณาความเก่าขององค์พระได้ ความเก่าของเนื้อโลหะก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาที่จะบ่งบอกได้ว่าเนื้อโลหะเก่า ถึงหรือไม่ ปัจจุบันมีการปลอมแปลงพระปิดตาของหลวงพ่อทับมาก เนื่องจากสนนราคาสูงและหาพระแท้ๆ ยากมาก จึงเป็นเหตุจูงใจให้มีการปลอมแปลงกันมาก และพยายามทำให้ออกมาคล้ายคลึงพอสมควร การเช่าหาก็ต้องระวังหรือหาเช่าจากผู้ที่ไว้วางใจได้

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ยันต์น่องของหลวงพ่อทับ วัดทอง มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
 แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26791775185200_4.jpg)
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ

"หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ ปี 2502 ใช้สูตรการสร้างสูตรเดียวกับ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497" และมีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายคลึงที่สุด อีกทั้งมีชื่อลือเลื่องและปรากฏเหตุการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่อัศจรรย์เช่นกัน"
  
กิตติศัพท์และกิตติคุณของ "พระหลวงปู่ทวด" ที่สร้างโดยพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ขจรขจายเลื่องลือไปทั่วหล้าไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่น นับเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงแบบไม่มีตกยุคมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปีพ.ศ.2497 ที่วัดช้างให้ได้จัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน" เป็นที่ฮือฮาไปทั่ว ผู้คนต่างแห่แหนเช่าบูชาจนจำนวนการสร้างไม่เพียงพอ ต้องเรียกร้องให้สร้างเพิ่มเติม เป็นเหตุให้มีการจัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือน" และ "พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด เนื้อโลหะ" ในเวลาต่อมา

แม้ในส่วนกลางอย่าง "กรุงเทพมหานคร" ก็มีพิธีการจัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด" ขึ้นมาเช่นกัน อันได้แก่ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" หรือ "วัดโพธิ์ท่าเตียน" สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2502 ซึ่งเมื่อเทียบอายุการสร้างแล้ว นับว่าเป็นรุ่นที่ใกล้เคียงกับปีพ.ศ.2497 มากที่สุด ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่า ค่อนข้างยาก และสนนราคาสูงเอาการ
 
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 นี้ใช้สูตรการสร้างเป็นสูตรเดียวกับ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" โดยพระครูวิสัยโสภณ หรือ พระอาจารย์ทิม เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด และได้ตั้งฌานสมาบัติติดต่อกับดวงพระวิญญาณหลวงปู่ทวดโดยตรง ซึ่งได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นเนื้อว่าน 108 ผสมดินกากยายักษ์ผสมด้วยใบลานที่ใช้จารึกตำราพิชัยสงครามเป็นหลักเช่นเดียวกัน

ทั้งยังได้เนื้อเก่าบางส่วนของพระหลวงปู่ทวด รุ่นปี 2497 มาผสมเพิ่มเติมด้วย พุทธลักษณะพิมพ์ทรงก็ใกล้เคียงกัน เท่าที่พบเห็นจะเป็นพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กหรือพิมพ์พระรอด ในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ซึ่งล้วนได้รับความนิยมทั้งสิ้น
 
พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ปลุกเสกจะเป็นพระคุณเจ้าที่เคยรับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสก "พระหลวงปู่ทวด ในปี 2497" ที่วัดช้างให้ มีอาทิ พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว และ พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง จ.ยะลา รวมทั้งหลวงพ่อสงัด วัดโพธิ์ สหธรรมิกของพระอาจารย์ทิม
 
พิธีพุทธาภิเษกได้นิมนต์ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ "พระอาจารย์ทิม" ก็ได้เข้าร่วมอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย รวม 108 รูป เช่น หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์, หลวงพ่อคง วัดสรรพรส, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก, หลวงปู่สี วัดสะแก หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม, หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
 
หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อหวล วัดพิกุล, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อผล วัดหนัง บางขุนเทียน, หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์, หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม, หลวงพ่ออุตตมะ กาญจนบุรี, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง และหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี เป็นต้น
 
หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 ได้ทยอยนำมาให้บูชาตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 เป็นต้นมา เพื่อนำปัจจัยไปสร้างเสนาสนะเป็นกุศลถวายให้กับวัดโพธิ์ สนนราคาตอนนั้นแพงถึงองค์ละ 1,000 บาท ผู้ที่ไปเช่าถึงวัดได้เล่าให้ฟังว่า เลือกก็ไม่ได้ เพราะพระมีหลายสภาพ

นอกจากนี้ พระบางส่วนได้นำไปบรรจุกรุและเก็บไว้บนขื่อใต้หลังคาโบสถ์วัดโพธิ์ ในวิหารกรมหลวงชุมพรฯ แต่ก็มีบางส่วนที่ถูกลักลอบนำออกมา จนทางวัดเข้าไปดูแล ในส่วนที่เหลือบรรจุไว้ใต้หลังคาโบสถ์นั้น ถือว่าได้ผ่านพิธีการสวดมนต์และพิธีกรรมต่างๆ มาจนถึงปี 2536 ซึ่งทางวัดได้มีการบูรณะหลังคาโบสถ์ และช่างที่ซ่อมแซมได้พบพระที่เก็บไว้ใต้หลังคาโบสถ์
 
นับได้ว่าหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 เป็นพระหลวงปู่ทวดที่เก่าแก่และสำคัญองค์หนึ่งในวงการ แม้จะไม่ได้ออกที่วัดช้างให้โดยตรง องค์พระบางองค์มีคราบกรุขึ้นเป็นไขขาว บางองค์มีสีขาวซึ่งหาได้ยากยิ่ง สนนราคาพอเช่าหาได้อยู่ บูชาติดตัวเป็นสิริมงคล
 
โดยอาราธนาพระคาถาหลวงปู่ทวดกำกับ คือ "นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา" ครับผม

ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84107098397281_5..jpg)
พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505

อีกรุ่น "พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505" มูลเหตุของการจัดสร้างนั้น เป็นเพราะหลังจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497" สร้างและปลุกเสกแล้วเสร็จออกให้เช่าบูชา ปรากฏว่ามีผู้ร่วมบุญจำนวนมาก จำนวนพระไม่พอกับความต้องการ จึงเกิดเสียงเรียกร้องให้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดขึ้นอีก โดยในครั้งนี้จัดสร้างเป็นพระเนื้อโลหะตามความประสงค์ของ "หลวงปู่ทวด" ผ่านทาง "หลวงปู่ทิม" ปรากฏว่า ได้สร้างประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับ "พระหลวงปู่ทวด ปี พ.ศ.2497" ทุกประการ

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99850098167856_5.jpg)  

ปัจจุบันจะหาดูของแท้ๆ นั้นยากยิ่งนัก เพราะของทำเทียมมีมากมาแต่ดั้งเดิม

พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด จัดสร้างในปี พ.ศ.2505 โดยสร้างเป็นเนื้อโลหะหลากหลายชนิด ทั้งเนื้อทองคำผสม เนื้อนวโลหะ เนื้อเมฆพัด และเนื้อโลหะผสม โดยเนื้อโลหะผสมจะมี 2 วรรณะ สืบเนื่องจากส่วนผสมของโลหะ คือวรรณะแดง (แก่ทองแดง) และวรรณะเหลือง (แก่ทองเหลือง
)

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45974976859158_1461587404_1.3_20_3614_3619_36.jpg)

ทั้งหลายทั้งมวลนี้ การจัดสร้างจึงจำเป็นต้องมีทุนมากกว่าการหล่อแบบเดิม ซึ่งก็ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือ "พระองค์ชายกลาง" ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ ตามคำอนุญาตจาก "หลวงปู่ทวด" ผ่าน "หลวงปู่ทิม" เช่นกัน

ขั้นตอนการจัดสร้าง เริ่มด้วยทางวัดประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะและลงแผ่นทอง "ชนวน" จากนั้น พระองค์ชายกลาง ได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกไปหล่อที่ วัดคอกหมู (วัดสิตาราม) กรุงเทพฯ โดยหล่อขึ้นเป็น 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก ใช้กรรมวิธีการเทหล่อแบบเป็นช่อ เมื่อแล้วเสร็จตามขั้นตอนออกมาเป็นองค์พระ ช่างจะคัดเลือกองค์ที่เทไม่สวยออกมา ให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกครั้งเป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" ส่วนการเท "พระเนื้อเมฆพัด" ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์

จากนั้นนำพระทั้งหมดกลับมาประกอบพิธีปลุกเสกใหญ่ที่วัดช้างให้ ซึ่งประกอบพิธีพร้อมกับ "งานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่" ประจำวัดช้างให้ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤษภาคม พ.ศ.2505 ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็น "งานประจำปีของวัดช้างไห้" จวบจนปัจจุบัน

พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 เป็นการจำลองแบบมาจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" ดังนั้น เอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ จึงจะคล้ายกับพระหลวงปู่ทวด ปี 2497 มาก จุดสังเกตแม่พิมพ์เบื้องต้น ถ้าเป็น "พิมพ์กลาง" ปลายจะมนเหมือนกลีบบัว ส่วนพิมพ์อื่นๆ นั้นปลายจะแหลมเหมือนเตารีด โดยแบ่งได้เป็น
   - พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำผสม จำนวน 99 องค์
   - พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัด จำนวนไม่ถึง 1,000 องค์
   - พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสม อีกจำนวนหลายหมื่นองค์  

ที่เหลือเป็น "พิมพ์กลาง" และ "พิมพ์เล็ก" นอกจากนี้ยังมีการปั๊ม "หลวงปู่ทวด รุ่นหลังตัวหนังสือ" และ "พระกริ่ง" อีกด้วย

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 มีดังนี้ :
   - หูด้านซ้ายของหลวงปู่จะไม่กางมาก และจะแนบติดกับศีรษะมากกว่าหูด้านขวา
   - ทุกพิมพ์จะเห็นก้อนชายจีวรมือซ้ายย้วยนูนชัดเจน
   - ช่างจะแต่งเส้นหน้าผาก และขอบข้างรอยต่อระหว่างชายจีวรกับหน้าแข้งให้เห็นเด่นชัด และนิ้วเท้าก็จะเห็นเป็นนิ้วๆ อีกด้วย เข้าใจว่าคงจะเอาแม่พิมพ์ของหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 มาเป็นแบบให้ช่างแต่ง

ข้อสังเกตในการพิจารณาประการหนึ่ง คือ ตอนขนส่งองค์พระทั้งหมดไปวัดช้างให้นั้น อาจารย์สวัสดิ์ได้ใช้น้ำยาชนิดหนึ่งสีออกดำๆ ชุบองค์พระเพื่อรักษาเนื้อองค์พระไว้ ส่งผลให้องค์พระมีคราบคล้ายน้ำมัน ผนึกติดแน่นอยู่ในซอก หากสังเกตให้ดีองค์พระจะดูเหมือนเป็นมันเยิ้ม เนื้อไม่แห้ง จะมีน้ำหนักและความแกร่งในตัว และอีกประการก็คือ ถ้าพบพระบางองค์ ด้านหน้า มีตัว "ฉ" ปรากฏอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือด้านหลังมีรอยตอกคำว่า "หลวงปู่ทวดวัดช้างให้" ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นเป็นเจตนาของพระองค์ชายกลางทรงให้ตอกไว้ การพิจารณาของแท้ให้พิจารณาที่ตัวอักษร จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมลึกและชัดเจน

สำหรับ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" นั้น พระพิมพ์ใหญ่เนื้อโลหะผสมและพิมพ์กลางจะถูกนำไปปั๊มซ้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะ "พิมพ์กลาง" เกือบทั้งหมดเป็นพระปั๊มซ้ำ ให้สังเกตจากรอยเขยื้อนของการปั๊ม และให้ดูที่ฐานบัว แทนที่จะเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วมีเส้นขีดกึ่งกลาง กลับมีเส้นพาดแบ่งบัวตอนบนออกอีก ความจริงเป็นเส้นระหว่างบัวแต่เขยื้อน เลยแบ่งบัวออกกลายเป็นบัวสามชุด

ปรากฏชัดเจนใน "พิมพ์กลาง" แต่ในพิมพ์เล็กไม่ปรากฏการปั๊มซ้ำครับผม

ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59570249418417_view_resizing_images_1_.jpg)

พระกรุเงินคลองเตย พิมพ์สังกัจจายน์ พิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหู

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเนื้อผง ซึ่งเป็นพระกรุเก่ากรุหนึ่ง พระกรุนี้เราอาจจะรู้จักกันดี คือกรุวัดเงินคลองเตย ที่เรารู้จักกันหลายพิมพ์ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น วันนี้เรามาคุยกันถึงวัดเงินคลองเตย ซึ่งบางท่านอาจจะไม่รู้ว่าที่ตั้งวัดอยู่ ณ จุดใดของคลองเตย

ณ อาณาบริเวณที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ซึ่งใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย กรุงเทพฯ นั้นในอดีตแต่เดิมมาเป็นที่ตั้งของวัดเงิน วัดทอง และวัดพระธาตุ รวม 3 วัดที่ล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณทั้งสิ้น ในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งของทั้ง 3 วัดเพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดพระธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างรวมกันเป็นวัดใหม่ขึ้นที่ริมถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า วัดธาตุทอง ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกันคือ วัดไผ่เงิน ตรอกจันทร์นั่นเอง

วัดพระธาตุและวัดทอง เมื่อรื้อถอนไปสร้างใหม่แล้วชื่อเสียงเรียงนามนับวันก็เลือนรางไปจากความทรงจำ แต่วัดเงินคลองเตยนั้นแม้จะถูกรื้อถอนไปแล้วแต่ยิ่งนานวันก็มีชื่อเสียงที่คนรู้จักจดจำได้ เนื่องจากพระเครื่องที่ถูกบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ปรากฏชื่อเสียงไปทั่วนั่นเอง แต่ที่ตั้งของวัดอาจจะไม่ค่อยมีคนทราบเท่าไรนัก

พระเครื่องของกรุวัดเงินนั้นถูกพบในขณะที่มีการรื้อถอนเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถได้พบ พระเครื่องเนื้อผงสีขาวเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นองค์ มีมากมายหลายพิมพ์และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพระพิมพ์สังกัจจายน์ ซึ่งมีสนนราคาค่านิยมสูงพิมพ์หนึ่ง พระพิมพ์อื่นที่พบมากก็คือพิมพ์เล็บมือ พระส่วนใหญ่ของกรุวัดเงินคลองเตยที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งสิ้น นอกจากพระพิมพ์ปิดตาเท่านั้น ที่แปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คือเป็นพระเนื้อผงแต่เป็นสีออกดำและดำปนเทา แบบพระเนื้อผงใบลาน

พระกรุวัดเงินคลองเตยประวัติการสร้างพระเครื่องยังไม่มีใครทราบแน่ชัด เนื่องจากเป็นพระเก่าแก่ที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าสร้างเมื่อใด แต่พุทธคุณนั้นเยี่ยมยอดในด้านเมตตามหานิยมและคุ้มครองป้องกันภยันตรายทั้งปวงจนเป็นที่นิยมเลื่อมใสของนักสะสมพระทั่วไป พระวัดเงินคลองเตยส่วนมากจะมีคราบกรุออกสีนวลๆ บ้าง ออกไปทางสีน้ำตาลบ้าง บางองค์ก็ปรากฏคราบฟองเต้าหู้แบบพระกรุเนื้อผงทั่วๆ ไป

วันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหูมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ แทนท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 13 พฤษภาคม 2559 17:44:09
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69536517022384_1.jpg)
พระปิดตารุ่นเงินล้าน และรุ่นปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้สังคมพระเครื่องก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การซื้อ-ขายก็เงียบเหงาพอสมควรครับ ราคาพระเครื่องเกือบทุกอย่างตกลงไปประมาณ 20-30% มีบางอย่างก็ตกลงมามากกว่านั้นบ้าง

ครับก็เป็นไปตามสภาวะของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ สอบถามบรรดาศูนย์พระเครื่องต่างๆ ก็บอกว่าช่วงนี้เงียบมาก พระที่เขาจะรับเช่าก็ต้องเป็นพระที่สวยๆ เท่านั้น สนนราคาก็ว่ากันตามราคาปัจจุบัน ซึ่งก็ลดลงจากเดิม ผมสอบถามดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นว่าพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ราคาไม่ตกลงมาเลยยังคงราคาเดิมอยู่ได้ เนื่องจากพระของหลวงปู่โต๊ะนั้นมีผู้ที่ศรัทธาในตัวหลวงปู่โต๊ะมาก และราคาพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะตั้งแต่ในอดีตก็ค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่ขึ้นพรวดพราด จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงราคาอยู่ ไม่ตกลง ยิ่งถ้าในสภาพสวยๆ ก็หายาก ไม่ค่อยมีคนปล่อยให้เช่าบูชา

พระผงปิดตาของหลวงปู่โต๊ะก็นิยมกันทุกรุ่น ทุกพิมพ์ สนนราคาก็แล้วแต่ความนิยมและความสวยเป็นหลัก พระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะรุ่น ปิดตาเงินล้าน ที่สร้างในปี พ.ศ.2521 ขณะนี้ไม่ค่อยได้เห็นตามศูนย์พระเลย โดยเฉพาะพระสวยๆ หายไปหมดหาเช่าไม่ได้เลยในปัจจุบัน สอบถามตามศูนย์พระที่เล่าหาพระหลวงปู่โต๊ะ ต่างก็บอกว่าไม่รู้หายไปไหนหมด คนเก็บกันเงียบเลย

พระปิดตาเงินล้านของหลวงปู่โต๊ะ สร้างในปี พ.ศ.2521 มีแบบตะกรุดเดี่ยว เนื้อผงเกสร 4,500 องค์ เนื้อผงใบลาน 3,000 องค์ แบบตะกรุดคู่ เนื้อผงเกสร 300 องค์ เนื้อผงใบลาน 700 องค์ และมีพิเศษแบบตะกรุด 3 ดอก เนื้อผงใบลานให้เฉพาะกรรมการ 5 องค์ พระปิดตาเงินล้าน ด้านหลังจะเป็นยันต์ตรีทุกองค์ บางองค์จะเห็นเส้นเกศาของหลวงปู่โต๊ะ

พระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะเป็นพระเครื่องที่นิยมกันมาก ต่างก็จะหวงแหนและหาเก็บกันเงียบๆ จนปัจจุบันพระสวยๆ บางพิมพ์แทบหากันไม่ค่อยได้ เป็นพระเครื่องที่ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพื่อนผมคนหนึ่งเขาได้ไปค้ำประกันให้ญาติ ต่อมาญาติเขาถูกฟ้องล้มละลาย ตัวเขาเองกลับต้องถูกฟ้องไปด้วย และถึงขั้นกำลังถูกบังคับคดี มูลหนี้หลายสิบล้านทีเดียว เขาก็มาหาผมนำพระเครื่องต่างๆ ที่มีมาให้ผมช่วยออกให้ เพื่อนำเงินไปผ่อนชำระให้กับธนาคาร และเพื่อนผมคนนี้เขาก็ไม่ค่อยรู้เรื่องพระ แต่ก็มีพระที่คุณพ่อเขาให้ไว้ ผมเหลือบไปเห็นพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะ จึงบอกว่าพระองค์นี้เก็บไว้และให้ไปเลี่ยมห้อยคอ เป็นพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะ และเมื่อวันไปขึ้นศาลก็ให้อาราธนาบอกหลวงปู่ และขอให้เจ้าหนี้ยอมประนอมหนี้เพื่อผ่อนชำระ ต่อมาเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าเจ้าหนี้กลับยอมประนอมหนี้และก็ให้ผ่อนมาเรื่อยๆ จนหมดหนี้แล้ว ทุกวันนี้เพื่อนผมห้อยพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะองค์เดียวตลอด

เรื่องราวของเพื่อนผมนี้เป็นเรื่องจริงที่ผมพบเห็นมาด้วยตัวเอง ที่แนะนำเพื่อนไปก็เพราะเคยได้ยินเรื่องราวทำนองนี้มาก่อน แต่ก็ไม่นึกว่าจะได้แนะนำช่วยเพื่อนผมได้ แต่ที่เพื่อนผมหมดหนี้หมดสินได้นั้นก็เนื่องจากหนี้ที่เขาไม่ได้ทำ และเขาก็เป็นคนดี ทำมาหากินสุจริต และด้วยบารมีของหลวงปู่โต๊ะได้ช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบา และเห็นช่องทางในการผ่อนชำระจนหมดหนี้หมดสินครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตารุ่นเงินล้าน และรุ่นปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11606324381298_1462184841_1_20_3614_3619_3632.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/58551320557792_1462184864_2.2_20_3614_3636_36.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52815578050083_2.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/92561848916941_3.jpg)

พระปิดตาของหลวงปู่เจียม วัดกำแพง

พระครูชลโธปมคุณมุนี หรือ หลวงปู่เจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง จ.ชลบุรี พระเกจิผู้ทรงคุณบารมียิ่งใหญ่รูปหนึ่งแห่งเมืองชลบุรี ได้รับการยกย่องสูงสุดจากคณะสงฆ์ทั้งจังหวัด และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

วัตถุมงคลของท่าน โดยเฉพาะ "พระปิดตา" นับเป็นวัตถุมงคลที่มีพุทธศิลป์งดงาม เป็น "เพชรน้ำเอกแห่งสุดยอดพระปิดตาภควัมปติ" หนึ่งในสุดยอดพระปิดตาเมืองชลบุรี หรือที่ขนานนามกันว่า "ห้าเสือเมืองชล" อันประกอบด้วย พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงปู่ภู่ วัดนอก, หลวงพ่อโต วัดเนิน, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง และหลวงพ่อครีพ วัดสมถะ ซึ่งในปัจจุบันนับว่าหายากยิ่งทุกองค์

ในสมัยก่อน การจะสืบค้นประวัติของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ของเมืองชลนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีการจดบันทึกไว้ ต้องอาศัยการสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่สืบทอดและบอกต่อๆ กันมา สำหรับหลวงปู่เจียมนั้น ทราบมาว่าท่านเป็นชาวชลบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2398 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏหลักฐานเป็นบัญชีตรวจการคณะสงฆ์ในแขวงเมืองชลบุรี ปี ร.ศ.118 ระบุนาม "เจ้าอธิการเจียม" พรรษา 22 อายุ 44 เป็นอุปัชฌาย์ วัดกำแพง และในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ร.ศ.126 บรรจุพระนามพระสงฆ์ที่ได้รับตำแหน่งสมณ ศักดิ์ให้ พระครูเจียม วัดกำแพง เป็น "พระครูชลโธปมคุณมุนี" ที่สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะใหญ่ เมืองชลบุรี ในปี พ.ศ.2449

หลวงปู่เจียมนับเป็นพระเกจิผู้มีอิทธิบารมีและคุณวิเศษเป็นที่ร่ำลือ ยังได้อนุเคราะห์ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ นอกจากนี้ยังนับเป็นเสาหลักแห่งคณะสงฆ์เมืองชลมาอย่างยาวนาน ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2454 สิริอายุ 56 ปี 34 พรรษา

วัตถุมงคลที่หลวงปู่เจียมสร้างมีหลายประเภท แต่ที่ขึ้นชื่อลือชา คือ พระปิดตา ที่ทำจากเนื้อผงที่เป็นสูตรเฉพาะของท่านเอง มีอาทิ ผงพุทธคุณ ผสมเกสรดอกไม้ ว่าน ฯลฯ จัดสร้างด้วยความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ารวมกัน แล้วกรองเพื่อให้ได้เนื้อมวลสารที่ละเอียดและบริสุทธิ์ เนื้อขององค์พระจึงละเอียดแน่น มีสีออกน้ำตาลอมเหลือง จัดสร้างเป็นเนื้อผงคลุกรัก และเนื้อผงทารัก

หลวงปู่เจียมสร้างพระปิดตาไว้หลายแบบหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมทั้งสิ้น โดยแต่ละพิมพ์จะมีจำนวน การสร้างไม่มากนัก ด้วยข้อจำกัดในการสร้างที่ละเอียดอ่อนและพิถีพิถันของท่าน ทั้งการผสมเนื้อหามวลสาร รวมถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับฤกษ์พานาทีที่เป็นมงคล ต้องสมบูรณ์ตามพิกัดเวลา ทั้งฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง-ฤกษ์การบรรจุอิทธิคุณนั่นเอง
 
กระบวนการผลิตพระปิดตาของหลวงปู่เจียม จะมีแม่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว ส่วนด้านหลังจะประทับด้วย "ยันต์" ซึ่งมีลักษณะ ใกล้เคียงกับยันต์ที่ใช้ในพระปิดตาหลวงพ่อภู่ วัดนอก ก็คือ ยันต์ "อุใหญ่" ซึ่งลักษณะเป็น "อุขึ้น-อุลง" ที่เรียกกันว่า "อุชี้ฟ้าชี้ดิน" นอกจากนี้ยังมี ยันต์ "อุเล็ก" ประทับด้วย โดยสามารถจำแนกพิมพ์ได้ดังนี้

1.พิมพ์ปิดตามหาอุตม์ (พิมพ์ปิดตาโยงก้น) เป็นพระปิดตาในลักษณะปิดทวารทั้ง 9 คือ นอกจากยกพระหัตถ์ขึ้นไปปิดพระพักตร์แล้ว ยังมีอีก 2 พระหัตถ์ ขึ้นไปปิดกรรณทั้ง 2 ข้าง และอีก 2 พระหัตถ์ ล้วงลงไปปิดทวารด้านล่าง มีทั้ง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ด้านหลังเป็นแบบหลังยันต์ มีทั้งหลังยันต์อุใหญ่ และหลังยันต์อุเล็ก บางองค์มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ซึ่งหาได้ยากมาก
2.พิมพ์ปิดตา 2 มือ มีลักษณะคล้าย พระปิดตาของหลวงปู่ภู่ วัดนอก ในวงการจึงเรียก "พิมพ์เจียมภู่"
3.พิมพ์ปิดตา 2 หน้า ด้านหนึ่งจะเป็นพิมพ์ปิดตามหาอุตม์ หลวงปู่เจียม ส่วนอีกด้านจะคล้ายพิมพ์พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ วงการพระจึงเรียกกันว่า "พิมพ์แก้วเจียม"

พระปิดตาของหลวงปู่เจียมนั้น นอกจากพุทธศิลปะและเนื้อหามวลสารที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ด้านพุทธคุณยัง เป็นเอกเป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา ทั้งเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ครบเครื่องครบครัน ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยจำนวนพระที่สร้างน้อยดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีการทำเทียมเลียนแบบมาตั้งแต่อดีต

สิ่งที่ต้องจดจำ คือ "พระปิดตาของหลวงปู่เจียม" ทุกองค์ ยกเว้น "พิมพ์ปิดตา 2 หน้า" จะต้องมียันต์ประทับด้านหลัง อันนับเอกลักษณ์สำคัญในการพิจารณา นอกจากนี้ด้านข้างขององค์พระจะเป็นการตัดพิมพ์ในลักษณะของ "มุมฉาก" คือ มุมตัดเป็นเหลี่ยมแทบทุกองค์

แต่อย่างไรก็ดี การจะเช่าหาควรใช้ วิจารณญาณ หรือหากูรูผู้เชี่ยวชาญและจริงใจเป็น "ตัวช่วย" ในการตัดสินใจครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41942764611707_view_resizing_images_2_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/69854285361038_view_resizing_images_1_.jpg)

พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร

พระกริ่งไพรีพินาศ หนึ่งในพระกริ่งยอดนิยมของวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่จำลองแบบพิมพ์มาจาก พระบูชาไพรีพินาศŽ องค์ต้นแบบ ที่มีผู้นำมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ นับที่เป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องมาแต่อดีต ปัจจุบันมีค่านิยมสูงและหาดูหาเช่ายากยิ่ง

ในโอกาสที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุถวายเป็นพระราชกุศล มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมา เพื่อเป็นทีฆายุมหามงคลแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และจัดสร้างพระบูชาและพระเครื่องนามว่า พระไพรีพินาศŽ อันเป็นพระเครื่องพระบูชาที่จะเป็นเครื่องเตือนสติให้บุคคลพึงกำจัดกิเลส ความหลง อันเป็นไพรีภายในใจตนเอง ประกอบด้วย พระบูชา พระเครื่อง เหรียญ ฯลฯ รวมทั้ง พระกริ่งไพรีพินาศŽ แต่พิธีการสร้างได้ดำเนินการมาถึงปีพ.ศ.2496

สำหรับพระกริ่งไพรีพินาศ นั้น จะมีพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กล่าวคือ เนื้อโลหะที่สร้างพระกริ่ง เป็นเนื้อทองเหลืองที่มีลักษณะพิเศษคือ สีสันของเนื้อทองเหลือง แม้ตกมาถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นสีเหลืองสดใสที่อมเขียวอย่างเจือจางเล็กน้อย เพียงพื้นผิวจะคล้ำลงบ้างเท่านั้นเนื่องจากอายุการสร้างที่ยาวนาน

นอกจากนี้กรรมวิธีการสร้างยังจัดสร้างตามแบบตำนานพระกริ่งŽ ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพุทธศิลปะการเทแบบโบราณ ไม่มีการแต่งผิวหรือแต่งองค์พระ หรือที่เรียกว่าหล่อโบราณŽ คือ หลังจากได้เป็นองค์พระกริ่งที่ฉีดเทียนเรียบร้อยแล้ว นำเทียนพระกริ่งมาแนบติดกับก้านชนวนเทียนพระกริ่ง ซึ่งเป็นก้านยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ติดก้านพระกริ่งได้ประมาณ 20-30 องค์ เมื่อตากก้านหล่อเทียนของพระกริ่งจนแห้งเรียบร้อยต้องนำมาพอกด้วยดินขี้วัวŽ อันเป็นสูตรสำคัญ หรือโบราณเรียกว่า ดินไทยŽ พอกให้หนา จากนั้นดามด้วยเหล็กให้แข็งแรง เสร็จแล้วพอกด้วยดินขี้วัวอีกครั้งให้มีความหนาโดยรอบพระกริ่งประมาณไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว นำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท รอกรรมวิธีการหล่อโลหะอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เอกลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผิวขององค์พระจะปรากฏดินขี้วัวจับอยู่ ซึ่งจะไม่หนาเป็นปึก และจับอยู่ในรูพรุนละเอียดทั้งองค์พระ โดยสีของดินขี้วัวจะเป็นสีเขียวอมดำเข้ม

พระกริ่งไพรีพินาศมีทั้งหมด 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม และพิมพ์ฐานบัวแหลม ซึ่งมีพุทธลักษณะที่เหมือนกันคือ จะมีขนาดเท่ากันทุกองค์ ลักษณะการถอดหุ่นเทียนด้านข้างโดยรอบซึ่งเกิดจากการประกบพิมพ์จะเป็นตะเข็บให้เห็นคมชัด นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นพระกริ่งแบบเทตันแล้วนำมาเจาะอุดเม็ดกริ่งที่ใต้ฐาน ที่ก้นของพระกริ่งจะเป็นรอยตะไบและรอยเสี้ยนอันเกิดจากร่องรอยของการตะไบให้เรียบหลังจากการอุดก้นหลังใส่เม็ดพระกริ่งลงไป อันนับเป็นตำหนิสำคัญ ของการดูพระแท้อีกประการหนึ่ง

- เม็ดพระศกด้านหน้าเป็นเม็ดกลมโต มี 9 เม็ด
- พระเนตรจะมีเม็ดตาดำรูปกลมแบน ค่อนข้างนูนต่ำ
- พระหัตถ์ข้างขวาหงายขึ้น
- ฐานด้านหลังด้านล่างเป็นตัวหนังสือบุ๋ม ไพรีพินาศ ซึ่งติดคมชัดเจน
- สัณฐานขององค์พระด้านขวาจะยกสูง ด้านซ้ายทรุดต่ำลงเล็กน้อย

ส่วนความแตกต่างของพระกริ่งไพรีพินาศทั้ง 2 พิมพ์จะอยู่ที่ฐานบัวŽ ตามชื่อของพิมพ์ คือ บัวเหลี่ยม และบัวแหลม นอกจากนี้เกสรบัวของพิมพ์บัวแหลมจะค่อนข้างชัดกว่า และเม็ดพระศกด้านหลังของพิมพ์บัวเหลี่ยมจะเป็นเม็ดกลมโตเหมือนด้านหน้า  แต่พิมพ์บัวแหลม จะไม่ติดเป็นเม็ดกลมครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41062085164917_1.jpg)
พระปิดตา เนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดราชบุรีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่หลายท่าน มีที่ท่านสร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัดไว้ และมีประสบการณ์สูง ปัจจุบันหาชมยากเช่นกันครับ ท่านก็คือพระครูธรรมาภินันท์ (ปล้อง สุลีโล)

หลวงพ่อปล้องเป็นชาว ต.ท่าราบ อ.เมืองราชบุรี โยมบิดาชื่อแพง โยมมารดาชื่อหุ่น เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 วัยเด็กได้เรียนหนังสือที่วัดบางลี่ ต.โคกหม้อ อยู่หลายปี แล้วได้ย้ายไปอยู่กับพระยอด น้าชายที่วัดกันมาตุยาราม กทม. จนอายุได้ 18 ปี จึงกลับมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุรชายาราม 1 พรรษา แล้วจึงลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำนาจนอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2439 ที่วัดสุรชายาราม โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตร) วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยา วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเกิด วัดท่าโขลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ได้ศึกษาบาลีกับพระวินัยธร (เบี้ยว) วัดท่าโขลง จนมีความรู้แปลหนังสือได้

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2448 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมาภินันท์ หลวงพ่อปล้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน หลวงพ่อปล้องได้สร้างวัตถุมงคลเป็นพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด มีอยู่สองแบบคือ เป็นแบบพระปิดตากับพระกลีบบัว เป็นการสร้างในปี พ.ศ.2471 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในการสร้างศาลาการเปรียญ และมีชื่อเสียงโด่งดังในครั้งสงครามอินโดจีน

เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จากนั้นก็มีผู้คนและทหารเข้าขอพระเครื่องจากหลวงพ่อมากมาย พระเครื่องได้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ทางวัดได้จัดสร้างเพิ่มก็สร้างไม่ทัน ต้องทำผ้าประเจียดพิมพ์เป็นรูปพระปิดตาแล้วทำพิธีปลุกเสกแทน พระเครื่องทั้งหมดของหลวงพ่อปล้องแจกฟรี หลวงพ่อปล้องมรณภาพ ด้วยโรคอัมพาตในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2484 เวลา 10.35 น. สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 45

พระปิดตาของหลวงพ่อปล้องมีทั้งแบบลอยองค์และแบบพิมพ์ครึ่งซีก ที่เรียกว่าพิมพ์จั๊กจั่นและพระพิมพ์กลีบบัว เนื้อเมฆพัด ที่องค์พระหรือด้านหลังมักจะมีรอยจารด้วยลายมือหลวงพ่อปล้องแทบทุกองค์ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้องมาให้ชมครับ

แทน ท่าพระจันทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30832353565427_2.jpg)
พระกริ่งสวนเต่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับท่านที่ชื่นชอบพระกริ่งพระชัยวัฒน์นั้น มีพระกริ่งเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ประวัติความเป็นมายังไม่ชัดเจนนัก คือ พระกริ่งสวนเต่า มีการสืบค้นกันมานานแล้ว ก็มีความเห็นแตกต่างกันไป แต่พระกริ่งสวนเต่านั้นเป็นพระเก่าแน่นอน มีความสวยงามและนิยมกันมากสนนราคาก็สูงพอสมควรครับ

ทำไมพระกริ่งเก่าที่ไม่มีประวัติชัดเจนนักจึงมีความนิยม เท่าที่เคยได้รับฟังมาก็มีการเล่นหาสะสมกันมานานมาก ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายเลยทีเดียว ศิลปะของพระกริ่งสวนเต่านั้นนับว่าสวยงาม มีการตบแต่งสวยมาแต่เดิม เท่าที่สังเกตดูแต่ละองค์จะมีพิมพ์ไม่ค่อยเหมือนกันนัก อย่างที่เรียกว่าปั้นหุ่นเทียนทีละองค์

เนื้อของพระกริ่งสวนเต่าก็เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวกลับ สีน้ำตาลอมดำสวยงาม พระพักตร์เป็นแบบศิลปะไทย มีขอบไรพระศกทุกองค์ พระเกศเป็นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น ส่วนพระหัตถ์นั้นมีแบบต่างๆ มากมายไม่ซ้ำแบบกัน บางองค์ทรงถือดอกบัว บางองค์ทรงอุ้มบาตร หรือหอยสังข์ ส่วนมากที่เห็นจะขัดสมาธิเพชร และส่วนใหญ่มีประคำที่พระศอ ฝีมือช่างที่ปั้นหุ่นและตบแต่งเป็นช่างคนเดียวกัน

ด้วยศิลปะของพระกริ่งสวนเต่าที่สวยงาม จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง และการมีรายละเอียดที่ไม่ค่อยซ้ำกันเลย จึงคาดว่าคงมีจำนวนไม่มากนัก และพระแท้ๆ ก็ ไม่ค่อยพบเช่นกัน

มีการสันนิษฐานกันไปหลายทางในเรื่องของประวัติการสร้าง และใครคือผู้สร้างพระกริ่งสวนเต่า แต่ก็เรียกชื่อนี้กันมานานตั้งแต่โบราณ มีกระแสหนึ่งที่กล่าวไปในทางเดียวกันว่าพระกริ่งสวนเต่านี้สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำพิธีเททองหล่อในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ณ บริเวณสวนเต่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบว่าพระสงฆ์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสกบ้าง แต่ก็เชื่อกันมาแบบนี้ยาวนานแล้ว

ครับเรื่องประวัติที่ชัดเจนก็ยังไม่มีเอกสารยืนยันได้ แต่ฝีมือการสร้างที่สวยงาม เนื้อโลหะยอดเยี่ยมนี้ จึงเป็นพระกริ่งที่มีความสำคัญแน่นอนและน่าจะเป็นช่างหลวง เพียงแต่ยังเป็นความลึกลับอยู่จนถึงปัจจุบันในยุคหลังๆ ต่อมาก็มีบางวัดสร้างพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งสวนเต่าเช่นกัน แต่ศิลปะยังสู้กันไม่ได้ และกระแสเนื้อมักจะออกเป็นแบบทองเหลืองเสียเป็นส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าประวัติการสร้างยังไม่มีเอกสารยืนยันที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันและก็หาแท้ๆ ยากเสียด้วย ผู้ที่ครอบครองก็มักจะหวงแหนกันมาก และส่วนใหญ่ก็ได้รับมรดกตกทอดเสียเป็นส่วนใหญ่

พระอีกหลายๆ อย่างก็ยังไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนนัก ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้ามาก เนื่องจากเป็นพระเก่าและเป็นพระแท้แน่นอน เพียงแต่ประวัติที่ยังคลุมเครือว่าเป็นพระของวัดใดใครสร้าง และในสมัยโบราณก็ไม่ค่อยได้มีการบันทึกการสร้างเท่าใดนัก จึงเป็นเรื่องของนักนิยมพระเครื่องรุ่นต่อๆ มาต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งสวนเต่า มาให้ชมกันสัก 2 องค์ครับ

แทน ท่าพระจันทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41768724057409_view_resizing_images_1_.jpg)
พระกริ่งสวนเต่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง หรือพระไภษัชยคุรุ คือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่ได้รับการเคารพนับถือกันมากในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน (ฝ่ายเหนือ) ก่อนที่พระองค์จุติลงมาได้ตั้งปณิธานไว้อย่างแน่วแน่ที่จะโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งทางกายและทางใจ ตลอดจนบำบัดความเจ็บไข้ให้ปลาสนาการไปสิ้น ด้วยเหตุนี้พระกริ่งหรือพระไภษัชยคุรุ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสแก่พุทธศาสนิกชน

ในสมัยโบราณ พุทธศาสนาลัทธิมหายานนิยมสร้างพระไภษัชยคุรุขึ้นเป็นรูปเคารพขนาดใหญ่ไว้ประจำพระอุโบสถและวิหารในลักษณะพระบูชาขนาดใหญ่เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับนั่งมีทั้งแบบปางสมาธิและมารวิชัย มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ในอุ้งพระหัตถ์จะถือหม้อหรือบาตรน้ำมนต์เป็นพุทธบริโภค เมื่อพุทธศาสนิกชนผู้ประสงค์จะให้พระโพธิสัตว์พระไภษัชยคุรุทรงโปรดนั้นจะต้องเข้าไปเฉพาะพระพักตร์แล้วเคาะเกราะ สั่นกระดิ่ง เป่าสังข์หรือเป่าหลอดเพื่อให้พระองค์ทรงรับทราบเสียก่อน แล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานตามแต่จะปรารถนา เสร็จแล้วจึงนำเอาน้ำมนต์ไปทาหรือรับประทาน

สืบต่อมาท่านโบราณาจารย์ผู้ชาญฉลาดเห็นว่า พระไภษัชยคุรุส่วนใหญ่สร้างเป็นพระประธานประจำอยู่ในพระอุโบสถนั้นไม่สามารถที่จะพกติดตัวเดินทางไป ณ ต่างถิ่นต่างแดนทุรกันดาร ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่สามารถที่จะอาราธนาขอน้ำมนต์ได้ ท่านจึงได้จำลองรูปลักษณ์ในพระไภษัชยคุรุให้มีขนาดเล็กลง มีขนาดที่จะพกพาไปไหนได้อย่างสะดวกสบาย

อนึ่ง เกรา กระดิ่ง หลอดหรือสังข์เครื่องทำให้เกิดเสียงดังได้ยินไปถึงพระองค์ท่านนั้นเล่า ล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เป็นการยากที่จะนำติดตัวในการเดินทาง ท่านจึงได้บรรจงประดิษฐ์คิดแต่งให้เป็นเม็ดกริ่งบรรจุไว้ที่ใต้ฐานเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงกริ๊กๆ ทำนองเดียวกับการเลาะเกราะหรือสั่นกระดิ่ง ให้เกิดเสียงดังได้ยินไปถึงสรวงสวรรค์จึงจะเกิดความขลังประสิทธิ์

ด้วยปฐมเหตุดังกล่าวแล้ว จึงได้เกิดพระพุทธประติมากรรมองค์น้อย ประทับนั่งแบบลอยองค์ในอุ้งพระหัตถ์ถือหม้อหรือบาตรน้ำมนต์ ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุ และเหตุด้วยพระไภษัชยคุรุเวลายกขึ้นเขย่าจะเกิดเสียงดังกังวานด้วยเม็ดกริ่งที่บรรจุไว้ที่ใต้ฐานตามที่เรารู้จักกันในนามพระกริ่ง

สำหรับพระกริ่งที่สร้างในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ที่เราทราบและมีหลักฐานปรากฏ ก็คือพระกริ่งปวเรศ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ครองวัดบวรนิเวศ ได้ทรงสร้างไว้ และต่อมาก็สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นพระกริ่งที่นิยมกันมาก

ตำราการสร้างพระกริ่งของไทยนั้น มีการสันนิษฐานกัน 2 สาย บ้างว่ามาจากสายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ (เขมร) และอีกสายหนึ่งว่า สืบทอดมาจากตำราของสมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว สมัยอยุธยา และตกทอดสืบต่อกันมา

วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสวนเต่า ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องมาเนิ่นนาน เชื่อกันว่าเป็นพระกริ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทำพิธีหล่อ ณ ที่บริเวณสวนเต่าในพระบรมมหาราชวัง ว่ากันไว้อย่างนั้น มีหลายแบบหลายพิมพ์ เนื้อแบบสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวสีน้ำตาลอมดำ พระหัตถ์ทรงถือวัสดุหลายอย่าง เช่น อุ้มบาตรบ้าง ถือดอกบัวบ้าง หอยสังข์บ้าง สวมประคำบ้างไม่สวมบ้าง ไม่มีองค์ใดที่เหมือนกันเลย เข้าใจว่าเป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ ฝีมือการตกแต่งสวยงามประณีต ไม่มีรอยตะไบให้เห็น ผิวตึงเรียบเนียนทุกองค์ ปัจจุบันหาชมพระแท้ๆ ยาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 พฤษภาคม 2559 20:49:20
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11337261812554_1.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

หิ้งพระ ความหมายในกรอบคอลัมน์นี้ ก็คือพระเครื่อง องค์เล็ก องค์ใหญ่ ไม่ว่าเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อผง พระกริ่ง หรือรูปหล่อ ที่ปู่ย่าพ่อแม่ใส่พานวางบนหิ้ง

ลูกหลานไม่ค่อยรู้หรอกว่า พระอะไร...มีคุณ มีค่า แค่ไหน

พระเครื่องบางองค์..อย่างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์ในรูปนี้..เสียดายที่เห็นเป็นภาพขาว-ดำ จึงไม่เห็นผิวฝ้าขาวปรอทเกือบตลอดองค์..มีฝ้าแดงจากรักเก่าที่หลุดลอกไปแล้วเล็กน้อยเหลือให้เห็นจางๆ เป็นสีน้ำตาลอมแดง..ที่พระพักตร์ด้านขวา พระชานุ (เข่า) ซ้าย..

ผิวแป้งโรยพิมพ์ขาว ฝ้าแดง...เป็นทั้งหลักฐานในการดู เป็นทั้งเสน่ห์ดึงดูดใจคนเล่นพระสมเด็จเป็นทุกคน

นี่คือพระสมเด็จวัดระฆังแท้..มาตรฐาน ทั้งพิมพ์ทรง เส้นสายลายพิมพ์ เนื้อหา สภาพสมบูรณ์งดงาม องค์น้องใหม่ วางเทียบเคียงกับองค์ตำนาน อย่างองค์ “ครูเอื้อ สุนทรสนาน” ได้สบายๆ

พระปลอมฝีมือดี..วันนี้มีมาก 5 เซียน 8 เซียน ศูนย์พระเครื่องใหญ่ต้องช่วยกันส่อง กว่าจะซื้อกันได้สักองค์ แล้ว (มึง) เสี้ยน (เซียน) มาจากไหน

ขิงแก่ คนเดียว ตาเดียว ตาดียังไง..ยังไม่พอ เพื่อสร้างความมั่นใจ ขออนุญาตอ้างชื่อ วิวัฒน์ อุดมกัลยารักษ์ ชื่อนี้คนในวงการรู้จักดี ..เป็นประกัน

นี่คือพระสมเด็จวัดระฆังหน้าใหม่ ไม่เคยโผล่หน้าในหนังสือเล่มไหน..เจ้าของรวยมากแล้วก็หวงมาก ได้แค่ภาพมาดูก็ต้องตื๊อกันแทบแย่

จึงอย่าไปเซ้าซี้ ซื้อเข้าเท่าไหร่ หรือจะออกเท่าไหร่..คนรวยซะอย่าง ถามยังไงไม่ตอบ ก็ต่อว่าท่านไม่ได้

คุยกันเรื่องปาฏิหาริย์ พระสมเด็จวัดระฆังในคอ..นักการเมืองดัง ผู้ได้ชื่อว่ามีพระดังๆ แพงสุด สวยสุดๆ วันที่ถูกม็อบการเมืองล้อมกรอบรุมกระหน่ำในกำแพงกระทรวง..รถยนต์หรูคันนั้นใกล้พัง ส่วนคนนั่งฉวดเฉียด เป็น-ตาย

ยกมือกุมพระสมเด็จฯ ขอ“คุณพระช่วย” ไม่น่าเชื่อ ทันทีนั้น คุณพระก็ช่วย มือไม้ที่โหมกระหน่ำหยุดกึก เหมือนมีประกาศิตจากฟากฟ้า

เชื่อกันแต่โบร่ำโบราณ พระสมเด็จนั้น เรื่องอยู่ยงคงกระพัน..เชื่อนักไม่ได้ แต่มั่นใจได้แน่ๆ คือเรื่องแคล้วคลาด

ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มพระสมเด็จฯ ตรียัมปวาย เล่าไว้หลายเรื่อง

ง้างไกปืน เปิดมุ้ง จ่อยิง...เฮ้ย...ไหง เจ้าคู่แค้นที่ตั้งใจจะยิงมันให้ตาย กลายเป็นหลวงตาแก่ๆไปได้

เชื่อกันอย่างนี้ เมื่อเอาไปรวมกับรูปลักษณ์ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบกรีก สัดส่วน 2 คูณ 3 นี่คือการปฏิวัติด้านศิลปะ

มวลสาร ตั้งแต่ปูน ผง ผสมน้ำมันตังอิ้ว แห้งแล้วตกผลึกแข็งแกร่ง..ใช้สึกช้ำพอควร นุ่มหนึก เงาสว่างกระจ่างยังกะน้ำเพชร นี่ก็..ปฏิวัติด้านมวลสาร

โบราณไม่เคยสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมไม่เคยสร้างพระเนื้อผง พระสมเด็จทุกพิมพ์ทรงจึงเป็นงานศิลปะแบบใหม่

เส้นสายลายพิมพ์ ฝีมือช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียระไน ส่อเค้าศิลปะรัตนโกสินทร์ยุคกลาง ได้อิทธิพลซุ้มโกธิคศิลปะฝรั่ง ..พลิกมองมุมไหน ด้านหน้าพิมพ์ทรง ถูกต้อง ริ้วรอยธรรมชาติ..หลังก็เข้มข้น ลงตัว

อายุการสร้าง ตัวเลขกลมๆ 150 ปี..เข้าเกณฑ์วัตถุโบราณ ของสวย ของเก่า ของดี แถมเป็นของขลัง

บวก “คุณ” แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หลายๆ “คุณ” ไว้ด้วยกันจึงกลายเป็น “ค่า”

สมเด็จวัดระฆัง..เฉลี่ยทุกองค์น้ำหนัก 5-8 กรัม ทอง 2 สลึง (7.5 กรัม) ตอนนี้ราว 1 หมื่น เอาเงินหมื่นไปซื้อ เศษพระสมเด็จแกะองค์เท่านิ้วก้อย..ก็ยังไม่มีทางได้ สมเด็จแกะองค์สวยๆ ซื้อกันเป็นแสนไปตั้งนานแล้ว

งานประมูลเพื่อการกุศล ที่โรงแรมใหญ่แถวซอยรางน้ำ..เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ราคาไล่เลี่ย พระกริ่งปวเรศ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว..เศรษฐีเขาฝากชื่อลือลั่นในสยาม แย่งประมูลกันไปองค์ละกว่า 30 ล้าน

ราคาขนาดนี้! ถ้าไม่เรียกว่าปาฏิหาริย์ แล้วจะให้เรียกอะไรกันเล่า!

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45576978516247_2.jpg)
ปริศนา? หลังพระสมเด็จร้อยล้าน

วันนี้ ลองมาเริ่มทดสอบวิชา...ดูพระสมเด็จวัดระฆัง...เพื่อประเมินว่าสายตา...ระดับไหน...เห็นด้านหลังพระสมเด็จ...สององค์ในภาพแล้ว จึงยังไม่ขอบอก พิมพ์อะไร

แวดวงชั้นเซียน เขาคุยกันมานาน...ดูด้านหลังไม่ต้องดูด้านหน้า ก็จะรู้ว่าพิมพ์ไหน รู้เก๊รู้แท้

หลักความรู้พื้นฐาน “ตรียัมปวาย” ว่าด้านหลังพระสมเด็จทั้งวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม เอ้า! แถมพิมพ์ปรกโพธิ์ อีกเป็น 5...พอแยกออกได้หลายๆแบบรูพรุนปลายเข็ม รอยปูไต่ รอยหนอนด้น สังขยา ตะไคร่น้ำ กระดาน กาบหมาก...และหลังสุดท้าย “ริ้วระแหง”

หลังแบบสุดท้าย...อาจารย์ตรียัมปวายไม่จัดไว้ คือหลัง “เรียบ” ใครที่ถือพระสมเด็จวัดระฆัง ดูด้านหน้าว่าแท้...แต่หลังเรียบ...เรียบแบนไปทั้งแผ่นหลัง หาริ้วรอย สัญลักษณ์อะไรไม่ได้ ท่านก็ให้ความหวังว่า...“มี”

ว่ากันโดยหลักธรรมชาติของพระ...ในพื้นที่เต็มร้อยของด้านหลัง นอกจากริ้วรอยสัญลักษณ์ยังมีพื้นที่ว่างที่เห็นกับตาว่า “เรียบ” สัดส่วนหลายเปอร์เซ็นต์

ดูภาพหลังพระ แล้วหลับตาจินตนาการตาม...หลังกาบหมาก หลังสังขยา ฯลฯ เป็นไง! พอเห็นเค้าลาง...แล้วก็อย่าเผลอไปยึด จะต้องเป็นเช่นนั้น...ด้านหลังพระสมเด็จองค์เดียว รวมสัญลักษณ์ไว้ด้วยกันหลายประการ...

องค์หนึ่งในภาพ เป็นองค์ครู นักเลงพระสมเด็จคุ้นตา ริ้วรอยยุบแยกย่น...ค่อนละเอียด บางส่วนคล้ายกาบหมาก ถ้าเป็นเส้นขวาง-กว้าง กว่า คล้ายหลังกระดาน บางพื้นที่เล็ก ดูๆ ไปเหมือนรอยย่นตะไคร่น้ำ

หลักเซียนเท้า...วิโรจน์ ใบประเสริฐ ในหนังสือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังโฆสิตาราม ด้านหลังมี 6 แบบ (เล่มนี้ เพื่อนสีกาอ่างพิมพ์ มีภาพหน้า-หลังพิมพ์ใหญ่ 143 องค์ หักภาพซ้ำ 3 องค์ เหลือ 140 องค์)

1.รอยเส้นปาดเนื้อด้านหลัง
2.ขอบพระทั้งสี่ด้าน ระดับสูงกว่าพื้นที่เนื้อพระกลางองค์
3. รอยปริที่เรียกว่า “รอยปูไต่” ปรากฏริมขององค์พระไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง

(รอยปูไต่ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เคยคุยให้ฟัง พระสมเด็จวัดระฆังตัดจากด้านหลังไป-หน้า แรงดึง-หน่วงของมีคมที่ตัดลง...ต่อมาเมื่อพระแห้งตกผลึก ส่งผลให้เกิดรอยลั่นร้าว”

4.รอยพรุนคล้ายปลายเข็มจิ้ม เกิดจากการหลุดร่วงของเม็ดมวลสาร
5.ร่องรอยการหลุดของเนื้อพระที่เกิดจากการตัดขอบพิมพ์ และ
6.รอยยุบ เหี่ยวย่น ที่เกิดจากอายุความเก่า

อ่านคำอธิบายเซียนเท้า เหลือบดูภาพด้านหลังพระองค์ครูหลายๆองค์ไปด้วย ดูให้คุ้นตา...

แม้ด้านหลังของเก๊ ตอนนี้เขาทำดีแค่ไหนก็ยังพอแยกออกได้

ด้านหลังพระเก๊...ส่วนใหญ่ ชัด กระด้างตา... ช่วยลดเวลาส่องเห็นปั๊บก็วางได้เลย

พอมีหลักวิชา...ดูหลังพระสมเด็จวัดระฆังกันบ้าง...คราวนี้ ก็ขอเฉลยว่ากันโดยขนาด และการตัดกรอบ...พระสององค์เป็น “พิมพ์ใหญ่” องค์หนึ่ง คือหลังองค์ “ครูเอื้อ” จะดูให้เป็นกาบหมากหรือสังขยา ตะไคร่น้ำ ก็เป็นได้

องค์ต่อมา องค์ “น้องใหม่” ตอนนี้อยู่ในรังเศรษฐี...รอยยุบ แยก ย่น เข้าเกณฑ์สากล...นักเลงพระใช้คำว่า ดูง่าย

ความจริงเชิงประจักษ์อีกข้อ...ด้านหลังสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การสร้าง ผ่านกาลเวลา ในสภาพแวดล้อมต่างๆ... มายาวนานถึง 150 ปี...ดูผิวเผินคล้ายกัน ดูกันจริงๆ ไม่มีองค์ไหนเหมือนกันสักองค์เดียว

หลังพระที่ต้องโฉลก ที่มีสัญลักษณ์ กาบหมาก สังขยา ตะไคร่น้ำ “ตรียัมปวาย” กระซิบว่า...มีน้อยนัก

เห็นกับตาด้านหน้า พิมพ์ทรง เนื้อหาไล่เลี่ยกัน แต่ด้านหลังไม่เหมือนกัน ราคาเปลี่ยนมือจึงต่างกัน องค์หนึ่งภาษาเศรษฐีคุยกัน ตั้งแต่ 30 ล้านขึ้นไป เช่น ทรงเจดีย์ องค์เจ๊แจ๋ว ผมเคยถาม เฮียหนึง ปรีดา ได้ข่าวว่าเฮียประเมินไว้ 50 ล้าน

เฮียส่ายหน้า...บอกเสียงหนักแน่นว่า น่าจะซักร้อยล้าน

ทรงเจดีย์องค์นี้แหละครับ ที่ขอบด้านหลัง...ปรากฏรอยลั่นร้าว...เป็นต้นแบบทฤษฎีอาจารย์รังสรรค์...อาจารย์วางทฤษฎีนี้ได้ เพราะเคยเป็นเจ้าขององค์นี้เป็นนาน นับแต่เปลี่ยนมือ มาจากเจ๊แจ๋ว เจ้าของเดิม.

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83711220034294_3.jpg)
สมเด็จองค์มีหน้ามีตา

ภาพด้านหน้าพระสมเด็จองค์นี้ แม่พิมพ์คุ้นตา เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ นิยม...นึกถึงทรงเจดีย์วัดระฆัง องค์ที่สวยที่สุด...องค์เจ๊แจ๋ว เส้นอังสา สังฆาฏิ เส้นชายจีวรคมกริบในช่องรักแร้ และเส้นแบ่งท่อนพระบาท...ลึกชัดเอาไว้

ทรงเจดีย์องค์นี้ คราบผิวฝ้า...ชี้ว่า บางขุนพรหมกรุเก่า มองเผินๆ เส้นสายลายพิมพ์ ไม่มีอะไรสวยเลยแผ่นพระอุระ ส่วนพระบาทก็ยุบ... พร่อง เส้นซุ้มด้านบนก็ขาด...

ส่วนสะดุดตาจนต้องนิมนต์มาเป็นองค์ศึกษา...อยู่ที่ส่วนหน้า หูสองข้างคมชัด...พระเกศชัดเห็นเค้าบัวตูม สองส่วนนี้ทรงเจดีย์หลายองค์มี...แต่ส่วนที่ยังไม่มี...ก็คือ เครื่องหน้า ตั้งแต่คิ้ว ตา จมูก ปาก นูนชัด...

เอาล่ะซี พระสมเด็จมีหน้ามีตา...มีหรือ...ถ้าพระแท้ยังไม่มี แล้วเก๊ฝีมือใคร?

นี่คือ...เรื่องที่อยากตั้งวงคุยกันวันนี้...คือ เรื่องแม่พิมพ์

พระสมเด็จทั้งวัดระฆัง ทั้งบางขุนพรหม... 9 แม่พิมพ์ อย่างพิมพ์ใหญ่ เซียนสอนให้ดูด้าน ข้างกรอบหน้าองค์ที่หูติดสองข้างเต็ม พอมีให้เห็น แต่หลายองค์ ติดแต่เส้นนูนรางๆ พอเป็นเค้าหูเดิม

เมื่อเอาไปรวมกับองค์ที่หูติดชัด เป็นที่มาของพิมพ์ฐานแซม...พิมพ์นี้นอกจากหูติดเต็มสองข้าง ฐานแซมยังติดค่อนข้างชัด...สองชั้นเหมือนพิมพ์เกศบัวตูม ย้อนไปนึกถึงเกศบัวตูม วัดระฆัง...องค์คุณมนตรี เส้นอังสา สังฆาฏิ คมชัด...

รวมเส้นสายที่ติดชัด จากพิมพ์นั้นพิมพ์นี้เข้าด้วยกัน ทำให้ชวนคิดว่าแม่พิมพ์สภาพเดิมๆ ของพระสมเด็จทุกพิมพ์...หลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างหลวง...สมัยร.5 ท่านตั้งใจแกะไว้สุดฝีมือ สวย-ชัด-คม...พูดภาษาชาวบ้าน มีหน้ามีตาทุกองค์

แล้วเหตุใด...พระสมเด็จร้อยละ 99 จึงไม่มีหน้ามีตา

คำตอบเหมือนกันในใจ...ตอนพิมพ์พระเนื้อยังเปียก...ติดชัด แต่ตอนแห้ง...ยุบหาย...ยุบน้อย ก็พอเห็นเค้าเส้นสาย ยุบมากก็หายไปเลย

ผมมีประสบการณ์เรื่องนี้เฉพาะตัว...ราวๆปี 2519 ถือทรงเจดีย์วัดระฆัง...หักกลางอก...สภาพช้ำองค์หนึ่ง...เอาไปซ่อมที่วัดราชนัดดา พระเนื้อช้ำ ช่างซ่อมแล้วขัดตา ต้องเกลาทิ้งหาวิธีซ่อมใหม่

คุณพรชัย พึ่งพระพุทธ ช่างสีหมู่บ้าน แนะให้เปลี่ยนวัสดุซ่อม จากผงทำฟันกับน้ำยา...ที่ซื้อจากร้านเครื่องมือทันตแพทย์...มาเป็นผงผสมกับน้ำมันตังอิ้ว

น้ำมันตังอิ้ว...เหนียวมาก ยืดหยุ่นมาก...ปาด ลาก เกลี่ย กับเนื้อพระจริง ได้เนียน...สนิทตา สีก็กลมกลืน จนน่าปลื้มใจ

ตังอิ้ว แห้งช้า...ช้ามากๆ เวลาผ่านไปครึ่งถึงหนึ่งปี...เนื้อส่วนที่อุดซ่อม...ก็ยุบตัว...มองเห็นเป็นสัน...ชัดเจน...

การยุบตัว เส้นสายลายพิมพ์ชัดๆ รวมทั้ง หู หน้าตาพระสมเด็จทุกองค์ หายไปเพราะความจริงข้อนี้เอง

ความจริง ภาพพระสมเด็จ องค์มีหูมีตา... มีให้เห็นแล้วก็หลายองค์

องค์แรก เกศบัวตูมวัดระฆัง...พิมพ์ฐานสิงห์แคบ (พิมพ์เดียวกับองค์คุณมนตรี) หู ตา จมูก ปาก โปนชัด ...องค์นี้เห็นกันมานาน พิมพ์ซ้ำในหนังสือหลายเล่ม... แต่ขนบในวงการพระ ไม่มีใครเชียร์พระสวยให้ใคร...คนวงนอก จึงไม่ค่อยได้รู้

องค์ต่อๆมา พิมพ์สังฆาฏิองค์หนึ่ง อีกองค์ “คนชอบพระสวย” เขียนไว้ในนิตยสาร อนุรักษ์...พิมพ์เกศบัวตูม (ฐานสิงห์กว้าง) หน้าตาคมชัด...ถึงขนาดเรียก “องค์ยักคิ้วหลิ่วตา”

องค์นี้นายตำรวจ ที่รับหน้าที่อารักขาตอนเปิดกรุสมเด็จวัดใหม่อมตรส ปี 2500 เล็งไว้ตอนแยก-คัดพระ...เมื่ออยู่ในคิวได้ “พระของขวัญ” ก็ขอเลือกเอาไว้ พระสมเด็จที่มีหน้าตาคมชัดลึกที่สุดในปฐพีไทย...เห็นจะต้องยกให้องค์นี้

เรื่องพระสมเด็จ...มีประเด็นให้เรียนรู้ศึกษา...อีกมาก...เริ่มจากแม่พิมพ์ มวลสารเนื้อหา ธรรมชาติ ขนาดไปถึง...น้ำหนัก ฯลฯ อยากดูพระสมเด็จให้เป็น...ก็ต้องค่อยๆสั่งสมความรู้...เหมือนรอน้ำทีละหยดเอาไว้ ไม่ช้า... น้ำ (ความรู้) ก็จะเต็มตุ่ม พอเอาตัวรอดจากพระปลอมได้

พระสมเด็จปลอมวันนี้ ฝีมือเฉียบขาดปาดคอเซียน มือสมัครเล่นเผลอทะนง หลงตัวข้าแน่...เมื่อไหร่...เป็นเสร็จมันเมื่อนั้น.

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71371163345045_4.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เล็ก

นักเลงรุ่นเก่า ราว พ.ศ.2500 เล่ากันว่า สมเด็จวัดระฆังมีรังสี (อิทธิปาฏิหาริย์) 5 นางพญา รังสี 3 แต่ปิดตาหลวงพ่อแก้ว...รังสี 1 แม้จะมีรังสีแค่ 1 แต่พุ่งไปไกล ทางด้านโชคลาภ เมตตา ไปไหนไม่มีคนเกลียดมีแต่คนรัก

ตลาดพระสมัยแรกๆ ที่ท่าพระจันทร์ (:UU:)คุยกัน พระสมเด็จมีเข้าตลาดเปลี่ยนมือเดือนละหลายองค์ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ปีละ 1 องค์ ในขณะที่พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว...5 ปี แทบจะมี...สักองค์

เพราะเหตุนี้...ราคาพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว จึงแพงระยับจับหัวใจ...องค์พิมพ์ใหญ่ราคาประมูลเพื่อการกุศล ที่โรงแรมเจ้าของ คิงเพาเวอร์ อภิมหาเศรษฐีสู้กันถึง 34 ล้าน เป็นราคาในระนาบเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ราคาพระกริ่งปวเรศฯ วัดบวร

คนธรรมดาสามัญทำบุญมาน้อย พระปิดตาหลวงพ่อแก้วแทบจะเป็นพระในตำนาน...เห็นแต่รูป จูบแต่เงา หาองค์จริงจับต้องไม่เจอ

ภาพในคอลัมน์ทั้งหน้าหลัง...เป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เล็ก ทั้งพิมพ์ทรง เนื้อหา รักเก่าที่หลุดล่อน ตามธรรมชาติ มาตรฐานพระแท้ เป็นอีกพิมพ์ที่คุ้นตา...แต่ก็หายาก

เท่าที่เห็นภาพถ่าย ผลัดเปลี่ยนเวียนหน้ากันในหนังสือพระเครื่อง น่าจะราว 6-8 องค์เท่านั้น

องค์นี้ หลังเรียบเหมือนที่พบหลายองค์...หลังแบบองค์เดียว สีกาอ่าง เคยลงสนามพระวิภาวดี...ราคาตอนนั้น 4 ล้าน ชื่อเจ้าของ ตอนนี้เป็นตำรวจใหญ่ ชื่อ จักรทิพย์ ชัยจินดา

พระหลวงพ่อแก้วปลอม ตั้งแต่พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก มากมายหลายฝีมือ แต่พิมพ์เล็กพิมพ์นี้ โชคดี...ของปลอมแทบจะไม่มี ถ้าแม่นพิมพ์ คุ้นเนื้อหา...เสียสตางค์ไปแค่ไหน ...ก็ยังขึ้นคอได้มั่นใจ ไม่ต้องกลัวเซียน

ในรังของคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของคิง เพาเวอร์ ดูจากหนังสือศรัทธาแห่งพระเครื่องมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ปั้น พิมพ์บายศรี (วัดปากทะเล เพชรบุรี) ราว 12 องค์ ไม่มีพิมพ์เล็กพิมพ์นี้

ไม่น่าแปลกใจทุกพิมพ์ของหลวงพ่อแก้ว...มีน้อย...หายาก มีเงินออกใบสั่ง ก็ใช่ว่าจะได้ดังใจนึก

เรื่องที่วงการพระน่าจะร่วมกันสังคายนาหาข้อยุติก็คือ ปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อแก้วเกิด ซึ่งจะสัมพันธ์กับปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อสร้างพระ และปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อมรณภาพ ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน พอจะแยกได้เป็นสองชุด

ชุดแรก...หลวงพ่อแก้ว เกิดปลายรัชกาลที่ 4 ชุดสอง หลวงพ่อแก้ว เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1

ข้อมูลชุดแรก หนังสือแจกในงานศพอำมาตย์เอก พระยาชลประทานธนารักษ์ ปี 2515 อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ นักนิยมพระรุ่นแรกๆ ของไทย เขียนไว้ว่า หลวงพ่อแก้วเกิดที่เพชรบุรี เมื่อปี 2396

ประชุม กาญนวัฒน์ เขียนไว้ในหนังสือภาพพระเครื่องสี หลวงพ่อแก้ว เกิดที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ราวปี 2385 บวชที่วัดพระทรง ปีเศษก็ธุดงค์ ผ่านวัดท่าลาดเหนือ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

เป็นศิษย์หลวงปู่จีน...แล้วก็ไปปักหลักอยู่ที่วัดเครือวัลย์ ชลบุรี และมรณภาพราวปี 2470 ที่วัดเครือวัลย์

เอาข้อมูลพี่ชุม...ไปเทียบเคียงข้อมูลชุด หลวงปู่จีน ท่านเกิดปี 2357 มรณภาพปี 2443 เมื่ออายุ 83...ตัวเลขปีเกิดหลวงพ่อแก้ว...2385 ของพี่ชุม 2396 ของอาจารย์ชื้น...ห่างกัน 11 ปี น่าเชื่อกว่าข้อมูลชุดสอง ที่ใช้ข้อมูลจากวัด เครือวัลย์ หลวงพ่อแจ่มเป็นสมภารปี 2432 แล้วประมาณว่า หลวงพ่อแก้วมรณภาพปีก่อนหน้า 2431

ข้อมูลชุดวัดเครือวัลย์ ย้อนหลังไปกว่า 80 ปี จึงเชื่อว่าหลวงพ่อแก้วเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1

หนังสือคนดีเมืองเพชร อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ เขียนว่า หลวงพ่อแก้ว อายุไล่เลี่ย หลวงพ่อมี วัดพระทรง เคยไปมาหาสู่กันประจำ ผู้ใหญ่หลายคนเคยเห็นหลวงพ่อแก้วกับตา เวลาท่านมาจากเมืองชลฯ จอดเรือใต้ต้นไทร ริมฝั่งวัดมหาธาตุ

ผมเชื่อข้อมูลชุดแรก...เชื่ออาจารย์ชื้น เชื่อพี่ชุม เชื่ออาจารย์บุญมี...หลวงพ่อแก้วเกิดปลาย ร.4 ใกล้อายุคนรุ่นเราๆ พอนึกภาพจับต้องได้ ใช้เป็นข้อพิจารณาเทียบเคียงกับพระปิดตา รุ่นไล่เลี่ยกันได้ง่ายขึ้น.

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75823482415742_5.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่...กรอบกระจก

นอกเส้นซุ้มนูนสูงครึ่งวงกลม ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม ทุกพิมพ์มีเส้นนูนต่ำสี่เส้นรอบกรอบสี่เหลี่ยมองค์พระ คนในวงการเรียกกันว่า “กรอบกระจก”

ความจริงเส้นนี้ช่างแกะแม่พิมพ์ตั้งใจขุดเซาะเป็นร่องเอาไว้ ตั้งใจให้เห็นเป็นร่อง...เป็นแนว...เวลาตัดขอบสี่ด้าน...องค์ไหน ตัดพอดีเส้น...ก็ไม่เห็น แต่ส่วนใหญ่ตัดนอกเส้น เหลือให้เห็นตั้งแต่ 1 ถึง 3 เส้น

พิมพ์ที่มีเส้นกรอบครบ 4 เส้น เป็นพิมพ์ใหญ่...พิมพ์หนึ่ง ในจำนวนแม่พิมพ์มาตรฐาน 4-6 แม่พิมพ์ พิมพ์นี้จึงเรียกขานพิมพ์กรอบกระจก องค์มีชื่อเสียง มีภาพในหนังสือหลายเล่ม

หนังสือภาพเล่มหนา...พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังโฆสิตาราม... (เพื่อนสีกาอ่างพิมพ์) มีภาพทั้งหน้าหลังราว 140 องค์ ใครมีใกล้มือลองเปิดดู องค์ที่ 12 ของนายตำรวจใหญ่ ชื่อจิตติ รอดบางยาง องค์ที่ 13 องค์คุณบุญส่งเส้นนูนหนา

องค์ที่ 14 ไม่มีชื่อเจ้าของ บอกจุดเด่นเป็นฉายา “องค์กรอบกระจก” เส้นกรอบด้านซ้ายองค์พระ จากขอบบนพุ่งลงล่าง ขาดหายระหว่างช่วงพระกรซ้าย...นี่ก็เป็น “หมุดหมาย” หนึ่ง ที่วงการใช้เป็นข้อตัดสิน “พระแท้”

องค์พิมพ์ใหญ่ในคอลัมน์นี้...มีข้อด้อย ตัดชิดในเส้นกรอบซ้าย...เหลือให้เห็นสามเส้นชัด...แต่นี่ก็เป็นธรรมดาของพระแท้...องค์หนึ่งในหลายๆ องค์ ที่ทำให้เสียสมดุล เทียบกับองค์มีกรอบกระจกพอดีๆสี่ด้าน ก็ถือว่าสวยน้อยไปหน่อย

จุดเด่นสมเด็จวัดระฆังองค์นี้อยู่ที่องค์รวม แม่พิมพ์องค์พระติดชัดพองาม ผิวพระอยู่ในสภาพเดิมๆ ปรากฏรอยย่น รอยยุบน้อยๆ เห็นเม็ดปูนขาว (ก้อนขาว) ประปราย นอกผิวแป้งโรยพิมพ์มีฝ้าสีน้ำตาลจากการล้างรักเก่า...หนาสลับบาง

เคล็ดลับข้อหนึ่งของผิวพระวัดระฆังแท้ บางองค์ชี้ขาดกันด้วยฝ้ารัก...การมีฝ้ารัก ตั้งแต่สีเข้มไปถึงจาง ช่วยเสริมให้พระดูง่าย เติมเสน่ห์รึงรัดใจนักส่องพระ...ให้ส่องแล้วก็ส่องเล่าวางไม่ลง

แต่องค์ประกอบที่เป็นจุดเด่นที่สุดขององค์นี้อยู่ที่ด้านหลัง...แผ่นหลังนอกจากฝ้ารักหนาบางสลับผิวแป้งโรยพิมพ์ รอยยุบ รอยแยก ธรรมชาติที่คุ้นตา ภาพรวมปรากฏชัดเป็น...หลังสังขยา...

หลังแบบนี้เอง “ตรียัมปวาย” ใช้คำแรกว่า “ต้องโฉลก” และใช้คำต่อมา “หาชมได้ยากยิ่ง”

แม้พระปลอมจะพยายามทำเลียนแบบได้ละม้าย แต่ก็แค่ใกล้เคียง...คนดูพระเป็น เห็นหลังแบบนี้จึงกล้าคุยว่าไม่ต้องดูด้านหน้า...ก็ตัดสินได้ เส้นสายลายพิมพ์ถูกต้อง เนื้อหาคุ้นตา สภาพพระผิวเดิมๆ ธรรมชาติเดิมอยู่ครบเครื่องอย่างนี้

สำหรับเซียน นี่คือพระดูง่าย...ใช้สำนวนในวงไฮโลเหมือน “เปิดถ้วยแทง” ได้เลย

นักเลงพระรุ่นใหม่...ประสบการณ์จากการได้จับองค์จริง ดูพระแท้...มีน้อย หรือแทบจะไม่มี ทุกวันนี้ทำได้แค่ศึกษาเทียบเคียงจากภาพถ่าย แต่ก็ต้องเลือกภาพจากหนังสือที่เชื่อถือได้

ดูแค่ภาพ สั่งสมประสบการณ์ด้านพิมพ์...ยังไม่พอ ยังขาดอีกหลายปัจจัย น้ำหนัก ขนาดผิวสีที่เป็นจริง (ภาพถ่ายหลายองค์สีเพี้ยน) ถ้ามีวาสนาได้ดูพระแท้...บ้าง ก็จะช่วยให้ได้ความรู้จริง...เพิ่มขึ้น

ราวปี 2522 พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่... เป็นข่าวดังในวงการ คุณฮกเจ็ง แซ่ตั้ง ซื้อจากคุณสนาน กฤษณเศรณี 6.5 แสน ผมไปทำข่าวกำนันช้อง ได้ช่องไปขอดู ก็ได้ดูผ่านกล่องพลาสติก ใส่ตลับทอง...แต่แค่นี้ ก็ถือเป็นบุญตาแล้ว

องค์ต่อมานิตยสารสปิริต เรียก “องค์ลายงา” อยู่ในตลับทองคำฝังเพชร...เม็ดใหญ่ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ยื่นให้ดูเต็มมือ เต็มตา...นี่เป็นประสบการณ์สำคัญ ที่คนชอบพระรุ่นใหม่ ต้องพยายามหา

ทุกวันนี้ พระปลอม ตั้งแต่ฝีมือสูงซับซ้อน ไปถึงปลอมง่าย...ก็มีลงหนังสือหลายเล่ม ทั้งเล่มเล็กเล่มใหญ่ ใครหลงเชื่อ ดูภาพพระปลอมก็มักไปซื้อพระปลอม...เสียทั้งเงิน เจ็บทั้งใจ

ลีลาเดิมๆ ขายพระให้เจ้าสัวไปแล้ว พิมพ์หนังสือเล่มใหญ่ เอาพระแท้หน้าเก่าๆใส่ไว้ในเล่ม ส่วนองค์ปกเป็นพระปลอม...ฝีมือปลอมก็ไม่ซับซ้อนนักหนา ระดับประถมเท่านั้น คนพอดูพระเป็นมองปราดเดียวก็รู้ว่าเก๊

พระปลอมสภาพนี้เซียนใหญ่ไม่เคยทำ แต่เซียนน้อยข้างวงการยังทำ มุกนี้ยังขายได้ เจ้าสัวน้อยเจ้าสัวใหญ่ ระวังตัวกลัวภัยกันไว้เถิด.

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83552835343612_6.jpg)
พระสมเด็จนางพญา พิมพ์เทวดา

นักเลงพระรุ่นใหม่เคลิ้มไปกับพระชุดเบญจภาคี ห้าองค์ชุดใหญ่ พระสมเด็จพระนางพญา พระผงสุพรรณ พระรอดและพระทุ่งเศรษฐี จนอาจหลงลืม พระชุด “ไตรภาคี” ชุดย่อม คือ สมเด็จนางพญาและพระรอดไปบ้าง

ตรียัมปวาย...จัดพระสมเด็จเป็นองค์ประธานก็เพราะสัณฐานสี่เหลี่ยมสง่าผึ่งผายเลือกพระนางพญาสามเหลี่ยมขนาดย่อมกว่าไว้ขวา และเลือกพระรอดเล็กกว่าโค้งมนไว้ซ้าย...

ไตรภาคี ยังแยกเป็นชุดใหญ่ ชุดเล็ก ถ้าเลือกชุดเล็ก...เริ่มที่สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ นาง...พิมพ์สังฆาฏิ หรือเทวดา และพระรอด พิมพ์เล็ก...พิมพ์ต้อ...ก็งามสง่า ผึ่งผายไม่น้อย

ถ้าสตางค์น้อย...รักจะเลือก “สักองค์” ในไตรภาคี ราคาตลาดที่ตอนนี้ดูจะน้อยกว่า ขอแนะนำพระนางพญา

เอ่ยชื่อ “นางพญา” ผู้หญิงก็ออกปาก อยากได้ ในฝันทุกนางอยากเป็น “นางพญา” ปรมาจารย์พระเมืองเหนือ...เชียร ธีรศานต์ เขียนไว้ อย่าให้เมีย จะเสียเมีย

แต่ความจริงกลับมีว่า นางพญาขึ้นชื่อในทางคงกระพันชาตรี หนังเหนียวชนิดอย่าบอกใคร ชายชาตรีมากมาย โดยเฉพาะตำรวจ...ต้องการมีไว้ในคอ

นักเลงโบราณ รุ่นสักยันต์เก้ายอด ช่วงสงคราม (พ.ศ.2484-2488) เล่ากันถึงเรื่องตาควาย

ชายขี้เมาถือขวานท้าต่อยท้าตีไปทั่ว...ตำรวจสองคนแรกไปจับ...จับแกไม่ได้ ชุดสองไปเป็นกลุ่มใหญ่ ก็เอาไม่อยู่ เรื่องแบบนี้มีได้ไง...เสียยี่ห้อตำรวจไทย ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณนาคร เอาตำรวจไปทั้งโรงพักชนะสงคราม...

เล่ากันว่าตาควาย ยิงฟันไม่เข้า สู้กับตำรวจทั้งโรงพัก เหนื่อยนักก็โดดลงน้ำ หายเหนื่อยก็สู้ใหม่

ตำรวจลูกน้อง ไม่กล้าปะทะซึ่งหน้า ร.ต.ท.ยอดยิ่งกระโดดถึงตัว ตาควายฟันด้วยขวานหลายแผล...สลบเข้าโรงพยาบาล ฟื้นขึ้นมาจึงรู้ว่า “ตาควาย” สิ้นฤทธิ์ “ด้วยท่อนไม้ในมือภารโรงโรงพักที่ซุ่มคอยที” โป้งเดียว ตาควายจอดไม่แจว

เรื่องนี้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งเล่าให้ “ตรียัมปวาย” ฟังที่พิษณุโลก ขณะออกปากขอนางเขียวพิมพ์สังฆาฏิ ที่เลี่ยมทองแขวนคอ...ด้วยเหตุผล “เหมือนองค์ตาควาย” ตรียัมปวายเสียดาย แต่ทนรบเร้าไม่ไหว ตัดใจให้

ตำนานนางพญาองค์นี้ เป็นที่มาของ “ใบสั่ง” จากตำรวจน้อยใหญ่ แต่ก็ต้องแย่งใบสั่งจาก “คุณนาย” ที่ก็อยากได้ นางพญาไว้เสริมราศีเหมือนกัน

นางพญาในภาพ...เป็นพิมพ์เทวดา...สภาพพระสมบูรณ์แบบเดิมๆ ผิวพระไม่แดงไม่เหลือง ไม่เขียว ออกไปทางคล้ำคล้ายสีลิ้นจี่...ใครมีหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี (กิติ ธรรมจรัส พ.ศ.2536) ไปหาเปิดดู องค์เดิมของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ผิวสีพระ ทั้งหน้า-หลัง ไปทางเดียวกัน

สมัยก่อนวงการเลือกเล่นสีเหลือง แดง ดูง่าย เจอผิวคล้ำเขียวดำ...ก็วาง แต่สมัยใหม่ภาพพระแท้ที่ซื้อขายหมุนเวียน...เริ่มคุ้นตา ก็กล้าเปลี่ยนมือ ขอแค่ให้แน่ใจว่าแท้และสวย ผิวสีอะไร ดูจะไม่เกี่ยงกันแล้ว

พระนางพญา...ศิลปะงาม เนื้อดินเผาแกร่ง...ใช้ติดตัวได้ไม่ต้องระวังมาก เข้าเกณฑ์วัตถุโบราณ ตรียัมปวาย ให้ทัศนะไว้ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม 2 พระนางพญา...ว่าสร้างสมัยพระมหาธรรมราชา และพระนางวิสุทธิกษัตรี ครองพิษณุโลก

แต่อุทัย วิชัยสุทธิจิตร (ลิ้ม กรุงไทย) เขียนไว้ในสุดยอดเบญจภาคีว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.2007-2025) อายุมากกว่าสมัยพระมหาธรรมราชาราวร้อยปี

ปัญหาอายุหรือศิลปะจะต้นหรือกลางอยุธยา...นี่เป็นเสน่ห์ของการเล่นพระเก่า...แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องหาพระแท้ไว้ พระนางพญาวันนี้ พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง เข่าตรง องค์สวย หลายล้าน พิมพ์เล็ก สังฆาฏิ เทวดา อกนูนเล็กหลายแสนขึ้นล้าน

ราคายั่วใจอย่างนี้ พระปลอมก็พัฒนาฝีมือ เนื้อใกล้เคียง พิมพ์ใกล้เคียง ตำหนิในพิมพ์ ที่เป็นตัวช่วยสำคัญ นักปลอมก็ตามทัน...จนกล่าวกันว่า หลักการซื้อพระสมัยนี้ ให้เลือกซื้อที่เซียน...ถ้าเซียนแท้ ก็ได้พระแท้.

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84425273496243_7.jpg)
พระสมเด็จ หลังสังขยา

พระสมเด็จวัดระฆังองค์ครูที่คุ้นตา นอกจากแม่พิมพ์ด้านหน้า เส้นสายลายพิมพ์...ชัด คม สง่า งดงาม ตำหนิเคล็ดลับมีครบ ตามขนบนิยมวงการ เมื่อดูด้านหลังแต่ละองค์มีสัญลักษณ์แตกต่างกันไป ดูผิวเผินคล้ายกันแต่ของจริงไม่เหมือนกัน

เหตุที่หลังไม่เหมือนกัน เพราะด้านหลัง... ไม่มีแบบพิมพ์ ทุกริ้วรอยไม่ว่าจะเรียกว่ารอยปูไต่ รอยหนอนด้น รูพรุนปลายเข็ม รอยย่นตะไคร่น้ำ ฟองเต้าหู้ สังขยา ริ้วระแหง ฯลฯ ผู้รู้เชื่อว่าเกิดตามธรรมชาติ

ส่วนหลังกระดาน ผู้รู้บางท่านว่า ใช้แผ่นกระดานประกบให้เรียบ...ทิ้งรอยไว้ หลังกาบหมาก ก็ว่า พิมพ์พระแล้วเอาไปวาง จึงเกิดร่องรอย แต่ที่แน่ๆ ร่องรอยนั้นไม่ใช่ร่องรอยคงที่

ยังมีตัวแปร จากปรากฏการณ์ตอนเนื้อพระยังเปียกและเซตตัวจนแห้ง ประกอบด้วย

ยึดหลักนี้ จึงมีพระสมเด็จหลายองค์ ดูด้านหน้าพิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่ แต่พอพลิกดูหลัง...ราบเรียบ ไม่มีริ้วรอยสัญลักษณ์เป็นตัวช่วย เซียนน้อยเซียนใหญ่ก็มักวาง

ใครที่มีหนังสือเล่มใหญ่ๆ อย่างเล่มเบญจภาคี ในชุดมรดกไทย พรีเซียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สุดยอดพระเบญจภาคี ของคุณกิติ ธรรมจรัส ทำเนียบพระพันตา สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ของเพื่อนสีกาอ่าง ฯลฯ ลองเปิดไล่เรียงดู

องค์ดัง ไม่ว่าองค์ลุงพุฒ องค์ขุนศรี องค์เสี่ยหน่ำ หรือองค์กวนอู ฯลฯ ด้านหลัง สัญลักษณ์...คมลึก ชัดเจน เข้าโฉลกนิยม...ดูแล้วติดตาคาใจ

หลังต้องโฉลกเหล่านี้ ครู “ตรียัมปวาย” ท่านเตือนสติว่า “มีน้อยนัก หาชมได้ยากยิ่ง”

ด้านหลังสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์แรกในภาพ คงพอจำได้ ริ้วรอยยุบ รอยย่น รอย ยับ ลึกแปลกตากว่าองค์ครูองค์อื่นๆ มุมล่างซ้ายมีรอยอุดซ่อม ยืนยันว่าเป็นด้านหลังของ องค์กวนอู

มรดกจากคุณบุญยงค์ นิ่มสมบูรณ์ ปัจจุบัน ตกทอดมาถึงคุณยศ นิ่มสมบูรณ์ บุตรชาย

อีกองค์ เป็นด้านหลังองค์หน้าใหม่...รังใหญ่คนมีบุญ ยังไม่เคยเผยโฉมในวงการ (ด้านหน้าเทียบเคียงกันได้แค่ไหน รออ่านฉบับหน้า) นอกจากริ้วรอยใกล้เคียงกันทุกกระเบียดมือ...

ยังมีส่วนเนื้อเกิน เป็นปุ่มโปนเล็กๆ ที่เห็นเป็นพืดสีดำ คือเนื้อรักที่ยังลอกออกไม่หมด

ปุ่มโปนนี้ บางคนอาจสะดุดตา...แต่ก็พอหาเพื่อนให้อุ่นใจได้ จากปุ่มปมหนึ่งในหลังองค์ลุงพุฒ ...หลังองค์ลุงพุฒ (ของโป้ยเสี่ย) ผมว่า งามลงตัวที่สุดในปฐพี ไม่แปลกใจที่ถูกคัดเลือกไปตีพิมพ์ในดวงตราไปรษณีย์

คำถามที่ตามมา ด้านหลังสององค์ที่ยุบตัวเป็นหลุมเป็นปุ่มสลับกันไปคล้ายกันนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง “ตรียัมปวาย” อธิบายในหัวข้อ หลังแบบที่ 6 รอยสังขยา ว่า เป็นด้านหลังที่มีสัณฐานลักษณะเป็นวงๆ ซึ่งมีเส้นรอบวงหยักคดเคี้ยวไปตามธรรมชาติ มักปรากฏบริเวณย่านกลางๆ ของพื้นที่ด้านหลัง

บริเวณนั้นเป็นเนื้อราบเรียบ กอปรด้วยริ้วรอยย่นซ้อนกันของเนื้อกระจายแผ่ออกไปเป็นวงๆ ซ้อนกัน คล้ายกับผิวน้ำเป็นพลิ้วระลอกวงกลม วงรอบของริ้วรอยย่นแต่ละชั้น อาจมีริ้วระแหงละเอียด รอยย่นตะไคร่น้ำ รูพรุนปลายเข็ม ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีเมล็ดแร่ สีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลอ่อนใสๆ คล้ายปลายเมล็ดงาปรากฏตามผิวเนื้อ เข้าใจว่าในขณะบรรจุเนื้อลงในแม่พิมพ์และกดให้แนบแน่นแม่พิมพ์แล้ว เห็นว่าเนื้อยังพร่องอยู่ จึงมีการเติมเนื้อลงไป โดยไม่มีกดหรือไล้ให้เข้ากับเนื้อเดิม เนื้อจึงยังไม่สมานกันสนิทเข้าที่ หรือเนื้อที่เติมใหม่หมาดกว่าเนื้อเดิม จึงไม่เข้ากับเนื้อเดิม ครั้นเมื่อพระยุบตัวสนิทเป็นของแข็ง จึงเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดริ้วรอยธรรมชาตินี้ขึ้น

“ตรียัมปวาย” ทิ้งท้ายว่า รอยสังขยาปรากฏเป็นจำนวนน้อยมากเป็นข้อยืนยันในความเป็นของแท้ได้แน่นอนประการหนึ่ง เพราะยังไม่ปรากฏของปลอมรายใดที่สามารถทำได้ใกล้เคียงเลย.

พลายชุมพล



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 29 พฤษภาคม 2559 05:27:00
.

จากกวนอู-ถึงจูล่ง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55188672492901_1.jpg)

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์แรกเป็นพระในตำนาน คุ้นตานักเลงพระรุ่นเก่า คือองค์กวนอู องค์ต่อมา แม่พิมพ์เดียว กัน เป็นพระหน้าใหม่...ด้านหลังก็ให้บังเอิญเป็น “สังขยา” คล้ายกัน
 
นำเสนอให้เทียบเคียง-ศึกษากัน ในปาฏิหาริย์จากหิ้งพระฉบับที่แล้ว
 
ฉบับนี้คุยกันถึงด้านหน้า...พิมพ์ใหญ่พิมพ์นี้ เป็น 1 ใน 4 พิมพ์มาตรฐาน องค์ครูมักมีชื่อฉายาเรียกตามเจ้าของเดิม ขุนศรี ลุงพุฒ ครูเอื้อ เรียกตามลักษณะเด่น เล่าปี่ เปาบุ้นจิ้น และองค์ที่เดิมที เปื้อนสีซองธูป ผิวจึงมีสีแดง
 
กวนอูในสามก๊กหน้าแดง พระสมเด็จองค์นี้ ถูกตั้งฉายา...องค์กวนอู เพราะผิวเคยมีสีแดง
 
วันนี้องค์กวนอู ถูกล้างคราบสีแดงซองธูปออกไปแล้ว เหลือสภาพเดิมผิวละเอียด นุ่มนวลตา สีขาวอมเหลือง ...เหมือนสีงาช้าง ตรียัมปวาย จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อนุ่ม...เรียก “เนื้อเกสรดอกไม้”
 
มวลสารส่วนใหญ่ดุจอนุภาคผงเภสัชอันละเอียดยิบ ผ่านการบดกรอง คลุกเคล้าสมานกันและกระจาย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62553185265925_2.jpg)

นอกจากเยื่อครีมของเนื้อว่าน และกล้วยวรรณะหม่นๆ แทรกคละระคน ยังมีเมล็ดปูนขาวกลมๆ เท่าหัวเข็มหมุดย่อมๆ วรรณะขาวใสกว่าวรรณะส่วนรวมของเนื้อ ประปรายบางตา
 
พรรณนาด้วยตัวหนังสือพันคำ ยังไม่ดีเท่าได้ดูภาพสีจากหนังสือพระเครื่องเล่มใหญ่ แต่ถ้าจะให้ดีกว่า ถึงดีที่สุดก็คือได้ส่อง ได้จับองค์จริง
 
ความจริงในวันนี้ ในวันที่พระแพงองค์ละหลายสิบล้าน...โอกาสเป็นไปแทบจะไม่มี
 
พิมพ์ใหญ่องค์หน้าใหม่...ดูจากภาพถ่ายลึกล้ำกว่าองค์กวนอู...ภาพรวมผิวเนื้อพระ ออกไปทางหยาบ เม็ดปูนขาวเม็ดใหญ่...หนาตา แต่ไม่ปรากฏตรงเส้นสายลายพิมพ์ จึงทำให้พระยังสวย...คม
 
เม็ดปูนขาวที่ปรากฏบนผิวพระ มีสอง ลักษณะ ลักษณะแรก...เบียดแทรกแน่นกับผิวเนื้อ...ลักษณะที่สอง เป็นเม็ดสัณฐานไม่แน่นอน...วางอยู่หลวมๆ ดูให้ดีจะเห็นเนื้อรักแทรกระหว่างผิวเนื้อพระกับเม็ดปูน
 
เมื่อสักสิบปีที่แล้ว...เม็ดปูนขาวหลวม...ถือเป็นจุดตาย ของปลอมทำไม่ได้ แต่ตอนนี้ของปลอมทำได้ดี
 
ส่วนมวลสารอื่น...นอกจาก “เม็ดปูนขาว” ที่วงการเรียกสั้นๆ “ก้อนขาว” แล้วก็ยังมีกากดำ กรวดเทา...และอิฐแดง ของปลอมฝีมือตอนนี้ ตามทัน บางรุ่น พิมพ์ดี เนื้อใช้ได้ แต่เผลอใส่อิฐแดงมากเกินไป
 
ยึดหลัก “ตรียัมปวาย” เนื้อพระพิมพ์ใหญ่องค์หน้าใหม่...ควรถูกจัดเข้าในกลุ่มเนื้อกลางๆ ระหว่างนุ่มกับแกร่ง...มวลสารหยาบที่เห็นกับตา...ไปกันได้กับเนื้อ “กระยาสารท” เนื้อที่ให้ความรู้สึกเข้มขลัง
 
แต่แม้มองเผินๆจะดูหยาบ...แต่เนื้อพระสมเด็จแท้ แบบกระยาสารทก็ยังตกผลึก หนึกแน่น ละเอียด...ถ้าผิวพระยังอยู่ในสภาพเดิมๆ...ก็ยังมองทะลุถึงความซึ้ง...



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81029390626483_NjpUs24nCQKx5e1D8dPpfe36cHKglL.jpg)

ความซึ้ง เกิดขึ้นจากการดูพระแท้มากๆจนคุ้นตา จนแยกพระแท้องค์ที่ซึ้งตา...ออกจากพระปลอม...ได้ทันที
 
พิมพ์ใหญ่องค์นี้ ด้านหลังสังขยา...ใกล้เคียงหลังองค์กวนอู ให้คะแนนสิบเต็ม...แต่ด้านหน้าแม้พิมพ์เดียวกัน แต่ความที่เป็นพระเนื้อหยาบ ความซึ้งตาน้อยกว่า...คะแนนสิบ เจ้าของพระคงไม่ว่า ถ้าอยากหักไปสักหนึ่ง เหลือเก้า
 
อยากจะให้เครดิต ด้วยการตั้งฉายาชื่อนั้นสำคัญไฉน แต่ชื่อนั้นก็สำคัญตรงที่เป็นหมุดหมายให้รู้ องค์ไหน?
 
ทหารเสือของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย จูล่ง ฮองตง และม้าเฉียว เมื่อมีองค์กวนอู ในวงการ องค์นี้ จะขอเรียก “องค์จูล่ง” จูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน สวมเกราะขาว รบ 7 วัน 7 คืน...ชิงอาเต๊าคืนให้เล่าปี่
 
ฆ่าทหารโจโฉตายนับไม่ถ้วน แต่โจโฉก็นึกรักอยากได้ไว้ใช้ สั่งทหารไม่ให้ฆ่า นักรบที่รบเก่งเหมือนปาฏิหาริย์ เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือ ที่ไม่ตายโหง...จูล่งแก่ตาย... อย่างสง่าสงบงาม ชื่อ จูล่ง จึงเป็นชื่อมงคล..

พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69739195000794_view_resizing_images_1_.jpg)
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตร กิรติกัลยาราม)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องบางองค์มีชื่อไพเราะและเป็นมงคลมาก เช่นที่พูดถึงในวันนี้คือ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพระกรุที่สร้างมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรามาคุยกันถึงพระกรุนี้กันนะครับ

พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ได้ถูกขุดพบโดยบังเอิญ เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เรื่อยมา จนถึงปลายปี พ.ศ.2502 เมื่อขุดแต่งบริเวณฐานขององค์พระเจดีย์วัดต้นจันทน์หรือวัดราวต้นจันทน์ก็พบพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทน์ และพบอีกที่วัดตาเถรขึงหนัง หรือวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งทั้ง 2 วัดมีอาณาเขตติดต่อกัน

ทั้ง 2 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะมีการพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์นั้น ในปี พ.ศ.2499 ทางกรมศิลปากรก็ได้ขุดพบหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งฝังจมดินอยู่บริเวณวัดตาเถรขึงหนัง ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียวชำรุดหักครึ่ง โดยเหลือแต่เพียงท่อนบนเท่านั้น ส่วนท่อนล่างหาไม่พบ จารึกเป็นภาษามคธและภาษาไทย ข้อความที่ศิลาจารึกพอแปลความสรุปได้ว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัย มีนามว่า "วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" สร้างเมื่อ พ.ศ.1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) และพระราชชนนีศรีธรรมราชมารดาเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น โดยโปรดให้ไปอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ ซึ่งเป็นพระสังฆราชมาจากเมืองกำแพงเพชรเพื่อเป็นประธานในการสร้าง พระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อ "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" ตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น

การขุดพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ในครั้งนั้นพบที่วัดต้นจันทน์ก่อน ขณะที่ทางการขุดลงไปในองค์พระเจดีย์และเปิดกรุที่บรรจุพระเครื่อง ต่างก็พากันตะลึงงัน เนื่องจากคนที่ลงไปในกรุเล่าว่า รู้สึกเหมือนตกอยู่ในภวังค์ รู้สึกชุ่มชื่นอย่างประหลาด เพราะภายในกรุกรุ่นไปด้วยกลิ่นแป้งร่ำกระแจะจันทน์ จึงอาจสันนิษฐานว่าสมัยนั้นเมื่อสร้างเสร็จและนำมาบรรจุกรุ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์คงถูกประพรมด้วยของหอมนานาชนิดไว้อย่างมากมาย เหตุนี้จึงมีกลิ่นหอมอบอวลดังกล่าว คงจะมาจากเรื่องราวของการเปิดกรุที่มีกลิ่นหอมทางการจึงตั้งชื่อว่านางพญาเสน่ห์จันทน์ ต่อมามีการเปิดกรุเจดีย์ของวัดตาเถรขึงหนังอีก ต่อมาก็ยังพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์บรรจุอยู่ในกรุนี้ด้วยปะปนกับพระเครื่องชนิดอื่นๆ มากมาย ภายในกรุแบ่งออกเป็นห้องๆ มี 8 ห้อง มีพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทน์เป็นพื้น

พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของทั้งสองกรุนั้นมีพุทธลักษณะคล้ายกันมาก ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือของกรุวัดต้นจันทน์จะมีเส้นคล้ายเส้นจีวรอยู่ที่ใต้แขนด้านซ้ายมือขององค์พระ ยาวตั้งแต่ข้อมือซ้ายยาวขนานกับท่อนแขนเลยข้อศอกซ้ายเล็กน้อย ส่วนพระของกรุวัดตาเถรขึงหนังจะไม่มีเส้นนี้ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแต่ตัวเนื้อจะไม่ค่อยแน่นสักเท่าไร พระทั้งสองกรุจะปรากฏคราบกรุเป็นฝ้าบางๆ สีนวลจับอยู่เกือบทั้งองค์พระ โดยเฉพาะตามซอกแขน คราบกรุนี้จะจับฝังแน่นกับผิวของพระ

ในปี พ.ศ.2503 ทางกรมศิลปากรได้นำพระนางพญาเสน่ห์จันทน์มาให้ประชาชนเช่าบูชา เนื่องจากพระที่พบมีจำนวนมากทั้งสองกรุ และเพื่อนำเงินไปเป็นปัจจัยในการบูรณะโบราณสถานต่อไป ในครั้งแรกสนนราคาที่ทางการเปิดให้นั้นราคาองค์ละ 30-40 บาท เท่านั้น ก็มีประชาชนไปเช่าบูชากันมากจนพระเริ่มเหลือน้อยลง จนในปี พ.ศ.2509 ราคาเช่าอยู่ที่ 400-500 บาท เมื่อพระหมดไปจากกรม ราคาก็ขยับสูงขึ้นตามลำดับ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของทั้งสองกรุได้รับความนิยมทั้งสองกรุ แต่ด้วยจำนวนของวัดตาเถรขึงหนังมีมากกว่า จึงทำให้คนรู้จักกันมากกว่า จึงได้รับความนิยมสูงกว่าเล็กน้อย

เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้บูชาไป กล่าวว่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และด้วยพุทธศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์และงดงาม อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏ จึงทำให้พระนางพญาเสน่ห์จันทน์หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน สนนราคาค่อนข้างสูง และของปลอมเลียนแบบก็มีมากตามมาเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตร กิรติกัลยาราม) มาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11116636047760_view_resizing_images_1_.jpg)
พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่านั้น มีการตั้งชื่อกันตามสถานที่บ้าง ตามพุทธลักษณะบ้างหรือตามรูปร่างของกรอบพิมพ์บ้าง มีพบที่ใดหรือเห็นรูปลักษณะเป็นอย่างไรก็ตั้งชื่อกันไปในสมัยนั้นๆ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เราๆ ท่านๆ เกิดความสงสัยได้ไม่น้อยเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระกรุเนื้อชินกรุหนึ่ง ที่พบที่จังหวัดสุโขทัย ชื่อพระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ความเป็นมาของชื่อนั้นมีอย่างไร อู่ทองเป็นชื่อของอาณาจักร และใช้เรียกรูปแบบของศิลปะด้วย ศิลปะอู่ทองเกิดขึ้นทางภาคกลางของประเทศไทย ที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรทวารวดี และต่อมาถูกชาวขอมเข้ามาครอบครองศิลปะแบบอู่ทองจึงเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลแบบต่างๆ มาผสมผสานกัน ศิลปะอู่ทองมีแยกออกไปเป็น 3 ยุค

ศิลปะอู่ทองยุคแรกหรืออู่ทองสุวรรณภูมิ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบมอญขอม คือได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบทวารวดีและขอมผสมผสานกัน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18

ศิลปะอู่ทองยุคกลางเป็นพุทธศิลปะตอนต้นของอยุธยา รูปแบบศิลปะยังมีอิทธิพลศิลปะขอมปะปนอยู่ พระพุทธรูปที่พบจะมีพุทธลักษณะมีเส้นไรพระศก พระเกศแบบเปลวเพลิง พระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม คางเป็นสัน ลำพระองค์ค่อนข้างชะลูด สังฆาฏิมักเป็นแบบปลายตัด และมักจะปรากฏเส้นขอบสบง มักทำเป็นแบบประทับนั่งปารมารวิชัยบนฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างในหรือฐานแบบสำเภา พระพุทธรูปแบบนี้มักเรียกกันว่า แบบแข็งสันคางคน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19

ศิลปะอู่ทองยุคปลาย มีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาปะปนอยู่มาก พระพักตร์ค่อนข้างเป็นแบบสุโขทัย แต่รูปแบบของอู่ทอง คือมีไรพระศกและมักมีเส้นขอบสบง ฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างในยังคงอยู่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ค้นพบเป็นจำนวนมากในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทีนี้พอผู้ที่พบพระเครื่องในกรุและมีพุทธลักษณะคล้ายๆ แบบนี้ ลำพระองค์ชะลูดๆ ก็มักจะตั้งชื่อว่าอู่ทองนำหน้าก่อนเสมอ แล้วจึงนำชื่อกรุหรือจังหวัดมาต่อท้ายตามสถานที่พบพระ

พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ถูกพบโดยกระทาชายนายหนึ่งที่มีอาชีพทางหาน้ำผึ้งป่าขายและได้ไปพบพระกรุนี้โดยบังเอิญ แกเข้าไปหาตีรังผึ้ง เพื่อเอาน้ำผึ้งมาขายที่เนินดินแห่งหนึ่งที่แกได้เข้ามาตีผึ้งเป็นประจำทุกปีซึ่งมีรังผึ้งชุกชุม บังเอิญไปพบพระกรุนี้เข้าและนำพระเครื่องกรุนี้มาขายในตลาด ผู้ที่พบเห็นและเช่าไปก็สอบถามว่าได้พระมาจากไหน ก็รู้ได้ว่าพบที่เนินดินที่เข้าไปตีผึ้ง สังเกตดูมีพุทธลักษณะลำพระองค์ชะลูดๆ และมีเส้นคล้ายเส้นไรพระศกและมีเส้นขอบสบง จึงเรียกชื่อนำหน้าว่าพระอู่ทอง ส่วนกรุน้ำผึ้งก็มาจากสถานที่และสาเหตุที่ไปพบเพราะเข้าไปตีผึ้ง และสถานที่อยู่ในจังหวัดสุโขทัย ก็เลยเป็นชื่อเรียกกันว่า "พระอู่ทอง กรุน้ำผึ้ง สุโขทัย" กันตลอดมา

พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันจนแทบจะลืมเลือนกันไปบ้าง คนในยุคหลังๆ ก็แทบไม่ค่อยรู้จัก ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระอู่ทอง กรุน้ำผึ้ง สุโขทัย เนื้อชินเงินมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์


.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26677542800704_14585745741458574586l_1_.jpg)
เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง

วัดรวกสุทธารามอยู่บริเวณบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่ง

สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา แม้จะไม่เป็นที่คุ้นหูของหลายๆ ท่าน แต่สำหรับชาวบางกอกน้อยและชาวธนบุรีแล้วเป็นที่เคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง มักแวะเวียนไปกราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันเป็นประจำ โดยเฉพาะ "หลวงพ่อดำ" พระประธานในอุโบสถเก่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่วัดมาช้านาน มักมีผู้คนมากมายมาบนบานศาลกล่าวขอพร ซึ่งก็จะประสบผลสมความตั้งใจเสมอมา

วัตถุมงคลของวัดรวกสุทธาราม มีการจัดสร้างออกมาหลายต่อหลายรุ่นเพื่อหาปัจจัยมาบูรณะและสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้คงสภาพความสมบูรณ์สืบต่อไป ซึ่งล้วนเป็นที่ศรัทธาและนิยมสะสมของพุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

สำหรับเหรียญที่จะกล่าวถึงนี้ถึงแม้จะไม่มีข่าวคราวเป็นที่ฮือฮาเฉกเช่นบางเหรียญ บางพระเกจิ แต่จากการพิจารณารูปแบบและแนวคิดในการจัดสร้างเหรียญ รวมทั้งสาระสำคัญของพิธีพุทธาภิเษกแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนึ่งเหรียญที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ อีกทั้งความเข้มขลังทางพุทธานุภาพน่าจะเป็นที่ปรากฏได้อย่างเด่นชัดทีเดียว นั่นคือ "เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง ปี 2518"

เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง ปี 2518 นี้ จัดสร้างเนื่องในโอกาสฉลองกำแพงวัด ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยสร้างพร้อมวัตถุมงคลหลายประเภท แต่ความโดดเด่นของเหรียญนี้อยู่ที่แนวความคิดในการจำลองรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 18 พระองค์ ผู้ทรงเกียรติคุณและคุณูปการมากมายต่อพระบวรพุทธศาสนามารวมในเหรียญเดียว อีกทั้งแบ่งเป็นด้านหน้า 9 พระองค์ ด้านหลัง 9 พระองค์ ในชื่อ 9 หน้า 9 หลัง อันถือเป็นนามมงคลยิ่งอีกด้วย พระสังฆราชทั้ง 18 พระองค์ มีพระนามดังนี้

    1.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (พ.ศ.2325-2337)
    2.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2337-2359)
    3.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2359-2362)
    4.สมเด็จพระอริยวงศษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2363-2365)
    5.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2365-2385)
    6.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะราชวรวิหาร (พ.ศ.2386-2392)
    7.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวัณณรังสี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหา วิหาร (พ.ศ.2394-2396)
    8.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2434-2435)
    9.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2435-2442)
   10.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2453-2464)
   11.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2465-2480)
   12.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2481-2487)
   13.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2488-2501)
   14.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2503-2505)
   15.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2506-2508)
   16.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร (พ.ศ.2508-2514)
   17.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2515-2517)
   18.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2517-2531)

นอกจากนี้ รูปทรงของเหรียญก็ออกแบบได้อย่างสวยงามลงตัว โดยมีการจัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงรมดำ

"พิธีพุทธาภิเษก" ถือได้ว่าจัดอย่างยิ่งใหญ่มาก จัดงานปลุกเสกกันถึง 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 9-11 เมษายน พ.ศ.2518 โดยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นเมตตาเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกคืนละ 9 รูป รวม 18 รูป ประกอบด้วย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม, พระอาจารย์สงัด วัดพระเชตุพนฯ, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, หลวงพ่อมุต วัดยางสุทธาราม, หลวงพ่ออยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงปู่เส่ง วัดน้อยนางหงส์, หลวงพ่อเฟื่อง วัดเจ้ามูล, พระครูจอย วัดบัวงาม, พระอาจารย์ประเดิม กทม., หลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อเฉลียว วัดถ้ำพระธาตุ, หลวงพ่อหวน วัดโพธิ์โสภาราม, หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อระเบียบ วัดอัมพวา และพระครูสมุห์พล วัดอัมพวา

ประการสำคัญ คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 ทรงเมตตาเป็นประธานจุดเทียนชัยและดับเทียนชัยอีกด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะพอสนับสนุนคำกล่าวเบื้องต้น ที่ว่า "ทรงคุณค่าทางจิตใจ และเข้มขลังทางพุทธานุภาพ" ได้เป็นอย่างดี สนนราคาก็ยังเช่าหากันได้อยู่ จึงนับเป็นหนึ่งเหรียญยุคกลางเก่ากลางใหม่ที่น่าสนใจสะสมทีเดียวครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11718252177039_view_resizing_images_1_.jpg)
พระกรุ วัดบางสะแกนอก

ย้อนไปในปีพ.ศ.2511 เจดีย์เก่าหลังอุโบสถ วัดบางสะแกนอก เขตตลาดพลู ฝั่งธนบุรี ซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ขณะที่พระลูกวัดกำลังทำความสะอาดบริเวณนั้นและช่วยกันรื้อพระเจดีย์เก่าเพื่อที่จะบูรณะใหม่ ก็ปรากฏพระเนื้อดิน ไหลทะลักออกมาจำนวนมาก เมื่อเรื่องทราบถึงพระครูไพโรจนคุณ เจ้าอาวาสสมัยนั้น จึงให้ไปนำพระมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะสูญหายไปเสียหมด เรียกกันว่า "พระกรุวัดสะแกนอก"

พระกรุวัดสะแกนอกเป็นพระเนื้อดินเผาผสมใบลานเผาไฟ เนื้อองค์พระมีสีต่างๆ ตามธรรมชาติการเผาของพระเนื้อดินทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดำจัดบ้างไม่จัดบ้าง ที่พบเห็นมี 2 พิมพ์ คือ พระนั่งสมาธิบนกลีบบัว และพระปิดตามหาลาภ (พระภควัมบดี) ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก โดยสภาพองค์พระที่อยู่หน้ากรุไม่ถูกน้ำจะงดงาม ส่วนองค์ที่แช่อยู่ในน้ำส่วนต่างๆ จึงลบเลือน ทำให้ด้อยความงดงามลงไป

จากการสันนิษฐานที่ไปที่มาของพระกรุวัดสะแกนอกแล้ว ตามเนื้อหาและพุทธศิลปะนั้นมีเอกลักษณ์ต่างๆ ใกล้เคียงกันมากกับพระที่สร้างโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เหตุผลสนับสนุนอีกประการ คือ ถึงแม้เจดีย์จะอยู่ภายในพื้นที่วัดสะแกนอก แต่วัดที่อยู่ใกล้เคียงกับองค์เจดีย์มากที่สุด คือ วัดบางสะแกใน ซึ่งสมัยนั้นเจ้าอาวาสคือหลวงปู่เม่ง ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข ที่ชาวบ้านตลาดพลูเคารพนับถืออย่างมาก

ประกอบกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จึงสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นพระที่หลวงปู่เม่งนำมาฝากกรุไว้ และหลวงปู่ศุขอาจได้ร่วมปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย เพราะพุทธคุณที่ปรากฏนั้นเข้มขลังครบครันในทุกด้าน ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากหลวงปู่ศุขมักได้รับนิมนต์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ และท่านก็สนิทกับพระเกจิหลายรูปแถบฝั่งธนบุรี จึงอาจมาจำพรรษากับหลวงปู่เม่ง ผู้เป็นศิษย์เอก

อัตโนประวัติของหลวงปู่เม่งนั้น เดิมท่านเป็นชาวชัยนาท เกิดที่บ้านโคกหม้อ ต.หน้าพระลาน อ.สรรคบุรี ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้ส่งท่านไปอยู่วัดตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดท่าวน อ.สรรคบุรี ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ รวมทั้งวิชาอาคมต่างๆ ได้ระยะหนึ่ง ก็เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ต่อมาเดินทางสู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาอาคมและไสยศาสตร์ชั้นสูงจากหลวงปู่ศุข ด้วยความที่ท่านเป็นคนใฝ่ใจศึกษาและสนใจในด้านนี้เป็นทุนเดิม จึงสามารถเรียนรู้จนแตกฉานเชี่ยวชาญในทุกวิชาที่หลวงปู่ศุขถ่ายทอดให้

หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม จนกระทั่งมาจำพรรษาที่วัดบางสะแกในเขตตลาดพลู ท่านเป็นที่เคารพรักและศรัทธาของชาวบ้านอย่างมาก ครั้นในปีพ.ศ.2460 เจ้าอาวาสองค์เดิมลาสิกขา ชาวบ้านจึงร่วมใจกราบเรียนให้หลวงปู่รับตำแหน่งเจ้าเอาวาสสืบต่อ แต่ด้วยท่านรักสันโดษและสมถะจึงได้ปฏิเสธไป จนชาวบ้านต้องไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณทักษิณคณิสร (สาย) วัดอิน (วัดใต้) ให้มาช่วยพูดให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อดูแลสืบสานพระบวรพุทธศาสนาและเผยแผ่ธรรมะสู่ญาติโยม หลวงปู่จึงยอมรับและได้ปกครองวัดบางสะแกในสืบมา วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างมากของชาวตลาดพลูและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่ร่ำลือกันว่า "เหนียวยิ่งนัก" ทีเดียว

สมัยก่อนนั้นชาวตลาดพลูมักกล่าวกันว่า ... "ถ้าจะหาพระด้านเมตตา ค้าขาย ต้องแขวนพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แต่ถ้าจะหาพระที่เหนียวสุดๆ ต้องพระของหลวงปู่เม่ง วัดบางสะแกใน"

สำหรับ "พระกรุวัดสะแกนอก" นี้แรกเริ่มหลังแตกกรุไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ด้วยเป็นพระกรุที่มีอายุการสร้างยังไม่มากนัก และในช่วงนั้นมีพระกรุอื่นๆ มากมายที่มีอายุอานามมากกว่า เป็นที่น่าสนใจให้เช่าหาบูชาสะสม แต่ต่อเมื่อ 10 ปีให้หลังปรากฏว่าผู้มีไว้ครอบครองต่างประสบปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ ทั้งแคล้วคลาด เมตตา มหานิยม และคงกระพันครบครันเป็นเลิศ จนเป็นที่เลื่องลือของชาวตลาดพลู ต่างเสาะแสวงหามาคู่กาย

เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป "พระกรุวัดสะแกนอก" จึงกลายเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ได้ข่าวว่ามีชาวสิงคโปร์ได้เข้ามากว้านเช่าจากคนในพื้นที่ไปคราวละหลายองค์ ทำให้ค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ลดหลั่นกันไปตามความสมบูรณ์สวยงามขององค์พระ

ปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่ายากเอาการอยู่ โดยเฉพาะองค์สวยๆ โดนเก็บเข้ารังหมดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 มิถุนายน 2559 11:04:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72968508634302_14093252741409325292l_1_.jpg)
พระสมเด็จ 3 ชั้นหลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

"พระครูนิสัยจริยคุณ" หรือ "หลวงพ่อโอด ปัญญาธโร" อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลีและอดีตเจ้าอาวาสวัดจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

เกิดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2460 อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2481 ณ พัทธสีมาวัด หัวเขา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูนิปุณธรรมธร วัดตาคลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพิพัทธศีลคุณ วัดหัวเขา อ.ตาคลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดัง คือ หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี และหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ สองพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอตาคลี ในฐานะเป็นหลานที่ใกล้ชิด โดยพ่อของหลวงพ่อโอด คือ นายชิต แป้นโต เป็นน้องชายแท้ๆ ของหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล และแม่ของนายชิต เป็นพี่สาวแม่ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ดังนั้นหลวงพ่อโอด จึงเรียกหลวงพ่อรุ่ง และหลวงพ่อเดิมว่าหลวงลุง

ด้านการศึกษาทางพุทธาคม เมื่อท่านกลับจากการเป็นครูสอนนักธรรมที่วัดดอนยานนาวาแล้ว ท่านมาอยู่กับหลวงพ่อรุ่ง ที่วัดหนองสีนวล ซึ่งในระยะนี้เองที่ท่านได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อรุ่ง

ส่วนหลวงพ่อเดิมนั้นมาที่วัดหนองสีนวลอยู่เป็นประจำ ทำให้หลวงพ่อโอดได้ศึกษาวิชาต่างๆ ไปด้วย

ทั้งนี้ จากคำบอกของท่านเองว่า ท่านยังมีอาจารย์อยู่อีก 2 รูป คือ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ในช่วงปีพ.ศ.2500 เป็นต้นมา ท่านมักไปเยี่ยมหลวงพ่อพรหมเป็นประจำ

หลวงพ่อโอดมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.2532 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 50

ใน ปี พ.ศ.2531 ท่านจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นพระสมเด็จสามชั้น นอกจากหลวงพ่อโอดะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังจัดประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ก่อนนำออกให้เช่าบูชา

ลักษณะของวัตถุมงคล เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมเหมือนพระสมเด็จทั่วๆ ไป ไม่มีขอบ ตรงกลางมีรูปนูนพระพุทธนั่งสมาธิ อยู่บนฐานสามชั้น มีซุ้มหวายครอบ ส่วนด้านหลังไม่มีขอบเช่นกัน ตรงกลางมีอักขระขอมตัวลึก "นะ เศรษฐี" สองชั้น ตัวใหญ่เกือบเต็มด้านหลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39102111177311_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋

"นางกวัก" นับเป็นหนึ่งใน "รูปเคารพ" ที่มีผู้นับถือและเลื่อมใสศรัทธากันอย่างมาก โดยเชื่อว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา ให้ทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

"รูปเคารพนางกวัก" โดยส่วนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบหรือคุกเข่าอยู่บนแท่นทอง มือขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ มือซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงินถุงทอง และจารึกอักขระขอม "หัวใจพระสีวลี" ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชา ลี ติ เป็นต้น

พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเรื่องสร้าง "นางกวัก" มีอาทิ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ รวมทั้ง อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ที่สร้างได้สวยงามมากแบบที่เรียกว่า "ทรงเครื่อง"

แต่สำหรับหนึ่งเดียวที่สร้าง "เหรียญนางกวัก" ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ก็คือ เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋ ติสสโร วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อแจ๋ เดิมชื่อ จั่น เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับปี พ.ศ.2432 ณ ต.ท่าไข่ อ.เมือง ในวัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์เที่ยงและพระอาจารย์ทองซึ่งมีศักดิ์เป็นอาที่วัดเมืองได้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาช่วยงานทางบ้านประมาณ 2-3 ปี จึงได้กลับไปบรรพชาอยู่กับหลวงอาทั้งสองอีกครั้ง ช่วงที่เป็นสามเณรนี้เอง ท่านได้ไปศึกษาพุทธาคมกับหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ซึ่งขณะนั้นท่านเดินทางมาเป็นครูสอนกรรมฐานอยู่ที่วัดโสธรวราราม

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมา วัดนครเนื่องเขต (ต้นตาล) จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2455 มี พระครูคณานุกิจ วัดแหลมบน (สายชล ณ รังษี) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวินัยธร (ปาน) วัดแหลมบน เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระครูฮ้อ วัดแหลมบน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "ติสสโร"

จากนั้นจำพรรษา ที่วัดนครเนื่องเขต (วัดต้นตาล) ศึกษาพระธรรมวินัย เรียนอักขระ เลขยันต์ และวิทยาอาคมต่างๆ จากพระครูญาณรังสีมุนีวงษา (ทำ) วัดสัมปทวน (นอก) เจ้าตำรับการสร้างพระปิดตาผงคลุกรักอันโด่งดัง, พระอาจารย์บัว วัดนครเนื่องเขต นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป รวมทั้งอาจารย์สอน ฆราวาสชาวเขมร ต่อมาย้ายมาจำพรรษา ณ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนอาจารย์พรหม เมื่อรับหน้าที่ปกครองดูแลวัด ท่านก็ได้ทำนุบำรุงและพัฒนาถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด จนวัดเจริญรุ่งเรือง

มรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2516 สิริอายุได้ 84 พรรษา 61

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อแจ๋สร้างนั้นมีเพียงไม่กี่รุ่น แต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์

สมัยนั้นใครได้รับวัตถุมงคลจากมือหลวงพ่อแจ๋ ติสสโร มักจะกล่าวกันว่า "รับกับมือแจ๋ แจ๋วแน่นอน" เป็นที่เล่าขานกันมาจนทุกวันนี้ ที่ได้รับความนิยมสูงในวงการ มีอาทิ เหรียญนางกวัก ปี 2502 เหรียญหลวงพ่อแจ๋ ปี 2502 พิมพ์หน้าหนุ่มและหน้าแก่ และรูปหล่อปั๊มปี 2513 พระเนื้อผง เป็นต้น

เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋ สร้างในปี พ.ศ.2502 นับเป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียว สร้างเป็นเนื้อเงินลงยา และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 เหรียญ ปัจจุบันมีค่านิยมสูงถึงหลักแสน และหายากยิ่งนัก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงห้าเหลี่ยม ด้านล่างเป็นเหมือนกลีบบัว 3 กลีบ หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเส้นลวด มีอักขระขอมล้อมรอบ ภายในกรอบยันต์เป็นรูปหญิงไทยโบราณนั่งพับเพียบ มือขวายกมือกวักลาภ มือซ้ายวางไว้ที่หน้าตัก ซึ่งมีอักขระขอมว่า "โมมา" เหนือศีรษะมีคำว่า "นะ" ที่หูด้านขวามีคำว่า "นิ" หูด้านซ้ายมีคำว่า "มา" แขนซ้ายมีอักขระว่า "พุทธ" ต่อลงมาเป็นอักษรไทยว่า "พระครูแจ๋" และใต้อาสนะมีอักขระว่า "ทา อิ กะ วิ ติ" ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ โดยหลวงพ่อแจ๋จะลงอักขระของท่านด้วยเหล็กจารทุกองค์

... ถ้าไม่มีก็ฟันธงได้ว่าไม่ทัน และไม่แท้ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58866746309730_1.jpg)
เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เพชรบุรี

ท่านสุนทรภู่ ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" ราวปีพ.ศ.2374 ว่า
"ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท    มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ    พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้      ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน
เขานับถือลือมาแต่บุราณ         ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน"

เป็นการกล่าวถึง "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หนึ่งในตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ และด้วยองค์พระมีทองคำเปลวปิดหนามาก จึงเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อทอง" ส่วน "วัดเขาตะเครา" นั้น เชื่อกันว่า เจ้าสัวชาวจีนผู้มีศรัทธาเป็นผู้สร้าง ผู้มาควบคุมมีเครายาว จึงเรียก "วัดเขาจีนเครา" แล้วค่อยเพี้ยนมาเป็น วัดเขาตาเครา จนถึง "วัดเขาตะเครา" ในที่สุด

หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศที่แวะเวียนไปกราบสักการะมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน วัตถุมงคลที่สร้างในแต่ละรุ่นก็ล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขวัญ ลองมานับเนื่องกันตั้งแต่รุ่นแรกครับผม

"รุ่นแรก" สร้างในสมัยพระอธิการห้อย ปี 2465 เป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระเรียก "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์" ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อ ด้านหลังมีอักขระ อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ "รุ่นสอง" ออกสมัยพระอธิการอินทร์ เป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปใบโพธิ์ มีเม็ดข้างขอบเหรียญ เรียก "เหรียญใบโพธิ์" ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อประทับนั่งบนบัลลังก์บัว ในซุ้มเรือนแก้วใต้ร่มโพธิ์

ด้านหลังเป็นยันต์สามเหลี่ยม มีอักขระ มะ อะ อุ พบหลังรูปยันต์คล้ายพระเจ้าห้าพระองค์บ้างแต่น้อยมาก "รุ่นสาม" ยังคงเป็นยุคพระอธิการอินทร์ ฉลองศาลาการเปรียญ ออกปี พ.ศ.2488 เป็นเหรียญเนื้อทองเหลือง รูปเสมา ด้านหน้าเป็นองค์พระในซุ้มเรือนแก้วคล้ายพระพุทธชินราช ด้านหลังปรากฏอักขระ พุท ธะ สัง มิ พระเจ้าห้าพระองค์ และ มะ อะ อุ ตรงกลางใต้อุณาโลม เป็นรูปสัตว์ใน 12 นักษัตร เช่น งู แพะ กระต่าย หรือว่างก็มี

ที่เป็นเหรียญรูปเสมา ยังมีอีก 2 รุ่น ที่ไม่ได้ออกที่วัดตะเครา แต่ได้รับความนิยมเล่นหาเช่นกัน เรียกกันว่า "รุ่นพิเศษ" รุ่นแรก ออกที่วัดต้นสน อ.บ้านแหลม โดยมีการแห่องค์หลวงพ่อไปตามวัดต่างๆ เป็นการสมโภชด้วย เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ รูปเสมา ด้านหลังเป็น นวหรคุณ และพระเจ้าห้าพระองค์ อีกรุ่น เป็นเหรียญรูปเสมาเช่นกัน แต่ด้านหลังมีคำ พุทโธ และยันต์ตรีนิสิงเห

มาถึง "รุ่นสี่" ออกสมัยพระอธิการอินทร์ ช่วงเริ่มสร้างโบสถ์ เป็นเหรียญทองแดงรมดำและเงินลงยา ลักษณะเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อ ด้านบนเป็นอักขระ มะ อะ อุ ปรากฏรัศมีล้อมรอบคำว่า "อุ" เขียนอักษรไทย "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" ด้านหลังมีอักขระ กะเตสิง เอกะชาติง ระวิง ระไว ระวัง ระวะ กลางเหรียญเป็นรูปตัวเอ ขมวด 10 ชั้น ส่วน "รุ่นห้า" จะออกไล่เลี่ยและคล้ายกับรุ่น 4 แต่ ตัวเอ ด้านหลังจะวางขวาง และมีอักขระผิดกันบ้าง

"รุ่นหก" สร้างในสมัยพระอธิการประสพ ฉลองกำแพงแก้วพระอุโบสถ ปี พ.ศ.2500 โดยเริ่มสร้างเป็นองค์หลวงพ่อลอยตัว จึงเรียก "ยอดธง 2500" และสร้างจำนวน 2,500 องค์ตามปีที่สร้าง "รุ่นเจ็ด" เป็นเหรียญกลมมีเนื้อทองแดง เนื้อเงินลงยา เนื้อทองคำ ด้านหลังมีอักขระ กะเตสิง เอกะชาติง ระวิง ระไว ระวัง ระวะ ออกปี พ.ศ.2500 "รุ่นแปด" เป็นลอยตัวออกปี พ.ศ.2501

สำหรับ "รุ่นเก้า" สร้างในงานปิดทองฝังลูกนิมิตปี พ.ศ.2501 มีหลายแบบ อาทิ เหรียญสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อเงินลงยา ทองแดง, เหรียญกลม-รีเล็กน้อย มีเนื้อทองแดง เงินลงยา และทองคำ และเหรียญรูปไข่รี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ที่วงการเรียกว่า "รุ่นใบมะขาม" นอกจากนี้ยังสร้าง แหนบรูปราชรถ และธรรมจักร เป็นเงินลงยา อีกด้วย

"รุ่นสิบ" ออกในงานฉลองโบสถ์ ปี พ.ศ.2506 ยุคพระอธิการประสพเช่นกัน มีแบบพระกริ่งลอยตัว เนื้อทองแดง มีหูในตัว วงการเรียก "รุ่นหูใหญ่", พระกริ่ง เนื้อทองแดง ซึ่งเนื้อค่อนข้างอ่อน ไม่มีหู มักมาเชื่อมที่หลังเรียกกันว่า "กริ่งรุ่นสอง" และพระกริ่งลอยตัว เนื้อทองเหลือง หูในตัว แต่ไม่สู้จะสวยนัก

วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดเขาตะเครานั้น มีจัดสร้างมากมายหลายแบบ จะค่อยๆ นำมาเรียนบอกท่านผู้อ่านตามกำลังเนื้อที่ต่อไปครับผม
 
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27046545926067_view_resizing_images_1_.jpg)
พระสมเด็จหลวงพ่อรุ้ง จ.อุทัยธานี

"พระครูอุทัยธรรมรุจี" หรือ "หลวงพ่อรุ้ง รุจจโน" พระนักพัฒนาผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาธรรมสูง ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิปทางดงาม แม้วัยจะล่วงเข้า 67 ปี ตื่นแต่เช้า กวาดลานวัด ทำงาน ฉันเพลเวลาเดียว นั่งสมาธิภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจำ

ก่อนที่ท่านจะมาสร้างวัดหนองบำหรุ ท่านเคยปรนนิบัติรับใช้เป็นศิษย์สายตรงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม และหลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส วัดป่าโยธาประสิทธิ์

มีนามเดิมว่า รุ้ง ประเมินชัย เกิดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2492 ที่บ้านบุ ต.จระเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

ชีวิตวัยเยาว์ค่อนข้างลำบาก ไม่ได้เรียนหนังสือ บิดา-มารดาพาไปฝากเป็นเด็กวัด ที่วัดคอก บ้านเขาคอก ต.เขาโคก ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน

พ.ศ.2508 อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านกระทม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีหลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2511 อุปสมบทที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สมศักดิ์ วัดบูรพาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอนุญาต วัดนิคมพัฒนา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโยธาประสิทธิ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยกับพระอุปัชฌาย์ เรียนพระธรรมวินัย นักธรรม พร้อมวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไปด้วย

สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ จากสำนักเรียนวัดป่าโยธาประสิทธิ์

พ.ศ.2529 ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ร่ำเรียนฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับครูอาจารย์หลายท่านตามจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ ยังเดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า เขมร ลาว อินเดีย เพื่อเล่าเรียนและฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน รวม 5 พรรษา

พ.ศ.2533 หลวงพ่อรุ้งธุดงค์มาที่ บ้านหนองบำหรุ หมู่ที่ 13 ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี และพำนักอาศัยที่เพิงมุงแฝกกลางป่า

ต่อมา ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา นายอุดม จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน มอบที่ดินให้หลวงพ่อรุ้ง 4 ไร่เศษ ให้สร้างวัด และชาวบ้านต่างร่วมใจกันสร้างวัดหนองบำหรุจนแล้วเสร็จ และวัดมีที่ดินเพิ่มเติมถึง 30 ไร่

ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อรุ้งจัดสร้างตะกรุดเสือ เชือกคาดเอวถักด้วยด้ายสีรุ้ง ตามนามของท่าน เป็นที่เสาะหาของบรรดาศิษยานุศิษย์

ท่านสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่นมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่จัดสร้างไว้เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญพัฒนาวัดหนองบำหรุ

พ.ศ.2556 หลวงพ่อรุ้งจัดสร้าง "ศาลารวมใจ" เพื่อไว้ปฏิบัติศาสนกิจ และจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ รุ่นเมตตามหาโชค" และ "ตะกรุดเสือ" เพื่อไว้มอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบริจาคสร้างศาลารวมใจ

พระสมเด็จหลวงพ่อรุ้ง รุ่นเมตตามหาโชค จัดสร้างจำนวน 999 องค์ เป็นพระเนื้อผง สี่เหลี่ยม พิมพ์สมเด็จสามชั้น เหมือนพระสมเด็จทั่วไป แต่ด้านหลังพระสมเด็จชุดนี้ ท่านใช้ปากกาหมึกสีฟ้าจารอักขระขอม และนำผ้าสังฆาฏิของท่านที่ใช้มา 45 พรรษา ตัดเป็นสี่เหลี่ยมติดทับอักขระ พร้อมเส้นเกศาไว้ด้านบนสังฆาฏิอีกทีหนึ่ง

หลวงพ่อรุ้งปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาสผู้สนใจ ติดต่อที่วัดหนองบำหรุ ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี โทร.08-0074-4471 รายได้สมทบทุนศาลาปฏิบัติธรรม

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50912209062112_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญพระพุทธอุตมมุนีนาถ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 เม.ย.2554 วัดอุดมวิทยา บ้านหนองซอน ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธอุตมมุนีนาถ พระประธานแกะสลักจากหิน ปางปฐมเทศนาหน้าตัก 39 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ลานกลางแจ้งในวัด

พระพุทธอุตมมุนีนาถ มีญาติโยมที่มีจิตศรัทธาที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบธุรกิจจัดสร้างขึ้นถวาย ในวาระดังกล่าว วัดอุดมวิทยา ได้จัดสร้าง "เหรียญพระพุทธ อุตมมุนีนาถ รุ่นมหาเศรษฐี" ขึ้นด้วย

เพื่อหาจตุปัจจัยก่อสร้างวิหารครอบพระพุทธอุตมมุนีนาถ ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบ มีหูห่วง สูงถึง 4 เซนติเมตร เหรียญที่จัดสร้างประกอบด้วยเนื้อทองแดง สร้าง 500 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า สร้าง 300 เหรียญ และทองเหลือง สร้าง 500 เหรียญ นับว่าจำนวนสร้างน้อยมาก

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธปางปฐมเทศนา จำลองพุทธศิลปะมาจากพระพุทธอุตมมุนีนาถ ประทับนั่งบนบัลลังก์ บริเวณขอบเหรียญด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "พระพุทธอุตมมุนีนาถ" และตอกโค้ดเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคลหมายถึงความก้าวหน้า

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ อ่านว่า อิ อี นะ มะ อะ อุ เป็นคาถาหัวใจไตรสรณคมน์ และตอกโค้ดเลข 5 หมายถึงให้ผู้ห้อยเหรียญนี้พึงมีสติดำรงชีวิตอยู่ในศีล 5 นอกจากนี้ บริเวณด้านใต้อักขระยันต์ยังมีตัวอักษรเขียนว่า "มหาเศรษฐี" และจากขอบเหรียญด้านขวาลงไปด้านล่างวนขึ้นไปขอบเหรียญด้านซ้าย เขียนว่า "วัดอุดมวิทยา บ.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม"

พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องรุ่นนี้จัดยิ่งใหญ่มากเนื่องเพราะมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมพิธีนั่งปรกล้วนมีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่เพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลราชธานี เป็นต้น โดยมีพระครูโพธิบุญวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอเชียงยืน ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย และหลวงปู่คำบุ ดับเทียนชัย

หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลเหรียญรุ่นนี้ ได้เปิดให้พุทธศาสนิก ชนเช่าบูชา ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พลังจิตของพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแก่กล้า การันตีได้ในความเข้มขลัง จึงได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิก ชนที่ร่วมพิธีอย่างล้นหลาม เหรียญบางเนื้อหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

ถึงแม้จะเป็นวัตถุมงคลใหม่ แต่กระแสการเช่าหาเหรียญรุ่นนี้กำลังแรง

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสด

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59391896178324_view_resizing_images_1_.jpg)
หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน วัดบางปลาหมอ
 
"หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดัง 5 แผ่นดิน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ประวัติของหลวงปู่หมุน เริ่มเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม และฝึกกัมมัฏฐานมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนอุปสมบทพระภิกษุ จากพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมัฏฐานและวิทยาอาคม

ในปี พ.ศ.2464 จึงเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ศึกษาแสวงหาประสบการณ์ โดยร่ำเรียนวิทยาคมและสมถกัมมัฏฐานในชั้นที่สูงขึ้นไปจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก นอกจากนี้ ยังนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบพุทธาคมในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ราชอาณาจักรลาว อีกด้วย

ประมาณปี พ.ศ.2467 หลวงปู่หมุนกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณ ศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ท่านก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จากนั้นจึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติวิปัสสนาธุระเพียงอย่างเดียว
 
ประมาณปี พ.ศ.2487 อายุ 50 ปี ท่านออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบโดยลำพังอีกครั้ง ในช่วงนี้ท่านได้พบอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ท่านทั้ง 2 จึงนิมนต์ให้โปรดญาติโยม ณ วัดป่าหนองหล่ม ระยะหนึ่ง

หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์อยู่หลายสิบปี จนประมาณปี พ.ศ.2520 จึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งในยามนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านได้พัฒนาและสร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเหลือลูกศิษย์และสหธรรมิกอีกหลายวัด อาทิ วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง,วัดซับลำใย และศิษยานุศิษย์ในการสร้างถาวรวัตถุและประโยชน์ต่างๆ ต่อพระพุทธศาสนา จนเป็นที่มาของวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายต่อหลายรุ่น

หลวงปู่หมุนมรณภาพ อย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2546 สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86 ภายหลังจากหลวงปู่หมุนมรณภาพ ปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
 
เนื่องด้วย วัดบางปลาหมอ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ต้องการปัจจัยสมทบทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะสถานต่างๆ ภายในวัดที่ชำรุดทรุดโทรม

พระสมุห์ธนิตย์ จันทิโก เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ จึงดำริที่จะจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง จึงนำความปรึกษากับ หลวงปู่อุดมทรัพย์ (หลวงปู่จ่อย) ผู้สืบทอดพุทธาคมจาก หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เพื่อขออนุญาตในการจัดสร้างวัตถุมงคล พระบูชา เหรียญหลวงปู่หมุน โดยตั้งชื่อ วัตถุมงคลหลวงปู่หมุนชุดนี้ว่า "บารมีบรมครู ๕๙" เปรียบดังพึ่งบารมีบรมครูหลวงปู่หมุน เพื่อให้งานบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางปลาหมอครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี

ในการนี้ พระสมุห์ธนิตย์ จันทิโก เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ มอบหมายให้นายพงศ์พัศ พิทักษ์วงศ์ พร้อมด้วยพี่น้องคณะศรัทธากลุ่มสมุทรโลกบุรี เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างและเปิดจองเช่าบูชาวัตถุมงคลชุดบารมีบรมครู ๕๙

สำหรับวัตถุมงคลชุดนี้ มีชนวนมวลสาร อาทิ ชนวน พระกริ่งหลวงปู่หมุน พิธีสมปรารถนา ปี 2543, ผงพุทธคุณ 350 อย่าง วัดทรัพย์ลำใย หลวงปู่หมุน เสกไว้, กำไลเงิน หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา, แร่บางไผ่ หลวงปู่จันทร์ วัดโมลี, ชนวนพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ฯลฯ

สำหรับวาระประกอบพิธีพุทธาภิเษก กำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย.2559 เวลา 15.39 น. เป็นต้นไป ที่มลฑลพิธี วัดบางปลาหมอ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยมีพระเกจิคณาจารย์ ร่วมอธิษฐานจิต คือ หลวงปู่อุดมทรัพย์ (จ่อย สิริคโต), พระครูสุนันทโชติ (หลวงปู่นิ่ม โชติธัมโม) วัดพุทธมงคล, พระราชพัฒนโสภณ (หลวงพ่อเณร ญาณวินโย) วัดทุ่งเศรษฐี, พระครูพิศาลจริยาภิรม (หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง และพระครูโสตถิธรรมโสภณ (พระอาจารย์แว่น) วัดป่าโคกกลาง จ.กาฬสินธุ์

ผู้สนใจสร้างกุศลร่วมสั่งจองวัตถุมงคลหลวงปู่หมุน รุ่นบารมีบรมครู ๕๙ สอบถามรายละเอียด โทร.09-4873-5359, 08-1192-8246




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 มิถุนายน 2559 11:11:24
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91397890862491_1.jpg)
พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม

พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์คอตึง เป็นอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อเดิม พุทธสโร ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางพอๆ กับ "พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์นิยม" อาจเนื่องจากการพิจารณาง่ายกว่ากันมาก การเช่าหาของแท้จึงง่ายกว่า

ประวัติการสร้างแต่เดิมนั้น เคยระบุว่าสร้างก่อน "พิมพ์นิยม" แต่เนื่องจากพิมพ์ด้านหลังไปเหมือนกับ "พิมพ์ด้านหลังของพิมพ์นิยม พิมพ์ดี" จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นการสร้างขึ้นหลัง "พิมพ์นิยม" มากกว่า

หลวงพ่อเดิม เป็นชาวนครสวรรค์โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 บวชในปี พ.ศ.2423 จึงอุปสมบท ณ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร" แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองโพ ศึกษาพระธรรมวินัย

มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุ 92 ปี พรรษา 71

สำหรับพระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์คอตึง จัดสร้างเฉพาะเนื้อทองเหลือง จำนวนไม่เกิน 1,000 องค์ ลักษณะเป็นรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิมเต็มองค์ นั่งสมาธิ เหนืออาสนะฐานเขียง ลักษณะเป็นธรรมชาติ ศีรษะและลำตัวดูใหญ่ ใบหน้าไม่ประณีตเท่าพิมพ์นิยม ลำคออวบอ้วน เส้นคอเป็นสันหนา 2 เส้น ติดกับคาง ทำให้ใบหน้าของหลวงพ่อดูเชิดขึ้น เอกลักษณ์สำคัญคือ ลักษณะ "คอตึง" อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ที่ฐานจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อเดิม" สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 บล็อก คือ "บล็อก ตัว "ง" หางสั้น หรือ จีวรถี่" และ "บล็อก ตัว "ง" หางยาว หรือ จีวรห่าง" โดยพิจารณาจาก ตัว "ง" ของคำว่า "หลวง" และบริเวณจีวรด้านขวามือเป็นหลักดังนี้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20706457479132_2.jpg)

"บล็อก ตัว "ง" หางสั้น" หรือ "จีวรถี่"

- หางตัว "ง" จะสั้นแค่ครึ่งของตัว "ว" และจะมีเส้นพาดขวางที่กลางตัว "ว" ไปจรดตัว "ล"
- ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวามือของรูปเหมือน ลักษณะช่วงริ้วจีวรจะมีเส้นความถี่ของพิมพ์มากกว่า
- นัยน์ตาหลวงพ่อติดชัดเจน ตาซ้ายต่ำกว่าตาขวา
- หางตัว "พ" มีขีดเฉียงขึ้น
- มีเส้นขีดขวางแนวนอนพาดผ่านผ้าสังฆาฏิไปหาจีวร
- ใต้รักแร้ขวาของหลวงพ่อ มีเส้นขีด 2 เส้นเชื่อมไปจรดจีวร
"บล็อก ตัว "ง" หางยาว" หรือ "จีวรห่าง"
- หางตัว "ง" จะยาวขึ้นไปเกือบอยู่ในแนวเดียวกับหัวตัว "ว" และไม่มีเส้นพาดกลางตัว "ว"
- ให้สังเกตที่ริ้วจีวรด้านขวามือของรูปเหมือน ลักษณะของริ้วจีวรจะห่าง
- ภายในร่องโค้งของผ้าสังฆาฏิ มีขีดเป็นแนวนอน
- รอยพับที่ผ้าสังฆาฏิลึกและร่องใหญ่กว่าพิมพ์ ตัว "ง" หางสั้น
- เส้นลำคอของหลวงพ่อจะเล็กและแคบกว่าพิมพ์ ตัว "ง" หางสั้น

ส่วนพิมพ์ด้านหลังและฐานจะคล้ายกับ "พิมพ์นิยม พิมพ์ดี" โดยเฉพาะบริเวณจีวรด้านล่างซึ่งมีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ รวมถึงบริเวณข้อศอก แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียว เช่น ตรงท้ายทอยเป็นบ่อยุบลงไป, ฐานจะมีทั้งแบบฐานกลมและฐานเหลี่ยม จากการตกแต่งของช่างที่มีหลายคนหลายฝีมือ ใต้ฐานโดยส่วนใหญ่จะมี "รอยจาร" บางองค์จารยันต์ "พุดซ้อน" บางองค์จารยันต์ "นะซ่อนหัว" บางองค์จารทั้งสองแบบ ซึ่งรอยจารจะเล็กเรียว ต้องส่องด้วยกล้องถึงจะเห็น

การพิจารณาใช้หลักการพิจารณาเบื้องต้นคล้ายกับพิมพ์นิยม คือ เนื่องจากเป็นพระรูปเหมือนปั๊มกระแทก เส้นสายรายละเอียดต่างๆ จึงมีความคมชัดเจน ไม่เบลอ และผิวโลหะจะมีความเรียบ แน่น ตึง ไม่มีรูพรุนอากาศแบบพระหล่อ, ตัวอักษรที่เขียนว่า "หลวงพ่อเดิม" อาจปั๊มไม่ติดหรือมีรอยบุบบู้บี้อันเกิดจากแรงกระแทก เพราะตัวหนังสือเป็นส่วนที่นูนออกมา จึงเป็นจุดที่ได้รับแรงกระแทกมากกว่าจุดอื่น แต่ก็ไม่เป็นทุกองค์ องค์ที่ปั๊มติดสวยๆ สมบูรณ์แบบก็มี

ซึ่งสนนราคาก็จะสมกับความสมบูรณ์แบบเช่นกันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิศฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 01 กรกฎาคม 2559 19:59:43
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39734223319424_1.jpg)
พระปิดตาวัดทองยันต์น่อง

จุดเด่นของพระปิดตาวัดทอง (วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย) อยู่ที่มียันต์เป็นเส้นนูนเหมือนเส้นขนมจีนรอบองค์ เรียกขานในวงการ “วัดทองยันต์ยุ่ง”  และหากองค์ใดมียันต์ที่ยุ่งอยู่แล้ว แปะไว้ตรงพระบาท พิมพ์นี้ถือเป็นพิเศษอีกนิด พ่อค้าเรียกราคาแพงขึ้นไปอีกหน่อย เรียกกันว่า “ยันต์น่อง”

อย่างองค์ในภาพ ยันต์เลขหนึ่ง ซึ่งหลายๆ องค์แปะไว้ในช่องว่างกลางองค์พระ เลื่อนลงมาปิดที่พระบาท ก็ต้องเรียก “ยันต์น่อง”

มองโดยภาพรวม เค้าเดิมขององค์พระปิดตามาจากพระมหากัจจายนะ อัครสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เหตุที่มีคนทักผิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า กับความหลงใหลของคนที่เห็นหลายคน ท่านก็เลยอธิษฐาน แปลงเป็นพระอ้วนเตี้ยพุงพลุ้ย

ชาวบ้านเรียก พระสังกัจจายน์ ยังไม่พอ ก็ยังจินตนาการต่อ ให้ท่านยกมือปิดตา

พระปิดตาวัดทองพิมพ์ทั่วไป มีมือสี่คู่ปิดตา ปิดหู ปิดท้อง ปิดก้น เรียกปิดทวารทั้งเก้า    สมัยก่อน กลัวกันมาก บ้านไหนมีผู้หญิงคลอดลูกเอาไว้ในบ้านไม่ได้ แต่ความจริงแล้วรูปแบบปิดทวารทั้งเก้าคือลายแทงค้นหาทางหนีทุกข์  เมื่อใดที่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็น ได้ยินแล้วสักแต่ว่าได้ยิน ฯลฯ ใจก็จะสงบเย็น ใกล้พระนิพพานเข้าไปเต็มที

ที่พูดกันว่า พุทธคุณของพระช่วยให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเป็นความเชื่อขั้นเปลือก เจตนาของผู้สร้างพระอยู่ที่เนื้อใน หากนับถือพระ มั่นคงในศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่โกหก ไม่เมาจนเผลอสติไปล่วงเกินใคร ไม่ต้องอาราธนาให้พระช่วย อยู่รอดปลอดภัยทุกคน

หลักการดูพระปิดตาวัดทอง ดูพระแท้หลายๆ องค์จนคุ้นตาแล้วก็จะพบว่า แม้สร้างฝีมือเดียวกัน ภาพรวมๆ คล้ายกัน แต่จริงๆ แล้ว พระทุกองค์ไม่เหมือนกันเลย

อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ (ช.อิสรานนท์) เขียนให้ความรู้ไว้ (หนังสืองานศพ อำมาตย์เอกพระยาชลปทานธนารักษ์ เมื่อปี 2515) ว่าวัสดุก็คือโลหะที่ใช้ หลวงพ่อทับเที่ยวไปหามาจากโลหะยอดเจดีย์วัดราชบูรณะอยุธยา โลหะยอดพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ ฯลฯ เอาไปรวมกับปรอท ทองแดง เงิน ดีบุก ชิน รวม 7 อย่าง เรียกสัตโลหะ

พระปิดตาวัดทอง สร้างทีละองค์ กระบวนการสร้างหุ่นต้นแบบจึงละเอียดลออ ซับซ้อนเมื่อปั้นองค์พระหุ่นอ้วนเตี้ย เขียนยันต์ร่างไว้แล้ว ก็ใช้ขี้ผึ้งผสม ปั้นคลึงรีดให้เรียวเล็กตามขนาดองค์พระ ติดขดไปตามรอยเลขยันต์

ได้หุ่นขี้ผึ้งแล้ว เริ่มด้วยการใช้ดินขี้วัวละเอียดชโลมให้ทั่ว เอาไปพอกด้วยดินหุ่น มัดด้วยเส้นลวด เข้าชนวน  จากนั้นก็ถึงการหล่อ เบ้าต้องเผาให้ให้ร้อนจัด เนื้อทองที่หลอมก็ร้อนจัดละลายใสเหมือนแก้วที่กระทบแสงแดด สองอย่างพร้อมเมื่อไร ก็เริ่มเททองลงหุ่น

เนื้อทองจะวิ่งเข้าไปตามเส้นขี้ผึ้งทั่วถึงกันหมด ไม่ขาดวิ่นแหว่งเว้า สำเร็จรูปออกมาประณีตงดงามทุกองค์ เนื้อพระจะเห็นเป็นสีค่อนข้างขาวค่อนข้างดำ ดำแกมเขียว เหมือนปีกแมลงทับ หรือค่อนข้างแดง แต่ส่วนมากสีจะค่อนข้างดำ (เรียกว่าเนื้อกลับ) ถ้าแกมเขียวก็ดูสีสวยเงางามอย่างสีอื่น เนื้อเมฆพัตรมีบ้าง แต่จำนวนน้อย แต่วิชาที่อาจารย์ชื้นท่านขยักเก็บไว้ ไม่ขยายก็คือ ในร่องลึก ในซอกยันต์พระปิดตาวัดทองทุกองค์ มักจะมีเนื้อดินขี้วัวสีขาวนวลแห้งผากเหลืออยู่   องค์ไหนเจอรอยกะเทาะสีขาววาววับ นั่นน่าจะเป็นผิวปรอท ท่านว่าเป็นหลักฐานบ่งชี้เป็นพระแท้

พระปลอมฝีมือดี นับแต่ฝีมือขี้ยาปั้นหยาบๆ เมื่อราวๆ ปี 2500 มาถึงวันนี้ ทำได้ใกล้เคียงของจริง ขนาดติดที่หนึ่งในงานประกวด เอามาพิมพ์ในหนังสือเล่มใหญ่ เป็นการการันตีซ้ำ ทำให้นักเล่นรุ่นใหม่ไขว้เขว

หลักสำคัญพระปิดตาวัดทองทุกองค์ต้องไม่เหมือนกัน ดูคล้ายกันได้ แต่ทุกเส้นสายต้องไปคนละทาง เพราะปั้นคนละที หลอมหล่อทีละองค์ ถ้ามีองค์หนึ่ง แล้วเจอองค์สองไม่ต้องถามถึงองค์ที่สาม พระเก๊แน่นอน ถ้าถือไว้ก็วางได้ เอาองค์ที่สองไปยืนยัน ขอเงินคืน แล้วคอยดู เซียนใหญ่จะว่าไง?

   พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54654884090026_2.jpg)
พระปิดตาหลวงปู่ไข่

ที่ว่ากันว่า พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี มีจำนวนน้อยสุด หายากที่สุด 5 ปี จะปรากฏในวงการพระเครื่องสักองค์นั้น เห็นจะต้องปรับความเชื่อใหม่ เพราะยังมีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (บพิตรภิมุข) กรุงเทพฯ ที่น้อยกว่า หายากกว่าและราคา คุณพยัพ คำพันธุ์ เขียนไว้ในหนังสือพระปิดตายอดนิยม (สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2557) ว่า แพงที่สุดอันดับหนึ่งของประเทศไทย

ประวัติหลวงปู่ไข่ ชัดเจน เกิด 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา  6 ขวบเป็นสามเณร ศิษย์หลวงพ่อปานวัดโสธรฯ เรียนหนังสือเก่ง เทศน์มหาชาติเก่ง ย้ายไปอยู่วัดน้อย พนัสนิคม เรียนปริยัติที่วัดหงส์ คลองบางกอกใหญ่แล้วไปอยู่วัดลัดด่าน แม่กลอง  บวชเป็นพระ พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เป็นอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐานที่กาญจนบุรี เดินทางแบบธุดงค์ไปมาราว 15 ปี ชื่อเสียงเลื่องลือ ถูกนิมนต์ไปอยู่วัดบางยี่เรือ ธนบุรี 1 พรรษา แล้วก็ออกธุดงค์ต่อ จนกระทั่งมาอยู่วัดเชิงเลน กรุงเทพฯ เป็นวัดสุดท้าย

พระเครื่องที่หลวงปู่ไข่สร้าง ตั้งแต่ปี 2464 มีหลายอย่าง แต่ที่รู้จักคือพระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลีบบัว

ช่วงปลายชีวิตหลวงปู่อาพาธ แต่ไม่ให้หมอดูแลรักษา เล่ากันว่า วันนั้น 7 มิถุนายน พ.ศ.2474  หลวงปู่ให้ลูกศิษย์ไปซื้อดอกไม้ธูปเทียนมา แล้วครองจีวร พาดสังฆาฏิ ผ้ารัดอก เรียบร้อย นั่งสวดมนต์บูชาพระจนจบแล้วท่านก็นั่งสมาธิ

ท่านนั่งสมาธิอยู่นาน นานจนกระทั่งศิษย์สังเกตได้ว่า ที่เห็นหลวงปู่ในท่านั่งนั้น ท่านมรณภาพแล้ว

หลวงปู่ไข่ เป็นพระอาจารย์ไม่กี่รูปที่พิสูจน์ว่ามีฌานแก่กล้า สะกดความเจ็บปวดได้ และที่น่าอัศจรรย์ ท่านรู้วันตายล่วงหน้า ตั้งรับความตายได้องอาจผึ่งผายยิ่งใหญ่มาก   

พยัพ คำพันธุ์ บอกว่าพระปิดตาหลวงปู่ไข่มีสามพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีสองเนื้อ 1 เนื้อผงคลุกรัก จุ่มรัก และผงสีขาวอมเหลือง แก่น้ำมัน มีภาพสี สภาพต่างกันเป็นองค์ครู ให้ดูเป็นตัวอย่าง 4 องค์

ความรู้จากคุณพยัพผมขออนุญาตเอาไปต่อยอดกับความรู้หนังสืองานศพ พระยาชลประทานธนารักษ์ พ.ศ.2515 อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ พรรณนาว่า หลวงปู่ไข่ ใช้สมุดข่อยเก่าแก่ มีเลขยันต์เวทมนตร์ที่ได้ลอกคัดไว้แล้วกับใบลานคัมภีร์เก่าหมดสภาพ มาเผาทำผง รวมกับผงที่ท่านเขียนยันต์อักขระ แล้วลบเก็บไว้ ผสมกับใบมะยม ใบมะตูม ใบมะขวิด เกสรดอกพุทธรักษา อาจารย์ชื้นไม่พูดถึงน้ำมันที่ทำเป็นเชื้อประสานก็ต้องใช้ความรู้คุณพยัพ ท่านใช้น้ำรักคลุกรัก พิมพ์เป็นองค์พระ

แต่ประเด็น “จุ่มรัก” นั้นเป็นประเด็นต้องพิจารณา อาจารย์ชื้น บอกว่า หลวงปู่ไข่ใช้ผงถ่านสมุดข่อยกับใบลานเผา (อย่างเดียว กับส่วนผสมหนักของเนื้อพระ) ผสมน้ำมันตังอิ้ว ทาทั่วองค์พระจนหนา แล้วปิดทองทั่วองค์บ้าง ไม่ทั่วองค์บ้าง เมื่อเก็บไว้นานปี สภาพของผงถ่านและน้ำมันตังอิ้ว จึงดูเหมือนลงรักอย่างหนา ผิวรักมักบางเรียบเนียนแน่นกับผิวองค์พระ แต่สภาพของผงถ่านน้ำมันตังอิ้วมักยับย่น เป็นหลุมบ่อ

เหมือนองค์ในภาพ ด้านหลังบางส่วนกะเทาะหลุดล่อนออก เห็นเนื้อใน สีน้ำตาลแก่ บางองค์ท่านใช้แค่น้ำมันตังอิ้วทาแล้วปิดทอง ผิวพระที่ปรากฏไม่ยับย่นเหมือนผิวตังอิ้วผสมถ่าน แต่เรียบสีค่อนไปทางเขียวแก่ อาจารย์ชื้น ท่านว่า เหมือนสีของยาเขียวใหญ่

ถึงวันนี้ อายุพระปิดตาหลวงปู่ไข่นับจากปีที่เริ่มสร้าง พ.ศ.2464 อีกปีเดียวก็ครบร้อย ดูภาพพระแท้จากองค์ครู ดูแม่พิมพ์ เนื้อหาและผิวพระให้ติดตา วันที่มีบุญอาจได้พระไว้ในมือ จะได้เก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ปล่อยให้หลุดไปเพราะน้ำลายปากเซียน

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ที่คุณพยัพ นิยามว่าแพงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ของจริงแทบจะไม่มีให้ดู ที่ได้ดูๆ กันจนเผลอ- ไผลหลงไปได้นั้น เป็นพระปลอม วันนี้ฝีมือยังห่างไกล แต่ความที่พระแท้แสนแพง วันหน้าคงประมาทไม่ได้เลย.

   พลายชุมพล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30574369761678_3.jpg)
จากเม็ดกระดุม - ถึงซุ้มกอ

พระพิมพ์ดินดิบองค์เล็กพบที่เขาศรีวิชัย อ.พุนพิน และที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2522 และเมื่อปี 2533 รวมกันราว 400 องค์ สัณฐานวงกลมขนาดเหรียญบาท ด้านหลังโค้งนูนเหมือนเม็ดกระดุม ถูกเรียกชื่อพระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย

เคยมีคนบอก หากจะยกให้พระรอดศิลปะหริภุญไชยเป็นขุนพลเมืองเหนือ ก็ต้องยอมรับให้พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยเป็นขุนพลเมืองใต้ นี่ว่ากันด้วยเส้นสายลายพิมพ์ เชิงชั้นด้านศิลปะและอายุคือความเก่า ประมาณว่าอยู่ในช่วงอายุเฉลี่ย 1 พันปี

อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวไว้ในหนังสือ รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค พ.ศ.2553) ว่า พระพิมพ์ทรงกลม พบที่อำเภอไชยา มีกรอบเป็นจารึกคาถา เย ธรมา ล้อมรอบ จำลองมาจากพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นที่แคว้นพิหารของอินเดีย อันเป็นที่ตั้งของพุทธคยาและนาลันทา ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16-17  จึงตีความว่า เป็นพระศากยมุนี ซึ่งทรงเป็นนิรมาณกายของพระพุทธะที่ปรากฏในโลกมนุษย์

มาลัยรักษ์ เขียนไว้ในคเณศ์พร ฉบับ 169 พ.ศ.2549 ว่า ดูจากเส้นสายศิลปะ เฉลี่ยการทำระหว่างปี พ.ศ.1300-1400 มีสีแดงอิฐ สีดำ สีพิกุล สีมอย และสีขาว มีสองพิมพ์ พิมพ์ต้อ พิมพ์ชะลูด เส้นผ่าศูนย์กลางองค์พระราว 2 ซม. พุทธลักษณะพระปฏิมาปางสมาธิศรีวิชัยอย่างชัดเจน  จากพื้นผนัง องค์พระประทับเหนือบัวสองชั้น ชั้นบนเป็นบัวบานเจ็ดกลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 3 กลีบ (องค์ในภาพ เป็นพิมพ์ชะลูด ถ่ายไม่ติดบัว) พื้นผนังปรากฏอักขระขนาดเล็กละเอียดรอบองค์พระ

สันนิษฐานว่าเป็นอักษรปัลลวะ ซึ่งใช้กันระหว่างปี พ.ศ.1300-1600 ตรงอักษรปัลลวะ 4 แถวรอบองค์พระ นี่คือปรากฏการณ์ มหัศจรรย์ เส้นตัวอักษรเล็กและคมสมบูรณ์ หากจะเห็นให้ชัดเจนก็ต้องส่องด้วยแว่นขยาย 10 เท่า  ตั้งแต่พบเม็ดกระดุมศรีวิชัยในวงการ ราคาเช่าเริ่มแพงขึ้นหลักหมื่น ของปลอมก็ออกตามมา พิมพ์เล็กเท่าขนาด แต่ทำตัวอักษรให้ชัดไม่ได้ จึงทำพิมพ์ใหญ่ไปอีกเท่า ตัวอักษรที่มี ก็บวมเบี่ยงเบนไม่เป็นเส้นคม   มีคำถาม แกะแม่พิมพ์ตัวอักษรเล็กเท่าเส้นด้าย ได้ไง?

คำตอบสั้นๆ วันนี้ (วันหลังจะขยายให้ฟังยาวๆ) แม่พิมพ์พระ ใช้เทคนิคการทำ “ตราประทับ” แกะแม่พิมพ์ด้วยหินเนื้ออ่อน ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าระหว่างอินเดีย-สุวรรณภูมิ ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 10-11 พบหลายชิ้น ดินแดนลูกปัด คลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแถวพุนพิน ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดูภาพพระเม็ดกระดุมอีกที องค์พระถูกกดเป็นร่องหลุมลึกลงไปในก้อนดินเหลือขอบปลิ้นขึ้นมารอบองค์ พระเม็ดกระดุม ศรีวิชัยนี่แหละคือต้นแบบของพระซุ้มกอ พระเครื่องสำคัญของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งสร้างราว พ.ศ.1900 สังเกตได้จากรัศมีและฐานบัว

พระซุ้มกอกำแพงเพชรมีหลายพิมพ์ เริ่มที่พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก เดาได้ว่าได้ต้นแบบพระเม็ดกระดุมมาแล้วแกะแม่พิมพ์ใหม่ได้ไม่เหมือน เมื่อแกะอักษรปัลลวะ 4 แถวไม่ได้ ช่างท้องถิ่นทำพิมพ์แรกๆ ก็เว้นที่ว่างเอาไว้ มีความพยายามจะทำ แต่ไม่รู้จักตัวอักษรอินเดีย จึงทำพอเป็นเค้า  ในพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกที่เล่นหากันแสนแพง จึงมีเส้นสายคล้ายเลขหนึ่งบ้าง คล้ายหัวพญานาคบ้าง เค้าเดิมของเม็ดกระดุมศรีวิชัย คือการกดแม่พิมพ์ให้จมลงในเนื้อปล่อยขอบให้ปลิ้นขึ้น ยังเหลืออยู่

เอาพระเม็ดกระดุมศรีวิชัย มาวางคู่กับซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ก็ยิ่งเห็นชัดเจน   ซุ้มกอนี่เอาแบบมาจากศรีวิชัย ก็ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป 

นี่เอง ทางเดินของศิลปะจากยุคเก่าไปหายุคใหม่ ไปในร่องรอยนี้ ยังไม่เชื่อไปหาพระกำแพงทุ่งเศรษฐีพิมพ์ท้าวกุเวรมาดู  ท้าวกุเวรภาคใต้เรียก “ซัมภล” เป็นของขลังยุคแรกที่พ่อค้าอินเดียเชื่อว่าดีทางโชคลาภพกติดตัวมาค้าขาย ราคาไม่แพงเหมือนซุ้มกอ ใครเห็นใกล้มือรีบคว้าเอาไว้ ทุ่งเศรษฐีเหมือนกัน มีไว้ไม่น่าจะจนเหมือนกัน ว่ากันด้วยศิลปะและอายุความเก่า รวมเรื่องเล่าท้าวกุเวร ไม่เป็นรองพระเครื่องเมืองไหนเลย.

   พลายชุมพล


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กรกฎาคม 2559 19:46:55
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90677939769294_view_resizing_images_1_.jpg)
พระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงโค หลวงพ่อโบ้ย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของเกจิอาจารย์ทางสุพรรณฯรูปหนึ่งที่มีพุทธคุณสูง และสนนราคาขยับขึ้นไปเรื่อยๆ คือพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีครับ ปัจจุบันก็เริ่มหายากขึ้น โดยเฉพาะพระหล่อเนื้อโลหะผสม แต่หลวงพ่อโบ้ยท่านก็ได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้ด้วยเช่นกันครับ

หลวงพ่อโบ้ย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 เป็นชาวบ้านสามหมื่น ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่ออุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี ที่วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี หลังจากนั้นก็จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว 3 พรรษา ก็เดินทางไปศึกษาด้านพระธรรมวินัยและอักขระขอม ที่วัดชีปะขาว หรือ วัดศรีสุดาราม จากนั้นจึงได้ไปศึกษา ด้านวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมรินทร์โฆษิตาราม เป็นเวลา 8-9 ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวในปี พ.ศ.2466 หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง อ.บางปลาม้า ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน อยู่ที่วัดอู่ทองได้ 1 พรรษา จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาว

หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระที่ถือสมถะ สันโดษ มักน้อย ไม่สะสมทรัพย์ใดๆ วัตรปฏิบัติประจำของท่านคือจะตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวัน ทำวัตรสวดมนต์จนรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาถึงวัดท่านจะนิมนต์พระทุกรูปในวัดยืนเข้าแถว แล้วจะตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป เป็นเช่นนี้ประจำทุกวัน หลวงพ่อโบ้ยจะจำวัดพักผ่อนเพียงวันละ 2-3 ช.ม.

หลวงพ่อโบ้ยเริ่มสร้างพระประมาณปี พ.ศ.2473 เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้นำโลหะต่างๆ มาถวาย เช่น ทองเหลือง ขันลงหิน ช้อนทัพพี เชี่ยนหมากเป็นต้น หลวงพ่อโบ้ยจะหล่อพระในตอนกลางคืนโดยมีชาวบ้าน พระ เณรมาช่วยกันทำ พระเนื้อโลหะผสมของท่านส่วนใหญ่ต้นแบบจะเป็นพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์ในยุคเก่านำมาถอดพิมพ์

ในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผา ชุดพระเจ้าห้าพระองค์ พระกำแพงศอกเนื้อดิน พระพิมพ์บ้านกร่างคู่เนื้อดิน ชุดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นรูปพระพุทธทรงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงโค พิมพ์ทรงสิงห์ พิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงไก่ พิมพ์ทรงพญานาค เป็นต้น

ปี พ.ศ.2500 สร้างพระรูปเหมือนเนื้อดิน เนื้อผงธูป และเนื้อชานหมาก

ปี พ.ศ.2505 สร้างเหรียญแปดเหลี่ยม และเหรียญกลมนั่งเต็มองค์ เพื่อแจกในงานฉลองผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต

วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ย มรณภาพเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2508 สิริอายุได้ 73 ปี 52 พรรษา

พระเครื่องเนื้อโลหะผสมของหลวงพ่อโบ้ยปัจจุบัน บางพิมพ์มีสนนราคาสูงมาก และค่อนข้างหายากแล้วครับ แต่พระเนื้อดินเผายังพอหาได้ไม่ยากนัก เนื่องจากในสมัยก่อนคนต่างถิ่นไม่ทราบว่าเป็นพระของหลวงพ่อโบ้ย

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงโค มาให้ชมกันครับ

ขอขอบคุณคุณป๋อง สุพรรณ ที่กรุณา มอบข้อมูล และรูปภาพจากหนังสือเกจิคณาจารย์ยอดนิยม เมืองสุพรรณ มาให้ เผยแพร่ครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46206171562274_2.jpg)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับท่านที่ชื่นชอบพระกริ่งพระชัยวัฒน์นั้น มีพระกริ่งเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ประวัติความเป็นมายังไม่ชัดเจนนัก คือ พระกริ่งสวนเต่า มีการสืบค้นกันมานานแล้ว ก็มีความเห็นแตกต่างกันไป แต่พระกริ่งสวนเต่านั้นเป็นพระเก่าแน่นอน มีความสวยงามและนิยมกันมากสนนราคาก็สูงพอสมควรครับ

ทำไมพระกริ่งเก่าที่ไม่มีประวัติชัดเจนนักจึงมีความนิยม เท่าที่เคยได้รับฟังมาก็มีการเล่นหาสะสมกันมานานมาก ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายเลยทีเดียว ศิลปะของพระกริ่งสวนเต่านั้นนับว่าสวยงาม มีการตบแต่งสวยมาแต่เดิม เท่าที่สังเกตดูแต่ละองค์จะมีพิมพ์ไม่ค่อยเหมือนกันนัก อย่างที่เรียกว่าปั้นหุ่นเทียนทีละองค์

เนื้อของพระกริ่งสวนเต่าก็เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวกลับ สีน้ำตาลอมดำสวยงาม พระพักตร์เป็นแบบศิลปะไทย มีขอบไรพระศก ทุกองค์ พระเกศเป็นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น ส่วนพระหัตถ์นั้นมีแบบต่างๆ มากมายไม่ซ้ำแบบกัน บางองค์ทรงถือดอกบัว บางองค์ทรงอุ้มบาตร หรือหอยสังข์ ส่วนมากที่เห็นจะขัดสมาธิเพชร และส่วนใหญ่มีประคำที่พระศอ ฝีมือช่างที่ปั้นหุ่นและตบแต่งเป็นช่างคนเดียวกัน

ด้วยศิลปะของพระกริ่งสวนเต่าที่สวยงาม จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง และการมีรายละเอียดที่ไม่ค่อยซ้ำกันเลย จึงคาดว่าคงมีจำนวนไม่มากนัก และพระแท้ๆ ก็ไม่ค่อยพบเช่นกัน

มีการสันนิษฐานกันไปหลายทางในเรื่องของประวัติการสร้าง และใครคือผู้สร้างพระกริ่งสวนเต่า แต่ก็เรียกชื่อนี้กันมานานตั้งแต่โบราณ มีกระแสหนึ่งที่กล่าวไปในทางเดียวกันว่า พระกริ่งสวนเต่านี้สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำพิธีเททองหล่อในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ณ บริเวณสวนเต่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบว่าพระสงฆ์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสกบ้าง แต่ก็เชื่อกันมาแบบนี้ยาวนานแล้ว

ครับเรื่องประวัติที่ชัดเจนก็ยังไม่มีเอกสารยืนยันได้ แต่ฝีมือการสร้างที่สวยงาม เนื้อโลหะยอดเยี่ยมนี้ จึงเป็นพระกริ่งที่มีความสำคัญแน่นอน และน่าจะเป็นช่างหลวง เพียงแต่ยังเป็นความลึกลับอยู่จนถึงปัจจุบันในยุคหลังๆ ต่อมาก็มีบางวัดสร้างพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งสวนเต่าเช่นกัน แต่ศิลปะยังสู้กันไม่ได้ และกระแสเนื้อมักจะออกเป็นแบบทองเหลืองเสียเป็นส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าประวัติการสร้างยังไม่มีเอกสารยืนยันที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน และก็หาแท้ๆ ยากเสียด้วย ผู้ที่ครอบครองก็มักจะหวงแหนกันมาก และส่วนใหญ่ก็ได้รับมรดกตกทอดเสียเป็นส่วนใหญ่

พระอีกหลายๆ อย่างก็ยังไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนนัก ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้ามาก เนื่องจากเป็นพระเก่าและเป็นพระแท้แน่นอน เพียงแต่ประวัติที่ยังคลุมเครือว่าเป็นพระของวัดใดใครสร้าง และในสมัยโบราณก็ไม่ค่อยได้มีการบันทึกการสร้างเท่าใดนัก จึงเป็นเรื่องของนักนิยมพระเครื่องรุ่นต่อๆ มาต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งสวนเต่า มาให้ชมกันสัก 2 องค์ครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44366879430082_view_resizing_images_1_.jpg)
หนุมาน หน้าโขนงาแกะ ของหลวงพ่อสุ่น

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเครื่องรางที่เป็นรูปหนุมานแล้ว ถือว่า หนุมานหลวงพ่อสุ่น หายากที่สุด และนิยมที่สุด กรรมวิธีการสร้างนั้นก็ทำได้ยากตามตำรับของหลวงพ่อสุ่น ส่วนในเรื่องประสบการณ์นั้นก็มีการเล่าขานสืบต่อมามากมายครับ

หลวงพ่อสุ่นนั้นประวัติโดยละเอียดไม่มีผู้บันทึกไว้ จึงสืบค้นยากมาก แต่ก็พอจะทราบเพียงคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อสุ่นนามเดิมว่า สุ่น ตระกูล ปานกล่ำ เป็น ชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดประมาณปี พ.ศ.2403 ท่านอุปสมบทเมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่ที่ทราบคือฉายาของท่านคือ "จันทโชติ" จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ในสมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัดนั้น ชาวบ้านก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของท่าน พอเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพ ชาวบ้านตลอดจนทายกได้อาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อสุ่นเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ กิจวัตรประจำวันของท่านคือจะตื่นแต่ย่ำรุ่ง มีไม้กวาดติดมือ ทำความสะอาดลานวัดของท่านจนสะอาดตาจึงพอ และชาวบ้านในสมัยนั้นก็จะร่วมมือกันในการพัฒนาวัดเป็นอย่างดี ส่วนการจำวัดนั้นท่านจะจำวัดน้อยมาก ท่านจะนั่งวิปัสสนากรรมฐานทุกคืนจนดึกดื่นค่อนคืน

ส่วนการศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่มีใครทราบว่าท่านศึกษามาจากที่ไหน รู้แต่เพียงว่าท่านจะสนิทสนมกับหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง มีอะไรถึงกันหมด ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีเมตตาใครเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็จะช่วยรักษาให้หายทุกคนไป

ในเรื่องการสร้างเครื่องรางของขลังนั้น ท่านสร้างเพียงผ้าประเจียดและหนุมานเท่านั้น หลวงพ่อสุ่นได้ปลูกต้นรักซ้อนและต้นพุดซ้อนไว้ตั้งแต่ท่านยังเป็นพระลูกวัด โดยท่านจะทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวัน พอต้นรักแก่ได้ที่และได้ฤกษ์ดีแล้ว ท่านก็จะทำการพลี แล้วจึงนำมาตากจนแห้งดีแล้ว ท่านก็จะให้ไปตามช่างมาแกะ ทราบว่าช่างที่มาแกะนั้นอยู่ที่กรุงเทพฯ มีฝีมือทางแกะสลัก ระหว่างที่แกะหนุมานนั้น ช่างจะมาอยู่กินนอนที่วัด พอแกะเสร็จจึงจะกลับ และเมื่อท่านจะทำอีกช่างก็มาแกะที่วัดอีกเช่นเคย เมื่อช่างแกะหนุมานเสร็จได้จำนวนแล้ว หลวงพ่อสุ่นก็จะนำหนุมานทั้งหมดมาใส่บาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวมาห่อไว้อีกที เก็บไว้ในกุฏิของท่าน

พอวันเสาร์ท่านก็จะให้ลูกศิษย์ยกเข้าไปในโบสถ์แล้วบวงสรวงพลี เสร็จแล้วท่านจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดาลโบสถ์ทั้งหมด โดยท่านอยู่ในโบสถ์องค์เดียว ปลุกเสกและจัดเวรยามไม่ให้ใครไปรบกวน ในขณะที่ท่านกำลังปลุกเสกอยู่ บางครั้งเกือบสว่างบางทีก็เที่ยงคืน ท่านจะทำประจำทุกๆ วันเสาร์ พอเสร็จแล้วท่านก็จะมาปลุกเสกต่อในกุฏิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนตามวิธีการของท่าน ท่านถึงจะแจกลูกศิษย์ลูกหาทั่วไป

หนุมานของหลวงพ่อสุ่นนั้น จะมีทั้งแบบหน้ากระบี่และแบบหน้าโขน เนื้อของหนุมานก็มีทั้งที่เป็นเนื้อไม้รักและไม้พุดซ้อน และที่เป็นงาแกะ แต่ที่เป็นงาแกะนั้นมีน้อยกว่า หลวงพ่อสุ่นมรณภาพใน ปีพ.ศ.2482 ปัจจุบันนั้นหาชมของแท้ได้ยากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปหนุมานหน้าโขน งาแกะ ของหลวงพ่อสุ่น จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13952949684527_14502019291450201998l_1_.jpg)
พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสุพรรณฯ มีพระเกจิอาจารย์อยู่หลายรูปที่เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง และเป็นที่นิยมในสังคมผู้นิยมพระเครื่องครับ

หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต เกิดวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2432 ที่บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวมีอาชีพทำนา ในวัยเด็กนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย หลวงพ่อมุ่ยได้เข้ารับการอุปสมบทครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด อุปสมบทได้ประมาณ 10 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาแต่ไม่นานก็เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากดูแลรักษาให้หายได้ จึงตั้งสัจอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วยจะขอบวชในพระพุทธศาสนาไปตลอดชีวิต

ในปี พ.ศ.2465 วันที่ 22 มีนาคม หลวงพ่อมุ่ยจึงได้อุปสมบทครั้งที่ 2 ที่วัดดอน บุบผาราม ได้รับฉายาว่า "พุทธรักขิโต" โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น ติสโส) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2466 ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อมาจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา ปีพ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และปี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสุวรรณวุฒาจารย์

หลวงพ่อมุ่ยเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่าทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ขยันในการศึกษาหาความรู้ทุกด้าน โดยเฉพาในเรื่องตัวเลขอักขระยันต์คาถาเข้มขลังยิ่งนัก ทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อมุ่ยทุกรุ่นได้รับความนิยมอย่างมากจากนักนิยมพระเครื่อง อาทิ รูปเหมือนปั๊ม พระสมเด็จฯ พระกริ่ง เหรียญรูปเหมือน ตะกรุด ผ้ายันต์และแหวน

หลวงพ่อมุ่ยมรณภาพเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2517 สิริอายุได้ 85 ปี

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกที่มีความนิยมกันมาก พระรูปเหมือนรุ่นนี้มีการแกะชื่อของหลวงพ่อผิด โดยตัวไม้เอกแกะผิดเป็นไม้โท กลายเป็นคำว่า "มุ้ย" และพระรุ่นนี้เป็นพระรูปเหมือนรุ่นนิยมครับ

ขอขอบคุณการเอื้อเฟื้อข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือเกจิคณาจารย์ยอดนิยมเมืองสุพรรณ โดยสมาคมพระเครื่องพระบูชาสุพรรณบุรีมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 กรกฎาคม 2559 10:41:40
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96185148134827_1.jpg)
พระกรุวัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก

"พระกรุวัดจุฬามณี นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง"

จากกำแพงเพชรมาที่พิษณุโลกกันบ้าง "เมืองพิษณุโลก" ถือเป็นหนึ่งในเมืองพระของไทยเช่นกัน มีวัดวาอารามโบราณและการปรากฏของพระกรุเก่ามากมาย หนึ่งในนั้น คือ "วัดจุฬามณี" ซึ่งจัดเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างโดยขอมเมื่อสมัยเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และน่าจะเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนา ด้วยปรากฏเทวสถานเป็น "พระปรางค์ศิลาแลง" เก่าแก่ประดับลายปูนปั้นงดงามมาก แม้ในปัจจุบันจะชำรุดเสียหายไปมาก แต่ร่องรอยแห่งฝีมือชั้นครูและคติเทวสถานของขอมยังปรากฏให้เห็นอยู่

ชื่อ "วัดจุฬามณี" นี้ พบเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปรากฏความว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" และ "ศักราช 811 ปีมะเส็ง เอกศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ได้แปดเดือนแล้วลาผนวช" ซึ่งไปตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจักรพรรดิพงษ์ (จาด) ที่กล่าวไว้ว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" อันแสดงให้เห็นว่า วัดจุฬามณีมีความสำคัญมากในสมัยอยุธยาเรืองอำนาจ ถึงขนาดพระมหากษัตราธิราชเจ้าทรงปฏิสังขรณ์ สร้างโบราณสถานต่างๆ จนถึงทรงผนวชอยู่นาน 8 เดือน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52047028889258_2.jpg)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยอย่างจริงจัง ในระยะนี้มีความพยายามที่จะเสาะหา "วัดจุฬามณี" ซึ่งมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ก็มิได้พบสถานที่ใดจะมีความเป็นไปได้ตามหลักฐานที่ปรากฏ

จนกระทั่งรัตนโกสินทร์ศกที่ 126 (พ.ศ.2451) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ทรงพบวัดหนึ่งชื่อวัดจุฬามณี ที่เมืองพิษณุโลก มีศิลาจารึกปรากฏอยู่บริเวณหน้ามณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้จารึกไว้ในคราวที่ทรงจำลองรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มาประดิษฐาน ณ วัดจุฬามณี แห่งนี้ เมื่อจุลศักราช 1180 (พ.ศ.2222) ความว่า "ตีความตามนาม "จุฬามณี" นั้นเป็นชื่อของพระมหาเจดีย์จุฬามณี ตามคติพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นมหาเจดีย์ประดิษฐานพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่เคารพสักการะของเทพยดาทั้งมวล ผู้ใดทำกุศลผลบุญอันมหาศาลจะได้ขึ้นไปสักการะองค์พระมหาเจดีย์จุฬามณีนี้"

วัดสำคัญที่เก่าแก่ผ่านยุคผ่านสมัยมาหลายร้อยปีดังเช่น "วัดจุฬามณี" ก็ย่อมต้องมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน ซึ่งได้รับการขนานนามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดจุฬามณี" หรือบางท่านก็เรียก "พระกรุน้ำ" เนื่องจากสมัยโบราณวัดจุฬามณีอยู่ริมลำน้ำน่าน เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน พระเจดีย์ที่บรรจุพระจึงถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ

พระกรุวัดจุฬามณี ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระจึงมีหลายวรรณะ แต่จะมีพุทธลักษณะโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ คือ องค์พระมีขนาดเขื่อง ขอบพิมพ์ทรงไม่สู้จะเรียบร้อยนัก ลักษณะการกดแม่พิมพ์มีทั้งกดด้านหน้าและด้านหลัง จึงมักจะปรากฏขอบวงนอกของแม่พิมพ์ด้านที่กดพิมพ์หลังปลิ้นขึ้นมาเล็กน้อย ผิวพื้นด้านที่กดพิมพ์หลังจะเว้าเป็นแอ่งกระทะน้อยๆ ส่วนด้านที่กดพิมพ์หน้าพื้นผิวจะแอ่นโค้งออก ไม่ปรากฏขอบวงนอกปลิ้นขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องกดด้านใดด้านหนึ่ง

ดังนั้นด้านหน้าอาจจะมีขอบวงแม่พิมพ์ปลิ้นและพื้นเว้า ส่วนด้านหลังอาจจะไม่มีขอบปลิ้นและแอ่นโค้งก็เป็นได้ เนื่องจากการกด แม่พิมพ์ทั้งสองด้านนี้เอง ทำให้พระกรุวัดจุฬามณีแบ่งแยกออกเป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์หน้าฤๅษี หลังนาง, พิมพ์หน้าฤๅษีเปลวเพลิง หลังนาง, พิมพ์ชินราช หลังนาง, พิมพ์รัศมี หน้าเดียว และพิมพ์หน้านาง หลังนาง เป็นต้น

จุดสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่งของ พระกรุวัดจุฬามณี ก็คือ องค์พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ ผิวขององค์พระจะไม่เรียบตึง จะมีรอยหดเหี่ยวและรูพรุนน้อยๆ บางองค์เห็นเม็ดกรวดทรายอย่างชัดเจน

พระกรุวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

จึงทำให้เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างแพร่หลาย ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35145019574297_1.jpg)
พระปางเปิดโลก วัดสุสาน

"พระปางเปิดโลก เป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก บางแบบยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองขึ้น"

พระปางเปิดโลก เป็นปางหนึ่งในพระพุทธรูปปางต่างๆ 66 ปาง ซึ่งได้รับการรังสรรค์โดยกำหนดตามพระอิริยาบถต่างๆ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนับเป็นปางที่มีความหมายและความสำคัญทางพระบวรพระพุทธศาสนาสืบมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

ตามพุทธประวัติได้กล่าวถึง "พระปางเปิดโลก" ไว้ดังนี้

"...หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในวันอาสาฬหบูชา ณ นครสาวัตถี แล้วได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของท้าวสักกะเทวราช เพื่อแสดงธรรมโปรดพระมารดาที่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (พระอภิธรรม) แก่พระมารดา ในที่สุดแห่งเทศนา พระมารดาทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาครบ 3 เดือน จึงได้ตรัสกับท้าวสักกะเทวราช ว่ามีพระประสงค์จะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ท้าวสักกะเทวราชจึงได้นิรมิตบันไดทั้ง 3 คือ บันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน ตีนบันไดทั้ง 3 ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ส่วนหัวบันไดพาดอยู่ที่เขาสิเนรุ พระพุทธองค์เสด็จลงทางบันไดแก้วตรงกลาง เทวดาลงทางบันไดทองทางด้านขวา มหาพรหมลงทางบันไดเงินทางด้านซ้าย ในขณะที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น พระพุทธองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือ ทรงเปิดโลกทั้ง 3 ให้แก่ เทวโลก มนุษย์โลก และยมโลก พร้อมทั้งทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ทำให้สัตว์โลกทั้ง 3 มองเห็นกันและกัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง อนึ่ง พุทธบริษัทที่เห็นพุทธานุภาพแล้ว ล้วนแต่ปรารถนาพุทธภูมิ ..."

ด้วยเหตุดังกล่าว ภายหลังจึงมีผู้สร้าง "พระพุทธรูปปางเปิดโลก" เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกในวันปาฏิบท คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และวันนั้นจึงเป็นปฐมเหตุแห่ง วันเทโวโรหณะ หรือวันตักบาตรเทโวโรหณะ อีกด้วย

พระพุทธรูปปางเปิดโลก เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก บางแบบยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองขึ้น

และก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ เมื่อเร็วๆ นี้ ทางวัดสุสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา หลังบิ๊กซีโคราช วัดเก่าแก่ "ตำนานสุสานศักดิ์สิทธิ์" แห่งเมืองโคราช ได้ดำเนินการสร้าง "พระกาฬ (ราหู)" ขนาด 8.8 เมตร เพื่อหาทุนบูรณะดีดอุโบสถ ซึ่งมี "องค์หลวง พ่อทอง" เป็นพระประธานอายุกว่า 200 ปี สร้างในคราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาพักทัพ ณ บริเวณวัดสุสานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา ทางวัดได้จัดพิธีเททองบรวงสรวงเพื่อขออนุญาตพระประธาน ให้ช่างได้ดำเนินการเจาะหาแนวคานองค์หลวงพ่อทอง เพื่อดีดองค์พระให้ญาติโยมได้ลอดเสริมสิริมงคล ปรากฏว่าได้พบพระปางเปิดโลก เนื้อสัมฤทธิ์ ขนาดสูงขนาด 4.5 ซ.ม.

พระปางเปิดโลกเนื้อสัมฤทธิ์นี้ ไม่ทราบว่าเป็นกรุดั้งเดิมตั้งแต่สมัยที่อาราธนาองค์หลวงพ่อทองมาประดิษฐานเป็นพระประธานหรือของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้บูรณะอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2517 ซึ่งครั้งนั้น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ได้มาจำพรรษา ณ วัดสุสาน

ทางวัดสุสาน จึงมีความประสงค์ที่จะมอบแก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาทำบุญร่วมบูรณะอุโบสถและสร้างพระราหู 8.8 เมตร เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยร่วมบุญ 1,500 บาท จะได้รับพระปางเปิดโลก 1 องค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ พระอธิการชาติชาย ติขวฺวีโร เจ้าอาวาสวัดสุสาน หรือคุณวินัย ศิลาเริง ไวยาวัจกร โทร.08-5303-6030 และ 08-1865-7011 ...

สร้างบุญยิ่งใหญ่ รับสุดยอดวัตถุมงคล "พระปาง เปิดโลก" ปางอัศจรรย์ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57147858167688_1.jpg)
หลวงพ่อดำ วัดช่องแสมสาร

"เป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออก เลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ"

พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิตหรือหลวงพ่อดำ ประดิษฐานในพระวิหารวัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง 5 เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออกเลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ

ตาม "ตำนานหลวงพ่อดำ" ระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2501 หลวงพ่อดำรง คุณาสโภ ได้เดินทางจาก จ.สุพรรณบุรี มาปักกลด ณ บริเวณพระเจดีย์เก่าบนเขาของวัดช่องแสมสาร หลวงพ่อดำรงได้เล่าให้ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการให้ฟังว่า ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาขึ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สาเหตุที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะฝันว่าเทพยดาองค์หนึ่งบอกให้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ใกล้ๆ พระเจดีย์เก่าองค์หนึ่งบนเขาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก "ในภายภาคหน้า พระประธานองค์นี้จะกลายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีประชาชนให้ความเคารพนับถือเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณแห่งนี้มีความเหมาะสมที่จะบูรณะให้กลายเป็นแหล่งรักษาศีลและความสงบให้กับชาวพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก..."

หลวงพ่อดำรงจึงได้ออกเดินทางจากวัดเขาขึ้นกว่าจะถึงวัดช่องแสมสารเป็นเวลาหลายวัน เมื่อครั้นมาจนถึงบ้านช่องแสมสาร ท่านทราบว่าเป็นสถานที่มีภูมิทัศน์ตรงกับสภาพที่ท่านนิมิตฝัน ท่านจึงชักชวนญาติโยมช่วยกันบริจาควัสดุในการสร้างพระพุทธปฏิมากร ซึ่งได้รับศรัทธาร่วมมือด้วยดี ในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนแบกขนวัสดุขึ้นไป การสร้างใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี จึงแล้วเสร็จและทารักสีดำ ตั้งเป็นสง่าอยู่กลางแจ้ง โดยไม่มีหลังคาคลุมแต่อย่างใด ชาวบ้านชาวเรือและผู้พบเห็นจึงเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" กันจนติดปาก ทั้งๆ ที่ตอนสร้างเสร็จท่านได้ถวายนามว่า "พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" ซึ่งชื่อในตอนท้าย มีความหมายระบุว่า เป็นพระที่เกิดจากความฝันดี

หลังจากสร้างเสร็จประมาณ 1 เดือน ได้จัดงานฉลองพระและประกอบพิธีเบิกพระเนตร ในครั้งนั้นได้มีการผูกหุ่นฟาง 2 หุ่น เพื่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดำ หลังจากเสร็จพิธีก็เผาหุ่นฟาง หลวงพ่อดำได้ตั้งตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลาถึง 10 ปีเศษ จนมีชาวประมงจากจังหวัดสมุทรปราการแล่นเรือผ่านมาเห็นหลวงพ่อดำตากแดด จึงบนขอพรว่าออกเรือเที่ยวนี้ขอให้ได้ 200,000 บาท จะมาทำหลังคาให้

ปรากฏว่าได้ดังคำขอ จึงเอาเงินมาฝากให้นายเจริญ ทิศาบดี ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยทำหลังคาแต่ก็ไม่มีฝา เมื่อฝนตกก็สาดเปียก ต่อมาชาวประมงอีกรายผ่านมาก็บนหลวงพ่อดำอีก ขอให้จับปลาได้เยอะๆ จะมากั้นฝาให้ ปรากฏว่าได้สมหวังก็เอาเงินมาฝากผู้ใหญ่ให้ช่วยทำต่อไป สภาพวิหารหลวงพ่อดำในขณะนั้น จึงเป็นเพียงมีหลังคาและฝาไม้สามด้าน มีชาวบ้านและชาวเรือต่างขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมากและมักประสบผลสำเร็จ

หลังจากสิบปีผ่านไป สภาพของวิหารชำรุดทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้ นายเสน่ห์ พิทักษ์กร สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมมือกับพระครูวิสารทสุตากร เจ้าอาวาส พร้อมชาวบ้าน ร่วมกันสร้างเป็นวิหารจัตุรมุข ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง และมีภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน

ครั้นสร้าง "วิหารหลวงพ่อดำ" เสร็จ ได้ทำพิธีเปิดวิหารอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ในแต่ละวันมีประชาชนเดินทางไปนมัสการขอบนและแก้บนมิได้ขาดด้วยไข่ต้มและพวงมาลัยดอกไม้สด ตามความเชื่อว่าหลวงพ่อดำคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยและได้โชคลาภ สิ่งที่สมปรารถนา จนหลวงพ่อดำที่ทารักสีดำ

กลายเป็นหลวงพ่อดำสีทองเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งองค์ในปัจจุบันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



http://www.e4thai.com/e4e/images/tuat.jpg (http://www.e4thai.com/e4e/images/tuat.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74665224634938_1.jpg)
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรก

อาทิตย์นี้มาต่อ "วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด วัดช้างให้" มหาอมตะนิรันดร์กาล ที่มีค่านิยมสูงอันดับต้นๆ กันอีก 2 รุ่น

รุ่นแรก "เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อทวด รุ่นแรก" หรือที่เรียกกันว่า "เหรียญหัวโต" เป็นช่วงรอยต่อของการสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497 และพระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 ปรากฏว่าเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงของพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิม จนต้องมีการสร้างเพิ่มเติม ปัจจุบันค่านิยมสูงและหายากยิ่ง

ในปี พ.ศ.2500 พระอาจารย์ทิม หรือ หลวงปู่ทิม ดำริจัดสร้าง "เหรียญ" ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงปู่ทวด และเพื่อสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดช้างให้ ศาสนสถานเก่าแก่ ให้คงอยู่สถาพรสืบไป โดยให้มีการจำลองรูปเหมือนของหลวงปู่ทวดและตัวท่านเองลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นการจัดสร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนของหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิมเป็นครั้งแรก

โดยจัดสร้างเป็น "เนื้อทองแดง" จำนวน 3,000 เหรียญ แต่ปรากฏว่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านและผู้ศรัทธาในหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิมต่างแห่แหนกันเช่าบูชาจนเหรียญหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อไม่พอกับแรงศรัทธาจึงต้องสร้างเหรียญเพิ่มอีก 5,000 เหรียญ โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม แต่สร้างเป็น "เนื้อทองแดงลงกะไหล่เงินและกะไหล่ทอง" เพื่อให้เป็นจุดสังเกต

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรกนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้าตกแต่งขอบเป็นลายกนก ด้านบน เป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวด นั่งสมาธิ บนอาสนะฐานบัวสองชั้น ศีรษะค่อนข้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เหรียญหัวโต" ด้านข้างทั้งสองเป็นอักษรไทยว่า "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" ด้านหลังพื้นเรียบ ด้านบนเป็นอักขระขอมว่า "นะ มะ พะ ทะ" ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทิม ด้านล่างจารึกชื่อ "พระครูวิสัยโสภณ (ทิม)"

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ของเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรก ปี 2500 มีดังนี้ :

ด้านหน้า
- ใต้รูใส่ห่วงเหรียญ จะมีครีบเนื้อเกินเป็นเส้นเล็กๆ
- ศีรษะด้านบนขวาจะมีรอยขยักอยู่ 1 รอย ชัดเจนมาก
- ลูกนัยน์ตาทั้งสองข้างชัดเจน ข้างขวาจะใหญ่และอยู่ต่ำกว่าข้างซ้าย เบ้าตาค่อนข้างลึก
- จมูกใหญ่ โหนกแก้มทั้ง 2 นูนสูง ใต้จมูกมีเส้นขนแมวพาดขวางในแนวนอน ไม่คมมากแต่ติดชัดเจน
- ริมฝีปากด้านบนเป็นร่อง
- ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างมีเนื้อเกินยื่นออกมา ดูคล้ายๆ เล็บ
- ผ้าอาสนะจะมีเส้นขนแมวแผ่วๆ ดูเป็นธรรมชาติอยู่หลายเส้น
- มีเนื้อเกินในร่องระหว่างฐานบัวกลีบที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตำหนิในแม่พิมพ์ (ของเลียนแบบจะแข็งกระด้างไม่เป็นธรรมชาติ)
- กลีบบัวแถวบนทั้งสองด้านจะยื่นเกินล้ำผ้าอาสนะอย่างเห็นได้ชัดเจน
- ตัวหนังสือเป็นแท่งคมชัดเจน

ด้านหลัง
- พื้นผิวต้องมีความแน่น ขอบและหูเหรียญต้องมีเนื้อปลิ้นเนื้อเกินในบางจุด อันเกิดจากแรงกระแทก
- ตัวอักขระด้านบนชัดเจน หัวตัวอักขระ "พะ ทะ" ตรงมุมขวาจะต้องเป็นหลุมสามเหลี่ยมตั้งขึ้นไม่มากก็น้อย
- ดวงตากลมโต ชัดเจน ริมฝีปากล่างเป็นเส้นขีดเล็กๆ
- ชายจีวรด้านขวาล่างของหลวงปู่ มีเส้นเกินเป็นติ่งเล็กๆ แต่คมชัด
- คำว่า "พระครูวิสัยโสภน" ตัว "น" ตรงจุด กลมๆ ด้านล่างมักมีเนื้อเกินลากเป็นทางยาวขึ้นไปข้างบน

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรกนี้ ทรงพุทธคุณเป็นที่ปรากฏแก่ผู้สักการบูชา ทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และยังสามารถอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคลให้ประสบความสำเร็จในการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

หลักการพิจารณาเบื้องต้น ให้สังเกตที่ขอบเหรียญ จะเห็นว่าขอบเหรียญทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน และที่อักขระขอมด้านหลังนั้น บางเหรียญมี "รอยเคลื่อน" อันเกิดจากบล็อกพิมพ์เคลื่อนตัว จึงทำให้เกิดการแบ่งพิมพ์ออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์บล็อกเคลื่อน และ พิมพ์บล็อกไม่เคลื่อน ซึ่งจะเป็นทั้งการสร้างครั้งแรกและสร้างเพิ่มครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35109487796823_1.jpg)
พระกริ่งฟ้าผ่า หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา

"พระกริ่งฟ้าผ่า วัดดอนยานนาวา นับเป็นพระกริ่งรุ่นเก่าอายุเกือบ 80 ปี เป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวาง ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏเลื่องลือ และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)  ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง"

พระกริ่งฟ้าผ่า วัดดอนยานนาวา ถึงแม้จะออกโดยพระครูกัลยาณวิสุทธิ์ หรือที่รู้จักมักคุ้นในนาม หลวงพ่อกึ๋น เจ้าอาวาสวัดดอนยานนาวา แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในแวดวงนักนิยมสะสมว่าเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์  เนื่องด้วยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงมอบแผ่นทองลงอักขระและชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ที่สะสมไว้ เพื่อใช้เป็นชนวนในการหล่อ และทรงเป็นประธานในพิธีเททองและพุทธาภิเษกอีกด้วย

หลวงพ่อกึ๋น มีเชื้อสายชาวทวาย เกิดที่บ้านทวาย เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยานนาวา สืบต่อจากพระอุปัชฌาย์จั่น หรือท่านใหญ่ เจ้าอาวาสรูปเดิมซึ่งมรณภาพ ท่านปกครองดูแลวัดเป็นเวลาหลายสิบปี มีเกียรติคุณในทางสมาธิภาวนาและเข้มขลังในวิทยาอาคม นับเป็นหนึ่งในบรรดาเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมเข้มขลังในยุคนั้นทีเดียว โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากพระอาจารย์ชื่อดังผู้มีวิทยาอาคมแก่กล้า คือ พระอุปัชฌาย์จั่น และอาจารย์เปี่ยม

เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายและมี ลูกศิษย์ลูกหามากมาย มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2507

ปี พ.ศ.2480 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน สมัยนั้นท่านเป็น "พระครูกึ๋น" ในฐานะที่ท่านเคยเป็นทหารมาก่อน จึงมีความปรารถนาที่จะช่วยประเทศชาติตามวิสัยที่สมณเพศพึงกระทำได้ ปรารภที่จะสร้าง พระกริ่งประภามณฑล เพื่อแจกจ่ายให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและลูกบ้านทวายที่ไปออกไปสู้รบ ท่านจึงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อทูลขออนุญาตจัดสร้างและอาราธนาทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยและกำกับการบวงสรวงจนเสร็จพิธี ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ประทานอนุญาตให้จัดสร้าง พร้อมมอบแผ่นทองลงอักขระและชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ที่สะสมไว้เพื่อใช้เป็นชนวนในการหล่ออีกด้วย

พิธีเททองและพุทธาภิเษกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ โดยในขณะทำพิธีได้เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ขึ้นถึงสองครั้งสองคราต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) และผู้มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ครั้งแรก จู่ๆ ท้องฟ้าที่สว่างไสวก็กลับมืดครึ้มลง แล้วเกิดอสุนีบาตผ่าลงมากลางปริมณฑลพิธี จนเป็นที่โกลาหลแก่ผู้ร่วมพิธี แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายเลย

ครั้งที่สอง ขณะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงจับสายสิญจน์ในพิธีเททอง สายสิญจน์เส้นหนึ่งได้ถูกลมพัดตกลงในเบ้าหลอมเนื้อโลหะที่กำลังร้อน แต่กลับไม่ไหม้ไฟ สร้างความเลื่อมใสศรัทธายิ่ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงประทานนามพระกริ่งนี้ว่า "พระกริ่งนิรันตราย" แต่คนส่วนใหญ่มักเรียก "พระกริ่งฟ้าผ่า" ตามเหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น และเรียกติดปากกันมาจนทุกวันนี้

พระกริ่งฟ้าผ่า หรือพระกริ่งนิรันตราย หลวงพ่อกึ๋น สร้างเป็นเนื้อโลหะผสมทอง ด้วยวิธีการเททองหล่อแบบโบราณ และบรรจุกริ่งในตัว เหมือนพระกริ่งวัดสุทัศน์ วรรณะจะออกเหลืองอมน้ำตาล ที่อมเขียวจะมีจำนวนน้อย มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่พุทธลักษณะองค์พระจะเหมือนกันทุกประการ ดังนี้

- องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร เหนืออาสนะบัวคว่ำบัวหงาย 7 กลีบ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบบัวจีน
- ด้านหลังพระเศียรเป็นประภามณฑล ลักษณะกลม ประดับด้วยเม็ดไข่ปลานูน หลังประภามณฑลแบนเรียบ มีจารอักขระขอม ตัวอุ  เกือบทุกองค์
- พระเกศเป็นหนามขนุน
- พระพักตร์ค่อนข้างยาวรี คล้ายผลมะตูม
- พระเนตรเป็นแบบ เนตรเนื้อ
- พระนลาฏปรากฏอุณาโลม  ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดไข่ปลานูน และรอยตอกด้วยตุ๊ดตู่ลึกลงไป
- พระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์
- หน้าพระเพลาเป็นผ้าทิพย์

พระกริ่งฟ้าผ่า หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา นับเป็นพระกริ่งรุ่นเก่าที่เป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงมาแต่อดีต ของทำเทียมเลียนแบบก็มีมาก จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ ขอแนะนำเอกลักษณ์เฉพาะประการสำคัญในการพิจารณาเบื้องต้นก็คือ ด้วยความเก่าแก่ขององค์พระ ซึ่งถ้านับถึงปัจจุบันก็ราว 79 ปี

ดังนั้น เมื่อนำแว่นขยายมาส่องดู จะสังเกตเห็นผิวขององค์พระเป็นลายมุ้งละเอียดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 กรกฎาคม 2559 11:58:09
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79164403470026_1.jpg)
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

เอ่ยถึงพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีลายกนก องค์ที่ขึ้นปกจนเป็นดาราคุ้นหน้า แม้วันนี้จะมีซุ้มกอพิมพ์ใหญ่องค์สวยคมสมบูรณ์ เปิดโฉมอีกหลายองค์ในวงการ เช่น 4 องค์ใน รังของเสี่ยวิชัย คิง เพาเวอร์ ก็ยังต้องนึกถึง องค์ “เจ้าเงาะ” อยู่ดี
เจ้าของคนแรก คุณเชียร ธีรศานต์ ข้าราชการกรมป่าไม้ ดั้นด้นค้นหาพระเมืองเหนือ เริ่มที่พระรอด ถ่ายภาพเปรียบเทียบนับร้อยองค์ จึงกล้าแยกพระรอดออกเป็น พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก ต้อ ตื้น วงการถือเป็นมาตรฐานการดูพระรอด ถึงวันนี้
พร้อมกับการหาพระรอด คุณเชียรสนใจพระกรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ได้พระแท้เปลี่ยนมือไปเรียนรู้ เช่นองค์กำไลสามปล้อง ของอดีตผู้ว่าฯ สุชาติ องค์ตำนานของคุณจำเริญ วัฒนายากร และอีกหลายองค์ที่ลงในหนังสือภาพพระเครื่อง เล่มแรก ของ ประชุม กาญจนวัฒน์

องค์เจ้าเงาะในแถวพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ อยู่ลำดับที่ 7 แม้เป็นภาพขาวดำ ก็ยังเห็นว่า ตอนนั้นเจ้าเงาะยังเป็นเจ้าเงาะ ไม่ได้ถอดรูปเป็นพระสังข์ทองผ่องโสภา แต่ประการใด

หนังสือคู่มือศึกษาพระเครื่อง พระรอด วัดมหาวัน พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี พิมพ์ปี 2510 คุณเชียร เขียนว่า ปี 2509 ช่วงเวลาที่เพื่อนๆ นักนิยมพระ ขอแบ่งซุ้มกอไปหมด เจอซุ้มกอองค์นี้ที่นครสวรรค์ สภาพพระมีคราบกรุ ราดำ หนาทั้งองค์
ได้พระมาในราคาหมื่นเศษนิดหน่อย พยายามล้างคราบ-รา พระออกได้ไปชั้นหนึ่ง แต่สภาพพระก็ยังเป็นเจ้าเงาะ ต่อมาคุณเชียรตัดสินใจล้าง ใช้ไม้จิ้มฟันจุ่มน้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อโอไบร์ท ค่อยๆ เขี่ยคราบ-รา ออก รวม 11 ครั้ง ผลก็คือ เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์ หน้าตาทรวดทรงองค์เอวสวยคมสมบูรณ์ ขึ้นปกหนังสือพระเครื่องเล่มมาตรฐาน สร้างประวัติศาสตร์ ยกระดับพระเครื่องเงินล้าน เมื่อคุณนิยม อสุนี เจรจาแบ่งปันไป

คนในวงการเล่าลือกัน ราคา 1 ล้าน 5 แสน ผมฟังจากปากคุณเชียรเอง คุณนิยม ได้ไปในเงื่อนไขจ่ายสด 1 ล้าน 5 หมื่น
ประสบการณ์ในการล้างพระ คุณเชียรเอามาเขียนเป็นหนังสืออีกเล่ม ให้ความรู้เรื่องพระซุ้มกอ เผื่อแผ่ไปถึงพระทุ่งเศรษฐีพิมพ์อื่น พระซุ้มกอ เผาด้วยไฟอ่อนแบบเผาเผือกมัน ผลที่ออกมา เปลือกไหม้ไส้ดิบ พระหักหลายองค์ไส้กลางสีดำ
ซุ้มกอไม่มีกนก สีออกดำ ความจริงอาจไม่ได้เผาเลยหรือเผาถูกไฟน้อย

หลักความรู้ใหม่ที่คุณเชียรวางให้วงการคือ สีและความแข็งและสภาพของพระเนื้อดินเปลี่ยนแปลงไป ตามระยะเวลาการถูกเผา

ขั้นที่ 1 ความร้อนขั้นเกรียม ขั้นที่ 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก ขั้นที่ 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี ขั้นที่ 4 ความร้อนขั้นเผาจาน และขั้นที่ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย

พระซุ้มกอ เผาความร้อนต่ำ อยู่ในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ขี้กรุคือดินละลาย น้ำจึงซึมเข้าเกาะเนื้อได้ง่าย นี่คือที่มาของขี้กรุ และหากพระฝังอยู่ในดินชุ่มน้ำ ราดำ พืชชนิดหนึ่ง ก็เกาะและขยายตัว

“พระเนื้ออิฐ ราดำชอบมาก” คุณเชียรว่า “พระซุ้มกอกรุฤาษี หรือกรุพิกุล มีราดำหนามากทุกองค์”

นักปลอมพระมักใช้รักหรือสีเสียดทำราดำปลอมปิดร่องรอย จึงต้องหาพระแท้ดูราดำให้ติดตา ราดำตอนถูกน้ำจะฟูและสียิ่งดำ แต่เมื่อแห้งจะเรียบ และสีดำปนน้ำตาลไหม้ เหมือนสีปีกกว่าง

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ องค์ในภาพ พิมพ์และคราบและราหนาเป็นกรุฤาษี พิมพ์กำไลปล้องเดียว เห็นสองตา แต่จมูกปากเห็นรางๆ ส่วนที่น่าศึกษาและน่าเทียบเคียง ก็คือ ขี้กรุ-ราดำ ยังเกาะเต็ม เหมือนองค์เจ้าเงาะ ตอนยังไม่ถอดรูป

คำเตือน สำหรับคนชอบพระซุ้มกอสวย หลายองค์ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือเล่มหนาๆ เป็นซุ้มกอแกะตา องค์หนึ่งคุ้นหน้าแกะทั้งตาจมูกปาก เปลี่ยนไปแล้วสามมือ เจ้าของทั้งคนที่สองและคนสุดท้าย ดูเหมือนจะไม่รู้

ความยากสำหรับนักเลงพระเครื่องอยู่ตรงนี้ ได้พระแท้มาแล้ว มีเซียนใหญ่รับรองแต่เขารับรองแค่พระแท้
เรื่องพระเสริมสวยและพระอุดซ่อม เป็นอีกไต๋ของเซียน เซียนธรรมดาจะขึ้นระดับถือแส้เหาะขึ้นฟ้าไปเป็นเทวดาหรือไม่เขาวัดกันด้วยวิทยายุทธชุดนี้.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77319111716416_2.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ - ความลับจากฝ้ารัก

พระสมเด็จวัดระฆังห้า แม่พิมพ์มาตรฐาน พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม และปรกโพธิ์ ที่เปลี่ยนมือซื้อขาย ปรากฏในหนังสือภาพพระสีเกือบทุกองค์ลงรักปิดทอง

องค์ที่เกลี้ยงเกลา ขาวผ่อง อย่างพิมพ์ใหญ่เกศสะบัด หรือทรงเจดีย์องค์เจ๊แจ๋วนั้น หากส่องให้ดีๆ ก็อาจเห็นร่องรอยเศษรักเป็นจุดอยู่ในซอกลึกหลุมเล็ก ยืนยันการล้างรักออกด้วยน้ำยาเคมี ที่ถือว่าล้างถูกวิธีในยุคหลังๆ

การเอารักออกในยุคแรกๆ ยุคที่ไม่มีทินเนอร์ ไม่มีน้ำยาล้างสี มักใช้ของมีคมขูดเขี่ย ซึ่งก็มักจะทิ้งรอย “ขนแมว” มากน้อยเอาไว้ แต่ก็เป็นหลักฐานอีกประการ ยืนยันพระแท้

ครู “ตรียัมปวาย” ให้หลักไว้ว่า การลงรักเก่าทองเก่าหมายถึง การปฏิบัติต่อพระในระยะแรกๆ เมื่อสร้างเสร็จ และเมื่อเนื้อรักบางๆ ที่ฉาบเนื้อพระได้ล่อนหลุดออกจากผิวเนื้อไปแล้ว หากเป็นประเภทเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อจะดูดเอาวรรณะของรักซาบซึมลงไปใต้ผิวเนื้อ ทำให้วรรณะของพระหม่นคล้ำจัดขึ้น นอกจากนั้น เศษรักเก่าทองเก่ายังติดอยู่ ตามซอกเล็กๆน้อยๆ ทำให้วรรณะของพระเด่นงามขึ้นอีกเป็นอันมาก ถ้าเป็นประเภทเนื้อหนึกแกร่ง เนื้อรักก็จะแทรกอยู่กับริ้วรอย การแตกลายงา เรียกว่าร่องเลขารัก ทำให้วรรณะของเนื้อที่ค่อนข้างขาวใสสลับกับแววหม่น และวรรณะเลือดหมูของร่องเลขารัก เป็นลักษณะลายพร้อย

ยึดหลักครู แล้วเปิดดูหนังสือภาพพระสมเด็จเล่มใหญ่ ไล่เลียงไปทีละองค์ พิมพ์ใหญ่องค์ที่เหลือรักทองเกือบเต็มองค์ เดิมเป็นของคุณนิยม อสุนี แทบจะมีองค์เดียว บางองค์เจ้าของจงใจถ่ายสภาพที่ยังมีรักไว้ เมื่อลอกรักออกแล้วก็ได้องค์ใหม่เกลี้ยงเกลา ดูผิวเผินขาวสะอาด  ในผิวเกลี้ยงเกลาขาวสะอาดนั้นมีความจริงที่ซ่อนเร้น มือพระสมเด็จชั้นเซียนรู้กันทั้งนั้น ระหว่างการลอกการล้างหรือการจุ่มน้ำอุ่น จุ่มน้ำยาทำความสะอาดในบางครั้ง น้ำจะเข้าไปปฏิกิริยากับ “ฝ้ารัก” ที่ “ฝังใน” ทำให้มองเห็น “แดง” ไปทั้งองค์ แต่เมื่อพระ “แห้ง” สีแดงก็จมหายเหลือฝ้าส่วนที่หนา หรือชิ้นรักที่ซุกในร่องหลุมเล็ก ขอบเส้นองค์หรือซุ้ม ให้เป็นทั้งเสน่ห์ เป็นความงาม ยืนยันหลักฐานเดิมๆ

พระสมเด็จองค์ใด หากจุ่มน้ำแล้ว ขาวยังไงก็ยังขาวโพลนอย่างนั้นไม่มีมิติสีแดงของฝ้ารักฝังใน สิทธิการิยะท่านว่า ให้สงสัยไว้ก่อนได้เลย...พระปลอม

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ทั้งหน้าหลังในภาพแม่พิมพ์มาตรฐานคุ้นตา แต่สภาพผิวดูจากภาพขาวดำ เห็นแค่สีเทาแก่-จาง ความจริง คือ “ฝ้ารักฝังใน” ที่โชว์เด่นสะดุดตาด้านหน้าเหลือชิ้นรักเล็กๆ ไว้ให้ดูบ้าง

ชิ้นรักที่เหลือด้านหลังนี่คือชิ้นรักที่หลุดล่อนเต็มที เจ้าของพระตั้งใจเหลือไว้ให้ดู จากเดิมที่เกือบเต็มแผ่นหลัง ฝ้ารักแดงหนาริมขอบตัดกับเนื้อขาวขรุขระ

ทำให้เนื้อพระองค์นี้ดูไม่มีความหนึก ไม่มีความแกร่ง ความนุ่มขาดเสน่ห์ เหมือนที่เคยเห็นในองค์อื่นๆ

พระสภาพแปลกสายตา อย่างองค์นี้แหละที่นักดูพระทั่วไปไม่กล้า จับแล้วก็วาง แต่ถ้าเป็นมือชั้นเซียน อย่างคุณวิวัฒน์ อุดมกัลยาณรักษ์ ส่องหน้าส่องหลัง ครู่เดียว ก็บอกสั้นๆ “พระองค์นี้ ดูยังไง ก็ไม่เก๊”

ไม่มีคำว่าแท้สักคำ แต่เซียนใหญ่การันตีแค่นี้ แต่เจ้าของพระก็ปลื้มใจ ถือเป็นพระคู่ใจ หาตลับทองใส่

เส้นทางของพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ ก็สั้นๆ ง่ายๆ ไม่มีชื่อเจ้าของคนดังการันตี ไม่มีประวัติการซื้อขายจากแสนเป็นล้าน เป็นสิบล้านยังไม่มีราคา ก็มั่นใจนิมนต์ขึ้นคอไปไหนมาไหนได้สบายๆ

เมื่อยังไม่มีราคา ก็ไม่ต้องห่วงว่า ใครจะมาปล้นชิง จริงไหม? คุณ.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76721736581789_3.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์หักศอก

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ในภาพ จุดสะดุดตาอยู่ที่พระลำพระกรซ้าย (ขององค์พระ) ทิ้งดิ่งเกือบเป็นเส้นตรง ลงมาถึงข้อศอก ตรงจุดหักเข้าหาพระหัตถ์แผ่วบางเหมือนจะขาด แต่ไม่ขาด

สภาพการหักศอกแบบนี้ เป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของเนื้อปูนประสานน้ำมันตังอิ้วขณะยุบตัวไม่ใช่ข้อชี้เป็นตำหนิลับอะไร แม่พิมพ์เดียวกัน หลายองค์หักศอกติดเต็ม

ถ้ามีหนังสือภาพพระเครื่องของ ประชุม กาญจนวัฒน์ พิมพ์ เล่มแรกพิมพ์ปี 2508 หรือพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 พัฒนาเป็นภาพพระเครื่องนี้ปี 2509 เปิดหน้าแรกๆ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นั้นแหละ ต้นแบบองค์หักศอก  พี่ชุมเคยเขียนไว้ เจอพิมพ์ใหญ่แขนหักศอกเกือบขาดถือเป็นสัญญาณดี เห็นปุ๊บก็รู้ทันที พระแท้

พิมพ์ใหญ่หักศอกองค์แรก หายเข้ากรุผู้มีบุญไปนาน องค์ที่สอง คุ้นตา ลงพิมพ์ในหนังสือเล่มใหญ่หลายเล่ม เล่มตั้งแต่พรีเชียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ จนมาถึงเล่มพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ของทีมสีกาอ่าง ลำดับไว้องค์ที่ 35
มีเรื่องเล่า เป็นของคุณนิยม อสุนี เจ้าของโรงเหล็กย่านถนนสุขาภิบาล นิมนต์ไปเมื่อปี 2540 ด้วยราคา 14 ล้าน

ย้อนไปก่อนนั้น พระสมเด็จองค์นี้ เจ้าของชื่อ ฮกเจ็ง แซ่ตั้ง เซียนใหญ่เมืองเพชรบุรี ซื้อจากคุณสนาน กฤษณเศรณี 6.5 แสนบาท ปี 2522

ผมไปทำข่าวคดีฆ่ากำนันช้อง มีบุญตาได้จับองค์จริง จำได้ติดตา ทั้งรักทองบนผนังองค์พระและจุดหักศอกแผ่วๆ
พระองค์นี้ประกวดได้ที่ 1 ที่เพชรบุรี ปีต่อมาย้อนกลับเข้าวงการหลังคุณฮกเจ็งตาย น่าไปอยู่กับคุณนิยม อสุนี ตอนนี้

องค์ในภาพ คอลัมน์นี้ เป็นองค์น้องใหม่ จากรังสะสมผู้มีบุญท่านหนึ่ง ถือเป็นองค์หักศอก องค์ที่ 3 น่าอัศจรรย์ที่สภาพองค์พระ ทั้งเนื้อพระ ผิวพระ ร่องรอยของรักทองที่เหลืออยู่บ้างใกล้เคียงกัน
******
“ตรียัมปวาย” แยกการดูเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังไว้ เนื้อเกสร ดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อกระยาสารท เนื้อขนมตุ้บตั้บ เนื้อปูนนุ่ม เนื้อปูนแกร่ง การดูเนื้อด้วยหลักนี้ เซียนรุ่นนี้ไม่พูดถึงกันแล้ว นี่คือหลักสมมติ สิ่งที่เห็นด้วยตาเทียบเคียงกับสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว

องค์หักศอกใช้วิชาตรียัมปวายเทียบได้กับเนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อนี้มิได้หมายความว่าสร้างจากผงเกสรดอกไม้ล้วนๆ หากมีความหมายเพียงว่าเป็นเนื้อที่กอปรด้วยอนุภาคมวลสารอันละเอียดนุ่มนวล อุปมาดั่งมวลเกสรบุปผชาตินานาพรรณ

ดูภาพพระไป จินตนาการตามไป ลักษณะเด่น ความละเอียดเป็นจุลธุลี คลุกเคล้าสมานกันและกระจายไปตลอดเนื้อหา ไม่แยกกันเป็นหย่อมๆ วรรณะหม่นคล้ำต่างกัน ตัดกับวรรณะส่วนรวม

นอกจากเยื่อครีมของเนื้อว่านและกล้วยวรรณะหม่นๆ แทรกระคนอยู่ในมวลสาร เม็ดปูนขาวกลมๆ เท่าหัวเข็มหมุดย่อมๆ วรรณะขาวใสกว่าวรรณะส่วนรวมของเนื้อ ประปรายอย่างบางตา ถ้ามีผิวแป้งโรยพิมพ์อยู่บ้างก็จะบดบังเม็ดปูนขาว ความนุ่มฉาบอยู่โดยทั่วไปของผิวเนื้อ มีโครงสร้างแกร่ง จึงเกิดคุณสมบัติผสม ที่เรียกว่า ความหนึก

พระชุดนี้มักจะมีสัณฐานค่อนข้างบาง แต่กระแสเสียงกระทบทดสอบความพลิ้วไหวถี่ ยืนยันความหนักแน่นและเข้มหากผ่านการใช้ให้สัมผัสเหงื่อไคล จะปรากฏเงาสว่าง ที่เรียกว่าความฉ่ำจัด

องค์หักศอกองค์นี้ เป็นพระที่มีสภาพเดิมๆ ไล่เลี่ยกับสององค์ครู ความซึ้งได้จากความละเอียดนุ่มนวลของเนื้อกับแป้งโรยพิมพ์ และรักทองที่เหลือประปราย

ส่วนการแตกลายงาหรือแตกสังคโลกมีรางๆ ไม่ชัดเหมือนลายงาหรือสังคโลกจริงๆ

อยากเรียนรู้เทียบเคียงให้ครบทั้ง 3 องค์ ก็ต้องไปหาภาพมาดูกับตา ดูแล้วอาจได้แถมวิชา ดูพระสวย เส้นสายลายพิมพ์ สภาพพระแบบไหนสวยกว่า พระสวยที่โปรโมตโฆษณาสร้างราคาในวงการนั้น บางองค์ไม่สวยจริง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13381579145789_4.jpg)
พระกริ่งปวเรศ

ภาพพระกริ่งปวเรศ ที่ถือว่าเป็นพระแท้ ผ่านกลไกการตลาดพระเครื่อง ตีพิมพ์ในหนังสือพระเครื่อง เท่าที่ผมติดตาม ถึงวันนี้ยังมีอยู่ราวๆ 20 องค์ ยังไม่เกินคำผู้ใหญ่ ที่บอกไว้ว่า “พระกริ่งปวเรศสร้าง 2 คราว น่าจะไม่เกิน 30 องค์”

องค์ในคอลัมน์ เป็นองค์หนึ่งที่เฝ้าดูมากว่า 10 ปี ดูตั้งแต่พระผิวถูกล้างจนกระทั่งผิวกลับดำ เห็นประกายเงินประปราย ทั้งฟอร์มองค์พระ ทั้งตำหนิเมล็ดงา ก็เข้ามาตรฐานพระกริ่งปวเรศมาตรฐานองค์วัดบวร

ผิวและประกาย กริ่งปวเรศบางและมีชั้นเดียว ขัดถึงเนื้อในสีจำปา เลยแตกต่างจากกริ่งรุ่นพรหมมุนี หรือกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ผิวสามชั้น ผิวนอกดำขัดออกเจอขาว ขัดขาวออก จึงจะถึงเนื้อในสีนากกระจ่างสดใส

ไม่ว่าสภาพพระเป็นอย่างไร ผิวและเนื้อจะสมบูรณ์แค่ไหน วิทยายุทธ์ของคนเป็นพระจะออกมาตรงกัน บุญเหลือ ออประเสริฐ เจ้าของสมญาราชาพระกริ่ง เคยมีพระกริ่งปวเรศถึง 5 องค์ บอกรุ่นน้องว่า “ความเก่าของเนื้อพระต้องถึง”

พระแท้นั้น อย่างพระกริ่งปวเรศองค์นี้ ไม่บอกสักครั้งก็ได้ เป็นพระใคร แม้ล้างผิวเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่พระอายุเกินร้อยปี ผมเคยนิยาม “พระแท้ยิ่งล้างยิ่งเก่า” ในซอกผิวเก่าก็เก่ายังงั้น ตรงผิวที่ขัดล้างกระแสที่ออกมาก็ยังไม่ทิ้งความเก่า

ถ้าหาพระปลอมฝีมือ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ มาเทียบเคียงได้ ดูแป๊บเดียวก็รู้

พระกริ่งปวเรศฯ องค์แรก ที่เปิดโฉมในวงการ คือองค์หม่อมล้ำ (ม.ร.ว.ล้ำเลิศ หัสดินทร ณ อยุธยา) ประชุม กาญจนวัฒน์ เขียนแนะนำไว้ในหนังสืองานศพ คุณนายสร้อยทอง วัฒนายากร พ.ศ.2414

ศักดิ์ สุริยัน เอามาเขียนอีกครั้งในหนังสืองานศพ พระยาชลประทานธนารักษ์ (ชลปทาน โหตรภวานนท์) ปี 2415 พร้อมกับองค์ครู “วัดบวร” และอีกองค์เป็นองค์ที่สาม

องค์นี้เค้าหน้าไปทางองค์ที่เคยใช้ชื่อตำรวจใหญ่ชื่อจักรทิพย์ เป็นเจ้าของ จนไปสู่ผู้ครอบครองคนล่า คิงเพาเวอร์
คเณศร์พร ฉบับ เม.ย.ปี 2535 สัมภาษณ์ บุญเหลือ ออประเสริฐ เอาองค์ “จักรทิพย์” มาพิมพ์ไว้ กับองค์คุณบุญเหลือ รวมเป็นสี่ องค์ที่สี่น่าสนใจเพราะเป็นองค์คู่องค์ครูวัดบวร เค้าหน้าไปกันได้ แต่ฟอร์มทั้งองค์แตกต่างกันมาก

เช่นก้นไม่เป็นรูปไข่แต่ออกกลม เหมือนกริ่งวัดสุทัศน์ปี 2479

องค์นี้ยังเป็นองค์ปริศนา ถ้ามีโอกาสผมจะไปกราบท่านเจ้าคุณวัดบวรฯ ขอดูให้กระจ่างตาเป็นความรู้มาเผื่อแผ่ถึงคนรักพระกริ่งว่า ฟอร์มพระกริ่งปวเรศไม่ใช่มีแค่องค์ครู ในเก๋งดินเผาวัดบวรที่เราเห็นกันอยู่องค์เดียว องค์น้องใหม่ขึ้นปกหนังสือโหมโรง เนื้อเหลือง  เจ้าของ เล็ก รูปหล่อ ก็น่าสนใจ ได้ข่าวว่านักธุรกิจคนชอบพระชาวฮ่องกงกำลังต่อสายราคา ว่ากันว่าเริ่มคุยกันที่ 24 ล้าน

อย่าแปลกใจ พระกริ่งปวเรศ มาตรฐานวงการเขาเริ่มคุยกันราคานี้

ทั้งบุญเหลือ ออประเสริฐ ทั้งเล็ก รูปหล่อ เข้าใจคำว่า “เนื้อพระต้องเก่าถึง” และยิ่งเข้าใจเรื่องรายละเอียดองค์พระว่า หล่อมาไม่สมบูรณ์ต้อง “แต่ง” ทุกองค์ จึงเอาองค์หนึ่งมาเป็นครู ดูให้เหมือนอีกองค์หนึ่งไม่ได้

หากดูฝีมือแต่ง บุญเหลือ ออประเสริฐ ว่า มีสองฝีมือ แต่แม้เป็นช่างฝีมือเดียวกัน ตั้งใจแต่งไปทางเดียวกัน เล็ก รูปหล่อ ก็บอกว่าก็ยังแค่ “คล้ายกัน” ไม่เหมือนกันเป๊ะๆ ตำหนิตรงนั้น ตรงนี้ แบบพิมพ์เหรียญเลยสักองค์เดียว กระทั่ง “เมล็ดงา” ด้านหลังฐานพระ ตำหนิลับของช่างแต่งโบราณ มาถึงวันนี้ก็ไม่ลับอะไรอีกแล้ว พระปลอมทุกฝีมือทำได้ใกล้เคียง แต่ก็ใกล้จนเกินไป ตำหนิเมล็ดงาจริงที่ตอนเห็นกันน้อยองค์ คุยกันว่า ต้อง “ตอกปัง” ทีเดียว รอยเดียวนั้น สององค์ดังในรังคิงเพาเวอร์ องค์แรก ตอกซ้ำสองครั้ง องค์ที่สอง ตอกซ้ำสามครั้ง ความจริงเชิงประจักษ์เรื่อง “เมล็ดงา” จึงแตกหน่อเป็นความรู้ใหม่

องค์ที่รอยตำหนิเมล็ดงาเขยื้อนนั้น ดูจะเป็นตราประทับพระแท้ได้มากกว่าพระเก๊

จึงพอสรุปได้ว่า ในสายตาคนเป็นพระ การดูพระแท้ไม่ดูแค่จุดเดียว ต้องดูองค์รวม เนื้อเก่าสมอายุ ผิว หรือกระแส แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน หากเป็นพระแท้ไม่ว่าอยู่กับใคร ก็ต้องเป็นพระแท้วันยังค่ำ.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68579750466677_5.jpg)
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ฐานแซม

ก็รู้ๆ กันคุ้นตากัน ห้าแม่พิมพ์มาตรฐานของสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม และปรกโพธิ์นั้น ในฐานหลักสามชั้น มีเส้นแซมเรียวเล็กและคมอยู่ทุกพิมพ์

พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ส่วนใหญ่ เห็นเส้นแซมใต้ฐานชั้นบนเส้นเดียว

พิมพ์ฐานแซม เกศบัวตูม ปรกโพธิ์ ติดสองเส้น แต่วงการเลือกเรียกฐานแซมไว้พิมพ์เดียว ที่เหลือเกศบัวตูม ปรกโพธิ์ ถึงมีแซมสองเส้น ก็เป็นที่เข้าใจ

เมื่อเอ่ย พิมพ์ใหญ่ฐานแซม จึงน่าจะเกิดคำถาม พิมพ์ใหญ่มีฐานแซม 2 เส้น เหมือนพิมพ์ฐานแซม มีจริงหรือ
คำตอบ มีจริง และไม่มีแค่เหมือนฐานแซมยังมีพิมพ์ใหญ่ฐานคู่อีกด้วย

เริ่มกันที่หลักการ คือความเป็นจริงของแม่พิมพ์เดิมก่อน แม่พิมพ์ฝีมือหลวงวิจารณ์ เจียระไน ช่างหลวงนั้น ทั้ง 5 แม่พิมพ์มาตรฐานวัดระฆัง รวมเพิ่มอีก 4 พิมพ์บางขุนพรหม เส้นด้าย สังฆาฏิ ฐานคู่ และเศียรบาตรอกครุฑ เป็น 9 วันนี้พอจะรู้กันแล้ว ช่างแกะไว้ครบเครื่อง มีหูตาจมูกปาก เส้นสังฆาฏิ แยกสองพระบาทซ้อนกันคมชัด  ถึงฐานสามชั้น ตามมูลสูตรของอาสนะ ย่อส่วนจากฐานพระประธานในโบสถ์ ฐานชั้นบน คือหน้ากระดานตัวบน บัวหงาย และท้องไม้ ฐานชั้นกลาง คือฐานสิงห์ ส่วนกลางมีสันอกไก่ และคมขวาน ฐานชั้นล่าง คือหน้ากระดานตัวล่าง  ด้วยมูลสูตรนี้ ช่างตั้งใจแกะ เส้นแซม 2 เส้นไว้ให้ทุกพิมพ์

เพียงแต่เมื่อเนื้อพระที่ผสมด้วยปูนเปลือกหอยกับน้ำมันตังอิ้วเริ่มแห้ง ทำให้องค์พระยุบตัว ส่วนที่เป็นหน้าตา สังฆาฏิ การซ้อนเส้นพระบาทหายไป เส้นแซมบางพิมพ์เหลือแซมเส้นเดียว บางพิมพ์หายไปเลย

ครู “ตรียัมปวาย” จำแนกแบบพระอาสนะ พิมพ์ใหญ่ไว้ 4 แบบ นอกจากแบบธรรมดา ที่เห็นเส้นแซมติดพระบาท เส้นเดียวบ้าง ไม่ติดเลยบ้าง แบบโค้ง เส้นฐานโค้งรับพระเพลาโค้งแล้ว ยังมีแบบแซมและแบบฐานคู่

แบบแซม เหลือบสายตาไปดูภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ในคอลัมน์ องค์นี้ติดเส้นกรอบกระจกสามด้าน จก สิ่งที่แปลกตากว่าพิมพ์ใหญ่องค์อื่น ก็คือ ติดเส้นแซมสองเส้น ครูสอนให้รู้จักพิมพ์ใหญ่ฐานแซม แล้วอธิบาย ฐานทั้งสามมีความนูนหนามาก เว้นช่องไฟระหว่างชั้นค่อนข้างแน่นทึบกว่าแบบอื่น ปรากฏเส้นขีดแซมบางๆ เป็นทิวขึ้นมา 2 เส้น ระหว่างพระเพลากับฐานชั้นบนเส้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นนิสีทนะ ระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลางทำหน้าที่เป็นบัวลูกแก้ว อีกเส้นหนึ่ง เส้นขีดทิวทั้งสอง ไม่คมชัดเท่ากับของพิมพ์ทรงฐานแซม

ใครมีหนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องเล่ม 1 พระสมเด็จฯ ลองเปิดดู มีภาพสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แบบเขื่อง เส้นแซม 2 เส้น ภาพที่ 1 และภาพที่ 17 ถึงภาพเล็กขาวดำ ไม่ชัด ก็ดูให้ดูเป็นแนวทาง ส่วนฐานแซมแบบคู่นั้น อยู่ที่ภาพองค์ที่ 13

ยึดหลักครูแล้วหันมาตรวจสอบกับประสบการณ์จริง ภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่เห็นกันแล้วหลายร้อยองค์ ในหนังสือหลายเล่ม ก็เริ่มเห็นว่า หลายองค์ที่คุ้นตามีเส้นแซมเส้นที่ 2 อยู่รางๆ  พิมพ์ใหญ่ฐานแซมองค์หน้าใหม่ พิมพ์ในหนังสือโหมโรง ของ ต่อ ดวงวิชัย ยึดเป็นองค์ครูได้  อีกองค์อยู่ในคอ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รักใคร่กันนับถือกัน ขอท่านดูคงได้ดู

วันนี้ ดูภาพพิมพ์ใหญ่ฐานแซมให้เห็นกับตาอีกองค์ เก็บสะสมเป็นปมความรู้เอาไว้ต่อจิ๊กซอว์กับความรู้ เรื่องเนื้อหา ริ้วรอยสัญลักษณ์ ธรรมชาติทั้งด้านหน้าและหลังองค์อื่น พิมพ์อื่นๆ ต่อ

พระมูลค่ายิ่งกว่าเพชรเม็ดสวยๆ เชื่อเซียนใช้เงินซื้ออย่างเดียว ยังไม่พอ ต้องเรียนรู้ด้วยตา พระสำคัญนั้น เชื่อเซียนได้ไม่ว่า แต่จะดีกว่าถ้าเชื่อตาและใจตัวเอง.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50117931970291_6.jpg)
พระกริ่ง พรหมมุนี วัดสุทัศน์ฯ
คนรักพระกริ่งรุ่นใหม่ๆ ที่เผลอขึ้นชั้นไปรัก พระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ ซึ่งถ้าเป็นบันได ก็ถือเป็นชั้นยอดสุดนั้น ถ้าไม่มีบุญบารมีหรือมีเงินถังจริงๆ จะถูกหาว่าไม่เจียมกะลาหัว โทษฐานที่ไม่ขึ้นบันไดขั้นล่างๆ ขั้นพื้นฐาน คือ พระกริ่งสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ เสียก่อน แต่กว่าจะผ่านบันไดขั้นพื้นฐาน เรียนรู้เรื่องพระกริ่งวัดสุทัศน์ขึ้นไปได้ ก็ใช่ว่าจะง่ายๆ

เริ่มต้นแค่รู้จักรุ่น รุ่นแรก เทพโมลี เรียกตามสมณศักดิ์เจ้าคุณ รุ่นสองธรรมโกษาจารย์ พรหมมุนี (รุ่นนี้ มีทั้งรุ่นเขมรน้อย รุ่นกริ่งใหญ่) รุ่นพุฒาจารย์ รุ่นวันรัต จนถึงหลายรุ่น ที่สร้างตอนท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราช จบรุ่นสุดท้าย เชียงตุง
ทุกรุ่น ท่านสร้างตามกำลังวันบ้าง เพิ่มจำนวนตามแรงศรัทธาของศิษย์บ้าง รวมๆ กันก็แค่ราวๆ 2 พันองค์ (ไม่รวมรุ่นหน้าอินเดีย ที่แยกเป็นกรณีพิเศษอีก 4 พันองค์)

นักเล่นรุ่นใหม่ ฟังแค่ชื่อรุ่นก็เวียนหัวตาลาย หากต้องไปเรียนรู้แต่ละรุ่น แต่ละพิมพ์ แต่ละเนื้อ การแต่งแต่ละฝีมือช่าง หาของจริงดูก็ยาก ยึดหลักตำหนิเป๊ะๆแบบเหรียญก็ไม่ได้

ศรัทธาไม่กล้าแข็ง ไม่มีอาจารย์ดีคอยกำกับเวที เจอแต่ของปลอม ก็มักต้องถอดใจถอยหนีไปเลย

ภาพพระกริ่งวัดสุทัศน์ในคอลัมน์นี้ เป็นรุ่นมหานิยม เรียกรุ่นพรหมมุนี น่าจะอยู่ในกลุ่มที่สร้างราวๆ 60 องค์ ถวายพระที่นิมนต์มาในงานฉลองอายุ 5 รอบ ปี 2459 วงการเรียกอีกชื่อว่า รุ่นถวายสำรับ

สภาพพระ ถ้าเห็นภาพสี ใช้คำบรรยายของ คุณบุญเหลือ ออประเสริฐ เนื้อนวโลหะ ภายในสีนากกลับขาว แล้วกลับดำสนิท สภาพพิมพ์ยังคงเค้าเดิมๆ เอาไว้

เค้าเดิมก็คือแม่พิมพ์รุ่นพรหมมุนี สมเด็จฯท่านเพิ่งเริ่มใช้แม่พิมพ์ใหม่ ใช้ต้นแบบพระกริ่งใหญ่ องค์ของพระยาศุภกรฯ (นุ่ม วสุธาร) กริ่งใหญ่องค์นี้ ที่ขมับซ้าย มีไฝเม็ดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์

นักเลงพระกริ่งรู้จักกันทั้งนั้น เพราะท่านยังใช้ไปอีกหลายรุ่น จนถึงรุ่นเชียงตุง

ย้อนไปเล่าตำนานการสร้างพระกริ่งอีกที กริ่งปวเรศ วัดบวรฯนั้น สมเด็จกรมพระปวเรศฯ ท่านเอากริ่งใหญ่เป็นต้นเค้า เพิ่มบัวหลังเข้าไป สังฆราชแพท่านสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์บ้าง ท่านเอาแบบพระกริ่งปวเรศ แต่ตัดบัวหลังออก ก็ออกมาเป็นกริ่งรุ่นเทพโมลี ที่ว่ากันว่ามีอยู่แค่ 9 องค์ รุ่นต่อมาธรรมโกษา เค้ากริ่งปวเรศ ยังชัด มารุ่นเขมรน้อย เอากริ่งหนองแสมาเป็นต้นแบบ หล่อไม่ค่อยติดพิมพ์ ช่างแต่งไม่เรียบร้อยเอาเลย

ปีแซยิด 60 ปี ท่านจึงใช้แม่พิมพ์กริ่งใหญ่ ถอดมาทั้งดุ้น นี่คือกริ่งพรหมมุนี ใช้แม่พิมพ์นี้เรื่อยมา จนถึงรุ่นพุฒาจารย์ เค้ากริ่งใหญ่ก็ยังอยู่ จนราวปี 2476 เค้ากริ่งใหญ่เริ่มเปลี่ยนไป

เล่ากันว่า เหตุเพราะพระยาศุภกรป่วย หากริ่งต้นแบบไม่เจอ ช่างก็เอาพระกริ่งรุ่นเก่าเป็นเค้า ตกแต่งเพิ่มเติม ปี 2478 เอากริ่งปวเรศ มาเป็นแม่พิมพ์อีกที แต่หล่อไม่ค่อยดี ปี 2479 ถือเป็นรุ่นวันรัตแล้ว องค์พระเริ่มยาวชะลูด

ตัดตอนไปถึงปีฉลองพระชนมายุ 84 ปี ฉลองสุพรรณบัตรสมเด็จพระสังฆราช ปี 2483 ได้ช่างหรัส พัฒนางกูร แกะแม่พิมพ์ใหม่ ต่างจากแบบพิมพ์กริ่งใหญ่ไปเลย ใช้ในรุ่น พุทธนิมิต ปี 2484 และใช้อีกในปี 2485

ปี 2486 ปีสุดท้าย สมเด็จพระสังฆราชแพก็ได้พระกริ่งใหญ่ องค์มีไฝที่ขมับมาเป็นต้นแบบ รุ่นเชียงตุงอีกครั้ง
ไฝตรงนี้ แม้ช่างตั้งใจแต่งให้สวยแค่ไหน ช่างก็ยังตั้งใจทิ้งไว้

รู้แค่นี้ ก็ต้องรู้ต่อไป แม่พิมพ์กริ่งใหญ่องค์มีไฝ เจ้าคุณศรี (สนธ์) ท่านก็ใช้หลายรุ่น พระกริ่งรุ่นดังๆ โดยเฉพาะรุ่นพรหมมุนีซึ่งราคาน่าจะเกินล้านไปนาน ของปลอมออกมาแล้ว เนื้อและกระแสเหมือนจริงยังกะแฝดคนละฝา

คำแนะนำ คนรักพระกริ่งรุ่นละอ่อน วิทยายุทธ์พระกริ่งทั้งลึกทั้งซับซ้อน ยิ่งกว่าผ่านด่าน 18 อรหันต์ เชื่อเซียนเอาไว้ก่อนดีกว่า แพงแสนแพงแค่ไหน ก็ต้องกัดฟัน เพราะหากแน่ใจพกเงินไปซื้อเอง จอดไม่ต้องแจวมาแล้วหลายราย.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51057282835245_7.jpg)
เมฆสิทธิ์ วัดสุทัศน์

ส่วนผสมเนื้อนวโลหะ พระกริ่ง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ มีบันทึกชัดเจน เริ่มจาก ชิน 1 บาท จ้าวน้ำเงิน 2 บาท  เงิน 8 บาท และทอง 9 บาท ผิวพระกริ่งยุคแรกๆจึงออกมาเป็นสามชั้น ภายในสีนาก กลับขาว แล้วกลับดำสนิท
นี่คือ เนื้อสำริดดำ “เนื้อครู” วงการถือเป็นเนื้อหลัก  แต่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านขึ้นชื่อเป็นจอมยุทธ์ ในแวดวงนักเล่นแร่แปรธาตุ มีบันทึกประโยคหนึ่ง “หมดถ่านไปหลายลำเรือ” ช่วงเวลา “ลองของ” เปลืองถ่านของท่าน จึงปรากฏ พระกริ่งเนื้อเมฆสิทธิ์

หนังสือปกเหลือง สมาคมสำนักวัดสุทัศน์จัดพิมพ์ ปี 2517 มีภาพ (ขาวดำ) พระกริ่งรุ่นธรรมโกษาจารย์ 1 องค์ มีคำบรรยายว่า “เนื้อนวโลหะสีขาว ออกเหลืองนิดๆ พิจารณาแล้วอมเขียวนิดหน่อย ความสูง 3.6 ซม. ความกว้าง 1.9 ซม.”
ต่อมา หนังสือพระกริ่งเมืองสยาม กิจจาวาจาสัจ พิมพ์มีนาคม 2556 ก็มีพระกริ่งองค์นี้ ภาพสีสดใส เห็นแม่พิมพ์ กระแสสีผิวชัดเจน ข้อต่างมีเพียงว่า คุณกิจจาจัดพระกริ่งรุ่นนี้ไว้ก่อนรุ่นธรรมโกษาจารย์ เป็น เทพโมลี

คุณกิจจาบอกว่า พระกริ่งองค์นี้ มีประวัติการตกทอดแน่นอน เนื้อในขาวคล้ายเงินกลับเป็นสีเมฆสิทธิ์ แล้วกลับดำในที่สุด จุดที่ควรพิจารณา คือการแต่งพระเนตร ผ้าทิพย์ที่ฐานด้านหน้า  ตรงพระเนตรและผ้าทิพย์นี่เองที่ทำให้เห็นคล้อยไปเป็นรุ่นเทพโมลีได้ แต่จะเป็นเทพโมลี 1 หรือเทพโมลี 2 ที่มีบันทึกว่า ปีต่อมาสมเด็จฯท่านก็ทำเทพโมลีรุ่น 2 ฝีมือการตกแต่ง หยาบกว่ารุ่น 1

พระกริ่งวัดสุทัศน์ รุ่นลึกๆ รุ่นที่ถูกประชดว่า องค์เดียวในโลก แบบนี้ ข้อดี ก็คือนักปลอมพระไม่ค่อยเสียเวลาปลอม เพราะปลอมแล้วก็ขายไม่ได้ ข้อไม่ดีก็คือ บอกว่าแท้ แต่ไม่มีองค์อื่นเทียบเคียง เซียนใหญ่ก็ไม่เคยถือ เซียนน้อยพลอยไม่รู้จัก
ภาพพระกริ่งองค์ในคอลัมน์ ถ้าเห็นภาพสี ผิวกระแส และฝีมือการแต่ง ไปในทางเดียวกับ “องค์ครู” ชายผ้าทิพย์ ยาวแยกสองเขี้ยว เอกลักษณ์รุ่นเทพโมลี แม้ไม่ชัดเจน แต่พอเห็นเป็นเค้า

จุดที่เชื่อมโยงได้กับรุ่นเทพโมลี นอกจากเนื้อผิวกระแส ก็คือฐานบัว ที่แต่งออกไปทางชะลูดยาว

แต่ข้อที่สำคัญก็คือ รุ่นธรรมโกษาจารย์ สร้างระหว่างปี 2451-2454 ถึงเวลานี้เกินร้อยปี เนื้อพระก็ต้องเก่าถึง

ครูพระกริ่งอีกคน อาจารย์ปรีชา เอี่ยมธรรม เคยให้หลักนักเล่นพระกริ่งว่า เจอเนื้อเก่า ถึงอายุ แต่หุ่นยังไม่ให้ ถ้าไม่แพงเกินไป ซื้อเก็บเอาไว้ก่อน ค่อยๆ หาความรู้ หารุ่นทีหลัง

“จ่าเปี๊ยก” ใช้ประโยคนี้กับพระกริ่งรุ่น 2477 ฟอร์มองค์พระ คล้ายกริ่ง 79 แต่ก้นไม่ยื่นยาวเหมือนก้นแมลงสาบ เท่ากับรุ่น 79

หลักพิจารณาพระกริ่งวัดสุทัศน์ อีกข้อคือการอุดเม็ดกริ่ง ใครสงสัย “กริ่งใน” มีกระบวนการขั้นตอนใส่เม็ดกริ่ง ก่อนการหล่อองค์จริงอย่างไรควรไปหาหนังสือเล่มพระกริ่งเมืองสยาม ของ กิจจา วาจาสัจ อ่าน

การอุดเม็ดกริ่ง ในรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อย่างรุ่นเทพโมลี ตอนนี้เริ่มมีภาพถ่ายหลายองค์ แม้มีคำบรรยายอุดแบบกริ่งในตัว แต่ภาพหลายองค์ที่เทียบเคียง บางองค์ก็เห็นปะก้นเหมือนกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ

ทัศนะผมแน่ใจเทพโมลี องค์ปะก้น ของ หมออนุวัตร ผลบุณยรักษ์ ที่ปากน้ำ มากกว่าองค์อื่น กริ่งองค์นี้เซียนรุมสวดว่าเก๊ แต่ตามซื้อมาหลายสิบปีก็ยังซื้อไม่ได้

ความจริงสามัญของวงการพระเครื่อง ถ้าพระยังไม่อยู่ในมือเซียน ยังแท้ไม่ได้ วันนี้ก็ยังมีอยู่
ย้อนมาการอุดเม็ดกริ่ง วัดสุทัศน์ กี่รุ่นๆ ผู้รู้ท่านก็ว่า “สองรู” แต่มีข้อน่าสังเกตรุ่นแรกๆ ของท่าน “ไม่สองรู” เสมอไป รูเดียวก็มี หล่อไม่เรียบร้อยทั้งปะทั้งซ่อมใหม่ที่หลังที่ก้นก็มี

กริ่งองค์ในภาพองค์นี้ อุดเม็ดกริ่งรูเดียว ร่องรอยการอุดไม่แน่นสนิทเนียนเป็นเนื้อเดียวเหมือนรุ่นต่อๆ มา

ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเทพโมลี หรือธรรมโกษา ฯลฯ ถ้าอ่านขาด เนื้อเก่าพิมพ์ใช่ ฝีมือแต่งไปได้ แล้วใจก็รัก ทั้งไม่คิดจะขาย ก็นิมนต์ขึ้นคอได้ จอมยุทธ์ที่มีกำลังภายในลึกๆ ในวงการเล่นพระแบบไม่ง้อเซียนแบบนี้ก็ยังมี.

     พลายชุมพล - นสพ.ไทยรัฐ



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 กรกฎาคม 2559 12:42:11
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82948470736543_1.jpg)
พระปิดตา หลวงพ่อแก้วพิมพ์เล็ก

ภาพในคอลัมน์ คือพระปิดตา หลวงพ่อแก้ว พิมพ์เล็ก เนื้อผงคลุกรัก (อีกพิมพ์) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี

พิมพ์นี้เนื่องจากพระมีน้อยมาก ขนาดรังพระใหญ่ที่มีพระปิดตาหลวงพ่อแก้วเกือบทุกพิมพ์ อย่างรังคิงเพาเวอร์ ไม่มี วงการพระก็ไม่ค่อยเจอะเจอ  แต่เมื่อเจอแล้วก็ดูจะคุ้นตา เพราะเส้นสายลายพิมพ์เหมือนกับปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อตะกั่ว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าและเล่นหากันมาก่อนด้วยราคาย่อมเยากว่า

พยัพ คำพันธุ์ บอกไว้ในหนังสือ 12 พระปิดตายอดนิยม (สำนักพิมพ์มติชน มิ.ย.2557) ว่า เมื่อวงการเริ่มเล่นพิมพ์เนื้อตะกั่วที่เชื่อกันว่าหลวงพ่อแก้วท่านทำแจกจ่ายที่เพชรบุรีก่อนธุดงค์มาอยู่ชลบุรี ก็เริ่มถกเถียงกันว่าหลวงพ่อแก้วเนื้อตะกั่วมีจริงหรือ?

จนเมื่อราว 40 ปีที่แล้ว หลวงพ่อแก้วเนื้อตะกั่วแตกกรุที่เจดีย์หน้าวัดเครือวัลย์ จึงยอมรับเล่นกันถึงปัจจุบัน

หลักการดูแม่พิมพ์ พิมพ์เล็ก เนื้อคลุกรักของพยัพ แม่พิมพ์นี้มีกระจังหน้าเหมือนพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง แต่ความคมชัดลึก ไม่เท่าพิมพ์เนื้อตะกั่ว

พิมพ์เนื้อตะกั่ว ด้านหลังบางองค์มีเหล็กจาร บางองค์ไม่มี

ด้านหลังพิมพ์เล็กคลุกรัก องค์ต้นแบบในหนังสือพยัพ เป็นแบบหลังแบบ บางองค์ในหนังสือเล่มอื่น หลังเรียบ ส่วนองค์ในคอลัมน์นี้ หลังอูม แต่เนื้อหารักทองเก่าจัดจ้านเข้าเกณฑ์มาตรฐานเซียน

เรื่องเนื้อหาส่วนผสมนั้น หลักครูพระปิดตาตรงกัน เนื้อว่านมงคลนาม 108 เช่น ไม้ไก่กุก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม เม็ดรักจากต้นรัก ฯลฯ ตำบดกับผงที่ปลุกเสกไว้ แล้วนำมากรอง ถ้าใช้น้ำข้าวเหนียวผสมเป็นตัวประสาน พิมพ์เป็นองค์พระ แล้วเอาไปจุ่มรักก็จะเรียกว่า เนื้อจุ่มรัก ผ่านกาลเวลาร้อยกว่าปี เนื้อรักหลุดล่อน บางองค์เห็นเนื้อในสีน้ำตาลหรือออกไปทางขาวอมเหลือง  องค์หนึ่ง (พิมพ์ใหญ่) ด้านหน้า เยื่อรักเคล้ากับเนื้อ สีเข้มไปทางเนื้อกะลา แต่ด้านหลังรักหลุดล่อนไป ยังเห็นเนื้อขาวอมเหลืองชัดเจน

ส่วนองค์ที่ผสมมวลสารแล้วผสมน้ำรักเข้าไป เนื้อพระจึงออกไปทางสีดำ วงการเรียกว่า เนื้อคลุกรัก

คนที่ไม่รู้ มักบรรยายภาพว่า เนื้อคลุก (เคล้า) รัก เนื้อจุ่มรัก จนเข้าใจว่าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ความจริงเนื้อต่างกัน ปัญหาที่จะถกเถียง ไม่ได้อยู่ที่เนื้อแบบไหน แต่อยู่ที่เนื้อเก่าแท้ ถึงอายุแค่ไหน รักทองเก่าตามเหตุผลหรือไม่

ยึดหลักเซียน อย่างพยัพ เนื้อหลวงพ่อแก้ว ส่องให้ดีๆ จะเห็นเม็ดรักสีดำหรือสีแดงโผล่ให้เห็นบ้างไม่มาก ถ้ามากให้ระวัง หลวงพ่อแก้วของแท้ในทัศนะพยัพ เนื้อละเอียด ถ้าเนื้อหยาบ เป็นของปลอม

ข้อแนะนำ พระสายหลวงพ่อแก้ว จำนวนน้อยหาของจริงหาดูเพื่อศึกษายาก องค์ที่เซียนซื้อเซียนขายใช้เป็นหลักเทียบเคียงได้แต่ต้องใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณตัวเองเข้าช่วย

ประสบการณ์มาก เคยดูพระปิดตาเนื้อคลุกรักจุ่มรัก หลวงพ่ออื่นวัดอื่นที่มีอายุใกล้เคียงบ้างก็พอใช้เป็นหลักเทียบเคียง เพียงแต่ต้องรู้ข้อแตกต่าง เนื้อหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์แบบไหน หลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่าแบบไหน

ขึ้นชื่อว่าเซียน เขาอาจไม่เป็นพระทุกเนื้อ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เขาเข้าถึงก็คือความเก่า เก่าร้อยปีอย่างไร เก่าพันปีอย่างไร เรื่องตำหนิแม่พิมพ์ที่ใช้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์กับเหรียญ หรือพระเครื่องสำคัญอย่างพระรอดในชุดเบญจภาคี เอามาใช้กับพระปิดตาหลวงพ่อแก้วได้บ้าง เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจ

พระสายนี้ทำด้วยมือ มีตัวแปรมากมาย จุดเล็ก ติ่งน้อย ยึดเป็นแนวทางได้ แต่ถ้ายึดตายตัว ก็อาจพลาดของแท้

จุดชี้ขาดพระเครื่องสำคัญ แม่พิมพ์ใช้เป็นตัวชี้นำ แต่เนื้อหาที่เก่าถึงอายุเป็นจุดชี้ขาดเก๊-แท้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด พระองค์ที่แท้แน่นอนนั้น ควรจะไปได้ทั้งคู่ พิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่

พระปิดตาหลวงพ่อแก้วที่เข้าเกณฑ์ครบเครื่องที่ว่าดูง่ายสบายตา ราคามักแพงแสนแพง จนถูกประชดว่า เป็นพระศักดินา ของเจ้านายและผู้มีบุญญาธิการ ชาวบ้านธรรมดาอย่าฝันไขว่คว้าไปเลย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61123810791306_2.jpg)
พระเนื้อผง หลวงพ่อทับ วัดทอง

หากจะกล่าวถึงพระเนื้อสำริดครบสูตร ที่เรียกเนื้อนวโลหะ สืบทอดมาจากตำรับโบราณนั้น คนในวงการรู้กันว่าเริ่มจากพระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ ตามด้วยพระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ แล้วก็มาถึง พระมหาอุตม์ หลวงพ่อทับ (พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี) วัดทอง (สุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย)

หลวงพ่อทับ เป็นพระครู สมเด็จสังฆราชแพ เป็นเจ้าคุณ ที่พระธรรมโกษาจารย์ นัยว่าด้วยความที่เป็นผู้สนใจทางเดียวกัน เล่ากันว่าสมเด็จสังฆราชท่านเคยเสด็จไปวัดทอง สนทนากับหลวงพ่อทับเรื่องการหลอมหล่อเนื้อพระบ่อยครั้ง

ผู้ที่ค้นคว้าสูตรนวโลหะหลวงพ่อทับ ออกมาเผยแพร่ในหนังสือพระเครื่อง คนแรกคือตรียัมปวาย ไม่นานก็มีนักเลงดีก๊อบปี้ต้นฉบับของท่านไปพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเท่าฝ่ามือออกวางขาย

ราวๆ ปี 2512 ผมเคยไปหาตรียัมปวาย ที่บ้านหลังวัดกัลยาณ์ ฝั่งธนฯ ได้ยินท่านเอ่ยปากถามถึงนามปากกานักเลงดี  และก็แค่นั้น ดูเหมือนตอนนั้นท่านกำลังตั้งใจค้นเรื่องพระผงบึงพระยาสุเรนทร์

ผมเคยมีหนังสือเล็กเล่มนั้น ยังพอจำได้ มหาอุตม์หลวงพ่อทับ มีหลายเนื้อ นอกจากเนื้อสำริด เงิน เนื้อหลัก เนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อทองเหลือง เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว...เมฆพัตร แล้ว ผมจำไม่ได้ว่า มี “เนื้อผง” หรือไม่

ระยะหลังๆ หนังสือภาพพระเครื่องแพร่หลาย มีภาพพระมหาอุตม์วัดทอง เนื้อผงคลุกรัก ให้เห็นหลายองค์ แต่ละองค์แทบจะเป็นพิมพ์เศียรบาตร พิมพ์เล็ก แม่พิมพ์เดียวด้านหน้า ด้านหลังมีทั้งอูมและเรียบ

จึงพอประมาณกันว่า หลวงพ่อทับท่านเลือกแม่พิมพ์สำริดองค์สวยเป็นต้นแบบกดพิมพ์ไว้ แล้วใช้พิมพ์พระเนื้อผง ออกมา เทียบกับเนื้อสำริดแล้ว จำนวนคงน้อยมาก  เนื้อผง “คลุกรัก” หลวงพ่อทับ ไปทางเดียวกับเนื้อพระหลวงพ่อแก้ว และปิดตาสายเมืองชลบุรี แต่ไม่มีใครเคยให้ความรู้ว่า หลวงพ่อทับ ท่านทำจากเนื้ออะไร ใช้ไม้ชื่อเป็นมงคล อย่างหลวงพ่อแก้ว หรือเปล่า

หลวงพ่อทับเกิด พ.ศ.2390 มรณภาพ พ.ศ.2455 ผมเชื่อความรู้อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ จากเพชรบุรี หลวงพ่อแก้ว อายุไล่เลี่ยหลวงพ่อมี วัดพระทรง ภาพถ่ายที่พบในวัดปากทะเลใน มีตัวหนังสือ บอกว่า ร.ศ.124 อายุ 55 ถ้าปี พ.ศ.ในภาพนี้ใช่หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อทับ วัดทอง

เอาเกณฑ์อายุเป็นตัวเชื่อมโยง ชุดวิชาทำพระเนื้อผงคลุกรัก อาจารย์รุ่นนั้นท่านถึงกัน “ลองของ” “ประลองฝีมือ” กันและกัน แล้วก็เหมาเอาว่า พุทธคุณ พระเนื้อผงคลุกรัก สองวัดนี้ น่าจะออกมาทางมหาเสน่ห์ มหาลาภ เหมือนกัน

เรื่องของพระพุทธคุณในองค์พระ ไม่ค่อยมีหลักเหตุหลักผลนักหรอกครับ วงการเขาใช้หลักความเชื่อ เชื่ออย่างไหนก็ยกมืออาราธนา ท่านไปอย่างนั้น ส่วนพระท่านจะเชื่อได้แค่ไหน อย่างไร เจ้าของพระเท่านั้นที่รู้

พระมหาอุตม์ เนื้อผงคลุกรัก วัดทององค์ในคอลัมน์ แปลกตากว่าทุกองค์ที่เคยลงหนังสือ ประการแรก แม่พิมพ์ใช้พิมพ์ยันต์น่อง ประการที่สอง นอกจากลงรัก แล้วก็ยังปิดทอง รักทองเก่าถึงสมัย

เจ้าของพระไม่กล้าคุยอวดใคร ไม่รักกันจริงไม่ยอมตัดใจให้ออกมาโชว์ เพราะกลัวข้อครหา “องค์เดียวในโลก” ซึ่งมีความหมายต่อไปว่า “มึงก็เล่นของมึงไปคนเดียว”

วงการของเก่าทั่วไป กระเบื้องเครื่องถ้วย ภาพเขียน เทวรูป ชิ้นไหน ศิลปะสวยเป็นหนึ่ง อายุถึง สภาพยังดีเยี่ยม ไม่มีชิ้นไหนเทียบเคียง ถือเป็นชิ้นเดียว เรียกราคาได้ดังใจ

แต่วงการพระเครื่อง พระองค์ไหนไม่มีใครเหมือน เจ้าของพระตบะอ่อน ก็มักกลัว

แต่หากเจ้าของพระตบะดีมีวิชาไม่กลัวเสียงสวด ก็พลิกด้านเป็นของดีกว่า หายากกว่า เรียกราคาได้ สุดท้าย คุณค่าของพระก็โยงยึดอยู่กับคน.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97000244963500_3.jpg)
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

ในพระชุดเบญจภาคี พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ  พระผงสุพรรณ ปัญหาเรื่องแม่พิมพ์ สรุปได้แน่นอน พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม

ชุดความรู้พื้นฐาน พระผงสุพรรณ ได้จาก คุณ มนัส โอภากุล ที่เขียนไว้ในหนังสือพระเมืองสุพรรณ แต่ภาพพระแท้เป็นขาวดำ ดูได้พอเป็นเค้า ตอนนั้นแค่จะแยกพิมพ์หน้าแก่-กลาง-หนุ่ม ก็ยากเต็มที คุณมนัส ให้ความรู้ เป็นภาพร่างลายเส้นพอเป็นเค้าเติมประสบการณ์ ด้วยการดูภาพพระที่ซื้อขายผ่านมือเซียน ก็ช่วยได้อีกระดับหนึ่ง

หนังสือพระผงสุพรรณ ทีมงานพระเครื่องเมืองพุทธบาท พิมพ์ ปี 2544 ถือเป็นหนังสือที่มีภาพพระผงสุพรรณชัดเจนทั้งด้านหน้า ด้านหลังมากที่สุด  การันตีด้วยยี่ห้อเซียนใหญ่ ยู่กิม บางลี่อาร์ต อ้า สุพรรณ ป๋อง สุพรรณ ถือเป็นองค์ครูได้ทุกองค์  แต่จะดูพิมพ์แล้วตัดสินพระทันทีก็ไม่ได้ พระแท้มาตรฐานวงการ เมื่อพิมพ์ใช่ เนื้อพระก็ต้องใช่

เนื้อพระผงสุพรรณแท้ สถานหนึ่ง ดำ สถานหนึ่ง แดง และบางองค์ เขียว หลายองค์เหลือง เป็นอย่างไร อธิบายด้วยร้อยพันตัวหนังสือก็ไม่เท่าดูภาพ และร้อยภาพก็คงไม่ดีเท่ากับได้หยิบจับลูบคลำและส่องด้วยตา

ผงสุพรรณหน้าแก่ เนื้อเหลืององค์หนึ่ง ในหนังสือเล่มพระเครื่องเมืองพุทธบาท สภาพช้ำ หน้าตาสึกเลี่ยน แต่ส่วนล่างตั้งแต่อกถึงเท้ายังคมชัด มีราดำจางจมในเนื้อส่วนผนัง ดูภาพรวมๆ ไม่กลมกลืนนัก

มีคนพออธิบายได้ พระองค์นี้ขัดตาเพราะเดิมทีท่อนล่างองค์พระมีไข เหมือนไขพระเนื้อชิน สีเหลืองข้นปกคลุม ส่วนบนไม่มีไข เจ้าของเลี่ยมเปิดหน้าใช้จึงสึกเฉพาะที่หน้า อาจมองว่าเป็นพิมพ์หน้าอื่น

แต่ตำหนิทุกจุดที่ติดชัด ยืนยันเป็นพิมพ์หน้าแก่

เจ้าของบอกว่าหลายเซียนดูแท้ แต่เมื่อล้างไขออก พื้นผนังท่อนบนองค์พระก็ซีดต่างจากท่อนล่างที่มีราดำ เซียนดูอีกที ตีว่าเก๊ เจ้าของใช้หมึกอินเดียนอิ๊งค์บางๆ ไล้ให้ผิวกลมกลืน พระสภาพไม่ลงตัวอย่างนี้หนีตาเซียนไม่พ้น ราว 30 ปีที่แล้ว
คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ ส่องปราดเดียวบอกแท้แต่เมื่อเอาพระไปแห่ เซียนมีชื่อหลายคน “เมิน”

วันนี้ “องค์นี้” มาอยู่ในหนังสือรวมผงสุพรรณมาตรฐาน เข้าใจว่าปัญหาแคลงใจแท้หรือไม่คงหมดไปแล้ว

ประสบการณ์จากผงสุพรรณหน้าแก่องค์นี้มีค่ามาก ให้บทเรียนไว้หลายข้อ เช่นเรื่องเนื้อ เนื้อพระผงสุพรรณหนึกแน่นแม้ต่างสี แต่ก็ไม่มีวี่แววเผาไฟ

วันนี้วงการยังเถียงกัน เนื้อผงสุพรรณเผา-ไม่เผา คุณมนัส โอภากุล สันนิษฐานว่า ไม่เผา เนื้อพระสมานด้วยน้ำอ้อย คุณราม วัชรประดิษฐ์ ว่า เผา  ประเด็นนี้ คนที่ได้หยิบจับพระด้วยมือได้ลูบได้คลำได้ล้างพระ เชื่อว่าเนื้อพระผงสุพรรณไม่ได้เผา

พระรอด และพระสกุลหริภุญชัย ทฤษฎี คุณเชียร ธีรศานต์ เผาด้วยไฟเต็มสูตรแบบเผาจาน ดำ เพราะไม่ถูกไฟ แดงไฟมาก เขียวแก่ไฟ ทฤษฎีนี้ใช้ได้กับพระนางพญา พิษณุโลก พระซุ้มกอ เผาไฟอ่อน แบบเผามัน เปลือกไหม้ไส้ดิบ
หลับตาเทียบเคียงเนื้อพระเหล่านั้น พระผงสุพรรณน่าจะเป็นพระที่ใช้ทฤษฎีผสมเย็นคือผสมด้วยน้ำอ้อยอย่างที่คุณมนัสว่า อย่าลืมว่า อิฐสถูปเจดีย์ยุคทวารวดีใช้น้ำอ้อยฉาบ แต่ประเด็นพระผงสุพรรณจะเผาหรือไม่เผาไม่สำคัญเท่ากับการได้ดูพระหลายองค์จนคุ้นตา นอกจากแม่พิมพ์แล้ว ตำหนิทุกจุด รารัก และแนวเสี้ยน ด้านหน้าตั้งแต่บนลงล่าง และที่สำคัญไม่น้อย ก็คือ รอยลายมือ ด้านหลัง

พระผงสุพรรณองค์ในคอลัมน์วันนี้ เป็นพิมพ์หน้าแก่ สภาพทั้งองค์พระ หลักฐาน ตำหนิ ทั้งหน้าหลัง ครบสูตร คนเป็นพระส่องแว่บเดียว ก็ตัดสินใจได้ ดูง่ายมากๆ

ดูพระแท้ทดสอบสายตา สั่งสมประสบการณ์ต่อไป แล้วจะรู้ด้วยตัวเอง การดูพระแท้ให้เป็น ม่ยากเย็นแสนเข็ญแต่ประการใดเลย.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17983381822705_4.jpg)
เทวาฯ มหาวัน

ศิลปะพระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชย (ลำพูน) ผู้รู้บอกว่าได้รับอิทธิพลจากหลายสมัยศิลปะทวารวดี ศิลปะอินเดีย ศิลปะศรีเกษตรและพุกามของพม่า ศิลปะลพบุรี และศิลปะล้านนา

พระชุดลำพูน ที่วงการพระเครื่องรู้จักกันดีและมีจำนวนแพร่หลาย พระรอด พระคง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม ฯลฯ ยังถกเถียงกัน เรื่องอายุการสร้าง แต่พอรวมความได้อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15

พระพิมพ์ที่พบน้อยที่สุด อายุการสร้างสูงที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 วงการพระเครื่องท้องถิ่นยอมรับและรู้จักก็คือ ขนาดใหญ่ พระกวาง ขนาดกลาง พระกล้วย พระกลีบบัว และขนาดย่อม พระยืน (พระร่วง) ที่ขึ้นจากกรุวัดมหาวัน

ในหนังสือ พระสกุลหริภุญไชย (ชมรมพระเครื่องเชียงใหม่ พิมพ์ พ.ศ.2545) นิพนธ์ สุขสมมโนกุล มีภาพพระยืนและพระร่วง กรุวัดมหาวัน ไว้เพียงสององค์ มีคำอธิบายว่า ความสูงของพระอยู่ระหว่าง 7-10 ซม.ความสูงนี้ ไล่เลี่ยกับพระร่วงรางปืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุสุโขทัย ซึ่งเป็นพระศิลปะเขมร (ลพบุรี) สมัยหลังกว่า 3-4 ร้อยปี
ข้อสังเกตพระยืน หรือพระร่วง กรุวัดมหาวันสององค์นั้น ประทับยืนตรงๆ แต่พระยืนสมัยทวารวดี กรุวัดมหาวัน องค์ในคอลัมน์นี้ ไม่ยืนทิ้งดิ่งแบบยืนตรง แต่ยืนแบบเอียงสะโพก ภาษาศิลปะใช้คำว่า “ตริภังค์” แปลว่า เอียงกายออกเป็นสามส่วน

การยืนแบบตริภังค์ ได้อิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 11-12) พระพุทธรูปศิลปะนี้ องค์หนึ่ง สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้จากอินเดีย

ในเมืองไทย พบการยืนตริภังค์ ทั้งพระพุทธรูป และเทวรูปศิลปะทวารวดี ศรีวิชัย และพบในเทวรูปเขมร สมัยก่อนเมืองพระนคร ตั้งแต่ไพรกเมง (ประโคนชัย) กำพงพระ บันทายสรี และบาปวน  พ้นจากสมัยบาปวนลงมา ยังไม่เคยเจอในสมัยนครวัด สมัยบายน  ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน การยืนแบบตริภังค์ ยืนยันยุคสมัย พันปีขึ้นไป

พูดถึงการยืน ซึ่งมีทั้งยืนตรง และยืนเอียงสะโพกไปแล้ว ท่ายืนนั้นยังสัมพันธ์กับท่ามือ (มุทรา) พระยืนแบบทวารวดี ไม่ว่าเป็นพระจากพุทธศาสนาแบบเถรวาทหรือแบบมหายาน นิกายสุขาวดี ส่วนมากมือสองข้างนิ้วชี้จดนิ้วก้อย แบออก ในท่าแสดงธรรม   แต่หลายองค์ มือหนึ่งท่าแสดงธรรม แต่อีกมือ นิ้วกลางและนิ้วนางจดฝ่ามือ สามนิ้วที่เหลืองอตาม ท่ามือนี้ เรียก อาหูยมุทรา มีความหมาย กวักมือเรียกเข้าหา ท่าสองมือ สื่อความหมาย เรียกให้เข้ามา รับคำสอนคือพระธรรม
ท่ามือสองข้าง ในพระพุทธรูปมหายาน อธิบายว่า พระอมิตาภะ เสด็จลงมารับดวงวิญญาณสาวกขึ้นสวรรค์สุขาวดี แต่ถ้าเป็นพระพุทธรูปเถรวาท ที่พบแถวนครปฐม อธิบายว่า เป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์

ไม่ว่าท่ามือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จะเป็นเช่นใด ก็น่าจะเป็นต้นแบบพระพิมพ์ดินเผา องค์ในภาพ พระยืน กรุมหาวัน ซึ่งน่าจะเป็นพระพิมพ์แบบยืนสมัยแรกๆ ที่มีขนาดเล็กที่สุด เท่าที่พบกันมา เพราะมีความสูงแค่ 4 ซม. (เท่ากับพระเม็ดขนุน กำแพงเพชร) เท่านั้น   ความคมชัดขององค์พระ ยังเห็นหน้าตา จมูกปาก ชัดเจน จัดอยู่ในพระขั้นสวยองค์หนึ่ง

ด้วยสายตาผู้ชำนาญ ไม่ต้องใช้เรื่องเล่าชี้นำ ทั้งเนื้อพระดินเผา ละเอียดแน่น นวลตา คราบรา นวลดินบางๆ ทำให้ดูซึ้งใจเช่นเดียวกับพระรอดเนื้อระดับเดียวกันหลายองค์ จึงเสริมความเชื่อประเด็น ขึ้นจากกรุวัดมหาวันได้แน่นแฟ้นเพิ่มขึ้น
นิพนธ์ สุขสมมโนกุล ย้ำว่า “พระยืนวัดมหาวันนี้ นับเป็นพระเครื่องที่หาดูได้ยากมาก เนื้อดินที่นำมาสร้างพระนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับเนื้อพระรอดวัดมหาวัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีราคาในเชิงพุทธพาณิชย์สูง”  แต่เรื่องของพระเครื่องนั้น ค่านิยมพลิกผันได้ ของน้อยคนไม่รู้จัก ค่านิยมก็อาจไม่มี แต่หากเจอคนรู้ค่า ราคาก็พูดกันไม่รู้เรื่อง พระยืนองค์นี้เจ้าของเรียก ทวาฯ มหาวัน ว่ากันโดยศักดิ์ศรี หนีพระรอดก็แล้วกัน.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23361551347705_5.jpg)
ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี

หากจะบอกกันว่าภาพพระเครื่ององค์นี้ เรียกกันว่า ท้าวกุเวร พบที่กรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร นักเลงพระรุ่นใหม่คงส่ายหน้า แต่ถ้าเป็นนักเลงพระรุ่นเก่าและเก๋าจะอมยิ้ม

อย่าลืมคำ “กำแพง” เล่นสำนวน แยกคำ เป็น กำ แล้วก็ แพง ขึ้นชื่อว่าพระกรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร ถ้าเป็นพระแท้และสวย เผลอ “กำ” แล้วก็ต้องจ่ายในราคา “แพง” ทุกองค์

พระกรุกำแพง น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่มีประวัติน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีจารึกลานทอง บอกถึงกระบวนการทำ ส่วนผสม กระทั่งการบูชา

“แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้ามารณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่น้ำมันหอมเข้าด้วยนวหรคุณ และเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามความปรารถนา .....”

พระดังๆ อย่างพระซุ้มกอ พระลีลาทุ่งเศรษฐี ฯลฯ หากขึ้นจากฝั่งตำบลทุ่งเศรษฐี ทั้งศิลปะ และเนื้อหา ถ้าเป็นเนื้อดิน ก็ละเอียด หนักนุ่มแน่นกว่าพระที่ขึ้นจากฝั่งเมืองกำแพงเพชร เรียกกันว่า “เนื้อทุ่ง” แพงจับใจทุกองค์

ประวัติการสร้างชัดเจน ในสมัยพระยาลิไท ปลายสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงฉลองปีพุทธชยันตี พ.ศ.1900 ชวนราษฎรสร้างพระพิมพ์เท่าจำนวนอายุของแต่ละคน (เอาอายุ คูณ ด้วยจำนวน 365 วันของปี) ประดิษฐานไว้ในพระสถูปพระเจดีย์  โดยความเชื่อว่า กุศลผลบุญนี้จะช่วยให้ไปเกิดที่ดีๆ อีกสี่ชาติต่อเนื่องกันไป

คติสร้างพระพิมพ์ ผู้รู้บอกว่าได้อิทธิพลจากพุทธมหายาน ถ้าเริ่มที่ภาคใต้ พุทธมหายานรุ่งเรืองกว่า ดูจากพระพิมพ์ศรีวิชัย อย่างพระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย ที่พบที่เขาศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี (ราวพุทธศตวรรษ 11-13) และพระพิมพ์ที่สร้างบรรจุเอาไว้ในถ้ำ อีกหลายๆเมือง ตั้งแต่ยะลา ตรัง ฯลฯ  แต่พอมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยเฟื่องฟู พ่อขุนรามคำแหงอัญเชิญพุทธศาสนาเถรวาท จากเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งก็รับมาจากลังกาอีกต่อ พุทธเถรวาทก็แซงขึ้นหน้าพุทธมหายาน  แต่ก็ยังยอมรับคติมหายานบางส่วนเอาไว้

พระพิมพ์ชุดเมืองกำแพงเพชรมีพระพุทธเจ้าเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อพบพระพิมพ์ที่นักพระเครื่องรุ่นเก่า เรียกว่านารายณ์ทรงปืน (พระรัตนตรัยมหายาน มีพระนาคปรกอยู่กลาง มีพระอวโลกิเตศวร และนางปัญญาบารมีขนาบซ้ายขวา) หรือท้าวกุเวร ก็ยืนยันว่า แม้พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ แต่ก็ยังไม่ทิ้งเทพเจ้ามหายาน  การถ่ายทอดศิลปะโบราณเอามาไว้ในสมัยตัวเอง พระชุดกำแพงเพชรมีมากมาย องค์ที่ศิลปะคล้ายสุโขทัย คล้ายเชียงแสน คล้ายอู่ทอง ก็เอาคำ“กำแพง” ไว้หน้า ในหนังสือ “ทุ่งเศรษฐี-กำแพงเพชร” ของจาตุรนต์ สิงหะ (สนิมแดง) มีพระกำแพงศรีวิชัย องค์หนึ่ง

พิมพ์ท้าวกุเวรนั้น ในหนังสือคุณจาตุรนต์ไม่มี แต่ในหนังสือพระกำแพงเพชร เล่มที่จังหวัดกำแพงเพชร จัดพิมพ์ โชคดีที่ยังมีให้ดูเป็นตัวอย่าง แม้องค์เดียวก็ยังดีกว่าไม่มี

ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี เท่าที่เคยเจอ มีทั้งขนาดเขื่อง (เท่าสี่กร มอญแปลง ชุดกิมตึ๋ง) ขนาดกลาง และเล็ก เห็นพิมพ์ก็ตัดสินได้ทันทีว่าพระแท้ ตอนนี้ยังไม่มีของปลอม  หากจะเริ่มรักท้าวกุเวรขึ้นบ้าง ก็ขอเล่าต่อให้รักมากขึ้นว่า ท้าวกุเวรคือ 1 ใน 4 เทพอารักขา ทางทิศตะวันตก คนไทยรู้จักในชื่อท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งภูตผี แต่คนฮินดูโบราณ นับถือกันมากว่าสองพันปี สมัยที่ล่องสำเภามาค้าขายสุวรรณภูมิ  นอกจากเชื่อกันว่า เป็นเทพอารักขาช่วยให้เดินทางราบรื่น อีกความเชื่อ ท้าวกุเวร เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ในทางโชคลาภ ช่วยให้ค้าขายร่ำรวย แถวภาคใต้ เรียกว่า“ซัมภล” นั่งในท่ามหาราชลีลา งามสง่าแบบศิลปะศรีวิชัย ก็ทั้งศิลปะสวย ทั้งอายุก็สูงยิ่ง ที่ขึ้นจากกรุทุ่งเศรษฐีก็ยิ่งเพิ่มความเป็นมงคล ใครมีไว้ก็ถือว่าโชคดีมีชัย ไปทางเดียวกับพระซุ้มกอ ที่ว่ากันว่า มึงมีกูไว้ไม่จน นั่นเทียว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36433201986882_6.jpg)
พระขุนแผน (ไม่เคลือบ) กรุโรงเหล้า

ชื่อพระตับขุนแผน เริ่มจากขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ ฯลฯ พิมพ์พลายหลายพิมพ์ ไปถึงพิมพ์พลายคู่ น่าจะเริ่มจากการพบพระในกรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อราวๆ ปี 2445

ชื่อขุนแผน น่านับถือ ในจินตนาการ นึกถึงยอดนักรบ-ยอดนักรัก ดึงดูดใจคนชอบพระให้ไขว่คว้าขึ้นมาทันที

พระพิมพ์ขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ เนื้อดินหยาบ ผสมกรวดทรายหลายสี ที่พบในกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณ ก็มีการพบอีกในเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล เมืองอยุธยา  เส้นสายลายพิมพ์เดียวกัน ต่างกันที่เนื้อหา ขุนแผนอยุธยา เนื้อดินขาว นวลละเอียด ไม่มีเม็ดทราย ทั้งยังมีเคลือบ สีเขียวอมเหลือง น้ำตาลแก่ ไปถึงเข้มคล้ำออกดำ

ขุนแผนอยุธยา พบน้อยกว่าขุนแผนสุพรรณ เสน่ห์ชื่อ “ขุนแผน” ก่อน พ.ศ.2500 แพงกว่าสมเด็จวัดระฆัง

ช่วงเวลาที่ขุนแผนเคลือบโด่งดั ก็มีการพบอีกกรุสองกรุ ใกล้โรงหล้าอยุธยา แม่พิมพ์เนื้อหาเดียวกับวัดใหญ่ แต่ไม่มีเคลือบ วงการเรียก กรุโรงเหล้า ไม่มีรายละเอียดให้ศึกษา ไม่มีภาพพระให้ดูเป็นตัวอย่าง

พระขุนแผนไม่เคลือบ องค์ในภาพ ส่วนเนื้อดินขาวที่สึกให้เห็นส่วนลึกที่ผนังพระ ทั้งด้านหน้าและหลังที่ดูด่างดำ ไม่ใช่เคลือบที่ซีดจาง แต่เป็นคราบไคลเดิมๆ

หาขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ เป็นตัวอย่างไม่ได้ ชุดที่ขึ้นใหม่แถวนนทบุรีก็มีข้อถกเถียง ถ้าพอเป็นขุนแผนวัดบ้านกร่างพิมพ์อกใหญ่ ก็พอเอามาเทียบเคียงได้ เส้นสายลายพิมพ์ พิมพ์เดียวกัน ฝีมือช่างศิลปะอยุธยายุคกลางเหมือนกัน

เรื่องเก๊แท้นั้นตัดสินด้วยสายตา ถ้ามีประสบ-การณ์พอ ของเก่าแท้นั้นไม่ยากเกินไป

พระขุนแผนสองเมืองเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมดำรงราชานุภาพ ทรงสรุปว่า พ.ศ.2135 หลังชัยชนะสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างพระสถูปเป็นอนุสรณ์ไว้ที่ทุ่งหนองสาหร่าย องค์หนึ่ง  และทรงสร้างพระมหาสถูปไว้ที่วัดป่าแก้ว ขนานนาม ชัยมงคลเจดีย์ อีกองค์หนึ่ง  นี่คือที่มาของความเชื่อว่า พระกรุวัดบ้านกร่าง ใกล้พระเจดีย์ยุทธหัตถี อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระพิมพ์ที่สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างไว้ในเวลาไล่เลี่ยกัน

ประจักษ์ความเชื่อเสริมอีกข้อ ในการสร้างพระพิมพ์ หลายยุคหลายสมัยไม่ค่อยมีพระคู่ ในสมัยอยุธยามีพระพลายคู่ ซึ่งสื่อความหมายไปถึงสองกษัตริย์พี่น้อง องค์ขาว องค์ดำ  ในหนังสือ เรื่องเล่าชาวกรุงเก่า (สำนักพิมพ์ พิมพ์คำ) ส.พลายน้อยเล่าว่า เพื่อนชื่อ จำเริญ สุนทรสุข ได้ความรู้ต่อจากพี่เมี้ยน ยังประดิษฐ์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์วังจันทรเกษม ว่า มีการพบพระขุนแผนไม่เคลือบ 2 ครั้ง

ครั้งแรก พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอยุธยา มีที่ดินบางส่วนเป็นวัดร้าง ชื่อวัดสิงห์ลาย ต้องการที่ดินสร้างอาคารเพิ่ม ครูหลุย ชมชื่น อดีตครูวาดเขียนคุมการก่อสร้าง คนงานขุดปราบที่โคกโบสถ์วัดสิงห์ลาย ลงไป 1 เมตร เจอพระพิมพ์สีขาวอมชมพู กระจายอยู่ราวๆพันองค์ ตอนนั้นค่าแรงกุลี 50 สตางค์ ราคาพระไม่ถึง 10 บาท

คนรู้จักโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูน้อย รู้จักโรงงานสุราที่ตั้งอยู่ด้านหน้ามากกว่า ชื่อเรียกพระขุนแผนไม่เคลือบ กรุโรงเหล้า จึงเริ่มเรียกกัน ต่อมาโรงเหล้าย้ายไป เทศบาลจะใช้พื้นที่สร้างโรงเก็บน้ำประปา  ระหว่างรถไถเกลี่ยพื้นที่ บริเวณวัดร้างที่เคยเป็นวัดจีนหรือวัดสามจีน คนงานและเด็กๆ ก็คุ้ยเขี่ยกองดิน เจอพระขุนแผนแบบไม่เคลือบ แบบวัดสิงห์ลาย และแบบเคลือบที่วัดใหญ่ชัยมงคล อีกจำนวนหนึ่ง พระพิมพ์ที่พบที่วัดสามจีน เหมือนชุดกรุวัดสิงห์ลาย ถูกเหมาเรียกกรุโรงเหล้าอีกตามเคย

ราคา ขุนแผนไม่เคลือบ ตอนนี้ยังไม่มีพระขายจากมือเซียน ยังไม่พูดกัน แต่ถ้าจะเทียบเคียงก็น่าจะลดหลั่นจากขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ ยุคสมัยนี้พระขึ้นชั้นยอดนิยมอย่างนี้ ราคาต่ำกว่าล้าน ไม่มีแล้ว.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54599303089910_7.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ ทรงเจดีย์

หากจะยกตัวอย่างพระสมเด็จวัดระฆังสักองค์ว่า ดูง่าย ก็ต้องขอเอาทรงเจดีย์วัดระฆัง องค์ในภาพ   ดูด้านหน้า พิมพ์ทรงมาตรฐาน ผิวสึกช้ำเปิดเนื้อหา เห็นมวลสารกระจ่างตา พื้นผนังองค์พระแป้งโรยพิมพ์ขาวนวลสีน้ำนม ชิ้นรัก ฝ้ารัก เหล่านี้จะเรียกว่า เป็นพยานหรือหลักฐานก็มั่นคงครบเครื่อง

พลิกด้านหลัง มีรอยเลี่ยมเปิดใช้ สึกช้ำธรรมชาติ ส่องด้านข้างอีกสักหน่อย ใช้เวลาครึ่งนาทีตัดสินได้ทันทีว่า พระแท้

พระสมเด็จสภาพสึกช้ำ พองามขนาดนี้ ราคาไม่แพงบาดใจจนกลัวโจร นิมนต์ขึ้นคอได้สบาย

การดูพระ สำหรับคนเป็นนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นเช่นนี้ แค่ส่องแว่บก็ลงตัว แต่ถ้าจะให้ดี ช้าสักหน่อย ถอยหลังมาตั้งหลัก พิจารณาตามกระบวนการ เริ่มที่แม่พิมพ์

ทรงเจดีย์มีหลายพิมพ์ ครูตรียัมปวาย แบ่งไว้  พิมพ์ เขื่อง ย่อม สันทัด ชะลูด แต่วงการเซียนชั้นหลัง ยังไม่สรุปลงตัว กี่พิมพ์ คนที่สนใจ จึงต้องใช้การดูแบบจำ จากองค์ดังๆ ที่พิมพ์ซ้ำหน้า เรียกว่า องค์ครู

ทรงเจดีย์องค์ในภาพ แม้สึกช้ำเส้นสายลายพิมพ์ ไม่คม แต่ก็กลมกลืน เทียบเชิงซ้อนได้กับภาพ องค์เจ๊แจ๋ว และอีกองค์ ที่ลงรักแล้วลอกออก ตอนนี้อยู่กับเฮียหนึง (ปรีดา อภิปุญญา) สององค์นี้ ช่วงอกติดเส้นสังฆาฏิคม ท่อนขาแยกเป็นร่องชัด
เมื่อเริ่มจากองค์ครู ก็ต้องพยายามตามดู เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านที่ยังเหลือ แค่ไหน  องค์ในภาพ เส้นกรอบด้านซ้ายใกล้เคียง (ชิดไปก็ไม่ดี ห่างไปก็ไม่ดี) เส้นกรอบด้านขวา ตัดพอดี ไม่ใช่ปัญหา เพราะเส้นกรอบถ้าครบทั้งสี่ด้าน เรียกว่า กรอบกระจกนั้น ไม่ว่าทรงเจดีย์องค์ครูองค์ไหนก็ติดไม่ครบ

ร่องรักแร้ เหลือเค้าชายจีวรรางๆ ชัดเจน เส้นพระเกศไม่ป่องกลาง ไม่เป็นไร องค์ที่ไม่ติดชัดมีน้อยกว่าองค์ไม่ติด  พระเนื้อผงผสมน้ำมัน เวลาจากเปียกถึงแห้ง แปรปรวนได้ ถ้ามีก็ดูไว้ มีชัดมากก็เก๊ได้ ไม่มี แท้ก็หลายองค์  อย่าเผลอยึดตำหนิพิมพ์ ทิ้งพระแท้ไปง่ายๆ

ผ่านประเด็น “พิมพ์ใช่” ไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงประเด็น “เนื้อ” ต้องแยกเนื้อ ออกจากผิวก่อน องค์นี้ผิวที่เหลือในพื้นผนัง หรือในซอกลึก เรียก ผิวแป้งโรยพิมพ์ได้ (ก็ผิวปูนนั่นแหละ) ผิวแป้งโรยพิมพ์ สมเด็จวัดระฆังแท้ นุ่มนวลตาอย่างนี้

ส่วนที่ผิวแป้งเปิดช่อง ก็เห็นเนื้อพระสีเหลืองอมน้ำตาล องค์นี้ใช้สมบุกสมบันแล้วถูกเก็บไว้นาน สภาพจึงแห้งแบบซึ้งตา เม็ดปูนขาวประปราย ไม่มากไม่น้อย กากดำ ก้อนแดง หินเทา พอมี

ตัวช่วยสำคัญ ก็คือสิ่งที่เกิดจากการลงรัก พระอายุเกือบ 150 ปี รักลอกไปแล้ว ทิ้งฝ้าสีน้ำตาลอ่อน เอาไว้ ในซอก-หลุม ยังมีชิ้นรักเก่า และส่องให้ดีๆ จะมีทองเก่าฉายแว่บ ออกมาให้เห็น

หลักครูตรียัมปวาย มวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง มีทรายเงิน ทรายทอง แต่กว่าจะส่องเจอ ก็มักจากหลังการล้างพระให้สะอาด ปาดฝุ่นไคลออกไปก่อน แต่จุดสีทองเล็กที่มักเจอ มักเป็น “ทองเก่า” ที่ติดอยู่กับ “ก้อนขาว”  ก็เม็ดปูนขาวก้อนเล็ก ที่มักอยู่ลึกลงไปจากพื้นผนัง ไม่อยากบอกว่าเป็นทีเด็ดเคล็ดลับ  บอกได้แต่ว่าส่ององค์ไหนเจอทองชิ้นเล็กเท่าปลายเข็มหมุดแปะบนก้อนรัก มักเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่ชี้ว่า “เนื้อใช่” เมื่อพิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่ นี่ไง! พระสมเด็จวัดระฆังแท้

ด้านหลังพระก็ใช่ว่าไม่สำคัญ หลังพิมพ์ทรงเจดีย์วัดระฆังส่วนใหญ่เป็นหลังทื่อ คือออกเรียบ ไม่มีริ้วรอย รอยปูไต่ รอยหนอนด้น รอยสังขยา ฯลฯ มากมาย เหมือนพิมพ์ใหญ่ แต่ถ้าองค์ไหนมี ก็ยิ่งดี เสริมราศี

หลังทรงเจดีย์องค์นี้ ถูกเลี่ยมเปิดใช้ รอยสึกสี่เหลี่ยม เห็นมวลสารละเอียดนุ่ม ชัดเจน กระจ่างตา  รอยเลี่ยมใช้นานๆ เป็นพยานเสริมอีกปาก ช่วยบอกว่าอย่างน้อยพระองค์นี้ก็ถูกใช้สี่ห้าสิบปีก่อนเวลาทำพระปลอม

อย่าเพิ่งหลงรัก หลังพระใช้ว่าดูง่าย พระปลอมเขาทำกันทุกแบบ ขูด ปาด ขัด ให้สึกแอ่น บางรุ่นใช้สีผึ้งทา แล้วใช้น้ำยาเคมีกัดให้แหว่งเป็นรูปข้าวหลามตัดก็ได้ รูปใบโพธิ์ก็มี ฝึกดูธรรมชาติทั้งด้านหน้าด้านหลัง พระสมเด็จไว้ให้คุ้นตา
องค์ไหนมัวมนไม่สะอาดตา น่าสงสัย ก็ต้องหาใบรับประกัน เก๊ต้องคืน.


    พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 กรกฎาคม 2559 12:44:43
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17017297943433_1.jpg)
พระนางพญา ดำ

หากจะคุยกันถึงพระนางพญา สำหรับคนสนใจพระเนื้อดิน เป็นพระก็ดูไม่ยากแต่ก็ต้องทำใจไว้ก่อนว่าเป็นพระที่มีปัญหาถกกันเรื่องเก๊-แท้ มากกว่าพระในชุดเบญจภาคีด้วยกัน

40 ปีที่แล้ว ในงานประกวดใหญ่ กรรมการตัดสินทะเลาะกัน นางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก องค์สวย หูตาคม ที่มาดีเสียด้วย ขึ้นจากกรุวัดสังกัจจายน์ (ฝั่งธนบุรี) เสียงส่วนใหญ่ให้แท้ แต่หนึ่งเสียงดังว่าเก๊ เหตุเพราะเจอเปลือกหอยที่ผิวพระชิ้นหนึ่ง
มีความเชื่อกันมาก่อนว่า กรวดนางพญามีสามสี ที่ไม่มีแน่ๆ ก็คือเปลือกหอย

จำไม่ได้ว่า ผลสรุปองค์นี้เป็นอย่างไร เพราะเสียงที่แตก ดังในหนังสือพระเล่มหนึ่งว่า ถ้าแคะเอาเปลือกหอยชิ้นนี้ออกล่ะ พระองค์นี้จะแท้หรือไม่

อีกองค์ ในงานประกวดเหมือนกัน พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง เนื้อเขียว (พิมพ์เดียวกับองค์ในคอลัมน์วันนี้) กรรมการหลายเสียงไม่ผ่าน แต่กรรมการคนหนึ่งเสียงใหญ่ ยืนยันพระที่ทำท่าจะมีปัญหาก็กลายเป็นพระแท้  และเป็นพระแท้องค์ครู ถูกพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหนังสือเกือบทุกเล่มวันนี้

ไหนๆ ก็คุยกันถึงพระปัญหากันแล้ว  นางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้งอีกองค์ สีหม้อใหม่ มีคนได้จากเจ้าสัวดัง ต้นทุนเช่าราว 20 ปีที่แล้ว 4.8 แสน แต่เคราะห์กรรม! ไม่ผ่านตาหลายเซียน

เซียนใหญ่มากๆ สองคน คนแรกดูตาเปล่า ไม่ส่อง คนที่สองตั้งใจส่อง ฟังราคาเสนอ 9 แสน ส่ายหน้า

เซียนที่ดูก่อนชื่อ ประจำ อู่อรุณ กล้าซื้อในราคา 1.2 ล้าน และถึงเวลานั้น เซียนที่ไม่ซื้อ ราคา 9 แสน ก็ขอซื้อต่อไปในราคา 1.5 ล้าน

สอง-สามเดือนต่อมา พระในตีพิมพ์เป็นองค์ชี้ตำหนิเคล็ดลับอยู่ในหนังสือพรีเชียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

ถึงวันนี้ รู้จักกันในชื่อ องค์หลังเจดีย์ พระที่ถูกตีเก๊เป็นแรมปี เป็นพระแท้องค์ครู ราคาพูดกันไม่รู้เรื่องไปแล้ว

โดยวิถีเซียน พระนางพญาเนื้อเหลือง เนื้อแดง ดูง่ายเปลี่ยนมือง่าย พระเนื้อเขียว เนื้อดำ ดูยากเปลี่ยนมือซื้อขายยาก ยี่สิบสามสิบปีที่แล้ว คนที่สนใจ เรียนรู้ดูจากตำราพระที่พิมพ์ขาวดำ หาภาพพระสีดูเทียบเคียงไม่ค่อยได้

ปี พ.ศ.2552 ผมไปทำข่าวเพชรบุรี เจอพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อดำ สีเนื้อออกทางไม้มะเกลือ อยู่ในมือเซียนใหญ่รุ่นพี่ชุม (ประชุม กาญจวัฒน์) ความกลัวศักดิ์ศรีเซียนก็ลังเล แต่ก็ตัดสินใจขอแบ่งมาได้

วิ่งไปหาครูที่บ้านหลังวัดกัลยาณ์ ผลปรากฏว่า ครู “ตรียัมปวาย” ดูว่าแท้

ตอนนี้มีหนังสือพระพิมพ์สีหลายเล่ม ได้ดูด้านหน้า ข้าง และหลัง เต็มตา พระเนื้อเขียว เนื้อดำ ระยะหลังผ่านวงการหลายองค์ โอกาสเทียบเคียงพระในมือ เพื่อตัดสินใจจึงดีขึ้น

นางพญาเข่าโค้งองค์ในภาพนี้ เสื้อสีดำ ใช้หลัก เชียร ธีรศานต์ พระสีดำ เป็นพระที่เผาไกลไฟ เผาไม่สุก ถ้าสีออกไปทางไม้มะเกลือ มีคราบสีขาวเป็นตัวช่วย หรือถ้าใครเคยคุ้นกับสีไม้กัลปังหา เจอดำแบบกัลปังหา ก็ทำให้ตัดสินใจง่าย

พิมพ์ใหญ่เข่าโค้งองค์นี้ แม่พิมพ์ดี ถูกต้องทุกส่วนสัดและเส้นสาย ริ้วรอยด้านข้างก็ตัดสวย เสน่ห์อยู่ที่ริ้วรอยร่องหลุม ด้านหลังสลับเม็ดแร่ประปราย แร่ที่แนบในเนื้อเรียกแร่จม พระสภาพผิวเรียบร้อยอย่างนี้ เชื่อว่าได้จากกรุวัดนางพญา
สีโดยรวมออกดำ แต่ดำไม่สนิท บางส่วนออกเหลือบเหลือง บางมิติเหมือนพระเนื้อผ่าน ทั้งพิมพ์ทั้งเนื้อ สภาพโดยรวมๆ สำหรับคนเป็น ดูไม่ยาก  แต่กับคนไม่เป็น โดยเฉพาะคนที่เล่นพระ ซื้อพระด้วยหู คงถือไว้ไม่ได้

ไม่ว่าวันเวลาผ่านมายาวนานแค่ไหน สำหรับพระนางพญา ในวงการก็ยังเป็นพระมีปัญหา ไม่นานมานี่ นางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าตรงเนื้อแดง ราคา 5 ล้านจากมือเซียนใหญ่ ส่งประกวดกรรมการไม่รับ ยังต้องขอคืนกันเลย.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90372953025831_2.jpg)
นางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

นักเลงพระเนื้อดิน ถ้าเริ่มต้นจากพระสมัยอยุธยา หลวงพ่อโต นางวัดโพธิ์ วัดบ้านกร่าง วัดตะไกร เส้นสายลายพิมพ์ ผิวเนื้อพระ เม็ดแร่ ฯลฯ แม้ไม่เหมือน ก็ใกล้เคียง พระนางพญาพิษณุโลก เพราะยุคสมัยใกล้กัน

พระนางพญา เนื้อสีแดง องค์ในคอลัมน์วันนี้ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกเส้นสายลายพิมพ์ ทุกตำหนิ คมชัด เห็นเค้าจมูกปากตา สวยระดับน้องๆ นางสังฆาฏิองค์แชมป์ศรีนคร ของคุณสมชาย มาลาเจริญ

ด้านหลังริ้วลายมือนูนเด่นจากคราบราดำ เม็ดแร่โผล่พองาม ถือเป็นเนื้อมาตรฐาน และต้องยกให้เป็นพระกรุใต้

กรุใต้ คือพระที่ขุดพบที่ลานวัดนางพญา ส่วนกรุเหนือ กรุตาปาน พบอีกฝั่งแม่น้ำน่าน กรุนี้ดินร่วนซุย สภาพผิวพระอ่อนกว่ากรุวัดนางพญาเล็กน้อย

พระพิมพ์ดีเนื้อดีสภาพนี้ ย่าเผลอคุยไม่เข้าแว่นก็ซื้อได้ พระเครื่องสมัยนี้ยังไ ก็ต้องส่อง ของปลอมฝีมือดูตาเปล่าว่าดี เข้าแว่นเก๊ ก็ถมไป

ในพระนางพญาทุกพิมพ์ เข่าโค้ง เข่าตรง (2 แม่พิมพ์) อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก สังฆาฏิ เทวดา ยังมีพิมพ์ (ใหญ่) พิเศษแขนอ่อนสุโขทัย พิมพ์พิเศษแขนอ่อนอยุธยา ตอนนี้เรียกกันว่า พิมพ์แขนบ่วง

พิมพ์ที่มีเรื่องเล่าขาน คงกระพัน หรือเหนียวสุดขั้วหัวใจ มีพิมพ์เดียว คือพิมพ์สังฆาฏิ

พ.ศ.2487 “ตรียัมปวาย” เป็นนายทหารอยู่พิษณุโลก รู้จักตาปานได้พระจากตาปาน แบ่งจากคนขุดด้วยมือที่ลานวัดนางพญา อีก 7 องค์ รวมแล้วมีพระนางพญามากกว่า 60 องค์ ตรียัมปวายเลี่ยมทองพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อสีเขียว องค์เดียวแขวนคอ

แต่พระที่ทั้งรักทั้งหวงองค์นี้ มีเหตุให้ต้องตัดใจ ให้ญาติทางภรรยา ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร

ตำรวจโรงพักชนะสงครามรับแจ้งเหตุ “ตาควาย” คนแจวเรือจ้าง ท่าช้างวังหน้า ก่อเหตุวิวาท ตำรวจชุดแรกไปจับ แต่จับไม่ได้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งนำตำรวจ 6 นาย ไปชุดที่สองเจรจาไม่ได้ผล ตำรวจรุกใส่ตาควายใช้ขวานฟันตำรวจกระเจิง

ตำรวจยิงปืนนัดแล้วนัดเล่า เจ็บร้องเสียงดังแต่กระสุนไม่เข้า นัดหนึ่งถูกขมับล้มพับไปประเดี๋ยว ก็ลุกขึ้นสู้ต่อ

ร.ต.ท.ยอดยิ่งตัดสินใจจับมือเปล่า ตาควายฟันด้วยขวาน 4-5 แผลใหญ่ ต้องกระโดดน้ำหนีเอาชีวิตรอด ตำรวจทั้งโรงพักชนะสงครามเอาไม่อยู่ ต้องส่งตำรวจโรงพักป้อมปราบไปช่วย

ตาควายสู้หมดแรงก็กระโดดลงน้ำแล้วก็ขึ้นมาสู้ใหม่ สุดท้ายก็เสร็จท่อนไม้ภารโรงโรงพัก โป้งเดียวที่ขมับสลบเหมือด

ตาควายบอบช้ำมากรักษาตัวสามเดือน เล่าให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งฟังภายหลังว่า ความหนังเหนียว เกิดจากพระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ ที่ใส่กรอบเขาควาย (แกะด้วยมือตัวเอง) แขวนคอ “แต่พระนางพญาองค์นั้น” หายไปเสียแล้ว

เรื่องเล่าเรื่องนี้...ตรียัมปวายต้องแลกด้วยการถอดพระนางพญาสังฆาฏิเนื้อเขียว องค์ในคอให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร ไป ตัวเองเลือกเอาพิมพ์สังฆาฏิเนื้อสีแดงมาแขวนคอแทน

อานุภาพนางพญาอีกทาง เชียร ธีรศานต์ ผู้รู้เรื่องพระนางพญาอีกคนบอกสั้นๆ อย่าให้เมีย จะเสียเมีย จึงพอฟังได้ อานุภาพอีกด้านของพระนางพญา คือเสน่ห์มหานิยม.


     พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57578853145241_1.jpg)
เหรียญหางแมงป่อง และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหางแมงป่องของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร เป็นเหรียญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่หวงแหนของชาวพิจิตรเหรียญหนึ่งเลยทีเดียว

พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ (ภู ธัมโชติ) เกิดที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่บ้านผักไห่ โยมบิดาชื่อ แฟง โยมมารดาชื่อ ขำ ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ศึกษาหนังสือไทย-ขอมกับพระอาจารย์นิ่ม วัดหาดมูลกระบือ พออายุได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี จึงสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา จนกระทั่งอายุได้ 23 ปี ได้อุปสมบทที่วัดท่าฬ่อ โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ (จัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม วัดหาดมูลกระบือ กับพระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อ เป็นพระคู่สวด ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ"

เดิมตั้งใจว่าจะบวชแค่เพียงพรรษาเดียว แต่บวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ ได้ติดตามหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกจิตจนกล้าแกร่ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสารพัดอย่างจากหลวงพ่อเงิน รวมทั้งพระอาจารย์อื่นๆ ที่พบกันกลางป่า นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรใบยา และวิชาแพทย์แผนโบราณ

หลวงปู่ภูได้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ทั้งทางด้านน้ำมนต์รดอาบหายเคราะห์หายโศก ผีเจ้าเข้าสิงหายทุกราย ในด้านวัตถุมงคลนั้นมีผู้เข้ามาขอจากท่านเสมอ และท่านก็เมตตาทำให้ทุกราย

จนกระทั่งพรรษาที่ 10 วัดท่อฬ่อว่างเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ขอร้องท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ หลวงปู่ภูปกติชอบทางวิเวกไม่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าอาวาส แต่ก็ขัดความศรัทธาของชาวบ้านมิได้จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อสืบต่อมา เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้พัฒนาวัด และพัฒนาจิตใจชาวบ้านเต็มความสามารถ จนวัดท่าฬ่อเจริญรุ่งเรือง

ภายในวัดท่าฬ่อ สมัยที่หลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีคนนำสัตว์ต่างๆ มาปล่อยที่วัด หลวงปู่ก็เมตตารับเลี้ยงไว้มีทั้งไก่ เป็ด ห่าน สุนัข แมว จนกระทั่งถึงกวางและไก่ป่าก็มี หลวงปู่จะเสกข้าวเสกหญ้าให้กิน ก็จะเชื่องทุกตัว เคยมีคนมาลองดีเอาปืนมาแอบยิงสัตว์ต่างๆ ของวัด โดยเฉพาะกวาง แต่ยิงเท่าไหร่ก็ยิงไม่ออกจนคนยิงเข็ดไปเอง วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูทำไว้หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องเป็นพระปิดตา พระพุทธ เหรียญหางแมงป่อง เหรียญใบมะยม แต่เป็นเหรียญที่ลงอักขระไว้เฉยๆ ไม่มีรูปองค์พระ ตะกรุด ผ้าประเจียดและไม้ครู เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันชาตรีเชื่อถือได้ คนพิจิตรทราบดี แต่ปัจจุบันวัตถุมงคลก็หายากเช่นกัน ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องดูให้ดี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32515026049481_3.jpg)
พระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา อยู่ในมุมเขตด้านเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาสจึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจ แต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง พิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่งและส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผาบรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผามีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16936880970994_5.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/55102875290645_4.jpg)
พระหลวงปู่อ้น วัดบางจาก

"พระหลวงปู่อ้น" พระเครื่ององค์สำคัญของชาวอัมพวา จ.สมุทรสงคราม นับเป็นหนึ่งใน "พระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ" ที่มีเนื้อหามวลสาร พิมพ์ทรง และพุทธลักษณะโดยทั่วไป ใกล้เคียงกับพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มากที่สุด

เหตุเพราะหลวงปู่อ้นเป็นหนึ่งในศิษย์ใกล้ชิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และยังเป็นที่ยอมรับกันในวงการว่า "พระหลวงปู่อ้น" มีเนื้อหามวลสารเหมือน "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากที่สุดอีกด้วย

ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เลขานุการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นคว้าและเขียนบันทึกประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เกิดทันยุคของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ

บางตอนได้กล่าวถึงประวัติของหลวงปู่อ้น ว่า "หลวงปู่อ้น" มีนามเดิมว่า "ม.ร.ว.อ้น อิศรางกูร ณ อยุธยา" นิสัยของท่านรักสันโดษ เมื่ออุปสมบทที่วัดระฆังฯ แล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ คอยปรนนิบัติและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและไสยเวทกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ...

ด้วยความที่หลวงปู่อ้นเป็นพระที่สมถะ รักสันโดษ จึงไม่ยอมรับตำแหน่งยศศักดิ์ใดๆ คงดำรงตนเป็นพระลูกวัดจนชราภาพ จนถือเป็นศิษย์อาวุโสของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทีเดียว ท่านมักล่องเรือไปจำพรรษาที่วัดบางจาก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ซึ่งปัจจุบันคือวัดเกษมสรณาราม อ.อัมพวา เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่เงียบสงบ จนกระทั่งออกพรรษา ท่านจึงกลับมาเยี่ยมนมัสการท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้งละนานๆ เป็นเช่นนี้ประจำทุกปี

ต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อ.อัมพวา ระยะหนึ่ง จากนั้นก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางจาก จนถึงแก่มรณภาพ

ช่วงที่หลวงปู่อ้นจำพรรษาที่วัดบางจาก นั้น ท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อไว้แจกแก่ผู้ที่เคารพนับถือในตัวท่านและส่วนหนึ่งได้นำบรรจุกรุไว้ถึง 2 แห่งด้วยกันคือ ที่วัดเกาะลอย อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี และที่วัดปรกคลองวัว อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยจากเนื้อหามวลสารแล้ว เชื่อว่าใช้สูตร "การลบผงพุทธคุณ" เช่นเดียวกับที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์

มูลเหตุการณ์สร้างพระของหลวงปู่อ้น เนื่องจากท่านเป็นพระที่ยึดมั่นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างสูง จึงคิดสร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณกาล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในพระเจดีย์ อีกส่วนหนึ่งแจกจ่ายศิษยานุศิษย์และผู้ศรัทธาเลื่อมใสตามสมควร "พระหลวงปู่อ้น" จึงมีทั้ง พระที่บรรจุในกรุซึ่งจะมีคราบนวลและขี้กรุตามลักษณะของพระกรุโดยทั่วไปและพระที่ไม่ได้บรรจุกรุ

หลวงปู่อ้น สร้าง "พระสมเด็จ" หลายพิมพ์ทรงด้วยกัน มีอาทิ พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น, พิมพ์เล็บมือ, พิมพ์ประคำรอบ ฯลฯ แต่ "พระหลวงปู่อ้น พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น" นับเป็น "พิมพ์นิยม" ซึ่งทั้งเนื้อมวลสารและพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก คือ พิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานหมอน 3 ชั้น ฐานชั้นล่างสุดตรงกลางเป็นร่องลึกซึ่งคล้ายพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ แต่หลวงปู่อ้นได้สร้างพิมพ์ด้านหลังให้เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไป โดยทำพื้นด้านหลังโค้งและนูนเป็นพิเศษ บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า "สมเด็จหลังประทุน" เพราะมีลักษณะเหมือน "ประทุนเรือ" แต่ด้วยเหตุที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์นี้เอง ทำให้ผู้ฉวยโอกาสทั้งหลาย ได้โอกาสที่จะนำพระของท่านมาแกะและเปลี่ยนแปลง เพื่ออุปโลกน์เป็น "พระสมเด็จ" ของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างง่ายดาย

พระหลวงปู่อ้น มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ เนื้อขององค์พระเมื่อถูกสัมผัสก็จะหนึกนุ่ม แบบที่เรียกว่า "เนื้อจัด" อาจเป็นด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น กอปรกับความเป็นพระเครื่ององค์สำคัญของอำเภออัมพวา จึงเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหา

ปัจจุบันเป็นพระที่หาดูหาเช่ายากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 สิงหาคม 2559 19:14:47
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25360983320408_3.jpg)
พระวัดพลับ อมตะพระกรุธนบุรี (1)

ถ้าจะพูดถึงพระเครื่องเก่าแก่ในแถบกรุงเทพฯ-ธนบุรีแล้ว ชื่อ "พระวัดพลับ" ต้องติดในโผต้นๆ เพราะเป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า 200 ปี มากกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" พระดังระดับประเทศ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเช่นกันอีกด้วย ด้วยเนื้อหามวลสารแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผง พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วัดพลับ หรือ "วัดราชสิทธาราม" บางกอกน้อย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงยอดนิยม ที่เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

ถึงแม้ว่าลักษณะองค์พระจะดูง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ "พระวัดพลับ" สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล กอปรกับพุทธคุณอันเลิศล้ำทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากมากๆ

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470

ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อยที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล "พระวัดพลับ" และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า "กรุกระรอกเผือก" นั่นเอง

ต่อมาเจ้าอาวาสจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง และก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ จะไปครองวัดมหาธาตุฯ เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

เนื้อหามวลสารของ "พระวัดพลับ" และ "พระสมเด็จ วัดระฆังฯ" จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมี "รอยลานของเนื้อพระ" อันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะไม่ปรากฏรอยลานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์ และพบที่ทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยม

พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ ประทับนั่งขัดสมาธิก็มี เป็นพระไสยาสน์ก็มี เป็นพระปิดตาก็มี หรือจะเป็นแบบ 2 หน้าก็มี และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือ "พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา"

พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว อันนับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในหลายๆ พิมพ์ของพระวัดพลับนั้น อาจเป็นเพราะพิมพ์นี้มีจำนวนพระน้อย และมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง
   - พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน
   - พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง
   - พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา
   - มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น
   - พระหัตถ์ลักษณะคล้ายถือดอกบัวอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
   - ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย
   - ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็น กระเปาะ คล้ายไหกระเทียม
   - ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย
   - ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

สำหรับพิมพ์อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมและเล่นหาในวงการเช่นกัน ติดตามฉบับหน้าครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
      ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79467113978332_view_resizing_images_1__tn.jpg)
พระวัดพลับ อมตะพระกรุฝั่งธนบุรี (2)

นอกจาก "พิมพ์วันทาเสมา" ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมและมีค่านิยมสูงสุดใน พระวัดพลับทุกพิมพ์แล้ว พิมพ์อื่นๆ ก็ยังนิยมเล่นหาด้วยค่านิยมที่ลดหลั่นกันไป อาทิ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ลองมาดูเอกลักษณ์กันซัก 3-4 พิมพ์ เผื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจศึกษาหรือเช่าหาครับผม

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เรียกตามพุทธลักษณะองค์พระคล้ายกับตุ๊กตาเด็กเล่น ความกว้างประมาณ 1.7-2 ซ.ม. สูงประมาณ 2.5-3 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบ ความโดดเด่นอยู่ที่องค์พระเพียงอย่างเดียว ปราศจากลวดลายอื่นใดมาประกอบทั้งสิ้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่ องค์พระจะแลดูอวบอ้วน แต่งามสง่าอยู่ในที อิริยาบถประทับนั่งดูเข้มแข็ง
   -พระพาหาอยู่ในลักษณะหักศอก ต้นพระ พาหาใหญ่
   -การประสานพระหัตถ์ค่อนข้างแข็ง

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พุทธลักษณะองค์พระเหมือนพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.5-2 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบเช่นกัน องค์ที่ปีกแคบมากจะแลดูองค์พระยิ่งเล็ก จนบางคนเรียกว่า "พิมพ์ไข่จิ้งจก" คือมีลักษณะเล็กและหลังนูน คล้ายไข่จิ้งจก
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่
   -พระหนุ (คาง) สอบแหลม
   -การทิ้งพระพาหาดูเหมือนหักเป็น 2 ท่อน และการประสานพระหัตถ์เป็นเส้นใหญ่เท่ากันหมด
   -ปลายพระบาทด้านขวาขององค์พระเฉียงทแยงขึ้นมา

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ องค์พระมีความกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 2-2.2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบเช่นกัน ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่
   -พระหนุ (คาง) สอบแหลม
   -พระอุระและพระอุทรนูนสูงมาก อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
   -การวางพระหัตถ์หักเป็น 3 ท่อน และการประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ ดูคล้ายอุ้มพระอุทรไว้
   -ข้อพระหัตถ์คอดเล็ก

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก องค์พระกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7-2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์แบบผลมะตูมยาน
   -พระหนุ (คาง) ไม่แหลม
   -เส้นลำพระศอค่อนข้างยาว
   -พระอุระและพระอุทรนูนสูง
   -ต้นพระพาหาเล็กลีบ
   -การวางพระพาหาหักเป็น 3 ท่อน การประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ แต่ข้อพระหัตถ์ไม่คอด

หลักการพิจารณาพระวัดพลับ ในเบื้องต้นให้สังเกตผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี จะเกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจึงมีสีผิวค่อนข้างขาว ลักษณะเป็นคราบน้ำ ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากนี้ ต้องทราบไว้ว่า "พระวัดพลับ" ไม่ได้พบที่กรุกระรอกเผือกวัดพลับเพียงกรุเดียว ยังมีการค้นพบบรรจุในกรุพระเจดีย์วัดโค่ง จ.อุทัยธานี ด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าได้มีการนำไปบรรจุไว้แต่มีจำนวนไม่มากนัก และด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองมีความแตกต่างกัน จึงส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกันด้วย

โดย "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวของ องค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็งมากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบา ขุนพรหม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
      ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52299894019961_5.jpg)
เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ฝั่งธนบุรี

"เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกัน คงกระพันชาตรีดีนักแล"

คำขวัญนี้ ช่างเหมาะเหลือเกินกับวัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างโดยหลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า แห่งฝั่งธนบุรี ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ด้วยสร้างอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏประจักษ์มานักต่อนัก ทั้งคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ และเมตตามหานิยม สมดังคำร่ำลือจริงๆ

หลวงพ่อไปล่ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 ตอนเยาว์วัยศึกษาร่ำเรียนกับพระอาจารย์ทัต เจ้าอาวาสวัดสิงห์ จนปี พ.ศ.2426 บรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกำแพง โดยมี พระอาจารย์ทัต วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ฉนฺทสโร"

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาและวิทยาอาคมต่างๆ ทั้งด้านกรรมฐานวิปัสสนาธุระ จากพระอาจารย์ทัต วัดสิงห์ พระอุปัชฌาย์ และกรรมวิธีการทำผงอิทธิเจ 108 และสีผึ้ง จาก พระอาจารย์พ่วง วัดกก พระกรรมวาจาจารย์ จนมีความเชี่ยวชาญและแตกฉาน นอกจากนี้ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาด้านไสยเวท จากพระอาจารย์คง หรือ หลวงปู่เฒ่า วัดบางกะพี้ จ.ชัยนาท พร้อมศึกษาวิทยาการเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อเก้ายอด วัดบางปลา จ.สมุทรสาคร ซึ่งทุกรูปล้วนเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมมีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นทั้งสิ้น

ต่อมา หลวงพ่อไปล่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดกำแพงสืบแทนพระอาจารย์ดิษฐ์ ผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แต่หลังจากนั้นท่านก็ไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ อีกเลย จากความเป็นพระเกจิผู้รักสันโดษ สมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและวัตรปฏิบัติ ถึงพร้อมด้วยเมตตาธรรมสูงส่ง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั่วไป มรณภาพในปี พ.ศ.2482 สิริอายุ 79 ปี พรรษาที่ 57

วัตถุมงคลของหลวงพ่อไปล่ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปหล่อโบราณพิมพ์ทรงต่างๆ และพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ซึ่งล้วนทรงคุณค่า ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ โดยเฉพาะวัตถุมงคลชิ้นเอกซึ่งได้รับความนิยมสูงและหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง คือ "เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ ปี 2478" เนื่องด้วยเป็นเหรียญหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างในวาระที่มีอายุครบ 75 ปี ตามที่ศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึก

เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ รุ่นแรก ปี 2478 นี้ สร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อทองฝาบาตร และเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ จัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์จอบใหญ่ และพิมพ์รูปไข่ ซึ่งจำนวนการจัดสร้างน้อยมาก

"เหรียญพิมพ์จอบใหญ่" ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นสี่เหลี่ยมยอดมน คล้ายจอบขุดดิน แบบหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อไปล่ นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือฐานอาสนะชั้นเดียว ภายในกรอบเส้นลวดนูน 2 ชั้น จุดเด่นของเหรียญอยู่ที่ใบหน้าของหลวงพ่อจะปรากฏรายละเอียด ทั้ง หู ตา จมูก ปาก ชัดเจน และการครองจีวรก็เห็นรัดประคดชัดเจนด้วย ส่วนด้านหลังเป็นพื้นเรียบ มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระฤก ๒๔๗๘"

สำหรับ "เหรียญพิมพ์รูปไข่" ลักษณะพิมพ์ทรงกลมรีแบบรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อไปล่ นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือฐานอาสนะชั้นเดียว ปรากฏผ้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน ด้านหลังเป็นพื้นเรียบ จารึกอักษร "ที่ระฤก ๒๔๗๘" เช่นเดียวกัน

การพิจารณาเบื้องต้นของ "เหรียญหลวงพ่อไปล่ รุ่นแรก" นี้ สืบเนื่องจากเป็นเหรียญหล่อโบราณ จึงค่อนข้างดูง่าย ให้สังเกตคราบขี้เบ้าดิน ซึ่งจะยังคงติดให้เห็นอยู่ครับผม

    พันธุ์แท้พระเครื่อง
    ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13357794450388_1.jpg)
เหรียญหลวงปู่ศุขหันข้าง

"พระครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

มีนามเดิมว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี

ในปี พ.ศ.2559 พระราชสุทธิโสภณ หรือ หลวงพ่อประทวน ปภากโร เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท มีความประสงค์จัดสร้างฐานปฏิบัติธรรมที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ศุข-หลวงปู่สำราญ-เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และบูรณะเสนาสนะภายในวัด

พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหลวงปู่ศุขหันข้างรุ่นแรก" เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างดังกล่าว มีเหรียญ เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำ ลงยาสีแดง, เนื้อทองคำ ลงยาสีน้ำเงิน (รวมสามเนื้อ ตามสั่งจอง)

พร้อมจัดสร้างเนื้อเงินบริสุทธิ์ 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีแดง 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีเขียว 200 เหรียญ, เนื้อทองระฆัง 4,000 เหรียญ, เนื้อสัตโลหะ 2,000 เหรียญ และเนื้อทองแดงสีรุ้ง 5,000 เหรียญ

ลักษณะเหรียญหลวงปู่ศุขหันข้างรุ่นแรกนี้ เป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ศุข ครึ่งองค์ หันข้าง ใต้ขอบด้านบนมีอักษรไทย "หลวงปู่ศุข เกสโร"

ส่วนด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบเช่นกัน ตรงกลางเป็นยันต์สาม กำกับด้วยอักษรขอม "นะ มะ อุ อะ" มีอักษรขอมล้อมรอบยันต์สาม "นะ โม พุท ธา ยะ อา ยุ วัณ โณ สุข ขัง พะ ลัง" รอบภายในขอบมีอักษรไทย "วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ๒๕๕๙" ตอกโค้ดอักษรไทยคำว่า "รวย" และมีเลขไทยเป็นเลขลำดับองค์พระ

วันที่ 11 พ.ค. 2559 ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ พระราชสุทธิโสภณ วัดปากคลองมะขามเฒ่า, พระมหาสุรศักดิ์ อติสักโข วัดประดู่, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์, หลวงพ่อนงค์ วัดสว่างวงษ์คณะกิจ, พระครูสมบูรณ์จริยธรรม วัดหน้าต่างนอก, พระครูสุตตสังวรคุณ วัดป่าสัก เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โทร. 09-0924-1588 และ 08-1007-9454 ทุกวัน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87629156890842_2.jpg)
เหรียญโภคทรัพย์ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ
วัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี


พ.ศ.2553 หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ พระเกจิชื่อดังวัดเขาปฐวี มีอายุครบ 72 ปี คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็น "เหรียญโภคทรัพย์"

จัดพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ตามฤกษ์วันเสาร์ห้า ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม 2553 หลังจากปลุกเสกเดี่ยวมาตลอดไตรมาส ซึ่งพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกในถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์วัดเขาปฐวี ประกอบด้วย พระราชสุทธิโสภณ (หลวงพ่อประทวน) วัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท, พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม) วัดเขาปฐวี เป็นต้น

เหรียญโภคทรัพย์ เป็นเหรียญปั๊ม เนื้ออัลปาก้า ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง สร้างเพียงจำนวน 7,200 เหรียญ เท่านั้น หลวงพ่อโฉมตั้งใจจัดสร้างขึ้นในโอกาสอายุครบ 72 ปี ได้ปลุกเสกเดี่ยวและประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันเสาร์ห้า อันเป็นอุดมมงคลฤกษ์สำหรับการสร้างวัตถุมงคล

ด้านหน้าของเหรียญ มีขอบนูนรูปไข่ ตรงกลางมีรูปนูนต่ำหลวงพ่อโฉมครึ่งองค์ รอบเหรียญมีตัวหนังสือเขียนว่า พระครูอุทิศ ธรรมรส (หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ) พ.ศ.๒๕๕๓ อายุ ๗๒ ปี" และเหนือไหล่ขวาของหลวงพ่อโฉม ตอกโค้ต "อุ" 1 ตัว

ด้านหลังของเหรียญ มีสันขอบ ตรงกลางเป็นรูปยันต์ห้า บรรจุอักขระขอมภายในว่า "นะโมพุทธายะ" มียันต์อุณาโลม 3 ยันต์ กำกับยอดยันต์ห้า และด้านล่างยันต์ห้ามีอักขระขอมเขียนว่า "นะชาลีติ" ถัดลงมาอีกแถวเขียนว่า "โภคทรัพย์" เหนือขอบเหรียญด้านล่าง เขียนว่า "วัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี"

เหรียญโภคทรัพย์รุ่นนี้ จัดว่าเป็นเหรียญยอดนิยม ที่มีความคม-สวย

ทำให้นักนิยมสะสมวัตถุมงคล ต่างเสาะหาเช่าบูชามาไว้ครอบครองกัน เนื่องจากสนนราคายังไม่สูงนัก

สำหรับ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ หรือ พระครูอุทิศธรรมรส พระเกจิชื่อดังที่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ผู้ใกล้ชิด ต่างเลื่อมใสศรัทธา รวมไปถึงวงการนักนิยมสะสมวัตถุมงคล รู้จักนามพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมแก่กล้า

ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดและเปี่ยมด้วยคุณธรรม เป็นที่พึ่งของชาวบ้านและสาธุชนโดยทั่วไป มีจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมสูง

หลวงพ่อโฉม ได้มีโอกาสศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและฆราวาสหลายท่าน อาทิ หลวงปู่ธูป เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี, หลวงพ่อมา วัดมะพร้าวสูง หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว, หลวงพ่อสว่าง วัดคฤหบดีสงฆ์, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์, หลวงพ่อปุย วัดหนองสระ, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง และพระอาจารย์ขาว จ.พัทลุง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์สายเข้าอ้อด้วย

ปัจจุบัน หลวงพ่อโฉม สิริอายุ 77 ปี พรรษา 56 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี


.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92693251040246_1.jpg)
เหรียญหลวงพ่อเคลือบ รุ่นสร้างเมรุ

"หลวงพ่อเคลือบ สังวรธัมโม" วัดหนองกระดี่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ได้รับการขนานนามว่า "วาจาสิทธิ์" และเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2432 ที่บ้านคลองชะโด ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2453 ที่พัทธสีมา วัดหนองเต่า อ.เมืองอุทัยธานี มีพระครูอุทัยธรรมวินิฐ (หลวงพ่อสิน) เจ้าอาวาสวัดหนองเต่า เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อสินเป็นเวลานาน 3 พรรษา ได้วิชาวาจาสิทธิ์และคงกระพันชาตรี จากนั้นได้ไปเรียนเพ่งกสิณกับหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี อีก 6 ปี ก่อนออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ และย้อนกลับมาที่เมืองอุทัยธานี

นอกจากนี้ยังเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อแสง วัดป่าช้า ตลอดจนพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมอีกหลายท่าน

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2497 สิริอายุ 65 พรรษา 45

วันที่ 31 ม.ค.2555 พระใบฎีกาเจริญ วุฑฒิโก เจ้าอาวาสวัดหนองกระดี่นอก จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่งเพื่อหา ทุนทรัพย์ในการสร้างเมรุ เรียกว่า "รุ่นสร้างเมรุ"

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรี มีลายกนกที่ซุ้มห่วง มีเนื้อทองแดงชุบนิกเกิลและเนื้อทองแดงรมดำ

ด้านหน้าเหรียญ มีหูห่วงลายกนกและมีขอบรอบ ตรงกลางมีรูปนูนหลวงพ่อเคลือบครึ่งองค์หันหน้าตรง เหนือขอบเหรียญด้านล่างมีอักษรไทย เขียนคำว่า "หลวงพ่อเคลือบ"

ส่วนด้านหลัง มีขอบเช่นกัน ตรงกลางมียันต์เฑาะว์ ล้อมรอบด้วยอักขระขอม นะ มะ พะ ทะ, จะ พะ กะ สะ ซึ่งเป็นยันต์อันเดียวกับเหรียญหลวงพ่อเคลือบ ปี"15 วัดทัพทัน เหนือขอบเหรียญมีอักษรไทย เขียนคำว่า "รุ่นสร้างเมรุ วัดหนองกระดี่ (นอก) จ.อุทัยธานี ๕๕๕"

พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก อาทิ พระราชอุทัยกวี (ประชุม มาเรยโย) วัดทุ่งแก้ว เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี, หลวงพ่อวิชา วัดชอนทุเรียน, หลวงพ่อประทวน วัดท่ามะขามป้อม, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี, หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี, หลวงพ่อเร่ง วัดดงแขวน, หลวงพ่อเจริญ วัดหลุมเข้า, พระอาจารย์คัมภีร์ (แห้ง) วัดป่าเลไลย์ และพระอาจารย์สมคิด วัดเนินสาธารณ์ เป็นต้น

ผู้สนใจเช่าบูชาสามารถติดต่อได้ที่วัดหนองกระดี่ (นอก) ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19508702597684_2.jpg)
เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่น"หมอพรทดลองยา"

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทหารและประชาชนคนไทยให้ความเคารพรักและศรัทธาเป็นอย่างมาก

ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.ธิดา ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหกลาโหม ในรัชกาลที่ 5

เสด็จในกรมฯ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษในปีพ.ศ.2443 ได้เข้ารับราชการในราชนาวีไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2443 พระองค์ทรงมีพระอุตสาหะอย่างยิ่งในการก่อตั้งกองทัพเรือไทย ทรงรับภาระในด้านวิชาการ โดยทรงวางหลักสูตรการสอนนักเรียนนายเรือขึ้นมาใหม่และทรงเป็นครูสอนนักเรียนด้วยพระองค์เอง

หลังจากเสด็จในกรมฯ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการสอนในโรงเรียนนายเรือได้ไม่นานก็มีการได้เปิดโรงเรียนนายเรือสมัยใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 พ.ย. 2449

ปัจจุบัน กองทัพเรือถือว่าวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"

ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466

ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2557 คณะกรรมการที่จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญกรมหลวงชุมพรจัดสร้างไปครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2557 โดยนำรายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนในการซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ แต่ยังขาดแคลนอีกจำนวนหนึ่ง

ในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดอาศรมหมอพร ภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า วันที่ 27 พ.ค. 2559

คณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดย พล.ร.ท. จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ ประธานดำเนินการจัดสร้าง ได้รับความเมตตาจาก หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม พระเกจิชื่อดังแห่งวัดป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์, น.ต.ภากร ศุภชลาศัย ซึ่งเป็นหลานตาของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นประธานฝ่ายราชสกุลอาภากร และประธานฝ่ายฆราวาส จัดสร้าง "เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รุ่นหมอพรทดลองยา"

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการแพทย์ทางเลือก จนได้รับการถวายพระสมัญญานาม "หมอพร" ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ประกอบพิธีมังคลาภิเษกที่วัดป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559 โดยมี น.ต.ภากร เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้อัญเชิญพระชัยวัฒน์ประจำพระองค์กรมหลวงชุมพรฯ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นองค์พระประธานในพิธี พร้อมทั้งอัญเชิญพระอัฐิของเจ้าจอมมารดาโหมด (พระมารดา) และพระทนต์ (ฟัน) กรมหลวงชุมพรฯ ร่วมพิธี

นอกจากพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ยังได้รับเมตตาจากพระสุนทรปริยัติวิธาน เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ(วัดช้างให้) จ.ปัตตานี อนุญาตให้นำเหรียญรุ่นนี้เข้าพิธีมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดช้างให้ ในวันที่ 18 พ.ค. 2559

สำหรับเหรียญรุ่นนี้เป็นการจัดสร้างตามรูปแบบเหรียญดังเดิมที่เป็นสัญลักษณ์เหรียญของพระองค์ท่าน คือ เป็นเหรียญรูปข้าวหลามตัด ด้านหน้าเหรียญเป็นพระรูปเหมือนพระองค์ท่าน ในฉลองพระองค์ชุดทรงงานในห้องทดลองยา มีลายพระนาม "อาภากร" และคำว่า "หมอพร" จารึกไว้ ถือว่าเป็นการจัดสร้างในรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดสร้างมาก่อน

ส่วนด้านหลังเหรียญยังคงเป็นรูปเดิมคือตราประจำพระองค์ "พระอาทิตย์ชักรถ" พร้อมจารึกคำว่า "ที่ระลึกพิธีเปิด อาศรมหมอพร กรมแพทย์ทหารเรือ ๒๗ พ.ค.๕๙" เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "หมอพรทดลองยา" หลังจากจัดสร้างเหรียญเสร็จ ทางคณะกรรมการได้ทุบทำลายบล็อกเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2559

จัดสร้างจำนวนไม่มาก มีเนื้อทองคำ สร้าง 19 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 999 องค์ เนื้อทองแดงชุบทองพ่นทรายขัดเงา สร้าง 999 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 9,999 องค์ และเนื้อทองแดง สร้าง 9,999 บาท มีการตอกโค้ด "สามสมอ" ด้วยมือทุกองค์

ผู้สนใจเหรียญหมอพรทดลองยา เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ โทร.09-7136-3798 หรือ 08-9967-2737



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24990180383125_3.jpg)
พระสมเด็จฐานโบสถ์ 108 ปีวัดทองนพคุณ

"วัดทองนพคุณ" ชื่อเดิม วัดสระทอง ตั้งอยู่บ้านปะหลาน หมู่ 2 เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จัดเป็นวัดเก่าแก่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2384 จนถึงปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 175 ปี

นอกจากนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมีผลงานดีเด่น เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย หน่วยกำกับงานพระธรรมทูตอำเภอ และค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา เป็นต้น

มีพระมหาประกิต ฐิตญาโณ รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ในปี พ.ศ.2557 พระมหาประกิต มีโครงการที่บูรณะอุโบสถเก่าโบราณที่อยู่คู่กับวัดมานานกว่าร้อยปีซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมให้คงอยู่คู่กับวัดแห่งนี้ไปตราบนานเท่านาน แต่วัดยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงมีการหารือกับทางคณะกรรมการวัดและญาติโยมชาวอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย มีมติให้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็น "พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงฐานโบสถ์ 108 ปี รุ่นเงินไหลกองทองไหลมา" เพื่อมอบให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนบูรณะอุโบสถโบราณหลังนี้

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งบนบัลลังก์อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ด้านข้างบัลลังก์มีพญานาคข้างละ 1 ตัว ล่างสุดหน้าบัลลังก์เป็นรูปหัวเสือเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

ด้านหลังมีตัวเลข ๒ แถว แถวบน ๑๐๘ หมายถึงอายุของอุโบสถของวัดทองนพคุณ แถวล่างตัวเลข ๑๕๗ หมายถึงเลขที่วัด และวัดมีอายุ ๑๗๕ ปี แถวที่สามมีตัวอักษรเขียนคำว่า "สำเร็จ" และมีรูปตราครุฑหมายถึงมหาอำนาจ ด้านล่างเป็นอักขระยันต์ 2 แถว ล่างสุดเขียนคำว่า "ทอง นพคุณ"

วัตถุมงคลรุ่นนี้สร้างจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ผงกรุพระธาตุนาดูน ผงธูปวัดระฆัง ผงธูปวัดใหม่อมตรส ใบเปลือกต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ดินผงว่าน 108 ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น ไคลเสมาอิฐฐานโบสถ์วัดทองนพคุณ เป็นต้น

พิเศษที่สุด คือ มีส่วนผสมเกศาอดีต 9 พระเกจิชื่อดังในพื้นที่และของภาคอีสาน อาทิ หลวงปู่มี อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม, หลวงปู่สา วัดบ้านเหล่า จ.มหาสารคาม, หลวงปู่สุข จ.มหาสารคาม, หลวงปู่หงส์, หลวงปู่เสาร์, หลวงพ่อดี, หลวงปู่บุญตา, หลวงปู่ผาง

นอกจากนี้ ยังมีอัฐิอดีตพระเกจิมหาสารคาม 5 อาจารย์ ประกอบด้วย หลวงปู่สา หลวงปู่สุ่ย หลวงปู่สุข หลวงปู่ศรีจันทร์ และหลวงพ่อเสาร์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ภายในอุโบสถวัดทองนพคุณ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ส.ค.2557 จำนวนการสร้าง 1,999 องค์ พระเกจิอาจารย์ที่อธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียงโด่งดัง ประกอบด้วย หลวงปู่กอง จ.ร้อยเอ็ด, หลวงพ่อไหล จ.มหาสารคาม, หลวงพ่อเผือก จ.สุรินทร์, หลวงปู่สุข จ.สุรินทร์, หลวงพ่อทองนาค จ.มหาสารคาม ฯลฯ

จัดเป็นวัตถุมงคลที่ดีอีกรุ่นหนึ่งของเมืองมหาสารคาม หากนักสะสมวัตถุมงคลสนใจ มีความประสงค์สักการบูชา ยังมีเหลือตกค้างอยู่จำนวนหนึ่ง สอบถามที่วัดทองนพคุณ โทร.08-7215-3891


"เปิดตลับพระใหม่" daily.khaosod.co.th


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 23 สิงหาคม 2559 20:06:46
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39056964342792_1.jpg)
พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม วัดสามจีน ผิดกัน ที่ของวัดเสาธงทองเป็นเนื้อดิน ส่วนวัดสามจีนเป็นเนื้อชิน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองนี้มีพุทธคุณอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด โด่งดังมากในสมัยก่อน ในปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

วัดเสาธงทองเป็นวัดโบราณมีอายุราว 600-700 ปี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าท่านผู้ใดสร้างไว้ มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมา วัดเสาธงทองตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดพระบาท ด้วยเหตุที่มีรอยพระพุทธบาทสร้างด้วยศิลาแลง มีเรื่องเล่ากันว่าพระพุทธบาทนี้ลอยมาตามน้ำมาวนเวียนอยู่หน้าวัดนี้ ตาปะขาว 2 ได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาและประดิษฐานยังวิหาร ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดพระบาท

เรื่องพระพุทธบาทศิลาแลงนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองสุพรรณบุรี ได้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ และตรัสถามสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า "เชื่อหรือไม่ว่าฝ่าพระพุทธบาทศิลาแลงนี้จะลอยน้ำได้จริง" สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทูลตอบว่า "เชื่อ" โบราณวัตถุวัดเสาธงทองที่สำคัญนอกจากรอยพระพุทธบาทศิลาแลงแล้ว ยังมีพระประธานซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมว่า "งามนัก"

วัดเสาธงทองเคยรกร้างว่างเปล่า ปราศจากการดูแลรักษามาก่อนอยู่ระยะหนึ่ง จนในที่สุดโบราณวัตถุเสนาสนะต่างๆ มีอันต้องปรักหักพังลงจนหมด ต่อมาในราวปีพ.ศ.2410 หลวงพ่ออยู่เป็นพระภิกษุรูปแรก ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุขึ้นใหม่ โดยสร้างกุฏิสงฆ์ขนาดเล็ก 2-3 หลัง พอเป็นที่อาศัยแก่พระสงฆ์ ท่านครองวัดเสาธงทองได้ประมาณ 10 ปีก็มรณภาพ

สืบต่อมาหลวงพ่อเพิ่มได้มาปกครองวัดแทนหลวงพ่ออยู่ ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ต่อเป็นการใหญ่ โดยจัดสร้างพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ราวปี พ.ศ.2460 ท่านก็ได้สร้างพระเครื่องแจกเป็นครั้งแรก ก็คือพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สร้างเป็นเนื้อดินเผา เนื้อละเอียด ถ้าผ่านการใช้จะมีเนื้อจัดมาก มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองและไม่ได้ลง หลังจากที่หลวงพ่อเพิ่มมรณภาพแล้วพระพุทธชินราชวัดเสาธงทอง ได้มีการแจกต่อมาในสมัยหลวงพ่อวอน และต่อมาถึงสมัยหลวงพ่อหรุ่น เนื่องจากหลวงพ่อเพิ่มท่านสร้างไว้จำนวนมาก

พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง ได้แพร่หลายไปหลายจังหวัด และมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงและแคล้วคลาด จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในสมัยก่อนก็รู้กันแค่เป็นพระของวัดเสาธงทอง ก็มีผู้เข้าใจผิดเป็นวัดเสาธงทอง ลพบุรี ก็มี ซึ่งความจริงเป็นวัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก แต่ปัจจุบันก็หาได้ไม่ง่ายนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง จาก Web-Pra ของร้านไททั้นพระเครื่องมาให้ชมกันครับ พระองค์นี้เนื้อจัดมาก สวยงามครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74858052490486_2.jpg)
พระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อดินเผา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคำถามหนึ่งที่ผมมักโดนถามอยู่บ่อยเหมือนกันคือ "ห้อยพระอะไรดี" คำถามนี้มักจะเป็นคำถามที่มาจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เล่นหาสะสมหรืออยู่ในแวดวงสังคมพระเครื่อง และเป็นคนที่รู้จักมักคุ้นกับผม ซึ่งเขาอยากจะห้อยบูชาพระเครื่องแต่ไม่แน่ใจว่าจะห้อยพระอะไร องค์ไหน และอาจมีคำถามต่ออีกว่า เกิดวันนี้ห้อยพระอะไร หรือทำอาชีพนี้ต้องห้อยพระอะไรจึงจะดี

คำถามนี้อาจเหมือนกับว่าไม่น่าจะมีปัญหา มีอะไรก็ห้อยๆ ไป แต่สำหรับบางท่านก็มีข้อสงสัยเพื่อจะได้เลือกให้ดีที่สุด ถ้าผู้ถามมีพระเครื่องอยู่แล้ว นำมาให้ช่วยเลือกให้ก็ไม่ยากเท่าไรนัก แต่ก็มีคำถามต่อว่าดีอย่างไรอีก ความจริงเรื่องนี้ผมคิดว่า ถ้าเป็นพระแท้แล้วดีทั้งนั้นแหละครับ ส่วนมากพระเครื่องที่เขาสร้างมานั้นก็จะหาฤกษ์พานาทีที่ดีและเหมาะสม อยู่แล้วในขณะที่ทำพิธีปลุกเสก จึงควรจะดีที่สุดแล้ว ส่วนเรื่องความนิยมหรือสนนราคาค่างวดก็ว่ากันไปตามความต้องการของสังคม

การจะเลือกพระเครื่องสำหรับห้อยคอนั้น ผมว่าเลือกเอาตามที่เราชอบเป็นใหญ่ดีกว่าไม่ต้องไปตามแบบใคร แต่ถ้าเอาไว้อวดก็ว่ากันไปอีกอย่างหนึ่ง การเลือกตามที่เราชอบและศรัทธานั้นเหมาะสมที่สุด เช่น เราเคารพศรัทธาในพระองค์ใดก็เลือกตามนั้น ความสบายใจก็จะมีกับเราเอง เพราะเราเป็นผู้ห้อยพระนั้นและก็เป็นของเรา บางท่านอาจชอบพระกรุ เนื้อชิน เนื้อดิน ก็เอาตามที่ชอบที่มี หรือจะเช่าหามาห้อยก็เลือกเอาตามฐานะเงินในกระเป๋าด้วยจะสบายใจและไม่เดือดร้อน เช่น มีเงินอยู่นิดหน่อยแต่อยากห้อยพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ก็ยุ่งยากหน่อย เพราะปัจจัยไม่พร้อม อาจจะไปหลงหาพระสมเด็จปลอมที่มีราคาถูกมาห้อย ความสบายใจอาจมีในตอนแรก แต่พอรู้หรือนำไปให้ใครดูเขาไม่ยอมรับก็จะกลายเป็นความไม่สบายใจตามมาภายหลังได้

ผมว่าสู้เลือกเช่าหาพระที่มีความเหมาะสมกับเงินในกระเป๋าจะดีกว่านะครับ มีพระเครื่องมากมายทั้งพระเก่าพระใหม่ที่เป็นพระแท้ๆ ราคาก็ไม่แพงนำมาห้อยบูชาน่าจะดีกว่า อีกอย่างไม่ว่าเกิดวันใดหรือทำงานอาชีพใด ห้อยพระอะไรก็ได้ทั้งนั้นครับ มีแต่ดีไม่มีเสียครับ ในส่วนพุทธคุณก็ว่ากันไป โดยส่วนมากก็ว่ากันไปตามประสบการณ์ต่างๆ ที่มีผู้ได้รับประสบการณ์นั้นๆ และบอกต่อกันมา บางท่านมีพระเครื่องอยู่บ้างแล้วก็เลือกเอา

องค์ที่ชอบและศรัทธามาห้อยบูชาก็พอ แต่ถ้าจะหาเช่าก็เลือกเอาที่เราชอบและศรัทธาก็พอครับ ไม่ว่าจะเป็นพระกรุพระเก่า เนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อผง หรือพระเกจิฯ เหรียญ หรือพระใหม่ก็ไปเช่าที่วัดเลยก็ได้ครับ เลือกเอาที่ชอบและสบายใจดีที่สุด

ผมเองเคยมีประสบการณ์กับพระที่หาได้ไม่ยาก สนนราคาไม่แพงด้วย คือพระพุทธ 25 ศตวรรษครับ เป็นพระเครื่องที่มีพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกไว้ พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกทั่วทั้งประเทศ แต่สร้างไว้มีจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนได้รับกันอย่างทั่วถึง จึงทำให้หาเช่าได้ไม่ยากและมีราคาถูก ทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน ผมว่าเป็นพระเครื่องที่ไม่น่ามองข้ามและถ้าไม่ได้เอาไว้โชว์ แต่ห้อยไว้เพื่อเป็นสิริมงคล คุ้มครองป้องกันตัว ยอดเยี่ยมมากครับ

แต่อย่าลืมห้อยพระไว้ในใจด้วย ระลึกในพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาจะดีมากเลยครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อดินเผา มาให้ชมกันครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22430970809525_3.jpg)
พระร่วงยืน และพระร่วงนั่งรัศมี กรุวัดกลางนครปฐม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองมาแต่โบราณ มีการขุดค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย และที่สำคัญก็พบโบราณสถานสมัยทวารวดีอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญมากก็คือองค์พระปฐมเจดีย์และอื่นๆ มีการพบโบราณวัตถุทางศาสนาพุทธก็มาก เช่น พระพุทธรูปสมัยทวารวดีและเสมาธรรมจักร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังพบพระพิมพ์และพระเครื่องอีกด้วย

ในส่วนของพระเครื่องที่เป็นพระกรุ อายุถึงสมัยทวารวดีก็มีการขุดพบเจอที่วัดกลางนครปฐม เมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 เป็นพระพิมพ์ต่างๆ เช่น พระร่วงยืน พระร่วงนั่งข้างรัศมี พระแผงสมัยทวารวดี พระแผงสมัยศรีวิชัย พระที่พบในครั้งนั้นมีทั้งพระเครื่องและพระบูชา มีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน พระเครื่องที่นิยมที่สุดก็คือ พระร่วงยืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงและพระร่วงนั่งรัศมี เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงยืนเป็นพระปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวาปางประทานพร พระหัตถ์ซ้ายขนานกับลำพระองค์ ตัดพิมพ์ชิดลำพระองค์ไม่มีปีกหรือซุ้ม

พระร่วงนั่งพิมพ์รัศมี เป็นพระประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น มีรัศมีทั้งสองด้าน

พระทั้งสองแบบนี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง จำนวนพระที่พบน้อยมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ที่พบจำนวนน้อยอาจเป็นเพราะองค์พระผุกร่อนเสียหายไปเสียหมด เนื่องจากมีอายุการสร้างที่ยาวนาน จึงเหลือพระที่พบจำนวนไม่มากนัก

พุทธศิลปะ เป็นแบบทวารวดีตอนปลาย

พุทธคุณเท่าที่ได้บอกเล่ากันต่อมาว่า เด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน

ปัจจุบันไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่มีต่างก็หวงแหนกันมากครับ นับว่าเป็นพระกรุของนครปฐมที่หายากมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งรัศมี กรุวัดกลางนครปฐม จากหนังสืออมต พระกรุของคุณต้อย เมืองนนท์มาให้ชมกันด้วยครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97971434642871_4.jpg)
พระกริ่งทีอ๋อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาพูดคุยกันถึงพระกริ่งนอกที่จัดอยู่ในพระชุดยอดนิยมของพระกริ่งนอก ก็คือพระกริ่งพัชรีทีอ๋อง หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า พระกริ่งทีอ๋อง มีชื่อเรียกว่าพระกริ่ง แต่จริงๆ แล้วเป็นพระรูปลอยองค์ที่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ในอดีตท่านผู้หลักผู้ใหญ่ได้จัดเข้าประเภทพระกริ่ง และเป็นหนึ่งในห้าของพระกริ่งนอกยอดนิยมครับ

พระกริ่งทีอ๋องนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปี พ.ศ.1349-1363 เครื่องทรงของพระกริ่งแสดงถึงลักษณะของนักบวชจีน อันเป็นลักษณะพิเศษทางด้านพุทธศิลปะของสกุลช่างซัวไซ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นแบบที่พาให้นึกย้อนหลังไปถึงสมัยน่ำปัก เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10

อย่างไรก็ตาม พระกริ่งทีอ๋องก็แสดงถึงลักษณะดั้งเดิมของจีน ผู้สร้างได้ถ่ายแบบมาจากพระพุทธรูปที่วัดหลงเมนยี่ ใกล้นครลกเอี๋ยง ลักษณะเจดีย์เก้าชั้นเป็นศิลปะในสมัยถัง หนังสือชื่อฮุดก่ากักจง กล่าวถึงในรัชกาลพระเจ้าถังเหี่ยงจง พ.ศ.1349-1363 ศิลปะพระพุทธรูปถือเจดีย์เป็นแบบอย่างที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ มีจารึกบอกอยู่ที่วัดฮุดกวงยี่ที่ซัวไซและที่หลงเมนยี่เมืองลกเอี๋ยง การสร้างพระพุทธรูปถือเจดีย์คงจะสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระบรมธาตุ เพราะในรัชกาลนี้สมณทูตจากอินเดียได้นำพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปถวายถึงกรุงเชียงอาน พระเจ้าถังเหี่ยงจงได้เสด็จออกต้อนรับ และฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุแล้วสร้างพระเจดีย์ใหญ่เก้าชั้นบรรจุไว้ และพระพุทธรูปที่สร้างเป็นลักษณะของรูปมนุษย์เริ่มมีขึ้นที่ซัวไซเป็นแห่งแรกในประเทศจีน พระกริ่งทีอ๋องก็คงถ่ายทอดแบบลักษณะการสร้างมาจากแห่งใดแห่งหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

พุทธลักษณะของพระกริ่งทีอ๋อง ผู้สร้างพยายามเน้นให้เห็นถึงการแสดงออกทางกายวิภาคและอารมณ์อันสงบต่อการบำเพ็ญสมาธิ พระพักตร์เหี่ยวย่น คางแหลม และมีปลายหางตาที่ชี้สูง บอกถึงลักษณะความยิ่งใหญ่และอำนาจที่เปล่งอยู่ภายใน พระหัตถ์ซ้ายถือเจดีย์ยอดเปลวเพลิง อันหมายถึงความรุ่งโรจน์และการตั้งมั่นในหลักธรรม ดอกบัวแปดกลีบที่เป็นบัลลังก์ประดับอยู่ที่ฐานสองชั้น ชั้นละแปดกลีบ หมายถึงมรรคแปด ถ้ารวมกันจะนับได้ 16 กลีบ หมายถึง จับหลักกวงมึ้ง ที่พระองค์ได้สร้างถึง 16 โลกธาตุ ดินแดนแห่งอมตะตามลัทธิศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน

พระกริ่งทีอ๋องนี้ ก็เป็นพระกริ่งนอกอีกองค์หนึ่งที่ไม่พบว่ามีการบรรจุเม็ดกริ่งเลย เช่นเดียวกับพระกริ่งหนองแส แต่ก็จัดอยู่ในชุดพระกริ่งนอกเช่นกันครับ สร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง แบบทองม้าฬ่อ หรือสีกุญแจจีน ผิวสีน้ำตาลอมแดง

พระกริ่งทีอ๋องนับว่าเป็นพระกริ่งนอกที่หายาก เนื่องจากอาจจะมีจำนวนไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดพระกริ่งนอกยอดนิยมครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งทีอ๋องมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98264607124858_5.jpg)
พระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระวัดบ้านกร่างเป็นพระกรุของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีความนิยมกันมาก ที่เรารู้จักกันดีและพูดถึงกันมากก็คือพระขุนแผน ซึ่งก็มีอยู่ทั้งพิมพ์อกเล็กและพิมพ์อกใหญ่ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นอีกมากมาย

วัดบ้านกร่างตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

พระวัดบ้านกร่างมีการพบเนื่องจากเจดีย์เก่าได้พังทลายลงมา จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าน่าจะพบพระเครื่องก่อนปี พ.ศ.2440 พระเครื่องที่พบเป็นเนื้อดินเผาและมีจำนวนมากมาย พระเณรและชาวบ้านได้ช่วยกันนำมา กองไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหารและในวิหาร สุมไว้เป็นพะเนินเทินทึก ในครั้งนั้นยังไม่มีใครสนใจ ต่อมามีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์ต่างๆ พระทั้งหมดก็หายไปอย่างรวดเร็ว

พระวัดบ้านกร่างมีพระอยู่แบบหนึ่งที่แปลกไปจากพระอื่นๆ โดยทั่วไปคือพระบ้านกร่างคู่หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าพระพลายคู่ ในสมัยก่อนนั้นคนจะนิยมแต่พระพิมพ์ขุนแผน และพระเดี่ยวซึ่งก็มีอยู่หลายพิมพ์มาก พระบ้านกร่างคู่นั้นไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร อาจจะเป็นเพราะการเลี่ยมห้อยคออาจจะทำยาก และไม่ค่อยสวย สนนราคาจึงถูกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คนที่ไม่ค่อยมีเงินเบี้ยน้อยหอยน้อยก็จะหาพระบ้านกร่างคู่ ที่ชำรุดตัดเอาให้เหลือองค์เดี่ยว หรือนำพระบ้านกร่างคู่มาตัดแบ่งกันแล้วเลี่ยมห้อยกันคนละองค์ ซึ่งเราจะพบเห็นพระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

พระบ้านกร่างคู่ มีอยู่มากมายหลายพิมพ์ บางพิมพ์ก็เหมือนกับพระพิมพ์พลายเดี่ยว แต่มีสององค์อยู่ติดกัน พระบ้านกร่างคู่เท่าที่มีการรวบรวมไว้มีอยู่หลายพิมพ์คือ พิมพ์หน้ายักษ์ พิมพ์หน้าเทวดาซุ้มเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดาซุ้มคู่ พิมพ์เศียรโต พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้าฤๅษี พิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์ 3 ขีด พิมพ์หน้ากลม พิมพ์อกครุฑ พิมพ์หน้ามงคล พิมพ์สองปาง เป็นต้น

พระบ้านกร่างคู่ เนื้อหาของพระก็เหมือนพระบ้านกร่างพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์ คือเป็นเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างหยาบ มีกรวดทรายปะปนในเนื้อพระ และที่เป็นเอกลักษณ์คือตามผิวของพระมักจะพบรอยที่นักนิยมสะสมพระมักจะเรียกว่ารอยว่านหลุด คือเป็นรอยหลุมเล็กๆ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายๆ กับมีชิ้นส่วนอะไรหลุดออกจากเนื้อพระ และมีเกือบจะทุกองค์

โดยเฉพาะด้านหลังพระจะพบบ่อย ด้านข้างของพระก็จะมีรอยตอกตัดทุกองค์ ในส่วนของพระบ้านกร่างคู่ที่ตัดเดี่ยว เราก็สังเกตได้จากรอยตัดของพระ ซึ่งจะมีร่องรอยการตัดที่ไม่เป็นรอยตอกตัดอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรอยที่มีการตัดหรือหักแบ่งในภายหลัง

พระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวในสมัยก่อนจะมีราคาถูกมาก ราคาแค่หลักร้อยหรือพันกว่าบาทเท่านั้น แต่ในปัจจุบันองค์สวยๆ มีราคาสูงมากพอสมควร บางองค์บางพิมพ์สูงถึงหลักหมื่นทีเดียวครับ ส่วนในเรื่องพุทธคุณนั้น เหมือนกับพระของกรุบ้านกร่างทุกพิมพ์ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวองค์สวยๆ มาให้ชมกันครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49617706901497_6.jpg)
พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลทางโซเชี่ยลมีเดียเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วกว้างขวาง มีผู้นิยมเสพและเผยแพร่ข้อมูลในด้านนี้ และทางด้านพระเครื่องนั้นก็หนีไม่พ้นจะมีการสื่อสารในรูปแบบนี้เช่นกัน ข้อดีก็มีอยู่มาก แต่ในทางกลับกันก็มีผลในทางลบด้วย ถ้าข้อมูลข่าวสารนั้นไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรแอบแฝงเพื่อการล่อลวงให้หลงเชื่อ

โดยปกติส่วนตัวผมเองก็ตกยุคไปแล้วสำหรับการสื่อสารสมัยใหม่ไม่ได้เข้าไปดู แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็มีเรื่องราวต่างๆ เข้ามามากมาย ทั้งคนรู้จักและเพื่อนฝูงสอบถามมาและให้เข้าไปดูบ้าง มีข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นต่างมากมาย ผมจึงเริ่มเข้าไปค้นดู ก็เป็นเช่นนั้นจริง มีทั้งในด้านที่ดีและในด้านลบ ขัดแย้งหรือโจมตีให้ร้ายกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา โลกนี้มีสองด้านทั้งด้านบวกและด้านลบเสมอ

มูลนั้นก็มีหลากหลาย เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้าง ซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นไม่ใช่เรื่องผิดมนุษย์ย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันเป็นธรรมดาก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือสิ่งที่เขาได้รับมาและศึกษามาแบบใด ก็ย่อมจะเข้าใจในแบบนั้น เรื่องของพระเครื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธา

ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลถ้ามีความบริสุทธิ์ใจก็ไม่มีปัญหา ความขัดแย้งก็ไม่น่าจะมีเกิดขึ้น เพราะต่างคนต่างเลือกที่จะเชื่อและศรัทธาตามที่ตนชอบ แต่ถ้ามีการจงใจให้ข้อมูลที่ผิดนั้น เพื่อการหาผลประโยชน์แอบแฝงก็น่ากลัวครับ โดยบางกรณีเท่าที่เห็นนั้นก็พอเข้าใจได้ว่าทำกันเป็นกลุ่ม มีผลประโยชน์แอบแฝง และมีการกล่าวโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดเจน

ในสมัยก่อนสังคมผู้นิยมพระเครื่องเรื่องการพิจารณาพระเครื่องก็มีแค่พระองค์นั้นๆ เป็นพระอะไร ที่ไหน รุ่นอะไร และพิจารณาว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอมเท่านั้น และมีการสร้างนิทานต่างๆ เพื่อให้พระที่ทำขึ้นมาเองโดยไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน (อุปโลกน์) เพื่อหลอกขายกัน ซึ่งก็เป็นของคู่กันในเรื่องแท้กับเก๊ เนื่องจากพระแท้ที่มีคนนิยมก็ย่อมมีผู้แสวงหาอยากได้ ก็ย่อมมีมูลค่าราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง คำตอบก็มีแค่แท้กับเก๊

ส่วนในสมัยปัจจุบันก็มีพระแท้กับพระเก๊และพระที่อุปโลกน์เช่นกัน แต่เรื่องการอุปโลกน์นั้นพัฒนาขึ้นให้ทันสมัยในโลกการสื่อสารสมัยใหม่ จับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เมื่อมีผู้สนใจเข้าไปเช่าหาแล้วมีการนำมาตรวจสอบในสนามพระหรือสังคมส่วนกลาง ก็ไม่เป็นที่ยอมรับหรือนำมาขายก็ขายไม่ได้ ก็มีผลย้อนกลับไปที่กลุ่มผู้ที่อุปโลกน์ จึงมีการโจมตีตอบโต้ต่างๆ ในส่วนของโซเชี่ยลมีเดีย มีการกล่าวว่าสังคมส่วนกลางนั้นเล่นหาพระเฉพาะของพวกเดียวกันเองเท่านั้น ของกลุ่มอื่นๆ ไม่ยอมรับ

ครับเรื่องนี้มีการพูดถึงบ่อยมาก เรื่องพระแท้หรือไม่แท้นั้นยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดๆ ที่เป็นทางการรับรอง เหมือนกับทองหรือเพชร แต่ก็มีมาตรฐานมูลค่าราคารองรับ เมื่อเป็นพระแท้ตามมาตรฐานสากลก็ย่อมนำไปตีเป็นมูลค่าได้

ในสังคมที่เขาเล่นหากันเป็นสากลของคนส่วนใหญ่ ไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งตัวเราอาจจะมีเหตุจำเป็นทางการเงินหรือลูกหลานมีความจำเป็นขึ้นมาก็สามารถนำไปออกตัวให้เช่าหาหรือพูดแบบชาวบ้านก็คือนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินกลับมาแก้ไขปัญหาได้

แต่ถ้าเป็นพระที่ไม่ตรงกับมาตรฐานที่เขาเล่นหาก็ไม่สามารถจะนำไปขายได้ก็ต้องทำใจนะครับ ไม่ใช่มาก่นด่าว่าให้ร้ายคนอื่นเขาหรือไม่ก็ควรนำไปขายกับกลุ่มที่เราซื้อหามาจึงจะถูกต้อง แล้วความจริงก็จะปรากฏรู้ได้เอง

เรื่องความเชื่อศรัทธาแบบใดนั้นไม่ใช่ความผิด สามารถเลือกตามที่เชื่อได้ แต่เมื่อมีปัญหามากระทบก็ไม่ควรไปกล่าวว่าร้ายบุคคลอื่น เพราะเราก็เลือกเชื่อเอง ไม่มีใครบังคับ ก็ควรยอมรับในเงื่อนไขนั้นๆ เท่าที่เห็นมาก็มีพระหลายๆ อย่างที่มีผู้นิยม มีมูลค่าสูงๆ มีการทำเผยแพร่แตกต่างกับสังคมส่วนใหญ่เยอะมาก เช่น พระสมเด็จฯ พระในชุดเบญจภาคี เป็นต้น ก็เลือกเชื่อเลือกศรัทธากันนะครับ

ความจริงหนีความจริงไม่พ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งก็เห็นได้เองครับ ทองคำก็ย่อมเป็นทองคำ จะกลายเป็นทองเหลืองไม่ได้ เพชรก็ย่อมเป็นเพชร ไม่กลับกลายไปเป็นแก้วได้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระแท้ก็แท้วันยังค่ำ และมีมูลค่าราคาตลอดไปครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานสากลมาให้ชมครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29580988403823_7.jpg)
พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก

การสร้าง "พระสมเด็จวัดระฆัง" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น กล่าวกันว่า เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีโอกาสอ่านศิลาจารึกหลักหนึ่งที่ว่าด้วย "กรรมวิธีการสร้างพระเครื่องด้วยเนื้อผงขาว" โดยมีเนื้อมวลสารหลักเป็นปูนขาวหรือปูนเปลือกหอยมาผสมผสานกับวัสดุมงคลอื่นๆ อีกมากมาย

ต่อมาในปี พ.ศ.2409 หลังจากได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระสมเด็จพุฒาจารย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ดำริสร้างพระเครื่องไว้แจกเป็นที่ระลึกแก่บรรดาชาวบ้านที่ทำบุญใส่บาตร หรือมาเยี่ยมเยือน จึงนำกรรมวิธีดังกล่าวมาสร้างเป็นพระเครื่อง โดยมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนักเป็นผู้แกะพิมพ์ถวายและปลุกเสกด้วย "พระคาถาชินบัญชร" อันลือเลื่องจึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นมาว่า "พระสมเด็จ" จำนวนการสร้างแต่ละครั้งนั้นไม่มากนัก เมื่อหมดก็สร้างใหม่ และได้สร้างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2415

ต่อมากลายเป็นพระเครื่องล้ำค่าสุดยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมพระเครื่องและพุทธศาสนิกชนทั่วหล้าจนถึง ปัจจุบัน ท่านตรียัมปวายยังได้ยกย่องให้เป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่องเหนือกว่าพระองค์อื่นใด และเหนือกว่าพระทุกองค์ใน "พระชุดเบญจภาคี" อีกด้วย

ในบรรดาพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระสมเด็จ"พิมพ์ทรงเจดีย์" ไม่ว่าจะเป็นวัดระฆังหรือบางขุนพรหม นับเป็นหนึ่งในสุดยอดที่นักสะสมและบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างพากันแสวงหา เนื่องจากพระนามองค์พระที่เป็นมงคลมีคำว่า "ดี" อยู่ด้วย และสัณฐานเป็นลักษณะของพระพุทธเจดีย์ทรงลังกา (ระฆังคว่ำ)

บางคนเข้าใจว่าท่านสร้างแต่พระสมเด็จเจดีย์ใหญ่ หากความจริงแล้วท่านได้สร้างทรงเจดีย์ขึ้นหลายพิมพ์ เซียนรุ่นใหญ่หลังๆ ท่านตรียัมปวายแบ่งแยกพิมพ์เฉพาะทรงเจดีย์ออกได้ถึง 5 แม่พิมพ์ด้วยกัน และนับรวมเข้ากับพิมพ์ต่างๆ โดยปรากฏทั้งในวัดระฆังและวัดบางขุนพรหม

สำหรับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หนึ่งในห้าพิมพ์นั้น มักจะปรากฏในวัดระฆังเป็นส่วนใหญ่และมีเอกลักษณ์พิเศษคือ มีขนาดย่อมกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อย เหมาะสำหรับห้อยบูชาติดตัว องค์ที่มีชื่อเสียงมีหลายองค์ องค์หนึ่ง ภรรยาคุณฉลี ยงสุนทร นักสะสมพระรังใหญ่ในอดีตคล้องบูชาติดตัวตลอด ตอนหลังเห็นคุณนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อาราธนาขึ้นคออยู่

นอกจากองค์พระมีขนาดย่อมกว่า พิมพ์เจดีย์อื่นที่ปรากฏทั้งหมด 5 พิมพ์แล้ว พระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์เล็ก ยังมีลักษณะพิเศษที่เป็นข้อสังเกตเบื้องต้น คือ มักมีความหนาใหญ่ เนื่องจากผสมมวลสาร อาทิ ปูนเปลือกหอย ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห บางองค์เห็นเมล็ดข้าวแห้งและชายจีวรลงอักขระเลขยันต์ด้วย, ลักษณะองค์พระด้านหน้าจะเอียงพระวรกายจนดูบิดน้อยๆ ส่วนปลายยอดพระเกศจะเรียวแหลมจรดซุ้มครอบแก้ว และจะเห็นรอยปูไต่ชัดเจน สำหรับแนวทางการพิจารณาจุดชี้ตำหนิต่างๆ ขององค์พระ มีดังนี้

- เส้นนูนขอบแม่พิมพ์ทั้ง 2 ด้าน จะลากจากส่วนบนสุดลงมาจรดฐานเส้นซุ้มเรือนแก้ว
- เส้นซุ้มเรือนแก้วเอียงไปทางด้านขวาขององค์พระ
- พระเกศยาวติดเส้นซุ้มเรือนแก้ว
- พระกรรณข้างขวาขององค์พระจะติดกับพระปราง
- ในองค์ที่ติดชัด ส่วนตั้งของพระพาหาทั้ง 2 ข้างสูงและช้อน ลึกมาก
- บั้นพระเอวผายออกเล็กน้อย
- พระเพลานูนสูงและหนากว่าทุกพิมพ์ องค์ที่ติดชัดจะปรากฏปลายพระบาททั้ง 2 วางซ้อนกันชัดเจน
- ฐานชั้นที่ 3 หนากว่าพิมพ์ที่ 2, 3 และ 4
- องค์พระหนากว่าทุกพิมพ์เกือบเท่าตัว
- ปรากฏเม็ดพระธาตุ

ส่วนด้านหลังนั้น จะปรากฏรอยตัดตอกมากกว่าทุกพิมพ์และส่วนมากสันจะหนากว่าพิมพ์ที่ 2, 3 และ 4 แผ่นหลังจะคล้ายกับหลังสังขยาของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

ประการสำคัญ ขณะนี้ที่เป็นข่าวลือลั่นสนั่นทุ่งไปทั่วเมือง เนื่องจากมีพระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์แท้ไม่มีหักไม่มีซ่อม หลุดออกมาจากรังคุณฉลี ยงสุนทร องค์หนึ่ง ผมได้พิจารณาและขอพรท่านแล้ว พบว่าพระองค์นี้ตรงตามพุทธลักษณะของพระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์เล็กทุกประการ สมบูรณ์ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ลักษณะสีผิวมีสีเหลืองนวลสลับกับคราบรักเก่าแลดูงามซึ้งตา

   พันธุ์แท้พระเครื่อง
   ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 กันยายน 2559 18:21:38
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79354840972357_1.jpg)
เหรียญพระศรีอริยเมตไตรย ปี 2467

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดลพบุรี มีประชาชนเคารพศรัทธามาก มีการจัดงานประเพณีนมัสการองค์พระปีละ 3 ครั้ง

พระศรีอริยเมตไตรย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "พระศรีอาริย์" นั้นเป็นพระรูปหล่อแบบพระพุทธรูปแต่ไม่มีเปลวรัศมี (ไม่มีพระเกศ) นั่งสมาธิแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย สวยงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดไลย์ ในทางประวัติศาสตร์มิได้มีการระบุไว้ว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง คงมีแต่ตำนานกล่าวถึงการสร้างของทางวัด เกี่ยวกับเรื่องของอภินิหารที่มีผู้วิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประชาชนโดยทั่วไปศรัทธาและไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการประจำปี โดยจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3

ครั้งที่ 2 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ครั้งนี้เป็นประเพณีใหญ่ เรียกว่างานแห่พระศรีอริยเมตไตรย จากวัดไลย์ไปถึงวัดท้องคุ้ง

ครั้งที่ 3 เริ่มงาน วันแรม 4-6 ค่ำ เดือน 11 แต่โบราณเป็นประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรยทางน้ำและได้ยกเลิกประเพณีแห่ทางน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 คงเพียงนมัสการภายในวัดเท่านั้น

งานประเพณีประจำปีแห่พระศรีอริยเมตไตรย ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ถือเป็นงานใหญ่ทางคณะกรรมการจัดงานและประชาชนจะอัญเชิญรูปหล่อพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นประดิษฐาน และจัดขบวนแห่ ด้วยให้ประชาชนที่มาร่วมขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ก็จะมีการสรงน้ำและปิดทอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าประชาชนทั้งหลายที่มาร่วมขบวนจะจัดประดับตกแต่งช้างม้าบรรดามีของตนอย่างสวยงามตามที่จะจัดได้แล้วนำมาร่วมขบวนแห่ นอกจากนี้ผู้ที่ไปร่วมขบวนก็มีศิลปิน นักแสดงต่างๆ เกาะกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมีทั้งเทิงบ้องกลองยาว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยและการเล่นต่างๆ ซึ่งแล้วแต่ผู้ใดจะถนัดการแสดงทางไหน ก็แสดงกันไปอย่างสนุกสนาน เป็นงานใหญ่ประจำปี ผู้คนต่างสนุกสนานครึกครื้นที่สุด ตั้งแต่เริ่มขบวนแห่และเมื่อขบวนแห่กลับมาถึงวัดไลย์ก็นำองค์พระศรีอริยเมตไตรยมาประดิษฐานที่ปะรำพิธี เพื่อเปิดงานนมัสการต่อไป

ปัจจุบันนี้พิธีแห่พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังกระทำเป็นประจำทุกปีและเป็นงานใหญ่ที่ประชาชนพยายามรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำสืบทอดกันต่อมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นงานสำคัญของจังหวัดลพบุรี

วัตถุมงคลของวัดไลย์ได้เริ่มสร้างมาในสมัยหลวงพ่อสุ่น พุทธสโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ (2451-2472) ได้จัดสร้างเหรียญรูปพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มานมัสการพระศรีอริยเมตไตรยและร่วมทำบุญที่วัดไลย์ เหรียญที่สร้างในครั้งแรกนั้น สร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมาด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธชินราช อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย มีสร้างสองเนื้อ คือเนื้อทองแดงกะไหล่ทองและเนื้ออะลูมิเนียม สร้างประมาณปี พ.ศ.2460 อีกรุ่นหนึ่งเป็นรูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย ด้านหลังเป็นยันต์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างระบุปี พ.ศ.2467 ทั้งสองรุ่นเป็นรุ่นนิยม เป็นเหรียญหายากที่สวยสมบูรณ์ราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญทั้งสองแบบมาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13892511154214_2.jpg)
พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม ซึ่งเป็นพิมพ์สุดท้ายของพระสมเด็จวัดระฆังฯ

ซึ่งตามที่ผมได้ศึกษามาจากผู้อาวุโสของสังคมพระเครื่องนั้น ท่านสอนว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีพระอยู่ 4 พิมพ์ คือพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์ทรงเจดีย์ พระพิมพ์ฐานแซม และพระพิมพ์เกศบัวตูม และพระพิมพ์เกศบัวตูมก็เป็นพระที่หายาก เนื่องจากจำนวนพระที่พบนั้นมีน้อยมาก

ในส่วนของแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้เฉพาะของวัดระฆังฯ ก็มีแม่พิมพ์อยู่เพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงพบพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูมมีจำนวนน้อยไปด้วยครับ

สำหรับจุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระพิมพ์เกศบัวตูมนั้น เราก็มาสังเกตดูเส้นขอบแม่พิมพ์ของพระพิมพ์เกศบัวตูมดู เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างทั้งสองด้านของพระพิมพ์นี้ จากด้านบนลงล่างจะเห็นว่าค่อนข้างจะสมดุล คือวิ่งจากด้านบนลงมาจรดหัวฐานซุ้มครอบแก้วพอดีทั้งสองด้าน

แต่ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่าเส้นขอบแม่พิมพ์ด้านขวามือเรานั้นจะค่อนข้างอยู่ชิดกับเส้นซุ้ม ครอบแก้วมากกว่านิดหน่อย จึงทำให้พื้นที่ชายขอบด้านนอกซุ้มครอบแก้วด้านขวามือเรามีพื้นที่น้อยกว่า

ด้านซ้ายมือเรา พระพิมพ์เกศบัวตูมเส้นซุ้มครอบแก้วจะอวบนูนหนา พระพิมพ์นี้พระเกศคือจุดเด่นที่ฐานพระเกศจะเห็นมุ่นมวยผมชัดเจนกว่าพระทุกพิมพ์ และที่ตัวพระเกศจะปล่องกลาง ลักษณะคล้ายดอกบัวตูมและไม่ยาวไปจรดซุ้มครอบแก้ว เป็นที่มาของชื่อที่เรียกพระพิมพ์นี้ครับ

พระพักตร์ค่อนข้างกลม ที่หน้าผากของพระคือจากเหนือหูของพระถ้าองค์พระที่ยังสมบูรณ์และติดแม่พิมพ์ดีๆ จะสังเกตได้ว่า หน้าผากจากลาดลงจากเหนือหูลงไปสู่ด้านบน ถ้าดูจากองค์จริงและดูด้านข้างจะเห็นได้ชัด

ใบหูของพิมพ์นี้จะเป็นแบบบายศรีและค่อนข้างชัดกว่าพระทุกพิมพ์ เนื่องจากพระพิมพ์เกศบัวตูมมีแม่พิมพ์ที่ลึกกว่าพระทุกพิมพ์ ปลายใบหูจะยาวจรดบ่า

พระพิมพ์นี้จะเห็นลำคอได้ค่อนข้างชัดเจน หัวไหล่และบ่าหนาทำให้เห็นได้ว่าเนื้อช่วงบ่ามาถึงซอกรักแร้จะมีเนื้อหนาทั้งสองด้านกว่าพระทุกพิมพ์ ลำแขนทั้งสองข้างอวบหนาแล้วค่อยๆ เรียวลงมาจนถึงมือที่ประสานกัน ลำพระองค์หรือลำตัวจะดูอวบล่ำสัน

ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นเส้นสังฆาฏิ และเส้นจีวรที่ห่มเฉียงที่วิ่งไปที่ใต้รักแร้ชัดเจน หน้าตักของพิมพ์เกศบัวตูมจะค่อนข้างหนา หัวเข่าด้านซ้ายขององค์พระหรือขวามือเรานั้นจะกลมมน

ส่วนหัวเข่าขวาของพระหรือด้านซ้ายมือเรานั้นจะงอนขึ้นเล็กน้อย พระพิมพ์นี้ถ้าในองค์ที่สมบูรณ์ๆ จะสังเกตเห็นพระบาทหรือเท้าของพระได้ชัดทั้งสองด้านโดยเฉพาะปลายเท้าซ้ายของพระจะยื่นห้อยลงมา

ในส่วนของฐานพระพิมพ์เกศบัวตูม ใต้ตักของพระจะมีเส้นแซมที่ชัดเจนและเส้นแซมนี้จะไม่ได้ตั้งขึ้นมาจากพื้นผนังแต่จะดูคล้ายกับว่ามีเนื้อฐานรองรับก่อนแล้วจึงเป็นเส้นแซม ฐานชั้นบนจะอวบหนาและปลายทั้งสองด้านงอนขึ้นน้อยๆ

เส้นแซมใต้ฐานชั้นบนก็เช่นกัน จะมีเนื้อฐานรองรับ ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นมีเส้นวิ่งขึ้นไปด้านบนเชื่อมกับฐานชั้นบน ฐานชั้นกลาง จะเป็นแบบฐานขาสิงห์ชัดเจน และความยาวของฐานชั้นกลางนี้จะไม่ยาวมาก เกือบจะยาวเท่าๆ กับฐานชั้นบน ซึ่งต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ ของวัดระฆังฯ ฐานชั้นล่าง จะเป็นแท่งทึบ ปลายตัดเฉียงลงและปลายฐานทั้งสองด้านจะไม่จรดซุ้มครอบแก้ว

ครับ ก็เป็นจุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม ซึ่งมีแม่พิมพ์อยู่แม่พิมพ์เดียว พระองค์ที่ผมนำมาลงให้ชมกันนี้เป็นพระที่สวยสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีรูปถ่ายในสังคมนี้ มีรายละเอียดแม่พิมพ์ครบถ้วน ผมจึงนำมาให้ชมประกอบครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22632404830720__3626_3617_3648_3604_3655_3592.jpg)
พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันต่อเรื่องของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ อีกแม่พิมพ์หนึ่ง แต่พื้นฐานการพิจารณาโดยรวมก็ยังคงเหมือนกับแม่พิมพ์อื่นๆ มีเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ทำให้เราสังเกตได้ว่า เป็นแม่พิมพ์คนละตัวกัน ตามที่ได้กล่าวมาในตอนต้นๆ นั้น ผมยังไม่ได้พูดถึงว่า พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ตามรายละเอียดของแม่พิมพ์นั้น ทุกแม่พิมพ์องค์พระจะมีหูทั้งสองข้าง เพียงแต่ส่วนมากเราไม่ค่อยได้สังเกตเห็น เนื่องจากมักไม่ค่อยติดแม่พิมพ์ และเป็นการแสดงรายละเอียดให้เห็นเพียงรางๆ นอกจากองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีๆ และติดชัดๆ เท่านั้น ถ้าเราดูจากองค์จริงจะสังเกตเห็นได้ ยิ่งการมองจากภาพถ่ายก็เห็นได้เป็นบางองค์เท่านั้น เพราะเป็นการมองภาพสองมิติ ภาพถ่ายไม่สามารถมองได้เป็นแบบสามมิติ

ครับเรามาดูแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์อีกแม่พิมพ์หนึ่ง ซึ่งผมขอเรียกว่า แม่พิมพ์เล็ก เนื่องจากขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กกว่าพระแม่พิมพ์อื่นทุกแม่พิมพ์ และพระพิมพ์นี้พบเห็นได้มากเป็นอันดับสองของ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ครับ จุดสังเกตที่พอจะสื่อได้โดยการเขียนและดูจากภาพถ่ายของพระแม่พิมพ์ ได้แก่
       1.เส้นขอบแม่พิมพ์ก็เหมือนกับแม่พิมพ์อื่นๆ คือขอบแม่พิมพ์ด้านข้างซ้ายขวา จะลากจากบนลงล่างมาจรดขอบของซุ้มครอบแก้วเช่นเดียวกับแม่พิมพ์อื่นๆ
       2.ตัวซุ้มครอบแก้วมักเอียงโย้ไปด้านซ้ายมือเรา ให้สังเกตดูตรงซุ้มครอบแก้วด้านบนขวามือเราจะโค้งโย้ไปทางด้านซ้ายมือเรา มากกว่าซุ้มด้านบนของซ้ายมือเรา จะตั้งชันมากกว่า
       3.พระเกศยาวไปจรดซุ้มครอบแก้ว และดูอวบอ้วนกว่าแม่พิมพ์ที่แล้ว จะสังเกตเห็นต่อมมุ่นมวยผมที่ฐานพระเกศในส่วนที่อยู่ต่อจากพระเศียรได้ ชัดเจนกว่า ตรงกลางพระเกศจะป่องกลางเสมอกันทั้งสองด้าน และค่อยๆ เรียวขึ้นไปจรดซุ้ม
       4.หูของพระจะติดแนบชิดกับแก้ม เป็นเนื้อนูนขึ้นมาเท่านั้น
       5.แขนทั้งสองข้างนูนสูงกว่าทุกแม่พิมพ์ ทำให้ในร่องซอกแขนจะลึกชอนลึกกว่าทุกแม่พิมพ์
       6.ลำพระองค์ (ลำตัว) จะไม่เป็นทรงตัววี V แต่มีเอวและผายออกเล็กน้อย
       7.เส้นสังฆาฏิ ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ ก็จะพอสังเกตได้
       8.หน้าตักของพระแม่พิมพ์นี้หนานูนสูงกว่าแม่พิมพ์ที่แล้ว จะลึกคมชัด ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีๆ และยังไม่สึกหรอ เห็นการซ้อนของขาและพระบาทชัดเจนมากจะเห็นพระบาท (เท้า) ชัดเจน
       9.ฐานทั้งสามชั้นจะหนาลึก ฐานชั้นบนเป็นลักษณะรูปเรือบดเช่นเดียวกัน ฐานชั้นกลางก็จะแสดงเป็นโต๊ะขาสิงห์ชัดเจน เนื่อง จากแม่พิมพ์นี้มีความลึกของแม่พิมพ์มาก

ครับแม่พิมพ์เล็กของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์พอที่จะสื่อได้ในรูปภาพและเขียนเป็นตัวหนังสือก็ประมาณนี้ ครับ ท่านลองสังเกตดูทุกๆ จุดกับรูปภาพ ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ดูตามทีละจุด ท่านก็พอจะเข้าใจได้ และลองเปรียบเทียบดูกับที่ผมได้พูดถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ตั้งแต่ต้น ท่านก็จะเข้าใจถึงตัวแม่พิมพ์ได้พอสมควรครับ วันต่อไปเราก็ค่อยมาคุยกันถึงแม่พิมพ์อื่นต่อไปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก องค์ที่สวยมาก ติดแม่พิมพ์ลึกชัดมาให้ชมครับ พระองค์นี้เคยมีการลงรักปิดทองมาเดิมและมาลอกรักออกเพื่อให้เห็นรายละเอียดของแม่พิมพ์ชัดเจนครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49445555110772__3626_3617_3648_3604_3655_3592.jpg)
ตามที่ผมบอกว่าแนวทางการจำแนกแม่พิมพ์ ซึ่งผมได้รับการถ่ายทอดมานั้น มีอยู่ 4 แม่พิมพ์ และเราต้องการทราบก่อนเป็นอย่างแรก เพื่อที่จะได้เข้าใจและสามารถรู้ได้ว่าพระองค์ที่เห็นนี้เป็นพิมพ์ทรงไหน พิมพ์ทรงถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นอันดับแรกของการพิจารณาว่าพระองค์นั้นแท้หรือไม่

ครับมาดูกันเรื่องแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่เรามักจะพบเห็นแม่พิมพ์นี้มากที่สุด แสดงว่ามีจำนวนมากกว่าพระแม่พิมพ์อื่นๆ ผมจะพูดถึงเฉพาะที่สามารถสื่อออกมาได้เป็นตัวหนังสือและสังเกตได้ในรูปภาพเท่านั้นนะครับ อีกอย่างหนึ่งคงจะไม่มีการขีดเส้น เพราะภาพอาจจะเล็กและทำให้มีปัญหาในการที่จะต้องเพ่งมองเพราะจะรกรุงรังไปหมด ลองอ่านทีละจุดและมองดูรูปภาพตามทีละจุดก็น่าจะพอเข้าใจได้นะครับ
       1.อันดับแรกเราดูเส้นขอบแม่พิมพ์ของแม่พิมพ์นี้กัน อย่างที่ได้บอกไว้ในฉบับที่แล้ว เราก็มาทบทวนกันตามไปด้วยนะครับ เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างจากบนลงล่างทั้งซ้ายและขวานั้น ลองสังเกตดูจะเห็นว่าวิ่งจากบนลงมาจรดขอบซุ้มครอบแก้วทั้งสองด้านเท่าๆ กัน ซึ่งไม่เหมือนกันกับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ที่เคยกล่าวมาแล้ว
       2.มาดูที่พระเกศขององค์พระ พระองค์ที่นำมาเป็นแบบองค์นี้แสงเงาของรูปอาจจะทำให้เห็นจุดที่เป็นมุ่นมวยผมได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ถ้าดูจากองค์จริงจะเห็นได้ชัดเจนว่า เหนือพระเศียรซึ่งเป็นฐานของพระเกศนั้นจะเป็นเนื้อนูนขึ้นมาเหมือนกับมวยผมแล้วจึงต่อเป็นตัวพระเกศที่เป็นเส้นตรงยาว
       3.ที่เส้นพระเกศที่เป็นเส้นตรงไปจรดซุ้มครอบแก้วนั้น ช่วงตรงกลางจะเห็นว่ามีรอยขยัก เป็นตุ่มป่องตรงกลางอยู่หนึ่งจุด และตรงจุดนี้เอง ให้สังเกตว่าตุ่มนี้จะโย้มาทางด้านขวามือเรา ส่วนด้านซ้ายมือเรานั้นจะไม่ค่อยป่องออกไป อันนี้เป็นจุดสังเกตของแม่พิมพ์นี้ครับ จะต้องมีเหมือนกันทุกองค์ครับ
       4.หัวไหล่ซ้ายขวา และซอกรักแร้นั้น จะมีเนื้อเท่ากันทั้งสองด้าน
       5. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้นั้น สำหรับพระองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และยังไม่มีการใช้สึกนัก จะเห็นว่ามีเส้นจีวร และเส้นสังฆาฏิ ซึ่งยกนูนและเป็นร่อง ส่วนเส้นจีวรจะพาดจากไหล่ลงมาและลากย้อนมาถึงใต้รักแร้ขวาขององค์พระ และตรงจุดนี้เองถึงพระในองค์ที่สึกจะไม่เห็นเส้นสังฆาฏิแล้วก็ตาม แต่ก็จะเห็นเส้นชายจีวรตรงบริเวณในส่วนของซอกรักแร้ เราจะเห็นเป็นเส้นแทงเข้าไปในซอกรักแร้ สังเกตดูให้ดีครับ เส้นชายจีวรในส่วนนี้ที่ยังต้องอยู่ก็เพราะอยู่ในส่วนที่ลึกลงไปในระดับต่ำกว่าเนื้อหน้าอกครับ ก็เป็นจุดสังเกตพระแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้ครับ
       6.ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และไม่สึก จะเห็นว่ามีรายละเอียดของการวางหน้าแข้งและเท้าขององค์พระชัดเจน ส่วนบางองค์อาจมีการใช้สึกไปบ้างก็จะไม่เห็นครับ
       7.ต่อมาเรามาดูที่ฐานของพระ ในฐานชั้นบนสุดนั้นเราจะเห็นว่าปลายของฐานด้านซ้ายมือเราจะเรียวแหลมและงอนขึ้นเล็กน้อย ส่วนปลายฐานด้านขวามือเรานั้นกลับจะเป็นรูปทรงมนๆ จึงมองดูคล้ายๆ กับรูปเรือบด ฐานชั้นนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์ทรงเจดีย์ทุกแม่พิมพ์ครับ
       8.ฐานชั้นกลางก็จะต้องเป็นฐานแบบฐานเขาสิงห์คือ ปลายฐานทั้งสองด้านจะมีเส้นต่อลงมาเป็นแบบโต๊ะขาสิงห์ เช่นเดียวกับพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ
       9.ฐานชั้นล่างเป็นแบบฐานหมอน ทึบตัน

ครับจุดสังเกตคร่าวๆ ที่เป็นหลักในการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้ครับ ซึ่งในจุดอื่นๆ ก็ยังมีอีกหลายจุดครับ แต่ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้ ในรูปที่มีขนาดเล็กขนาดนี้ได้ครับ ในวันต่อไปเราก็จะมาพูดคุยกันถึงพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์อื่นๆ ต่อไปครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ องค์สวยสมบูรณ์ และเป็นองค์ที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งมาให้ท่านชม เพื่อเป็นการศึกษาแม่พิมพ์ ท่านก็ลองสังเกตตามไปทีละจุดตามที่ผมได้แนะนำไว้นะครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52206568875246__3626_3617_3648_3604_3655_3592.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตัก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราก็มาคุยกันถึงแม่พิมพ์พระของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้หน้าตักกันต่ออีกหนึ่งแม่พิมพ์ครับ สำหรับแม่พิมพ์นี้ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนบางท่านอาจจะแยกออกเป็นพระพิมพ์เกศบัวตูมก็มี แต่หลักการสังเกตตำหนิแม่พิมพ์นั้นก็ยังคงเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่จัดอยู่ในหมวดพิมพ์ต่างกันเท่านั้นครับ ในส่วนที่ผมศึกษามานั้น ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนผมให้เหตุผลไว้น่าฟังและดูมีเหตุผลว่า ให้ผมลองนำไม้บรรทัดมาทาบดูตามหลักของหมวดพิมพ์ทรงเจดีย์ ก็เป็นตามหลักของพิมพ์ทรงเจดีย์ แล้วมาดูที่ฐานชั้นบนก็เป็นรูปเรือบดแบบเดียวกับพิมพ์ทรงเจดีย์เช่นกัน และมีอะไรหลายอย่างที่น่าจะเข้าหมวดกับพระพิมพ์ทรงเจดีย์ ผมจึงยึดตามหลักของกลุ่มที่จัดให้พระแม่พิมพ์นี้อยู่ในหมวดของพิมพ์ทรงเจดีย์ ในส่วนที่อีกกลุ่มจะจัดให้อยู่ในหมวดพิมพ์เกศบัวตูมก็ไม่ผิดนะครับ ก็แล้วแต่จะจัดกลุ่มเท่านั้น ในส่วนการพิจารณาแท้หรือไม่นั้นเหมือนกันทุกประการครับ

ครับ เรามาเข้าเรื่องแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้กันต่อดีกว่านะครับ พระแม่พิมพ์นี้ก็เป็นพระที่พบเห็นน้อยเช่นกันครับ น้อยกว่าทั้งสองแม่พิมพ์ที่ได้คุยกันไว้ในวันก่อนครับ เราลองมาดูกันว่ามีจุดสังเกตอะไรบ้างนะครับ
       1.ให้สังเกตเส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างทั้งซ้าย-ขวาเช่นเดิม เราจะเห็นได้ว่าเส้นทั้งสองเส้นนั้นวิ่งจากด้านบนลงมาจรดขอบซุ้มครอบแก้ว เหมือนกันกับทั้งสองแม่พิมพ์ที่พูดถึงไปแล้ว แต่ให้สังเกตตรงที่เมื่อเส้นขอบแม่พิมพ์วิ่งลงมาถึงตำแหน่งประมาณฐานชั้นบน นั้น เส้นขอบแม่พิมพ์จะเริ่มวิ่งมาเบียดชิดกับซุ้มครอบแก้ว และวิ่งต่อ ลงมาจรดกับขอบฐานซุ้มครอบแก้วทั้งสองข้างเหมือนกัน ซึ่งต่างจากทั้งสองแม่พิมพ์ขั้นต้นที่ผ่านมาแล้ว
        2.ให้สังเกตที่พระเกศ โดยเฉพาะที่ฐานพระเกศบริเวณที่ติดกับยอดพระเศียรนั้น เราจะเห็นมุ่นมวยผมชัดเจน เหมือนเป็นพวงมาลัยมาครอบพระเกศไว้ แม่พิมพ์นี้จะเห็นมุ่นมวยผมได้ชัดเจนกว่า พระแม่พิมพ์อื่นๆ ตัวพระเกศต่อขึ้นไปนั้นก็จะเห็นเป็นขยักป่อง ออกทั้งสองข้างเท่าๆ กัน เหมือนกับเกศเปลวเพลิงของพระพุทธรูป ซึ่งสันนิษฐานว่าช่างจงใจแกะแม่พิมพ์ให้เป็นแบบนั้น
        3.สำหรับพระแม่พิมพ์นี้ จะสังเกตเห็นหูทั้งสองข้างได้อย่างชัดเจน
        4.ไหล่ของพระจะเท่ากันทั้งสองด้าน ซึ่งต่างจากพระพิมพ์ใหญ่
        5.ท่อนแขนอวบหนา ส่วนด้านในของท่อนแขนนั้นจะชันตั้งฉากเป็นสัน
        6.หน้าตักในองค์ที่ติดชัดและไม่สึก จะเห็นรายละเอียดการซ้อนของขาทั้งสองข้าง และเห็นพระบาทชัดเจน
        7.ตรงใต้หน้าตักจะมีเส้นแซมปรากฏให้เห็นอยู่
        8.ฐานชั้นบน ปลายฐานด้านซ้ายมือเราจะเรียวเชิดขึ้น ส่วนปลายด้านขวามือเราจะมน โดยรวมคล้ายรูปเรือบดเช่นเดียวกับพระพิมพ์ทรงเจดีย์ทุกแม่พิมพ์
        9.ฐานชั้นกลาง ก็จะเป็นแบบฐานขาสิงห์ชัดเจน
      10.ฐานชั้นล่างสุด เป็นแบบฐานหมอนทึบตัน
      11.สำหรับพระแม่พิมพ์นี้ ฐานทั้งสามชั้นจะมีความกว้างกว่า ทุกแม่พิมพ์ของพิมพ์ทรงเจดีย์ครับ
ครับ นี่ก็เป็นแม่พิมพ์อีกแม่พิมพ์หนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ก็ยังเหลืออีกหนึ่งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แต่แม่พิมพ์นี้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยครับ ผมจึงนำมาไว้เป็นแม่พิมพ์ที่จะพูดถึงในอันดับสุดท้ายของพิมพ์ทรงเจดีย์ และเราจะมาคุยกันในวันถัดไปครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตักองค์สวยองค์หนึ่งมาให้ชมกัน และ เพื่อเป็นการศึกษาแม่พิมพ์ไปพร้อมๆ กันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61665091870559__3626_3617_3648_3604_3655_3592.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์กันต่อ ที่ยังเหลือตัวแม่พิมพ์อีกหนึ่งแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์นี้เรียกกันว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ เนื่องจากพระแม่พิมพ์นี้มีขนาดเขื่องกว่าทุกแม่พิมพ์ และหายากกว่าทุกแม่พิมพ์เช่นกันครับ จึงทำให้ไม่ได้พบเห็นกันเลย ขนาดรูปถ่ายตั้งแต่อดีตมานั้นก็มีเพียงแค่ 2 รูปเท่านั้น และเป็นรูปที่ถ่ายไว้นานมาแล้ว ส่วนผู้ที่ได้ครอบครองพระไว้ต่างก็หวงแหน และไม่ค่อยได้เปิดเผยหรืออนุญาตให้ถ่ายรูปเลย จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันอีกเลยแม้แต่รูปถ่าย

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ ว่ามีพุทธลักษณะและรายละเอียดอย่างไร ตามที่พอจะนำมากล่าวถึงได้จากรูปภาพนะครับ

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้ ก็จะมีหลักใหญ่ๆ เหมือนกับพระแม่พิมพ์อื่นๆ คือ
       1.เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย-ขวา ดูจากบนลงล่างก็จะเห็นว่า เส้นวิ่งจากด้านบนลงมาจรดซุ้มครอบแก้วที่หัวฐานซุ้มครอบแก้วเหมือนกันทั้งสองด้าน
       2.ถ้าเรานำไม้บรรทัดมาทาบจากยอดพระเกศลงมาจรดที่หัวฐานทั้งสามชั้นก็จะมีส่วนสัมผัส ลงมาตั้งแต่พระเศียร หัวไหล่และหัวเข่า
       3.พื้นผนังที่อยู่นอกกรอบซุ้มครอบแก้ว จะสูงกว่าพื้นผนังที่อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว
       4.พระเกศอวบหนาแต่จะไม่มีขยักช่วงกลาง
       5.พระพักตร์จะคล้ายๆ กับพระพิมพ์ใหญ่
       6.พระกรรณ (หู) จะอยู่แนบกับแก้มและอยู่ในระดับต่ำลงมาเล็กน้อย รูปของใบหูจะเป็นแบบบายศรี (ลักษณะแบบวงเล็บ)
       7.ซุ้มครอบแก้วหนาใหญ่
       8.ลำพระองค์จะอวบหนาและเป็นทรงกระบอก
       9.ซอกแขนจะลึกกว่าทุกแม่พิมพ์
     10.ท่อนแขนจะหนาเกือบเท่ากันตลอดวงแขน
     11.หน้าตักจะค่อนข้างตรง
     12.ใต้ตักทางด้านขวามือเราจะมีเส้นเชื่อมกับฐานชั้นบน
     13.ปลายฐานชั้นบนด้านซ้ายมือเราจะเรียวและเชิดขึ้นคล้ายหัวเรือ
     14.ปลายฐานชั้นบนด้านขวามือเราจะมน
     15.ฐานชั้นกลางเป็นแบบฐานขาสิงห์
     16.ฐานชั้นล่างเป็นแบบฐานหมอน

สำหรับแม่พิมพ์นี้ก็มีจุดสังเกตคร่าวๆ ตามนี้ครับ แต่พระแม่พิมพ์นี้นั้นหายากมากๆ แค่รูปก็แทบไม่ได้เห็นกันเลย ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีเพียงแค่สองรูปเท่านั้น พระองค์นี้เป็นหนึ่งในสององค์ที่มีรูปปรากฏอยู่ครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 กันยายน 2559 15:41:05
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72604601043793_1.jpg)
พระกริ่ง รุ่นก้นหนุมานของหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี พระของท่านนั้นเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักและยังพอเช่าหาได้ไม่ยาก

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยันรักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือหนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิมที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดจึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์ อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้นจนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ออกหนังแต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนเป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนักดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งท่านได้ถูกนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพ ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52 ในวันนี้ผมได้นำพระกริ่ง รุ่นก้นหนุมานของหลวงพ่อแฉ่งมาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89682297656933_2.jpg)
เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของสุพรรณฯ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ที่ประชาชนและชาวสุพรรณฯ เคารพและศรัทธามาก มีประชาชนมาสักการะเป็นจำนวนมากประจำทุกวัน

วัดป่าเลไลยก์และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ผู้ใดเป็นผู้สร้างไว้แต่แรกเริ่มนั้นไม่มีประวัติบันทึกไว้ในเชิงประวัติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงสันนิษฐานไว้อย่างน่าฟังว่า

"เดิมน่าจะเป็นวัดพุทธาวาสไม่มีพระสงฆ์ประจำคงมีแต่พระพุทธรูปประจำอยู่ในคฤหะอย่างมณฑป มีหลังคาคลุมเฉพาะองค์พระนับเป็นมหาเจดีย์สถานสำคัญเป็นสักการบูชาของพุทธบริษัท เช่นเดียวกับเจดีย์ทั้งหลายในสมัยโบราณ พระพุทธรูปเดิมที่ประดิษฐานไว้ในคฤหะนี้ เป็นปางปฐมเทศนา มีฝาผนังล้อมองค์พระพุทธรูป 3 ด้าน ต่อมาภายหลังได้ก่อสร้างขึ้นด้วยอิฐปูนให้โตใหญ่กว่าองค์เดิม ครั้นพระกรเบื้องขวา ที่ยกแสดงปางปฐมเทศนาชำรุดหักพัง นายช่างผู้บูรณะเลือนความจำได้แปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ประทับนั่งห้อยพระบาท ต่อมามีพุทธบริษัทไปนมัสการมากยิ่งขึ้นจึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา เป็นวัดสังฆารามในบริเวณวัดป่าฯ นี้ เดิมไม่มีอุโบสถ พัทธสีมา"

สรุปตามคำสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หลวงพ่อวัดป่าฯ เดิมเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ละม้ายเหมือนองค์หลังพระปฐมเจดีย์ และอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดยุคสมัย เช่น สมัยขุนหลวงพ่องั่วครองเมืองสุพรรณ สมัยอยุธยา พระยาสีหราชเดโชไชยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารวัดป่าฯ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเสด็จธุดงค์ประพาสจังหวัดสุพรรณบุรี ทรงพบพระป่าเลไลยก์รกร้างไม่มีพระสงฆ์ปกครอง นมัสการหลวงพ่อโตทรงเลื่อมใสมาก ได้อธิษฐานไว้ว่าถ้าได้ขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ สร้างหลังคาและฝาโดยรอบถวาย ที่หน้าบันยังมีตรามงกุฎประทับอยู่ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปนมัสการหลวงพ่อโตและทรงแจกเหรียญเสมาที่หน้าวิหารใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสจังหวัด สุพรรณฯ ได้ทรงนมัสการหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นผลให้วัดป่าฯ เจริญขึ้นอีก โดยได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดป่าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462

ในปีพ.ศ.2462 นี้เองวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงยกฐานะวัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในการนี้ได้จัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองหลวงพ่อโตเป็นการมโหฬารและได้ออกเหรียญรูปหลวงพ่อโต โดยหลวงพ่อสอนอดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ครองวัดป่าเลไลยก์เป็นผู้ปลุกเสกเหรียญนี้ หลวงพ่อสอนเป็นพระสงฆ์ที่ชาวจังหวัดสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกมาให้ชมกันด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66966270365648_3.jpg)
พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด
ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ อ้วน) วัดบรมนิวาส


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถร อ้วน วัดบรมนิวาส ท่านเป็นพระเถระที่มีประชาชนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี และเหรียญรุ่นแรกของท่านก็นับว่าหายากและเป็นที่นิยมกันมากเช่นกัน

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน เกิดที่บ้านแคน ต.ดอนมดแดง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อ เพี้ย เมืองกลาง (เคน) โยมมารดาชื่อ บุดสี ตอนอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ ต.สว่าง อ.วาริน ชำราบ จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาที่สำนักวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2430 จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีทอง โดยมีพระเทวธัมมีเถระ (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นอุทเทสาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้พำนักอยู่ที่วัดศรีทอง พอปี พ.ศ.2434 จึงได้เข้ามาศึกษาต่อในกทม. อยู่ที่วัดพิชยญาติ การาม

ต่อมาปี พ.ศ.2438 จึงย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ปี พ.ศ.2442 ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่จ.อุบลราชธานี เป็นครูสอนบาลี และรับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน พ.ศ.2446 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2447 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระศาสนดิลก พ.ศ.2454 ได้รับพระราชทานพัดยศพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นราช พ.ศ.2455 เป็นที่พระราชมุนี พ.ศ.2464 เป็นที่พระเทพเมธี พ.ศ.2468 เป็นที่พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2470 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จ.นครราช สีมา พ.ศ.2472 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี และในปี พ.ศ.2475 ก็ได้ย้ายมาครองวัดบรมนิวาส ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พ.ศ.2485 เป็น เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ท่านมรณภาพใน วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2499 ณ หอธรรมวิจารย์ วัดบรมนิวาส สิริอายุได้ 89 ปี พรรษา ที่ 68

คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2477 และยังมีการสร้างพระอีกหลายรุ่น ในปี พ.ศ.2482 คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านเพื่อสร้างพระปรกใบมะขามขึ้น เท่าที่ทราบมีทั้งเนื้อชินตะกั่วกับพระเนื้อเมฆพัด พระปรกใบมะขามของท่านนับว่าหายาก เนื่องจากสร้างจำนวนไม่มากนัก ยิ่งเนื้อเมฆพัดยิ่งหายากมาก ในวันนี้ผมได้นำพระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัดของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ อ้วน) วัดบรมนิวาส มาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33730345302157_4.jpg)
พระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจก
และพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ซุ้มครอบแก้ว


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จของพระพุฒาจารย์ (ทัด) ที่เราๆ ท่านๆ มักเรียกกันว่า พระสมเด็จปิลันทน์ เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลานเผา เนื้อจะออกเป็นสีเทาอมดำ ซึ่งถ้าเราจะหาพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต) ท่านสร้างไว้นั้น อาจจะยังหาไม่ได้หรือมูลค่าสูงเกินเอื้อม ผมแนะนำให้หาพระสมเด็จปิลันทน์มาบูชาแทน เนื่องจากบางพิมพ์มูลค่ายังไม่สูงนักครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของหม่อมเจ้าพระพยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระกรรมวาจาจารย์ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรม กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงจนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่พระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่องนับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา  และะได้ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องชนิดนี้คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักพระเครื่องทั่วๆ ไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสิ้นแล้วท่านจึงบรรจุ พระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

การเปิดกรุพระเจดีย์กรุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ.2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อยกรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่ บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการได้ขอร้องมา

พระเครื่องของกรุนี้มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจกและพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ซุ้มครอบแก้วมาให้ชมกันครับ พระทั้งสองพิมพ์สนนราคายังไม่สูงมากนักครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86255390155646_5.jpg)
พระสมเด็จวัดวิเวกวนาราม

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อผงที่น่าสนใจและน่าบูชามาก อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ คือพระชุดวัดวิเวกวนารามครับ พระชุดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร น่าสนใจอย่างไร เรามาร่วมศึกษากันนะครับ

พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้วพร้อมด้วยบุตร คือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมากไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่

ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ นั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียง ก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตล่ะก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถและพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"

หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระศาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถ เพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชาย คือนายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ ด้วยในปี พ.ศ.2511

หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่าผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวกต้องมาทางเรือเท่านั้น

เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหว จึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟัน มาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านเพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน

พอถึงปลายๆ ปี พ.ศ.2512 นายแพทย์ สุพจน์ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์

เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้วได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นแบบพระสมเด็จฯก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั๊มหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ

นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปี พ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก

พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุดจากกรุอยุธยา ชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างอุโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธรขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสม ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง

จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวกวนารามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้จะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดวิเวกฯ มาให้ชมกันด้วยครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44416421486271_6.jpg)
พระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดซึ่งพบพระเครื่องแบบพระสมเด็จ และมีประวัติว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ และเชื่อกันว่าพระสมเด็จที่พบนั้นเป็นพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้สร้างบรรจุไว้และมักจะเรียกกันว่า "พระสมเด็จเกษไชโย"

ทำไมผมจึงเขียนพระสมเด็จเกษไชโย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เขาเขียนคำว่าเกศโดยใช้ ศ.ศาลาสะกด ต้องมีเหตุผลครับ เพราะถ้าท่านได้ไปที่วัดไชโยวรวิหาร แล้วดูที่ป้ายหน้าวัด เขาเขียนว่า "วัดไชโยวรวิหาร" บรรทัดต่อมาจะเขียนว่า "(วัดเกษไชโย)" ดังนั้นก็ควรที่จะเขียนโดยใช้ ษ.ฤๅษีสะกดนะครับ ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำก็มีวัดสระเกษ วัดหลวงพ่อโต๊ะ บ้านสระเกษ ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย ใช้ตัวอักษรตัว ษ.ฤๅษีทั้งสิ้นครับ

วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้ขึ้นไปสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูน แบบปูนปั้น สีขาว มิได้ปิดทองแต่อย่างใด ตั้งไว้กลางแจ้ง และมีขนาดใหญ่มาก เล่าสืบต่อกันมาว่ามีการสร้างถึง 2 ครั้งเนื่องจากองค์พระถูกฟ้าผ่าเสียหายมาครั้งหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงขึ้นไปสร้างไว้ใหม่อีกครั้ง

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นในปี พ.ศ.2430 และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) สมุหนายก เป็นแม่กองงานปฏิสังขรณ์ทั้งหมด มีการสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ได้กระทุ้งรากฐาน ทำให้กระเทือนถึงองค์พระพุทธรูปจนพังทลายลงมา หลังจากนั้นจึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ช่างปั้นฝีพระหัตถ์เยี่ยมในสมัยนั้น ช่วยสร้างขึ้นใหม่ และพระราชทานพระนามพระพุทธรูปองค์ใหม่ว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" และสถาปนาวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดไชโยวรวิหาร" ภายในพระอุโบสถของวัดไชโยฯ มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระพุทธประวัติฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5

ว่ากันว่าครั้งเมื่อมีการกระทุ้งฐานรากพระวิหารและพระพุทธรูปองค์ใหญ่พังทลายลงมานั้น พบพระเครื่องเนื้อผงคือพระสมเด็จวัดเกษไชโย บรรจุอยู่ในองค์พระ ก็มีผู้เก็บไปสักการบูชากันมาก ต่อมาทางการจึงขอให้นำพระมาคืนเพื่อบรรจุกลับไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์องค์ใหม่ แต่ก็คงนำกลับมาได้ไม่ครบ จึงมีเหลือให้เราเห็นอยู่ ในสังคมพระเครื่องในปัจจุบัน พิมพ์นิยมของวัดเกษไชโยมีอยู่ 3 พิมพ์คือ พิมพ์ 7 ชั้นนิยม พิมพ์ 6 ชั้นอกตัน พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกมาก พระสมเด็จเกษไชโยนั้นมีการพบเมื่อครั้งเปิดกรุวัดบางขุนพรหมด้วย ปะปนขึ้นมาแต่ไม่มากนัก ไม่มีการบันทึกว่าพบกี่องค์

จึงสันนิษฐานได้ว่าพระสมเด็จวัดเกษไชโยนั้น สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยมมาให้ชมกันด้วยครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86233118673165_7.jpg)
พระท่ามะปรางค์ทั้งของวัดท่าพระปรางค์และของวัดสะตือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าผมพูดว่า "วัดท่าพระปรางค์" หลายๆ ท่านก็คงจะคิดว่าผมกล่าวผิดไปแล้ว แต่ถ้าพูดว่า "วัดท่ามะปราง" ก็คงจะทราบกันดี เพราะปัจจุบันนั้นเรียกกันตามนี้ วัดแห่งนี้มีกรุพระเครื่องที่โด่งดังมากในอดีต คือพระท่ามะปรางค์ และได้รับขนานนามว่า "เงี้ยวทิ้งปืน"

วัดนี้ตั้งอยู่ทางท้ายตลาดด้านใต้ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ที่เรียกว่า "วัดท่าพระปรางค์" เนื่องจากตั้งอยู่ริมน้ำและมีพระปรางค์เป็นหลัก ต่อๆ มาชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น "วัดท่ามะปราง" เข้าใจว่าเป็นวัดหลวงสมัยพระมหาธรรมราชาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งครองเมืองพิษณุโลก และต่อมาคงได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพราะหลักฐานของวัดคือพระปรางค์ ซึ่งปูชนียสถานแบบนี้ นิยมสร้างกันในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พระเครื่องของวัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากคือพระที่มีชื่อว่า "พระท่า พระปรางค์" หรือที่เรียกเพี้ยนไปว่า "พระท่ามะปราง" เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาละเอียด และพระเนื้อชินประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวเล็บช้าง รูปทรงของพระเป็นแบบสามเหลี่ยม

คุณวิเศษของพระท่ามะปรางค์ (ขออนุรักษ์ใช้ ค ควาย การันต์ เพื่อให้ยังคงอยู่ของคำว่าพระปรางค์) ได้ปรากฏโด่งดังมากในสมัยที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังทหารไปปราบพวกเงี้ยวที่รุกรานทางชายแดนภาคเหนือ ตามพระราชโองการของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่าได้มีการแจกพระท่ามะปรางค์แก่เหล่าทหาร เมื่อยกกองทัพมาถึงพิษณุโลก เพราะเป็นช่วงระยะที่เปิดกรุพอดีและคุณวิเศษของพระท่ามะปรางค์ได้เป็นผลทางมหาอุดและคงกระพันชาตรีอย่างสูง พวกเงี้ยวไม่สามารถจะใช้ปืนยิงทำอันตรายต่อทหารไทยได้ และได้พากันพ่ายแพ้แตกหนีไปสิ้น ด้วยเหตุนี้พระท่ามะปรางค์จึงได้รับการถวายพระเกียรตินามอีกชื่อหนึ่งว่า "เงี้ยวทิ้งปืน" นับแต่คราวนั้นเป็นต้นมา

พระเครื่องท่ามะปรางค์มีการพบที่วัดอีกหลายแห่งในเมืองพิษณุโลก เช่น ที่วัดสะตือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเจดีย์ยอดทอง และวัดอรัญญิก เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังพบในจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัด เช่น สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร และสุพรรณบุรี เป็นต้น พระที่พบในจังหวัดอื่นก็ล้วนมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับของวัดท่าพระปรางค์ทั้งสิ้น แต่ต่างแม่พิมพ์กันเท่านั้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ในสมัยสุโขทัย พระพุทธลักษณะแบบนี้คงเป็นที่นิยมกันมาก และคงจะเป็นพุทธรูปจำลองของพระพุทธปฏิมาที่สำคัญเป็นแน่ จึงสร้างกันแพร่หลาย และเท่าที่ปรากฏในด้านคุณวิเศษก็ปรากฏว่ามีพุทธคุณเด่นเช่นเดียวกันทุกกรุ และนิยมทุกกรุครับ

พระกรุวัดท่าพระปรางค์ ถือเป็นต้นแบบที่ถูกขุดพบเป็นครั้งแรกและมีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมาเมื่อถูกพบที่กรุอื่นๆ จึงเรียกชื่อตามกันมาว่า พระท่ามะปรางค์ และลงท้ายด้วยชื่อกรุ เพื่อให้รู้ว่าเป็นพระของกรุใด จังหวัดไหน ในส่วนของพระมะปรางค์ของกรุปฐมนี้ปัจจุบันหาชมยากมาก เนื่องจากอาจจะถูกเก็บเงียบกันหมด ไม่ยอมออกมาหมุนเวียน ต่อมามีการแตกกรุอีกที่วัดสะตือ และพบเป็นพระเนื้อดินเผาเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

ในส่วนของพิมพ์พระท่ามะปรางค์ทั้งสองวัดจะแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดก็คือการวางมือขวาขององค์พระ ถ้าเป็นของกรุวัดท่าพระปรางค์จะเป็นแบบเข่าใน คือการวางมือขวาไว้ที่หัวเข่าพอดี จึงมักเรียกกันว่าเข่าใน ส่วนพระของวัดสะตือจะวางมือขวาไว้ที่หน้าตัก (ด้านในของเข่า) และเห็นหัวเข่าขวาโผล่ออกมา จึงมักเรียกกันว่าเข่านอก

ครับวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ามะปรางค์ทั้งของวัดท่าพระปรางค์และของวัดสะตือ เนื้อดินเผาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 กันยายน 2559 15:33:25
(http://www.pralanna.com/img/ip/picture6942.jpg)


สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุของจังหวัดสุพรรณบุรี มีมากมายหลายกรุ มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน สำหรับพระเครื่องปางลีลาของสุพรรณฯ ก็มีอยู่หลากหลาย ที่โด่งดังและรู้จักกันมากก็คือพระลีลากำแพงศอก ซึ่งมีขนาดใหญ่เหมาะที่จะบูชาไว้ที่บ้าน นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องปางลีลาอีกหลายกรุและหลายขนาดเช่นกัน

ในบรรดาพระเครื่องเนื้อชินปางลีลาของกรุสุพรรณฯ ที่ผมชื่นชอบพิมพ์หนึ่งก็คือ พระลีลาละเวง ชื่อนี้หลายๆ ท่านอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง พระลีลาละเวงเป็นพระที่พบอยู่ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่จำนวนที่พบมีน้อย จึงไม่ค่อยได้มีการพบกันมากนัก ขนาดของพระก็ไม่ใหญ่นักเรียกว่าเลี่ยมห้อยคอสบายๆ ขนาดใกล้เคียงกับพระกำแพงเชยคางข้างเม็ดของกำแพง เพชร ส่วนศิลปะขององค์พระก็งดงามมาก อ่อนช้อยสวยงาม

คำว่า "ละเวง" นั้นได้มาจากตัวเอกในละครเรื่องอิเหนา ซึ่งมีลีลาการร่ายรำอ่อนช้อยงดงาม ศิลปะขององค์พระลีลาละเวงนั้นอ่อนช้อยงดงามพลิ้วไหว อากัปกิริยาการเยื้องกรายพระดำเนินไปข้างหน้า ความอ่อนไหวขององค์พระปฏิมากรคล้ายทรงตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว "S" หรือมีลักษณะคล้ายลวดลายกระหนกเปลวไฟ บั้นเอว อ่อนช้อยโย้ไปข้างหน้า ช่วงล่างตั้งแต่บั้นเอวลงไปโค้งอ่อนเปรียบประดุจดอกไม้ไหว แขนขวาปล่อยลงอ่อนช้อยคล้ายงวงช้าง ประทับยืนอยู่บนฐานดอกบัวบาน และอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว

พระที่พบมีแต่เนื้อชินเงิน ขนาดจะย่อมกว่าพระปางลีลาชนิดอื่นๆ ของสุพรรณฯ แต่เนื่องจากพบจำนวนน้อย ปัจจุบันหาชมยาก มีการพบพระลีลาละเวงอีกครั้งที่กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา แต่ก็พบน้อยเช่นกัน พระทั้ง 2 กรุผิวพรรณจะต่างกัน ที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณฯ ผิวจะออกเทาเข้มอมดำ ส่วนที่พบในกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ผิวจะมีปรอทจับบริเวณผิวพระ

พระลีลาละเวง สุพรรณบุรี เป็นพระที่มีพุทธศิลปะงดงาม มีขนาดเล็ก และพบน้อย ปัจจุบันหายาก ในสมัยก่อนชาวสุพรรณมักหวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาละเวงของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี มาให้ชมกันด้วยครับ

      ชมรมพระเครื่อง
      แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45889049975408_view_resizing_images_1_.jpg)
พระกริ่งดีดน้ำมนต์ หลวงพ่อเงิน

นอกจากอดีตพระเกจิชื่อดัง "หลวงพ่อเงิน" วัดบางคลาน จ.พิจิตรผู้เป็น ที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศสืบมาถึงปัจจุบันแล้ว ยังมีพระเกจินาม "หลวงพ่อเงิน" อีกหนึ่งรูป ที่เป็นพระเกจิผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทรงเกียรติคุณสูงส่งต่อบวรพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนเช่นกัน ท่านคือ "หลวงพ่อเงิน วัดดอน ยายหอม" พระเกจิชื่อดังแห่งนครปฐม

พระราชธรรมาภรณ์ หรือ หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ เป็นชาวนครปฐม โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2433 ที่บ้านดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม ในครอบครัวเกษตรกรรมที่มีฐานะครอบครัวหนึ่ง บิดา-มารดาชื่อ นายพรหม-นางกรอง ด้วงพูลเกิด

เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดดอนยายหอม โดยมี พระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสุวัณโณ"

ท่านมีความมุ่งมั่นและอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียน สามารถท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนาน และท่องปาฏิโมกข์ได้จบตั้งแต่พรรษาแรก ท่านบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตามที่โยมพ่อพรหมแนะนำ เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็ม จนพรรษาที่ 5 จึงเริ่มออกธุดงค์มุ่งสู่ภาคเหนือ ผ่านป่าสระบุรี ลพบุรี ไปถึงนครสวรรค์ ซึ่งสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน เมื่อกลับมาปักกลดอยู่ข้างบ้านดอนยายหอม ชาวบ้านที่เดินผ่านไปผ่านมาแทบจำไม่ได้ ด้วยผิวกายดำกร้านและร่างกายซูบผอม

ต่อมากลับมาจำพรรษาที่วัดดอนยายหอม ท่านมักเทศนาสอนลูกศิษย์และญาติโยมเสมอว่า "ชีวิตมนุษย์ของเรานั้นไม่แน่นอน ร่างกายมนุษย์ สังขารนั้นไม่ยั่งยืน ทุกอย่างล้วนอยู่ในวัฏสงสาร และจงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีสุขก็รู้จักพอ"

ต่อมาในปี พ.ศ.2466 พระปลัดฮวยถึงแก่มรณภาพ หลวงพ่อเงินจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมสืบแทน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2466 ถึงแม้จะมีวัยวุฒิเพียง 33 ปี

หลวงพ่อเงินได้สร้างคุณานุคุณต่อบวรพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนมาโดยตลอดโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย นอกจากการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วยังสร้างถาวรวัตถุต่างๆ มากมาย อาทิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ สถานีอนามัย โรงเรียนสหศึกษาบาลี ตึกเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาล เป็นต้น ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชธรรมาภรณ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2504 ยังความปลาบปลื้ม สู่ญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหายิ่งนัก

มรณภาพเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2520 สิริอายุ 86 พรรษา 66

วัตถุมงคลที่ท่านสร้าง มีทั้งพระบูชา รูปหล่อ พระเครื่อง พระกริ่ง และเหรียญ ทุกรุ่นล้วนสร้างเพื่อหาปัจจัยบูรณะและสร้างเสริมศาสนวัตถุภายในวัด รวมทั้งพัฒนาสาธารณูปการแก่ชุมชนในพื้นที่และใกล้เคียงทั้งสิ้น ซึ่งผู้บูชาต่างเกิดประสบการณ์ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด จึงกลายเป็นที่นิยมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ค่านิยมยิ่งสูงขึ้นตามกาลเวลา โดยเฉพาะ "เหรียญรุ่นแรก"

สำหรับ "พระกริ่งดีดน้ำมนต์" ก็เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลยอดนิยมของท่านเป็นที่แสวงหาอย่างสูง แต่หายากยิ่ง เนื่องจากจำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์

พระกริ่งดีดน้ำมนต์ หรือพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2505 เพื่อหาปัจจัยสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดดอนยายหอม

ลักษณะเป็นพระกริ่งลอยองค์แบบ "หล่อโบราณ" พระประธานประทับนั่งขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกไว้ที่พระอุระ ลักษณะคล้าย "ดีดนิ้วพระหัตถ์" พระหัตถ์ซ้ายวางแบราบกับพระเพลา มีบาตรน้ำมนต์วางอยู่ พระพักตร์กลมมน พระเกศแหลมและพระศกเป็นเม็ดเล็กๆ ลึกและชัดเจน ด้านหลังบริเวณพระวรกายไปจนถึงฐาน ลักษณะเป็นร่องลึกลงไปในองค์พระ คือ "ยันต์นะทรหด" ล้อมด้วย "ยันต์ 4 ตัว : อุ พุท โธ ยะ"

ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อ และล่างสุดเป็น "ยันต์ นะ" ครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     โดย ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31604841434293_99_2_696x441_1_.jpg)

พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515
พระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ปัจจุบันเจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยอัญเชิญ “พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นานท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า “นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนามสืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า …พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดีไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “พระนิรันตราย” และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นกัน

เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดฯ ให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร,วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์ ในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน “พระนิรันตราย องค์จริง” ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

“พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ และเหรียญ

เพื่อความสะดวกแก่การพกพาติดตัวให้เกิดความสิริมงคลสืบมาครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     โดย ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 ตุลาคม 2559 12:23:57

(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhxEfFAwvFZ22bTf0FczWB6229LcIequtooPhzq.jpg)
นางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

นักเลงพระเนื้อดิน ถ้าเริ่มต้นจากพระสมัยอยุธยา หลวงพ่อโต นางวัดโพธิ์ วัดบ้านกร่าง วัดตะไกร...เส้นสายลายพิมพ์ ผิวเนื้อพระ เม็ดแร่ ฯลฯ แม้ไม่เหมือน ก็ใกล้เคียง พระนางพญา พิษณุโลก เพราะยุคสมัยใกล้กัน

พระนางพญา เนื้อสีแดง องค์ในคอลัมน์วันนี้ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกเส้นสายลายพิมพ์ ทุกตำหนิ คมชัด เห็นเค้าจมูกปากตา สวยระดับน้องๆนางสังฆาฏิองค์แชมป์ศรีนคร ของคุณสมชาย มาลาเจริญ

ด้านหลังริ้วลายมือนูนเด่นจากคราบราดำ เม็ดแร่โผล่พองาม ถือเป็นเนื้อมาตรฐานและต้องยกให้เป็นพระกรุใต้

กรุใต้ คือพระที่ขุดพบที่ลานวัดนางพญา ส่วนกรุเหนือ กรุตาปาน พบอีกฝั่งแม่น้ำน่าน กรุนี้ดินร่วนซุย สภาพผิวพระอ่อนกว่ากรุวัดนางพญาเล็กน้อย

พระพิมพ์ดี เนื้อดีสภาพนี้ อย่าเผลอคุยไม่เข้าแว่นก็ซื้อได้ พระเครื่องสมัยนี้ยังไง ก็ต้องส่อง ...ของปลอมฝีมือดูตาเปล่าว่าดี เข้าแว่นเก๊ ก็ถมไป

ในพระนางพญาทุกพิมพ์ เข่าโค้ง เข่าตรง (2 แม่พิมพ์) อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก สังฆาฏิ เทวดา ยังมีพิมพ์ (ใหญ่) พิเศษแขนอ่อนสุโขทัย พิมพ์พิเศษแขนอ่อนอยุธยา ตอนนี้เรียกกันว่า พิมพ์แขนบ่วง

พิมพ์ที่มีเรื่องเล่าขาน คงกระพัน หรือเหนียวสุดขั้วหัวใจ มีพิมพ์เดียว คือพิมพ์สังฆาฏิ

พ.ศ.2487 “ตรียัมปวาย” เป็นนายทหารอยู่พิษณุโลก รู้จักตาปานได้พระจากตาปาน แบ่งจากคนขุดด้วยมือที่ลานวัดนางพญา อีก 7 องค์ รวมแล้วมีพระนางพญามากกว่า 60 องค์ ตรียัมปวายเลี่ยมทองพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อสีเขียว องค์เดียวแขวนคอ

แต่พระที่ทั้งรักทั้งหวงองค์นี้ มีเหตุให้ต้องตัดใจ ให้ญาติทางภรรยา ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร

ตำรวจโรงพักชนะสงครามรับแจ้งเหตุ “ตาควาย” คนแจวเรือจ้างท่าช้างวังหน้าก่อเหตุวิวาท ตำรวจชุดแรกไปจับแต่จับไม่ได้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งนำตำรวจ 6 นาย ไปชุดที่สองเจรจาไม่ได้ผล ตำรวจรุกใส่ตาควายใช้ขวานฟันตำรวจกระเจิง

ตำรวจยิงปืนนัดแล้วนัดเล่า เจ็บร้องเสียงดังแต่กระสุนไม่เข้า นัดหนึ่งถูกขมับล้มพับไปประเดี๋ยวก็ลุกขึ้นสู้ต่อ

ร.ต.ท.ยอดยิ่งตัดสินใจจับมือเปล่า ตาควายฟันด้วยขวาน 4-5 แผลใหญ่ ต้องกระโดดน้ำหนีเอาชีวิตรอด ตำรวจทั้งโรงพักชนะสงครามเอาไม่อยู่ต้องส่งตำรวจโรงพักป้อมปราบไปช่วย

ตาควายสู้หมดแรงก็กระโดดลงน้ำแล้วก็ขึ้นมาสู้ใหม่ สุดท้ายก็เสร็จท่อนไม้ภารโรงโรงพัก โป้งเดียวที่ขมับสลบเหมือด

ตาควายบอบช้ำมากรักษาตัวสามเดือน เล่าให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งฟังภายหลังว่าความหนังเหนียวเกิดจากพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิที่ใส่กรอบเขาควาย (แกะด้วยมือตัวเอง) แขวนคอ “แต่พระนางพญาองค์นั้น” หายไปเสียแล้ว

เรื่องเล่าเรื่องนี้...ตรียัมปวายต้องแลกด้วยการถอดพระนางพญาสังฆาฏิเนื้อเขียว องค์ในคอให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร ไป ตัวเองเลือกเอาพิมพ์สังฆาฏิเนื้อสีแดงมาแขวนคอแทน

อานุภาพนางพญาอีกทาง เชียร ธีรศานต์ ผู้รู้เรื่องพระนางพญาอีกคนบอกสั้นๆ อย่าให้เมียจะเสียเมีย จึงพอฟังได้ อานุภาพอีกด้านของพระนางพญาคือเสน่ห์มหานิยม


พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuh3fdv615mBDbHqwRgtfV5TGD3le4nTXO5YnZOS.jpg)
พระสิกขี ลำพูน

ภาพพระในคอลัมน์วันนี้ วงการพระภาคเหนือรู้จักกันในชื่อ พระสิกขี ความน่าสนใจคือขุดได้ร่วมกับพระรอดวัดมหาวัน ลำพูน จึงเป็นพระโบราณอายุพันปี ขนาดน้องๆ พระเปิม

เป็นของดีมีน้อย กระนั้นในหนังสือที่ชมรมพระเครื่องเชียงใหม่ เล่มที่น้อย ไอยรา (นิพนธ์ สุขสมมโนกุล เรียบเรียง พ.ศ.2545) ยังรวบรวมภาพได้ถึง 10 องค์

ข้อสังเกตสะดุดใจ ทุกองค์ไม่เหมือนกันเลย

พระชุดลำพูนทุกองค์ เป็นพระพิมพ์ แต่พระสิกขีเป็นพระปั้น...ใครมีศรัทธาจะปั้นก็ปั้น...เค้าโครงเดียวกัน แต่เนื้อตัวหน้าตาไม่เหมือนกัน

องค์ที่เอามาขยายใหญ่เต็มหน้า (หนังสือน้อย ไอยรา) ปั้นได้งามมา เค้าหน้าแววตายิ้มอ่อนโยน เป็นศิลปะลำพูนเต็มหัวใจ ส่วนอีก 9 องค์ ทั้งหน้าตาอกเอว แต่งลวดลายอลังการ ...จนดูรกตาไป...แต่ก็ดูได้ว่า ได้อิทธิพลศิลปะลพบุรี

หลักดูพระสิกขี ข้อแรก ต้องใช้หลักเดียวกับหลวงพ่อทับ หรือหลวงพ่อแก้วพิมพ์ปั้นองค์ใดเหมือนกันทุกเส้นสาย...เป็นพระเก๊ ข้อต่อมา ดูศิลปะทุกองค์ไม่เหมือนกัน แต่เค้าโครงเดียวกัน

เนื้อนั้น ไม่ว่าสีเหลือง แดง เขียว คราบไคล เทียบกับพระรอดมหาวันได้ทุกประการ

องค์ในภาพ นวลเนื้อมองเห็นเขียวรำไร เหลือดินกรุสีน้ำตาลเข้มไว้แน่นหนา แม้ปกปิดรายละเอียดองค์พระไปบ้าง แต่ก็เป็นตัวช่วยให้ดูง่ายและคุ้มค่า ถ้านึกว่าเก็บไว้ดูเทียบเคียงกับพระราคาแพงแสนแพง...อย่างพระรอด

ชื่อพระสิกขี ชื่อนี้ใครเรียกก่อน ก่อน พ.ศ.2500 ช่วงที่การขุดหาพระรอดในวัดมหาวัน ยังเป็นงานปกติของชาวบ้าน “ตรียัมปวาย” ถ่ายภาพไว้องค์หนึ่ง ในหนังสือพระรอด พระเครื่องสกุลลำพูน (สำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ.2503)

บรรยายใต้ภาพว่า เทวรูปเนื้อผงหิน (เขียว) คราบคำ ขุดได้พร้อมพระรอดใน พ.ศ.2498

แสดงว่า ช่วงปี พ.ศ.นั้น ยังไม่มีใครตั้งชื่อ เห็นเค้าโครงองค์พระ แปลกตากว่าพระพิมพ์ธรรมดา จึงเรียกว่าเทวรูป

ชิน อยู่ดี และตรียัมปวาย เขียนถึงพระรอดหลวงหรือแม่พระรอด ในวิหารวัดมหาวันไปในทางเดียวกัน

มานิต วัลลิโภดม (ตำนานหริภุญชัย) เขียนว่า เวลานี้ที่วัดมหาวันในเมืองลำพูนมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิองค์หนึ่ง ท่านั่งขัดสมาธิ หงายฝ่าพระบาทออก หน้าตักกว้าง 43 ซม. สูง 90 ซม. เรียกกันว่า พระรอดหลวง แม้จะถูกลงรักพอกปูนเสียหมด ก็เห็นเค้าลักษณะทวารวดี

จนถึงความรู้จากพระมหาวรรณ เขมจารี ในตำนานวัดมหาวันและพระรอด

สักขีของพระรอดยังปรากฏอยู่ที่ของเก่า คือพระรอดหลวง...ขุดออกมาจากพื้นดินพร้อมด้วยโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก...เป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียว ที่เหลือตกค้างอยู่กระทั่งทุกวันนี้

ประโยค สักขีพระรอด พอเห็นเค้า ชื่อพระสิกขี บ้างรางๆ

เชียร ธีรศานต์ เขียนเรื่อง พระสิขี (ตามต้นฉบับ) ไว้ในหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ (อภินิหารและพระเครื่อง พ.ศ.2516) ว่า

พระสิขี เท่าที่เห็นเชื่อแน่ว่าไม่มีแม่พิมพ์ คนใดนึกอยากจะฝากฝีมือไว้ให้คนรุ่นหลังเห็นก็สร้างขึ้นทีละองค์ พระแบบนี้ตบแต่งกันงามมากเพราะชื่อที่ใช้ เป็นชื่อพระสำคัญประจำบ้านประจำเมือง คือพระสิขี

ถึงเวลาที่คุณเชียรเขียน ประโยค พระสักขีพระรอด ได้กลายเป็นชื่อพระสิกขี

ต่อมาแม้มีสร้างพระรอดจำลองแบบตามพระพุทธสิขีแล้ว แต่อิทธิพลพระรอดมีมากกว่า พระพุทธสิขี จึงกลายเป็นพระรอดหลวง ภายหลังคนทั้งหลายกลัวชื่อพระพุทธสิขีจะสาบสูญกระมังจึงสร้างพระเล็กๆ ขึ้น ใช้ชื่อพระพุทธสิขี

เรื่องราวและข้อสันนิษฐาน ของเชียร ธีรศานต์ ยังไม่กลมกลืนไปตามเหตุผลนัก แต่กระนั้นจึงพอประมาณการได้ว่า ชื่อพระสิขีหรือพระสิกขีเกิดมีเรียกขานกันด้วยประการฉะนี้...แล.


พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuh3iGUqbGKkbxueJsQXF9mshUIobiyPG39KI4wC.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น

เอ่ยชื่อ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว แล้วต่อด้วยคำว่า “พิมพ์ปั้น” คนในวงการพระรู้ทันที “แก้ว” องค์นี้ คือ “แก้ว” วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี ไม่ใช่หลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัย หลวงพ่อแก้ววัดป่าฝ้าย และอีกหลายๆ แก้ว

แต่จะบอก แก้ว วัดเครือวัลย์ วัดเดียวก็ไม่ได้ เพราะพิมพ์ปั้นที่ว่านี้มีออกทั้งจากวัดเครือวัลย์ เรียกกันว่ารุ่นแลกซุง และที่ออกจากวัดปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ความรู้จากหนังสือพระเครื่องยอดนิยมเมืองเพชรบุรี (พิมพ์แจกเป็นรางวัลในงานประกวดพระเครื่อง ที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า พ.ศ.2554) หลวงพ่อแก้ว เกิด พ.ศ.2385 ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี บวชที่วัดพระทรง จำพรรษาวัดปากทะเล และธุดงค์ยาวไปถึงชลบุรี ปักหลักจนเป็นสมภารที่วัดเครือวัลย์

คนรุ่นเก่าเล่าให้ลูกหลานฟัง เมื่อหลวงพ่อแก้วสร้างกุฏิสร้างศาลา โยมที่มีกำลังศรัทธาหาซุงมาถวาย ท่านก็ให้พระปิดตาองค์หนึ่ง พระรุ่นเดียวกัน เมื่อท่านกลับไปเยี่ยมญาติเมืองเพชรท่านก็แจกจ่ายกลายเป็นที่มาของหลวงพ่อแก้วพิมพ์ปั้น

ทำไม จึงเรียกพิมพ์ปั้น
ร.ศ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์ อธิบายปิดท้ายเล่ม หนังสืออาณาจักรพระปิดมหาอุตม์ (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2536) ว่า พิมพ์ปั้นลอยองค์...ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผง เมื่อนำเอามาบดตำเข้ากันจนดีแล้ว จึงได้นำเอามาปั้นด้วยมือทีละองค์ แต่ละองค์จะมีขนาดและรายละเอียดแม้ฝีมือเดียวกัน คล้ายกัน แต่จะไม่เหมือนกันเลย

พิมพ์ปั้น หลวงพ่อแก้ว ส่วนมากนิยมปั้นด้วยเนื้อผงคลุกรัก แล้วแกะสลักอย่างคร่าวๆ พอเป็นเค้าให้รู้ว่าเป็นรูปพระปิดตาเท่านั้น

ในหนังสืออาจารย์นิพัทธ์ มีภาพพระปิดตาพิมพ์ปั้นให้ดู 6 องค์ องค์ที่ 6 พิมพ์บายศรี 4 หน้า ทุกองค์แตกต่างกันทั้งฝีมือปั้นทั้งสีนวลเหลือง น้ำตาล น้ำตาลเข้ม ถึงดำ เนื้อละเอียดถึงหยาบทุกองค์คลุกรัก แต่มีองค์จุ่มรักปิดทององค์เดียว

พระปิดตาพิมพ์ปั้นองค์ในภาพ เล่นกันเป็นวัดปากทะเล เพชรบุรี (เจ้าของคนเพชรบุรี) เนื้อคลุกรักออกเป็นสีน้ำตาล ส่วนนูนผ่านมือจับบ้าง พอมองเห็นชิ้นเนื้อรักแทรกในรอยแยกรอยยุบ ซอกลึก เห็นเป็นสีนวลขาวปนน้ำตาลแห้งสนิทนวลตา

แบบฟอร์มองค์นี้ มีคล้ายๆหลายองค์ แต่องค์นี้แปลกตากว่า ตรงที่คนปั้นตั้งใจให้สัณฐานออกกลม เหมือนลูกอม จึงให้พื้นที่ส่วนพระบาท... เหลือนิดเดียว

หนังสืออาจารย์นิพัทธ์ รวบรวมพระแท้ผ่านวงการ ผ่านงานประกวด เอาไว้หลายหลวงพ่อหลายแม่พิมพ์

แต่หนังสือพระปิดตาเล่มแรกของวงการคือ ทำเนียบพระปิดตา คุณอุตสาหะ ศิริวัฒน์ พิมพ์ ปี 2521 ความลับที่เคยดำมืด ของคนรักพระปิดตาหลายคนก็เริ่มกระจ่าง พระปิดตาองค์ดังๆ ผิวพรรณเนื้อหาเป็นอย่างไรได้ดูกันเต็มตา

คนที่เคยเล่นแบบสะเปะสะปะ ก็เริ่มจับหลักได้ เริ่มเล่นกันเป็นมาตรฐาน

พระปิดตานั้นเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนขุนแผนยกทัพไปตีเชียงใหม่ มีคำกลอนบรรยายถึงตรีเพชรกล้า ทหารเอกไว้ตอนหนึ่ง “แขนขวาสักรงเป็นองค์นารายณ์ แขนซ้ายสักชาดราชสีห์ ขาซ้ายขวาสักหมีมีกำลัง สักอุระรูปพระโมคคัลลาน์ พระควัมปิดตานั้นสักหลัง”

อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า พระปิดตา (พระควัม) นั้น ตั้งใจมีไว้ป้องกันหอกแหลนหลาวมีดไม้ที่แทงมาทางหลัง

พระควัมบดี...เป็นลูกเศรษฐีรุ่นเดียวกับ “ยสะกุลบุตร” ที่เจอความวุ่นวายทางโลกแล้วเดินบ่น “ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” แล้วเจอพระพุทธเจ้า...เมื่อไปบวชเป็นอรหันต์รุ่นพระยสะแล้ว ความหล่อก็เป็นเหตุให้มีสาวๆ ตามไปวุ่นวาย

ท่านจึงอธิษฐานร่างกายให้อ้วนเตี้ยพุงพลุ้ย เพื่อให้สาวๆหนี

เรื่องนี้เข้าทำนองเดียวกับเรื่องพระมหากัจจายนะ คนรุ่นหลังจำลองรูปท่านเป็นอ้วนพุงพลุ้ยแล้วก็พัฒนามาเป็นพระปิดตา เป็นสัญลักษณ์ว่า ท่านปิดทวารทั้ง 9 ตาหูจมูก ปากและกาย...ไม่ยินดียินร้าย เรื่องรักโลภโกรธหลง ในทางโลกอีกแล้ว

แต่คนรักพระปิดตากลับหันไปเชื่อว่าพระปิดตามีพลานุภาพไปทางลาภผลและเสน่ห์มหานิยม ถ้าเป็นชายสาวใดเปิดตาเห็นเป็นต้องหลงรักใคร่ไม่ลืมหูไม่ลืมตาเลยทีเดียว.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ  width=320 height=210


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhlo31STmDnhw8WvvLGsN5MsEfIpgMR1gXcf2KL.jpg)
พระคงดำ ลำพูน

ในจำนวนพระลำพูน พระรอด พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม ฯลฯ และพระคงนั้นมีหลายสี สีเหลือง แดง ขาว เขียว ส่วนสีดำ เพิ่งยอมรับกันในระยะหลัง

ที่มาของสี ทฤษฎีคุณเชียร ธีรศานต์ เกิดจากการเผา 5 ขั้น ขั้นที่ 1 ความร้อนขั้นเกรียม ได้พระสีเทาหม่นปนดำ หรือสีดำ ขั้นที่ 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก ได้พระสีเหลืองนวล ขั้นที่ 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี ได้พระสีแดงเข้มหรือแดงปนเหลืองเข้ม

ขั้นที่ 4 ความร้อนขั้นเผาจาน พระสีมอยเขียวมอ หรือสีหินลับมีดโกน ขั้นที่ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย พระสีเขียวเข้ม

คุณเชียรบอกว่าราวปี พ.ศ.2500 ระหว่างการขุดหาพระรอด มีผู้ขุดได้พระรอดสีเทาหม่นสององค์ แต่เมื่อขึ้นจากดินสภาพของเนื้อพระยุ่ยเปื่อยรักษาสภาพองค์พระไว้ไม่ได้

ในขณะที่เมื่อมีการพบพระคงสีดำ สมัยที่คุณเชียร เขียนตำรา ก็ยังพบแค่สีกระดำกระด่าง คือดำปนสีดินเทา...วงการเรียก “เนื้อผ่าน” หลังยุคคุณเชียร พระสกุลลำพูนนิยมแพร่หลาย พระคงสีดำสนิททั้งองค์เริ่มปรากฏโฉมหลายองค์

คนเล่นพระเนื้อดินคุ้นตา พระเนื้อมาตรฐานกลาง สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม ฯลฯ นั้น ส่องให้ดีๆ จะเจอลายเนื้อ เหลือง เขียว แดง ไม่ว่าจะเป็นเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี หรือนางพญา พิษณุโลก

พระเนื้อดินนุ่มละเอียด ที่ถูกใช้ติดตัวมีเหงื่อไคล...ส่วนที่สึกช้ำ เรียกกัน “เนื้อมะขามเปียก” คุณมนัส โอภากุล ใช้คำเรียกแตกต่าง “ผิวน้ำผึ้ง” นี่ก็เป็นอีกจุดสังเกต พระเนื้อดินแท้ ดูง่าย

แต่ถ้าเป็นพระเนื้อสีดำ...ไม่ว่าพระอายุพันปี อย่างพระคงหรือพระอายุร้อยปี พระกริ่งคลองตะเคียน ความดำ ความมัน หาจุดสังเกตยาก ต้องดูคราบไคลไปจนถึงตำหนิพิมพ์จากพระองค์ครู เป็นตัวช่วย

พระคงดำองค์ในคอลัมน์วันนี้เจ้าของไม่มีวิชาแก่กล้า เห็นพิมพ์ดี เนื้อดี นวลดินกรุเหลืองอ่อนประปราย ราคาไม่แพงก็เก็บไว้หลายสิบปี ต่อมาเมื่อเห็นภาพพระคงดำในหนังสือหลายเล่มก็สะดุดใจ หยิบมาเทียบก็ใกล้เคียงแต่ยังไม่แน่ใจ

โดยพื้นฐาน พระคงสีทั่วไป ไม่ว่ากรุเก่า กรุใหม่ (แตกกรุ ใต้ฐานชุกชี โบสถ์วัดพระคงฤาษี ปี พ.ศ.2518) นักเล่นพระรุ่นเล็กผ่านมือกันหลายๆ องค์ โดยไม่ต้องพึ่งตาเซียน

แต่กับพระคงดำยังตัดสินไม่ได้ จนเมื่อได้วิชาจากหนังสือเล่ม ดิน ชิน ผง วัตถุมงคลของแผ่นดิน (กองบัญชาการตำรวจนครบาล จัดพิมพ์ในงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ.2556) คุณศุภชัย เรืองสรร งามศิริ ชี้ “ลิ่ม” ตำหนิพิมพ์ ตรงก้นพระคง ให้เป็นหมุดหมาย พระคงแท้ต้องมี

หยิบพระคงดำองค์นี้ออกมาดูก็เจอตำหนิพิมพ์ตรงกัน

นี่คือตัวช่วยสำคัญ ที่ตัดสินได้ มีพระคงดำ ลำพูนแท้ ในมือไว้หลายปี

เรื่องตำหนิ พิมพ์ สำหรับผม เชื่อ แต่เชื่อในฐานะ “ตัวช่วย” ไว้ร่วมพิจารณา มีพระแท้องค์ครูมากมายที่ไม่มีตำหนิพิมพ์ ตำหนิตรงนี้ไม่มีแต่ตรงอื่นก็มี ดูประกอบกับเนื้อหา คราบไคลและธรรมชาติ ใช้ปัญหาและเหตุผลอื่นๆ ประกอบกันไป

เชื่อตำหนิพิมพ์อย่างเดียว อาจเสียของดีแต่ไม่เชื่อเสียเลยก็อาจเจอของปลอม

อีกความรู้ที่ต้องติดตามสดับตรับฟังจากคนในวงการคือค่านิยมเรื่องสี น.นที เขียนไว้ในหนังสือรวมภาพและเกร็ดประวัติพระเครื่องเครื่องราง เล่มปี พ.ศ.2552 ว่า ราคาพระคง เรียงลำดับตามความน้อยความมาก ความหายากหาง่าย

ดำ แดง ขาว เขียว และเหลือง

น.นทีเล่าว่า ก่อนปี พ.ศ.2550 พยัพ คำพันธุ์ เคยขึ้นเหนือไปเช่าพระคงสีแดงจากคหบดีเชียงใหม่ ในราคาสะท้านเมือง 6 แสนบาท และประกาศว่าถ้าจะออกต่อก็ต้องถึง 1 ล้านบาท

เรื่องเล่านี้ชี้ว่า พระคงสีแดงแพงมากๆ ราคาเป็นรองก็แต่พระคงสีดำ เท่านั้น

สีเหลืองมีมากกว่าราคาจึงถูกกว่า (ยกเว้นองค์เหลืองมีหน้าตา ซึ่งขึ้นล้านไปนานปี) พระสภาพใกล้เคียงสีเหลือง 20 องค์ จึงจะซื้อ พระคงดำ ลำพูนได้หนึ่งองค์ นี่คือความยิ่งยงของพระคงดำ เมืองลำพูน ที่ควรจะรู้ไว้ทั่วกัน.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ 


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhlw7Ae0lNoX81Oog3x22dPEErZufNi3ShUfu3x.jpg)
เจดีย์ พิมพ์เขื่อง

สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์องค์นี้ ...สภาพสึกช้ำแต่ความคมของเส้นสังฆาฏิ สองเส้นขนาน และเส้นแยกใต้รักแร้

ลำพระบาทแบบสมาธิราบ แยกสองส่วนเห็นเป็นเค้ารางๆ รวมเส้นสายลายพิมพ์คุ้นตา พอให้นึกถึงทรงเจดีย์องค์เจ๊แจ๋ว องค์ที่ยกย่องเป็นองค์จักรพรรดิ

ดูพระจากภาพถ่าย แม่พิมพ์พระอาจไม่มีอะไรต่างกันนัก แต่ประเด็นอยู่ที่ “ขนาด” ขนาดองค์จริงทรงเจดีย์องค์นี้ เขื่องและใหญ่เท่ากับพิมพ์ใหญ่ ที่ “ตรียัมปวาย” เรียกว่า พิมพ์เขื่อง (วัดจากเส้นซุ้มฐานชั้นล่าง 3.3 ซม. วัดส่วนสูง จากเส้นซุ้มล่างถึงยอดซุ้มบน 3.6 ซม.)

ภาพถ่ายที่หาดูได้จากหนังสือภาพพระเครื่อง ไม่ชี้ชัด “ขนาด เขื่อง ใหญ่ ย่อม สันทัด” เหมือนพระองค์จริง

ในหัวข้อมูลสูตรสัญลักษณ์ทางพิมพ์ทรง หน้า 271 ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มพระสมเด็จ พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2520 ตรียัมปวายเขียนไว้ว่า “พิมพ์ทรงเจดีย์แบบพิมพ์เขื่อง มีสัณฐานองค์พระปฏิมาเขื่องกว่าของพิมพ์ทรงพระประธานเป็นส่วนมาก”

ยึดหลัก “ตรียัมปวาย” ดูแม่พิมพ์แล้ว ก็ดูเนื้อหา ทรงเจดีย์องค์นี้ เนื้อละเอียดนุ่มนวล ส่วนนูนหนาที่สึกช้ำเพราะการใช้ให้เงาสว่างลึก มวลสารประปรายเทียบได้กับ “เนื้อเกสรดอกไม้” ส่วนลึกลงในพื้นผนัง ผิวแป้งโรยพิมพ์หม่นคล้ำสว่างตา ด้านหลังแม้เป็นหลังเรียบแต่ในซอกในหลุมยังติดเนื้อรักเก่าบางแผ่นใหญ่ บางแผ่นเล็ก เล็กมากๆ ส่องให้ดีจะเจอเม็ดรักปิดทอง ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด ทุกเส้นถูกที่ถูกทาง ช่วยให้ตัดสินได้ เป็นพระแท้ดูง่าย หลักดูพระ เนื้อใช่ พิมพ์ใช่...ก็แค่นี้

เจตนาในการขอยืมทรงเจดีย์พิมพ์เขื่ององค์นี้มาเป็น “องค์ครู” เพราะได้ข่าวมีการจัดนิทรรศการหลวงวิจารณ์เจียระไน ในโรงแรมใหญ่ คนที่ไปดูกระซิบมา มีของเก่าๆ กระทั่งไม้เท้า ที่คนจัดคุยว่าเป็นสมบัติของท่าน

ไม้เท้าท่อนนั้นสลักเสลาลวดลาย ติดเพชรติดพลอยสวยงาม จุดสนใจอยู่ที่ปุ่มปลายไม้เท้าติดพระกริ่งพิมพ์เดียวกับกริ่งปวเรศวัดบวรฯ บังเอิญคนไปดูเป็นเซียนพระกริ่ง ดูแป๊บเดียว ก็บอกว่า “ฝีมือตาสวน” แสดงว่า เป็นปวเรศปลอม

ธุรกิจพระปลอมวันนี้ ก้าวหน้าสร้างประวัติ เพิ่งขุดพบจากที่วัดโน้น วัดนั้น วัดที่อยู่ในเส้นทางชีวิต สมเด็จพุฒาจารย์โตวัดระฆัง จึงไม่แปลกที่มีการสร้างประวัติหลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างทองราชสำนักสมัย ร.4 ผู้แกะแม่พิมพ์สมเด็จทั้งวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม มาให้รำลึกอีกครั้ง

ในตำรา “ตรียัมปวาย” บอกว่า แรกสมเด็จพุฒาจารย์โตสร้างพระ เนื้อปูนผสมก็ไม่ได้ที่ แม่พิมพ์ก็ยังไม่สวย จนเมื่อหลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างทองหลวงราชสำนักมาแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมปูนทำให้เนื้อพระแน่นเหนียว ไม่แตกร้าว

แล้วก็ยังแกะพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม ปรกโพธิ์ มาถวายให้สมเด็จโตใช้เป็นแม่พิมพ์มาตรฐาน วงการเล่นหากันถึงวันนี้

เรื่องหลวงวิจารณ์เจียระไน “ตรียัมปวาย” เล่าไว้สั้นๆ จึงเป็นช่องว่าง ให้พวกหนึ่งได้โอกาส

“เติม” เรื่องใหม่ สร้างเรื่องให้น่าเลื่อมใส แน่นอน เป้าหมายก็อยู่ที่ การขาย?

การขายพระสมเด็จ ตอนนี้มีหลายวิธี กระทั่งวิธีโฆษณาว่าใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (ซึ่งยังไม่มีจริง) การันตีอายุ โฆษณาขายเป็นสมเด็จวัดระฆังในหน้าหนังสือพิมพ์

วงการพระเครื่องวันนี้ต้องติดตามทุกฝีก้าว พระสมเด็จองค์สวยแท้ยังยั่วลูกค้าเศรษฐีไม่ได้ ต้อง “เติม” ประวัติสร้างเรื่อง เคยเป็นของใคร ตกทอดไปที่ไหนขายได้ราคากว่า กลับกัน ทำพระปลอมฝีมือก็แต่งเรื่องเล่าให้น่าเลื่อมใส

สำหรับเซียนผู้รู้จริงเขาไม่สนใจฟังเรื่องแต่งจากใคร ถูกตาราคาซื้อได้ ก็ซื้อ

และชื่อชั้นเซียนเหล่านี้ ก็จะถูกใช้ให้ลูกค้าที่เปลี่ยนมือซื้อขายต่อๆ กันไป เป็นส่วนหนึ่งของประวัติพระองค์ราคาแพง

ส่วนคนที่มีความเชื่อความมั่นใจ เลือกพระให้ตัวเองและเพื่อนพ้องที่เชื่อขึ้นคอใช้ นั่นเป็นเรื่องของคุณค่า ไม่ใช่เรื่องของมูลค่าราคาจริงอยู่ที่การซื้อการขายในกลไกตลาด ซึ่งแน่นอนมีเซียนน้อยเซียนใหญ่กำกับ.



(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhk8pshxbthbWsscBfqkItYpLL4eBjmckxpmyn2.jpg)
พระรอดเขียว พิมพ์ใหญ่
รั้งหนึ่งนานมาแล้ว (ราว พ.ศ.2514) สิงห์คะนองนาเชื่อมั่นในฝีมือ อ่านตำราพระรอดของครูตรียัมปวายจนขึ้นใจ ถือพระรอดเขียวองค์หนึ่งไปให้ครูดูถึงบ้านหลังวัดกัลยาณ์ ฝั่งธน

ครูส่องดูแป๊บเดียวก็วาง แล้วสอนว่า “เจ้าหนู พระรอดนี่น่ะนะ พอขึ้นจากดิน คนที่ได้ไม่เป็นเจ้าสัวก็เจ้าเมืองไม่ถึงมือเด็กวัดหรือสามล้อ...” โห! นี่คือคำสอนให้รู้จักเจียมกลาหัว ที่จำฝังใจ

ตำราเล่มพระรอด ของครูตรียัมปวาย อธิบายได้แต่เนื้อหาด้านทฤษฎี และที่มา แต่พอถึงภาพถ่าย ก็แค่ภาพเล็กๆขาวดำ ช่วยให้จำเค้าๆ ส่วนเรื่องเนื้อหา คราบรา ต้องใช้จินตนาการเติม

ก่อนหน้าในปี พ.ศ.2510 เชียร ธีรศานต์ ถ่ายรูปพระรอดราว 200-300 องค์ เทียบเคียงดู ก็พบความแตกต่างในเส้นสายลายพิมพ์และตำหนิของพระรอด 5 พิมพ์ จึงเขียนคู่มือศึกษาพระรอดมหาวัน พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี ฯลฯ ขึ้นมา 1 เล่ม

หนังสือพิมพ์ด้วยกระดาษปรู๊ฟ มีภาพขาวดำไม่คมชัด ใครสนใจ คุณเชียรถ่ายรูปพระรอด 5 พิมพ์ คมชัด ขายเพื่อให้ประกอบการศึกษาพระรอด อีก 1 หนึ่งชุด

สนามพระตอนนั้น อยู่ข้างวิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุ ตอบรับฮือฮา ใช้เป็นหลักเล่นพระรอด 5 พิมพ์

เซียนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับตำหนิพิมพ์ หลักเดียวกับหลักการดูเหรียญ ห้าแม่พิมพ์มีตำหนิไม่เหมือนกัน แต่โปรดเข้าใจ พระปลอมรุ่นใหม่มีตำหนิพิมพ์ครบครัน พระรอดแท้นั้น เมื่อพิมพ์ใช่ เนื้อพระก็ต้องใช่

ไม่เพียงปฏิวัติหลักแม่พิมพ์ คุณเชียรยังให้ทฤษฎีการดูเนื้อพระ เพราะเนื้อดินขณะเข้าเตาเผาได้ความร้อนไม่เท่ากัน 1 ความร้อนขั้นเกรียม 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี 4 ความร้อนขั้นเผาจาน และ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย

คุณเชียรว่า “เนื้อพระรอดอยู่ระหว่างความ ร้อนขั้น 2–5 แต่เนื้อขั้น 3–4 มากกว่าเนื้ออื่น”

รู้หลักการเผา เข้าใจผิวพระตึงเรียบหรือหยาบมีผลให้สีพระต่างกัน ยังต้องเข้าใจอีกว่าเนื้อพระที่ร้อนน้อยร้อนมากนั้นทำปฏิกิริยากับคราบหรือรา ต่างกัน

หลักดูเนื้อพระรอดอีกข้อ คุณเชียรสอนให้รู้จัก “ผิวไฟ”

พระเผาใหม่ ผิวนอกจะมีสีที่เกิดจากความร้อนสีสด แต่เลื่อมพรายสะดุดตา ในความเลื่อมพรายนั้น คล้ายจะมีสีรุ้งปรากฏอยู่น้อยๆ ผิวไฟจะติดอยู่นาน จนกว่าผิวนอกนี้จะอ่อนล้า น้ำปนดินแทรกซึมเข้าไป ทำลายสีไฟให้หมดไปได้

คำว่า พระเก่าเนื้อแห้ง ก็หมายถึงผิวไฟถูกทำลายหมดแล้ว

ดูผิวพระพอเป็นแล้ว ยังต้องระลึกว่า พระที่กำลังดูเป็นพระเนื้อขนาดไหน

1.ถ้าเป็นพระเนื้ออิฐ สีเหลืองปนเทาเล็กน้อย ในการฝังดินเป็นพันปี เนื้อนี้จะซึมน้ำรอบๆ องค์พระ จนกระทั่งผิวเปื่อยยุ่ย ถ้าไม่ล้างขี้กรุออกจะเห็นขี้กรุเกรอะกรัง ถ้าเอาขี้กรุหรือราดำออกก็ต้องเสียเนื้อผิว
2.เนื้อแดงจัด การเสียผิวสภาพเช่นเดียวกับสีอิฐ
3.เนื้อเหลืองปนเขียว ผิวละเอียด เนื้อนี้แข็งแกร่งยากแก่การที่ธรรมชาติจะทำลายผิวได้ ขี้กรุจับไม่สู้สนิท มักจะล้างขี้กรุออกหมด
4.เนื้อเขียวหินลับมีดโกน บางคนเรียกเนื้อมอย สภาพคงเป็นเช่นพระรอดพิมพ์ใหญ่ เนื้อเขียวองค์ในภาพ เนื้อนี้เป็นเนื้อถูกไฟแก่จนเริ่มละลาย ผิวจะตึงงามแกร่งมากน้ำซึมไม่ได้ ขี้กรุราดำจะมีน้อย

เนื้อเขียวแบบนี้ มักจะมีคราบกรุสีคล้ายน้ำสนิมเหล็กเกาะฟูอยู่บนผิว

(คนละเรื่องกับพระเนื้อเขียวผสมแดง ที่เกิดจากเนื้อสุกและละลายไม่เท่ากัน)

5.เนื้อเขียว เขียวแก่คล้ำดังสีหินครก ผิวจะย่นเพราะเนื้อละลายไหลเข้าอุดช่องว่าง น้ำเข้าไปทำลายผิวไม่ได้ ขี้กรุราดำไม่ค่อยติด พระเนื้อเขียวเข้ม ถ้างดงามก็จะรักษาความงามไว้ได้เต็มที่

เหลือบตาไปดูภาพพระรอดองค์ในคอลัมน์ อีกครั้ง พระรอดองค์นี้ มีคราบกรุติดชัดเจนที่ผนังโพธิ์

คุณเชียรอธิบาย ในดินที่มีน้ำซึมผ่าน จะมีน้ำชนิดหนึ่งมีตะกอนคล้ายสนิมเหล็ก คนภาคเหนือเรียก “น้ำฮาก”

คราบกรุแบบนี้นักปลอมพระก็ทำ แต่ยังห่างไกลของจริง คราบสนิมเหล็กถ้ามีในพระ องค์ไหน ช่วยให้ตัดสินพระแท้ได้ประการหนึ่ง.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ 


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 ตุลาคม 2559 16:04:30
(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuqt5LMT80Xf6BJeEl57clQoAIBROndTsErgCc6T.jpg)
ขุนแผน ห้าเหลี่ยม อกเล็ก กรุบ้านกร่าง

“ขุนแผนบ้านกร่าง” เป็นคำเรียกรวมๆ พระพิมพ์เนื้อดินเผา ศิลปะอยุธยา พบจากกรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องเมืองสุพรรณ มีด้วยกันถึง 39 พิมพ์

พิมพ์ค่อนเขื่องที่ใช้คำ “ขุนแผน” นำหน้า... ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ ห้าเหลี่ยมอกเล็ก ทรงพลใหญ่ ทรงพลเล็ก ซุ้มเหลือบ พิมพ์ต่อมา ใช้คำนำหน้าพลาย พลายเดี่ยว พระประธาน (หน้าแก่-หน้าหนุ่ม) ซุ้มเส้นคู่ หน้าฤาษี ใบมะยม ก้างปลา

พลายคู่ นักเล่นรุ่น พ.ศ.2500 เรียกพิมพ์พลายเพชร พลายบัว มีอีกหลายพิมพ์

องค์ในคอลัมน์ เป็นขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก สภาพสมบูรณ์ มีหูตาคิ้วคาง เกือบทุกเส้นสายลายพิมพ์ ละม้ายพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ นักเล่นไม่สันทัด อ่านพิมพ์พลาดบ่อยๆ

ข้อสังเกตง่ายๆ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ ปลายพระเกศชนทะลุซุ้ม พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็กปลายพระเกศแค่จรดซุ้ม

แต่ไม่ว่าจะเป็นขุนแผนพิมพ์อกเล็กหรืออกใหญ่ สมัยนี้สมัยที่ขุนแผนบ้านกร่างราคาหลักแสน องค์สวยมีหูตาหลายๆ แสน ของปลอมฝีมือพัฒนา ขนาดปาดคอเซียน ขอแค่เป็นขุนแผนบ้านกร่างของแท้ก็น่าจะพอ

ขุนแผนบ้านกร่างองค์ในภาพสีลาน เนื้อหยาบปานกลาง ผ้านวลดินบางๆ เป็นฉากหลัง ขับสีเนื้อเข้มให้เห็นเส้นสายเด่นชัดขึ้น ส่องดูเนื้อจะพบเมล็ดแร่เล็กใหญ่ สามสี ดำ ขาวแดง ประปราย

ด้านหลังปรากฏ “ร่อง” ที่เกิดจากเมล็ดทรายหลุด อาจารย์มนัส โอภากุล เรียก “หลุมว่านหลุด” สอง-สามรอย

“หลุมว่านหลุด” นี่เป็นทีเด็ดเคล็ดลับ

เป็นเครื่องหมาย “ การันตี” ความเก่า พระขุนแผนบ้านกร่างของแท้ ตั้งใจส่องให้ดี มีทุกองค์

ความที่เนื้อพระหยาบ ผสมเมล็ดทราย

เกิดสภาพ “ฟ่าม-ฟ่าว” เป็นโพรงอากาศภายใน เมื่อเอาพระแช่น้ำร้อน ที่จริงควรเป็นน้ำอุ่น จะเกิดพรายน้ำพุ่งออกมาเป็นสายคล้ายท่อออกซิเจนในตู้ปลา

รอจนสายพรายน้ำหยุด หยิบพระขึ้น พระบ้านกร่างเก่าแท้ น้ำจะแห้งระเหิดง่ายๆ ถ้าเป็นพระปลอม เนื้อเก่าไม่พอ จะอุ้มน้ำเอาไว้ นอกจากไม่เกิดพรายน้ำพุ่ง ยังอุ้มน้ำเป็นตุ่มกลมติดองค์พระ เอาขึ้นจากน้ำเป็นนานน้ำก็ยังไม่แห้ง

บททดสอบที่คุณมนัส โอภากุล ชี้แนะ ใช้การได้ในสมัยก่อน พระปลอมสมัยใหม่ทำโพรงอากาศในเนื้อ น้ำพุ่งเป็นสายได้ แห้งเร็วไม่แพ้กัน ลงท้ายก็ต้องใช้สายตาพิจารณาดูองค์ประกอบหลักอื่นๆ

เมล็ดแร่ ครบทุกสี หลุมว่านหลุดมีรารักสีดำเหมือนขนกาน้ำ และทั่งฝ้านวลดินบางๆ ก็ยังเป็นตัวช่วยที่ดี

ถ้าไม่มีพื้นฐาน ไม่มั่นใจในประสบการณ์ อยากได้พระขุนแผนบ้านกร่างสักองค์ ขอแนะนำให้ “พึ่งเซียน” สู้ราคาตลาดของเขาให้ได้ เลือกเอาพิมพ์นิยมน้อย พลายเดี่ยว หรือพลายคู่ตัด สภาพพองามราคาหลักหมื่นกลางๆ

ไม่แพงเกินไป กับการได้พระเครื่องชั้นดี คุ้มตัว

ราว พ.ศ.2512 ขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ องค์หนึ่ง เลี่ยมทอง 6 สลึง ฝีมือเฮียเก๊า กาญจนศิลป์ น้องนายทหารขอยืมไป ให้เพื่อนตายแขวนคอไปเป็นนักรบรุ่นจงอางศึกในลาว

สองปีต่อมา เพื่อนของน้องประกาศคำขาด ยังไงก็ไม่คืน ขอคืนเป็นตัวเงิน เหตุเพราะรอดชีวิตมาได้ ขณะเพื่อนร่วมสงคราม ตายไปกว่า 30 คน เจ้าของพระปฏิเสธเงิน ขอพระคืน เรื่องจบลง เมื่อไม่เอาเงินก็ไม่ได้พระคืน

สิ่งที่ได้คืนคือความมั่นใจในพลานุภาพพระขุนแผนบ้านกร่างเพิ่มมากขึ้น

ใครจะตั้งชื่อ “ขุนแผน” ให้พระกรุวัดบ้านกร่างนั้นวันนี้ไม่สำคัญแล้ว เพราะชื่อ “ขุนแผน” ดึงดูดให้เคลิ้มไปในทางเสน่ห์มหานิยม หนุ่มๆ ที่ซาบซึ้งในบทขุนแผน หรือพ่อพลาย พลายแก้ว พลายงาม หรือพลายชุมพล ชอบพระชุดนี้เหลือหลาย

เขาว่ากันว่าชายใดที่แขวนขุนแผนบ้านกร่างในคอ มักมีผู้หญิงหลายคน เรื่องนี้เท็จจริงแค่ไหน ไปหาขุนแผนแขวนคอพิสูจน์ด้วยตัวเอง.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  



(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq7VkY35pEdBeo0O875k6UF6dGvJAqkNqt5viY3.jpg)
สีเนื้อ หลวงพ่อแก้ว

จดจำฝังใจตั้งแต่วัยรุ่น เมื่อได้ดูหลวงพ่อแก้วพิมพ์ใหญ่หลังแบบวัดเครือวัลย์ สมัยนั้นเรียกวัดบางปลาสร้อย องค์มาตรฐานของหลวงพ่อมีน วัดปากอ่าวบางตะบูน หลวงพ่อแก้วแท้ต้องเนื้อสีกะลา

ฟังแล้วได้คิดว่า เนื้อสีอื่น...ไม่ใช่

ปี พ.ศ.นั้น สมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์ องค์สวยของคุณปิยะ ถาวโร วงการเรียก “เซียนเปีย” ผ่านงานประกวดวัดเพชรสมุทรวรวิหาร นายแบงก์ราชบุรีเช่าไป 3 พัน แต่หลวงพ่อแก้วองค์อาจารย์มีน ราคาตอนนั้น 2 หมื่น

ปี 2522 คุณฮกเจ็ง แซ่ตั้ง เซียนใหญ่เพชรบุรี เช่ามาราคา 3.5 แสน ไล่เลี่ยกับการเช่าวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จากคุณสนานกฤษณเศรณี มา 6.5 แสน ราคาหลวงพ่อแก้วกับสมเด็จโตผกผันไล่กันไป

สององค์นี้ประกวดได้ที่ 1 งานเพชรบุรี คุณฮกเจ็งตาย สมเด็จวัดระฆังถูกซื้อกลับเข้ากรุง 9.5 แสน

ข่าวหลวงพ่อแก้วหายไป แต่ตอนไปทำข่าวกำนันช้อง ผมเคยได้ดู จำได้ว่าเนื้อสีกะลาสภาพใกล้กับองค์อาจารย์มีน ปี 2526 ได้ดูอีกองค์ของคุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ ที่ศูนย์พันเลิศหน้าวัดมหรรณพ์เนื้อกะลาเหมือนกัน

ย้ำความรู้เดิม พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ไม่ว่าวัดเครือวัลย์ ชลบุรี หรือวัดปากทะเล เพชรบุรี เนื้อสีอื่นไม่มี

สามสิบปีต่อมา หนังสือภาพพระเครื่องทยอยกันออกมาให้ความรู้เพิ่ม เนื้อหลวงพ่อแก้วที่ว่าสีกะลานั้นเกิดจากสีเดิมของเนื้อนวลเหลืองปนน้ำตาลประสานกับเยื่อเนื้อรัก เนื้อนี้เรียกเนื้อจุ่มรัก

บางองค์ ที่เห็นผิวและเนื้อในค่อนไปทางดำ ในการทำพระต่อมาๆ หลวงพ่อท่านเอาน้ำรักผสมกับเนื้อพระ เป็นที่มาของเนื้อ “คลุกรัก” เนื้อนี้เมื่อลงรักแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความดำ ส่องให้ดีๆ จะเห็นสีดำสองชั้น ดำผิวเนื้อ ดำเนื้อรัก

รักหลวงพ่อแก้ว เซียนใช้หลักเดียวกับรักสมเด็จวัดระฆัง ถ้าเป็นรักจากเมืองจีนเรียกรักน้ำเกลี้ยง เนื้อสีแดงอมน้ำตาล ถ้าเป็นรักเมืองไทยสีดำอย่างเดียว อายุรักสองวัดห่างกันไม่มากนัก

หาพระราคาถูกกว่า เช่น หลวงพ่อโต นางพญาวัดโพธิ์ ดูรักเก่าทองเก่าให้คุ้นตา อ่านรักเก่าทองเก่าหลวงพ่อแก้วให้ออก จดจำพิมพ์หลวงพ่อแก้วให้แม่น บุญมาวาสนามี โอกาสได้หลวงพ่อแก้วแท้ก็มาถึงได้ไม่ยาก

เหลือบดูหลวงพ่อแก้วพิมพ์ใหญ่หลังแบบองค์ในคอลัมน์วันนี้ ถ้าเห็นภาพสีรักเท่าทองเก่า ถึงสมัย เหมือนองค์หนึ่ง ของคุณวิชัย ในหนังสือเล่มคิง เพาเวอร์ ที่ใกล้เคียงมากน่าจะเป็นสีเนื้อ องค์คุณวิชัย ใครดูก็สะดุดตา เพราะสีเนื้อไม่ใช่สีกะลา สีดำ สีน้ำตาล แต่เป็นสีน้ำตาลออกทางสีเทา

เอาล่ะซี นี่น่าจะเป็นความรู้ใหม่ เนื้อหลวงพ่อแก้วออกสีเทาก็มี

องค์ในคอลัมน์วันนี้ เจ้าของเป็นคนนอกวงการ ถือมาหลายสิบปีไม่มั่นใจ เพราะสีเนื้อออกทางสีเทาอ่อน ภาษาชาวเรือตังเกเรียก “หมอกอ่อน” เกรนเนื้อละเอียดกว่า

แต่ที่เทียบเคียงแล้วเหมือนมากก็คือรอยย่นรอยย้วยของเนื้อรักที่ยังเหลือในซอกองค์พระ

ในปื้นรัก ด้านหลังแบบแถวฐานพระ เนื้อรักส่วนที่เสียดสีจนบางมองเห็นเป็นสีแดง เข้าทฤษฎีรักสีดำเพราะหนารักสีแดงเพราะบาง พอดี

เซียนใหญ่พกวิชาดูพระหลวงพ่อแก้วขาด กล้าซื้อในราคาแพง มีน้อยคน เซียนน้อย ที่วิ่งตามหลังก็มักลังเล

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่ ที่ผ่านมือเซียน ถ่ายรูปมาให้ดูเป็นตัวอย่าง มีหลายสีหลายเนื้อ รวมแล้วยังไม่มากกว่า 20 องค์ พอๆ กับกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ

ยึดหลักดูเนื้อสีเดียวก็ไม่ได้ ยึดหลักรักเก่าทองเก่าก็ไม่พอ ต้องดูทุกอย่างรวมกัน เนื้อดี รักดี พิมพ์ดี

แต่ถ้าจะซื้อราคาแพง ก็ต้องยอมซื้อผ่านเซียนใหญ่ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่า เงินมีพอ หลวงพ่อแก้ว พิมพ์ใหญ่ สภาพนี้ถ้าได้มาในราคา 20 ล้าน เศรษฐีด้วยกันก็จะหลุดปาก ถูกมาก ซื้อได้ยังไง!

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  



(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq7YRRiTYhKEqWnWmTTvsLTV31OMs8mdqpQS9hU.jpg)
องค์ประกอบพระสวย

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้ ด้วยสายตาผู้ชำนาญ พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ปื้นรักที่เหลือ เยื่อรักที่ฉาบไล้ผิวพระ ฯลฯ หลักฐานที่เป็นตัวช่วยครบครัน ทั้งด้านหน้าด้านหลังมองผ่านเลยความเป็นพระแท้ไปได้โดยไม่มีข้อสงสัย

ประเด็นการพิจารณาที่ดูทันทีก็รู้ว่า เป็นพระสวย  คำถาม สวยขนาดไหน และองค์ประกอบความสวยมีอะไรบ้าง

นึกถึงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง องค์ดัง ที่ใช้องค์ครู เริ่มแต่องค์ขุนศรี องค์ลุงพุฒ องค์ครูเอื้อ องค์เสี่ยดม แม้คนละแม่พิมพ์ แต่ทุกองค์ติดแม่พิมพ์ออกมาคมชัด

ความคมชัดของพิมพ์ใหญ่ด้วยกัน เริ่มวัดกันที่พระพักตร์ พิมพ์ใหญ่ยังไม่ปรากฏองค์มีหน้าตา องค์ที่ชัดมากก็คงเป็นองค์ที่เห็น

เส้นหูซ้ายขวา แต่ส่วนใหญ่ติดแค่ต้นหู

ต่อมาก็คือที่อกองค์ลุงพุฒ กลางอกเห็นร่องรางเค้าสังฆาฏิ องค์เสี่ยดมเห็นเป็นปื้นสั้นๆ จากไหล่มาถึงใต้ราวนม องค์ขุนศรี องค์ครูเอื้อ ร่องกลางพระอุระไม่มี แต่ที่ติดชัดเจน เด่นสะดุดตาก็คือพระเพลา สองพระบาทแยกออกจากกันชัดเจน ตั้งแต่ปลายพระเพลาซ้าย ยกสูง ลาดราบลงต่ำไปถึงปลายพระบาท

จุดสิ้นสุดปลายพระบาทซ้าย อยู่ในแนวตรงกับข้อศอกขวา

เตือนกันไว้ จุดสังเกตพระสวย...ตรงนี้ พระปลอม ออกมาท้าตาเซียน นานเต็มทีแล้ว

ไล่ระดับต่ำลงมาถึงฐานชั้นแรก เส้นเรียวคม โอนอ่อนขนานรับแนวพระบาท คมขวานฐานสิงห์ ชั้นที่สอง เส้นคมเหมือนปลายมีด จนถึงฐานชั้นที่สาม องค์ที่ติดชัดมาก เห็นเส้นขอบบนและล่าง แต่ไม่ชัดเจนเหมือนพิมพ์เส้นด้าย

พิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์วันนี้ มีสิ่งพิเศษที่ยืนยันความคมชัดกว่าหลายองค์ ตรงที่ติดเส้นแซม กลางระหว่างฐานชั้นที่หนึ่งและฐานชั้นที่สองแปลกตาก็ตรงที่ถ้าติดชัดปกติ ควรจะติดสองเส้น แต่องค์นี้ติดเส้นเดียว

อย่าลืมบทเรียนเดิม แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ หลวงวิจารเจียระไน แกะแม่พิมพ์ไว้คมลึกทุกมิติ หน้าตาคมชัด สังฆาฏิ การซ้อนพระบาท และเส้นแซม ทุกองค์ถ้าไม่ยุบหาย สองเส้นจะมีให้เห็นเหมือนพิมพ์ฐานแซม

ดูไปที่เส้นซุ้ม ติดเต็มพอดีๆ ยังไม่หนีนิยาม “หวายผ่า” ส่วนที่โค้งเอียงซ้ายพองาม ประกอบกับการตัดกรอบประณีตบรรจง ตัดพอดีเส้นกรอบทั้งสี่ด้าน

อาจารย์ตรียัมปวาย ท่านใช้คำบรรยายสภาพตรงนี้ว่า “สมภาคงาม”

ใครมีหนังสือสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เล่มที่สปิริตจัดพิมพ์ รวมองค์ดังไว้ 140 องค์ เทียบเคียงองค์ที่ “คมชัด” ในระดับองค์ครู อยู่ไม่เกิน 10 องค์

ถ้าไม่ตั้งอคติ องค์นี้ไม่ผ่านวงการ ไม่ผ่านมือเซียน ดูกันด้วยใจเป็นธรรม ผมขอให้องค์น้องใหม่องค์นี้ เข้าไปรวมด้วยองค์หนึ่ง

นี่ว่ากันถึงความสวยคมที่เด่นชัดด้านหน้าแต่ถ้าดูด้านหลังถึงวันนี้ก็ยังต้องยอมยกให้องค์ขุนศรี องค์ลุงพุฒ องค์ครูเอื้อ เป็นที่หนึ่ง สัญลักษณ์ด้านหลังสามองค์นั้น สวยตามธรรมชาติ จับใจ

ด้านหลังพิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์ วันนี้ ดูไม่ผุดผาดสะอาดตาเพราะมีปื้นรัก หนาบางสลับกันบดบัง

เจ้าของพระจงใจให้ดูสภาพเดิมๆ เพราะหากจะล้างรัก ชำระผิวเนื้อให้สะอาด ริ้วรอยสัญลักษณ์ กาบหมาก สังขยา ผสมกันไป ก็จะโผล่ให้เห็น

นานปีจะมีพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สภาพสวยคมหน้าใหม่ จะถูกนิมนต์มาให้ดูเป็นองค์ครูสักองค์ มีโอกาสแล้วก็ดูให้เต็มตา ดูแล้วจะเข้าใจเองว่าพระสมเด็จวัดระฆังแท้นั้นเป็นอย่างนี้เอง.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq3sSuZELIKGh4xbKkyJsej5CS0eaJq5BY9kc9h.jpg)
พระพิมพ์จิตรลดา

เมื่อพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แพร่หลาย ชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อพระพิมพ์กำลังแผ่นดิน พระพิมพ์จิตรลดา สมเด็จหลวงพ่อจิตรลดา ผู้ใกล้ชิดเคยยินว่ามีพระราชประสงค์ให้เรียกพระพิมพ์จิตรลดาเท่านั้น

นิตยสารสปริต ฉบับเดือน พ.ย.-ธ.ค. พ.ศ.2546 นำเสนอเรื่องพระพิมพ์จิตรลดาว่า

สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้ปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมา พระพุทธนวราชบพิตร เข้ามาในพระราชฐาน พระตำหนักจิตรลดา แกะแม่พิมพ์พระพิมพ์จิตรลดา ทรงตรวจสอบแล้วแก้ไขจนเป็นที่พอพระทัย ได้พระพิมพ์ปางนั่งสมาธิราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประดับเหนือบัวบาน บน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ (จำนวนเท่ารัชกาลที่ 9) รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แบ่งเป็นสองแม่พิมพ์

พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. พิมพ์เล็กแกะแม่พิมพ์ทีหลัง มีพระราชประสงค์พระราชทานให้เด็กๆ กว้าง 1.2 ซม. สูง 1.9 ซม.

มวลสารประกอบด้วยผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลจากจังหวัดต่างๆ พวงมาลัยดอกไม้สด ที่ประชาชนถวายระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เส้นพระเจ้า ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตรฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคลสีที่ขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ฯลฯ

ทุกองค์ทรงทำด้วยฝีพระหัตถ์ มีเพียงเจ้าพนักงานหนึ่งคนคอยถวายพระสุธารส และคอยหยิบสิ่งของถวาย เริ่มแต่การถอดแม่พิมพ์ ผสมมวลสาร เทลงแม่พิมพ์ ตกแต่งองค์พระขอบข้างพระให้เรียบร้อย ทำในช่วงเวลาดึกหลังทรงพระอักษร

การผสมวัตถุมงคล จะทรงผสมให้พอดี ที่จะพิมพ์ให้หมดในแต่ละครั้ง

พระพิมพ์จิตรลดาไม่มีพิธีพุทธาภิเษก เช่น พระเครื่อง เหรียญ และวัตถุมงคลอื่น ทรงอัญเชิญพระพิมพ์ด้วยพระราชหฤทัยอันมั่นคงในทศพิธราชธรรม

พระที่พิมพ์เสร็จแล้วจะพระราชทานให้เป็นรายบุคคลไม่เลือกชั้นวรรณะ ข้าราชบริพาร นักการเมือง นายทหาร นายตำรวจ คนขับรถ คนทำสวน แม่ครัว และทหารที่ออกรบในสมรภูมิต่างๆ

ขณะพระราชทานทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ประพฤติปฏิบัติคุณงามความดีอยู่ในศีลในธรรมยึดมั่นในอำนาจพุทธคุณ และสุดท้ายจะทรงกำชับให้เอาทองเปลวปิดที่ด้านหลังองค์พระ

นัยของกระแสรับสั่งนี้ คือขอให้อย่าทำความดีแบบเอาหน้า

ทุกคนที่ได้รับพระราชทานพระพิมพ์จิตรลดาจากพระหัตถ์ ไม่นานก็จะมีใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) เป็นเอกสารส่วนพระองค์ ที่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลัง

พระพิมพ์จิตรดลา แม้จะมีแค่สองพิมพ์ แต่สภาพเนื้อและผิวพระแต่ละปีจะไม่เหมือนกันทีเดียว ตั้งแต่ปี 2508 ถึงปี 2513 จำนวนสร้างรวมกัน ผู้รู้บอกว่าไม่เกิน 3 พันองค์

แม้พระพิมพ์จิตรลดาเป็นของสูง ของส่วนพระองค์ ผู้รับพระราชทานมักไม่ปริปากบอกใคร แต่เวลาที่ผ่านมา เมื่อเป็นที่รู้จักและต้องการ ก็มีการเปลี่ยนมือซื้อขายกันในราคาแพงในหมู่นักนิยมพระชั้นสูง

องค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดเจนงดงาม พิมพ์ 2513 ขึ้นปกสปริต ระบุชื่อเจ้าของและมูลค่า 2.8 ล้านบาท

กว่าจะได้พระพิมพ์จิตรลดาแท้แต่ละองค์ นอกจากใช้เงินก้อนใหญ่แล้วยังต้องใช้ปัญญาในการตรวจสอบพระแท้ ใบกำกับองค์พระ และหาหลักประกันความมั่นใจจากคนขาย

ที่เห็นๆวางกันตามแผงพระทั่วไป เป็นของปลอมทั้งนั้น พระแท้เป็นของสูง จึงมักอยู่กับคนชั้นสูง รู้จักตัวเองเป็นคนธรรมดาสามัญ ก็ควรเจียมใจ อย่าสนใจไขว่คว้าเลย.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurCi5LnGH5aftey2sPvUiBStWsi9pIxm8V2sC9L.jpg)
ลายงาสกังกะโลก

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อแตกลายงาและแตกสังกะโลกนั้น ของแท้มีน้อยนัก ของปลอมฝีมือใกล้เคียงมีมาก แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ก็ยังแยกแยะได้ องค์ไหนเก๊แท้

ภาพด้านหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์ในคอลัมน์วันนี้ วงการเรียกเนื้อแตกลายงา ด้านหลังมาตรฐานคือไม่แตกลายงา เต็มไปด้วยริ้วรอยธรรมชาติแบบหลังวัดระฆังทั่วไป

ครู “ตรียัมปวาย” อธิบายไว้ว่า การแตกลายงาเป็นลวดลายธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จ ซึ่งเป็นเนื้อปูนปั้นและจัดเป็นสุนทรียะทางเนื้อ ที่มีคุณค่ามาก และปรากฏเป็นส่วนน้อย

สำหรับเนื้อที่ผ่านการลงรักเก่ามาแล้ว และปรากฏเฉพาะของวัดระฆังเท่านั้น

มูลกรณีการแตกลายงา เกี่ยวพันกับปัจจัย 5 ประการ

1.การลงรักเก่า ให้ถือเป็นกฎตายตัว การแตกลายงา จะเกิดขึ้นเฉพาะเนื้อที่ผ่านการลงรักเก่ามาแล้ว

เหตุที่เกิดลายงาอย่างจัด เพราะรักดำมีสัณฐานหนากว่ารักน้ำเกลี้ยง เนื้อรักแน่นเหนียวกว่า จับเนื้อพระแน่นหนา ในขณะที่เนื้อพระยังไม่แห้งสนิท ทำให้ฟองอากาศคายตัวออกมาได้ยากกว่า ปฏิกิริยาแรงดันภายในจึงมากกว่า

2.ปฏิกิริยาภายใน ในโอกาสที่เนื้อพระยังไม่แห้งสนิทนั้น ผิวภายนอกย่อมจะแข็งตัวใกล้จะแห้ง แต่ภายในยังมีความชื้น รวมทั้งน้ำและน้ำมันตังอิ๊ว เป็นตัวถ่วงให้แห้งช้า

ดังนั้น การที่เนื้อถูกลงรัก โดยที่เนื้อรักมีความแน่นทึบและแห้งช้ามาก เนื้อพระดูดซึมส่วนที่เป็นน้ำของรักเข้าไว้อีก ฟองอากาศจากปฏิกิริยาปูนเดือดภายในเนื้อ หาทางระเหิดออกมาไม่ถนัด เนื่องจากมีรักมาฉาบยาผิวเนื้อ จึงทำให้เกิดแรงดันภายในเนื้อ

เป็นผลให้เกิดรอยร้าวเป็นเกล็ดๆ ตลอดบริเวณผิวเนื้อด้านหน้า คือการแตกลายงา

3.การยุบตัวของเนื้อ ขณะเนื้อยุบตัวควบแน่น เพื่อการแห้งสนิท หลังละอองความชื้นคายตัว พร้อมกับการเกิดแรงดันภายใน ขณะที่เนื้อรักที่ฉาบผิวเนื้อ ก็มีอัตราการยุบตัวแห้งเหมือนเนื้อ แต่ใช้เวลามากกว่า จึงทำให้เกิดแรงดึงในทิศทางต่างๆ

4.ความแกร่งของเนื้อ ส่วนผสมเนื้อที่เป็นปูนขาวเป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาปูนเดือดกับน้ำ เป็นมวลสารที่ทำให้เกิดการยุบตัวมากหรือน้อย ถ้าเป็นเนื้อแก่ปูนขาวจะเกิดปฏิกิริยาปูนเดือดรุนแรง การยุบตัวเมื่อแห้งสนิทก็มีมาก ทั้งสองกรณีทำให้เกิดการแตกลายงาอย่างจัด

ดังนั้น พระเนื้อปูนแกร่งเนื้อขนมตุ้บตั้บที่ผ่านการลงรักเก่าน้ำดำย่อมจะแตกลายงาอย่างจัดที่สุด

แต่ถ้าเนื้อปูนนุ่ม มีส่วนผสมปูนขาวน้อย แม้จะลงรักเก่าน้ำดำก็จะแตกลายงาอย่างอ่อน และถ้าลงรักน้ำเกลี้ยงก็เพียงคล้ายจะแตกลายงา เห็นเป็นลายตื้นๆรางๆ คล้ายลายนกไข่ปรอด

5.เป็นกฎอีกข้อหนึ่ง การแตกลายงาจะเกิดขึ้นเฉพาะด้านหน้า สำหรับด้านหลังจะไม่ปรากฏลายงาเป็นอันขาด

ครูตรียัมปวายอธิบายย้ำ ปกติการวางพระจะต้องหงายด้านหน้า ผิวพื้นด้านหน้าจึงถูกแรงดันภายใน ในขณะที่ด้านหลังไม่ได้รับแรงดันนั้น การแตกลายงาจึงไม่เกิด

แต่กฎนี้คนละเรื่องกับกรณี “ริ้วระแหง” ด้านหลัง ที่เป็นปฏิกิริยาจากการผสมเนื้อกับน้ำมันไม่พอดี เป็นกรณีที่คล้ายกับ “การแตกสังกะโลก” ที่ด้านหน้า

การแตกสังกะโลก รอยแตกไม่มีเนื้อรักเข้าไปแทรกต่างจากการแตกลายงา เนื้อรักจะเข้าไปแทรกไล้อยู่ในทุกริ้วรอย

ทบทวนหลักครู ส่องไป คิดไป ทำความเข้าใจ ไม่ช้าปัญญาจะเกิดตามมา บุญมาวาสนามี พระสมเด็จวัดระฆังไม่ว่าเนื้อแตกลายงา หรือไม่แตกลายงาท่านอาจจะมาโปรดถึงมือสักองค์

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 ตุลาคม 2559 18:48:07

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86823141574859_1449509586_3614_3619_3632_2_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/35293232401211_14495095471449509670l_1_.jpg)
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

เมื่อเอ่ยนาม "หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ" คงไม่มีใครในภาคตะวันออกที่ไม่รู้จัก ชื่อเสียงของท่านโด่งดังพร้อมกับหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ในนาม "จาด จง คง อี๋"

พระครูวรเวทมุนี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามหลวงพ่ออี๋ เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ จ.ชลบุรี พระเกจิผู้โด่งดังในสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างแจกจ่ายแก่เหล่าทหารหาญล้วนทรงพุทธคุณปรากฏเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ท่านยังเป็นพระเกจิผู้อุทิศตนเสริมสร้างพระพุทธศาสนาและพัฒนาชุมชน ผู้สร้างวัด โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนและทหารเรือแถบสัตหีบมาตั้งแต่อดีต เปรียบเสมือน "เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก" ในสมัยนั้น ชื่อของท่านยังคงจารึกในความทรงจำของชาวเมืองสัตหีบและพุทธศาสนิกชนมาสืบถึงปัจจุบัน

นามเดิมว่า อี๋ เป็นชาวจังหวัดชลบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408 ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ บิดา-มารดา ชื่อ นายขำ-นางเอียง ทองขำ

ในวัยเด็กนับเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดเกินวัย และมีน้ำใจงามชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เป็นนิจ เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอก ซึ่งบัดนี้ได้ยุบรวมเข้าเป็นวัดอ่างศิลาวัดเดียว  โดยมี พระอาจารย์จั่น จันทโส วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร"

หลวงพ่ออี๋มีความใฝ่ใจในการธุดงควัตร ยึดความสันโดษ เมื่อถึงหน้าออกพรรษาท่านก็จะเริ่มธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ที่ใดมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านก็จะเข้าฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาการต่างๆ พระอาจารย์ของท่านนั้นมีมากมาย อาทิ พระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลา, พระอาจารย์จั่น แห่งวัดเสม็ด และหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เป็นต้น

หลวงพ่อก็สามารถเรียนรู้ในทุกวิทยาการได้อย่างเชี่ยวชาญ นับว่าท่านเป็นพระเกจิรูปหนึ่งที่มีความชำนาญในด้านสมถวิปัสสนาธุระและมีฌานสมาบัติสูงส่งในสมัยนั้น และไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปแห่งใดท่านก็มักเมตตาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือป่วยไข้อยู่เสมอ พร้อมเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแก่สาธุชนจนกระทั่งชื่อเสียงท่านระบือไกล

คราหนึ่ง เมื่อหลวงพ่ออี๋ได้ออกธุดงค์มา ถึงอ่าวสัตหีบ เห็นว่าเป็นบริเวณที่สงบเงียบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกลด ณ สถานที่นั้น บรรดาสาธุชนทั้งหลายที่ได้มานมัสการกราบไหว้ ต่างเลื่อมใสศรัทธาม

กอปรกับต้องการสร้างวัดเพื่อให้มีศาสนสถานไว้ประกอบศาสนกิจต่างๆ หลวงพ่ออี๋จึงได้ตกลงใจสร้างวัด โดยมีชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาร่วมแรงร่วมใจกันคนละไม้คนละมือจนกระทั่งสำเร็จสมประสงค์

คือ "วัดสัตหีบ" หรือที่เรียกว่า "วัด หลวงพ่ออี๋" มาจนทุกวันนี้ โดยท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก

นอกจากนี้ หลวงพ่ออี๋ยังให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างโรงเรียนประชาบาล 1 แห่ง ชื่อ "โรงเรียนบ้านสัตหีบ" ต่อมาย้ายมาตั้งที่ถนนบ้านนา ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนบ้านนา" ส่วนอาคารเรียนเดิมชื่อ "ศาลาธรรมประสพ" ปัจจุบันคือ "ห้องสมุดของวัดสัตหีบ"

มรณภาพวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2489

สร้างพระเครื่องรางต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งปลัดขิก ตะกรุด เสื้อยันต์ เหรียญพระปิดตา "พระสาม" และ "พระสี่" (พรหมสี่หน้า) ซึ่งล้วนสร้างประสบการณ์เป็นที่ปรากฏเลื่องลือในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ค้าขาย และเมตตามหานิยม ครบครัน

สำหรับปลัดขิกนั้น เรียกว่ามีชื่อเสียงพอๆ กับ หลวงพ่อเหลือ แปดริ้ว ทีเดียว แต่ที่ขึ้นอันดับยอดนิยมต้องยกให้ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2473"

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2473 เนื่องด้วยทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธานประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย

โดยจัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์รูปไข่ สำหรับผู้ชาย และพิมพ์พุ่มข้าวบิณฑ์ สำหรับผู้หญิง มีเนื้อทองคำ นาก เงิน และทองแดง

ปัจจุบันเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรก พิมพ์รูปไข่ เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงมาก ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม แบบหูเชื่อม ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือศีรษะเป็นตัวอุณาโลม และมีอักขระขอม "อุ มะ อะ"

ข้างแขนทั้งสองมีอักษรไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋" และ "วัดสัตหีบ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์ ด้านหลังเป็นยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุตัวเฑาะว์โค้งรอบขอบเหรียญเขียนอักษรไทยว่า "ที่ระฤก ในงานหล่อพระพุทธรูป พ.ศ.2473"

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรกนับเป็นเหรียญเก่าที่หายากยิ่ง และมีการทำเทียมกันมานานมาก

ดังนั้นจะหาของแท้ต้องใช้ความชำนาญสูงทีเดียวครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59784382333358_1.jpg)
หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน พระเกจิชื่อดังนครปฐม

ถ้ากล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองนครปฐม นาม "หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม" จะเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ทุกคนเคารพเลื่อมใสและลูกศิษย์ลูกหามากมาย ด้วยเมตตาบารมีและพุทธคุณแห่งวัตถุมงคลเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือ แต่มีพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่หลวงพ่อเงินให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ถึงกับออกปากว่า "เก่งกว่าท่านมากนัก" และจะเรียกขานว่า "หลวงพี่" มาโดยตลอด

นอกจากนี้ ท่านมักกล่าวกับผู้ที่เดินทางไปขอวัตถุมงคลกับท่านเสมอว่า "คุณเลยของดีมาเสียแล้ว หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน นั่นแหละ ของดีของจริง ไปเอาที่นั่นเถอะโยม" พระเกจิรูปนั้นก็คือพระครูสิริวุฒาจารย์หรือหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน จ.นครปฐม

ย้อนไปสมัยยังหนุ่มแน่น พระเกจิ 3 รูปจะออกธุดงค์ร่วมกันเสมอทุกปีมิได้ขาด ประกอบด้วย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ครั้งหนึ่งขณะที่เดิน ธุดงค์ผ่านเข้าไปในป่าดงดิบแถบกาญจนบุรี ไปพบกระทิงโทนตัวหนึ่ง มันไล่ขวิดเข้าทำร้าย หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อเต๋ได้เดินหลบไป แต่หลวงพ่อห่วงกลับไม่หลบ ยังคงยืนภาวนาพระคาถาอยู่ตรงที่เดิม เมื่อเจ้ากระทิงโทนวิ่งเข้าใส่ไล่ขวิดก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่มันขวิดไปไม่ถึงตัวท่าน คงขวิดได้แค่ดินตรงหน้าท่านเท่านั้น จนฝุ่นตลบอบอวลไปทั่ว หลังจากขวิดได้สักพักมันก็แผดเสียงร้องคำรามแล้ววิ่งหนีไป ...

หลวงพ่อห่วงเป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด เกิดที่ อ.สามพราน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายน ปีพ.ศ.2428 อายุได้ 22 ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทรงคนอง จ.นครปฐม มีหลวงพ่อรุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแจ่ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "สุวณฺโณ"

เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสมถะ รักสันโดษ และใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน เมื่อถึงช่วงออกพรรษาท่านมักจะออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ แสวงหาที่สงบ เพื่อปลีกวิเวกและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระอาจารย์รุกขมูลชื่อดัง

พรรษาที่ 6 มาปักกลดที่บริเวณวัดท่าใน ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พร้อมใจกันอาราธนาท่านให้จำพรรษาที่วัดท่าใน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งนอกเหนือจากพัฒนาและบำรุงเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับแล้ว ท่านยังคงปฏิบัติกิจสงฆ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สั่งสอนธรรมะ แนะนำช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง

จนปีพ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใน และสมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวุฒาจารย์ ท่านมรณภาพในปีพ.ศ.2506 สิริอายุรวม 75 ปี พรรษาที่ 56 พระราชทานเพลิงศพวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2507

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีมากมายหลายแบบ ทั้งตะกรุดโทน ด้ายมงคล พระพิมพ์ผงเกสร และเหรียญรูปเหมือน ว่ากันว่าการปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านนั้นฉมังนัก อย่าง "พระผงเกสร" เมื่อท่านตากพระแห้งสนิทแล้วก็จะนำไปใส่ในบาตรที่มีน้ำเต็มขอบบาตรและนั่งบริกรรมปลุกเสก จนพระลอยขึ้นมาเหนือน้ำจึงจะใช้ได้ องค์ไหนที่จมถือเป็นพระเสีย พระเครื่องของท่านจึงเปี่ยมด้วยพุทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชา ทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เป็นที่หวงแหนยิ่งนัก ประการสำคัญเมื่อท่านจะมอบวัตถุมงคลให้ใครท่านจะพิจารณาอย่างมากและสำทับด้วยว่า "มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ"

ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหาดูค่อนข้างยากเอามากๆ ที่พอจะเห็นได้อยู่ก็จะเป็น "เหรียญรูปเหมือน" ซึ่งมีทั้งหมด 3 รุ่น และรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่สร้างในปีพ.ศ.2499 โดยลูกศิษย์เป็นผู้สร้างถวาย เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ จำนวนประมาณ 500 เหรียญ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเงิน เนื้อทองแดงรมดำมีบ้างแต่น้อยมาก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อห่วง รุ่นแรก ปี 2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม ทรงเสมาคว่ำ หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อห่วงครึ่งองค์ หน้าตรง มีอักษรไทยระบุชื่อ "หลวงพ่อห่วง" ตกแต่งโดยรอบด้วยลายกนก ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์กระต่ายสามขา" ซึ่งเป็นยันต์ด้านคงกระพันชาตรีซ้อนกัน 2 ยันต์ โดยรอบเป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ มะ อะ อุ" ยอดบนเป็น "อุณาโลม" ด้านล่างเป็นอักขระขอมว่า "นะ อุ ทะ" ครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64732291508052_3.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/28597614044944_2.jpg)
ยอดเหรียญพระเกจิเมืองเพชร เหรียญหลวงปู่ชิต วัดมหาธาตุ

เมืองเพชรบุรี ที่ได้รับสมญาว่า "เมืองพระ" ใช่ว่าจะมีเพียงพระกรุเก่าที่เป็นที่เคารพศรัทธาและนิยมกันอย่างกว้างขวางเท่านั้น พระเกจิอาจารย์แห่งเมืองเพชรบุรีก็มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ศรัทธาอยู่หลายต่อหลายรูป อาทิ หลวงพ่อตัด วัดชายนา, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ และ หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นต้น พระเกจิเมืองเพชรที่จะกล่าวถึงในฉบับนี้เป็นหนึ่งในพระเกจิผู้เป็นเนื้อนาบุญในพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้

พระครูสุวรรณมุนีนรสีห์ธรรมทายาทสังฆวาหะ หรือที่เรียกกันว่า หลวงปู่ชิต อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 8 แห่งวัดมหาธาตุ จ.เพชรบุรี ผู้สร้างเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้พระพุทธศาสนาคงอยู่ยั่งยืน มีเมตตาธรรมสูงส่ง สร้างคุณูปการมากมาย เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่วโดยเฉพาะชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง

หลวงปู่ชิต เดิมชื่อ ชิต เป็นบุตรของ หมื่นโยธา (สัง) และ นางอุ่ม ชิตรัตน์ เกิดวันอังคาร เดือน 4 แรม 13 ค่ำ ปีขาล ปีพ.ศ.2410 ที่ ต.บ้านต้นมะม่วง อ.คลองกระแชง จ.เพชรบุรี อายุได้ 11 ขวบบิดานำไปฝากไว้กับท่านเจ้าอธิการครุธ วัดมหาธาตุ ซึ่งมีศักดิ์เป็นตา เพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอม พออ่านออกเขียนได้ตามประเพณีโบราณ พออายุ 22 ปีได้อุปสมบทที่วัดจันทร์ โดยมีท่านเจ้าอธิการกรุด วัดจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านเจ้าอธิการครุธ วัดมหาธาตุ เป็นกรรมวาจาจารย์ และท่านอาจารย์พ่วง วัดจันทร์ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุวณณโชติ"

จากนั้นมาจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ ศึกษาร่ำเรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับท่านเจ้าอธิการครุธ จนท่านมรณภาพ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร จำพรรษาที่วัดโมลีโลกย์ ปากคลองบางกอกใหญ่ ประมาณ 11 พรรษา จนปีพ.ศ.2448 เจ้าคุณพระพิศาลสมณกิจ (สิน) พร้อมด้วยญาติโยมได้นิมนต์ท่านกลับเมืองเพชรบุรี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ

ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ชิตปกครองดูแลวัดมหาธาตุ ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร อุโบสถ พระเจดีย์ และพระศรีรัตนมหาธาตุ (พระปรางค์ใหม่ 5 ยอด)

หลวงปู่ชิตได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมา จนสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระครูสุวรรณมุนีนรสีห์ธรรมทายาทสังฆวาหะ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี ในปีพ.ศ.2471 ท่านมรณภาพในวันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม 2487 สิริอายุได้ 78 ปี 4 เดือน 14 วัน พรรษา 57 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมหาธาตุ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 6-9 มีนาคม 2492

แม้ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตหลวงปู่ชิตยังได้อาราธนาพระสงฆ์ทั้งวัดมาประชุมล้อมรอบเตียงนอนของท่าน และให้โอวาทว่า "ขอท่านทั้งหลายจงมีความสามัคคีกัน ฉันเป็นห่วงพวกเธอมาก..." จากนั้นได้อาราธนาพระสงฆ์ให้สวดมนต์พระสูตรต่างๆ และตั้งใจฟังด้วยอาการอันสงบ จนถึงแก่มรณภาพ
 
"เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" หลวงปู่ชิตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธา ในคราวสมโภชเฉลิมฉลององค์พระปรางค์ 5 ยอด (พระศรีรัตนมหาธาตุ) 5 วัน 5 คืน เมื่อปีพ.ศ.2480 ในพิธีพุทธาภิเษกมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังเมตตาเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงปู่นาค วัดหัวหิน, หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก, หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง และ หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เป็นต้น

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่ชิต ปี 2480 จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงิน, เนื้อนาก และเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูในตัว ทรงเสมาคว่ำ ด้านหน้าขอบเหรียญประดับด้วยซุ้มกระหนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ ระบุสมณศักดิ์ "พระครูสุวรรณมุนี" ด้านหลังยกขอบเป็นสันหนา ตรงกลางเป็นรูปองค์พระปรางค์ 5 ยอด ด้านล่างระบุปีพ.ศ.ที่สร้าง "๒๔๘๐"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70687700642479_1470658172_9_1_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/97453272922171_1470658187_1_1_.jpg)
วัตถุมงคลชิ้นเอก เจ้าคุณนรฯ พระสมเด็จ หลังอุ ปี 2512

ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ หรือพระยานรรัตนราชมานิต ที่รู้จักและรำลึกนึกถึงกันในนาม "เจ้าคุณนรฯ" นั้น ไม่ว่าท่านจะสร้างหรือปลุกเสกวัตถุมงคลจากที่มีผู้จัดสร้างมา ทั้งพระเครื่อง พระผง พระกริ่ง และเหรียญต่างๆ มีคำกล่าวทิ้งท้ายไว้เสมอว่า "แม้ท่านจะตั้งใจอธิษฐานจิตและ ผ่เมตตาลงใน "พระเครื่อง" ด้วยความเชื่อมั่นว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถปกป้องคุ้มครองผู้สักการบูชาได้ก็จริง แต่ผู้มีพระเครื่องไว้คุ้มครองนั้นก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เจ้าของที่มาแห่งองค์พระปฏิมานั้นด้วย"

ในบรรดาวัตถุมงคลของท่าน "พระพิมพ์สมเด็จ หลังอุ" นับเป็นพระอันดับหนึ่งที่มีค่านิยมสูง เรียกว่า "เปลี่ยนมือกันทีถึงห้า-หกหลักเลยทีเดียว" ตามสภาพความสวยงามและสมบูรณ์ขององค์พระ

พระสมเด็จหลังอุ เป็นพระพิมพ์เนื้อผง สร้างในปีพ.ศ.2512 โดยท่านเจ้าคุณพระอุดมสารโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์สมัยนั้น โดยรวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย ผงแป้งเจิม "พระพุทธมงคลนายก" ซึ่งเหลือจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเมื่อครั้งถวายผ้าพระกฐิน ในปีพ.ศ.2508, ผงธูปจากพิธีอธิษฐานจิตพระพุทธมงคลนายก พระกริ่งเชียงแสน และแผ่นยันต์ดวงทอง-เงิน-ทองแดง เมื่อปีพ.ศ.2508, ผงพระเครื่องเก่า อาทิ เศษแตกหักจาก พระสรงน้ำสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปีพ.ศ.2484 และสรงน้ำเกาหลี ปีพ.ศ.2493 เป็นต้น

รวมทั้งพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้เก็บสะสมไว้

จากนั้นนำมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตเป็นเบื้องต้นครั้งหนึ่งก่อนนำไปสร้างเป็นองค์พระ โดยนำ "พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่" ของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาเป็นต้นแบบ และได้ ช่างเล้ง (ธีระศักดิ์ ธรรมชาตรี) ช่างฝีมือผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้นเป็นผู้แกะพิมพ์ จัดสร้างจำนวน 3,000 องค์ หลังจากสำเร็จเป็นองค์ พระแล้วได้แบ่งให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตถึง 3 ครั้ง 3 วาระ ดังนี้

ครั้งแรก ท่านเจ้าคุณอุดมฯ และคุณอำไพ แก้วพงศ์ หรือมหาอำไพ อดีตพระวัดเทพศิรินทร์ ได้ขอเมตตาจากท่านเจ้าคุณนรฯ ให้อธิษฐานจิต ณ พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2513 จำนวน 800 องค์ เพื่อนำไปแจกเป็นของขวัญแก่ผู้ที่เข้าร่วมพิธีมงคลสมรสของคุณอำไพ

ครั้งที่ 2 ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตอีก 800 องค์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2513 เพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม สำหรับประทานแก่พุทธบริษัทชาวฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และชาวไทยในฮ่องกงที่คอยเฝ้ารับเสด็จและสดับฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งท่านก็เมตตาอธิษฐานจิตให้อีก ซึ่งจะได้เห็นว่าพระสมเด็จหลังอุ มีแพร่หลายในฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีด้วยในปัจจุบัน

ครั้งที่ 3 ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้นำพระที่เหลืออีก 1,400 องค์ เข้าพิธีใหญ่ "เสาร์ห้า" ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2513 ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ โดยท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้พร้อมกับพระพิมพ์อื่นๆ จากนั้นท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้ แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและผู้มาทำบุญกับท่านเรื่อยมา จนปีพ.ศ.2516 พระได้หมดลงโดยไม่มีเหลือติดตัวท่านแม้เพียงองค์เดียว

พระสมเด็จ หลังอุ มีความยาว 3.4 ซ.ม. ด้านบนกว้าง 2 ซ.ม. ด้านล่างกว้าง 2.2 ซ.ม. พุทธลักษณะพิมพ์ทรงคล้าย "สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่" แต่วรรณะจะออกสีขาวปนเหลือง บางองค์ออกเหลืองปนเทาก็มี และมีเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิเหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางสลักอักษรขอม อ่านว่า "อุ" ในเนื้อองค์พระอย่างชัดเจน

"อุ" นั้นย่อมาจากคำว่าอุดม หรืออุตมะ หมายความว่าสูงสุดหรือประเสริฐสุด และยังเป็นอักษรคำแรกของสมณศักดิ์ผู้สร้าง คือท่านเจ้าคุณพระอุดมสารโสภณอันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทาน

จุดตำหนิการพิจารณ จะสังเกตว่าพิมพ์แรกๆ จะมีเส้นพระศอ (คอ) ยาวมาถึงพระอังสา (ไหล่) และมีเส้นน้ำตกจากฐานชั้นที่ 1 ลงมาชั้นที่ 2 ระหว่างช่วงพระพาหา (แขน) ที่หักศอก แต่ต่อมาตำหนิเหล่านี้ถูกแป้งโรยพิมพ์อุดทับทำให้เลือนหายไป นอกจากนี้ องค์พระด้านหน้าบางแห่งจะเกิดรอยร้าว บางแห่งแม่พิมพ์ตรงพื้นผิวหลุดไป ทำให้เกิดเป็นตุ่มหรือเม็ดขึ้นมา ส่วนพิมพ์ด้านหลัง พื้นผิวจะหยาบคล้ายหนังช้าง ประการสำคัญในการพิจารณาคือ "ขอบขององค์พระ" ด้านบนทั้ง 4 ด้านค่อนข้างเรียบ

แต่ด้านล่างทั้ง 4 ด้านจะหยาบครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37358347781830_1.jpg)
ยอดวัตถุมงคลแดนใต้ เหรียญรูปเหมือนพ่อท่านนวล วัดไสหร้า เมืองนครศรีธรรมราช

พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์ หรือหลวงพ่อนวล ปริสุทโธ หรือ "พ่อท่านนวล" อดีตเจ้าอาวาสวัดประดิษฐาราม หรือวัดไสหร้า ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช อีกหนึ่งพระสงฆ์แดนใต้ผู้เปี่ยมด้วยจริยวัตรอันงดงามสมเป็นเนื้อนาบุญของชาวใต้ โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชอย่างแท้จริง

เป็นชาวบ้านไสหร้า ต.ทุ่งสัง (ปัจจุบันคือ ต.บางรูป) โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2465 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 5 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ ในตระกูลเจริญรูป เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดภูเขาหลัก ต.ทุ่งสัง โดยมีพระครูถาวรบุญรัตน์ วัดท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดชื่น อินทสุวัณโณ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ ได้ฉายา "ปริสุทโธ"

ท่านเป็นพระเกจิผู้สนใจใฝ่ศึกษาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดประดิษฐารามหรือวัดไสหร้า จนสอบได้นักธรรมชั้นโทและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามพระครูวิสุทธิ์บุญดิตถ์ ปี พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ่อท่านนวลเป็นพระเกจิผู้มีปฏิปทาและศีลาจริยวัตรงดงาม สมถะ พูดน้อย มีเมตตาธรรมสูง ปฏิบัติกิจตามหน้าที่ของสมณเพศอย่างสม่ำเสมอไม่เว้นแม้แต่ยามเจ็บไข้ คำพูดของท่านล้วนเป็นจริงตามที่ท่านพูดเสมอจนได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านนวลวาจาสิทธิ์" ในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสได้เดินทางมากราบไหว้ขอพรเป็นเนืองนิตย์ ท่านมักพูดเตือนสติอยู่เสมอว่า "คนเราเกิดมาล้วนมีหนี้ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้สิน หนี้บุญคุณ และหนี้ชีวิต ซึ่งตัวท่านได้ปฏิบัติเพื่อปลดเปลื้องหนี้ตลอดมา โดยเฉพาะหนี้ชีวิต"

พ่อท่านนวลได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมประกอบศาสนพิธีในจังหวัดต่างๆ อยู่เป็นประจำ รวมทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา นักการศึกษา และนักสาธารณูปการ ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนวัดประดิษฐาราม ในปี พ.ศ.2501 โดยบริจาคที่ดินของวัดจำนวน 12 ไร่, ดำเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในวัด ตลอดจนถนนหนทางในชุมชนมากมาย อาทิ กุฏิ โรงธรรม หอฉัน และบ่อน้ำสาธารณะ ขอกำลังแรงงานเครื่องจักรกลจากแขวงการทางนครศรีธรรมราช ในการก่อสร้างถนน ก่อสร้างอุโบสถแบบถาวร เมรุเผาศพ ซุ้มประตูวัด ศาลาพักร้อน โรงทาน และอาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้เป็นที่ประชุมทำกิจการต่างๆ ของหน่วยงานราชการและชุมชน เป็นต้น

พร้อมทั้งยังก่อตั้งกองทุน "หลวงพ่อนวล ปริสุทโธ" เพื่อเป็นกองทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดประดิษฐารามที่เรียนดี ความประพฤติเรียบร้อยแต่ฐานะยากจน รวมทั้งก่อตั้งกองทุน "หลวงพ่อนวล" เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรอีกด้วย

พ่อท่านนวลมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2555 สิริอายุได้ 90 ปี 69 พรรษา ยังความโศกเศร้ามาสู่พี่น้องสาธุชนชาวนครศรีธรรมราชและลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ

วัตถุมงคลของพ่อท่านนวลมีหลายรุ่นหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ รวมถึงเครื่องรางของขลังต่างๆ โดยท่านมักกล่าวเสมอว่า "... อาตมาเองไม่ได้สร้างวัตถุมงคลอะไรหรอก จะมีก็ลูกศิษย์เท่านั้นที่สร้างแล้วนำมาถวาย อาตมาก็จะปลุกเสกด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ให้ เพื่อเอาไว้แจกเป็นที่ระลึกให้กับญาติโยมที่เดินทางมาทำบุญกันที่วัดเท่านั้น ทางวัดไม่ได้เน้นเรื่องการสร้างวัตถุมงคลเป็นหลักแต่จะเน้นเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่า ..."

ปรากฏว่าวัตถุมงคลทุกรุ่นทุกประเภทที่ท่านปลุกเสก ล้วนสร้างประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่แสวงหาของสาธุชนอย่างกว้างขวาง ยิ่งเมื่อท่านมรณภาพ ก็ยิ่งเป็นที่แสวงหามากยิ่งขึ้น สนนราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก ปี 2525" นับเป็นหนึ่งในยอดวัตถุมงคลแดนใต้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง สร้างประสบการณ์แก่ผู้สักการบูชาเป็นที่ปรากฏแบบครอบจักรวาล และโดดเด่นมากในด้านคงกระพันชาตรี

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2525 จัดสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2525 สร้างถวายโดย พระครูอดุลย์ธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อผดุง) เจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก ญาติของหลวงพ่อ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมมันปู โดยจัดสร้างครั้งแรกจำนวน 4,000 เหรียญ เรียก "บล็อกนิยม" ต่อมาสร้างเพิ่มอีก 4,000 เหรียญ แต่เนื่องจากแม่พิมพ์ชำรุดเป็นสนิม ทำให้เกิดผด (กลาก) จึงเรียกกันว่า "บล็อกกลาก" ซึ่งพ่อท่านนวลอธิษฐานจิตปลุกเสกให้ทั้ง 2 บล็อก และเมื่อใดที่วัดภูเขาหลักมีการประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ก็ได้นำเข้าร่วมในพิธีอีกนับครั้งไม่ถ้วน สร้างให้วัตถุมงคลมีพุทธานุภาพเข้มขลังขึ้นเป็นทวีคูณ

ปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 พฤศจิกายน 2559 20:49:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12965706404712_1.jpg)
1-2 พระกรุวัดสามปลื้ม / 3 พิมพ์กลีบบัว เศียรโล้น

พระเนื้อผงยอดนิยม กรุวัดสามปลื้ม

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือ วัดสามปลื้ม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า "วัดนางปลื้ม" (อาจเป็นนามผู้สร้าง) ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามปลื้ม" ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเพลิงไหม้ ต่อมาปลายรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 2 ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุล สิงหเสนี) ได้เป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรม

จากนั้นในราวปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร จึงได้สืบสานต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2368 แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร"

วัดสามปลื้มนับเป็นวัดสำคัญมาแต่สมัยโบราณ แต่มาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางด้วยเหตุที่มีการค้นพบ "พระกรุเก่า" อายุกว่า 150 ปี ซึ่งมีพุทธคุณสูงส่ง เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ทำให้ชื่อเสียงขจรไกล ให้นามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดสามปลื้ม"

พระกรุวัดสามปลื้ม ไม่มีหลักฐานระบุถึงผู้สร้างเป็นที่แน่ชัด ผู้รู้จึงได้สันนิษฐานขึ้นเป็น 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่หนึ่ง...พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างบรรจุในพระเจดีย์ หลังจากบูรณะเป็นที่เรียบร้อย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างกุศลแก่บิดาผู้ล่วงลับ

ประเด็นที่สอง...พระอาจารย์พรหม และพระอาจารย์ช้าง สองพระเกจิอาจารย์ผู้เก่งกล้าวิทยาคม ที่อยู่ "คณะกุฏิ" ณ วัดสามปลื้ม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้าง ขณะนั้นพระธรรมานุกูล (ด้วง) เป็นเจ้าอาวาส
  
แต่มีหลักฐานระบุการพบไว้ว่า..."พระกรุวัดสามปลื้ม" มีการค้นพบทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกประมาณการว่าในราวปี พ.ศ.2400 โดยพบอยู่ในซากพระเจดีย์ ครั้งต่อมาใน ปีพ.ศ.2414 และ พ.ศ.2483 เมื่อมีการรื้อองค์พระเจดีย์ และจากบันทึกการพบครั้งสุดท้ายนั้นพบถึง 50,000 กว่าองค์ รวมแล้วมีจำนวนพระประมาณ 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์พอดี

ลักษณะเนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผงเนื้อละเอียด สีขาว แก่น้ำมันตั้งอิ้ว มีลักษณะยุ่ยฟู แตกเปราะ และหักง่าย พระที่พบส่วนใหญ่จึงแตกหักต้องซ่อมทั้งสิ้น หาองค์สวยสมบูรณ์ค่อนข้างยาก และพระเกือบทั้งหมดลงรักปิดทองมาจากกรุ นอกจากนี้ยังมี ผู้พบเห็นชนิดผงดำผสมใบลานเผา, เนื้อตะกั่ว และเนื้อชิน ก็มีผู้พบเห็นจากเจดีย์เมื่อคราวแตกกรุ แต่มีจำนวนน้อยมาก

พระกรุวัดสามปลื้ม เป็นพระศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางสมาธิ ทั้งสมาธิเพชร และสมาธิราบ เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง นอกจากนี้ยังมากมายหลายพิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม และกลีบบัว, เกศแหลม และไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่า "เศียรโล้น" และยังทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่ที่เป็นที่นิยมกันในแวดวงพระเครื่อง มีอาทิ พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรโล้น), พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรแหลม), พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม, พระพิมพ์บัวฟันปลา, พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ และพระพิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามพระกรุวัดสามปลื้มทุกพิมพ์ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศทั้งคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปรากฏเป็นที่ประจักษ์

อาทิ ในคราวเกิดสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส พระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตรได้นำ "พระกรุวัดสามปลื้ม" ส่วนหนึ่ง ประมาณหนึ่งหมื่นองค์แจกจ่ายไปตามกระทรวง ทบวง กรม และทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้อยากได้ไว้สักการบูชาจนหมดสิ้น ในเวลาต่อมาอานุภาพและปาฏิหาริย์ ในช่วงปี พ.ศ.2485-2488 ช่วง "สงครามมหาเอเชียบูรพา" ปรากฏว่าทหารที่ออกรบปืนยิงไม่เข้า เมื่อถึงคราวประจัญบานโดยใช้ดาบปลายปืนฝรั่งแทงทหารไทยไม่เข้าเช่นกัน อีกทั้งทหารไทยที่โดนปืนยิงล้มลงไป แล้วยังลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้อีก จนได้ขนานนามว่า "ทหารผี" เป็นต้น

จากนั้นเป็นต้นมา "พระกรุวัดสามปลื้ม" ก็กลายเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็เป็นที่ต้องการทั้งสิ้น แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า พระส่วนใหญ่จะแตกหักมาจากกรุ

ดังนั้น ควรต้องระวังเป็นอย่างสูงในกรณีการซ่อมที่อาจเกิดขึ้นได้


(https://lh3.googleusercontent.com/proxy/dQbTbnAM8ZTpTtLpra2zS1nYJo2SPUAZC_4-sVVWl7r8EhxC0NGnmynih0_LRrqh8sb344jEX_5nYN38mbXI8JBgl-ZFDXGDVAONUFtnSMGyQrV5q9ZuWHNEW3Hq60Q=w506-h284)

พระสมเด็จจิตรลดา ด้วยน้ำพระทัยและฝีพระหัตถ์

พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องที่ประดิษฐาน ณ ฐานบัวด้านหน้า พระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปที่พระราชทานไว้ประจำในทุกจังหวัด เพื่อรำลึกถึงความผูกพันและห่วงใยของพระองค์ที่ทรงมีต่อราษฎรทั่วราชอาณาจักร ให้รักษาไว้ซึ่งคุณความดี มีสติ และความสามัคคี ... นับเป็นหนึ่งในพระเครื่ององค์สำคัญและทรงคุณค่ายิ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ... ด้วยทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง ไม่มีพิธีพุทธาภิเษกใดๆ

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2508 พระราชประสงค์ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา หรืออีกพระนามหนึ่งว่า "พระกำลังแผ่นดิน" (เข้าใจว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ขนานพระนามตามพระนามของพระองค์ ด้วยคำว่า "ภูมิ" แปลว่า แผ่นดิน และ "พล" แปลว่า กำลัง จึงเป็นที่มาของพระนาม)

สืบเนื่องจากที่พระองค์ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยดอกไม้สดจากประชาชนในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ทรงแขวนไว้ ณ ที่บูชาตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่เสด็จฯ เปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงเห็นเป็นสำคัญที่ควรเก็บดอกไม้แห้งเหล่านี้ไว้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า สมควรใช้เป็นส่วนผสมสำหรับสร้างเป็นพระพุทธรูปพิมพ์ โดยพระราชประสงค์เป็นเบื้องต้นเพื่อบรรจุที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซ.ม. สูง 40 ซ.ม. ซึ่งมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ.2508 และส่งมอบไปยังจังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ.2509

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้พุทธศิลป์ที่สมบูรณ์ มีพระราชกระแสให้แก้ไขตกแต่งแบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

พระพุทธรูปพิมพ์ที่แกะถวายนั้น เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางนั่งสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เหนืออาสนะดอกบัวบาน 2 ชั้น ด้านบน 5 กลีบ ด้านล่าง 4 กลีบ เท่ากับ "9" ซึ่งตรงกับเลขรัชกาล โดย "พิมพ์ใหญ่" มีขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. ส่วน "พิมพ์เล็ก" มีขนาดกว้าง 1.2 ซ.ม. สูง 1.9 ซ.ม. จากนั้นทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ถอดต้นแบบ "พระสมเด็จจิตรลดา" จากแม่พิมพ์หิน โดยพระองค์ทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้จำนวนตามพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง

ขั้นตอนต่างๆ พระองค์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองทั้งสิ้น ตั้งแต่การถอดแบบแม่พิมพ์ ทรงผสมมวลสาร อันประกอบด้วยผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ทรงเทลงแม่พิมพ์ ทรงตกแต่งองค์พระพิมพ์เพื่อให้ดูงดงาม ทั้งหมดนี้ทรงใช้เวลาหลังจากทรงพระอักษรและทรงงานอันเป็นพระราชภารกิจในตอนดึก

ต่อมามีพระราชดำริจัดสร้าง "พระสมเด็จจิตรลดา" เพิ่มเติม เพื่อพระราชทานแก่บรรดาข้าราชบริพารในพระองค์และพสกนิกรที่มีความดีความชอบและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง โดยทรงมิได้เลือกชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือชั้นผู้น้อย จนถึงคนขับรถ คนสวน แม่ครัว และบรรดาข้าราชการทหารที่ไปร่วมรบในสมรภูมิต่างๆ ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เองว่าจะมีพระราชทานหรือไม่ จำนวนเท่าใด โดยการสร้างในแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนน้อยมาก ประการสำคัญ คือ ผู้ได้รับพระราชทาน "พระสมเด็จจิตรลดา" จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระองค์ พร้อมใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) ทุกคน โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"

ผู้ได้รับพระราชทาน "พระสมเด็จจิตรลดา" ต่างปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่และยิ่งประจักษ์ในพุทธคุณล้ำเลิศ เสมือนหนึ่งพระบารมีแห่งพระองค์ทรงปกป้องคุ้มครอง ทั้งเจริญในลาภ ยศ สรรเสริญ และแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ จึงต่างหวงแหนรักษาไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติสูงสุดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61646188009116_2.jpg)
พระนิรันตราย

พระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษ ฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ปัจจุบันเจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยอัญเชิญ “พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อ นายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า “นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนามสืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วยทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า …พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “พระนิรันตราย” และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นกัน

เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดฯ ให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร,วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัด บรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์ ในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน “พระนิรันตราย องค์จริง” ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

“พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ และเหรียญ

เพื่อความสะดวกแก่การพกพาติดตัวให้เกิดความสิริมงคลสืบมาครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69387146789166_1.png)
พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐฯ ปี 2515

วัดธรรมยุติกนิกายทั้ง 18 วัด ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทาน "พระนิรันตราย" ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนกต่างมีความปลื้มปีติและเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก เมื่อถึงวาระสำคัญๆ ก็มักจำลององค์พระนิรันตรายมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลแจกจ่าย

สำหรับการจัดสร้างในยุคต้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสร้างกันภายในหมู่ราชสำนัก จำนวนการจัดสร้างจะน้อยมาก ผู้ที่ได้รับมาก็มักหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นมิ่งขวัญสำหรับวงศ์ตระกูล จึงไม่ค่อยวนเวียนให้เห็นกันในแวดวงนัก อาทิ พระกริ่งนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดสร้าง ก็มีเพียงไม่กี่ 10 องค์เท่านั้น และพระนิรันตราย ดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รุ่น 1 และรุ่น 2 สร้าง ในปี 2488 และ 2495 เป็นต้น

ที่พอจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาในการจัดสร้างก็จะเป็นการจัดสร้างเมื่อครั้ง "งานฉลองสมโภชครบ 108 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม" ในราว 43 ปีกว่า

ในโอกาสฉลองสมโภชครบ 108 ปี เมื่อปี พ.ศ.2515 ทางวัดราชประดิษฐฯ ได้ดำริจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสฉลองสมโภช อีกทั้งเพื่อให้พุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธานำไปสักการบูชา โดยนำรายได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาทิ พระบูชา นิรันตราย จำนวน 908 องค์ (ตามจำนวนสั่งจอง), พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์ใหญ่ จำนวน 999 องค์, พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์เล็ก จำนวน 999 องค์, พระกริ่งโสฬส ม.ป.ร. จำนวน 50,000 องค์, เหรียญเจริญยศ (เหรียญพัดยศ) จำนวน 50,000 เหรียญ, เหรียญเจริญลาภ (เหรียญเสมา) จำนวน 50,000 เหรียญ, พระชัยวัฒน์แบบปั๊ม ไม่ทราบจำนวน ฯลฯ

ในการนี้ ได้ทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมเสด็จฯ ทรงเป็นประธาน ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อ "พระนิรันตรายจำลอง (ขนาดบูชา)" เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2515 จากนั้นทางวัดได้นำทองชนวนที่เหลือจากพิธีไปจัดสร้างวัตถุมงคลประเภทอื่นๆ

เมื่อแล้วเสร็จได้นำเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน โดยมีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั่วราชอาณาจักรเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกคืนละ 12 รูป รวมทั้งสิ้น 108 รูป เท่าอายุของวัดราชประดิษฐฯ มีอาทิ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง, หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อโชติ วัดตะโน, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี, หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย, หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร, พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร และหลวงตามหาบัว วัดป่า านตาด จ.อุดรธานี เป็นต้น

วัตถุมงคลฉลองสมโภช 108 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งของยอดวัตถุมงคล "พระนิรันตราย" ที่ถึงพร้อมด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมทั้งพระมหากษัตริยาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49631611920065_3.jpg)
พระซุ้มเสมาทิศ พระกรุเก่าหายากเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรีได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "เมืองพระ" ที่มีพระกรุเก่ามากมาย ที่ทรงคุณค่าและพุทธคุณ ทั้งได้รับความนิยมในแวดวงนักนิยมสะสมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นกรุวัดสมอพรือ กรุวัดค้างคาว กรุวัดปากน้ำ กรุศาลาลอย กรุกุฎีทอง ฯลฯ มีทั้งพระหูยาน พระนาคปรก พระเทริดขนนก พระร่วง พระยอดขุนพล ฯลฯ มากมายหลายประเภท

พระกรุและพระเครื่องของเมืองเพชรบุรีโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็น "พระเนื้อชิน" หรือที่เรียกว่า "ยอดขุนพล" ซึ่งมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
 
ฉบับนี้จะกล่าวถึง "กรุวัดนก" ที่ดูไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก วัดนี้เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ริมกำแพงเมือง ข้างป้อมคลองยาง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเนินดินของฐานพระเจดีย์ จนไม่มีเค้าโครงแห่งความเป็นศาสนสถานแต่โบราณหลงเหลืออยู่เลย ฟังเรื่องราวจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ... ก่อนหน้าที่พระเจดีย์จะพังทลายลงมา ได้มีคนร้ายลักลอบขุดเจาะหาทรัพย์สมบัติที่บรรจุกรุตรงบริเวณคอระฆัง ได้โพธิ์เงินโพธิ์ทองและพระเครื่องเนื้อชินไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพิมพ์ทรงใด แต่หลังจากที่พระเจดีย์พังทลายแล้ว ได้เคยมีผู้คนหลายต่อหลายคนพยายามจะมาขุดหาทรัพย์สมบัติที่คิดว่ายังมีตกค้างอยู่ แต่ก็ไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะเมื่อขุดครั้งใดก็จะปรากฏ "งู" ขนาดใหญ่นอนขดอยู่เหนือเนินซากพระเจดีย์ทุกครั้ง เสมือนเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สมบัติอย่างน่าอัศจรรย์ หลายครั้งถึงกับทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาต จึงสามารถขุดกรุได้ แต่เมื่อขุดไปก็ปรากฏพบเพียงสังคโลกรูปเสือตัวหนึ่ง และเมื่อพลิกดูก็พบโพรงภายในบรรจุเพียงงูที่ทำด้วยทองคำ หัวงูเป็นทองคำส่วนลำตัวเป็นลวดทองคำบิดเป็นเกลียว ...

ความเพียรพยายามมาสำเร็จเอาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2521 ภายหลังการบวงสรวงกันมาหลายรอบหลายวัน "งูใหญ่" ก็ได้เลื้อยลงจากเนินพระเจดีย์ เสมือนเป็นการอนุญาตให้ขุดได้ เมื่อขุดลงไปประมาณ 4 วา ก็ได้พบ "กรุพระ" ภายในกรุเป็นช่องว่างบรรจุไหดินเผาปิดผนึกฝาแน่นหนา เมื่อเปิดฝาได้จึงพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ เป็นทองดอกบวบ สังคโลกรูปเสือ และตลับทองคำ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีอันมีค่าที่บรรจุไว้ร่วมกันเพื่อเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังได้พบพระเครื่องเนื้อชินวางเรียงรายรอบตลับทองคำเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระเครื่องเนื้อชินเงินที่พบนั้นมีทั้งสมบูรณ์และชำรุด โดยเฉพาะด้านบนที่ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกทั้งความชื้นและความร้อน จึงเกาะติดกันเป็นก้อน ต้องค่อยๆ แกะออกมาผึ่งลมให้แห้ง พระเครื่องที่สมบูรณ์จริงๆ มีเพียง 400 กว่าองค์เท่านั้น ที่ชำรุดเสียกว่าพันองค์ และเมื่อดูจากพุทธลักษณะพิมพ์ทรงที่ตัดเว้าเป็นทรงซุ้ม จึงให้ชื่อว่า "พระซุ้มเสมาทิศ" ในกรุยังพบ "พระซุ้มเสมาทิศองค์ใหญ่" อีก 1 องค์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ที่มีศิลปะสมัยอยุธยา โดยช่างสกุลเพชรบุรี ที่สามารถรังสรรค์องค์พระได้งดงามยิ่ง

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก ที่ปรากฏจะมีเพียงพิมพ์เดียว ลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มที่ทำลวดลายงดงาม ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 6 ซ.ม.

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก จ.เพชรบุรี นับเป็นพระกรุเก่าที่แทบหาดูไม่ได้ในปัจจุบัน ด้วยจำนวนองค์พระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยนัก ผู้ที่มีไว้จึงล้วนหวงแหนไม่ใคร่นำออกมาให้ได้ชมกัน จนไม่มีการหมุนเวียนกันในแวดวง ทำให้ไม่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม "พระซุ้มเสมาทิศ" ที่เล่นหากันอยู่ แต่ด้วยความทรงคุณค่าทางพุทธศิลปะและทางประวัติศาสตร์ จึงได้รับการบันทึกไว้เป็นข้อมูลว่ายังมีอีกหนึ่งพิมพ์ที่ จ.เพชรบุรี เช่นกัน เผื่อในอนาคตมีใครพบเห็นจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและคุณค่าแห่งวัตถุมงคล

และถ้ามีโอกาสพบเจอก็อย่าลืมพิจารณาองค์พระกันหน่อย "เพราะของดีทุกอย่าง ย่อมมีการลอกเลียนแบบ" โดยสามารถใช้หลักการพิจารณา "พระเนื้อชิน" ที่จะปรากฏธรรมชาติพื้นผิวเป็นคราบปรอทที่มีลักษณะไม่วาว มีคราบฝ้ากรุ ตลอดจนสนิมที่จับเกาะบนพื้นผิวขององค์พระ และรอยระเบิดปริอ้า ได้เลยครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95727776404884_4.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/39499924331903_5.jpg)
อมตะพระเกจิ"หลวงพ่อโหน่ง" วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี

"อมตะพระเกจิ" หมายความถึง "พระเกจิอาจารย์ในอดีต" ผู้เรืองวิทยาอาคม มีจริยวัตรและปฏิปทาอันงดงาม เจริญตามรอยองค์พระอริยเจ้าพระศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นที่เคารพศรัทธาของปวงชน ซึ่งถึงแม้ท่านจะจากไปนานแสนนาน แต่ก็ยังคงอยู่ในความรำลึกนึกถึงและเลื่อมใสศรัทธาไม่เสื่อมคลาย "หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน) อดีตพระเกจิดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี"

หลวงพ่อโหน่ง อินทฺสุวณฺโณ เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เมื่อปีพ.ศ.2408 ในตระกูลโตงาม ศึกษาร่ำเรียนที่วัดสองพี่น้อง จนอ่านออกเขียนได้ทั้งอักขระไทยและขอม จากนั้นช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ประพฤติดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักน้อย และรักสันโดษ

จนอายุได้ 24 ปี ในปีพ.ศ.2433 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง มีพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และพระอธิการสุต เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ โดยตั้งใจจะบวช 1 พรรษา

ในสมณเพศ มีความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัย คันถธุระ และวิปัสสนาธุระจนรู้ซึ้ง เมื่อครบกำหนดตัดสินใจไม่ลาสิกขา จากนั้นออกเดินทางไปยังวัดทุ่งคอก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์พระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ ผู้มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์ด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาอาคมแขนงต่างๆ

ศึกษาอยู่ 2 พรรษา จึงลาเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า อีก 2 พรรษา แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม

ในช่วงศึกษาที่วัดน้อยนั้น ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้เดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียมเช่นกัน โดยท่านนับเป็นศิษย์รุ่นพี่ หลวงพ่อเนียมยังได้เคยปรารภกับหลวงพ่อปานว่า "ถ้าข้าตายแล้ว สงสัยธรรมข้อใดให้ไปถามท่านโหน่งเขานะ เขาพอแทนข้าได้"

เมื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง หลวงพ่อโหน่งยังมีความเกี่ยวพันกับพระเกจิชั้นผู้ใหญ่ 2 รูป ซึ่งเป็นคนบ้านสองพี่น้องเช่นเดียวกัน เมื่อครั้งอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง คือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของ สมเด็จป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดโพธิ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ

หลวงพ่อโหน่งเป็นพระผู้มีปฏิปทาและจริยวัตรงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มขจรขยายไกล ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาอาคมต่างๆ หลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง ผู้เก่งกล้าในวิทยาอาคม ได้ทราบถึงกิตติศัพท์จึงเดินทางมาพบและสนทนาธรรมอยู่เป็นเนืองนิจ จนมีความสนิทสนมกันมากและได้ชักชวนหลวงพ่อโหน่งให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดคลองมะดัน ซึ่งหลวงพ่อโหน่งก็ตอบตกลงด้วยความเต็มใจ เนื่องจากต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหลวงพ่อแสงเช่นกัน

หลวงพ่อโหน่งมรณภาพในปีพ.ศ.2477 สิริอายุ 69 ปี พรรษา 46 นับเป็นการสูญเสียพระเกจิผู้เปี่ยมด้วยศีลจารวัตรและเมตตาบารมีธรรม พระอริยสงฆ์ผู้เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว

วัตถุมงคลของท่านนั้นเป็น "พระพิมพ์ดินเผา" โดยครั้งแรกกำหนดสร้างจำนวน 84,000 องค์ แต่ญาติโยมและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ช่วยกันพิมพ์ขึ้นมาจนเกินจำนวน ซึ่งน่าจะไม่ต่ำกว่าแสนองค์ และยังมีมากมายหลากหลายพิมพ์ ทั้งพระบูชา พระเครื่อง อาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์ขุนแผน 5 เหลี่ยม พิมพ์ตรีกาย พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ซุ้มปราสาท พิมพ์สมเด็จ ฯลฯ การสร้างนั้นต่างคนก็จะกดพิมพ์สร้างไปเรื่อยๆ แล้วรวบรวมไว้ เมื่อได้จำนวนตามความต้องการจึงเผา โดยพระอาจารย์ฉวยได้ก่อเตาและเผา ในขณะเผาองค์พระหลวงพ่อโหน่งก็จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยอาราธนาพระสงฆ์ในวัดสวดมนต์พร้อมกัน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีได้แบ่งส่วนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถานหลายแห่งที่อยู่ในวัดคลองมะดัน (อัมพวัน) และวัดทุ่งคอก ส่วนที่เหลือก็แจก

พระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ "พิมพ์ซุ้มกอ" ซึ่งค่านิยม จะแตกต่างกันไปตามความสมบูรณ์ขององค์พระ แต่อย่างไรก็ตาม "พระหลวงพ่อโหน่ง" ทุกพิมพ์ ล้วนทรงพุทธคุณทั้งเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นที่ปรากฏ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน




    พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 พฤศจิกายน 2559 14:30:51
(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurCh3wGVK7Q5eZIhdSmUzjiC51f71q3ACRaXEef.jpg)
ซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนก

ดิมทีพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่พิมพ์นี้ ใครก็ไม่รู้ตั้งชื่อ ซุ้มกอกาชังราว มีเผยแพร่ในวงการไม่กี่องค์ ทุกองค์เนื้อดำจนเผลอเข้าใจว่าพิมพ์นี้เป็นเนื้อดินดิบ ไม่เผาไฟ เรียกขานกันว่า ซุ้มกอดำ

แต่ต่อมาเมื่อมีองค์หน้าใหม่ออกมาให้เห็นเป็นสีแดง องค์แรกและองค์ต่อๆมาชื่อซุ้มกอดำก็เริ่มเปลี่ยนไป เป็นพิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนกก็เป็นอันว่า เรียกตรงกัน

คุณเชียร ธีรศานต์ ครูใหญ่พระเครื่องเมืองเหนือ ลงลึกค้นหาพระซุ้มกอกรุทุ่งเศรษฐี ลงทุนซื้อพระจากปากหลุมลานทุ่งเศรษฐีได้ซุ้มกอพิมพ์มีลายกนก เรียก “พิมพ์ใหญ่” ราดำขึ้นคลุมดำปี๋ทั้งองค์ พิมพ์พระลึกชัดติดเต็มหน้าตา เรียกชื่อว่า องค์เจ้าเงาะ

คุณเชียรทดสอบวิชาล้างพระ ใช้น้ำยาค่อยๆล้าง 11 ครั้ง ก็ถอดหัวเงาะออก เจอ “รูปทองผ่องโสภา” วงการยกให้เป็นซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ที่งามนักหนา

เพราะการล้างพระซุ้มกอและพระกรุทุ่งฯที่แตกหักหลายองค์ คุณเชียรพบว่าพระซุ้มกอเป็นพระเนื้ออ่อน เผาไฟอ่อน เผาแบบเผามัน ผลออกมา เปลือกไหม้ไส้ดิบ

เห็นพระสีแดงอมน้ำตาลอ่อน ลองหักพระจะเจอเนื้อในสีดำคล้ายไส้ขนมเปี๊ยะ

นี่คือความรู้ที่คนรักพระซุ้มกอน่าจะรู้ไว้ พระซุ้มกอเนื้ออ่อนอย่างนี้เซาะแต่งจมูกตาปากง่าย เศรษฐีที่นิยมพระงามจึงมักเจอซุ้มกอ “เสริมสวย”

กระทั่งองค์ครูที่ถือเป็นองค์ดังขึ้นตกเจนตา เจ้าของเดิมคุยว่าเป็นซุ้มกอสวย 1 ใน 5 ก็ไม่เว้น

มาว่าถึงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนก รองอันดับสอง...ลองดูตัวอย่างอย่างองค์ในคอลัมน์วันนี้ ถ้าอยากเห็นภาพสีให้กระจ่างตา ผมเองก็เพิ่งรู้ว่า เปิด “ไทยรัฐออนไลน์” ก็ดูได้แจ่มแจ้งจางปาง

ที่เลือกองค์นี้เพราะเห็นเป็นองค์พบกันครึ่งทาง ผิวนอกพระดำเข้าใจว่าเป็น “ราดำ” ราดำหลุดออกก็ถึงเนื้อในแดง องค์นี้รวมสีดำสีแดงไว้ในองค์เดียว

ในตำราพระซุ้มกอ คุณเชียรพูดถึงซุ้มกอใหญ่ไม่มีกนกไว้ไม่กี่บรรทัด คนรักพระก็ต้องตามดูตามรู้จากหนังสือภาพพระเครื่องมาตรฐาน ตั้งแต่หนังสือคุณประชุม กาญจนวัฒน์ ไปถึงเล่มคุณประจำ อู่อรุณ แต่ก็ยังมีไม่กี่องค์

จนมาถึงหนังสือภาพพระเครื่องทุ่งเศรษฐี-กำแพงเพชร ไม่ระบุปีที่พิมพ์ คุณจาตุรนต์ สิงหะ (สนิมแดง) ผมถือเป็นเล่มครู นอกจาก ซุ้มกอ เม็ดขนุน พลูจีบ ฯลฯ ซึ่งนับเข้าชุดเบญจภาคีได้ ยังมีพระทุ่งเศรษฐีอีกนับพิมพ์ไม่ถ้วน

อย่างพิมพ์ ท้าวกุเวร ที่นานปีจะเจอสักที ผมก็ได้แบบอย่างจากหนังสือเล่มนี้แหละ

คุณจาตุรนต์ ให้น้ำหนัก ซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนกสีดำ ไว้เป็นองค์ที่ 1 และซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนกสีแดง เป็นองค์ที่ 2 องค์นี้ เป็นกรณีศึกษาแปลกตา มีก้อนกรวดขาวก้อนใหญ่ที่กลางพระบาท

ใครที่เจอเมล็ดกรวดในพระทุ่งเศรษฐีแล้ววาง เห็นจะต้องตั้งหลักใหม่

ขึ้นชื่อพระทุ่งเศรษฐีนั้น ต่างกรุ ต่างแม่พิมพ์ ต่างเนื้อ เช่นเนื้อพระเม็ดขนุนเผาไฟนาน หนั่นแน่น คราบไคล ราดำ ไม่ติดลึกง่ายๆ ต่างจากซุ้มกอ เผาไฟอ่อน เนื้อหลวมคราบเปื้อน ราดำ ฝังแน่น แค่รู้หลักจากคำอธิบายยังไม่พอ ต้องดูภาพพระแท้เปรียบเทียบให้มากองค์เข้าไว้ เจอพระแท้ของใครก็ขอเขาดู ดูให้นานๆ ดูให้ติดตา พระทุ่งเศรษฐีเก๊ทำได้ใกล้เคียงขึ้นทุกวัน

นักเล่นรุ่นใหม่ แค่ดูพระแท้ก็ยากก็แย่เต็มทีอยู่แล้ว ยังต้องเรียนรู้ต่อว่านอกจากพระแท้แล้ว พระองค์นั้นต้องไม่หัก ไม่ซ่อม ไม่อุด และข้อสุดท้ายไม่เสริมสวย

ประโยคนี้ผมจำติดใจจากปากคุณ วิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ สมัยที่ตั้งศูนย์ “พันเลิศ” อยู่หน้าวัดมหรรณพ์ นักเลงรุ่นใหญ่กว่าจะสร้างชื่อขึ้นมาได้ต้องมีมาตรฐาน ทั้งความสามารถ และความสัตย์ซื่อ

ความรู้อีกข้อของคนรักพระเครื่อง นอกจากจะต้องดูพระแท้เป็นก็จะต้องดูคน คือดูเซียนให้เป็น.



(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurAMGDT4DyRZFwj0ms5ZKfLrxQefb32bE5WjrfB.jpg)
พระลือหน้ามงคล

พระเครื่องชุดลำพูนนิยมเล่นหากันมานาน แต่เริ่มมีสีสันเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเชียร ธีรศานต์ เขียนหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ (สำนักพิมพ์ อภินิหารและพระเครื่อง พ.ศ.2516) จัดลำดับคุณค่า เทียบเคียงกับอัญมณีทั้งเก้า พระรอด เปรียบเพชร พระคง ทับทิม พระจามเทวี ไพฑูรย์ ฯลฯ

พระลือ คุณเชียร จัดให้เป็นมรกตแห่งพระเครื่องชุดนพคุณ

ชื่อพระลือ ในยุคแรกๆที่เล่นกัน มีพระลือเดียว แต่วงการตอนนั้นเกิดมีพระลือพิมพ์หน้ายักษ์ แต่ก็รู้กันว่าเป็นพระปลอม ที่พิมพ์จากแม่พิมพ์สำริดองจริง คนที่เผลอเล่นรู้ความจริงแล้วก็ทิ้ง

เมื่อมีชื่อพระลือหน้ายักษ์ ให้เรียกพระลือแม่พิมพ์ที่เชื่อถือกัน จึงถูกเรียกพระลือหน้ามงคล ก็เป็นข้อดี เพราะที่กรุวัดประตูลี้ที่พบพระเลี่ยงเป็นส่วนใหญ่พบพระลือเป็นส่วนน้อยนั้น

ห่างไปเล็กน้อยที่กรุกู่เหล็ก ก็เจอพระลืออีกพิมพ์ วงการเรียกกันว่าพระลือโขง  พระลือกรุนี้งามมาก คุณเชียรตั้งใจเรียก “จามเทวีเรือนแก้ว” จำนวนพระมีน้อยอยู่แล้ว ค่านิยมก็แพงไปใหญ่ แม้แต่พระลือหน้ามงคลสวยๆ ด้วยกัน ก็ยังไล่หลัง

พระลือหน้ามงคล องค์ในคอลัมน์ดูเผินๆ ผิดตาจากพระลือองค์ครูที่คุ้นตาจากภาพหลายองค์ เส้นสายทั้งองค์พระดูอวบอ้วน แต่ก็มีเหตุผลอธิบายได้

เนื้อและผิวพระลือองค์นี้ถ้าเทียบกับพระคงก็ต้องเรียก “กรุเก่า” คือขึ้นมานาน ขึ้นมาเป็นชุดแรกๆ

คนที่ได้เอามาลงรักคงตั้งใจรักษาเนื้อเอาไว้ เมื่อเนื้อรักสึกหรอไปจากส่วนที่นูนคือองค์พระหรือโพธิ์ เนื้อรักในซอกหลุมลึกก็เป็นเหมือนฉากหลัง ขับเน้นสีเนื้อองค์พระให้โดดเด่นออกมา ความแปลกตาอยู่ตรงนี้

แต่เมื่อดูเส้นสายลายพิมพ์ทุกตำแหน่งไม่เพี้ยนจากองค์ครู ยิ่ง “พระลือ” องค์นี้ ติดพิมพ์ชัด ยังเห็นจมูกปากนับเป็นพระลือที่สวยระดับแนวหน้าได้องค์หนึ่ง

พระกรุเก่าที่ใช้แล้วโดยทั่วไปมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ดึงดูดสายตากว่าพระกรุใหม่ นักเลงพระรุ่นใหญ่หลายคนมั่นใจมากกว่า มักเลือกเอาไว้ขึ้นคอ

คุณเชียร ธีรศานต์ ให้หลักการดูเนื้อพระลือเอาไว้ ดังนี้

เนื้อพระลือส่วนมากผสมกรวด ถ้าเจอกรวดก้อนเล็กก้อนใหญ่ในเนื้อพระเก่าถึงอายุลำพูน อย่าตกใจ นั่นแหละลายแทงของจริง

เนื้อพระลือดินละเอียด มีบ้าง แต่ก็น้อย ลักษณะดินจะเป็นกาบๆ ยึดกรวดได้ไม่แน่นสนิทนัก

อย่าลืม หลักการเผาพระลำพูน เนื้อและผิวที่ต่างสีเกิดจากได้ความร้อนที่ต่างกัน

พระลือเนื้อสีนวลหรือแดงชมพูเป็นเนื้อที่ได้รับความร้อนพอสมควร แต่น่าเสียดายเนื้อสีนี้มีแรงยึดเหนี่ยวน้อย เมื่อฝังดินกว่าพันปีเนื้อผิวจะเปื่อยยุ่ยลุ่ยติดดินขี้กรุไป ทิ้งแก่นเอาไว้เห็นเป็นองค์พระรางๆ ก้อนกรวดฟูทั่วองค์ หาความงามไม่ได้

พระลือเนื้อก้ามปูเผาหรือเนื้อเหลืองปนเขียว เนื้อดินละลายมากขึ้น แต่กรวดก็ขยายมากขึ้น ผิวพระจะถูกดัน ทำให้ผิวขรุขระขาดสภาพที่แท้จริง คงเหลือเค้าโครงไว้เท่านั้น

พระลือเนื้อเขียว เหตุด้วยพระลือปนกรวดค่อนข้างใหญ่ แม้ความร้อนจะเปลี่ยนเนื้อพระเป็นสีเขียว ก้อนกรวดก็ยังคงตัวอยู่ ก้อนกรวดใหญ่ความร้อนละลายไม่เท่ากัน เนื้อพระยุบก้อนกรวดลอย เมื่อฝังดินพันปี จึงมักมีเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหลุดเป็นกระบิหายไป บางองค์ที่แขน บางองค์ที่เข่า ส่วนที่หายมากที่สุดคือปลายบน กลายเป็นพระบิ่นบน

เทียบพระรอด พระลือเป็นพระใหญ่ วิธีแนะนำตำหนิทำได้ยาก วิธีเดียวที่คุณเชียรแนะนำ คือดูภาพถ่ายพระลือแท้ที่ติดชัด สังเกตฟอร์มพระให้ดี ถ้ามีโอกาสได้ดูองค์จริง ก็หมั่นเทียบเคียงเนื้อพระ ดูสีก้อนกรวดให้เจนตา

คุณเชียรทิ้งท้าย “พระลือดูง่ายกว่าพระรอด แปลกที่นักปลอมพระแม้พยายาม ก็เลียนแบบได้ไม่เหมือน”.



(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuqVs78uz4I59xSD8DhCSbsBpT3M3LBzLfwpF0hs.jpg)
หลวงพ่อแก้ว พิมพ์กลาง

คนรักพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เห็นภาพพระปิดตาองค์นี้แล้ว คงมีคำถาม “กลางไหน”

เพราะเส้นสายลายพิมพ์ ไม่คุ้นตาเหมือนพิมพ์กลางทั่วไป ในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานหลายเล่ม ที่มีชื่อสำนักใหญ่กำกับ

หนังสือพระเครื่อง วันนี้ต้องเลือกให้ดี หนังสือพระปลอมเริ่มจะมีมากกว่าหนังสือพระแท้

ขนาดกลางองค์นี้ ก็ราวปลายนิ้วก้อย พิมพ์พระชะลูดยาว ดูเส้นสายลายพิมพ์ต้องใช้ทักษะ คนเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เป็นตัวช่วย

ดูยังไงๆ ก็ไม่ใช่ สี่เสือปิดตาเมืองชลฯ หลวงพ่อเจียม หลวงพ่อภู่ หลวงพ่อครีพ หลวงพ่อโต ด้านหลังอูม จะโยนไปให้เป็นหลวงปู่จีน พนมสารคาม เส้นสายก็ไม่ไป

วางมือปิดตาแบบนี้ วางเท้าแบบนี้ คือหนึ่งของห้าเสือ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ แน่

จุดเด่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้วองค์นี้ ข้อแรก อยู่ที่สีเนื้อซึ่งน่าจะเป็นสีน้ำตาล เมื่อจุ่มรักบางๆ เนื้อรักซึมซับผสมกับเนื้อพระออกเป็นสีเข้ม กลมกลืนหนึกนุ่มชุ่มตา เข้าสูตรเนื้อกะลา

เนื้อแบบนี้ดูมีเสน่ห์กว่าหลวงพ่อแก้ว องค์ที่รักล่อน เปิดให้เห็นเนื้อเดิมๆ เนื้อไปทาง รักไปทาง

ความยากของการดูพระหลวงพ่อแก้ว นอกจากต้องแยกเป็นวัดเครือวัลย์ เมืองชลฯ กับวัดปากทะเล เมืองเพชร ให้ออกแล้ว

ในชุดวัดเครือวัลย์ นอกจากมีพิมพ์ปั้น ที่เรียกรุ่นแลกซุง ยังมีชุดที่ใช้แม่พิมพ์ มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ทุกพิมพ์มีทั้งหลังแบบ หลังเรียบ และบางองค์หลังอูม

นักเล่นพระปิดตาสายเมืองชลฯ รุ่นใหญ่ เคยเสนอแม่พิมพ์ใหม่ๆ ไม่คุ้นตา ออกมาเสมอ

ข้อดีของพิมพ์แปลก คือมีตัวหารพระปลอมน้อย พิมพ์กลางชะลูดพิมพ์นี้ ของปลอมยังไม่เจอ

หลวงพ่อแก้วเป็นพระยอดนิยม ราคาแพงมาก ของปลอมหลากฝีมือ ตั้งแต่ฝีมือหยาบ ถึงละเอียด ส่องกันแทบตาย แทบจะแยกเก๊แท้ไม่ออก ไม่ชำนาญจริงก็ต้องดูกันหลายๆ ตา เถียงกันบ้าง แต่พระแท้ มักมีข้อสรุปได้

สุดท้าย ถ้าซื้อขายกันแพงๆ ก็ต้องใช้หลักสากลของวงการพระ คือนอกจากซื้อพระ ยังต้องซื้อคน

สำหรับคนรักพระปิดตา ที่เชื่อมั่นในประสบการณ์และสายตา หาพระเอง ก็ต้องขยันติดตามความคืบหน้าของวงการ โดยปกติ พระแท้ แม่พิมพ์แปลกตา ก็มักไม่มีองค์เดียว

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว แม่พิมพ์นี้ คอลัมน์ สนามพระวิภาวดี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีแรกๆ เมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว สีกาอ่างเคยเอามาลงพิมพ์ เป็นของตำรวจใหญ่ ชื่อ ธนสิทธิ์ สุนทรวิภาต

คุณธนสิทธิ์ อยู่เพชรบุรี เมืองที่เจอหลวงพ่อแก้วบ่อยๆ นานกว่าที่อื่น

แม่พิมพ์ด้านหน้า เอาองค์คุณธนสิทธิ์ เป็นต้นแบบ เส้นสายลายพิมพ์ การวางมือวางเท้า องค์ในคอลัมน์นี้ไปกันได้ ต่างกันที่ด้านหลัง องค์ของคุณธนสิทธิ์หลังเรียบ

องค์นี้หลังอูม

คุณธนสิทธิ์มีพระปิดตาหลวงพ่อแก้วหลายองค์ แต่รักและหวงองค์นี้มาก เคยมีคนประเมินราคา 2 ล้าน ท่านก็เฉย

ก็เป็นอันว่า พระปิดตาพิมพ์กลางองค์นี้ พอมีเพื่อน พ้นข้อหา “องค์เดียวในโลก” ไปได้

การเล่นพระเครื่องให้สนุกถึงใจก็ต้องเล่นกันลุ้นกันด้วยฝีมือ ด้วยสายตา รักก็ขึ้นคอ เบื่อก็นิมนต์เข้าตู้เซฟ ขึ้นชื่อหลวงพ่อแก้วนั้น ไม่ว่าพิมพ์ไหนแพงเหมือนเพชรเหมือนแก้วมณีน้ำสวย

เพชรมีเงินซื้อได้ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว มีเงินอย่างเดียวซื้อพระแท้ไม่ได้ ต้องใช้บุญบารมีช่วย


พลายชุมพล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 13 ธันวาคม 2559 20:20:32

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30230872415833_2.jpg)
พระกลีบบัววัดลิงขบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของ พระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา อยู่ในมุมเขตด้านเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจ แต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆังพบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง พิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผา มีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัว ในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาด และอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86681204123629_3.jpg)
พระกำแพงเม็ดขนุน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องปางลีลาที่ได้รับความนิยมสูงมากก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้รับความนิยมมาแต่โบราณแล้ว พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรก็มีพระเครื่องปางลีลาที่ขุดพบอยู่หลากหลายพิมพ์ หลากหลายเนื้อ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา ซึ่งก็นิยมกันทั้งสองเนื้อ แต่ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องทั่วไปนั้นจะนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่า เนื่องจากพระเครื่องของจังหวัดกำแพง เพชรที่พบบริเวณทุ่งเศรษฐีที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีเนื้อที่ละเอียดหนึกนุ่มสวย ซึ้ง และเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี

พระกำแพงลีลาของกำแพงเพชรนั้น จะนิยมเกือบทุกพิมพ์ และคนกำแพงในสมัยก่อนนั้นมักจะเรียกพระเครื่องปางลีลาว่า "พระกำแพงเขย่ง" เนื่องจากพุทธลักษณ์กำลังก้าวเดิน จึงเห็นเท้าด้านหนึ่งยกส้นเท้าขึ้นเหมือนกับกำลังเขย่งเช่นกัน ส่วนการแยกชื่อออกเป็นชื่อต่างๆ ก็ดูตามรูปลักษณะโดยรวม เช่น พระกำแพงเม็ดขนุนก็ดูรูปทรงของกรอบนอกคล้ายกับเม็ดขนุน จึงเรียกว่า "พระเม็ดขนุน" พระกำแพงกลีบจำปา ก็ดูกรอบนอกเช่นกัน ลักษณะคล้ายๆ กับกลีบดอกจำปา ก็เรียกว่า "พระกำแพงกลีบจำปา" พระกำแพงพลูจีบก็เช่นกันลักษณะคล้ายกับใบพลูที่จีบไว้ทานกับหมาก จึงเรียกชื่อตามลักษณะของพระ พระกำแพงฝักดาบก็มีลักษณะปลายโค้งแหลมไปด้านหนึ่งคล้ายๆ ฝักดาบ ก็เรียกว่า "พระกำแพงฝักดาบ" เป็นต้น

พระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร ที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐีจะมีอยู่หลายกรุหลายวัด โดยส่วนมากพระที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีความละเอียดหนึกนุ่มสวยงามทุกกรุ จึงได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อของทุ่งเศรษฐีก็เป็นชื่อที่เป็นมงคล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวย จึงยิ่งนิยมกันมาก ศิลปะของพระเครื่องก็เป็นศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นศิลปะที่งดงามมาก โดยเฉพาะพระปางลีลาศิลปะสุโขทัยก็ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด

พระเครื่องปางลีลาของเมืองกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน ซึ่งเป็นพระที่ถูกพบบริเวณทุ่งเศรษฐี กล่าวกันว่าพบที่วัดพิกุล และกรุวัดบรมธาตุ พระที่พบมีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน เนื้อที่พบมากที่สุดก็คือเนื้อดินเผา และได้รับความนิยมมากที่สุด พระเนื้อชินเป็นพระที่พบน้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่เคยพบเห็นกันเลย พระเนื้อว่านหน้าทองหน้าเงิน ก็แทบไม่พบเห็นเลย ตอนที่พบพระกันในระยะแรกๆ นั้น คนเฒ่าคนแก่เล่าว่า คนที่ขุดพบนั้นได้ลอกเอาหน้าทองหน้าเงินออกไปขายเสียหมด พระเนื้อว่านมีพบบ้างแต่ก็น้อยมาก พระเนื้อว่านนี้อาจจะเป็นพระที่เดิมมีหน้าทองหน้าเงินอยู่ก็เป็นได้ แต่ถูกลอกเอาทองและเงินออกไปขายก่อนตอนที่พบแล้วก็เป็นได้ จำนวนพระที่พบน้อย แทบไม่ค่อยได้พบเห็นเช่นกัน

พระกำแพงเม็ดขนุนปัจจุบันหายากมาก สนนราคาสูงมาก ยิ่งพระสวยๆ สมบูรณ์ยิ่งพบน้อยมากครับ ผู้ที่ครอบครองบูชาไว้มักมีประสบการณ์ในด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกำแพงเม็ดขนุนองค์ที่สวยสมบูรณ์ ติดแม่พิมพ์ชัดๆ มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96583147346973_4.jpg)
พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น ได้รับความนิยมสูงๆ มีอยู่หลายรูป หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอก็เป็นหนึ่งในพระรูปเหมือนยอดนิยมเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะสร้างไม่ทันตอนที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่ด้วยความเลื่อมใสเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อยอดไม่มีเสื่อมคลาย สนนราคาก็สูงมากและหายากครับ

พระครูประสุตสังฆกิจ (หลวงพ่อยอด) วัดหนองปลาหมอ สระบุรี ไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการในสมัยนั้น แต่เท่าที่สืบค้นดูก็พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ หลวงพ่อยอดเกิดที่จังหวัดนครราชสีมา ประมาณปี พ.ศ.2400 ต่อมาได้อุปสมบทเมื่ออายุครบบวช โดยมีพระอาจารย์อินทร์ วัดมะรุม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดมะรุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์รอด วัดมะค่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ"

ท่านได้ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระจากพระอุปัชฌาย์จนแตกฉาน จึงเดินทางมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดชนะสงคราม และได้มีโอกาสรู้จักกับพระคณาจารย์ ผู้โด่งดังแห่งเมืองพระนครศรีอยุธยา 2 รูป คือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม และ หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง หลวงพ่อยอดได้ศึกษาอยู่ที่วัดชนะสงครามหลายปี จึงได้เดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดพระญาติฯ กับหลวงพ่อกลั่นระยะหนึ่ง จากนั้นหลวงพ่อยอดจึงออกเดินทางต่อผ่านอำเภออุทัย อำเภอหนองแค ผ่านหมู่บ้านหนองปลาหมอ และที่หมู่บ้านนี้มีสำนักสงฆ์ร้างอยู่สำนักหนึ่ง ท่านจึงพำนักอยู่และชาวบ้านก็นิมนต์ขอให้หลวงพ่อยอดอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้

หลวงพ่อยอดได้อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาสร้างขึ้นจนเป็นวัด ในปี พ.ศ.2432 และเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อยอดเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านชาวหนองปลาหมอ และชาวสระบุรีเคารพนับถือมาก ท่านช่วยสั่งสอนและอบรมศิษย์ให้เป็นคนดีละเว้นบาป และเมตตาต่อชาวบ้านทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ

ต่อมาหลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดและเป็นพระอุปัชฌาย์ จนกระทั่งเป็นเจ้าคณะแขวงที่พระครูประสุตสังฆกิจ เมื่อปี พ.ศ.2460 หลวงพ่อยอดปกครองวัดหนองปลาหมอมาจนถึงปี พ.ศ.2486 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 63

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดรุ่นแรกนั้นได้สร้างหลังจากที่หลวงพ่อยอดมรณภาพแล้ว สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2487 โดย พระครูวิบูลย์คณานุสรณ์ (หลวงพ่อเฉื่อย) อดีตเจ้าอาวาส วัดสหมิตรมงคล ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อยอด จำนวนสร้างประมาณ 500 องค์ ทำพิธีปลุกเสกที่วัดสุจิต โดยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังมาร่วมปลุกเสก เช่น หลวงพ่อคง วัดพุทไธศวรรย์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน หลวงพ่อนาค วัดหนองสีดา และหลวงพ่อเที่ยง วัดศาลาแดง เป็นต้น

รูปเหมือนหลวงพ่อยอดที่ใต้ฐานทุกองค์จะมีการบรรจุผงอัฐิของหลวงพ่อยอด แล้วอุดด้วยทองแดง

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ เป็นพระที่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ด้วยความเคารพศรัทธาในหลวงพ่อยอด นับเป็นพระรูปเหมือนที่เป็นยอดนิยมของจังหวัดสระบุรี และเป็นหนึ่งในพระเบญจฯ พระรูปเหมือนยอดนิยมของเมืองไทย

ปัจจุบันหาชมยากมาก สนนราคาก็สูง มากด้วยเช่นกันครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดองค์สวยมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70084094256162_5.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธาน้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน

ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา

เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร

อยู่วันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคก ได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาการแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์

หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษจันกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ

ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อ ปัจจุบันหาชมได้ยากพอสมควร ชาวบ้านในแถบนั้นหากมีก็จะหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12323280465271_6.jpg)
พระกริ่ง วัดชนะสงคราม
 
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงคราม สนนราคาก็ไม่สูงและยังพอ หาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พิธีการสร้างและพุทธาภิเษกนั้นยอดเยี่ยมมาก เจตนาการสร้างก็ดีด้วย

วัดชนะสงครามนั้นเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมที่ชื่อวัดกลางนา และชื่อวัดตองปุ ตามลำดับ ต่อมาเมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท ได้ออกทำศึกสงครามกับพม่า และได้มาประชุมพลที่วัดแห่งนี้และได้รับชัยชนะกลับมาถึงสองครั้งสองครา คือครั้งสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง หลังจากกลับจากศึกแล้วท่านจึงได้สถาปนาวัดชนะสงครามขึ้นใหม่ทั้งวัด และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วได้ถวายเป็นราชพลีแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงพระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" อันหมายถึงการได้รับชัยชนะจากศึกสงคราม

สำหรับการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้นก็เนื่องมาจากประเทศไทยได้ ส่งทหารเข้ารบในสงครามอินโดจีน ทางการได้ส่งทหารอาสาเข้ารบเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามต่างๆ ก็ได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารไว้บูชาติดตัว ทางวัดชนะสงครามโดย ท่านเจ้าอาวาสพระสุเมธมุนี (ลับ) จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกทหารอาสาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนบูชาเพื่อเตรียมรับภัยสงครามที่กำลังลามมายังประเทศไทย การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ได้ประกอบพิธีกันในลานหน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม และมีหลวงภูมินาถสนิท เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และหลวงภูมิฯ ได้บันทึกไว้ว่า รายนามพระเถระที่ลงแผ่นทองในพิธีหล่อมีดังนี้ พระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณสุเมธมุนี (ลับ) วัดชนะฯ ท่านเจ้าคุณอ่ำ วัดวงฆ้อง ท่านเจ้าคุณพระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้

ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี วัดบรมธาตุกำแพงเพชร ท่านเจ้าคุณธรรม ธีรคุณ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านพระครูวิจิตรธรรมบาล หลวงพ่อชม วัดประดู่ทรงธรรม หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อทัต วัดห้วยหินระยอง พระครูคณานุยุตวิจิตร พัทลุง หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ ท่านพระครูปลัดมา วัดเลียบ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อบุญชู วัดโปรดเกษ ท่านเจ้าคุณชิต วัดมหาธาตุเพชรบุรี หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้

หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน หลวงพ่อดาบเพชร วัดชนะฯ หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อใย วัดระนาม พระอาจารย์พูน วัดหัวลำโพง พระอาจารย์สา วัดเทพธิดาราม พระอาจารย์ปลั่ง วัดราชนัดดา พระอาจารย์ขั้ว วัดมะปรางหวาน พระอาจารย์จันทร์ วัดสำราญ พระอาจารย์นอ วัดใหม่โพธิ์เอน พระอาจารย์นวม วัดขวาง พระอาจารย์น้อย วัดศีรษะทอง ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิสมโภชน์ วัดพระเชตุพน พระอาจารย์ทองดี วัดท่าเกวียน

นอกจากนี้หลวงภูมิฯ ยังได้บันทึกไว้ว่า ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านยังได้เป็นประธานในพิธีกรรมตลอดการเททอง และพุทธาภิเษก และหลวงภูมิฯ ยังได้นำชนวนมงคลจากพิธีที่วัดราชบพิตร และวัดสุทัศน์มาผสมอีกจำนวนหนึ่งด้วย จากบันทึกบอกกล่าวถึงพิธีหลอมโลหะนั้น ได้มีตะกรุดและแผ่นทองที่ไม่หลอมละลายจำนวนมาก ต้องนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีร่วมกันเพ่งกระแสจิตจึงจะละลายลงในที่สุด

นับเป็นปรากฏการณ์อันประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่ง ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2484 จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ตลอดสามวันสามคืน มีหลวงพ่อจง หลวงพ่อจาด หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อจันทร์ เป็นประธานนั่งปรกสลับ กับพระเถระรูปอื่นๆ จากทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงแผ่นทองมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ครับพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงครามที่สร้างในครั้งนี้จึงเป็นพระที่น่าใช้บูชามาก ตามความเห็นของผมนะครับ เนื่องจากมีแผ่นชนวนลงอักขระจากพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นครบถ้วนและพิธีพุทธาภิเษกก็ยอดเยี่ยมตามที่มีบันทึกของท่านหลวงภูมิฯ อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาบูชาได้ไม่ยากนักครับ

ผมได้นำรูปพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31857664262254_8.jpg)
พระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500-1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย

พระปรางค์ประธานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มี พระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม

พระเครื่องที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรี และทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์ประธาน และรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแผ่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น

พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่เริ่มมีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวรที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวก็มี เลยทึกทักเรียกกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน และเรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็น พระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ

พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีแล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 ธันวาคม 2559 20:04:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51256691954202_1.jpg)
เหรียญปั๊มหูเชื่อม หลวงพ่อดำ วัดตาล จ.ราชบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่ของราชบุรี เหรียญหนึ่งคือหลวงพ่อคำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2459 ปัจจุบันนับว่าหาดูยากแล้วครับ และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึงประวัติของท่านนัก วันนี้ก็เลยเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า "ดำ" ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนักตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอาทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมีพระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับพระอาจารย์เล็กเป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "อินทสโร" บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวิจัยที่วัดตาล ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้านชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถจนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ต่างก็มาเรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก

เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนัน ทำตัวเป็นผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายจากจังหวัดสมุทรสงคราม หลวงกล้าฯ ก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้น หลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำท่านได้เคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊มหูเชื่อม หลวงพ่อดำ วัดตาลมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86143005929059_2.jpg)
เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ พระนครศรีอยุธยา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่านให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่าน ทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรมและจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมา กราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32954084376494_3.jpg)
พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร

วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชุมพรมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้รกร้างมาเป็นเวลาเนิ่นนาน จนเมื่อ หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร รับนิมนต์มาจำพรรษา จากวัดร้างจึงได้รับการบุกเบิกและพัฒนาจนเป็น "วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" เจริญรุ่งเรือง

หลวงปู่สงฆ์เคยกล่าวถึงที่มาของชื่อ "วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" ว่า ในอดีตเป็นวัดที่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเคยมาบวชเป็นเจ้าอาวาสอยู่ จึงขึ้นต้นชื่อวัดว่า "เจ้าฟ้า" เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าวัดเดิม ส่วน "ศาลาลอย" ตั้งตามชื่อของหมู่บ้านศาลาลอย

นอกจากนี้ หลวงปู่มักพูดเสมอว่า "เจ้าวัดที่นี่ไม่ใช่เรา แต่เป็นปู่เจ้าฟ้า" ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการบวชนาค จะต้องนำ "นาค" ไปฝากตัวกับปู่เจ้าฟ้าก่อน จนเป็นประเพณีสืบมาถึงปัจจุบัน

หลวงปู่สงฆ์เป็นชาวชุมพรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีขาล พ.ศ.2433 ที่ ต.วิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร

เมื่ออายุ 18 ปี ได้บวชสามเณรที่วัดสวี ศึกษาด้านพระธรรมวินัย พระปริยัติ และอักษรขอม เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดวิสัยเหนือ โดยมีหลวงพ่อชื่น วัดแหลมปอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทสโร"

จำพรรษาที่วัดวิสัยเหนือระยะหนึ่ง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดควน ต.วิสัยเหนือ เพื่อศึกษาทางด้านกรรมฐานและวิทยาคมอยู่ 1 พรรษา จากนั้นเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อฝึกกรรมฐานวิปัสสนาและแสวงหาพระอาจารย์ผู้แก่กล้าศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม เมื่อมาถึงจังหวัดภูเก็ต ท่านได้พบพระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือ ตอแซ พระเกจิชื่อดังในยุคนั้น จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมต่างๆ อยู่ 2 พรรษา

หลวงปู่สงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเคยมี "กวาง" ตัวหนึ่งหลงเข้ามาในวัด ท่านก็ให้ผลไม้และอาหารกิน และผูกเศษจีวรสีเหลืองไว้ที่คอกวาง เจ้ากวางอยู่ที่วัดได้ปีหนึ่งก็กลับเข้าป่าไป บางทีก็กลับมาหาหลวงปู่ที่วัด และอยู่สองสามวันก็กลับเข้าป่าไปอีก โดยในช่วงที่เจ้ากวางอาศัยอยู่ในป่านั้น สามารถรอดพ้นจากการไล่ล่าได้ทุกครั้ง

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ร่ำลือกันว่า หลวงปู่ท่านมีวาจาสิทธิ์ยิ่งนัก

มรณภาพเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 สิริอายุ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน แต่สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์นัก และปัจจุบันยังคงบรรจุโลงประดิษฐานบนศาลาธรรมสังเวช

วัตถุมงคลของท่านมีหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน ทั้งที่ท่านทำเองและอนุญาตให้ลูกศิษย์จัดสร้าง ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ ซึ่งผู้สักการะต่างประสบพุทธานุภาพมากมายเป็นที่ปรากฏ

วัตถุมงคลเด่นๆ มีอาทิ เหรียญรุ่นแรก ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดแก้ว ปี 2502, รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อดินชุบรัก ปี 2505, พระหล่อรูปเหมือนขนาดบูชา, พระหล่อรูปเหมือนปั๊ม ปี 2508, พระรูปเหมือนปั๊ม ก้นอุดยาฉุน ปี 2509, พระหล่อรูปเหมือนปั๊มอักษรนูน ปี 2509, พระหล่อรูปเหมือนปั๊ม ปี 2510, พระกริ่งเจ้าฟ้า ปี 2519 และ พระปิดตารุ่นแรก เนื้อนวโลหะ ปี 2519 เป็นต้น

กล่าวถึง "พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ ปี 2519" นั้น คณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อแจกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญจัดสร้าง "ฌาปนสถาน วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" โดยหลวงพ่อสงฆ์เมตตาตั้งนามมงคลให้ ออกแบบและแกะพิมพ์โดยช่างฝีมือชั้นครู อ.เกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้นำ "พระกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง" มาเป็นต้นแบบ และได้นำชนวนก้านช่อของพระกริ่งพระชัยเมื่อปี 2517 มาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารในการจัดสร้าง โดยสร้างเป็นเนื้อนวโลหะครบสูตร และหลวงปู่เมตตาปลุกเสกให้เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2519 ประการสำคัญ คือ นับเป็นพระกริ่งรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงปู่สงฆ์อีกด้วย

พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ ปี 2519 มีเพียงพิมพ์เดียว จำนวนจัดสร้างทั้งสิ้น 999 องค์เท่านั้น แบ่งเป็นก้นทองคำ 8 องค์ ก้นเงิน 12 องค์ และก้นทองแดง อักษร "นะ" 979 องค์ ทุกองค์มีการตอกโค้ดอย่างชัดเจน นับเป็นหนึ่งในยอดวัตถุมงคลแดนใต้ที่ ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากนัก เพราะจำนวนสร้างน้อยมาก

อีกทั้งสนนราคาก็ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับผม

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98659614597757_4.jpg)
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และเริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดย พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททอง ให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินการต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนั้นมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง จำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพฯ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส อ้วน วัดบรมฯ กทม. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั๋น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม และประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้ทั้งหมดเป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทางพุทธสมาคมฯ ได้เก็บรักษาไว้ จนในปี พ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด

พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระที่มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์สังฆาฏิยาว พร้อมทั้งโค้ดมาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70526473927828_5.jpg)
พระพุทธชินราช ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน สมัยก่อนนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีก๊กนักเลงใหญ่อยู่ 2 ก๊ก คือก๊กลั่กกั๊ก กับก๊กเก้ายอด ฝ่ายลั่กกั๊กมักสักสัญลักษณ์เป็นรูปมังกร ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเชื้อสายจีนในเยาวราช และเป็นศิษย์สายวัดสามจีน (วัดไตรมิตรฯ) ส่วนก๊กเก้ายอดจะสักเก้ายอด เป็นศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวา ทั้งสองก๊กจะไม่ค่อยถูกกัน และมีเรื่องตีรันฟันแทงกันบ่อยครั้ง แต่ทั้งสองฝ่ายอย่างเก่งก็แค่ฟกช้ำดำเขียวเท่านั้น ไม่มีบาดเจ็บถึงเลือดตกยางออก เนื่องจากอยู่ยงคงกระพันทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายศิษย์วัดสามจีนจะเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโม (พระครูวิริยะกิจการี) ผู้ซึ่งสร้างพระพุทธชินราช เนื้อชิน หลวงพ่อโม เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นคนละแวกวัดสามจีน ศึกษาอักษรสมัยที่สำนักวัดสามจีน ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดสามจีน โดยมีพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) วัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมสโร" เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีน ศึกษาพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ ทั้งไปศึกษาในสำนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม รวมทั้งวิทยาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณจนมีความเชี่ยวชาญ

ขณะที่หลวงพ่อโมดำรงตำแหน่งพระครูใบฎีกา ฐานานุกรมในพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) นั้น ต่อมาเจ้าคุณเปลี่ยน ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลก ท่านจึงติดตามพระอุปัชฌาย์ ขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก จนกระทั่งเจ้าคุณเปลี่ยนได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมคงคา หลวงพ่อโมจึงย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนตามเดิม จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวิริยะกิจการี เจ้าอาวาสวัดสามจีน

หลวงพ่อโมนอกจากเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยแล้ว ยังเป็นผู้ทรงอภิญญาสูงมาก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นรูปพระพุทธชินราช โดยสร้างเป็นเนื้อชิน และแจกจ่ายให้แก่ศิษย์ ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแจกไปนั้น มีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดเรียกว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือด เป็นที่ร่ำลือกันมาก

ในปัจจุบันพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม สนนราคายังไม่สูงมาก แต่ก็มีของปลอมเลียนแบบ เนื่องมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยก่อนใครๆ ก็อยากได้ไว้บูชา จึงมีการทำปลอมกันมานานแล้ว แต่ของปลอมจะถอดแบบออกมาจึงทำให้ขาดความคมชัดของแม่พิมพ์ พระแท้ๆ นั้น จะคมชัดทุกองค์ บางองค์มีจารอุณาโลม วงกลมเลข 0 และพระจันทร์เสี้ยวที่ ด้านหลัง

พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน เป็นพระที่ยอดเยี่ยมในด้านพุทธคุณ สนนราคาก็ไม่สูงน่าหาไว้ห้อยบูชา

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพุทธชินราช ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน มาให้ชมด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85208921672569_6.jpg)
พระกริ่งบดินทร์ พิมพ์ฐานสูง วัดชัยชนะสงคราม กทม.

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดชัยชนะสงคราม กทม. หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตึก วัดนี้อยู่ใกล้ๆ คลองถม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2391 และที่วัดแห่งนี้ได้มีการสร้างพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์"

วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก) ที่ตั้งเดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ต้นสกุล สิงหเสนี สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยนั้น หลังจากเป็นแม่ทัพไปรบกับญวนและเขมรมีชัยกลับมาแล้ว ท่านเกิดศรัทธาแรงกล้าประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญสถาพรสืบไป จึงยกบ้านของท่านถวายสร้างเป็นวัด โดยสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เพิ่มเติมจนสมบูรณ์ แล้วให้นามว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนั้น วัดชัยชนะสงครามเป็นวัดราษฎร์อยู่จนถึงปี พ.ศ.2421 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ด้วยเหตุที่เรือนเดิมของท่านเป็นอาคารตึก ชาวบ้านทั่วไปจึงพากันเรียกจนติดปากว่า "วัดตึก" มาจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นท่านก็ได้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงอสัญกรรม และผู้สืบสกุลก็รับช่วงทำนุบำรุงต่อมาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2503 พระครูชัยโศภณ เจ้าอาวาส เห็นว่าพระอุโบสถเดิมสร้างมา 111 ปีแล้ว วัสดุก่อสร้างเริ่มเสื่อมคุณภาพชำรุดทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ยากแก่การจะบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งมีส่วนที่คับแคบไม่เหมาะแก่การประกอบสังฆกรรมและบำเพ็ญศาสนกิจ จึงได้ปรึกษาคุณหญิงเจือ นครเสนี (สิงหเสนี) และคุณหญิงมีความปีติและศรัทธาแรงกล้า ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาและเชิดชูเกียรติประวัติแห่งท่านผู้เป็นต้นสกุล จึงได้ถวายปวารณาอุทิศเงินจำนวน 300,000 บาท สำหรับเป็นทุนประเดิมในการก่อสร้างและขยายอุโบสถใหม่

ในส่วนของพระประธานองค์เดิมมีขนาดเล็ก หม่อมสวัสดิวัตน์ได้บริจาคเงิน 35,000 บาท ให้เป็นทุนร่วมกับคณะกรรมการ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้จัดการหล่อขึ้นใหม่ และประกอบพิธีหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2502 คณะกรรมการได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธชัยสงห์มุนีนทร์ธรรมบดินทร์โลกนารถเทวนรชาติอภิปูชนีย์" และได้อัญเชิญประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทองในคราวนั้นด้วย

ในคราวเททองหล่อพระประธาน ทางคณะกรรมการได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นแบบพระกริ่งขึ้นเรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์" เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ทำบุญในการสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธาน จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 องค์ แบ่งออกได้เป็นพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์เตี้ย พิธีพุทธาภิเษกคราวเดียวกับการเททองพระประธาน โดยนิมนต์พระเถระและพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมปลุกเสกหลายรูป เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่) วัดสระเกศ พระธรรมวโรดม (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ พระเทพสิทธินายก (นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวรเวทย์มุนี (เมี้ยน) วัดพระเชตุพนฯ พระครูวินัยธร (เฟื้อง) วัดสัมพันธวงศ์ พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส และพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน เป็นต้น

พระกริ่งบดินทร์ มีประสบการณ์มาก ชาวบ้านแถบวัดตึกทราบดี ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่พระกริ่งบดินทร์ออกใหม่ๆ ตำรวจจราจรตรงสี่แยกวัดตึกถูกรถบรรทุก 6 ล้อเบรกแตกชน จนกระเด็นกลิ้งฟาดพื้นจนสลบ แต่ตำรวจท่านนั้นกลับไม่บาดเจ็บเลย เพียงเสื้อกางเกงขาด สอบถามได้ความว่า ห้อยพระกริ่งบดินทร์เพียงองค์เดียว ปรากฏว่าชาวบ้านแถวนั้นเที่ยวหาพระกริ่งบดินทร์กันเป็นแถว

พระกริ่งบดินทร์ปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงครับ อยู่ที่หลักพัน อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้รู้ประวัตินักก็เป็นได้ครับ แต่ก็ใช่ว่าจะหาง่ายนะครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบดินทร์ พิมพ์ฐานสูงมาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92193829268217_7.jpg)
พระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง  

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง วัดสุทัศน์ ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นที่นิยมสะสมของผู้นิยมพระเครื่องทุกรุ่น และมีอยู่รุ่นหนึ่งที่เรียกกันว่าพระกริ่งเชียงตุง ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486 และเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับว่าเป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่งที่หายากมากเช่นกันครับ

พระกริ่งเชียงตุงนั้นสร้างขึ้นมา เนื่องในโอกาสที่คณะสงฆ์ของไทยกำลังจะเดินทางไปเผยแผ่ศาสนา ณ สาธารณรัฐเชียงตุง ในปี พ.ศ.2486 สมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงดำริที่จะสร้างขึ้นเพื่อแจกให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คณะสงฆ์ในชุดนี้ โดยใช้แบบพิมพ์พระกริ่งใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้นภรรยาของท่านพระยาศุภกรได้พบแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ของพระยาศุภกร ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงนำแม่พิมพ์มาถวายให้แก่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ดูแม่พิมพ์แล้ว ทรงกล่าวว่าเป็นแม่พิมพ์ที่สวยสมบูรณ์ จึงได้รับสั่งให้ช่างใช้แม่พิมพ์นี้เทหล่อพระกริ่งเชียงตุงในปีนั้นเลย

พระกริ่งเชียงตุง เนื้อโลหะใช้ชนวนบนตำหนักสมเด็จฯ กับเนื้อชนวนพระกริ่งรุ่นปี พ.ศ.2482 และได้นำโลหะที่ลงพระยันต์ 108 นะ ปถมัง 14 นะ กับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช ของพุทธสมาคมผสมด้วย กระแสเนื้อมีอยู่กันสองกระแส คือกระแสเนื้อออกสีนากอ่อน แล้วกลับเป็นสีน้ำตาล และกระแสเนื้อออกสีเหลืองแกมขาว แล้วกลับเป็นสีเหลืองแกมเขียว จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 108 องค์ พระกริ่งรุ่นนี้เป็นการเทหล่อแบบกริ่งในตัว และบางองค์ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ตอกโค้ดไว้ที่ใต้ข้อศอกขวาด้านหลังขององค์

พระกริ่งที่มีกระแสเนื้อออกสีนากอ่อนหรือแดงนั้น มีจำนวนน้อย เข้าใจว่าจะเป็นพระที่เทในเบ้าแรก ส่วนกระแสเนื้อที่ออกสีเหลืองจะมีจำนวนมากกว่า ช่างที่ตกแต่งพระกริ่งเชียงตุงมีทั้งช่างชม และช่างฮั้ว มีพระบางองค์ที่ผู้ได้รับไปแล้วนำมาให้ อาจารย์หนู (นิรันตร์ แดงวิจิตร) ตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง และองค์ที่นำไปให้อาจารย์หนูท่านแต่งให้ ท่านก็จะตอกเลขไทย ๘๖ ที่ใต้ฐาน ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างพระ

พระกริ่งเชียงตุงเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องนิยมกันมาก ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้ถือเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายของสมเด็จ พระสังฆราช (แพ) และเป็นพระกริ่งที่สร้างเพื่อมอบให้แก่คณะสงฆ์ไทยที่ไปเผยแผ่พระศาสนาที่เมืองเชียงตุง จึงนิยมเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งเชียงตุง" กันจนถึงทุกวันนี้ครับ

ในปัจจุบันพระกริ่งเชียงตุงหายากมากพอสมควร และมีราคาสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้ว เวลาจะเช่าก็ต้องพิจารณาให้ดี ควรสอบถามจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ก่อนเช่าหาครับ

ครับและก็ไม่ลืมที่จะนำรูปพระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง มาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 ธันวาคม 2559 14:53:53
(http://daily.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2016/08/bud07150859p1.jpg&width=360&height=360)
ยอดเหรียญดังรุ่นเดียว หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยสงคราม อินโดจีนต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกหนึ่งรูปที่เป็นที่กล่าวขวัญและเคารพศรัทธาสืบมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี

เป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านบางพุทโธ ต.ตลุง อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้วยความมีใจนักเลง ถึงไหนถึงกัน เป็นเหตุให้เกิดมีเรื่องราวกับคู่อริถึงขนาดทำร้ายกันจนถึงชีวิต จนต้องหลบหนีอาญาจากบ้านเมืองไป ระหว่างนั้นเอง ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาอาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้ทรงพุทธาคมสูงส่งมากมาย หากแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นท่านใดบ้าง เมื่อพ้นอายุความคดีฆ่าคนตายในช่วงวัยกลางคน จึงหวนสู่ภูมิลำเนา ณ บางพุทโธ และตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ วัดบัว โดยมี พระสังฆภารวาหมุนี (หลวงพ่อเนียม) วัดเสาธงทอง พระเกจิชื่อดังยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทโชติ"

ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว ได้สังเกตว่า "วัดนางหนู" วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามนั้น มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบจะเป็นวัดร้างและไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดนางหนู บูรณปฏิสังขรณ์ ตลอดจนสร้างเสนาสนะต่างๆ เมื่อชาวบ้านได้เห็นถึงความมุ่งมั่นก็เริ่มศรัทธามาร่วมแรงร่วมใจกัน จน "วัดนางหนู" มีความถาวรเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง ต่อมาได้มีการสังคายนาชื่อวัดให้ถูกต้องตามทำเนียบสงฆ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดมุกสิกกาวาส"

เพื่อตอบแทนน้ำใจญาติโยมที่สละทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ในการร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนั้น หลวงปู่จันทร์จึงสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายออกมาแจกจ่าย อาทิ ตะกรุดโทน เสื้อยันต์ หรือการลงกระหม่อมให้ เป็นต้น ซึ่งผู้ได้รับไปต่างมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

เล่ากันว่า เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ประมาณปี พ.ศ.2484 ทหารหน่วยต่างๆ ต่างมุ่งสู่วัดนางหนู เพื่อขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่จันทร์เป็นจำนวนมาก พร้อมสละทรัพย์หรือปัจจัยให้นำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เงินทำบุญนั้นมากขนาดสร้างโบสถ์หลังใหม่ได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่จันทร์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสดูแลปกครองวัดนางหนูสืบมา และชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่วภาคกลาง ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิ อาจารย์ผู้เกรียงไกรในช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับนิมนต์เข้านั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ต่างๆ อาทิ พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481 และพิธีปลุกเสก "พระพุทธชินราชอินโดจีน" ณ วัดสุทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2485

มรณภาพในปี พ.ศ.2490 รวมสิริอายุ 97 ปี

ในบรรดาวัตถุมงคลนั้น "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ ปี 2478" ที่แจกเป็นที่ระลึกในการจัดสร้างศาลาวัดนางหนู นับเป็นเหรียญยอดนิยมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญประจำจังหวัดลพบุรี ที่มีความต้องการและแสวงหาอย่างสูง ด้วยเป็น "เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว" ของท่าน

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ รุ่นแรกและรุ่นเดียว ปี 2478 เท่าที่พบเป็นเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่กลม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นลวดแบน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ครึ่งองค์หน้าตรง มีอักษรไทยโดยรอบว่า "หลวงพ่อจัน อายุครบ ๘๓ ปี พระจันทะโชติ์" ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม "นะเฉลียวเพชร" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม แล้วล้อมด้วยอักขระขอม 3 ตัว ว่า "อิสวาสุ" โดยรอบเหรียญจารึกอักษรไทยว่า "ให้เป็นที่รฤกในงานฉลองศาลา พ.ศ.๒๔๗๘"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง สนนราคานั้น ถ้าสวยสมบูรณ์จริงๆ แตะหลักแสนแล้ว รุ่นนี้มีบล็อกหน้าพิมพ์เดียว บล็อกหลังมีถึง 3 พิมพ์ ต้องศึกษาและพิจารณาจุดตำหนิกันให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจครับผม



(http://daily.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2016/07/bud07110759p1.jpg&width=360&height=360)
เหรียญปู่พระพุทธชินสีห์ 2440

สมญานาม "เหรียญปู่" เป็นการยกย่องในความเก่าแก่ของเหรียญ และด้วยความเป็น "เหรียญพระพุทธเหรียญแรกของไทย" นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่จำลองมาประดิษฐานยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทย ซึ่งก็คือ "พระพุทธชินสีห์" พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกับ "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" โดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน เมื่อครั้งเสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวปี พ.ศ.2372 ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชและครองวัดบวรฯ ทรงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) อัญเชิญมาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็น "พระประธาน" ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จวบจนถึงปัจจุบัน

"เหรียญพระพุทธชินสีห์" นับเป็นพระพุทธเหรียญแรกของประเทศไทย ที่มีอายุความเก่าถึง 119 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 เพื่อเป็นที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ในโอกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป ในการจัดสร้างครั้งนี้ ทรงสั่งผลิตเหรียญจากเมืองนอก ตัวเหรียญจึงมีความคมชัดและงดงามมาก

ความทรงคุณค่าและเป็นที่นิยมอย่างสูง ของ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" นี้ สืบเนื่องจากเป็นการรวมสิ่งอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดไว้ถึง 3 สิ่ง อันได้แก่

หนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย โดยจำลองรูปพระพุทธชินสีห์ขึ้นปรากฏอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังเป็นการจัดสร้างเหรียญพระพุทธปฏิมากรเหรียญแรกของไทย

สอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรป ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

สาม สร้างเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครองวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระบวรพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ผู้มีไว้สักการบูชายังมีประสบการณ์ด้านพุทธคุณล้ำเลิศครอบจักรวาลเป็นที่ปรากฏตามการอธิษฐานจิตทุกประการ

เหรียญพระพุทธชินสีห์รุ่นแรก ปี 2440 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือเนื้อทองแดงและเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยสร้างเป็น 2 พิมพ์ทรง คือ "เหรียญทรงกลม" รูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง และ "เหรียญรูปใบโพธิ์ ไม่มีก้าน" ขอบข้างเลื่อย ซึ่งจะไม่มีรูคล้องเหรียญ

โดยเหรียญทั้ง 2 พิมพ์นี้จะมีรายละเอียดภายในใบโพธิ์เหมือนกัน คือ พิมพ์ด้านหน้า ปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ ตรงกึ่งกลางเป็นรูปจำลอง "พระพุทธชินสีห์" ใต้ฐานจารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วนพิมพ์ด้านหลัง ปรากฏลายเส้นใบเช่นกัน ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจ กลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

"เหรียญพระพุทธชินสีห์ ทรงกลม" มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างน้อยมากๆ จึงยังไม่ค่อยปรากฏของปลอมให้เห็นเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะไม่สามารถหาของแท้ไปถอดพิมพ์ได้ ส่วน "เหรียญรูปใบโพธิ์" ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมและพบเห็นกันอยู่ค่อนข้างมากนั้น จะมีทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก และมีออกมานานแล้ว แต่การสังเกตเหรียญปลอมก็ไม่ยากนัก เพราะจะไม่มีความคมชัด รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ไม่เรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน "เหรียญปู่" หรือ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้ง 2 แบบ ยังคงมีค่านิยมที่สูงเอามากๆ ด้วยความทรงคุณค่า 3 ประการ ที่จะหาเหรียญอื่นใดเทียบเทียมได้ยากนัก แต่ต้องระวังให้จงหนัก เพราะหาของแท้ๆ ก็ยากยิ่งเช่นกันครับผม



(http://daily.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2016/08/bud07080859p1.jpg&width=360&height=360)
ธัมมวิตักโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส

ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ หรือ พระยานรรัตนราชมานิต ที่ทุกคนมักเรียกขานท่านว่า "เจ้าคุณนรฯ" เป็นปูชนียบุคคลตัวอย่างที่เป็นอุทาหรณ์ให้เห็นถึงความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ ยึดมั่นและมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุด ท่านเป็นข้าราชบริพารในพระราชสำนักสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความวิริยะมานะและพากเพียร เป็น "ยอดแห่งความกตัญญู" ตั้งแต่ยังเยาว์จนเข้ารับราชการ แม้กระทั่งอุปสมบท จนที่สุดสามารถปฏิบัติธรรมสำเร็จผลสูงสุด

ได้รับการยกย่องให้เป็น "พระอรหันต์กลางกรุง" เป็นแบบอย่างของพระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ คู่ควรแก่การเคารพสักการะและกราบไหว้

เป็นบุตรคนแรกของ พระยานรราชภักดี กำเนิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2440 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับ "วันมาฆบูชา" จบการศึกษาชั้นประถมที่วัดโสมนัสฯ ระดับอุดมศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นแรก โดยได้เป็น"ที่หนึ่ง" มาโดยตลอด ทั้งที่ตัวท่านเองอยากเรียนวิชาการแพทย์ แต่บิดาซึ่งเป็นนักปกครองอยากให้เรียนวิชาการปกครองเพื่อสืบตระกูล ท่านก็สามารถทำได้ดีเป็นที่หนึ่ง

ในวัยทำงาน พระยานรรัตนราชมานิต ก็ยังได้รับการยกย่องให้เป็น "ยอดกตัญญู" กล่าวคือ เมื่อจบการศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ท่านได้เข้าซ้อมรบในฐานะเสือป่าที่ค่ายหลวง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยรับหน้าที่เป็นคนส่งข่าว

พระยานรรัตนราชมานิตมีความจงรักภักดีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ตั้งใจถวายการรับใช้ ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ไม่ขาดตกบกพร่องให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเลยแม้แต่ครั้งเดียว จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยและพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาพานทอง" ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี มีพระราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต" อันแปลว่า "คนดีที่มีพระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ" ซึ่งนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดที่พึงได้รับ

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านได้สละทุกสิ่งทุกอย่างอันพึงมี ออกอุปสมบทเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2468 ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาชย์ ได้รับฉายา "ธมฺมวิตกฺโก"

ครองสมเพศตลอดมาจนถึงมรณภาพเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2514 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษา 46 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 โดยเสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์

ตลอดระยะเวลาที่ท่านเจ้าคุณนรฯ อยู่ในสมณเพศ 46 ปีเต็ม ท่านเป็นสมณะที่เคร่งครัดและอุดมไปด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม พร้อมสรรพด้วย "กตัญญุตาบารมี" นอกเหนือจากความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีแล้ว ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการกรวดน้ำอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 และในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต ท่านจะงดเว้นการฉันอาหาร 1 วัน และนั่งบำเพ็ญสมาธิตลอดคืน เพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญที่ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด

ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌาชย์ ที่ท่านมีความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งนั้น ท่านก็เพียรประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างเคร่งครัดและรับใช้ใกล้ชิด เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันมรณภาพ ท่านจะเป็นผู้เดินส่งอัฐิที่อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระอุโบสถและรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมเป็นประจำตลอดชีวิตเช่นกัน

วัตถุมงคลทุกชิ้นของท่านเจ้าคุณนรฯ ล้วนทรงคุณค่าทั้งด้านจิตใจและพุทธคุณอันล้ำเลิศทั้งสิ้น

เป็นที่ยอมรับยกย่องและเป็นที่นิยมสะสมสืบมาถึงปัจจุบันครับผม



(http://daily.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2016/05/bud07300559p1.jpg&width=360&height=360)
เหรียญปั๊มหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่

"โดยทั่วไปแล้ว "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" มักจะเป็นที่นิยมที่สุด แต่ก็ไม่เสมอไปทุกกรณี เมื่อเทียบกับพุทธคุณที่ปรากฏโดดเด่น ดังเช่น "เหรียญปั๊มรูปเหมือน พิมพ์นิยมหน้าใหญ่ ปี 2485" ที่ในวงการเรียกกันว่า พิมพ์นิยม กลับเป็นเหรียญที่สร้างเป็นรุ่นที่ 2 ของ หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก"

หลวงพ่อจง พุทธสโร หนึ่งในสี่พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต ช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 "จาด จง คง อี๋" วัตถุมงคลของท่านล้วนได้รับความนิยมอย่างสูงมาแต่อดีตสืบเนื่องถึงปัจจุบัน และยังหาดูหาเช่าของแท้ยากเอามากๆ อีกด้วย

เกิดที่ ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรี อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2415 ตอนเด็กค่อนข้างขี้อาย ขี้โรค เซื่องซึม หูตาฝ้าฟาง บิดามารดาจึงให้บวชเป็นสามเณรตอนอายุ 12 ปี จนเมื่ออายุครบจึงอุปสมบทที่วัดหน้าต่างใน โดยมีพระอุปัชฌาย์สุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์อินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "พุทธสโร" ปรากฏว่า หลังจากที่ได้เข้าสู่สมณเพศ อาการต่างๆ ที่ท่านเป็นเมื่อตอนเด็กก็หายไปจนหมดสิ้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

หลังจากอุปสมบท หลวงพ่อจงไปจำพรรษาที่วัดหน้าต่างใน เพื่อศึกษาวิชาจากพระอาจารย์โพธิ์ และร่ำเรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานจาก หลวงปู่ปั้น วัดพิกุล สุดยอดพระเกจิดังในยุคนั้น ท่านสามารถศึกษาร่ำเรียนวิทยาการต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญและแตกฉาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2450 เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกว่างลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านปกครองดูแลและพัฒนาวัดหน้าต่างนอกจนเจริญรุ่งเรือง และมีเมตตาธรรมสูงส่งช่วยเหลือผู้คนไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล จนได้รับการขนานนามว่า "นักบุญผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเมืองกรุงเก่า"



(http://daily.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2016/05/bud07300559p3.jpg&width=360&height=360)
       หลวงพ่อจง พุทธสโร

กุฏิของท่านจะมีผู้คนแวะเวียนมากราบนมัสการมิได้ขาด ส่วนใหญ่ขอน้ำมนต์และวัตถุมงคลต่างๆ กลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ท่านมีลูกศิษย์สืบสายพุทธาคมหลายรูป อาทิ หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด, หลวงพ่อไปล่ วัดธรรมจริยา, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ฯลฯ

ท่านมรณภาพในวันมาฆบูชา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2508 สิริอายุ 93 ปี พรรษาที่ 72

หลวงพ่อจง สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายหลายประเภท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2507 ทั้งพระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ ตะกรุด เสื้อยันต์ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์กล่าวขวัญ ทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และมหาลาภ งานปลุกเสกใหญ่ๆ ทุกงาน หลวงพ่อจะได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ยังต้องมีบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นิมนต์ท่านมาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลด้วยทุกครั้ง

กล่าวถึงเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง ปี 2485 นั้น นับเป็นเหรียญรูปเหมือน "รุ่นที่ 2" ที่ท่านสร้างเพื่อแจกแก่ข้าราชการและพลเรือนนำไปคุ้มครองป้องกันตนจากภัยสงคราม แต่ปัจจุบันกลับมีค่านิยมสูงกว่า "รุ่นที่ 1" อาจสืบเนื่องจากพุทธคุณเป็นที่ปรากฏโดดเด่น โดยจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง มี 2 แบบ คือ แบบปางมารวิชัยและแบบปางสมาธิ ทั้งยังแบ่งออกเป็นพิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก ซึ่งพิมพ์นิยมจะเป็น "แบบปางมารวิชัย พิมพ์หน้าใหญ่"

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ ปี 2485 เป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้าโดยรอบตกแต่งด้วยลวดลายกนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจงเต็มองค์ นั่งแบบปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะรองรับ มีอักขระขอม 5 ตัวรอบรูปเหมือน ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" อันเป็นหัวใจพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้านหลัง ตรงกลางเป็น "ยันต์สี่ทิศสี่มุม" ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า "ที่ระลึก" ด้านล่างว่า "หลวงพ่อจง ๒๔๘๕" โดยด้านหลังแบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ พ.ศ.โค้ง และ พิมพ์ พ.ศ.ตรง

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ ปี 2485 นับเป็นเหรียญคณาจารย์รุ่นเก่าที่มีค่านิยมสูงมาก และมีการทำเทียมสูงมากเช่นกัน ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ จุดชี้ตำหนิ แม่พิมพ์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา คือ ปลายใบหูขวาจะมีเนื้อเกินเป็นติ่ง, มีรอยจิกที่ผนังข้างศีรษะด้านซ้าย, มีเส้นแตกบริเวณ เข่าซ้ายยาวจรดขอบ, มีเส้นแตกที่ปลายกลีบบัวด้านล่างหลายเส้น, ชายผ้าสังฆาฏิ จะมีเส้นเป็นทางๆ และจะมีเนื้อเกินเป็นติ่งที่มุมขยัก "ตัวนะ" ครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2560 17:10:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40320729174547_view_resizing_images_1_.jpg)

พระขุนแผนใบพุทรา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระขุนแผนส่วนมากเราก็จะนึกถึงพระขุนแผนของสุพรรณบุรีกัน แต่พระขุนแผนของอยุธยาก็มี แต่ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูง เช่นพระขุนแผนเคลือบของกรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีขุนแผนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพระขุนแผนของกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเช่นกัน คือพระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งปัจจุบันก็หายากเช่นกันครับ

วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นวัดที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นวัด ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น และทรงพระราชทานนามใหม่จาก "วัดป่าแก้ว" มาเป็น "วัดใหญ่ชัยมงคล" และที่วัดแห่งนี้เป็นที่พำนักของ สมเด็จพระพนรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรฯ

มูลเหตุการสร้างพระเจดีย์องค์ประธานและพระเครื่องต่างๆ เนื่องจากหลังสงครามยุทธหัตถี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีเฉลิมฉลองชัยชนะในพระราชสงคราม และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญผู้ที่พลีชีพในการทำสงครามปกป้องประเทศ โดยมีสมเด็จพระพนรัตน์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพระเครื่องที่ถูกพบในองค์พระเจดีย์

เนื่องจากการบูรณะโดยกรมศิลปากร พบพระเครื่องที่สำคัญคือพระขุนแผนกระเบื้องเคลือบ ซึ่งพบเป็นจำนวนไม่มากนัก และเป็นที่นิยมในสังคมพระเครื่อง นอกจากนี้ยังพบพระขุนแผนอีกแบบหนึ่งคือ พระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งพบทั้งพระเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน และมีจำนวนมากกว่าพระขุนแผนเคลือบสังคมพระเครื่องจะนิยมพระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผามากกว่าเนื้อชินเงิน

พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผาจะมีรูปทรงกรอบนอกค่อนข้างทรงกลมมน ลักษณะคล้ายๆ ใบพุทราจึงนำมาเป็นชื่อเรียกพระชนิดนี้ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระชานุและวางอยู่ด้านนอกของพระชานุ ที่มักเรียกกันว่า "เข่าใน" หมายถึงจะเห็นหัวเข่าอยู่ด้านในของมือที่วางพาด ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางไว้บนพระเพลา ประทับนั่งอยู่เหนือฐานกลีบบัว 2 ชั้น และมีเส้นก้านบัวที่ใต้ฐานบัว ที่พระเศียรปรากฏเส้นรัศมีอยู่รอบๆ พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา เท่าที่พบมีทั้งเนื้อดินแบบละเอียดและแบบเนื้อดินหยาบ เนื้อพระจะมีกรวดทรายผสมอยู่ ที่ด้านหลังมักจะอูมเล็กน้อย

พระขุนแผนใบพุทรา มีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

ในปัจจุบันพระขุนแผนใบพุทรา โดยเฉพาะพระเนื้อดินเผาก็หายากอยู่พอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณครับ

สำหรับรูปพระขุนแผนใบพุทรา ที่ผมนำมาให้ชม นำมาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46081175779302_10_16_696x388_1_.jpg)
พระคง กรุวัดพระคง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ "พระบางกรุวัดพระคง" ปัจจุบันก็เรียกกันว่า "พระคงทรงพระบาง" ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า "พระบาง" ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษี ลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอก แบบมุมฉาก ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า "พระคง" พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า "พระบาง"

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ "พระบางกรุวัดพระคง" มาเป็น "พระคงทรงพระบาง" ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้ ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46081175779302_10_16_696x388_1_.jpg)
พระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ “พระบางกรุวัดพระคง” ปัจจุบันก็เรียกกันว่า “พระคงทรงพระบาง” ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า “พระบาง” ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษี ลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอกแบบมุมฉาก

ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง

บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า “พระคง” พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า “พระบาง”

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน

รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ “พระบางกรุวัดพระคง” มาเป็น “พระคงทรงพระบาง” ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้

ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88038486449254_view_resizing_images_2_.jpg)
พระพิจิตร นาคปรก

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิจิตรถ้ากล่าวถึงพระเครื่องที่ เป็นพระกรุพระเก่า เราก็มักจะนึกถึงพระเครื่ององค์เล็กๆ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง มากของจังหวัดนี้ เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรเขี้ยวงู และพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นต้น ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

พระกรุพิจิตรที่เป็นพระขนาดเล็กเป็นที่นิยมมาช้านาน แต่ก็ค่อนข้างหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระพิจิตรต่างๆ ตั้งชื่อตามรูปพรรณสัณฐาน เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าก็มีลักษณะคล้ายเม็ดน้อยหน่า

ส่วนพระพิจิตรเขี้ยวงูก็มีรูปร่างคล้ายพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เพียงแต่ตัวองค์พระนั้นจะผอมเรียวๆ แหลมๆ กว่า จึงเรียกว่าพระพิจิตรเขี้ยวงู ทั้งพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าและพระพิจิตรเขี้ยวงู เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนพิมพ์พระพิจิตรเขี้ยวงู นั้นพบน้อย จึงหายากกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

พระพิจิตรอีกอย่างหนึ่งที่หายากมากเช่นกัน คือ พระพิจิตรนาคปรกที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีขนาดเล็กเท่าๆ กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกรุเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แต่องค์พระจะเป็นพระปางนาคปรก เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน พบจำนวนน้อยมาก และพระส่วนใหญ่จะผุแตก ปริโดยธรรมชาติ จำนวนพระที่พบจึงเป็นพระชำรุดเสียมาก พระองค์ที่สมบูรณ์พบน้อยมาก ส่วนมากองค์พระจะแตกปริ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระนาคปรกพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางองค์สีของผิวพระจะมีสีเข้มออกดำที่มักเรียกว่าสนิมตีนกา

พระพิจิตรส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน พระพิจิตรที่มีขนาดเล็กสมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหน จึงทำให้พระชำรุดสูญหาย พระพิจิตรขนาดเล็กเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันเช่นเคยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15371153048343_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม คณาจารย์ที่อยู่ในหัวใจของคนเพชรบุรีตลอดกาล และเหรียญของท่านก็เป็นเหรียญที่ครองความเป็นหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรีตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเกจิอาจารย์ยังจัดเหรียญของท่านเป็นหนึ่งในชุดเหรียญเบญจภาคี

เหรียญหลวงพ่อฉุยที่อยู่ในความนิยมนั้น เป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2465 เพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างมณฑป ไว้ประดิษฐานพระพุทธ ชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่วัดคงคาราม และในปลายปี พ.ศ.2466 ท่านก็มรณภาพ เป็นอันว่า เหรียญที่ท่านสร้างไว้ก็มีเพียงรุ่นแรกรุ่นเดียวเท่านั้น ลักษณะของเหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญรูปไข่ ค่อนข้างจะเขื่องกว่าเหรียญทั่วๆ ไปเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นรูปท่านหน้าตรงครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยลวดลายโบว์และดอกไม้ สวยงาม เนื้อโลหะของเหรียญมีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว หูของเหรียญเป็นเหรียญหูเชื่อมน้ำประสานเงิน ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ 2 หรือยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ"

สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น ปรากฏว่าด้านหลังมีอยู่สองแม่พิมพ์ มีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ พิมพ์ตัว โม มีไส้ และอีกพิมพ์หนึ่งคือตัว โม ไม่มีไส้ คือตรงตัวอักขระขอมคำว่าโม ตัว ม.ม้า มีขีดตรงกลาง กับ ตัว ม.ม้า ไม่มีขีดตรงกลาง แต่ทั้่งสองพิมพ์ค่าความนิยมเหมือนๆ กันทั้งสองพิมพ์ครับ สาเหตุที่มีสองแม่พิมพ์เนื่องมาจากเป็นการสร้างเหรียญที่มีจำนวนมาก ซึ่งในสมัยนั้นการชุบแข็งโลหะยังไม่ดีนัก จึงทำให้ตัวแม่พิมพ์เมื่อมีการพิมพ์กระแทกหลายๆ ครั้ง เป็นสาเหตุทำให้แม่พิมพ์ด้านหลังเกิดการแตกชำรุดก่อน จึงจำเป็นต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ และอาจจะเป็นเพราะการเร่งรีบจึงได้แกะอักขระผิดพลาด คือ ตัว โม ลืมแกะไส้ตรงกลางไป จึงทำให้พิมพ์ด้านหลังมีสองแบบ นอกจากนี้เราจะสังเกตได้อีกว่า ถ้าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ โม ไม่มีไส้นั้น ขอบแม่พิมพ์ด้านหน้าก็เริ่มชำรุดเช่นกัน ดังเราจะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ โม ไม่มีไส้นั้น ที่ขอบเหรียญด้านหน้าโดยเฉพาะขอบด้านล่างและด้านซ้ายมือเราจะเริ่มชำรุด เป็นขอบสันขึ้นเป็นปื้น มากน้อยแล้วแต่ความชำรุดของแม่พิมพ์ด้านหน้า จึงทำให้ผู้ชำนาญการรู้ได้เพียงเห็นเหรียญด้านหน้าก็ สามารถรู้ว่า พิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ไหนครับ

ปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อฉุยหายากมาก สนนราคาสูง ยิ่งเป็นเหรียญที่มีความสวยสมบูรณ์อย่างในรูปนั้นยิ่งหายากเป็นทวีคูณครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรกมาให้ได้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38501835986971_9_12_696x399_1_.jpg)
พระปิดตาเนื้อผล หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม เหรียญของท่านทั้งเหรียญปั๊มและเหรียญหล่อล้วนแล้วแต่นิยมทั้งสิ้น สนนราคาสูงทุกรุ่นครับ

หลวงพ่อบ่ายเกิดเมื่อปี พ.ศ.2404 ที่บ้านบางครก ต.สวนทุ่ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ต่อมาก็เป็นกำพร้า หลวงพ่อเกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี (พี่ชายของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย) จึงได้รับมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม พออายุได้ 10 ขวบจึงได้เรียนหนังสือไทยและขอม กับพระอาจารย์คล้ำ วัดสวนทุ่ง พออายุได้ 20 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ โดยมีพระอุปัชฌาย์แตง วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พุก วัดสวนทุ่ง พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ และหลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ธมฺโชโต”

เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดทองนพคุณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายตามหลวงพ่อแก้วมาอยู่ที่วัดช่องลม เมื่อหลวงพ่อแก้วได้รับอาราธนาให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดพวงมาลัย จึงได้ให้หลวงพ่อบ่ายเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน

หลวงพ่อบ่ายได้ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ ต่อมาจึงได้ศึกษาต่อกับหลวงพ่อแก้ว ทั้งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม ได้ศึกษาสรรพวิชาจากหลวงพ่อแก้วมากที่สุด สหธรรมิกของหลวงพ่อบ่ายคือหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต

หลวงพ่อบ่ายมีวิทยาคมกล้าแกร่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญหล่ออรุณเทพบุตรที่มีรูปทรงคล้ายๆ กับของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เหรียญหล่อใบตำลึง เหรียญหล่อใบสาเก เหรียญหล่อเสมาเล็ก เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปี 2461 เหรียญปั๊มพัดยศ ปี 2461 เหรียญปั๊มปี พ.ศ.2484 ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมและหายาก นอกจากนี้หลวงพ่อบ่ายยังได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงไว้ด้วย แต่มีจำนวนน้อย ส่วนมากผู้ที่ได้รับจะเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด จึงทำให้ไม่ค่อยได้เห็นกันนักครับ

พระปิดตาเนื้อผงคนพื้นที่จะหวงแหนกันมาก คนต่างถิ่นอาจจะไม่ค่อยรู้จัก สนนราคายังไม่สูง แต่ก็หายากครับ

หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 60

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงของหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม มาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45430836288465_1_311_696x387_1_.jpg)
พระปิดตาปลดหนี้ หลวงปู่โต๊ะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สังคมผู้นิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ในปัจจุบันที่ผ่านกระแสเศรษฐกิจตกต่ำมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปี ก็มีเพื่อนฝูงคนรู้จักที่เป็นนักสะสมหรือผู้ที่ ไม่ได้เป็นเซียนที่มีอาชีพค้าขายพระเครื่องสอบถามว่า เป็นอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ ก็สอบถามถึงเรื่องราคาพระเครื่องที่อยากจะนำมาปล่อยหรือขาย เพื่อนำปัจจัยไปช่วยพยุงเศรษฐกิจของตัวเอง

พูดตามตรงก็ต้องบอกว่าสภาพเศรษฐกิจก็มีผลกระทบกับแวดวงการซื้อขายพระเครื่องแน่นอน ต้องขอออกตัวก่อนว่า ตัวผมเองไม่ใช่เซียนหรือผู้มีอาชีพซื้อขายพระเครื่อง แต่ก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบและศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องมานานพอสมควร จึงรู้จักสนิทสนมกับเซียนพระหลากหลายคน และถ้ามีเวลาว่างก็จะเข้าไปในสนามพระอยู่เสมอ จึงพอจะรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของสังคมพระเครื่องอยู่บ้าง ในช่วงนี้การซื้อขายพระเครื่องก็ยังพอมีการซื้อขายกันอยู่ พระเครื่องหลักๆ และแท้นั้นก็ยังมีการซื้อขายกันได้อยู่ครับ แต่สนนราคาก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่จะนำพระเครื่องไปขายนั้น สนนราคาก็จะต่ำลงกว่าราคาเมื่อ 4-5 ปีก่อน สาเหตุก็เนื่องจากตัวเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนี่แหละครับ

บางท่านที่มีพระเครื่องสะสมไว้ เมื่อต้องการนำพระเครื่องมาออกให้เช่า เนื่องจากความจำเป็นบางอย่าง ก็จะทราบความจริงบางอย่างที่เกี่ยวกับพระเครื่องที่สะสมไว้ ถ้าสะสมพระแท้ๆ ไว้และเป็นพระที่สังคมนิยมเล่นหาก็จะขายได้ แต่สภาพราคาก็ขึ้นอยู่กับค่าการตลาดในปัจจุบัน

ในส่วนที่เช่าหาผิดจากที่สังคมนิยมก็จะขายไม่ได้ มีเพื่อนผมบางคนเล่นหาสะสมผิดทางมายาวนาน ในสมัยเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ก็เคยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่เขาก็เชื่อมั่นในตัวเองมาก และเชื่อตามแนวทางของเขา มาถึงปัจจุบันด้วยอายุและสุขภาพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำพระบางส่วนออกมาให้เช่า แต่ก็ไม่มีใครเช่าพระของเขาทั้งๆ ที่เป็นพระหลักๆ ทั้งสิ้น จึงมาบอกให้ผมช่วยหาคนเช่าให้ ผมเองก็สนใจ เนื่องจากพระของเขาไม่ใช่พระที่ถูกต้องตามสังคมนิยม

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้า เพราะเขาก็เชื่อของเขามาอย่างนั้น และสะสมมาเป็นเวลาสามสิบกว่าปี ใครบอกก็ไม่ฟังแถมยังโกรธเอาเสียอีก และต้องใช้เงินทองที่เก็บมายาวนานกว่าจะรู้ว่าตนเองผิดพลาด ในส่วนผู้ที่สะสมมาอย่างถูกต้องถ้าเก็บมาเป็นสิบกว่าปีขึ้นไป แน่นอนว่าขายได้และมีมูลค่าเพิ่ม ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันก็ตาม มากน้อยก็ว่ากันไป

มาดูการเล่นหาสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่นในโลกโซเชี่ยลมีเดีย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในส่วนที่ดีก็มีอยู่มากที่ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ในส่วนที่มิจฉาชีพจะเข้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเขาก็มีมากเช่นกัน

ดังนั้นผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษาหาข้อมูล ก็ควรมีวิจารณญาณวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นให้ดี ถ้าไปผิดทางก็จะเสียทรัพย์และเวลามาก กว่าจะรู้ก็อาจเป็นอย่างเพื่อนผม การพิสูจน์พระเครื่องนั้นๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ในปัจจุบันก็ยังแค่เรื่องมูลค่าราคาที่มีการรองรับ การพิสูจน์ก็ง่ายๆ แค่นำพระเครื่องนั้นๆ ไปเสนอขายในสถานที่ที่มีการซื้อขายกันเป็นสากล เช่น ในสนามพระต่างๆ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าศูนย์พระเครื่อง ตีราคาให้ค่อนข้างสูงไว้หน่อย ในส่วนราคาก็ให้ค้นหาเอาได้จากในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ถ้าเขาถามซื้อหรือต่อรองราคา ก็พิสูจน์ได้ว่าพระของเราแท้ แต่ถ้าไม่มีใครถามซื้อหรือต่อรองราคาก็เข้าใจได้เลยว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากถ้าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เขาก็ไม่ถามซื้อแน่นอน ก็เหมือนๆ กับทองคำ ถ้าเรานำทองคำของเราไปขาย ก็ต้องไปตามร้านทองต่างๆ เพราะเขามีอาชีพซื้อขายและมีความชำนาญ ถ้าเขาซื้อก็เป็นทองแท้ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อก็รู้ได้เลยว่าเป็นทองปลอม เป็นหลักความจริงง่ายๆ ครับ

ที่เขียนมาเล่าให้ฟังก็เพราะช่วงนี้มีเพื่อนและคนรู้จักหลายคน มาปรึกษาเรื่องการนำพระเครื่องมาขายก็มีทั้งที่ขายได้และขายไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ผม ได้เล่ามาในขั้นต้น และในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พิมพ์หลังยันต์ตรีมาให้ชมกันครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55850019595689_1_387_696x374_1_.jpg)
พระท่ามะปราง กรุสำปะซิว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองเป็นผู้ที่ชอบพระกรุพระเก่า ก็คงจะคุยกันถึงเรื่องพระกรุพระเก่ากันดีกว่านะครับ วันก่อนไปคุยกับเพื่อน ก็พอดีเห็นพระเก่าองค์หนึ่ง คือพระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิว สุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อย และบางครั้งอาจจะลืมๆ กันไปไม่ค่อยได้พูดถึงนัก จึงนำมาเป็นเรื่องพูดคุยกันในวันนี้

สำปะซิวเป็นชื่อย่านที่อยู่อาศัยในสุพรรณบุรี แต่เดิมคงจะมีชื่อว่า “สำปะทิว” เนื่องจากมีโคลงที่สุนทรภู่เขียนถึงในนิราศเมืองสุพรรณ ตอนที่นั่งเรือผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ และเอ่ยนามว่า “สำปะทิว” ซึ่งต่อมาคงมีการเรียกชื่อเพี้ยนไปมาจนเป็นสำปะซิวในปัจจุบัน

พระเครื่องที่ขุดพบนั้น ความจริงไม่ได้ขุดพบที่วัดสำปะซิว เพียงแต่พบในหมู่บ้านนี้ ซึ่งก็อยู่ไม่ห่างจากวัดสำปะซิวสักเท่าไรนัก ที่บริเวณแถบนี้เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งเหมือนกัน แต่ก็กระจัด กระจายไปทั่ว พบแต่ละครั้งไม่กี่องค์ ไม่ถึงกับเป็นกรุพระ สันนิษฐานว่าบริเวณแถบนี้คงเคยเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยลพบุรี ต่อมา นายดี มาแสง ได้ขุดดินริมรั้วบ้าน และพบพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมาก พระที่พบเป็นพระแบบซุ้มนครโกษา พระท่ามะปราง พระซุ้มปรางค์ และพระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มนครโกษา (พบมากกว่าพระแบบ อื่นๆ ในกรุ) พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มปรางค์ เข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี และพระท่ามะปรางก็เป็นแบบของพระท่ามะปรางที่พบในจังหวัดอื่นๆ

พระของกรุนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัยยุคปลาย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น เป็นแบบเนื้อค่อนข้างหยาบ มีเม็ดกรวดทรายผสมอยู่มาก ลักษณะเป็นแบบเนื้อดินเผาแกร่ง ส่วนพระท่ามะปรางที่พบเป็นเนื้อค่อนข้างละเอียดก็มีพบบ้างแต่จำนวนไม่มากนัก

พระเครื่องของกรุนี้เมื่อมีการแพร่หลายออกไป ใครถามว่าเป็นพระที่ไหน ก็มักจะบอกกันว่า พระกรุวัดสำปะซิว ก็เลยเรียกชื่อกรุเป็น “กรุวัดสำปะซิว” มาโดยตลอดทั้งๆ ที่ไม่ได้พบพระที่กรุในวัดเลยก็ตาม

พระท่ามะปรางของกรุสำปะซิวจะมีเอกลักษณ์คือ องค์พระจะคล้ายกับพระท่ามะปรางที่พบทางพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร แต่องค์พระจะดูต้อๆ กว่าจังหวัดอื่น และเนื้อของพระก็จะมีเม็ดกรวดทรายผสมมากกว่าจังหวัดอื่น ซึ่งก็เป็นลักษณะของพระเครื่องเนื้อดินเผาเมืองสุพรรณชนิดเนื้อหยาบ และอีกอย่างหนึ่งก็คือพระท่ามะปรางของกรุนี้จะมีปีกยื่นออกมาโดยรอบองค์พระ

พระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิวนั้น มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันไม่แพ้ของกรุอื่นๆ อีกทั้งทางด้านแคล้วคลาดก็เด่นเช่นกัน ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระแท้ๆ แล้ว ค่อนข้างหายากอยู่พอสมควร พระสวยๆ สนนราคาก็สูงอยู่ครับ

ในวันนี้ผมก็เลยนำรูปพระท่ามะปราง กรุสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 10:12:45

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81232008131013_1.jpg)
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก 2503 หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี นับเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่บนเขา มีถ้ำใหญ่น้อยมากมาย ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก ทั้งยังมีตำนานโบร่ำโบราณกล่าวถึงอยู่หลายเรื่อง อาทิ ในสมัยพระบรมราชาที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) แห่งกรุงศรีอยุธยา ใช้เป็นที่คุมขังของพระศรีศิลป์ ผู้คิดก่อการกบฏ หรือเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระเกจิผู้วิชาอาคมหลายรูป เช่น เจ้าอธิการแสง พระอาจารย์ของพระเจ้าเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยา และพระอาจารย์เหลือ ผู้ทรงวิทยาคมเข้มขลัง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น

ทั้งยังกล่าวกันว่า เจ้าอาวาสวัดเขา บันไดอิฐทุกรูป ล้วนมีวิชาอาคมเข้มขลัง และถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

จนมาถึง พระครูญาณวิลาศ หรือ “หลวงพ่อแดง”ผู้มีญาณสมาธิแก่กล้า มีพุทธาคมสูงส่ง โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

หลวงพ่อแดง รัตโต เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ.2422 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแป้น-นางนุ่ม อ้นแสง ในวัยเด็กต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสได้ร่ำเรียนหนังสือ จนอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาบันไดอิฐ โดยมี พระอาจารย์เปลี่ยน เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “รัตโต” แปลว่า สีแดง ศึกษาร่ำเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน และกฤตยาคมต่างๆ จากพระอาจารย์เปลี่ยนจนแตกฉาน จากนั้นได้ขออนุญาตพระอาจารย์ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ เพิ่มเติม

เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพ ในปี พ.ศ.2461 จึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ ท่านเป็นพระเกจิผู้มีเมตตาธรรมสูง ไม่ชอบดุด่า ไม่พูดคำหยาบคาย โดยเฉพาะถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด โดยกล่าวว่า “การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง”

ยามว่างจากภารกิจที่มีมากมาย ท่านก็จะปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำ เพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้าบริสุทธิ์ กล่าวกันว่า ท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์ แต่ไม่เคยอวดอ้างใดๆ จนเมื่อผู้คนปรากฏประจักษ์ด้วยตัวเองในหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด การศึกสงคราม โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังขจรไกล ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ที่ท่านสร้างจึงเป็นที่นิยมแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายที่ “พระครูญาณวิลาศ” ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74 โดยก่อนมรณภาพได้สั่งเสียกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

สรีระของท่านจึงได้รับการบรรจุในโลง ณ หอสวดมนต์ วัดเขาบันไดอิฐ จวบจนปัจจุบัน

สำหรับ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อแดง จัดสร้างในปี พ.ศ.2503 โดยบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์เป็น พระครูญาณวิลาศ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2502 พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ร่วมกับโอกาสฉลองอายุย่างเข้าปีที่ 83 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน จำนวนเพียง 83 เหรียญตามอายุ และ เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 15,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว สูงประมาณ 3.4 ซ.ม.กว้างประมาณ 2.6 ซ.ม. ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแดงครึ่งองค์หน้าตรง ด้านบนระบุปีที่สร้าง “พ.ศ.๒๕๐๓” และอายุ “อายุ ๘๒ ปี” ด้านล่างเป็นนาม “พระครูญาณวิลาศ (แดง)”

ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์สี่ มี หัวขมวด เรียกว่า “ยันต์ครู” มีอักษรขอม สี่ตัวล้อมรอบอ่านว่า “เม อะ มะ อุ” อยู่ในเส้นกรอบวงรี 2 ชั้น รอบนอกมีอักขระขอม 29 ตัว อ่านว่า “เมอะมะอุ ชาติอะมะ พุทธะสังมิ นะชาลิติ เอหิมาเรหิ นะโมพุทธายะ มะอะอุ”

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ปี 2503 นี้ ได้สร้างประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือและหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

จากนั้นจึงมีการจัดสร้างเหรียญรุ่นต่างๆ ตามมา



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60920456755492_2.jpg)
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา
...ไปครู่หนึ่งถึงเขาเคราสวาท
มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบที่บริเวณ
พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้
ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน
เขานับถือลือมาแต่บุราณ
ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน...
........

เป็นบทกวีที่ ท่านสุนทรภู่ ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" เมื่อราวปี พ.ศ.2374 กล่าวถึง หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพ สักการะมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในด้านบนบานศาลกล่าวแล้วมักประสบความสำเร็จ

วัตถุมงคลก็เช่นกัน ไม่ว่ารุ่นไหนแบบไหน ผู้สักการบูชาสามารถอธิษฐานขอพรได้ดังใจปรารถนา จนเป็นที่นิยมและแสวงหามาถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อทองนับเป็นหนึ่งใน "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ที่เล่าขานกันสืบมาว่า เมื่อปี พ.ศ.2302 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ใกล้กับวัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดร้าง และช่วยกันบูรณะก่อสร้างใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วัดบ้านแหลม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้าง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเพชรสมุทรฯ"

อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านแหลมเหล่านี้ซึ่งมีอาชีพทำการประมง ออกไปเที่ยวหาปลาลากอวน ไปพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปยืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ตั้งนามว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ส่วนอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้มอบให้ชาวบ้านบางตะบูน ชาวบางตะบูนจึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ บริเวณวัดเขาตะเครา จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา พระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย สมาธิราบ สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์มากมาย ผู้ใดตกทุกข์มาบนบานศาลกล่าวก็จะได้ตามประสงค์ทุกประการ

สำหรับ "วัดเขาตะเครา" นั้น สันนิษฐานว่า มี เจ้าสัวชาวจีนผู้หนึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้สละทรัพย์สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อได้พระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญ โดยให้ลูกน้องคนหนึ่งซึ่งไว้หนวดเครายาวเป็นผู้ควบคุมงาน ชาวบ้านเห็นชาวจีนไว้เคราจึงเรียก "วัดเขาจีนเครา" แล้วค่อยเพี้ยนมาเป็น วัดเขาตาเครา จนถึง "วัดเขาตะเครา" ในที่สุด

วัตถุมงคลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา มีการจัดสร้างมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏแก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขวัญ เริ่มตั้งแต่ "ลูกอมทองไหล" ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468" ซึ่งเป็นเหรียญปั๊มที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรก ที่เรียกได้ว่ามีค่านิยมสูงสุด อาจสืบเนื่องจากความคมชัดและประณีตของเหรียญที่สร้างจากการปั๊ม

แต่ที่นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ นั้น จะเป็นเหรียญรุ่นที่สร้างในปี พ.ศ.2465 ซึ่งเป็น "หรียญหล่อโบราณ" และด้วยรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระจึงมักเรียกกันว่า "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา จึงนับเป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อทองที่สร้างออกมาเป็นรุ่นแรก ในสมัยพระอธิการห้อย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ.2465 โดยสร้างเป็นเนื้อทองเหลือง หูเชื่อม ยกขอบทั้งหน้าและหลัง ด้านหน้า จำลององค์หลวงพ่อทอง ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะบัวสองชั้น มีพื้นฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลัง มีอักขระขอม 3 บรรทัด อ่านว่า "อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา นี้ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากยิ่ง สนนราคาสูงเอาการ และมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง ดังนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องใช้หลักการพิจารณา "เหรียญหล่อโบราณ" โดยหลักสังเกตใหญ่ๆ คือ การเข้าดินนวลซึ่งจะผสมขี้วัวหมัก โบราณเรียก "ดินขี้งูเหลือม" เมื่อเทมวลสารลงในหุ่นเทียนจะเกาะติดกับเนื้อองค์พระเห็นเป็นจ้ำๆ และให้สังเกตบริเวณหูเชื่อมที่จะต้องจับโค้งติดกับตัวเหรียญ มักจะปรากฏเนื้อปลิ้นระหว่างปลายตัวปลิง

อีกประการหนึ่งคือ รอยตะไบ เหรียญหล่อโบราณมักจะมีการใช้ตะไบในการตกแต่งเหรียญให้ได้รูป ซึ่งรอยตะไบจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32687160372733_3.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน

"หลวงพ่อเพชร วชิโร" พระเกจิยุคเก่าผู้มากด้วยวิทยาอาคมและเมตตาบารมีธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนรูปหนึ่งในแดนใต้ ประการสำคัญ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญสำคัญของภาคใต้ ถือเป็น "เหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกและเก่าแก่ที่สุด" ที่มีค่านิยมสูงที่สุดและเป็นเหรียญที่หายากยิ่งในปัจจุบัน

พระครูวิบูลย์ธรรมสาร หรือ หลวงพ่อเพชร วชิโร เดิมชื่อ เพชร เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ที่บ้านมะเดื่อหวาน เมืองไชยา (ปัจจุบัน คือ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

 

อายุประมาณ 13-14 ปี (ประมาณ พ.ศ.2403-2404) บิดาได้พาไปฝากให้เรียนอักษรสมัย กับพระอุปัชฌาย์จันทร์ เจ้าอธิการวัดมะเดื่อหวาน เล่าเรียนกระทั่งอายุ 17-18 ปี ก็ได้บรรพชาที่วัดมะเดื่อหวาน มีพ่อท่านจันทร์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นท่านก็ครองเพศบรรพชิตเรื่อยมา จนอายุครบเกณฑ์อุปสมบท จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดมะเดื่อหวาน โดยมี พระอุปัชฌาย์จันทร์ เจ้าอาวาสวัดมะเดื่อหวาน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขวัญ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พ่อท่านคง วัดอัมพวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "วชิโร"

หลวงพ่อเพชรสร้างคุณานุคุณมากมายต่อพระบวรพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์ต่างๆ ในชุมชน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวเกาะพะงันและใกล้เคียง มรณภาพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2467

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร นั้น เป็นที่ถกเถียงกันว่าสร้างก่อนหรือหลังจากท่านมรณภาพแล้ว แต่ในที่สุดจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ก็สามารถสรุปได้ว่า เหรียญนี้สร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพ ประมาณ 3 เดือน มูลเหตุอาจเป็นด้วยในปีนั้น ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวิบูลยธรรมสาร เจ้าคณะแขวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปรากฏหลักฐานส่วนหนึ่งใน "ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 41" (พ.ศ.2467) ที่ว่า ...

"วันที่ 9 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2467 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์ ให้เจ้าอธิการเพชร วัดเกาะพงัน เปน พระครูวิบูลยธรรมสาร เจ้าคณะแขวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี"

กอปรกับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างคิดหาของที่ระลึกในวันพระราชทานเพลิงศพ จึงดำริสร้าง "เหรียญรูปเหมือนของท่าน" เพื่อเป็นการฉลองสมณศักดิ์และมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกนึกถึงสืบไป โดยมอบหมายให้ พระอาจารย์พัฒน์ พรหมอำไพ ศิษย์คนสำคัญรูปหนึ่งของหลวงพ่อ รับภาระในการสั่งทำเหรียญที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายปี พ.ศ.2467 และประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดอัมพวัน โดยมีพระเกจิคณาจารย์สำคัญๆ หลายรูปใน จ.สุราษฎร์ธานี เมตตาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก จากนั้นได้นำเหรียญแจกในงานพระราช ทานเพลิงศพหลวงพ่อเพชร ในต้นปี พ.ศ.2468

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน เท่าที่พบเห็นมีเนื้อทองแดงและเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา กว้างประมาณ 2.2 ซ.ม. สูงประมาณ 3 ซ.ม. ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพชร ห่มจีวรเฉวียงบ่า พาดสังฆาฏิ นั่งสมาธิบนตั่ง ล้อมด้วยลายไทยเป็นรูปพญานาคขนดเศียรลงล่างทั้งสองข้าง ด้านบนของเหรียญเขียนว่า "ที่รฦก" มีอักษรล้อมรอบรูปท่านว่า "ท่านพระครูวิบูลย์ธรรมสาร (เพ็ชร) วัด อัมภวัน" ด้านหลัง เป็น "ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า" และเหนือยันต์เขียนว่า "เกาะพงัน"

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเพชรนี้ ไม่ว่าจะสร้างในสมัยที่หลวงพ่อเพชรยังมีชีวิตอยู่ หรือสร้างหลังจากท่านมรณภาพแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเหรียญพระเกจิอาจารย์เหรียญแรกของภาคใต้ที่มีอายุเก่าที่สุด

เป็นเหรียญที่หายากที่สุด เพราะสร้างน้อย และผู้มีไว้บูชาก็ต่างหวงแหนยิ่งนักครับผม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92442534325851_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญพระพุทธโสธรหลัง ภปร 2509

มาคุยถึง "เหรียญหลัง ภปร" กันต่ออีกสักหน่อย ก็พยายามหยิบยกเหรียญสำคัญๆ มาให้ได้ทัศนากัน ฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" ที่เรียกกันว่า "รุ่นสร้างโรงเรียน"

ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย.2509 ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วหล้า และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ฐานบัวและพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ

ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ฯลฯ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 ในครั้งนี้ จัดสร้างหลายหมื่นเหรียญทีเดียว ทำให้มีบล็อกแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผู้รู้ตรวจสอบดู ในเหรียญพิมพ์ฐานบัวมีคนแยกออกมาได้อีกประมาณ 4 บล็อก ส่วนพิมพ์ฐานเขียงแยกได้ประมาณ 3 บล็อก ส่วนด้านหลังหลักๆ จะมี 2 บล็อก

ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเกิดการหมุนเวียนของบล็อกหน้า-บล็อกหลังในการกดแม่พิมพ์ อีกทั้งเมื่อกดแม่พิมพ์ไปนานๆ ก็จะเกิดการตื้นเขินของแม่พิมพ์ หรือเกิดเนื้อเกินในบางจุด ตามที่ทราบกันดีอยู่ ส่งผลให้ "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" เกิดจุดตำหนิเหรียญมากมายหลายแบบ เป็นที่ปรากฏออกมาเป็นการเรียกพิมพ์ย่อยในหลายชื่อหลายพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นผลดีต่อมิจฉาชีพวงการพระเครื่องในการสร้างความเข้าใจผิดหลากหลายเรื่องราว เพื่อสร้างผลประโยชน์ต่อตน และไม่ใช่เพิ่งเริ่มมี

สำหรับเหรียญนี้มีมาตั้งแต่เหรียญออกมาใหม่ๆ ด้วยเหตุที่เป็นเหรียญสำคัญที่เป็นที่ต้องการของสาธุชนอย่างกว้างขวาง แล้วยิ่งปัจจุบันด้วยแล้ว ความต้องการแสวงหาเพิ่มเป็นทวีคูณ พร้อมกับค่านิยมที่สูงขึ้นอย่างมากมายตามมา ผู้มีไว้ก็ต่างหวงแหน


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 10:49:22

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39533914667036_1.jpg)
พระวัดพลับ อมตะพระกรุฝั่งธนบุรี

ถ้าจะพูดถึงพระเครื่องเก่าแก่ในแถบกรุงเทพฯ-ธนบุรีแล้ว ชื่อ "พระวัดพลับ" ต้องติดในโผต้นๆ เพราะเป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า 200 ปี มากกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" พระดังระดับประเทศ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเช่นกันอีกด้วย

ด้วยเนื้อหามวลสารแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผง พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วัดพลับ หรือ "วัดราชสิทธาราม" บางกอกน้อย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงยอดนิยม ที่เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

ถึงแม้ว่าลักษณะองค์พระจะดูง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ "พระวัดพลับ" สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล กอปรกับพุทธคุณอันเลิศล้ำ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากมากๆ

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470

ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อย ที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล "พระวัดพลับ" และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า "กรุกระรอกเผือก" นั่นเอง

ต่อมาเจ้าอาวาสจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง และก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ จะไปครองวัดมหาธาตุฯ เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก

จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

เนื้อหามวลสารของ "พระวัดพลับ" และ "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด

จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมี "รอยลานของเนื้อพระ" อันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะไม่ปรากฏรอยลานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์ และพบที่ทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยม

พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ ประทับนั่งขัดสมาธิก็มี เป็นพระไสยาสน์ก็มี เป็นพระปิดตาก็มี หรือจะเป็นแบบ 2 หน้าก็มี และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ

อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ

ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือ "พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา"

พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว อันนับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในหลายๆ พิมพ์ของพระวัดพลับนั้น อาจเป็นเพราะพิมพ์นี้มีจำนวนพระน้อย และมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง

- พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน
- พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง
- พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา
- มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น
- พระหัตถ์ลักษณะคล้ายถือดอกบัวอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
- ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย
- ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็น กระเปาะ คล้ายไหกระเทียม
- ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย
- ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

สำหรับพิมพ์อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมและเล่นหาในวงการเช่นกัน ติดตามฉบับหน้าครับผม

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61623887759115_2.jpg)
นอกจาก "พิมพ์วันทาเสมา" ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมและมีค่านิยมสูงสุดใน? พระวัดพลับ? ทุกพิมพ์แล้ว พิมพ์อื่นๆ ก็ยังนิยมเล่นหาด้วยค่านิยมที่ลดหลั่นกันไป อาทิ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ลองมาดูเอกลักษณ์กันซัก 3-4 พิมพ์ เผื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจศึกษาหรือเช่าหาครับผม

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เรียกตามพุทธลักษณะองค์พระคล้ายกับ? ตุ๊กตาเด็กเล่น? ความกว้างประมาณ 1.7-2 ซ.ม. สูงประมาณ 2.5-3 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบ ความโดดเด่นอยู่ที่องค์พระเพียงอย่างเดียว ปราศจากลวดลายอื่นใดมาประกอบทั้งสิ้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์ใหญ่ องค์พระจะแลดูอวบอ้วน แต่งามสง่าอยู่ในที อิริยาบถประทับนั่งดูเข้มแข็ง
-พระพาหาอยู่ในลักษณะหักศอก ต้นพระ พาหาใหญ่
-การประสานพระหัตถ์ค่อนข้างแข็ง

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พุทธลักษณะองค์พระเหมือนพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.5-2 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบเช่นกัน องค์ที่ปีกแคบมากจะแลดูองค์พระยิ่งเล็ก จนบางคนเรียกว่า "พิมพ์ไข่จิ้งจก" คือมีลักษณะเล็กและหลังนูน คล้ายไข่จิ้งจก

-เค้าพระพักตร์ใหญ่
-พระหนุ (คาง) สอบแหลม
-การทิ้งพระพาหาดูเหมือนหักเป็น 2 ท่อน และการประสานพระหัตถ์เป็นเส้นใหญ่เท่ากันหมด
-ปลายพระบาทด้านขวาขององค์พระเฉียงทแยงขึ้นมา

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ องค์พระมีความกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 2-2.2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบเช่นกัน ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์ใหญ่
-พระหนุ (คาง) สอบแหลม
-พระอุระและพระอุทรนูนสูงมาก อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
-การวางพระหัตถ์หักเป็น 3 ท่อน และการประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ ดูคล้ายอุ้มพระอุทรไว้
-ข้อพระหัตถ์คอดเล็ก

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก องค์พระกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7-2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์แบบผลมะตูมยาน
-พระหนุ (คาง) ไม่แหลม
-เส้นลำพระศอค่อนข้างยาว
-พระอุระและพระอุทรนูนสูง
-ต้นพระพาหาเล็กลีบ
-การวางพระพาหาหักเป็น 3 ท่อน การประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ แต่ข้อพระหัตถ์ไม่คอด

หลักการพิจารณา? พระวัดพลับ? ในเบื้องต้น ให้สังเกตผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี จะเกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจึงมีสีผิวค่อนข้างขาว ลักษณะเป็น? คราบน้ำ? ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากนี้ ต้องทราบไว้ว่า "พระวัดพลับ" ไม่ได้พบที่? กรุกระรอกเผือก วัดพลับ? เพียงกรุเดียว ยังมีการค้นพบบรรจุใน ?กรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จ.อุทัยธานี? ด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าได้มีการนำไปบรรจุไว้ แต่มีจำนวนไม่มากนัก และด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองมีความแตกต่างกัน จึงส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกันด้วย

โดย "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวของ องค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็ง มากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบาง ขุนพรหม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78127440934379_3.jpg)
"ยอดขุนพล" ชินเงิน เมืองลพบุรี

พระยอดขุนพล ที่มีการจัดสร้างกันมาแต่ครั้งโบราณกาลในทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์นั้น ถ้านับความเก่าแก่ของอายุการสร้างตามความรุ่งเรืองในแต่ละสมัยแล้ว ก็ต้องถือว่า พระยอดขุนพล ที่ขึ้นจาก จ.ลพบุรี มีอายุการสร้างมายาวนาน

พระยอดขุนพล เมืองลพบุรี นั้น นอกจาก “พระหูยาน ลพบุรี” หนึ่งในเบญจภาคีพระยอดขุนพลอันโด่งดังแล้ว ยังมีการค้นพบอีกหลายกรุหลายเนื้อ ทั้งเนื้อชินเงิน ชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อดิน เป็นต้น แต่หากจะเน้นถึง ‘พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน’ ที่เป็นยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัด ต้องยกให้ “พระยอดขุนพล กรุวัดไก่” วัดเก่าแก่ของลพบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยโบราณ

วัดไก่ อยู่ในพื้นที่ตำบลทะเลชุบศร สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง แต่ ณ ปัจจุบัน ปรากฏเพียงซากพระเจดีย์ปรักหักพังเท่านั้น และอาจสืบเนื่องจากรอบๆ ฐานของพระเจดีย์มี ‘รูปไก่’ ปั้นด้วยปูนขาวรายล้อม ชาวบ้านจึงเรียกวัดร้างแห่งนี้ว่า “วัดไก่”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32764648770292_3..jpg)
พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ มีการขุดค้นพบที่พระเจดีย์วัดไก่ ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2489-2490 โดยการแตกกรุเกิดจากการขุดค้นหาพระเครื่องและของมีค่าของนักเผชิญโชครุ่นเก่าๆ ในหลายครั้งหลายหนและหลายคน ได้พระกันไปจำนวนมาก หลายยุค หลายพิมพ์ ปะปนกัน ทั้งพระศิลปะลพบุรีบริสุทธิ์ ศิลปะอยุธยา โดยเชื่อว่า ‘พระศิลปะลพบุรี’ ได้ถูกนำมารวมกับ ‘พระศิลปะอยุธยา’ เพื่อร่วมบรรจุไว้ภายในกรุ ในช่วงสร้างพระเจดีย์ เช่นเดียวกับที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี

ถึงจะมีมากมายหลายพิมพ์ทรง แต่ที่เรียก “ยอดขุนพล” จะมีเฉพาะพิมพ์ทรงที่มีความอลังการ องค์พระภายในซุ้มแสดงถึงความยิ่งใหญ่ อาทิ ทรงเครื่องกษัตริย์ มีลายกนกหรือซุ้มเรือนแก้ว เป็นต้น

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธศิลปะสมัยลพบุรี ขนาดความสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. ซึ่งถือว่าขนาดเขื่องพอควร องค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะฐานบัวสองชั้น ปรากฏเส้นสังฆาฏิคมชัดเจน พุทธลักษณะอันโดดเด่น คือ ลักษณะการทรงเครื่องแบบ ‘เทริด’ องค์พระทรงเครื่องแบบสวมมงกุฎ สวมกำไลที่พระพาหา ข้อพระกร และข้อพระบาท ประทับนั่งอยู่บนฐานแบบบัลลังก์ ซุ้มเรือนแก้วแลดูแข็งแรง มั่นคง แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างงดงามอลังการ ที่ปรากฏพบมีทั้งหมด 3 เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน

จะมีขนาดใหญ่กว่าพระเนื้ออื่น องค์พระที่สมบูรณ์จะปรากฏรายละเอียดต่างๆ ของพระพักตร์อย่างชัดเจน เสาซุ้มทางด้านซ้ายขององค์พระ หัวเสาจะสูงกว่าทางด้านขวา อันเป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ สำหรับด้านหลัง เป็นหลังลายผ้า พื้นผิวขององค์พระออกเทาอมดำ พบพรายปรอทตามซอกประปราย พิมพ์นี้หาองค์พระที่สมบูรณ์แบบได้ยากมาก เนื่องจากเป็นพระขนาดเขื่องและไม่หนานัก จึงผุกร่อนไปตามกาลเวลา

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง

ขนาดจะย่อมกว่า ‘พระเนื้อชินเงิน’ และมีความหนามากกว่า พุทธลักษณะแบบเดียวกับพระยอดขุนพลทั่วไป ความเด่นอยู่ที่ เป็นพระที่เนื้อหาจัดมาก สนิมหนา สีแดงอมม่วงจนถึงแดงจัด พบไขขาวขึ้นแซมอยู่โดยทั่วไป นับเป็นเนื้อที่มีความนิยมสูงสุดในกรุ

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อดิน

มีทั้ง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื้อดินค่อนข้างหยาบแต่แน่นและแกร่ง ด้านหลังปรากฏเป็นหลังแบบตอกปาดเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นแบบลายนิ้วมือกดพิมพ์ก็มีให้พบเห็นบ้าง

ถึงแม้ พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน จะได้รับความนิยมมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าพูดถึงพุทธคุณแล้ว ทั้ง 3 เนื้อนั้นมีความโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และอำนาจบารมีสูงเช่นเดียวกันครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34074495774176_1469443937_1_1_.jpg)

พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน อีกหนึ่งพิมพ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอันดับต้นๆ ของ จ.ลพบุรี ตามพุทธลักษณะที่เรียกว่า "พระร่วง" คือ องค์พระประทับยืน ทรงเครื่องอลังการ ภายในซุ้มเรือนแก้ว นั่นคือ พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร

เป็นที่ทราบกันดีว่า พระเครื่องนาม "พระร่วง" ซึ่งตั้งตาม "ราชวงศ์พระร่วง" ราชวงศ์แรกและราชวงศ์เดียวที่ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น นอกจากพุทธลักษณะที่งามสง่าแล้ว ยังมีพุทธคุณเป็นเลิศในทุกด้าน โดยเฉพาะแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา แต่ "พระร่วง" ใช่ว่าจะมีการค้นพบเพียงที่จังหวัดสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรเท่านั้น

ที่จังหวัดอื่นๆ ก็มีการค้นพบพระกรุในลักษณะ "พระร่วง" ซึ่งมีทั้งลักษณาการประทับยืนและประทับนั่ง มีพุทธศิลปะงดงาม โดดเด่น มีความเป็นเลิศทางพุทธคุณ ทั้งทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเช่นกัน และยังมีค่านิยมเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไม่แพ้กันเลยทีเดียว

พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถรนั้น นับเป็นหนึ่งในพระตระกูล "พระร่วง" ที่เรียกได้ว่าเก่าแก่และทรงคุณค่า ในวงการพระยังเชื่อว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นสมัยลพบุรีตอนปลายเช่นเดียวกับ "พระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี" เนื่องจากมีลักษณะพิมพ์ทรงและมีพุทธศิลปะเหมือนกันทุกประการ เข้าใจว่าน่าจะเป็นการนำเอาพระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีฯ มาเป็นต้นแบบ จึงมีพุทธลักษณะและความงดงามอลังการเหมือนกันทุกอย่าง

พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร มีการค้นพบที่ "ถ้ำมหาเถร" หมู่บ้านน้ำจั้น ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จึงขนานนามตามกรุที่พบ ถ้ำนี้เป็นถ้ำขนาดใหญ่บนเทือกเขาเดียวกันกับเขาเอราวัณทางด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กันนั้นยังมีถ้ำพระพุทธอีกด้วย

เล่ากันว่า ภายในถ้ำอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ ได้มีผู้ใจบุญสร้างพระพุทธรูปบูชาปางไสยาสน์ไว้ 1 องค์ เป็นพระที่ก่ออิฐถือปูนและปิดทองทั้งองค์ เมื่อผ่านกาลเวลาและขาดการดูแลรักษา องค์พระพุทธรูปเสื่อมโทรมไป กาลต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2516 มีนักเผชิญโชคได้มาพบไห 1 ใบ เมื่อเปิดดูก็พบพระเครื่องยืนปางประทานพร หรือที่เรียกว่า "พระร่วง" เป็นพิมพ์ใหญ่ 300 องค์ พิมพ์เล็ก 50 องค์ ยังมีพระหูยานประทานพรอีก 60 องค์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53214224179585_1469443926_2_1_.jpg)

พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร มีพุทธศิลปะเป็นศิลปะลพบุรีโดยแท้ องค์พระประทับยืนในอิริยาบถประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง พระพักตร์แลดูเคร่งขรึมและดุดัน อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว

จากการค้นพบ สามารถแบ่งพิมพ์ออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์ใหญ่" จำนวน 300 องค์ ขนาดความสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม. โดยยังแยกออกเป็น พิมพ์ใหญ่ฐานสูง และพิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย ตามลักษณะของฐานที่แตกต่างกัน และ "พิมพ์เล็ก" ที่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย จำนวน 50 องค์ ส่วนด้านหลัง เป็นหลังกาบหมาก และแอ่นเว้าเข้าเล็กน้อย

ประการสำคัญ คือจะมีเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น เป็นพระเนื้อชินเงิน และอาบปรอททั้งองค์

ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ครบถ้วน ทั้งด้านคงกระพัน เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถรเป็นพระยอดขุนพลเมืองลพบุรีที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยจำนวนที่พบนั้นน้อยมาก จึงหาของแท้ยากยิ่งนักในปัจจุบัน

การพิจารณา "พระร่วง กรุถ้ำมหาเถร" ซึ่งเป็นเนื้อชินเงินอาบปรอท เมื่อผ่านกาลเวลาจะมีธรรมชาติที่ "รอยปริระเบิดของเนื้อ" ที่มักปรากฏร่องรอยที่ระเบิดในเนื้อพระทุกองค์ โดยเฉพาะบริเวณขอบพระ และเป็น "การปริ" จากภายในเนื้อองค์พระออกสู่พื้นผิวด้านนอก

อย่างไรก็ตาม สมัยนี้เทคโนโลยีสูงส่ง ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเช่าหาครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40166886316405_1.jpg)
หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยสงคราม อินโดจีนต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกหนึ่งรูปที่เป็นที่กล่าวขวัญและเคารพศรัทธาสืบมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี

เป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านบางพุทโธ ต.ตลุง อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้วยความมีใจนักเลง ถึงไหนถึงกัน เป็นเหตุให้เกิดมีเรื่องราวกับคู่อริถึงขนาดทำร้ายกันจนถึงชีวิต จนต้องหลบหนีอาญาจากบ้านเมืองไป ระหว่างนั้นเอง ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาอาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้ทรงพุทธาคมสูงส่งมากมาย หากแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นท่านใดบ้าง เมื่อพ้นอายุความคดีฆ่าคนตาย ในช่วงวัยกลางคน จึงหวนสู่ภูมิลำเนา ณ บางพุทโธ และ ตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ วัดบัว โดยมี พระสังฆภารวาหมุนี (หลวงพ่อเนียม) วัดเสาธงทอง พระเกจิชื่อดังยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทโชติ"

ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว ได้สังเกตว่า "วัดนางหนู" วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามนั้น มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบจะเป็นวัดร้างและไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดนางหนู บูรณปฏิสังขรณ์ ตลอดจนสร้างเสนาสนะต่างๆ เมื่อชาวบ้านได้เห็นถึงความมุ่งมั่นก็เริ่มศรัทธามาร่วมแรงร่วมใจกัน จน "วัดนางหนู" มีความถาวรเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง ต่อมาได้มีการสังคายนาชื่อวัดให้ถูกต้องตามทำเนียบสงฆ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดมุกสิกกาวาส"

เพื่อตอบแทนน้ำใจญาติโยมที่สละทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ในการร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนั้น หลวงปู่จันทร์จึงสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายออกมาแจกจ่าย อาทิ ตะกรุดโทน เสื้อยันต์ หรือการลงกระหม่อมให้ เป็นต้น ซึ่งผู้ได้รับไปต่างมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

เล่ากันว่า เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ประมาณปี พ.ศ.2484 ทหารหน่วยต่างๆ ต่างมุ่งสู่วัดนางหนู เพื่อขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่จันทร์ เป็นจำนวนมาก พร้อมสละทรัพย์หรือปัจจัยให้นำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เงินทำบุญนั้นมากขนาดสร้างโบสถ์หลังใหม่ได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่จันทร์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสดูแลปกครองวัดนางหนูสืบมา และชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่วภาคกลาง ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิ อาจารย์ผู้เกรียงไกรในช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับนิมนต์เข้านั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ต่างๆ อาทิ พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481 และพิธีปลุกเสก "พระพุทธชินราชอินโดจีน" ณ วัดสุทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2485

มรณภาพในปี พ.ศ.2490 รวมสิริอายุ 97 ปี

ในบรรดาวัตถุมงคลนั้น "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ ปี 2478" ที่แจกเป็นที่ระลึกในการจัดสร้างศาลาวัดนางหนู นับเป็นเหรียญยอดนิยมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญประจำจังหวัดลพบุรี ที่มีความต้องการและแสวงหาอย่างสูง ด้วยเป็น "เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว" ของท่าน

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ รุ่นแรกและรุ่นเดียว ปี 2478 เท่าที่พบเป็นเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่กลม หูในตัว ด้านหน้า ยกขอบเป็นลวดแบน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ครึ่งองค์หน้าตรง มีอักษรไทยโดยรอบว่า "หลวงพ่อจัน อายุครบ ๘๓ ปี พระจันทะโชติ์" ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม "นะเฉลียวเพชร" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม แล้วล้อมด้วย อักขระขอม 3 ตัว ว่า "อิสวาสุ" โดยรอบเหรียญจารึกอักษรไทยว่า "ให้เป็นที่รฤกในงานฉลองศาลา พ.ศ.๒๔๗๘"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง สนนราคานั้น ถ้าสวยสมบูรณ์จริงๆ แตะหลักแสนแล้ว รุ่นนี้มีบล็อกหน้าพิมพ์เดียว บล็อกหลังมีถึง 3 พิมพ์ ต้องศึกษาและพิจารณาจุดตำหนิกันให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24127473102675_1.jpg)
วัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ ลำพูน

สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน เดิมเรียกกันว่า ดอยขะมอกŽ เพราะมีดอกไม้พื้นบ้านที่เรียกว่า ดอกขะมอกž เป็นจำนวนมาก ภายหลังเพี้ยนเป็น ดอยขะม้อŽ ในสมัยโบราณถือเป็น 1 ใน 3 สถานที่มหามงคล ที่นักปฏิบัติธรรมมักมาปลีกวิเวกบำเพ็ญเพียรภาวนา

นอกจากนี้ยังนับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ด้วยน้ำใน “บ่อน้ำทิพย์Ž” ที่นี่ ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองลำพูน เล่ากันว่าเป็นน้ำที่ใช้หมักดินในการสร้าง พระรอดลำพูนž และใช้ในพิธีสรงน้ำ พระบรมธาตุหริภุญชัยž ในเทศกาลแปดเป็งเป็นประจำทุกปีมาแต่อดีต

ทั้งยังเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 7 เมืองโบราณของไทยž อันประกอบด้วย แม่น้ำป่าสัก ต.ท่าราบ (เมืองศรีเทพ), ทะเลแก้วและสระแก้ว จ.พิษณุโลก, น้ำโชคชมภู่ น้ำบ่อแก้ง น้ำบ่อทอง จ.สวรรคโลก, แม่น้ำนครไชยศรี จ.นครปฐม (เมืองนครชัยศรีโบราณ), บ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช, บ่อน้ำวัดธาตุพนม จ.นครพนม และบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อ จ.ลำพูน นี้ ที่ใช้ในพระราชพิธีสำคัญๆ ตามโบราณราชประเพณีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83404174819588_2_3614_3619_3632_3610_3641_359.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22066526321901_2.jpg)

กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 8-9 ธันวาคม 2559  ณ สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ จ.ลำพูน โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมทั่วประเทศเมตตาเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต

อาทิ ครูบาออ สำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ จ.เชียงใหม่, ครูบาคำตัน วัดย่าพาย จ.เชียงใหม่, ครูบาอุ่น วัดโรงวัว จ.เชียงใหม่, ครูบาอินสม วัดศรีดอนมูล จ.เชียงราย, ครูบาสนอง สุมโน วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จ.เชียงราย, ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น จ.ลำพูน, ครูบาดวงจันทร์ วัดศรีชุม จ.ลำพูน, ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.ลำพูน, ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง (ป่ายาง) จ.ลำพูน, พระเทพรัตนนายก เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย เจ้าคณะจังหวัดลำพูน, หลวงพ่อเสนาะ วัดปงท่าข้าม จ.แพร่, ครูบาจันทร์ วัดน้ำแป้ง อ.ปง จ.พะเยา, พระครูอาทรนันทกิจ วัดหนองแดง จ.น่าน, หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร, หลวงพ่อบุญส่ง วัดราษฎร์ศรัทธาราม (เนินกุ่มเหนือ) จ.พิษณุโลก, หลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก และพ่อท่านผอม วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช พร้อมกันนี้พระเกจิอาจารย์ที่อธิษฐานจิตปลุกเสกเดียว ประกอบด้วย ครูบาศรีมรรย์ วัดบ่อเต่า จ.เชียงใหม่, พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่, พระอาจารย์คลังแสงแห่งสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จเจ้าเกาะยอ (เขากุฏิ) จ.สงขลา, พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดสงขลา-เจ้าอาวาสวัดทรายขาว, หลวงพ่อชุบ ปญฺญาวุโธ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี, พระอาจารย์อุทัย วัดวิหารสูง จ.พัทลุง และพ่อท่านคลาย วัดจันทาวาส จ.สุราษฎร์ธานี

ด้วยบารมีแห่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาŽ ในการทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาให้คงอยู่สถาพร จะสร้างเสริมพุทธคุณสู่วัตถุมงคล กอปรกับเจตนาการจัดสร้างและการปลุกเสกอธิษฐานจิตของพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษ เชื่อว่าวัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นสมปรารถนา จะทรงพลังความเข้มขลังและอิทธิปาฏิหาริย์ เฉกเช่น วัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัยทุกรุ่นž ที่ล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ โทร.08-1681-1150 ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68154820096161_bud02051259p1_696x392_1_.jpg)
เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2557

วัตถุมงคลใดได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธย “ภปร” ประดิษฐานนั้น นอกจากความเข้มขลังและพุทธคุณในคุณวิเศษแห่งพระพุทธหรือพระเกจิที่จำลองลง บวกกับพลังแห่งการอธิษฐานจิตของบรรดาพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษกแล้ว อักษรพระปรมาภิไธย “ภปร” นับเป็นการเสริมมหามงคลสูงส่งให้บังเกิด ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริยาธิราชเจ้า เฉกเช่น เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527

ครูบาเจ้าศรีวิชัย อมตะเถระชื่อดังอันดับหนึ่งแห่งล้านนา ผู้สร้างเกียรติประวัติและคุณูปการต่อพระบวรพุทธศาสนาในพื้นที่ภาคเหนือไว้อย่างมากมาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนาไทย” ด้วยกิตติศัพท์และอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านทั้งด้านพุทธบารมีและคุณวิเศษ แม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ความเชื่อและความศรัทธาในบารมีศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังคงอยู่ในความรำลึกถึงของบรรดาพุทธศาสนิกชนไม่เสื่อมคลาย วัตถุมงคลของท่าน ถึงแม้จะสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว ก็ล้วนทรงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ จนได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบถึงปัจจุบัน

ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 สิริอายุ 60 ปีเศษ 40 พรรษา

สำหรับ “เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527” จัดสร้างเนื่องในโอกาสที่ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ 50 ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อทองแดง มี 2 ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

พิธีล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2527 โดย พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานจุดเทียนชัย เจ้าคณะจังหวัดภาคเหนือ และเจ้าคณะอำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาแผ่ เมตตาจิต 1 ชั่วโมง

ต่อมาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นลูกศิษย์อาวุโสที่เคยร่วมงานพัฒนากับครูบาเจ้าศรีวิชัยมาแล้ว จำนวน 18 รูป ทั้งจากเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ร่วมสวดพระพุทธมนต์ตามแบบฉบับล้านนา มีอาทิ ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง, ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย, ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง, ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง, ครูบาโสภา วัดผาบ่อง, ครูบาอ้าย วัดศาลา, ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม, ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง, ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง ฯลฯ

ระหว่างการประกอบพิธี ได้เกิดเหตุอัศจรรย์มากมาย สร้างความตื่นเต้นและปลื้มปีติแก่ผู้ร่วมพิธียิ่งนัก อาทิ เมื่อบรรดาลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยสวดพระพุทธมนต์แล้วเสร็จ เข้านั่งสมาธิบริกรรมภาวนาแผ่เมตตามหากุศล ก็ปรากฏเมฆฝนขึ้นในบริเวณมณฑลพิธี อากาศหนาวเย็น มีฝนโปรยปรายลงมา ดั่งชั้นฟ้าร่วมหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และเมื่อครูบาอิ่นแก้ว ได้แสดงความกตัญญูด้วยการตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาจิตแด่ดวงวิญญาณครูบาเจ้าศรีวิชัย จากนั้นหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ลงสู่ผืนดินบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าฯ เชิงดอยสุเทพ ปรากฏว่า ท่านครูบาอิ่นแก้วเองนั้นจีวรเปียกไปทั้งตัว นับเป็นบุญญาภินิหารยิ่งนัก

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527 เหรียญของพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษ “นักบุญแห่งล้านนา” กอปรกับพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ที่ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ จึงเป็นที่ต้องการและแสวงหาของสาธุชนอย่างกว้างขวางยิ่ง

ณ ปัจจุบัน คงหาดูหาเช่ายากนักครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 07:26:47


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49941546759671_bud05131259p1_696x392_1_.jpg)
พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร.

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น “พระปรกใบมะขามหนึ่งเดียว” ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร”, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ในพิธี และยังได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นจากทั่วประเทศเป็นอย่างน้อยถึง 2 วาระ

นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบกึ่งศตวรรษ (50 ปี) มหาวิทยาลัยมีมติจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองล่ำอู่ ขนาดหน้าตัก 25 นิ้ว จำนวน 4 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประจำมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” โปรดให้ประดิษฐานประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) 1 องค์ ศูนย์รังสิต 1 องค์ ศูนย์พัทยา 1 องค์ และสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 องค์ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี ทรงพระสุหร่ายและทรงเททองหล่อพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง

การจัดสร้างวัตถุมงคลอื่นๆ เพื่อเป็นที่ระลึกและหารายได้ตั้งกองทุนด้านศาสนกิจ ศาสนศึกษา และสาธารณกุศลต่างๆ ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อล่ำอู่แดง หน้าตัก 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว, พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ภปร เนื้อนวโลหะ และพระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองชนวนมาผสมกับทองชนวนสำคัญๆ อาทิ พระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพหลายรุ่น, พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, เหรียญหล่อหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, พระกริ่งหลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง รวมทั้งแผ่นยันต์และผงวิเศษของเกจิอาจารย์ต่างๆ อีกมากมายหลายรูป

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 17-18 ตุลาคม พ.ศ.2527 มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ พระธรรมปัญญาจารย์ (ทิม) วัดราชประดิษฐ์, พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส, พระอาจารย์ทองใบ วัดสายไหม, พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต, หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด, หลวงพ่อแช่ม วัดบ่อพุ, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม และ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง เป็นต้น

สำหรับ “พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร” นั้น ยังไม่ได้นำออกให้เช่าบูชา พิธีพุทธาภิเษกที่ผ่านมาจึงนับเป็นวาระที่ 1 ต่อมาได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2528 โดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตส่วนใหญ่เป็นชุดเดิมจากวาระที่ 1 จากนั้นจึงได้มีการนำออกมาให้เช่าบูชา

พระที่เหลือได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 พร้อม “พระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี” ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2537 โดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย นอกจากนี้ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์รวม 9 รูป ปลุกเสกอธิษฐานจิตโดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในวาระที่ 1 และ 2 เป็นส่วนใหญ่ รวมแล้วถึง 116 รูป

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เป็นพระเครื่องขนาดเล็กมาก พิมพ์ทรงโค้งมนแบบเล็บมือ ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของไทย ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานบัว พื้นหลังเป็นม่านแหวก ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ล่างสุดจารึกอักษรไทย “๕๐ ปี มธ.”

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพระปรกใบมะขามหนึ่งเดียวในกลุ่ม ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” จึงถือเป็นพระเครื่องสำคัญรุ่นหนึ่งในรัชกาล ให้สังเกตโค้ดให้ดี จะมีทั้ง ตอกโค้ด 1 ตัว และ 2 ตัว “โค้ด 1 ตัว” ต้องเป็นตัว “นะ” ซึ่งเป็นโค้ดในพิธีพุทธาภิเษกวาระที่ 1 (50 ปี ธรรมศาสตร์) สำหรับ “โค้ด 2 ตัว” คือเพิ่มโค้ด “ธรรมจักร” จะเป็นพระที่ได้นำเข้าพิธีฯ ในวาระที่ 3 (60 ปี ธรรมศาสตร์) ด้วย ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75377203938033_14580486481458048661l_1_.jpg)
พระปรกใบมะขามพระพุทธสิหิงค์ ภปร.

"วัดโพธิ์บางคล้า" อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เป็นวัดที่เก่าแก่อีก แห่งหนึ่งของเมืองแปดริ้ว เป็นวัดสำคัญ ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโต
 
วัดโพธิ์บางคล้า สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และเมื่อปี พ.ศ.2309 คราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน นำทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่า จากกรุงศรีอยุธยา และมาพักทัพรบที่วัดโพธิ์บางคล้าแห่งนี้ ได้สู้รบกับกองกำลังของพม่า ซึ่งในการรบครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ตีทัพขับไล่ฝ่ายพม่าแตกกระเจิง

พระองค์ท่านจึงได้สร้างวิหารทรงจัตุรมุข และภายในวิหารมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในครั้งนั้น ก่อนเดินทัพต่อไปเมืองจันทบุรี

ด้วยเหตุที่วัดโพธิ์บางคล้า ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้จัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน รุ่นปราบไพรี" (เม็ดแตง) โดยมี พล.ต.ณรงค์ พฤกษารุ่งเรือง ผบ.กองพลทหารราบที่ 11 และ นางฐิติมา ฉายแสง พร้อมด้วยคณะกรรมการ ร่วมเป็นประธาน

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อนำรายได้จัดสร้างอนุสรณ์สถาน (ศาลพร้อมรูปเหมือนองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์บางคล้า

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน "รุ่นปราบไพรี" ประกอบด้วย ชุดกรรมการทองคำ 199 ชุด (มี 6 เหรียญ ได้แก่ เหรียญเนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้าทอง เนื้อนวโลหะหน้าทอง เนื้อนวโลหะหน้าเงิน เนื้อสัตโลหะหน้าเงิน และเนื้อทองแดงหน้าเงิน) และมีเหรียญเงินลงยาสีแดง 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีเขียว 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีเหลือง 299 เหรียญ เนื้อ อัลปาก้า 1,999 เหรียญ เนื้อสัตโลหะ 5,999 เหรียญ เนื้อทองแดง 5,999 เหรียญ รูปเหมือนนั่งเต็มองค์ขนาดบูชาสูง 28 นิ้ว (ตามจอง) และรูปเหมือนครึ่งองค์ขนาดบูชาสูง 14 นิ้ว(ตามจอง)

ลักษณะเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระรูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินครึ่งพระองค์ สวมพระมาลา ด้านหลังเหรียญ เป็นตัวอักษรภาษาจีน ด้านบนอักษรจีน เขียนคำว่า "วัดโพธิ์บางคล้า" ด้านล่างอักษรจีน เขียนคำว่า "ปราบไพรี"

ทั้งนี้ วัดโพธิ์บางคล้า ประกอบพิธีเปิดศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2559

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน รุ่นปราบไพรี โดยมีพระเกจิคณาจารย์ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระมงคลวรากร (หลวงพ่อชาญ) วัดบางบ่อ, พระครูสุภัททาจารคุณ (หลวงพ่อสิน) วัดละหารใหญ่, พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง, พระครูปลัดปิฎกวัฒน์ (ปลัดวิชัย) วัดสันติวิหาร, พระครูวิสาลธรรมทัศน์ วัดหนองเขิน, หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด, หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ, หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง, หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง ฯลฯ

นับเป็นอีกเหรียญหนึ่ง ที่น่าเก็บสะสมหรือเช่าบูชา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.09-7295-2888


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 02 มีนาคม 2560 12:02:34

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41585284016198_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55216352931327_2.jpg)

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ณ กรุงเทพ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ณ กรุงเทพ ทรงเป็นโอรสของ หม่อมเจ้าถนอมกับหม่อมเอม นพวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก จุลศักราช 1234 ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น 4) กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส พระองค์เจ้านพวงศ์ วรวงศ์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์มีพระนิสัยโน้มเอียงในทางพระศาสนา กล่าวคือ ได้ตามเสด็จกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไปวัดอยู่เสมอ จึงทำให้ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุยายน 2435 ทรงผนวช ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระนามฉายาว่า สุจิตฺโต

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณศักดิ์เป็นลำดับ

พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พ.ศ.2488 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493

พ.ศ.2499 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

พระองค์เป็นพระราชอุปัชฌาจารย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จออกผนวชในบวรพระพุทธศาสนา เป็นเวลา 15 วัน

จากบันทึกในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ระบุว่า …

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์จะได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน และเมื่อได้ทรงคุ้นเคยกับหลักการและการปฏิบัติของพุทธศาสนิก ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ที่ทรงพระศรัทธายิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อต้นศก 2499 สมเด็จพระสังฆราช ผู้ที่ทรงนิยมนับถือด้วยวิสาสะอันสนิท และทรงถือว่ามีคุณูปการส่วนพระองค์มามากได้ประชวรลง ต้องเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระอาการเป็นที่วิตกทั่วไปจนแทบไม่มีหวัง แต่ได้หายประชวรมาได้อย่างน่าประหลาด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมฟังพระอาการหลายครั้ง และได้ทรงพระราชดำริว่า ถ้าได้ทรงผนวชด้วยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระอุปัชฌายะแล้ว จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ ในอันที่จะได้ทรงแสดงพระราชคารวะและศรัทธา ในพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างดี จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงผนวช”

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2499 รวม 15 วัน”

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2525 ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ได้มีการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เพื่อหาเงินสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยด้านหลังเหรียญมีพระปรมาภิไธย ภปร. มีพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยจำนวนมากร่วมปลุกเสกในพระอุโบสถวัดบวร

พระเทพวิสุทธิกวี (ถาวร อธิวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวว่า เหรียญสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และน่าสะสม ปัจจุบันยังมีให้บูชาที่หน้าพระพระอุโบสถวัดบวรวิหาร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โทร.09-9354-1456


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84708405782779_3.jpg)
พระหูยานกรุวัดปืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าในช่วงนี้มีคนพูดถึงกันน้อย ก็อาจจะเป็นไปตามกระแสของการ เล่นหาสะสม แต่พระกรุนั้นเป็นสมบัติ ที่คนโบราณท่านสร้างไว้ในยุคของท่าน เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา และความเชื่อที่มีกันว่า มีการพุทธาภิเษกพระเครื่องนั้นๆ ไว้ด้วย ต่อมาภายหลังได้มีผู้ค้นพบและนำมาบูชาก็ได้มีประสบการณ์ต่างๆ และเล่าบอกต่อกันมา

พระกรุเก่าๆ มิได้เป็นแค่เครื่องรางของขลังเท่านั้น ยังแฝงไว้ด้วยศิลปะในแต่ละยุคสมัย ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาในเวลาต่อมา พุทธศิลปะในแต่ละยุคสมัยก็มีความงดงามแตกต่างกันไป อย่างพระเครื่องที่สร้างในสมัยลพบุรี ก็มีศิลปะแบบขอมที่สร้างในประเทศไทย เช่น พระร่วงยืนหลังลายผ้า พระหูยาน พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระนาคปรก เป็นต้น ถ้าเราพิจารณาองค์พระจะเห็นศิลปะในยุคนั้นตามคตินิยมของช่วงเวลานั้น

พระหูยานของลพบุรี ไม่ว่าจะเป็นของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์ต่างๆ หรือพระหูยานของกรุวัดปืน จะเห็นว่าศิลปะของพระเป็นขอมแบบบายน ซึ่งเทียบเคียง กับศิลปะที่พบที่ปราสาทบายนในประเทศกัมพูชา สังเกตพระพักตร์ของพระหูยาน ของทั้ง 2 กรุ แล้วเทียบเคียงกับพระพักตร์ ของพระพักตร์ของพรหมพักตร์ที่ปราสาทบายน จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การยิ้มมุมปากที่เป็นอัตลักษณ์ของศิลปะในยุคนี้ และมักเรียกการยิ้มแบบนี้ในศิลปะขอมว่า “ยิ้มแบบบายน” องค์พระโดยรวมก็แสดงถึงศิลปะขอมแบบบายน

พระหูยานจึงเป็น พระที่สันนิษฐานได้ว่ากำเนิดขึ้นในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งดินแดนแถบนี้ก็ได้อิทธิพลทางศิลปะมาจากขอม ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานต่างๆ ที่พบเป็นศิลปะขอม เช่น พระปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ เป็นต้น จากการเทียบเคียงนี้ทำให้สันนิษฐานได้อีกว่า อายุของพระหูยานน่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18

พระหูยาน เราก็ทราบกันดีว่าพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่อีกกรุหนึ่งของลพบุรีที่มักจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก จนอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง คือพระหูยานกรุวัดปืน ซึ่งที่วัดปืนแห่งนี้มีการพบพระกรุเนื้อชินอยู่หลายอย่าง และมีชื่อเสียง เช่น พระนาคปรก และพระหลวงพ่อแขก เป็นต้น แต่พระหูยานที่พบที่กรุวัดปืนนั้นพบน้อย จึงอาจจะไม่ค่อยแพร่หลาย และรู้จักกันมากนัก

พระหูยานกรุวัดปืน เป็นพระที่มีขนาดเล็กกว่าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงินทั้งสิ้น ในด้านศิลปะก็เป็นศิลปะขอมแบบบายน พิมพ์ของพระเป็นคนละแม่พิมพ์กับของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีเอกลักษณ์ของตนเองชัดเจน พิมพ์ที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่แทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นพระพิมพ์เล็ก ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กก็พบจำนวนน้อยมากครับ

พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด พระหูยานกรุวัดปืน นับว่าเป็นพระที่น่าสะสมบูชามากองค์หนึ่ง และในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดปืน พิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21212289979060_4.jpg)
เหรียญรุ่นแรกบล็อกนิยม หลวงพ่อพรหมสร (รอด)

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ทางสายอีสานกันบ้างนะครับ จะมาคุยกันถึง หลวงพ่อพรหมสร (รอด) วัดบ้านไพ จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของโคราช ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป เหรียญรุ่นแรกนั้นปัจจุบันหาชมได้ยาก และมีสนนราคาสูงครับ

หลวงพ่อรอด เกิดในปี พ.ศ.2414 โยมบิดาชื่อ โข่ เป็นพ่อค้าโคจากเมืองอุดร ต้อนโคไปขายที่โคราช ต่อมาได้แต่งงานกับโยมพูน แห่งบ้านคุ้งกระถิน ต.มะขาม อ.โนนสูง และได้มีบุตรหนึ่งคน เมื่อคลอดบุตรแล้วโยมพูนต้องเข้าไปทำงานให้หลวงที่โคราช โยมนีซึ่งเป็นพี่สาวโยมพูนได้รับหลวงพ่อรอดไปเลี้ยง โดยให้ชื่อว่า รอด หลวงพ่อรอดได้ช่วยโยมนีเลี้ยงโคฝูง จนมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2436 ที่วัดบ้านสะพาน ตำบลขามเฒ่า โดยมีอุปัชฌาย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นก็ได้ศึกษาธรรมะและวิปัสสนาจนแตกฉาน ถือเอาการธุดงค์เป็นหลัก พบปะอาจารย์ต่างๆ ก็เข้าไปศึกษาจนแตกฉาน หลังจากนั้นก็ออกไปสร้างวัดต่างๆ เช่น พ.ศ.2443 ได้สร้างวัดบ้านดอนผวา พ.ศ.2452 สร้างวัดบ้านขาม พ.ศ.2467 สร้างวัดบ้านหนอง เคลือขุด พ.ศ.2470 สร้างวัดบ้านหนองพลอง พ.ศ.2490 สร้างวัดบ้านไพ

หลวงพ่อรอดได้สร้างวัดไว้ถึง 5 วัดด้วยกัน โดยที่มิได้มีเงินทองแต่อย่างใดเลย วัดต่างๆ ที่สร้างได้นั้น โดยชาวบ้าน ณ ที่ต่างๆ ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน ก็มาช่วยกันบริจาคและร่วมกันสร้างวัดนั้นๆ ขึ้นจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หลวงพ่อเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน หลวงพ่อจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น รู้ว่าใครจะมาหา และมาทำอะไร ท่านมีเมตตาสูงมาก นอกจากนี้ก็มีผู้ที่มาขอวัตถุมงคลของหลวงพ่อกันอย่างมาก ครั้งหนึ่งมีการลือกันว่าหลวงพ่อใบ้หวยแม่นมาก จึงมีผู้มาขอกันอยู่บ่อยๆ เมื่อมาขอหลวงพ่อก็จะดุเอาว่างมงาย และไม่เคยให้หวยใครเลย แต่ก็มีลูกศิษย์บางคน มาหาหลวงพ่ออยู่บ่อยๆ และได้ยินอะไรก็นำไปตีเป็นตัวเลข แล้วก็ถูกและนำเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่บ่อยๆ ก็มีเช่นกัน

หลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตาเนื้อทองเหลือง เพื่อไว้แจกให้แก่ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหา นอกจากนี้ก็ยังมี สีผึ้ง นางกวัก และผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าของหลวงพ่อ มีผู้คนนำไปบูชาค้าขายร่ำรวยไปหลายคน ทั้งที่ในโคราชเองและต่างจังหวัด สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นคุณมนตรี คหบดีชาวลพบุรีสร้างให้หลวงพ่อ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นยันต์นะทรหด สร้างในปี พ.ศ.2492 ตอนที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพรหมสร (รอด) ต่อมาก็มีการสร้างอีกรุ่นหนึ่ง สร้างคล้ายๆ กัน ในราวปี พ.ศ.2498-99 ที่วัดดอนผวา ทางด้านสรรพคุณนั้นชาวโคราชรู้กันดี เรื่องแคล้วคลาด คงกระพัน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อพรหมสร (รอด) มรณภาพในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 65 และในวันนี้ผมก็ ได้นำเหรียญรุ่นแรกบล็อกนิยมมาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42118363206585_5.jpg)
เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเหรียญที่หายากและมีมูลค่าสูงมาก ก็คือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) เป็นพระที่ประชาชนเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก วัตถุมงคลนั้นส่วนใหญ่หายากมากๆ เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีพระปิดตาชุดเนื้อผง ส่วนเหรียญรูปท่านนั้นยิ่งหาพบเห็นได้ยากยิ่งกว่าอีกหลายเท่า ในบรรดาเหรียญพระเกจิอาจารย์ด้วยกันแล้ว เหรียญหลวงปู่ไข่นับว่าหายากที่สุด แม้แต่รูปถ่ายก็ยังหาชมกันได้ยาก

หลวงปู่ไข่เป็นชาวแปดริ้ว เกิดที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อกล่อม โยมมารดาชื่อบัว พออายุได้ประมาณ 6 ขวบ มารดาก็เสีย บิดาจึงได้นำไปฝากเป็นศิษย์อยู่กับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อได้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ

ท่านอยู่กับหลวงพ่อปานจนกระทั่งหลวงพ่อปานมรณภาพ จึงได้เดินทาง มาอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จนมีอายุได้ 15 ปี พระอาจารย์จวงก็มรณภาพ จึงได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ กทม. ได้เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงได้เดินทางมาอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน สมุทรสงคราม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม จนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เอี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เป็นพระ อนุสาวนาจารย์

ต่อมาก็ได้เดินทางไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ไข่ออกธุดงค์อยู่ทุกปี และได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์อีกหลายองค์ เมื่อธุดงค์ผ่านทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณเป็นที่รู้จักจนมาถึงกรุงเทพฯ ต่อมาจึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วก็ได้ออกธุดงค์อีก

จนได้กลับมาที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัด เชิงเลนตลอดมา ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลนนี้ ก็ได้ปฏิบัติธรรมและสร้างกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ตลอดมา ยังได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์ให้ร่วมทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้นมา สร้างกุฏิ สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝนในวัด เป็นต้น

หลวงปู่ไข่เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง จริยาวัตรงดงามเคร่งครัด เป็นที่เคารพศรัทธาแก่ประชาชนโดยทั่วไป มรณภาพในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 74 พรรษาที่ 54

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงปู่ไข่ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม สร้างประมาณปี พ.ศ.2472 ซึ่งคณะศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้าง เนื่องในโอกาสที่อายุได้ 6 รอบ แต่การสร้างนั้นสร้างจำนวนน้อยมาก กล่าวกันว่าประมาณ 72 เหรียญ จำนวนอายุของท่าน เหรียญของหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน แม้แต่หาชมเหรียญแท้ๆ ยังหายากครับ ตัวผมเองตั้งแต่เล่นหาพระมาเคยได้เห็นเหรียญแท้ๆ แค่ 4 เหรียญเท่านั้น ปัจจุบันมูลค่าสูงมากๆ และหายากมากๆ เช่นกัน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14044977517591_6.jpg)
เหรียญหล่อเศียรโล้น และ พิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้พระเกจิ อาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุดและเรารู้กันดี ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก เป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง

หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบทที่ วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พรหมสโร” และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน

นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้ เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ต่อมาในปีพ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปีพ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่

โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปีพ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมกันมากและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้น สวยๆ สนนราคาหลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปีพ.ศ.2460 ถ้าสวยๆ ราคาอยู่ที่หลักหมื่น และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84889601833290_9_2_696x369_1_.jpg)
เหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน หลวงปู่ชู วัดนาคปรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แถวย่านธนบุรีในอดีตมีพระเกจิ อาจารย์ที่เก่งๆ มาก องค์หนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่งก็คือหลวงปู่ชู วัดนาคปรก ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านได้เคยพูดยกย่องอยู่เสมอว่า หลวงปู่ชูเป็นพระอาจารย์ที่มีญาณสมาธิสูงมาก

หลวงปู่ชูเป็นชาวนครศรี ธรรมราช ต่อมาได้เข้ามาสร้างบ้านเรือนมีครอบครัวอยู่ที่สวนหลังวัดนางชี ในขณะที่หลวงปู่ชูครองเพศฆราวาสอยู่นั้นท่านเป็นผู้ใฝ่ในธรรม และชอบศึกษาวิทยาคม และแพทย์แผนโบราณ ได้ขึ้นไปศึกษาอยู่กับอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดชีโพ้น) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์พลับมีชื่อเสียงปรากฏขจรขจายอยู่ในขณะนั้น ต่อมาก็ได้กลับมาอุปสมบทที่วัดนางชีโดยมีพระครูเปรม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดนางชี 1 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนาคปรกและได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา

ในการย้ายมาอยู่ที่วัดนาคปรกนี้ปรากฏว่ามีพระภิกษุจากวัดนางชีได้ย้ายติดตามไปอยู่ที่วัดนาคปรกด้วยจำนวน 10 รูป ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาคปรกนั้นได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะตลอดจนกุฏิ วิหาร ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาอีกวาระหนึ่ง

ประกอบด้วยชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่เป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงวัดนาคปรกเสมอมา หลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านมาตลอด ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยมาให้ช่วยรักษา ท่านก็ช่วยรักษาให้จนหายขาดทุกรายไป ด้วยคุณธรรมของหลวงปู่อันนี้แหละจึงเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธาและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชนเป็นอย่างดี ในวัดนาคปรกสมัยนั้นจะเต็มไปด้วยว่านยา สมุนไพรต่างๆ มากมาย ยาดีของหลวงปู่ชูขนานหนึ่งก็คือ ยาดองมะกรูด ยานี้จะทำใส่โอ่งตั้งไว้กลางแจ้งตากแดดตากน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้ใดต้องการก็จะแจกให้ไป ยานี้เป็นยาดองที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ เป็นฝีหนอง มีอาการแพ้อักเสบต่างๆ เมื่อดื่มกินยาดองน้ำมะกรูดของท่านแล้วส่วนมากจะหายทุกรายไป

หลวงปู่ชูได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้องค์หนึ่ง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนทั่วไป และก็ได้สร้างพระเครื่องรูปหลวงพ่อโต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้าน ส่วนที่เหลือท่านก็ได้บรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระเครื่องหลวงพ่อโตไว้อีกหลายรุ่น และมีเหรียญหล่อเป็นรูปเสมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งซ้อนกัน นิยมเรียกกันว่าพิมพ์พุทธซ้อน

ส่วนเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่หายากก็คือเหรียญรูปท่าน ซึ่งศิษย์ขออนุญาตสร้างเป็นที่ระลึกในคราวทำบุญอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ.2471 ซึ่งเป็นเหรียญเงินที่มีจำนวนน้อยมาก ด้านหลังเป็นรอยบุ๋มแบบหลังแบบ ปัจจุบันหายากมาก ราคาหลักแสนครับ หลวงปู่มรณภาพในปีพ.ศ.2475

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน พ.ศ.2471 จากหนังสือเหรียญยอดนิยมอมตะแดนสยาม มาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มีนาคม 2560 19:06:08

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54798323909441_1.jpg)
เหรียญเจ้าสัว หลวงพ่อรักษ์

หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าของอมตวาจา “ขลัง ไม่ขลัง อยู่ที่จิต” เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระภาวนาจารย์วิทยาคมเข้มขลัง เกจิชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่า “เจ้าตำรับตะกรุดมหาบารมี 30 ทัศ” เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ด้วยความเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติ ปฏิปทา คำสอน รวมถึงพุทธาคมแห่งวัตถุมงคลที่เลื่องลือ

เป็นทั้งพระนักปฏิบัติและพระนักพัฒนา ผู้มีคุณูปการต่อบวรพระพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง นอกจากเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานแห่งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13 เพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่สาธุชนแล้ว ท่านยังเป็นประธานในการจัดสร้าง “พุทธมณฑลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชน แห่งใหญ่ประจำจังหวัด

นอกจากนี้ ท่านยังสั่งสมบุญ บำเพ็ญบารมี มุ่งสู่มรรคผลนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนา

มีอุปนิสัยชอบศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่เยาว์วัย ชอบเขียนอักขระขอม อักขระเลขยันต์ และท่องบ่นพระคาถาต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ ต่อมาเมื่อได้อุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนาก็ใฝ่ใจฝึกฝนปฏิบัติกรรมฐานจนเชี่ยวชาญ จากนั้นออกแสวงหาครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาอาคม ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาและเคล็ดต่างๆ เพื่อสืบสานตำรับตำราวิทยาคมในสายต่างๆ เหล่านั้นไว้

รวมทั้งนำมาช่วยปัดเป่าสงเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป

ครูบาอาจารย์ผู้ทรงพลังจิตและทรงวิทยาคมจากทั่วสารทิศมากกว่า 19 คณาจารย์ ต้นสายวิชาอาคม ที่ท่านได้เดินทางไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาร่ำเรียนวิชาอาคมและกรรมฐาน อาทิ พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม วัดพระขาว) อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, พระครูวิมลสมณวัตร (หลวงพ่อเพี้ยน) วัดเกริ่นกฐิน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี,พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา, พระครูมนูญธรรมานุวัตร (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง, พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี, พระครูประยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม, หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นต้น

ก่อนจะศึกษาเล่าเรียนตำราต่างๆ นั้นหลวงพ่อรักษ์จะ “ยกพานครู” ด้วยดอกไม้ธูปเทียนแพ ตามศาสตร์โบราณ ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาแต่เก่าก่อนในทุกครั้ง จึงถือว่าท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ

หลังจากศึกษาวิทยาคมจนเจนจบอย่างถ่องแท้ ครูบาอาจารย์ทุกองค์จึงมอบ “เหล็กจารประจำตัว” ของแต่ละท่านให้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าหลวงพ่อรักษ์ร่ำเรียนวิทยาคมจบอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และให้ถือว่าท่านได้เป็นผู้สืบทอดพุทธาคมสายนั้นๆ โดยสมบูรณ์

ในปีพ.ศ.2560 นี้หลวงพ่อรักษ์เมตตาให้จัดสร้าง “เหรียญเจ้าสัว” เพื่อนำปัจจัยร่วมสร้าง “พุทธมณฑล จ.พระนครศรีอยุธยา และโครงการปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง” โดยมอบหมายให้ “ทีมงานกลุ่มเหรียญเมตตาสายบุญ” ดำเนินการออกแบบและจัดสร้าง

แกะแม่พิมพ์โดย นายวิระศักดิ์ แจ่มใส (ช่างหลอด) ช่างแกะแม่พิมพ์พระอันดับต้นๆ ของวงการพระเครื่อง ที่สามารถทำแม่พิมพ์ด้วยการขึ้นมือ คือ การแกะแม่พิมพ์โลหะแบบดั้งเดิม หรือที่ภาษาช่างมักเรียกกันว่า “แกะสด” เป็นการแกะแม่พิมพ์ขนาดเท่าองค์จริง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีมากมาย เป็นงานฝีมือของช่างที่ต้องใช้ความตั้งใจและความชำนาญอย่างสูง เริ่มจากขุดแต่งเหล็ก ค่อยๆ ขึ้นรูปไปทีละนิด จนได้ความลึกหรือมิติที่ต้องการ แล้วจึงใช้มีดแกะ-แทงเก็บลวดลาย หรือรายละเอียดต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น จนเสร็จสมบูรณ์

นับได้ว่า “เหรียญเจ้าสัว” เป็นเหรียญที่มีความวิจิตรบรรจงยิ่งนัก

กำหนดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวโดยหลวงพ่อรักษ์ วันที่ 7 พ.ค.2560 นี้ จึงแจ้งข่าวงานบุญมายังบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.08-6534-1878 ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87812418945961_2.jpg)
เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460

สําหรับ “พระเครื่องและวัตถุมงคล” ที่สร้างจำลอง “หลวงพ่อมงคลบพิตร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ วิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดสร้างกันหลายครั้งหลายคราในโอกาสสำคัญต่างๆ มีความโดดเด่นและมีค่านิยมสูงอยู่ 2 รุ่น คือ เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 และเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ที่โด่งดังไม่แพ้กันทีเดียว

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างโดย พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร ซ่อมแซมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ในราวปี พ.ศ.2460-2463 โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ปางมารวิชัย ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า “พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา” ด้านหลัง ตรงกลางเป็น “ยันต์เฑาะว์”

การจัดสร้างในครั้งนี้เชื่อกันว่า ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร เพื่อเป็นประธานให้พิธีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และ หลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น

ด้วยพุทธลักษณะเหรียญที่มีความเรียบง่าย จำลององค์พระปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ

รวมทั้งพิธีการปลุกเสกด้วยบารมีของหลวงพ่อมงคลบพิตร และพุทธาคมแห่งสุดยอดพระเกจิอาจารย์ จึงปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะด้านมหาอุด เป็นที่กล่าวขาน ทำให้ “เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460” นอกจากจะเป็นเหรียญรุ่นแรกที่โดยปกติจะได้รับความนิยมสูงอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ยังได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น 1 ใน ?ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ? อันทรงคุณค่าในระดับประเทศ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงมาแต่อดีต ยิ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก หาดูหาเช่ายากยิ่ง ส่งให้ ค่านิยมพุ่งไปไกลถึงเลข 7 หลัก ณ ปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้นคือ “ของทำเทียม” หรือเรียกตรงๆ ว่า “พระเก๊” นั้น ทำออกมากันเนิ่นนาน ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำได้ใกล้เคียงของแท้มากๆ ยิ่งสร้างความปั่นป่วนได้มากทีเดียว ล้มเซียนใหญ่มานักต่อนัก อย่างไรก็ตาม หลักการพิจารณาและจดจำจุดตำหนิต่างๆ ก็ยังคงเป็นที่นิยม เพราะมีบางจุดที่ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถลอกเลียนได้เหมือน ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาของผู้จัดสร้างที่คาดเดาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ “การพิจารณาธรรมชาติของเหรียญ” ด้วยหลักเบื้องต้นดังนี้

– ธรรมชาติของเนื้อโลหะ ตามอายุการสร้าง
– ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
– พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
– การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ
– วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโน โลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งต้องศึกษาอย่างถ่องแท้

นับเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะธรรมชาติของการผลิตเหรียญในแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44692136802607_3.jpg)
เหรียญสมเด็จโต รุ่นมนุษย์สมบัติชินบัญชร

วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์เก่าแก่องค์ใหญ่ นาม "พระศรีเมือง ทอง" ช่วงหนึ่งวัดเคยถูกทิ้งร้าง ต่อมาได้รับการบูรณะโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) พระอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ เมื่อครั้งออกธุดงค์ในแถบ จ.อ่างทอง ในคราวเดียวกับที่ได้สร้าง "พระมหาพุทธพิมพ์" ที่วัดเกศไชโย และบรรจุ "พระสมเด็จวัดเกศไชโย" อันลือลั่นไว้ ปรากฏหลักฐานในหอจดหมายเหตุ

โดยในขณะนั้น วัดขุนอินทประมูล ยังเป็นวัดร้าง เมื่อท่านได้มาพำนักจำพรรษาเป็นเวลากว่า 6 ปี และบูรณะซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาเป็นองค์พระที่สวยงามดังเดิม

ทว่าในยุคต่อมา พระเจดีย์ที่ประดิษฐานอยู่หลังพระพุทธไสยาสน์เกิดพังทลายลงมา จึงพบพระ สมเด็จฯ จำนวนหนึ่งแตกกรุออกมาด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างบรรจุไว้

ปัจจุบัน ท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสปกครองดูแล ด้วยความเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง ได้นำความทันสมัยเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้มาประกอบศาสนกิจทั้งพระภิกษุและฆราวาส อย่างเช่น "พระอุโบสถไฮเทค" แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก ทำให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาเยี่ยมเยือนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

โครงการต่อมาของท่านคือ จัดสร้างรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) องค์ใหญ่ ประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ เพื่อรำลึกนึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตลอดจนเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา และจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและที่พักผู้มาปฏิบัติธรรมภายในวัด สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้ยาวไกลสืบไป ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2557 โดยมีงบประมาณการจัดสร้างค่อนข้างสูง

ทางวัดจึงได้สร้าง "เหรียญรุ่นมนุษย์สมบัติ" เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการพระเครื่องพระบูชามาร่วมด้วยช่วยกันมากมาย จนในที่สุด รูปหล่อสมเด็จโตฯ องค์ใหญ่ ก็แล้วเสร็จสมประสงค์ ประดิษฐานอย่างโดดเด่นและสง่างาม ณ หน้าพระอุโบสถไฮเทค เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวเมืองยิ่งนัก นอกจากนี้ ด้วยอำนาจบารมีแห่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์ ส่งให้ผู้บูชา "เหรียญรุ่นมนุษย์สมบัติ" ประสบอิทธิปาฏิหาริย์มากมายทั้งด้านโภคทรัพย์ โชคลาภ จนเป็นที่กล่าวขวัญเล่าสู่กันเรื่อยมา

หลังจากนั้น การจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องก็ได้ดำเนินการต่อมาเป็นลำดับ แต่เนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์อีกจำนวนมาก ทางคณะกรรมการจึงมีมติจัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)" ในวัดสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อหาปัจจัยมาสมทบทุนให้โครงการสำเร็จลุล่วงโดยสมบูรณ์ อันเป็นจุดกำเนิดของ "เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺรํสี) รุ่น มนุษย์สมบัติชินบัญชร" ตามที่ได้เกริ่นไปบ้างแล้วเมื่อ 3-4 อาทิตย์ที่แล้ว วันนี้จึงนำรายละเอียดเพิ่มเติมมาบอกกล่าวกัน

ได้มงคลฤกษ์ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ที่เรียกกันว่า "วันเสาร์ 5" ณ วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรัสี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และสามารถรับเหรียญในวันที่ 30 เมษายน 2560


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 มีนาคม 2560 18:00:27
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70637130737304_1.jpg)
พระปิดตามหาเสน่ห์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองในปัจจุบัน ก็มีเพื่อนและคนรู้จักหลายคนสอบถามเกี่ยวกับพระเครื่องที่นำมาห้อยบูชาแล้วจะทำให้ค้าขายดี ร่ำรวย ว่าจะห้อยพระอะไรดี ซึ่งก็เป็นคำถามที่พบบ่อยในช่วงนี้

บางทีผมเองก็ไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรให้ตรงคำถาม เนื่องจากความจริงแล้วโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ถามมักจะขาดกำลังใจในการทำมาค้าขาย หรืออยากจะให้คุณพระเครื่องช่วยให้ร่ำรวยขึ้นมาโดยปาฏิหาริย์ ซึ่งถ้าคิดอยู่เพียงแค่นี้ก็อาจ จะเป็นความงมงายได้ ความเป็นจริงพระเครื่องของเกจิ อาจารย์ต่างๆ นั้น เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหรือเป็นกำลังใจให้เรามีสติและกำลังใจในการทำมาหากินเสียมากกว่า

ในส่วนที่ช่วยให้พบกับสิ่งดีๆ นั้นก็มีส่วนช่วยอยู่บ้าง แต่ก็ต้องช่วยตัวเองก่อน คือทำมาหากินด้วยความสุจริต ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด อดทน ใส่ใจในการทำงานนั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในส่วนของพระเครื่องเป็นส่วนที่ช่วยเสริมกำลังใจ และให้เกิดสิ่งดีๆ หรือให้มีช่วงโอกาสในการทำมาหากิน มีพระเครื่องเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็จะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท พุทธคุณที่พระเกจิอาจารย์ท่านเมตตาปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตให้นั้นก็จะมีอานุภาพส่งผลบุญช่วยเสริมให้เรามีโอกาสดีๆ หรือประกอบอาชีพได้สำเร็จ เอาตัวรอดได้ หรือมีฐานะที่ดีขึ้น

ศรัทธากับงมงายมีเส้นบางๆ คั่นอยู่ ถ้าศรัทธาโดยไร้เหตุผลไม่ตั้งอยู่ในความเป็นจริง ไม่มีสติ ก็จะกลายเป็นงมงายได้ง่ายๆ อภินิหารหรือสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เช่น แคล้วคลาดให้รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ นั้นผมเองก็เชื่อว่ามีอยู่จริง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุและผลด้วย เช่น รอดพ้นจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด ก็เป็นเพราะผลบุญและพุทธานุภาพขององค์พระประกอบกัน ถ้าเราเองประกอบแต่กรรมชั่วมาตลอดคงไม่มีสิ่งใดจะมาช่วยได้ สิ่งต่างๆ ที่เรียกว่าปาฏิหาริย์นั้นต้องประกอบด้วยผลบุญ ของเราเองและคุณพระช่วยคุ้มครองจึงจะปรากฏผล

ในส่วนของเรื่องการประกอบอาชีพนั้นบางครั้งก็อาจเกิดปัญหาต่างๆ กับตัวเราได้ แต่ก็ต้องมีสติไตร่ตรองปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ถ้าจิตใจไม่สงบก็จะขาดสติในการไตร่ตรองปัญหานั้นๆ แต่ถ้าเรามีพระเครื่องหรือสิ่งที่เราศรัทธาแล้วเราก็ระลึกถึงจะทำให้มีกำลังใจ สงบเย็นขึ้น ก็จะทำให้เรามีสติและจะมีปัญญาในการไตร่ตรองปัญหานั้นๆ ได้ดีขึ้น มีทางออกของปัญหาได้ พุทธคุณในพระเครื่องนั้นช่วยได้ในส่วนหนึ่ง แต่การกระทำของตัวเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ

สุดท้ายผมอยากจะบอกว่าความเชื่อและศรัทธาในพุทธคุณนั้นดีแล้ว แต่อย่าให้กลายเป็นงมงาย ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีสติและประกอบกรรมดี ผลบุญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้สัมฤทธิผลในที่สุดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตามหาเสน่ห์ ของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เนื้อผงเกสร มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36616656225588_2.jpg)
พระร่วงกรุโรงสี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงกรุโรงสี เป็นพระร่วงยืนกรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงของสุพรรณบุรี พระร่วงกรุนี้มีชื่อกรุแปลกๆ คือ “กรุโรงสี” แสดงว่าโรงสีต้องมีอะไรเกี่ยวข้องกับพระกรุนี้แน่ๆ เรามาคุยกันดีกว่านะครับ

เมื่อปีพ.ศ.2510 นายเมี้ยน ภารโรงของโรงเรียนประชาบาลวัดบางปลาหมอ อ.เมืองสุพรรณบุรี ได้ไปรับจ้างขุดดินหาลำไพ่พิเศษในวันหยุด ที่ใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้งใหญ่ อำเภอเมือง บริเวณแถวนี้ในสมัยก่อนเรียกว่าบ้านค่าย เนื่องจากเป็นค่ายเดิมเมื่อครั้งไทยรบกับพม่า ต่อมาตรงที่แห่งนี้เถ้าแก่หลาได้มาซื้อที่ทำโรงสี นายเมี้ยนกับภรรยาก็ได้มารับจ้างขุดดินที่จะก่อสร้างโรงสีเถ้าแก่หลา

พอดีวันหนึ่งที่กำลังขุดดินอยู่นั้นภรรยาของนายเมี้ยนก็ขุดไปพบกับหลุมทราย เมื่อลองขุดดูก็พบไหบรรจุพระร่วงยืน จึงได้บอกกับนายเมี้ยน และแอบเอาพระใส่ในผ้าขาวม้าห่อกลับมาบ้าน แต่ก็มีเพื่อนคนงานเห็นจึงได้แบ่งพระไปให้คนละองค์สององค์ แล้วนำพระทั้งหมดกลับมาบ้าน

พวกเพื่อนคนงานที่ได้พระไปก็นำไปขายในตลาดเมืองสุพรรณ เซียนพระเห็นก็รู้ว่าเป็นพระเก่าต่างก็เช่าเอาไว้ และสอบถามถึงแหล่งที่มา พอทราบว่าเป็นมาอย่างไรก็ตามไปขอเช่าจากนายเมี้ยน ทยอยกันมาหลายคนจนพระร้อยกว่าองค์ที่ขุดได้หมดไปในคืนนั้นเอง

พระร่วงกรุนี้ศิลปะเป็นแบบอู่ทองล้อลพบุรี พุทธลักษณะเป็นพระร่วงยืนแบบพระร่วงยืนทั่วๆ ไปที่พบในสุพรรณฯ ประทับยืนปางประทานพร อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ฐานองค์พระเป็นแบบเส้นลวด 4 ชั้น กรอบพิมพ์ก็เป็นแบบพระร่วงยืนทั่วๆ ไป ด้านหลังพระร่วงกรุนี้มีทั้งที่เป็นแอ่ง และแบบหลังลายผ้า ขนาดสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม. เนื้อพระเป็นชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น มีไขขาวปกคลุมองค์พระอยู่เกือบทั้งองค์ บางองค์ผิวนอกก็มีสีออกเหลืองเนื่องจากคราบกรุคลุม ไขขาวอีกชั้นหนึ่ง ถ้าล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบเนื้อสนิมแดงเข้มเปลือกมังคุด หรือแดงน้ำตาลไหม้สวยงาม

พระร่วงกรุนี้ที่ได้ชื่อว่ากรุโรงสี ก็เนื่องจากการขุดดินถมที่เพื่อสร้างโรงสีของเถ้าแก่หลา เมื่อแรกๆ ใครถามก็บอกที่มาว่า พบที่บริเวณที่สร้างโรงสี จึงเป็นที่มาของชื่อกรุพระร่วงกรุนี้ว่า “พระร่วงกรุโรงสี” ครับ

ทางด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ปัจจุบันก็หาชมยากเหมือนกัน สนนราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุโรงสี จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96143648690647_3.jpg)
พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องกฤตยานุภาพของพระเครื่อง ที่ท่านผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องพระนางพญาพิษณุโลก ผมขอยกเอาเรื่องของการอยู่ยงคงกระพัน เพราะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดกว่าเรื่องอื่นๆ สักเรื่องหนึ่งครับ

ท่านอาจารย์ตรียัมปวายท่านได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2488 ท่านได้พบกับ นายตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งก็ชื่นชอบพระเครื่องเหมือนกัน จึงได้สนทนาเกี่ยวกับพระเครื่องและคุยกันถูกคอ จนถึงเกี่ยวกับเรื่องกฤตยานุภาพของพระเครื่องที่นายตำรวจท่านนั้นได้พบเห็นมากับตัวเอง

นายตำรวจท่านนั้นเล่าต่อว่า ในสมัยที่เรียนจบใหม่ๆ และได้มาประจำอยู่ที่สน.ชนะสงคราม ได้รับมอบหมายให้ไปจับตัวนายควาย ผู้ต้องหาก่อเรื่องวิวาททำร้ายร่างกาย ซึ่งตำรวจได้ไปจับตัวแล้วแต่จับไม่ได้ ตาควายต่อสู้ขัดขืน และร้องท้าให้มาจับ สารวัตรจึงมอบหมาย ให้นายตำรวจท่านนั้นนำกำลังไปจับกุมมาให้ได้

ตาควายเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างสูงผอมเกร็ง ลักษณะคล้ายคนขี้ยา ผิวดำแดง มีอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ที่ท่าช้างวังหน้า ในวันที่มีเรื่องนั้นเกิดจากการเล่นหมากรุกพนันกัน และได้ทำร้ายร่างกายชายคนที่เล่นหมากรุกด้วย และได้มาแจ้งความกับสน.ชนะสงคราม

สารวัตรจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปนำตัวมาสอบสวน ตาควายกลับไม่ยอมให้จับกุมและต่อสู้ขัดขืน ควงขวานเข้ามาไล่ฟันเจ้าหน้าที่ ตำรวจอีกนายที่ไปด้วยกันจึงยิงปืนสกัดถูกที่ลำตัวตาควาย แกชะงักและร้องด้วยความเจ็บปวด แต่กระสุนของเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระคายผิวหนังของแกแม้แต่น้อย และแจวเรือหนีไปที่แพพักของแก และร้องท้าว่าถ้าเก่งจริงก็ตามมาจับ

ตำรวจที่ไปจับกุมก็กลับมารายงาน สารวัตรจึงมอบหมายให้นายตำรวจท่านนั้นนำกำลังไปจับกุมพร้อมกำลังตำรวจอีก 5 นาย อาวุธครบครัน เช่น ปืนพระราม 6 ปืนพกและดาบปลายปืน พอมาถึงที่แพตาควายก็บอกให้ยอมจำนนแต่โดยดี แต่ตาควายไม่ฟังเสียง และอยู่ในอารมณ์โทสะคล้าย คนเสียสติ ร้องด่าท้าทาย และขยับขวานที่อยู่ในมือตลอดเวลา

นายตำรวจท่านนั้นจึงนำกำลังบุกขึ้นไปบนแพของตาควายเพื่อจับกุมให้ได้ ตาควายก็ต่อสู้ โดดเข้าฟัน แต่ไม่ถูก และได้เกิดพันตูกันอุตลุด แต่ก็ไม่สามารถจับตัวนายควายได้ แกสลัดหลุดไปได้ทุกที แถมยังฟันโต้ตอบตลอดเวลา นายร้อยตำรวจก็ถูกตาควายฟันไปหลายแผล ตัวตาควายก็ถูกแทงด้วยดาบปลายปืนหลายที แต่ไม่สะดุ้งสะเทือน และไล่ฟันตำรวจอย่างสุดเหวี่ยง เจ้าหน้าที่จึงยิงปืนเข้าที่ลำตัว แต่ก็ไม่เป็นไร แถมแอ่นพุงให้ยิงอีก

แกโดนยิงอีก 2 นัด และร้องลั่นอย่างเจ็บปวด แต่กระสุนก็ไม่เข้า ตาควายเริ่มบ้าบิ่นหนักขึ้น ถึงจะโดนปืน โดนดาบปลายปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายครั้งก็ไม่เป็นไร

นายตำรวจท่านนั้นก็โดนขวานตาควายบาดเจ็บไปหลายแผล จนตกลงไปในน้ำ และพวกชาวเรือได้ช่วยไว้ ตำรวจที่ไป ต่างเจ็บตัวไปตามๆ กัน มีตำรวจนายหนึ่งยิงปืนไปที่หัวตาควาย แกล้มคะมำลงนิ่งอยู่พักหนึ่ง ตำรวจทั้งหมดจึงเข้ามาจับจะใส่กุญแจมือ แต่ตาควายรู้สึกตัวเสียก่อน สะบัดหลุดได้อีก และเอาขวานไล่ฟันตำรวจต่อ พอดีมีอาสาสมัครที่ซุ่มอยู่ พอตาควายวิ่งไล่ตำรวจคล้อยหลังมา จึงได้เอาไม้ขาโต๊ะฟาดเข้าที่ท้ายทอยอย่างจัง ตาควายล้มลงหมดสติ ตำรวจจึงนำตัวมาสถานี ตาควายก็น่วมไปทั้งตัว เพราะถูกสหบาทาไปอีกหลายที

แต่ร่างกายของตาควายกลับไม่มีบาดแผลใดๆ นอกจากฟกช้ำดำเขียว ไม่มีเลือดสักหยดเดียว แต่ก็บอบช้ำอย่างสาหัส จนต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลถึง 3 เดือน

ส่วนนายตำรวจผู้เล่าเรื่องนี้ก็ต้องนอนอยู่โรงพยาบาลถึงเดือนเศษเช่นกัน เพราะถูกฟันไปหลายแผล เมื่อท่านหายดีแล้วก็ไปเยี่ยมตาควาย ตาควายได้สำนึกผิด และกล่าวขอโทษนายตำรวจท่านนั้น บอกว่าตอนนั้นกระทำไปด้วยอำนาจโทสะครอบงำ และยินดีรับโทษทั้งปวง แกบอกกับนายตำรวจท่านนั้นว่า ผมรักน้ำใจคุณ คุณต่อสู้อย่างลูกผู้ชาย แกอยากจะมอบพระเครื่องที่แกติดอยู่ประจำให้ แต่พระเครื่ององค์นั้นได้หายไปตอนที่แกหมดสติ และบอกกับนายตำรวจท่านนั้นว่า เป็นพระเครื่องนางพญา พิษณุโลก พิมพ์สังฆาฏิ ต่อมานายตำรวจท่านนั้นก็ได้พยายามหาพระเครื่องนางพญา พิมพ์สังฆาฏิมาห้อยบูชาตลอดเวลาครับ

ครับก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ท่านผู้ใหญ่พบมา และเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกฤตยานุภาพของ พระเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องจริงในอดีต ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ซึ่งเป็นรูปแทนองค์พระในเรื่องจากหนังสือ สุดยอดพระเบญจภาคี มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63462019960085_4.jpg)
พระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนมีเพื่อนผมมาหาและสอบถามเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องของเขา ซึ่งเป็นพระเก่าของคุณพ่อเขาเอง เป็นพระรอดกรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น ซึ่งเขาได้เพิ่งนำไปสอบถามจากผู้ที่สะสมพระเครื่องว่าแท้หรือไม่จากหลายๆ คน และก็ได้รับคำตอบไม่ตรงกัน คือมีทั้งแท้และไม่แท้ ทำให้เขาสงสัยมากจึงมาปรึกษาผมว่าความจริงเป็นอย่างไร

ในตอนแรกเขายังไม่ได้เอาพระออกมาให้ดู และยังได้บอกว่าพระอะไร แต่ถามว่า พระเครื่องนั้นถ้าพิจารณาแล้ว คำตอบคือมีพระแท้กับพระไม่แท้ใช่ไหม ผมก็ตอบว่าใช่ เขาจึงค่อยๆ เริ่มบอกต่อว่า เขานำพระไปให้หลายคนดู คำตอบไม่ตรงกันเลย มีทั้งที่ว่าแท้กับไม่แท้ และบางคนก็ตอบว่าดูยาก เพื่อนผมไม่ได้เป็นผู้ที่สะสมพระเครื่องเพียงแต่ได้รับพระตกทอดมาจากคุณพ่อของเขาเท่านั้น จึงสงสัยกับคำตอบที่ไม่ตรงกัน และอยากทราบความจริงว่าตกลงเป็นพระแท้หรือไม่ หรือเป็นพระที่สร้างรุ่นหลัง จะได้เก็บไว้บูชาต่อไป ผมเองเข้าใจเพื่อนผมและเห็นใจเขา เนื่องจากคำตอบที่เขาได้รับนั้นทำให้สับสน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในทำนองนี้

ผมจึงสอบถามว่าเป็นพระอะไร เอามาด้วยหรือเปล่า เผื่อเป็นพระที่ผมรู้หรืออาจจะนำไปปรึกษาผู้ที่ชำนาญทางด้านนั้นๆ ช่วยดูให้ เขาจึงนำพระออกมาให้ดู เป็นพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น เนื้อเขียวหินครก สภาพสวยสมบูรณ์พอสมควร

ผมจึงสอบถามต่อว่าเป็นพระที่เช่าหามาหรือได้มาอย่างไร เขาก็บอกว่าเป็นพระเก่าของคุณพ่อของเขาให้มา ผมก็นำมาดูและบอกว่าเป็นพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้นแท้ โชคดีนะที่ได้พระรอดแท้ๆ ไว้บูชา หายากมากนะ และราคาสูงด้วย เขาก็เริ่มยิ้มออก และเล่าเรื่องที่นำไปเช็กดูให้ฟัง

ผมจึงบอกว่าเดี๋ยวจะพาไปหาผู้ใหญ่ที่ชำนาญการในด้านนี้ดูให้อีกทีเพื่อความมั่นใจ ผลก็ออกมาว่าแท้ เป็นพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน แถมยังถามว่า “จะนำมาให้เช่าหรือ?” ผมจึงอธิบายให้ผู้ใหญ่ท่านฟังว่าเป็นพระตกทอดของเพื่อนผม และเล่าให้ฟังตามที่เพื่อนผมบอก ท่านจึงอธิบายให้ฟังว่า เฉพาะพระรอด พิมพ์ตื้นนั้นมีแม่พิมพ์อยู่ 2 แม่พิมพ์ จุดตำหนิจะแตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่พิมพ์จะเหมือนๆ กัน สำหรับพระรอดแม่พิมพ์นี้จะพบน้อยกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง จึงไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก และอาจจะทำให้บางคนที่ไม่ค่อยเคยเห็นไม่แน่ใจก็เป็นได้

เพื่อนผมดีใจมากที่ได้พระแท้ๆ และมีคุณค่าที่ตกทอดมา พอกลับมาจากท่านผู้ใหญ่ท่านนั้นเพื่อนผมจึงสอบถามต่อถึงเรื่องแม่พิมพ์พระรอด ผมจึงบอกเพื่อนให้เข้าใจว่า พระเครื่องในสมัยโบราณนั้น (หมายถึงสมัยอยุธยาขึ้นไป)

โดยส่วนใหญ่การสร้างแม่พิมพ์พระโดยเฉพาะพระเครื่องเนื้อดินเผาเขาจะสร้างแม่พิมพ์ซึ่งเป็นแบบแม่พิมพ์ตัวผู้ หมายถึงแกะเป็นองค์พระแบบเดียวกับที่เราเห็น ในพระเครื่องนั้นๆ ขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำ ดินเหนียวที่เตรียมไว้มากด ถอดพิมพ์ให้เป็นแม่พิมพ์ตัวเมีย ด้วยวิธีการนี้เขาจะสามารถถอดเป็นตัวแม่พิมพ์ตัวเมียได้หลายๆ ตัวตามต้องการ เพื่อจะได้สร้างพระได้ในจำนวน มากๆ

หลังจากนั้นก็นำแม่พิมพ์ดินเหนียวไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วจึงนำไปเผาอีกทีเพื่อให้เป็นแม่พิมพ์ที่เป็นดินเผาหลายๆ อัน จากนั้นจึงนำไปกดพิมพ์พระเครื่องต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น พระเครื่องโบราณส่วนใหญ่จะมีตำหนิที่เดียวกัน มีมิติเหมือนกันทุกองค์ในแม่พิมพ์เดียวกัน

สำหรับพระรอด กรุวัดมหาวันนั้นจะมีพิมพ์อยู่หลายพิมพ์ เช่น พระรอด พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีแม่พิมพ์ตัวผู้ ตัวเดียวกัน ในส่วนของพระรอดพิมพ์ตื้นนั้นปรากฏว่าพบว่ามีแม่พิมพ์ถึง 2 ตัว

ซึ่งอาจจะเกิดจากการผิดพลาดในการถอดแม่พิมพ์ ตัวเมียหรืออย่างไรนั้นไม่ทราบได้ แต่ปรากฏว่าพระที่พบของวัดมหาวันนั้นจากการบันทึกต่อๆ กันมาและเป็นที่ยอมรับเป็นสากลว่ามี แม่พิมพ์ 2 แบบ ขอยืมคำนิยามของท่านอาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ ที่ได้ให้คำนิยามของแม่พิมพ์พระรอด พิมพ์ตื้น ว่า “แม่พิมพ์ 2 ตัวหนอน” และ “แม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน”

ในส่วนของแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนนั้นพบเห็นได้มากกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง จึงจะเห็นได้บ่อยๆ ทั้งจากในรูปต่างๆ และองค์จริง ดังนั้น ในสมัยหลังๆ นี้จึงอาจจะมีผู้ที่เข้าใจผิดพลาดได้ ผมจะเล่าถึงแม่พิมพ์เฉพาะของพระรอด พิมพ์ตื้น ที่ว่านี้ขยายความต่ออีกทีหนึ่ง พระรอด พิมพ์ตื้นที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ คือแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอน คือมีรอยแตกของแม่พิมพ์อยู่ 2 จุดใหญ่ๆ ที่เห็นได้ง่ายคือ จะเห็นว่าที่ผนังใบโพธิ์ด้านซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) จะมีรอยแตกที่ข้างหูขององค์พระเป็นเส้นวิ่งไปหาผนังใบโพธิ์ด้านข้าง

และอีกจุดก็คือ จะมีเส้นแตกของแม่พิมพ์วิ่งจากหัวไหล่ขององค์พระวิ่งลงมาตามแขนขององค์พระลงมาเกือบถึงข้อศอก ลองดูตามไปด้วยนะครับ เส้น 2 เส้นนี้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุด ในส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่ง คือแม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน จะมีเส้นแตกถึง 3 จุด และอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันกับแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนดังนี้

ให้สังเกตที่ผนังด้านซ้ายองค์พระ (ขวามือเรา) จะสังเกตเห็นเส้นพิมพ์แตกตรงบริเวณเหนือพระเศียร จะมีเส้นแตกวิ่งยาวลงมาถึงใกล้กับเส้นพิมพ์แตกอีกเส้นหนึ่ง ที่จะอยู่ตรงบริเวณข้างใบหูขององค์พระ และจะวิ่งลงมาหา หัวไหล่ขององค์พระ

และที่ผนังโพธิ์ด้านขวาองค์พระ (ซ้ายมือเรา) ที่ใบโพธิ์ ตำแหน่งตรงบริเวณหูขวาขององค์พระจะมีเส้นแตกวิ่งยาวลงมา เท่ากับว่าแม่พิมพ์นี้มีเส้นแตกถึง 3 จุด ทั้ง 2 แม่พิมพ์เป็นพระรอด พิมพ์ตื้น ของกรุวัดมหาวันแท้ และยุคเดียวกันครับ สำหรับแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนนั้นจะพบเห็นได้มากกว่าแม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน อันอาจจะทำให้เข้าใจผิดพลาดได้ครับ สำหรับพระรอดของเพื่อนผมเป็นพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน แม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน ทั้ง 2 แม่พิมพ์ จากหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี มาให้ชมด้วย แต่จะไม่บอกว่ารูปไหนเป็นแม่พิมพ์ไหน เนื่องจากวันก่อนลงรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ 2 กรุ เขาลงใต้ภาพผิด ซึ่งอาจจะทำให้สับสนได้ครับ ลองพิจารณาดูเล่นๆ นะครับ และดูว่าองค์ไหนเป็นพระรอด พิมพ์ตื้น แม่พิมพ์ไหน ไม่ยากครับ เพียงสังเกตดูตามที่เขียนมา ก็พอจะทราบได้ว่าแม่พิมพ์ไหนเป็นแม่พิมพ์ไหนครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82534052183230_5.jpg)
พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้นึกถึงพระเก่าพระกรุองค์หนึ่ง คือ พระท่ากระดาน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต มีเรื่องเล่าประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เกี่ยวกับเรื่องอยู่ยงคงกระพัน คนเก่าคนแก่เมืองกาญจนบุรี เล่าลือถึงเรื่องนี้กันมากว่าเรื่องอยู่ยงคงกระพัน "ต้องเกศบิดตาแดง" ซึ่งหมายถึงพระท่ากระดาน

พระท่ากระดานถูกพบครั้งแรกที่วัดร้างในเขตตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2440 พบบริเวณถ้ำลั่นทม และที่วัดร้างใกล้ๆ นั้นอีก 3 วัด คือ วัดบน วัดกลางและวัดล่าง พระที่พบเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงเพียงอย่างเดียว พุทธลักษณะเป็นพระศิลปะอู่ทองหน้าแก่ ผิวของพระมีไขขาวปกคลุมเกือบทั่วองค์พระ ข้างในเป็นสนิมแดงเข้ม บางองค์มีการปิดทองมาแต่เดิม การพบในครั้งแรกก็พบไม่มากนัก กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ต่อมามีคนนำไปห้อยบูชา แล้วเกิดฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก จากนั้นจึงมีผู้เข้ามาขุดค้นบริเวณท่ากระดานกันต่อมาอีกหลายครั้ง ได้พระไปบ้างไม่ได้บ้าง พระที่พบแต่ละครั้งก็ไม่มากนัก ต่อมาชื่อเสียงในเรื่องอยู่ยงคงกระพันได้แพร่หลายไปทั่ว คนเมืองกาญจน์เสาะหากันมาก และเนื่องจากพระท่ากระดานบางองค์มีเกศยาว และบิดโค้งไม่ตรงเนื่องจากเป็นเนื้อตะกั่ว และถูกฝังดินมานาน เกศจึงคดงอไปต่างๆ และเนื้อพระมีสนิมสีแดงปกคลุม จึงให้สมญานามว่า "เกศบิดตาแดง" และต่อมาก็เรียกตามสถานที่พบว่า "พระท่ากระดาน"

นอกจากพระที่พบที่ท่ากระดานแล้ว ต่อมาในปีพ.ศ.2497 ก็พบที่วัดหนองบัว เนื่องจากการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเข้าใจว่ามีคนนำมาถวายหลวงปู่ยิ้มไว้ และยังพบอีกที่เจดีย์วัดเทวะสังฆารามในปีพ.ศ.2506 เพื่อนำพระพุทธ 25 ศตวรรษบรรจุในองค์เจดีย์ พบพระเครื่องจำนวนมากหลากหลายพิมพ์ และพบพระท่ากระดานประมาณ 28 องค์ สันนิษฐานว่ามีผู้นำพระมาร่วมบรรจุตอนที่สร้างองค์พระเจดีย์ และยังพบที่วัดท่าเสาด้วยแต่พบไม่กี่องค์

ในปัจจุบันพระที่พบที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มักจะเรียกกันว่า "พระกรุเก่า หรือพระกรุศรีสวัสดิ์" ส่วนพระที่พบในครั้งหลังที่อำเภอเมืองกาญจน์นั้น จะเรียกว่า "พระกรุใหม่" แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่ขุดพบในครั้งหลังๆ กว่า ซึ่งเข้าใจว่า มีผู้ขุดพบพระที่ท่ากระดานแล้วนำมาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ในอำเภอเมืองกาญจน์ภายหลัง

พระท่ากระดาน มีประสบการณ์เลื่องลือมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน แต่ความจริงในเรื่องโภคทรัพย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในสมัยก่อนมักชอบในด้านอยู่ยงมากกว่าครับ และเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีคนที่ถูกยิงหรือฟันไม่เข้า จึงเล่ากันต่อๆ มา

พระท่ากระดานแท้ๆ ปัจจุบันหาเช่ายาก และมีสนนราคาสูงมากครับ พระปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมายาวนานแต่อดีต และมีราคาสูงมานานแล้วเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานกรุเก่าศรีสวัสดิ์ที่สวยสมบูรณ์มีการปิดทองมาแต่เดิมมาให้ชมกันด้วยครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 31 มีนาคม 2560 16:35:15

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75420643761754__3614_3619_3632_3648_3588_3619.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง

วัดสุวรรณาราม เดิมชื่อว่า “วัดทอง” ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เป็นวัดโบราณที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้รื้อวัดทองเดิม แล้วสถาปนาขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดสุวรรณาราม” แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกติดปากกันว่า “วัดทอง”

นอกเหนือจากความงดงามและคุณค่าของ “จิตรกรรมฝาผนัง” ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงานของจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ครูทองอยู่และครูคงเป๊ะ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักแล้ว “วัดทอง” ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในแวดวงนักสะสมพระเครื่อง ด้วย “พระพิมพ์” ซึ่งเป็นมรดกของ หลวงพ่อทับ อินทโชติ อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 9 ของวัดทอง

นั่นคือ “พระปิดตามหาอุด” ที่มีพุทธคุณและพุทธศิลป์เป็นเลิศ เรียกได้ว่า “เป็นที่นิยมแสวงหาควบคู่กันมากับพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เลยทีเดียว” และยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “เบญจภาคีเนื้อโลหะ” อีกด้วย

พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือ หลวงพ่อทับ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2390 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ที่บ้านคลองชักพระ บางกอกน้อย ธนบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายทิม-นางน้อย ปัทมานนท์

อายุได้ 17 ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของพระปลัดแก้ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดทอง ในช่วงก่อนที่พระศีลาจารพิพัฒน์(ศรี) จะย้ายจากวัดสุทัศนเทพวรารามมาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอม อายุ 18 ปี บรรพชาเป็นสามเณร

นอกจากศึกษาในสำนักแล้ว ยังไปศึกษาเพิ่มเติมกับ พระอาจารย์พรหมน้อย และ พระครูประสิทธิสุตคุณ ที่วัดอัมรินทร์ จนปี พ.ศ.2411 อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดช่างเหล็ก บางกอกน้อย มี พระอธิการม่วง วัดตลิ่งชัน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดแก้ว วัดทอง และพระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทโชติ”

หลังจากนั้นกลับมาจำพรรษาที่วัดทอง หากแต่ยังได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐาน พุทธา คม และไสยศาสตร์ จากพระอุปัชฌาย์ม่วง ที่วัดตลิ่งชัน มิได้ขาด จนกระทั่งสำเร็จ นอกจากนี้ยังได้ศึกษากับอีกหลายสำนัก

ต่อมา หลวงพ่อทับได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทอง และได้บูรณปฏิสังขรณ์จนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักมาจนทุกวันนี้ ด้วยความรู้ความสามารถในเชิงช่างไม้ช่างปูนของท่าน ท่านจึงซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ด้วยตัวเอง

เมื่อชาวบ้านเห็นก็ได้ร่วมแรงร่วมใจมาช่วยกันสร้างและซ่อมแซมด้วยความเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อ ท่านจึงได้สร้าง “พระปิดตาเนื้อโลหะ” เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่มาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัด

 ในช่วงบั้นปลายของชีวิต หลวงพ่อทับอาพาธ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ยังเสด็จมาเยี่ยมและให้แพทย์หลวงรักษา แต่เนื่องจากอาการอาพาธหนัก ท่านจึงมรณภาพเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2455 สิริอายุได้ 66 ปี 45 พรรษา

พระปิดตามหาอุดหลวงพ่อทับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบลอยองค์ พระประธานนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาขัดสมาธิเพชรได้เด่นชัด หรือที่เรียกกันว่า “โยงก้นด้านใน” ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บ เนื่องจากท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์ แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบด้านนอก

จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนละลายและสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น ท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม

องค์พระจึงไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปทรงและลวดลายของอักขระยันต์ จึงหาผู้สร้างลอกเลียนได้ยากมาก

แบ่งออกได้เป็น 4 พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์นั่งบัว, พิมพ์บายศรี, พิมพ์ตุ๊กตา และ พิมพ์ยันต์ยุ่ง โดยยังแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยและมีหลายขนาด แต่ก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สามารถจดจำได้ว่าเป็นของท่าน ทุกพิมพ์ล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่อง

สนนราคาก็แพงลิบลิ่วครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68093900092773_14459533471445953480l_1_.jpg)
เหรียญหลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของ พระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่าน ทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อน พระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมา กราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอม ละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33137515683968_1_416_696x449_1_.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านได้สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มในปี พ.ศ.2459 นับว่าเป็นเหรียญรุ่นเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันหาดูยากแล้วครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อ ปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนัก วัดตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติ ทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอา ทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวช ก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมี พระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับ พระอาจารย์เล็ก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตาล

ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้าน ชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์ เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์ และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียงเช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม เรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร

ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนันทำตัวเป็น ผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายมาจากจังหวัดสมุทร สงคราม หลวงกล้าก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม

แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้นหลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำเคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ” มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาลจากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 06 เมษายน 2560 18:54:22


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44906683473123_1.jpg)
พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น “พระปรกใบมะขามหนึ่งเดียว” ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร”, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ในพิธี และยังได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นจากทั่วประเทศเป็นอย่างน้อยถึง 2 วาระ

นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบกึ่งศตวรรษ (50 ปี) มหาวิทยาลัยมีมติจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองล่ำอู่ ขนาดหน้าตัก 25 นิ้ว จำนวน 4 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประจำมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” โปรดให้ประดิษฐานประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) 1 องค์ ศูนย์รังสิต 1 องค์ ศูนย์พัทยา 1 องค์ และสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 องค์ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี ทรงพระสุหร่ายและทรงเททองหล่อพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง

การจัดสร้างวัตถุมงคลอื่นๆ เพื่อเป็นที่ระลึกและหารายได้ตั้งกองทุนด้านศาสนกิจ ศาสนศึกษา และสาธารณกุศลต่างๆ ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อล่ำอู่แดง หน้าตัก 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว, พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ภปร เนื้อนวโลหะ และพระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองชนวนมาผสมกับทองชนวนสำคัญๆ อาทิ พระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพหลายรุ่น, พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, เหรียญหล่อหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, พระกริ่งหลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง รวมทั้งแผ่นยันต์และผงวิเศษของเกจิอาจารย์ต่างๆ อีกมากมายหลายรูป

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 17-18 ตุลาคม พ.ศ.2527 มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ พระธรรมปัญญาจารย์ (ทิม) วัดราชประดิษฐ์, พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส, พระอาจารย์ทองใบ วัดสายไหม, พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต, หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด, หลวงพ่อแช่ม วัดบ่อพุ, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม และ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง เป็นต้น

สำหรับ “พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร” นั้น ยังไม่ได้นำออกให้เช่าบูชา พิธีพุทธาภิเษกที่ผ่านมาจึงนับเป็นวาระที่ 1 ต่อมาได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2528 โดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตส่วนใหญ่เป็นชุดเดิมจากวาระที่ 1 จากนั้นจึงได้มีการนำออกมาให้เช่าบูชา

พระที่เหลือได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 พร้อม “พระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี” ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2537 โดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย นอกจากนี้ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์รวม 9 รูป ปลุกเสกอธิษฐานจิตโดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในวาระที่ 1 และ 2 เป็นส่วนใหญ่ รวมแล้วถึง 116 รูป

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เป็นพระเครื่องขนาดเล็กมาก พิมพ์ทรงโค้งมนแบบเล็บมือ ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของไทย ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานบัว พื้นหลังเป็นม่านแหวก ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ล่างสุดจารึกอักษรไทย “๕๐ ปี มธ.”

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพระปรกใบมะขามหนึ่งเดียวในกลุ่ม ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” จึงถือเป็นพระเครื่องสำคัญรุ่นหนึ่งในรัชกาล ให้สังเกตโค้ดให้ดี จะมีทั้ง ตอกโค้ด 1 ตัว และ 2 ตัว “โค้ด 1 ตัว” ต้องเป็นตัว “นะ” ซึ่งเป็นโค้ดในพิธีพุทธาภิเษกวาระที่ 1 (50 ปี ธรรมศาสตร์) สำหรับ “โค้ด 2 ตัว” คือเพิ่มโค้ด “ธรรมจักร” จะเป็นพระที่ได้นำเข้าพิธีฯ ในวาระที่ 3 (60 ปี ธรรมศาสตร์) ด้วย ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93275608453485_2.jpg)
เหรียญพระพุทธโสธรหลัง ภปร 2509

มาคุยถึง "เหรียญหลัง ภปร" กันต่ออีกสักหน่อย ก็พยายามหยิบยกเหรียญสำคัญๆ มาให้ได้ทัศนากัน ฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" ที่เรียกกันว่า "รุ่นสร้างโรงเรียน"

ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย. 2509 ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน ทั่วหล้า และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัว และพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ

ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ฯลฯ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 ในครั้งนี้ จัดสร้างหลายหมื่นเหรียญทีเดียว ทำให้มีบล็อกแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผู้รู้ตรวจสอบดู ในเหรียญพิมพ์ฐานบัวมีคนแยกออกมาได้อีกประมาณ 4 บล็อก ส่วนพิมพ์ฐานเขียงแยกได้ประมาณ 3 บล็อก ส่วนด้านหลังหลักๆ จะมี 2 บล็อก

ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเกิดการหมุนเวียนของบล็อกหน้า-บล็อกหลังในการกดแม่พิมพ์ อีกทั้งเมื่อกดแม่พิมพ์ไปนานๆ ก็จะเกิดการตื้นเขินของแม่พิมพ์ หรือเกิดเนื้อเกินในบางจุด ตามที่ทราบกันดีอยู่ ส่งผลให้ "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" เกิดจุดตำหนิเหรียญมากมายหลายแบบ เป็นที่ปรากฏออกมาเป็นการเรียกพิมพ์ย่อยในหลายชื่อหลายพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นผลดีต่อมิจฉาชีพวงการพระเครื่องในการสร้างความเข้าใจผิดหลากหลายเรื่องราว เพื่อสร้างผลประโยชน์ต่อตน และไม่ใช่เพิ่งเริ่มมี

สำหรับเหรียญนี้มีมาตั้งแต่เหรียญออกมาใหม่ๆ ด้วยเหตุที่เป็นเหรียญสำคัญที่เป็นที่ต้องการของสาธุชนอย่างกว้างขวาง แล้วยิ่งปัจจุบันด้วยแล้ว ความต้องการแสวงหาเพิ่มเป็นทวีคูณ พร้อมกับค่านิยมที่สูงขึ้นอย่างมากมายตามมา ผู้มีไว้ก็ต่างหวงแหน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60472909650868_3.jpg)
เหรียญมงคลบพิตร รุ่น 2 ปี 2485

เมื่อถึงปีพ.ศ.2485 ได้มีการจัดสร้าง “วัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตร” ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้เช่าบูชา โดยจัดสร้างเป็นเหรียญรูปเหมือน และแหวนยันต์มงคล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านชนวนมวลสารหรือพิธีกรรม เรียกได้ว่า “ยิ่งใหญ่อลังการ” มีค่านิยมสูงมากและหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

เริ่มจากการรวบรวมชนวนมวลสารในการจัดสร้าง “โลหะ” จะประกอบด้วย แผ่นทองที่ลงอักขระปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นจำนวนถึง 121 รูป มีอาทิ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์, สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส, พระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร

หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี, พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ, หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท, พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

รวมกับ “โลหะเครื่องรางโบราณ” ที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ เมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ เช่น ชินสังขวานร บนวิหารพระมงคลบพิตร-วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดป่าพาย, ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร, เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร, พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย-วัดสะพานเงินสะพานทอง, พระชินกำแพงพัน วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์, พระชิน วัดขุนหลวงต่างใจ, พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ, ลูกอมทองแดง วัดพระราม, แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม, วัดหิรัญรูจี, วัดราชบพิธฯ, วัดกัลยาณมิตร, วัดชนะสงคราม, วัดสุทัศน์ ฯลฯ

โดยพิธีการสร้างแบ่งเป็น 2 วาระ วาระแรก เป็นพิธีหลอมทอง ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา แบบข้ามคืนตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยพระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นประธานจุดเทียนชัย

ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยเป็น “ล่อจากแสงอาทิตย์” และได้นำแม่พิมพ์ให้พระเกจิอาจารย์ลงเลขยันต์และปลุกเสกพร้อมมวลสารที่จะจัดสร้างอีกครั้ง หน้าพระพักตร์หลวงพ่อมงคลบพิตร ต่อเนื่องถึงวันรุ่งขึ้นเมื่อได้ปฐมฤกษ์ หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่างๆ

จากนั้น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้พระเกจิอาจารย์ได้ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกรูป) แล้วหลวงปู่จาดจึงเริ่มเททอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมเจริญชัยมงคลคาถา และเมื่อดับเทียนชัยแล้วท่านทั้งหลายยังบริกรรมคาถาปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อการจัดสร้างแล้วเสร็จ วาระที่ 2 เป็นพิธีพุทธาภิเษก ประกอบพิธีในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ที่เรียกว่า “วันเสาร์ห้า” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเช่นกัน

กล่าวถึงเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีอักษรขอมจารึกหัวใจพุทธคุณทั้งเก้า คือ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” ด้านล่างจารึกนาม “พระมงคลบพิตร อยุธยา” ด้านหลังเป็น “ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์” ใต้ยันต์ระบุวันเดือนปีที่สร้าง มีจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ ซึ่งเป็นพระคะแนน

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่น 2 ปี 2485 ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญ ซึ่งนอกจากพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งแล้ว ขั้นตอนต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความใส่ใจและพิถีพิถันอย่างสูง


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 เมษายน 2560 19:05:25

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96492699989014_1.jpg)
พระกรุทับขุนวัง – อยู่ยงคงกระพัน มหาอุด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุทับขุนวัง จังหวัดสุโขทัย เป็นพระที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก แต่ในสมัยก่อนนั้นนักสะสมพระเครื่องต่างรู้จักกันดี เนื่องจากบริเวณที่พบพระนั้นเป็นเนินดินพวกชาวบ้านที่ไปยิงนกใกล้ๆ เนินนั้น ต่างรู้กันดีว่าถ้านกอยู่ที่บริเวณเนินดินนี้จะยิงปืนไม่ออก

ทำให้สงสัยและลองยิงไปที่เนินดินเท่าไรก็ยิงไม่ออก แต่พอหันปืนไปทางอื่นก็ยิงออกทุกที จึงสงสัยว่าคงจะมีของดีฝังอยู่บริเวณเนินดินนี้ แต่ก็ไม่สามารถขุดหาได้ เนื่องจากบริเวณเนินดินเป็นที่ดินส่วนบุคคล แต่ก็มีคนมาแอบขุดอยู่เหมือนกันในตอนกลางคืน แต่ก็ไม่พบพระ ต้องรีบออกไปตอนรุ่งสาง

ทับขุนวังเป็นชื่อวัดๆ หนึ่งสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกลายเป็นวัดร้างปรักหักพังจนแทบไม่เหลืออะไรอยู่เลย วัดนี้อยู่ใกล้กับวัดพระเชตุพน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติการแตกกรุของพระกรุทับขุนวังคือ นางพอง เป็นชาวบ้านตำบลเมืองเก่า ซึ่งมีนิวาสสถานบ้านช่องอยู่ในอาณาบริเวณวัดทับขุนวังมาเนิ่นนานแล้ว ก่อนที่จะขุดเอาพระขึ้นมานั้น ได้มีชายชรามาเข้าฝันให้ไปขุดเอาพระขึ้นมาถึง 3 ครั้งติดต่อกัน แต่นางก็ไม่กล้าด้วยเป็นหญิง

ครั้งสุดท้ายนางตัดสินใจบอกลูกๆ หลานๆ จึงพากันไปขุดตามความฝัน แล้วก็พบพระกรุทับขุนวัง บรรจุอยู่ในหม้อเคลือบสังคโลก มีพิมพ์ต่างๆ รวมอยู่ประมาณ 4-5 พิมพ์ ที่พบเห็นมากที่สุด และเป็นที่รู้จักมากในเวลาต่อมาก็คือ พิมพ์นางทับขุนวัง พบประมาณ 700 องค์

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์สามเหลี่ยมทรงชะลูด ตัดกรอบชิดองค์พระ ประทับนั่งปางมารวิชัย บนอาสนะฐานเขียง ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก นอกจากกรอบไรพระศกเป็นเส้นสัน บางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ ก็ปรากฏรายละเอียดของหน้าตา พระกรรณเห็นได้ชัด ส่วนเส้นจีวรไม่ปรากฏ พุทธลักษณะโดยรวมเป็นแบบพระพุทธรูปอู่ทอง องค์พระค่อนข้างชะลูดๆ เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแบบพระกรุสุโขทัย มีทั้งสีเขียว สีดำ สีแดง และเหลือง พระกรุนี้จะปรากฏคราบกรุและรารักเกาะอยู่โดยทั่วไป

ด้านพุทธคุณนั้น ก่อนที่นางพองจะขุดพระได้นั้น สภาพกรุเป็นเนินดินรกร้างของฐานพระเจดีย์ มีพวกชาวบ้านเที่ยวไปยิงนกตามนั้น แต่เมื่อพอหันกระบอกปืนไปทางเนินดิน กระสุนด้านทุกที แต่พอหันไปทางอื่นก็สามารถยิงออกทุกครั้งไป เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง เป็นที่สงสัย และพยายามจะมาขุดดูเนื่องจากสงสัยว่าจะมีของดีฝังอยู่ในบริเวณนี้ แต่ก็หาสบโอกาสไม่ เพราะอยู่ในบริเวณบ้านของนางพอง

จนกระทั่งนางพองขุดพระออกมาได้ ก็มีผู้ที่รู้เรื่องเข้ามาขอเช่าพระจากนางพองไปจนหมด เนื่องจากแน่ใจว่า พระกรุนี้เด่นทางอยู่ยงคงกระพัน มหาอุด ตามที่ได้ยินคำเล่าลือจากพวกไปยิงนกแถบนั้น

ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก กับพระกรุนี้ สนนราคาก็ยังไม่แพงนักครับ เพราะอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกรุทับขุนวังมาให้ชมกัน เผื่อไปพบที่หิ้งในบ้านของท่านก็เป็นได้ จะได้รู้ว่าเป็นของดีของเก่าครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24170628521177_2.jpg)
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมและมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

ครั้งหนึ่งที่มีผู้กล่าวขวัญกันมากก็คือเรื่องของตี๋ใหญ่ ดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อสุดมาก เคยมีตะกรุดและผ้ายันต์ของหลวงพ่อ หนีรอดเงื้อมมือตำรวจที่ล้อมจับอยู่หลายหน แต่การที่สร้างบาปไว้มากก็ไม่พ้นกฎแห่งกรรม ก่อนตี๋ใหญ่เสียชีวิตตะกรุดและผ้ายันต์ของหลวงพ่อก็หายไป และจะมาหาหลวงพ่อสุดเพื่อขอตะกรุดใหม่ และก็มาจบชีวิตที่ปากทางเข้าวัดกาหลง โดยการล้อมจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

หลวงพ่อสุดเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2445 ที่บ้านคำไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ มาก โยมมารดาชื่อ อ่อนศรี ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดกลางพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โดยมีพระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่เม้า เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2465 ที่วัดกลางพนมไพร โดยมีพระครูเม้าเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันทา วัดฟ้าหยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการบุดดา วัดพองยาว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อสุด สอบได้นักธรรมตรีที่สำนักวัดกุดน้ำใส อ.พนมไพร ต่อมาหลวงพ่อสุดได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ และสอบได้นักธรรมโท ที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ กทม. และได้เดินทางมาอยู่ที่วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ในปี พ.ศ.2478 ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง และสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.2481 พ.ศ.2484 ได้เป็นเจ้าคณะตำบล และในปี พ.ศ.2495 ได้เป็นสาธารณูปการอำเภอ

สมณศักดิ์ที่หลวงพ่อสุดได้รับ ในปี พ.ศ.2490 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท และในปี พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่พระครูสมุทรธรรมสุนทร

หลวงพ่อสุดได้ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อสุดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมาก ชาวบ้านต่างเคารพนับถือหลวงพ่อมาก ท่านมีเมตตาสูงอุปการะโรงเรียนวัดกาหลงให้ลูกหลานชาวบ้านได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน และท่านก็ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม เป็นกรรมการตรวจสอบธรรมสนามหลวงด้วย ชาวบ้านมีเรื่องทุกข์ร้อนประการใดก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยปัดเป่าบรรเทาได้ทุกราย

ในส่วนของวัตถุมงคลหลวงพ่อสุดได้สร้างยันต์ตะกร้อที่โด่งดัง มีประชาชนไปขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่อกันมาก ซึ่งท่านได้สร้างตะกรุดโทน และตะกรุด 108 ผ้ายันต์ ในส่วนเหรียญก็มีเหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2506 ปัจจุบันหายากและมีมูลค่าสูง รุ่นสองสร้างในปี พ.ศ.2507 และที่คนรู้จักมากก็รุ่นเสือเผ่น สร้างในปี พ.ศ.2517 นอกจากนี้ก็เหรียญรุ่นเสือหมอบ และพระสมเด็จเนื้อผง พระรุ่นนพเกล้า

หลวงพ่อสุดมรณภาพเมื่อวันที่ 14 สิงหา คม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 81 ปี ยังความอาลัยกับลูกศิษย์และผู้ที่เคารพหลวงพ่อสุดเป็นอย่างยิ่ง ในวันพระราชทานเพลิง สรีรสังขารของหลวงพ่อสุดส่วนที่เป็นโครงกระดูกไม่ไหม้ไฟยังคงรูปเช่นเดิม กรรมการวัดจึงได้เก็บรักษาไว้ที่วัด และให้ประชาชนกราบนมัสการจนทุกวันนี้

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อสุดวัดกาหลง ปีพ.ศ.2506 มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36453694022364_3.jpg)
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ที่อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักกันนัก แต่เป็นเหรียญที่หายากและชาวชัยนาทเคารพนับถือกันมากคือ เหรียญพระอินทรโมลี (ช้าง อินทสโร) วัดบรมธาตุ ชัยนาท

หลวงพ่อช้าง เกิดที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาชื่อ โชติ โยมมารดาชื่อ บัว ในเยาว์วัยบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระครูเมธังกร วัดบรมธาตุ พออายุได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดบรมธาตุ

จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดบรมธาตุ โดยมีพระครู เมธังกร(จู) วัดพระบรมธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอินทชาติ วรญาณ(อินทร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคง วัดบางกระพี้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทสโร"

หลวงพ่อช้างได้ศึกษาทั้งบาลีและมูลกัจจายน์ และวิทยาคมต่างๆ จากพระครูเมธังกร(จู) พระครูอินทติวรญาณ พระอธิการคง วัดบางกระพี้ อีกทั้งยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย ต่อมาท่านก็ได้ออกธุดงควัตรไปในสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ

ต่อมาในปี พ.ศ.2413 ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของพระครูเมธังกร เป็นพระใบฎีกาช้าง

พ.ศ.2444 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูอินทโมลี และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระอินทโมลี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท

พัฒนาวัดบรมธาตุด้วยการบูรณะและสร้างกุฏิ สนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมาโดยตลอด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ปกครองพระและสามเณรด้วยความเข้มงวด รวมทั้งชาวบ้านที่เข้ามาในเขตวัดก็ห้ามดื่มสุราหรือทำตัวไม่เหมาะสม ท่านจะเรียกไปว่ากล่าวตักเตือนตลอด ชาวบ้านต่างเคารพนับถือหลวงพ่อช้างมาก

อีกทั้งท่านยังช่วยเหลือชาวบ้านไม่ว่าจะเดือดร้อนเรื่องอะไรก็ตาม ท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อช้างนั้นเป็นที่รู้กันทั่วจังหวัดชัยนาท ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมาให้ท่านช่วยปัดเป่าให้เสมอ จึงเป็นที่พึ่งและเคารพรักของชาวชัยนาทมาก

มรณภาพเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2465 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 61

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้างสร้างในปี พ.ศ.2465 เป็นเหรียญเก่าที่หายากเหรียญหนึ่งของจังหวัดชัยนาท พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันและแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้าง จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34251330792903_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440 วัดบวรนิเวศวิหาร

สมญานาม "เหรียญปู่" เป็นการยกย่องในความเก่าแก่ของเหรียญ และด้วยความเป็น "เหรียญพระพุทธเหรียญแรกของไทย" นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่จำลองมาประดิษฐานยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทย ซึ่งก็คือ "พระพุทธชินสีห์" พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกับ "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" โดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน เมื่อครั้งเสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวปี พ.ศ.2372 ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชและครองวัดบวรฯ ทรงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) อัญเชิญมาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็น "พระประธาน" ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จวบจนถึงปัจจุบัน

"เหรียญพระพุทธชินสีห์" นับเป็นพระพุทธเหรียญแรกของประเทศไทย ที่มีอายุความเก่าถึง 119 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 เพื่อเป็น ที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ในโอกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป ในการจัดสร้างครั้งนี้ ทรงสั่งผลิตเหรียญจากเมืองนอก ตัวเหรียญจึงมีความคมชัดและงดงามมาก

ความทรงคุณค่าและเป็นที่นิยมอย่างสูง ของ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" นี้ สืบเนื่องจากเป็นการรวมสิ่งอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดไว้ถึง 3 สิ่ง อันได้แก่

หนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย โดยจำลองรูปพระพุทธชินสีห์ขึ้นปรากฏอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังเป็นการจัดสร้างเหรียญพระพุทธปฏิมากรเหรียญแรกของไทย

สอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากยุโรป ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

สาม สร้างเมื่อครั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครองวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระบวรพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ผู้มีไว้สักการบูชายังมีประสบการณ์ด้านพุทธคุณล้ำเลิศครอบจักรวาลเป็นที่ปรากฏตามการอธิษฐานจิตทุกประการ

เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยสร้างเป็น 2 พิมพ์ทรง คือ "เหรียญทรงกลม" รูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง และ "เหรียญรูปใบโพธิ์ ไม่มีก้าน" ขอบข้างเลื่อย ซึ่งจะไม่มีรูคล้องเหรียญ

โดยเหรียญทั้ง 2 พิมพ์นี้ จะมีรายละเอียดภายในใบโพธิ์เหมือนกัน คือ พิมพ์ด้านหน้า ปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ ตรงกึ่งกลางเป็นรูปจำลอง "พระพุทธชินสีห์" ใต้ฐานจารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วน พิมพ์ด้านหลัง ปรากฏลายเส้นใบเช่นกัน ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจ กลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

"เหรียญพระพุทธชินสีห์ ทรงกลม" มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างน้อยมากๆ จึงยังไม่ค่อยปรากฏของปลอมให้เห็นเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะไม่สามารถหาของแท้ไปถอดพิมพ์ได้ ส่วน "เหรียญรูปใบโพธิ์" ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมและพบเห็นกันอยู่ค่อนข้างมากนั้น จะมีทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก และมีออกมานานแล้ว แต่การสังเกตเหรียญปลอมก็ไม่ยากนัก เพราะจะไม่มีความคมชัด รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ไม่เรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน "เหรียญปู่" หรือ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้ง 2 แบบ ยังคงมีค่านิยมที่สูงเอามากๆ ด้วยความทรงคุณค่า 3 ประการ ที่จะหาเหรียญอื่นใดเทียบเทียมได้ยากนัก แต่ต้องระวังให้จงหนัก เพราะหาของแท้ๆ ก็ยากยิ่งเช่นกันครับผม


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 พฤษภาคม 2560 20:03:59

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21763705379433_Untitled_17_696x471_1_.jpg)

พระรอดหัวข่วง

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเก่าๆ กันดีกว่านะครับ ซึ่งพระกรุเก่าๆ บางครั้งในปัจจุบันนี้บางท่านก็ลืมๆ กันไปบ้างแล้ว และพระบางอย่างก็เป็นพระดี พุทธคุณเยี่ยม แต่ถูกลืม วันนี้เราจึงมาคุยกันถึงพระรอดหัวข่วงครับ ท่านที่เล่นหามาเก่าก็คงจะทราบกันดี แต่สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาศึกษาอาจจะงงๆ อยู่บ้างครับ เรามาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า

พระรอดหัวข่วง หรือพระรอดกรุวัดหัวข่วง ก็คือพระรอดที่ขุดพบที่วัดแสนเมืองมาหลวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมมีชื่อว่า วัดลักขปุราคมาราม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจ้าแสนเมืองมาทรงสร้างไว้ ตามตำนานบอกไว้ว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2063 พระเจ้าเมืองแก้วได้บูรณะพระเจดีย์วัดหัวข่วงขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม และในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ได้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2403 ก็ได้นิมนต์พระสุวาธุเจ้าสิทธิ์ มาครองวัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)

ในปี พ.ศ.2493 ได้มีผู้ขุดพบพระรอดเณรจิ๋ว หรือที่เรียกกันว่า พระรอดหัวข่วง ในบริเวณที่ตั้งหอมณเฑียรธรรม จากการขุดในครั้งนั้นมีผู้คนเข้าไปร่วมขุดกันมากจนทำให้หอมณเฑียรธรรมพังล้มเสียหาย และถูกรื้อถอนไป การพบในครั้งนั้นก็พบพระรอดหัวข่วง และพระรอดบังไพร ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผา ด้านหลังจะปรากฏลายนิ้วมือ และที่ใต้ฐานจะเป็นรอยเล็บจิกลงไปในเนื้อทุกองค์ พระที่พบเป็นพระขนาดเล็กกะทัดรัด ประเภทจิ๋วแต่แจ๋ว

พระรอดหัวข่วงและพระรอดบังไพรนั้น พุทธคุณเท่าที่มีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างออกปากว่า “เหนียว” อยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ก็ยังปรากฏเรื่องแคล้วคลาดและคุ้มครองป้องกันอันตรายต่างๆ นานา เรียกว่าใช้แทนพระรอด ลำพูนได้ดีทีเดียวครับ ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบพระแท้ๆ กันนัก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากเท่าไร เนื่องจากคนอาจจะลืมๆ กันไปบ้างแล้วนั่นเอง ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ขณะที่แขวนพระรอดหัวข่วงนั้น ถูกรุมฟันและแทงด้วยเหล็กขูดชาฟต์จนสลบไป แต่พอถูกนำส่งโรงพยาบาลหมอกลับไม่พบว่ามีบาดแผลที่เข้าเนื้อเลย มีแต่รอยฟกช้ำดำเขียวทั่วร่าง และมีรอยยาวๆ ยางบอนซิบๆ เท่านั้น นี่แหละครับประสบการณ์และเรื่องราวที่ปรากฏ คนเชียงใหม่รู้ดีและหวงแหน สนนราคาปัจจุบันผมว่าคงอยู่ที่หลักพันนะครับ แต่จะหาของแท้ได้หรือไม่นั้นก็ต้องว่ากันไปครับ เนื่องจากมีของปลอมระบาดอยู่นานมาแล้วครับ เวลาเช่าหาก็ต้องดูดีๆ ซักหน่อยหรือหาจากคนที่เชื่อใจได้เท่านั้นครับ

ครับพระกรุพระเก่าที่เป็นของดีราคาถูกก็ยังมีอีกมาก ถ้าเราหมั่นค้นคว้าศึกษาดูก็จะเจอครับ ขนาดของพระรอดและพระบังไพร กรุวัดหัวข่วงมีขนาดเล็กน่ารัก เลี่ยมห้อยคอก็สวยดีครับ ลองดูที่หิ้งพระของท่านอาจจะมีอยู่แล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นพระกรุวัดหัวข่วงก็ได้นะครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอดหัวข่วงมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96367875486612_1_275_696x375_1_.jpg)

หลวงพ่อเอีย รุ่นมังกรคู่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวปราจีนบุรีเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่ง และวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มากมาย ที่สำคัญยังพอหาเช่าได้ในราคาไม่แพงมากนักและมีอยู่หลาย รุ่นครับ

หลวงพ่อเอีย เป็นคนบ้านด่าน เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2448 โยมบิดาชื่อเขียว โยมมารดาชื่อ ทา บิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเยาว์ เป็นคนฝักใฝ่ในการศึกษาและได้เรียนหนังสือจบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ซึ่งมีอายุได้ 17 ปี หลังจากเป็นสามเณรแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติเคร่งครัดและฝึกสมถกรรมฐาน สืบเนื่องมาจนอายุครบบวช จึงอุปสมบท เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ที่วัดสัมพันธ์ ต.สัมพันธ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระครูสังวรกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอ้วน วัดชัยมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเคน วัดบ้านด่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อเอียเป็นพระผู้มีพรสวรรค์อันปราดเปรื่องมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ แม้ว่าสำนักศึกษาในสมัยนั้นจะหา ไม่ได้ง่ายๆ ต้องบุกบั่นเดินทางไปไกลๆ และหาความสะดวกมิได้เลย แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อ ครั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนเป็นที่เข้าใจดีแล้ว หลวงพ่อเอียก็เดินธุดงค์ไปยังสำนัก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ ทั้งกฤตยาคมและแพทย์แผนโบราณ จนได้ประกาศนียบัตร เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าจะช่วยเหลือชาวบ้านได้

ดังนั้นใครก็ตามที่ประสบความทุกข์ร้อน ไม่ว่าทางกาย อันได้แก่โรคพระพยาธิหรือทางใจ หรือเดือดร้อนอื่นๆ หากหลวงพ่อช่วยได้ก็จะให้ความช่วยเหลือโดยไม่รั้งรอ ผู้ที่ไปหาท่านจึงได้รับแต่ความอบอุ่นทางกายและใจ

ความพร้อมมูลด้วยพรหมวิหาร 4 ของหลวงพ่อ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งสร้างเกียรติประวัติให้เป็น ที่เลื่องลือ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบ้านด่าน เมื่อปีพ.ศ.2482 หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2501 ก็เป็นเจ้าคณะตำบลเกาะลอย ปกครอง 7 วัดและเป็นพระอาจารย์ใหญ่สำนักศึกษาพระปริยัติธรรม

ในปี พ.ศ.2502 เป็นพระอุปัชฌาย์ และท้ายสุดหลวงพ่อเอียก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูสังวรกิตติคุณ ในปี พ.ศ.2511 สมกับบารมีที่ท่านปฏิบัติมาอย่างสม่ำ เสมอต่อชาวบ้านบ้านด่านและพุทธศาสนิก ชนทั้งใกล้และไกล

หลวงพ่อเอียได้อบรมสั่งสอนทั้งพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาอยู่เนืองนิจ ส่งเสริมเรื่องการศึกษา โดยตั้งสำนักศึกษาพระปริยัติธรรม และสอนการฝึกจิตในพระ กรรมฐาน และยังสร้างโรงเรียนประชาบาล ชื่อ “โรงเรียนเกาะลอยกิตตโกอุปถัมภ์” นอกจากนี้ยังพัฒนาวัดบ้านด่านจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อเอียมรณภาพในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2521 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

คำสั่งสุดท้ายของหลวงพ่อเอีย ได้สั่งแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า “ขอให้ศิษย์ทุกคนจงทำดีด้วยกาย วาจา และใจ ใครกระทำแล้วย่อมประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย และเคยสอนว่า ความสามัคคีคือกำลังสำคัญทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านว่าคนเรานี้จะอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ตาม จงทำความเจริญขึ้นให้แก่สถานที่นั้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สิ่งทั้งหลายย่อมปรากฏ”

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นมังกรคู่ มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67986409531699__3616_3634_3614_3627_3609_3657.jpg)

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแช่ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก และมี ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ก็เป็นที่นิยมและหายากในปัจจุบันครับ

หลวงพ่อแช่มท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 ที่ตำบลตาก้อง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ ชื่น โยมมารดาชื่อ ใจ พอถึงวัยเรียนบิดามารดาจึงนำมาฝากเรียนกับ พระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ และได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาหนังสือไทย-ขอม และวิทยาคม จนอายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดตาก้อง โดยมี พระครูอุตร การบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ตุ่ม ซึ่งเป็นน้าของท่าน เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อินทโชโต”

เมื่อบวชแล้วท่านก็หมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ท่านสามารถท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งสวดเดินหน้าและถอยหลังได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาวิปัสสนาธุระ และชอบออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งทางประเทศพม่า และกัมพูชา

หลวงพ่อแช่มท่านได้ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อกลั่น วัดพระประโทน พระอาจารย์ตุ่ม เป็นต้น หลวงพ่อแช่มท่านมีพลังจิตสูง เคยมีคนมานิมนต์ท่าน และนำรถมารับ ท่านกลับบอกว่า “ให้ไปก่อน เดี๋ยวข้าไปถึงก่อนเอ็ง” ปรากฏว่าท่านไปยืนรออยู่ก่อนจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ชาวบ้านในแถบนั้นรู้กันเป็นอย่างดี และเชื่อว่าท่านย่นระยะทางได้ เคยมีลูกศิษย์ถามท่านและอยากจะเรียนวิชานี้กับท่าน ท่านก็บอกว่า “เมื่อเราไปย่นเขา กลับมาวัดก็ต้องมาเดินจงกรมใช้หนี้เขานะ มันไม่ง่ายนักหรอกข้าจะบอกให้ พวกเอ็งรู้ไว้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปย่นเข้า ที่ว่าจำเป็นก็คือ มันมีธุระด่วนต้องรีบไป” และมีอยู่เรื่องหนึ่ง เคยมีคนมาขโมยมาลักม้าที่วัดของท่าน แต่พวกขโมยกลับจูงม้าออกจากวัดไม่ได้ เดินวนเวียนอยู่อย่างนั้น ต้องนำมาคืน ท่านก็ไม่ได้เอาเรื่อง และเทศน์สอนให้กลับใจ หลวงพ่อแช่มท่านไม่ยึดติดกับยศศักดิ์ ท่านให้พระปลั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา

หลวงพ่อแช่มสามารถทำวัตถุมงคลได้ศักดิ์สิทธิ์นัก เป็นที่เคารพนับถือของชาวนครปฐมมาก วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มที่ท่านได้สร้างไว้ ได้แก่ ตะกรุดโทน ตะกรุด สามกษัตริย์ พระผงผสมดินหน้าตะโพน ธง เสื้อยันต์ ผ้าประเจียดแดง ลูกสะกด

ต่อมาครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ.2484 ลูกศิษย์ขอให้หลวงพ่อออกเหรียญรูปท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาต เป็นเหรียญด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มองค์ ยกมือขึ้นข้างหนึ่ง และนั่งทับปืนยาวไขว้กันอยู่ รูปทรงเหรียญเป็นรูปแบบพัดยศ มีขอบข้างเป็นขยัก 16 ขยัก มีอักขระพระเจ้า 16 พระองค์ ด้านหลังเป็นรูปหนุมานอมพลับพลา ตอนศึกไมยราพณ์สะกดทัพ เหรียญนี้มีอยู่ 2 พิมพ์ คือพิมพ์หูเดียว และสองหู มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปีพ.ศ.2490 สิริอายุได้ 90 ปี

เหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นปีพ.ศ.2484 ปัจจุบันหาชมยากแล้วครับ และในวันนี้ ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแช่ม ปี พ.ศ.2484 พิมพ์หูเดียว เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จากหนังสือนิตยสารพระท่า พระจันทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ


ชมรมพระเครื่อง
ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 พฤษภาคม 2560 19:01:53

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71639419140087_view_resizing_images_1_.jpg)

พระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย และเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อเนียมไว้วางใจมาก หลวงพ่อโหน่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ที่นิยมมากก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ค่านิยมสูงมาก

หลวงพ่อโหน่งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โต โยมมารดาชื่อ จ้อย พออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง โดยมี พระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อโหน่งจึงได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ มาอยู่จำพรรษากับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เปรียญ 9 ประโยค เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ด้วยหลวงพ่อโหน่งเห็นความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของพระในกรุง และคิดว่าไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้น จึงกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จากนั้นก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน

หลวงพ่อโหน่งศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงเดินทางมาศึกษาต่อกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียม และให้ช่วยแนะนำพระรูปอื่นๆ แทนอยู่เสมอ เมื่อตอนที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มาศึกษากับหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมยังบอกกับหลวงพ่อปานว่า "เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้" แสดงให้เห็นว่า หลวงพ่อเนียมไว้วางใจหลวงพ่อโหน่งมาก

เมื่อหลวงพ่อโหน่งศึกษาจากหลวงพ่อเนียมจนแตกฉานแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม วันหนึ่งหลวงพ่อโหน่งมีจิตใจวาบหวิวชอบกล จึงได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเนียม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะพูดอะไร หลวงพ่อเนียมก็พูดขึ้นก่อนว่า "ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ" หลวงพ่อโหน่งก็สบายใจขึ้น และก็เดินทางกลับไปที่วัดสองพี่น้องตามเดิม

ต่อมาหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้ จึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้มาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อโหน่งเมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน ท่านก็ฉันอาหารเจมาโดยตลอด ก่อนออกบิณฑบาตจะนมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตรถวายสังฆทาน หลวงพ่อโหน่งได้พาโยมแม่ซึ่งชราภาพมากแล้วมาอยู่ที่วัดด้วย และปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม

หลวงพ่อโหน่งเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอบรมสั่งสอนพระเณรและศิษย์วัดและชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษไม่สะสมทรัพย์ ไม่รับเงิน และยังสร้างสาธารณูปการสงฆ์ขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเสมอ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปานจะมาหาโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า ยังสั่งศิษย์ไว้ก่อนว่าให้เตรียมจัดที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา หลวงพ่อโหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 44

หลวงพ่อโหน่งได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ เนื่องจากสร้างจำนวนมากและมีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ.2461 เป็นต้นไป ท่านจะทำพิธีพุทธาภิเษกพระของท่านตอนที่เผาไฟ มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาร่วมประกอบพิธีมากมาย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ก็มาร่วมในพิธีด้วย

พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์สมเด็จฯ พิมพ์ลีลา พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ จันทร์ลอย เป็นต้น แต่ที่นิยมและมีสนน ราคาสูงก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่ายครับ ปัจจุบันหายากพอสมควร

พุทธคุณนั้นเด่นทางแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม เรียกว่าดีครบเครื่อง วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่งมาให้ชมด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38765362732940_view_resizing_images_2_.jpg)

พระสมเด็จปิลันทน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดระฆังฯ กับพระเครื่องของท่านที่เรามักเรียกกันว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" ซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์ เป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ทรงคุณค่ามาก ในสมัยโบราณคนรุ่นเก่ามักเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" มีความเป็นมาอย่างไร มาค้นคว้าด้วยกันครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของพระหม่อมเจ้าพยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรง จนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่พระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่อง นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่อง ของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร

ดังนั้นพระเครื่องชนิดนี้คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักพระเครื่องทั่วๆ ไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สิ้นแล้วท่านจึงบรรจุพระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ.2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่บรรจุพระ สมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบ ส่งมอบให้กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการได้ร้องขอมา

พระเครื่องของกรุนี้มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก พระสมเด็จปิลันทน์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ ส่วนในเรื่องสนนราคานั้นก็ลดหลั่นกันตามพิมพ์ที่นิยมมากน้อย พิมพ์ที่ค่านิยมสูงๆ ก็มีอยู่หลายพิมพ์ ราคาก็อยู่ที่หลักแสนถึงหลายๆ แสน ส่วนพิมพ์ที่นิยมรองลงมา ก็ยังพอจับต้องได้อยู่หลักหมื่น ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์ที่มีขนาดเล็กน่ารักเหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ และมีสนนราคาหลักหมื่นมาให้ชม คือพิมพ์ครอบแก้วเล็ก พระสมเด็จปิลันทน์พุทธคุณเหมือนกันทุกพิมพ์ คือเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86757595588763_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตร แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปซึ่งสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนบุด้วยแผ่นสัมฤทธิ์และใช้แผ่นทองคำบุทับอีกที ในคราวที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกภัยสงครามทำลายล้างจนย่อยยับ ไม่เว้นแม้กระทั่งวัดวาอาราม วัดมงคลบพิตรก็เช่นกัน แต่องค์หลวงพ่อมงคลบพิตรที่ถูกเผาก็ยังคงอยู่ เสียหายเฉพาะแผ่นสัมฤทธิ์และทองคำที่ห่อหุ้มองค์พระอยู่ และส่วนพระกรขวา

ต่อมาในปี พ.ศ.2458 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้เกิดป่วยโดยไม่อาจหาสาเหตุได้ หมอทั้งไทยและจีนได้พยายามรักษาก็ไม่หาย มีผู้แนะนำให้ท่านพระยาโบราณราชธานินทร์ไปขอพรจากหลวงพ่อพระมงคลบพิตร ท่านจึงได้ไปบวงสรวงหน้าพระวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร ขอให้หายป่วย ซึ่งในขณะนั้นยังรกเรื้อไปด้วยวัชพืชและความทรุดโทรม เล่ากันว่าในเวลานั้นได้มีลมพัดมาอย่างแรงรอบๆ ปริมณฑลที่ทำพิธีบวงสรวงสรรพสิ่งปลิวว่อนไปหมด แต่เครื่องบูชาและธูปเทียนมิได้ดับหรือเสียหายแต่ประการใด ต่อมาไม่นานพระยาโบราณราชธานินทร์ก็หายป่วย จึงได้ระลึกถึงคุณูปการของหลวงพ่อมงคลบพิตร

ในการนี้ท่านจึงได้ซ่อมพระกรข้างขวา และพระเมาลีที่ชำรุดด้วยปูนปั้น การซ่อมครั้งนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกของหลวงพ่อมงคลบพิตรขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ.2461 แจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมทำบุญ โดยทำพิธีพุทธาภิเษกที่หน้าพระพุทธรูปมงคลบพิตร มีพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญๆ หลายรูป เช่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง หลวงพ่อชม วัดพุทไธศวรรย์ พระญาณไตรโลกาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นต้น

เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อมงคลบพิตร ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ต่อมาก็ยังมีการสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตรอีกหลายรุ่น เพื่อหาทุนบูรณปฏิสังขรณ์

ปัจจุบันพระพุทธรูปมงคลบพิตรได้รับการบูรณะจนสวยงาม องค์พระได้มีการบุแผ่นสัมฤทธิ์หุ้มองค์พระและลงรักปิดทอง และสร้างพระวิหารสวยงามดังที่เห็นในปัจจุบัน วัดมงคลบพิตรและพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพนับถือมาก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอยุธยา และวัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตรก็มีการสร้างต่อมาอีกหลายรุ่น ล้วนแต่เป็นที่นิยมนำมาห้อยบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ปกป้องคุ้มครองให้พ้นภัย

สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นค่อนข้างหายาก จัดเป็นเหรียญพระพุทธรูปหนึ่งในห้าเหรียญพระพุทธรูปยอดนิยมครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรกมาให้ชมกันครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78449979051947_view_resizing_images_1_.jpg)

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460

สําหรับ "พระเครื่องและวัตถุมงคล" ที่สร้างจำลอง "หลวงพ่อมงคลบพิตร" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ วิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดสร้างกันหลายครั้งหลายคราในโอกาสสำคัญต่างๆ มีความโดดเด่นและมีค่านิยมสูงอยู่ 2 รุ่น คือ เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 และเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ที่โด่งดังไม่แพ้กันทีเดียว

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างโดย พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร ซ่อมแซมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ในราวปี พ.ศ.2460-2463 โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ปางมารวิชัย ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา ด้านหลัง ตรงกลางเป็น ยันต์เฑาะว์

การจัดสร้างในครั้งนี้เชื่อกันว่า ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร เพื่อเป็นประธานให้พิธีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และ หลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น

ด้วยพุทธลักษณะเหรียญที่มีความเรียบง่าย จำลององค์พระปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ

รวมทั้งพิธีการปลุกเสกด้วยบารมีของหลวงพ่อมงคลบพิตร และพุทธาคมแห่งสุดยอดพระเกจิอาจารย์ จึงปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะด้านมหาอุด เป็นที่กล่าวขาน ทำให้ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460" นอกจากจะเป็นเหรียญรุ่นแรกที่โดยปกติจะได้รับความนิยมสูงอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ยังได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น 1 ใน ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ อันทรงคุณค่าในระดับประเทศ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงมาแต่อดีต ยิ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก หาดูหาเช่ายากยิ่ง ส่งให้ ค่านิยมพุ่งไปไกลถึงเลข 7 หลัก ณ ปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้นคือ "ของทำเทียม" หรือเรียกตรงๆ ว่า "พระเก๊" นั้น ทำออกมากันเนิ่นนาน ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำได้ใกล้เคียงของแท้มากๆ ยิ่งสร้างความปั่นป่วนได้มากทีเดียว ล้มเซียนใหญ่มานักต่อนัก อย่างไรก็ตาม หลักการพิจารณาและจดจำจุดตำหนิต่างๆ ก็ยังคงเป็นที่นิยม เพราะมีบางจุดที่ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถลอกเลียนได้เหมือน ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาของผู้จัดสร้างที่คาดเดาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ "การพิจารณาธรรมชาติของเหรียญ" ด้วยหลักเบื้องต้นดังนี้

- ธรรมชาติของเนื้อโลหะ ตามอายุการสร้าง
- ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
- พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
- การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติและ
- วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งต้องศึกษาอย่างถ่องแท้

นับเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะธรรมชาติของการผลิตเหรียญในแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ


ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 มิถุนายน 2560 16:41:43

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11809074381987_1_228_696x424_1_.jpg)
พระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิจิตรถ้ากล่าวถึงพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่า เราก็มักจะนึกถึงพระเครื่ององค์เล็กๆ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดนี้ เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรเขี้ยวงู และพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นต้น ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

พระกรุพิจิตรที่เป็นพระขนาดเล็กเป็นที่นิยมมาช้านาน แต่ก็ค่อนข้างหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระพิจิตรต่างๆ ตั้งชื่อตามรูปพรรณสัณฐาน เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าก็มีลักษณะคล้ายเม็ดน้อยหน่า

ส่วนพระพิจิตรเขี้ยวงูก็มีรูปร่างคล้ายพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เพียงแต่ตัวองค์พระนั้นจะผอมเรียวๆ แหลมๆ กว่า จึงเรียกว่าพระพิจิตรเขี้ยวงู ทั้งพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าและพระพิจิตรเขี้ยวงู เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนพิมพ์พระพิจิตรเขี้ยวงู นั้นพบน้อย จึงหายากกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

พระพิจิตรอีกอย่างหนึ่งที่หายากมากเช่นกัน คือ พระพิจิตรนาคปรกที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีขนาดเล็กเท่าๆ กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกรุเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แต่องค์พระจะเป็นพระปางนาคปรก เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน พบจำนวนน้อยมาก และพระส่วนใหญ่จะผุแตก ปริโดยธรรมชาติ จำนวนพระที่พบจึงเป็นพระชำรุดเสียมาก พระองค์ที่สมบูรณ์พบน้อยมาก ส่วนมากองค์พระจะแตกปริ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระนาคปรกพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางองค์สีของผิวพระจะมีสีเข้มออกดำที่มักเรียกว่าสนิมตีนกา

พระพิจิตรส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน พระพิจิตรที่มีขนาดเล็กสมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหน จึงทำให้พระชำรุดสูญหาย พระพิจิตรขนาดเล็กเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันเช่นเคยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24860961072974_view_resizing_images_1_.jpg)

พระพิจิตร วัดนาคกลาง

"พระพิจิตร" ถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์สำคัญอยู่ที่พิมพ์ทรงที่มีขนาดเล็กมาก เรียกได้ว่าพระส่วนใหญ่ที่พบเห็น ถ้าบังเอิญทำหล่นอาจจะหาไม่พบก็ได้ แต่ด้านพุทธคุณล้ำเลิศเอามากๆ ทั้งแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีฉมังนัก

ในหลายกรุหลายพิมพ์ของ "พระพิจิตร" นั้น กรุที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดและหายากที่สุด มีอยู่ 2 กรุ คือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิจิตร และกรุวัดนาคกลาง จนมีคำกล่าวว่า ผู้สะสมพระเมืองพิจิตร แม้จะมีมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ทรง แต่ถ้าขาด "พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง" ล่ะก็ ถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ แต่รู้หรือไม่ว่า "พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง" ไม่ได้อยู่ที่เมืองพิจิตรแต่อย่างใด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

พระพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีการค้นพบพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรหน้าวัง พระพิจิตรพิมพ์นาคปรก พระพิจิตรผงดำ เป็นต้น แต่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมสูงสุดคือ "พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า"

กล่าวถึง พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง นั้น "วัดนาคกลาง" เป็นวัดที่อยู่ในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี แถวถนนอรุณอมรินทร์ หลังวัดอรุณ อันเป็นที่ตั้งของ "กองทัพเรือ" ข้อมูลการค้นพบนั้น ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าเปิดกรุมาเมื่อไหร่ ตั้งแต่ พ.ศ.ใด รู้เพียงว่า ... เมื่อพระแตกออกมาแรกๆ ก็เป็นที่ฮือฮากันใหญ่แล้ว ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏ เพราะในสมัยก่อนคนโบราณมักมีการทดลองขั้นพื้นฐานสำหรับพระเครื่องแทบทุกชนิดถึงความเหนียวความขลัง อย่างกรณีนี้ ได้อาราธนาองค์พระใส่ในปากปลา แล้วใช้มีดฟัน ปรากฏว่าฟันเสียจนเกล็ดกระจุย แต่ไม่ระคายผิวปลาแม้แต่น้อย ทั้งยังเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่กล่าวขวัญ จึงกลายเป็นที่ฮือฮาและนิยมเล่นหากันอย่างกว้างขวาง

ชื่อ "พระพิจิตร" ก็อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า มักจะเรียกองค์พระตามชื่อที่พบเป็นครั้งแรก แต่ก็มีผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันต่อๆ มาว่า ได้มีผู้นำพระมาจากเมืองพิจิตรแล้วมาบรรจุกรุไว้ เฉกเช่น "พระพิจิตรป้อม" ที่วังบูรพา แต่ก็ไม่มีการบันทึกหรือหลักฐานปรากฏแน่ชัดเช่นกัน

พระพิจิตร วัดนาคกลาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กจิ๋ว เนื้อชินเงินที่มีผิวละเอียด พิมพ์ทรงรูปห้าเหลี่ยมกลีบบัว ฐานเรียบ มีขอบซุ้มโดยรอบ ด้านบนแนวพระเศียรมีรอยหยักทั้งสองข้าง องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย (มีปางสมาธิบ้างแต่พบน้อยมาก) บนอาสนะฐานเขียงชั้นเดียว แลสง่างามผึ่งผาย พระเกศเป็นแบบทรงสูง พระพักตร์ไม่ปรากฏรายละเอียด พระอังสาด้านซ้ายขององค์พระปรากฏเส้นสังฆาฏิกว้างชัดเจน พาดยาวลงมาเกือบจรดพระหัตถ์ซ้าย พระกรรณด้านซ้ายขององค์พระยาวกว่าด้านขวา ด้านหลัง มีทั้งหลังตันและหลังลายผ้า

องค์พระบ่งบอกความเก่าและมีอายุในลักษณะของ "สนิมขุม" ที่กัดกร่อน และ "การระเบิดแตกปริ" ของเนื้อองค์พระที่แตกจากภายในสู่ภายนอกอยู่โดยทั่วไป องค์ที่ไม่ได้ผ่านการใช้จะปรากฏผิวปรอทให้เห็นชัดเจน บางองค์ผิวดำจัดก็มี ลักษณะพิเศษขององค์พระคือ เมื่อดูแล้วเกิดความรู้สึกสบายตา แต่แฝงด้วยความเข้มขลังอยู่ในที

พระพิจิตร วัดนาคกลาง ถือว่าหนึ่งในสองของสุดยอด "พระพิจิตร" ที่เรียกได้ว่ากินกันไม่ลง เป็นพระที่ค่อนข้างหายาก จำนวนน้อย ค่านิยมสูง แม้จะพบในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี แต่ก็กลายเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง และมีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันยิ่งหาของแท้ยากยิ่ง

นอกจากนี้ ยังมีพระพิจิตร วัดนาคกลาง อีกพิมพ์หนึ่ง เรียกกันว่า "พระพิจิตร วัดนาคกลาง พิมพ์ใหญ่" ซึ่งรูปแบบและพุทธลักษณะพิมพ์ทรงนั้น เหมือนการขยายแบบมาจาก "พระพิจิตร วัดนาคกลาง" มาทั้งหมด เพียงแต่เมื่อขนาดใหญ่ขึ้น จึงสามารถมองเห็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น แต่จำนวนน้อยมากและหายากมากครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14375650054878_1_217_696x403_1_.jpg)

พระลีลาเข็ม กรุวัดชุมนุมสงฆ์ สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องปางลีลาของกรุทางสุพรรณบุรี มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเมื่อเห็นด้านหลังก็รู้ทันทีว่าเป็นของกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ก็คือพระลีลาหลังเข็ม เนื่องจากที่ด้านหลังขององค์พระนั้น จะมีแท่งนูนปลายแหลมคล้ายๆ กับเข็ม จึงได้ชื่อนั้นมาตั้งแต่มีการขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2504 และถ้าพูดถึงกรุนี้ก็มักจะนึกถึง พระลีลาหลังเข็มนี่แหละครับ

พระกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ก็เป็นกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องปางลีลามากพิมพ์และพบพระกำแพงศอกด้วยเช่นกัน วัดชุมนุมสงฆ์ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ อยู่ด้านหน้าของวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ห่างกันประมาณร้อยเมตร ปัจจุบันอยู่ด้านหน้าของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ตัวองค์พระเจดีย์อยู่ติดกับถนนมาลัยแมน เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา ยุคต้นๆ

กรุวัดชุมนุมสงฆ์แตกก็เนื่องจากมีคนลักลอบเข้าไปขุด ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2504 คนร้ายได้พระไปจำนวนมาก พระเครื่องเป็นพระเนื้อชินเงินล้วนๆ แต่คนร้ายยังนำพระออกไปไม่หมด พอรุ่งเช้าความก็แตกเจ้าหน้าที่ตำรวจไปพบเข้าเสียก่อน ผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมศิลปากรก็เข้ามาควบคุม และเปิดกรุเป็นทางการ พระที่พบหลังจากคนร้ายขนพระออกไปเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ยังพบพระบูชาศิลปะอู่ทอง 2 และอู่ทอง 3 พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลาเชยคาง ลีลาใบหอก พระลีลาหลังเข็ม พระลีลาหันซ้าย พระลีลาหันขวา พระซุ้มเรือนแก้ว พระลีลาเกียก พระตรีกาย พระลีลาฝักดาบ พระลีลาบัวโค้ง พระนารายณ์ทรงปืน เป็นต้น

พระเครื่องที่พบในกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงินล้วนๆ ไม่พบพระเนื้อดินเผาเลย เนื้อชินเงินของกรุนี้มีเอกลักษณ์เป็นเนื้อชินแข็ง สันนิษฐานว่า น่าจะมีส่วนผสมของดีบุกมาก ผิวจะมีปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์ คล้ายกับพระกรุวัดราชบูรณะของอยุธยา แต่ผิวจะซีดๆ แห้งบางองค์มีจุดคราบดำๆ เป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ที่เป็นปื้นก็มี พระกรุนี้ไม่มีคราบดินจับอยู่ที่ผิวพระ เนื่องจากไม่ได้ถูกฝังอยู่ในดินพระที่พบอยู่ในองค์พระเจดีย์ ช่วงคอระฆัง จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่กรมศิลป์บอกว่า พระถูกบรรจุอยู่ในหีบเนื้อชินอีกทีหนึ่ง พระของกรุนี้จะมีรอยระเบิดบ้างแต่น้อยมาก มีพระที่อยู่ติดกับรอยชำรุดของหีบที่บรรจุจำนวนไม่มากนักที่ถูกความชื้นจึงมีรอยระเบิดบ้าง พระส่วนใหญ่จะมีสภาพดี คราบปรอทขาวทั่วองค์

พระเครื่องปางลีลาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีกรุเดียวก็คือพระลีลาหลังเข็ม เข้าใจว่าตอนที่เทหล่อพระ ส่วนที่เป็นเข็มตามที่เราเห็นคงจะเป็นช่องเทชนวนโลหะ จึงเป็นแท่งเข็มตามที่เห็นครับ

ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นนัก พระส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาไว้หมด หายากครับ พุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาเข็มของกรุวัดชุมนุมสงฆ์ สุพรรณบุรีมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 มิถุนายน 2560 11:19:03

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21865299137102_1.jpg)
พระร่วงยืนกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นศิลปะขอมโบราณ ที่นิยมและรู้จักกันมากก็คือ พระร่วงหลังรางปืน สุโขทัย พระร่วงหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีคือพระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถร พระร่วงอีกกรุหนึ่งของลพบุรีที่น่าสนใจศิลปะถึงยุคสมัยก็คือพระร่วงยืนกรุวิหารกรอ

พระร่วงยืนกรุวิหารกรอ ถูกขุดพบบริเวณวิหารกรอ ซึ่งอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระที่พบก็มีจำนวนน้อย น่าจะประมาณร้อยกว่าองค์เท่านั้น

จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และยังไม่ค่อยได้พูดถึงกัน พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น แบ่งออกเป็นพระพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่า พระร่วงหลังลายผ้ามากอยู่พอสมควร ศิลปะขององค์พระเป็นศิลปะแบบลพบุรี เป็นพระที่ตัดกรอบชิดองค์พระ จึงไม่มีซุ้มเรือนแก้วให้ปรากฏ ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13132312148809_2.jpg)
พระพิมพ์ใหญ่จะมีรายละเอียดที่สวยงามแบบพระร่วงหลังลายผ้า ส่วนพระร่วงพิมพ์เล็กจะมีขนาดเล็กลงมา รายละเอียดขององค์พระจะติดน้อยกว่า และไม่ลึกเท่าพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังของพระทั้ง 2 พิมพ์ จะเป็นแบบหลังเรียบ ไม่มีลวดลายอะไร ในเรื่องของเนื้อพระนั้นจะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า มีสนิมไขขึ้นปกคลุมสนิมแดงอีกชั้นหนึ่ง สนิมแดงภายในสีแดงเข้มสวยงาม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51767201514707__3614_3619_3632_3619_3656_3623.jpg)
พระร่วงยืนกรุวิหารกรอนี้ ถ้านำมาเลี่ยมห้อยคอก็จะมีขนาดกำลังดี ไม่ใหญ่มากนัก แต่องค์พระแท้ๆ ก็หายาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อย บางท่านอาจจะไม่รู้จัก ในด้านพุทธคุณนั้นดีเฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงหลังลายผ้าทุกประการ เด่นทางด้านอยู่คงแคล้วคลาด เจริญก้าวหน้าครับ ในสมัยก่อนมีประสบการณ์ในด้านอยู่คง ใครที่มีพระร่วงกรุวิหารกรอจะหวงแหนกันมาก ขนาดขอดูถ้าไม่รักกันจริงยังไม่ให้ดูเลยครับ

พระเก่าๆ บางทีก็ไม่มีใครค่อยพูดถึงกันนัก อาจจะเพราะมีจำนวนน้อยจึงลืมๆ กันไปบ้าง ในสมัยก่อนก็ว่ากันว่าเป็นพระในตำนาน คือหายากไม่ค่อยเคยเห็นกันเลยครับ แต่ก็ไม่แน่นะครับบางทีอาจจะมีอยู่ที่บ้านของคุณเอง โดยได้รับตกทอดมา แต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็ได้นะครับ ลองหาดูครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระร่วงยืนกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26285709813237__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)
พระท่ากระดาน กรุต้นตาล จ.สระบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีมีพระกรุพระเก่าทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยแพร่หลายนัก จึงทำให้มีคนรู้จักน้อย พระกรุส่วนใหญ่ จะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เช่น กรุวัดดาวเสด็จ กรุวัดชุ้ง กรุต้นตาล กรุวัดเพชร เป็นต้น

พระนางพญากรุวัดดาวเสด็จ มีคนรู้จักมากหน่อยและเป็นที่นิยม ส่วนพระที่น่าสนใจแต่จำนวนน้อยก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดชุ้ง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา

พระกรุวัดเพชรก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์พระอู่ทอง เป็นต้น ส่วนพระที่คนเก่าคนแก่ของสระบุรีหวงกันนักก็คือ พระท่ากระดาน กรุต้นตาล บางท่าน อาจจะสงสัยว่ามีด้วยหรือพระท่ากระดานของจังหวัดสระบุรี

ครับมีจริงๆ และเรียกชื่อกันมาอย่างนี้จริงๆ พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนั้น มีการขุดพบที่บริเวณโคกดิน ไม่ไกลจากตัวจังหวัดนัก บริเวณนี้มีต้นตาลขึ้นอยู่มาก พระที่พบขุดได้ใต้ต้นตาล จึงเป็นที่มาของชื่อกรุ

ส่วนชื่อพระนั้น พระที่ขุดพบเป็นพระเนื้อชินเงินและชินตะกั่ว มีไขขาวแซม แต่ไม่มีสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานของเมืองกาญจนบุรี คนในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อว่า พระท่ากระดาน แล้วตามด้วยชื่อของกรุที่ขุดพบ จึงเรียกกันว่า “พระท่ากระดาน กรุต้นตาล” ก็จะรู้ว่า เป็นพระกรุที่พบในจังหวัดสระบุรี

พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเขียง พิมพ์ของพระไม่คมชัดนัก ด้านหลังมักเป็นแบบหลังตัน ศิลปะเท่าที่ดูสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และสร้างหลังพระท่ากระดาน กาญจนบุรี

พระกรุนี้แตกกรุออกมาในปี พ.ศ.2504 และมีจำนวนไม่มากนัก ในระยะแรกๆ ก็รู้กันเพียงไม่กี่คน ต่อมาได้มีผู้ใช้แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง เช่นเดียวกับพระท่ากระดานของกาญจนบุรี จึงเริ่มเสาะหากันในจังหวัดสระบุรี แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยและจะหวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีใครพบเห็นกัน และก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต่อมาจึงไม่ค่อย มีใครรู้จักกันนักครับ

ในสนามพระก็แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของคนสระบุรี ที่ได้รับตกทอดมาเท่านั้น หรือบางทีเปลี่ยนมือกันมาแต่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จัก พระกรุที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมของสระบุรีก็ต้องยกให้พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนี่แหละครับ แต่ก็หายากจริงๆ นานๆ จะพบเห็นสักที

สนนราคาอาจจะยังไม่แพงนัก แต่คนรุ่นเก่าของสระบุรีจะหวงแหนกันมาก ขออะไรขอได้แต่ขอพระท่ากระดานกรุต้นตาลจะไม่ให้เด็ดขาด ไม่ชอบกันจริงๆ ก็จะไม่ให้ดู สงสัยจะกลัวถูกขอเช่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานกรุต้นตาล ของสระบุรีจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14673385934697_1.jpg)
พระรอดหนองมน จ.ลพบุรี
วัดหนองมน เป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่ง ใน ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้าง ขวางตั้งแต่อดีตก็คือ “พระรอดวัดหนองมน” พระรอดเนื้อโลหะอันลือเลื่องนั่นเอง

ที่เรียกกันว่า “พระรอด” นั้น ด้วยพุทธลักษณะค่อนข้างคล้าย “พระรอด วัดมหาวัน” หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของไทย อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า “เป็นเลิศในด้าน นิรันตราย” ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับ “พระสกุลลำพูน” จนเป็นที่กล่าวกันว่า “แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน” นับเป็นพระที่มีประสบการณ์มาก จนกลายเป็นพระยอดนิยมพิมพ์หนึ่งของเมืองลพบุรี ณ ปัจจุบันเรียกได้ว่าหายากพอๆ กับพระสกุลลำพูนทีเดียว อีกทั้งค่านิยมก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

พูดได้ว่า ถ้าไม่มี “หลวงพ่อเมือง” ก็คงไม่มี “พระรอดหนองมน” และวัดหนองมนก็คงยังเป็นวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก ด้วยตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วนั้น “พระรอดหนองมน” ไม่ได้สร้างที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในหนังสือเครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวถึง “พระรอดหนองมน” ไว้ว่า …


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33640365799268_2.jpg)
“… สมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ชอบการแข่งเรือและเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งท่านลงมือ ทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กๆ มายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยังไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากเมืองพิจิตร มาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุ “พระเนื้อตะกั่ว” จำนวนมากติดตัวลงมาด้วย “

สมภารรูปนั้นก็คือ พระครูเมธีธรรมารมณ์ หรือ หลวงพ่อเมือง ประมาณปี พ.ศ.2444-2446 ท่านได้เดินทางจาก จ.พิจิตร ผ่านจังหวัดต่างๆ จนในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในสมัย พระอธิการแขก เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาพระธุดงค์รูปนี้มาก ในการสร้างอุโบสถวัดหนองมน ท่านได้นำพระที่ติดตัวมาออกแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมผู้มีศรัทธาร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์จนอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์

ส่วนพระที่เหลือได้ก่อ “พระเจดีย์” ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถเพื่อบรรจุไว้ ต่อมาได้มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ “พระรอด หนองมน” ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดอีกหลายครั้งหลายครา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91882444918155_3.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20494911322990_4.jpg)
พระรอดหนองมน จะมีเพียงเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น พุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกันทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม.

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมารเหนืออาสนะ ฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดยรอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ พิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้เป็น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ และพิมพ์เล็ก

ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้ และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น

ด้วยความที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ “พระรอดหนองมน” มีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูง เช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี พระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปีนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง “ความเก่าของเนื้อขององค์พระ” นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบในกรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย

แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ครับผม


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 19 กรกฎาคม 2560 07:22:55
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30856387275788_1.jpg)

พระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่านลมหนาวพัดมาทำให้คิดถึงจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้นถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหัวข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น

พระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่ก็มีครับ พระของกรุนี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างล้านนา

พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้นเป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์

พระทั้งสองชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่อง คือมีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่น ทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้นับเป็นพระเครื่อง ศิลปะล้านนาที่สวยงามมากควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดีและยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่ เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจจะมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38795035084088_3_149_696x353_1_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50018991033236_1_254_407x696_1_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44554185080859_2_158_1_.jpg)

“พระเทริดขนนก” กรุวัดค้างคาว และ กรุเสมาสามชั้น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดเพชรบุรี มีโบราณสถานที่สร้างในสมัยลพบุรีหรือยุคขอมเรืองอำนาจอยู่หลายแห่ง แต่เราอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไรนัก จะเห็นว่า พระกรุที่เป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงอยู่หลายอย่าง เช่น พระหูยาน กรุสมอพลือ พระเทริดขนนก กรุวัดค้างคาว พระเทริดขนนก กรุวัดเสมาสามชั้น เป็นต้น แต่พระกรุเหล่านี้ล้วนแล้ว แต่หายากมาก เนื่องจากพระที่พบชำรุดเสียเป็นส่วนมาก ที่สมบูรณ์มีน้อยมาก

ในสมัยก่อนพระทั้ง 3 อย่างนี้เป็นพระยอดนิยม อย่างพระหูยาน กรุสมอพลือ เป็นพระหูยานชนิดเดียวที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อสนิมแดงนั้นสวยงามมากครับ

พระเทริดขนนกของจังหวัดนี้มีพบขึ้นมาอยู่ 2 กรุ พระของกรุวัดค้างคาวเป็นพระที่แตกกรุขึ้นมาก่อน คือแตกกรุประมาณปี พ.ศ.2475 พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ทั้งสิ้น

พระที่พบปรากฏว่ามีพระชำรุดเสียเป็นส่วนมาก ที่พบสมบูรณ์มีน้อยไม่ถึงร้อยองค์ จึงทำให้พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาวนั้นหายากมาก

ใครได้ไว้ในสมัยนั้นก็หวงแหนกันมาก พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปารมารวิชัยอยู่บนกลีบบัวหงาย สวมเทริดเป็นกลีบแบบขนนก การตัดขอบชิดเข้ารูปตามองค์พระ

ในเวลาต่อมามีการพบพระเทริดขนนก อีกกรุหนึ่งคือกรุเสมาสามชั้น ในปี พ.ศ.2513 พระที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด พระที่พบมีพุทธลักษณะแบบเดียวกับของกรุวัดค้างคาว แต่พบมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ตัดชิดเข้ารูปตามองค์พระ และพบที่เป็นแบบมีซุ้มเรือนแก้ว ตัวองค์พระจะเหมือนกัน ต่างกันที่มีซุ้มกับไม่มีซุ้มเท่านั้นครับ

พระที่เป็นแบบมีซุ้ม มักจะเรียกว่า “พระยอดขุนพล” ส่วนพระที่เป็นแบบตัดชิดก็จะเรียกว่า “พระเทริดขนนก” การพบพระในครั้งนี้พบพระที่สมบูรณ์มากกว่าของกรุวัดค้างคาว คือพบประมาณ 200 องค์ครับแต่ก็มีจำนวนไม่มากอยู่ดี จึงเป็นพระกรุที่หายาก เช่นกัน

พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาว และพระเทริดขนนกกรุเสมาสามชั้นนั้น พุทธลักษณะคล้ายกันมากแทบแยกไม่ออก อีกทั้งยังเป็นพระที่มีเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกัน และเป็นพุทธศิลปะแบบลพบุรี ทั้ง 2 กรุ ถามว่าแล้วสามารถแยกพระทั้งกรุออกจากกันได้อย่างไร ครับก็สามารถแยกออกจากกันได้ครับ เพราะความจริงพระทั้ง 2 กรุมีแม่พิมพ์คนละตัวกันครับ ถึงแม้จะเหมือนกันมากอย่างไรก็ย่อมมีข้อแตกต่างกันครับ

ครับทีนี้เราลองมาดูที่รูปพระทั้ง 2 กรุดูครับ พระเทริดขนนกกรุวัดค้างคาว ให้สังเกตดูจุดที่เห็นได้ง่ายๆ นะครับ ให้ดูที่หมวกทรงเทริดขนนก ตรงที่เป็นเส้น 2 เส้นบริเวณหน้าผาก ของกรุวัดค้างคาวจะเป็นเส้นเรียบๆ แล้วทีนี้มาดูของกรุเสมาสามชั้น ที่บริเวณเดียวกันคือเส้น 2 เส้น ตรงบริเวณหน้าผากของกรุเสมาสามชั้น จะมีรูปครึ่งวงกลมอยู่เหนือเส้น 2 เส้นนั้น ครับเป็นจุดสังเกตง่ายๆ ที่เราจะเห็นได้ไม่ยากครับ

พระของทั้ง 2 กรุเป็นที่นิยมและหายาก พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาวจะหายากกว่า และมีราคาสูงกว่าของกรุเสมาสามชั้น ดังนั้นเราจึงต้องแยกแยะให้ได้ว่าพระกรุไหนเป็นของกรุไหนครับ แต่พระทั้ง 2 กรุก็หายากทั้งคู่และมีสนนราคาสูงทั้ง 2 กรุครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเทริดขนนกของทั้ง 2 กรุ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21428191123737_2.jpg)

พระซุ้มเสมาทิศ พระกรุเก่าหายากเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรี ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "เมืองพระ" ที่มีพระกรุเก่ามากมายที่ทรงคุณค่าและพุทธคุณ ทั้งได้รับความนิยมในแวดวงนักนิยมสะสมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นกรุวัดสมอพรือ กรุวัดค้างคาว กรุวัดปากน้ำ กรุศาลาลอย กรุกุฎีทอง ฯลฯ มีทั้ง พระหูยาน พระนาคปรก พระเทริดขนนก พระร่วง พระยอดขุนพล ฯลฯ มากมายหลายประเภท


พระกรุและพระเครื่องของเมืองเพชรบุรีโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็น "พระเนื้อชิน" หรือที่เรียกว่า "ยอดขุนพล" ซึ่งมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

ฉบับนี้จะกล่าวถึง "กรุวัดนก" ที่ดูไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก วัดนี้เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ริมกำแพงเมือง ข้างป้อมคลองยาง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเนินดินของฐานพระเจดีย์ จนไม่มีเค้าโครงแห่งความเป็นศาสนสถานแต่โบราณหลงเหลืออยู่เลย ฟังเรื่องราวจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า... ก่อนหน้าที่พระเจดีย์จะพังทลายลงมา ได้มีคนร้ายลักลอบขุดเจาะหาทรัพย์สมบัติที่บรรจุกรุตรงบริเวณคอระฆัง ได้โพธิ์เงินโพธิ์ทองและพระเครื่องเนื้อชินไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพิมพ์ทรงใด แต่หลังจากที่พระเจดีย์พังทลายแล้ว ได้เคยมีผู้คนหลายต่อหลายคนพยายามจะมาขุดหาทรัพย์สมบัติที่คิดว่ายังมีตกค้างอยู่ แต่ก็ไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะเมื่อขุดครั้งใดก็จะปรากฏ "งู" ขนาดใหญ่นอนขดอยู่เหนือเนินซากพระเจดีย์ทุกครั้ง เสมือนเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สมบัติอย่างน่าอัศจรรย์ หลายครั้งถึงกับทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาต จึงสามารถขุดกรุได้ แต่เมื่อขุดไปก็ปรากฏพบเพียงสังคโลกรูปเสือตัวหนึ่ง และเมื่อพลิกดูก็พบโพรงภายในบรรจุเพียงงูที่ทำด้วยทองคำ หัวงูเป็นทองคำส่วน ลำตัวเป็นลวดทองคำบิดเป็นเกลียว ...

ความเพียรพยายามมาสำเร็จเอาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2521 ภายหลังการบวงสรวงกันมาหลายรอบหลายวัน "งูใหญ่" ก็ได้เลื้อยลงจากเนินพระเจดีย์ เสมือนเป็นการอนุญาตให้ขุดได้ เมื่อขุดลงไปประมาณ 4 วา ก็ได้พบ "กรุพระ" ภายในกรุเป็นช่องว่างบรรจุไหดินเผาปิดผนึกฝาแน่นหนา เมื่อเปิดฝาได้จึงพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ เป็นทองดอกบวบ สังคโลกรูปเสือ และตลับทองคำ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีอันมีค่าที่บรรจุไว้ร่วมกันเพื่อเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ ยังได้พบพระเครื่องเนื้อชินวางเรียงรายรอบตลับทองคำเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระเครื่องเนื้อชินเงินที่พบนั้น มีทั้งสมบูรณ์และชำรุด โดยเฉพาะด้านบนที่ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกทั้งความชื้นและความร้อน จึงเกาะติดกันเป็นก้อน ต้องค่อยๆ แกะออกมาผึ่งลมให้แห้ง พระเครื่องที่สมบูรณ์จริงๆ มีเพียง 400 กว่าองค์เท่านั้น ที่ชำรุดเสียกว่าพันองค์ และเมื่อดูจากพุทธลักษณะพิมพ์ทรงที่ตัดเว้าเป็นทรงซุ้ม จึงให้ชื่อว่า "พระซุ้มเสมาทิศ" ในกรุยังพบ "พระซุ้มเสมาทิศองค์ใหญ่" อีก 1 องค์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ที่มีศิลปะสมัยอยุธยา โดยช่างสกุลเพชรบุรี ที่สามารถรังสรรค์องค์พระได้งดงามยิ่ง

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก ที่ปรากฏจะมีเพียงพิมพ์เดียว ลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มที่ทำลวดลายงดงาม ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 6 ซ.ม.

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก จ.เพชรบุรี นับเป็นพระกรุเก่าที่แทบหาดูไม่ได้ในปัจจุบัน ด้วยจำนวนองค์พระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยนัก ผู้ที่มีไว้จึงล้วนหวงแหนไม่ใคร่นำออกมาให้ได้ชมกัน จนไม่มีการหมุนเวียนกันในแวดวง ทำให้ไม่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม "พระซุ้มเสมาทิศ" ที่เล่นหากันอยู่ แต่ด้วยความทรงคุณค่าทางพุทธศิลปะและทางประวัติศาสตร์ จึงได้รับการบันทึกไว้เป็นข้อมูล ว่ายังมีอีกหนึ่งพิมพ์ที่ จ.เพชรบุรี เช่นกัน เผื่อในอนาคตมีใครพบเห็นจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและคุณค่าแห่งวัตถุมงคล

และถ้ามีโอกาสพบเจอก็อย่าลืมพิจารณาองค์พระกันหน่อย "เพราะของดีทุกอย่าง ย่อมมีการลอกเลียนแบบ" โดยสามารถใช้หลักการพิจารณา "พระเนื้อชิน" ที่จะปรากฏธรรมชาติพื้นผิวเป็นคราบปรอทที่มีลักษณะไม่วาว มีคราบฝ้ากรุ

ตลอดจนสนิมที่จับเกาะบนพื้นผิวขององค์พระ และรอยระเบิดปริอ้า ได้เลยครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24085013692577__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)

พระกำแพงลีลาพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านพระเครื่องที่เป็นพระเนื้อดินเผา โดยเฉพาะพระกรุพระเก่านั้น โดยส่วนมากจะเป็นพระสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลปะสวยงามมากที่สุด แม้พระเครื่องในสมัยต่อมาก็ยังคงสร้างพุทธศิลปะแบบสุโขทัยแทบทั้งสิ้น

พระเครื่องปางลีลาเนื้อดินเผาที่นิยมกันมากๆ ก็มักจะเป็นพระเครื่องที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และเป็นพระที่ขุดพบที่บริเวณลานทุ่งเศรษฐี บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่มากมาย ตั้งอยู่เป็นกลุ่มใกล้ๆ กัน กรุที่ถูกกล่าวอ้างถึงมากที่สุดมัก จะเป็นกรุวัดพิกุล วัดบรมธาตุ ส่วนวัดอื่นๆ จะกล่าวถึงน้อย

ความจริงแล้วผมคิดว่า พระกรุทุ่งเศรษฐีนี้พบกันทุกกรุ และไม่ค่อยมีใครทราบแน่นอนว่าพระชนิดใดพบที่กรุวัดใด เนื่องจากมีการขุดกรุพระมานมนานแล้ว น่าจะเป็นร้อยกว่าปีมาแล้ว และพระเครื่องก็มีพบมากมายทุกวัด ซึ่งในสมัยนั้นก็คงไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไรนัก เพราะมีมากมายจึงยังไม่มีสนนราคาเท่าไร

นักขุดกรุพระส่วนใหญ่จะมุ่งหวังหาสมบัติแก้วแหวนเงินทองเสียมากกว่า เพราะกรุพระแทบทุกกรุจะนำแก้วแหวนเงินทองบรรจุไว้ในกรุพร้อมกับพระเครื่องพระบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชา นักขุดกรุพระในสมัยนั้นจึงมุ่งหวังในทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองเสียมากกว่า ในส่วนพระที่มีราคาก็จะเป็นพระพุทธรูปบูชา ก็จะนำไปขายให้แก่เศรษฐีหรือพ่อค้า

ส่วนพระเครื่องนั้นเป็นของแถม เนื่องจากมีพบมากมายเป็นกระบุงโกย หลากหลายพิมพ์ ก็เอามาห้อยบูชาบ้าง แถมแจกกันบ้าง (หมายถึงในสมัยก่อนนะครับ) เมื่อพระเครื่องมีจำนวนมาก พวกนักขุดก็จะเก็บไปบ้างจำนวนหนึ่งเท่านั้นไม่ขนไปจนหมด เพราะเขามุ่งหวังในสิ่งที่มีค่า และพระบูชาขนาดเขื่องๆ เท่านั้น และก็รีบขนเคลื่อนย้ายไป เพราะการลักลอบแอบขุดกรุนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จะมัวโอ้เอ้อยู่ไม่ได้

เมื่อพระเครื่องที่ขุดพบนั้นมีจำนวนมาก จึงถูกทิ้งไว้บริเวณแถวนั้น บางครั้งก็โกยๆ ออกจากกรุเพื่อค้นหาสมบัติหรือพระบูชาขนาดใหญ่ พระเครื่องต่างๆ จึงกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณลานทุ่งเศรษฐี วัดแต่ละวัดก็อยู่ติดๆ กัน อาณาเขตของวัดติดต่อกันเป็นกลุ่ม และบริเวณแห่งนี้ก็มีการลักลอบขุดซ้ำกันอีกต่อมาหลายยุค

โดยเฉพาะพระเครื่องของทุ่งเศรษฐีนั้น เริ่มมีราคาค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ตอนที่ปักเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มาจากเขื่อนภูมิพล (ยันฮี) ก็พาดผ่านบริเวณทุ่งเศรษฐีด้วย ก็มีการพบพระเครื่องกระจัดกระจายอยู่ด้วยเช่นกัน

การขุดซ้ำขุดซ้อนบริเวณลานทุ่งเศรษฐีนั้นก็พบพระตามลานดินทั่วไป ทำให้จะระบุว่า พระแบบใดเป็นของกรุใดยากครับ แล้วทำไมชอบจะระบุว่า เป็นกรุวัดพิกุล ครับกรุวัดพิกุลนั้น มีคนรู้จักและได้ยินชื่อมากเนื่องจากในปี พ.ศ.2506 มีการแอบขุดกรุที่วัดพิกุลอีกครั้ง และพบพระเครื่องจำนวนมาก

หลังจากนั้นกรมศิลป์ก็เข้าบูรณะ แต่พระเครื่องก็เริ่มหมดไปจากลานทุ่งเศรษฐีแล้ว พระที่พบในปี พ.ศ.2506 จะพบพระนางกำแพงเป็นหลัก แต่ก็พบพระพิมพ์อื่นๆ อีกมาก พระที่พบของกรุวัดพิกุลเป็นพระเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่ม เป็นที่นิยม เราจึงมักจะได้ยินเจ้าของพระบอกว่า เป็นกรุวัดพิกุลแทบทั้งนั้น

ครับผมคงไม่ไปขัดกับความเห็นของผู้ใด แต่ขอเรียกพระเครื่องที่พบบริเวณทุ่งเศรษฐีไม่ว่าจะเป็นกรุวัดใดว่า “พระกรุทุ่งเศรษฐี” เนื่องจากบางครั้ง ก็ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นกรุวัดใดแน่ แต่ถ้าบอกว่ากรุวัดพิกุลจะได้ราคากว่าเท่านั้น กะว่าจะคุยกันถึงพระกำแพงลีลา แต่ก็อดพูดไปเรื่องอื่นเสียไม่ได้ นึกว่าคุยกันสนุกๆ ก็แล้วกันนะครับ

พระกำแพงลีลาที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือพระกำแพงพลูจีบ ซึ่งเป็นพระกำแพงลีลาที่หายากมากที่สุดในบรรดาพระกำแพงลีลาของกำแพงเพชร ในสมัยก่อนนิยมกันมาก แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยจึงทำให้หายาก และคนที่มีก็หวงแหนกันมาก จนแทบไม่ได้พบเห็นพระแท้ๆ กันเลยครับ

เมื่อพิจารณาพุทธศิลปะของพระกำแพงพลูจีบแล้ว ก็ทำไม่ค่อยเหมือนกับพระปางลีลาอื่นๆ มองดูเหมือนกับองค์พระลอยเลื่อนไปในอากาศมากกว่าจะก้าวเดิน แม่พิมพ์ของพระเป็นพระพิมพ์ตื้น แต่ก็คงรายละเอียดไว้ครบถ้วนสวยงาม มีฐานบัวรองรับ กรอบนอกของพระจะมีรอยจับออกจากแม่พิมพ์ จะเห็นได้ว่าคอดตรงกลาง ทำให้มองดูคล้ายๆ กับใบพลูกินหมากที่ม้วนจีบไว้อย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาที่คนโบราณขนานนามว่า พระพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ สนนราคาก็สูงตามไปด้วย ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงลีลาพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45623755827546__3594_3617_3619_3617_23_3617_3.jpg)

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่า ของจังหวัดชัยนาท ที่เลื่องลือ มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตก็คือ พระกรุเมืองสรรค์ ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายกรุหลายพิมพ์ ในอำเภอสรรคบุรีมีวัดเก่าที่เป็นกรุพระสำคัญอยู่หลายวัด เช่น วัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน วัดส่องคบเป็นต้น พระกรุที่นิยมและรู้จักกันมากก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่ง ฯลฯ

ในสมัยก่อนนั้น พระกรุเมืองสรรค์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอยู่ยงคงกระพันก็คือพระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมมากคือของกรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่งที่ถูกค้นพบของกรุวัดท้ายย่านมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ไหล่ตรง มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากในสมัยก่อนก็คือ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เนื่องจากมีประสบการณ์มากในด้านอยู่คง

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก เป็นพระขนาดค่อนข้างเล็ก พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ตรง จะมีขนาดเขื่องกว่า ความลึกของพิมพ์ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ตรงจะมีความลึกของพิมพ์มากกว่า พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกจะเป็นแบบพิมพ์ตื้น จะว่าไปพระสรรค์พิมพ์ไหล่ตรงจะมีความสวยงามทางพิมพ์ทรงมากกว่าพิมพ์ไหล่ยก แต่ความนิยมกลับเป็นพระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เพราะผู้ที่ใช้มีประสบการณ์มากกว่า และความนิยมจะให้ความนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่าพระเนื้อชิน

พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก ถ้าเรามองดูองค์พระจะเห็นว่าหัวไหล่ซ้ายขององค์พระจะไม่ติดกับบ่าขององค์พระ และดูเหมือนกับว่าจะยกขึ้นเหมือนกำลังยักไหล่ขึ้น ด้วยเหตุนี้คนโบราณเมื่อเห็นพระจึงเรียกกันเป็นพิมพ์ไหล่ยก

พระสรรค์กรุวัดท้ายย่านเนื้อดินเผา จะเป็นพระแบบเนื้อดินค่อนข้างละเอียด เมื่อใช้ถูกสัมผัสจะเป็นมันหนึกนุ่ม พระสรรค์นั่งไหล่ยกกรุวัดท้ายย่านก็เช่นกัน ถ้าไปพบพระที่ถูกใช้สัมผัสมาก็จะเห็นเนื้อเป็นมันหนึกนุ่ม บางองค์เป็นพระที่ใช้ผ่านการอมในปาก เนื่องจากการเลี่ยมใช้ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมี บางคนจึงนิยมอมพระไว้ในปากเวลาจะไปไหนมาไหนหรือเวลามีภัย บางองค์จะเห็นคราบน้ำหมากจับอยู่ในส่วนลึกของพระ ก็ทำให้เห็นร่องการใช้ในสมัยก่อน และเป็นเสน่ห์ความงามอีกแบบหนึ่งครับ

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก ที่เป็นพิมพ์นิยมจะเป็นของกรุวัดท้ายย่าน สังเกตที่พระเกศตรงกลางจะเห็นเส้นพิมพ์แตก คาดตัดกับพระเกศเป็นทิวบางๆ และพระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากในอดีตครับ คนชัยนาทในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก กล่าวกันว่า เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อขนมกินได้ครับ

พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมากครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก แต่ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าจากคนที่ไว้ใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูป พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก องค์สวย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87231686504350_view_resizing_images_1_.jpg)

พระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นกรุพระที่ยิ่งใหญ่และเป็นกรุที่มีพระเครื่องที่พบมากที่สุดของจังหวัดลพบุรี พระของกรุนี้มีมากมายหลายพิมพ์ และก็เป็นที่นิยมหลายพิมพ์ด้วยเช่นกัน เช่นพระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน เป็นต้น พุทธศิลปะของพระเครื่องกรุนี้ล้วนเป็นศิลปะแบบขอมลพบุรี

นอกจากพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยานแล้ว พระพิมพ์อื่นๆ ก็เป็นที่ นิยมรองๆ ลงมาอีกมากมาย อย่างเช่นพระนาคปรกก็มีมากมายหลายพิมพ์เช่นกัน และนับว่ามีมากพิมพ์ที่สุดของจังหวัดนี้ พระนาคปรกส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีบางพิมพ์ที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงบ้างแต่ก็พบน้อยกว่าเนื้อชินเงินมากครับ

พระนาคปรกพิมพ์จีโบใหญ่ เป็นพระนาคปรกพิมพ์นิยมของกรุนี้ พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิมพ์นี้มีพบที่จังหวัดสุพรรณบุรี กรุวัดลาวทองที่มีพิมพ์คล้ายคลึงกัน แต่ของจังหวัดสุพรรณฯ เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระนาคปรก พิมพ์จีโบมีแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ฐาน 2 ชั้น และพิมพ์ฐานบัว ทุกพิมพ์เป็นพระที่นิยมทั้งสิ้น

นอกจากนี้ก็ยังมีพระนาคปรกพิมพ์ พุงป่อง เนื้อชินเงิน และก็เป็นที่นิยมเช่นกันครับ พระนาคปรกพิมพ์พุงป่อง มีศิลปะที่แปลกออกมาจากพระนาคปรกพิมพ์อื่นๆ พุทธลักษณะขององค์พระดูล่ำสันท้องพลุ้ยหน้าตักขัดสมาธิหลวมๆ ดูเหมือนกับยกก้นขึ้นน้อยๆ พุทธลักษณะแบบนี้ก็พบในพระพุทธรูปขนาดบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ด้วยเช่นกัน รูปทรงโดยรวมขององค์พระคล้ายรูปเหมือนหินแกะสลักของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เคยขุดพบ ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง โดยส่วนตัวผมชอบพระพิมพ์นี้มากครับ

พระนาคปรกของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรียังมีอีกมากมายหลายพิมพ์ ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้างแต่มีน้อย และที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์แบบลอยองค์ขนาดเล็กก็มีพบบ้าง แต่ก็พบน้อยเช่นกันครับ พระเครื่องปางนาคปรกที่รู้จักมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ก็มีพิมพ์จีโบ และพิมพ์พุงป่อง จะนิยมกันมากกว่าพิมพ์อื่นๆ

ในปัจจุบันพระนาคปรกของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีที่แท้ๆ นั้นหายาก และมีราคาสูง พระปลอมลอกเลียนแบบมีมากและมีมานานแล้ว ซึ่งเป็นธรรมดาพระที่เป็นที่นิยมมีราคาสูงและมีคนต้องการมากก็ย่อมมีผู้ที่ทำปลอม เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังพอสมควร ศึกษาดูให้ดีก่อนจะเช่าหาครับ เช่าพระต้องหาข้อมูลก่อนที่จะเช่า พิจารณาองค์พระด้วยความรู้ที่ศึกษามาด้วยตา อย่าพิจารณาพระด้วยหู ด้วยการฟังนิทานที่คนขายเล่าให้ฟัง เพราะเขาต้องการที่จะขาย ปัจจุบันยังต้องศึกษาคนที่จะขายพระให้เราก่อนด้วยว่ามีความรู้จริงหรือเปล่า เป็นคนที่ซื่อสัตย์และเป็นคนดีรับผิดชอบหรือเปล่าเพิ่มเข้ามาอีกด้วยครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งพิมพ์จีโบ และพิมพ์พุงป่อง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24319576265083__3614_3619_3632_3621_3637_3621.jpg)

พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถาน และมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบที่ในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

ชัยนาทแต่เดิมนั้นเป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านเช่นเดิม ด้วยการที่เป็นเมืองเก่าแก่สืบทอดกันมายาวนาน จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย โดยเฉพาะพระกรุเมืองสรรค์นั้นก็มีการสร้างสืบทอดต่อกันมา และมีศิลปะร่วมสมัยกันอยู่ ที่เมืองสรรค์แห่งนี้มีพระกรุมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวง ของกรุวัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง

ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึงพระสรรค์นั่งและพระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบการณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในสมัยก่อนคนชัยนาทหวงแหนกันมาก พระลีลาเมืองสรรค์นั้นเคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันพระแท้ๆ หายากเช่นกันครับ

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา หรือที่โบราณมักเรียกว่า สรรค์ยืนคางเครา กรุที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม โดยเฉพาะเรื่องอยู่คงนั้นโดดเด่นมากในอดีต จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันนี้สนนราคาค่อนข้างสูงและหายาก โดยเฉพาะของกรุวัดท้ายย่าน ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม

ในวันนี้ผมก็ได้นำพระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน พระองค์นี้มีผิวเดิมๆ แทบไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 19 สิงหาคม 2560 13:39:47
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85670927208330__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)
พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ยุคหลังจากปี พ.ศ.2529 มีคนนำเครื่องแสวงหาแร่มาใช้ตรวจหาพระเครื่องพระบูชาที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน พวกนี้เป็นนักขุดกรุพระ และได้พบพระบูชาและพระเครื่องกันไปหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2535 ก็มีการขุดพบพระเครื่องจากการใช้เครื่องตรวจหาแร่ ที่บ้านดงเชือก เป็นพระร่วงนั่งทรงเทริดขนนก ที่เรียกว่า “พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก”

บ้านดงเชือก ในอดีตเป็นป่าดงพงไพร อยู่ห่างไกล แต่เดิมอยู่ชายแดนของอำเภอสามชุก ปัจจุบันแยกตัวออกไปเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ แถวบริเวณบ้านดงเชือกมีซากโบราณสถาน มีเศษอิฐอยู่มาก และมีผู้พบพระบูชาศิลปะลพบุรี ครั้งแรกพบ 25 องค์ ครั้งที่ 2 พบอีก 11 องค์ และครั้งที่ 3 พบ 3 องค์ การพบพระในครั้งนั้นพบด้วยเครื่องแสวงหาแร่

การพบพระเครื่องนั้นเล่ากันว่า เป็นคนจากอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ได้เข้ามาใช้เครื่องแสวงหาแร่ในปี พ.ศ.2535 ได้พระร่วงนั่งเทริดขนนกไปจำนวนไม่มากนัก แล้วนำพระไปขายในกรุงเทพฯ ต่อมาพระร่วงนั่งเทริดขนนกก็ได้เข้ามาในตลาดสุพรรณฯ

ก็มีผู้ที่เช่าหาไว้ในครั้งแรกสอบถามดูก็ไม่มีใครรู้ว่าพบพระที่ไหน รู้เพียงแต่ว่า คนเมืองกาญจน์นำพระมาขาย แต่ต่อมาอีกไม่กี่เดือนก็มีข่าวแพร่ออกมาว่า มีพระแตกกรุที่บ้านดงเชือกหนองหญ้าไซ ครั้งนี้ได้พระมากหน่อยประมาณร้อยกว่าองค์ ก็มีคนนำพระเข้ามาขายที่ตลาดบางลี่ เซียนเก่าได้เช่าไว้ และได้แบ่งปันเพื่อนฝูงและคนที่รู้จักไปจนหมด

พระเครื่องที่แตกกรุในครั้งหลังนี้มีแบบพิมพ์เช่นเดียวกับพระเครื่องที่แตกกรุในครั้งแรกไม่มีผิด จึงทำให้รู้ว่าแหล่งที่พบพระเป็นที่บ้านดงเชือก สุพรรณบุรี พระที่พบเป็นพระร่วงนั่งปางมารวิชัยทรงเทริดขนนก มีเส้นสังฆาฏิชัดเจน การตัดขอบตัดชิดองค์พระบ้าง มีปีกบ้าง

ด้านหลังเป็นแอ่งน้อยๆ ขนาดกะทัดรัด กว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 4 ซ.ม. เนื้อพระเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด ผิวพระมีคราบไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบผิวสนิมแดงจับทั้งองค์พระสวยงาม สีสนิมค่อนข้างเข้ม ออกแดงลูกหว้า

พระร่วงนั่งบ้านดงเชือกมีพุทธศิลปะแบบลพบุรี และมีขนาดไม่ใหญ่ เลี่ยมห้อยคอกำลังพอดีครับ แต่ก็หายากหน่อย เนื่องจากมีจำนวนพระที่พบไม่มากนัก ส่วนมากจะตกอยู่กับคนสุพรรณฯ เก็บเงียบกันหมด พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก เป็นพระกรุที่น่าสนใจ สวยทั้งศิลปะและเนื้อสนิมแดงคราบไข บ่งบอกถึงความเก่าถึงยุคครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งบ้านดงเชือกจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85597361168927__3594_3617_3619_3617_7_3585_35.jpg)
พระหลวงพ่อทวดหนอน พิมพ์ใหญ่ วัดดอนตะวันออก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เคยได้ยินคำว่า “ทวด” จากชื่อหลวงพ่อทางภาคใต้ ที่เรารู้จักกันดีก็คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ แต่นอกจากนั้นก็ยังได้ยินคำว่า หลวงพ่อทวดหนอน หลวงพ่อทวดหมาน หลวงพ่อทวดนวล ฯลฯ เคยสงสัยไหมครับว่า เป็นหลวงปู่ทวดองค์เดียวกันหรือเปล่า

ถ้าเป็นคนใต้เขาก็รู้จักกันดี แต่คนภาคอื่นๆ ก็อาจจะสงสัยอยู่บ้าง ซึ่งความเป็นจริงแล้ว คนทางภาคใต้ตอนล่างเขามักจะเรียกพระสงฆ์ในสมัยโบราณที่มรณภาพไปนานๆ มาแล้วว่า “หลวงพ่อทวด” และจะเติมชื่อหรือฉายานามต่างๆ ไว้ข้างหลัง เช่น หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อทวดหมาน หลวงพ่อทวดหนอน หลวงพ่อทวดนวล เป็นต้น

วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องราวคร่าวๆ ของหลวงพ่อทวดหนอน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวใต้เช่นกัน และก็มีการสร้างพระเครื่องของท่านอยู่หลายวัด ประวัติของหลวงพ่อทวดหนอนไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของชาวใต้ว่า

หลวงพ่อทวดหนอนอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะที่บวชอยู่นั้นมีข้าศึกยกทัพมาตีเมือง พระสามีอินทรหรือหลวงพ่อทวดหนอนได้สึกออกมาเป็นตาผ้าขาวอาสาต่อสู้ข้าศึกแต่เพียงผู้เดียว ใช้เวทมนตร์คาถาผูกหุ่นพยนต์ และเสกใบมะขามเป็นต่อแตนเข้าต่อสู้กับพม่าข้าศึกและได้รับชัยชนะ

ต่อมาจึงได้พระสามีอินทรก็ได้กลับมาบวชอีกครั้ง พระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น พระราชทานถวายสมณศักดิ์ให้ท่านเป็นพระครูอินทรโมฬี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในตำแหน่ง จึงทูลลาออกจากตำแหน่งและออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความวิเวก ท่านธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเขามะรวด อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จึงตกลงใจพำนักอยู่อย่างถาวร

ระหว่างการเดินทางมีเรื่องเล่าขานกันต่อมาว่า ด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขณะที่ท่านเดินทางมาโดยทางเรือ ได้แลเห็นฝูงปลาว่ายตามท่านมาโดยตลอด ท่านก็บังเกิดความเมตตาสงสารจะให้อาหาร แต่บนเรือไม่มีเสบียงอาหารที่จะให้ ท่านจึงเชือดเนื้อที่แขนและขาของท่านออกเป็นชิ้นๆ โยนให้เป็นอาหารแก่ฝูงปลา ต่อมาบาดแผลของท่านได้เน่าเปื่อย มีแมลงวันมาตอมกินน้ำเหลืองและวางไข่ เป็นหนอนชอนไชบาดแผล แต่ท่านก็ไม่ได้รักษาปล่อยให้เป็นไป จึงปรากฏบาดแผลที่มีหนอนชอนไช

ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวดหนอน” เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนาน ชาวบ้านก็ยังเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวดหนอน” เช่นเดิม

พระเครื่องที่สร้างเป็นหลวงพ่อทวดหนอน ก็มีการสร้างอยู่หลายวัดและหลายครั้งเช่นกัน เราจึงได้ยินคำที่เรียกขานถึงพระสงฆ์ที่มรณภาพมานานแล้วมีคำนำหน้าว่า “ทวด” แต่ก็จะมีคำต่อท้ายตามหลัง เพื่อให้รู้ว่ากล่าวถึงพระสงฆ์รูปใด หลวงพ่อทวดหนอนเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาสูงและเรืองเวทวิทยาคม พระเครื่องของท่านมีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยม และคุ้มครองป้องกันภัย

ครับที่เล่ามาก็เพื่อจะได้ให้ผู้ที่ยังไม่ทราบ ก็พอจะทราบว่า พระสงฆ์ที่มีคำนำหน้าว่าหลวงพ่อทวดของชาวใต้นั้นมีความหมายเป็นอย่างไร และพระสงฆ์ที่มีคำนำหน้าว่า “ทวด” นั้นก็มีอยู่หลายรูปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงพ่อทวดหนอน พิมพ์ใหญ่ ของวัดดอนตะวันออก อำเภอปะนาเระ ปัตตานี ปี พ.ศ.2505 มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22591239876217__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)

พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พักนี้มีผู้สอบถามมาเกี่ยวกับพระสมเด็จที่แตกกรุ และส่วนมากจะอ้างว่าเป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เป็นพระแท้ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ โดยเฉพาะที่เผยแพร่ทางโซเชี่ยลต่างๆ และส่งรูปมาให้ดูบ้าง ผมเองก็เลยเข้าไปดูเองพบว่ามีเยอะเช่นกันที่เป็นพระนอกมาตรฐานสากลนิยม

พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ และมีหลักฐานแน่ชัด เป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานมีอยู่ 3 วัดเท่านั้นคือ

พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างที่วัดระฆังฯ ประมาณปี พ.ศ.2409-2415 พระสมเด็จวัดระฆังฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างไปเรื่อยๆ แล้วแจกให้แก่ญาติโยมจนหมด ไม่ได้นำไปบรรจุกรุใดๆ

พระสมเด็จที่สร้างบรรจุไว้ที่พระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหม ประมาณปี พ.ศ.2411-2413

พระสมเด็จเกศไชโย วัดไชโยวรวิหาร ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระมหาพุทธพิมพ์) ประมาณปี พ.ศ.2409-2415

พระสมเด็จทั้ง 3 วัดนี้ มีประวัติชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานสากลนิยมว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้ที่สร้างไว้และมีมูลค่ารองรับ

เรื่องการมีข่าวว่ามีพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้แตกกรุออกมาก็มีมานานแล้วเช่นกัน แต่ที่พิสูจน์กันแล้วก็พบว่าไม่มีมูลความจริงแต่อย่างไร แต่ก็มีการนำมาโฆษณาชวนเชื่อกันต่อๆ มาอีกตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนระยะนี้

ข่าวที่มีการแตกกรุของพระสมเด็จในสมัยก่อนเท่าที่ผมทันเหตุการณ์ก็มีครั้งประมาณปี พ.ศ.2510 (จำ พ.ศ.ที่แน่นอนไม่ได้ครับ) มีข่าวว่ามีเจดีย์ที่วัดระฆังฯ ชำรุดและมีพระสมเด็จไหลออกมา ก็มีการแห่กันเข้าไปที่วัดเพื่อเช่าหา บรรดาเซียนก็วิ่งกันเข้าไปดู ก็พบว่ามีการแตกกรุจริง เป็นเจดีย์เล็กๆ คล้ายกับเจดีย์บรรจุอัฐิ แต่พระที่พบไม่ใช่พระที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ จึงเลิกรากันไป

ข่าวการแตกกรุครั้งต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2516 มีข่าวการแตกกรุของวัดวัดหนึ่งแถวๆ เกียกกาย ซึ่งวัดนี้ในอดีตเป็นวัดที่ท่านเจ้า คุณรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส และท่านเป็นพระ นักเทศน์ในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จ และขึ้นธรรมาสน์ปุจฉา-วิสัชนาคู่กับเจ้าประคุณสมเด็จเสมอ และวัดนี้มีพระเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ติดกับรั้วของวัดเกิดชำรุดมีรอยร้าว และมีพระสมเด็จไหลออกมา มีทหารไปพบเข้าจึงมีการเจาะนำพระสมเด็จออกมาจากองค์พระเจดีย์ ก็มีหนังสือพระ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวกัน พระที่พบเป็นแบบพิมพ์คล้ายๆ ของกรุวัดบางขุนพรหม เนื้อแกร่งมีคราบกรุ มีการเช่าหากันระยะหนึ่งช่วงสั้นๆ

ผมเองในสมัยนั้นก็สนใจจึงเข้าสนามไปหาพรรคพวกเผื่อจะได้แบ่งพระไว้บูชาบ้าง ก็พบคนรู้จักกำลังให้เช่าพระกรุนี้อยู่พอดี จึงสอบถามดู เขาก็ให้รอก่อน เมื่อลูกค้าไปหมดแล้วเขาก็บอกว่าจะเอากี่องค์ พร้อมดึงลังออกมามีพระกรุนี้อยู่เต็มถัง แล้วก็บอกผมว่าเลือกเอาไปเถอะ พวกเขาทำเองไม่ต้องซื้อ ต่อมาขบวนการนี้มีการขัดกันเรื่องผลประโยชน์ ความก็แตก

ต่อมาก็มีข่าวการแตกกรุของพระสมเด็จอีก ประมาณปี พ.ศ.2535 ประมาณนี้ (จำพ.ศ.ไม่ได้จริงๆ ครับ) ก็มีการทำข่าวทางโทรทัศน์ทุกช่อง และหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ เพราะเป็นวัดใหญ่แถวๆ ฝั่งธนฯ ปรากฏว่าพบพระสมเด็จจำนวนมาก ว่ากันว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้อีก ก็ไปดูกัน จึงพบว่าเป็นพระที่สร้างล้อเลียนแบบ ก็สรุปว่า ไม่ใช่อีก (แหกตา) หลังจากนั้นไม่นานพวกที่สร้างพระและสร้างเรื่องนี้ก็แตกคอกันอีก จำพระมากองขายแถวๆ ท่าพระจันทร์ และสาวไส้กันเละเทะ

ที่ต่างจังหวัดก็มีครับ แถวๆ นครสวรรค์ อ่างทอง อะไรประมาณนั้น แต่ความจริงก็คือความจริง ปิดไม่มิดครับ ก็จบๆ กันไป แต่ช่วงนี้ก็มีการปลุกผีกันขึ้นมาอีก โฆษณาขายกันเอิกเกริกทางการสื่อสารไร้พรมแดน นิทานเก่านิทานใหม่ก็ว่ากันไปต่างๆ นานา ลองคิดดูไม่ยากครับ ถ้าเป็นพระแท้ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ สนนราคาไม่ถูกแน่ครับ และคนจะแห่เช่ากันจนหมดในไม่นาน ไม่มีหรอกครับ ว่าพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างจะราคาถูกๆ และมีมากมาย พระสมเด็จทั้ง 3 วัดที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างนั้นถ้าไม่หักชำรุด ถึงจะสึกหรอราคาก็ยังเป็นหลักล้าน ถ้าสมบูรณ์ไม่ต้องพูดถึง และมีคนเช่าหาแน่นอนครับ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ยังมีคนเช่าและปล่อยไม่ยาก ยิ่งสวยๆ รับรองว่าเนื้อหอมแน่ครับ เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันคนรวยๆ ไม่ได้เดือดร้อนหรือมีผลกระทบอะไร ไม่มีหรอกครับพระสมเด็จแท้ๆ ราคาถูกฟลุกๆ มีแต่ฟุบมากกว่าครับ

ด้วยความห่วงใยครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ องค์สวยมาให้ชม พระองค์นี้เคยลงรักไว้ และต่อมาได้ลอกรักออกเผยให้เห็นเนื้อและร่องรอยการแตกลายงา พระแบบนี้แท้สวยดูง่ายสากลนิยมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12095569529467_view_resizing_images_1_.jpg)

พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู

วัดมหาธาตุเป็นวัดคู่เมืองเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ตำบลในเมือง ห่างที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 200 เมตร มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ส่วนยอดพระเจดีย์หักพังไปแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนปีพ.ศ.2483 วัดมหาธาตุมีสภาพเกือบเป็นวัดร้าง เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์ 1 หลัง กับศาลาการเปรียญเก่าที่ใช้การเกือบไม่ได้ 1 หลัง พระอุโบสถก็เหลือแต่ฝาผนังอิฐเท่านั้น

จนต้นปี พ.ศ.2483 พระเพชรบูรณ์คณาวสัย (แพ) สมัยพระครูวินัยธรได้มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติม สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง พระอุโบสถ 1 หลัง และตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สอนทั้งแผนกธรรมและบาลี ส่วนเขตวิสุงคามสีมาของวัดนั้นเดิมคงจะมีอยู่ตามแนวเขต ในพัทธสีมาสลักด้วยหินทรายโบราณซึ่งยังมีอยู่ทั้ง 8 ใบ จนถึงปี พ.ศ.2496 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2497

ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หลังพระอุโบสถ ได้ขุดพบกรุซึ่งมีเสาศิลาแลงขนาดกว้างประมาณ 70 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม. ซ้อนกันอยู่ 2 ก้อน และมีไหแบบสุโขทัยขนาดเล็กและใหญ่ตั้งอยู่ล้อมรอบเสาศิลาแลงหลายใบ ภายในไหบรรจุทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์หมิง และรูปปั้นคน รูปสัตว์ต่างๆ มีโถสังคโลก ตลับทองคำจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญได้พบลานทองจารึกอักษรไทยโบราณม้วนอยู่ในท้องหมูสัมฤทธิ์ 1 แผ่น และอยู่ในไหอีก 2 แผ่น รวมเป็น 3 แผ่น

จากการสำรวจพระที่ขุดพบปรากฏว่าได้พระพุทธรูป 900 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ล้อแบบศิลปะสกุลช่างสมัยต่างๆ ก่อนหน้าเป็นส่วนมาก ในส่วนที่เป็น พระเครื่องส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงิน ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก เมื่อคัดแยกประเภทแล้วได้พระเครื่องแบบต่างๆ กว่า 30 แบบ เช่น พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู พระร่มโพธิ์ พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าเงิน พระซุ้มอรัญญิก พระซุ้มเรือนแก้ว พระท่ามะปรางค์ พระฝักดาบ พระนางพญาเพชรบูรณ์ และพระนาคปรกพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระเครื่องที่พบทั้งหมดกรมศิลปากรได้นำมาออกให้ประชาชนเช่าบูชา โดยกำหนดราคาแตกต่างกันไป ปรากฏว่าพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูเป็นพิมพ์ที่กรมกำหนดราคาเช่าไว้สูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

พระร่วงพิมพ์นี้นับว่าสวยงาม พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทอดลงมาข้างลำพระองค์ พระบาทแยกออกหันพระปราษณี (ส้นเท้า) เข้าหากัน ประทับอยู่ในซุ้มประตู ต้นเสาลายก้างปลา ด้านบนซุ้มประดับลายกระหนกเครือนาคคู่ มีลายกระจังตาอ้อยอยู่ยอดบนสุด นับว่าเป็นศิลปะสกุลช่างอยุธยาที่สละสลวยงดงามมาก สังเกตดูจากสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์ เป็นแบบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยยุคปลาย แต่พระพุทธรูปและพระเครื่องที่พบนั้นกลับพบเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จึงทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่า คงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน บางองค์มีสนิมขุมและรอยระเบิดบางแห่ง คราบดินกรุฝังตัวอยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ทางด้านพุทธคุณมีพร้อมทั้งส่งเสริมอำนาจบารมี ความเจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปองค์พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูมาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54858843402730_10_16_696x388_1_.jpg)

พระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ “พระบางกรุวัดพระคง” ปัจจุบันก็เรียกกันว่า “พระคงทรงพระบาง” ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า “พระบาง” ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษีลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอก แบบมุมฉาก

ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง

บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า “พระคง” พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า “พระบาง”

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน

รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ “พระบางกรุวัดพระคง” มาเป็น “พระคงทรงพระบาง” ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้

ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77485006716516__3614_3619_3632_3650_3588_3609.jpg)

พระโคนสมอ พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเก่าๆ กันเพื่อเป็นการอนุรักษ์มิให้เลือนหายไป ซึ่งพระกรุพระเก่าบางชนิดอาจจะไม่ได้มีสนนราคาสูงมากนัก แต่ก็มีคุณค่าทางศิลปะ อีกทั้งยังเป็นพระเครื่องที่บรรพชนได้สร้างไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และผ่านพิธีการพุทธาภิเษกมาอย่างดีแล้วทั้งสิ้น วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระโคนสมอครับ

ทำไมถึงเรียกว่าพระโคนสมอ และพระโคนสมอที่แท้จริงเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยใด หลายๆ ท่านก็อาจจะทราบดี แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมา ผมจึงขออนุญาตเล่าเรื่องพระโคนสมออีกครั้งนะครับ ในปี พ.ศ.2430 เมื่อคราวที่ราชการจะตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เป็นแม่กองซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

เจ้าคุณวรพงศ์ ได้พบพระชินเงินฉาบปรอทเป็นจำนวนมากประมาณ 13 ปี๊บ อยู่บนเพดานท้องพระโรงพระที่นั่งศิวโมกข์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ของพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้สั่งให้ชะลอพระทั้งหมดมาพักไว้ ณ โคนต้นสมอพิเภก ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาทางราชการได้นำพระชินเงินฉาบปรอทดังกล่าวเข้าประจุไว้ในพระเจดีย์ทอง ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อคราวฉลองพระนครครบ 150 ปี พ.ศ.2475 พระดังกล่าวได้ถูกทิ้งไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกเป็นเวลานานพอสมควร

พระชินเงินฉาบปรอทคราวนั้นได้ถูกคนหยิบฉวยไปบ้าง จนต่อมาทางการจึงได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้และมีพระบางส่วนที่มีการแบ่งให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งใกล้ชิดเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล และการที่มีผู้มาพบพระดังกล่าวที่โคนต้นสมอพิเภก ซึ่งท่านเจ้าคุณวรพงศ์นำพระไปชะลอไว้ จึงเรียกชื่อของพระตามสถานที่พบว่า “พระโคนสมอ” นอกจากนี้ในครั้งหลังๆ ที่มีการขุดซ่อมแซมต่างๆ ภายในพระราชวังบวรสถานมงคลก็ยังได้พบพระโคนสมอที่เป็นแบบเนื้อดินอยู่อีกเนืองๆ

ที่มาที่ไปของพระโคนสมอนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนำพระดังกล่าวมาจากวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคราวที่พระองค์ท่านเสด็จไปปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราม เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในส่วนที่พบในครั้งอื่นๆ ก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกหลายวัดในองค์พระเจดีย์ และที่ในกรุงเทพฯ ก็มีพบบ้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการชะลอมาจากพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน แต่โดยส่วนมากจะพบแต่พระโคนสมอแบบเนื้อดินแทบทั้งสิ้น ซึ่งพระที่พบแบบเนื้อดินนั้นจะเป็นพระปางประจำวันเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่ และพบพระที่มีการลงรักปิดทองร่องชาดกับพระที่ไม่ได้ปิดทองก็มี แต่พระที่มีการลงรักปิดทองจะมีภาษีกว่าในด้านสนนราคา

พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินนั้น เท่าที่รู้มาจะพบที่พระราชวังสถานมงคลเพียงแห่งเดียว ที่อื่นๆ นั้นยังไม่ทราบข้อมูล และพระเนื้อชินจะมีขนาดย่อมกว่าพระเนื้อดินมากโขอยู่เหมือนกันครับ ความนิยมจะนิยมพระเนื้อชินมากกว่าพระเนื้อดิน ในส่วนของศิลปะเท่าที่เห็นนั้น สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะแบบอยุธยายุคปลาย สังเกตง่ายๆ จากซุ้มของพระโคนสมอจะเห็น ทำเป็นคล้ายเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาครับ

พุทธคุณของพระโคนสมอนั้น ที่ประจักษ์กันมาก็ในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระโคนสมอพิมพ์ห้อยพระบาทเนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13138272240757_1.jpg)
พระวัดพลับพิมพ์ยืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดพลับ หรือที่ปัจจุบันเรียกกันสั้นๆ ว่า “พระวัดพลับ” แต่คนในสมัยโบราณมักเรียกว่าพระสมเด็จวัดพลับ เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างพระเหล่านี้ไว้ ด้วยความเคารพศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราช (สุก) จึงเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้พระวัดพลับก็มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

พระวัดพลับ เป็นพระเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ ที่มีการพบพระกรุนี้เมื่อปี พ.ศ.2485 เนื่องจากมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ขณะรื้อกำแพงก็ได้มีผู้พบพระเครื่องเหล่านี้ ตามแนวกำแพงและเจดีย์รายต่างๆ พบพระพิมพ์ยืน พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่พิมพ์ปิดตา มีน้อย โดยเฉพาะพระที่เป็นเนื้อชินตะกั่วพบน้อยที่สุด นอกจากนั้นจะเป็นพระพิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์สมาธิกลาง พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง พิมพ์พุงป่องเล็ก พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผง เนื้อค่อนข้างแกร่ง

นอกจากนี้ ยังมีพระแบบเดียวกับพระวัดพลับทุกประการ ในจังหวัดอุทัยธานี ที่วัดโค่ง (วัดธรรมโสภิส) ที่วัดโค่งก็มีพบพระเนื้อชินตะกั่วด้วยเช่นกัน ตามตำนานได้ว่าไว้ว่า หลวงตาจันซึ่งเป็นเพื่อนกับหม่องเปียงโค่งเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส ต่อมาได้มาบวชอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ที่วัดพลับ และเมื่อหม่องเปียงโค่งได้สร้างวัดขึ้นที่จังหวัดอุทัยธานี จึงได้นิมนต์หลวงตาจันมาครองวัดโค่ง วัดโค่งเดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดหม่องเปียงโค่ง” ตามชื่อของผู้สร้างวัด และเรียกกันต่อมาสั้นว่า “วัดโค่ง” และได้รับชื่อวัดเป็นทางการว่า “วัดธรรมโสภิส” ในปัจจุบัน แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกกันติดปากว่า “วัดโค่ง” การพบพระที่วัดโค่งก็เนื่องจากองค์พระเจดีย์ของวัดเกิดชำรุดและมีพระไหลออกมา พระที่พบเป็นพระชนิดเดียวกับพระที่พบที่วัดพลับไม่มีผิดเพี้ยน ชาวบ้านก็เข้ามาขุดพระกันมากมาย แม้ทางวัดจะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่สามารถหยุดได้ พระจึงหมดไปจากวัดโค่งในที่สุด

พระวัดพลับพิมพ์ที่หายากที่สุดและมีราคาสูงที่สุดก็คือ พระพิมพ์ยืน หรือบางท่านเรียกว่าพิมพ์วันทาเสมา พุทธลักษณะคล้ายกับปางยืนถือดอกบัว แต่ที่พระเศียรมีเนื้อยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลังของพระเศียร มองดูคล้ายหมวกของทหารฝรั่งในสมัยโบราณ

แต่ผมเองลองพิจารณาดูแล้วคิดว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์นอน และเป็นการแสดงภาพด้วยการมองมุมสูงจากด้านบนลงมาแบบ เบิร์ดอายวิว (Bird Eye View) เสียมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าเนื้อส่วนเกินที่พระเศียรทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้นน่าจะแสดงถึงหมอนหนุนพระเศียร องค์พระแสดงถึงปางไสยาสน์ มือถือดอกบัวพนม น่าจะเป็นปางปรินิพพานเสียมากกว่า เป็นการสันนิษฐานของผมนะครับ เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะทำเป็นเนื้อยื่นออกมาข้างพระเศียรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือแสดงเป็นหมวกแบบฝรั่ง

ครับก็เป็นเพียงความคิดเห็นของผมเท่านั้นนะครับ พระวัดพลับพิมพ์ยืน (นิยมเรียกกันแบบนี้) เป็นพระพิมพ์ที่มีการพบน้อยมาก และเป็นพิมพ์ที่มีราคาสูงที่สุดของกรุนี้ และในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระวัดพลับพิมพ์นี้มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 สิงหาคม 2560 17:07:40

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96531384438276__3614_3619_3632_3614_3636_3592.jpg)
พระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีพระกรุเนื้อชินชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง จังหวัดสุโขทัย ในปีสองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ ผมเองได้พบพระกรุวัดเขาพนมเพลิงแบบหนึ่ง เป็นพระองค์เล็กๆ รูปทรงสามเหลี่ยม ผิวปรอทจับขาวประปราย สอบถามดูเขาบอกว่า “พระพิจิตรข้างเม็ด กรุเขาพนมเพลิง”

ฟังดูแรกๆ ก็งงๆ อยู่พอสมควรครับ เพราะในสมัยที่ยังเรียนอยู่ก็เคยติดตามอาจารย์ขึ้นไปศึกษาโบราณสถานที่ศรีสัชนาลัย และก็ขึ้นไปบนเขาพนมเพลิงด้วย ก็รู้ว่าเขาพนมเพลิงอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ทำไมจึงเรียกว่าพระพิจิตร

วัดเขาพนมเพลิง เป็นโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่บนเขาพนมเพลิงซึ่งเป็นเขาเล็กๆ มีตำนานบอกเล่าในการสร้าง สำหรับประกอบพิธีบูชาไฟในเมืองศรีสัชนาลัย วัดเขาพนมเพลิงมีเจดีย์ประธานทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลง วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปและเจดีย์ราย

เรื่องพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง ผมมาเจอในสนามพระปีสองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ จึงขอเจ้าของดู หยิบพระมาส่องดูก็เห็นเนื้อโลหะที่ความเก่า มีร่องรอยการระเบิดผุปะทุอยู่แสดงความเก่าให้เห็น และก็เชื่อว่าไม่เก๊แน่ก็เลยเช่ามา ราคาขณะนั้นยังไม่แพงแค่ไม่กี่ร้อย และก็กลับมาค้นหาความเป็นมาว่าอย่างไร จึงทราบว่าพระกรุวัดเขาพนมเพลิง แตกกรุประมาณปี พ.ศ.2507 มีการลักลอบขุดพระ และพบพระมากมาย มีหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ที่พบในที่กรุอื่นๆ ก็มาก เช่น พระพุทธชินราช เนื้อชิน พระศาสดา พระลีลาซุ้มเรือนแก้ว พระร่วงนั่งหลังตัน (คล้ายๆ กับพระร่วงนั่งหลังลิ่ม) และพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งพระพิจิตรข้างเม็ดด้วย พระเกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ มาศึกษาดูกรุวัดเขา พนมเพลิงเป็นกรุที่อยู่สูง จึงไม่ถูกน้ำท่วม องค์พระจึงค่อนข้างสมบูรณ์ มีผิวปรอทจับอยู่ถึงแม้ว่าจะผ่านกาลเวลามาถึงหลายร้อยปีก็ตาม

ก็มาถึงว่าทำไมจึงเรียกว่า “พระพิจิตรข้างเม็ด” สอบถามคนรุ่นเก่าจึงทราบว่า พระพิมพ์นี้เคยพบที่จังหวัดพิจิตร ที่วัดบ้านกล้วย เป็นพระเนื้อชินเงิน แต่ผิวพระออกสีดำ และมีสนิมเกล็ดกระดี่เกาะผิวพระ พระส่วนมากที่พบที่กรุวัดบ้านกล้วย จะชำรุดสนิมกินผุเกือบหมด องค์พระจะค่อนข้างหนากว่าของกรุเขาพนมเพลิง พระที่พบที่กรุวัดบ้านกล้วยมีชื่อเรียกกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ด เนื่องจากขอบโดยรอบจะมีเม็ดๆ ปรากฏอยู่โดยรอบ ต่อมาเมื่อมีการพบพระในลักษณะเดียวกันที่กรุวัดเขาพนมเพลิง จึงเรียกชื่อตามพระกรุของเมืองพิจิตร แต่ใส่ชื่อกรุตามลงไปเพื่อให้รู้ว่าพบที่กรุใด

ครับพระพิจิตรข้างเม็ดกรุวัดเขาพนมเพลิงก็มีขนาดเล็กๆ เช่นเดียวกับพระพิจิตร พิมพ์ก็เหมือนกัน ผิดกันที่ความหนาของกรุวัดเขาพนมเพลิงจะบางกว่า และที่สำคัญผิวของพระกรุวัดเขาพนมเพลิงมักจะมีคราบปรอทจับ ด้านหลังของพระพิจิตรกรุบ้านกล้วยจะเป็นแบบหลังลายผ้า แต่ของกรุวัดเขาพนมเพลิงมีทั้งหลังลายผ้า หลังตัน และหลังแอ่งครับ ปัจจุบันก็หาพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิงแท้ๆ ชมค่อนข้างยาก ของปลอมมีระบาดมานานแล้วครับ แต่ธรรมชาติความเก่าของพระก็ยังทำไม่ได้ดี พอให้สังเกตได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52150550650225__3614_3619_3632_3611_3636_3604.jpg)
ปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อโลหะอีกองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่อดีต ก็คือพระปิดตาแร่บางไผ่ ของหลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี และเป็นพระปิดตาแบบเดียวที่ใช้แร่เหล็กมาถลุงหลอม เทเป็นองค์พระและเป็นยอดแห่งพระปิดตามหาอุตม์เนื้อโลหะของนนทบุรี

วัดโมลี หรือเดิมเรียกกันว่า วัดใหม่สุวรรณโมลี พระอารามแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี วัดนี้สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2369 ผู้สร้างวัดชื่อเถื่อน ต่อมาได้อุปสมบทและเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาได้ลาสิกขาบทไป เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ชื่อแก้ว เจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ชื่อจัน เป็นพระอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมสูง และเป็นผู้สร้างพระปิดตาแร่บางไผ่อันโด่งดัง

หลวงปู่จันได้ค้นพบว่ามีสายแร่เหล็กจากคลองบางไผ่และบางคูรัด ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหมาะแก่การสร้างวัตถุมงคล ที่ทรงอานุภาพทางคงกระพันและแคล้วคลาด ท่านจึงคิดนำแร่ชนิดนี้มา สร้างเป็นพระปิดตามหาอุตม์ ท่านได้ให้ลูกศิษย์ของท่านพายเรือพาท่านออกตามหาแร่ตามคลองบางไผ่ ซึ่งก็พบแร่ชนิดนี้อยู่ในน้ำตามคลองบางไผ่จำนวนหนึ่ง

ท่านก็ได้นำเอามาใส่ตุ่มแช่น้ำไว้ข้างๆ กุฏิของท่าน ว่ากันว่าท่านได้เลี้ยงแร่ไว้ในตุ่ม ซึ่งต้องใช้คาถากำกับเพื่อให้ตัวแร่ออกเพิ่มจำนวน

หลวงปู่จันยังได้ออกตามหาแร่บางไผ่อีกตลอด ได้บ้างไม่ได้บ้าง จนในที่สุดแร่ในคลองบางไผ่ ก็หายไปหมดไม่พบอีก ท่านจึงได้เข้าสมาธิดูก็รู้ว่า แร่ย้ายตัวเองหนีไปอยู่ที่คลองบางคูรัด ท่านก็ได้ตามไปและพบแร่ชนิดนี้อีกจำนวนหนึ่ง ท่านก็ได้นำมารวบรวมไว้ในตุ่มน้ำ จนมีจำนวนพอที่จะสร้างพระได้
 
ท่านจึงได้เริ่มสร้างพระปิดตาขึ้นประมาณกันว่าในปี พ.ศ.2425 โดยท่านจะให้พระและลูกศิษย์ของท่านปั้นหุ่นเทียนเป็นรูปองค์พระตามที่ท่านกำหนด เป็นองค์ๆ ไป และวางเส้นยันต์ที่ฟั่นเป็นเส้นกลมๆ แบบเส้นขนมจีน นำมาวางเป็นเส้นยันต์ตามที่ท่านกำหนด

ดังนั้น การสร้างด้วยวิธีการแบบนี้ องค์พระจึงไม่มีองค์ใดที่เหมือนกันเป๊ะเลย แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่หลวงปู่จันกำหนดไว้ การเทหล่อก็เป็นแบบเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อทับวัดทอง พระปิดตายันต์ยุ่งของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง คือเทหล่อแบบโบราณด้วยการเข้าดินหุ่น แล้วเททีละองค์

จากกรรมวิธีการหาแร่และกรรมวิธีการสร้าง จึงทำให้พระปิดตาแร่บางไผ่มีจำนวนไม่มากนักครับ และด้วยสาเหตุที่หลวงปู่จันได้เนื้อแร่มาจากคลองบางไผ่เป็นปฐมนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระปิดตาของหลวงปู่จันว่า “พระปิดตาแร่บางไผ่”

ลักษณะของเนื้อพระแร่บางไผ่นั้น จากการหลอมโลหะในสมัยนั้นจึงทำให้เนื้อโลหะ จากแร่เหล็กไม่สามารถหลอมละลายเข้ากันได้อย่างดีนัก อีกทั้งยังมีขี้แร่ผสมอยู่ในตัวเนื้อ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์พิเศษในตัวพระปิดตาแร่บางไผ่

ซึ่งจะปรากฏเส้นเสี้ยนในเนื้อพระที่เกิดขึ้นจากการหลอมแร่ ลักษณะคล้ายเสี้ยนตาล วิ่งสวนกันไปมาในบางจุดซึ่งจะมีในพระแร่บางไผ่แท้ทุกองค์มากน้อยต่างกันไป และเป็นจุดสังเกตในการพิจารณา ดังคำของคนรุ่นเก่ากล่าวว่า “ปิลันทน์ให้ดูไข บางไผ่ให้ดูเสี้ยน” ตัวสนิมของพระปิดตาแร่บางไผ่ จะมีสีสนิมแบบสนิมของเหล็ก เนื่องจากเป็นเนื้อแร่เหล็กครับ

พระปิดตาแร่บางไผ่ สามารถแยกพิมพ์ออกได้คร่าวๆ ดังนี้ 1.พิมพ์หมวกแก๊ป 2.พิมพ์เศียรตัด 3.พิมพ์เศียรโต 4.พิมพ์ทองหยอด 5.พิมพ์ปิดตาไม่โยงก้น ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ อีกบ้างที่ไม่ได้เป็นแบบพิมพ์พระปิดตาก็มี แต่ก็พบน้อยมากครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระปิดแร่บางไผ่มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55088769727283_4_92_696x381_1_.jpg)
พระรอดหนองมน จ.ลพบุรี

วัดหนองมน เป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่ง ใน ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตก็คือ “พระรอดวัดหนองมน” พระรอดเนื้อโลหะอันลือเลื่องนั่นเอง

ที่เรียกกันว่า “พระรอด” นั้น ด้วยพุทธลักษณะค่อนข้างคล้าย “พระรอด วัดมหาวัน” หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของไทย อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า “เป็นเลิศในด้านนิรันตราย” ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับ “พระสกุลลำพูน” จนเป็นที่กล่าวกันว่า “แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน” นับเป็นพระที่มีประสบการณ์มาก จนกลายเป็นพระยอดนิยมพิมพ์หนึ่งของเมืองลพบุรี ณ ปัจจุบันเรียกได้ว่าหายากพอๆ กับพระสกุลลำพูนทีเดียว อีกทั้งค่านิยมก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

พูดได้ว่า ถ้าไม่มี “หลวงพ่อเมือง” ก็คงไม่มี “พระรอดหนองมน” และวัดหนองมนก็คงยังเป็นวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก ด้วยตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วนั้น “พระรอดหนองมน” ไม่ได้สร้างที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในหนังสือเครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวถึง “พระรอดหนองมน” ไว้ว่า …

“… สมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ชอบการแข่งเรือและเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งท่านลงมือทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กๆ มายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยังไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากเมืองพิจิตร มาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุ “พระเนื้อตะกั่ว” จำนวนมากติดตัวลงมาด้วย “

สมภารรูปนั้นก็คือ พระครูเมธีธรรมารมณ์ หรือ หลวงพ่อเมือง ประมาณปี พ.ศ.2444-2446 ท่านได้เดินทางจาก จ.พิจิตร ผ่านจังหวัดต่างๆ จนในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในสมัยพระอธิการแขก เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาพระธุดงค์รูปนี้มาก ในการสร้างอุโบสถวัดหนองมน ท่านได้นำพระที่ติดตัวมาออกแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมผู้มีศรัทธาร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์จนอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์

ส่วนพระที่เหลือได้ก่อ “พระเจดีย์” ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถเพื่อบรรจุไว้ ต่อมาได้มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ “พระรอด หนองมน” ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดอีกหลายครั้งหลายครา

พระรอดหนองมน จะมีเพียงเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น พุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกันทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม.

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร เหนืออาสนะ ฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดย รอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ พิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้เป็น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ และพิมพ์เล็ก

ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้ และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น

ด้วยความที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ “พระรอดหนองมน” มีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูง เช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี พระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปีนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง “ความเก่าของเนื้อขององค์พระ” นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบในกรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย

แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 กันยายน 2560 13:54:13
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18006595389710_1_436_696x552_1_.jpg)
รูปพระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งเป็นพระเครื่องที่ผมไม่ค่อยมีความรู้ เนื่องจากในสมัยแรกๆ ที่เริ่มศึกษานั้นก็ไม่ได้ศึกษาเรื่องราวของพระกริ่งเท่าไรนัก พระกริ่งที่สนใจและได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังก็สนใจแค่พระกริ่งตั๊กแตน พระกริ่งคลองตะเคียน ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันมากๆ แต่พระกริ่งที่เป็นเนื้อโลหะ คือตั๊กแตนนั้นหายากมากๆ เคยลองหาเช่าก็โดนของเก๊มาซะบอบช้ำพอสมควร กว่าจะได้ของแท้ก็เริ่มมีครอบครัวแล้ว จึงได้สมใจครับ

พระกริ่งอีกอย่างที่ผมติดใจก็คือ พระกริ่งบางเก็ง ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื่องจากเพื่อนของผมคนหนึ่ง คุณพ่อของเขามีพระเครื่องแท้ๆ อยู่มาก แต่เจ้าเพื่อนของผมที่เป็นลูกชายคนเดียวกลับไม่สนใจพระเครื่อง สนใจแต่เรื่องม้าแข่ง ชอบเป็นชีวิตจิตใจ ต้องไปสนามม้าทุกอาทิตย์ มีอยู่วันหนึ่งเพื่อนผมคนนี้ก็มาหาผม บอกว่าจะเอาพระกริ่งไปขายหาที่ซื้อให้หน่อย ผมก็รู้ทันทีว่าเจ้านี่จะเอาเงินไปแทงม้าอีกแล้ว เขาบอกว่าได้ทีเด็ดมา เที่ยวนี้รวยแน่ๆ ผมรู้อยู่แล้วเพราะเขาเอาพระมาให้ขายหลายครั้งแล้ว ผมก็ขอดูเห็นเป็นพระกริ่งบางเก็งรุ่น 3 ของท่านเจ้าคุณศรีฯ

ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งที่แต่งสวยทุกองค์ องค์พระอยู่ในสภาพสวยไม่ได้ใช้มีโค้ดและจารที่ใต้ฐาน ผมเห็นก็อยากได้มาก จึงถามว่าจะเอาเท่าไหร่ เขาว่าจะเอาพันห้า ผมก็ต่อว่า 800 ได้ไหม เนื่องจากผมมีตังเท่านั้น ในสมัยนั้นผมยังเรียนอยู่ไม่ค่อยมีตังค์แต่ก็เทหมดตัวเลย แต่เพื่อนผมมันไม่ยอมบอกว่าจะรีบเอาไปสนามม้า ผมเองจนใจจึงต้องพาเจ้าเพื่อนคนนี้ไปที่สนามพระเพื่อนำไปขายให้เซียน พอไปถึงสนามผมก็ทำตัวเป็นผู้จัดการให้เพื่อน เซียนคนแรกต่อเหลือ 800 เท่ากับผม เป็นอันว่าไม่ตกลง คนที่สองต่อ 1,200 ผมก็ยื้อไปถึง 1,500 เจ้าเพื่อนผมจึงบอกให้รีบขาย เป็นอันว่าขายได้ 1,500

หลังจากวันนั้นผมก็เสียดายพระองค์นี้มากและชอบในรูปทรงของพระกริ่งบางเก็ง ดูแล้วน่ารักดี จึงเริ่มศึกษาพระกริ่งบางเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ จึงรู้ว่าพระกริ่งองค์นั้นเป็นพระกริ่งรุ่น 3 ซึ่งเป็นพระแต่งทุกองค์ และนิยมเล่นหากันมาก และศึกษาดู ก็รู้ว่าท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างพระกริ่งบางเก็งไว้อยู่หลายรุ่นเหมือนกัน

พระกริ่งบางเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ รุ่นแรก ท่านสร้างโดยถอดพิมพ์จากพระกริ่งบางเก็งเก่ามาทำเป็นแม่พิมพ์ รุ่นแรกสร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 จำนวน 162 องค์ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงรับเป็นประธาน และทรงเจิมหุ่นพระกริ่ง ท่านเจ้าคุณศรีฯ ตั้งชื่อพระกริ่งรุ่นนี้ว่า “พระกริ่งหลักชัย” วรรณะเนื้อในแดงออกชมพู เนื้อกลับเทาขึ้นประกายเงิน บรรจุกริ่งในตัว 2 รู มีทั้งตอกโค้ดมีไส้และไม่มีไส้ บางองค์มีเหล็กจารของท่านเจ้าคุณศรีฯ ที่ใต้ฐาน

ผมเริ่มศึกษาและขอเพื่อนที่เป็นเซียนพระกริ่งเพื่อขอดูพิมพ์และเนื้อหาของพระ และหาอยู่หลายปี เจอบ้างแต่ราคาไม่ตรงกัน ก็เก็บเงินไว้คอยจังหวะและโอกาส จนได้พระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 สมใจ ผ่านกาลเวลามาหลายสิบปีหลังจากที่เพื่อนผมขายพระไป ราคาก็ขึ้นไปมากโข จากหลักพันกลายเป็นหลักหมื่น (ปัจจุบันอยู่ที่หลักแสน) ก็นับว่าเป็นพระกริ่งองค์แรกที่ผมเช่า ที่เจาะจงที่พระกริ่งบางเก็งก็เพราะชอบในรูปทรงขององค์พระ และมีความหลังเรื่องพระของเพื่อน อีกอย่างหนึ่งก็คือพุทธคุณของพระกริ่งซึ่งดีอยู่หลายทาง ครบเครื่อง พิธีกรรมการสร้างก็เยี่ยม

เรื่องพระกริ่งที่ได้ศึกษามาก็ทำให้รู้ว่าพระกริ่งรุ่นเก่าๆ นั้นกรรมวิธีการสร้างนั้นยากมากที่จะทำให้ถูกต้องตามตำรา พระกริ่งรุ่นเก่าๆ ในประเทศไทยที่นิยมกันมากก็ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ แต่ก็ค่อนข้างหายาก เนื่องจากสร้างแต่ละรุ่นจำนวนไม่มากนักครับ พระกริ่งในรุ่นต่อๆ มาก็เป็นที่นิยม และหายากก็มีนะครับ สนนราคาก็สูงไม่แพ้พระกริ่งรุ่นเก่าๆ เช่น พระกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ พระกริ่งเป็งย้ง หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ จากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ของคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51916730610860_3_64_696x369_1_.jpg)
พระยอดอัฏฐารส พระยอดนิยมเนื้อชินเขียว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีเนื้อของพระที่ทำมาจากดินเผาและทำจากเนื้อชิน เรื่องของเนื้อดินเผานั้นไม่ค่อยจะมีแยกมากสักเท่าไร แต่ถ้าเป็นเนื้อชินจะแยกออกได้หลายชนิด โดยรวมๆ ก็จะเป็นเนื้อชินเงิน ชินตะกั่วสนิมแดง และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่าชินเขียว ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ยอมรับพระเนื้อชินเขียว

แต่ความจริงก็มีจริงๆ ที่เป็นพระกรุพระเก่าและก็ได้รับความนิยม ซึ่งจะบอกว่าเป็นพระเนื้อชินเขียวก็ไม่มีเลยก็ไม่ได้ แต่ความนิยมจะนิยมชินเงินและชินตะกั่วสนิมแดงมากกว่า

ชิน ความหมายในพจนานุกรมที่เกี่ยวกับโลหะบอกว่า “โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุกนิยมใช้ทำพระเครื่อง” ในพระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่า เราจะพบว่าเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ เนื้อชินเงินในสมัยก่อนก็อาจจะแยกเป็นชินหลายๆ อย่าง แต่ก็รวมเป็นชินเงินทั้งสิ้น ชินเงินเป็นโลหะผสมโดยมีตะกั่วเป็นแกนหลักผสมด้วยดีบุก สนิมก็จะออกเป็นสีดำเทา ซึ่งเป็นสีสนิมของดีบุก เมื่อผุกร่อนมากๆ ก็จะมีร่องรอยระเบิดแตกปริ

ส่วนชินตะกั่วสนิม จะเป็นสนิมไขและสนิมแดง สีอาจจะมีสีแตกต่างกันไปตามสภาพของกรุที่พบ อาจจะเป็นสีแดงส้ม สีแดงแสด สีแดงอมม่วงมากน้อยแล้วแต่สภาพกรุ

ส่วนชินเขียวนั้นมีส่วนผสมของธาตุโลหะใดบ้างผมเองก็ไม่ทราบ แต่ก็น่าจะมีตะกั่วเป็นแกนเช่นกัน และน่าจะมีส่วนผสมของโลหะอื่นๆ อีกเช่นกัน สนิมจะเป็นสนิมไข และมีสนิมดำเกาะอยู่ในส่วนลึกอยู่กับผิวพระ

สนิมไขของพระชินเนื้อเขียวแท้ๆ นั้น จะขึ้นปกคลุมหนา ลักษณะของสนิมไขจะขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ หรือที่สมัยก่อนเรียกว่าสนิมไขแมงดาขึ้นทับซ้อนหนา มีสีขาวและขาวอมเหลือง ในส่วนลึกติดกับผิวพระจะมีสนิมสีดำขึ้นเป็นปื้น มีสนิมไขปกคลุม มองดูแล้วคล้ายมีสีอมเขียว

คนในสมัยก่อนจึงเรียกว่า “สนิมเขียว” ในส่วนของสนิมไขถ้าเป็นของเก่าของแท้นั้นสนิมไขจะขึ้นทับซ้อนจนเป็นก้อนแข็ง มองดูคล้ายสบู่กรดในสมัยก่อน สนิมไขของพระชินเขียวที่เก่านั้นแข็งมากไม่หลุดล่อนง่ายๆ ถ้าใช้ถูกสัมผัสจะเป็นมันวาวดูสวยดีเช่นกัน

พระเนื้อชินเขียวนั้นในสมัยก่อนมีคนทำปลอมมากจนไม่เป็นที่นิยมไปในที่สุด มีพวกหัวดีนำแผ่นตัวหนังสือที่ใช้ทำตัวพิมพ์ในสมัยก่อนที่ไม่ใช้แล้ว นำมาหลอมแล้วเทเป็นองค์พระพิมพ์ต่างๆ แล้วไปหมักด้วยกรรมวิธีต่างๆ จนเกิดสนิมแล้วนำมาออกขายมากมายจนไม่มีใครนิยมพระเนื้อชินเขียวไปในที่สุด

แต่ถ้าถามผมว่า พระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระเก่านั้นมีจริงไหม ผมก็ต้องตอบตามความจริงว่ามีครับ แต่ที่เป็นที่นิยมนั้นมีน้อยมาก บางอย่างก็มีสนนราคาสูงด้วย เช่น พระร่วงทรงเกราะ พระยอดอัฏฐารส เป็นต้น ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีผู้นิยมกันมากเนื่องจากมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพันสูง

ส่วนพระเนื้อชินเขียวที่ทำปลอมนั้น มีอยู่มากมายหลายพิมพ์โดยส่วนใหญ่จะทำเลียนแบบพระที่มีความนิยมมากๆ แต่สนิมไขของพระปลอมจะยังไม่เก่าพอและไม่ขึ้นทับซ้อน ความแข็งของสนิมก็ยังไม่มี ล้างออกได้ง่าย

ครับก็มีผู้ถามเกี่ยวกับพระเนื้อชินเขียวมา และในสังคมพระเครื่องเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากในเรื่องเนื้อชินเขียว ผมก็ตอบตามที่ผมเคยเห็นมาและเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับว่า ของแท้นั้นมีจริงๆ ครับ แต่ที่พระส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบเสียมากกว่าครับ เรื่องพระเนื้อชินเขียวนั้นก็คงจะต้องศึกษากันต่อไปด้วยเหตุและผลว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดอัฏฐารส ที่เป็นพระยอดนิยมเนื้อชินเขียว และมีราคาสูง หาพระแท้ๆ ยากครับ โดยนำรูปมาจากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมครับ


จากคอลัมน์ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98040985109077_2_3648_3627_3619_3637_3618_359.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12804771214723_3.2_1_696x384_1_.jpg)
เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก

นับเป็นครั้งสำคัญในประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย “สก” ประดิษฐาน ณ วัตถุมงคลหลวงพ่อทวด และนับเป็นครั้งแรกที่ “เหรียญพระคณาจารย์” ผลิตจาก โรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ เดอร์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเภท ของ “วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด พระนามาภิไธย สก” ของ วัดห้วยมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้าง “หลวงปู่ทวด สก องค์ใหญ่” อาทิ พระบูชาเนื้อว่าน-เนื้อโลหะ, รูปหล่อลอยองค์, พระพิมพ์สี่เหลี่ยม-พิมพ์เตารีด ที่ได้ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมายมาเป็นส่วนผสม โดยสร้างเป็น 4 เนื้อ คือ “เนื้อโลหะ” มี ทอง, เงิน, นวะ และสัตโลหะ “เนื้อผงพุทธคุณ” ผสมชนวนมวลสารพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม “เนื้อว่าน” ใช้ว่านแทบทุกชนิดที่มีในหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี 2497 และเนื้อชินซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว

นอกจากนี้ ยังได้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามตำรับโบราณถึง 3 วาระ คือ พิธีมังคลาภิเษกมวลสาร ณ อุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม, พิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถวัดช้างให้ จ.ปัตตานี และพิธีมหามังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ทำให้วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด พระนามาภิไธย สก ทุกเนื้อทุกประเภท เป็นที่นิยมและยิ่งทวีคุณค่าสูงเป็นทวีคูณตามกาลเวลา

“เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก” เกียรติ ประวัติครั้งแรกของเหรียญคณาจารย์ที่ผลิตโดยโรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ เดอ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส (MONNA DE PARIS) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.864 (พ.ศ.1407) ถือเป็น โรงกษาปณ์ที่เก่าแก่มาก เป็นแหล่งรวมศิลปินด้านงานจิตรกรรม และงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ใช้กรรมวิธีการผลิตที่มีเทคโนโลยีระดับสูง และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต ทำให้สามารถผลิตผลงานคุณภาพชั้นเยี่ยมออกมาเป็นเวลาช้านาน สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของทั่วโลก

ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ผลิตเหรียญที่ระลึกและเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ให้กับพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสมาหลายยุคหลายสมัย รวมทั้งยังได้รับเกียรติให้ผลิตเหรียญที่ระลึกในวาระสำคัญระดับชาติหลายครั้ง อาทิ เหรียญที่ระลึกโอลิมปิก เหรียญกษาปณ์ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป

สำหรับประเทศไทย โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส ได้มีโอกาสสนองเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรก โดยผลิตเหรียญที่ระลึกในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ในนาม “เหรียญที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป ปี 2440” นอกจากนี้ก็มี เหรียญเสด็จกลับจากยุโรปครั้งที่ 2 ปี 2450, เหรียญรัชมงคล ปี 2450 และเหรียญรัชมังคลาภิเษก ปี 2451 เป็นต้น

สำหรับ “เหรียญหลวงปู่ทวด สก” นี้ นับเป็นการรับผลิต “เหรียญพระคณาจารย์” เป็นครั้งแรก เนื่องจากกฎเกณฑ์ในการผลิตงานของ โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส นั้น หากเป็นบุคคลจะต้องมีความสำคัญมาก อาทิ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้นำระดับชาติและระดับโลกเท่านั้น

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อบรอนซ์ ทั้งแบบมีห่วงตุ้มและไม่มีห่วงตุ้ม ซึ่งจำนวนจัดสร้างแต่ละเนื้อไม่มากนัก

เป็นหนึ่งเหรียญอันทรงคุณค่าที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51064339611265_1_269_696x385_1_.jpg)

พระเครื่องหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาของจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีผู้รู้จักแพร่หลาย มีการสร้างอยู่หลายวัด โดยพระเกจิอาจารย์หลายรูป แต่ที่คนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จักก็ยังมีอีกมาก

วันนี้จะขอแนะนำพระเกจิอาจารย์สายแปดริ้วที่สุดยอดแต่จะรู้กันดีในคนท้องถิ่นรุ่นเก่าๆ และพระปิดตาของท่านก็รู้กันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบันก็เริ่มหายาก แต่สนนราคายังไม่แพงครับ

พระครูสุตลงกฎ (หลวงปู่ไข่) วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา หลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อจีนติม โยมมารดาชื่ออำแดงนาก

อายุได้ 12 ปี มารดาก็เสียชีวิต หลวงปู่ไข่จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร อุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดา โดยมีพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดแหลมใต้เป็น พระอุปัชฌาย์บวชให้

เมื่อหลวงปู่ไข่บรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ปั้นจนถึงอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่วัดแหลมใต้ และอยู่จำพรรษาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ปั้น ต่อมาหลวงปู่ปั้นซึ่งสนิทสนมกับหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จึงนำหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้ ไปฝากเป็นศิษย์กับหลวงปู่จีนเพื่อศึกษาพระกรรมฐานและยังได้ออกธุดงค์กับหลวงปู่จีนด้วย

ปี พ.ศ.2443 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมใต้ว่างลงชาวบ้านและคณะสงฆ์พร้อมใจกันนิมนต์ให้หลวงปู่ไข่เป็นเจ้าอาวาสวัดแหลมใต้ หลวงปู่ไข่ได้พัฒนาวัดแหลมใต้ เช่น สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะรองแขวง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ.2448 หลวงปู่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2458 หลวงปู่ได้จัดตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม ต่อมาหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงและเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสุตลงกฎ ในปี พ.ศ.2470 หลวงปู่ได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนเพื่อให้ชาวบ้านได้ส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ชื่อโรงเรียนสุตาคาร

หลวงปู่ไข่ตรากตรำทำงานมาจนถึงปี พ.ศ.2473 ก็มรณภาพ หลวงปู่ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดแหลมใต้ เป็นแหล่งรวมความสามัคคีของชาวบ้าน และเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านมาก

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องของท่าน เป็นเนื้อว่าน 108 ผสมรากรักซ้อน ไม้ไก่กุก ตามแบบของหลวงปู่จีน และผสมคลุกเคล้ากับรังชันโรง สีของพระจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม บางองค์จะมีคราบขาวๆ ปรากฏบนผิวพระ บางองค์ผิวจะแตกราน อาจจะเป็นเพราะมีส่วนผสมของชันโรงน้อย

พระเครื่องของหลวงปู่ไข่วัดแหลมใต้มีอยู่หลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระปิดตาหลายๆ แบบ นอกจากนี้ยังพิมพ์แบบพระสมเด็จองค์เล็กๆ ด้วย พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย และแคล้วคลาด เป็นพระดีสนนราคายังไม่แพงอยู่ที่หลักพันเท่านั้นแต่ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องของหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้บางพิมพ์มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92926316087444_view_resizing_images_1_.jpg)
พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เพื่อนบางคนที่รู้จักบ้างสอบถามกันมามากมายเรื่องเกี่ยวกับการแตกกรุจากที่ต่างๆ และมีการประชาสัมพันธ์ให้เช่าบูชาในโลกการสื่อสารไร้พรมแดน โดยส่วนมากก็จะเป็นพระที่อยู่ในความนิยมสูงๆ เช่น พระสมเด็จฯ โดยอ้างว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง พระหลวงพ่อเงิน บางคลาน พระหลวงปู่ทวด อาจารย์ทิมสร้างเป็นเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 รุ่นเดียวกับที่วัดช้างให้บ้าง ก็ว่ากันไป ก็มีถามกันมามากมายว่าแท้หรือไม่ เช่าได้ไหม (ส่วนมากราคาถูกกว่าความนิยมมาก) อะไรประมาณนี้ครับ

พระสมเด็จวัดโน้นวัดนี้ออกข่าวว่าพบกรุพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ และทางวัดหรือทางอะไรก็ตามเปิดให้เช่าบูชา ราคาก็ไม่แพงหลักพันบ้าง หลักหมื่นบ้าง มีเรื่องราวกล่าวอ้างต่างๆ นานา เขียนกันเป็นประวัติและทำเป็นหนังสือขายเลยก็มี บางรายก็มีหนังสือรับรองว่าแท้อีกต่างหาก เพื่อนผมก็ถามว่าอย่างนี้เชื่อถือไม่ได้หรือ?

แหมเรื่องนี้ก็แล้วแต่ใครจะเชื่อนะครับ เชื่อศรัทธาก็เช่าไป แต่ถ้าถามผมผมเชื่อในหลักฐานที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งบวชอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่เป็นเณร และอยู่รับใช้ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณ สมเด็จฯ เท่านั้นครับ ซึ่งท่านก็บอกและบันทึกไว้โดยละเอียด ว่าเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2409 มีสร้างที่วัดระฆังฯ โดยสร้างไปเรื่อยๆ และแจกไปเรื่อยๆ สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2411-2413 บรรจุเจดีย์ และสร้างบรรจุไว้ที่วัด ไชโยฯ เท่านั้น พิมพ์ก็มีอยู่หลายแม่พิมพ์ และเป็นมาตรฐานสากลนิยม มีมาตรฐานมูลค่าราคารองรับ พระสมเด็จฯ ของทั้ง 3 วัด มีสนนราคาสูงมาก ทั้งวัดระฆังฯ และกรุวัดบางขุนพรหม ถ้าสภาพไม่หัก ไม่มีซ่อมเสริมสวย ขนาดสึกๆ ก็ต้องมีหลักล้านบาทขึ้นไป เท่าที่เคยสอบถามดู ก็ต้องสองล้านขึ้นครับ ส่วนพระชำรุดหักบ้าง ก็ต้องมีหลายแสนตามสภาพ ส่วนของวัดไชโยฯ ก็ว่าตามพิมพ์ พิมพ์นิยมไม่สวย สึกๆ ก็มีหลายๆ แสนขึ้นไป ส่วนที่สวยๆ ก็หลักล้าน

ครับนี่เป็นความจริง ถ้าใครมีพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ บางขุนพรหม หรือวัดไชโย ถ้าแท้ตามมาตรฐานสากล เอามาออกตัวให้เช่าได้เลยครับ ที่ชมรมพระเครื่องมรดกไทย พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน หรือที่ท่าพระจันทร์ เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีครับ เอามาให้ใครหรือร้านไหนก็ได้ครับ มีคนเช่าแน่นอนครับ

ทีนี้เรามาดูที่เขาว่ากรุแตกและเป็นของแท้ แต่ผิดราคากันบ้าง พิจารณาด้วยเหตุผลดูทั้งๆ ที่ยังพิจารณาเก๊แท้ไม่เป็นนะครับ ถ้าเป็นพระแท้ถูกต้องตามหลักสากลนิยม ก็รู้ๆ กันดีว่า หลักราคานั้นอยู่ที่เท่าไร แล้วทำไมไม่เอาไปให้เช่าหรือประกาศให้เช่าตามราคาล่ะครับ และมีจำนวนพระมากๆ ด้วย ได้เงินมากกว่ากันเยอะนะครับ มีด้วยหรือครับรู้ทั้งรู้ว่าราคาเท่าไร แต่อยากจะขายถูกๆ ใช้เหตุผลคิดก็ได้นะครับว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ เอาล่ะพระหลักล้านหลักหลายแสน เปิดให้เช่าแค่แสนเดียวก็ได้ถ้าเป็นพระแท้จริงๆ รับรองว่าหมดภายในสองสามวันครับ ดูๆ แล้วก็เหมือนพวกตกทองครับ คนที่เชื่อโดยไม่วิเคราะห์ด้วยเหตุและผลก่อนก็เพราะความโลภ โลภเพราะอยากได้ของดีของแพงแต่ราคาถูกเช่าไว้เผื่อมีกำไรหนึ่ง เช่าไว้ด้วยศรัทธา อยากได้ของแพงในราคาถูกหนึ่ง ก็คิดดูนะครับว่าเราจะชอบแบบไหนก็เลือกตามนั้นครับ

ผมคงไม่บอกนะครับว่าที่ไหนบ้าง เพราะมีเยอะมากมายครับที่ประชาสัมพันธ์กันอยู่ ลองเช่าหาดูแล้วนำไปขายดูตามศูนย์พระก็จะทราบความจริงเองครับ กันเหนียวก็เช่ามาสัก 2 องค์ เอาไปให้เช่าองค์นึง เดี๋ยวก็จะทราบความจริงที่พิสูจน์ได้ เองครับ

เรื่องแบบนี้เขาทำกันเป็นขบวนการครับ เป็นหมู่ๆ ร่วมกันกินร่วมกันหลอก มากมายหลากหลายครับ จะให้ใครไปปราบหรือไปยุติเรื่องแบบนี้ไม่ได้หรอกครับ ต้องหยุดได้ด้วยตัวท่านเองครับ ตัดโลภออกไปใช้เหตุผลวิเคราะห์ด้วยตัวเองก็จะตาสว่างครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ องค์สวย ซึ่งเป็นพระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และมีมาตรฐานราคารองรับหลายล้านบาท มาให้ชมเพื่อการศึกษาครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56259007006883_1_379_696x368_1_.jpg)
พระกริ่งสวนเต่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีพระกริ่งเก่าอยู่แบบหนึ่งที่ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก มีเพียงการสันนิษฐานคาดเดากันเท่านั้น แต่ก็มีความนิยมเล่นหากัน ก็คือพระกริ่งสวนเต่า เนื้อหาของพระดีและเก่ามีอายุ ศิลปะบนองค์พระก็สวยงาม ที่สำคัญแต่ละองค์จะไม่มีซ้ำกันเลย เป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์โดยไม่มีองค์ใดซ้ำกันเลย ที่แปลกก็คือไม่มีประวัติบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือพบบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุ

พระกริ่งสวนเต่า เป็นพระกริ่งที่ผู้นิยมสะสมเช่าหามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายแล้ว แต่ประวัติความเป็นมาก็ได้แต่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำพิธีหล่อที่บริเวณสวนเต่าในพระบรมมหาราชวัง ว่ากันไว้อย่างนั้น บางกระแสก็ว่าพระสงฆ์ที่ทำพิธีปลุกเสกก็คือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ส่วนข้อเท็จจริงก็ต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ เนื่องจากยังค้นไม่พบหลักฐานเอกสารอ้างอิงเป็นลายลักษณ์อักษร

พระกริ่งสวนเต่า ศิลปะขององค์พระนั้นสวยงามประณีตงดงามจนน่าเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง ที่สำคัญจะมีเอกลักษณ์ขององค์พระที่ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งต้องเป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ องค์พระทุกองค์มีการแต่งหุ่นเทียนสวยงามทุกองค์ ไม่พบการแต่งตะไบ ผิวเนียนตึงทุกองค์ น่าเชื่อได้ว่าเป็นฝีมือช่างหลวง พระกริ่งสวนเต่าจะมีทั้งอุ้มบาตรลักษณะเป็นบาตรอันใหญ่และมีลวดลายตกแต่งสวยงาม บ้างถือดอกบัว บ้างถือสังข์ ส่วนพระหัตถ์จะแสดงอาการแตกต่างกันไป บางองค์สวมประคำ บางองค์ก็ไม่สวมประคำ เนื้อหาของพระกริ่งสวนเต่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวสีน้ำตาลเข้มอมดำ

จำนวนพระกริ่งสวนเต่าที่แท้ๆ ที่พบในสังคมพระเครื่องนั้นมีไม่มากและหายาก ส่วนพระที่เกจิอาจารย์สร้างล้อแบบในภายหลังก็มี แต่ศิลปะและเนื้อหานั้นแตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่พระที่สร้างล้อแบบเนื้อจะออกเป็นเนื้อทองเหลืองเป็นส่วนใหญ่ เนื้อไม่จัดอย่างพระกริ่งสวนเต่าแท้ๆ และศิลปะจะไม่สวยงามอย่างพระกริ่งสวนเต่าแท้ๆ

ครับประวัติความเป็นมาของพระกริ่งสวนเต่านั้น เป็นการสันนิษฐานและบอกเล่าต่อๆ กันมาตามความเชื่อของคนรุ่นเก่า และก็เชื่อกันมาอย่างนี้ครับ ในเรื่องหลักฐานอื่นๆ คงต้องค้นคว้ากันต่อไป ในส่วนของความนิยมพระกริ่งสวนเต่านั้นผู้ที่นิยมพระกริ่งเก่าๆ ก็ให้ความนิยมสูง สนนราคาก็อยู่ที่หลักแสนครับ แต่ก็หายากครับไม่ค่อยพบเห็นกันเลย นานๆ จะได้เห็นกันสักที

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสวนเต่ามาให้ชมกัน 2 องค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 ตุลาคม 2560 18:46:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78720457272397_14584826851458482716l_1_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก

"หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า จนอาจกล่าวได้ว่า "ถ้าไปเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่ได้ไปกราบสักการะ ถือว่าไปไม่ถึงสุพรรณบุรีทีเดียว"

การสร้างวัตถุมงคล "หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์" นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งล้วนคงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระหลวงพ่อโตเสมอมา แต่ "เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก" ที่จะกล่าวถึงนี้ นับเป็นเหรียญเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นเหรียญพระพุทธอันดับหนึ่งของจังหวัด ที่ปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากนัก ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์การจัดสร้างแล้ว อาจเป็นด้วยพระเกจิผู้ปลุกเสก คือ "หลวงพ่อสอน" อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดป่าเลไลยก์ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวสุพรรณบุรี

พระครูโพธาภิรัต หรือหลวงพ่อสอน เป็นชาวบ้านค่ายเก่า จ.สุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ไปราว 100-200 เมตร เกิดในราวปี พ.ศ.2408 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสิน-นางนิ่ม ตอนเด็กๆ ศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทยและอักขระขอมที่วัดประตูสาร เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2429 จึงอุปสมบทที่วัดประตูสาร

หลวงพ่อสอนเป็นพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการศึกษา ท่านมีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกล่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคม แล้วข้ามฟากมาเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดสุวรรณภูมิ และมาจำพรรษาวัดไชนาวาส (วัดชายนา) เพื่อศึกษาเพิ่มเติม ครั้นเมื่อทราบว่าหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า เป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐานและพระปริยัติธรรม ก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาจนแตกฉานอีกด้วย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระครูวินัยธร" ฐานานุกรมของพระวิบูลย์เมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ระยะหนึ่ง ขณะนั้นวัดป่าเลไลยก์ก็เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากอีกทั้งไม่มีพระจำพรรษา คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้วัดป่าเลไลยก์ต้องร้างไปอย่างแน่นอน จึงมีมติแต่งตั้งให้ "พระครูสอน" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ในปีพ.ศ.2456 เพื่อฟื้นฟูสภาพวัดโบราณให้คงอยู่สืบไป

เมื่อเข้าปกครองดูแลวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อสอนก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำ 3 บ่อ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา ริเริ่มการศึกษาทั้งด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวสุพรรณบุรีและใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายได้เป็น "พระครูโพธาภิรัต" ก่อนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุ 67 พรรษา 46

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้พอสมควร ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางและหายากยิ่งในปัจจุบัน เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2461, เหรียญพระพุทธหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี พ.ศ.2462, เหรียญรูปเหมือนทรงอาร์ม ปี พ.ศ.2470 ฯลฯ

สำหรับเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ มีความสำคัญคือ จัดสร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ยกฐานะ "วัดป่าเลไลยก์" ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462 ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวตำบลรั้วใหญ่และชาว จ.สุพรรณบุรี ยิ่งนัก ในการนี้จึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง "หลวงพ่อโต" อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อโต" ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึก ความสำคัญประการที่สอง ก็คือสมัยนั้นเป็นสมัยที่หลวงพ่อสอน เป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ จึงได้รับปลุกเสกโดย "หลวงพ่อสอน" พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมและเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของสาธุชนนั่นเอง

เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อโต พระประธาน ในปางป่าเลไลยก์ (ปาลิไลยก์) มีรูปช้างถวายกระบอกน้ำ ลิงถวายรวงผึ้ง ตกแต่งพื้นหลังอย่างสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ต่อมาลงมาเป็นปีที่สร้าง "๒๔๖๒" และอักษรไทยชื่อพระประธานว่า "หลวงพ่อวัดป่าเรไร"

ปัจจุบันยังคงเป็นที่ใฝ่ฝันของนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญโดยเฉพาะชาวสุพรรณบุรีครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86000277557306_1_416_696x449_1_.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านได้สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มในปี พ.ศ.2459 นับว่าเป็นเหรียญรุ่นเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันหาดูยากแล้วครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อ ปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนัก วัดตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติ ทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอา ทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวช ก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมี พระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับ พระอาจารย์เล็ก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตาล

ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้าน ชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์ เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์ และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียงเช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม เรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร

ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนันทำตัวเป็น ผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม หลวงกล้าก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม

แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้นหลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำเคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ” มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72556582217415_view_resizing_images_4_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ รุ่นแรก ปี 2487

ในปี พ.ศ.2452 ไมีการจัดทดสอบวิทยาคมและพลังจิตของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศ ณ บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม มีพระเกจิเข้าร่วมประมาณร้อยกว่ารูป งานนี้เรียกได้ว่า "พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม" ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มี สมเด็จพระสังฆราชฯ (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ผลปรากฏว่า 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ ผู้มีความความเข้มขลังในวิทยาคมและพลังจิตสูงสุดแห่งสยาม ยุค 2452 ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (วัดบางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และ หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพร

หลวงพ่อจอน สิริจนฺโท วัดดอนรวบ จ.ชุมพร 1 ใน 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ฯ นั้น ชื่อเสียงของท่านอาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยของหลายๆ ท่าน แต่สำหรับสาธุชนชาวใต้แล้วไม่มีใครไม่รู้จัก "หลวงพ่อจอน" หรือ "หลวงปู่จอน" หนึ่งในพระอาจารย์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่พระองค์เคารพนับถือเป็นอย่างสูง นอกเหนือจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

หลวงพ่อจอน เป็นชาวสุราษฎร์ธานี เกิดที่บ้านท่าจาย ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2392 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายปลอด-นางคง เทพทอง มีพี่น้องรวม 3 คน วัยเด็กศึกษาวิชาสามัญจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนชาย บรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุได้ 18 ปี ที่ วัดดอนชาย อ.ท่าชนะ และเมื่ออายุครบ บวชปี พ.ศ.2413 จึงอุปสมบท ณ วัดดอนชาย แห่งนี้ โดยมีพระอาจารย์เทศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "สิริจนฺโท"

ตลอดชีวิตสมณเพศของท่าน มักถือธุดงค์เป็นนิจเพื่อฝึกจิตวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจะธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ครั้งละนานๆ จึงเชื่อกันว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณวิเศษสูงส่งและมีฌานสมาบัติอันแก่กล้า เพราะการออกธุดงค์ของพระเกจิ ในสมัยก่อนนั้น ถ้าไม่แน่จริงไม่มีทางผ่านพ้นเป็นแรมเดือนแรมปีอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าท่านน่าจะได้พบเจอ และศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์หลายๆ รูป ในระหว่างการธุดงควัตร โดยไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด

จนวันหนึ่งท่านธุดงค์มาปักกลดที่บ้านดอนรวบ ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติจึงนิมนต์ให้มาสร้างวัดดอนรวบ ระหว่างที่มาอยู่ใหม่ๆ ท่านเจอพวกลาวโซ่งอยากลองดีปล่อยของคุณไสยมา แต่ท่านก็สามารถรับไว้ได้โดยไม่ตอบโต้ จนทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือ มีการบริจาคที่ดิน ช่วยกันสร้างกุฏิ ศาลา เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ จนเป็น "วัดดอนรวบ" ที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบันในที่สุด จึงนับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดดอนรวบ

หลวงพ่อจอน มรณภาพในราวปี พ.ศ.2482 สิริอายุ 90 ปี 60 พรรษา ตลอดชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ ท่านไม่ได้สร้างวัตถุมงคลใดๆ เลย เพียงมุ่งเน้นสอนสั่งธรรมะให้เป็นคนดีปฏิบัติดี จะมีก็แต่เครื่องรางของขลังแจกชาวบ้านบ้างเล็กน้อย ส่วนวัตถุมงคลต่างๆ นั้น ล้วนจัดสร้างโดยบรรดาลูกศิษย์ลูกหาหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว เพื่อเป็นที่ระลึก ซึ่งปรากฏทรงพุทธคุณเป็นเลิศ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "เหรียญหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ รุ่นแรก ปี 2487" ที่ได้รับการปลุกเสกจากพระเกจิ ชื่อดังของชุมพรหลายรูป ซึ่งจัดสร้างน้อยมากและหายากยิ่ง  

เรียกว่าถ้าสวยสมบูรณ์ก็เป็นหลักแสนทีเดียวครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ข่าวสด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74795432264606_hgg_696x352_1_.jpg)

พระปรอท หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว

พระวินัยธร หรือหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี สมญา “เทพเจ้าแห่งเมืองสิงห์” หรือที่ญาติโยมมักเรียกขานด้วยความเคารพว่า “พ่อใหญ่” เพราะนอกจากท่านจะเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคุณทางด้านไสยเวทแล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ให้ความอนุเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านทั่วไป โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เปรียบเสมือนบิดาของชาวบ้านแถบวัดชีปะขาวและบ้านใกล้เรือนเคียงทีเดียว

หลวงพ่อซวง นามเดิมว่า ซวง เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2442 ที่ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี เมื่ออายุได้ 26 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโบสถ์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง โดยมี หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) อ.ไชโย พระเกจิชื่อดังผู้สร้างพระพิมพ์สมเด็จวัดนกอันลือลั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อภโย” จากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาว จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

ได้รับการถ่ายทอดวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้นและวิทยาคมต่างๆ จาก “พระอาจารย์คำ” วัดสิงห์ ต.พระงาม ศิษย์หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังในอดีต เมื่อสำเร็จแล้ว พระอาจารย์คำจึงแนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อแป้น” วัดเสาธงใหม่ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นสหธรรมิก ศิษย์ของพระเกจิชื่อดังหลายรูป อาทิ พระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม., หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส จ.สมุทรปราการ, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม และองค์บรมครูพระเทพโลกอุดร ฯลฯ เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆ เพิ่มเติม

จากนั้นหลวงพ่อแป้นก็แนะนำให้ไปศึกษาต่อกับหลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน จ.สุโขทัย สหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาก ท่านเป็นพระเถระที่เก่งกล้าทางด้านไสยเวทเป็นอย่างสูง เป็นศิษย์สายตรงของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2510 สิริอายุ 69 ปี พรรษา 45 โดยก่อนมรณภาพท่านได้บอกกับคณะกรรมการวัดว่า “ถ้าต้องการให้โบสถ์หลังใหม่ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่แล้วเสร็จ อย่าเพิ่งฌาปนกิจสังขารของท่าน มิฉะนั้นโบสถ์จะสร้างไม่เสร็จ”

คณะกรรมการวัดจึงปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของท่าน โดยเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ในหีบไม้อย่างมิดชิด ประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้คณะศิษย์และชาวบ้านได้บูชากราบไหว้และร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นาน โบสถ์หลังใหม่ก็สร้างเสร็จตามคำประกาศิตของหลวงพ่อ

หลังจาก “หลวงพ่อซวง” มรณภาพไปแล้ว 26 ปี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2536 คณะกรรมการวัดได้เปิดหีบไม้ที่บรรจุสรีรสังขารของท่าน เพื่อทำพิธีฌาปนกิจ ปรากฏว่าสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา เป็นที่น่าอัศจรรย์ เนื้อหนังมังสาอยู่ครบถ้วน แต่แห้งและแข็งเหมือนหิน

คณะกรรมการวัดจึงเปลี่ยนใจไม่ประกอบพิธีฌาปนกิจ และนำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยบรรจุไว้ในโกศขนาดใหญ่ สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้ภายในวัดชีปะขาว เพื่อเป็นที่บูชากราบไหว้ของคณะศิษย์และชาวบ้านทั่วไป

หลวงพ่อซวงจัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท ทั้งเนื้อโลหะ เนื้อผง รูปถ่าย เครื่องราง ฯลฯ แต่ละประเภทมีจำนวนสร้างน้อย จึงค่อนข้างหายาก อาทิ พระลีลาหล่อ รูปหล่อ เหรียญหล่อ พระปรอท ล็อกเกต พระผงกลีบบัว ตะกรุด แหวน ฯลฯ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศ เป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องยิ่งนัก

ในบรรดาวัตถุมงคลทั้งหมดนั้น ที่ถือว่าเป็น “สุดยอด” ต้องยกให้ “พระปรอท”

จัดสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2498 ตามตำรับโบราณที่ศึกษามาและยังปลุกเสกเดี่ยวเพิ่มเติม จึงเข้มขลังด้วยพุทธคุณเหนือคำบรรยาย “พระปรอท” จะมีขนาดเล็ก ลักษณะเหมือนกลีบบัว และมีพิมพ์เดียวเท่านั้น ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปในท่านั่งสมาธิเต็มองค์ เหนืออาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระใดๆ ประการสำคัญคือ จำนวนสร้างประมาณ 200 องค์เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่กับผู้ที่คุ้นเคย ญาติโยมในละแวกวัดในกิจนิมนต์ต่างๆ

ปัจจุบันถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลหลวงพ่อซวงที่หายากยิ่งครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45686015445325_2_214_696x519_1_.jpg)
พระกลีบบัวอรหังรุ่นแรก ที่ทันหลวงปู่ไข่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) ผู้นิยมพระเครื่องต่างก็รู้จักกันดี พระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ล้วนเป็นที่ปรารถนาของผู้นิยมพระเครื่องมาก เช่น พระปิดตา และเหรียญของท่าน ซึ่งหายากมากในปัจจุบันและมีสนนราคาสูงมากๆ ครับ แต่ก็มีพระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ก่อนมรณภาพ และมีจำนวนพอสมควร สนนราคาก็ไม่สูงนัก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนทราบกันมากนักว่าเป็นพระเครื่องที่ท่านสร้างและทันท่าน

หลวงปู่ไข่ เกิดที่ ต.ท่าไข่ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ.2400 ได้บวชเณรที่วัดแหลมใต้ และต่อมาได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดโสธรฯ และได้ย้ายมาจำพรรษาที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ต่อและได้เข้ามาศึกษาต่อที่วัดในกทม. และมาจำพรรษาอยู่ที่ จ.สมุทรสงคราม

จนกระทั่งอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม หลวงปู่ไข่ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและธุดงค์ไปหลายจังหวัด จนกระทั่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน กทม. เนื่องจากในสมัยนั้นท่านเห็นว่าวัดเชิงเลนเป็นวัดที่เงียบสงบดีเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

เมื่อท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดเชิงเลนแล้วท่านก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาสช่วยเหลืออนุเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป และท่านได้พัฒนาวัด เช่นสร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมแซมพระพุทธรูปที่ชำรุด สร้างกุฏิ สร้างถนน สร้างสระน้ำ ถังรับน้ำฝน เป็นต้น หลวงปู่ไข่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่รักเคารพของประชาชนในแถบนั้นมาก

ลูกศิษย์ได้ขอให้ท่านสร้างพระไว้บูชาคุ้มครองป้องกันตัว ท่านจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักตามตำรับของพระปิดตาทางสายตะวันออกขึ้น ซึ่งปัจจุบันหายากมาก และมีสนนราคาสูงมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่ไข่จัดสร้างเหรียญที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุของหลวงปู่ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์และมีราคาสูงมากๆ ครับ

นอกจากวัตถุมงคลที่เป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว พระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งทางวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น และขออนุญาตหลวงปู่ไข่ในการสร้างครั้งนี้ ในการสร้างนั้นได้จัดสร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวหลวงปู่ พระกลีบบัวอรหังในปัจจุบันยังพอได้ สนนราคาหลักหมื่นต้นๆ ซึ่งย่อมเยากว่าพระเครื่องอื่นๆ ของท่านมาก เนื่องจากในสมัยก่อนมีจำนวนมากหาได้ไม่ยากนัก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก นอกจากนี้หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดยังมีการสร้างขึ้นอีกครั้ง รูปลักษณ์คล้ายๆ กันแต่ก็เป็นคนละแม่พิมพ์กันโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ การเช่าหาสะสมจึงสับสนกันไปบ้างในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันแยกแยะกันได้ด้วยตัวแม่พิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัวอรหังรุ่นแรกที่ทันหลวงปู่ไข่มาให้ชม เรียกได้ว่าเป็นของดีราคาไม่สูงมากครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”
หนังสือพิมพ์ข่าวสด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57913724871145_IMG_696x386_1_.jpg)
พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เป็นพระกรุที่เคยโด่งดังในอดีตของจังหวัดลพบุรี เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ในสมัยนี้จึงไม่ค่อยมีใครนำมาห้อยคอ แต่พุทธศิลปะและพุทธคุณที่เคยมีประสบการณ์มาในอดีตนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดไก่เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของลพบุรี ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ที่หมู่ 5 ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี หลักฐานสิ่งก่อสร้างแทบไม่เหลืออะไรอยู่เลย นอกจากฐานองค์พระเจดีย์ก่อด้วยอิฐกับร่องรอยการขุดหาสมบัติกระจัดกระจายไปทั่ว

น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานอะไรเหลือเท่าไรนัก จึงไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด จากสิ่งที่เหลืออยู่ก็พอสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีการสร้างหรือบูรณะในสมัยพระราเมศวร (พ.ศ.1893-1912) ที่ฐานองค์พระเจดีย์ในสมัยก่อนยังคงมีลายปูนปั้นเป็นรูปไก่หลงเหลืออยู่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดไก่”

ในประมาณปี พ.ศ.2489-2491 ได้มีการลักลอบขุดกรุที่องค์พระเจดีย์ ก็พบพระเครื่องมีทั้ง พระเนื้อชินเงิน พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระเนื้อดินเผา มีอยู่หลายพิมพ์ ซึ่งพระส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ฐานเป็นกลีบบัวอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระมีทั้งทรงเครื่องและแบบผมเวียน เท่าที่สังเกตดู ศิลปะของพระมีอยู่หลายยุค ทั้งแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ (อู่ทอง 1) และศิลปะแบบอยุธยายุคต้น ในความเห็นส่วนตัวผมสันนิษฐานว่าน่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมาหลายยุค และได้สร้างพระบรรจุไว้ พระเครื่องที่พบจึงมีศิลปะอยู่หลายยุค

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นพระเนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งมีพุทธศิลปะอู่ทองสุวรรณภูมิ แบบเขมรผมเวียน ศิลปะขององค์พระ พระเกศทำเป็นแบบฝาละมี เกศาเป็นเส้นวนรอบพระเศียร มีไรพระศกเป็นเส้นนูน สังฆาฏิเป็นปื้นใหญ่หนาปลายตัดตรง มีเส้นขอบสบงชัดเจนที่บั้นพระองค์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ พระยอดขุนพลพิมพ์นี้จึง น่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคอู่ทองสุวรรณภูมิก่อนกรุงศรีอยุธยา

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยก่อนชายชาตรีจะนิยมกันมาก องค์พระมีขนาดเขื่อง ความกว้างประมาณ 4.5 ซ.ม. สูงประมาณ 6.5 ซ.ม. เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ ปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีผู้นำมาห้อยคอกันแล้ว ก็เลยไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ หาพระแท้ๆ ยากในปัจจุบัน สนนราคาก็สูง กลายเป็นพระเครื่องในตำนานไปในที่สุดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 ตุลาคม 2560 07:16:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54487753825055_1.1_3614_3619_3632_3588_3619_3.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91592597381936_2.2_3648_3607_3637_3618_3609_3.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39338001029358_2.1_3648_3626_3639_3629_3649_3.jpg)

พระครูศาสนกิจโสภณ (หลวงพ่อสำอางค์)

เป็นที่ทราบกันดีว่า ทางภาคตะวันออกของไทยเรานั้น มีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมเข้มขลังมากมายที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีตสืบถึงปัจจุบัน จะสังเกตได้ว่าพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสำคัญๆ มักมีชื่อยอดพระเกจิจากภาคตะวันออกปรากฏในรายนามพระเกจิผู้ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นก็คือพระครูศาสนกิจโสภณ หรือ หลวงพ่อสำอางค์ ที่ชาวบ้านจะรู้จักมักคุ้นในนาม “หลวงพ่อเตี้ย” แห่งวัดเขาสมิง จ.ตราด

หลวงพ่อสำอางค์ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ มักจำพรรษาอยู่ในวัดอย่างเงียบสงบ ทำโน่นทำนี่สร้างโน่นสร้างนี่ด้วยตัวท่านเอง ไม่ว่าจะเป็นป้ายวัด ศาลา ต้นไม้ต้นไร่ ฯลฯ

ดังนั้น เวลาท่านดำริจะสร้างสิ่งใด แต่ยังมิทันได้บอกบุญ ก็มีผู้มาร่วมบุญจนงานต่างๆ ลุล่วงไปอย่างง่ายดายเป็นที่อัศจรรย์ ท่านมักกล่าวกับลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมเสมอว่า “วัดเขาสมิงนี้ เป็นวัดที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เยอะมาก พระรูปไหนที่ไม่ดีจะอยู่ไม่ได้ มีศาลเจ้าพ่อเสือสมิงให้กราบไหว้ ผู้ที่เข้ามาภายในบริเวณวัดจึงต้องเป็นผู้ที่คิดดีปฏิบัติดีเท่านั้น” ผู้ที่ต้องการสร้างกุศลหรือสร้างวัตถุมงคลเพื่อการกุศล จึงนิยมมาหาท่านที่วัด ขอให้ท่านเมตตาปลุกเสกเดี่ยว ณ ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เพื่อสร้างความเข้มขลังแก่วัตถุมงคลเพิ่มมากขึ้น

ยอดวัตถุมงคลของหลวงพ่อ สำอางค์ ที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางนั้น จะเป็น “เสือแกะไม้ขนุน” และ “เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์” ที่สร้างอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏแก่ผู้ครอบครอง ทั้งปกป้องคุ้มภัย กลับร้ายกลายดี เมตตามหานิยม ค้าขาย จนเมื่อไหร่ที่ท่านสร้างออกมาก็จะหมดในเวลาอันรวดเร็วทุกครั้ง

หลวงพ่อสำอางค์ได้กล่าวถึง “เสือแกะไม้ขนุน” ว่า …ท่านมีชื่อว่า “ปู่สมิงมนต์” มีฤทธิ์มาก แต่ก่อนวัดเขาสมิงนี้เป็นป่าทึบ มีแต่สัตว์ป่ามากมาย มีเสือโคร่ง เสือต่างๆ

ที่สำคัญคือ มีเสือสมิงที่ดุร้ายที่สุด เขาจำแลงแปลงกายได้ ทำร้ายผู้คนบาดเจ็บและถึงตายเลยทีเดียว มีพระภิกษุสงฆ์ผ่านไปมาปักกลดที่แถวบริเวณวัดเขาสมิง อยู่ได้ไม่นานก็ต้องรีบออกจากที่นั่น เพราะต้องประสบพบเจอแทบเอาชีวิตไม่รอด จนเป็นที่รู้กันว่าบริเวณเขาสมิงนี้มีเสือสมิงที่ดุร้ายน่ากลัวมาก

แต่เมื่อท่านมาปักกลดจำพรรษาที่วัดเขาสมิงนี้ ท่านได้นั่งสมาธิกรรมฐานเข้าฌานติดต่อสื่อสารกับเสือสมิง และยังได้พบกับเสือสมิงกันแบบจะจะกันมาแล้ว โดยไม่มีอันตรายแต่ประการใด

จากการสอบถามจึงได้รู้ว่าเสือสมิงนี้มีชื่อว่า “ปู่สมิงมนต์” ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ท่านก็ยังสามารถติดต่อกับปู่สมิงมนต์ได้ด้วยการเข้าฌานสมาธิอยู่เสมอๆ ส่วน “เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์ หรือ เทียน 3 สี” นั้น สีขาว คือ สะเดาะเคราะห์ สีเหลือง สืบชะตา และสีแดง รับโชค เมื่อปฏิบัติตามใบบอกที่แนบไปด้วยอย่างถูกต้องทุกประการ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ …

แต่ถ้าถาม หลวงพ่อสำอางค์ ท่านกลับกล่าวถึงการสร้าง “พระใหญ่ วัดโรงถ่าน” กลางทะเลในเกาะช้าง จ.ตราด ดำริว่าอยากร่วมบุญและจะถวายพระพุทธรูปปางขอฝน 1 องค์ และเทวรูปพระนางมณีเมขลา 1 องค์ เพื่อประดิษฐานไว้ในศาลเจ้าแม่ทับทิมเกาะช้าง ตามนิมิตที่องค์กิมบ้อเนี้ยได้เสด็จมาแนะนำ คณะลูกศิษย์จึงขออนุญาตนำวัตถุมงคลของท่านที่มีอยู่ มามอบแก่ผู้มีจิตศรัทธา ประกอบด้วย ล็อกเกตองค์กิมบ้อเนี้ย เสือแกะไม้ขนุน เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์ และเหรียญหลวงปู่เภาเจ๋งโจวซือ (พระอาจารย์เทพเจ้ากวนอู) เพื่อนำรายได้ร่วมสร้างกุศลตามที่ท่านดำริ ซึ่งถือเป็นโชคดีของลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาที่อยู่ห่างไกล ที่จะได้มีโอกาสเช่าบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากด้วยพุทธานุภาพ

ซึ่งไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42584421651230_1_18_696x415_1_.jpg)
พระคง และพระบาง ลำพูน

“พระคง” และ “พระบาง” เป็นพระสกุล สำพูนที่เก่าแก่และเป็นพระยอดนิยมแห่งล้านนา ตามตำนานกล่าวว่า สร้างโดยฤๅษีวาสุเทพเช่นเดียวกันกับ “พระรอด” มีอายุการสร้างในราว 1,200 ปีมาแล้ว ลักษณะศิลปะเป็นแบบช่างหลวงหริภุญชัย เป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฏให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะเช่นเดียวกับพระเนื้อดินเผาโดยทั่วไป

“พระคง” พบที่วัดพระคงฤๅษีเป็นวัดแรก จึงขนานนามพระสกุลลำพูนนี้ว่า พระคง พุทธลักษณะพระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐานรัตนบัลลังก์ กับประกอบด้วยบัวลูกแก้วจำนวน 18 จุด (บน 9 ล่าง 9) มีใบโพธิ์ทั้งสิ้น 20 ใบ มีทั้งชูก้านพลิ้วสลวย เนื้อพระเป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม องค์พระจะมีสีอ่อนแต่ไม่เหมือนกัน อาทิ สีพิกุล สีขาว สีเขียว สีหม้อใหม่ ฯลฯ

สำหรับเรื่องพุทธคุณ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศด้านป้องกันภยันตรายนานัปการ รวมทั้งเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูง เช่นเดียวกับพระรอด

“พระบาง” หนึ่งในพระสกุลลำพูนที่นับว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในภาคเหนือเช่นกัน เป็นพระที่นับว่ามีความคล้ายคลึงกับ “พระคง” มากๆ พระบาง มีการค้นพบทั้งหมด 3 กรุ คือ กรุวัดพระคง กรุวัดดอนแก้ว และกรุวัดบ้านครูขาว ซึ่งแต่ละกรุก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันดังนี้

พระบาง กรุวัดพระคง เนื้อหามวลสารเหมือนกับพระคงมาก ทั้งขนาดและสีขององค์พระ ถ้าไม่สังเกตพุทธลักษณะที่แตกต่าง แต่มีจำนวนน้อยมาก เรียกได้ว่าพระคง 100 องค์จะมีพระบางติดมาเพียง 1 องค์เท่านั้น

พระบาง กรุวัดดอนแก้ว นับว่าเป็นพระบางที่มีเนื้อละเอียดที่สุดในพระบางทุกกรุ ถ้าสังเกตความแตกต่างจะเห็นว่า พระพักตร์เป็นผลมะตูม พระนลาฏกว้าง ที่สำคัญขนาดขององค์พระค่อนข้างสูงกว่าปกติและแคบกว่าพระบางกรุอื่น องค์พระค่อนข้างบางอย่างเห็นได้ชัด และขอบพระจะเรียบสม่ำเสมอ ผิดกับพระพิมพ์อื่นๆ ทั่วไปที่สร้างในสมัยเดียวกันซึ่งจะเน้นความสวยงามเพียงพิมพ์ด้านหน้าเท่านั้น

พระบาง กรุวัดบ้านครูขาว เป็นกรุที่มีความ แตกต่างที่เด่นชัดที่สุดง่ายต่อการพิจารณา นั่นคือเนื้อขององค์พระจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อดินปนกรวดและเนื้อดินหยาบ ซึ่งไม่มีในกรุวัดพระคงและกรุวัดดอนแก้วเลย สำหรับพุทธลักษณะนั้นจะค่อนข้างเหมือนกับพระบาง กรุวัดดอนแก้วมาก

ด้านพุทธคุณ ความจริงแล้ว “พระบาง” ก็จะมีพุทธคุณเช่นเดียวกับพระรอดและพระคง แต่ด้วยความแตกต่างทางพุทธลักษณะที่ลงความเห็นกันว่าเหมาะกับอิสตรี จึงเน้นไปทางมหาเสน่ห์และเมตตามหานิยมเป็นสำคัญ

พระคงกับพระบาง ที่ว่ามีความละม้ายคล้าย คลึงกันมาก ทั้งขนาด เนื้อหามวลสาร และพุทธลักษณะองค์พระ ทำให้แยกออกได้ยากมากนั้น ก็ยังมีจุดแตกต่างเพื่อพิจารณาแยกแยะว่าองค์ไหนคือ “พระคง” องค์ไหน คือ “พระบาง” ดังนี้

– องค์พระประธานของ “พระบาง” จะมีความอ่อนช้อยกว่า พระวรกายโปร่งและบอบบางกว่า พระพักตร์จะยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระอุระสูง

– การวางแขนและหักศอกของ “พระบาง” จะลักษณะดูอ่อนช้อยกว่า

– ก้านโพธิ์และใบโพธิ์ของ “พระคง” จะ คม ชัด และลึกกว่า “พระบาง”

จากลักษณะความแตกต่างดังกล่าว ทำให้สันนิษฐานกันว่า “พระคง” นั้นสร้างมาเพื่อบุรุษ ส่วน “พระบาง” จะสร้างสำหรับอิสตรีตามที่กล่าวไปแล้วนั้น

อย่างไรก็ตาม “พระคงและพระบาง” นับเป็นพระเก่าแก่ที่น่าแสวงหาไว้สะสมมาก สนนราคาเช่าหาถึงแม้จะถือว่าสูงมากแต่ก็ยังพอสู้ไหวอยู่ ก็ขึ้นกับความสมบูรณ์สวยงามขององค์พระ ประการสำคัญคือพระกรุเก่าอันลือชื่อเช่นนี้ย่อมต้องมีของเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก

การจะเลือกดูของแท้จึงต้องพิจารณากันให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31156041266189_view_resizing_images_2_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87473074346780_view_resizing_images_1_.jpg)

เหรียญหลวงปู่ห้วย วัดประชารังสรรค์

"เหรียญฉลองสิริอายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี นับเป็นเหรียญเด่นยุคใหม่ของเมืองศรีสะเกษ ด้วยเป็นเหรียญที่ระลึก ในโอกาสที่ "หลวงปู่ห้วย เขมจารี" พระเกจิชาวเมืองศรีสะเกษ มีสิริอายุครบ 90 ปี"

พระราชญาณโสภณ หรือ หลวงปู่ห้วย เจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ มีวัตรปฏิบัติงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นพระนักพัฒนา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวศรีสะเกษและใกล้เคียง

เดิมชื่อ จรัส ศรีสุข เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2470 ที่บ้านเมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ พออายุ 17 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหลวงสุมังคลาราม ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ศึกษาพระธรรมวินัยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

เมื่ออายุครบ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหลวงสุมังคลารามนี้ โดยมีพระครูสิริสารคุณ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาธวัช วิมโล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาหน่วย ขันติโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "เขมจารี"

ในปี พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ นำญาติโยมพัฒนาวัดจากเดิมที่เป็นเพียงสำนักสงฆ์ให้เป็นวัดที่มีความสมบูรณ์ ใช้ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์และญาติโยมได้อย่างเต็มที่ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูง ชาวบ้านห้วยทับทันจึงเรียกขานท่านว่า "หลวงพ่อห้วย" เพราะท่านเปรียบเสมือน "พ่อ" ผู้สร้างอำเภอห้วยทับทันให้เจริญรุ่งเรือง

หลวงปู่ห้วย ยังสร้างเสริมพระศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมายต่อชุมชนและสังคมมาโดยตลอดจนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต

ปี พ.ศ.2539 และจากปฏิปทาที่สมถะและผลงานทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอันหลากหลาย จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้นมาโดยลำดับ ในที่สุดได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)" จนอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ แต่ยังมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมต่อไปอีก 3 ปี

ณ ปัจจุบัน หลวงปู่ห้วย อายุครบ 90 ปี ดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระราชญาณโสภณ (สป.วิ.) (จรัส เขมจารี) ป.ธ.3 น.ธ.เอก เจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม ด้วยเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนอย่างกว้างขวาง ศิษยานุศิษย์จึงขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสอายุครบ 90 ปี ในชื่อรุ่น "ฉลองสิริอายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ณ วิหารวัดประชารังสรรค์ โดยมีพระราชญาณโสภณ (หลวงปู่ห้วย) เป็นประธานจุดเทียนชัยและนั่งปรกอธิษฐานจิตพร้อมพระเกจิผู้ทรงคุณแห่งภาคอีสานหลายรูป จากนั้นนำมาเก็บไว้ที่กุฏิ "หลวงปู่ห้วย" เพื่อให้ท่านปลุกเสกอธิษฐานจิตเดี่ยวตลอดพรรษา 3 เดือน ซึ่งบัดนี้แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์

เหรียญรุ่นฉลองสิริ อายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี หลวงปู่ห้วย วัดประชารังสรรค์ ประกอบด้วย พระชุดทองคำ จัดสร้าง 20 ชุด มี เหรียญเนื้อทองคำ/ เนื้อนาก/ เนื้อเงินลงยาสีเหลือง/ เนื้อนวะ/ เนื้ออัลปาก้า, เหรียญนวโลหะ, เหรียญอัลปาก้า และเหรียญลงยา 5 สี ซึ่งเมื่อบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธาได้ทราบข่าวก็ต่างสั่งจองกันเนืองแน่นจนพระชุดทองคำหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว  


จากคอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91614817455410_4_69_696x354_1_.jpg)
เหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่า

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดชลบุรีถ้าเรากล่าวถึงท่านเจ้าคุณเฒ่า ก็จะหมายถึงท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย ซึ่งมีเหรียญรูปท่านอยู่เหรียญหนึ่ง เป็นเหรียญเก่าแก่มาก แต่มิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงเรื่องราวและประวัติของท่านโดยสังเขปครับ

ประวัติของท่านเจ้าคุณเฒ่านั้นสืบค้นมาได้ไม่มากนัก เท่าที่สืบค้นได้ก็คือพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุญญกเถร) ท่านเกิดวันพุธ เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.2361 เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บวชเป็นเณรอยู่ที่วัดประยุรวงศ์ อยู่ 8 ปีต่อมา จึงได้อุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ 8 ปี

จึงได้ลาสิกขาออกมารับราชการเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับตำแหน่งเป็น “ขุนสาครวิสัย” ในกรมมหาดเล็ก ต่อมาในตอนหลังเมื่อปัจฉิมวัยได้ออกจากราชการและมาบวชอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้ลงเรือมาขึ้นที่หาดทรายหน้าวัดเขาบางทราย ได้รับช่วงภารกิจในการสร้างวัดในบริเวณนี้ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย

วัดเขาบางทรายในช่วงที่ท่านเจ้าคุณเฒ่า มาอยู่นั้นยังเป็นป่ารก บ้านเรือนชาวบ้านแถบชุมชนหน้าวัดยังไม่มี ต่อมาในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดชลบุรี มีพระราชดำริว่าท่านเจ้าคุณเฒ่า อุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มามาก และเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระชลโธปมคุณมุนี”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อยังเยาว์ก็เคยเรียนอักษรสมัยอยู่กับท่านเจ้าคุณเฒ่า จนอายุได้ 12 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร โดยนิมนต์ท่านเจ้าคุณเฒ่าไปบรรพชาให้ที่วัดช่องลม นาเกลือ เมื่อปีพ.ศ.2426 แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาบางทราย 3 พรรษา พออายุได้ 15 ปี ท่านเจ้าคุณเฒ่าเห็นความสามารถ จึงส่งให้เข้ามาศึกษาอยู่ในวัดราชบพิธฯ กทม.

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2435 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้อุปสมบท ที่วัดเขาบางทราย โดยมีท่านเจ้าคุณเฒ่า เป็นพระอุปัชฌาย์

ในปี พ.ศ.2442 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้เสด็จนมัสการพระพุทธบาท วัดเขาบางทราย และเสด็จเยี่ยมท่านเจ้าคุณเฒ่าด้วย

ในปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่นั้นก็เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทวัดเขาบางทราย และเสด็จฯ เยี่ยม

ท่านเจ้าคุณเฒ่าท่านเป็นบุคคลที่อยู่มาถึง 4 แผ่นดิน คือท่านเกิดในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมามรณภาพในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2449 สิริอายุได้ 89 ปี

ในหนังสือ 80 ปี ชลบุรี สุขบท ได้กล่าวไว้ว่า “เหรียญเจ้าคุณเฒ่าเป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) สร้างขึ้นเป็นเหรียญแรก เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2450 ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณ ศักดิ์ “พระเทพกวี” มีจุดประสงค์การสร้างเหรียญเจ้าคุณเฒ่า ซึ่งเป็นรูปท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแจกแก่ผู้มาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ”

เหรียญนี้จึงนับว่าเป็นเหรียญที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดชลบุรี และเป็นเหรียญแรกที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิษฐานจิตครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปเหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่ามาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน  ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70143976145320_dd_696x402_1_.jpg)
พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรุพระเก่าของราชบุรีที่น่าสนใจมาก พระกรุของจังหวัดนี้มีอยู่หลายกรุเหมือนกันและโด่งดังมาตั้งแต่อดีต อย่างเช่นพระท่ากระดาน กรุวัดหลุมดิน พระท่ากระดาน กรุวัดใหม่หนองอีจาง เป็นต้น และพระเนื้อชินสนิมแดงที่มีขนาดเล็กคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา ของกาญจนบุรี

ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้น ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงพระท่ากระดาน และพูดถึงพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ก็เกิดความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นและอยากได้มาก เนื่องจากได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับพระทั้ง 2 อย่างที่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และเคยขอผู้ใหญ่ส่องดูชอบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงบางโอกาส ก็ยิ่งอยากได้มากขึ้นไปอีก แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะเช่าหา ต่อมา มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนจังหวัดราชบุรีรู้ว่าผมอยากได้พระเนื้อชินสนิมแดง เขาก็เอาพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า มาให้ผมองค์นึง และบอกว่าเป็นพระที่พบในกรุวัดศาลเจ้าราชบุรี ซึ่งเป็นคนละที่กันกับของกาญจนบุรี แต่ดีเหมือนๆ กัน ผมดีใจมากจึงนำไปเลี่ยมพลาสติกห้อยคอตลอด ผมเองเป็นคนที่ชอบเที่ยวหัวหกก้นขวิดตะลอนไปทั่วเข้าป่าเข้าดงคบเพื่อนฝูงมากแต่ก็ไม่เคยได้รับอันตรายใดๆ และเชื่อมั่นว่าพระท่ากระดานน้อย ที่เพื่อนให้ปกป้องคุ้มครองมาโดยตลอด

ในช่วงนั้นก็พยายามค้นหาประวัติความเป็นมาของพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือพระเครื่องก็ไม่ค่อยมี ก็ได้แต่สอบถามเรื่องราวของพระกรุท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ได้รับคำบอกเล่าตรงกันที่ว่าแตกกรุจากวัดศาลเจ้า ราชบุรี แต่เป็นพระที่สร้างในยุคใดก็ไม่ค่อยตรงกันนัก บางท่านก็ว่าเป็นพระเก่าสร้างมาแต่สมัยโบราณ แต่ก็มีบางท่านว่าสร้างในสมัยเฒ่าแก่ปู้ เจ้าของโรงสีใกล้วัดศาลเจ้า มาบูรณะเจดีย์และสร้างพระบรรจุไว้ ผมเองเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ไม่ค่อยเชื่อว่าสร้างในสมัยที่เฒ่าแก่ปู้ เนื่องจาก อายุการสร้างและเนื้อสนิมแดงที่เกิดกับ พระท่ากระดานน้อยนั้นไม่สอดคล้องกัน พระท่ากระดานน้อยน่าจะสร้างมาเก่าแก่กว่านั้นมาก แต่ก็ไม่ได้เถียงหรือขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ได้แต่เก็บความสงสัยและค้นหาเหตุผลต่อมา

ครับวัดศาลเจ้าเป็นวัดเก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีการพบหลักฐานว่าสร้างมาแต่ยุคใด แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ต่อมาสืบทราบว่า วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า “วัดเกาะนอก” และมีศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ ชาวบ้าน จึงมักเรียกกันว่า “วัดศาลเจ้า” มาจนทุกวันนี้ เท่าที่ค้นคว้าดูก็พบว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2465 องค์พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าชำรุด ทำให้มีการพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงแตกออกมาจำนวนหนึ่งคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงแซมไขขาว มากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุ ที่เรียกว่าพระท่ากระดานน้อย เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่คล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อยของกรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงเช่นกัน

การบูรณะในปี พ.ศ.2465 นั้น เฒ่าแก่ปู้เป็นผู้บูรณะและมีการสร้างพระบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ด้วยเช่นกัน แต่พระท่ากระดานน้อยที่พบในกรุนี้น่าจะเป็นพระที่สร้างไว้มาก่อนหน้านี้แล้ว สันนิษฐานว่าพระท่ากระดานน้อยของกรุนี้คงจะสร้างไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากผิวและสนิมแดงที่ปรากฏบ่งบอกถึงความมีอายุการสร้างว่าเก่ามากน้อยอย่างไร

ครับพระท่ากระดานน้อยเป็นพระที่น่าสนใจมาก และมีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะนำมาห้อยคอ พุทธคุณโดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว การเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ และกับผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้าจากหนังสือแจกรางวัลงานประกวดพระเครื่องจังหวัดราชบุรี 2560 มาให้ชม และขอขอบคุณคุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูปและข้อมูลมาด้วยครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65970466575688_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญปิดตาหลวงปู่ทวน

"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี พระเถระผู้มีเมตตาธรรมสูง พุทธาคมเข้มขลัง ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่าแห่งถิ่นอีสาน

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดชและลาสิกขาในเวลาต่อมา

บวชครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ย้อนไปในปี พ.ศ.2559 หลวงปู่ทวนจัดสร้าง "เหรียญปิดตารุ่นแรก"

ลักษณะเป็นเนื้อโลหะ ทรงรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็น รูปนูนพระปิดตา ประทับนั่งบนโต๊ะขาสิงห์ ใต้ขอบเหรียญมีอักขระขอมพระคาถามหาอุตม์ ใต้โต๊ะขาสิงห์มีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร ๕๙" มีโค้ดและเลขไทย ลำดับองค์พระกำกับ

ส่วนด้านหลังเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นยันต์และอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ, มะ อะ อุ, นะ จัง งัง, สุ อะ นะ อะ, พุท ธะ สัง มิ" พร้อมกำกับด้วยพระคาถาเมตตาและพระเจ้า 16 พระองค์ ระหว่างยันต์กับอักขระขอมมีอักษรไทย "วัดโป่งยาง จ.จันทบุรี"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 8 พ.ค.2559 ที่วัดโป่งยาง มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงปู่บุดดา วัดป่าใต้, หลวงปู่สิงห์ทอง วัดซับตารี, หลวงปู่อ่อง วัดเขาวงกต, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่อโสต วัดเขาหินโค่ง, หลวงพ่อผ่อน วัดเขากลอย เป็นต้น

สอบถามได้ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร. 09-3808-8881
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44914728278915_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญจันทร์เสี้ยว พระครูอโศกธรรมสาร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูอโศกธรรมสาร วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี ท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่ง ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี ก็คือพระขรรค์ แกะจากเขาควายเผือก

พระครูอโศกธรรมสาร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง (ชาวบ้านชอบเรียกว่า "วัดปากคลองบางครก" ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ปีพ.ศ.2415 ที่บ้านแควใหญ่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โยมบิดาชื่อพันธุ์ โยมมารดาชื่อนาก เมื่อท่านอยู่ในวัยอันสมควรบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ท่านเป็นคนที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพออายุครบบวช บิดา มารดาก็ได้อุปสมบทให้ที่วัดปากคลอง ในปี พ.ศ.2435 ได้รับนามฉายาว่า "สุวณฺโณ" โดยมีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์พอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บาลีไวยากรณ์ และวิปัสสนากรรม ฐานในสำนักพระอธิการครุฑ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ ศึกษาอยู่ได้ปีเศษๆ พระอธิการครุฑก็มรณภาพ หลวงพ่อท่านจึงได้ศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคาราม ต่อมาในปี พ.ศ.2447 พระอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ สืบแทน แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเศษเท่านั้น วัดปากคลองก็ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านบางครกต่างก็มานิมนต์หลวงพ่อโศกให้ไปช่วยเป็นเจ้าอาวาสและช่วยพัฒนาวัดให้ หลวงพ่อจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลอง

หลังจากที่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองแล้ว ก็ได้จัดระเบียบและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้เรียบร้อย สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงเรียน พระอุโบสถ จนวัดปากคลองเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2452 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดบางครก พ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเป็นพระครูอโศกธรรมสาร

หลวงพ่อโศกออกบิณฑบาตทุกวัน และทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ท่านมีเมตตาปรานีแก่ทุกผู้ทุกนาม จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อมรณภาพในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 สิริอายุได้ 67 ปี พรรษาที่ 47 หลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระขรรค์เขาควายเผือก ตะกรุด ผ้ายันต์ น้ำเต้ากันไฟ ปลัดขิก พระเนื้อผงและเนื้อชิน ส่วนเหรียญนั้นมีอยู่หลายรุ่น เช่น เหรียญรุ่นแรก คือเหรียญจันทร์เสี้ยว สร้างปีพ.ศ.2465 ยังมีเหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2468 และยังมีอีกหลายเหรียญ ในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 พฤศจิกายน 2560 13:35:53

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50827637852893_view_resizing_images_3_.jpg)
หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์

"ในปี พ.ศ.2452 ได้มีการจัดทดสอบวิทยาคมและพลังจิตของพระเกจิ อาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศ ณ บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม มีพระเกจิเข้าร่วมประมาณร้อยกว่ารูป งานนี้เรียกได้ว่า "พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม" ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีสมเด็จพระสังฆราชฯ (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ผลปรากฏว่า 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ ผู้มีความเข้มขลังในวิทยาคมและพลังจิตสูงสุดแห่งสยาม ยุค 2452

ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (วัดบางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพร"

หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ อีก 1 ใน 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ พระเถระผู้เฒ่าที่เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวเมืองนครสวรรค์และใกล้เคียง ประวัติความเป็นมาของท่านนั้นไม่ค่อยมีผู้ใดทราบนัก เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของพระเกจิและลูกศิษย์ใกล้ชิดพอจะได้ ความว่า

ท่านเป็นชาวทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงพ่อทองได้รับถวายที่ดินจากตากบและยายเขียด ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆ ก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้น เพื่อชาวบ้านได้ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา

ต่อมาเมื่อตากบและยายเขียดถึงแก่กรรม หลวงพ่อจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดเป็นที่ดินของวัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดเขากบ" ตามชื่อเจ้าของที่ดิน หลังจากการฌาปนกิจสองตายายแล้ว ท่านได้ให้ช่างปั้นรูปจำลองตากบและยายเขียดไว้ที่หน้าอุโบสถ เพื่อเป็นที่ระลึก ปรากฏอยู่กระทั่งทุกวันนี้

หลวงพ่อทองมีความเพียรอย่างแรงกล้า ลงมือทำงานและบูรณะวัดเขากบด้วยตัวท่านเอง โดยใช้เวลาบูรณะพระเจดีย์ซึ่งยอดหักนานถึง 10 ปี และทำโบสถ์อยู่ 5 ปี ทั้งยังบูรณะวิหารพระนอน กำแพงวิหาร ร้านบาตร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ร่ำลือถึงกิตติศัพท์ของท่านมากมาย อาทิ เรื่องท่านตกจากยอดเจดีย์แล้วไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอยแมวข่วน หรือการบิณฑบาตที่ใครๆ ก็ตามไม่ทัน เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความเข้มขลังในวิทยาอาคมหลายแขนงวิชา

หลวงพ่อทองพัฒนาวัดเขากบจนเจริญรุ่งเรือง และจำพรรษาอยู่ตลอดอายุขัยจนมรณภาพในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2484 สิริอายุเกือบ 80 ปี ยังความโศกเศร้ามาสู่ชาวนครสวรรค์และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ร่วมใจกันหล่อ "รูปเหมือนเท่าองค์จริง" ของท่านไว้ในวิหาร ทุกวันนี้สาธุชนทั้งใกล้และไกลยังคงแวะเวียนมากราบสักการะขอพรอยู่เป็นประจำ

ด้วยความที่หลวงพ่อทองเป็นพระสมถะ รักสันโดษ เคร่งในวัตรปฏิบัติ จึงไม่ชอบสร้างวัตถุมงคล ไม่ชอบถ่ายรูป เท่าที่ทราบในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่จะมีเพียง "ลูกอมและการรดน้ำมนต์" อันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเป็นหลัก แม้แต่รูปถ่ายท่านก็ไม่ยอมให้ใครถ่าย มีคนมาแอบถ่ายก็ไม่ติด จนลูกศิษย์ต้องขอร้องเพื่อขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกท่านจึงอนุญาต ซึ่งจะมีเพียงภาพเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น คือ ภาพที่ท่านกำลังนั่งบนธรรมาสน์ กำลังถือใบลานเทศน์อยู่

ส่วนวัตถุมงคลที่ทันท่านน่าจะมีไม่กี่อย่างซึ่งล้วนหายากทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่เรียกกันว่า "เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นหลังเงา"

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง รูปไข่เล็ก ห่วงเชื่อม ด้านหน้าและด้านหลังยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ชั้นในมีขนาดเล็กมาก ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อทองครึ่งองค์ ห่มจีวร พาดสังฆาฏิ และรัดประคดอกแบบ "ห่มเต็ม" มีอักษรภาษาไทยจารึกว่า "หลวงพ่อ วัดกบ" ส่วนด้านหลัง ตรงกลางประดิษฐานรูปพระเจดีย์องค์ใหญ่ วัดเขากบ กลางองค์เจดีย์เป็นยันต์ "ตัวเฑาะว์ขัดสมาธิขึ้น" ยอดเป็น "อุณาโลม"

จุดสังเกตสำคัญคือ พื้นเหรียญด้านหลังจะมีรูปหลวงพ่อทองแกะเป็นลายเส้นบางๆ เห็นเป็นเงาจางๆ อันเป็นที่มาของชื่อรุ่นว่า "หลังเงา" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 พฤศจิกายน 2560 12:06:14

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27945474576618_3_120_1_.jpg)
หลวงพ่อสาคร 
 
พระครูมนูญธรรมวัตร หรือ หลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เพชรน้ำเอก อีกรูปหนึ่งของ จ.ระยอง ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนถ้วนหน้า ทั้งในฐานะศิษย์เอกผู้สืบสายพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

เดิมชื่อ สาคร ไพสาลี เกิดที่บ้านท้ายทุ่ง ต.หนองกรับ อ.บ้านค่าย (อันเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เช่นกัน) เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ซึ่งตามคติโบราณกล่าวว่า บุคคลนั้นจะมีความพิเศษอยู่ในตัว

มีความใฝ่ใจในด้านเวทมนตร์คาถาและวิชาแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหนองกรับ ก็ออกมาช่วยบิดามารดา พอมีเวลาว่างก็จะไปศึกษาไสยเวทกับหลวงพ่อเพ่ง วัดละหารใหญ่ ได้วิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และเลยไปที่บ้านละหารไร่ เพื่อศึกษาไสยศาสตร์กับนายหล่อ และนายทัต ฆราวาส ผู้เรืองวิชาอาคม พร้อมเข้าปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ทิมอยู่เป็นนิจ นับเป็นศิษย์รุ่นเยาว์ที่หลวงปู่ให้ความเมตตาและเรียกใช้อยู่เสมอ

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหนองกรับ โดยมีท่านพระครูจันทโรทัย (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบ้านค่าย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเกลี้ยง วัดหนองกรับ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเคียง วัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “มนุญโญ” จากนั้นไปจำพรรษาที่วัดละหารไร่ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ทิมเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมอย่างจริงจัง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมต่างๆ จนหมดสิ้น

ด้วยมีใจรักทางด้านนี้ หลวงปู่ทิมจึงให้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงปู่หิน วัดหนองสนม ต่อด้วยหลวงปู่โสม วัดบ้านช่อง อ.พานทอง ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าของภาคตะวันออกทั้งสิ้น ท่านยังได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสอีกมากมายทั้งก่อนและหลังการรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองกรับ อาทิ อาจารย์เชียงคำ ประเทศพม่า, อาจารย์สุพจน์ ประเทศเขมร, อาจารย์สิน วัดนาวัง จ.ชลบุรี, พระอาจารย์สุมล คำเสียง จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อบุญเย็น วัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ฯลฯ

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อสาครสร้างนั้น มีหลากหลายประเภท เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและสาธุชนทั้งหลายที่มีมากมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง

ด้วยความเชื่อถือในความเป็นศิษย์ผู้สืบทอดจากหลวงปู่ทิมที่มีประวัติอย่างชัดเจน และปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ จึงกลายเป็นที่ศรัทธาและนิยมสะสมอย่างกว้างขวาง และที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย เพราะค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ “สมเด็จพุทธนิมิต และเหรียญปิดตารุ่นฉลองสมณศักดิ์” ที่สร้างในปี พ.ศ.2524

ซึ่งหลวงพ่อสาครได้นำผงปถมังและผงอิทธิเจที่ท่านเขียนเลขยันต์อักขระต่างๆ, ผงของหลวงปู่ทิม, ผงอิทธิเจหลวงพ่อเพ่ง, ผงปัดตลอดอาจารย์ภูเมือง, ผงพุทธคุณหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง, ผงพุทธคุณครูบาคำหล้า จ.เชียงใหม่, ผงพุทธคุณอาจารย์มั่น, ผงวิเศษหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ มาเป็นมวลสารจัดสร้าง “สมเด็จพุทธนิมิต” จำลององค์พระประธานในอุโบสถ

ปรากฏว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศด้านคงกระพันชาตรี และในปีเดียวกันนี้ ท่านได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นโท จึงได้สร้าง “เหรียญปิดตารุ่นฉลองสมณศักดิ์” ซึ่งก็เป็นที่กล่าวขวัญกันว่าเมตตามหานิยมฉมังนักครับผม

หลวงพ่อสาครได้เคยกล่าวไว้ว่า “วัตถุมงคลและธรรมะมีความสำคัญพอๆ กัน ต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พอเราจะให้ธรรมะล้วนๆ ก็ไม่มีใครเอา เราจึงต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อดึงคนเข้าวัด ลองให้คนเหล่านี้มาเข้าวัดปฏิบัติธรรมล้วนๆ สิ รับรองไม่มีคนเข้า แต่พอบอกว่ามีวัตถุมงคลให้ คนก็จะพากันมาเข้าวัด สุดท้ายนั่นแหละที่คนเหล่านั้นจะได้ธรรมะกลับออกไปแบบไม่รู้ตัว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14423204420341_view_resizing_images_2_.jpg)
พระปางนาคปรก

ยังมี "พญานาค" สำคัญอีกตนหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า "พญามุจลินทนาคราช" ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิด "พระปางนาคปรก" ที่มีพุทธลักษณะงดงามสง่าและสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า...

"...พญามุจลินทนาคราช บังเกิด ณ สระโบกขรณี (สระบัวหรือตระพังน้ำ) ซึ่งอยู่ใกล้ต้นจิกที่ประทับของพระพุทธองค์ หลังจากที่ประทับภายใต้ต้นอัชปาลนิโครธ (ต้นไทร) ครบ 7 วันแล้ว ได้เสด็จไปสู่มุจลินท์ไม้จิก (ต้นจิก) ประทับภาคใต้ร่มไม้จิกอีก 7 วัน ระหว่างนั้นมีเมฆครึ้มและฝนตกตลอดทั้ง 7 วัน พญามุจลินทนาคราช ทราบเหตุแห่งความแปรปรวนดังกล่าวจึงขึ้นมาจากสระ ก็แลเห็นบุรุษหนึ่งนั่งอยู่ใต้ต้นจิก ลักษณะงดงามเปล่งปลั่ง นึกในใจว่า "ท่านผู้นี้มีสิริวิลาศเลิศ ชะรอยจะเป็นเทพยดาพิเศษ ประดับด้วยฉัพพรรณรังสี" ก็ทราบชัดว่าเป็น "พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้" และที่เสด็จมาสู่นิวาสสถานแห่งตนนั้นก็ด้วยพระมหากรุณา เป็นมหาบุญลาภอันใหญ่ยิ่ง สมควรที่ตนจะต้องช่วยปกป้องมิให้พระองค์ถูกต้องลมฝน จึงเข้าไปขดขนดกายได้ 7 รอบ แวดล้อมองค์พระศาสดา แล้วแผ่พังพานอันใหญ่ขึ้นป้องปกเบื้องบน เพื่อให้พ้นจากแดด ลม และฝน ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง ริ้น ไร และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวล ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจลินทนาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยน้อมกายถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระสัพพัญญู ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจลินทนาคราช ที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้เอง เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมา เรียกว่า "ปางนาคปรก"

พระพุทธรูปและพระเครื่องในลักษณาการ "นาคปรก" นับเป็นพระที่มีพุทธลักษณะงดงามและมีนัยแสดงความหมายซึ่งสืบทอดกันเรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาลตามพุทธประวัติดังกล่าวข้างต้น โดยลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ และมีพญานาคแผ่เศียรเป็นพังพานขึ้นจากพระอังสาไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปเศียรพญานาค 7 เศียรเป็นพังพาน ในกิริยาที่พญานาคนมัสการพระพุทธองค์ ต่อมาภายหลังทำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิบนบัลลังก์นาคขนด หรือมีขนดนาคล้อมรอบองค์ แผ่เศียรเป็นพังพานขึ้นจากพระอังสาไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป ซึ่งจะมีทั้งเศียรเดียว 7 เศียร หรือหลายเศียร

สยามประเทศ คงได้รับอิทธิพลการสร้างพระปางนาคปรกจากเขมรก่อนเป็นเบื้องแรก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงเริ่มพบพระประเภทดังกล่าว และเมื่อราชสำนักพยายามรวบรวมพุทธประวัติ ได้มีการสร้างพระปางต่างๆ ตามเรื่องราว พระปางนาคปรกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากแสดงออกถึงอิทธิฤทธิ์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และแสดงความสัมพันธ์กับ "นาค" ได้ชัดเจนที่สุด ต่อเมื่อมีการจัดสรรให้เกิดพระปางประจำวัน เพื่อเข้าไปทดแทนการบูชาเทพนพเคราะห์ ซึ่งได้แก่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ไปจนถึง พระราหู พระเกตุทั้งเก้าดวง ซึ่งเป็นคติพราหมณ์ "พระปางนาคปรก" ก็ได้รับการจัดสรรให้เป็นปางประจำวันเสาร์ แทนดาวพระเสาร์แต่นั้นมา

อาจกล่าวได้ว่า "พระปางนาคปรก" นับเป็นการแสดงถึงพุทธภาวะที่มีอยู่เหนือสัตว์สำคัญ เช่น พญานาค นอกเหนือไปจากการแสดงพุทธภาวะเหนือเหล่าอสูร โดยแสดงให้เห็นในพุทธประวัติการกำราบอสูรต่างๆ เช่น อสุรินทราหู พระยาชมพู และอสูรเหล่านี้ก็ยอมถวายตนเป็นผู้ปกป้องศาสนา อาทิ อาฬาวกยักษ์ และท้าวเวสสุวัณ ที่ปกป้ององค์พระพุทธชินราช สองฟากข้างบัลลังก์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงอำนาจ บุญบารมี และพระเมตตาของพระพุทธองค์ที่มีเหนือ 3 โลก เหนือทั้ง เทพเทวะ มนุษย์ ยักษ์ สัตว์ ภูตผีปีศาจ ต่างๆ

ในวงการพระเครื่องพระบูชา จึงมีความนิยมสร้างพระพุทธรูป พระเครื่อง และพระพิมพ์ "ปางนาคปรก" กันมากมาย เช่น พระนาคปรกวัดท้ายตลาด พระนาคปรกใบมะขาม สำนักต่างๆ ตลอดจนพระเครื่องที่นิยมสร้างประจำวันตั้งแต่รัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่มีการจัดสร้างเป็นพระปางนาคปรกประกอบด้วยทั้งสิ้นครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35363379824492_2.1_3614_3619_3632_3626_3617_3.jpg)
พระสมเด็จ พิมพ์สามชั้น ปี 2468

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66687855993707_2.2_3648_3627_3619_3637_3618_3.jpg)
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2510

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71455712243914_2.3_3614_3619_3632_3611_3636_3.jpg)
พระปิดตารุ่นปลดหนี้

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลี

เมื่อเอ่ยนาม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เชื่อว่าคงไม่มีผู้ใดไม่รู้จักอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ด้วยแล้ว เรียกได้ว่า “หูผึ่ง” กันเลยทีเดียว ด้วยวัตถุมงคลของท่านล้วนได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น

หลวงปู่โต๊ะเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ปีพ.ศ.2430 สมัยรัชกาลที่ 5 ณ บ้านใกล้คลองบางน้อย ต.บางพรม อ.บางคนที โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายลอย-นางทับ รัตนคอน เป็นเด็กที่มีความเข้มแข็งว่องไว เฉลียวฉลาด กตัญญู ขยัน อดทน มีน้ำใจ และพูดจาสุภาพอ่อนโยน ทั้งยังชอบเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมจนสามารถท่องจำได้ในบางบทบางตอน

พออายุ 17 ปีจึงบรรพชา โดยมีพระอธิการสุข เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในวันเดียวกันนั้นพระอธิการสุขก็ได้มรณภาพ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อพรหม จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2450 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูธรรมวิรัติ (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อินฺทสุวณฺโณ”

มุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระด้วยความวิริยอุตสาหะ จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปีพ.ศ.2455 และได้ศึกษาเพิ่มเติมที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน

ต่อมา พระอธิการคำ เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีขณะนั้น ได้ลาสิกขา ในปี พ.ศ.2456 ท่านจึงต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อ โดยขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปี พรรษาที่ 6 เท่านั้น และมีฐานานุกรมที่พระใบฎีกา ของท่านเจ้าคุณอุดรคณารักษ์ วัดโพธิ์ อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังใฝ่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเนืองนิตย์ ปลีกเวลาออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนและศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดังหลายรูป อาทิ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ยานนาวา รวมทั้งหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านมีสหธรรมิกผู้มีชื่อเสียงมากมาย ได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ และหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

ชื่อเสียงเกียรติคุณของ “หลวงปู่โต๊ะ” ขจรขจายในเวลาอันรวดเร็ว สาธุชนต่างให้ความเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติและวิทยาอาคมอันแก่กล้า นับเป็นพระเกจิรูปสำคัญรูปหนึ่งในสมัยนั้นที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลระดับประเทศทุกงาน อาทิ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497, พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ฯลฯ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสังวราภิมณฑ์ ในปี พ.ศ.2521 ก่อนมรณภาพในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2524 สิริอายุ 94 ปี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญศพไปตั้ง ณ ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตร และพระราชทานเกียรติยศเสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศ

หลวงปู่โต๊ะจัดสร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย ทั้งพระสมเด็จ, พระเนื้อผง, พระปิดตา, เหรียญ, เครื่องราง, ล็อกเกต ฯลฯ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงทั้งสิ้น

ซึ่งนอกจากสนนราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งนัก มีอาทิ พระเครื่องชุดแรก ปี พ.ศ.2468 ที่เรียกกันว่ารุ่นแช่น้ำมนต์ เป็นพระเนื้อผงทั้งหมด 13 พิมพ์ เช่น พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ, พระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้น, พระสมเด็จพิมพ์ก้างปลา, พระสมเด็จพิมพ์โพธิ์ 8, พระสมเด็จพิมพ์โพธิ์ 6, พระพิมพ์แหวกม่าน, พระพิมพ์ซุ้มประตู ฯลฯ หรือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2510 ซึ่งจำนวนการสร้างน้อยมาก และพระปิดตาเกือบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระปิดตาจัมโบ้ รุ่น 1, พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้ รุ่น 2 เป็นต้นครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45910292077395_1_4_696x381_1_.jpg)

เจาะลึกเหรียญสมเด็จโต

เกริ่นกันไปบ้างแล้วสำหรับ “เหรียญสมเด็จโต 2 รุ่น” ของ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ที่ค่อนข้างเป็นที่ฮือฮาพอสมควร ด้วยพุทธศิลปะอันงดงามประณีตและวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดในการ “จัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม” สร้างเสริมความเจริญในพระบวรพุทธศาสนา

วันนี้มาอัพเดต “พิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ” ที่เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเลย วาระแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นเจ้าอาวาสในอดีต และวาระที่ 2 ที่วัดขุนอินทประมูล

วาระที่ 1 วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2560 ซึ่งตรงกับ “วันเสาร์ 5” คือ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 วันนั้นก่อนเริ่มพิธีบวงสรวงช่วงเช้า ในบริเวณวัดระฆังโฆสิตารามมีฝนตกกระหน่ำลงมาจนน้ำท่วมสูงเกือบหัวเข่า ดูแล้วไม่น่าจะสูบออกให้ทันการณ์ได้ ท่านประธานในพิธี จึงไปบอกกล่าว “สมเด็จโต” ในพระวิหาร เพื่อขอให้การประกอบพิธีสำเร็จลุล่วงตามมงคลฤกษ์ เวลา 09.39 น. ปรากฏว่าก่อนเวลาดังกล่าวไม่ถึง 10 นาที น้ำที่ขังอยู่นานก็เหือดแห้งหายไปหมด

พอถึงช่วงบ่ายพิธีพุทธาภิเษกนำฤกษ์ ตามฤกษ์จุดเทียนชัยในเวลา 13.09 น. ท่านเจ้าคุณเที่ยง เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ประธานจุดเทียนชัย จากนั้นผู้คนก็แห่แหนกันมารับเหรียญที่ระลึกเนื้อทองแดง รมดำ ตอกโค้ด ท กลับไปอย่างทั่วหน้า จนเกินจำนวนที่ตั้งไว้

สำหรับพิธีในวาระที่ 2 วันจันทร์ที่ 17 เมษายน ตรงกับวันคล้ายวันเกิดท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ครบรอบปีที่ 229 พอดี ช่วงเช้าประกอบพิธีบวงสรวงกลางแจ้ง หน้ารูปหล่อสมเด็จโตองค์ใหญ่ หน้าพระอุโบสถ ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่บริเวณนี้จะมีแดดจัดและร้อนมาก โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนเม.ย. เช่นนี้ แต่ในวันนั้นท้องฟ้ากลับมีกลุ่มเมฆปกคลุมทั่วบริเวณ มีลมพัดเฉื่อยๆ อากาศเย็นสบาย สามารถประกอบพิธีบวงสรวงตามมงคลฤกษ์ในเวลา 09.39 น. อย่างราบรื่น เมื่อเสร็จพิธีท้องฟ้าก็เปิดทันที กลุ่มเมฆเคลื่อนออกจากกัน ความร้อนของแดดแผดรังสีไปทั่วบริเวณ

พอถึงช่วงบ่ายที่จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงคุณทุกรูปมาถึงพระอุโบสถ ประกอบด้วย ท่านเจ้าคุณสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม, พระมหาเป็นหนึ่ง วัดบรมวงศ์ จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี, พระอาจารย์สุวรรณ วัดยาง จ.อ่างทอง และ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ วัดขุนอินทประมูล เตรียมพร้อมนั่งปรกอธิษฐานจิต เมื่อท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ประธานจุดเทียนชัย จุดเทียนชัยตามฤกษ์ในเวลา 13.09 น. เป็นที่เรียบร้อย “ฝน” ที่ไม่ได้ตั้งเค้ามาก่อนก็เริ่มโปรยปรายลงมา

หลังเสร็จพิธี ท่านวิศว ศศิสมิต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประธานฝ่ายฆราวาส ได้นำเหรียญกะไหล่ทอง ตอกโค้ด ท ออกมาแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานที่แออัดกันเข้ามาขอของดีไว้ประจำกาย

เหรียญสมเด็จโต รุ่นมนุษย์สมบัติชินบัญชร เหรียญปั๊มแบบสมัยใหม่ทรงแอ่งกระทะ ด้านบนเป็นซุ้มทรงเสมาภายในประดิษฐาน “พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง” ตรงกลางเหรียญเป็นรูปหน้าท่านเจ้าประคุณสมเด็จ โดยช่างฝีมือเอกแห่งยุคมาเป็นผู้รังสรรค์จนเหมือนองค์สมเด็จโต ทั้งใบหน้าและริ้วรอยต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ แบ่งเป็นรายการต่างๆ ดังนี้

รายการที่ 1 ชุดกรรมการอุปถัมภ์ มี เหรียญทองคำ 1 องค์ (น.น. 24-25 กรัม), เงินองค์ทองคำ 1 องค์, เงินลงยา 10 สี เหรียญละสี 10 องค์, อัลปาก้า 100 องค์, สัตโลหะ 100 องค์ และสัมฤทธิ์ 100 องค์ ทุกเหรียญตอกโค้ดและมีเลขกำกับ ราคาจอง 99,000 บาท หลังจอง 150,000 บาท

รายการที่ 2 เหรียญทองคำ 1 องค์ (น.น.24-25 กรัม) ราคาจอง 59,000 บาท หลังจอง 65,000 บาท

รายการที่ 3 ชุดกรรมการเงิน มี เหรียญเงินลงยาจีวรส้ม 1 องค์ สัตโลหะหน้ากากเงิน 1 องค์ สัมฤทธิ์หน้ากากเงิน 1 องค์ และทองระฆังหน้ากากเงิน 1 องค์ ตอกโค้ดกรรมการ ราคาจอง 4,000 บาท หลังจอง 5,500 บาท

รายการที่ 4 เหรียญเงิน ราคาจอง 2,200 บาท หลังจอง 2,500 บาท

รายการที่ 5 เหรียญนวโลหะ ราคาจอง 1,200 บาท หลังจอง 1,500 บาท รายการที่ 6 เหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ 400 บาท และรายการที่ 7 เหรียญเนื้อทองระฆัง 300 บาท

ผู้สนใจบูชาได้เลยที่ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง 


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง  -  ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 05 ธันวาคม 2560 10:56:35

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21610643217960_dfg_696x352_1_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27744686024056_bud06201160p3_1_.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57250651427441_bud06201160p2_1_.jpg)

เหรียญพระพุทธชินราชรุ่นแรก

“เหรียญพระพุทธ เหรียญที่จำลอง “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์” อันเป็นที่เคารพสักการะและศรัทธาของสาธุชน เพื่อสะดวกในการอาราธนาและพกพาติดตัว ตามความเชื่อที่ว่า พระองค์จะดูแลและคุ้มครองให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง … พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นหนึ่งองค์สำคัญที่มีการจัดสร้างมาตั้งแต่ยุคแรกๆ และยังคงเป็นที่นิยมสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน”

พระพุทธชินราช พระประธาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่เรียกกันว่า “วัดใหญ่” วัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยและเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก สันนิษฐานว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมๆ กับ พระพุทธชินสีห์และพระศาสดา เมื่อครั้งสถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง ในปี พ.ศ.1900

พระพุทธชินราช นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย และยังได้รับการยกย่องว่ามีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก

… เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่า “ทีฆงคุลี” คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์ …

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงนิยมอาราธนา “องค์พระพุทธชินราช” มาจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ทั้ง พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปสักการบูชาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่นับว่าทรงคุณค่าและมีค่านิยมสูงสุดต้องยกให้ “เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460” ซึ่ง ณ ปัจจุบันถือเป็นเหรียญหลักระดับประเทศที่หาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่ง ด้วยเป็นเหรียญพระพุทธชินราชที่สร้างเป็นครั้งแรกและรุ่นแรก มีความทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีที่ไปที่มาชัดเจน และยังทรงพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏแก่ผู้สักการะ

เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ นมัสการพระพุทธชินราช ณ เมืองพิษณุโลก ในราวปี พ.ศ.2458 แต่มาแล้วเสร็จและแจกได้ในปี พ.ศ.2460 ในการนี้ มีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯลฯ โดยจำนวนการจัดสร้างไม่มากนัก เท่าที่พบมีด้วยกัน 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พุทธลักษณะเป็นเหรียญกลม หูเชื่อม ขอบกระบอก ด้านหน้าอาราธนาองค์พระพุทธชินราช ประทับนั่งบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ข้างองค์พระทั้ง 2 ข้าง จารึกอักษรไทย “พระพุทธ-ชินราช” ใต้พุทธบัลลังก์จารึกอักษร “น ภ จ ก” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร้านที่จัดสร้าง คือ “ร้านนาภาจารุอุปกรณ์” แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ย่อย โดยดูจาก สระ “อุ” ที่คำว่า “พระพุทธ” ถ้ามีลักษณะเป็นแนวนอน เรียก “อุนอน” ถ้าเป็นแนวตั้ง ก็เรียก “อุตั้ง”

ส่วนด้านหลังจัดสร้างเป็น 3 พิมพ์ เรียงลำดับตามความนิยมคือ

1.พิมพ์หลังอกเลา ตรงกลางจำลอง “อกเลาวิหารพระพุทธชินราช” อันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมอักขระขอมกำกับ 4 ตัว

2.พิมพ์หลังหนังสือ 5 แถว จารึกอักษรไทยเป็น 5 แถว ว่า “ที่ระฤก-ที่ได้มาในงาน-นมัสการพระพุทธ-ชินราช ณเมือง-พิศณุโลก”

3.พิมพ์หลังหนังสือ 3 แถว จารึกอักษรไทยเป็น 3 แถว ว่า “ที่ระฤกที่ได้มา-นมัสการณเมือง-พิศณุโลก”

เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460 พิมพ์อุนอน หลังอกเลา นับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุด “เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ” ของเมืองไทย ซึ่งเป็นที่แสวงหาอย่างสูง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24893583771255_view_resizing_images_1_.jpg)
หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66547195903129_11_14_1_.jpg)

เหรียญนาคคู่ รุ่นฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ พระนักปฏิบัติผู้ถือสมถะ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้คน บูรณะและพัฒนา เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวอีสานและใกล้เคียง

ปัจจุบันอายุครบ 110 ปี นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน

เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450 ที่บ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์

บรรพชาที่วัดบ้านโพง ศึกษากับหลวงพ่อมุม ที่วัดปราสาทเยอร์ใต้ จนจบชั้น ป.4 เมื่ออายุครบ 21 ปี อุปสมบทและศึกษาอาคมกับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนมีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยเหลือทางบ้านเมื่ออายุ 24 ปี

หลังจากสึก เป็น "หมอธรรม" ช่วยเหลือผู้คนในชุมชนจนเป็นที่เคารพนับถือ ยามเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม ก็ชักชวนเพื่อนหมอธรรมด้วยกันเดินทางไปเขมร เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม ได้พบพระผู้ใหญ่และพระอาจารย์จากทางเขมรมากมาย โดยหลวงปู่จะเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือและรักษาผู้คนเท่านั้น

เมื่อหมดภาระทางบ้าน จึงกลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ยังคงรักการธุดงค์มักออกธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ จนเมื่อหลวงตาวัน พระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัด ด้วยตัวท่านรักสมถะปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย จนเมื่อได้เห็นสภาพ "วัดบ้านหนองจิก" ที่จะกลายเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาและพัฒนาจนวัดรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จำพรรษาอยู่ได้ 4 ปี โยมญาติจากวัดบ้านโพรงก็เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยพัฒนาวัด เพราะที่วัดไม่มีพระจำพรรษาเกรงว่าต่อไปจะแปรสภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาทำนุบำรุงวัดจนเจริญขึ้น แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี

จนเมื่อหลวงปู่แสน อายุ 97 ปี ลูกหลานญาติโยมเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พากันไปนิมนต์กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิกจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นวันคล้ายวันเกิด "หลวงปู่แสน" อายุครบ 110 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 111 ศิษยานุศิษย์จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญนาคคู่ "รุ่นฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี ชาตกาล" เพื่อฉลองอายุและเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาและเคารพนับถือหลวงปู่ได้ร่วมกุศล รายได้นำไปสมทบทุนสร้างหอระฆังที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งสร้างศาลาที่ยังต้องใช้ปัจจัยอีกมาก โดยได้รับมอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์สำคัญจากวัดป่า นิโครธาราม อันได้แก่ ก้อนชนวนที่เหลือจากการหล่อพระประธาน อุปมาว่า "เหลือกิน เหลือใช้", ฝาบาตรของหลวงปู่อ่อนที่เปิดรับอาหารจากญาติโยมผู้ศรัทธา อุปมาว่า "เปิดรับสิ่งมงคลโชคลาภ" และระฆังที่แขวนอยู่บนช่อฟ้าโบสถ์เก่าวัดป่านิโคร ธาราม ซึ่งเป็นจุดสูงสุด อุปมาว่า "ชื่อเสียงโด่งดัง มีแต่ผู้คนรักใคร่" มวลสารสำคัญทั้ง 3 นี้ ได้ผ่านการสวดรับปาฏิโมกข์มาเป็นวาระแรกแล้ว ณ โบสถ์วัดป่านิโครธาราม เมื่อวันเพ็ญอาสาฬหบูชาที่ผ่านมา โดย หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ศิษย์เอก หลวงพ่อเงิน-หลวงพ่อแช่ม ได้ร่วมปลุกเสกด้วย จากนั้นจะได้นำมวลสารทั้งสามรวมทั้งตะกรุดโทนพอกผงศักดิ์สิทธิ์ ไปให้หลวงปู่แสนอธิษฐานจิตเดี่ยวอีกวาระ ก่อนนำมาบดย่อยหลอมรวมผสมลงไปในวัตถุมงคล พิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ณ วัดบ้านหนองจิก

บัดนี้ เหรียญนาคคู่ รุ่น "ฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี ชาตกาล" ได้ผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วนสมบูรณ์ มากด้วยความงดงามทางพุทธศิลป์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.09-2895-9824



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37721374755104_1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60363450066910_view_resizing_images_1_.jpg)

พระกริ่ง-พระชัย หลวงปู่แสน

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรี สะเกษ "เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้ายใกล้ชายแดนเขมร" พระเกจิดังแห่งแดนอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 109 ปี

เกิดเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450

พื้นเพเป็นคนบ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์ (ปัจจุบัน ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ)

ระหว่างบวชเณรก็ได้ไปศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับ หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอใต้ จนเรียนจบ ป.4 จากนั้นเรียนตำราพระเวทต่อทั้งภาษาขอม และภาษาธรรมบาลี จนกระทั่งอายุ 21 ปี ได้เข้าอุปสมบท แต่ก็ยังคงศึกษาวิชากับพระอาจารย์มุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอายุ 24 ปี ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อมาช่วยงานทางบ้าน

เป็น "หมอธรรม" ช่วยเหลือชาวบ้านในขณะที่เป็นฆราวาส ซึ่งเมื่อเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม มักชักชวนเพื่อนๆ หมอธรรมเดินทางไปเขมร เพื่อเรียนเพิ่มเติมที่จังหวัดพระตะบอง, เสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ได้เข้าพบพระผู้ใหญ่และพระอาจารย์จากทางเขมรผู้ทรงคุณมากมาย โดยเลือกเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือรักษาผู้คน

ต่อมาเมื่อหมดภาระทางบ้าน จึงได้กลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้ธุดงค์ใน เขตเทือกเขาพนมดงรักเป็นนิจ อยู่อย่างสมถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักปฏิบัติที่ชาวบ้านกุดเสล่าเคารพศรัทธาอย่างมาก

ต่อมาหลวงตาวันพระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัด โดยเจ้าคณะอำเภอกันทรลักษ์อนุญาตให้ไปอยู่ที่วัดอรุณสว่างวราราม (วัดบ้านกราม) แต่ด้วยตัวท่านรักสมถะ ปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน) อยู่ 3 ปี แล้วย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก 4 ปี เพื่อช่วยทำนุบำรุงวัดร้างจนวัดมีพระเข้ามารับช่วงต่อ โยมญาติพี่น้องจึงได้เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปจำพรรษา ณ วัดบ้านโพง ซึ่งเป็นวัดสมัยที่ท่านบวชเณร

แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี แต่หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพงโดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น...ด้วยพระเดชพระคุณของหลวงปู่แสน "วัดใดที่จะร้าง" เมื่อท่านไปจำพรรษา วัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยพระลูกวัดในขณะที่จำพรรษาอยู่

จนอายุ 97 ปี ลูกหลานญาติโยมเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่แสนจากวัดบ้านโพงกลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิก จนถึงทุกวันนี้ ท่านยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนภาคอีสานและโดยทั่วไปที่ได้ทราบกิตติศัพท์และคุณูปการมากมายที่มีต่อพระบวรพุทธศาสนา วัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่ผู้บูชา

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559 วัดหนองจิกได้จัดสร้าง "พระกริ่ง-พระชัย ไตรมาสแสนรวยทันใจ" เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 9 รอบ (108 ปี) และนำรายได้สมทบทุนสร้างศาลาการ เปรียญ โดยหลวงปู่แสนได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา ปี"59 และประกอบพุทธาภิเษกอีกครั้ง ใน "ฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์เพ็ญเดือนสิบสอง" ปี"59 โดย หลวงปู่แสน และหลวงปู่เร็ว ฉันทโก วัดหนองโน พระเกจิดังแห่งอุบลราชธานี ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านสวน ผู้สืบทอดวิชาอาคมสายสมเด็จลุน

พระกริ่งไตรมาสแสนรวยทันใจ สร้างเนื้อเดียว คือ เนื้อเหล็กน้ำพี้ผสมชนวนศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2,559 องค์ มีหมายเลขกำกับทุกองค์ ก้นอุดผงว่านร้อยแปด ติดจีวรเกศาหลวงปู่แสนทุกองค์ เกศทองคำ สร้าง 8 องค์ เลข 901 ถึง 909, เกศเงิน สร้าง 101 องค์เลข 800 ถึง 900, พระกริ่งสองโค้ด สร้าง 313 องค์ แจกพระเกจิและผู้มอบมวลสาร แบ่งมาทำเกศทองคำ 12 องค์ ถวายพระเกจิที่มาปลุกเสกในพิธี และกรรมการที่ร่วมกันจัดสร้าง

พระชัยไตรมาสแสนรวยทันใจ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ผสมชนวนพระกริ่ง สร้างแจกทาน "โค้ดเดียว" จำนวน 1,000 องค์ ส่วน "สองโค้ด" สร้าง 20 องค์ แบ่งมาทำเกศทองคำ 12 องค์ เพื่อแจกพระเกจิที่มาปลุกเสก และถวายเงินสดสร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองจิกจำนวน 600,000 บาท

สอบถามที่โทร.09-2895-9824



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72127998703055_view_resizing_images_2_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97911237676938_view_resizing_images_1_.jpg)

พิมพ์วันทาเสมา วัดพลับ

วัดพลับ หรือชื่อที่เป็นทางการว่า "วัดราชสิทธาราม" นั้น ตั้งอยู่ อ.บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา ด้วยเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงชื่อดังนาม "พระวัดพลับ" อมตะพระกรุเก่าที่มีอายุมากกว่า 200 ปี

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปีพ.ศ.2470 โดยเล่าขานกันว่า "...ในครั้งนั้นมีกระรอกเผือกตัวหนึ่งมาวิ่งเล่นอยู่บริเวณลานวัดพลับ ด้วยความสวยงามเป็นที่สะดุดตา บรรดาพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านในบริเวณนั้นจึงช่วยกันไล่จับ กระรอกเผือกได้หนีเข้าไปในโพรงพระเจดีย์ ชาวบ้านจึงช่วยกันกระทุ้งโพรงนั้น แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ได้ปรากฏพระพิมพ์จำนวนมากไหลออกมาจากโพรงพระเจดีย์ ถึงขนาดต้องเอากระบุงหลายใบมารองรับและเก็บรักษาไว้ ซึ่งนับเป็นการแตกกรุครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่..." และกลายเป็นที่มาของชื่อ"กรุกระรอกเผือก"

ต่อมา เมื่อเจ้าอาวาสเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ก็ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมี "พระสมเด็จอรหัง" ทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้นสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) และก่อนที่จะไปครองวัดมหาธาตุท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน กอปรกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงที่มีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

พระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว หนึกนุ่ม มีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด บางองค์จะมีรอยลานของเนื้อพระ อันเกิดจากความร้อน แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับทุกองค์ ยังพบที่ทำด้วยตะกั่วบ้าง แต่ขนาดจะเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เท่าที่พบจะมีมากมายหลายพิมพ์ ทั้งประทับนั่งขัดสมาธิ พระไสยาสน์ พระปิดตา หรือแบบ 2 หน้า โดยได้รับการขนานนามต่างๆ กันไปตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ชะลูด, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ

พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว นับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนพระมีน้อยและมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง

เอกลักษณ์แม่พิมพ์-พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน-พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง-พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา-มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น-พระหัตถ์ถือดอกบัว อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์-ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย-ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็นกระเปาะ คล้ายไหกระเทียม-ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย-ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

การพิจารณา "พระวัดพลับ" ให้ดูที่ผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี ทำให้เกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจะมีสีผิวค่อนข้างขาว มีลักษณะเป็น "คราบน้ำ" ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออกผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากจะพบที่กรุกระรอกเผือก วัดพลับแล้ว ได้มีการค้นพบบรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จ.อุทัยธานี แต่มีจำนวนไม่มากนัก

ถึงแม้ว่าค่านิยมจะลดหลั่นกันไปตามพิมพ์และกรุที่พบ แต่ด้านพุทธคุณนั้น "พระวัดพลับทุกพิมพ์" เข้มขลังเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ ทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง - ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 19 ธันวาคม 2560 11:38:21
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66801962339215_14500408181450041295l_1_.jpg)      พระนางกำแพง  
ตระกูลพระนางกำแพง จ.กำแพงเพชร ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ

นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย ฉบับที่แล้วได้พูดถึงพระนางกำแพงเม็ดมะลื่นกันไป ฉบับนี้มาดูอีก 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เริ่มด้วย "พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด" หนึ่งในพระนางกำแพง ก็จะสังเกตได้จากลักษณะของเส้นขอบ บังคับพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในตัว เพียงแต่ไม่มีการตัดขอบ จึงทำให้เหลือส่วนที่เป็นปีกทั้งข้างและด้านใต้ฐานพระลักษณะคล้าย "เม็ดมะเคล็ด" จึงนำมาเป็นชื่อของพิมพ์

พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด มีปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่ราคายังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณก็ไม่แตกต่างกันเลย เนื้อหามวลสารก็เช่นกัน เป็นเนื้อดินที่ละเอียด แข็ง และแกร่ง ปรากฏคราบกรุสีขาวนวลจับแน่นทั่วองค์ องค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดสีน้ำตาลมีน้อยหายาก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย สถิตอยู่ในเรือนแก้วรูปสามเหลี่ยมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งไม่เรือนแก้ว ทั้งสองแบบองค์พระสถิตบนพื้นฐานคล้ายรูปทรงของเม็ดมะเคล็ด ซึ่งโดยส่วนมากจะประณีต มีเพียงบางองค์ที่ทำเป็นปีกเหลือไว้บ้าง

 - ลักษณะองค์พระด้านล่างจะป้อมอูมและนูน ส่วนด้านบนจะเรียวเล็ก และส่วนใหญ่จะกดพิมพ์มาตื้นแทบทุกองค์

 - พระเศียรใหญ่ คล้ายทรงเทริด แต่ด้วยการกดพิมพ์ตื้นทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน

 - พระเกศเรียว ช่วงปลายบานออกแบบทรงกรวย

 - ภายนอกซุ้มเรือนแก้ว มีเนื้อเกินเป็นปีกกว้างออก แล้วโอบล้อมกลืนไปกับด้านหลังเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมดุล

 - ด้านหลังองค์พระบางองค์จะพอเห็นลายนิ้วมือ แต่มักจะเลือนรางมาก

พระนางกำแพงพิมพ์ต่อมา คือ "พระนางกำแพงกลีบบัว"

พระนางกำแพงกลีบบัว มีการค้นพบครั้งแรกที่กรุพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2392 ต่อมาปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ กรุที่ได้รับความนิยมกันมากจะเป็น กรุวัดพิกุลและวัดป่ามืด เนื้อหามวลสารส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ส่วนมากเนื้อจะละเอียดหนึกนุ่ม หากผ่านการสัมผัสใช้มา ว่านดอกมะขามปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปบนองค์พระและรารักหรือราดำ ปรากฏให้พบเห็นมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่พระที่พบขึ้นจากกรุนั้นๆ สำหรับเนื้อว่าน และเนื้อชิน ปรากฏให้พบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร อยู่บนอาสนะฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน แต่ปีกด้านข้างจะเรียวเล็กกว่าคล้ายกลีบบัว จึงนำลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งเป็นชื่อพิมพ์

พระนางกำแพงกลีบบัว มักมีขนาดไม่เท่ากัน คือตั้งแต่ 1.2 X 2.2 ซ.ม. จนถึง 1.6 X 3 ซ.ม. และยังสามารถแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในส่วนเกศไม่มากนักออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ

 - พิมพ์เกศแฉก
 - พิมพ์เกศปลี
 - พิมพ์เกศบัวตูม
 และ - พิมพ์เกศเปลว

มาที่ "พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น" ลักษณะพิมพ์ทรงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรขาคณิตเหมือนพระนางพญา และก็เป็นไปตามชื่อพิมพ์อีกเช่นกัน คือ ลักษณะการกดพิมพ์ค่อนข้างตื้น ทำให้เส้นแสงรายละเอียดต่างๆ ไม่ชัดเจนนัก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย สถิตอยู่บนอาสนะฐานเขียง พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

 - มีเส้นรางๆ จากโคนพระเกศมาจรดพระเมาลีด้านซ้าย
 - พระสังฆาฏิเป็น 2 เส้น ปลายแหลมคม
 - มีตุ่มข้างพระพาหาด้านซ้ายมือด้านใน
 - เส้นชายจีวรพาดข้อพระหัตถ์ด้านซ้ายเป็นเส้นเล็กๆ รางเลือน
 - มีเส้นพิมพ์แตกเฉียงจากพระหัตถ์ขวามายังพระชานุ

การพิจารณาพระนางกำแพงทุกพิมพ์ ในเบื้องต้นให้ดูที่เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน มีความละเอียดนุ่ม และมี "รารัก หรือ ราดำ" ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และยังเป็นจุดในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วยครับผม
ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91125461252199_view_resizing_images_1_.jpg)      พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น    

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางกำแพง พระที่ถูกขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่ก็จะพบที่บริเวณทุ่งเศรษฐี พระนางกำแพงเพชรเป็นพระที่พบจำนวนมากหน่อย มีมากมายหลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) และฝั่งตัวจังหวัด และยังมีอยู่หลายพิมพ์ และนิยมทุกพิมพ์ทุกกรุครับ

พระนางกำแพงเป็นพระที่พุทธลักษณะองค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ส่วนใหญ่จะประทับบนฐานเขียงเป็นเส้นตรงๆ พื้นผนังของพระก็เรียบๆ ไม่ปรากฏเส้นซุ้มใดๆ แต่การตัดขอบก็จะมีแตกต่างกันไปหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่ก็จะตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และยังมีแบบที่มีปีก ด้านข้างคล้ายรูปกลีบบัวก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงกลีบบัว บางองค์ขอบด้านข้างออกมนๆ ปลายค่อนข้างมนบ้าง แหลมบ้าง ก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เนื่องจากลักษณะคล้ายเม็ดมะลื่น (เม็ดมะลื่นก็คือเม็ดกระบก) ส่วนที่มีฐานเป็นขีดๆ ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงฐานตาราง ส่วนพระที่พบทางฝั่งตัวจังหวัดกรุหนึ่งพระมีลักษณะเรียวๆ แหลมส่วนใหญ่จะมีสีดำ คล้ายเม็ดมะเคล็ด ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด ส่วนพระนางกำแพงที่ตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมนั้นก็ยังแยกได้เป็นสองพิมพ์คือ พระพิมพ์ลึก และพระพิมพ์ตื้น

พระนางกำแพง ถูกขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดช้างลอบ และวัดอื่นๆ อีกเกือบทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พระที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) และพระเนื้อว่าน ทั้งว่านหน้าเงิน ว่านหน้าทอง และเนื้อว่านธรรมดา พระนางกำแพงจะนิยมพระเนื้อดินมากกว่าเนื้ออื่นๆ เนื้อดินของพระในตระกูลกำแพงเพชรนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม มีผิวบางๆ ถ้าเป็นพระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัส จะมีฝ้านวลกรุจับบางๆ อยู่ตามผิวทั่วไป บางองค์ถูกความชื้นในกรุก็จะปรากฏรารัก (ราดำ) อยู่ประปราย ก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ส่วนถ้าเป็นพระที่ถูกใช้สัมผัสเหงื่อไคล จะมีเนื้อที่เป็นมันหนึกนุ่มมากเป็นที่ยอมรับกันว่าพระตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่มีเนื้อหนึกนุ่มมาก

พระนางกำแพง เป็นพระที่ถูกพบมากที่สุดของพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร จึงทำให้สนนราคานั้นถูกกว่าอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่พุทธศิลปะนั้นก็เป็นเลิศ เป็นศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งถูกแยกออกทางวิชาการเป็นหมวดหนึ่งของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์ของพระสกุลช่างนี้จะมีขมับกว้างเด่นชัดและค่อยๆ เรียวลงมาถึงคาง แบบรูปไข่ เป็นเอกลักษณ์ของพระสกุลช่างนี้ ลำพระองค์จะมีหัวไหล่กว้าง อกเอวคอดสะโอดสะองอ้อนแอ้น งดงามมาก ศิลปะแบบนี้มีอยู่แต่ในกำแพงเพชรเท่านั้น

พระนางกำแพงในสมัยก่อนถึงจะมีจำนวนมากสักเท่าไรก็ตาม แต่ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพระที่สวยๆ สมบูรณ์นั้นก็หายาก เนื่องจากรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น คิ้ว ตา ปาก จมูก หูเป็นเส้นเรียวเล็กมาก และคุณสมบัติที่เป็นพระเนื้อดินละเอียด และหนึกนุ่มจึงทำให้พระส่วนใหญ่นั้นสึกหรอไปตามกาลเวลา จะหาพระที่มีหน้าตาสวยสมบูรณ์นั้นยากมาก

พุทธคุณของพระนางกำแพงก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงอื่นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ พระนางกำแพงปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากแล้วครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น ซึ่งปัจจุบันค่านิยมสูง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54146850978334__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)      พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อชินเงิน 

กำแพงซุ้มกอ เป็นพระของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเบญจภาคี ซึ่งเป็น พระซุ้มกอเนื้อดินเผา ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มตามแบบเนื้อทุ่งเศรษฐี และเป็นพระที่มีความนิยมสูง
พระกำแพงซุ้มกอ มีการขุดพบที่บริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีอยู่หลายกรุ เช่น พบในกรุของวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดซุ้มกอ นอกจากนี้ก็ยังมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีลายกนก พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนก หรือที่มักเรียกกันว่า “พระซุ้มกอดำ”
เนื่องจากพระส่วนใหญ่องค์พระมักจะเป็นเนื้อดินเผาสีดำ มีบ้างที่มีสีออกเป็นน้ำตาลไหม้แต่พบน้อยมาก พระกำแพงซุ้มกอไม่มีลายกนกจะมีแต่พิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียวและมีเนื้อดินเผาเนื้อเดียว
พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์กลางจะมีลายกนก และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์เล็ก ซึ่งพระพิมพ์นี้ส่วนมากจะมีเนื้อเกินเป็นปีกข้าง สัณฐานกลมๆ จึงมักจะเรียกว่า “พิมพ์ขนมเปี๊ยะ”

พระกำแพงซุ้มกอส่วนใหญ่ที่พบนั้น จะเป็นพระเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น เนื้อว่านแทบจะไม่ได้พบเห็นกันเลย และพระเนื้อชินอีกเนื้อหนึ่งที่แทบจะไม่พบเห็นกันเลย เนื่องจากพระที่ขุดพบนั้นจะมีสภาพผุกร่อนเสียหายเป็นส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีองค์พระที่สมบูรณ์เลย จึงพบเห็นได้น้อยมากแม้แต่รูปภาพก็ยังหายากครับ

 พระชุดเบญจภาคีในชั้นแรกก็ยังมิได้จัด พระกำแพงซุ้มกอเข้าอยู่ในชุด ส่วนตัวแทนพระของทุ่งเศรษฐีนั้นได้จัดพระกำแพงเม็ดขนุนเข้าไว้ในชั้นแรก แต่ต่อมานักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนได้พิจารณาดูแล้วว่า รูปทรงและพุทธลักษณะของพระเม็ดขนุนนั้น ในด้านรูปทรงโดยรวมเป็นลักษณะรูปทรงยาวรี พุทธลักษณะก็เป็นพระประทับยืน

ซึ่งพระอีก 4 องค์ของพระชุดเบญจภาคีล้วนแต่เป็นพระประทับนั่ง เมื่อนำมาจัดชุดเข้ากับสร้อยคอเพื่อแขวนนั้น จะไม่ค่อยสมมาตรกันสักเท่าไหร่ จึงได้คิดเปลี่ยนนำพระกำแพงซุ้มกอเข้ามาแทนที่ซึ่งพุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งเช่นเดียวกัน และสัณฐานก็ใกล้เคียงกัน พอนำมาแขวนกับสร้อยคอแล้วก็ดูสมมาตรดูสวยดี จึงเปลี่ยนมาจัดชุดพระเบญจภาคีที่เป็นพระของกำแพง เพชรจากพระกำแพงเม็ดขนุน มาเป็นพระกำแพงซุ้มกอตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในด้านพุทธคุณของพระกำแพงซุ้มกอก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยมโภคทรัพย์ตามแบบฉบับของพระทุ่งเศรษฐี ในด้านความนิยมก็สูงมากและเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากมากเช่นกันส่วนในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงซุ้มกอ เนื้อชินเงินที่ค่อนข้างหายาก แต่ค่านิยมก็ยังเป็นรองพระเนื้อดินเผา เนื่องจากพระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยมากจนแทบจะไม่ค่อยมีคนทราบว่าพระกำแพงซุ้มกอนั้นมีที่เป็นพระเนื้อชินด้วย จึงอยากจะนำมาให้ชม โดยได้นำรูปพระมาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58353435413704_2_167_1_.jpg)         มงคลพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ 

พระ 25 พุทธศตวรรษ มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานมณฑลสุทรรศน์” ซึ่งไม่ว่ากาลเวลาผ่านมาเนิ่นนานถึง 60 ปี แต่กระแสความนิยมก็ไม่เคยตกเลย

ในปี พ.ศ.2500  ประเทศไทยมีการจัดงานฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เรียกชื่อว่า “งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีการจัดสร้างพระศรีศากยะทศพลญาณ พระพุทธรูปปางลีลา ความสูง 2,500 นิ้ว (62.50 เมตร) เป็นพระประธาน ณ พุทธมณฑล เพื่อต้องการให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาแห่งโลก

และมีการจัดสร้างพระเครื่องปางลีลากันมากมายหลายชนิด ขนานนามตามชื่องานว่า “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” พิธีพุทธาภิเษกก็จัดอย่างยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ไปประกอบพิธีและกดปั๊มพระพิมพ์นำฤกษ์ อันนับเป็นมหามงคลสูงส่ง

การสร้างวัตถุมงคลจำลององค์พระประธานปางลีลามีมากมายหลายแบบ อาทิ พระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา, พระเครื่องเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 2,500 องค์, พระเนื้อชิน จำนวน 2,421,250 องค์, พระเนื้อดิน (เนื้อดินผสมเกสร) จำนวน 2,421,250 องค์ โดยมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานฝ่ายจัดสร้าง

นอกจากนี้ ยังได้สร้างพระเนื้อนากและเนื้อเงินอีกจำนวนหนึ่ง ถวายพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสก และคณะกรรมการ ซึ่งปัจจุบันแทบจะหาองค์แท้ได้ยากยิ่ง และทางกองกษาปณ์ยังได้สร้างเหรียญใบเสมาขึ้นมาสมทบด้วย

พิธีพุทธาภิเษกทุกขั้นตอนถูกต้องครบถ้วนตามพิธีกรรม ล้นเกล้าฯ ร.9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้าง “พุทธมณฑล” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2498 และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล” และทรงกดพระพิมพ์ “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน 30 องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2500

พิธีพุทธาภิเษกมีถึง 2 วาระ วาระแรกนำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก-ปลุกเสก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม มีพระเกจิคณาจารย์มาร่วมพิธีครบ 108 รูป วาระที่ 2 วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2500 นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 วัน 3 คืน

ในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมสมเด็จพระราชาคณะเจริญพุทธมนต์ 25 รูป พระเกจิคณาจารย์ร่วมปลุกเสกบรรจุพุทธาคมครบ 108 รูปเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งยุคจากทั่วประเทศ รวมเวลาประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระทั้งสิ้น 6 วัน 6 คืน

ด้วยความเป็นเลิศทั้งด้านพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงาม ไล่ตั้งแต่เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก มาจนถึงชินตะกั่วและเนื้อผง โดยเฉพาะพระเนื้อชิน และเนื้อผงเกสร ที่มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างมาก ดังนั้น การแสวงหาไว้เช่าบูชาถ้าไม่ใช่โดยตรงจากแหล่งกำเนิดแล้ว ควรต้องมีการพินิจพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อน

สำหรับพระเนื้อชินจะมีส่วนผสมของดีบุก ตะกั่ว พลวง ทำให้องค์พระมีประกายวาวๆ คล้ายปรอทสวยงาม แล้วยังมีบล็อกแตกซึ่งกลายเป็นที่นิยมเรียก ‘พิมพ์มีเข็ม’ ลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายแท่งเข็มใต้บัว กับ ‘พิมพ์ไม่มีเข็ม’ ก็เป็นที่เล่นหากัน ส่วนพระเนื้อดิน สวยงามด้วยขนาดสีสันวรรณะมีหลากหลายสี โดยเนื้อดินนำมาจากทะเลสาบสงขลา ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์ และดินศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
   ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 23 ธันวาคม 2560 13:09:55
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56429331252972_6_31_696x336_1_.jpg)  พระยอดขุนพล กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี และเป็นสถานที่พบพระเครื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งพระเครื่องต่างๆ เหล่านั้นก็มีพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูง เช่น พระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน เป็นต้น แต่นอกจากพระเครื่องทั้ง 2 ชนิดนี้แล้วก็ยังพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกมากมาย ทั้งพระแผงขนาดเขื่องที่สวยงามตามรูปแบบศิลปะขอม และพระเครื่องบางชนิดที่แทบหาชมไม่ได้เลย เนื่องจากพบขึ้นจากกรุน้อยมาก สันนิษฐานว่าอาจจะชำรุดเสียหายผุกร่อนไปก่อนหน้านั้นแล้วก็เป็นได้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างด้วยเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่ว จึงอาจจะเกิดสนิมทำให้เสียหายไปจากความชื้นและกาลเวลา พระบางอย่างจึงแทบไม่ได้พบเห็นกันเลยครับ

พระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “พระยอดขุนพล” ซึ่งพบในกรุนี้มีมากมายหลายพิมพ์ พระยอดขุนพล ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว และมีกลีบบัวรองรับเป็นฐาน มีทั้งบัว 2 ชั้นและบัวชั้นเดียว พระเครื่องที่พบในลักษณะนี้มักจะเรียกรวมๆ กันว่า “พระยอดขุนพล” เนื้อของพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีพบบ้าง ส่วนเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก

พระยอดขุนพลพิมพ์หนึ่งคือ พระยอดขุนพลซุ้มกนกข้างนั้นแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยและมีผู้รู้จักน้อยมาก คาดว่าจำนวนพระที่สมบูรณ์และขึ้นมาจากกรุน้อยมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นหรือ มีรูปเผยแพร่กันเลย พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกนก กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่ทรงเครื่อง ห่มจีวรลดไหล่ สังฆาฏิหนาเป็นปื้นปลายตัด มีเส้นจีวรต่อจากเส้นสังฆาฏิพาดพระกรซ้ายลงมาที่หัวเข่าเด่นชัด ประทับนั่งในซุ้มเป็นเส้นคู่ และมีกนกอยู่ด้านข้าง พุทธศิลปะเคร่งขรึมแบบขอมสวยงาม

พระยอดขุนพลซุ้มข้างกนก ในด้านพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับพระในกรุนี้ คือเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด อำนาจบารมี ปัจจุบันหาชมยากมากแม้แต่รูปก็ยังหายากครับ เป็นพระที่ควรแก่การอนุรักษ์ เนื่องจากเป็นพระที่พบน้อยมากจนแทบไม่มีใครได้เคยเห็น จึงอาจจะทำให้ลืมเลือนกันไป

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระยอดขุนพลกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมเพื่อการเผยแพร่และการอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานสืบต่อไปครับ




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47949527824918_view_resizing_images_1_.jpg)     เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรีรูปหนึ่งคือหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ อำเภอบ้านโป่ง ท่านได้สร้างเหรียญไว้เหรียญหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหาชมยาก ชาวบ้านโป่งต่างก็หวงแหนกันมาก

หลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ประวัติของท่านไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สืบค้นได้จากเพียงคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่นเท่านั้น เท่าที่พอสืบค้นได้ก็เป็นแต่เพียงทราบว่าท่านเป็นคนบ้านดยายหอม จังหวัดนครปฐม และเป็นพระน้าชายของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม โยมบิดา ชื่อทับ โยมมารดาชื่อโต เกิดเมื่อปีพ.ศ.2405 และเมื่อปีพ.ศ.2428 อายุได้ 23 ปี จึงได้อุปสมบท โดยมีพระอาจารย์เกิด วัดโพธิบัลลังก์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ชุติวัณโณ"

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิบัลลังก์ และศึกษาสรรพวิชากับหลวงพ่อเกิด ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ในป่า เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งมาถึงวัดท่ามะเดื่อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่ขาดพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ในสมัยนั้นแถววัดท่ามะเดื่อยังเป็นป่าห่างไกล เคยมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาบ้างแต่ก็อยู่ได้ไม่นานนักก็จากไป เนื่องจากยังเป็นสถานที่ทุรกันดารอยู่มาก หลวงพ่อชุ่มจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่ามะเดื่อ และได้เริ่มสร้างกุฏิสงฆ์ หอฉัน ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถ ตามลำดับ เรียกได้ว่าความเจริญได้เริ่มเมื่อครั้งหลวงพ่อชุ่มมาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้

ในการสร้างพระอุโบสถนั้นหลวงพ่อชุ่มได้รับการช่วยเหลืองาน จากพระราชวรินทร์ (กุหลาบ กสุมภ์) ซึ่งเป็นมหาดเล็กสนองงานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลวงพ่อชุ่มเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องกับหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อฟัก วัดบ้านโป่ง

หลวงพ่อชุ่มถือสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิทยาคมต่างๆ หลวงพ่อชุ่มถือครองผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต และ ถือบิณฑบาตมิได้ขาด สานุศิษย์ให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่ออย่างมาก และยังเป็นผู้ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม อีกด้วย

การสร้างเหรียญของหลวงพ่อชุ่มนั้นคณะศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตจัดสร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อปีพ.ศ.2469 โดยสร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมา และมีรูปหลวงพ่อชุ่มนั่งเต็มองค์ ด้านข้างของเหรียญเป็นเหรียญแบบข้างเลื่อย พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตา แคล้วคลาด และคงกระพัน ปัจจุบันหายากมาก เนื่องจากสร้างจำนวนไม่มากนัก

หลวงพ่อชุ่มมรณภาพในปีพ.ศ.2470 เศษๆ ถึงแม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ชาวบ้านยังเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อชุ่มเป็นอย่างมาก เหรียญของท่านชาวบ้านที่มีไว้ต่างก็หวงแหนกันมาก และเป็นเหรียญที่หายากเหรียญหนึ่งของบ้านโป่งครับ

ขอขอบคุณ คุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณามอบข้อมูลและรูปเหรียญหลวงพ่อชุ่มจากหนังสือสุดยอด พระคณาจารย์เมืองราชบุรี ครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50408472865819__3594_3617_3619_3617_26_3614_3.jpg)     เหรียญรุ่นแรก-รุ่นเดียว พระวินัยธร (บัว)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าเหรียญหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร คือ เหรียญพระวินัยธร (บัว) วัดอ่างแก้ว ประวัติของท่านไม่ได้มีการบันทึกไว้มีแต่การบอกเล่าสืบต่อกันมา

วัตถุมงคลของท่านนั้นสอบถามดูจากคนพื้นที่ก็ว่าท่านไม่ได้สร้างไว้ แต่ก็มีเรื่องราวบอกถึงความขลังของท่านเกี่ยวกับจีวรเก่าๆ ของท่านที่นำมาถักเป็นเชือกผูกเรือของวัด มีลูกศิษย์นำไปคาดเอวติดตัวแล้วไปถูกฟันไม่เข้า หลังจากนั้นจีวรเก่าที่ท่านทำเป็นเชือกผูกเรือ ก็มีคนจ้องจะลักไปเป็นเครื่องรางอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นแรกของท่าน สนนราคาก็อยู่ที่หมื่นกว่าบาท

พระวินัยธรบัว เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านหัวย่าน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อน้อย โยมมารดาชื่อพร้อย พอท่านอายุได้ 13 ปี มารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม บิดาของท่านจึงนำท่านมาฝากไว้กับหลวงพ่อโพธิ์ วัดอ่างแก้ว

หลวงพ่อโพธิ์ท่านนี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมเข้มขลังมาก ในสมัยนั้นท่านมีวาจาสิทธิ์ช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยหายทุกราย โดยท่านไม่ต้องใช้ยาอะไรเลย เมื่อมีคนมาขอให้ท่านช่วยรักษา และนำข้าวปลาอาหารมาถวายท่าน ท่านก็ให้ของกินนั้นกลับไปให้คนไข้กิน ปรากฏว่า หายดีทุกรายไป เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

มีชาวบ้านมาให้ท่านช่วยรักษาและขอน้ำมนต์กันมากมาย ว่ากันว่าน้ำมนต์ของท่านนั้นท่านเสกจนเดือดได้เห็นๆ มีผู้คนมาขอน้ำมนต์ จนท่านได้ให้ขุดสระและสร้างหอไตรไว้กลางน้ำ และเสกน้ำในสระให้เป็นน้ำมนต์ ใครมาขอน้ำมนต์ก็ไปตักเอาได้ที่สระน้ำ และก็ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิม

หลวงพ่อบัวท่านอยู่กับหลวงพ่อโพธิ์จนอายุ 14 ปี หลวงพ่อโพธิ์ก็ได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร และพออายุครบ 20 ปี หลวงพ่อโพธิ์ท่านก็อุปสมบทให้ที่วัดใหญ่จอมปราสาท โดยมีเจ้าอาวาสวัดป้อมฯเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ขวัญเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์รอด วัดอ่างแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอ่างแก้วตามเดิม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมกับหลวงพ่อโพธิ์ จนกระทั่งหลวงพ่อโพธิ์มรณภาพ พระครูสมุทรคุณากร(ชื่น) จึงแต่งตั้งหลวงพ่อบัวเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อบัวท่านก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัดอ่างแก้วด้วยดีเสมอมา

ท่านเป็นพระที่สมถะไม่สะสม วินัยเคร่งครัดญาติโยมถวายปัจจัยมาท่านก็เอามาบูรณะวัดอ่างแก้วหมด ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระวินัยธร และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีผู้มาขออุปสมบทกับท่านมากมาย ท่านเป็นพระนักเทศน์ สอนประชาชนให้เข้าถึงธรรม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ในปี พ.ศ.2475 ท่านมีอายุครบ 80 ปี ลูกศิษย์ของท่านได้มาขออนุญาตท่านจัดงานทำบุญฉลองอายุและขอสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็ขัดไม่ได้ จึงสร้างเหรียญรูปเสมา เนื้ออัลปาก้า ด้านหน้าเขียนไว้ว่า พระวินัยธรบัว ด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห และมีเลขไทยเขียนไว้ ๖/๔/๘/๔

ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทำให้มีคนเข้าใจว่าเหรียญนี้สร้างปี พ.ศ.2484 ก็เป็นได้ เพราะเคยเห็นมีคนเขียนไว้ว่าเป็นเหรียญที่สร้างในปี พ.ศ.2484 โดยหลวงพ่อบัวปลุกเสก แต่น่าจะผิดพลาดในความเข้าใจก็เป็นได้ครับ ความจริงสร้างเป็นที่ระลึกในงานฉลองอายุครบ 80 ปี

พระวินัยธรบัวมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2478 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น มีครั้งหนึ่งท่านได้นำจีวรเก่าๆ มาถักเป็นเชือกไว้สำหรับผูกเรือของวัด ก็มีลูกศิษย์ของท่านได้ขโมยเอาไปคาดเอว แล้วไปมีเรื่องกับคู่อริ เกิดถูกแทงไม่เข้า โดยที่ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเชือกถักจีวรเพียงอย่างเดียว พอเรื่องนี้มีคนรู้เข้า ก็มีคนคอยจ้องจะลักเอาเชือกจีวรของท่านเสมอๆ จนไม่มีเหลือ

ครับในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านมาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82575461889306_view_resizing_images_1_.jpg)     เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องเบี้ยแก้สายอ่างทองก็ผ่านสองวัดสองหลวงพ่อไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกสองวัด สองหลวงพ่อที่จะนำมาพูดคุยกัน วันนี้ก็จะพูดถึงหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านเบี้ยแก้ของวิเศษชัยชาญองค์หนึ่งทีเดียวครับ

พระครูวิตถารสมณกิจ (คำ ปญฺญาสาโร) วัดโพธิ์ปล้ำ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เกิดในปี พ.ศ.2432 นับว่าท่านอาวุโสน้อยที่สุดในพระเกจิอาจารย์ที่สร้างเบี้ยแก้สายอ่างทองที่ผมจะกล่าวถึงครับ โยมบิดาชื่อ เส็ง โยมมารดาชื่อ ไท หลวงพ่อคำเป็นคนปากคลองวัดโพธิ์

เมื่อมีอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์นี่เองครับ โดยมีพระญาณไตรโลก (อาจ) วัดศาลาปูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิญาณนุโยค วัดกษัตราธิราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุปัชฌาย์จั่น วัดทำนบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากบวชแล้วท่านก็อยู่ที่วัดโพธิ์ปล้ำตลอด หลวงพ่อคำศึกษาวิชาอาคมจากสมุดข่อย ซึ่งอยู่ภายในโพรงโพธิ์ที่วัด ทางบ้านของหลวงพ่อคำเป็นคนมีฐานะดี มีที่นาอยู่ร้อยกว่าไร่ และท่านเป็นบุตรคนเดียว หลังจากโยมทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว ท่านจึงได้ขายที่นาและนำเงินทั้งหมดมาสร้างพระอุโบสถ พระประธาน กุฏิสงฆ์ ฯลฯ และยกที่ดินที่เหลือให้เป็นของวัดทั้งหมด ตอนที่ท่านมรณภาพไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวหรืออยู่ในกุฏิเลย

พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านไปมาหาสู่กับหลวงพ่อคำเสมอๆ เช่น หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ และท่านเจ้าคุณสุธรรมธีรคุณ วัดสระเกศ เป็นต้น ทั้ง 4 รูปนี้มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อมาก จะไปพักอยู่ที่วัดโพธิ์ปล้ำเสมอ โดยเฉพาะหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์จะไปอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อคำมรณภาพเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2503 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในสมัยที่หลวงพ่อคำยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างด้วยกัน เช่น สมเด็จหู เหรียญทำบุญอายุครบ 60 ปี สมเด็จปรกโพธิ์เก้าชั้น พระเนื้อว่านหลายพิมพ์ ผ้ายันต์ ตะกรุด รูปถ่าย และเบี้ยแก้ ซึ่งมีชื่อเสียงมาก

วันนี้ผมนำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ บล็อกประคำใหญ่มาให้ชมครับ ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51578153297305_view_resizing_images_1_.jpg)     พระพลายงาม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องรุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับวรรณคดีขุนช้างขุนแผน วรรณคดียอดฮิตติดอันดับ ยิ่งในสมัยก่อนพวกชายหนุ่มต่างก็อยากเก่งกาจมีมนต์ขลังเมตตามหาเสน่ห์แบบขุนแผน จะได้เป็นที่ต้องใจสาวๆ กันทั้งนั้น พอได้ยินเรื่องพระขุนแผนก็เสาะหากันจ้าละหวั่น หวังจะได้มีเสน่ห์อย่างขุนแผนในวรรณคดี

พระเครื่องที่ตั้งชื่อเรียกกันตามวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ก็เป็นพระของเมืองสุพรรณเสียเกือบทั้งหมดล่ะครับ และที่มีชื่อแบบตัวละครในวรรณคดีเรื่องนี้ก็มีหลายอย่าง เช่น พระขุนแผน พระขุนไกร พระกุมารทอง พระพันวษา พระพลายงาม พระมอญแปลง เป็นต้น พระดังได้กล่าวมานี้จะเป็นพระของกรุวัดพระรูป ซึ่งตอนที่สุนทรภู่ได้แต่งโคลงนิราศเมืองสุพรรณก็ได้กล่าวถึงวัดพระรูป และกล่าวถึงชื่อที่อยู่ในวรรณคดีด้วย ดังจะขอยกตอนที่ 136 และ 137 มาเพื่ออ่านเล่นสนุกๆ ครับ

ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิสดาร
มีวัดพระรูปบุราณ ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาน สงฆ์สู่ อยู่เอย
หย่อมย่านบ้านขุนช้าง ชิดข้างบัลลังก์
วัดกระไกรใกล้บ้าน ศรีประจัน
ถามเหล่าชาวสุพรรณ เพื่อนชี้
ทองประศรีที่สำคัญ ข้างวัด แคแฮ
เดิมสนุกทุกวันนี้ รกเรื้อเสือคะนอง

ครับก็พอนึกตามได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน และตอนที่สุนทรภู่ไปนั้นยังรกร้าง ผู้คนน้อย ทีนี้เรามาดูพระเครื่องชนิดอื่นที่ไม่ใช่พระขุนแผนที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วบ้าง เช่น พระพลายงาม ซึ่งอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ทั้งองค์พระ ตัวละคร แต่ก็พอจะทราบว่าพลายงามเป็นลูกชายของขุนแผน แต่เก่งกาจสามารถเพียงใด ผมจะขอยกบางตอนในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนมาให้อ่านสนุกๆ พอเป็นอรรถรส จะได้เพลิดเพลินไปกับการสะสมด้วย

พลายงามหลังจากที่ได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับนางทองประศรีผู้เป็นย่าจนแตกฉานก็เริ่มทดลองวิชา

อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี

ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์

ปถมังตั้งตัวนะปัดตลอด แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน

หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล แล้วเล่ามนต์เศกขมิ้นกินน้ำมัน

เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก แทงจนเหล็กแหลมลู่ยูขยั้น

มหาทมื่นยืนยงคงกระพัน ทั้งเลขยันต์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย

แล้วทำตัวหัวใจอิติปิโส สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย

สะกดคนมนต์จังงังกำบังกาย เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี

ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี

ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา

ครับก็อ่านกันสนุกๆ พอให้รู้ว่าพลายงามนั้นก็เก่งมิใช่ย่อย ไม่แพ้ขุนแผนผู้เป็นพ่อ เราเก็บสะสมพระเครื่องและเรื่องราวอันเป็นที่มาของชื่อพระก็เพลิดเพลินดีเอาไว้คุยโม้กันสนุกๆ ครับ ทีนี้เรามารู้จักกับพระที่มีชื่อว่าพลายงามกันบ้าง พระพลายงามเป็นพระชนิดหนึ่งที่อยู่ในตับพระวัดพระรูป มีขนาดเกือบเท่าพระขุนแผนของกรุนี้ ย่อมกว่ากันนิดหน่อย พิมพ์ของพระค่อนข้างตื้นกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า กรอบพิมพ์ก็คล้ายๆ พระขุนแผนไข่ผ่า ด้านหลังอูมๆ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายๆ กับพระในตระกูลขุนแผน แต่ความลึกชัดจะไม่ลึกเป็นเพียงตื้นๆ เท่านั้น การพบพระนั้นพบพร้อมๆ กับพระอื่นๆ ของกรุวัดพระรูป เนื้อพระเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งแบบเนื้อละเอียดและเนื้อแกร่งมีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อเช่นเดียวกับพระอื่นในกรุนี้ จำนวนพระที่พบไม่มากนัก จึงอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกัน

วันนี้ผมจึงขอนำรูปพระพลายงามจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59993694225947_1_251_696x388_1_.jpg)     พระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระยอดธงหลายๆ ท่านคงจะรู้จักกันดีว่าพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมและมีเดือยที่ใต้ฐานยื่นยาวออกมา ลักษณะคล้ายๆ กับว่าทำไว้สำหรับติดตั้งเสียบกับอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น เอาไว้ติดตั้งบนยอดธง หรือติดตั้งบนฐานอีกทีหนึ่ง ซึ่งพระที่มีลักษณะแบบนี้มักจะเรียกกันว่าพระยอดธงทั้งสิ้น

พระเครื่องที่เรียกกันว่าพระยอดธงนั้นก็มีคนในสมัยก่อนสันนิษฐานว่าสร้างไว้สำหรับติดกับยอดธงของกองทัพในสมัยโบราณ ซึ่งก็เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น ต่อมาได้มีการขุดพบพระยอดธงอีกมากมายจากหลายๆ กรุ เท่าที่พบพระส่วนใหญ่จะเป็นพระศิลปะอยุธยา พบทั้งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่นๆ บ้าง เช่น ที่วัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี พระยอดธงกรุนี้ รู้จักกันอย่างกว้างขวางของผู้นิยมสะสมพระเครื่องครับ

วัดไก่เตี้ยเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อราวพ.ศ.2100 ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถโปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองลัดออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่เริ่มต้นการขุดจากคลองบ้านพร้าวผ่านหน้าวัดไก่เตี้ย

ต่อมาจนถึงปีพ.ศ.2485 บ้านเมืองตกอยู่ในภัยสงคราม พระเจดีย์ใหญ่ได้ชำรุดทรุดโทรมพังทลายลงมา และได้มีการพบพระยอดธงเป็นจำนวนมากที่บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย และมีเดือยที่ใต้ฐานแทบทุกองค์ พระที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน ศิลปะเป็นแบบศิลปะอยุธยา พระยอดธงที่วัดไก่เตี้ยเมื่อแตกกรุออกมาแล้วชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เก็บเอาไปบูชา มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนเล่าขานกันสืบต่อมา

ในสมัยก่อนนั้นก็มีการเสาะหาพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ยกันมาก และเนื่องจากมีเดือยใต้ฐานพระนั้นจึงขนานนามกันว่าพระยอดธง ซึ่งอาจจะเข้าใจกันว่าเดือยที่ยื่นออกมาจากใต้ฐานนั้นคงมีไว้สำหรับเสียบที่ยอดธงของกองทหารไว้ใช้ในศึกสงคราม แต่อีกแนวทางหนึ่งเรื่องเดือยที่ใต้ฐานของพระอาจจะเป็นเพราะกรรมวิธีการสร้างพระที่เป็นพระหล่อลอยองค์

ซึ่งจะต้องมีช่อชนวนสำหรับเวลา เทโลหะที่หลอมละลายเพื่อให้เข้าไปในเบ้าพิมพ์หล่อพระก็เป็นได้ หลังจากที่นำพระออกจากเบ้าพิมพ์แล้วจึงมีช่อชนวนเป็นเดือยเหลืออยู่ และมิได้ตัดออกอาจจะเพื่อสำหรับให้นำพระไปประดิษ ฐานบนฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อตั้งบูชาก็อาจจะเป็นได้

และก็พบพระบางองค์ที่ตัดช่อชนวนออกชิดกับองค์พระก็มี แต่ก็เรียกกันว่า “พระยอดธง” มาแต่โบราณ และพระที่พบในที่อื่นๆ และมีพุทธลักษณะมีเดือยที่ใต้ฐานแบบนี้ก็จะเรียกว่าพระยอดธงเช่นกัน

ปัจจุบันพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ยนั้นหาแท้ๆ ยากมากพอสมควรครับ ของปลอมเลียนแบบมีมากมายมาตั้งแต่นานมาแล้ว ทั้งของกรุอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังพิจารณาให้ดี

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64792646053764_view_resizing_images_1_.jpg)     พระปรกใบมะขาม เนื้อทองคำ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงพระปรกใบมะขาม ก็หมายถึงพระองค์เล็กๆ (จิ๋ว) ที่เป็นรูปพระนาคปรก มีการสร้างอยู่หลายวัด แต่ที่หายากๆ ก็จะเป็นพระที่สร้างในยุคเก่าๆ และที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นพระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด ซึ่งจัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีพระปรกใบมะขาม จำนวนการสร้างน้อย มีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ และเนื้อทองแดง

วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามเป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านก็มักเรียกกันจนติดปากว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาดมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสถานการศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยที่ยังเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายอักษรรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้หล่อรูป" พร้อมกับหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ"

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปี พ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทฯสนมกับพระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด ท่านเจ้าคุณสนิทฯนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียง โด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา

ท่านเจ้าคุณสนิทฯได้สร้างวัตถุมงคลไว้และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันดีก็คือพระปรกใบมะขาม ซึ่งถือกันว่าเป็นอันดับ 1 ของพระปรกใบมะขามเลยทีเดียวครับ ปัจจุบันหายากมากครับ นอกจากนี้วัตถุมงคลที่หายากมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้อยตะกรุดประคำคาบ ซึ่งแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่ได้รับมักเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตะกรุดสร้อยประคำคาบ จะเป็นตะกรุดทองคำพวงจำนวน 19 ดอก พร้อมด้วยลูกประคำทองคำคั่นระหว่างดอกตะกรุด และสร้อยทองคำสวมคอร้อยตะกรุดไว้ ในสมัยโบราณจึงเรียกว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ"

ท่านเจ้าคุณสนิทฯ มรณภาพราวปี พ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกใบมะขาม เนื้อทองคำของท่านเจ้าคุณสนิทฯ จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 มกราคม 2561 11:04:43

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80396303534507_1.jpg)
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากรูปหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมาย และได้รับความนิยมสูง

หลวงพ่อดิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2420 ที่บ้านตำบลบางวัว โยมบิดาชื่อเหม โยมมารดาชื่อล้วน เมื่อหลวงพ่ออายุได้พอสมควรที่จะเรียนหนังสือได้แล้ว โยมก็ได้พาไปฝากเรียนที่วัดบางวัว พออายุครบบวช บิดามารดาจึงได้จัดการอุปสมบทให้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2440 ที่วัดบางวัว โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง เทศลำใย วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "คังคสุวณฺโณ"

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ จำพรรษาอยู่ที่วัดบางวัว 2 พรรษา จึงได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและบาลีที่วัดไตรมิตรวิทยาราม ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา พระอาจารย์ปลอด เจ้าอาวาสวัดบางวัว ได้มรณภาพ คณะสงฆ์วัดบางวัวและชาวบ้านก็ได้มานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวสืบแทน

พอได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวแล้ว ท่านก็ได้พัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่องจนวัดบางวัวเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการเป็นทางการ พ.ศ.2453 เป็นเจ้าคณะหมวดตำบลบางวัว พ.ศ.2463 เป็นพระอุปัชฌายะ พ.ศ.2476 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2479 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพิบูลย์คณารักษ์

ในด้านวิทยาคมของท่านก็ได้ศึกษาในด้านแพทย์แผนโบราณจากหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร และอาจารย์จ่าง เทศลำใย ซึ่งทั้งสองท่านนั้นเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างมาก และได้ศึกษาจากอาจารย์เปิ้น วัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านกฤตยาคมสูงมาก และยังได้ศึกษากับอาจารย์เปอะ ทางด้านกฤตยาคมอีกด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้ตำราโบราณอีกหลายเล่มมาศึกษาจนได้ผล ในการสร้างหนุมาน ผ้ายันต์ต่างๆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อดิ่งก็คือ หลวงพ่อฟู เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร หลวงพ่อสนิท เจ้าอาวาสวัดบางวัว เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งมีอยู่หลายอย่าง เช่น เหรียญตะกรุดโทน และตะกรุด 7 ดอก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม และหนุมาน ที่เรียกกันว่าลิงหลวงพ่อดิ่งนั่นแหละครับ เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่งมีประสบการณ์สูงทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม จึงเป็นเหรียญนิยมเหรียญหนึ่งที่มีสนนราคาสูงและหายากในปัจจุบันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65530883024136_2.jpg)
เหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสิงคิคุณธาดา (หลวงพ่อ ม่วง) วัดบ้านทวน กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างแหวนพิรอดที่โด่งดังมาก ท่านเป็นที่รักเคารพของชาวเมืองกาญจนบุรีมาก เหรียญรุ่นแรกมีความนิยมสนนราคาสูงและหายากครับ

หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน เกิดในปี พ.ศ.2366 ที่บ้านทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี บิดาชื่อมั่น มารดาชื่อโย เมื่อหลวงพ่อม่วงอายุได้ 11 ขวบ บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการศรี วัดบ้านทวน จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม

ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านทวน มีพระอธิการศรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการช้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสโร"

เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านทวน ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อม่วงได้ออกธุดงค์ไปยังป่าลึกจนถึงประเทศพม่า ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พอถึงพรรษาที่ 12 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทวนก็ว่างลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้นิมนต์หลวงพ่อม่วงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะตำบล ท่านเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านมาก พอพรรษาที่ 21 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน ในสมัยรัชกาลที่ 6

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จตรวจคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี เมื่อเสด็จมาเมืองกาญจนบุรีทรงเห็นว่าการปกครองของคณะสงฆ์เรียบร้อยดี ตรัสชมเชยและได้พบกับหลวงพ่อม่วง ทรงถูกใจที่สนับสนุนเรื่องการศึกษาของพระเณร เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จกลับไปแล้วจึงได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระครูสิงคิคุณธาดา

ต่อมาชาวบ้านและลูกศิษย์ทั้งหลายจึงขออนุญาตหลวงพ่อม่วงจัดงานฉลองและขออนุญาตสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเพื่อเป็นที่ระลึกในงานนี้ด้วย เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วงมีการสร้างทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม สำหรับเหรียญปั๊มมีอยู่ 2 บล็อก คือบล็อกหน้าแก่ บล็อกหน้าหนุ่ม และบล็อกหน้าโบราณ สำหรับเหรียญปั๊มบล็อกหน้าแก่จะมีความนิยมสูงกว่าบล็อกอื่นๆ

นอกจากเหรียญแล้วหลวงพ่อม่วงยังได้สร้างวัตถุมงคลไว้อีกหลายอย่าง เช่น แหวนพิรอด และมงคลแขน ซึ่งโด่งดังมาก กรรมวิธีการสร้างยากมาก หลวงพ่อจะลงอักขระเลขยันต์ในผ้าแล้วจึงนำมาถักเป็นแหวนหรือมงคลแขน จากนั้นหลวงพ่อจะปลุกเสกซ้ำอีกครั้ง แล้วจึงนำไปโยนลงบนกองไฟ ถ้าอันไหนไม่ไหม้ไฟจึงจะใช้ได้ จากนั้นจึงนำมาแจกให้แก่ศิษย์ แหวนและมงคลแขนจะมีการลงรักทับไว้อีกทีหนึ่ง ปัจจุบันหายากมากทั้งวัตถุมงคลและเหรียญปั๊มเหรียญหล่อครับ

วันนี้ผมนำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน บล็อกหน้าแก่ มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19135898889766_3.jpg)
เหรียญปั๊มพิมพ์แซยิด หลวงปู่รอด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป

หลวงปู่รอด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น

หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่า หลวงปู่รอด ก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า “รอด”

ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับ ฉายาว่า“พุทธสณฺโฑ”

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตกและป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดังปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ “โรงเรียนรอดพิทยาคม”

ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาเนื้ออัลปาก้า เป็นต้น

ปัจจุบันเหรียญปั๊มพิมพ์แซยิด สร้างในปี พ.ศ.2477 หายากมากครับ สนนราคาสูงมากเช่นกัน วันนี้ได้นำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด องค์สวยมาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71730015633834_4.jpg)
พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถานและมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบที่ในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

ชัยนาทแต่เดิมนั้นเป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านเช่นเดิม ด้วยการที่เป็นเมืองเก่าแก่สืบทอดกันมายาวนาน จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมายโดยเฉพาะพระกรุเมืองสรรค์นั้นก็มีการสร้างสืบทอดต่อกันมาและมีศิลปะร่วมสมัยกันอยู่ ที่เมืองสรรค์แห่งนี้มีพระกรุมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวง ของกรุวัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง

ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึงพระสรรค์นั่งและพระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบการณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในสมัยก่อนคนชัยนาทหวงแหนกันมาก พระลีลาเมืองสรรค์นั้นเคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันพระแท้ๆ หายากเช่นกันครับ

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา หรือที่โบราณมักเรียกว่า สรรค์ยืนคางเครา กรุที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม โดยเฉพาะเรื่องอยู่คงนั้นโดดเด่นมากในอดีต จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันนี้สนนราคาค่อนข้างสูงและหายากโดยเฉพาะของกรุวัดท้ายย่าน ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม

ในวันนี้ผมก็ได้นำพระลีลาเมืองสรรค์กรุวัดท้ายย่าน พระองค์นี้มีผิวเดิมๆ แทบไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45966431912448_5.jpg)
พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด ปี พ.ศ.2505 พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ระยะนี้ก็มีหลายท่านชอบเก็บสะสมพระเครื่อง ที่สอบถามเกี่ยวกับในช่วงนี้จะเก็บหรือเช่าพระอะไรดี และเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มด้วย ครับก็เข้าใจนะครับว่าสำหรับท่านที่มีเงินออมพอสมควร อยากจะเช่าพระเครื่องไว้และอยากให้มีมูลค่าสูงขึ้น สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันนั้นน้อยมากจนแทบไม่ทันกับค่าของเงินที่ลดลง การเก็บสะสมพระเครื่องก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มูลค่าของเงินที่เราสะสมพระเครื่องนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งน่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยธนาคาร ถ้าเลือกเก็บพระเครื่องให้ถูก

ครับก็เป็นส่วนหนึ่งที่แบ่งการเก็บเงินออมมาบางส่วน แล้วเลือกเก็บพระเครื่องไว้เผื่อบางโอกาสอาจจะนำมาให้เช่าได้ การเก็บในลักษณะนี้ก็ต้องใช้เวลาในการเก็บรักษาระยะหนึ่งนะครับ ไม่ใช่ว่าเช่ามาเดือนสองเดือนก็จะได้มูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ก็คงต้องใช้เวลากันหน่อย เท่าที่ผมพูดคุยและสำรวจดูคาดว่าอีกสัก 2-3 ปีขึ้นไปก็น่าจะดีขึ้นครับ

ทีนี้ถ้าเราสามารถแบ่งเงินออมมาเช่าพระเครื่อง ทั้งเพราะศรัทธาหรือเผื่อมีมูลค่าเพิ่มก็ตาม พระเครื่องที่ควรเลือกเช่าก็ควรจะเป็นพระหลักๆ หน่อย และเลือกองค์ที่สวยๆ เก็บไว้ พระเครื่องที่น่าสนใจเช่าหาเก็บไว้ เช่น พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกก็น่าเก็บไว้ทุกรุ่น ควรหาเช่าพระที่สวยๆ หน่อย เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ราคาตกลงมามากพอสมควร ในช่วงเวลานี้จึงสามารถเช่าได้ถูกกว่าปี พ.ศ.2556 และอีก 2-3 ปีข้างหน้าคาดว่าราคาคงสูงขึ้นกว่าปัจจุบันแน่ พระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก็เป็นพระเครื่องที่น่าเก็บมากในขณะนี้ ถึงแม้ว่าราคาจะไม่ตกลงมาเลยก็ตาม แต่แนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ พระปิดตาทุกพิมพ์เก็บได้หมด และพระอื่นๆ ของท่านด้วย พระเครื่องของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ก็เช่นกัน ช่วงนี้ราคาก็ยังไม่ขยับ บางรุ่นก็ตกลงมานิดหน่อย ช่วงนี้ก็น่าจะเก็บพระที่สวยๆ ไว้ครับ ในส่วนพระที่เป็นพระเก่า เช่น พระสมเด็จปิลันทน์ก็น่าเก็บทุกพิมพ์ครับ พระวัดพลับก็เช่นกัน เลือกเก็บที่สวยๆ ครับ

ส่วนพระเบญจภาคี หรือพระที่มูลค่าสูงๆ กว่านี้ความนิยมหรือราคาก็ยังสูงอยู่ไม่มีตกครับ ถ้ามีโอกาสก็น่าเก็บครับ เช่น พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และพระรูป เหมือนหลักๆ เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และ เหรียญหลักๆ พระปิดตา ยอดนิยมต่างๆ แม้แต่เครื่อง รางของขลังหลักๆ ก็เช่นกัน แต่พระยอดนิยมเหล่านี้จะหายากมากครับ และราคาสูงไม่มีตกเลยครับ

โดยส่วนตัวผมนั้นมองที่พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกน่าเก็บครับ และพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี น่าเก็บในช่วงนี้ครับ คาดว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ราคาน่าจะสูงขึ้นกว่านี้พอสมควรครับ และก็ควรจะเก็บพระที่สวยๆ หน่อยก็จะมีบวกเยอะหน่อย

ครับ วันนี้ก็ตอบเรื่องที่สอบถามกันมา อาจจะเป็นพุทธพาณิชย์ไปสักหน่อย แต่ที่เราเช่าหาพระเครื่องเก็บไว้นั้นก็เพราะความศรัทธาเป็นอันดับแรกๆ นะครับ และก็คิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดมากนักนะครับ สำหรับผู้ที่คิดว่าจะเช่าพระเครื่องเก็บไว้อยู่แล้ว และแบ่งเงินออมมาบางส่วนเพื่อมาเช่าพระเครื่องไว้ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด ปี พ.ศ.2505 พิมพ์ใหญ่มาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:15:05
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60858932965331_1.jpg)      
พระเนื้อผงรูปแบบเหรียญ หลวงพ่อเปลี่ยน ปี 2479

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดกาญจนบุรี มีคำพูดของชาวบ้านที่พูดกันติดปาก และเข้าใจกันดีว่า“เจ้าชู้วัดเหนือ เสือวัดใต้” หมายความว่า ในสมัยที่หลวงพ่อดี วัดเหนือ และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ใครถ้าอยากได้วัตถุมงคลทางด้านเมตตามหานิยมก็ให้ไปหาหลวงพ่อดี วัดเหนือ เนื่องจากวัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ส่วนหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ วัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด เป็นคำพูดสั้นแต่ก็ได้ใจความดีครับ

หลวงพ่อวัดใต้ หรือ พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน อินทสโร) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2405 ที่บ้านม่วงชุม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อหมื่นอินทรรักษา (นิ่ม) โยมมารดาชื่อจีบ ท่านเป็นคนที่มีผิวค่อนข้างดำ แข็งแรง เล่นอะไรกับเพื่อนๆ ก็จะเป็นหัวหน้า มีจิตใจกว้างขวาง เป็นที่รักของเพื่อนๆ มีสมัครพรรคพวกมาก โยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับท่านพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดใต้ เจ้าคณะเมืองกาญจน์ในสมัยนั้น

หลวงพ่อเปลี่ยนท่านศึกษาอยู่ที่วัดใต้และเป็นที่ถูกใจของหลวงพ่อช้าง พออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบทที่วัดใต้ โดยมีหลวงพ่อช้างเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ พระอธิการกรณ์ วัดชุกกะพี้ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” หลวงพ่อเปลี่ยนเมื่อบวชแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด และตั้งใจว่าจะไม่สึกหาลาเพศ ท่านศึกษาวิชาอะไรก็สำเร็จไปทุกด้าน เนื่องจากท่านเป็นคนที่ตั้งใจจริงในทุกๆ ด้าน หลวงพ่อช้างท่านก็ได้ตั้งท่านเป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของท่าน และได้เป็นกำลังช่วยเหลือในการทำงานทุกด้าน

หลวงพ่อช้างรูปนี้เป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นที่เคารพนับถือของคนเมืองกาญจน์มาก เป็นที่เลื่องลือ และหลวงพ่อช้างท่านก็ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อเปลี่ยนจนหมดสิ้น ต่อมาหลวงพ่อช้างมรณภาพ ทางการจึงแต่งตั้งให้พระใบฎีกาเปลี่ยนเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้สืบแทน และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิรังษี แทนอาจารย์ เมื่อหลวงพ่อเปลี่ยนได้เป็นเจ้าอาวาสท่านก็ได้พัฒนาวัดต่อมาจนเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านการศึกษาฝ่ายธรรม และฝ่ายกุลบุตรก็เจริญก้าวหน้ามาก โดยสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดวิสุทธิรังษี ต่อมาท่านก็ได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัด และท่านก็ช่วยเหลือวัดในจังหวัดด้วยดีเสมอมา

 
ในด้านวิทยาคมนั้นชาวบ้านต่างรู้กันดี มีลูกศิษย์มากมาย พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ก็จะนิมนต์ท่านร่วมด้วยทุกครั้ง ต่อมาในปีพ.ศ.2460 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระวิสุทธิรังษี” หลวงพ่อเปลี่ยนมรณภาพในปีพ.ศ.2490 สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 65 ถึงท่านจะล่วงลับไปแล้วแต่เกียรติคุณของท่านยังปรากฏโด่งดังมาจนทุกวันนี้

ในด้านวัตถุมงคลนั้น หลวงพ่อท่านได้สร้างไว้แจกแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง เช่น ตะกรุดลูกอม กระดาษสาลงอักขระม้วนถักแบบหมอนทารักปิดทอง เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ตะกรุดโทน และเหรียญรูปท่าน เหรียญรุ่นแรกมีความนิยมมากสนนราคาสูง เหรียญนี้สร้างในปีพ.ศ.2472 เป็นเหรียญรูปอาร์ม มีสองบล็อก คือบล็อกยันต์ตรง กับบล็อกยันต์เบี่ยง

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงรูปแบบเหรียญ ของหลวงพ่อเปลี่ยน ที่สร้างในปีพ.ศ.2479 ซึ่งเป็นของดีราคาถูกมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54003797223170__3594_3617_3619_3617_10_3617_3.jpg)      
พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และทุกท่านก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนท่าน ปี พ.ศ.2466 ที่นิยมกันมาก พระสี่เหลี่ยม ทั้งเนื้อชินตะกั่วและเนื้อโลหะผสมต่างๆ พระปรกใบมะขาม พระเนื้อผงรุ่นแจกแม่ครัว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาอีกด้วย และพระปิดตาที่หายากที่สุดก็คือพระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ

พระปิดตาของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างไว้หลายพิมพ์เหมือนกัน มีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่าหลวงปู่เริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ
ซึ่งท่านจัดขึ้นทุกปี และหลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน

วันที่หนึ่ง ไหว้ครูหมอยา วันที่ 2 ไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่ 3 ไหว้ครูทางวิทยาคม

ในงานไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรมฯ พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันที่ 3 เสด็จพิธีไหว้ครูแล้ว
 
หลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงานโดยทั่วถึงกันทุกคน พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากในกทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่า อาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม.

พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้นพระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก

และเนื่องจากเป็นพระที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขตกทม.เท่านั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข เนื่องจากผู้ที่ได้รับจะเป็นเจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ และด้วยสาเหตุที่แจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ ที่วังนางเลิ้ง สังคมวงการพระเครื่องจึงเรียกพระปิดตาพิมพ์นี้ว่า “พระปิดตากรมหลวงฯ”

พระปิดตากรมหลวงฯ เป็นพระที่หายากมากและมีมูลค่าสูงมาก ของปลอมลอกเลียนแบบมีมานานแล้วครับ เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดี หรือเช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะจะปลอดภัยกว่าครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17015306279063__3614_3619_3632_3618_3629_3604.jpg)      
พระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่ากันบ้าง พักนี้ไม่ค่อยมีใครพูดถึงพระกรุพระเก่ากันสักเท่าไหร่ ก็เป็นไปตามสถานการณ์ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในสมัยก่อนก็เช่นกันช่วงไหนนิยมพระใหม่พระร่วมยุคสมัยก็จะพูดถึงและเช่าหากันไประยะหนึ่ง แล้วพออีกช่วงหนึ่งก็กลับมาหาพระกรุพระเก่าสลับกันไปเป็นช่วงๆ แบบนี้

ส่วนตัวผมเองชอบพระกรุพระเก่าก็ยังชอบอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลงครับ เดินเที่ยวไปในสนามพระเครื่องก็จะเห็นร้านรวงหรือแผงพระต่างๆ ก็จะโชว์พระเกจิอาจารย์กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระกรุพระเก่าก็จะมีน้อยหน่อยในช่วงนี้ แต่ก็พอมีบ้างการค้าขายโดยรวมก็จะเงียบๆ หน่อย เหมือนๆ กับการค้าขายสินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งก็เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ วันก่อนผมไปเจอพระยอดขุนพลกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ก็เลยทำให้นึกถึง

พระยอดขุนพลเป็นพระเครื่องชนิดหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องตั้งชื่อให้ โดยพุทธลักษณะของพระยอดขุนพลโดยรวมจะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ทรงเครื่อง และสวมเทริดขนนก ฐานเป็นกลีบบัว ประทับในซุ้มเรือนแก้วเป็นส่วนใหญ่ พระเครื่องลักษณะนี้จะพบอยู่หลายกรุ หลายยุคสมัย และหลายจังหวัด เช่น พระยอดขุนพลศรีวิชัย พระยอดขุนพล ลพบุรี พระยอดขุนพล กำแพงเพชร และพระยอดขุนพล อยุธยา เป็นต้น

กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ถูกลักลอบขุดประมาณปี พ.ศ.2499 และกรมศิลป์เข้าขุดเป็นทางการประมาณปี พ.ศ.2500 พบพระเครื่องพระบูชา พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติมากมายในองค์พระปรางค์ วัดนี้เป็นวัดที่พระเจ้าสามพระยาเป็นผู้ทรงสร้างขึ้น ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา การพบกรุพระครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการพบกรุพระที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากมีพระจำนวนมากมายหลายเล่มเกวียน มีพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ มากมายจำกันไม่หมด และในจำนวนพระเครื่องทั้งหมดนี้ก็พบพระเครื่องพิมพ์พระยอดขุนพล ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักสำหรับพระพิมพ์นี้
 
พระยอดขุนพลที่พบมีเฉพาะเนื้อชินเงินเพียงเนื้อเดียว องค์พระจะมีผิวปรอทจับทั่วทั้งองค์ มีสนิมสีดำเป็นคราบจับเป็นหย่อมๆ มากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังมักเป็นแบบหลังลายผ้า องค์พระมีขนาดค่อนข้างเขื่องตามแบบพระยอดขุนพลของกรุอื่นๆ

ในสมัยก่อนนิยมพระยอดขุนพลกันมาก โดยเฉพาะท่านที่ทำงานรับราชการ เนื่องจากชื่อของพระเชื่อกันว่าจะทำให้งานรับราชการรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ และพุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพัน พระยอดขุนพล อยุธยาก็เช่นกัน มีผู้เสาะหากันมาก แต่ก็หาได้ไม่ง่ายนักในสมัยนั้น ของปลอมเลียนแบบจึงออกมาอาละวาดกันพอสมควรเช่นเดียวกับพระอื่นๆ จะทำไงได้ก็คนชั่วมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยแหละครับ

พระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ปัจจุบันก็หาชมพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ สนนราคาก็ค่อนข้างสูงครับ ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65670277468032__3594_3617_3619_3617_12_3617_3.jpg) 
พระนาคปรกลูกยอ เนื้อดินเผา ของกรุวัดบรมธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุที่เป็นพระนาคปรกมีอยู่มากมายหลายกรุหลายจังหวัด และเป็นพระปางประจำวันคนเกิดวันเสาร์ แต่ก็เป็นพระเครื่องที่คนเกิดวันอื่นๆ ก็ห้อยได้ครับ พระปางนาคปรกพุทธคุณช่วยปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่างครับ

พระนาคปรกที่เป็นพระกรุ ก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด และมีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชิน ซึ่งก็มีทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ความเก่าแก่ก็มีตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัยจนถึงอยุธยา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ของกรุวัดปืน ลพบุรี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เนื้อชินเงิน เป็นศิลปะแบบขอม ของสุพรรณบุรีก็กรุวัดลาวทอง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ศิลปะแบบขอม ของจังหวัดพิจิตรก็พระนาคปรกพิจิตร เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุมะละกอ ของอยุธยาก็ของกรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน เป็นต้น

ส่วนที่เป็นศิลปะสุโขทัย พบที่จังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา ที่เรียกกันว่า “พระนาคปรกลูกยอ” มีพบอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด แม้แต่ที่วัดพิกุลก็พบอยู่บ้าง เหตุที่คนในสมัยก่อนเรียกว่าพระนาคปรกลูกยอ

ก็เนื่องมาจากพระนาคปรกกำแพงเพชรตัวเศียรนาคเป็นแบบปรก 7 และมีลักษณะเป็นเม็ดๆ และรูปทรงรีๆ มองดูคล้ายกับผลลูกยอ จึงเรียกกันมาแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่พบพระใหม่ๆ ก็เลยเรียกกันมาแบบนี้จนติดปาก ถ้าได้ยินคำว่า “พระนาค ปรกลูกยอ” หรือ “ปรกลูกยอ” ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นพระนาค ปรกของจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนจะเป็นของกรุใดก็ต้องดูแบบพิมพ์อีกทีหนึ่งครับ

พระนาคปรกที่พบตามกรุในจังหวัดต่างๆ ส่วนใหญ่จะพบเป็นพระเนื้อชินเกือบทั้งสิ้น ที่พบเป็นเนื้อดินเผาน้อยมาก เท่าที่เห็นกันบ่อยๆ ก็ของสุพรรณบุรี กรุวัดพระรูปเช่น พระปรกชุมพล แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชรนั้นเราจะพบพระนาคปรกที่เป็นเนื้อดินเผาได้อยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด และกรุวัดพิกุล เป็นต้น แต่ทุกกรุจะพบพระนาคปรกลูกยอที่เป็นเนื้อชินเงินมากกว่าพระเนื้อดินเผาครับ

พระนาคปรกลูกยอของจังหวัดกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินเผา ก็จะมีเอกลักษณ์ของพระกำแพงเพชรคือ มีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มตามแบบพระสกุลทุ่งเศรษฐี ศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งค่อนข้างผ่อนคลาย ไม่เคร่งขรึมแบบศิลปะขอม พุทธคุณคุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาด และโชคลาภครับ

พระปรกลูกยอปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากในสมัยก่อนชาวกำแพงเพชรจะนิยมมากและหายากมานานแล้ว ทั้งพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พิมพ์ของพระนาคปรกลูกยอเท่าที่พบจะมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกลูกยอ เนื้อดินเผา ของกรุวัดบรมธาตุ จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71774940813581__3594_3617_3619_3617_19_3617_3.jpg)    
พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุเก่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น ผมเองก็ยังดูพระไม่ค่อยเป็นแต่ก็ชอบพระเครื่องมาก โดยเฉพาะพระกรุพระเก่า และชอบพระหูยานลพบุรีมาก เนื่องจากได้รับคำบอกเล่าจากคนรุ่นเก่าๆ มากมายเกี่ยวกับพุทธคุณของพระหูยาน และชอบในศิลปะขอมโบราณที่มองดูแล้วเข้มขลัง แต่ก็เป็นพระที่หายากมาตั้งแต่อดีต

ตัวผมในสมัยนั้นก็เริ่มทำงานและมีรายได้เป็นของตัวเองจึงเริ่มเสาะหาเช่าพระหูยานทั้งๆ ที่ตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ในการพิจารณาพระเครื่องสักเท่าไร คนเก่าคนแก่ในสมัยนั้นก็บอกว่าต้องหาหูยานหน้ายักษ์ ตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าพระหูยานนั้นมีหลายพิมพ์ มารู้ภายหลังว่าพระที่แตกกรุมาจากวัดพระรัตนมหาธาตุนั้นมีทั้งพระหูยานพิมพ์ฐาน 2 ชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็ก
ที่คนรุ่นเก่าบอกพระหูยานต้องพิมพ์หน้ายักษ์ก็คือพระหูยานพิมพ์ใหญ่ ก็พยายามขอเขาดูไปเรื่อยๆ จำหน้าตาได้ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่รู้วิธีพิจารณาอะไรเท่าไรนัก จนเริ่มคิดว่าตัวเองจำได้แล้วก็เริ่มหาเช่า ผลปรากฏว่าไม่แท้ แต่ก็ยังไม่เลิกความตั้งใจ ก็ยังหาเช่าต่อก็ยังไม่แท้อีกเช่นเคย จึงเริ่มมาศึกษาใหม่ว่าการพิจารณาพระหูยานนั้นมีอะไรบ้าง

พอเริ่มค้นคว้าดูจึงรู้ว่า พระหูยานลพบุรีนั้นมีอยู่หลายพิมพ์และหลายกรุ เช่น พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีทั้งพิมพ์บัว 2 ชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานกรุวัดปืนอีกด้วย แบบพิมพ์ของแต่ละพิมพ์หรือกรุก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก ในส่วนพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังมีการแตกกรุ 2 ครั้ง

แยกเป็นพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่นั้นแบบพิมพ์จะเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่การขึ้นจากกรุในเวลาที่แตกต่างกัน การที่จะแยกพระกรุเก่าจากพระกรุใหม่ก็คือผิวของพระ พระกรุเก่าเป็นพระที่พบครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2440
 
ดังนั้น เมื่อพระขึ้นจากกรุมานานแล้วและส่วนใหญ่ก็จะถูกนำมาใช้ห้อยคอกันมา ผิวของพระก็จะมีสีออกดำจับอยู่ทั่วองค์พระไม่ปรากฏผิวปรอทหลงเหลืออยู่ เนื่องจากกาลเวลาผ่านมานานมากแล้ว ส่วนพระกรุใหม่ที่ถูกพบและขุดขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2508 ผิวของพระจะมีผิวปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ ในเรื่องของพิมพ์พระก็จะเหมือนกับพระกรุเก่าทุกประการทั้งพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก
พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจะนิยมพระพิมพ์ใหญ่ หรือที่คนโบราณเรียกว่าพระหูยานพิมพ์หน้ายักษ์มากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ส่วนพระกรุเก่าหรือพระกรุใหม่ในปัจจุบันนิยมเท่าๆ กันครับ แต่พระกรุใหม่จะมีภาษีที่องค์พระจะยังคงสภาพเดิมของพิมพ์มากกว่า เนื่องจากพระส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมๆ ได้เป็นอย่างดีก็จะไม่สึกหรออะไรเท่าใดนัก ก็จะดูคมชัดสวยกว่าพระกรุเก่า แต่พระกรุเก่าก็มีเสน่ห์ตรงที่มีความซึ้งมากกว่าจากการใช้ผิวพระจะดูเข้มขลังกว่าครับ

ศิลปะของพระหูยานเป็นศิลปะขอมแบบบายนที่เข้มขลังมาก พระพักตร์ถ้าสังเกตดูให้ดีจะคล้ายกับพระพักตร์ที่ยอดปราสาทบายนมาก บ่งบอกถึงอายุสมัยได้เป็นอย่างดีครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุเก่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีของคุณเต้ สระบุรี มาให้ชม พระองค์นี้เป็นพระกรุเก่าที่สวยซึ้งมากครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99935194767183__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)      
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่ออ่ำ พุทธคุณเด่นด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ในจังหวัดชัยนาทนั้นมีอยู่หลายรูปด้วยกัน แต่เราๆ ท่านๆ อาจจะรู้กันดีไม่กี่รูปเท่านั้น วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า คือหลวงพ่ออ่ำ วัดอินทราราม (วัดตลุก) ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมชื่อวัดตลุก ซึ่งชาวบ้านก็มักจะเรียกชื่อเดิมของวัดจนติดปากว่าวัดตลุกเช่นเดิม

พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ) ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2397 ที่บ้านตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โยมบิดาชื่อ น้อย โยมมารดาไม่ทราบชื่อ ในสมัยวัยรุ่นหลวงพ่ออ่ำท่านเป็นคนจริง ไปไหนมาไหนมีลูกน้องติดตามเสมอ ชอบเล่าเรียนวิชามวย กระบี่กระบอง และวิทยาคมอยู่เสมอ พออายุครบบวชโยมบิดามารดาจึงนำไปฝากหลวงพ่อเกิด เจ้าอาวาสวัดตลุก ซึ่งเป็นพระพี่ชายแท้ๆ ของท่าน และอุปสมบทที่วัดตลุกในราวปี พ.ศ.2417 ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร”

เดิมทีเดียวท่านกะว่าจะบวชสัก 15-20 วันเท่านั้น แต่โยมบิดาขอให้ท่านอยู่ให้ได้พรรษา แล้วแนะนำท่านให้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ เพื่อนำวิชามารักษาผู้ป่วย ท่านจึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากอาจารย์ที่เก่งๆ หลายท่าน อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมอีกหลายสำนัก เช่น ได้เรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ เป็นต้น ครั้นออกพรรษาแล้วท่านก็ยังไม่สึกหาลาเพศ กลับมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อไปอีก ท่านจึงได้ออกเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมาไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อ

อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป รวมทั้งพระอาจารย์เขมรอีกก็มาก จนท่านมีความชำนาญช่ำชองเรื่องของวิชาแพทย์และสมุนไพร อีกทั้งได้ฝึกฝนวิทยาคมจนเข้มขลัง ท่านได้ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ตามป่าเขาลำเนาไพร พบเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็ไปขอศึกษาด้วยตลอด

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2448 ท่านจึงเดินทางกลับมาที่วัดตลุก ก็พอดีกับหลวงพ่อเกิด เจ้าอาวาสได้มรณภาพ ชาวบ้านและคณะสงฆ์จึงพร้อมใจกันนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ช่วยรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอจนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกทิศ ไม่ว่าจะป่วยไข้หรือถูกกระทำมาท่านช่วยรักษาให้หายได้ทั้งสิ้น
 
ส่วนด้านการพัฒนาวัดท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ท่านสร้างพระไตรปิฎกและหอพระไตรกลางน้ำ สร้างกุฏิสงฆ์ และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดตลุก ในปี พ.ศ.2461 ท่านดำริจะสร้างศาลาหลังใหม่ ก็มีชาวบ้านช่วยกันร่วมสร้าง ท่านก็ต้องไปซื้อไม้มาจากนครสวรรค์

ขณะที่ท่านไปนครสวรรค์นั้นพอดีกับเศรษฐีใหญ่ของนครสวรรค์ชื่อสมบุญ ล้มป่วยอยู่ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนต้องตั้งสินบนให้กับผู้ที่รักษาให้หายได้ถึง 10 ชั่ง แต่ก็ไม่มีผู้ใดรักษาให้หายได้ ญาติๆ ของเศรษฐีผู้นั้นได้ข่าวว่าหลวงพ่ออ่ำขึ้นมาที่นครสวรรค์ และกิตติศัพท์ความเก่งของหลวงพ่ออ่ำ จึงพากันไปนิมนต์หลวงพ่ออ่ำ ท่านก็รับรักษาให้ หลวงพ่ออ่ำท่านก็ได้นำยาในย่ามของท่านฝนให้กิน กินอยู่ไม่กี่ครั้งปรากฏว่าอาการดีขึ้น และอีกไม่กี่วันก็หายสนิท เศรษฐีสมบุญเกิดศรัทธา และทราบว่าหลวงพ่ออ่ำกำลังสร้างศาลา จึงได้ถวายเงินหลายสิบชั่งและถวายเรือสำเภาลำใหญ่ เพื่อให้เอาไม้มาทำศาลาด้วย

เรื่องราวอภินิหารของหลวงพ่ออ่ำนั้นมีมากมายหลายเรื่องมาก ทั้งเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านชาวบ้านแถบสรรพยาต่างรู้กันดีและเลื่อมใสในตัวท่านมาก ในปี พ.ศ.2467 หลวงพ่ออ่ำได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสถิตสมณวัตร บรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อแจกให้แก่ศิษย์และชาวบ้านในงานฉลองสมณศักดิ์ ท่านก็อนุญาตให้สร้างได้ เป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์ เหรียญรุ่นนี้จึงถือเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่สร้างทันท่านครับ ต่อมาวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2468 หลวงพ่ออ่ำก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 71 ปี

ครับในวันนี้ผมก็ได้นำเหรียญรุ่นแรกของท่านจากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ เหรียญนี้พุทธคุณและประสบการณ์นั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93066305542985_2_194_696x382_1_.jpg)      
พระปรกพะงั่ว พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาธาตุ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พบในกรุวัดมหาธาตุ รูปแบบศิลปะที่ดูออกจะเป็นศิลปะขอมอย่างเข้มข้น เนื้อชินเงินก็ดูเก่าแก่กว่าพระที่พบในกรุเดียวกัน ซึ่งก็น่าแปลกใจว่าเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยอยุธยาหรือไม่ หรือจะเป็นพระเก่าจากอีกแห่งหนึ่งที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในคราวบูรณะวัดแห่งนี้ในสมัยอยุธยา

พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ แตกออกจากกรุก่อนที่จะมีการบูรณะอย่างเป็นทางการประมาณ 1 ปี คือในปี พ.ศ.2499 ได้มีคนร้ายได้ลักลอบแอบเข้าไปขุดเจดีย์วัดมหาธาตุ อยุธยา และได้พระเครื่อง พระพุทธรูป กับสิ่งของมีค่าไปมิใช่น้อย หลังจากนั้นทางการจึงได้เข้าไปควบคุมและเปิดกรุอย่างเป็นทางการพร้อมกับได้บูรณะไปในตัวด้วย

พระเครื่องที่พบในกรุเจดีย์วัดมหาธาตุที่พบนั้นประกอบด้วยพระหลายอย่าง ทั้งพระแผงปางปาฏิหาริย์พิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังพบพระอู่ทองคางเครา พระนาคปรก พระซุ้มเรือนแก้ว พระปรุหนัง พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มคอระฆังและอื่นๆ เป็นต้น พระเครื่องที่ขึ้นจากกรุนี้ที่เป็นเนื้อชินเงินนั้นจะพบมีอยู่สองลักษณะคือ พระที่เป็นแบบศิลปะอยุธยา มักจะมีผิวปรอท พระจะค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นแบบพระอยุธยาทั่วๆ ไป แต่พระเครื่องที่เป็นศิลปะแบบขอมจะเป็นพระเนื้อชินผิวสนิมดำ และมักจะมีความหนา เช่น ปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเครา เป็นต้น
สาเหตุที่เรียกกันว่ากรุพะงั่ว ก็เนื่องมาจากในปี พ.ศ.1917 สมเด็จบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุแห่งนี้ เมื่อพบพระเครื่องนักนิยมสะสมพระในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า “กรุพะงั่ว” โดยเฉพาะพระนาคปรกก็มักจะเรียกกันว่า “ปรกพะงั่ว” บ้าง “นาคปรกกรุพะงั่ว” บ้าง ก็เรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้
 
ทีนี้เรามาพิจารณาศิลปะของพระนาคปรกพะงั่วกัน จะเห็นได้ว่าตัวพังพานนาคปรกนั้น เศียรนาคแต่ละตัว เป็นเศียรนาคศิลปะขอมบายน องค์พระไม่ว่าจะเป็นพระพักตร์ เครื่องทรง ลำพระองค์ล้วนเป็นศิลปะขอมแบบบายนทั้งสิ้น และคงไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยอยุธยาล้อแบบขอม อีกทั้งเนื้อหาของพระก็ดูมีอายุเก่ากว่าพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเดียวกันอีกหลายๆ แบบ สนิมจะพบเป็นสนิมแบบเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกาแทบทั้งสิ้น ไม่ปรากฏคราบผิวปรอทเลย บางองค์เกิดรอยแตกปริอยู่ทั่วองค์ พระปรกพะงั่วนี้พบพระที่สวยสมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีรอยระเบิดร้าวปริ องค์งามๆ จึงค่อนข้างหายากครับ

พระปรกพะงั่วนี้สันนิษฐานว่า ขุนหลวงพะงั่วคงจะนำมาจากกรุอื่น แล้วนำมาบรรจุรวมไว้กับพระอื่นๆ ในเจดีย์วัดมหาธาตุเสียมากกว่า จากศิลปะและเนื้อหาขององค์พระน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ศิลปะขอมแบบบายน พระปรกพะงั่วที่พบในเจดีย์วัดมหาธาตุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ปัจจุบันหายาก ยิ่งในองค์สวยสมบูรณ์ยิ่งหายากมากครับ
พระปรกพะงั่วถึงแม้ว่าจะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย แต่ทรงด้วยคุณค่า ทั้งทางด้านศิลปะและพุทธคุณ จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองอยู่เย็นเป็นสุขครับ ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่ว พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาธาตุ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระเครื่องอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14758080616593_13931798721393179921l_1_.jpg)      
พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกรุสำคัญกรุหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ซึ่งอาจารย์มนัส โอภากุล อรรถาธิบายไว้ว่า "...วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีพระเณรอยู่จำพรรษา เป็นผลเนื่องจากสงครามไทยพม่าเป็นสำคัญ ใกล้ๆ กับวัดมีไร่ผักของจีนคนหนึ่ง วันหนึ่งจีนผู้นั้นนึกอย่างไรก็ไม่ทราบได้ ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ใช้แรงผลักพระประธานให้เขยื้อนออก แล้วลงไปในกรุขนเอาแก้วแหวนเงินทองและเพชรพลอยขึ้นมา จากนั้นทิ้งไร่หนีไปเมืองจีน

วันหนึ่งในฤดูหนาวราวๆ เดือนธันวาคม-มกราคม 2456 ลุงเปล่ง สุพรรณโรจน์ (อดีตจ่าเมือง ทนายความ และนายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลแก่อาจารย์มนัส โอภากุล) ไปเที่ยวยิงนกในดงไม้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กับนายเก๊า นายไปรษณีย์สุพรรณบุรี ก็ได้ยินเสียงเด็กๆ ส่งเสียงเอะอะเจี๊ยวจ๊าวอยู่บนองค์พระปรางค์ จึงเข้าไปดูพบเด็ก 4-5 คน กำลังหอบเอาพระกำแพงศอกไต่กระทู้ลงมา ลุงเปล่งก็เข้าไปห้ามเด็กเหล่านั้น "ของวัดเอาเข้าบ้านไม่ได้ บาป" แล้วให้เอาพระขึ้นไปเก็บไว้บนองค์พระปรางค์ตามเดิม เด็กๆ จึงไต่กระทู้เอาพระขึ้นไปเก็บไว้แล้วก็พากันวิ่งหนีกลับบ้าน

ลุงเปล่งเองก็สงสัยว่าบนองค์พระปรางค์นั้นมีอะไร จึงไต่กระทู้ขึ้นไปดูพร้อมกับนายเก๊า เห็นพระกำแพงศอกวางพิงกับผนังองค์ปรางค์ ที่วางนอนก็มี ที่ตอกตะปูติดไว้กับผนังก็มี (เรื่องพระกำแพงศอกมีรูตะปูตอกตอนบนขององค์พระนั้นเป็นความจริง ข้าพเจ้าเคยเห็นมาหลายองค์ ตรงกับคำบอกเล่าของลุงเปล่ง)

ลุงเปล่งจึงทำรายงานเสนอให้ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) เดิมเป็นที่พระทวีประชาชน ได้เลื่อนเป็นพระยาสุพรรณสงครามในปลายปีพ.ศ.2456 แล้วเลื่อนเป็นพระยาสุนทรบุรี เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครชัยศรี) จึงออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไปขุดกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปีที่กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแตก เป็นปีเดียวกับที่จังหวัดสุพรรณบุรีค้นพบเจดีย์ยุทธหัตถี

อาจารย์มนัสเล่าว่า ก่อนหน้าลุงเปล่งไปพบกับเด็กๆ เหล่านั้น กรุพระปรางค์วัดพระศรีฯ แตกไปแล้ว 10 วัน และประชาชนอาณาบริเวณนั้นต่างลงไปในกรุขนเอาพระเครื่องนานาชนิดไปเป็นเจ้าของนับไม่ถ้วน แต่พระในกรุก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากมายมหาศาล

เมื่อตั้งคณะกรรมการขุดกรุแล้ว วันแรกๆ ใช้แรงนักโทษไปขุดค้นเอาพระเครื่อง พระบูชามาเป็นจำนวนมาก ลุงเปล่งเล่าว่า เอาไปเก็บที่จวนผู้ว่าราชการเมืองเป็นเล่มเกวียน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เอาพระบูชาเข้ากรุงเทพฯ ไปหลายองค์ เหลืออยู่ที่สุพรรณบุรีก็มีบ้าง เช่นที่วัดประตูสาร เป็นพระพุทธรูป อู่ทอง 2 กับอู่ทอง 3 ต่อมาระยะหลังไม่ได้ใช้แรงงานนักโทษ เพราะมีประชาชนอาสาไปขุด จากการขุดกรุคราวนี้ได้ลานทอง 3 แผ่น และพระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน

พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี จัดส่งลานทองจำนวน 3 แผ่น ไปให้กรมศิลปากรในขณะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรโบราณในแผ่นจารึกจากภาษามคธเป็นภาษาไทย แล้วส่งคำแปลลานทองนั้นกลับมาจังหวัดสุพรรณบุรี

ความสำคัญของจารึกลานทองที่พบจะทำให้ทราบได้ว่าพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สร้างขึ้นและบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยใด อันจะนำไปสู่ข้อสันนิษฐานถึงผู้สร้างตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการจัดสร้างพระผงสุพรรณอันลือลั่นของจังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดจนเรื่องราวของพระที่บรรจุอยู่ในกรุสำคัญแห่งนี้อันประกอบไปด้วยพระมากมายหลายชนิดทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่อง อาทิ พระผงสุพรรณ และพระสุพรรณยอดโถ พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ พระกำแพงนิ้ว พระลีลาพิมพ์ต่างๆ พระมเหศวร พระปทุมมาศ

เขาว่าบรรทุกกันเป็นเล่มเกวียนทีเดียวเชียวครับผม


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:21:11

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54132712797986_view_resizing_images_1_.jpg)      
พระร่วงนั่งหลังตัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดเขาพนมเพลิง จังหวัดสุโขทัย เป็นกรุพระใหญ่กรุหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และก็มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายๆ พิมพ์ บางพิมพ์ก็หายากมากในปัจจุบัน พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีปรอทจับผิวเป็นส่วนใหญ่

กรุวัดเขาพนมเพลิงนั้น ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดในปี พ.ศ.2507 ประมาณปลายๆ ปี ซึ่งกรุนี้ถูกหมายตาจากนักขุดกรุ เนื่องจากในสมัยนั้นยังคงเป็นป่าต้นไม้ขึ้นปกคลุม และอยู่ห่างไกลสายตาผู้คน ตัวองค์พระเจดีย์ก็ยังสมบูรณ์ไม่เคยถูกเจาะมาก่อน คนกลุ่มนี้วางแผนไว้เป็นอย่างดี เมื่อได้เวลาตามนัดหมายก็เข้าไปขุดในเวลากลางคืน เจาะผนังเจดีย์ตรงที่มีรอยชำรุดอยู่ก่อนหน้า และเข้าไปจนถึงห้องกรุบรรจุพระ ก็พบพระเครื่องจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน มีเนื้อดินเผาบ้างเล็กน้อย ทุกคนตกตะลึงกับจำนวนพระเครื่องที่มีมากมาย เนื่องจากยังไม่เคยมีคนมาขุดก่อนหน้าเลย พบพระพุทธรูปอยู่ประมาณร้อยกว่าองค์ และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นร้อยพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ตะกวน พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระร่วงนั่งหลังตัน (แบบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม แต่ด้านหลังตัน) พระลีลาบัวสองชั้น พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระเชตุพน พระซุ้มเรือนแก้ว พระเชตุพนบัวสองชั้น พระพิจิตรข้างเม็ด เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระแผงผสมอยู่บ้าง พระส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาว อาจจะเป็นเพราะพระถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ที่สร้างไว้ยอดเขา จึงไม่ถูกความชื้นมากนัก ผิวของพระจึงยังคงความสมบูรณ์ เป็นคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์

พอตอนเช้าพระทั้งหมดก็ถูกลำเลียงลงมา และเข้าสู่สังคมพระเครื่องในกรุงเทพฯ ราวต้นปี พ.ศ.2508 ซึ่งช่วงนั้นสนามพระอยู่ในบริเวณวัดมหาธาตุฯ กทม. จำนวนพระเครื่องน่าจะเป็นจำนวนหลายหมื่นองค์ทีเดียวที่เข้ามาในส่วนกลาง และก็แพร่หลายไปทั่วเกือบทุกแผงจะมีพระเครื่องของกรุเขาพนมเพลิง สนนราคาในสมัยนั้นก็ยังไม่สูง เนื่องจากมีปริมาณมาก ต่อมาพระเริ่มค่อยๆ หายไปจากสนามพระ และก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะพิมพ์ที่มีจำนวนน้อยก็แพงขึ้นมาก

พระร่วงนั่งหลังตันก็เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่ขึ้นมาจากกรุวัดเขาพนมเพลิง พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงนั่งหลังลิ่มของกรุวัดช้างล้อมสุโขทัย เพียงแต่ด้านหลังไม่ปรากฏร่องอย่างของกรุวัดช้างล้อม พระร่วงนั่งของกรุวัดเขาพนมเพลิงจะเป็นแบบหลังเรียบๆ เลยเรียกกันว่า "พระร่วงนั่งหลังตัน" เมื่อเห็นพระร่วงนั่งแบบพระร่วงนั่งหลังลิ่มแต่มีหลังเรียบก็แยกกันออกว่าพระแบบนี้มาจากกรุวัดเขาพนมเพลิง ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก เนื่องจากจำนวนพระที่ขึ้นจากกรุมีไม่มากนัก สนนราคาในปัจจุบันก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งหลังตันจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50208656324280_view_resizing_images_2_.jpg)      
พระอู่ทองนั่ง กรุวัดเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ศิลปะสุโขทัยเท่าที่นักวิชาการทางด้านโบราณคดีกำหนดอายุไว้ว่า ถือกำเนิดเมื่อราวปี พ.ศ.1800 และจัดว่าเป็นศิลปะที่งดงามที่สุดและมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะพระพุทธรูป ในสมัยนั้นกรุงสุโขทัยได้ติดต่อรับพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทนิกายลังกาวงศ์มาจากเกาะลังกา ด้วยเหตุนี้อิทธิพลทางศิลปะลังกาจึงมีต่อศิลปะสุโขทัยบ้าง พระพุทธรูปปางลีลาของสมัยสุโขทัยงดงามไม่แพ้ประติมากรรมชิ้นเอกอื่นๆ ในโลก พระพุทธรูปของสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 หมวดดังนี้

1. หมวดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เป็นลักษณะของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ มีลักษณะคือพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ

2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะดวงพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม ค้นพบน้อย

3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน หมวดนี้เชื่อกันว่าเริ่มสร้างครั้งแผ่นดินพระเจ้าลิไท ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20

4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดวัดตระกวน หมวดนี้เป็นหมวดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่มีศิลปะเชียงแสนและลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้น พระนลาฏแคบ แต่องค์พระและฐานเป็นแบบสุโขทัย ที่เรียกว่าแบบวัดตระกวนนั้น เพราะได้พบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบแปลกๆ เหล่านี้ที่วัดตระกวนเป็นครั้งแรก

พระพุทธรูปปูนปั้นที่ค้นพบที่พระเจดีย์ทางทิศตะวันออกและในพระปรางค์วัดพระพายหลวง ก็พบอยู่ในลักษณะแบบนี้

ในส่วนของพระเครื่องก็ได้รับการถ่ายทอดทางด้านศิลปะมาจากพระพุทธรูปมาอีกทีหนึ่ง ศิลปะต่างๆ จึงมีให้ได้พบเห็นในพระเครื่องด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะเป็นศิลปะแบบต่างๆ ในแต่ละหมวดของศิลปะสุโขทัย หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตระกวนในพระเครื่องก็จะพบเห็นได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น พระอู่ทองตระกวน พระเครื่องแบบนี้พบในกรุวัดเขาพนมเพลิง ซึ่งศิลปะขององค์พระจะมีพระนลาฏค่อนข้างแคบ พระพักตร์แบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปหมวดวัดตระกวน องค์พระอวบอ้วน สวยงาม พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน และเป็นพระพิมพ์หนึ่งที่นิยมมากของกรุวัดเขาพนมเพลิง

ในด้านพุทธคุณว่ากันว่า เด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน ปัจจุบันก็หาชมพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระอู่ทองนั่ง กรุวัดเขาพนมเพลิง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38383353501558__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)      
พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องและวัตถุมงคลที่เราๆ ท่านๆ ชื่นชอบและศรัทธานั้นมีคุณค่าทางจิตใจ และมีมูลค่า โดยเฉพาะในเมืองไทยเรานั้นนิยมกันมานานแล้ว เรื่องมูลค่านั้นก็คือเราจะต้องเช่าหามา สำหรับพระที่นิยมกันเป็นมาตรฐานสากลนั้นย่อมมีมูลค่าค่อนข้างสูง ในเมื่อมีมูลค่าพวกคนชั่วก็คิดวิธีการหากิน โดยหาหรือทำพระปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงหาผลประโยชน์จากการหลอกขายพระปลอม

ในช่วงนี้ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้เปิดรับตรวจสอบและออกใบรับรองพระแท้ให้แก่ประชาชนที่สนใจโดยทั่วไป ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากทุกวัน เรื่องที่ตามมาก็คือมีผู้ที่ถูกหลอกให้เช่าพระปลอมเป็นจำนวนไม่น้อย บางรายก็เช่าหามาในราคาสูง เมื่อเจ้าของเริ่มสงสัยอาจจะนำไปให้เช่าต่อหรือนำไปตรวจดูจากกลุ่มต่างๆ แล้วมีข้อสงสัยจึงนำพระเครื่องนั้นๆ มาให้ทางสมาคมตรวจสอบให้เพื่อหาข้อยุติ เมื่อความจริงปรากฏว่าไม่แท้ตามมาตรฐานสากลก็นำไปคืนคนขาย หรือฟ้องร้องกันถ้าคืนกันไม่ได้ก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง

เท่าที่ฟังผู้ที่เป็นเจ้าของพระเครื่องที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลนั้น ก็พอจะสรุปได้ว่าบางท่านเช่าหามาเพราะเชื่อใจคนขายบ้าง บางท่านก่อนเช่าหาผู้ขายมักจะมีใบประกาศฯ งานประกวดที่ติดรางวัลมาแสดงประกอบการขาย จึงทำให้หลงเชื่อและเช่าหา อ้าวแล้วใบประกาศฯ จากการประกวดพระเครื่องนั้นเชื่อไม่ได้หรือ?

เรื่องนี้ก็คงต้องขยายความเสียหน่อย ใบประกาศฯ จากงานประกวดนั้น ก็คงต้องดูด้วยว่าใบประกาศฯ นั้นๆ เป็นใบจริงหรือเปล่า เนื่องจากมีการทำใบประกาศฯ ปลอมเพื่อประกอบการขายและมีมานานแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิดก็น่าจะเริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2522 แล้ว ยิ่งในระยะนี้มีมากที่เจอใบประกาศฯ ปลอม

นอกจากนี้ก็ยังเจอใบประกาศฯ จริง แต่เป็นงานประกวดที่ไม่ได้มาตรฐานอีก ยังไม่หมดนะครับ ปัจจุบันก็มีใบรับรองพระแท้จากสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย ได้มาตรฐานบ้างไม่ได้มาตรฐานบ้าง ใบรับรองพระที่เป็นใบปลอมก็ยังเจออีกเช่นกัน ถ้าใบรับรองที่มีมาตรฐานจากกลุ่มหรือชมรม สมาคมต่างๆ ก็ดีไปไม่มีปัญหา แต่ถ้าเจอใบรับรองที่ไม่ได้มาตรฐานก็โชคร้ายหน่อยครับ

ถ้าเป็นแบบนี้เราก็เชื่ออะไรไม่ได้เลยหรือ? ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ส่วนมากผู้ที่จะเช่าหาพระเครื่องโดยส่วนใหญ่ก็ไม่เชี่ยวชาญขนาดสามารถพิจารณาแท้-เก๊ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเอาตัวรอดได้ครับ ในปัจจุบันก็มีใบรับรองที่ได้มาตรฐานอยู่ครับ ดังนั้นการเช่าหาพระเครื่องก็ควรจะพิจารณาให้ดีๆ แต่ก็คงไม่ต้องถึงขนาดสามารถแยกแยะพระแท้พระปลอมได้ด้วยตนเอง

แต่ก่อนเช่าหาก็ควรจะศึกษาเกี่ยวกับพระที่เรากำลังคิดจะเช่าหาเสียหน่อย เพื่อจะได้รู้ว่าพระแบบที่เรากำลังคิดจะเช่าหานั้นมีประวัติและรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร สนนราคาทั่วไปราคาเท่าไร และคนที่เรากำลังจะไปเช่าเขานั้นเป็นคนอย่างไร สอบถามดูบ้างว่าประวัติเขาดีเลวอย่างไร
 
เรื่องนี้สำคัญนะครับ ยิ่งถ้าจะเช่าหาพระจากเขา โดยเฉพาะพระนั้นๆ มีมูลค่าสูงๆ ด้วยแล้วยิ่งควรศึกษาคนที่เราจะไปเช่าหาให้ดีๆ หน่อย เพราะถ้าผิดพลาดไปแล้วจะคืนเงินได้ยากครับ

ทีนี้มาพูดถึงใบรับรองที่เป็นมาตรฐาน สำหรับใบรับรองประเภทนี้ เขาจะให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละด้านมาพิจารณาก่อนที่จะออกใบรับรองให้ และชมรมหรือสถาบันนั้นๆ เขาก็จะมีเว็บไซต์ของเขาเอง ซึ่งสามารถตรวจสอบใบรับรองในขั้นต้นได้ด้วยตัวท่านเอง ว่าใบรับรองนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ด้วยการเข้าไปค้นหาในสารบบใบรับรองของเขา ซึ่งเขาจะทำทะเบียนมีเลขรหัสประจำใบรับรองนั้น ซึ่งสามารถค้นหาตรวจสอบได้ในระบบตามเลขรหัสในใบรับรอง รูปใบรับรองรหัสนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาให้เราตรวจสอบก่อนว่ารูปองค์พระตรงไหม ชื่อของพระตรงหรือไม่ ถ้าค้นหาแล้วไม่ตรงก็ทราบได้เลยว่า ใบรับรองนั้นๆ ไม่ใช่ของจริง เมื่อใบรับรองไม่จริงพระนั้นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึงแล้วล่ะครับ

ทีนี้ก็มาดูว่าถ้าใบรับรองเป็นใบจริง แต่องค์พระมาตรวจสอบในภายหลังปรากฏว่าเป็นพระปลอม หรือนำไปขายแล้วไม่มีใครซื้อเนื่องจากเป็นพระปลอมล่ะ จะทำอย่างไร ไม่ยากครับก็นำพระองค์นั้นๆ ไปขายกับสถาบันที่ออกใบรับรองให้เลยครับ โดยเฉพาะพระที่เป็นพระยอดนิยม ถ้าเขารับเช่าหาก็จบไป ส่วนราคาก็แล้วแต่จะตกลงกัน อาจจะไม่เท่ากับราคาที่ท่านเช่ามา เนื่องจากเขารับรองว่าแท้เท่านั้นมิได้รับรองในเรื่องราคา ส่วนเรื่องราคาก็เป็นเรื่องของความพอใจที่ท่านไปเช่ามาจากผู้ขายโดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตามพระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับอยู่ดี หมายความว่าผู้ที่ออกใบรับรองนั้นก็ย่อมรับซื้อหรือเช่าไว้ในราคามาตรฐานการตลาดในขณะนั้น ส่วนถ้านำไปขายให้กับผู้ที่ออกใบรับรองแล้วเขาไม่ซื้อก็รู้ได้เลยว่าผู้ที่ออกใบรับรองนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐานครับ

อีกวิธีหนึ่งก็คือ ศึกษาพระประเภทนั้นๆ เสียหน่อย แล้วก็ศึกษาคนที่จะให้เราเช่าสักหน่อย หลังจากพอใจที่จะเช่าหาแล้วก็ให้เขาเขียนออกใบรับรองของตัวเขาเองว่าพระที่เราเช่าหาจากเขานั้นเป็นพระอะไร รุ่นอะไร ราคาเท่าไร มีตลับหรือกรอบอย่างไร (ถ้ามี) และเขียนรับรองว่าเป็นพระแท้ และยินดีรับคืนถ้าหากว่าพระนั้นๆ ไม่แท้ ในกรณีนี้ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการ แจ้งความฟ้องร้องกันได้ต่อไปในกรณีที่มีความผิดพลาดเป็น พระไม่แท้ครับ

วันนี้พูดมายาวไปหน่อย แต่ความจริงก็ยังมีอีกเยอะพอสมควรครับ และก็ไม่ลืมนำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ แท้ ดูง่ายองค์สวยๆ มาให้ชมด้วยครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41420273524191_3_17_696x370_1_.jpg)      
พระสมเด็จรุ่น พล.ต.อ.เผ่า วัดอินทรวิหาร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราเคยได้ยินพระเครื่องที่เรียกว่าพระสมเด็จเผ่าไหมครับ ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้นเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ และส่วนมากก็จะบอกกันว่า พระสมเด็จเผ่าที่ด้านหลังจะเป็นรอยพิมพ์ลึกลงไป เป็นรูปเครื่องหมายตราแผ่นดิน คือเป็นรูปแบบหน้าหมวกของตำรวจ จนปัจจุบันก็พอได้ยินเรื่องแบบนี้อยู่บ้าง แล้วความจริงคืออะไร พระสมเด็จเผ่ามีอยู่จริงหรือไม่และมีรูปร่างลักษณะเป็นแบบที่ว่ามานั้นจริงหรือไม่

ครับ พระสมเด็จเผ่าหรือที่พระสมเด็จที่สร้างโดยท่าน พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจมีสร้างอยู่จริงครับ แล้วประวัติการสร้างเป็นอย่างไร รูปลักษณะของพระเป็นอย่างไร เรามาคุยกันดูครับ พระสมเด็จที่ พล.ต.อ.เผ่า ที่ท่านได้เป็นประธานจัดงานประจำปีหลวง พ่อโต วัดอินทรวิหาร และสร้างพระเครื่องพิมพ์สมเด็จไว้จำนวน 84,000 องค์ และให้ประชาชนเช่าหาเพื่อนำปัจจัยมาสร้างศาลาการเปรียญของวัดอินทรวิหาร ในการนี้ท่านได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร เป็นหัวหน้าดำเนินการสร้างพระสมเด็จดังกล่าว

พระสมเด็จรุ่นนี้ได้พุทธาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อในด้านวิทยาคม 15 รูป ทำพิธี ครั้งที่ 2 ทำพิธี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 พระเกจิอาจารย์ร่วมพิธี 39 รูป พระสมเด็จดังกล่าวมีอยู่หลายพิมพ์ เอกลักษณ์ทำเป็นแบบกรอบกระจก คล้ายกับพระสมเด็จเกษไชโย พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังเรียบๆ เพียงแบบเดียว พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นพิมพ์อกร่อง ฐาน 3 ชั้น และพิมพ์แบบพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จรุ่นนี้มีผู้นำไปห้อยคอแล้วเกิดประสบการณ์ต่างๆ มาก แม้แต่เมื่อครั้งที่กำลังเปิดให้เช่าบูชาก็มีคนนำไปทดลองด้านหลังวัด โดยนำไปทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออกมีผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน จึงได้กลับมาเช่าบูชาจากวัด ซึ่งขณะนั้นให้บูชาองค์ละ 10 บาท จากเหตุการณ์มีผู้นำไปทดลองยิงก็ถูกเล่าขานไปจนทั่ว และก็มาเช่าบูชาพระสมเด็จรุ่นนี้หมดไปจากวัดในเวลาไม่นานนัก
 
ต่อมาหลังจากที่พระหมดไปจากวัดแล้ว จึงได้มีคนคิดทำพระปลอมขึ้น และเกิดพระสมเด็จรุ่นนี้ปลอมที่มีด้านหลังเป็นรูปตราหน้าหมวกตำรวจ ตัวผมเองในสมัยเป็นวัยรุ่นอยู่ก็ยังเคยเช่าบูชาพระสมเด็จปลอมรุ่นนี้มาด้วยความไม่รู้เช่นกันครับ จนมาถึงปัจจุบันก็ยังงงๆ อยู่ว่าก็ยังมีคนทำหรือนำพระปลอมในลักษณะนี้มาหลอกขายกันอยู่อีก

ดังนั้นสรุปได้ว่า พระสมเด็จที่ทำเป็นแบบด้านหลังมีรอยปั๊มเป็นตราหน้าหมวกตำรวจนั้นไม่มีจริงเป็นของปลอมทั้งสิ้นและทำกันมานานแล้วครับ พระสมเด็จรุ่นเผ่าของวัดอินทร์ที่สร้างในสมัยนั้นด้านหลังเป็นแบบเรียบๆ ธรรมดาเท่านั้น

ครับในวันนี้ผมจึงนำรูปพระสมเด็จรุ่น พล.ต.อ.เผ่า ของวัดอินทร์แท้ๆ มาให้ชม เป็นพระพิมพ์อกร่องและแบบพระพิมพ์ใหญ่มาให้ชม พระสมเด็จฯ รุ่นนี้น่าบูชามากนะครับ พุทธคุณดีมาก อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพง และก็ยังหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52453570274843_view_resizing_images_1_.jpg)      
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งโดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็มักจะเป็นพระเนื้อโลหะแทบทั้งสิ้น แต่มีพระกริ่งรุ่นเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่มีเนื้อเป็นดินเผา ท่านผู้อ่านก็คงจะนึกออกว่าเป็นพระกริ่งคลองตะเคียนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระกริ่งคลองตะเคียนเป็นพระที่ได้รับคำยกย่องว่าเป็นพระกริ่งที่มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรียอดเยี่ยม แม้แต่หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติก็ยังยกย่อง

พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเก่ามีผู้พบพระกริ่งคลองตะเคียนบริเวณแถบคลองตะเคียน อยุธยา ซึ่งบริเวณนั้นมีซากวัดโบราณในสมัยอยุธยาอยู่หลายวัดที่ถูกทำลายไปพร้อมกับสงครามการเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดต่างๆ ในแถบนั้นหลงเหลืออยู่เพียงโคกดิน และฐานขององค์พระเจดีย์ซึ่งก็มีอยู่หลายวัดติดๆ กัน การพบพระก็พบบริเวณโคกดินที่เป็นฐานของเจดีย์วัดโบราณเหล่านั้นและพบพระกระจัดกระจายไปทั่ว จึงมักเรียกพระที่พบในบริเวณนั้นว่าพระกริ่งคลองตะเคียน ที่มีคำว่าพระกริ่งก็เนื่องจากองค์พระมีการบรรจุเม็ดกริ่งอยู่ภายในเวลาเขย่าดูจะมีเสียงดังคลุกๆ อยู่ข้างใน จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานกันมาตลอด ส่วนอายุความเก่าก็ได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าเป็นพระในสมัยอยุธยายุคปลาย เนื่องจากโคกดินบริเวณนั้นเป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา

พุทธลักษณะของพระกริ่งคลองตะเคียนนั้นตัวองค์พระมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระคง ลำพูน ประทับนั่งปางมารวิชัย มีใบโพธิ์ปรากฏเป็นเม็ดกลมๆ อยู่รอบพระเศียร ส่วนสัณฐานโดยรอบองค์พระมักมียอดปลายแหลม บางองค์ก็เป็นแบบปลายมน ด้านหลังอูม ก้นด้านหลังมีรอยบุ๋มและมีอักขระจารอยู่ด้วย และที่ด้านหลังจะมีการจารอักขระไว้ที่ด้านหลังทุกองค์ ลายมือจารจะเป็นลายมือเดียวกันทุกองค์ บางองค์ทำเป็นแบบ 2 หน้ารอยจารก็จะอยู่ที่ด้านข้าง พระกริ่งคลองตะเคียนที่ก้นขององค์พระ สังเกตดูตรงที่เป็นรอยบุ๋มลงไปน่าจะเป็นรอยที่บรรจุเม็ดกริ่งและอุดที่หลัง เรื่องเม็ดกริ่งในสมัยก่อนก็มีการเล่ากันต่างๆ นานา บ้างก็ว่าด้านในไม่มีอะไร ที่ได้ยินเสียงนั้นเป็นการบรรจุอาคมลงไปและเกิดเป็นเสียงกริ่งก็มี บ้างก็ว่าเม็ดกริ่งเป็นเม็ดของดอกพุทธรักษาบ้าง แต่ผมเองเคยแกะดูพระของพ่อเพื่อน ซึ่งเขาเลี่ยมพลาสติกไว้ และเกิดองค์พระชำรุดแตกที่ด้านฐานพอดี เพื่อนผมก็มาปรึกษาว่าจะซ่อมได้ไหม เสียดายเป็นพระของพ่อให้มา ผมก็เลยแกะพลาสติกที่หุ้มไว้ออกมาดู ก็พบว่าฐานชำรุดแตกหลุดออกมาจากกัน และได้เห็นเม็ดกริ่งที่อยู่ข้างในเป็นเนื้อดินเผาเช่นเดียวกับเนื้อพระ จากนั้นก็ติดกาวตกแต่งให้ดูสมบูรณ์ แล้วให้เพื่อนนำไปเลี่ยมใหม่อีกที ครับก็พบกับความเป็นจริงไม่ใช่มโนว่า เม็ดกริ่งของพระกริ่งคลองตะเคียนนั้นเป็นเม็ดเนื้อดินเผากลมๆ แบบเดียวกับเนื้อพระครับ

พระกริ่งคลองตะเคียนมีพบด้วยกันหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก พิมพ์ 2 หน้า พิมพ์หน้าเล็ก พิมพ์พระปิดตา (พิมพ์นี้จะไม่มีเม็ดกริ่ง) มีทั้งพิมพ์พระปิดตาหน้าเดียว พิมพ์ปิดตา 2 หน้า หรือ 3 หน้า 4 หน้าก็มี เนื้อพระส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผาสีออกดำ แต่ที่พบเป็นเนื้อสีเหลืองอมเขียว สีอมแดงก็มีบ้างแต่พบน้อย พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก และวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70634561487370_1_106_696x376_1_.jpg)      
พระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระขุนแผน ในสมัยก่อนชายหนุ่มที่ชื่นชอบพระเครื่องมักจะนิยมหาพระขุนแผนกัน และก็ต้องเป็นพระขุนแผนของเมืองสุพรรณ พระขุนแผนของสุพรรณฯที่เป็นพระกรุพระเก่าที่นิยมก็มี 2 กรุคือ กรุวัดพระรูปและของกรุ วัดบ้านกร่าง
พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนนั้นทำไมชอบพระขุนแผน ก็คงจะนึกถึงตัวละครขุนแผนที่เก่งกล้าสามารถทั้งเรื่องบู๊และบุ๋น แถมเจ้าชู้และมีภรรยาหลายคนอีกต่างหาก เรื่องมหาเสน่ห์สาวรักสาวหลงนี้ละมั้งที่พวกหนุ่มๆ ชอบมากที่สุด ใครเห็นใครรัก ใครเห็นใครหลง ดั่งตัวละครขุนแผนในวรรณคดี ในสมัยผมเป็นวัยรุ่นก็เห็นพวกที่ชอบเสาะหาพระขุนแผนก็ไม่พ้นเรื่องเมตตามหานิยมเป็นเสน่ห์แก่หญิงสาวเลยสักรายรวมทั้งตัวผมด้วย ก็ว่ากันไปตามสมัยนิยมในสมัยนั้น

พระขุนแผนที่นิยมกันมากในสมัยก่อนก็คือพระขุนแผนกรุวัดพระรูป หรือบางท่านก็เรียกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า พระแบบนี้พบที่วัดพระรูป ตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตรงข้ามกับตลาดสุพรรณ วัดนี้เป็นวัดโบราณ การพบพระก็ไม่ได้พบอยู่ในองค์พระเจดีย์
เนื่องจากตัวองค์พระเจดีย์พังทลายลงมานานแล้วตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบ คนเก่าคนแก่ว่า เกิดมาก็ไม่เห็นองค์พระเจดีย์แล้ว พบพระกระจัดกระจายมาแต่โบร่ำโบราณ พบอยู่ตามพื้นหรือจมอยู่ใต้ดินในบริเวณวัดมากมาย มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่เรียกกันว่า “พระขุนแผน” นั้นพบมีอยู่มากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
 
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง แบบทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้ว ฐานมีทำเป็นกลีบบัว 3 กลีบ ด้านหลังอูม รูปทรงของพระยาวรีคล้ายไข่ มองดูรวมๆ คล้ายกับไข่ต้มผ่าซีก และที่ฐานที่กลีบบัวเส้นสายก็มองดูคล้ายกับรูปเด็กนอน

โดยเฉพาะกลีบบัว ด้านซ้ายขององค์พระ (ด้านขวามือเรา) มีปลายแตกออกเป็น 2 เส้น จึงมองดูคล้ายขาของเด็กที่นอนอยู่ จึงนึกกันไปเองว่าเป็นกุมารทอง จึงตั้งชื่อกันว่าพระขุนแผน ให้สอดคล้องกับวรรณคดีเสียเลย ประกอบกับรูปทรงคล้ายไข่ผ่าซีก จึงเรียกกันว่า “พระขุนแผนไข่ผ่า”

ครับพระขุนแผนกรุวัดพระรูปก็มีพุทธคุณเด่นดังในด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่ชื่นชอบและเสาะหากันมากจนโด่งดังมาถึงพระนคร และเล่นหากันมาตั้งแต่โบราณ เนื้อหาของพระก็มีผิวละเอียดหนึกนุ่ม คนในสมัยก่อนนิยมใช้พระห้อยคอแบบสัมผัสถูกเนื้อถูกตัว การเลี่ยมแบบตลับนั้นยังไม่ค่อยมี เนื้อพระเมื่อถูกสัมผัสจากการใช้ห้อยคอก็จะเป็นมันเงา หนึกนุ่ม สีเข้มออกแดงจัด เป็นที่นิยมในสมัยนั้น คนเก่าคนแก่ในสมัยนั้นเรียกว่าเนื้อมันปู

พระขุนแผนกรุวัดพระรูปต่อมาก็พบว่าพระบางองค์มีลักษณะปีกด้านข้างค่อนข้างผอมเล็กลีบกว่า ก็เลยแยกออกเป็นพระพิมพ์ที่มีปีกกว้างกว่าเป็นพระพิมพ์ไข่ผ่า และองค์ที่ปีกแคบกว่าก็เรียกว่าพิมพ์แตงกวาผ่าซีก แต่เท่าที่สังเกตดูเฉพาะตัวองค์พระแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์เดียวกัน ต่างกันเพียงปีกขององค์พระเท่านั้นครับ

ปัจจุบันพระขุนแผนกรุวัดพระรูปนั้นหาแท้ๆ ยาก สนนราคาสูง ของปลอมมีมานานแล้วครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีกของกรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี จากหนังสือ อมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มีนาคม 2561 15:35:45
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18101474973890__3594_3617_3619_3617_8_3585_36.jpg)
พระพิมพ์สี่เหลี่ยม หลวงปู่ศุขสร้าง วัดส้มเสี้ยว  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระวัดส้มเสี้ยว พิมพ์สี่เหลี่ยม เป็นพระเครื่องที่หลวงปู่ศุขได้สร้างและปลุกเสกให้วัดส้มเสี้ยว เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์บูรณะเสนาสนะของวัดส้มเสี้ยว ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อน้อยเป็นเจ้าอาวาส และสนิทสนมกับหลวงปู่ศุข ท่านจึงได้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมาเพื่อมอบให้หลวงพ่อน้อยนำไปแจกที่วัดส้มเสี้ยว

วัดส้มเสี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเราเดินทางขึ้นเหนือตามถนนสายเอเชีย พอเลยนครสวรรค์ สักประมาณ 30 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าอำเภอบรรพตพิสัย วัดนี้ตั้งอยู่ในตลาดของอำเภอ

วัดแห่งนี้ดูจากเสนาสนะและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนอาณาบริเวณวัดที่กว้างขวาง ก็พอจะทราบได้ว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายในวัดสังเกตดูจะเห็นศาลาทรงจีน พระอุโบสถจัตุรมุข ส่วนกุฏิสงฆ์นั้นหลบอยู่ทางด้านหลังภายในอ้อมกอดของแมกไม้ ดูสงบร่มเย็นยิ่งนัก

ที่ศาลาทรงจีนด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนสัมฤทธิ์ขนาดเท่าองค์จริงของพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อน้อย) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยวที่มรณภาพตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 มีแผ่นศิลาจารึกถึงประวัติคุณงามความดีของท่านประดับไว้หน้าศาลาทรงจีน ประวัติพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อน้อย) นามเดิมภาษาจีนว่า “เก็งลี้” โยมบิดาชื่อ หย่วนเพียว โยมมารดาชื่อ ปราง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410

ที่บ้านส้มเสี้ยว เมื่อเยาว์ได้เรียนภาษาจีนที่โรงเรียนจีนบ้านสะแก เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์จง เคยเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษีอากรที่มีผู้ผูกขาดจากรัฐบาล อุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี ที่วัดบางตาหงายเหนือ ฉายา ธมฺมโชโต

เคยจำพรรษาที่วัดบ้านแก่ง วัดโบสถ์ เมืองอุทัยธานี วัดสระเกศ กทม. และวัดระฆังฯ กทม. ต่อมาได้กลับมาจำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว โดยเป็นเจ้าคณะหมวดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 ได้รับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระครูนิรุติธรรมธร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบรรพตพิสัย
 
ท่านได้บูรณะวัดเจริญผล (วัดบางตาเสือ) ส่งเสริมการศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อน้อยมรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 71 ปี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิง ณ วัดส้มเสี้ยววันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2482

ครับนี่ก็เป็นประวัติย่อๆ ของหลวงพ่อน้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว ซึ่งจะเป็นที่มาของพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของหลวงปู่ศุข ที่ออกให้แก่วัดส้มเสี้ยวครับ จากคำบอกเล่าของพระครูยุตธรรมศาสน์ (หลวงพ่อมหาแกร) เจ้าอาวาสรูปต่อจากหลวงพ่อน้อย

ท่านกรุณาเล่าเรื่องพระพิมพ์สี่เหลี่ยมหลวงปู่ศุขให้ฟังว่า เมื่อครั้งนั้นหลวงพ่อน้อยท่านมีดำริจะบูรณะและสร้างเสนาสนะของ วัดส้มเสี้ยว หลวงพ่อน้อย ก็ได้ไปมาหาสู่หลวงปู่ศุขอยู่เสมอๆ จึงได้ไปปรึกษาและขอพระพิมพ์สี่เหลี่ยมจากหลวงปู่ศุข

เพื่อแจกสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในครั้งนั้น หลวงปู่ศุขก็กรุณาจัดสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมพิมพ์นี้ขึ้น เพื่อมอบให้แก่หลวงพ่อน้อยไปแจกจ่ายหาทุนต่อไป พระพิมพ์นี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ด้านหลังจะมีจารตัวพุทธ และมีเส้นล้อมรอบตามแบบรอยจารของหลวงปู่ศุขนั่นเองครับ

ประวัติความเป็นมาของพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของวัดส้มเสี้ยวก็มีตามที่ผมได้กล่าวมานี้ ปัจจุบันนั้นหายากเช่นกัน สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ พุทธคุณนั้นก็ดีเยี่ยมทุกประการแบบของวัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่สนนราคาก็ย่อมลงมากว่าของที่ออกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยม ที่หลวงปู่ศุขสร้างให้วัดส้มเสี้ยวมาให้ชมกันด้วยครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57301385990447_dd_696x402_1_.jpg)
พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรุพระเก่าของราชบุรีที่น่าสนใจมาก พระกรุของจังหวัดนี้มีอยู่หลายกรุเหมือนกันและโด่งดังมาตั้งแต่อดีต อย่างเช่นพระท่ากระดาน กรุวัดหลุมดิน พระท่ากระดาน กรุวัดใหม่หนองอีจาง เป็นต้น และพระเนื้อชินสนิมแดงที่มีขนาดเล็กคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา ของกาญจนบุรี

ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้น ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงพระท่ากระดาน และพูดถึงพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ก็เกิดความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นและอยากได้มาก เนื่องจากได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับพระทั้ง 2 อย่างที่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และเคยขอผู้ใหญ่ส่องดูชอบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงบางโอกาส ก็ยิ่งอยากได้มากขึ้นไปอีก แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะเช่าหา ต่อมามีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนจังหวัดราชบุรีรู้ว่าผมอยากได้พระเนื้อชินสนิมแดง เขาก็เอาพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า าให้ผมองค์นึง และบอกว่าเป็นพระที่พบในกรุวัดศาลเจ้าราชบุรี ซึ่งเป็นคนละที่กันกับของกาญจนบุรี แต่ดีเหมือนๆ กัน ผมดีใจมากจึงนำไปเลี่ยมพลาสติกห้อยคอตลอด ผมเองเป็นคนที่ชอบเที่ยวหัวหกก้นขวิดตะลอนไปทั่วเข้าป่าเข้าดงคบเพื่อนฝูงมาก แต่ก็ไม่เคยได้รับอันตรายใดๆ และเชื่อมั่นว่าพระท่ากระดานน้อย ที่เพื่อนให้ปกป้องคุ้มครองมาโดยตลอด

ในช่วงนั้นก็พยายามค้นหาประวัติความเป็นมาของพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือพระเครื่องก็ไม่ค่อยมี ก็ได้แต่สอบถามเรื่องราวของพระกรุท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ได้รับคำบอกเล่าตรงกันที่ว่าแตกกรุจากวัดศาลเจ้า ราชบุรี แต่เป็นพระที่สร้างในยุคใดก็ไม่ค่อยตรงกันนัก บางท่านก็ว่าเป็นพระเก่าสร้างมาแต่สมัยโบราณ แต่ก็มีบางท่านว่าสร้างในสมัยเฒ่าแก่ปู้ เจ้าของโรงสีใกล้วัดศาลเจ้า มาบูรณะเจดีย์และสร้างพระบรรจุไว้ ผมเองเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ไม่ค่อยเชื่อว่าสร้างในสมัยที่เฒ่าแก่ปู้ เนื่องจากอายุการสร้างและเนื้อสนิมแดงที่เกิดกับพระท่ากระดานน้อยนั้นไม่สอดคล้องกัน พระท่ากระดานน้อยน่าจะสร้างมาเก่าแก่กว่านั้นมาก แต่ก็ไม่ได้เถียงหรือขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ได้แต่เก็บความสงสัยและค้นหาเหตุผลต่อมา
 
ครับวัดศาลเจ้าเป็นวัดเก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีการพบหลักฐานว่าสร้างมาแต่ยุคใด แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ต่อมาสืบทราบว่า วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า “วัดเกาะนอก” และมีศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงมักเรียกกันว่า “วัดศาลเจ้า” มาจนทุกวันนี้ เท่าที่ค้นคว้าดูก็พบว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2465 องค์พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าชำรุด ทำให้มีการพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงแตกออกมาจำนวนหนึ่งคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงแซมไขขาว มากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุที่เรียกว่าพระท่ากระดานน้อย เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่คล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อยของกรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงเช่นกัน

การบูรณะในปี พ.ศ.2465 นั้น เฒ่าแก่ปู้เป็นผู้บูรณะและมีการสร้างพระบรรจุไว้ ในองค์พระเจดีย์ด้วยเช่นกัน แต่พระท่ากระดานน้อยที่พบในกรุนี้น่าจะเป็นพระ ที่สร้างไว้มาก่อนหน้านี้แล้ว สันนิษฐานว่าพระท่ากระดานน้อยของกรุนี้คงจะสร้างไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากผิวและสนิมแดงที่ปรากฏบ่งบอกถึงความมีอายุการสร้างว่าเก่ามากน้อยอย่างไร

ครับพระท่ากระดานน้อยเป็นพระที่น่าสนใจมาก และมีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะนำมาห้อยคอ พุทธคุณโดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบัน ก็หายากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบ มีมานานแล้ว การเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ และกับผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้าจากหนังสือแจกรางวัลงานประกวดพระเครื่องจังหวัดราชบุรี 2560 มาให้ชม และขอขอบคุณ คุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูป และข้อมูลมาด้วยครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62696693051192__3594_3617_3619_3617_15_3585_3.jpg)
พระปิดตา เนื้อผงหัวบานเย็น  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านนั้นก็นิยมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือพระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ หมากทุย แต่ทุกอย่างก็หายากมากเช่นกัน สนนราคาสูงใครๆ ก็อยากได้ แต่ก็อย่างที่ว่าครับ หาแท้ๆ ยากจริงๆ

นอกจากเหรียญรุ่นยันต์สี่หรือเหรียญยันต์ห้าแล้ว พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อโลหะผสมก็เป็นพระยอดนิยม อีกทั้งพระชัยวัฒน์ก็เป็นพระที่นิยมกันมากเช่นกัน นอกจากพระปิดตาเนื้อโลหะผสมแล้วหลวงปู่ท่านก็ยังสร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์อีกด้วย สนนราคาก็จะย่อมเยาลงมาหน่อย เช่น พระปิดตาพิมพ์สังฆาฏิ พระปิดตาพิมพ์นะหัวเข่าเนื้อตะกั่วครึ่งซีก พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก เป็นต้น

แต่ก็หาแท้ๆ ยาก เป็นที่นิยมเช่นกันครับ ส่วนพระปิดตาที่เป็นพระเนื้อผง ท่านก็ได้สร้างไว้ แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่าพระปิดตาเนื้อตะกั่ว เช่น พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตกเนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาข้าวตอกแตกเนื้อผงคลุกรักจะหายาก สนนราคาสูง พระปิดตาเนื้อผงอีกอย่างหนึ่งของหลวงปู่เอี่ยมเป็นพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น พระพิมพ์นี้ก็หาแท้ๆ ยาก

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น หลวงปู่เอี่ยมจะปลูกต้นบานเย็นไว้ที่กุฏิของท่าน และก็จะทำน้ำมนต์รดน้ำของท่านทุกวัน โดยจะบริกรรมคาถาขณะรดน้ำให้หัวบานเย็นทุกวันมิได้ขาด พอได้ฤกษ์งามยามดี ท่านก็จะขุดนำหัวของต้นบานเย็นที่ท่านได้ปลูกไว้ นำมาตากแห้งและบดจนละเอียด นำผสมกับผงพุทธคุณที่ท่านทำไว้ จากนั้นจึงนำมาสร้างเป็นองค์พระปิดตา พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นนี้เรียกว่าดีตั้งแต่การปลูกต้นบานเย็นแล้ว และยังนำมาผสมกับผงพุทธคุณที่หลวงปู่ทำไว้ เมื่อทำเป็นองค์พระเสร็จแล้วหลวงปู่ก็ยังปลุกเสกอีกทีหนึ่งด้วยก่อนที่จะแจกให้แก่ศิษย์และญาติโยมที่ใกล้ชิด
 
พระปิดตาพิมพ์หัวบานเย็นเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์ พิมพ์หนึ่งจะต้อๆ กว่า อีกพิมพ์หนึ่งดูชะลูดกว่า และเท่าที่พบพิมพ์ชะลูดมากกว่าพระพิมพ์ต้อ มีท่านผู้รู้บางท่านกล่าวว่า พระพิมพ์ต้อเป็นพระที่สร้างในครั้งแรกๆ และต่อมาก็ได้สร้างแม่พิมพ์พระพิมพ์ชะลูดขึ้นมาอีกพิมพ์หนึ่ง และจะพบเห็นพระพิมพ์ชะลูดมากกว่าพระพิมพ์ต้อ

พระปิดตาหัวผงบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยมก็เป็นพระที่หายากเช่นกัน ของปลอมก็มีการทำมานานแล้ว เนื่องจากพระแท้ๆ ที่หายาก และส่วนมากจะอยู่กับศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่หรือญาติโยมที่อยู่ใกล้ๆ วัด สนนราคาในปัจจุบันจะย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นของหลวงปู่เอี่ยม เนื่องจากส่วนมากก็จะหาเหรียญหรือพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อโลหะของหลวงปู่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น โดยส่วนตัวผมเองชอบและเห็นว่าทำยาก เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นบานเย็น แล้วนำมาตากแห้งบดเป็นผงจนทำเป็นองค์พระ หลวงปู่จะพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มที่จะสร้าง พุทธคุณนั้นดีทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยมครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นจากหนังสือตามรอย ตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมา ให้ชมทั้ง 2 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13791943920983_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81027862471010_2.jpg)
พระวัดนก พระดีจังหวัดอ่างทอง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระดีของจังหวัดอ่างทองชนิดหนึ่ง ที่มักเรียกกันว่า พระวัดนก ลักษณะเป็นพระเนื้อผงองค์เล็กๆ แบบพิมพ์ละม้ายคล้ายกับพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วครับ

วัดสกุณาราม อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งต่อมาพระวัดนกได้มีการแตกกรุออกมาจึงได้พบพระเครื่ององค์เล็กๆ จำนวนมาก พระที่พบเป็นพระเนื้อผงผสมใบลานเผา มีสีของเนื้อพระเป็นสีเทาอมเขียว เทาอมดำ และสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีพิมพ์ต่างๆ มากมาย ขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กเท่าๆ กัน

ส่วนประวัติการสร้างพระนั้นไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งก็มีการบอกเล่าเป็น 2 กระแส แต่ก็สอดคล้องกัน กระแสหนึ่งว่ากันว่า หลวงพ่อเฟื่อง เป็นผู้สร้างพระเครื่องนี้ไว้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2464 สร้างไปแจกไปบ้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาก็มีการพบพระเครื่องดังกล่าว

อีกกระแสก็ว่า หลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดนก ก่อนหลวงพ่อเฟื่อง ได้สร้างไว้ก่อนในยุคแรกประมาณปี พ.ศ.2453 และต่อมาเมื่อหลวงพ่อแก้วมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเฟื่องจึงได้สร้างต่อโดยใช้แม่พิมพ์อันเดียว กันและเนื้อเดียวกัน
 
ครับก็นำมาให้วิเคราะห์กันตามคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องที่ครับ และเท่าที่รับฟังมาก็มีการบอกเล่าด้วยว่า ในการปลุกเสกพระเครื่องของวัดนกได้มีการนิมนต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมปลุกเสกด้วยเหมือนกันทั้ง 2 กระแสครับ ก็น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า พระวัดนกนั้นพิมพ์ส่วนใหญ่ก็มีลักษณะละม้ายกับพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อยู่เหมือนกันครับ

พระวัดนกที่พบเป็นพระเนื้อผง ด้านหลังมีทั้งแบบเรียบๆ กับที่ด้านหลังมีจารอักขระ ซึ่งก็มีการจากแบบจารเปียก มีอักขระอยู่หลายแบบด้วยกัน พระวัดนกที่พบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์นั้นส่วนมากมักจะมีคราบกรุเป็นคราบไขขาวๆ จับอยู่ที่องค์พระ ที่ไม่ปรากฏคราบก็มีอยู่บ้าง ซึ่งก็อาจจะเป็นพระที่แจกก่อนที่จะบรรจุกรุ

พุทธคุณของพระวัดนกชาวบ้านในท้องถิ่นรู้กันมานานแล้ว เด่นทางด้านอยู่คง ซึ่งก็มีประสบการณ์กันมาก อีกทั้งยังดีด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมอีกด้วย ในสมัยเมื่อ 50 กว่าปีก่อนนั้นสนนราคาก็ยังไม่แพงนักอยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น ต่อมาในปัจจุบันมีคนรู้จักมากขึ้นสนนราคาก็สูงขึ้น แต่ก็ยังไม่แพงนักอยู่ที่หลักพันมากน้อยอยู่ที่พิมพ์และความสวยสมบูรณ์ครับ

พระวัดนกมีของปลอมหรือเปล่า ก็ตอบได้เลยว่ามี เนื่องจากปัจจุบันก็มีความนิยมกันทั่วไป พวกทำพระปลอมก็เริ่มทำเช่นกันครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนครับ พระวัดนกแท้ๆ จะคมชัด ผิวพระมักจะปรากฏคราบไขจับอยู่ทั่วไป และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระวัดนกมาให้ชมกัน 2 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27568887712226_2_82_696x349_1_.jpg)
พระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าเนื้อดินเผาชนิดหนึ่งที่น่าสนใจคือพระกรุ วัดจุฬามณี พระกรุนี้เป็นพระที่พบ ในจังหวัดพิษณุโลก และเป็นพระที่มีเอกลักษณ์ไม่ค่อยเหมือนใครคือ เป็นพระกรุเนื้อดินที่มี 2 หน้า (มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง) ซึ่งพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าที่จะพบมีแบบ 2 หน้าน้อยมาก ในส่วนของพุทธคุณก็ยอดเยี่ยมครับ

วัดจุฬามณีเป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในยุคต่อๆ มาอีกหลายยุค ต่อมาได้มีการแตกกรุออกมาและพบพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมากมายหลายพิมพ์ พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระที่มี 2 หน้า

เช่นพิมพ์ที่พบมากก็คือ พระพิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง และเป็นพิมพ์ที่นิยมของพระกรุนี้ พระพิมพ์ 2 หน้า นอกจากนี้ก็ยังพบพิมพ์ทรงชฎาหลังนาง พิมพ์แบบนางพญา 2 หน้า ซึ่งพระที่มีแบบพิมพ์ 2 หน้าจะพบมากกว่าพระที่มีแบบพิมพ์หน้าเดียว พระที่เป็นแบบหน้าเดียวมักจะเป็นพระพิมพ์ซุ้มขีดและนางพญา

พระของกรุนี้เท่าที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด มีทั้งแบบเนื้อดินหยาบ และเนื้อดินละเอียด เนื้อพระเนื้อหยาบจะมีความแกร่งมาก เท่าที่สังเกตดูรูปแบบศิลปะสันนิษฐานว่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และที่เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ที่แปลกกว่าพระกรุอื่นก็คือทำเป็นแบบ 2 หน้าครับ ซึ่งพระกรุพระเก่าจะไม่ค่อยพบพระเก่าที่ทำเป็นแบบ 2 หน้าเท่าไรนักครับ
 
ในสมัยก่อนพระกรุนี้ตอนที่แตกกรุใหม่ๆ สนนราคายังไม่ค่อยสูงราคาแค่หลักร้อย จนมีความนิยมมากขึ้นพระแท้ๆ ก็เริ่มหายากขึ้นสนนราคาก็สูงขึ้นตามลำดับ ก็แน่นอนว่านักทำพระปลอมก็เริ่มทำพระปลอมขึ้น เช่นกัน และก็มีมากเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

พระกรุวัดจุฬามณีเป็นพระที่แตกกรุมานานแล้ว จึงมีผู้ที่นำไปห้อยคอและเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนเป็นพระที่นิยมชนิดหนึ่งของสังคมพระเครื่อง พระพิมพ์ที่นิยมที่สุดก็คือพระพิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง

ปัจจุบันองค์พระที่สวยๆ สมบูรณ์ราคาอยู่ที่หลักหมื่น พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด พระกรุวัดจุฬามณีเป็นพระที่นิยมกันมากกรุหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก และสนนราคาก็ยังย่อมเยากว่าพระยอดนิยมกรุอื่นๆ อยู่ครับ ถ้าองค์พระที่หย่อนความสมบูรณ์หน่อยก็ยังอยู่แค่หลักพันเท่านั้น ผมว่าเป็นพระกรุที่น่าสนใจกรุหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76121996260351__3594_3617_3619_3617_13_3585_3.jpg)
พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เปิดดูหนังสือนิตยสารพระท่าพระจันทร์เห็นรูปพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ของคุณต่อ ดวงวิชัย ก็เลยทำให้นึกถึงความหลังที่เคยเช่าพระวัดพลับพิมพ์นี้ได้ที่สนามพระท่าพระจันทร์ และเป็นพระวัดพลับองค์แรกของผม

พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาเล็กเป็นพระที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัวมานานแล้ว และได้ศึกษาพระวัดพลับมาพอสมควร แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะเช่าได้สักที จนกระทั่งในปี พ.ศ.2518 ปีที่น้ำท่วม กทม. ช่วงนั้นก็ว่างเลยไปเดินเล่นที่สนามพระท่าพระจันทร์ เข้าไปสนามพระเดินเข้าไปหน่อยเดียวก็เจอน้ำที่เอ่อล้นไปเกือบทั้งสนาม

แต่ก็คิดในใจว่ามาถึงแล้วก็เดินลุยน้ำดูอะไรเล่นไปก่อนก็แล้วกัน เข้าไปข้างในได้ไม่มากนักก็เดินกลับมานั่งเล่นทางด้านหัวสนาม นั่งคุยกับพรรคพวกสองสามคน วันนั้นเซียนหลายๆ คนไม่ได้มาเปิดแผงเพราะน้ำท่วม มีคนอยู่ในสนามไม่มากนัก พอบ่ายๆ ก็มีคนเดินเอาพระมาให้เช่า เห็นเขาเดินเข้าไปด้านในสักพักใหญ่ก็เดินกลับออกมาด้านที่ผมนั่งคุยกันอยู่ และนำพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็กมาเสนอขาย

พระองค์นี้ดูจากสภาพก็พอมองออกว่า พระองค์นี้เคยเลี่ยมจับขอบและมีคราบไคลจากการใช้ให้เห็นอยู่ มีรอยแกะกรอบสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกรอบทองเอาไปขายก่อนหน้านี้แล้ว ในตอนนั้นก็ไม่มีใครเช่าหา เนื่องจากคราบไคลจากการใช้จับหนาไม่สามารถพิจารณาอะไรได้มากนัก

ผมเลยขอดูก็เห็นเนื้อหาที่บริเวณพระพักตร์หน้าอกพระและด้านหลังเท่านั้น พิจารณาดูพิมพ์และเนื้อหาเท่าที่เห็นก็มีความรู้สึกว่าน่าจะแท้ และเป็นพระที่ผมอยากได้อยู่พอดี จึงถามคนขายว่าจะขายเท่าไร คนขายบอกว่าขาย 3,500 ผมเองก็เลยคิดว่าจะเสี่ยงเช่าไว้ก็ต่อรองได้ที่ราคา 2,500 และคนขายก็เลยตกลงให้เช่า
 
ผมก็กลับมาบ้านด้วยความหวังอยู่ในใจลึกๆ และทำใจว่าถ้าล้างออกมาแล้วไม่แท้หรือมีชำรุดก็ทำใจไว้ก่อน หลังจากนั้นก็นำพระมาล้างน้ำอุ่นเพื่อเอาคราบไคลออก โดยใช้พู่กันปัดเอาคราบไคลออกเบาๆ เพื่อจะได้พิจารณาดูอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ ปรากฏว่าก็ล้างออกได้โดยไม่ยากนัก คราบไคลที่เห็นเข้าใจว่าจะเป็นคราบเหงื่อไคลและคราบสบู่ผสมกับคราบแป้งผัดหน้า

สันนิษฐานว่าเจ้าของเดิมคงใช้ติดตัว พอกลับมาพิจารณาพิมพ์ของพระและเนื้อหาก็ทำให้ดีใจมาก เพราะทุกอย่างถูกต้อง รุ่งขึ้นเช้าก็นำพระไปให้ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือดูให้อีกที ก็ดีใจมากเพราะเป็นพระแท้ และเป็นพระวัดพลับองค์แรกที่ผมเช่าได้ด้วยตัวเอง

แถมพระพิมพ์นี้ผมเองก็ชอบเป็นการส่วนตัวด้วย พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก เป็นพระที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดเลี่ยม ห้อยคอสวยงาม พระองค์นี้มีสึกที่พระพักตร์นิดหน่อยนอกนั้นสมบูรณ์ อาจเป็นพระที่เจ้าของเดิมเลี่ยมยกขอบจึงพอรักษาองค์พระไว้ได้ อีกทั้งพระวัดพลับนั้นมีเนื้อหาที่แข็งแกร่งพอสมควรและคงใช้มาไม่สมบุกสมบันมากนัก

ครับวันนั้นก็ถือเป็นโชคดีของผมและก็วันนั้นไม่ค่อยมีเซียนพระเข้าไปในสนาม ไม่งั้นคงไม่รอดมาถึงผมแน่ พระวัดพลับองค์ที่ได้เช่ามาในวันนั้นจึงเป็นพระองค์ครูของผมที่ใช้ศึกษาพระวัดพลับต่อมา เรื่องการที่จะต้องมีพระองค์ครูไว้เพื่อการศึกษาพระนั้นๆ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ เนื่องจากเราจะได้เห็นได้ทุกเวลาที่เราต้องการศึกษา เรื่องพิมพ์พระหรือโดยเฉพาะเนื้อหาของพระก็จะเข้าใจได้แม่นยำขึ้นครับ

พระวัดพลับนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ทำมาค้าขาย วันนี้ผมนำรูปพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ของคุณต่อ ดวงวิชัย จากหนังสือนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชม พระองค์นี้เป็นพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ที่สวยงามสมบูรณ์มากครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44049906275338__3594_3617_3619_3617_16_3585_3.jpg)
พระนาง กรุวัดหัวเมือง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่า กันบ้าง ซึ่งช่วงเวลานี้ไม่ค่อยได้มีใครพูดถึงพระกรุพระเก่ากันนัก ความจริงพระกรุนั้นเป็นพระที่มีอายุการสร้างมาช้านาน ถ้าเราศึกษาประวัติและสถานที่ที่พบกรุพระ ศึกษาเนื้อหาความเก่าก็จะสนุกและน่าสนใจมากและในวันนี้ผมจะพูดถึงพระกรุหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ บางท่านอาจจะสงสัยมีด้วยหรือพระกรุที่นครสวรรค์ ซึ่งความจริงแล้วนครสวรรค์ก็เป็นเมืองเก่ามีมาแต่โบราณ ครับพระกรุที่ผมจะพูดถึงก็คือ พระนางกรุวัดหัวเมืองครับ

นครสวรรค์ก่อนที่จะมีชื่อนี้ก็มีประวัติความเป็นมาแต่ก่อนเก่า กล่าวคือ เมืองนี้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและเป็นเมืองสืบต่อมาโดยตลอด เมืองนี้เดิมมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อเช่น เมืองพระบาง และยังคงหลงเหลือซากเมืองเก่าหลงเหลืออยู่ ที่ดอนชายเขาฤๅษีลงมาจดวัดหัวเมือง มุมเมืองตั้งอยู่ตรงวัดแห่งนี้ ยังพอมีแนวเนินดินกำแพงเมืองพอดูเป็นเค้าๆ พอเห็นได้ จากหลักศิลาจารึกพบที่วัดเขากบ (หลักที่ 11) กล่าวถึง พระยาธรรมมิกราช (พระเจ้าลิไทกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง) ได้ไปจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากทวีปลังกาที่สร้างประดิษฐานไว้ที่เขาปากพระบาง อีกหลักหนึ่งบนยอดเขากบนั้น

มีใจความกล่าวถึงการสร้างวัดเขากบ เจดีย์วิหารฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาไว้กลางเวียง อุทิศส่วนกุศลให้แก่พระยาราม ผู้เป็นน้อง จากข้อความในศิลาจารึกเหล่านี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เมืองพระบางเป็นเมืองที่สร้างโดยกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง

นอกจากนี้เมืองนครสวรรค์ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น เมืองปากน้ำโผล่ ด้วยเหตุที่ว่าเป็นจุดที่แม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมกัน ณจุดนี้ และเป็นที่ตั้งของเมือง เมืองนี้ ต่อมาเรียกกันเพี้ยนไปอีกว่า เมืองปากน้ำโพ และอีกชื่อหนึ่งเมืองนี้ ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาเช้าพระอาทิตย์จะส่องชอนเข้าไปในเมืองอย่างเต็มที่ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ เมืองชอนตะวัน และ ต่อมาเพื่อที่จะตั้งชื่อเมืองให้เป็นสิริมงคล จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “นครสวรรค์”
 
ครับทีนี้เรามาพูดถึงพระเครื่องที่พูดเกริ่นไว้ คือพระนางกรุวัดหัวเมือง มูลเหตุของการพบพระเครื่องกรุนี้คือ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 กว่าๆ ทางจังหวัด ได้ขยายถนนและขุดลอกวางท่อประปาบริเวณวัดหัวเมือง ในการนี้เองได้ขุดพบกรุพระ พบอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์หนึ่งเรียกว่า นางกรุวัดหัวเมืองตามสถานที่ขุดพบ อีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่าพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ตามรูปลักษณ์ขององค์พระ

พระนางกรุวัดหัวเมือง เป็นพระปางประทับนั่งมารวิชัย ทรงสามเหลี่ยม จึงเรียกพระนางตามที่นิยมเรียกกัน เนื้อของพระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงทั้ง 2 พิมพ์ ลักษณะเป็นสนิมไขขาวปกคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ในทางโบราณคดี พระกรุวัดหัวเมืองนี้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระสมัยสุโขทัยยุคปลายจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น สืบเนื่องจากหลักศิลาจารึกและรูปแบบศิลปะ

พระกรุวัดหัวเมืองเป็นพระกรุที่น่าสนใจทั้งทางด้านโบราณคดีและเป็นพระเก่าแก่ เนื้อหาสนิมแดงก็สวยซึ้ง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางกรุวัดหัวเมืองจากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มีนาคม 2561 15:37:52

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99668525324927__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)
พระปิดตา พิมพ์มือไขว้ของหลวงพ่อดิษฐ์  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ จังหวัดพัทลุง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เคารพนับถือมาก พระเครื่องที่หลวงพ่อดิษฐ์ได้สร้างไว้และมีความนิยมมากก็คือ พระสังกัจจายน์ และพระปิดตาเนื้อโลหะผสมซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นชาวพัทลุงโดยกำเนิด เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2420 โยมบิดาชื่อ แก้ว โยมมารดาชื่อ นุ้ย เมื่อเยาว์บิดามารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือที่วัดควนกรวด กับพระอาจารย์รอด ได้ศึกษาภาษาไทยและหนังสือขอม หัดอ่านหนังสือสวดมนต์จนชำนาญ ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวชในปี พ.ศ.2441 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดปรางหมู่ ในตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อบวชแล้ว หลวงพ่อดิษฐ์ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดควนกรวด และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์รอด

จนกระทั่งปี พ.ศ.2446 ชาวบ้านปากสระ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้พากันเดินทางมานิมนต์เพื่อขอให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด ปากสระ หลวงพ่อดิษฐ์จึงได้เดินทางไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากสระแต่นั้นมา เมื่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากสระแล้วท่านก็เริ่มนำความเจริญและสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ตลอดจนเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลชัยบุรี ในปี พ.ศ.2489 และต่อมาในปี พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์”

หลวงพ่อดิษฐ์เป็นคนที่มีนัยน์ตาดุ และมีวาจาสิทธิ์ แต่ก็เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาสูง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอะไร เมื่อไปหาท่านให้ช่วยเหลือท่านจะช่วยทุกครั้งไป บางคนมีความเดือดร้อนเรื่องเงินทอง ถ้ามีท่านก็จะให้ทันที หลวงพ่อดิษฐ์จึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก หลวงพ่อดิษฐ์ไม่ยึดติดกับลาภสักการะ ในสมัยนั้นชาวบ้านต่างก็พาลูกหลานไปฝากกับท่าน ท่านก็เลี้ยงดูให้ได้เรียนได้ดิบได้ดีกันไปหลายคน
 
เมื่อปี พ.ศ.2507 หลวงพ่อดิษฐ์เริ่มอาพาธ พอถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2507 ก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวบ้านและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66 เมื่อท่านมรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดและชาวบ้านได้สำรวจทรัพย์สินของท่าน ปรากฏว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆ เลยนอกจากอัฐบริขารเท่านั้น

หลวงพ่อดิษฐ์ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์ซึ่งท่านจะเขียนยันต์เอง และตะกรุดโทน ท่านจะปลุกเสกและแจกเป็นรายๆ ไป ปัจจุบันหาชมยาก นอกจากนี้ยังได้สร้างพระปิดตาและพระสังกัจจายน์ เนื้อโลหะผสมไว้แจกแก่ชาวบ้านและลูกศิษย์ พระเครื่องของท่านนั้นจะสร้างด้วยความพิถีพิถันมาก โดยลูกศิษย์ที่เป็นทหารก็จะนำปลอกลูกปืนต่างๆ มาให้ท่านเป็นเนื้อโลหะ ชาวบ้านต่างก็นำภาชนะโลหะมาร่วมถวาย ท่านก็จะนำโลหะนั้นมาลงเหล็กจารปลุกเสกจนพอใจ แล้วจึงนำไปหลอมเป็นก้อน จากนั้นก็จะนำมาจารและปลุกเสกอีกครั้งจนแน่ใจ ท่านจึงนำไปตะไบให้เป็นผงเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาเป็นผงชนวนในการหล่อหลอมอีกทีหนึ่ง

จากนั้นชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้ช่วยกันทำแม่พิมพ์พระ และเมื่อได้โลหะในการที่จะสร้างพระพอแล้ว ท่านจึงได้ให้หล่อหลอมสร้างเป็นองค์พระขึ้น จากนั้นจะนำไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้ง ท่านจะปลุกเสกพระเป็นเวลานาน จนพอใจแล้วจึงนำมาแจก พระที่สร้างก็หมดไปในเวลารวดเร็ว ท่านก็เริ่มสร้างใหม่ด้วยกรรมวิธีเดียวกัน และนำชนวนที่เหลือมาเป็นส่วนผสมด้วยทุกครั้ง พระที่ท่านสร้างในครั้งต่อๆ มาก็หมดทุกครั้ง เนื่องจากความเคารพศรัทธาในตัวท่านของชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่าสร้างเท่าไรก็ไม่พอ เพราะชาวใต้ทั้งจังหวัดใกล้เคียงและไกลออกไปต่างก็ทยอยกันมารับจากท่านมากมาย

เรื่องประสบการณ์นั้นมีมากมาย มีคนเคยนำพระของท่านไปลองยิงดู ปรากฏว่ากระบอกปืนร้าวยิงไม่ออกไปหลายราย จนเป็นที่ครั่นคร้ามของพวกที่ชอบทดลอง พอบอกว่าเป็นพระหลวงพ่อดิษฐ์เท่านั้น ไม่มีใครกล้าทดลอง เป็นที่รู้กันทั่วในดินแดนใต้ ปัจจุบันจะหาพระเครื่องของท่านนั้นหาแท้ๆ ยากครับ และในวันนี้ผมจึงได้นำพระปิดตา พิมพ์มือไขว้ของหลวงพ่อดิษฐ์มาให้ชมกันครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79533691331744__3594_3617_3619_3617_29_3617_3.jpg)
“พระโคนสมอ” พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระโคนสมอท่านผู้อ่านก็คงจะทราบกันดีว่า เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ในสมัยก่อนก็มีผู้นิยมนำมาห้อยคอเช่นกัน แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้นำมาห้อยคอนัก เนื่องจากขนาดขององค์พระค่อนข้างใหญ่

จึงนำมาทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ และพระโคนสมอส่วนมากก็ทำเป็นพระปางประจำวันเกิด จึงนิยมไว้บูชาที่บ้าน ในปัจจุบันก็มีของปลอมเลียนแบบ เพราะพระแท้ๆ ก็เริ่มหายากขึ้น สนนราคาก็เริ่มมีราคา แต่ก็ยังไม่แพงมากนักครับ

พระโคนสมอที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ก็เนื่องจากมีการค้นพบพระเครื่องชนิดนี้ที่บริเวณวังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครปัจจุบัน เมื่อคราวบูรณะในสมัยก่อน พบพระเครื่องชนิดนี้มากมาย เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ได้หาที่เก็บรักษาจึงได้นำ พระเครื่องดังกล่าวมากองรวมไว้ที่ใต้ต้นสมอพิเภกที่อยู่ด้านหน้าใกล้ๆ ประตู ใครๆ ผ่านไป ผ่านมาเห็นพระเครื่องก็เก็บไปบ้าง

ต่อมาทางพิพิธภัณฑ์จึงมาเก็บเข้าไปไว้ และได้เปิดให้ประชาชนเช่าบูชาและนำเงินรายได้ไปบูรณะวังหน้า คนที่ได้พระไปก็เลยตั้งชื่อตามที่เห็นพระกองอยู่ที่ใต้ต้นสมอว่า “พระโคนสมอ” เสียเลย และก็เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัยนั้น

พระโคนสมอ เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยายุคปลาย ช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระโคนสมอพบได้ทั่วไปหลายวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่พบพระโคนสมอที่ในกรุงเทพฯ นั้นสันนิษฐานว่าคงจะนำพระเครื่องเหล่านี้มาบรรจุไว้ที่วังหน้าครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระโคนสมอส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผามีการลงรักปิดทองมาแต่เดิม พิมพ์ต่างๆ ก็จะเป็นพระพิมพ์ประจำวันเกิดเป็นส่วนมาก และยังพบพระพิมพ์ขนาดใหญ่อีกบางส่วนที่นักนิยมสะสมพระเครื่องจะเรียกว่า “ท้าวชมพู”
 
พระพุทธรูปปางประทับยืนปางห้ามญาติทรงเครื่องใหญ่ศิลปะอยุธยายุคปลายเช่นเดียวกัน สวยงามมาก แต่มีขนาดใหญ่มาก เหมาะที่จะนำมาทำฐานไว้บูชาประจำบ้าน ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบพระโคนสมอที่เป็นเนื้อชินเงินด้วย แต่พบน้อยมาก

ส่วนใหญ่จะผุพังเสียมาก พระที่พบมีอยู่ไม่กี่พิมพ์นัก แต่ที่นิยมกันมากก็จะเป็นพระพิมพ์ห้อยพระบาท ซึ่งก็เป็นพระประจำวันเกิดของวันพุธกลางคืน หรือปางปาลิไลยก์ พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินจะมีขนาดเล็กลงมาจากพระเนื้อดินเผามาก พอที่จะนำมาห้อยคอได้ จึงได้รับความนิยมมากกว่าพระเนื้อดินเผา แต่ก็หาพระแท้ๆ ยาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยและผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่

พระโคนสมอพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน มหาอุด ซึ่งพระโคนสมอเนื้อชิน ปางห้อยพระบาท มีประสบการณ์มากเป็นที่เล่าขานกันต่อกันมา สนนราคาจึงค่อนข้างสูงหน่อย และหาพระแท้ๆ ค่อนข้างยาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว พระโคนสมอเนื้อชิน

ด้านหลังมักเป็นแอ่งเว้าลึกลงไป และผิวพระจะมีรอยสนิมขุมเกาะกิน ระเบิดเป็นย่อมๆ ผิวพระส่วนมากจะเป็นสีดำๆ แบบสนิมตีนกา พระที่หลงเหลือผิวปรอทนั้นน้อยมาก พระโคนสมอปางห้อยพระบาทเนื้อชินเมื่อราว 40-60 ปีก่อนนั้นเป็นที่นิยมมาก

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักจะลืมเลือนพระโคนสมอเนื้อชินกันไปบ้าง ผมก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังกันลืมครับ และวันนี้ก็ได้นำรูปพระโคนสมอ พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน องค์สวยมาให้ชมครับ 

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70902360230684__3594_3617_3619_3617_22_3585_3.jpg)
พระหลวงพ่อไล้ วัดเขายี่สาร  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องพระเครื่องที่เราหาที่มาที่ไปของพระเครื่องบางองค์ไม่ได้ เมื่อนำพระไปปรึกษาเซียนพระหรือท่านผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนนำไปให้ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยช่วยตรวจสอบแล้วก็ยังไม่ทราบที่ และได้รับคำตอบว่าเป็นพระแท้แต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดมีหรือไม่ คำตอบก็คือมีแน่นอนครับ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น

พระเครื่องที่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไร ของวัดใดสร้างนั้นมีอยู่มากมายครับ เนื่องจากพระเครื่องนั้นมีการสร้างกันมานานแล้วถึงหลายร้อยปี และก็มีการสร้างกันแทบทุกวัดในประเทศไทย แต่ละวัดก็อาจจะมีหลายรุ่นอีกด้วย อีกทั้งพระกรุบางกรุบางพิมพ์ก็อาจจะไม่มีคนทราบว่าเป็นพระอะไรอีกด้วย ถ้าสมมติว่าพระเครื่องที่มีทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวน 100%

พระเครื่องที่มีคนนิยมแพร่หลาย จะมีจำนวนประมาณ 20% ของพระเครื่องทั้งหมดที่มีเท่านั้น ในจำนวน 20% นั้นก็ต้องนำความรู้ของคนที่เรียกว่าเซียนพระที่มีทั้งหมดมารวมกัน เนื่องจากพระเครื่องที่นิยมและรู้จักกันแพร่หลายนั้นก็มีมากมายมหาศาล ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดจะสามารถรู้จักทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงมีผู้ที่ชำนาญการเฉพาะทางเฉพาะประเภท เมื่อนำผู้ชำนาญเฉพาะประเภทมารวมกันก็ยังไม่สามารถรู้ทั้งหมดได้ เท่าที่รู้เมื่อนำมารวมกันก็ได้ประมาณ 20% ของพระเครื่องที่มีทั้งหมดในประเทศไทยเท่านั้น

ประโยคที่เราๆ ท่านๆ อาจจะเคยได้ยินว่า “แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด” ก็เป็นเรื่องจริงครับ พระเครื่องบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เหมือนหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นพระเครื่องของวัดโน้นวัดนี้ และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง พระเครื่องเหล่านี้ก็เป็นพระแท้ที่วัดหนึ่งวัดใดสร้างขึ้น แต่อาจจะยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก หรือรู้จักกันในท้องถิ่นแคบเท่านั้น พระประเภทนี้จึงยังไม่เป็นที่นิยมหรือมีมูลค่ารองรับ ก็เลยยังไม่มีใครรู้จักและไม่นิยมกันในส่วนกลาง พระประเภทนี้แหละครับที่เป็นพระแท้ แต่ก็หาคนที่รู้จักยากครับ ประโยคที่ว่า แท้ไม่รู้ที่จึงเกิดขึ้น เพราะจะไปว่าพระเขาไม่แท้ก็ไม่ได้ เพียงแต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใครสร้างเท่านั้น
 
พระเครื่องนั้นมีสร้างกันทั่วไปทั่วทุกหัวระแหง รู้จักกันแพร่หลายบ้างไม่รู้จักบ้าง แม้แต่พระบางอย่างที่สร้างจากวัดในหมู่บ้านนั้น ตำบลนั้น แต่ไม่มีคนนิยมพอนานเข้าหลายสิบปี บางทีไปถามคนในท้องที่เองก็ยังไม่ทราบก็มีครับ พระบางอย่างทางวัดเองก็ไปซื้อมาจากโรงงานแล้วนำมาแจกในงานกฐินงานผ้าป่า พระแบบนี้นานๆ เข้าคนก็ลืม ในสมัยหนึ่งที่จตุคามรามเทพกำลังเป็นที่นิยมทั่วประเทศ ก็มีการสร้างกันแทบทุกหมู่บ้านในประเทศไทย ไปทางไหนก็เห็นป้ายงานพิธีปลุกเสก แต่จตุคามฯ ที่นิยมกันนั้นก็มีเพียงบางวัดบางรุ่นและบางปีเท่านั้น พระที่นิยมก็จะรู้จักกันดี แต่พระทั่วไปนอกนั้นก็ไม่มีใครรู้จัก นอกจากคนที่ได้รับมากับมือเองของวัดนั้นๆ พอนานเข้าหรือผู้ที่ได้รับมาเสียชีวิตไปแล้ว พระนั้นๆ ก็ยังไม่เป็นที่นิยม ก็เลยไม่มีใครรู้จักหรือยืนยันได้ว่าเป็นของวัดใดครับ จึงเป็นที่มาของคำว่า “แท้ ไม่รู้ที่” ครับ

ที่ผมนำเรื่องนี้มาพูดคุยก็เนื่องจากมี พระเครื่องที่ผู้นำมาให้ทางสมาคมตรวจสอบและหาที่มาของพระนั้นๆ บางองค์ก็ได้คำตอบว่า “เป็นพระแท้ แต่ไม่ทราบที่” เจ้าของพระบางท่านก็ไม่เข้าใจ และบอกว่า “ที่นำมาให้ทางสมาคมช่วยก็เพื่อหาที่มาที่ไปให้” ก็เลยต้องอธิบายให้ฟังว่าพระประเภทนี้มีจริงๆ แม้ว่าสมาคมจะรวบรวมท่านผู้รู้จากหลายๆ ที่มาช่วยพิจารณาให้ และยังนำพระไปสอบถามในแหล่งอื่นๆ ที่เราคาดว่าเขาจะรู้แต่ก็ยังหา คำตอบที่มาที่ไปไม่ได้ก็ต้องยอมจำนน และคือคำตอบที่ว่า “แท้ไม่รู้ที่” ครับ

จากประสบการณ์ของผมเอง เมื่อมีคนถามแล้วเราไม่รู้ก็ต้องตอบแบบนี้เช่นกัน จะมั่วตอบๆ ก็ไม่ได้ พระประเภทนี้ของผมเองก็มี ดูแล้วเก่า มีเอกลักษณ์ของตนเอง เมื่อนำไปให้ท่านผู้รู้หลายๆ ท่านช่วยดูให้ก็ได้รับคำตอบว่า แท้เก่านะ แต่ไม่รู้ที่มาที่ไป ครับความจริงก็เป็นเช่นนี้ ในส่วนพระของผมเองที่เข้าข่ายนี้ก็ต้องค่อยๆ สืบค้นกันไป พระบางองค์ของผมสืบค้นมา 20-30 ปีแล้วก็ยังไม่มีคำตอบเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระที่แท้รู้ที่คือ พระของหลวงพ่อไล้ วัดเขายี่สาร ซึ่งอาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24376226340730__3594_3617_3619_3617_27_3585_3.jpg)
พระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าของทางภาคใต้ที่พบนั้นเป็นพระเก่าถึงสมัยทวารวดีและศรีวิชัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพิมพ์ที่เก่าแก่มากที่สุดแบบหนึ่ง หรือที่บางท่านเรียกว่าพระเนื้อดินดิบ พระพิมพ์ที่พบส่วนมากมักจะมีขนาดสัณฐานค่อนข้างเขื่องหรือไม่ก็ค่อนข้างหนาเป็นส่วนมาก จึงจะไม่ค่อยเห็นมีผู้นำมาห้อยบูชากันนัก แต่มีอยู่กรุหนึ่งที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีขนาดย่อมเหมาะแก่การนำมาเลี่ยมห้อยบูชามาก คือพระเม็ดกระดุมศรีวิชัย

พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนั้น ถูกพบโดยบังเอิญในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2523-2525 ขณะสร้างถนนบริเวณเขาศรีวิชัย โดยพบพระเนื้อดินเผาสัณฐานกลมๆ ขนาดย่อม 2 แบบ คือแบบต้อและแบบชะลูด ทั้งสองพิมพ์เป็นรูปองค์พระประทับนั่งปางสมาธิ มีขอบพิมพ์ยื่นออกมาทั้งสองพิมพ์ ด้านหลังมนโค้ง องค์พระประทับนั่งบนฐานบัว 2 ชั้น บัวชั้นบนเป็นบัวหงาย 7 กลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 3 กลีบ

พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเกศสั้นลักษณะเป็นมุ่นมวยผมแบบศิลปะทวารวดี ที่พื้นผนังรอบองค์พระปรากฏอักษรโบราณแบบปัลลวะ สัณฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ในส่วนของพระพิมพ์ชะลูดนั้น องค์พระจะดูสูงชะลูดกว่าพระพิมพ์ต้อ ซึ่งพระพิมพ์ต้อจะดูเตี้ยล่ำสันกว่าพิมพ์ชะลูด นอกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก

ต่อมามีการพบพระแบบเดียวกันในบริเวณใกล้เคียงกันอีกในปี พ.ศ.2533 มีชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่บริเวณด้านตรงข้ามวัดเขาศรีวิชัย อันเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีวัตถุโบราณมากมาย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ในท้องที่ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ก่อนที่ชาวบ้านดังกล่าวจะขุดนั้นได้ฝันเห็นผู้หญิงคนหนึ่งมาบอกว่า “เฝ้าอยู่นานแล้ว เอาไปเสียที” แล้วก็ชี้ทิศทางให้ ในวันรุ่งขึ้นจึงได้ขุดดินบริเวณรั้วบ้านของตน ซึ่งความตั้งใจเดิมนั้นคิดว่าจะได้ลูกปัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ขุดได้กันเสมอ

และการขุดในครั้งนั้นก็ได้ลูกปัดและพบพระเครื่องด้วย ในวันแรกพบพระไม่มากเท่าไรนัก พอรุ่งขึ้นจึงได้ขุดต่อและได้พระมาเป็นจำนวนมาก พระที่พบก็เหมือนกับที่พบในครั้งทำถนนในปี พ.ศ.2523 ทุกประการ
 
พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ ท่านอาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้ชำนาญภาษาโบราณประจำหอสมุดแห่งชาติกรุณาสละเวลาอ่านอักษรโบราณที่ผนังขององค์ และท่านได้บอกว่าอักษรที่ปรากฏเป็นอักษรปัลลวะ อันเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-12 ในสมัยทวารวดี

อักษรที่ปรากฏนั้น มีใจความว่า “เย ธัมมา เหตุปปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต ชาติเต สัญจโย นิโรโธจะ เอวัง วาที มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิดพระตถาคต ตรัสเหตุและความดับของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้”

โบราณวัตถุที่พบบริเวณเขาศรีวิชัยนั้น มักจะเป็นศิลปะยุคสมัยศรีวิชัยเป็นส่วนมาก จากการพิจารณาพระเม็ดกระดุมศรีวิชัยโดยรวมแล้ว สันนิษฐานว่า น่าเป็นพระที่สร้างอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งน่าจะอยู่ในปลายๆ ของสมัยทวารวดี-ต้นสมัยศรีวิชัยครับ

นับว่าพระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ เป็นพระที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะยุคสมัย พร้อมทั้งมีอักษรปัลลวะจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่องค์พระด้วย ยิ่งนับว่าทรงคุณค่ามากทีเดียวครับ พุทธคุณเท่าที่ปรากฏนั้นปกป้องคุ้มครองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูป พระเม็ดกระดุมศรีวิชัย มาให้ชมกันทั้งพิมพ์ชะลูดและพิมพ์ต้อครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57593011690510__3614_3619_3632_3619_3656_3623.jpg)
พระร่วงกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก ลพบุรี  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนที่พบในจังหวัดลพบุรี เราจะรู้จักพระร่วงหลังลายผ้ากรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุมากที่สุด เนื่องจากเป็นพระที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ในอดีต และเป็นพระเครื่องที่แตกออกมาจากกรุที่ใหญ่ที่สุดของลพบุรี ปัจจุบันหายากมากครับ

พระร่วงยืนที่พบอีกกรุหนึ่งในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี คือกรุวิหารกรอ ซึ่งเป็นวิหารหนึ่งที่ได้รับการบูรณะขึ้น ในสมัยกรุงศรี อยุธยา แต่เดิม นั้นเป็นสถานที่ประกอบพิธีทาง ศาสนาของขอมมาก่อน แต่มีการสร้างวิหารคร่อมฐานโบราณสถานเก่าของขอม ปัจจุบันจึงเห็นเป็นวิหารสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2430-2440 ได้มีการค้นพบพระเครื่องศิลปะลพบุรีที่เป็นพระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง จำนวนพระที่พบมีไม่มากนักประมาณ 100 องค์เท่านั้น จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักในสมัยก่อน ใครได้มาก็เก็บเงียบ

พระร่วงยืนกรุวิหารกรอเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงล้วนๆ ทั้ง 2 พิมพ์ ผิวปรากฏคราบขาวปกคลุมบางๆ ด้านในจะเป็นสนิมแดงจับสวยงาม ด้านหลังจะเป็นแบบเรียบ ขนาดขององค์พระจะย่อม กว่าพระร่วงหลังลายผ้ามากพอสมควร

ในสมัยก่อนคนที่ได้พระร่วงกรุวิหารกรอก็จะหวงแหนมาก ไม่ค่อยให้ใครดูง่ายๆ กลัวจะโดนหักคอขอพระไป เนื่องจากพระมีจำนวนน้อย จึงทำให้พระร่วงกรุวิหารกรอมีคนรู้จักน้อย
 
พระร่วงกรุวิหารกรอ ศิลปะเป็นแบบขอมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพิมพ์ใหญ่จะมีรายละเอียดคมชัดบ่งบอกถึงศิลปะขอมที่เคร่งขรึม เฉพาะองค์พระมีศิลปะคล้ายกับพระร่วงหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในส่วนของพระพิมพ์เล็กรายละเอียดจะไม่คมชัดนัก พระร่วงกรุวิหารกรอจะไม่มีซุ้ม เป็นพระแบบตัดชิดติดองค์พระทั้ง 2 พิมพ์

ปัจจุบันก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมรองลงมาจากพระร่วงหลังลายผ้า แต่พระร่วงกรุวิหารกรอก็หาแท้ๆ ยากมากครับ ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งก็หายากมาตั้งแต่อดีตแล้ว พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า ที่มีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง แคล้วคลาด อำนาจบารมี และเจริญก้าว หน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สนนราคา ในปัจจุบันค่อนข้างสูง ส่วนของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้วเช่นกัน แต่ของปลอมก็ไม่ค่อยเหมือนนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุวิหารกรอ ลพบุรี ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26314490909377__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)
พระท่ากระดาน กรุต้นตาล จ.สระบุรี  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีมีพระกรุพระเก่าทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยแพร่หลายนัก จึงทำให้มีคนรู้จักน้อย พระกรุส่วนใหญ่ จะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เช่น กรุวัดดาวเสด็จ กรุวัดชุ้ง กรุต้นตาล กรุวัดเพชร เป็นต้น

พระนางพญากรุวัดดาวเสด็จ มีคนรู้จักมากหน่อยและเป็นที่นิยม ส่วนพระที่น่าสนใจแต่จำนวนน้อยก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดชุ้ง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา

พระกรุวัดเพชรก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์พระอู่ทอง เป็นต้น ส่วนพระที่คนเก่าคนแก่ของสระบุรีหวงกันนักก็คือ พระท่ากระดาน กรุต้นตาล บางท่าน อาจจะสงสัยว่ามีด้วยหรือพระท่ากระดานของจังหวัดสระบุรี

ครับมีจริงๆ และเรียกชื่อกันมาอย่างนี้จริงๆ พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนั้น มีการขุดพบที่บริเวณโคกดิน ไม่ไกลจากตัวจังหวัดนัก บริเวณนี้มีต้นตาลขึ้นอยู่มาก พระที่พบขุดได้ใต้ต้นตาล จึงเป็นที่มาของชื่อกรุ

ส่วนชื่อพระนั้น พระที่ขุดพบเป็นพระเนื้อชินเงินและชินตะกั่ว มีไขขาวแซม แต่ไม่มีสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานของเมืองกาญจนบุรี คนในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อว่า พระท่ากระดาน แล้วตามด้วยชื่อของกรุที่ขุดพบ จึงเรียกกันว่า “พระท่ากระดาน กรุต้นตาล” ก็จะรู้ว่า เป็นพระกรุที่พบในจังหวัดสระบุรี
 
พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเขียง พิมพ์ของพระไม่คมชัดนัก ด้านหลังมักเป็นแบบหลังตัน ศิลปะเท่าที่ดูสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และสร้างหลังพระท่ากระดาน กาญจนบุรี

พระกรุนี้แตกกรุ ออกมาในปี พ.ศ.2504 และมีจำนวนไม่มากนัก ในระยะแรกๆ ก็รู้กันเพียงไม่กี่คน ต่อมาได้มีผู้ใช้แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง เช่นเดียวกับพระท่ากระดานของกาญจนบุรี จึงเริ่มเสาะหากันในจังหวัดสระบุรี แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อย และจะหวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีใครพบเห็นกัน และก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต่อมาจึงไม่ค่อย มีใครรู้จักกันนักครับ

ในสนามพระก็แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของคนสระบุรี ที่ได้รับตกทอดมาเท่านั้น หรือบางทีเปลี่ยนมือกันมาแต่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จัก พระกรุที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมของสระบุรีก็ต้องยกให้พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนี่แหละครับ แต่ก็หายากจริงๆ นานๆ จะพบเห็นสักที

สนนราคาอาจจะยังไม่แพงนัก แต่คนรุ่นเก่าของสระบุรีจะหวงแหนกันมาก ขออะไรขอได้แต่ขอพระท่ากระดานกรุต้นตาลจะไม่ให้ เด็ดขาด ไม่ชอบกันจริงๆ ก็จะไม่ให้ดู สงสัยจะกลัวถูกขอเช่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดาน กรุต้นตาล ของสระบุรีจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมกันครับ 

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26339868497517_1_284_696x378_1_.jpg)
พระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด) วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี นักนิยมสะสม พระเครื่องต่างก็รู้จักกันดีว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลัง และมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยสงครามอินโดจีน พระเครื่องของท่านล้วนแต่ได้รับความนิยมและเสาะหากันมาก เนื่องจากประสบการณ์ต่างๆ ที่เล่าขานกันสืบต่อมา

หลวงพ่อจาด เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2415 มรณะเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 64 ในครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกรูปหลวงพ่อนั้นได้รับความนิยมสูง สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน

สำหรับเหรียญนั้นก็มีอยู่หลายรุ่น สนนราคาก็ลดหย่อนกันลงมา ในสมัยสงครามโลกวัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดมีประสบการณ์สูง ทหารที่ออกไป สู้รบปรากฏว่าอยู่ยงคงกระพัน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก จนเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก นอกจากนั้นผู้ที่มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อแล้วทำมาค้าขายก็ทำมาค้าขึ้นร่ำรวยกันไป

หลวงพ่อจาดเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนโดยทั่วไป และก็เสาะหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดกันมาก แต่ในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากหน่อยครับ หลวงพ่อจาดได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่นเหรียญรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ เหรียญรุ่น จ.เจริญลาภ

เหรียญรูปเหมือนพิมพ์หน้าจั่ว เหรียญรูปเหมือนพิมพ์สี่เหลี่ยม พระรูปเหมือนลอยองค์ ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ พระกริ่ง วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดได้รับความนิยมทุกอย่าง และพวกทำปลอมก็ตามเคยทำปลอมกันมานานแล้วครับ
 
วันนี้ผมขอแนะนำพระกริ่งของหลวงพ่อจาด ที่ท่านได้รับอาราธนาเป็นประธานพิธีเททองสร้างพระกริ่ง และร่วมปลุกเสกที่วัดบางหอย อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อนำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางหอย มีพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับอาราธนาร่วมปลุกเสกดังนี้

หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง

ครับ ดูรายชื่อของพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกก็สุดยอดในสมัยนั้นทั้งสิ้น พระกริ่งรุ่นนี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็หายากหน่อย เนื่องจากจำนวนการสร้างไม่มาก น่าจะไม่เกิน 3,000 องค์ มีอยู่ 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก สำหรับพระพิมพ์กลาง มีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์บัว 9 กลีบ และบัว 8 กลีบ

เนื้อโลหะผสมออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย เนื้อโลหะมีทั้งตะกรุด และแผ่นจารของพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกมอบให้มาเป็นชนวนในการหลอมโลหะด้วย พระกริ่งรุ่นนี้ทำแบบกริ่งในตัวอุดกริ่งที่ด้านหลัง พระกริ่งรุ่นนี้มักเรียกกันว่า “พระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย”เนื่องจากหลวงพ่อจาดเป็นประธานในพิธีและออกที่วัดบางหอยครับ

พุทธคุณยอดเยี่ยมครบทุกด้าน ทั้งอยู่คง แคล้วคลาด และโภคทรัพย์ เรียกว่าดี ครบเครื่อง ครับในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมทั้ง 3 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 มีนาคม 2561 15:14:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81939195551806_1.jpg)
เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ

อีกหนึ่งเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 5 ที่ต้องกล่าวถึง คือ “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” ด้วยเป็นเหรียญที่รำลึกถึงประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนานกับชนเผ่า “ฮ่อ” ผู้ได้รับพระราชทานถือเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่วงศ์ตระกูล ต่างหวงแหนและรักษาไว้เป็นมรดกแห่งความภูมิใจสืบต่อลูกหลาน ปัจจุบันนับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และหาดูหาเช่ายากยิ่ง อีกทั้งยังมีการปลอมแปลงสูงที่สุดในบรรดาเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

ย้อนไปในปี พ.ศ.2408 ได้เกิดสงครามพวกจีนฮ่อขึ้นทางตอนเหนือของสยามประเทศ พวกจีนฮ่อตั้งตนเป็นกบฏต่อรัฐบาลแมนจู (ราชวงศ์เช็ง) เรียกกันว่า “กบฏไต้เผง” แต่ก็พ่ายแพ้หนีลงมาทางใต้ หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาแถบมณฑลฮกเกี๋ยน กวางโส และเสฉวน ต่อมากบฏฮ่อกลุ่มหนึ่งรวบรวมพลเข้ามารุกรานทางอ่าวตังเกี๋ยซึ่งเป็นเขตดินแดนของญวน ต้องขอความช่วยเหลือจากทหารจีนมาปราบจนแตกกระเจิงหนีลงมาเรื่อยๆ และสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว กบฏฮ่อพวกหนึ่งนำโดย ปวงนันชี หลบมาตั้งมั่นที่เมืองฮานยางในสิบสองจุไทย และนี่คือที่มาของกองโจรชื่อ “ธงเหลือง”

ในปี พ.ศ.2417-2418 ฮ่อธงเหลืองเริ่มเข้าตีเขตการปกครองของไทย คือ เมืองเชียงขวาง พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เกณฑ์ชาวบ้านเข้าป้องกันพร้อมทั้งแจ้งข่าวไปยังพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภูธราภัย และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ ยกทัพหลวงเข้าทางเมืองหลวงพระบางและเมืองหนองคาย

เพื่อช่วยทัพพระยามหาอำมาตย์สามารถรบชนะกบฏฮ่อได้ ส่วนทางพิษณุโลกมีพระยาพิไชย (ดิส) และ พระยาสุริยภักดี (เอก บุณยรัตพันธุ์) ก็ได้รับชัยชนะเช่นกัน แต่พวกกบฏฮ่อสงบได้เพียง 9 ปี พอถึงปี พ.ศ.2426 ก็ฮึกเหิมขึ้นอีก ล้นเกล้า ร.5 ทรงให้พระยาพิชัย (มิ่ง) และ พระยาสุโขทัย (ครุฑ) ยกทัพไปสกัด และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบฮ่อถึงเมืองหลวงพระบาง การศึกครั้งนี้สู้รบกันหลายครั้งหลายคราจึงสงบลงได้

ในการครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อพระราชทานแก่ผู้ไปร่วมราชการปราบฮ่อ ให้ชื่อว่า “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ และให้รัฐบาลว่าจ้างบริษัท บีกริม แอนด์ โก ผลิตที่ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ.2436 จัดส่งมายังประเทศสยามในปีถัดมา พระราชทานแจกเป็นระยะๆ โดยครั้งแรกพระราชทานเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2441 จำนวน 49 คน

การพระราชทาน “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” จะมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาและเหรียญที่มีการพระราช ทานให้จะมีตัวเลขกำกับไว้ที่เหรียญด้านหน้า ผู้ใดได้ไปร่วมราชการปราบฮ่อในปีใดก็จะได้รับพระราชทานเข็มสำหรับปีนั้น โดยเข็มจะประดับลงบนแพรแถบ แต่จะหาผู้ใดได้ไปร่วมราชการปราบฮ่อครบ 3 ครั้งนั้นยากเอามากๆ

เราจึงมักพบ “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” ที่มีเข็มประดับแพรแถบเพียงหนึ่งหรือสองเข็มเท่านั้น เท่าที่ค้นคว้าข้อมูลและตำรับตำราบางเล่ม มีผู้ที่ร่วมไปราชการปราบฮ่อครบ 3 ครั้งอยู่เพียง 4 ท่าน คือ 1) พระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาที) 2) หลวงคำนวนคัดณานต์ (ตรี) 3) ขุนประมาณสถลมารค (ใจ) และ 4) นายสว่าง ซึ่งเป็นนายเวรกรมแผนที่

เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดใหญ่ หูเชื่อม ติดแพรแถบ ด้านหน้ามีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ด้านขวา ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช” ด้านล่างใต้พระบรมรูปเป็นลายช่อชัยพฤกษ์ ตรงกลางผูกโบ ลายเส้นคมชัดมาก ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระแสงของ้าว ทรงคชาธาร ยืนอยู่บนศาสตราวุธ อันเป็นสัญลักษณ์ของพวกฮ่อ

โดยรอบเหรียญมีอักษรไทยกำกับว่า “ปราบฮ่อ ๑๒๓๙ ๑๒๔๗ ๑๒๔๙” ซึ่งเป็นปีจุลศักราชที่ปราบฮ่อทั้ง 3 ครั้ง (ตรงกับ พ.ศ.2420, 2428 และ 2430) แพรแถบ ตรงกลางสีดำ รอบขอบสีเหลือง มีความกว้าง 2.5 เซนติเมตร ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79688323496116_1_320_696x378_1_.jpg)
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท “เจ้าสำนักทางพุทธาคมอันยิ่งใหญ่แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา” พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้าเป็นที่เคารพศรัทธาและรำลึกถึงจวบจนปัจจุบัน

พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เป็นชาวจังหวัดชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 แถบวัดปากคลองมะขามเฒ่า

พออายุครบ 22 ปี จึงได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบันคือ วัดโพธิ์ทองล่าง) ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง โดยมีหลวงพ่อเชย จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จาก หลวงพ่อเชย ผู้ทรงคุณทั้งด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมเข้มขลังนัก พร้อมกับพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง เช่นกัน

จากนั้นเริ่มออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาที่สงบฝึกฝนวิทยาการต่างๆ ที่ได้เรียนมา พร้อมศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูป ท่านได้เรียนกรรมฐานที่สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) กับพระสังวราเมฆ พระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพระกรรมฐานลำดับมัชฌิมาปฏิปทาในสมัยนั้น, เรียนด้าน รสายนเวท อันได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุและโลหะเมฆสิทธิ์ กับหลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกัน หลวงปู่ศุขมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2467 ด้วยโรคชรา

หลวงปู่ศุข เริ่มสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจของมารดา เป็น “พระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมี” ผู้ที่ได้รับเหรียญไปบูชาต่างเกิดปาฏิหาริย์ปรากฏด้านอยู่ยงคงกระพันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับเขี้ยวงา

วัตถุมงคลของท่านส่วนใหญ่จะเป็นพระสี่เหลี่ยมรัศมีหรือข้างอุ โดยใช้เนื้อตะกั่วเป็นพื้น เพราะการหล่อหลอมตลอดจนวัสดุที่นำมาสร้างหาได้ง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น โดยมีมากมายหลายประเภท ทั้งพระปิดตา พระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง อย่างตะกรุด ประคำ ฯลฯ ซึ่งล้วนได้รับความนิยมและแสวงหาสืบมาถึงปัจจุบัน ยิ่งถ้าเป็นองค์สมบูรณ์แบบสนนราคาจะค่อนข้างสูงเอาการเลยทีเดียว

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข รุ่นแรก ปี 2466 นับเป็นเหรียญที่มีค่านิยมสูงสุด ด้วยพุทธลักษณะอันงดงาม และยังเป็นเหรียญเพียงรุ่นเดียวที่มีรูปเหมือนของหลวงปู่ศุข ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้า “เหรียญยอดนิยม”ที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่กลม ห่วงเชื่อม พิมพ์ด้านหน้ามีเพียงพิมพ์เดียว ขอบเหรียญโดยรอบยกเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงปู่ศุขนั่งเต็มองค์ แบบสะดุ้งกลับ ครองผ้ารัดประคดอยู่เหนืออาสนะลายผ้า รองรับด้วยรูปโบหางแซงแซว ระบุปีที่สร้าง คือ “๒๔๖๖”

ด้านบนโดยรอบมีอักษรภาษาไทยว่า “พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า”

ด้านข้างของรูปเหมือนทั้งสองข้างมีอักขระขอมตัว “อุขึ้น อุลง” พิมพ์ด้านหลัง

โดยรอบยกเป็นเส้นลวดนูน 3 เส้น ระหว่างช่องว่างประดับด้วยเม็ดไข่ปลาลักษณะเป็นตุ่มนูน ตรงกลางทำเป็น “ยันต์ 3” หมายถึงพระไตรสรณคมณ์ ล้อมยันต์ด้วยหัวใจธาตุ คือ “นะ มะ อะ อุ” ด้านบนเป็นคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ คือ “นะ โม พุท ธา ยะ”

ส่วนอักขระด้านล่างยันต์ คือ “อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ” โดยแบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ ซึ่งอาจเป็นเพราะสมัยก่อนการชุบแม่พิมพ์ยังไม่แข็งแรงและเหนียวพอ ยิ่งแม่พิมพ์ด้านหลังที่ต้องเป็นตัวตอกย้ำ จึงรับน้ำหนักมากกว่าด้านหน้า ทำให้เกิดการชำรุดและเสียหายก่อน จนต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังกันขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วย พิมพ์หลังไม่มี “อุ”(พิมพ์นิยม) หนึ่งในเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์, พิมพ์หลังมี “อุ (เล็ก)", พิมพ์หลังมี “อุ (ใหญ่)”และ พิมพ์หลัง “อุ และมีดาว”ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74578811311059_gffgg_696x351_1_.jpg)
เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร ปี พ.ศ.2530

ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 นับเป็นเหรียญมหามงคลอันทรงคุณค่า ที่งดงามทั้งพุทธศิลป์และล้ำเลิศในพุทธคุณยิ่ง

ในปี พ.ศ.2530 ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปวงชนชาวไทยทั่วประเทศต่างพร้อมใจกันร่วมถวายความจงรักภักดี โดยประกอบกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ไม่เว้นแม้ทางคณะสงฆ์ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา เป็นประธานในนามคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกาย ร่วมกันจัดสร้าง “เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ปวงชนชาวไทยได้ร่วมบุญเช่าบูชา รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล

เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร ปี พ.ศ.2530 จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินและเนื้อกะไหล่ทอง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงกลม รูปไข่ หูห่วง ด้านหน้า ประดิษฐานรูปพระชัยวัฒน์ ที่เรียกกันว่า “พระชัยหลังช้าง” ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธย “ภปร” มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า “๕ ธันวาคม ๒๕๓๐” และ “คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ”

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งนับเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่และเข้มขลังสุดๆ ในยุคนั้นทีเดียว โดยมีพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษเกือบ 80 รูป เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐาน

ประการสำคัญคือ มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ อันได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 ในปีพ.ศ.2532

มีสมเด็จพระราชาคณะ ประกอบด้วยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา, สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งเป็นที่ “พระพรหมคุณาภรณ์”

นอกจากนี้ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคจากทั่วประเทศได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี, หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จ.พระนครศรีอยุธยา, พระครูสันติ วรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม, หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จ.ชลบุรี, พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ฯลฯ

ด้วยเจตนาการจัดสร้าง พุทธศิลป์อันงดงาม และพิธีกรรมที่เข้มขลังสมพระบารมี ส่งให้ได้รับการจองและเช่าบูชาจนหมดในเวลารวดเร็ว

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ยังได้ลิขิตไว้ว่า “เหรียญพระชัยหลังช้าง หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว” และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)” โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

นอกจากนี้ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านยังเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า “…เหรียญพระชัยหลังช้างนี้ เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง”

ปัจจุบันยิ่งได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ก็คงหาดูหาเช่าได้ยากยิ่งแล้วครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64212492812010_1_276_696x384_1_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60497777453727_3.1_3614_3636_3617_3614_3660_3.jpg)(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17467002405060_3.2_3614_3636_3617_3614_3660_3.jpg)
วัตถุมงคลหลวงพ่อเนียม วัดน้อย

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระเกจิชื่อดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี นับเป็นหนึ่งในอมตเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า แม้ท่านจะละสังขารไปแล้วกว่า 100 ปี แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณยังคงปรากฏให้รำลึกถึงสืบมาชั่วลูกชั่วหลานจวบจนปัจจุบัน

หลวงพ่อเนียม ธัมมโชติ มีความชำนาญทางวิปัสสนาธุระ สำเร็จวาโยกสิณ มีอภิญญาสูงส่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วหล้า แม้สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และหลวงพ่อทับ วัดทอง ยอดพระเกจิชื่อดังยังให้ความเคารพนับถือ และมีพระเครื่องของท่านสะสมไว้

ยังเป็นปรมาจารย์ของพระอมตเถระหลายรูป อาทิ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นต้น เชื่อกันว่า “วิชาธรรมกาย” ของสายหลวงพ่อสด และ “วิชามโนมยิทธิ” ของสายหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ก็มีต้นกำเนิดมาจากหลวงปู่เนียม ที่รับช่วงกันมา

ท่านเป็นคนบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยกำเนิดเกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ตอนเด็กร่ำเรียนอักขรวิธีและภาษาบาลีที่วัดใกล้บ้าน เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดป่าพฤกษ์ หรือวัดตะค่า ไม่เป็นที่แน่ชัด

จากนั้นเดินทางเข้าสู่เมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยมูลกัจจายนสูตร วิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาอาคมจากสำนักต่างๆ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดเช่นกันว่าท่านพำนักอยู่ที่วัดใดและเป็นศิษย์สำนักใด บ้างก็ว่าอยู่วัดพระพิเรนทร์ บ้างก็ว่าวัดโพธิ์ วัดทองธรรมชาติ หรือวัดระฆังโฆสิตาราม

แต่ในสมัยนั้นถ้าจะกล่าวถึงพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาต้องยกให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ, หลวงปู่ช่วง วัดรังสี (ปัจจุบันรวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรฯ), หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ และหลวงปู่จันทร์ วัดพลับ

หลวงพ่อเนียม นับเป็นยอดแห่งพระนักปฏิบัติธรรม ยอดแห่งวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม จนพระเกจิอาจารย์มากมายดั้นด้นเข้าฝากตัวเป็นศิษย์ เปี่ยมด้วยเมตตาบารมี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2452 สิริอายุได้ 80 ปี 60 พรรษา ในงานประชุมเพลิง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สมัยดำรงตำแหน่งพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี และหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ยังได้มาร่วมงานด้วย

ด้าน “วัตถุมงคล” ที่หลวงพ่อเนียมสร้างขึ้น เพื่อแจกศิษยานุศิษย์และญาติโยมนั้น มีมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ โดยสร้างเป็นเนื้อชินตะกั่วผสมปรอท ซึ่งการทำให้ปรอทแข็งตัวในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่ายๆ ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคมและต้องมีส่วนผสมเฉพาะ

ที่สำคัญต้องทำในฤดูฝน เพราะใบแตงหนูจะขึ้นเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมสำคัญอย่างใบสลอดและข้าวสุก หลวงพ่อจะนำของสามอย่างมาโขลกปนกันเป็นการไล่ขี้ปรอทออกให้หมด เพื่อให้ได้ปรอทที่ขาวที่สุด ซึ่งจะต้องโขลกและกวนส่วนผสมอยู่ถึง 7 วันจึงจะเข้ากันดี

พอครบ 7 วัน ก็นำส่วนผสมไปตากแดด แล้วนำมากวนต่อจนเข้ากันดี เสร็จแล้วจึงนำมาแยกชั่งเป็นส่วนส่วนละ 1 บาท (ขนาดเหรียญบาท) จากนั้นนำไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกให้เข้ากัน ซึ่งต้องทำตอนกลางคืน ทำอยู่เช่นนั้น 3 คืน

แล้วจึงนำปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้า เกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไปสุมอยู่ อีก 7 วัน โดยจะสุมไฟเฉพาะตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะทำพิธีปลุกเสกด้วยพระคาถาอาคม พอครบ 7 ไฟ ก็เทลงแม่พิมพ์จึงได้พระตามต้องการ

วัตถุมงคลของท่านแม้รูปทรงจะดูไม่สวยงาม แต่เรื่องพุทธคุณโดดเด่นยิ่งนัก ทั้ง คล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม ที่เป็นที่นิยมมีอาทิ พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์มารวิชัยเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม โดยเฉพาะ “พระพิมพ์งบน้ำอ้อย” ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น ได้รับความนิยมสูงสุด

ปัจจุบันค่านิยมค่อนข้างสูงมาก และมีการทำเลียนแบบมากที่สุดครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57522147148847_3_37_696x380_1_.jpg)
เหรียญอายุ 111 ปี-หลวงปู่แสน

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 110 ปี จะครบ 111 ปีในวันที่ 11 ก.ย.2561 นี้ นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน ที่มีไม่กี่รูปนัก

เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450 ที่บ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์

ต่อมาบรรพชาที่วัดบ้านโพง ศึกษากับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอใต้ จนจบชั้น ป.4 และยังได้ศึกษาตำราพระเวททั้งภาษาขอมและภาษาธรรมบาลี

เมื่ออายุครบ 21 ปี อุปสมบท แต่ยังคงศึกษาวิทยาอาคมกับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยเหลือทางบ้านเมื่ออายุ 24 ปี หลังจากสึกท่านได้เป็น “หมอธรรม” ช่วยเหลือผู้คนในชุมชนจนเป็นที่เคารพนับถือ

เมื่อหมดภาระทางบ้านหลวงปู่จึงกลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ยังคงรักการธุดงค์เช่นเดิมจึงมักออกธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ จนเมื่อหลวงตาวัน พระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัดจนแล้วเสร็จ ด้วยตัวท่านรักสมถะปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย

จนเมื่อได้เห็นสภาพ “วัดบ้านหนองจิก” ที่จะกลายเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาและพัฒนาจนวัดรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จำพรรษาอยู่ได้ 4 ปีโยมญาติจากวัดบ้านโพรงก็เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยพัฒนาวัด เพราะที่วัดไม่มีพระจำพรรษาเกรงว่าต่อไปจะแปรสภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาทำนุบำรุงวัดจนเจริญขึ้น แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี โดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น

เมื่อหลวงปู่แสนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิก จนถึงทุกวันนี้ … ด้วยพระเดชพระคุณของหลวงปู่แสน “วัดใดที่จะร้าง” เมื่อหลวงปู่ไปจำพรรษาวัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยพระลูกวัดและสาธุชนผู้ศรัทธามาร่วมบุญร่วมกุศลมากมาย…

เหรียญฉลองอายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี หลวงปู่แสน จัดสร้างขึ้นในวาระที่หลวงปู่แสนมีอายุครบ 111 ปีในปี พ.ศ.2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถวัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดมาตรฐาน ความสูง 3.9 ซ.ม. และกว้าง 2.6 ซ.ม.

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสนนั่งสมาธิเต็มองค์ ซึ่งปั้นแบบโดยอาจารย์โสพิศ พุทธรักษ์ ช่างสิบหมู่กรมศิลปากร และบรรจุอักขระขอมเป็นชื่อของหลวงปู่ “หลวงปู่แสน ปสันโน”

ส่วนด้านหลังบนสุดเป็นชื่อรุ่น “ฉลองอายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี” ต่อลงมาเป็นยันต์ลายมือหลวงปู่แสน และคาถา “นะอ่อนใจรัก” นำทรัพย์สินเงินทองมาชูกู ซึ่งเป็นคาถาหลักของหลวงปู่ ล่างสุดจารึกอักษรไทย “วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พ.ศ.๒๕๖๑”

ยันต์ลายมือหลวงปู่แสน คือ ยันต์นะ ลงผงปะถะมัง พินทุกัง ชาตัง ทุติยัง ทัณฑะเมวะจะ ตะติยัง เภทะกัญเจวะ จะตุตถัง อังกุสัมภะวัง ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะนอนใจ โมรักชักมือนอน พุทสวมกอด ธายอดเสน่หา ยะเช็ดน้ำตา เอหิอิตถิยา มาจะเร อิติธายะ นะโม พุทธายะ ส่วน “นะอ่อนใจรัก นำทรัพย์สินเงินทองมาชูกู” เป็นยันต์นะเมตตา พระคาถาของหลวงปู่ที่เมตตาจารึกประทับ ลงหลังเหรียญเพื่อความเป็นสิริมงคล

บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้มีจิตศรัทธาสนใจร่วมบุญสร้างอุโบสถ และฉลองอายุวัฒนะ หลวงปู่แสน ปสนฺโน พร้อมรับ ยอดวัตถุมงคล “รุ่นอายุวัฒนมงคล” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 09-2895-9824 หรือ Id line. Nakaraj 999 ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78025269094440_sds_696x349_1_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่สงฆ์ พระเกจิชื่อดังเมืองชุมพร

หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร “เทพเจ้าของชาวชุมพรผู้มีวาจาสิทธิ์” ผู้บุกเบิกและพัฒนา “วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย” วัดเก่าแก่คู่เมืองชุมพรมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกปล่อยรกร้างมาเนิ่นนาน จนเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชุมพรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงปู่สงฆ์ เป็นชาวชุมพรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีขาล พ.ศ.2433 ที่ ต.วิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร ท่านมีความใฝ่ใจศึกษาหาความรู้ต่างๆ ตั้งแต่เยาว์วัย จนอายุ 18 ปี บวชเป็นสามเณรที่วัดสวี อายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดวิสัยเหนือ โดยมีหลวงพ่อชื่น วัดแหลมปอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “จันทสโร”

ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ทั้งศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูป อาทิ พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ พระเกจิชื่อดังยุคนั้น จากนั้นออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ

หลวงปู่สงฆ์ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ มีเมตตาบารมีธรรมสูงส่ง จนเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ยังเป็นที่ร่ำลือกันว่าหลวงปู่ท่านมีวาจาสิทธิ์ยิ่งนัก

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2526 สิริอายุ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน แต่สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์ ปัจจุบันยังคงบรรจุโลงประดิษฐานบนศาลาธรรมสังเวช เพี่อให้พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชา

วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่สงฆ์จัดสร้างนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆ ในวัด และเพื่อประโยชน์แก่พระบวรพุทธศาสนาทั้งสิ้น มีด้วยกันหลายรุ่นหลายแบบ ทั้งที่ทำเองและอนุญาตให้ลูกศิษย์จัดสร้าง ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ ผู้ได้ไปสักการบูชาต่างประสบพุทธานุภาพมากมาย ทั้งเมตตา มหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และมหาอุด แม้แต่ “น้ำปลา” ท่านก็ยังปลุกเสกเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน หรือน้ำล้างบาตรของท่าน ก็นำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้เช่นกัน

กล่าวถึง เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่สงฆ์ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกจริงๆ คือ “เหรียญที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว” ซึ่งออกที่วัดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ.2502 ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์นั่งสมาธิเต็มองค์เหนืออาสนะ มีอักษรไทยกำกับว่า “หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย จ.ชุมพร” ด้านหลังพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น “ยันต์รูปว่าว” อักขระยันต์ที่เขียนไว้ภายในคือ “นะ โม พุท ธา ยะ” อันเป็นหัวใจแม่ธาตุใหญ่ที่มีพุทธคุณดีทุกด้าน โดยรอบเหรียญเป็นอักษรไทยว่า “สร้างเปนที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว” และ “17 เมย 2502”

แต่ถ้านับเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ออก ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย แล้ว ก็จะเป็น “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์ ปี 2505” สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีผูกพัทธสีมาวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยม ที่เป็นหนึ่งในเหรียญยอดนิยมของจังหวัด ค่านิยมยังสูงกว่าเหรียญรุ่นแรกที่ออกวัดทรายแก้วอีกด้วย

ในปี 2505 นี้ ได้มีการสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์อีกหลายรุ่น เช่น ที่วัดเขากล้วย เป็นต้น อีกทั้งยังมีพิมพ์ย้อนกับรุ่นแรก วัดศาลาลอย แต่ก็จะเป็นคนละแม่พิมพ์กัน ของทำเทียมเลียนแบบก็มีมาแต่อดีต ต้องจำไว้เลยว่า … เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์ ปี 2505 วัดศาลาลอย นั้น มีบล็อกแม่พิมพ์เพียงแม่พิมพ์เดียวทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง

ดังนั้น การพิจารณาต้องถี่ถ้วน จำพิมพ์และตำหนิต่างๆ ได้แม่นยำ



พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 เมษายน 2561 12:39:48
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49074590081969_1.jpg)
พระนางกำแพงเพชร พิมพ์ลึก เนื้อดินเผา กรุวัดพิกุล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันนี้การทำพระปลอมเลียนแบบมีอย่างมากมายและพัฒนาการทำปลอมได้ดีมากๆ ทำกันทุกประเภทพระเลยทีเดียว วิทยาการในการปลอมก็พัฒนามากขึ้นจนเรียกได้ว่าเหมือนมากทีเดียวครับ ก็เป็นเรื่องที่น่าหนักใจของผู้สะสมที่ไม่ได้มีอาชีพในการค้า-ขายพระหรือที่เขาเรียกว่าเซียน

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเซียนน้อยเซียนใหญ่ต่างๆ เขาบอกว่าปัจจุบันโจทย์ยาก หมายความว่าการพิจารณาพระในปัจจุบันต้องรอบคอบ พิจารณาให้ถี่ถ้วน เนื่องจากการทำปลอมเขาทำได้ดีเหมือนมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นพระประเภทใดก็ตาม เพราะเครื่องไม้เครื่องมือในการทำปลอมนั้นดีมากๆ ครับ

แต่สำหรับท่านผู้เป็นผู้ชำนาญการหรือพวกเซียนที่เก่งจริงๆ เขาก็สามารถแยกแยะออกได้ว่าแท้หรือไม่ ในทำนองเดียวกันถ้ามือยังไม่ถึงหรือเป็นเซียนพระระดับล่างๆ ก็มีสิทธิ์พลาดได้เหมือนกันครับ ก็ประเภทเล่นตามเขาหรืออวดเก่งก็พลาดได้ทั้งนั้น นับประสาอะไรกับเราที่เล่นเพื่อศรัทธาหรือสะสม ถ้าไม่แน่จริงก็มีสิทธิ์โดนพระเก๊ได้ตลอดเวลาครับ

การที่จะหาพระเช่าสักองค์ก็ควรที่จะต้องศึกษาพระนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร ศึกษาประวัติการสร้างพระนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นปี พ.ศ. ว่าสร้างมาประมาณกี่ปี เก่ามากน้อยอย่างไร กรรมวิธีการสร้างเป็นอย่างไร และเวลาที่จะเช่าหาก็ควรศึกษาคนที่เราจะเช่าหาว่ามีประวัติดีหรือไม่ รับผิดชอบกับพระที่เขาขายให้เรามากน้อยอย่างไร ไม่ใช่เสี่ยงดวง เงินที่เราจ่ายไปเป็นเงินแท้ๆ ใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย

แต่พระที่เขาขายให้เราล่ะ แท้หรือไม่ นั่นคือปัญหาถ้าคบคนผิดก็เหนื่อยละครับ ตอนที่เราจะซื้อเขาก็รับรองเป็นดิบเป็นดีว่าแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดูง่ายครับ เบื่อเมื่อไหร่ก็เอามาคืน แต่พอเวลาเอาไปคืนจริงๆ กลับไม่รู้ไม่ชี้ บิดเบือนไปเรื่อยๆ เจออย่างนี้ก็เหนื่อยหน่อยนะครับ

พวกคนไม่ดีที่อาศัยการทำมาหากินในสังคมพระนั้นมีมากครับ และก็มีมานานแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่หมดหรอกครับ ดังนั้นการที่เราจะเข้ามาสนใจที่จะเช่าหาเพื่อศรัทธาหรือสะสมก็ต้องพิจารณาทั้งพระทั้งคนด้วยถึงจะปลอดภัยครับ ถ้าเราตั้งสติให้ดีพิจารณาให้ถี่ถ้วนก็พอจะวางใจได้ครับ อย่าคิดว่าเราเองนั้นแน่ดูพระ เก่ง ขนาดคนที่อยู่ในสายอาชีพเขายังต้อง ระวังพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก็ยังไม่วายพลาดได้ แล้วนับประสาอะไรกับเราที่ไม่ใช่สายอาชีพ ล่ะครับ

ครับที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้จะทำให้ท่านเลิกหรือหวาดกลัวนะครับ เพียงแต่อยากจะเตือนให้รอบคอบเท่านั้นครับ ถ้าเรามีสติรอบคอบสักหน่อยก็ปลอดภัยครับ ผมเองรับฟังเรื่องนี้มามาก ก็ได้เพียงแต่เห็นใจและแนะนำไปเท่าที่ทำได้เท่านั้นครับ บางรายเชื่อใจคนที่ได้แนะนำให้รู้จัก เช่าไปหลายบาททีเดียว (ไม่อยากพูดถึงจำนวนเงิน เศร้าครับ)

พอช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็คิดจะนำมาออกตัวบ้าง ขนาดว่าขาดทุนบ้างก็ไม่ว่ากัน จึงได้ทราบความจริงว่าพระทั้งหมดที่เช่ามาเก๊ทั้งหมด เอาพระไปให้คนที่เขาไปเช่ามาช่วยรับคืนไปบ้าง ได้เท่าไหร่ก็ได้ขาดทุนไปบ้างก็เอา ปรากฏว่าบ่ายเบี่ยงไปเรื่อย ผลสุดท้ายก็คือไม่รู้ไม่ชี้ต้องฟ้องร้องกัน ส่วนเงินจะได้คืนหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ คงเหนื่อยน่าดู ผมเองก็ได้แต่เห็นใจและเศร้าใจไปด้วย แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้นักครับ

สำหรับผู้มีอาชีพค้า-ขายพระเครื่องนั้นคนที่ดีๆ ก็มีเยอะครับ รับผิดชอบกับพระที่เขาขายไป เพียงแต่ท่านจะไปเจอคนประเภทไหนเท่านั้นครับ ถ้าเจอคนดีๆ ท่านก็สบายใจได้ครับ เข้าให้ถูกช่องถูกทางคนดียังมีเยอะครับ ไม่ได้จะร้ายไปเสียทั้งหมด

ส่วนมากคนที่มาปรึกษาผมที่ถูกหลอกมามักจะไปเช่าหากับพวกนอกรีต และส่วนมากก็ไม่ได้เข้ามาศึกษาจากในสังคมพระเครื่องที่เป็นศูนย์ใหญ่ๆ ที่เป็นมาตรฐาน ก็มีโอกาสเสี่ยงมากครับ โดยเฉพาะที่เช่าหาพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงๆ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะถูกหลอกสูงตามไปด้วยครับ ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อเตือนๆ กันนะครับ เพราะช่วงนี้ผมเจอผู้ที่ประสบปัญหาบ่อยมากครับ

ในวันนี้ก็นำรูปพระนางกำแพงเพชร พิมพ์ลึก เนื้อดินเผา กรุวัดพิกุล จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมพลางๆ ก่อนครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36591277312901_2.jpg)
พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด พิมพ์กลาง กรุวัดอาวาสน้อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนนั้นตอนผมยังเป็นเด็กเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่พูดถึงพระกำแพงเขย่งเสมอและเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อน พระกำแพงเขย่งในความหมายของคนยุคก่อนหมายถึงพระเครื่องปางลีลาที่เป็นพระกรุของจังหวัดกำแพงเพชรโดยเฉพาะ เนื่องจากมีคำว่า “กำแพง” กำกับไว้และพระเครื่องที่ในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระกำแพงเขย่งก็มีทั้งพระเนื้อดินและพระเนื้อชิน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายกรุ
คำว่ากำแพงเขย่งก็มาจากในสมัยก่อนเมื่อพระที่ขุดได้ใหม่ๆ เห็นพระปางลีลา และมีการก้าวเท้าเดินซึ่งเท้าหลังมองดูเหมือนกับว่าเขย่งเท้าขึ้น และเป็นพระที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร คนทางกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงก็เรียกตามๆ กันว่า “พระกำแพงเขย่ง” โดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นพระอะไร กรุไหน ของจังหวัดกำแพงเพชร พระกำแพงเขย่งจึงมีอยู่หลายกรุหลายวัดของจังหวัดกำแพงเพชร และหลายเนื้อ

ปัจจุบันรู้จักกันมาก และนิยมแพร่หลายมากที่สุดก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผา นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อดินเผาอีกเช่น พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา ซึ่งปัจจุบันก็หาชมได้ยากมาก พระทั้ง 3 แบบนี้ นอกจากจะเป็นเนื้อดินเผาแล้ว ก็ยังมีที่เป็นพระเนื้อว่านและว่านหน้าทอง แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งพระปัจจุบันหาชมไม่ได้เลย อาจจะชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายไปเพื่อเอาหน้าทองหน้าเงินลอกไปเสียในสมัยก่อน

ครับนอกจากพระที่เป็นเนื้อดินเผาแล้ว พระกำแพงเขย่งยังรวมพระเนื้อชินเข้าอยู่ในนั้นด้วย ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันมากก็คือพระกำแพงขาว และพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด ซึ่งปัจจุบันก็หายากทั้ง 2 แบบ แทบจะหาชมไม่ได้เลยที่เป็นพระแท้ๆ

พระเชยคางข้างเม็ด ก็เรียกกันจากพุทธลักษณะขององค์พระค่อนข้างอ่อนช้อย พระหัตถ์หรือมือข้างหนึ่งยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ยกขึ้นสูงดูเหมือนจะเชยคางและองค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้วที่ด้านข้างทำเป็นเม็ดไข่ปลาอยู่โดยรอบ คนในสมัยก่อนก็ตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ที่เห็นอย่างเรียบง่ายว่า “พระเชยคางข้างเม็ด”

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดสี่อิริยาบถ เป็นต้น เท่าที่พบและสังเกตดู น่ามีอยู่ด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์กลาง และพระพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็กค่อนข้างหายาก พบเห็นน้อยมาก พระส่วนใหญ่จะเป็นพระพิมพ์กลาง ซึ่งก็ถือว่าเป็นพิมพ์นิยม แต่พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดนี้เป็นพระหายากมากครับ ส่วนใหญ่จะชำรุดผุกร่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่สมบูรณ์หายากยิ่ง ปัจจุบันคนอาจจะแทบลืมกันไปเลย เพราะหาพระยากมาก

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดเป็นพระที่มีศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์สวยงามอ่อนช้อยมาก พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงเพชร เด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า ปัจจุบันสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด พิมพ์กลาง กรุวัดอาวาสน้อย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55200940660304_3.jpg)
พระลีลากำแพงขาว พิมพ์ข้างแตก กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปางลีลาของกำแพงเพชรส่วนมากจะทำเป็นพระเนื้อดินและมีความนิยมสูง แต่พระปางลีลาของกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อชินเงิน และเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงก็คือพระลีลากำแพงขาว แต่ก็เป็นพระที่หายากมากครับ ของปลอมมีมากและทำกันมานานแล้ว

พระลีลากำแพงขาว เป็นพระที่แตกกรุมาแต่โบราณ และเป็นที่นิยมกันมากของชาวกำแพงเพชรในสมัยก่อน สถานที่พบพระลีลากำแพงขาวแห่งแรกเป็นการพบที่กรุวัดบรมธาตุ ตำบลนครชุม พระที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเงินเพียงอย่างเดียว ไม่พบพระลีลากำแพงขาวที่เป็นเนื้ออื่นเลย จำนวนพระที่พบก็มีไม่มากนักอาจจะเป็นเพราะชำรุดผุพังไปเสียมากก็เป็นได้ พระส่วนใหญ่ผิวพระจะออกสีดำ เมื่อใช้ถูกสัมผัสเนื้อในจะออกสีขาวเงินยวงสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อว่าพระลีลากำแพงขาว

พระลีลากำแพงขาวเท่าที่ทราบมีคนพบพระที่กรุอื่นอีกบ้างเช่นกัน แต่กรุที่นิยมจะเป็นกรุวัดบรมธาตุนครชุม พระที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์ คือพระพิมพ์ใหญ่ และพระพิมพ์ข้างแตก พระพิมพ์ข้างแตกค่านิยมจะมีภาษีดีกว่าพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย พระลีลากำแพงขาวพิมพ์ข้างแตก องค์พระจะเล็กกว่าพระพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย มองดูอาจจะดูต้อกว่าเล็กน้อย

ส่วนที่สำคัญพระพิมพ์นี้ จะมีรอยแม่พิมพ์แตกที่ข้างแขนขวาขององค์พระที่ปล่อย ทอดลงมา จะเห็นเป็นเส้นรอยแม่พิมพ์แตกชัดเจน วิ่งจากต้นแขนยาวลงมาถึงปลายมือเป็นเส้นคดเคี้ยวเป็นธรรมชาติของการแตกของแม่พิมพ์ สาเหตุที่นิยมพิมพ์ข้างแตกมากกว่าก็เนื่องจากพระพิมพ์นี้จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์ติดชัดกว่าพระพิมพ์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม พระลีลากำแพงขาวทั้ง 2 พิมพ์ก็เป็นพระที่หายากและมีมูลค่าสูงทั้ง 2 พิมพ์ครับ

พุทธศิลปะของพระลีลากำแพงขาวเป็นศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรที่อ่อนช้อยสวยงามมาก ในส่วนของพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระตระกูลทุ่งเศรษฐีที่เด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดครับ แต่ก็อย่างที่บอก พระลีลากำแพงขาวนั้นมีการปลอมแปลงกันมานานแล้ว เพราะเป็นพระที่หายากและเป็นที่นิยมมาแต่ในสมัยก่อนแล้ว พวกปลอมพระก็พยายามทำปลอมกันมาตลอด แต่พิมพ์หรือเนื้อหาก็ยังทำได้ไม่เหมือนมากนัก พอจะสังเกตได้อยู่ครับ เพียงแต่อย่าประมาทหรือเกิดความโลภก็อาจจะพลาดได้ และพวกนิทานที่ชอบกล่าวอ้างกันว่าได้มาแต่โบราณหรือได้รับตกทอดมาอย่างนี้อย่างนั้นก็อย่าไปฟังมาก ใช้ตาดูพิจารณาวิเคราะห์ตามความเป็นจริงมากกว่าหูฟังจะดีกว่ามากครับ

ถ้าใช้การฟังมากกว่าและคล้อยตามการวิเคราะห์ปัญหาก็จะโน้มเอียงตามเขาไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และตกเป็นเหยื่อของพวกหลอกลวงได้ง่ายครับ

การจะเช่าพระเครื่องสักองค์ก็ต้องใช้สติ มีเหตุและผลศึกษาความเป็นมาของพระก่อนเพื่อเป็นข้อมูล และพิจารณาวิเคราะห์ตามที่ได้ศึกษามาครับ อย่าหลงฟังนิทานต่างๆ ที่ผู้ขายอยากจะเล่าให้ฟังเพียงอย่างเดียวอาจเคลิบเคลิ้มตามเขาจนลืมพิจารณาตามหลักการได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากำแพงขาว พิมพ์ข้างแตก กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90102528035640__3594_3617_3619_3617_26_3617_3.jpg)
พระพิมพ์พระ สังกัจจายน์ กรุวัดเงิน คลองเตย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระที่เป็นพระเนื้อผงเก่าแก่กรุหนึ่งคือกรุวัดเงิน คลองเตย พระของกรุนี้ก็เป็นที่นิยมซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น แล้ววัดเงิน คลองเตย อยู่ ณ จุดใดของคลองเตย

อาณาบริเวณที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย กรุงเทพฯ นั้นในอดีตแต่เดิมมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนและมีวัด ได้แก่ วัดเงิน วัดทอง และวัดพระธาตุ รวม 3 วัด ที่ล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณทั้งสิ้น ในปีพ.ศ.2482 ทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งของทั้ง 3 วัด เพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดพระธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างรวมกันเป็นวัดใหม่ขึ้น ที่ริมถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า “วัดธาตุทอง” ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกัน คือ “วัดไผ่เงิน” ตรอกจันทร์

วัดพระธาตุและวัดทองเมื่อรื้อถอนไปสร้างใหม่แล้ว ชื่อเสียงเรียงนามนับวันก็เลือนรางไปจากความทรงจำ แต่วัดเงิน คลองเตยนั้นแม้จะถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่ยิ่งนานวันก็มีชื่อเสียงที่คนรู้จักจดจำได้ เนื่องจากพระเครื่องที่ถูกบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ปรากฏชื่อเสียงไปทั่ว แต่ที่ตั้งของวัดอาจจะไม่ค่อยมีคนทราบเท่าไรนัก

พระเครื่องของกรุวัดเงินนั้นถูกพบในขณะที่มีการรื้อถอนเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ ได้พบพระเครื่องเนื้อผงสีขาวเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นองค์ มีมากมายหลายพิมพ์และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีสนนราคาค่านิยมสูงพิมพ์หนึ่ง พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งสิ้น

นอกจากพระพิมพ์ปิดตาเท่านั้นที่แปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คือเป็นพระเนื้อผงแต่เป็น สีออกดำและดำปนเทา แบบพระเนื้อผง ใบลาน พระปิดตากรุวัดเงินนี้เท่าที่พบมี 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์รัศมี และพิมพ์เล็ก พระปิดตาพิมพ์ใหญ่และพิมพ์รัศมีมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ต่างกันที่พิมพ์รัศมีนั้นมีเส้นรัศมีอยู่ตรงบริเวณพระเศียร

ส่วนพระพิมพ์เล็กนั้นมีจำนวนน้อย ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก แม้แต่รูปถ่ายก็ยังหายากครับ องค์พระพิมพ์เล็กจะดูล่ำสันกว่าทุกพิมพ์ และมีฐานเป็นแท่งเหลี่ยมสูงกว่าทุกพิมพ์ แต่พระปิดตาค่อนข้างหายากครับ

ส่วนพระที่มีคนรู้จักกันมากและได้รับความนิยมสูงก็คือพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหู พุทธลักษณะคล้ายกันมากผิดกันที่มีหูและไม่มีหูเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน พิมพ์มีหูก็จะมีมูลค่าสูงกว่าพิมพ์ไม่มีหู แต่ก็หายากทั้ง 2 พิมพ์ และมีมูลค่าสูง ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ กรุวัดเงิน คลองเตย ทั้ง 2 พิมพ์ มาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24310634616348_1_37_1_.jpg)
เหรียญหล่อ หนุมาน แบกพระโมคคัลลานะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพศรัทธาทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านก็ล้วนเป็นที่เสาะหากันทุกชนิด แต่ก็หายากมาก เนื่องจากมีคนต้องการมาก หาแท้ๆ ยากครับ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อคง เช่นเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นั้นเป็นเหรียญยอดนิยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมเหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกันก็คือเหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเหรียญนิยมอีกเหรียญหนึ่ง ส่วนประเภทเหรียญหล่อของหลวงพ่อคงนั้นก็เป็นที่นิยมกันมาก ในสมัยโบราณคนท้องถิ่นนั้นจะนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม

ผมเคยได้สอบถามคุณตาท่านหนึ่งที่ผมสนิท ท่านเป็นคนแม่กลอง นามสกุล ณ บางช้าง ท่านเล่าให้ฟังว่า เหรียญหล่อนั้นเป็นเหรียญที่หลวงพ่อสร้างเอง และทำกันที่วัด ส่วนเหรียญปั้มรุ่นแรกนั้นเป็นเหรียญที่ พระยาศรีสุรสงคราม (เปลื้อง ดิลกโยธิน) ได้มาขออนุญาตจัดสร้าง เพื่อจะนำรายได้ไปสร้างวัดแถวๆ อยุธยา ดังนั้นคนรุ่นเก่าๆ ของแม่กลองจะหวงเหรียญหล่อมากกว่าครับ

เหรียญหล่อของหลวงพ่อคงท่านก็ได้สร้าง แจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น เช่น เหรียญอรุณเทพบุตร ซึ่งเป็นเหรียญหล่อที่นิยมมาก นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญหล่อหนุมานแบกโมคคัลลานะ ซึ่งก็เป็นเหรียญหล่อที่นิยมอีกเหรียญหนึ่ง เหรียญหล่ออีกรุ่นหนึ่งเป็นเหรียญก้นแมลงสาบเป็นเหรียญที่นิยมรองลงมา
 
เหรียญหล่อหนุมานแบกโมคคัลลานะ เป็นเหรียญที่มีรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ มีรูปพระโมคัลลานะ พระสารีบุตรอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนรองรับไว้อีกทีหนึ่ง เหรียญหล่อพิมพ์นี้หลวงพ่อคงบอกว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิ ฤทธิ์มาก ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก เวลาจะเช่าหาควรศึกษาให้ดีก่อน และเช่าหาจากผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะดีกว่าปลอดภัยกว่าครับ

ส่วนเครื่องรางของขลังอื่นๆ ของหลวงพ่อคงก็เป็นที่นิยมทุกชนิด แต่ก็หาแท้ๆ ยากมากครับ ทั้งตะกรุด เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ต่างๆ ไว้จะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหล่อ หนุมาน แบกพระโมคคัลลานะ จากหนังสือตามรอยสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13748570531606_view_resizing_images_1_.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องการศึกษาพระเครื่องเพื่อให้รู้ว่าพระเครื่องนั้นๆ แท้หรือไม่ จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาเรื่องของรายละเอียดของพิมพ์พระ รายละเอียดของเนื้อวัสดุของพระนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องศึกษาถึงธรรมชาติของพระที่เกิดจากการผลิต และธรรมชาติความเก่าของวัสดุที่นำมาสร้างพระตามอายุของพระนั้นๆ

พระเครื่องส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่สร้างขึ้นมาโดยมีแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านั้นถ้าออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันก็ต้องมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกัน และถ้าเป็นพระที่สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกัน ธรรมชาติการสร้างก็จะออกมาเหมือนๆ กัน เช่นเหรียญสตางค์หรือธนบัตร ถ้าผลิตในรุ่นเดียวกันแม่พิมพ์อันเดียวกันเหรียญนั้นก็จะเหมือนกันทั้งรายละเอียด กรรมวิธีการ ผลิตก็จะเหมือนๆ กัน พระเครื่องก็เหมือนกันครับหลักการเดียวกันที่จะใช้ในการพิจารณาว่าใช่หรือไม่

ในวันนี้ผมจะมาคุยถึงเรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และธรรมชาติของการผลิต ก่อน และขอนำพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง มาเป็นตัวอย่างที่จะมาคุยกันครับ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่รวบรวมถ่ายทอดส่งต่อๆ กันมานั้น ถ้าจะแยกโดยละเอียดก็จะสามารถแยกออกได้เป็นตัวแม่พิมพ์ได้ถึง 4 แม่พิมพ์ แต่รายละเอียดของแม่พิมพ์โดยรวมนั้นจะคล้ายๆ กัน เพียงแต่มีส่วนปลีกย่อยที่แตกต่างกัน การแยกแม่พิมพ์นี้ก็เพื่อสะดวกในการศึกษาเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน เอาล่ะเราค่อยมาว่ากันทีหลัง

ในวันนี้จะขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี ซึ่งชื่อของแม่พิมพ์ผมขอเรียกตามครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนผมมานะครับ ซึ่งก็อาจจะเรียกแตกต่างกันไปบ้าง แต่การพิจารณาของความถูกต้องก็เข้ามาหาความถูกต้องที่เหมือนกันครับ รูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 องค์ที่ผมนำรูปมาแสดงนั้นเป็นพระที่มีแม่พิมพ์เดียวกัน และพระทั้ง 2 องค์ เป็นพระที่ตัดแม่พิมพ์เหลือขอบข้าง จึงเป็นพระที่จะนำมาเพื่อการศึกษาได้ดีมากครับ เรื่องการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ตัวแม่พิมพ์ช่างที่แกะแม่พิมพ์นั้น แกะเพียงกรอบของแม่พิมพ์เท่านั้น เพื่อที่จะได้เป็นเส้นกำหนดที่จะให้ตัดขอบอีกทีหนึ่ง จึงต้องมีการตัดขอบของพระทีหลังเมื่อกดพิมพ์พระสำเร็จแล้ว มิได้แกะออกมาเป็นขอบสำเร็จ (ดังเช่นพระในปัจจุบัน) ดังนั้นการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงมีขอบนอกไม่เท่ากัน ตัดพอดีกรอบบ้าง เหลือขอบข้างบ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของการผลิต

กลับมาดูรูปพระสมเด็จฯ ทั้ง 2 องค์ ที่ตัดขอบเหลือขอบข้าง เราจะมองเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์เป็นเส้นทิวบางๆ รอบพระทั้ง 4 ด้าน แต่ส่วนมากจะเห็น 3 ด้านค่อนข้างชัด ส่วนที่เหลือเลยออกไปนั้นก็เป็นเนื้อเหลือจากการตัดขอบ และเนื้อที่เป็นส่วนเกินนี้จะมีระดับต่ำกว่าเนื้อที่อยู่ภายในกรอบแม่พิมพ์ เราได้อะไรจากการสังเกตนี้ ประการแรกเราก็จะรู้ได้ว่าการแกะแม่พิมพ์ของช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น แกะแม่พิมพ์มาแค่กรอบพระ และต้องมีการตัดขอบทีหลัง ก็เป็นธรรมชาติของการผลิตอย่างหนึ่ง เรามาพิจารณากันต่อ เราก็จะเห็นว่า เส้นกรอบด้านข้างซ้าย-ขวานั้นกรอบของแม่พิมพ์ไม่เท่ากัน พื้นที่จากกรอบแม่พิมพ์ทั้งซ้าย-ขวาด้านบน จากกรอบแม่พิมพ์ไปถึงซุ้มครอบแก้วนั้นมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ทำให้เรารู้จากการสังเกตได้ว่าเส้นของกรอบแม่พิมพ์ซ้าย-ขวาก็ไม่เหมือนกัน เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือเรานั้นจะวิ่งยาวลงมาจนถึงขอบของฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง ส่วนเส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือเรานั้น วิ่งลงมาไม่ตลอดจนจรดขอบฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง แต่มาจรดซุ้มครอบแก้วก่อนจะถึงด้านล่างของซุ้มครอบแก้ว ก็ทำให้เราใช้เป็นข้อสังเกตของแม่พิมพ์พระได้ เรื่องของกรอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์จะเหมือนกันหมด ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยในด้านอื่นๆ แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตัก แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม แม่พิมพ์อกกระบอก แม่พิมพ์อกวี เป็นต้น

เรื่องของกรอบแม่พิมพ์และธรรมชาติการผลิตข้อเดียวก็หมดเนื้อที่แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก ทั้งองค์เลยครับ แต่ถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องเราก็จะสามารถแยกแยะได้ครับ ค่อยๆ ศึกษาหารายละเอียดไปเรื่อยๆ ก็จะพบไปเรื่อยๆ เช่นกันครับ ที่ผมนำมาเล่านั้นผมเองก็ได้รับการสั่งสอนมาจากครูบาอาจารย์ รุ่นเก่าๆ ที่เขาได้เก็บรวบรวมส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ที่ได้รับผลการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องจากการเปรียบเทียบกับพระแม่พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ครับ  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14089988503191_1_113_696x355_1_.jpg)
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง รุ่นแรก หลังยันต์ 4 บล็อก 3 จุด ปี2467 ข้างเลื่อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนผมได้พูดคุยถึงเรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และธรรมชาติที่เกิดจากการสร้างพระนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจะเรียนรู้ถ้าเราอยากจะพิจารณาพระเครื่องนั้นว่าแท้หรือไม่อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยเหตุและผลครับ

ครั้งที่แล้วผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี และได้พูดถึงเส้นกรอบแม่พิมพ์ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า แม่พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ นั้น เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วจะต้องมีการตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่ง ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขอบขององค์พระจึงไม่ค่อยเท่ากัน มีการตัดชิดกรอบแม่พิมพ์บ้าง เหลือขอบข้างบ้าง อาจจะมีโย้บ้างไม่เท่ากันเสมอไป

นอกจากนี้ร่องรอยด้านข้างก็จะปรากฏการตัดขอบให้เห็นถ้าพระยังสมบูรณ์จะมีริ้วรอยเป็นเส้นเสี้ยนคล้ายรอยตอกตัดให้เห็นอยู่ ทั้งหมดนี้ก็คือธรรมชาติการสร้างพระของพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ด้านหลังของพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมก็เช่นกัน จะมีร่องรอยของการสร้างพระให้เห็นอยู่

ซึ่งก็เป็นธรรมของการสร้างพระในยุคนั้นของทั้ง 2 วัด ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญของการพิจารณาด้วยเช่นกันครับ ด้านหลังของพระสมเด็จฯ นั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของการผลิตซึ่งไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น และสิ่งนี้เองทำให้พระที่ทำปลอมเลียนแบบทำได้ไม่เหมือนครับ ด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังฯ

เท่าที่เห็นมาและจากการสั่งสอนของผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ชี้แนะว่า ด้านหลังเท่าที่เห็นมีอยู่ 4 แบบคือ แบบหลังเสี้ยนหรือที่เรียกว่าหลังกาบหมาก หลังเรียบ หลังกระดาน และหลังสังขยา โดยท่านนำลักษณะความคล้ายกับสิ่งต่างๆ มาเปรียบเทียบให้เข้าใจ ส่วนด้านหลังของพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจะพบ ด้านหลังแบบหลังกระดาน หลังสังขยา และหลังเรียบเป็นส่วนใหญ่

ครับสิ่งเหล่านี้ก็คือธรรมของการสร้างหรือการผลิต ร่องรอยเหล่านี้ถือเป็นจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการพิจารณาพระทุกชนิดว่าแท้หรือไม่ นอกเหนือไปจากเรื่องของแม่พิมพ์ และเนื้อพระ ทุกอย่างเป็นเรื่องสำคัญในการพิสูจน์ว่าพระนั้นๆ แท้หรือไม่ พระประเภทอื่นก็เช่นกันครับ

เมื่อพิจารณาแล้วว่าพิมพ์ของพระ ถูกต้อง เนื้อถูก สิ่งต่อไปก็คือการพิจารณาธรรมชาติของการสร้างพระนั้นๆ ขั้นตอนในการผลิตสิ่งของหรือแม้กระทั่งพระเครื่องที่มีแม่พิมพ์ก็ไม่พ้นเรื่องขั้นตอนการผลิต เนื่องจากขั้นตอนในการผลิตนั้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกันไปตามกาลเวลา
 
ผมขอยกตัวอย่างขั้นตอนการผลิตเหรียญอีกอย่างหนึ่ง การผลิตเหรียญพระ เท่าที่ทราบเหรียญพระเครื่องนั้นที่มีการระบุ พ.ศ.ชัดเจนก็เริ่มมีในปี พ.ศ.2440 เราก็ต้องศึกษาว่าการผลิตเหรียญในยุคนั้นเขาสร้างกันอย่างไร เท่าที่ศึกษามาการผลิตเหรียญในยุคเก่าๆ นั้น เครื่องมือที่ปั๊มเหรียญยังไม่มีเครื่องไฮดรอลิกในการปั๊มกระแทก มีแต่เครื่องมือที่เรียกกันว่าข้อเสือ

โดยใช้แรงคนเหวี่ยงและมีลูกตุ้มหมุนอยู่ด้านบนเพื่อให้เกิดแรงกระแทกลงมาเพื่อปั๊มขึ้นรูป เหรียญพระในสมัยก่อนเราจึงเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็นการแกะแม่พิมพ์ตื้นๆ เนื่องจากง่ายกับการปั๊ม การตัดขอบข้างก็จะเห็นว่ามีอยู่แค่ 2 แบบ คือแบบที่เรียกว่าขอบกระบอก และแบบข้างเลื่อยเท่านั้น จนกระทั่งมาถึงประมาณปี พ.ศ.2480 กว่าๆ

จึงจะเห็นการตัดขอบแบบบล็อกตัดขอบ ขั้นตอนการผลิตก็จะปรากฏให้เราเห็นและพิสูจน์ได้ เนื่องจากขอบข้างของเหรียญในแต่ละเหรียญในรุ่นเดียวกัน หลวงพ่อเดียวกันขอบก็จะเหมือนกันหมด เพราะโรงงานเขาก็จะสร้างขอบของเหรียญให้กับเหรียญที่มาสั่งทำเป็นรุ่นๆ ไป จะไม่มีซ้ำกันเลย


สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อพิสูจน์สำคัญของการพิจารณาเหรียญพระครับ ขอบข้างของเหรียญก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏร่องรอยของธรรมชาติในการผลิตครับ พระเครื่องทุกชนิดจะปรากฏร่องรอยของการผลิตให้เห็น และทำปลอมเลียนแบบได้ไม่เหมือน จึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่สำคัญมากๆ ครับ

ครับทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็อยากจะให้ท่านที่กำลังศึกษาพระเครื่องได้เข้าใจ และไม่ละเลยในการศึกษาธรรมชาติที่เกิดจากการผลิตหรือการสร้างพระนั้นๆ ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง รุ่นแรกหลังยันต์ 4 บล็อก 3 จุด ปี พ.ศ.2467 ข้างเลื่อยมาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 เมษายน 2561 16:16:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80684122857120_1_305_1_.jpg)
พระปรกโพธิ์ เชียงแสน พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าหลายอย่างที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก อาจจะด้วยสาเหตุหลายอย่าง เช่น พระกรุพระเก่าที่นิยมกันมาแต่อดีตนั้นหาพระยาก และไม่ค่อยมีการหมุนเวียนในสังคมพระเครื่องนัก เรื่องราวประวัติความเป็นมาก็ไม่ค่อยมีเผยแพร่กันนัก อีกประการที่ค่อนข้างสำคัญคือมีการปลอมแปลงกันมาก และผู้นิยมสะสมไม่ค่อยสามารถจะแยกแยะพระแท้กับพระปลอมได้ ในเรื่องของพระแท้ที่เป็นตัวอย่างในการศึกษานั้นก็ไม่ค่อยมีหมุนเวียนในสนามพระ จึงทำให้ไม่ค่อยได้เห็นแบบอย่างพระแท้เป็นอย่างไร ความนิยมที่จะเสาะหาก็เริ่มซาๆ ตามไปด้วย

ผมเองก็เป็นคนรุ่นเก่า และก็ชื่นชอบพระกรุพระเก่าต่างๆ ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องนั้นก็ยังพอที่จะพบเห็นหรือขอความรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ได้ และก็ได้มีโอกาสดูของจริง ที่ผมชอบพระกรุพระเก่าสมัยต่างๆ นั้นมีอยู่หลายสาเหตุ และสาเหตุหนึ่งที่ได้จากการพิจารณาพระกรุพระเก่านั้นก็คือ ศิลปะต่างๆ ในพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าในยุคต่างๆ

ซึ่งแต่ละยุคก็มีเอกลักษณ์ของยุคสมัย เอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นด้วย ลักษณะเนื้อหาในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น ความเก่าตามธรรมชาติในแต่ละยุคสมัย ธรรมชาติการผลิตในแต่ละยุค เมื่อเริ่มศึกษาก็ยิ่งสนุกและเพลิดเพลิน ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากผู้หลักผู้ใหญ่ และนักวิชาการต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้รับเพิ่มเติมจากพุทธคุณต่างๆ ในพระแต่ละชนิด บางอย่างก็แฝงด้วยประวัติศาสตร์และโบราณคดีแถมอีกด้วย

พระกรุพระเก่าอย่างหนึ่งที่เงียบหาย ไปนาน ซึ่งในสมัยก่อนเป็นที่นิยมและหายากก็คือพระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็ก พระเชียงแสนพิมพ์ปรกโพธิ์อาจจะพอพบเห็นได้อยู่หลายพิมพ์ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง และมีอยู่หลายแบบพิมพ์หลายกรุในเขตอำเภอเชียงแสน พระทั้งหมดที่พบอยู่ในเขตอำเภอเชียงแสนนั้นจะมีศิลปะแบบล้านนาสกุลช่างเชียงแสน

อายุการสร้างของพระเครื่องสกุลเชียงแสนนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในราวๆ ยุคอยุธยาตอนต้นหรือสุโขทัยตอนปลาย เนื้อพระที่พบมากจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว มีสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ และพระที่พบมักจะทำเป็นพระแบบปรกโพธิ์ พระแบบลีลาก็มีพบบ้าง พระที่อยู่ในซุ้มเรือนแก้วก็มี

แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ ซึ่งพิมพ์ปรกโพธิ์ก็มีอยู่หลายพิมพ์ หลายแบบ พระปรกโพธิ์แบบหนึ่งที่ค่อนข้างหายากคือพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก เนื้อตะกั่วสนิมแดง ในสมัยก่อนนั้นนิยมกันมากและหายาก ปัจจุบันหารูปก็ยังแทบไม่ค่อยพบ พระปรกโพธิ์เชียงแสนในอดีตเชื่อกันว่าดีทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ ความอุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุข และอยู่คง แคล้วคลาด

พระปรกโพธิ์เชียงแสนโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดเขื่อง ในปัจจุบันจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่พระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็กมีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ แต่ก็จำนวนพระที่พบน่าจะมีจำนวนน้อย เพราะหายากมาแต่โบราณแล้ว นานๆ จะพบเห็นสักองค์หนึ่ง

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็ก จากหนังสือชมรมพระเครื่องแม่จัน มาให้ชมครับ  
  ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92218253140648_1_295_696x352_1_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ที่ทางชาวสุราษฎร์เคารพนับถือมากรูปหนึ่งก็คือ หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์ เหรียญรูปท่านรุ่นแรกหายากมากและสนนราคาสูง

หลวงพ่อเพชร  เกิดที่บ้านประตูไชยเหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โยมบิดาชื่อนายขาว โยมมารดาชื่อนางกิมล้วน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากเรียนในสำนักของท่านพระครูการาม(จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

พออายุได้ 13 ปี จึงได้ขอลาอาจารย์มาอาศัยอยู่ที่บ้านพระสิริธรรมบริรักษ์ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระสิริธรรมบริรักษ์ ก็ได้ช่วยกิจการหลายอย่าง และภารกิจหนึ่งที่สำคัญก็คือครั้งหนึ่งเกิดคนจีนยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบ จนกระทั่งได้รับชัยชนะ

ต่อมาเมื่ออายุได้ 30 ปี บิดามารดาถึงแก่กรรม ท่านจึงได้ลาออกจากบ้านพระสิริธรรมบริรักษ์กลับมาประกอบอาชีพอยู่ที่บ้าน และได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์ในด้านวิทยาคมอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ ครั้นอายุได้ 42 ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายจึงออกเดินทางเพื่อจะไปเยี่ยมน้องชายที่อยู่ที่กรุงเทพฯ

แต่เดินทางมาถึงแค่บ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ก็เกิดอาการเจ็บป่วยเสียก่อน จึงไม่สามารถเดินทางต่อได้ ได้เข้าไปพักอาศัยและรักษาตัวกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทร จนกระทั่งหายป่วย ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกลางบ้านดอน
 
โดยมี พระครูสุวรรณรังสี(มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (วัดโพธาวาส ปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อินทโชติ” และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอธิการแดงเป็นเวลา 2 พรรษา

ในปี พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะ เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของท่าน จึงได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อเพชรไปจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนตะเคียน(วัดวชิรประดิษฐ์ ในปัจจุบัน) เมื่อหลวงพ่อเพชรได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดดอนตะเคียน ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองจนทุกวันนี้ ชาวบ้านก็เคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อเพชรมาก

ต่อมาในปี พ.ศ.2448 ทางวัดก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีชื่อว่า “วัดวชิรประดิษฐ์”  และหลวงพ่อเพชรก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ หลวงพ่อเพชรสร้างพระอุโบสถได้สำเร็จในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ.2453 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์ พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูประกาศิตธรรมคุณ”

หลวงพ่อเพชรเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร โอบอ้อมอารี มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ไม่เลือกชั้นวรรณะ และเป็นคนพูดจริงทำจริง มีวาจาสิทธิ์ เป็นที่รักเคารพของชาวสุราษฎร์ธานีและชาวใต้เป็นอย่างมาก หลวงพ่อเพชรมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 42 คณะศิษย์ได้บำเพ็ญกุศล 3 วัน และเก็บศพไว้จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2481 จึงได้จัดให้มีการพระราชทานเพลิง ที่วัดวชิรประดิษฐ์

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร เท่าที่พบเป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า และเป็นเหรียญนิยมของชาวใต้ หายากในปัจจุบันและมีราคาสูงครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร มาให้ชมครับ
 ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60182490365372__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่มีชื่อเรียกว่า หลวงพ่อโต มีอยู่หลายกรุหลายวัด โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกพระเครื่องที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องหน่อย เช่น พระเนื้อดินก็จะมี หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง อยุธยา หลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง สุโขทัย

ส่วนหลวงพ่อโตที่เป็นพระพุทธรูปและเป็นพระประธานในพระอุโบสถก็มีอยู่หลายวัด เช่น หลวงพ่อโต วัดบางพลี หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง หลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น หลวงพ่อโตที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถก็มีการทำเป็นพระเครื่องต่างๆ ทุกวัดเช่นทำเป็นเหรียญ บ้างทำเป็นพระหล่อบ้าง ทุกอย่างล้วนได้รับความนิยมและเคารพศรัทธามาก

วันนี้ผมขอพูดคุยถึงพระหลวงพ่อโต ที่เป็นพระกรุพระเก่า ที่เราๆ อาจจะลืมๆ กันไปบ้างเช่น พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง สุโขทัย วัดป่ามะม่วงเป็นวัดในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดที่ใช้แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนทั้งปวงในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ และที่วัดป่ามะม่วงนี้ต่อมาก็ได้มีการบูรณะและพบพระเครื่องเนื้อดินขนาดเขื่อง เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยที่งดงาม มีเส้นซุ้มเป็นเส้นคู่ 2 เส้น ด้านหลังของพระจะอูมๆ ผิวของพระมีสีแดงอิฐเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นสีดำก็พบอยู่บ้าง นอกจากพบที่วัดป่ามะม่วงแล้วยังพบพระแบบเดียวกันอีกที่วัดสระศรีอีกด้วย

พระทั้ง 2 กรุจะมีลักษณะคล้ายๆ กันมาก เพียงแต่ของวัดสระศรีส่วนมากขอบชิดกว่าของวัดป่ามะม่วง พระหลวงพ่อโตของสุโขทัยในสมัยก่อนนั้นจะนิยมกันมาก เนื่องจากมีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ เช่น อยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดสูง และได้รับความนิยมในอดีต แต่พระแท้ๆ ก็หายากเช่นกัน

ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ที่สวยสมบูรณ์หายากครับ เนื่องจากในสมัยก่อนมักจะห้อยติดตัวด้วยการถักลวดหรือไม่ก็เลี่ยมจับขอบ พระจึงสึกกร่อนไปตามสภาพ พระที่ผ่านการใช้ในลักษณะนี้ก็จะมีเนื้อที่สวยเป็นมันหนึกนุ่ม และเป็นที่นิยมในสมัยก่อน แต่ก็จะเสียความสมบูรณ์เนื่องจากการสัมผัส

พระส่วนใหญ่ที่พบในช่วงหลังๆ นี้จึงเป็นพระที่อยู่ในสภาพผ่านการใช้เป็นส่วนใหญ่ จะหาพระที่ไม่ได้ผ่านการใช้และสวยสมบูรณ์ยากครับ ในปัจจุบันมักจะชอบพระที่มีการอนุรักษ์มาดี มีสภาพสมบูรณ์ผิวพระอยู่ครบ จึงค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เพราะในสมัยก่อนนิยมเลี่ยมจับขอบหรือถักลวดใช้ทำให้พระมีการสัมผัสกับตัวตามความเชื่อในสมัยนั้น ก็ทำให้ผิวพระหรือความสมบูรณ์ถดถอยลงไปครับ

พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วงมีความนิยมมาก่อนพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง แต่เมื่อหายากขึ้น และต่อมาได้มีการพบพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มีผู้นำไปใช้ห้อยคอและมีประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกันคือเด่นอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด อีกทั้งมีการพบจำนวนมากกว่า จึงได้รับความนิยมกันต่อมา

ในปัจจุบันพระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง หรือพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วตามระเบียบ พระอะไรก็ตามเมื่อมีความนิยมเสาะหาก็จะมีผู้ที่ทำปลอมเลียนแบบออกมาทันทีครับ ยิ่งในปัจจุบันการทำปลอมทำได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้ดี ดูไม่เป็นก็ควรจะเช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้ไว้ก่อนครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
 ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79109764306081_3.1_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48672092871533_2_3614_3619_3632_3621_3637_362.jpg)
พระลีลา วัดถ้ำหีบ

พระปางลีลา ถือเป็นศิลปกรรมยุคทองของสุโขทัย ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับกลุ่มเมืองที่เผยแผ่อิทธิพลถึงกันแล้ว นับได้ว่ามีความงามยิ่งกว่าพระแถบกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก หรือสุพรรณบุรีเสียอีก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ “พระลีลากำแพงศอกสุโขทัย” ที่ไปฝากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น และที่สุโขทัยเองก็มีพระลีลาน่าสนใจอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ “พระลีลา วัดถ้ำหีบ”

พระลีลา วัดถ้ำหีบ เป็นพระกรุเก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามมาก ลายเส้นมีความอ่อนไหว ชัดเจน และกลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์โดยแท้ แต่ถึงแม้จะมีถิ่นกำเนิดที่สุโขทัย แต่ก็หาได้ยากยิ่งและไม่ค่อยแพร่หลายในสุโขทัยนัก สันนิษฐานว่า หลังจากการขุดค้นพบน่าจะนำออกมากระจายนอกเขตจังหวัดและในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ด้านของพุทธคุณนั้นเป็นเลิศทั้งโภคทรัพย์และเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงมาก
พระลีลา วัดถ้ำหีบ มีการค้นพบภายในถ้ำบริเวณวัดร้างบนเขากิ่วอ้ายมา จ.สุโขทัย ซึ่งเดิมชื่อ “วัดถ้ำหีบ” วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่ไม่ได้รับการบูรณะจนเหลือเพียงซากปรักหักพัง ไม่หลงเหลือร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเลย ชาวบ้านขึ้นเขาไปเพื่อหามูลค้างคาว พอเข้าถ้ำพบไหเคลือบหลายใบ เมื่อเปิดออกดูจึงพบ “พระปางลีลา” ลักษณะเป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก รูปทรงยาวรียอดแหลม ขนาดเขื่อง สูงประมาณ 8.5 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. รูปกรอบดูมีสองชั้น
ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหยาบและละเอียด บางองค์มีการล่องชาดและปิดทองมาแต่ในกรุ เนื้อพระออกผิวเหลืองนวล ดูเหมือนพระใหม่หรือหม้อใหม่ แสดงว่าองค์พระไม่เคยสัมผัสอากาศภายนอกเลย เนื้อมีความแกร่ง โดยเฉพาะสีแดงจะแกร่งมากกว่าสีเหลือง เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน และจากที่เป็นพระที่อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จึงปรากฏคราบนวลดินบางๆ เกาะติดอยู่บนผิวขององค์พระเช่นเดียวกับพระเนื้อดินทั่วไปอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ

ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาพุทธลักษณะขององค์พระแล้ว ต้องสังเกตที่ “คราบของนวลดิน” บนองค์พระ อันถือได้ว่าเป็น “จุดตาย” ภายในไหยังพบพระเนื้อชินและเนื้อว่านที่มีพุทธลักษณะเหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก “พระลีลา วัดถ้ำหีบ” ยังมีการค้นพบที่กรุวัดเจดีย์งามและวัดเขาพระบาทน้อย อีกด้วย

พุทธลักษณะองค์พระประทับยืน แสดงปางห้ามพระไม้แก่นจันทน์ เหนือฐานหมอนชั้นเดียว พระบาทข้างซ้ายทรงอยู่ ส่วนข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะการลีลาก้าวย่าง พระกรข้างขวาทอดลงตามลำพระองค์ พระกรข้างซ้ายยกขึ้นเหนือพระอุระและผายฝ่าพระหัตถ์ออก เห็นรอยชายสบงและชายจีวรด้านล่าง โดยเฉพาะชายจีวรที่ซ้อนทบกันอย่างมีมิติ พระเกศเฉียงไปด้านซ้ายขององค์พระ หากใช้กล้องส่องดูจะเห็นฐานพระเมาลีเหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) มีเส้นขีดเป็นไรพระศก พระพักตร์เป็นหน้านางศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ พระเนตรเป็นเนตรเนื้อลักษณะรี ที่ลำพระศอมีรอยนูนคล้ายสร้อยพระศอค่อนข้างชัดเจน น้ำหนักเส้นสายต่างๆ แลดูอ่อนไหว นับเป็นพระปางลีลาที่มีความงดงามมาก

ส่วนด้านหลัง เป็นหลังเรียบ จะเห็นลายผ้าดิบจากการกดพิมพ์ด้วยมือ ซึ่งเป็นรอยสูงต่ำไม่เรียบเสมอกันคล้ายๆ ลายมือ จึงมักเรียกกันว่า “หลังลายมือ” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ข้างเม็ด

สำหรับของทำเทียมเลียนแบบนั้นทำกันมาเนิ่นนานแล้ว ยิ่งพระเนื้อแกร่งยิ่งทำได้ใกล้เคียงมาก ถ้าไปเห็นเนื้อพระสีเขียวเมื่อไหร่ให้ระวังไว้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วของปลอม เนื้อจะขรุขระไม่เรียบ มักมีเม็ดโปนขึ้นมาเหมือนตัวหมัด และของปลอมจะหดตัวทั้งเนื้อและเส้นสายจะเล็กกว่าของจริง

จุดสังเกตสำคัญ คือบนพื้นที่ช่องว่างของเรียวพระบาทหรือหว่างขาด้านล่างนั้น จะมีเส้นตรงปรากฏอยู่ชัดเจน เดิมทีคงเป็นเส้นชายจีวรแต่ติดเฉพาะเส้นเรียวบาง ซึ่งมักถอดพิมพ์ไม่ติดครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66114349787433_kkk_696x352_1_.jpg)
พระร่วงยืน-พระร่วงนั่ง กรุวัดกลาง

จังหวัดนครปฐม นอกจากจะมีพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษมากมายหลายรูป ที่สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังอันลือเลื่องมาตั้งแต่อดีตสืบจนปัจจุบันแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

รวมถึงวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมและยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยอีกมากมาย รวมทั้ง “พระกรุเก่า 2 พิมพ์” ที่จะกล่าวถึงนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็น “พระหลักสำคัญคู่เมืองนครปฐม” ที่ได้รับความนิยมและแสวงหามากที่สุด โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา

แต่ก็หาได้ยากยิ่ง ด้วยจำนวนพระมีน้อยมาก และผู้มีไว้ต่างหวงแหน ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก อันได้แก่ “พระร่วงยืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง” และ “พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อตะกั่วสนิมแดง” กรุวัดกลาง
ย้อนไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 ณ บริเวณเนินดินภายในพระอาราม วัดกลาง หรือที่เรียกกันว่า “วัดร้าง” ต.บ่อพลับ โบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ที่ปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือซากปรักหักพังให้ได้พบเห็น

ได้มีการขุดค้นพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง มีทั้งพระบูชาและพระเครื่อง ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน รวมทั้งพระแผ่นพิมพ์สมัยทวารวดี พระแผงศิลปะสมัยศรีวิชัย
 
แต่ที่เป็นที่สะดุดตาและกลายเป็นที่นิยมที่สุด คือ “พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง” และ “พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง” ซึ่งนอกเหนือจากพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศแล้ว อาจเป็นด้วยความโดดเด่นในพุทธลักษณะ และจำนวนพระที่พบมีน้อยมาก จึงมีผู้สนใจต้องการสะสมเป็นจำนวนมากก็เป็นได้

พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุวัดกลาง เป็นพระศิลปะลพบุรียุคต้นๆ ที่สร้างล้อพิมพ์ทวารวดี ไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยทวารวดีโดยตรง ขนาดค่อนข้างเขื่อง ความสูงขององค์พระอยู่ประมาณ 7-8 ซ.ม. ความกว้างประมาณ 2.2 ซ.ม.พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดขนานกับลำพระองค์ ตัดกรอบชิดลำพระองค์ แลดูอ่อนช้อยแต่แฝงด้วยความเข้มขลังและสง่างาม ทั้งหมดที่พบเป็นพระแบบไม่มีปีกข้าง มี 2 พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุวัดกลาง เป็นพระศิลปะลพบุรียุคต้นๆ ที่สร้างล้อทวารวดีเช่นกัน ความสูงประมาณ 3.2-4 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย อยู่เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ขอบ (ปีก) ขององค์พระเป็นรัศมีอยู่ทั้งสองข้าง เสมือนองค์พระเปล่งรัศมีเจิดจ้าสง่างามและเข้มขลังในที มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งนอกจากจะพบที่กรุวัดกลางแล้ว ยังปรากฏพบที่ “กรุวัดพระประโทน” อีกด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก และมีพระที่เป็นเนื้อชินเงินอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก

พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และพระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง นับเป็นพระเนื้อชินตะกั่วที่งดงามมาก เนื้อสนิมแดงเข้มจัดไขขาวหนาคลุมทั่วองค์พระ บริเวณพื้นผิวขององค์พระจะมีขี้กรุบางๆ แลดูสวยซึ้ง อีกทั้งด้านพุทธคุณก็ไม่เป็นสองรองใครเฉกเช่น “พระร่วง” ทุกกรุ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีฉมังนัก และด้วยความที่องค์พระมีจำนวนน้อยมาก

นอกเหนือจากพระทั้ง 2 พิมพ์นี้แล้ว ยังมี พระอื่นๆ อีกหลายพิมพ์ ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน

ซึ่งก็เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาเช่นกัน โดยค่านิยมลดหลั่นกันลงมาครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85853676290975_2_81_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58450576952762_3_80_696x348_1_.jpg)
พระกรุเก่า วัดชนะสงคราม

วัดชนะสงคราม เดิมเป็นวัดโบราณ เล็กๆ ชื่อ “วัดกลางนา” ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยาให้มากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็น “วัดตองปุ” และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมา กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นแม่ทัพไปสู้รบกับพม่าชนะศึกกลับมาทรงพักทัพ ณ วัดนี้ ทรงทำพิธีสรงน้ำเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงถอดฉลองพระองค์ซึ่งลงยันต์ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมทรงอนุญาตแม่ทัพนายกองเช่นกัน ทรงสถาปนาวัด ขยายพระอุโบสถ และนำช่างฝีมือมาปั้นปูนทับเสื้อยันต์แล้วบุภายนอกด้วยดีบุกถวายเป็นพระอารามหลวง

กล่าวถึงพระกรุวัดชนะสงครามนั้น ตามหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการสร้างและการค้นพบสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 พระวังหน้า ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2496 โดยพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามสมัยนั้น ได้ขุดพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นองค์ประธาน ปรากฏพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินดิบผสมผงใบลานสีดำ บางองค์เป็นเงางาม ลวดลายเครือเถาชัดเจน เนื้อยุ่ย หักง่าย มีที่เป็นเนื้อดินเผาบ้าง แต่จำนวนน้อยและหายากมาก สีองค์พระจะคล้ายสีหม้อใหม่ มีจุดดำๆ ขึ้นทั่วไป โดยหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้ เป็นไม้แกะสลักรูปพระสงฆ์ห่มดอง คาดอก นั่งสมาธิ และลงรักปิดทอง ที่ใต้ฐานบรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อน อ่านไม่ชัดเจน พระทองคำทรงแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ จึงสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเท่าที่พบในวงการมีน้อยมาก คาดว่าน่าจะเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง ค่านิยมจึงค่อนข้างสูงมาก

ชุดที่ 2 พระพิมพ์สมเด็จ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2515 ที่ใต้ฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน พบพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งพิมพ์ เนื้อ และขนาด หลายพิมพ์เช่นกัน เนื้อองค์พระสร้างจากผงพระเกสร ดังนั้น บางองค์เนื้อจะพองฟู บางองค์เนื้อแกร่ง และบางองค์เนื้อจะยุ่ยแบบผุ ที่น่าสังเกตอีกประการคือ พระทุกพิมพ์จะค่อนข้างหนา พิมพ์ใหญ่ จะมีลักษณะพิมพ์คล้ายสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) แต่ขนาดเล็กกว่า จากการพิจารณาองค์พระแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หรือก่อนหน้านั้น

และชุดที่ 3 พระเครื่องหลังสงคราม สร้างโดย ท่านพระครูอุดมวิชัย (ทองม้วน ป.ธ.5) เมื่อปี พ.ศ.2491 เป็นพระเนื้อผง พิมพ์พระประจำวัน 8 ปาง พระสีวลี และพระพุทธกวัก โดยมวลสารเป็นผงพุทธคุณจากพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ ผงของพระพิมพ์จากกรุต่างๆ และดอกไม้นานาชนิดที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งผงและพระหักป่นกรุวัดชนะสงคราม (วังหน้า) ที่ได้สะสมไว้ น้ำซึ่งเป็นส่วนผสมการสร้างพระก็ใช้เฉพาะน้ำพระพุทธมนต์ร้อยปีในพระอุโบสถตรงหน้าพระประธาน น้ำพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง และน้ำพระพุทธมนต์จากพระอารามต่างๆ

เมื่อสร้างเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดไตรมาส โดยอาราธนาพระเกจิผู้เรืองเวทวิทยาคุณและเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในยุคนั้นจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยรวม 108 รูป เข้าร่วมพิธีปลุกเสก ลักษณะองค์พระไม่นูนมากนัก บางองค์มีจุดสีแดง สีดำ และสีชมพู เนื้อละเอียดแข็งเปราะ เมื่อขัดถูจะมันเงาสวยงาม

พระกรุวัดชนะสงครามทั้ง 3 ชุดนี้ ถือเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากชื่ออันเป็นมงคลแล้ว พุทธคุณยังเป็นเลิศ เป็นที่ประจักษ์ สมัยก่อนราคายังพอแตะได้ แต่ ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากนักครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97441569964090_1_3614_3619_3632_3588_3619_364.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30271068215370_3_3648_3627_3619_3637_3618_359.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83637609125839_2.1_3648_3627_3619_3637_3618_3.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30177235106627_2.2_1_1_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อห่วง

พระครูสิริวุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อห่วง สุวณฺโณ วัดท่าใน อีกหนึ่งพระเกจิชื่อดังแห่งเมืองนครปฐม ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน กระทั่งพระเกจิดังด้วยกันอย่าง “หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม”  ยังให้ความเคารพนับถือ

… ย้อนไปสมัยยังหนุ่มแน่น พระเกจิ 3 รูปจะออกธุดงค์ร่วมกันเสมอทุกปีมิได้ขาด ประกอบด้วย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ครั้งหนึ่งขณะที่เดินธุดงค์ผ่านเข้าไปในป่าดงดิบแถบกาญจน บุรี ไปพบกระทิงโทนตัวหนึ่ง มันไล่ขวิดเข้าทำร้าย หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ได้เดินหลบไป แต่หลวงพ่อห่วงกลับไม่หลบ ยังคงยืนภาวนาพระคาถาอยู่ตรงที่เดิม เมื่อเจ้ากระทิงโทนวิ่งเข้าใส่ไล่ขวิดก็เป็น ที่น่าอัศจรรย์ที่มันขวิดไปไม่ถึงตัวท่าน คงขวิดได้แค่ดินตรงหน้าท่านเท่านั้น จนฝุ่นตลบอบอวลไปทั่ว หลังจากขวิดได้สักพักมันก็แผดเสียงร้องคำรามแล้ววิ่งหนีไป …

หลวงพ่อห่วงเป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด เกิดที่ อ.สามพราน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2428 อายุ 22 ปีอุปสมบท ณ วัดทรงคนอง จ.นครปฐม โดยมีหลวงพ่อรุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อมี เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแจ่ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “สุวณฺโณ”

ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสมถะ รักสันโดษ และใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน เมื่อถึงช่วงออกพรรษาท่านจะออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปลีกวิเวกและฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานมิได้ขาด

เป็นศิษย์หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระอาจารย์รุกขมูลชื่อดังอีกด้วย

ในพรรษาที่ 6 ได้มาปักกลดที่บริเวณวัดท่าใน ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา พร้อมใจกันอาราธนาท่านให้จำพรรษาที่วัดท่าใน จนได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสวัดท่าใน ในปีพ.ศ.2475 สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวุฒาจารย์ ในปีพ.ศ.2499

มรณภาพในปีพ.ศ.2506 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 56 พระราชทานเพลิงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2507

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างมีมากมาย หลายประเภท ทั้งตะกรุดโทน ด้ายมงคล พระพิมพ์ผงเกสร ฯลฯ ว่ากันว่าการปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านนั้นฉมังนัก อย่าง “พระผงเกสร”  เมื่อตากพระแห้งสนิทแล้วจะนำไปใส่ในบาตร ที่มีน้ำเต็มและนั่งบริกรรมปลุกเสกจนพระลอยขึ้นมาเหนือน้ำจึงจะใช้ได้ องค์ไหนที่จมถือเป็นพระเสีย เมื่อจะมอบวัตถุมงคลให้ใครจะพิจารณาอย่างมาก และสำทับด้วยว่า “มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ”
 
ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหาดูค่อนข้างยากเอามากๆ ที่พอจะเห็นได้อยู่ก็จะเป็น “เหรียญรูปเหมือน” ซึ่งมีทั้งหมด 3 รุ่น และรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก” ที่ลูกศิษย์เป็นผู้สร้างถวายในปีพ.ศ.2499 เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ จำนวนประมาณ 500 เหรียญ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเงิน เนื้อทองแดงมีบ้างแต่น้อยมาก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อห่วง รุ่นแรก ปี 2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาคว่ำ หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อห่วงครึ่งองค์ หน้าตรง มีอักษรไทยระบุชื่อ “หลวงพ่อห่วง” ตกแต่งโดยรอบด้วยลายกนก ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็น “ยันต์กระต่ายสามขา” ซึ่งเป็นยันต์ด้านคงกระพันชาตรีซ้อนกัน 2 ยันต์ โดยรอบเป็นอักขระขอมอ่านว่า “นะ มะ อะ อุ” ยอดบนเป็น “อุณาโลม” ด้านล่างเป็นอักขระขอมว่า “นะ อุ ทะ”
 ราม  วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 เมษายน 2561 16:22:36

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54993613312641_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62372125312685_2.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเทียน

เป็นที่ทราบกันดีว่าตำรับตำราของมอญมีความเข้มขลังมาแต่โบราณกาล

“หลวงปู่เทียน ปุบผธัมโม”  อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ อ.เมือง ก็เป็นหนึ่งในพระเกจิคณาจารย์เชื้อสายมอญที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวปทุมธานี ด้วยเมตตาบารมีและพุทธานุภาพของวัตถุมงคล

พระครูบวรธรรมกิจ หรือ ”หลวงพ่อเทียน” เป็นชาวสามโคก จ.ปทุมธานี โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 อายุ 11 ขวบ ได้เริ่มศึกษาอักษรสมัยเบื้องต้นกับพระอธิการวัดป่า หรือวัดชัยสิทธาวาส แล้วย้ายมาอยู่วัดโบสถ์ อ.เมือง เพื่อเรียนหนังสือไทยและภาษามอญกับ พระอธิการนวล จนอ่านออกเขียนได้

อายุ 14 ปี ก็เข้ากรุงเทพฯ ศึกษาต่อที่วัดมหาพฤฒารามจนจบหลักสูตร

จนอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ จึงอุปสมบท ณ วัดบางนา อ.สามโคก โดยมี พระรามัญราชมุนี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็น พระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “ปุบผธัมโม” แล้วย้ายมาจำพรรษาที่วัดโบสถ์ เพื่อศึกษาวิชากับพระอุปัชฌาย์จนมีความรู้แตกฉานทั้งภาษาบาลี รามัญ และพระเวทวิทยาคมต่างๆ

จากนั้นเริ่มออกธุดงค์แสวงหาความสงบตามป่าเขา ท่านเคยธุดงค์ไปทางภาคเหนือและฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อโพธิ์” วัดวังหมาเน่า จ.พิจิตร พระเกจิชาวมอญ ผู้เป็นพระอาจารย์รูปหนึ่งของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงนับเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงพ่อเงิน

เป็นพระผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ เป็นที่รักเคารพของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย รวมถึง 3 พระเกจิชื่อดังผู้เป็นศิษย์เอก สืบทอดวิทยาคม ได้แก่ หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ, หลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี และหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ปี พ.ศ.2448 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ต่อจากพระอธิการนวล เพียงพรรษาที่ 9 เท่านั้น จากนั้นก็ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก ราชทินนามที่พระครูบวรธรรมกิจ ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิคณาจารย์ไม่กี่รูปของไทย ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวาย “พระสมเด็จเนื้อผงและเหรียญรูปเหมือนเนื้อทองคำ หมายเลข ๙ และ ๙๙” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดาฯ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2509 ท่านมรณภาพในปีเดียวกันนั้นเอง สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70

วัตถุมงคลทุกประเภทเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีต และหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2490” เนื่องจากเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน อีกทั้งปรากฏพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ จนได้รับการยกย่องให้เป็น “เหรียญยอดนิยมของ จ.ปทุมธานี” เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อเทียน ปี 2490 สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานผูกพัทธสีมาวัดบ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 2 ซ.ม. ความยาว 3.5 ซ.ม. มีหูในตัว เนื้อทองแดง พิมพ์ด้านหน้า ยกขอบนูนโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเทียนครึ่งรูป ด้านล่างจารึกอักษรไทยว่า “พระครูบวรธรรมกิจ ๒๔๙๐”

ส่วนพิมพ์ด้านหลัง ขอบเรียบ ตรงกลางเป็นองค์พระปฏิมากรประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐาน 7 ชั้น ภายในซุ้มครอบแก้ว ด้านบนมีอักษรไทยโค้งตามรูปซุ้มว่า “ที่ระฤกในการผูกพัทธสีมา” ด้านล่างกำกับชื่อวัดว่า “วัดบ่อเงิน”

ณ ปัจจุบัน เหรียญปั๊มรูปเหมือน หลวงพ่อเทียน ปี 2490 นับเป็นเหรียญ พระคณาจารย์ที่ทรงคุณค่า ผู้มีไว้ต่างหวงแหนยิ่งนัก แทบไม่ค่อยเห็นกันในแวดวงครับผม
  ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68799614864918_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84158109956317_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญปืนไขว้ หลวงพ่อแช่ม

"เหรียญปืนไขว้" เหรียญเด่นของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ด้วยความแปลกแตกต่างทางพิมพ์ทรง

หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต พระเกจิผู้ทรงวิทยาคมและพุทธาคมเข้มขลัง แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งของจังหวัด เจ้าของฉายาว่า "เหรียญปืนไขว้" พระเกจิยุคเดียวกับหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบาง กะพ้อม และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และพระครูบาศรีวิชัย ฯลฯ

เป็นชาวบ้าน ต.ตาก้อง อ.พระปฐมเจดีย์ (อ.เมืองนครปฐม ปัจจุบัน)

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอักขระ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์

เมื่ออายุครบบวช จึงเดินทางกลับมาอุปสมบท ณ วัดตาก้อง บ้านเกิด มีหลวงพ่อทา เจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก เจ้าคณะแขวงเมืองนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "อินทโชโต"

เมื่อมาอยู่กับ "หลวงพ่อทา" พระเกจิชื่อดัง ผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และมีพลังทางจิตกล้าแข็ง เป็นที่ศรัทธาของสาธุชนทั้งหลาย ท่านจึงมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเรียนรู้ในทุกสรรพวิชาจากหลวงพ่อทาให้จงได้ เข้าไปรับใช้อย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานถึง 3 พรรษา ได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมสมใจ

นอกจากนี้ ยังฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษา วิทยาการเพิ่มเติมจาก "หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว"ด้วย จากนั้นจึงออกธุดงค์แสวงหาความรู้เพิ่มเติมไปจนข้ามไปถึงฝั่งพม่า และได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆ จากอาจารย์พม่า ก่อนเดินทางกลับสู่ประเทศไทย

เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวนครปฐมและใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2490 สิริอายุ 86 ปี 76 พรรษา

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้าง ล้วนทรงพุทธคุณ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก" ซึ่งสร้างในราวปี พ.ศ.2484-2485 เพื่อแจกทหารหาญที่ผ่านสงคราม อินโดจีน ว่ากันว่ามีพุทธคุณล้ำเลิศในด้านมหาอุตม์ อยู่ยงคงกระพัน

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ก็คือ "เหรียญปืนไขว้" ซึ่งได้จากการออกแบบเหรียญที่หลวงพ่อทาไม่ได้นั่งเหนืออาสนะ แต่จะอยู่เหนือ "ปืนไขว้" อันเป็นอุปเท่ห์อย่างหนึ่งทางไสยเวทเรียกกันว่า "ข่มอาวุธ" หรือเป็นการตัดไม้ข่มนาม จนกลายมาเป็นฉายาของหลวงพ่อแช่ม

ด้วยรูปทรงของเหรียญที่ออกจะแปลกกว่าเหรียญอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นเหรียญรูปไข่หรือเหรียญรูปทรงเสมา แต่เหรียญนี้ขอบโดยรอบจะหยักเป็นมุมแหลม 16 หยัก เท่ากับอัตราโสฬสมงคล "พระเจ้าสิบหกพระองค์" แลดูสวยงามมาก จึงเรียกขานกันเป็น "เหรียญรูปพัดพุดตาน" หรือ "เหรียญกงจักร" ก็มี

เหรียญปืนไขว้ สร้างเป็นเนื้อทองแดง มีทั้งแบบรมดำและไม่รมดำ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มขอบหยัก มีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มเต็มองค์ ครองจีวรแบบห่มคลุม นั่งเหนือ "ปืนไขว้" มือข้างซ้ายยกขึ้น ที่ฝ่ามือมีอักขระขอม "ตัวนะ" ตรงบริเวณอกหลวงพ่อมีอักขระขอม "ตัวอะ" รอบองค์เป็น "นะ โม พุท ธา ยะ" มีอักษรไทยด้านซ้าย-ขวาว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" อักขระขอมในหยักทั้ง 16 หยัก เป็นพระนามย่อ "พระเจ้าสิบหกพระองค์" ว่า "นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอํ" ด้านหลังเป็นรูปหนุมานอมพลับพลา ตอน ศึกไมยราพณ์สะกดทัพ

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หรือเหรียญปืนไขว้ แบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หูเดียวและพิมพ์สองหู มีความแตกต่างกันที่พิมพ์ด้านหน้า ที่ "หูหลวงพ่อแช่ม" ถ้าเป็น "พิมพ์หูเดียว" รูปเหมือนจะมีเพียงหูข้างขวาของท่านเท่านั้น ส่วน "พิมพ์สองหู" จะปรากฏหู 2 หู ตามปกติ ทว่า "พิมพ์หูเดียว" จะมีจำนวนน้อยกว่าจึงเล่นหาได้ยากกว่า
  ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22968072692553_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49498269417219_2.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36981969078381_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ 2465

องค์พระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาแต่โบราณ ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่า "วัดใหญ่"

ด้านประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกความว่า ... พระปฐมเจดีย์ เดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็น "มหาธาตุหลวง" ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าอาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้

เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ที่กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จึงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อว่านี่คือ "เจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ" ...

จาก "ตำนาน" และ "บันทึกประวัติศาสตร์" ดังกล่าว กอปรกับพระบารมีแห่งพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระปฐมเจดีย์ ได้เคยแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏต่อพระพักตร์รัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ดังมีหลักฐานปรากฏในพระราชหัตถเลขา ทำให้ "พระปฐมเจดีย์" เป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวนครปฐมและใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีการจัดสร้างวัตถุมงคลอันเกี่ยวเนื่องกับ "พระปฐมเจดีย์" มากมายมาโดยตลอด เพื่อจัดหาทุนทรัพย์ไว้บำรุงรักษาและบูรณปฏิสังขรณ์ให้ยังคงสภาพความสมบูรณ์สืบไป

สำหรับ "เหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ ปี 2465" ถือเป็น "เหรียญรุ่นแรก" แห่งองค์พระปฐมเจดีย์ ที่มีความงดงามทั้งรูปแบบและความทรงคุณค่า จนได้รับการยกย่องให้เป็น "1 ใน 4 เหรียญรูปจำลองพระบรมธาตุของไท" ที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง

เหรียญนี้จัดสร้างโดยเจ้าพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตรา ธิการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เนื่องในโอกาสทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2465 อันนับเป็นการบำเพ็ญกุศลครั้งยิ่งใหญ่ จำนวน 10,000 เหรียญ เพื่อแจกเป็นที่ระลึก มี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองแดงเปียกเงิน เนื้อทองแดงเปียกทอง และเนื้อทองแดงธรรมดา ในการนี้ยังได้จัดสร้างพระพุทธรูป สูง 2 ศอกคืบ 4 นิ้ว จำนวน 1 องค์ และสูง 1 คืบ 6 นิ้ว ฐานกว้าง 11 นิ้ว อีก 18 องค์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2465

ซึ่งถึงแม้จะไม่ระบุนามพระเกจิที่ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก แต่ก็สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อโชติ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์สมัยนั้น, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง, หลวงพ่อชา วัดสามควายเผือก และหลวงพ่อทอง วัดละมุด เป็นต้น ซึ่งหลังจาก การทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปีเพียงไม่นาน เจ้าพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ก็ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2466

ณ ปัจจุบันเหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ ปี 2465 เป็นเหรียญที่หาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งนัก สนนราคาก็พุ่งขึ้นสูงลิบลิ่ว การจะเช่าหาต้องพิจารณาให้ดี

หลักการเบื้องต้นให้ดูที่ด้านหน้าของเหรียญ ตรงยอดพระเจดีย์จะมีเส้นแฉกสี่แฉก ปลายเส้นของเส้นด้านล่างและด้านบนจะโน้มเข้าหากัน

จุดสังเกตอีกจุดคือ ด้านล่างช่วงซุ้มวิหารพระร่วง โรจนฤทธิ์จะมีความลึกและคมชัดเจนครับผม
  ราม  วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75297376430696_2_100_696x558_1_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47908534937434_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22143164442645_2.jpg)
เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรก สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุต และเพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีที่ว่า บนแผ่นดินไทย เมื่อเมืองใดเป็นเมืองหลวง จะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ อย่างจังหวัดที่เคยเป็นเมืองหลวง เช่น จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ทรงเห็นว่าที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีอยู่เพียง 2 วัดเท่านั้น คือ วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จึงมีพระราชดำริสร้าง “วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” ขึ้น

ด้วยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพเลื่อมใสใน “พระพุทธสิหิงค์” เป็นอย่างยิ่ง (พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย มีทั้งหมด 3 องค์ คือ ประดิษฐานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นที่นับถือศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปว่า เป็นพระพุทธรูปที่ให้ความร่มเย็น ความอุดมสมบูรณ์

จึงมักถูกอัญเชิญอาราธนามาสรงน้ำกันในวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี) จึงโปรดให้จำลองหล่อ “พระพุทธสิหิงค์” ขึ้น ให้มีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม ขนาดหน้าตักประมาณ 1 ศอก 6 นิ้ว สูง 1 ศอก 8 นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ขนานพระนามว่า “พระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร” ซึ่งหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ได้มีการอัญเชิญพระบรมอัฐิ มาบรรจุที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานองค์นี้ด้วย

ในปีฉลองกรุงฯ พ.ศ.2475 ทางวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ได้มีการจัดสร้าง “เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์” โดยให้ชื่อรุ่นว่า “ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี” เพื่อร่วมเป็นที่ระลึกในงานฉลองกรุงฯ ด้วย

เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นั้น มีจำนวนจัดสร้างไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง และกะไหล่เงิน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้า ยกขอบเป็นเส้นลวดโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร ประทับนั่งปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น จารึกอักษรไทยว่า “พระพุทธสิหิงค์” พื้นเหรียญเป็นลายดอกไม้ร่วง ด้านหลัง เป็นพื้นเรียบ ตรงกลางมีอักขระขอม 2 แถว ด้านบนและล่างประดับลวดลายไทย
  ราม  วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 พฤษภาคม 2561 11:49:37
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23387135482496__3594_3617_3619_3617_30_3648_3.jpg)
เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่บุญ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วได้สร้างและปลุกเสกไว้ล้วนมีความนิยมสูงทุกรุ่น เนื่องจากประชาชนเคารพศรัทธาในหลวงปู่บุญมาก จึงทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นหายาก แม้ว่าท่านจะปลุกเสกไว้หลายรุ่นก็ยังไม่พอแก่ความศรัทธาในหลวงปู่ได้

พระเครื่องประเภทพระเนื้อผงยาได้รับความนิยมสูงสุด พระเครื่องเนื้อโลหะหล่อ พระเนื้อดินเผา เครื่องรางของขลังทุกอย่างได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะเบี้ยแก้นั้นหายากมาก ผู้เคารพศรัทธาในหลวงปู่บุญที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ได้รับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงปู่บุญทุกรุ่นมีสนนราคาสูง แต่ก็หาของแท้ยากมากเช่นกันครับ

พระเครื่องประเภทเหรียญปั๊มของหลวงปู่บุญท่านก็มีสร้างไว้เช่นกัน แต่บางทีอาจจะลืมๆ ไปบ้างจึงไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก เหรียญนั้นก็คือเหรียญพระพุทธชินราช เหรียญนี้ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงปู่บุญสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472 เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญอายุครบ 83 ปี ของหลวงปู่บุญ และน่าจะเป็นเหรียญเดียวที่มีประวัติความเป็นมาและ พ.ศ.แน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีอีกเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญพระพุทธบาท กล่าวกันว่าเป็นเหรียญที่สร้างเป็นที่ระลึกในการสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดกลางบางแก้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องปี พ.ศ.ว่าสร้างในปีใดแน่

เหรียญพระพุทธชินราชเป็นเหรียญที่มีบันทึกไว้แน่นอนว่าสร้างในปี พ.ศ.2472 เหรียญนี้ชาวบ้านแถบวัดกลางบางแก้ว ที่ได้รับมาต่างก็หวงแหนกันมากเช่นกัน ในสมัยก่อนสังคมผู้นิยมพระเครื่องส่วนกลางยังสับสนอยู่กับเหรียญของหลวงพ่อวงษ์วัดบ้านค่าย จังหวัดระยอง เนื่องจากโรงงานที่ทำเหรียญนี้เป็นโรงงานเดียวกัน

จากการสังเกตดู เหรียญทั้ง 2 เหรียญจะมีลักษณะเหมือนกันมาก จะผิดกันตรงที่บัวใต้ฐาน เหรียญของหลวงพ่อวงษ์จะมีบัวขาดไปหนึ่งกลีบ ถ้าสังเกตดูก็เห็นว่าเป็นการจงใจแกะเอาบัวออกหนึ่งกลีบ เพื่อให้แตกต่างกัน จึงสันนิษฐานได้ว่า เหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วนั้นสร้างก่อนเหรียญพระพุทธชินราชของหลวงพ่อวงษ์ ทางโรงงานจึงทำตำหนิไว้ให้แตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้เหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก แต่ในปัจจุบันความชัดเจนในการแยกพิมพ์ และการบันทึกประวัติการสร้างเหรียญนี้ของหลวงปู่บุญชัดเจน ในปัจจุบันเหรียญนี้ก็หายากแล้วครับ สนนราคาเหรียญสวยๆ อยู่ที่หลักแสน แต่ก็ยังหาได้ไม่ยากเท่ากับวัตถุมงคลอย่างอื่นของหลวงปู่บุญ และราคาก็ยังย่อมเยากว่านิดหน่อย

เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่บุญ เท่าที่มีบันทึกไว้มีสร้างด้วยกันหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองแดงมีทั้งกะไหล่ทองและไม่กะไหล่ เนื้อสัมฤทธิ์ มีทั้งกะไหล่ทองและไม่กะไหล่ เหรียญเงิน เหรียญทองคำ จำนวนสร้างไม่ทราบแน่ชัดแต่ก็คงไม่มากนัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญจากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
[/b]
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22217831181155_view_resizing_images_1_.jpg)
พระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดพลับ หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "พระวัดพลับ" เป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ได้รับความนิยมมาก ในสมัยก่อนรุ่นครูบาอาจารย์เรียกว่า "พระสมเด็จวัดพลับ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า พระเครื่องชนิดนี้ สมเด็จ พระสังฆราชสุกไก่เถื่อนได้ปลุกเสก โดยหลวงตาจัน สร้างและอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชฯ ช่วยปลุกเสกให้ ท่านอาจารย์ตรียัมปวายก็เชื่อตามทฤษฎีนี้ ต่อมาภายหลังก็มีนักเขียนได้เขียนตามความเข้าใจของเขาว่า เป็นพระที่สร้างโดยหลวงตาจัน และสร้างไม่ทันสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน ก็ว่ากันไป แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคนครับ

พระวัดพลับ เป็นพระเนื้อผง ที่ค้นพบบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งของวัดพลับ มีมากมายหลายพิมพ์ทรงพระพิมพ์ใหญ่ เช่น พระพิมพ์วันทาเสมา และพระพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่นั้นได้รับความนิยมสูง สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน ส่วนพระพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กก็มีราคาลดหลั่นกันลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์พระปิดตาด้วยแต่จำนวนน้อยกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นอกจากพระที่พบในเจดีย์ วัดพลับแล้ว ต่อมายังพบพระแบบเดียวกันพิมพ์เดียวกันที่เจดีย์วัดโค่ง อุทัยธานีอีกด้วย พระวัดพลับที่พบเกือบทั้งหมดจะเป็นพระ เนื้อผง แต่ก็มีพบบ้างที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วซึ่งมีจำนวนน้อยมาก

ในส่วนตัวผมชอบพระพิมพ์เล็ก เช่น พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก และพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง หรือบางท่านก็เรียกว่าพิมพ์เข่ากว้างเล็ก พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระขนาดเล็กกะทัดรัดน่ารักมาก พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระที่มีสนนราคาย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กและพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กจะมีแม่พิมพ์ที่คล้ายกันมาก ขนาดก็ใกล้เคียงกัน หน้าตาใบหูและองค์พระก็คล้ายคลึงกันมาก แต่ถ้าเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ หัวไหล่ของพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กจะมีหัวไหล่ที่หนาใหญ่กว่าพระพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และหน้าตักของพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กก็จะกว้างกว่าหน้าตักของพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ก็เป็นสิ่งที่แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเราพิจารณาโดยละเอียดก็จะเห็นความแตกต่างมากขึ้นอีกหลายจุดครับ

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ได้เปรียบเมื่อเวลาเช่าหาพระเครื่อง เนื่องจากพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กจะหายากกว่า พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก และสนนราคาก็จะสูงกว่าเล็กน้อยตามความหายาก พระพิมพ์เข่ากว้างเล็กปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก รูปก็ไม่ค่อยได้เห็นครับ

พระวัดพลับนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม นอกจากนี้ยังเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมเช่นกัน เนื้อหาของพระจะออกค่อนข้างแกร่ง และของปลอมทำได้ไม่ค่อยเหมือนครับ ถ้าจะหาพระเนื้อผงพุทธคุณเยี่ยมๆ ผมแนะนำพระวัดพลับครับ เลือกพิมพ์เอาตามชอบและตามทุนทรัพย์ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และพิมพ์ตุ๊กตาเล็กมาให้ชมเปรียบเทียบกันนะครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98214492367373__3627_3621_3623_3591_3614_3656.jpg)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิษณุโลก  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดว่าพระหลวงพ่อโตเราก็จะนึกถึงพระหลวงพ่อโตอยุธยาเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีจำนวนมากและมีชื่อเสียงในด้านอยู่คง แต่พระหลวงพ่อโตความจริงก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด

พระหลวงพ่อโตที่มีราคาค่อนข้างสูงกลับเป็นพระหลวงพ่อโตของจังหวัดพิษณุโลก กรุวัดชีปะขาวหาย (เรียกตามโบราณ) ปัจจุบันเรียกว่าวัดตาปะขาว ความจริงชีปะขาวตามพจนานุกรมไทย แปลว่า นักบวชที่นุ่งขาว หรือถ้าหมายถึงแมลงก็คือตัวแมลงชนิดหนึ่งชอบตอมไฟครับ ก็แปลได้ 2 แบบ เลยต้องอธิบายเสียหน่อย เพราะเคยเขียนถึงพระกรุวัดชีปะขาวแล้วมีคนแย้งมา แต่โบราณนั้นพระหลวงพ่อโต พิษณุโลกก็ยังมักเรียกกันติดปากว่า กรุวัดชีปะขาวหาย

วัดตาปะขาว (เรียกตามชื่อราชการปัจจุบัน) มีตำนานเล่ากันว่า ในการสร้างพระพุทธชินราชในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น มีการหล่อพระพุทธรูปพระประธานอยู่หลายองค์ ตามตำนานกล่าวว่าองค์พระพุทธชินราชหล่อกันหลายครั้งก็ไม่สำเร็จ  ว่ากันว่าเมื่อเททองเข้าสู่เตาหลอมเพื่อหล่อพระถึง 3 ครั้ง ทองก็ไม่รวมตัวกันเป็นองค์พระ ร้อนถึงพระอินทร์จนต้องจำแลงกายเป็นตาปะขาว (นักบวชนุ่งขาห่มขาว) ลงมาช่วยสร้างพระพุทธชินราชจนสำเร็จ แล้วตาปะขาวก็เดินไปทางทิศเหนือพอถึงที่ตั้งวัดก็หายวับไปกับตาโดยไม่มีใครเห็นอีกเลย จึงมีการสร้างวัดไว้ ณ บริเวณนั้นและก็เรียกกันต่อมาว่า วัดตาปะขาวหาย ชาวบ้านในสมัยก่อนมักเรียกว่า “วัดชีปะขาวหาย” (ไม่ใช่ตัวแมลงนะจ๊ะ) ตัววัดน่าจะเป็นวัดเก่าแก่มีสร้างมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ราวปี พ.ศ.1900
 
ที่วัดแห่งนี้ต่อมาการขุดพบพระเครื่องเนื้อดินเผา รูปลักษณ์คล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก พระที่ขุดพบมีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเป็นที่นิยมกันมาก ด้วยว่าพระหลวงพ่อโตกรุนี้มีพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันแคล้วคลาด

นอกจากนี้ยังดีทางด้านเมตตาโชคลาภอีกด้วย และมีขนาดกะทัดรัดเลี่ยมห้อยคอกำลังเหมาะ จำนวนพระก็มีไม่มากหายากจึงทำให้ราคาค่อนข้างสูงกว่าพระหลวงพ่อโตอยุธยาที่มีจำนวนพระพบมากกว่า พระหลวงพ่อโตกรุนี้ที่พบเป็นพระแบบปางสมาธิ เนื้อดินเผา มีหลายสี พระส่วนใหญ่ที่พบจะมีพิมพ์ลึกคมชัดแทบทุกองค์ พิจารณาศิลปะองค์พระสันนิษฐานว่าน่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยายุคต้น ในปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดี

ครับพระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย (เรียกตามโบราณ) เป็นพระที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์และเป็นพระดีของจังหวัดพิษณุโลก ประสบการณ์มีมากมายทั้งด้านแคล้วคลาดและอยู่คงคนโบราณหวงกันมาก พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าแก่ปัจจุบันคนอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง ก็เลยนำมาเขียนไว้กันลืมครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิษณุโลก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชม

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27516397047373__3594_3617_3619_3617_2_3614_35.jpg)
พระขุนแผนไข่ผ่า กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เขียนเรื่องพระเครื่องมาก็มากจนไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนไปเขียนมาก็ซ้ำๆ กัน วันนี้ขอเขียนเรื่องของผมเองในสมัยยังเป็น วัยรุ่นเริ่มๆ ชอบและหาพระเครื่องก็แล้วกันครับ เป็นเรื่องที่เป็นบทเรียนของผม ในสมัยนั้นก็อยากจะได้พระเครื่องเด็ดๆ ไว้ห้อยคอคุ้มครองกาย และมีเมตตามหานิยม การหาพระเครื่องก็งูๆ ปลาๆ ไม่รู้หรอกครับว่าพระแท้เขาดูกันอย่างไร ใช้หูฟังซะมากกว่า

วันหนึ่งในสมัยนั้นผมก็ได้เข้าไปพูดคุยกับคนแก่แถวๆ บ้าน และก็ถามเรื่องพระเครื่องและพุทธคุณและขอให้เล่าให้ฟัง ลุงคนนั้นแกก็เล่าเรื่องพระขุนแผนว่าพุทธคุณดีทั้งบู๊และเมตตามหานิยม ก็เลยขอดูว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แกก็นำมาให้ดู และบอกว่าเป็นพระขุนแผนไข่ผ่าของสุพรรณ แถมบอกถึงคาถาเมตตามหานิยมที่ฟังแล้วเคลิบเคลิ้มไปเลยล่ะครับ

แกว่าคาถาให้ฟังว่า “นะมะพะทะ นะมะนะอะนอกอ นะกะกอ ออนออะ นออะนะอัง ให้พระยาคลุ้มคลั่ง พะว้าพะวัง ดังช้างห่างพง สารพัดจะหลง เห็นหน้างวยงงพิศวงหลงใหล จับจิตจับใจ ร้องไห้ครวญหา นั่งท่ารำพึง คำนึง อย่านอน บนฟูกบนหมอน นั่งนอนคำนึง รำพึงถึงกู นั่งท่าฟังข่าว นั่งเฝ้าหนทาง นั่งเยี่ยมหน้าต่าง กอดอกร่ำไห้ ร้องไห้ครวญคราง อย่าหมางกูสักวัน หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายทัก รักกันถ้วนหน้า ว่าหน้ากูงาม”

นั่นแค่แกว่าคาถามหาเสน่ห์ ก็เล่นเอาเคลิ้มไปเลยครับ ผมเองก็เลยขอเช่าแต่แกไม่ให้เช่า แกว่าจะเอาไว้ให้ลูกชายคนหัวปี ผมกลับมาบ้านก็ได้แต่คำนึงถึงพระขุนแผนไข่ผ่า อยากได้จับจิตถวิลหา ก็ได้แต่เสาะหาพระขุนแผน ไข่ผ่าจะไว้ครอบครอง

วันหนึ่งมาเดินเล่นที่ท้องสนามหลวง ในสมัยนั้นมีการเล่นปาหี่ขายยาขายของกันเป็นประจำ ได้ยินเสียงเขาว่าจะมีการกัดกันของพังพอนกะงูเห่า ก็เลยเดินเล่นเข้าไปดู ยืนอยู่นานก็ไม่เห็นเอามากัดกันสักที มีแต่สลับขายยาขายของไปเรื่อย มีตอนนึงหัวหน้าคณะปาหี่นำเอาพระมาขาย บอกว่าเป็นพระขุนแผนไข่ผ่า พอได้ยินเท่านั้นก็ใจพองอยากจะได้ ก็คอยฟัง เจ้าคนขายก็ยังไม่บอกว่าจะขายสาธยายสรรพคุณก่อนว่า “แม้แต่ผงหญิงกินก็เป็นบ้า ม้ากินก็ลืมโลง โขงกินก็ลืมไพร ไผ่ป่าก็ลืมลม ผมในหัวลืมเกล้า ข้าวในคอก็ลืมกลืน ลืมเพลาก็ลืมง่าย ทั้งสาวแก่แม่ม่าย สะอื้นไห้หาหู จะลองใครๆ ก็เต้า จะลองใครๆ ก็หลง หลงทั้งจิต หลงทั้งใจ กูจะลองช้าง ช้างก็อ่อนงา กูจะลองปลา ปลาก็อ่อนเงี่ยง กูจะลองสาวน้อยเนื้อเกลี้ยง ก็อ่อนใจ คนเห็นกูน้ำตาตก นกเห็นน้ำตาไหล”

โอ๊ยมันโดนใจอยากจะได้ หูตามืดบอด พอเขาบอกราคารีบยกมือซื้อมาทันใด 20 บาทเท่านั้น คนขายยังบอกอีกว่านี่ขุนแผนของแท้ต้องมีกุมารทอง ผมมองดูก็เห็นกุมารทองนอนอยู่ใต้ฐานจริงๆ ดีใจรีบกลับบ้านห่อกระดาษไว้อย่างดี เอาไปอวดลุงแถวบ้านที่เคยเล่าให้ฟัง พอลุงแกเห็นก็บอกว่า เฮ้ยนี่มันของปลอม แบบเดียวกับที่พวกปาหี่มันหลอกขายนะ นึกในใจลุงรู้ได้ไงว่าซื้อมาจากไหนใจเริ่มฝ่อ

รุ่งขึ้นไปสนามพระวัดมหาธาตุ เอาไปให้ผู้ใหญ่ดู ท่านก็บอกว่าไม่แท้ ตรงกะที่ลุงแถวบ้านบอก ผมก็เลยถามว่าแล้วกุมารทองนี่ล่ะ ผู้ใหญ่ในสนามพระท่านก็เลยบอกว่าของแท้น่ะไม่มีกุมงกุมารทองหรอก แล้วท่านก็นำพระขุนแผนไข่ผ่าแท้มาให้ดูว่าที่เห็นใต้ฐานน่ะเป็นกลีบบัว ไม่ใช่กุมารทอง และสอนให้ดูว่าแท้เป็นอย่างไร จากนั้นก็ลาท่านกลับบ้าน นั่งรถเมล์กลับคอตกเหมือนไก่เป็นโรค ใจหักแหลกละเอียด หลังจากนั้นจึงเริ่มศึกษาพระเครื่องอย่างจริงจัง และไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสนามพระวัดมหาธาตุเป็นประจำครับ
ท่านยังสอนอีกเรื่องหนึ่งให้จดจำว่า “เล่นพระอย่าเล่นด้วยหู จงดูด้วยตา พิจารณาจดจำพิมพ์และเนื้อหาให้แม่น แล้วจะเป็นเอง” ครับก็เป็นบทเรียนที่ผมเริ่มเล่นพระโดย ไม่ได้ศึกษาให้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องสมัยก่อนท่านมีคุณธรรมและเมตตา ถ้าใครอยากจะเรียนรู้ท่านก็สอนให้ และในสมัยก่อนนั้นพระแท้ก็มีอยู่มาก ท่านก็นำมาให้ดูและศึกษา ส่องดูองค์จริงกันเลยครับ

สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้รู้ว่าการศึกษาพระเครื่องนั้นไม่ได้ยากจนเกินไป เพียงแต่ต้องศึกษาให้ถูกต้องเท่านั้น และต้องใช้เหตุผลในการศึกษาพิจารณาครับ นอกเรื่องนอกราวไปบ้างก็นึกว่าอ่านสนุกๆ ก็แล้วกันนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระขุนแผนไข่ผ่ากรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26882724132802_1_82_696x353_1_.jpg)
พระปิดตา เนื้อเมฆพัด หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนผมเคยถามผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่อยู่ราชบุรีว่า พระอะไรของราชบุรีที่เหนียว อยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ คำตอบก็เกือบเหมือนๆ กันหมดคือพระมหาอุดหลุมดิน มีคนเจอกันมาเยอะเชื่อถือได้แน่นอน

ผมเองในตอนนั้นก็ไม่รู้จักพระมหาอุดหลุมดิน จึงอยากรู้ก็ติดตามถามหาขอความรู้ไปเรื่อยจนได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านก็เล่าให้ฟังว่าพระปิดตาหลุมดิน สร้างโดยหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน (วัดสุรชายาราม) สร้างแจกให้เป็นที่ระลึกในงานสร้างศาลาการเปรียญของวัดหลุมดิน ประมาณปี พ.ศ.2471 และมีพระพิมพ์กลีบบัวแจกในงานเดียวกัน พระปิดตามหาอุดแจกให้กับผู้ชาย ผู้หญิงจะได้พระกลีบบัว หลังจากนั้นก็มีคนเจอกับประสบการณ์ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ฟันไม่เข้าบ้าง ก็เริ่มมีคนไปขอพระจากหลวงพ่อปล้องเรื่อยๆ

ต่อมาเมื่อคราวสงครามอินโดจีน พวกทหารแถบราชบุรีก็มาขอพระปิดตาจากหลวงพ่อปล้องกันมากจนพระหมดจากวัด หลวงพ่อต้องทำผ้ายันต์แจกแทน

ทั้งพระปิดตา มหาอุดและ ผ้ายันต์ของหลวงพ่อปล้องก็มาโด่งดังมากตอนที่ทหาร ที่ห้อยพระของหลวงพ่อถูกยิงไม่เข้าหลายราย ชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่ว หลังจากเสร็จสิ้นสงครามก็มีคนมาเสาะหาพระปิดตาหลวงพ่อปล้องกันมาก แต่ก็หายากแล้วเพราะพระหมดไปจากวัดนานแล้ว ใครได้ไว้ต่างก็หวงแหนไม่ยอมแบ่ง
 
พระปิดตามหาอุดของหลวงพ่อปล้องที่สร้างส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อเมฆพัดสีดำเป็นมันวาว และจะมีจารอักขระลายมือของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ ผู้ใหญ่แถบราชบุรีสมัยก่อนบอกว่าเชื่อขนมกินได้เลย เหนียว อยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ เท่าที่สังเกตดูพระปิดตาหลวงพ่อปล้อง เนื้อเมฆพัดการสร้างเมื่อหล่อเสร็จแล้วจะมีการแต่งตะไบทุกองค์ โดยเฉพาะการตะไบแต่งนิ้วมือ ทั้งด้านหน้าและใต้ฐาน คมชัด เป็นการแต่งตะไบหลังจากการหล่อก็เพื่อให้คมชัดสวยงาม

ในปัจจุบันพระปิดตาหลวงพ่อปล้องหายาก มีพระปลอมมานานแล้ว เพราะพระหมดไปจากวัดในครั้งสงครามอินโดจีน และเป็นที่เสาะหาของคนทั่วไป ก็เลยมีคนปลอมมานานมากแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหา ก็ต้องพิจารณาให้ดี พยายามจดจำลายมือจารให้ได้ ถ้าพิจารณาไม่เป็นก็ต้องเช่าหากับผู้ที่ไว้ใจได้เท่านั้นครับ

พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง เนื้อเมฆพัดสนนราคาสูง แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากมากครับ พระพิมพ์กลีบบัวและพระปิดตาเนื้ออื่นๆ ก็ราคาลดหลั่นกันลงไป แต่ที่นิยมและเล่นหากันเป็นมาตรฐานก็จะเป็นพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47610330043567_2229_1_clip_image004_1_.jpg)
เหรียญที่ระลึกพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

กล่าวถึงวิวัฒนาการ "เหรียญ" ของประเทศไทย ต้องยกให้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นยังคงใช้หอยเบี้ยและพดด้วงในการชำระเงิน แต่ก็เริ่มมีการยอมรับ "เบี้ยทองแดง" ในการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำเหรียญรูปกลมแบนอย่างสากล ซึ่งยังไม่ทันสำเร็จก็เปลี่ยนรัชกาล

ในปี พ.ศ.2400 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย ทำงานด้วยแรงงานคนโดยวิธีใช้แรงอัดแบบ SCREW PRESS METHOD พระองค์จึงโปรดให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ" แต่เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดเล็กผลิตเหรียญได้เพียงวันละเล็กน้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ในที่สุด

จนปลายปี พ.ศ.2401 คณะทูตได้สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์แรงดันไอน้ำมาใหม่ จากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาอีก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวังใช้งานได้เมื่อปี พ.ศ.2403 พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ" จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก

แต่ถ้าถามว่า "เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย" นั้น คงต้องกล่าวย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียวครับผม... เพราะเหตุใด?

สมัยกรุงศรีอยุธยา ออกญาโกษาธิบดี เดิมชื่อ ปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสุนทร (ปาน) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส

พระวิสูตรสุนทร (ปาน) พร้อมคณะ เดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ.2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวซายส์ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 ก.ย.2230 ซึ่งรวมระยะการเดินทางทั้งหมดถึง 1 ปี 9 เดือน

ในครั้งนั้น พระวิสูตรสุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างสมบูรณ์แบบ ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสกล่าวยกย่องชื่นชม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศสมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป

นอกจากนี้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังโปรดเกล้าฯ ให้ราชสำนักฝรั่งเศสผลิต "เหรียญที่ระลึก" เพื่อเป็นเกียรติแก่การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสยามด้วย

เหรียญที่ระลึก พระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า "เหรียญโกษาปาน" สร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและบรอนซ์ ลักษณะเป็นเหรียญกลม ยกขอบ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผินพระพักตร์เบื้องขวา มีอักษรภาษาละตินว่า LUDOVICUS MAGNUS REX CHRISTIANISS แปลว่า หลุยส์มหาราชาชาวคริสต์ ด้านหลังเป็นรูปคณะทูตไทยเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวร์ซายส์ ด้านบนมีอักษรละตินว่า FAMA VIRTUTIS แปลว่า เกียรติยศแห่งคุณความดี ด้านล่าง มีอักษรละติน 2 บรรทัด ว่า ORATORES REGIS SIAM แปลว่า ราชทูตแห่งพระราชากรุงสยาม และ M DC LXXXVI คือ ปี ค.ศ.1686

ข้อสังเกตของเหรียญที่ระลึก พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ปี พ.ศ.2229 (ค.ศ.1686) คือ ขอบเหรียญจะไม่มีการตอกตราหรือโค้ดใดๆ เพราะโรงกษาปณ์กรุงปารีสเพิ่งเริ่มตีตราที่ขอบเหรียญในปี พ.ศ.2375 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 และบริเวณด้านหน้าใต้พระบรมรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะมีตัวย่อ "LI" อันเป็นตัวย่อของชื่อศิลปินผู้ทำแม่พิมพ์เหรียญที่ทำขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ต่อมา โรงกษาปณ์กรุงปารีส จัดสร้าง "เหรียญโกษาปานย้อนยุค" ในราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงควรพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะอักษรย่อของศิลปินผู้ทำแม่พิมพ์เหรียญจะไม่เหมือนกัน และมีการตอกโค้ดที่ขอบเหรียญครับผม

(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก "พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย" ที่ได้ค้นคว้ามาในเบื้องต้น)

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31221073120832_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53953106080492_view_resizing_images_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91939250586761_2.jpg)
     (ซ้าย) พิมพ์วัด  (ขวา) พิมพ์วังบูรพา
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่เรียกกันว่า "แม่กลอง" เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มี พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูป "หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย" เป็นหนึ่งในนั้น

หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร เจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย เกิดที่ ต.บางแค อ.อัมพวา เมื่อปี พ.ศ.2393 อายุได้ 10 ขวบ บวชเป็นสามเณรที่วัดบางแคใหญ่ ศึกษาอักขรสมัยและภาษาไทยกับพระอาจารย์ที่วัด ระหว่างนั้นได้ร่ำเรียนกับบิดาผู้เชี่ยวชาญด้านไสยเวทไปด้วย จนอายุครบ 20 ปีจึงอุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมสโร"

ศึกษาด้านพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดวิชาด้านพุทธาคมและวิปัสสนากรรมฐานจนแตกฉาน จากนั้นเดินทางไปจำพรรษาที่ จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา และเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชาย ที่วัดทองนพคุณ

หลวงพ่อแก้วเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ มีวาจาสิทธิ์ และเป็นพระนักพัฒนา ท่านพัฒนาวัดพวงมาลัย ก่อสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดจนเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดอีโก้ วัดสาธุชนาราม เป็นต้น

ท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชน แม้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อย่างพระองค์เจ้าภาณุรังษีก็ทรงเคารพเลื่อมใส ถึงกับมาสร้างวังอยู่ใกล้ๆ วัดและเสด็จมาเยี่ยมท่านเป็นประจำ

กิตติศัพท์ทางด้านวิทยาคมของหลวงพ่อแก้วเป็นที่ปรากฏและเลื่องลือขจรไกล ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อครั้งดำเนินการสร้างวัดเขาอีโก้ ซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารไม่ค่อยมีใครเข้าไปนัก วันหนึ่งลูกศิษย์มาบอกว่าข้าวสารหมด ท่านก็บอกไม่เป็นไรพร้อมนั่งบริกรรมพระคาถาหยิบผ้าอาบมาพาดบนบ่าแล้วฟาดลงบนพื้นดิน 3 ครั้ง จากนั้นก็เดินเข้าไปจำวัดปกติ พอรุ่งขึ้นเช้าปรากฏมีพวกชาวตลาดได้หาบข้าวสารมาถวายมากมายเป็นที่อัศจรรย์แก่บรรดาลูกศิษย์ยิ่งนัก

หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร มรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุ 69 ปี พรรษาที่ 49 ในวันพระราชทานเพลิง ผู้เลื่อมใสศรัทธาต่างเฮโลเข้าไปแย่งอัฐิของท่านในขณะที่ไฟลุกโชนอยู่ แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดเป็นแผลไฟไหม้เลยเป็นที่น่าอัศจรรย์

วัตถุมงคลมีหลายแบบแต่จำนวนการสร้างไม่มากนัก ทั้งตะกรุดใบลาน ผ้ายันต์ พระผง เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2459 ในโอกาสสร้างพระอุโบสถวัดพวงมาลัย พร้อมเหรียญพระพุทธ นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วรุ่นแรก ปี 2459 จัดสร้างเป็นหลายเนื้อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ ล้อมรอบด้วยช่อดอกไม้ เหนือศีรษะเป็นตัว "อุณาโลม" หางยาวจดขอบเหรียญ รอบนอกสุดเป็นอักขระขอมอ่านว่า "พุทยัด ธาปิด ยะอุด นะอุด โมอัด" ล่างสุดเป็นปีที่สร้าง "๒๔๕๙" ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว "อุณาโลม" ถัดมาตามแนวรอบขอบเหรียญเป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อุ ทัง อัด โท ปิด คะ นะ" ช่วงกลางว่า "ภู ภี ภุ ภะ" ต่อมาเป็นฉายา "พรหมสโร"

แบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์วัดและพิมพ์วังบูรพา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันที่หูของเหรียญ "พิมพ์วัด" จะเป็นแบบ หูเชื่อม ส่วน "พิมพ์วังบูรพา" ซึ่งพระองค์เจ้าภาณุรังษีเป็น ผู้สร้างถวาย หูเหรียญจะเป็นแบบหูในตัว นอกจากนี้ศิลปะการแกะแม่พิมพ์ก็เป็นฝีมือช่างคนละคนกัน โดยพิมพ์วัดจะได้รับความนิยมมากกว่า องค์สมบูรณ์แบบเรียกว่าเลยหลักแสนไปแล้ว

แต่กระนั้นทั้งสองพิมพ์ก็หาดูหาเช่ายากยิ่งทั้งสิ้น

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 พฤษภาคม 2561 11:53:12

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87655807659029_fffff_696x352_1_.jpg)
เหรียญพระอุปัชฌาย์คำ วัดสนามจันทร์

พระอุปัชฌาย์คำ พรหมสุวณณ วัดสนามจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในพระเกจิยุคเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสโดยเฉพาะชาวแปดริ้วและภาคตะวันออก วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2481” ซึ่งถือเป็นสุดยอดเหรียญดังของจังหวัด เพราะนอกจากตัวท่านแล้ว ยังมีพระเกจิชื่อดังในยุคนั้นร่วมปลุกเสกอีกมากมาย

พระอุปัชฌาย์คำ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 ที่บ้านปากคลองสนามจันทร์ ท่านไม่ค่อยกลัวใคร จนในละแวกนั้นต่างก็ยกให้เป็นลูกพี่

ต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2421 บิดามารดาจึงให้อุปสมบท ณ วัดสนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ มีหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “พรหมสุวณโณ”

หลังอุปสมบท เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า สามารถท่องพระธรรมวินัยและเข้าสอบพระธรรมวินัยได้ที่ 1 ท่านยังชอบศึกษาพุทธาคม ใฝ่ใจศึกษาวิทยาการต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า ทั้งมหาอุด พัดโบก กำบังไพร เมตตามหานิยม และสำเร็จผงปถมัง ฯลฯ

จากนั้นในราวพรรษาที่ 5 ก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อฝึกวิปัสสนา จนไปพบ “ตาปะขาวพุ่ม” ฆราวาสจอมขมังเวท จึงฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมจนแตกฉาน ทั้งมหาอุด ตะกรุดใต้น้ำ ล่องหนหายตัว ฯลฯ
 
ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง จนเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาที่วัด จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สุดท้ายเป็นเจ้าคณะแขวง มรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุ 87 ปี 66 พรรษา

พระอุปัชฌาย์คำ เคร่งครัดในศีลานุวัตร มีเมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง กิตติศัพท์ด้านพุทธาคมของท่านเองก็ขจรไกล

ในปี พ.ศ.2481 ก่อสร้างอุโบสถวัดสนามจันทร์ แต่ยังขาดทุนทรัพย์อีกจำนวนมาก จึงคิดสร้าง “เหรียญรูปเหมือน” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหานำแผ่นทองแดงประมาณ 300 แผ่น ไปให้พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นร่วมกุศลจิตในการลงอักขระเลขยันต์เพื่อเป็นชนวนมวลสาร

อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฯลฯ แล้วนำกลับมาให้ช่างในกรุงเทพฯ รีดเป็นแผ่นโลหะแล้วปั๊มเป็นรูปเหรียญ โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมีกะไหล่เงิน สำหรับแจกกรรมการด้วย

เมื่อแล้วเสร็จได้เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดสนามจันทร์ โดยมีพระเกจิชื่อดังทางภาคตะวันออกมาร่วมปลุกเสกถึง 9 รูป คือพระพุทธรังสีมุนีวงศ์(โฮ้ว) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา, พระสันทัดธรรมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี, หลวงพ่อพูน วัดตาล้อม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อศรี วัดพนัสนิคม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา และ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี แล้วนำเหรียญไปเก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยวอีก 1 พรรษา จึงนำมาแจกในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดสนามจันทร์

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกพระอุปัชฌาย์คำ ปี 2481 ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม หูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์คำ ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “พระอุปัชฌาย์คำ” ด้านล่างว่า “พรหมสุวณณ” ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห มีอักษรไทยกำกับว่า “ที่ระลึก ในการฝังลูกนิมิตร์ วัดสนามจันทร์ อ. บ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิงเทรา ๒๔/๑๑/๘๑” แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ยันต์ใหญ่และพิมพ์ยันต์เล็ก

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82909969944092_111_16_696x455_1_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14875438271297_2.2_3614_3619_3632_3604_3636_3.jpg)
พระพิมพ์ซุ้มกอ วัดคลองมะดัน

หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณวัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี อีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “พระพิมพ์ซุ้มกอ” หาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง

หลวงพ่อโหน่งเป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เมื่อปี พ.ศ.2408

ในปี พ.ศ.2433 เมื่ออายุ 24 ปีจึงได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อินทสุวัณโณ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีผิวกายดุจพระอินทร์

เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ค้นคว้าศึกษาพระธรรมวินัยจนรู้ซึ้งและแตกฉาน ออกเดินทางไปยังวัดทุ่งคอกด้วยเส้นทางที่ยากลำบาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์พระอธิการจันทร์ ผู้มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์ด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมแขนงต่างๆ ต่อมาเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า พระเกจิชื่อดังสุพรรณบุรี
 
ในระหว่างศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเนียมก็ได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียมเช่นกัน โดยหลวงพ่อโหน่งนับเป็นศิษย์รุ่นพี่ หลวงพ่อเนียมได้เคยปรารภกับหลวงพ่อปานว่า “ถ้าข้าตายแล้วสงสัยธรรมข้อใดให้ไปถามท่านโหน่งเขานะ เขาพอแทนข้าได้” แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระธรรมวินัยและวิทยาการต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับของพระอาจารย์

เมื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มเป็นที่เล่าขานขจรไกลทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ จนล่วงรู้ไปถึงหลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง ผู้เก่งกล้าในวิชาอาคมต่างๆ จึงเดินทางมาพบและสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ จนมีความสนิทสนมกันมาก หลวงพ่อแสงได้ชักชวนท่านให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดคลองมะดัน ซึ่งท่านก็ตอบตกลงด้วยความเต็มใจ และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพในปี พ.ศ.2454 ท่านจึงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันสืบต่อมา จากนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและเสนาสนะต่างๆ สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร ฯลฯ จนวัดคลองมะดันเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา

ระหว่างนั้นหลวงพ่อปานก็ได้เดินทางมาสนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ท่านยังมีความเกี่ยวพันกับพระเกจิชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนพื้นบ้านสองพี่น้องเช่นเดียวกัน 2 รูป เมื่อครั้งอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง คือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดโพธิ์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 และเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ

หลวงพ่อโหน่งมรณภาพในปี พ.ศ.2477 สิริอายุรวม 69 ปี พรรษา 46

หลวงพ่อโหน่งเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครจำได้ แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า “พ.ศ.๒๔๖๑” จึงสันนิษฐานว่าท่านน่าจะเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2461 เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่เก่ากว่านั้นเลย

วัตถุมงคลของท่านเป็น “พระพิมพ์ ดินเผา” มีทั้งละเอียดและหยาบ ทั้งพระบูชา พระเครื่อง และมีมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์ขุนแผน พิมพ์พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “พิมพ์ซุ้มกอ” ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ค่านิยมก็แตกต่างกันไปตามสภาพ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37142729883392__3653_gghgf_696x392_1_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี

จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งของไทย มีวัดวาอารามมากมาย รวมถึงพระพุทธรูป-พระเครื่องกรุเก่าที่นับเป็นมรดกล้ำค่าและเป็นที่นิยมสืบต่อกันมา นอกจากนี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน หนึ่งในพระเกจิยุคเก่าที่ยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาและกล่าวขานถึงมาจวบจนปัจจุบัน ทั้งชาวเมืองสิงห์บุรีและใกล้เคียง รวมถึงแวดวงผู้นิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ ซึ่งก็คือ หลวงพ่อลา ปุณณชิ วัดโพธิ์ศรี

นามเดิมว่า ลา พันธุ์โสภาคย์ เกิดที่หมู่บ้านบางกะปิ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เมื่อปี พ.ศ.2404

อุปสมบทที่ วัดโพธิ์ศรี ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี ในสมัยที่ “พระอาจารย์คิ้ม” เป็นเจ้าอาวาส ได้รับฉายา “ปุณณชิ” ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน

จากนั้นเริ่มออกธุดงค์เพื่อบำเพ็ญสมถกรรมฐาน และเมื่อพบพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้าจึงฝากตัวเข้าเป็นศิษย์เล่าเรียนไสยเวท

เมื่อวัดโพธิ์ศรีว่างเว้นเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงอาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาท่านได้เป็นสหายธรรมกับ”พระอริยมุนี (เผื่อน)” วัดราชบพิธฯ จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมพระอริยมุนี ถวายตัวกับ สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร และในปี พ.ศ.2439 จึงได้อุปสมบทใน “ธรรมยุติกนิกาย” ที่วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นกลับมาจำพรรษาที่วัดโบสถ์ อ.อินทร์บุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ชาวบ้านวัดโพธิ์ศรีได้มาขอหลวงพ่อลากับพระครูสิงหบุราจารย์ (อินทร์) เพื่อตั้งคณะธรรมยุตขึ้นที่วัดโพธิ์ศรี วัดโพธิ์ศรีจึงเปลี่ยนจากวัดมหานิกายเป็น วัดธรรมยุติกนิกายนับแต่นั้นมา ประจวบกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีว่างลง หลวงพ่อลาจึงได้รับนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี เป็นครั้งที่ 2 ดูแลปกครองและพัฒนาวัดโพธิ์ศรีจนเจริญรุ่งเรืองมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักขจรไกล เป็นที่เคารพรักของพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา
 
สมณศักดิ์สุดท้ายเป็น “พระครูวินิตศีลคุณ” มรณภาพในปี พ.ศ.2486 สิริอายุ 82 ปี

หลวงพ่อลา เป็นผู้ที่ยึดมั่นในสมถกรรมฐานและมีพลังจิตที่แก่กล้า ได้รับความไว้วางใจจากชาวสิงห์บุรีให้เป็นพระคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษก “เหรียญกริ่งรูปเหมือน แหวนมงคลเกล้า” ในพิธีสมเด็จ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ วัดราชบพิธฯ เมื่อปี พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นพิธี ที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น มีพระเกจิคณาจารย์ ชื่อดังจากทั่วประเทศร่วมปลุกเสกถึง 108 รูป

หลวงพ่อลาสร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด เช่น เหรียญ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมี “เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468” ซึ่งเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกและรุ่นเดียว ที่นับเป็นหนึ่งในเหรียญยอดนิยมของจังหวัด ปัจจุบันหาดูเช่าของแท้ยากยิ่งนัก

เหรียญปั๊มรูปเหมือนปี 2468 สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการสร้างโรงเรียนประชาบาล “ลาวิทยาคาร” มีจำนวนเพียง 1,000 เหรียญเท่านั้น

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว เนื้อทองแดงกะไหล่ทองเพียงเนื้อเดียว พิมพ์ด้านหน้า ยกขอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี พุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานในวิหารวัดโพธิ์ศรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูงของชาวสิงห์บุรี พิมพ์ด้านหลัง ยกขอบเส้นลวดด้านใน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อลานั่งสมาธิเต็มองค์ ล้อมรอบด้วยอักขระขอมพระคาถา 9 ตัว ว่า “กะ สะ ทะ กะ พะ สะ สะ ทะ กะ” ด้านล่างจารึกอักษรไทยว่า “พระอธิการลา วัดโพธิ์ศรี พ.ศ.๒๔๖๘”

ด้วยความที่เหรียญนี้มีการทำเทียมมาแต่อดีตจนปัจจุบันและการจัดสร้างค่อนข้างน้อย จึงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ หรืออาศัยผู้ชำนาญการที่เชื่อถือได้จะได้ไม่ผิดหวังครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60079115546411_view_resizing_images_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53941013912359_view_resizing_images_2_.jpg)
เหรียญเด่นหลวงพ่อเส็ง

พระครูวิมลศีลาจาร หรือ หลวงพ่อเส็ง พุทธปาลิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและมีเมตตาธรรมสูง

วัตถุมงคลของท่านทุกประเภทล้วนเป็นที่นิยมสะสมของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2485" และ "เหรียญโภคทรัพย์" ซึ่งเหรียญรุ่น 3 ด้วยพุทธคุณโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์

เกิดเมื่อวันพุธที่ 19 ม.ค.2440 ที่บ้านเมืองใหม่ ประจันตคาม เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2460 อุปสมบท ณ วัดทัพช้าง (เมืองใหม่) โดยมี พระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต (สิงห์) เจ้าคณะแขวงปัจจันตคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ ใฝ่ใจศึกษาพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน จนปี พ.ศ.2475 สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้ จึงได้ย้ายไปเป็นครูสอนพระปริยัติที่วัดท่าเรือ
 
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสและเป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขตขณะนั้น และเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมาจนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีประจันตคาม ที่พระครูวิมลศีลาจาร

มรณภาพในวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2507 สิริอายุ 67 ปี 47 พรรษา พระราชทานเพลิง ในปี พ.ศ.2508

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเส็งมีมากมายหลายประเภท อาทิ เหรียญ พระกริ่ง ผ้ายันต์ ฯลฯ ในสมัยสงครามอินโดจีนนั้น เรียกได้ว่า กิตติศัพท์ด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีไม่ได้ด้อยไปกว่า หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เลยทีเดียว

วัตถุมงคลที่เป็นที่มีความโดดเด่นที่สุด 2 รุ่น คือ

เหรียญรุ่นที่ 1 เป็น "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในงานทำบุญวันเกิดของท่านเมื่อปี พ.ศ.2485 เรียกกันว่า "เหรียญรุ่นแซยิด" ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 45 ปี แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อเส็ง จึงขออนุญาตจัดสร้างเพื่อไว้สักการะเป็นที่ระลึกและปกป้องคุ้มครอง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา เนื้อทองแดง ทั้งรมดำและกะไหล่ทอง และมีเนื้อเงินบ้างเล็กน้อย ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเส็งครึ่งองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างเป็นตัวหนังสือไทยว่า "พระปลัดวิมล" ระบุปีที่สร้าง "๒๔๘๕" ด้านหลัง เป็นยันต์อิติปิโส 8 ทิศ ต่อมาเป็นอักษรไทยว่า "ราสดรสัทธาทำ ท่าเรือ ประจันตะคาม"

ส่วนเหรียญรุ่นที่ 3 เป็น "เหรียญโภคทรัพย์" ที่หลวงพ่อเส็งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มีการปลูกต้นโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยาที่วัดประจันตคาม ในปี พ.ศ.2499 มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลม ไม่มีหู ด้านหน้า เป็นรูปนางกวักนั่งหันข้างเต็มรูป มีถุงเงิน 3 ถุง แต่ละถุงมีตัวเลขกำกับ

ด้านบนเป็นอักขระขอมอ่านว่า "สิริโภคา นะมาสะโย วัชชะทะนัง" ด้านล่างเป็นอักษรไทยว่า "เหรียญโภคทรัพย์" ต่อด้วยจุดกลมโดยรอบขอบเหรียญมาบรรจบกันรวม 36 จุด ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์รูปใบโพธิ์ จารึกอักขระขอมว่า "อุอากะสะ นะชาลีติ เยสิทธิลาภา" โดยรอบเหรียญเป็นอักษรไทยว่า "เหรียญโภคทรัพย์ในพิธีปลูกโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยา วัดศรีประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พ.ศ.๒๔๙๙"

พิมพ์ด้านหน้าเหรียญซึ่งเป็นรูป "นางกวัก" นั้น เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ด้านการค้าขาย เป็นการกวักเรียกผู้คนและเงินทอง ยิ่งได้กำกับด้วย "คาถาเรียกทรัพย์" ของท่าน จึงสร้างให้ผู้ครอบครองเหรียญได้ปรากฏในพุทธคุณแห่งเมตตามหานิยม โชคลาภ และทำมาค้าขึ้นกันถ้วนหน้าครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85453148600127_bud08030461p1_696x423_1_.jpg)
พระวัดระฆังหลังค้อน

เมื่อกล่าวถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ทุกคนจะต้องนึกถึงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องอันเลื่องลือ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเก่าที่มีค่านิยมสูงลิ่วจนแทบแตะไม่ถึง ความจริงแล้วยังมีการสืบทอดการสร้างพระเครื่องของวัดระฆังฯ ในรุ่นต่อๆ มาอีกมากมาย

โดยเฉพาะพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ เช่น พระพุทธบาทปิลันทน์ ของ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัด) และ พระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปเช่นกัน แต่ถ้ากล่าวถึงสนนราคาที่ยังพอจับต้องได้ต้องยกให้ “พระวัดระฆังหลังค้อน”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล “อิศรางกูร” เกิดที่จังหวัดนครนายก เมื่อปี พ.ศ.2400 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว

จนอายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงนำไปถวายเป็นศิษย์หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์ที่วัดระฆังโฆสิตารามหลายๆ รูป รวมถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม

จนปี พ.ศ.2413 จึงบรรพชาที่วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่ออายุครบอุปสมบทล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็น “นาคหลวง” และอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้รับฉายา “ญาณฉันโท” ร่ำเรียนด้านปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญ 5 ประโยค ในปี พ.ศ.2425

จากนั้นได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมาจนประมาณปี พ.ศ.2460 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดระฆังฯ

ปี พ.ศ.2464-2465 ได้เป็นพระราชาคณะที่ “พระพุทธโฆษาจารย์” ท่านเจ้าประคุณมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2470 สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50

สร้าง “พระวัดระฆังหลังค้อน” ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพื่อแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้สักการบูชา โดยมีการจัดสร้างด้วยกัน 2 ครั้ง

ครั้งแรกระหว่างปี พ.ศ.2453-2457 ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระพิมลธรรม” ลักษณะเป็นพระเครื่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. สูงประมาณ 2 ซ.ม. หล่อด้วยโลหะผสมแก่ทองเหลือง โดยได้ส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณหลายสำนักเพื่อให้จารอักขระเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา ผสมรวมกับชนวนรูปหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตร และชนวนรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ

จากนั้นอาราธนาพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคุณยุคนั้นเข้าร่วมปลุกเสกอีกครั้งก่อนที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ ด้วยวิธี “การหล่อแบบโบราณ”

พิมพ์ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานเขียง รองด้วยฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นในซุ้มด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์ ลักษณะเป็นเม็ดกลมรายรอบเหนือพระเศียร ส่วนพิมพ์ด้านหลังเป็นหลังเรียบ บางองค์อาจมีรอยค้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง จากการใช้ค้อนกระแทกให้องค์พระแยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ “หลังค้อน” บางองค์ก็ไม่มี จะมีแต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น ประการสำคัญคือองค์พระจะมีรอยตัดด้านบนและด้านล่าง หรือที่เซียนพระทั้งหลายเรียกว่า “ตัดหัวตัดท้าย” ด้านข้างทั้งสองด้านส่วนใหญ่จะไม่มีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ สามารถแบ่งพิมพ์ออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ล่ำ และพิมพ์ชะลูด

ครั้งที่สอง อยู่ในราวปี พ.ศ.2458-2470 สร้างเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร ตำรวจ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชนในช่วงสงคราม โดยใช้พิมพ์ทรงเดียวกันแต่กรรมวิธีการหล่อแตกต่างไปจากเดิม คือเป็นการ “หล่อโบราณแบบเข้าช่อ” ตัดก้านชนวน เมื่อตัดเอาองค์พระออกจากช่อชนวนแล้วนำพระไปตกแต่งขอบหรือส่วนที่เป็นเนื้อเกินออกไปให้เรียบร้อย ดังนั้น องค์พระจะมีร่องรอยการตกแต่งขอบทุกด้าน นอกจากนี้ ความหนาขององค์พระส่วนใหญ่จะหนาน้อยกว่าที่สร้างครั้งแรก

การจัดสร้างทั้งสองครั้งนี้จะมีลักษณะแม่พิมพ์เหมือนกัน ถ้าจะพิจารณาว่าเป็นการสร้างครั้งใดต้องดูที่กระแสเนื้อของโลหะ การหล่อครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบ หรือไม่ก็เหลืองอมเขียว

ส่วนในการหล่อครั้งที่ 2 กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67836564323968_2_3614_3619_3632_3621_3637_362.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56487347227003_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25359071460035_2.jpg)
พระลีลา วัดถ้ำหีบ

พระลีลา วัดถ้ำหีบ เป็นพระกรุเก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามมาก ลายเส้นมีความอ่อนไหว ชัดเจน และกลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์โดยแท้ แต่ถึงแม้จะมีถิ่นกำเนิดที่สุโขทัย แต่ก็หาได้ยากยิ่งและไม่ค่อยแพร่หลายในสุโขทัยนัก สันนิษฐานว่า หลังจากการขุดค้นพบน่าจะนำออกมากระจายนอกเขตจังหวัดและในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ด้านของพุทธคุณนั้นเป็นเลิศทั้งโภคทรัพย์และเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงมาก

พระลีลา วัดถ้ำหีบ มีการค้นพบภายในถ้ำบริเวณวัดร้างบนเขากิ่วอ้ายมา จ.สุโขทัย ซึ่งเดิมชื่อ “วัดถ้ำหีบ” วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่ไม่ได้รับการบูรณะจนเหลือเพียงซากปรักหักพัง ไม่หลงเหลือร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเลย ชาวบ้านขึ้นเขาไปเพื่อหามูลค้างคาว พอเข้าถ้ำพบไหเคลือบหลายใบ เมื่อเปิดออกดูจึงพบ “พระปางลีลา” ลักษณะเป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก รูปทรงยาวรียอดแหลม ขนาดเขื่อง สูงประมาณ 8.5 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. รูปกรอบดูมีสองชั้น

ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหยาบและละเอียด บางองค์มีการล่องชาดและปิดทองมาแต่ในกรุ เนื้อพระออกผิวเหลืองนวล ดูเหมือนพระใหม่หรือหม้อใหม่ แสดงว่าองค์พระไม่เคยสัมผัสอากาศภายนอกเลย เนื้อมีความแกร่ง โดยเฉพาะสีแดงจะแกร่งมากกว่าสีเหลือง เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน และจากที่เป็นพระที่อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จึงปรากฏคราบนวลดินบางๆ เกาะติดอยู่บนผิวขององค์พระเช่นเดียวกับพระเนื้อดินทั่วไปอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ

 ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาพุทธลักษณะขององค์พระแล้ว ต้องสังเกตที่ “คราบของนวลดิน” บนองค์พระ อันถือได้ว่าเป็น “จุดตาย” ภายในไหยังพบพระเนื้อชินและเนื้อว่านที่มีพุทธลักษณะเหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก “พระลีลา วัดถ้ำหีบ” ยังมีการค้นพบที่กรุวัดเจดีย์งามและวัดเขาพระบาทน้อย อีกด้วย

พุทธลักษณะองค์พระประทับยืน แสดงปางห้ามพระไม้แก่นจันทน์ เหนือฐานหมอนชั้นเดียว พระบาทข้างซ้ายทรงอยู่ ส่วนข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะการลีลาก้าวย่าง พระกรข้างขวาทอดลงตามลำพระองค์ พระกรข้างซ้ายยกขึ้นเหนือพระอุระและผายฝ่าพระหัตถ์ออก เห็นรอยชายสบงและชายจีวรด้านล่าง โดยเฉพาะชายจีวรที่ซ้อนทบกันอย่างมีมิติ พระเกศเฉียงไปด้านซ้ายขององค์พระ หากใช้กล้องส่องดูจะเห็นฐานพระเมาลีเหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) มีเส้นขีดเป็นไรพระศก พระพักตร์เป็นหน้านางศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ พระเนตรเป็นเนตรเนื้อลักษณะรี ที่ลำพระศอมีรอยนูนคล้ายสร้อยพระศอค่อนข้างชัดเจน น้ำหนักเส้นสายต่างๆ แลดูอ่อนไหว นับเป็นพระปางลีลาที่มีความงดงามมาก

ส่วนด้านหลัง เป็นหลังเรียบ จะเห็นลายผ้าดิบจากการกดพิมพ์ด้วยมือ ซึ่งเป็นรอยสูงต่ำไม่เรียบเสมอกันคล้ายๆ ลายมือ จึงมักเรียกกันว่า “หลังลายมือ” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ข้างเม็ด

สำหรับของทำเทียมเลียนแบบนั้นทำกันมาเนิ่นนานแล้ว ยิ่งพระเนื้อแกร่งยิ่งทำได้ใกล้เคียงมาก ถ้าไปเห็นเนื้อพระสีเขียวเมื่อไหร่ให้ระวังไว้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วของปลอม เนื้อจะขรุขระไม่เรียบ มักมีเม็ดโปนขึ้นมาเหมือนตัวหมัด และของปลอมจะหดตัวทั้งเนื้อและเส้นสายจะเล็กกว่าของจริง

จุดสังเกตสำคัญ คือบนพื้นที่ช่องว่างของเรียวพระบาทหรือหว่างขาด้านล่างนั้น จะมีเส้นตรงปรากฏอยู่ชัดเจน เดิมทีคงเป็นเส้นชายจีวรแต่ติดเฉพาะเส้นเรียวบาง ซึ่งมักถอดพิมพ์ไม่ติดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67261750085486_11_95_696x349_1_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19382329326536_1_3614_3619_3632_3586_3640_360.jpg)
พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่

ยิ่งต่อมาภายหลัง ได้ปรากฏ “พระขุนแผนเคลือบ” ตามกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุโรงเหล้า กรุวัดเชิงท่า และกรุบางใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกับพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคลทุกประการ แต่จะต่างกันตรงความสวยงามสมบูรณ์ การเคลือบหรือไม่เคลือบ จึงทำให้ค่าความนิยมและสนนราคาด้อยกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งพวกขี้โกงหัวใสมักนำมาปรุงแต่งหลอกลวง ต้องระวังไว้ให้มากเช่นกัน

ฉบับนี้มาดูจุดพิจารณา “พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่” ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมกันครับผม

 ยิ่งต่อมาภายหลัง ได้ปรากฏ “พระขุนแผนเคลือบ” ตามกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุโรงเหล้า กรุวัดเชิงท่า และกรุบางใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกับพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคลทุกประการ แต่จะต่างกันตรงความสวยงามสมบูรณ์ การเคลือบหรือไม่เคลือบ จึงทำให้ค่าความนิยมและสนนราคาด้อยกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งพวกขี้โกงหัวใสมักนำมาปรุงแต่งหลอกลวง ต้องระวังไว้ให้มากเช่นกัน

ฉบับนี้มาดูจุดพิจารณา “พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่” ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมกันครับผม
– ให้สังเกตน้ำเคลือบสีเหลือง จะต้องมีรอยแตกเป็นใยแมงมุม และจะแตกจากพื้นล่างสู่ผิวบนของเคลือบ ส่วนผิวบนสุดจะไม่แตก
– พระเกศจะเหมือนเกศบัวตูม
– ฐานพระเกศมีลักษณะเป็นพวงมาลัยครอบ
– ตรงปลายพระขนงด้านซ้ายขององค์พระจะปรากฏติ่งนูน
– เสารองรับซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นคู่และคมชัด
– หัวเสารองรับซุ้มเรือนแก้วทางด้านขวาขององค์พระจะมีรอยนูนปรากฏ

ส่วนด้านหลัง พื้นผิวขององค์พระจะปรากฏรอยหดเหี่ยว และให้สังเกตว่าน้ำเคลือบจะไม่เต็มแผ่นหลัง มีความหนา และมีลักษณะเป็นรอยแตก

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 พฤษภาคม 2561 12:00:40

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81516074099474_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33141191055377_2_3592_3640_3604_3614_3636_359.jpg)
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง

วัดบ้านกร่าง วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณหรือแม่น้ำท่าจีน นับเป็นกรุพระเครื่องเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงกรุหนึ่งของจังหวัด ปรากฏพระเครื่องลือชื่ออันดับต้นๆ มากมาย ที่เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวาง

สันนิษฐานว่า พระกรุวัดบ้านกร่าง น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งเดินทัพมาที่เมืองสุพรรณ เพื่อสู้รบกับกองทัพพม่า ซึ่งมีพระมหาอุปราชเป็นแม่ทัพใหญ่ และทรงสร้างพระเครื่องไว้ที่วัดบ้านกร่าง ให้ทหารที่ออกรบนำติดตัวไว้ เพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการสงคราม สมัยนั้นคติของคนโบราณถือว่า “พระต้องอยู่ที่วัด”

ดังนั้น เมื่อการสงครามสิ้นสุด ทหารจึงนำพระทั้งหมดมารวมไว้ที่วัดบ้านกร่างตามเดิม แล้วสร้าง “พระเจดีย์” บรรจุไว้

อีกเหตุผลหนึ่งคือ มีพระกรุวัดบ้านกร่างพิมพ์หนึ่ง มีพิมพ์ทรงเดียวกับ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา อันเป็นที่ทราบกันว่า สร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่จะผิดกันก็ตรงความประณีตและเนื้อมวลสารที่ด้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะรีบสร้างในช่วงทำศึกสงคราม ทำให้วัสดุและความประณีตด้อยกว่า

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็แสดงว่า “พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จะต้องสร้างขึ้นก่อนพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล อย่างแน่นอน”

พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่
กรุวัดบ้านกร่าง นับเป็นพระยอดนิยมที่มีพุทธลักษณะเดียวกับ “พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล” คือ พิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระแลดูสง่าผ่าเผย งดงามสูงประมาณ 4.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. เอกลักษณ์สำคัญคือ “พระเกศทะลุซุ้ม” มีจุดการพิจารณาแม่พิมพ์ดังนี้

ด้านหน้า
– พระเกศเหมือนดอกบัวตูม
– ฐานพระเกศมีลักษณะเป็นพวงมาลัยครอบ
– ข้างพระพักตร์ด้านบนซ้ายมือขององค์พระ ปรากฏเม็ดผดขึ้น 2 เม็ด
– ปรากฏเม็ดผดในซอกพระกรรณด้านซ้าย
– หัวเสารองรับซุ้มเรือนแก้วด้านขวามือขององค์พระจะมีเนื้อนูนออกมา
– เส้นขอบเสาทั้งด้านซ้ายและด้านขวาไม่เหมือนกัน
– ฝ่าพระหัตถ์ด้านขวาที่วางเหนือพระชานุจะมีเม็ดนูนขึ้นมา และนิ้วพระหัตถ์ลักษณะเหมือนหางไก่ชน
– เส้นชายสบงจะติดกับพระบาทล่าง

ส่วนด้านหลังจะมีลักษณะเป็นรอยลูกคลื่นและมีรอยเสี้ยนปรากฏ

นอกจากนี้ “พระกรุวัดบ้านกร่าง” ที่นับเป็นพระยอดนิยม อันดับต้นๆ อีกหนึ่งพิมพ์ คือ “พิมพ์ทรงพลใหญ่” ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด และยังมี พิมพ์อกเล็ก, พิมพ์ทรงพลเล็ก, พิมพ์แขนอ่อน, พิมพ์หน้าเทวดา, พิมพ์หน้าฤๅษี ฯลฯ ซึ่งล้วนมีความงดงามและทรงพุทธคุณเป็นเลิศทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยมเช่นเดียวกั

แต่ค่านิยมในวงการจะลดหลั่นกันไปตามความนิยมครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63261564903789_sssss_1_696x352_1_.jpg)
พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า

พระขุนแผน อีก 1 กรุ ณ เมืองกรุงเก่า ที่ต้องกล่าวถึงเช่นกัน เพราะถือเป็น 1 ในพระพิมพ์ขุนแผนที่มีกิตติศัพท์ด้านพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ ทั้งยังมีเนื้อหามวลสารและพิมพ์ทรงเดียวกันกับ “พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล” อีกด้วย คือ มีทั้งพิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จะแตกต่างกันตรงที่เป็นพระที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเท่านั้น นอกจากนี้ พระกรุนี้ยังไปตรงกับ “พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี” แต่ต่างกันก็ตรงเนื้อมวลสารที่สร้างด้วยดินขาว ดินเหลือง และดินดำ เป็นหลัก เมื่อเผาแล้วองค์พระจะออกเป็นสีขาวแบบเนื้อกระเบื้อง ทำให้เนื้อพระมีความแกร่งมากกว่า ในวงการเรียกขานพระขุนแผนกรุนี้ว่า “กรุหลังโรงเหล้า” หรือบ้างก็เรียก “กรุโรงเหล้า” ชื่อกรุพระเองก็ยังดูแปลกๆ…มาดูกันว่าเป็นมาอย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ด้านหน้าติดถนนอู่ทอง ฝั่งตรงข้ามเป็น “โรงงานสุราพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หันหลังให้โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ได้ขยายและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม โดยมีผู้ควบคุมการตกแต่งสถานที่ ชื่อ ท่านอาจารย์ หลุย ชมชื่น มีคนงานทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยอิสลาม โดยส่วนใหญ่ทำการเกลี่ยดินได้วันละ 50 สตางค์ ในสมัยนั้น

ปรากฏว่าคนงานทำการขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดสิงห์หลาย” หรือ “วัดสิงห์ทลาย” ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน “พระขุนแผน” ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า “พระขุนแผน” และเรียกชื่อกรุตามตำแหน่งที่พบ นั่นคือ “หลังโรงเหล้า” ต่อมาหดสั้นลงเป็น “โรงเหล้า” เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท
 
พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า) จะมีพุทธลักษณะและพิมพ์ทรงคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า “ขุนแผน” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง สามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์อกใหญ่” เนื้อขาวใบลาน และ “พิมพ์อกเล็ก” หรือ “พิมพ์แขนอ่อน” เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก

ปรากฏว่าคนงานทำการขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดสิงห์หลาย” หรือ “วัดสิงห์ทลาย” ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน “พระขุนแผน” ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า “พระขุนแผน” และเรียกชื่อกรุตามตำแหน่งที่พบ นั่นคือ “หลังโรงเหล้า” ต่อมาหดสั้นลงเป็น “โรงเหล้า” เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท
 
พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า) จะมีพุทธลักษณะและพิมพ์ทรงคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า “ขุนแผน” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง สามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์อกใหญ่” เนื้อขาวใบลาน และ “พิมพ์อกเล็ก” หรือ “พิมพ์แขนอ่อน” เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก

ขึ้นชื่อว่า “พระขุนแผน” แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)” ก็เช่นกัน

ขึ้นชื่อว่า “พระขุนแผน” แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)” ก็เช่นกัน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11846632800168_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87012915478812_2.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35102598037984_2_3592_3640_3604_3614_3636_359.jpg)
พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป

สำหรับแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชาแล้ว ชื่อเสียงของ “วัดพระรูป” จะขึ้นชื่อลือชามากว่าเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่ามากมายที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัด และเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เรียกขานกันว่า “พระกรุวัดพระรูป” และพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “พระขุนแผน” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพระขุนแผนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ทีเดียว

พระขุนแผน
กรุวัดพระรูป เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว พิมพ์ด้านหลังเป็นหลังอูม ลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายไข่ผ่าซีก โดยแบ่งแยกออกไปอีกเป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์ไข่ผ่าซีก” คือ ลักษณะคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก และ “พิมพ์แตงกวาผ่าซีก” ซึ่งพิมพ์ทรงจะเรียวยาวและเล็กกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีก

ขุนแผนพระรูปทั้ง 2 พิมพ์นี้มีพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ โดยเฉพาะ “พระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีก” นั้นค่านิยม ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูง ในวงการเรียกว่า “เป็นพระเบ่งได้” คือ เบ่งราคาได้นั่นเอง มาดูจุดพิจารณาแม่พิมพ์สำคัญๆ ที่จะใช้พิจารณาพระแท้กัน …

-พิมพ์นี้จะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด หน้าตาไม่ชัดนัก ปรากฏเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ เนื้อจะดูคล้ายพระขุนแผนพิมพ์อื่นแต่มีความแน่นตัวมากกว่า เมื่อถูกเหงื่อจะขึ้นมันเงางาม

สำหรับแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชาแล้ว ชื่อเสียงของ “วัดพระรูป” จะขึ้นชื่อลือชามากว่าเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่ามากมายที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัด และเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เรียกขานกันว่า “พระกรุวัดพระรูป” และพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “พระขุนแผน” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพระขุนแผนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ทีเดียว
 
พระขุนแผน
กรุวัดพระรูป เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว พิมพ์ด้านหลังเป็นหลังอูม ลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายไข่ผ่าซีก โดยแบ่งแยกออกไปอีกเป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์ไข่ผ่าซีก” คือ ลักษณะคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก และ “พิมพ์แตงกวาผ่าซีก” ซึ่งพิมพ์ทรงจะเรียวยาวและเล็กกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีก

ขุนแผนพระรูปทั้ง 2 พิมพ์นี้มีพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ โดยเฉพาะ “พระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีก” นั้นค่านิยม ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูง ในวงการเรียกว่า “เป็นพระเบ่งได้” คือ เบ่งราคาได้นั่นเอง มาดูจุดพิจารณาแม่พิมพ์สำคัญๆ ที่จะใช้พิจารณาพระแท้กัน …

-พิมพ์นี้จะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด หน้าตาไม่ชัดนัก ปรากฏเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ เนื้อจะดูคล้ายพระขุนแผนพิมพ์อื่นแต่มีความแน่นตัวมากกว่า เมื่อถูกเหงื่อจะขึ้นมันเงางาม
-องค์พระคงเอกลักษณ์ของพระพุทธชินราช คือ ประทับนั่งปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์เป็นทรงรี ขมับทั้งสองข้างยุบตัวเข้าไป จุดสำคัญคือ “ปลายพระเกศจะมีติ่งงอคล้ายเงี่ยงเบ็ดหรือแฉกลูกศรอยู่ทางซ้ายมือขององค์พระ
-เหนือขมับซ้ายมีเส้นพิมพ์แตกวิ่งเฉียงไปจรดซุ้ม ส่วนบนของพระกรรณทั้งสองข้างติดไม่ชัดเจน แต่ส่วนตอนล่างเมื่อใช้กล้องส่องจะเห็นรางๆ วิ่งลงมาจรดพระอังสา จุดสำคัญอีกจุดคือ “มีเส้นเอ็นคอวิ่งเชื่อม 1 เส้น
-ซุ้มเรือนแก้วมีลักษณะพลิ้วโค้ง มีเสาซุ้มรับทั้งสองด้าน ระหว่างเสาซุ้มด้านซ้ายขององค์พระกับลำพระกรซ้ายจะมีจุดเล็กๆ หนึ่งจุด อยู่ตรงกลางเหนือข้อศอกด้านนอกขององค์พระ
-เอกลักษณ์สำคัญที่สุด ที่คนโบราณเรียกกันว่า “ตราเบนซ์” คือ เป็นรูปดาวสามแฉกคล้าย “โลโก้รถเมอเซเดสเบนซ์” (ตอนหัดเล่นพระใหม่ๆ อาจารย์ให้ส่องหาตราเบนซ์จนตาแทบกลับ เพราะบริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยเส้นสายยุ่งอีนุงตุงนังไปหมด แต่พอดูเป็นแล้วจะเห็นได้ชัด แฉกสามเหลี่ยมจะมีรอยย่นเล็กน้อย) บางคนเรียกแฉกดาว หรือใบพัดเรือ
-องค์พระประทับนั่งบนฐานบัวหงาย มีเส้นคั่นกลางระหว่างพระเพลากับฐานบัว เส้นนี้จะหนาหน่อย และตรงกลางเส้นจะขาดหาย ส่วนฐานบัวจะคลี่กลับบานออกด้านขวามือ ด้านล่างระหว่างกลีบบัวที่คลี่จะมีเส้นเรียวเล็กๆ ปลายแหลมโค้งสะบัดพลิ้วอย่างงดงาม

นอกจาก “พระขุนแผน กรุวัดพระรูป” ที่โด่งดังแล้ว “พระกรุวัดพระรูป” ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ ส่วนใหญ่การเรียกขานนามจะนำมา ผูกกับวรรณคดี อาทิ พระพลายงาม พระขุนไกร พระกุมารทอง (พระยุ่ง) พระมอญแปลง พระนาคปรกชุมพล ฯลฯ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 พฤษภาคม 2561 17:03:39

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12598779218064_1.jpg)     รูปเหรียญปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ของอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือเลื่อมใสท่านมาก คือหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมากรูปหนึ่งของจังหวัดชัยนาทครับ

วัดวิหารทองตั้งอยู่ที่ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท วัดอยู่ติดกับแม่น้ำน้อย อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี เดิมเป็นวัดโบราณอยู่ในกำแพงเมืองสรรค์ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ปกครองเมืองสรรค์ ชื่อหลวงวัง และนายสอน ได้นำวัวมาเลี้ยงในบริเวณนี้และพบองค์พระเจดีย์เก่าแก่ ภายหลังนายสอนได้บวช และมาจำพรรษาที่องค์พระเจดีย์ร้าง แล้วก็ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์จนเป็นวัดขึ้น และมีเจ้าอาวาสสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

หลวงพ่อโตเกิดที่ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี เมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาชื่อเงิน โยมมารดาชื่อปุ้น เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าทวน อำเภอสรรคบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่วม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้เดินทางมาศึกษาบาลีสันสกฤตที่วัดสามปลื้ม กทม. ต่อมาภายหลังจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวิหารทอง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมกับพระอุปัชฌาย์อ่วม หลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลังจากที่หลวงพ่อเมฆ เจ้าอาวาสวัดวิหารทอง มรณภาพ ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อโตขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา

เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และพัฒนาวัดวิหารทองและวัดอื่นๆ จนมีความเจริญรุ่งเรือง โดยท่านเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านสร้างมณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดวิหารทอง ศาลาการเปรียญ วัดบ้านเชี่ยน สร้างพระอุโบสถ วิหาร หอประชุม ศาลาการเปรียญ วัดดงคอน ศาลาการเปรียญ วัดสระแก้ว ศาลาการเปรียญ วัดนก ศาลาการเปรียญ วัดบางขุด ศาลาการเปรียญ วัดท่าโบสถ์ ศาลาการเปรียญ วัดมหาธาตุ ศาลาการเปรียญ วัดกำแพง ศาลาการเปรียญ วัดสระไม้แดง เป็นต้น ท่านได้ช่วยสร้างความเจริญให้แก่วัดต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อโตเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ มีตบะแก่กล้า พูดน้อย และมีวาจาสิทธิ์ เรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านนั้นเป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้าน ซึ่งก็มีเรื่องอยู่มากมาย เช่น มีชาวบ้านถูกโจรกระตุกสร้อยคอ แล้วมาบอกหลวงพ่อ ท่านบอกว่า “ไม่หาย มันเอาไปไม่ได้” ปรากฏว่าอีกสักพักใหญ่คนร้ายได้วิ่งเข้ามาในวัด และเอาสายสร้อยมาคืนเจ้าของ เข้าใจว่าคนร้ายไปไหนไม่ได้หรืองงงวยจนทำอะไรไม่ถูกจึงนำสร้อยกลับมาคืนที่วัด อีกครั้งหนึ่งที่วัดโพธิ์ทอง นิมนต์ท่านไปงานวัดโพธิ์ทอง เมื่อเลิกงานก็มีคนมาแจ้งกับหลวงพ่อว่าจักรยานหาย หลวงพ่อโตท่านก็ว่า “เดี๋ยวมันก็ขี่กลับมาเอง” และบอกให้ชายคนนั้นนั่งรอ

ปรากฏว่าประมาณครึ่งชั่วโมงขโมยได้ขี่จักรยานเข้ามาในวัด กรรมการวัดจึงได้จับตัวไว้ได้ เรื่องไฟไหม้บ้านผู้ใหญ่โต๊ะ เนื่องจากวัดมีงานและชาวบ้านจุดตะไลแต่ตะไลไม่ขึ้นกลับวิ่งข้ามแม่น้ำไปตกบนหลังคาบ้านผู้ใหญ่ ไฟไหม้โหมแรงมาก กำลังจะลามไปติดบ้านชาวบ้านอีกหลายหลัง กรรมการวัดรีบวิ่งไปบอกหลวงพ่อ ท่านจึงลงมาดู และท่านได้ใช้ผ้าแดงโบก 3 ครั้ง แล้วพูดว่า “เอาแต่หลังเดียว” ปรากฏว่าไฟค่อยๆ ดับลง โดยไม่ลามไปติดบ้านหลังอื่นๆ วัน รุ่งขึ้นหลวงพ่อได้นำไม้สัก หลังคาไปให้ผู้ใหญ่สร้างบ้านใหม่

หลวงพ่อโตได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ มงคลแขน โดยท่านจะเขียนยันต์เป็นภาษาไทย ซึ่งต่างจากเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ การสร้างพระเครื่องนั้นท่านก็ได้สร้างไว้ เช่น เหรียญพระพุทธปางลีลา เนื้อทองเหลืองมีหูในตัว พระพิมพ์เนื้อตะกั่ว ทั้งพิมพ์นั่งและยืน นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวเป็นรูปครึ่งองค์ ปัจจุบันหาชมยาก หลวงพ่อโตท่านมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2485 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83519234218531_2.jpg)     พระนาคปรกช่อคันไถ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าๆ การเรียกชื่อพระก็มักจะตั้งชื่อและเรียกกันง่ายๆ ตามที่เห็นรูปทรงของพระบ้าง เรียกตามสถานที่ขุดบ้าง ซึ่งก็เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่าเป็นพระอะไร พบที่ไหน และไม่ได้คิดมากเรื่องชื่อของพระเท่าไรนัก

ครับพระที่ตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ เช่น พระสุพรรณหลังผาล ก็เนื่องจากเป็นพระที่พบในจังหวัดสุพรรณฯ ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งก็พบพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย พระสุพรรณหลังผาลที่เรียกกันแบบนั้นก็เนื่องจากเป็นพระที่มี 2 หน้า

คือมีด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนที่เป็นด้านหลัง มีรูปพระองค์เล็กๆ และมีกรอบนอกเป็นรูปร่างคล้ายๆ กับผาลไถนา ก็จึงตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ ว่า พระสุพรรณหลังผาล คนทั่วไปก็จะเข้าใจได้ว่าเป็นพระที่พบที่สุพรรณฯ และด้านหลังมีพระที่มีกรอบพิมพ์คล้ายๆ รูปผาลไถนา แต่ที่ด้านหลังเรียบๆ ก็เรียกว่าพระสุพรรณหลังเรียบ เป็นต้น

พระอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเรียกเกี่ยวกับการเกษตรกรรม และไม่ค่อยจะได้พบจนอาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ซึ่งพระเครื่ององค์นี้เป็นพระที่พบในจังหวัดสุโขทัย กรุวัดมหาธาตุ คือพระนาคปรกช่อคันไถ บางท่านก็เรียกสั้นๆ ว่า พระช่อคันไถ  พระนาคปรกช่อคันไถ เป็นพระเนื้อชิน จำนวนพระที่พบน้อยมาก อาจจะชำรุดไปตามกาลเวลาเสียตั้งแต่อยู่ในกรุก็เป็นได้ครับ พระนาคปรกช่อคันไถ มีรายละเอียดของพิมพ์แปลกมาก และไม่เจอพระนาคปรกที่ทำพิมพ์เป็นแบบนี้เลย

พระนาคปรกช่อคันไถ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งพระนาคปรกส่วนมากจะทำเป็นแบบปางสมาธิเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากพระพุทธรูปประทับนั่ง มีนาคแผ่พังพานเป็นนาค 7 เศียรแล้ว ส่วนยอดต่อจากนาคปรกยังมีทำเป็นช่อดอกไม้หรือกิ่งโพธิ์ต่อขึ้นไปอีก

ตอนที่มีผู้ขุดพบ เห็นกิ่งโพธิ์ด้านซ้ายมือเราเป็นลักษณะโค้งลงคล้ายๆ กับคันไถ ก็เลยตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ ตามที่เห็นว่า “พระนาคปรกช่อคันไถ” ศิลปะขององค์พระน่าจะเป็นศิลปะแบบสุโขทัยยุคต้นๆ และมีรายละเอียดของพิมพ์น่าสนใจมาก ไม่พบเห็นในพระเครื่องนาคปรกในกรุอื่นๆ ครับ

พระนาคปรกช่อคันไถปัจจุบันหาชมยากมาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย และน่าเสียดายที่อาจจะไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันเสียแล้วครับ พระนาคปรกช่อคันไถในด้านพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี คนสุโขทัยในสมัยก่อนต่างหวงแหนกันมาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยมาก แต่ปัจจุบันกลับแทบไม่มีคนรู้จักกันแล้วครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนาคปรกช่อคันไถ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันลืมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94299904422627_3.jpg)     พระเครื่องกรุเมืองตาก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดตากเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพระกรุพระเก่าเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก จึงทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้จักพระกรุเมืองตากกันเท่าไร จังหวัดตากก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และแน่นอนที่สุดก็คือมีวัดเก่าแก่ และมีพระกรุเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเช่นกันครับ

จังหวัดตากในสมัยกรุงสุโขทัย ก็มีประวัติศาสตร์กล่าวถึง ครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชโอรสเสด็จไปทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ผู้ยกทัพมาประชิดเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.1805 และได้รับชัยชนะ

เมืองตากเก่าปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลตะเภา อำเภอบ้านตาก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ยังมีความสำคัญคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อพม่า ณ เมืองแครง ก็ทรงยกทัพเสด็จกลับมาทางด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

หลังจากนั้นก็ทรงย้ายเมืองตากเดิมจากตำบลตะเภาอำเภอบ้านตาก ลงมาทางใต้ตามลำน้ำปิง มาตั้งอยู่บริเวณอำเภอเมืองตากในปัจจุบัน ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปชุมนุมพลที่เมืองตากเมื่อครั้งไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ซึ่งยังปรากฏหลักฐานคือวัดพระนารายณ์ เชิงสะพานกิตติขจร จนถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ยังทรงเคยเป็นพระยาตากปกครองเมืองตากก่อนที่จะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ

อำเภอบ้านตาก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือประมาณ 60 ก.ม. บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองตากจึงมีวัดเก่าแก่ และได้แตกกรุออกมาหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วเสียเป็นส่วนใหญ่

พระเครื่องของเมืองตากที่รู้จักกันมาก็คือพระพิมพ์งบน้ำอ้อย พระร่วงนั่ง พระพิมพ์ซุ้มยอ และพระพิมพ์พิจิตร เป็นต้น พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ของจังหวัดตาก ปัจจุบันอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง แต่คนเมืองตากก็ยังภูมิใจในพระเครื่องเก่าแก่ของบ้านเขาอยู่ตลอดมา พุทธคุณและประสบการณ์ของพระกรุเมืองตากนั้น เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดครับ

พระกรุเมืองตาก เป็นพระกรุที่น่าสนใจกรุหนึ่ง สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมไม่แพ้พระกรุอื่นเลย ในวันนี้ผมนำ พระเครื่องกรุเมืองตาก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชม เช่น พระซุ้มยอ เนื้อชินเงิน กรุบ้านแตก และ พระพิมพ์งบน้ำอ้อย เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุบ้านตาก มาให้ชมกันครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83219322024120_4.jpg)     พระปรุหนัง พิมพ์บัวเม็ด เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองเป็นคนรุ่นเก่าก็ชอบพระเก่าๆ เช่น ประเภทพระกรุ จึงพอมีความรู้บ้างเรื่องพระกรุพระเก่าๆ ส่วนเรื่องพระใหม่ๆ แทบไม่มีความรู้เลยครับ ก็เป็นคนประเภทตกยุค จึงขอเขียนเรื่องเก่าๆ พระเก่าพระกรุ ก็แล้วกันนะครับ

พระเครื่องที่เขียนวันนี้ก็คือพระปรุหนัง ซึ่งเป็นพระกรุในสมัยอยุธยา ขอย้อนไปเมื่อประมาณ 50 กว่าปี ในยุคนั้นผมเองก็ยังเป็นหนุ่มวัยรุ่นอยู่ ก็ชื่นชอบพระเครื่อง ในสมัยก่อนก็มีคนที่ชอบพระเครื่องเสาะหาพระเครื่องที่เป็นพระอยู่ยงคงกระพัน ส่วนคนที่ชอบเจ้าชู้ก็จะหาพระประเภทเมตตามหานิยม หรือเสน่ห์ ผมนั้นก็ชอบพระประเภทอยู่คง และชอบฟังเรื่องราวจากผู้ใหญ่ที่เล่าเรื่องตื่นเต้นประเภทบู๊หนังเหนียว และชอบไปขอให้อาจารย์เภา ผู้เชี่ยวชาญในด้านเหรียญพระเครื่องต่างๆ เล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง

ท่านเป็นคนมีอารมณ์ขันเล่าเรื่องสนุกใครๆ ก็ชอบฟัง เคยได้ฟังเรื่องเล่าจากท่านอาจารย์เภาเรื่องหนึ่งว่า เคยมีคนไปถามหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติว่า “พระเครื่องที่เป็นพระกรุของอยุธยา มีพระอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน” หลวงพ่อกลั่นท่านก็บอกว่า “พระปรุหนัง พระกริ่งคลองตะเคียน พระวัดตะไกร เชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นมาแล้ว” ท่านอาจารย์ยังเล่าว่าพระปรุหนังนั้นเป็นพระอยู่คง มีประสบการณ์มาก แต่ก็หาสมบูรณ์ยาก ส่วนมากจะชำรุดเนื่องจากองค์พระนั้นบาง และมีจุดอ่อนที่ทำให้หักได้ง่าย ออกมาจากกรุก็ชำรุดเสียมากแล้ว

ผมก็ได้ไปสังเกตดูจึงเห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริง ตอนนั้นก็อยากได้ พระปรุหนังเช่นกัน แต่ก็หายาก ของแท้เจ้าของก็ไม่ยอมปล่อย ได้ดูและเห็นพระปรุหนังจากหลายๆ ท่าน พระบางองค์ที่เจ้าของเป็นคนรุ่นเก่าใช้ห้อยคอก็จะเห็นว่าเขาใช้แผ่นไม้มาเจาะเป็นรูปองค์พระแล้วเอาพระใส่ลงไปในไม้แล้วจึงนำมาถักห้อยคออีกที

ในสมัยก่อนการเลี่ยมทำตลับยังไม่ค่อยมี ถึงมีค่าทำแพงมาก ส่วนใหญ่มักจะถักลวดห้อยคอกันมาก พระปรุหนังซึ่งบางและหักง่ายจึงเห็นทำแบบเจาะไม้ฝังองค์พระลงไปเพื่อรักษาพระไม่ให้หักง่าย และเจอลักษณะนี้บ่อยๆ ในพระปรุหนังก็เป็นวิธีอนุรักษ์พระปรุหนังในสมัยนั้น

พระปรุหนังเป็นพระที่พบบรรจุอยู่ในกรุสมัยอยุธยา เท่าที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพุทไธศวรรย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดประสาท เป็นต้น พุทธลักษณะก็คล้ายๆ กันแตกต่างกันบ้างในแต่ละกรุ พระปรุหนังเป็นพระที่มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว และมีช่อชัยพฤกษ์ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย

ด้านข้างทั้งสองมีพระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตรยืนอยู่ทั้งด้านซ้าย ขวา ในส่วนที่ทำเป็นองค์พระพุทธเจ้าเดี่ยวๆ ก็มีบ้าง มักจะเรียกว่า “พระปรุหนังเดี่ยว” แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นแบบที่มีพระโมคคัลลาน์ สารีบุตร จะพบมากกว่า พระปรุหนังจะพบมีพิมพ์ต่างๆ แล้วแต่กรุอยู่หลายแม่พิมพ์ เช่น พิมพ์บัวเบ็ด พิมพ์บัวก้างปลา พิมพ์ขนมต้ม เป็นต้น

พระปรุหนังพิมพ์ที่นิยมที่สุดคือ พิมพ์บัวเบ็ด คือบัวที่ฐานจะเป็นขีดแบบเดียวกับพิมพ์ก้างปลา แต่ปลายบัวจะงอโค้งคล้ายๆ ตัวเบ็ดตกปลา จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพิมพ์ ส่วนคำว่าปรุหนังก็มาจากพระส่วนใหญ่จะมีความโปร่งเหมือนรอยฉลุของตัวหนังตะลุง จึงเรียกกันต่อๆ กันมาว่า “พระปรุหนัง” พระกรุเก่าเท่าที่พบมีเฉพาะเนื้อชินเงินเท่านั้น

พระปรุหนังที่พบจากหลายกรุส่วนมากจะชำรุด เนื่องจากความบางและมีความโปร่งตามลวดลายต่างๆ จึงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ชำรุดง่ายกว่าพระอื่นๆ พระที่สมบูรณ์จึงหายาก การเล่นหาสะสมก็มีความนิยมมานานมาก สนนราคาค่อนข้างสูง การปลอมแปลงก็มีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังสังเกตให้ดีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กรกฎาคม 2561 12:57:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51115899450249_1_Copy_.jpg)

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเข็ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดข่อย ตำบลโพธิ์รังนก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และที่วัดแห่งนี้อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระครูสุกิจวิชาน (หลวงพ่อเข็ม) พระเกจิอาจารย์ผู้อาวุโส อดีตเจ้าคณะแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ในสมัยยังไม่ได้ตั้งเป็นจังหวัดอ่างทอง) และที่วัดนี้ได้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเข็มไว้ในปี พ.ศ.2477 ซึ่งเป็นเหรียญที่แจกเป็นที่ระลึกในงานศพของท่าน แต่เหรียญนี้น่าสนใจ และเป็นที่หวงแหนของชาวอ่างทองมาก

วัดข่อยเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับวัดขุนอินทรประมูล ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง เช่น มณฑป พระวิหาร พระอุโบสถ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ซึ่งสร้างแบบทรงไทยโบราณ เป็นสิ่งที่สร้างในสมัยโบราณเก่าแก่คงอยู่ในสภาพเดิมได้รับการอนุรักษ์ไว้และยังคงอยู่อย่างดี นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะข้าวของเครื่องใช้อันเนื่องมาจากเจ้าอาวาสรูปแรก (หลวงพ่อเข็ม) เช่น ตะเกียงโบราณ มีโคมไฟติดตั้งอยู่บนพานมีจานเชิงคลุมโดยรอบ แล้วมีสายทองเหลืองโยง ตะเกียงอันนี้มาจากกรุงวอชิงตัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังมีนาฬิกาโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากกรุงปารีส ตู้พระไตรปิฎก ทำด้วยไม้สักสลักลายจีนจากประเทศจีน มีอักษรไทยจารึกว่า "พ่อเหว่า แม่ยา ผู้ทร่าง (สร้าง) พ.ศ.2463"

นอกจากนี้ก็ยังมีการรวบรวมเรือพื้นบ้านต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว เรือสำปั้น เรืออีโปง เรือปาบ เรือพะม้า เรือยาว โดยเฉพาะเรือประทุนของหลวงพ่อเข็มที่สร้างขึ้นในราว ร.ศ.128 หรือปี พ.ศ.2452 ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเรือของหลวงพ่อเข็ม เวลาเดินทางไปรับกิจนิมนต์ อีกจุดหนึ่งยังมีการรวบรวมข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อน เช่น เปลกล่อมลูกในสมัยก่อน อุปกรณ์การทำนา เครื่องจับสัตว์น้ำ เช่น เกวียน ล้อกระแทะ เลื่อน คันไถ แอกวัว แอกควาย คราด เกลี่ยดิน เครื่องสีฝัด ตะข้อง ตะกร้าสาน ไซดักปลา ไซดักกุ้ง ไซดักปลาไหล แร้วดักนก ฯลฯ น่าสนใจมาก หากผ่านไปทางนั้นก็น่าจะแวะไปเข้าชม และจะได้ไปกราบพระอีกด้วย

หลวงพ่อเข็มประวัติของท่านก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ มีแต่คำบอกเล่าสืบต่อกันมา เท่าที่สังเกตจากเหรียญรูปท่านระบุปี พ.ศ.2477 และเป็นเหรียญที่ระลึกงานศพ อายุ 82 ปี พรรษาที่ 61 ถ้านับย้อนหลังก็แสดงว่าหลวงพ่อเข็มเกิดในปี พ.ศ.2395 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2416 ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาหลวงพ่อเข็ม เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังในวิทยาคม และมีอาวุโสมากกว่าหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ หรือแม้กระทั่ง หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ ว่ากันว่าหลวงพ่อเข็มเป็นที่เคารพนับถือของพระเกจิ อาจารย์สายเมืองอ่างทองมาก โดยเฉพาะเมืองวิเศษชัยชาญ ในสมัยที่หลวงพ่อเข็มยังมีชีวิตอยู่ได้ทำผ้ายันต์ ตะกรุด ไว้แจกลูกศิษย์ลูกหา แต่ท่านไม่ได้สร้างพระเครื่องเลย ต่อมาเมื่อหลวงพ่อมรณภาพในปี พ.ศ.2477 ได้มีการสร้างเหรียญแจกเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญรูปท่านนั่งเต็มองค์ การปลุกเสกนั้นสุดยอดมาก เนื่องจากพระเกจิอาจารย์ของสายวิเศษชัยชาญมาร่วมปลุกเสกครบครัน เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เป็นต้น

เหรียญนี้มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางด้านอยู่คง และเมตตามหานิยม พุทธคุณยอดเยี่ยมครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงอีกด้วย แต่ก็หาเหรียญยากสักหน่อย คนท้องถิ่นเขาหวงกันมาก และในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเข็ม จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68537523307734_2_Copy_.jpg)

พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันนี้ข้อมูลข่าวสารเผยแพร่กัน ได้อย่างกว้างขวางโดยการเผยแพร่ทาง โซเชี่ยลมีเดีย ไม่เว้นแม้ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่ ซึ่งสื่อออนไลน์นี้ก็มีทั้งประโยชน์และโทษควบคู่กันไป ดังนั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็ต้องใช้วิจารณญาณของผู้เสพสื่อต่างๆ เหล่านั้นด้วย ต้องใช้เหตุใช้ผลในการเลือกที่จะเชื่อหรือไม่

ในส่วนของสังคมพระเครื่องก็มีข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย มีทั้งที่เป็นความจริงและข้อมูลที่ไม่จริงปะปนกันอยู่ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของโลกปัจจุบันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมเองเป็นคนประเภทตกยุค แต่ก็ได้เข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้อยู่บ้างก็รู้สึกเป็นห่วงอยู่ลึกๆ เหมือนกันกับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง

เพื่อนผมคนหนึ่งที่เคยเรียนหนังสือมาด้วยกัน ซึ่งเพื่อนผมคนนี้ผมก็ไม่เคยทราบว่าเขาสนใจในพระเครื่อง เขามาหาผมและสอบถามข้อมูลบางประการเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ ผมก็ถามเขาว่าสนใจหรือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ปัจจุบันหายากและมีราคาสูงมากๆ นะ เขาก็นำพระสมเด็จฯ ของเขามาให้ผมดู

ผมเองก็บอกไปว่าผมเองไม่ใช่เซียนนะ มีความรู้บ้างก็แบบงูๆ ปลาๆ เท่านั้น เขาก็คะยั้นคะยอขอให้ช่วยวิจารณ์ตามความจริง ผมดูแล้วก็บอกว่า ไม่น่าจะใช่พระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้นะ และอย่าเชื่อผมนัก เพราะผมเองก็ไม่ใช่เซียนพระ เขาก็เลยเล่าเรื่องราวของพระสมเด็จฯ องค์นี้ให้ฟังว่า เขาได้ไปพบข้อมูลในโซเชี่ยลมีเดียรายหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับพระ สมเด็จฯ ก็เลยอ่านดู ก็เห็นว่าน่าสนใจและเข้าไปพบ

ซึ่งต่อมาก็ได้เช่าหาพระสมเด็จฯ องค์นี้มาในราคาก็สูงพอสมควร แต่ก็ยังถูกกว่าราคาที่เคยรู้มาก และมีใบรับรองพระแท้แถมให้ด้วย ซึ่งก็เป็นใบรับรองของเจ้าของพระนั่นแหละ ก็เชื่อมั่นว่าได้พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ แท้ๆ มา ทำตลับทองห้อยคอมาโดยตลอด มีอยู่วันหนึ่งในกลุ่มเพื่อนๆ ของเขาได้มีการพูดคุยกันเรื่องพระสมเด็จฯ และนำพระมาอวดกันดู ก็ถูกทักท้วงจากกลุ่มเพื่อนของเขา ทำให้เขาเกิดความไม่แน่ใจ จึงนำพระเข้าไปในสนามพระแห่งหนึ่ง แกล้งทำเป็นเสนอขายแต่ปรากฏว่าไม่มีใครสนใจเช่าพระของเขาเลย ทำให้เริ่มใจเสียและไม่แน่ใจ ก็นำพระไปขายคืนให้กับเจ้าของพระคนนั้น แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอดและรับรองว่าพระของเขาแท้อย่างโน้นอย่างนี้ตามตำรา (ของเขา) และมีพรรคพวกของเจ้าของพระก็มาเป็นลูกคู่ รับรองว่าแท้มากมาย มีข้อเสนออีกว่าถ้าไม่พอใจพระองค์นี้ก็เปลี่ยนเอาพระองค์อื่นไปก็ได้ (ซึ่งเจ้าของพระรายนี้มีพระสมเด็จฯ อยู่หลายองค์)

เพื่อนผมคนนี้ก็เริ่มไม่แน่ใจเสียแล้วว่าพระของเขาแท้ จึงนำไปเสนอขายกับเซียนพระอีกหลายคน ก็เหมือนเดิมไม่มีใครเช่าไว้เลย เขาจึงไปแจ้งความเพื่อขอคืนพระ ได้มีการเจรจากันหลายครั้ง ทั้งยินยอมให้เจ้าของพระหักเงินค่าเสียเวลาได้ ไม่ต้องคืนเต็มจำนวน แต่ก็ผัดวันประกันพรุ่งมาโดยตลอด

ทีนี้เรื่องราวก็ถูกเร่งรัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจขอข้อมูลและสอบถามพยานที่ระบุและยืนยันว่าพระองค์นี้ไม่แท้ ไม่ใช่พระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ ตามที่คนขายระบุ ก็ยุ่งล่ะครับมีหนังสือขอความร่วมมือพยานที่ชี้ขาด ซึ่งเพื่อนผมต้องการเพื่อประกอบการฟ้องร้อง เรื่องนี้ตัวพยานก็ต้องไปโรงพักและเป็นพยานในศาล แล้วใครจะไปล่ะครับ อยู่ดีๆ ก็ต้องไปขึ้นศาลเบิกความ และต้องมีหน้าที่พิสูจน์ว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่

อีกทั้งก็ต้องไปเจอกับจำเลยในศาลอีกเห็นหน้าเห็นตากัน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้อีกมากมายถ้าฝ่ายจำเลยแพ้คดี ก็ย่อมเกิดความแค้นเคืองกันอีกต่อไปกับพยานผู้นี้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงหาพยานผู้ชี้ความแท้หรือไม่แท้ของพระองค์นี้ยากครับ

เพื่อนผมคนนี้ก็อยากจะหาพยานและให้ผมช่วย ผมก็เลยแนะนำเขากับทนายไปว่า พระเครื่องที่นิยมกันนั้นมีมูลค่ารองรับใช่หรือไม่ เนื่องจากการไปนำสืบว่าแท้อย่างนั้นอย่างนี้กันในศาลนั้น จะยากที่จะชี้ให้ศาลเห็นว่าสิ่งที่เราพูดนั้นถูกต้อง และทางฝ่ายจำเลยก็ต้องแก้ต่าง ว่าที่แท้ เป็นแบบของเขาต่างหาก เถียงกันไม่สิ้นสุดหรอกและยาก เอาแบบนี้ในเมื่อพระเครื่ององค์นี้มีมูลค่ารองรับก็นำไปขายในสถานที่ที่เป็นมาตรฐาน ในราคาเท่าไรก็ได้ตามแต่จะกำหนด แล้วไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่เจ้าของคดีที่แต่งนอกเครื่องแบบ ไปขายดูสักหลายๆ เจ้าหน่อย เมื่อขายไม่ได้ก็ให้เจ้าหน้าที่เจ้าของคดีเป็นประจักษ์พยาน และไปเป็นพยานในศาล โดยไม่ต้องนำเซียนพระไปเป็นพยานในศาล ซึ่งเขาไม่ยอมไปแน่เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อเขาได้ในเวลาต่อมา และเจ้าของพระเขาว่าพระของเขาแท้ก็ให้เขารับรองมูลค่าและรับซื้อไป

เรื่องนี้ต่อมาก็จบได้ค่อนข้างดี คือเจ้าของพระก็รับ ซื้อพระองค์นี้กลับไป แต่ก็ถูกหักเปอร์เซ็นต์ไปโขอยู่ครับ แต่ก็ยังดีที่ได้คืนมาบ้างครับ

เรื่องเหล่านี้ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจจะเป็นตัวเราเองที่ประสบปัญหา และจะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง พระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับโดยเฉพาะพระยอดนิยมทุกประเภท จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับความนิยมของพระนั้นๆ และราคาค่าการตลาดในเวลานั้นๆ ครับ สิ่งที่พิสูจน์ได้ดีกว่าคำพูดใดๆ ก็คือมีมูลค่ารองรับ เนื่องจากพระเครื่องในปัจจุบันมีมูลค่ารองรับครับ

รูปพระที่ผมนำมาให้ชมไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เล่ามานะครับ วันนี้ขอนำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ สร้างปี พ.ศ.2505 แท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62054983360899_a2_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40654159958163_a1_Copy_.jpg)
พระพุทธนวราชบพิตรหลัง ภปร

ถามไถ่กันเข้ามามากมายหลายท่าน สำหรับ "เหรียญและพระผง พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร" บางท่านก็สอบถามถึงประวัติ บางท่านก็อยากเช่าบูชาเพื่อเก็บเป็นที่ระลึกอันทรงค่า ก็นำมาลงเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง เริ่มกันที่องค์พระพุทธนวราชบพิตร พระประธาน ณ วัดตรีทศเทพ

อันว่า "พระพุทธนวราชบพิตร" คือ พระนามของพระพุทธรูปในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงสร้างพระราชทานไปยังทุกจังหวัดของไทยเพื่อเป็นมิ่งมงคลสูงส่งแก่อาณาประชาราษฎร์

แต่ "พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพ" นั้น นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์แรกและองค์เดียวที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบจัดสร้างเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพ และพระราชทานพระนามว่า "พระพุทธนวราชบพิตร" เช่นกัน

ย้อนอดีตสมัยรัชกาลที่ 4 ... พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร กราบบังคมทูลขอสร้าง "วัด" ใกล้ "วัง" ของพระองค์ ทรงโปรยเงินไปทั่วบริเวณที่ทรงต้องการ เหล่าไพร่ฟ้าจึงแผ้วถางป่านั้นจนเตียนโล่งเพื่อเก็บหาเงิน อันเป็นกุศโลบายในการจ่ายค่าแรง แต่เริ่มก่อสร้างได้ไม่มากนักก็สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2404

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ดำเนินการสร้างสืบต่อ แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ สิ้นพระชนม์ไปอีกพระองค์ ในปี พ.ศ.2410 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงคราม อำนวยการสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันในปี พ.ศ.2410 นั้น ทั้งทรงให้สร้างพระพุทธปฏิมากร ปางสมาธิ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ หล่อด้วยโลหะผสม ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 29 นิ้ว ถวายเป็นประธานในพระอุโบสถ

ด้วยความเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุนานนับศตวรรษ วัดตรีทศเทพได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อเรื่อยมา กระทั่งประมาณปี พ.ศ.2528-2529 พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร) อดีตเจ้าอาวาส จึงก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นอาคารทรงไทยตรีมุข ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ พระพุทธนวราชบพิตร เพื่อประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถ และเสด็จพระราชดำเนินเททองด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2530 พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ 5 ล้านบาท เป็นทุนให้อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ กำกับออกแบบและเขียน "ภาพจิตรกรรมฝาผนัง" ภายในพระอุโบสถ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ

พระพุทธนวราชบพิตร พระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพ จึงนับเป็น "พระพุทธรูปองค์แรกและองค์เดียว" ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ "พระพุทธนวราชบพิตร" โดยมีขนาดหน้าพระเพลา 61.9 นิ้ว สูง 89 นิ้ว พระรัศมี 14 นิ้ว ฐานถึงบัว 19 นิ้ว ส่วนกว้าง 32 นิ้ว

ด้วยความงดงามและศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระปฏิมาประธาน "พระพุทธนวราชบพิตร" ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันว่า "ขออะไร ท่านก็ให้สมความปรารถนา ถ้าเป็นสิ่งที่ชอบและประกอบด้วยธรรม" สมดังพระราชดำรัสที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ทุกประการ กอปรกับความงดงามอลังการของภาพจิตรกรรมฝาผนัง จึงดึงดูดให้พุทธศาสนิกชนรวมทั้งชาวต่างชาติแวะเวียนมากราบสักการะขอพรและชื่นชมความงดงามอยู่เป็นเนืองนิตย์

นี่คือปฐมบทแห่งการสร้าง "พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรี ทศเทพ" อันนำมาสู่การจัดสร้าง "เหรียญและพระผง พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร" ในปี พ.ศ.2554 ที่จะกล่าวถึงในฉบับหน้าครับผม

ปลายงอนชี้ช่อฟ้า ลอยอินทร์
งามเงื่อนบรรเจิดจินต์ ช่อชั้น
เทพเสกเทวาสรรค์ นฤมิต ฤาพ่อ
ตรีทศเชิญช่อสวรรค์ ประดับฟ้าบุญดิน

ประพันธ์โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์

จากนั้นเป็นต้นมา ทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ เสนาสนะต่างๆ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงตกแต่งบริเวณโดยรอบอย่างประณีตและพิถีพิถันเรื่อยมา

จนล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ.2554 อันเป็นปีมหามงคลที่รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา คณะสงฆ์วัดตรีทศเทพและพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างมีความปลาบปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พร้อมทั้ง "พระอุโบสถ" ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่ง

สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพ จึงได้ขอพระราชทานจัดสร้าง "เหรียญและพระพิมพ์พระพุทธนวราชบพิตร" โดยจำลองแบบจากพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อมอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกิจกรรมและร่วมบุญยกช่อฟ้าพระอุโบสถ โดยพระพิมพ์ส่วนหนึ่งจะนำบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดตรีทศเทพ เป็นมรดกของแผ่นดินเพื่อชนรุ่นหลัง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต และให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานด้านหลังเหรียญกับพระพิมพ์ และโปรดพระราชทานไฟพระฤกษ์ เพื่อจุดเทียนชัยมหามงคลในพิธีมหาพุทธาภิเษก

นอกจากนี้ ยังได้รับประทานมวลสารจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มวลสารจากสมเด็จพระวันรัต, ผงปถมัง, ผงอิทธิเจ, ผงตรีนิสิงเห, ผงมวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังและพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ยังมีทองคำเปลวที่ลอกจากองค์พระประธานในพระอุโบสถ ช่อฟ้าเก่า และกระเบื้องอุโบสถเก่าที่ชำรุด เม็ดและชนวนพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร ปี 30 ฯลฯ โดยจัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะ เนื้อเงินแท้

ปรากฏว่าเนื้อทองคำและเนื้อนวโลหะหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาได้นำเหรียญและพระพิมพ์บางส่วนมาตกแต่งเพิ่มเติมให้มีหลากหลายรูปแบบขึ้น เป็นเนื้อเงินหน้าทองคำ เนื้อทองแดงชุบสามกษัตริย์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และพระผง หน้าทอง ที่เห็นกันอยู่ ณ ปัจจุบัน

พิธีมหาพุทธาภิเษกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ณ พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพ เบื้องหน้าองค์พระพุทธนวราชบพิตร องค์ประธานใหญ่ ประกอบพิธีบวงสรวงเทพเทวาในช่วงเช้า

จากนั้น สมเด็จพระวันรัต เชิญไฟพระฤกษ์พระราชทานจุดเทียนชัย พร้อมพระเกจิชื่อดังเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทร์, พระพรหมสุธี วัดสระเกศ, พระธรรมวิมลมุนี วัดพระเชตุพนฯ, พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดระฆังฯ, พระเทพภาวนาวิกรม วัดไตรมิตร, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ฯลฯ วัตถุมงคลทั้งหมดแล้วเสร็จสมบูรณ์แบบ พร้อมแจกจ่ายในวันประกอบพิธียกช่อฟ้า ณ วันที่ 18 เมษายน 2554 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯไปทรงเป็นประธาน

เหรียญและพระพิมพ์พระพุทธนวราชบพิตร จึงถือเป็นสิ่งมงคลล้ำค่าอันงดงาม เข้มขลัง และทรงคุณค่าด้านจิตใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับปวงชนชาวไทย ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นที่ต้องการและแสวงหาจนถามไถ่กันมา

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94803427822060_a3_Copy_.jpg)

"พระร่วงหลังรางปืน" และ "พระร่วงหลังลายผ้า"

คํากล่าว "สองยอดขุนพล ... ความเหมือนที่แตกต่าง" นั้น ไม่เกินความเป็นจริงเลย สำหรับ "พระร่วงหลังรางปืน" และ "พระร่วงหลังลายผ้า" 2 พระยอดนิยมเนื้อชิน ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระยอดขุนพล" อันทรงคุณค่าและพุทธคุณ เป็นที่ต้องการและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง ซึ่งพระทั้ง 2 องค์นี้จะมีพุทธลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะพิมพ์ด้านหน้า ทั้งที่ถูกค้นพบกันคนละที่คนละเวลา ส่งผลให้ค่านิยมของแต่ละองค์ สูงต่ำต่างกันครับผม

พระร่วงหลังรางปืน ถูกค้นพบที่จังหวัดสุโขทัยบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย ในคราวแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2493 นั้น พระที่พบมีจำนวนน้อยมากเพียง 200 กว่าองค์เท่านั้น อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นพระที่ชำรุดแตกหัก แต่ด้วยพุทธลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม

มีคำกล่าวกันว่า "ถ้าแขวนพระร่วงหลังรางปืน จะไม่มีการตายโหงอย่างเด็ดขาด" จึงได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน" และเป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" จนได้รับความนิยมเป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหากันอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยจำนวนพระค่อนข้างน้อยมาก สนนราคาค่านิยมจึงจัดว่าสูงที่สุดสำหรับพระพิมพ์ประเภทเดียวกัน

พระร่วงหลังรางปืน มีพุทธศิลปะแบบเขมรยุคบายน มีอายุอยู่ในราวปี ค.ศ.13 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมเรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่พวกขอมเป็นผู้สร้างและบรรจุไว้ในพระปรางค์ และด้วยพุทธลักษณะองค์พระที่ทรงเครื่องอย่างอลังการเยี่ยงพระมหากษัตริยาธิราช

จึงคาดเดาว่าผู้สร้างจะน่าเป็นกษัตริย์ผู้ครองนคร

องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 8 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร สวมหมวกออกศึกแบบโบราณที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกระหนกแบบ "ซุ้มกระจังเรือนแก้ว" ส่วนด้านหลังจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระ ซึ่งเรียกกันว่า "หลังกาบหมาก หรือ หลังร่องกาบหมาก"

ต่อมาได้ปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่อง "ปืน" อีกทั้งร่องกาบหมากนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามว่า "หลังรางปืน" มีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่พบน้อย และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ที่ด้านหลังจะเป็นรอยเส้นเสี้ยนทุกองค์

แบ่งออกได้เป็น 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ฐานสูง, พิมพ์ใหญ่ ฐานเตี้ย, พิมพ์แก้มปะ, พิมพ์หน้าหนุ่ม และพิมพ์เล็ก ซึ่งพุทธลักษณะโดยรวมนั้นเหมือนกัน แต่จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปตามชื่อพิมพ์

พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น "พระเนื้อชินตะกั่ว" ถ้าแก่ตะกั่วจะเรียก "ตะกั่วสนิมแดง" ผิวขององค์พระจะมีสีแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า และเนื่องจากเป็นพระที่ผ่านกาลเวลายาวนาน

ถ้าเป็นพระกรุเก่าที่แท้จริงแล้ว วรรณะของสนิมที่ฝังตัวติดอยู่ในเนื้อตะกั่วจะมีสีสันที่แตกต่างกัน มีทั้งสีแดงอ่อน สีแดงเข้ม แดงอมม่วง สีแดงส้ม รวมถึงสนิมแดงที่เรียกว่า "สนิมมันปู" ขึ้นอยู่กับแร่โลหะต่างชนิดที่ผสม เนื้อพระที่แท้จริงของตะกั่วได้เปลี่ยนสภาพปรากฏเป็นเนื้อตะกั่วผสมสนิมสีแดง ตั้งแต่ผิวชั้นบนสุดฝังลึกถึงแกนกลางของเนื้อชั้นในสุด เรียกว่า "ยิ่งลึกสนิมยิ่งแดง" ก็ว่าได้ ไม่ใช่เกาะเพียงแค่พื้นผิวภายนอกเท่านั้น ซึ่งหากมีรอยระเบิดจะปะทุจากในเนื้อออกด้านนอก ถ้าเป็นของปลอมมักใช้น้ำกรดกัดทำให้ปริจากนอกเข้าด้านใน

จุดสังเกตสำคัญ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม คือ จะแตกไปในทิศทางต่างๆ กัน สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและจากสภาวะอากาศภายในกรุ ลักษณะพิเศษอีกประการคือ จะมีไขขาวคลุมอีกชั้นหนึ่งและมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ ซึ่งไขขาวนี้จะจับเกาะแน่นแกะไม่ออก

ถ้าเป็นไขขาวของปลอมเมื่อใช้ของแหลมทิ่มเบาๆ จะหลุดออกครับผม

มาดูพระร่วงหลังลายผ้า จังหวัดลพบุรี กันบ้าง พระยอดขุนพลที่ได้รับการจัดให้เป็น "หนึ่งในจักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง" และมีวลียกย่องสำหรับชาวลพบุรีไว้ว่า "ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนต้องยกให้พระร่วงหลังลายผ้า แต่ถ้าพระพิมพ์นั่งล่ะก็ต้องเป็นพระหูยานลพบุรี"

พระร่วงหลังลายผ้ามีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 ราวๆ ร้อยกว่าปีมาแล้ว ที่พระปรางค์องค์ใหญ่หรือปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อมามีการแตกกรุอีก 2 ครั้ง คือ พ.ศ.2455 และ พ.ศ.2458 ในบริเวณใกล้เคียงกัน พบพระจำนวนหนึ่งขึ้นปะปนกันหลายประเภท ล่วงมาถึงปี พ.ศ.2515 ได้มีการขุดค้นพบอีกครั้งที่บริเวณโรงเรียนช่างกลละโว้ ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดเก่ามาก่อน ได้พบพระร่วงหลังลายผ้าประมาณ 200 องค์ รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ อีกหลายพิมพ์

พระร่วงหลังลายผ้าที่พบนั้นเป็นพระพิมพ์เดียวกับของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุทุกประการ จะผิดกันที่สนิมขององค์พระที่มีสีแดงเข้มกว่าและขนาดบางกว่า เข้าใจว่าจะเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกันแต่แยกบรรจุคนละที่เลยเรียกว่า "พระร่วงกรุช่างกล"

เมื่อพิจารณาจากความเก่าของเนื้อองค์พระและพุทธศิลปะแล้ว พระร่วงหลังลายผ้าน่าจะมีอายุอยู่ในราว 800 ปี ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเช่นกัน โดยได้ขยายอาณาเขตเข้ามาปกครองเมืองละโว้หรือลพบุรีด้วย จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพวกขอม และด้วยพุทธศิลปะขององค์พระแลดูสง่างามและอลังการอย่างมาก จึงน่าจะเป็นกษัตริย์เจ้าผู้ครองแคว้นเป็นผู้สร้าง เพราะพระประเภทนี้จะเป็นลักษณะของสมมติเทพ คือเป็นพระทรงเครื่องเยี่ยงกษัตริยาธิราช เช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน"

นอกจากนี้ ยังมีผู้สันนิษฐานอีกว่า พระทั้ง 2 พิมพ์นี้น่าจะสร้างในยุคใกล้เคียงกัน เพราะพุทธศิลปะและพุทธลักษณะเป็นฝีมือสกุลช่างเดียวกัน จะต่างกันก็เพียงพิมพ์ด้านหลัง ที่ "พระร่วงหลังลายผ้า" ใช้ผ้ากระสอบกด แทนที่จะใช้แท่งไม้เหมือน "พระร่วงหลังรางปืน"

พระร่วงหลังลายผ้าจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน และตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์แลดูเคร่งขรึมและดุดัน พุทธศิลปะแบบศิลปะเขมรยุคบายน ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิลปะสมัยลพบุรีโดยแท้ แบ่งออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "พิมพ์นิยม" และพิมพ์เล็ก ส่วนพิมพ์ด้านหลังเป็นหลังลายผ้า ซึ่งคงจะเป็นผ้ากระสอบที่ใช้ปิดลงบนหลังแม่พิมพ์เมื่อเทโลหะแล้วกดเล็กน้อยเพื่อให้ด้านหน้าเต็มพิมพ์ จึงนำมาขนานนามองค์พระ

พระร่วงหลังลายผ้านับเป็นพระที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นเลิศ อีกทั้งพุทธคุณเป็นที่ปรากฏครบครัน ทั้งด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และโชคลาภ เรียกได้ว่าพอๆ กับ "พระร่วงหลังรางปืน" อีกทั้งยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสำคัญอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของช่างขอมจากสวรรคโลก สุโขทัย มาสู่เมืองละโว้ และเกี่ยวพันกับลัทธิเทวราชากับพุทธแบบมหายานที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้เป็นที่แสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ส่วนการพิจารณาพระแท้ เบื้องต้นให้ดูที่ผิวสนิมจะมีสีออกแดงอมส้ม ในบางส่วนที่เข้มก็จะออกแดงอมม่วง แซมด้วยสนิมไขขาว มีรอยแตกใยแมงมุมเช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผิวสนิมแดงที่ขึ้นเป็นปื้นปกคลุมทั่วทั้งองค์พระ ซึ่งนอกจากเนื้อองค์พระแล้วการดูพระแท้สำหรับพระยอดขุนพลทั้ง 2 พิมพ์นี้ควรมีความรู้เรื่องศิลปะขอมหรือเขมร เพราะองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องตามหลัก "เทวราชา" พื้นผนังมีการจำหลักลวดลายงดงามมาก เพราะเป็นพระชั้นสูงเยี่ยงกษัตริย์ ฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงปางประทานพร อยู่ในระดับเหนือพระอุระ ส่วนพระกรด้านซ้ายปล่อยทิ้งยาวแนบลำพระองค์

สิ่งสำคัญคือ เส้นนิ้วพระหัตถ์จะทาบลงเป็นเส้นตรงทับชายจีวรจนมองดูเป็นเส้นเดียวกันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
 



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กรกฎาคม 2561 13:01:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36495599026481_3_Copy_.jpg)

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เนื้อตะกั่ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าเราจะพูดถึงพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี จะหายากมากที่สุดและจะเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่มีราคาแพงที่สุด เนื่องมาจากประสบการณ์และคำร่ำลือถึงเรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย และจำนวนพระน้อยมาก ใครมีต่างก็หวงแหนมากครับ

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ประวัติความเป็นมาไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่เพียงคำบอกกล่าวกันต่อๆ มาว่า ท่านเป็นชาวเพชรบุรี และได้ออกธุดงค์มาเรื่อยๆ ผ่านมาหลายจังหวัดจนกระทั่งมาถึงจังหวัดชลบุรี และปักกลดอยู่ตรงบริเวณที่เป็นวัดเครือวัลย์ ชาวบ้านต่างเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้วมาก จึงนิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ ท่านก็เมตตาอยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ขึ้นมา มีการบอกเล่าถึงการสร้างศาลาการเปรียญว่า ชาวบ้านก็ช่วยกันหาไม้ในป่าและช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นจนสำเร็จ หลวงพ่อแก้วก็ได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแจกให้เพื่อเป็นการตอบแทน

พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วที่แจกไปนั้น ผู้ที่ได้รับไปและนำไปห้อยคอก็มีเมตตามหานิยม ค้าขายก็ขายดิบขายดีจนร่ำรวยกันไป เรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ก็เล่าขานกันต่อๆ มาหลากหลายเรื่อง เช่น มีลูกศิษย์วัดบางรายไปหลงรักสาว แต่สาวเจ้าไม่เล่นด้วย จึงได้นำผงของพระปิดตาไปแอบใส่น้ำให้สาวกิน แล้วก็ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน ความถึงหลวงพ่อแก้วท่านจึงประกาศว่าถ้าใครนำพระของท่านไปขูดเอาผงใส่น้ำให้ผู้หญิงกินแล้ว ไม่รับเลี้ยงดู จะเป็นบ้าแล้วก็สั่งห้ามไว้ เรื่องเมตตามหานิยมของพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนั้นมีมากมาย เป็นเรื่องเล่าบอกลูกหลานกันต่อๆ มาของชาวชลบุรี

อีกเรื่องหนึ่งคนเฒ่าคนแก่แถววัดเครือวัลย์เล่าให้ฟังว่า ตอนที่หลวงพ่อแก้วยังมีชีวิตอยู่นั้น มีแม่ค้าคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ วัด แต่แกก็ยังไม่เคยได้พระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว แกมีอาชีพขายปลาทู ซึ่งแกจะไปซื้อปลาทูสดมาจากสะพานปลา แล้วนำมาต้มขายเป็นปลาทูเข่ง และแกก็จะหาบเข่งปลาทูผ่านวัดเครือวัลย์ไปขายทุกวัน มีอยู่วันหนึ่งแกก็หาบเข่งปลาทูไปบ่นไปผ่านมาทางกุฏิของหลวงพ่อแก้วว่า ค้าขายไม่ค่อยดี ขายไม่ค่อยหมด การเป็นอยู่ค่อนข้างฝืดเคือง พอดีหลวงพ่อแก้วอยู่บนกุฏิได้ยิน จึงเรียกแม่ค้าปลาทูให้หยุดก่อน และหลวงพ่อก็ให้พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแม่ค้าคนนั้นองค์หนึ่ง แล้วก็ให้พรให้ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่านะ แม่ค้าก็กราบลาหลวงพ่อแก้วไปค้าขายตามเดิม

แต่ที่แปลกคือวันนั้นขายดีผิดปกติ ขายได้ประเดี๋ยวเดียวก็ขายหมด ก็เลยนึกถึงหลวงพ่อแก้วที่ให้พระมาและให้พร วันต่อมาก็พกพระปิดตาหลวงพ่อแก้วไปขายอีกก็ขายดี ทุกวัน มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นผู้มีฐานะคนหนึ่งของชลบุรี เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

อีกเรื่องที่กล่าวถึงกันมากก็คือเรื่องการทำพระปลอมเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พระหายากและมีผู้ต้องการมากๆ ก็มีคนไม่ดีคิดทำปลอมขึ้นมาหลอกขาย แต่แทบทุกคนที่ทำพระหลวงพ่อแก้วปลอมมักจะมีอันเป็นไป

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ซึ่งพิมพ์มาตรฐานก็มี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กพิมพ์นี้ไม่ค่อยเห็น เข้าใจว่าคงมีไม่มากนัก พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ด้านหลังจะมีทั้งหลังแบบ และหลังเรียบ แต่ทุกพิมพ์จะหายากมาก สนนราคาสูงหลักล้านทุกพิมพ์ นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแล้วหลวงพ่อแก้วยังทำเป็นเนื้อตะกั่วอีกด้วย

พระเนื้อตะกั่วนี้กล่าวกันว่า ลูกศิษย์ของหลวงพ่อที่เป็นชาวประมงได้นำพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักห้อยคอติดตัวไปตลอด ถูกน้ำทะเลบ้างแห้งบ้างตลอดเวลา ทำให้องค์พระสึกกร่อนเสียหาย จึงไปกราบหลวงพ่อเล่าให้ฟัง หลวงพ่อจึงให้นำตะกั่วมาหลอมเททำเป็นพระปิดตาแล้วหลวงพ่อแก้วปลุกเสกให้ ขนาดองค์พระจะเล็กกว่าพระเนื้อผงคลุกรักเล็กน้อย พระปิดตาเนื้อตะกั่วของหลวงพ่อแก้วปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน สนนราคาก็สูงแต่ก็ยังถูกกว่าพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักครับ

พระปิดตาทั้งเนื้อผงคลุกรักทุกพิมพ์ และพระปิดตาเนื้อตะกั่ว ของหลวงพ่อแก้วปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ วันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เนื้อตะกั่วมาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 
1-30/6

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57078116014599_view_resizing_images_3_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19371684557861_view_resizing_images_4_.jpg)

พระพิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น หลวงปู่อ้น

หลวงปู่อ้น วัดบางจาก พระเกจิชื่อดังแห่งแม่กลอง หรือ จ.สมุทรสงคราม ที่ชีวิตฆราวาสท่านเป็นถึง "หม่อมราชวงศ์" แต่ด้วยความสมถะ รักสันโดษ เมื่ออยู่ในสมณเพศจึงไม่รับยศตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น คงเป็นพระลูกวัดอยู่กระทั่งมรณภาพ

เป็นหนึ่งในศิษย์เอกที่มีความใกล้ชิดมากๆ กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และได้รับการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ มาอย่างสมบูรณ์แบบ สังเกตได้จากวัตถุมงคลในยุคต้นๆ ของท่านนั้นสามารถใช้ศึกษาเนื้อหามวลสารของ "พระสมเด็จวัดระฆัง" ได้สบายๆ โดยเฉพาะพระหลวงปู่อ้น พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น ที่มีเนื้อหา พิมพ์ทรง และพุทธลักษณะใกล้เคียงมากที่สุด อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏโดดเด่น จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเครื่องสำคัญของ อ.อัมพวา ซึ่งเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงของสาธุชน ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง เพราะผู้มีไว้ต่างหวงแหนยิ่ง

ประวัติของท่านมีเพียงบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เลขานุการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นคว้าและเขียนบันทึกประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เกิดทันยุคนั้น และหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ บางตอนได้มีกล่าวถึงประวัติของ "หลวงปู่อ้น" ไว้ดังนี้

"... หลวงปู่อ้น มีนามเดิมว่า ม.ร.ว.อ้น อิศรางกูร นิสัยของท่านรักสันโดษ เมื่ออุปสมบทที่วัดระฆังฯ แล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคอยปรนนิบัติและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและไสยเวท กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เล่ากันมาว่าท่านยังได้ติดตามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ครั้งไปเยี่ยมเยียนหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก, หลวงปู่เอี่ยม วัดบางจาก และหลวงปู่อ่วม วัดไทร ด้วยต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ระยะหนึ่ง จากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่วัดบางจาก จ.สมุทรสงคราม จนมรณภาพ ..."

ช่วงที่ท่านจำพรรษาที่วัดบางจาก สร้าง "พระพิมพ์" ขึ้นจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณกาล โดยส่วนหนึ่งเพื่อไว้แจกแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาตามสมควร และอีกส่วนหนึ่งได้นำบรรจุกรุพระเจดีย์ไว้ 2 แห่ง คือ วัดเกาะลอย อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี และวัดปรกคลองวัว อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระของท่านจึงมี 2 ลักษณะ คือ พระที่ไม่ได้บรรจุกรุ และพระที่บรรจุในกรุ ซึ่งจะมีคราบนวลและขี้กรุตามลักษณะของพระกรุโดยทั่วไป

ดูจากเนื้อหามวลสารขององค์พระเชื่อมั่นว่าท่านใช้สูตร "การลบผงพุทธคุณ" ที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์อย่างแน่นอน อาทิ มวลสารหลักเป็นปูนเปลือกหอย ผสมด้วยผงวิเศษตามสูตร เช่น ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช ตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ธรรมคุณ ผงอิติปิโส นะร้อยแปด ผงอักขระสูตรสนธิ ฯลฯ ข้าวสุก ข้าวก้นบาตร ขี้ธูปพระประธาน กล้วยน้ำว้า ดอกไม้บูชาพระ มีตัวประสานคือ น้ำอ้อยและน้ำมันตั้งอิ้ว ที่พิเศษ และเป็นเอกลักษณ์ก็คือ การผสมเยื่อกระดาษสา โดยรวบรวมตำราต่างๆ ที่ขาดและชำรุด ซึ่งสร้างจากกระดาษสาหรือกระดาษปะว่าวมาแช่น้ำจนยุ่ย แล้วนำมาตำเป็นส่วนผสม ทำให้เนื้อองค์พระมีความหนึกเนียนซึ้ง เฉกเช่น "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

หลวงปู่อ้นสร้าง "พระสมเด็จ" หลายพิมพ์ทรงด้วยกัน มีอาทิ พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น, พิมพ์เล็บมือ, พิมพ์ประคำรอบ ฯลฯ แต่ "พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น" นับเป็น "พิมพ์นิยม" ซึ่งทั้งเนื้อมวลสารและพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระสมเด็จ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากที่สุด คือ พิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานหมอน 3 ชั้น ฐานชั้นล่างสุดตรงกลางเป็นร่องลึกซึ่งคล้าย "พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่" แต่หลวงปู่อ้นได้สร้างพิมพ์ด้านหลังให้เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไป โดยทำพื้นด้านหลังโค้งและนูนเป็นพิเศษ

บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า "สมเด็จหลังประทุน" เพราะมีลักษณะเหมือน "ประทุนเรือ" แต่ด้วยเอกลักษณ์นี้เองทำให้ผู้ฉวยโอกาสทั้งหลายได้นำเอาพระของท่านมาแกะและเปลี่ยนแปลง เพื่ออุปโลกน์เป็น "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างง่ายดายครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56747738147775_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21907293837931_view_resizing_images_5_.jpg)

ล็อกเกตหลวงปู่ทวน
 
"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์พระป่า

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้ และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีหลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็น พระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา

อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี มีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบทออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวนมีอายุครบ 110 ปี ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "ล็อกเกตมหาสมปรารถนา" โดยจัดสร้าง 2 ชนิด คือ ล็อกเกตฉากป่า หลวงปู่ทวนนั่งเพชรกลับ 999 องค์ และชนิดนั่งสมาธิ 1,999 องค์

ลักษณะเป็นล็อกเกต พิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นภาพหลวงปู่ทวนนั่งสมาธิ ด้านหลังเป็นฉากป่า ขวามือท่านมียันต์ ครูประจำตัว ส่วนซ้ายมือท่าน เป็นยันต์อิติปิโสแปดทิศ เป็นยันต์เดียวกับที่ท่านสักไว้บนแผ่นหลัง

ด้านล่างมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร อายุ ๑๑๐ ปี วัดโป่งยาง"

ส่วนด้านหลังล็อกเกตไม่มีขอบ บรรจุผงมะตูมและ พลอยเสกของท่าน พร้อมผงเก่าหลวงปู่หมุนที่รวบรวมจาก พระเกจิกว่า 350 รูป, ผงโสฬสหลวงปู่บัว และผงพุทธคุณเก่าวัดทรัพย์ลำใย

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ที่วัดโป่งยาง วาระที่ 1 วันที่ 9 มี.ค., วาระที่ 2 วันที่ 4 เม.ย. และ วาระที่ 3 วันที่ 22 เม.ย.2561

มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, เจ้าคุณมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่ออ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง เป็นต้น

สนใจติดต่อได้ที่ วัดจันทคุณาราม (โป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร. 09-8923-6492

นสพ.ข่าวสด

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31951298606064_view_resizing_images_5_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33413006282514_view_resizing_images_4_.jpg)

รูปหล่อหลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว

"หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี และเจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม ได้รับสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว"

ปัจจุบัน สิริอายุ 95 ปี พรรษา 75

พื้นเพเป็นชาวชัยนาท เกิดวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค. 2466 เข้าอุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2486 ณ พัทธสีมาวัดโคกดอกไม้ มี พระครูปัตย์ วัดสนามชัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุง รวมทั้งได้เรียนสรรพวิชามากมายจากหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตารามด้วย

ด้วยความที่เมื่อท่านเยาว์วัย อยากเรียนหนังสือ แต่ไม่มีโอกาส เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า "...หากมีโอกาสได้บวช จะอุปถัมภ์การศึกษาแก่เด็กๆ ที่พ่อแม่ฐานะยากจน จะช่วยให้เต็มความสามารถ..."

ตั้งแต่บัดนั้นมา ก็มุ่งปฏิบัติตนตามคำอธิษฐานของท่านมาโดยตลอด ด้วยการอุปถัมภ์เด็ก ที่ยากจน และทำนุบำรุงปูชนียสถาน ถาวรวัตถุภายในวัดจนรุ่งเรือง ตลอดจนช่วยเหลือสังคมส่วนรวม

ปี 2561 หลวงพ่อพร้า อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อบูชา หลวงพ่อพร้า "น้ำมนต์บาทเดียว"... " ขนาดบูชา หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างมณฑป วัดโคกดอกไม้ โดยให้จัดสร้างตามจำนวนสั่งจองเท่านั้น

หลวงพ่อพร้า เสกเดี่ยวตลอดพรรษา ไตรมาส(สามเดือน) รับวัตถุมงคลได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

พระบูชา รูปหล่อเหมือน "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว" จัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง

ลักษณะเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อพร้านั่งพนมมือทำน้ำมนต์บนอาสนะ ด้านหน้ามีบาตรน้ำมนต์ มีเทียนน้ำมนต์วางพาดบนบาตร ที่บาตรมีอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้ฐานอุดผงมวลสารและแผ่นยันต์ ที่อาสนะ ด้านหลัง มีอักษรไทย "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

วัตถุมงคลชุดนี้ต้องสั่งจองเท่านั้นสอบถามได้ที่ วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โทร.0-5648-2948 ทุกวัน


นสพ.ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14928166775239_1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35571776537431_view_resizing_images_3_.jpg)

หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ ของ "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" พระอริยสงฆ์สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอันเกี่ยวกับเอกราชของบ้านเมืองที่เล่าขานสืบกันมาถึงปัจจุบัน

จากความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นคุณวิเศษ ดังกล่าว ถูกนำมารังสรรค์ปั้นแต่งให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดยวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มอบหมายให้ "นายนเรศ มือทอง" เป็นผู้ออกแบบพุทธศิลป์อย่างงดงามอลังการ และ "แพรนด้า จิวเวลรี่" สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจง เพื่อมอบเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยอีกครั้ง ในรูปแบบ "เหรียญหล่อ" ประกอบมงคลนาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ" รายได้นำไปสมทบทุนจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรง "เต่าเรือน" อันถือเป็นสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว ด้านหน้า บนสุดมีองค์พระพุทธปฏิมากร ประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ" ตรงกลางเป็นองค์พระสงฆ์ "หลวงปู่ทวด" ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง ด้านหน้าเหรียญจึงมีองค์ประกอบครบทั้งพระรัตนตรัย มหาเทพ และบริวาร

ส่วนด้านหลัง บนสุดเป็นอุณาโลม และ ตัว "นะ" ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตโต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทองแล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อจีนที่ว่า จะนำความร่ำรวยมาสู่ ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จะจัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 วันที่ 15 ก.ค.61 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด ณ วัดแค ราชานุสาวรีย์ จ.พระนครศรีอยุธยา ต้นกำเนิดตำนานหลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ วาระที่ 2 วันที่ 18 ก.ค.61 ปลุกเสกชนวนมวลสาร ณ อุโบสถ วัดขุนอินทประมูล และวาระที่ 3 วันที่ 25 ต.ค.61 พิธีพุทธา ภิเษกหลังไตรมาส ณ อุโบสถ วัดขุนอินทประมูล

มีให้เลือกสรรถึง 9 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำลงยา, เนื้อเงินซาตินรมดำองค์ทองคำ, เนื้อนวโลหะผสมทองคำ, เนื้อเงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาตินาเขียวองค์เงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาตินาเขียวองค์ทองระฆังซาตินรมดำ, เนื้อทองระฆังซาตินรมดำ และเนื้อบรอนซ์ซาตินรมดำ โดยทุกรายการสร้างจำนวนจำกัดและตามการสั่งจอง

ผู้มีจิตศรัทธาและผู้สนใจรีบสั่งจองตั้งแต่วันนี้ ที่วัดขุนอินทประมูล โทร.09-2557-7511


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 23 กรกฎาคม 2561 14:41:08

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85108900525503_3.jpg)
พระผงสมเด็จอุทยาน

"พระผงสมเด็จอุทยาน" พระธัมม วิตักโกภิกขุ หรือ พระยานรรัตนราชมานิต วงการพระเครื่องเรียกนามท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าคุณนรฯ" สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์วัดอุทยาน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2511

โดยพระมหาสงัด สุวิเวโก วัดเทพศิรินทราวาส กุฏิ10 ผู้จัดทำและบันทึกข้อความ ลงวันที่ 19 พ.ค.2511 บันทึกไว้ว่า "...ปี 2511 (พุทธศักราช) อาตมภาพมีความประสงค์ต้องการเชิญท่านสาธุชน มีท่านเจ้าของโรงพิมพ์ พรรณศิริ และคณะศิษย์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง จัดหาปัจจัยเพื่อรวมสมทบในงานพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์ วัดอุทยาน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อาตมภาพได้จัดสร้างพระเครื่องพิมพ์แบบสมเด็จ วัดระฆัง พระนคร และมีพระกริ่งโลหะ แบบพระบูชาเชียงแสน จำนวนรวมกันประมาณหนึ่งหมื่นองค์

พระเครื่องพิมพ์สมเด็จ (แบบสมเด็จวัดระฆัง) นั้นอาตมภาพได้นำมวลสาร ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จำนวนมาก คือพระของ วัดอมตรส พระนคร ที่ชำรุดแตกหัก เป็นจำนวนมาก ผงเกสรดอกไม้ ผงพระเก่าต่างๆ ที่ท่านผู้มีจิตศรัทธา กรุณานำมามอบให้ โดยสามารถสร้างได้จำนวนห้าพันองค์

สำหรับพระกริ่งโลหะแบบบูชาเชียงแสน ทางเจ้าของโรงพิมพ์พรรณศิริและคณะศิษย์ชาวพระนคร ได้นำมาจำนวนมาก สามารถสร้างพระกริ่งได้ห้าพันองค์

ภาพหลังสร้างเสร็จจึงได้แจ้งไปยังศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบุญ โดยนำปัจจัยที่ได้ทั้งหมด สมทบทุนในงานวางศิลาฤกษ์ สร้างอุโบสถ วัดอุทยาน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ต่อหลวงพ่อนรรัตน์ (ธัมมวิตักโกภิกขุ) ท่านได้เมตตาอนุญาตให้นำพระเครื่องทั้งหมดไปบรรจุในฐานชุกชีภายใน พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส

โดยท่านได้ปลุกเสกให้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ปี 2511 (ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก) เป็นวันวิสาขบูชา ตลอดเป็นระยะเวลา 7 วัน 7 คืน จนถึงวันที่18 พฤษภาคม ปี 2511 โดยหลวงพ่อนรรัตน์ ได้บอกอาตมภาพว่า ให้นำพระที่อยู่ในฐานชุกชีทั้งหมดออกไปใช้ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเถิด

เจ้าคุณนรฯ ท่านบอกกับอาตมาว่า "ฉันก็ไม่เคยสร้างโบสถ์เหมือนกัน ขอร่วมโมทนาบุญครั้งนี้ด้วยนะและฉันอธิษฐานจิตให้พระคุณเจ้า และสมเด็จอาจารย์ช่วยให้สำเร็จด้วยดี" ในพิธีการนั่งปลุกเสก ในครั้งนี้หลวงพ่อนรรัตน์ ท่านนั่งปลุกเสกตลอดรุ่ง คือตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเช้า ท่านไม่ลุกขึ้นเลยเป็นเวลา 12 ชั่วโมงเต็มนับว่าหาได้ยากยิ่ง อาตมภาพได้บันทึกภาพไว้ด้วยแสงธรรมชาติไม่ใช้ไฟช่วย เพราะเกรงว่าแสงไฟจะไปรบกวนหลวงพ่อนรรัตน์ ซึ่งเพื่อนกำลังอยู่ในสมาธิ ภาวนาจิตบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ..."

เหตุที่ชื่อ "พระสมเด็จอุทยาน" นั้น เพราะจัดสร้างมาเพื่อนำปัจจัยมา สร้างโบสถ วัดอุทยาน จ.นนทบุรี ซึ่งวัตถุมงคลดังกล่าวสร้างจำนวนไม่มาก ปัจจัยก็ครบสามารถสร้างอุโบสถจนเสร็จสิ้น พระสมเด็จอุทยานที่เหลือ จึงได้เก็บไว้ใต้ฐานพระประธานในโบสถ์ วัดอุทยาน

พระสมเด็จอุทยาน ด้านหน้าพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ด้านหลังปั๊มยันต์ เจ้าคุณนรฯ ด้วยน้ำหมึกอย่างดีจากประเทศจีนสีแดง ด้านล่างยันต์ เขียน คำว่า "วัดอุทยาน นนทบุรี" ถือได้ว่าเป็นพระที่หาได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้ เพราะทำมาจำนวนไม่มาก


เปิดตลับพระใหม่
เจริญ อาจประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98606742463178_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19118001105056_2.jpg)

วัตถุมงคลบุญมหาเศรษฐี 80 ปี-หลวงปู่บุญมา

"พระครูสุนทรโชติธรรม" หรือ "หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม" เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง ต.วังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พระเกจิชื่อดัง วัตถุมงคลที่สร้างล้วนทรงพุทธาคมเป็นที่ประจักษ์

เป็นชาวจังหวัดปราจีนบุรีโดยกำเนิด ในวัยเรียนบิดานำไปฝากกับหลวงพ่อเขียน หรือพระครูประสารวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุง พระเกจิชื่อดังของปราจีนบุรี เพื่อศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดบ้านกุง และปรนนิบัติรับใช้

กระทั่งจบการศึกษาประชาบาลชั้นประถมปีที่ 3 บิดาได้ไปรับมาอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม หรือหลวงพ่อใหญ่ พระเกจิผู้เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อศึกษาต่อในระดับประถมปีที่ 4 รวมถึงเรียนวิทยาคม อักขรสมัยต่างๆ และฝึกทำสมาธินั่งวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้น

จากนั้นใช้ชีวิตฆราวาส จนอายุ 25 ปี จึงตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งแฝก หมู่ 2 ต.กบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีพระครูศรีวิเลิศ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการกรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า โชติธัมโม

ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบนักธรรมเอกได้ในเวลาต่อมา จังหวะนั้นเองทางวัดบ้านแก่งว่างสมภารลง หลวงพ่อใหญ่ก็ได้สั่งให้มาเป็นสมภาร สืบแทนหลวงพ่อทองดีที่มรณภาพ

สมัยนั้นวัดบ้านแก่งและหมู่บ้านค่อนข้างทุรกันดาร ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ความเป็นอยู่ของชาวบ้านไม่ค่อยดี วัดก็เลยไม่รุ่งเรืองตามสภาพ ขณะอยู่วัดหลวงปู่บุญมาก็ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะพระกรรมฐานนั้นท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่เอี่ยมนำมาปฏิบัติด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด

หลวงปู่บุญมาทำกรรมฐานโดยกำหนดเอาแสงสว่างจากเปลวเทียนเป็นหลัก เพ่งกสิณจากเปลวแสงเทียนที่เรียกกันว่า "เตโชกสิณ" คือ การทำสมาธิจิตเพ่งแสงสว่างแห่งเปลวไฟ กำหนดเอาธาตุทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมั่นคง แล้วพุ่งกระแสจิตสู่สิ่งที่กำหนดนั้น จนดวงจิตสงบนิ่งบังเกิดความสว่างขึ้นกลางมโนจิต อันเป็นการบรรลุมรรคผลในระดับหนึ่ง นั่นคือการสามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอันแน่วนิ่งและมั่นคงได้ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบของการบำเพ็ญพระกรรมฐานและการทำกสิณ

พัฒนาวัดบ้านแก่งมาตลอดจนสามารถสร้างกุฏิ สร้างศาลาการเปรียญและสร้างโบสถ์ใหม่ได้สำเร็จ ยกช่อฟ้าอุโบสถและผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิตในปี 2538

ชื่อเสียงของท่านจึงเริ่มขจรไกล แม้แต่เจ้าแหลม ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวต นักชกขวัญใจชาวไทยยังให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง เมื่อจะเดินทางเพื่อไปชกที่ใด จะต้องมากราบนมัสการขอพรทุกครั้งไป

ในปี พ.ศ.2561 เป็นโอกาสฉลองอายุครบ 80 ปี จึงดำริจัดสร้างวัตถุมงคล 2 แบบ ในชื่อ "รุ่นบุญมหาเศรษฐี" มาจากคำว่า บุญมา+มหาเศรษฐี เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ วัดป่ามหาศรีนวล จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วย รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู ความเจริญในทรัพย์ ลาภยศสรรเสริญบารมี และพระขุนแผน ชินบัญชร หลังตะกรุด โรยพลอย เสน่ห์เมตตามหานิยม

โดยเนื้อหามวลสารประกอบด้วย มวลสารเก่าที่ท่านสะสมไว้ อาทิ ผงเก่าสมเด็จวัดระฆัง, ผงตะไบเก่าจากการหลอมพระเก่ารุ่นต่างๆ, ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ฯลฯ หลวงปู่ยังได้จารแผ่นยันต์เพื่อใช้ทำตะกรุดด้วยตัวท่านเองทั้งหมดอีกด้วย ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 2 วาระ วาระแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา

หลวงปู่จารอักขระแผ่นยันต์และเสกนำฤกษ์เป็นที่เรียบร้อย

สำหรับวาระที่ 2 จะประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันศุกร์ที่ 10 ส.ค.2561 นี้ มงคลฤกษ์เวลา 13.59 น. ที่อุโบสถวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี

วัตถุมงคล รุ่นบุญมหาเศรษฐี 2 แบบ 2 มงคล ติดต่อโทร.08-5359-5915 และ 08-7936-3168

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38860423076483_1.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60596474384268_2.jpg)

เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน

พระยอดขุนพล มีการจัดสร้างมาแต่โบราณกาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีหลากหลายเนื้อ ทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อสัมฤทธิ์ โดยเชื่อกันว่าทรงพุทธคุณเป็นเลิศในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กาลต่อมา ปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งพระบางประเภทยังถูกผูกเข้ากับตำนานวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ จึงส่งผลให้ "พระยอดขุนพล" เป็นพระที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการทหารตำรวจทั้งหลาย

พระยอดขุนพลกรุเก่าที่ขึ้นชื่อลือชานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งนับเป็นพระพิมพ์ยุคต้นๆ เช่นที่ กรุวัดไก่ และกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบในกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, กรุเสมาสามชั้น จ.เพชรบุรี หรือกรุชากังราว จ.กำแพงเพชร เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังต้องลงลึกไปถึงองค์พระแต่ละพิมพ์แต่ละกรุอีกด้วย

ในราวปี พ.ศ.2497 ที่ "ท่านตรียัมปวาย" ได้ริเริ่มมีการจัดลำดับ "เบญจภาคีของพระเครื่อง" แต่ละชุดเอาไว้ รวมทั้ง "ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" ซึ่งถือเป็นพระยอดขุนพลตระกูลเหนียว คือ มีพุทธคุณโดดเด่นเป็นเลิศในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด อันประกอบด้วย พระร่วงรางปืน, พระหูยาน, พระท่ากระดาน, พระชินราชใบเสมา และพระมเหศวร โดยจะสังเกตได้ว่า พระแต่ละองค์นั้นจะมีพุทธลักษณะอันสง่างาม เข้มขลัง น่าเกรงขาม สมเป็น "ยอดขุนพล" ทั้งสิ้น

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระกรุที่มีเอกลักษณ์ประจำ คือ "หลังรางปืน" และได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระยอดขุนพลเนื้อชิน" ด้วยพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงามแต่แฝงด้วยความเข้มขลัง กอปรกับพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ประจักษ์ มีการขุดพบบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เพียงแห่งเดียว และมีจำนวนน้อยมากๆ

พระหูยาน จ.ลพบุรี พระกรุเก่ายอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองละโว้ ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ พระกรรณยาวจดพระอังสา จึงนำมาขนานนามองค์พระ และมีการค้นพบ ณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงเรียกกันว่า "พระหูยาน ลพบุรี" ซึ่งมีทั้งกรุเก่าและกรุใหม่ นอกจากนี้ยังมีปรากฏในอีกหลายกรุหลายจังหวัด

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระกรุเก่าที่มีพุทธศิลปะแบบอู่ทองบริสุทธิ์ที่อันงดงาม พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม สมัยก่อนเรียกขานกันว่า "พระเกศบิด ตาแดง" ตามพุทธลักษณะเฉพาะ มีการขุดค้นพบที่วัดเหนือ วัดกลาง วัดล่าง และบริเวณถ้ำลั่นทม ด้วยต่างเวลาต่างกรุจึงได้แบ่งแยกเป็นพระกรุเก่าและพระกรุใหม่

พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก พุทธศิลปะและพิมพ์ทรงขององค์พระน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระตระกูล "ยอดขุนพล" ในศิลปะลพบุรี และน่าจะสร้างขึ้นพร้อมหรือไล่เลี่ยกันกับการสร้างพระปรางค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดใหญ่" โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ ส่วนคำว่า "ใบเสมา" มาจากที่องค์พระมีสัณฐานเหมือนใบเสมาโบราณ

พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระกรุที่มีพุทธลักษณะแปลกแตกต่างพิมพ์หนึ่งของเมืองไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของโบราณจารย์ในอดีต ที่แก้ปัญหาพระเนื้อชินที่ส่วนพระศอมักจะบอบบาง โดยรังสรรค์องค์พระเป็นสองหน้าและให้พระศอสวนทางกัน จึงกลายมาเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นขององค์พระ มีการค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินนี้ นับเป็น "สุดยอดแห่งตำนานพระยอดขุนพล" เป็นยอดปรารถนา ค่านิยมจึงสูงเอามากๆ และหาของแท้ยากยิ่งนัก

มาติดตามรายละเอียดของแต่ละองค์กันใน "พันธุ์แท้พระเครื่อง" ฉบับต่อๆ ไป ครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71337009966373_view_resizing_images_1_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53637321831451_view_resizing_images_2_.jpg)

เลสเงินไหลมา หลวงปู่ทวน

"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา

อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวนมีอายุครบ 110 ปี ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เลสเงิน ไหลมา" ฉลองอายุวัฒนมงคล 110 ปี มีเนื้อ หัวเลสทองคำ 2 บาท 29 เส้น, เนื้อเงิน ลงยา 299 เส้น และเนื้ออัลปาก้าลงยา 1,999 เส้น

ลักษณะเป็นเลส สวมข้อมือ ด้านหน้าเลส ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ทวน ครึ่งองค์ ด้านซ้ายและขวา เป็นรูปนูน หัวหนุมาน มีอักขระขอมกำกับ "หะ นุ มา นะ นะ มะ พะ ทะ"

ส่วนด้านท้องเลส ตรงกลาง เป็นยันต์ประจำตัวหลวงปู่ทวน "อุ สะ จะ พะ อุณาโลม" สองข้างมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร พ.ศ.๒๕๖๑ ลาภ ผล พูน ทวี มั่ง มี ศรี สุข แคล้วคลาด ปลอดภัย" พร้อมตอกโค้ดและมีลำดับเลส

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ที่วัดโป่งยาง วาระที่ 1 วันที่ 9 มี.ค., วาระที่ 2 วันที่ 4 เม.ย., วาระที่ 3 วันที่ 22 เม.ย.2561 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก

อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, เจ้าคุณพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่ออ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร.09-3808-8881


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18974560954504_view_resizing_images_2_.jpg)

พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงพ่อรักษ์

"พระสมเด็จปรกโพธิ์"หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในครานั้น พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่า "แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป ตราบใดที่ยังไม่บรรลพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์"

การสร้าง "พระสมเด็จปรกโพธิ์" เนื้อผงรุ่นแรก ในครั้งนี้ได้รวบรวมนำมวลสารเก่าแก่ที่เก็บสะสมและปลุกเสกมานาน อีกทั้งยังลบผงเองตามตำราโบราณ จัดสร้างเป็นองค์พระสมเด็จปรกโพธิ์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์

วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนมอบเป็นทุนการศึกษา พระภิกษุ-สามเณร และมอบเงินทุนการศึกษา ให้กับเด็กเยาวชนที่ขาดแคลน ยากจน ประจำปี 2561

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์ บารมีร่มโพธิ์ ในอาทิตย์ที่ 5 ส.ค.2561 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา (พุทธมณฑลพระนครศรีอยุธยา) อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ. "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย" เมตตาเป็นประธานจุดเทียนชัยนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบพิธีสวดพระคาถามหาพุทธาภิเษกใหญ่ตามตำรับการสร้างพระเครื่องแบบฉบับโบราณาจารย์สมัย กรุงศรีอยุธยา

ผู้เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกจะได้รับแจกวัตถุมงคล พระสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อรวมมวลสาร ผสมผงไม้ตะเคียนโบราณ เป็นที่ระลึกซึ่งมีจำนวนจำกัดเพียง 1,000 องค์เท่านั้น

ติดต่อสอบถามร่วมบุญสั่งจอง ได้ที่วัดสุทธาวาส วิปัสสนา โทร.09-9796-2464, 09-6896-4549 และ 09-6453-9415

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39393082716398_view_resizing_images_2_.jpg)

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังประเภทเบี้ยแก้ของจังหวัดอ่างทองเป็นเบี้ยแก้อีกสายหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ซึ่งก็มีพระเกจิอาจารย์อยู่หลายรูปที่มีชื่อเสียงมาก หลวงพ่อซำวัดตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ ก็เป็นหนึ่งในนั้น เบี้ยแก้ของท่านมีความเข้มขลังมาก คนวิเศษชัยชาญต่างหวงแหน

หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ นามสกุลเดิม ลีสุวรรณ์ เป็นบุตรของนายจีนซึง กับนางอินท์ แซ่ลี้ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 3 คน หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ที่บ้านหลักขอน ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และได้อุปสมบทที่วัดตลาดใหม่ ตอนอายุได้ 23 ปี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2438 โดยมีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่อุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเคารพในหลวงปู่คุ่ย พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมอีกทั้งยังเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมเลิศล้ำในทุกๆ ด้าน จึงขอจำพรรษารับใช้หลวง ปู่คุ่ย จนมีความผูกพันและกลายเป็นศิษย์รักในเวลาต่อมา จนได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ครั้นจำพรรษาได้เพียง 2 พรรษา หลวงปู่คุ่ยเห็นแววใฝ่รู้อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร จึงส่งหลวงพ่อซำให้มาศึกษาหาความรู้ร่ำเรียนภาษาบาลี ศึกษา พระคัมภีร์ พระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. จึงได้พบและรู้จักกับ พระมหาอยู่ ญาโณทัย (สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศวรมหาวิหาร) จนเป็นสหธรรมิกกันตั้งแต่นั้นมา

หลวงพ่อซำเรียนอยู่ที่วัดระฆังฯ ได้เพียง 1 พรรษา ท่านก็ย้ายมาที่วัดสร้อยทอง จนถึงปี พ.ศ.2442 ก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเป็นห่วงโยมบิดา-มารดา และต้องการกลับมาดูแลรับใช้หลวงปู่คุ่ย สำหรับสรรพวิชาอาคมต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่คุ่ยจนหมดสิ้นทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ หลวงพ่อซำชอบมาก เพราะเคยได้รับรู้ถึงพลังพุทธาคมได้ประจักษ์แก่สายตาท่านเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ท่านจึงสนใจเป็นพิเศษ อีกทั้งด้านยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณและดูแลงานแทนหลวงปู่คุ่ยได้ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ.2446 หลวงปู่คุ่ยมรณภาพด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์หลวง พ่อซำเป็นเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่สืบต่อมา

หลวงพ่อซำท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเมื่อปี พ.ศ.2480 เรื่อยมานับว่าเป็นของดีที่มีประสบการณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และเหรียญรุ่นแรกสร้างปี พ.ศ.2506

ในวันนี้ขอนำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองบล็อกเกศตูม (พระเกศของพระพุทธรูปด้านหลังเหรียญ) ซึ่งเป็นบล็อกนิยมมาให้ชมครับ


อริยะโลกที่ 6
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 04 สิงหาคม 2561 18:12:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41410993412136_view_resizing_images_3_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25832014944818_view_resizing_images_2_Copy_.jpg)

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย
มาว่ากันต่อเรื่องเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินองค์แรก พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระยอดขุนพล เนื้อชิน"

ถ้ากล่าวถึงพระกรุเก่าที่เป็นยอดนิยมของจังหวัดและสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ ต้องยกให้ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งแตกกรุเมื่อประมาณปีพ.ศ.2493 บริเวณพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดพระปรางค์" โบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และพระที่พบก็มีจำนวนเพียง 200 กว่าองค์ ส่วนใหญ่เป็นพระที่ชำรุดแตกหัก ที่สมบูรณ์สวยงามจริงๆ น้อยมาก

พระร่วงหลังรางปืนมีพุทธศิลปะสมัยลพบุรี แบบเขมรยุคบายน ในราวปี ค.ศ.13 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมเรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่ "ขอม" เป็นผู้สร้างและบรรจุไว้ในพระปรางค์ องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 8 ซ.ม. และกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. องค์พระประธานประทับยืน ปางประทานพร สวมหมวกออกศึกแบบโบราณที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นแบบ "ซุ้มกระจังเรือนแก้ว" ด้านหลังมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ "มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระ" จากการนำไม้กดหลังพิมพ์เพื่อให้ด้านหน้าติดเต็ม ซึ่งสมัยก่อนมักเรียกกันว่า "หลังกาบหมาก" หรือ "หลังร่องกาบหมาก"

ต่อมาปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่องของปืน อีกทั้งร่องกาบหมากนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามใหม่ว่า "พระร่วงหลังรางปืน" มาถึงปัจจุบัน ลักษณะร่องรางยังแบ่งได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่องรางกว้าง

จุดสังเกตสำคัญอีกประการคือ จะปรากฏรอยเสี้ยนจากไม้ที่กดพิมพ์ทั้งสองแบบ แบ่งพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 5 พิมพ์ ซึ่งพุทธลักษณะโดยรวมนั้นเหมือนกัน จะแบ่งแยกชื่อตามลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน อันได้แก่ พิมพ์ใหญ่ ฐานสูง, พิมพ์ใหญ่ ฐานเตี้ย, พิมพ์แก้มปะ, พิมพ์หน้าหนุ่ม และพิมพ์เล็ก

พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่ว ผิวมีสีแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า หรือบางทีเรียก "ตะกั่วสนิมแดง" ซึ่งหากมีรอยระเบิดจะปะทุจากภายในเนื้อออกด้านนอก ถ้าเป็น "ของปลอม" มักใช้น้ำกรดกัดทำให้ปริจากด้านนอกเข้าด้านใน และเนื่องจากพระผ่านกาลเวลายาวนาน เมื่อส่องดูจะมีทั้ง "สนิมแดง" และ "สนิมมันปู" มีไขขาวแทรกจับเกาะแน่นแกะไม่ออก ส่วน "ของปลอม" ใช้ของแหลมทิ่มเบาๆ ก็จะหลุดออก ลักษณะพิเศษที่น่าสังเกตคือ จะมีไขคลุมอีกชั้นหนึ่งและมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงจะเป็นเนื้อชินปนตะกั่วสนิมดำโบราณจากเมืองสวรรคโลก ที่เรียกว่า "สนิมมันปู" ซึ่งมีน้อยมาก

วิธีการดูพระร่วงหลังรางปืนนั้น ควรมีความรู้เรื่องศิลปะขอมหรือเขมร เพราะองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องตามหลัก "เทวราชา"
-พื้นผนังมีการจำหลักลวดลายงดงามมาก เพราะเป็นพระชั้นสูงเยี่ยงกษัตริย์
-ฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงปางประทานพร อยู่ในระดับเหนือพระอุระ
-ในองค์ที่สมบูรณ์เมื่อใช้กล้องส่องดูจะเห็นติ่งแซมบริเวณโคนพระอนามิกา (นิ้วนาง) แต่บางองค์สนิมเกาะอาจมองไม่ถนัด
-พระกรด้านซ้ายปล่อยทิ้งยาวแนบลำพระองค์
-เส้นนิ้วพระหัตถ์จะทาบลงเป็นเส้นตรงทับชายจีวรจนมองดูเป็นเส้นเดียวกัน อันเป็นจุดสังเกตสำคัญ
-ฝ่าพระบาทด้านขวาขององค์พระจะกางออกและแผ่กว้าง ส่วนฝ่าพระบาทด้านซ้ายจะงุ้มงอและจิกลง อันเป็นจุดสังเกตสำคัญอีกประการ บางทีเวลาพบจะเห็นฝ่าพระบาทชำรุดหรือมีรอยซ่อม ให้สำเหนียกไว้ว่า "อาจปลอม" เพราะเคล็ดลับสำคัญ ของการดูพระแท้คือ ถ้าจุดสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์มีรอยซ่อม ต้องระวังไว้ให้ดี

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย จะมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระร่วงหลังลายผ้า จ.ลพบุรี" พระยอดนิยมของจังหวัดลพบุรี ที่นับวันจะหาของแท้ได้ยากยิ่งเช่นกัน แต่ด้านหลังพระร่วงหลังลายผ้านั้นเป็น "ผ้ากระสอบ" กดแทนที่จะใช้แท่งไม้ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55684697628021_view_resizing_images_4_Copy_.jpg)

พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีความนิยมมากนั้นมีพระเครื่องหลายชนิดที่มาจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นกรุพระที่ใหญ่และพบพระเครื่องมากมายหลายชนิด อีกทั้งจำนวนของพระที่พบก็มีมากมาย พระที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็คือพระร่วงยืนหลัง ลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน และอื่นๆ อีกมาก

ลพบุรีเป็นชุมชนที่มีมาแต่โบราณ เท่าที่พบหลักฐานต่างๆ ก็พบว่าเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม จนถึงสมัยอยุธยา หลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะขอมก็ยังคงมีอยู่มากมาย บางที่ก็อาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาและมีการแก้แบบไปบ้าง

แต่ยังมีเค้าโครงของศิลปะดั้งเดิมพอให้เห็นอยู่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดหนึ่งที่พบพระเครื่องศิลปะขอมมากมาย ทั้งพระเครื่องที่เป็นเนื้อชินชนิดต่างๆ พระเครื่องเนื้อสัมฤทธิ์ พระเครื่องเนื้อดินปะปนกันไป นับว่าเป็นกรุพระใหญ่กรุหนึ่ง

พระเครื่องของกรุนี้ต่อมาเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็หายากแทบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระยอดขุนพล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีมูลค่าสูงและหาพระแท้ๆ ยาก

พระเครื่องบางอย่างของกรุนี้ก็พบจำนวนน้อย และอาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าๆ ก็จะรู้จัก แต่ก็ไม่ค่อยมีการเผยแพร่กันนัก อย่างเช่นพระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก เนื้อชินเงิน พระชนิดนี้พบจำนวนน้อยมาก คนที่ได้ไว้ในสมัยก่อนก็มักจะหวงแหน และไม่ค่อยนำออกมาให้ได้เห็นกันบ่อยนัก

พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก พระที่พบเป็นเนื้อชินเงิน องค์พระเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย แบบไม่ทรงเครื่อง ค่อนข้างแตกต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ ซึ่งพระส่วนที่พบในกรุนี้จะเป็นพระแบบทรงเครื่องแทบทั้งหมด พระเกศขององค์พระเป็นแบบเกล้ามวยรูปทรงฝาละมี ห่มจีวรลดไหล่ มีสังฆาฏิเป็นปื้นหนายาวลงมาจรดท้อง และมีชายจีวรต่อลงมาพาดกับแขนลงมาถึงหัวเข่า นั่งขัดสมาธิราบ อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นคู่ นอกเส้นคู่เป็นลวดลายกระหนกโดยรอบ ศิลปะเป็นแบบลพบุรีหรือเทียบเคียงกับศิลปะเขมรก็อยู่ในยุคบายน พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนกมีขนาดไม่เขื่องนัก ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอได้อย่างสวยงาม พระกรุนี้โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง

พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก เป็นพระที่พบตั้งแต่ตอนแตกกรุน้อยมาก แทบจะนับองค์ได้ สันนิษฐานว่าคงมีไม่กี่สิบองค์เท่านั้น นอกนั้นคงจะชำรุดเสียตั้งแต่ตอนที่อยู่ ในกรุก่อนแล้ว ผิวของพระจะมี สีคล้ำดำๆ ตามแบบพระเก่าๆ เนื้อชินเงิน ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่าถือเป็นสุดยอดคงกระพันชาตรี ในปัจจุบันหาชมยากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41931355289286_view_resizing_images_6_Copy_.jpg)

พระร่วงหลังรางปืน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งหายากและเป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือพระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย พระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงศิลปะลพบุรี มีการพบครั้งแรกที่จังหวัดลพบุรี เป็นพระร่วงยืนหลังลายผ้า ต่อมาได้มีการพบพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่องค์พระปรางค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงที่พบของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีมาก ที่สังเกตง่ายๆ คือผิดกันที่ด้านหลังของลพบุรีจะเป็นลายผ้า แต่ของสุโขทัยจะมีลักษณะเป็นร่อง ความนิยมมูลค่ายกให้พระร่วงหลังรางปืนสูงกว่าบ้าง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยกว่ามาก รายละเอียดของพิมพ์จะติดชัดกว่า แต่ปัจจุบันก็หายากทั้ง 2 กรุ และมีสนนราคาสูงทั้ง 2 กรุครับ

พระร่วงหลังรางปืน มีการขุดพบโดยบังเอิญโดยพวกที่ลักลอบขุดหาสมบัติตามกรุพระต่างๆ พระที่พบมีจำนวนไม่น่าจะเกิน 200 กว่าองค์ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดเสียเป็นส่วนมาก พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังลายผ้าที่พบก่อนที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่รายละเอียดขององค์พระพักตร์จะดูอ่อนหวานกว่าของพระร่วงหลังลายผ้าเล็กน้อย รายละเอียดของตัวซุ้มเรือนแก้วก็จะติดชัดกว่าของพระร่วงหลังลายผ้า ส่วนด้านหลังนั้นก็แตกต่างกันตามชื่อที่เรียก พระร่วงหลังรางปืนได้รับความนิยมมาตั้งแต่ตอนแตกกรุออกมาใหม่ๆ เลย แต่ก็หายากมาตั้งแต่สมัยนั้น เพราะจำนวนพระมีน้อยมาก ใครมีก็มักจะเก็บเงียบไม่ยอมบอกใครเพราะกลัวจะมีขอแบ่งแบบหักคอ พระร่วงหลังรางปืนที่พบในครั้งนั้น พระส่วนใหญ่หรือแทบจะทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีไขขาวปกคลุม ถ้าล้างเอาไขออกบ้างก็จะเห็นผิวสนิมแดงเข้มสีออกแบบลูกหว้าคลุมอยู่ตลอดองค์พระสวยงามมาก ว่ากันว่ามีผู้พบพระร่วงหลังรางปืนที่เป็นเนื้อชินเงินอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก พิมพ์ของพระร่วงหลังรางปืน อาจจะมีการแยกออกกันเป็นตามลักษณะของพระ เช่น มีฐานสูงก็จะเรียกกันว่าพิมพ์ฐานสูง ถ้าตัดฐานชิดก็จะเรียกว่าพิมพ์ฐานเตี้ย บางองค์แม่พิมพ์อาจจะแตกมีเนื้อเกินที่ข้างแก้ม ก็เรียกกันว่าพิมพ์แก้มปะ เป็นต้น ส่วนด้านหลังจะมีร่องแทบทุกองค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบพิมพ์ประกบด้านหลัง เท่าที่เห็นจะมี 2-3 แบบ

ในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่ามีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดเฉกเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า พระร่วงหลังรางปืนมีจำนวนน้อยมาก จึงหายากมากๆ ครับ ราคาก็สูงมากๆ เช่นกัน ปัจจุบันก็แทบไม่ค่อยพบเห็นกันเลย

ในวันนี้ผมมีรูปพระร่วงหลังรางปืน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อการศึกษาครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19715862348675_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)

พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เคยมีผู้สงสัยและถามมาว่า ผู้ที่มีความชำนาญในด้านพระเครื่องที่มักเรียกกันว่าเซียนพระนั้น เคยมีบ้างไหมที่จะดูพระพลาด โดยเฉพาะพระประเภทที่ตนมีความชำนาญ ก็ตอบได้เลยครับว่ามีโอกาสผิดพลาดได้ครับ

เซียนพระหรือผู้ที่มีความชำนาญในการพิจารณาพระเครื่องนั้น โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่มีอาชีพรับซื้อ-ขายพระเครื่อง ซึ่งก็เป็นอาชีพของเขา จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องมีความรู้ความชำนาญในด้านนั้น เพราะเขาทำมาหากินในด้านนั้น ก็ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพได้ และย่อมพบเห็นพระเครื่องประเภทที่เขาทำมาหากินมามาก

ดังนั้นจึงมีผู้ชำนาญการในแต่ละด้านและไม่มีใครรู้เรื่องหรือชำนาญไปเสียทุกด้าน เพราะพระเครื่องนั้นมีมากมายเหลือคณานับจำกันไม่รู้จักหมด จึงจำเป็นต้องศึกษาและมีความชำนาญในแต่ละด้าน ในสังคม พระเครื่องจึงได้แบ่งพระเครื่องเป็นแต่ละประเภท เช่น พระเครื่องประเภทเบญจภาคี (พระสมเด็จฯ พระนางพญา พระกำแพง ซุ้มกอ พระรอด และพระผงสุพรรณ เป็นต้น) พระประเภทเนื้อชิน ส่วนใหญ่จะเป็นพระกรุ พระประเภทเนื้อดินเผา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระกรุเช่นกัน พระประเภทเหรียญยังแบ่งเป็นเหรียญปั๊มกับเหรียญหล่อ พระประเภทพระกริ่ง ก็ยังแบ่งเป็นพระรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ พระประเภทรูปเหมือนที่มักเรียกว่า พระรูปหล่อ (เนื่องจากพระรูปเหมือนรุ่นเก่าๆ กรรมวิธีการสร้างจะเป็นวิธีการหล่อ) พระประเภทเนื้อผง เป็นต้น ในแต่ละประเภทยังแยกออกมาอีกว่า เป็นประเภทยอดนิยมและประเภททั่วไป ในส่วนของคำว่าประเภทยอดนิยมก็จะเป็นพระที่มีสนนราคาสูงกว่าพระประเภททั่วไป ซึ่งคำนิยามเหล่านี้เราจะเห็นได้ในหนังสือสูจิบัตรของงานประกวดพระต่างๆ

ครับทำไมถึงต้องแยกออกมาเยอะแยะไปหมด ก็อย่างที่ผมบอกในตอนแรกครับว่าไม่มีใครรู้ไปหมด หรือเก่งไปหมดเสียทุกอย่างได้ เพราะพระเครื่องมีมากมายเหลือเกินจำกันไม่หมด การจำนั้นไม่ได้หมายถึงจำได้ว่าพระแบบนั้นแบบนี้เรียกว่าพระอะไร แต่ต้องจำพิมพ์จำเนื้อ และแยกแยะพระแท้กับ พระปลอมเลียนแบบได้ด้วย อย่างเซียนพระประเภทนั้นประเภทนี้เขาก็มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นเป็นพิเศษ เนื่องจากเขาทำมาหากินซื้อ-ขายพระประเภทนั้นๆ จึงพบเห็นพระประเภทนั้นๆ มามาก และต้องมีความรอบคอบในการซื้อเข้ามา เพราะถ้าพลาดพลั้งไปก็จะเสียเงินไปเปล่าๆ โดยได้พระปลอมไป

ทีนี้ถามว่าเคยไหมที่เซียนเองก็ดูพระพลาดในประเภทที่ตนเองถนัดหรือมีความชำนาญ เคยแน่นอนครับ แต่ก็ต้องมาดูกันที่ว่าเซียนแต่ละคนก็มีความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน ก็แล้วแต่ละบุคคล ในส่วนของผู้ที่มีความรู้ความชำนาญสูงๆ ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน อาจจะมีสาเหตุด้วยกันหลายๆ อย่าง เอาง่ายๆ คนที่มีความชำนาญไม่ว่าในด้านใดก็ตามไม่ใช่แต่ในด้านพระเครื่อง เช่นคนที่ชำนาญการในด้านการขับขี่มอเตอร์ไซค์ผาดโผน ก็มีบางครั้งก็พลาดเกิดการบาดเจ็บได้ ลิงที่ปีนป่ายต้นไม้เก่งก็ยังมีโอกาสตกต้นไม้ได้เช่นกัน การที่เราทำอะไรก็ตามอยู่เป็นประจำก็ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น แต่สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ โอกาสที่จะผิดพลาดน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีความชำนาญก็เท่านั้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

ผมเองชื่นชอบพระเครื่องศึกษาและเช่าหาเก็บไว้ตลอดหลายสิบปี แต่ก็ไม่ใช่เซียนหรือประกอบอาชีพนี้ ก็ผิดพลาดเป็นประจำครับ เวลามีท่านผู้อ่านส่งรูปพระมาถามผมจึงต้องนำรูปพระของทุกท่านไปสอบถามเซียนผู้ที่ชำนาญในแต่ละด้านให้อีกที แล้วจึงนำคำตอบมาเขียน บางท่านก็คิดว่าผมมีความรู้ความชำนาญด้วยตัวผมเองก็บอกได้เลยว่าไม่ใช่ครับ เป็นเพียงชอบศึกษาสอบถามหาข้อมูลเท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น ซึ่งพระรอดพิมพ์ตื้นจะมีอยู่ 2 แม่พิมพ์ ส่วนรูปที่ผมนำมาให้ชม แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นน้อยกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็คือรอยพิมพ์แตกของพระรอดพิมพ์ตื้นทั้ง 2 แม่พิมพ์จะแตกต่างกัน ซึ่งก็อาจจะทำให้ดูพลาดได้ครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94085357669326_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)

เหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี หลายๆ ท่านก็คงรู้จักวัตถุมงคลของท่าน โดยเฉพาะนางกวักทองเหลือง ซึ่งนิยมเสาะหากันมาก เนื่องจากพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมสูง ค้าขายดี

หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 ที่ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี อุปสมบทในปี พ.ศ.2426 ที่วัดพร้าว หลวงพ่ออิ่มสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่อันสงบต่างๆ ศึกษาพุทธาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณจากหลายคณาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น ต่อมาท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช

หลวงพ่ออิ่มได้ใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านต่างๆ จึงเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และมีชื่อเสียงโด่งดัง ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มมีหลายอย่าง เช่น พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ พิมพ์มารวิชัย พิมพ์พระปิดตา ปัจจุบันหายาก พระโลหะหล่อ พิมพ์ต่างๆ พระปิดตา นางกวัก และแหวนหล่อ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญปั๊มอยู่อีกประมาณ 3 รุ่น เป็นเหรียญทรงอาร์มรุ่นแรก เหรียญเสมารุ่น 2 และเหรียญรูปไข่ รุ่น 3

พระผงดำพิมพ์ปิดตาปัจจุบันหายาก นิยมกันมาก วัตถุมงคลเนื้อทองเหลืองหล่อที่นิยมและหากันมากก็คือนางกวัก สำหรับเหรียญปั๊มรุ่นแรกนั้นก็หายาก และมีสนนราคาค่อนข้างสูง เหรียญรุ่นนี้สร้างในปี พ.ศ.2470 ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาขออนุญาตหลวงพ่ออิ่มจัดสร้างเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ มีตัวหนังสือเขียนว่า "ที่ระลึกหลวงพ่ออิ่ม" ด้านหลังเป็นตัวยันต์อุหัวขึ้นหัวลง และตัวมะ อะ เท่านั้น เหรียญนี้มีประสบการณ์ และท้องถิ่นหวงกันมากครับ ปัจจุบันหายาก ราคาค่อนข้างสูง

เหรียญรุ่นแรกหาสวยๆ ยาก คนในสมัยก่อนมักห้อยติดตัวกันมานาน ในสมัยนั้นก็ไม่ได้เลี่ยม ห้อยกันเปลือยๆ เลย เท่าที่พบจึงเห็นแต่เหรียญสึกๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ สำหรับเหรียญสวยๆ หายากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72974696548448_view_resizing_images_6_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60319985573490_view_resizing_images_5_Copy_.jpg)

พระเครื่องและเหรียญหลวงพ่อปั้น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ นามนี้มีความสำคัญอย่างไร วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงวีรกรรมความรักชาติและเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องประเทศ เมื่อครั้งที่ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกถึงวีรกรรมของชาวบ้าน บ้านสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญที่เป็นกองอาสาสู้ศึกปกป้องประเทศชาติ โดยเป็นกองอาสาทะลวงฟันเข้าสู้รบและเข้าตะลุมบอนกับกองทัพพม่าจำนวนหมื่นอย่างห้าวหาญที่อ่าวหว้าขาว แต่ก็ขาดกำลังสนับสนุนจนต้องพลีชีพทั้ง 400 ชีวิต

มีตำนานกล่าวถึงขุนรองปลัดชู ที่เป็นหัวหน้านำชาวบ้านไปอาสาสู้ศึก ขุนรองปลัดชูคือใคร ท่านเป็นครูดาบ อยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ ต่อมาได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้เป็นปลัดเมืองกรมการเมืองวิเศษชัยชาญ

ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ขุนรองปลัดชู" เมื่อทราบข่าวว่าพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาทางด้านมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่งปลัดเมือง แล้วนำชายฉกรรจ์ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ 400 คน เดินทางมายังกรุงศรีฯ กับเห็นว่าพม่ามีจำนวนมากจึงถอยทัพโดยไม่ได้เข้าช่วยขุนรองรบ เลย ด้วยจำนวนที่น้อยกว่ากันมาก แต่ก็ได้ทำความเสียหายให้แก่พม่าเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่านักรบสี่ร้อยอยู่ยงคงกระพัน ทำให้พม่าครั่นคร้ามเป็นอย่างมาก แต่ด้วยกำลังที่มากกว่าทำให้กองอาสาวิเศษชัยชาญ ที่ต้องต่อสู้โดยลำพังต้องอ่อนแรง และข้าศึกทำอย่างไรก็ไม่ตายต้องใช้ช้างกระทืบให้ตาย แม่ทัพพม่ายกย่องในความกล้าหาญของกองอาสาที่ต่อสู้ป้องกันประเทศจนตัวตายทั้งหมด ชาววิเศษชัยชาญเมื่อทราบข่าวก็โศกเศร้าเสียใจ ในปี พ.ศ.2313 ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างวัดเพื่ออนุสรณ์ถึงความรักชาติและความกล้าหาญของกองอาสาวิเศษชัยชาญทั้ง 400 คน และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดสี่ร้อย"

ต่อมาในสมัยหลวงพ่อบุญเป็นเจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย และมีความสนิทสนมกับหลวงพ่อปั้น เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง อำเภอบางบาล (ภายหลังหลวงพ่อปั้นได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลโสกัน อยุธยา) ได้ปรึกษากับหลวงพ่อปั้นที่จะสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ไว้เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้าน จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัด โดยชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่โตและใช้เวลาสร้างนานถึง 16 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2475 ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อโต"

ในการพุทธภิเษกยกรัศมีเบิกพระเนตร ติดอุณาโลมนี้ ได้มีการบรรจุวัตถุมงคลไว้ในองค์หลวงพ่อโตด้วย

พระเครื่องของวัดนี้ ที่ปลุกเสกโดยหลวงพ่อปั้น มีพระเครื่องเนื้อผงน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ชาวบ้านเรียกว่า พระผงหลวงพ่อปั้นวัดสี่ร้อย มีอยู่หลายพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีเหรียญปั๊มหลวงพ่อปั้น ที่ออกให้วัดสี่ร้อยอีกเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญรูปเสมา

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องและเหรียญหลวงพ่อปั้นที่ออกให้วัดสี่ร้อย จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44564598302046_view_resizing_images_4_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65016053534216_view_resizing_images_9_Copy_.jpg)

พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี
มาถึง "เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" องค์ที่ 3 "พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี" พระกรุพุทธศิลปะอู่ทองบริสุทธิ์อันงดงามมาก พุทธคุณก็โด่งดังเป็นที่เลื่องลือมาแต่โบราณทั้งแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระกรุอันดับหนึ่งของจังหวัดและได้รับฉายา "ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง"

พระท่ากระดาน ตั้งตามชื่อ "วัดท่ากระดาน หรือวัดกลาง" วัดสำคัญ 1 ใน 3 วัด คือ วัดเหนือ (วัดบน), วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง ของเมืองท่ากระดาน เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมลำน้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา เคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่าและเมืองไทรโยค อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ปัจจุบันลดฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบลในเขตการปกครองของ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

ตั้งแต่ราวปีพ.ศ.2440 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดาน ที่วัดเหนือ วัดกลาง วัดล่าง และที่บริเวณถ้ำลั่นทม แต่พบพระไม่มากนัก จนถึงปี พ.ศ.2495-2496 เป็นการค้นหากันอย่างจริงจัง เรียกว่า "แตกกรุครั้งใหญ่" จึงพบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลาง ปรากฏ พระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงงามจัดและ ปิดทองมาแต่ในกรุแทบทุกองค์

จากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆ หลายเตา ที่สำคัญคือปรากฏมีสนิมแดงตกอยู่เรี่ยราด อีกทั้งพบพระท่ากระดานกระจายอยู่ทุกพิมพ์ จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระอย่างแน่นอน และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทมใหญ่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุถ้ำลั่นทม"

นอกจากนี้ ยังมีการขุดค้นพบตามบริเวณต่างๆ โดยรอบ แต่มีจำนวนไม่มากนัก อาทิ วัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) วัดร้างใน อ.ศรีสวัสดิ์, วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว), วัดท่าเสา อ.เมือง และบริเวณถ้ำในเขต อ.ทองผาภูมิ เป็นต้น ซึ่งองค์พระจะเหมือนกันทุกประการกับ "กรุศรีสวัสดิ์" จึงสันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนมีผู้นำพระท่ากระดานที่พบจากศรีสวัสดิ์ไปถวายตามวัดต่างๆ ซึ่งแต่ละวัดได้นำมาบรรจุกรุเก็บรักษาไว้เช่นกัน นักนิยมสะสมพระเครื่องจึงแบ่งพระท่ากระดานออกเป็น 2 กรุ คือ "พระกรุเก่า" เป็นพระที่ค้นพบที่กรุศรีสวัสดิ์และกรุถ้ำลั่นทม ส่วนพระที่พบในบริเวณนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "พระกรุใหม่"

พระท่ากระดาน เป็นพระประติมากรรมนูนสูงลึก องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย บนฐานหนาที่เรียกว่า "ฐานสำเภา" อันเป็นเอกลักษณ์ของพระศิลปะอู่ทอง เค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม พระหนุแหลมยื่นออกมา พระชงฆ์ (แข้ง) เป็นสัน พระเกศยาว เหมือนพระอู่ทองหน้าแก่ พุทธศิลปะ สมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างที่ยาวนาน พระเกศบางองค์จึงชำรุดหรือคดงอ ทำให้มีหลายลักษณะ อาทิ เกศตรงยาว เรียก "เกศตรง" ส่วนที่บิดงอเรียก "เกศคด" หรือบางองค์หักเหลือสั้นลงก็เรียก "เกศบัวตูม"

สมัยโบราณมักเรียก "พระท่ากระดาน" ว่า "พระเกศคด ตาแดง" จากเอกลักษณ์เฉพาะ คือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว เมื่อผ่านกาลเวลามากว่า 600 ปี เนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมผิวเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงจะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง

จุดสังเกตของสนิมแดง จะเป็นสีแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" เป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดงตลอดจนบนสนิมไข ซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่ว เอกลักษณ์อีกอย่างคือ "คราบปูนแคลเซียม" อันถือเป็นหลักสำคัญในการพิจารณา ซึ่งในอดีตมักนำพระไปล้างผิวแคลเซียมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิม ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซียม

การพิจารณาจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์แม่พิมพ์เท่านั้นครับผม  

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58820173889398_view_resizing_images_5_Copy_.jpg)

เหรียญมังกรคู่ฯ หลวงปู่ขำ  
"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์ สมถะ

ปัจจุบันสิริอายุ 92 ปี พรรษา 72

เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนักจึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแดง และท่านก็รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้

ต่อมาภายหลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง เรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน

เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง

ขณะนี้วัดหนองแดงอยู่ระหว่างการก่อสร้างศาลาการเปรียญ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ทรัพย์เทวา" เพื่อหารายได้สมทบทุน

เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเหรียญยกขอบเกลียวเชือกที่ใต้ห่วงเป็นรูปธรรมจักร บริเวณขอบเหรียญข้างซ้าย-ขวาเป็นรูปมังกร 2 ตัวหางพันกัน ส่วนหัวพุ่งขึ้นไปสักการะธรรมจักร บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขำ ครึ่งองค์ ล่างสุดเขียนคำว่า "พระอุปัชฌาย์ขำ" ที่พื้นเหรียญด้านขวาของเหรียญตอกโค้ดรูปทรงข้าวหลามตัด ข้างในเป็นตัวบาลีตัวย่อชื่อหลวงปู่ ด้านซ้ายของพื้นเหรียญจะตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกเหรียญและทุกเนื้อ

ด้านหลังเหรียญยกขอบ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปท้าวเวสสุวัณถือกระบองปกป้องพระพุทธศาสนาป้องปรามสิ่งชั่วร้าย พื้นเหรียญเป็นอักขระยันต์ อ่านว่า นะ ชา ลี ติ เป็นคาถาเรียกลาภ รวมทั้ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เป็นต้น ที่ด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีอักษรเขียนว่า ที่ระลึกในงานสมโภช ท้าวเวสสุวัณ วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 16 เหรียญ บูชา 47,999 บาท เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 72 เหรียญ บูชา 4,799 บาท เนื้อเงินนำฤกษ์ 172 เหรียญ บูชา 1,699 บาท ทองแดงผิวรุ้ง 2,699 เหรียญ เนื้อสัตโลหะ 332 เหรียญบูชา 350 บาท เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ก.ค.2561 ที่ผ่านมา ที่ปะรำพิธีลานหน้าศาลาการเปรียญวัดหนองแดง สำหรับรายนามพระเกจิที่ร่วมพิธีอธิษฐานจิต ประกอบด้วย 1.หลวงปู่ขำ เกสาโร 2.หลวงปู่อุดมทรัพย์ จ.ศรีสะเกษ 3.หลวงปู่บุญกอง วัดหนองกินเพล จ.อุบลฯ 4.หลวงปู่คำจันทร์ วัดบ้านเมย จ.กาฬสินธุ์ 5.พระมหาประกิต วัดทองนพคุณ จ.มหาสารคาม

ติดต่อที่วัดหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม หรือโทร. 08-6225-4665

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์
 


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 04 สิงหาคม 2561 18:13:55

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89385958885153_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)

เหรียญเสมาหลวงปู่ราม
"หลวงปู่ราม ปรักกโม" วัดวังเงิน ต.บ้านน้ำพุ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

สมญานาม "เทพเจ้าแห่งโชคลาภ" ศิษย์พุทธาคมของพระมงคลสุนทร หรือหลวงปู่โถม กัลยาโณ วัดธรรมปัญญาราม อดีต เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย หลวงปู่ทุเรียน วรธัมโม วัดศรีคีรีสุวรรณาราม (วัดท่าดินแดง) อ.คีรีมาศ และหลวงพ่อจ้อย ฐิตปุญโญ แห่งวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี

ปัจจุบัน สิริอายุ 73 ปี เป็นชาวศรีสำโรง เกิดเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2488 บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไทยชุมพล อ.เมือง จ.สุโขทัย จากนั้นได้อุปสมบทเล่าเรียนพระธรรมพอสมควร จึงลาสิกขาออกมาเป็นศิลปินด้านการแสดงใช้ ชื่อว่า รามเมศทองสุขใส

ต่อมาในปี พ.ศ.2528 เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดศรีชุม (หลวงพ่อใหญ่อจนะ) มีพระครูสถิตย์ญาณคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูแห้ว เขมโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอำนวย เตชวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ปรักกโม หมายถึง ผู้มีความพากเพียร

มุ่งบำเพ็ญเพียรภาวนาเข้านิโรธสมาบัติอยู่เป็นประจำ อีกทั้งช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านผู้เดือดร้อนและบูรณะวัดวังเงิน ปัจจุบันกำลังจัดสร้าง "ศาลา 5 ธันวามหาราชเฉลิมพระเกียรติ" เพื่อเป็นสถานที่ให้ญาติโยมศิษยานุศิษย์ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา

วัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขวัญว่า มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน ปัจจุบันวัดวังเงิน กำลังหาปัจจัยสร้างสาธารณประโยชน์และถาวรวัตถุต่างๆ เพื่อให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมอันร่มเย็น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งยังขาดแคลนงบประมาณอีกมาก

ล่าสุดมีหนังสือมอบหมายให้นายวุฒิชัย อรุณศิริประเสริฐ พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ให้ดูแลการจัดสร้างวัตถุมงคลที่จะออกในนามหลวงปู่ราม ปรักกโม แต่เพียงผู้เดียว โดยมีคณะกรรมการวัดร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ค.2561 เวลา 13.09 น. มหามงคลฤกษ์ หลวงปู่ราม อธิษฐานจิตเดี่ยวและนิมนต์ฤๅษี 3 ตน ร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเหรียญเสมาและเหรียญเสมาจิ๋ว "รุ่นมหาบารมีศรีวังเงิน"

วัตถุประสงค์นำรายได้เพื่อสมทบทุนจัดสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9, จัดซื้อที่ดินและบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดวังเงิน

ลักษณะเหรียญเสมา หลวงปู่ราม รุ่นมหาบารมีศรีวังเงิน มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่รามนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ หันหน้าตรง

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "มหาบารมี-ศรีวังเงิน" ใต้ยันต์ เขียนคำว่า "๕ เมษายน ๒๕๖๑ หลวงปู่ราม ปรกฺกโม วัดวังเงิน อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย"

สอบถาม โทร.09-3176-3539, 09-4395-4199, 08-9644-5541

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์
 


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 13 สิงหาคม 2561 12:53:29


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57107407558295_view_resizing_images1MPE4ECM_C.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39878182195954_view_resizing_images228K2K09_C.jpg)
พระพุทธชินราชใบเสมา 
 องค์ต่อมาสำหรับ "พระเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก ส่วนใหญ่มีการค้นพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ "วัดใหญ่" มรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของจังหวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตลอดทั้งมีพระกรุเก่าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมสูงมากมาย อาทิ พระนางพญาวัดใหญ่, พระพุทธชินราชใบเสมา, พระท่ามะปราง, พระอัฏฐารส, พระชินสีห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบที่กรุพระปรางค์ กรุอัฏฐารส กรุเขาสมอแคลง กรุพรหมพิราม และกรุเขาพนมรุ้ง เป็นต้น ซึ่งมีค่านิยมลดหลั่นกัน แต่ที่นับว่าเป็นที่นิยมมากที่สุด คือ "พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ"

พระพุทธชินราชใบเสมา มีพุทธศิลปะแบบสุโขทัยลัทธิลังกาวงศ์ผสมผสานกับศิลปะเขมร พุทธลักษณะเข้มขลังงดงาม เข้าใจว่าจำลองแบบมาจาก "พระพุทธชินราช" พระประธานในพระอุโบสถ ส่วนคำว่า "ใบเสมา" มาจากที่องค์พระมีสัณฐานเหมือนใบเสมาโบราณ ซึ่งดู จากพุทธศิลปะพิมพ์ทรงแล้วน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระตระกูล "ยอดขุนพล" ในศิลปะแบบลพบุรี โดยเฉพาะลักษณะของซุ้มฐานบัว จึงน่าจะสร้างขึ้นพร้อมหรือไล่เลี่ยกันกับการสร้างพระปรางค์ประธานของวัด ส่วนด้านพุทธคุณนั้นเป็นเลิศ ปรากฏทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและอำนาจบารมีครบครัน

พระพุทธชินราชใบเสมา มีการแตกกรุ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลายต่อหลายครั้ง องค์พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวเนื้อจะออกสีนวลดำๆ มีคราบปรอทให้เห็นประปราย อาจพบรอยระเบิดจากภายในสู่ภายนอก นอกนั้นยังมีเนื้อสำริด เนื้อดิน เนื้อชินเขียว ฯลฯ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2440 ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เมืองพิษณุโลก ยังมีประชาชนนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์ทรงแจกจ่ายไปยังพสกนิกรที่ติดตามเสด็จอย่างถ้วนหน้า

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระศกแสดงอิทธิพลเขมรที่เรียกว่า "เขมรผมหวี" ชัดเจน ปลียอดพระเกศจะทะลุซุ้มทุกองค์ พระเกศนูนเหมือนกลีบบัวสามกลีบ พระพักตร์รูปไข่หรือผลมะตูม ก้มต่ำเล็กน้อย แลดูเข้มและแฝงไปด้วยอำนาจ

 
ปรากฏรายละเอียดของพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระ โอษฐ์ ชัดเจน เอกลักษณ์โดยรวมคือ ปลายสังฆาฏิยาวจรดพระอุทร, ข้อพระบาทขวาจะปรากฏกำไลข้อพระบาทสองหรือสามปล้อง (แล้วแต่ติดเต็มหรือไม่เต็ม), ฐานบัว 2 ชั้น มีเม็ดไข่ปลาคั่นเป็นจุดๆ ระหว่างบัวบนกับบัวล่าง ทำให้ฐานองค์พระแลดูสวยงามอย่างลงตัว

ส่วนด้านหลังจะเป็นหลังเรียบ มีลายผ้าละเอียดเล็กๆ ถี่บ้าง ห่างบ้าง และพื้นผิวเป็นคลื่น เป็นแอ่ง ไม่เสมอกัน ขอบด้านข้างจะมนไม่คมและปรากฏรอยหยักตัดด้านข้างหลายหยักเป็นธรรมชาติ เท่าที่พบมี 3 พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ในแต่ละพิมพ์ บางองค์จะมีเนื้อส่วนเกินตรงใต้ฐานทำให้ฐานดูสูงขึ้น จึงเรียกว่า "ฐานสูง"

"พิมพ์ใหญ่" องค์พระมีขนาดประมาณ 2.5 x 3.5 ซ.ม. พระพักตร์กว้าง แลดูเคร่งขรึมกว่าทุกพิมพ์ พระนาสิกโตหนา พระพาหาหนาใหญ่ ปรากฏเส้นพระศอค่อนข้างชัดเจน เส้นรอบขอบจะเป็นรูปเสมาที่งดงามกว่าทุกพิมพ์และปีกเสมากว้างกว่าทุกพิมพ์ ช่วงโค้งของใบเสมาจะตกอยู่ช่วงพระกัประ (ข้อศอก) ซึ่งรับกันอย่างงดงามสง่า ส่วนใหญ่ด้านหลังลายผ้าจะค่อนข้างหยาบ

"พิมพ์กลาง" เค้าพระพักตร์จะไม่ขรึมเท่าพิมพ์ใหญ่ จุดที่ต่างเป็นเอกลักษณ์คือพระพาหาจะไม่หนาใหญ่เหมือนพิมพ์ใหญ่ และไม่ปรากฏเส้นพระศอ ตลอดทั้งเส้นรอบขอบพิมพ์ช่วงที่เป็นเสมาด้านบนจะไม่เป็นลักษณะซุ้ม แต่กลับเป็นลักษณะของการหักเหลี่ยม ช่วงโค้งเป็นลักษณะโค้งแบบเทราบ ด้านหลังลายผ้าค่อนข้างหยาบเช่นกัน

ส่วน "พิมพ์เล็ก" เค้าพระพักตร์จะแตกต่างจากพิมพ์อื่น คือไม่เคร่งขรึมมากและขนาดจะเล็กกว่าทุกพิมพ์ พระพาหาด้านซ้ายก็มีลักษณะเป็นข้อกลมๆ เส้นรอบขอบแม่พิมพ์จะทิ้งมาตรงๆ ไม่มีช่วงโค้งแบบใบเสมาหรือเป็นพุ่ม สำหรับด้านหลัง ลายผ้าจะละเอียดมาก

การพิจารณาพระเนื้อชินเงินนั้น ต้องใช้ความชำนาญอย่างมากในการดูความเก่า สนิมตีนกา ผิวกรุ คราบกรุ ความแห้ง และรอยระเบิด ซึ่งต้องเป็นธรรมชาติ สังเกตความชัดเจนของพิมพ์ทรง พิมพ์ใหญ่จะลึกกว่าพิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ตามลำดับ ถ้าพบเจอพระพิมพ์ตื้นมากๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นพระปลอม ครับผม 

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50201891693803_view_resizing_images_6_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15206272775928_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)
พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี
 องค์สุดท้ายของ "พระเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดมาแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งมีการค้นพบเฉพาะ "กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" เท่านั้น

พระมเหศวร มีพุทธศิลปะเป็นแบบศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ "พระผงสุพรรณ" จึงสันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทองเช่นกัน พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย สองหน้า แต่ละหน้าขององค์พระสวนกัน มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นตำนานเล่าขานสืบมา 2 ประการ คือ

1. "พิมพ์ทรง" ที่ออกจะแปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับในภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนที่สามารถรังสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยปัญหาข้อหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วนพระศอขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้โดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางคือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิง จึงเรียกกันแต่ก่อนว่า "พระสวน" ส่วน คำว่า "มเห" แปลว่ายิ่งใหญ่ เพราะถือกันว่ากรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง ซึ่งภายในกรุพระปรางค์ที่พบนั้น นอกจากพบพระมเหศวรแล้วยังพบพระสำคัญอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาทิ พระผงสุพรรณอันลือลั่น พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ และพระกำแพงนิ้ว เป็นต้น

2 "ความเข้มขลังด้านพุทธคุณครบครัน" ตามตำนานกล่าวขานกันสืบต่อมาว่า "... หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแถบภาคกลางของไทย เช่น ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้เกิดชุมโจรออกปล้นสะดมชาวบ้านอย่างชุกชุม จนเป็นที่หวาดผวาแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ตกเพลาค่ำคืนต้องคอยระมัดระวังอยู่ยามตามไฟอย่างเข้มงวด ยิ่งตามรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว จะมีชุมโจรที่น่าเกรงขาม อาทิ เสือฝ้าย และเสือมเหศวร เป็นต้น โดยเฉพาะ "เสือมเหศวร" มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ยิงฟันไม่เข้า เล่ากันว่า เพราะเสือมเหศวรมีพระเครื่องชั้นดีอยู่องค์หนึ่งที่อาราธนาอยู่บนคอตลอดเวลา เป็นพระเนื้อชิน ประทับนั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาพระเศียรสวนทางกัน สมัยนั้นเรียกกันว่า "พระสวน"..." บ้างจึงกล่าวกันว่า ได้นำเอาชื่อของเสือมเหศวรมาเรียกเป็นชื่อพระพิมพ์นี้ว่า "พระมเหศวร" นั่นเอง

พระมเหศวร มีมากมายหลายพิมพ์ทรง โดยแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พระสวนเดี่ยว และพระสวนตรง

"เนื้อองค์พระเป็นประเภทเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินแข็ง ที่เรียกว่า เนื้อชินกรอบ" มวลสารจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง เมื่อผ่านกาลเวลา จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเกิดสนิม ซึ่งจะกัดกร่อนลงไปในเนื้อ มากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง อย่างเช่น ความชื้น ฯลฯ เราเรียกว่า "สนิมขุม"

นอกจากนี้จะเกิด "รอยระเบิดแตกปริ" ตามผิว ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ใช้เป็นหลักการพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง สำหรับบางองค์ที่มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก ซึ่งเรียกว่า "เนื้อชินอ่อน" เนื้อจะไม่แข็งกรอบเหมือนชินเงิน เมื่อกระทบของแข็งจะเกิดเป็นรอยบุ๋มลึก และสามารถโค้งงอได้เล็กน้อย จะมีข้อดีตรงที่ไม่เกิดสนิมขุม รอยกัดกร่อน หรือระเบิดแตกปริ แต่จะเกิดเป็น "สนิมไข" ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสีนวลขาว เมื่อใช้ไม้ทิ่มแทงจะค่อยๆ หลุดออก แต่ถ้าทิ้งเอาไว้หรือแขวนคอ พอถูกไอเหงื่อก็จะเกิดขึ้นมาอีกภายใน 3-4 วัน ซึ่งต่างจาก "สนิมไขเทียม" แม้จะมีลักษณะเป็นแผ่นเช่นกัน แต่เวลาล้างสนิมไขก็จะหลุดลอกออกหมด และไม่เกิดขึ้นมาใหม่ อันเป็นข้อสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่ง

ผิวขององค์พระนั้น ถ้ายังไม่ได้ถูกใช้หรือสัมผัส ผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสราวกับสีเงินยวง หรือผิวพระจะเป็นสองชั้น เข้าใจว่าน่าจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มาก ดังภาษาชาวบ้านที่ว่า "ตลอดองค์พระมีเสื้อใส่ทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง" ย่อมยืนยันได้ว่า เป็นของแท้แน่นอน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36928331189685_view_resizing_images_9_Copy_.jpg)
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ 
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถระ (อ้วน) วัดบรมนิวาสกันครับ ท่านเป็นพระเถระที่มีประชาชนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี และเหรียญรุ่นแรกของท่านก็นับว่าหายาก และเป็นที่นิยมกันมากเช่นกันครับ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน เกิดที่บ้านหนองแคน ต.ดอนมดแดง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน) โยมมารดาชื่อ บุดสี ตอนอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่ ต.สว่าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาที่สำนักวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2430 จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีทอง โดยมี พระเทวธัมมีเถระ (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นอุทเทศาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้พำนักอยู่ที่วัดศรีทอง พอปี พ.ศ.2434 จึงได้เข้ามาศึกษาต่อใน กทม. อยู่ที่วัดพิชยญาติการาม

ต่อมาปี พ.ศ.2438 จึงย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ปี พ.ศ.2442 ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่ จ.อุบลราชธานี เป็นครูสอนบาลี และรับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน พ.ศ.2446 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2447 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระศาสนดิลก พ.ศ.2454 ได้รับพระราชทานพัดยศพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นราช พ.ศ.2455 เป็นที่พระราชมุนี พ.ศ.2464 เป็นที่พระเทพเมธี พ.ศ.2468 เป็นที่พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2470 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา พ.ศ.2472 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี และในปี พ.ศ.2475 ก็ได้ย้ายมาครองวัดบรมนิวาส ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พ.ศ.2485 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านมรณภาพในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2499 ณ หอธรรมวิจารย์ วัดบรมนิวาส สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 68

ในปี พ.ศ.2477 คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านเพื่อสร้างเหรียญรูปท่านนั่งเต็มองค์ไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็อนุญาตให้จัดสร้างได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญที่สร้างนี้เป็นเหรียญทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งสมาธิเต็มองค์ มีอักษร "ติส" และ "เถร. อ" ด้านหลังเป็นยันต์กระบองไขว้ เป็นเหรียญได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะชาวอุบลราชธานีจะเคารพนับถือท่านมากครับ เหรียญนี้นับว่าหายากพอสมควร วันนี้ผมก็นำมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97948145825001_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
พระลือ กรุประตูลี้
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสกุลลำพูนมีอยู่หลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น กรุที่สำคัญก็คือกรุของวัดสี่มุมเมือง เช่น วัดมหาวัน วัดพระคง วัดดอนแก้ว และวัดประตูลี้ กรุต่างๆ นี้ พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่หลายแบบ

แต่โดยส่วนมากก็จะจำกันเฉพาะ พระที่นิยมกันมากที่สุดของแต่ละกรุ เช่น วัดมหาวันก็จะนึกถึงพระรอด วัดพระคง ก็จะนึกถึงพระคงวัดดอนแก้วก็จะนึกถึงพระบาง วัดประตูลี้ ก็จะนึกถึงพระเลี่ยง เป็นต้น ซึ่งก็เป็นพระยอดนิยมของแต่ละกรุ

วัดประตูลี้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองหริภุญชัย ทางด้านประตูลี้ ที่วัดนี้มีการขุดพบพระเครื่องมานานแล้ว และมีการขุดกันหลายครั้ง ครั้งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นปี พ.ศ.2484 ในคราวสงครามอินโดจีน ซึ่งมีการขุดหาพระเครื่องกันทั่วประเทศ เนื่องจากประชาชนหวาดกลัวภัยสงคราม จึงขุดหาพระเครื่องเพื่อไว้ติดตัวป้องกันอันตรายต่างๆ

ที่วัดประตูลี้ก็เช่นกันและได้พบพระเครื่องมากมาย พระที่พบมากที่สุดคงจะเป็นพระเลี่ยงจึงทำให้มีคนรู้จักมากกว่าพระชนิดอื่นๆ และพระเลี่ยงก็มีขนาดเล็กพอเหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากครับ

พระที่พบในวัดประตูลี้นอกจาก พระเลี่ยงแล้วก็ยังพบพระเครื่องเนื้อดินเผาชนิดต่างๆ อีกหลายอย่างเช่น พระเลี่ยงหลวง (คำว่าหลวงหมายถึงใหญ่) ซึ่งเป็นพระที่ลักษณะคล้ายๆ พระเลี่ยงแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก พระอีกชนิดหนึ่งก็คือพระลือ ซึ่งก็มีขนาดใหญ่กว่าพระเลี่ยงเช่นกัน จำนวนของพระลือที่พบก็มีไม่มากนัก

ต่อมาภายหลังเรียกพระลือว่าพระลือหน้ามงคล ก็มีสาเหตุอีกนั่นแหละครับจึงต้องมีชื่อสร้อยตามท้าย

ในระยะต่อมาได้มีคนขุดพบแม่พิมพ์พระที่ทุ่งกู่ร้างอยู่ทางใต้ของวัดประตูลี้ เป็นพิมพ์พระลือหน้ายักษ์ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีใครพบพระลือหน้ายักษ์องค์จริงๆ เลย เท่าที่มีก็เป็นพระลือหน้ายักษ์ที่สร้างกันในสมัยหลังๆ ทั้งสิ้น ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อสร้อยตามท้ายของพระลือที่พบที่วัดประตูลี้ว่า “พระลือหน้ามงคล” เพื่อแยกแยะให้ชัดเจน พระลือหน้ามงคลปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน มีการทำปลอมเลียนแบบมาช้านาน แต่พิมพ์และเนื้อของพระมักจะผิดเพี้ยนจากของแท้

พระลือหน้ามงคลนั้นเชื่อกันว่ามีพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับพระสกุลลำพูน เช่นแคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ โดยเฉพาะมีชื่อเสียงโด่งดังเลื่องลือ พระลือเป็นพระที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งของพระสกุลลำพูน ขนาดออกจะเขื่องสักเล็กน้อย มีขนาดพอๆ กับพระเปิม การเช่าก็ต้องระวังหน่อย พิจารณาให้ดีๆ เพราะของปลอมมีมานานแล้ว และทำได้เหมือนขึ้นทุกวันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลือ กรุประตูลี้ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88818091361059_view_resizing_imagesSOQWV76G_C.jpg)
เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่งสรงนํ้า
 หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระเกจิชื่อดังวัดห้วยด้วน (วัดธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เป็นประธานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่ง รุ่นสรงน้ำ 61" เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มณฑลพิธีวัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกที่ประกอบพิธีบวงสรวงขอบารมีหลวงพ่อเดิมและครูบาอาจารย์ด้วยตัวท่านเอง

ช่วงบ่ายฤกษ์มงคล เวลา 14.19 น. หลวงพ่อพัฒน์ เมตตานั่งปรกปลุกเสกและดับเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทั้งหมด 9 รูป หลังเสร็จพิธี หลวงพ่อพัฒน์โปรยข้าวตอกดอกไม้ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

หลังเสร็จพิธี คณะกรรมการนำโดย พ.ต.ท.เจริญ และ นางรุ่งทิพย์ สอนจันเกตุ คณะศิษยานุศิษย์ ประชาชน เข้าร่วมพิธีสรงน้ำหลวงพ่อพัฒน์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นประกอบพิธีทำลายบล็อกปั๊มต่อหน้าหลวงพ่อพัฒน์ และลูกศิษย์ที่ร่วมสังเกตการณ์ เป็นสักขีพยานจำนวนมาก

โดยในครั้งนี้หลังเสร็จพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับแจกฟรีพระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ เป็นที่ระลึก

สำหรับหลวงพ่อพัฒน์ เป็นศิษย์พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นบุตรของ นายพุฒ ก้อนจันเทศ และ นางแก้ว ฟุ้งสุข

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท โดยระหว่างนั้น หลวงพ่อเดิมสร้างเสนาสนะและอุโบสถวัดอินทราราม หลวงพ่อพัฒน์ เดินทางไปเรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งท่านเมตตาถ่ายทอดวิชากัมมัฏฐานและพุทธาคมให้พระภิกษุพัฒน์ โดยให้พระภิกษุพัฒน์ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน

ขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่จึงไม่สะดวก ในการพัก ในช่วงเวลานี้ พระภิกษุพัฒน์ต้องเดินทางไปมาระหว่างวัดเขาแก้วกับวัดอินทราราม โดยไปเช้าเย็นกลับ เพื่อไปเรียนกับหลวงพ่อเดิม บางครั้งก็พักค้างแรมกับหลวงพ่อเดิม ที่วัดอินทราราม เกือบสองพรรษา จึงเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมจนจบ

ในปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อพัฒน์ย้ายมาจำพรรษาวัดห้วยด้วน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวบ้านหนองบัว ตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

วัตถุมงคลเหรียญปาดตาลรุ่นแรก พระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ รุ่นสรงน้ำ 61 พ.ต.ท.เจริญ และนางรุ่งทิพย์ สอนจันเกตุ ศิษย์สายตรงขออนุญาตจากหลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งท่านอนุญาตจัดสร้างเป็นกรณีพิเศษวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะภายในวัดห้วยด้วน

เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม กล่าวสำหรับ "พุทธะสังมิ" คือหัวใจไตรสรณาคมน์

"พุท" ย่อมาจาก พุทธัง หมายถึง พระพุทธเจ้า

"ธะ" ย่อมาจาก ธัมมัง หมายถึง พระธรรม

"สัง" ย่อมาจาก สังฆัง หมายถึง พระสงฆ์

"มิ" มาจากคำว่า สรณังคัจฉามิ ซึ่งอยู่เบื้องปลายของพระคาถาบูชาพระรัตนตรัย คือ พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ

รายการที่จัดสร้างเหรียญปาดตาล รุ่นแรก

1.เหรียญปาดตาลเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 19 องค์ 2.เหรียญปาดตาลเนื้อเงิน สร้างจำนวน 199 องค์ 3.เหรียญปาดตาลเนื้อนวะ สร้างจำนวน 299 องค์ 4.เหรียญปาดตาลเนื้อทองแดงมันปู สร้างจำนวน 1,999 องค์ 5.เหรียญปาดตาลเนื้อกะไหล่ทองลงยาน้ำเงิน สร้างจำนวน 499 องค์ 6.เหรียญปาดตาลเนื้อกะไหล่ทองลงยาแดง สร้างจำนวน 499 องค์

พระผงนั่งตั่งพุทธะสังมิ 1.พระผง นั่งตั่งหลังฝังตะกรุดทองคำ 3 ดอก สร้างจำนวน 99 องค์ 2.พระผงนั่งตั่งหลังฝังตะกรุดเงิน 1 ดอก สร้างจำนวน 499 องค์ 3.พระผงนั่งตั่งผงพุทธคุณ สร้างจำนวน 2,999 องค์

สอบถามโทร. 08-4496-2634, 08-7206-0603, 08-9567-3456, 09-2264-4151   

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65711652197771_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง หรือพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง 2 ชื่อนี้เป็นพระชนิดเดียวกัน แต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเป็นพระกรุของอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ในสมัยก่อนผมเคยได้ยินท่านผู้หลักผู้ใหญ่พูดคุยกันถึงพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง โดยคุยกันถึงเรื่องพุทธคุณว่าเหนียวมาก ทั้งปืนทั้งมีดทำอะไรไม่ได้เลย อีกทั้งสนนราคาก็ยังถูกกว่าพระเครื่องดังๆ ของลพบุรีมาก

ผมเข้าไปฟังการสนทนาของผู้ใหญ่ในสมัยนั้นอย่างสนใจ และมีโอกาสได้ดูพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดงในครั้งนั้นด้วย เท่าที่รับฟังมาก็เป็นเรื่องของการขุดพบพระเครื่อง ชนิดนี้ว่าถูกพบโดยบังเอิญ โดยชาวบ้านในแถบท่าวุ้ง ลพบุรี ได้เที่ยวยิงนกยิงกระต่ายป่าแถวๆ นั้น พอเดินมาถึงวัดร้างที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดใหญ่ ก็เห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้ที่เจดีย์ร้างของวัด จึงนึกสนุกยิงปืนลูกซองไปที่เหยี่ยวตัวนั้น แต่ก็ต้องแปลกใจเพราะลูกปืนด้าน จึงเปลี่ยนลูกใหม่และยิงอีกก็ด้านอีก ลองเอาลูกปืนที่ด้านใส่แล้วยิงขึ้นฟ้าไปทางอื่นก็ลั่นออกไปง่ายดาย

เหยี่ยวตัวนั้นตกใจก็บินหนีไป ทำให้พวกที่ไปด้วยกันสงสัยเป็นอย่างมาก จึงเข้าไปดูที่องค์พระเจดีย์ร้าง ก็เห็นมีโพรงอยู่จึงคุ้ยดูก็พบพระเครื่องจำนวนมาก เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา มีทั้งสีดำและสีแดงก็แบ่งกันเอาไป ต่อมาก็รู้ถึงชาวบ้านในแถบนั้นจึงพากันมาขุดเอาพระไปจนหมด และก็เรียกกันตามคำเล่าขานว่า "พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง" คำว่า "เหยี่ยว" ก็มาจากคำบอกเล่าเรื่องการยิงเหยี่ยว ส่วน "ดำ-แดง" ก็มาจากสีของพระที่พบเป็นส่วนใหญ่ ความจริงสีของพระเนื้อดินเผานั้นก็มีสีต่างๆ ตามแบบเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป แต่ก็เรียกกันตามสีที่พบมาก นอกจากพระเนื้อดินเผาแล้วก็ยังพบพระเนื้อชินเงินและพระเนื้อชินตะกั่วอยู่บ้าง แต่มีไม่มากนัก อาจจะผุพังไปเสียก่อนแล้วก็เป็นได้

พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง ต่อมาเรียกกันเพี้ยนไปเป็น "เดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง" แต่ก็เป็นพระชนิดเดียวกันครับ พระที่นิยมจะเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งเท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ จะมีพระพักตร์ (หน้า) ที่ใหญ่ กว่าอีกพิมพ์หนึ่ง องค์พระก็จะเขื่องกว่า ด้าน หลังจะมีรอยปาดหลัง คล้ายๆ กับพระหลวงพ่อจุก อีกพิมพ์หนึ่งคือพิมพ์เล็ก พระพักตร์จะเล็กเรียวกว่า หลังมักจะไม่มีรอยปาด แต่เป็นรอยมือเป็นจ้ำๆ เนื้อดินเผาที่พบมีทั้งเนื้อดินละเอียดและหยาบ มีหลายสี

พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดงมีการเล่าขานต่างๆ มากมาย โดดเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด คนท่าวุ้งสมัยก่อนหวงกันมาก ปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากเช่นกัน และก็มีพระปลอมเลียนแบบกันมานานแล้วครับ การเช่าหาก็ต้องระมัดระวังปรึกษา ท่านผู้รู้ไว้ก่อนก็จะดีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 สิงหาคม 2561 11:25:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94044404476881_view_resizing_images_2_.jpg)
หลวงพ่อวัดไร่ขิง จ.นครปฐม

มาลงรายละเอียดของ "พระพุทธรูปลอยน้ำ" แต่ละองค์กัน เริ่มด้วย หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม องค์แรกที่ลอยมาตามลำน้ำนครชัยศรี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองนครปฐม รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

สำหรับหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้น นอกจาก "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" แล้ว ยังมีตำนานเล่าขานถึงที่มาขององค์พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์อีกตำนาน กล่าวกันว่า

"... แต่เดิม วัดไร่ขิงเป็นเพียงวัดเล็กๆ ต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี จ.นครปฐม ได้มาเยี่ยมเยือนวัดในเขตอำเภอสามพราน เมื่อเข้าไปกราบพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงให้ท่านเจ้าอาวาสวัดพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูน มาประดิษฐานเป็นพระประธาน โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำ และได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ ในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ ซึ่งองค์พระได้แสดงปาฏิหาริย์ตั้งแต่ประกอบพิธีอัญเชิญเป็นที่อัศจรรย์ ชาวบ้านจึงพากันอธิษฐานจิต "ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อน คลายความทุกข์ให้หมดไป เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร" ..."

สำหรับ "วัดไร่ขิง" ก็มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่ของวัดในอดีตมีชาวจีนมาอยู่อาศัยกันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า "ไร่ขิง" ต่อมาเมื่อชุมชนหนาแน่นขึ้น จึงได้สร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการประกอบศาสนกิจ จึงให้ชื่อวัดว่า "วัดไร่ขิง" แต่นั้นมา

หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปเนื้อสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธศิลปะผึ่งผายคล้ายสมัยเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้าง ได้สร้างอิทธิปาฏิหาริย์แก่ผู้มาสักการะขอพรให้สำเร็จได้ดังประสงค์ จนเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่ว ที่มักแวะเวียนมากราบสักการะขอพรอยู่เป็นเนืองนิตย์ จน ณ ปัจจุบัน วัดไร่ขิง ถือเป็นหนึ่งในวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วประเทศ

วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง จัดสร้างกันเรื่อยมาในหลายแบบหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ ฯลฯ โดยเฉพาะ "เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี 2467" เหรียญรุ่นแรก ที่ถือเป็นสุดยอดเหรียญดังของจังหวัด และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ" ด้วยพุทธลักษณะอันงดงาม คมชัด และพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏ เป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาอย่างสูง ปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งครับผม

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี 2467 นี้ จัดสร้างโดย หลวงพ่อใช้ ปติฏโฐ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อวัดไร่ขิง ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานผ้าทิพย์ ขอบเหรียญแกะลายกระหนกอย่างงดงาม เหนือพระเศียรมีเส้นรัศมีเปล่งออกมาจากขอบเหรียญ

ด้านข้างตรงพระชานุทั้ง 2 ข้าง มีอักษรไทยว่า "ทืร" และ "ฤก" หมายถึง ที่รฤก ใต้อาสนะจารึกอักษร "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ด้านหลังเป็นยันต์ "หัวใจของยันต์ใหญ่" อยู่ในตาราง 25 ช่อง อ่านว่า "พุท ธัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ ธัม มัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ สัง ฆัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ" ช่องกลางของตารางเป็น "ตัวอะ" คำย่อของ "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ" ด้านนอกยันต์ด้านล่าง มีอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า "พุท ธะ สัง มิ" ย่อมาจาก "พุท ธัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ" ซึ่งถือเป็นยอดแห่งศีล หรือ "ไตรสรณคมน์" ด้านล่างสุดระบุปีที่สร้าง คือ "พ.ศ.๒๔๖๗" (

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45260588410827_view_resizing_images_2_.jpg)

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน


ตํานานพระพุทธรูปลอยน้ำองค์ต่อมา "หลวงพ่อโตบางพลี" ได้ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนมาถึงคลองสำโรง แต่ในระหว่างทางนั้นเมื่อชาวบ้านช่วยกันฉุดดึงเท่าไรก็ไม่สามารถนำพระขึ้นจากน้ำได้ จึงต้องใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยมาตามคลองสำโรงและอธิษฐานว่า หากประสงค์จะขึ้นที่ใดก็ขอให้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้น และเมื่อแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดบางพลีใหญ่ในก็เกิดหยุดนิ่ง ฝีพายพยายามพายอย่างเต็มกำลังก็ไม่สามารถลากแพไปได้ จึงอัญเชิญองค์พระขึ้นมาประดิษฐานในพระวิหาร

ต่อมาเมื่อสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จ จึงอาราธนามาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน

วัดบางพลีใหญ่ใน เดิมชื่อว่า “วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม” ส่วนตำบลให้ชื่อว่า "บางพลี" ตามพิธีพลีกรรม นานวันเข้าก็เรียกชื่อวัดกันง่ายๆ ตามชื่อตำบลเป็น "วัดบางพลี"

ต่อมาได้มีการสร้างวัดอีกแห่งหนึ่งทางด้านนอกเรียกว่า “วัดบางพลีใหญ่กลาง” กอปรกับวัดบางพลีได้ "หลวงพ่อโต" มาเป็นมิ่งขวัญ จึงเรียกกันว่า "วัดบางพลีใหญ่ใน" หรือ "วัดหลวงพ่อโต" มาจนทุกวันนี้

หลวงพ่อโต พระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ การที่ท่านได้รับการถวายนามว่า “หลวงพ่อโต” นั้น คงเป็นเพราะองค์พระใหญ่โตมากนั่นเอง

เดิม หลวงพ่อโตประดิษฐานในวิหารหลังเดิม จนเมื่อมีโครงการรื้อวิหารเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถ จึงอาราธนาองค์พระปฏิมามาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว กระทั่งสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จจึงได้อาราธนากลับไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เล่ากันว่าเมื่อคราวสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ ได้วัดช่องประตูแล้วใหญ่กว่าองค์พระประมาณ 5 นิ้ว ซึ่งสามารถนำองค์พระผ่านเข้าไปได้ แต่พอถึงคราว อาราธนาจริงๆ ปรากฏว่าองค์พระใหญ่กว่าประตูมาก คณะกรรมการส่วนหนึ่งเห็นว่าควรทุบช่องประตูทิ้ง แต่อีกส่วนหนึ่งยังเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวง พ่อโต จึงพร้อมใจกันอธิษฐานขอให้องค์พระผ่านเข้าประตูได้เพื่อสถิตเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบไป ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อโตผ่านประตูได้โดยง่ายดายเป็นที่อัศจรรย์นัก

พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะชาวบางพลีและใกล้เคียงต่างให้ความเคารพศรัทธา เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีแห่ง "หลวงพ่อโตบางพลี" ว่าจะคุ้มครองปกป้องให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ และมีความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกแบบจึงเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น แม้กระทั่ง "รูปเหรียญหลวงพ่อโต" ชาวบ้านยังนำมาห้อยคอลูกหลาน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำเด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์

ในทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ชาวบางพลีจะอาราธนา “หลวงพ่อโตจำลอง” ลงเรือ แห่ล่องไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองและผู้ร่วมงานได้ร่วมสักการบูชา ด้วยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ โดยมีความเชื่อว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวังทุกประการ  ซึ่งกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาเนิ่นนานเรียกว่า ประเพณีรับบัว-โยนบัว ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60408903699782_view_resizing_images_2_.jpg)
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม

ตํานานพระพุทธรูปลอยน้ำองค์ที่ 3 ลอยมาตามลำน้ำแม่กลอง คือ "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" พระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งบางตำนานก็ว่าชาวศรีจำปาได้พระพุทธรูปจากที่ "ชาวบ้านแหลม" จ.เพชรบุรี ทำหล่นไว้ 1 องค์ เมื่อครั้งมีพายุตอนหาปลา จึงต้องตั้งชื่อองค์พระและวัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้พบพระพุทธรูปลอยน้ำรายแรก

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม พระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง ประทับยืนปางอุ้มบาตร ความสูงจากปลายนิ้วพระบาทถึงยอดพระเกศมาลา 170 ซ.ม. ขนาดเท่าคนจริง พุทธศิลปะผสมระหว่างสุโขทัยตอนปลายกับอยุธยาตอนต้นอันงดงามมาก พระเกศมาลาเป็นเปลวเพลิง จีวรเป็นแผงอยู่ด้านหลังมีแฉกมุข สังฆาฏิเรียบและพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ ข้อพระกรทั้งสองข้างทำเป็น 2 ท่อน (สวมใส่ได้) ฐานรองตอนบนเป็นดอกบัวบาน ตอนล่างหักมุข 12 มุข เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะชาวเมืองแม่กลอง รวมไปถึงพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็ทรงให้ความเคารพศรัทธา เสด็จฯ นมัสการอยู่เป็นเนืองนิตย์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และเครื่องทรงเป็นพุทธบูชา และสมเด็จเจ้าฟ้า ภานุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช ถวายบาตรแก้วสีน้ำเงิน เป็นต้น

กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของ "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" นั้น เป็นที่กล่าวขวัญกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ เริ่มจากเมื่อคราวอาราธนาองค์พระจนมาประดิษฐาน ณ วัดบ้านแหลม (วัดศรีจำปา) ซึ่งเดิมเป็นป่ารกชัฏ ก็มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังปรากฏพุทธคุณโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ขอพร ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ค้าขาย เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุต่างๆ ชื่อเสียงยิ่งเลื่องลือเมื่อคราวเกิด "อหิวาตกโรค" ระบาดในเมืองไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2416

จึงไม่น่าแปลกใจที่วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีการจัดสร้างกันหลายแบบหลายประเภทมาตั้งแต่อดีตสืบถึงปัจจุบัน ซึ่งล้วนได้รับความนิยมสะสมของบรรดาพุทธศาสนิกชนและในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญมาโดยตลอด โดยเฉพาะ "เหรียญหล่อรุ่นแรก ปี 2459" และ "เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปี 2460" ที่มีค่านิยมสูงขึ้นตามกาลเวลา ผู้บูชาก็ต่างหวงแหนยิ่ง ไม่ค่อยพบเห็นของแท้กันนัก

กล่าวถึงเหรียญปั๊มรุ่นแรก ปีพ.ศ.2460 ที่เรียกว่าสุดยอดแล้วนั้น จากพิมพ์เท่าที่พบ 3 พิมพ์ คือ พิมพ์แหวกม่าน รูปไข่ หลังตัวหนังสือ, พิมพ์รูปไข่ หลังยันต์ห้า และพิมพ์ใบเสมา หลังตัวหนังสือ หนึ่งพิมพ์ในนั้นเรียกได้ว่าเป็น "สุดยอดแห่งสุดยอด" เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา ยังได้สุดยอดพระเกจิเมืองแม่กลองในยุคนั้นร่วมอธิษฐานจิต ทั้งความงดงามเข้าตากรรมการ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "เบญจภาคีเหรียญพระพุทธยอดนิยม" อีกด้วย นั่นก็คือ "เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปีพ.ศ.2460 พิมพ์แหวกม่าน รูปไข่ หลังตัวหนังสือ" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83232332973016_view_resizing_images_5_.jpg)
ลิงหลวงพ่อดิ่ง ลูกอม ตะกรุด 7 ดอก ของหลวงพ่อดิ่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เราๆ ท่านๆ ก็คงรู้จักกันดีว่าเหรียญของท่านนั้นหายากและราคาสูงมาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องรางประเภทหนุมานแกะ ที่มักจะเรียกกันว่า "ลิงหลวงพ่อดิ่ง" ซึ่งนิยมกันมาก สำหรับเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อดิ่งก็ยังมีอีก เช่น ลูกอม และตะกรุด แต่ก็หายากเช่นกันและมีคนรู้จักน้อย วันนี้เรามาคุยกันถึงประวัติของท่านและวัตถุมงคลของท่านกันครับ

หลวงพ่อดิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2420 ที่บ้านตำบลบางวัว โยมบิดาชื่อเหม โยมมารดาชื่อล้วน เมื่อหลวงพ่ออายุได้พอสมควรที่จะเรียนหนังสือได้แล้ว โยมก็ได้พาไปฝากเรียนกับวัดบางวัว พออายุครบบวช บิดามารดาจึงได้จัดการอุปสมบทให้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2440 ที่วัดบางวัว โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง เทศลำใย วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "คง คสุวณฺโณ" เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ จำพรรษาอยู่ที่วัดบางวัว 2 พรรษา แล้วจึงได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและบาลีที่วัดไตรมิตรวิทยาราม พอศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา พระอาจารย์ปลอด เจ้าอาวาสวัดบางวัวได้มรณภาพ คณะสงฆ์วัดบางวัวและชาวบ้านก็ได้มานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวสืบแทน

พอท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่อง จนวัดบางวัวเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2446 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการเป็นทางการ พ.ศ.2453 เป็นเจ้าคณะหมวดตำบลบางวัว พ.ศ.2463 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2476 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2479 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่งมรณภาพในปี พ.ศ.2495 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55

ในด้านวิทยาคมของท่านก็ได้ศึกษาในด้านแพทย์แผนโบราณ จากหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร และอาจารย์จ่าง เทศลำใย ซึ่งทั้งสองท่านนั้นเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างมาก และได้ศึกษาจากอาจารย์เปิ้น วัดบ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านกฤตยาคมสูงมาก และยังได้ศึกษากับอาจารย์เปอะ ทางด้านกฤตยาคมอีกด้วย นอกจากนี้ท่านก็ยังได้ตำราโบราณอีกหลายเล่มมาศึกษาจนได้ผลในการสร้างหนุมาน ผ้ายันต์ต่างๆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อดิ่งก็คือ หลวงพ่อฟู เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร หลวงพ่อสนิท เจ้าอาวาสวัดบางวัว เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งมีอยู่หลายอย่างเช่นเหรียญ ตะกรุดโทนและตะกรุด 7 ดอก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม และหนุมาน ที่เรียกกันว่าลิงหลวงพ่อดิ่งนั่นแหละครับ วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งล้วนแล้วหายากทั้งสิ้น เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดี และควรปรึกษาผู้ที่ชำนาญการโดยเฉพาะจะดีกว่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปลิงหลวงพ่อดิ่ง ลูกอม ตะกรุด 7 ดอก ของหลวงพ่อดิ่ง จากหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50141435447666_view_resizing_images_2_.jpg)
พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาเรื่อง พระเก๊พระปลอมมีมากขึ้นเรื่อยๆ ความจริงเรื่องพระปลอมนั้นมีมานานแล้ว และก็มีคู่กับพระแท้มาตลอด เช่นเดียวกับคนดีกับคนเลวมีคู่กันมาเป็นสัจธรรม ปัญหาเรื่องพระปลอมสำหรับผู้ที่ศรัทธาจะเช่าหาหรือเพื่อการศึกษาและสะสมที่ไม่ใช่เซียนเป็นปัญหามากเนื่องจากไม่ใช่ผู้ชำนาญการ พวกเซียน (ผู้ที่มีอาชีพซื้อ-ขาย) เขาก็มีปัญหากับเรื่องนี้เช่นกัน แต่เขาก็ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เซียน เป็นแค่ผู้ที่ศรัทธาและสะสมนั้นย่อมเป็นปัญหามากครับ

ในสมัยก่อนๆ ย้อนไปสัก 50 ปี การปลอมแปลงพระเครื่องนั้นยังทำได้ไม่เหมือน พิมพ์เนื้อผิดมากชัดเจน ยังพอแยกออกได้ไม่ยากนัก แต่ปัจจุบันการทำปลอมเลียนแบบมีการพัฒนาได้ดีมาก ที่ทำดีๆ ทำได้ใกล้เคียงมาก ย่อมเป็นปัญหาของผู้ที่เป็นเพียงผู้ศรัทธาหรือศึกษาสะสม ยิ่งเป็นมือใหม่ด้วยแล้วก็ยากมากขึ้น คนที่ทำพระปลอมฝีมือดีๆ นั้นปัจจุบันเขาทำโดยวิธีถอดพิมพ์ ก็เหมือนกับการที่เราถ่ายเอกสารนั่นแหละครับจะใกล้เคียงมาก แต่ก็ยังสามารถแยกแยะได้ถ้าเรารู้จริง ของปลอมก็ย่อมเป็นของปลอมวันยันค่ำ ปัญหาก็คือผู้ที่เริ่มศึกษาพระใหม่ๆ จะยังแยกไม่ออก และมักตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพพวกนี้

ปัญหาอีกอย่างก็คือ ในปัจจุบันการพิจารณาพระเครื่องของคนที่ได้รับคำยกย่องว่า "เซียน" บางครั้งบางทีก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันในพระเครื่องบางอย่าง เช่น กลุ่มนี้บอกว่า "แท้" อีกกลุ่มบอกว่า "ปลอม" เรื่องแบบนี้ก็เป็นเรื่องน่ากลุ้มใจของผู้ที่เช่าหาสะสม เพราะจะเชื่อใครดี และเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ต่อไปในอนาคต เพราะถ้ายังหา ความแน่นอนไม่ได้ ผู้ที่จะมาเช่าหาพระเครื่องก็คงจะต้องถอยออกไป หลายๆ คนก็เข็ดขยาด ไม่กล้าที่จะเช่าหาต่อไป ผลที่จะกระทบกลับมาก็จะมีผลกับผู้ที่ทำอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง (เซียน) นี่แหละครับ

พระแท้พระปลอมนั้นความจริงในการพิจารณาก็ย่อมมีเหตุผลอธิบายได้ทั้งสิ้น และหลักการพิจารณาก็ย่อมต้องมีเหตุผลและชี้ชัดได้ เหตุผลของฝ่ายใดมีความน่าเชื่อถือและมีหลักการที่ชี้ให้เห็นได้ชัดเจนก็น่าจะ เป็นที่น่าเชื่อถือ เช่น แบบพิมพ์ กรรมวิธีการสร้างใน ยุคนั้นๆ และถ้านำพระแท้ๆ แบบเดียวกันที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากลหลายๆ องค์มาเปรียบเทียบกันว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้มีเหมือนกัน เป็นแบบเดียวกัน แล้วก็มาดูองค์พระที่มีปัญหาว่า เป็นอย่างพระองค์ที่ไม่มีปัญหาอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามีและเหมือนกัน พระองค์นั้นๆ ก็แท้ แต่ถ้าผิดแผกแตกต่างออกไปก็ย่อมมีปัญหาแน่ น่าจะปลอมเสียมากกว่า พระแท้หรือไม่แท้นั้นย่อมสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล

แต่ถ้ากลุ่มใดที่มีความเห็นแตกต่างและไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลและผลที่ดีพอก็แสดงว่าเขาอาจจะยังไม่มีความชำนาญมากพอ และคงยังไม่น่าเชื่อถือพอ สิ่งที่แน่นอนและเป็นสัจธรรมอยู่อย่างหนึ่งในความแท้ของพระเครื่องยิ่งเป็นพระที่มีความนิยมสูงๆ ย่อมมีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่อง ส่วนพระที่ไม่แท้จะไม่มีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่องครับ

ปัจจุบันสังคมพระเครื่องกว้างขวางขึ้น มีผู้ทำอาชีพค้าขายมากขึ้น มีการเผยแพร่มากขึ้น ปัญหาก็มากขึ้นตาม คนรู้จริง คนรู้ไม่จริง คนดี คนเลว ก็มากขึ้นตามธรรมชาติ นิทานประกอบการขายก็มากขึ้น คนที่มีผล กระทบกลุ่มแรกคือผู้ที่มาเช่าหาด้วยความศรัทธาหรือชื่นชอบเช่าหาเพื่อศึกษาและสะสมในพระเครื่องนั้นๆ ความจริงคนกลุ่มนี้ก็คือผู้บริโภคโดยตรง ไม่ใช่ผู้ที่ประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง ถ้าเซียนหรือผู้ที่ประกอบอาชีพซื้อ-ขายไม่ช่วยกันทำความถูกต้องให้ปรากฏชัดเจน ไม่ช่วยกันจรรโลงความถูกต้องไว้ ปล่อยปัญหาความสับสนให้เกิดต่อไปเรื่อยๆ ผู้บริโภคหรือผู้ที่ไม่ใช่พ่อค้าก็จะเอือมและเสื่อมศรัทธาในที่สุด ความเชื่อถือก็จะหมดไปกลายเป็นแดนสนธยา

ครับช่วยกันจรรโลงความถูกต้องเถอะครับ ส่วนตัวผมเองเชื่อนะครับว่ากรรมมีจริง แม้ว่าจะยังไม่ถึง แต่เมื่อกรรมตามทันแล้วจะแก้อะไรไม่ได้ ผมเห็นคนในสังคมพระเครื่องในอดีตที่ทำตัวดีซื่อตรง แม้ท่านจะเสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังมีคนเคารพนับถือและยังพูดถึงความดีของท่านอยู่เสมอ กลับกันคนที่ทำตัวไม่ดี หลอกลวงขายพระเก๊ ทำพระปลอม บั้นปลายชีวิตยากลำบาก ไม่มีคนนับถืออาชีพก็หมด แม้ตายไปก็ยังมีคนกล่าวถึงความเลวของเขาอยู่ กรรมมีจริงตามหลักศาสนา "วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น" เป็นคำพูดของผู้ใหญ่ที่เคยสอนไว้ ความหมายก็คือใครทำอะไรไว้ก็ย่อมได้รับผลกรรมนั้นๆ ไม่ว่ากรรมดีหรือไม่ดี ในส่วนตัวผมเชื่อเช่นนั้นครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 06 กันยายน 2561 18:11:20
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29513766533798_1.jpg)
หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี

องค์ที่ 4 ใน "ตำนานพระพุทธรูป ลอยน้ำ" คือ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ลอยมาตามลำน้ำเพชรบุรี นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน และขึ้นชื่อลือชามาก ในเรื่องบนบานศาลกล่าวแล้วมักประสบความสำเร็จ

นอกจาก "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ยังมีเรื่องที่เล่าขานกันของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อกันมาว่า...ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ใกล้กับวัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดร้าง และช่วยกันบูรณะก่อสร้างใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วัดบ้านแหลม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้าง อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านแหลมเหล่านี้ได้ออกไปลากอวนหาปลา และไปพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปยืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ตั้งพระนามว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ส่วนอีกองค์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้มอบให้ชาวบ้านบางตะบูน ชาวบางตะบูนจึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ บริเวณวัดเขาตะเครา จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดเขา ตะเครา"...

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางมารวิชัย สมาธิราบ หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 29 นิ้ว ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์มากมาย ผู้ใดตกทุกข์มาบนบานศาลกล่าวก็จะได้ตามประสงค์ทุกประการ มีอยู่คราหนึ่ง ท่านเจ้าอาวาสวัดฝันว่า มีพระสูงอายุรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำมายื่นให้ พร้อมกับพูดว่า "เอาไป" ต่อมาไม่นานก็ปรากฏว่ามีไฟลุกไหม้องค์หลวงพ่อ ทำให้ทองคำหลอมไหม้ไหลออกมา ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำทองไปจัดทำเป็น "ลูกอมทองไหล" หรือ "ลูกอมหลวงพ่อทอง" แจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไป ติดตัวและบูชา ได้ปัจจัยมาสร้างมณฑป โรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ จนรุ่งเรืองสืบมา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและสาธุชนทั่วไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมง ต่างพากันมากราบไหว้สักการะขอพรและปิดทอง จนองค์พระมีทองคำเปลวปิดหนามาก จึงเปลี่ยนมาเรียกกันว่า "หลวงพ่อทอง" ซึ่งกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันติดปากสืบมา

วัตถุมงคลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา มีการจัดสร้างมากมายหลายประเภทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏแก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขาน มีอาทิ ลูกอมทองไหล เหรียญหล่อโบราณรุ่นแรก ปี 2465 ฯลฯ แต่ที่มีค่านิยมสูงที่สุดก็คือ "เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468" อาจสืบเนื่องจากความเป็นเหรียญปั๊มรุ่นแรก และมีความประณีต คมชัด

นอกจากนี้ยังมีการจัดพิธีสมโภชอย่างใหญ่โตและอัญเชิญ "หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา" ไปตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบสักการะอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง

เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468 เท่าที่พบมีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ประทับนั่งปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย มีซุ้มเรือนแก้วครอบองค์พระ บนสุดจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อวัดเขา" ด้านล่างใต้บัลลังก์เป็นปีที่สร้าง คือ "พ.ศ.๒๔๖๘" ด้านหลัง พื้นเรียบจารึกอักขระขอม 5 แถว อ่านว่า "อุ นะโม พุทธายะ อะสังวิสุ โลปุสะพุกะ"

จุดสังเกตสำคัญในการพิจารณาคือ พิมพ์ด้านหน้าขององค์พระจะแกะคมชัดมาก และด้านขวามือบริเวณซุ้มกนกจะปรากฏเส้นรอยพิมพ์แตกตรงตัว "ศ" ของคำ "พ.ศ." ปลายหางจะเชื่อมติดกับฐานบัว ส่วนพิมพ์ด้านหลัง พื้นจะเรียบมาก ขอบข้างก็สม่ำเสมอ ไม่มีรอยขยักหรือรอยปลิ้นครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89813948671023_2.jpg)
หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
พระพุทธรูปองค์สุดท้าย ของ "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ว่ากันว่าเป็นองค์สุดท้อง ที่ลืมนำน้ำพระพุทธมนต์ที่จะคืนร่างตามคำสั่งของพี่ๆ มาด้วย ทั้งหมดจึงคงสภาพเป็นพระพุทธรูปใหญ่เช่นนั้นสืบมา ซึ่งก็คือ "หลวงพ่อโสธร" หรือ "หลวงพ่อพระพุทธโสธร" ซึ่งลอยมาตามลำน้ำบางปะกง ไปจนถึงวัดหงษ์ จ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานในอุโบสถ "วัดหงษ์" (เรียกชื่อตามรูปหงส์บนยอดเสาใหญ่ ต่อมาหงส์หักตกลงมา ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้แทน จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาธง" ครั้นมีพายุพัดเสาธงหักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาทอน" เพี้ยนไปเพี้ยนมาจนกลายไปเป็น "วัดโสธร") ณ ปัจจุบันคือ "วัดโสธรวรวิหาร"

องค์หลวงพ่อโสธรเดิมนั้น เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก ปางสมาธิ ขัดราบ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่เหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สี พระพักตร์ขรึมแบบอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร แต่ได้เสริมแต่งโดยพอกปูนและลงรักปิดทอง ให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว ดังที่เห็นในปัจจุบัน

แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าปะปนกับพระพุทธรูปอื่นอีก 18 องค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาถวายสักการะ ทรงมีพระราชปรารภถึงความคับแคบ

พระจิรปุณโณ (ต. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงริเริ่มรับบริจาคซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยทรงเสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง เมื่อปี พ.ศ.2531 และทรงยกยอดฉัตรทองคำประดิษฐานเหนือมณฑป เมื่อปี พ.ศ.2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549

หลวงพ่อโสธร นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่งของไทย เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั้งชาวไทยและชาวจีนที่มักแวะเวียนไปกราบไหว้ขอพรและบนบานศาลกล่าวแล้วประสบผลตามปรารถนา พากันไปแก้บนด้วยละครชาตรีและไข่ต้มอย่างเนืองแน่น ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานมากว่าร้อยปีมาแล้ว โดยเล่ากันสืบต่อมาว่า ... ผู้ริเริ่มชื่อ "ทรัพย์" โต้โผละครในคลองโสธร มาบนบานเนื่องจากโรคฝีดาษระบาดไปทั่ว ปรากฏว่าชาวบ้านบริเวณนั้นแคล้วคลาดปลอดภัย และตัวนายทรัพย์ก็เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์ศฤงคารมากมาย จึงปวารณาตัวเป็นคณะละครรำถวายแก้บนหลวงพ่อจากนั้นมา ...

วัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร มีการจัดสร้างกันมาแต่โบร่ำโบราณมากมายหลายประเภท ซึ่งขึ้นชื่อลือเลื่องมาทุกยุคสมัยและได้รับความนิยมสะสมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระเครื่อง เหรียญ ฯลฯ ยิ่งมีอายุเก่าแก่มากเท่าไหร่ค่านิยมก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ "เหรียญปั๊มหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี 2460" ซึ่งถือเป็นเหรียญพระพุทธยอดนิยมที่มีราคาแพงที่สุดของไทย

เหรียญปั๊มหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี 2460 หรือที่เรียกกันว่า "เหรียญรูปอาร์ม" สร้างในสมัยพระอาจารย์หลิน รักษาการเจ้าอาวาส โดย ขุนศิริราชภักดี (เล้ง สันธนะกุล) มัคนายก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อสมนาคุณผู้บริจาคซ่อมฐานชุกชีหลวงพ่อโสธรและบูรณะพระวิหาร มีทั้งหมด 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน สำริด และทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม ขอบข้างเลื่อย หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นเส้นลวดแบบขอบกระด้ง ตรงกลางเป็นองค์หลวงพ่อประทับนั่งเหนืออาสนะ ถัดลงมาเป็นปีที่สร้าง "พ.ศ.๒๔๖๐" เหนือลายกนกหน้าสิงห์ มีอักษรไทยเขียน "พระพุทธโสทร เมืองฉเชิงเทรา" และมี "ตัว อุ" ปิดหัวท้าย ด้านหลัง เรียบ บนสุดเป็นอุณาโลม ต่อมาเป็นอักขระบาลี 4 แถว อ่านว่า "นะโมพุทธายะ อายุวัณโณสุขังพะลัง" โดยพิมพ์ด้านหน้ามี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอุติดชัด และพิมพ์สระอุติดไม่ชัด (ดูจาก "สระอุ" ที่อยู่ใต้คำว่า "พุทธ") ส่วนพิมพ์ด้านหลังแบ่งเป็น 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ยันต์ใหญ่ ยันต์กลาง และยันต์เล็ก

เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี พ.ศ.2460 เป็นเหรียญที่มีการทำเทียมเลียนแบบมากมาแต่อดีต ดังนั้น ก่อนเช่าบูชาต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องธรรมชาติของเหรียญปั๊มรุ่นเก่าครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85891653349002_view_resizing_images_5_.jpg)
พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยาน เป็นพระเครื่องเนื้อชินที่มีความนิยมสูง พระหูยานนั้นมีอยู่หลายกรุเช่นกัน กรุที่นิยมและรู้จักกันมากก็คือกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี นอกจากนี้พระหูยาน กรุวัดปืน ลพบุรี และที่เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงก็เป็นของกรุสมอพลือ เพชรบุรี และพระหูยานเนื้อชินเงิน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา เป็นพระที่พบในกรุองค์พระปรางค์ที่เปิดเป็นทางการเมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 ซึ่งพบพระเครื่องมากมาย รวมทั้งทรัพย์สมบัติมากมายเช่นกัน สำหรับกรุพระนั้นถือว่าเป็นกรุใหญ่ที่สุดของอยุธยา พระเครื่องที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ และมีจำนวนมาก พระเครื่องที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็มีอยู่หลายอย่างเช่น พระยอดขุนพล พระใบขนุน พระปรุหนัง และพระหูยาน เป็นต้น

พระหูยานกรุวัดราชบูรณะ เป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสามพระยา (อยุธยายุคต้น) โดยเป็นการสร้างล้อพิมพ์ของพระหูยานลพบุรี พุทธลักษณะคล้ายๆ กับของลพบุรี มีผิดแผกแตกต่างกันบ้างที่เห็นชัดๆ ก็คือ พระเกศของกรุวัดราชบูรณะอยุธยาจะเป็นเส้นวงๆ อยู่ 3 ชั้น ซึ่งเป็นจุดใหญ่ๆ ที่มองเห็นได้ง่ายๆ พระพักตร์ก็จะไม่เข้มขรึมเท่าของลพบุรี เนื้อที่พบจะเป็นเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับขาวอยู่เกือบทั้งองค์พระ บางองค์อาจจะมีสนิมจับเป็นสีดำๆ อยู่บ้างเช่นกัน พิมพ์เท่าที่พบเห็นมีอยู่พิมพ์เดียว ขนาดขององค์พระฐานกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม.

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ เป็นพระที่หายากกรุหนึ่งเช่นกัน ราคาค่อนข้างสูง ในด้านพุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เรื่องพระปลอมนั้นก็มีทำกันมานานแล้วเช่นกันครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าจากผู้ที่ไว้ใจได้

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94415062417586_view_resizing_images_2_.jpg)
พระสมเด็จพญานางดำ วัดดงเค็ง

วัดดงเค็ง ต.ประทาย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา เป็นวัดเก่าแก่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ.2470  ปัจจุบัน พระมหาวชิรา ปัญญาธโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเจ้าคุณพระปริยัติมุนีวิทยา ในแต่ละปีจะมีพระภิกษุ-สามเณร เดินทางมาศึกษาเล่าเรียนอยู่โรงเรียนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังเป็นวัดที่หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเคยอุปถัมภ์สร้างพระอุโบสถ และสร้างกุฏิ ช่วงปี 2514 วัดดงเค็ง เคยออกวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ผางที่โด่งดังเช่าหากันในวงการ

เนื่องจากในแต่ละปีจะมีพระภิกษุ-สามเณร เดินทางมาจำพรรษาอยู่วัดดงเค็งจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียน จนมีปัญหาบางปีกุฏิไม่พอรองรับ

เจ้าอาวาสวัดดงเค็ง และเป็นผู้จัดการโรงเรียน จึงได้แก้ปัญหาด้วยการจัดสร้างกุฏิเพิ่มขึ้น แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จพญานางดำ" เพื่อหาทุนสมทบการก่อสร้างกุฏิให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

สำหรับพระสมเด็จพญานางดำ จัดสร้างขึ้นจากไม้มะเค็ง อายุหลายร้อยปี เป็นไม้เก่า ที่อดีตเจ้าอาวาสวัดดงเค็ง ในสมัยกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา ได้นำต้นเค็งมาเลื่อยทำโต๊ะ-ม้านั่ง ให้พระภิกษุ-สามเณรได้นั่งเรียนหนังสือ และไม้บางส่วนเหลือจากการใช้งาน ทางวัดจึงเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน และได้นำมาแกะเป็นพระสมเด็จพญานางดำ

ด้านหน้าของวัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นรูปพระพุทธ เจ้าปางสมาธิอยู่ในครอบแก้ว

ด้านหลังเป็นอักขระยันต์หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต พุทธคุณเด่นรอบทุกด้าน และมีตัวอักษรเขียนว่า "พญานางดำ วัดดงเค็ง ต.ประทาย จ.นครราชสีมา" ด้านล่างสุด จะเป็นโค้ดตัวเลขเรียงลำดับจำนวน การสร้าง

สร้างเพียง 187 องค์ เปิดบูชาองค์ละ 499 บาท ทางวัดได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปให้พระอาจารย์นก วัดเขาพังเหย อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ และหลวงปู่จือ วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ได้อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2561

ติดต่อได้ที่เจ้าอาวาสวัด โทร.08-3966-7999

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33744729724195_view_resizing_images_2_.jpg)
ท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู

"ท้าวเวสสุวัณ"/ หรือ ท้าวกุเวร ผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ รูปลักษณ์เป็นยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ คนโบราณมักนำรูปหรือยันต์ท้าวเวสสุวัณแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวน

นอกจากนี้ ยังนิยมทำเป็นจำหลักที่ด้ามมีดหมอ ด้วยเชื่อว่าสามารถป้องกันและปราบภูตผีปีศาจได้

ตำราโบราณและงานวรรณคดี กล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวัณ เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม อุทิศตนถวายเพื่อพิทักษ์รักษาพุทธสถานและองค์พระพุทธเจ้า จึงจะเห็นได้ว่าตามวัดวาอารามต่างๆ มักมีรูปปั้นยักษ์ยืนถือกระบองค้ำ หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เฝ้าอยู่หน้าประตูโบสถ์หน้าวิหาร ที่มีพระพุทธรูปหรือสมบัติมีค่าที่ทางวัดเก็บรักษาอยู่

หากว่าตามความหมายของชื่อ ท้าวเวสสุวัณ คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า จึงหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากในอดีตชาติท่านเคยเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองชื่อ วิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่า เวสาวัณ

ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน บ้านเรารู้จักกันในชื่อ "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดร ขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวงเทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้างหรือจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณไว้สักการบูชา เพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย

ในโอกาสฉลองอายุครบ 80 ปี พระครูสุนทรโชติธรรม หรือ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี จัดสร้าง "รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู" โดยให้ชื่อรุ่น "บุญมหาเศรษฐี" มาจากคำว่า บุญมา + มหาเศรษฐี มอบแก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกุศล สมทบทุนสร้าง พระใหญ่ วัดป่ามหาศรีนวล จ.ศรีสะเกษ

ชนวนมวลสารในการจัดสร้างนั้น เป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ที่ท่านสะสมไว้ อาทิ ผงเก่าสมเด็จวัดระฆัง, ผงตะไบเก่าจากการหลวมพระเก่ารุ่นต่างๆ, ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ฯลฯ ประการสำคัญ หลวงปู่บุญมาท่านจารแผ่นยันต์เพื่อใช้ทำตะกรุด ด้วยตัวท่านเองทั้งหมด

ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 2 วาระ วาระแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิ.ย.2561หลวงปู่ได้กระทำการจารอักขระแผ่นยันต์และเสกนำฤกษ์เป็นที่เรียบร้อย วาระที่ 2 พิธีพุทธาภิเษก วันศุกร์ที่ 10 ส.ค.2561 ตามมงคลฤกษ์ 13.59 น. ณ อุโบสถวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี

สอบถามโทร.08-5359-5915 และ 08-7936-3168

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76089036092162_view_resizing_images_6_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31501298894484_view_resizing_images_5_.jpg)

ช่วงนี้เป็น "ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา" โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม เป็นเวลา 3 เดือน ช่วงนี้ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล, ไปวัดฟังเทศน์ในทุกวันพระ และทำความดีต่างๆ เป็นพิเศษ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ตลอดระยะเวลา 3 เดือน หรือ "1 ไตรมาส" ในช่วงเข้าพรรษานั้น นับเป็นศุภมงคลฤกษ์ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกวัตถุมงคลให้เกิดความเข้มขลังเป็นทวีคูณ อาจด้วยเป็นช่วงเวลาที่ทั้งพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรม อันถือเป็นการสั่งสมบารมี เสริมพุทธานุภาพแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อไปผนวกกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ยิ่งเสริมสร้างให้วัตถุมงคลนั้นๆ ยิ่งทรงพลานุภาพเป็นที่เลื่องลือปรากฏ

โดยจะเห็นได้ว่า พระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคเก่ามักนิยมปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งล้วนเป็นวัตถุมงคลที่มีค่านิยมสูงและเป็นที่แสวงหาของบรรดาเซียนทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น พระขรรค์โสฬส ของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และ พระปิดตา 3 ไตรมาส ของ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พระขรรค์โสฬส หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

"พระขรรค์โสฬส" จัดเป็นศาสตราวุธของเทพ หลวงปู่ศุขได้จำลองรูปแบบมาจากพระขรรค์โบราณของพระมหากษัตริย์ ซึ่ง พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศิษย์เอกของหลวงปู่ ได้นำมาจากในวังเพื่อเป็นต้นแบบ โดยสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ.2452

"ตัวพระขรรค์" มีความยาว 7 นิ้ว ทำจากยอดเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านได้รวบรวมไว้นานแล้ว ผสมกับโลหะมงคลและวัสดุอาถรรพ์อีกหลายชนิด รวมทั้งมวลสารที่เสด็จในกรมฯ ทรงนำมาถวาย อาทิ เครื่องทอง เงิน และนากส่วนพระองค์ จากนั้น หลวงปู่ศุขได้จารึกอักขระและเลขยันต์ประจำตัว ทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง ส่วน "ด้ามพระขรรค์" ทำจากฝักคูนตายพราย ภายในแก่นพระขรรค์บรรจุกระดูกผีและเส้นผมผีตายโหง 7 ป่าช้า กับของอาถรรพ์อีกหลายอย่าง

หลวงปู่ศุขได้อัญเชิญทวยเทพทั้ง 16 ชั้นฟ้า มาอำนวยอวยพร และปลุกเสกเดี่ยวนานตลอดพรรษา (3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส) ซึ่งถือเป็นการทำพิธีกรรมในการจัดสร้างที่เร้นลับ ซับซ้อน และเข้มขลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา เชื่อกันว่ามีเพียงแค่ 7 เล่มเท่านั้น อยู่ที่เสด็จในกรมฯ หนึ่งเล่ม หลวงปู่ศุขหนึ่งเล่ม ส่วนที่เหลืออีก 5 เล่ม อยู่กับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งไม่มีใครได้พบเห็นพระขรรค์ทั้ง 5 เล่มนั้นอีกเลย เรื่องพุทธานุภาพไม่ต้องพูดถึงเลยทีเดียว

พระปิดตา รุ่น 3 ไตรมาส (รุ่นปลดหนี้) หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

"พระปิดตา" นับเป็นพระเครื่องที่โด่งดังมากที่สุดของหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งท่านได้สร้างไว้มากมายหลายรุ่น และทุกรุ่นล้วนมีประสบการณ์เป็นเลิศ ทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เมื่อประมาณปี 2521-2523 ท่านได้สร้าง พระปิดตารุ่น 3 ไตรมาส คือท่านได้ปลุกเสกตลอดพรรษา ซึ่งเท่ากับ 1 ไตรมาส เป็นเวลาถึง 3 ไตรมาส ในช่วงเวลา 3 ปี โดยสร้างเป็น "เนื้อผงพุทธคุณ" สีเหลืองอ่อน และ "เนื้อผงใบลาน" สีเทาดำ มีหลายพิมพ์หลายขนาดด้วยกัน เป็นที่กล่าวขวัญและเชื่อถือกันว่ามีพุทธคุณอัดแน่นเต็มเปี่ยม และเมื่อแจกให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาไป ก็ต่างมีประสบการณ์เยี่ยมยอดเป็นที่ปรากฏโดยทั่วกัน โดยเฉพาะลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งถึงกับขนานนามพระว่า พระปิดตา รุ่นปลดหนี้ เพราะผู้บูชาที่มีหนี้ ก็หมดหนี้ ผู้ไม่มีหนี้ ก็มีเงินทองไหลมาเทมาอย่างเหลือเชื่อจริงๆ

กระทั่งถึงปัจจุบัน ความเชื่อนี้ก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์เรื่อยมา พระเกจิผู้ทรงคุณชื่อดังหลายต่อหลายรูป ยังคงประกอบพิธีกรรมปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังในช่วงเวลา ดังกล่าวนี้ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏเลื่องลือ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61985329207446_view_resizing_images_4_.jpg)
เหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่จัน วัดนางหนู

ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่จัน วัดนางหนู จังหวัดลพบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวลพบุรีเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านที่รู้จักกันมากและนิยมมากคือเหรียญรุ่นแรกของท่านที่สร้างในงานฉลองศาลาการเปรียญ

ประวัติของหลวงปู่จันไม่ได้มีการบันทึกไว้ มีเพียงการบอกเล่าของผู้ที่เป็นลูกศิษย์และอยู่ในช่วงที่หลวงปู่มีชีวิต ได้เล่าสืบทอดกันต่อๆ มาว่าหลวงปู่เป็นชาวบ้านบางพุทโธ ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เกิดประมาณปี พ.ศ.2395 หลวงปู่จันเป็นคนพูดจริงทำจริง ไม่เกรงกลัวผู้ใด ช่วยเหลือผู้คนที่โดนรังแกอยู่เสมอ ต่อมาหลวงปู่จันได้อุปสมบทที่วัดบัว ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และยังสนใจในวิปัสสนากรรมฐาน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์หลายรูป ในพรรษาที่ 3 หลวงปู่เห็นว่า วัดนางหนูซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดบัวเป็นสถานที่อันสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่วัดนางหนู โดยได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านจึงขอให้หลวงปู่อยู่จำพรรษา และได้พัฒนาวัดโดยลำดับ

หลวงปู่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านในทุกเรื่องที่ชาวบ้านมีความเดือดร้อนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือความทุกข์ร้อนในเรื่องต่างๆ หลวงปู่ก็ช่วยเหลือเสมอมา จนเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว

ในด้านวัตถุมงคลก็มีลูกศิษย์มาขอให้หลวงปู่สร้างให้อยู่หลายอย่าง เช่น ตะกรุดไม้รวก ตะกรุดสังวาล 16 ดอก รูปถ่ายอัดกระจก และเหรียญรุ่นแรกที่สร้างในปี พ.ศ.2478 เป็นที่ระลึกในการฉลองศาลาการเปรียญ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุได้ 83 ปี เหรียญนี้เป็นที่นิยมกันมากและหายาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องเนื้อผงที่หลวงปู่ปลุกเสกให้วัดโคกหม้อ

หลวงปู่จันอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดนางหนูจนถึงปี พ.ศ.2490 จึงมรณภาพ สิริอายุได้ 95 ปี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่จัน วัดนางหนู พ.ศ.2478 เป็นเหรียญทองแดงกะไหล่เงิน จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่ายพระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50859469009770_view_resizing_images_6_.jpg)
พระเนื้อผงพระอาจารย์สุริยันต์

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม สืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธาบริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือ บริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน มอบให้สร้างวัด

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมในพื้นที่และข้างเคียงที่มีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ในแต่ละวันโดยเฉพาะช่วงวันหยุด จะมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้ามาเที่ยวชมถาวรวัตถุจำนวนมาก

สำหรับวัตถุมงคล พระอาจารย์สุริยันต์มีการสร้างออกมาหลายรุ่น แทบทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมและผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก

ล่าสุด วัดป่าวังน้ำเย็น รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลพระเนื้อผง "ดวงเศรษฐีเงินล้าน"

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในโลกให้ แล้วเสร็จสมบูรณ์ 2.สมทบทุนสร้างห้องเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์จังหวัดมหาสารคาม

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นรูปไข่ยกขอบเกลียวเชือก

ด้านหน้าพระผง เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์สุริยันต์ ครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระยันต์ 4 ตัวอ่านว่า นะ ชา ลิ ติ เป็นคาถาหัวใจพระสิวลีเด่นโชคลาภ ส่วนด้านล่างสุดเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ และมีโค้ดรวมทั้งหมายเลขตามจำนวนการสร้าง

ส่วนด้านหลังพระผง จากขวามือของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงมาด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันมหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน และที่บริเวณขอบล่างสุดเขียนว่า ดวงเศรษฐีเงินล้าน

มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมวัตถุมงคลรุ่นนี้มาจากวัตถุมงคลพระเนื้อผงของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อาทิ พระผงนั่งตั่ง พระปิดตามหาลาภ พระสมเด็จ เป็นต้น

กำหนดพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 17 พ.ย.2561 โดยพระอาจารย์สุริยันต์จะประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคต ติดต่อโทร. 08-4654-194

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65746142715215_1.jpg)      พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ กรุบ้านหัวเกาะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่พบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงมากที่สุด จังหวัดหนึ่งบ้านหัวเกาะเป็นที่พบกรุ พระที่มีเนื้อชินสนิมแดงจัดกรุหนึ่งของ สุพรรณฯ พระที่พบมากและรู้จักกันดีคือพระร่วงยืน พิมพ์ต้อ และพระซุ้มนครโกษา

บ้านหัวเกาะ อยู่ที่อำเภอพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2510 ที่บ้านลุงฉั่ง มีเนินดินอยู่ตรงหน้าบันไดบ้าน เป็นเนินดินเตี้ยๆ เป็นดินปนทราย วันหนึ่งลูกของลุงฉั่งมาขนทรายไปถมคอกม้า และเจอแผ่นอิฐปะปนอยู่ด้วย จึงเกิดความสงสัย เนื่องจากในจังหวัดสุพรรณฯ นั้น ถ้าขุดดินลงไปเจอทรายและแผ่นอิฐมักจะเจอพระเครื่องอยู่บ่อยๆ พอตกกลางคืนจึงวางแผนขุดดู และก็เจอพระเครื่องจำนวนมาก มีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะลพบุรีอยู่ 1 องค์ พระเครื่องพบบรรจุอยู่ในโอ่งขนาดใหญ่ มีประมาณสามถึงสี่พันองค์ได้ พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระร่วงพิมพ์ต้อ และพระซุ้มนครโกษา พระพิมพ์อื่นๆ จะพบจำนวนน้อยกว่า เช่น พระร่วงนั่งมีทั้งปางมารวิชัยและปางสมาธิ พระร่วงยืนพิมพ์ยาว พระซุ้มปรางค์ซึ่งพบเพียงแค่ 3 องค์เท่านั้น

พระเครื่องที่พบทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง โดยส่วนใหญ่เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบกับสนิมแดงสดใส บางองค์ปริแตกแยะตามขอบ ส่องดูเป็นสนิมแดงเกาะกินลึกเข้าไปจนแทบไม่เหลือเนื้อชินตะกั่วเลย ลักษณะแบบนี้องค์พระมักจะเปราะแตกบิ่นง่าย

สนิมแดงของพระกรุบ้านหัวเกาะจะเป็นเอกลักษณ์ ที่มีสีสนิมแดงจัดทั่วทั้งองค์พระ ผิวจะมีไขขาวจับเช่นเดียวกับพระเนื้อชินสนิมแดงทั่วไป แต่นักสะสมพระเนื้อชินมักจะนิยมล้างผิวไขขาวด้านหน้าออกบ้างเพื่อให้มองเห็นผิวสนิมแดงที่สวยงาม ส่วนด้านหลังมักจะปล่อยผิวไขขาว ไว้เดิมๆ

พุทธคุณของพระกรุบ้านหัวเกาะเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วเช่นกัน เวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาค่อนข้างสูงครับ คนสุพรรณฯ เขาหวงเก็บเงียบกันหมด พระจึงไม่ค่อยมีออกมาหมุนเวียน

พระกรุบ้านหัวเกาะพิมพ์ที่หายากเนื่องจากพบจากกรุเพียงแค่ 3 องค์ คือพระพิมพ์ซุ้มปรางค์ ตอนสร้างอาจจะมีมากกว่านี้ แต่คงชำรุดไปตามกาลเวลา เท่าที่ผู้ขุดพบบอกว่า พระพิมพ์นี้เจอแค่ 3 องค์เท่านั้น ในวันนี้เลยนำรูปพระพิมพ์ซุ้มปรางค์ กรุบ้านหัวเกาะ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กันยายน 2561 15:25:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65976432586709_view_resizing_images_5_.jpg)     วัตถุมงคล"หลวงปู่ปัน" วัดเทพนิมิตฯ

"วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม" ตั้งอยู่ที่บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นวัดที่ตั้งใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2549 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ เป็นวัดมหานิกาย และเนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งใหม่ได้เพียงสิบปีเศษ ดังนั้นถาวรวัตถุสำคัญภายในวัดยังไม่มี อาทิ ประตูโขง กำแพงแก้ว อุโบสถ เป็นต้น

ปัจจุบัน "หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม ถือได้ว่าท่านเป็นพระที่อายุมากอีกรูปหนึ่งของแวดวงพระสงฆ์ในเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

ชีวิตในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเสมอต้นเสมอปลาย อุทิศตนรับใช้พระพุทธศาสนาจนถึงช่วงบั้นปลายชีวิต

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปูผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่สภาพเป็นวัดร้าง

พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

สืบเนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดในชนบทที่ยังขาดแคลนในทุกด้าน การจะพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองจำเป็นต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก

กรณีดังกล่าวญาติโยมในพื้นที่ รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" และ "ศุภกิจ พิสมัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ปัน หลายรายการ วัตถุประสงค์เพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรม และพัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนารามที่ยังขาดแคลน

รายการวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่ปัน เนื่องจากที่ผ่านมา ท่านไม่เคยอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านแต่อย่างใด

วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ประกอบด้วย 1.เหรียญรูปไข่รุ่นแรก 2.เหรียญหล่อโบราณรวยทันใจ 3.พระสมเด็จ 4.พระขุนแผนพรายเทพนิมิต รวยมหาเสน่ห์ 5.พระผงดวงเศรษฐี และ 6.รูปหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปัน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล รุ่นดังกล่าว เมื่อวันเสาร์ที่ 4 ส.ค.2561 ที่ปะรำพิธีภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ช่วงเช้ามีการประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิเจ้าที่ อัญเชิญเข้ามาร่วมพิธีเป็นสักขีพยาน เพื่อให้พิธีอธิษฐานจิตวัตถุมงคลครั้งนี้เกิดความเข้มขลัง จากนั้นประกอบพิธีเททองหล่อโบราณนำฤกษ์รุ่นรวยทันใจ

ส่วนช่วงบ่ายวันเดียวกัน ประกอบพิธี พุทธาภิเษกภายในศาลาการเปรียญ โดยหลวงปู่ปัน ปลุกเสกเดี่ยวนานหลายชั่วโมง ภายหลังพิธีอธิษฐานจิต ได้มีการแจกเหรียญรุ่นแรกรูปไข่ เนื้ออัลปาก้า ให้ผู้ที่มาร่วมพิธีทุกคน ในส่วนของวัตถุมงคลรูปหล่อรูปเหมือน หลวงปู่จะทำพิธีอธิษฐานจิตทุกวันต่อเนื่องนานถึง 3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส

เชิด ขันตี ณ พล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66959845109118_view_resizing_images_3_.jpg)      เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดห้วยสามพันนาม

วัดห้วยสามพันนาม บ้านห้วยสามพันนาม ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เดิมเป็นที่พักสงฆ์ชื่อ "วังสามพันนาม"

ต่อมานายชุบ สังข์ทอง ได้ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุญาตสร้างวัดและได้รับอนุญาตสร้างวัด เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553

ปัจจุบัน มี "พระใบฎีกาสรัญ โฆสิโต" เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน 8 รูป

วัดแห่งนี้แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสร้างใหม่ แต่ก็มีพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือกราบไหว้ของชาวบ้านทั้งใกล้และไกล

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่แกะจากไม้ขนุน มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมของวัด นอกจากนี้ วัดได้สร้างรูปจำลองไว้บนหน้าบันโบสถ์ทั้ง 2 ด้าน

ส่วนที่มาของหลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระใบฎีกาสรัญระบุว่า เมื่อครั้งที่หลวงพ่อสำราญ อดีตเจ้าอาวาสยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีความนับถือหลวงพ่อสัมฤทธิ์ แห่งวัดนาโคก ต.นาโคก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ครั้นเมื่อพระใบฎีกาสรัญได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงอัญเชิญจากกุฏิเก่า ประดิษฐานไว้ที่ศาลาธรรม เพื่อให้ญาติโยมกราบไหว้ขอพรและบนบาน เมื่อญาติโยมสมประสงค์ตามสิ่งที่บนไว้ ก็จะมาแก้บนด้วยซาลาเปา เช่นเดียวกับหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ที่วัดนาโคก

ขณะนี้ พระใบฎีกาสรัญกำลังดำเนินการก่อสร้างกำแพงแก้วรอบโบสถ์ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อ ดังหลายรูปใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก

เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมา ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนพระพุทธรูป หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ยืนเต็มองค์

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดห้วยสามพันนาม"

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29933738749888_view_resizing_images_2_.jpg)      พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อดินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่หายากมากๆ ก็คือ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จำนวนพระที่ขุดพบส่วนมากชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่สมบูรณ์จริงพบจำนวนน้อยมาก ว่ากันว่าพบประมาณสองร้อยกว่าองค์เท่านั้น ดังนั้นจึงหายากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามประวัติ พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นพระเครื่องที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ ผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้ปลุกเสกไว้ ยิ่งทำให้พระกรุนี้เป็นที่นิยม โดยเฉพาะพระพิมพ์ขุนแผนเคลือบที่มีจำนวนน้อยจึงหายากและมีความต้องการสูง

การเปิดกรุวัดใหญ่ชัยมงคลนั้น มีการพบทั้งพระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากมายหลากหลายพิมพ์ มีทั้งพระเครื่องเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระเครื่องที่มีความนิยมรองลงมาจากพระขุนแผนเคลือบก็คือพระขุนแผนใบพุทรา พระที่พบมีทั้งเนื้อดินเผาและพระเนื้อชิน แต่พระเนื้อดินเผาจะมีความนิยมมากกว่าพระเนื้อชิน จำนวนพระที่พบมีจำนวนมากกว่าพระขุนแผนเคลือบ สนนราคาในสมัยก่อนจึงไม่สูงมากนัก แต่ในปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผาเท่าที่พบมีทั้งชนิดเนื้อดินละเอียดและเนื้อดินหยาบ พุทธลักษณะทรงกรอบนอกจะมีปีกกลมมนๆ คล้ายกับใบพุทรา จึงเป็นชื่อเรียกมาแต่โบราณ องค์พระเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่เหนือกลีบบัวสองชั้น ตรงกลางฐานกลีบบัวจะมีลักษณะคล้ายเดือยต่อลงมาด้านล่าง พระขุนแผนใบพุทราลักษณะโดยรวมก็ไม่เหมือนกับพระขุนแผนทั่วๆ ไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นพระประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว แต่คนเฒ่าคนแก่ก็เรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระขุนแผนใบพุทรา" มานมนานแล้ว อาจจะเป็นเพราะพุทธคุณของพระหรือเปล่าไม่ทราบ เนื่องจากเด่นในทุกๆ ด้านทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน เรียกว่าครบเครื่องเลยทีเดียว

พระขุนแผนใบพุทราที่เป็นเนื้อชินเงิน จะเป็นพระที่ไม่มีปีก เป็นการตัดขอบชิดกับองค์พระ มีพบบางองค์ที่มีปีกก็มักจะตัดปีกเป็นรูปห้าเหลี่ยม ไม่มีแบบที่ทำปีกเป็นทรงมนๆ แบบพระเนื้อดินเผาเลย เฉพาะพระเนื้อชินนั้นมีพบพระที่พิมพ์ทรงคล้ายๆ กันในกรุวัดราชบูรณะด้วย แต่ก็มีข้อแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน ตรงรัศมีของกรุวัดใหญ่จะเรียบๆ ของกรุวัดราชบูรณะจะทำเป็นกิ่งโพธิ์และใบโพธิ์ และองค์พระก็จะเขื่องกว่า

พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่นั้น มีของปลอมกันมานานแล้วมีหลากหลายฝีมือ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อยครับ ปัจจุบันองค์สวยๆ ราคาก็สูงและหายากอยู่ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เนื้อดินเผาองค์สวยจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45574636219276_view_resizing_images_7_.jpg)      พระพุทธนิมิตวิชิตมารฯ

พระนครศรีอยุธยา หรือเมืองกรุงเก่า เป็นอดีตราชธานีเก่าของไทยที่เคยรุ่งเรือง เต็มไปด้วยวัดวาอารามและปราสาทราชวัง แต่หลังจากการเสียกรุง ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ได้สร้างความสูญเสียแก่กรุงศรีอยุธยาอย่างใหญ่หลวง แต่ "หนึ่งเดียว" เท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลาย นั่นคือ "วัดหน้าพระเมรุ" รวมถึงพระประธานในอุโบสถ "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยา

วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวตรงข้ามพระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอารามหลวงสามัญชั้นตรี ตามตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2046-47 และพระราชทานนามว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" แต่ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า "วัดหน้าพระเมรุ" ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็เป็นได้

ภายในพระอุโบสถขนาดใหญ่ รูปแบบสถาปัตยกรรมในราวสมัยอยุธยาตอนกลาง ตกแต่งหน้าบันอย่างงดงาม เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" เป็นพระประธาน พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ (คือ ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศ เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท อย่างอลังการ) ศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัยหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร

นับเป็นพระปฏิมากรที่มีขนาดใหญ่และงดงามมาก ประการสำคัญ "พระนามขององค์พระ" มีความหมายบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะพิเศษ อิทธิปาฏิหาริย์ และความเป็น "สรณะ" ที่พึ่งอันควรแก่การเคารพ สักการะทั้ง 3 โลก

นอกเหนือจากความศักดิ์สิทธิ์แล้ว "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยาองค์เดียวที่ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นทั้งสิ้น

ถ้ามีโอกาสควรแวะไปเยี่ยมชมความงดงามแห่งศิลปะสมัยอยุธยาอันสมบูรณ์แบบ ณ วัดหน้าพระเมรุ และกราบสักการะขอพร พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญ เพื่อความสิริมงคลและบังเกิดสิ่งดีๆ ในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81621518027451_view_resizing_images_2_.jpg)      พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้เพื่อบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2411 จนถึงปี พ.ศ.2413 จึงได้บรรจุ ในการสร้างครั้งนี้จึงมีการทำแม่พิมพ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจากพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ที่มีอยู่เดิมอีกหลายพิมพ์ พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิก็เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งที่มีการทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ และพิมพ์สังฆาฏินี้ก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายพิมพ์เช่นกัน

ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนท่านตั้งชื่อพิมพ์และแยกหมวดหมู่ของพระสมเด็จพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์สังฆาฏิ" เราลองมาดูที่องค์พระกัน พระพิมพ์สังฆาฏินี้ สังเกตดูที่ลำพระองค์จะเห็นว่ามีร่องยาวตลอดหน้าอก จากบริเวณไหล่ซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) ลากยาวลงมาจนถึงหน้าตักที่มือประสานกัน สันนิษฐานว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์ท่านคงจะแสดงให้เห็นว่าเป็นเส้นผ้าสังฆาฏิของพระ

ในส่วนของพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมที่หน้าอกเป็นร่องนั้นก็มีอยู่หลายพิมพ์เหมือนกัน เช่น พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์เกศบัวตูม เป็นต้น สำหรับพระพิมพ์ฐานแซมและพิมพ์ฐานคู่ เส้นที่ทำเป็นร่องบริเวณหน้าอกนั้นจะเป็นร่องจากตรงกลางหน้าอกลงมาจนถึงหน้าตัก ส่วนพระพิมพ์เกศบัวตูมกับพิมพ์สังฆาฏิจะเป็นเส้นเยื้องมาทางไหล่ซ้ายลากยาวลงมาแสดงเป็นเส้นสังฆาฏิ แต่พิมพ์เกศบัวตูมนั้นพระเกศจะอ้วนสั้นกว่าพระพิมพ์สังฆาฏิ มีอยู่แม่พิมพ์หนึ่งของพระพิมพ์เกศบัวตูมเท่านั้นที่จะเป็นพระเกศยาวเรียว

สิ่งที่เห็นชัดของพระพิมพ์เกศบัวตูมและเป็นเอกลักษณ์ก็คือพระบาท (เท้า) ของพระจะปรากฏเห็นชัดและค่อนข้างห้อยปลายเท้าลงมาเล็กน้อยแต่ก็เห็นได้ชัด ส่วนพระพิมพ์สังฆาฏินั้นพระเกศจะยาวเรียวบางทุกแม่พิมพ์ และจะไม่มีปลายพระบาทห้อยลงมา จากการที่มีร่องสังฆาฏิเห็นได้ชัดเจนนี้เองครูบาอาจารย์รุ่นเก่าท่านจึงแยกการเรียกชื่อพิมพ์ออกมาเป็น "พิมพ์สังฆาฏิ" และยังแยกตัวแม่พิมพ์ออกได้อีกหลายแม่พิมพ์

เอกลักษณ์ของพิมพ์สังฆาฏินั้นยังมีเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่เหมือนๆ กันอีกเช่น ตัวเส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ จะเห็นเป็นเส้นนูนสูงขึ้นมาชัดเจนทุกแม่พิมพ์ และชัดกว่าพระสมเด็จทุกพิมพ์ ถึงแม้ว่าจะตัดขอบชิดกรอบหรือมีการสึกหรออย่างไรก็ตามก็ยังจะปรากฏให้เห็นได้ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง หน้าตักของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิทุกแม่พิมพ์ สังเกตดูเหมือนกับว่าหัวเข่าทางด้านขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเรา) จะกระดกยกขึ้นเล็กน้อยสูงกว่าทางด้านซ้ายขององค์พระ ซึ่งก็จะเป็นเช่นนี้ทุกแม่พิมพ์

สันนิษฐานว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์ในหมวดพิมพ์สังฆาฏิคงจะเป็นช่างคนเดียวกัน และแกะแม่พิมพ์ไว้หลายแม่พิมพ์ บางแม่พิมพ์ทำพระกรรณ (หู) ของพระไว้ชัดเจน บางแม่พิมพ์ก็เห็นเพียงไรๆ บางแม่พิมพ์ก็ไม่ปรากฏ พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม แม่พิมพ์หนึ่งที่ในปัจจุบันเรียกกันว่า "พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิมีหู" แต่ในสมัยก่อนครูบาอาจารย์รุ่นเก่าท่านเรียกว่า "พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง" ซึ่งถ้าเราสังเกตดูใบหูของพระจะใหญ่และห้อยลงมาคล้ายๆ กับหูของช้าง

ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนจึงตั้งชื่อแม่พิมพ์นี้ว่า "พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง" ครับ และแม่พิมพ์นี้จะเห็นว่าพระเกศจะยาวทะลุซุ้มขึ้นไปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง (มีหู) องค์สวยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94483689467112_view_resizing_images_4_.jpg)      หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา อีกหนึ่งวัดเก่าแก่สำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองกรุงเก่า "พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" กล่าวไว้ว่า ได้มีการสถาปนาพระพุทธรูป นาม "พระเจ้าพแนงเชิง" เมื่อปี พ.ศ.1867 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี

ทั้งยังมีประวัติใน "พระราชพงศาวดารเหนือของจีน" โดยอ้างอิงถึงของไทย อีกด้วย

ส่วนพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง

ใน "พงศาวดารกรุงเก่า" ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ระบุว่า "สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1868 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 " และเป็นที่อัศจรรย์ที่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกนั้น ปรากฏใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" ว่า " พระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมา ..."

นอกจากเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยแล้ว พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต ยังเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวจีนเป็นอันมาก โดยเรียกกันว่า "ซำปอฮุดกง" หรือ "ซำปอกง"

วัดพนัญเชิง จึงมีทั้งชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีน รวมถึงชาวต่างชาติ มักแวะเวียนไปกราบสักการะขอพรเป็นเนืองนิตย์ โดยเฉพาะในงานประจำปี ชาวไทยจะจัดในช่วงวันสงกรานต์เดือนเมษายน ส่วนชาวจีนจะจัดในช่วงเดือน 9 เรียกกันว่า "งานงิ้วเดือนเก้า" ซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 7 ของจีน นอกจากนี้ยังมีการจัดงานในช่วงเทศกาลสำคัญๆ อาทิ วันสารทจีน และวันตรุษจีน เป็นต้น

หลังจากกราบสักการะขอพรและห่มผ้าพระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ในพระวิหารเรียบร้อย ก็มักจะแวะมาสักการะ "เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก" หรือภาษาจีนเรียก "เจ้าแม่จู๊แซเนีย" ด้วยเชื่อกันว่าพระองค์สามารถบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้สมปรารถนาตามที่ขอทุกประการ โดยเฉพาะเรื่องความรัก คู่ครอง และการขอบุตร มีการบนบานศาลกล่าวด้วยผ้าแพร ไข่มุก เรือสำเภา หรือนำสิงโตมาเชิด เมื่อสมหวังก็มาแก้บนกันคึกคัก และบอกเล่าต่อๆ กัน จนเป็นความเชื่อและความศรัทธาสืบต่อมา

วัดพนัญเชิง มีการจัดสร้าง "วัตถุมงคลจำลองรูปหลวงพ่อโต" อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้มีโอกาสเช่าบูชาติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล และด้วยบารมีแห่ง "หลวงพ่อโต" ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน ก็ปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่เลื่องลือทั้งสิ้น

ประการสำคัญคือ เป็นบุญกุศลในการได้ร่วมสมทบทุนบูรณะ ซ่อมแซม และก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด โดยลักษณะการจัดการเป็นเช่นเดียวกับ วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา คือ มีคณะกรรมการที่เรียกว่า "เฒ่านั้ง" ไปจ้างโรงงานทำแล้วควบคุมดูแลเรื่องการปั๊ม-การสร้าง เพื่อไม่ให้มีของเสริม จึงเป็นที่เชื่อถือได้แน่นอนครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14448551212747_view_resizing_images_8_.jpg)      เหรียญรวยทันใจ วัดป่าวังน้ำเย็น

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน สืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.นครพนม

ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธา บริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น กว่า 11 ไร่ ถวายพระอาจารย์ สุริยันต์ สร้างวัด

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมในพื้นที่และข้างเคียงที่มีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ในแต่ละวันโดยเฉพาะช่วงวันหยุด จะมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้ามาเที่ยวชมถาวรวัตถุจำนวนมาก

สำหรับวัตถุมงคล พระอาจารย์สุริยันต์ มีการสร้างออกมาหลายรุ่น แทบทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยม

ล่าสุด วัดป่าวังน้ำเย็น รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์นำโดย "ดาว ลำปาง" ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "รุ่นรวยทันใจ"

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในโลกให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ 2.เป็นกองทุนสวัสดิการสมาชิกชมรมอนุรักษ์พระเครื่องเมืองมหาสารคาม และ 3.เป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนดีแต่ยากจนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบมีหู ไม่เจาะรู

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์ สุริยันต์ เต็มองค์นั่งในท่าวิปัสสนากัมมัฏฐานห่มจีวรเฉียง ล่างสุดเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ

ส่วนด้านหลัง บนสุดใต้หูเหรียญเขียนว่า รวยทันใจ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์มหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น จังหวัดมหาสารคาม

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนการสั่งจอง เนื้อเงิน สร้าง 199 เหรียญ นวโลหะ สร้าง 199 เหรียญ ตะกั่ว สร้าง 199 เหรียญ ทองแดงลงยา 199 เหรียญ เป็นต้น ทุกเหรียญตอกโค้ดหมายเลขกำกับ

สำหรับพิธีพุทธาภิเษกกำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 17 พ.ย.2561 โดยพระอาจารย์ สุริยันต์ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81081919496258_view_resizing_images_1_.jpg) หลวงพ่อมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ พระนาม "พระมงคลบพิตร" พระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 8 พระพุทธรูปสำคัญคู่กรุงศรีอยุธยา ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุง ซึ่งน่าจะเป็นองค์เดียวกันกับ "พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี" ตามคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งกล่าวว่า ... เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ หน้าตัก 16 ศอก หล่อด้วยทองเหลือง อยู่ในพระมหาวิหารวัดสุมงคลบพิตร ซึ่งต่อมาเรียกชื่อวัดย่อลง เป็น "วัดมงคลบพิตร" ...

พระมงคลบพิตร หรือ "หลวงพ่อมงคลบพิตร" พระพุทธรูปก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9.55 เมตร สูง 22.45 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในรัชกาลใด แต่ด้วยพระพักตร์แม้จะค่อนข้างเป็นวงรี แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์ที่เป็นเหลี่ยมอยู่ และเส้นพระขนงที่วาดโค้ง อันเป็นพุทธศิลปะผสมระหว่างอู่ทองและสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างสมัยอยุธยาตอนต้นในระหว่างแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม

ตาม "พงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตร" นั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชะลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ ต่อมาในปี พ.ศ.2246 สมัยพระเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก พระองค์จึงโปรดให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็น "พระวิหาร" แต่คงทำเครื่องยอดอย่างมณฑปของเดิม

กระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น ในปี พ.ศ.2463 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้ดำเนินการซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาของหลวงพ่อมงคลบพิตรที่หักให้เต็มบริบูรณ์ รวมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม

ต่อมาปี พ.ศ.2474 คุณหญิงอมเรศ ศรีสมบัติ มีศรัทธาปฏิสังขรณ์ฐานพระพุทธปฏิมาขึ้นใหม่ ครั้งนั้นจำเป็นต้องลบรอยปูนปั้นของเดิมออกจนหมด เพื่อทำเป็นผ้าทิพย์ลวดลายใหม่เป็นแผ่นตรงแทน ส่วนซากพระวิหารของเก่านั้น กรมศิลปากรได้ซ่อมแต่งรักษาเพื่อไม่ให้ ผุพังทำลายต่อไป และอยู่ในสภาพเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2499 สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระเสียใหม่ โดยองค์หลวงพ่อมงคลบพิตรนั้นได้ทาสีดำตลอดทั้งองค์

ปี พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้บูรณะพระพุทธปฏิมาและพบพระพุทธรูปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" และ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม"

ต่อมาในปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จทรงเป็นประธานเททองหล่อ "หลวงพ่อมงคลบพิตรจำลอง" ได้ประทานพระดำริว่า...ควรปิดทององค์พระพุทธปฏิมาทั้งองค์ ซึ่งจะทำให้มีพุทธลักษณะที่งดงามสง่า น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนอีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงนมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 50,000 บาท เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระ ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงร่วมกับมูลนิธิพระมงคลบพิตรดำเนินการบูรณะปิดทององค์พระเพื่อความสง่างาม ตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ ทั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 อีกด้วย

ณ ปัจจุบัน หลวงพ่อมงคลบพิตร ณ วิหารพระมงคลบพิตร นับเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอว่า "ผู้ใดที่มาเที่ยวอยุธยาแล้ว ยังไม่ได้มาไหว้หลวงพ่อมงคลบพิตร ถือว่ามาไม่ถึงอยุธยา" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กันยายน 2561 15:32:06

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50708785777290_view_resizing_images_6_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43420581602387_view_resizing_images_8_.jpg)      เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี 2460

วัตถุมงคลรุ่นแรกของ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง นั้น คงต้องยกให้ "เหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก" ที่มีการจัดสร้างในปี พ.ศ.2460 ซึ่ง ณ ปัจจุบันค่านิยมพุ่งขึ้นสูงมากและจะหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง ทั้งกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และแบบรมดำ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นเส้นนูน และมีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธไตรรัตนนายก ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะยกเป็นฐานชุกชี ด้านข้างทั้งซ้ายและขวามีพระอัครสาวกพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรยืนหันข้าง ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า "พระพุทธไตรยรัตนนายก"

ส่วนด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์ 3" บรรจุอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า "อิ สวา สุ อิ" ซึ่งเป็นอักขระย่อของ "หัวใจพระรัตนตรัย" ด้านบนของยันต์เป็นอักษรไทยโค้งรอบยันต์ว่า "วัดพนัญเชิง กรุงเก่า" ด้านล่างของยันต์เป็นอักษรจีน 4 ตัว อ่านได้ว่า "ซำปอฮุดกง" โดยจะเห็นได้ว่า มีอักษรปรากฏบนเหรียญถึง 3 ภาษา อันนับเป็นความพิเศษและแตกต่างจากเหรียญทั่วไปซึ่งโดยส่วนใหญ่มีเพียง 2 ภาษาเท่านั้น

ที่สำคัญอีกประการคือ พิธีพุทธาภิเษกนั้นจัดอย่างยิ่งใหญ่และถูกต้อง ตามกระบวนการแบบโบราณทุกประการ นอกจากนี้ ยังเป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงคุณชื่อดังในยุคนั้นร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตมากมาย ยิ่งทำให้เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก เป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาอย่างสูง

แต่อย่างไรก็ตาม จากจุดเด่นทั้งหลายทั้งมวล ก็ยังมี "จุดบอด" ที่ทำให้ยากยิ่งในการพิจารณาหาของแท้ "รุ่นแรก" มาไว้แนบกาย นั่นคือ "เหรียญหลวงพ่อโต" ทุกรุ่นจะมีพุทธลักษณะโดยรวมเหมือนกันทุกประการ และไม่ระบุปี พ.ศ.ที่สร้างกำกับไว้ โดยหลังจากสร้างรุ่นแรก ในปี พ.ศ.2460 แล้ว ได้มีการจัดสร้างหลังจากนั้นอีก 25 ปี ในปี พ.ศ.2485 เป็น "รุ่น 2" ต่อมาก็ปี พ.ศ.2517 และ ปี พ.ศ.2533 ซึ่งยังคงรายละเอียดต่างๆ เหมือนเหรียญเดิม ปี 2460 ทุกประการ

มาดูหลักการพิจารณาแรกที่เป็นหนึ่งใน "จุดตาย" สำคัญ เพราะจะมีเฉพาะรุ่นแรกเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น นั่นคือให้สังเกตที่เศียรของพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา คือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร จะมีขนาดเล็ก จนมักเรียกเหรียญรุ่นแรกนี้ว่า "เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์เศียรเล็ก" หรือ "เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์เศียรถั่วงอก" นอกจากนี้ ก็ต้องมาพิจารณากันที่ความเก่าของเหรียญตามกาลเวลา เนื้อในการจัดสร้างและจุดตำหนิแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น

สำหรับผู้มีความปรารถนา "เหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก ปี 2460" คงต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ต้องดูให้เป็น ดูให้ขาด โดยเฉพาะรุ่น 1 และ 2 ที่ย้ำนักย้ำหนานี้ก็เพราะค่านิยมต่างกันมาก เอาว่า เลข "0" หายกันเป็นหลักๆ ทีเดียว แต่ผู้ที่ต้องการมีไว้เพื่อสักการบูชา ด้วยบารมีแห่ง "หลวงพ่อโต" ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่เลื่องลือทั้งสิ้นครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 กันยายน 2561 17:58:30

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58369581815269_1.jpg)    เหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2479 ของหลวงปู่กลีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูทิวากรคุณ (หลวงปู่กลีบ) วัดตลิ่งชัน พระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างพระกริ่งโดยใช้พิมพ์ของพระกริ่งหนองแส ซึ่งเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ และเป็นที่นิยมในสายพระกริ่งครับ

หลวงปู่กลีบเกิดในย่านคลองชักพระ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2419 ในสมัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือกับเจ้าอธิการวัดตลิ่งชัน ซึ่งโยมบิดามารดานำท่านมาฝากเรียน ต่อมาได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2439 ที่วัดตลิ่งชัน โดยมีอธิการม่วง วัดนายโรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพน ในครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอมรเมธาจารย์ และอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นพระคู่สวด เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดตลิ่งชัน อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตลิ่งชัน 2 พรรษา ต่อมาได้มาศึกษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และย้ายมาศึกษาอยู่ที่วัดสุทัศน์อีก 6 พรรษา

ต่อมาเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัด คฤหบดี เห็นว่าหลวงปู่กลีบเป็นผู้เหมาะสมและศึกษาพระปริยัติธรรมแตกฉาน จึงแต่งตั้งหลวงปู่กลีบให้มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน ปี พ.ศ.2455 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูทิวากรคุณ พ.ศ.2469 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดเวลาที่ท่านได้ปกครองวัดตลิ่งชันก็ได้ทำนุบำรุงเสนาสนะและถาวรวัตถุหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ซ่อมแซมพระอุโบสถ สร้างสะพาน สร้างเขื่อนหน้าวัด สร้างโรงเรียน จนวัดตลิ่งชันเจริญรุ่งเรืองมาทุกวันนี้

หลวงปู่กลีบเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากเป็นที่นับถือของคนในย่านนั้น ครั้งในช่วงสงครามอินโดจีนก็มีบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มาขอเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันตัว ท่านก็อนุญาต มีวัตถุมงคลอยู่หลายอย่างเช่น ผ้ายันต์ ตะกรุด เสื้อยันต์ ซึ่งเสื้อยันต์นี้ลูกศิษย์ของท่านตัดมาให้หลวงปู่ลงให้ ก็มีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีน มีคนถูกยิงหลายนัดแต่ไม่เข้าเลย ยันต์ที่หลวงปู่ลงตะกรุดและผ้ายันต์ส่วนมากจะลงยันต์ไตรสรณคมน์ ปัจจุบันหายากมาก ใครมีก็หวงแหน

ในปี พ.ศ.2479 หลวงปู่อายุครบ 60 ปี ลูกศิษย์จึงขออนุญาตจัดงานทำบุญอายุ และขอจัดทำเหรียญรูปหลวงปู่กลีบและแหวนมงคลเก้า เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่าน ในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่ได้ปรึกษาท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ จัดสร้างพระกริ่งขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง รูปแบบพระกริ่งหนองแส และแจกในปี พ.ศ.2495 ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2479 ของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชันมาให้ชมครับ 

ชมรมพระเครื่อง
นสพ.ข่าวสด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27569692085186_view_resizing_images_3_.jpg)      เหรียญหล่อหลวงปู่ทวด

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ ของ "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" พระอริยสงฆ์สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอันเกี่ยวกับเอกราชของบ้านเมืองที่เล่าขานสืบกันมาถึงปัจจุบัน

จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ได้ถูกนำมารังสรรค์ปั้นแต่งให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดย วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มอบหมายให้นายนเรศ มือทอง เป็นผู้ออกแบบพุทธศิลป์อย่างงดงามอลังการ และบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจง เพื่อมอบเป็นสมบัติอันล้ำค่าในรูปแบบเหรียญหล่อ ประกอบมงคลนาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ"

รายได้นำไปสมทบทุนจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรงเต่าเรือน

ด้านหน้าเหรียญบนสุดมีองค์พระพุทธปฏิมากร ประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ ตรงกลางเป็นองค์หลวงปู่ทวด ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง

ด้านหลังเหรียญ บนสุดเป็นอุณาโลม และตัวนะ ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตโต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทองแล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อจีนที่ว่า จะนำความร่ำรวย ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 วันที่ 15 ก.ค.2561 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด ณ วัดแคราชานุวาส จ.พระนครศรีอยุธยา ต้นกำเนิดตำนานหลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ วาระที่ 2 วันที่ 18 ก.ค. ปลุกเสกชนวนมวลสาร ณ อุโบสถวัดขุนอินทประมูล และวาระที่ 3 วันที่ 25 ต.ค. พิธีพุทธาภิเษกหลังไตรมาส ณ อุโบสถวัดขุนอินทประมูล

จัดสร้างเป็น 9 เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำลงยา, เนื้อเงินซาตินรมดำองค์ทองคำ, เนื้อนวโลหะผสมทองคำ, เนื้อเงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาติน่าเขียวองค์เงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาติน่าเขียว องค์ทองระฆังซาตินรมดำ, เนื้อทองระฆัง ซาตินรมดำ และเนื้อบรอนซ์ซาตินรมดำ ทุกรายการสร้างจำนวนจำกัด

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79840218193001_view_resizing_images_5_.jpg)     พระขุนแผน รุ่น 1 หลวงปู่ปัน

"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทที่อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุติ) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขา บอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมาหลวงปู่มีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี พ.ศ.2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ สภาพเป็นวัดร้าง

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนารามเป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนา บรรดาคณะศิษย์นำโดยนายศุภกิจ พิสมัย และ พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระขุนแผนเนื้อผง นับเป็นพระขุนแผนรุ่นแรก

วัตถุประสงค์เพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิปฏิบัติธรรมและพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการภายในวัด

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางสมาธิประทับนั่งอยู่ในซุ้ม 5 เหลี่ยม

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญวนขึ้นไปด้านบนวนทางด้านซ้ายเขียนว่า หลวงปู่ปัน สมฺปนฺนธมฺโม บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม จ.ขอนแก่น และตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างรวม 12,000 องค์ มีทั้งฝังตะกรุดเงิน และตะกรุดทอง

มวลสารที่นำมาจัดสร้างประกอบด้วยผงพุทธคุณ 108 และดินจากบริเวณที่หลวงปู่ปันนั่งกัมมัฏฐานและเดินจงกรม

พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว

ติดต่อโทร.08-3095-1110, 06-2653-2899

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32837701506084_view_resizing_images_3_.jpg)
เหรียญหลวงปู่รัศมี รุ่น 1

ศูนย์ปฏิบัติธรรมป่าช้าสำนักสงฆ์หนองแดง บ.หนองบัวคำ หมู่ 8 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม ปัจจุบัน สภาพยังคงรกร้าง เป็นพื้นที่ป่าช้าบนเนื้อที่ 28 ไร่ ที่ผู้นำชุมชนและชาวบ้านร่วมกันชี้แนวเขตอนุญาตให้ "หลวงปู่รัศมี ธัมมจาโร" พร้อมลูกศิษย์ จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์

ด้วยลูกศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาหลวงปู่รัศมี ในวัย 91 ปี พรรษา 56 พระเถระสืบสายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน ต้องการบุกเบิกป่าช้าแห่งนี้ ให้เป็นที่สำนักปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธต่อไป

จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรุ่นแรก

เพื่อจัดหารายได้สมทบทุนนำไฟฟ้าเข้าสำนักสงฆ์ และจัดสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในสำนักสงฆ์

ประกอบด้วยเนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า (แจกเฉพาะกรรมการ) 5 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีแดง 108 เหรียญ, เนื้อทองเหลืองสัตตะลงยาสีเขียว 149 เหรียญ, เนื้อทองเหลืองสัตตะลงยาสีน้ำเงิน 149 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 499 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวรุ้ง 1,999 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน กลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ด้านล่างสุดมีตัวหนังสือนูนสลักคำว่า หลวงปู่รัศมี ธมฺมจาโร

ด้านหลังเหรียญ เส้นรอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมมีตัวหนังสือสลักคำว่า ที่ระลึกอายุครบ ๙๑ ปี กลางเหรียญมีอักขระยันต์ที่หลวงปู่เขียนให้เอง เป็นยันต์คล้ายยันต์ยอดมงกุฎของหลวงพ่อเดิม ด้านซ้ายของยันต์ตอกโค้ดตัว "ม" มีเปลวรัศมี ซึ่งตัว ม หมายถึงชื่อหลวงปู่ แผ่รัศมีคล้ายดวงอาทิตย์ ส่วนตัวเลขไทย ๓๕๘ เป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ใต้ยันต์มีตัวหนังสือคำว่า รุ่นแรก บรรทัดท้ายสุดสลักคำว่า สำนักสงฆ์หนองแดง อ.ปลาปาก จ.นครพนม ๒๕๖๑

เหรียญแต่ละชนิดเนื้อ จะตอกโค้ดไม่เหมือนกัน บางชนิดตอกที่บริเวณข้างตัวหนังสือด้านขวาคำว่า รุ่นแรก

เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่รัศมี นั่งภาวนาจิตปลุกเสกเดี่ยวภายในศาลาโรงฉัน เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 18 มิ.ย.2561

หลังเปิดให้สั่งจองในช่วงแค่ 1-2 สัปดาห์ ปรากฏว่าได้รับความนิยมสูง

เป็นเหรียญใหม่อีกรุ่น ที่น่าจับตามอง

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53451059593094_view_resizing_images_5_.jpg)     เหรียญพระพุทธโสธรรุ่นแรก 2460

ได้กล่าวถึงพระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศไทย หนึ่งในตำนาน "พระพุทธรูปลอยน้ำ" อันลือเลื่องไปแล้ว ฉบับนี้มาดูเรื่อง "วัตถุมงคลพระพุทธโสธร" ที่มีการจัดสร้างกันมาแต่อดีตสืบจนปัจจุบันมากมายหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง เหรียญ แหวน ฯลฯ

แต่ที่ยกให้เป็น "สุดยอด" ก็ต้อง "เหรียญอาร์มรุ่นแรก ปี 2460" ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ" และประการสำคัญที่สุดคือ เป็นเหรียญพระพุทธที่ "แพง" ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ ครับผม

ในปีพ.ศ.2460 สมัยที่พระอาจารย์หลินดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ ท่านได้ดำริจัดสร้าง เพื่อมอบแก่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ ในการ "ซ่อมแซมฐานชุกชีขององค์หลวงพ่อโสธร" โดยมี ขุนศิรินิพัฒน์ มัคนายกวัด เป็นผู้ดำเนินงาน โดยสร้างเป็น 2 แบบ คือ เหรียญรูปอาร์ม และเหรียญรูปเสมา โดย "เหรียญรูปเสมา" สำหรับแจกเฉพาะกรรมการเท่านั้น

มากล่าวถึง "เหรียญอาร์มพระพุทธโสธร ปี 2460" มีการจัดสร้างเป็น 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อสำริด และเนื้อทองแดง แต่ในอดีตจะนิยมเล่นหากันเฉพาะเนื้อเงิน เนื้อสำริด เนื้อทองแดง เพิ่งจะมานิยมและยอมรับ "เนื้อทองคำ" กันเมื่อไม่นานมานี้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว ขอบข้างเลื่อย ความกว้างประมาณ 2.3 ซ.ม. และสูง 3 ซ.ม. ด้านหน้า ยกขอบสูง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธโสธรประทับนั่งเหนืออาสนะ ระบุปีที่สร้างคือ "พ.ศ.๒๔๖๐" ด้านล่างอาสนะเป็นลายกนกหน้าสิงห์ ด้านข้างทั้ง 2 มีอักษรไทยว่า "พระพุทธโสทร เมืองฉเชิงเทรา" โดยมีตัว "อุ" ปิดหัว-ท้าย ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว "อุ"

ต่อมาเป็นอักขระขอม 4 บรรทัด อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง" แต่เนื่องจากมีการจัดสร้างเป็นจำนวนมาก เหรียญนี้จึงมีหลายแม่พิมพ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดย "แม่พิมพ์ด้านหน้า" แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอุติดชัด, พิมพ์สระอุติดไม่ชัด และพิมพ์สระอุติดไม่ชัด มีเส้นแตก หรือเรียกกันว่า "พิมพ์แตก" ส่วน "แม่พิมพ์ด้านหลัง" มี 4 พิมพ์

สังเกตที่อักขระขอมบรรทัดสุดท้ายที่อ่านว่า "สุขัง พะลัง" คือ "พิมพ์ยันต์ใหญ่" ตัว "ขัง" มีลักษณะกลมมน หางไม่ชิด "พิมพ์ยันต์กลาง" ตัว "ขัง" มีลักษณะแกะปลายหางชิดติดกันเป็นเส้นตรง "พิมพ์ยันต์เล็ก" ตัว "ขัง" มีลักษณะแกะปลายหางติดกัน แต่ไม่เชื่อมต่อกับช่วงตัว และ "พิมพ์ยันต์เล็กบล็อกแตก" จะเป็นพิมพ์ยันต์เล็ก ที่ตรงท้ายอักขระขอมบรรทัดสุดท้ายจะมีรอยขี้กลาก

ผู้ชำนาญการรุ่นเก่าได้ให้ข้อชี้แนะในการพิจารณา สำหรับ "เนื้อเงิน เนื้อสำริด และเนื้อทองแดง" ไว้ว่า ให้ดูที่ "สระอุ" ใต้คำว่า "พระพุทธ" คือ "พิมพ์สระอุติดชัด" จะเจอในเนื้อเงินและสำริด ส่วน "พิมพ์สระอุติดไม่ชัด" เจอในเนื้อทองแดง แต่อาจจะมีพิมพ์สระอุติดชัดในเนื้อทองแดงบ้าง แต่ก็น้อยมาก

นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ ในการพิจารณา ดังนี้

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดชัด

- เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า "โส" เส้นนอกจะยกเป็นขดลวดเหมือนขอบกระด้ง มีรอยเส้นตีคู่เป็น "เส้นใน" ลักษณะเป็นเม็ดไข่ปลาเล็กๆ เรียงกัน
- พระกรรณยาวและปลายไม่แตกเป็นปากตะขาบ
- ตัว "พ" หางจะสั้น
- ปรากฏเส้นพระศอโค้งงอ 2 เส้น
- ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ กับเลข ๖ จะจรดกัน
- ตัวอักขระด้านหลังจะเล็กกว่า

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดไม่ชัด

- เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า "โส" รอยเส้นตีคู่ที่เป็น "เส้นใน" ลักษณะเป็นเส้น
- พระกรรณจะสั้นกว่า และปลายแตกเป็นปากตะขาบทั้งสองข้าง
- ตัว "พ" หางจะยาวกว่า ส่วนสระอุจะติดเลือนๆ
- ไม่ปรากฏเส้นพระศอ
- ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ จะยาวกว่าเลข ๖

อย่างไรก็ดี ตามที่บอกไปแล้วว่า "เป็นเหรียญพระพุทธที่ "แพง" ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ" ดังนั้น ท่านผู้สนใจใฝ่แสวงหาไว้แนบกายควรปรึกษากูรูผู้เชี่ยวชาญและไว้ใจได้จริงๆ ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54722081414527_view_resizing_images_1_.jpg)      เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี อีก 1 ใน "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน และขึ้นชื่อลือชามากคือ "เรื่องการบนบานศาลกล่าว" แล้วมักประสบความสำเร็จ ก็มีการจัดสร้างวัตถุมงคลที่มากมายหลายประเภทเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ลูกอมทองไหล เหรียญหล่อรุ่นแรกปี 2465 ฯลฯ โดยเฉพาะ "เหรียญปั๊มรูปเหมือนปี 2468" เหรียญปั๊มรุ่นแรกที่มีค่านิยมสูงสุด อาจสืบเนื่องจากความคมชัดและประณีตของเหรียญที่สร้างจากการปั๊ม แต่ที่นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ นั้น จะเป็นเหรียญรุ่นที่สร้างในปี พ.ศ.2465 ซึ่งเป็น "เหรียญหล่อโบราณ" และด้วยรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระจึงมักเรียกกันว่า "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ ที่นับเป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2465 สมัยพระอธิการห้อย เป็นเจ้าอาวาส โดยสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองเพียงเนื้อเดียว ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ยกขอบทั้งหน้าและหลัง ด้านหน้าจำลององค์หลวงพ่อทอง ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะบัวสองชั้น มีพื้นฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังมีอักขระขอม 3 บรรทัด อ่านว่า "อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ"

ปัจจุบันนับว่าหายากยิ่ง สนนราคาสูงเอาการ และทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง ดังนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องใช้หลักการพิจารณา "เหรียญหล่อโบราณ" โดยหลักสังเกตใหญ่ๆ คือ การเข้าดินนวลซึ่งจะผสมขี้วัวหมัก โบราณเรียก "ดินขี้งูเหลือม" เมื่อเทมวลสารลงในหุ่นเทียนจะเกาะติดกับเนื้อองค์พระเห็นเป็นจ้ำๆ และให้สังเกตบริเวณหูเชื่อมที่จะต้องจับโค้งติดกับตัวเหรียญ มักจะปรากฏเนื้อปลิ้นระหว่างปลายตัวปลิง อีกประการหนึ่งคือรอยตะไบ เหรียญหล่อโบราณมักจะมีการใช้ตะไบในการตกแต่งเหรียญให้ได้รูป ซึ่งรอยตะไบจะไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

มาถึงเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2468 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ไม่ได้ออกที่วัดเขาตะเครา แต่ออกที่ "วัดต้นสน" โดยสร้างในสมัยที่หลวงพ่อจีนเป็นเจ้าอาวาส เหรียญนี้มีความโดดเด่นอยู่ที่การจัดพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ และมีการอัญเชิญ "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" ไปตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด

เท่าที่พบน่าจะสร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา หูในตัว พิมพ์ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อวัดเขาตะเคราประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย มีซุ้มเรือนแก้วครอบองค์พระ บนสุดจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อวัดเขา" ด้านล่างใต้บัลลังก์เป็นปีที่สร้าง "พ.ศ.๒๔๖๘" พิมพ์ด้านหลัง พื้นเรียบจารึกอักขระขอม 5 แถว อ่านว่า "อุ นะโม พุทธายะ อะสังวิสุ โลปุสะพุกะ"

ด้วยความเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูง จึงต้องพิจารณากันอย่างถ้วนถี่ โดยจุดสังเกตสำคัญคือ พิมพ์ด้านหน้าองค์พระจะแกะคมชัดมาก และด้านขวามือบริเวณซุ้มกนกจะปรากฏเส้นรอยพิมพ์แตกตรงตัว "ศ" ของคำ "พ.ศ." ปลายหางจะเชื่อมติดกับฐานบัว ส่วนพิมพ์ด้านหลังพื้นจะเรียบมาก ขอบข้างก็สม่ำเสมอ ไม่มีรอยขยักหรือรอยปลิ้น

อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกประเภทของหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ที่มีการจัดสร้างกันสืบมาถึงปัจจุบัน ยังคงได้รับความนิยมสะสม ด้วยพุทธคุณปรากฏในทุกรุ่นทุกแบบ

ดังที่ "ท่านสุนทรภู่" มหากวีเอก ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" ราวปี พ.ศ.2374 ว่า "ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท มีอาวาสวัดวามหาเถร มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน เขานับถือลือมาแต่บุราณ ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน" ครับผม 

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37618666514754_view_resizing_images_5_.jpg)     พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฏิยาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระหล่อรูปจำลองพระพุทธชินราช มีพิธีการสร้างและพุทธาภิเษกที่ใหญ่มาก ในการสร้างครั้งนี้มีอยู่หลายพิมพ์ปัจจุบันเริ่มหายากครับ

พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนนี้ เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดยพลเรือตรีหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีนในราวปีพ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชิน รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์ แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช แพ ทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ดเป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค้ด แต่ก็มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน จากนั้นได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนี้มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่งจำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) วัดบรมฯ กทม.

หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อ ทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดระฆัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม และประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้เป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทาง พุทธสมาคมได้เก็บรักษาไว้ จนในปีพ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนมีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด

พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ

วันนี้ขอนำรูปพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฏิยาว (นิยม) มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2561 15:46:05
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44339857457412_2.jpg)      เหรียญบูชาครูหลวงปู่สรวง

"หลวงปู่สำราญ จันทวโร" หรือ "หลวงปู่น้อย" เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองขี ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ปัจจุบันอายุ 55 ปี พรรษา 27

เกิดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2506 ที่ จ.สุรินทร์ แต่ครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นเด็ก ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2543 ที่วัดสระจันทร์ ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองขี หลวงปู่สำราญ เริ่มพัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ซึ่งที่ผ่านมา ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรม และในขณะนี้กำลังเริ่มก่อสร้างอุโบสถ หรือคนทางภาคอีสาน เรียกว่า "สิม" เดิมของเก่าเป็นโบสถ์เป็นเรือนไม้ ซึ่งกาลเวลาผ่านมายาว นาน ทำให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ชาวบ้านและกรรมการวัด จึงเห็นสมควรให้ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2561 ได้ประกอบพิธีลงเสาเอก เสาโท อุโบสถวัดบ้านหนองขี โดยมีชาวบ้านบ้านและพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างเดินมาร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่น

ในวาระอันเป็นมงคลฤกษ์ หลวงปู่สำราญจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญบูชาครูหลวงปู่สรวง และพระขุนแผน รุ่นบูชาครู โดยได้รับเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม, หลวงปู่อุดมทรัพย์ สิริคุตโต วัดเวฬุวัน, หลวงปู่วัน จันทวโส วัดโนนไทยเจริญ จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่อุดมโชค วัดโพธิ์พระองค์ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่บุญหลาย จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อประโยค สำนักสงฆ์หนองโพธิ์น้อย จ.สุรินทร์ และหลวงปู่น้อย วัดบ้านหนองขี จ.มหาสารคาม

โดยมีหลวงปู่วัน จันทวโส วัดโนนไทยเจริญ เป็นประธานจุดเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก และหลวงปู่สำราญ (หลวงปู่น้อย) เป็นประธานพิธีดับเทียนชัย

เหรียญบูชาครู หลวงปู่สรวง และพระขุนแผน รุ่นบูชาครู จัดสร้างขึ้นเพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์วัดบ้านหนองขี ประกอบด้วย เหรียญเนื้อทองคำ เนื้อเงิน, เนื้อหน้ากากทองคำ, เนื้อเงินลงยาสีแดง, น้ำเงิน, สีเขียว เนื้อนวะ, นวะหน้ากากเงิน, เนื้อชนวนหน้ากากเงิน, เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อสัตตะ และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา ครึ่งองค์ ห่มเฉียง

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ว่าวจุฬาหลวงปู่สรวง ใต้ยันต์ เป็นเลขไทย "๒๕๖๑" ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "งานมหามงคลบูชาพระคุณครู หลวงปู่สรวง" ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "พระอธิการสำราญ จันทวโร (หลวงปู่น้อย) วัดบ้านหนองขี จ.มหาสารคาม"

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44241837784647_view_resizing_images_3_.jpg)    พระกริ่ง วัดตรีทศเทพ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดตรีทศเทพวรวิหาร กทม. มีพระกริ่งสำคัญที่มีชื่อว่า "พระกริ่งพระประธาน" หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่ง 7 รอบของวัดบวรฯ ความเป็นมาเป็นอย่างไรเรามาศึกษากันดีกว่านะครับ

วัดตรีทศเทพวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์-ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นใกล้วังของพระองค์ หลังจากทรงกำหนดและเริ่มงานเพียงเล็กน้อยก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน ในปี พ.ศ.2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์-ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสดำเนินการก่อสร้างต่อ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็มาสิ้นพระชนม์อีกพระองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประธานถวายในพระอุโบสถ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร 2 องค์ เพื่ออุทิศฉลองพระองค์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรและกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศพระราชโอรส ประดิษฐานไว้สองข้างพระพุทธปฏิมาประธาน พระราชทานวิสุงคามสีมา สถาปนาเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพวรวิหาร" หมายถึงวัดที่เทพ 3 องค์สร้างขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2491 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) จึงโปรดให้จัดสร้างพระกริ่งพระประธานสำหรับผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ โดยทำพิธีหล่อที่บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2491 เป็นวาระแรก พระกริ่งที่หล่อเป็นแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัย มีครอบน้ำมนต์ที่พระหัตถ์ซ้าย จึงเรียกว่า "พระกริ่งพระประธาน" ฐานมีบัวด้านหน้า 9 กลีบ ด้านหลังมีบัว 2 กลีบ เทหล่อแบบเทตัน แล้วเจาะรูใต้ฐาน ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่งอุดด้วยทองชนวนเนื้อเดียวกัน แล้วแต่งตะไบจนแทบมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง วรรณะออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย

พัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2492 ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราชพระกริ่งรุ่นนี้โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 พระกริ่งพระประธานนี้ ผู้นิยมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่ง 7 รอบ ปี พ.ศ.2499 ของวัดบวรฯ แตกต่างกันที่พระหัตถ์ของพระกริ่ง 7 รอบจะไม่มีครอบน้ำมนต์ และที่บัวด้านหลังของพระกริ่ง 7 รอบจะมีตัวเลข ๗ ปรากฏอยู่

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระประธาน หรือพระกริ่ง วัดตรีฯ มาให้ชมครับ


แทน  ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42763786969913_view_resizing_images_6_.jpg)     หลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ

เคยได้กล่าวกันไปแล้วเกี่ยวกับ "หลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ" วัตถุมงคลที่รังสรรค์รูปแบบออกมาได้อย่างงดงาม สื่อสารถึงความอัจฉริยะของ "เจ้าสามีราม" หรือ "หลวงปู่ทวด" ที่สามารถปกป้องบ้านเมืองจากอุบายอันแยบยลของอารยประเทศ ในสมัยนั้น บัดนี้ผู้ที่สั่งจองใกล้สมปรารถนากันแล้วครับ

รังสรรค์ให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดยมอบหมายให้ "นเรศ มือทอง" เป็นผู้ออกแบบ และ "แพรนด้า จิวเวลรี่" สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจงในรูปแบบเหรียญหล่อ นาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ" เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรง "เต่าเรือน" อันถือเป็นสิริมงคลทั้งค้าขายและสุขภาพ ด้านหน้า บนสุดมีองค์พระพุทธประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ 8 ตัว "นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ" ตรงกลางเป็นองค์พระสงฆ์ "หลวงปู่ทวด" ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระรัตนตรัย อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง ส่วนด้านหลัง บนสุดเป็นอุณาโลม และตัว "นะ" ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตว์โต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทอง แล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อของชาวจีนว่า จะนำความร่ำรวยมาสู่ ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาพระธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด และวาระที่ 2 ปลุกเสกชนวนมวลสาร แล้วเสร็จสมบูรณ์ ส่วนวาระที่ 3 จะจัดในวันที่ 25 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ณ พระอุโบสถ วัดขุนอินทประมูล โดยได้มีฎีกานิมนต์พระเถระผู้ทรงคุณเข้าร่วมในพิธี อาทิ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก พระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อวราห์ วัดโพธิ์ทอง กรุงเทพฯ หลวงพ่อสุวรรณ วัดยาง จ.อ่างทอง และพระครูวิเศษชัยวัฒน์ วัดชัยมงคล จ.อ่างทอง เป็นต้น

ด้วยเจตนาการจัดสร้าง ความพิถีพิถันในการออกแบบ การผลิต และพิธีกรรม จึงมีผู้ร่วมบุญและเตรียมสะสมยอดวัตถุมงคลที่จะสร้างคุณค่าในอนาคตกันมากมายทั้ง 9 เนื้อ ผู้สนใจที่ยังไม่ได้สั่งจองคงต้องรีบกันหน่อย เพราะทุกรายการสร้างจำนวนจำกัดและตามการสั่งจองเท่านั้น


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89347077285250_view_resizing_images_1_.jpg)     เหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้า หลวงพ่อน้อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย) วัดธรรมศาลา ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักเหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้าของท่านเป็นอย่างดี วัตถุมงคลของหลวงพ่อน้อยเป็นที่นิยมทุกรุ่น และหายากมีประสบการณ์สูงครับ

หลวงพ่อน้อยเกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ อ่อน เมื่อวัยเด็กโยมบิดามารดาก็นำไปฝากเรียนหนังสือไทยกับพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา และต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี โยมบิดาก็ได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อศึกษาต่อ จากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และไปมากับวัดธรรมศาลาเป็นประจำ ต่อมาเมื่อบิดามารดาถึงวัยชรา หลวงพ่อน้อยจึงได้ลาสิกขามาอยู่ช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อหลวงพ่อน้อยอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระอธิการทอง วัดละมุด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินฺทสโร" นับจากหลวงพ่อน้อยอุปสมบทแล้วท่านก็ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดและสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานุรักษ์ พระครูทักษินานุกิจ แจ้ง พระสมุห์แสง โดยอาศัยที่หลวงพ่อน้อยมีความรู้เรื่องอักษรขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิที่แน่วแน่ จึงศึกษาพุทธาคมได้ด้วยความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาใดก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยของหลวงพ่อน้อย ท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยมสำรวมอยู่เป็นนิจ มักน้อยสันโดษมีเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่คนทั่วไป หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลเมื่อปี พ.ศ.2495 สร้างพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2501 สร้างสะพานคอนกรีตและถนนในปี พ.ศ.2502 สร้างอาคารโรงเรียนหลังที่ 2 ในปี พ.ศ.2505 สร้างฌาปนสถานในปี พ.ศ.2510 สร้างกุฏิสงฆ์ในปี พ.ศ.2511 สร้างหอระฆังในปี พ.ศ.2512 เป็นต้น

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ หลวงพ่อน้อยได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง หลวงพ่อน้อยมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป เหรียญหล่อรุ่นที่นิยมกันมากก็คือเหรียญหล่อหน้าเสือ ซึ่งเหรียญหล่อหน้าเสือก็มีสร้างกันต่อมาอีกหลายรุ่น แต่เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกจะนิยมมากที่สุด มีประสบการณ์มาก ปัจจุบันหายากมากครับ ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกองค์สวยของคุณอ้วนนครปฐม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74885255139734_view_resizing_images_1_.jpg)      เหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่น 1

พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทรวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12, 15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีตพระเกจิชื่อดัง ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน แห่งวัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธา

พระสุปฏิปันโนที่ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 78 ปี พรรษา 58 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในปีพ.ศ.2561 คณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาจัดสร้างวัตถุมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้บูรณะอุโบสถที่เริ่มจะชำรุดทรุดโทรม และเสนาสนะภายในวัด เป็นเหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่นแรก ในชื่อรุ่นลาภ ผล พูนทวี และเป็นเหรียญรุ่นเดียวที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมสลักอักขระยันต์ ปิดท้ายด้วยสัญลักษณ์อุณาโลม 2 ตัว ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างใบหูด้านซ้ายของเหรียญตอกโค้ดดอกจัน ตรงจีวรมีอักขระยันต์ตัวอุ ด้านล่างสุดสลักคำว่า หลวงปู่ถนอม จันทรวโร

ด้านหลังเหรียญ ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า ลาภ ผล พูน ทวี บรรทัดถัดลงมาตอกโค้ดเลข ๙ ไทย ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ บรรทัดถัดลงมาสลักอักขระ 2 บรรทัด ถัดมาสลักคำว่า รุ่นแรก และ 2561 ส่วนบรรทัดสุดท้ายสลักคำว่า วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 9 เหรียญ เนื้อลงยาสีแดงหลังเรียบ 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้าทองคำ 59 เหรียญ เนื้อทองแดงหน้าทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงิน 79 เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีแดง 99 เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีม่วง 99 เหรียญ เนื้อสตางค์ 99 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวรุ้ง 2,561 เหรียญ

เหรียญรุ่นดังกล่าวหลวงปู่ถนอมนั่งอธิษฐานปลุกเสกเดี่ยวข้ามคืนในอุโบสถ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2561

แม้เป็นเหรียญใหม่ออกแบบได้สวยงามอีกทั้งเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53149603638384_view_resizing_images_3_.jpg)      พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งเก่าแบบหนึ่งที่ในสมัยก่อนมักเรียกกันว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" ส่วนมากก็จะหมายถึงพระกริ่งนอก ทำไมถึงเรียกกันว่า พระกริ่งอุบาเก็งก็ไม่ทราบได้ ผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้หรือสะสมพระกริ่งนัก แต่ก็สนใจในชื่อของพระที่เขาเรียกกัน พอเห็นพระกริ่งที่ว่าชื่อพระกริ่งอุบาเก็งก็นึกชอบในรูปร่างลักษณะขององค์พระ ดูสวยน่ารักดี ก็เลยติดตามศึกษาที่มาที่ไปของพระ

ในสมัยนั้นก็ขอความรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ท่านก็กรุณาบอกว่าเป็นพระกริ่งที่พบในประเทศกัมพูชาที่เขาพนมบาเก็ง ที่ในประเทศไทยก็พบบ้างเหมือนกัน ที่วัดเก่าๆ ในพระนครศรีอยุธยา และที่เมืองกาญจนบุรี เป็นต้น แต่ก็พบไม่มากนัก ตามประวัติที่เล่าบอกต่อกันมาว่า พระกริ่งแบบนี้พบที่โบราณสถานเขาพนมบาเก็งในกัมพูชาเป็นแห่งแรก และพบจำนวนพอสมควร จึงเรียกชื่อตามที่ขุดพบว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" ในสมัยนั้นผมเองก็ยังสงสัยต่อว่า พระกริ่งแบบนี้ทำไมจึงมีคำว่า "อุ" อยู่ด้วย คืออุบาเก็งทำไมไม่เป็นพระกริ่งบาเก็ง ก็งงๆ เหมือนกันว่า คำว่า "อุ" นั้นมาจากไหน แต่ปัจจุบันก็เรียกสั้นๆ ว่า "พระกริ่งบาเก็ง" ตามชื่อของเขาพนมบาเก็ง ความเป็นมาของพระกริ่งบาเก็งนอกนั้น ก็ว่ากันว่า คนจีนคงจะสร้างมาบรรจุไว้ที่เขาพนมบาเก็ง เนื่องจากศิลปะของพระกริ่งเป็นแบบศิลปะจีน ซึ่งแตกต่างจากศิลปะของขอมมาก ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่ยึดถือกันมาตามนั้น

ในสมัยก่อนผมเองชอบพระกริ่งบาเก็งนอกมาก แต่ก็จนใจ เนื่องจากสนนราคานั้นสูงมาก และก็หายากมาก ไม่มีปัญญาเช่าหาแต่ก็เก็บความชอบไว้ในใจตลอดมา ระหว่างที่ศึกษาเรื่องราวของพระกริ่งบาเก็งนอก ก็ได้ทราบว่าพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งบาเก็งนั้นท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านก็ได้ถอดแบบสร้างไว้เช่นกัน ก็เริ่มเสาะหาสอบถามดู จึงรู้ว่าท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างไว้หลายรุ่น โดยการถอดพิมพ์จากพระกริ่งบาเก็งนอกมาสร้าง สังเกตรูปแบบองค์พระก็เหมือนกับพระกริ่งบาเก็งนอก สวยงามน่ารัก กรรมวิธีการสร้างก็พิถีพิถันมากตามแบบของพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ จึงเริ่มศึกษาและเสาะหา จึงทราบว่าพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างโดยมีส่วนผสมของเงินบัวยันต์ แล้วเงินบัวยันต์นั้นเป็นอย่างไร? ชักเริ่มสนุกในการค้นคว้าต่อ และทราบว่าเงินบัวยันต์ก็คือเงินกลมหรือเงินพดด้วงของเก่า ซึ่งเลือกเอาเฉพาะอันที่ตอกตราดอกบัว และตรายันต์เท่านั้น ต่อมาลูกศิษย์ของท่านจึงเล่ากันต่อมาว่า มีส่วนผสมเงินบัวยันต์

พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 นั้น ท่านเจ้าคุณศรีฯ ตั้งชื่อว่า "พระกริ่งหลักชัย" สร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 โดยท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้นิมนต์อาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานด้วย ในการผสมเนื้อโลหะก็ใช้ชนวนโลหะพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ของสมเด็จพระสังฆราชฯ มาผสมกับเงินบัวยันต์ จำนวนที่เทมีทั้งสิ้น 162 องค์ การบรรจุเม็ดกริ่งแบบกริ่งในตัว 2 รู วรรณะของเนื้อในแดงออกชมพูกลับเทาขึ้นประกายเงิน พระกริ่งรุ่นนี้ มีบางองค์ตอกโค้ดมีไส้ และโค้ดไม่มีไส้ ใต้ฐานลงเหล็กจารโดยท่านเจ้าคุณศรีฯ ส่วนบางองค์ก็มีที่ไม่ได้ตอกโค้ด

ในปีเดียวกันก็ยังมีพระกริ่งบาเก็ง ของท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างอีกครั้งเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2487 สร้างจำนวน 202 องค์ พิมพ์เดียวกับพระกริ่งรุ่น 1 เนื้อหาก็คล้ายกับรุ่น 1 มาก เพราะใช้ทองชนวนที่เหลือจากการเทรุ่นแรกมาเท แต่มีการตกแต่งที่ใต้ฐานเพื่อให้แยกออกได้ง่ายขึ้น คือมีการปาดใต้ฐานเว้าเข้าไปที่ด้านหลังเล็กน้อย เป็นที่สังเกตในการแยกรุ่นได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็ยังมีการเทพระกริ่งบาเก็งโดยท่านเจ้าคุณศรีฯ อีกหลายรุ่นครับ

พระกริ่งบาเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ โดยส่วนตัวผมชอบมาก ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะของพระ ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดน่ารัก กรรมวิธีการสร้างดี เนื้อหาโลหะเข้มข้น อีกทั้งศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านเจ้าคุณศรีฯ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงชอบมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20236184199650_view_resizing_images_3_.jpg)      พระขุนแผน วัดราษฎร์สามัคคี

วัดราษฎร์สามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแฮ หมู่ 5 ต.หนองเม็ก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นวัดสังกัดมหานิกาย เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 พร้อมกับชุมชนบ้านหนองแฮ

แต่เนื่องเพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชนบท สภาพที่ปรากฏจึงยังคงขาดแคลนในทุกๆด้าน อาทิ ถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่างก็ยัง ไม่มีไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถ กำแพงแก้ว ประตูโขง เป็นต้น ล้วนยังต้องรอเมตตาจิตจากสาธุชนผู้มีจิตอันเป็นกุศลเข้ามาร่วมกันพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรือง

ปัจจุบันมีพระครูสุตศีลวุฒิ หรือพระมหาธรรมวุฒิกร อธิปัญโญ อายุ 33 ปี พรรษา 14 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ถาวรวัตถุที่อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปก่อนสร้างไว้ คือ ศาลาการเปรียญ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จท่านก็มรณภาพไปก่อน ครั้นเมื่อ พระครูสุตศีลวุฒิ มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จึงมีโครงการเร่งด่วน คือ ก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 ด้วยมีความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติศาสนกิจ การก่อสร้างต้องใช้ปัจจัยกว่า 2 ล้านบาท แต่วัดยังขาดแคลนปัจจัยที่จะดำเนินการ

เพื่อให้การก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ วัดพร้อมญาติโยมจึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระขุนแผนเนื้อผง รุ่นเศรษฐีรวยทันใจ" เพื่อให้ญาติโยมเช่าบูชาสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังดังกล่าว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง ที่ให้ความอุปถัมภ์วัดราษฎร์สามัคคีมาโดยตลอด

วัตถุมงคล พระขุนแผนเนื้อผงรุ่นเศรษฐีรวยทันใจ สร้างจากผงพุทธคุณ 108 ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัวอยู่ในซุ้ม ด้านหลังจะมีอักขระยันต์ มะอะอุ 2 แถว และด้านล่างมีอักขระอ่านว่า สุ นะ โม โล เป็นคาถาหัวใจขุนแผนพุทธคุณรอบเด่น

จำนวนการสร้างประกอบด้วยเนื้อมหาว่าน 108 ฝังตะกรุดทองคำและผสมผงงาช้าง สร้าง 38 องค์ บูชา 1,499 บาท เนื้อครูกดนำฤกษ์ สร้าง 38 องค์ บูชา 699 บาท และเนื้อครูกดในพิธี 56 องค์ บูชา 499 บาท

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ก.ย.2561 ภายในศาลาการเปรียญวัดวัดราษฎร์สามัคคี

พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ประกอบด้วย หลวงปู่ขำ เกสาโร, หลวงปู่ทองดำ ฐานะทัตโต วัดหนองโพธิ์ อ.นาเชือก, หลวงปู่บาล วัดหนองโจด จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ภู วัดสระบัวแก้ว จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อหนู สุวรรณโณ วัดอัมพวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, ครูบาโฮม วัดป่าโนนตะคร้อ จ.บุรีรัมย์

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคต เนื่องจากหลวงปู่ขำ พระเกจิชื่อดัง ร่วมพิธีนั่งปรก


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66879697516560_view_resizing_images_1_.jpg)      พระลีลา วัดถ้ำหีบ สุโขทัย เนื้อดินเผา  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อดินเผาของจังหวัดสุโขทัยกรุหนึ่งที่แสดงรูปแบบศิลปะสุโขทัยได้อย่างสวยงามมากคือพระลีลา กรุวัดถ้ำหีบ ที่เป็นศิลปะสกุลช่างสุโขทัย บริสุทธิ์งดงาม ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากครับ

วัดถ้ำหีบเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตั้งอยู่บนเนินเขาในบริเวณเมืองเก่า สถาปัตยกรรมของวัดชำรุดทรุดโทรมจนแทบไม่มีอะไรเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน แต่พระเครื่องที่มีผู้เข้าไปแอบขุดพบในสมัยก่อนนั้นมีศิลปะที่สวยงามมาก และก็เรียกกันตามชื่อวัดว่า “พระลีลาวัดถ้ำหีบ” พระที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่พระเนื้อดินเผาจะมีจำนวนมากกว่า พิมพ์ของพระจะมีพิมพ์หนึ่งที่มีเม็ดไข่ปลา อยู่รอบๆ องค์พระ จะเรียกว่า “พระลีลาข้างเม็ด วัดถ้ำหีบ” สำหรับพระพิมพ์นี้ จะหายากสักหน่อย พบเห็นน้อยมาก

พระลีลา วัดถ้ำหีบ จะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่อง แต่องค์พระนั้นมีศิลปะที่งดงามมาก แสดงศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์ได้อย่างงดงาม พระพักตร์หรือรายละเอียดขององค์พระนั้นจะชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเม็ดพระศก หน้าตาคิ้วคางปากจมูก นิ้วมือ เส้นสายลายจีวร แสดงเป็นเส้นละเอียดชัดเจน พระลีลา วัดถ้ำหีบ ที่พบนี้ส่วนใหญ่จะมีผิวพระที่สมบูรณ์ เข้าใจว่ากรุพระอยู่ในที่สูงจึงไม่ถูกน้ำหรือความชื้นเข้าไปในตัวกรุนัก องค์พระที่พบจึงสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ ผิวของพระเนื้อดินจะมีฝ้านวลกรุจับอยู่บางๆ แสดงถึงอายุความเก่า เรื่องของฝ้านวลกรุของพระเครื่องเนื้อดิน ที่เป็นพระกรุเก่าๆ นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการแสดงถึงอายุของพระนั้นๆ ได้ ฝ้านวลกรุนั้นเกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวพระที่เป็นพระเนื้อดินที่ถูกสัมผัสกับอากาศและความชื้นตามกาลเวลา ถ้าพระที่ออกมาจากกรุและเก็บรักษาไว้อย่างดี เวลาส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นผิวของพระคล้ายมีฝ้านวลจับอยู่บางๆ แต่ถ้าเอามือไปสัมผัสหรือขัดถูฝ้านวลกรุก็จะหายไปทันที และสีของผิวพระก็จะเข้มขึ้น ฝ้านวลกรุนี้เมื่อหายไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ นักอนุรักษ์ในปัจจุบันจึงรักษา ผิวฝ้านวลกรุไว้เป็นอย่างดี และฝ้านวลกรุนี้ถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญก็ยังสามารถแสดงถึงความเก๊แท้ได้ด้วย เนื่องจากของปลอม ทำเลียนแบบนั้นไม่สามารถทำเลียนแบบ ฝ้านวลกรุของแท้ได้ครับ

พระลีลา วัดถ้ำหีบ ที่พบนั้นบางองค์ก็พบแบบที่มีการปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุ แต่ก็พบน้อยมาก พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อเผา ที่พบเป็นเนื้อชินเงินก็มี แต่พบจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อดินเผามาก ถึงแม้ว่าพระลีลา ถ้ำหีบ จะเป็นพระที่มีขนาดเขื่องสักหน่อย แต่ก็เป็นพระกรุ พระเก่าที่มีศิลปะสุโขทัยที่สวยงามมาก ปัจจุบันหาแท้ๆ ก็ยากเช่นกันครับ ของเลียนแบบมีมานานแล้ว แต่ก็ทำได้ไม่ใกล้เคียงนัก เนื่องด้วยพระของแท้นั้นมีรายละเอียดที่คมชัด ส่วนของปลอมจะถอดพิมพ์ออกมาได้ไม่ดีนัก รายละเอียดของพระจะไม่คมชัดได้เท่าพระแท้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลา วัดถ้ำหีบ สุโขทัย เนื้อดินเผา จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2561 15:49:05

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63915651705529_view_resizing_images_1_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นสองปี 2485  เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรก ปี 2460

เหรียญเด่นหลวงพ่อมงคลบพิตร

กล่าวถึงองค์พระพุทธปฏิมา "พระมงคลบพิตร" หรือ "หลวงพ่อมงคลบพิตร" ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 1 ใน 8 องค์ ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุงตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

"วัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตร" ที่มีความโดดเด่นเป็นที่นิยมและแสวงหา แต่ก็หาได้ยากยิ่ง ณ ปัจจุบัน อันดับหนึ่งต้องยกให้ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก" ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุด "เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ"

เหรียญรุ่นแรกนี้จัดสร้างในราวปี พ.ศ.2460-2463 แต่โดยมากจะระบุไว้ที่ "ปี 2460" สร้างโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมงคลบพิตร ซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุง ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่ชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ประการสำคัญคือ เชื่อกันว่าได้ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหาร หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร นอกจากนี้ยังมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และหลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง แต่เนื้อเงินพบเห็นน้อยมาก

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าเป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า "พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา" ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์เฑาะว์

ที่ตามมาติดๆ นั่นก็คือ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485" นับเป็นเหรียญรุ่นที่สอง ซึ่งสร้างพร้อมแหวนยันต์มงคลและเข็มกลัดแจกกรรมการ เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์ "วัดเสนาสนาราม" ที่ขณะนั้นทรุดโทรมมาก ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งพุทธคุณ จากความพิถีพิถันทั้งรูปแบบอันงดงาม การรวบรวมชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ และพิธีกรรมต่างๆ

โดย ฯพณฯ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ พิธีการจัดสร้างถือว่ายิ่งใหญ่มากในยุคนั้น มีการรวบรวมแผ่นทองแผ่นทองแดงที่ให้พระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษร่วมจารอักขระปลุกเสกถึง 121 แผ่น โลหะเครื่องรางโบราณที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณเมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ อีกมากมาย อาทิ "ชินสังขวานร" บนวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดป่าพาย, ทองคำและเนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร, พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย วัดสะพานเงินสะพานทอง, พระชินกำแพงพันจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์, ลูกอมทองแดง วัดพระราม, แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม วัดหิรัญรูจี วัดราชบพิธ วัดกัลยาณมิตร วัดชนะสงคราม และวัดสุทัศน์ เป็นต้น รวมถึงพระเกจิคณาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตล้วนเป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมแห่งยุคทั้งสิ้น

เหรียญรุ่นสองนี้สร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้อทองแดง มีอยู่จำนวนหนึ่งเป็นเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ จะเป็น "พระคะแนน" ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม ทรงห้าเหลี่ยม หูเชื่อม ด้านหน้าจำลององค์หลวงพ่อมงคลบพิตร ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีอักษรขอมจารึกหัวใจพุทธคุณทั้งเก้า คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" ด้านล่างแท่นจารึกนาม "พระมงคลบพิตร อยุธยา" ด้านหลังยกขอบ ตรงกลางเป็น "ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์" ใต้ยันต์บอกวันเดือนปีที่สร้าง"๑๗ กุมภ์ ๒๔๘๕"

สำหรับ "แหวนยันต์มงคล" นั้น มีเนื้อเงิน เนื้อเงินกะไหล่ทองลงยา และเนื้อทองแดงรมดำ ตรงกลางเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยม ภายในมีอักษร ม. ภายใต้อุณาโลม 2 ข้าง ยันต์มีลายกนกประกอบ ซึ่งจำนวนการสร้างไม่มากนัก จึงหายากยิ่งครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35347393900155_view_resizing_images_3_.jpg)      พระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าของจังหวัดชัยนาทที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ จะพบเจอจากกรุต่างๆ ในอำเภอสรรคบุรี กรุที่มีคนรู้จักมากก็คือกรุวัดท้ายย่าน เมืองสรรค์มีวัดเก่าแก่อยู่มากมายและมีชื่อเสียงโด่งดังแทบทุกวัด ในสมัยก่อนก็จะเรียกรวมๆ ว่าพระเมืองสรรค์ พุทธคุณที่โดดเด่นก็ทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด

พระเครื่องเมืองสรรค์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นศิลปะแบบอยุธยาต้นๆ ที่รู้จักกันมากหน่อยและเรียกกันรวมๆ ว่า "พระสรรค์ยืน และพระสรรค์นั่ง" ซึ่งทั้ง 2 แบบก็จะแยกแม่พิมพ์ออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ เช่น พระสรรค์ยืน พระสรรค์ยืนคางเครา พระสรรค์ยืนข้างเม็ด พระสรรค์นั่งไหล่ยก พระสรรค์นั่งไหล่ตรง พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระสรรค์นั่งซุ้มรัศมี กรุที่โด่งดัง ได้แก่ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดส่องคบ เป็นต้น

พระเมืองสรรค์ส่วนใหญ่ที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา มีทั้งที่เป็นเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ พระเนื้อชินเงินก็มี แต่ส่วนใหญ่จะนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่า ในสมัยก่อนที่นิยมกันมากก็จะเป็นพระสรรค์ยืนคางเคราและสรรค์นั่งไหล่ยก ว่ากันว่าเหนียวนัก ชนิดแมลงวันไม่ได้กินเลือด คนชัยนาทจะหวงแหนกันมากครับ พระเมืองสรรค์ที่มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงก็เนื่องมาจากในสมัยโบราณ เมืองสรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน และมักจะต้องปะทะต่อสู้กับศัตรูก่อนที่จะผ่านเข้าเมืองหลวง พระส่วนใหญ่จึงเด่นทางด้านการต่อสู้

พระเครื่องเมืองสรรค์คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงพระเครื่องเนื้อดินเผากันเป็นอันดับแรก แต่ที่จริงพระเมืองสรรค์ก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่ไม่น้อยเช่นกัน และก็มีอยู่ทุกพิมพ์ พระสรรค์นั่งที่นิยมกันมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ก็ต้องยกให้พระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อดินเผา ซึ่งในสมัยก่อนนั้นอาจจะมีประสบการณ์มาก ส่วนพระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน ก็มีแต่อาจจะมีจำนวนน้อยหน่อย ซึ่งมีการพบจำนวนน้อยกว่าเนื่องจากอาจจะชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ตอนแตกกรุออกมาก็เป็นได้ พระสรรค์นั่งเนื้อชินส่วนใหญ่จะพบเป็นพิมพ์ไหล่ตรงมากกว่า พระสรรค์นั่งไหล่ยก จึงไม่ค่อยมีให้พบเห็นกันนัก

พระสรรค์นั่งไหล่ยกเนื้อชินเงิน องค์พระจะค่อนข้างบางกว่าพระสรรค์นั่งพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นไปได้ว่าพระจะชำรุดเสียแต่ในกรุเป็นส่วนใหญ่ จึงพบจำนวนไม่มากนัก จนทำให้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ที่นำมาพูดถึงก็เผื่อท่านไปพบหรือมีอยู่แล้วก็จะได้ภูมิใจว่ามีพระเครื่องที่โด่งดังของเมืองสรรค์มาตั้งแต่ในอดีตครับ

ผมนำรูปพระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน กรุวัดท้ายย่าน จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37078248916400_view_resizing_images_1_.jpg)      พระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาพระเนื้อชินเขียวที่ว่าเป็นพระปลอมทั้งหมดเป็นความจริงหรือไม่? เรื่องพระเนื้อชินเขียวผมเองก็เคยได้ยินมาตั้งแต่เริ่มสนใจพระเครื่องใหม่ๆ คือประมาณ 50 ปีที่แล้ว ก็ได้ยินทั้งที่ว่าเป็นพระแท้และเป็นพระปลอม ฟังดูก็งงไปหมด ในปัจจุบันก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่เช่นเดิม

ผมเองก็ศึกษาดู เห็นว่าพระเนื้อชินเขียวที่มีการยอมรับก็มีอยู่หลายอย่าง และเนื้อหาของพระที่เขายอมรับนั้นคราบไขแสดงความเก่าได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น พระยอดอัฏฐารส พระร่วงทรงเกราะ เป็นต้น สนนราคาก็สูงด้วย แต่พระเนื้อชินเขียวบางอย่างก็ไม่เป็นที่ยอมรับและตีว่าเป็นพระปลอม ลองศึกษาดูก็พบว่าพระที่ว่าเป็นพระปลอมหรือว่าเป็นกรุพะเยานั้น เนื้อหาและคราบไขก็ไม่เก่าจริงๆ เสียด้วย และพระที่ว่าเป็นพระเนื้อชินเขียวปลอมก็มีมากพิมพ์ ล้อพิมพ์ของพระนิยมๆ หลายอย่างทีเดียว

พระชินเขียวที่ว่าเป็นของกรุพะเยาสืบค้นดูที่จังหวัดพะเยาเองก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเป็นของกรุใด สืบทราบต่อมาก็มีข้อมูลว่าเมื่อห้าหกสิบปีก่อนมีกลุ่มที่ผลิตพระเนื้อชินเขียวปลอมที่หมู่บ้านเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้ผลิตพระเนื้อชินเขียวปลอมกันเป็นจำนวนมาก นำพระมาหมักให้เกิดสนิมคราบไขแล้วนำออกขายไปทั่วประเทศโดยอ้างว่าเป็นพระที่พบในกรุจังหวัดพะเยา แต่ก็อาจจะมีผลิตจากแหล่งอื่นๆ อีกหลายแหล่ง แต่ที่แหล่งนี้เป็นแหล่งใหญ่ ลองคิดๆ ดูก็แปลก ทำไมจึงทำปลอมเป็นเนื้อนี้ แสดงว่าพระเนื้อชินเขียวของกรุเก่าๆ นั้นน่าจะมีของแท้จริงๆ และก็มีความนิยมจึงมีผู้คิดทำปลอม

มาดูที่ยอมรับว่าเป็นพระแท้ก็คือพระยอดอัฏฐารส มีหลักฐานชัดเจนว่าขุดพบที่ยอดพระเศียรของพระอัฏฐารส พิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2420 พิมพ์ของพระเป็นพระปางลีลา มีสองหน้า ส่วนใหญ่ด้านหนึ่งจะเป็นพระพุทธรูปปางลีลา อีกด้านจะเป็นรูปซุ้มอรัญญิก พระกรุนี้เป็นเนื้อชินเขียวทั้งสิ้น พระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระนิยมอีกอย่างก็คือ พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย ก็เป็นพระที่ได้รับการยอมรับและมีสนนราคาสูงเช่นกัน พระทั้ง 2 แบบนี้มีผู้นำไปใช้และมีประสบการณ์มากมายทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ดังนั้น จึงได้รับความนิยมและมีราคาสูง ลองพิจารณาคราบไขของพระเนื้อชินเขียวที่ได้รับการยอมรับก็จะเห็นการเกิดของสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนเป็นมันใส พื้นด้านในมักจะมีคราบสีดำเป็นปื้น และมีคราบไขขาวทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง โดยขึ้นซ้อนทับถมกันไปมา มองโดยรวมๆ เหมือนสบู่กรดในสมัยโบราณ และดูออกเป็นสีอมเขียว ประการนี้กระมังคนโบราณจึงเรียกกันว่า เนื้อชินเขียวตัวโลหะของพระชินเขียว สีออกจะดูเทาหม่นๆ คล้ายดีบุก ตามเมืองโบราณทั้งที่เมืองสุโขทัยและอยุธยาก็มีการขุดพบตะปูชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่าตะปูสังฆวานร จะพบตามโบราณสถาน สันนิษฐานว่าเป็นตะปูโบราณที่ใช้ตอกยึดไม้ของสถาปัตยกรรม ในสมัยก่อนก็มีการนำมาใช้เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง และยังมีการพบเงินพดด้วงหรือเงินกลมในสมัยสุโขทัยที่เป็นเนื้อชินเขียวอีกด้วย เนื้อหาและคราบไขก็จะเหมือนกับพระเครื่องเนื้อชินเขียวยอดนิยมที่มีการยอมรับเป็นสากลเช่นเดียวกัน นั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเนื้อชินเขียวของเก่านั้น มีจริง

ในส่วนของพระเนื้อชินเขียวที่เป็นของปลอมล่ะ ก็มีอีกเช่นกัน และมากกว่าของจริงมากมาย ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของปลอมก็ย่อมจะมีมากกว่าของจริง แถมยังมีการทำการล้อพิมพ์ของพระเครื่องกรุเก่าๆ อีกมากมาย ถ้าเราคิดอย่างมีเหตุผลก็จะขอยกตัวอย่างพระสมเด็จพระวัดระฆังฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ก็จะชัดดี ของปลอมนั้นมีมากมาย ทำกันต่อๆ มาหลายยุคหลายสมัย แถมยังมีพิมพ์แปลกๆ อีกมากมาย แน่นอนว่าของปลอมก็ย่อมจะมีมากกว่าของแท้ พระเนื้อชินเขียวก็เช่นกัน ของปลอมมีมามากมายกว่าของจริงมาก แถมพิมพ์แปลกๆ อีกก็เยอะ ในเมื่อมีพระแท้และมีคนนิยมก็ย่อมมีคนทำปลอม

สรุปว่าพระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระแท้มีแน่นอน และที่เป็นพระปลอมก็มาก เวลาพิจารณาก็ต้องดูพิมพ์ เนื้อหา และคราบไขเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากจะแสดงถึงอายุความเก่าได้เป็นอย่างดี ของปลอมยังทำคราบไขให้เก่าแบบของแท้ไม่ได้ ถ้ายังพิจารณาคราบไขไม่เป็นก็ต้องเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85977028144730_view_resizing_images_1_.jpg)      สมเด็จองค์ปฐม วัดสายไหม

"พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" หรือ "พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคลตะกรุดลูกปืน ที่ลูกศิษย์ลูกหานำไปบูชาติดตัวเกิดประสบการณ์มากมาย

ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจากพ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส เมื่อร่ำเรียนได้วิชาความรู้มาแล้ว จึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน

การแจกตะกรุดลูกปืน พระอาจารย์อ๊อดแจกให้ญาติโยมทุกวัน โดยไม่มีการเรียกร้องเงินทอง ส่วนเงินที่ได้จากการบริจาคจะนำไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด และก่อสร้างศาลาหลังใหม่

นอกจากนี้ พระอาจารย์อ๊อด ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก เหรียญเสมารุ่นเสาร์ ๕ โดยใช้มวลสารโลหะจำนวนมาก ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษกและนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม

ล่าสุด พระครูปลัดอิทธิพล จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จองค์ปฐม รุ่น 1 วัดสายไหม 2 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

ลักษณะเป็นเหรียญเสมา หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปองค์พระประธานองค์ปฐม ด้านข้างเหรียญทั้งสองข้างมีอักขระมงคล ใต้ฐานเขียนคำว่า สมเด็จองค์ปฐม

ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนพระอาจารย์อ๊อด นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ขอบบนเหรียญ เขียนคำว่า "สมปรารถนา" ด้านล่างเขียนคำว่า "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม ๒ พระนครศรีอยุธยา รุ่น ๑"

เหรียญทั้งหมดจัดสร้างเป็น 5 เนื้อ อาทิ เนื้อเงิน สร้าง 500 เหรียญ ราคา 999 บาท เนื้อนวะ สร้าง 500 เหรียญ ราคา 499 บาท เนื้อลงยาแดง สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท เนื้อลงยาน้ำเงิน สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท และเนื้อลงยาเขียว สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท

เหรียญมีชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่ออ๊อดมากมาย อาทิ ตะกรุดปลอกลูกปืนรุ่น 1 เนื้อโลหะเก่ากว่า 100 ปี จารอักขระครอบจักรวาล และชนวนมวลสารอีกมากมาย

รายได้สมทบการก่อสร้างวัดสายไหม แห่งที่ 2 สอบถามและสั่งจองเช่าบูชาได้ที่จุดจำหน่ายวัตถุมงคล วัดสายไหม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี รับเหรียญหลังจากออกพรรษาแล้ว


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56491563924484_view_resizing_images_3_.jpg)      เหรียญหล่อ หลวงปู่ปัน

"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมี พระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมาหลวงปูมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี พ.ศ.2560 ชาวบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ สภาพเป็นวัดร้าง

พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร บรรดาคณะศิษย์ นำโดย นายศุภกิจ พิสมัย และพ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปันเพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกฏิและพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ยกขอบ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ปันเต็มองค์ ในท่านั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่พื้นเหรียญจะตอกโค้ดหมายเลขกำกับ ส่วนด้านล่างสุดเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นในทุกด้าน

ด้านหลังเหรียญ มีตัวอักษรเขียนว่า ร.ศ.๒๓๗ เทียบปฏิทินสุริยคติไทยก็เป็นปี พ.ศ.2561 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ล่างสุดเขียน คำว่า หลวงปู่ปัน

เหรียญหล่อ จัดสร้างเป็นเนื้อเงินนำฤกษ์สร้าง 99 เหรียญ นวนำฤกษ์ 99 เหรียญ มหาชนวนนำฤกษ์ผสมชนวนหลวงปู่หมุน 999 เหรียญ เนื้อเงิน 299 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม ถึง 2 ครั้ง หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว ด้วยความที่ท่านมีพุทธาคมประกอบกับเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์ จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตยาว

ติดต่อได้ที่โทร. 08-3095-1110 และ 06-2653-2899


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56974454720814_view_resizing_images_7_.jpg)       เหรียญพญาศรีสัตตนาคราช

พญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชและอานุภาพ โดยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของพญามุจลินท์นาคราช หรือพญานาค 7 เศียร เชื่อกันว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว

หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ พระเกจิชื่อดังภาคอีสาน วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า "พญาศรี สัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง มีฤทธิ์เหนือกว่าพญานาคในแผ่นดินทั้งไทยและลาว แต่ชอบจำศีลภาวนา"

ส่วนพระพญาศรีสุทโธนาคราช เป็นพญานาคฝั่งไทยเศียรเดียว มีนิสัยอ่อนโยนไม่ชอบการต่อสู้ ชอบจำศีลและปฏิบัติธรรม ตามตำนานกล่าวไว้ว่าชอบมาที่วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม

หลวงปู่คำพันธ์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า หากมีพิธีอันใดอยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 232 ปี เมืองนครพนม ได้จัดให้มีพิธีมหาเทวาภิเษกวัตถุมงคล เหรียญพญาศรีสัตตนาคราช รุ่นรวยทรัพย์ รับโชค เพื่อจัดหารายได้เข้ากองทุนสมาคมกีฬา จ.นครพนม และส่วนหนึ่งมอบให้กองทุนพญาศรีสัตตนาคราช

เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูเชื่อม ประกอบด้วยเนื้อทองคำ 1 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทอง เนื้อเงินลงยาแดง ลงยาเหลือง ลงยาชมพู, ลงยาเขียว, ลงยาส้ม ลงยาฟ้า, และเนื้อเงินลงยาม่วง ชนิดละ 232 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์และเนื้อตะกั่วดำ ชนิดละ 1,000 เหรียญ

นอกจากนี้ยังมีเนื้อทองแดงสามกษัตริย์ 2,000 เหรียญ เนื้อทองขาว, เนื้อทองแดงขัดเงา และเนื้อทองทิพย์ขัดเงา ชนิดละ 5,000 เหรียญ เนื้อทองแดงขัดเงาหูเชื่อม, เนื้อทองแดงรมมันปู ชนิดละ 10,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน 2 ชั้น ตรงกลางมีจุดไข่ปลา กลางเหรียญสลักภาพนูนพญาศรี สัตตนาคราช 7 เศียรขดในลำตัวเดียว ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า พญาศรีสัตตนาคราช

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน กลางเหรียญสลักอักขระและยันต์มหาปรารถนา ซึ่งเป็นยันต์ของหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ พระเกจิชื่อดังภาคอีสาน วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ด้านขวาของเหรียญเหนืออุณาโลมตอกโค้ดตัว รร ด้านซ้ายของเหรียญเหนืออุณาโลมสลักนับเบอร์ ๒๑๙ บรรทัดถัดมาสลักชื่อรุ่นว่า รุ่น รวยทรัพย์ รับโชค บรรทัดสุดท้ายสลักปีพุทธศักราชที่สร้าง พ.ศ.๒๕๖๑ รอบขอบเหรียญสลักอักขระยันต์กำกับไว้ มีดอกจันคั่นกลาง

เหรียญรุ่นดังกล่าวประกอบพิธีมหาเทวาภิเษก ในวันที่ 9 เดือน 9 ซึ่งตรงกับวันที่ 9 ก.ย.2561 ที่ผ่านมา มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมาร่วมพิธี อาทิ หลวงปู่สอ ขันติโก อายุ 113 ปี แห่งวัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน และหลวงปู่กลม อภิลาโส วัย 91 ปี ลูกศิษย์หลวงปู่คำพันธ์ วัดโพธิ์ชัย ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ติดต่อได้ที่ลานแลนด์มาร์กพญานาค ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร หรือสอบถามโทร.08-1965-3240, 08-1872-8141


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69880183579193_view_resizing_images_8_.jpg)      เหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรีคือเหรียญของท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณณโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย เป็นเหรียญเก่าแก่มาก แต่มิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงเรื่องราวและประวัติของท่านโดยสังเขปครับ

ประวัติของท่านเจ้าคุณเฒ่านั้นสืบค้นมาได้ไม่มากนัก เท่าที่สืบค้นได้ก็คือ พระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณณโก) ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.2361 เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บวชเป็นเณรอยู่ที่วัดประยุรวงศ์ อยู่ 8 ปี ต่อมาจึงได้อุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ 8 ปี จึงได้ลาสิกขาบทออกมารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับตำแหน่งเป็น "ขุนสาครวิสัย" ในกรมมหาดเล็ก ต่อมาในตอนหลังเมื่อปัจฉิมวัยได้ออกจากราชการและมาบวชอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้ลงเรือมาขึ้นที่หาดทรายหน้าวัดเขาบางทราย ได้รับช่วงภารกิจในการสร้างวัดในบริเวณนี้ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย

วัดเขาบางทรายในช่วงที่ท่านเจ้าคุณเฒ่ามาอยู่นั้นยังเป็นป่ารก บ้านเรือนชาวบ้านแถบชุมชนหน้าวัดยังไม่มี ต่อมาในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดชลบุรี ทรงมีพระราชดำริว่า ท่านเจ้าคุณเฒ่าอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มามากและเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ "พระชลโธปมคุณมุนี"

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อยังเยาว์ก็เคยเรียนอักษรสมัยอยู่กับท่านเจ้าคุณเฒ่าจนอายุได้ 12 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร โดยนิมนต์ท่านเจ้าคุณเฒ่าไปบรรพชาให้ที่วัดช่องลม นาเกลือ เมื่อปี พ.ศ.2426 แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาบางทราย 3 พรรษา พออายุได้ 15 ปี ท่านเจ้าคุณเฒ่าเห็นความสามารถ จึงส่งให้เข้ามาศึกษาอยู่ในวัดราชบพิธฯ กทม. ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2435 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้อุปสมบทที่วัดเขาบางทราย โดยมีท่านเจ้าคุณเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์

ในปี พ.ศ.2442 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้เสด็จนมัสการพระพุทธบาท วัดเขาบางทราย และเสด็จเยี่ยมท่านเจ้าคุณเฒ่าด้วย

ในปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่นั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทวัดเขาบางทราย และเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยม

ท่านเจ้าคุณเฒ่าเป็นบุคคลที่อยู่มาถึง 4 แผ่นดิน คือท่านเกิดในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมามรณภาพในแผ่นดินสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2449 สิริอายุได้ 89 ปี

ในหนังสือ 80 ปี ชลบุรี สุขบท ได้กล่าวไว้ว่า "เหรียญเจ้าคุณเฒ่า" เป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) สร้างขึ้นเป็นเหรียญแรก เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2450 ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ยังดำรงสมณศักดิ์ "พระเทพกวี" มีจุดประสงค์การสร้างเหรียญเจ้าคุณเฒ่า ซึ่งเป็นรูปท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแจกแก่ผู้มาร่วมงานในพระราชทานเพลิง"

เหรียญนี้จึงนับว่าเป็นเหรียญที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดชลบุรีและเป็นเหรียญแรกที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิษฐานจิต เหรียญนี้เป็นเหรียญที่หายาก และเป็นที่หวงแหนของคนเมืองชลครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่ามาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ธันวาคม 2561 12:51:14

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78277403488755_1_1024x768_.jpg)
พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน

"พระสมเด็จจิตรลดา" หรือ "พระกำลังแผ่นดิน" วัตถุมงคลอันทรงคุณค่าสูงส่งและเป็นที่หวงแหนยิ่งนักสำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานที่จะเก็บรักษาไว้สักการะบูชาสืบต่อลูกหลาน ด้วยเหตุผลประการสำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เป็นครั้งแรก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้าง "พระสมเด็จจิตรลดา" ขึ้น เพื่อบรรจุที่ฐานบัวหงายของ "พระพุทธนวราชบพิตร" พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซ.ม. สูง 40 ซ.ม. เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมาด้วยพระองค์เองจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงโปรดให้เททองหล่อเป็นพระพุทธรูปขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2508 และส่งมอบไปยังจังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ.2509

จากนั้นทรงมีพระราชดำริให้สร้างเพิ่มเติม เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพารในพระองค์ที่มีความดีความชอบและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง แต่การสร้างในแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยมาก

เนื้อหามวลสาร

มวลสารประกอบด้วยผงมหามงคลจาก "สิ่งมงคลในส่วนพระองค์" และ "ผงมหามงคลร้อยแปด" อาทิ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต, เส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศา), สีจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์, ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง รวมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยและวัสดุมงคลจากสังเวชนียสถานชมพูทวีปอีกหลายแห่ง

พุทธลักษณะ-พิมพ์ทรง

เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว สีน้ำตาลแก่ มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ มีขนาด 2 X 3 ซ.ม. และพิมพ์เล็ก ขนาด 1.2 X 1.9 ซ.ม. จากจำนวนที่ทรงสร้างทั้งหมดไม่เกิน 3,000 องค์นั้น พิมพ์เล็กมีไม่เกิน 30 องค์ ลักษณะพิมพ์ทรงคมชัด ขอบขององค์พระทั้ง 3 ด้านจะป้านเฉียงออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย ปรากฏรายละเอียดต่างๆ ชัดเจน พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ประทับเหนือดอกบัวบาน 9 กลีบ

แนวทางการพิจารณา
- พระพักตร์ คล้ายผลมะตูม
- พระเกศเด่นชัด
- พระกรรณทั้งสองข้างจะติดชัดเจน และโค้งอ่อนช้อย ยกเว้นทรงสร้างในปี 2508-2509 จะติดไม่เด่นชัด
- พระนาสิกเป็นสันเด่นชัด ยกเว้นที่ทรงสร้างในปี 2508-2509 จะไม่ติดเป็นสันเด่นชัด
- กลีบดอกบัวบานจะอ่อนช้อยได้สัดส่วน ส่วนมากมักมีฟองอากาศเป็นรูปเล็กๆ
- เกสรเหนือกลีบดอกบัวบานจะติดเป็นเม็ดกลมเรียงกันเป็นแถว และฟองอากาศเป็นรูเล็กๆ ยกเว้นที่ทรงสร้างในปี 2508-2509 มักจะไม่ติดเป็นเม็ดกลมและเรียงกันเป็นแถว

ประการสำคัญ ผู้ได้รับพระราชทาน "สมเด็จพระจิตรลดา" ทุกองค์ จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และมีใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) ทุกคนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25559769239690_1_1024x768_.jpg)

เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย วัตถุมงคลของท่านเป็นที่เสาะหาและนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ และตะกรุด ปัจจุบันหายากมาทุกอย่าง มีราคาสูง เนื่องจากประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อมาก อีกทั้งวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มาก

หลวงพ่อแก้วท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณรที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วท่านก็ได้เรียนคันถ์ธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งท่านก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางคนเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี ต่อมา พ.ศ.2430 ชาวบ้านได้มาอาราธนาให้ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขา อีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้นสนนราคาสวยๆ หลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ.2460 นิยมกันมาก และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลมมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38521131252249_1_1024x768_.jpg)

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่เก่าแก่และโด่งดังมากของจังหวัดฉะเชิงเทราก็คือ พระปิดตาของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ สุดยอดแห่งพระปิดตาเมตตามหานิยม และหายากมากในปัจจุบัน ประวัติของหลวงปู่จีนและประวัติวัดไม่มีผู้ใดได้บันทึกไว้ เพียงมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น การสืบค้นจึงทำได้ยากมาก ต้องสอบถามและเก็บข้อมูลจากหลายๆ ที่และประมวลไว้ ตามที่ได้สืบค้นพอจะจับเค้าโครงได้ก็มีดังนี้

วัดท่าลาดเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดท่าลาดเหนือนี้สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจาก พระตะบองได้เป็นผู้สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 เมื่อสร้างวัดเสร็จได้ประมาณปีก็ได้มีพระธุดงค์ผ่านมาด้วยกัน 3 รูป ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ทั้ง 3 องค์ ให้ ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดท่าลาด ต่อมาอีกระยะหนึ่งพระอีก 2 องค์จึงได้ออกธุดงค์ต่อ

พระที่อยู่จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ก็คือหลวงปู่จีน ส่วนประวัติความเป็นมาของท่านในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย เพียงแต่เล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีนเท่านั้น จากการสืบค้นดูท่านเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี และบวชมาจากเพชรบุรี ออกธุดงค์ผ่านมาทางอำเภอพนมสารคาม สันนิษฐานว่าท่านคงเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาด ราวปี พ.ศ.2397 หลวงปู่จีนเป็นพระที่เมตตาธรรมสูง มีความรู้ในด้านวิปัสสนาธุระเป็นอย่างดีได้สั่งสอนอบรมลูกศิษย์ พระเณรอยู่เสมอๆ และท่านยังเก่งกล้าในด้านพุทธาคม อีกทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณก็เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านในแถบนั้นอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในทุกๆ ด้าน ท่านก็ได้ช่วยปัดเป่าให้ทุเลาหายได้ทุกรายได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือและศรัทธามากในย่านนั้น และกิตติคุณของท่านก็ล่วงรู้กันไปทั่วทั้งแปดริ้วและจังหวัดใกล้เคียง จึงทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายต่างหลั่งไหลไปสู่วัดท่าลาดไม่ขาดสาย หลวงปู่จีนเป็นเจ้าอาวาส วัดท่าลาดเหนือสืบจนถึงราวปี พ.ศ.2440 โดยประมาณ ท่านก็มรณภาพที่วัดท่าลาดเหนือ สิริอายุได้ราว 83 ปี

ส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ท่านได้สร้างไว้เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณผสมว่านวิเศษต่างๆ และนำมาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน นำมากดแม่พิมพ์พระปิดตา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่นพิมพ์แข้งหมอน พิมพ์เม็ดกระบก พิมพ์กลีบบัวใหญ่ พิมพ์กลีบบัวเล็ก พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น พระปิดตาของท่านส่วนใหญ่ด้านหลังมักจะอูมเป็นแบบหลังเบี้ยหรือหลังประทุนแทบทุกองค์ และพระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง พระปิดตาของท่านนั้นมีการสร้างด้วยกันหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างนั้นทำได้ยากมาก จึงทำให้ในปัจจุบันหาพระปิดตาของท่านแท้ๆ ยากครับ สนนราคาก็สูงมากตามไปด้วย

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนับเป็นต้นกำเนิดพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของเมืองแปดริ้วเลยทีเดียว พระเกจิอาจารย์สายแปดริ้วที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็ได้สร้างพระปิดตาตามแบบองค์อาจารย์อีกหลายรูปและได้รับความนิยมโด่งดังด้วยเช่นกัน

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ พิมพ์แข้งหมอนใหญ่ มาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67552548398574_1_1024x768_.jpg)
พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ จำลองแบบ
"พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ จำลองแบบ "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้ที่ท่านเคารพศรัทธาอย่างสูง นับเป็นพระสมเด็จรุ่นแรกที่ท่านสร้างและเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัด"

พระธรรมมุนี หรือ "หลวงพ่อแพ เขมังกโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้รับการยกย่องให้เป็น "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย" แม้จะละสังขารไปเกือบ 20 ปี แต่ก็ยังเป็นที่รำลึกนึกถึงเสมอมา

เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2448 ณ บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

จนอายุได้ 16 ปีจึงกลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชา ที่วัดพิกุลทอง มี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นเดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค นัยน์ตาเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์จึงแนะนำไม่ให้ใช้สายตาเพ่งอ่านหนังสือเพราะอาจพิการได้ การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมของท่าน จึงต้องยุติลง

แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา ท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่สำนักพระครูภาวนา วัดพระเชตุพนฯ และยังได้เป็นศิษย์รูปหนึ่งของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ด้วย

เมื่ออายุครบ 21 ปี ในปีพ.ศ.2469 ได้กลับมาอุปสมบท ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกโร" จากนั้นเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง ต่อมาทราบว่าที่ อ.บางระจัน มีพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมและวาจาศักดิ์สิทธิ์นัก ชื่อหลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาอาคมจนแตกฉาน และเป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์ยิ่ง

ปีพ.ศ.2473 อาจารย์หยด พวงมะสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขา ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองจึงนิมนต์ท่านให้รับตำแหน่งในปี พ.ศ.2474 ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 26 ปี ต่อมาได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาสเสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมมุนี"

บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนและตกทุกข์ได้ยาก เปรียบดั่งร่มโพธิ์ ร่มไทร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่ว จวบจนท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2542 สิริอายุ 94 ปี

หลวงพ่อแพเริ่มสร้างพระเครื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2482 ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น สำหรับ "พระสมเด็จทองเหลือง" นั้น นับเป็นพระสมเด็จรุ่นแรก สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2494 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระครูศรีพรหมโสภิต" โดยจำลองแบบพิมพ์จาก "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งท่านเคารพนับถืออย่างสูง จัดสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองแบบเนื้อขันลงหิน มีลักษณะพิเศษคือ จะปรากฏเกล็ดทองทั่วองค์พระ

พระสมเด็จทองเหลืองมี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น ลักษณะเป็นพระเครื่องแบบหล่อโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว ภายในซุ้มครอบแก้ว มีฐานบัลลังก์รองรับ 2 ชั้น ระหว่างฐานทั้งสองจะมีเส้นฐานแซม พระพักตร์แบบผลมะตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อม รัศมีเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาว พระอุระปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจนและยาวลงมาจดพระหัตถ์ ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์ซ้อนกัน 3 ตัว เรียกว่า "ยันต์พุดซ้อน" ใต้ยันต์เป็นอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "ช ย"

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94381322587529_1_1024x768_.jpg)


เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่ เข้มขลังในวิทยาคุณมากจังหวัดหนึ่งที่ตำบลสามไถ อำเภอนครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอด เป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา

เมื่อปีพ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็น เจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปีพ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาท (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปีพ.ศ.2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอม ละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่รอดได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืน ที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11854373166958_view_resizing_images_9_1024x76.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88067020186119_view_resizing_images_10_1024x7.jpg)

พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่ปัน
"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัด เทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมามีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี 2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มา จำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่สภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนักท่านจึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "คศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระผงดวงเศรษฐี หลวงปู่ปัน

วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรม และพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปไข่ขอบเกลียวเชือก บนสุดมีอักขระยันต์ 4 ตัว บริเวณกลางเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงปู่ห่มจีวรเฉียง ล่างสุดเขียนคำว่า หลวงปู่ปัน

ส่วนด้านหลังยกขอบ บนสุดเขียนว่า หลวงปู่ปัน สมฺปนฺนธมฺโม ตรงกลางเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน และตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนคำว่า วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม จ.ขอนแก่น

สำหรับมวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ อาทิ พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่หมุน พระกรุนาดูนปี 2522 ดินกรรมฐานจงกรมหลวงปู่ปัน เกศาหลวงปู่ปัน พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปีพระสมเด็จบางขุนพรหม 108 ปี เป็นต้น

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทูโทนองค์น้ำตาล 99 องค์ เนื้อก้นครกตะกรุดทองคำ 111 องค์ เนื้อก้นครกตะกรุดทองคำคู่ 156 องค์ เนื้อผงพุทธคุณตะกรุดทองคำ 200 องค์ เนื้อผงธูปตะกรุดทองคำ 200 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดเทพนิมิตจันทร์ แสงวนาราม เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปัน อธิษฐานจิตเดี่ยว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์






(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73893488902184_1_1024x768_.jpg)
พระหยกเชียงราย วัดพระแก้ว
พระหยกเชียงราย หรือ "พระพุทธรตนากร" มีชื่อเป็นทางการว่า "พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล" ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ หอพระหยก วัดพระแก้ว พระอารามหลวง จ.เชียงราย วัดเก่าแก่ศิลปะล้านนา เดิมชื่อ "วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่)" ซึ่งเป็นสถานที่พบ "พระแก้วมรกต" แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ชาวเชียงรายจึงเรียกขานนามวัดว่า "วัดพระแก้ว" สืบมา

ตามประวัติกล่าวไว้ว่า...เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1897 สมัยที่ "พระเจ้าสามฝั่งแกน" ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ "พระแก้วมรกต" หลังจากนั้นได้รับการอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ เมืองต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2321 จนถึงปัจจุบัน...

จนถึงปี พ.ศ.2533 เนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชชนนี ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา ในวันที่ 21 ต.ค.2533 และเพื่อ รำลึกถึง "องค์พระแก้วมรกต" ซึ่งมีการค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้จึงได้มีการจัดสร้าง"พระหยกเชียงราย" ขึ้นแทนองค์ "พระแก้วมรกต" อันเป็นที่เคารพศรัทธา พร้อมทั้งเฉลิม พระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงเปรียบประดุจประทีปนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่เมืองเชียงรายในคราวเดียวกัน

พระหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบ ฐานเขียง พุทธศิลปะแบบเชียงแสนทรงเครื่อง ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ซ.ม. สูง 65.9 ซ.ม. ซึ่งเป็นส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับ "พระแก้วมรกต" องค์พระแกะสลักจากหินหยกที่ดีที่สุดของประเทศแคนาดา เครื่องทรงสร้างด้วยอัญมณีและทองคำ รองรับฐานเขียงด้วยฐานบัวศิลปะเชียงแสนที่แกะสลักด้วยหินหยกสูงประมาณ 1 ศอก โดยมี อาจารย์กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งแกะสลักโดยช่าง ผู้ชำนาญที่โรงงานวาลินนานกู ประเทศจีน

เมื่อแล้วเสร็จได้ประกอบพิธีรับมอบ ณ พระวิหารวัดกวางจี้ มหานครปักกิ่ง โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามว่า "พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล" แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ 90 พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสามัญว่า "พระหยกเชียงราย" และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังในวันที่ 20 ก.ย.2534 ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อทรงจุดเทียนชัย ก่อนอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หอพระหยกวัดพระแก้ว ในวันที่ 19 ต.ค.2534 โดยประกอบพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่

"พระหยกเชียงราย" หรือ "พระพุทธ รตนากร" แม้จะเป็นพระพุทธรูปยุคใหม่ แต่นับเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเชียงรายและใกล้เคียงยิ่ง ด้วยถือเป็นองค์แทน "พระแก้วมรกต" อีกทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" มิ่งขวัญของชาวเชียงรายทั้งปวง

นอกจากนี้ ภายในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว ยังประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ "พระเจ้าล้านทอง" พระพุทธปฏิมาที่สวยงามสง่าองค์หนึ่งของไทย รวมทั้ง "พระเจดีย์เก่าแก่" ที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อปี พ.ศ.2478 และ "โฮงหลวงแสงแก้ว" อาคารทรงล้านนาประยุกต์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ เช่น พระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอีกมากมายครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ธันวาคม 2561 12:56:38

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36144522122210_1_1024x768_.jpg)

พระเจ้าทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
ในยุคนี้ ใครไม่รู้จัก "พระเจ้าทันใจ" หรือ "หลวงพ่อทันใจ"นี่ถือว่า "ตกยุค" กันเลยทีเดียว เพราะสาธุชนมากมายนิยมไปกราบสักการะขอพร โดยเชื่อกันว่า "ขออะไรก็มักจะประสบผลภายในเวลา อันรวดเร็ว" สมกับนามขององค์พระพุทธ ปฏิมาจริงๆ

พระเจ้าทันใจนั้นมีการจัดสร้างกันมาแต่โบราณแล้ว จะเห็นได้ตามวัดสำคัญๆ ทางภาคเหนือและภาคอีสานหลาย ต่อหลายวัด โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "จะต้องสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน"

ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพุทธานุภาพแห่งเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา บันดาลให้พิธีกรรมสำเร็จลุล่วงโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ

ประการสำคัญอีกประการของการสร้าง "พระเจ้าทันใจ" คือ จะบรรจุหัวใจพระเจ้า คล้ายกับหัวใจมนุษย์ ตลอดจนวัตถุมงคลและสิ่งของมีค่าต่างๆ ไว้ในองค์พระพุทธปฏิมาด้วย

พระเจ้าทันใจที่จะกล่าวถึงฉบับนี้นับเป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองตาก และจังหวัดใกล้เคียง ประดิษฐาน ณ วิหารเก่า วัดพระบรมธาตุบ้านตาก วัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมเป็นเมืองตากเก่า ที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ก่อนที่จะมีการย้ายเมืองไปอยู่ที่ ต.ระแหง ในปัจจุบัน และในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุนี้ด้วย

ประการสำคัญวัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก เขียนไว้เป็นภาษาเหนือ ความว่า ... สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตาม ลำน้ำปิง เสด็จมายังดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยนี้ด้วย ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง 4 จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ โดยก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมบรรจุไว้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการ พระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงได้จำแบบมาก่อสร้างคลุมพระเจดีย์องค์เก่าไว้และปิดทองสวยงาม ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ "ปีมะเมีย"

พระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองคำเปลว ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว สร้างตามกฎเกณฑ์ "การสร้างพระเจ้าทันใจ ไม่ว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไร ต้องสร้างให้เสร็จในช่วงเวลา 1 ราตรี" จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านในละแวกนั้นได้เป็นอย่างดี

ดังที่ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน) เจ้าอาวาสวัด ได้กล่าวว่า "... ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด "พระครูบาตา" อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ปรึกษากับญาติโยมว่ามีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก 1 องค์ โดยศรัทธาญาติโยมพร้อมใจร่วมกันนุ่งขาวห่มขาว แล้วเริ่มก่อพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก 1 วัน กับ 1 คืน เสร็จพอดี โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า "พระเจ้าทันใจ" เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐานขออะไร ก็ได้สมความปรารถนาทุกสิ่งทุกประการ ..."

พระเจ้าทันใจ ณ วิหารเก่า วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ไม่เพียงแต่ดลบันดาลในเรื่องหน้าที่การงาน การเงิน ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น ยังรวมไปถึงเรื่องความรัก คู่ครอง และการขอบุตร โดยเชื่อกันว่าเมื่อทำเสร็จเร็วทันใจ การอธิษฐานขอพรก็จะบรรลุผลเวลาอันรวดเร็วทันใจเช่นกันครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66511500047312_1_1024x768_.jpg)

เหรียญพระคันธารราษฎร์
หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ หรือ พระครูอุทิศธรรมรส พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองอุทัยธานี

ปัจจุบัน สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60 เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงปู่ธูป เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี, หลวงพ่อมา วัดมะพร้าวสูง, หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก เป็นต้น

เมื่อปี พ.ศ.2516 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 โบราณถือว่าเป็นวันฤกษ์แข็ง เหมาะสำหรับการประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง

ในครั้งนั้น นายอำเภอทัพทัน ได้มาขอให้ประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในวันดังกล่าว โดยเชิญ นายไพฑูรย์ เก่งสกุล ผู้ว่าฯอุทัยธานี ในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธี

พระคณาจารย์ที่ร่วมนั่งปรก อาทิ พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, อาจารย์ขาว วัดเขาอ้อ และอีกมากมาย ประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถวัดเขาปฐวี ภายในถ้ำเขาปฐวี พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เรียกว่า "เหรียญพระคันธารราษฎร์" เป็นพระศิลปะแบบอินเดีย จีวรริ้ว ยกพระหัตถ์ประทานพร ทำจากเนื้อทองวรรณะเหลือง รมดำ มี 2 แบบ เป็นรูปลอยองค์มีกริ่ง สร้าง 8,000 องค์ และเป็นเหรียญรูปไข่ 30,000 เหรียญ

สำหรับเหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองวรรณะเหลือง รมดำ ขนาด 1.5x2.6 เซนติเมตร

ด้านหน้า มีขอบรอบวง ยกซุ้มห่วง มีพระคันธารราษฎร์ยกพระหัตถ์ประทานพร นั่งอยู่กลางเหรียญ ด้านซ้ายมือขององค์พระ มีพระอาทิตย์กำลังส่องแสงมีเมฆลอยอยู่ด้านข้าง

ด้านหลัง มีขอบเพียงเล็กน้อย กลางเหรียญเป็นยันต์ห้า มีอักขระขอม "นะโม พุท ธายะ" กำกับด้วยอุณาโลม 3 ยอด ด้านล่างของยันต์ มีอักขระขอม "นะ อุ อะ มะ" ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ล่างสุดมีตัวหนังสือเขียนว่า "พุทธาภิเศก วัดเขาปฐวี ๒๕๑๖"

กล่าวกันในหมู่แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในเมืองอุทัยธานี ว่า เหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากันกะเก็งว่า วัตถุมงคลรุ่นนี้จะได้รับความนิยมสูง

เป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71079975656337_1_1024x768__tn.jpg)

เหรียญ พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวินัยธรรม (อินทร์ ปัญญาทีโป) วัดสัตตนารถปริวัตร ราชบุรี พระสงฆ์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง และท่านได้เป็นผู้ที่ปลุกเสกเหรียญเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี คือ เหรียญพระพุทธวิริยากร (จิตร) ฉันโน) วัดสัตตนารถปริวัตร หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกกันว่า เหรียญเต่า ซึ่งเป็นเหรียญที่แจกในงานพิธีศพของพระพุทธวิริยากร (จิตร)

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาคือหลวงวิสาหภัคดี (เพชร) โยมมารดาชื่อทิม ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนที่สำนักพะเนินพลู ต่อมาได้มาบรรพชาเป็นสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ที่วัดอัมรินทราราม (วัดตาลอัมรินทร์) จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2421 จึงได้อุปสมบทที่วัดอัมรินทราราม โดยมีพระสมุทรมุนี (หน่าย) วัดอัม รินทราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์จิตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

กระทั่งพรรษาที่ 6 ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์มาอยู่ที่วัดสัตตนารถ และในปี พ.ศ.2433 ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในทินนาม "พระครูวินัยธรรม"

หลวงพ่อพระครูวินัยธรรมสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐานและฝึกฝนจนสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่ออินทร์ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถมาโดยตลอดจนหลวงพ่อหน่ายมรณภาพ และพระพุทธวิรากร (จิตร) มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อจิตรก็มรณภาพ ในงานพิธีศพหลวงพ่อจิตรได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึก ที่มักเรียกกันว่า เหรียญเต่า เนื่องจากรูปเหรียญขอบด้านข้างมีขอบยื่นออกมาทำให้มองดูรูปเหรียญแล้วคล้ายๆ รูปเต่า เหรียญนี้หลวงพ่ออินทร์ท่านเป็นผู้ปลุกเสก

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 หลวงพ่ออินทร์มีอายุครบ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้านจึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานทำบุญอายุ โดยสร้างด้วยกัน 2 แบบ คือด้านหลังจะต่างกันที่ตัวหนังสือ "พ.ศ.๒๔๗๓" มีแบบตัวหนังสือตรงกับตัวหนังสือโค้ง ด้านข้างของเหรียญจะเป็นขอบข้างเลื่อย บล็อกหลังหนังสือตรงจะมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ได้รับไปจะเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด ว่ากันว่าบล็อกนี้เป็นบล็อกที่สร้างครั้งแรก และในปีเดียวกันก็ได้สร้างอีกครั้งเป็นบล็อกหลังหนังสือโค้ง เนื่องจากเหรียญหนังสือตรงที่แจกไปนั้นไม่เพียงพอ ยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับอีกมากจึงต้องสร้างเพิ่ม แต่ด้านหลังจะเป็นตัวหนังสือโค้ง เหรียญหนังสือตรงจะมีจำนวนน้อย ส่วนเหรียญหนังสือโค้งจะมีมากกว่า ซึ่งบล็อกหนังสือโค้งส่วนหนึ่งที่เหลือจากการแจกให้แก่ศิษย์ไปแล้วท่านได้เก็บรักษาไว้ เพื่อแจกในงานศพของท่าน

พระวินัยธรรม (อินทร์) มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

เหรียญพระวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรกปัจจุบันหายากพอสมควรครับ โดยเฉพาะเหรียญบล็อกหลังหนังสือตรง ซึ่งสร้างจำนวนน้อยกว่า แต่เหรียญข้างเลื่อยของทั้ง 2 บล็อกก็หายากเช่นกันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญ พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถ บล็อกหนังสือตรง (นิยม) มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17950664915972_1_1024x768_.jpg)

เหรียญเสมาหลวงพ่อณรงค์
"หลวงพ่อณรงค์ สาโม" ประธานสงฆ์วัดมงคลนิมิต บ้านโนนเมือง ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ปัจจุบันสิริอายุ 68 พรรษา 48

เกิดปีพ.ศ.2493 ที่บ้านเขวาทุ่ง ต.ภารแอ่น อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา หลังจบชั้นประถมศึกษา ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง

ในปี พ.ศ.2514 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย มีพระครูพินิจพยัคฆภูมิ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย ที่วัดหนองห้าง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และจบปริญญาตรีศาสนศาสตรบัณฑิต มหามกุฏราชวิทยาลัย

นอกจากนี้ ยังฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานอีกหลายท่าน อาทิ หลวงปู่มี กันตสีโล อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นต้น อีกทั้งยังศึกษาค้นคว้าจากสมุดข่อย-ใบลาน จนมีความเชี่ยวชาญในการทำตะกรุดโทน

สำหรับวัดมงคลนิมิต นับเป็นวัดในชนบทที่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการหลายอย่าง ซึ่งหลวงพ่อณรงค์ก็ได้ร่วมกับญาติโยม พยายามทุ่มเทกำลังกายกำลังใจพัฒนาวัดแห่งนี้อย่างเต็มที่ แต่ถาวรวัตถุที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ ศาลาการเปรียญ เนื่องจากยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อณรงค์

ในปี พ.ศ.2560 จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญเสมารูปเหมือนรุ่นแรก มอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมทำบุญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัยและมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อพุทธชัยมงคล ซึ่งเป็นพระประธานประจำวัด ด้านล่างสุดเขียนว่า รุ่น ๑-๒๓ พ.ค.๖๐

ด้านหลัง จากด้านขวาลงไปด้านล่างวนไปด้านซ้าย เขียนว่า "วัดมงคลนิมิต บ้านโนนเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อณรงค์ ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ใต้รูปเหมือนมีอักขระยันต์

จัดสร้างเฉพาะเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียวจำนวน 1,000 เหรียญ หลวงพ่อณรงค์ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวภายในกุฏิของท่านตลอดพรรษา จากนั้นได้มอบให้ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศาลาการเปรียญกับวัด

สอบถามได้ตามศูนย์พระเครื่อง ใน อ.พยัคฆภูมิพิสัย และตัวเมืองมหาสารคาม

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22144822238220_1_1024x768_.jpg)

พระปิดตา พิมพ์ท้องแฟบ ของหลวงปู่นาค
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาที่โด่งดังมากของจังหวัดนครปฐม ก็คือพระปิดตาของ หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ ค่านิยมสูงมาก เรื่องพุทธคุณนั้นมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ส่วนมากก็เก็บไว้เป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน

หลวงปู่นาคเกิดเมื่อปี พ.ศ.2358 พออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายาว่า "โชติโก" จำพรรษาอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จนถึงปี พ.ศ.2432 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากรัชกาลที่ 5 ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ที่ "พระครูปาจิณทิศบริหาร" ตำแหน่งเจ้าคณะรองเมืองนครชัยศรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2441 ท่านจึงได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ในพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์ โดยตั้งห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ 1 ก.ม. แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2443 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ชื่อว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" ต่อมาก็เป็น "วัดห้วยจระเข้" จนทุกวันนี้ โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

หลวงปู่นาคเป็นผู้มีความรู้แตกฉานทั้งหนังสือไทย ขอม และบาลี และมีปฏิปทา มีศีลจารวัตรอันงดงาม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร ทายก ทายิกา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นอย่างมาก ท่านปกครองวัดห้วยจระเข้นานถึง 11 ปี และมรณภาพในปี พ.ศ.2452

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อโลหะอันมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านเริ่มสร้างประมาณในปี พ.ศ.2432 ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในสมัยแรกๆ มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน

ต่อมาท่านได้เริ่มสร้างเป็นเนื้อเมฆพัด ซึ่งเป็นเนื้อมาตรฐานที่นิยมกันในปัจจุบัน เนื้อโลหะเมฆพัดนี้เกิดจากการนำแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วยกำมะถัน มีสีดำเป็นมัน แววเป็นสีคราม มีพิมพ์ท้องแฟบ พิมพ์ท้องป่อง

พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคนี้ท่านจะสร้างเองภายในวัด เนื้อพระจะเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ เคลือบเขียวสวยงาม น้ำหนักตึงมือ ที่สำคัญจะไม่ปรากฏรอยพรุนของโพรงอากาศเลย เนื้อเรียบสนิท บริเวณนิ้วพระหัตถ์จะมีรอยตะไบตกแต่ง และมีรอยจารอักขระซึ่งหลวงปู่นาคจารด้วยตัวเองทุกองค์ โดยท่านจะลงตัวนะคงคา อันเป็นนะสำคัญ ซึ่งต้องระเบิดน้ำลงไปลงอักขระ และท่านจะปลุกเสกเดี่ยวของท่านทุกองค์

พระปิดตาหลวงปู่นาคแฝงเร้นด้วยพลังอันเข้มขลัง ทั้งอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือกันทั่ว ปัจจุบันมีราคาสูงและหายากมากๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา พิมพ์ท้องแฟบ ของหลวงปู่นาคมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97425058028764_1_1024x768_.jpg)

เหรียญหลวงปู่สอน
หลวงปู่สอน สุนทโร หรือ พระสุนทรธรรมภาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองเหล็ก และอดีตเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2463 ณ บ้านหนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

จากนั้นฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เพื่อศึกษาวิทยาคม

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2546 สิริอายุ 83 ปี พรรษา 62

วัตถุมงคลที่เป็นสุดยอดปรารถนา คือ เหรียญกลมรูปเหมือน รุ่นแรกปี 2528

วัดหนองเหล็ก จัดสร้างขึ้นเมื่อครั้งอายุครบ 65 ปี ที่ระลึกกฐินและผ้าป่าสมทบทุนสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการ

เป็นเหรียญกลมเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญยกขอบ มีจุดไข่ปลารอบเหรียญ ด้านในขอบเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ด้านล่างมีตัวหนังสือ เขียนคำว่า "หลวงพ่อพระครูพิศิษฎ์ธรรมาจารย์" สมณศักดิ์ขณะนั้น

ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบใต้ห่วงเหรียญ เขียนคำว่า "วัดบ้านหนองเหล็ก" เริ่มจากด้านซ้ายลงไปด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านขวาของเหรียญ เขียนคำว่า "ต.หนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม" ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระ และมีตัวเลข "๒๕๒๘" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา

ร่ำลือกันว่าพุทธศาสนิกชนผู้ที่ห้อยเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ล้วนแต่มีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย

ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยอยู่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64106759180625_1_1024x768_.jpg)

เหรียญพระครูวิชัยกันทรารักษ์
พระครูวิชัยกันทรารักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาวาส และอดีตเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์สืบสายธรรมจากพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) บูรพาจารย์รุ่นเก่า

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ณ บ้านส้มป่อย ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทร วิชัย จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสุวรรณมงคล บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2510 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 75 ปี พรรษา 55

เมื่อครั้งมีชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลน้อยชิ้น ส่วนใหญ่จะเป็นตะกรุดดอกเล็ก จำนวนการสร้างไม่แน่นอน

หลังมรณภาพ ผ่านไป 1 ปี วัดสุวรรณาวาสจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้น

เป็นเหรียญรูปใบเสมา มีหูห่วง สร้างประมาณ 3,000 เหรียญ เนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว

ด้านหน้า เป็นลายกนกสวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนพระครูวิชัย กันทรารักษ์ครึ่งองค์ ด้านซ้ายโค้งลงไป ทางด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า "พระครูวิชัยกันทรารักษ์"

หลังเหรียญ เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ นะโมพุทธายะ มียันต์อุณาโลมปิด ตรงกลางยันต์มียันต์น้ำเต้าองค์พระ เป็นคาถาเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ที่ใต้อักขระเขียนว่า "เจ้าคณะอำเภอกันทราวิชัย" (ช่างแกะบล็อกผิดที่ถูกเป็นกันทรวิชัย) "๗ เม.ย.๒๕๑๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูปร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร บ้านศรีสุข, หลวงปุ่บุญจันทร์ สุญาโณ วัดหนองผักแว่น เป็นต้น

ปัจจุบันราคาเช่าหาในพื้นที่ยังไม่สูง เป็นเหรียญดีราคาถูก

จึงเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่นักสะสมนิยมพระเครื่องในพื้นที่



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68315065941876_1_1024x768_.jpg)

เหรียญระฆังไหว้ครูหลวงปู่ตี๋
หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ หรือ พระครูอุทัยธรรมกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสะแกกรัง เจ้าตำรับสุดยอดเครื่องรางตะกรุดโทนอันลือเลื่อง

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู, หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว, หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่ท่านได้มีโอกาสเข้าไปกราบฝากตัวเป็นศิษย์อีกหลายท่าน

เป็นชาวอุทัยธานี เกิดในสกุล แซ่ตั้ง เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2455

อุปสมบท เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2476 ณ พัทธสีมา วัดธรรมโฆษก (โรงโค) มีพระสุนทรมุนี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

เอกลักษณ์ คือ การพูดตรงไปตรงมา เป็นวาจาเสมือนเนื้อของหัวใจ ปากกับใจตรงกัน ท่านไม่เคยแสดงตัวโอ้อวด แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่นิยมกันในวงการพระเครื่อง

วันที่ 1 มี.ค.2546 เวลา 11.57 น. มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุ 91 พรรษา 71

ทุกปีเมื่อครบวันมรณภาพ คณะศิษยานุศิษย์จะร่วมกันสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าสบงจีวรให้สังขารของหลวงปู่

ย้อนไปในปี พ.ศ.2545 หลวงปู่ตี๋ จัดงานไหว้ครูประจำปี พร้อมมอบให้นายสมมุติ เกษมุติ หลานชาย จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญระฆังที่ระลึกงานไหว้ครู" โดยจัดสร้างเป็นเนื้อเงิน ขัดเงา 500 เหรียญ, เนื้อ ทองแดง ขัดเงา 5,000 เหรียญ นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย ของหลวงปู่ตี๋

ลักษณะวัตถุมงคล เป็นเหรียญรูปทรงระฆัง หูห่วงตัน

ด้านหน้าที่ขอบเป็นระฆังเป็นลายกนก ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงปู่ตี๋เต็มองค์ นั่งสมาธิ ที่ขอบระฆังด้านล่าง มีอักษรไทย "พระครูอุทัยธรรมกิจ(หลวงปู่ตี๋)"

ส่วนด้านหลัง ขอบเป็นรูปซุ้มระฆัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระขอม "นะ ใหญ่" หรือ "นะ เศรษฐี" ใต้ล่างกำกับด้วย อักขระขอม "สะ สะ ลิ เต" ส่วนด้านบน มีอักขระขอม " อิ สะ หวา สุ สุ สะ อิ สะ หวา สุ " ด้านล่างมีอักษรไทย "วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี" ตอกโค้ด "นะ" และเลขอารบิก ลำดับองค์พระ

เหรียญรุ่นนี้ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ผู้เช่าบูชาไปห้อยคอต่างพบประสบการณ์ เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่คนกล่าวขวัญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74692867944637_1_1024x768_.jpg)

พระกรุวัดบางยี่หน พิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระดีราคาไม่สูงกันดีกว่านะครับ พระที่จะพูดถึงนี้คือพระกรุวัดบางยี่หน สุพรรณบุรี พระกรุเนื้อดินที่มีประสบการณ์สูง ราคาไม่แพงครับ

วัดบางยี่หนเป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ปากคลองยี่หน ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี คลองยี่หนเป็นคลองขุดมาแต่สมัยโบราณ มีประตูระบายน้ำ ของกรมชลประทาน ที่เรียกว่า ประตูน้ำบางยี่หน

ในปี พ.ศ.2504 มีการแตกกรุของพระเครื่องวัดนี้ เนื่องจากมีคนร้ายลักลอบเข้ามาขุดองค์พระเจดีย์ คาดว่าน่าเป็นคนต่างถิ่นที่ทำมาค้าขายทางเรือ เมื่อผ่านมาก็เกิดความโลภหวังจะเข้าลักลอบขุดเจดีย์เพื่อหาสมบัติและพระเครื่องไปขายในเวลากลางคืน แต่สุนัขของวัดเกิดเห่ากันเสียงดัง จนท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้น คือพระอาจารย์พ่วงได้ยินและตื่นขึ้นมา จึงหยิบไฟฉายไปส่องดู ปรากฏกลุ่มคนวิ่งหนีออกไป ท่านอาจารย์พ่วงจึงไปสำรวจดูพร้อมพระลูกวัดก็พบว่าองค์พระเจดีย์ถูกเจาะเป็นโพรง และมีพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมาก จึงได้จัดเวรยามเฝ้าไว้ พอรุ่งเช้าก็ได้นำพระเครื่องทั้งหมดขึ้นมาจากกรุมาเก็บรักษาไว้

พระเครื่องที่พบนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา และมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสน ไม่ได้มีบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในแถบละแวกวัด ก็พอจะจับใจความได้ว่า หลวงตาหยัด ผู้คงแก่เรียนทางพุทธาคมเป็นผู้ที่สร้างไว้ และได้นำพระทั้งหมดไปขอให้หลวงพ่อแก้ว วัดสวนหงส์ ปลุกเสกให้อีกทีหนึ่ง

ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานในสมัยนั้น และท่านก็ยังสนิทสนมกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อยมาก สรุปพอสืบความได้ว่าพระกรุวัดบางยี่หนเป็นพระที่หลวงตาหยัดได้สร้างไว้ และหลวงพ่อแก้ว วัดสวนหงส์ได้ปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย

หลังจากที่ พระอาจารย์พ่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางยี่หนได้นำพระทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ก็ได้ มีชาวบ้านและประชาชนทั่วไปได้ไปขอรับพระเครื่องดังกล่าวไปจำนวนมาก เนื่องจากมีผู้ที่ได้พระไปบางคนนำพระไปทดลองยิง และยิงไม่ออกข่าวได้แพร่ออกไปก็มีคนเข้าไปขอพระกรุนี้ไปเป็นจำนวนมากจนพระหมดไปจากวัดบางยี่หน

พระกรุวัดบางยี่หนเป็นพระเครื่องที่นับว่าเป็นของดีราคาถูก พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพง เนื่องจากจำนวนพระมีจำนวนมากพอแบ่งกันได้ ราคาจึงยังไม่สูง แต่ปัจจุบันก็เริ่มไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกรุวัดบางยี่หนมาให้ชมทั้งพิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสนครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22932401465044_1_1024x768_.jpg)

พระ"อู่-แสน-สุข"
พระครูสังฆรักษ์ประสิทธิ์ สิทธิโก หรือ หลวงพ่อประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี จัดสร้าง "พระพุทธรูปบูชา 3 สมัย เชียงแสน-อู่ทอง-สุโขทัย" ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เพื่อมอบให้กับเจ้าภาพกองกฐินสามัคคี ไตรพิเศษ จำนวน 9 ไตร

พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปเชียงแสนต้นแบบ จะเป็นเนื้อสำริด เป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ ส่วนของที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างนั้นเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อว่าบ้านใดมีพุทธรูปศิลปะเชียงแสนบูชาจะเกิดสินทรัพย์นับแสน

พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่ขึ้นชื่องดงาม คือ "พระพุทธชินราช" วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปสำริด ปิดทองปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ สำหรับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างนั้นเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อกันว่าบ้านใดมีพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยบูชา จะเกิดความสุขพูนทวี

พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง มีลักษณะพระวรกายสูงชะลูด พระพักตร์ขึงขัง ส่วนใหญ่สร้างเป็นปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ สำหรับที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อว่าบ้านใดมีพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองบูชา จะเกิดแหล่งที่รวมธนสารสมบัติ

พระครูสังฆรักประสิทธิ์กล่าวว่า ในอดีตการบูชาพระพุทธรูปในบ้านของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นเครื่องระลึกในการทำความดีนั้น นักสะสมนิยมจัดหาพระบูชาสามศิลปะเพื่อให้ครบชุด "มหาไตรภาคี" สำหรับบูชาในบ้าน พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย รวมเรียกนามมงคลว่า "อู่-แสน-สุข"

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดมงคลเป็นแหล่งรวมธนสารสมบัติ มีทรัพย์นับแสน และเกิดความสุขพูนทวี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน

สำหรับพระพุทธรูปตามมงคล "อู่-แสน-สุข" หลวงพ่อประสิทธิ์ตั้งใจจัดสร้าง 1 พรรษา เพื่อให้ญาติโยมได้มาบูชาในช่วงเทศกาลปีใหม่ของไทยนำไปให้กับญาติ หรือผู้ที่เคารพนับถือ เป็นสิ่งมงคลยิ่งกับตัวเองและครอบครัวทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้วยองค์พระทั้ง 3 องค์ ก็มีพุทธคุณที่เป็นมงคลอยู่แล้ว ประกอบกับหลวงพ่อประสิทธิ์สวดมนต์ภาวนาอธิษฐานจิต เช้า-เย็น ตลอดพรรษาจึงเป็นพระพุทธรูปบูชาที่ทรงคุณค่ายิ่ง

สอบถามหรือเช่าบูชาได้ที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) ปัจจัยที่ได้ทั้งหมดนำไปบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ และหอระฆัง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ธันวาคม 2561 13:01:36

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94933580979704_1_1024x768_.jpg)

พระสมเด็จเนื้อผงรุ่น 1 หลวงปู่ปัน
"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันสิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมด้วย

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัวจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน

ต่อมามีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี 2560 ญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตรจันทร์แสงวนาราม เห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ ภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "ศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระสมเด็จเนื้อผง รุ่น 1

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมและพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางนั่งสมาธิ

ด้านหลังปั๊มตัวอักษรข้อความว่า หลวงปู่ปัน วัดเทพนิมิต จ.ขอนแก่น หมึกที่ปั๊มมี 2 สี คือสีน้ำเงิน สร้าง 1 พันองค์ หมึกสีแดง สร้าง 2 พันองค์ หลวงปู่ปัน จารอักขระทุกองค์ จำนวนการสร้างรวม 3 พันองค์

มวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคล อาทิ พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่หมุน พระกรุนาดูนปี 2522 ดินกรรมฐานฯจงกรมหลวงปู่ปัน เกศาหลวงปู่ปัน พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปีพระสมเด็จบางขุนพรหม 108 ปี เป็นต้น สำหรับจำนวนการสร้างรวม 3 พันองค์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43693346116277_1_1024x768_.jpg)

พระปิดตาพิชัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาพิชัย ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่มีหลักฐานบันทึกหรือการพบที่กรุพระเจดีย์ของวัดใด เนื่องจากพบกระจัดกระจายพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน ตามบริเวณทุ่งนาที่แถวคลองตะเคียน และบริเวณที่พบนั้นเป็นโคกดินยังพบเศษอิฐเก่าอยู่ปะปนในบริเวณนั้นด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าเล็กๆ ที่เสื่อมสภาพลงภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง พระทั้งสองแบบนี้มีเนื้อหาและลักษณะการจารที่องค์พระแบบเดียวกัน จึงทำให้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างน่าจะเป็นคนเดียวกันและสร้างในคราวเดียวกัน

ก็มีคำถามอยู่เรื่องหนึ่งว่าทำไม จึงตั้งชื่อพระปิดตาแบบนี้ว่า พระปิดตาพิชัย ทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระปิดตาคลองตะเคียน หรือพระยาพิชัยดาบหักมีส่วนในการสร้างพระไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับพม่า แต่พระกริ่งคลองตะเคียนทำไมไม่ตั้งชื่อว่า พระกริ่งพิชัยด้วยเล่า เรื่องนี้ก็คงต้องค้นคว้าศึกษาต่อไปนะครับ

ครับเราลองมาดูประวัติของท่านพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อกันสักหน่อยนะครับ ท่านเป็นชาวเมืองพิชัยโดยกำเนิด ซึ่งท่านได้รับราชการทำการกู้ชาติ สร้างวีรกรรมอย่างห้าวหาญในการกอบกู้อิสรภาพฐานะทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าเมืองพิชัย

ครั้นถึงปี พ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพิ่งเสร็จศึกทางด้านเขมรลงมาใหม่ๆ กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่เชียงใหม่ได้รุกดินแดนทางเหนือลงมาอีกครั้ง จนถึงกับตั้งล้อมเมืองพิชัยเอาไว้ (เมืองพิชัยเดิมคือเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) พระยาพิชัยได้จัดการป้องกันเมืองอย่างเต็มความสามารถ และเจ้าพระยาสุรีสีห์ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยการรบในครั้งนั้น ไทยกับพม่าได้ต่อสู้โรมรันกันถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพพม่ามิอาจจะทนทานได้ก็แตกทัพกลับไป พระยาพิชัยท่านได้รบอย่างสุดกำลังด้วยดาบสองมือ ได้ห้ำหั่นบั่นคอข้าศึกเสียเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งดาบในมือขวาถึงกับหักสะบั้น จึงได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" เป็นเกียรติประวัติสืบมา ด้วยคุณความดีและวีรกรรมของท่านชาวจังหวัดอุตรดิตถ์จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้จดจำสืบต่อไป และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2513

จะเป็นด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านซึ่งเป็นนักรบที่กล้าหาญกรำศึกมาอย่างโชกโชน มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ซึ่งการรบพุ่งในสมัยนั้นถึงขั้นประชิดตัวกันเข้าทำนองมึงทีกูที ดังนั้นในสมัยก่อนเมื่อทำการศึกก็ต้องรบประชิดติดตัวกัน จะอาศัยกำลังฝีมือแต่ประการเดียวเห็นทีจะเอาตัวรอดยาก เข้าทำนองสาดน้ำรดกันย่อมจะต้องเปียกมากหรือเปียกน้อยด้วยกันทั้งคู่ แต่ท่านพระยาพิชัยท่านก็ปลอดภัยมาโดยตลอด นอกจากท่านจะมีฝีมือเพลงดาบแล้ว ท่านก็คงมีวิชาดี หนังเหนียวเป็นเยี่ยมเช่นกัน แต่ท่านจะอยู่คงด้วยคาถาหรือเครื่องรางอันใดนั้นคงไม่ทราบ

แต่ก็มีพระเครื่องปิดตาของอยุธยาแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นเก่าๆ ต่างขนานนามว่า "พระปิดตาพิชัย" สันนิษฐานว่า เมื่อมีผู้พบพระเครื่องชนิดนี้และมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง อย่างมากจนเป็นที่ประจักษ์ กล่าวขวัญเล่าลือกันไปทั่วคุ้งน้ำ หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติฯ ท่านยังกล่าวว่า ท่านเองก็ยังเห็นกับตา และยกย่องพระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยว่า เชื่อถือได้จริง ด้วยสาเหตุนี้กระมังคนโบราณจึงนำชื่อท่านพระยาพิชัยมาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อพระเครื่องชนิดนี้ว่า "พระปิดตาพิชัย"

ครับ พระปิดตาพิชัยนั้น ประวัติความเป็นมาถึงผู้สร้างยังไม่ชัดเจนนัก แต่ประสบการณ์ที่ประจักษ์นั้นแน่นอนนัก เป็นที่ยอมรับกันถ้วนหน้าครับ พระปิดตาพิชัยมีทั้งที่เป็นแบบหน้าเดียว สองหน้า สามหน้าและสี่หน้าครับ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำสนิท และที่พบเป็นสีออกแดงก็มีบ้างแต่พบน้อยครับ

พระปิดตาพิชัยในปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ แต่พระแท้ๆ ก็หาไม่ง่าย วันนี้นำรูปพระปิดตาพิชัยมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16570034498969_1_1024x768_.jpg)

เหรียญพระครูพิทักษ์ปทุมเขต
พระครูพิทักษ์ปทุมเขต อดีตเจ้าอาวาสวัดตระคลอง (วัดบ้านโคกไร่) และอดีตเจ้าคณะตำบลงัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอวาปีปทุม ศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ซุน วัดบ้าน เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

เกิดปี พ.ศ.2447 ที่บ้านหนองแวงต้อน อ.วาปีปทุม เข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ เมื่ออายุ 20 ปี บริบูรณ์ โดยมีหลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2529 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมโดดเด่นและหายากที่สุด จากนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง คือ "เหรียญรูปเหมือนพระครูพิทักษ์ปทุมเขต ปี 2517"

เหรียญรุ่นนี้ วัดตระคลอง (วัดบ้านโคกไร่) จัดสร้างเพื่อบูชาครู ในวาระ ที่ท่านมีอายุครบ 70 ปี และมอบให้กับ ผู้ที่บริจาคร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างเสนาสนะภายในวัด ลักษณะเป็นเหรียญกลมเล็กกะทัดรัดขนาด 2 เซนติเมตร มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างใต้

รูปเหมือน เขียนคำว่า "หลวงพ่อพระครูพิทักษ์ปทุมเขต"

ด้านหลังเหรียญ จากด้านซ้าย โค้งไปทางด้านขวา เขียนคำว่า "วัดตระคลอง (บ้านโคกไร่) ต.งัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม" ตรงกลางเหรียญเป็นอักขระคาถาตัวอักษรธรรม 3 แถว อ่านว่า "จะ สะ พะ สัง มะ อิ วะ พะ จะ จะ ตุ สะ วะ"

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในกุฏิของท่าน ด้วยความที่ท่านมีพลังจิตที่แก่กล้า พุทธคุณจึงเด่นเข้มขลังยิ่ง กล่าวกันว่า ผู้ที่มีเหรียญรุ่นดังกล่าวห้อยเหรียญคอพกติดตัว ล้วนเคยมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย

เรื่องราวความเข้มขลังวัตถุมงคลของท่านมีมากมาย แต่ในห้วงเวลาที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านห้ามนำวัตถุมงคลของท่านไปทดลองความขลังเด็ดขาด

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่ อีกเหรียญหนึ่งของ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ได้รับความนิยมในพื้นที่มาโดยตลอด อีกทั้งเป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก สำหรับราคาเช่าหาเหรียญสวยคมอยู่หลักร้อยกลาง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26795369800594_1_1024x768_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74557158764865_2_1024x768_.jpg)

พระนาคปรกใบมะขาม
คณาจารย์โบราณมักนิยมสร้างพระประเภทหนึ่งซึ่งมีพุทธคุณลือเลื่อง และมีศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกกันว่า "พระนาคปรกใบมะขาม" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ปรกใบมะขาม" เนื่องจากรูปพระพุทธนั้นเป็นพระนาคปรก ส่วนองค์พระมีขนาดรูปทรงเหมือนใบมะขาม มีขนาดใหญ่กว่าใบมะขามจริง แต่ก็ยังถือว่าเล็กมากอยู่ดี

ในบรรดา "พระปรกใบมะขาม" ที่ขึ้นชื่อลือเลื่องนิยมกันแพร่หลายนั้น ได้แก่

- พระปรกใบมะขาม วัดท้ายตลาด ของ พระสนิทสมณคุณ สร้างในปี พ.ศ.2456 ถือเป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่ง มีทั้งเนื้อทองคำ เงิน และทองแดง ของปลอมจะใช้วิธีหล่อหรือเหวี่ยง เนื้อโลหะจึงขรุขระ แม่พิมพ์ของเนื้อทองคำกับเนื้อทองแดงจะเป็นบล็อกเดียวกัน ของแท้เป็นพระปั๊มเนื้อจะตึงไม่มีรอยปรุพรุน

- พระปรกใบมะขาม วัดกัลยาณมิตร สร้างโดย พระสุนทรสมาจาร เรียกกันในวงการว่า "ปรกวัดกัลยา" สร้างราวปี พ.ศ.2474-2476 เพื่อหารายได้สร้างระฆังขนาดใหญ่ของทางวัด

- พระปรกใบมะขาม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท พระชุดนี้สร้างโดยวัดอนงคาราม ธนบุรี ในปี พ.ศ.2463 แต่เนื่องจากปลุกเสกและมีหลวงปู่ศุขเป็นเจ้าพิธี จึงเรียกกันว่า "ปรกหลวงปู่ศุข" มีพระเกจิอาจารย์หลายท่านร่วมปลุกเสก อาทิ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม เป็นต้น

- พระปรกใบมะขาม วัดอนงคาราม ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) ซึ่งมีการสร้างหลายคราว ปรากฏทั้งเป็นนาคสองชั้น และนาคสามชั้น บางบล็อกมีรอยแตกของแม่พิมพ์แล่นกลางองค์ในแนวยาว กลายเป็นพิมพ์นิยมบล็อกแตกนาค 3 ชั้น

- พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม เนื้อเป็นโลหะพิเศษสีดำมันวาว เรียก "เมฆพัด" มีการสร้าง 2 คราว คือ ก่อนปี พ.ศ.2500 และหลังปี พ.ศ.2500

นอกจากนี้ยังมี "ปรกใบมะขาม" ที่สร้างโดยเกจิคณาจารย์อื่นๆ และได้รับความนิยมแพร่หลาย เช่น พระปรกใบมะขาม ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส, ปรกใบมะขามหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, พระปรกใบมะขามหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หรือพระปรกใบมะขามหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

ซึ่งทั้งหมดมักได้รับความนิยมอาราธนาขึ้นคอเป็นชุดๆ เพราะเชื่อในพุทธคุณแห่งรูปพระนาคปรกที่คอยคุ้มกันอันตราย และยังจัดสร้างโดยคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณซึ่งมักจะจารอักขระเลขยันต์ตามตำรับของท่าน โดยแต่ละสำนักก็จะมีวิธีการสังเกตแตกต่างกันไป

ผู้นิยมสะสมพระควรแสวงหา "พระนาคปรกใบมะขาม" เก็บไว้บูชาบ้าง ก็จะยอดเยี่ยมทีเดียวเชียวครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15831308646334_1_1024x768_.jpg)

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อศรีโท
"หลวงพ่อศรีโท สีลวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ และอดีตเจ้าคณะตำบลหนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม อดีตพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติดี ได้รับความเคารพศรัทธาทั้งในและนอกพื้นที่ อ.วาปีปทุม

ประวัติพอทราบโดยสังเขปว่า เป็นคนบ้านโพธิ์โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2456 ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ในปี พ.ศ.2476 อายุครบบวช เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อุปสมบทที่วัดบ้านโพธิ์ อ.วาปีปทุม

มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นเอก นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจด้านวิทยาคม จึงฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สา อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ รวมทั้งเรียนรู้ อักขระขอม ตัวธรรมลาว จนมีความรู้ด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

ต่อมาได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะตำบลหนองแสง

มีความสนิทสนมเป็นอย่างมากกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของมหาสารคาม อาทิ หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก อ.วาปีปทุม, หลวงปู่ทวง วัดบ้านยาง อ.บรบือ เดินทางไปมาหาสู่กันเป็นประจำในฐานะสหธรรมิก

มรณภาพเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2518 สิริอายุ 63 ปี พรรษา 43

สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างไว้และได้รับความนิยมในพื้นที่คือเหรียญรูปเหมือนรูปไข่ สร้างในปี พ.ศ.2517 จำนวนสร้าง 450 เหรียญ ประกอบด้วยเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ ทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อนี้ค่อนข้างจะพบน้อยเพราะสร้างไม่มากเพราะสร้างมอบให้ประธานจัดสร้างเท่านั้น และมีเนื้อทองคำอีกจำนวนหนึ่ง

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมอบเหรียญรุ่นนี้ให้แก่ผู้มาร่วมทำบุญและสายผ้าป่าสายต่างๆ ท่านยังประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้ จนถึงวันสุดท้ายของท่าน ก่อนที่ท่านจะละสังขาร ยังนำเหรียญรุ่นนี้แจกจ่ายให้ทุกคนที่มาเยี่ยมการอาพาธของท่าน

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้ายกขอบ จากขวามือของเหรียญมีตัวอักษรวนลงไปด้านล่างวกขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า หลวงพ่อศรีโท สีลวณฺโณ วัดบ้านโพธิ์ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ 3 แถว 2 แถวบนเป็นคาถาพระฤๅษีตาไฟ แถวล่าง อิสวาสุ เป็นคาถาหัวใจพระรัตนตรัย พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งของมหาสารคาม ที่มีประสบการณ์

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98856433232625_1_1024x768_.jpg)

เหรียญรุ่นแรก พระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขารามฯ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงพ่อเจียงเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เหรียญหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขารามฯ เป็นเหรียญรุ่นแรกที่หลวงพ่อเจียงสร้าง ปัจจุบันหายากแล้วครับ

หลวงพ่อเจียงเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2425 ที่บ้านคลองกระจ่า ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวัยเด็กบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดเจริญสุขารามฯ กับหลวงพ่ออาจ ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางคลองบ้าง เรียกวัดต้นชมพู่บ้าง ต่อมาเมื่อทางการมาสร้างประตูน้ำบางนกแขวก ชาวบ้านก็เรียกว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวกบ้าง

หลวงพ่อเจียงในช่วงวัยเด็กก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวนค้าขาย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดเจริญสุขารามฯ โดยมีพระครูปรีชาวิหารกิจ(ช่วง) วัดโชทายิการามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอาจ เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเชย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า วณฺณสโร เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม พระธรรมจนแตกฉาน นอกจากนั้นหลวงพ่อเจียงยังสนใจทางวิปัสสนาธุระ และแพทย์แผนโบราณ จึงได้ศึกษาจากพระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวดของท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญชื่อดังในยุคนั้น

นอกจากนี้ท่านยังได้เดินทางมาศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้กาญจนบุรี หลวงพ่อเจียงยังได้ช่วยหลวงพ่ออาจบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาในปี พ.ศ.2453 พระอธิการอาจมรณภาพ ทางการและคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขารามฯ ท่านก็ได้พัฒนาวัดเป็นการใหญ่ พ.ศ.2469 ได้เป็นพระครูปลัดของพระเทพกวี เจ้าคณะมณฑลราชบุรี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอัตตโกศล และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2480 ได้รับเลื่อนเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ.2490 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธีสมุทรเขตต์ พ.ศ.2503 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระราชสมุทรเมธี พ.ศ.2506 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพสังวรวิมล หลวงพ่อเจียงมรณภาพในปี พ.ศ.2514 สิริอายุ ได้ 89 ปี

หลวงพ่อเจียงเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างโบสถ์และโรงเรียนเมธีชุณหะวัณ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นกำลังสำคัญ หลวงพ่อเจียงสร้างวัดเจริญสุขารามฯ จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ และได้รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดที่ 3 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

หลวงพ่อเจียงได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่างเช่น ตะกรุด เหรียญรุ่นต่างๆ เหรียญรุ่นแรกนั้นสนนราคาหลักหมื่นครับ นอกจากนี้ยังมีพระแก้วมรกตจำลอง ซึ่งพระแก้วนี้ลูกศิษย์ของท่านที่อยู่ต่างประเทศได้จัดสร้างถวาย

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ซึ่งเป็นเหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ปี พ.ศ.2470 มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35588688320583_1_1024x768_.jpg)

พระพิมพ์ลีลา เนื้อทองเหลืองของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อทองเหลืองของจังหวัดสุพรรณบุรี พุทธคุณนั้นเชื่อถือได้ สนนราคาก็ไม่แพง คือพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว หลวงพ่อได้สร้างพระเครื่องเนื้อทองเหลืองไว้หลายพิมพ์ สร้างเองปลุกเสกเองแจกเอง และชาวบ้านที่ได้รับไปล้วนแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อโบ้ยเกิดเมื่อ พ.ศ.2435 ที่บ้านสามหมื่น ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า โยมบิดาชื่อ โฉมศรี โยมมารดาไม่ทราบชื่อ พออายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดมะนาว อยู่ที่วัดมะนาวได้ 3 พรรษา ก็ได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดาราม กทม. และได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอมรินทร์ ต่อมาจึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว พ.ศ.2465-2466 ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา และกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวในปี พ.ศ.2467

หลวงพ่อโบ้ยจะถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ใดๆ ท่านจะตื่นตี 4 ทุกวัน และสวดมนต์จนกระทั่งรุ่งสางจึงจะออกบิณฑบาต หลังจากกลับจากบิณฑบาตท่านก็จะขอให้พระภิกษุที่วัดทุกรูปยืนเข้าแถวแล้วท่านจะตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป เป็นเช่นนี้ทุกวัน

หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างวัตถุมงคลในราวปี พ.ศ.2473 ซึ่งสร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองผสม ซึ่งมีชาวบ้านนำมาถวาย เช่น ขันโตก ขันลงหิน เชี่ยนหมาก และอื่นๆ เนื้อพระบางองค์ก็มีสีออกเงินบ้าง และสีต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันนัก ตอนที่เทพระเครื่องนั้นหลวงพ่อไม่ได้จำวัดเลย เทจนถึงรุ่งสาง และแต่งตะไบขอบพระทุกองค์ หลังจากฉันเพลแล้วท่านก็เอาพระทั้งหมดเข้ากุฏิปลุกเสกจนถึงตอนบ่าย ปรากฏว่ามีชาวบ้านมารอรับแจกพระจากท่านมากมาย แม้คนต่างจังหวัดทราบเรื่องก็ยังมารอรับแจกพระจากท่านด้วย พระเครื่องของท่านหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ต่อมาในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผาอีกครั้ง ปี พ.ศ.2500 ได้พระเนื้อชานหมาก พระของท่านไม่มีการจำหน่าย แจกให้เปล่าๆ อย่างเดียว

หลวงพ่อโบ้ยมรณภาพเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2508 ประชาชนไปร่วมงานฌาปนกิจท่านอย่างคับคั่ง

พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ยมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด มีผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งถูกยิงไม่เข้าอยู่หลายคน พระเครื่องเนื้อทองเหลืองเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ แต่ก็มีของปลอมอยู่เช่นกัน เวลาเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ลีลา เนื้อทองเหลืองของหลวงพ่อโบ้ยมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76366235315799_1_1024x768_.jpg)

เหรียญหลวงพ่อเส็ง ปี 2547
พระครูอุปการพิสิฏฐ์ หรือ หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโร พระเกจิชื่อดังแห่งวัดหนองเรือโกลน ต.หนองกลางดง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

เป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2534 บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุย่าง 19 ปี

จนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมะเดื่อ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2454 มีพระใบฎีกาแจ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2511 สิริอายุ 77 ปี พรรษา 57

พระอธิการกิตติธัช ยุตติโก เจ้าอาวาสวัดหนองเรือโกลน รูปปัจจุบัน จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อเส็ง เพื่อสมทบ ทุนบูรณะหอสวดมนต์ที่ชำรุดทรุดโทรม

เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 20,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นเหรียญลักษณะไม่มีขอบ มีรูปหลวงพ่อเส็งนั่งขัดสมาธิเต็มองค์อยู่กลางเหรียญ ด้านล่างใต้รูปเหมือน มีตัวหนังสือเขียนคำว่า "(หลวงปู่เส็ง) พระครูอุปการพิสิฎฐ์" ตอกโค้ด "นะ" ตรงบริเวณสังฆาฏิรูปเหมือนหลวงพ่อเส็ง

ด้านหลัง มีขอบรอบ กำกับด้วยยันต์ไตรสรณคมน์มีอักขระขอม เขียนว่า "นะ โม พุท ธา ยะ เมตตา พา มะ นะ มะพะทะ" ตอกยันต์มีอุณาโลม กำกับด้วย ยะ และข้างขอบเหรียญด้านล่างยัง มีตัวหนังสือ เขียนคำว่า "วัดหนองเรือโกลน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี"

เหรียญรุ่นนี้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 เม.ย.2547 ณ อุโบสถวัดหนองกระดี่ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ประกอบด้วย พระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ประธานจุดเทียนชัย,พระครูปทุม ชัยกิจ (หลวงพ่อนะ) วัดหนองบัว จ.ชัยนาท ประธานจุดเทียนชัย, พระครูอุปกิจสารคุณ (หลวงพ่อเสน่ห์) วัดพันสี จ.อุทัยธานี, พระครูมนูญธรรมรัต (หลวงพ่อฟู) วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา

พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม) วัดเขาปฐวี จ.อุทัยธานี, พระครูอุทิศนวการ (หลวงพ่อสำเริง) วัดทุ่งนาไทย จ.อุทัยธานี, พระครูพิทักษ์ชลธรรม (หลวงพ่อใบ) วัดบ้านเก่า จ.ชลบุรี, พระอุทัยธรรมานุวัตร (หลวงพ่อมนัส) วัดหนองขุนชาติ จ.อุทัยธานี และพระครูอุปการพัฒนกิจ (หลวงพ่อสมัย) วัดหนอง หญ้านาง จ.อุทัยธานี

ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้พระอธิการกิตติธัช นำรายได้บูรณะซ่อมแซมหอสวดมนต์

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46277198981907_1_1024x768_.jpg)

พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสังคมพระเครื่องนั้นในสมัยก่อนเรื่องพระแท้กับพระไม่แท้ก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก การสะสมเล่นหาก็ไม่กว้างขวางมากนักจะเป็นสังคมที่มีเฉพาะคนที่ชื่นชอบจริงเท่านั้น สื่อหรือหนังสือพระเครื่องก็ยังไม่ค่อยมี ในส่วนของสื่อสังคมออนไลน์นั้นก็ยังไม่มี ปัญหาของพระเครื่องที่เกี่ยวกับเรื่องพระแท้หรือไม่แท้นั้น ก็อยู่ที่สังคม ส่วนใหญ่ยอมรับและมีมูลค่ารองรับหรือไม่ ซึ่งก็ง่ายในการพิสูจน์โดยการนำไปบอกขาย ก็พอจะรู้คำตอบได้ไม่ยากนัก

ในปัจจุบันสังคมพระเครื่องเติบโตมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก มีสื่อทั้งหนังสือพระเครื่องและสื่อสังคมออนไลน์มากมาย ปัญหาเรื่องพระแท้หรือไม่แท้ก็ยิ่งมีมากขึ้นตามมา มีการแยกเป็นสองขั้วมากขึ้นกว่าเดิม โดยการจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น ความเห็นก็แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือมูลค่ารองรับพระเครื่องนั้นๆ พูดง่ายๆ ก็คือขายได้หรือไม่ เป็นสากลหรือไม่ ถ้าขายในที่ซึ่งเป็นศูนย์พระเครื่องต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานแล้วมีผู้ขอซื้อหรือต่อรองราคาก็แสดงว่าพระองค์นั้นๆ แท้ ทำไมถึงใช้มาตรฐานนี้ มีอะไรมาเป็นข้อพิสูจน์ ตามศูนย์พระเครื่องหรือสนามพระเครื่องต่างๆ ก็ย่อมมีคนที่ประกอบอาชีพนี้มารวมตัวกันอยู่ ก็ย่อมมีคนที่มีความชำนาญหรือมีความรู้พอที่จะตัดสินใจได้ว่าแท้หรือไม่ ถ้าแท้เขาก็ย่อมที่จะซื้อเข้ามาเพื่อนำไปขายต่อ ซึ่งก็เป็นอาชีพของเขาอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่แท้เขาก็คงไม่ซื้อให้เสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะจะขาดทุนในการประกอบอาชีพทันที ซึ่งมูลค่ารองรับก็ยังคงเป็นหลักความจริงที่ยังคงอยู่ตลอดกาล

พระเครื่องต่างๆ ในปัจจุบันมีบางกลุ่มว่าแท้ และก็มีบางกลุ่มว่าไม่แท้ ทั้ง 2 กลุ่มก็อาจจะมีเหตุผลของตัวเอง ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกว่ากลุ่มไหนถูกหรือผิดอย่างไร เพราะมูลค่ารองรับเป็นคำตอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะพระเครื่องที่อยู่ในความนิยม

สำหรับผู้ที่เป็นนักสะสมหรือศรัทธาในพระเครื่องนั้นๆ ที่อยากจะหาเช่าพระที่เราชอบไว้บูชา ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ประกอบอาชีพ ซื้อ-ขายพระเครื่อง ก็ดูท่าน่าจะปวดหัวพอสมควร เพราะปัจจุบันเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับพระนั้นๆ ได้ในหลายๆ รูปแบบทั้งสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งบางทีก็ดูเหมือนจะมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน แล้วจะเลือกที่จะเชื่อข้อมูลอันไหนดี มาถึงจุดนี้ผมเองก็อยู่ในสังคมนี้มายาวนานแม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีอาชีพนี้หรือเป็นเซียนอะไรกับเขา แต่ก็ยังเข้าสังคมนี้อยู่ตลอดมา เห็นการเปลี่ยนแปลงมาอย่าง ต่อเนื่อง ก็ได้แต่มองดูการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

ปัจจุบันก็มีหลากหลายสำนักที่ออกใบรับรองพระแท้ และรับตรวจสอบพระเครื่องให้แก่บุคคลทั่วไป บางครั้งผลก็ออกมาไม่ค่อยจะเหมือนกัน เพราะอะไรหรือ? ก็อย่างที่บอกไว้แต่ตอนต้นว่า ปัจจุบันมีการจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน และก็มี ความเห็นแตกต่างกันไป กลุ่มใครกลุ่มมัน แต่สำหรับกลุ่มที่เป็นมาตรฐานนั้น ผลการตรวจสอบก็จะออกมาเหมือนๆ กัน และที่สำคัญมีมูลค่ารองรับก็คือเราสามารถบอกขายได้และมีคนรับซื้อ ส่วนมูลค่าจะเป็นเท่าไรนั้นก็แล้วแต่มูลค่าการตลาดในเวลานั้น ส่วนพระที่ไม่แท้นั้นก็คงไม่มีใครขอเช่าหาแน่ครับ

ผมจะขอยกตัวอย่างเช่น พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ มีบางกลุ่มก็บอกว่าพระของกลุ่มเขาแท้ และยกเหตุผลต่างๆ มารับรอง และก็มีการออกใบรับรองให้ด้วย แต่พอเอาไปเข้าสังคมที่เป็นมาตรฐานหรือต้องการที่จะขายออก กลับมีแต่คนบอกว่าไม่แท้และไม่มีใครซื้อ พอกลับไปบอกกับกลุ่มที่เช่าหาพระมาก็ได้คำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า "แท้แน่นอนเอาไปให้พวกในสนามพระดูเขาก็จะบอกว่าไม่แท้ เพราะเขาจะบอกว่าแท้ เฉพาะพระที่อยู่ในกลุ่มของพวกเขาเท่านั้น" อ้าวแล้วจะเชื่อใครดี

สำหรับคนนอกก็งงครับ เรื่องนี้พิสูจน์ง่ายๆ และเป็นวิธีโบราณที่ยังใช้ได้ผล ก็คือบอกขายไปเลย กลุ่มที่เขาว่าไม่แท้นั้นแน่นอนว่าเขาไม่ซื้อแน่ แต่กับกลุ่มที่ว่าแท้หรือกับผู้ที่เราไปซื้อมาจากเขานั้น ก็ขายกับเขาไปเลย ดูซิว่าเขาจะซื้อหรือไม่ ถ้าไม่กล้าซื้อก็คงจะได้รับคำตอบแล้วนะครับ เพราะพระยอดนิยมแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ แท้ๆ นั้น ไปที่ไหนก็มีคนรับซื้อถ้าราคาตกลงกันได้พอใจทั้งสองฝ่าย แม้แต่พระสมเด็จที่หักชำรุดหรือแม้แต่มีอยู่ครึ่งองค์ก็ยังขายได้ครับ แต่ถ้าไม่แท้ก็จบครับ ไม่มีมูลค่ารองรับ

พระอื่นๆ ก็เช่นกัน ถ้าเป็นพระเครื่องที่อยู่ในความนิยมและรู้จักกันแพร่หลายล้วนมีมูลค่ารองรับทั้งสิ้นครับ เรื่องมูลค่ารองรับ แม้ว่าจะเป็นวิธีโบราณมากแต่ก็ยังใช้ได้ ผลและเชื่อถือได้เสมอมาครับ ส่วนใครจะ ใช้วิธีอื่นๆ เชื่ออย่างไรก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับ

วันนี้ก็คุยกันมาพอสมควรครับ และก็อย่างเคยครับขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซมแท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 ธันวาคม 2561 13:03:28

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30061736827095_1_1024x768_.jpg)

พระพุทธสุวรรณมุนีฯเจ้าสัวเรียกทรัพย์
พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ เป็นสุดยอดพุทธประติมากรรมแบบคลาสสิค ที่มีความงดงามลงตัวเป็นอย่างยิ่ง พุทธลักษณะปางมารวิชัย ประทับบนฐานสำเภา ศิลปะอู่ทอง

ยุคปลาย พระเกศเปลวเพลิงแบบอ่อนช้อย มีเม็ดพระศกแบบหนามขนุน มีแถบเส้นไรพระศกเว้าบริเวณกลางพระนลาฏ พระขนงเป็นแบบปีกกา

พระพักตร์ค่อนไปทางรูปไข่ ลำองค์มีลักษณะค่อนข้างแข็งตามลักษณะของพระอู่ทองที่ดี มีจีวรบางแนบเนื้อ ชายสังฆาฏิวิ่งตรงลงมาถึงพระนาภีปลายสังฆาฏิแบบเขี้ยวตะขาบ แข้งกลม มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน บ่งบอกศิลปะอู่ทองยุคปลายที่นำเอาศิลปะแบบสุโขทัยผสมผสานอย่างลงตัว

รังสรรค์แนวคิดและผลงานโดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธศิลป์ จากการจำลองพุทธลักษณะบางส่วนขององค์หลวงพ่อทอง พระประธานในพระอุโบสถวัดอ่างทองวรวิหาร จ.อ่างทอง โดยให้ อ.ชาตรี แก้วทอง เป็นผู้ออกแบบร่างองค์พระพร้อมฐานแบบสำเภาซ้อนกันหลายชั้นขึ้นมาใหม่ มี อ.สุชาติ แซ่จิว ประติมากรชื่อดังเป็นผู้สร้างงานประติมากรรมครั้งนี้

ที่มาของฐานสำเภานั้นอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ในสมัยต้นราชวงศ์หมิงราวกว่า 600 ปีมาแล้ว กองเรือมหาสมบัติของแม่ทัพเรือเจิ้งเหอ ซำปอกง มหาขันทีผู้ยิ่งใหญ่ผู้ประกาศศักดาไปทั่วโพ้นทะเล ทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยนทรัพย์สินสิ่งของมีค่าต่างๆ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเปิดโอกาสให้ชาวจีนตั้งรกรากผสมผสานกลมกลืนไปกับผู้คนต่างถิ่น เกิดเป็นชุมชนชาวจีนไปทั่วโพ้นทะเล

สำหรับสยามประเทศในเวลานั้นอยู่ในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์อู่ทองปกครองแผ่นดิน อิทธิพลของกองเรือมหาสมบัติ โดยแม่ทัพเรือเจิ้งเหอ ก็ได้รุกเข้าถึงแผ่นดินสยามและยังมีส่วนช่วยหนุนนำพาความเจริญความรุ่งเรือง มั่งคั่งอย่างมากมายมาสู่แผ่นดินสยามในยุคนั้นด้วย

พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ ประทับบนกองเรือมหาสมบัติ หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว ถอดประกอบ 2 ชิ้น สลับฐานได้ ความสูงจากฐานล่างถึงปลายรัศมี 18 นิ้ว ฐานชั้นล่างกว้าง 12 นิ้ว ลึก 7 นิ้ว มี 5 สี

จัดสร้างเป็นเนื้อโลหะ 2 ชนิด คือโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย จัดสร้าง 5 สี สีละ 9 องค์ ราคาจอง 26,900 บาท เวลานี้โลหะบรอนซ์จองเต็มหมดแล้ว ส่วนงานโลหะทองชนวนจัดสร้าง 5 สีเช่นเดียวกัน แต่มีสีละ 99 องค์ ขณะยังมีเหลือให้จองอยู่ ในราคา 15,900 บาท และยังมีบริการจัดส่งให้ทั่วประเทศโดยมีค่าจัดส่งองค์ละ 300 บาท ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หากมารับที่วัดเองก็ไม่มีค่าส่ง

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการบูรณะโรงเรียนปริยัติธรรม

พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ ประทับบนกองเรือมหาสมบัติเจิ้งเหอ จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีต้นกำเนิดคติความเชื่อมาจากพื้นฐานความมั่งคั่ง ร่ำรวย มั่งมี ศรีสุข ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี ยิ่งใหญ่เกรียงไกร เหมาะสำหรับเป็นพระประจำตระกูลที่จะหนุนดวงชะตา เสริมบารมี นำพาความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง มั่งคั่ง ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี มาสู่ตนเองและครอบครัว ตราบชั่วลูก ชั่วหลาน ควรค่าแก่การสะสมทีเดียว ครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81013255276613_1_1024x768_.jpg)

พระร่วง กรุวัดคูบัว พิมพ์ใหญ่
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมืองสุพรรณบุรีเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมา ดังนั้นพระเครื่องที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีจึงมีหลายยุคหลายสมัย พระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็พบมากที่สุพรรณบุรี ที่พบมากก็เป็นพระร่วงพิมพ์ต่างๆ และมีอยู่หลายยุค พระร่วงกรุวัดคูบัวก็เป็นพระร่วงอีกกรุหนึ่งของสุพรรณบุรี ปัจจุบันหายากไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก

วัดคูบัวอยู่ที่อำเภอบางปลาม้า การพบพระเครื่องกรุนี้ไม่ได้พบที่บริเวณวัดคูบัว แต่พบที่ในที่นาของ นายกัณหา สาเหตุที่พบเนื่องจาก ในปี พ.ศ.2486 พระอธิการถนอม เจ้าอาวาสวัดคูบัว จะก่อสร้างพระอุโบสถและทราบว่าที่นาของนายกัณหามีกองเศษอิฐเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการประหยัดงบจึงได้เข้าไปขออิฐเก่าที่มีอยู่ในที่นาของนายกัณหาเพื่อนำไปสร้างโบสถ์วัดคูบัว นายกัณหาก็ยินดีไม่ขัดข้อง จึงได้เกณฑ์คนมาช่วยกันขนอิฐที่เนินดินบริเวณนั้น เมื่อขุดและขนอิฐไปเรื่อยๆ ก็บังเอิญพบไหโบราณใบหนึ่ง ภายในบรรจุพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นจำนวนมาก ประมาณ 300 องค์ แต่ก็ไม่มีใครสนใจเท่าไรนัก แม้แต่นายกัณหาเอง จึงบอกให้พระอธิการถนอมเอาไป ท่านจึงนำพระมาเก็บไว้ที่วัด และแจกผู้ที่มาที่วัดไปเรื่อยๆ

ต่อมาก็มีพระร่วงของกรุนี้เข้าไปที่ตลาดสุพรรณฯ นักนิยมสะสมพระเห็นเข้าก็รู้ว่าเป็นพระเก่าแก่ ก็เช่าหาไว้และได้สอบถามข้อมูลจากคนที่เอาพระมาให้เช่า ก็รู้ว่าได้พระมาจากวัดคูบัว ก็เลยเรียกกันว่า "พระร่วงกรุวัดคูบัว" พระร่วงกรุนี้ได้หมดไปจากวัดคูบัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่แสดงถึงความเก่าแก่อย่างชัดเจน เนื้อพระมีสนิมไขขาวปกคลุมประปราย ส่วนสนิมแดงก็มีสีแดงสวยงามมีรอยรานใยแมงมุมแสดงถึงความเก่าแก่ พระร่วงกรุนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย และมีความหนา พระของกรุนี้ที่พบมีทั้งแบบพระร่วงพิมพ์ใหญ่ซุ้มรัศมี พระร่วง พิมพ์เล็ก และพระร่วงนั่ง ซึ่งพิมพ์นี้พบน้อยไม่กี่องค์

พระร่วงกรุนี้ไม่ทรงเทริด ลักษณะเป็นแบบผมเวียน ศิลปะของพระเป็นแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก คนท้องที่มักหวง ประสบการณ์ของคนที่เคยใช้พระกรุนี้ห้อยคอคือเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด

พระร่วงกรุวัดคูบัวเป็นพระร่วงกรุหนึ่งของสุพรรณบุรีที่ค่อนข้างหายากกรุหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันมาก ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระร่วง กรุวัดคูบัว พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64381608780887_1_1024x768_.jpg)

พระกรุวัดสะแก จ.นครราชสีมา
พระกรุวัดสะแก เป็นที่ปรากฏและยอมรับทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ไม่แพ้พระสมัยลพบุรีเลยทีเดียว

"ประตูสู่ภาคอีสาน" หรือปราการด่านแรกที่จะเข้าสู่ดินแดนที่ราบสูง ซึ่งก็คือ จังหวัดนครราชสีมา

ดินแดนเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยขอม มีเมืองเก่า 2 เมือง คือ เมืองเสมาและเมืองโคราฆะปุระ (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.สูงเนิน ริม 2 ฟากฝั่งแม่น้ำลำตะคอง)

จากการสำรวจของนักโบราณคดีพบว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยทวารวดี แต่ต่อมากลายเป็นเมืองร้างไป สันนิษฐานกันว่า ชื่อเมือง "โคราช" หรือ "นครราชสีมา" น่าจะเป็นการรวมชื่อ เมืองเก่าแก่ทั้งสองเมืองนี้มาตั้งเป็นชื่อ เมืองใหม่

เมืองนครราชสีมา มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาขึ้นมาใหม่ให้เป็นเมืองหน้าด่านที่มั่นคง และได้กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในภาคอีสาน

สำหรับด้านศิลปวัตถุของเมืองนครราชสีมานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระสมัยขอม จะมีสมัยทวารวดีบ้างเล็กน้อย และน้อยมาก ที่จะมีการขุดพบพระเครื่องที่เป็นพระกรุ แต่ที่ถือว่าสำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องคือ "พระกรุวัดสะแก"

วัดสะแกตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครราชสีมา ติดกับตลาดสดเทศบาล สันนิษฐานว่ามีความเก่าแก่ในราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2519 พระเจดีย์องค์ใหญ่ในวัดเกิดชำรุดแตกหัก ปรากฏพระเครื่องในองค์พระเจดีย์ทะลักออกมาเป็นจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ทรง ทั้งพระพิมพ์นาคปรก พระพิมพ์อู่ทอง พระพิมพ์วัดตะไกร พิมพ์ฤๅษี ฯลฯ โดยส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระแทบทุกองค์จะมีการปิดทอง

พระกรุวัดสะแกพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ "พระพิมพ์นาคปรก" เป็นพระในสมัยอยุธยาที่สร้างล้อพิมพ์สมัยลพบุรี แบ่งได้เป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ฐานห้าชั้น ฐานสามชั้น ฐานชั้นเดียว ฯลฯ เนื้อขององค์พระเป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อตะกั่วสนิมแดง พระพิมพ์นาคปรกที่เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง เนื้อจะแดงเข้มทุกองค์ จะปิดทองมาจากในกรุทั้งสิ้น และมีจำนวนมากที่สุดด้วย

ในส่วนของพุทธคุณนั้น พระกรุวัดสะแกเป็นที่ปรากฏและยอมรับทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ไม่แพ้พระสมัยลพบุรีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสุดยอดแน่นอนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84471029415726_1_1024x768_.jpg)

พระขุนแผนฝังศิลาน้ำ
พระขุนแผนแสนมงคล ฝังศิลาน้ำ คุณแม่บุญเรือน ได้รับการพุทธา ภิเษกโดยหลวงปู่แสน ปสันโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดัง แห่งภาคอีสานใต้

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง ณ วัดถ้ำขุนแผน กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในตำนานที่ขุนแผนเจ้าเมืองกาญจนบุรีได้จัดสร้างกุมารทองและดาบฟ้าฟื้น ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มักเดินทางมานั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บ่อยครั้ง เพื่อความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังของวัตถุมงคล

หลวงปู่แสน ปสันโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 111 ปี นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน ที่มีไม่กี่รูปนัก

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พ.ย.2561 วันฉลองกฐินวัดบ้านหนองจิก ศรีสะเกษ พระขุนแผนแสนมงคลจำนวน 275 องค์ ซึ่งบรรจุใส่ไว้บนหอระฆัง ได้รับการพุทธาภิเษกอีกครั้งโดย หลวงปู่แสน, หลวงพ่อสว่าง, หลวงตาจ่อย และหลวงพ่อบุญหลาย พร้อมกับวัตถุมงคลรุ่นพุทธซ้อนเพชรกลับ พระขุนแผนแสนมงคลทั้ง 275 องค์นี้ มวลสารที่นำมาจัดสร้างล้วนเป็นพระเนื้อผงที่มีมวลสารศักดิ์สิทธิ์สายวัดป่าศิษย์บูรพาจารย์หลวงปู่มั่น ผสมเกศาจีวรหลวงปู่แสน บางส่วนฝังศิลาน้ำคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม นับเป็นมวลสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง

ในวันพฤหัสบดีที่ 6 ธ.ค.2561 พระขุนแผนแสนมงคลทั้ง 275 องค์นี้ ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ณ วัดถ้ำขุนแผน กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในตำนาน ที่ขุนแผนเจ้าเมืองกาญจนบุรี ได้จัดสร้างกุมารทอง และดาบฟ้าฟื้น ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มักเดินทางมานั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บ่อยครั้ง

พระชุดนี้จะนำออกให้บูชา เพื่อนำรายได้จ้างช่างวาดภาพกิจกรรมฝาผนังศาลาการเปรียญ วัดบ้านหนองจิก ถวายหลวงปู่แสน และรายได้อีกส่วนจะนำมาร่วมสร้างศาลาการเปรียญ วัดถ้ำขุนแผน ที่ยังไม่แล้วเสร็จ

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 ธันวาคม 2561 12:59:57
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42007522698905_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เหรียญหล่อจอบเล็ก พิมพ์แข็งตรง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้นิยมสูงที่สุดและมีมูลค่าสูงที่สุดก็คือ พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินบางคลาน ในการสร้างครั้งนั้นมีการสร้างทั้งพระรูปเหมือนลอยองค์ และเหรียญหล่อรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันหายากมาก และมีมูลค่าสูงมาก

หลวงพ่อเงินเกิดเมื่อปีพ.ศ.2351 โยมบิดาเป็นชาวบ้านท่านั่งบางคลาน หรือเรียกสั้นๆ ว่า บ้านบางคลาน ตอนที่ท่านอายุได้ 3 ขวบลุงของท่านได้ขอไปอุปการะ โดยนำเข้ากรุงเทพฯ ต่อมาได้ไปฝากเรียนกับเจ้าอาวาสวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) พออายุได้ 12 ปีท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาอักขรวิธี เรียนบาลีสันสกฤต หนังสือไทยและขอม ตลอดจนพระธรรมวินัย จนเมื่ออายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดชนะสงครามนั่นเอง ได้รับฉายาว่า "พุทธโชติ" ท่านได้ศึกษาทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอยู่ 3 พรรษา จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม หรือวัดบางคลานใต้ เนื่องจากโยมปู่ของท่านกำลังเจ็บหนัก

หลวงพ่อเงินท่านทำวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ประกอบกับให้การอนุเคราะห์แก่ญาติโยมที่มาขอความช่วยเหลือ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย ต่อมาพรรษาที่ 5 ท่านก็ออกจากวัดคงคาราม และไปสร้างกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ที่หมู่บ้านวังตะโกริมฝั่งลำน้ำยม ซึ่งเป็นทำเลที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และด้วยวัตรปฏิบัติอันหมดจดงดงามด้วยศีลสังวร จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั้งหลาย จนชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว ในไม่ช้าหลวงพ่อเงินสร้างวัดเป็นที่เรียบร้อย ให้ชื่อว่า "วัดวังตะโก" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "วัดหิรัญญาราม" จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเงินมีชื่อเสียงโด่งดังมากทางน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์และปัดเป่าคุณไสยต่างๆ ของดีของท่านอีกอย่างคือน้ำมันเสี่ยงทาย ซึ่งผู้บูชาจะพกติดตัวเสมอ ถ้าดวงดีจะเจริญด้วยทรัพย์สินเงินทอง น้ำมันจะใสและเต็มขวดอยู่เสมอ แต่ถ้าน้ำมันขุ่นและเหือดแห้งไป แสดงว่าผู้บูชาดวงชะตาตกต่ำ ทรัพย์สินเงินทองจะขัดสน

นอกจากนี้ยังมีวัตถุมงคลอีกมากมายที่เป็นที่ต้องการและแสวงหาของพุทธศาสนิกชน เนื่องจากความมหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่สายตา สันนิษฐานว่าท่านจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวิเศษในอภิญญา คือความรู้ยิ่งในพุทธศาสนา

จากการฝึกฝนปฏิบัติในวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมี 6 ประการ คือ อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ทิพย์โสด หูทิพย์ ทิพย์จักษุ ตาทิพย์ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดรู้ใจผู้อื่น ปุพเพนิวาสสานุสติ ระลึกชาติได้ และ อาสวักขยญาณ คือรู้จักทำอาสวะให้สิ้นลงนั่นเอง หลวงพ่อเงินมรณภาพในปีพ.ศ.2462 อายุได้ร้อยกว่าปี นับว่าท่านอายุยืนมากครับ

หลวงพ่อเงินได้อนุญาตให้ลูกศิษย์ลูกหาที่มาขออนุญาตสร้างรูปเหมือนของท่านเพื่อไว้เป็นตัวแทนตัวท่าน และเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงท่าน ในโอกาสนี้จึงได้มีการหล่อรูปเหมือนของท่านและจัดทำวัตถุมงคลอันเป็นที่นิยมสูงสุดมาจนถึงวันนี้ ได้แก่ พระรูปเหมือนหล่อพิมพ์นิยม พระรูปเหมือนหล่อพิมพ์ขี้ตา เหรียญหล่อจอบใหญ่ และเหรียญหล่อจอบเล็ก ซึ่งกระบวนการสร้างเป็นแบบหล่อโบราณ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อจอบเล็ก พิมพ์แข็งตรง จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ท่านชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์   ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47887128384576_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
รูปพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมด้วยกันทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก และจากประสบการณ์ต่างๆ ที่รับจากวัตถุมงคลของท่าน จนมีการกล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก

หลวงปู่เอี่ยมเกิดเมื่อปี พ.ศ.2375 ที่บางหว้า ภาษีเจริญ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่รอด ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านวิทยาคม ต่อมาก็อุปสมบทที่วัดราชโอรส และไปจำพรรษาที่วัดนางนอง หลังจากที่หลวงปู่รอดได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโคนอน หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ติดตามหลวงปู่รอดไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโคนอนด้วย ในฐานะศิษย์เอก ต่อมาปี พ.ศ.2441 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้หลวงปู่เอี่ยมเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศีลคุณธราจารย์และอาราธนามาครองวัดหนัง ต่อมาก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระภาวนาโกศลเถระ หลวงปู่เอี่ยมครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนังนานถึง 27 ปี มรณภาพในปี พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 72

หลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระปิดตาไว้หลายอย่างด้วยกัน สามารถแยกตามเนื้อได้เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อตะกั่ว เนื้อผงใบลาน เนื้อผงหัวบานเย็น และเนื้อไม้แกะ พระปิดตาและพระปิดทวารนี้ จากคำบอกเล่าของผู้หลักผู้ใหญ่บอกต่อกันมาว่า หลวงปู่เอี่ยมสร้างพระปิดตาเนื้อผงและพระปิดตาเนื้อไม้แกะขึ้นก่อน ต่อมาจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วและเนื้อสัมฤทธิ์ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในปี พ.ศ.2436 เมื่อเรือรบของฝรั่งเศสเข้ามาปิดอ่าวสยาม ทหารหาญและชาวบ้านได้เข้ามาขอรับพระจากหลวงปู่เอี่ยมจนล้นหลาม หลวงปู่เอี่ยมได้แจกพระปิดตาเนื้อตะกั่วที่สร้างไว้ก่อนหน้าไปจนหมด หลวงปู่จึงให้พระภิกษุและสามเณรและสานุศิษย์ ช่วยกันเทหล่อพระเนื้อตะกั่วติดต่อกันอีก หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งประมาณว่าท่านคงได้สร้างมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2441 ตอนที่ท่านได้มาครองที่วัดหนังแล้ว และเมื่อคราวบูรณะเขื่อนที่หน้าวัดหนัง ปี พ.ศ.2463 ก็มีการเทพระชัยวัฒน์และพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือในครั้งนั้นด้วย

พระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ คุณลุงถมบอกว่าได้รับฟังมาจากหลวงพ่อเล็กลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เอี่ยม เล่าให้ฟังว่าหลวงปู่เอี่ยมจะให้จัดหาโลหะต่างๆ ซึ่งจะนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ แล้วให้ช่างรีดเป็นแผ่นบางๆ เพื่อให้ท่านลงอักขระเลขยันต์ ต่อจากนั้นจึงมอบให้ช่างนำไปหลอมเทหล่อเป็นองค์พระอีกทีหนึ่ง จากคำบอกเล่าหลวงปู่เอี่ยมท่านสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์จำนวนไม่มากนัก น้อยกว่าพระชัยวัฒน์มาก แต่ต่อมาก็มีการสร้างอยู่หลายครั้งเช่นกัน แบบพิมพ์นั้นจะเป็นพระปิดทวารและมียันต์วางเป็นเส้นสายตลอดเกือบทั้งองค์พระ นิยมเรียกกันว่า พิมพ์ยันต์ยุ่ง ในส่วนที่บริเวณหัวเข่าถ้าเป็นยันต์ตัวนะก็มักจะเรียกกันว่าพิมพ์นะหัวเข่า เป็นต้น การวางยันต์ขององค์พระช่างจะปั้นเทียนเป็นเส้นลักษณะคล้ายเส้นขนมจีน แล้วจึงนำมาวางเป็นรูปยันต์ตามกำหนดของหลวงปู่เอี่ยมอีกทีหนึ่ง ตอนยังเป็นหุ่นเทียน ดังนั้นเส้นสายของยันต์จึงจะไม่เหมือนกันเป๊ะทุกองค์ทีเดียวนัก เนื่องจากเป็นการวางยันต์ทีละองค์ครับ

ปัจจุบันพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังนี้หาพบแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์ มาให้ชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53119241860177_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกริ่งกันทรวิชัย 150 ปีมหาสารคาม

"บ้านลาดกุดยางใหญ่" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง "มหาสารคาม" ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2408 โดยให้ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมืองคนแรก ที่ตั้งเมืองเดิมอยู่ที่บริเวณศาลหลักเมือง

แต่เนื่องจากเป็นที่ดอนทำให้มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ต่อมาจึงย้ายมาตั้งอยู่ระหว่างกุดยางใหญ่หรือกุดนางใย กับหนองทุ่ม นับแต่นั้นมา เมืองมหาสารคาม ได้มีพัฒนาการเจริญเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน

จนถึงปี พ.ศ.2558 จังหวัดมหาสารคาม มีอายุครบ 150 ปี การก่อตั้งเมืองมหาสารคาม ทางจังหวัดได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองหลายกิจกรรม รวมทั้งการจัดสร้างพระกันทรวิชัย รุ่นพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการจัดสร้าง เพื่อหารายได้สมทบการก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์จังหวัดมหาสารคาม สนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนาดูน และส่งเสริมกิจกรรมเฉลิมฉลอง 150 ปี มหาสารคาม จัดสร้างทั้งพระบูชา พระกริ่ง และเหรียญ ประกอบพิธีเททอง ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เม.ย.2558 ณ ลานพระประธานกันทรวิชัย ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม (เดิม)

วัตถุมงคลรุ่นนี้ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฑฒโน) จารแผ่นอักขระ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันพุธที่ 29 ก.ค.2558 ณ มณฑลพิธีพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน โดยมีพระสงฆ์สมณศักดิ์และ พระเกจิอาจารย์ ล้วนชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานร่วมในพิธีหลายรูป อาทิ พระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม, พระสุทธิธรรมโสภณ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ), หลวงปู่หนูอินทร์ วัดพุทธมงคล จ.กาฬสินธุ์, พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อทองอินทร์ วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด, พระอาจารย์เขียว วัดโพธิ์สามต้น จ.มหาสารคาม เป็นต้น

พระกริ่งกันทรวิชัย รุ่นนี้พุทธศิลป์จำลองมาจากพระกรุกันทรวิชัย เป็นพระพิมพ์ดินเผาประทับนั่งในลักษณะสมาธิวิปัสสนา ขุดพบที่บริเวณโคกดอนพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พุทธศิลป์แบบปาลวะ หรือ คุปตะตอนปลาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 แผ่อิทธิพลเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยอาณาจักรทวารวดีกำลังรุ่งเรือง กลายเป็นพระพุทธเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของ อ.กันทร วิชัย รวมทั้งจังหวัดมหาสารคาม

แตกต่างจากพระกริ่งกันทรวิชัย รุ่นอื่น คือที่บริเวณผ้าทิพย์จะมีตัวเลข "๑๕๐" ปรากฏอยู่

ในส่วนของจำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ ขนาดความสูง 4 ซ.ม. ประกอบด้วย เนื้อเงินสร้าง 99 องค์ เนื้อนวโลหะสร้าง 299 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 299 องค์ และ ขนาดความสูง 3.50 ซ.ม. เนื้อทองคำ หนัก 19 กรัม สร้างไม่เกิน 99 องค์

สนใจสอบถามได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม 

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69832000219159_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อสม
"พระครูศรีคณานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อสม" อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิ อาจารย์ระดับแถวหน้า

เป็นศิษย์ พระครูธรรมสารรักษา หรือหลวงปู่อ้น อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม

นอกจากนี้ ยังเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ

มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2532 สิริอายุ 91 ปี 71 พรรษา

คณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อสม ได้จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงพ่อสม เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2524 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองตราตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ โดยในงานครั้งนั้น มีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมมุทิตาสักการะเป็นจำนวนมาก

โดยนำเหรียญรุ่นดังกล่าวเข้าพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถวัดดอนบุบผาราม ก่อนนำมามอบให้ญาติโยมและคณะศิษย์ที่เดินทางเข้าร่วมงานฉลองตราตั้งเจ้าคณะอำเภอในครานั้น

เหรียญรุ่นฉลองตราตั้งเจ้าคณะอำเภอ หรือรุ่นเหรียญหวด ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านบนมีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงชุบกะไหล่ทอง จำนวน 5,000 เหรียญ

ด้านหน้า ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงพ่อสมครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างของเหรียญ เขียนเป็นตัวนูนว่า "พระครูศรีคณานุรักษ์" มีเส้นวิ่งนูนรอบเหรียญ

ด้านหลัง ตรงกลาง มียันต์มะอะอุ อันเป็นยันต์ประจำตัว ด้านบนของเหรียญเขียนเป็นตัวนูนว่า "ฉลองตราตั้ง" ด้านล่างของยันต์ เขียนเป็นเลขไทยว่า "๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔" ด้านล่างสุดเขียนเป็นตัวนูนว่า "เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์"

รุ่นเหรียญหวด มีที่มาจากกรณีที่มีชาวบ้าน 2 คน มีปากเสียงทะเลาะกันอย่างหนัก จนถึงขั้นลงไม้ลงมือ มีคนหนึ่งใช้มีดดายหญ้าหวดฟาดคู่อริอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแรงถึง 3 ครั้ง

แต่ปรากฏว่า กลับไม่ระคายผิวของผู้ที่ถูกฟาดแม้แต่น้อย

ปัจจุบัน จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีกเหรียญหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี   

ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มกราคม 2562 15:35:26

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85645061648554_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง กรุวัดพิกุล
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระที่มักเรียกกันว่าพระเปิดโลกนั้นจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระเครื่องที่ทำเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ปล่อยลงมาข้างลำพระองค์ โดยส่วนใหญ่จะวางห้อยลงมาตามเส้นจีวร มีการพบพระกรุสมัยต่างๆ และหลายจังหวัดที่สร้างพระเครื่องปางเปิดโลก เท่าที่พบมีการเริ่มสร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมา

พระเปิดโลกที่เป็นพระเครื่องนั้น จะพบมากก็ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร มีพบอยู่หลายกรุด้วยกัน ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระเปิดโลกที่เป็นเนื้อดินเผานั้นจะนิยมพระที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรมากกว่า เนื่องจากเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม มีการพบพระเปิดโลกในจังหวัดกำแพงเพชรอยู่หลายกรุด้วยกัน เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดกะโลทัย กรุวัดพระแก้ว กรุวัดอาวาสน้อย เป็นต้น พระเปิดโลกที่พบในกรุของจังหวัดกำแพงเพชรจะมีชื่อเรียกคำนำหน้าว่า พระกำแพงเปิดโลก แล้วตามด้วยชื่อพิมพ์หรือกรุต่อท้าย กรุที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นของกรุวัดพิกุลที่มีเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุด

พระกำแพงเปิดโลกของกรุวัดพิกุลมักจะทำเป็นพระพุทธรูปยืน อยู่บนฐานที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างสูง จึงมักจะเรียกว่า "พระกำแพงเปิดโลกยืนตอ" สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นพระที่มีขนาดเล็กช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระจึงไม่ได้แกะ รายละเอียดของฐานพระไว้ ทำให้มองดูคล้ายกับว่าพระพุทธรูปยืนอยู่บนตอไม้ ผู้ที่ตั้งชื่อพระในสมัยแรกๆ ที่พบพระก็ไม่ได้คิดอะไรมากตั้งชื่อตามรูปพระที่เห็น เพื่อให้แยกชื่อพระจากพระพิมพ์อื่นๆ เท่านั้น และก็เรียกชื่อนี้กันต่อๆ มาจนปัจจุบันนี้ พระกำแพงเปิดโลกของกรุวัดพิกุลก็มีทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก แต่ทั้ง 2 พิมพ์ก็มีขนาดย่อม พระกำแพงเปิดโลกกรุวัดพิกุลพิมพ์ใหญ่ก็จะเรียกกันว่า "พระกำแพงเปิดโลกยืนตอ" ส่วนพระเปิดโลกกรุวัดพิกุลพิมพ์เล็กมักจะเรียกกันว่า "พระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระเม็ดทองหลาง" เนื่องจากมีขนาดเล็กและคล้ายๆ กับเม็ดต้นทองหลาง พระทั้ง 2 พิมพ์นี้เป็นพระที่หายาก โดยเฉพาะพระพิมพ์เล็กคือพระเม็ดทองหลางนั้นยิ่งหายากมาก สนนราคาสูงทั้ง 2 พิมพ์ แต่พระพิมพ์ เม็ดทองหลางจะสูงกว่า เนื่องจากหายากกว่าครับ

พระกำแพงเปิดโลกทั้ง 2 พิมพ์มีการทำปลอมมานานแล้ว เนื่องจากมีความนิยมและหายากมาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ พระกำแพงเปิดโลกพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง กรุวัดพิกุล จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30405620816681_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

เหรียญมังกรคู่หลวงปู่ที  โชติปัญโญ
"หลวงปู่ที โชติปัญโญ" สำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 22

เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านขยอม อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา และบิดามีความรู้เรื่องยาสมุนไพร ได้ติดตามบิดาออกไปรักษาคนไข้ในแถบ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี

แต่ด้วยความที่มีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม จึงขอให้นำไปบรรพชาที่วัดในหมู่บ้าน

ต่อมา เดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียนวัดหลวงพ่อมุม จ.ศรีสะเกษ มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความขันแข็ง

ช่วงนั้น หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ เดินธุดงค์ผ่านมาและกำลังจะเดินทางไปยัง จ.เชียงใหม่ ท่านขอติดตามคณะไปด้วย จนไปถึง จ.เชียงใหม่ ได้ไปจำพรรษาอยู่วัดดอยแม่ปั๋ง

กระทั่งเมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง ได้อบรมสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏมฐาน และพระคัมภีร์ต่างๆ ถึง 7 ปี จากนั้นได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ที่ จ.ศรีสะเกษ

หลังจากที่ท่านบวชได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพ ช่วยครอบครัว

กระทั่งหมดภาระทางครอบครัวได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้ง และอุปสมบทที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรีโคกจาน ต.โคกจาน อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูปัญญาวิริยกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดป่าหนองหวาย ต.ทุ่งไชย อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

ท่านออกเดินธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ และสุดท้ายได้มาพำนักอยู่ที่กระท่อมกลางนานอกหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสท่านทราบข่าว ช่วยพัฒนาปรับปรุงที่อยู่ให้ท่านเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติธรรม

ต่อมากลายเป็นสำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน แต่เนื่องจากสำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน เป็นสถานที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควรถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ รุ่นมหามงคล" เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุภายในสำนักสงฆ์แห่งนี้ ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน ส่วนหัวมังกรจะชูกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "มหามงคล ๒๕๖๑ ที่พักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ"

วัตถุมงคลรุ่นนี้จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสร้าง 19 เหรียญ เนื้อนวโลหะ สร้าง 64 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 19 เหรียญ เนื้อฝาบาตรลงยาแดง สร้าง 225 เหรียญ เป็นต้น

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67986992042925_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระกำแพงเปิดโลก
พุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏแก่สายตา และเป็นหนึ่งพิมพ์ที่ได้รับฉายา "มีกูไว้ไม่จน" เช่นกัน

"พระกำแพงเปิดโลก" มีการขุดค้นพบกันในหลายกรุหลายจังหวัด แต่ที่ได้รับความนิยมสูงเรียกได้ว่าในสมัยก่อนเป็นที่ฮือฮาเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่าพระกำแพงซุ้มกอและพระกำแพงเม็ดขนุนเสียอีก จะเป็นพระที่พบในกรุวัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดป่ามืด และวัดพระแก้ว บริเวณลานทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร เท่านั้น

เนื่องด้วยพุทธศิลปะที่บรรจงสร้างอย่างอ่อนช้อยตามแบบฉบับของศิลปะกำแพงเพชรซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์สู่องค์พุทธปฏิมากรรมได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์แบบ กอปรกับพุทธลักษณะพิมพ์ทรงซึ่งเล็กกะทัดรัดบูชาพกพาติดตัวได้สะดวก และพุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏแก่สายตา และเป็นหนึ่งพิมพ์ที่ได้รับฉายา "มีกูไว้ไม่จน" เช่นกัน

ชื่อ "พระกำแพงเปิดโลก" เรียกขานตามพุทธอิริยาบถของพระประธานซึ่งแสดง "ปางเปิดโลก" คือพระกรจะทอดขนานกับลำพระองค์ ตามพุทธประวัติ ปางนี้เป็นปางที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์หลังจากการเทศนาโปรดพระมารดา และได้แสดงอิทธิฤทธิ์เปิดทั้ง 3 โลกคือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกนรก ให้สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้

องค์พระที่ขุดพบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดิน มีเนื้อว่านและเนื้อชินบ้างแต่ไม่มากนัก ดินที่นำมาสร้างองค์พระเป็นดินในแถบเมืองกำแพงเพชร จึงมีความหนึกนุ่มและละเอียด เมื่อได้รับการสัมผัสจะมันวาว มีคราบนวลกรุ รารัก และคราบไคล ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งในการพิจารณา มีทั้งหมด 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

ลักษณะเป็นพระพิมพ์ครึ่งซีกที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดมาก รายละเอียดขององค์พระประธานที่ประทับยืน พระพักตร์ตรง บนอาสนะฐานสูงซึ่งมีทั้งแบบราบเรียบและแบบนูนยื่นออกมานั้น จึงไม่ค่อยปรากฏชัดเจนนักทั้งพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ และพระกรรณ แต่จะเห็น รายละเอียดของเส้นโดยรอบแสดงถึงพระเกศ วงพระพักตร์ ลำพระองค์ และพระจีวรซึ่งทอดยาวลงมาถึงข้อพระบาท ในองค์ที่กดติดชัดเจน ทำให้แลดูด้อยไปบ้างในเรื่องของความงดงามทางพุทธศิลปะ

"พระกำแพงเปิดโลก" นี้ ได้รับการกล่าวขวัญกันมากมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูงมาถึงปัจจุบัน การพิจารณาต้องมีการพินิจพิเคราะห์กันอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยใช้หลักการสังเกตจากคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อขององค์พระ พุทธลักษณะ และพุทธศิลป์ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรทุกพิมพ์ ของแท้มีจำนวนไม่มากนัก ผู้มีไว้ก็ต้องการเก็บรักษาไว้บูชา ค่านิยมค่อนข้างสูงเอาการ อีกทั้งสนนราคาก็สูงพอควรทีเดียว

ถ้าโชคดีสามารถเช่าหาไว้ครอบครองได้ จงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ครบครันครบเครื่องอย่างนี้ หากันไม่ได้ง่ายนัก

พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43961911979648_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

พระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุวัดสำปะซิว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางค์กรุสำปะซิว สุพรรณบุรี บางท่านอาจจะสงสัยว่ามีพระท่ามะปรางค์ที่สุพรรณบุรีด้วยหรือ มีครับ พระท่ามะปรางค์มีการพบที่หลายๆ กรุและหลายๆ จังหวัด แบบพิมพ์ก็แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยพอให้แยกออกได้ว่าเป็นพระของกรุไหน จังหวัดใด

กรุวัดสำปะซิวความจริงไม่ได้ขุดพบภายในวัดสำปะซิวแต่อย่างใด การพบพระกรุนี้ผู้ที่ขุดพบคือนายดี ขุดได้ในบริเวณบ้านของเขาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดสำปะซิวนัก ขุดได้ที่ริมรั้วบ้านโดยบังเอิญ นอกจากนี้บริเวณทางทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี และโบราณวัตถุอยู่บ่อยครั้งรอบๆ วัด ในส่วนพระเครื่องเนื้อดินเผาที่เรียกกันว่าพระกรุวัดสำปะซิวนั้น

เมื่อนายดีขุดพบพระเครื่องกรุนี้เข้า ก็พบมีจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา นอกจากนี้ก็ยังพบพระท่ามะปรางค์หรือที่ในสมัยก่อนเรียกกันว่าพระนางสำปะซิว ซึ่งก็มีจำนวนไม่มากนัก และยังมีพระพิมพ์อื่นๆ บ้างแต่ก็ไม่มากนัก พิมพ์หลักๆ ก็คือพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระทั้งหมดที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างหยาบมีกรวดทรายผสมอยู่ ผิวพระก็จะออกแกร่งๆ หน่อย

เมื่อนายดีได้ขุดพระได้ก็ได้แบ่งพระให้พรรคพวกไป พระจำนวนหนึ่งได้เข้าไปในตลาดสุพรรณฯ ก็มีเซียนพระในจังหวัดเช่าไปหลายองค์ เมื่อสอบถามว่าได้พระมาจากไหน ก็ตอบกันว่า แถววัดสำปะซิว จึงเรียกชื่อกรุกันต่อๆ มาว่า พระกรุวัดสำปะซิว พระกรุนี้ศิลปะน่าเป็นแบบสุโขทัยตอนปลาย ที่เป็นพิมพ์ซุ้มนครโกษาสันนิษฐานว่าสร้างล้อแบบของศิลปะลพบุรี เนื้อพระเป็นแบบเนื้อดินเผาค่อนข้างหยาบมีเม็ดกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อ ส่วนเนื้อที่ค่อนข้างละเอียดหน่อยก็มีพบอยู่บ้าง

พระกรุนี้มีผู้นำไปใช้แล้วมีประสบการณ์เด่นในด้านอยู่คงและแคล้วคลาด และพิมพ์ที่รู้จักกันมากก็จะเป็นพระซุ้มนครโกษา เนื่องจากมีจำนวนมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักพระพิมพ์นี้กันมากกว่า ส่วนพระพิมพ์ท่ามะปรางค์นั้นพบน้อยกว่าและหายากกว่าครับ

พระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุนี้มีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือ มีปีกหรือขอบข้างทุกองค์ไม่มากก็น้อย จะไม่พบพระที่การตัดขอบข้างเลย ในปัจจุบันพระกรุนี้ก็หาแท้ๆ ยากทุกพิมพ์ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก แต่พุทธคุณเชื่อถือได้ครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุวัดสำปะซิวจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61961642652749_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

เหรียญหล่อชินราชเข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
สาเหตุที่เรียกขานกันว่า "ชินราชเข่าลอย" นั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นการแกะแบบนูนต่ำ "ชินราชเข่าลอย" เป็นการแกะแม่พิมพ์แบบศิลปะนูนสูง ส่วนที่แตกต่างกันเด่นชัดที่สุดก็คือบริเวณเข่าขององค์พระ จึงนำมาขานนามตามพุทธลักษณะเด่น ซึ่งก็คือ "ชินราชเข่าจม" และ "ชินราชเข่าลอย" นั่นเอง

กล่าวถึง "พระพุทธชินราช" พระประธาน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก ซึ่งนอกเหนือจากคำกล่าวชมแล้ว ด้านความศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่เป็นสองรองใคร ผู้ที่เข้ากราบนมัสการขอพรต่างๆ ก็มักประสบความสำเร็จดังหวัง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วทั้งประเทศ ทำให้มีเกจิอาจารย์หลายๆ สำนักที่เคารพศรัทธาได้อาราธนามาจำลองเป็นวัตถุมงคลให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสต่างๆ เสมอมา ซึ่งยังคงพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระไม่เสื่อมคลาย หนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง คือ "เหรียญหล่อชินราชเข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม"

พระราชธรรมภรณ์ หรือ หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ แห่งวัดดอนยายหอม จ.นครปฐม นับเป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งของจังหวัด ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดดอนยายหอมจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ โบสถ์ กุฏิสงฆ์ และสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล เป็นต้น และวัตถุมงคลของท่านก็ล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์

สำหรับ "เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย" นี้ หลวงพ่อเงินจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2493 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาช่วยกำลังแรงงานและกำลังทรัพย์ในการจัดสร้าง "พระศรีทักษิณนุสร" เป็นพระประธานประจำอุโบสถวัดดอนยายหอม

สาเหตุที่เรียกขานกันว่า "ชินราชเข่าลอย" นั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นการแกะแบบนูนต่ำ ทำให้องค์พระแลดูแบนๆ ไม่สูงจากพื้นผนังเหรียญนัก

ขณะที่ "ชินราชเข่าลอย" เป็นการแกะแม่พิมพ์แบบศิลปะนูนสูง และส่วนที่แตกต่างกันเด่นชัดที่สุดก็คือบริเวณเข่าขององค์พระ จึงนำมาขานนามตามพุทธลักษณะเด่น ซึ่งก็คือ "ชินราชเข่าจม" และ "ชินราชเข่าลอย" นั่นเอง

การหล่อเหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย เป็นการหล่อแบบโบราณ ดำเนินการกันบริเวณหน้าอุโบสถหลังใหม่ วัดดอนยายหอม โดยทางวัดได้ว่าจ้างโรงงานหล่อพระให้จัดสร้างขึ้น มีนายช่างสนิท เปาวโร เป็นผู้แกะแบบพิมพ์และหล่อพระขึ้น ทำให้องค์พระมีลักษณะพิมพ์ทรงและการหล่อที่งดงาม และด้วยเป็นการเทหล่อด้วยโลหะผสมหลากชนิด ทำให้มีชนวนหลายประเภทที่ผสมรวมกันอยู่ ผิวพรรณวรรณะขององค์พระจึงมีความหลากหลาย ที่พบมากที่สุดคือ สีเหลืองอมเขียว เนื่องจากใช้ทองที่เหลือจากพระประธานเป็นหลักทำให้แก่ทองเหลือง

ส่วนผิวสีอื่นๆ ก็มีโทนสีออกน้ำตาลไหม้เกือบดำ บางทีเรียกว่า "เนื้อขันลงหิน สันนิษฐานว่าน่าจะแก่เงินเมื่อเกิดสนิมจึงกลับดำ ส่วนอีกสีผิวหนึ่งเรียกกันว่า "ผิวก้านมะลิ" คือสีออกเขียวเข้มจัดใกล้เคียงสีดำแต่จะขึ้นพรายเงินสวยงามมาก ซึ่งสนนราคาการเล่นหานั้นนอกจากความสมบูรณ์ขององค์พระแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสีสันวรรณะที่หายากง่ายต่างกันด้วย ว่ากันว่าสมบูรณ์สุดๆ ขยับขึ้นไปถึงหลักแสนแล้ว

นอกจากนี้ ของทำเทียมเลียนแบบก็ทำได้สุดยอด ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เก็บรายละเอียดและตำหนิต่างๆ ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งความคมชัดของเส้นสาย ดังนั้น จะเช่าจะหาต้องระวังกันให้ดีๆ แนะนำให้ปรึกษากูรูผู้ชำนาญการและไว้ใจได้จริงๆ ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79279465435279_view_resizing_images_6_320x200.jpg)

พระปิดตาคลุมโปง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท่าพระฝั่งธนบุรี วัดนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานของหลวงพ่อเกษร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวย่านฝั่งธนฯ และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องที่โด่งดังในสมัยอดีตเป็นพระปิดตา ที่มักจะเรียกกันว่า "พระปิดตาคลุมโปง"

ก่อนอื่นก็ขอพูดถึงวัดท่าพระและหลวงพ่อเกษรก่อน วัดท่าพระเป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีบันทึกว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่เมื่อใด เท่าที่หลงเหลือหลักฐานที่พอจะสันนิษฐานถึงความเก่าแก่ของวัดก็คือองค์หลวงพ่อเกษรและวิหารแกลบ (วิหารเดิมที่ครอบองค์หลวงพ่อเกษร) วัดท่าพระเดิมเรียกว่าวัดเกาะท่าพระ ต่อมาชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆ ว่า "วัดท่าพระ" และเป็นที่รู้จักกันในนามนี้ตลอดมา มูลเหตุของชื่อวัดสันนิษฐานว่า แต่เดิมบริเวณแห่งนี้คงเป็นที่ชุมนุมจอดพักเรือแพ จึงมีคำว่าท่านำหน้า และพื้นที่ของวัดคงจะมีลักษณะเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันมีการถมคลองเล็กๆ ด้านหนึ่งที่เข้ามาจากถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จึงมองดูไม่เป็นสภาพเกาะ ที่ท่าน้ำแห่งนี้มีการสร้างองค์พระและเป็นวัดที่มีพระสงฆ์มาจำพรรษา

วัดท่าพระสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากองค์หลวงพ่อเกษรเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาที่งดงาม และองค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขเดิม ลักษณะสถาปัตยกรรมของวิหารจัตุรมุขเดิมนั้น ทางโบราณคดีเรียกว่า "วิหารแกลบ" ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กนิยมสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เป็นวิหารที่สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ซึ่งเป็นการก่ออิฐแบบสลับตามยาวและตามขวางสลับกันไป มีการย่อมุมทั้งสี่ด้าน รูปแบบทางศิลปกรรมสามารถบ่งบอกถึงยุคสมัยของวิหารได้ว่าเป็นสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา วิหารจัตุรมุขที่เห็นในปัจจุบันเป็นการสร้างครอบวิหารเดิมไว้อีกทีหนึ่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ เมื่อเข้าไปภายในเพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อเกษรจะเห็นวิหารจัตุรมุขเดิมอยู่ภายใน อีกทั้งองค์หลวงพ่อเกษรก็เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายเช่นกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดท่าพระนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย

หลวงพ่อเกษรเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนปลายที่สวยงามมาก และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนไปกราบนมัสการขอพรมากทุกวัน กล่าวกันว่าผู้ที่มาขอพรมักจะสำเร็จสมประสงค์ทุกราย มีการจัดงานนมัสการเป็นประจำทุกปี

ครับที่วัดท่าพระแห่งนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์อยู่รูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า "ขรัวคลุมโปง" และประวัติของท่านก็ไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย ท่านเป็นพระลูกวัดผู้เคร่งในวิปัสสนาธุระ พูดน้อย กล่าวกันว่าท่านสามารถรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ และก็มีชาวบ้านชอบไปขอหวยจากท่าน เมื่อมีคนถูกบ่อยเข้าก็มีการกล่าวขวัญกันไปทั่ว และมีผู้คนมาขอหวยจากท่านมาก ท่านก็เลยไม่ยอมบอกใครอีก ใครไปกราบท่าน ท่านก็จะเอาจีวรคลุมหัวแบบคลุมโปง และไม่บอกหวยใครอีกเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงมักเรียกท่านว่า "ขรัวคลุมโปง" ลูกศิษย์ของท่านได้ไปขออนุญาตสร้างพระเครื่อง และท่านก็อนุญาตและให้สร้างเป็นรูปพระปิดตา ลักษณะคล้ายๆ กับคนนั่งคลุมโปง ในสมัยนั้นก็เรียกกันว่า "พระปิดตาขรัวคลุมโปง" จนกลายมาเป็น "พระปิดตาคลุมโปง" เนื้อของพระเป็นพระเนื้อตะกั่วผสมปรอท เวลาส่องดูเนื้อพระจะเห็นเม็ดปรอทปะปนอยู่ในเนื้อพระ

พุทธคุณนั้นสุดยอดอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยผมเด็กๆ ได้ยินเรื่องราวประสบการณ์ของพระปิดตาคลุมโปงมากมาย เรียกว่าใครมีพระปิดตาคลุมโปงแมลงวันไม่ได้กินเลือด แต่ก็หายากตั้งแต่สมัยก่อนใครๆ ก็เสาะหา และของปลอมก็มีมานานแล้วเช่นกันครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาคลุมโปงมาให้ชมครับ  

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78965484599272_view_resizing_images_7_320x200.jpg)

พระปิดตาอรหัง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อโลหะ ที่เล็กมากๆ อาจจะเล็กที่สุดโดยฝีมือการแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ปลุกเสกโดยหลวงพ่อไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. คือ พระปิดตาอรหัง พระปิดตาอรหังนี้ยังไม่ค่อยมีใครทราบประวัติมากนัก เนื่องจากเป็นการแจกให้เฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิดเท่านั้น เคยมีผู้เขียนประวัติการสร้างของพระปิดตาอรหังมาบ้าง แต่ยังไม่ค่อยชัดเจนและถูกต้องนัก วันนี้ผมจึงได้ขอประวัติที่ถูกต้องจากคุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ มาเขียนเพื่อเผยแพร่ให้ทราบกันครับ เรามาทำความรู้จักประวัติการสร้างพระปิดตาอรหัง ไปด้วยกันเลยนะครับ

หลวงพ่อไสว สุมโน วัดราชนัดดาฯ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ผู้ที่นิยมพระเนื้อโลหะ เช่นพระกริ่ง นั้นจะรู้จักและเคารพหลวงพ่อไสวมาก จะเห็นได้ว่าท่านจะเป็นเจ้าพิธีใหญ่ๆ อยู่เกือบทุกพิธี ยกตัวอย่างเช่น พระกริ่งนเรศวร ปี พ.ศ.2507 พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พระพุทธสิหิงค์ พ.ศ.2509 จังหวัดชลบุรี พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย ปี พ.ศ.2511 พระกริ่งเอกาทศรถ พ.ศ.2512 พระกริ่งยุทธหัตถี พ.ศ.2513 และพระกริ่งศรีนคร พ.ศ.2516 เป็นต้น พระดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นพระที่นิยมกันมากในปัจจุบัน และพระปิดตาอรหังเป็นพระปิดตาที่หลวงพ่อไสว สุมโน ปลุกเสกนานที่สุดในบรรดาวัตถุมงคลของท่าน

พระปิดตาองค์นี้ต้นแบบสร้างโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ช่างแกะแม่พิมพ์ที่ถือว่าเป็นสุดยอดฝีมือของยุคสมัยนั้น ได้แกะแม่พิมพ์หลังจากที่ได้สร้างพระปิดตาสารพัดดีของหลวงพ่อเกษม เขมโก ปี พ.ศ.2518 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่ามีการทำพระปิดตาสารพัดดีปลอมออกมา นายช่างเกษมจึงได้แกะพระปิดตาที่มีขนาดเล็กมาก ขนาดขององค์พระมีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียวเล็กน้อยเพื่อให้ปลอมแปลงได้ยากขึ้น เมื่อแกะเป็นองค์พระนี้เสร็จแล้วจึงมอบให้คุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ และได้นำไปขออนุญาตหลวงพ่อไสว สุมโน เพื่อปลุกเสก ท่านรับปากโดยแจ้งว่าจะปลุกเสกจนกว่าท่านจะพอใจ (มีปาฏิหาริย์) จึงจะคืนให้ ต่อมาหลวงพ่อไสวได้ให้นายช่างเกษมเทหล่อ โดยใช้เนื้อชนวนพระกริ่งศรีนคร ซึ่งถือว่าเป็นพระกริ่งที่มีพิธีและเนื้อหาดีที่สุดในยุคนั้นมาใช้เป็นเนื้อของพระปิดตาชุดนี้ โดยไม่มีการเจือโลหะอื่นอีกเลย เทได้กี่องค์ก็เอาแค่นั้น หลวงพ่อไสวได้ปลุกเสกพระปิดตาชุดนี้อยู่ถึง 2 ปีกว่า (ปลุกเสกตั้งแต่ปี พ.ศ.2518-2520) นอกจากนี้ท่านยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ที่ท่านได้รับนิมนต์ไปในพิธีอีกหลายแห่ง จากนั้นหลวงพ่อไสวจึงให้คุณไชยทัศน์มารับพระปิดตาคืน โดยท่านได้ตั้งชื่อพระปิดตาชุดนี้ว่า "พระปิดตาอรหัง" และกำชับคุณไชยทัศน์ว่า "อย่าแจกพร่ำเพรื่อ มอบให้เฉพาะคนที่สนิท ญาติมิตร ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือผู้ที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือจะไปทำงานต่างจังหวัดไกลๆ "พระที่สร้างในครั้งนี้สร้างตามชนวนที่มีอยู่ สันนิษฐานว่าจำนวนประมาณไม่เกิน 800-900 องค์และนายช่างเกษมได้ทำโค้ดตอกไว้ทุกองค์ที่ใต้ฐานบริเวณชนวนที่ตัดออกเป็นตัว "ท" พระส่วนหนึ่งหลวงพ่อไสวนำไปแจกลูกศิษย์ใกล้ชิด ส่วนหนึ่งมอบให้นายช่างเกษม และส่วนที่เหลือของคุณไชยทัศน์ก็ได้มอบให้แก่ญาติมิตร และคนใกล้ชิดเท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เป็นต้นมา

พระปิดตาอรหัง เป็นพระปิดตาเนื้อโลหะที่องค์เล็กที่สุด มีความสวยงามในด้านศิลปะ และเนื้อหาก็ดีมาก การปลุกเสกก็นานที่สุดของหลวงพ่อไสว และพระชุดนี้สร้างมาไม่มีการจำหน่ายเลย เป็นการแจกให้ผู้ใกล้ชิดเท่านั้น ปัจจุบันหายากมาก และเป็นที่นิยมเสาะหากัน มีอยู่บ้างที่หลุดเข้ามาในสนามพระ แต่ก็น้อยมาก และจะมีผู้ที่ทราบประวัติเช่าหาไปอย่างรวดเร็ว

ในวันนี้ผมก็เลยถือโอกาสนำรูปพระปิดตาอรหัง ถ่ายเปรียบเทียบกับเมล็ดถั่วเขียวมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41956057979000_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ

พระครูวิบูลอาจารคุณ หรือ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงเจริญธรรม ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอ่างทอง มีชื่อเสียงโด่งดัง

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2522 ที่วัดนางใน (ธัมมิการาม) โดยมี พระครูสุนทรศีลคุณ (หลวงพ่อชม) เจ้าอาวาสวัดนางใน เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2527 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดม่วง พ.ศ.2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหัวตะพาน พ.ศ.2530 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

มีความชำนาญด้านเทศนาปาฐกถาธรรม พ.ศ.2534 ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอวิเศษชัยชาญ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2544 รวมสิริอายุ 56 ปี

นับเนื่องจนถึงปัจจุบัน ศพยังไม่เน่าเปื่อยบุบสลายเป็นที่น่าอัศจรรย์ และบรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งให้กราบไหว้สักการะบริเวณวิหารแก้ว

กล่าวได้ว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษมทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นแรก เหรียญรุ่นดังกล่าวมีหูห่วง เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2528 ในงานที่ระลึกวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดม่วงเจริญธรรม

สร้างจากเนื้อทองแดง โดยมีพระเกจิที่เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเกษม ห้อยประคำมาถึงตรงกลางอก ด้านหนึ่งเห็นเม็ดประคำ 19 ลูก อีกด้านเห็นเม็ดประคำ 20 ลูก ด้านข้างรอบเหรียญ เขียนคำว่า "เมตตามหานิยม ลาภผลพูนทวี อยู่เย็นเป็นสุข ซื้อง่ายขายคล่อง แคล้วคลาดปลอดภัย หลวงพ่อเกษม วัดม่วง อ.วิเศษฯ จ.อ่างทอง" ไหล่ด้านบนรูปหลวงพ่อเกษม 2 ด้าน มียันต์อักขระขอม "มะ อะ อุ" พระเจ้าห้าพระองค์

ด้านหลัง เขียนข้อความรอบเหรียญด้านนอก ว่า "ที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดม่วงเจริญธรรม ๕ ก.ย. ๒๕๒๘ รุ่นที่ ๑" ตรงกลางเป็นยันต์มหาโภคทรัพย์

ปัจจุบันแวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลใน จ.อ่างทอง กล่าวได้ว่า เหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่น 1 เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากัน กะเก็งว่า วัตถุมงคลหลวงพ่อเกษมได้รับความนิยมสูง

ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มกราคม 2562 15:45:12

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67552993736333__28_61_1_320x200_.jpg)
เหรียญเม็ดแตง วัดช้างให้
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีเพื่อนกับคนที่รู้จักกันถามเรื่องการที่จะห้อยพระเครื่องสักองค์ ควรจะหาพระเครื่องอะไรห้อยคอดี กลุ่มคนที่ถามก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องพระเครื่องนัก คำถามก็คือเขาอยากจะหาพระเครื่องห้อยคอแบบห้อยองค์เดียวหรือหาให้ลูกหลานห้อยสักองค์ น่าจะห้อยพระอะไรดี

ครับความจริงเรื่องนี้ก็แล้วแต่ใครจะชอบพระอะไร ก็ห้อยพระนั้นๆ แต่ถ้าจะถามผมโดยความเห็นส่วนตัวแล้วให้ห้อยองค์เดียว ผมก็จะห้อยพระหลวงปู่ทวดครับ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมจะเลือกพระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสก หลายคนก็บอกว่าหายากและแพง ข้อนี้ก็แล้วแต่ว่าเราจะเลือกรุ่นไหน สภาพอย่างไร ถ้าจะหาเพื่อนำมาเป็นกำลังใจปกป้องคุ้มครองก็รุ่นไหนก็ได้ครับ สภาพก็แล้วแต่ว่าสวยหรือไม่ ถ้าหย่อนงามหน่อยราคาก็จะถูกลงมาต่างกันมาก

ยกตัวอย่างถ้ามีทุนทรัพย์มากก็หารุ่นแรกเนื้อว่าน พิมพ์อะไรก็ว่ากันไป หรือจะเป็นเหรียญรุ่นแรก พระรุ่นหลังเตารีด สนนราคาก็จะต่างกันตามพิมพ์และสภาพของพระ ส่วนผมชอบเหรียญเม็ดแตง เนื่องจากเป็นเหรียญขนาดเล็กน่ารัก เลี่ยมห้อยคอก็สวยงาม เหรียญเม็ดแตงก็มีการปลุกเสกอยู่ 2 ปี คือปี พ.ศ.2506 กับปี พ.ศ.2508 นอกจากนี้ในปัจจุบันก็ยังแยกบล็อกออกอีกมากมาย สนนราคาก็แตกต่างกันไป สนนราคาสวยๆ ก็ตั้งแต่หลักหมื่นกว่าๆ ถึงหลักแสน ตามรุ่นตามบล็อกและความสวย

ครับนอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญรุ่นที่ยังไม่แพงอีกหลายรุ่น เช่น เหรียญรุ่น 3-4 มีทั้งเหรียญรูปไข่และเสมา เนื้อเหรียญก็มีทั้งเนื้อทองแดงและอัลปาก้า สร้างประมาณปี พ.ศ.2503-2505 มีหลายบล็อก ก็มีสนนราคาแตกต่างกันไป ตั้งแต่หลักพันยันหลักหมื่น ถ้าสภาพสึกหน่อยก็ถูกหรือถูกมากก็มีตามสภาพ ผมเองก็เช่าหาทั้งสภาพสวยและสึกๆ เพื่อนบางคนว่าเช่าพระสึกๆ มาทำไม ไม่เช่าสวยๆ ไปเลยดีกว่า ผมเองไม่ได้เช่ามาเพื่อขายต่อ แต่เช่าเนื่องจากศรัทธาและเพื่อเป็นกำลังใจปกป้องคุ้มครอง จึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องหาสวยมากๆ เช่าพระสวยๆ นั้นดีแน่ครับ แต่ก็ต้องดูกำลังทรัพย์ที่พอจะเช่าได้ด้วย ผมเองถ้ามีโอกาสเช่าพระสวยๆ ก็เช่าเหมือนกันนะครับ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะเช่าได้ ณ เวลานั้นครับ

ก็มีเพื่อนถามว่าทำไมผมจึงเลือกพระหลวงปู่ทวด ผมก็บอกตามความคิดส่วนตัวว่า ผมเองศรัทธาในองค์หลวงปู่ มีความเชื่อมั่นว่า ถ้าเราประพฤติดีหลวงปู่ท่านก็จะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง แม้จะมีเรื่องร้ายแรงเท่าใด หลวงปู่ก็จะช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบาหรือแคล้วคลาดปลอดภัยได้ครับ และถ้าหาพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกไม่ได้ ก็เป็นรุ่นใดก็ได้ครับ หรือจะเป็นของวัดอื่นๆ ก็ยังได้ ขอให้ระลึกถึงท่านอยู่เสมอ กระทำความดีละชั่ว ก็ได้ผลเหมือนกันหมดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญเม็ดแตง วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2508 ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33361154256595_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

พระผง หลวงปู่ทองคำ สุวโจ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม

เป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 91 ปี พรรษา 37

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างจากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขาและกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ในปี 2561 ภายหลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

มีโครงการจัดซื้อที่ดินถวายให้วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว ซึ่งเป็นวัดที่ท่านให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอด รวมทั้งทำนุบำรุงวัดในประเทศอีกหลายแห่ง แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

เนื่องจากหลวงปู่เป็นผู้มีมีความรู้ด้านพืชสมุนไพร ท่านจะนำความรู้ด้านสมุนไพร ช่วยบรรเทาอาการโรคเหล่านั้นให้ แต่มีปัญหาคือ สมุนไพรบางอย่างเริ่มหายาก หลวงปู่จึงมีโครงการที่จะจัดซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสมุนไพรไว้รักษาโรคให้แก่ญาติโยม แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา ได้มีมติจัดสร้างวัตถุมงคล พระเนื้อผง ดวงโภคทรัพย์มหาเศรษฐีขึ้น สำหรับมวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ อาทิ เกศา จีวร ชานหมาก ผงกสิณไฟ หลวงปู่ทองคำ ผงงาช้าง ผงเก่าหลวงปู่หมุนวัดบ้านจาน เป็นต้น

ลักษณะของพระเนื้อผงดวงโภคทรัพย์มหาเศรษฐีรุ่นนี้ เป็นรูปไข่ขอบเกลียวเชือก

ด้านหน้าบริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำ ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้ายเขียนว่า อาศรมสุวโจ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ส่วนขอบด้านล่างเขียนว่า "โภคทรัพย์มหาเศรษฐี" บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อชานหมากฝังตะกรุดทองคำ 100 เหรียญ เนื้อผงใบลานฝังตะกรุดทองคำ-เงิน 500 เหรียญ เนื้อผงอิทธิเจฝังตะกรุดเงินสร้าง 3,000 เหรียญ เนื้อผงดำ สร้าง 2,000 พันเหรียญ เนื้อผงเทา 3,000 เหรียญ และเนื้อขาว 50,000 เหรียญ

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49305977423985_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87012661331229_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52601737446255_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ ที่สร้างโดยเจ้าประคุณพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
โอกาสนี้ ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ที่สร้างโดยเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีทั้งพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม และพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม มาให้ชมเพื่อเป็นสิริมงคล และขอบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ช่วยคุ้มครองท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านครับ

1.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม
พระแม่พิมพ์นี้เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ ที่ครูบาอาจารย์รุ่นเก่านำมาตั้งชื่อของแม่พิมพ์ที่เห็นได้ชัดก็คือ เอกลักษณ์ของพระแม่พิมพ์นี้คือพระเกศขององค์พระที่ยาวทะลุเลยซุ้มครอบแก้วไปจรดกรอบแม่พิมพ์

2.พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เส้นแซมใต้ฐาน
แม่พิมพ์นี้เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์คือจะมีเส้นแซมที่อยู่ระหว่างใต้หน้าตักขององค์พระกับเส้นฐานชั้นบน และโดยเฉพาะองค์พระที่อยู่ในซุ้มครอบแก้วก็จะมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์อื่นเล็กน้อย

3.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์
แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นได้บ่อยกว่าแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์อื่นๆ เอกลักษณ์ของพระแม่พิมพ์นี้ก็คือที่บริเวณช่วงกลางพระเกศจะมีรอยขยักป่องออกมาที่ด้านซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) เพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านจะเป็นเส้นตรงเรียบๆ

4.พระสมเด็จ วัดระฆังฯพิมพ์ฐานแซม
แม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ใหญ่ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม เนื่องจากองค์พระในซุ้มครอบแก้วจะมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์ฐานแซม แม่พิมพ์อื่นๆ เอกลักษณ์คือพระเกศจะสั้นและกว้างตั้งแต่โคนพระเกศและจะค่อยๆ เรียวแหลมขึ้นไปจรดขอบซุ้ม ครอบแก้ว

5.พิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จวัดระฆังฯ
แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นได้น้อย เป็นแม่พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่สวยงาม เอกลักษณ์ของ แม่พิมพ์นี้พระเกศจะสวยงาม ตรงบริเวณกลางพระเกศจะมีขยักป่องออกทั้ง 2 ด้าน คล้ายทรงของเกศเปลวเพลิง และจะมีเส้นแซมอยู่ระหว่างใต้หน้าตักกับฐานชั้นบน ในสมัยก่อนบางท่านอาจจะนับแม่พิมพ์นี้ไปอยู่กับพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตู

6.พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จพิมพ์นี้เท่าที่พบจะมีแม่พิมพ์เดียว เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ก็คือพระเกศจะคล้ายมีมุ่นมวยผมที่โคนพระเกศ และตรงกลางพระเกศจะป่องออกทั้ง 2 ด้านมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม และปลายพระเกศจะไม่ยาวไปจรดซุ้ม องค์พระล่ำสัน ฐานก็จะหนาและมีเส้นแซมสองเส้น

7.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์อกวี
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้ลำพระองค์ ของพระตั้งแต่หน้าอกจะกว้างแล้วจึงค่อยๆ เรียวลงมาจนถึงช่วงท้องที่อยู่เหนือมือที่ประสานกัน มองดูรูปทรงเป็น วีเชฟคล้ายกับตัวอักษรตัว V ในภาษาอังกฤษ

8.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์ อกกระบอก
เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์นี้ก็อยู่ที่ส่วนของลำพระองค์เช่นกัน คือหน้าอกขององค์พระจะลงมาตรง ไม่เรียว ไม่เว้า มองดูคล้ายรูปทรงกระบอก

9.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก
แม่พิมพ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มของพิมพ์ทรงเจดีย์ แต่เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์นี้ก็คือะมีขนาดขององค์พระเล็กกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ของกลุ่มแม่พิมพ์ทรงเจดีย์

10.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม
แม่พิมพ์นี้ องค์พระจะค่อนข้างชะลูด พระเกศเรียวยาวจรดซุ้ม หน้าตักแสดงการขัดสมาธิเพชรชัดเจน โดยหน้าตักจะคอดตรงกลาง คล้ายสากตำข้าวในสมัยโบราณ

แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42054844813214_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระสีวลี เนื้อผงไม้ตะเคียน
พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน พระปฏิบัติดีสืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.นครพนม

ทำให้ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันบริจาคที่ดินบริเวณ บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือ บริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน มอบให้พระอาจารย์สุริยันต์ สร้างวัด

ซึ่งพระอาจารย์สุริยันต์ก็รับนิมนต์ โดยร่วมแรงร่วมใจกับญาติโยมและคณะศิษย์พัฒนาที่รกร้างว่างเปล่าผืนนี้ จนกลายสภาพเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมมีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับถาวรวัตถุที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและใกล้แล้วเสร็จคือพระอุโบสถไม้ ใช้งบ 100 ล้านบาท แต่ก็ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก

วัดป่าวังน้ำเย็นและคณะศิษย์ได้หารือกันและมีมติดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสีวลี เนื้อผงไม้ตะเคียน" วัตถุ ประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งพระส่วนหนึ่งสำหรับแจกญาติโยมที่มาบริจาคทำบุญกับทางวัด

ด้านหน้าของวัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นภาพพระอรหันต์พระสีวลี ในท่าก้าวเดินมือขวาแบกกลดและสะพายอัฐบริขาร ด้านล่างเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น

ส่วนด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ส่วนด้านซ้ายเขียนว่า ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม บริเวณกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ยันต์มหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดเป็นตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างประกอบด้วย ชุดกองบุญ สร้าง 2,561 ชุด บูชาชุดละ 100 บาท รับพระ 3 องค์ คือ เนื้อผงไม้ตะเคียนผสมจีวร เกศาพระอาจารย์สุริยันต์ ปิดทองคำแท้ พระเนื้อผงไม้ตะเคียน และพระเนื้อผงว่านแดงผสมไม้ตะเคียน มวลสารที่นำมาทำได้จากผงไม้ตะเคียนเสาไม้พระอุโบสถไม้วัดป่าวังน้ำเย็น

วัตถุมงคลรุ่นนี้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในงานสวดมนต์ข้ามปีวัดป่าวังน้ำเย็น ในคืนวันที่ 31 ธ.ค.2561 พระอาจารย์สุริยันต์อธิษฐานจิตเดี่ยว 

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39512965952356_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

พระปิดตาของหลวงปู่อินทร์ อินฺทโชโต
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสร้างโดย พระครูอินทร์ อินฺทโชโต วัดสายชล ณ รังสี (วัดแหลมบน) หลวงปู่อินทร์ ประชาชนโดยทั่วไปอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อของท่านนัก แต่ถ้าเป็นชาวแปดริ้วรุ่นเก่าๆ จะรู้จักท่านดีครับ ท่านได้สร้างพระเครื่องพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักไว้ พุทธคุณเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันครบเครื่องครับ

พระครูอินทร์ อินฺทโชโต (หลวงปู่อินทร์) วัดสายชล ณ รังสี ท่านมีเชื้อสายจีน เกิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตำบลจุกเฌอ เมื่อปี พ.ศ.2416 หลวงปู่ท่านกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เล็กๆ จึงได้มาอยู่ที่วัดสายชล ณ รังสี ซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดแหลมบน" ท่านเป็นศิษย์วัดของ พระครูคณานุกิจวิจารณ์ (ชื่น) หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า "หลวงปู่เฮ้ย" เนื่องจากท่านเรียกใครมักขึ้นต้นว่า "เฮ้ย" จนติดปาก หลวงปู่อินทร์เรียนหนังสืออยู่ที่วัดนี้ และอยู่จนอายุครบบวช หลวงปู่ชื่นท่านได้จัดการอุปสมบทให้หลวงปู่อินทร์ที่วัดแหลมบนนี้ โดยมี พระครูญาณรังษีมุนีวงษ์ (ทำ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวนนอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูคณานุกิจวิจารณ์ (ชื่น) วัดสายชลฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ประดิษฐ์ วัดสายชลฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดสายชลฯ ได้ศึกษาพระธรรมและสรรพวิทยาคมต่างๆ จาก พระครูญาณ ทำ และจากหลวงปู่ชื่น จนแตกฉาน ต่อมาในปี พ.ศ.2471 หลวงปู่อินทร์ได้รับนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระอาจารย์ประดิษฐ์

หลวงปู่อินทร์ท่านได้บูรณะและพัฒนาวัดสายชลฯ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับ ได้ซ่อมแซมหมู่กุฏิสงฆ์ ทำถนนคอนกรีตในบริเวณวัด สร้างโรงเรียนประชาบาล และอื่นๆ ชาวบ้านต่างเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก นอกจากนี้ท่านยังเชี่ยวชาญในด้านแพทย์แผนโบราณอีกด้วย เป็นที่กล่าวขวัญกันมาก โดยมีชาวบ้านต่างก็มาขอให้ท่านช่วยรักษาโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะดึกดื่นค่อนคืนแค่ไหน เมื่อมีชาวบ้านมาขอให้ท่านช่วย ท่านก็จะช่วยเหลือตลอด จนหายดีเกือบทุกราย ปัจจุบันตำรายาของท่านยังคงรักษาอยู่ที่วัดสายชลฯ หลวงปู่อินทร์มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่เป็นพระเกจิอาจารย์ เช่น หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว พระครูศาสนกิจบริหาร (จ้อย จุลฺลปาโล) เป็นต้น นอกจากนี้ที่เป็นฆราวาสที่เป็นแพทย์แผนโบราณที่มีชื่อเสียงของแปดริ้วก็คือ คุณปู่แสวง มหารักษ์ เป็นต้น

หลวงปู่อินทร์ท่านครองวัดสายชลฯ มาจนถึงปี พ.ศ.2491 ท่านก็ได้มรณภาพ สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55

หลวงปู่อินทร์ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ เช่น ผ้าประเจียด ตะกรุด และพระเครื่อง เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเนื้อตะกั่ว พระพุทธกวัก และนางกวัก เนื้อผงคลุกรัก ในส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักมี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระปิดตาของหลวงปู่อินทร์ เนื้อผงคลุกรักจากนิตยสารพระท่าพระจันทร์มาให้ชมกันครับ 

ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93113013191355_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระขุนแผนของหลวงพ่อแช่ม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีประชาชนเคารพนับถือมาก และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ก็เป็นที่นิยมและหายากในปัจจุบันครับ

หลวงพ่อแช่ม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 ที่ตำบลตาก้อง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ ชื่น โยมมารดาชื่อ ใจ พอถึงวัยเรียน บิดามารดาจึงนำมาฝากเรียนกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ และได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาหนังสือไทย-ขอม และวิทยาคม จนอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัด ตาก้อง โดยมี พระครูอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ตุ่ม ซึ่งเป็นน้าของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชโต" เมื่อบวชแล้วท่านก็หมั่นศึกษาพระธรรมวินัย สามารถท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งสวดเดินหน้าและถอยหลังได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาวิปัสสนาธุระ และชอบออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งทางประเทศพม่า และกัมพูชา

หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อกลั่น วัดพระประโทน พระอาจารย์ตุ่ม เป็นต้น หลวงพ่อแช่มมีพลังจิตสูง เคยมีคนมานิมนต์ท่านและนำรถมารับ ท่านกลับบอกว่า "ให้ไปก่อน เดี๋ยวข้าไปถึงก่อนเอ็ง" ปรากฏว่าท่านไปยืนรออยู่ก่อนจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ชาวบ้านในแถบนั้นรู้กันเป็นอย่างดี และเชื่อว่าท่านย่นระยะทางได้ เคยมีลูกศิษย์ถามท่านและอยากจะเรียนวิชานี้กับท่าน ท่านก็บอกว่า "เมื่อเราไปย่นเขา กลับมาวัดก็ต้องมาเดินจงกรมใช้หนี้เขานะ มันไม่ง่ายนักหรอกข้าจะบอกให้ พวกเอ็งรู้ไว้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปย่นเข้า ที่ว่าจำเป็นก็คือ มันมีธุระด่วนต้องรีบไป"

และมีอยู่เรื่องหนึ่ง เคยมีคนมาขโมยมาลักม้าที่วัดของท่าน แต่พวกขโมยกลับจูงม้าออกจากวัดไม่ได้ เดินวนเวียนอยู่อย่างนั้น ต้องนำมาคืน ท่านก็ไม่ได้เอาเรื่อง และเทศน์สอนให้กลับใจ หลวงพ่อแช่มไม่ยึดติดกับยศศักดิ์ ท่านให้พระปลั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา

สหธรรมิกของหลวงพ่อแช่มก็คือ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นต้น

ศิษยานุศิษย์ของท่านก็คือ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อลี วัดปากคลองบางครก เป็นต้น

หลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครปฐมมาก วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มที่ท่านได้สร้างไว้ได้แก่ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามกษัตริย์ พระผงผสมดินหน้าตะโพน ธง เสื้อยันต์ ผ้าประเจียดแดง ลูกสะกด ต่อมาครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ.2484 ลูกศิษย์ขอให้หลวงพ่อออกเหรียญรูปท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาต เป็นเหรียญด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มองค์ ยกมือขึ้นข้างหนึ่ง และนั่งทับปืนยาวไขว้กันอยู่ รูปทรงเหรียญเป็นรูปแบบพัดยศ มีขอบข้างเป็นขยัก 16 ขยัก เหรียญนี้มีอยู่ 2 พิมพ์คือพิมพ์หูเดียว และสองหู มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปี พ.ศ.2490 สิริอายุได้ 90 ปี

พระขุนแผนเนื้อดินหน้าตะโพนผสมผงของหลวงพ่อแช่ม พุทธคุณยอดเยี่ยม สนนราคายังไม่สูงนัก แต่ปัจจุบันเริ่มหายาก วันนี้ผมก็เลยนำรูปพระขุนแผนของหลวงพ่อแช่มมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่องแทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 มกราคม 2562 13:58:51
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61717782624893_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อยอด อินทโชติ หรือพระครูประสุดสังฆกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองปลาหมอ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของจังหวัดสระบุรี พระรูปเหมือน รุ่นแรกของท่านได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระรูปเหมือน ปัจจุบันหายากมากและสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

หลวงพ่อยอดเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ที่จังหวัดนครราชสีมา พออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทโดยมีพระอาจารย์อินทร วัดมะรุม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดมะรุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์รอด วัดมะค่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ" ท่านได้ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระจากพระอุปัชฌาย์จนแตกฉาน จึงได้เดินทางมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่ วัดชนะสงคราม ท่านได้มีโอกาสรู้จักกับพระคณาจารย์ผู้โด่งดังแห่งเมืองพระนคร ศรีอยุธยา 2 รูปคือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม และหลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง ท่านได้ศึกษาวิทยาการต่างๆ อยู่หลายพรรษาแล้วจึงได้เดินทางสู่พระนครศรีอยุธยา โดยอยู่จำพรรษากับหลวงพ่อกลั่นระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านจึงออกเดินทางต่อผ่านมาทางอำเภออุทัย อำเภอหนองแค ผ่านหมู่บ้านหนองปลาหมอ และ ณ ที่แห่งนั้นมีสำนักสงฆ์ร้างอยู่ ท่านจึงได้พัฒนาสร้างเป็นวัดขึ้นในปี พ.ศ.2432 จนเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อยอดได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอธิการหมวด เป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงพระครูเจ้าคณะแขวงที่พระครูประสุดสังฆกิจ ท่านปกครองวัดหนองปลาหมอนานถึง 54 ปี จึงมรณภาพในปี พ.ศ.2486 สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 63

วัตถุมงคลของหลวงพ่อยอดที่นิยมมี ตะกรุดโทน เหรียญรูปหลวงพ่อยอด พระรูปเหมือนรุ่นแรก สำหรับพระรูปเหมือนรุ่นแรกนั้นสร้างในปี พ.ศ.2487 ถึงแม้จะสร้างไม่ทันในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม คือสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วหนึ่งปี โดยพระครูวิบูลย์คณานุสรณ์ (หลวงพ่อเฉื่อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดสหมิตรมงคล ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อยอด มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสกด้วยเช่น หลวงพ่อคง วัดพุทไธศวรรย์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน หลวงพ่อนาค วัดหนองสีดา หลวงพ่อเที่ยง วัดศาลาแดง เป็นต้น ที่ใต้ฐานพระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดทุกองค์จะบรรจุผงอัฐิของหลวงพ่อยอดเอาไว้ แล้วอุดด้วยโลหะทองแดง

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดมีพุทธคุณสูงและมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งอยู่คง แคล้วคลาด เมตตามหานิยมครบเครื่อง ปัจจุบันหายากมากสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ รุ่นแรกมาให้ ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  - ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21674947937329_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

พระกลีบบัว วัดลิงขบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกลีบบัว วัดลิงขบ ของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงทรงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา ซึ่งอยู่มุมเขตด้านเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจแต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรี มาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชิน และเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐาน ได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผา มีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัว ในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปใช้ห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ ในด้านแคล้วคลาด และอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  - ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43215854672921_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

เหรียญพระอู่ทองปางห้ามสมุทร
"พระครูอุทัยธรรมวิสุทธิ์" หรือ "หลวงพ่อวิโรจน์ กัมมสุทโธ" เจ้าคณะตำบลห้วยรอบ-ดอนกลอย และ เจ้าอาวาสวัดทุ่งพึ่งใหม่ ต.ทุ่งพึ่ง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี พระเถราจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

เป็นศิษย์สายตรงพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงพ่อผล จันทโณ วัดทุ่งพึ่ง (เก่า) และหลวงพ่อปลั่ง ฐิตวิริโย (พระอุปกิตธรรมสาร) วัดห้วยรอบ อดีตเจ้าคณะอำเภอหนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี มีนามเดิม วิโรจน์ กระต่ายขาว พื้นเพเป็นชาวอุทัยธานี เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 พ.ค.2497

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2522 ณ พัทธสีมาวัดทุ่งพึ่งใหม่ ต.ทุ่งพึ่ง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี โดยมี หลวงพ่อปลั่ง (พระอุปกิตธรรมสาร) วัดห้วยรอบ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งพึ่งใหม่ "วัดทุ่งพึ่งใหม่" เดิมเป็นวัดร้าง เรียก "วัดหนองหญ้า" บริเวณเป็นป่ารกชัฏ ราวปี พ.ศ.2472 ชาวบ้านหนองพัง พร้อมใจกันพัฒนาบริเวณและจัดสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ขนานนามว่า "วัดทุ่งพึ่งใหม่" เพราะมีวัดทุ่งพึ่งเก่าอยู่แล้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่วันที่ 2 ก.ย.2480 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ย้อนไปในปี พ.ศ.2537 จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญพระอู่ทองปางห้ามสมุทร" ไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อมอบสมนาคุณพุทธ ศาสนิกชน ตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์ที่เข้านมัสการและร่วมทำบุญ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเป็นลายกนกล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน พระอู่ทองประทับยืนบนบัวคว่ำ บัวหงาย มือซ้าย-ขวา ยื่นไปข้างหน้า เป็นปางห้ามสมุทร

ส่วนด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบ ตรงกลางมียันต์ "นะ หน้าทอง" ด้านข้างทั้งสองมีอักษรไทย "วัดทุ่งพึ่งใหม่ (หนองหญ้า) อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี รุ่น ๑ ๒๕๓๗"

วัตถุมงคลดังกล่าว เข้าพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต นาน 12 เดือน โดยหลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี และหลวงพ่อปลั่ง วัดห้วยรอบ มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70466954509417_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
"พระธรรมมุนี" แห่งวัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หรือ หลวงพ่อแพ เขมังกโร หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสิงห์บุรี วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา

โดยเฉพาะ พระสมเด็จทองเหลือง ซึ่งจำลองแบบมาจากพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ท่านเคารพศรัทธาอย่างสูง

หลวงพ่อแพ เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2448 ณ บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน บิดาจึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของ นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา

พออายุ 11 ขวบ บิดามารดาบุญธรรมนำไปฝากที่สำนักอาจารย์ป้อม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม และศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ

จนอายุได้ 16 ปี จึงกลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชา ที่วัดพิกุลทอง มี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นเดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค นัยน์ตาเกิดอาการอักเสบ เจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์แนะนำไม่ให้ใช้สายตาเพ่งอ่านหนังสือ เพราะอาจพิการได้ การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมจึงต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจ ใฝ่การศึกษาท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สำนักพระครูภาวนา วัดพระเชตุพนฯ

เมื่ออายุครบ 21 ปี ในปี พ.ศ.2469 กลับมาอุปสมบท ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพยมุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกโร" แล้วกลับไป จำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง

จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ปรมาจารย์ชื่อดังยุคนั้น เพื่อเรียนวิชาอาคมจนแตกฉานเชี่ยวชาญ

พ.ศ.2473 พระอาจารย์หยด พวงมะสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทอง จึงนิมนต์ท่านให้รับตำแหน่งในปี พ.ศ.2474 ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 26 ปี

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาส รัชกาลที่ 9 เสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมุนี

เป็นพระนักพัฒนาและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อพระบวรพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และนับเป็นพระคณาจารย์รูปสำคัญของเมืองสิงห์บุรี ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยาก

มรณภาพ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 สิริอายุ 94 ปี

หลวงพ่อแพ เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 เพื่อแจกบรรดาลูกศิษย์ลูกหา รวมๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 300 แบบพิมพ์ ทั้ง พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสีวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ

การสร้างวัตถุมงคลของท่านนั้น ไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้นๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคมและอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความเข้มขลังแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

สำหรับ "พระสมเด็จทองเหลือง" นั้น นับเป็น "พระสมเด็จรุ่นแรก" สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2494 สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูศรีพรหมโสภิต โดยจำลองแบบพิมพ์จากพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งท่านเคารพนับถืออย่างสูง จัดสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองแบบเนื้อขันลงหิน มีลักษณะพิเศษคือ จะปรากฏเกล็ดทองทั่วองค์พระ พระสมเด็จทองเหลือง มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น

ลักษณะเป็นพระเครื่องแบบหล่อโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว ภายในซุ้มครอบแก้ว มีฐานบัลลังก์รองรับ 2 ชั้น ระหว่างฐานทั้งสองจะมีเส้นฐานแซม พระพักตร์แบบผลมะตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อม รัศมีเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาว พระอุระปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจนและยาวลงมาจดพระหัตถ์ ส่วน ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์ตัวพุดซ้อนกัน 3 ตัว เรียกว่า "ยันต์พุดซ้อน" ใต้ยันต์เป็นอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "ช ย"

"พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ" นับเป็นพระเครื่องอันดับต้นๆ ของจังหวัดสิงห์บุรี ที่ทรงคุณค่าและครบครันในด้านของพุทธคุณ ถือเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพที่ได้รับความนิยมสะสมมากรุ่นหนึ่งทีเดียวครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61854562825626_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดอนงค์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อโลหะผสมชนิดหนึ่งที่นำมาสร้างวัตถุมงคลและเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว คือเนื้อโลหะเมฆสิทธิ์ ซึ่งเป็นโลหะผสมที่สร้างให้ถูกต้องตามตำรับโบราณนั้นยากมาก ในสมัยหลวงพ่อทับ วัดอนงคงคารามฯ ได้ผสมเนื้อโลหะชนิดนี้ขึ้น และนำมาสร้างวัตถุมงคลของท่าน ปัจจุบันหายากมากครับ

หลวงพ่อทับ เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2389 มรณภาพในปี พ.ศ.2480 ประวัติของท่านไม่ได้มีบันทึกไว้ แต่จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกต่อกันมาว่า หลวงพ่อทับจำพรรษาอยู่ที่วัดอนงค์ เป็นพระลูกวัดในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) แต่มีพรรษาแก่กว่าสมเด็จฯ หลวงพ่อทับเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม วิชาอีกอย่างหนึ่งคือท่านเชี่ยวชาญในด้านการผสมโลหะที่มีคุณวิเศษ หลวงพ่อทับได้คิดค้นพบการผสมโลหะจนเป็นเนื้อเมฆสิทธิ์ที่มีคุณวิเศษ เนื้อโลหะจะมีผิวเป็นประกายสีรุ้ง และสีตากุ้ง คุณวิเศษของโลหะคือเด่นทางด้านอยู่คง แคล้วคลาด และเสริมดวงกันดวงตก ว่ากันว่าการหลอมโลหะของหลวงพ่อทับต้องคุมไฟและแร่ธาตุด้วยคาถาและกระแสจิตที่สูงจึงจะสำเร็จ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทับที่ท่านได้สร้างไว้มีหลายอย่างเช่น พระพิมพ์ปางซ่อนหา พระปิดตา พระชัยวัฒน์ และลูกอม เป็นต้น หลวงพ่อทับมีความสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในงานปลุกเสกของวัดสุทัศน์ ก็จะนิมนต์หลวงพ่อทับไปร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ก็มีความสนิทสนมกับหลวงพ่อทับ และเมื่อหลวงปู่ศุข มากรุงเทพฯ ก็จะมาพักที่วัดอนงค์เสมอ มีการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันตลอด

หลวงพ่อทับเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งในพระธรรมวินัย สมถะไม่สะสม พูดจาไพเราะ ใครมาพบท่านก็จะเลื่อมใสศรัทธา ท่านศึกษาวิชาหลอมโลหะและทดลองจนเชี่ยวชาญ จนได้โลหะธาตุกายสิทธิ์ที่เรียกกันว่า "เมฆสิทธิ์" ลูกศิษย์จึงขอให้ท่านสร้างพระและวัตถุมงคลให้เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว หลวงพ่อทับก็กรุณาสร้างให้ โดยสร้างเป็นพระหลายอย่าง ที่รู้จักกันมากก็คือพระพิมพ์ปางซ่อนหา และพระปิดตา ส่วนเครื่องรางของขลังก็จะเป็นลูกอม ซึ่งผู้ที่ได้รับไปก็จะมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย คนที่ดวงตกก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยพ้นเคราะห์ไปได้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว วัตถุมงคลเนื้อเมฆสิทธิ์ของหลวงพ่อทับจึงเป็นที่เสาะหากันมากมาตั้งแต่ในสมัยที่หลวงพ่อยังไม่มรณภาพ

ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลเนื้อเมฆสิทธิ์ของหลวงพ่อทับ วัดอนงค์นั้นหายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลากหลายฝีมือ แต่ก็ยังทำเนื้อโลหะได้ไม่เหมือน ทำได้ก็แค่คล้ายๆ การเช่าหาก็ต้องพึ่งพาผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นครับ พระปิดตาของหลวงพ่อทับมีทั้งแบบที่เป็นพระแต่งตะไบมาแต่เดิม และแบบไม่ได้แต่ง ด้านหลังก็มีทั้งหลังเรียบและหลังอูม ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อเมฆสิทธิ์ พิมพ์แต่ง หลังเรียบ ของหลวงพ่อทับ วัดอนงค์ มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90776807980404_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย) วัดธรรมศาลา ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักเหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้าของท่านเป็นอย่างดี

หลวงพ่อน้อยเกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ อ่อน เมื่อวัยเด็กโยมบิดามารดาก็นำไปฝากเรียนหนังสือไทยกับพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา และต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี โยมบิดาก็ได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือกเพื่อศึกษาต่อ จากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และไปมากับวัดธรรมศาลาเป็นประจำ ต่อมาเมื่อบิดามารดาถึงวัยชรา หลวงพ่อน้อยจึงได้ลาสิกขามาอยู่ช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อหลวงพ่อน้อยท่านอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระอธิการทอง วัดละมุด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินฺทสโร" นับจากหลวงพ่อน้อยอุปสมบทแล้วท่านก็ปฏิบัติตาม พระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด และสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานุรักษ์ พระครูทักษินานุกิจ แจ้ง พระสมุห์แสง โดยอาศัยที่หลวงพ่อน้อยท่านมีความรู้เรื่องอักษรขอมมาแต่เดิม และมีสมาธิที่แน่วแน่จึงศึกษาพุทธาคมได้ด้วยความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาใดก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยของหลวงพ่อน้อยท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยมสำรวมอยู่เป็นนิจ มักน้อยสันโดษมีเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่คนทั่วไป หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลเมื่อปี พ.ศ.2495 สร้างพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2501 สร้างสะพานคอนกรีตและถนนในปี พ.ศ.2502 สร้างอาคารโรงเรียนหลังที่ 2 ในปี พ.ศ.2505 สร้างฌาปนสถานในปี พ.ศ.2510 สร้างกุฏิสงฆ์ในปี พ.ศ.2511 สร้างหอระฆังในปี พ.ศ.2512 เป็นต้น

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ หลวงพ่อน้อยได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง หลวงพ่อน้อยมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป แต่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้สร้างวัตถุมงคลของท่านเลย จนในปี พ.ศ.2494 ก็มีลูกศิษย์ของท่านได้มาขอให้หลวงพ่อน้อยสร้างเหรียญ เพื่อจะได้แจกเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ เป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ มีอักษรตัวนูนคำว่า หลวงพ่อน้อย ด้านหลังเป็นยันต์ นะปถมัง

เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อ เหรียญที่รู้จักกันมากก็คือเหรียญหล่อหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้า ซึ่งนิยมกันมาก โดยเฉพาะเหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก สนนราคาสูงมาก ที่เรียกกันว่า พิมพ์หน้าเสือก็เนื่องจากเมื่อทำเสร็จแล้วนำไปให้หลวงพ่อดู ท่านก็บอกว่าหน้าดุอย่างกับเสือ เลยเรียกเหรียญหล่อรุ่นแรกพิมพ์นี้กันว่าเหรียญหล่อหน้าเสือกันเรื่อยมาจนทุกวันนี้

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14639431859056_view_resizing_images_4_320x200.jpg)   (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11665572722752_view_resizing_images_6_320x200.jpg)

เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อเกษม
หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระเกจิผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา" ตัวท่านนั้นเป็นเครือญาติสายตรงของตระกูล ณ ลำปาง แต่ครั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรหน้าไฟในงานศพที่วัดบุญยืน (วัดป่าดั๊ว) ที่ลำปางเพียงแค่ 7 วัน นับเป็นการสร้างพื้นฐานความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และปีพ.ศ.2470 จึงตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง

ปีพ.ศ.2475 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญยืน โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา หรือ พระครูปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก (อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดบุญยืน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

มุ่งมั่นศึกษาภาษาบาลีเป็นพิเศษจนมีความชำนาญและคล่องแคล่ว ปีพ.ศ.2479 สอบนักธรรมเอกได้ แต่ด้วยการ "ลด ละ วาง" ของท่าน จึงปฏิเสธการเข้าสอบเปรียญ 3 ประโยค

นอกจากนี้ ยังสนใจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นพิเศษ จึงฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จากนั้นก็มุ่งเจริญวิปัสสนาและถือธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติ เพื่อบำเพ็ญภาวนาจาริกหาความวิเวก เว้นแต่ช่วงเข้าพรรษาท่านจะกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืน

เมื่อเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพ คณะสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อเกษมให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

ต่อมาเมื่อภารกิจต่างๆ ของวัดเริ่มเบาบางลง จึงลาออกจากตำแหน่ง แต่ถูกคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ยับยั้ง จึงตัดสินใจหลบออกจากวัด บุญยืนเงียบๆ ในปีพ.ศ.2492

เริ่มธุดงค์เจริญวิปัสสนาไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ เช่น ป่าช้าของศาลาวังทาน ป่าช้าบนดอยแม่อาง ฯลฯ ก่อนที่จะปักหลักตั้งมั่นบำเพ็ญธรรมที่ป่าช้าประตูม้า ซึ่งก็คือ "สุสานไตรลักษณ์" ที่มีชื่อเสียงและเกียรติคุณขจรขจายจนถึงปัจจุบัน

วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสกจึงล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อีกทั้งทวีความทรงคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา หนึ่งในนั้นคือ "เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5" เหรียญที่ชาวลำปางหวงแหนมาก เป็นหนึ่งในหลายๆ เหรียญที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นเหรียญที่มีการทำเทียมมากที่สุดรุ่นหนึ่งด้วย

เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5 จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2516 โดยหลังจากการปลุกเสกของหลวงพ่อเกษมที่สุสานไตรลักษณ์เป็นที่เรียบร้อย ท่านได้พูดกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาร่วมพิธีว่า "ถ้าเอาไปใช้แล้วไม่ดี ให้เอามาคืนเฮา"

เหรียญดังกล่าวสร้างประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะเมื่อคราวเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้รับการเรียกขานว่า "เหรียญวีรชน" และด้วยรูปทรงของเหรียญเป็นรูประฆังคว่ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เหรียญระฆัง"

เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5 หรือเหรียญวีรชน หรือเหรียญระฆังหลวงพ่อเกษม ปี 2516 นี้มี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง ทุกเนื้อจะมีจุดตำหนิเพื่อการพิจารณาดังนี้ ด้านหน้าจะมีเส้นรัศมีออกจากองค์หลวงพ่อ และแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ ส่วนด้านหลัง จะมีเส้นรัศมีแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ และที่ใต้ตัวนะ (เหนือยันต์แถวแรก) จะมีขนแมวคล้ายกอหญ้าแผ่ออก

นอกจากนี้จะแบ่งเป็นบล็อก (พิมพ์) ต่างๆ ตามการเล่นหาของชาวลำปางได้ 5 บล็อก คือ 1.บล็อกเสาอากาศ (พิมพ์นิยม) 2.บล็อกเขี้ยว 3.บล็อกสิบโท 4.บล็อกสิบโทมีเขี้ยว และ 5.บล็อกสายฝน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของจุดตำหนิแม่พิมพ์ในแต่ละบล็อก

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66061821455756_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

เหรียญกฐินหลวงพ่อพร้า 61
"หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" หรือ "พระครูวิจิตรชยานุรักษ์" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี และ เจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจ้าของสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว"

ปัจจุบัน สิริอายุ 96 ปี พรรษา 76

พื้นเพเป็นชาวชัยนาท เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค.2466 เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2486 ที่พัทธสีมา วัดโคกดอกไม้ โดยมีพระครูปัตย์ วัดสนามชัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุงของท่าน รวมทั้งได้เรียนสรรพวิชามากมายจากหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อีกด้วย

ด้วยความที่เมื่อท่านเยาว์วัย ท่านอยากเรียน แต่ไม่มีโอกาส เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า "....หากมีโอกาสได้บวช จะอุปถัมภ์การศึกษาแก่เด็กที่พ่อแม่ฐานะยากจน จะช่วยให้เต็มความสามารถ...."

ตั้งแต่บัดนั้นมา ท่านมุ่งปฏิบัติตนตามคำอธิษฐานของท่านมาโดยตลอด ด้วยการอุปถัมภ์เด็กๆ ที่ยากจน และทำนุบำรุงปูชนียสถานถาวรวัตถุภายในวัดจนรุ่งเรือง ตลอดจนช่วยเหลือสังคมส่วนรวมตลอดมา

ย้อนไปในปี พ.ศ.2561 หลวงพ่อพร้าได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง คือ เหรียญกฐินหลวงพ่อพร้า ปี 2561" เพื่อมอบสมนาคุณศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อสำริด, เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว ซึ่งงานทอดกฐิน ประจำปี 2561 วัดโคกดอกไม้ ได้ปัจจัยเกือบ 8 ล้าน โดยนำปัจจัย ดังกล่าว จัดสร้างมณฑปวัดโคกดอกไม้

หลวงพ่อพร้าเมตตาปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อพร้านั่งสมาธิเต็มองค์ ใต้ขอบด้านบนมีอักขระขอม "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" กำกับด้วยอักษรไทย "พระครูวิจิตรชยานุรักษ์ หลวงพ่อพร้า"

ด้านหลังเหรียญมีขอบรอบ เช่นกัน ตรงกลางเป็นยันต์ห้า บรรจุอักขระขอม "อะ หัน ติ โก อุด ธัง อัด โธ นะ ชา ลี ติ นะ ผุด ผัด ผิด" กำกับด้วย "นะ โม พุท ธา ยะ" ส่วนด้านข้างทั้งสอง เป็นยันต์ "นะ คง" "นะ แคล้ว" ตอกโค้ดวัด และมีอักษรไทย "วัดโคกดอกไม้ จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

ปัจจุบัน มีเหลือบ้างเพียงเนื้อเดียว คือ เนื้อสำริด ติดต่อได้ที่วัดโคกดอกไม้

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:13:51
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16226833396487_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

พระกริ่งหนองแสของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ที่มีพุทธคุณเยี่ยมยอด สนนราคาไม่สูง ก็ต้องยกให้พระกริ่งของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องมักจะเรียกว่า "พิมพ์กริ่งหนองแส วัดตลิ่งชัน" เนื่องจากนำแบบพิมพ์ของพระกริ่งหนองแสมาทำแบบพิมพ์ โดยการแนะนำของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) และได้มอบชนวนพระกริ่งของวัดสุทัศน์ มาให้ด้วย

หลวงปู่กลีบเกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2419 ที่บ้านคลองชักพระ อ.ตลิ่งชัน กทม. โยมบิดาชื่อสิงห์ โยมมารดาชื่อห่วง ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดตลิ่งชัน โดยมี พระอธิการม่วง วัดเจ้ากรับ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าวัดนายโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรเมธาจารย์ (เข้ม) วัดมหาธาตุ พระอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นพระกรรมวาจา จารย์ หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วได้ 3 พรรษา ก็ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม 1 พรรษา แล้วจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์ เพื่อศึกษาพระปริยัติและมูลกัจจายน์ และได้ศึกษากับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ด้วย จนถึงปี พ.ศ.2448 เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดคฤหบดี ได้พิจารณาเห็นว่าพระภิกษุกลีบเป็นพระที่มีพรรษายุกาล และมีคุณสมบัติที่จะสั่งสอนพระภิกษุ สามเณรได้ จึงเสนอแต่งตั้งให้พระภิกษุกลีบมาเป็นเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันตั้งแต่นั้นมา

หลังจากที่ได้ครองวัดแล้วหลวงปู่ก็ยังคงแวะเวียนมาที่วัดสุทัศน์เสมอมา เนื่องจากท่านนับถือในองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) มาก และต่อมาก็ได้มาสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นอย่างมาก หลวงปู่กลีบได้บริหารวัดตลิ่งชันจนเจริญขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปี พ.ศ.2454 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล และในปี พ.ศ.2467 ท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูทิวากรคุณ ตำแหน่งเจ้าคณะหมวด ในปี พ.ศ.2469 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ หลวงปู่กลีบมรณภาพในปีพ.ศ.2501 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่กลีบได้สร้างวัตถุมงคลไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน โดยลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ตัดเสื้อกั๊กบ้าง ผ้าประเจียดบ้าง มาขอให้ท่านลงอักขระให้ ท่านก็กรุณาลงให้ บ้างก็นำแผ่นโลหะมา ให้ท่านช่วยทำตะกรุดให้บ้าง ในครั้งนั้นปรากฏว่ามีผู้ได้รับประสบการณ์ถูกยิงไม่เข้า ต่อมาในปี พ.ศ.2479 หลวงปู่มีอายุครบ 60 ปี คณะศิษย์จึงขออนุญาตหลวงปู่จัดทำบุญแซยิด และได้สร้างเหรียญรูปท่าน และแหวนมงคล 8

ต่อมาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่ก็ได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เรื่องหาปัจจัยสร้างมณฑปที่ยังค้างอยู่ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) จึงได้แนะนำให้สร้างพระกริ่ง โดยใช้พิมพ์ของพระกริ่งหนองแสเป็นแบบ และได้กำหนดเอาวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ทำพิธีหล่อ โดยใช้ชนวนพระกริ่งของวัดสุทัศน์ที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) มอบให้และทองชนวนของหลวงปู่กลีบมาเทหล่อหลังจากที่ทำพิธีที่วัดสุทัศน์เสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้นำกลับมาปลุกเสกเดี่ยวอีกหนึ่งพรรษา จึงนำมาแจกในปี พ.ศ.2495 พระกริ่งรุ่นนี้หล่อตันแล้วจึงนำมาเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่ง และอุดด้วยทองชนวน วรรณะออกสีเหลืองอมเขียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งหนองแสของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน มาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12892194092273_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระนางพญากรุโรงทอ พิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองโบราณ เก่าแก่สืบต่อกันมายาวนาน วัดเก่าแก่ก็มีอยู่มากมาย และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยถึงกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันก็ยังเป็นเมืองสำคัญทางการทหารอยู่ครับ พระเครื่องเก่าแก่ของจังหวัดนี้ ก็มีอยู่หลายกรุหลายวัด และมีชื่อเสียงมาก พระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก เป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงสุดในพระกรุที่มีชื่อว่า พระนางพญา และได้รับการ จัดให้มาอยู่ในพระชุดเบญจภาคี พระ ของกรุวัดนางพญาเองมีอยู่ด้วยกันหลาย พิมพ์ พระที่มีชื่อว่าพระนางพญาของจังหวัดพิษณุโลกก็มีอยู่หลายกรุ ค่านิยม ก็รองๆ กันมา วันนี้เรามาคุยกันถึง พระนางพญากรุวัดโพธิ์หรือที่ปัจจุบันมักเรียกว่า "กรุโรงทอ"

วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ใต้โรงทอผ้าไทยลงมาเล็กน้อย ตรงข้ามกับบริเวณที่ตั้งของกรมทหาร โบราณสถานของวัดนี้ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เป็นชิ้นเป็นอันอยู่เลย มีแต่ซากฐานของพระเจดีย์เป็นกองอิฐ ซึ่งบางแห่งก็เป็นเนินอิฐที่มีแต่พงหญ้าและเถาวัลย์ปกคลุมแทบมองไม่ออกว่าเป็นฐานเจดีย์ สิ่งที่เห็นเรียบร้อยเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง

พระเครื่องของกรุวัดโพธิ์ (โรงทอ) เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็เมื่อปีที่ทางการได้สร้างโรงทอผ้าไทย ได้มีการปรับพื้นที่บริเวณวัดโพธิ์ ได้มีการขุดพบพระเครื่องขึ้นที่บริเวณนี้ เช่น พระนางพญาเนื้อดินเผา พุทธลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายคลึงกับพระนางพญา กรุวัดนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญากรุโรงทอ มีอยู่สองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ซุ้มเส้นคู่ เนื้อชิน และพระสกุลท่ามะปรางค์ เป็นต้น จากการพบพระเครื่อง เนื่องในการสร้างโรงทอผ้าไทยนี้เองจึงมีคนที่เรียก ชื่อพระกรุนี้ว่า "กรุโรงทอ" และในปัจจุบันมักเรียกพระกรุนี้ว่า "กรุโรงทอ" เป็นส่วนใหญ่ครับ

พระนางพญากรุโรงทอ เป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อดินละเอียดและเนื้อหยาบ (แก่กรวด) จากพุทธลักษณะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกันกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา คือสร้างในยุคกรุงศรีอยุธยา พุทธคุณนั้นเฉกเช่นเดียวกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา คือดีทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและโภคทรัพย์

ปัจจุบันพระนางพญา กรุโรงทอนี้ค่อนข้างหา แท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่มีหู เรื่องของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ทั้งพิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหูครับ พระนางพญา กรุโรงทอทั้งสองพิมพ์สนนราคาก็ค่อนข้างสูง แต่ราคาก็ยังย่อมเยากว่าของกรุวัดนางพญาครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญากรุโรงทอ ทั้งพิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67107371613383_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

พระกริ่งไตรมาส หลวงปู่ทองคำ
หลวงปู่ทองคำ สุวโจ อาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์ ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

ร่วมกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

สร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 91 ปี พรรษา 37

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้าน มะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงต้องลาสิกขาและกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ต่อมาในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ และหากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป.ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์ วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่อง

คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย "บอย สำโรงทาบ" มีโครงการที่จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งไตรมาสรวยทันตา"

พุทธศิลป์คล้ายกับพระกริ่งที่มีการจัดสร้างจากวัดทั่วไป แต่จุดสังเกตของพระกริ่งหลวงปู่ทองคำ รุ่นนี้ที่บริเวณใต้ก้นพระจะตอกโค้ดรูปหยดน้ำและอักษรตัว ท เป็นที่รู้กันว่านี่คือวัตถุมงคลของหลวงปู่ทองคำ และที่บริเวณบัลลังก์ด้านหลังจะมีอักขระยันต์ 5 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้างประกอบด้วยเนื้อทองคำ 2 องค์ เนื้อทองคำก้นทองคำ 49 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ผสมแร่ก้นเงิน 119 องค์ เนื้อเงินก้นเงิน 1,000 องค์ นวโลหะก้นเงิน 3,000 องค์ เนื้อทองผสมอุดผง 2 หมื่นองค์ เป็นต้น

ที่มา ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83203148055407_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

เหรียญพระธาตุพรหมมณี
"พระครูธรรมไตรสังวรกิจ" หรือ หลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ และเจ้าอาวาสวัดไตรคามวสี ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส หรือ พระราชมงคลนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพศรัทธา

เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2503 ที่บ้านอีกุด ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเมื่อปี พ.ศ.2522 ที่วัดป่าสันติวาส (ปัจจุบันคือวัดป่าสันติกุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2524 ขณะมีอายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม มี พระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี ปัญโญภาส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ปัจจุบันอายุ 59 ปี พรรษา 20

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2561 ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างถนนคอนกรีตภายในวัด เป็นเหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อหอมรุ่นแรก

จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อเงิน 39 เหรียญ เนื้อชนวน 999 เหรียญ เนื้อสัตตะรุ้ง 999 เหรียญ และเนื้อทองแดงเถื่อน 509 เหรียญ รวม 2,546 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูห่วงมีอักขระตัวธรรม 4 ตัว อ่านว่า มะ รุ คุ รุ เป็นหัวใจของคาถา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอม ในท่านั่งขัดสมาธิเต็มองค์

ด้านล่างสุดสลักตัวเลขไทย ๒๕ ซึ่งเป็นนัมเบอร์เหรียญ ด้านซ้ายบริเวณอังสะเหนือหัวไหล่ของเหรียญตอกโค้ดตัว นะ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า ในวงล้อมดาว 8 แฉก หมายถึงพระอรหันต์ 8 ทิศ เหนือไหล่ขวาสลักคล้ายเปลวดวงอาทิตย์ ในวงล้อมสลักอักขระคำว่า หอม ซึ่งเป็นชื่อของหลวงพ่อ

ด้านหลังเหรียญ แบบเรียบ สลักตัวหนังสือนูนไล่กัน 5 บรรทัด อ่านว่า ที่ระฤก ร.ศ.๒๓๗ หลวงพ่อหอม รตินธโร วัดไตรคามวสี จ.สกลนคร

เหรียญรุ่นดังกล่าวประกอบพิธีพุทธาภิเษกนำฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2561 มีหลวงพ่อหอมนั่งอธิษฐานเดี่ยว และเสกวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2561 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรวม 5 รูป นั่งอธิษฐานจิต

เป็นเหรียญใหม่ที่ใช้วิธีหล่อเหรียญแบบโบราณ ออกแบบได้ลงตัวสวยงาม เฉพาะเหรียญเงินไม่ธรรมดา

ปัจจุบันราคาพุ่งสูงเท่าตัว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41355745411581_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคูณ
"หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ" เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา อมตเถราจารย์ดังแห่งเมืองย่าโม เป็นพระสงฆ์ในดวงใจของคนไทยทั่วประเทศ เปรียบประดุจผู้วิเศษและเทพเจ้าของชาวบ้าน เป็นพระดี มีวิชา มีเมตตา เกินบรรยาย ท่านสร้างวัด สร้างคน สร้างผลงานไว้มากมาย สร้างขวัญกำลังใจ และสร้างปาฏิหาริย์ให้กล่าวขวัญกันไม่รู้จบ กิตติคุณแห่งอำนาจบารมีของท่านรํ่าลือระบือไกลจนได้รับการขนานนามให้เป็น "เทพเจ้าแห่งที่ราบสูง"

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พ.ศ.2512 ออกที่วัดแจ้งนอก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เหรียญรุ่นแรกมีเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดง รมดำ โดยออกให้ประชาชนทำบุญบูชา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2512 เป็นที่ระลึกงานฉลองพระประธาน วัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ

ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ ครึ่งองค์มีเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดงรมดำ

จำนวนเหรียญที่สร้างมีจำนวนไม่มากพอต่อความต้องการของประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จนมีบางคนที่ไม่ได้เหรียญรุ่นนี้ กล่าวหาว่าหลวงพ่อแจกให้เฉพาะคนรวย ไม่ให้คนจน ท่านจึงแก้ปัญหาโดยโยนเหรียญที่เหลือทั้งหมดลงสระนํ้าในวัด ใครอยากได้เหรียญให้ลงไปงมหากันเอาเอง เพื่อความเสมอภาค มีบางคนเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "รุ่นโยนสระ" เหรียญส่วนใหญ่จึงมีรอยถลอกปอกผิวเหรียญ ซึ่งถือเป็นของธรรมดาสำหรับเหรียญรุ่นนี้

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อคูณครึ่งองค์ มีตัวอักษรล้อมรอบหลวงพ่อ โดยด้านบนเขียนว่า "พระอาจารย์คูณ ปริสุทฺโธ" ด้านล่างมีจุดคั่น 2 จุด เขียนว่า "วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา"

ด้านหลังเหรียญมีอักขระยันต์อยู่ตรงกลาง ล้อมด้วยตัวอักษรเขียนว่า "ที่ระลึกฉลองพระประธาน วัดแจ้งนอก ในเมืองนครราชสีมา ๙ ส.ค. ๑๒"

ปัจจุบันวงการพระเครื่องได้แยกบล็อกเหรียญปี 2512 นี้ออกเป็น 2 บล็อกย่อย คือบล็อกจมูกโด่ง และบล็อกจมูกบี้ โดยบล็อกจมูกโด่งจะได้รับความนิยมมากกว่า หากมีสภาพความสวยคมชัดพอๆ กัน เท่าที่พบเห็นมีทั้งแบบมีรอยจาร และไม่มีรอยจาร

ทุกวันนี้เหรียญรุ่นแรกนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้มีของปลอมเลียนแบบที่ทำได้อย่างเฉียบขาดออกมาเป็นจำนวนมาก ผู้ที่คิดจะเช่าหาต้องรอบคอบ พิจารณาตำหนิและธรรมชาติของเหรียญอย่างละเอียดลออที่สุด ด้านหลังเหรียญหูเหรียญจะมีครีบปลิ้นและรอยปั๊มกระแทก หากมีเม็ดผดผื่นอาจจะเป็นเหรียญเสริม หรือเหรียญปลอมก็ได้

บางเหรียญมีผู้นำไปให้หลวงพ่อลงเหล็กจารอักขระให้เป็นพิเศษ ช่วยเสริมให้ราคาเช่าบูชาสูงกว่าปกติพอสมควร เหรียญรุ่นนี้มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยเป็นเลิศ นับเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ ด้านพุทธคุณมากมายเหรียญหนึ่งของ หลวงพ่อคูณ

ความสนใจของนักสะสมเหรียญรุ่นนี้อยู่ที่ว่าเป็น "เหรียญรุ่นแรก" ของหลวงพ่อคูณ เหรียญสภาพสวยๆ รมดำเดิมๆ ทุกวันนี้ราคาเช่าหาบูชากันเป็นหลักล้านขึ้นถึงล้านปลายๆ เชื่อว่าในอนาคตเหรียญรุ่นนี้จะเป็นเหรียญหลักล้านยอดนิยมของวงการอย่างแน่นอนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26040119760566_1_320x200_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20545049053099_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

หลวงพ่อทบ วัดเขาน้อย
หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ แห่งวัดเขาน้อย หรือชื่อเป็นทางการว่า "วัดพระพุทธบาทชนแดน" จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มากด้วยคุณวุฒิและพุทธาคมแกร่งกล้า นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระนักพัฒนาและเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างไกลโด่งดังไปถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

เกิดที่บ้านยางหัวลม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปีพ.ศ.2424 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ที่วัดช้างเผือก โดยมีพระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดเป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน รวมทั้งวิทยาอาคมต่างๆ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดศิลาโมง บ้านนายม อ.เมือง โดยพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ธัมมปัญโญ" แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือกดังเดิม

ศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและมนต์คาถาต่างๆ จากพระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปาน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อทรัพย์คาพันธ์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญกันว่าเป็นผู้วิเศษและมีวาจาสิทธิ์จนเชี่ยวชาญ จากนั้นจึงออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญภาวนาและฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างนั้นได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านคาถาอาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งประเทศพม่า ลาว และเขมร จนเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือในด้านมนต์คาถาของบรรดาชาวเขมร

ท่านอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้ สร้างและพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ท่านสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จถึง 16 หลัง จนมาถึงพระอุโบสถวัดช้างเผือกหลังที่ 17 แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จท่านก็มรณภาพเสียก่อนที่วัดช้างเผือก

ดังคำที่พระอาจารย์สีกล่าวกับท่านไว้ว่า "หากถึงวาระสุดท้ายขอให้กลับไปวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้าง"

ก่อนท่านมรณภาพจึงได้ย้ำกับลูกศิษย์ลูกหาให้สร้างวิหารหรือมณฑปเพื่อเก็บศพเอาไว้ไม่ให้เผา มิฉะนั้นวัดช้างเผือกจะดำเนินการสู่ความเจริญรุ่งเรืองมิได้ สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นที่ พระครูวิชิตพัชราจารย์ พระครูสัญญาบัตรพัดยศ เจ้าคณะอำเภอชนแดน และสิ่งอัศจรรย์อีกสิ่งคือ ท่านมรณภาพในปีพ.ศ.2519 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เช่นเดียวกับที่ท่านเกิด สิริอายุรวม 95 ปี

สร้างปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้เป็นที่ปรากฏมากมาย อาทิ ถ่ายภาพไม่ติด ไฟดับ วาจาสิทธิ์ ฯลฯ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จักขจรไกลและเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนหน้า

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านจึงล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมวัตถุมงคลพระคณาจารย์อย่างกว้างขวาง ทั้งรูปหล่อโบราณ เสาร์ห้า รูปเหมือนลอยองค์ เสาร์ห้า (พิมพ์หัวไม้ขีด) รูปเหมือนบูชา ล็อกเกต ตะกรุดโทนถักเชือก ไปจนถึงลูกอมถักเชือก

เห็นชื่อชั้นแล้วบอกได้เลยว่าน่าสะสมมากเลยครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75451357993814_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

เหรียญมังกรคู่ หลวงพ่อบุญเลิศ
"หลวงพ่อบุญเลิศ สีลเตโช" เจ้าสำนักสงฆ์บุญเลิศ หมู่ 1 บ้านเนินกระถิน ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

นอกจากนี้ มีความรู้ในการรักษาโรคกระดูกด้วยพืชสมุนไพรควบกับใช้วิทยาคม

ปัจจุบัน อายุ 62 ปี พรรษา 20

มีนามเดิม บุญเลิศ สกุลธะนู เกิดปี พ.ศ.2500 ที่บ้านหนองหว้า ม.2 ต.พยุห์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ

ย่างเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่ม มีโอกาสเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพรรักษากระดูกควบกับศึกษามนต์พิธี วิทยาคมต่างๆ จากอาจารย์ฆราวาสชาวเขมร

ใช้ชีวิตฆราวาสเป็นหมอธรรมหมอยาพื้นบ้านรักษาและช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก จนถึงปี 2543 จึงตัดสินใจหันหน้าเข้าหาพระธรรม เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านเปื่อย อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พระครู จันทโสตถิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาได้ออกธุดงค์แสวงหาความหลุดพ้นตามรอยพระตถาคตไปตามป่าเขาลำเนาไพรทั่วประเทศ เคยจาริกแสวงบุญไปจนถึง จ.ปัตตานี

พ.ศ.2548 เดินธุดงค์มาที่ภูลำพญาเขตตำบลลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ได้รักษาชาวบ้านที่ป่วยจนหายเป็นปกติญาติโยมในพื้นที่เกิดเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันถวายที่ดินให้หลวงปู่สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นจนแล้วเสร็จ คือ สำนักสงฆ์บุญเลิศ ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านเนินกระถิน ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในปัจจุบัน

เนื่องจากหลวงปู่มีความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก ในแต่ละวันจึงมีญาติโยมที่เจ็บป่วยมาขอรับการรักษาจากท่านเป็นประจำ บางครั้งศาลาที่พักรองรับญาติโยมไม่เพียงพอ

คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อบุญเลิศ นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่รุ่นดีเลิศ" วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างศาลา สำหรับเป็นที่พักให้กับญาติโยมที่เจ็บไข้ได้ป่วยได้พักอาศัย

ลักษณะวัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นเหรียญมีหูไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน ส่วนหัวมังกรจะชูกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านล่างเขียนว่า รุ่นดีเลิศ จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่าหลวงพ่อบุญเลิศ สีลเตโช พ.ศ.๒๕๖๑ สำนักสงฆ์บุญเลิศ จ.สระบุรี

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะ 299 เหรียญ อัลปาก้า 399 เหรียญ เนื้อฝาบาตร 499 เหรียญ ทองแดงผิวรุ้ง 4,999 เหรียญ กะไหล่ทอง 199 เหรียญ ทองแดงผิวไฟ 1,000 เหรียญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53587849976287_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

พระยอดธงหลวงพ่อเฟื่อง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ที่ชาวดำเนินสะดวกเคารพนับถือมาก ก็คือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติสมาคม ท่านได้สร้างพระยอดธงไว้และมีประสบการณ์มากมาย เป็นที่หวงแหนของชาวดำเนินสะดวกมาก ปัจจุบันหายากครับ

หลวงพ่อเฟื่อง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2420 โยมบิดาชื่อภู่ โยมมารดาชื่อมิ่ง ตอนเด็กท่านไม่ได้เรียนหนังสือ ต่อมาได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2440 ที่วัดโชติทายการาม โดยมี พระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ วัดโชติทายการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการโต วัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดโชติทายการาม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกพระกรรมฐานกับหลวงพ่อช่วง และท่านสามารถท่องพระปาติ โมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาแรก แม้ท่านจะอ่านหนังสือไม่ออก

ต่อมาได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม ได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับพระอธิการโตและสำเร็จอย่างรวดเร็ว หลวงพ่อเฟื่องได้ช่วยพระอธิการโตบูรณะพระอุโบสถของวัดไผ่ล้อมที่ชำรุดทรุดโทรม กุฏิ วิหารและศาลาการเปรียญจนสำเร็จ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ครั้นต่อมาพระอธิการโตมรณภาพ ชาวบ้านจึงอาราธนาหลวงพ่อเฟื่องขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

พอปี พ.ศ.2454 หลวงพ่อน้อยวัดอมรญาติฯ มรณภาพ ญาติโยมได้มาอาราธนาหลวงพ่อเฟื่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรญาติฯ ซึ่งเป็นวัดที่บ้านเกิดของท่านเอง ท่านจึงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรญาติสมาคม เมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอมรญาติฯ แล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดและเน้นเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ ท่านได้สร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กในละแวกนั้นให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ.2471 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลท่านัด ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ก็ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูอดุลสารธรรม หลวงพ่อเฟื่องเป็นที่รักเคารพของชาวดำเนินสะดวกมาก ท่านครองวัดมาจนถึงปี พ.ศ.2500 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 61

ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ลูกศิษย์และญาติโยมได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น รุ่นแรกสร้างเป็นพระยอดธง ซึ่งท่านได้พบแร่จากสระน้ำภายในวัดอมรญาติฯ ว่ากันว่าเป็นแร่ศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านเรียกกันว่า "แร่ปลาช่อน" บ้าง "แร่ปลาทอง" บ้าง หลวงพ่อเฟื่องได้นำแร่นี้มาเป็นส่วนผสมของพระยอดธง พระยอดธงได้มีการสร้างอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2470 รุ่น 2 สร้างประมาณปี พ.ศ.2481 ส่วนรุ่น 3 สร้างประมาณปี พ.ศ.2492 ได้รับความนิยมทั้ง 3 รุ่น มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะรุ่นแรกใครมีก็จะหวงแหนเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญรูปท่านอีก 3 รุ่น ล้วนได้รับความนิยมและหายากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดธงรุ่นแรกของหลวงพ่อเฟื่อง เนื้อโลหะผสม ปี พ.ศ.2470 มาให้ชมครับ ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือสุดยอดพระคณาจารย์เมืองราชบุรี

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80889296448892_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระวัดกลางนาคปรก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงของดีราคาถูกกันอีก พระที่ว่าของดีราคาถูกและเป็นพระเก่าเสียด้วย ก็คือพระวัดจันทาราม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดกลางตลาดพลู พระเครื่องของวัดนี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ลงรักปิดทอง พุทธคุณเด่นทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดยอดเยี่ยมครับ

วัดจันทารามหรือวัดกลางตลาดพลูนั้น ตั้งอยู่บนถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ กทม. เดิมเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยก่อนเรียกว่า "วัดบางยี่เรือกลาง" แต่ชาวบ้านชอบเรียกสั้นๆ ว่า "วัดกลาง" ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาสุรเสนาได้บูรณะใหม่ และทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดจันทาราม" ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

จากคำบอกเล่าของพระวิสุทธิศีลคุณ อดีตเจ้าอาวาส ว่าพระเครื่องของวัดกลางนี้ สร้างโดยอดีตเจ้าอาวาสรูปหนึ่งของวัด แต่ไม่มีบันทึกนามของท่าน เพียงแต่เรียกกันว่า พระอาจารย์เฒ่า เป็นผู้สร้างขึ้นตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 4 โดยติดพระไว้กับแผงไม้แล้วประดับไว้โดยรอบพระอุโบสถหลังเดิม พระทั้งหมดสร้างด้วยเนื้อชินตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์พระประจำวัน และพิมพ์ต่างๆ ตามพุทธประวัติ ด้านหน้าลงรัก ปิดทอง ส่วนด้านหลังจะมีครั่งติดอยู่เพื่อยึดติดกับแผ่นกระดาน บางองค์มีรอยตะปูเจาะยึดติดกับแผ่นกระดาน

ต่อมาภายหลังได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระอุโบสถหลังเก่านี้จึงเปลี่ยนเป็นศาลาการเปรียญแทน และในปี พ.ศ.2485 ทางวัดได้รื้อศาลาการเปรียญหลังนี้เพื่อสร้างใหม่ ระหว่างที่รื้อถอนนั้น ได้มีผู้เข้ามาเก็บพระเครื่องเหล่านี้ไปบูชา และเกิดประสบการณ์ต่างๆ ชาวบ้านในแถบนั้นก็เข้ามาแกะเอาพระกันมากเข้าจนทางวัดต้องเก็บแผงพระเข้าไว้และใส่กุญแจ ต่อมาเมื่อทางการได้ออกหนังสือเวียนขอพระเครื่องจากพระอารามต่างๆ เพื่อเอาไปแจกแก่บรรดาทหารตำรวจที่เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีน พระวิสุทธิศีลคุณจึงนำพระเครื่องที่แกะออกจากแผงบรรจุถุงผ้าไปมอบให้ทางการส่วนหนึ่ง ปรากฏว่าในเวลาต่อมาจึงได้มีการเล่าขานถึงพุทธคุณของพระเครื่องวัดกลางว่าดีทางด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน แต่พระเครื่องของวัดกลางก็ได้หมดไปจากวัดเสียแล้ว

เรื่องประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดนี้มีเรื่องเล่าต่างๆ มากมาย คนเก่าคนแก่ในแถบนั้นรู้เรื่องเป็นอย่างดี พระวัดกลางเป็นพระที่น่าเก็บเนื่องจากปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพง ราคาแค่พันเศษๆ เท่านั้น แถมบางครั้งอาจจะได้เพียงหลักร้อย สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องรักเก่าทองเก่าก็สามารถศึกษาจากรักทองของพระวัดกลางเปรียบเทียบเป็นครูได้เป็นอย่างดีครับ เรียกว่าเช่าพระองค์เดียวได้สองอย่างเลยครับ วันนี้ผมได้นำพระวัดกลางนาคปรกมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:16:43
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28519457164737_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

เหรียญตอก 1 หลวงปู่ทองคำ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมท่านจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 92 ปี พรรษา 38

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น

ด้วยความจำเป็นบางประการ ท่านลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ในปี พ.ศ.2561 หลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรม สุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำ จะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ

เนื่องจากให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่องและเพื่อความสะดวก ขณะที่ท่านข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย "บอย สำโรงทาบ" จึงมีโครงการที่จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญตอก 1 รวยทันตา" ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่หน้าอกซ้ายตอกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ที่ใต้หูเหรียญ เขียนคำว่า "หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" จากด้านขวาลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีตัวอักษร เขียนคำว่า "อาศรมสุวโจ ต.ศรีสุข อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเต่าและมีอักขระยันต์เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งมั่นคง อายุยืน และเรียกทรัพย์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์มีตัวเลข ๙๑ เป็นอายุของหลวงปู่ทองคำ

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ 10 เหรียญ เนื้อทองคำหลังเรียบจารพระยาปากเข็ด 22 เหรียญ เนื้อทองใบใหญ่ 300 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 1 พันเหรียญ และเนื้อทองแดง 1 หมื่นเหรียญ

อธิษฐานจิตเดี่ยวหลายครั้ง จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตยาวไกลราคาเริ่มขยับขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41546744646297_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม พิมพ์เล็ก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน อำเภอชัยบาดาลเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และที่อำเภอนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง ซึ่งเก่าแก่ถึงสมัยทวารวดีมีการพบลูกปัดโบราณและโบราณวัตถุต่างๆ อยู่หลายยุค ตลอดจนพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อนก็คือ "พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม" ซึ่งเราจะมาคุยถึงกัน

ม่วงค่อมเป็นตำบลตำบลหนึ่งในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ชื่อเดิม "ม่วงขอม" เนื่องจากดินแดนแถบนี้เคยตกอยู่ในอาณานิคมของขอม แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนกันเป็น "ม่วงค่อม" ในปี พ.ศ.2516 ได้มีการขุดพบพระร่วงนั่งที่ม่วงค่อมแห่งนี้ และพบเป็นจำนวนมากพอสมควร

พระร่วงนั่ง กรุม่วงค่อม เป็นพระขนาดเล็กเหมาะแก่การนำมาเลี่ยมห้อยคอ พระที่พบนั้นเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ พระที่พบเป็นพระประทับนั่งปางสมาธิ สวมหมวกชีโบ มีกำไรแขน ศิลปะแบบลพบุรี จากพุทธศิลปะสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะลพบุรียุคปลายๆ พระพุทธลักษณะในแบบนี้สังคมพระเครื่องมักเรียกกันว่า "พระร่วง" แทบทั้งสิ้น สร้อยต่อท้ายว่าม่วงค่อมก็เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระที่ขึ้นมาจากที่ใด จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกันว่า "พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม" พิมพ์ของพระที่พบจะแยกออกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์เล็กและพิมพ์ฐานสูง แต่พุทธลักษณะโดยรวมก็คล้ายคลึงกันมาก ผิดที่ขนาดลำพระองค์ของตัวองค์พระและฐานขององค์พระเท่านั้น ขนาดขององค์พระก็ไม่ต่างกันมากนัก คือมีขนาดฐานกว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม.

พระที่พบส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์เล็ก ส่วนพิมพ์อื่นๆ นั้นพบน้อยกว่ามาก ที่จะพบทั่วๆ ไปในปัจจุบันก็มักจะเป็น พระพิมพ์เล็กแทบทั้งสิ้น และเนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งพระกรุนี้จะมีสนิมแดงที่จัดมากสีจะแดงเข้มอมม่วง มีไขขาวปกคลุม พระที่ขึ้นจากกรุใหม่ๆ จะมีไขขาวปกคลุมผิวค่อนข้างมาก เมื่อนำมาล้าง ไขขาวออกแล้ว ผิวสนิมจะจัดมากและคลุมทั่วทั้งองค์พระ มีรอยรานของผิวสนิมแบบใยแมงมุมตามแบบฉบับของสนิมแดงแท้ ทำให้พิจารณาง่ายถึงอายุความเก่าของพระครับ

พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อมนี้ เมื่อมีผู้นำไปใช้ห้อยคอก็เกิดประสบการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันว่าเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด นับว่าเข้มขลังมากองค์หนึ่งเลยทีเดียวครับ ส่วนเรื่องสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับพระร่วงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงอย่างอื่นๆ ในสมัยก่อนหลังจากแตกกรุออกมาซักสิบปีก็ยังหาไม่ยากนัก แต่ปัจจุบันก็ไม่ค่อยพบเห็นเช่นกันครับ ของปลอมแปลงมีออกมาเช่นกัน ต้องพิจารณาพิมพ์และผิวสนิมให้ดีครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม พิมพ์เล็ก ซึ่งเป็นพิมพ์ที่พบเห็นกันมากที่สุดจาก หนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2562 15:11:40
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80781674881776_1_Copy_.jpg)
พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยโบราณการเลี่ยมพระห้อยคอนั้นยังไม่ค่อยมีร้านทำมากนัก ใครจะเลี่ยมพระก็ต้องไปร้านทองเลี่ยม เกาะขอบด้วยทองคำบ้าง เงินบ้าง นากบ้าง แต่ก็ต้องใช้เงินมากหน่อย ส่วนคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็จะนำพระมาถักเชือกบ้าง ถักลวดทองแดงบ้างหุ้มองค์พระไว้ ห่อไว้ในผ้าบ้างหรือเวลาจะไปไหนก็อมพระไว้ในปากบ้าง พระที่นิยมอมไว้ในปากสมัยก่อนก็น่าจะเป็น "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" มากที่สุด เนื่องจากเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดเล็ก และพุทธคุณนั้นก็โดดเด่นมากทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ผมได้รับการบอกเล่าจากคนรุ่นเก่าๆ มาหลายคนต่างก็ยกย่องให้พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าว่าสุดยอด

ในสมัยก่อนตอนเป็นวัยรุ่นก็พยายามหาพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าเช่นกัน ขอเขาดูบ้างว่าเป็นอย่างไร ลักษณะไหน ครูพักลักจำบ้าง ก็เสาะหาไปเรื่อยๆ ขอเขาบ้าง เช่าหาบ้าง แต่ก็ยังไม่เคยได้พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าแท้ๆ เลย เป็นพระปลอมบ้างพระสร้างใหม่ๆ บ้าง แต่ก็ไม่ละความพยายาม ไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสนามวัดมหาธาตุสนามหลวง ก็พอได้ดูพระแท้ๆ และผู้ใหญ่ท่านก็สอนให้จดจำทั้งพิมพ์และเนื้อพระ เอกลักษณ์ต่างๆ และยังได้รับความรู้เพิ่มอีกว่านอกจากพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าแล้วยังมีพระลักษณะคล้ายๆ กันอีก และก็เป็นพระกรุเดียวกันแต่พระพิมพ์นี้หายากกว่าเพราะพระที่พบในกรุจะมีพิมพ์นี้จำนวนน้อยกว่า พระที่ว่าคือ "พระพิจิตรเขี้ยวงู"

หมั่นไปหาผู้ใหญ่ในสนามพระบ่อยๆ ก็ได้ดูทั้ง "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" และ "พระพิจิตรเขี้ยวงู" ก็พอจะรู้ว่าพระทั้ง 2 แบบมีเนื้อแบบเดียวกัน ขนาดเดียวกัน แต่เป็นคนละพิมพ์กัน พระพิจิตรเขี้ยวงูจะมีองค์พระที่ผอมกว่าองค์พระมีลักษณะเรียวๆ กว่า พระเม็ดน้อยหน่านอกจากของจังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังมีของจังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย แต่พิมพ์และเนื้อพระจะต่างกัน ของจังหวัดพิจิตรเนื้อพระมักจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด มีที่เป็นสีออกแดงบ้างแต่ก็พบน้อยมาก ของจังหวัดกำแพงเพชรมักจะเป็นเนื้อสีออกแดงและเนื้อออกจะออกทางพระของกำแพงเพชร

พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าของพิจิตรเนื้อดินจะละเอียดหนึกนุ่ม พระที่ผ่านการใช้ส่วนใหญ่จะดำเงาเป็นมัน พิมพ์ของพระที่ตื้นๆ พระพิจิตรเขี้ยวงูก็เช่นกันเนื้อดินแบบเดียวกัน และพิมพ์พระก็จะตื้นๆ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันพระทั้ง 2 พิมพ์หายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลายฝีมือ และมีการปลอมกันมานานแล้ว แต่เนื้อพระจะทำไม่ได้เหมือนกัน แม้แต่พิมพ์ก็ถอดยาก เพราะพระแท้ๆ ก็มีพิมพ์ตื้นๆ จึงถอดยาก ถ้าแกะแม่พิมพ์ใหม่ยิ่งเพี้ยนใหญ่ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ จดจำพิมพ์และเนื้อพระให้ได้เพราะเนื้อพระจะเป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้

วันนี้ผมได้นำรูป "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" กรุท่าฉนวน จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55246079961458_view_resizing_images_2_Copy_.jpg)
เหรียญแซยิด 60 หลวงพ่ออ๊อด  

"พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" หรือ "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคลตะกรุดลูกปืน

ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจากพ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส เมื่อร่ำเรียนได้วิชาความรู้มาแล้ว จึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก เหรียญเสมารุ่นเสาร์ ๕ ประกอบพิธีบวงสรวง พุทธาภิเษก และนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม

ในปี พ.ศ.2562 จะมีอายุครบ 60 ปี หรือ 5 รอบ วัดสายไหมจึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก "เหรียญแซยิด 60 (5 รอบ)" เพื่อเป็นการฉลองครบรอบอายุวัฒนมงคล 60 ปี

ลักษณะเหรียญ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงสูง ขนาด 3 คูณ 2 เซนติเมตร

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่ออ๊อด นั่งขัดสมาธิ ด้านขวามีคำว่า "แซยิด 60" หมายถึงครบรอบอายุ 60 ปี หรือ 5 รอบ ด้านซ้ายมีคำว่า "รุ่นเดียว" คำนี้ถือเป็นจุดเด่นของเหรียญรุ่นนี้เลยทีเดียว หมายถึง อายุ 60 ของแต่ละคนแต่ละท่าน จะมีแค่ครั้งเดียว ผ่านเลยไปแล้วก็ไม่เป็น 60 ปี หรือ 5 รอบได้ แฝงไปด้วยปริศนาทางธรรม ดังบทความที่หลวงพ่ออ๊อด ยกขึ้นมาเตือนสติลูกศิษย์และญาติโยมอยู่เสมอว่า "วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่หนอ" เป็นบทความย้ำเตือนสติให้ขวนขวายกระทำความดีในขณะที่เราและท่านทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่ ด้านล่างเป็น พ.ศ.2562 หมายถึงปีที่ครบรอบหรือปีที่จัดสร้างนั้น บรรทัดล่างเป็นชื่อ หลวงพ่ออ๊อด พร้อมฉายา ปธานิโก

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ตรีนิสิงเห เป็นยันต์ที่มีพลังพุทธคุณ ด้วยยันต์ตรีนิสิงเห เป็นยันต์ครูใหญ่แห่งยันต์ทั้งปวง มีคุณทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ที่สำคัญยังช่วยหนุนนำดวงชะตามิให้ตกต่ำอีกด้วย โบราณใช้แขวนเรือนเวลาคลอดบุตรหรือเรือนผู้มีลูกอ่อน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ ด้านล่างเป็นชื่อวัดสายไหม

สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนสร้างวัดสายไหมแห่งที่ 2 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 30 สามารถสั่งจองได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25 ก.ค.2562

กำหนดประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 28 ก.ค.2562 เวลา 07.09 น. และรับวัตถุมงคล วันที่ 1 ส.ค.2562 เป็นต้นไป

จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ไว้ทั้งหมด 4 เนื้อ คือ ทองแดง, เนื้อเงิน, เนื้อนวะ และเนื้อทองคำ


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89255576580762_view_resizing_images_4_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงปู่เต็ม  

หลวงปู่เต็ม ฐิตธัมโม หรือ "พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย และอดีตเจ้าคณะตำบลนาสีนวนเขต 1 อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง สืบสายธรรมจากหลวงปู่ใบ ปุณโณ บูรพาจารย์รุ่นเก่าชื่อดัง

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2474 ณ บ้านตำแย ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม อุปสมบท ณ วัดบ้านหนองอุ่ม ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ใบ ปุณโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย ศึกษาสรรพวิชาทั้งกัมมัฏฐานและวิทยาคม

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2545 สิริอายุ 71 ปี พรรษา 51

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และนักสะสมนิยมพระเครื่อง คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เต็ม รุ่นแรกสร้างปี พ.ศ.2533

เหรียญนี้จัดสร้างขึ้นในวาระที่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้า คณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ

แจกคณะศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมงานมุทิตาสักการะ รวมทั้งผู้บริจาคสมทบทุนสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการในวัด

เป็นเหรียญรูปไข่ มีหู จัดสร้างเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญยกขอบ จากด้านขวาโค้งลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า "พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ" ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เต็มครึ่งองค์ หันหน้าตรง

ด้านหลัง เริ่มจากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปทางด้านซ้ายของเหรียญ เขียนคำว่า "วัดบ้านตำแย ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม" ด้านล่างสุด เขียนว่า "พ.ศ.๒๕๓๓" เป็นปีพุทธศักราชที่สร้าง ส่วนตรงกลางเหรียญมียันต์อักขระ 3 แถว อ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ นะ มะ อะ อุ นะ ชา ริ ติ" เป็นคาถาตั้งธาตุ

รุ่นนี้ หลวงปู่เต็มประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา

ยังพอหาเช่าได้ตามศูนย์พระเครื่องในอำเภอกันทรวิชัยและเมืองมหาสารคาม


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87113510734505_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)

เหรียญหลวงปู่นาม

พระครูสุวรรณศาสนคุณ พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งสุพรรณบุรี มีพลังจิตเข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า ชาวบ้านต่างเรียกขานนามท่านว่า "หลวงปู่นาม สาสปโชโต" หรือ พระอุปัชฌาย์นาม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

ท่านมีนามเดิมว่า นาม ไม่ทราบนามสกุล เกิดเมื่อปี พ.ศ.2464 เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีโดยกำเนิด สำหรับประวัติชื่อโยมบิดา-มารดา และประวัติในวัยเด็ก ไม่สามารถสืบค้นได้ แม้กระทั่งตัวหลวงปู่เองก็จำเหตุการณ์ในช่วงวัยเด็กไม่ค่อยได้

เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านกร่าง มีพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นยอดพระเกจิที่ชาวเมืองสุพรรณบุรีให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นคนเงียบ ไม่พูด ไม่คุย แต่ชาวเมืองสุพรรณทราบดีว่า พระรูปนี้เป็นยอดพระเกจิที่เข้มขลังขนานแท้ ท่านสืบพุทธคุณสายลุ่มแม่น้ำท่าจีนและสายสุพรรณฯมาอย่างครบถ้วนรุ่นแรก ได้รับความนิยม เป็นสุดยอดปรารถนา มีลักษณะรูปทรงคล้ายดอกไม้ มีหู เนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปหลวงปู่นามนั่งเต็มองค์ขัดสมาธิ ยกขอบเหรียญสูง ในพื้นที่ว่างสลักรูปยันต์โดยไม่มีที่ว่างเลย ยันต์ทั้งหมดเป็นยันต์ครูใน 5 สายวิชา ที่ท่านสืบทอดมา คือ

ด้านหลังเหรียญ มีอักขระยันต์กำกับไว้เต็มพื้นที่ ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนข้อความว่า "วัดน้อยชมภู่" ทั้งนี้ อักขระยันต์ที่ปรากฏทั้งด้านหน้า-หลังเหรียญ ประกอบด้วย

1.อักขระยันต์สายสมเด็จโต วัดระฆัง ลงปถมัง อานุภาพของยันต์ปถมังหนักไปทางด้านอิทธิฤทธิ์ อยู่ยงคงกระพันชาตรี สะกดทั้งมนุษย์และสัตว์ให้ตกอยู่ในอำนาจ และเป็นกำบังล่องหนหายตัว

2.สายหลวงพ่อเนียม วัดน้อย "ยันต์ต่ออายุ" ให้ยืนยาว แก้โรคภัยเวรภัย

3.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว "ยันต์เฑาะว์ มหาพรหม" (พุทธคุณสำเร็จดังปรารถนา)

4.หลวงพ่อ เฒ่าวัดค้างคาว "ยันต์ค่ายกลถอดรูป" (จักรกรณี) ป้องกัน โชคลาภ ค้าขาย

5.หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า "ยันต์ปฐมองค์ 8" เรียกลาภเข้ามา 8 ทิศ

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเพียง5,160 เหรียญ มีโค้ดกำกับ ถือเป็นเหรียญที่มีความงดงามและมีอนาคต


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97645830031898_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงปู่ขาว

หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ หรือ "พระครูปัญญาวุฒิวิชัย" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งสารคาม เป็นศิษย์สืบสายธรรมพระครูวิชัยกันทรารักษ์

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2466 ที่บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวชได้ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุวรรณมงคล โดยมีพระครูวิชัยกันทรารักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมจากพระครูวิชัยกันทรารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กันบ้านกันเมือง นอกจากนี้ ยังศึกษาไสยเวทเพิ่มเติมจากพ่อธรรมบัว บ้านหนองโก ทำให้ท่านมีวิทยาคมที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวอำเภอกันทรวิชัย

ปัจจุบันสิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย และเจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

กล่าวกันว่า งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในจังหวัดมหาสารคาม จะต้องนำวัตถุมงคลมาให้หลวงปู่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ หรือนิมนต์หลวงปู่ร่วมพิธีทุกงาน

วัตถุมงคลสร้างไว้เพียงรุ่นเดียว ถือเป็นสุดยอดปรารถนา คือ เหรียญกลมรูปเหมือนหลวงปู่ขาว รุ่นเมตตา วัดพุทธมงคล พ.ศ.2551 จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคล 85 ปี

มอบให้ศิษยานุศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต เป็นเหรียญทรงกลม มีหูห่วง เนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขาว ครึ่งองค์ จากด้านซ้ายของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปทางด้านขวา เขียนว่า "หลวงปู่ขาว วัดพุทธมงคล อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม"

ด้านหลังเหรียญ บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า "รุ่นเมตตา" บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระ นะโม พุทธายะ เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และจากขอบเหรียญด้านซ้ายวนลงมาด้านล่างวกขึ้นไปด้านขวา เขียนว่า "อายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี ๓๑ ม.ค.๕๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ถึงแม้จะเป็นเหรียญใหม่ จัดสร้างได้เพียงแค่ปีเศษก็ตาม แต่ผู้ที่มีเหรียญหลวงปู่ขาวในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย สามารถผ่อนหนักเป็นเบา

ส่งผลให้เป็นเหรียญที่มีอนาคตไกล กระแสเริ่มแรง ต่างเริ่มเช่าหาเก็บกันไว้ ทำให้เริ่มหายากขึ้น


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73852418528662_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

"พระนิรันตราย" นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระกริ่ง พระพิมพ์ และเหรียญ

"วัดเขาตาเงาะอุดมพร" อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ โดย หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต จึงดำริจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพื่อเป็นปูชนียวัตถุอนุสรณ์มอบเป็นปฏิการคุณ แด่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์อารามแห่งนี้ ซึ่งจะมีพิธีพุทธาภิเษกประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้

รายการจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ประกอบด้วย พระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาด 1 นิ้ว (ตั้งหน้ารถ)

พระกริ่งนิรันตราย จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงินก้นทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองสัมฤทธิ์ เนื้อทองระฆังโบราณ เนื้อทองแดงผิวรุ้ง และชุดกรรมการอุปถัมภ์ การจัดสร้างจำนวนจำกัด วัตถุมงคลมีโค้ดและหมายเลขทุกองค์

ติดต่อสั่งจองวัตถุมงคลได้ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ โทร.09-3540-2444 และศูนย์วัตถุมงคลวัดยานนาวา กรุงเทพฯ โทร.08-4899-9541, 08-9341-8111, 08-8288-9111

สําหรับพระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาล

โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า "นิรันตราย" อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนาม สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์มีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไป แต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงมีพระราชดำริให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า "พระนิรันตราย" และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

ในปี พ.ศ.2411 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูป พระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า "พระนิรันตราย" เช่นกัน

เพื่อจะพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันทำกะไหล่ทอง พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และวัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้นทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์

ปัจจุบัน "พระนิรันตรายองค์จริง" ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70276381489303_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)
รูปหล่อหลวงปู่ปัน

หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปัจจุบัน สิริอายุ 80 ปี พรรษา 20

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้านอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ในปี 2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ได้กราบนิมนต์หลวงปู่ ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม หลวงปู่พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ ภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก ท่านจึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "ศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ปัน รุ่น 1

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษา และพัฒนาสาธารณูปโภค ภายในวัด

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นแบบหล่อเบ้าทุบ เป็นรูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่ปัน นั่งวิปัสสนาบนฐานภูเขา สำหรับจำนวนการสร้างประกอบด้วย

1.เนื้อทองคำสร้างไม่เกิน 9 องค์ 2.ชุดกรรมการ รับพระ 7 องค์ สร้างจำนวน 168 ชุด 3.เนื้อเงินนำฤกษ์ 499 องค์ 4.เนื้อนวะดินไทยโบราณนำฤกษ์ตะกรุดทองคำ 499 องค์ 5.นวะปลอกผิวกลับดำ 499 องค์ 6.เนื้อทองชนวนพระเก่า 999 องค์ 6.เนื้อทองแดงเถื่อนผสมชนวน 2,999 องค์ เป็นต้น

หากเช่าทุกรายการจะสมนาคุณเนื้อเหล็กน้ำพี้ฝังตะกรุดทองคำ 1 องค์ และเนื้อทองแดงเถื่อนชุบ 3 เค จำนวน 1 องค์

ติดต่อโทร.06-2653-2899, 08-3095-1110


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25954546779394_view_resizing_images_4_Copy_.jpg)
พระกริ่งใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ณ ปัจจุบันนี้มีการหลอกขายหรือให้เช่าพระเครื่องปลอมเยอะมาก โดยมีวิธีการในการหลอกลวงที่แยบยลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงที่ใกล้เคียงกับพระแท้ๆ มากขึ้นจนเกือบเหมือนของจริงมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มมิจฉาชีพก็จะมีการเล่านิทานประกอบการขายได้อย่างน่าเชื่อถือ และมีทีมงานละครประกอบด้วย ปัจจุบันก็มีผู้ที่ถูกหลอกอยู่หลายรายครับ

เนื่องจากมีผู้ที่นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองพระแท้ที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยบางท่าน ได้นำเรื่องมาร้องเรียนและขอความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากพระเครื่องที่เขานำมาขอออกใบรับรองนั้น เป็นพระไม่แท้ สิ่งที่ได้รับฟังมา

โดยส่วนใหญ่ก็จะได้รับการยืนยันจากผู้ขายว่าเป็นพระแท้ บางรายยังแอบอ้างชื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นเซียนพระที่มีชื่อเสียงในสังคม แต่พอสืบความไปยังต้นเรื่องก็ปรากฏว่า บุคคลที่เขาอ้างถึงไม่รู้เรื่องด้วยเลย พอสอบถามผู้ซื้อว่าคุณได้ซื้อมาจากเจ้าตัวเองเลยหรือเปล่า ก็ปรากฏว่าไม่ใช่ แต่ผู้ที่นำมาขายอ้างถึงและยืนยัน ผู้ซื้อก็ดูพระไม่เป็น เพียงแต่ศึกษาในเบื้องต้นว่า พระแบบนั้นแบบนี้หน้าตาลักษณะเป็นอย่างไรเท่านั้น และพระปลอมที่เขานำมาขายก็มีการแอบอ้างที่มาที่ไปจนน่าเชื่อถือ บางรายยังมีใบประกาศนียบัตรผ่านการประกวดงานใหญ่ๆ มาแล้ว หรือมีใบรับรองพระแท้จากสถาบันต่างๆ พอนำมาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นพระปลอม แถมใบประกาศฯและใบรับรองก็ยังเป็นของปลอมอีกต่างหาก

บางรายก็มาขอให้ทางสมาคมช่วยเป็นตัวกลาง เรียกให้ผู้ที่ขายพระปลอมนำเงินมาคืน ครับเรื่องในส่วนนี้ทางสมาคมก็ไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะดำเนินการได้แต่อย่างใด ผู้เสียหายต้องไปติดต่อกับผู้ขายเอง ถ้าเขาไม่ยอมคืนเงินก็คงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ขายเองครับโดยอาจจะอ้างการพิสูจน์แล้วว่า พระที่ขายไม่ตรงกับที่เขาบอกขาย ถ้าจะให้ดีก็นำพระองค์นั้นๆ ไปเสนอขายตามศูนย์พระมาตรฐานหลายๆ ร้าน และควรให้มีพยานในการเสนอขายด้วยว่าไม่มีใครรับซื้อเลย เนื่องจากพระแท้ซึ่งอยู่ในความนิยมเช่นพระยอดนิยมต่างๆ นั้น จะมีมูลค่ารองรับอยู่เสมอ ส่วนมูลค่าต่างๆ นั้นอาจจะไม่เท่ากันนักแต่ก็ควรจะมีมูลค่ารองรับอยู่ครับ ส่วนพระปลอมนั้น ถ้าเอาเข้าไปเสนอขายในศูนย์พระมาตรฐานเขาจะไม่ซื้อเลย ก็เท่ากับว่าไม่มีมูลค่ารองรับ สิ่งเหล่านี้เป็นการพิสูจน์ได้โดยไม่ต้องมาเถียงกันว่าอย่างนั้นแท้อย่างนี้เก๊ ซึ่งก็เถียงกันไม่จบ แต่มูลค่ารองรับนั้นจบและเป็นมาตรฐานของสังคมพระเครื่องครับ

ปัจจุบันก็พบผู้ที่เข้ามาในสังคมพระรุ่นใหม่ๆ บางท่านก็เข้ามาเพราะชื่นชอบ เพราะศรัทธาในพระเครื่อง บ้างก็เข้ามาเนื่องจากจะเริ่มทำเป็นอาชีพ โดยเฉพาะผู้ที่จะเริ่มเข้ามาทำเป็นอาชีพก็อาจจะโดนหลอกจากพวกมิจฉาชีพได้บ้างซึ่งก็เป็นธรรมดา ผู้ที่เข้ามาเป็นเซียนพระหรือผู้เข้ามาเพื่อประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องนั้น ต่างคนก็เคยโดนพระเก๊มาทั้งนั้น นั่นเป็นเรื่องจริง แต่เขาก็ศึกษาและเพิ่มทักษะจากประสบการณ์ จนเป็นผู้ชำนาญการในเวลาต่อมา ส่วนคนดีคนเลวนั้นก็มีได้ทุกอาชีพ บางคนเก่งแต่เลวก็มีครับ และคนดีด้วยเก่งด้วยก็มีครับ จะคบใครเชื่อใจใครก็ควรจะต้องค่อยๆ คบหาและดูภูมิหลังเขาหน่อยครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระเครื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน แต่เป็นพระกริ่งใหญ่จากประเทศจีนแท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93986568268802_view_resizing_images5BA2KNXO_C.jpg)
เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นปาฏิหาริย์ EOD

หน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิด หรือ EOD (Explosive Ordnance Disposal) มีหน้าที่หลัก คือ ตรวจสอบ เก็บกู้ หรือ ทำลายวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุระเบิดทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์วางระเบิดสะเทือนขวัญตามสถานที่ต่างๆ อย่างไม่กลัวอันตราย

ด้วยเหตุนี้ ขวัญและกำลังใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคลากรในหน่วยงาน จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำรายได้เป็นทุนจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัย โดยขอความอนุเคราะห์จากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมตตาอนุญาตให้จัดสร้างและร่วมพิธีปลุกเสก

เมื่อปี พ.ศ.2557 คณะศิษย์หน่วยทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD อโณทัย จังหวัดปัตตานี โดยมี พ.อ.ทวีศักดิ์ จันทราสินธุ์ เป็นประธาน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) รุ่นปาฏิหาริย์ EOD ปี 2557 ประกอบด้วย เหรียญรูปไข่ พิมพ์ครึ่งองค์, เหรียญเสมา พิมพ์เต็มองค์ และรูปเหมือนปั๊มปาฏิหาริย์

วัตถุประสงค์หลัก เพื่อนำรายได้ถวายหลวงพ่อคูณจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินถวายวัดบุไผ่ (บ้านไร่ 2) อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เพื่อโครงการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุดในโลก และเพื่อมอบเป็นทุนในการก่อตั้งกองทุนช่วยเหลือนักทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ในครั้งนั้นคณะศิษย์หลวงพ่อคูณ ผู้จัดสร้างรุ่นปาฏิหาริย์ EOD ได้ประกาศงานบุญเปิดรับบริจาค 2,000 บาท เพื่อซื้อแว่นตากันสะเก็ดระเบิดให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผู้ร่วมบุญได้รับพระชุดหลวงพ่อคูณ ปาฏิหาริย์ EOD เนื้อมหาชนวนแจกทหาร 3 พิมพ์ คือ เหรียญเสมา เหรียญรูปไข่ และรูปเหมือนปั๊ม จัดสร้างเพียงพิมพ์ละ 999 องค์ ปรากฏว่าด้วยบุญบารมีของหลวงพ่อคูณ ทำให้คณะศิษย์ช่วยกันระดมทุนหาเงินได้เกือบ 6 แสนบาท ซื้อแว่นตากันระเบิดได้จำนวน 316 ชุด ส่งมอบให้ทหารตำรวจหน่วย EOD เป็นผลสำเร็จ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระแรก เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2557 (วันมาฆบูชา) ณ อุโบสถวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยหลวงพ่อคูณ เมตตาจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิคณาจารย์ดัง

จากนั้น ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระที่ 2 วันที่ 8 มี.ค.2557 ณ พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา และทำลายบล็อก

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อคูณ-รุ่นปาฏิหาริย์ EOD มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคูณครึ่งองค์หันหน้าตรง หลับตา ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์ เขียนคำว่า "ปาฏิหาริย์" ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า "พระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่"

วัตถุมงคลหลวงพ่อคูณ รุ่นปาฏิหาริย์ EOD เป็นรุ่นที่ถูกบรรจุเข้าทำเนียบรุ่นวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ พร้อมหนังสือประกาศรับรองรุ่นอย่างเป็นทางการ โดย พล.ต.ต.มหัคฆพันธ์ สุรคุปต์ ประธานกรรมการวัดบ้านไร่ ลงนามรับรอง และได้รับการบรรจุเข้ารายการประกวดพระเครื่องของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ตลอดปี 2559-2560

นับเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ของวัตถุมงคลหลวงพ่อคูณที่ได้ให้ความอนุเคราะห์กับหน่วย
EOD

ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2562 15:14:19
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22004390880465_view_resizing_images_6_Copy_.jpg)
พระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม เป็นพระกริ่งของหลวงพ่อคูณที่มีพิธีกรรมการสร้างดีมาก และเป็นพระกริ่งรุ่นเดียวของหลวงพ่อคูณที่เทหล่อในวัดบ้านไร่ทุกองค์ ตั้งแต่เริ่มจนถึงองค์สุดท้ายและพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดบ้านไร่

ทางคณะกรรมการวัดบ้านไร่โดยคณะศิษยานุศิษย์นำโดย นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานอำนวยการกิตติมศักดิ์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษา ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ประธานอำนวยการ เป็นต้น มีดำริที่จะสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคมขึ้น วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อหาทุนเบื้องต้นในการก่อสร้างวิหารเทพวิทยาคม (วิหารวิสุทธปัญญา)

การดำเนินการ ฤกษ์เททองวันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 15 นาฬิกา 09 นาที ซึ่งเป็นราชาแห่งฤกษ์ เป็นวันที่เหมาะในการจัดสร้างวัตถุมงคล ซึ่งจะมีความศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ในตัว อันหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ความสำเร็จและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในการหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสร้างพระของหลวงพ่อคูณ ซึ่งได้กระทำอย่างยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ โดยทุกขั้นตอนได้ดำเนินการ แบบโบราณตำรับการหล่อพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และเน้นเรื่องพิธีกรรมในการลงเลขยันต์ในแผ่นโลหะตามตำราเก่าแก่ซึ่งปรากฏขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน)

ฤกษ์เททองพระกริ่งเทพวิทยาคม ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 โดยที่หลวงพ่อคูณมาเป็นประธานในพิธีและเททอง เบ้าแรกด้วยตัวเอง พิธีมหาพุทธาภิเษก 9 วัน ในวันเสาร์ ที่ 23 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 กรรมวิธีการหล่อทั้งหมดดำเนินการภายในวัดบ้านไร่โดยตลอดมิได้นำไปดำเนินการนอกวัดแต่อย่างไรทั้งสิ้น ในการเททองหล่อพระกริ่งทุกครั้งที่มีการเททองหล่อตลอดระยะเวลาเดือนเศษ จะมีพระสงฆ์สวดชยันโตระหว่างเททองทุกครั้ง และมีหลายครั้งที่หลวงพ่อคูณได้ลงร่วมอธิษฐานจิตตอนเททองด้วย

สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษกพระทั้งหมดได้ทำติดต่อกัน 9 วัน ภายใน โบสถ์วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณได้เป็นผู้จุดเทียนชัยในพิธีมหาพุทธาภิเษก วันแรก และได้ร่วมนั่งอธิษฐานจิตด้วย

พระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม มีการสร้างแบบเนื้อทองคำเทหล่อเบ้าดินไทย เนื้อทองคำหล่อแบบเบ้าเหวี่ยง พระกริ่งพระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะหล่อแบบดินไทย และพระกริ่งพระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะหล่อเบ้าเหวี่ยง ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับและมีบัตรสมาร์ตการ์ดกำกับทุกองค์

พระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคมของหลวงพ่อคูณ เป็นพระที่พิธีการสร้างทุกขั้นตอนอยู่ภายในวัดบ้านไร่ และถูกต้องตามตำรับโบราณทุกขั้นตอน จึงเป็นพระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม เนื้อนวโลหะหล่อแบบเบ้าเหวี่ยงมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29731411279903_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
เหรียญสิงห์ 1 หลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเจ้าคณะตำบลศรีสุข เขต 1 ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ปัจจุบัน สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคม วัตรปฏิบัติของท่านเสมอต้นเสมอปลาย จึงอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาอย่างยาวนาน

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่สิงห์ จัดสร้างออกมาหลายรุ่น และในแต่ละรุ่นได้รับความนิยมในพื้นที่รวมทั้งจากบรรดาศิษยานุศิษย์ ทำให้ราคาเช่าหาวัตถุมงคลของหลวงปู่กระแสแรงขึ้นแทบทุกรุ่น

ในปี 2561 เนื่องในวาระที่หลวงปู่สิงห์ สิริอายุวัฒนะ 93 ปี คณะศิษยานุศิษย์จัดงานมุทิตาสักการะขึ้น และจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญมงคลสิงห์ 1 เพื่อนำรายได้สมทบทุนพัฒนาสาธารณูปโภค รวมทั้งถวายหลวงปู่ เพื่อบำรุงธาตุขันธ์หลวงปู่ยามที่เกิดอาพาธเจ็บป่วย

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่พื้นเหรียญจะตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ

ด้านหลัง บริเวณใต้ห่วงมีตัวอักษร เขียนว่า ที่ระฤกทำบุญครบรอบ ๙๓ ปี จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนว่า หลวงปู่สิงห์ คมฺภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ วัดศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ๙ พ.ย.๒๕๖๑ เป็นวันครบรอบวันเกิดหลวงปู่ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อทองคำสร้าง 5 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำสร้าง 11 เหรียญ เนื้อเงินลงยาคละสี สร้าง 29 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 190 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 399 เหรียญ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในคืนวันที่ 30 พ.ย. 2561 ภายในกุฏิกลางน้ำที่จำวัดหลวงปู่ สำหรับพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรก อาทิ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร, พระอาจารย์เขียว สุเมโธ วัดโพธิ์สามต้น, พระอาจารย์มนูญชัย วัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา เป็นต้น

หลังเสร็จสิ้นพิธี เปิดให้ผู้ที่มาร่วมพิธีเช่าบูชา ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นที่น่าสนใจ

ติดต่อวัดศรีสุข หรือศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคามบางแห่ง


ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65336041773358_view_resizing_images_6_Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกปี 2492 หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ทั้งเหรียญและตะกรุด แต่ก็ค่อนข้างหายากสักหน่อย เนื่องจากมีจำนวนไม่มากนัก อีกอย่างที่ทุกวันนี้ยังมีผู้คนไปขอกันเสมอก็คือน้ำมนต์ที่หน้ารูปเหมือนของท่านที่วัดสามกอครับ

หลวงพ่อเสือ ท่านเป็นชาวเมืองชลบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2421 ที่บ้านข้างวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

โยมบิดาชื่อแสวง โยมมารดาชื่อเปลี่ยน ตอนที่ท่านยังเด็กๆ อยู่นั้นได้รับการศึกษาอักษรสมัยที่วัดหลวง พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดหลวง เมื่อท่านบวชเป็นเณรได้ 2 พรรษา ก็ได้ติดตามพระอาจารย์ไปธุดงค์ และได้คาถาบทหนึ่งคือ "โอมหัง วันโท นะโมพุทธายะ" ท่านก็หมั่นฝึกภาวนาระหว่างทำสมาธิเสมอ เมื่ออายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านบวชได้ 5 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาบทกลับมายังบ้านเกิด

ได้อุปสมบทครั้งที่ 2 ที่วัดสนามจันทร์โดยมีหลวงพ่อแย้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อคำเป็นพระคู่สวด ได้นามฉายาว่า "วิรุฬหผโล" เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางกรูดอยู่ 2-3 พรรษา ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปนมัสการพระพุทธชินราช แล้วธุดงค์ต่อไปยังประเทศพม่า ระหว่างทางได้พบกับพระอาจารย์พม่ารูปหนึ่ง นามว่า พระอาจารย์โชติ กะธัมมจริยะ อยู่ที่วัดโชติการาม ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่ระยะหนึ่ง

ต่อมาได้ธุดงค์ต่อมาจนถึงถ้ำเชียงดาว ท่านก็อยู่จำพรรษาอีก 3 พรรษา แล้วได้ออกธุดงค์ไปดอยปุย อยู่กับชาวเขาที่นั่นอีกหลายพรรษา กระทั่งมีอายุได้ 45 ปี (พ.ศ.2466) จึงเดินทางกลับมาถึงบริเวณที่เป็นวัดสามกอ ท่านก็ได้พักปักกลด ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้านแถบนั้นก็ได้มาฟังท่านเทศน์และเกิดความเลื่อมใส จึงนิมนต์ขอให้พักอยู่ต่อ และได้สร้างกุฏิให้ ท่านก็ได้โปรดญาติโยมโดยได้จำพรรษาอยู่ตรงที่เป็นวัดสามกอ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความทุกข์ร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ มาโดยตลอด จนชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น จนเป็นวัดสามกอ ในทุกวันนี้

หลวงพ่อเสือจะอยู่บนกุฏิโล่งๆ ไม่มีห้องน้ำ และไม่เคยมีใครเห็นท่านสรงน้ำเลย แต่พอตอนเย็นจะได้ยินเสียงซู่ๆ เหมือนกับฝนตกในกุฏิของท่านเสมอ จนศิษย์สงสัย จึงคอยสังเกตดู ก็เห็นหลวงพ่อเสือยืนอยู่ที่นอกชานและตัวเปียก โดยไม่เห็นว่าท่านตักน้ำอาบเลย ทำให้ศิษย์สงสัยว่าท่านได้เรียกน้ำมาอาบได้โดยไม่ต้องเดินไปอาบที่ในคลองเลย ทุกๆ ปี

เมื่อถึงวันเกิดของท่าน คณะศิษย์จะทำพิธีสรงน้ำถวายท่านและเป็นที่สังเกตได้ เมื่อหลวงพ่อลงมาจากกุฏิเพื่อรอรับการสรงน้ำจะมีฝนตกทุกครั้ง หลวงพ่อเสือเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก พอถึงเดือนธันวาคมปี พ.ศ.2498 ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าให้ไปตามช่างถ่ายรูปมาถ่ายรูปท่าน และท่านก็ได้เทศน์ให้ฟังเป็นครั้งสุดท้าย โดยท่านได้บอกว่าจะละสังขารภายใน 3-5 วันนี้ และต่อมาท่านก็ได้บอกกับหลวงตาเผยว่า อีก 2 วันนี้ห้ามรบกวน ท่านไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว อีก 2 วันค่อยเปิดดู แล้วก็เดินเข้ากุฏิปิดประตู

ต่อมาอีก 2 วันตรงกับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2498 บรรดาศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือท่านที่เฝ้าอยู่หน้ากุฏิหลวงพ่อเสือ ก็ได้เปิดห้องดูตามที่ ได้สั่งเสียไว้ ก็พบว่าท่านนอนตะแคงขวา ห่มผ้าจีวรสังฆาฏิเรียบร้อย ตรงหน้าของท่านมีหนังสือเขียนไว้ว่า "เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา" ใบหน้าของหลวงพ่อเหมือนคนนอนหลับ แต่ท่านได้ละสังขารไปแล้ว และขณะนั้นก็ได้เกิดเสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอากาศมืดครึ้ม ฝนเทลงมาประมาณ 15 นาทีก็หยุดลง

หลวงพ่อเสือท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ หนังหน้าผากเสือ เหรียญรูปท่าน 3 รุ่น รุ่นแรกสร้างในงานทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี หลวงพ่อในปี พ.ศ. 2492 รุ่น 2 สร้างเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดแก้วศิลาราม พ.ศ. 2493 รุ่น 3 สร้างแจกในวันทำบุญวันเกิดปี 2495

น้ำมนต์ของหลวงพ่อเสือนั้นศักดิ์สิทธิ์มากมีคนมาขอกันมาก ขอให้รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเพื่อเป็นสิริมงคลต่างๆ ก็ตาม อธิษฐานขอเอาตามประสงค์ หลวงพ่อเสือท่านได้ทำน้ำมนต์ไว้ให้

โดยได้สั่งไว้ว่า ใครปรารถนาน้ำมนต์ ก็ขออธิษฐานในสิ่งปรารถนา โดยไม่ผิดศีลธรรม หลังจากนั้นเมื่อได้น้ำมนต์ไปแล้วก็ให้ตักน้ำฝนที่สะอาดเทกลับคืนให้ปริมาณเท่าๆ กับที่ตักไปให้เท่าเดิม จึงสังเกตได้ว่า น้ำมนต์ของท่านจนทุกวันนี้จะมีอยู่ในบาตรหน้ารูปเหมือนหล่อของท่านเสมอไม่มีขาด และก็มีคนไปขออธิษฐานตลอดมาจนทุกวันนี้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกปี 2492 มาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65046587545010_view_resizing_images_5_Copy_.jpg)
พระกริ่งบาเก็งท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์)วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน โดยส่วนตัวผมเองนั้นไม่ได้ศึกษาเรื่องพระกริ่งมากนัก แต่ก็ชื่นชอบเป็นบางรุ่น เช่น สนใจพระกริ่งบาเก็งรุ่นที่ 1 ที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างไว้ได้และตั้งชื่อว่า "พระกริ่งหลักชัย" เป็นนิมิตมงคล พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างขึ้นโดยนำพระกริ่งบาเก็งนอกของข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมาถอดพิมพ์โดยช่างหรัส พัฒนางกูล เพื่อนำมาเป็นแบบพิมพ์หุ่นเทียนของพระกริ่งรุ่นนี้

พระกริ่งบาเก็ง รุ่น 1 ประกอบพิธี ณ บริเวณพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ในการสร้างครั้งนี้สมเด็จพระสังฆราชแพ ได้ประทานแผ่นทองลงอักขระยันต์ที่ท่านทรงจารและปลุกเสกด้วยพระองค์เองเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังมีชนวนทองของพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ที่สะสมไว้จากพิธีครั้งก่อนๆ ทั้งของสมเด็จพระสังฆราชแพ และของท่านเจ้าคุณศรีฯ เอง เงินกลมตรายันต์จำนวนมาก เพื่อมาเททองหล่อองค์พระ เนื้อพระกริ่งรุ่นนี้จึงออกขาวอมเทา แต่ถ้าขัดพระลงไปอีกชั้นหนึ่งจะเห็นเนื้อในออกแดงอมชมพูคล้ายเนื้อนาก ถ้าทิ้งไว้ผิวจะกลับดำอมเทามีกระแสเงินประปราย

พระกริ่งรุ่นนี้เมื่อเทหล่อเสร็จช่างประจำวัดจะนำมาเกลาผิวพอให้ดูเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ได้แต่งจนสวยงามเป็นพิเศษแต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นพระที่อยู่ในลักษณะเดิม (ไม่แต่ง) พระกริ่งรุ่นนี้รายละเอียดของเม็ดพระศกจะไม่ติดชัด เนื่องจากหุ่นเทียนเป็นการทอดแบบจากพระกริ่งบาเก็งนอกมา ซึ่งรายละเอียดของเม็ดพระศกก็จะไม่ค่อยคมชัดมาแต่เดิม ดังนั้นพระกริ่งบาเก็ง รุ่น 1 ของท่านเจ้าคุณศรีฯ ซึ่งไม่ได้มีการแต่งเม็ดพระศกจึงไม่ค่อยชัด จำนวนการสร้างพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 มี 162 องค์

พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งแบบกริ่งในตัว อุดบรรจุกริ่ง 2 รู ที่ด้านหลังใกล้บัวเม็ดสุดท้ายทั้ง 2 ข้าง และส่วนใหญ่จะมีการตอกโค้ด มีทั้งแบบไม่มีไส้(โค้ดเล็ก) และแบบมีไส้ ในตำแหน่งใต้ข้อศอกขวาด้านหลัง บางองค์ท่านเจ้าคุณศรีฯ จะจารอักขระพุดซ้อนที่ใต้ฐานด้วยตัวท่านเอง เข้าใจว่าท่านที่ได้รับไปนำมาให้ท่านเจ้าคุณลงเหล็กจารให้อีกทีหนึ่ง ในส่วนพระบางองค์ที่ไม่มีการตอกโค้ดหรือลงเหล็กจารก็มี เรื่องนี้ไม่ใช่ข้อยุติ การพิจารณาต้องดูที่พิมพ์และกระแสเนื้อ เป็นหลัก

พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 เมื่อแจกหมดไปแล้วลูกศิษย์ที่ยังไม่ได้รับก็มาขอให้ท่านเจ้าคุณสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก ท่านก็กรุณาสร้างขึ้นอีกครั้งในปีเดียวกันเป็นพระกริ่ง บาเก็งรุ่น 2 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2487 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน เนื้อหาก็ใกล้เคียงกันมากเพราะใช้ทองชนวนที่เหลือจากการเทรุ่น 1 มาเท ผิวกลับดำอมเทาเช่นเดียวกัน เอาแว่นขยายส่องดูก็เป็นประกายเงินเช่นเดียวกัน และก็ไม่ได้ตกแต่งเช่นเดียวกับพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 การอุดบรรจุกริ่งก็แบบเดียวกับพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 บางองค์มีการตอกโค้ด และลงเหล็กจารเช่นเดียวกับรุ่น 1 แต่บางองค์ก็ไม่มี จำนวนการสร้าง 202 องค์

เรื่องพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 กับรุ่น 2 จะคล้ายกันมากแทบจะแยกกันไม่ออก แล้วจะแยกแยะกันอย่างไร สำหรับผู้ที่ชำนาญการเขาแยกได้อยู่แล้วครับ ทีนี้ผมจะนำมาบอกว่าเขาแยกกันออกได้อย่างไรง่ายๆ และชัดเจนครับ พระกริ่งบาเก็งรุ่นที่สร้างในครั้งที่ 2 นี้ ช่างเขาได้ปาดหุ่นเทียนใต้ฐานด้านหลังไว้ เพื่อให้แยกแยะได้ง่าย เป็นการปาดในพิมพ์ ให้สังเกตที่ใต้ฐานบริเวณขอบด้านหลังจะเห็นได้ชัดว่าพระกริ่งบาเก็งรุ่น 2 จะมีการปาดฐานเป็นรอยเว้าเข้าไปเล็กน้อยพอมองเห็นได้ชัดครับ ดังในรูปที่ผมได้นำมาลงทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และก้นครับ

สำหรับพระกริ่งบาเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ ท่านยังสร้างต่อมาอีก เป็นพระกริ่งบาเก็งรุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 ส่วนในรุ่นอื่นๆ นั้นแยกกันได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งรุ่น 3 ที่มีการแต่งสวยทุกองค์ หรือพระกริ่งรุ่น 4 ที่มีเนื้อออกไปทางอมเหลือง หรือพระกริ่งบาเก็ง 5 เฉพาะรุ่นนี้การบรรจุกริ่งด้วยการปะก้นด้วยทองฝาบาตร ซึ่งก็สามารถแยกออกได้ง่ายว่าเป็นรุ่นใด

ครับ ก็มีพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 กับรุ่น 2 นี่แหละครับที่คล้ายกันมาก แต่ก็สามารถแยกออกได้เช่นกัน ตามที่ผมเล่ามาครับ ในครั้งแรกๆ ที่ผมศึกษาพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 อยู่ก็งงอยู่เหมือนกันว่าเขาแยกออกได้อย่างไร เรื่องนี้ในสมัยก่อนเขาก็ไม่บอกกันง่ายๆ ครับ จนผู้ใหญ่ท่านได้ชี้แนะให้ดูจึงเข้าใจ และนำมาเล่าสู่กันฟังครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25187146208352_view_resizing_images_2_Copy_.jpg)
รูปหล่อหลวงปู่ทองคำ

"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่ พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อความสะดวกขณะที่ข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "บอย สำโรงทาบ" จึงมีโครงการที่ จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ ที่ประเทศ สปป.ลาว และจัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อหลวงปู่ทองคำ รุ่นไตรมาสรวยทันตา" พุทธศิลป์ออกแบบ ได้สวยงามลงตัวมากลักษณะเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่นั่งในท่าวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บนฐานเขียง

ด้านหน้าฐานเขียนว่า หลวงปู่ทองคำ

ด้านหลังที่บริเวณฐานเขียนว่าอาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์ และที่ใต้ฐานจะตอกโค้ดกำกับทุกองค์

จำนวนการสร้าง ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 22 องค์ เนื้อเงิน 350 องค์ เนื้อทองโบราณอุดผง 400 องค์ เนื้อตะกั่วอุดผง 1,000 องค์ เนื้อทองทิพย์รมดำ 3,000 องค์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ทองคำ อธิษฐานจิตเดี่ยวหลายครั้ง

ติดต่อโทร.06-1795-7556


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35955076250764_view_resizing_images_1_Copy_.jpg)
เหรียญหล่อ หลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเหรียญหล่อของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหรียญหลวงปู่รอด วัดสามไถ เป็นเหรียญหล่อที่หายากและมีสนนราคาสูง เนื่องจากมีจำนวนการสร้างน้อย และชาวบ้านหวงแหนกันมาก มีเรื่องกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญนี้กันมากถึงพุทธคุณที่เด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอดเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดาชื่อ แม่เฒ่ากา เมื่ออายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้าศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัด ต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลก (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ. 2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอดวัดสามไถนี้ ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากมากครับ สนนราคาหลักแสนบาท พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปถ่ายหลวงปู่รอด และเหรียญหล่อของท่าน จากหนังสือตามรอยสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33272299874159_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)
พระพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าองค์เล็กๆ ที่มีเรื่องราวเล่าขานกันมากในสมัยผมยังเป็นเด็กจนถึงตอนเป็นวัยรุ่น ก็สนใจและชอบฟังเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้หลักผู้ใหญ่เขาคุยกันและเล่าให้ฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ซึ่งก็มีเรื่องในสมัยสงครามโลกที่ทหารไทยถูกทหารญี่ปุ่นยิงแต่ไม่เข้าเพราะอมพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าอยู่ในปาก เรื่องราวต่างๆ ล้วนเป็นการยืนยันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าหายากใครมี ต่างก็หวงแหน ทำให้มีสนนราคามูลค่าสูง

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงินองค์เล็กมาก เป็นพระที่ขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญของเมืองพิจิตร สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แขนกลม พิมพ์แขนหักศอก และพิมพ์ไม่มีฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ในกรุนี้ก็ยังมีพระเครื่องขนาดเล็กอีกหลายพิมพ์ เช่น พระนาคปรกพิจิตร พระพิจิตรสามเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า พิจิตรหน้าวัง ที่เป็นเนื้อดินก็พบพระพิจิตรผงดำ เป็นต้น

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระที่มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับเม็ดข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณ พุทธลักษณะของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เนื่องจากขนาดขององค์พระเล็กมาก จึงแสดงเป็นเส้นสายลายเส้นเท่านั้นแต่ก็คมชัดทุกองค์ แสดงเป็นพระเศียร พระเกศ ลำพระองค์ แสดงเป็นปางสมาธิบนฐานหมอน และพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มักจะมีเกศเอียงไปทางขวาขององค์พระ นักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนบางท่านก็จะเรียกพระพิจิตรเกศคดบ้างก็มี

ด้านหลังของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าจะ เป็นลักษณะลายผ้าหยาบๆ ถ้าเป็นลายผ้า ละเอียดๆ ละก็น่าจะไม่ใช่ครับ สำหรับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเท่าที่พบมีอยู่เนื้อเดียวคือ เนื้อชินเงิน บางองค์ก็พบที่แก่ตะกั่วก็มีบ้าง พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเท่าที่พบจะบางมากไม่หนาอย่างพระทั่วๆ ไป ส่วนมากที่พบพระจะมีรอยระเบิดที่ผิวเป็นส่วนมาก หรือแตกปริตามขอบข้างเสียเป็นส่วนใหญ่ ผิวส่วนมากจะออกสีดำคล้ำๆ แบบสนิมตีนกา

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน สมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหนแบบเดียวกับพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า จึงทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านั้นชำรุดสูญหายไปมาก ปัจจุบันจึงไม่ค่อยพบเห็นพระแท้ๆ กันเลย หายากมากจริงๆ ครับ

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว พระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่มีขนาดเล็กแบบเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าก็มี เช่น พระพิจิตรสามเหลี่ยมหน้าวัง พระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุก็มีขนาดเล็กเช่นกัน ขนาดใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และจัดเป็นพระชุดจิ๋วแต่แจ๋วของเมืองพิจิตรเช่นกันครับ แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าทั้งพิมพ์แขนกลมและพิมพ์แขนหักศอก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75213527638051_view_resizing_images_2_Copy_.jpg)
ล็อกเกตหลวงปู่เบ้า

หลวงปู่เบ้า จัตตมโล เจ้าอาวาสวัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ พระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมที่เข้มขลัง ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่มากพอสมควร

ปัจจุบัน สิริอายุ 96 ปี พรรษา 28

มีนามเดิม เบ้า สัตยาคุณ เกิดปี พ.ศ.2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านโพนงาม ต.บัวแดง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากที่ท่านอุปสมบทได้ประมาณ 9 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัวทำมาหากิน

ใช้ชีวิตฆราวาสมาจนถึงปี 2533 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึง ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุโบสถวัดอัมพวัน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีเจ้าอธิการสุวรรณ สิริปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดบ้านโนนมาลัย ยังเป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติศาสนกิจหลายรายการ อาทิ กุฏิที่หลวงปู่เบ้า มีสภาพที่ทรุดโทรม บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคลล็อกเกตรุ่นแรก เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นล็อกเกต รูปไข่

ด้านหน้าล็อกเกต เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ด้าน ล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่เบ้า "จตฺตมโล"

ด้านหลังล็อกเกต อุดวัตถุมงคลหลายอย่าง อาทิ ชานหมาก เกศา จีวร หลวงปู่เบ้า น้ำมนต์เทียนชัย ตะกรุด และพระธาตุเหล็กไหล เป็นต้น จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย ฉากทองตะกรุดทองคำ 29 เหรียญ ฉากทองตะกรุดเงิน 99 เหรียญ ฉากขาวตะกรุดทอง และตะกรุดทองทิพย์ 399 เหรียญ พุทธคุณวัตถุมงคลรุ่นนี้เด่นในทุกด้าน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในศาลาการเปรียญวัดโนนมาลัย พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่เบ้า จัตตมโล จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ที โชติปัญโญ ที่พักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน จ.ศรีษะเกษ เป็นต้น พระเกจิทุกรูปล้วนมีพุทธาคมที่เข้มขลัง มีพลังใจที่แก่กล้า จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์ร่วมทำบุญ ติดต่อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.06-1492-9499


ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2562 15:16:37
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37280396661824_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)
พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี เป็นพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเป็นพระร่วงยอดนิยมเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ได้รับความนิยมมากมาตั้งแต่สมัยก่อน ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก

ลพบุรีเป็นแหล่งชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อมายาวนาน สถาปัตยกรรมที่พบมากที่สุดก็จะเป็นสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี (ขอม) ซึ่งพบอยู่หลายแห่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดสำคัญของลพบุรี มีการสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจและปกครองดินแดนแถบนี้ ตัวองค์พระปรางค์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อๆ มาหลายครั้งจนถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา รูปแบบภายนอกที่เห็นก็จะมีการดัดแปลงไปบ้างตามยุคสมัยที่บูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงนั้นๆ

การพบพระในกรุองค์พระปรางค์ก็เนื่อง จากมีผู้เข้าไปลักลอบขุดกรุ และได้พบพระเครื่องพระบูชาจำนวนมากมาย การขุดครั้งแรกก็ประมาณปี พ.ศ.2440 พระเครื่องที่ โด่งดังมากๆ ในสมัยนั้นก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน นอกจากนี้ก็ยังพบพระเครื่องพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งพระแผงขนาดเขื่องด้วย ต่อมาก็มีการแอบเข้าไปขุดอีกหลายครั้ง และในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุก็ยังมีกรุอื่นๆ อีกหลายกรุที่พบพระเครื่องต่างๆ อีกหลายครั้ง

พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่จะนิยมมากและมีผู้รู้จักมากกว่า พระร่วงพิมพ์ใหญ่จะมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังรางปืนที่ถูกขุดพบภายหลังที่ศรีสัชนาลัยมาก แต่ด้านหลังจะผิดกันที่เป็นแบบหลังลายผ้า และเป็นร่องรางปืน พระร่วงของลพบุรีจะเป็นแบบหลังลายผ้า และจะเป็นลายผ้าแบบหยาบๆ พระที่พบส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแทบทั้งสิ้น และมีไขขาวปกคลุมผิวสนิมอยู่บางๆ สีสนิมก็จะออกแดงเข้มอมดำอมส้มจัดสลับกันไปปกคลุมอยู่ทั่วทั้งองค์พระ และจะเห็นร่องรอยการแตกปริของสนิมเป็นเส้นบางๆ คล้ายใยแมงมุมปรากฏอยู่ตามองค์พระแสดงถึงความเก่าแก่ของสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนกันตามกาลเวลา จำนวนพระที่พบก็ไม่มากนัก ยิ่งพระที่สมบูรณ์ไม่ชำรุดยิ่งน้อยกว่ามาก

พระร่วงยืนหลังลายผ้า ถ้าพูดถึงในด้านศิลปะแล้วก็เป็นศิลปะแบบขอม สันนิษฐานว่าน่าเป็นศิลปะขอมแบบบายนหรืออาจจะสูงกว่านั้นเล็กน้อย องค์พระประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ดูเคร่งขรึม พระเศียรทรงเทริดจีโบ จีวรห่มคลุม มีรัดประคดเด่นชัด ประทับยืนปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ซ้ายปล่อยห้อยลงมาด้านล่างแนบตามลำพระองค์และหงายพระหัตถ์ออกด้านหน้า แท่นที่ประทับยืนจะเป็นแบบฐานเขียง เอกลักษณ์ด้านหลังพระทุกองค์จะเห็นด้านหลังมีรอยลายผ้าหยาบๆ อยู่ทุกองค์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่นำมาเรียกหาเป็นชื่อเฉพาะกันต่อมา ถ้าได้ยินคำว่าพระร่วงหลังลายผ้าก็จะรู้กันทันทีว่าเป็นพระร่วงยืนกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

คนในสมัยก่อนนิยมนำมาเลี่ยมห้อยคอกันมาก ว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และอำนาจบารมี เสริมส่งให้เจริญก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง ในสมัยปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยเห็นใครห้อยพระร่วงหลังลายผ้ากันนัก เนื่องจากองค์พระมีขนาดเขื่อง ห้อยคอก็คงห้อยได้องค์เดียว และอีกอย่างหนึ่งก็คือหาพระแท้ๆ ยากมาก สนนราคาก็สูงมาก ใครมีก็จะหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีไม่ค่อยนำออกมาให้ใครชมสักเท่าไรนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี ทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22415214528640_view_resizing_images_4_Copy_.jpg)
พระนาคปรกใบมะขาม และสร้อยตะกรุดประคำคาบ ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด ฝั่งธนฯ กทม. เป็นวัดที่มีความสำคัญและมีพระเครื่องอันโด่งดังหลายยุค เช่น พระเนื้อผงผสมใบลานที่บรรจุไว้ในกรุองค์พระเจดีย์ พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิท นอกจากนี้ก็ยังมีตะกรุดทองคำชุด 19 ดอก ซึ่งเรียกกันว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ซึ่งนิยมเสาะแสวงหา และหาได้ยากยิ่งครับ

วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอาราม เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับ พระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านก็มักเรียกกันจนติดปากว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาดมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสถานการศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยที่ยังเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายอักษรรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพ รัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปพร้อมกับหล่อพระรูป สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ"

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาส วัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปี พ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทสนมกับพระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด เจ้าคุณสนิทนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา

ท่านเจ้าคุณสนิท มรณภาพราวปี พ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

ท่านเจ้าคุณสนิทได้สร้างวัตถุมงคลไว้และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันดีก็คือ พระปรกใบมะขาม ซึ่งถือกันว่าเป็นอันดับ 1 ของพระปรกใบมะขาม ปัจจุบันหายากมาก นอกจากนี้วัตถุมงคลที่หายากมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้อยตะกรุดประคำคาบ ซึ่งแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่ได้รับมักเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตะกรุดสร้อยประคำคาบ จะเป็นตะกรุดทองคำพวงจำนวน 19 ดอก พร้อมด้วยลูกประคำทองคำคั่นระหว่างดอกตะกรุด และสร้อยทองคำสวมคอร้อยตะกรุดไว้ในสมัยโบราณเรียกว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ปัจจุบันนับว่าหายากมากที่สุด และนิยมมาก แต่ก็แทบจะไม่เคยได้เห็นของแท้กันเลย พุทธคุณของพระนาคปรกใบมะขามและสร้อยตะกรุดประคำคาบเด่นทางด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน ปกป้องคุ้มครองป้องกันภัย ปัจจุบันหาของแท้ยากมาก สนนราคาก็สูงมาก เวลาจะเช่าควรตรวจสอบให้ดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด พระนาคปรกใบมะขาม และสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิท จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47782818228006_view_resizing_images_8_Copy_.jpg)
เหรียญพระอาจารย์บัวลม

"พระอาจารย์บัวลม สิริธัมมรังสี" เจ้าอธิการวัดพุทธมีชัยยาราม บ้านดอนเซง นครไกสอนพมวิหาร แขวงสุวรรณเขต ประเทศ สปป.ลาว นอกจากนั้นท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะนครไกสอนพมวิหาร

ปัจจุบันสิริอายุ 39 ปี พรรษา 19

เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดี เสมอต้นเสมอปลาย

เกิดปีพ.ศ.2523 ที่บ้านท่าเมืองแขก เมืองสารวัน แขวงสารวัน ประเทศสปป.ลาว บิดา-มารดาชื่อ นายจารสุนทร และนางจันไทย สุวรรณเสน

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เข้าพิธีอุปสมบทที่พระอุโบสถวัดบ้านท่าเมืองเก่า โดยมีพระอาจารย์บุญมี เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดพระธาตุโพนเมืองไซภูทอง แขวงสุวรรณเขต 5 พรรษา มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม จนถึงปี พ.ศ.2550 จึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพุทธมีชัยยาราม จนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้ท่านอายุและพรรษาน้อย จึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ 1.เจ้าคณะนครไกสอนพมวิหาร 2.หัวหน้ากรรมาธิการสาธารณูปการนครไกสอนพมวิหาร 3.คณะกรรมการแนวลาวสร้างชาตินครไกสอนพมวิหาร 4.รองหัวหน้าที่ทำการนครไกสอนพมวิหาร และ 5.เจ้าอธิการวัดพุทธมีชัยยาราม

นอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ยังเป็นพระเกจิอาจารย์ ศึกษาจากพระอาจารย์หลายท่าน

เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับการนิมนต์มาร่วมพิธีสวดนพเคราะห์ ที่วัดป่าบ้านดินดำ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

สำหรับวัตถุมงคลเคยสร้างในปี พ.ศ.2559 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนท่านครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ด้านขวาของเหรียญวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า พระอาจารย์ซาน้อย ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิเดชสารวัน ล่างสุดเขียนว่า วัดพุทธมีชัย

ด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดเขียนว่า พ.ศ.2559 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างรวม 1,000 เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองแดง 500 เหรียญ เนื้อเงิน 250 เหรียญ เนื้อว่าน 250 เหรียญ

ล่าสุด วัดพุทธมีชัยมีโครงการจัดสร้างพระธาตุพุทธมีชัย เพื่อฉลองการตรัสรู้ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และบรรจุอัฐิธาตุของพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของ สปป.ลาว เป็นต้น แต่ต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 15 ล้านบาท จึงนำเหรียญรุ่นนี้เปิดให้พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญสร้างพระธาตุ

หากมีโอกาสข้ามไปที่นครไกสอนพมวิหาร แขวงสุวรรณเขต ประเทศสปป.ลาว อย่าลืมแวะทำบุญสร้างพระธาตุกับทางวัดพุทธมีชัย


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58776112480295_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรีที่โด่งดังมากๆ รูปหนึ่ง ก็คือ หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมาก และท่านก็ได้อนุญาตให้ศิษย์สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มขึ้น ปัจจุบันหายากมากและสนนราคาสูง

พระครูอินทเขมาจารย์ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่าหลวงพ่อห้อง ท่านเกิดที่บ้านตำบลหน้าเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ นาค ครั้นเมื่อท่านอายุครบบวช ตรงกับปี พ.ศ. 2509 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี โดยมีพระอธิการวัดช่องลมเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมเสนา (จันทร์) วัดพญาไม้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูอินทเขมา (เรือง) วัดท้ายเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอายุได้ 36 ปี พรรษาที่ 15 ในปี พ.ศ. 2424 ท่านพระครูอินทเขมา (เรือง) ได้เห็นถึงความอุตสาหะวิริยะหมั่นเพียร และเอาใจใส่ในธุระของการศาสนา จึงได้แต่งตั้งท่านให้เป็นพระปลัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 หลวงพ่อห้องท่านก็ได้พระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูอินทเขมา ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2455 ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2461

หลวงพ่อห้องเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรที่น่าเลื่อมใส ท่านได้ช่วยระงับอธิกรณ์น้อยใหญ่ และบริหารคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ท่านยังได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดช่องลมให้เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ สำหรับวัดอื่นๆ ภายในจังหวัดราชบุรี ท่านก็อนุเคราะห์ช่วยเหลือตามกำลังและสติปัญญา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี ในปีหนึ่งๆ จะมีผู้มาขออุปสมบทกับท่านเป็นจำนวนมาก ท่านปฏิบัติหน้าที่โดยมิขาดตกบกพร่อง แม้ในปีหลังๆ ที่ท่านได้อาพาธใกล้มรณภาพ ก็ยังมีผู้ปรารถนาจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์มานิมนต์ท่านๆ ก็รับหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้

ในปี พ.ศ. 2469 ราวต้นเดือนพฤษภาคม หลวงพ่อก็เริ่มอาพาธหนักขึ้น นายแพทย์มาเยียวยารักษาท่าน ก็แนะนำให้ท่านฉันอาหารในเวลาเย็นเพื่อจะได้ช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ด้วยท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่ยอมฉันอาหารเย็นเลย ท่านบอกกับลูกศิษย์ที่เฝ้าดูแลท่านว่า "ถึงแม้จะถึงชีวิตก็จะไม่ขอล่วงพระธรรมวินัยแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็จะไม่ยอม" ในที่สุดการอาพาธในครั้งนั้นก็เป็นวาระสุดท้ายในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ท่านก็ทำสมาธิมรณภาพในเวลาตี 4 กับ 55 นาที สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 61

ในปี พ.ศ.2465 หลวงพ่อห้องได้อนุญาตให้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านตามที่คณะศิษย์ได้ขออนุญาต โดยมีทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม เป็นรูปท่านนั่งสมาธิเต็มองค์ทั้งสองแบบ ส่วนเหรียญปั๊มด้านหน้ามีอักษรไทยเขียนว่า "ว,ช,ล," อันหมายถึงวัดช่องลม เหรียญนี้เป็นเหรียญนิยมของจังหวัดราชบุรี และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันหาของแท้ๆ ยากครับ สนนราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญยอดนิยมของจังหวัดราชบุรี คือเหรียญหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45245988211697_view_resizing_images_8_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31193143377701_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)
เหรียญปั๊มและเหรียญหล่อรุ่นแซยิด หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดสมุทรสาคร วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป

หลวงปู่รอด ท่านเป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อ ทองดี โยมมารดาชื่อ เกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอ ขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น

หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดท่านก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา

พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"

เมื่ออุปสมบทก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบ มุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่เรียนกับพระอุปัชฌาย์แคคือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ

นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมและสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม"

ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญ หล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น สำหรับเหรียญปั๊มเหรียญหล่อรุ่นแซยิด สร้างในปี พ.ศ.2477 นั้นเป็นเหรียญรุ่นที่นิยมอย่างมาก หายากสวยๆ สนนราคาอยู่ที่หลักแสน และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญปั๊มและเหรียญหล่อรุ่นแซยิดมา
ให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91482510666052_view_resizing_images_8_Copy_.jpg)
เหรียญข้าวหลามตัดหลวงพ่อพัฒน์

หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ

เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ณ อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม เริ่มเรียนนักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้น หลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียนพุทธาคมด้วย

เมื่อพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทราราม หลวงพ่อเดิมเริ่มถ่ายสรรพวิชา ทั้งกัมมัฏฐานและพุทธาคม โดยให้หลวงพ่อพัฒน์ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน

ด้วยขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่ จึงไม่สะดวกในการพำนักจำพรรษา จึงต้องเดินไปเช้าเย็นกลับระหว่างวัดทั้งสอง เรียนวิชาอยู่เกือบสองพรรษาจึงจบ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม ย้ายมาพัฒนาวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวหนองบัว ตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

วัตถุมงคลล่าสุดของหลวงพ่อพัฒน์ คือ "รุ่นวางศิลาฤกษ์" ที่ท่านอนุญาตให้คณะกรรมการวัดห้วยด้วน จัดสร้างเพื่อนำรายได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ รูปแบบเป็นพระขุนแผน-กุมารทอง สะท้อนแสง, รูปหล่อโบราณ รวยข้ามปี และเหรียญข้าวหลามตัด หลังพระพรหมสี่หน้า โดยท่านเมตตาปลุกเสกนำฤกษ์ ค่ำของคืนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 ตามตำราโบราณ และวัตถุมงคลรุ่นนี้ บรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายชนิดจากพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ

สำหรับลักษณะเหรียญข้าวหลามตัด-หลวงพ่อพัฒน์ หลังพระพรหมสี่หน้า

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพัฒน์เต็มองค์นั่งขัดสมาธิ รอบรูปเหมือน เขียนคำว่า "วัดห้วยด้วน" "นครสวรรค์" "หลวงพ่อพัฒน์-วางศิลาฤกษ์"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปเศียรพระพรหมสี่หน้า

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันอังคารที่ 25 ธ.ค.2561 เวลา 09.09 น. โดยมีนายเสมอ งิ้วงาม หรือ "ป๋อง สุพรรณ" เซียนพระชื่อดัง ประธานฝ่ายฆราวาส

สอบถามโทร.08-6103-8283, 08-6211-6953


ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 เมษายน 2562 10:48:26
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69317177517546_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (หลวงปู่เข็ม) วัดม่วง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (พระอุปัชฌาย์เข็ม) วัดม่วง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์เก่าแก่ที่ชาวราชบุรีให้ความเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง ท่านได้อนุญาตให้สร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งปัจจุบันหายากมากครับ

วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานจารึกเป็นอักษรมอญระบุไว้ ชุมชนชาวบ้านม่วงในสมัยก่อนนั้นคนส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวมอญ และมีคนไทย คนจีน คนลาวอาศัยอยู่ปะปนกัน ปัจจุบันยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมชาวมอญ และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านม่วง เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวมอญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคัมภีร์จารึกภาษามอญ โบราณวัตถุ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจครับ

พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ หรือ พระอุปัชฌาย์เข็ม ประวัติของท่านเท่าที่สืบค้นได้ว่า ท่านเป็นคนชาวบ้านม่วง เชื้อสายมอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี และเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดม่วง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนากรรมฐาน และท่านได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดม่วง ซึ่งชาวบ้านทั้งมอญ ลาว ไทย จีน ต่างก็เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีคนมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งคนต่างจังหวัดก็มาขอบวชกับท่านมากมาย รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงก็ยังมาขอบวชกับท่านด้วย ถึงขนาดต้องอุปสมบทหมู่ เนื่องจากในแต่ละปีจะมีคนมาขอบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก นอกจากมาขอบวชแล้วก็ยังมีพระภิกษุที่บวชตามประเพณีจากที่ต่างๆ มาขอสึกกับท่าน ในตอนออกพรรษาอีกมากเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เข็มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วงก็เจริญรุ่งเรืองมาก ได้มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กำแพงวัด และโรงเรียน ทำให้วัดบ้านม่วงเป็นศูนย์กลางการเรียนการศึกษาพระธรรมในสมัยนั้น มีพระอาจารย์แปลบาลี มอญ และจารหนังสือไว้อย่างมากมาย หลวงปู่เข็ม เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง ใครจะมานิมนต์ท่านไปไหนท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาที่วัดม่วง และพระราชทานไตรแพรถวายแก่หลวงปู่เข็มด้วย

หลวงปู่เข็มยังมีวิชาแพทย์แผนโบราณ ช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ตลอด ว่ากันว่ายาลูกกลอนของท่านศักดิ์สิทธิ์นักรักษาโรคได้หลายอย่าง หลวงปู่เข็มเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ท่านจะทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด ภายในวัดจะมีสัตว์ต่างๆ มาอาศัยบารมีของหลวงปู่อยู่มากมาย

ในปี พ.ศ.2464 ได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบัน หลวงปู่เข็มได้ออกเหรียญรูปท่านแจกให้เป็นที่ระลึกในการสร้างพระอุโบสถ มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ปัจจุบันก็หาชมได้ยาก ท้องถิ่นเขาหวงกันมากครับ หลวงปู่เข็มมรณภาพในปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85056144909726_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

พระคงลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของการพิจารณาพระเครื่องนั้นๆ ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ 3 ข้อ คือ

1.เรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และร่องรอยของธรรมชาติจากการผลิต

2.เรื่องเนื้อหาขององค์พระ (วัสดุที่นำมาสร้างพระ)

3.ธรรมชาติความเก่าตามอายุการสร้าง

การพิจารณามีความสำคัญทั้ง 3 ข้อ การวิเคราะห์ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลยครับ มีบางท่านกล่าวว่า เรื่องพิมพ์ไม่มีความสำคัญไม่ต้องจำ หัดดูเนื้อคราบผิวก็พอนั้นเป็นการเข้าใจที่ผิดและจะนำมาซึ่งความผิดพลาดได้ง่ายมาก

วันนี้ผมจะพูดถึงเพียงเรื่องพิมพ์หรือรายละเอียดของแม่พิมพ์มีความสำคัญอย่างไร พระเครื่องหรือพระพิมพ์นั้น เป็นการผลิตขึ้นมาจากแม่พิมพ์ ดังนั้นสิ่งที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็ต้องมีรายละเอียดที่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเส้นริ้วรอยต่างๆ มิติความลึกตื้นก็จะเหมือนกันหมด เพราะเกิดขึ้นจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน และไม่ว่าสิ่งผลิตใดๆ ก็ตามที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ก็จะมีรายละเอียดเหมือนกัน เช่น เหรียญกษาปณ์ หรือธนบัตร รุ่นเดียวกันและมีแม่พิมพ์ตัวเดียวกันก็จะเหมือนกันทั้งหมด ไม่เช่นนั้นเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรก็จะพิสูจน์ไม่ได้เลยว่าเก๊หรือแท้ สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนข้ออื่นๆ ก็คือ รายละเอียดของพิมพ์เนื่องจากเป็นสิ่งแรกๆ ที่เราจะเห็นก่อนสิ่งอื่นๆ และเห็นได้ด้วยตาเปล่า เอาล่ะผมขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น มีฝาแฝดอยู่คู่หนึ่ง คุณจะจดจำได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนไหน แน่นอนครับเราก็จะจดจำสิ่งแตกต่างของคนหนึ่งว่าคนนี้ชื่ออะไร ก็เท่ากับว่าเราจดจำพิมพ์หรือตำหนิที่แตกต่าง ไม่ต้องไปเอาแว่นขยายไปส่องดูเนื้อผิวของคนคนนั้นก่อนจึงจะบอกได้ว่าคนไหนชื่ออะไร ตรรกะง่ายๆ และเป็นหลักความจริงไม่ใช่เพ้อฝันครับ

การพิจารณาพระแท้หรือไม่ สิ่งแรกที่เราเห็นก็คือรายละเอียดของพิมพ์ และก็เป็นสิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะรู้ว่าถูกต้องหรือไม่ก็ต้องศึกษาเรื่องของรายละเอียดของแม่พิมพ์เสียก่อน ต้องจดจำให้ได้ทุกมิติ พูดแบบนี้บางท่านก็อาจจะคิดว่ายาก แต่ความเป็นจริงถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องและศึกษาทีละพิมพ์ก็จะจดจำได้ไม่ยากนัก ข้อสำคัญต้องยึดหลักความเป็นจริงไม่ใช่จินตนาการเอาเอง ถ้าเรากำลังพิจารณาพระเครื่ององค์นั้นอยู่ และพระองค์นั้นรายละเอียดผิดแปลกจากพระแท้ๆ ที่เขาเล่นหากันโดยที่มีมูลค่ารองรับ คือมีพิมพ์ที่แตกต่างออกไป สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก็ผิดเสียแล้ว ข้อที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่ต้องไปพิจารณาต่อให้เสียเวลาครับ เพราะสิ่งแรกที่ต้องทำให้ถูกต้องก็ผิดเสียแล้ว ถ้าพิจารณาต่อในข้อต่อๆ ไปก็ต้องผิดทั้งหมดครับ พระที่ผลิตหรือขึ้นรูปจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็ต้องเหมือนกัน แต่ถ้ายังไม่เหมือนก็ไม่ต้องดูต่อให้เสียเวลาครับ

ทีนี้ถ้าถามว่า พระเครื่องที่เป็นพิมพ์เดียวกันจะมีแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือไม่ ถ้าต้องผลิตจำนวนมากๆ ครับเรื่องนี้ก็ต้องศึกษาให้รู้ก่อนว่า การสร้างแม่พิมพ์ของแต่ละยุคสมัยนั้นเขาทำออกมาอย่างไร เช่น พระกรุเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปนั้นเขาสร้างแม่พิมพ์อย่างไร เรื่องนี้มีประวัติบันทึกไว้ และมีการค้นพบแม่พิมพ์พระต่างๆ ตั้งแต่ในสมัยตอนเปิดกรุ ไม่ว่าจะเป็นที่กรมศิลปากรหรือพวกที่ลักลอบขุด โดยจะพบแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์พระเครื่องนั้นอยู่ในกรุด้วย ซึ่งคนโบราณเขาก็จะบรรจุไว้ในกรุพร้อมๆ กับพระเครื่องนั่นแหละ จะพบมากพบน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของกรุว่าถูกทำลายทรุดโทรมไปมากแค่ไหน เรื่องของตัวแม่พิมพ์นั้นนักขุดก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไร เพราะขายไม่ได้ และไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะเก็บรักษาไว้ นอกจากนักประวัติศาสตร์จึงจะเห็นความสำคัญเก็บรักษาและบันทึกไว้ ถ้าถามว่าแม่พิมพ์ที่ถูกขุดพบนั้นจะนำมาสร้างพระชนิดนั้นได้อีกหรือไม่และเหมือนกันหรือไม่ ก็ตอบว่า นำมาผลิตได้แต่จะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากว่าแม่พิมพ์นั้นๆ จะชำรุดไปตามกาลเวลา หรือสึกหรอไปตามกาลเวลาจึงนำมาผลิตใหม่ไม่เหมือนเดิมครับ เรื่องนี้ถ้าจะให้อธิบายก็ต้องใช้เนื้อที่หน้ากระดาษมาก ไว้จะเล่าเหตุผลให้ฟังในครั้งต่อไปครับ

ทีนี้ผมขอยกตัวอย่างพระคงลำพูนซึ่งมีการพบพระจำนวนมาก เขาสร้างพระอย่างไรถ้าแม่พิมพ์มีอันเดียว ครับเรื่องนี้ก็ต้องศึกษากันว่าเขาทำอย่างไร ในสมัยโบราณนั้น เขาจะทำแม่พิมพ์โดยการแกะตัวแม่พิมพ์เป็นแบบตัวผู้คือแกะเป็นแบบองค์พระตามที่เราเห็นเลยอันเดียว โดยอาจจะแกะจากหินละเอียดหรือจากไม้ก็ได้ จากนั้นก็จะสร้างแม่พิมพ์ที่เป็นดินเผาขึ้น โดยการนำดินเหนียวมาถอดพิมพ์จากตัวแม่ซึ่งเป็นแบบตัวผู้ ก็จะได้แม่พิมพ์ตัวเมียที่กลับด้านกัน โดยกดทำแม่พิมพ์ได้จำนวนหลายๆ ตัวเท่าความต้องการ จากนั้นก็นำแม่พิมพ์ที่ได้นั้นไปเผา เพื่อให้กลายเป็นแม่พิมพ์ดินเผา เพื่อนำมากดพิมพ์พระจริงๆ ต่อไป ซึ่งก็จะสร้างจำนวนมากๆ ได้ ดังนั้นพระที่ได้มาก็จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กันหมด เนื่องจากทุกองค์เกิดมาจากแม่พิมพ์ตัวผู้อันเดียวกัน เรื่องแม่พิมพ์ดินเผาที่ผมยกตัวอย่างมานี้เขาทำเป็นแม่พิมพ์ดินเผาก็เพราะเขาจะสร้างพระเครื่องชนิดเนื้อดินเผา ส่วนแม่พิมพ์ที่ทำพระเนื้อโลหะก็จะเป็นอีกแบบ แต่ก็จะสร้างแม่พิมพ์ตัวผู้ก่อนเช่นเดียวกัน เพียงแต่วัสดุและกรรมวิธีที่ทำเป็นแม่พิมพ์ตัวเมียก็จะแตกต่างกันและใช้โลหะพวกโลหะผสมแทน พระเครื่องหรือพระพิมพ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและเก่าขึ้นไปนั้นทำแม่พิมพ์แบบนี้ทั้งสิ้น พระเครื่องที่ผลิตขึ้นมาจากแม่พิมพ์จึงมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกันหมด เรื่องนี้จึงเป็นสาระสำคัญอันดับแรกที่ต้องพิจารณา ส่วนเรื่องของเนื้อพระก็คือวัสดุที่นำมาสร้างเป็นองค์พระก็สำคัญ ที่ต้องพิจารณาในอันดับต่อไปจนถึงเรื่องธรรมชาติความเก่าขององค์พระ ทุกอย่างสำคัญหมดทุกข้อขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้

ถ้ามีคนสอนว่าให้ศึกษาเนื้อพระเพียงอย่างเดียวอย่างอื่นไม่ต้องศึกษา ก็ให้นึกไว้ได้เลยว่า คนผู้นั้นไม่รู้จริง หรือไม่ก็กำลังจะพาเราไปหลงทาง และจะไม่มีวันที่จะสามารถพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่ได้เลย มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าศึกษาเนื้อพระเพียงอย่างเดียวก็พอ เพราะเหมือนกับเรียนทางลัดได้ เพราะดูเนื้อเป็นแล้วก็ดูพระเป็นทุกอย่าง ก็เตรียมตัวโดนหลอกหรือโดนต้มและทำใจไว้ได้เลยครับ

การศึกษาเรื่องแม่พิมพ์นั้นไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญนักหรอกครับ เพียงแต่มีความสนใจและตั้งใจจริงเท่านั้น ก็สามารถศึกษาได้ง่ายและไม่สับสนครับ เนื้อที่หมดพอดีเดี๋ยวจะไปรบกวนเนื้อที่เขียนของคนอื่น แล้วจะเขียนถึงวิธีศึกษาเรื่องพิมพ์ในครั้งต่อไปนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคงลำพูนมาให้ดูเปรียบเทียบเล่นๆ ว่าพระแท้เขามีรายละเอียดแม่พิมพ์เหมือนกันทุกมิติหรือไม่ครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76669699864255_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

เหรียญหลวงปู่เสือ

หลวงปู่เสือ สุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดคงคาเลิงใต้ ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม อ.โกสุมพิสัย

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2461 ที่เชียงส่ง ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคามเข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบ้านเชียงส่ง มีหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย มูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม อักษรธรรม และศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2538 สิริอายุ 77 ปี พรรษา 54

วัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เสือ สร้างปี พ.ศ.2529

รุ่นนี้ วัดคงคาเลิงใต้ จัดสร้างขึ้นในวาระที่หลวงปู่เสือ สิริอายุครบ 69 ปี แจกคณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งประชาชนที่เข้าร่วมงานมุทิตาสักการะ เป็นเหรียญทองแดงรมดำ มีหูห่วง จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ

ด้านหน้า ยกขอบเป็นเกลียว จากด้านขวาของเหรียญมีอักขระโค้งขึ้นไปด้านบนวน ลงไปทางขอบเหรียญด้านซ้าย อ่านว่า "อิ หัง ทะ โร เก ทิ นัง" เป็นยันต์คงกระพันชาตรี และด้านขวาของเหรียญ มีตัวอักษรไทยโค้งลงไปด้านล่างวกขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า "หลวงพ่อปลัดเสือ สุวณฺโณ" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เสือเต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ

ด้านหลัง เป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ นะโม พุทธายะ มียันต์อุณาโลมปิดด้านบน 3 ตัว ด้านขวาของเหรียญมีตัวอักษรไทยโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า "วัดคงคาเลิงใต้ อ.โกสุม จ.มหาสารคาม"

หลวงปู่เสือประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา จึงการันตีได้ในความเข้มขลังยิ่ง

กล่าวกันว่า ผู้ที่มีเหรียญรุ่นนี้ห้อยคอพกติดตัวล้วนเคยมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีกเหรียญหนึ่งของอำเภอโกสุมพิสัย อีกทั้งเป็นเหรียญ ที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวย จะอยู่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยต้น


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33010311755869_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

เหรียญหลวงปู่ผาง

หลวงปู่ผาง สิริสุทโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

เกิดประมาณ ปี พ.ศ.2420 ที่บ้านท่าสองคอน ต.ท่าสองคอน ช่วงวัยหนุ่ม เป็นนักเลงตีรันฟันแทง เมื่ออายุ 33 ปี เข้าพิธีอุปสมบท

ต่อมา ญาติโยมนิมนต์ท่านให้จำพรรษาอยู่ที่วัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม จวบจนวาระสุดท้าย

มรณภาพในปี พ.ศ.2495 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 42

สำหรับวัตถุมงคลที่โด่งดังเป็นสุดยอดปรารถนา ในช่วงที่หลวงปู่ผางยังมีชีวิต คือ ผ้ายันต์เสาร์ห้า ท่านทำแจกญาติโยมที่มาร่วมทำบุญที่วัด จำนวนการสร้างไม่แน่นอน

แต่หลังจากมรณภาพนานกว่า 25 ปี ในปี พ.ศ.2520 วัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม มีโครงการที่จะพัฒนาเสนาสนะภายในวัด แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้จัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ผาง"

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบเป็นเกลียวเชือก มีรูปหลวงปู่ผางนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ในท่ากัมมัฏฐาน มีข้อความจากด้านซ้ายโค้งไปตามขอบเหรียญถึงด้านขวาเขียนว่า หลวงปู่ผาง สิริสุทฺโธ วัดน้อยดวงสิทธิ์ บ้านท่าสองคอน ใต้ฐานเขียนว่า จ.มหาสารคาม ๒๕๒๐

ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห 4 ทิศ เขียนว่า สุขโต อุททังอะโท โทอุททังอัตะ เป็นคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า ด้านล่างเขียนคำว่า รุ่น ๑

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก มีการตั้งปะรำพิธีบวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ผาง ให้ลงมาอธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนของท่านประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดคืน

ส่วนจำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ เปิดให้บูชาเหรียญละ 9 บาท

จัดเป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม ได้รับความนิยมในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42260049407680_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

เหรียญหมุนเงิน-ทอง หลวงปู่ขำ

หลวงปู่ขำ เกสโร หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่ง

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71

เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนัก จึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์ท่านกลับมา จำพรรษาที่วัดบ้านหนองแดง และท่านก็รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้

หลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง เรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2561 สมาคมกีฬาจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย สาขาจังหวัดมหาสารคาม ชมรมพระเครื่องจังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมกันจัดงานประกวดพระเครื่องพระบูชา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เพื่อหาเงินพัฒนาการกีฬาของจังหวัด

คณะกรรม การจัดงานมีมติจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ขำ วัดหนองแดง รุ่นหมุนเงิน-หมุนทอง ลักษณะเป็นเหรียญกลมมีหู ไม่เจาะรู

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขำห่มจีวรเฉียงครึ่งตัว ที่พื้นเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ ล่างสุดเขียนว่าหลวงปู่ขำ เกสาโร

ด้านหลัง ใต้หูเหรียญเขียนว่าหมุนเงิน หมุนทอง บริเวณกลางเหรียญมีถุงเงินถุงทองพร้อมอักขระยันต์กำกับพุทธคุณเด่นทุกด้าน ด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไป ด้านซ้ายเขียนว่า วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

เนื้อทองคำ สร้างตามสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 752 เหรียญ เงินลงยาคละสี 99 เหรียญ เป็นต้น และเนื้อนวะหน้ากากเงิน 3,333 เหรียญ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยมีพระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีอธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่ลุน วัดป่าเรไรย์ จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ขำ วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่บาล อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่อุดมทรัพย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น

ติดต่อวัดหนองแดง หรือศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคามบางแห่ง


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81900280300113_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระเนื้อผงกรุวัดสามปลื้ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดสามปลื้ม พระเนื้อผงเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่ขุดพบเมื่อครั้งรื้อถอนองค์พระเจดีย์ที่ชำรุดภายในวัด ในสมัยก่อนมีความนิยมมาก และมีประสบการณ์ต่างๆ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยมีการพูดถึงกันนัก

วัดสามปลื้ม หรือชื่อเป็นทางการก็คือ วัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดสามปลื้มเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด และได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์จากวัดราษฎร์บูรณะ วัดพระเชตุพนฯ และวัดอื่นๆ มาจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้น้อมเกล้าฯ ถวายวัดสามปลื้มแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เป็นพระอารามหลวงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาส" แต่ชาวบ้านก็ยังมักเรียกกันว่า วัดสามปลื้มกันจนติดปาก

สาเหตุที่มีการพบพระเครื่องต่างๆ ของวัดสามปลื้มนั้น ก็เนื่องจากองค์พระเจดีย์ต่างๆ ที่เคยมีอยู่ภายในวัดหลายองค์ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และมีการรื้อถอนองค์พระเจดีย์เก่าที่ชำรุดพังทลายลงเพื่อขยายเนื้อที่มาทำประโยชน์ในด้านอื่นๆ แทน และก็มีการรื้อถอนกันอยู่หลายครั้ง จากการรื้อถอนองค์พระเจดีย์ก็ได้พบพระเครื่องพระพุทธรูปต่างๆ มากมาย มีทั้งพระโคนสมอ พระเนื้อชินพระพุทธรูปไม้แกะ ซึ่งก็มีอยู่หลายยุคหลายสมัย แต่มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง พบพระเครื่องเนื้อผงสีขาว ซึ่งเป็นพระเครื่องที่นิยมกันมากและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระเครื่องเนื้อผงสีขาว ที่ต่อมาเรียกกันว่าพระวัดสามปลื้ม จำนวนพระที่พบมีจำนวนมากเป็นหมื่นองค์ ในครั้งแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้มีคนสนใจเท่าไรนัก พระเครื่องที่พบทางวัดก็ยังไม่ได้นำไปเก็บรักษาไว้เพียงแต่กองไว้ที่ลานวัด ก็มีคนหยิบพระไปเรื่อยๆ จนพระเริ่มงวดลง ทางวัดจึงนำพระไปเก็บรักษาไว้ในกุฏิ แต่ก็ยังมีผู้ที่มาขอจากท่านเจ้าอาวาสเสมอๆ จนพระหมดไปในที่สุด พระเครื่องที่มีผู้ได้รับไปนั้นต่อมาเกิดมีประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน จึงเป็นที่นิยมและเสาะหากันมากในสมัยนั้น

พระเนื้อผงกรุวัดสามปลื้มนั้นใครเป็นผู้สร้าง เท่าที่สืบค้นดูก็พอจะทราบว่า พระเครื่องเนื้อผงวัดสามปลื้มนั้นสร้างในประมาณปี พ.ศ.2414-15 ซึ่งคณะกุฏิของวัดสามปลื้มเป็นผู้สร้างขึ้น ในขณะนั้นคณะกุฏิของวัดสามปลื้ม มีชื่อโด่งดังมากในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายรูป ได้แก่ พระธรรมานุกูล (ด้วง) ท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์พรหม พระอาจารย์ช้าง และพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายรูป ได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์ทรงต่างๆ และได้บรรจุไว้องค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาได้มีการขุดพบและเป็นที่นิยมและเรียกกันว่า "พระวัดสามปลื้ม" พระกรุนี้มีอยู่หลายพิมพ์ และที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์เศียรโล้น ซึ่งมีพบจำนวนน้อย พระพิมพ์เศียรแหลม พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม พระพิมพ์บัวฟันปลา พระพิมพ์สามเหลี่ยม เป็นต้น

พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงสีขาว มีลงรักปิดทองมาแต่ในกรุ องค์พระขนาดค่อนข้างเขื่อง เนื้อของพระจะไม่แกร่งนัก ค่อนข้างแตกเปราะได้ง่าย ด้วยเหตุนี้กระมังต่อมาจึงเกิดชำรุดเสียหายไปมาก ปัจจุบันพระกรุนี้หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน และพุทธคุณก็โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระวัดสามปลื้ม พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51299634244706_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

พระปรกใบมะขาม หลวงปู่ใจวัดเสด็จ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปรกใบมะขาม ที่จัดอยู่ในเบญจภาคีของพระปรกใบมะขามนั้น มีพระปรกใบมะขามชนิดเดียวที่เป็นเนื้อเมฆพัด คือ พระปรกใบมะขามพิมพ์เล็กของหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงปู่ใจได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมในการสร้างตะกรุดลูกอมจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี และท่านได้รับคำชมจากหลวงปู่ยิ้มว่า สามารถเพ่งไส้เทียนให้ขาดได้รวดเร็วกว่าตอนที่ท่านเริ่มเรียนเสียอีก

หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2405 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อขำ โยมมารดาชื่อหุ่น ต่อเมื่ออายุได้ 15 ปี บิดามารดาได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ ตำบลเมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นบ้านเดิมของบิดา และเมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา โดยมีพระอุปัชฌาย์จุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะเทพศักดิ์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ต่อมามีโยมอิ่มกับโยมอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่านได้ถวายที่ดินจำนวน 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ให้กับพระสมุห์แพ เจ้าอธิการวัดใหญ่ยายเงิน (วัดราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นฐานานุกรมของ พระครูวิมลเกียรติ (เกลี้ยง) วัดบางสะแก เพื่อให้สร้างวัด ต่อมาพระสมุห์แพป่วยหนัก ไม่สามารถจะดำเนินการให้เป็นไปตามประสงค์ของนางอิ่มได้ จึงได้มอบโฉนดที่ดินแปลงนั้นให้กับขุนศรีโยธามาตย์ภักดีกับหมื่นชำนาญ ให้นำไปให้ทานวัดใดวันหนึ่งเพื่อดำเนินการต่อไป ขุนศรีโยธามาตย์กับหมื่นชำนาญจึงได้นำมามอบให้กับพระอุปัชฌาย์จุ้ยให้ดำเนินการต่อไป

ต่อมามีผู้บริจาคทรัพย์ร่วมอีก พระอุปัชฌาย์จุ้ยจึงได้ซื้อเรือนไม้หนึ่งหลังมาปลูกสร้างเป็นกุฏิ และสร้างวัดในปี พ.ศ.2434 และพระอุปัชฌาย์จุ้ยก็ได้มอบให้พระภิกษุใจมาเป็นผู้ปกครอง พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 4 รูป ในตอนนั้นมีกุฏิอยู่ 2 หลัง ชื่อว่า "วัดใหม่ยายอิ่ม" และหลวงปู่ใจได้รับการแต่งตั้งจาก พระครูวิมลเกียรติ์ (ป้าน) วัดเมืองใหม่ เจ้าคณะเมืองราชบุรี ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการปกครองวัด หลวงปู่ใจได้พัฒนาจนวัดมีความเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเสด็จ"

หลวงปู่ใจได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้ ปี พ.ศ.2458 เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคณที ปี พ.ศ.2460 เป็นเจ้าคณะแขวงบางคณทีและได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า "พระครูสิทธิสาร" พ.ศ.2469 เป็นเจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ.2495 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระสุทธิสารวุฒาจารย์ พ.ศ.2504 ได้รับพระ ราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ เจ้าคุณชั้นราช หลวงปู่ใจวัดเสด็จ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ปี พ.ศ.2505 สิริอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 78

หลวงปู่ใจได้ศึกษาวิทยาคมจาก หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทร หลวงพ่อปลัดทิม วัดเมืองใหม่ เป็นต้น

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ พระเมฆพัด พิมพ์ซุ้มประตู พระพุทธชินราช พระหล่อเนื้อโลหะผสมปางประจำวัน เหรียญพระประจำวัน ผ้ายันต์ ตะกรุดลูกอมร้อยไหมเจ็ดสี มีเนื้อทองคำ นาก และเนื้อเงิน ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา ตะกรุดสามกษัตริย์ ฯลฯ

พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด ของหลวงปู่ใจที่นิยมกันมากคือพระปรกใบมะขามพิมพ์เล็ก ซึ่งจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีพระปรกใบมะขาม วันนี้ผมจึงนำรูปพระปรกใบมะขามพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ ปัจจุบันหายากมาก


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74717303075724_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

เหรียญพระมาลัยหลวงปู่ทองคำ

หลวงปู่ทองคำ สุวโจ เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่ พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใส ศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่ อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 92 ปี พรรษา 38 เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นก็ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังหลวงปู่ทองคำ ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำ จะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว

เนื่องจากในปี 2562 หลวงปู่ทองคำ สิริอายุ 92 ปี คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันจัดงานมุทิตาสักการะฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี หลวงปู่ทองคำ ระหว่างวันที่ 11-12 เม.ย.2562 ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ นอกจากนี้ ยังมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญพระมาลัย

วัตถุมงคลเหรียญพระมาลัย มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ด้านหน้าเป็นรูปพระมาลัย อัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์โปรดสัตว์ในนรก เพื่อแสดงธรรมช่วยปลดปล่อยสัตว์นรกให้ไปเกิดในสุคติยภูมิ

ด้านหลังเหรียญจะเรียบมีรอยจารอักขระยันต์ลายมือหลวงปู่ทองคำ พร้อมกับตอกโค้ดและหมายเลขเลียงลำดับทุกองค์

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเงินหลังแผ่นทองคำพระยา 300 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 1,000 องค์ เนื้อผงสร้าง 10,000 องค์ และยังมีพระบูชาพระมาลัย ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สร้าง 200 องค์

ในส่วนของการประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 11 เม.ย.2562 ภายในงานฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี

โดยหลวงปู่ทองคำ จะนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ด้วยความที่ท่านมีพลังจิตที่แก่กล้า ประกอบกับเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์ จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง หลังเสร็จพิธีมีการแจกวัตถุมงคล


ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 เมษายน 2562 10:50:21
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96703815708557_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

เหรียญวางศิลาฤกษ์พระเจดีย์

พระครูจันทสิริธร หรือ "หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม" เจ้าอาวาสวัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

ปัจจุบัน สิริอายุ 72 ปี พรรษา 52

มีนามเดิมว่า สารันต์ เนียมสุริยะ เกิดเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2490 ที่บ้านปราสาท ต.ปราสาท อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

พ.ศ.2510 อุปสมบทที่วัดบรมนิเวศ แขวงเมืองพระตะบอง มี พระพุทธโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์

พระพุทธโชโต พาท่านไปฝากไว้กับสมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระสังฆราชประเทศกัมพูชา และพำนักรับใช้อยู่ที่ วัดอุนาลอม กรุงพนมเปญ

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกัมพูชา

ในราวปี พ.ศ.2518 ประเทศกัมพูชาเกิดสงคราม หลวงพ่อสารันต์ตัดสินใจเก็บเครื่องอัฐบริขารมุ่งหน้าสู่แผ่นดินไทยที่วัดปราสาท อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุไทยที่วัดปราสาท มี พระครูสถิตธรรมสาส์น (หลวงพ่อแถม) เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาทระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร, หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ และครูบาพรหมจักรักษา วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน

ต่อมาธุดงค์ผ่านมาถึงบ้านดงน้อย ปักกลดพำนักอยู่ระยะหนึ่ง ชาวบ้านดงน้อยเห็นวัตรปฏิบัติของท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พร้อมใจอาราธนาให้พำนักอยู่ที่วัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ขณะนั้นวัดดงน้อยอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม

ใช้ความรู้ ความสามารถ ด้านมนต์วิชาที่ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ญาติโยมอย่างเต็มความสามารถ จนเกิดพลังศรัทธาช่วยพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ

ล่าสุด ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนาม "พระครูจันทสิริธร"

วันที่ 6 พ.ย.2547 จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญวางศิลาฤกษ์องค์พระเจดีย์ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติเขาเตียน ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

ลักษณะเป็นเหรียญกลม (ใหญ่) ไม่มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ มีขอบรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อสารันต์ นั่งสมาธิเต็มองค์ มีอักขระขอมพระคาถา "อิ ติ ปิ โส" ล้อมรอบ ที่ขอบเหรียญมีอักขระขอมรอบเหรียญ "นะ โม พุท ธา ยะ นะ มะ พะ ทะ จะ พะ กะ สะ อะ มะ ทะ มะ อะ อุ อิ สะหวา สุ สะ ทา โสต ถี ภะ วัน ตุ เม" และมีอักษรไทย "หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย ตำบลกกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปนูนองค์พระเจดีย์ ด้านล่างมีอักษรไทย "งานวางศิลาฤกษ์ องค์พระเจดีย์ ณ ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติเขาเตียน" มีอักขระขอมรอบองค์พระเจดีย์ "อิ ติ ปา ระ มี ตา ติง สา อิ ติ โพ ธิมะ นุ ปัด โต" ส่วนรอบขอบเหรียญมีอักขระขอม "พระคาถาบารมีสิบทัศ"

เป็นวัตถุมงคลเด่นอีกชุด ที่น่าหาเช่าบูชา


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16907357176144_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30448572461803_view_resizing_images_2_320x200.jpg)

พระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นเก่าๆ พิธีกรรมการสร้างดี แต่สนนราคาไม่สูงนัก พอที่จะไขว่คว้ามาเช่าหาบูชากันได้ เข้ากับเศรษฐกิจในยุคนี้กันดีกว่านะครับ ในอนาคตราคาน่าจะขยับขึ้นไปกว่าปัจจุบันแน่นอนครับ พระกริ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือพระกริ่งอรหัง วัดราชาธิวาสวรมหาวิหาร บางท่านจะยังคงไม่ทราบว่าที่วัดราชาฯนั้นก็เคยมีการสร้างพระกริ่งไว้รุ่นหนึ่งนะครับ เอาล่ะมารู้จักกับพระกริ่ง วัดราชาฯ กันครับ

วัดราชาฯ นี้เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยโบราณ เดิมมีชื่อว่าวัดสมอราย และเป็นวัดที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์วัดหนึ่ง กล่าว คือวัดราชาฯเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงพระผนวช และเมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชก็ได้ประทับอยู่ ณ วัดราชาฯแห่งนี้ สืบต่อมาพระองค์จึงเสด็จจากวัดราชาฯไปครองวัดบวรนิเวศฯ

ในราวปี พ.ศ.2492-2493 พระศาสน์โสภณ (ปลอด) อถฺการี ได้ดำริจัดสร้างพระกริ่งขึ้นและท่านได้ขึ้นไปเมืองเหนือ เพื่อรวบรวมพระพุทธรูปบูชาที่ชำรุดแตกหัก ได้มาเป็นจำนวนมากจากกรุต่างๆ ในภาคเหนือ มีสุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นเนื้อหลัก นอกจากนั้นก็ยังมีแผ่นทอง แผ่นเงินจารอักขระถูกต้องตามตำราดั้งเดิมทุกประการ ส่วนพิธีกรรมนั้นก็เพียบพร้อมทั้งพิธีพุทธ พิธีพราหมณ์ รูปแบบของพระกริ่งก็ใช้การถอดแบบของพระกริ่งปวเรศองค์ของวัดบวรฯ เป็นต้นแบบ แต่ช่างในสมัยนั้นถอดแบบออกมาไม่ค่อยคมชัด จึงทำให้พระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ ไม่ค่อยสวยงามนัก จำนวนการสร้างประมาณ 1,000 องค์เท่านั้น ในครั้งที่วัดนำออกมาให้เช่าบูชา ราคาองค์ละ 1,000 บาท ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างจะสูงมากทีเดียวครับ

การเทพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯนั้นเป็นการเทแบบหล่อตันทั้งองค์ แล้วจึงนำมาเจาะด้วยสว่าน บรรจุเม็ดกริ่งทีหลัง แล้วจึงอุดก้นด้วยทองฉนวน (แบบที่เรียกว่าบรรจุเม็ดกริ่งนอก) ถ้าพลิกดูที่ใต้ฐานจะเห็นรอยอุดเป็นจุดวงกลม และมีตัวตอก ตอกคำว่า "อรหัง" เป็นอักษรขอม แบบตัวบรรจง เส้นตัวตอกจะลึกคมชัด ถือเป็นโค้ดได้เลยทีเดียวครับ เนื้อของพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯนี้ จะออกไปทางเนื้อสัมฤทธิ์ คล้ายกับเนื้อพระบูชาเชียงแสนสิงห์สาม ผิวออกไปทางสีน้ำตาล ถ้าใช้ถูกสัมผัสจะมีจุดดำเป็นหย่อมๆ และผิวค่อนข้างคล้ำ

รูปทรงรายละเอียดของพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ อาจจะดูไม่ค่อยสวยงามนัก แต่เป็นพระกริ่งที่มีเนื้อหาดี เนื่องจากใช้เนื้อพระบูชาเก่าๆ ที่แตกหักชำรุดมาเป็นเนื้อหลักในการผสมเนื้อ พิธีกรรมการสร้างนั้นก็ดี ถูกต้องตามตำราทุกประการ แถมยังเป็นพระกริ่งที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ การปลอมแปลงก็ยังมีไม่มากนักและฝีมือการทำปลอมยังไม่ค่อยดี สามารถแยกแยะได้ไม่ยากนักอีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพง และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักเช่นกัน ส่วนพุทธคุณนั้นก็ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้านครับ ในวันนี้ก็ได้นำรูปมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37782975327637_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

พระสมเด็จหลวงพ่อเหมียน

"วัดโบสถ์เทพนิมิต" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "วัดโคกกระดี่" ตั้งอยู่บ้านโคกกระดี่ หมู่ที่ 6 ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

จากคำปรารภและการจดบันทึกของ พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) วัดจันเสน อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ความว่า...."วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานแล้วแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแถบนี้ อายุของวัดประมาณพันกว่าปี ซึ่งเท่ากับวัดจันเสนเมืองโบราณ" ทั้งนี้ ชาวบ้านได้เข้าไปหักร้างถางป่าก็พบโบสถ์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐานทำด้วยศิลาแลง ใบสีมาทำด้วยหิน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย องค์พระเป็นสีดำ ชาวบ้านพากันเรียกว่า "หลวงพ่อดำ"

หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางสะดุ้งมาร เนื้อหินทรายดำ หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว เดิมประดิษฐานบนแท่นพระอุโบสถหลังเก่าที่ทำด้วยศิลาแลง เนื่องจากพระพุทธรูปถูกปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ไม่มีหลังคาคลุมเป็นเวลานาน บางส่วนจึงชำรุดแตกหัก ซึ่งได้ซ่อมแซมและประดิษฐานไว้ในวิหาร ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา

พ.ศ.2561 พระครูนิมิตสันตยากร (บุญฤทธิ์ สันตจิตโต) เจ้าคณะตำบลหัวหวายเขต 2 เจ้าอาวาสวัดโบสถ์เทพนิมิต(โคกกระดี่) รูปปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกขาน หลวงพ่อเหมียน ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" เพื่อมอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ จำนวน 299 องค์ พร้อมปลุกเสกเดี่ยว

พระครูนิมิตสันตยากร หรือ หลวงพ่อเหมียน เป็นศิษย์เอกสายตรงหลวงพ่อประยุทธ วัดคีรีล้อม, หลวงพ่อปลอด วัดหนองหม้อ และหลวงพ่อนงค์ วัดสว่างวงษ์ ก่อนหลวงพ่อเหมียนจะมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ออกธุดงควัตรมา 8 ปี

ปัจจุบัน สิริอายุ 52 ปี พรรษา 28

มวลสารที่นำมาผสมเป็นวัตถุมงคล "พระสมเด็จหลวงพ่อเหมียน" ชุดนี้ มี ผงว่านจำปาสัก, ผงพญากาสัก, ผงงาช้าง, ผงอิทธิเจ, ผงชานหมากหลวงพ่อกวย, ผงหลังคาโบสถ์ 299 โบสถ์, ผงพระสมเด็จเก่า, ผงแป้งหลวงพ่อโม, ผงเหล็กไหลน้ำหลวงพ่อปลอด, ผงธูปหลวงพ่อดำ, น้ำหอม 9 กลิ่น และแร่เหล็กน้ำพี้

หลวงพ่อเหมียนปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส (3 เดือน) ท่านผสมผงด้วยตัวท่านเอง และมอบให้พระเริงฤทธิ์ ปัญญธัมโม (พระพี่ชาย) เป็นผู้ปั๊มเพียงท่านเดียว

ลักษณะด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปนูนพระพุทธนั่งสมาธิ มีซุ้มหวายครอบ ประทับนั่งบนแท่น 3 ชั้น ส่วนด้านหลังเรียบ ฝังแร่เหล็กไหลน้ำหลวงพ่อปลอด จำนวน 3 เม็ด


ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กรกฎาคม 2562 14:46:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67273357676135_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
เหรียญเมตตา หลวงปู่แขม
"พระครูสุวรรณธรรมาการ" หรือ "หลวงปู่เเขม จารุวัณโณ" เจ้าอาวาสวัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น เป็นพระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

เกิดที่บ้านแก้งคร้อ ต.แก้งคร้อ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นามเดิม นายเเขม ตาปราบ เกิดวันที่ 10 ก.ย. 2475

พ.ศ.2496 เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสระทอง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีพระอธิการฟั่น จันทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดโพธิ์กลาง ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มุมานะศึกษาเล่าเรียนสอบได้นักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ โดยมี พระมหาโชดก ญาณสิทธิ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นอาจารย์สอน

ให้ความสนใจฝากตัวศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่จูม จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่หล่ม พรหมโชโต วัดทุ่งสว่าง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

วัตรปฏิบัติคือ การออกธุดงค์ตั้งแต่ปี 2499 ส่วนมากท่านจะเดินจาก จ.ขอนแก่น ไปตามป่าเขาในเขต จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จนถึงปี 2518 เมื่ออายุมากขึ้นและมีตำแหน่งทางปกครอง จึงไม่ค่อยมีเวลาที่จะออกธุดงควัตรอีก

ต่อมา ท่านมาจำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดจันทราวาส ตราบจนปัจจุบัน

ลำดับสมณศักดิ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุธรรมาการ

ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์เเต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะอำเภอมัญจาคีรี และเป็นเจ้าคณะอำเภอโคกโพธิ์ไชยด้วย

ในปี พ.ศ.2562 หลวงปู่แขม อายุย่าง 88 ปี คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ" ได้ขออนุญาตหลวงปู่แขม จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญเมตตา ๘๘" วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างเมรุให้แล้วเสร็จ ตามวัตถุประสงค์ของวัด

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แขม ห่มจีวรเฉียงครึ่งองค์ ด้านบนใต้ห่วงมีตัวอักษรเขียนคำว่า เมตตา

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า หลวงปู่เเขม จารุวณฺโณ วัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนวะ 111 อัลปาก้า 222 เหรียญ ทองแดงผิวไฟ 1,999 เหรียญ เนื้อเงิน 88 เหรียญ นวะหน้ากากเงิน 88 เหรียญ เนื้อเงินลงยาคละสี 39 เหรียญ เป็นต้น

พิธีพุทธาภิเษก เดือนพฤษภาคม 2562 โดยหลวงปู่แขม นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว  
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60380339332752_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระขุนแผนสะกดทัพ หลวงปู่ทองคำ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมท่านจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียว เปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 38

หลวงปู่ทองคำเกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบ สักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ ฝั้น สามเณรทองคำศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้นด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังหลวงปู่ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

เนื่องจากในปี พ.ศ.2562 สิริอายุ 92 ปี คณะศิษย์รวมทั้งผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมจัดงานมุทิตาสักการะฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี หลวงปู่ทองคำ ระหว่างวันที่ 11-12 เม.ย.2562 ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ นอกจากนี้ ยังมีมติจัดสร้างวัตถุมงคลพระขุนแผนสะกดทัพ

วัตถุมงคลมีลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่ในซุ้ม 5 เหลี่ยม พระหัตถ์สองข้างจับที่ด้ามดาบ

ด้านหลังจากซ้ายด้านบนวนไปด้านขวาเขียนว่า ขุนแผนสะกดทัพ ล.ป.ทองคำ สุวโจ จากด้านซ้ายลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวาเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ และล่างสุดเป็นรูปถุงเงินถุงทอง 2 ถุง พร้อมตัวอักษรเขียนว่า อาศรมสุวโจ

สร้างเนื้อตะกั่ว 100 องค์ เนื้อผงปถมังโลกีฝังตะกรุดทองคำ 100 องค์ เนื้อผงใบลานตะกรุดเงิน 500 องค์ เนื้อผงใบลานโรยพลอยเสก 1,000 องค์ เนื้อผงน้ำมันฝังปรกใบมะขาม 300 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 11 เม.ย.2562 ภายในงานฉลองอายุวัฒนมงคล โดยหลวงปู่ทองคำจะนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38931275573041_view_resizing_imagesL69AZNGJ_3.jpg)
เหรียญพระปรางค์หลังเรียบ
พี่น้องชาววัดอรุณ โดยนายอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ หรือ วิทย์ วัดอรุณ บิ๊กบอสบริษัท กะฉ่อน ดอทคอม และ นายวันชัย ลาภวิไลพงศ์ หรือ โต วัดอรุณ ประธานเหยี่ยวเวหา บก.เขต 7 พร้อมด้วยชุมชนชาววัดอรุณ ร่วมจัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี" ใหญ่ที่สุดในรอบ 250 ปี

พร้อมทั้ง จัดงานบวงสรวงและพิธีมหาพุทธา-มหาเทวาภิเษก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2561

พิธีดังกล่าวจัดอย่างยิ่งใหญ่ที่ชุมชนชาววัดอรุณ คณะผู้จัดสร้างยังสร้าง "เหรียญพระปรางค์วัดอรุณแบบหลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี" ไว้จำนวนหนึ่ง เป็นเหรียญที่ระลึกสำหรับ ผู้ศรัทธาในพระองค์ท่าน ที่มาร่วมบุญร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ

เหรียญพระปรางค์หลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี เป็นเหรียญพิเศษที่คณะผู้สร้างสื่อความหมายองค์พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ไม่มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ด้านล่าง เขียนคำว่า "กรุงธนบุรี"

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเขียนคำว่า "ที่ระฤก งานสมโภชกรุงธนบุรีครบรอบ ๒๕๐ ปี" ด้านล่างเขียนคำว่า "๒๔ พ.ย.๖๑"

เหรียญดังกล่าวประกอบพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่ถูกต้องตามประเพณีโบราณ หน้าองค์พระปรางค์ด้านทิศตะวันออก และประกอบพิธีมหาพุทธา-เทวาภิเษก ภายในโบสถ์น้อย โดยพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมจำนวน 10 รูป อาทิ พระมหาสุรศักดิ์ อติสักโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อเล็ก สุธัมมปัญโญ เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อตี๋ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อแป๊ะ ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม เป็นต้น

เหรียญพระปรางค์วัดอรุณหลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี เป็นเหรียญชุดพิเศษจัดสร้างขึ้นเพียง 2 เนื้อ คือ

1.เหรียญเนื้อเงิน (ข้างเลื่อย) จัดสร้างจำนวน 19 เหรียญ (ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญตามจำนวนการสร้าง) เปิดให้ร่วมบุญบูชาในราคา 4,000 บาท โดยจะได้รับเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงธรรมดาเพิ่มฟรี จำนวน 4 เหรียญ

2.เนื้อทองแดง (ไม่ตัดปีก) จัดสร้างจำนวน 300 เหรียญ (ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับตามจำนวนการสร้าง) เปิดให้ร่วมบุญบูชาในราคา 1,000 บาท โดยจะได้รับเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงธรรมดาเพิ่มฟรี จำนวน 1 เหรียญ

รายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่าย เพื่อสมทบทุนในการจัดงานแห่องค์พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ประจำปี 2562 ในวันอังคารที่ 16 เม.ย.2562 ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อร่วมทำบุญได้ที่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ปากซอยวังเดิม 3 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม.10600
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65752802582250_view_resizing_imagesISJV8TDG_3.jpg)
เหรียญเจริญพร หลวงปู่เบ้า จัตตมโล
หลวงปู่เบ้า จัตตมโล เจ้าอาวาสวัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ พระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 29

มีนามเดิม เบ้า สัตยาคุณ เกิดปี พ.ศ.2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านโพนงาม ต.บัวแดง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน ที่อุโบสถวัดอัมพวัน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีเจ้าอธิการสุวรรณ สิริปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบัน

ด้วยความที่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย หลวงปู่เบ้า เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว แต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เนื่องจากวัดบ้านโนนมาลัย ยังเป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุ อาทิ กุฏิที่หลวงปู่เบ้า มีสภาพที่ทรุดโทรม

คณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญเจริญพร หลวงปู่เบ้า" เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะ

เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ห่มจีวรเฉียง เต็มองค์นั่งท่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้านบนสุดเขียนว่า เจริญพร ส่วนด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่เบ้า จตฺตมโล และมีรูปเสือสองตัวในท่ากระโจนล่าเหยื่อหันหน้าเข้าหากัน

ด้านหลังเหรียญ จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีตัวอักษร เขียนว่า วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ส่วนที่บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีแดง 59 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 99 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 250 เหรียญ อัลปาก้าลงยา 500 เหรียญ

พิธีพุทธาภิเษกเตรียมจัดขึ้นภายในศาลาการเปรียญวัดโนนมาลัย ช่วงปลายเดือนเมษายน 2562
[/size] เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91464904447396_view_resizing_images_1_320x200.jpg)  
ระวังบัตรรับรองพระแท้มีการทำปลอม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้ได้รับการขอช่วยให้ตรวจสอบใบรับรองพระแท้ของสมาคม ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยมาหลายรายที่ส่งมาให้ช่วยตรวจสอบ ซึ่งเมื่อดูรูปพระที่อยู่ในบัตรรับรองพระแท้นั้นก็เป็นพระปลอม และเมื่อตรวจสอบดูจากฐานข้อมูลของสมาคมแล้วก็พบว่าบัตรรับรองพระแท้ใบนั้นๆ เป็นบัตรปลอม เนื่องจากบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมนั้นจะมีการจัดเก็บรายละเอียดไว้ในฐานข้อมูลของสมาคมทุกใบและสามารถตรวจสอบได้ครับ

เรื่องบัตรรับรองพระแท้ และใบประกาศนียบัตรงานประกวดนั้น ผมเคยได้แจ้งให้ทราบมาแล้วว่า มีการทำปลอมกันมากและทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะใบประกาศ ในส่วนของบัตรรับรองพระแท้นั้นก็มีทำกันในระยะหลังๆ และในปัจจุบันมีการทำกันมากขึ้น ซึ่งก็ได้รับการร้องเรียนและขอให้ตรวจสอบ ก็พบว่ามีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยนั้นได้รับความเชื่อถือ จึงมีผู้ทำบัตรปลอมกันมากขึ้น เพื่อที่จะหลอกขายพระปลอมโดยอ้างอิงบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมในการประกอบการขาย ซึ่งคนเลวก็ย่อมคิดหาวิธีเลวๆ มาหลอกให้หลงเชื่อตลอดมา

 เรื่องบัตรรับรองพระแท้นั้นก็มิใช่จะมีแต่ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเพียงอย่างเดียว ก็ยังมีของสถาบันอื่นๆ อีกมาก แต่ปัจจุบันบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมได้รับการเชื่อถือและยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศไทยเองและชาวต่างชาติ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น จึงมีการทำปลอมบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยกันมากขึ้น

ผมจึงอยากฝากเตือนผู้ที่พบเห็นหรือจะเช่าพระที่มีบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมให้ตรวจสอบดูให้ดีเสียก่อนว่าเป็นบัตรแท้หรือไม่ โดยท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองง่ายๆ คือเข้าไปที่เว็บของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย (www.Samakomphra.com) เข้าไปที่หน้าแรก แล้วให้สังเกตดูด้านบนสุดจะมีช่องให้เลือก ก็เลือกที่เมนูกดเลือกก็จะพบรายการต่างๆ ให้ดูที่ด้านขวามือสุด จะเป็นค้นหาในประกาศ/ใบรับรอง แล้วให้กดเลือกที่ใบรับรอง(การ์ด) ก็จะเห็นช่องให้กรอกหมายเลขบัตร ท่านก็กรอกหมายเลขบัตร ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่ใต้รูปภาพพระ กรอกเสร็จก็ให้กดที่รูปแว่นขยาย ถ้าเป็นบัตรรับรองพระแท้ของจริงก็จะปรากฏรูปภาพบัตรตัวจริง พร้อมรายละเอียดของบัตร แต่ถ้ากดดูแล้วไม่มีอะไรขึ้นมาเลย หรือรูปพระและรายละเอียดไม่ตรงกับบัตรที่ท่านเห็นก็ให้รู้ได้เลยว่าเป็นบัตรปลอม และถ้าบัตรปลอมแล้วพระจะแท้ไหมครับ? ท่านสามารถตรวจสอบด้วยตัวท่านเองง่ายๆ แค่นี้ครับ หรือถ้าท่านยังไม่มั่นใจก็สามารถนำบัตรนั้นมาที่สมาคมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบให้ได้เลยครับ จากการที่มีผู้นำบัตรมาให้ช่วยตรวจสอบให้ ก็พบว่าเป็นบัตรปลอมหลายรายครับ

ครับปัจจุบันก็มีผู้ที่ขายพระปลอมแล้วทำบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมปลอมประกอบการขายเพื่อหลอกลวงขายพระปลอมมากขึ้น และมีผู้ทำอยู่หลายราย เนื่องจากเราพบว่าบัตรปลอมนั้นมีอยู่หลายฝีมือหลายสำนัก นอกจากนี้ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือ มีกลุ่มบุคคลที่ขายพระปลอมไม่พอใจสมาคมที่ไปขัดขวางการหลอกลวงขายพระปลอมของกลุ่มพวกเขา เนื่องจากมีคนที่เขาขายปลอมไปให้แล้วนำพระมาขอตรวจสอบออกใบรับรองที่สมาคม และความจริงก็ปรากฏว่าเป็นพระปลอม จึงเกิดการคืนพระและดำเนินคดีกันอยู่หลายราย จึงเกิดความไม่พอใจสมาคม และทำปลอมบัตรรับรองพระแท้ขึ้น เพื่อดิสเครดิต(discredit) สมาคม ซึ่งก็มีการพบเห็นการแสดงความคิดเห็นอยู่ใน โซเชี่ยลอยู่บ่อยว่า พระปลอมแต่มีบัตรรับรองพระแท้ของสมาคม ถ้าท่านพบเห็นพระพร้อมบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมก็สามารถตรวจสอบดูได้ด้วยตัวท่านเองว่าบัตรรับรองพระแท้นั้นๆ เป็นบัตรปลอมหรือบัตรจริงครับ

ครับก็แจ้งเตือนกันนะครับว่าอย่าเพิ่งเชื่อว่าพระพร้อมบัตรรับรองพระแท้ (โดยเฉพาะของสมาคม) ที่ท่านเห็นนั้นเป็นบัตรจริง ควรตรวจสอบก่อนด้วยตัวท่านเองง่ายๆ ตามที่บอกมาครับ พร้อมกันนี้ผมได้นำตัวอย่างบัตรรับรองพระแท้ของปลอมที่มีผู้นำมาตรวจสอบที่สมาคมมาให้ดูด้วยครับ
ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96035532363586_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญมนต์พระยาปากเข็ด หลวงปู่ทองคำ สุวโจ
หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียว เปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 38

หลวงปู่ทองคำเกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น สามเณรทองคำศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขาออกไป และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรม สุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจหลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป.ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัด โนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว

เพื่อความสะดวกขณะที่ท่านข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ นำโดย "บอย สำโรงทาบ" มีโครงการสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว รวมทั้งจัดหารถยนต์ เพื่อความสะดวกเดินทางช่วงที่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยม แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมนต์พระยาปากเข็ด"

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำ ห่มจีวรเฉียง นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่ทองคำ สุวโจ ที่บริเวณใต้ห่วง ด้านล่างสุดและบริเวณผิวเหรียญจะมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

ด้านหลังยกขอบผิวเหรียญจะมีอักขระยันต์และภาพหนุมาน 8 กร พร้อมอาวุธคู่กาย

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ 99 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 99 เหรียญ เนื้อเงิน 1,000 เหรียญ เนื้อทองแดง-3K 20,000 เหรียญ เนื้อกะไหล่ทองสร้าง 30,000 เหรียญ เนื้อผิวไฟสร้าง 50,000 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ทองคำอธิษฐานจิตเดี่ยวรวม 5 ครั้ง
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31912507075402_view_resizing_imagesB3WVD35I_3.jpg)
พระชัยวัฒน์ หม่อมมิตร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระชัยวัฒน์ที่ผมจะพูดถึงในวันนี้บางท่านอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อนี้นัก เนื่องจากเป็นพระชัยวัฒน์ที่นักสะสมพระเครื่องมักจะเรียกกันอย่างติดปากว่า "พระชัยวัฒน์หม่อมมิตร" จนใครๆ ก็อาจจะนึกว่า ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี ท่านเป็นผู้สร้างไว้ ในวันนี้จึงนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ

เรื่องมีอยู่ว่า กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2406 ในเจ้าจอมมารดาบัว ทรงมีพระประสงค์จะสร้างพระขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ 65 องค์ เจ้าจอมมารดาบัว 63 องค์ ของผู้สร้างเอง 57 องค์ พระพุทธคุณ 108 องค์ พระอรหันต์ 80 องค์ รวมเป็น 373 องค์ ในครั้งนั้นได้กราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงครองสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี เป็นประธานเททองหล่อและพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม โดยเริ่มพิธีเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2461

ในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นได้ทำในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นประธาน และอาราธนาพระเถระที่ร่วมใน

พิธี เช่น พระเขมาภิมุขธรรม พระญาณสังวร พระเทพสุธี พระราชโมลี พระวิสุทธิสมาจารย์ พระธรรมธราจารย์ (นวม) ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงค์ พระราชสุธี พระสนิทสมณคุณ ต่อมาได้สมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ ครองวัดท้ายตลาด พระมหาเทียบ พระมหาทอง พระปิฎกโกศล (อยู่) ภายหลังได้สมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศฯ พระครูวิสุทธิ์สารภาณ พระมหาโต๊ะ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) นอกจากนี้ยังได้อารธนาพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมพิธีปลุกเสกและจารอักขระที่ใต้ฐานพระทุกองค์ เป็นพระนามพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า และพระนามซึ่งถวายเป็นพิเศษเฉพาะอีกด้วยโดยไม่ซ้ำกัน หลังจากที่หลวงปู่ศุขจารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้ช่างแกะทับลายเส้นอักขระทุกองค์ แต่ละองค์มีพระนามและคำแปลไม่ซ้ำกัน

พระชัยวัฒน์ที่สร้างในครั้งนี้ นับได้ว่าเข้มขลังมาก ในสมัยแรกๆ นั้นยังไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระชัยวัฒน์รุ่นนี้มากนัก ต่อมาภายหลังหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ที่ผู้คุ้นเคยมักจะเรียกท่านว่า "หม่อมมิตร" ได้รับพระชัยวัฒน์ที่ได้ตกทอดมาส่วนหนึ่งออกมาแจกจ่ายให้แก่ญาติมิตร และบอกกับผู้ที่ได้รับแจกว่า เป็นพระวัดสุทัศน์เท่านั้น ผู้ที่ได้รับแจกพระไป ต่างก็เรียกว่า "พระชัยวัฒน์หม่อมมิตร" ตามชื่อผู้มอบให้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระชัยวัฒน์รุ่นนี้ครับ

พระชัยวัฒน์หม่อมมิตรนี้ เชื่อกันว่ามีพระพุทธคุณในการป้องกันคุณไสยสิ่งชั่วร้ายและมนต์ดำทั้งปวงได้อย่างวิเศษ ผู้ครอบครองจะมีสิริมงคล ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองครับ และในวันนี้ผมก็นำรูปพระชัยวัฒนหม่อมมิตรมาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26980791116754_view_resizing_imagesEEJMF3WJ_3.jpg)
มาตรฐานพระแท้ พระปลอม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาเรื่องพระแท้พระปลอมความจริงมีมานานแล้ว เพียงแต่เรื่องราวต่างๆ อาจจะไม่ค่อยมีการพูดถึงกว้างขวางนัก แต่ในปัจจุบันการสื่อสารทันสมัยและกว้างขวางขึ้นมาก จึงมีการพูดถึงกันมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นในสังคมโซเชียลฯ ก็มีอย่างมากมายว่าแบบไหนแท้แบบไหนเก๊ มีหลากหลายความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เนื่องจากการหลอกขายพระปลอมมีการพัฒนากันอย่างมีรูปแบบและเป็นขบวนการเป็นก๊กเป็นเหล่า แล้วเราจะเลือกเชื่อได้อย่างไรว่ากลุ่มไหนน่าเชื่อถือจะได้ไม่ถูกหลอก

ครับ เรื่องพระเครื่องพระบูชานั้น มีทั้งพระแท้และพระปลอม ซึ่งก็มีมานานมากแล้ว เป็นร้อยๆ ปี บางท่านอาจจะไม่เชื่อว่ามีการทำพระปลอมมาเป็นร้อยปีแล้ว เมื่อมีการทำพระปลอมก็มีการหลอกลวงขายพระปลอมแน่นอน ถ้าถามว่าเมื่อก่อนพระเครื่องไม่ได้มีความนิยมซื้อ-ขายกัน จะมีการทำปลอมรึ? ถ้าคิดแบบนั้นก็เข้าใจผิดครับ

ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มีการทำปลอมครั้งแรกตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2416 นับถึงเดี๋ยวนี้ก็ร้อยกว่าปีมาแล้ว เรื่องนี้มีการบันทึกไว้ด้วย เนื่องจากเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2415 หลังจากนั้นก็แค่ปีเดียว เกิดการระบาดของโรคอหิวาตกโรค ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า "โรคป่วง" มีการบันทึกว่าเป็นปีระกาป่วงใหญ่ มีผู้คนล้มตายกันมาก ยูกยาสมัยใหม่ก็หายากเป็นยาของฝรั่ง ซึ่งมีราคาแพงมาก ชาวบ้านทั่วไปก็ต้องพึ่งพายาแผนโบราณ หายบ้างตายบ้าง

ชาวบ้านแถวบางกอกน้อยที่เคยได้รับพระสมเด็จฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็หวังพึ่งบารมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยนำพระสมเด็จมาแช่น้ำเพื่อทำน้ำมนต์ดื่มกิน ปรากฏว่าหายท้องร่วงกันทั่วทุกคน

ข่าวเล่าลือเรื่องพระสมเด็จฯ ทำน้ำมนต์ดื่มกินหายป่วยได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเข้ามาเสาะหาพระสมเด็จวัดระฆังกันมาก ว่ากันว่ามีการขอเช่าถึงองค์ละ 1 บาท ในสมัยนั้นนับว่ามีราคาสูงพอสมควร แต่ก็มีผู้คนอยากได้ไว้บูชาและหวังพึ่งบารมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมาก จำนวนพระก็มีไม่พอกับความต้องการ บางบ้านที่มีเขาก็ ไม่ให้เช่า จึงเกิดเป็นราคาขึ้นและก็มีการให้ ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนหัวใสทำพระสมเด็จปลอมออกให้เช่าตั้งแต่สมัยนั้น

มีคนที่จำได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระไว้ในองค์พระเจดีย์วัดบางขุนพรหม และก็หาวิธีนำพระออกมา จึงเกิดการตกพระกันขึ้น โดยการนำเชือกยาวๆ มาทำเป็นปมที่ปลายด้านหนึ่ง เอาดินเหนียวหรือไม่ก็ยางไม้มาพอกไว้ที่ด้านปม และนำไม้ไผ่มาทะลวงปล่องให้ทะลุสอดเชือกเข้าไป แล้วนำไปสอดเข้าไปในรูระบายอากาศขององค์พระเจดีย์ ปล่อยเชือกให้ตกลงไปในห้องกรุ แล้วสาวเชือกขึ้นมาบางครั้งก็มีพระติดปลายเชือกขึ้นมา บางครั้งก็ไม่ได้ และจะมีคนมารับเช่าอยู่ทุกวัน มีการแอบเจาะองค์พระเจดีย์ก็มีอยู่หลายครั้ง ทางวัดเองก็ห้ามปรามไม่อยู่ จนต้องเปิดกรุเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2500 และนำพระออกให้เช่าเพื่อนำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ในที่สุด ในปีนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหมก็ราคาองค์ละ 1-3 พันบาทแล้ว ส่วนพระสมเด็จวัดระฆังก็องค์ละเป็นหมื่น ที่ผมเล่ามาย่อๆ นี้ก็เพื่อให้เห็นว่า พระเครื่องนั้นมีราคามานานแล้ว และเมื่อมีราคาก็มีคนที่ทำปลอมเพื่อหลอกขายให้ได้เงินกันมานานแล้วเช่นกัน

เอาล่ะมาถึงเรื่องพระแท้พระปลอมเอามาตรฐานอะไรมาชี้วัดความแท้ปลอม เอาเฉพาะเรื่องพระสมเด็จของวัดระฆังและวัดบางขุนพรหมก็มีกลุ่มที่ตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายกลุ่มหลายชมรม มีทั้งที่อ้างหลักฐานต่างๆ ตามหลักของตน มีทั้งการทำเป็นหนังสือตำรับตำรา มีการอบรมกันทุกเดือน มีกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ของกลุ่มเข้ามาให้ความรู้อบรมต่างๆ บางกลุ่มก็มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์อ้างว่าสามารถตรวจสอบอายุวัตถุได้ มีการออกใบรับรองต่างๆ ก็แล้วแต่กลุ่มซึ่งมีมากมายหลายแบบ และเขาก็เป็นกลุ่มก้อนของเขาเอง และก็มีที่กล่าวหาว่ากันไปมาว่าแบบนี้ถูกแบบนั้นผิดก็ว่ากันไป ทีนี้เรื่องพระแท้พระปลอมนั้นก็ยังไม่มีในส่วนของทางราชการเข้ามารับรองมาตรฐานว่าแบบไหนถูกหรือผิดอย่างไร ก็ถกเถียงกันไปไม่สิ้นสุด

ในส่วนกลุ่มใหญ่ที่เขาเล่นหาซื้อขายกันนั้น เขาก็จะมีมาตรฐานของเขาที่จะเหมือนๆ กันหมด ซึ่งก็มีมานานแล้วสืบต่อความรู้ในการพิสูจน์เก๊-แท้กันต่อๆ มา และที่แน่นอนอีกอย่างหนึ่งก็คือมีมูลค่ารองรับ สามารถซื้อ-ขายได้เงินสดทันที ถ้ามีพระสมเด็จวัดระฆังแท้ไม่ว่าพิมพ์ไหน เอาไปขายได้ทุกศูนย์พระใหญ่ๆ ทุกที่ มีคนขอซื้อแน่นอน ไม่ว่าคุณจะเป็นใครและไม่ต้องรู้จักใคร ถ้าพระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานเขาขอซื้อคุณแน่ เพราะเซียนพระที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องนั้น เขาก็มีราคาซื้อเข้าและราคาขายออก ซึ่งก็มีกำไรส่วนต่างของเขาเป็นอาชีพของเขา ก็เหมือนกับการซื้อ-ขายสินค้าทั่วๆ ไป ส่วนเรื่องราคาที่จะซื้อขายจบกันที่ราคาใดก็ตกลงกันเองครับ

ในส่วนตัวผมนั้นเล่นหาศึกษาสะสมมาก็ตั้งแต่สมัยสนามวัดมหาธาตุมาสนามท่าพระจันทร์ จนถึงศูนย์พระในห้าง ก็ลองผิดลองถูกมานาน สูญเสียเงินผิดๆ ไปก็มากจนหาวิธีที่คิดว่าถูกต้องที่สุดคือ เล่นหาแบบมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับพระเครื่องต่างๆ ที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนำมาให้เซียนเช่าต่อ ก็ไม่ผิดหวังได้ส่วนต่างอยู่มากโข พอชดเชยในส่วนที่ศึกษาผิดทางได้ และยังพอที่จะใช้ในชีวิตยามแก่เฒ่าได้ ผมเองก็โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องที่เล่นหาแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับสั่งสอนชี้แนะให้ และผมก็ยึดแนวทางนี้ที่คิดว่าถูกต้องที่สุด

สำหรับท่านผู้อ่านก็เลือกวิถีทางการศึกษาเชื่อถือเอาว่าจะเล่นหาแบบใด เอาแบบที่มีมูลค่ารองรับหรือแบบไหน ถ้าแบบที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็พิสูจน์ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรที่เขานิยมเล่นหากันอยู่ลองเอาไปขายตามศูนย์พระใหญ่ๆ ดู เขารับซื้อหรือไม่ก็รู้ได้ทันทีครับ แต่ถ้าแบบอื่นๆ นั้นก็ลองเอาไปขายให้กับกลุ่มที่ท่านเอาพระมาจากเขาก็จะรู้ได้ทันทีว่าถูกหรือผิดอย่างไรครับ เลือกเอาแบบที่เราสบายใจดีที่สุดครับ แต่ก็อย่าไปโทษใครเพราะเราเลือกเองครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ แบบมาตรฐาน มีมูลค่ารองรับองค์ละหลายๆ ล้าน มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กรกฎาคม 2562 14:50:14
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85864688373274_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่ถิน
หลวงปู่ถิน สารานุโม หรือ พระครูนิเทศธรรมโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดงเมืองน้อย ต.ดงเมือง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2459 ที่บ้านดงเมืองน้อย อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดทอง นพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมี พระครูจันทรศรีตรคุณ พระเกจิชื่อดังของภาคอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจาก หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม วัดบ้านเหล่า อ.พยัคฆภูมิพิสัย

ทั้งนี้ วัตถุมงคลได้รับการจัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญหลวงปู่ถิน จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2520 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาฝังอุโบสถวัดดงเมืองน้อย

เหรียญรุ่นนี้ วัดดงเมืองน้อย มอบให้ผู้ที่ร่วมบริจาคทำบุญที่วัด เป็นเหรียญกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ ที่สร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายญาติโยมที่มาร่วมงานบุญจากทุกสารทิศ

เป็นเหรียญกลมยกขอบมีหูห่วง

ด้านหน้า มีลายกนกที่สวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ถินครึ่งองค์ บริเวณใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงพ่อพระครูนิเทศธรรมโกศล

ด้านหลัง จากด้านขวาโค้งขึ้นไปทางด้านซ้ายเขียนว่า ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดดงเมืองน้อย และจากด้านขวาโค้งลงไปทางด้านล่าง วนขึ้นไปทางด้านซ้าย เขียนว่า ต.ดงเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ นะโม พุทธายะ ด้านบน ปิดด้วยอุณาโลมสามตัว เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณเด่นทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม ค้าขาย ฯลฯ

เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในกุฏิตลอดพรรษา

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่ อีกเหรียญหนึ่งของ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ได้รับความนิยมในพื้นที่มาโดยตลอด

สำหรับราคาเช่าบูชา เหรียญสวย จะอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยปลาย
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99084006167120_view_resizing_imagesCIGYULZ8_3.jpg)
เหรียญหลวงปู่แพงตา เขมิโย
หลวงปู่แพงตา เขมิโย หรือ พระครูภาวนาภิรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม บ.ดอนดู่ ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความรู้ด้านยาสมุนไพร

อายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่แก่พรรษากว่า ทั้งชักชวนให้หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน วัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก ออกบวช

ศึกษาการปฏิบัติธรรมจากพระวงษ์ พระอุปัชฌาย์ และขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ศรีทัตถ์ ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน ก่อนเดินทางไปสู่ภูเขาควายในฝั่งลาว ปฏิบัติธรรมร่วม 3 เดือน ก่อนกลับไปนั่งสมาธิผจญกลลวง ผีสางนางไม้ในถ้ำจำปาของภูเขาควายอีกนาน 3 เดือน

กลับมาจำพรรษาปฏิสังขรณ์สร้างวัดหลายแห่งได้ 7 ปี ก่อนอาพาธด้วยโรคเบาหวาน กระทั่งวาระสุดท้ายเกิดปวดท้องรุนแรง แต่กว่าจะรู้ว่าไส้ติ่งอักเสบอาการก็อ่อนระโหยโรยแรง จนในเวลา 13.00 น. วันที่ 12 ส.ค.2535 ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 57

ทิ้งวัตถุมงคลไว้ 3 รุ่น หนึ่งในนั้นเป็นเหรียญหลวงปู่แพงตา รุ่นแรก พ.ศ.2516

พระมหาวินิตย์ ทันตจิตโต หลานชายซึ่งจำพรรษาที่วัดไทยแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อนำเงินรายได้สมทบสร้างศาลาการเปรียญวัดประดู่วีรธรรม

เป็นเหรียญอาร์มมีหูห่วง มีเนื้อกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ สร้างชนิดละ 10,000 เหรียญ

ด้านหน้ามีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ สันขอบเส้นนูนสองชั้น ด้านล่างสลักชื่อ "หลวงพ่อแพงตา เขมิโย"

ด้านหลังตีเส้นขอบล้อมเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ป้องกันภยันตราย ด้านล่างระบุ "วัดประดู่วีระธรรม ๑ ธ.ค. ๒๕๑๖"

เฉพาะเหรียญทองแดงรมดำรุ่นนี้ปั๊มพิมพ์ 2 ครั้ง เนื่องจากไม่เพียงพอให้เช่าบูชาและแจกจ่ายลูกศิษย์ที่ มาทำบุญ สังเกตให้ดีพิมพ์บล็อก 2 ใบหน้าหลวงปู่จะแก่กว่า

หลวงปู่แพงตาประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านคงกระพัน เฉพาะเหรียญทองแดงรมดำบล็อกแรกสภาพสวยๆ ราคาพุ่งสูงมาก

ปัจจุบันนักสะสมนิยมเก็บและพบเห็นค่อนข้างน้อย
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18348790581027_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า "วัดบ้านแหลม" เป็นวัดสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และเคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ไม่ว่าใครที่ได้ไปเที่ยวจังหวัดสมุทรสงครามก็จะแวะไปกราบสักการะหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเพื่อเป็นสิริมงคล

วัดบ้านแหลม เดิมชื่อ "วัดศรีจำปา" เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.2307 ได้มีชาวบ้านบ้านแหลมเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณนี้ และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อของตนในเมืองเพชร และช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา ต่อมาก็เรียกวัดนี้ว่า "วัดบ้านแหลม"

ชาวบ้านแหลมเองมีอาชีพประมงออกทะเลหาปลา อยู่มาวันหนึ่งไปล้อมอวนจับปลาที่ปากอ่าวแม่กลองเกิดติดได้พระพุทธรูปมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร แต่บาตรหายไปในทะเล อีกองค์เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมได้แบ่งให้ญาติชาวบางตะบูนไป หลังจากนั้นชาวบางตะบูนได้นำไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเพชรบุรี ส่วนพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรนั้น ในครั้งแรกจะนำไปประดิษฐานที่วัดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปริมแม่น้ำแม่กลอง เนื่องจากวัดศรีจำปานั้นร่วงโรย แต่เมื่อนำพระพุทธรูปไปวัดใหญ่ก็ไม่สามารถนำไปได้ เพราะเกิดพายุใหญ่รุนแรงมาก ต้องนำกลับมาไว้ที่วัดศรีจำปา จึงได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาให้สวยงามดีขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดบ้านแหลม" และเรียกพระพุทธรูปองค์นั้นว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ก็ช่วยให้วัดบ้านแหลมเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2416 ได้เกิดโรคระบาดใหญ่ ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า "โรคห่า" (โรคอหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้ในกรุงเทพฯ และที่แม่กลองเองก็เช่นกัน ในครั้งนั้นท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณได้ฝันไปว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมมาเข้าฝันบอกคาถากันโรคห่าให้หนึ่งบท ให้ไปดูที่พระหัตถ์ของหลวงพ่อในโบสถ์ พอเช้าขึ้นมาท่านเจ้าคุณจึงได้ไปดูที่พระหัตถ์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ปรากฏว่าที่พระหัตถ์ขวามี อักขระว่า "นะ มะ ระ อะ" พระหัตถ์ซ้ายว่า "นะ เท วะ อะ" ท่านเจ้าคุณสนิทฯ จึงได้ทำน้ำมนต์โดยใช้พระคาถานั้น และได้แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านนำไปอาบกิน ปรากฏว่าอาการป่วยไข้หายได้อย่างอัศจรรย์ และโรคอหิวาตกโรคก็สงบลง ความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องนี้ก็เลื่องลือไปทั่ว

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม นับว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ต่างก็มากราบไหว้สักการะกันไม่ขาดสายจนทุกวันนี้ มาขอให้ท่านช่วยในเรื่องต่างๆ มากมาย เมื่อสำเร็จแล้วก็มาแก้บนกันมาก ซึ่งจะเห็นได้ทุกวันครับ

วัตถุมงคลรูปหลวงวัดพ่อบ้านแหลมนั้นมีการสร้างกันมาอยู่โดยตลอด รุ่นแรกนั้นสร้างเป็นเหรียญหล่อโบราณในปี พ.ศ.2459 ต่อมาในปี พ.ศ.2460 ได้มีการสร้างเป็นแบบเหรียญปั๊มอีก 2 บล็อก คือ บล็อกหน้าเหลี่ยม และบล็อกหน้ากลม ทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มรุ่นแรกนี้ถือเป็นรุ่นนิยม มูลค่าหลักแสนในปัจจุบันครับ ด้านหลังเหรียญปั๊ม มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "รูปปฏิมากอนคุณพ่อวัดบ้านแหลม" และต่อมาก็มีสร้างในรุ่นต่อๆ มาอีกหลายรุ่นจนทุกวันนี้

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อวัดบ้านแหลมปี พ.ศ.2459 และรูปเหรียญปั๊มปี พ.ศ.2460 พิมพ์หน้าเหลี่ยม (นิยม) มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26223983408676_view_resizing_imagesZ9PZ0IVQ_3.jpg)
พระนาคปรกกรุพะงั่ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพระกรุก็ต้องยกให้พระนาคปรก กรุพะงั่ว ที่เป็นพระเนื้อชินเงินที่มีความเข้มข้นด้วยศิลปะขอม ในสมัยก่อนนั้นเป็นพระนาคปรกเนื้อชินเงินที่มีความนิยมสูง มีความหายาก พระนาคปรกพะงั่วนี้มีพบที่สมบูรณ์จำนวนน้อย ส่วนมากที่พบจะชำรุดผุกร่อนเสียเป็นส่วนใหญ่

พระนาคปรกกรุพะงั่ว หรือบางท่านเรียกว่า พระปรกพะงั่ว ความจริงไม่ได้ขุดพบที่กรุหรือเจดีย์วัดพะงั่วแต่อย่างไร แต่พบที่กรุวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เรียกกันว่ากรุพะงั่วเนื่องจากวัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือขุนหลวงพะงั่ว ราวปี พ.ศ.1917 ก็เลยเรียกกันว่าเป็น "กรุพะงั่ว" วัดมหาธาตุพระนครศรีอยุธยา ความจริงเป็นวัดเก่าแก่มาก่อนหน้านั้น สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดมาตั้งแต่สมัยลพบุรี และต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยขุนหลวงพะงั่วอีกครั้ง พระของกรุนี้ที่พบจึงมีพระที่พบอยู่ 2 ศิลปะ และเนื้อหาที่มีความเก่าแก่อยู่ถึง 2 ยุค เช่นพระที่พบเป็นศิลปะอยุธยาจะมีคราบปรอทจับขาวทุกองค์ เช่น พระซุ้มคอระฆัง พระซุ้มเรือนแก้วต่างๆ ส่วนพระนาคปรก และพระอู่ทองคางเครานั้นไม่พบคราบปรอทเลย และเนื้อหาก็เป็นเนื้อชินเงินคนละแบบกัน ศิลปะก็เป็นคนละอย่างกัน พระปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเคราเป็นศิลปะแบบลพบุรี ถ้าจะสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเคราเป็นพระที่นำมาจากกรุในลพบุรี และนำมาบรรจุไว้ก็อาจจะเป็นได้

พระปรกพะงั่ว องค์พระเป็นพระปางนาคปรกที่เป็นศิลปะแบบลพบุรีชัดเจน เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงินที่มีผิวออกดำจัดและมีสนิมเกล็ดกระดี่เกาะกินผิวพระ ในสมัยก่อนมักจะเรียกสนิมชนิดนี้ว่าสนิมตีนกา องค์พระส่วนใหญ่จะมีสนิมกินปริร้าวอยู่ทั่วองค์ พระที่พบจึงชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่พบมีพบอยู่ 3 พิมพ์คือ พระพิมพ์ใหญ่ ซึ่งมีขนาดเขื่อง สูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. พระพิมพ์กลางก็ย่อมลงมาหน่อย สูงประมาณ 6 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. และพระพิมพ์เล็ก สูงประมาณ 5 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม. ซึ่งก็ยังเป็นพระที่มีขนาดเขื่อง

การแตกกรุของพระกรุนี้ก็เนื่องจากพวกลักลอบขุดกรุได้พระไปจำนวนหนึ่ง ทางกรมศิลปากรจึงบูรณะและเปิดกรุเป็นทางการ พร้อมๆ กับกรุวัดราชบูรณะเพื่อนำพระออกมาจากกรุและมีการเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (สนามหลวง) เพื่อนำเงินมาบูรณะโบราณสถานต่อไป พระปรกพะงั่วนั้นมีความนิยมมาแต่อดีต พุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด มีประสบการณ์มามากอยู่ และเป็นพระประจำวันคนที่เกิดวันเสาร์

ปัจจุบันพระปรกพะงั่วแท้ๆ หาชมยาก เนื่องจากพระที่สมบูรณ์มีจำนวนน้อยตั้งแต่ออกจากกรุ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ ของปลอมทำร่องรอยการแตกปริได้ไม่เหมือนนักครับ โดยเฉพาะผิวเกล็ดกระดี่ก็ยังทำไม่ค่อยเหมือน อีกอย่างหนึ่งก็คือ พระชำรุดอุดซ่อม เนื่องจากพระสมบูรณ์มีน้อยจึงมีผู้ที่นำพระชำรุดมาซ่อมแล้วขายออกโดยไม่ได้บอกผู้ที่เช่า เรื่องนี้ก็ต้องตรวจสอบดูให้ดี แต่ก็ยังดีที่เป็นพระแท้ แต่ซื้อผิดราคาไปหน่อย โดยซื้อในราคาพระสมบูรณ์ แต่ได้พระซ่อมไปครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่วทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่า มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24106677994131_view_resizing_imagesI6NAJD2Y_3.jpg)
คนเขียนเรื่องพระเครื่องดูพระเป็นไหม?
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เขียนเรื่องพระเครื่องมานานบางทีก็ไม่รู้จะคุยเรื่องอะไร บางทีก็เขียนซ้ำไปซ้ำมา วันนี้ก็มาคุยกันเรื่อยเปื่อยเรื่องทั่วๆ ไปก็แล้วกันนะครับ พอดีวันก่อนผมได้เข้าไปพูดคุยในวงสนทนาที่ศูนย์พระเครื่องใหญ่แห่งหนึ่งตามประสาคนชอบพระเครื่อง ได้มีการพูดถึงคนที่เขียนเรื่องพระเครื่องว่าส่วนใหญ่ดูพระไม่เป็น อืมก็ถูกนะเพราะคนเขียนเรื่องพระเครื่องส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เซียนพระ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

คนที่ได้รับขนานนามว่าเซียนนั้นก็จะเป็นผู้ที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เพราะเขาประกอบอาชีพนี้จึงต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านพระเครื่องในสายของเขา และเขาก็ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ต้องตัดสินใจในการซื้อพระเครื่องที่มีคนนำมาขายให้ด้วยตัวเองว่าใช่หรือไม่ อีกทั้งประเมินราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผิด-ถูกก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง เขาจึงต้องเป็นผู้ชำนาญการในด้านพระเครื่อง ในส่วนของผู้ที่เขียนเรื่องพระเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นิยมชมชอบพระเครื่อง แต่ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องโดยตรง บ้างก็ทำเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริมเท่านั้น อ้าวแล้วที่เขาเขียนนั้นจะเชื่อถือได้หรือ? ครับผู้ที่เขียนเรื่องพระเครื่องนั้นส่วนใหญ่ก็อย่างที่บอกว่าเป็นผู้ที่นิยมชมชอบพระเครื่องเท่านั้น หรือเป็นนักสะสม ส่วนใหญ่ก็จะเขียนเรื่องประวัติของพระสงฆ์บ้าง เรื่องพระกรุบ้าง โดยค้นคว้าหาประวัติข้อมูลมาเขียน จึงไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาพระเครื่อง แต่ก็อาจจะพอพิจารณาได้บ้างเท่านั้น แต่ในสมัยก่อนก็มีผู้เขียนเรื่องพระเครื่องที่เชี่ยวชาญอยู่หลายท่านที่สามารถพิจารณาแท้ไม่แท้ได้ และก็ไม่ได้เป็นเซียนหรือมีอาชีพซื้อ-ขายพระ เช่น อ.ตรียัมปวาย อ.สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ เป็นต้น แต่ท่านก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาพระเครื่องเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง และก็มีผู้ใช้สิ่งที่ท่านเขียนมาเป็นตำราศึกษา ส่วนเซียนที่มีอาชีพซื้อขาย-พระก็มีที่เขียนเรื่องพระเครื่อง เช่น อ.เภา ศะกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญพระเกจิอาจารย์ที่ทุกคนยกย่องและยอมรับ และก็มีนิรนามที่เขียนเรื่องพระเบญจภาคีโดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ที่เขียนลงในอาณาจักรพระเครื่อง แต่ท่านไม่ยอมให้ลงชื่อของท่าน พี่เปี๊ยก ปรีชา เอี่ยมธรรม บ.ก.จึงตั้งนามปากกาว่า "นิรนาม" และหลายๆ คนก็นำสิ่งที่ท่านเขียนมาเป็นตำราในการศึกษาโดยที่ไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร อ.ประจำ อู่อรุณ ก็เคยทำหนังสือพระเครื่อง

ครับผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องความจริงก็มีที่ดูพระเป็นอยู่บ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นิยมศึกษาและสะสมพระเครื่องเท่านั้น ไม่ใช่เซียนพระที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง หรือเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญแต่อย่างใด ตัวผมเองก็พูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า "ผมดูพระไม่เป็นครับ" หลายๆ ท่านร้องอ้าว แล้วที่เขียนหรือตอบปัญหาพระเครื่องล่ะ ครับที่ตอบปัญหาพระเครื่องนั้นผมก็นำรูปพระที่ท่านส่งมาถามไปให้เซียนเขาดูให้ อาศัยที่รู้จักเซียนหลายคน และก็พอรู้ว่าใครชำนาญพระเครื่องด้านใด และพอจะสนิทสนมที่จะสอบถามได้ ก็นำรูปไปถามเขาให้เท่านั้นครับ ในส่วนของเรื่องราวของพระเครื่องพระเกจิอาจารย์ก็ค้นคว้าสอบถามจากหลายๆ แหล่งรวบรวมแล้วนำมาเขียน ซึ่งก็ผ่านการกลั่นกรองว่าถูกต้องดีแล้วจึงนำมาเขียนครับ

บางทีก็มีหลายท่านนึกว่าผมเป็น ผู้ชำนาญในการพิจารณาพระเครื่อง ซึ่งความจริงดูพระไม่เป็นครับ แค่พอมีหลักในการดูและก็พอซื้อพระเองได้เท่านั้น เคยมีคนที่คุ้นเคยกันและเป็นนักนิยมพระเครื่องถามผมว่าดูพระอะไรเป็น ผมก็ตอบตามตรงว่าดูพระไม่เป็นครับ แค่พอซื้อเป็นเท่านั้นครับ จริงๆ นะครับ ถ้าเราพอมีหลักในการพิจารณาและใช้เหตุผลในการพิจารณา เข้าหาความรู้ต่างๆ จากเซียน ก็จะได้ ความรู้ และรู้ว่าทำไมเขาจึงตัดสินใจซื้อพระองค์นั้นๆ เขาใช้หลักอะไรในการพิจารณา ศึกษาจากเซียนคนนั้นทีคนนี้ทีก็พอจะมีความรู้เอาตัวรอดได้ครับ แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการ หรือเป็นเซียนนะครับ และถ้าเราซื้อหาสะสมพระเครื่องมาถูกหลักการสากลนิยมแล้วเราก็จะได้พระแท้ๆ ที่เขานิยมกันและมีมูลค่ารองรับ ไม่แน่นะครับคนเราวันหนึ่งก็อาจจะมีเรื่องจำเป็นที่จะต้องใช้เงินด่วนขึ้นมา ก็เอาพระที่สะสมไว้ไปขายให้พวกเซียน เขาก็ซื้อนะครับ ยิ่งพระที่เราซื้อมานานหลายๆ ปี ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาด้วย บางท่านถามว่าจะคุ้มกับค่าเงินเฟ้อรวมดอกเบี้ยธนาคารไหม ก็ต้องบอกว่าคุ้ม ถ้าเงินที่ซื้อมาเป็นเงินเย็นและคิดว่าเป็นเงินออม แต่ก็ต้องซื้ออย่างถูกต้องและมีสตินะครับ

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.สองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเช่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ องค์สวยองค์ดังของสังคมพระเครื่อง ในราคาสี่แสนกว่าบาท เป็นข่าวดังในสังคมพระเครื่องเวลานั้น ซึ่งพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ สวยๆ ทั่วไปในช่วงนั้นราคาประมาณแสนกว่าบาท หรือสองแสนกว่าบาท ในปัจจุบันมีคนประเมินพระองค์นี้ไว้ที่ไม่ต่ำกว่าหกสิบล้านบาท และมีคนรอเช่าอยู่หลายคน แต่เจ้าของยังหวงอยู่ ถามว่ามูลค่าเพิ่มคุ้มกับเงินเฟ้อบวกดอกเบี้ยธนาคารหรือไม่ ลองคำนวณดูนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม องค์สวยที่สุดของสังคมพระเครื่องฯ มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 กรกฎาคม 2562 16:14:50
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73344624622000_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่แสง รุ่นแรก
พระครูอุดมรังสี หรือหลวงปู่แสง จันทวังโส อดีต เจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็น สหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม อีกด้วย

ชาติภูมิมีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2561 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย เต้ พัทยา และ โค้ก สกลนคร ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงปู่แสงรุ่นแรก เพื่อสร้างกุฏิให้ใหม่ เนื่องจากหลังเดิมชำรุดผุพัง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทอง 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 107 เหรียญ, เนื้อทองแดง 2,561 เหรียญ, เนื้อลองพิมพ์ 3 เหรียญ และเนื้อทองแดงหน้าทอง รวม 2,718 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีพระผงรุ่นแรก ตะกรุดเงิน 107 เหรียญ, ตะกรุดทองคำ 107 เหรียญ ผงหว่านพุทธคุณ 2561 เหรียญ รวม 2,777 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ คล้องลูกประคำ เหนืออังสะสลักตัวเลขไทย ๑๕๔๘ ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ใต้รอบขอบเหรียญสลักคำว่า หลวงปู่แสง จันฺทวํโส

ด้านหลังเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ใต้หูห่วงสลักคำว่า รุ่นแรก มุมขวาใกล้ตัว ก มีอักขระยันต์ตอกโค้ดตัวนะกำกับไว้ ถัดลงมามีอักขระ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์คาถารวมคาถา บรรทัดถัดมาสลักคำว่า อายุ ๑๐๗ ปี จาก วงรอบขอบเหรียญบรรทัดล่างสุด มีดอกจันคั่นหน้าสลัก คำว่า วัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม ๒๕๖๑ ปิดท้ายด้วยดอกจัน

เหรียญรุ่นดังกล่าวปลุกเสก 9 วาระ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฎร์เรืองสุข จ.ชลบุรี, หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม, หลวงปู่แสง จันฺทวํโส วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม, หลวงปู่แก้ว สุจิณโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า จ.สกลนคร, หลวงปู่คำพันธ์ จารุวัณโณ วัดหนองบัวสร้าง จ.สกลนคร, หลวงปู่แหวน ทยาลุโก จ.สกลนคร, หลวงปู่หอม รตินธโร จ.สกลนคร, หลวงพ่ออุ่นใจ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และหลวงพ่อสาคร มนุญโญ จ.ระยอง

ออกแบบได้ลงตัว พุทธศิลป์งดงาม และพุทธคุณครบครัน โดยเฉพาะเหรียญเนื้อทองแดงสภาพสวยๆ ราคาพุ่งสูงมาก
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61852598687012_view_resizing_imagesD8K5ZTZV_3.jpg)
พระอู่ทองเพชรบูรณ์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดศรีสะอาด เพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อไร มีการแตกกรุของพระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "พระอู่ทอง เพชรบูรณ์" เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก คาดว่าจำนวนพระที่ขึ้นมาจากกรุนั้นคงมีจำนวนไม่มากนัก

เมืองเพชรบูรณ์เป็นแหล่งชุมชนมาแต่เดิม มีการขุดพบเมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีโบราณสถานเก่าแก่ อายุถึงสมัยทวารวดีตอนปลายจนถึงสมัยลพบุรี ต่อมาในสมัยสุโขทัยก็เป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง จนถึงกรุงศรีอยุธยาสมัยพระบรมไตรโลกนาถมีเหตุการณ์รบพุ่งกับล้านนาและล้านช้างอยู่เสมอ จึงโปรดให้ทำนุบำรุงเมืองเพชรบูรณ์เป็นการใหญ่ทั้งการบ้านการเมืองและศาสนา เพื่อตั้งเมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองหน้าด่าน ดังจะเห็นได้ว่ามีการขุดพบพระเครื่องที่เป็นศิลปะอยุธยาอยู่หลายกรุ เช่น ที่วัดมหาธาตุ และที่วัดศรีสะอาดก็ได้พบพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วคือพระอู่ทองเพชรบูรณ์ เป็นพระปางมารวิชัย ประทับบนฐานเขียง ขนาดกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. สูงประมาณ 4 ซ.ม. พระเกศปลีคล้ายดอกบัวตูม พระศกแบบหนามขนุน พระกรรณยาวจรด พระอังสา พระพักตร์กลมป้อม พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ติดชัด เนื้อของพระเป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดง มีคราบไขขาวและสนิมแดง

ศิลปะองค์พระนั้นเป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับพระเครื่องส่วนใหญ่ที่ขุดพบในจังหวัดเพชรบูรณ์ พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางคุ้มครองป้องกันภัย ร่มเย็นเป็นสุข โชคลาภ ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก อาจจะเป็นเพราะพระที่พบในกรุมีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยมีใครพูดถึง ทำให้มีผู้รู้จักไม่มากเท่ากับพระเปิดโลก ซุ้มเรือนแก้วหรือพระร่มโพธิ์เพชรบูรณ์ แต่พระอู่ทองเพชรบูรณ์ก็เป็นพระกรุที่สำคัญของจังหวัดนี้เช่นกัน ในสมัยก่อนเป็นพระที่คนเพชรบูรณ์หวงแหนกันมากเช่นกันครับ และจะน่าเสียดายมากถ้าจะลืมเลือนกันไปโดยไม่พูดถึงกันเลย

วันนี้ผมจึงนำพระอู่ทอง กรุวัดศรีสะอาด มาพูดถึง เพื่อที่จะได้อนุรักษ์กันไว้ไม่ให้เลือนหายไปกับกาลเวลา และได้นำรูปพระอู่ทองเพชรบูรณ์ มาให้ชมกันครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57328844732708_view_resizing_imagesT08WGMES_3.jpg)
พระลีลากำแพงศอก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระลีลากำแพงศอกเป็นพระพิมพ์ปางลีลาขนาดใหญ่ เนื้อชินเงิน ซึ่งมีขนาดใหญ่สูงเกือบเท่าศอกของเรา จึงมักเรียกกันติดปากว่า พระลีลากำแพงศอก มีการขุดพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นแห่งแรก ต่อมาก็มีการขุดพบที่กรุวัดชุมสงฆ์สุพรรณบุรีอีก ด้วย พุทธคุณนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ส่วนใหญ่ก็มักจะทำแท่นบูชาไว้ที่บ้าน ว่ากันว่าบ้านของผู้ที่มีพระลีลากำแพงศอกบูชาไว้ที่บ้านจะปลอดภัยจากอัคคีภัยได้

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดสุพรรณบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง (รามาธิบดีที่ 1) ราว พ.ศ.1857-1912 ชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดพระธาตุ" ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และมีพระปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ ที่พระปรางค์แห่งนี้มีการถูกลักลอบขุดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ต่อมาทางการจึงเปิดกรุขึ้นเพื่อนำพระบูชาและพระเครื่องสิ่งของมีค่าออกจากกรุ เพื่อมิให้พวกลักลอบขุดเข้ามาขุดทำลายโบราณสถานแห่งนี้อีก และบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

กรุพระที่พบในองค์พระปรางค์แห่งนี้เป็นกรุใหญ่ที่สำคัญ มีการพบพระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากมหาศาล พระเครื่องที่สำคัญคือพระผงสุพรรณ และอื่นอีกมากมาย มีการพบลานเงินลานทองที่จารึกมูลเหตุในการสร้างพระ และอุปเท่ห์การใช้บูชาต่างๆ พระเครื่องที่พบมีทั้งที่เป็นพระเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน ส่วนพระเครื่องที่พบจะเป็นศิลปะแบบอู่ทองเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่พบเป็นพระศิลปะสุโขทัยปะปนอยู่ด้วย เช่น พระลีลากำแพงศอก พระลีลากำแพงคืบ เป็นต้น เข้าใจว่าเป็นพระที่อยู่ในยุคสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งอาจจะทำพระเครื่องมาร่วมทำกุศลในการสร้างองค์พระปรางค์ หรือส่งช่างมาช่วยร่วมสร้างพระเครื่องด้วย พระลีลากำแพงศอกจึงมีพุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบสุโขทัยที่งดงาม พระปางลีลาที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี มีพบอยู่หลายขนาด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดสูงราวๆ ศอกหนึ่ง จึงเรียกกันว่าพระกำแพงศอกหรือลีลากำแพงศอก ส่วนที่มีขนาดย่อมกว่าหน่อยสูงราวๆ คืบก็เรียกว่า ลีลากำแพงคืบ และขนาดเล็กก็เรียกกันว่า ลีลากำแพงนิ้วไล่เรียงกันลงมา พระลีลาที่มีศิลปะแบบสุโขทัยนั้นจะพบเป็นพระลีลากำแพงศอก และพระลีลากำแพงคืบ ส่วนพระลีลากำแพงนิ้วจะเป็นศิลปะแบบอู่ทองหรือแบบของสุพรรณโดยเฉพาะ พระลีลากำแพงศอกและพระลีลากำแพงคืบยังมีการพบที่กรุวัดราชบูรณะอยุธยาอีกอยู่บ้าง แต่ที่พบพระลีลากำแพงศอกจำนวนมากนั้นจะพบอยู่ที่กรุวัดศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี และของกรุวัดชุมนุมสงฆ์สุพรรณบุรี

พระลีลากำแพงศอกเป็นพระที่หายากมากมาแต่ในสมัยก่อนแล้ว ยิ่งในปัจจุบันยิ่งหาพระแท้ๆ ยากมากๆ มีราคาสูงมากและหาพระที่สมบูรณ์นั้นยิ่งหายากมาก ในสมัยก่อนคนที่มีพระลีลากำแพงศอกทำแท่นบูชาไว้ที่บ้าน ปรากฏว่ามีเหตุเพลิงไหม้ในละแวกนั้น และบ้านที่มีพระบูชากำแพงศอกบูชาไว้ไม่ไหม้เลย ทั้งๆ ที่บ้านที่อยู่โดยรอบไฟไหม้หมดเว้นไว้เฉพาะบ้านที่มีพระลีลากำแพงศอกบูชาไว้เท่านั้น เป็นที่เล่าขานกันต่อมา และก็มีเหตุเพลิงไหม้อีกหลายที่ บ้านที่มีพระลีลากำแพงศอกไฟก็ไม่ไหม้เช่นกัน จึงเป็นที่กล่าวขานถึงกันมากว่าเป็นพระกันไฟ และเสาะหากันอย่างกว้างขวาง แต่ก็หายากเพราะบ้านใครมีก็ไม่ยอมขาย สนนราคาจึงสูงมากจนปัจจุบันก็ยิ่งหายากมาก

วันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากำแพงศอกทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98946361243724_view_resizing_images5XKZ3ICQ_3.jpg)
พระราหูหลวงพ่อคัมภีร์
"หลวงพ่อคัมภีร์ จิตตสาโร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "พระอาจารย์แห้ง" เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา ทั้งในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง

เป็นศิษย์เอกสายตรงหลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

ปัจจุบัน สิริอายุ 54 ปี พรรษา 30

มีนามเดิมว่า เลิศ เพ็ชรหมัด เชื้อสายไทยทรงดำ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.2508 ปีมะเส็ง ที่บ้านแหลมทอง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์

อายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดศรีสวรรค์สังฆาราม(วัดถือน้ำ) ขณะเป็นสามเณรได้ติดตามรับใช้หลวงพ่อสมควร เรียนอักขระขอม-บาลี และวิทยาคม พร้อมติดตามไปสร้างวัดเขาพระยาพายเรือ อ.ลานสัก และวัดเขาหินเทิน อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี

อายุครบ 24 ปี อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2532 ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำโพใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มี พระครูนิยุตวีรวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

วันที่ 25 ธ.ค.2560 พระราชอุทัยโสภณ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งพระใบฎีกาคัมภีร์ จิตตสาโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ จ.อุทัยธานี

ย้อนไปในปี พ.ศ.2554 หลวงพ่อคัมภีร์ (แห้ง) วัดป่าเลไลย์ ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พระราหูกะลาตาเดียว" จำนวน 84 องค์

ลักษณะใช้กะลามะพร้าวตาเดียวมาแกะเป็นรูปพระราหูอมจันทร์อันหนึ่ง และแกะเป็นพระราหูอมพระอาทิตย์อันหนึ่ง ลงอักขระสุริยประภาที่พระอาทิตย์ และลงอักขระจันทรประภาที่พระจันทร์

พระราหูกะลาตาเดียวหลวงพ่อคัมภีร์ แกะกะลา และจารด้วยมือท่านเอง พร้อมเสกเดี่ยววันเสาร์ห้า จารนอก-ใน แล้วเอามาประกบกัน

นับเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของท่านที่หายาก จัดสร้างน้อย  
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78067051536507_view_resizing_imagesTJOJYWZE_3.jpg)
เหรียญหลวงปู่สิงห์ รุ่นแรก
หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต หรือ พระครูสุทธิพรหมโชติ อดีตรองเจ้าคณะตำบลศรีสงคราม เจ้าอาวาสวัดวิชัย บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นที่เลื่อมใสเคารพศรัทธาของชาวลุ่มแม่น้ำสงคราม ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 95 ปี พรรษา 69

เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม และพระบาทโพนฉันที่ฝั่งลาว ที่ลือลั่นด้านวิทยาคม

เป็นศิษย์หลวงปู่ญาคูสุ หรือ พระครูพิทักษ์อุดมพร ศิษย์ผู้น้องหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย แห่งวัดท่าดอกแก้วเหนือ อ.ท่าอุเทน

ในเดือนมีนาคม 2562 คณะลูกศิษย์ อ.โพนสวรรค์ โดย เทพ ประทาน ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต รุ่นแรก เพื่อรวบรวมปัจจัยจัดซื้อที่ดินวัดเพิ่มเนื้อ ที่ 3 ไร่ ไว้สร้างพระธาตุศรีวิชัย และบูรณะเสนาสนะในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปปีกผีเสื้อ หูเชื่อม ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงิน 195 เหรียญ เนื้อลงยาแดง 199 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 333 เหรียญ (ชุดกรรมการ) เนื้อทองแดงผิวไฟไม่ตัดปีก 333 เหรียญ (ชุดกรรมการ) และเนื้อทองแดง 2562 เหรียญ รวม 3,625 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูนรอบตัวเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมสลัก คำว่า รุ่นแรก ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์คล้องวัตถุมงคลขุนแผน ของบูรพาจารย์ ข้างใบหูด้านขวามีเลข ๑ นัมเบอร์ของเหรียญ ใบหูด้านขวาตอกโค้ดคำว่า ปู่สิงห์ รอบขอบเหรียญด้านล่างสลักคำว่า หลวงปู่สิงห์ พรหฺมโชโต

ด้านหลังเหรียญมีเส้นสันนูนขอบหน้ารอบเหรียญ ใต้หูเชื่อมสลักยันต์พญาไก่แก้วเรียกทรัพย์ มีคาถานะโมพุทธายะ ซึ่งเป็นคาถาหัวใจของพระพุทธเจ้าไขว้กันกำกับไว้ ถัดลงมาสลักคำว่า อายุ ๙๕ พรรษา ๖๙ ตามด้วยคำว่า วัดวิชัย บ้านหนองบาท้าว อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และเลข ๒๕๖๒

เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่สิงห์นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวที่ศาลาการเปรียญของวัด เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 29 มี.ค.2562 ที่ผ่านมา มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูปนั่งปรก
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98682641196582_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระปิดตาวัดชีว์ประเสริฐ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องของวัดชีว์ประเสริฐ จังหวัดเพชรบุรีกันครับ พระเครื่องของวัดนี้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั้นเป็นพระที่หลวงปู่บุญท่านเป็นผู้สร้างไว้ครับ

วัดชีว์ประเสริฐตั้งอยู่ริมถนนมาตยสวงศ์ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดชีปเกิด" ต่อมาเมื่อสมัยพระครูรัตนรังษี(หลวงพ่อชิน) เป็นเจ้าอาวาสได้ปรารภถึงชื่อวัดว่าไม่สามารถอธิบายความหมายได้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดชีว์ประเสริฐ" ซึ่งหมายความถึงชีวิตที่ดีงาม วัดชีว์ประเสริฐสร้างมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฝีมือการก่อสร้างนั้นเป็นฝีมือของช่างสกุลเมืองเพชรในยุคต้นกรุงฯ ฝากฝีมือได้สวยงาม

พระปลัดบุญ วัดชีว์ประเสริฐ ท่านเป็นชาวเมืองเพชร เกิดในราวปี พ.ศ.2380 เมื่ออายุครบอุปสมบทก็ได้อุปสมบทที่วัดป้อม สืบไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป้อม ต่อมาวัดชีว์ประเสริฐขาดเจ้าอาวาส ทางคณะสงฆ์จึงได้ส่งหลวงปู่บุญจากวัดป้อมมาเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ. 2420 เมื่อท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดชีว์ประเสริฐโดยได้สร้างพระอุโบสถในปี พ.ศ.2425 และได้สร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดชีว์ประเสริฐเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงปู่บุญมรณภาพในราวปี พ.ศ.2450 สิริอายุได้ 70 ปี

หลวงปูบุญได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุดโทน มีสองขนาดคือขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ประสบการณ์ของเจ้าของตะกรุดคือยิงไม่ออก จนโด่งดังไปทั่วเพชรบุรี มีคนที่ได้ตะกรุดจากหลวงพ่อไปและใช้ติดตัวตลอด วันหนึ่งเขาได้อาบน้ำในแม่น้ำเพชร สายตะกรุดเกิดขาดตะกรุดจมน้ำหายไป จึงเกิดความเสียดาย ขึ้นจากน้ำแล้วรีบไปหาหลวงปู่ที่วัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนักเพื่อจะขอตะกรุดใหม่ เมื่อไปถึงยังไม่ได้พูดอะไร หลวงปู่ก็ส่งตะกรุดให้ ซึ่งเป็นตะกรุดดอกเดิมที่หลุดหายไปขณะอาบน้ำและยังเปียกน้ำอยู่เลย

นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเครื่องไว้ 3 แบบ คือพระผงสามเหลี่ยมสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณ แล้วเคลือบรักไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ด้านหลังเป็นยันต์นะ พระกลีบบัว สร้างด้วยเนื้อผงผสมว่านคลุกรัก มีสามพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ ด้านหน้าเป็นพระพุทธ ขัดสมาธิเพชร ด้านหลังไม่มียันต์แต่เป็นรอยกาบหมาก พิมพ์กลางค่อนข้างชะลูดกว่าพิมพ์ใหญ่ ด้านหน้าคล้ายกัน ด้านหลังเป็นยันต์ นะ อะ และยันต์ใบพัด พิมพ์เล็กด้านหน้าคล้ายกัน ด้านหลังเป็นยันต์นะ พระปิดตาของหลวงปู่บุญนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุด คนสมัยก่อนมักเรียกว่าพระปิดตาวัดชีปเกิด เป็นพระเนื้อผงผสมว่านคลุกรัก ลักษณะเป็นพระนั่งขัดสมาธิเพชร ยกมือปิดหน้าสองข้าง ด้านหลังอูมเล็กน้อย มียันต์นะ อยู่ตรงกลาง พระทั้งหมดของหลวงปู่บุญมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะพระปิดตา เด่นทางด้านเมตตามหานิยม และเป็นที่นิยมกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ปัจจุบันหาดูยาก ทั้งตะกรุดและพระเครื่องของท่านครับ

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระปิดตาของหลวงปู่บุญ วัดชีว์ประเสริฐ ของดีเมืองเพชรมาให้ชมกันครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99957583803269_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญย้อนยุค หลวงปู่สาธุ์
"หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิชื่อดัง สืบสายธรรมจากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย อดีตบูรพาจารย์ผู้เชี่ยวชาญไสยเวทสายเขมร

มีนามเดิมว่า สาธุ์ สรรพสอน เกิดในปี พ.ศ.2421 ที่บ้านข่อย อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวอพยพมาปักหลักทำมาหากินอยู่ที่บ้านเหล่า

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านแก่นท้าว โดยมีพระครูสีหราช วัดบ้าน แก่นท้าว เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัด ต่อมาได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่สำนักเรียนวัดบ้านแก่นท้าว และขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระครูสีหราช บูรพาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมสายเขมร ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้มีความรู้ทางด้านอักขระโบราณเพิ่มขึ้นอีกแขนง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2515 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 72

หลังจากมรณภาพไปแล้ว เมื่อถึงวันที่ 19-20 มี.ค.ของทุกปี วัดและคณะศิษยานุศิษย์จะจัดงานน้อมรำลึกเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา

ดังเช่นเมื่อวันที่ 19-20 มี.ค.2562 วัดบ้านเหล่า นำโดย พระอธิการบุญถม อภิวังโส รักษาการเจ้าอาวาส และคณะกรรมการวัด จัดงานรำลึก 140 ปีชาตกาล หลวงปู่สาธุ์ พร้อมจัดสร้างเหรียญที่ระลึก ย้อนยุครุ่นแรก มหาบารมี เพื่อหาทุนทรัพย์สร้างอุโบสถ

เหรียญรุ่นนี้จำลองแบบมาจากเหรียญรูปเหมือนทรงเสมารุ่นแรก พ.ศ.2509

ด้านหน้าเหรียญ พิมพ์เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สาธุ์ครึ่งองค์ มีตัวอักษรที่ใต้ขอบด้านบนว่า "รุ่น ๑" และตัวอักษรโค้งไปตามขอบเหรียญจากขวาไปซ้าย ความว่า "หลวงพ่อสาธุ์ สุขธมฺโม วัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม"

ด้านหลังของเหรียญจะเป็นยันต์ 5 และมีตัวเลขบอกวันเดือนปีที่สร้าง คือ "๑ มกราคม ๒๕๐๙" ที่ระฤก ครบ 140 ปีชาตกาล ด้านหลังแทบทุกเหรียญจะปรากฏรอยจารอักขระ นะ มะ พะ ทะ นะ มะ อะ อุ แต่บางเหรียญก็ไม่มีจาร เนื่องจากนำเหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญที่มีรอยจารไปทำบล็อก

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อเงินลงยา สร้าง 9 เหรียญ บูชา 2,000 บาท เนื้อเงินบริสุทธิ์สร้าง 47 เหรียญบูชา 1,800 บาท ทองแดงไม่ตัดปีกสร้าง 72 เหรียญบูชา 499 บาท เนื้อตะกั่วสร้าง 140 เหรียญ บูชา 299 บาท เนื้อทองแดงผิวรุ่งสร้าง 93 เหรียญบูชา 399 บาท เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ศาลาสุขธัมโม วัดบ้านเหล่า พระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก, หลวงพ่อณรงค์ สาโม วัดมงคลนิมิต เป็นต้น
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45389028597209_view_resizing_images_3_320x200.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30266432712475_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
(ซ้าย) เหรียญโภคทรัพย์  (ขวา) เหรียญรุ่นแรก
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเส็ง พุทธปาลิโต วัดประจันตคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งในสมัยสงครามโลกผู้ที่มีวัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในละแวกปราจีนบุรีเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อเส็งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2440 ที่บ้านเมืองใหม่ ประจันตคาม โยมบิดาชื่อ ขุนปราบพลการ (เคน) โยมมารดาชื่อ ทองสี เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2460 ที่วัดทัพช้าง มีพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต (สิงห์) เจ้าคณะแขวงเป็นพระอุปัชฌาย์ศึกษาพระธรรมวินัยจบนักธรรมเอกจนถึงปี พ.ศ. 2475 ท่านจึงย้ายไปเป็นครูสอนพระปริยัติที่วัดท่าเรือ พ.ศ.2480 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสและพระครูปลัด ฐานานุกรมของพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นเจ้าคณะตำบลประจันตคาม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิมลศีลาจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดประจันตคาม หลวงพ่อเส็งมรณภาพในปี พ.ศ. 2507 สิริอายุได้ 67 ปี 47 พรรษา

หลวงพ่อเส็งได้ศึกษาวิทยาคมมาจากหลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ และหลวงปู่สิงห์ วัดบ้านโนน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นที่เคารพของชาวบ้าน พุทธาคมของท่านเป็นที่เลื่องลือมาก ท่านมีวิชาโภคทรัพย์ เล่ากันว่าทุกครั้งที่ทางวัดประจันตคามจะมีงานหรือจำเป็นต้องหาทุนทรัพย์เพื่อบูรณะวัดวาอาราม หลวงพ่อเส็งไม่เคยบอกบุญที่ไหน แต่จะให้ลูกศิษย์นำเอาธงสีวลีไปปักไว้ที่ต้นพิกุลใหญ่ใกล้พระอุโบสถ จากนั้นท่านก็จะจุดธูปนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ แล้วท่านก็จะมาบริกรรมคาถาใต้ต้นพิกุล เมื่อธูปหมดท่านก็จะจุดธูปดอกใหม่อีก และเมื่อควันธูปลอยไปทางใดก็จะมีคนจากทิศนั้นแห่กันมาทำบุญถวายปัจจัยและสิ่งของเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีคนมาทำบุญแน่นทุกงานและมีปัจจัยและสิ่งของมาก่อสร้างจนสำเร็จทุกครั้ง

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเส็ง เป็นเหรียญที่ลูกศิษย์ของหลวงพ่อขออนุญาตสร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญวันเกิดของท่าน ในปี พ.ศ.2485 เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญทรงเสมา มีเนื้อทองแดง และเนื้อเงิน แต่เนื้อเงินมีจำนวนน้อยมาก เหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน ส่วนเหรียญอีกรุ่นที่มีผู้นิยมมากเช่นกันคือเหรียญโภคทรัพย์ เป็นเหรียญกลมรูปนางกวัก สร้างในปี พ.ศ.2499 เนื่องในงานปลูกต้นโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยา มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง (เนื้อเงินมีน้อยหายาก) เหรียญนี้เป็นเหรียญนิยมอีกเหรียญหนึ่งที่เสาะหากันมาก ผู้บูชาเหรียญโภคทรัพย์ต่างก็ทำมาค้าขายดีร่ำรวย ปัจจุบันหายากทั้ง 2 รุ่น สนนราคาสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก และเหรียญโภคทรัพย์ของหลวงปู่เส็ง วัดประจันตคามมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 กรกฎาคม 2562 16:23:26
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67002753333912_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระเนื้อผงวัดวิเวกวนาราม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้อธิษฐานจิตไว้ และเป็นพระเครื่องที่น่าใช้บูชามากอย่างหนึ่ง ของท่านเจ้าคุณนรฯ เจตนาการสร้างดีบริสุทธิ์ พระที่ผมกล่าวมานี้ก็คือพระผงวัดวิเวกวนาราม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ครับ

พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้ว พร้อมด้วยบุตรคือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่ ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้ เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านนั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียงก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตละก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถ และพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"

หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถเพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุสามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชายคือ นายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ด้วยในปี พ.ศ.2511 หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่า ผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวกต้องมาทางเรือเท่านั้น

เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหว จึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟัน มาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้าน เพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน พอถึงปลายๆ ปีพ.ศ.2512 นายแพทย์สุพจน์ ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่าน ก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์

เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้ว ได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์เป็นแบบพระสมเด็จก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั้นหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปีพ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุด จากกรุอยุธยา ผงซ่อนตัวของหลวงปู่จัน วัดท่าลาดชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธร ขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสมดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง

จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวการามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้น่าจะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด ปัจจุบันก็หายากแล้วครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระผงวัดวิเวกฯ พิมพ์ต่างๆ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30749009839362_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญเมตตาบารมี หลวงปู่สอ
หลวงปู่สอ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ยังดำรงชีวิตยืนยาว 114 ปี 6 แผ่นดิน

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ พระเกจิชื่อดังวิทยาคมเข้มขลัง ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ในฝั่งลาว

เป็นพระเกจิที่มีอายุยืนยาวรูปหนึ่งของภาคอีสาน ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงมาถึง 114 ปีแล้ว แต่สายตายังมองเห็นชัด หูได้ยินปกติ ฉันเนื้อปลา และกล้วยวันละ 1 ลูก

ในปี พ.ศ.2561 นายชินพงษ์ กุลยะ กับนายสุพัฒน์ มณีรัตน์ ลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นเมตตาบารมี วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะ รวมทั้งไว้เป็นกองทุนรักษาหลวงปู่ในยามอาพาธ

เหรียญดังกล่าว จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์เงินหน้าทองคำหลังนาก 29 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 299 เหรียญ เนื้อเงิน 399 เหรียญ เหรียญเกรียวเชือกเนื้อเงิน 114 เหรียญ เนื้อชนวนสอดไส้ทองทิพย์ 114 เหรียญ เนื้อชนวนมวลสาร 282 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 1,999 เหรียญ เนื้อทองฝาบาตร 1,999 เหรียญ เนื้อทองแดง 4,999 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อทองฝาบาตร, เนื้อทองฝาบาตรลงยาเขียวแดง, น้ำเงิน, น้ำเงินแดง, เนื้อตะกั่ว ชนิดละ 499 เหรียญ (ชุดกรรมการ) เนื้ออัลปาก้าไส้ทองทิพย์, เนื้อทองทิพย์ไส้อัลปาก้า แจกศูนย์จองและผู้มาร่วมพิธี 1,998 เหรียญ, เหรียญตัดเชือกเกลียวเนื้อทองแดงแจกในพิธี 999 เหรียญ และเหรียญนำฤกษ์เนื้อลงยา, ลายธงชาติ, ทองฝาบาตรลงยาอีก 15 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญอาร์ม หูเชื่อม

ด้านหน้ามีเส้นสันนูนรอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่หันหน้าไปทางขวา มีเกลียวเชือกล้อมรอบในวงกลมรูปไข่อีกชั้น ใต้รอบขอบเหรียญในวงกลมรูปไข่สลักคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก นอกวงกลมทรงไข่สลักอักขระ 4 ตัวกำกับไว้

ด้านหลังใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสือคำว่า เมตตา บารมี มีอักขระคั่นกลาง ถัดลงมามีอักขระยันต์ 2 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์พระพุทธเจ้าเมตตา ใต้อักขระสลักเลขไทย ๖๔๕ นัมเบอร์ของเหรียญ บรรทัดต่อมา สลัก อายุ 113 ปี ด้านข้างตอกโค้ด คล้าย ถุงเงิน บรรทัดสุดท้ายสลักตัวหนังสือคำว่า วัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ๒๕๖๑

เหรียญรุ่นนี้ เสก 2 วาระ จากนั้นให้หลวงปู่สออธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ที่ศาลาการเปรียญของวัด ระหว่างวันที่ 1-31 ส.ค.2561 นานเป็นเวลา 33 วัน มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน

แม้เป็นเหรียญใหม่ พุทธศิลป์ออกแบบลงตัวงดงาม เป็นเหรียญอีกรุ่นที่กำลังมาแรง
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75003780300418_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
รูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาที่หลวงปู่เอี่ยมวัดหนังได้สร้างไว้นั้น ส่วนใหญ่ที่รู้จักและนิยมกันมากจะเป็นพระเนื้อโลหะเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่เอี่ยมสร้างไว้เช่นกัน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักจึงพบเห็นกันน้อย เช่น พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก พระปิดตาพิมพ์สังฆาฏิ ทั้ง 2 พิมพ์นี้จะเป็นพระเนื้อผงคลุกรัก ส่วนที่เป็นเนื้อผงเลยก็มี เช่น พระปิดตาผงหัวบานเย็น

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น จะทำเป็นแบบพระปิดตาทวาร คล้ายๆ กับพระพิมพ์นะหัวเข่า (ครึ่งซีก) ว่ากันว่าหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นตั้งแต่ท่านยังอยู่ที่วัดโคนอนแล้ว สร้างแต่ละครั้งจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากผงหัวบานเย็นนั้นมีจำนวนจำกัด พอหลวงปู่ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนัง ก็ยังมีญาติโยมมาขอพระเนื้อผงหัวบานเย็นอีกเรื่อยๆ หลวงปู่จึงได้ปลูกต้นหัวบานเย็นอีกที่วัดหนัง การปลูกต้นว่านหัวบานเย็นนั้น หลวงปู่จะปลูกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 คือวันเข้าพรรษา น้ำที่ใช้รดต้นหัวบานเย็นนั้นหลวงปู่จะเสกน้ำที่ใช้รดทุกครั้ง ทำทุกวันจนถึงวันออกพรรษา หลวงปู่จึงจะให้ขุดเอาหัวมาล้างน้ำ แล้วจึงฝานเป็นแว่นบางๆ นำมาตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นก็นำมาบดจนเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงวิเศษ "นะปถมัง" ที่หลวงปู่ทำเอาไว้ในระหว่างพรรษา นำมาปั้นเป็นก้อนแล้วจึงนำไปกดพิมพ์ แล้วหลวงปู่ก็จะนำไปปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จึงนำมาแจกให้แก่ลูกศิษย์

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นมีการสร้างอยู่หลายครั้ง แต่ละครั้งสร้างได้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากหัวบานเย็นที่หลวงปู่ปลูกไว้มีจำนวนจำกัด จำนวนจึงไม่มากเท่ากับประเภทเนื้อโลหะ สีของพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นเท่าที่พบจะมีสีขาวหม่นๆ สีดำ และสีอมแดงก็มี แต่เนื้อสีขาวจะนิยมมากกว่า เข้าใจว่าสร้างในยุคแรกๆ น่าจะเป็นเนื้อผงสีขาว

พุทธคุณนั้น เด่นทางด้านคุ้มครองป้องกันภัย ทั้งแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม จะเห็นได้ว่าพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นนั้นดียอดเยี่ยมมาตั้งแต่เริ่มปลูกจนนำมาบดเป็นผงแล้ว อีกทั้งผงปถมังที่หลวงปู่เขียนเสกไว้อีก หลวงปู่จะปั้นเป็นแท่งดินสอเขียนไปเสกไปบนแผ่นกระดานชนวนลงทับลงถมซ้ำอีกหลายครั้ง จนสำเร็จผงปถมัง หลังจากทำเป็นองค์พระแล้วหลวงปู่ก็จะปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจึงแจกออกไป ผู้ที่ได้รับไปนั้นมีประสบการณ์มากมาย คนเฒ่าคนแก่แถบตลาดพลูทราบดี และหวงแหนพระปิดตาผงหัวบานเย็นมาก แต่จำนวนพระก็มีน้อย เท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์ คือ พิมพ์มีปีก และพิมพ์ตัดชิด

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยมคนจะรู้จักน้อย และหายาก ของปลอมมีมากและทำกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ครับ สำหรับราคาพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นจะไม่สูงเท่าประเภทเนื้อโลหะ แต่ก็หายาก คนรุ่นเก่าจะเก็บกันเงียบหมด องค์พระก็เล็กกะทัดรัด ขนาดกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม.

รูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นทั้ง 2 พิมพ์ แบบมีปีก และแบบตัดชิด
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99363775923848_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
รูปหล่อหลวงปู่สาธุ์
"หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิชื่อดังในพื้นที่และภาคอีสานสืบสายธรรมจากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย

มีนามเดิมว่า สาธุ์ สรรพสอน เกิดในปี พ.ศ.2421 ที่บ้านข่อย อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวอพยพมาปักหลักทำมาหากินอยู่ที่บ้านเหล่า

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านแก่นท้าว โดยมีพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัด ต่อมาขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระครูสีหราช บูรพาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมสายเขมร ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้มีความรู้ทางด้านอักขระโบราณเพิ่มขึ้นอีกแขนง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2515 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 72

หลังจากมรณภาพไปแล้ว เมื่อถึงวันที่ 19-20 มี.ค.ของทุกปี จะมีการจัดงานน้อมรำลึกถึง เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา

ดังเช่นเมื่อวันที่ 19-20 มี.ค.2562 วัดบ้านเหล่า พร้อมพุทธศาสนิกชนและคณะศิษยานุศิษย์ นำโดย พระอธิการบุญถม อภิวังโส รักษาการเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ได้จัดงานรำลึก 140 ปี ชาตกาล หลวงปู่สาธุ์

พร้อมกับจัดสร้างวัตถุมงคล รูปหล่อรูปเหมือน เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงบารมี และหาทุนทรัพย์สร้างอุโบสถวัดบ้านเหล่า ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

รูปหล่อรุ่นนี้ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สาธุ์ นั่งวิปัสสนาบนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม ที่ด้านล่างหน้าฐานมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม ด้านหลังที่ฐานเขียนว่า วัดบ้านเหล่า จ.มหาสารคาม บริเวณอังสะตอกโค้ดหมายเลขเรียงลำดับทุกองค์

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงินยวงสร้าง 100 องค์ เนื้อทองเหลือง สร้าง 200 องค์ ด้านพุทธคุณเด่นรอบด้าน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ศาลาสุขธัมโม วัดบ้านเหล่า พระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก, หลวงพ่อณรงค์ สาโม วัดมงคลนิมิต เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16279561734861_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินสนิมแดงของสุพรรณฯ นั้นมีอยู่มากมายหลายกรุ กรุที่มีสนิมแดงจัดสวยงามก็มีกรุบ้านหัวเกาะ ที่พบอยู่หลายพิมพ์ทั้งที่แบบพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพิมพ์ซุ้มปรางค์

จุดเด่นของพระกรุนี้ก็คือส่วนใหญ่จะมีสนิมแดงจับทั่วทั้งองค์พระ และสีของสนิมจะออกแดงจัด คนที่ชมชอบพระเนื้อชินสนิมแดงจะชอบเนื้อสนิมแบบนี้มาก ปัจจุบันพระกรุนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

บ้านหัวเกาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในอาณาบริเวณบ้านของนายฉั่ง มีเนินดินเตี้ยๆ อยู่เนินหนึ่ง และเนินดินนี้ก็มีทรายปะปนอยู่ ลูกของนายฉั่งตั้งใจจะขุดดินมาถมคอกม้า เมื่อขุดดินไปก็เจอแผ่นอิฐอยู่ประปราย ก็เกิดความสงสัย

เนื่องจากในจังหวัดสุพรรณฯ นั้นมักจะมีการพบพระที่บริเวณเนินดินที่มีทรายและแผ่นอิฐปนอยู่หลายแห่งหลายที่ วันรุ่งขึ้นจึงวางแผนการขุดในตอนกลางคืน ก็พบพระจริงๆ มีพระบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ศิลปะลพบุรีหนึ่งองค์ และพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงอยู่ในโอ่งจำนวนมาก จึงนำพระขึ้นมาเก็บไว้และทยอยนำไปให้เช่าในตลาดจนทางการรู้ข่าวจึงเข้าไปขุดสำรวจต่อ ก็พบแต่ไหเล็กๆ และหินบดยาเท่านั้น ส่วนพระเครื่องนั้นมีการขายต่อกันไปจนหมดแล้ว

พระกรุบ้านหัวเกาะเท่าที่พบมีแต่พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเท่านั้น มีพิมพ์ต่างๆ มากมาย เช่น พระร่วงยืนพิมพ์ยาว และพระร่วงยืนพิมพ์ต้อ พระร่วงนั่งปางมารวิชัย พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มปรางค์ เป็นต้น จำนวนพระที่พบมากที่สุดคือพระซุ้มนครโกษา และพระร่วงยืนพิมพ์ต้อ ส่วนพระร่วงยืนยาวและพระร่วงนั่งปางมารวิชัยมีจำนวนน้อย ยิ่งพระพิมพ์ซุ้มปรางค์นั้นพบเพียง 3 องค์เท่านั้น

เนื้อของพระร่วงกรุนี้เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และสนิมของพระกรุนี้จะมีไขขาวปกคลุมอยู่ไม่หนานัก เมื่อล้างไขขาวออก ก็จะพบสนิมแดงจัดทั่วทั้งองค์ มีทั้งแดงสด แดงอมน้ำตาล แดงอมส้ม พระบางองค์สนิมแดงกินเข้าไปจนแทบไม่มีเนื้อตะกั่วเหลืออยู่เลย พระแบบนี้จะเปราะแตกหักง่าย ในสมัยก่อนพระกรุนี้เขาจะล้างไขขาวออกจนเกือบหมดจนเห็นแต่สนิมแดง แล้วก็เอาสำลีปัดเบาๆ ก็จะขึ้นมันวาวสวยงาม

พระกรุบ้านหัวเกาะที่เราพบเห็นกันบ่อยก็จะเป็นพระร่วงพิมพ์ต้อ และพระพิมพ์ซุ้มนครโกษาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระร่วงนั่งทั้งพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัยนานๆ จะได้เห็นทีหนึ่ง เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยกว่ามาก ศิลปะของพระกรุนี้เป็นพระศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น (อู่ทองสุวรรณภูมิ) ที่มีอิทธิพลของศิลปะขอมปะปนอยู่

พุทธคุณของพระกรุนี้จะเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด มีประสบการณ์จากผู้ที่ห้อยบูชามากหลายราย ชาวสุพรรณฯ ทราบดี

วันนี้ผมได้นำรูปพระกรุบ้านหัวเกาะ พิมพ์พระร่วงยืนต้อ พระร่วงนั่งปางมารวิชัย และพระร่วงนั่งปางสมาธิ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39101594107018_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระสรงน้ำ วัดเทพศิรินทร์
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดเทพศิรินทร์กัน ก็คือพระสมเด็จสรงน้ำท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ญาณวรเถระ ในงานสรงน้ำเจ้าประคุณสมเด็จในปี พ.ศ.2484 วาระนี้ท่านพระธัมธัชมุนีได้ดำริจัดสร้างพระผงสมเด็จสรงน้ำขึ้น เพื่อแจกเป็นพระของขวัญแด่สัทธิวิหารริอันเตวาสิก และท่านที่คุ้นเคยให้ความเคารพนับถือที่มาร่วมทำบุญกุศล ฉลองชนมายุในครั้งนั้น

ในพิธีพุทธา ภิเษกพระผงสมเด็จสรงน้ำในครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้รับอาราธนาให้เป็นพระอาจารย์ร่วมเข้าพิธีปลุกเสกเป็นครั้งแรก ซึ่งท่านเจ้าคุณนรฯ หวังแสดงกตัญญุตาต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่าในการปลุกเสกครั้งนั้นท่านเจ้าคุณนรฯ ได้บริกรรมอธิษฐานจิตเนิ่นนานเป็นพิเศษ พระสมเด็จสรงน้ำ สร้างเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิ สถิตอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว ที่ด้านหลังมีอักขระขอมความว่า อะ อุ มะ หมายถึงพระรัตนตรัย คือแก้วสามประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อักขระบรรทัดสุดท้ายคือ พะ ฆะ อะ เป็นพระนามย่อของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

พระเดชพระคุณพระธัมธัชมุนีได้ขวนขวายหาผงที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้นว่า ผงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ผงพระวัดสามปลื้ม และไม้จันทน์แดง จันทน์หอม ได้นำไปให้คุณหมอชิต นภาสรรพ เจ้าของยานัตถุ์หมอมี ใช้เครื่องบดยาบดจนละเอียดแล้วนำไปผสมกับผงวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เมตตาลงอักขระโดยดินสอพองโบราณในห้องพระ แล้วลบใส่โถเอาไว้ นำมาผสมกับผงวิเศษต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังได้นำเส้นเกศาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผสมลงไปอีกด้วย

พระสมเด็จฯ สรงน้ำรุ่นแรกนี้ เป็นพระเนื้อผงขาวอมเหลือง ปรากฏมีคราบสีน้ำตาลจับอยู่บนผิวทั้งหน้าและหลังทั่วไป เนื่องจากพระทั้งหมดได้มีการนำองค์พระลงแช่ในน้ำย้อมแห(ยางมะเกลือ) เพื่อให้รักษาเนื้อพระ พระสมเด็จสรงน้ำรุ่นแรกนี้สร้างจำนวน 30,000 องค์ และยังมีพระคะแนนแบบสองหน้าอีก 500 องค์ พระรุ่นนี้ได้สร้างแจกในงานสรงน้ำของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมักเรียกขานกันว่า "พระสมเด็จสรงน้ำ"

นอกจากรุ่นนี้แล้วก็ยังมีการสร้างต่อมาอีกครั้งในคราวแจกสงครามเกาหลี ปี พ.ศ.2493 พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ทรงกราบเรียนพระธัมธัชมุนี เพื่อขอพระผงสมเด็จรุ่นสรงน้ำ เพื่อไปแจกแก่ทหารที่จะเดินทางไปสู่สมรภูมิในครั้งนั้น แต่พระสมเด็จสรงน้ำรุ่นแรกหมดเสียแล้ว จึงได้จัดสร้างขึ้นมาใหม่โดยใช้มวลสารและสิ่งผสมแบบเดิม สร้างขึ้นจำนวน 8,000 องค์ พระสมเด็จรุ่นเกาหลีนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ ก็ได้รับอาราธนาอีกเป็นครั้งที่ 2 และท่าน เจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้ปลุกเสกอยู่นานเป็นพิเศษเช่นเดิม โดยทำพิธีนั่งปลุกเสกอยู่องค์เดียวจนถึง 4 ทุ่มเศษ พระสมเด็จรุ่นเกาหลีนี้ ใช้พิมพ์เดียวกันกับรุ่นแรก ข้อแตกต่างอยู่ที่รุ่นเกาหลีไม่ได้แช่น้ำยาย้อมแห พระจะขาวผ่องไม่ปรากฏคราบสีน้ำตาลเช่นรุ่นแรกครับ

พระสมเด็จสรงน้ำในปัจจุบันหายากแล้วครับ พุทธคุณคุ้มครองป้องกันภัยทุกประการ และเมตตามหานิยม ความเจริญก้าวหน้า ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จสรงน้ำ รุ่นแรก วัดเทพศิรินทร์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25753388098544_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
เหรียญมังกรคู่ หลวงปู่สิริ
หลวงปู่สิริ สิริวัฒโน วัดตาล ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ปัจจุบันสิริอายุ 80 ปี พรรษา 58

นามเดิม สิริ แก้วกาญจน์ เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2484 ที่บ้านบางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 14 ปี นำไปบรรพชา และเมื่ออายุ 20 ปี พ.ศ.2504 เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดตาล โดยมีพระอริยธัชเถระ วัดสวนมะม่วง จ.ปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวัฑฒโน

นอกจากจะมุมานะศึกษาพระธรรมวินัย ยังให้ความสนใจด้านพุทธาคม จึงได้กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอริยธัชเถระ ซึ่งเป็นลูกศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ด้วยวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากในวันที่ 2 พ.ค.2562 เป็นวันคล้ายวันเกิด ครบรอบอายุ 80 ปี คณะศิษยานุศิษย์นำโดย "ก้องบารมีคุณแม่บุญเรือน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ รุ่นสิริสมบัติ"

เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบอายุ 80 ปี และนำรายได้ถวายเพื่อรักษาธาตุขันธ์ยามท่านเจ็บป่วย รวมทั้งใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ

เป็นเหรียญมีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียงด้านล่างเขียนว่าหลวงพ่อสิริ ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน และมีตัวเลข ๙ ที่ด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนว่า ที่ระลึกฉลองอายุวัฒนมงคล ๘๐ ปี รุ่นศิริสมบัติ ๒ พ.ค.๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้าง 19 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 199 เหรียญ เนื้อนวโลหะ สร้าง 499 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 9,999 เหรียญ เนื้อตะกั่ว ไม่ตัดปีก สร้าง 19 เหรียญ เนื้อตะกั่วหลังเรียบจาร สร้าง 9 เหรียญ เป็นต้น

โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัด พระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 12 พ.ค.2562 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่สิริ สิริวัฒโน วัดตาล จ.นนทบุรี, หลวงปู่ทองคำ สุวโจ อาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์, หลวงปู่อุดมทรัพย์ สำนักสงฆ์เวฬุวัน จ.ศรีสะเกษ, พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ์ ภัททจาโร) วัดจุฬามณี และพระครูไพศาลกิจจาภรณ์ (สุรเดช สุรเตโช) วัดจุฬามณี เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85545186367299_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
 เหรียญมังกรมหาเศรษฐี หลวงปู่ถนอม
พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12, 15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย หรือ พระครูสันธานพนมเขต วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ด้วยเป็นคนใฝ่รู้จึงไปร่ำเรียนสรรพวิชา และเวทมนตร์คาถาต่างๆ จากหลวงปู่สนธิ์ นาน 7 ปีจนช่ำชอง

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในเดือน เม.ย.2562 คณะลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่นมังกรมหาเศรษฐี

วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยจัดซื้อที่ดินหน้าวัดเป็นธรณีสงฆ์ และบำรุงเสนาสนะ

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 9 เหรียญ (รวมชุดเนื้อชนวนปลอกลูกปืน) เนื้อเงินบริสุทธิ์ 80 เหรียญ เนื้ออัลปาก้าลงยาลายธงธาติ, เนื้อทองทิพย์ลงยาแดง, ฟ้า, เขียว ชนิดละ 333 เหรียญ และเนื้อทองฝาบาตร 555 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีพระกริ่งรุ่นแรก เนื้อทองคำ, เนื้อเงินบริสุทธิ์, เนื้อทองวาสนา 1,107 องค์ และพระยอดขุนพล ผงโสฬสมหาพรหม นำฤกษ์, เนื้อผงดำ และเนื้อสีชานหมาก 1,209 องค์

ด้านหน้า รูปทรงคล้ายหน้ามังกร หูเชื่อม รอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า มีลายคล้ายเชือกเกลียวล้อมรอบ ใต้หูเชื่อมมีสัญลักษณ์เสมาธรรมจักร ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างขอบเหรียญทั้งสองข้างมีรูปมังกรเกี้ยวหางขดโค้ง อยู่ใต้จีวร

ด้านหลัง มีเส้นสันนูนหนาตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า มหาเศรษฐี ถัดลงมามีอักขระนับได้ 7 บรรทัด ใต้อักขระยันต์สลักคำว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร บรรทัดถัดมาสลักคำว่า วัดขามเตี้ยใหญ่ จ.นครพนม ส่วนบรรทัดสุดท้ายสลักตัวเลขไทย ๒๕๖๒ บริเวณอักขระบรรทัดที่ 3-4 มุมซ้ายตอกโค้ดตัว ถ (ถนอมทรัพย์) และอักษรย่อชื่อหลวงปู่ ส่วนที่บริเวณอักขระบรรทัดสุดท้ายมุมขวา ตอกโค้ดเป็นอักษรภาษาจีนอ่านว่า ฟู่ หมายถึงร่ำรวย

เหรียญรุ่นดังกล่าว ปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะปลุกเสกน้ำพุทธมนต์เป็นทักษิณาวัตร สักพักหมุนกลับเป็นอุตราวัตร

สร้างความฮือฮาให้วงการพอสมควร
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์

n.21-5


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 กรกฎาคม 2562 10:48:19

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59212118428614_view_resizing_imagesQSVQ86D3_3.jpg)
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรนั้นเป็นที่นิยมมากมีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบยืนและแบบนั่ง

โดยเฉพาะพระเครื่องที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีเอกลักษณ์ของเนื้อที่หนึกนุ่ม พิมพ์ของพระก็สวยงามศิลปะแบบสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พระเครื่องแบบหนึ่งคือพระซุ้มกอในภายหลังได้รับการจัดชุดให้อยู่ในพระชุดเบญจภาคี ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากเสนอราคาก็สูงมากเช่นกัน กำแพงซุ้มกอเป็นพระเครื่องที่ค้นพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี พบอยู่หลายกรุ และมีแบบพิมพ์ต่างๆ กันไปคือ

กำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มี 2 แบบ คือพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่แบบมีกระหนก และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่แบบไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พิมพ์กำแพงซุ้มกอ พิมพ์เล็กและพิมพ์ขนมเปี๊ยะ พระกำแพงซุ้มกอ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาและเป็นเนื้อที่นิยมที่สุด ส่วนที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีบ้างแต่พบน้อยมากเพราะผุกร่อนชำรุดเสียตั้งแต่อยู่ในกรุ นอกจากนี้ตามบันทึกก็ยังพบที่เป็น เนื้อว่านอีกด้วย แต่ก็แทบไม่พบเห็นเลยในปัจุบัน

เนื่องจากเข้าใจว่าพระส่วนใหญ่ถูกทำลายสูญหายไปเสียหมดเนื่องจากพระของกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อว่านนั้นมักจะมีแผ่นเงินแผ่นทองหุ้มไว้ด้านหน้าของพระเมื่อตอนที่ขุดพบนั้นผู้ขุดจะลอกเอาแผ่นเงินแผ่นทองออกไปขายเสียจึงทำให้องค์พระชำรุดแตกหักไปเสียหมด

ที่สันนิษฐานว่ามีพระว่านหน้าทองนั้นก็เนื่องจากมีการพบลานทองจารึกไว้ว่ามีพระว่านหน้าเงินหน้าทองอยู่ด้วย แต่ก็แทบไม่พบเห็นกันเลย ส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบแทบทั้งสิ้น ที่เคยพบพระนางกำแพง และพระลีลาเม็ดขนุนที่เป็นเนื้อว่านนั้นเคยพบ แต่หน้าทองนั้นถูกลอกออกหมดแล้ว เอาเป็นว่าพระว่านหน้าเงินหน้าทองก็มี แต่คงหาพระแท้ๆ ยาก โดยส่วนใหญ่สังคมพระเครื่องให้ความสนใจเฉพาะพระเนื้อดินเผา ซึ่งก็หายากเช่นกัน

พระกำแพงซุ้มกอไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็หายากทั้งสิ้น และก็มีราคาสูงทุกพิมพ์ ยิ่งถ้าเป็นพระพิมพ์ใหญ่แล้วสวยๆ มูลค่ารับรองราคาหลักล้านครับ พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระปางสมาธิ รูปทรงกรอบภายนอกนั้นเขาตัดขอบโค้งตามซุ้ม มองดูคล้ายตัวอักษรกอไก่ จึงมีชื่อเรียกกันมาอย่างนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนจะแยกเป็นพิมพ์อะไร ใหญ่ กลาง ขนมเปี๊ยะ หรือไม่มีกระหนกก็ว่ากันไปตามรายละเอียดและขนาดเป็นหลักพิมพ์เล็กที่มีปีกเป็นขอบกลมๆ คล้ายรูปขนมเปี๊ยะก็เรียกกันว่าพิมพ์ขนมเปี๊ยะไปเลย

พระกำแพงซุ้มกอหรือไม่ว่าจะเป็นพระอะไรที่สร้างโดยแม่พิมพ์ก็ต้องพิจารณารายละเอียดของแม่พิมพ์ทั้งสิ้น เพราะเป็นพระเกิดขึ้นจากแม่พิมพ์ที่ว่าไม่ต้องไปดูพิมพ์นั้นก็เป็นการเข้าป่าเข้ารกพงเสียตั้งแต่เริ่มต้น หลักการของการพิจารณาพระเครื่อง(พระพิมพ์) นั้น เมื่อเข้าสร้างโดยใช้แม่พิมพ์กดขึ้นพิมพ์แล้วไม่ต้องจำหรือสนใจแม่พิมพ์ก็เพี้ยนตั้งแต่เริ่ม เพราะสิ่งแรกที่ต้องศึกษาและพิจารณานั่นก็คือแม่พิมพ์ พระหรือสิ่งของอะไรก็ได้ที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็จะต้องมีรายละเอียดเหมือนกันหมด

การศึกษาเรื่องพระเครื่องนั้น แม่พิมพ์เป็นสิ่งแรกที่ต้องศึกษา ต่อมาก็ต้องศึกษาขบวนการผลิต ก็จะมีเนื้อวัสดุที่เขานำมาทำกรรมวิธีต่างๆของการผลิต เช่น พระเนื้อดินเผา ก็ต้องศึกษาให้รู้ว่า เขาเผาด้วยกรรมวิธีใด เผาไฟแก่ ไฟอ่อน ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไร ก็ศึกษาดูซิว่า พระในกรุเดียวกันยุคเดียวกัน บริเวณใกล้ๆ กันเขามีเนื้อหาผิวพระคล้ายๆ กันหรือไม่ แล้วก็ศึกษาให้รู้ว่าการเผาไฟแบบต่างๆ นั้นจะให้ผลผลิตออกมาแบบใดบ้าง ธรรมชาติของการผลิตก็ต้องดูเช่น ด้านหน้าด้านหลังของขอบ จะปรากฏร่องรอยธรรมชาติให้เห็นว่าในสมัยนั้นๆเขาสร้างอย่างไรก็จะทิ้งร่องรอยให้เห็นสิ่งเหล่านี้ที่สำคัญทั้งสิ้นทั้งการศึกษาก็ต้องเคยเห็นพระแบบเดียวกันหลายๆ องค์ ก็จะเข้าใจ ได้ต่อมาก็เรื่องธรรมชาติความเก่า หมายถึง อายุของพระ ซึ่งก็มีการศึกษาไว้มากมายทั้งของทางกรมศิลปากรเองหรือที่อื่นๆ ดูซิว่าจะประมาณการสร้างอยู่ในยุคใด ประมาณปี พ.ศ.ที่สร้าง ก็จะรู้ถึงอายุของพระเครื่องนั้นๆ สภาพกายวิภาคของกรุที่พบพระ เช่นสภาพของกรุสมบูรณ์หรือผุพังแค่ไหน สภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นหน้าน้ำน้ำท่วมไหมหรืออยู่ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง

สิ่งเหล่านี้นำมาประมวลดูว่าความเสื่อมของวัสดุที่นำมาสร้างนั้นจะต้องเสื่อมโทรมตามธรรมชาติอย่างไร ถ้าจะพูดถึงบริเวณทุ่งเศรษฐีแล้ว สภาพภูมิประเทศในสมัยก่อนนั้นเป็นทุ่ง ซึ่งเมื่อเวลาหน้าน้ำหลาก น้ำก็จะท่วมไหลผ่านไปลงแม่น้ำปิง คนในสมัยก่อนเขาเรียกที่นาบริเวณนี้ว่านาน้ำลาด หมายถึงเวลาหน้าน้ำหลากมากๆ ก็จะถูกน้ำท่วมผ่านไป

พื้นดินบริเวณนี้ก็จะมีดินตะกอนทับถมกัน ดินก็จะค่อนข้างละเอียด ในสมัยโบราณที่จะสร้างพระสันนิษฐานว่าเขาก็เอาดินที่บริเวณใกล้ๆ วัดนั่นแหละมานวดกดพิมพ์พระ เรื่องธรรมชาติของดินบริเวณกรุนั้นถ้าศึกษาดูก็จะได้ความรู้อีกอย่างคือ ดินกรุที่จับอยู่ที่ผิวพระที่เรียกว่าดินกรุนั้นไปด้วย

ต่อมาก็จะเห็นว่า ทำไมพระกำแพงกรุบริเวณทุ่งเศรษฐีมักจะมีราดำจับอยู่ ก็อย่างที่บอกสภาพภูมิศาสตร์นั้นมีน้ำท่วมถึงในหน้าน้ำหลาก ภายในกรุก็มีความชื้นก่อให้เกิดเชื้อรา เมื่อถึงหน้าแล้ง ความร้อนและแห้งก็ทำให้ราแห้งตาย เป็นแบบนี้ทับถมกันมาตามกาลเวลา จึงปรากฏคราบดำๆ ที่เราเห็นอยู่บนผิวพระกรุทุ่งเศรษฐี ทุกอย่างมีเหตุผลจึงนำมาเป็นสิ่งพิจารณาความแท้-เก๊ ส่วนพระในจังหวัดเดียวกันที่อยู่ทางฝั่งตัวจังหวัด มักจะเป็นที่ดอน ผิวดินก็เป็นดินปนทรายคนละแบบกับฝั่งทุ่งเศรษฐี การศึกษาผิวและเนื้อพระดินเผาของทั้ง 2 ฝั่งก็จะต่างกัน แม้แต่พระเนื้อชินเงินของทั้ง 2 ฝั่ง ผิวของพระก็แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศเช่นกัน แม้จะสร้างในยุคสมัยเดียวกันก็ตาม

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนกนั้นก็ต้องศึกษาลวดลายของกระหนก เส้นสายต่างๆ ให้ดีจำให้ได้ กลีบบัวแต่ละกลีบ องค์พระซอกลึกตื้นต่างๆ จำให้แม่น เพราะพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกันย่อมต้องมีรายละเอียดที่เหมือนกัน มีมิติเหมือนกัน ผิดกันไม่ได้ถ้าผิดก็คือเก๊ ไม่ต้องไปดูเนื้อดูธรรมชาติความเก่าต่อไปให้เสียเวลา บางคนบอกว่าให้ศึกษาธรรมชาติความเก่าอย่างเดียวพอ ก็บอกได้เลยว่า การศึกษาธรรมชาติความเก่านั้นยากที่สุด การศึกษาเรื่องแม่พิมพ์นั้นง่ายที่สุด รองลงมาก็คือเนื้อวัสดุ ยากที่สุดคือธรรมชาติความเก่า ธรรมชาติความเก่า คือความเสื่อมสภาพตามอายุขัยและสภาพแวดล้อม ไม่ใช่พระที่สกปรกมีขี้ดินติด

เรื่องคราบราดำก็เช่นกัน คราบแท้หรือคราบเก๊ ของปลอมเขาก็ทำได้นะ แต่ถ้าศึกษาจนเข้าใจก็จะแยกได้หรือการที่จะสามารถแยกเก๊-แท้ได้นั้นก็ต้องใช้การศึกษาฝึกฝนจนชำนาญ ขอยกตัวอย่างเช่นไม่ใช่ศึกษาเนื้อพระดินเผา โดยศึกษาแต่เนื้ออย่างเดียวแล้วจะเป็น ดูพระเสียได้ทั้งหมด ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น พระแต่ละพิมพ์แต่ละอย่างก็ต้องศึกษาทีละอย่างจนเข้าใจ จึงจะเป็นผู้ที่แยกแท้-เก๊ได้ เขาจึงเรียกว่าผู้ชำนาญการเนื่องจากต้องใช้การฝึกฝนอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นเป็นตอนจนเชี่ยวชาญเท่านั้น

บางคนแย้งว่าพระแต่ละอย่างสร้างตั้งเยอะตั้งแยะมีแม่พิมพ์ตัวเดียวจะทำได้อย่างไรผมเคยพูดเรื่องนี้มาแล้วว่าเขาทำอย่างไร ยังคงไม่พูดถึงอีกนะเจ็บคอ ลองไปศึกษาดู ตัวแม่พิมพ์พระที่กรมศิลปากรเขาขุดได้ในกรุต่างๆ จึงรู้และเข้าใจศึกษากันต่อมาว่าเขาทำแม่พิมพ์กันอย่างไรในสมัยโบราณ ว่าจะพูดแต่พระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็เลยไปเยอะ เนื่องจากเห็นว่ามีการพูดถึงการพิจารณาพระเครื่องไม่ต้องดูแม่พิมพ์ก็เลยพูดซะหน่อย ครับวันนี้ก็เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับและผมก็ได้นำรูปพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนกมาให้ชมครับ สังเกตรายละเอียดแม่พิมพ์และมิติดูนะครับ ถ้าไม่ใช่แบบนี้ ก็ไม่มีมูลค่ารองรับครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26108033334215_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องพระกริ่งกันอีกซักองค์ครับ คือพระกริ่งของหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี ซึ่งพระของท่านนั้นเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดา-มารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร

ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นท่านก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิมที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างๆ ชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ออกหนังสือแต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ ท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลท่านก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้ว จนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง รุ่นแรกสร้างราวปี พ.ศ.2490 เป็นพระสร้างแบบหล่อโบราณ ก้นอุดผงและสีผึ้งปัจจุบันหายาก จึงนำรูปมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67208199285798_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
รูปหล่อเบ้าทุบ หลวงปู่แสง
พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

ต่อมากลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์, หลวงปู่มั่น, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่แสง มีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

เนื่องจากมีอายุ 108 ปี คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "เอ้ พัทยา" มีโครงการหาปัจจัยเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อเบ้าทุบ รุ่นแรก สรงน้ำ 62" เพื่อหาปัจจัยสมทบเข้ากองทุน

วัตถุมงคลรุ่นนี้ พุทธศิลป์สวยงาม ออกแบบเป็นรูปหลวงปู่แสงนั่งท่ากัมมัฏฐานบนฐานภูเขา ที่ฐานด้านหน้าเขียนว่า หลวงปู่แสง

ด้านหลังมีตัวอักษรเขียนที่ฐานว่า สรงน้ำ ๖๒ ที่ใต้ก้นพระอุดด้วยวัตถุมงคลหลายอย่าง อาทิ จีวร ผ้าประคด อังสะ เกศา เล็บ ใบลานจารอักขระ พระหลวงปู่ทวด ปี 2506 วัดประสาทฯ ว่านยาและแผ่นทองคำหลวงปู่บุญหลาย เป็นต้น

จำนวนการสร้าง เนื้อทองคำ 11 องค์ เนื้อเงิน 199 องค์ เนื้อนวะ 399 องค์ เนื้อเทาหล่อดินไทย 199 องค์ เป็นต้น

ใช้กรรมวิธีหล่อแบบเบ้าทุบโบราณ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ คือ วันที่ 18 ก.พ. วันที่ 4 มี.ค. และวันที่ 12 เม.ย.2562 พระเกจิที่อธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่บุญหลาย จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่พรชัย จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่สี จ.มุกดาหาร เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16722940819130_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญมังกรฯ หลวงพ่อตี๋
พระครูอุทัยบวรกิจ หรือ หลวงพ่อตี๋ ปวโร เจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง พระเกจิดังต้นตำรับยันต์พลิกชะตาและยันต์โสฬสมงคล

ปัจจุบัน สิริอายุ 75 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า เหลียงเช็ง แซ่เซียว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ธ.ค.2487 ที่บ้านคลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 15 ปี บรรพชาที่วัดสะพานสูง โดยมี เจ้าคุณกุหลาบ วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมกับ หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นาน 5 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุ 36 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดท่าเกวียน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2523 มีเจ้าอธิการอำนวย อติเมโธ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อีกครั้ง เขียนอักขระขอม การลงยันต์นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล จนมีความชำนาญ

พ.ศ.2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส พระเกจิดังเมืองอุทัยธานี

ด้านวัตถุมงคลหลวงพ่อตี๋ จัดสร้างเป็นครั้งคราว แต่ทุกรุ่นได้รับความนิยมจากสาธุชนทั่วไปยิ่ง ท่านเคยปรารภว่า "ของดีไม่ต้องโฆษณา ถ้าเขาศรัทธาก็มาหาเอง"

การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ส่วนใหญ่ท่านใช้ยันต์ นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล เป็นหลัก และที่สำคัญท่านเป็นเจ้าตำรับยันต์พลิกชะตา ที่ทำให้เหตุร้ายกลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์

พ.ศ.2560 หลวงพ่อตี๋ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ย้ายไปเป็นพระลูกวัด วัดดอนเนรมิต อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

และปี พ.ศ.2561 ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์ รุ่นแรก" หารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุวัดดอนเนรมิต

ลักษณะเป็นเหรียญ หูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน หลวงพ่อตี๋ ครึ่งองค์ ด้านข้างทั้งสอง เป็นรูปมังกรคู่ เหนือศีรษะมีรูปนูน "กงจักร"

ส่วนด้านหลัง มีขอบรอบ ตรงกลางเป็น "ยันต์ นะ 16 พระองค์" หรือ "ยันต์ พลิกชะตา" เหนือยันต์มีอักษรไทย "มั่งมีศรีสุข" ใต้ยันต์มีอักษรไทย "พระครูอุทัยบวรกิจ (หลวงปู่ตี๋ ปวโร) วัดดอนเนรมิต จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน, หลวงพ่อจักษ์ วัดชุ้ง, หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม, หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก, หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ, หลวงพ่อชู วัดทัพชุมพล, พระอาจารย์เดี่ยว วัดอินทราราม และหลวงพ่อตี๋ วัดดอนเนรมิต
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39428988140490_view_resizing_imagesFWVLWQA8_3.jpg)
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของเมืองสมุทรสงคราม รูปหนึ่งคือหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคม ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระเกจิอาจารย์ก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากหลายรูป เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ เป็นต้น

ประวัติของหลวงพ่อตาด ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นทางการแต่ก็มีการถ่ายทอดโดยการบอกเล่าต่อๆ กันมา ดังนั้นชีวประวัติของท่านจึงไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ หลวง อตาดเป็นชาวเบิกไพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี บริบูรณ์ ที่วัดบ้านเกิดของท่าน หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เรียนพระธรรมวินัย ท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ จนจบ แล้วก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ และวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์จนกล้าแกร่ง จึงได้ออกธุดงค์ ได้ศึกษาวิชาต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ท่านพบในป่ามากมาย ท่านธุดงค์อยู่หลายพรรษา จนมาถึงแม่น้ำแม่กลอง มุ่งเข้ามาทางแคล้วอ้อม มาหยุดพักจำพรรษาอยู่วัดบางวันทอง ในปีพ.ศ.2438 ซึ่งวัดบางวันทองเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร เนื่องจากเป็นวัดร้างรกรุงรัง เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านผู้คนมาอาศัยอยู่มากนัก ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางวันทองจนเจริญรุ่งเรืองกลับมาอีกครั้ง

เมื่อหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงพ่อตาดก็จะออกธุดงค์อยู่เสมอ ได้ไปเจอสมุนไพรต่างๆ มากมาย ก็นำกลับมาไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นยาแผนโบราณช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ที่มาให้ท่านรักษาโรคให้ ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ มาหา ท่านก็ยินดีช่วยเหลือปัดเป่าให้คลายทุกข์ร้อนไปได้เสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้แก่ชาวบ้านมากมาย แม้ในจังหวัดใกล้เคียงก็ยังพาบุตรหลานมาบวชกับท่าน หลวงพ่อตาด มรณภาพในปี พ.ศ.2459 ด้วยโรคชรา คณะศิษย์และประชาชนจึงได้ปรึกษากันว่าจะตั้งศพของท่านไว้ที่กุฏิ เพื่อบำเพ็ญกุศลถวายจนครบ 1 ปี แล้วจะได้ถวายเพลิงท่าน

ศิษย์ผู้หนึ่งชื่อ นายพุก ได้ร่วมปรึกษากับศิษย์คนอื่นๆ พร้อมใจกันทำเหรียญรูปท่านเพื่อไว้เป็นที่ระลึก ในงานถวายเพลิงของท่าน โดยมีนายพุกเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ และบุตรช่วยกันสร้าง มีทั้งหมดประมาณ 1,200 เหรียญ มีสามชนิด เนื้อทองคำประมาณ 50 เหรียญ สำหรับผู้สั่งจอง เนื้อเงินประมาณ 200 เหรียญ นอกนั้นเป็นเหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จได้ให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสก ได้แก่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ หลวงพ่อคง วัดแก้วเจริญ หลวงพ่อปลั่ง วัดเพลง หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นต้น ปัจจุบันนับว่าเหรียญของท่านหาดูได้ยากครับ นับว่าเป็นเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของแม่กลอง วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมครับ  
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96398945649464_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระท่ามะปรางกำแพงเพชร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางเป็นพระเครื่องที่มีสร้างอยู่หลายจังหวัด หลายวัด หลายกรุ และเป็นพระเครื่องแบบเดียว ที่มีการสร้างไว้มากมายหลายวัด หลายจังหวัด พิมพ์ของพระก็มีเอกลักษณ์ของแต่ละกรุ แต่ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ประทับบนฐานกลีบบัวเล็บช้าง

พระท่ามะปรางตามที่เราเห็นนั้นของจังหวัดพิษณุโลกมีการพบก่อนกรุอื่นๆ และมีอยู่หลายวัด เช่น กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) กรุเจดีย์ยอดทอง กรุวัดสะตือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุวัดอรัญญิก สุโขทัย พบที่กรุวัดเจดีย์สูง กรุวัดเขาพนมเพลิง สุพรรณบุรี พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และกรุวัดสำปะซิว ที่จังหวัดกำแพงเพชรพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย วัดกะโลทัย เป็นต้น มีการพบทั้งที่เป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อดินเผา พระท่ามะปรางทุกกรุเป็นพระที่นิยมทั้งสิ้น บางกรุก็นิยมเนื้อดินเผามากกว่า บางกรุก็นิยมเนื้อชินเงินมากกว่า

พระท่ามะปรางค์ที่เราพบอยู่หลายจังหวัดและหลายกรุนั้น สันนิษฐานว่าในสมัยสุโขทัยพระพิมพ์นี้คงจะเป็นพระที่มีความนิยมมากจึงมีการสร้างบรรจุไว้หลายที่ หลายจังหวัด พระท่ามะปรางของจังหวัดกำแพงเพชรก็มีพบทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่จะนิยมเนื้อชินเงินมากกว่า ศิลปะของพระท่ามะปรางจังหวัดกำแพงเพชรจะได้รับคำยกย่องว่างดงามมาก ในสมัยก่อนจะหวงแหนกันมาก เชื่อว่าพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด

ปัจุบันพระท่ามะปรางของจังหวัดกำแพงเพชรหายากมาก ของปลอมก็มีกันมานานแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ต้องสังเกตรายระเอียดแม่พิมพ์ให้ดี เพราะพระปลอมยังทำรายระเอียดแม่พิมพ์ได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องเนื้อพระคราบสนิม และผิวของพระปลอมก็ยังมีพิรุธอยู่มาก เพียงศึกษาให้ดีและไม่ประมาทก็ยังจะพอจับได้อยู่ครับ

การพิจารณาพระเครื่องในปัจจุบันต้องละเอียดถี่ถ้วน เพราะคนที่ทำพระปลอมนั้นเขาก็พัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อยๆ ละเลยสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย การพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือไม่ใช่ สิ่งแรกที่ตาเห็นสัมผัสได้ก็คือพิมพ์นี่แหละครับ ถ้าข้อแรกไม่ผ่านก็ไม่ต้องไปดูอะไรให้เสียเวลาครับ ข้อต่อไปก็ต้องดูเนื้อวัสดุที่นำมาสร้างพระ เช่นเนื้อชินเงินกรุนั้นกรุนี้มีเอกลักษณ์อย่างไร ผิวพระเป็นอย่างไร คราบกรุรวมทั้งสนิม ด้านหลังเป็นอย่างไร ขอบเป็นอย่างไร ความเก่าถูกต้องหรือไม่ ทุกอย่างต้องถูกต้องทั้งหมด ถึงจะใช่ ละเลยไม่ได้เลยครับ คนที่ทำพระปลอมเขาก็พยายามทุกอย่างที่จะหลอกเราให้ได้ เพราะถ้าหลอกเราไม่ได้เขาก็ไม่ได้เงิน

ดังนั้นเขาก็พยายามให้ใกล้เคียงมากที่สุด แต่ทำอย่างไรก็ไม่เหมือนของแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ครับ เพราะกรรมวิธีการสร้าง ธรรมชาติความเก่าและแม่พิมพ์ที่เขาทำใหม่หรือถอดพิมพ์ออกมายังไงก็เป็นของปลอมอยู่ดี ทำได้เพียงใกล้เคียง เราก็ต้องศึกษารายละเอียดให้ถูกต้องแม่นยำ จำให้ได้ เพราะหลักสำคัญข้อแรกก็คือพิมพ์ของพระ ของแท้พิสูจน์ไม่ยากแค่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลค่ารองรับก็คงตัดสินใจเอาเองนะครับ เลือกชื้อเอาตามความพอใจของเราเองเป็นสิทธิ์ของเรา แต่ก็ต้องยอมรับกติกาของสังคมด้วยนะครับ ปัจจุบันมักมีการสร้างนิทาน(story) ประกอบเป็นเรื่องเป็นราว ความจริงนิทานพวกนี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว จะเล่นพระที่มีมูลค่ารองรับหรือเล่นพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับชอบแบบไหนก็เลือกเอาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระท่ามะปราง กำแพงเพชร เนื้อชินเงินแท้ๆ ที่มีมูลค่ารองรับ จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 กรกฎาคม 2562 10:58:47

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19017474518881_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
เล่นพระคนละตำรา
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ความเชื่อความศรัทธานั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของบุคคลนั้นๆ ในหัวข้อเล่นพระคนละตำราที่ผมขึ้นหัวข้อไว้ก็จะกล่าวถึงความเชื่อว่าพระนั้นๆ แบบนี้เป็นพระแท้ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งก็มีมานานแล้ว ซึ่งก็เป็นธรรมดาในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต่างก็มีกลุ่มของตนเองบ้าง คิดเห็นอยู่คนเดียวบ้างก็ว่ากันไปซุบซิบนินทากันบ้างก็อยู่เงียบๆ เพียงกลุ่มของตน มาในยุคปัจจุบัน การสื่อสารไร้พรมแดน เรื่องซุบซิบก็ดังขึ้นมาหลากหลายความคิดเห็น แต่ถ้าเรื่องความเชื่อของแต่ละคนและตนยอมรับ และไม่โวยวายด่าว่าคนอื่นๆ หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ในปัจจุบันเรื่องพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงๆ เช่น พระยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเบญจภาคี พระเนื้อชินยอดนิยม พระกริ่งยอดนิยม พระเหรียญคณาจารย์ยอดนิยม พระผงยอดนิยม พระเนื้อดินยอดนิยม พระรูปเหมือนยอดนิยม ฯลฯ พระต่างๆ เหล่านี้ต่างก็มีราคาสูงมีคนต้องการอยู่มาก และก็เป็นธรรมดาก็มีคนที่เล่นหาต่างตำรากัน มีความเชื่อในการพิจารณาต่างกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระชุดเบญจภาคีก็มีผู้ที่มีความคิดเห็นในการพิจารณาต่างกัน ยิ่งพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านได้สร้างไว้ก็มีความคิดเห็นต่างกันมากมาย บ้างก็อ้างตำราที่ตนเชื่อหรือค้นคว้าหามาได้ บ้างก็อ้างวิทยาศาสตร์หาค่าความเก่าของวัตถุที่ตนเองอ้างอิง บ้างก็ใช้น้ำยามาพิสูจน์ บ้างก็จับพลังนั่งทางใน ก็ว่ากันไปตามความเชื่อของตน จริงไม่จริงก็ว่ากันไปตามกลุ่มของตน ปัจจุบันมีการจับกลุ่มกันเป็นเรื่องเป็นราวเป็นชมรม ก็ว่ากันไม่ได้เพราะเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลที่จะเลือกเชื่อ

ทีนี้ในสังคมพระเครื่องนั้นก็มีกลุ่มของผู้ที่เล่นหาเชื่อกันต่อมาตามผู้หลักผู้ใหญ่ที่เล่นหากันมาแต่อดีต โดยมีมูลค่าราคารองรับมีตำราอ้างอิงของเขา ซึ่งกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มใหญ่และเล่นหามีหลักเหมือนๆ กันมายาวนาน และมูลค่าก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพระสมเด็จที่เชื่อว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตสร้างไว้มีอยู่แค่ 3 วัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม วัดไชโยฯ มีรูปแบบของพิมพ์ตามที่กำหนด เนื้อหาตามที่กำหนด

ตามหลักฐานตำราบันทึกที่เขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ว่าแบบนี้จริง พระตามรูปแบบนี้ก็มีมูลค่ารองรับ และก็มีหลงเหลืออยู่น้อย มูลค่าก็สูงขึ้นตามกาลเวลา ยิ่งปัจจุบันก็สูงมากๆ แม้มีเงินเช่าก็ไม่แน่ บางครั้งก็ยังหาที่ถูกต้องตามหลักของสังคมกลุ่มนี้ไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกมากมายหลายกลุ่ม โดยส่วนใหญ่ก็จะมีตำราความเชื่อแตกต่างจากกลุ่มแรกที่เล่นมีมูลค่ารองรับ ก็แล้วแต่การค้นคว้าของแต่ละกลุ่ม บ้างก็เล่นหาพระสมเด็จพิมพ์แปลกๆ อ้างว่าเป็นพระพิมพ์พิเศษ บ้างก็มีสมเด็จฝังเพชรพลอย บ้างก็มีฝังก้างปลา โดยอ้างว่าเจ้าประคุณสมเด็จฉันอาหารแล้วเกิดรู้สึกอร่อย ก็จะคายทิ้ง เช่น ปลาก็คายเอาก้างปลามาฝังไว้ที่ด้านหลังพระสมเด็จ เป็นต้น ด้านหลังมีอักษรเขียนว่า ขรัวโตบ้าง อะไรต่างๆ เหล่านี้ แบบที่เป็นพระสมเด็จธรรมดาๆ แต่แบบพิมพ์แตกต่างจากกลุ่มที่เล่นหามีมูลค่ารองรับอีกก็มาก มีการทำหนังสือเป็นตำราเผยแพร่ก็มี ก็ว่ากันไปต่างๆ นานา แบบที่จับพลังนั่งทางในว่าแท้หรือไม่ มีพลังหรือไม่สร้างเมื่อไรก็มีอีก ก็ว่ากันไปตามความเชื่อของแต่ละบุคคลไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ทีนี้ก็มีบางกลุ่มที่เล่นหาตามตำราความเชื่อของตน นำพระสมเด็จหรือพระเครื่องของตนมาให้กลุ่มที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับเช่าหา พูดง่ายๆ ก็คือนำมาขายนั่นแหละแล้วเขาไม่เช่าไว้ ก็เกิดความไม่พอใจ ก็ออกมาตำหนิว่ากล่าวต่างๆ ในสังคมโซเชี่ยล ว่าพระคนอื่นเก๊ทั้งหมด พระของพวกมันแท้

อ้าวก็เขาไม่เช่าหรือไม่ซื้อก็เป็นสิทธิ์ของเขา เงินของเขาจะว่ากันได้อย่างไร ก็เขาเชื่อและเล่นหาตามหลักของเขา ถ้าเชื่อว่าของเราดีแท้ก็เก็บไว้ก่อน หาคนเช่าต่อไปที่มีความเชื่อเหมือนๆ กันก็หมดเรื่อง แต่ก็นั่นแหละครับในสนามพระหรือศูนย์พระก็เหมือนแหล่งเงินสด ถ้ามีพระแท้ยอดนิยมก็สามารถแลกเงินสดได้เลยทันทีที่ตกลงราคากันได้

คำว่า"เก๊"นี่มันก็แสลงใจนัก มันบาดลึกเข้าไปในหัวใจเสียจริง พระของปู่ พระของพ่อ จะเอามาขายแลกเงินกลับกลายเป็นไม่แท้ ผิดหวังที่จะได้เงิน บางครั้งก็ด่าคนที่จะเอาไปขายให้ว่า"เกิดทันหรือ จึงรู้ว่าแท้ไม่แท้" เศร้าครับ ในสมัยก่อนมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่สอนผมดูพระ บอกว่าให้ใช้คำว่า "ไม่ใช่"แทนคำว่า "เก๊" เออก็พอได้ค่อยผ่อนคลายความรู้สึกหน่อย ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ตามความเชื่อของเราว่าถูกต้อง

แต่ก็นั่นแหละครับ ก็ยังไม่พอใจอยู่ดีเพราะต้องการที่จะขายให้เราซื้อไว้ ถ้าไม่ซื้อก็ไม่พอใจอยู่ดี การศึกษาเรื่องพระเครื่องนั้นก็มีหลากหลายตำรา จะเลือกหาตำราใดก็สุดแต่ความเชื่อเถอะครับ แต่จะบังคับให้คนอื่นเชื่อตามนั้นคงไม่ถูกต้องนัก ส่วนผมเลือกที่จะเชื่อแบบที่มีมูลค่ารองรับตามมาตรฐานของสังคมผู้นิยมพระเครื่อง สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อก็เนื่องจากได้พิสูจน์ด้วยตัวเองว่า ถ้าเล่นหาตามนี้วันไหนที่อยากจะใช้เงินแล้วนำพระไปขายก็ยังได้เงินจากเซียน แถมเผลอๆ ก็ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ไม่ใช่แบบแท้อยู่คนเดียวหรือกลุ่มเดียว พอจะขายก็ไม่มีใครซื้อแม้จะเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันเชื่อเหมือนกัน ตำราเดียวกันก็ตาม ตอนแรกก็ดูว่าแท้ใช่ แต่พอจะขายให้ก็อ้างโน่นอ้างนี่ ยังไม่มีเงินบ้างไรบ้างก็ว่ากันไป พูดมาซะเยอะก็นึกเสียว่าคุยกันไปเรื่อยๆ ก็แล้วกันนะครับ

วันนี้ขอนำรูป พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูมแท้ตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ พระแบบนี้ถ้ามีแล้วจะขาย ก็รับเงินสดไปเลยครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48144041581286_view_resizing_imagesT3BFV0E1_3.jpg)
เหรียญหมานเงินหมานทอง
"พระครูอุดมรังสี" หรือ "หลวงปู่แสง จันทวังโส" แห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 87

มีนามเดิมว่า แสงวงศ์ วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ในวัยเยาว์ใช้ชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป ขณะอายุ 7 ขวบ บวชเป็นสามเณรหน้าไฟ อุทิศส่วนกุศลให้ตา ที่วัดศรีสำราญจิต บ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม มีพระอินทร์ เจ้าอาวาสวัดศรีสำราญจิต เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเจ้าอาวาสรูปนี้ ท่านไม่ยอมให้สึก

กระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ อีกทั้งยังได้เล่าเรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

อยู่รับใช้อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ไปที่ จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด แล้ววกมาที่ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี นานกว่า 7 เดือน

หลังกลับจากธุดงค์สู่มาตุภูมิ จำพรรษาที่วัดบ้านเกิด ในช่วงที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชุกชุม

แม้อายุล่วงเลยมากว่า 107 ปี แต่สายตาท่านยังดี ปล่อยวางไม่ยึดติดกับวัตถุใดๆ และไม่แสวงความสุขสบาย

วัตถุมงคล จัดสร้าง 6-7 รุ่น อาทิ พระปิดตา รุ่นแรก, พระขุนแผนแสนสะท้าน รุ่นแรก และเหรียญเสมา รุ่นมหาสมปรารถนา ฯลฯ

ล่าสุด คณะศิษย์สายสกลนคร นำโดย นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ, ป้อม สกลนคร, หนุ่มเสก สกลนคร, สุชานนท์ ศิริพงศ์สิน และ ชาติ สกลนคร ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "รุ่นหมานเงินหมานทอง" เพื่อนำ รายได้สมทบกองทุนหลวงปู่แสง และสมทบทุนปรับปรุงห้องน้ำวัดโพธิ์ชัยเพื่อเป็นสาธารณสมบัติสืบต่อไป ซึ่งคำว่า "หมาน" เป็นภาษาอีสาน หมายถึง โชคดี, รวย

รูปแบบเหรียญขวัญถุง พิมพ์กลม มี 3 บล็อก คือ บล็อก A ประคำ 19 เม็ด หูขีด (บล็อกทองคำ) มีประมาณ 1,999 องค์ บล็อก B ประคำ 19 เม็ด บล็อก C ไม่มีประคำ มีประมาณ 1,999 องค์

จัดสร้างหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ, เนื้อเงินลงยาราชาวดีเนื้อ 3K เนื้อสัตโลหะ, เนื้อปลอกลูกปืน, เนื้อนวะลงยาเสือสมิง, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง ฯลฯ

ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสงครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างเขียนคำว่า "หลวงปู่แสง"

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปถุงเงิน ตรงกลางถุงเป็นรูปมังกร ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "หมานเงินหมานทอง โคตรเศรษฐี" ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดโพธิ์ชัย จังหวัดนครพนม พ.ศ.๒๕๖๒"

ทุกเหรียญมีเลขและตอกโค้ดกำกับชัดเจน
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93968284337057_view_resizing_imagesSXMMUY25_3.jpg)
พระสมเด็จญาครูท่านอ่อนสี
"หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี" หรือ "ญาครูท่านอ่อนสี" วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระสงฆ์วัตรปฏิบัติดี อยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชน 2 ฝั่งลำน้ำโขงมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันสิริอายุ 116 ปี พรรษา 95

นามเดิม นายอ่อนสี แก้วพิทัก เกิดเมื่อปี พ.ศ.2446 ชาติภูมิท่านเป็นคนไทย เกิดที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อสมัยยังเด็กครอบครัวย้ายข้ามไปอยู่เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดในเมืองไชพูทอง พ.ศ.2466 ไปจำพรรษาอยู่วัดบ้านด่าน ศึกษาพระธรรมวินัยรวม ทั้งร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านสืบสายธรรมจากจากสายสมเด็จลุนแห่งเมืองนครจำปาสัก จนแตกฉาน

นอกจากมีวิทยาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระนักพัฒนามีวัดหลายแห่งทั้งใน สปป.ลาวและในฝั่งประเทศไทย

ขณะนี้ วัดบ้านขอนแก่น มีโครงการก่อสร้าง "พระมหาเจดีศรีแก่นนคร" แต่ยังคงขาดแคลนปัจจัยเป็นจำนวนมาก คณะญาติโยมชาวบ้านขอนแก่น และคณะศิษย์ นำโดย "แจ๊ค บารมีหลวงปู่จาม" หรือ นายอนุสรณ์ คนเพียร ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จแก้วผิว มหาเศรษฐี รุ่นแรก" สมทบทุนก่อสร้าง

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางนั่งสมาธิอยู่ในซุ้มครอบแก้ว

ด้านหลังมีตัวอักษรนูนข้อความว่า รุ่นแรก ญาคูถ่านอ่อนสี ๑๑๖ ปี พร้อมอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้าง ประกอบด้วย 1.เนื้อดำนำฤกษ์.สร้าง 116 องค์ 2.เนื้อผงลายเสือสร้าง 1,000 องค์ และ 3.เนื้อขาวน้ำตาลรวมสร้าง 10,000 องค์

มวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ อาทิ เกศาหลวงปู่อ่อนสี, เกศาหลวงปู่สอ, เกศาหลวงปู่ข้าวแห้ง, เกศาหลวงปู่สรวง, เกศาหลวงปู่หมุน เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดบ้านขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2562 ที่ผ่านมา พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี, หลวงปู่สี อภิรโส, หลวงปู่ขาน อินทปัญโญ และหลวงปูเส็ง
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11164139087001_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระปิดตาพิชัย
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาพิชัยเป็นพระปิดตารุ่นเก่าที่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่มีหลักฐานบันทึกหรือการพบที่กรุพระเจดีย์ของวัดใด เนื่องจากพบกระจัดกระจายพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน บริเวณโคนดินตามทุ่งนาแถวคลองตะเคียน และบริเวณที่พบนั้นก็ยังพบเศษอิฐเก่าปะปนในบริเวณนั้นด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าเล็กๆ ที่เสื่อมสภาพลง ภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง พระทั้งสองแบบนี้มีเนื้อหาและลักษณะการจารที่องค์พระแบบเดียวกัน จึงทำให้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างน่าจะเป็นคนเดียวกันและสร้างในคราวเดียวกัน

ก็มีคำถามอยู่เรื่องหนึ่งว่าทำไมจึงตั้งชื่อพระปิดตาแบบนี้ว่าพระปิดตาพิชัย ทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระปิดตาคลองตะเคียน หรือพระยาพิชัยดาบหักมีส่วนในการสร้างพระไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับพม่า แต่พระกริ่งคลองตะเคียนทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระกริ่งพิชัยด้วยเล่า เรื่องนี้ก็คงต้องค้นคว้าศึกษาต่อไปนะครับ

เราลองมาดูประวัติของพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อกันสักหน่อยนะครับ ท่านเป็นชาวพิชัยโดยกำเนิด ซึ่งท่านได้รับราชการ กู้ชาติ สร้างวีรกรรมอย่างห้าวหาญในการกอบกู้อิสรภาพฐานะทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองพิชัย

ครั้นถึงปี พ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพิ่งเสด็จศึกทางด้านเขมรลงมาใหม่ๆ กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่เชียงใหม่ได้รุกดินแดนทางเหนือลงมาอีกครั้ง จนถึงกับต้องล้อมเมืองพิชัยเอาไว้ (เมืองพิชัยคือเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) พระยาพิชัยได้จัดการป้องกันเมืองอย่างเต็มความสามารถ และเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยการรบในครั้งนั้น ไทยกับพม่าได้ต่อสู้โรมรันกันถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพพม่ามิอาจจะทนทานได้ก็แตกทัพกลับไป พระยาพิชัยได้รบอย่างสุดกำลังด้วยดาบสองมือ ได้ห้ำหันบั่นคอข้าศึกเสียเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งดาบในมือขวาถึงกับหักสะบั้น จึงได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" เป็นเกียรติประวัติสืบมา ด้วยคุณความดีและวีรกรรมของท่านชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหักขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้จดจำสืบต่อไป และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2513

จะเป็นด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่าน ซึ่งเป็นนักรบที่กล้าหาญกรำศึกมาอย่างโชกโชน มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ซึ่งการรบพุ่งในสมัยนั้นถึงขั้นประชิดตัวดวลกันด้วยดาบเข้าทำนองมึงทีกูที ในสมัยก่อนเมื่อทำการศึกก็ต้องรบประชิดติดตัวกัน จะอาศัยกำลังฝีมือแต่ประการเดียวเห็นทีจะเอาตัวรอดยาก เข้าทำนองสาดน้ำรดกันย่อมจะต้องเปียกมากหรือเปียกน้อยด้วยกันทั้งคู่ แต่ท่านพระยาพิชัยท่านก็ปลอดภัยมาโดยตลอด นอกจากท่านจะมีฝีมือเพลงดาบแล้วท่านก็ยังมีวิชาดีหนังเหนียวเป็นเยี่ยมเช่นกัน แต่ท่านจะอยู่คงด้วยคาถาหรือเครื่องรางอันใดนั้นคงไม่ทราบ

มีพระเครื่องปิดตาของอยุธยาแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นเก่าๆ ต่างขนานนามว่า "พระปิดตาพิชัย" สันนิษฐานว่าเมื่อมีผู้พบพระเครื่องชนิดนี้ และมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คงอย่างมากจนเป็นที่ประจักษ์ กล่าวขวัญเล่าลือกันไปทั่ว จนถึงกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ท่านยังกล่าวว่า ท่านเองก็ยังเห็นกับตา และยกย่องพระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยว่าเชื่อถือได้จริง ด้วยสาเหตุนี้กระมังคนโบราณจึงนำชื่อพระยาพิชัยมาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อพระเครื่องชนิดนี้ว่า "พระปิดตาพิชัย"

พระปิดตาพิชัยนั้นเนื้อหาและองค์พระมีการจารลงอักขระเลขยันต์แบบเดียวกับพระกริ่งคลองตะเคียน และมีการพบอยู่ในบริเวณเดียวกัน ผมเคยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ของอยุธยา ซึ่งในตอนนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่และท่านก็เป็นคนพื้นที่แถบคลองตะเคียน ได้บอกว่าพระกริ่งคลองตะเคียนพร้อมกับพระปิดตาพิชัยถูกพบแถวโคกดินเล็กๆ และมีเศษอิฐกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ สันนิษฐานว่าโคกดินแห่งนี้คงเป็นวัดเล็กๆ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และถูกทำลายเสื่อมสภาพลงกลายเป็นวัดร้างหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยประวัติความเป็นมาถึง ผู้สร้างยังไม่ชัดเจนนัก และชื่อของวัดคือวัดอะไรก็ยังไม่ปรากฏ จึงมักจะเรียกพระที่เป็นพระกริ่งเนื้อดินเผาเป็นพระกริ่งคลองตะเคียนตามสถานที่ที่พบพระ และพระปิดตาก็เรียกกันว่าพระปิดตาพิชัย ตามที่เรียกหากันในปัจจุบัน แต่ประสบการณ์ที่ประจักษ์นั้นแน่นอนนัก เป็นที่ยอมรับกันทั่วหน้าครับว่าเด่นทางอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ พระปิดตาพิชัยมีทั้งที่เป็นแบบหน้าเดียว สองหน้า สามหน้า และสี่หน้าครับ สีโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำ ที่เป็นสีเขียวมอย และสีออกน้ำตาลแดงก็มีบ้าง แต่พบน้อยครับ

พระปิดตาพิชัยในปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ แต่พระแท้ๆ ก็หาไม่ง่ายนัก วันนี้ผมก็เลยนำรูปพระปิดตาพิชัยมาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70305219830738_view_resizing_images4EI3Q38B_3.jpg)
 เหรียญคุ้มบารมี 6 แผ่นดิน หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงปู่สอ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ยังดำรงชีวิตยืนยาว 114 ปี ครองสมณเพศอยู่คู่ 6 แผ่นดิน

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิชื่อดังวิทยาคมเข้มขลัง ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ในฝั่งลาว

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงมาถึง 114 ปีแล้ว แต่สายตายังมองเห็นชัด หูได้ยินปกติ ฉันเนื้อปลา และกล้วยวันละ 1 ลูก

ในปีพ.ศ.2561 ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาใน อ.โพนสวรรค์ "เทพ ประทาน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่สอ รุ่นคุ้มบารมี 6 แผ่นดิน เพื่อสมทบทุนรักษาหลวงปู่ในยามอาพาธ โดยการถวายเงิน 2.2 แสนบาทเข้ากองทุนดังกล่าว

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 2 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 113 เหรียญ, เนื้อนวะ 113 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 311 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 999 เหรียญ, เนื้อทองแดงลงยาสีแดง สีฟ้า ทองแดงซาติน ชนิดละ 333 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 2,561 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีชุดของขวัญรับพระ 3 เหรียญ มีเนื้อทองแดงฝาบาตรลงยาแดง ฟ้า และน้ำเงิน รวม 200 เหรียญ เนื้อสัตตะลงยา แจกศูนย์จอง กรรมการ และผู้ร่วมงานรวม 1,300 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่หูเชื่อม รอบขอบเหรียญตามรูปทรงวงรีมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ บริเวณอังสะมีเลข ๖ ไทยสลักไว้ มีความหมาย คือ 6 แผ่นดิน ด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมเขียนคำว่า คุ้มบารมี 6 แผ่นดิน ปิดหัวท้ายด้วยดอกจัน ถัดลงมาเป็นยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ซึ่งเป็นยันต์หัวใจพระพุทธเจ้า ใต้ยันต์ดังกล่าวมีอักขระยันต์เรียกทรัพย์กำกับไว้ บรรทัดที่ 4 สลักคำว่า อายุ 113 ปี บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า วัดโพธิ์ศรี จังหวัดนครพนม

หลวงปู่สอเป็นประธานและนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561

เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่นำเหรียญเนื้อชุดทองคำรวม 3 เหรียญ ไปบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุพนม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์

เพื่อขอบารมีปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีสะสมไว้และคล้องติดตัว
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93883437953061_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญพระแก้ววัดเหนือ
"วัดมหาชัย" เดิมชาวมหาสารคาม เรียกว่า "วัดเหนือ" เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือน้ำ โดยถือเอาทางน้ำไหลเป็นเครื่องหมาย นับเป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม สร้างโดยพระเจริญราชเดช หรือท้าวมหาชัย (กวด) ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ.2409

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2473 จนถึงปี พ.ศ.2482 ทางรัฐบาลออกรัฐนิยมให้เปลี่ยนชื่อวัดทุกวัดในประเทศไทย วัดเหนือ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาชัย ตามชื่อพระเจริญราชเดช หรือท้าวมหาชัย

ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2527

วัดมหาชัย จึงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ด้วยภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และเอกสารโบราณ เช่น คัมภีร์ใบลาน จารึกอักษรธรรม อักษรลาว อักษรไทยใหญ่ ไทยน้อย อักษรขอม มีเก็บรักษาไว้ที่แห่งนี้นับ 10 ตู้

เมื่อครั้งที่ พระสารคามมุนี (สาร พุทธสโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ได้ปกครองวัดมหาชัย ในปี พ.ศ.2471 ได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชน จัดสร้างอุโบสถ แต่ภายในอุโบสถยังขาดพระประธาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 จัดสร้างพระประธาน พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ครั้งนี้ต้องใช้ทุนทรัพย์พอสมควร จึงได้จัดสร้างเหรียญพระพุทธ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมก่อสร้างพระประธานในครั้งนี้

พระสารคามมุนีเดินทางด้วยตัวเองลงไปจ้างโรงงานที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ออกแบบเหรียญ มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ห่วงเชื่อม จำนวนการจัดสร้าง 500 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบ 2 ชั้น ตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิทรงเครื่อง พุทธศิลป์คล้ายจำลองจากพระแก้วมรกตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับนั่งบนบัลลังก์กลีบบัว

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบมีตัวอักษรเขียนไว้รวม 5 แถว ว่า "ที่ระฎกในงานสร้างพระประธานวัดเหนือจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.๒๔๗๓"

เหรียญรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกะไหล่เงิน มีกะไหล่ทองบ้าง แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด และเนื่องจากการผสมโลหะไม่ได้สัดส่วน ทำให้เหรียญที่ปั๊มออกมาส่วนใหญ่มีรอยร้าวรอยราน

สำหรับพิธีพุทธาภิเษก วัดมหาชัยได้ประกอบพิธียิ่งใหญ่ มีพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในพื้นที่มหาสารคาม และภาคอีสาน เช่น หลวงปู่รอด จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่อ้วน ติสโร, หลวงปู่โม่ง วัดโพธิ์ศรี, หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นต้น

วัดมหาชัยได้มอบเป็นที่ระลึกญาติโยมที่ร่วมทำบุญไปจำนวนหนึ่ง เนื่องจากพุทธศิลป์คล้ายจำลองมาจากพระแก้วมรกตเหรียญนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า"เหรียญพระแก้ววัดมหาชัย"

เหรียญดังกล่าวจัดอยู่ในทำเนียบเหรียญที่หายากของเมืองมหาสารคาม แต่การเช่าหาควรใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วน ด้วยมีเหรียญปลอมระบาดออกมาจำนวนมาก สิ่งที่น่าสังเกต คือ เหรียญแท้ ผิวเหรียญจะพรุน มีรอยร้าว สีผิวเหรียญเป็นสีเงินหม่น

หากเป็นเหรียญที่ผิวตึงและเนื้อทองแดง ของเก๊แน่นอน
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86690096184611_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เก็บพระอะไรดีมีบวก
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีเพื่อนๆ ผู้นิยมพระเครื่องสอบถามว่า ช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดีระยะนี้ ถ้าจะเก็บพระเครื่องจะเก็บพระอะไรดี ครับผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกเก็บพระที่ตัวเองชอบและศรัทธาและก็เป็นความจริงอยู่เองที่มักจะคิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับความนิยมในสังคมพระเครื่อง

ในช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ก็มีบางท่านที่ยังพอมีกำลังที่จะเช่าหาพระเครื่องเก็บไว้ จะด้วยความศรัทธาหรืออะไรก็ตาม ส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงเรื่องค่านิยมในพระเครื่องนั้นๆ ในอนาคตด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของปัจจุบัน สภาพการตลาดซื้อ-ขายพระเครื่องในช่วงนี้ก็ซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ มูลค่าของพระเครื่องถ้าเปรียบเทียบกับในช่วงปี พ.ศ.2556 โดยทั่วไปมูลค่าจะลดลงมาอยู่พอสมควร เฉลี่ยน่าจะประมาณ 30-40% ประเภทพระกรุต่างๆ ช่วงนี้ก็แทบจะไม่ค่อยมีคนถามหากันเลย ส่วนพระเกจิอาจารย์ยุคกลางๆ ก็ยังพอไปได้ พระที่ติดลมบนไม่เปลี่ยนแปลงก็คือพระชุดเบญจภาคี พระเหรียญยอดนิยม พระกริ่งยอดนิยม พระรูปเหมือนยอดนิยม พระปิดตายอดนิยม ก็คือพระยอดนิยมทั้งหมดระดับหนึ่งในห้าอันดับราคาก็ยังไม่ตก

ส่วนพระเกจิอาจารย์ยุคกลางๆ ที่น่าสนใจ และเป็นพระที่น่าเก็บเวลานี้ในส่วนตัวผมว่าน่าเก็บพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ที่ปลุกเสกทันพระอาจารย์ทิม พระหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี โดยเฉพาะประเภทพระปิดตาเนื้อผงของท่านทุกรุ่น และพระหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ทุกรุ่น ช่วงนี้น่าเก็บเนื่องจากราคาพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิม ราคาลดลงจากช่วงปี พ.ศ.2556 ลงมาประมาณ 30-40% และพระของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ก็ลงมาประมาณ 30% ส่วนพระหลวงปู่โต๊ะราคาไม่ลดลง ในพระปิดตาหลวงปู่โต๊ะรุ่นรองๆ เช่น พระปิดตายันต์ดวงเล็ก พระปิดตามหาเสน่ห์ พระปิดตาหลังเต่า พระปิดตาปลดนี้เนื้อผงใบลานและอื่นๆ แนวโน้มราคาจะสูงขึ้น

พระเครื่องที่ผมบอกมา 3 วัด ถ้าคิดที่จะเก็บช่วงนี้ก็น่าจะเก็บ เพราะสนนราคาก็ยังคงตัวอยู่ประมาณนี้ และแนวโน้มระยะยาว สักอีก 3-4 ปี ราคาน่าจะสูงขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ทั้ง 3 หลวงปู่ก็เป็นพระที่มีผู้ศรัทธามากทั่วประเทศ พระเครื่องของท่านมีประสบการณ์มาก ถ้าปัญหาเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นสนนราคาก็น่าจะเริ่มดีดตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน ที่ผมพูดเช่นนี้ก็เหมือนกับพุทธพาณิชย์ ก็ต้องยอมรับว่าประมาณนั้นครับ ซึ่งเป็นความจริงในปัจจุบันว่านอกจากความศรัทธาแล้ว ผู้ที่นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ก็จะคิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เพื่อการค้า แต่ก็ต้องยอมรับว่า ถ้าจะหาพระเครื่องมาบูชาก็ต้องใช้เงินเช่าหามาแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเช่าหามาจากวัดเลยก็ตาม ดังนั้นถ้าเราจะหาพระเครื่องที่เราชอบและศรัทธา ถ้าเป็นพระเครื่องที่ออกจากวัดมานานแล้วก็ต้องไปเช่าหาจากเซียนพระทั้งสิ้น และก็แน่นอนว่าก็ต้องใช้เงินแลกมาทั้งนั้น ความจริงอย่างหนึ่งก็คือ พระเครื่องแท้ๆ นั้นย่อมมีราคารองรับอยู่ด้วย

ถ้าเราเก็บพระหรือเช่าหาพระเครื่องมาเก็บ หรือบูชาห้อยคอไว้ เมื่อวันเวลาผ่านไปนานเข้าหลายๆ ปีหรือเป็นสิบปี ก็ย่อมมีมูลค่าเพิ่ม และเป็นมรดกให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งก็มีมูลค่ารองรับอยู่ถ้าคิดจะขายออกเมื่อมีเหตุผลจำเป็นในเวลานั้นๆ หรือบางท่านก็คิดจะเก็บไว้เหมือนกับเงินฝากประเภทหนึ่ง ก็จะคิดถึงมูลค่าเพิ่มด้วยกัน ทั้งนั้น และเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงไม่ต้องไปดัดจริตว่าเป็นพุทธพาณิชย์อะไรหรอก ความจริงก็คือความจริง เมื่อมีมูลค่ารองรับอยู่แล้ว

ผมมีเพื่อนและคนรู้จักอยู่หลายคนที่ชื่นชอบและเก็บพระหลักๆ อยู่พอสมควร แต่บางคนมีภรรยานับถือศาสนาที่ต่างกัน ลูกๆ ก็นับถือศาสนาตามแม่ของเขา พออายุมากขึ้นจะมอบพระเครื่องที่เก็บสะสมไว้ให้ลูกๆ ก็ไม่มีใครเอาเนื่องจากเขานับถือคนละศาสนา ก็มีมาปรึกษาและออกพระเครื่องเหล่านั้นไป ผลก็คือพระที่เขาเก็บไว้หลายปีนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากเสียอีก บางคนลูกๆ ก็ไม่นิยมพระเครื่องอะไรนัก ก็นำพระที่สะสมไว้หลายสิบปีมาออกให้เช่า เพื่อนำเงินไปให้ลูกแทน ก็ได้มูลค่าเพิ่มมากเช่นกัน เป็นเรื่องจริงที่ผมได้รู้เห็นมา

บางคนชีวิตพลิกผันธุรกิจไม่ดี หรือมีเหตุจำเป็นบางประการ ก็นำพระที่เก็บสะสมไว้มาออกให้เช่าก็ได้มูลค่าช่วยให้บรรเทาเบาลงได้ บางคนพอแก่ตัวก็นำพระเครื่องที่สะสมไว้มาออกให้เช่าบูชายังพอมีเงินใช้สอยได้เมื่อยามแก่เฒ่าไม่ต้องไปรบกวนใคร ดีกว่าเอาเงินไปเล่นการพนันเที่ยวเตร่ตามสถานบันเทิงหมดเปลืองไปโดยใช่เหตุ

ครับถ้าเราเก็บพระเครื่องที่ถูกต้องไว้ อย่างไรก็ตามก็มีมูลค่ารองรับอยู่ดี จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและค่าความนิยมในเวลานั้น ไม่สูญเปล่าแน่นอน ผู้ที่ชอบสะสมพระเครื่องก็ได้ทั้งความสุขใจ ได้รับความสบายใจที่มีคุณพระคุ้มครอง และยังมีมูลค่ารองรับ ถ้าเก็บพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับ ขออย่างเดียวอย่าไปหลงทางเก็บพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับประเภทพระเก๊ไว้ก็แล้วกัน เพราะเมื่อยามจำเป็นจะไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาช่วยเหลือเราได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์หลังเตารีดเล็ก พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่นมหาเสน่ห์ และพระผงพรายกุมาร พิมพ์เล็ก หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

n.21-5/ p350.


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 กันยายน 2562 12:31:38
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82394502518905_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี

"พระครูอุทัยบวรกิจ" หรือ "หลวงพ่อตี๋ ปวโร" วัดดอนเนรมิต ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดี เป็นศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง พระเกจิดังต้นตำรับยันต์พลิกชะตาและยันต์โสฬสมงคล

ปัจจุบัน สิริอายุ 75 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า เหลียงเช็ง แซ่เซียว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ธ.ค.2487 ที่บ้านคลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 15 ปี บรรพชาที่วัดสะพานสูง ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมกับหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นาน 5 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุ 36 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดท่าเกวียน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2523 มีเจ้าอธิการอำนวย อติเมโธ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อีกครั้ง เขียนอักขระขอม การลงยันต์นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล จนมีความชำนาญ

พ.ศ.2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส พระเกจิดังเมืองอุทัยธานี

ด้านวัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยม จากสาธุชนทั่วไปยิ่ง ท่านเคยปรารภว่า "ของดีไม่ต้องโฆษณา ถ้าเขาศรัทธาก็มาหาเอง"

การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ส่วนใหญ่ท่านใช้ยันต์ นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล เป็นหลัก และที่สำคัญท่านเป็นเจ้าตำรับยันต์พลิกชะตา ที่ทำให้เหตุร้ายกลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์

พ.ศ.2560 ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ย้ายไปจำพรรษาที่วัดดอนเนรมิต จ.ชัยนาท

ในปี พ.ศ.2562 จัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี รุ่นแรก" เพื่อหารายได้สมทบบูรณะวัด

ลักษณะเป็นพระกริ่งลอยองค์ทรงเครื่อง ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ด้านหลังตอกโค้ด วัดระฆัง มีหมายเลขไทยกำกับองค์พระ และมีอักษรไทย "ต" ที่ฐาน

การจัดสร้างพระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน ก้นทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน ก้นเงิน 80 องค์ เท่านั้น

หลวงพ่อตี๋ อธิษฐานจิต ปลุกเสกเดี่ยวแล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กทม. เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2562 มีพระเกจิเข้าร่วมพิธี 9 รูป อาทิ หลวงพ่อตี๋ วัดดอนเนรมิต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่, หลวงพ่อประกาศิต วัดหลักสาม, พระครูปืน วัดลาดชะโด เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98803535517719_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่คาร

หลวงปู่คาร คันธิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ไชย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน ผู้ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน

อีกทั้งเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลราชธานี

เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ต.ค.2424 ที่หมู่ 3 อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2445 ที่วัดโพธิ์ไชย โดยมีอาญาทน วัดโพนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์

ละสังขารด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2520 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 75

ทั้งนี้ ก่อนที่หลวงปู่คาร จะมรณภาพ คณะศิษย์ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ตั้งใจให้ท่านไว้แจกญาติโยมเป็นที่ระลึกในวันครบรอบคล้ายวันเกิด 97 ปี

เป็นเหรียญหลวงปู่คารรุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด ลักษณะเป็นเหรียญอาร์มรูปทรงคล้ายโล่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่คาร ครึ่งองค์หันหน้าไปทางซ้าย ด้านล่างสลัก ตัวหนังสือนูนคำว่า "หลวงปู่คาร คนฺธีโญ" บรรทัดล่างถัดมาเขียนคำว่า "ครบรอบ ๙๗ ปี"

ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันขอบบางรอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมียันต์น้ำเต้าหรือยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ในวงเส้นคล้ายวงกลม 5 วงภายใน สลักอักขระคำว่า "นะโม พุทธายะ" ถัดลงมาสลักตัวหนังสือนูน 2 บรรทัด "วัดโพธิ์ชัย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม"

เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่สนธิ์ เขมปัญโญ แห่งวัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นลูกศิษย์นั่งภาวนาจิตปลุกเสกเดี่ยวภายในอุโบสถเป็นเวลาหนึ่งไตรมาส

ปัจจุบัน เป็นเหรียญหายากพอสมควร และเป็นที่กล่าวขวัญมากในขณะนี้
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93130925628874__1_2_1_320x200_.jpg)
พระขุนแผนใบพุทรา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นวัดที่มีกรุพระเครื่องที่สำคัญคือพระขุนแผนเคลือบ ที่หายากมากและสนนราคาสูงมาก แต่นอกจากพระขุนแผนเคลือบแก้ว ที่กรุนี้ก็ยังมีพระขุนแผนอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจและสร้างในคราวเดียวกัน แต่มีจำนวนที่พบมากกว่า และยังพอหาได้ง่ายกว่าพระขุนแผนเคลือบ คือพระขุนแผนใบพุทรา

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมเป็นวัดในเขตอรัญวาสี ชื่อวัดป่าแก้ว ในสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช เป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพระนพรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในระยะแรกๆ ของแผ่นดินนี้เกิดสงครามอยู่หลายครั้ง ซึ่งกองทัพพม่าได้ถูกส่งให้มาปราบอาณาจักรไทย และสงครามครั้งสุดท้ายที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือสงครามยุทธหัตถี ซึ่งครั้งนั้นพม่าได้ยกกองทัพมามากมายเพื่อเผด็จศึกให้ได้ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงยกทัพไทยออกต่อสู้ โดยยกทัพไปสกัดทัพพม่า การรบพุ่งเป็นไปอย่างดุเดือด ระหว่างฝ่ายรุกรานมีกำลังพลที่เหนือกว่า กับฝ่ายที่รบเพื่อปกป้องแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนทั้งๆ ที่มีกำลังน้อยกว่ามาก การรบที่ห้าวหาญของคนไทยที่มีใจรักแผ่นดิน และด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงทำให้ไทยได้เป็นไทยสืบต่อมา

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2134 มีการทำยุทธหัตถี ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ระหว่างกษัตริย์กับกษัตริย์ โดยการต่อสู้บนหลังช้าง ในการรบครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงได้รับชัยชนะสมเด็จพระมหาอุปราช แม่ทัพพม่า ทรงฟันคอพระมหาอุปราชขาดคาคอช้างทรง และสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงได้รับชัยชนะต่อแม่ทัพพม่าอีกเช่นกัน เมื่อพระองค์เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา ได้มีการพิจารณาโทษต่อแม่ทัพนายกองที่ติดตามเสด็จไม่ทัน แต่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น และทูลให้ทรงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ได้เสียชีวิตในการสงครามครั้งนั้น และทำบุญการฉลองชัยชนะ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงทำพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล และเฉลิมฉลองชัยชนะที่วัดป่าแก้ว โดยได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดแห่งนี้ เรียกว่าพระเจดีย์ชัยมงคล และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดใหญ่ชัยมงคล"

ในครั้งนั้นมีการสร้างพระบูชาและพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นการกุศลในครั้งนั้นด้วย โดยประธานพิธิฝ่ายสงฆ์ก็คือ สมเด็จพระพนรัตน์ พระเครื่องที่สร้างนั้นมีอยู่หลายอย่างหลายพิมพ์ มีทั้งพระเครื่องเนื้อดินและเนื้อชิน พระเครื่องของกรุวัดใหญ่ชัยมงคลมีการพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2445 และครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2506 พระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมกันมากก็คือพระขุนแผนเคลือบ มีทั้งพิมพ์อกใหญ่ และพิมพ์อกเล็ก (พิมพ์แขนอ่อน) เป็นพระเนื้อดินเผาแบบกระเบื้องเคลือบ พระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด ค่านิยมสนนราคาสูงมากในปัจจุบัน พระขุนแผนอีกพิมพ์หนึ่งที่ผมจะแนะนำคือ พระขุนแผนใบพุทรา พระที่พบเป็นเนื้อดินเผาธรรมดา และเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นพระที่พบมีปริมาณมากพอสมควร พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ประทับอยู่บนอาสนะฐานบัวสองชั้น มีประภามณฑลอยู่เหนือพระเศียร ในพระเนื้อดินทรงกรอบเป็นลักษณะกลมๆ คล้ายกับใบพุทรา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกันจนมาถึงปัจจุบัน ด้านหลังพระมักอูมๆ แต่ก็ไม่มากนัก ส่วนในพระเนื้อชินมักจะตัดขอบเข้ารูปตามองค์พระ ที่เป็นพระประทับอยู่ภายในซุ้มสี่เหลี่ยมก็มีบ้างแต่พบน้อย ความนิยมจะให้ความนิยมกับพระเนื้อดินเผามากกว่าพระเนื้อชิน

พระขุนแผนใบพุทราเป็นพระที่สร้างในครั้งเดียวกันกับพระขุนแผนเคลือบ พิธีปลุกเสกก็ครั้งเดียวกัน จึงมีพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกันครับ พระขุนแผนใบพุทราจึงเป็นพระที่น่าสนใจเช่าบูชามาก สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทรา เนื้อดินเผา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26593657914135_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระร่วงยืนของกรุวัดทัพเข้า สุโขทัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงกรุวัดทัพเข้า หรือวัดทับข้าว เป็นพระกรุเก่าแก่ที่แปลกกว่าใครในเรื่องเนื้อหา เนื่องจากเป็นพระชนิดเดียวที่พบว่าเป็นพระเนื้อดินผสมผง

เนื้อพระเป็นสีขาวนวล เข้าใจว่าเป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการเผาไฟเลย และเป็นพระที่หายากมากๆ จนกลายเป็นพระในตำนานที่จะพบเห็นได้ยากมากครับ

กรุวัดทัพเข้า หรือบางท่านเรียกเพี้ยนไปว่า กรุวัดทับข้าว ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่แปลกกว่าพระกรุอื่นๆ ก็คือพระกรุนี้มีเนื้อหาที่แปลกออกไป คือเป็นพระเนื้อดินผสมผงเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีอายุเก่าแก่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ การแตกกรุนั้นก็คือ นายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวตำบลกรุงเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็น ผู้ไปขุดพบพระกรุนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2480

พระที่พบทั้งหมด 4 พิมพ์คือ พิมพ์พระร่วงยืนปางห้ามไม้แก่นจันทน์ และพิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์พระร่วงยืนจะนิยมมากกว่าพิมพ์นั่ง การพบพระกรุนี้พบเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระที่พบทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 500 องค์

ลักษณะพิเศษของพระกรุนี้ก็คือเป็น พระเนื้อดินผสมผง เนื้อออกเป็นสีขาวนวล และเนื้อละเอียดไม่ปรากฏเม็ดกรวดทราย สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นประมาณราวๆ ปลายกรุงสุโขทัยหรืออยุธยาต้นๆ ครับ นับว่าเป็นพระเนื้อดินผสมผงที่ไม่ได้ผ่านการเผาไฟที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาครับ การที่พบพระเป็นจำนวนน้อยนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าองค์พระบุบสลายไปตามกาลเวลา เมื่อตอนอยู่ในกรุ และเนื่องจากพระมีอายุกาลมากเมื่อนำมาแขวนคอก็อาจจะมีการชำรุดผุพังไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้แทบไม่เคยได้เห็นกันเลยครับ เจ้าของที่มีพระเครื่องกรุนี้ก็หวงแหนกันมาก ขนาดขอดูยังยากครับ หารูปภาพของพระกรุนี้ที่เป็นพระแท้ๆ ก็ยากครับ

พระกรุวัดทัพเข้าเป็นพระที่มีพิมพ์ ค่อนข้างตื้น ไม่ลึกเหมือนพระกรุอื่นๆ เนื้อแห้งผากและออกฟูๆ บางองค์ปรากฏคราบกรุบางๆ เป็นสีเหลืองๆ

พระกรุนี้พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แต่ก็อย่างที่บอกครับ หาพระแท้ๆ ยากครับ ถ้าจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาดีๆ ครับ เนื่องจากมีการปลอมแปลงกันมาช้านานแล้วครับ เพราะเป็นพระที่นิยมเสาะหากันมานมนานแล้วครับ แต่เนื้อหาของปลอมก็ยังไม่เหมือนจริงครับ เนื้อพระของจริงผิวจะออกฟูๆ เนื้อจะไม่แกร่งแบบพระเนื้อดินเผาทั่วไป

ในวันนี้ผมก็นำรูปพระร่วงยืนของกรุวัดทัพเข้า สุโขทัยจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันทั้งสององค์ และทั้งสององค์ถือว่าเป็นพระที่ยังสมบูรณ์ของกรุนี้
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21900824995504_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
มาตรฐานพระเครื่องที่ทีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงนี้ตัวผมเองได้รับฟังปัญหาของการพิจารณาพระแท้-ไม่แท้ จากท่านผู้นิยมพระเครื่องหลายๆ ท่านก็มีหลากหลายปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องที่ไม่ใช่เซียนพระ และตัวผมเองก็บังเอิญได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับฟังปัญหาต่างๆ ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จึงได้รับฟังปัญหาต่างๆ อยู่หลายเรื่อง

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ และไม่เคยมีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เป็นเพียงผู้นิยมสะสมพระเครื่องคนหนึ่งเท่านั้น แต่ก็พอมีประสบการณ์ในด้านการสะสมอยู่บ้าง ปัญหาที่ได้รับฟังต่างๆ ก็มักจะเป็นเรื่องที่ผู้นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองแล้วผลออกมาว่าไม่แท้ ซึ่งบางครั้งผู้ที่ครอบครองพระนั้นๆ ก็เคยได้รับการบอกกล่าวมาจากหลายที่ว่า พระเครื่ององค์นั้นๆ เป็นพระแท้ของกรุนั้นกรุนี้ เกจิอาจารย์รุ่นนั้นรุ่นนี้ และรับรองว่าเป็นพระแท้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ให้การรับรองว่าแท้นั้นก็คือผู้ที่ขายพระเครื่ององค์นั้นๆ ให้แก่ผู้ที่มีปัญหานั้น บางครั้งผู้ที่ขายพระเครื่องให้ก็มีใบประกาศ หรือใบรับรองของพระเครื่ององค์นั้นด้วย แต่พอมาขอออกใบรับรองพระแท้กับทางสมาคมอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ ปรากฏว่าบางครั้งผลออกมาในทางตรงกันข้ามคือ “ไม่แท้” ถึงแม้ว่าจะมีการขอรีเช็กอีกครั้งตามกฎเกณฑ์แล้วผลก็ยังออกมาว่าไม่แท้อีก จึงเกิดมีคำถามว่าความจริงเป็นอย่างไร และมีมาตรฐานอะไรในการตัดสินว่า แท้-ไม่แท้

ครับผมเองก็ไม่ใช่กรรมการชี้ขาดความแท้-ไม่แท้ของพระเครื่อง แต่ก็พอมีความเข้าใจในหลักการพิจารณาของกรรมการตัดสินว่า เขาใช้มาตรฐานที่มูลค่ารองรับ อธิบายขยายความก็คือ การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีการเล่นหาสะสมกันมานานแล้ว และก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าย่อมมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมานานแล้วเช่นกัน ซึ่งเหล่าผู้ที่มีอาชีพหรือเชี่ยวชาญในการพระเครื่องต่างๆ ก็ย่อมมีหลักของแต่ละท่านที่กำหนดว่าพระแบบนี้ใช่หรือไม่ มีราคารองรับหรือไม่ ซึ่งพอนำมารวบรวมกันแล้วต่างก็มีมาตรฐานเดียวกันในพระเครื่องชนิดเดียวกัน เช่น มีแบบพิมพ์แบบนี้ เนื้อหาแบบนี้ ธรรมชาติของการสร้าง ธรรมชาติความเก่าแก่แบบนี้ เป็นต้น ทุกอย่างต้องเป็นแบบนี้เท่านั้นจึงมีมูลค่ารองรับ และก็ยอมรับกันในสังคมพระเครื่อง ซึ่งก็ใช้เป็นมาตรฐานมายาวนานแล้วจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมา

ทีนี้ก็มีปัญหาของผู้ที่เล่นหาเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่อาจจะมีความเชื่อหรือมีมาตรฐานไม่เหมือนกับของกลุ่มใหญ่ที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับ จึงเกิดความเห็นที่แตกต่างกัน ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของผู้ที่ครอบครองพระเครื่ององค์ที่มีปัญหาอยู่ ว่าจะเลือกเชื่อถือแบบไหนดี ครับถ้าเรามีความประสงค์ว่าจะขอความคิดเห็น หรือขอให้ออกใบรับรองความแท้-ไม่แท้พระเครื่องของเรา ก็ควรที่จะเลือกเองครับว่าจะเลือกแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับหรือไม่? ถ้าใช่ก็ไปขอออกใบรับรองกับสถาบันแบบนั้น แต่ถ้าไม่ยอมรับในมาตรฐานมูลค่ารองรับก็ไปเลือกอีกแบบตามที่เราชอบ และทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะยอมรับหลักการและกฎเกณฑ์ของแต่ละสถาบันนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าจะให้สถาบันที่เขามีหลักเกณฑ์ตัดสินแบบมีมาตรฐานมูลค่ารองรับ แล้วพระของเราเองไม่ถูกต้องตามมาตรฐานนั้น แต่จะให้เขายอมรับและออกใบรับรองให้แบบนี้ก็ไม่ถูกต้องนักครับ

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระเครื่องบางองค์ติดรางวัลและมีใบประกาศการประกวดพระเครื่องมาด้วย แต่พอมาขอออกใบรับรองพระแท้ ผลกลับออกมาว่าไม่แท้ อ้าวแล้วจะเชื่อใครดี มาตรฐานอยู่ที่ตรงไหน ทั้งๆ ที่กรรมการในงานประกวดก็อ้างว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ สำคัญเรื่องนี้ผมก็ขออธิบายว่าเรื่องการจัดงานประกวดนั้น ก็มีอยู่หลายอย่างเช่น งานประกวดที่ขอความร่วมมือผ่านสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และงานประกวดที่จัดงานกันเองโดยไม่ได้ขอความร่วมมือผ่านทางสมาคม สำหรับงานที่ขอความร่วมมือผ่านทางสมาคม ทางผู้จัดงานก็จะทำหนังสือขอวันเวลาจัดงานเพื่อไม่ให้การจัดงานนั้นซ้ำซ้อนกันในวันเดียว และเพื่อขอเชิญกรรมการของสมาคมไปร่วมตัดสินได้ การเชิญกรรมการนั้นก็แล้วแต่ทางผู้จัดงานจะเลือกเชิญใครไปบ้าง ซึ่งก็เป็นสิทธิของทางผู้จัดงาน ทางสมาคมจะมีหลักเกณฑ์พิจารณาให้ความร่วมมือดังต่อไปนี้ 1. วันเวลาที่จะจัดงานต้องไม่ไปซ้ำซ้อนกับผู้ที่ขอจัดงานไว้ก่อน 2. การจัดงานต้องจัดงานเพื่อหาปัจจัยไปใช้ในการกุศลเท่านั้น หากผู้จัดงานประกวดรายใดปฏิบัติผิดวัตถุประสงค์ และทำให้ทางสมาคมเสื่อมเสียใดๆ ครั้งต่อไปทางสมาคมก็จะไม่ให้ความร่วมมืออีก ซึ่งก็เคยมีอยู่บ้างเป็นบางราย แต่สำหรับผู้จัดงานที่จัดกันเองโดยไม่ขอความร่วมมือทางสมาคม ก็แล้วแต่เขา สมาคมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของเขาจัดกันเอง

ทีนี้เรามาพูดกันถึงใบประกาศในแต่ละงาน สำหรับงานที่ไม่ได้ผ่านมาทางสมาคม เราคงไม่พูดถึง แต่สำหรับงานที่ผ่านมาทางสมาคมนั้นมีการผิดพลาดบ้างหรือไม่? ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งบางรายก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก เนื่องจากการทำงานนั้นก็ย่อมมีการผิดพลาดกันได้บ้าง แต่ก็คงไม่ได้จงใจเป็นการผิดพลาดจริงๆ ซึ่งก็เคยเห็นอยู่บ้าง ในการประกวดพระเครื่องพระบูชาในปัจจุบันนั้นประกวดกันประมาณ 3,000 รายการ แต่ละรายการก็จะมีรางวัลอยู่ 4 รางวัล ดังนั้นจำนวนพระที่มีผู้นำส่งประกวดก็จะมีจำนวนมากมาย และก็จะต้องมีผู้ทำงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เฉพาะกรรมการนั้น จะมีเวลาพิจารณาพระประมาณไม่เกิน 1 ช.ม. ในแต่ละโต๊ะตัดสินจะมีประมาณ 30 รายการ แต่ละรายการก็จะมีจำนวนพระที่ส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งความเป็นจริงมีเวลาน้อยมากในการพิจารณา ซึ่งก็อาจจะมีการผิดพลาดได้บ้างก็ต้องยอมรับครับ แต่ความผิดพลาดนั้นมีน้อยมากในแต่ละงาน หรือบางงานก็ไม่มีเลย การควบคุมการทำงานของผู้จัดงานนั้นยากมากนะครับ เพราะจำนวนคนจำนวนรายการนั้นมากจริงๆ คำถามต่อมาว่าแล้วทำไมไม่จัดให้มีรายการน้อยๆ ล่ะ? เรื่องนี้ก็ตอบได้เลยว่า ค่าใช้จ่ายของการจัดงานแต่ละงานในปัจจุบันนั้นสูงมาก ทั้งเรื่องค่าสถานที่จัดงาน ค่าถ่ายรูปพระทำใบประกาศ ค่าของรางวัล ค่าอาหารเลี้ยงกรรมการและเจ้าหน้าที่ ค่าที่พักกรรมการที่มาจากต่างจังหวัด และอื่นๆ อีกมากมาย นี่ค่าตัวกรรมการยังไม่มีนะ กรรมการต่างล้วนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตัวทั้งสิ้น รวมๆ แล้วค่าใช้จ่ายในแต่ละงานในปัจจุบันก็ประมาณไม่ต่ำกว่าสามล้านหกถึงสี่ล้านขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องมีรายการประกวดมากรายการเพื่อให้มีเงินเหลือหักค่าใช้จ่ายไปทำการกุศล

ครับความจริงการพิจารณาพระเครื่องนั้นถ้าไม่เกี่ยวกับการประกวด แต่เป็นการซื้อพระเข้า แต่ละคนจะมีเวลาในการพิจารณาพอสมควรและไม่มีเงื่อนไขเวลามาบีบ ก็จะมีความผิดพลาดได้น้อยมาก แต่เมื่อไรที่มีเงื่อนไขเวลามาเกี่ยวข้อง ความผิดพลาดก็ย่อมมีมากขึ้นนี้คือความจริงครับ ก็คุยกันมาเยอะเรื่องปัญหาต่างๆ ของพระแท้-ไม่แท้ และมาตรฐานมูลค่ารองรับ ซึ่งการออกใบรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยก็ใช้มาตรฐานการพิจารณาแบบที่มีมูลค่ารองรับตามแบบสากลนิยมครับ จึงนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความเข้าใจไปในทางเดียวกันครับ

วันนี้ผมก็นำรูปพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลมีมูลค่ารองรับจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75407039953602_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกำแพงห้าร้อย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินเงินที่เราเรียกกันว่าพระกำแพงห้าร้อย โดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันจะเป็นพระองค์เล็กๆ มีสามองค์บ้าง องค์เดียวบ้าง เก้าองค์บ้าง ที่นำมาห้อยคอกัน และก็เข้าใจกันว่าพระกำแพงห้าร้อยนั้นเป็นพระแผงขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ค่อยได้เจอองค์พระที่เป็นพระสมบูรณ์ที่เป็นพระแผงขนาดใหญ่กันเลย พบเห็นเพียงเป็นพระที่ตัดแบ่งกันมาเลี่ยมห้อยคอกันเป็นส่วนใหญ่

พระกำแพงห้าร้อยเป็นพระแผงขนาดใหญ่ที่หาพระสมบูรณ์ทั้งแผงยาก พระที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีการพบอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ วัดกะโลทัย และวัดอาวาสน้อย เป็นต้น สาเหตุที่เรียกกันว่าพระกำแพงห้าร้อยก็เนื่องจากเป็นพระแผงขนาดใหญ่ และมีองค์พระเล็กๆ อยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นับจำนวนพระทั้งด้านหน้าและด้านหลังรวมกันได้ด้านละ 250 องค์ รวม 2 หน้าก็จะได้จำนวน 500 องค์พอดี จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันต่อๆ มา และคำว่ากำแพงก็เนื่องจากพระดังกล่าวจะขุดพบแต่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงนำชื่อจังหวัดมาผนวกรวมเป็นชื่อ "พระกำแพงห้าร้อย"

พระที่พบส่วนใหญ่ก็มักชำรุดผุกร่อนไปบ้าง ไม่ค่อยมีพระที่สมบูรณ์ทั้งแผง พระที่สมบูรณ์ทั้งแผงเจ้าของก็มักจะนำไปทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้าน และหวงแหนมาก ส่วนพระที่ชำรุดก็มีคนนำไปตัดแบ่งกันแล้วนำมาห้อยคอ ต่อมาก็เกิดประสบการณ์ต่างๆ เช่น ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด เจริญก้าวหน้าค้าขายดี มีการเล่าขานกันต่อมาจึงเป็นที่นิยมและเสาะหากันมาก ใครมีแผ่นที่ไม่สมบูรณ์ก็มักจะมีเพื่อนฝูงมาขอแบ่ง ก็ตัดออกโดยจะแบ่งเป็น 3 องค์บ้าง แบ่งเป็น 9 องค์บ้าง แบบที่ตัดแบ่งเป็น 9 องค์ก็จะนิยมมากที่สุด แล้วนำไปเลี่ยมห้อยคอกัน

พระกำแพงห้าร้อยที่พบตามกรุต่างๆ จะมีอยู่กรุหนึ่งที่ผิดแปลกจากของทุกกรุ คือพระของกรุวัดกะโลทัย เนื่องจากพระของกรุนี้จะพบว่ามีการปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุ และพระของกรุนี้ก็จะนิยมมากกว่าของกรุอื่น

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของพระกำแพงห้าร้อยตัดนี้ จะเป็นการตัดที่สมบูรณ์เพียงด้านเดียว เนื่องจากพระแผงเป็นพระแบบ 2 หน้า ด้านหน้าและด้านหลังองค์พระเล็กๆ จะเหลื่อมกันไม่ตรงกันพอดี เมื่อตัดออกก็จะพอดีเพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านจะไม่พอดีจะตัดเหลื่อมกันนิดหน่อย พระปลอมในสมัยก่อนจะทำให้องค์พระตัดพอดีกันทั้ง 2 หน้า ถ้าพบแบบนี้ก็เป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบแน่นอน และมีการทำกันมานานแล้ว

ส่วนพระปลอมในปัจจุบัน นักปลอมพระก็เริ่มรู้จึงทำพระด้านหน้าและด้านหลังให้เหลื่อมกันแบบพระแท้ก็มีแล้ว การพิจารณารายละเอียดพิมพ์ให้ดี นอกจากนั้นก็พิจารณาเนื้อหาและความเก่าขององค์พระ

พระกำแพงห้าร้อยนอกจากพุทธคุณในด้านอยู่คงและแคล้วคลาดแล้ว ก็ยังดีทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์อีกด้วย ปัจจุบันหาที่เป็นแผงสมบูรณ์นั้นยากมาก จะพบเพียงพระที่ตัดมาแล้ว เช่น ตัดเดี่ยว ตัดสามและตัดเก้า ถ้าตัดเก้าจะมีมูลค่าสูงกว่าตัดแบบอื่น ยิ่งมีทองล่องชาดของกรุวัดกะโลทัยก็จะมีบวกขึ้นอีกนิดหน่อย แต่ก็หาแท้ๆ ยากครับ บางครั้งก็พบพระของจังหวัดอื่น ที่เป็นพระแผงคล้ายๆ กันนำมาตัดแบ่งแล้วหลอกว่าเป็นพระกำแพงห้าร้อยตัด ก็ต้องจำพิมพ์ให้ดีครับ เพราะองค์พระจะเล็กใหญ่หรือรูปร่างต่างกันไปครับ พระแผงที่ตัดแบ่งแบบพระกำแพงห้าร้อยนั้นมีของจังหวัดอื่นๆ เช่นกัน แต่จะนิยมเพียงของจังหวัดกำแพงเพชรครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงห้าร้อยแบบสมบูรณ์ทั้งแผง และแบบตัดเก้า จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30283197222484_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่สอ รุ่นอริยทรัพย์

"หลวงปู่สอ ขันติโก" เจ้าอาวาส วัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ยืนยาว 114 ปี พรรษา 94

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิชื่อดังวิทยาคม เข้มขลังในยุคนั้น ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ใน สปป.ลาว

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงเข้าสู่ไม้ใกล้ฝั่ง 114 ปี

ครบรอบอายุวัฒนมงคล เมื่อวันที่ 20 พ.ค.

ย้อนไปในปี พ.ศ.2561 คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "กุลชา กุลชา"ณัฐพัชร์ เสนาสี, "เฮียเติง"ไชยวัฒน์ กุลยะ, จ.ส.อ.พิสุทธิ์วัชร์ มีสิทธิ์ และ ร.ต.ท.แสงเพชร หล้าเนิน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรุ่นอริยทรัพย์ เพื่อถวายเงินสมทบเข้ากองทุนรักษายามอาพาธ

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเหล็กเปียกพระธาตุพนม 99 เหรียญ, เนื้อเงิน 133 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 333 เหรียญ, เนื้อสตางค์ 999 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร 999 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 500 เหรียญ และเนื้อกรรมการชนิดละ 5 เหรียญ (ยกเว้นเนื้อทองคำ)

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง มีเส้นสันขอบนูนบางเล็กน้อย

ด้านหน้าเหรียญ ส่วนบนของเหรียญสลักอักขระธรรม ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ บริเวณหน้าอกสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก ด้านล่างสุดมีเสมาธรรมจักรในวงล้อมวงกลม มีลวดลายกนกที่อ่อนช้อยงดงาม

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปทรงนูนหลังเต่า บนสุดสลักคำว่า อริยทรัพย์ ประกบด้วยยันต์ตัวนะปิดหัวท้าย ตรงกลางเหรียญมียันต์จตุพุทธา ประกอบด้วยพระคาถา 11 ห้อง มีคาถา นะ มะ อะ อุ กำกับไว้ ใต้ยันต์ด้านซ้ายของเหรียญ ตอกโค้ด เถาะ ใต้ยันต์ด้านขวามีตัวเลขไทย ๑๙ ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ถัดลงมาสลัก ๑๑๓ ปี บรรทัดสุดท้ายสลักคำว่า วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๑ ประกบด้วยยันต์ตัวนะปิดหัวท้าย

หลวงปู่สอ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยอธิษฐานจิตปลุกเสกในศาลาการเปรียญวัด มีนายสมชาย วิทย์ดำรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

มีพระเกจิชื่อดังนั่งอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดอูนนา อ.นาหว้า จ.นครพนม, พระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม, หลวงพ่อหอม รตินธโร วัดอีกูด อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร และพระอาจารย์บุญเทียม ญาณวโร วัดป่าบ้านโชคอำนวย จ.นครพนม
  ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 กันยายน 2562 12:37:33
.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12864078498548__0506_696x392_1_320x200_.jpg)
พระลีลาเมืองสรรค์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดชัยนาทเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อน และพระกรุส่วนใหญ่จะอยู่ในอำเภอสรรคบุรี เนื่องจากเมืองเก่านั้นจะอยู่ทางฝั่งอำเภอสรรคบุรี ซึ่งพบวัดเก่าแก่โบราณอยู่ประมาณ 183 วัด ถือว่าเยอะมาก เมืองสรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน เก่าแก่มาตั้งแต่ยุคปลายสมัยกรุงสุโขทัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย และก็แน่นอนว่าจะมีกรุพระอยู่มากมายเช่นกัน พระเครื่องที่โด่งดังของเมืองสรรค์ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระลีลาสรรค์ยืน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าพระสรรค์ยืน และพระสรรค์นั่ง นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาเก่าแก่ที่พบอยู่ในกรุวัดท้ายย่านอีกด้วย

พระกรุของเมืองสรรค์จะมีชื่อเสียงเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เป็นส่วนใหญ่ และกรุที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นกรุวัดท้ายย่าน ซึ่งพบพระทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระสรรค์ยืนในสมัยก่อนจะได้รับความนิยมมาก ส่วนพระสรรค์นั่งพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดก็คือพระสรรค์นั่งไหล่ยก คนชัยนาทหวงแหนกันมาก เนื้อที่นิยมก็คือเนื้อดินเผาจะมีภาษีดีกว่าในด้านราคา

พระสรรค์ยืนและพระสรรค์นั่งดูจากศิลปะขององค์พระแล้วสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น พระสรรค์ยืนจะเป็นพระปางลีลารูปแบบศิลปะคล้ายๆ กับของเมืองสุพรรณ แต่ก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง พระสรรค์ยืนที่พบจะมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระลีลาเมืองสรรค์ยืน พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์ข้างเม็ด พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา พระพิมพ์นี้จะหายากเนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมาก และเป็นพิมพ์ที่นิยมมากที่สุด ดูจากพิมพ์แล้วช่างที่แกะแม่พิมพ์อาจจะแกะพลาดทำให้มือขวาของพระยาวไปจรดคาง เลยดูเหมือนเป็นเครายาวลงมา

จึงเอามาเป็นชื่อพิมพ์ พระสรรค์ยืนเนื้อดินเผาจะพบมากกว่าพระเนื้อชิน สันนิษฐานว่าพระเนื้อชินอาจจะชำรุดไปตามกาลเวลาเสียมากจึงพบน้อยกว่า พระลีลาเมืองสรรค์นั้นนอกจากพบที่กรุวัดท้ายย่านแล้วยังพบที่กรุอื่นๆ ด้วย เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวัดบรมธาตุ เป็นต้น แต่เนื้อดินเผาของกรุวัดท้ายย่านจะละเอียดกว่ากรุอื่นๆ

ปัจจุบันพระกรุพระเก่านั้นแทบจะเป็นพระในตำนานไปแล้ว เพราะพระแท้ๆ นั้นหายาก ส่วนพระปลอมนั้นมีมากกว่า จนทำให้ไม่ค่อยที่จะเล่นหาสะสมกันเหมือนในสมัยก่อน แต่พระกรุพระเก่าแท้ๆ สนนราคาก็ยังสูงอยู่และหายากไม่ค่อยมีใครเอาออกมาให้เช่าหา ความนิยมในสังคมปัจจุบันจึงมีการเช่าหาพระเกจิฯ ยุคกลางๆ เสียมากกว่า ซึ่งจำนวนพระก็ยังพอมีให้หาเช่าได้อยู่ ในสนามพระจึงเห็นแต่ซื้อ-ขายพระเกจิอาจารย์กันมากกว่า ผมก็เลยนำพระกรุพระเก่ามาเขียนกันอยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ลืมเลือนกันไป พระกรุพระเก่าก็เหมือนประวัติศาสตร์ เป็นของเก่าที่แฝงด้วยศิลปะยุคสมัยต่างๆ ในแต่ละยุค อีกทั้งก็ยังมีประสบการณ์จากผู้ที่ได้เคยห้อยบูชาในด้านต่างๆ เล่าสู่กันฟังต่อๆ มา

ครับและในวันนี้ผมได้นำรูปพระสรรค์ยืนกรุวัดท้ายย่าน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62627392510573_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่สำลี รุ่นแรก

หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พระเถระที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร อดีตพระอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปี พรรษา 49

มีนามเดิมว่า สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2479 ที่ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ต่อมาครอบครัวย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

ช่วงวัยเด็ก นอกจากจะช่วยครอบครัวทำไร่ทำนา ยังมีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระพุทธศาสนา หากมีเวลาว่าง ครอบครัวจะพาไปทำบุญรับฟังธรรมและฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นประจำ

กระทั่ง หลวงปู่หลุย เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม ในปี พ.ศ.2513 จึงได้พาไปอุปสมบทที่พระโอสถวัดเลยหลง โดยมี พระราชคุณาธาร หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่กับหลวงปู่หลุย ที่วัดถ้ำผาบิ้ง พร้อมกับศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่หลุย ซึ่งหลวงปู่หลุยก็ถ่ายทอดให้หมด

ต่อมาในปี พ.ศ.2515 หลวงปู่หลุย ดำริให้หลวงปู่สำลีไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย

จึงย้ายมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับ วัดถ้ำคูหาวารี เป็นถ้ำที่อดีตพระเถระฝ่ายธรรมยุตหลายรูป อาทิ หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น เคยบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่

ในวาระแห่งการสร้างบารมีตอบแทนครูบาอาจารย์ หลวงปู่สำลี มีโครงการจัดสร้าง "เจดีย์จันทสาโรนุสรณ์" ที่วัดถ้ำคูหาวารี แต่ยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก ทางวัดพร้อมญาติโยมและคณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่สำลี ในปี พ.ศ.2554

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต

ด้านหลังยกขอบบริเวณใต้หูเหรียญ เขียนว่า รุ่นแรก และมีอักขระยันต์ 3 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณกลางเหรียญเป็นภาพเครื่องอัฐบริขาร จากขวามือของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำหลังเรียบ 5 เหรียญ เนื้อทองคำหลังยันต์ 5 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินหลังเรียบ 29 เหรียญ ชนวนหน้ากากเงิน 39 เหรียญ ทองฝาบาตร 999 เหรียญ เป็นต้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่สำลี อธิษฐานจิตเดี่ยว

จัดเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่สำลี ประสงค์ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ ติดต่อได้ที่วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11522833464874_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อ มงคลบพิตร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีประชาชนมาสักการบูชาขอพรกันมาก และมีการสร้างเหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2460 ปัจจุบันหายากมากครับ

พระมงคลบพิตรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น สังเกตดูจากพระพักตร์แม้จะมีพุทธลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปะที่ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วยองค์พระก่อด้วยอิฐและหุ้มด้วยสัมฤทธิ์แผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตรจากด้านตะวันออกของ วัดหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานในปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑปเกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อเครื่องนอกออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่างมณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์และรื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร ครั้งถึงปี พ.ศ.2310 ได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตรได้ถูกเพลิงเผาผลาญ จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาลีและพระกรขวาขององค์พระเสียหาย

ครั้นถึงประมาณปี พ.ศ.2458-2460 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งที่สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้เริ่มปฏิสังขรณ์หลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นครั้งแรก โดยได้ซ่อมพระเมาลีและพระกรขวาด้วยปูนปั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2474 คุณหญิงอมเรศรสมบัติ ได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะฐานพระมงคลบพิตร ปี พ.ศ.2499 ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเห็นว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้ตั้งงบประมาณเพื่อบูรณะให้มีสภาพเดิม ตลอดจนได้สร้างพระมหาวิหารเพื่อประดิษฐานพระมงคลบพิตร ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

ในการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.2460 นั้น ได้มีการสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นครั้งแรก เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมในการบูรณะครั้งนั้น โดยสร้างเป็นเหรียญรูปไข่มีพระพุทธรูปจำลองพระมงคลบพิตร สร้างเป็นเหรียญเนื้อเงินและเหรียญเนื้อทองแดง เนื้อเงินสร้างน้อยมาก นอกนั้นเป็นเนื้อทองแดง ครั้งนั้นพระเถรานุเถระที่ทรงวิทยาคุณได้รับเกียรตินิมนต์เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เช่น พระญาณไตรโลก(ฉาย) พระพุทธวิหารโสภณ(อ่ำ) พระสุวรรณวิมลศีล (ดิษ) พระครูธรรมวินัย(ชม) พระอุปัชฌาย์กลั่น วัดพระญาติการามพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดพิกุลโสคัณ เป็นต้น

เหรียญพระมงคลบพิตรรุ่นแรกนี้ เป็นเหรียญพระพุทธที่นิยมกันมาก ปัจจุบันหาได้ยากยิ่ง สนนราคาสูง และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกเนื้อเงินมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22274654400017_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน กรุบ้านหนองแจงสุพรรณบุรีเป็นกรุที่พบพระร่วงยืนอยู่หลายพิมพ์ แต่ก็มีการพบพระแบบอื่นๆ อยู่อีกบ้าง แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก เช่น พระร่วงนั่งเทริดขน นก และพระนาคปรก ซึ่งก็เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกันทั้งกรุ นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเข้าสำรวจพบเศียรปูนปั้นศิลปะลพบุรีเป็นจำนวนมาก และพบนางปัญญาบารมีและพระร่วงอีกจำนวนหนึ่ง

กรุบ้านหนองแจงอยู่ที่ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ ในการขุดพบพระเครื่องนั้นเป็นขุดพบโดยบังเอิญในที่ดินของ นายสิน ซึ่งขุดดินทำไร่ก็ได้พบพระร่วง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง 2-3 องค์โดยบังเอิญ และสังเกตว่าในที่ดินก็ได้ขุดพบเศษกระเบื้องเป็นจำนวนมาก ก็คิดว่าบริเวณนี้น่าจะมีพระร่วงอยู่อีก จึงลงมือขุดหาพระแบบเดาสุ่ม แต่ก็ยังไม่พบอะไรเลย

พอดีมีเจ้าของร้านกาแฟที่เป็นเพื่อนกันมานั่งคุยอยู่ด้วย ก็เลยให้ขุดต่อไปทางด้านทิศใต้ และก็พบไหบรรจุพระเครื่องจำนวนไม่มากนัก ต่อมาก็มีชาวบ้านในแถบนั้นรู้เข้าก็เลยพากันมาขุดโดยไม่ได้เกรงใจเจ้าของที่ดินเลย ขุดกันจนที่ดินเละไปหมด ก็พบพระร่วงอยู่กระจัดกระจายไป แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาได้พบไหบรรจุพระเครื่องอีกไหหนึ่ง ในไหมีพระบรรจุอยู่ประมาณ 140-150 องค์ ข่าวดังขึ้นเรื่อยๆ ก็มีคนมาขุดหาพระกันมากขึ้น จนขยายไปขุดกันถึงบ้านยายแหร่มที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็พบพระร่วงพิมพ์เศียรโตคล้ายๆ กับพระร่วงที่ขุดพบที่วัดปู่บัวอีก ต่อมากรมศิลปากรรู้ข่าวก็เข้ามาควบคุมการขุด ซึ่งมีซากเจดีย์อยู่องค์หนึ่งก็พบเศียรพระปูนปั้นศิลปะลพบุรีอีกจำนวนหนึ่ง

พระเครื่องที่ขุดพบที่บ้านหนองแจงนั้นเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น ผิวของพระจะมีไขขาวปกคลุมอยู่เกือบทั้งองค์ เมื่อล้างผิวไขขาวออกก็จะพบเนื้อสนิมแดงเข้มจับทั่วทั้งองค์สวยงาม พิมพ์ของพระที่พบจะเป็นพระร่วงยืนพิมพ์ต่างๆ เช่น พระร่วงยืนพิมพ์รัศมี พระร่วงยืนพิมพ์เศียรโต พระร่วงยืนพิมพ์พระพักตร์เสี้ยม พระร่วงยืนพิมพ์ยกมือซ้าย พระร่วงยืนพิมพ์จรวดอ้วนและผอม พระร่วงนั่งเทริดขนนก และพระนาคปรก เป็นต้น พระเครื่องของกรุนี้ที่พบสันนิษฐานว่าน่าเป็นพระสมัยอู่ทองยุคต้น (อู่ทองสุวรรณภูมิ) ซึ่งเป็นพระที่รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะลพบุรีหรือขอม

พระนาคปรกที่พบในกรุนี้ จะพบน้อยมาก ส่วนใหญ่จะชำรุดเสียเป็นส่วนมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และอาจจะไม่เป็นที่รู้จักกัน วันนี้ผมจึงนำรูปพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชม เพื่อเป็นการเผยแพร่มิให้ลืมเลือนกันไปครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71839049251543_view_resizing_images_2_320x200.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28904879589875_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระนางพญาพิษณุโลก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางพญาพิษณุโลก กรุวัดนางพญา เป็นพระที่ถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคี และเป็นพระที่มีความนิยมมาก ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากมากเช่นกัน และพระปลอมก็มีมานานแล้ว มีทั้งที่ฝีมือบ้านๆ ห่างจากพระแท้ และพระปลอมที่มีฝีมือการทำปลอมได้ดีใกล้เคียงกับพระแท้ก็มี แต่ก็ยังมีอยู่หลายข้อที่ยังไม่สามารถทำให้เหมือนได้

พระนางพญาพิษณุโลก เป็นพระที่มีความนิยมมานานมาก และก่อนที่จะมีการจัดชุดเบญจภาคีด้วยเพียงแต่ภายหลัง ได้มีการจัดชุดพระเครื่องที่จะนำมาห้อยคอ โดยการนำพระเครื่องยอดนิยมหลายๆ องค์มาจัดชุดห้อยคอ และพระนางพญาก็ได้ถูกจัดเข้าอยู่ในพระชุดเบญจภาคีในลำดับต้นๆ และก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก

ความนิยมพระนางพญางั้นเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ตอนที่เพิ่งแตกกรุออกมา ในปี พ.ศ.2444 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองพิษณุโลก และในครั้งนั้นทางจังหวัดได้เตรียมการรับเสด็จ โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จที่บริเวณวัดนางพญา มีงานขุดหลุมสร้างปะรำพิธี ก็ได้พบพระนางพญาโดยบังเอิญ และพบพระเป็นจำนวนมาก จึงเก็บรักษาพระไว้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพื่อทรงสักการะพระพุทธชินราช ทางจังหวัดจึงได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและพระราชทานพระบางส่วนให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า

ต่อมาได้มีการค้นคว้าประวัติวัดนางพญาก็ทราบว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นผู้สร้างวัดนี้ไว้ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระนางพญาเป็นพระที่สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีได้ทรงสร้างบรรจุไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ห้อยบูชาพระนางพญาก็ยังมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม และโชคลาภ จึงได้รับความนิยมมาก และหายากขึ้นตามลำดับ ยิ่งในปัจจุบันนั้นค่าความนิยมและสนนราคาก็ยิ่งสูงมากและหาพระแท้ๆ ยาก

พระนางพญากรุวัดนางพญาที่พบเป็นเนื้อดินเผา และพบมีพิมพ์พระอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง เฉพาะพิมพ์นี้มีอยู่ 2 แม่พิมพ์คือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดา และพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระทั้ง 3 พิมพ์นี้ถือเป็นพระพิมพ์ใหญ่เนื่องจากมีขนาดขององค์พระใหญ่กว่าอีก 3 พิมพ์ที่เหลือคือ พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพระพิมพ์กลาง คือมีขนาดย่อมกว่าพระพิมพ์ใหญ่ และเขื่องกว่าพระอีก 2 พิมพ์คือ พระนางพญาพิมพ์เทวดาหรือที่ในสมัยก่อนเรียกว่า นางพญาพิมพ์อกแฟบ และพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

ทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระพิมพ์เล็ก พระนางพญาทุกพิมพ์ของกรุวัดนางพญาล้วนนิยมทุกพิมพ์ และหายากทุกพิมพ์ พระปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว แต่พระปลอมในสมัยก่อนนั้นจะทำพิมพ์พระยังไม่ได้ดีนัก ถ้าเราจำพิมพ์ได้ก็สังเกตได้ไม่ยากนัก พอแยกได้ด้วยตาเปล่า แต่พระปลอมในปัจจุบันนั้นทำพิมพ์ได้ดีขึ้นมาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดี

เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญาพิมพ์เทวดา และพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก มักมีปัญหาอยู่บ่อยๆ โดยผู้ทำปลอมมักจะทำเป็นพระสึกๆ หน่อยทำเป็นพระที่ผ่านการใช้สึก รายละเอียดแม่พิมพ์จึงเลือนๆ สึกหายไปบ้าง แต่ถ้าสังเกตให้ดีจำรายละเอียดแม่พิมพ์ให้ได้ก็จะพอจับพิรุธได้อยู่ เพราะจะผิดเค้าโครงจากของแท้อยู่ดี ยิ่งด้านหลังพระนางพญานั้น จะมีร่องรอยของธรรมชาติการผลิตให้เห็นอยู่

คนที่ทำปลอมบางคนก็นึกว่าเป็นแค่ลายนิ้วมือที่กดแม่พิมพ์ ซึ่งข้อนี้เป็นเพียงร่องรอยทั่วๆ ไป ยังมีความลับซ้อนอยู่ บางฝีมือก็ทำดีขึ้นและรู้ว่ามีอะไรอยู่อีกก็พยายามทำ แต่ก็ทำได้ไม่เหมือนนัก ยิ่งพยายามเน้นก็ยิ่งพิรุธมากขึ้น ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนจะสอนคนที่เขาจะถ่ายทอดวิชาให้ เมื่อสอนให้จดจำ รายละเอียดของแม่พิมพ์แล้ว จะบอกให้ดูด้านข้างและด้านหลังของพระซึ่งเป็นร่องรอยการผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมของการผลิตในสมัยนั้น

จุดหนึ่งก็คือขอบกระด้งจะมีทุกองค์และทุกพิมพ์ ร่องรอยเหล่านี้เกิดขึ้นเองจากการผลิตพระจึงทำให้มีทุกองค์และทุกพิมพ์ ปัจจุบันพระปลอมก็มีทำแล้ว แต่ก็ยังมีพิรุธให้จับได้อยู่

ครับการพิจารณาพระเครื่องนั้นต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะนักปลอมพระเขาจะพยายามปรับปรุงในการทำปลอมให้ดีขึ้นด้วย เพื่อพยายามที่จะหลอกเอาตังค์ในกระเป๋าของเรา พวกเซียนจะโดนก่อนคนอื่น ถ้าประมาทก็โดนได้ด้วยกันทุกคนครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา และด้านหลังพระนางพญาหลายๆ พิมพ์มาให้ชม ถ้าฝึกสังเกตให้ดี ก็พอจะแยกพิมพ์ของพระได้จากด้านหลัง เนื่องจากรูปทรงสัณฐานของพระแต่ละพิมพ์จะไม่เหมือนกัน ลองสังเกตดูและเดากันเล่นๆ และที่ด้านหลังของพระมีอะไรที่มีเหมือนกันทุกองค์ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63682339837153_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระอุปัฌาย์คำ วัดสนามจันทร์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในด้านพุทธาคมอีกรูปหนึ่ง แต่ประวัติของท่านนั้นมิได้มีผู้บันทึกไว้อย่างเป็นทางการนัก ประวัติของท่านได้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านแทบทั้งนั้น วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ เท่าที่สืบทราบมาได้กันนะครับ

หลวงพ่อคำเป็นบุตรโยมคล้าย และโยมอ่วม บ้านอยู่ที่ปากคลองสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในสมัยที่เป็นวัยรุ่นนั้นก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ได้รับการยกให้เป็นลูกพี่ ด้วยนิสัยไม่กลัวใคร ต่อมาจนอายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงได้ขอร้องให้บวช หลวงพ่อคำจึงอุปสมบทที่วัดบ้านโพธิ์ โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมสุวณฺณ"

เมื่ออุปสมบทแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า และสอบพระธรรมวินัยได้ที่หนึ่ง เป็นคนมีความจำดีเลิศ และชอบศึกษาวิทยาคม และชอบทดลอง เมื่อบวชได้ 4 พรรษา จึงออกธุดงค์ไปในป่าเพื่อฝึกสมาธิจิต ครั้งหนึ่งได้พบกับอาจารย์ฆราวาสชื่อพุ่ม ในป่าที่ท่านไปธุดงค์ อาจารย์พุ่มนี้มีวิชาแก่กล้า มีวิชามหาอุด ตะกรุดใต้น้ำ ล่องหนหายตัว หลวงพ่อคำจึงได้เรียนวิชาต่างๆ จากอาจารย์พุ่ม จนจบ และศึกษาจากหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ พระอุปัชฌาย์ของท่านอีกด้วย หลวงพ่อแก้วเก่งทางด้านมหาอุด พัดโบก กำบังไพร เมตตามหานิยม

ต่อมาหลวงพ่อคำก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ และมีเรื่องเล่ากันต่อมาว่า ขุนแพทย์มงคล มัคนายก ต้องการพิสูจน์ท่านจึงแอบหยิบผ้าอาบของหลวงพ่อไปผูกติดกับต้นไม้แล้วยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก ชาวบ้านจึงเข้าแย่งกันฉีกผ้าอาบผืนนั้นเป็นชิ้นๆ แบ่งกันเอาไว้ติดตัว จนเป็นที่เล่าลือกันไปทั่วในละแวกแถบนั้น

ต่อมาวันหนึ่งก็มีทหารพกปืนเข้ามาในวัดเพื่อจะทดลอง พอหลวงพ่อเห็นเข้าก็ทักขึ้นว่า "ไอ้นี่หรือวะที่เขาเรียกว่าปืน มันดีอย่างไร ยิงผ้าขี้ริ้วของกูยังยิงไม่ออก" ทหารผู้นั้นจึงขอทดลอง ท่านก็หยิบผ้าเช็ดน้ำชาที่รองปั้นน้ำชาโยนไปที่พื้น ทหารผู้นั้นก็ชักปืนออกมายิงไปที่ผ้าเช็ดน้ำชา แต่ยิงเท่าไรก็ไม่ลั่น จนหมดโม่ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวบ้าน ทหารผู้นั้นจึงก้มลงกราบและขอผ้าเช็ดน้ำชาผืนนั้นกับหลวงพ่อไปบูชา จากนั้นก็เป็นที่โด่งดังมากว่าผ้าขี้ริ้วของหลวงพ่อคำยิงไม่ออก

ในปีพ.ศ.ใดไม่ได้มีใครจดบันทึกไว้ ทราบเพียงแต่ว่า ครั้งสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จมาที่วัดสนามจันทร์ และทรงแต่งตั้งให้หลวงพ่อคำเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีชาวบ้านมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ท่านได้พัฒนาวัดสนามจันทร์จนเจริญรุ่งเรือง สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สวยงาม ได้รับพระราชทานเหรียญจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ นับเป็นเกียรติประวัติสำหรับท่านและวัดสนามจันทร์

ต่อมาในปีพ.ศ.2481 พระอุโบสถที่หลวงพ่อคำท่านสร้างไว้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ลูกศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตของวัดสนามจันทร์ หลวงพ่อก็อนุญาต คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าว่า การสร้างเหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อท่านได้นำแผ่นทองแดงไปถวายหลวงพ่อที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้จารแผ่นทองแดงให้ เพื่อนำไปหลอมรีดเป็นแผ่นทองแดงเพื่อนำมาปั้นเป็นเหรียญ เช่น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อคง วัดซําป่างาม หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย เป็นต้น แล้วจึงมอบให้ลูกศิษย์นำไปหลอมและรีดเป็นแผ่น เพื่อปั๊มเหรียญ และใน พิธีพุทธาภิเษกนั้น ก็มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป

เช่น ท่านเจ้าคุณพุทธิรังสีมุณีวงศ์(โฮ้ว) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านเจ้าคุณสันทัดธรรมาจารย์เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อพูน วัดตาลล้อม ศรีราชา ชลบุรี หลวงพ่อศรี วัดพนัส ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางบัว หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นต้น หลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษกแล้ว หลวงพ่อคำท่านยังได้นำเหรียญทั้งหมดมาไว้บนกุฏิของท่าน แล้วปลุกเสกเดี่ยวอีกหนึ่งพรรษา หลังจากนั้นจึงให้นำมาแจกในงานฝังลูกนิมิต

เหรียญที่สร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงมีอยู่สามแบบคือ เหรียญด้านหน้าจะเหมือนกันหมด ส่วนด้านหลังจะมีแบบยันต์ใหญ่ และยันต์เล็ก อีกแบบจะเป็นเหรียญยันต์ใหญ่แต่จะชุบเงิน แจกให้กับคณะกรรมการวัด

หลวงพ่อคำมรณภาพหลังจากงานฝังลูกนิมิต อีก 6 ปี คือปีพ.ศ.2487

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของหลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ นับเป็นเหรียญหนึ่งที่น่าบูชาครับ สนนราคายังไม่สูงมากนัก
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26493172016408_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระกริ่งจันทวโร หลวงปู่ถนอม

พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทรวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12,15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีตพระเกจิชื่อดังลือลั่นด้านวิทยาคม ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง

พระสุปฏิปันโนที่ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในช่วงเดือน เม.ย.2562 คณะลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ "เฮียเติง"ไชยวัฒน์ กุลยะ, "กุลชา กุลชา"ณัฐพัชร์ เสนาสี, จ.ส.อ.พิสุทธิ์วัชร มีสิทธิ์ และ ร.ต.ท.แสงเพชร หล้าเนตร ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระกริ่ง จันทวโรรุ่นแรก หลวงปู่ถนอม

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมปัจจัยซื้อที่ดินหน้าวัดเนื้อที่ 2 งานไว้เป็นธรณีสงฆ์ และบำรุงเสนาสนะ

พระกริ่งรุ่นนี้ จัดสร้างเนื้อทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน 99 องค์, เนื้อทองวาสนา 999 องค์ และเนื้อทองสำริด 555 องค์

ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายพระกริ่งปวเรศ ต้นตำรับที่อ่อนช้อยงดงาม มีใบหน้าอิ่มเอิบ มีพุทธรูปลักษณะปางหมอยา และคล้ายพระกริ่งโฆสปัญโญ หลวงปู่คำพันธ์ มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3.9 เซนติเมตร

ด้านหลัง ใต้ก้นองค์พระใกล้ลูกประคำ ตอกโค้ดอักษรภาษาจีนอ่านว่า "เฮง" หมายถึงโชคดี ใต้ฐานชั้นที่ 1 สลักตัวเลขไทย นัมเบอร์ ถัดลงมาฐานชั้นสุดท้ายสลักตัวหนังสือคำว่า จันทวโร

ส่วนที่ก้นสลักพญานาคมีลักษณะขดตัวเกี้ยวหาง ด้านข้างขนาบด้วยอักขระยันต์ 4 ตัว อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ซึ่งหมายถึงตั้งฐานรวมธาตุ

หลวงปู่ถนอม ปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะประกอบพิธีปลุกเสกน้ำพุทธมนต์ในขันเป็นทักษิณาวรรต สักพักหมุนกลับมาเป็นอุตราวรรต  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32271659870942_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อโด่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวพนัสฯ และชลบุรีนับถือท่านมากรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านผู้ใช้มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านอยู่คงแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม

พระครูพินิจสมาจาร หรือ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ท่านเกิดที่บ้านเนินมะกอก ตำบลนามะตูม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2421 โยมบิดาชื่อแพ โยมมารดาชื่อจีน เมื่อครั้ง เยาว์วัยท่านเป็นคนที่มีสติปัญญาดีฉลาดปราดเปรื่อง เรียนอะไรก็สามารถจำได้รวดเร็ว จึงเป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2441 คหบดีชื่อ ฮวด ได้เป็นผู้จัดการอุปสมบทให้ที่วัดนามะตูม โดยมี พระอาจารย์เพ็ง วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปั้น วัดนามะตูม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์คง วัดประชาระบือธรรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินทโชโต" เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์ปั้น ประกอบกับท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี จึงสามารถศึกษาได้แตกฉานอย่างรวดเร็ว หลวงพ่อโด่ ยังได้ออกธุดงค์ไปยังภาคเหนือ และได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับพระเกจิอาจารย์ที่ท่านพบในป่าอีกด้วย

ต่อมาท่านทราบว่าพระอาจารย์ปั้นอาพาธ ท่านจึงกลับมาดูแลปรนนิบัติพระอาจารย์ปั้นจนมรณภาพในปี พ.ศ.2446 ชาวบ้านและคณะสงฆ์ที่นิมนต์ท่านขึ้นเป็น เจ้าอาวาสสืบแทน และท่านก็ได้พัฒนาวัดนามะตูมให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา การเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัด ช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก และรักษาโรคภัยให้กับชาวบ้านเสมอมา จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านแถบนั้นมาก

ในปี พ.ศ.2476 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลนามะตูม ปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อโด่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพินิจสมาจาร ในปี พ.ศ.2503 และได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะอำเภอพนัสนิคม และได้รับพระราชทานพัดยศพิเศษ จ.ป.ร. ปี พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นเอก หลวงพ่อโด่มรณภาพเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2515 สิริอายุได้ 95 ปี พรรษาที่ 74

หลวงพ่อโด่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2496 และท่านยังสร้างเหรียญไว้หลายรุ่น เช่น เหรียญสร้างโบสถ์วัดบ้านใหม่ปี 2503 เหรียญฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ ปี พ.ศ.2503 เหรียญกลม และเหรียญจักร ปี พ.ศ.2513 พระปิดตาท่านก็ได้สร้างไว้หลายรุ่นเช่นกันครับ หลวงพ่อโด่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งในจังหวัดชลบุรี จังหวัดใกล้เคียงจนถึงในกรุงเทพฯ เองก็มีเยอะ เวลาใครจะไปขอของขลังจากท่าน ท่านก็จะสั่งสอนให้เป็นคนดี ถือศีลถือสัตย์แล้วประพฤติดีเสมอ

ในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 กันยายน 2562 12:44:23
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63414306566119_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดนครปฐมซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเคารพและยกย่องว่าเก่งกว่าท่าน หลวงพ่อห่วง หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ ทั้งสามท่านนี้ในสมัยก่อน เคยออกธุดงค์ด้วยกันเสมอ ทั้งสามท่านจึงสนิทสนมกันดี

หลวงพ่อห่วงเกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2428 เกิดที่บ้านตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ต่อมา ได้อุปสมบทที่วัดทรงคะนอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2449 โดยมีพระอธิการรุ่ง วัดทรงคะนอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์มี และพระอธิการแจ่ม วัดทรงคะนอง เป็นพระคู่สวด เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดทรงคะนอง ครั้นออกพรรษาจึงได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่อันสงบในป่าเขาลำเนาไพร นานถึง 6 พรรษา ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมต่างจากพระอาจารย์หลายองค์ที่ท่านพบในป่านั้น ต่อมาท่านจึงได้มาปักกลดอยู่ในที่วัดท่าใน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีสภาพทรุดโทรม ปรากฏว่าประชาชนในย่านนั้นต่างพากันเคารพศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน และพร้อมกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งท่านก็มิได้ขัดข้องอนุโลมตามศรัทธาและความประสงค์ของชาวบ้าน

นับแต่นั้นมาท่านก็ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ประพฤติดีประพฤติชอบ และช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญขึ้นโดยลำดับจนทุกวันนี้ ด้วยศีลาจารวัตรอันน่าเลื่อมใส และวิริยะอุตสาหะของท่าน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งดังต่อไปนี้ ปี พ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใน พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา พ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสิริวุฒาจารย์ หลวงพ่อห่วงมรณภาพเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 78 ปี พรรษาที่ 57

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่ได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน และเชือกถักมงคล ซึ่งท่านทำไว้ไม่มากนัก เนื่องจากท่านจะพิจารณาดูเสียก่อนว่าจะให้ใคร และท่านจะให้ผู้ที่ได้รับไปนั้นสัญญากับท่านก่อนว่าจะไม่นำไปปล้นใคร โดยท่านจะบอกว่า "มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ" มีลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่งต่อมาประพฤติไม่ดี ท่านก็เรียกมาพบและขอดูตะกรุด พอชายคนนั้นถอดตะกรุดให้ท่านดู ท่านก็กำเอาไว้ ตะกรุดดอกนั้นกลับละลายไปเลย แล้วท่านก็โยนทิ้งลงน้ำไป เจ้าของถึงกับร้องไห้ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเนื้อผงเกสรขณะนี้หาดูยากครับ พระผงนี้เมื่อกดพิมพ์และแห้งดีแล้ว ท่านจะใส่ไว้ในบาตรมีน้ำเต็ม ท่านจะบริกรรม ปลุกเสกจนพระผงลอยน้ำขึ้นมาจึงจะใช้ได้ ส่วนองค์ไหนที่จม ไม่ลอย ท่านว่าเป็นพระเสียใช้ไม่ได้

เหรียญของท่านรุ่นแรก สร้างประมาณ 500 เหรียญ โดยศิษย์สร้างถวายเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหลังเป็นยันต์กระต่ายสามขาซ้อนกันสองชั้น ยันต์นี้เป็นยันต์ทางคงกระพันชาตรี

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน รุ่นแรก มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64239759412076_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระกริ่งอัคคธัมโม หลวงปู่ประไพ

หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม" อดีต เจ้าอาวาสวัดป่าศรีประไพวนาราม ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ชื่อดัง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร และศิษย์เอกหลวงปู่ผาง คุตจิตโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุดมคงคาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

มีนามเดิมว่า ประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ที่บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์)

เข้าสู่ร่มกาวสาวพัสตร์ ในวัย 24 ปี เมื่อปี พ.ศ.2492 ก่อนจะญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 อุปสมบทที่วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร มีพระสีลา อิสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อินตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์แตงอ่อน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท รับใช้พระอุปัชฌาย์นาน 3 ปี จึงเดินธุดงค์กับพระรูปอื่น ไปที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนปวารณาฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกธุดงค์ไปปักกลดเน้นที่ป่าช้าใน จ.ชัยภูมิ จึงมุ่งหน้ากลับสู่มาตุภูมิบ้านเกิด ก่อนเดินธุดงค์ต่อและนั่งปฏิบัติธรรมในวัดพื้นที่ จ.นครพนม อีก 10 แห่ง

ช่วงที่จำพรรษาที่วัดป่าศรีประไพวนาราม มีญาติโยม รวมทั้งลูกศิษย์แวะเวียนไปกราบมิได้ขาด แต่ด้วยสังขารที่ร่วงโรย ขณะอาพาธที่กุฏิ 2 ปี ท่านจึงไม่รับกิจนิมนต์

กระทั่งเมื่อเวลา 02.45 น. วันที่ 12 ก.ค.2560 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 64

ในปี พ.ศ.2559 วัดประชาสามัคคี (วัดพระธาตุโพนสวรรค์) ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระกริ่งอัคคธัมโม รุ่นสร้างบารมี วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพระธาตุโพนสวรรค์

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน 110 องค์, เนื้อนวะ 421 องค์, เนื้อนวะ (กรรมการ) อุดผง 99 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ผิวไฟ 50 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,645 องค์ และแบบช่อตั้งบูชา 20 ช่อ

ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายพระกริ่งบาเก็ง เป็นพระกริ่งศิลปะจีน ซึ่งท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ได้ถอดแบบ และรุ่นนี้ยังถอดแบบจากพระกริ่งหลวงปู่ผาง คุตจิตโต มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร

ด้านหลังบริเวณฐานองค์พระชั้นล่างสุด สลักตัวหนังสือคำว่า อคฺคธมฺโม ที่ก้นสลักนับเบอร์ไว้ทุกองค์ พร้อมตอกโค้ด พธ (ย่อมาจากพระธาตุโพนสวรรค์) ในรูปใบโพธิ์

พระกริ่งรุ่นนี้ปลุกเสก 9 วาระ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาลเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่เฉย ญาณธโร วัดสระเกษ จ.ขอนแก่น, หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม, หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดศรีชมพู อ.นาหว้า จ.นครพนม

ส่วนวาระสุดท้ายหลวงปู่ประไพนั่งอธิษฐานจิตในกุฏิ

นอกจากนี้ ยังนำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก เจ้าสัวสี่ รุ่นสร้างเขื่อน วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อ 22 พ.ย.2559 ด้วย

เป็นอีกวัตถุมงคลที่โดดเด่น และหาได้ยาก
   ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42414852024780_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระเขมรผมหวี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด!


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" นั้นอาจจะเคยได้ยินกันมานานแล้ว แต่ก็เป็นปัญหาคาใจสำหรับท่านผู้เป็นเจ้าของวัตถุมงคลนั้นๆ มาโดยตลอด แล้วที่ว่าแท้ไม่รู้ที่นั้นจริงๆ หรือเปล่า แล้วทำไมถึงรู้ว่าแท้ ก็เป็นปัญหานานาที่ต้องค้างคาใจไปตลอด

ครับปัญหานี้ผมเองก็ได้ยินมาตลอด ซึ่งก็มีมานานแล้วและทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของวัตถุมงคลนั้นๆ งงสงสัย ยิ่งในยุคนี้ซึ่งมีการออกใบรับรองก็ยิ่งมีคำถามเพิ่มขึ้นมาก แต่ถ้าผู้ที่เล่นหาสะสมมานานพอสมควรก็พอจะเข้าใจได้ แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เล่นหาสะสม ก็คงจะงงได้ เรามาดูถึงปัญหาที่ว่าแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดกันว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ก่อนอื่นต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่งคือ ในสังคมพระเครื่องนั้นเขาก็มักจะนิยมและเล่นหาพระเครื่องที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมกันเท่านั้น การที่จะได้รู้ว่าเป็นพระอะไรที่ไหน ก็จะต้องมีความนิยมเล่นหาสะสมกันก่อน หรือเป็นพระเครื่องที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนในความเป็นจริงการสร้างพระเครื่องนั้นก็มีการสร้างกันมานานนมแล้ว ถ้าพูดถึงพระเก่าๆ ก็เป็นพันปีมาแล้ว ซึ่งมักจะสร้างบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ ซึ่งในประเด็นนี้บางกรุก็มีสร้างกันหลายๆ พิมพ์

ทีนี้มาถึงยุคที่พระเกจิอาจารย์สร้างในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีที่สร้างบรรจุกรุเจดีย์และที่ไม่ได้บรรจุกรุ โดยสร้างแจกกันไปเลยตามแต่ที่ลูกศิษย์ลูกหาจะมาขอให้สร้าง และบางวัดก็มีพระเกจิฯ หลายรูปสร้างกันต่อๆ มาอีก ถ้านับก็จะมากมายเหลือคณานับ ดังนั้นจึงไม่มีใครที่จะทราบได้หมดว่าเป็นพระอะไรบ้าง มีแม่พิมพ์เป็นอย่างไร เนื้อหาเป็นอย่างไร

ในสังคมพระเครื่องก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะเลือกเล่นหาสะสมเฉพาะที่มีคนรู้จักกันแพร่หลายเท่านั้น พระเครื่องที่สร้างและรู้จักกันเฉพาะท้องถิ่นก็ยังมีอีกมาก บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ แม้ท้องถิ่นเองก็ยังไม่รู้จักก็มี เนื่องจากไม่มีบันทึกไว้ หรือไม่นิยม นานเข้าก็ลืมเลือนกันไป

วัตถุมงคลบางอย่างแม้ว่าพระเกจิฯ ที่ปลุกเสกไว้ก็เป็นเกจิฯ โด่งดัง แต่บางรุ่นก็ไม่เป็นที่รู้จัก ขอยกตัวอย่างเช่น วัตถุมงคลของหลวงปู่แหวน วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษม และวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ บางรุ่นก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากแต่ละหลวงพ่อท่านก็ปลุกเสกไว้เป็นพันรุ่น เพราะมีผู้มาขอให้ท่านปลุกเสก ท่านก็ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตให้ด้วยความเมตตา ยิ่งในระยะหลังๆ บางครั้งตัวหลวงพ่อเองก็ยังไม่ทราบ เพราะไม่ได้มาขออนุญาต แต่อาศัยไปขอร่วมพิธีของคนอื่น หรือยิ่งร้ายไปกว่านั้นพอใครเขาจะทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องก็นำเอาวัตถุมงคลของตนเองไปพ่วง โดยนำวัตถุมงคลใส่ไว้ในรถบริเวณใกล้ๆ โบสถ์แล้วแอบนำสายสิญจน์ไปผูกโยงต่อมาที่รถของตนก็มี แบบนี้ก็ไม่มีบันทึก หรือไม่มีใครนิยมเล่นหา และไม่มีใครรู้จัก

นอกจากนี้พระที่สร้างกันในท้องถิ่นและไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายก็ยังมีอีกมาก บางทีก็รู้จักกันในท้องถิ่นตามที่กล่าวมาในขั้นต้น แม้แต่พระที่บรรจุอยู่ในกรุเก่าแก่โบราณ และมีพระในกรุนั้นนิยมเล่นหากันแพงๆ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ยังไม่ได้นิยมหรือมีจำนวนมากพอที่จะมีคนรู้จักก็มีอีกมากเช่นกัน

เวลานำไปให้ใครดูเขาก็อาจจะไม่รู้จัก และพระบางองค์ก็มีความเก่าพอ หรือพระเกจิฯ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก ก็จะไปบอกว่าพระเขาไม่แท้ก็ไม่ได้ เนื่องจากเขาสร้างมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ได้มีเจตนาลอกเลียนแบบ หรือเจตนาที่จะทำให้เข้าใจผิดเป็นอื่นจากความเป็นจริง วัตถุมงคลประเภทนี้ก็ต้องยกประโยชน์ให้ว่า แท้ เพียงแต่ยังไม่ทราบที่ หรือหลวงพ่อที่ปลุกเสก เป็นต้น

ครับที่ผมนำมาพูดคุยกันนั้นก็พอดีมีผู้ที่นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองบางท่าน ซึ่งพระของท่านเหล่านั้นผลการพิจารณาออกมาว่าแท้ ไม่รู้ที่ จึงไม่สามารถออกใบรับรองให้ได้ และก็ทำการคืนเงินค่าบริการตรวจสอบให้ บางท่านก็ยังไม่พอใจและบางครั้งก็โวยวายว่าทำไมสมาคมจึงไม่รู้หรือ ไม่ค้นหาข้อมูลมาออกใบรับรองให้

ซึ่งเหตุผลที่ทางสมาคมไม่สามารถออกใบรับรองให้ได้นั้นก็เนื่องจากไม่มีข้อมูล ถึงแม้ว่าจะระดมผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ด้านมาค้นหาแล้วก็ยังไม่ได้ข้อมูล จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นพระอะไร วัดไหนหรือใครสร้าง พิมพ์ของพระเป็นอย่างไร และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าแท้ไม่แท้อย่างไร วัตถุมงคลประเภทนี้จึงเข้าข่าย "พระแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" ครับ

เอาเรื่องที่เกิดกับตัวผมเอง ซึ่งเคยเช่าพระที่เป็นประเภทแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดอยู่เหมือนกัน แล้วทำไมจึงเช่าหามา ก็ต้องบอกว่าในสมัยก่อนเวลาผมไปต่างจังหวัด หรือมีคนมาบอกให้ช่วยเช่าพระ ผมเองก็จะไปดูและเช่าหาไว้บ้าง ถ้าเป็นพระที่ผมพอรู้จัก และพอดูเองได้ แต่ก็มีพระบางอย่างที่ไม่รู้จัก แต่ดูแล้วเก่าและน่าจะแท้ก็จะเช่าพ่วงมาด้วย แต่พระประเภทนี้บางองค์จนปัจจุบันผ่านมา 30-40 ปีแล้วก็ยังค้นไม่พบว่าเป็นพระอะไร ของวัดไหนก็มี เพราะเป็นพระที่เขายังไม่รู้จักกันแพร่หลายหรือยังไม่นิยมกัน

และนอกจากนั้นบางครั้งก็ไปเจอพระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าแน่ตามที่เราพิจารณาดู ทั้งศิลปะและเนื้อหาความเก่า ส่วนใหญ่จะเป็นพระขนาดใหญ่หน่อย ที่มักจะเรียกกันว่าพระแผง บางครั้งผมไปเจอเข้า ศิลปะดีสวยงาม เนื้อหาดี ราคาไม่แพงนักก็จะเช่าไว้ดูและค้นคว้าต่อ เพราะผมเองไม่ใช่พ่อค้าพระหรือเซียนที่เช่ามาแล้วจะต้องขายได้ ผมก็จะเช่าไว้ศึกษาก็มีอยู่หลายองค์ และผมเองคิดว่าสนุกดีที่ได้มีโอกาสค้นหาว่าเป็นพระอะไรกรุใด บางองค์ก็ค้นได้ในที่สุดว่าเป็นพระอะไรกรุใด

แต่ก็ยังมีอีกบ้างที่ยังไม่รู้กรุเลย จะว่าไม่แท้ก็ไม่ได้ เพราะทั้งศิลปะและเนื้อหาเก่าจริงจากประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องพระของผม พอนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนพระช่วยดูก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นของกรุใด แต่ก็ยอมรับความเก่าและยืนยันว่าเป็นพระแท้ หรือดีหน่อยก็สันนิษฐานว่าเป็นกรุแถบจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ ซึ่งบางครั้งก็ตรงกับที่ผมคิด

มีพระเครื่องขนาดใหญ่อยู่องค์หนึ่งที่ผมเช่ามา เนื่องจากเห็นว่าศิลปะเป็นแบบลพบุรีหรือขอม ซึ่งมีศิลปะที่สวยงามเข้มข้นตามแบบของศิลปะขอม เนื้อหาของพระก็เก่าแก่ถูกต้องตามอายุกาล จึงเช่าไว้ซึ่งก็ไม่แพงนัก แล้วมาค้นคว้าต่อ ซึ่งก็เป็นความสนุกของผมอย่างหนึ่งในการเล่นหาสะสมพระเครื่อง ตอนที่เช่าหามาก็ต้องบอกว่าเป็นพระประเภท "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" เพราะยังไม่รู้ว่าเป็นพระอะไรของกรุใด

การเรียกชื่อก็เรียกตามศิลปะขององค์พระ ซึ่งมีศิลปะแบบขอมและตามรูปแบบพระบูชาของยุคลพบุรีว่า "เขมรผมเวียน" เนื่องจากพระศกทำเป็นเส้นวนรอบพระเศียร ถ้าทำเป็นเส้นตั้งตามพระเศียรขึ้นไปก็จะเรียกว่า "เขมรผมหวี" ซึ่งเป็นศัพท์ที่เรียกพระบูชาที่มีศิลปะแบบลพบุรีหรือขอมมักจะเรียกกันแบบนี้ แต่ที่นี้เป็นของกรุใดก็ต้องค้นกันต่อไป

ต่อมาก็ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เปรียบเทียบศิลปะและเนื้อหาจนได้ความใกล้เคียง ซึ่งเนื้อหาของพระเป็นเนื้อชินเงินที่ใกล้เคียงกับของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จึงสันนิษฐานว่าเป็นของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ครับก็เป็นการยกตัวอย่างว่าพระแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดนั้น ต้องค่อยๆ ศึกษาหาข้อมูลกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบข้อมูลที่พอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นพระอะไรของวัดใด ซึ่งบางครั้งก็ทราบได้ แต่บางครั้งก็ยังไม่ทราบ เจ้าของพระก็ต้องค่อยๆ ค้นกันต่อไปครับ

ในวันนี้ผมก็เลยขอนำรูปพระเขมรผมหวี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งเป็นของผมเองตามที่เล่ามาครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2562 16:18:53
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56573264921704_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
หลวงพ่อโม้วัดสน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูศีลนิวาส(หลวงพ่อโม้) วัดสน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่ายุคเดียวกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกัน หลวงพ่อโม้เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านเคารพรักมาก เหรียญของหลวงพ่อโม้นับว่าเป็นเหรียญนิยมเก่าแก่ของชาวธนบุรี ปัจจุบันหาชมยากครับ

หลวงพ่อโม้เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2412 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โยมบิดาชื่อโต โยมมารดาชื่อฉ่ำ พออายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดไทรย์ ตำบลจระเข้ร้อง อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีพระครูทอง วัดสนามไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นิ่ม วัดน้ำซน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดเทวราช เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดศาลา จังหวัดอ่างทอง 4 พรรษา ต่อมา ท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดราชนัดดา ในสมัยที่พระนิกรมมุนี (โห้) เป็นเจ้าอาวาส หนึ่งพรรษา ก็พอดีมีชาวบ้านมานิมนต์ ท่านไปจำพรรษาที่วัดสน ราษฎร์บูรณะ ซึ่งขณะนั้นวัดสนว่าง เจ้าอาวาสอยู่พอดี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสน เมื่อท่านได้มาอยู่ที่วัดสนแล้วก็ได้เอาใจใส่ดูแลถาวรวัตถุต่างๆ เช่น จัดให้มีการสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาล เป็นต้น พอว่างท่านก็ได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) สมัยเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์ เถระ(เอี่ยม)

พอถึงปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการ เจ้าคณะตำบลราษฎร์บูรณะ และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูศีลนิวาส พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

หลวงพ่อโม้กับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นศิษย์สำนักวัดพลับ ด้วยกันและมีความสนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันอยู่เนืองๆ ในสมัยก่อนก็มีคำกล่าวว่าศิษย์ 2 สำนักนี้หนังดีฟันไม่เข้า เป็นที่รู้กันดีในแถบนั้น เมื่อปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อโม้อายุครบ 6 รอบ (72 ปี) ศิษยานุศิษย์จึงได้จัดงานฉลองอายุ และขออนุญาตท่านออกเหรียญรูปท่าน เป็นเหรียญรูปเสมารูปหลวงพ่อโม้ครึ่งองค์ แล้วก็เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหายากราคาสูง และต่อมาก็ยังมีการออกเหรียญอีกรุ่นในปี พ.ศ.2500 แต่เหรียญนิยมจะเป็นเหรียญรุ่นแรก

หลวงพ่อโม้เป็นเจ้าอาวาสวัดสน และเป็นที่รักเคารพของชาวบ้าน จนถึงปี พ.ศ.2503 จึงได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 70

เหรียญของหลวงพ่อโม้รุ่นแรกนั้นชาวบ้านแถววัดสนหวงแหนมาก ปัจจุบันก็หายากพอสมควร สนนราคาสูง วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโม้ วัดสน มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91030255084236_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญตอก 1 หลวงปู่พัน

หลวงปู่พัน ฐานกโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม

ปัจจุบัน สิริอายุ 115 ปี พรรษา 46 พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมและมีอายุยืนยาวมาก เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

มีนามเดิม พันธ์ศรี กันภัย เกิดปี พ.ศ.2448 อ.นาทม จ.นครพนม เป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ชีวิตในวัยเยาว์ใช้ชีวิตเหมือนเด็กตามชนบทอีสานทั่วไป เรียนหนังสือที่วัดในหมู่บ้าน ด้วยความที่มีใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม

เมื่ออายุ 25 ปี เข้าพิธีอุปสมบท แต่ด้วยความจำเป็นบางประการ จึงลาสิกขาออกมา

ในช่วงปี พ.ศ.2482-2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกเกณฑ์ให้เป็นทหารร่วมรบ แต่ก่อนเข้าสู่สมรภูมิ ได้รักษาศีล นุ่งขาวห่มขาว เข้ารับอาบน้ำว่าน 108 ที่วัดถ้ำภูเขาควาย หลังสงครามสงบ ท่านได้ใช้ชีวิตทำมาหากินทำไร่ทำนา

ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตทางโลก จึงตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2516 โดยมีพระครูรัตนคุณาวสัย เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นท่านได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดยอดแก้ว อ.นาทม

เนื่องจากท่านเป็นคนชมชอบวิทยาคม จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน วัดท่าอุเทน จ.นครพนม, หลวงปู่บุญมา สุชีโว พระป่าสายกัมมัฏฐานชื่อดังของ จ.ยโสธร เป็นต้น

จนถึงปี พ.ศ.2545 ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม ตราบจนปัจจุบันและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยมงคล

สำหรับวัดโพธิ์ชัยมงคล เป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุที่สำคัญใช้ในกิจของสงฆ์ อาทิ ศาลาการเปรียญ และหอระฆัง เป็นต้น แต่ยังขาดปัจจัยดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก

ดังนั้น คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย นายชินพัฒน์ ศิริประเสริฐ และอู่อาร์บีเอส แปดริ้ว ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนรุ่นตอก 1 หลวงปู่พัน เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่บริจาคสมทบสร้างศาลาการเปรียญและหอระฆังวัดโพธิ์ชัยมงคล ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่พันครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณสังฆาฏิจะตอกเลข "๑" ชัดเจน

ส่วนด้านหลังบนสุดเขียนว่า หลวงปู่พัน ฐานกโร และจากด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย มีตัวอักษรเขียนว่าวัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม บริเวณกลางเหรียญมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

สำหรับจำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 60 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 60 เหรียญ เนื้อนวะลายเสือ 199 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 2 สี 499 เหรียญ นวะหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อกะไหล่ทองลงยา 299 เหรียญ เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25588554309474_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวิทยานุโยค (พึ่ง) วัดรางบัว เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมากของชาวบ้านแถบวัดรางบัว ท่านเคยสร้างเหรียญไว้รุ่นหนึ่ง มีประสบการณ์มาก เคยมีนายตำรวจทดลองยิงแต่ก็ยิงไม่ออก ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นเหรียญรุ่นนี้กันนักครับ

หลวงพ่อพึ่งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2408 ที่แขวงบางระมาด ตลิ่งชัน โยมบิดาชื่อชม โยมมารดาชื่อส้มแป้น และได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับพระอธิการยัง วัดรางบัว ต่อมาเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดจำปา โดยมีเจ้าอธิการเผือก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ไปจำพรรษาอยู่กับพระอธิการยัง วัดรางบัว ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอธิการยัง จนถึงปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดรางบัว ท่านได้พัฒนาวัดรางบัวจนเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ปี พ.ศ.2479 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2482 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวิทยานุโยค เมื่อถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2483 ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

หลวงพ่อพึ่งเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาธรรมสูง ชาวบ้านในแถบนั้นจะเห็นหลวงพ่อพึ่งกวาดลานวัด และดายหญ้าเป็นประจำทุกวัน สวดมนต์ทำวัตรมิได้ขาด เป็นคนพูดจริงทำจริง นักเลงในแถบนั้นเกรงกลัวท่านมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งพระลูกวัดทำความผิด ท่านจึงขับพระรูปนั้นออกจากวัด และทำให้พระรูปนั้นโกรธท่านมาก ได้ไปเอาปืนลูกซองมากะจะยิงท่าน แต่ไปพบกับพระลูกวัด 2 รูปที่เขาคิดว่านำเรื่องไปฟ้องหลวงพ่อพึ่ง จึงยิงพระทั้ง 2 รูปนั้นมรณภาพ หลังจากนั้นก็ไปดูหลวงพ่อพึ่งที่กุฏิ เห็นหลวงพ่อนั่งอยู่ที่กุฏิจึงยิงหลวงพ่อแต่ปืนยิงไม่ออก แม้จะยิงซ้ำอีกหลายทีก็ยังยิงไม่ออกเช่นเดิม จากนั้นจึงวิ่งหนีและถูกจับได้ในที่สุด เรื่องนี้คนเก่าคนแก่ในย่านนั้นรู้เรื่องดี

ต่อมาในปี พ.ศ.2482 หลวงพ่อพึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ ซึ่งท่านก็อนุญาต นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญรุ่นนี้ทำเป็นเหรียญอัลปาก้า รูปทรงคล้ายๆ กับรูปทรงของเหรียญวัดหนัง

เหรียญนี้เคยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย มีนายตำรวจท่านหนึ่งทราบว่าเหรียญนี้ยิงไม่ออก จึงได้ไปขอเหรียญนี้มาจากวัด และทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออก ข่าวแพร่ออกไปจึงมีคนเข้าไปหาเหรียญรุ่นนี้จากวัดจนหมด

เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว รุ่นแรก สร้างจำนวนประมาณ 1,000 เหรียญ ปัจจุบันค่อนข้างหายากแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญที่สร้างภายหลังคล้ายๆ กันแต่ไม่ทันหลวงพ่อ จุดสังเกตตรงคำว่าที่ระลึก เหรียญรุ่นแรกจะสะกดผิดเป็น "ที่ระลิก" ส่วนรุ่นหลังจะเป็น "ที่ระลึก"

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73125460205806_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อเมฆพัดที่มี ชื่อเสียงโด่งดังมากๆ และเป็นอันดับหนึ่งของพระปิดตาเนื้อเมฆพัด คือ พระปิดตาของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งปัจจุบันเป็น พระปิดตาที่มีสนนราคาสูงมากและหายากมากครับ

หลวงปู่นาคเกิดเมื่อปี พ.ศ.2358 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายาว่า "โชติโก" จำพรรษาอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จนถึงปี พ.ศ.2432 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากรัชกาลที่ 5 ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ ที่ "พระครูปาจิณทิศบริหาร" ตำแหน่ง เจ้าคณะรองเมืองนครชัยศรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2441 จึงได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ในพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์

โดยตั้งห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ 1 ก.ม. แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานวิสุงคารามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2443 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ชื่อว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ ชาวบ้านมักจะเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" ต่อมาก็เป็น "วัดห้วยจระเข้" จนทุกวันนี้ โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

หลวงปู่นาคเป็นผู้มีความรู้แตกฉาน ทั้งหนังสือไทย ขอม และบาลี และมีปฏิปทา มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร ทายก ทายิกา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นอย่างมาก ท่านปกครอง วัดห้วยจระเข้นานถึง 11 ปี และมรณภาพในปี พ.ศ.2452

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อโลหะอันมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านเริ่มสร้างประมาณในปี พ.ศ.2432 ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในสมัยแรกๆ มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน และเนื้อชินเขียว ต่อมาได้เริ่มสร้างเป็นเนื้อเมฆพัดซึ่งเป็นเนื้อมาตรฐานที่นิยมกันในปัจจุบัน เนื้อโลหะเมฆพัดนี้เกิดจากการนำแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วยกำมะถัน มีสีดำเป็นมัน แววเป็นสีคราม พิมพ์ที่นิยมเป็นมาตรฐานคือ พิมพ์ท้องแฟบหรือพิมพ์หูกระต่าย และพิมพ์สะดือจุ่น

พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคนี้ท่านจัดสร้างเองภายในวัด เนื้อพระจะเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ เคลือบเขียวสวยงาม น้ำหนักตึงมือ ที่สำคัญจะไม่ปรากฏรอยพรุนของโพรงอากาศเลย เนื้อเรียบสนิท บริเวณนิ้วพระหัตถ์จะมีรอยตะไบตกแต่ง และมีรอยจารอักขระ ซึ่งหลวงปู่นาคจารด้วยตัวเองทุกองค์ โดย จะลงตัวนะคงคา อันเป็นนะสำคัญ ซึ่งต้องระเบิดน้ำลงไปลงอักขระและท่านจะปลุกเสกเดี่ยวของท่านทุกองค์

พระปิดตาหลวงปู่นาคแฝงเร้นด้วยพลังอันเข้มขลัง ทั้งแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือกันทั่ว ปัจจุบันมีราคาสูงและหายากมากๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา พิมพ์หูกระต่าย ของหลวงปู่นาคมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82317294056216_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระนาคปรกกรุบ้านดอนคา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่ดูแปลกตาจากพระนาคปรกทั่วไปก็คือ พระนาคปรกกรุบ้านดอนคา สุพรรณบุรี คือจะมีเศียรนาคแค่ 5 เศียรเท่านั้น ซึ่งโดยปกติทั่วไปคตินิยมในการสร้างพระนาค ปรกนั้นจะนิยมสร้างให้นาคมีเศียร 7 เศียร

พระนาคปรกกรุบ้านดอนคามีการขุดพบโดยบังเอิญนานมาแล้ว ที่บ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักกันนัก เนื้อพระที่ขึ้นมามีจำนวนน้อยและเก็บกันเงียบ พระที่พบในครั้งนั้นถูกย้ายมาขายที่ตลาดบางลี่ อําเภอสองพี่น้อง เนื่องจากบ้านดอนคาในสมัยก่อนนั้นอยู่ห่างไกลการเดินทางยากลำบากและไม่สะดวก ในสมัยนั้นบ้านดอนคาเป็นชุมชนเชื้อสายเวียงจันทน์ที่มีขนาดใหญ่ พระทั้งหมดจึงได้ถูกนำมาขายในตลาดบางลี่

ศิลปะของพระนาคปรกกรุบ้านดอนคาเป็นศิลปะแบบขอมหรือสมัยลพบุรี องค์พระอวบพุงพลุ้ย สวมอุณหิส (เทริด) องค์พระประทับบนฐานขนดนาค 3 ชั้น เทียบเคียงได้กับศิลปะของขอมแบบบายน ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

แต่ที่แปลกกว่าพระเครื่องนาคปรกอื่นๆ ก็คือ โดยทั่วไปเรามักจะพบพระนาคปรกที่มีเศียร 7 เศียรแทบทั้งสิ้น แต่พระนาคปรกบ้านดอนคากลับมีเศียรนาคแค่ 5 เศียรเท่านั้น นับว่าแตกต่างจากพระนาคปรกทั่วๆ ไป และเท่าที่พบพระเครื่องนาคปรกจากกรุต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ก็มีเพียงพระนาคปรกกรุ บ้านดอนคาเท่านั้น ที่มีเศียรนาคเพียง 5 เศียร ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระนาคปรกกรุนี้ครับ

พระนาคปรกกรุบ้านดอนคาพบเพียงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเท่านั้น ผิวของพระจะปกคลุมด้วยไขขาว พอล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบกับผิวสนิมแดงสวยงาม แต่พระที่พบก็มีจำนวนไม่มากนัก พระส่วนใหญ่ถูกเก็บเงียบกันอยู่ในสุพรรณฯ

ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นกัน จึงอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลายนัก แต่ก็เป็นพระนาคปรกที่น่าสนใจ ศิลปะยุคสมัยเก่าแก่ถึงยุคขอมแบบบายน ในเรื่องประสบการณ์และพุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน จึงเป็นที่หวงแหนกันมากในสมัยก่อน ปัจจุบันสนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ และหาพระแท้ๆ ยาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ ครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่บ้างเป็นธรรมดา เท่าที่พบเห็นของปลอมยังทำได้ไม่เหมือนนักครับ พอจับพิรุธได้ถ้าสังเกตดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกกรุบ้านดอนคา จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43667954537603_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ ปี พ.ศ.2481 ในพิธีครั้งนี้พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เรืองวิทยาคมทั้งสิ้น พระเกจิอาจารย์ที่ผมกล่าวถึงก็คือหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครับ

พระครูธรรมสุนทร(จันทร์) วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ที่หมู่บ้านริมคลองเหนือ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โยมบิดาชื่อ จีน โยมมารดาชื่อ เคิ้ว นามสกุลจีนเครือ ชีวิตในวัยเด็กก็เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ใช้ชีวิตอย่างอิสระ หน้าที่ของท่านคือต้อนฝูงควายฝูงใหญ่ไปเลี้ยง อุปนิสัยเป็นคนจริง พูดเสียงดัง และค่อนข้างจะเป็นคนเขื่องอยู่ไม่น้อย เป็นหัวหน้าในกลุ่มเพื่อนฝูง

พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2440 ก็ได้อุปสมบทที่วัดหนองเสือ บ้านโป่ง โดยมีพระอธิการดำเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี(จันทรโชติ) วัดบ้านยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้ศึกษาอักขระทั้งขอมและไทย ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เริ่มศึกษาพระปริยัติและปฏิบัติกับพระอธิการดี จนมีความรู้แตกฉาน และทางด้านพุทธาคมนั้นก็ได้ศึกษากับพระอธิการดี และพระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอกอีกด้วย ต่อมาท่านก็ได้สร้างพระปิดตาออกมาแจกกับชาวบ้านลูกศิษย์ลูกหาจนปรากฏในทางคงกระพันเล่าลือกันมาก ในราวปี พ.ศ.2466 พระอธิการดี เจ้าอาวาส ถึงกาลมรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนกระทั่งปี พ.ศ.2475 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมสุนทร หลวงปู่จันทร์มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

ในครั้งที่หลวงปู่จันทร์ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2481 ที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ทางคณะศิษย์ได้จัดงานแสดงมุทิตาจิต และสร้างเหรียญรูปท่านแจกเป็นที่ระลึก มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง นอกจากนี้ ท่านก็ยังได้สร้างพระปิดตาไว้หลายรุ่นหลายแบบ เช่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัด เนื้อตะกั่ว เนื้อชิน เนื้อพลวง เนื้อทองแดง และเนื้อผง เหตุที่สร้างไว้หลายเนื้อนั้น ก็เนื่องจากว่าท่านสร้างไว้หลายครั้งด้วยกัน มีประสบการณ์มากมายที่ชาวบ้านแถบนั้นประสบมา ทั้งแคล้วคลาด ทั้งอยู่ยงคงกระพันชาตรี ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ท่านก็สร้างแจกทหารราชบุรีและจากที่อื่นๆ ที่เดินทางมาขอพรจากท่านเป็นจำนวนมาก การสร้างพระของท่านนั้นก็สร้างกันในวัด พระเณรชาวบ้านช่วยกันเทหลอม แล้วช่วยกันตบแต่ง หลวงปู่จะลงอักขระแล้วปลุกเสกให้อีกครั้ง

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดงของท่านมาให้ชม ซึ่งปัจจุบันหายากครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15298715606331_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระกำแพงเม็ดขนุน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดกำแพงเพชรนั้นเป็นพระที่โด่งดังมากมาแต่ในอดีต โดยเฉพาะพระเครื่องเนื้อดินเผา ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระกำแพงลีลากลีบจำปา พระกำแพงลีลาพลูจีบ พระกำแพงเปิดโลก และพระนางกำแพงพิมพ์ต่างๆ

ในส่วนของพระปางลีลานั้นในสมัยก่อนมักจะเรียกกันว่าพระกำแพงเขย่ง เรื่องจากพระปางลีลานั้นมองดูคล้ายกับเขย่งเท้าข้างหนึ่ง และคำว่ากำแพงนั้นก็มาจากสถานที่ขุดพบพระที่จังหวัดกำแพงเพชร เลยเรียกรวมๆ ว่า "พระกำแพงเขย่ง" แต่ก็ยังแยกออกเป็นพิมพ์ต่างๆ อีก เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปาเป็นต้น ทั้งนี้ ก็แยกออกโดยรูปร่างสัณฐานของพระที่มีลักษณะคล้ายกันกับอะไร เช่น กำแพงเม็ดขนุน ก็เพราะรูปทรงโดยรวมของพระกลมๆ รีๆ คล้ายกับเม็ดขนุน ก็เลยตั้งชื่อเรียกง่ายๆ ให้พอแยกชื่อเรียกว่าหมายถึงพระพิมพ์อะไรเท่านั้นครับ

ในสมัยก่อนถ้าพูดถึงพระกำแพงเขย่ง ก็จะนึกถึงพระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชร แต่จะเป็นพิมพ์อะไรก็ว่ากันไปอีกทีหนึ่ง และพระกำแพงเขย่งทุกพิมพ์ก็จะหายากทั้งสิ้นและมีราคาสูง เนื่องจากค่านิยมสูงทุกพิมพ์ ทุกเนื้อ แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดก็จะเป็นพระกำแพงเม็ดขนุน ในระยะแรกๆ ของการจัดชุดพระเบญจภาคี พระกำแพงเม็ดขนุนถูกจัดให้อยู่ในพระเบญจภาคีก่อน ต่อมาเมื่อมีการปรึกษาหารือกันแล้ว เวลาจัดสร้อยพระชุดเบญจภาคี พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระปางลีลาอยู่องค์เดียว ซึ่งรูปทรงสัณฐานก็จะรีๆ ยาวๆ ลงมาไม่สมมาตรกับพระอื่นๆ ที่เป็นพระปางประทับนั่งทุกองค์ จึงคิดเปลี่ยนพระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระประทับนั่ง ก็ได้เป็นพระกำแพงซุ้มกอมาแทน ซึ่งก็เป็นพระที่มีความนิยมพอๆ กัน

พระกำแพงเม็ดขนุนก็ยังเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงอยู่อย่างเดิม เนื่องจากจำนวนพระที่พบนั้นมีน้อยกว่าพระกำแพงซุ้มกอแต่เดิม พระกำแพงเม็ดขนุนนั้นหาพระแท้ๆ ยากมาตั้งแต่ในอดีต ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก

พระที่พบส่วนมากจะเป็นพระที่มีพิมพ์ธรรมดา แต่ก็มีบางองค์อาจจะมีพิมพ์เขยื้อน ซึ่งความจริงก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน เพียงแต่เป็นการเขยื้อนจากการถอดพระออกจากพิมพ์ตั้งแต่แรก ซึ่งจะพบเห็นได้เป็นบางองค์ และในส่วนที่เขยื้อนนั้นจะเป็นบริเวณไหล่หรือยอดอกซึ่งเป็นสองขยัก ในส่วนอื่นไม่เขยื้อน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการถอดพิมพ์แล้วเกิดผิดพลาด ตอนดันองค์พระออกจากแม่พิมพ์โดยการดันจากด้านล่างขึ้นมา บริเวณอกซึ่งเป็นส่วนที่นูนสูงจึงไปเขยื้อนกดซ้ำกับแม่พิมพ์พระ พระกำแพงเม็ดขนุนส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น มีที่พบเป็นเนื้อว่านล้วนๆ ก็มีแต่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพระว่านหน้าทอง และเมื่อถูกค้นพบก็มักจะถูกลอกเอาหน้าทองออกไปขายต่างหาก องค์พระที่เป็นเนื้อว่านก็จะชำรุดหักพังไปเสียหมด

ส่วนพระเนื้อชินเงินก็เคยได้ฟังมาว่ามี แต่ก็ชำรุดเสียเกือบหมด เนื่องจากสภาพกรุถูกน้ำท่วมตลอดทุกปี จึงเสียหายไปหมด พระกำแพงเม็ดขนุนส่วนใหญ่ที่พบจึงมีแต่พระเนื้อดินเผาและนิยมกันมากที่สุด ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดี

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเม็ดขนุนจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95691526888145_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
ใบรับรองพระแท้(ใบเซอร์)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันใบรับรองพระแท้นั้น เป็นที่นิยมและต้องการของผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะผู้นิยมสะสมหรือเช่าหาด้วยความศรัทธาที่ไม่ใช่เซียนพระ เนื่องจากเขาเหล่านั้นก็ต้องการความมั่นใจที่จะได้ครอบครองพระแท้ๆ เมื่อเช่าหามาแล้วเสียเงินเช่ามาแล้วก็ต้องการพระแท้ๆ และมีการรับรองเพื่อความมั่นใจ และเมื่อลูกค้าของเซียนต้องการใบรับรอง บรรดาพ่อค้าหรือเซียนก็เลยต้องทำใบรับรองพระแท้ไปด้วย

ในสมัยก่อนนั้นไม่มีการออกใบรับรองพระแท้กัน เพียงแต่ใช้ความเชื่อถือส่วนบุคคล ซึ่งก็จะเป็นผู้ที่สังคมพระเครื่องให้การยอมรับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง และ ก็ไม่มีปัญหาอะไรในความแท้ของพระเครื่องนั้นๆ นอกจากนี้ เรื่องมูลค่าราคารองรับก็ยังมีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ดังเราจะเห็นพระเครื่ององค์ดังๆ ในสมัยก่อน ปัจจุบันก็ยังเป็นพระเครื่อง องค์ดังอยู่ตลอด และมูลค่าก็สูงขึ้นมากตามลำดับ ซึ่งก็ถือว่าเป็น พระเครื่องต้นแบบในการศึกษาพระแท้ในเวลาต่อมา โดยพระเครื่องเหล่านั้นก็ไม่ได้มีใบรับรองพระแท้แต่อย่างใด ถ้าเรามาสังเกตดูก็จะพบว่าในสมัยก่อนเซียนพระนั้นมีจรรยาบรรณ และรักษาความเชื่อถือ ในวิชาชีพของเขามาก ส่วนใครที่ไม่ซื่อสัตย์ก็จบในอาชีพไปเลย

ในปัจจุบันการเล่นหาสะสมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการเล่นหาสะสมขยายวงมากขึ้น เซียนพระก็มีมากมายขึ้นตามกันมา มีหลากหลายความคิด จึงเริ่มพัฒนามาจนถึงการออกใบรับรองพระแท้ ซึ่งก็มีหลายกลุ่ม หลากหลายชมรม สมาคม ฯลฯ ที่เปิดออกใบรับรองพระแท้ ถ้ามองโดยรวมก็ดี เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เช่าหาพระเครื่องที่ไม่มีความรู้พอจะตัดสินเก๊-แท้ได้ด้วยตัวเอง แต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่มากนี่เอง ก็ยังมีข้อแตกต่างของแต่ละกลุ่มที่ออกใบรับรอง เช่น จะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า ไปที่หนึ่งบอกแท้ออกใบรับรองให้ แต่พอไปขอออกใบรับรองอีกที่หนึ่งกลับกลายเป็นไม่แท้ เรื่องเหล่านี้ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะเป็นปัญหาได้ในเวลาต่อมา ก็ต้องยอมรับครับว่าในปัจจุบันนั้น มีมากมายจริงๆ ที่รับออกใบรับรอง มีทั้งที่ได้มาตรฐานสากลก็เยอะ และที่ไม่ได้มาตรฐานสากลก็มาก

อ้าวแล้วจะเชื่ออย่างไรดีว่าพระของเราแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล หรือจะไปขอออกใบรับรองที่ไหนดีที่เป็นมาตรฐานสากล เรื่องนี้มีผู้สอบถามผมมาก็มากอยู่ ผมเองถ้าจะตอบหรือบอกให้ ก็จะเป็นการเข้าข้างหรือชี้นำเฉพาะพวกตัวเอง แต่ก็พอจะสังเกตได้ว่าที่ไหนได้มาตรฐาน เช่น ถ้าเราได้ใบรับรองมาแล้วแต่ยังไม่มั่นใจ ก็ลองเอาไปขอออกใบรับรองกับอีกแห่งหนึ่ง ถ้าผลออกมาเหมือนกัน ก็น่าจะเชื่อใจได้ระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าลองเอาไปออกให้เช่ากับพวกเซียนพระแล้วเขาขอเช่าก็มั่นใจได้ว่าแท้แน่ และสถานที่ที่ไปขอออกใบรับรองให้นั้นพอเชื่อถือได้ ถ้าจะเลือกก็เลือกเอาที่ที่มีชื่อเสียงหน่อย มีคนไปขอออกใบรับรองมากๆ ก็พอจะบอกได้ว่าองค์นั้นๆ เป็นที่เชื่อถือของสังคม ก็พอจะสบายใจได้ครับ

เรื่องพระแท้นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือมูลค่ารองรับ พระเครื่องที่นิยมๆ หรือยอดนิยมนั้นจะมีมูลค่าราคารองรับแน่นอน เนื่องจากมีผู้ต้องการกันมากจึงมีมูลค่าตามมาเป็นธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือของกรุวัดบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) สร้างไว้จะไม่มีราคาเลย หรือเอาไปให้เซียนเช่าไม่มีใครขอเช่าหรือต่อรองราคาเลย แสดงว่าพระองค์นั้นไม่แท้แน่นอน เพราะขนาดเป็นพระหักชำรุดก็ยังมีมูลค่าราคา แม้แต่เพียงชิ้นส่วนครึ่งองค์ก็ยังมีมูลค่าราคาเลยครับ สมมติถ้าเรามีพระสมเด็จฯ ไม่ว่าจะเป็นวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม และมีใบรับรองพระแท้ แล้วนำไปออกให้เช่าที่ศูนย์พระเครื่องใหญ่ๆ กับบรรดาเซียนต่างๆ แล้วเขาไม่สนใจขอเช่า หรือเขาต่อรองราคาเลย ก็แสดงว่าพระของเราไม่แท้แน่ และใบรับรองที่มีอยู่นั้น เป็นใบแท้หรือเปล่า? เพราะปัจจุบันก็มีการทำใบรับรองปลอมอีกต่างหาก ถ้าเป็นใบรับรองจริงที่เราไปขอออกมาเอง ก็ให้รู้ได้เลยว่าสถานที่ที่เราไปขอออกใบรับรองนั้นใช้ไม่ได้ไม่เป็นมาตรฐานสากลครับ

บางคนก็เอ่ยปากว่า "สังคมนี้อยู่ยาก" สังคมอะไรทุกๆ สังคมในปัจจุบันนั้นอยู่ยากจริงๆ ครับ แต่ถ้าเราจะเลือกให้อยู่ง่ายๆ ก็ไม่ยากนะครับ เช่น ศึกษาหาข้อมูลเสียก่อนที่จะเข้าไป เลือกเข้าสังคมที่ดีๆ กลุ่มที่ดีๆ ก็มีอยู่มากมายก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เลือกคบคนดีๆ มีความรับผิดชอบสูง เมื่อเช่าพระเขาไปแล้ว เขาก็รับผิดชอบเราตลอดกาล แท้ก็แท้ตลอดกาลมีมูลค่ารองรับ แต่จะมากจะน้อยก็แล้วแต่จังหวะเวลา เนื่องจากพระบางอย่างบางเวลาราคาจะสูงมาก แต่เวลาผ่านไปมูลค่าอาจจะลดลงบ้างก็มีนะ แต่ถ้าเป็นพระยอดนิยมอย่างพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม มูลค่ามีแต่เพิ่มขึ้น ยิ่งผ่านเวลามานานๆ ก็ยิ่งสูงขึ้น และก็มีพระยอดนิยมอีกหลายๆ อย่างที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามกาลเวลาครับ

ก็เลือกสถานที่ที่จะไปออกใบรับรองกันหน่อยนะครับ และตรวจสอบใบรับรองพระแท้ที่เขานำมารับประกันว่าเป็นใบรับรองที่ถูกต้องได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งองค์กรที่ได้มาตรฐานเขาจะมีช่องทาง ให้เราสามารถตรวจสอบใบรับรองนั้นๆ ของเขาได้ด้วยตัวเองครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่ดูง่ายๆ มีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานสากลตลอดกาลมาให้ชม แม้ไม่ต้องมีใบรับรองพระแท้ เซียนทุกคนก็อยากเช่าครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2562 16:28:48
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69767984333965_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
เหรียญหลวงปู่ทูล หัฏฐสโร

หลวงปู่ทูล หัฏฐสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอนหลี่ ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิที่เรืองวิทยาคมยุคเก่า มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดมหาสารคาม ช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ร่วมสมัยกับพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย

หลวงปู่ทูล เกิดประมาณปี พ.ศ.2400 ที่บ้านทับค่าย จ.สุรินทร์ หลังอุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดพระโต จ.ศรีสะเกษ

หลวงปู่ทูลชมชอบความสงบวิเวก มักออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพรหลายแห่งในภาคอีสาน และบางครั้งก็เดินเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชา พร้อมกับศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์เขมรหลายท่าน ทำให้ท่านมีวิชาอาคมครบเครื่อง

หลวงปู่ทูลมรณภาพอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ.2484 สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60

ย้อนไปในปี พ.ศ.2542 วัดบ้านดอนหลี่ ร่วมกับคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ มีโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงขออำนาจบารมี หลวงปู่ทูล ด้วยการจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทูล ลักษณะเป็นเหรียญเสมา จัดสร้าง 2 เนื้อ คือ ทองแดงรมดำ และเนื้อผงว่านร้อยแปด

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทูลครึ่งองค์ ใต้รูปเหมือนมีตัวอักษรเขียนคำว่า "ครูบาทูล หฏฐสโร" ตัวอักษรแถวที่สองเขียนคำว่า "อดีตเจ้าอาวาส"

ด้านหลังเหรียญ บริเวณกลางเหรียญ เป็นคาถาเขียนว่า "กิปิเสคิ หัวใจปฏิสังคโย" เป็นคาถามหาเสน่ห์ มหาระรวย และป้องกันภยันตรายทั้งปวง ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "วัดดอนหลี่" ด้านล่างใต้ยันต์เขียนตัวอักษรย่อว่า "ท.๑" มีความหมายว่าเป็นเหรียญหลวงปู่ทูล รุ่น 1 ส่วนด้านซ้ายมือโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปขอบเหรียญด้านขวาเขียนคำว่า "ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆ์ จ.มหาสารคาม"

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังของเมืองมหาสารคาม อาทิ หลวงปู่ทองสุข เจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย, หลวงปู่บุญมา วัดป่าทรงธรรม เป็นต้น

ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก วัดบ้านดอนหลี่ได้มอบให้คณะศิษย์และผู้ที่มาร่วมบริจาคทำบุญกับวัด ส่วนจำนวนการสร้างเหรียญทองแดง 3,000 เหรียญ และเนื้อผงว่านร้อยแปด 2,000 เหรียญ

เหรียญหลวงปู่ทูลรุ่นนี้ แม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ รายได้ทั้งหมดใช้ในการพัฒนาวัด พระเกจิคณาจารย์ที่ปลุกเสกล้วนอาคมเข้มขลัง พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่ห้อยเหรียญของหลวงปู่ทูลรุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์กล่าวขวัญ ถึงเรื่องราวความเข้มขลังวัตถุมงคลเหรียญรุ่น 1 หลวงปู่ทูลมีอีกมากมาย

เหรียญหลวงปู่ทูล วัดดอนหลี่ เป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่ตลอดกาล

ค่านิยมเหรียญเนื้อผงว่านร้อยแปด สภาพสวยอยู่ที่หลักร้อยปลาย ส่วนเหรียญเนื้อทองแดง ความนิยมรองลงมาอยู่ที่หลักร้อยกลาง

นับว่าเป็นเหรียญที่พุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม ต่างเสาะแสวงหาไว้ติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92825102226601_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกริ่งจาตุรงคมุนี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งจาตุรงคมุนีของท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เป็นพระกริ่งที่น่าสนใจรุ่นหนึ่งของท่านเจ้าคุณศรีฯ พิธีการสร้างดี เนื้อหาดี สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ

พระกริ่งจาตุรงคมุนี เป็นพระกริ่งที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่มีจิต ศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างพระอุโบสถวัดศรีจอมทอง (วัดตีนโนน) ที่กิ่งอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และท่านเจ้าคุณศรีฯ ถวายพระนามว่า "พระกริ่งจาตุรงคมุนี" วันที่สร้างได้เริ่มประกอบพิธีสวดมนต์ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2490 เวลา 17.00 น. รุ่งขึ้น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2490 เวลา 09.36 น. ได้ฤกษ์เททอง ผู้ช่วยจัดสถานที่ คือพระครูวินัยกรณโสภณ (หนู) นายช่างผู้ดำเนินการหล่อพระคือ นายช่างหรัส พัฒนางกูร แห่งบ้านช่างหล่อ

พระกริ่งรุ่นนี้หล่อตันทั้งองค์ แล้วเจาะก้นบรรจุกริ่ง ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ แล้วอุดช่องที่บรรจุอีกครั้งหนึ่ง ใต้ฐานมีทั้งแบบเรียบหรือแบบก้นกระทะ วรรณะเหลืองปนแดง พิมพ์ของพระกริ่งรุ่นนี้ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้ให้ช่างหรัสถอดพิมพ์จากพระกริ่งจีนเล็ก ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ได้ประทานให้แก่ท่านเจ้าคุณศรีฯ ไว้ และได้แก้ไขพิมพ์และตกแต่งพิมพ์เพิ่มเติมบางส่วน เนื้อที่ใช้สร้าง มีทองชนวนของพระกริ่งรุ่น พ.ศ.2485 ผสมกับทองโลหะ สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรวิหาร จำนวนที่สร้าง 500 องค์ และการสร้างคราวนั้น ได้สร้างพระกริ่งอุบาเก็ง(รุ่น 4) ขึ้นอีก 72 องค์ พระชัยวัฒน์ 600 องค์ พระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อดำ(พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน) ขนาดหน้าตัก 10 นิ้ว 6 องค์

สถานที่ประกอบพิธีได้ประกอบพิธีสวดพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระธรรมวโรดม(อยู่ ญาณโณทัย) วัดสระเกศฯ เป็นผู้จุดเทียนชัย พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(โสม ฉันโน) วัดสุทัศน์ เป็นผู้ดับเทียนชัย คณาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระธรรมวโรดม(อยู่) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พระปริยัติบัณฑิต(ดำ) วัดปทุมคงคา พระสุธรรมธีรคุณ (วงศ์) วัดสุทัศน์ พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ พระปลัดเส่ง วัดกัลยาณมิตร พระครูสมุห์ไพฑูร วัดโพธิ์นิมิต พระศรีสมโพธิ์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ ฯลฯ

การสร้างพระกริ่งในครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ทั้งพิธีการสร้างก็ได้กระทำตามแบบอย่างของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ทุกสิ่งทุกอย่าง พระกริ่งจาตุรงคมุนีจึงถือได้ว่าเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก พุทธคุณนั้นหายห่วงได้เลยครับ นับว่าครบเครื่องมากๆ ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งจาตุรงคมุนี มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าด้านหลังและก้นครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85378183797001_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม พระเกจิอาจารย์ที่อยู่ในหัวใจของคนเพชรบุรีตลอดกาล และเหรียญของท่านก็เป็นเหรียญที่ครองความเป็นหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรีตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเกจิอาจารย์ยังจัดเหรียญของท่านเข้าเป็นยอดเหรียญหนึ่งในชุดเหรียญเบญจภาคีครับ

เหรียญหลวงพ่อฉุยที่อยู่ในความนิยมนั้นเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวของหลวงพ่อ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2465 เพื่อแจกแก่ ผู้สมทบทุนสร้างมณฑป ไว้ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่วัดคงคาราม หลวงพ่อท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2465 และในปลายปี พ.ศ.2466 ท่านก็มรณภาพ

เป็นอันว่าเหรียญที่ท่านสร้างไว้ก็มีเพียงรุ่นแรกรุ่นเดียวเท่านั้น ลักษณะของเหรียญรุ่นแรกนั้นเป็นเหรียญรูปไข่ ค่อนข้างจะเขื่องกว่าเหรียญทั่วๆ ไปเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นรูปท่านหน้าตรงครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยลวดลายโบและดอกไม้สวยงาม เนื้อโลหะของเหรียญมีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว หูของเหรียญเป็นเหรียญหูเชื่อมน้ำประสานเงิน ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ 5 อ่านว่า นะ โม พุท ธา ยะ สะ

นะโมพุทธายะ หมายถึง พระเจ้า 5 พระองค์ เมื่อพูดถึงคาถาตามภาษาบาลี มีความหมายตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งปฐมกัปที่ว่างเปล่า ปราศจากสิ่งต่างๆ บนพื้นพิภพ ท้าวสหบดีพรหมท่านได้เล็งญาณลงมาสอดส่องดูพื้นโลก เห็นพื้นโลกในขณะนั้นมีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงทุกที จนจะกลายเป็นแผ่นดินอยู่แล้ว และทอดพระเนตรเห็นดอกบัวโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา 5 ดอก และแต่ละดอกมีอักขระกำกับอยู่ ดอกละอักขระว่า นะ โม พุท ธา ยะ จึงตรัสพยากรณ์ไว้ว่า กัปนี้จะได้ชื่อว่าภัทรกัปและมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้รวม 5 พระองค์ด้วยกัน และนี่ก็เป็นที่มาแห่งพระเจ้า 5 พระองค์ นะ หมายถึง พระกุกุสันโธ โม หมายถึง พระโกนาคม พุท หมายถึง พระกัสปะ ธา หมายถึง พระโคตมะ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ยะ หมายถึง พระศรีอาริย์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตกาล ส่วนอักขระอีกตัวหนึ่งคือตัว สะ หรือตัว ส นั้นมีความหมายอยู่สองนัย นัยหนึ่งหมายถึงฉายาของหลวงพ่อฉุย คือ สุขภิกขุ และอีกนัยหนึ่งหมายถึงนามสมณศักดิ์ของท่าน คือ สุวรรณมุนี ครับ

สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น ปรากฏว่าด้านหลังมีอยู่ 2 บล็อก มีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ พิมพ์ตัวโมมีไส้ และอีกพิมพ์หนึ่งคือ ตัวโมไม่มีไส้ คือตรงตัวอักขระคำว่าโม ตัว ม.ม้า มีขีดตรงกลาง กับตัว ม.ม้าไม่มีขีดตรงกลาง แต่ทั้งสองพิมพ์ค่าความนิยมเหมือนๆ กันครับ สาเหตุที่มี 2 บล็อกเนื่องมาจากเป็นการสร้างเหรียญที่มีจำนวนมาก ซึ่งในสมัยนั้นการชุบแข็งโลหะยังไม่ดีนัก จึงทำให้เมื่อมีการพิมพ์กระแทกหลายๆ ครั้งเป็นสาเหตุทำให้แม่พิมพ์ด้านหลังเกิดแตก จึงจำเป็นต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ และอาจจะเป็นเพราะการเร่งรีบจึงได้แกะอักขระผิดพลาด คือตัวโมลืมแกะไส้ตรงกลางไป จึงทำให้พิมพ์ด้านหลังมี 2 แบบ นอกจากนี้เราจะสังเกตได้อีกว่า ถ้าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์โมไม่มีไส้นั้นขอบแม่พิมพ์ด้านหน้าก็เริ่มชำรุดเช่นกัน ดังเราจะเห็นได้ว่าถ้าเป็นพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์โมไม่มีไส้นั้นที่ขอบเหรียญด้านหน้าจะเริ่มชำรุด เป็นขอบสั้นขึ้นเป็นปื้น มากน้อยแล้วแต่ความชำรุดของแม่พิมพ์ด้านหน้า จึงทำให้ผู้ชำนาญการรู้ได้เพียงเห็นเหรียญด้านหน้าก็รู้ว่าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ไหนครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรก จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ได้ชมกัน 2 เหรียญ ทั้งแบบด้านหลังโมมีไส้ และด้าน
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95671902928087_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
หลวงพ่ออํ่า วัดชีปะขาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เป็น พระเกจิอาจารย์ของอำเภอบางปลาม้า ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนในแถบนั้นมาก เหรียญหล่อรูปท่านค่อนข้างหายาก มีจำนวนน้อย และคนท้องที่ส่วนใหญ่หวงแหนมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

หลวงพ่ออ่ำเป็นคนอำเภอบางปลาม้าและเป็นหลานของหลวงพ่อเนียม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2406 ในช่วงวัยรุ่นได้ช่วยบิดามารดาทำไร่ไถนาและเลี้ยงวัว อยู่มาวันหนึ่งเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเดินทางมาที่วัดน้อยมาหาหลวงพ่อเนียม และปวารณาตัวเป็นสามเณร และต่อมาเมื่อราวปี พ.ศ.2427 จึงได้อุปสมบทที่วัดน้อย โดยมีหลวงพ่อเนียม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อปี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแสง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษาอยู่ที่วัดน้อย ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติ และวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม

หลวงพ่ออ่ำได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเนียมนานถึง 10 ปี หลวงพ่อเนียมจึงให้หลวงพ่ออ่ำกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาวเพื่อมาช่วยพัฒนาวัด อันเป็นวัดบ้านเกิด ของหลวงพ่ออ่ำ ท่านกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาวประมาณปี พ.ศ.2437-38 ในฐานะพระลูกวัด และช่วยพัฒนาวัดชีปะขาวเรื่อยมา จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดชีปะขาวมรณภาพ หลวงพ่ออ่ำจึงรักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชีปะขาวในเวลาต่อมา หลวงพ่ออ่ำได้พัฒนาวัดชีปะขาวจนเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก

ชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่ออ่ำมาก นำบุตรมาบวชกับหลวงพ่ออ่ำปีปีหนึ่งหลายรูป หลวงพ่ออ่ำเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทุกข์ร้อนอะไรก็ไปขอให้หลวงพ่ออ่ำช่วยเหลือตลอด ท่านก็ช่วยเหลือชาวบ้านทุกเรื่องไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หลวงพ่อให้ความอนุเคราะห์เสมอกันหมด จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่ออ่ำอยู่เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2490 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

ในสมัยที่หลวงพ่ออ่ำยังมีชีวิตอยู่นั้น มีลูกศิษย์และชาวบ้านมาขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่อเสมอ และได้มีการขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญหล่อรุ่นแรกขึ้น เป็นเหรียญหล่อที่มีหูในตัว และหูเหรียญมีลักษณะแบนๆ เป็นเนื้อทองเหลือง ต่อมาเมื่อแจกไปจนหมด ชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับก็มาขออนุญาตให้หลวงพ่ออ่ำสร้างขึ้นอีกรุ่น จึงมีเหรียญหล่อรูปหลวงพ่ออ่ำเป็น 2 รุ่น เหรียญหล่อรุ่น 2 จะทำเป็นแบบหูในตัวเช่นกัน แต่ตัวเหรียญทำเป็นลักษณะกลมๆ แบบเส้นลวด นอกจากนี้ก็ยังมีวัตถุมงคลพระเครื่องแบบต่างๆ อีกหลายอย่างทั้งเป็นเนื้อทองเหลือง และแบบเนื้อชิน

ปัจจุบันเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่น 2 ก็หายากแล้วครับ เนื่องจากมีจำนวนน้อยและชาวบ้านส่วนใหญ่ก็หวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีแพร่หลายเท่าไหร่นัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่ออ่ำ ทั้งรุ่นแรกหูแบน และรุ่น 2 หูกลมมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17817038007908_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ ถ้าพูดถึงชื่อนี้ทุกคนก็จะนึกถึงพระปิดตาเนื้อผงสีดำองค์เล็กๆ และก็ทราบกันว่าเป็นพระปิดตาที่กรมหลวงชุมพรฯ ท่านได้สร้างที่วังนางเลิ้ง และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นผู้ปลุกเสก ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาสูงมากครับ

พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ หลวงปู่ศุขท่านได้สร้างไว้มีทั้งเนื้อตะกั่ว และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่าหลวงปู่เริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรม ท่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปี และหลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน วันที่หนึ่งไหว้ครูหมอยา วันที่สองไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่สามไหว้ครูทางวิทยาคม ในงานไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรม พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันที่สาม เสร็จพิธีไหว้ครูแล้วหลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงานโดยทั่วถึงกันทุกคน พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากในกทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่าอาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม. เสด็จในกรม ท่านได้นำไปแจกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยเป็นบางส่วน

พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น พระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก และเนื่องจากเป็นพระที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขต กทม.เท่านั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ

ปัจจุบันพระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ นี้หายากมาก ผู้ที่ได้รับแจกก็จะส่งต่อตกทอดกันในหมู่ทายาท ไม่ค่อยมีเล็ดลอดออกมานัก จึงเป็นพระปิดตายอดนิยม ซึ่งต่างก็ทราบกันดีว่าเป็นพระที่หลวงปู่ศุขปลุกเสก และเป็นพระที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ท่านสร้างที่วังนางเลิ้ง สนนราคานั้นสูงมาก ในส่วนของปลอมเลียนแบบมีมากมายและทำกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ พระปิดตาและพระปิดทวารของหลวงปู่ศุขนั้นหายากทุกพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อตะกั่วหรือเนื้อผงคลุกรัก และพระปิดตาพิมพ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของหลวงปู่ศุขก็คือพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41520804870459_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระยอดขุนพลเสมาตัด กำแพงเพชร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดกำแพงเพชรเป็นสถานที่ตั้งเมืองเก่าอยู่หลายเมือง เช่น เมืองชากังราว เมืองนครชุม และเมืองไตรตรึง เป็นต้น ทุกเมืองจะมีวัดวาอารามและกรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงทุกเมือง

พระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดนี้จะเป็นพระเนื้อดินเป็นส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุดของเมืองไทย ในส่วนพระเนื้อชินที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่บ้าง เช่น พระท่ามะปรางเนื้อชินเงิน ที่ถือว่ามีศิลปะที่งดงามที่สุดของพระตระกูลท่ามะปราง พระลีลากำแพงขาว ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงิน พระลีลาเชยคางข้างเม็ด ก็เป็นพระเนื้อชินเงินเช่นกันที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พระกำแพงห้าร้อย ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงินแบบพระแผงขนาดใหญ่ก็เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีพระนางกำแพงเนื้อชินเงิน พระกำแพงหน้าโหนกชินเงิน พระนาคปรกเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นพระที่คนกำแพงเองนิยมกันมาก แต่คนต่างถิ่นอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันนัก พระที่คนกำแพงรุ่นเก่านิยมและหวงแหนกันมากอีกอย่างก็คือพระยอดขุนพลเสมาตัดครับ คนรุ่นเก่าหวงกันมากจะมอบให้แต่เฉพาะลูกหลานเท่านั้น

พระยอดขุนพลเสมาตัด ชื่อนี้เรียกกันตามรูปทรงของพระ ซึ่งเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยทรงเครื่องกษัตริย์ ทรงเทริดแบบขนนก มีพาหุรัดต้นแขน ประทับนั่งเหนือฐานกลีบบัวสองชั้นแบบอย่างพระยอดขุนพลทั่วๆ ไป และประทับอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งตัดเข้ารูปตามขอบซุ้ม มองดูคล้ายๆ กับใบเสมา จึงเรียกกันว่า "พระยอดขุนพล เสมาตัด" ถ้าเรียกชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในมวลหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าเป็น พระยอดขุนพลของจังหวัดกำแพงเพชร พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้ขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดในลานทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม และที่วัดอาวาสน้อยเมืองเก่าฝั่งจังหวัด พระที่พบมีทั้งที่เป็นพระเนื้อชินเงิน พบเป็นเนื้อหลักซึ่งพบมากที่สุด พระเนื้อดินเผาพบเป็นเนื้อรองลงมา และพระเนื้อว่านหน้าทอง พบน้อยมาก

พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้เป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่อง เนื้อที่นิยมที่สุดคือเนื้อชินเงิน ในสมัยก่อนนิยมกันมากในคนกำแพง เพราะมีประสบการณ์เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี คำว่ายอดขุนพลแสดงถึงอำนาจบารมีของขุนทหารในการออกรบ นอกจากจะเด่นทางด้านคงกระพันแล้วยังเด่นทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วย แต่ก็ยังคงไว้ตามแบบฉบับของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี คือมีผู้ที่บูชาไว้เกิดมีประสบการณ์ทางด้านค้าขายอีกด้วย ก็ต้องถือว่าครบเครื่องเลยทีเดียวครับ

พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้มีขนาดสูงประมาณ 6 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. ก็นับว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่ในสมัยนี้ ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบพระแท้ๆ กัน และด้วยเป็นพระที่มีขนาดเขื่องจึงไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก ผมจึงได้นำมาพูดถึง เพื่อมิให้ลืมพระเก่าๆ ที่เคยโด่งดังกันมาแต่อดีต พระเก่าๆ อีกมากที่เคยเด่นดังในอดีตที่ถูกลืมเลือนกันไปตามกระแสนิยม พระเก่าๆ ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาในอดีตนั้นไม่ได้มีกระแสการเชียร์อย่างในปัจจุบัน แต่กว่าจะมีชื่อเสียงได้ก็ต้องมีประสบการณ์ต่างๆ พิสูจน์มามากมายจนมีการพูดกันปากต่อปากสืบกันมาจนลือกันไปทั่ว จึงจะมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลเสมาตัด เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99100864099131_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
เหรียญพระมิ่งมงคล วัดบูรพาราม(ส่องใต้)

วัดบูรพาราม หรือ วัดส่องใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 2215 ชุมชนส่องใต้ ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย

ปัจจุบันมี พระครูสุตบูรพาภิมณฑ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส สำหรับวัดบูรพาราม (ส่องใต้) นับเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ก่อตั้งมาพร้อมกับการตั้งชุมชนบ้านส่อง เมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับวัดแห่งนี้ คือ "หลวงพ่อขี้ครั่ง" เนื่องจากสีผิวขององค์พระออกคล้ายสีของครั่ง ชาวบ้านเห็นว่าชื่อไม่เหมาะ จึงเปลี่ยนเป็น "พระมิ่งมงคล"

ล่าสุดในปี พ.ศ.2562 เปลี่ยนอีกครั้งเป็น "หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง" ตราบจนปัจจุบัน นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่ให้ความเคารพ เป็นอย่างมาก

สำหรับหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 22 นิ้ว หากรวมฐานจะสูง 37 นิ้ว พุทธศิลปะหลวงพ่อพุทธมั่งคั่งพบว่าเป็นศิลปะลาว สกุลช่างหลวงพระบาง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอาณาจักรล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-23

หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง ประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาราม (ส่องใต้) แห่งนี้ตั้งแต่การอพยพเข้ามาในครั้งนั้นตราบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2555 วัดบูรพาราม (ส่องใต้) มีโครงการก่อสร้างศาลาการเปรียญ จึงขอบริจาคจตุปัจจัยจากญาติโยม ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ศาลาการเปรียญหลังนี้แล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็วจึงมีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อตอบแทนศรัทธาญาติโยมที่ร่วมบริจาคทำบุญทางวัด จึงได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง จำลองพุทธศิลปะหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง พระประธานศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เพื่อมอบให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปสักการบูชา

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มี หูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านล่างเขียนว่ารุ่น๑ ถัดลงมาอีกเขียนว่า พระมิ่งมงคล (หลวงพ่อขี้ครั่ง) ขณะนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ พระพุทธมั่งคั่ง

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนเขียนว่า ฉลองศาลาการเปรียญวัดบูรพารามส่องใต้ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ ใต้อักขระยันต์เขียนว่า ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นปีพุธศักราช ที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นภายในศาลการเปรียญหลังใหม่ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูปที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังนำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายครั้ง
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23234022615684_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระยอดขุนพลเชียงใหม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดเชียงใหม่เคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรลานนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้นถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหวงข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น

ครับในจำนวนนี้ก็มีพระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่รวมอยู่ด้วย พระยอดขุนพลเชียงใหม่นี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า (ตลาดลำไย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างลานนา

พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้น เป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์

พระทั้งสองชนิดมีขนาดค่อนข้างเขื่องคือ มีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้ นับเป็นพระเครื่องศิลปะลานนาที่สวยงามมาก ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดี และยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2562 16:31:47

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89581509307026_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระร่วงกรุถ้ำมหาเถร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนศิลปะแบบลพบุรีโดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแทบทุกกรุ แต่ก็มีพระร่วงอยู่กรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินเงิน และเป็นพระกรุที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี คือพระร่วงกรุถ้ำมหาเถร ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นหรือพูดถึงกันนัก แต่ผู้ที่ชื่นชอบพระกรุพระเก่าก็ยังคงนึกถึงกันอยู่ และพระแท้ๆ ก็หายากครับ

ในจังหวัดลพบุรีมีกรุพระเก่าแก่ที่พบอยู่หลายกรุ โดยพระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระที่มีศิลปะแบบลพบุรีหรือแบบขอม ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 800 ปีขึ้นไป พระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ ก็คงไม่พ้นพระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และพระหูยาน เนื้อชินเงิน แต่ก็มีพระร่วงยืนอยู่กรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินเงิน คือพระร่วงกรุถ้ำมหาเถร ถ้ำมหาเถรอยู่ที่ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง ซึ่งอยู่บริเวณเทือกเขาเอราวัณ ถ้ำมหาเถรเป็นถ้ำไม่ใหญ่โตอะไรนัก ลักษณะเป็นถ้ำเปิดมีแสงลอดเข้าไปได้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.2515 ได้มีคนเข้าไปสำรวจและขุดค้นดู ปรากฏว่าพบไหบรรจุพระอยู่ 2 ไห ภาพในไหพบพระร่วงยืนเนื้อชินเงิน และพระอื่นๆ อยู่บ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพระร่วงยืน ซึ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงินของพระร่วงกรุถ้ำมหาเถรคล้ายๆ กับพระหูยานกรุใหม่ ผิวของพระค่อนข้างสมบูรณ์มีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์ เนื่องจากกรุของพระอยู่ในที่สูงไม่ถูกน้ำท่วมขัง พระส่วนใหญ่จึงสมบูรณ์มีผิวปรอทจับขาวทั้งองค์ ด้านหลังของพระร่วงกรุถ้ำมหาเถรจะมีทั้งหลังลายผ้าและหลังกาบหมาก พระร่วงกรุถ้ำมหาเถรนี้บางองค์ก็จะพบรอยระเบิดแตกปริตามขอบๆ บ้าง และในที่อื่นๆ บ้าง ซึ่งแสดงถึงการมีอายุกาล ส่วนใหญ่พระจะมีสภาพสมบูรณ์ ศิลปะขององค์พระก็เป็นแบบศิลปะลพบุรียุคปลาย พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระร่วงยืนหลังลายผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

ในระยะที่พระแตกกรุใหม่ๆ ยังไม่ค่อยมีคนเช่าหาเท่าไรนัก สนนราคาก็ยังถูกอยู่ แต่ต่อมาเมื่อมีเซียนพระเข้าไปเช่าไว้เกือบหมด จึงทำให้พระเหลือน้อยและค่อยๆ มีความนิยมสูงขึ้น ใครที่หาพระร่วงหลังลายผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไม่ได้ก็จะมาหาของกรุถ้ำมหาเถรใช้แทน พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงหลังลายผ้า ปัจจุบันเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว ต้องพิจารณาให้ดีหรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้วางใจได้

พระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถรถึงแม้จะเป็นพระขนาดเขื่อง แต่ก็ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปะโบราณคดี อีกทั้งทางด้านพุทธคุณก็เป็นเยี่ยม สนนราคาในปัจจุบันก็ค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร และหายากเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถร ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39457116151849_view_resizing_imagesV85R6OO3_3.jpg)
หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาธรรมสูง มีผู้เคารพนับถือมาก พระกริ่งของท่านก็เป็นที่รู้จักกันมากและเริ่มจะหายากแล้ว คือพระกริ่งปรโม

หลวงปู่เริ่มเกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2448 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โยมบิดาชื่อมิ่ง โยมมารดาชื่อเลี่ยม พออายุครบ 20 ปีหลวงพ่อเริ่มท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดแหลมฉบัง โดยมีพระครูสุนทรธรรมรส (หลวงปู่ศรี) วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จั๊ว วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ลำดวน วัดอ่างศิลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปรโม" เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดจุกกะเฌอ ซึ่งมีพระอาจารย์ขันธ์เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อเริ่มท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัด จริยาวัตรงดงาม จนชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน หลวงปู่เริ่มท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้เคยเรียนวิชากับหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก แต่ก่อนที่หลวงพ่ออ่ำจะสอนวิชาให้นั้นท่านจะมัดมือไพล่หลังไว้กับตอไม้ที่ริมป่าช้า วัดหนองกระบอก โดยให้คาถา 4 ตัว ให้ภาวนาจนเชือกหลุด หลวงปู่เริ่มท่านทำได้ หลวงพ่ออ่ำท่านจึงรับเป็นศิษย์ โดยได้เรียนวิชาฝนแสนห่า และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นวิชาเมตตามหานิยมชั้นสูง นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษากับพระอาจารย์เก่งๆ อีกหลายรูป เช่น เรียนวิชาทำปลัดขิกและหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เรียนวิชาหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่อสาย วัดหนองเกตุน้อย ชลบุรี เรียนวิชาทำผง 12 นักษัตร จากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ และได้ศึกษากับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงพ่ออ๋อง วัดหนองรี ชลบุรี หลวงพ่อผุย วัดหน้าพระธาตุ พนัสนิคม ท่านเจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลา และได้เรียนวิปัสสนากรรมฐาน วิชาสร้าง พระปิดตา วิชาโหราศาสตร์ กับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ ด้วย

หลังจากหลวงปู่เริ่มท่านอุปสมบทได้ 6 พรรษาหลวงพ่อขันธ์ก็มรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ในปี พ.ศ.2481 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน ในปี พ.ศ.2485 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2487 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลบึงหนองขาม พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ปี พ.ศ.2519 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา หลวงปู่เริ่มท่านมรณภาพในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2538 สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 71

หลวงปู่เริ่มท่านได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน เรื่องสีผึ้งเจ็ดจันทร์นี้สร้างยากมาก นอกจากนี้ท่านได้สร้างเหรียญพระปิดตา และพระกริ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่ง-พระชัย ปรโม ที่สร้างในปี พ.ศ.2527 พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ ปัจจุบันเริ่มหายากแล้ว

วันนี้ผมนำรูปพระปิดตาเนื้อผง รุ่นแรก ของหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49597292062308_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระนางกำแพงเพชร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางกำแพง ซึ่งเป็นพระที่มีจำนวนมากหน่อยในตระกูลพระกรุกำแพงเพชร มีมากมายหลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) เองและฝั่งตัวจังหวัด มีอยู่หลายพิมพ์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ทุกกรุครับ

พระนางกำแพงเป็นพระอีกแบบหนึ่งที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐีและทางฝั่งจังหวัด มีพบอยู่หลายกรุ ที่เรียกกันว่า "พระนางกำแพง" ก็เนื่องมาจากว่าเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยและส่วนมากมีการตัดขอบรูปทรงสามเหลี่ยมแบบพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก พระในลักษณะนี้โดยส่วนใหญ่ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันว่าพระนางพญา และต่อท้ายด้วยชื่อกรุหรือจังหวัดนั้นๆ ส่วนพระนางกำแพง แต่เดิมก็อาจจะเรียกกันว่า "พระนางพญากำแพงเพชร" แต่เนื่องจากชื่อยาวเกินไป จึงมักเรียกกันสั้นๆ ว่า "พระนางกำแพง" ก็เป็นที่เข้าใจกัน

พระนางกำแพงถูกขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดช้างลอบ และวัดอื่นๆ อีกเกือบทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พระที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) และพระเนื้อว่าน ทั้งว่านหน้าเงิน ว่านหน้าทอง และเนื้อว่านธรรมดา พระนางกำแพงที่พบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางกำแพงทรงสามเหลี่ยม พระนางกำแพงที่มีปีกจะแยกออกเป็นพระนางกลีบบัว พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น นางกำแพงเม็ดมะเคล็ด พระนางกำแพงตราตาราง เป็นต้น พระที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมก็จะเรียกกันว่า "พระนางกำแพง"

ส่วนชื่อพิมพ์อื่นๆ ก็จะเรียกกันตามกรอบพิมพ์ทรง หรือตามรายละเอียดอื่นๆ เป็นต้น พระนางกำแพงจะมีทั้งพิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น พระนางกำแพงจะนิยมพระเนื้อดินมากกว่าเนื้ออื่นๆ เนื้อดินของพระในตระกูลกำแพงเพชรนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม มีผิวบางๆ ถ้าเป็นพระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัสจะมีฝ้านวลกรุจับบางๆ อยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ถ้าเป็นพระที่ถูกใช้สัมผัสเหงื่อไคล จะมีเนื้อที่เป็นมันหนึกนุ่มมาก เป็นที่ยอมรับกันว่าพระเนื้อดินเผาตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่มีเนื้อหนึกนุ่มมาก

พระนางกำแพง เป็นพระที่ถูกพบมากที่สุดของพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร จึงทำให้สนนราคานั้นถูกกว่าอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่พุทธศิลปะนั้นก็เป็นเลิศ เป็นศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งถูกแยกออกทางวิชาการเป็นหมวดหนึ่งของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์ของพระสกุลช่างนี้ จะมีขมับกว้างเด่นชัดและค่อยๆ เรียวลงมาถึงคาง แบบรูปไข่ เป็นเอกลักษณ์ของพระสกุลช่างนี้ ลำพระองค์จะมีหัวไหล่กว้าง อกเอวคอด สะโอดสะองอ้อนแอ้น งดงามมาก ศิลปะแบบนี้มีอยู่แต่ในกำแพงเพชรเท่านั้น

พระนางกำแพงในสมัยก่อนถึงจะมีจำนวนมากเท่าไรก็ตาม แต่ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพระที่สวยๆ สมบูรณ์นั้นก็หายาก เนื่องจากรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น คิ้ว ตา ปาก จมูก หู เป็นเส้นเรียวเล็กมาก และคุณสมบัติที่เป็นเนื้อดินละเอียด และหนึกนุ่ม จึงทำให้พระส่วนใหญ่นั้นสึกหรอไปตามกาลเวลา จะหาพระที่มีหน้าตาสวยสมบูรณ์นั้นยากมาก

พุทธคุณของพระนางกำแพงก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงอื่นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ พระนางกำแพงจึงเป็นพระที่น่าสนใจอย่างมากๆ อีกทั้งสนนราคาก็ยังย่อมเยากว่าพระอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันอีกด้วยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระนางกำแพงกรุวัดพิกุล ที่สวยมากองค์หนึ่งมีหน้าตาติดพิมพ์ชัดเจนจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15229290061526_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในอดีตจังหวัดสมุทรปราการ ฝั่งอำเภอพระประแดง มีพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ วัตถุมงคลของท่าน มีพระปิดตาเนื้อตะกั่ว และเหรียญรูปท่าน มีประสบการณ์มาก ปัจจุบันหายากไม่ค่อยพบเห็นกันเลยครับ

หลวงพ่อเที่ยงเกิดที่บ้านบางฝ้าย ตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง เมื่อปี พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อคล้าย โยมมารดาชื่อมอญ ในวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการบัว วัดบางหัวเสือ

ต่อมาเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดบางหัวเสือ โดยมีพระอธิการบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่ออ้น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางหัวเสือ ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิทยาคมจากพระอธิการบัว และพระอาจารย์พิน ต่อมาพระอธิการบัวมรณภาพ หลวงพ่อพินเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อเที่ยงก็ศึกษาวิทยาคมต่อกับหลวงพ่อพิน

กระทั่งหลวงพ่อพินมรณภาพในปี พ.ศ.2452 ชาวบ้านต่างอาราธนาหลวงพ่อเที่ยงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่ยอมรับตำแหน่ง เนื่องจากต้องการปฏิบัติธรรมอย่างเงียบๆ และขอให้หลวงพ่ออยู่ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อพิน หลวงพ่ออยู่อาวุโสกว่าหลวงพ่อเที่ยง 2 ปี หลวงพ่อเที่ยงขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา ในครั้งแรกหลวงพ่ออยู่ก็ไม่ยอมรับเช่นกัน แต่หลวงพ่อเที่ยง ขอให้หลวงพ่ออยู่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

ทั้งหลวงพ่ออยู่และหลวงพ่อเที่ยง ชาวบ้านบางหัวเสือล้วนเคารพนับถือมาก และท่านทั้งสองก็เป็นสหธรรมิกกันมาตั้งแต่บวชใหม่ๆ ชาวบ้านในอำเภอพระประแดงต่างก็เคารพนับถือหลวงพ่อเที่ยงมาก มีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรต่างก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยเหลือ เจ็บไข้ได้ป่วยหลวงพ่อเที่ยงก็ช่วยรักษาให้หายได้ทุกราย เครื่องรางของขลังลูกศิษย์ต่างก็มาขอให้หลวงพ่อเที่ยงช่วยทำให้ มีพระปิดตาเนื้อตะกั่วด้านหน้าเป็นรูปพระปิดตา ด้านหลังเป็นองค์พระ และหลวงพ่อเที่ยงก็จะจารให้อีกที มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์และ ชาวบ้านก็ขออนุญาตหลวงพ่อเที่ยงจัดงานบุญอายุ ครบ 60 ปีของหลวงพ่อเที่ยง และขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านครึ่งองค์ ด้านหลังเรียบ ส่วนใหญ่ที่ด้านหลังจะนำไปให้หลวงพ่อเที่ยงจารอักขระ เหรียญรุ่นนี้ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่สร้างทันหลวงพ่อเที่ยง ปัจจุบันหาชมยากครับ คนพระประแดงต่างก็หวงแหนมาก

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเที่ยง เป็นเหรียญปั๊ม หูเชื่อม เท่าที่พบมีเนื้อเงินสร้างจำนวนน้อย และเนื้อทองแดง ที่ด้านหน้าของเหรียญจะมีอักษรเขียนว่า "ที่รฤกในงานทำบุญอายุครบ 60 ปี พระอาจารย์เที่ยง วัดบางหัวเสือ" และมี พ.ศ. ระบุ ๒๔๗๐ เหรียญหลวงพ่อเที่ยง เป็นเหรียญที่หายากเหรียญหนึ่ง นานๆ จะพบเห็นสักทีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ เนื้อเงิน ของคุณเพชร ท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52030843165185_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เหรียญมังกรเมตตา หลวงปู่แขม วัดจันทราวาส

พระครูสุวรรณธรรมาการ หรือ หลวงปู่เเขม จารุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

เกิดที่บ้านแก้งคร้อ ต.แก้งคร้อ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ในขณะนั้น นามเดิม นายเเขม ตาปราบ เกิดวันที่ 10 ก.ย.2475

พ.ศ.2496 เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสระทอง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีพระอธิการฟั่น จันทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดโพธิ์กลาง ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ โดยมี พระมหาโชดก ญาณสิทธิ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นอาจารย์สอน

ทั้งยังให้ความสนใจฝากตัวศึกษา วิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่จูม จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่หล่ม พรหมโชโต วัดทุ่งสว่าง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

วัตรปฏิบัติธุดงควัตร โดยจะเริ่มออกธุดงค์มาตั้งแต่ปี 2499 ส่วนมากท่าน จะเดินจาก จ.ขอนแก่น ไปตามป่าเขาในเขต จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จนถึงปี 2518 เมื่ออายุมากขึ้นและมีตำแหน่งทางปกครองจึงไม่ค่อยมีเวลาอีก

ต่อมา จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดจันทราวาส ตราบจนปัจจุบัน

ลำดับสมณศักดิ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุวรรณธรรมาการ

ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ เเต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอมัญจาคีรี และเป็นเจ้าคณะอำเภอโคกโพธิ์ไชย เป็นพระสังฆาธิการรูปเดียวในจังหวัดขอนแก่นที่ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอถึงสองอำเภอ

เนื่องจากในปี 2562 หลวงปู่แขม สิริอายุ 88 ปี ทางคณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ"ขออนุญาตหลวงปู่แขม จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรเมตตา"

เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างเมรุให้แล้วเสร็จ

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรคลุม ใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงปู่แขม จารุวณฺโณ ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์เขียนตัวเลข ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และจากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนคำว่า วัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนวะลงยาคละสี 39 เหรียญ เนื้อเงิน 88 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ 111 เนื้อนวะเต็มสูตร 111 เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,499 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 1,499 เหรียญ เนื้อเงินหลังเรียบ 30 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดจันทราวาสในวันที่ 10 ก.ย.2562 โดยหลวงปู่แขมนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20160620328452_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระกริ่งพระประธาน วัดตรีทศเทพฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดตรีทศเทพวรวิหาร กทม. มีพระกริ่งสำคัญที่มีชื่อว่า "พระกริ่งพระประธาน" หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่ง 7 รอบของวัดบวรฯ ความเป็นมาเป็นอย่างไร เรามาศึกษากันดีกว่าครับ

วัดตรีทศเทพวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์-ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นใกล้วังของพระองค์ หลังจากทรงกำหนดและเริ่มงานเพียงเล็กน้อยก็สิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี พ.ศ.2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์-ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรส ซึ่งเป็นพระโสธรเชษฐานุชาดำเนินการก่อสร้างต่อ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็มาสิ้นพระชนม์อีกพระองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประธานถวายในพระอุโบสถ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร 2 พระองค์ เพื่ออุทิศฉลองพระองค์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร และกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชโอรสประดิษฐานไว้สองข้างพระพุทธปฏิมาประธาน พระราชทานวิสุงคามสีมา สถาปนาเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพวรวิหาร" หมายถึงวัดที่เทพ 3 องค์สร้างขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2491 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) จึงโปรดให้จัดสร้างพระกริ่งพระประธาน สำหรับงานผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ จัดให้มีการเทหล่อ 2 วาระ โดยทำพิธีหล่อที่บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2491 เป็นวาระแรก วาระที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2491 พระกริ่งที่หล่อเป็นแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัย มีหม้อน้ำมนต์ที่พระหัตถ์ซ้าย จึงเรียกว่า "พระกริ่งพระประธาน" ฐานมีบัวด้านหน้า 9 กลีบ ด้านหลังมีบัว 2 กลีบ เทหล่อแบบเทตัน แล้วเจาะรูใต้ฐาน ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่ง อุดด้วยทองชนวนเนื้อเดียวกัน แล้วแต่งตะไบจนแทบมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง วรรณะออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย

พัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2492 ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระกริ่งรุ่นนี้โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 พระกริ่งพระประธานนี้ ผู้นิยมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะ คล้ายกับพระกริ่ง 7 รอบ ปี พ.ศ.2499 ของวัดบวรฯ แตกต่างกันที่พระหัตถ์ของพระกริ่ง 7 รอบจะไม่มีหม้อน้ำมนต์ และที่บัวด้านหลังของพระกริ่ง 7 รอบจะมีตัวเลข ๗ ปรากฏอยู่

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระประธาน หรือพระกริ่ง วัดตรีฯ มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าหลังและก้นครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33296255063679_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม พระอาจารย์ผู้สร้างพระแก้วมรกตจำลองขนาดห้อยคอ ที่ทำมาจากแก้ว รุ่นแรกสั่งทำมาจากประเทศอิตาลี เราท่านอาจจะเคยเห็นแต่บางทีไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดสร้าง หลวงพ่อเจียงท่านเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก มาฟังประวัติของท่านกันครับ

หลวงพ่อเจียงเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2425 ที่บ้านคลองกระจ่า ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี วัยเด็กบิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดเจริญสุขาราม กับหลวงพ่ออาจ ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางคลองบ้าง เรียกวัดต้นชมพู่บ้าง ต่อมาเมื่อทางการมาสร้างประตูน้ำบางนกแขวกชาวบ้านเรียกว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวก

หลวงพ่อเจียงในช่วงวัยเด็กก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวน ค้าขาย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดเจริญสุขารามฯ โดยมีพระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) วัดโชทายิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอาจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเชย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า วณฺณสโร เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม พระธรรม จนแตกฉาน นอกจากนั้นหลวงพ่อเจียงยังสนใจทางวิปัสสนาธุระ และแพทย์แผนโบราณ จึงได้ศึกษาจากพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญชื่อดังในยุคนั้น นอกจากนี้ยังเดินทางมาศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี หลวงพ่อเจียงช่วยหลวงพ่ออาจบูรณวัดจนเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาในปีพ.ศ.2453 พระอธิการอาจ มรณภาพ ทางการและคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม ท่านก็ได้พัฒนาวัดเป็นการใหญ่ พ.ศ.2469 ได้เป็นพระครูปลัดของพระเทพกวี เจ้าคณะมณฑลราชบุรี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอัตตโกศล และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2480 ได้รับเลื่อนเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ.2490 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระสุเมธีสมุทรเขตต์ พ.ศ.2503 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระราชสมุทรเมธี พ.ศ.2506 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพสังวรวิมล หลวงพ่อเจียงมรณภาพในปี พ.ศ.2514 สิริอายุได้ 89 ปี

หลวงพ่อเจียงเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์มากมาย สร้างโบสถ์และโรงเรียนเมธีชุณหะวัณ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นกำลังสำคัญ หลวงพ่อเจียงสร้างวัดเจริญสุขาราม จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้และได้รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็น วัดที่ 3 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

หลวงพ่อเจียงได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง เช่น ตะกรุด เหรียญรุ่นต่างๆ เหรียญรุ่นแรกนั้นสนนราคาหลักหมื่นครับ นอกจากนี้ยังมีพระแก้วมรกตจำลอง ซึ่งพระแก้วนี้ลูกศิษย์ของท่านที่อยู่ต่างประเทศได้จัดสร้างถวาย โดยรุ่นแรกสั่งทำจากประเทศอิตาลี ประมาณปี พ.ศ.2490-91 ประมาณ 300 องค์ เป็นพระทำจากแก้ว สีเขียวมรกต หลวงพ่อท่านก็กรุณาปลุกเสกให้ ต่อมาเมื่อพระหมดไปแล้วก็ยังมีผู้ที่อยากได้อยู่ ลูกศิษย์จึงได้สั่งทำอีกเป็นรุ่นที่ 2 ในปี พ.ศ.2493 โดยสั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น ครั้งนี้มีหลายสี พระทั้งสองรุ่นจะแตกต่างกัน ที่สังเกตง่ายๆ คือดูที่มือประสานกันของพระ รุ่นแรกมือจะติดกัน ส่วนรุ่นที่ 2 มือจะมีร่องระหว่างมือทั้งสอง พระทั้งสองรุ่นสั่งทำด้วยฝีมือประณีต เนื้อแก้วจะไม่มีฟองอากาศ ปัจจุบันมีของที่ทำปลอมมาก แต่ส่วนมากของปลอมจะมีฟองอากาศ

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก ปี พ.ศ.2470 สร้างเป็นที่ระลึกในการฉลองโรงเรียนสุขวัฒนาทาน วัดเจริญสุขาราม มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44967341133289_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสาธิตสุตการ หรือหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวโพธารามเคารพนับถือมาก ท่านได้อนุญาตให้สร้างเหรียญรูปท่านไว้รุ่นหนึ่งปัจจุบันหายากพอสมควร นับว่าเป็นเหรียญเก่าของจังหวัดราชบุรีเหรียญหนึ่งครับ

หลวงพ่อคงเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 ตำบลโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายอินทร์ โยมมารดาชื่อขำ เมื่อวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนและบวชเณร กับพระอาจารย์เมฆ วัดมณีโชติ จนถึง อายุ 18 ปีจึงได้ลาสิกขาไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ต่อมาเมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดท่าหลวงพล ในปี พ.ศ.2425 โดยมีพระอาจารย์อ่วม เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอินทโมลี เจ้าอาวาสวัดสนามชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เมฆ เจ้าอาวาสวัดมณีโชติ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดท่าหลวงพล และศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมกับหลวงพ่ออ่วม เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล ซึ่งท่านเป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมเข้มขลัง และมีวาจาสิทธิ์ เคยมีโจรมาขโมยวัวที่วัด หลวงพ่ออ่วมตามไปเจอและบอกให้หยุดก่อน โจรพวกนั้นก็ขยับเขยื้อนไม่ได้เลยหยุดอยู่กับที่จนถึงเช้า จนหลวงพ่ออ่วมไปบอกว่าให้ไปได้ พวกโจรจึงขยับตัวได้ เรื่องนี้คนโพธารามรู้กันดีและเล่าสืบต่อกันมา หลวงพ่อคงก็ได้ศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่ออ่วม จนกระทั่งปี พ.ศ.2433 หลวงพ่ออ่วมจึงมรณภาพ

ต่อมาในปี พ.ศ.2435 หลวงพ่อคงก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล ท่านก็ได้พัฒนาวัดท่าหลวงพลจนเจริญรุ่งเรือง มีโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม และบูรณะวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดและพระอุปัชฌาย์ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสาธิตสุตการ

ในปีนี้เองคณะศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงพ่อคงจัดงานฉลองสมณศักดิ์ และขอสร้างเหรียญรูปท่านครึ่งองค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานนี้ หลวงพ่อคงก็อนุญาตให้จัดงานได้ เหรียญรุ่นนี้สร้างเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่หูเชื่อม มีอยู่ 2 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อเงิน ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ สนนราคาหลักหมื่น เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 หลวงพ่อคงจึงได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 57

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 ตุลาคม 2562 13:16:14
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36012916515270_view_resizing_imagesWZ46RUVL_3.jpg)
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นท่านก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพร แถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิม ที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนหล่อโบราณของหลวงพ่อแฉ่งมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54149945825338_view_resizing_imagesV4TP294Z_3.jpg)
เหรียญพระธาตุโพนสวรรค์ รุ่นฉลองพุทธชยันตี

พระธาตุโพนสวรรค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดประชาสามัคคีธรรม บนเนื้อที่ 22 ไร่ ริมถนนทางหลวงหมายเลข 2088 สายโพนสวรรค์-กุสุมาลย์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม มีพระครูสุตสุทธิธรรม เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระธาตุองค์นี้ สร้างขึ้นตามดำริพระครูสุตสุทธิธรรม ที่ต้องการสร้างพระธาตุประจำอำเภอ ไว้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้

เริ่มลงมือวางศิลาฤกษ์และก่อสร้าง เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2553 มีนายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดป่าศรีประไพวนาราม ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้าง และญาติโยมลูกศิษย์ที่ศรัทธา จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่หลายรุ่น เพื่อนำรายได้สมทบสร้างพระธาตุดังกล่าว

เป็นเจดีย์สูง 56 เมตร ฐานกว้างด้านละ 12 เมตร สูง 6 ชั้น ภายในพระพุทธจอมมณีศรีสุวรรณ ทรงเครื่องสุโขทัย เป็นพระประธาน

สิ้นงบสร้างไปแล้ว 25 ล้านบาท ตั้งงบไว้ 30 ล้าน อยู่ระหว่างตกแต่งภายใน และเตรียมเททองยอดฉัตรทองคำน้ำหนัก 99 บาท มีผู้บริจาคทองคำแล้ว 69 บาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2563

ในปี พ.ศ.2555 พระครูสุตสุทธิธรรม ได้ขออนุญาตหลวงปู่ประไพ จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพระธาตุโพนสวรรค์ รุ่นฉลองพุทธชยันตี

เพื่อนำรายได้สมทบสร้างพระธาตุโพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

จัดสร้างประกอบด้วยเนื้อ 3 กษัตริย์ 1,000 เหรียญ, เนื้อกะไหล่ทอง 1,555 เหรียญ, เนื้อรมดำ 2,555 เหรียญ, เนื้อทองเหลือง 2,555 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ รูปทรงคล้ายเสมา มีหูเชื่อม ใต้หูเชื่อมสลักอักขระธรรม ในวงรอบสี่เหลี่ยม ประกบด้วยจุดไข่ปลาในกรอบสี่เหลี่ยม รอบขอบเหรียญมีลวดลายกนกที่อ่อนช้อยสวยงาม

ตรงกลางเหรียญ มีรูปเหมือนพระพุทธเจ้าเต็มองค์ ในท่านั่งขัดสมาธิในซุ้มใบโพธิ์ บนฐานดอกบัว ด้านข้างตั้งแต่เหนือเข่าซ้ายถึงใบหู สลักตัวหนังสือคำว่า รุ่นฉลองพุทธชยันตี มีอักขระธรรม 2 ตัว บริเวณเหนือข้อศอกถึงใบหู ด้านขวาสลักตัวหนังสือคำว่า ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ มีอักขระธรรม 2 ตัวประกบเช่นกับแนวซ้าย

ด้านหลัง มีเส้นสันขอบนูนหนา ใต้หูห่วงสลักตัวหนังสือคำว่า พระธาตุโพนสวรรค์ ตรงกลางเหรียญ มีรูปเหมือนพระธาตุโพนสวรรค์ ในเปลวรัศมีแฉก บริเวณฐานมีรุกขเทวดาในท่าพนมมือไหว้ ด้านล่างสุดสลัก ๕ พ.ย.๒๕๕๕

เหรียญรุ่นนี้ มีหลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม และหลวงปู่สนธิ์ เขมิโย พระเกจิชื่อดังวัดอรัญญานาโพธิ์ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ทำพิธีปลุกเสก มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน

เป็นอีกเหรียญที่มีประสบการณ์ และค่อนข้างพบเห็นได้ยาก
    ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14816797690258_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
พระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี ญาครูท่านอ่อนสี

หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี หรือ ญาครูท่านอ่อนสี วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระสงฆ์วัตรปฏิบัติดี ปัจจุบันสิริอายุ 116 ปี พรรษา 95

แม้อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจ ยังรับกิจนิมนต์เป็นปกติ

นามเดิม นายอ่อนสี แก้วพิทัก เกิดเมื่อปี พ.ศ.2446 ชาติภูมิท่านเป็นคนไทย เกิดที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อสมัยยังเด็กครอบครัวย้ายข้ามไปอยู่เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว

อายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดในเมืองไชพูทอง พ.ศ.2466 ไปจำพรรษาอยู่วัดบ้านด่าน ศึกษาพระธรรมวินัยรวม ทั้งร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านสืบสายธรรมจากสายสมเด็จลุนแห่งเมืองนครจำปาสัก จนแตกฉาน

เป็นพระที่ญาติโยม 2 ฝั่งโขงไทย-สปป.ลาว ให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอริยะ สองฝั่งโขง

นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมที่เข้มขลัง ท่านยังเป็นพระนักพัฒนามีวัดหลายแห่งทั้งใน สปป.ลาวและในฝั่งประเทศไทย ที่ท่านให้การอุปถัมภ์ อาทิ วัดบ้านขอนแก่น ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร หากเมื่อท่านข้ามมาฝั่งไทย ท่านจะมาพำนักอยู่วัดแห่งนี้เป็นประจำ

วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว เป็นวัดชนบทที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุ โดยเฉพาะศาลาที่พักสงฆ์ ยังไม่มี

คณะญาติโยมและคณะศิษย์ฝั่งไทย "ทีมงานสมเจริญพระเครื่อง" นำโดย "นวนปาง บุญรักษ์" มีจิตศรัทธาขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งจักรพรรดิ มหาเศรษฐี" เพื่อมอบให้ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนก่อสร้าง

วัตถุมงคลพระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี พุทธศิลป์คล้ายกับพระกริ่งที่มีการจัดสร้างจากวัดทั่วไป เป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัลลังก์ดอกบัว บริเวณบัลลังก์ด้านหลังมีตัวอักษรเขียนว่า "หลวงปู่อ่อนสี" และที่ใต้ฐานพระทุกองค์จะฝังตะกรุดเงินตะกรุดทองรวมทั้งตอกโค้ดหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้าง

สำหรับจำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามสั่งจอง เนื้อเงินก้นทองคำ 19 องค์ เนื้อเงินอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 116 องค์ เนื้อนวะโบราณอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 299 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์ เนื้อสำริดอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์ เนื้อทองแดงผิวรุ้งอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว วันที่ 10 ส.ค.2562 พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่อัญญาครูท่านอ่อนสี, หลวงปู่ถิน จันทธัมโม วัดดอนสาย จ.ยโสธร, หลวงปู่ สี อภิรโส วัดบ้านขอนแก่น จ.มุกดาหาร เป็นต้น 
   ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17945479187700_view_resizing_imagesU97HRREP_3.jpg)
พระกริ่งหนองแส

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งที่สร้างมาจากภายนอกประเทศไทย โดยเฉพาะที่เป็นพระกริ่งรุ่นเก่าแก่ เรามักจะเรียกรวมๆ กันว่า "พระกริ่งนอก" และเป็นที่นิยมเล่นหากันมานานแล้ว พระกริ่งหนองแสก็เป็นพระกริ่งแบบหนึ่งที่นิยมเล่นหากันมานานแล้ว

พระกริ่งหนองแสว่ากันว่ามีต้นกำเนิดที่ "หนองแส" หรือ "เมืองแส" แห่งอาณาจักรน่านเจ้า เมื่อครั้งอดีตสันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงของราชวงศ์หนองแสหลวง ซึ่งในระยะนั้นอาณาจักรน่านเจ้าเจริญรุ่งเรืองและแข็งแกร่ง ตรงกับสมัยพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หรือขุนบรม ประมาณปี พ.ศ.1272-1290 ได้ปกครองอยู่ และได้มีสัมพันธไมตรีกับจีนและทิเบต มีการติดต่อค้าขายซึ่งกันและกัน

พระกริ่งหนองแสนี้ มีการพบที่หนองแสเองก่อนมานานแล้ว และต่อมาก็พบที่เขาพนมบาเก็งในประเทศกัมพูชาด้วย ซึ่งในขณะนั้นทางอาณาจักรน่านเจ้าก็มีสัมพันธไมตรีกับขอมเช่นกัน จึงอาจจะมีการนำพระกริ่งหนองแสมาบรรจุไว้ที่เขาพนมบาเก็งด้วย

พระกริ่งหนองแสนั้นจัดอยู่ในประเภทพระกริ่ง แต่องค์พระกริ่งหนองแสเองไม่พบที่มีการบรรจุเม็ดกริ่งเลย พระกริ่งหนองแสที่พบมีทั้งที่เป็นแบบก้นตัน และมีทั้งที่เป็นแบบก้นกลวงอย่างพระบูชา พุทธลักษณะที่เอกลักษณ์ของพระกริ่งหนองแสก็คือองค์พระจะเอนลู่ไปทางด้านหลังมาก ไม่เหมือนกับพระกริ่งใดๆ และจากการเอนไปทางด้านหลังมากนี่เองฐานบัวของพระกริ่งหนองแสจึงมีขนาดเขื่องกว่าลำพระองค์ เพื่อถ่วงน้ำหนักไม่ให้องค์พระล้มเวลาตั้ง นับว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างที่ออกแบบสร้างหุ่นพระกริ่งหนองแส พระกริ่งหนองแสนี้ถ้าเราสังเกตศิลปะของพระกริ่งแล้ว จะเห็นว่าได้รับอิทธิพลศิลปะของทิเบตเข้ามาผสมผสาน เช่นฐานบัวทำเป็นแบบเม็ดไข่ปลาเรียงรายสองชั้น ซึ่งเป็นศิลปะแบบทิเบต สำหรับพระศกตอนบนทำเป็นแบบรัดเกล้าตามแบบฉบับลัทธิมหายาน ซึ่งขอมนิยมทำมาก ต่างจากพระกริ่งแบบอื่นๆ พระเนตรหลุบต่ำ คิ้วไม่ชี้ขึ้นแบบพระกริ่งจีน

เนื้อของพระกริ่งหนองแส ทำด้วยทองสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อในกระแสออกเหลืองแบบทองดอกบวบ ผิวกลับสีน้ำตาลแก่เช่นเดียวกับพระกริ่งใหญ่ พระกริ่งหนองแสมีพบมากที่สุดที่หนองแสนี่แหละ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระนามของพระกริ่งแบบนี้

พระกริ่งหนองแสพุทธคุณเป็นเลิศในทุกๆ ทาง เช่นเดียวกับพระกริ่งใหญ่ และกริ่งบาเก็ง ปัจจุบันพระกริ่งหนองแสหาได้ยากยิ่ง และเป็นพระกริ่งนอกยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งเช่นกันครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งหนองแสองค์สวยสมบูรณ์มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 ตุลาคม 2562 16:30:20
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24051095752252_untitled_320x200_.png)
เหรียญหล่อพระพุทธหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญหล่อรูปเหมือนของท่านเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นที่นิยมมากสนนราคาก็สูงมากเช่นกัน เหรียญหล่อรุ่นแรกนั้นหายากมากๆ ใครมีต่างก็หวงแหน พุทธคุณเข้มขลัง มีประสบการณ์มากมาย

หลวงพ่อไปล่เกิดที่บางบอนใต้ อำเภอบางขุนเทียน เมื่อปี พ.ศ.2403 ในวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงพ่อทัต วัดสิงห์

ต่อมาเมื่อเป็นวัยรุ่นท่านก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมากก็เป็นอย่างชายวัยรุ่นทั่วไป และในย่านบางบอนใต้ในสมัยนั้นก็มีนักเลงคนจริงมากมาย มักมีเรื่องตีรันฟันแทงกันบ่อยครั้ง ส่วนหลวงพ่อไปล่เป็นคนจริงใจพรรคพวกยกให้เป็นหัวหน้า บิดามารดาก็เป็นห่วงจึงอยากให้หลวงพ่อไปล่บวชก่อนสักหนึ่งพรรษา จึงได้ขอให้หลวงพ่อไปล่บวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดสิงห์

เมื่ออายุได้ 23 ปี โดยมีหลวงพ่อทัต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อไปล่ก็มาอยู่จำพรรษา ที่วัดกำแพง ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนา พร้อมทั้งวิทยาคมกับหลวงพ่อทัต หลวงพ่อไปล่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ขยันหมั่นเพียรท่องบทสวดมนต์จนคล่องแคล่ว พอผ่านมาหนึ่งพรรษาปรากฏว่าหลวงพ่อไปล่ก็ยังไม่สึก และยังจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพงต่อมาไม่มีทีท่าว่าจะสึกหาลาเพศ

นอกจากนี้หลวงพ่อไปล่ยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูปเช่นพระอาจารย์คง พระธุดงค์ผู้มีวิทยาคมขลัง หลวงพ่อพ่วง วัดกก ซึ่งเก่งทางด้านเมตตามหานิยม หลวงพ่อเก้ายอด วัดบางปลา สมุทรสาคร เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์ และกำบังกาย พระอาจารย์ดิษฐ์ เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี ขนาดเอามีดโกนปาดง่ามนิ้วยังไม่เข้า หลวงพ่อไปล่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมมาจนหมดสิ้น และทดลองทำจนเห็นผล

ต่อมาหลวงพ่อดิษฐ์มรณภาพ ชาวบ้านก็ได้ขอให้หลวงพ่อไปล่เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ หลวงพ่อไปล่ทนการขอร้องของชาวบ้านไม่ได้จึงรับเป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็มีคนมาบวชกับท่านมากมายด้วยความศรัทธาในตัวหลวงพ่อไปล่ ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พอถึงปี พ.ศ.2478 คณะศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน และในงานนี้ก็ได้ขออนุญาตหลวงพ่อไปล่สร้างเหรียญหล่อรูปท่าน มีรูปทรงคล้ายจอบ จึงมักเรียกกันง่ายๆ ว่าเหรียญจอบ

ในพิธีก็เกิดปาฏิหาริย์สายสิญจน์ห้อยมาถูกเทียนชัยจี้อยู่ตลอดจนเสร็จพิธีก็ไม่ไหม้ไฟ ในพิธีนี้หลวงพ่อไปล่ปลุกเสกเดี่ยว เหรียญรุ่นนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอก็เกิดประสบการณ์มากมาย ใครที่เคยมีเรื่องตีรันฟันแทงก็ไม่เคยมีใครเลือดตกยางออกเลย ต่างก็โจษจันกันมากว่าเหนียวจริงๆ ปืนผาหน้าไม้ต่างก็ยิงไม่ออกยิงไม่เข้า เลื่องลือกันมากในสมัยนั้น

นอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้วก็ยังมีเหรียญหล่ออีกรุ่นหนึ่ง สร้างเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นเพื่อแจกในงานทำบุญล้างป่าช้าของวัดกำแพง ใครที่ไม่มีเหรียญหล่อรุ่นแรกก็ใช้เหรียญหล่อพระพุทธรุ่นนี้แทน และก็มีประสบการณ์มากมาย พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรก และนิยมกันมากเช่นกัน แต่สนนราคาถูกกว่าเหรียญหล่อรุ่นแรกมาก

ในปัจจุบันเหรียญหล่อพระพุทธนี้ก็หายากเช่นกัน ราคาอยู่ที่หลักแสนต้นๆ แต่ของแท้ก็หายากนะครับ และวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพระพุทธหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79157277196645__2_1_320x200_.jpg)
พระหูยาน ลพบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานลพบุรีเป็นพระเนื้อชินที่ได้รับความนิยมกันมากมาแต่โบราณ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากก็ต้องยกให้พระหูยานพิมพ์ใหญ่บัวชั้นเดียว ที่เมื่อก่อนจะเรียกกันว่าพิมพ์หน้ายักษ์

พระหูยานเป็นพระที่มีการพบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระกรุนี้มีการลักลอบขุดตั้งแต่ในปี พ.ศ.2430 มีการพบพระบูชาและพระเครื่องเป็นจำนวนมาก พระเครื่องที่ได้รับความนิยมมากก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ในส่วนของพระหูยานมีการพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่ได้รับความนิยมมากที่สุด ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า พิมพ์หน้ายักษ์ เนื่องจากหน้าของพระดูดุกว่าพระพิมพ์อื่นๆ พระกรุเก่าที่พบจะมีผิวออกดำ แบบที่เรียกกันว่าสนิมตีนกา มีรอยระเบิดบ้างตามองค์พระ ที่สวยสมบูรณ์มีน้อย ส่วนพระพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กก็นิยมเช่นกัน แต่สนนราคามีน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่

ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ได้มีการขุดพบพระหูยานขึ้นมาอีก แต่พระของกรุที่พบในครั้งนี้ผิวของพระจะมีคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ สภาพขององค์พระก็จะสมบูรณ์กว่าพระกรุเก่า และเรียกหากันว่าเป็นพระกรุใหม่ เนื่องจากมีการขุดพบในภายหลัง พระทั้ง 2 กรุเป็นพระพิมพ์เดียวกันทุกประการ และมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กเช่นกัน สนนราคาในการเล่นหาในสมัยนั้นพระกรุใหม่สนนราคาก็จะย่อมเยากว่าพระกรุเก่า แต่ในปัจจุบันก็จะขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์เป็นหลัก

พระหูยานนั้นได้รับความนิยมมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน เรื่องที่คนในสมัยก่อนรับรู้กันมากก็เรื่องของผู้ใหญ่บ้านของลพบุรีที่ลงพาดหัวข่าวในสมัยนั้นว่าถูกยิงแต่ยิงไม่เข้า เรื่องก็ประมาณว่าผู้ใหญ่บ้านถูกคนร้าย 3-4 คนลอบดักยิงจนตกน้ำตกท่า หลังจากที่คนร้ายนึกว่าผู้ใหญ่บ้านตายแล้วก็หลบหนีไป มีพลเมืองดีเข้าไปช่วยผู้ใหญ่บ้านปรากฏว่าที่หน้าอกของผู้ใหญ่มีรอยไหม้ช้ำเป็นวงแดงๆ อยู่หลายแห่ง แต่ไม่ได้เข้าเนื้อเลย เสื้อที่ใส่ก็ขาดเป็นรูๆ เท่านั้น มีคนขอดูพระที่ห้อยคอก็เป็นพระหูยานพิมพ์กลางกรุใหม่อยู่เพียงองค์เดียว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลงข่าวหนังสือพิมพ์ในสมัยก่อน

อีกเรื่องก็มีนายตรวจรถ บ.ข.ส.อยู่ที่นครสวรรค์ กำลังขี่รถจักรยานกลับบ้าน ก็ถูกคนร้ายลอบยิงด้วยปืน 11 ม.ม. ถึง 4 นัด กระสุนเข้าหน้าอกอย่างจังทั้ง 4 นัด กระเด็นตกรถลงไปอยู่ข้างทาง ปรากฏว่ากระสุนทั้ง 4 นัดก็ไม่เข้าเนื้อเช่นกัน ในคอเป็นพระหูยานกรุเก่าพิมพ์ใหญ่ เรื่องราวต่างๆ เรื่องความอยู่ยงคงกระพันของพระหูยานเป็นที่เล่าขานกันมากมาแต่โบราณ จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่แตกกรุใหม่ๆ แล้ว

พระหูยาน ลพบุรี จึงเป็นที่นิยมเสาะหาและมีราคามาตั้งแต่โบราณ การปลอมแปลงก็มีมานานมาก แต่ฝีมือก็ยังไม่ดีนัก ยังพอดูออกถ้าได้เคยเห็นของจริง แต่ในสมัยปัจจุบันมีการปลอมด้วยฝีมือที่ดีมาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องจดจำพิมพ์ เนื้อหาให้ดี พิจารณาดีๆ อย่าประมาท ไม่อย่างนั้นมีโอกาสโดนของฝีมือได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่กรุเก่าองค์สวยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16225991687840_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญพญาเต่าโภคทรัพย์ หลวงปู่สี

หลวงปู่สี อภิรโส เจ้าอาวาสวัดบ้านขอนแก่น อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร พระเกจิชื่อดัง

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมอีสาน, หลวงปู่สิม พุทธจาโร ทั้งยังร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) จ.มุกดาหาร, หลวงปู่ลือ สุขปุญโญ วัดป่านาทามวนาวาส อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร

ปัจจุบันสิริอายุ 103 ปี พรรษา 74

เกิดในสกุลดีดวงพันธ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค.2459 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง โยมมารดาชื่อ นางบุญ

วัยเยาว์หลังเรียนจบชั้น ป.4 ทำนาช่วยเหลือครอบครัว มีโอกาสติดตามมารดาเข้าวัดทำบุญบ่อยครั้ง

พ.ศ.2488 ขณะมีอายุ 29 ปี อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดป่าศิลาวิเวก อ.เมือง จ.มุกดาหาร โดยมีหลวงปู่คำเป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษากับศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก่อนเดินธุดงค์ไปร่ำเรียนด้านพุทธาคมกับสมเด็จลุน ในฝั่งลาว ที่วัดพระบาทโพนฉัน และพระครูขี้หอม เถระฝั่งลาวผู้เคยมาบูรณะองค์พระธาตุพนมนานหลายปีจนช่ำชอง

กระทั่งกลับมาจำพรรษาที่มาตุภูมิบ้านเกิดวัดศิลาวิเวกได้ระยะหนึ่ง ญาติโยมจึงนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขอนแก่น อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร จวบจนปัจจุบัน

เดือนเม.ย.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่าเรือนรุ่นแรก มหาโภคทรัพย์ เพื่อนำรายได้สร้างอุโบสถ และเสนาสนะในวัด

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา 39 เหรียญ, เนื้อเงิน 99 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าลงยาธงชาติ 199 เหรียญ, เนื้อสัตตะ 499 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,499 เหรียญ และเนื้อทองแดงสันปู 1,499 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเรือนเต่า หูเชื่อม มีอักขระอยู่บนหัวเต่า ตัวเหรียญนูน มีเส้นลายขอบบาง 2 ชั้น ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหน้าตรงหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ มีอักขระยันต์บนอังสะ ใต้เหรียญสลักเลขไทย ๙ นัมเบอร์ของเหรียญ ถัดลงมาสลักคำว่า รุ่นแรก ประกบด้วยยันต์ตัวนะ บรรทัดล่างสุดสลักคำว่า วัดบ้านขอนแก่น ขอบเหรียญขอบด้านซ้ายสลัก คำว่า หลวงปู่สี อภิรโส ด้านขวาสลักคำว่า จ.มุกดาหาร ๒๕๖๒

ด้านหลังเหรียญแบนราบ มีเส้นสันนูนหนารอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์มงกุฎ เป็นยันต์ป้องกันภัยและยันต์มหานิยม ใต้ยันต์สลักคำว่า มหาโภคทรัพย์ และมีอักขระยันต์ 4 ตัวกำกับที่เท้า 4 แห่งด้วย เหรียญทุกเนื้อตอกโค้ดเหมือนกันหมด แต่สลับแค่ตำแหน่ง

พิธีพุทธาภิเษกในต้นเดือน ส.ค.2562 โดยอาราธนานิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.มุกดาหาร มาทำพิธี
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19635051820013_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระรอดกรุวัดมหาวัน

พระรอดกรุวัดมหาวัน ลำพูน เป็นพระเครื่องที่อยู่ในชุดเบญจภาคี และมีอายุเก่าแก่ที่สุดในพระชุดนี้ มีบางท่านกำหนดอายุของพระรอดไว้แตกต่างกัน ซึ่งเรื่องของโบราณคดีนั้นละเอียดอ่อนมาก ต้องศึกษาอย่างละเอียด ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ พงศาวดารและศิลปะ เราคงจะไม่พูดถึงเรื่องนี้มากนัก เพราะถึงอย่างไรพระรอดกรุนี้ก็มีอายุมากที่สุดในพระชุดเบญจภาคีอยู่ดี

เรามาพูดถึงกำเนิดของเมืองหริภุญชัยที่พบพระรอดและวัดที่พบพระรอดกันดีกว่า ซึ่งผมจะไม่พูดถึงปี พ.ศ. เนื่องจากอาจจะมีความขัดแย้งกันอยู่ เอาเฉพาะเรื่องราวจากพงศาวดารโยนก ชินกาลมาลินี และจามเทวีวงศ์ ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า มีฤๅษีอยู่ 5 ตน ที่มีความเกี่ยวพันกับเมืองนี้ คือ

1.สุเทวฤๅษี พำนักอยู่ ณ อุฉุบรรพต คือดอยอ้อม หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "ดอยสุเทพ" ตามชื่อพระฤๅษี

2.สุกกทันตฤๅษี อยู่ที่ดอยธัมมิก เมืองละโว้ คือเขาสมอคอน

3.สุพรหมฤๅษี พำนักอยู่ที่สุภบรรพต (ดอยงาม) ริมฝั่งน้ำวังกะนที คือแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง

4.สุมณนารทะฤๅษี พระฤๅษีตนนี้นับว่าสำคัญที่สุด พำนักอยู่ที่ดอยอินทนนท์

5.อนุสิษฏฤๅษี พำนักอยู่ที่เขาหลวง สวรรคโลก

พระฤๅษี 4 ตนแรกได้ปรึกษาหารือกันว่าจะสร้างเมืองเมืองหนึ่งขึ้นมา โดยให้ไปขอผังเมืองจากอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งอนุสิษฏฤๅษีก็ได้ส่งกาบหอย ซึ่งมีลักษณะเป็นวงรูปไข่ (เมืองที่มีอายุการสร้างก่อนสมัยขอมจะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้นั้นจะมีสัณฐานเช่นนี้ เช่น เมืองในสมัยอาณาจักรทวารวดี เป็นต้น เนื่องจากขอมเป็นชาติแรกในสุวรรณภูมิที่ออกแบบผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม) พระฤๅษีจึงตกลงกันว่าจะสร้างผังเมืองตามนั้น โดยพระสุเทวฤๅษีได้ปักไม้เท้าลงให้เป็นศูนย์กลางของพระนคร อยู่ตรงคณะสะดือเมือง ของวัดพระบรมธาตุฯ และก็สร้างเมืองตามรูปแบบ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเมืองลำพูนเก่า หรือเมืองหริภุญชัยนั้นมีรูปทรงสัณฐานเป็นรูปไข่แบบนี้

เมื่อสร้างหริภุญชัยนครเสร็จแล้ว เหล่าฤๅษีจึงให้ควิยะบุรุษไปเป็นทูตทูลขอพระนางจามเทวี พระราชธิดาพระเจ้ากรุงละวะปุระ (เมืองละโว้ หรือลพบุรี ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองก่อนที่ขอมจะมีอำนาจปกครอง) มาครองเมือง ซึ่งพระฤๅษีทั้ง 4 ตนได้ปรึกษากันดีแล้ว เห็นว่าพระนางจามเทวีเป็นกุลสตรีอันประเสริฐ เจริญด้วยศีลและปรีชาฉลาด พระเจ้ากรุงละวะปุระทรงถามความสมัครพระทัยของพระราชธิดา ซึ่งพระองค์ก็ทรงสนองพระราชโองการ ขณะนั้นพระนางทรงพระครรภ์ได้ 3 เดือน

พระนางจามเทวีเสด็จออกจากกรุงละวะปุระโดยพระนางทูลขอพระราชทานพระไตรปิฎก สมณชีพราหมณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ โหราจารย์ แพทย์ สถาปัตยกร วิศวกร นักประติมากรรม และเศรษฐีวาณิช อย่างละ 500 พร้อมด้วยเครื่องราชูปโภค บริวารหมู่โยธาพลากร พร้อมด้วยพาหนะครบถ้วน เสด็จขึ้นไปตามลำน้ำปิง ผ่านเมืองต่างๆ เช่น เมืองบางประบาง (ปากบาง) เมืองคันธิกะ (ชัยนาท) เมืองปุรัฏธะ (นครสวรรค์) เมืองบุราณะ (ท่าเฉลียง) บ้านตาก (ตาก) จามเหงา (สามเงา) และดอยเต่า เป็นต้น ทรงใช้เวลาเดินทางถึงเกือบ 7 เดือน ครั้งเมื่อสุเทวฤๅษีทราบข่าวพระนางเสด็จมาถึง ก็ป่าวร้องชาวเมืองออกมารับเสด็จพระนางเข้าพระนคร พระนางทรงกระทำพระราชพิธีราชาภิเษกได้ 7 วันก็ทรงประสูติพระราชโอรสฝาแฝด

เมื่อพระนางจามเทวีได้มาครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ก็ทรงสร้างจตุรพุทธปราการขึ้น ซึ่งตรงนี้แหละจะมีความเกี่ยวพันกับพระเครื่องสกุลลำพูนที่เรานิยมเล่นหากัน คือ

อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ ณ วัดแห่งนี้ที่พบพระเครื่องที่โด่งดังและรู้จักกันดี คือพระคง ฯลฯ

อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการปกป้องฝ่ายทิศตะวันออก และพระเครื่องที่พบและเป็นที่รู้จักกันดีคือ พระบัง หรือพระบาง ฯลฯ

มหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศใต้ของพระนคร พระเครื่องที่พบและโดดเด่นก็คือ พระเลี่ยง ฯลฯ

มหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศตะวันออก พบพระเครื่องที่สำคัญของเรื่อง ก็คือ พระรอด ฯลฯ

ที่กล่าวอารัมภบทมานั้นก็เพื่อที่จะให้ท่านได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของหริภุญชัยนคร และวัดที่เกี่ยวข้องกับพระรอดที่เราจะพูดถึงกัน ก็อย่างที่กล่าวไว้แต่แรกว่าถึงอย่างไรก็ตามพระรอดก็เป็นพระที่มีอายุมากที่สุดของพระชุดเบญจภาคี เอาล่ะมาพูดกันถึงพระรอดกันซะที

ราวปี พ.ศ.2435 พบว่าพระเจดีย์ที่อยู่ในวัดมหาวันได้ปรักหักพังจนเหลือแต่ซาก มีสภาพเป็นกองอิฐและศิลาแลง กองระเกะระกะ พระเจดีย์องค์นี้พังลงมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ทั้งปราศจากผู้สนใจ ต่อมาเจ้าเหมพินธุไพจิตรได้ดำริให้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิม และเศษซากที่ปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้นได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้พบพระรอดเป็นจำนวนมาก ภายในซากกรุเจดีย์ ส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และอีกส่วนหนึ่งยังปะปนกับซากกรุเก่าและดินทรายจมลงไปในหนองน้ำ

ต่อมาในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ ประมาณปี พ.ศ.2451 เจ้าหลวงเห็นว่ามีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกบริเวณฐานพระเจดีย์ และมีรากชอนลึกลงไปในองค์พระเจดีย์ ทำให้มีรอยร้าวชำรุด จึงให้รื้อฐานรอบนอกพระเจดีย์ออกเสียและปฏิสังขรณ์ใหม่ การกระทำครั้งนี้ได้พบพระรอดเป็นจำนวนหนึ่งกระเช้า จึงได้นำมาแจกจ่ายบรรดาวงศ์เจ้าลำพูน

ครั้นเมื่อมีการพบพระรอดทั้งสองครั้ง ทำให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในคุณวิเศษของพระรอด จากประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา จึงได้พากันมาขุดหาพระรอดกันภายในอุปจารของวัด ครั้งแรกกระทำกันเฉพาะบริเวณที่เคยเป็นแอ่งน้ำ ก็ได้พระรอดมาเป็นอันมาก ภายหลังต่อๆ มาการขุดได้ขยายขอบเขตออกไปทั่วอุปจารของพระอาราม ทั้งได้กระทำกันติดต่อมานานปี จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีย่อยๆ ประจำปี จะมีการขุดหาพระรอดกันในฤดูแล้ง ในระยะหลังๆ พระรอดงวดลงทุกที จึงได้มีการแบ่งพื้นที่ขุดกันเป็นตารางเมตร และขุดหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปีแล้วปีเล่า ได้มีการขุดดินในลานวัดไปใส่ตะแกรงร่อนหากันอย่างละเอียด จนอุปจารวัดเป็นหลุมเป็นบ่อไปหมด ทางวัดจึงไม่อนุญาตให้กระทำต่อไปอีก ดังนั้น การขุดหาพระรอดจึงได้เลิกรากันไป

ต่อมาในปี พ.ศ.2497 ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์พระวิหาร เมื่อ 9 ก.พ. พ.ศ.2497 ได้ขยับพระวิหารให้ยาวออกไปทางด้านทิศตะวันออกจนชิดพระเจดีย์ ได้พบพระรอดจำนวนหนึ่งประมาณ 7 องค์ และพระอื่นๆ อีกเล็กน้อย ในปี พ.ศ.2498 ได้มีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาส ในการขุดลงรากฐานด้านหน้ากุฏิ ได้พบพระรอดเป็นจำนวนประมาณ 200 องค์เศษ

พระรอดกรุวัดมหาวันเป็นพระเครื่องที่ถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคี ที่พบในวัดมหาวัน สามารถแยกได้เป็น 5 พิมพ์ทรง คือ

1.พระรอดพิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะมีขนาดขององค์พระใหญ่กว่าทุกๆ พิมพ์ และมีฐานของพระนับได้ 4 ชั้น ต่างจากทุกพิมพ์ที่พบ และที่ใต้ฐานจะมีเนื้อเกินต่อลงมา ซึ่งพระรอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ตื้น จะมีเนื้อเกินใต้ฐานเป็นแบบนี้ ที่องค์พระเราจะเห็นเส้นพิมพ์แตกที่ข้างหูซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) แตกวิ่งลงมาเป็นทางยาวมาจรดขอบผนัง และจะมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นพิมพ์แตกจากใต้แขนซ้ายขององค์พระ วิ่งลงมาถึงฝ่าเท้า และที่ใต้หน้าแข้งซ้ายขององค์พระก็มีเส้นน้ำตกวิ่งลงมาจรดฐานชั้นบน นอกจากนี้ใต้ฐานชั้นบนก็จะมีเส้นพิมพ์แตก (เส้นน้ำตก) อีกสามเส้นวิ่งลงมาที่ฐานชั้นที่สาม

2.พระรอดพิมพ์กลาง จะคล้ายกับพระรอดพิมพ์ใหญ่ แต่ฐานของพระจะมีแค่สามชั้น ฐานเกินใต้ฐานพระจะมีเช่นกันเหมือนกับพิมพ์ใหญ่ เส้นพิมพ์แตกข้างหูซ้ายจะไม่มี จุดสังเกตที่เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์กลางคือ ในซอกแขนขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเราใกล้ๆ รักแร้) จะมีเนื้อเกินให้เห็นอยู่ครับ

3.พระรอดพิมพ์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีฐานสามชั้น และจะไม่มีฐานเกินที่ใต้ฐานพระ ฐานชั้นล่างสุดมักจะพิมพ์ไม่ติด เห็นเป็นสัญลักษณ์เพียงขอบมุมฐานทั้งสองด้าน เป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยมแนวนอน ที่บริเวณคอจะเห็นเส้นพิมพ์แตกคล้ายเป็นเส้นเอ็นคอที่ด้านซ้ายขององค์พระ และมีเส้นพิมพ์แตกที่ใต้แขนซ้ายขององค์พระมาจรดฝ่าเท้า

4.พระรอดพิมพ์ตื้น พระรอดพิมพ์นี้มีฐานสามชั้น และมีฐานเนื้อเกินที่ใต้ฐาน พระพิมพ์นี้จะเห็นได้ชัดว่าตามซอกแขน ซอกระหว่างหน้าตักและร่องระหว่างฐาน จะตื้นกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ ยกเว้นบริเวณพระเศียรกับผนังโพธิ์จะลึกเช่นเดียวกับพิมพ์อื่นๆ

5.พระรอดพิมพ์ต้อ เป็นพระรอดที่มีเส้นฐานสามชั้นเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีเนื้อฐานเกินที่ใต้ฐานเช่นเดียวกับพระพิมพ์เล็ก องค์พระจะดูอ้วนและต้อกว่าพระพิมพ์อื่นๆ จึงเรียกกันว่า "พิมพ์ต้อ" พระเศียรค่อนข้างเขื่อง

พระรอดกรุวัดมหาวัน ที่เป็นพระชุดเบญจภาคีก็มีเพียง 5 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66124395984742_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต

หลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนสะแบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา แต่ละวันจึงมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 62

เกิดปี พ.ศ.2471 ที่ ต.บ้านธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุ 29 ปี พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดกกโก ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีพระอาจารย์ปล้อง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.ลพบุรี ในยุคนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมอยู่กับพระอาจารย์ปล้อง จากนั้นได้ออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาในแถบภาคอีสาน และข้ามไปยังประเทศ สปป.ลาว จำพรรษาอยู่ภูเขาควาย 1 พรรษา

ต่อมาได้ข้ามมาฝั่งไทย จำพรรษาในถ้ำพื้นที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี นานถึง 7 ปี

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาตามป่าเขาอีกหลายแห่ง สุดท้ายน้องชายท่านเห็นว่าย่างเข้าวัยชรา จึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดโนนสะเเบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2547 หลวงปู่ก็รับนิมนต์มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

ต่อมาร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง

สำหรับเหรียญวัตถุมงคลหลวงปู่ทองสุข ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี 2557 สร้างแจกให้คณะผ้าป่าสามัคคีที่มาทอดถวายสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ จำนวนการสร้าง 2,000 เหรียญ เนื้อทองเหลืองอย่างเดียว

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่พื้นเหรียญมีอักขระยันต์ 9 ตัว พุทธคุณเด่นรอบ ล่างสุดเขียนว่า หลวงพ่อทองสุข สุทฺธิจิตโต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

ด้านหลัง เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย ถัดลงมามีตัวอักษรเขียนว่า รุ่น ๑ พุทธเมตตาองค์ ๓ กันทรลักษ์ ๒๕๕๗ เป็นปี พ.ศ.ที่จัดสร้าง ล่างสุดเขียนคำว่า หลวงพ่อพระโตโคตะมะ วัดโนนสะแบง

เสกเดี่ยวในกุฏิท่านนานหลายเดือน จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21707988985710_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหล่อ ร.ศ.238 รุ่นแรก หลวงปู่แสง

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อกลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคมแล้วยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสาย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

นอกจากนี้ ยังเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม โดยเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

สำหรับวัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

ในเดือน เม.ย.2561 ที่ผ่านมา ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสในจริยาวัตร "เอ้ พัทยา" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญหล่อ ร.ศ.238 รุ่นแรก วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบเข้ากองทุนรักษาธาตุขันธ์และยามอาพาธในวัย 108 ปี

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำหลังเรียบ 5 เหรียญ, เนื้อทองคำ 19 เหรียญ, เนื้อเงิน 299 เหรียญ, เนื้อน้ำพี้เทดินไทย 299 เหรียญ, เนื้อเหล็กเปียก 399 เหรียญ, เนื้อน้ำพี้ 499 เหรียญ, เนื้อนวะ 599 เหรียญ, เนื้อกิมบ่เชียง (นำฤกษ์) 699 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,599 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงเถื่อน 3,999 เหรียญ, ช่อเงิน 19 ช่อ, ช่อสัมฤทธิ์ 89 ช่อ และเนื้อชนวนแจกในพิธี 999 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ในท่านั่งขัดสมาธิห้อย ลูกประคำบนอาสนะ ด้านล่างของเหรียญสลักอักขระ 4 ตัว อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ หมายถึงธาตุทั้ง 4

ด้านหลังเหรียญ แบนเรียบ ใต้หูห่วงสลักคำว่า แจก ถัดลงมาบรรทัดแรกถึงบรรทัดที่ 4 สลักตัวหนังสือคำว่า ที่ระฤก ร.ศ.238 หลวงปู่แสง อายุ ๑๐๘ ปี บรรทัดสุดท้ายสลักตัวเลขไทย ๔๐๐ นับเบอร์ของเหรียญแจก

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2562 ที่ผ่านมา หลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นอีกเหรียญน่าสนใจ
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68158127408888__1_320x200_.jpg)
พระลีลากรุวัดส่องคบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองเก่า และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกรุพระเครื่องอยู่หลายกรุเช่นกัน แต่เราๆ ท่านๆ มักจะคุ้นเคยอยู่กับกรุวัดท้ายย่านเท่านั้น เนื่องจากมีพระเครื่องดังๆ อยู่หลายอย่างเช่น พระลีลาสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง และพระปิดตาเนื้อแร่ของกรุนี้ ความจริงจังหวัดชัยนาททั้งฝั่งจังหวัดและที่เมืองสรรคบุรีนั้นมีวัดเก่าแก่และกรุพระมากมายหลายกรุ เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวิหารพระ กรุวัดมหาธาตุ กรุทางพระ กรุท่าฉนวน เป็นต้น

ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกรุวัดส่องคบ ซึ่งพระกรุนี้ได้พบพระลีลาที่มีศิลปะสวยงามมากกรุหนึ่งครับ วัดส่องคบเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ.1916) การพบพระเครื่องนั้นมีการพบด้วยกันหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2494 ได้มีการขุดค้นองค์พระเจดีย์ และพบหลักฐานสำคัญคือ พบลานเงินจารึกประมาณ 10 แผ่น และได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2495

จารึกที่แปลออกมาแล้วมีข้อความตอนหนึ่งความว่า "แต่พระเสด็จเจ้านิพพานได้ 1916 ปี เจ้าสัทธรรมมหาเถรศาสนาว่า มหาอุบาสก อุบาสิกา เพ่าใจ พ่อยี่ตัดผะ และแม่สร้อยมีใจศรัทธาก่อพระเจดีย์ อันตนหนึ่งได้ 5 วา 2 ศอก และแผ่ประเพณีมิให้หมองในคลองธรรมนี้แล แต่เครื่องประจุพระทอง 20 พระเงิน 1 ตน พระดีบุก 161 เงินทองผ้าผ่อนมีค่ากว่าไว้ได้ 3 แสน 5 หมื่น 5 พันแล แต่กระทำบุญ กุฏิ วิหาร ศาลา เสาธง ปรากฏเช่าหนังสือแต่เครื่องทั้งหลายนี้คิดเป็นมูลค่าได้ 5 แสน 5 พัน"

จารึกอีกแผ่นหนึ่งที่พบ เป็นจารึกปี 1956 แสดงว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมาอีก มีข้อความในจารึกแผ่นนี้ว่า "จึงเจ้าเถรศรี เทพศิริมานนท์เจ้าเมือง แม่นางสร้อยทอง ย่าออกศรี แม่อามและแม่น้อยผู้เป็นลูก พ่อวัวลูกเขย จึงมาประจุพระธาตุ 2 องค์ พระทอง 2 พระเงิน 2 แท่งเงิน 1 พระพิมพ์ 117 แหวนอันหนึ่ง ผ้าสนอบลายหนึ่ง 1 เสื้อ 1 สไบ 1 เช็ดหน้าอันหนึ่ง ผสมค่าทั้งหลาย 210000 คนครอกหนึ่ง" จารึกปี 1956 อีกแผ่นหนึ่งมีความว่า "จึงเจ้าศรีเทพศิริมานนท์ ปู่สิงหล เจ้าเมือง แม่นางสร้อย ย่าออกศรี ย่าพระ ย่าแม้น แม่เอาว์ แม่สาขา พ่อสาน้อยผู้เป็นลูก แม่วัง ปู่ยี่ พ่อไส แม่เพ็ง จึงชาวเจ้าทั้งหลายสโมธา มาก่อพระบรรจุธาตุ 2 พระทอง 2 พระเงิน 12 พระดีบุก 220 แต่พระ 262 แล"

แสดงให้เห็นได้ว่าพระเครื่องของกรุนี้มีการสร้างบรรจุไว้หลายวาระด้วยกัน ในการขุดพบนั้นมีการพบพระเครื่องด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ นอกจากนี้ยังพบพระแผงแบบสมัยลพบุรีก็มีขึ้นมาจากกรุนี้ด้วย แต่การขุดค้นนั้นมีการขุดด้วยกันหลายครั้ง จึงไม่สามารถทราบว่ามีพระพิมพ์ใดๆ ได้ครบทุกพิมพ์ แต่เท่าที่ได้พบเห็นกันนั้นก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ พระลีลา พระหูยาน พระซุ้มหน้าบรรณ (มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน) พระสรรค์นั่งเนื้อชินเงิน พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระซุ้มโพธิ์ เป็นต้น

ครับพระกรุวัดส่องคบนี้เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดชัยนาท แต่พระเครื่องของกรุนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึง จึงทำให้ข้อมูลมีน้อย และในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระลีลาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย ซึ่งงดงามทางด้านศิลปะมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 ตุลาคม 2562 16:36:42
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56973719182941_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระสมเด็จปิลันทน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ใครๆ ก็คงมีความปรารถนาที่จะมี พระสมเด็จที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ด้วยความศรัทธาในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่พระสมเด็จแท้ๆ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ กรุวัดบางขุนพรหม หรือของวัดเกษไชโยนั้นหายากมาก อีกทั้งสนนราคาก็สูงมาก เช่น ถ้าองค์ที่สมบูรณ์ไม่หักซ่อม ถึงแม้ว่าจะสึกๆ ก็ยังมีมูลค่าเป็นล้านบาทขึ้นไปทุกองค์ ยิ่งสวยๆ ก็ยิ่งมากล้าน แล้วเราๆ ท่านๆ ที่มีทรัพย์ไม่มากจะมีโอกาสได้ห้อยบูชาไหม อย่าคิดว่าจะได้ฟลุกๆ ถูกๆ เลิกคิดได้เลยครับ โอกาสที่จะถูกหลอกลวงร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ

มีเพื่อนๆ ผมสอบถามมาหลายคนว่าจะห้อยพระอะไรแทนได้บ้าง โดยส่วนตัวผมเองก็ตอบได้ว่าผมศรัทธาในพระสมเด็จปิลันทน์ และห้อยแทนได้เลยครับ เพราะอะไร เราก็มีมาดูว่า พระสมเด็จปิลันทน์นั้นมีความเป็นมาของการสร้างอย่างไร พระสมเด็จปิลันทน์เป็นพระที่พระพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้าทัด) ท่านได้สร้างไว้เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธุปบาทปิลันทน์ ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดระฆังฯ และบวชพระที่วัดระฆังฯ อยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จนเจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพ อยู่ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาตลอดมีส่วนช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จ ด้วยในปี พ.ศ.2411 ท่านก็ได้สร้างพระเนื้อผงผสมใบลานเผา โดยท่านได้ปรึกษาและขอให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ช่วยสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ขอผงพุทธคุณของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นส่วนผสม พิมพ์ของพระสมเด็จปิลันทน์นั้นมีอยู่มากมายหลายพิมพ์เมื่อสร้างเสร็จเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้ร่วมปลุกเสกด้วย พระบางส่วนได้มีการแจกไปเมื่อปลุกเสกเสร็จ และส่วนที่เหลือได้ถูกเก็บรักษาไว้

ต่อมาเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพในปี พ.ศ.2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ก็ได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดระฆังฯ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ต่อมาในปี พ.ศ.2471 ได้มีคนร้ายเข้าไปลักลอบขุดองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ได้พระไปจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้เปิดกรุพบพระที่อยู่ในกรุเป็นจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์ยืน พระสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จฯ พระปิดตา และอื่นๆ พระเกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน มีเนื้อสีอกเทาๆ อมดำ ที่เป็นเนื้อสีขาวแบบพระเนื้อผงขาวก็มีบ้างแต่น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นก็นำพระมาเก็บรักษาไว้และแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่มาขอพระ พระสมเด็จปิลันทน์ที่มีการแจกก่อนที่จะบรรจุกรุก็มีตามที่กล่าวมาแล้วจะไม่มีคราบไขเนื้อจัดแต่ก็มีจำนวนพระน้อย พระส่วนใหญ่จะถูกบรรจุอยู่ในกรุผิวของพระจะมีคราบไขขาวจับอยู่แน่นมากน้อยแล้วแต่องค์พระ

พระสมเด็จปิลันทน์คนในสมัยก่อนจะเรียกว่า พระสองสมเด็จฯ เนื่องจากรู้ว่าสร้างในสมัยที่เจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ยังมีชีวิตอยู่ และมีส่วนผสมของผงพุทธคุณของเจ้าคุณสมเด็จฯ ด้วย ต่อมาก็เรียกกันง่ายๆ ว่าพระสมเด็จปิลันทน์ เพื่อให้รู้และให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ซึ่งขณะที่สร้างดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธุปบาทปิลันทน์

พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์นิยม เช่น พิมพ์ซุ้มประตู พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์สมเด็จบางพิมพ์จะมีสนนราคาสูงมาก อยู่ที่หลักแสน แต่พระบางพิมพ์ที่มีจำนวนพระมาก สนนราคาก็ถูกลงมา เช่น พิมพ์ครอบแก้วเล็ก และพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์กรอบกระจก หรือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์กลางครอบแก้ว เป็นต้น สนนราคายังอยู่ที่หลักหมื่นแล้วแต่ความสวยสมบูรณ์

ครับก็นับว่ายังพอเช่าหาได้ในราคาที่ไม่สูงนักในบางพิมพ์ และยังได้บูชาพระที่มีผงพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และปลุกเสกโดยสองสมเด็จฯ อีกด้วย โดยส่วนตัวผมว่าน่าห้อยบูชามาก และพุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระสมเด็จฯ เด่นทางเมตตามหานิยมแคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองป้องกันภัยครับ

ในการเช่าหาในปัจจุบันก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เนื่องมีการปลอมแปลงกันมานานแล้ว ยิ่งพระปลอมในสมัยปัจจุบันนั้นทำได้ใกล้เคียงมาก จะเช่าหาก็เช่าจากผู้ที่ไว้ใจได้หรือผู้ที่มีความชำนาญและมีการรับประกันจะปลอดภัยกว่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจก และพระสมเด็จปรกโพธิ์กลางครอบแก้วมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29301507439878__9_62A_475x696_1_320x200_.jpg)
พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานที่เรารู้จักกันมากก็คือ พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่พระหูยานยังมีการพบในกรุวัดต่างๆ อีกหลายวัด หลายจังหวัด เช่น พระหูยานที่พบในกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ถูกพบในคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการด้วยครับ

วัดราชบูรณะที่พระนครศรีอยุธยานั้น เป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้น เพื่อถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา เมื่อปีมะโรง พ.ศ.1976 นั้น ทำให้เราทราบอายุของพระที่บรรจุอยู่ในกรุพระปรางค์ได้เป็นอย่างดีว่ามีอายุกี่ปี ซึ่งก็คือเป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้นๆ ครับ

กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยานั้นได้ถูกลักลอบขุดมาก่อนที่ทางการจะเข้ามาเปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 กรมศิลปากรจึงได้เปิดกรุ ในการขุดค้นต้องใช้เวลานานเกือบหนึ่งปีเลยทีเดียวครับ เนื่องจากภายในกรุนั้นบรรจุเครื่องราชูปโภค และพระบูชา พระเครื่องมากมายนัก มีห้องบรรจุสิ่งของต่างๆ ถึง 7 ห้อง พบพระเครื่องเป็นร้อยๆ พิมพ์ จำนวนพระเครื่องนั้นว่ากันว่าเป็นหลายหมื่นองค์หรือถึงแสนองค์ทีเดียว พระเครื่องที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็คือ พระยอดขุนพล พระใบขนุน พระแผงพิมพ์ทวารวดี พระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระปรุหนัง พระเชยคางข้างเม็ด พระกำแพงฝักดาบ และยังมีพระที่สร้างล้อพิมพ์จากที่ต่างๆ อีกหลายพิมพ์ เช่น พระหูยาน เป็นต้น

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะนี้เป็นพระที่สร้างโดยสกุลช่างอยุธยา โดยสร้างล้อพิมพ์ของพระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ของพระถ้าดูเผินๆ ก็คล้ายกับพระหูยาน ลพบุรีมาก แต่ความจริงแล้วมีข้อแตกต่างกันอยู่หลายจุด เช่น พระพักตร์ของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะนั้นจะไม่เคร่งขรึมเท่ากับพระหูยาน ลพบุรี และที่พระเกศของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ ปลายพระเกศจะเป็นแบบผมเวียน แต่พระหูยานของลพบุรีจะเป็นแบบเกศฝาละมี นอกนั้นก็จะดูคล้ายกันมาก

ส่วนด้านหลังของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ จะมีทั้งแบบหลังผ้า และแบบหลังตัน เนื้อพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะจะเป็นเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาวทั้งองค์ พระส่วนใหญ่จะมีสภาพสมบูรณ์ ผิวปรอทจับขาวทั้งองค์ แต่ที่ผิวปรอทหลุดไปก็มีบ้างแต่น้อย ที่ชำรุดมีรอยระเบิดก็มีบ้างครับ พระหูยานที่พบที่กรุวัดราชบูรณะนี้ยังพบบ้างที่กรุวัดมหาธาตุ แต่ก็พบน้อยมาก ส่วนใหญ่ผิวจะออกคล้ำๆ กว่าของกรุวัดราชบูรณะ พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะมีขนาดฐานกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม.

พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด มีผู้ที่มีประสบการณ์ต่างๆ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระหูยานของลพบุรีเลย สนนราคาเล่นหาจะหย่อนกว่าพระหูยาน ลพบุรี อยู่มากสักหน่อยครับ แต่ปัจจุบันก็หาพบยากแล้ว ไม่ค่อยเจอในสนามพระเลยมาหลายปีแล้วครับ โดยเฉพาะพระสวยสมบูรณ์ๆ ก็ยิ่งหายากมาก ส่วนในเรื่องของปลอมลอกเลียนแบบนั้นมีกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณากันดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67629899788233_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญเฮงทวีโชค หลวงปู่เฮง

หลวงปู่เฮง ปภาโส เจ้าอาวาสวัดบ้านด่านช่องจอม (วัดพัฒนาธรรมาราม) บ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีอายุและพรรษามากอีกรูป

ปัจจุบัน สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2470 บิดา-มารดาเป็นชาวกัมพูชา อพยพมาอยู่บ้านปราสาท ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุ 21 ปี ถูกเกณฑ์ทหารไปรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ ออกมาทำงานหาเลี้ยงชีพ ในปี  พ.ศ.2495 ย้ายไปอยู่ จ.จันทบุรี มีโอกาสพบกับหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จึงขอบวช

หลวงพ่อคง ถ่ายทอดวิทยาคม อักขระเลขยันต์ ภาษาขอม เขียนผงลบผง สักยันต์ และคาถาต่างๆ มากมายโดยเฉพาะคาถาคงกระพันชาตรี ย่นระยะทาง โดยมุ่งมั่นศึกษาจนมีความชำนาญกระทั่งหลวงพ่อคงไว้ใจให้เขียนยันต์ อักขระแทน และเข้าร่วมปลุกเสกด้วย

พ.ศ.2532 หลวงพ่อคงมรณภาพ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่อยู่ได้เพียง 6 พรรษา ก็ขอลาออกและธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลับมาบ้านเกิดอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านด่านช่องจอม ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับวัตถุมงคลสร้างออกมาหลายรุ่น แต่ละรุ่นล้วนได้รับความสนใจ แต่ที่กระแสกำลังมาแรงอีกรุ่นหนึ่ง คือ "รุ่นเฮงทวีโชค"

ในปี พ.ศ.2562 วัดบ้านด่านช่องจอม และคณะศิษยานุศิษย์ ร่วมใจจัดสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสมทบทุนพัฒนาเสนาสนะ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ประยุกต์ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ล่างสุดเขียนว่า "หลวงปู่เฮง ปภาโส"

ด้านหลัง ที่ด้านขวาของเหรียญเขียนว่า วัดบ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณใต้อักขระยันต์ เขียนว่า ๙๒ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เฮงทวีโชค

วัตถุมงคลรุ่นนี้หลวงปู่เฮง อธิษฐานจิตเดี่ยวนานนับเดือน

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ 19 เหรียญ เนื้อทองคำลงยาพื้นแดงขอบเขียว 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำพื้นลงยาสีเขียวขอบแดง 29 เหรียญ เนื้อเงินลงยาจีวรเหลืองพื้นลงยาสีแดงขอบเขียว 99 เหรียญ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อชนวน นวโลหะ ปลอกลูกปืน เป็นต้น

ติดต่อได้ที่ วัดบ้านด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33959477518995__._12_._696x392_1_320x200_.jpg)
พระกริ่งตั๊กแตน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อหลายวันก่อนได้สนทนากับกลุ่มผู้นิยมพระกริ่ง ได้พูดคุยกันถึงพระกริ่งนอก (หมายถึงพระกริ่งรุ่นเก่าที่สร้างจากนอกประเทศไทย) ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร สร้างในยุคไหน

พระกริ่งนอกที่นิยมกันมากก็คือพระกริ่งจีนใหญ่ หรือที่เรียกว่าพระกริ่งใหญ่ พระกริ่งหนองแส พระกริ่งบาเก็ง พระกริ่ง พัชรีตีอ๋อง และพระกริ่งตั๊กแตน พระกริ่งต่างๆ ก็มีการบันทึกตามการบอกเล่าของ ผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆ บอกต่อกันมา ทีนี้ ก็มาถึงพระกริ่งตั๊กแตนว่า มีอายุการสร้างตั้งแต่เมื่อไหร่ และสร้างที่ไหนกันแน่ พระกริ่งตั๊กแตนตามที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างในเขมร ก็หลายร้อยปีมาแล้ว และได้รับความนิยมกันมาช้านานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และยอมรับกันว่าเด่น ทางด้านมหาอุดอยู่ยงคงกระพันชาตรี แต่ก็ยังมีข้อกังขาของผู้ชำนาญการด้านพระกริ่งว่า น่าจะสร้างประเทศไทยในยุครัตนโกสินทร์นี่แหละ หนึ่งในกลุ่มที่สนทนาก็หันมาถามความเห็นของผม ซึ่งเขารู้ว่าผมห้อยพระกริ่งตั๊กแตนอยู่ องค์หนึ่ง

ผมเองก็ตอบตามความจริงว่าไม่ทราบเหมือนกัน พระกริ่งรุ่นเก่าๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งใหญ่หรือพระกริ่งอื่นๆ ก็ได้รับการบอกเล่ามาทั้งสิ้น ยังไม่ได้มีการพบเอกสารบันทึกจากประเทศต้นกำเนิดเลย หรือพบพระกริ่งต่างๆ ในประเทศต้นกำเนิดเลย แม้แต่พระกริ่งตั๊กแตนเองก็ตาม สิ่งที่เรานำมาเป็นการสันนิษฐานนั้นก็มาจากคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสรุ่นเก่าๆ บอกต่อกันมาทั้งสิ้น พระกริ่งนอกอื่นๆ พุทธศิลปะบ่งบอกว่าเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด แต่พระกริ่งตั๊กแตนศิลปะก็ไม่บ่งบอกชัดว่าเป็นศิลปะแบบใดแน่ และไม่เหมือนพระกริ่งแบบใดเลย

ในปัจจุบันมีการสืบค้นประวัติต่างๆ ของพระกริ่งนอกกันมากขึ้น แต่ก็มีข้อกังขาอยู่ที่พระกริ่งตั๊กแตน เนื่องจากมีการพบพระกริ่งตั๊กแตนที่มีเนื้อหาหรือลักษณะที่คิดว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างมาในยุครัตนโกสินทร์เท่านั้น พระกริ่งนอก ส่วนใหญ่จะเป็นการบรรจุกริ่งที่ใต้ฐาน โดยสร้างกลวงที่ใต้ฐาน แล้วบรรจุเม็ดกริ่งและปิดก้นด้วยแผ่นโลหะอีกทีหนึ่ง ไม่ก็เป็นพระกริ่งตันไม่ได้บรรจุกริ่งก็มี แต่ก็มีรูปลักษณะแบบพระกริ่งจึงรวมเข้าเป็นพระกริ่งนอกทั้งสิ้น แต่พระกริ่งตั๊กแตนนั้นเป็นพระกริ่งที่มีการบรรจุกริ่งแบบกริ่งในตัวที่เป็นแบบพระกริ่งที่นิยมสร้างของวัดสุทัศน์ ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์หรือเปล่า ก็มาหาเหตุผลกันดูว่าความน่าจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการพบบันทึกที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในสมัยการสร้างได้เลยว่าเป็นของวัดไหน พระเกจิอาจารย์ท่านใดสร้าง

การศึกษาพระเครื่องนั้นต้องหาเหตุหาผลถึงความเป็นไปได้ หรือหาประวัติความเป็นมาของพระนั้นๆ พระกริ่งตั๊กแตนมีความเป็นมาอย่างไรแน่ ในส่วนตัว ผมเองชอบพระเครื่องมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ และชอบๆ ไปฟังผู้หลักผู้ใหญ่พูดคุยถึงเรื่องพระเครื่องและพุทธคุณต่างๆ อยู่เสมอ เนื่องจากสนุกดี มีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่ได้รับฟังจากผู้เฒ่าผู้แก่ รุ่นปู่ย่าตายาย แม้กระทั่งคุณตาหรือคุณพ่อผมเองก็ได้ รับฟังว่า พระกริ่งตั๊กแตนนั้นเป็นสุดยอดกฤตยาคม อยู่ยงคงกระพันชาตรีมากชนิดหนึ่ง และคำบอกเล่าก็เหมือนๆ กันหมดว่า เป็นพระที่สร้างในเขมรเป็นพระยุคเก่าแก่ นิยมกันมากในสมัยโบราณบอกเล่ากันต่อๆ มา และก็เชื่อถือกันมาแบบนั้นตลอดมา แต่จนมาถึงปัจจุบันก็ยังค้นหาหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกจากต้นกำเนิดไม่ได้ แถมในเขมรเองปัจจุบันก็ยังหาหลักฐาน หรือพระกริ่งตั๊กแตนที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพระยุคเก่าๆ แท้ๆ ไม่ได้ ก็เลยมีปัญหาในหลักฐานที่ชัดเจนได้ แต่ในสมัยโบราณนั้นก็เป็นพระกริ่งที่นิยมกันมากและมีมูลค่าราคาสูง สอบถามคุณตาท่านหนึ่งท่านก็ว่าได้รับการบอกเล่ามาตั้งแต่ปู่ย่าตายายมาก็ว่าเป็นพระกริ่งเขมรแบบนี้ มานานแล้ว

พระกริ่งตั๊กแตนเป็นพระกริ่งที่นิยมกันมานมนานแล้ว และแน่นอนที่จะมีการทำปลอมมานานแล้วเช่นกัน และก็มีพระกริ่งที่สร้างตามแบบพระกริ่งตั๊กแตนด้วยเช่นกัน ก็มีอยู่หลายวัดหลายพระเกจิอาจารย์ ลักษณะก็มีแบบต่างๆ เนื้อหาก็อ่อนแก่ต่างกันไป แต่พระกริ่งตั๊กแตนที่นิยมและเป็นที่ยอมรับนั้นเนื้อหาผิวพระจะกลับดำ ที่ใต้ฐานจะเป็นตัวขมวดกลมๆ คล้ายเลขหนึ่งไทย บรรจุกริ่งในตัว เนื้อหาเข้มข้น ศิลปะไม่สวยงามนัก ตาเจาะลึกลงไป พระศกเม็ดกลมๆ ฐานส่วนใหญ่มีบัวแบบบัวเม็ดมักเรียกว่าบัวตุ่ม แบบบัวขีดคล้ายฟันปลา และบัวม้วนขมวดเป็นวงกลมๆ เรียกว่าบัวฟองมัน

รูปแบบของพระกริ่งตั๊กแตนยุคเก่านั้นไม่มีแม่พิมพ์จะปั้นเป็นองค์ๆ ขนาดก็ไม่เท่ากัน การแสดงพระหัตถ์ก็แตกต่างกันไปไม่ซ้ำแบบกันเลย ถือดอกบัวบ้าง ถือสังข์บ้าง ถือหม้อน้ำมนต์บ้าง ปางสมาธิบ้าง ปางมารวิชัยบ้าง สะดุ้งกลับบ้าง แล้วแต่องค์จะไม่มีที่ซ้ำกันเลย แต่ที่มีทุกองค์ก็คือจะมีสร้อยประคำห้อยคอทุกองค์ พระที่นิยมจะเรียกกันว่าพระยุคต้น เนื้อหาเข้มข้น ผิวกลับดำ คนในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก พระแท้ๆ ก็หายากมากเช่นกัน จำนวนพระก็ไม่น่าจะมีมากนัก

ครับบางครั้งประวัติความเป็นมาของพระเก่าๆ ลึกๆ ก็ยังคลุมเครือ แต่ก็ได้รับความนิยมเชื่อถือสืบต่อกันมา และก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่างที่เข้าข่ายนี้ แต่ก็ยอมรับกันว่าเก่าแก่ และมีประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา

วันนี้ผมนำรูปพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้น ที่นิยมมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97722524487309_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญย้อนยุค หลวงพ่อสนธิ์ วัดปราสาท

วัดปราสาท ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2310

เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เสด็จฯ มาตั้งพลับพลาที่ประทับ เพื่อขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมือง ถึงปากคลองบางกรวย หน้าวัดเขมาภิรตาราม และเป็นสถานที่ระดมพล (ค่ายทหาร) เพื่อเตรียมทัพไปรบกับพม่าที่กรุงศรีอยุธยา

สำหรับ หลวงพ่อสนธิ์ ธัมมสโร (อิ่มบุญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาท พระเกจิชื่อดัง เกิดเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2434 เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด

ช่วงวัยเรียน บิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือ ที่สำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร โดยมี พระนันทวิริยะ (โพธิ์ ติสสทัสโส) เป็นเจ้าอาวาส มอบหมายให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่สอนหนังสือภาษาไทยให้ช่วยสอน

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 21 เม.ย.2454 เวลา 05.00 น. ที่วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร โดยมี พระนันทวิริยะ (โพธิ์ ติสสทัสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการชื่น วัดปราสาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดเล็ก วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ต่อมาวัดปราสาทว่างเจ้าอาวาส พระนันทวิริยะสมัยนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้หลวงพ่อสนธิ์ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปราสาท เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2472

ขณะนั้นท่านอายุประมาณ 38 ปี

เมื่อมารับตำแหน่งที่วัดปราสาทท่านบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดปราสาท สร้างกุฏิ หอสวดมนต์ อุโบสถและกำแพงแก้ว สร้างโรงเรียนวัดปราสาท พ.ศ.2516 สร้างเมรุเตาเผาศพ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2518 เวลา 17.00 น. สิริอายุ 85 ปี

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันศาลาการเปรียญและเสนาสนะภายในวัดปราสาทได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก

พระมหานที ธัมมธีโร เจ้าอาวาสวัดปราสาท และคณะกรรมการวัดดำริให้จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญย้อนยุคและรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เพื่อให้คณะศิษยานุศิษย์ได้บูชา และร่วมทำบุญบูรณะศาลาการเปรียญ

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2562 วัดปราสาทจัดพิธีเสกชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่อสนธิ์ โดยมีพระนันทวิริยา ภรณ์ (หลวงพ่ออ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว

และเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา วัดจัดพิธีเททองหล่อนำฤกษ์ ได้รับเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก, กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในพิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์

ในวาระพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหรียญย้อนยุค จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ย.2562 เวลา 17.00 น. จุดเทียนชัยมงคล โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ อาทิ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมังกโร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นประธานจุดเทียนชัยมงคล สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม ประธานดับเทียนชัยมงคล

ลักษณะเป็นเหรียญสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์เต็มองค์หันหน้าตรง นั่งขัดสมาธิ ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า "หลวงพ่อสนธิ์ ธมฺมสโร วัดปราสาท ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี"

ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "พ.ศ.๒๕๖๒"

เหรียญดังกล่าวจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน อาทิ เนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยาสีแดง หน้ากากทองคำ เป็นต้น  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73607363676031_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกริ่งคลองตะเคียน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระกริ่งแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนใครเลยในตระกูลพระกริ่ง เนื่องจากเป็นพระกริ่งชนิดเดียวที่เป็นเนื้อดินเผา และเป็นพระกริ่งเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยอยุธยายุคปลาย พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ยังออกปากชมว่าเหนียวจริง

พระกริ่งคลองตะเคียน แน่นอนว่าสถานที่กำเนิดพระและที่พบพระก็คือบริเวณตำบลคลองตะเคียน ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าสืบต่อกันมาว่ามีผู้พบพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่ตามทุ่งนาบ้านคลองตะเคียน สถานที่พบพระเป็นโคกดินเล็กๆ มีเศษอิฐปะปนอยู่บริเวณนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดเล็กๆ ซึ่งร้างและเสื่อมสภาพไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 และไม่เหลือสภาพความเป็นวัดหรือสถาปัตยกรรมใดๆ เลย จึงไม่มีใครทราบว่าวัดนี้แต่เดิมนั้นชื่อวัดอะไร จึงเรียกพระที่พบตามสถานที่พบพระว่าพระคลองตะเคียน ซึ่งพระที่พบก็มีลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่เป็นแบบบรรจุเม็ดกริ่งอยู่ข้างใน และพระปิดตาเนื้อดินเผาเช่นกัน เอกลักษณ์ของพระกรุนี้ก็คือ จะมีการจารอักขระขอมไว้ทุกองค์ สีของพระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำสนิทเป็นมันเงา แต่ที่เป็นสีเทาๆ แบบเนื้อผ่าน สีออกเหลืองบ้างหรือสีออกแดงก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก

พุทธคุณนั้นบอกเล่ากันต่อๆ มาว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ท่านเคยบอกแก่ลูกศิษย์ว่าเชื่อใจได้ พระกริ่งคลองตะเคียนในสมัยก่อนคนอยุธยานั้นเชื่อถือมาก พระที่พบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์นิยม พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก พิมพ์เล็ก พิมพ์สองหน้า เป็นต้น นอกจากนี้พระที่พบในบริเวณเดียวกันก็คือพระปิดตาที่มักเรียกว่าพระปิดตาพิชัย พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันสนนราคาสวยๆ ก็สูงอยู่พอสมควรครับ และนอกจากนี้ก็ยังมีการย้ายวัดกันก็มาก เช่นว่าเป็นของวัดประดู่บ้าง วัดโคกจินดาบ้าง ก็ว่ากันไป

ในสมัยก่อนผมเองได้เคยไปกับรองศาสตราจารย์สัมพันธ์ เลขะพันธ์ โดยขับรถให้ท่าน เพื่อไปศึกษาโบราณสถานในอยุธยา พอดีท่านก็เป็นชาวอยุธยาและมีญาติของท่านอยู่ที่คลองตะเคียนได้พาไปดูบริเวณที่พบพระ และยืนยันว่าพระคลองตะเคียนพบในบริเวณนี้ มาสันนิษฐานกันดูว่าถ้าพระกริ่งคลองตะเคียนพบที่วัดอื่นที่ยังคงสภาพเป็นวัดโบราณอยู่ก็คงจะตั้งชื่อตามชื่อของวัดไปแล้ว คงไม่ตั้งชื่อตามชื่อตำบลหรือหมู่บ้านเช่นนี้แน่ ผมเองก็ไม่ไปโต้แย้งใครที่ว่าพบที่วัดโน้นวัดนี้ แต่ตามที่คนเก่าคนแก่และคนในท้องถิ่นว่ากันมาแบบนี้แต่โบราณ อีกทั้งเหตุผลอีกหลายๆ อย่างก็คงพอจะเชื่อได้ว่าพบพระในที่โคกดินในตำบลคลองตะเคียน

ครับพระกริ่งคลองตะเคียนก็เป็นพระอีกอย่างหนึ่งที่ก็ยังหาความชัดเจนของชื่อวัดที่เป็นต้นกำเนิดของพระไม่ได้ เนื่องจากสถานที่พบพระนั้นไม่หลงเหลือสภาพความเป็นวัดไปแล้ว ในสมัยก่อนพบเพียงเศษอิฐโบราณกระจายอยู่ในบริเวณนั้น จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าคงเป็นวัดเล็กๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพในครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง แต่ก็ยอมรับกันว่าเป็นพระเก่าแก่ประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา และพุทธคุณนั้นเชื่อถือได้ ปัจจุบันนั้นหาพระแท้ๆ ยากเหมือนกัน ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีพระที่สร้างในยุคหลังเลียนแบบพิมพ์ของพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่บ้างเหมือนกัน

ปัจจุบันพระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยกสวยๆ ก็อยู่ที่หลักแสนต้นๆ ครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียน จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30722721583313_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุด ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก และเป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง

หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้าและท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วท่านก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็งพระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรีเพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเคราอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณเพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปี พ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขา อีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพ ในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมกันมาก และหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้นสนนราคาสวยๆ หลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหลวงหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ.2460 เป็นที่นิยมมาก มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นเหรียญหล่อเหรียญหนึ่งที่หายาก คนแม่กลองหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 พฤศจิกายน 2562 16:37:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32183266431093__16_62_1_320x200_.jpg)
พระกริ่งรุ่นแรกเจ้าคุณศรี (ประหยัด) วัดสุทัศน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์ รุ่นหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ก็เป็นพระกริ่งที่ดีมีคุณค่ามากองค์หนึ่งครับ พระกริ่งรุ่นนี้ก็คือพระกริ่งพิมพ์บัวสามชั้น ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ซึ่งเป็นพระกริ่งที่น่าสนใจ สนนราคาไม่สูงครับ

พระกริ่งวัดสุทัศน์ที่เราส่วนมากรู้จักกันก็คือพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และพระกริ่งของท่านคุณศรี (สนธิ์) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทุกรุ่น สนนราคาก็สูงมากตามครับ แต่ในยุคสมัยนั้นก็ยังมีท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) อีกองค์หนึ่งที่ท่านได้สร้างพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ แต่ท่านก็สร้างไว้ไม่มากรุ่นนักครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เช่นกันและได้รับการถ่ายทอดการสร้างพระกริ่งจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อีกทั้งท่านก็ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดพิธีการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ด้วย และท่านก็เป็นผู้มีฝีมือในการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์

การสร้างพระกริ่งรุ่นแรกของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) สร้างในปี พ.ศ.2486 และได้นำเข้าพิธีเดียวกับพระกริ่ง ปี พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อันมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี พระกริ่งชุดนี้นับว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) กล่าวคือองค์พระกริ่งก็จะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ทั่วๆ ไป แต่ที่ฐานบัวจะมีความแตกต่างออกไป โดยที่ฐานบัวนั้นจะทำเป็นกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น

ลักษณะของกลีบบัวจะทำเป็นแบบกลีบบัวจริงประกอบด้วยบัวคว่ำบัวหงาย ซ้อนกันสองชั้น ส่วนในชั้นล่างสุดเป็นกลีบบัวหงายอีกชั้นหนึ่ง และเป็นกลีบบัวรอบองค์พระสังเกตได้ง่าย เมื่อพบเห็นก็จะบอกได้เลยว่าเป็นพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ครับ

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) นั้นสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ เนื้อในวรรณะเหลือง ทำนองเนื้อขันลงหิน ผิวนอกออกสีน้ำตาลอมดำ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านทรงประทานชนวนพระกริ่ง 79 เพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างในครั้งนี้แก่เจ้าคุณศรี (ประหยัด) ด้วย

พระกริ่งรุ่นนี้สร้างแบบกริ่งใน บรรจุเม็ดกริ่งสองรู ที่บริเวณฐานบัวชั้นบนด้านหลังองค์พระ แล้วอุดด้วยทองชนวน ส่วนมากจะเห็นรอยตะไบที่ลบรอยการอุด จึงทำให้มองเห็นว่าบัวทั้งสองด้านนี้ถูกตะไบลบไปเสีย เป็นจุดสังเกตของพระกริ่งรุ่นนี้ครับ พระส่วนมากมักไม่ได้มีการแต่งหลังจากการหล่อ แต่ก็มีพระรุ่นนี้บางองค์ที่ท่านเจ้าของนำไปให้ช่างแต่งให้สวยงามมาแต่ในสมัยนั้น

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) รุ่นนี้ถือว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของท่าน และเป็นพระกริ่งที่เข้าพิธีในปี พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงนับว่าเป็นพระกริ่งที่มีคุณค่ามากรุ่นหนึ่งของวัดสุทัศน์ แถมมีส่วนผสมของชนวนพระกริ่งปี 79 ด้วยครับ แต่สนนราคาก็ยังถูกกว่าพระกริ่งรุ่นอื่นๆ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31119686530695_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่ทา พ.ศ.2514

หลวงปู่ทา พุทธสโร หรือ พระราชศีลโสภิต อดีตเจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นพระนักพัฒนา ที่มีความรอบรู้ด้านวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน

ตลอดชีวิตของท่านมุ่งมั่นอยู่กับการค้นคว้าคัมภีร์โบราณและวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นคุณูปการต่อชนรุ่นหลัง

หลวงปู่ทา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ณ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดใต้นางใย โดยมีพระครูโยคีอุทัยทิศ เป็นประอุปัชฌาย์

ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชศีลโสภิต

หลวงปู่ทา มรณภาพด้วยโรคชรา ในปี พ.ศ.2525 สิริอายุ 89 ปี พรรษา 68

อย่างไรก็ตาม แม้หลวงปู่ทา จะเป็นพระนักปราชญ์ แต่ในห้วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และนักสะสมนิยมพระเครื่อง คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทา รุ่นแรก สร้างในปี 2514

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างในวาระที่หลวงปู่ทา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ทั้งนี้ คณะศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่ มีความประสงค์จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญนี้ จึงได้ร่วมกันจัดสร้างและมอบให้ญาติโยมที่มาร่วมงานฉลองสมณศักดิ์

จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ เป็นเนื้อกะไหล่ทองอย่างเดียว ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง เป็นเหรียญยกขอบ

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย นั่งบนอาสนะ ที่ใต้อาสนะด้านล่างมีอักขระเขียนว่า "โพ พุทธ ธะโล พิ อิ" เป็นยันต์หัวใจพระพุทธเจ้าเด่นในทุกด้าน

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบ บริเวณด้านขวามีอักษรเขียนว่า "๕ ธ.ค." ด้านซ้ายของเหรียญเขียนว่า "๒๕๑๔" เป็นวันเดือนปีที่หลวงปู่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทาครึ่งองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า "พระราชศีลโสภิต"

สำหรับเหรียญรุ่นดังกล่าว หลวงปู่ทา ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวภายในอุโบสถนานแรมปี ด้วยความที่หลวงปู่มีพลังจิตที่แก่กล้า ทำให้พุทธคุณเข้มขลังโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย ส่งผลให้เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยม กระแสเริ่มแรง ด้วยศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธาและนักนิยมสะสมวัตถุมงคล ต่างเริ่มเช่าหาเก็บกันไว้ ทำให้เหรียญเริ่มหายากขึ้น

แต่เป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง

ผู้ที่สนใจยังพอหาเช่าได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17886315161983__20_432x696_1_320x200_.jpg)
พระร่วงคืบ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเนื้อชินเงินประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่าพระร่วงคืบ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ชื่อนี้อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไหร่ เนื่องจากจำนวนของพระมีไม่มากนัก และขนาดขององค์พระซึ่งมีขนาดเขื่องมาก ส่วนมากนิยมทำฐานซุ้มเพื่อนำไปไว้บูชาที่บ้าน

พระร่วงคืบ ถูกลักลอบขุดได้ที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งมีพระปรางค์อยู่มากมาย มีทั้งสร้างไว้ในยุคขอม และมีการสร้างเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา มีพระปรางค์องค์หนึ่ง เป็นทรงกลีบมะเฟือง รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบอยุธยายุคต้น และเป็นที่บรรจุพระเครื่องที่เรียกว่าพระร่วงคืบ ในปี พ.ศ.2502 มีกลุ่มผู้ลักลอบเข้ามาขุดเพื่อหาสมบัติและพระเครื่องพระบูชา ก็ได้พระไปจำนวนมาก ทั้งพระบูชาและพระเครื่อง พระเครื่องได้แก่พระร่วงคืบ พระใบขี้เหล็ก พระคาบศร พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต เป็นต้น ว่ากันว่าขุดได้พระเครื่องจำนวนมากมาย บรรทุกรถสามล้อถีบไปเต็มคันรถ และค่อยๆ นำออกมาขายในตลาดลพบุรี

พระร่วงคืบเป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18 ซ.ม. กว้างประมาณ 6 ซ.ม. พุทธลักษณะเป็นพระประทับยืนปางประทานพร ในซุ้มเรือนแก้ว ปลายพระบาทถ่างออกด้านข้าง หันส้นเท้าเข้าหากัน ซึ่งนับว่าดูแปลกตา ฐานเป็นกลีบบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น พุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบอู่ทอง 2 หรือต้นกรุงศรีอยุธยา พระพักตร์ศิลปะคล้ายกับหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน มีคราบปรอทจับผิวพระ บางองค์พบว่ามีปิดทองมาแต่ในกรุ สาเหตุที่เรียกว่าพระร่วงคืบ อาจจะเพราะว่ามีขนาดใหญ่และมีความสูงประมาณคืบ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า “พระร่วงคืบ” ทำนองเดียวกับการเรียกพระกำแพงศอก กำแพงคืบ ทำนองนั้นครับ

พระร่วงคืบจะพบเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอทเป็นส่วนใหญ่ มีบางองค์ที่มีผิวดำแบบสนิมตีนกาและสนิมเกล็ดกระดี่บ้าง พระร่วงคืบนอกจากพบที่ลพบุรีแล้ว ยังพบที่สุโขทัย สุพรรณบุรีและอยุธยาด้วย แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักครับ ส่วนมากมักทำฐานไม้ประกอบซุ้ม ไว้ตั้งบูชาที่บ้าน ว่ากันว่าพุทธคุณนั้นบูชาไว้ก็จะดีทางด้านโชคลาภ ร่มเย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าครับ

ปัจจุบันก็หายากครับ ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วงคืบจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62368336568276_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อพริ้ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ (พริ้ง) วัดบางปะกอก เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก แม้แต่ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านยังเคารพนับถือหลวงพ่อพริ้งมาก ถึงกับให้พระโอรสมาบวชเป็นสามเณรถึง 3 องค์ เนื่องจากหลวงพ่อพริ้งเป็นพระที่เคร่งครัดในทางปฏิบัติ และเข้มขลังในพุทธาคมมากนั่นเอง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านต่างก็มาหลบภัยอยู่ที่วัดของหลวงพ่อเป็นจำนวนมากจนแน่นขนัดไปหมด

หลวงพ่อพริ้งเกิดที่กทม. เมื่อปี พ.ศ.2413 โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อ สุ่น ท่านเริ่มบวชเป็นสามเณรที่วัดพลับ จนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพลับ ในปี พ.ศ.2433 หลวงพ่อพริ้งศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมมาตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณร สำนักใดมีชื่อเสียงในขณะนั้นท่านก็จะไปศึกษา และออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อพบกับพระเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็จะฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาต่างๆ จนปฏิบัติได้จริง แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ

หลวงพ่อพริ้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาและไม่ว่าจะมีพิธีสำคัญๆ ที่ใดก็ตามจะต้องมีการนิมนต์หลวงพ่อพริ้งอยู่ด้วยเสมอ เช่น พิธีพุทธาภิเษก เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี พ.ศ.2485 หรืองานหล่อพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ที่วัดราชบพิธ หลวงพ่อก็จะได้รับนิมนต์ด้วย

หลวงพ่อพริ้งยึดถือวิปัสสนากรรมฐานเป็นกิจวัตร จนมีฌานสมาบัติสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ได้ล่วงหน้า จนเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่อมาก หลวงพ่อพริ้งได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ลูกอมเนื้อผง และพระเครื่องเนื้อผงผสมใบลานสีเทาๆ ไว้หลายพิมพ์ ทุกพิมพ์ได้รับความนิยมเช่าหาทั้งสิ้น สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น คณะศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อพริ้งจัดสร้างในปี พ.ศ.2483 เพื่อแจกแก่ศิษย์ไว้คุ้มกันภัย ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพริ้ง ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธ เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากในคราวสงครามอินโดจีน

หลวงพ่อพริ้งมรณภาพใน วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2490 สิริอายุได้ 78 พรรษาที่ 56 แม้ว่าในปัจจุบันนี้หลวงพ่อพริ้งได้มรณภาพไปแล้วเป็นเวลาหลายปีก็ตาม ก็ยังมีผู้คนไปกราบไหว้รูปหล่อของท่าน ที่วัดบางปะกอกเป็นประจำมิได้ขาด ไปขอพร ขอน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์บ้าง และก็น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ไปกราบไหว้ขอพรต่างๆ ล้วนประสบผลสำเร็จแทบทุกคน

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อพริ้ง จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่ายพระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74968975699610_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี

หลวงปู่อ่อนสี เจ้าอาวาสวัดแสนสำราญ เมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระเกจิที่มีปฏิปทาสูงส่ง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวลาว รวมทั้งชาว จ.อุบลราชธานี และชาว จ.มุกดาหาร

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ลุน หรือหลวงปู่สำเร็จลุน บรมครูผู้วิเศษ แห่งนครจำปาสัก ประเทศลาว ในยุคนั้น และหลวงปู่คำ อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนสำราญ สปป.ลาว

ปัจจุบัน อายุ 116 ปี พรรษา 89

มีนามเดิมว่า อ่อนสี แก้วพิทัก เป็นชาว จ.อุบลราชธานี โดยกำเนิด เกิดปีเถาะ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2446

ขณะมีอายุ 27 ปี อุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดธาตุโพน บ้านโพน เมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระญาถ่านหง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาท่องมนต์จำศีล ศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งยังร่ำเรียนมนต์ตำราคาถาและวิทยาคมจากหลวงปู่คำ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่สำเร็จลุน

ในวัยไม้ใกล้ฝั่ง แม้หลวงปู่สายตาพร่ามัว หูตึงไม่ได้ยินต้องตะโกน เดินได้แต่ไม่คล่องตัว และรับกิจนิมนต์เป็นบางครั้ง

ในเดือน มิ.ย. ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาฝั่งไทย "นวนปาง บุญรักษ์" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างพระกริ่งจักรพรรดิ รุ่นมหาเศรษฐี (รุ่นสุดท้าย) หลวงปู่อ่อนสี ก่อนปิดการสร้างวัตถุมงคล

เพื่อนำรายได้ สมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบด้วยเนื้อทองคำ 19 องค์, เนื้อเงินอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 116 องค์, เนื้อนวะโบราณอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 299 องค์, เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์, เนื้อสำริดอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์, เนื้อชนวนอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 999 องค์ และเนื้อทองแดงผิวรุ้งอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 999 องค์

ด้านหน้า มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งตำหรับวัดสุทัศนวนาราม ที่อ่อนช้อยงดงาม พุทธศิลป์ล้านช้าง มีความกว้าง 1.9 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร

ด้านหลัง ใต้ก้นองค์พระสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่อ่อนสี ที่ก้นอุดด้วยมวลสาร ของหลวงปู่หมุน จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่ อ่อนสี และหลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดคอนสาย ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา มีหลวงปู่ถิน จันทธัมโม วัย 101 ปี วัดคอนสาย จ.ยโสธร, หลวงปู่สี อภิรโส วัดขอนแก่น จ.มุกดาหาร, หลวงปู่ขาน อินทปัญโญ วัดหนองอ้อ จ.มุกดาหาร, หลวงปู่คำวงษ์ วัดภูหินขัน จ.มุกดาหาร และหลวงปู่อ่อนสี นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33509168773889__1_320x200_.jpg)
เหรียญนั่งพานหลวงปู่แสง

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อกลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัยบ้านเกิด ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองด้วย

นอกจากจะเด่นด้านพุทธาคมแล้วยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

เมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่แสง มีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

ในช่วงเดือน ม.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "แบ๊งค์ เรวดี" ขออนุญาตหลวงปู่แสง จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญนั่งพาน หลวงปู่แสง รุ่นแสงพันล้าน

เพื่อหารายได้สมทบทุนรักษาธาตุขันธ์และในยามอาพาธวัย 108 ปี

ประกอบด้วย เนื้อทองคำฝังเพชรแท้ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาหน้ากากทองคำ ขอบทองคำ 59 เหรียญ, เนื้อลงยา 199 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากเงิน ขอบเงินลงยาฝังพลอย, เนื้อ 3 เค (ทอง เงิน นาก) ฝังพลอย, เนื้อทองขาว หน้ากากทองทิพย์ ขอบทองคำ, เนื้อมหาชนวนฝังพลอย ชนิดละ 399 เหรียญ, เนื้อทองขาว เนื้อทองทิพย์เนื้อทองแดงรมดำมันปูผิวรุ้ง เนื้อทองแดงผิวกลับไฟ ชนิดละ 1,999 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปทรงนั่งพาน รอบขอบเหรียญมีลวดลายหางนกยูงที่ขนาบข้างหลวงปู่ อ่อนช้อยสวยงาม ด้านบนสุดมีพระพุทธนั่งบนแท่นบัว ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่นั่งท่าขัดสมาธิบนพานเต็มองค์ มีวงรอบคล้ายเสมาธรรมจักร มีจุดไข่ปลาล้อมรอบ มีตัวหนังสือสลักคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส ด้านล่างสุดสลักคำว่า แสงพันล้าน

ด้านหลัง รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนาตามส่วนเว้าโค้ง ใต้รอบขอบเหรียญส่วนบน สลักยันต์พระคาถานกยูงทอง ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาจารย์หลวงปู่แสง อ่านว่า นะโม วิมุตานัง นะโม วิมุติยา ถัดลงมามียันต์มหาโภคทรัพย์ ขนาบด้วยนกสาลิกา 2 ตัวประกบ บรรทัดต่อมามียันต์ดอกบัว เสน่ห์โชคลาภ เปรียญหลวงปู่เป็นผู้หยั่งรู้ ผู้เบิกบาน บรรทัดถัดมามียันต์ปทุมชาติ ประกบด้วยอุณาโลมปิดหัวท้าย บรรทัดล่างสุด สลักคำว่า วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย ในวันที่ 31 ส.ค. มีหลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิต  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37107129146655__1_1_320x200_.jpg)
หลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระผงพุทธคุณอีกองค์หนึ่ง คือพระของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์ หลวงพ่อผึ่งได้สร้างพระเนื้อผงไว้อยู่หลายพิมพ์ ซึ่งเป็นพระที่น่าสนใจมากองค์หนึ่ง แถมปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก และสนนราคาก็ไม่แพงนักด้วยครับ

หลวงพ่อผึ่งเกิดที่บ้านไผ่หมู่ ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อหร่าย โยมมารดาชื่อปุย อาชีพชาวนา ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน ต่อมาบิดามารดาได้แยกทางกัน หลวงพ่อผึ่ง อยู่กับมารดา จึงต้องช่วยทำนาตั้งแต่เด็ก มารดาของหลวงพ่อผึ่งต้องการให้หลวงพ่อผึ่งอ่านออกเขียนได้จึงนำไปฝากเรียนกับหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก

หลวงพ่อผึ่งเป็นคนขยันหมั่นเพียร เล่าเรียนหนังสือไทยและขอม สามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วแตกฉานตลอดจน บทสวดมนต์ ต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2488 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง โดยมีพระปลัดบุญยัง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเหนี่ยง อินทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อผึ่งบวชได้หนึ่งพรรษา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ซึ่งเป็นคนสองพี่น้องก็มาบวชที่วัดสองพี่น้อง จำพรรษาอยู่กุฏิเดียวกันกับหลวงพ่อผึ่งและหลวงพ่อหอม ท่านทั้งสามองค์สนิทสนมกันมาก ออกธุดงค์ด้วยกัน และใฝ่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน ได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปลื้ม สำนักวัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เมื่อศึกษาแล้วก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม ส่วนหลวงพ่อสด มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ต่อมาหลวงพ่อผึ่งมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.บ้านกุ่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2462 มีขบวนแห่มาอย่างครึกครื้น หลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อสดและหลวงพ่อหอมก็มาส่งด้วย ท่านมาถึงก็เริ่มก่อสร้างวัดสว่างอารมณ์ทันทีด้วยการขอแรงชาวบ้าน ช่วยกันขุดคูรอบวัด ปลูกมะพร้าวบนคันคูขุดดินถมเป็นเนินเพื่อสร้างอุโบสถ หลวงพ่อผึ่งจะแจกพระผงของท่านให้แก่ญาติโยมที่มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด

หลวงพ่อผึ่งได้สร้างผงวิเศษขึ้นมานานแล้ว ท่านได้เขียนยันต์ด้วยดินสอพองในกระดานชนวนเสร็จแล้วลบเก็บผงไว้ ท่านเขียนเป็นเวลาหลายปี เก็บไว้หลายปี๊บ ในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อสดยังมาขอผงวิเศษของหลวงพ่อผึ่งไปผสมสร้างพระของท่านเลย ในการสร้างพระของหลวงพ่อผึ่งจะใช้สายสิญจน์ 108 เส้น วงรอบบริเวณที่จะทำพระ ผู้ที่จะทำพิมพ์พระจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดและถือศีลจึงจะเข้าร่วมพิมพ์พระของท่านได้

เมื่อสร้างพระเสร็จแล้วท่านก็ได้นำพระทั้งหมด เข้าไว้ในพระอุโบสถ ให้พระสวดมนต์เช้าเย็นและ กลางคืน เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นท่านก็นำมา ปลุกเสกเดี่ยวอีกจนครบไตรมาส

พระที่ท่านสร้างมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ประภามณฑล พิมพ์เชียงแสน พิมพ์อกร่อง พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ชินราช เป็นต้น ในวันนี้ก็นำพระเนื้อผงของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ฯ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90813474150167_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
หลวงปู่รอด วัดบางนํ้าวน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วไป

หลวงปู่รอด เป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดา จึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของ พระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย หายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน กระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เป็นเบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็น ที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แค มรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้ว ท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย

เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม" ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2488 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อ พิมพ์สามเหลี่ยมพนมมือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52988921933703__28_62_696x392_1_320x200_.jpg)
พระรอดกรุหนองมนต์

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องขนาดเล็กที่พบในจังหวัดลพบุรีชนิดหนึ่งที่ได้รับการตั้งชื่อว่าพระรอด และตามด้วยชื่อกรุ คือกรุวัดหนองมนต์ และเรียกกันสั้นๆ ว่า พระรอดหนองมนต์ ก็จะรู้กันดีว่าเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง องค์เล็กๆ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดมีประสบการณ์รอดตายมามาก จนมีชื่อเสียงโด่งดัง

พระรอด วัดหนองมนต์ ประวัติพระเกจิอาจารย์ที่สร้างนั้นไม่ปรากฏชัดเจน ทราบแต่ว่าเมื่อตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งเดินทางมาจากจังหวัดพิจิตร ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองมนต์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองมนต์ ครั้งที่ท่านเดินทางมาจากจังหวัดพิจิตรนั้น ท่านก็ได้นำพระเครื่องเนื้อตะกั่วติดตัวมาด้วยเป็นจำนวนมาก เป็นพระเครื่องเนื้อตะกั่วขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าท่านได้สร้างไว้ก่อนหน้าที่จะเดินทางมาอยู่ที่วัดหนองมนต์ และท่านคงปลุกเสกเอง พอท่านมาเป็นสมภารวัดหนองมนต์ท่านก็ได้สร้างพระเจดีย์ไว้ 2 องค์ สูงประมาณ 3 วา ตรงบริเวณด้านหน้าโบสถ์ และท่านก็ได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ส่วนในเรื่องประวัติของพระเกจิอาจารย์รูปนี้ไม่ได้มีผู้บันทึกไว้ มีเพียงแต่การบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วก็ไม่ได้มีใครสนใจพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์เลย

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ.2490 ได้มีคนร้ายลักลอบเข้ามาขุดหาสมบัติที่องค์พระเจดีย์ทั้งสอง คงคาดว่าจะมีทรัพย์สมบัติหรือมีพระทองคำ พระเงินบ้าง แต่ปรากฏว่าเปล่า หามีไม่ คงมีเพียงพระตะกั่วองค์เล็กๆ เท่านั้น คนร้ายก็ไม่ได้สนใจ ทิ้งพระเครื่องดังกล่าวไว้กองอยู่กับพื้น เมื่อถึงตอนเช้ามีเด็กวัดไปพบเข้าและนำมาเล่นกัน ทางวัดเห็นเข้าจึงได้รวบรวมมาเก็บไว้ที่กุฏิ และก็จากคำบอกเล่าทำให้ทราบว่าเป็นพระที่หลวงพ่อที่มาจากพิจิตรอดีตเจ้าอาวาสสร้างไว้เท่านั้น

หลังจากนั้นอีก 2-3 ปีก็มีคนไปขอพระนี้จากที่วัด พระท่านก็แจกจ่ายชาวบ้านไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีคนสนใจนัก เนื่องจากองค์พระก็ไม่ได้สวยงามอย่างไร พอย่างเข้าปี พ.ศ. 2500 ก็เกิดเหตุที่ทำให้ผู้คนเข้าไปที่วัดเพื่อขอเช่ากันอย่างมากมาย เรื่องที่ทำให้ดังเป็นพลุแตกเนื่องมาจากทหารพลร่มของลพบุรีซึ่งได้แสดงการโดดร่มกันทุกปี และในปีนี้เกิดอุบัติเหตุ มีนายทหารท่านหนึ่งโดดร่มลงมาแล้วร่มไม่กาง แต่กลับไม่เสียชีวิตหรือกระดูกหักแต่อย่างใด ไม่เป็นอะไรเลย ปรากฏว่าในคอห้อยพระรอด วัดหนองมนต์ อยู่องค์เดียวที่ได้รับแจ้งจากทางวัด

หลังจากข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปต่างคนต่างก็เข้าไปยังวัดหนองมนต์เพื่อขอเช่าพระรอดกรุนี้กันอย่างแน่นขนัด ทางวัดก็เปิดให้เช่าองค์ละ 25 บาทเท่านั้น หลังจากนั้นก็มีทหารอากาศท่านหนึ่งถูกฟ้าผ่าจนสลบไป หลังจากมีผู้พบและนำส่งโรงพยาบาล พอฟื้นขึ้นมาก็ไม่เป็นอะไรเลย สายสร้อยที่ใส่อยู่ไหม้ละลายเสียหายทั้งเส้น ในสายสร้อยมีพระรอด วัดหนองมนต์อยู่ด้วย นอกจากนี้ก็มีอีกรายต่อสู้กับคนร้ายก็ไม่ได้รับอันตราย ต่อมาก็มีคนนำพระรอดหนองมนต์ไปผูกคอไก่แล้วลองยิงดูกลับยิงไม่ออก เท่านั้นแหละพระรอดหนองมนต์ก็หมดจากวัดอย่างรวดเร็ว

พระรอด วัดหนองมนต์นี้เป็นพระเนื้อตะกั่ว และมีสนิมแดงขึ้นอยู่ประปราย เป็นพระที่มีขนาดเล็ก พิมพ์ไม่ค่อยชัดเจนนัก และมีคนที่ใส่พระรอดหนองมนต์รอดตายอย่างเหลือเชื่อ จึงได้เรียกขานกันว่าพระรอด วัดหนองมนต์ ปัจจุบันพระแท้ๆ ก็หายากแล้ว ของปลอมมีระบาดกันมาก สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ แต่ก็หาแท้ๆ ยากอย่างที่บอกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอด วัดหนองมนต์ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 พฤศจิกายน 2562 16:40:20
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31141215935349__1_320x200_.jpg)
พระแก้วมรกต หลวงปู่บุดดา
หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร วัดป่าใต้พัฒนาราม ต.โนนหมากเค็ง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว พระเกจิคณาจารย์ อายุมากถึงหนึ่งร้อยกว่าปี มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นพระที่เรียบง่าย ใจดี ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคน ต้อนรับทุกคนด้วยความเสมอภาค พูดคุยอย่างเป็นกันเอง

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ฉันอาหารแบบบ้านๆ น้ำพริก ผักต้ม ผักสด มักน้อย ชอบชีวิตสันโดษ เช้าออกบิณฑบาต ลงทำวัตรเจริญพระพุทธมนต์อย่างเคร่งครัด

สืบเนื่องจากเป็นพระสหธรรมิกกันกับหลวงปู่โสฬส ยโสธโร วัดโคกอู่ทอง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองปราจีนบุรี โตมาด้วยกัน เล่ากันว่า ท่านมีแม่นมคนเดียวกัน เรียนหนังสือมาด้วยกัน บวชเรียนในพระอุปัชฌาย์เดียวกัน ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาการต่างๆ ในสำนักเดียวกัน จึงมีความน่าสนใจในการศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจวิถีธรรม ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมา

ปัจจุบัน หลวงปู่บุดดามีอายุ 108 ปี พรรษา 28 ซึ่งมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ สมบูรณ์แข็งแรง อารมณ์ดี จิตแจ่มใส

พัฒนาสำนักสงฆ์แห่งนี้จนเจริญรุ่งเรืองและได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2550 ประชุมชาวบ้านและคณะกรรมการวัด ประสงค์สร้างอุโบสถ มีมติเห็นพร้อม โดยใช้แบบของกรมศิลปากร เป็นโบสถ์มหาอุด ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2559 และตอกเสาเข็มในวันที่ 6 มิ.ย.2559 ดำเนินการก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "กบ พันทิพย์งามวงศ์วาน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล พระแก้วมรกต หาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นลักษณะลอยองค์ มีขนาดความสูง 3.5 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เหมาะสำหรับห้อยคอ พุทธศิลป์เป็นรูปพระพุทธทรงเครื่องปางสมาธิประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหน้าบัลลังก์เขียนว่า พระแก้วมรกต

ส่วนบัลลังก์ด้านหลัง มีตัวอักษรเขียนคำว่า ปญญาธโร

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่บุดดาเสกเดี่ยว ในโบสถ์ วัดป่าใต้พัฒนาราม จ.สระแก้ว

จัดสร้างเป็นเนื้อต่างๆ อาทิ เนื้อทองคำก้นอุดผง จีวร เกศา หลวงปู่บุดดา 1 องค์ เนื้อเงินก้นทองคำ 2 องค์ เนื้อเงินก้นอุดผงฝากริ่งทองคำ 5 องค์ เนื้อเงินก้นอุดผง ใส่เกศาหลวงปู่บุดดา 19 องค์ เนื้อนวะฝาอุดกริ่งทองคำ 5 องค์ นวะก้นอุดผงข้าวก้นบาตร 19 องค์ นวะ 59 องค์ เนื้อ 2 เค ฐานนาคองค์ทอง 168 องค์ เนื้อ 2 เคฐานทององค์เงิน 168 องค์ เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44036849298410__696x392_1_320x200_.jpg)
พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นพระเครื่องที่มีศิลปะของสุโขทัยที่งดงามมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นพุทธศิลปะที่งดงามของโลก ในส่วนที่สร้างเป็นแบบพระเครื่องนั้นก็มีมากมายหลายกรุหลายจังหวัดและหลายยุคสมัย พระเครื่องปางลีลาที่สวยงามและได้รับความนิยมมาก ก็ต้องยกให้พระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งก็มีอยู่หลายกรุและหลายเนื้อ เช่น พระเนื้อดินเผา พระเนื้อชิน เป็นต้น

ในกระบวนพระเนื้อชินที่เป็นพระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น พระที่มีความหายาก และงดงามทางด้านศิลปะแบบสุโขทัยชนิดหนึ่งก็คือ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด สาเหตุที่ได้รับชื่อนี้ก็คือ องค์พระประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและที่ด้านข้างของซุ้มเรือนแก้วทำเป็นเม็ดไข่ปลาโดยรอบ จึงเรียกกันว่าข้างเม็ด

ส่วนพุทธลักษณะขององค์พระเป็นพระปางลีลายกมือด้านซ้ายขององค์พระขึ้นเสมออก และปลายมือยกขึ้นสูงเสมอคางและอยู่ข้างๆ คาง เสมือนกับกำลังเชยคางอยู่ จึงเรียกกันตามพุทธลักษณะดังกล่าวที่เห็นว่า "พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด" มองดูพุทธศิลปะโดยรวมสวยงามพลิ้วไหวเหมือนกำลังเดินไปข้างหน้า อ่อนช้อยงดงามมาก พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด มีการพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และที่วัดศรีอริยาบถ ส่วนมากที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน มีบางท่านว่าพบพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงบ้างแต่ก็น้อยมาก

พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดจำนวนพระที่พบมีจำนวนไม่มากนัก สันนิษฐานว่าพระอาจจะชำรุดเสียหายไปเสียตั้งแต่อยู่ในกรุ จึงพบพระที่สมบูรณ์น้อยมาก พระที่พบสามารถแยกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์กลาง และพระพิมพ์เล็ก

พระพิมพ์กลางจะมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งเป็นพระที่เราพบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระพิมพ์ใหญ่นั้นหายากมากครับ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดสนนราคานั้นก็สูงมาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว เนื่องจากพุทธศิลปะสวยงามและมีจำนวนน้อยหายาก ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับพระเมืองกำแพงเพชร เด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้าทางการงาน และแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

ปัจจุบันพระลีลาเชยคางข้างเม็ดนั้นหาแท้ๆ ยากมากครับ ของปลอมมีระบาดกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่นิยมและมีราคาสูงนานแล้ว แต่ของปลอมก็ยังทำไม่ได้เหมือนนัก เนื้อหาก็ทำให้เก่าเป็นธรรมชาติไม่ได้ พระสวยๆ นั้นสนนราคาสูงมากในปัจจุบัน ขนาดของพระก็กำลังเหมาะที่จะเลี่ยมทำตลับห้อยคอ แต่เวลาจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้รอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้ชำนาญการที่ไว้ใจได้จะดีกว่าครับ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าของปลอมทำได้ดีใกล้เคียงมากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์กลาง จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52271218846241_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้สำหรับบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม ตามบันทึกกล่าวว่า เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นสกุลธนโกเศศได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่ และได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นในปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงก็ได้อาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อทำพิธีสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธาน

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจึงได้เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2411 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2413 จึงบรรจุในองค์พระเจดีย์ประธาน และจัดงานสมโภชพระเจดีย์ พระสมเด็จที่สร้างในครั้งนี้มีจำนวนที่สร้างมากมายแต่ก็ไม่ได้บันทึกไว้ว่ามีจำนวนกี่องค์ การสร้างในครั้งนี้มีเจ้ากรมช่างสิบหมู่นำช่างแกะแม่พิมพ์มาช่วยร่วมแกะแม่พิมพ์ด้วยหลายคน เนื่องจากจะสร้างพระจำนวนมากจึงต้องแกะแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นหลายแม่พิมพ์ โดยบางพิมพ์ก็อาจจะใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ มาร่วมพิมพ์ด้วย แม่พิมพ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหมจึงมีแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นจากแม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ อยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ของพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมเท่าที่พบ มี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์อกครุฑ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ปรกโพธิ์ (พบน้อย) และพิมพ์ไสยาสน์ (พบน้อยมาก) เป็นต้น

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายเป็นพระสมเด็จพิมพ์หนึ่งที่มีเฉพาะของกรุวัดบางขุนพรหม ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่เฉพาะของวัดบางขุนพรหม พระพิมพ์นี้เป็นพระที่มีแม่พิมพ์มากที่สุดของพระสมเด็จ ซึ่งสามารถแยกแยะออกได้อยู่หลายแม่พิมพ์ มีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่โดยพุทธลักษณะส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน เอกลักษณ์ของพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายกรุวัดบางขุนพรหมคือ องค์พระจะมีลักษณะผึ่งผายแบบพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ เส้นสายต่างๆ จะบางเล็กคม โดยเฉพาะเส้นฐานสามชั้นนั้น เป็นเส้นเรียวๆ บางๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏแบบฐานสิงห์ จึงมักจะเรียกพระพิมพ์นี้ตามเส้นฐานที่คมเรียวบางว่า "พิมพ์ฐานเส้นด้าย" มาแต่โบราณ

พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย กรุวัดบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ที่นิยมมากพิมพ์หนึ่ง จนมีคำกล่าวในสมัยก่อนว่า "ใหญ่ ได้ ดี" ซึ่ง ก็หมายถึงพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย และพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ เป็นคำพ้องเสียงให้มีความหมายในทางมงคล คือใหญ่ เป็นใหญ่เป็นโตเจริญรุ่งเรือง ด้ายพ้องเสียงเป็นได้ คือทำอะไรก็มีแต่ได้ค้าขายได้กำไร ดีก็คือดีทำอะไรก็ดีเจริญรุ่งเรือง

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายในปัจจุบันก็เรียกกันเพียงสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย" ก็จะรู้กันว่าเป็นพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย ปัจจุบันหายากมากที่เป็นพระแท้ๆ ความจริงพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้หาแท้ๆ ยากทุกพิมพ์ทุกวัด ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม องค์สมบูรณ์ไม่หักชำรุดก็ต้องล้านขึ้น และหาพระแท้ๆ ยากมากครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้ายองค์สวยๆ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58821457169122__4_1_320x200_.jpg)
พระเปิม ลำพูน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องสกุลลำพูนชนิดหนึ่งที่เป็นพระสำคัญประจำกรุวัดสี่มุมเมืองของหริภุญชัยนครก็คือ พระเปิม แห่งวัดดอนแก้ว ในปัจจุบันถ้าพูดถึงพระกรุวัดดอนแก้วก็จะนึกถึงแต่พระบาง กรุวัดดอนแก้ว แต่ในกรุนี้ก็พบพระอีกหลายพิมพ์ รวมทั้งพระเปิม ด้วย ในสมัยก่อนคนลำพูนนิยมห้อยคอกันมาก เนื่องจากพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด สมัยก่อนก็ถักลวดทองแดงหรือดีหน่อยก็เลี่ยมจับขอบห้อยคอกันเลย ปัจจุบันจึงหาพระเปิมที่สวยๆ ไม่สึกยากครับ

ในสมัยเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงสร้างวัดสำคัญประจำทิศทั้งสี่ของเมือง เป็นจตุรพุทธปราการพระอารามสำคัญทั้ง 4 ประจำ จตรุทิศแห่งพระนคร เพื่อปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพร ปราศจากภัยพิบัติ ดังนี้

อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ พระกรุสำคัญที่พบ คือ พระคงและพระบาง

อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการปกป้องฝ่ายทิศตะวันออก พบพระกรุที่สำคัญคือพระเปิมและพระบาง ฯลฯ

มหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการคุ้มครองด้านทิศใต้ พบกรุที่สำคัญคือพระเลี่ยง ฯลฯ

มหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศตะวันตก พบพระกรุที่สำคัญคือพระรอด

พระอารามทั้งสี่นี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสี่มุมเมือง"

พระเปิมเป็นพระที่ขุดพบที่วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของร.ร.เทศบาลเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพัง อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก

การขุดหาพระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้ว ในครั้งแรกๆ ก็ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วย การขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป

ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านที่ขุดพบก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบ คือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด คำว่ารอดหมายถึงเล็ก พระเลี่ยง ก็คือเลี่ยม หมายถึงแหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง คำว่าคงหมายถึงหนา มั่นคง แข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น

พระเปิมเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยมพระเปิมเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำรูปพระเปิม จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12304503139522_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระแท้ย่อมมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคนที่รู้จักกันสอบถามมาหลายๆ ท่านว่า พระที่เขามีอยู่นั้นแท้หรือไม่ เพราะนำพระไปขายแล้วไม่มีใครซื้อ และบอกว่าไม่แท้ แต่พอเข้าไปค้นดูในกูเกิ้ล ก็มีอยู่หลายแหล่งที่มา และหลายความเห็นไม่เหมือนกัน บ้างว่าแบบนี้แท้ บ้างก็ว่าแบบนี้ไม่แท้ เอาไงดีจะเชื่ออันไหนได้

ครับปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีมากมาย และสามารถค้นหาได้ทางอินเตอร์เน็ต ต่างจากในสมัยก่อนมาก ซึ่งเมื่อสัก 40-50 ปีก่อนนั้น หนังสือที่เกี่ยวกับพระเครื่องก็มีน้อย รูปถ่ายก็ยังไม่เป็นภาพสี หรือถ้ามีก็น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นภาพขาวดำ ในส่วนของข้อมูลส่วนใหญ่จะค่อนข้างดีเนื่องจากผู้เขียนมักจะสืบค้นกันจริงๆ ไปถึงสถานที่จริง ค้นข้อมูลมากมายแล้วจึงนำมาเขียน ต่างจากในปัจจุบันนิตยสารพระเครื่องนั้นมีมากมายและยังมีอยู่ในสื่ออินเตอร์เน็ตอีกมากมายค้นหาได้สะดวก และมีผู้เขียนให้ความรู้ก็มาก อีกทั้งพร้อมรูปภาพประกอบ แต่ก็นั่นแหละครับ มีขาวก็ย่อมมีดำเสมอ สื่อในอินเตอร์เน็ตนั้นใครก็เขียนได้ ข้อมูลถูกต้องหรือไม่ก็ต้องใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ดูด้วย เท่าที่ลองเข้าไปติดตามดูก็มีทั้งที่ดีๆ และข้อมูลผิดพลาดปะปนกันอยู่

สำหรับผู้ที่พอมีความรู้เรื่องพระเครื่องอยู่บ้างมาก่อนก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ผู้ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาก็น่าจะสับสนอยู่บ้าง พระเครื่องบางชนิดข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นตรงกันข้ามกันเลยก็มี ก็น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกันครับ มีอยู่ครั้งหนึ่ง คนรู้จักกับผมได้นำตะกรุดมาให้ดู ผมก็ตอบไปว่าไม่รู้ที่นะ เพราะผมเองก็รู้เป็นบางอย่างเท่านั้น

เขาก็บอกว่าไม่ใช่ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วรึ ผมก็บอกว่าแบบนี้ยังไม่เคยเห็นนะ เขาก็บอกต่ออีกว่า คนรู้จักเขาให้มา แล้วบอกว่าเป็นของพ่อเขา ได้มากับมือเลย ตอนนั้นไปช่วยหลวงปู่บุญถักเชือกหุ้มตะกรุดด้วย ผมเลยถามว่า พ่อของคนนั้นอายุเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าอายุ 86 แล้ว ผมก็เลยบอกว่าหลวงปู่บุญมรณภาพมีนาคม พ.ศ.2478 ปีนี้ 2562 เข้า 84 ปีแล้ว ก็แสดงว่าพ่อของเพื่อนคุณคงจะไปช่วยกันถักตอนอายุ 2 ขวบ เลยนะ เขาก็ยังไม่ละความพยายาม บอกต่อว่า ค้นดูในอินเตอร์เน็ตก็มียืนยันได้เหมือนกันเลย ผมก็เลยยอมแพ้แล้วแต่จะเชื่อก็แล้วกันนะ

ยังมีอีกเรื่องนึงเป็นพระสมเด็จฯ ก็คนรู้จักกันอีกแหละ แต่ก็ไม่ใช่คนในสังคมพระเครื่อง พูดง่ายๆ ก็คือไม่ใช่เซียนพระ เอาพระสมเด็จฯ มาให้ผมดู เขาก็บอกว่าได้มาจากพระที่วัดระฆังฯ บอกว่าเป็นพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ก็เอามาให้ผมดูและถามว่าแท้มั้ย (ความจริงก็จะมาขายผมนั่นแหละ) ผมก็ว่าไม่รู้วัดอะไรเหมือนกัน เขาก็บอกว่าก็สมเด็จวัดระฆังฯ ไง ได้มาจากพระที่วัดระฆังฯ ท่านบอกอีกว่าเก่าแก่เป็นร้อยปีแล้วนะ ตอนที่เขาได้มาก็ 40 กว่าปีมาแล้ว ผมก็เลยบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน เขาก็บอกให้ดูเนื้อหาอีกทีมีมวลสารเยอะนะ อ้างสารพัดจะอ้าง เหมือนรูปในอินเตอร์เน็ตเลยนะ มีคนนั้นคนนี้บอกว่าดี เก็บให้ดีๆ นะหายาก ผมก็ยอมอีกเช่นกัน เขาก็เลยบอกว่าอยากจะขาย

ผมก็เลยบอกเขาไปว่า เอาไปขายกับคนนั้นเลย ผมไม่มีตังค์พอจะซื้อได้ ก็ยังไม่จบ กลับบอกว่าคนคนนั้นเขาไม่สนิท (คือจะขายกับผมให้ได้) ผมก็เลยบอกว่าเอาไปขายเถอะ เขาเป็นเซียนพระ เขาซื้ออยู่แล้ว ยังๆ ไม่จบเขายังถามอีกว่าราคาเท่าไร ผมก็บอกว่าไม่รู้อยากได้เท่าไรก็บอกเขาไป ต่อรองพอใจก็ซื้อ-ขายกันไปจบ ครั้นผมจะบอกว่าเก๊ เขาก็คงไม่เชื่อต้องเถียงกันไม่จบ บอกว่าไม่มีเงินซื้อเลยง่ายดี แต่ก็ยังไม่จบง่ายๆ คือเขาจะให้ผมซื้อให้ได้

เรื่องข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตก็ยังมีอีกเยอะที่ไม่ตรงกัน และมีการโต้แย้งถกเถียงกัน เป็นเรื่องเป็นราวด่าทอกันบ้าง การเสพสื่อนั้นคงต้องใช้วิจารณญาณในการเชื่อเรื่องราว นั้นๆ ด้วย และพระเครื่องนั้นก็มีมาก มายหลายแบบ หลายความเชื่อ ในปัจจุบันต่างฝ่ายต่างก็สร้างสังคมของตัวเองเป็นกลุ่มๆ แต่เรื่องที่พิสูจน์ได้ง่ายๆ ก็คือ พระแท้ๆ ที่เขานิยมกันนั้น ขายได้แน่ในสถานที่ที่เขาตั้งเป็นศูนย์ หรือที่เรียกกันว่าในสนามพระ พระแท้ย่อมมีมูลค่ารองรับเสมอ ถ้าบอกว่าแท้แล้วขายไม่ได้ก็ต้องคิดเอาเองครับว่าใช่หรือไม่ ใช้เหตุผลมาพิจารณาก็คงพอจะรู้ได้ครับ ถ้าไม่ดื้อรั้นจนเกินไป พระสมเด็จฯ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ ถ้าแท้ทุกพิมพ์ และพระไม่หักหรือชำรุด ต่อให้สึกไปบ้างก็ต้องล้านขึ้นครับ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อก็น่าจะพอเดาได้นะครับ

มีคนรู้จักผมหลายๆ คนคิดว่าผมเป็นเซียนพระ มีอาชีพซื้อ-ขายพระ ก็ต้องบอกตามความเป็นจริงว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ และไม่เคยมีอาชีพซื้อ-ขายพระเลย ผมบอกเสมอว่าผมดูพระไม่เป็น เพียงแต่ซื้อพระเป็นเท่านั้น อ้าวแล้วซื้อพระเป็นน่ะเป็นอย่างไร ก็ซื้อแต่พระแท้ๆ ที่เซียนเขายอมรับสิครับ ซื้อกับเซียนพระที่มีชื่อเสียงดีๆ และรับผิดชอบครับ และก่อนจะซื้อพระอะไรก็ศึกษาเสียหน่อยว่าพระแท้ๆ แบบนี้เขาดูอะไรประกอบ และมีมูลค่ารองรับหรือไม่ เท่าไหร่ แล้วจึงค่อยไปหาซื้อ ส่วนใหญ่ก็จบดี เก็บไว้ระยะหนึ่ง พอเวลาจะใช้เงินก็เอาไปขายให้กับเซียนคนไหนก็ได้เขาก็ซื้อ แถมบางครั้งก็มีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม สวยๆ ดูง่ายแบบสากลนิยมมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 12:54:59
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25009864485926_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระปิดตามหายันต์หลังอุณาโลม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ พัทลุง ล้วนเข้มขลังขมังเวทวิทยาคมมาก พระเกจิอาจารย์หลายๆ รูปของสายใต้มักจะมาจากสำนัก วัดเขาอ้อเป็นส่วนใหญ่ พระอาจารย์เอียดก็เป็นพระเกจิฯ รูปหนึ่งที่ศึกษามาจากสำนักวัดเขาอ้อ ท่านได้สร้างพระปิดตาที่เข้มขลังในด้านพุทธคุณไว้ให้แก่ศิษย์และต่างก็หวงแหนกันมากครับ

พระอาจารย์เอียดเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2425 ที่บ้านดอนนูด ต.ชะมวง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อพัด นามสกุลทองโอ๋ ต่อมาบิดาได้ถึงแก่กรรม มารดาจึงได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์ท่านอาจารย์ทองเฒ่า สำนักเขาอ้อ และต่อมาในปี พ.ศ.2447 ท่านอาจารย์เอียดจึงได้อุปสมบท โดยมีพระอาจารย์ทองเป็นพระอุปัชฌาย์ และอยู่จำพรรษากับพระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์เอียดขยันหมั่นเพียรในการศึกษาวิทยาการต่างๆ ท่านอาจารย์ทองเฒ่าจึงถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ของสำนักเขาอ้อให้จนหมดสิ้น จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อใจแก่พระอาจารย์ทองเฒ่ามาก กระทั่งเคยออกปากท่ามกลางศิษย์วัดเขาอ้อว่า “ท่านเอียดเขาเป็นหนุ่มเป็นแน่นพลังจิตเข้มแข็งดีเหลือเกิน ทำได้ขลังมากนัก” และทั้งปรากฏว่าในครั้งต่อๆ มาท่านยังได้มอบหมายให้พระอาจารย์เอียดประกอบพิธีกรรมสำคัญแทนท่านหลายครั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ.2460 ท่านอาจารย์ทองเฒ่าได้มอบหมายให้พระอาจารย์เอียดไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดจะเหมาะสมไปกว่าอาจารย์เอียด อีกทั้งวัดดอนศาลาก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ซึ่งกล่าวได้ว่าวัดดอนศาลาเป็นวัดสาขาวัดหนึ่งของสำนักเขาอ้อเลยก็ว่าได้ ครั้นเมื่อท่านอาจารย์เอียดได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาแล้ว ท่านอาจารย์เอียดก็ได้ดูแลทำนุบำรุงวัดด้วยดีตลอดมา ทั้งดูแลเอาใจใส่อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ตั้งมั่นใน พระธรรมวินัย รวมถึงได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ทั้งก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น เพื่อที่ให้เป็นที่ศึกษาของลูกหลานชาวบ้านในแถบนั้นได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน พระอาจารย์เอียดเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

พระอาจารย์เอียดได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์ หลังจากที่ท่านอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพไปแล้ว ท่านก็ได้เริ่มสร้าง ประมาณปี พ.ศ.2470 แต่ที่เป็นพิธีใหญ่และรู้จักกันมากก็คือพิธีสร้างพระมหาว่านขาว-ดำ ในปี พ.ศ.2483 ซึ่งในครั้งนี้ก็ได้มีการสร้างพระปิดตาแบบต่างๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อตะกั่ว พระปิดตาเนื้อโลหะที่ได้รับความนิยมมีด้วยกันทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ พระปิดตาพิมพ์สองหน้า พระปิดตาพิมพ์หน้าเดียวหลังเรียบ พระปิดตาพิมพ์หลังยันต์ใบพัด และพระปิดตาพิมพ์หลังยันต์นะอุณาโลม เนื้อโลหะมีทั้งเนื้อเหลืองและเนื้อออกแดง สร้างแบบหล่อโบราณเบ้าประกบ พุทธคุณเข้มขลังในทางมหาอุดคงกระพัน และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ก็ได้นำพระปิดตามหายันต์หลังอุณาโลม จากพระเครื่องล้ำค่าเมืองใต้มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34529708574215_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

เหรียญตอก 1 หลวงปู่แสง
พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านแก้ง ต.เขมราฐ มีพระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาด้านวิทยาคม อักขระ เลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลังเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัด กลับมาสู่มาตุภูมิจำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูอุดมรังสี

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา และยังเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองในห้วงเวลานั้น

นอกจากนี้ท่านยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โดยท่านทั้งสองยังเคยไปมาหาสู่กันตลอด

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

เมื่อเดือน ม.ค.2562 คณะลูกศิษย์ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญรุ่นตอก 1 หลวงปู่แสง เพื่อจัดหารายได้เป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ในวัย 108 ปี

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 11 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อนวะหน้าทองคำ 59 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 69 เหรียญ, เนื้อเงิน 199 เหรียญ, เนื้อนวะเต็มสูตร 399 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 599 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,599 เหรียญ, เนื้อทองแดง 3,999 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปหลวงปู่หน้าตรงครึ่งองค์ห้อยลูกประคำ บริเวณมุมซ้ายของ อังสะสลักตัวเลขอารบิกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส ถัดลงมาตอกโค้ดเป็นภาษาขอม ตัว ส ถัดลงมาอักขระยันต์ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัว หลวงปู่ บรรทัดต่อมาสลักคำว่า อายุ 108 ปี บรรทัดสุดท้ายครึ่งองค์รอบขอบเหรียญสลักคำว่า วัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2562 มีหลวงปู่แสงนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว 
    ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30059181816048__1_696x392_1_320x200_.jpg)
พระนางพญาเสน่ห์จันทร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องบางองค์มีชื่อไพเราะและเป็นมงคลมาก เช่น ที่พูดถึงในวันนี้คือพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพระกรุที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พระนางพญาเสน่ห์จันทร์เป็นพระที่มีพุทธลักษณะสวยงามแบบศิลปะสุโขทัย ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากแล้วครับ

พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ได้ถูกขุดพบโดยบังเอิญ เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดแต่ง บูรณะโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เรื่อยมา จนถึงปลายปี พ.ศ.2502 เมื่อขุดแต่งบริเวณฐานของพระองค์พระเจดีย์ วัดต้นจันทร์หรือวัดราวต้นจันทร์ ก็พบพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทร์ และพบอีกที่วัดตาเถรขึงหนัง หรือวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งทั้ง 2 วัดมีอาณาเขตติดต่อกัน

ทั้ง 2 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะมีการพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์นั้น ในปี พ.ศ.2499 ทางกรมศิลปากรได้ขุดพบหลักศิลาจารึกหลักหนึ่ง ฝังจมดินอยู่บริเวณวัด ตาเถรขึงหนัง ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียวชำรุดหักครึ่ง โดยเหลือแต่เพียงท่อนบนเท่านั้น ส่วนท่อนล่างหาไม่พบ จารึกเป็นภาษามคธและภาษาไทย ข้อความที่ศิลาจารึกก็พอแปลความสรุปได้ว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัย มีนามว่า "วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ.1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) และพระราชชนนีศรีธรรมราชมารดา เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น โดยโปรดให้ไปอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิตติ ซึ่งเป็นพระสังฆราชจากเมืองกำแพงเพชร เพื่อเป็นประธานในการสร้าง พระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อ "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" ตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น

การขุดพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ในครั้งนั้นพบที่วัดต้นจันทร์ก่อน ขณะที่ทางการขุดลงไปในองค์พระเจดีย์และเปิดกรุที่บรรจุพระเครื่องต่างก็พากันตะลึงงัน เนื่องจากคนที่ลงไปในกรุเล่าว่า รู้สึกเหมือนตกอยู่ ในภวังค์ รู้สึกชุ่มชื่นอย่างประหลาด เพราะภายในกรุ่นไปด้วยกลิ่นแป้งร่ำกระแจะจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานว่าสมัยนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วนำมาบรรจุกรุ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์คงถูกประพรมด้วยของหอมนานาชนิดไว้อย่างมากมาย เหตุนี้จึงมีกลิ่นหอมอบอวลดังกล่าว คงจะมาจากเรื่องราวของการเปิดกรุที่มีกลิ่นหอม ทางการจึงตั้งชื่อว่านางพญาเสน่ห์จันทร์ ต่อมาก็มีการเปิดกรุเจดีย์ของวัดตาเถรขึงหนังอีกต่อมา ก็ยังพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์บรรจุอยู่ในกรุนี้ด้วยปะปนกับพระเครื่องชนิดอื่นๆ มากมาย ภายในกรุแบ่งออกเป็นห้องๆ มี 8 ห้อง มีพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทร์เป็นพื้น

พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของทั้งสองกรุนั้นมีพุทธลักษณะคล้ายกันมาก ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือของกรุวัดต้นจันทร์จะมีเส้นคลายเส้นจีวร อยู่ที่ใต้แขนด้านซ้ายมือขององค์พระ ยาวตั้งแต่ข้อมือซ้ายยาวขนานกับท่อนแขนเลยข้อศอกซ้ายเล็กน้อย ส่วนพระของกรุวัดตาเถรขึงหนังจะไม่มีเส้นนี้ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแต่ตัวเนื้อจะไม่ค่อยแน่นสักเท่าไร พระทั้งสองกรุจะปรากฏคราบกรุเป็นฝ้าบางๆ สีนวลจับอยู่เกือบทั้งองค์พระ โดยเฉพาะตามซอกแขน คราบกรุนี้จะจับฝังแน่นกับผิวของพระ

ในปี พ.ศ.2503 ทางกรมศิลปากรได้นำพระนางพญาเสน่ห์จันทร์มาให้ประชาชนเช่าบูชา เนื่องจากพระที่พบมีจำนวนมากทั้งสองกรุ และเพื่อนำเงินไปเป็นปัจจัยในการบูรณะโบราณสถานต่อไป ในครั้งแรกสนนราคาที่ทางการเปิดให้นั้นราคาองค์ละ 30-40 บาทเท่านั้น ก็มีประชาชนไปเช่าบูชากันมากจนพระเริ่มเหลือน้อยลง จนในปี พ.ศ.2509 ราคาเช่าอยู่ที่ 400-500 บาท เมื่อพระหมดไปจากกรม ราคาก็ขยับขึ้นลงตามลำดับ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของทั้งสองกรุได้รับความนิยมทั้งสองกรุ แต่ด้วยจำนวนของวัดตาเถรขึงหนังมีมากกว่า จึงทำให้คนรู้จักกันมากกว่า จึงได้รับความนิยมสูงกว่าเล็กน้อย

เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้บูชาไป กล่าวว่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และด้วยพุทธศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์และงดงาม อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏ จึงทำให้พระนางพญาเสน่ห์จันทร์หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน สนนราคาค่อนข้างสูง และของปลอมเลียนแบบก็มีมากตามมาเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม) จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88937313813302_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระผงวัดโพธิ์ท่าเตียน หรือที่คนในยุคเก่าๆ จะเรียกว่า "พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์" ในปัจจุบันอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง ไม่ค่อยได้มีใครพูดถึง แต่ความเป็นจริงเป็นพระที่ดังมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นที่กล่าวขวัญกันมาอีกนาน จากอภินิหารต่างๆ ของพระวัดโพธิ์นี้ แต่ประวัติความเป็นมาและพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างน้อยคนที่จะรู้

พระผงอัฐิวัดโพธิ์ท่าเตียน สร้างขึ้นเมื่อตอนสงครามอินโดจีนต่อกับสงครามโลกครั้งที่สอง ในครั้งนั้นวัดต่างๆ ก็สร้างวัตถุมงคลเพื่อให้แก่ทางการเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจและประชาชนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและปกป้องคุ้มครองภัย วัดโพธิ์ก็เป็นวัดหนึ่งที่สร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น พระผงอัฐิ วัดโพธิ์ฯ สร้างโดยพระอาจารย์หนู ซึ่งท่านเป็นพระที่เดินทางมาจากจังหวัดสุรินทร์ ท่านเป็นพระที่มีอาคมแก่กล้า และเชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ ท่านจะเลี้ยงว่านต่างๆ ไว้มากมาย ในสมัยนั้นจะมีผู้คนไปให้พระอาจารย์หนูช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย และไปขอให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ อีกทั้งไปขอวัตถุมงคลต่างๆ จากท่านมากมาย

ประมาณปี พ.ศ.2485 ท่านพระอาจารย์หนูเห็นว่าประเทศไทยเดือดร้อน เนื่องจากฝ่ายพันธมิตรมาทิ้งระเบิดใส่ฐานทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยหลายครั้ง สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ประชาชนก็ได้รับผลกระทบไปด้วย มีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากลูกหลงหลายราย ท่านจึงได้สร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนนำไปคุ้มครองป้องกันตัว พระอาจารย์หนูเป็นพระที่มีวิชาอาคมมาก ท่านได้สร้างพระเครื่องขึ้นโดยผิดแปลกแตกต่างไปจากทั่วๆ ไป โดยท่านได้นำเอาเถ้ากระดูกของคนตายมาเป็นส่วนผสมเนื้อในการสร้างพระเครื่องของท่าน ซึ่งผู้สร้างจะต้องมีวิชาอาคมแก่กล้ามากๆ เนื่องจากจะมีแรงอาถรรพ์อยู่ในตัว โดยพระอาจารย์หนูจะเก็บรวบรวมผงเถ้าอัฐิจากเชิงตะกอน โดยพระอาจารย์หนูจะทำพิธีพลีกรรมก่อนทุกครั้งตามวิชาที่ท่านเรียนมา นอกจากนี้ ท่านยังได้นำว่านโพงมาบดผสมเข้าไปด้วย ส่วนว่านโพงนี้ชาวบ้านจะเรียกกันว่าว่าน "กระสือ" เชื่อว่ามีอาถรรพ์มากมักขึ้นอยู่ในป่าลึก หากมีสัตว์พลัดหลงเข้าไปในบริเวณดงว่านชนิดนี้ จะถูกดูดกินเลือดจนตาย คนที่มีวิชาอาคมมักจะนำว่านชนิดนี้มาเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน

การที่พระอาจารย์หนูได้นำวัตถุอาถรรพ์ที่ดูๆ แล้วน่ากลัวมาสร้างพระนั้น ท่านก็ได้มีการพลีกรรมต่างๆ อย่างถูกต้องตามตำรา สำหรับผู้ที่ใช้พระเครื่องของท่านกลับได้แต่ผลดี และได้ผลในด้านคุ้มครองป้องกันตัว แม้แต่มีอยู่ในบ้านขโมยเข้ามายังสติฟั่นเฟือนไปเลย อานุภาพคล้ายๆ กับประเภทเครื่องรางของขลังต่างๆ พระเครื่องของท่านนั้นเฮี้ยนมาก เห็นผลกันทุกราย เรื่องเล่ามากมายจากผู้ใหญ่เขาคุยกันหรือเล่าให้ฟัง มีทั้งที่ผู้ที่ห้อยคออยู่ไปไหนมาไหนตอนกลางคืนจะมีคนเห็นมีคนเดินมาด้วยหลายคน เช่น คนขี่รถสามล้อขี่รถออกหาเงินก็ไม่มีใครเรียก กลับไปเรียกคันหลัง เนื่องจากเขาเห็นมีคนนั่งอยู่ในรถแล้ว มีอยู่เรื่องหนึ่งชายหนุ่มคนหนึ่งห้อยพระผงกระดูกผีติดตัว ไปจีบสาวสวยต่างบาง และสาวผู้นี้ก็มีหนุ่มหมายปองอยู่หลายคน รวมทั้งหนุ่มๆ เจ้าถิ่นด้วย แต่สาวเจ้าก็ดูจะชอบหนุ่มต่างถิ่นคนนี้ ทำให้พวกเจ้าถิ่นไม่พอใจ วันหนึ่งจึงดักจะทำร้าย บ้านของสาวเจ้าก็อยู่เข้าไปในซอยลึกหลังวัด และทางก็ค่อนข้างเปลี่ยวในเวลากลางคืน พวกของเจ้าถิ่นก็มาซุ่มคอยดักทำร้ายในเวลากลางคืนที่เจ้าหนุ่มต่างถิ่นเดินกลับออกมา ปรากฏว่าพวกที่มาดักทำร้ายนั้นไม่กล้าทำอะไร ได้แต่แอบซุ่มอยู่อย่างนั้น เพราะว่าเจ้าหนุ่มต่างถิ่นเดินกันมาหลายคน และคนที่มาด้วยท่าทางหน้าตาดูดุดันทุกคน ทั้งๆ ที่หนุ่มต่างถิ่นมาคนเดียวแท้ๆ เรื่องมารู้กันภายหลังจากที่หนุ่มต่างถิ่นแต่งงานกับสาวสวยไปแล้ว และต่อมาได้มาเป็นเพื่อนกับพวกเจ้าถิ่น จึงได้พูดคุยกันและรับสารภาพว่าในวันนั้นเคยจะซุ่มดักทำร้าย และถามว่าวันนั้นไปยกพวกมาจากไหนเยอะแยะ ทั้งๆ ที่เห็นว่าตอนนั้นมาคนเดียว หนุ่มต่างถิ่นก็งงๆ อยู่และตอบตามความจริงว่ามาคนเดียวจริงๆ แต่พวกเจ้าถิ่นก็ไม่ค่อยเชื่อเพราะเห็นกับตา ทุกคนว่ามากันเยอะแยะไปหมด เรื่องนี้ก็สรุปว่าเป็นอาถรรพ์ของ พระผงกระดูกผี ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็เล่าสืบต่อกันมามากมาย ผมเองตอนเด็กๆ ก็อยากได้เหมือนกัน แต่ก็กลัวผีอยู่ด้วยเหมือนกัน จึงไม่กล้าหามาห้อยคอครับ ในปัจจุบันนี้พระผงกระดูกผีค่อนข้างหาของแท้ๆ ยากนะครับ ของปลอมก็มีทำกันเยอะ ถ้าท่านผู้ใดมีพระผงกระดูกผีของแท้ไว้ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของเถ้ากระดูกบ้าง จะได้โชคลาภสมปรารถนาครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระผงกระดูกผี พิมพ์ปิดตามาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80353417744239_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระลีลากรุวังหิน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นศิลปะในพระพุทธรูปที่กำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงามที่สุด มีการ ทำเป็นแบบพระพิมพ์หรือพระเครื่องอยู่ก็หลายวัด หลายกรุ หลายจังหวัด ล้วนมีศิลปะที่สวยงามทั้งสิ้น

พระกรุที่ทำเป็นพระปางลีลาก็มีอยู่หลายกรุเช่นกัน พระลีลากรุวังหินเป็นพระเครื่องปางลีลาที่มีศิลปะสวยงามมากแบบหนึ่ง พบที่วัดวังหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พระกรุนี้พบพระลีลาเนื้อชินเงิน แยกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ผิดกันเพียงแค่มีขนาดใหญ่เล็กต่างกันเท่านั้น พระพิมพ์เล็กจะมีจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าพิมพ์อื่น พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาหันหน้าไปทางซ้ายมือเรา ยกพระหัตถ์ขวาขององค์พระเสมอไหล่ เส้นขอบสบงปรากฏชัด จีวรห่มแนบเนื้อ มีชายจีวรเป็นริ้วลงมาข้างองค์พระเสมอถึงข้อเท้า ศิลปะอ่อนช้อยงดงาม

พระกรุนี้แตกกรุมานานมาก ไม่ต่ำกว่า 90 ปีแล้ว จำนวนพระที่สมบูรณ์ก็พบไม่มากนัก ในสมัยก่อนจึงหวงแหนกันมาก และไม่ค่อยแพร่หลายออกมาจากท้องถิ่น ในปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเจริญก้าวหน้า เมตตา แคล้วคลาด พระลีลาที่มีศิลปะสวยงามแบบสุโขทัยก็ต้องยกให้พระลีลากรุวังหินเป็นกรุหนึ่งที่มีศิลปะสวยงามมาก อีกทั้งพุทธคุณก็ยอดเยี่ยม เพียงแต่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ จนน่าเสียดายที่จะไม่ค่อยได้พูดถึงกัน

พระกรุพระเก่านอกจากจะเป็นพระเครื่องที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว ศิลปะในยุคสมัยต่างๆ ก็บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุคด้วย ความงดงามที่ช่างผู้แกะแม่พิมพ์บรรจงสอดใส่ไว้ในองค์พระนั้น ถ้าเราใช้แว่นขยายส่องดูก็จะพบว่ามีความสวยงามตามยุคสมัยอยู่ในองค์พระด้วย ถ้าเราศึกษาศิลปะยุคสมัยควบคู่ไปกับการสะสมพระ และเราพิจารณาดูศิลปะในพระแต่ละยุค เราก็จะได้เห็นความงดงามและสิ่งต่างๆ ที่ช่างได้บรรจงใส่ไว้ในองค์พระ ถ้าเช่าพระกรุพระเก่ามาหนึ่งองค์แล้วเราศึกษาศิลปะยุคสมัยไปด้วยก็จะได้ความรู้ความเพลิดเพลินไปด้วยเป็นของแถม และเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ก็จะได้ตามมาด้วย ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถพิจารณาพระชนิดนั้นๆ ได้ไปด้วยครับ

พระลีลากรุวังหินก็เป็นทั้งพระเครื่องที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยปกป้องคุ้มครอง อีกทั้งมีศิลปะที่งดงามของศิลปะสุโขทัย เมื่อมองดูก็รู้สึกสบายใจสวยงาม จึงเป็นพระเครื่องแบบหนึ่งที่น่าสะสมและศึกษา แต่ก็เป็นพระที่หายากแบบหนึ่งครับ นอกจากนี้ ก็มีพระปลอมเลียนแบบมานานแล้วเช่นกัน เนื่องจากเป็นพระที่นิยมกันมาแต่โบราณแล้ว ดังนั้นเวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ และเช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้จะดีกว่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากรุวังหิน พิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48706064538823_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
ร่องรอยการสร้างของพระเครื่อง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หัวข้อเรื่องร่องรอยการสร้างพระเครื่อง ครับเรื่องนี้สำคัญมากสำหรับการชี้ชัดว่าเป็น พระแท้หรือไม่อย่างไรข้อหนึ่งเลย ท่านอาจจะงงว่ามันคืออะไรและอย่างไรจึงสำคัญในการชี้วัดความแท้หรือไม่แท้ของพระเครื่อง

ครับการพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่นั้นก็มีสิ่งที่หลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังเสมอกับคำว่า "จุดตำหนิ" บางท่านอาจจะเข้าใจว่ามีเพียงแต่จุดรายละเอียดของแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วนอกจากลักษณะรายละเอียดของแม่พิมพ์แล้ว ก็ยังมีรายละเอียดของธรรมชาติ การผลิตหรือการสร้าง พระเครื่องนั้นๆ ด้วย

จุดตำหนิก็คือร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง เช่น ลักษณะหน้าตาของแม่พิมพ์ มีจุดมีขีดใดๆ บ้างที่เกิดความผิดพลาดจากการแกะแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก และก็คือร่องรอยการผลิตแบบหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนอื่นๆ อีก เช่น ตัวแม่พิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์พระมีลักษณะเป็นอย่างไร และเมื่อนำมาใช้พิมพ์พระจะเกิดร่องรอยอะไรบ้าง

กรรมวิธีการสร้างก็มีร่องรอยทิ้งไว้ให้เห็นอีก เช่น ขอบข้างธรรมชาติของด้านหลัง แม้แต่เนื้อหาของพระก็เป็นร่องรอยการผลิตทั้งสิ้น กรรมวิธีการสร้างพระในแต่ละยุค และที่สำคัญที่สุดก็คือกรรมวิธีการสร้างของพระรุ่นนั้นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นร่องรอยการผลิตเฉพาะรุ่นนั้นๆ แม้แต่ว่าจะเป็นพระที่สร้างของวัดเดียวกัน โรงงานเดียวกันแต่คนละรุ่นกันก็จะปรากฏร่องรอยไม่เหมือนกัน

เรื่องร่องรอยการผลิตนั้นไม่ว่าจะเป็น สินค้าใดๆ ก็ตาม ยี่ห้อเดียวกันโรงงานเดียวกัน แต่ต่างรุ่นกันก็ยังมีร่องรอยการผลิตที่ไม่เหมือนกัน พระเครื่องก็เช่นกันครับ ผมจะยกตัวอย่างเช่นเหรียญ เอาเหรียญหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติรุ่นแรกก็แล้วกัน ร่องรอยการผลิตนั้นทิ้งบางสิ่งบางอย่างให้เราเห็น เช่น แม่พิมพ์ด้านหน้าเป็นคลื่นไม่เรียบ ด้านหลังตัวยันต์มีตำหนิเนื้อเกินที่ตัวยันต์เป็นรูปคล้ายตะขอที่ปลายยันต์ จึงเรียกว่าพิมพ์ขอเบ็ด ขอบด้านข้างเป็นแบบขอบกระบอก

ต่อมาเหรียญรุ่นนี้หมดไป ทางวัดก็ให้โรงงานทำขึ้นใหม่อีก โดยใช้แม่พิมพ์เดิม แต่แม่พิมพ์เดิมใช้ได้แต่แม่พิมพ์ด้านหน้า จึงต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ ทีนี้แม่พิมพ์ด้านหน้าเมื่อจะนำมาปั๊มใหม่ก็ต้องล้างสนิมบนแม่พิมพ์เสียก่อน ร่องรอยที่ปรากฏบนเนื้องานก็จะสังเกตเห็นได้เพียงด้านหน้า โดยไม่ต้องไปพลิกด้านหลังดูก็จะรู้ว่าเป็นเหรียญรุ่นหลังก็คือ เมื่อแม่พิมพ์ที่เป็นสนิมมาปั๊มใหม่ เมื่อล้างสนิมออกก็จะเป็นร่องรอยสนิมเป็นหลุมเป็นบ่อเล็กๆ

เมื่อนำมาปั๊มใหม่ก็จะเห็นว่ารอยที่เป็นหลุมเล็กๆ นั้นก็จะนูนขึ้นมา ลักษณะเป็นเม็ดผด ที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกว่า "พิมพ์ขี้กลาก" เนื่องจากลักษณะเม็ดผดมองคล้ายๆ กับเม็ดผดของขี้กลาก นอกนั้นด้านหลังก็จะไม่เหมือนเพราะแกะแม่พิมพ์ใหม่ ขอบข้างก็เป็นคนละแบบเพราะทำขอบข้างใหม่ นี่ก็เป็นตัวอย่างว่า แม้จะเป็นโรงงานเดียวกัน แม่พิมพ์ตัวเดิมก็จะไม่เหมือนกัน และจะทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ให้เห็นได้

ตัวอย่างที่ 2 เอาเป็นพระสมเด็จที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างก็แล้วกันนะครับ พระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหมก็เป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณฯ สมเด็จสร้างทั้งสิ้น เวลาก็ใกล้เคียงกัน ห่างกันไม่กี่ปี พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมหลายๆ ท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าพระวัดบางขุนพรหมนั้นบรรจุกรุ แล้วพระบางส่วนที่ไม่บรรจุกรุมีไหม ก็ต้องตอบว่ามี

เนื่องจากแจกก่อนบรรจุกรุไปบางส่วนแต่ก็น้อยมาก และอีกส่วนก็คือพระที่เรียกว่าพระกรุเก่า ซึ่งจากบันทึกก็มีบอกไว้ว่า หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นได้หนึ่งปี ก็มีการแอบตกพระออกมาจากกรุแล้ว และก็แอบตกออกมาเรื่อยๆ ดังนั้นก็มีพระจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ปรากฏคราบกรุ หรือมีบ้างแต่น้อยมาก คราบกรุของบางขุนพรหมที่เห็นได้ชัดก็คือพระที่ขึ้นจากกรุหลังปี พ.ศ.2485 ทำไมและเหตุผลอะไรจึงทำให้มีคราบกรุหรือขี้กรุเยอะหลังปี พ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ วัดบางขุนพรหมก็ถูกน้ำท่วมสูงเช่นกัน และน้ำก็ท่วมกรุด้วย พระที่อยู่ในกรุก็ถูกแช่น้ำอยู่นาน เนื้อปูนขาวเมื่อถูกแช่น้ำเป็นเวลานานก็เกิดปฏิกิริยาเปื่อยยุ่ย และเกิดคราบกรุพอกพูนโดยเฉพาะพระที่ถูกแช่น้ำ ที่อยู่พ้นน้ำหน่อยก็ยังดี แต่ความชื้นก็ยังมีทำให้เกิดคราบกรุได้

เอาล่ะเรามาพูดกันต่อในพระกรุบางขุนพรหมที่มีพิมพ์เดียวกับของวัดระฆังฯ และเป็นพระกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุ เนื้อหาก็หนึกนุ่มแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ สำหรับพระพิมพ์ที่แตกต่างจากของพระวัดระฆังฯ หรือมีคราบกรุก็ไม่มีปัญหา แต่พระที่มีพิมพ์แบบของวัดระฆังฯ ล่ะ แถมไม่มีขี้กรุอีก ในสมัยก่อนก็มีคำว่า "พระสองคลอง" หมายความถึงพระที่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่วัดระฆังฯ แต่นำมาบรรจุร่วมด้วย ครับก็อาจจะเป็นไปได้ในข้อสันนิษฐานนี้

แต่ก็มีพระบางองค์ชี้แยกออกได้เลยว่าเป็นพระที่สร้างในครั้งที่สร้างของวัดบางขุนพรหม เนื่องจากธรรมชาติการผลิตที่ทิ้งร่องรอยไว้นั้นมีเอกลักษณ์เหมือนๆ กัน ในแต่ละครั้งที่สร้าง เช่น พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหมทุกพิมพ์ จะมีร่องรอยให้เห็นว่าด้านหน้าจะมีการเซาะร่องขอบแม่พิมพ์ยกขึ้นเห็นได้ชัด แม้ว่าองค์พระจะสึกหรอไปบ้างก็ยังทิ้งร่องรอยให้เห็นไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่ง ส่วนของวัดระฆังฯ นั้นไม่มี เป็นเพียงร่องรอยของขอบธรรมดาทิ้งไว้เท่านั้น ไม่ขึ้นเป็นสันแบบของวัดบางขุนพรหม ในสมัยก่อนจึงมีการบอกว่า วัดระฆังฯ ตัดหลังไปหน้า บางขุนพรหมตัดหน้าไปหลังอะไรทำนองนี้ สิ่งเหล่านี้ก็คือร่องรอยการผลิตที่ใช้สังเกตแยกวัดได้ ต่อมาดูที่ด้านหลังของพระทั้งสองวัด ก็แตกต่างกันอย่างมีเอกลักษณ์ให้เห็น ในสมัยที่พี่ลิใหญ่ ผู้ใหญ่ของสังคมพระเครื่องตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้รับการยกย่องว่าเชี่ยวชาญในด้านพระเครื่อง โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ท่านดูแต่ด้านหลังอย่างเดียวก็บอกได้ว่าเป็นของวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม แท้หรือไม่ และบางครั้งท่านก็ยังบอกอีกว่าพิมพ์อะไร ที่เพียงเห็นแต่ด้านหลังของพระเท่านั้น และไม่เคยพลาดเลย ทำให้หลายๆ คนสงสัยกันมาก และมีการทดสอบกับท่านหลายครั้งก็ไม่เคยผิดพลาด

หลายๆ คนก็อยากจะรู้แต่ท่านก็สอนให้เป็นบางคนเท่านั้น ท่านสังเกตจากร่องรอยการผลิตที่ทิ้งไว้ในการสร้างพระแต่ละครั้ง ซึ่งก็เป็นข้อยุติชี้ขาดได้เลย เรื่องธรรมชาติด้านหลังของพระทั้งสองแบบ ผมก็ได้รับถ่ายทอดมาและพิสูจน์ดูก็เป็นจริงตามที่ท่านบอก แต่ขอยังไม่พูดถึงนะครับ เพราะที่พูดมานี้ก็เพื่อที่จะบอกว่าร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมากในการพิจารณาพระว่าแท้หรือไม่แท้อย่างไร

พระทุกชนิดทุกๆ แบบมีร่องรอยการผลิตทั้งสิ้นและพวกปลอมพระยังทำไม่ได้ และไม่มีทางทำได้ แม้พยายามทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำได้ก็เพียงใกล้เคียงเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของการผลิตในแต่ละครั้งเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิด แต่เกิดขึ้นเองครับ

สิ่งเหล่านี้ทำไมพวกเซียนเขาดูรู้ได้ ก็เพราะเขาศึกษาร่องรอยการผลิตมาครับว่าแต่ละรุ่น แต่ละพระนั้นมีร่องรอยการผลิตอย่างไร และศึกษาเป็นรุ่นๆ ไป แบบเรื่องขอบเหรียญนั่นแหละครับ คนไม่รู้ก็คือคนไม่รู้ บางครั้งก็เถียงไปแบบไม่รู้ข้างๆ คูๆ ไป ทุกอย่างย่อมมีเหตุผลอธิบายได้เป็นวิทยาศาสตร์ครับ

วันนี้เอาเท่านี้ก่อนนะครับ และวันนี้ ผมได้นำรูปพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหม ด้านหน้าและด้านหลัง มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 12:59:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41835774315728__1_1_320x200_.jpg)
พระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสกุลลำพูนมีพระเครื่องอยู่หลายแบบ พระกรุที่เด่นๆ ก็จะเป็นพระกรุของ วัดประจำทิศทั้ง 4 ของเมืองหริภุญชัย ที่พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างไว้ ได้แก่ วัดมหาวัน วัดพระคงฤๅษี วัดประตูลี้ และวัดดอนแก้ว พระกรุของวัดทั้ง 4 มีพระเด่นของแต่ละกรุเช่นกัน คือวัดมหาวันก็จะ เป็นพระรอด พระกรุวัดประตูลี้ก็จะเป็นพระเลี่ยง พระกรุวัดพระคงฤๅษีก็จะเป็นพระคง พระกรุวัดดอนแก้วก็จะเป็นพระบาง เป็นต้น

พระเครื่องกรุวัดประตูลี้เท่าที่มีบันทึกระบุว่ามีการขุดพบพระเครื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2417 โดยเจ้าหลวงดิเรกรัตนไพโรจน์ (ดาวเรือง) เจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 8 ได้ปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และได้พบพระเครื่องชนิดต่างๆ เช่น พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม และพระสิบสอง เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ก็มีการขุดหาพระเครื่องที่วัดประตูลี้อีกใน ยุคของเจ้าหลวงจักรคํา ขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของสงครามอินโดจีนและได้ พระเครื่องของกรุนี้เป็นจำนวนมาก พระที่พบได้แก่ พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม และพระสิบสอง พระแปด เป็นต้น การขุดหาพระเครื่องครั้ง ต่อมาก็คือปี พ.ศ.2499 เป็นการขุดพบ โดยบังเอิญ โดยสามเณรอินตา และนายคำแก้วตา ได้ขุดถอนต้นมะพร้าวซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพระอาราม ได้ขุดพบโถโบราณเนื้อดินเผาใบหนึ่ง ลักษณะคล้ายตะเกียงหลอดมีฐาน เป็นชั้นๆ ภายในโถมีพระเลี่ยงหลวงบรรจุอยู่

ในบรรดาพระเครื่องที่ขุดได้ที่วัดประตูลี้ พระที่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนมากที่สุดก็คือพระเลี่ยง ในครั้งที่พบพระในตอนแรกก็จะเรียกพระเลี่ยงว่า “พระเลี่ยม” ซึ่งเป็นคำเมืองเดิม ที่หมายความว่าแหลมเรียว เนื่องจากรูปทรงของพระเลี่ยงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมเรียว การตั้งชื่อพระในสมัยที่ขุดได้นั้นก็ตั้งกันง่ายๆ ตามรูปลักษณ์ที่เห็น แต่ต่อมาก็ได้เรียกเพี้ยนหรือเพื่อให้ได้เป็นนามมงคลก็ไม่ทราบได้ จึงกลายมาเป็นเลี่ยงและสอดคล้องกับพุทธคุณที่เด่นทางด้านแคล้วคลาดที่ว่า เลี่ยงลี้พ้นภัยพาล อะไรทำนองนี้ และพระเลี่ยงก็มีพุทธคุณเด่น ทางด้านแคล้วคลาดด้วยครับ

พระเครื่องของกรุนี้ที่เด่นอีกชนิดหนึ่ง ก็คือพระลือ แต่ก็มีขนาดเขื่องกว่าพระเลี่ยง นอกจากนั้นก็จะเป็นพระขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น พระเลี่ยงหลวง (คำว่าหลวงหมายถึงใหญ่) พระสาม พระแปด พระสิบสอง เป็นต้น พระเลี่ยงเป็นพระที่จำนวนการ พบมากกว่าพระชนิดอื่นๆ และมีขนาดกำลังพอเหมาะที่จะห้อย แขวนคอ จึงได้รับความนิยมมากกว่าพระเครื่องแบบอื่นๆ ในกรุเดียวกัน

ปัจจุบันพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้นั้นหาแท้ๆ ยาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลากหลายฝีมือ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อย นอกจากนี้ก็ยังมีพระเลี่ยงที่มาจาก กรุอื่นๆ อีกหลายกรุ แต่แบบพิมพ์ก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ที่นิยมมากที่สุด ก็จะเป็นพระเลี่ยงของกรุวัดประตูลี้ครับ เนื้อหาของพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ ก็เป็นแบบเดียวกับพระสกุลลำพูน จะมีเนื้อ ค่อนข้างหนึกนุ่ม มีกรวดทรายผสมอยู่ แต่ก็ค่อนข้างละเอียด สนนราคาในปัจจุบันพระเลี่ยงกรุนี้ค่อนข้างสูงมากพอสมควร

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51919842552807_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระแท้ตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับขายได้แน่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนมีคนรู้จักโทร.มาหาและขอคำปรึกษาเรื่องพระเครื่องก็คือพระสมเด็จฯ เขานำมาให้ผมดู 2 องค์ องค์แรกก็ทำแบบพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ องค์ที่ 2 เป็นแบบพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย บางขุนพรหม แล้วเขาก็บอกว่าช่วงนี้ต้องการเงินจึงอยากจะสอบถามว่า พระทั้งสององค์แท้หรือไม่ ราคาเท่าไหร่เผื่อจะได้ขาย

ผมก็พิจารณาตามที่ผมพอรู้จึงตอบเขาอย่างเกรงใจไปว่า พระองค์แรกไม่ทราบว่าเป็นของวัดไหน เขาจึงบอกว่าพระสมเด็จ วัดระฆังฯไง เขาได้มา 40 ปีแล้ว พระที่ วัดระฆังฯให้มาและบอกว่า อายุเป็นร้อยปีแล้วผมเองก็งง ตกลงเขาจะถามหรือจะให้ผมยอมรับพระเขาแล้วก็เช่าไว้แน่ องค์ที่ 2 ผมก็เลยบอกว่าเป็นพิมพ์ฐานเส้นด้าย บางขุนพรหม เขาก็ถามราคาพระทั้ง 2 องค์ ผมก็เลยบอกว่า พระทั้ง 2 องค์ยังผิด พิมพ์อยู่นะ ผมคงยังไม่ซื้อไว้ เขาก็บอกว่า พระองค์ที่ 2 ที่ผมว่าพิมพ์ยังผิดอยู่นั้น ความจริงคือพระกรุของวัดคณิกาผล (วัดใหม่ยายแฟง) พระสมเด็จนี้ท่านเจ้าอาวาสได้เปิดกรุเพื่อนำมาหาปัจจัยสร้างบำรุงวัด ในตอนนั้นเขาไปทำข่าวก็ได้รับมาจากเจ้าอาวาสหนึ่งองค์ คือองค์นี้ เขายังเล่าประวัติของวัดนี้ และตอนสร้างวัดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ บรรจุไว้ด้วย

ผมเองก็งงนึกในใจว่าก็รู้ประวัติอยู่แล้วมาถามทำไม? เขาก็บอกว่าอยากจะขาย และมีคนที่ดูแล้วว่าดี นอกจากพระทั้ง 2 องค์ ก็ยังมีพระเนื้อดินของกรุวัดชนะและอื่นๆ บางองค์ก็แท้ตามมาตรฐาน ผมก็บอกไปว่าแท้ เขาก็ถามราคา ผมก็บอกว่าหลักพันบ้างหลักหมื่นบ้าง ปรากฏว่าพระเหล่านั้นเขายังไม่ขาย บอกว่าได้ราคาน้อยไม่พอใช้ สรุปก็คือเขาอยากได้เงินหลักล้าน และก็ยังแย้งเรื่องพระวัดใหม่ ยายแฟงอีก ผมก็บอกว่าเรื่องประวัติวัดใหม่ยายแฟงค้นหาดูก็มีบันทึกไว้ แต่ไม่มีเรื่องการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เขาก็ว่ามีประวัติที่วัด ผมก็เลยไม่โต้แย้งต่อ แต่เขาก็ ยังไม่เลิกอยากจะให้ตีราคาพระสมเด็จฯ ทั้งสององค์ ผมก็บอกว่าผมเองไม่ได้เล่นหาพระประเภทนี้ ใครที่บอกว่าดีก็ให้ไปขายให้กับเขาก็จบ ส่วนผมเองคงไม่ซื้อ

สรุปเรื่องนี้เขาจงใจที่จะนำพระมาขายให้ผมคนเดียว และจะให้ซื้อให้ได้ เหนื่อยครับสำหรับเรื่องเหล่านี้ ผมเจอแบบนี้บ่อยๆ เหมือนกัน บอกความจริงก็ไม่เชื่อแถมยังโกรธอีกด้วย ให้ไปขายคนอื่นก็ไม่ไป ผมบอกแล้วว่าผมดูพระไม่เป็น แค่ซื้อพระเป็นเท่านั้น และจะซื้อก็ซื้อเฉพาะพระที่ชอบเท่านั้น จะแท้ไม่แท้อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าไม่ชอบก็คงไม่ซื้อ ถ้าพระที่ชอบแต่ไม่มีเงินซื้อก็ยังพอที่จะแนะนำคนที่จะซื้อให้ได้ แต่นี่จะให้ผมช่วยซื้อให้ได้ แถมจะเอาเงินเป็นล้านอีกด้วย

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย ถ้าเป็นของกรุวัดบางขุนพรหมถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ พระแบบนี้ไปที่ไหนก็มีแต่คนขอเช่าหรือซื้อทั้งนั้นไม่ต้องห่วง แม้จะหักชำรุดก็ยังมีคนขอเช่า แต่ก็ต้องถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับก็แล้วกัน พระอะไรก็ตามแต่ถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มูลค่ารองรับ ก็คงจะขายไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะเก็บมานานแค่ไหน หรือมีประวัติความเป็นมา ที่เชื่ออย่างไรก็ตามก็ขายไม่ได้ ดังนั้นเรื่องความแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับนั้นมีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ครับ ส่วนที่ตัวเองว่าดีถูกต้องก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของสังคมด้วย ถ้าคิดว่าดีก็เก็บไว้ไม่มีใครว่าอะไร แต่พอเดือดร้อนจะนำมาขายเปลี่ยนเป็นเงินก็ต้องว่ากันตามมาตรฐานของสังคมด้วยครับ ไม่ใช่เขาไม่ซื้อก็มาว่า "แท้แต่ของพวกมัน ของคนอื่นเก๊หมด" ผมได้ยินคำนี้บ่อยๆ ก็หาแบบที่เขาซื้อสิ ดูซิว่าจะขายได้ไหม พระสมเด็จฯไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างไว้ถ้าแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ เงินล้านได้แน่ๆ ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย องค์สวยๆ สมบูรณ์มาให้ชมกันอีกองค์ พระแบบนี้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีคุณค่ารองรับ และหลายล้านแน่ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89012218556470_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม.

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ภูศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) และได้สร้างพระรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบ พระสมเด็จไว้ที่วัดอินทรวิหาร และได้รับความนิยมสูง เชื่อกันว่าหลวงปู่ภูได้เก็บผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ แล้วนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้าง พระของท่านด้วย

พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทสโร) เกิดที่ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปีพ.ศ.2373 เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย และได้เรียนหนังสือที่สำนักวัดท่าแค จนอายุได้ 21 ปี พ.ศ.2394 จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าคอย ได้รับฉายาว่า "จันทสโร" หลังจากนั้นท่านก็ได้ออกธุดงค์กับพระพี่ชายเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และอยู่จำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ โดยลำดับ ต่อมาได้ธุดงค์มาจนถึงกรุงเทพฯ เข้ามาจำพรรษาที่วัด สระเกศ วัดสามปลื้ม วัดม่วงแค วัดท้ายตลาด ตามลำดับ ท้ายที่สุดหลวงปู่ภูก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก ในขณะนั้น)

ระหว่างที่หลวงปู่ภูมาจำพรรษาอยู่กรุงเทพฯ นั้นท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับเจ้าประคุณ สมเด็จฯ และถือว่า เป็นศิษย์ใกล้ชิดกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง และเคยได้ออกธุดงค์ร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ หลายแห่ง ในการสร้างองค์หลวงพ่อโต วัดอินทร์ (พระศรี อาริยเมตไตรย) ท่านก็มีส่วนช่วยสร้าง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพแล้ว หลวงปู่ภูก็ได้เป็นธุระในการสร้างต่อจวบจนกระทั่งหลวงปู่ภูมรณภาพ

หลวงปู่ภูดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทร์ในปีพ.ศ.2432 และในปีพ.ศ.2435 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมา นุกูล" เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารจนถึงปีพ.ศ.2476 สิริอายุได้ 103 ปี พรรษาที่ 82

หลวงปู่ภูได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จ ในปี พ.ศ.2463 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ได้สมทบทุนในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโต (พระศรีอาริยเมตไตรย) ต่อให้เสร็จ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ได้เพียงครึ่งองค์ ในขณะนั้นหลวงปู่ภูมีอายุได้ 90 ปี พระที่หลวงปู่ภูสร้างไว้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แซยิด พิมพ์แปดชั้น พิมพ์สามชั้น เป็นต้น

พระสมเด็จของหลวงปู่ภูที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีมูลค่าสูงก็คือ พิมพ์แซยิด แขนหักศอก และพิมพ์แซยิด แขนกลม สภาพสวยๆ สมบูรณ์ ราคาหลักแสนครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันลงมา

หลวงปู่ภูเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปหนึ่ง และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทร์บ่อยๆ โดยเฉพาะครั้งที่มาสร้างพระสมเด็จ บางขุนพรหม ดังนั้น จึงเชื่อว่าหลวงปู่ภูมีผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จ หลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด แขนหักศอก วัดอินทรวิหาร มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18017622000641_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกริ่งนะโภคทรัพย์ วัดสุทัศน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องพระกริ่งของวัดสุทัศน์ รุ่นนะโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นพระกริ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2482 และเท่าที่ทราบมีอยู่สองแบบ คือแบบที่มีบัวรอบฐาน และแบบที่มีการปาดบัวหลังออก มีความเป็นมาอย่างไร

พระกริ่งนะโภคทรัพย์ คือพระกริ่งที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงอนุญาตให้สร้างขึ้น เนื่องจากในปลายปี พ.ศ.2481 พระอาจารย์แสวง สำนักวัดสระเกศ พระชัยปัญญา อธิบดีศาลอาญา พระราชอากร อธิบดีกรมสรรพากร ในขณะนั้น ได้ร่วมกันดำริที่จะสร้างพระกริ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน จึงได้ร่วมกันนำความกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อขอคำปรึกษา และทูลเชิญไปเป็นประธานสร้างพระกริ่งที่วัดสระเกศ สมเด็จพระสังฆราชตรัสถามว่า "จะทำพิธีที่วัดสุทัศน์ไม่เหมาะกว่าหรือ?" คณะกรรมการเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่สมเด็จพระสังฆราชทรงเปิดโอกาส จึงทูลขออนุญาต ซึ่งก็ทรงเมตตาอนุญาต และรับสั่งให้อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ไปตามท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ช่วยรับภาระเป็นแม่งานดำเนินการต่อไป

พิธีหล่อพระกริ่งได้กำหนดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2482 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในงาน และทรงเมตตาเททองให้ด้วยพระองค์เอง พระกริ่งนะโภคทรัพย์นี้สร้างจำนวน 400 องค์ ช่างที่ออกแบบแม่พิมพ์เป็นช่างของอาจารย์แสวง เดิมทีเป็นแบบบัวรอบฐาน รวม 10 คู่ด้วยกัน และที่ใต้ฐานมีอักขระเป็นตัวนะโภคทรัพย์ ครั้นเมื่อเทหล่อเป็นองค์แล้วสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงพิจารณาดูจึงตรัสว่า ให้เก็บเอาไว้ก่อนเพื่อรอเข้าพิธีอีกครั้งหนึ่ง จึงค่อยเอาออกให้ประชาชนบูชาต่อไป พระอาจารย์แสวง พระชัยปัญญา ก็เห็นชอบด้วย จึงทูลลากลับไป

ต่อมามีพระจำนวนหนึ่งไม่มากนักที่พระอาจารย์แสวงนำไปปลุกเสกที่วัดคลองด่าน แล้วนำออกมาให้ประชาชนเช่าบูชาก่อน พระที่เหลืออยู่ที่วัดสุทัศน์สมเด็จพระสังฆราชทรงสั่งให้ช่างนำไปปาดลบบัวหลังออกเสีย 3 คู่ คงเหลือไว้ 7 คู่ เพื่อคงเอกลักษณ์ของพระกริ่งวัดสุทัศน์ไว้ เมื่อช่างประจำวัดได้ลบเอาบัวหลังออกแล้วเนื้อพระตรงฐานด้านหลังจะดูสดใหม่ ไม่กลมกลืนกับเนื้อเดิม ดังนั้น จึงเอาพระกริ่งนะโภคทรัพย์ทั้งหมดไปชุบน้ำยา ให้ดูเนื้อกลมกลืนกัน และสมเด็จพระสังฆราชได้ให้นำพระกริ่งรุ่นนี้เข้าพิธีวันเพ็ญเดือน 12 ของปลายปี พ.ศ.2482 อีกครั้งหนึ่ง

เนื้อพระกริ่งนะโภคทรัพย์จะเหมือนกับเนื้อพระกริ่งหน้าอินเดีย คือมีเนื้อเหลืองนวลแกมขาว พระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกที่วัดสุทัศน์จะแตกต่างจากพระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกที่วัดคลองด่านตรงที่บัวด้านหลังครับ ถ้าออกที่วัดสุทัศน์จะมีการปาดบัวหลังออก 3 คู่ ส่วนที่ออกที่วัดคลองด่านจะเป็นบัวรอบฐาน ในการสะสมเล่นหาจะนิยมพระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกจากวัดสุทัศน์มากกว่าที่ออกจากวัดคลองด่านครับ การเช่าหาก็ต้องสังเกตให้ดีว่าพระกริ่งนะโภคทรัพย์ของวัดคลองด่านนำมาปาดบัวหลังใหม่ เพื่อให้ค่านิยมมากขึ้นหรือเปล่านะครับ ก็ต้องศึกษาดูให้ดีครับ รอยปาดใหม่ก็จะพอสังเกตได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งนะโภคทรัพย์ วัดสุทัศน์ มาให้ชมกันทั้งด้านหน้า หลัง กันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48699089346660_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ด้านหน้าเป็นรูปพระสงฆ์ที่เขียนว่า อาจารย์โหพัฒน์ ด้านหลังเป็นยันต์ภาษาจีน คือเหรียญของพระอาจารย์ โหพัฒน์ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ต.ท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เหรียญนี้เป็นเหรียญเก่าเหรียญหนึ่งของกาญจนบุรีครับ

พระอาจารย์โหพัฒน์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2447 ที่ต.วังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ท่านเดิมชื่อ ชุ้นหยี เซี่ยงฉิน โยมบิดาชื่อ จ้ำ โยมมารดาชื่อ เต็กหมา เมื่อท่านอายุได้ 11 ขวบ ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดถาวรวราราม (เค่งซิ่วหยี่) และเมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ที่วัดถาวรวราราม โดยมีหลวงพ่อเทียมเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "โหพัฒน์" ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดมงคลสมาคม ถนนแปลงนาม เขตสัมพันธวงศ์ กทม. ซึ่งขณะนั้นมีพระครูคณะบับสมณาจารย์ (เหมิกโงน) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ เมื่อท่านเจ้าอาวาสมรณภาพ พระอาจารย์โหพัฒน์จึงย้ายไปอยู่วัดอุทัยบำรุง เขตสัมพันธวงศ์

ในปี พ.ศ.2487 ท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ระยะหนึ่ง จากนั้นได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคณะสงฆ์จีน ที่จังหวัดยะลา และได้กลับมาอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่ว ตั๊ว อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ในระยะนี้ท่านก็ได้ไปมาหาสู่กับท่านอาจารย์ ย้ากเหมิง ที่วัดถ้ำเขาน้อย เสมอ ซึ่งทั้งสองมีความสนิทสนมกัน ในปี พ.ศ.2489 พระอาจารย์โหพัฒน์ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำเขาน้อยอีกครั้ง และได้พบกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง แซ่โจว พระสงฆ์จีนที่มาพักอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย และได้ศึกษาการเจริญสมาธิกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง จนสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ครั้งหนึ่งมีพระสงฆ์เดินทางธุดงค์มาจากเพชรบุรี และมาได้พบกับพระอาจารย์โหพัฒน์ จึงได้พูดคุยและเล่าเรื่องที่จะบูรณะซ่อมแซมวัดที่เพชรบุรี ท่านอาจารย์โหพัฒน์ครั้งได้นั่งหลับตา แล้วได้พูดถึงวัดของพระธุดงค์รูปนั้น ว่าลักษณะของวัดเป็นอย่างไร หันหน้าไปทางไหน ดังตาเห็น จนพระธุดงค์รูปนั้นเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์โหพัฒน์มาก

ต่อมาพระอาจารย์โหพัฒน์ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊วตามเดิม ท่านได้ปรับปรุงโรงเจจนเจริญรุ่งเรือง ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนป่วยไข้ทุกคนที่ไปหาให้ท่านช่วย ท่านจะรักษาด้วยสมุนไพรบ้าง น้ำมนต์บ้าง จนหายดีทุกราย ชาวบ้านต่างเคารพเลื่อมใสท่านมาก พระอาจารย์โหพัฒน์มีเมตตาธรรมสูง สั่งสอนชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม และท่านก็ไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านอยู่เสมอ

เมื่อท่านอาจารย์โหพัฒน์มรณภาพแล้ว ได้มีการเก็บศพของท่านไว้ 3 ปี เมื่อถึงกำหนดที่จะฌาปนกิจจึงได้ทำพิธีเปิดโลงออกมา ปรากฏว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย มองดูเหมือนกับยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้ทำพิธีอัญเชิญองค์ท่านขึ้นประดิษฐาน ณ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว เพื่อเป็นที่สักการบูชาของสาธุชนสืบไป ท่านผู้อ่านผ่านไปทางเมืองกาญจนบุรีก็สามารถแวะเข้าไปสักการะท่านได้ที่โรงเจท่าเรือ (โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว) ทุกวันครับ

มีการสร้างเหรียญรูปท่านเมื่อปี พ.ศ.2497 เป็นรุ่นแรก มีเนื้อเงินลงยา เนื้อทองคำ และเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปท่านครึ่งองค์ และด้านหลังเป็นยันต์จีนครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่าน เนื้อเงินลงยามาให้ชม ปัจจุบันเหรียญรุ่นแรกนี้หายากครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16990164253446__23_1_320x200_.jpg)
พระอู่ทองตระกวน กรุเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินแบบหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นศิลปะในยุคสุโขทัยแบบหนึ่ง ที่นักโบราณคดีจัดเป็นศิลปะสุโขทัยหมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตระกวน และพระอู่ทองตระกวนก็เป็นพระเครื่องที่ถูกขุดพบปะปนอยู่ในกรุเขาพนมเพลิงด้วย ปัจจุบันก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนัก

ในจังหวัดสุโขทัยขุด พบศิลปะแบบสุโขทัยมากที่สุด ถือเป็นต้นกำเนิดของศิลปะแบบนี้ และเป็นศิลปะที่สวยงามมากของไทย นักโบราณคดีจัดแยกหมวดหมู่ของศิลปะสุโขทัยไว้เป็นหมวดๆ คือ

1. หมวดใหญ่ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เป็นลักษณะของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ พระรัศมีเป็นเปลวขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ฐานหน้ากระดานเกลี้ยง

2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะดวงพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม พบน้อย ส่วนมากพบในจังหวัดกำแพงเพชร

3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน หมวดนี้เชื่อกันว่าเริ่มสร้างครั้งแผ่นดินพระเจ้าลิไท ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20

4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดตระกวน หมวดนี้เป็นหมวดพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ที่มีศิลปะแบบเชียงแสนลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้น พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ ที่เรียกว่าแบบวัดตระกวน เนื่องจากได้พบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบนี้ที่วัดตระกวนเมืองสุโขทัยเก่าเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปปูนปั้นที่ค้นพบที่พระเจดีย์ทางทิศตะวันออกและในพระปรางค์วัดพระพายหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ก็อยู่ในศิลปะหมวดนี้

กรุเขาพนมเพลิงเป็นกรุที่มีพระเครื่องพระบูชาบรรจุไว้เป็นจำนวนมาก และพระเครื่องที่พบอยู่ในกรุก็มีจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ มีพระเครื่องที่สร้างล้อแบบของกรุต่างๆ ในเมืองสุโขทัยด้วย พระเครื่องที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน และพระเครื่องแบบหนึ่งที่สร้างแบบศิลปะสุโขทัยหมวดตระกวน จึงมีการนำรูปแบบของศิลปะมาตั้งชื่อของพระเครื่องคือ "พระอู่ทองตระกวน" พระที่พบมีทั้งแบบพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กแต่โดยรวม มีรูปแบบศิลปะเหมือนกัน คือมีพระนลาฏแคบ องค์พระอวบอ้วน พระพักตร์ค่อนข้างกลม จึงเข้ากับแบบศิลปะหมวดตระกวนพระอู่ทองตระกวนเป็นพระพิมพ์หนึ่งที่นิยมมากของกรุนี้

พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน พระอู่ทองตระกวนมีขนาดองค์พระสูงประมาณ 5.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 3.2 ซ.ม. ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีแน่ ก็เป็นพระนิยมมีคนเสาะหาก็ย่อมมีของปลอมเป็นธรรมดาครับ เวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระอู่ทองตระกวน พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 13:08:54
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72575801155633_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระลีลาไก่เขี่ย วัดสุดสวาท

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดสุดสวาท จ.พิษณุโลก เป็นพระเครื่องกรุหนึ่งที่มีการพบจำนวนน้อยมาก จนทำให้ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงกันนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวโบราณสถานของวัดนี้ก็ปรักหักพังไปจนแทบไม่มีอะไรหลงเหลือให้เห็น เหลือเพียงเนินดินที่เป็นส่วนฐานขององค์พระเจดีย์เท่านั้น เมื่อก่อนก็ไม่มีใครสนใจเนินดินนี้เลย จนกระทั่งมีการพบพระเครื่องที่ขึ้นมาจากกรุนี้ แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก เข้าใจว่าด้วยการเสื่อมสภาพลงไปของตัวองค์พระเจดีย์มานมนานมากแล้ว จึงทำให้พระเครื่องที่บรรจุในกรุนี้กระจัดกระจายไปและเสื่อมสภาพจนหลงเหลืออยู่จำนวนไม่มากนัก ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะให้พอเห็นเป็นรูปร่างของฐานพระเจดีย์ และมีป้ายปักไว้เขียนว่า "วัดสุดสวาท" เท่านั้น

วัดสุดสวาท วัดนี้เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก วัดนี้ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง การบูรณะจนกลายสภาพเหลือเพียงเนินดิน ร่องรอยแห่งซากเจดีย์เก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดเล็กๆ วัดหนึ่งที่มีอายุการสร้างใกล้เคียงกับวัดนางพญา วัดนี้ถ้าไม่มีผู้พบพระเครื่องของกรุนี้ผู้คนก็อาจลืมเลือนกันไปอย่างน่าเสียดาย

เนินดินที่เป็นกรุพระนั้นในสมัยก่อนยังมีไก่เถื่อนอาศัยคุ้ยเขี่ยหาอาหารตรงบริเวณนั้น และเกิดมีผู้ไปพบพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เป็นพระลีลา ศิลปะสวยงามมาก จึงเรียกกันว่า "พระลีลาไก่เขี่ย" ต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2465 จึงมีผู้คนไปขุดหาพระเครื่องกัน พระที่พบมีทั้งพระบูชาและพระเครื่อง พระบูชาเป็นพระศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น เช่น พระยืนปางห้ามสมุทร พระนั่งปางสมาธิ และปางมารวิชัย พระเครื่องก็มีพระลีลา พระนางพญา ซึ่งพระทั้งหมดพบประมาณ 400 องค์ พระนางพญาพบทั้งที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ก็มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง กรุวัดนางฯ แต่องค์พระและกรอบพิมพ์จะชะลูดกว่า พระพิมพ์กลางก็จะคล้ายกับพระพิมพ์สังฆาฏิ บางท่านเรียกว่าพิมพ์หูห่าง ส่วนพิมพ์เล็กในสมัยก่อนก็เรียกเป็นพิมพ์เทวดาก็มี พระนางพญาที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างละเอียด หนึกนุ่ม พระที่พบมีทั้งสีแดงหม้อใหม่สีเหลืองใบตองแห้งและสีสวาด

หลังจากพระแตกออกจากกรุแล้วก็หายวับไปในเวลาไม่นานนัก ผู้ที่นำไปบูชาติดตัวมักจะเล่าขานกันว่าในด้านเมตตามหานิยมนั้นเป็นเลิศ สมดังชื่อของวัด คือ "วัดสุดสวาท" ซึ่งเป็นชื่อที่ไพเราะน่ารัก ส่วนพระลีลาก็เป็นพระเนื้อชินตะกั่วเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย พุทธลักษณะอ่อนช้อยงดงาม การตัดกรอบเข้ารูปตามองค์พระ ในส่วนของพระเครื่องเนื้อชิน ปางลีลานั้น ศิลปะเป็นแบบสุโขทัยซึ่ง พุทธลักษณะการเยื้องย่างที่อ่อนช้อยงดงามมาก ซึ่งก็แปลกจากพระนางพญาซึ่งเป็นศิลปะแบบอยุธยา จึงทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างต่างวาระกัน ซึ่งวัดสุดสวาทอาจจะสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยตอนปลายก็เป็นได้ และมีการสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้และได้สร้างพระบรรจุไว้ด้วยเช่นกัน จึงได้มีการพบพระศิลปะที่แตกต่างกัน ในส่วนของพระลีลาวัดสุดสวาทนั้น พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงนั้นจะมีผิวสนิมแดงที่งดงามมาก สนิมจับทั่วทั้งองค์พระ งดงามทั้งสีสนิมและพุทธลีลา แต่ก็หาชมพระแท้ๆ ยากยิ่งครับ โดยเฉพาะพระลีลาเนื้อชินสนิมแดง

ปัจจุบันหาดูได้ยากมากทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระนางพญา หรือพระลีลา ของวัดสุดสวาท ในส่วนตัวผมนั้นชอบพระเครื่องของกรุนี้มาก ไม่ว่าจะเป็นพระลีลาหรือพระนางพญาครับ ทั้งศิลปะและเนื้อหาสวยซึ้งมาก อีกทั้งนามวัดก็ไพเราะน่าฟังครับ "สุดสวาท"

ครับวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปางลีลา เนื้อชินสนิมแดง องค์สวย ของกรุวัดสุดสวาทมาให้ชมกัน
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28502711570925_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่โด่งดัง เด่นทางด้านเมตตามหานิยมและเป็นที่แสวงหากันมาก ก็ต้องยกให้พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี แต่พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วแท้ๆ ก็หายากมากๆ เคยมีคนกล่าวว่าหาพระปิดตาหลวงพ่อแก้วหาพระสมเด็จง่ายกว่า ครับก็เป็นความจริงตามที่กล่าว

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ โดยเฉพาะพระเนื้อผงคลุกรักนั้นหาพระแท้ๆ ยากจริงๆ เนื่องจากจำนวนพระคงจะมีไม่มากนัก เท่าที่บอกเล่าต่อๆ กันมานั้น กรรมวิธีการสร้างยากมากทั้งเนื้อหามวลสารผงพุทธคุณและว่านมงคลต่างๆ อีกทั้งกาลเวลาการสร้างนั้นก็สร้างมาเป็นร้อยปีมาแล้ว ชาวบ้านที่ได้ครอบครองพระไว้ก็หวงแหน ส่วนมากก็จะเป็นมรดกตกทอดกันมา ปัจจุบันมูลค่าสูงมากครับ

พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วนอกจากจะเป็นพระเนื้อผงคลุกรักแล้ว ก็ยังมีพระปิดตาที่เป็นเนื้อตะกั่วอีกด้วย สร้างเป็นแบบครึ่งซีก องค์จะเล็กกว่าพระปิดตาพิมพ์ใหญ่และพิมพ์กลาง ขนาดใกล้เคียงกับพระปิดตาพิมพ์เล็กที่เป็นเนื้อผงคลุกรัก

เท่าที่เคยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในแถบชลบุรี ได้บอกเล่าต่อกันมาว่า ในครั้งแรกๆ หลวงพ่อแก้วก็สร้างพระปิดตาเป็นเนื้อผงคลุกรัก แล้วมีเหตุที่ว่ามีคนเอาพระปิดตาของหลวงพ่อแก้วไปขูดผงใส่น้ำให้หญิงสาวกินแล้วเกิดหลงรักชายหนุ่มคนนั้น และมีคนไปฟ้องหลวงพ่อ หลวงพ่อแก้วก็แช่งไว้ว่าถ้าใครนำพระของท่านไปขูดให้ผู้หญิงกินแล้วไม่รับเลี้ยงดูเป็นภรรยาก็ให้เกิดวิบัติ

หลังจากนั้นหลวงพ่อจะให้พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักกับใครก็จะพิจารณาให้เป็นคนๆ ไป อีกสาเหตุหนึ่งคือ ลูกศิษย์ของท่านบางคนก็ทำอาชีพประมง เมื่อนำพระเนื้อผงคลุกรักไปแขวนแล้วต้องลงน้ำทำอาชีพเป็นประจำองค์พระก็เกิดชำรุดได้ง่าย จึงไปขอหลวงพ่อใหม่และขอให้ทำเป็นเนื้อตะกั่วจะได้คงทนลงน้ำลงท่าได้ หลวงพ่อจึงได้ทำเป็นพระเนื้อตะกั่วขึ้นมาอีกเนื้อหนึ่ง

ครับก็เป็นเรื่องที่ผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองชลเล่าสืบต่อกันมา ในสมัยก่อนก็มีเรื่องเล่าว่าแถวๆหน้าเก๋งซึ่งก็เป็นตลาดขายอาหารในตอนกลางคืน และก็เป็นที่ชุมนุมของคนในแถบนั้นรวมไปถึงพวกลูกเรือตังเกหรือชาวประมงด้วย ซึ่งบางวันก็กินเหล้ากันเมามายและมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดวิวาทกันแล้วมีผู้ที่ถูกแทงไม่เข้า อาวุธที่แทงเป็นกระดูกหางปลากระเบนซึ่งเป็นกระดูกที่แหลมคมมาก

ในสมัยก่อนพวกตังเกนิยมนำมาถักด้ามพกเป็นอาวุธ แต่ผู้ที่ถูกแทงโดนไปหลายทีแต่กลับแทงไม่เข้าเลย มีคนสงสัยว่าห้อยพระอะไรถึงหนังดีนัก ก็พบว่าในคอมีพระปิดตาถักด้วยลวดเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่วเพียงองค์เดียวเท่านั้น ครับก็เป็นเรื่องที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมา

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่วในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากนะครับ สนนราคาแม้จะย่อมเยากว่าพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ราคาสูงอยู่ครับ และหาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน ในส่วนของปลอมเลียนแบบนั้นมีมากมาย และก็มีมานานแล้วเช่นกัน อีกทั้งยังมีพระที่สร้างในยุคหลังรูปแบบคล้ายๆ กันก็มีครับ ในการเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว ที่แท้ดูง่ายมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55866334421767_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
เหรียญหายห่วง หลวงปู่สิงห์
หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเจ้าคณะตำบลศรีสุข เขต 1 อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งมหาสารคาม

ปัจจุบันสิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

วัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สิงห์-เสาร์ ในปี พ.ศ.2521 เหรียญรูปเหมือน สิงห์-เสาร์ รุ่น 2 ล็อกเกตรุ่นสร้างถนน เหรียญรุ่นเจริญพร รุ่นสร้างศาลาวัดน้ำเที่ยง เป็นต้น

ปรากฏได้รับความนิยมในพื้นที่อย่างมาก ทุกรุ่นที่สร้างออกมาบรรดาคณะศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา พากันตามเก็บหมด

ย้อนหลังไปในปี พ.ศ.2539 เนื่องในวาระที่หลวงปู่สิงห์ สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50

วัดศรีสุข พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ และผู้เลื่อมใสศรัทธา รวมทั้งชาวบ้านศรีสุข จัดงานมุทิตาสักการะขึ้น รวมทั้งมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนขึ้น เพื่อมอบให้ผู้ที่มาร่วมงาน และบริจาคปัจจัยสมทบทุนพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง นักสะสมจึงเรียกว่า "รุ่นหายห่วง"

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สิงห์ เต็มองค์นั่งในท่าวิปัสสนากรรมฐาน ด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้าย เขียนคำว่า วัดศรีสุข บ้านศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เสาร์ห้ามหาบารมี ๓๙ ที่ใต้รูปเหมือนหลวงปู่ มีตัวเลข ๑ และล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อสิงห์ คมฺภีโร

ด้านหลังบริเวณขอบและพื้นเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน นอกจากนี้ มีตัวอักษรเขียนไว้ที่พื้นเหรียญ 4 ด้าน อ่านว่า ปลอดภัยแคล้วคลาด โชคลาภมหาศาล ค้าขายได้กำไร มหาลาภมหาเมตตา เนื้อทองแดง 1,000 เหรียญ เนื้อเงิน 70 เหรียญ

รุ่นนี้ หลวงปู่สิงห์ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวในวันเสาร์ที่ 5 แล้วเก็บไว้ จากนั้นนำออกมาแจกจ่ายให้ญาติโยมที่มาร่วมงานมุทิตาสักการะและที่บริจาคทำบุญพัฒนาวัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม หรือใน เฟซบุ๊ก กลุ่ม "บารมีหลวงปู่สิงห์ คัมภีโร วัดบ้านศรีสุข จ.มหาสารคาม"
   ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23869444885187_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เกร็ดตำนานเก่าแก่วัดธรรมศาลา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเกร็ดหรือตำนานเก่าแก่ของวัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ซึ่งเราๆ ท่านๆ ก็คงจะรู้จักวัดธรรมศาลากันดีแล้ว เนื่องจากวัดแห่งนี้มีอดีตท่าน เจ้าอาวาสที่โด่งดังมาก คือหลวงพ่อน้อย ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม และมีผู้เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก แต่สถานที่ตั้งวัดธรรมศาลานี้ยังไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องตำนานเก่าแก่กันมากนัก เรามาศึกษากันว่ามีความเป็นมาอย่างไรครับ

วัดธรรมศาลาตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทางด้านหน้าวัดมีคลองธรรมศาลา ชื่อเดิมเรียกว่า "คลองกรุงศรี" ทางด้านหลังวัดมีคลองกง ซึ่งอ้อมวัดมาบรรจบกับคลองธรรมศาลา วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏประวัติดั้งเดิมว่ามีมาแต่สมัยใด วัดในปัจจุบันเป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เดิมนั้นมีศาลาเก่าแก่สำหรับชาวบ้านประกอบงานบุญอยู่ศาลาหนึ่ง บริเวณใกล้เคียงกับศาลานี้มีโคกดินและเศษอิฐหักพัง ดูจะเป็นโบราณสถานเก่าแก่ ด้านหน้าเป็นโพรงลึกคล้ายปากถ้ำ ในสมัยก่อนนั้นคนเฒ่าคนแก่เล่าว่าสามารถเข้าไปข้างในได้ลึกถึง 20 วา แต่ปัจจุบันโพรงนี้ตื้นมาก เพราะการปรักหักพัง บริเวณเหนือโคกมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นอยู่ และบริเวณเนินคล้ายมีวิหารเก่าตั้งอยู่ ในสมัยก่อนสัก 30 ปีในอาณาบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปจะเจอซากอิฐโบราณ และพบเศษปูนปั้น รูปเทวดาหรือพระพุทธรูป แต่ก็ชำรุดจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นรูปอะไรแน่ เพียงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสมัยทวารวดี

ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟังว่า มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ถ้ำและโคกแห่งนี้มีมาแต่สมัยพระยากง เป็นปากอุโมงค์สำหรับการสัญจรติดต่อไปที่โคกพระ (วัดโคกพระเจดีย์) ซึ่งห่างไปประมาณ 4 ก.ม. ไปทางทิศใต้ และอุโมงค์นี้จะเจาะต่อไปอีก 8 ก.ม. ไปขึ้นที่วิหารหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ กล่าวกันว่าเมื่อพระยากงมีความสำคัญจะนัดหมายชุมนุมกันในถ้ำ จนเรียกกันว่า "ถ้ำมาปรึกษา" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ธรรมศาลา" โดยพระยากงอาศัยเส้นทางตามอุโมงค์ในการเสด็จพระราชดำเนินในระหว่างสถานที่สำคัญทั้งสามแห่ง นอกจากนั้นได้ขุดคลองล้อมรอบไว้เพื่อกั้นทางเข้าถ้ำ ตามคตินิยมโบราณ ซึ่งคลองนี้เรียกว่า "คลองกง" ส่วนคลองที่มาบรรจบนั้นก็คือคลองกรุงศรี คลองนี้ชาวบ้านเข้าใจว่าเดิมคือ "คลองกรุงศรีวิชัย"

ตามตำนานเล่าต่อมาว่า ภายในถ้ำมีศาลาฤๅษี มีเครื่องใช้สอยอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยโบราณนั้นเมื่อมีใครจะจัดงานก็จะไปนำสิ่งของเหล่านี้มาใช้ แล้วก็นำมาคืน แต่มาภายหลังมีคนใจบาปนำข้าวของไปแล้วไม่นำมาคืน จึงเกิดอาเพศทำให้ถ้ำพังทลายลงมา จนไม่อาจจะเข้าไปได้อีก จากตำนานเก่าแก่ที่เกี่ยวพันกับพระยากง และซากเศษอิฐโบราณก็น่าจะเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ได้ทราบต่อมาว่า ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ไปสำรวจขุดแต่งแล้ว พบว่าเป็นเจดีย์ในสมัยทวารวดีจริงๆ และพบเศษปูนปั้น ข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งเป็นสมัยทวารวดีจริงๆ ในปัจจุบันก็สามารถเข้ามาเที่ยวชมโบราณสถานที่ขุดพบ พร้อมทั้งปากอุโมงค์ที่ได้กล่าวไว้ในตำนานได้ และนอกจากนี้จะได้มากราบสักการะรูปเหมือนหลวงพ่อน้อย เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วยครับ

เรื่องตำนานโบราณต่างๆ นั้น ก็มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง ที่เราน่าศึกษา อาจจะเป็นประวัติที่ให้เราค้นหาเรื่องราวในอดีตต่างๆ ได้ครับ และที่เล่ามานี้ก็เป็นเกร็ดส่วนหนึ่งของโบราณสถานวัดธรรมศาลา

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก ของหลวงพ่อน้อย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55727579196294_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับเหรียญหล่อเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีประสบการณ์ต่างๆ มากและก็หายากในปัจจุบัน คือเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว อำเภอเมืองสุพรรณบุรีครับ

หลวงพ่อปลื้ม ประวัติของท่านไม่ได้มีการบันทึกไว้ แต่ก็มีการบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า เกิดในราว พ.ศ.2391 บ้านโพธิ์พระยา โยมบิดาชื่อคุ้ม เป็นชาวกรุงเทพฯ มารดาไม่ทราบชื่อ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2411 โดยมีหลวงพ่อม่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์นั้นไม่ทราบชื่อ

การศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระอาจารย์รูปใดไม่มีใครทราบ สืบทราบได้แต่เพียงว่า ท่านเคร่งครัดในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาก หลวงพ่อปลื้มมีเมตตาต่อชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ทุกคน ใครจะอาราธนาไปสวดมนต์ที่ไหนๆ ไม่ว่าใกล้หรือไกลท่านจะไม่ปฏิเสธ การเดินทางในสมัยนั้นไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ทางและยานพาหนะไม่มี การเดินทางต้องใช้การเดินเท่านั้นทางเดินก็ลำบาก แต่ท่านไม่ได้คำนึง ระยะหลังชราภาพลงมากเดินไม่ไหว แต่ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านก็ยังมานิมนต์ท่าน โดยเจ้าภาพส่งแคร่มาแบก ท่านก็ไปไม่เคยขัด ท่านจึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านทั้งไกลและใกล้ตลอดมา

การพัฒนาวัดนั้นท่านได้พัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดพร้าวจนเจริญรุ่งเรือง มีเสนาสนะทุกชนิด สร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทถึง 2 องค์ อนุรักษ์พระพุทธรูปหินทรายศิลปะอู่ทองปลายไว้เป็นอย่างดีในวิหารเล็กรวมทั้งแม่ธรณี บีบมวยผม ศิลปะรัตนโกสินทร์ กับเสมาหินทรายแดงคู่สมัยอยุธยา ที่อัดใบลานสมัยโบราณและหอไตรกลางสระ

หลวงพ่อปลื้มได้สร้างเหรียญหล่อโบราณไว้หนึ่งรุ่น โดยคณะศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างรูปเหมือนของท่านไว้เป็นที่ระลึก และหล่อเหรียญรูปท่านในงานเดียวกัน เป็นเหรียญรูปนั่งเต็มองค์มีอักขระล้อมรอบด้านข้างเหรียญ ด้านล่างของเหรียญ มีรูปแพะปรากฏอยู่ สันนิษฐานว่าเป็นปีเกิดของท่านและที่ตัวเหรียญมิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ จากการสอบถามคุณลุงแก้ว ซึ่งเคยบวชกับหลวงพ่อปลื้ม ได้ความว่า ลุงแก้วบวชในปี พ.ศ.2469 ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญพอดี ลุงแก้วเล่าให้ฟังว่า พิธีสร้างรูปเหมือนและเหรียญหล่อนั้น เป็นงานใหญ่มาก บริเวณพิธีวงรอบด้วยสายสิญจน์ เมื่อหล่อหลอมโลหะแล้ว นำเอาโลหะนั้นมาหล่อรูปเหมือนของท่าน พร้อมๆ กับเททองลงในแม่พิมพ์เหรียญด้วย หลังจากหล่อเหรียญเสร็จแล้ว จึงตบแต่งด้านข้างด้วยตะไบ ดังนั้นเหรียญจึงมีรอยตะไบทุกเหรียญ หลังจากนั้นหลวงพ่อปลื้มก็ได้ปลุกเสกเหรียญแบบปลุกเสกเดี่ยวจนดีแล้วจึงนำไปแจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านที่มาขอเหรียญจากท่าน

เหรียญหลวงพ่อปลื้มที่ชาวบ้านได้รับแจกไปนั้น ต่อมาได้มีประสบการณ์ต่างๆ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอยู่ยงคงกระพัน เนื่องจากมีอยู่หลายรายที่ถูกยิงแต่กระสุนด้านหมด บางคนก็ได้รับประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดกันก็มากราย ปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อปลื้มค่อนข้างหายากแล้วครับ

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว สุพรรณบุรีมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22132416814565_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยมกันอีกสักอย่างหนึ่ง พระปิดตาเนื้อโลหะชนิดนี้มีความแปลกจากพระปิดตาอื่นๆ เนื่องจากเป็นพระ ปิดตาที่พบอยู่ในกรุ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา นั่นก็คือพระปิดตากรุวัดท้ายย่าน ในส่วนที่เป็นเนื้อนั้นก็เป็นเนื้อโลหะผสมที่มีแร่พลวงเป็นส่วนผสมด้วย พระปิดตาวัดท้ายย่านนี้เป็นที่นิยมกันมาแต่อดีตครับ

จังหวัดชัยนาทในแถบเมืองสรรคบุรี เคยเป็นเมืองหน้าด่านมาหลายยุคหลายสมัย จึงมีวัดวาอารามปรากฏอยู่มาก วัดท้ายย่านก็เป็นวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง วัดท้ายย่านนั้นในปัจจุบันกลายเป็นวัดร้างที่เหลือแต่ซากโบราณสถานซึ่งยังพอมีหลงเหลืออยู่ วัดนี้แต่เดิมชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดทัพย่าน" และเลื่องลือในเรื่องของพระเครื่องซึ่งพบพระเครื่องอยู่หลายชนิด ที่เด่นๆ ก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่งไหล่ยก พระหูยาน และพระปิดตา เป็นต้น

พระปิดตาที่พบในกรุวัดท้ายย่านนี้เท่าที่พบมีพิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และพิมพ์เขียด พิมพ์ชีโบมีขนาดองค์พระค่อนข้างเขื่อง และมีด้านบนเศียรมีลักษณะคล้ายสวมหมวกชีโบ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ พิมพ์กบมีขนาดย่อมลงมาเล็กน้อย องค์พระลักษณะล่ำสันอ้วนป้อม คล้ายตัวกบ คนในสมัยก่อนจึงเรียกกันว่าพิมพ์กบ ส่วนพิมพ์เขียดเป็นพระที่ขนาดเล็ก ลักษณะเรียวๆ เมื่อมีพิมพ์กบแล้วพระพิมพ์เล็กที่มีลักษณะเรียวๆ คล้ายตัวเขียดจึงเรียกกันมาว่าเป็นพิมพ์เขียด พระที่พบส่วนใหญ่เนื้อพระจะเป็นโลหะผสม คุณสมบัติแข็งแต่เปราะ ถ้าทำตกหล่นมักแตกหักได้ง่าย สันนิษฐานว่ามีส่วนผสมของแร่พลวงผสมอยู่ เนื้อในจะมีรูพรุน เนื่องจากการหลอมในสมัยนั้นโลหะยังไม่หลอมละลายเข้ากันได้ไม่ดีนัก มีสีผิวออกขาวๆ พื้นผิวของพระปิดตากรุวัดท้ายย่านเนื้อแร่พลวงนี้จะมีริ้วรอยเหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ปรากฏอยู่ทั่วไปตามองค์พระ ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ ในส่วนที่พบเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้าง แต่พบจำนวนน้อยมาก

พระปิดตากรุวัดท้ายย่านเท่าที่พบจะเป็นพระที่เทหล่อ มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายกับพระลอยองค์ ที่ด้านหลังจะปรากฏมีแขนโยงลงมาถึงก้น บางพิมพ์จะมีอักขระคล้ายเลขหนึ่งไทยปรากฏอยู่ด้วย

พุทธคุณเด่นดังมาตั้งแต่อดีต คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ยกย่องว่าดีทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด และมีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านนี้กันมาในอดีต ในสมัยก่อนนั้นมีการเล่ากันต่อมาว่า ได้มีการทดลองเอาพระใส่ปากปลาช่อนแล้วลองฟันดู ปรากฏว่าไม่เข้าเนื้อปลาเลย แต่ก็อย่าทดลองกันเลยนะครับ บาปกรรมเปล่าๆ เพียงแต่เป็นการเล่าขานกันมาเท่านั้นครับ

ปัจจุบันพระปิดตากรุวัดท้ายย่านนั้นหาพบพระแท้ๆ นั้นยากครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีกันมานานแล้ว เนื่องจากนิยมกันมาแต่อดีต สนนราคาก็สูงทีเดียวครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตากรุวัดท้ายย่านมาให้ชมกันครบทุกพิมพ์ครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 พฤศจิกายน 2562 15:32:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41225896030664_view_resizing_images2W371OAJ_3.jpg)
มาตรฐานราคาพระเครื่องพระบูชามีหรือไม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มูลค่าของพระเครื่องนั้นมีมาตรฐานหรือไม่ ถ้าตอบตามความจริงนั้นก็คือ พระเครื่องที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็มีครับ ส่วนพระที่นอกมาตรฐานก็คงไม่มีครับ ช่วงนี้ก็มีการพูดถึงเรื่องมูลค่าของพระเครื่องกัน ผมก็เลยขอกล่าวถึงสักเล็กน้อย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองนะครับ

ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชานั้นให้มูลค่ากับพระเครื่องที่เป็นพระนิยมกันอยู่หลายชนิด ปัญหาอยู่ที่พระอะไรมีมูลค่ารองรับเท่าไร และพระแบบไหนบ้างที่มีมูลค่ารองรับ ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายถึงคำว่า "มาตรฐานสากลกับมูลค่ารองรับ" เสียก่อน การที่สังคมพระเครื่องจะให้มูลค่ากับพระชนิดใดนั้น ก็ต้องเป็นพระเครื่องที่มีผู้คนนิยมและเสาะหาและมีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนกันเป็นมาตรฐาน ในส่วนของเรื่องมูลค่าก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในขณะเวลานั้นๆ อย่างเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ผู้ที่อยากมีไว้ครอบครองมีจำนวนมาก จำนวนพระแท้ๆ มีน้อยและหายาก แต่มีผู้ต้องการมากกว่า จึงมีผู้ที่ยอมที่จะเช่าหาหรือซื้อในราคาสูงเป็นหลักล้านบาท เป็นต้น

ในแหล่งที่มีการเล่นหาซื้อ-ขายกันก็จะมีผู้รับเช่าหาหรือรับซื้ออยู่ ซึ่งราคาก็จะมีการรับซื้อที่สูงตามความนิยมและความต้องการของตลาด ซึ่งก็จะแยกตามพิมพ์และความต้องการของตลาดด้วยเช่นกัน และตามสภาพความสวยสมบูรณ์ขององค์พระเป็นสำคัญ ซึ่งก็จะมีราคาแตกต่างกันไป แล้วใครเป็นผู้ตั้งราคา ในเรื่องนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และถือเอาราคาที่มีการซื้อ-ขายกันจริง ในสังคมพระเครื่องครั้งล่าสุด จะถือเป็นราคาในขณะนั้นๆ การกำหนดราคาซื้อ-ขายพระเครื่องก็คล้ายๆ กับการซื้อ-ขายรถยนต์มือสอง กล่าวคือรถยนต์รุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน ซื้อมาวันเดียวกัน แต่สภาพการใช้ การบำรุงรักษาต่างกัน พอนำมาขายเต็นท์รถราคาก็ต่างกันไปตามสภาพ ราคาผู้ซื้อหรือพ่อค้าเป็นผู้กำหนด ผู้ขายตั้งไว้เท่าไรก็ตาม แต่ไม่มีคนซื้อก็ขายไม่ได้

ทีนี้มาพูดกันถึงมาตรฐานสากลคืออะไร พระเครื่องก็มีสังคมของผู้นิยมพระเครื่องฯ และก็มีศูนย์กลางการเล่นหาและซื้อ-ขาย จุดใหญ่ๆ ก็จะเรียกกันว่าสนามพระ หรือในปัจจุบันจะเรียกกันว่า "ศูนย์พระ" เช่น ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ เป็นต้น จะเรียกอะไรก็ตามก็หมายถึงจุดศูนย์รวมพระเครื่องพระบูชา หรือตลาดพระเครื่องพระบูชา ก็เหมือนตลาดกลางอะไรทำนองนั้น

พระเครื่องที่จะขายได้ก็ต้องเข้าหลักเกณฑ์ของการเล่นหา เช่น พระแบบนี้ต้องมีรูปแบบพิมพ์ เนื้อหา ลักษณะของร่องรอยการผลิตเป็นแบบนี้ ที่เรียกกันรวมๆ ว่า จุดตำหนิที่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคมเท่านั้น ก็จะมีมูลค่ารองรับ คือสามารถขายได้เท่านั้นเท่านี้ คนขายกับคนซื้อก็จะตกลงกัน ถ้าตกลงกันได้ก็จะขายได้ แต่ถ้าพระเครื่ององค์นั้นๆ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แต่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่เขากำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นราคาเท่าไร ก็ไม่สามารถขายได้ เพราะเขาไม่ซื้อ และไม่มีใครซื้อ แบบนี้ก็คือไม่มีมูลค่ารองรับ

มูลค่ารองรับก็คือ มีคนพร้อมที่จะซื้อในราคานั้นๆ และมีอยู่หลายคนในสังคม ส่วนสนนราคาที่ผู้จะขายหรือครอบครองไว้จะตั้งเอาไว้เท่าไรก็ไม่ผิด ไม่ว่าพระเครื่องนั้นๆ จะถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มูลค่ารองรับ แต่สนนราคาสูงโอเวอร์จนเกินไปก็ไม่มีผู้ที่จะรับซื้อ ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่ใช่มูลค่ารองรับ มูลค่ารองรับก็คือในสังคมหรือมีคนที่จะ ยอมซื้อในราคานี้จริงๆ จึงจะถือว่าเป็นมูลค่ารองรับ

พูดไปพูดมาก็ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านจะงงหรือไม่ และถ้าอยากทราบว่าพระที่เราครอบครองไว้จะถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ และมูลค่ารองรับจะเป็นเท่าไร ก็สามารถทดสอบได้ในตลาดกลาง หรือที่ศูนย์รวมพระเครื่องพระบูชา ก็ค้นหาสนนราคาพระที่แบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเสียก่อน แล้วนำไปตีราคาขายในศูนย์พระ โดยตีราคาให้สูงๆ เกินๆ ไว้ ถ้าเขาขอซื้อต่อรองราคาก็แสดงว่าพระของเราถูกต้องตามมาตรฐานสากล และราคาที่เขาต่อรองก็คือมูลค่ารองรับ ทดลองสอบถามดูหลายๆ ร้านก็พอจะนำมาประเมินราคามูลค่ารองรับได้แล้วครับ เพราะราคาที่เขาต่อรองจะไม่ต่างกันมากนัก พอจะเอามาเป็นหลักเกณฑ์ได้ในขณะนั้นๆ ราคามูลค่าของพระเครื่องจะขึ้นและลงตามกาลเวลา บางครั้งขึ้นไปมากหรือลงราคามากเช่นกัน ขึ้นอยู่กับความนิยมและความต้องการเวลานั้น

ในส่วนที่อยากจะรู้เพียงถูกต้องตามมาตรฐานสากลหรือไม่ก็นำพระนั้นๆ ไปขอตรวจสอบออกใบรับรองความถูกต้องได้ตามสถานที่ที่เขารับออกใบรับรอง บางสถาบันก็รับประเมินราคาด้วยก็ว่ากันไป สนใจชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับหลายๆ ล้านบาท มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22509563176168_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระร่วงกรุน้ำ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเดิมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ดังนั้นจึงมีวัดวาอารามมากมาย รวมทั้งเมืองลูกหลวง เมืองหน้าด่านต่างๆ แสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรและศาสนา ในจังหวัดสุโขทัยจึงพบพระกรุต่างๆ มากมาย

พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของสุโขทัยก็มีมากหลากหลายชนิด มีพระร่วงนั่งอยู่แบบหนึ่งที่ปัจจุบันแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย จนทำให้ลืมเลือนกันไป คือพระร่วงนั่งกรุน้ำ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเป็นพระเครื่องที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากถึงเรื่องพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนเล่าขานเรื่องราวประสบการณ์ให้ฟังว่าเป็นที่เชื่อถือไว้ใจได้ แต่ก็เป็นพระที่หายากมาแต่ในสมัยก่อน เนื่องจากพระกรุนี้ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงมีพระที่สมบูรณ์ขึ้นมาจากกรุน้อยมาก

พระร่วงนั่งกรุน้ำ มีการพบมานานมาก จากการบอกเล่าประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว มีผู้เข้าไปขุดกรุพระหาสมบัติ ได้ลักลอบเข้าขุดในบริเวณวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งมีวัดและเจดีย์มากมาย สถานที่พบไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าตรงบริเวณใดแน่ แต่จากคำบอกเล่าและสังเกตดูพระเครื่องที่พบนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่า และก็เป็นที่มาของชื่อเรียกคำว่า "กรุน้ำ" คณะผู้ที่เข้าไปลักลอบขุดบอกเพียงว่าไปขุดบริเวณวัดมหาธาตุ ใกล้ๆ กับริมน้ำ และพบกรุพระ ก็ได้ขุดเข้าไปจนพบพระ แต่เมื่อถึงกรุพระนั้น ปรากฏว่ามีน้ำท่วมกรุพระอยู่ประมาณ 70% ของกรุ ก็ได้พระมาจำนวนหนึ่งเป็นพระเนื้อชิน เงิน ลักษณะเป็นพระร่วงนั่งปางสมาธิ มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พระส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขัง จึงทำให้องค์พระชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่สมบูรณ์น้อยมาก จากการบอกเล่าของผู้ที่เข้าไปขุดกรุนั้นบอกว่า ในกรุจะมีพระอะไรอีกหรือไม่นั้นไม่ทราบ เพราะขุดลงไปได้ไม่ลึกนักก็ต้องเลิกขุดเพราะน้ำท่วมขังจนไม่สามารถขุดต่อได้ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดผุพังเสียเป็นส่วนใหญ่จึงเลิกขุดต่อ

พระร่วงกรุน้ำที่พบจึงมีแต่พระร่วงนั่งปางสมาธิเท่านั้น พระกรุนี้ที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะคล้ายกันทุกพิมพ์ ผิดกันที่ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ขนาดองค์พระเป็นพระขนาดย่อม ใหญ่กว่าพระเชตุพนไม่มากนัก สูงประมาณ 2.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.7 ซ.ม. ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอครับ พระที่พบจะมีสนิมเกาะกินอยู่ตามองค์พระ บ้างก็มีผิวพระระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ หาพระสมบูรณ์ยากมาก เพราะตัวกรุถูกน้ำท่วมขัง

พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย ทางด้านพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด ในสมัยก่อนเป็นที่หวงแหนกันมาก เนื่องจากหาพระสมบูรณ์ยากมาก ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุน้ำแทบจะไม่เคยพบเห็นกันเลย ขนาดรูปพระก็ยังหายากครับ เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่มีประสบ การณ์มากและหายากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ (หน้า 24)
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79959055408835_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระสมเด็จ พิมพ์อกครุฑ วัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม มีพระสมเด็จอยู่พิมพ์หนึ่งซึ่งมีศิลปะขององค์พระแปลกแยก จากกลุ่มพระอื่นๆ คือพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนั้น เดี๋ยวเราจะมาคุยกัน

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ในสมัยก่อนนั้นอาจจะมีการเรียกชื่อแตกต่างจากปัจจุบัน คือในสมัยก่อนจะเรียกว่า "พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร" ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น เรามาดูศิลปะขององค์พระ ในส่วนพระเศียรของ องค์พระจะนูนเด่นและดูกลมโตคล้ายบาตรของพระสงฆ์ หน้าอกขององค์พระนูนเด่นล่ำสัน คล้ายอกของครุฑ องค์พระอวบล่ำ องค์ประกอบของพระพักตร์เช่น พระกรรณ (หู) กางหนามองดูคล้ายกับสวมชฎา

ประกอบกับพระเกศที่หนาสั้น ในส่วนนี้พระพิมพ์อกครุฑแม่พิมพ์กลางจะเห็นได้ชัดว่าแม่พิมพ์อื่นๆ และแม่พิมพ์กลางก็จะเป็นแม่พิมพ์ที่พบมากที่สุดกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ถ้ามองโดยรวมแล้ว พระสมเด็จพิมพ์นี้มองดูคล้ายๆ กับครุฑ จึงเป็นมูลเหตุที่ตั้งชื่อกันเพื่อแยกพิมพ์ของพระแต่ละกลุ่มตามที่เห็นเด่นชัดว่า "อกครุฑเศียรบาตร" ต่อมาก็เรียกกันให้สั้นๆ ว่า "พิมพ์อกครุฑ" พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น นอกจากพระพักตร์จะกลมโตนูน ลำพระองค์จะล่ำ หน้าตักของพระก็หนา ฐานแต่ละชั้นเป็นแท่งตันหนาทั้ง 3 ชั้น ที่ไม่เหมือนกับพระพิมพ์อื่นๆ ของพระในตระกูลพระสมเด็จ อีกอย่างก็คือเส้นฐานของซุ้มเรือนแก้ว เราจะเห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่มีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้ว แต่พระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ จะมีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้วทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหม ศิลปะโดยรวมของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น ก็ดูจะแตกต่างจากกลุ่มพระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่พบและถือเป็นมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับของสังคมพระเครื่อง มีอยู่ 3 พิมพ์คือ พิมพ์อกครุฑใหญ่ พิมพ์อกครุฑกลาง และพิมพ์อกครุฑเล็ก พิมพ์อกครุฑเล็กจะพบน้อยมาก เท่าที่พบเห็นส่วนมากจะเป็นพิมพ์อกครุฑใหญ่ และพิมพ์อกครุฑกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ และพิมพ์ที่พบเห็นมากที่สุดก็จะเป็นพิมพ์อกครุฑกลาง

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้นมีเรื่องเล่าขานกันมากมายหลายเรื่อง เช่นเรื่องพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่ว่ากันว่าเป็นพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร เป็นต้น ก็เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อๆ กันมา ในส่วนนี้ผมคงจะไม่ไปกล่าวถึง คงจะขอกล่าวถึงพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของกรุวัดบางขุนพรหม ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานสากลของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาเท่านั้น และพระพิมพ์นี้ตอนที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการก็พบพระพิมพ์นี้อยู่กรุด้วย พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของวัดบางขุนพรหมเท่าที่พบในสังคมพระเครื่องก็มีทั้งที่เป็นพระกรุเก่าคือไม่มีขี้กรุเนื้อจัด และพระกรุใหม่ที่มีขี้กรุจับอยู่บนผิวขององค์พระ และก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพระของวัดบางขุนพรหมก่อนบรรจุกรุนั้นก็อาจจะมีพระบางส่วนที่แจกจ่ายไปก่อนที่บรรจุในกรุก็เป็นไปได้

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่เขาแยกพิมพ์ไว้ โดยให้ชื่อตามขนาดขององค์พระ แม่พิมพ์ที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์อื่นก็ตั้งชื่อว่าพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยก็เรียกว่าพิมพ์กลาง และแม่พิมพ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นพิมพ์เล็ก ในสมัยก่อนพระพิมพ์เล็กก็มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพิมพ์ว่าวจุฬา เนื่องจากวงแขนขององค์พระกางออกมองดูมีลักษณะคล้ายว่าวจุฬา แต่ปัจจุบันก็เรียกแค่พิมพ์เล็กเท่านั้น ศิลปะของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์ มีลักษณะแตกต่างจากพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ทุกพิมพ์อย่างที่บอกมาตั้งแต่ต้น และทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้มีลักษณะศิลปะไปในทางเดียวกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน ศิลปะจึงออกมาในทางเดียวกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ทั้ง 3 แม่พิมพ์มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41240598758061_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระร่วงหลังรางปืน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงหลังรางปืน ในสังคมพระเครื่องก็จะหมายถึงพระร่วงของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วเนื้อชินสนิมแดง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินยอดนิยมที่หายากสนนราคาสูง ส่วนพระร่วงยืนที่มีลักษณะคล้ายๆ กันก็จะมีชื่อเรียกคำต่อท้ายแตกต่างกันไป เช่น พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี หรือพระร่วงกรุหนองแจง ฯลฯ เป็นต้น

ครับพระร่วงหลังรางปืนเป็นพระร่วงยืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงที่หายากที่สุด เนื่องจากในตอนที่ถูกพบขึ้นจากกรุนั้นมีจำนวนพระที่สมบูรณ์น้อยมาก นอกนั้นจะเป็นพระที่ชำรุดแตกหักเสียเป็นส่วนใหญ่ การเสาะแสวงหาจึงหายาก และได้รับความนิยมสูง ด้วยประสบการณ์จากการใช้ห้อยคอของ ผู้ที่มีไว้ก็จะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดสูง อีกทั้งในด้านความเจริญก้าวหน้าก็ยอดเยี่ยม

พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระที่มีศิลปะขอม พุทธลักษณะเป็นพุทธรูปยืนปางประทานพร ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบศิลปะขอม เนื้อของพระเป็นชินตะกั่วสนิมแดงเกือบทั้งองค์ มีไขขาวคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง เหตุที่มีชื่อเรียกว่าพระร่วงหลังรางปืนก็เนื่องจากในตอนที่พบพระนั้น ด้านหลังของพระร่วงหลังรางปืนจะมีร่องรางที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์ ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงยืนกรุนี้ ซึ่งแตกต่างจากพระร่วงยืนศิลปะขอมเมืองลพบุรีที่แตกกรุมาก่อน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ของเมืองลพบุรีด้านหลังจะมีลักษณะเป็นลายผ้า ก็เลยตั้งชื่อตามลักษณะด้านหลังขององค์พระตามที่เห็นเป็นร่องราง ในสมัยแรกๆ ก็เรียกพระร่วงกรุนี้ว่า "พระร่วงหลังร่อง" ส่วนคำว่าปืนอาจจะมีต่อท้ายในภายหลังจากพุทธคุณที่เด่นทางด้านอยู่คง ยิงไม่ออกอะไรทำนองนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกของพระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืนก็มีร่องรอยของการผลิตให้เห็นอย่างชัดเจนคือด้านหลังที่เป็นร่อง และร่องด้านหลังก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง เท่าที่พบเห็นส่วนมากก็จะมีร่องรางเป็น 2 แบบ และทุกองค์จะเป็นแบบนี้ ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง จึงทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าที่ด้านหลังเป็นลักษณะแบบนี้คงเป็นเพราะแบบพิมพ์ด้านหลัง ทำให้รู้ได้ว่าพระร่วงหลังรางปืนเป็นพระที่มีแม่พิมพ์ด้านหลังแบบประกบ ไม่ได้เป็นแบบพิมพ์ที่มีแต่ด้านหน้าเพียงชิ้นเดียว

นอกจากนี้ที่ด้านใต้ฐานของพระยังปรากฏร่องรอยของการผลิตอีก ทำให้รู้ได้อีกว่าเป็นพระที่เทเนื้อโลหะจากด้านล่างใต้ฐานลงไปในแม่พิมพ์ ซึ่งก็จะยังพอเห็นร่องรอยนี้อยู่ในพระแท้ๆ

ครับร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมากในการพิสูจน์ทราบว่าองค์พระนั้นๆ แท้หรือไม่อย่างหนึ่ง ซึ่งในการที่จะรู้ว่าพระองค์นั้นๆ แท้หรือไม่ก็ต้องใช้เหตุผลหลายๆ อย่างมาประกอบกันว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่จะพิจารณาแบบมั่วๆ กันไปเท่านั้น และยิ่งในปัจจุบันการปลอมแปลงพระเครื่องมีการพัฒนาในการทำปลอมดีขึ้น จึงต้องใช้เหตุผลหลายๆ อย่างมาประกอบกัน ไม่ใช่ฟังนิยายที่คนขายโม้เล่าให้ฟังโดยไร้เหตุผล การพิจารณาพระเครื่องของสังคมที่เล่นหาโดย มีมูลค่ารองรับนั้น เขามีเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์มารองรับ และสามารถอธิบายได้ เพราะพระบางองค์มีมูลค่าสูงมาก จะใช้หูฟังนิยายอย่างเดียวไม่ได้โดยเด็ดขาด ต้องใช้เหตุผลที่เชื่อถือได้และพิสูจน์ได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย ที่มีด้านหลังทั้ง 2 แบบ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14138287678360_view_resizing_images_9_320x200.jpg)

แม้แต่ในการผ่าฟืนของชาวบ้านธรรมดา เมื่อผ่าฟืนสำเร็จ มันก็มีความหมายแห่งศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในการผ่าฟืน" สารธรรม มงคล ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี "หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ" หรือหลวงพ่อเฒ่ายิ้ม พระเถราจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังล้วนเป็นที่นิยมสะสม โดยเฉพาะพระปิดตา สร้างจากผงวิเศษที่ทำเอง โดยใช้เวลารวบรวมมวล สารถึง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2439-2441 ส่วนผสมต้องตรงตามสูตรการสร้างพระปิดตาแบบโบราณอย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห ว่าน 108 ดอกไม้บูชาพระ ไคลโบสถ์ ฯลฯ จากนั้นปลุกเสกจนถึงปี พ.ศ.2445 จึงนำออกมามอบให้ มีทั้งเนื้อเหลือง เนื้อขาว เนื้อผงเทา เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงธูป เนื้อขี้เป็ด เนื้อตะกั่ว ฯลฯ ทั้งแบบจุ่มรักและคลุกรัก เนื้อนิยม คือ เนื้อเหลือง ลักษณะเป็นพระปิดตาแบบลอยองค์ องค์พระประทับนั่ง ปางสมาธิราบ พระหัตถ์ปิดพระเนตร มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์สังกัจจายน์ และพิมพ์แข้งซ้อน พิมพ์ใหญ่ ยังแบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่ชะลูด และพิมพ์ใหญ่ต้อ ซึ่งต่างกันเพียงพิมพ์ใหญ่ต้อ จะมีความสูงน้อยกว่าและดูต้อกว่า พิมพ์ใหญ่ชะลูด นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม ทุกพิมพ์มีพุทธคุณเด่นรอบด้านเป็นที่ประจักษ์ "หลวงพ่อทอง" วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ วัตถุมงคลได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่เรียกกันว่า "เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นหลังเงา" ลักษณะเป็นเหรียญ ปั๊มกลมรูปไข่ เนื้อทองแดง บริเวณขอบโดยรอบทั้งด้านหน้าและด้านหลังยกเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อทองครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวร พาดสังฆาฏิ คาดผ้ารัดอกที่เรียกว่า ห่มเต็ม มีอักษรจารึกว่า "หลวงพ่อ วัดกบ" ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปพระเจดีย์องค์ใหญ่วัดเขากบ กลางองค์เจดีย์เป็นยันต์ตัวเฑาะว์ขัดสมาธิ ยอดเป็นอุณาโลม พื้นเหรียญด้านหลังมีรูปหลวงพ่อทองแกะเป็นลายเส้นบางๆ เห็นเป็นเงาจางๆ จึงเรียกว่า รุ่นหลังเงา "หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" เจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจ้าของสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว" อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อบูชา หลวงพ่อพร้า "น้ำมนต์บาทเดียว" ขนาดบูชา หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว รายได้สมทบทุนสร้างมณฑป วัดโคกดอกไม้ หลวงพ่อพร้าเสกเดี่ยวตลอดพรรษา พระบูชา รูปหล่อเหมือน "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว" จัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง ลักษณะเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อพร้านั่งพนมมือทำน้ำมนต์บนอาสนะ ด้านหน้ามีบาตรน้ำมนต์ มีเทียนน้ำมนต์วางพาดบนบาตร ที่บาตรมีอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้ฐานอุดผงมวลสารและแผ่นยันต์ ที่อาสนะ ด้านหลัง มีอักษรไทย "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

"หลวงปู่แย้ม ฐานยุตโต" หรือ "พระครูประยุตนวการ" อดีตพระเกจิอาจารย์อาวุโสนครปฐม วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เหรียญรุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2516 ที่ระลึกงานทำบุญฉลองอายุครบ 5 รอบ (60 ปี) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาส งานนี้คณะลูกศิษย์ร่วมกันจัดสร้างถวาย แต่ไม่กล้าขออนุญาต จึงไปขออนุญาตหลวงพ่อเต๋ เจ้าอาวาสวัดสามง่ามแทน นับได้ว่าได้รับการปลุกเสกจากทั้งหลวงพ่อเต๋และ หลวงปู่แย้ม สองพระเกจิชื่อดัง เหรียญ รุ่นแรกหลวงปู่แย้ม ปี 16 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้าเหรียญ มีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แย้มห่มคลุมจีวรหันข้างไปทางขวา ด้านล่างมีอักษรไทยว่า "พระอาจารย์แย้ม ฐานยุตฺโต" ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์พุทธะสังมิ ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่าน มีข้อความว่า "ทำบุญฉลองครบอายุ ๕ รอบ รองเจ้าอาวาส วัดสามง่าม นครปฐม" และมีการตอกโค้ดตัว "ย" ทุกเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเป็นเนื้อเงิน นวโลหะ และทองแดง มีจำนวนไม่เกิน 2,500 เหรียญ เป็นเหรียญยอดนิยมที่เสาะแสวงหา
  อริยะ เผดียงธรรม ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59909890633490_view_resizing_imagesMSAGJEMA_3.jpg)
พระกริ่ง วัดชนะสงคราม พ.ศ.2484

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงคราม สนนราคาก็ไม่สูงและยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พิธีการสร้างและพุทธาภิเษก นั้นยอดเยี่ยมมาก เจตนาการสร้างก็ดีด้วย

วัดชนะสงครามนั้นเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่าวัดกลางนา และชื่อวัดตองปุ ตามลำดับ ต่อมาเมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท ได้ออกทำศึกสงครามกับพม่า และได้มาประชุมพลที่วัดแห่งนี้และได้รับชัยชนะกลับมาถึงสองครั้งสองครา คือครั้งสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง

หลังจากกลับจากศึกแล้วท่านจึงได้สถาปนาวัดชนะสงครามขึ้นใหม่ทั้งวัด และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วได้ถวายเป็นราชพลีแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงพระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" อันหมายถึงการได้รับชัยชนะจากศึกสงคราม

สำหรับการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้นก็เนื่องมาจากประเทศไทย ได้ส่งทหารเข้ารบในสงครามอินโดจีน ทางการได้ส่งทหารอาสาเข้ารบเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามต่างๆ ก็ได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารไว้บูชาติดตัว ทางวัดชนะสงครามโดยท่านเจ้าอาวาสพระสุเมธมุนี (ลับ) จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกทหารอาสาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนบูชาเพื่อเตรียมรับภัยสงครามที่กำลังลามมายังประเทศไทย

การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ได้ประกอบพิธีกันในลานหน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม และมีหลวงภูมินาถสนิท เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และหลวงภูมิฯ ได้บันทึกไว้ว่า รายนามพระเถระที่ลงแผ่นทองในพิธีหล่อมีดังนี้

พระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณสุเมธมุนี (ลับ) วัดชนะฯ ท่านเจ้าคุณอ่ำ วัดวงฆ้อง ท่านเจ้าคุณพระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี วัดบรมธาตุกำแพงเพชร ท่านเจ้าคุณธรรมธีรคุณ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านพระครูวิจิตรธรรมบาล หลวงพ่อชม วัดประดู่ทรงธรรม หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อทัต วัดห้วยหินระยอง

พระครูคณานุยุตวิจิตร พัทลุง หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ ท่านพระครูปลัดมา วัดเลียบ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อบุญชู วัดโปรดเกษ ท่านเจ้าคุณชิต วัดมหาธาตุเพชรบุรี หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน

หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน หลวงพ่อดาบเพชร วัดชนะฯ หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อใย วัดระนาม พระอาจารย์พูน วัดหัวลำโพง พระอาจารย์สา วัดเทพธิดาราม พระอาจารย์ปลั่ง วัดราชนัดดา พระอาจารย์ขั้ว วัดมะปรางหวาน พระอาจารย์จันทร์ วัดสำราญ พระอาจารย์นอ วัดใหม่โพธิ์เอน พระอาจารย์นวม วัดขวาง พระอาจารย์น้อย วัดศีรษะทอง ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิสมโภชน์ วัดพระเชตุพน พระอาจารย์ทองดี วัดท่าเกวียน

นอกจากนี้หลวงภูมิฯ ยังได้บันทึกไว้ว่า ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ท่านยังได้เป็นประธานในพิธีกรรมตลอดการเททอง และพุทธาภิเษก และหลวงภูมิฯ ยังได้นำชนวนมงคลจากพิธีที่วัดราชบพิธ และวัดสุทัศน์มาผสมอีกจำนวนหนึ่งด้วย จากบันทึกบอกกล่าวถึงพิธีหลอมโลหะนั้น ได้มีตะกรุดและแผ่นทองที่ไม่หลอมละลายจำนวนมาก ต้องนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีร่วมกันเพ่งกระแสจิตจึงจะละลายลงในที่สุด นับเป็นปรากฏการณ์อันประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่ง

ต่อมาในเดือนมกราคมปี พ.ศ.2484 จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ตลอดสามวันสามคืน มีหลวงพ่อจง หลวงพ่อจาด หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อจันทร์เป็นประธานนั่งปรกสลับกับพระเถระรูปอื่นๆ จากทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงแผ่นทองมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ครับพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงครามที่สร้างในครั้งนี้จึงเป็นพระที่น่าใช้บูชามาก ตามความเห็นของผมนะครับ เนื่องจากแผ่นชนวนลงอักขระจากพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นครบถ้วน และพิธีพุทธาภิเษกก็ยอดเยี่ยมตามที่มีบันทึกของท่านหลวงภูมิฯ อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาบูชาได้ไม่ยากนักครับ

ผมได้นำรูปพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 พฤศจิกายน 2562 15:38:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96771187004115_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
พระขุนแผน วัดพระรูป

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนพวกหนุ่มๆ ก็จะนิยมพระขุนแผนกันมาก คงอินกับวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผนนั่นแหละครับ แหมก็ตัวพระเอกของเรื่องก็ตัวขุนแผนน่ะทั้งเก่ง ทั้งมีเสน่ห์ ใครเห็นใครรักใครเห็นใครหลง หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายนิยม มีภรรยาหลายคน อีกทั้งเวทมนตร์คาถาก็สุดยอด อยู่ยงคงกระพันชาตรี เสกได้สารพัดนี่ครับ พวกชายหนุ่มก็มักจะชอบเสาะแสวงหาพระขุนแผนมาห้อยคอ เผื่อจะได้มีเสน่ห์แบบเดียวกับขุนแผนในวรรณคดี

ในสมัยก่อนนั้นถ้าพูดถึงพระขุนแผนก็จะนึกถึงพระขุนแผนกรุวัดพระรูป ที่เรียกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า หรือพระขุนแผนแตงกวาผ่า โบราณเขาตั้งชื่อพระแบบนี้ก็คงจะเห็นองค์พระที่ฐานบัวนั้นมีลักษณะมองดูคล้ายๆ กับรูปเด็กนอนอยู่ และที่ด้านขวามือเราเห็นกลีบบัวเป็นเส้นสองเส้นคล้ายๆ กับขาของเด็กยกขึ้น ก็เลยนึกถึงกุมารทอง ก็นึกเลยไปถึงขุนแผนซะเลย เหตุนี้กระมังจึงตั้งชื่อกัน ในสมัยนั้นว่าพระขุนแผน อีกอย่างพุทธคุณของพระขุนแผนวัดพระรูปก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาดอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมกันมาก

ในสมัยก่อนพวกทำพระปลอมก็ยังทำรูปพระขุนแผนแบบของวัดพระรูป ที่ใต้ฐานก็จะทำเป็นรูปเด็กกุมารทองนอนอยู่ด้านล่าง เร่ขายตามตลาดหรือเล่นกลหลอกขายพระขุนแผนกันอยู่ สมัยนี้ไม่มีแล้ว พวกทำพระปลอม เขาเก่งขึ้นทำได้ใกล้เคียงทีเดียว

พระขุนแผนกรุวัดพระรูปเป็นพระที่พบในบริเวณวัดพระรูป แต่มิได้พบในองค์พระเจดีย์ พบเรี่ยราดอยู่ตามพื้นดินในบริเวณวัดพระรูป สอบถามคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนบอกว่าประมาณปี พ.ศ.2446 เมื่อก่อนนั้น วัดพระรูปรกร้างเป็นป่าปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่มีฝูงลิง มาอาศัยอยู่มาก และมีเจดีย์อยู่หลายองค์ ต่อมาก่อนที่กรมศิลปากรจะมาบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ต่างๆ ก็ปรักหักพังทลาย ลงมาจนเหลืออยู่องค์เดียวตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระกรุวัดพระรูปก็คงจะอยู่ในองค์พระเจดีย์ที่พังทลายลงมาองค์ใดองค์หนึ่ง พระเครื่องของกรุนี้จึงกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน ในสมัยก่อนก็ไม่ค่อยมีผู้ใดสนใจนัก ใครอยากได้ก็ไปเก็บเอา ซึ่งก็มีจำนวนมากมาย และมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระขุนแผน พระขุนไกร พระยุ่งหรือพระกุมารทอง พระพลายงาม และพระพันวษา เป็นต้น ก็ตั้งชื่อกันตามวรรณคดี ขุนช้าง-ขุนแผน พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อพระจะมีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อพระ เนื้อหนึกแกร่ง พระกรุนี้ด้านหลังจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ด้านหลังจะอูมนูน

พระขุนแผนไข่ผ่า ด้วยความที่ด้านหลัง อูมนูน รูปทรงกรอบขององค์พระมองดูคล้ายๆ กับไข่ไก่ผ่าซีก จึงเรียกกันว่าพระขุนแผนไข่ผ่า ส่วนอีกพิมพ์หนึ่ง องค์พระเป็นพิมพ์เดียวกัน แต่รูปทรงกรอบนอกออกจะยาวรีมีด้านข้างแคบกว่าพิมพ์ไข่ผ่า มองดูคล้ายๆ กับแตงกวาผ่าซีก เลยเรียกกันว่า พิมพ์แตงกวาผ่าซีก แต่ละพระจะมีแม่พิมพ์เดียวกัน ผิดกันเฉพาะรูปทรง กรอบด้านนอกเท่านั้น เพราะทั้ง 2 พิมพ์ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก พระปลอมมีมากมายและมีหลากหลายฝีมือ ที่ทำได้ดีใกล้เคียงก็มี แต่ถ้าเราศึกษาพิมพ์ให้ดีก็พอจะแยกแยะได้ จุดรายละเอียดแม่พิมพ์จะมีเอกลักษณ์อยู่หลายจุด โดยเฉพาะเนื้อหาความเก่าและคราบกรุที่ทำปลอมได้ยาก แต่ก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้ก็จะปลอดภัยกว่าครับ เนื่องจากปัจจุบันสนนราคาก็ค่อนข้างสูงอยู่ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จากหนังสืออมตะ พระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20838550105690_view_resizing_images85B4CT12_3.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาสายเมืองชลเป็นพระที่นิยมกันมาก ตั้งแต่พระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก พระปิดตาหลวงพ่อโต วัดเนิน พระปิดตาหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง และพระปิดตาหลวงพ่อครีพ วัดสมถะ ถือเป็น 5 สุดยอดพระปิดตาผงคลุกรักของเมืองชล ในปัจจุบันก็หายากมากและมีสนนราคาสูงมาก พระปิดตาสายเมืองชลที่มีอาวุโสรองลงมา เช่น พระปิดตาหลวงปู่ศรี วัดอ่างศิลา พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า พระปิดตาหลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ปัจจุบันก็มีราคาสูง และหาแท้ๆ ยากเช่นกันครับ

พระปิดตา วัดป่า เป็นคำเรียกกันง่ายๆ แต่ก็พอเข้าใจกันในหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าเป็นพระปิดตาของหลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ชลบุรี หลวงพ่อ เฮี้ยงเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่า และเป็นอดีตเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี มรณภาพในปี พ.ศ.2511 ในสมัยที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอยู่นั้นท่านได้สร้างพระเครื่องไว้หลายอย่าง และในปี พ.ศ.2495 ท่านได้ดำริที่จะสร้างพระปิดตาขึ้น ท่านได้รวบรวมพระเนื้อผงเก่าๆ ที่หักชำรุดและมีคนมาถวายไว้ อีกทั้งท่านยังได้ขอผงพุทธคุณของหลวงพ่อแก้วที่ทางวัดเครือวัลย์เก็บรักษาไว้มาบางส่วน ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเจียม จากวัดกำแพง ผงพุทธคุณของหลวงพ่อโต จากวัดเนินสุธาวาส ผงพุทธคุณของหลวงปู่ภู่ จากวัดนอก ผงพุทธคุณเหล่านี้ทางวัดแต่ละวัดได้เก็บรักษาไว้และนำมาถวายให้หลวงพ่อเฮี้ยงนำมาผสมสร้างพระ

พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยงที่นิยมมากที่สุดก็เป็นพระปิดตาที่สร้างในปี พ.ศ.2495 พิมพ์ที่สร้างพระปิดตาในปีนั้น มีพิมพ์หกเหลี่ยมหลังตะแกรง พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์สะดือเล็ก พิมพ์หลังอิติ เป็นต้น นอกจากนี้หลวงพ่อเฮี้ยงก็ยังสร้างพระปิดตาและพระอื่นๆ อีกหลายแบบ และหลายปีต่อมา จนหลวงพ่อมรณภาพ พระเครื่องที่หลวงพ่อเฮี้ยงสร้างไว้นิยมทุกพิมพ์และทุกรุ่น แต่ที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นพระปิดตาที่สร้างในปี พ.ศ.2495 ค่านิยมสูงมาก ปัจจุบันก็หายาก

พุทธคุณของพระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง ก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมาย พระปิดตาปี 2495 ของหลวงพ่อเฮี้ยงปัจจุบันก็มีการปลอมกันมากให้เห็นอยู่ เวลาจะเช่าหา ก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เนื่องจากปัจจุบันสนนราคาถึงหลักแสนทีเดียวครับ พวกนักทำพระปลอมก็ไม่ยอมพลาดโอกาสทำปลอมกันตามระเบียบครับ ส่วนพระในรุ่นอื่นๆ ของหลวงพ่อเฮี้ยงก็ราคารองๆ กันลงมา และก็มีพุทธคุณดีเหมือนๆ กันครับ เรื่องค่านิยมและมูลค่ารองรับก็ว่ากันไปตามความนิยมของสังคม ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาของหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี พิมพ์หกเหลี่ยมหลังตะแกรง และพระปิดตาพิมพ์สะดือเล็ก จากนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54085478434959_view_resizing_imagesWCS87NNE_3.jpg)
พระหูยาน ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน อาณาจักรลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในอดีต สมัยที่ขอมมีอำนาจ อยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปกครองดินแดนแถบนี้ได้สร้างโบราณสถานทั้งแบบศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พร้อมทั้งประติมากรรมและพระพิมพ์ไว้มากมาย หนึ่งในพระพิมพ์ที่มีความสำคัญและนิยมกันมาก และถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของลพบุรีเลยก็ว่าได้ก็คือ "พระหูยาน" กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

พระหูยานได้มีการขุดพบกันมานานแล้ว เท่าที่มีการบันทึกบอกเล่าไว้ก็คือ ในปี พ.ศ.2450 ครั้งสมัยพระยากำจัดเป็นเจ้าเมืองลพบุรี ได้มีเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเป็นผู้บงการโดยใช้นักโทษเป็นผู้ขุด ณ บริเวณพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การขุดในครั้งนั้นได้พระพุทธรูปบูชาและพระเครื่องสกุลลพบุรีออกมามากมาย เช่น พระร่วง พระหูยาน พระหลวงพ่อจุก พระหลวงพ่อแขก พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสาม พระเขมรคางคน พระเขมรผมเวียน ฯลฯ พระที่ขุดพบในครั้งนั้นจะเรียกกันว่าพระกรุเก่า ผิวของพระที่ได้มาในครั้งนั้นมักจะมีผิวเป็นสีคล้ำๆ ออกดำ ต่อมามีการลักลอบขุดกันอีกหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ.2485 แต่ในครั้งหลังๆ ก็ไม่ค่อยได้พระกันมากนัก ต่อมามีการขุดพบครั้งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นการพบครั้งใหญ่ พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพระหูยาน พระที่พบในครั้งนี้มีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์พระ พระที่พบในครั้งนี้จึงเรียกกันว่า "พระกรุใหม่" นอกจากนี้ก็ยังมีการพบพระหูยานอีกหลายกรุในลพบุรี เช่น พบที่กรุวัดปืน กรุ คอปะ เป็นต้น ซึ่งพิมพ์จะแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย พระหูยานที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นจะมีพบเป็นพิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก และพิมพ์รัศมี เป็นต้น ส่วนพิมพ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์ใหญ่

พระพุทธศิลปะของพระหูยาน เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ อยู่บนอาสนะบัวเล็บช้าง 5 กลีบ ตอนบนเป็นเกสรบัวลักษณะเป็นเส้นขีดๆ สั้นๆ 15 ขีด ใต้บัวเล็บช้างลงไปเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ของพระหูยาน พิจารณาอาการอันสงบนิ่งประกอบกับการสำแดงออกแห่งอาการแย้มพระโอษฐ์อย่างล้ำลึก ประณีตเยือกเย็นขององค์พระปฏิมาแล้ว ในความหมายของ "หสิตุปาทะ" คือการยิ้มของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตามแบบอย่างศิลปะขอมที่เรียกกันว่า "ยิ้มแบบบายน" อันเป็นที่ฉงนฉงายในความสำเร็จแห่งพุทธศิลปะบายนอันนี้ ซึ่งอยู่ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบกับประติมากรรมชิ้นใหญ่ที่ปราสาทนครธม ที่เป็นรูปพรหมพักตร์เหนือตัวปราสาท จะมีพุทธลักษณะแบบเดียวกัน จึงทำให้สามารถกำหนดยุคสมัยของพระหูยานลพบุรีได้ครับ

สาเหตุที่มาของชื่อเรียกนั้นก็มาจากพระกรรณ (หู) ของพระหูยานนั้นมีใบพระกรรณทั้ง 2 ข้างยาวลงมาจรดพระอังสา (ไหล่) อันเป็นลักษณะเด่นชัด จึงเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า "พระหูยาน" ส่วนในคำว่าลพบุรีนั้นก็เป็นที่มาของเมืองที่พบครับ เนื้อหาของพระหูยานลพบุรีที่พบมีอยู่เนื้อเดียวคือเนื้อชินเงิน ด้านหลังมีทั้งแบบที่เป็นแอ่งและหลังตัน ส่วนใหญ่จะปรากฏลายผ้าหยาบๆ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่องค์สวย มาให้ชมครั
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39365153883894_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระปิดตา หลวงปู่เหรียญ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ยิ้ม และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่เหรียญได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วเช่นกันครับ

หลวงปู่เหรียญเป็นคนแถวหนองบัวนี่เอง เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2419 โยมบิดาชื่อโศ โยมมารดาชื่อแย้ม พออายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำมาฝากเรียนหนังสือกับพระอุปัชฌาย์ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่เหรียญเป็นคนสนใจในการเล่าเรียน และอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดหนองบัว เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2440 โดยมีพระอุปัชฌาย์ยิ้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิงดีคุณาจารย์ วัดเหนือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อยู่ วัดหนองบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุวรรณโชติ" เมื่อบวชแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัยและตำราต่างๆ จนแตกฉาน อีกทั้งยังได้ปฏิบัติรับใช้ใกล้ชิดกับหลวงปู่ยิ้มผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ถึง 15 พรรษา ซึ่งหลวงปู่ยิ้มก็ได้ให้ท่านลงตะกรุดบ้าง ลงผ้ายันต์บ้าง ทำเลขยันต์ต่างๆ บ้าง ปลุกเสกทำน้ำมนต์บ้าง ซึ่งหลวงปู่ยิ้มได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ให้หลวงปู่เหรียญจนหมดสิ้น

ในด้านการธุดงควัตรนั้นหลวงปู่เหรียญก็ได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ มากมาย และได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ได้ธุดงค์มาเจอกันในป่า ท่านได้ธุดงค์ไปหลายที่ทั้ง ในเขตไทยและพม่า จะธุดงค์ครั้งละเป็นเวลานานๆ แล้วจึงกลับมาที่วัดหนองบัว จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2455 หลวงปู่ยิ้มก็มรณภาพ ชาวบ้านอาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ก่อนที่หลวงปู่ยิ้มจะมรณภาพนั้นท่านก็ได้มอบตำรับตำราความรู้ต่างๆ ให้แก่หลวงปู่เหรียญจนหมดสิ้น เช่น วิชามหา อุตม์ วิชามหานิยม วิชาทำธงกันสายฟ้า วิชาเชือกคาดเอว วิชาย่นระยะทาง ตลอดจน วิชาแพทย์แผนโบราณและตัวยาสมุนไพรต่างๆ

ในด้านการพัฒนาวัดนั้นได้สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ได้ส่งเสริมเป็นพิเศษ สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับมีดังนี้ ในปี พ.ศ.2460 ได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวง พ.ศ.2461 เป็นพระครูวิศิษย์สมาจารย์ พ.ศ.2472 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2490 เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก พ.ศ.2496 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนา ธุระ ราชทินนาม "พระโสภณสมาจารย์" หลวงปู่เหรียญมรณภาพในปี พ.ศ.2503 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

ในด้านวัตถุมงคลท่านได้สร้างไว้หลายอย่างเช่น พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ พระท่ากระดานเนื้อตะกั่ว พระปิดตาเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เหรียญรูปหลวงปู่ยิ้มและหลวงปู่เหรียญ แหวนเงินลงถมสิงห์งาแกะ ตะกรุดลูกอม ลูกอมกระดาษสา ตะกรุดโทน เชือกคาดเอว รูปถ่าย ขันน้ำมนต์ไม้ส้มป่อย เป็นต้น พระเครื่องของท่านบางอย่างเริ่ม หายากและนิยมกันมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตารุ่นแรก ปี พ.ศ.2481 ของหลวงปู่เหรียญมาให้ ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12403920541206_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี เป็นชนิดเนื้อผงพุทธคุณ มีอยู่หลายพิมพ์ทรง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่อง ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเหมือนกัน ในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี อยู่คนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากับศาลากลางหลังเก่า วัดแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระชนนีนาถ สมเด็จพระศรีสุราลัยพระพันปีหลวง เดิมอุปาจารของวัดเป็นเคหสถานของพระยานนทบุรี ซึ่งเป็นพระชนกนาถของพระพันปีหลวง

พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติได้ถูกลักลอบขุดพบในประมาณปี พ.ศ.2484 มีคนร้ายเข้าไปลักลอบขุดที่องค์พระเจดีย์ใหญ่ ได้พระไปจำนวนหนึ่ง เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้นำพระที่เหลือไปเก็บรักษาไว้ และได้แจกจ่ายในเวลาต่อมา พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติมีอยู่หลายพิมพ์ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จก็มีอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์กลีบบัว พิมพ์ชินราช และพิมพ์แบบพระคง เป็นต้น พระทั้งหมดเป็นพระแบบเนื้อผงสีขาวอมเหลือง พระพิมพ์แบบพระสมเด็จก็มี พิมพ์ยันต์ห้า พิมพ์สามชั้น พิมพ์ยันต์วา พิมพ์ห้าชั้น พิมพ์ข้างอุ พิมพ์เจ็ดชั้น เป็นต้น ทุกพิมพ์ของพระวัดเฉลิมพระเกียรตินิยมทุกพิมพ์ สนนราคาก็ลดหลั่นกันไป

พระเครื่องของวัดเฉลิมพระเกียรตินั้นไม่มีบันทึกว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด และอยู่ในยุคของเจ้าอาวาสรูปใด มีแต่เพียงการบอกเล่ากันต่อๆ มา และสันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างในยุคของพระเทพโมลีแก้วเป็น เจ้าอาวาส พระเทพโมลีแก้วเป็นเจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติในปี พ.ศ.2431 จนถึงปี พ.ศ.2443 พิจารณาพระวัดเฉลิมพระเกียรติจากความเก่าก็ดูจะสอดคล้องกัน จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าน่าจะสร้างในช่วงที่พระเทพโมลีแก้วเป็นเจ้าอาวาสและน่าจะสร้างเป็นพิธีใหญ่ เนื่องจากจำนวนของพระ และศิลปะการแกะแม่พิมพ์ก็น่าจะเป็นช่างผู้มีฝีมือ มีแม่พิมพ์อยู่หลายแบบ อีกอย่างหนึ่งเป็นพระที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดหลวง ก็เป็นไปได้ว่าต้องเป็นพิธีใหญ่และในวาระพิเศษวาระได้วาระหนึ่ง

พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเครื่องยอดนิยมของสังคมพระเครื่อง สนนราคาเช่าหาในปัจจุบันหลักหมื่นถึงแสนเลยทีเดียวครับ และก็หาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมก็มีทำตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ เรื่องพระปลอมนั้นเหมือนยาดำแทรกมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรขอให้มีราคานิยมเช่าหาเป็นต้องทำมาหลอกหลอนทุกทีไปครับ ส่วนฝีมือพระปลอมก็ว่ากันไป มีทั้งฝีมือดีและฝีมือห่างๆ เวลาจะเช่าหาพระก็ควรศึกษาดูสักหน่อย อย่าคิดหาของฟลุกราคาถูกๆ

ถ้าเรายังดูพระไม่เป็นก็หาคนที่ไว้ใจได้เป็นพี่เลี้ยงหรือเช่าหาจากคนที่น่าเชื่อถือได้ในสังคมหน่อยก็พอจะปลอดภัยได้ ถ้าราคาถูกกว่าที่น่าเป็นจริงก็ต้องระวังไว้ก่อน แต่ถ้าดูเองเป็นก็ไม่มีปัญหา

พระวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจ เป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณดีมีประสบการณ์ หาพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหมไม่ได้ก็ห้อยพระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติได้ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ จากนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47580468613240_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระปิดตามหาอุด

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวาร ในสมัยก่อนเชื่อกันว่าเป็นพระที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นรูปพระเครื่องที่มีมือปิดหน้าคือปิดตา ปิดปาก ปิดจมูก มืออีกคู่หนึ่งปิดหู มีมืออีกคู่หนึ่งปิดท้อง และอีกคู่หนึ่งปิดทวาร บางคนก็เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้าก็มี คติความคิดในสมัยก่อนก็คือใช้ทางคุ้มครองอยู่ยงคงกระพัน การสร้างพระปิดตาหรือพระปิดทวารนั้นมีการสร้างมานมนานหลายร้อยปีมาแล้ว เช่นพระปิดตา ของกรุวัดท้ายย่าน พระปิดตาพิชัย เป็นต้น

ความจริงการปิดทวารทั้งเก้านั้นเป็นการสอนเตือนใจ หมายถึงการปิดกั้นกิเลสทั้งหลายทั้งปวง โบราณจารย์ท่านทำเป็นปริศนาธรรมสั่งสอนไว้ในรูปพระเครื่อง ให้มีความอดกลั้นต่อกิเลสทั้งปวง งดเว้นข่มใจ ไม่โกรธ ไม่เกลียด สองมือปิดตาไม่มองเห็นสิ่งในสิ่งชั่วไม่เห็นในทรัพย์ศฤงคาร ปิดปาก เพื่อเตือนให้พึงสำรวมวาจาใจ ปากนำมาซึ่งทุกข์และสุข มากต่อมากต้องเสียคนเพราะปาก ปากที่พูดไม่เข้าหูคน ปากก่อให้เกิดทั้งมิตรและศัตรู ปิดหูเสียบ้าง ไม่รู้ไม่ได้ยินต่อคำสรรเสริญไม่ฟังต่อคำส่อเสียด ปิดท้องไม่โลภหลงพึงมีพึงพอต่อสินทรัพย์ ปิดทวาร ความไม่มักมากในกามารมณ์ ข่มใจลงเสียบ้างความผ่องใสย่อมบังเกิดในดวงจิต ผ่องใสจากความขุ่นมัว ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข

พระปิดทวารหรือปิดตามหาอุดที่มีศิลปะสวยงามและในสมัยวัยรุ่นผมอยากได้มาก ก็คือพระปิดตามหาอุดของหลวงพ่อทับ วัดทอง เนื่องจากมีศิลปะสวยงาม และฟังเรื่องเล่าต่างๆ ของความขลังจากผู้เฒ่าผู้แก่ มาในสมัยนั้นแล้วก็อยากได้มาห้อยคอมาก แต่ก็ไม่มีโอกาส เนื่องจากเป็นพระยอดนิยมและเจ้าของก็หวงมาก สนนราคาก็สูงมากตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พระมหาอุดวัดทองนั้นมีอยู่หลายพิมพ์ หลายเนื้อ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ ส่วนพิมพ์ที่เห็นส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์เศียรโตหรือพิมพ์เศียรบาตร พระพิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์บายศรี พระพิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์ที่เป็นพิเศษหน่อยก็พิมพ์เศียรแหลมนั่งบัว

พระปิดตามหาอุดของวัดทองนี้เท่าที่ศึกษาดู องค์พระจะมีหลายขนาด แต่ก็จะมีหุ่นเทียนที่เป็นตัวองค์พระคล้ายๆ กันอยู่ในแต่ละพิมพ์ แต่ในส่วนของยันต์นั้นจะมีการฟั่นเทียนเป็นเส้นคล้ายเส้นลวด แล้วนำมาวางเป็นตัวยันต์ตามที่หลวงพ่อกำหนดลงบนหุ่นเทียนองค์พระ ดังนั้นจะเห็นว่าตัวยันต์ของพระวัดทอง ถึงแม้ว่าตัวยันต์จะเป็นอักขระเดียวกัน แต่ก็จะไม่เหมือนกันแบบที่ออกมาจากแม่พิมพ์ เป็นการวางยันต์ในแต่ละองค์

พระปิดตาวัดทองมีศิลปะที่สวยงามมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระปิดตามหาอุดเนื้อโลหะที่มีศิลปะอันงดงามที่สุด อีกทั้งความเข้มขลังของหลวงพ่อทับที่ปลุกเสกพระปิดตามหาอุดบรรจุลงไป ก็ทำให้คนที่ใช้แล้วมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ครับก็แน่นอนอย่างหนึ่งที่คนเห็นกันง่ายๆ ก็คือทางด้านอยู่ยงคงกระพัน เพราะในสมัยก่อนพอมีคนถูกฟันไม่เข้าก็จะเป็นที่โจษขานกันว่ามีพระอะไรดีจึงฟันไม่เข้าอะไรทำนองนั้น ก็เป็นที่นำมาเล่าขานบอกต่อกัน ความจริงพระวัดทองก็มีพุทธดีทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดด้วย ถ้าเราปฏิบัติตามที่พระเกจิอาจารย์ท่านได้สั่งสอนไว้คือ ปิดหู ปิดตา ปิดปาก ปิดทวารเสียบ้างก็จะมีความสุขความเจริญแก่เราได้ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตา หลวงพ่อทับวัดทอง พิมพ์ยันต์น่องมาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ (
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27986133926444_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระหลวงปู่ทวดรุ่นเลขใต้ฐาน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ปี พ.ศ.2505 หรือรุ่น "เบตง" เป็นพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดแบบลอยองค์ที่นิยมมากที่สุดในพระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ปัจจุบันสนนราคาสูงมาก และหาแท้ๆ ยากครับ

พระรูปหล่อหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 พระรุ่นนี้จัดสร้างโดยท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ในสมัยที่ท่านได้ไปรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษา ที่ อ.เบตง จ.ยะลา กับนายชะลอ เชาว์ดี นายด่านศุลกากร ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ร่วมกับคณะกรรมการของวัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา ได้ร่วมกันจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มีการสร้างพระวิหาร เพื่อประดิษฐานรูปหล่อองค์หลวงปู่ทวด เมื่อปี พ.ศ.2505 ณ วัดพุทธาธิวาส ซึ่งเป็นวัดทางพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศไทย

พระรูปหล่อที่สร้างในครั้งนี้ ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ได้ไปขออนุญาตต่อท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี และรูปแบบในการสร้างคือ ได้นำแบบของรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปี พ.ศ.2495 โดยมีช่างหรัส พัฒนางกูร ผู้ซึ่งเป็นช่างหล่อพระกริ่งหลายรุ่นของวัดสุทัศน์ รับทำรูปหล่อหลวงปู่ทวดรุ่นนี้

พระรูปหล่อหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ประกอบพิธีเททองหลอมเนื้อโลหะ โดยมีพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานในการนั่งปรกคุมแผ่นธาตุ ซึ่งหมายถึง แผ่นพระยันต์ต่างๆ ที่นำมาหล่อหลอมรวมกัน ฤกษ์ยามการประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอน กำหนดโดยท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เมื่อเทหล่อเป็นองค์พระ หลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐานเรียบร้อยแล้ว จึงได้นิมนต์ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มาบรรจุผง เนื้อว่านหลวงปู่ทวด รุ่นแรก เข้าไปในองค์พระ แล้วจึงอุดที่ใต้ฐานอีกทีหนึ่ง และตอกเลขประจำองค์พระกำกับไว้ จากนั้นจึงได้นำพระทั้งหมดลงไปทำพิธีปลุกเสกที่วัดช้างให้

จำนวนพระที่สร้างทั้งหมดประมาณหนึ่งพันองค์ และได้นำมาตอกหมายเลขเรียงกันตั้งแต่เลข 1 ถึงเลข 999 จำนวนพระที่หล่อเกินนั้นเนื่องจากทำไว้เผื่อมีพระที่ชำรุดจากการเทหล่อ ในส่วนเกินนี้ จะไม่มีการตอกหมายเลข สรุปว่าพระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 จะมีจำนวนที่แน่นอน คือ 999 องค์เท่านั้น และมีอยู่เนื้อเดียวเท่านั้นครับ

เนื้อของพระจะออกเป็นนวโลหะกลับดำ แต่กระแสเนื้อในนั้นออกสีมันเทศ จุดสำคัญที่สุดของพระรุ่นนี้อยู่ที่ตัวเลขอารบิก ซึ่งติดอยู่ที่ก้นขององค์พระนั้น มีอยู่ชุดเดียวเท่านั้น และมีอยู่ 9 ตัวเท่านั้น เนื่องจากตัวเลข 6 กับเลข 9 ใช้ตัวเดียวกัน ช่างได้ใช้ตอกสลับหัวกัน ดังนั้น เมื่อตัวตอกเลขมีชุดเดียวก็สามารถใช้เป็นเสมือนตัวโค้ดได้เป็นอย่างดี แต่ละตัวเลขจะเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นจุดตำหนิในการพิจารณาได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถบอกได้เลยว่าเป็นพระแท้หรือปลอม

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 เนื้อนวโลหะ มาให้ชมทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง และใต้ฐานที่ตอกตัวเลขกำกับองค์พระมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88312423022256_view_resizing_imagesX8BATCPB_3.jpg)
พระสรรค์คางเครา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถานและมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

พระกรุเมืองสรรค์นั้นมีมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือ พระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวงของกรุ วัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึง พระสรรค์นั่ง และ พระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบ การณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และที่หวงแหนกันมาก สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็ต้องยกให้พิมพ์คางเคราซึ่งพบน้อย เคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้เห็นกันเลยครับ พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเคราในสมัยก่อนจะเรียกกันสั้นๆ ว่าพระสรรค์คางเครา ก็จะเข้าใจกันว่าหมายถึงพระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา ซึ่งหายากมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพระมีน้อยหายากมาตั้งแต่ตอนที่พระแตกกรุแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีประสบการณ์ทางด้าน อยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดมาก ใครมีก็หวงแหนกันมาก

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา กรุพระที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา ที่เรียกชื่อกันแบบนี้ก็เนื่องมาจากพระพิมพ์นี้ พระหัตถ์ของพระจะยื่นยาวมาจรดกับคางของพระ จึงทำให้มองดูคล้ายกับมีเครายาวลงมาครับ ซึ่งก็อาจจะเป็นการแกะแม่พิมพ์พระของช่างพลาดไป หรือแม่พิมพ์แตกเป็นตำหนิก็เป็นได้ แต่ก็ทำให้จำนวนของพระมีน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ และพระพิมพ์นี้ก็เป็นพิมพ์ที่มีประสบการณ์มากจึงเป็นที่นิยมกันมากครับ

พระสรรค์นั่ง และพระลีลาเมืองสรรค์นั้น เท่าที่ดูจากศิลปะแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยายุคต้นๆ ศิลปะอาจจะไม่ค่อยงดงามนัก แต่ก็ยอดเยี่ยมทางด้านพุทธคุณ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันทั้งพระสรรค์นั่งและพระลีลาเมืองสรรค์แท้ๆ ก็หายากแล้ว ยิ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมหน่อยก็ยิ่งหายากมากยิ่งขึ้น และมีราคาสูงเช่นพระสรรค์นั่งไหล่ยก และพระลีลาเมืองสรรค์ยิ่งเป็นพิมพ์คางเคราก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีก ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครากรุวัดมหาธาตุ เนื้อดิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 พฤศจิกายน 2562 15:43:18

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23946991355882_25142311_1_320x200_.jpg)
พระสมเด็จฯเสร็จทุกราย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จฯ ในที่นี้จะหมายถึงพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ วลีที่ว่า "พระสมเด็จฯ เสร็จทุกราย" เป็นวลีที่มีมานานพอสมควรแล้วก็เพราะอะไร ก็เนื่องมาจากผู้ศรัทธาในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ต่างก็อยากจะได้ไว้บูชา แต่พระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีสร้างไว้จำนวนหนึ่งเท่านั้น และสร้างไว้เมื่อร้อยกว่าปีก่อนแล้ว จำนวนพระสมเด็จฯ แท้ๆ ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ศรัทธา มูลค่าของพระสมเด็จฯ จึงมีมูลค่าสูงมากๆ แล้วก็มีคนทำปลอมกันมากที่สุด และมีทำปลอมกันมาเป็นร้อยปีมาแล้ว หลากหลายฝีมือ มีทั้งที่ทำไม่เหมือนเลย มีทั้งที่ทำนอกตำรา และทำได้ค่อนข้างใกล้เคียง

ทำไมพระสมเด็จฯ ต้องเสร็จทุกราย ก็เนื่องมาจากคนที่เสาะหาพระสมเด็จฯ นั้น ส่วนใหญ่ก็จะหาพระแบบไม่เคยศึกษาหรือมีความรู้ว่าพระสมเด็จฯ ของวัดระฆังฯ หรือของวัดบางขุนพรหมที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นั้นมีกี่พิมพ์และมีแม่พิมพ์เป็นอย่างไรบ้าง เนื้อหามวลสารที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นอย่างไร กรรมวิธีการสร้างนั้นเป็นอย่างไร หรือศึกษามาแบบผิดๆ พอเวลาจะหาเช่าก็คิดเอาเองว่าตัวเองนั้นมีความรู้ดูเป็น และหาพระแบบที่ราคาถูกๆ กว่ามูลค่าความเป็นจริงมากๆ บางคนก็หวังจะได้แบบถูกๆ เพื่อนำมาขายให้ได้ กำไรเยอะๆ แบบถูกลอตเตอรี่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเป็นแบบวลีที่ว่าร้อยทั้งร้อยพอนำพระที่คิดว่าเป็นพระสมเด็จฯ ไปเช็กหรือไปขายต่อก็จะกลายเป็นพระเก๊ตลอดไป จึงกลายเป็นว่าการนำพระสมเด็จฯ มาเช็กว่าแท้หรือไม่ เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จะพบว่า ไม่แท้

นอกจากพระสมเด็จฯ ที่ทำปลอมตามแบบพระแท้แล้ว ก็ยังมีจำพวกพระนอกตำรา คือสร้างรูปแบบขึ้นมาเอง แล้วสร้างนิทานตามมาว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้ คือสร้างตำนานเก๊ขึ้นมาเองเพื่อรองรับกับพระที่ตนสร้างไว้เพื่อหลอกขายอีกต่างหาก พระแบบนี้ก็มีการทำมานานแล้วเช่นกัน ประเภทที่มีด้านหลังเขียนอักษรข้อความต่างๆ ไว้ ระบุปี พ.ศ.บ้าง มีตราประทับบ้าง ประเภทฝังเพชรฝังพลอยบ้าง ฝังอะไรต่างๆ บ้าง อะไรทำนองนี้ ประเภทนี้เป็นประเภทพระอุปโลกน์ทั้งสิ้น ไม่มีบันทึกที่เป็นจริงไว้เลย ที่แน่ๆ ไม่มีมูลค่ารองรับ คือนำไปขายที่ไหนก็ไม่มีใครซื้อ พิสูจน์ง่ายๆ พระสมเด็จฯ ทั้ง 2 วัดทั้งวัดระฆังฯ และบางขุนพรหม ถ้าแท้ไม่หักไม่ซ่อมมูลค่ารองรับอยู่ที่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป นำไปขายได้เลยที่ศูนย์พระมาตรฐานทั่วไป มีคนรับซื้อแน่นอนครับ ราคาจะเป็นเท่าไรกี่ล้านก็ขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ขององค์พระ และต่อรองราคากันจนเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าเป็นพระปลอม พระเก๊ พระนอกตำรา ก็ไม่มีใครรับซื้อแน่นอนครับ พระสมเด็จฯ ใครๆ ก็อยากได้ และก็รู้กันโดยทั่วไปว่ามูลค่าราคานั้นเป็นหลักล้าน แล้วทำไมเขาไม่ขอซื้อหรือต่อรองราคาเลย ความจริงก็น่าจะพอเข้าใจได้นะครับว่าก็มันไม่แท้ไงครับ

พระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีไหม ก็ตอบได้ว่ามีแน่นอนครับ แต่สนนราคามูลค่านั้น สูงมากๆ ประการสำคัญก่อนที่จะเช่าหานั้นก็ควรจะต้องศึกษาหาความรู้พระสมเด็จฯ แท้ๆ เสียหน่อย หารูปพระแท้ๆ ดูบ้าง เช่าหาจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์ รับผิดชอบเกี่ยวกับพระที่เขาให้เช่า เรื่องการศึกษาจากตำราหรือรูปพระสมเด็จฯ นั้นก็มีความสำคัญ ในปัจจุบันมีการทำหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จฯ แบบมั่วๆ ก็เยอะ เพื่อมารองรับการหลอกขายของเขาเองก็มาก ทำเป็นหนังสือปกแข็งสี่สีอย่างดี แต่เนื้อหามั่วมาก นำรูปพระปลอมมาลงไว้ หนังสือบางเล่มก็ค่อนข้างดี แต่ก็มีพระปลอมปนอยู่ก็มี เรื่องการศึกษาจากตำรานั้นก็ต้องเลือกก่อนว่าตำรานั้นถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ ปัจจุบันก็น่าหนักใจแทนครับสำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ามาศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพราะก็ไม่รู้ว่าหนังสือหรือตำราเล่มไหนดีถูกต้อง ถ้าศึกษาผิดก็จะหาทางกลับยากครับ ในสมัยก่อนเขาเรียกว่า "เข้าป่า" หมายถึงหลงป่าหาทางกลับไม่เจอครับ

ในสมัยก่อนที่ผมเริ่มศึกษาใหม่ๆ ก็เข้ารกเข้าพงไปเยอะ กว่าจะหาทางกลับได้ก็แทบแย่เหมือนกัน โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยนั้นท่านเมตตาแนะนำสั่งสอน และนำพระแท้ๆ มาให้ดูให้ศึกษาจึงหาทางกลับมาได้ครับ

ในสมัยนั้นรูปพระหายากไม่ค่อยมีใครถ่ายไว้ แต่ก็โชคดีที่พระแท้ๆ นั้นผู้หลักผู้ใหญ่ท่านยังเมตตานำมาให้ดูให้ศึกษาได้ ปัจจุบันรูปถ่ายพระเครื่องมีมากมาย แต่ก็กลับกันรูปพระองค์ไหนแท้องค์ไหนเก๊ ก็เป็นอีกปัญหาอีกหนึ่ง ถ้าผิดก็ออกทะเลได้ครับ พูดมาถึงตรงนี้ก็จะถูกถามว่า แล้วหนังสือเล่มไหนที่มีรูปพระแท้ๆ แนะนำบ้างล่ะ ครับถ้าจะให้ผมแนะนำก็จะบอกว่า หนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส แต่เป็นหนังสือที่ออกมานานแล้ว พิมพ์ครั้งแรกนั้นหมดไปนานแล้ว แต่ได้ยินว่ามีการพิมพ์ครั้งที่ 2 ลองหาซื้อมาดูรูปได้ครับ ในนั้นมีรูปพระเบญจภาคี เป็นภาพสี่สี ขนาดเต็มหน้า ทั้งด้านหน้าพระและด้านหลัง แท้ๆ ทุกองค์ครับ ลองหามาศึกษาได้ครับ

นอกจากนี้ก็ยังมีหนังสือพระยอดนิยม ของประจำ อู่อรุณ อีกเล่มหนึ่ง น่าจะจัดพิมพ์อยู่หลายครั้งแล้ว และน่าจะพอหาซื้อได้ไม่ยากนัก หนังสือของประจำ อู่อรุณ นั้นจะมีพระเบญจภาคีและพระยอดนิยมอยู่หลายอย่าง ลองหาซื้อดูครับ ถ้าจะหารูปชัดๆ ใหญ่ๆ ก็ต้องหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส เน้นแต่พระเบญจภาคีอย่างเดียวครับ

การจะเช่าหาพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระอะไรก็ควรจะต้องศึกษาเสียหน่อยก่อนที่จะเช่าครับ ยิ่งเป็นพระที่มีมูลค่าสูงๆ นั้นก็ยิ่งต้องศึกษาดูเสียหน่อยครับ หาคนที่มีความรู้จริงและเชื่อถือได้เป็นพี่เลี้ยงและขอความรู้จากเขาก็คงพอจะปลอดภัยได้ครับ จะได้ไม่เป็นตามวลีที่ว่า "พระสมเด็จฯ เสร็จทุกราย" ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปหน้าปกหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส และหนังสือพระยอดนิยม ของประจำ อู่อรุณ ทั้ง 2 เล่ม มาให้ดูครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81402557467420__1_320x200_.jpg)
พระกรุวัดหัวเมืองนครสวรรค์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครสวรรค์เป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณนับเป็นพันปีมาแล้ว ในพุทธศตวรรษที่ 13-16 ดินแดนแถบนี้ก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดียตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา ดังนั้นจึงเคยมีการค้นพบเมืองโบราณต่างๆ อยู่หลายเมือง เช่นเมือง จันเสน เมืองดงแม่นางเมือง หรือบ้านโคกไม้เดน ก็มีร่องรอยคล้ายเมืองโบราณที่พบในภาคอีสาน จากศิลาจารึกซึ่งค้นพบที่ดงแม่นางเมือง แปลความว่า เป็นดินแดนที่ชื่อ "ธานยบุรี" จากการขุดพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปสำริด และพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะขอมแบบลพบุรีอีกมากมาย

นครสวรรค์เคยมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น เมืองพระบาง เนื่องจากเคยเป็นเมืองที่พักระหว่างทางของพระพุทธรูปสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงอัญเชิญมาจากประเทศลาว และภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้นำกลับไปคืน หรือชื่อเมืองชอนตะวัน ซึ่งเรียกตามลักษณะของเมืองที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เมืองสี่แคว เรียกตามการมาบรรจบกันของแม่น้ำสี่สาย เมืองปากน้ำโพ ที่มาจากคำว่าปากน้ำโผล่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ ณ สถานที่ของแม่น้ำใหญ่ที่ไหลมาบรรจบกันในปี พ.ศ.2438 นครสวรรค์เป็นหนึ่งในสี่มณฑลแรกที่ตั้งขึ้น โดยมีอาณาเขตเมืองนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ชัยนาท อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ และสรรคบุรี กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 7 มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการปี พ.ศ.2476 จึงได้ยุบเลิกมณฑล นครสวรรค์จึงมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ.2510 ได้มีการขุดพบพระเครื่องที่วัดหัวเมือง เขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ พระที่แตกกรุออกมานั้นมีอยู่ด้วยกันสองแบบ คือเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ซึ่งเชื่อกันว่า "พระนางพญา กรุวัดหัวเมือง" และพระพิมพ์แบบพระซุ้มนครโกษา ก็เรียกกันว่า "พระซุ้มนครโกษา กรุวัดหัวเมือง" พระทั้งหมดที่พบ จะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น จำนวนที่พบก็ไม่มากนัก และไม่มีใครได้จดบันทึกเรื่องจำนวนไว้ จึงไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของพระที่พบ จากศิลปะของพระเครื่องกรุวัดหัวเมืองนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา

พระเครื่องกรุวัดหัวเมืองนี้ เมื่อขึ้นมาจากกรุใหม่ๆ นั้น จะมีสนิมไขขาวปกคลุมอยู่เกือบทั้งองค์ เมื่อนำมาล้างเอาคราบสนิมไขขาวออกบ้างนั้นก็จะพบว่าเนื้อในมีสนิมแดง สวยงาม สีออกแดงเข้มอมม่วง ตอนพระแตกกรุใหม่ๆ นั้นสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก แต่ต่อมาพระได้เข้ามาสู่ส่วนกลางในกทม. พระของกรุนี้ก็ได้หมดไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นพระที่มีสีสนิมแดงสวยงาม และมีขนาดเล็กเหมาะแก่การนำไปเลี่ยมห้อยคอ ว่ากันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีครับ

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระของกรุนี้กันนักครับ และก็เช่นเคยครับ ผมจึงได้นำรูปพระเครื่องของกรุนี้มาให้ท่านผู้อ่านได้ชมกันหลายๆ สภาพ ทั้งที่ยังไม่ได้ล้างเอาสนิมไขขาวออกและพระที่ล้างสนิมไขขาวออกบ้างแล้วครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48876280792885_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระร่วงกรุสองพี่น้อง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รัก ทุกท่าน ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนินดินอยู่เนินหนึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "เนินวิหาร" สถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นวิหารโบราณเก่าแก่มาก่อนก็เป็นได้ แต่ปรักหักพังไปเหลือแต่เนินดินเท่านั้น และที่เนินดินแห่งนี้มีจอมปลวกใหญ่อยู่จอมหนึ่ง ใครๆ ก็ไม่กล้าเข้าไปขุดค้น เนื่องจากเกรงกลัวเพราะมีคนโบราณทักไว้

ต่อมาในปี พ.ศ.2513 นายอำเภอสองพี่น้องได้ส่งรถไปเกรดดิน ตามเส้นทางบนถนนโบราณ เพื่อทำถนนไปยังปากคลองบางสาม และรถแทรกเตอร์ได้ไปเกรดดินจอมปลวก และพบพระพุทธรูปปางนาคปรกชำรุดหนึ่งองค์ และมีพระร่วงกระจัดกระจายอยู่ไม่มากนัก ชาวบ้านก็ได้เข้าไปคุ้ยเขี่ยหาพระกัน ได้ไปคนละองค์สององค์ พอวันรุ่งขึ้น นายถึก เจ้าของที่ดิน จึงลองขุดดู และพบแผ่นอิฐโบราณ พองัดขึ้นมาก็พบทรายและพบไหที่มีพระบรรจุอยู่ เป็นพระพุทธรูป 3 องค์ เนื้อสำริด ปางนาคปรก นอกนั้นเป็นพระเครื่องปางประทานพร เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงจำนวนหลายองค์ ประมาณสักหนึ่งพันองค์ได้ และยังพบพระอีกไหหนึ่ง อยู่ห่างจากที่เดิมเมตรกว่าๆ มีพระอยู่ประมาณ 400 องค์ เป็นพระที่เป็นแบบเดียวกัน

พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น พิมพ์ที่พบเป็นพระร่วงยืนประทานพร และสามารถแยกได้เป็นสองพิมพ์ คือพิมพ์หนึ่งที่พระบาทไม่มีรอยพิมพ์แตก และอีกพิมพ์หนึ่งมีรอยพิมพ์แตกที่พระบาท พุทธลักษณะทั้งสองพิมพ์นั้นคล้ายกันมาก จุดสังเกตคือที่พระบาทของพระเท่านั้น พระจากกรุนี้เมื่อขึ้นจากกรุใหม่ๆ จะมีไขขาวจับอยู่ที่ผิวพระมาก เมื่อล้างไขขาวออกก็จะเห็นผิวสนิมแดงเข้มสวยงาม บางองค์ออกสีน้ำตาลเข้มอมแดง บางองค์ออกดำอมม่วง บางองค์จะมีสีสนิมแดงจัด สนิมแบบนี้จะพบน้อยกว่าอย่างอื่น

พุทธลักษณะของพระร่วงกรุนี้สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างในยุคอู่ทองล้อลพบุรี ขอบซุ้มจะเป็นลักษณะคล้ายเกลียวเชือก ศิลปะก็คล้ายกับพระร่วงกรุ โรงสี พระร่วงกรุนี้ในการพบตอนแรกๆ นั้นก็เรียกกันว่า "พระร่วง กรุโคกวิหาร" แต่ต่อมาการเรียกก็เปลี่ยนไป เป็น "พระร่วง กรุสองพี่น้อง" ตามชื่ออำเภอ ที่พบพระ ปัจจุบันสถานที่พบพระถูกไถราบเรียบเป็นที่นาไปเรียบร้อยแบบเดียว กับกรุอื่นๆ มีเพียงศาลเจ้าที่เจ้าทางสำหรับกราบไหว้ ที่ท่านเจ้าของที่ดินได้สร้างไว้เป็นอนุสรณ์เท่านั้น ที่จะทำให้ทราบว่า แต่เดิมเคยเป็นโคกพระที่พบพระร่วง กรุสองพี่น้องครับ

ปัจจุบันพระร่วง กรุสองพี่น้อง ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก เนื่องจากกระจัดกระจายกันไปยังผู้นิยมสะสมพระเครื่องในจังหวัดสุพรรณฯ และที่อื่นๆ บ้าง ว่ากันว่าพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาในปัจจุบันก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วง กรุสองพี่น้อง เนื้อชินสนิมแดง มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15662214946415_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
รูปหล่อหลวงพ่อเสาร์

"พระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต" หรือ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต" เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 101 ปี พรรษา 34

นามเดิม นายเสาร์ ศิริพล เกิดเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2462 ที่บ้านหนองแวง ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้น ป.4 จากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยัน ขันแข็ง

จนถึงปี พ.ศ.2528 เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดใต้แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูชัยสิทธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ (ปัจจุบัน ดำรงสมณศักดิ์พระเทพสารคามมุนี เจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม)

จากนั้นออกจาริกแสวงหาโมกขธรรม ไปตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน โดยเฉพาะเทือกเขาภูพาน

หลายปีผ่านไป จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแวง บ้านเกิด

ต่อมาวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดว่างลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านมาอยู่จำพรรษา และให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตราบจนปัจจุบัน

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต ในฐานานุกรม พระเทพสารคามมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี แห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดแคลนหลายอย่าง คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "อ๊อด ศิลาอาสน์" จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรูปหล่อหลวงปู่เสาร์ รุ่นแรก

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ออกแบบได้สวยงาม เป็นรูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ห่มจีวรเฉียงนั่งในท่ากัมมัฏฐานบนฐานเขียง ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "หลวงปู่เสาร์" ใต้ฐานอุดทองคำ เงิน และผงพระกรุนาดูน พร้อมตอกโค้ดและหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้างกำกับ

จำนวนการสร้างน้อย ประกอบด้วย เนื้อเงินก้นอุดทองคำ 19 องค์ เนื้อเงิน 56 องค์ เนื้อนวะก้นอุดเงิน 111 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 100 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในอุโบสถวัดบ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม วันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2562 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย หลวงปู่เสาร์ วัดโพธิ์ศรี, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่พา สุนทโร วัดฮ่องแฮ จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52478998982244_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องรุ่นเก่าๆ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกัน นับวันแทบจะไม่ได้มีใครพูดถึง แต่พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้เรารู้ถึงประวัติความเป็นมาในอดีต พระเครื่องที่ผมจะพูดถึงในวันนี้คือพระร่วงยืนเปิดโลกซุ้มประตู วัดมหาธาตุ เพชรบูรณ์ครับ

วัดมหาธาตุ เป็นวัดคู่เมืองเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ ต.ในเมือง ห่างที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 200 เมตร มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ส่วนยอด พระเจดีย์หักพังไปแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนปี พ.ศ.2483 วัดมหาธาตุมีสภาพเกือบเป็นวัดร้าง เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์ 1 หลัง กับศาลาการเปรียญเก่าที่ใช้การเกือบไม่ได้ 1 หลัง พระอุโบสถก็เหลือแต่ฝาผนังอิฐเท่านั้น จนต้นปี พ.ศ.2483 พระเพชรบูรณ์คณาวสัย (แพ) สมัยพระครูวินัยธรได้มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติม สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง พระอุโบสถ 1 หลัง และตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมสอนทั้งแผนกธรรมและบาลี ส่วนเขตวิสุงคามสีมาของวัดนั้นเดิมคงจะมีอยู่ตามแนวเขต ใบเสมาสลักด้วยหินทรายโบราณซึ่งยังมีอยู่ทั้ง 8 ใบ จนถึงปี พ.ศ.2496 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2497

ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หลังพระอุโบสถ ได้ขุดพบกรุ ซึ่งมีเสาศิลาแลงขนาดกว้างประมาณ 70 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม. ซ้อนกันอยู่ 2 ก้อน และมีไหแบบสุโขทัย ขนาดเล็กและใหญ่ตั้งอยู่ล้อมรอบเสาศิลาแลงหลายใบ ภายในไหบรรจุทั้งพระพุทธรูป และพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง และรูปปั้นคน รูปสัตว์ต่างๆ มีโถสังคโลก ตลับทองคำจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญได้พบลานทองจารึกอักษรไทยโบราณม้วนอยู่ในท้องหมูสัมฤทธิ์ 1 แผ่น และอยู่ในไหอีก 2 แผ่น รวมเป็น 3 แผ่น จากการสำรวจพระที่ขุดพบ ปรากฏว่าได้พระพุทธรูป 900 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ล้อแบบศิลปะสกุลช่างสมัยต่างๆ ก่อนหน้าเป็นส่วนมาก ในส่วนที่เป็นพระเครื่องส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงิน ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก เมื่อคัดแยกประเภทแล้ว ได้พระเครื่องแบบต่างๆ กว่า 30 แบบ เช่น พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู พระร่มโพธิ์ พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าเงิน พระซุ้มอรัญญิก พระซุ้มเรือนแก้ว พระท่ามะปราง พระฝักดาบ พระนางพญาเพชรบูรณ์ และพระนาคปรกพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระเครื่องที่พบทั้งหมดกรมศิลปากรได้นำมาออกให้ประชาชนเช่าบูชา โดยกำหนดราคาแตกต่างกันไป ปรากฏว่าพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูเป็นพิมพ์ที่กรมกำหนด ราคาเช่าไว้สูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

พระร่วงพิมพ์นี้นับว่าสวยงาม พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์ทอดลงมาข้างลำพระองค์ พระบาทแยกออกหันพระปราษณี (ส้นเท้า) เข้าหากัน ประทับอยู่ในซุ้มประตู ต้นเสาลายก้างปลา ด้านบนซุ้มประดับลายกระหนกเครือนาคคู่ มีลายกระจังตาอ้อยอยู่ยอดบนสุด นับว่าเป็นศิลปะสกุลช่าง อยุธยาที่สละสลวยงดงามมาก สังเกตดูจากสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์เป็นแบบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยยุคปลาย แต่พระพุทธรูปและพระเครื่องที่พบนั้นกลับพบเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จึงทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่าคงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน บางองค์มีสนิมขุมและรอยระเบิดบางแห่ง คราบดินกรุฝังตัวอยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ทางด้านพุทธคุณมีพร้อม ทั้งส่งเสริมอำนาจบารมี ความเจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปองค์พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู มาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80003971399532_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญเต่ามังกรรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร หรือ พระครูโพธาภิวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ศิษย์เอกหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน เกจิผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน สปป.ลาว

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59

มีนามเดิมว่า ถนอม นนทศรี เกิดวันจันทร์ที่ 1 มี.ค.2438 ปีมะโรง ที่บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ขณะอายุ 18 ปีบวชเณรที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ.ขามเตี้ยใหญ่ ต.ขามเตี้ยใหญ่ อ.ท่าอุเทน (ในขณะนั้น)

พ.ศ.2503 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่สนธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโสตถิรธรรมคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ที เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดศรีทอง ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จบนักธรรมชั้นเอก ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สนธิ์ ผู้เป็นอาจารย์นาน 7 ปี จนช่ำชอง

ธุดงค์ไปในภาคเหนือของลาว ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ อักษรธรรม ขอม และลาว ก่อนเดินธุดงค์ต่อฝึกกัมมัฏฐานภูเขาควาย ฝั่งลาว พ.ศ.2538 หยุดธุดงค์กลับสู่วัดมาตุภูมิจนปัจจุบัน

เดือน มี.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่ามังกร รุ่นรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบบำรุงเสนาสนะภายในวัดให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน มีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำเต็มแผ่น 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาลายธงชาติ 168 เหรียญ, เนื้อแร่เหล็กเปียกพระธาตุหน้ากากทองทิพย์หลังจารยันต์ 80 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ชุม 3K (งานพรีเมียมจิวเวลรี่) 333 เหรียญ, และชุดกรรมการ 333 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปเต่า ส่วนหัวเป็นหัวมังกร เท้าเต่าทั้ง 4 ข้างสลักตัวหนังสือข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ใต้หัวมังกรสลักยันต์อุณาโลม ด้านข้างใบหูด้านซ้ายสลักยันต์เต่าต้นตำรับหลวงปู่หลิว วัดไร่แตง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ใน ท่านั่งขัดสมาธิ บนแท่นฐานพญานาค 2 เศียรขดหาง ด้านล่างสลักคำว่า รวยทันใจ

ด้านหลังเหรียญ แบนราบ หัวเต่าสลักอักขระยันต์ นะฤๅชา เท้าเต่า 4 ข้างสลักอักขระข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ตรงกลางเหรียญสลักอักขระ 2 บรรทัดซึ่งเป็นอักขระประจำตัวหลวงปู่ซึ่งใช้ทำเหรียญรุ่นแรก ถัดจากอักขระสลักตัวหนังสือ 4 บรรทัด อ่านว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒ หางเต่าสลักยันต์ อุ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหน้าองค์พญาศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขง วันที่ 23 พ.ย.2562 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มีหลวงปู่ถนอม นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก
    ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59282399010327_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระพิจิตรข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดเขาพนมเพลิง เป็นพระกรุใหญ่กรุหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และก็มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายๆ พิมพ์ บางพิมพ์ก็หายากมากในปัจจุบัน และมีสนนราคาสูงมาก เช่น พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระลีลาบัวสองชั้น พระตะกวน เป็นต้น

ครับกรุวัดเขาพนมเพลิงนั้น ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดในปี พ.ศ.2507 ประมาณปลายๆ ปี ซึ่งกรุนี้ถูกหมายตาจากนักขุดกรุ เนื่องจากในสมัยนั้นยังคงเป็นป่าต้นไม้ขึ้นปกคลุม และอยู่ห่างไกลสายตาผู้คน ตัวองค์พระเจดีย์ก็ยังสมบูรณ์ไม่เคยถูกเจาะมาก่อน คนกลุ่มนี้วางแผนไว้เป็นอย่างดี เมื่อได้เวลาตามนัดหมายก็เข้าไปขุดในเวลากลางคืน เจาะผนังเจดีย์ตรงที่มีรอยชำรุดอยู่ก่อนหน้า และเข้าไปจนถึงกรุบรรจุพระ ก็พบพระเครื่องจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน มีเนื้อดินเผาบ้างเล็กน้อย ทุกคนตกตะลึงกับจำนวนพระเครื่องที่มีมากมายเนื่องจากยังไม่เคยมีคนมาขุดก่อนหน้าเลย มีพระพุทธรูปอยู่ประมาณร้อยกว่าองค์ และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นร้อยพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ตะกวน พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระร่วงนั่งหลังตัน (แบบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม แต่ด้านหลังตัน) พระลีลาบังสองชั้น พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระเชตุพน พระซุ้มเรือนแก้ว พระเชตุพนบัวสองชั้น พระพิจิตรข้างเม็ดเป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระแผงผสมอยู่บ้าง พระส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาว อาจจะเป็นเพราะพระถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ที่สร้างไว้ยอดเขา จึงไม่ถูกความชื้นมากนัก ผิวของพระจึงยังคงความสมบูรณ์ เป็นคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์

พอตอนเช้าพระทั้งหมดก็ถูกลำเลียงลงมา และเข้าสู่สังคมพระเครื่องในกรุงเทพฯ ราวต้นปี พ.ศ.2508 ซึ่งช่วงนั้นสนามพระอยู่ในบริเวณวัดมหาธาตุฯ กทม. จำนวนพระเครื่องเข้าใจน่าจะเป็นจำนวนหลายหมื่นองค์ทีเดียว ที่เข้ามาในส่วนกลาง และก็แพร่หลายไปทั่ว เกือบทุกแผงจะมีพระเครื่องของกรุเขาพนมเพลิง สนนราคาก็ยังไม่สูง เนื่องจากมีปริมาณมาก ต่อมาพระเริ่มค่อยๆ หายไปจากสนามพระ และก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะพิมพ์ที่มีจำนวนน้อยก็แพงขึ้นมาก

มีพระอยู่พิมพ์หนึ่งที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ก็คือพระพิจิตรข้างเม็ด ซึ่งเป็นพระขนาดเล็กลักษณะแบบพระของเมืองพิจิตร พระพิมพ์นี้จึงเรียกขานกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ดกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอท และจับขาวเกือบทั้งองค์ มีบางองค์ที่มีผิวดำก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน และมีรอยระเบิดเป็นแห่งๆ สังเกตดูจะแบ่งออกได้เป็นพิมพ์ชะลูด พิมพ์ต้อ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื่องจากจำนวนพระมีจำนวนมาก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูงมากนัก และยังพอหาชมได้ไม่ยากนักครับ

พระพิจิตรข้างเม็ดของกรุวัดเขาพนมเพลิง มีขนาดเล็กน่ารักเหมาะแก่การนำไปเลี่ยมห้อยคอ ห้อยได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง พุทธคุณก็ยอดเยี่ยม ดีทั้งคงกระพันและแคล้วคลาดครับ

วันนี้ผมก็นำรูปพระพิจิตรข้างเม็ดกรุวัดเขาพนมเพลิง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

ne.12-11


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 02 ธันวาคม 2562 14:50:23
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28092106059193_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุอยุธยา เป็นพระนาคปรกเนื้อชินเงินศิลปะขอมแบบบายน ครับก็ดูแปลกใจอยู่ไม่มากก็น้อยที่วัดมหาธาตุนั้นสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่พระของกรุนี้มีพระเครื่องที่เป็นศิลปะขอมบายนปะปนอยู่

พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ แตกออกจากกรุก่อนที่จะมีการบูรณะอย่างเป็นทางการประมาณ 1 ปี คือในปีพ.ศ.2499 ได้มีคนร้ายได้ลักลอบแอบเข้าไปขุดเจดีย์ วัดมหาธาตุอยุธยา และได้พระเครื่องพระพุทธรูป กับสิ่งของมีค่าไปมิใช่น้อย หลังจากนั้นทางการจึงได้เข้าไปควบคุมและเปิดกรุอย่างเป็นทางการพร้อมกับได้บูรณะไปในตัวด้วย

พระเครื่องที่พบในกรุเจดีย์วัดมหาธาตุ ที่พบนั้นประกอบด้วยพระหลายอย่าง ทั้งพระแผงปางปาฏิหาริย์พิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังพบพระอู่ทองคางเครา พระนาคปรก พระซุ้มเรือนแก้ว พระปรุหนัง พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มคอระฆังและอื่นๆ เป็นต้น พระเครื่องที่ขึ้นจากกรุนี้ที่เป็นเนื้อชินเงิน นั้นจะพบมีอยู่สองลักษณะคือ พระที่เป็นแบบศิลปะอยุธยา มักจะมีผิวปรอทพระจะค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นแบบพระอยุธยาทั่วๆ ไป แต่พระเครื่องที่เป็นศิลปะแบบขอมจะเป็นพระเนื้อชินผิวสนิมดำ และมักจะมีความหนา เช่น ปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเครา เป็นต้น

สาเหตุที่เรียกกันว่าพระกรุพะงั่ว ก็เนื่องมาจากในปีพ.ศ.1917 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุแห่งนี้ เมื่อพบพระเครื่อง นักนิยมสะสมพระในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า "กรุพะงั่ว" โดยเฉพาะพระนาคปรกก็มักจะเรียกกันว่า "ปรกพะงั่ว" บ้าง "นาคปรกกรุพะงั่วบ้าง" ก็เรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

ทีนี้เรามาพิจารณาศิลปะของพระนาคปรกพะงั่วกัน จะเห็นได้ว่าตัวพังพานนาคปรกนั้น เศียรนาคแต่ละตัว เป็นเศียรนาคศิลปะขอมบายน องค์พระไม่ว่าจะเป็นพระพักตร์ เครื่องทรง ลำพระองค์ ล้วนเป็นศิลปะขอมแบบบายนทั้งสิ้น และคงไม่ใช่พระที่สร้างล้อแบบในสมัยอยุธยา

อีกทั้งเนื้อหาของพระก็ดูมีอายุเก่ากว่าพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเดียวกันอีกหลายๆ แบบ สนิมจะเป็นสนิมแบบเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา แทบทั้งสิ้น ไม่ปรากฏคราบผิวปรอทเลย บางองค์เกิดรอยแตกปริอยู่ทั่วองค์ พระปรกพะงั่วนี้ พบพระที่สวยสมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีรอยระเบิดร้าวปริ องค์งามๆ จึงค่อนข้างหายากครับ

พระปรกพะงั่วนี้สันนิษฐานว่าขุนหลวงพะงั่วคงจะนำมาจากกรุอื่น แล้วนำมาบรรจุรวมไว้กับพระอื่นๆ ในเจดีย์วัดมหาธาตุเสียมากกว่า จากศิลปะและเนื้อหาขององค์พระน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ศิลปะขอมแบบบายน พระปรกพะงั่วที่พบในเจดีย์วัดมหาธาตุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ปัจจุบันหายาก ยิ่งในองค์สวยสมบูรณ์ยิ่งหายากมากครับ

พระปรกพะงั่วถึงแม้ว่าจะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย แต่ทรงด้วยคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและพุทธคุณ จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองอยู่เย็นเป็นสุขครับ สนนราคาปัจจุบันก็ ค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่ว จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99498684994048_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
ล็อกเกตหลวงปู่บุญ ปริปุณณสีโล  

หลวงปู่บุญ ปริปุณณสีโล แห่งวัด ปอแดง หมู่ 4 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พระเถราจารย์ชื่อดังที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ก้อน จิตตสาโร วัดห้วยสระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 84 ปี พรรษา 48

มีนามเดิมว่า บุญ แก้วกิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2478 ปีกุน เป็นชาวบ้านปอแดง หมู่ 4 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วัยเยาว์เป็นคนที่มีจิตใจมุ่งใฝ่ธรรมะ หลังเรียนจบชั้น ป.4 ก่อนเป็นทหาร 2 ปี จึงเบื่อหน่ายทางโลก

อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 มี.ค.2514 ที่วัด ห้วยสระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา มีพระครูสาทรคณารักษ์ หรือหลวงปู่ก้อน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสุขวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุทธิสีลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรม จากพระอาจารย์วิชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดปอแดง ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากหลวงปู่ก้อน ผู้เป็นอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านเป็นศิษย์เอกหลวงปู่โต คังคปัญโญ ผู้สืบสายวิทยาคมจากสมเด็จลุน แห่งประเทศลาว

ต่อมาธุดงค์ไปศึกษากัมมัฏฐานกับหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ก่อนจะเดินธุดงค์ไปภูเขาควาย สปป.ลาว และหลายจังหวัดในภาคอีสาน เหนือ และตะวันออก เรื่อยไปจนถึงประเทศพม่า

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิหลายรูป อาทิ หลวงพ่ออาสภะมหาเถโร พลวงพ่อวิชัย นิรามโยช และหลวงพ่อเต๋ คงทอง เป็นต้น

ออกธุดงค์ยาวนาน 20 ปี กระทั่งกลับสู่มาตุภูมิที่วัดปอแดง (วัดศิรีอรัญรุกขาวาส) จนเป็นวัดฝึกปฏิบัติธรรมและสวนนิพพานชื่อดัง สืบเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ในเดือน พ.ย.2562 หลวงปู่บุญ มีดำริจัดสร้างล็อกเกตหลวงปู่บุญ รุ่นมัชฌิมา เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ และเป็นทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน

ล็อกเกตรุ่นนี้มีหลายแบบด้วยกัน อาทิ ชุดกรรมการ 1 (สีน้ำเงิน) เบอร์ 1 และเบอร์ 7 (แถมฟรีฉากทองเบอร์) 7 สร้าง 84 องค์, ชุดกรรมการ 2 (สีแดง) เบอร์ 1 และเบอร์ 7 (แถมฟรีฉากทองเบอร์ 7) จำนวน 84 องค์, ฉากทองเบอร์ 1 อุดผงไม้ตะเคียนฝั่งพลอยและตะกรุดเงิน จำนวน 300 องค์, ฉากแดง ฉากน้ำเงินและฉากซีเปีย เบอร์ 1 เลี่ยมสแตนเลส หลังยันต์ สีละ 400 องค์, ฉากแดง ฉากน้ำเงินและฉากซีเปียเบอร์ 7 เลี่ยมสแตนเลสหลังยันต์ สีละ 500 องค์

ด้านหน้าล็อกเกต เป็นรูปไข่ ด้านบนมีตัวหนังสือคำว่า มัชฌิมา หมายถึงเป็นกลาง ขอบล็อกเกตสองข้างมีพญานาค 2 ตนชูคอ ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ ที่อังสะมียันต์ นะ มหาเถระโต ด้านล่างเขียนคำว่า หลวงปู่บุญ

ด้านหลังล็อกเกต เฉพาะชุดกรรมการชุดที่ 1 (สีน้ำเงิน) และชุดกรรมการชุดที่ 2 (สีแดง) ฝังพลอย พระนาคปรก 7 รอบ 84 ปี ตะกรุดเงินตะกรุดทอง ส่วนเบอร์ 7 ฝังเกศา จีวรหลวงปู่ และอุดผงไม้ตะเคียน

เตรียมนำเข้าพิธีเพื่อให้หลวงปู่บุญนั่งอธิษฐานจิต ในวันที่ 11 ธ.ค.2562
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94354931761821_view_resizing_images_320x200_.jpg)
เครื่องรางทองคำเศรษฐี หลวงปู่ทองคำ

หลวงปู่ทองคำ โสรวโร อาศรมป่าช้าแคนทะเล ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย เสมอต้นเสมอปลาย ได้รับความเคารพเลื่อมใส

ปัจจุบันสิริอายุ 93 พรรษา 31

นามเดิม ทองคำ แกชวดดง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2469 ที่บ้านแคนทะเล ต.สระบัว อ.สตึก จ.บุรีรัมย์

อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดบ้านยางสีสุราช จ.มหาสารคาม มุมานะศึกษาพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นโท พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับอดีตพระเกจิอาจารย์หลายท่านในยุคนั้น แต่ในช่วงที่เรียนนักธรรมชั้นเอก เกิดอาพาธหนัก จึงลาสิกขาออกมารักษาตัวที่บ้าน

ในปี พ.ศ.2532 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดเทพทราวาส ต.แคนดง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบัน ขึ้นอำเภอแคนดง) โดยมีพระครูอรุณปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ด้วยความที่ท่านมีอุปนิสัยชมชอบความสันโดษ จึงไปจำพรรษาในป่าช้าประจำหมู่บ้าน หลวงปู่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจออกเดินธุดงค์จาริกไปทั่วประเทศ

ต่อมา ในปี พ.ศ.2557 อาพาธหนัก ลูกหลานญาติโยมเกิดความเป็นห่วง จึงได้สร้างอาศรมป่าช้าแคนทะเล ให้หลวงปู่ที่ท้ายหมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตมักเกิดอาพาธ "พระครูปลัดสุรินทร์ ภัททมุนี" ซึ่งให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ จึงมีโครงการที่จะหาปัจจัยสมทบทุน เพื่อเป็นกองทุนการกุศลและกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เครื่องรางทองคำเศรษฐี" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จำลองจากเงินตำลึงจีน ในสมัยโบราณที่เรียกว่า "หยวนเป่า" หรือ "ง้วนป้อ" ลักษณะเป็นแท่งเงินปลายโค้งสูงทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายเรือ ด้านข้างมีอักขระยันต์ พร้อมตัวอักษรเขียนคำว่า ทองคำเศรษฐี ส่วนอีกด้าน เขียนคำว่า มีความสุขและให้ร่ำรวย ใต้ฐานบรรจุอุดผงพุทธคุณ ผงว่านสายเมตตา สายโภคทรัพย์ และลงอักขระยันต์คาถาหัวใจมหาเศรษฐี

สำหรับวัฒนธรรมจีน หยวนเป่า เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย จึงนับว่าเครื่องรางทองคำเศรษฐี รุ่นนี้ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลแห่งยุค มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน อาทิ โชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขาย หนุนดวง หนุนชีวิต จากร้ายให้กลายเป็นดี เป็นต้น

จำนวนสร้าง อาทิ นำฤกษ์เนื้อเงินอุดผงพรายกุมารฝังตระกรุดทองคำสร้าง 80 ก้อน นำฤกษ์เนื้อแร่เหล็กไหลอุดผงพรายกุมารฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 149 ก้อน เนื้อเหล็กน้ำพี้ชุบทอง 3 กษัตริย์อุดผงพรายกุมาร-พลอยมหาลาภ 199 ก้อน เป็นต้น

พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 30 ธ.ค.2562 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระเกจิร่วมพิธี อาทิ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย จ.พระนครศรี อยุธยา อธิษฐานจิตนำฤกษ์ หลวงปู่ทองคำ โสรวโร จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ปัน จ.นครปฐม, หลวงปู่บุญมา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่หลักชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97158140233821_view_resizing_images_11_320x20.jpg)
พระขุนแผนหลวงปู่แสน รุ่น 111 ปี

หลวงปู่แสน ปสันโน" วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ "เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้าย ใกล้ชายแดนเขมร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีสานใต้

ระหว่างบวชเณร ศึกษา เล่าเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุม วัดประสาทเยอใต้ จนเรียนจบ ป.4 จากนั้นเรียนตำราวิทยาคมต่อ ทั้งอักษรธรรม บาลี และภาษาขอม

อายุครบ 21 ปี อุปสมบทและศึกษาวิชากับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอายุ 24 ปี มีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขา

เมื่อหมดภาระทางบ้าน กลับสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ออกธุดงค์ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก เป็นนิจ อยู่อย่างสมถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักปฏิบัติที่ชาวบ้านกุดเสล่าเคารพ ศรัทธาอย่างมาก

จากนั้นย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคี ปัจจุบัน) อยู่ถึง 3 ปี เห็นสภาพวัดบ้านหนองจิก ที่จะกลายเป็นวัดร้าง จึงย้ายจากสำนักสงฆ์โนนไทย ไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก และทำนุบำรุงวัดจนมีพระมารับช่วงต่อ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง

จนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก จนถึงทุกวันนี้

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่แสน ละสังขารอย่างสงบ เมื่อเวลา 22.24 น. คืนวันที่ 25 ก.ค.2562 ที่กุฏิภายในวัดบ้านหนองจิก อายุ 112 ปี

ในเดือน เม.ย.2562 คณะศิษย์ "ทีมงานแสนยานุภาพ" จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระขุนแผนหลวงปู่แสน รุ่นฉลองอายุวัฒนมงคล 111 ปี

เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อครูนำฤกษ์ฝังตะกรุดทองคำ 3 ดอกหลังเรียบจาร 19 องค์, เนื้อไม้รักซ่อนแกะ เนื้อก้นครกโรยแร่เจ้าน้ำเงินฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ ชนิดละ 199 องค์, เนื้ออธิษฐานมงคลครอบหน้ากาก 3 กษัตริย์ลงยาแดง น้ำเงิน ชนิดละ 250 องค์, เนื้อครูนำฤกษ์ฝังตะกรุดทองคำ 1 ดอก ตะกรุดเงิน 2 ดอก 111 องค์

รวมทั้งมีชุดของขวัญเนื้ออธิษฐานมงคล ครอบหน้ากากทองทิพย์ลงยาธงชาติ ลงยาแดง น้ำเงิน เขียว 500 องค์, เนื้อนพเก้า 3,000 องค์ และลุ้นเนื้อ (ลุ้นฝังตะกรุดทองคำ 500 องค์) 9,000 องค์

ด้านหน้า คล้ายพระขุนแผนหลวงปู่ทิม ด้านบนมีซุ้มเรือนแก้ว ด้านซ้ายและขวาเหนือซุ้มสลักยันต์คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ตรงกลางมีพระพุทธในท่านั่งขัดสมาธิ ใบหน้าสลักยันต์นะเศรษฐี หน้าอกมีรูปหัวใจซ้อน 2 วงสลักคาถานะอกแตก เสาซุ้มเรือนแก้วซ้ายสลักอักขระอ่านว่า นะ ชา ลี ติ เสาด้านขวาสลักคำว่า นา สัง สิโม ล่างสุดสลักคาถาอุดกระบอกปืนหลวงปู่ทิม

ด้านหลัง ปลายยอดสลักยันต์นะ หลง ตรงกลางมียันต์พระลักษณ์หน้าทอง ล้อมคาถาพระพุทธเจ้าหัวใจทศชาติ ถัดมามีคาถาพรหมสี่หน้า มีนกสาลิกา 2 ตัวอยู่กลาง ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า แสนยานุภาพ หลวงปู่แสน ปสนฺโน อายุ ๑๑๑ ปี วัดบ้านหนองจิก

ปลุกเสก 12 วาระ มีพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อคำนวณ ปริสุทโธ วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อสุรศักดิ์ อติสักโข วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม นั่งอธิษฐานจิต
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93448434852891__3_320x200_.jpg)
รูปหล่อโบราณ หลวงปู่ทองสุข

หลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนสะแบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา แต่ละวันมีผู้เดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 62

เกิดปี พ.ศ.2471 ที่ ต.บ้านธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุครบเกณฑ์ทหาร ไปรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ ออกมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

อายุ 29 ปี พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดกกโก ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีพระอาจารย์ปล้อง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.ลพบุรี ในยุคนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมอยู่กับพระอาจารย์ปล้อง จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในแถบภาคอีสาน และข้ามไปยังประเทศ สปป.ลาว จำพรรษาอยู่ภูเขาควาย 1 พรรษา

ต่อมาได้ข้ามมาฝั่งไทย จำพรรษาในถ้ำพื้นที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี นานถึง 7 ปี

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาตามป่าเขาอีกหลายแห่ง สุดท้ายน้องชายท่านเห็นว่าท่านย่างเข้าวัยชรา จึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดโนนสะเเบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2547 จนตราบจนปัจจุบัน

ร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง สร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ ตลอดจนเสนาสนะต่างๆ

เนื่องจากอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย อายุมากถึง 93 ปี เกิดอาพาธบ่อยครั้ง คณะศิษยานุศิษย์ โดยทีมงาน "เด็กสร้างบุญ" จึงมีโครงการที่จะจัดหาปัจจัยเพื่อเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งบูรณะเสนาสนะภายในวัด

จึงได้ขออนุญาตจัดสร้าง "รูปหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ทองสุข รุ่นรวยทันใจ" เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ร่วมบริจาคทำบุญ

วัตถุมงคลรูปหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้ ใช้กรรมวิธีการสร้างแบบโบราณ สร้างเป็นรูปเหมือนนั่งกัมมัฏฐานบนฐานเขียง บริเวณฐานด้านหน้ามีตัวอักษร เขียนคำว่า หลวงปู่ทองสุข ส่วนฐานด้านหลังเขียนคำว่า สุทฺธิจิตโต ๙๓

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเงิน 93 องค์ เนื้อนวะเทดินไทย 199 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 299 องค์ เนื้อทองแดงโบราณ 1,999 องค์ และชุดกรรมการนำฤกษ์สร้าง 29 ชุด เป็นต้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เสกเดี่ยวในกุฏินานนับเดือน
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88038457433382_view_resizing_images_12_320x20.jpg)
เหรียญหลวงพ่อสำเร็จ รุ่นแรก

หลวงพ่อธานี อธิฉันโท เจ้าอาวาส วัดหนองศาลา ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม พระสุปฏิปันโน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อฉาว เกสโร เทพเจ้าแห่งแม่นางกวัก วัดสว่างชาติประชาบำรุง จ.นครปฐม

ปัจจุบัน สิริอายุ 62 ปี พรรษา 23

มีนามเดิมว่า ธานี รอดน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2500 พื้นเพเป็นชาว ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม บิดา-มารดา ชื่อ นายชูศักดิ์ และนางละออง รอดน้อย เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน

ในวัยหนุ่มเคยเป็นตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ด้วยความเบื่อหน่ายทางโลก จึงแสวงหาหนทางเข้าสู่ธรรมะ จึงไปปรึกษาหลวงพ่อฉาว เกสโร เพื่อเข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์

ขณะอายุ 39 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดสว่างประชาบำรุง จ.นครปฐม มีพระครูโอภาสประชานุกูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสนธยา ฐิตปณีโย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเอกลักษณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปัฏฐากรับใช้หลวงพ่อฉาว เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิทยาคม ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

จากนั้นจึงออกธุดงค์ในป่าน้ำตกอีซู เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ป่าเมืองกาญจน์ จ.กาญจนบุรี (ในอดีต) ขณะนั้นท่านพบว่ามีสัตว์ป่า อาทิ ลิง ค่าง บ่าง ชะนี และกระต่ายป่า ถูกนายพรานล่าเป็นเกมกีฬา ท่านจึงพิจารณาถึงสัจธรรมว่ามีเกิดก็มีดับ

ในเดือน พ.ย. คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อสำเร็จ รุ่นแรก

เพื่อจัดหารายได้สมทบทุนสร้างวิหารครอบพระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 9 เมตร ให้แล้วเสร็จ

จัดสร้างด้วยกันหลายเนื้อ มีเนื้อทองคำ (ตามจำนวนจอง) เนื้อเงินลงยาแดง 65 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 299 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมรุ้ง ชนิดละ 999 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นเหรียญรูปทรงเหลี่ยมคล้ายเหรียญ 25 พุทธศตวรรษ ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงพ่อสำเร็จ ปางเปิดโลกประทับยืนบนแท่นฐาน ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อสำเร็จ

ด้านหลังเหรียญ ด้านบนสุดมีตัวหนังสือคำว่า ที่ระลึก ถัดลงมามีอักขระยันต์ตัว นะ ใต้อักขระมีจุดไข่ปลา 4 จุด ถัดลงมาสลักตัวเลขไทย ๑ บรรทัดล่างสุดอ่านว่า วัดหนองศาลา จ.นครปฐม ๒๕๖๒

จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก เวลา 13.19 น. ในวันที่ 5 ธ.ค. ที่วัดหนองศาลา มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่ปั่น วัดหนองกระทุ่ม, หลวงพ่อเวียน วัดหนองหนองพงนก จ.นครปฐม, หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัด จ.พระนครศรีอยุธยา นั่งอธิษฐานจิต เป็นต้น

วันที่ 1 ม.ค. 2563 จะมีพิธีหล่อพระปูนปางเปิดโลกหลวงพ่อสำเร็จ สูง 4.99 เมตร
  ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มกราคม 2563 15:52:06

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96276180901461_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ศัพท์สังคมพระ "ตากลับ"

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้มาคุยกันเรื่องสัพเพเหระกันบ้าง เรื่องที่จะพูดถึงก็คือ คำว่า "ตากลับ"ในสมัยก่อนที่ผมเริ่มศึกษาเรื่องพระใหม่ๆ ก็ได้ยินคำคำนี้ และก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ่งว่าคืออะไร ต่อมาจึงได้เข้าใจว่าคำว่าตากลับก็คือ พิจารณาพระแท้เป็นพระเก๊ และก็พิจารณาพระเก๊เป็นพระแท้ ก็คือดูกลับกันกับคนอื่นเขา อันมีสาเหตุจากหลายๆ อย่าง

ตากลับโดยส่วนใหญ่จะหมายถึงคนที่เคยดูพระเป็นเล่นพระได้ แต่ต่อมาเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือแกนั่นแหละ สายตาก็เริ่มเสื่อมลง ความจำก็เสื่อมลง และพระเก๊ในยุคหลังๆ ก็ได้ทำดีขึ้นมาก จึงทำให้ดูพระผิดไปจากความจริง แต่ต้องให้เป็นเหมือนกันทุกคน บางคนอายุมากแต่สายตาและความจำยังดีก็ไม่ตากลับ แต่บางคนอายุยังแก่ไม่มากก็อาจจะเป็นได้ครับ เรื่องนี้ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเองก็จะรู้ได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเสื่อมไปตามกาลเวลา

ในสมัยก่อนผมเคยเห็นผู้ใหญ่บางท่าน ซึ่งท่านก็เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญคนหนึ่ง ต่อมาเมื่อท่านเริ่มมีอายุมากขึ้นท่านก็เริ่มวางมือ ไม่ค่อยพิจารณาพระเครื่อง ท่านเคยบอกผมว่า พออายุมากขึ้น ร่างกายเราก็เริ่มเสื่อมถอยลง ก็ต้องรู้ว่าควรจะวางมือลงเสีย ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นพวกตากลับ คือพิจารณาผิดพลาดบ่อยๆ ผมเองในตอนนั้นก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งนัก พอมาถึงทุกวันนี้ก็รู้และเข้าใจมากขึ้น เมื่อตัวเราเองเริ่มมีความเสื่อมเช่นสายตาก็เริ่มด้อยความสามารถลง ความจำก็เริ่มเสื่อมมากขึ้น ก็ต้องยอมรับ และเริ่มเข้าสู่ระยะตากลับเข้าอีกคนหนึ่งปัจจุบันก็เริ่มดูพระไม่ได้วิเคราะห์ไม่ออก และปัจจุบันการพัฒนาของกระบวนการทำพระปลอมก็ดีขึ้นมากๆ

ประเภทที่ทำปลอมชั้นดีนั้นใกล้เคียงมากๆ เพราะตัวเราเริ่มหมดสภาพลงเรื่อยๆ ก็เริ่มพิจารณาอะไรไม่ได้เสียแล้ว ทั้งๆ ที่พระบางอย่างเคยดูได้พิจารณาได้ ก็เริ่มชักไม่แน่ใจเสียแล้ว และต้องยอมรับการเป็นไปของธรรมชาติว่าทุกอย่างย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ผมเองในปัจจุบันก็บางครั้งดูพระผิดพลาดทั้งๆ ที่เคยดูไว้ด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันก็ตัดสินใจผิดพลาดและยิ่งตัวเองไม่ใช่เซียนพระด้วยแล้วก็ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันการเล่นหาสะสมก็เปลี่ยนไปหลายๆ อย่างต้องยอมรับว่าตัวเองนั้นตกยุคไปแล้ว และก็นึกถึงคำที่ผู้ใหญ่เคยสั่งสอนไว้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องถอยออกมาวางมือลง ซึ่งก็เป็นทุกวงการไม่ว่าในเรื่องอะไร เมื่อถึงเวลาก็ต้องยอมรับว่าตัวเองนั้นความสามารถลดลง ก็ต้องให้คนในยุคต่อๆ มาเขาว่ากันไปตัวเราก็ถอยออกมาดูห่างๆ น่าจะดีกว่า

ครับก็คุยกันเรื่องการพิจารณาพระเครื่องนั้น ก็มีผิดพลาดกันได้ ปัจจัยหนึ่งก็คือความเสื่อมของตัวเราเอง และก็มีคำศัพท์ที่ว่า "ตากลับ" ก็ยกตัวอย่างของตัวเองว่าก็เข้าข่ายตากลับแล้วเช่นกัน และยอมรับว่าก็คงต้องวางมือในที่สุด ก็คุยเล่นๆ ไปเรื่อยๆ นะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนก องค์สวยองค์ดังในอดีตมาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92225201924641_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญเศรษฐีมังกรคู่ หลวงปู่สำลี

หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พระเถระที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่หลุย จันทสาโร อดีตพระอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 84 ปี พรรษา 50

มีนามเดิมว่า สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2479 เป็นบุตรของนายบุญ และนางอินทร์ เพ็งผล ที่ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ต่อมาครอบครัวย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

ช่วงวัยเด็ก นอกจากจะช่วยครอบครัวทำไร่ทำนา ยังมีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระพุทธศาสนา หากมีเวลาว่าง ครอบครัวจะพาไปทำบุญรับฟังธรรมและฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นประจำ

กระทั่ง หลวงปู่หลุย เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม ในปี พ.ศ.2513 จึงได้พาไปอุปสมบทที่พระอุโบสถวัดเลยหลง โดยมีพระราชคุณาธาร หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงปู่หลุย ที่วัดถ้ำผาบิ้ง พร้อมกับศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่หลุย

ต่อมาในปี พ.ศ.2515 หลวงปู่หลุย ดำริให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย

จึงย้ายมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับวัดถ้ำคูหาวารี เป็นถ้ำที่อดีตพระเถระฝ่ายธรรมยุตหลายรูป อาทิ หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น เคยบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่

เพื่อตอบบุญแทนคุณครูอาจารย์ หลวงปู่สำลี จึงมีโครงการจัดสร้าง "เจดีย์จันทสาโรนุสรณ์" ที่วัดถ้ำคูหาวารี เพื่อน้อมรำลึกถึงครูอาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย แต่ยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก

จึงจัดสร้างเหรียญเศรษฐีมังกรคู่ เพื่อนำรายได้สมทบทุนก่อสร้าง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ออกแบบได้สวยงามมาก เป็นเหรียญมีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็น รูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่ใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงปู่สำลี ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลัง เป็นภาพอัฐบริขารและอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน จากด้านขวาของเหรียญลงด้านล่างวนไปด้านซ้าย เขียนคำว่า วัดถ้ำคูหาวารี บ้านซำนกจิบ ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พ.ศ.๒๕๖๐

เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะหน้ากากเงิน 199 เหรียญ เนื้อทองขาวหน้ากากทองทิพย์ 299 เหรียญ เนื้อทองแดงผิวไฟ 599 เหรียญ เนื้อทองแดงมันปู 399 เหรียญ และชุดกรรมการ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่สำลี อธิษฐานจิตเดี่ยว จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นของหลวงปู่สำลี ที่เจตนาการจัดสร้างดี กระแสความต้องการเช่าหาในพื้นที่แรงขึ้นเรื่อยๆ

ติดต่อได้ที่วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57184459765752_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระเทริดขนนก วัดป่าเลไลยก์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จ.สุพรรณบุรี มีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย และก็มีพระเครื่องที่แตกกรุออกมาหลายกรุ กรุที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็เยอะ อย่างพระกรุของวัดป่าเลไลยก์ ก็ไม่ค่อยได้เห็นกันนักครับ แม้แต่รูปก็หายาก เรามาคุยถึงวัดป่าเลไลยก์และพระกรุที่ขุดพบกันสักหน่อยนะครับ

วัดป่าเลไลยก์ ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร วัดนี้สร้างตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดก็คือ องค์พระปางปาลิไลยกะ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" ซึ่งมีพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแล โปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อปี พ.ศ.1724 ซึ่งแสดงว่าองค์พระมีการสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ มีข้อสันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งห้อยพระบาทอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักชำรุดไปตามกาลเวลา

ภายหลังได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์กันอยู่หลายครั้ง ซึ่งก็อาจจะทำใหม่เป็นปางป่าเลไลยก์ ตามที่นิยมกันในสมัยต่อมา ถ้าเป็นตามที่สันนิษฐานกันไว้ พระพุทธรูปองค์นี้ก็น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างกันในสมัยทวารวดีก็เป็นได้ เท่าที่พอมีหลักฐานก็น่าจะมีการบูรณะกันมาถึง 3 ครั้ง จึงเห็นกันในปัจจุบันว่า พระพักตร์เป็นแบบศิลปะอยุธยา เขตอุปจารของวัดป่าเลไลยก์กว้างขวางมาก วัดดอนกระต่ายก็อยู่ในเขตอุปจารของวัดป่าเลไลยก์ด้วย วิหารเก่าพังทลายร้างไปแล้ว มีคนเคยขุดพบพระขุนแผนเรือนแก้ว และที่เจดีย์หน้าวิหารวัดป่าเลไลยก์ ก็ขุดพบพระเครื่องสมัยลพบุรี เรียกว่า พระเทริดขนนก "ปัจจุบันองค์พระเจดีย์ก็ยังอยู่ คาดว่าจะได้รับการบูรณะเรื่อยมา

ที่ด้านหลังพระอุโบสถวัดป่าเลไลยก์ มีวิหารเก่าอยู่หลังหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เรียกกันว่า "โบสถ์มอญ" พระประธานหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน มีผู้เคยขุดพบพระเครื่องเรียกกันว่า "พระมอญสำลี" พระเครื่องที่ขุดพบนั้น พระเทริดขนนกเป็นพระเครื่องศิลปะลพบุรี แต่พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว และพระมอญสำลี น่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา แสดงว่าวัดแห่งนี้มีพระสงฆ์อยู่สืบต่อกันมา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์กันอยู่หลายยุค

พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวดำ บางองค์มีการปิดทองมาแต่ในกรุ

พระเทริดขนนก เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีไขขาวปกคลุม ทรงเทริดแบบขนนก เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ด้านหลังจะเป็นแอ่งเว้า และมีความบางไม่หนา เป็นที่นิยมกว่าพิมพ์อื่น

พระมอญสำลี เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทจับขาว คล้ายผิวพระกรุชุมนุมสงฆ์

พระเทริดขนนกกรุวัดป่าเลไลยก์ สันนิษฐานว่ามีจำนวนไม่มากนัก น่าจะพบไม่เกินร้อยองค์ และเป็นพระที่นิยมมากที่สุดของกรุนี้ สัณฐานสูงประมาณ 4 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี ปัจจุบันพระกรุวัดป่าเลไลยก์ไม่ค่อยได้พบเห็นกันครับ เนื่องจากจำนวนการพบพระคงจะไม่มาก เท่าที่ค้นดู ก็พอจะมีรูปพระเทริดขนนกที่อยู่กับนักสะสมบางท่านเท่านั้น

ในวันนี้จึงได้นำรูปพระเทริดขนนก ของกรุวัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12033774331211_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระพุทธชินราชหลวงปู่เผือก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว และพระเครื่องของท่านล้วนแต่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น เช่น พระผงขุดสระใหญ่และเล็ก เหรียญพระพุทธชินราช รูปหล่อ หลวงพ่อผงสมเด็จฯ เป็นต้น

หลวงปู่เผือก เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2412 ที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี โยมบิดาชื่อ ทองสุข โยมมารดา ชื่อไข่ พออายุ 13 ปี บิดา มารดาพาไปฝากกับ พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้ว เพื่อศึกษาเล่าเรียน พออายุได้ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีพระอาจารย์ทอง อุทยญาโณ วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่มวัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปญญธโร"เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยและปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อพระอาจารย์อิ่มมรณภาพ หลวงปู่เผือกก็ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์และชาวบ้านให้เป็นผู้ดูแลวัดแทนพระอาจารย์อิ่ม

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2442 ก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ปี พ.ศ.2443 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลราชเทวะ พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (จ้อย) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร และในปีนี้เองท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูกรุณาวิหารี ปี พ.ศ.2487 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการสงฆ์องค์การสาธารณูปการ ใน อ.บางพลี ปี พ.ศ.2496 หลวงปู่เริ่มอาพาธ และหลวงปู่เผือกก็ได้มรณภาพในปี พ.ศ.2501 อายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69

หลวงปู่เผือกเป็นศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา และหลวงปู่เผือกท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงปู่เผือกจะได้รับการนิมนต์ด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้รับนิมนต์ทุกครั้ง ในวันนี้เราก็จะมาคุยถึงพระพุทธชินราช ของหลวงปู่เผือก ซึ่งท่านได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2485 โดยในพิธีครั้งนั้นหลวงปู่เผือกได้นิมนต์ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) แห่งวัดสุทัศน์ ไปเป็นประธานเททองหล่อพระให้ด้วย พระกริ่งพุทธชินราชของหลวงปู่เผือกที่สร้างในครั้งนี้มีจำนวนไม่มากนัก เนื้อใช้ทองเหลืองผสมด้วยเงินก้อนโบราณ สีจึงออกมาทางขาวอมเหลือง พระกริ่งพุทธชินราชของหลวงปู่เผือกสร้างเป็นรูปพระพุทธชินราชมีตราอกเลา (รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด) อยู่ที่ฐานองค์พระจะบางกว่าของพุทธสมาคม ส่วนที่ก้นก็ได้ประจุเม็ดกริ่งไว้ด้วย พระพุทธคุณของพระกริ่งพิมพ์นี้นอกจากจะดีด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด นอกจากนี้ยังใช้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ

ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ และในวันนี้ก็ได้นำรูปพระพุทธชินราชหลวงปู่เผือกให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31366862315270_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญตอก 1 รุ่นกูให้มึงรวย หลวงพ่อสมหมาย

พระครูกมลสิทธิคุณ หรือ พระอาจารย์สมหมาย ขันติโก เจ้าอาวาสวัดคำโพธิ์ หมู่ 8 ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี พระเถระที่สาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 60 ปี พรรษา 36

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อบุญเรือง สารโท หรือ พระราชปริยัตยากร วัดพิชโสดาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

มีนามเดิมว่า สมหมาย โพธิ์แสง เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.ค.2502 ตรงกับปีกุน เป็นชาว อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อาชีพชาวไร่ชาวนา เรียนจบชั้น ป.4

อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชาวัดบ้านเกิดใน อ.มัญจาคีรี เรียนจบนักธรรมเอกขณะอายุ 17 ปี ต่อมาจึงลาสิกขามาช่วยครอบครัวทำไร่ ทำนา

พ.ศ.2521 ครอบครัวมาอาศัยที่ บ.โนนธาตุ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร หลังบิดาเสียชีวิต พ.ศ.2525 บุพการีจึงขอให้บวช 1 พรรษา อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พ.ค.2526 มีหลวงพ่อสอน เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนวิชาจิตตภาวนากับหลวงพ่อบุญเรือง หรือพระราชปริยัติยากรก่อนเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัดในภาคอีสาน

ร่ำเรียนวิชานรลักษณ์ อักขระเลขยันต์จากอาจารย์รูปหนึ่งแห่งชายแดนเขมร จ.ศรีสะเกษ วิชาหนุนดวงกับหลวงพ่อผินะ ปิยธโร วัดสนมลาว อ.หนองแค จ.สระบุรี ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และตำรามหาอุด กรุพระธาตุพนม กับหลวงพ่อจันทร์ วัดหอก่อง จ.ยโสธร

พ.ศ.2541 เจ้าอาวาสวัดคำโพธิ์มรณภาพ จึงได้รับอาราธนานิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้สืบมาถึงปัจจุบัน

เมื่อเดือน ต.ค. คณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตหลวงพ่อ จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญตอก 1 รุ่นกูให้มึงรวย เพื่อจัดหารายได้สร้างกุฏิหลังใหม่ หลังถูกเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

ที่จัดสร้าง มีเนื้อเงินหน้าทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 9 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากเงิน 19 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากปลอกลูกปืน 29 เหรียญ, เนื้อนวะลงยาน้ำเงิน 39 เหรียญ, เนื้อตะกั่วหลังเรียบแช่น้ำมนต์จารมือ 59 เหรียญ, เนื้อทองแดงหน้ากากลูกปืน เนื้อทองแดงทิพย์หน้ากากทองแดง ชนิดละ 299 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 399 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวไฟ 399 เหรียญ (สร้างถวาย)

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อสมหมายครึ่งองค์ ที่บริเวณอังสะตอกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อสมหมาย ขันติโก ตรงกลางเหรียญมียันต์พญาหงส์ทอง ซึ่ง "อ.พรพยัคฆ์ ลายเมฆ" ลูกศิษย์หลวงพ่อเขียนผูกยันต์ขึ้นมาใหม่ และเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อ ครึ่งรอบวงกลมส่วนล่างจากซ้ายวนไปขวาสลักตัวหนังสือคำว่า วัดคำโพธิ์ อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 4 ม.ค.2563 โดยมีหลวงพ่อสมหมาย และพระเกจิคณาจารย์หลายรูปนั่งอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85942997659246_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
หลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

พระเครื่องที่สร้างเป็นรูปหลวงปู่ทวดนั้น ไม่ว่าจะเป็นของวัดใด ด้วยบารมีของหลวงปู่ทวดจะคุ้มครองป้องกันภัยให้แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดบูชาทั้งสิ้น เป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องนิรันตราย

พระหลวงปู่ทวดที่นิยมกันมากที่สุด เป็นพระเครื่องของวัดช้างให้ ที่พระอาจารย์ทิมเป็นผู้ปลุกเสก แต่ปัจจุบันค่านิยมมีมูลค่าสูงมาก และหายาก พระหลวงปู่ทวดของวัดอื่นๆ ที่สนนราคายังไม่สูงก็มีอยู่หลายวัด แต่อาจจะไม่ค่อยทราบว่าพระอาจารย์ทิม มีส่วนร่วมปลุกเสกด้วยเช่นกัน วันนี้ผมขอแนะนำพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกของวัดตานีนรสโมสร ซึ่งเป็นพระที่สร้างโดยท่านเจ้าคุณพระปริยัติวรากร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เป็นพระเนื้อว่าน จำนวนการสร้างประมาณ 10,000 องค์ ส่วนผสมที่สำคัญคือว่าน 108 นำมาจากภูเขาวัดทรายขาว และดินกากยายักษ์ ลักษณะเนื้อพระมีสีน้ำตาลอมดำ และสีดำ มีความแห้ง บางองค์ก็มีคราบว่านปกคลุมมากบ้างน้อยบ้าง พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นที่วัดตานีนรสโมสร มีพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีมากมาย รวมทั้งพระอาจารย์ทิมแห่งวัดช้างให้ด้วย

พระหลวงปู่ทวดที่สร้าง ในครั้งนี้ มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ รูปทรงห้าเหลี่ยม มีทั้งหลังเรียบและหลังพระศรีอริยเมตไตร พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ทำแบบคล้ายๆ หลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ด้านหลังมีทั้งหลังเรียบและหลังพระ พระหลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร รุ่นแรกจะทำลูกแก้ว วางไว้บนฝ่ามือของหลวงปู่ทวด

พระหลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร ยังสร้างครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2506 เป็นพระ เนื้อชินอีกครั้งหนึ่ง โดยท่านเจ้าอาวาสได้เดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะที่มีการเปิดกรุวัดราชบูรณะ ท่านได้ไปชมถึงกรุพระและพบว่ามีเศษของชินเงินที่เกิดจากพระชำรุดวางกองอยู่มากมาย จึงได้ติดต่อขอซื้อ โดยการชั่งกิโลและนำมาเก็บไว้ที่วัด จนกระทั่งทางวัดช้างให้สร้างพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด

ท่านจึงคิดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อชินขึ้น โดยใช้เนื้อชินเงินเก่าล้วนๆ เทเป็นองค์พระแบบหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ ของวัดช้างให้ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,000 องค์ และได้นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก ในงานตั้งศาลหลักเมืองของจังหวัดยะลา ซึ่งมีคณาจารย์ที่สำคัญเข้าร่วมพิธี ครั้งนั้น คือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม ท่านเจ้าคุณจากกลันตัน มาเลเซีย

พระหลวงปู่ทวด ของวัดตานีนรสโมสร ทั้งเนื้อว่านและเนื้อชิน เป็นพระชุด หลวงปู่ทวดที่มีประสบการณ์ มีคุณค่าควรแก่การบูชาอีกวัดหนึ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงนัก พอจับต้องได้ถึงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ รุ่นแรก หลังพระ มาให้ชมครับ  
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24493202194571_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมืองแปดริ้ว พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักอันลือลั่น สุดยอดแห่งพระปิดตาเมตตามหานิยมและหายากมากในปัจจุบัน ประวัติของหลวงปู่จีนและประวัติวัดไม่มี ผู้ใดได้บันทึกไว้ เพียงมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น การสืบค้นจึงทำได้ยากมาก ต้องสอบถามและเก็บข้อมูลจากหลายๆ ที่ และประมวลไว้ ตามที่ได้สืบค้นพอจะจับเค้าโครงได้ก็มีดังนี้

วัดท่าลาดเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดท่าลาดเหนือนี้สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจากพระตะบองได้เป็นผู้สร้างไว้ ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 เมื่อสร้างวัดเสร็จได้ประมาณปีเศษๆ ก็ได้มีพระธุดงค์ผ่านมาด้วยกัน 3 องค์ ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ทั้ง 3 องค์ ให้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าลาด ต่อมาอีกระยะหนึ่งพระอีก 2 องค์จึงได้ออกธุดงค์ต่อ

พระที่อยู่จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ก็คือหลวงปู่จีน ส่วนประวัติความเป็นมาของท่านในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย เพียงแต่เล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีนเท่านั้น จากการสืบค้นดูสันนิษฐานว่าท่านคงเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดเหนือในราวปี พ.ศ.2497 หลวงปู่จีนเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง มีความรู้ในด้านวิปัสสนาธุระเป็นอย่างดี ได้สั่งสอนอบรมลูกศิษย์ พระเณรอยู่เสมอๆ และหลวงปู่จีนยังเก่งกล้าในด้านพุทธาคม อีกทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณก็เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านในแถบนั้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และชาวบ้านที่ได้รับความ เดือดร้อนในทุกๆ ด้านก็ได้ช่วยปัดเป่าให้ทุเลาหายได้ทุกรายไป จึงเป็นที่เคารพนับถือและศรัทธามากในย่านนั้น และกิตติคุณของท่านก็ล่วงรู้กันไปทั่วทั้งแปดริ้วและจังหวัดใกล้เคียง จึงทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมายต่างหลั่งไหลไปสู่วัดท่าลาดเหนือไม่ขาดสาย หลวงปู่จีน เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดเหนือสืบจนถึงราว ปี พ.ศ.2440 โดยประมาณ และมรณภาพที่วัดท่าลาดเหนือ สิริอายุได้ราว 83 ปี

ส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ได้สร้างไว้ สันนิษฐานว่าได้สร้างไว้ในราวปี พ.ศ.2430 โดยสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณผสมว่านวิเศษต่างๆ และนำมาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน นำมากดแม่พิมพ์พระปิดตา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แข้งหมอน พิมพ์เม็ดกระบก พิมพ์กลีบบัวใหญ่ พิมพ์กลีบบัวเล็ก พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น พระปิดตาของท่านส่วนใหญ่ด้านหลังมักจะอูมเป็นแบบหลังเบี้ยหรือหลังประทุนแทบทุกองค์ และพระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง สันนิษฐานว่าคงจะมีการสร้างด้วยกันหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างนั้นทำได้ยากมาก จึงทำให้ในปัจจุบันหาพระปิดตาของท่านแท้ๆ ยากครับ สนนราคาก็สูงมากตามไปด้วย

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนับเป็นต้นกำเนิดพระปิดตาผงคลุกรักของเมืองแปดริ้วเลยทีเดียว เนื่องจากลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็ได้สร้างพระปิดตาตามแบบองค์อาจารย์อีกหลายรูปด้วยกันครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ พิมพ์แข้งหมอนซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุดมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11139513759149_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เล่นพระดูง่ายสบายใจ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เล่นพระดูง่ายหมายถึงอะไร สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาใหม่อาจจะไม่เข้าใจ ผมขอขยายคำจำกัดความเรื่องนี้หน่อยนะครับ พระดูง่ายสำหรับในสังคมพระเครื่องก็คือพระประเภทใดก็ตามที่มีรายละเอียดพิมพ์ถูกต้องตามมาตรฐาน เนื้อหาถูกต้อง สำหรับคนที่พอดูพระเป็นบ้าง ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นพระแท้ด้วยตาเปล่า พระแบบนี้แหละที่เขาว่าเป็นพระดูง่าย อ้าวแล้วก็แสดงว่ามีพระที่ดูยากด้วยใช่หรือเปล่า ครับพระที่ดูยากก็มีครับ

พระดูง่ายก็อย่างที่บอกเห็นปุ๊บก็แท้เลย เรื่องนี้สำหรับผู้ที่พอมีความรู้เรื่องพระนั้นๆ ก็สามารถบอกได้เลยว่าแท้ แต่สำหรับพระที่ดูยากก็หมายถึงพระแท้ แต่มองดูทีแรกก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าแท้หรือไม่ ต้องพิจารณากันละเอียดอีกทีหนึ่งด้วยแว่นขยาย แล้วจึงประเมินอีกที ประเภทนี้เป็นพระที่ผู้มีความรู้ ความชำนาญจริงๆ เท่านั้นที่จะตัดสินได้ ว่าแท้หรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เนื่องมาจากพระเครื่องที่ดูยากนั้นมีมูลเหตุปัจจัยมาเปลี่ยนแปลงภายหลัง เช่น พระที่มีชำรุดอุดซ่อมและได้รับการซ่อมมาแล้ว แต่ช่างที่ซ่อมอาจจะซ่อมไว้ผิดพิมพ์หรือโป้พอกไว้เยอะในกรณีนี้จึงทำให้กลายเป็นพระดูยาก หรือพระที่มีการนำไปตกแต่งเสริมความงามมา เช่นพระที่สึกจนพิมพ์ตื้น ก็นำไปเซาะพิมพ์ให้ดูลึกขึ้นจากเดิม หรือพระที่ผิวถูกล้างผิดวิธีหรือทำอะไรให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนดูผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก หรือมีมูลเหตุปัจจัยอื่นๆ มาทำให้สภาพพระเปลี่ยนไปจากเดิมก็อาจจะทำให้กลายเป็นพระดูยากก็มีครับ พระประเภทดูยากนี้เวลาจะออกตัวต่อหรือให้เช่าต่อก็จะขายยาก นอกจากขายให้กับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเท่านั้น และพระแบบนี้สนนราคามูลค่าก็จะลดน้อยกว่าพระที่ดูง่ายในชนิดเดียวกัน เพราะกำกวมไม่ชัดเจนครับ

ดังนั้น พระที่ดูง่ายจึงเป็นพระที่น่าเช่าหามาเก็บหรือบูชา เนื่องจากบางเวลาที่เราอาจจะมีความจำเป็นที่จะออกตัวให้เช่าต่อก็จะง่ายขึ้น อีกอย่างหนึ่งก็จะทำให้เสียงสวดน้อยลง สวดก็เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งของสังคมพระเครื่อง หมายถึงการกล่าวหาว่าพระของเรานั้นจะจากแท้กลายเป็นเก๊ไปเลย เพราะพระของเรานั้นดูยาก คนที่ไม่มีความชำนาญพอก็อาจจะดูเป็นพระเก๊ไปเลยก็มีครับ ผมจึงบอกว่า เล่นพระดูง่ายสบายใจดีกว่าเล่นพระดูยากครับ

มูลค่าพระแบบเดียวกันรุ่นเดียวกัน พระที่ดูยากจะมีราคาถูกกว่าพระดูง่ายแน่นอน ถ้าเราไม่ใช่เซียนพระอย่าเห็นแก่ราคาถูกเลือกพระดูยากไว้ เวลาจะออกตัวก็จะออกยากกว่าพระดูง่าย พระจะสวยไม่สวยก็ขอแบบดูง่ายไว้ก่อนครับ แต่ถ้าพอจ่ายไหวก็หาสวยๆ ไปเลย พระสวยเวลาออกตัวก็จะออกตัวง่าย ได้ราคากว่าพระสภาพทั่วไปครับ ก็ต้องเลือกเอาว่าเราจะเลือกแบบดูง่ายหรือดูยาก ถ้าเลือกแบบดูยากก็ต้องมีใจหนักแน่นหน่อย ถ้ามั่นใจว่าแท้แล้วก็ต้องหนักแน่นทนต่อเสียงสวดหน่อยก็โอเคครับ

สำหรับส่วนตัวผมนั้นเลือกแบบพระดูง่าย สวยไม่สวยก็ว่ากันทีหลังแล้วแต่โอกาส บางทีสภาพสึกๆ แต่ดูง่ายผมก็เช่าครับ การเช่าหาสะสมพระเครื่องนั้นก็เลือก เอาตามแบบที่เราชอบครับ วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม แบบดูง่ายๆ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มกราคม 2563 15:57:25
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48063559043738_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
ความเชื่อเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามที่จั่วหัวไว้ในที่นี้หมายถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ในปัจจุบันก็มีการพูดถึงในโซเชี่ยลมีเดียว่ามีการศึกษาหาข้อมูลมาโต้แย้งความเชื่อเดิมๆ ที่ว่ามีอยู่ 4 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูมนั้น ความจริงมีมากกว่านั้น โดยกล่าวอ้างถึงประวัติต่างๆ ที่ได้ค้นคว้าศึกษามา ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อเดิมๆ

ผมเองก็เป็นผู้ที่นิยมศึกษาและสะสมพระเครื่องคนหนึ่ง ก็ศึกษามาจากหลายๆ ตำรา ซึ่งก็มีมาตั้งแต่โบราณ และก็ได้ติดตามศึกษาตำราและเรื่องราวใหม่ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์นั้นเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาและเราเองก็เกิดไม่ทัน ประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็เช่นกัน คนที่มีชีวิตอยู่ปัจจุบันก็ไม่มีใครเกิดทันในช่วงชีวิตของเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันสักคน และก็แน่นอนว่าไม่มีใครที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ กันสักคน ก็ได้แต่เพียงศึกษาจากการจดบันทึกและ คำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าๆ ที่เกิดทันในยุคนั้น และบันทึกเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ ซึ่งก็มีอยู่หลายบันทึก ซึ่งบางอันบางข้อบางตอนก็ตรงกัน และก็มีที่แตกต่างไม่เหมือนกันเลยก็มี ยิ่งในปัจจุบันก็มีเรื่องราวการสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากมาย ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ปัจจุบันการสื่อสารทางโซเชี่ยลมีเดียเป็นที่นิยมแพร่หลาย และก็มีการเผยแพร่กันมาก โดยเฉพาะเรื่องประวัติการสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มีมากมาย เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง และแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็มี โดยมีกลุ่มต่างๆ ได้อ้างว่าศึกษาค้นคว้ามาและมีหลักฐานยืนยัน ก็ว่ากันไป เราผู้ศึกษาเรื่องราวของพระเครื่องก็จำเป็นที่จะต้องติดตามศึกษาเรื่องราวต่างๆ ก็ต้องวิเคราะห์ว่าเรื่องไหนน่าเชื่อถือได้บ้าง เพื่อที่จะนำมาเป็นความเชื่อส่วนบุคคลของตัวเอง การเล่นหาพระเครื่องในปัจจุบันก็มีเป็นกลุ่มๆ ซึ่งบางกลุ่มก็มีความเชื่อที่ต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เรื่องการเห็นต่างก็ไม่แปลกอะไร และก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมีความเห็นต่างได้ และคนที่เลือกจะเชื่อแบบไหนอย่างไรก็ย่อมเป็นสิทธิของคนคนนั้น ก็ต้องเลือกเชื่อกันเองครับ

ในส่วนตัวผมที่ได้ศึกษามาและเชื่อตามที่มีบันทึกการบอกเล่าของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) เนื่องจากท่านก็อยู่รับใช้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาตั้งแต่ยังบวชเป็นเณรในปี พ.ศ.2399 ในขณะนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี และอยู่รับใช้เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาโดยตลอด จนท่านมีอายุครบบวชและได้อุปสมบทที่วัดระฆังฯ ในปี พ.ศ.2407 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอีก 3 เดือนต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์

ต่อมาในปี พ.ศ.2409 ตามที่เจ้าคุณธรรมถาวรเล่า คือในปีนั้นเอง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้เริ่มสร้างพระ โดยมีเรื่องราวต่างๆ ระบุว่าใครเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ ทำอย่างไรไว้ค่อนข้างละเอียด ซึ่งในขณะที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรเล่าและมีการจดบันทึกนั้นท่านก็ยังมีสุขภาพดี และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงน่าเชื่อถือได้ดี เปรียบเทียบกับตำราอื่นๆ ก็มีตรงกันบ้าง ไม่ตรงบ้าง แต่เท่าที่ศึกษาดูจากหลายๆ ตำราแล้ว การจดบันทึกคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณธรรมถาวรน่าเชื่อมากที่สุด

ทีนี้ก็มาศึกษาดูเรื่องของแบบพิมพ์ของพระสมเด็จ ของวัดระฆังฯ เท่าที่ศึกษาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ศึกษาสืบต่อกันมาจาก รุ่นสู่รุ่นอีกทีหนึ่ง ก็มีความเห็นตรงกันว่า พระสมเด็จของวัดระฆังฯ มีอยู่ 4 พิมพ์ ซึ่งก็แยกเป็นหมวดของพิมพ์พระว่ามีอยู่ 4 หมวด

หมายความว่าแต่ละพิมพ์ก็เป็นหมวดหนึ่ง สามารถแยกตัวแม่พิมพ์ออกมาได้อีก เช่น พระพิมพ์ใหญ่สามารถแยกแม่พิมพ์ออกมาหลายแม่พิมพ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของรายละเอียดในแต่ละหมวดจะมีหลักเกณฑ์ที่ เหมือนๆ กัน แต่แตกต่างกันบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถแยกได้ออกเป็นแม่พิมพ์ต่างๆ พิมพ์ทรงเจดีย์ก็เช่นกัน ก็แยกตัวแม่พิมพ์ออกได้อีก พิมพ์ฐานแซมเช่นกัน นอกจากพิมพ์เกศบัวตูมของวัดระฆังฯ เท่าที่เชื่อถือได้ และมีมูลค่ารองรับเชื่อว่ามีแม่พิมพ์เดียว ส่วนเนื้อหาหรือองค์ประกอบต่างๆ ก็มีมาตรฐานกำหนดตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องได้กำหนดและถ่ายทอดส่งต่อกันมาแบบนี้ ที่สำคัญคือมูลค่ารองรับพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้าง และเชื่อถือกันมาตลอดก็เป็นแบบนี้ ซึ่งมูลค่ารองรับตามมาตรฐานนี้จะมีมูลค่าเป็นล้านบาท

ในส่วนที่มีความคิดเห็นแตกต่างไป อย่างอื่นก็ว่ากันไป ก็ต้องเลือกเชื่อและยอมรับกันเองว่าจะเลือกเชื่อหรือยึดถือแบบไหน ย่อมเป็นสิทธิส่วนบุคคลครับ แต่ถ้าจะนำมาขายในส่วนกลางก็ต้องถูกต้องตามมาตรฐานของส่วนกลาง แต่ถ้าเป็นแบบอื่นแล้วเขาไม่ยอมรับหรือไม่รับซื้อก็ต้องยอมรับอีกเช่นกันนะครับว่าก็เป็นสิทธิของเขาเช่นกัน ไม่ต้องมาต่อว่าหรือขัดเคืองอันใดจริงไหมครับ ถ้าจะขายก็ต้องไปขายให้กับผู้ที่มีความเห็นและเชื่อแบบเดียวกันก็จบได้ครับ

ครับ ก็คุยกันไปเรื่อยๆ ตามประสาคนชอบพระเครื่องเหมือนๆ กันนะครับ และวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม องค์สวย ถูกต้องตามมาตรฐานมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74548541423347_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระปิดตาไม้แกะ หลวงพ่อชอบ

หลวงพ่อชอบ โชติธัมโม หรือ พ่อท่านชอบ เจ้าอาวาสวัดจำปาวนาราม ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราชพระเกจิอาจารย์ดังแดนใต้ที่มีพุทธาคมสูง

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 91 ปี

มีนามเดิมว่า ชอบ ไชยฤทธิ์ เกิดเมื่อ วันอังคารที่ 14 ส.ค.2471 ปีมะโรง พื้นเพเดิมเป็นชาว ต.ชะมาย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช บิดา-มารดาชื่อ นายชุ่ม และนางศีล ไชยฤทธิ์ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทร 8 คน

ในวัยเยาว์ขณะอายุ 13 ปี ย้ายไปอยู่ที่ อ.ถ้ำใหญ่ ได้ 1 ปี จึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังเรียนจบชั้น ป.4 ทำไร่ทำนาช่วยครอบครัว

กระทั่งอายุ 27 ปี ตัดขาดทางโลกเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดถ้ำใหญ่ อ.ถ้ำใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

ศึกษาอักขระเลขยันต์และด้านวิทยาคม จากอาจารย์รังสรรค์ ซึ่งเป็นหลานเขยของพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ก่อนมีความจำเป็นต้องลาสิกขา

อายุ 72 ปี อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2543 ที่อุโบสถวัดนากุล อ.ท่าศาลา มีพระครูประโชติธรรมาวุธ (พ่อท่านยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจำเลื่อง สุจิตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุนทรบุญทัต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ภายหลังจากอุปสมบท ร่ำเรียนจนสอบได้นักธรรมตรี และจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาเลื่อน 3 ปี ก่อนย้ายไปสำนักสงฆ์ควนตอ อ.บางขัน พ.ศ.2551 จึงรับนิมนต์มาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนับแต่ พ.ศ.2553 สืบมา

ในเดือน ก.พ.2561 คณะศิษยานุศิษย์ ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระปิดตาไม้แกะมงคล รุ่นแรก เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะ

พระปิดตารุ่นนี้ที่จัดสร้างทั้งหมด 9 เนื้อ เนื้อละ 99 องค์ รวมทั้งสิ้น 891 องค์ มีความสูง 2.2 ซ.ม.

พระปิดตาที่จัดสร้างขึ้นนี้ เป็นพิมพ์นิยมคู่บ้านคู่เมือง โดยนำไม้มงคล 9 ชนิดที่หายาก มีไม้กำจัด กันภัย แก้วป่า จันทน์หอม ขนุน แก่นเหมื่อย แก่นจันทน์แดง พิกุล และไม้กันเกรา ยืนต้นตายพรายตามตำราโบราณนำมาจัดสร้าง มีพิธีบวงสรวงรุกขเทวดานางไม้ ที่เชื่อว่าสิงสถิตอยู่

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ วาระแรก พิธีพลีมวลสารนำฤกษ์เบิกชัยมงคล เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2561 วาระที่ 2 พุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2561  
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47948449022240_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันมีพระเครื่องที่แคล้วคลาดปลอดภัยผมว่าดีที่สุด เนื่องจากไม่เจอกับภยันตรายใดๆ น่าจะดีสุด และพระเครื่องที่รับรู้กันโดยทั่วไปก็คือพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งประสบการณ์ต่างๆ นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระหลวงปู่ทวดรุ่นใดหรือวัดไหน ต่างก็มีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาดปลอดภัยทั้งสิ้น ถ้าเราหาพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้รุ่นเก่าๆ ไม่ได้ก็รุ่นใหม่ๆ หรือของวัดไหนก็ได้ ขอให้มีศรัทธาระลึกถึงหลวงปู่ทวดก็จะได้ผลคุ้มครองเช่นกันครับ

วันนี้ผมขอแนะนำพระหลวงปู่ทวดรุ่นเก่า แต่หาได้ไม่ยากนัก และสนนราคาก็ไม่สูงนัก คือพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกของวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพระเก่าสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 แต่สนนราคาไม่สูงแค่หลักพันต้นๆ เท่านั้น พระหลวงปู่ทวดวัดพะโคะรุ่นแรกดำเนินการสร้างโดยท่านอาจารย์เขียว วัดพะโคะ ในการสร้างครั้งนี้มีทั้งแบบพระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ทวด และพระเครื่องเนื้อว่าน ในส่วนของพระเครื่องมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์กรรมการเล็กและใหญ่ ส่วนผสมสำคัญของพระเครื่องชุดนี้ก็คือ ว่าน 108 น้ำผึ้งรวง กล้วยน้ำว้า น้ำมันตั้งอิ้ว ผงพุทธคุณ ข้าวเหนียวดำ ในการกดพิมพ์

ครั้งแรกใช้คนที่มีชื่อเป็นมงคล คือ นายนำ นายชัย นายคง กดพิมพ์นำฤกษ์ ในส่วนที่จะตำส่วนผสมต่างๆ พร้อมทั้งคนกดพิมพ์ ต้องอาบน้ำ รับศีล และนุ่งขาวห่มขาว นับว่าพิถีพิถันในการสร้างสูงมาก

ในส่วนของการทำพิธีพุทธาภิเษก ได้มอบให้ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีพุทธ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์จัดทำพิธีอย่างใหญ่ และครบถ้วนตามแบบโบราณ นับว่าเป็นพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่น่าบูชามาก ที่สำคัญคือวัดพะโคะเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ในสมัยที่ยังดำรงชีพอยู่ และลูกแก้ววิเศษของหลวงปู่ทวดก็เก็บรักษาอยู่ที่วัดพะโคะ แห่งนี้

เอกลักษณ์ของพระเครื่องของหลวงปู่ทวดวัดพะโคะ ทุกพิมพ์จะเป็นรูปหลวงปู่ทวด นั่งสมาธิ ในมือจะมีลูกแก้วอยู่ในมือ ที่ฐานจะเป็นอักษรไทยตัว "พ ค" ย่อมาจากคำว่า พะโคะ ส่วนด้านหลังจะเป็นรูปเจดีย์และมีรอยเท้าอยู่ด้านล่าง ซึ่งหมายถึงหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะจะเป็นพระเนื้อผงผสมว่านเนื้อเดียว พระส่วนใหญ่ผิวจะมีคราบน้ำว่านปกคลุมอยู่ บางองค์ที่ไม่มีคราบว่านน้ำก็มีบ้างเหมือนกัน องค์ไหนไม่มีคราบน้ำว่านจะมีผิวสีดำ

ในสมัยก่อนไม่พบที่ทำปลอม แต่ปัจจุบันนี้ก็มีการทำปลอมกันแล้ว เวลาเช่าหาก็พิจารณาให้ดีๆ แต่ของปลอมก็จะยังทำไม่เหมือนเท่าไรนัก ถ้าเคยเห็นของจริงก็จะพิจารณาได้ไม่ยากนักครับ พระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจ สนนราคาก็ไม่สูง และยังพอหาได้ไม่ยากนัก หาหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ไม่ได้ก็หาหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะบูชาได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20405946340825_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำคัญของไทย ที่สร้างในสมัยสุโขทัยและเป็นที่ยอมรับ กันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมากทั้ง 3 องค์ ในส่วนพระเครื่องที่มีการตั้งชื่อตาม พระพุทธรูปสำคัญนี้ก็มีเช่นกันซึ่งพระเครื่องทั้ง 3 แบบนี้ ได้ขุดพบครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และมีความงดงามทางด้านศิลปะของสุโขทัย จึงตั้งชื่อตามพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

พระพุทธชินราชในส่วนของพระเครื่องที่ขุดพบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก จะเรียกกันว่า พระพุทธชินราชใบเสมา เนื่องจากเป็นพระที่ขุดพบในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พุทธลักษณะประทับนั่งอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว พุทธศิลปะงดงาม และทรงกรอบของพระมีลักษณะคล้ายใบเสมา จึงเรียกชื่อกันว่าพระพุทธชินราช และต่อท้ายด้วยใบเสมาตามทรงกรอบของพิมพ์ และแยกแยะออกได้ว่าเป็นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เนื่องจากชื่อพระเครื่องที่มีชื่อว่าพระพุทธชินราชนั้นก็มีอยู่อีกหลายกรุ แต่ถ้าบอกว่าพระพุทธชินราชใบเสมาก็รู้กันทันทีว่าหมายถึงพระของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระกรุนี้ถูกค้นพบประมาณปี พ.ศ.2440 เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาส และมีประชาชนนำทูลเกล้าฯ ถวาย

พระพุทธชินราชใบเสมาเท่าที่พบสามารถแยกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พระพิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย พระพิมพ์กลางฐานสูงและฐานเตี้ย และพระพิมพ์เล็กฐานสูงและฐานเตี้ย เนื้อพระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน พบเป็นพระเนื้อดินเผาบ้าง และพระเนื้อสัมฤทธิ์แต่ก็พบน้อยมาก พระพุทธชินราชใบเสมาจัดอยู่ในเบญจภาคีชุดพระยอดขุนพล ปัจจุบันหายากและสนนราคาสูง

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระที่ถูกค้นพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เช่นกัน พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว เช่นเดียวกัน แต่เป็นคนละพิมพ์กันกับพระพุทธชินราชใบเสมา และเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน ในสมัยนั้นจึงตั้งชื่อตามพระพุทธรูปสำคัญว่าเป็นพระพุทธชินสีห์ เท่าที่พบมีแบบพิมพ์รัศมีตรงและรัศมีแฉก เนื้อพระเท่าที่พบจะเป็นเนื้อชินเงินที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้าง พระพุทธชินสีห์เป็นพระที่พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธชินราชใบเสมา และหายากมากจึงอาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก พระเครื่องที่ได้รับชื่อพระพุทธชินสีห์ ก็ยังมีอีกกรุหนึ่งของกรุวัดเขาพนมเพลิงสุโขทัย แต่ก็เป็นคนละพิมพ์กัน

พระในตับเดียวกันที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ก็คือพระศาสดา พระพิมพ์นี้ไม่ปรากฏซุ้มเรือนแก้ว แต่ก็เป็นพระที่มีศิลปะในยุคเดียวกัน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมๆ กัน แต่พระศาสดานั้นเท่าที่พบมีจำนวนน้อยมากๆ แทบจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย จึงจะไม่ค่อยได้รู้จักกันนัก พระศาสดาเท่าที่พบจะเป็นเนื้อชินเงิน พระศาสดาของอีกกรุหนึ่งก็คือของกรุวัดเขาพนมเพลิงสุโขทัย แต่ก็เป็นคนละพิมพ์กัน แต่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน

พระทั้ง 3 แบบนี้ปัจจุบันหายากมาก ของปลอมก็มีอยู่เยอะพอสมควร เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราชใบเสมาพิมพ์ใหญ่ พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46975163701507_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดนาโคก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสมุทรสาครมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางห้ามสมุทร ที่ชาวสมุทรสาครเคารพนับถือกันมาก วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสมุทรสาครกับเหรียญหล่อรุ่นแรกของท่านกันดีกว่านะครับ

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธา น้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน

ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา

เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร

อยู่มาวันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคกได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพ ทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์

หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษขานกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ

ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อโบราณ ปัจจุบันเหรียญนี้หาชมได้ยาก ชาวบ้านในแถบนั้นหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88560188064972_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้อีกวัดหนึ่ง ซึ่งสร้างไว้เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหม จึงเป็นพระสมเด็จฯ อีกวัดหนึ่งที่มีหลักฐานในการสร้างแน่นอน และเป็นที่นิยมมีมูลค่ารองรับอีกวัดหนึ่งนอกจากวัดระฆังฯ

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมสร้างขึ้นมาตามรูปแบบของพระวัดระฆังฯ เป็นเนื้อผงรูปแบบสี่เหลี่ยม มีแบบพิมพ์ของวัดระฆังฯ และแบบพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่อีกหลายพิมพ์ และมีแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นอีกหลายแม่พิมพ์เพื่อสร้างพระให้ได้จำนวนมาก พระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหม เมื่อพิมพ์พระเสร็จแล้วก็จะมีการตัดขอบอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้นเส้นกรอบแม่พิมพ์จะดูชัดเจนกว่าของพระวัดระฆังฯ สันนิษฐานว่าตั้งใจทำให้ชัดขึ้นจะได้ตัดขอบได้สะดวกตามเส้นกรอบแม่พิมพ์ เนื่องจากพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้นสร้างจำนวนมาก และมีช่วงเวลาที่จะทำให้เสร็จก่อนวันสมโภชองค์พระเจดีย์ประธานที่สร้างขึ้นใหม่

เส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระวัดบางขุนพรหมเท่าที่สังเกตดูสันนิษฐานว่าจงใจเซาะให้ลึกลงไปในตัวแม่พิมพ์ เพื่อเมื่อเวลากดพิมพ์พระแล้วจะเห็นเป็นเส้นนูนขึ้นมาชัดเจน สำหรับเป็นที่กำหนดจุดในการตัดขอบให้เห็นง่ายขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการตัดขอบพระ ในสมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ว่า พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขอบปลิ้นไปด้านหน้า พระวัดระฆังฯ ไม่มีขอบปลิ้นมาด้านหน้า สังเกตดูก็จริงดังท่านว่าไว้ และมาวิเคราะห์หาเหตุผลก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าเหตุผลก็คงจะเป็นเช่นนั้น

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดก็จะสังเกตเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์นูนขึ้นมาทุกพิมพ์ มากน้อยแล้วแต่พิมพ์ บางองค์ใช้สึกไปบ้างก็อาจจะไม่เห็นทั้ง 4 ด้าน แต่ก็ยังพอสังเกตเห็นได้ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิก็เป็นพิมพ์หนึ่งที่จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ชัดเจนกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ทั้งหมด และก็เป็นทุกแม่พิมพ์ของพระพิมพ์สังฆาฏิ

พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มแม่พิมพ์สังฆาฏิ พระพิมพ์นี้จะเห็นเส้นสายที่แสดงเป็นผ้าสังฆาฏิได้ชัดเจน จะเห็นว่าทุกแม่พิมพ์จะเห็นเส้นที่พาดจากไหล่ซ้ายขององค์พระพาดลงมาถึงมือที่ประสานบนหน้าตัก จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มพิมพ์สังฆาฏิ ในสมัยก่อนจะแยกแม่พิมพ์ออกมาเป็นพิเศษหน่อยคือ พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง ที่เรียกอย่างนี้ก็เนื่องมาจากพระแม่พิมพ์นี้จะมีใบหูที่ใหญ่ชัดเจน ลักษณะคล้ายกับหูของช้าง จึงเรียกกันมาอย่างนั้น ส่วนแม่พิมพ์อื่นๆ ก็เรียกรวมกันเป็นพิมพ์สังฆาฏิเฉยๆ ส่วนในสมัยปัจจุบัน เปลี่ยนการเรียกพิมพ์สังฆาฏิหูช้างมาเป็นพิมพ์สังฆาฏิมีหู และแม่พิมพ์อื่นๆ ก็เรียกพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู

ทีนี้เรามาดูเส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิกัน เส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้นั้น ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์สังฆาฏิมีหูหรือพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ยกสูงขึ้นมาชัดเจน และเห็นชัดกว่าพระทุกพิมพ์ในกระบวนพระวัดบางขุนพรหม ไม่ว่าจะตัดขอบชิดแค่ไหนก็จะต้องเหลือให้เห็น ไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่ง ในพระองค์สวยๆ สมบูรณ์อาจจะเห็นได้ทั้ง 4 ด้านเลย

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ ทั้งแม่พิมพ์มีหู และแม่พิมพ์ไม่มีหูองค์สวยๆ มาให้ชม ลองสังเกตเส้นกรอบแม่พิมพ์ดูนะครับว่าเป็นอย่างที่ผมพูดไว้หรือไม่ครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67164729742540_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระปิดตาวัดระฆังฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขึ้นหัวข้อว่าพระปิดตาวัดระฆังฯ หลายๆ ท่านก็คงจะงงกับประโยคนี้นะครับ ความจริงนั้นพระปิดตาวัดระฆังฯ มีจริงๆ ครับ แต่เป็นพระที่พระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) เป็นผู้สร้างไว้ พระของท่านส่วนใหญ่จะเรียกรวมๆ ว่าพระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งก็สร้างอยู่หลายพิมพ์รวมทั้งพิมพ์พระปิดตาด้วย เอกลักษณ์ของพระที่ท่านสร้างไว้ก็คือเป็นพระเนื้อผงผสมใบลานเผา เนื้อของพระก็จะออกเป็นสีเทาๆ ดำๆ พระส่วนใหญ่เมื่อถูกบรรจุกรุและผ่านกาลเวลามาจนปัจจุบันก็จะเกิดคราบไขขาวจับอยู่บนผิวองค์พระ จะมากน้อยก็แล้วแต่องค์ครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของพระหม่อมเจ้า พยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอัมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงจนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าให้ไปคลองวัดพระเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่องนับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร

ดังนั้นพระเครื่องชนิดนี้ คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักสะสมพระเครื่องทั่วไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สิ้นแล้ว ท่านจึงบรรจุพระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่ บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ท่านเจ้าประคุณถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัก) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบ ส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ราชการได้ร้องขอมา

พระเครื่องของกรุนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก พระสมเด็จปิลันทน์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ ส่วนในเรื่องสนนราคานั้นก็ลดหลั่นกันตามพิมพ์ที่นิยมมากน้อย พิมพ์ที่ค่านิยมสูงๆ ก็มีอยู่หลายพิมพ์ ราคาก็อยู่ที่หลักแสนถึงหลักหลายๆ แสน ส่วนพิมพ์ที่นิยมรองลงมาก็ยังพอจับต้องได้อยู่หลักหมื่น

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ที่หายากคือพิมพ์พระปิดตา ซึ่งหายากมากและสนนราคาสูงมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์





หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มกราคม 2563 16:00:56

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42415266566806__2_1_320x200_.jpg)
วัดหนังล้วงนอก วัดทองล้วงใน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมหาอุตม์หรือมหาอุด เป็นพระเครื่องที่สร้างรูปแบบเป็นพระที่มีมือหลายๆ มือ ปิดหน้า ปิดหู ปิดท้อง และปิดทวารหนักเบา บางคนก็เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้าก็มี เชื่อกันว่าเป็นพระประเภทที่คุ้มครองให้ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า คืออยู่ยงคงกระพันชาตรี พระประเภทนี้มักจะทำด้วยเนื้อโลหะ มีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

พระปิดทวารที่เป็นเนื้อโลหะและเป็นที่นิยมกันมากๆ ก็คือพระปิดทวารของหลวงพ่อทับ วัดทอง พระของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง พระหลวงปู่จัน วัดโมลี พระหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งถือว่าเป็นพระอันดับยอดนิยมสูงหายากมาก และสนนราคาสูง พระของหลวงปู่จัน วัดโมลี และพระของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้นั้นแยกออกมาได้ง่ายเนื่องจากเนื้อโลหะของหลวงปู่จันเป็นเนื้อแร่เหล็ก ที่เรียกกันว่าแร่บางไผ่ ส่วนพระของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้นั้นเป็นพระเนื้อเมฆพัด ก็แตกต่างกันเห็นได้ชัด ส่วนพระของวัดหนังและของวัดทองนั้น เป็นพระเนื้อโลหะผสมแบบเนื้อสัมฤทธิ์ที่ดูคล้ายๆ กัน รูปแบบเป็นลักษณะยันต์ยุ่งคล้ายๆ กัน

ในสมัยก่อนรูปพระเครื่องก็ไม่ค่อยมีให้ดู แม้แต่หนังสือพระเครื่องก็แทบจะไม่ค่อยมีกันเลย คนโบราณเขาก็สอนให้ดูและแยกแยะพระของทั้ง 2 วัดที่สังเกตง่ายๆ ก็คือ ให้ดูที่องค์พระถ้ามือคู่ที่ลงไปปิดทวารด้านล่าง ของวัดหนังจะล้วงอ้อมลงผ่านหน้าตักด้านนอกลงมาปิดทวาร ส่วนของวัดทองจะมองไม่เห็น แต่สังเกตดูที่ด้านล่างของพระจะเห็นเป็นมือคู่หนึ่งที่โผล่มาจากหน้าตักมาปิดทวารไว้ ก็คือใช้มือล้วงผ่านหน้าตักด้านในลงมาโผล่ที่ด้านล่างปิดทวารไว้ จึงเป็นคำกล่าวให้คล้องจองและจำง่ายว่า "วัดหนังล้วงนอก วัดทองล้วงใน"

ครับพระมหาอุตม์ของทั้ง 2 วัด ทั้งวัดหนังและวัดทอง แบบปิดตายันต์ยุ่งนี้ อายุการสร้างออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน และความนิยมก็พอๆ กันครับ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมาก สนนราคาในสภาพสมบูรณ์ก็ว่ากันเป็นล้านแล้วครับ ในเรื่องของพุทธคุณนั้นมีประสบการณ์ของคนรุ่นเก่าๆ เล่าขานสืบต่อกันมามากมาย ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี ยิงไม่ออกฟันไม่เข้าอะไรประมาณนั้นครับ และมีการเสาะ กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากมานานแล้วครับ ในสมัยก่อนรูปภาพพระที่จะมีให้ดูก็ไม่มี คนรุ่นเก่าเขาก็เลยสอนบอกต่อกันเพื่อให้แยกพระวัดหนังกับพระวัดทองออกมา และเพื่อให้สังเกตง่ายๆ จึงมีคำกล่าวที่ว่ามานี้ครับ

วันนี้ก็มาคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ คำกล่าวเก่าๆ ที่เขาเคยพูดกันไว้ นึกถึงเรื่องราวเก่าๆ กันบ้างนะครับ สำหรับพระปิดทวารของทั้งวัดทองและวัดหนังมีการทำปลอมมานมนานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าหาจากคนที่เชื่อถือได้นะครับ เนื่องจากสนนราคาสูงผิดพลาดแล้วจะคืนกันลำบากครับ เช่าหาแพงหน่อยแต่สบายใจดีกว่าครับ ของดีก็ต้องว่ากันตามราคา ไม่มีหรอกครับที่พระแพงๆ จะมาขายให้เราถูกๆ กว่าความเป็นจริง ถ้าเราดูพระไม่เป็นก็เช่าจากผู้ที่เขาชำนาญการจะดีกว่าครับ ราคาจะสูงสักหน่อยแต่ก็ได้ของแท้สบายใจครับ

วันนี้ผมนำรูปพระปิดทวารทั้งของวัดหนังและวัดทองมาให้ชม ลองแยกดูนะครับว่ารูปไหนวัดหนัง รูปไหนวัดทองครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87017564144399__1_320x200_.jpg)
พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระในตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่นิยมทุกกรุ และที่นิยมมากๆ ก็จะเป็นพระประเภทเนื้อดินเผา และยกย่องว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุด พุทธคุณก็เด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ พระเนื้อดินที่เป็นยอดนิยมก็จะเป็นพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นต้น นอกนั้นก็นิยมในพระตระกูลนางกำแพงซึ่งก็มีอยู่หลายพิมพ์หลายกรุหลายวัด

พระนางกำแพง ก็มี พระนางกําแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงกลีบบัว พระนางกำแพงกลีบบัวตัด พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ด พระนางกำแพงฐานตาราง เป็นต้นพระนางกำแพงความจริงก็มีทั้งที่เป็นพระเนื้อดินเผา และพระเนื้อชินเงิน ส่วนพระนางกำแพงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงนั้นมีพบน้อยมากแต่ก็มีพบเช่นกันครับ ส่วนที่นิยมกันมากก็น่าจะเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีพบมากกว่าเนื้ออื่นๆ และเป็นที่รู้จักกันมากกว่าเนื้ออื่นๆ

พระนางกำแพงมีพบอยู่หลายวัดหลายกรุ ทั้งที่ฝั่งนครชุมในบริเวณทุ่งเศรษฐี และนอกทุ่งเศรษฐีเช่นในเมืองเก่าไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ลงมาทางด้านใต้ทุ่งเศรษฐี ที่ท่าดื้อ และก็ยังพบที่ทางฝั่งจังหวัดก็มีพบอยู่หลายกรุหลายวัด พระนางกำแพงทุกกรุทุกวัดเป็นที่นิยมทั้งสิ้น

พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ด ก็เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ขุดพบทางฝั่งจังหวัดในบริเวณเมืองเก่า กําแพงเพชร ซึ่งก็มีโบราณสถานวัดเก่าแก่มากมาย และก็เป็นพระกรุที่มีชื่อเสียงหลายกรุ พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดก็เป็นพระนางกำแพงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมกัน และเป็นพระที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองคือเนื้อพระจะแกร่งและส่วนมากก็จะเป็นสีดำสนิท มีคราบกรุ ขาวๆ จับอยู่ที่ผิวของพระโดยเฉพาะตามซอกลึกต่างๆ คราบขาวนี้จะจับแน่นมาก ล้างเท่าไรก็ออกไม่หมด ส่วนเนื้อที่แกร่งนั้นถ้าถูกใช้สัมผัสมาบ้างก็จะดำเป็นเงาสวยงาม ผิวพระจะไม่เรียบตึง ด้านหลังจะอูมๆ เท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์เกศใหญ่และพิมพ์เกศเรียว พิมพ์เกศใหญ่จะเห็นเกศใหญ่หนา องค์พระจะอวบกว่าพิมพ์เกศเล็ก ส่วนพิมพ์เกศเรียวพระเกศก็จะเรียวบางกว่า องค์พระก็จะไม่อวบล่ำเท่าพิมพ์เกศใหญ่

พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดนั้นเท่าที่สอบถามคนรุ่นเก่าดูถึงที่มาของชื่อก็บอกว่า รูปทรงขององค์พระนั้นมีรูปร่างคล้ายเม็ดมะเคล็ดจึงตั้งชื่อกันตามนั้น ก็เรียกกันต่อๆ มาจนเป็นที่รู้จักในนามนี้ ทีนี้มาว่ากันถึงเรื่องของกรุของพระนางเม็ดมะเคล็ด ในสมัยก่อนก็ว่ากันว่าขุดพบที่กรุวัดช้างลอบ ต่อมาก็มีบอกว่าพบที่กรุวัดป่ามืดก็มี และวัดโน้นวัดนี้อีก ในสมัยก่อนผมจำได้พระนางกำแพงถ้ามีผิวสีดำก็จะถูกยัดไปเป็นกรุวัดป่ามืดหมด จะเป็นเพราะชื่อวัดป่ามืดเลยคิดไปถึงสีดำหรือการเปล่าจนทำให้ชวนคิด พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดก็มีพบที่ทางฝั่งตัวจังหวัดแน่ๆ แต่จะเป็นวัดใดแน่ ได้ศึกษาหาหลักฐานของกรมศิลปากรก็พบว่า มีวัดในเขตอรัญวาสีของฝั่งจังหวัดที่ขึ้นทะเบียนไว้มีชื่อวัดมะเคล็ด และเป็นวัดที่ใหญ่ด้วย ภายในบริเวณวัดมีต้นมะเคล็ดขึ้นอยู่มาก แล้วก็เป็นวัดเดียวที่มีต้นมะเคล็ดขึ้นอยู่มาก จึงทำให้ชวนคิดได้อีกว่า หรือพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดจะถูกขุดขึ้นจากวัดมะเคล็ดแห่งนี้กันแน่ ครับก็ต้องค้นคว้ากันอีกต่อไป เนื่องจากความจริงพระกรุของกำแพงเพชรนี้ โดยเฉพาะพระเครื่องก็ไม่ค่อยจะมีการบันทึกเรื่องการขุดพบที่ไหนแน่ๆ เพราะในสมัยนั้น เป็นการแอบลักลอบขุดกันทั้งสิ้น ยิ่งพระนางกําแพงเพชรก็มีการขุดแทบทุกกรุ ในสมัยโบราณก็ไม่มีราคาค่างวดอะไรเป็นพระที่แจกแถมกันเพราะมีจำนวนมากมาย ในสมัยที่การขุดพระกันมากๆ ก็เอากันแต่พระบูชาเป็นหลัก เนื่องจากขายได้ราคากว่า และมีมากมายหลายกรุ ส่วนพระเครื่องนั้นเป็นของแถม เมื่อเอาไปมากพอแล้วก็สาดทิ้งๆ ไว้ทั่วบริเวณ และวัดโบราณก็มีอาณาบริเวณติดๆ กัน พระเครื่องก็กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ ในสมัยโบราณนั้นไม่ได้มีราคาค่างวดเท่าไร จึงไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไรนัก ไม่เหมือนสมัยปัจจุบันคงไม่มีใครทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วล่ะ

ก็พูดถึงพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดมาพอสมควรแล้ว ก็ฝากเรื่องกรุว่าตกลงมาจากกรุไหนกันแน่เพราะมีวัดมะเคล็ดในหลักฐานของกรมศิลปากรด้วยน่าคิดนะครับ วันนี้ผมก็นำรูปพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44594876137044__1_1_320x200_.jpg)
พระนารายณ์ทรงปืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500 -1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย

พระปรางค์ประทานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มีพระร่วงยืนหลังลายผ้าเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยานเนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม

พระเครื่องส่วนใหญ่ที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรีและทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์พระประธานและรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ที่เผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น

พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่มีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวร ที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวเอาก็มี ก็เลยทึกทักเรียกกันว่าพระนารายณ์ทรงปืนเอาเสียเลย และก็เรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็นพระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ

พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92199328790108__1_1_1_320x200_.jpg)
พระผงเจ้าคุณทิพยโกษา

 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระผงท่านเจ้าคุณทิพยโกษา เป็นพระเก่าที่มีพิธีกรรมการสร้างดี เนื้อหาดี เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ซึ่งเข้าร่วมทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ พร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

พระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) รับราชการในกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 จนกระทั่งกราบทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีอายุมาก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468 ท่านเจ้าคุณเป็นญาติห่างๆ กับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสนิทสนมกัน นอกจากนี้ยังสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆังฯ และท่านอาจารย์พา วัดระฆังฯ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป

ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เก็บรวบรวมดอกไม้บูชาพระ แล้วนำมาตากแห้ง รวบรวมผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ รวมทั้งว่าน 108 ชนิดไว้ แล้วได้ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ถึงเรื่องการนำมาสร้างพระ หลังจากนั้นจึงแกะแม่พิมพ์ด้วยหินสบู่ ท่านเจ้าคุณเชี่ยวชาญทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์อยู่แล้ว จึงได้ดูฤกษ์ยามแล้ว นุ่งขาวห่มขาว กดพิมพ์พระในระหว่างฤกษ์ พอหมดฤกษ์ก็หยุด โดยมีนายอั๋น นายชุ่ม เป็นลูกมือ

ส่วนการพุทธาภิเษกนั้น ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้ทูลขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นำพระทั้งหมดเข้าร่วมพิธีใหญ่ประจำปีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ประมาณปี พ.ศ.2460 ของวัดสุทัศน์

พระที่สร้างในครั้งนั้นท่านเจ้าคุณได้นำไปบรรจุเจดีย์ต่างๆ และส่วนหนึ่งได้แจกจ่ายให้แก่ลูกๆ หลานๆ ญาติมิตรที่รู้จักกันตามอัธยาศัย

พระที่สร้างในคราวนี้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น รูปลอยองค์แบบพระกริ่ง เฉพาะ พระเนื้อผงแบบพระกริ่งจะลงรักปิดทอง นอกจากนี้ก็มีพระพิมพ์กลีบบัว พระพิมพ์เล็บมือ เป็นต้น พระบางองค์ก็มีปิดทอง เนื้อพระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ มีทั้งที่เป็นเนื้อออกสีเขียว และสีออกน้ำตาล

พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์นั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ บางท่านอาจจะมีอยู่ที่บ้านแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็เป็นได้นะครับ ถ้าพบก็เลี่ยมห้อยคอได้เลยครับ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์เป็นพระดี พิธีดี เนื้อหามวลสารดี และเป็นพระเก่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงลอยองค์แบบพระกริ่ง และพระเนื้อผงเจ้าคุณทิพยโกษามาให้ชมครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:21:19
.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91682396373815_1_320x200_.jpg)
เหรียญหอมเงินฯ หลวงพ่อหอม

พระครูธรรมไตรสังวรกิจ หรือ หลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ (ธ) แห่งวัดป่าบ้านอีกุด ต.กุสุมาลย์ อ.เมือง จ.สกลนคร พระเกจิสายป่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส หรือ พระราชมงคลนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพศรัทธา

เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2503 ที่บ้าน อีกุด ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพาชาเมื่อปี พ.ศ.2522 ที่วัดป่าสันติวาส (ปัจจุบันวัดป่าสันติกุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2524 ขณะมีอายุ 21 ปี ที่พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 59 ปี พรรษา 20

หลังจากท่านสร้างวัดไตรคามวาสี มีเนื้อที่ป่ากว่า 100 ไร่ ร่มรื่นมีสิงสาราสัตว์ไว้หลบภัย ล่าสุดท่านย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านอีกุด ถิ่นมาตุภูมิแล้ว

เดือน ธ.ค. 2562 คณะศิษย์ นำโดย "เฮียเติง" และ "กุลชา กุลชา" ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรุ่นหอมเงินหอมทอง

ในวาระครบรอบอายุวัฒนมงคล 5 รอบ 60 ปี ในวันที่ 1 มี.ค. 2563 รายได้จัดซื้อที่ดินปรับธรณีสงฆ์ รองรับเสนาสนะและถาวรวัตถุวัดแห่งใหม่

ประกอบด้วย เนื้อทองคำ, เนื้อเงินหน้าทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงินบริสุทธิ์, เนื้อนวะหน้ากากเงิน, เนื้ออัลปาก้าลงยา, เนื้อทองทิพย์ลงยา, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง และเนื้อมหาชนวน มีรายการเซอร์ไพรส์สมนาคุณ ตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกองค์

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญกลม หูเชื่อม ใต้หูเชื่อมมีกงจักร รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอมหน้าตรงครึ่งองค์ ด้านหลังมีโบลายกนกนาค สลักตัวหนังสืออ่านว่า หลวงพ่อหอม รตินธโร

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักอักขระยันต์อ่านว่า นะ ชา ลี ติ เป็นคาถาพระสีวลี มีเลข ๙ ยันต์คั่นกลาง เชือกมัดถุงเงินถุงทอง

ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนถุงเงินถุงทอง ในถุงมียันต์ประจำตัวหลวงพ่อ บริเวณขดถุงซ้ายขวาสลักตัวหนังสืออ่านว่า หอมเงิน หอมทอง ใต้ตัวหนังสือมียันต์สองชุดเป็นกลยันต์โบราณที่หลวงพ่อเมตตามอบให้ ขอบเหรียญครึ่งวงกลมวนจากซ้ายไปขวา สลักตัวหนังสือคำว่า วัดป่าบ้านอีกุด อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ๒๕๖๓ มี ดอกจันปิดหัวท้าย

เหรียญรุ่นนี้ได้รับการวาดแบบโดย ครูเอ เป็นรูปแบบที่สวยงามลงตัว เปิดจองในเดือน ก.พ.2563 เตรียมประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในเดือน มี.ค. 2563  
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30302098393440_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระเทริดขนนก-ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทริดขนนกเป็นพระร่วงชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันมาก ก็คือพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ที่นิยมมากที่สุดก็คือเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูง

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณ และกรุพระเครื่องถือเป็นเอกของจังหวัดลพบุรี พระเครื่องพระบูชาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะขอมแบบบายน มีพระเครื่องที่โด่งดังยอดนิยมอยู่หลายชนิด เช่นพระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน พระนาคปรก และพระชนิดต่างๆ มากมายหลากหลายพิมพ์ล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้น พระของกรุนี้เนื้อที่นิยมมากจะเป็นพระเนื้อชินเงินและพระชินตะกั่วสนิมแดง ในกรุนี้ก็มีพระที่เป็นเนื้อดินเผาอยู่บ้างแต่นิยมรองๆ ลงมา นอกจากพระเครื่องแล้วก็ยังมีพระแผงขนาดใหญ่อีกหลายพิมพ์ แต่พระทุกชนิดปัจจุบันก็หายากทุกพิมพ์ครับ

พระของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิมพ์หนึ่งคือพระเทริดขนนก เป็นพระทรงเครื่องปางประทับนั่ง บนกลีบบัว 3 กลีบ สวมหมวกทรงเทริดเป็นกลีบบัวแบบมหายาน ที่เรามักเรียกว่าเทริดขนนก ต่อมาจึงเป็นชื่อเรียกองค์พระ พุทธลักษณะองค์พระแบบเดียวกับพระยอดขุนพล ที่แตกต่างคือ องค์พระตัดชิด ไม่มีซุ้มเรือนแก้ว องค์พระแบบนี้ถ้ามีซุ้มเรือนแก้วเราก็จะเรียกว่าพระยอดขุนพล พระเทริดขนนกเป็นพระที่พบจำนวนน้อยหายาก เท่าที่พบมีทั้งที่เป็นแบบเนื้อชินสนิมแดง เนื้อชินเงิน เนื้อดินเผาว่ากันว่าพบแบบเนื้อสัมฤทธิ์ด้วยแต่ก็พบน้อยมาก

พระเทริดขนนกที่เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงจะเป็นเนื้อที่นิยมมากที่สุดของพระพิมพ์นี้ สีสนิมจะแดงเข้มจัดมาก และแดงทั้งองค์สวยงาม ผิวมีไขขาวปกคลุม บางองค์ที่นำมาล้างเอาไขขาวออกบ้างตามส่วนที่นูนและเหลือไขขาวในส่วนที่ลึกลงไปจะสวยงามมาก แต่พระแท้ๆ ก็หายากครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังให้มากๆ เนื่องจากของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ควรหาที่ปรึกษาดีๆ หน่อยครับ

นอกจากพระเทริดขนนกพิมพ์ที่พบเห็นกันมากหน่อยแล้ว พระในกรุนี้ยังพบพระเทริดขนนกอีกพิมพ์หนึ่ง แต่มีขนาดเขื่องหน่อย พบจำนวนน้อยมากๆ ศิลปะกลับเป็นแบบศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระที่มีศิลปะเก่าแก่กว่าศิลปะขอมบายน สวยงามมาก เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างมาก่อนพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุเดียวกัน แต่ก็พบจำนวนน้อยมาก ว่ากันว่าพบไม่เกิน 10 องค์เท่านั้น และมักจะเรียกหากันว่า "พระเทริดขนนกศรีวิชัย" แต่ก็พบอยู่ในกรุเดียวกัน

พระเทริดขนนก ลพบุรีเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูง ของปลอมเลียนแบบมีหลากหลายฝีมือ เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ ก่อนจะจ่ายเงินครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเทริดขนนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีทั้ง 2 พิมพ์จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55817501578066_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระปิดตาเนื้อผง หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เริ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่คนศรีราชา และชาวชลบุรีเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลของท่านปัจจุบันก็หายากทุกอย่าง พุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด

หลวงปู่เริ่มเกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2448 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โยมบิดาชื่อมิ่ง โยมมารดาชื่อเลี่ยม พออายุครบ 20 ปี หลวงปู่เริ่มก็ได้อุปสมบทที่วัดแหลมฉบังโดยมีพระครูสุนทรธรรมรส (หลวงปู่ศรี) วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จั๊ว วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ลำดวน วัดอ่างศิลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปรโม" เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดจุกกะเฌอ ซึ่งมีพระอาจารย์ขันธ์เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อเริ่มได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัดจริยาวัตรงดงาม จนชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน หลวงปู่เริ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้เคยเรียนวิชากับหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก แต่ก่อนที่หลวงพ่ออ่ำจะสอนวิชาให้นั้น ท่านจะมัดมือไพล่หลัง ไว้กับตอไม้ที่ริมป่าช้า วัดหนองกระบอก โดยให้คาถา 4 ตัว ให้ภาวนาจนเชือกหลุด หลวงปู่เริ่มทำได้หลวงพ่ออ่ำ จึงรับเป็นศิษย์ โดยได้เรียนวิชา ฝนแสนห่า และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นวิชาเมตตามหานิยมชั้นสูง นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษากับพระอาจารย์เก่งๆ อีกหลายรูปเช่นเรียนวิชาทำปลัดขิกหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เรียนวิชาหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อสาย วัดหนองเกตุน้อย ชลบุรี เรียนวิชาทำผง 12 นักษัตรจากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ และได้ศึกษากับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงพ่ออ๋อง วัดหนองรี ชลบุรี หลวงพ่อผุย วัดหน้าพระธาตุ พนัสนิคม ท่านเจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลา และเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาสร้างพระปิดตา วิชาโหราศาสตร์กับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศด้วย

หลังจากหลวงปู่เริ่มอุปสมบทได้ 6 พรรษาหลวงพ่อขันธ์ก็มรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ในปีพ.ศ.2481 ท่านก็ได้เริ่มแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวนในปี พ.ศ.2485 ก็ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ปี พ.ศ.2487 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบึงหนองขาม พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรปี พ.ศ.2519 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา หลวงปู่เริ่มมรณภาพในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2538 สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 71

หลวงปู่เริ่มท่านได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน เรื่องสีผึ้งเจ็ดจันทร์นี้สร้างยากมาก โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ นอกจากนี้ท่านได้สร้างเหรียญ พระปิดตา และพระกริ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่ง-พระชัย ปรโมที่สร้างในปี พ.ศ.2527 พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ วันนี้ผมได้นำรูป พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40164216318064_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ห้อยพระอะไรแคล้วคลาดปลอดภัย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้มีเหตุการณ์และข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตอยู่เกือบทุกวัน ไม่ว่าจะสถานการณ์โลกเรื่องภัยสงครามหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเราก็ตาม มีเหตุการณ์ปล้น ทำร้ายต่อชีวิตและร่างกาย ถูกลูกหลงจากเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ รวมทั้งอุบัติเหตุต่างๆ อยู่ทุกวัน สำหรับผู้ที่ศรัทธาในพระเครื่องก็น่าจะหาพระเครื่องที่แคล้วคลาดปลอดภัยมาห้อยป้องกันเหตุร้ายต่างๆ

ครับเรื่องเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ นั้นเราไม่สามารถที่จะรู้ก่อนได้เลย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะระวังตัวดีแค่ไหนก็ตาม ถ้าบังเอิญเราไปอยู่ในสถานที่นั้นหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ เหตุร้ายก็อาจจะเกิดกับเราเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าเรามีศรัทธาในพระเครื่องก็อาจจะหาพระเครื่องที่ช่วยคุ้มครองป้องกันภัยมาห้อยคอ

สำหรับพระเครื่องที่มีพุทธคุณในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี พุทธคุณของพระเครื่องที่มีการกล่าวขวัญกันก็มีด้วยกันหลายอย่างเช่น อยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย สำหรับส่วนตัวผมนั้นขอเลือกที่แคล้วคลาดปลอดภัยเพราะเราจะได้ไม่ไปเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ผมเชื่อถือในองค์หลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นพระที่ผมเองได้รับจากคุณพ่อ ให้มาห้อยคอตั้งแต่ยังเรียนหนังสืออยู่ เป็นเหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่น 2 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ สร้างปี พ.ศ.2502 ซึ่งผมก็ใส่ติดตัวไว้ตลอดและเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ และในสมัยนั้นก็ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธคุณของหลวงปู่ทวดเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยอยู่หลายเรื่อง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ ทั้งเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยจากการถูกประทุษร้ายต่างๆ ก็รอดปลอดภัยได้อย่างไม่น่าเชื่อ เรื่องหนึ่งที่ผมได้ฟังในสมัยก่อนคือ เรื่องรถโดยสารที่ตกเขาทางภาคใต้ ปรากฏว่า ผู้โดยสารเสียชีวิตทั้งหมดเหลืออยู่หนึ่งคนที่รอดชีวิต และไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมากนัก ปรากฏว่าเขาห้อยพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้อยู่เพียงองค์เดียว มีการลงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ครั้งนั้นเป็นข่าวดังมาก และก็มีข่าวเรื่องการแคล้วคลาดของผู้ที่ห้อยพระหลวงปู่ทวดอยู่เสมอๆ ทำให้มีผู้ศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวดกันทั่วประเทศ และมีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกัน หลายวัด

ครับส่วนตัวผมนั้นเชื่อถือในองค์หลวงปู่ทวดมากในเรื่องช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย และมีประสบการณ์ด้วยตัวเองอยู่หลายครั้ง พระหลวงปู่ทวดไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด พิมพ์ไหน วัดใด รุ่นเก่ารุ่นใหม่ ผมเชื่อว่าหลวงปู่ท่านช่วยปกป้องคุ้มครองได้ทั้งสิ้น ขอให้เราเพียงเป็นคนดีไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือสังคม มีศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด ท่านก็จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราให้พ้นภัยได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น 2 วัดช้างให้ ที่สร้างในปี พ.ศ.2502 เนื้อทองแดง หรือบางท่านเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่าเหรียญไข่ปลาใหญ่ เท่าที่เห็นมีอยู่ 4 พิมพ์คือ พิมพ์สระไอไม้มลาย พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์สายฝน และพิมพ์หน้าหนุ่ม สำหรับรูปเหรียญไข่ปลารุ่น 2 ที่นำมาให้ชมคือ พิมพ์ไข่ปลาใหญ่หน้าแก่ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32289564195606_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญมะละกอหลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต หรือ พระครูสุทธิพรหมโชโต อดีตรองเจ้าคณะตำบลศรีสงคราม และเจ้าอาวาสวัดศรีวิชัย บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระเกจิแห่งลุ่มน้ำสงคราม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 96 ปี พรรษา 70

เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิที่ลือลั่นด้านวิทยาคม ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก จ.อุดรธานี และพระธาตุโพนฉัน ใน สปป.ลาว

อีกทั้งยังเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ญาคูสุ หรือพระครูพิทักษ์อุดมพร ศิษย์ผู้น้องหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย แห่งวัดท่าดอกแก้วเหนือ อ.ท่าอุเทน ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์

มีนามเดิมว่า สิงห์ ภูเม็ด เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 ก.ค.2467 พื้นเพเป็นชาวบ้าน บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

หลังจบชั้น ป.4 ขณะอายุ 10 ขวบ บิดามารดานำตัวไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ญาคูสุ เจ้าอาวาสวัดวิชัย รูปที่ 2 ขณะนั้นยังไม่บรรพชา แต่ให้ห่มผ้าขาวทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน

ต่อมาหลวงปู่ศรีทัตถ์ จึงนำตัวไปบวชเณรที่วัดพระธาตุโพนฉัน ฝั่งลาว หลังออกพรรษาจึงกลับสู่มาตุภูมิ

บวชเณรนาน 16 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดวิชัย มีหลวงปู่ญาคูสุ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงค์ตามป่าช้ากับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระเกจิชื่อดังของเมืองไทย ฝึกวิชากัมมัฏฐาน ฝึกจิตคาถา

หลังพระอุปัชฌาย์มรณภาพ จึงกลับมาร่วมงานศพ ชาวบ้านจึงอาราธนานิมนต์กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ พัฒนาเสนาสนะเจริญรุ่งเรืองสืบมา

ในเดือน พ.ย.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "ครูเก่ง คุ้มบารมี" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหันข้างพิมพ์มะละกอ หลวงปู่สิงห์ รุ่นมหาบารมี 8 รอบ

เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างเจดีย์บูรพาจารย์

จัดสร้างมีเนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 69 เหรียญ, เนื้อนวะ 96 เหรียญ, เนื้อเหล็กน้ำพี้ 299 เหรียญ, เนื้อสามกษัตริย์ 368 เหรียญ, เนื้อชนวนมวลสารพันปี 1,234 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,699 เหรียญ (ลุ้นเซอร์ไพรส์ลงยา, หน้ากาก, โค้ดสิงห์) และเนื้อทองแดงคละผิว มีเนื้อมันปู, ไฟอัคนี, รมดำ 1,999 เหรียญ (ลุ้นเซอร์ไพรส์ลงยา, หน้ากาก,โค้ดสิงห์)

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงคล้ายพิมพ์จงอางศึกแผ่แม่เบี้ย และคล้ายมะละกอ หูตัน ขอบเหรียญตามส่วนโค้งมีเส้นสันนูน ใต้หูตันสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์หันหน้าข้างซ้ายคล้องลูกประคำ ด้านล่างสลักไล่เรียงลายกนก

ด้านหลังเหรียญ ใต้หูตันสลักอักขระธรรม 3 บรรทัด อ่านว่า พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ซึ่งเป็นคำอาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถัดลงมาเป็นเครื่องอัฐบริขาร ประกอบด้วยกาน้ำ ร่ม บาตร ถัดมาสลักตัวหนังสือ 2 บรรทัดอ่านว่า มหาบารมี 8 รอบ วัดวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถไม้วัดวิชัย ในปลายเดือน ม.ค.2563 มีหลวงปู่สิงห์ นั่งปรกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29329854912227_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระกริ่งบดินทร์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดชัยชนะสงคราม กทม. หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตึก วัดนี้อยู่ใกล้ๆ คลองถม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2391 และที่วัดแห่งนี้ได้มีการสร้างพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์"

วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก) ที่ตั้งเดิมเป็นของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ต้นสกุล สิงหเสนี สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยนั้น หลังจากเป็นแม่ทัพไปรบกับญวนและเขมรมีชัยกลับมาแล้ว ท่านเกิดศรัทธาแรงกล้าประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญสถาพรสืบไป จึงยกบ้านของท่านถวายสร้างเป็นวัด โดยสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เพิ่มเติมจนสมบูรณ์ แล้วให้นามว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนั้น วัดชัยชนะสงครามเป็นวัดราษฎร์อยู่จนถึงปี พ.ศ.2421 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ

ด้วยเหตุที่เรือนเดิมของท่านเป็นอาคารตึก ชาวบ้านทั่วไปจึงพากันเรียกจนติดปากว่า "วัดตึก" มาจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นท่านก็ได้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงอสัญกรรม และผู้สืบสกุลก็รับช่วงทำนุบำรุงต่อมาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2503 พระครูชัยโศภณ เจ้าอาวาส เห็นว่าพระอุโบสถเดิมสร้างมา 111 ปีแล้ว วัสดุก่อสร้างเริ่มเสื่อมคุณภาพชำรุดทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ยากแก่การจะบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งมีส่วนที่คับแคบไม่เหมาะแก่การประกอบสังฆกรรมและบำเพ็ญศาสนกิจ จึงได้ปรึกษาคุณหญิงเจือ นครเสนี (สิงหเสนี) และคุณหญิงมีความปีติและศรัทธาแรงกล้า ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาและเชิดชูเกียรติประวัติแห่งท่านผู้เป็นต้นสกุล จึงได้ถวายปวารณาอุทิศเงินจำนวน 300,000 บาท สำหรับเป็นทุนประเดิมในการก่อสร้างและขยายอุโบสถใหม่

ในส่วนของพระประธานองค์เดิมมีขนาดเล็ก หม่อมสวัสดิวัตน์ ได้บริจาคเงิน 35,000 บาท ให้เป็นทุนร่วมกับคณะกรรมการ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้จัดการหล่อขึ้นใหม่ และประกอบพิธีหล่อขึ้นเมื่อ วันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2502 คณะกรรมการได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธชัยสิงห์มุนินทรธรรมบดินทร์โลกนารถเทวนรชาติอภิปูชนีย์" และได้อัญเชิญประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทองในคราวนั้นด้วย

ในคราวเททองหล่อพระประธาน ทางคณะกรรมการได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นแบบพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์" เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ทำบุญในการสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธาน จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 องค์ แบ่งออกได้เป็นพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์เตี้ย พิธีพุทธาภิเษกคราวเดียวกับการเททองพระประธาน โดยนิมนต์พระเถระและ พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมปลุกเสกหลายรูป เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่) วัดสระเกศ พระธรรมวโรดม (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ พระเทพสิทธินายก (นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษินานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวรเวทย์มุนี (เมี้ยน) วัดพระเชตุพนฯ พระครูวินัยธร (เฟื้อง) วัดสัมพันธวงศ์ พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส และพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน เป็นต้น

พระกริ่งบดินทร์ มีประสบการณ์มาก ชาวบ้านแถบวัดตึกทราบดี ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่พระกริ่งบดินทร์ออกใหม่ๆ ตำรวจจราจรตรงสี่แยกวัดตึก ถูกรถบรรทุก 6 ล้อเบรกแตกชน จนกระเด็นกลิ้งฟาดพื้นจนสลบ แต่ตำรวจท่านนั้นกลับไม่บาดเจ็บเลย เพียงเสื้อกางเกงขาด สอบถามได้ความว่า ห้อยพระกริ่งบดินทร์เพียงองค์เดียว ปรากฏว่าชาวบ้านแถวนั้นเที่ยวหาพระกริ่งบดินทร์กันเป็นแถว

พระกริ่งบดินทร์ปัจจุบัน สนนราคาก็ยังไม่สูงครับ อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้รู้ประวัตินักก็เป็นได้ครับ แต่ก็ใช่ว่าจะหาง่ายนะครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบดินทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18315047687954_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระหูยานกรุวัดปืน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดลพบุรีมีอยู่หลายอย่างที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ประเภทเนื้อที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเนื้อชิน ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่นิยมมากที่สุดก็น่าจะเป็นพระร่วงยืนหลังลายผ้า พระหูยาน ถ้าพูดถึงพระเครื่องของลพบุรีก็จะนึกถึงกันเป็นอันดับแรกๆ

พระหูยานเป็นพระเนื้อชินเงินที่จะอยู่ในพระเบญจภาคีชุดพระยอดขุนพล พระหูยานที่รู้จักกันมากที่สุดก็จะเป็นพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะรู้จักกันมากที่สุด และเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุดของพระหูยานกรุนี้ นอกจากพระหูยานพิมพ์ใหญ่แล้ว ความจริงก็ยังมีพระหูยานบัวสองชั้น ซึ่งพบน้อยมากจนไม่ค่อยมีคนพูดถึงนัก พระหูยานพิมพ์ซุ้มรัศมีแฉก พระพิมพ์นี้ก็พบน้อยมากเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็กอีกด้วย แต่ก็นิยมรองๆ กันมา

พระหูยานลพบุรีนั้นนอกจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วก็ยังมีของกลุ่มอื่นๆ ในจังหวัดลพบุรีอีกเช่น กรุวัดปืน และของกรุวัดอินทราราม ซึ่งก็มีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันไป พระหูยานของกรุวัดปืนก็เป็นกรุที่น่าสนใจ แต่ก็พบพระน้อยหาแท้ๆ ยาก กรุวัดปืนเป็นกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันมากหน่อยก็จะเป็นพระนาคปรกกรุวัดปืน พระหลวงปู่พ่อแขกกรุวัดปืน นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานกรุวัดปืนอยู่ด้วย พระของกรุวัดปืนหายากทุกพิมพ์ เนื่องจากพระที่ขุดพบนั้นมีจำนวนไม่มากนัก พุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ในสมัยก่อนเสาะหากันมากและต่างก็หวงแหนกันมาก

พระหูยานกรุวัดปืนเป็นพระที่หายากของกรุนี้ ซึ่งขุดพบจำนวนน้อยมาก พระส่วนใหญ่อาจจะผุพังไปเสียแต่ในกรุแล้ว คนที่ไม่ได้ชื่นชอบพระกรุเนื้อชินบางท่านอาจจะไม่รู้ว่ามีพระหูยานของกรุวัดปืนด้วย และส่วนมากก็จะนึกพระหูยานพิมพ์ใหญ่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้นที่คนโบราณมักจะเรียกชื่อว่าพระหูยานหน้ายักษ์ พระหูยานพิมพ์อื่นๆ จึงไม่ค่อยได้พูดถึงกัน ในส่วนตัวผมว่าพระหูยานกรุวัดปืนนั้นหายาก ยิ่งถ้าเป็นพิมพ์ใหญ่ยิ่งหายากมาก แม้แต่รูปก็แทบจะไม่ได้เห็นกันเลยครับ

พระหูยานกรุวัดปืนเท่าที่ขุดพบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ในตอนที่ขุดพบว่าส่วนใหญ่ชำรุดผุพังเสียหายเสียเกือบหมด ส่วนพระพิมพ์เล็กจะพบมากกว่า แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก พระหูยานกรุวัดปืนที่พบเห็นวนเวียนอยู่ในสังคมพระเครื่องก็จะเป็นพระพิมพ์เล็ก แต่ก็นานๆ หลายๆ ปีจะมีมาสักองค์ คนที่มีก็เก็บเงียบกันหมด สนนราคาก็ยังเป็นรองพระหูยานของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้าพูดถึงแม่พิมพ์ของพระของวัดปืนก็จะมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์เป็นของตัวเอง พระพิมพ์เล็กที่พบเห็นมากกว่าพระพิมพ์ใหญ่ จะมีรายละเอียดแม่พิมพ์ที่เด่นชัดก็คือ ที่ฐานชั้นล่างของพระจะเห็นว่ามีเส้นแม่พิมพ์แตกซ้อนเป็นแนวยาวตลอดของเส้นฐาน และที่คอด้านซ้ายขององค์พระจะมีเส้นแม่พิมพ์แตกเป็นขีดลงมาสองเส้น ซึ่งเป็นจุดที่มองเห็นได้ง่ายที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และก็เป็นจุดสังเกตแยกกรุได้เป็นอย่างดี พระกรุวัดปืนนี้เป็นพระเนื้อชินเงินผิวสนิมตีนกาออกสีดำๆ คล้ำๆ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดปืนพิมพ์เล็กจากหนังสืออมตพระกรุล้ำค่าของไทยมาให้ชม 2 องค์ ลองเปรียบเทียบร่องรอยการผลิตดูครับว่าจะเห็นว่าพระทั้ง 2 องค์มีเหมือนกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:23:58
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80850635261999__10_1_320x200_.jpg)
แว่นขยาย 10 เท่า เอามาใช้พิสูจน์ พระแท้-ไม่แท้ได้อย่างไร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องการพิสูจน์ว่าพระนั้นๆ แท้หรือไม่ ก็มีข้อถกเถียงกันในสังคมพอสมควร ต่างฝ่ายต่างก็หาเหตุผลมาโต้แย้งกัน ยกตัวอย่างพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม ก็มีข้อถกเถียงกันมาก อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมกันมาก มีสนนราคาสูงเป็นล้านบาท

ครับในเมื่อพระสมเด็จฯ มีค่านิยมสูง ก็ย่อมมีผู้ที่อยากจะมีพระสมเด็จฯ แท้ๆ ในครอบครอง ด้วยเหตุผลนานาประการ ไม่ว่าด้วยความศรัทธาหรือด้วยมูลค่าในพระสมเด็จฯ ต่างก็อยากให้พระที่ตนครอบครองนั้นแท้มีมูลค่ารองรับ แต่ในความเป็นจริงนั้นอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคาดหวัง พระของเรากลับไม่แท้ซะงั้น ถ้าแท้ก็ดีใจขายได้ แต่ถ้าไม่แท้ก็ผิดหวังขายไม่ได้ ก็เกิดมีกลุ่มที่มองมุมกลับหาเหตุผลโต้แย้งว่า พระที่เซียนไม่ซื้อหรือตีว่าเก๊นั้นอาจจะแท้ก็ได้ หาทฤษฎีต่างๆ มารองรับ อ้างสารพัด เช่นหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาพิสูจน์ ใช้แว่นกำลังขยายเป็นพันเท่ามาส่องพิสูจน์ ก็ว่ากันไป และก็สรุปเหตุผลอ้างอิงมารองรับว่าพระองค์นี้แท้นะ แบบนี้แท้ เซียนพระไม่รู้จริงเลยตีเก๊ในปัจจุบันก็มีกลุ่มต่างๆ มากมาย เอาเฉพาะพระสมเด็จฯ ก็มีอยู่หลายกลุ่ม ต่างก็หาเหตุผลมารับรองพระของกลุ่มตนเอง ว่าแท้ ว่าใช้แบบโน้นแบบนี้ มีแม่พิมพ์ มีเอกสารต่างๆ ก็ว่ากันไปมากมายหลายแบบ

เอาล่ะทีนี้ มาดูเหล่าบรรดาเซียนพระที่เขารับซื้อองค์ละเป็นล้านๆ บ้าง ทำไมใช้แค่แว่นขยายมีกำลังขยายเพียง 10X เท่านั้นก็กล้าที่จะจ่ายเงินเป็นล้าน มีมาตรฐานการพิสูจน์อย่างไร ถึงกล้าจ่ายเงินเป็นล้านบาทได้ น่าคิดนะครับ เซียนพวกนี้มั่วหรือเปล่า? เงินเป็นล้านนะครับไม่ใช่หาง่ายๆ เขาจะกล้าจ่ายเงินออกไปโดยไม่มั่นใจหรือ ไม่มีหลักการในการพิจารณาพิสูจน์ความแท้-ไม่แท้หรือ? ผมว่าไม่น่าใช่นะ เขาต้องมีหลักในการพิสูจน์จนแน่ใจและมั่นใจในการจ่ายเงินเป็นล้านนะ เงินไม่ใช่น้อยๆ เรื่องการขายพระได้เงินเป็นล้านนั้น สำหรับคนที่เคยนำพระไปขายและขายได้ที่ไม่ใช่พวกเซียนเป็นคนนอกที่มีพระในครอบครอง แล้วนำไปขายได้เขาจะรู้ดีว่าเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ละครแหกตา มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริง

ผมเองในสมัยที่เริ่มศึกษาพระเครื่องก็สงสัยเหมือนกัน และก็หาเหตุผลมาโต้แย้งอยู่นานหลายปี จนมาได้รับความรู้จากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องหลายท่านช่วยสอนแนะนำให้ จนได้รับความรู้ที่พอจะเข้าใจและแยกแยะพอได้ ก็ยอมรับเหตุผลในการพิสูจน์ที่มีมูลค่ารองรับ จนได้มีโอกาสพิสูจน์ความจริง ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ พอได้รับความรู้มาจากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระฯ ก็ต้องพิสูจน์ความจริงและความรู้ที่ได้รับมา ก็ออกหาพระมาขายในสนามพระ (คำเรียกศูนย์พระเครื่องในสมัยก่อน) และก็ขายได้จริง ทั้งๆ ที่ผมเองก็ไม่ใช่เซียนพระ และพระก็หาเช่ามาจากตามบ้านคนธรรมดานี่แหละครับ แล้วก็ใช้แว่นขยายขนาด 10X ในการพิสูจน์ ตามหลักที่ได้รับความรู้มาก็ประสบความสำเร็จ

อ้าวแล้วทำไมต้องใช้แว่นขยายขนาดกำลังขยาย 10X เท่าที่ศึกษาดูเกือบทุกท่านที่เป็นเซียนพระก็ใช้กำลังขยายประมาณนี้ อาจจะมีแตกต่างบ้างก็เพียงยี่ห้อของแว่นขยายเท่านั้น แล้วทำไมไม่ใช้กำลังขยายให้มากกว่านี้ น่าจะดีกว่า ขยายได้มากกว่า ผมเองก็เคยทดลองและมีคำถามแบบนี้เช่นกัน และทดลองใช้ดูแล้วแต่ก็ต้องกลับมาใช้กล้องขยายแค่ 10X เท่าเดิม เหตุผลที่เขาใช้แว่นขยายนั้นไม่ใช่เพราะว่าต้องการขยายให้ได้ มากๆ เพื่อจะดูเม็ดมวลสารอะไร เป็นแร่หรือวัตถุอะไรใดๆ เลย ไม่เช่นนั้นก็คงจะต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กันเลยนะ หลักในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้น เขาพิสูจน์ว่าพระองค์นั้นๆ ผลิตออกในจากแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือเปล่าเท่านั้น ร่องรอยการผลิตมีธรรมชาติการผลิตแบบเดียวกันหรือเปล่า เนื้อหาวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างนั้นเป็นประเภทเดียวกันหรือเปล่า ธรรมชาติความเก่าตามอายุขัยของพระนั้นๆ ถูกต้องใกล้เคียงกันหรือไม่ ก็เท่านั้น (รายละเอียดปลีกย่อยนั้นจะไม่ขอกล่าว) ดังนั้นการที่ใช้แว่นขยายกําลังสูงๆ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย จะใช้เครื่องใดๆ ก็ต้องใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะใช้ด้วยจึงจะใช้งานได้ดีที่สุด ไม่อย่างนั้นก็คงใช้ขวานมาเหลาดินสอก็คงจะดีกว่ามีดอันเล็กๆ นะ สรุปว่าแว่นขยายกำลัง 10 เท่า เหมาะสมเพียงพอแล้วครับ แล้วที่ว่านำเอาเครื่องมือพิสูจน์อายุมาพิสูจน์ความเก่าก็ว่าไป เครื่องมือพิสูจน์อายุวัสดุนั้นในปัจจุบันก็แค่ใกล้เคียง คลาดเคลื่อนประมาณ 200-400 ปี และจะเอาระบุอายุวัสดุเป็นปีเลยนั้นใช่หรือ?

ครับที่เถียงกันว่าแท้-เก๊ ส่วนใหญ่ก็เพื่อมูลค่ารองรับทั้งสิ้น ก็ง่ายๆ เลย พิสูจน์แบบใดก็ได้ ถ้าแบบเซียนใช้แว่นขยายสิบเท่า ถ้าผลเขาบอกว่าแท้ก็ขายได้รับเงินกลับบ้าน ส่วนที่จะใช้เครื่องมือใดๆ พิสูจน์นั้นแล้วรับรองว่าแท้ ก็ขายเขาเลยดูสิว่าเขาจะรับซื้อหรือไม่ มีมูลค่าเป็นล้านจริงไหม? นี่ผมหมายถึงพระสมเด็จฯนะครับ ก็ลองดูครับพิสูจน์ง่ายมากครับว่าใครจริงใครเท็จ ผมคงไม่ชี้นะครับว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด ทดสอบเองได้เลยครับง่ายนิดเดียวครับ เลือกที่จะเชื่อเลือกที่จะคิดเองได้ครับ

มีอีกนิดครับ บางท่านว่ามาตรฐานสากลนิยมนั้นมีมาตรฐานจริงหรือ? มาตรฐานสากลนิยมก็หมายถึงถูกตามที่สังคมกำหนด และมีมูลค่ารองรับครับ แล้วมีมาตรฐานจริงหรือ ก็ต้องบอกว่ามีครับ และมีเหตุผลที่สามารถพิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เพียงแต่เราเข้าถึงหรือไม่ ถ้าต้องการศึกษาจริงๆ และไม่ยึดตัวตนมากนัก มีความจริงใจที่จะศึกษา เขาก็พอจะถ่ายทอดความรู้ให้ได้ครับ และเป็นเหตุเป็นผลที่พิสูจน์ได้ไม่ยากด้วย สามารถศึกษาได้ทุกคน เพียงแต่เขาจะสอนให้หรือเปล่าก็ต้องดูที่ตัวเราด้วยว่าเรามีความจริงใจพอหรือเปล่า เศรษฐีที่เขาเช่าพระองค์ละหลายๆ ล้าน เขาก็คงไม่โง่นะครับ ไม่เช่นนั้นเขาก็คงประกอบอาชีพให้ที่มั่นคงและมีเงินพอที่จะเช่าหาพระองค์แพงๆ ได้ครับ

เอาล่ะครับวันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และมีมูลค่ารองรับ หลายๆ ล้านมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11130178305837_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอันมีชื่อเสียง โด่งดังมากตั้งแต่อดีต และในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงหลวงพ่อที่ชาวบ้านในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" ครับท่านก็คือพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของนครปฐม ที่น่าค้นคว้าประวัติของท่านมาก เนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้พบประวัติของท่านคลาดเคลื่อนไปบ้างก็มี การสืบค้นประวัติของท่านจากการบันทึกจากปากคำของศิษยานุศิษย์ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อๆ มาอีกหลายรูป เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงศ์) วัดทุ่งผักกูด พระอุปัชฌาย์เต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น และค้นหลักฐานรูปถ่ายคู่กับ พัดยศ ระบุ ร.ศ.127 (พ.ศ.2452) ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ก็พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านเป็นชาวโพธาราม จังหวัดราชบุรี บางกระแสว่าโยมบิดาของท่านมีเชื้อสายมาจากทางเวียงจันทน์ จากการนับอายุจากปีที่ท่านมรณภาพก็พอสันนิษฐานได้ว่าท่านเกิดปี พ.ศ.2366 เมื่อท่านมีอายุ ได้ 6 ปี โยมบิดา มารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือที่วัดโพธาราม จนอ่านออกเขียนได้ และพอท่านอายุได้ 15 ปี พ.ศ.2381 ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพธาราม โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น

จนกระทั่งท่านมีอายุครบบวช ปี พ.ศ.2386 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง) อ.โพธาราม ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านก็ได้ อยู่จำพรรษาและศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ จาก พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์มอญรูปหนึ่ง ซึ่งมีวิทยาคมกล้าแข็งมาก หลวงพ่อทาท่านเป็นผู้ที่ขยันใฝ่ศึกษาหาความรู้และปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รักใคร่ของพระอาจารย์ทั้งสองและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดฆ้องอยู่หลายปี จนศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้วท่านจึงได้กราบขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์ไปยังป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาวิเวกและปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ท่านออกธุดงค์ไปกราบพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และย้อนกลับ มากราบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี อีกทั้งธุดงค์เข้าไปยังนครวัด นครธม ย้อนกลับมาเข้าประเทศพม่าถึงชเวดากอง ท่านธุดงค์ตามป่าเขาดงดิบอยู่หลายปี พบพระเกจิอาจารย์ในป่าที่มีจิตกล้าแข็งท่านก็ได้ศึกษาพุทธาคมด้วย จนถึงประมาณปี พ.ศ.2417 ท่านได้ธุดงค์มาถึงตำบลพะเนียงแตก (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นตำบลมาบแค) ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 51 ปี ท่านได้พบสถานที่เป็นป่ารกชัฏนอกเมือง ท่านเห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรม ท่านจึงได้ ปักกลดพักแรม และได้ทราบต่อมาว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดที่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่กลับมาเป็นวัดร้างรกเรื้อ ชาวบ้านได้มาพบท่านปักกลดพักจำวัดอยู่ที่นี่ จึงพากันขอนิมนต์หลวงพ่อทาจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ ท่านก็อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2430 พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ และพระอุโบสถ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่นๆ ในแถบนั้นอีกพร้อมๆ กัน คือ วัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ และ วัดสองห้อง เป็นต้น หลวงพ่อทาท่านเป็น พระสงฆ์ที่ชาวบ้านรักและเคารพนับถือมาก ท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีพระ เณรมาบวชอยู่ที่วัดพะเนียงแตกมากมาย ท่านดำริจะสร้างอะไรก็มีชาวบ้านและศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันร่วมสร้างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลวงพ่อทามีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีลูกศิษย์ไปทั่วทั้งในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกมาก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ อยู่เสมอๆ ดังจะเห็นได้ว่าพระราชพิธีหลวงต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้นิมนต์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกเสมอ เช่นพิธี หลวงการพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และรับ ถวายพัด เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งปรากฏรูปถ่ายของหลวงพ่อทาในปี พ.ศ.2452 พัดที่อยู่ทาง ด้านขวาของท่านเป็นพัดยศพุดตานปักลายใบเทศ รักร้อย และทางด้านซ้ายของท่านเป็นพัดรองการ พระศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์และเฉลิมพระเกียรติองค์พระปฐมเจดีย์ ประจําทิศทั้ง 4 คือ

1.พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระเถระคือหลวงพ่อทา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรูปแรกของตำแหน่งนี้

2.พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระเถระคือหลวงพ่อเงิน วัดสรรเพชร

3.พระครูปริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระเถระคือ หลวงพ่อคต วัดใหม่

4.พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก พระเถระคือ หลวงพ่อนาค วัดห้วยจระเข้

หลวงพ่อทาเป็นที่รักเคารพของประชาชนมาก และเป็นที่เกรงขามของบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่างานวัดพะเนียงแตกในสมัยหลวงพ่อทานั้น ท่านไม่เคยขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือทางตำรวจมารักษาความสงบเลย และในสมัยนั้นในงานวัดทุกวัดก็จะเป็นการรวมพวกนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นที่เข้ามาเที่ยวในงานวัดทุกวัด และมักจะมีเรื่องตีรันฟันแทงกันอยู่เนืองนิจ แต่ที่วัดพะเนียงแตกกลับไม่มีใครกล้าจะมีเรื่องในเขตวัดเลย หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เล่าให้ฟังว่า พวกนักเลงตำบลตาก้องกับตำบลพะเนียงแตกต่างก็ไม่ถูกกันเจอกันที่ไหนก็มักจะต้องมีเรื่องกันทุกที แต่ที่ในงานวัดพะเนียงแตกกลับไม่กล้าตีกัน เนื่องจากหลวงพ่อทาจะถือ ไม้พลองตรวจตราทั่วงาน เป็นที่ยำเกรงแก่พวกหัวไม้ ทั้งหลาย ขนาดคนเมาเอะอะพอเห็นหลวงพ่อเดินมาก็แทบจะหายเมาเลยทีเดียว ทุกคนต่างเคารพยำเกรง หลวงพ่อทามาก จนมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" หลวงพ่อทาท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 76

วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น ตะกรุด พระปิดตา ทั้งเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อเมฆพัด มีหลายแบบ ทั้งเกลอเดี่ยวและสามเกลอ เป็นต้น อีกทั้งเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่นสอง ทุกอย่างล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำเหรียญหล่อรุ่นแรก ของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51273393589589_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระเครื่อง เล่นหาสะสมศรัทธาหรือพาณิชย์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีมานานแล้ว เหตุผลในการเล่นหาสะสมก็แล้วแต่บุคคล มีทั้งที่เล่นหาสะสมด้วยความศรัทธาในองค์พระนั้นๆ เช่นศรัทธาในพระเกจิอาจารย์ที่สร้างหรือปลุกเสกพระเครื่องนั้นๆ สะสมเพราะเชื่อในพุทธคุณขององค์พระเพื่อให้ช่วยคุ้มครองหรือช่วยให้มีโชคลาภโภคทรัพย์ เล่นหาสะสมเพื่อการพาณิชย์คือซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ผลกำไร เป็นต้น

ครับก็แล้วแต่เหตุผลของบุคคลนั้นๆ แต่การเล่นหาสะสมที่เป็นมาตรฐานก็มักจะอ้างอิงถึงมาตรฐานราคาอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากพระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคามาเกี่ยวข้องนานมาแล้ว ก็อยากได้พระนั้นๆ มาครอบครอง แต่เจ้าของเขาหวงก็ต้องหาของมาแลกเปลี่ยนจนเขาพอใจ สิ่งที่ง่ายในการแลกเปลี่ยนที่สุดก็คือเงิน ซึ่งสามารถตีค่าราคาได้ง่ายที่สุด จะเท่าไรก็ว่ากันไป และก็อย่างที่บอกการเล่นหาสะสมนั้นก็มีประเภทที่ทำเป็นอาชีพแบบพาณิชย์คือ เป็นการเล่นหาซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเป็นอาชีพ ก็เท่ากับเป็นตัวกลางในการเล่นหาสะสม คนที่นิยมสะสมศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้เล่นหาเป็นอาชีพก็ต้องไปเสาะหากับผู้ที่เป็นตัวกลางในการเล่นหาสะสม ก็คือพ่อค้าหรือที่มักเรียกกันในสายอาชีพนี้ว่า "เซียนพระ"

เซียนพระทั้งหลายก็มักจะมีสถานที่ชุมนุมพบปะกันเป็นประจำ ก็เรียกกันว่า "สนามพระ" ในสมัยก่อน ต่อมาก็พัฒนามาอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ก็เรียกกันใหม่ว่า "ศูนย์พระเครื่อง" ตามยุคสมัย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือสถานที่ชุมนุมกันของบรรดาเหล่าเซียนพระทั้งหลาย คนที่ชื่นชอบเล่นหาสะสมหรือคิดจะหาพระเครื่องที่เราสนใจหรือชอบก็ต้องไปที่ศูนย์พระต่างๆ เนื่องจากเป็นแหล่งที่รวมของการสะสมพระเครื่องชนิดต่างๆ เหล่าบรรดาเซียนพระทั้งหลายเขาก็จะมีการเล่นหาสะสมมีความเชี่ยวชาญเป็นประเภทๆ ไป ไม่มีใครจะเชี่ยวชาญไปซะทั้งหมด เพราะมีมากมายหลายชนิดจำกันไม่หมด ทีนี้แหล่าบรรดาเซียนทั้งหลายก็ย่อมมีอยู่หลายเกรดหลายชั้น เชี่ยวชาญมากน้อยแตกต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีเซียนเก๊หรือเก่งไม่จริง รู้ไม่จริงก็มีปะปนกันไป ก็เป็นธรรมดาของแหล่งชุมชนต่างๆ ก็มักจะเป็นเช่นนี้

เอาล่ะมาพูดกันถึงการเล่นหาสะสมกับพาณิชย์ เรื่องนี้จึงแยกกันไม่ออก อะไรก็ตามที่มีมูลค่าราคาก็ย่อมจะหนีไม่พ้นเรื่องการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน พระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคาหรือไม่ ก็ดูแค่การแสดงบัญชีทรัพย์สินของ นักการเมือง ป.ป.ช.ยังระบุว่าต้องแสดงบัญชีพระเครื่องด้วย ก็เห็นกันชัดๆ ว่าพระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคา การเล่นหาสะสมจึงมักอ้างอิงมาตรฐานมูลค่าราคาเสมอ หมายความว่า พระเครื่องที่พิสูจน์ว่าแท้หรือไม่ ก็ต้องใช้มาตรฐานมูลค่าราคารองรับ แล้วใครเป็นผู้ตรวจสอบหรือรับรองในความใช่หรือไม่ของพระเครื่องนั้นๆ ก็คงไม่พ้นพวกเซียนครับ เพราะคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอาชีพรับซื้อ-ขายโดยตรง ย่อมมีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพของเขา โดยเฉพาะพระยอดนิยมที่มีสนนราคาสูงๆ แล้วพอนำไปขายในศูนย์พระเครื่องกลับไม่มีใครสนใจขอซื้อเลย หรือไม่ยอมรับซื้อเลย ก็แสดงว่าพระองค์นั้นๆ ไม่มีมูลค่ารองรับก็น่าจะไม่ใช่พระที่เป็นมาตรฐานครับ

การเล่นหาสะสมจะด้วยศรัทธาหรือเพื่อความชอบก็ตาม ล้วนหลีกหนีมูลค่ารองรับไปไม่พ้น จะบอกว่าพระแท้ แต่คนอื่นบอกไม่แท้เขาไม่รับซื้อ แล้วว่าคนที่ไม่แท้นั้นเกิดทันหรือ ถ้าแบบนี้ก็ไม่จบแน่ แต่ถ้าเราคิดว่าพระของเราแท้แล้วเก็บไว้ศรัทธาของเราเองนั้นไม่มีปัญหาไม่มีอะไรผิด เพื่อนๆ ผมก็มีที่เล่นหาสะสมมาพร้อมๆ กัน แต่ความเชื่อของเขาไปผิดทาง ใครบอกใครเตือนก็ไม่ฟัง พอแก่ตัวก็คิดว่าจะนำพระที่สะสมไว้ไปขาย เพื่อนำเงินมาไว้ใช้สอยในยามแก่ตัว แต่กลับขายไม่ได้ ไม่มีใครรับซื้อ ก็หมายความว่าไม่มีมูลค่ารองรับ ต่อมาก็นำมาให้ผมช่วยซื้อช่วยขาย ผมเองก็ไม่รับก็เคืองผมอยู่พอสมควร และก็คงต้องกล้ำกลืนเก็บไว้ต่อไป ก็อย่างที่บอกครับการเล่นหาสะสมก็ควรจะอิงกับมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ เพราะคนส่วนใหญ่เขาเชื่อว่าพระแบบนี้แท้ใช่ เราอยู่ในสังคมก็คงต้องใช้มาตรฐานตามนั้น ที่ว่าแท้มีมูลค่ารองรับครับ แต่ถ้าชอบแบบแท้อยู่คนเดียวก็ต้องเก็บไว้คนเดียวตามรูปแบบที่เราเชื่อครับ ไม่ต้องไปว่าใครโทษใครครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก พิมพ์เขาโค้ง สวยๆ ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ เป็นหลักล้านมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35220758203003_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
แท้มาตรฐานสากลมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แท้ตามมาตรฐานสากล มีมูลค่ารองรับ เป็นอย่างไร ปัญหาเรื่องพระแท้กับพระปลอมนั้นความจริงก็มีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยก่อน แต่โดยส่วนใหญ่ก็จะพูดกันในวงแคบๆ เพราะพระแท้นั้นก็เป็นที่ยอมรับของคนที่เล่นหาและรับซื้อ ก็คือมีมูลค่ารองรับในกลุ่มสังคมของผู้ที่เล่นหาสะสมและรับซื้อรับเช่าหา ก็คือกลุ่มที่มักเรียกกันว่าเซียนพระ คนเหล่านี้ก็มักจะรวมตัวกันอยู่ในสถานที่ที่เรียกกันว่าสนามพระในสมัยก่อน ปัจจุบันอาจจะเรียกกันว่าศูนย์พระเครื่องอะไรทำนองนั้น ก็มีอยู่หลายแห่ง

ในปัจจุบันมีการให้เช่าพระเป็นอาชีพกันอย่างมากมาย ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และในรูปแบบต่างๆ หลากหลายรูปแบบตามสังคมสมัยใหม่ ทีนี้ปัญหาเรื่องพระแท้กับพระไม่แท้หรือพระปลอมก็มีมากขึ้นตามมา มีการคืนพระแล้วไม่ยอมรับคืนเมื่อผู้ที่ซื้อไปนำไปเช็กดูจากที่ต่างๆ แล้วผลออกมาว่าส่วนใหญ่เขาว่าไม่แท้หรือไม่อยู่ในมาตรฐานในการซื้อ-ขาย ก็เป็นเรื่องเป็นราวกันไป แล้วปัญหานี้จะทำอย่างไร พิสูจน์กันอย่างไรว่าใช้มาตรฐานไหนชี้วัดว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่อย่างไร นี่ก็เป็นปัญหาอีก เพราะต่างฝ่ายต่างก็ยกเอาเหตุผลต่างๆ ของตนเองมารองรับว่าเหตุผลของตนเองนั้นถูกต้อง เถียงกันไม่จบ

ถ้าผู้ซื้อซื้อพระไปแล้วไม่สบายใจนำมาคืน และคืนกันไปก็จบง่าย แต่ถ้าผู้ขายไม่ยอมคืนและไม่ยอมรับก็จบยาก เถียงกันไม่จบ ส่วนใหญ่เนื่องจากสนนราคาที่ขายไปนั้นมีมูลค่าสูง บางทีเป็นหลักล้าน ก็จะคืนยาก แล้วต่างฝ่ายต่างก็หาเหตุผลมาอ้างกันแต่ก็หาจุดจบไม่ได้ อีกฝ่ายอาจจะอ้างถึงรายละเอียดพิมพ์ เนื้อหามวลสารอะไรต่างๆ แต่ต่างฝ่ายก็อ้างไม่ตรงกันแล้วจะเอาอะไรมาเป็นข้อตัดสินชี้ขาด ฝ่ายหนึ่งเสียเงินเช่าหามาแล้ว แต่มีข้อสงสัยเพราะนำพระไปสอบถามดูหรือไปตรวจเช็กแล้วผลออกมาว่าไม่ใช่พระแท้ตามที่ตนคาดหวังตามที่เช่าหามา อีกฝ่ายหนึ่งผู้ขายได้เงินไปแล้วก็ ไม่ยอมรับคืน บ่ายเบี่ยงว่าพระของเขาแท้

ปัญหาพระเครื่องโดยเฉพาะพระยอดนิยมต่างๆ นั้น ที่ว่าแท้และมีมาตรฐานนั้นแท้อย่างไร เอามาตรฐานไหนมารองรับ และมีมาตรฐานจริงหรือไม่ ความจริงตั้งแต่ไหนแต่ไรมานั้นความหมายของคำว่าแท้-ไม่แท้นั้น เขาก็ยึดมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ใช่พระเครื่องที่เป็นที่นิยมนั้นมีการเล่นหาสะสมและมีสนนราคามูลค่ารองรับในการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนมานานนมแล้ว และก็มีกลุ่มที่เล่นหาสะสมที่รับเช่าหรือรับซื้ออยู่ก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก สำหรับในกรุงเทพฯ เท่าที่ชุมนุมรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็มีตั้งแต่สมัยที่มีการชุมนุมกันอยู่ที่ใต้ถุนศาลท้องสนามหลวงก่อนปี พ.ศ.2500 และย้ายไปอยู่ในวัดมหาธาตุสนามหลวง แล้วก็ย้ายไปที่วัดราชนัดดา และตลาดท่าพระจันทร์

จนในปัจจุบันก็อยู่ตามศูนย์การค้าต่างๆ ตามลำดับ กลุ่มผู้ที่รับเช่ารับซื้อพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ ก็มักจะเรียกกันว่าเซียนพระ เพราะเขามีความเชี่ยวชาญและรับเช่าหาเป็นอาชีพ เขาก็จะมีความรู้ความชำนาญว่าพระแบบไหนเป็นอย่างไร แล้วก็กำหนดมาตรฐานของพวกเขาเอง โดยเห็นพ้องต้องกันตามนั้น และถ้าพระเครื่ององค์นั้นๆ ถูกต้องตามที่เขากำหนดเขาก็จะรับซื้อ โดยมีมูลค่าตามที่เขาตั้งขึ้น ในด้านราคานั้นก็จะถูกกำหนดมาจากความต้องการของตลาด ก็คือมีผู้สนใจถามซื้อกันมากน้อยอย่างไร ถ้าเป็นที่นิยมถามหาเช่าซื้อกันมากและมีแรงซื้อสูงสนนราคาก็จะสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด ก็เป็นเช่นเดียวกันกับสินค้าอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งเป็นไปตามหลักความจริงของกลไกตลาดซื้อ-ขาย ถ้าไม่มีคนถามหาเช่าซื้อราคาก็ไม่สูง หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ แต่ถ้ามีความต้องการของตลาดมาก แต่ผู้ที่รับซื้อเป็นคนกลาง ไม่กล้าเช่าซื้อในราคาสูงตามกลไกตลาด ก็มีคนอื่นมาแย่งซื้อไปขายต่อแน่นอน เพราะมันหมายถึงรายได้ผลกำไรในส่วนต่างนั้น

ครับทีนี้มาว่ากันที่มาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ที่เขาว่าแท้-ไม่แท้ แท้ก็คือมีมูลค่ารองรับในการซื้อ-ขาย แต่ถ้าไม่แท้ก็คือไม่มีมูลค่าราคารองรับในการซื้อ-ขาย มาตรฐานในการพิสูจน์ก็จะง่ายไม่ยาก พิสูจน์ดูว่ามีมูลค่าในการซื้อ-ขายหรือไม่เท่านั้นก็จบ ส่วนหลักการในการพิสูจน์ของพวกเซียนว่าแท้หรือไม่นั้นเขาก็มีของเขาแน่นอน เพราะเขาเอาเงินจำนวนมากมารับเช่าซื้อหาโดยไม่มีใครมารับผิดชอบให้ ต้องรับผิดชอบตัวเอง ถ้าดูผิดก็เสียเงินไปฟรีๆ ดังนั้น เขาก็ต้องมีหลักการในการพิสูจน์ของเขาแน่ และต้องเป็นที่ยอมรับต้องกันในสังคมของเขาด้วย ไม่ใช่แท้แต่ตัวคนเดียว ในกรณีที่ถามว่ามีมาตรฐานอย่างไร โดยละเอียดนั้นเขาก็คงไม่มาอธิบายหรือสอนให้หรอก นอกเสียจากว่าเขาจะยินดีหรือพอใจที่จะสอนให้เท่านั้น

สรุปคำว่าแท้-ไม่แท้ในสังคมพระเครื่องก็หมายความถึงมาตรฐานมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่อง สามารถซื้อ-ขายและเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง พระเครื่องที่เขาไม่ซื้อก็เนื่องจากไม่มีมูลค่ารองรับ ไม่ถูกต้องตามรูปแบบของสังคมของเขาก็เท่านั้น ไม่ต้องมาเถียงกันว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด ก็เขาไม่ซื้อก็เป็นเรื่องของเขา เราว่าของเราแท้ก็เก็บไว้ไม่ต้องไปโมโหโกรธาอะไรกับเขา ถ้าเราขายออกไปและว่าพระของเราแท้ถูกต้อง เมื่อขายออกไปก็คือมีมูลค่าตามที่เราขายออกไปแล้วทันที ก็ต้องรับรองในมูลค่านั้นๆ ไปเองก็จบ ไม่ต้องไปถกเถียงกันให้เสียเวลาเปล่าๆ นอกจากว่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงได้เสียกันแล้วไม่ยอมรับก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน ลำพูน พิมพ์ตื้น เนื้อเขียว องค์สวยๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล มีมูลค่ารองรับ มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38197392763362_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ท่านเจ้าคุณผล วัดหนังฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เจ้าคุณผล วัดหนังราชวรวิหาร เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังฯ และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนังฯ สืบต่อจาก ท่านเจ้าคุณวิเชียรกวี เจ้าคุณผลบวชอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม และได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมต่อจากหลวงปู่เอี่ยมจนเข้มขลัง และท่านได้สร้างวัตถุมงคลแจกให้แก่ศิษย์หลายอย่าง และวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็เริ่มหา ของแท้ยากแล้วครับ

ท่านเจ้าคุณผลเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2437 ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โยมบิดาชื่อแก้ว โยมมารดาชื่อยืน นามสกุลแก้วเพชร ในเยาว์วัยเรียนหนังสือที่วัดในตัวเมืองจังหวัดสมุทรสาครนั่นเองครับ ได้ศึกษา จนอ่านออกเขียนได้ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายมาทำสวนอยู่ที่บางขุนเทียนใกล้กับวัดหนังฯ ในสมัยก่อนบางขุนเทียนเต็มไปด้วยสวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพทำสวน ซึ่งมีทั้งสวนผลไม้ หมากพลู สวนมะพร้าว และสวนส้ม ท่านก็ได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพจนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดหนังฯ โดยมีพระครูภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนังฯ ตลอดมา

ท่านเจ้าคุณผลได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งวิทยาคมต่างๆ จากหลวงปู่เอี่ยมมาตลอด นอกจากนี้ยัง ได้ขออนุญาตหลวงปู่เอี่ยมออกธุดงค์ไปที่ต่างๆ อยู่เสมอ และหลังจากหลวงปู่เอี่ยมมรณภาพแล้ว ท่านเจ้าคุณวิเชียรกวีก็เป็นเจ้าอาวาส สืบแทน จนถึงปี พ.ศ.2503 ท่านเจ้าคุณวิเชียรก็มรณภาพอีก เจ้าคุณผลจึงได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก มีผู้ถูก คุณไสยต่างๆ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยต่างก็พากันมาให้รักษามากมาย ทั้งในด้านการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ท่านก็ได้สร้างไว้หลายอย่าง ซึ่งมีทั้งพระปิดตาพิมพ์ต่างๆ ทั้งเนื้อตะกั่ว และเนื้อผงหัวบานเย็นก็มี พระชัยวัฒน์เนื้อโลหะผสมก็มี เหรียญรูปท่านซึ่งทำแบบ รูปทรงแบบเหรียญหลวงปู่เอี่ยมก็นิยมกันมาก นอกจากนี้ยังได้สร้างหมากทุยไว้ด้วย ปัจจุบันบางคนเล่นเป็นของหลวงปู่เอี่ยมไปแล้วก็มี พระเครื่องและของขลังที่ท่าน สร้างไว้มีพุทธคุณยอดเยี่ยม มีผู้คนเคยมีประสบการณ์ต่างๆ มาแล้วมากมายครับ ยิ่งด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นยอดเยี่ยม ขนาดบางคนถูกรุมตีจนสลบแต่ไม่เคยมี ใครมีแผลแตกเลยสักคนเดียว

ปัจจุบันพระเครื่องของท่านนั้นเริ่มหายากแล้ว ยิ่งหมากทุยแล้วแทบหาไม่ได้เลย เนื่องจากทำยากจึงทำให้มีจำนวนน้อยครับ แถมบางคนก็อย่างที่บอกตีเป็นของ หลวงปู่เอี่ยมเอาเสียเลยก็มีท่านเจ้าคุณผลมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 54

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและพระปิดตาของท่านมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:27:45
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72284709786375_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เหรียญพระครูเหมสารคุณ

"พระครูเหมสารคุณ" หรือ "หลวงปู่ทองดี เตชธัมโม" เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลาบ้านศาลา ต.โนนแดง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม พระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันสิริอายุ 99 ปี พรรษา 27

นามเดิม ทองดี ทำดี เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2464 ที่บ้านศาลา ต.โนนแดง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

อายุ 17 ปี บรรพชาที่วัดในหมู่บ้าน พร้อมศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับญาครูแป พรหมสโร เจ้าอาวาส

เข้าพิธีอุปสมบท พ.ศ.2495 ที่พัทธสีมาวัดบ้านหนองขาม ต.ดอนงัว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยมีเจ้าอธิการพรมมีพรหมสโร เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเชตุดรวนาราม หรือสำนักเรียนวัดบ้านแดงน้อย ต.เมืองพะไล อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ด้วยความจำเป็นบางอย่างภายในครอบครัว จึงลาสิกขามาช่วยหาเลี้ยงครอบครัว

หลังจากใช้ชีวิตฆราวาสมาจนถึงปี พ.ศ.2536 เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก ตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านหัวขัว ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูประภัสร์วรคุณ วัดบ้านหัวขัว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นจำพรรษาที่วัดบ้านศาลา ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านศาลา

พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ในราชทินนามที่ "พระครูเหมสารคุณ"

นำพาญาติโยมพัฒนาวัดบ้านศาลา จนเจริญรุ่งเรืองถาวรวัตถุมีครบหมด

พ.ศ.2553 ปลีกตัวเข้ามาจำพรรษาที่ป่าช้าด้านตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นป่าช้าเก่า มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ท่านจึงตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลา เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดให้มีการปฏิบัติธรรมประจำปี ตามโอกาสในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และตามโครงการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เนื่องจากมีอายุถึง 99 ปีแล้ว คณะศิษย์ นำโดย "อ๊อด ศิลาอาสน์" เห็นว่ามีอายุมาก ได้หารือกันเพื่อจัดหาปัจจัยตั้งเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์ จึงจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงคล้ายเสมา มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ด้านหลังเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้านใต้อักขระยันต์มีตัวอักษร เขียนคำว่า รุ่นแรก พระครูเหมสารคุณ (ทองดี) สำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลาบ้านศาลา อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ที่พื้นเหรียญตอกหมายเลขเรียงลำดับการสร้าง

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อนวะหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 32 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 38 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นรวม 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ที่วัดบ้านกุดแคน จ.มหาสารคาม ครั้งที่ 2 ที่วัดบ้านหนองแดง จ.มหาสารคาม มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมพิธีจำนวนมาก และครั้งที่ 3 หลวงปู่ทองดี ปลุกเสกเดี่ยว ในคืนวันจันทร์พระจันทร์เต็มดวง
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80176381932364_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระนางพญาอกนูนเล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระเครื่องยอดนิยม และถูกจัดให้อยู่ในพระชุดเบญจภาคี ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก มีสนนราคาสูง พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านเมตตามหานิยม พระนางพญาที่พบในกรุวัดนางพญานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ได้รับความนิยมทุกพิมพ์ มูลค่ารองรับก็ลดหลั่นกันตามแต่ละพิมพ์ แต่ทุกพิมพ์ก็ยังมีมูลค่าสูงทุกพิมพ์

พระนางพญา กรุวัดนางพญา มีการถูกขุดพบโดยบังเอิญประมาณปี พ.ศ.2444 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดได้จัดเตรียมการรับเสด็จที่บริเวณวัดนางพญา โดยการจัดสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ พอคนงานขุดหลุมเพื่อปักเสาปะรำก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาเป็นจำนวนมาก คือพระนางพญา ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสจึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาจึงได้นำพระส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

พระนางพญาที่ถูกขุดพบในครั้งนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ รูปทรงของพระทั้งหมดจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม มีขนาดเล็กใหญ่ลดหลั่นกันลงไป ในสมัยก่อนจะแยกเป็นพระพิมพ์ใหญ่ ซึ่งก็มีขนาดเขื่องกว่าพระพิมพ์อื่นๆ เช่นพระนางพญาพิมพ์เป็นเข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระเหล่านี้จัดเป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยก็จะจัดเป็นพระพิมพ์กลาง คือพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ส่วนพระที่มีขนาดเล็กลงมาอีกก็คือ พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก และพระนางพญาพิมพ์เทวดา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระพิมพ์อื่นๆ พระนางพญาพิมพ์เทวดา ในสมัยแรกๆ ก็เรียกกันว่าพระนางพญาพิมพ์อกแฟบ อันเนื่องมาจากพระพิมพ์เล็กด้วยกันมีพิมพ์อกนูนเล็ก ซึ่งมีลักษณะอกนูนเด่น ส่วนพระนางพญาพิมพ์เทวดามีอกที่ไม่นูนเด่นอย่างพระนางพญาอกนูนเล็ก ก็เลยเรียกเอาแบบง่ายๆ ว่าเป็นพิมพ์อกแฟบ แต่ต่อมาในหมู่นักเล่นหาสะสมเห็นว่าชื่อพิมพ์ดูไม่ไพเราะ จึงตั้งชื่อให้ใหม่เป็นพระนางพญาพิมพ์เทวดาที่ดูจะเหมาะสมกว่า

พระนางพญาอกนูนเล็ก ที่ตั้งชื่อนี้ก็เนื่องจากเอกลักษณ์ขององค์พระนั้นมีอกที่นูนเด่นแบบเดียวกับพระนางพญาอกนูนใหญ่ แต่พระนางพญาอกนูนใหญ่มีขนาดองค์พระใหญ่กว่า พระพิมพ์นี้ก็เลยเป็นชื่อพระนางพญาอกนูนเล็ก พระนางพญาอกนูนเล็กเป็นพระที่มีการตัดขอบค่อนข้างชิดองค์พระ รูปทรงจึงเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ค่อนข้างเรียว ขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กกะทัดรัดน่ารัก เลี่ยมห้อยคอผู้หญิงจะสวยงาม พระนางพญาอกนูนเล็กสนนราคาย่อมเยากว่าพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ต่างๆ แต่ก็ยังมีมูลค่าสูงอยู่เช่นกัน และก็หาแท้ๆ ยากด้วยเช่นกัน ของปลอมเลียนแบบนั้น มีมากมายหลายยุคมาแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่นิยมและหายากมีสนนราคาสูง

พระนางพญาอกนูนเล็กเป็นพระนางพญาในตระกูลพระนางพญา กรุวัดนางพญาอีกพิมพ์หนึ่งที่หายากเช่นกัน พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลกทุกพิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก กรุวัดนางพญา องค์สวยที่มีมูลค่ารองรับถูกต้องตามมาตรฐานสากลมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92025009998016_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่อิ่ม วัดศีลขันธาราม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดศีลขันธาราม จังหวัดอ่างทอง ผู้สร้างวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับวัดเทพศิรินทร์ กทม. และมีเหรียญของวัดศีลขันธ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) อธิษฐานจิตอีกด้วย เหรียญนั้นก็คือเหรียญของพระครูขันตยาคม (หลวงปู่อิ่ม) ที่สร้างในปี พ.ศ.2472 เป็นเหรียญที่น่าสนใจเหรียญหนึ่ง สนนราคาก็ไม่สูงนัก แต่หายากครับ

พระครูขันตยาคม (อิ่ม) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ที่บ้านคลองมะขาม ตำบลหัวลิง ปัจจุบันเป็นตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ท่านเป็นบุตรของคุณทวดอ่ำ และคุณทวดอำแดงขอม เมื่อตอนวัยเด็กได้เรียนหนังสืออยู่ที่วัดจุฬามณี บ้านคลองหงส์ อยู่กับหลวงลุงของท่านซึ่งเป็น เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม แถมด้วยวิชาคงกระพัน และวิทยาคมต่างๆ จากหลวงลุงของท่าน พอ อายุได้ 16 ปีท่านมักจะถือกระบองเป็นอาวุธประจำกาย ท่านไม่ทำร้ายใคร เพียงแต่ชอบท้าพวกนักเลงหัวไม้เอากันพอเลือดออกเป็นยางบอนแล้วเลิกรากัน พอรู้แพ้รู้ชนะ มีคน ร่ำลือและเชื่อถือในฝีมือไปหลายคุ้งน้ำ หลวงลุงของท่านก็อดเป็นห่วงไม่ได้ ในปี พ.ศ.2405 จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเสีย และจำพรรษาอยู่ที่วัดจุฬามณี ท่านก็ได้ช่วยหลวงลุงของท่านตีเหล็กทำเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ท่านเป็นผู้ขยันและหมั่นเพียร มีเมตตากรุณาสูง ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอยู่เสมอ จนสามเณรอิ่มเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านกันทั้งบาง

ต่อมาเมื่อท่านมีอายุครบบวช หลวงลุงของท่านรู้จักมักคุ้นกับท่านเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี จึงนำท่านมาฝากเล่าเรียนบาลีและพระปริยัติต่อ และอุปสมบทที่วัดแห่งนี้ พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์คู่สวดนั้นสืบค้นประวัติไม่ได้ว่าเป็นใคร หลวงปู่อิ่ม อยู่จำพรรษาและศึกษาอยู่ที่วัดเขมาฯ อยู่ระยะหนึ่งจึงได้ย้ายเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดกันมายุตาราม กทม. และได้สนิทสนมกับท่านเจ้าคุณพระอมราภิรักขิต (เจริญ) ญาณวโร ต่อมาหลวงปู่อิ่มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูขันตยาคม ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้อีกหลายพรรษา จนในปี พ.ศ.2441 วัดเทพศิรินทราวาสได้ว่างเจ้าอาวาสลง ท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) จึงได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส และในปีนั้นเองท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) ได้อาราธนาหลวงปู่อิ่มให้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ และกาลต่อมาท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) ท่านก็ได้พระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) หลวงปู่อิ่มจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ได้ 6 พรรษา ญาติโยมของหลวงปู่จึงอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายกลับมาสู่ภูมิลำเนาเดิม ท่านจึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เกรียบ ฝั่งตรงข้ามกับบ้านญาติโยมของท่าน หลังจากนั้นท่านก็คิดว่าจะสร้างวัดธรรมยุตขึ้น ณ ฝั่งที่ญาติโยมของท่านอาศัยอยู่ ได้ออกบิณฑบาตแถวบ้านห้วยลิง และได้แวะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เป็นดงสะแก บรรยากาศดี มี กระต่ายป่าวิ่งลัดเลาะอยู่ ท่านเดินเรื่อยมาก็เห็นว่าร่มรื่นภายใต้ต้นยางกับต้นตาล ท่านจึงปูผ้านั่งฉันเช้า เศษอาหารที่เหลือท่านก็ได้เอากองไว้ เจ้ากระต่ายก็มากิน และมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเข้ามาสนทนากับหลวงปู่อิ่ม ท่านจึงบอกความประสงค์ที่จะสร้างวัดให้ญาติโยมทราบ ต่อมาอีกไม่นานปรากฏว่ามีญาติโยมมาถวายที่ดินหลายแปลง กราบนมัสการหลวงปู่และช่วยกันสร้างเพิงพักให้ท่าน ท่านก็เลยพำนักอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2446 เป็นต้นมา พวกชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันสร้างวัด บ้างก็รื้อเรือนมาถวายให้สร้างกุฏิให้พระเณรได้อยู่จำพรรษา นำลูกหลานมาบวช ท่านก็พาไปบวชที่วัดเทพศิรินทร์ อีก 3 ปีต่อมาก็กลายเป็นวัด ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่าวัดดอนกระต่ายบ้าง เนื่องจากมีกระต่ายป่าชุกชุม บ้างก็เรียกวัดสลักแกง บ้างก็เรียกวัดศีลขันธ์ เพราะเป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีลและไปคล้องกับนามของหลวงปู่ คือ พระครูขันตยาคม ความศรัทธาในหลวงปู่ทวีขึ้นโดยลำดับ มีพระภิกษุสามเณรมากขึ้น และในปี พ.ศ.2449 วัดแห่งนี้ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา นามว่าวัดศีลขันธาราม

หลวงปู่อิ่มท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 60 ประชุมเพลิงในปี พ.ศ.2470 และในปี พ.ศ.2472 ได้มีการบรรจุอัฐิหลวงปู่อิ่มและมีงานยกช่อฟ้า ชาวบ้านและคณะศิษย์จึงได้ จัดสร้างเหรียญที่ระลึกในงานนี้ด้วย และเหรียญนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ท่านได้กรุณาอธิษฐานจิตด้วยครับ เหรียญนี้จึงถือได้ว่าเป็นเหรียญเก่าและเป็นเหรียญรูปหลวงปู่อิ่มรุ่นแรก และเป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิษฐานจิต

ครับในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2472 ของหลวงปู่อิ่ม มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99223119061854_1_320x200_.jpg)
พระกำแพง ซุ้มกอดำ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระยอดนิยมที่ถูกจัดอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคี สนนราคาค่านิยมสูงมาก เชื่อกันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เมตตา และแคล้วคลาด เรื่องโภคทรัพย์ทำมาค้าขายนั้นเชื่อกันว่ามีไว้จะช่วยให้ทำมาค้าขายได้เจริญรุ่งเรืองจนมีการพูดเป็นคำขวัญว่า "มีกูไว้ไม่จน"

พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องที่พบในบริเวณทุ่งเศรษฐีนี้เชื่อกันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ทั้งสิ้น พระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมกันมากก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ เป็นต้น พระกำแพงซุ้มกอที่ถูกขุดพบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกระหนก พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระกำแพงพิมพ์ขนมเปี๊ยะ และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกระหนก พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อเป็นแบบเนื้อดินเผา ที่พบเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อว่านบ้าง แต่ก็พบน้อยมาก ที่นิยมส่วนใหญ่จะเนื้อดินเผา ซึ่งเป็นเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่ม พระทุกพิมพ์มีมูลค่าสนนราคาสูงทุกพิมพ์ เนื่องจากหาพระแท้ๆ ยากมาก

สำหรับพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกระหนก ในสังคมพระเครื่องมักเรียกกันว่า พระกำแพงซุ้มกอดำ เนื่องจากพระกำแพงซุ้มกอที่เป็นแบบไม่มีลายกระหนก เป็นพระเนื้อดินเผาที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีสีเป็นสีดำ ที่เป็นเนื้อสีน้ำตาลไหม้ก็มีบ้าง แต่พบน้อยมาก จึงมักเรียกกันว่าพระกำแพงซุ้มกอดำก็จะเข้าใจกันในหมู่ผู้นิยมพระเครื่องว่าเป็นพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกระหนก พระกำแพงซุ้มกอดำนี้มีพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว ไม่มีพิมพ์กลางหรือพิมพ์เล็ก

พระกำแพงซุ้มกอที่เรียกกันอย่างนี้ก็เรียกกันตามรูปทรงขององค์พระที่มีขอบขององค์พระเป็นรูปทรงโค้งๆ คล้ายกับตัวอักษรตัวกอไก่ ก็ตั้งชื่อกันง่ายๆ ตามรูปลักษณ์ที่เห็น ส่วนชื่อพิมพ์ต่างๆ ก็ว่ากันไปตามขนาดและตามรูปลักษณ์อื่นๆ ส่วนคำว่ากำแพงก็ว่ากันตามจังหวัดที่ขุดพบ

พระกำแพงซุ้มกอดำเป็นพระที่เป็นพิมพ์ใหญ่ มีขนาดพอๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีลายกระหนก ความนิยมเล่นหาก็เป็นรองพระกำแพง พิมพ์ใหญ่ มีลายกระหนกเล็กน้อย ความหายากก็หายากครับ พระแท้ๆ นั้นหายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว หลากหลายฝีมือ ก็ว่ากันไป เพราะเป็นพระยอดนิยมมานมนานแล้ว มีมูลค่ารองรับ ถ้าเป็นพระแท้ๆ ก็มีผู้ยินดีจะเช่าหากันมาก สามารถนำมาขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ตลอด สนนราคาก็สูงมาก ยิ่งสวยๆ ก็ยิ่งแพง

ครับพระแท้ๆ ที่สังคมวงการพระเครื่องให้การยอมรับนั้นจะสามารถซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้ตลอด เพราะมีมาตรฐานมูลค่ารองรับ ที่ผมพูดเรื่องมูลค่ารองรับบ่อยๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญของการเล่นหาสะสม เพราะเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่ โดยมีมูลค่าราคารองรับ ถ้าเป็นพระแท้ๆ ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมวงการพระเครื่อง ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับเสมอ โดยเฉพาะพระที่เป็นพระนิยมของสังคม ยิ่งนิยมมากราคาก็ยิ่งสูงตามความนิยม

ส่วนพระที่ไม่ได้มาตรฐานสังคม ยอมรับก็ย่อมไม่มีมูลค่าราคารองรับ พูดแบบบ้านๆ ก็คือไม่มีใครรับซื้อ ถ้าเราจะเล่นหาตามสังคมส่วนใหญ่ก็ต้องเล่นหาตามแบบมาตรฐานที่สังคมเขายอมรับกัน แต่ถ้าไม่สนใจจะเล่นหาตามที่ตนคิดก็ไม่มีใครว่าอะไรครับ เก็บไว้คนเดียว อย่านำไปขาย ถ้านำไปขายแล้วเขาไม่รับซื้อ ก็อย่าไปกล่าวโทษหรือว่าคนอื่นเขาว่า "เกิดทันหรือ? จึงรู้ดีแท้ไม่แท้ ใช่ไม่ใช่" คำคำนี้ผมได้ยินบ่อยๆ ถ้าเราเชื่อว่าไดโนเสาร์มีจริงก็คงไม่ต้องไปเกิดทันในยุคนั้นนะครับ ก็ฝากไว้เป็นข้อคิดพิจารณาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระกำแพงซุ้มกอดำที่มูลค่ารองรับถูกต้องตามมาตรฐานสากลสังคมยอมรับ มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46803728491067_1_320x200_.jpg)
พระกริ่งสุจิตโต วัดบวรฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งสุจิตโต หรือที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งบัวรอบ วัดบวรฯ เป็นพระกริ่งที่หายากมาก และเป็นพระกริ่งที่สร้างเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์และหม่อมเอม ประสูติเมื่อ พ.ศ.2415 มีพระนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ผนวชเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.2430 พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตโต) วัดบรมนิวาศเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2435 พระพรหมมุนี (แพง กิตติสาโร) วัดมกุฏฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ทรงดำรงสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

ปี พ.ศ.2439 เป็นพระญาณวราภรณ์

ปี พ.ศ.2446 เป็นพระญาณวราภรณ์ ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นพิเศษ

ปี พ.ศ.2455 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2464 เลื่อนเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งพระธรรมพิเศษ ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2471 เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์

ปี พ.ศ.2488 ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนาสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชพระอุปัธยาจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และถวายพัดแฉกมหาสมณุตมาภิเษก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงปฏิบัติพระกรณียที่สำคัญๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการพระศาสนาและประเทศชาติหลายประการ พระกรณียสำคัญประการหนึ่งก็คือ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อคราวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่อีกหลายพระองค์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ เป็นต้น

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 38 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2501 พระชนมายุ 84 พรรษา

ในปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล ได้ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวรวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ เวลา 9.08 น. สมเด็จทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อเวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า "พระกริ่งสุจิตโต" ตามพระนามฉายาของสมเด็จฯ แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า "พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร" เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะกันด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

พระกริ่งสุจิตโต เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำพระกริ่งสุจิตโตจากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ โดยคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76860424876213_1_320x200_.jpg)
เหรียญมนต์พระกาฬ หลวงพ่อฟู

พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อฟู อติภัทโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พระเกจิที่ได้รับสืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อาทิ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี, หลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

เกิดในสกุล ดวงดารา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธ.ค.2465 ที่บ้านบางสมัคร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2485 โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาด้านคันถธุระที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 จำพรรษาที่วัดอุทยานที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมชั้นเอก

กระทั่งปี พ.ศ.2492 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ.2501 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี

พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน

พัฒนาวัดจนเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา

สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่โด่งดังหลายรูป เช่น หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ที่เมตตาและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด

นอกจากนี้ หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี เป็นพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟูให้ความเคารพเป็นอย่างมาก

สืบเนื่องจากวัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีโครงการก่อสร้างราวบันไดพญานาคหน้าอุโบสถ แต่ยังขาดปัจจัยดำเนินการอยู่จำนวนมาก ผู้มีจิตศรัทธา นำโดย นายอธิพัชร์ กนิษฐบุณยวินิจ จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมนต์พระกาฬ สมณาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างราวบันไดพญานาค

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อฟู ห่มจีวรเฉียงนั่งเต็มองค์ในท่ากัมมัฏฐาน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อฟู อติภทฺโท และมีอักขระยันต์ จากด้านล่างวนขึ้นไปถึงใต้ห่วง พุทธคุณเด่นรอบด้าน

ด้านหลัง บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า มนต์พระกาฬ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปหนุมาน มีแปดกร ด้านล่างสุดเขียนว่า ๙๘ เป็นตัวเลขอายุหลวงพ่อฟู จากด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างเขียนว่า วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำลงยา เนื้อเงินบริสุทธิ์ เนื้อนวโลหะ เนื้อตะกั่ว เนื้ออัลปาก้า เนื้อชนวน เป็นต้น และชุดนำฤกษ์ รับพระ 5 องค์ สร้าง 29 ชุด ประกอบด้วย เนื้อเงิน อัลปาก้า ทองแดงผิวไฟ ทองแดงผิวรุ้ง ชุดของขวัญ รับพระ 5 องค์ และรายการลุ้นโชค ลุ้นเนื้อ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงพ่อฟู อธิษฐานจิตเดี่ยวที่วัดในเดือนเมษายน 2563 นี้
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94855286387933_1_320x200_.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด พระเกจิอาจารย์ ที่ชาวอำเภอสามพรานเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลหลายอย่างที่หลวงพ่อสร้างไว้ ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด

พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง อุปสมบทในปีพ.ศ.2435 โดยมีพระครูปริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญัสสะ" หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้ นอกจากนี้หลวงพ่อห้อย ยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย

หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่ง เจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อยผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า "วัดหอมกรุ่น" ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่า วัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมากท่านจึงปรึกษามัคนายกวัดในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร

หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้ว หลวงพ่อห้อยก็ได้ร่วมสร้างพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้นในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมีนายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า "ห้อยศึกษาลัย" จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อห้อย จึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยการร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า "โรงเรียนไพศาลประชานุกูล" หลวงพ่อห้อยท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 48

ในสมัยที่หลวงพ่อห้อยยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุด เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตามาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:30:08
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13009807674421_1_320x200_.jpg)
พระปิดตาพระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุงนั้นมีพระอาจารย์ที่เข้มขลังสืบทอดวิชาต่อๆ กันมาโดยตลอด วันนี้จึงขอนำเรื่องของพระอาจารย์ปาล และพระปิดตาของท่านมาเล่าสู่กันฟังครับ

พระอาจารย์ปาล เป็นลูกศิษย์ที่เรียนวิชาสายเขาอ้อรุ่นหลังพระอาจารย์เอียด และพระอาจารย์นำ ท่านได้เรียนวิชากับพระอาจารย์ทองเฒ่าไว้มากทีเดียว พิธีกรรมที่สำคัญๆ ของสำนักเขาอ้ออย่างเช่น พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีป้อนน้ำมันงาหรือพิธีหุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งจัดขึ้นในสมัยพระอาจารย์ทองเฒ่านั้น ก็มีพระอาจารย์ปาลคอยช่วยเหลือในการประกอบพิธีด้วยทุกครั้ง แล้วหลังจากที่พระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพ พระอาจารย์ปาลท่านก็เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

พระอาจารย์ปาลนอกจากว่าท่านจะมีวิชาความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิทยาคมของสายเขาอ้อแล้ว พลังจิตของท่านก็กล้าแข็งมากแววตาเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง สามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิด้วยความรวดเร็วภายในอึดใจเดียว ที่กุฏิของท่าน ก่อนที่จะขึ้นกุฏิจะมีอ่างน้ำล้างเท้า และมีผ้าเช็ดเท้าเก่าๆ อยู่ผืนหนึ่งที่เอาไว้เช็ดเท้าก่อนขึ้นกุฏิ ท่านเคยฉีกผ้าเช็ดเท้านั้นมาริ้วหนึ่ง แล้วให้ลูกศิษย์นำไปลองเผาดู พอจุดไฟแช็กเผาอยู่นานจนร้อนมือ แต่ผ้าเช็ดเท้าหาได้ไหม้ไฟไม่ ยังความอัศจรรย์แก่ลูกศิษย์มาก และครั้งหนึ่งมีคนมาลองดี ท่านก็เอาผ้าจีวรของท่านไปแขวนไว้ที่ราวตากผ้า แล้วให้คนคนนั้นทดลองยิงดู ปรากฏว่ายิงจนหมดโม่ แต่ลูกปืนไม่ถูกผ้าจีวรของท่านเลย ลูกปืนตกอยู่ที่หน้าผ้าจีวรของท่านทุกนัด ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น หากวัดต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายของสำนักเขาอ้อ จัดพิธีกรรมคราวใดก็จะต้องนิมนต์ท่านอาจารย์ปาลไปร่วมพิธีทุกครั้ง

วัตถุมงคลที่พระอาจารย์ปาลสร้างไว้มีอยู่หลายอย่างเช่นตะกรุด ซึ่งมีชาวบ้านมาขอให้ท่านทำให้เสมอๆ ส่วนมากจะเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี แต่ท่านมักจะพิจารณาทำให้เป็นรายๆ ไป และกำชับเสมอว่าคนที่เอาตะกรุดของท่านไป ห้ามมิให้ประพฤติผิดลูกผิด เมียชาวบ้านเป็นเด็ดขาด ส่วนพระปิดตาของท่านนั้น เริ่มสร้างตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 เป็นต้นมา การสร้างพระปิดตาของพระอาจารย์ปาลก็เหมือนกับการสร้างพระปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่าและพระอาจารย์เอียด คือ เมื่อมีเวลาว่างและมีวัสดุพร้อม ท่านก็จะสร้างขึ้นทีละไม่มากนัก แล้วปลุกเสกแจกชาวบ้านไปเรื่อยๆ พอหมดแล้วมีเวลาว่างท่านก็จะสร้างขึ้นใหม่ พระปิดตาของพระอาจารย์ปาลนั้นท่านจะปลุกเสกเดี่ยว และการที่ท่านสร้างมาเรื่อยๆ นี้เอง จึงทำให้มีพระพิมพ์ต่างๆ อยู่หลายพิมพ์ แต่เนื้อหาและเอกลักษณ์ของพิมพ์ทรงก็บ่งบอกได้ว่าเป็นพระปิดตาสายเขาอ้อ พระปิดตาพระอาจารย์ปาลสามารถแยกแยะออกจากพระปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่าและพระอาจารย์เอียดได้คือ พระปิดตาของ พระอาจารย์ปาลท่านจะมีพิมพ์ทรงป้อมๆ กว่า และเนื้อโลหะมักจะออกไปทางเนื้อขันลงหิน และทองผสม พุทธคุณเน้นหนักไปทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์ มหาอุดของพระอาจารย์ปาลมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 02 มีนาคม 2563 15:45:26
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47766077890992_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระลือหน้ามงคล กรุวัดประตูลี้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงพระเครื่องสกุลลำพูน เราก็จะนึกถึงพระรอดวัดมหาวันเป็นอันดับแรก รองลงมาก็จะเป็นพระคงวัดพระคงฤาษี ไม่ก็พระเลี่ยงวัดประตูลี้ พระบางวัดดอนแก้วเป็นต้นส่วนพระที่มีขนาดเขื่องหน่อยก็คงจะเป็นพระเปิม พระที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงก็คือพระฤาหรือพระลือวัดประตูลี้ พระลือก็เป็นพระกรุเดียวกับพระเลี่ยง ขุดพบพร้อมๆ กัน แต่พระลือมีขนาดเขื่องหน่อย และมีจำนวนน้อยพบไม่มากนัก พระเลี่ยงมีมากกว่าคนก็รู้จักมากกว่า อีกทั้งขนาดของพระลือเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนพระเลี่ยงมีขนาดกำลังพอเหมาะ ความนิยมก็มาอยู่ที่พระเลี่ยง

วัดมหารัตตาราม (วัดประตูลี้) พระอารามนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้นอกกำแพงเมือง ไปทางประตูลี้ ซึ่งเป็นทวารพระนครฝ่ายทิศใต้ ของนครหริภุญชัยนครและเป็นหนึ่งในจตุรพุทธปราการที่พระนางจามเทวีทรงให้สร้างไว้ และที่พระอารามแห่งนี้ได้มีการขุดพบพระเครื่องที่สำคัญอยู่หลายอย่าง และมีการขุดพบอยู่หลายครั้งหลายหนมาแล้วในอดีต เท่าที่มีการบันทึกไว้มีดังนี้

ในปี พ.ศ.2417 เจ้าดิเรกรัตนไพโรจน์ (ดาวเรือง) เป็นเจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 8 ได้อุปสมบทในพระอารามนี้ ทั้งได้ปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่พระเจดีย์องค์ประธาน และได้พบพระเครื่องชนิดต่างๆ ของวัดประตูลี้เป็นอันมาก เช่นพระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสามและพระสิบสองเป็นต้น

การขุดหาพระเครื่องวัดประตูลี้ในปี พ.ศ.2484 ในปีนี้เป็นการขุดหาพระเครื่องครั้งใหญ่ทั่วไปในลำพูน ในยุคเจ้าหลวงจักรคำ ขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาของสงครามอินโดจีน การขุดในครั้งนี้กระทำในพื้นที่ด้านใต้นอกเขตอุปจารของพระอาราม และได้พบพระเครื่องของกรุนี้เป็นจำนวนมาก พระเครื่องที่ขุดพบได้แก่ พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม พระแปด และพระสิบสองเป็นต้น

ในปี พ.ศ.2496 เป็นการขุดครั้งหลังสุดของกรุนี้ ซึ่งเป็นการพบโดยบังเอิญ โดยสามเณรอินตา (ในสมัยนั้น) และนายคำ แก้วตา ได้ขุดถอนต้นมะพร้าวซึ่งอยู่ทิศเหนือของตัวพระอารามและได้ขุดพบโถโบราณเนื้อดินเผาใบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายตะเกียงหลอด มีฐานเป็นชั้นๆ ตรงกลางป่อง และมีคอยาวเรียวขึ้นไปถึงปาก ภายในโถมีพระเลี่ยงหลวงบรรจุอยู่ประมาณ 300 องค์

โถโบราณที่บรรจุพระเครื่องที่พบในครั้งนั้น เป็นที่สนใจของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นท่านขึ้นไปค้นคว้าโบราณคดีและศิลปวัตถุในลำพูน ต่อมาอาจารย์จิต บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่างนักค้นคว้าโบราณคดี สาขาเครื่องปั้นดินเผา ได้มีความสนใจมากและติดต่อขอซื้อ แต่ผู้เป็นเจ้าของไม่ยอมขายให้

ครับ พระเครื่องกรุวัดประตูลี้ ที่มีผู้รู้จักมากที่สุดก็คือพระเลี่ยง เนื่องจากมีจำนวนมากกว่าและมีขนาดเล็กกว่าพระทุกพิมพ์ของกรุนี้ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ของกรุเดียวกัน พระที่มีขนาดเขื่องขึ้นมาอีกหน่อยก็คือพระลือ แต่ก็มีจำนวนพระที่ขุดพบไม่มากนัก จึงอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก จนอาจทำให้ลืมกันไปได้ว่า พระเครื่องที่น่าสนใจอีกพิมพ์หนึ่งของกรุนี้ก็คือพระลือ ซึ่งเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจอีกพิมพ์หนึ่ง ในเรื่องพุทธคุณและประสบการณ์นั้น ก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระเลี่ยง คือเด่นทางด้านแคล้วคลาด หลีกลี้หนีภัยพาลได้ อีกทั้งพระลือนั้นยังมีความเชื่อที่ว่าจะอำนวยอวยผลให้มีชื่อเสียงเลื่องลือโด่งดังอีกด้วย ตามชื่อของพระ แต่พระลือหน้ามงคลนั้นที่เป็นพระแท้ๆ ก็หาได้ยากยิ่งครับ อันเนื่องจากจำนวนพระที่ขุดพบนั้นมีไม่มากนักครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระลือหน้ามงคล กรุวัดประตูลี้จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70835127226180_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญกงจักรหลวงพ่อทองอยู่

หลวงพ่อทองอยู่ ปัญญาวัฑฒโน หรือ พระครูนิรภัยวิเทต อดีตเจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ พระเถระผู้ทรงวิทยาคุณ มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

ครูบาอาจารย์ของท่าน คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระปลัดนิ่ม วัดบางศาลา อ.ไชโย จ.อ่างทอง, พระครูฉ่ำ วัดบางตะเคียน ต.โตนด อ.ไชโย จ.อ่างทอง

เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ.2437 ที่บ้านเกยไชย ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ เป็นบุตรของพ่อสุ่มและ แม่จั่น

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดหนองขอน มีพระครูสวรรค์วิจิตร (สถ) เจ้าคณะอำเภอชุมแสงในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

ในสมัยนั้น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเงินและฝากตัวเป็นศิษย์เรียนการฝึกสมาธิ และแนวทางการปฏิบัติธรรม

เดินทางกลับมาที่วัดเกยไชย ช่วยสอนธรรมวินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร จนวัดเกยไชยเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง

ต่อมาตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกยไชยว่างลง จึงรับหน้าที่เป็นผู้รักษาการแทน พรรษาที่ 9 จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเกยไชย รับภาระสร้างถาวรวัตถุ ทำนุบำรุงวัดเป็นอย่างดี

เป็นพระเถระที่อยู่ในใจของประชาชนตลอดมา ด้วยท่านเป็นพระผู้สมถะ ไม่สะสม เสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาตลอดมา รวมทั้งบำรุงส่งเสริมการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

วันที่ 19 ต.ค. 2524 มรณภาพด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

วัดเกยไชยเหนือ จัดสร้างเหรียญรุ่นกงจักร หลวงพ่อทองอยู่ เพื่อฉลองในพิธีพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในปี พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเหรียญที่มีจำนวนการสร้างค่อนข้างมาก ทั้งยังมีการสร้างติดต่อกันอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ.2515-2524

ครั้งแรกสร้างเป็นเนื้อทองแดงชุบนิกเกิล กับเหรียญชุบทอง เพื่อแจกกรรมการ สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ 2,000 เหรียญ ปรากฏว่า ได้รับความนิยม จนเหรียญที่สร้างขึ้นหมดไป ไม่พอแจก จึงสร้างขึ้นใหม่อีกเป็นเนื้ออัลปาก้าชุบ ประมาณ 5,000 เหรียญ และยังสร้างเป็นเหรียญที่มีสีต่างๆ ตามวัน เช่น สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีฟ้า สีชมพู สีม่วง

โดยพระเถระที่ร่วมปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์, หลวงพ่อทวี วัดโรงช้าง จ.พิจิตร, หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง, หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, พระสมุห์สุชาติ วัดนาคปรก ฯลฯ

ลักษณะเหรียญกงจักร มีรอยหยักแหลมคล้ายฟันปลารอบเหรียญแบบกงจักร จำนวน 16 หยัก มีหูเชื่อม

ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อทองอยู่ครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่อมีตัวอักษรว่า พระครูนิรภัยวิเทต ส่วนที่รอยหยักรอบเหรียญจะมีลงยาเป็นสีต่างๆ มีหูห่วงเชื่อมติดตรงรอยหยักที่อยู่ตรงศีรษะหลวงพ่อ แต่ละเหรียญจะมีลงยาสีต่างกันไป

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปพระบรมธาตุอยู่ตรงกลางเหรียญ สองข้างซ้ายขวาของพระบรมธาตุ จะมีตัวยันต์นะล้อมอยู่ทางด้านข้าง
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18905631370014_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระกำแพงกลีบจำปา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระในตระกูลทุ่งเศรษฐีที่เป็นพระปางลีลาเนื้อดินเผา นอกจากพระกำแพงเม็ดขนุน แล้ว ก็ยังมีพระปางลีลาที่หายากอีกอย่างหนึ่ง ก็คือพระกำแพงกลีบจำปา ซึ่งเป็นพระที่ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก เรียกว่าหาพระแท้ๆ ยากจริงๆ พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระเม็ดขนุน และเป็นพระที่นิยมกันมากมาแต่ในอดีต

พระกำแพงกลีบจำปา ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่แปลกใหม่ ส่วนมากก็เคยได้ยินกันมาแทบทั้งนั้น แต่องค์พระเป็นอย่างไรหรือหน้าตาเป็นอย่างไร แทบไม่ได้เคยเห็นกันเลยจริงไหมครับ พระกำแพงกลีบจำปา ก็คือพระปางลีลาอีกอย่างหนึ่งของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี รูปทรงสัณฐานจะคล้ายๆ กับพระกำแพงเม็ดขนุน แต่แม่พิมพ์ของ พระกำแพงกลีบจำปาจะตื้นกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน ตัวฐานของพระกำแพงกลีบจำปาในองค์ที่ติดชัดๆ จะเห็นเป็นฐานสองชั้น มีกลีบบัวรองรับชั้นละ 3 กลีบ

ส่วนพระกำแพงเม็ดขนุน ฐานจะเป็นแบบฐานเขียงเป็นเส้นตรงๆ เท่านั้น ไม่มีกลีบบัวรองรับ เส้นขอบซุ้มของพระกำแพงกลีบจำปาจะมีสองชั้น ส่วนกำแพงเม็ดขนุนจะมีเส้นซุ้มเส้นเดียว ในส่วนที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ รูปทรงกรอบ พระกำแพงกลีบจำปาจะมีทรงกรอบยอดบนเป็นปลายเรียวค่อนข้างแหลม ส่วนพระกำแพงเม็ดขนุนทรงกรอบด้านบนจะเป็นยอดมนๆ คล้ายๆ กับเม็ดขนุน สรุปง่ายๆ คือทรงกรอบของพระกำแพงกลีบจำปาจะเรียวด้านบนคล้ายกับกลีบของดอกจำปา และก็เป็นที่มาของชื่อพระด้วย

พระกำแพงกลีบจำปา พบที่กรุวัดพิกุล และอีกหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม ที่พบทางฝั่งจังหวัดก็มีอยู่บ้างที่กรุวัดพระแก้วและกรุวัดอาวาสน้อยเป็นต้น เนื้อของพระที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเป็นส่วนใหญ่ พระเนื้อชินก็มีพบบ้าง แต่น้อยกว่า จะมีพระเนื้อว่านบ้างหรือเปล่านั้น ยังไม่มีการพบพระเนื้อว่านในพระพิมพ์นี้เลย

พระกำแพงกลีบจำปาจะเป็นพระที่ค่อนข้างบางไม่หนาอย่างพระเม็ดขนุน จำนวนพระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ยิ่งในปัจจุบันยิ่งเรียกว่าไม่พบเห็นกันเลยครับ แม้แต่รูปพระแท้ๆ ก็หายากมากครับ อาจจะเป็นเพราะพระกลีบจำปาเป็นพระที่ค่อนข้างบางมาก อาจจะทำให้พระชนิดนี้ชำรุดสูญหายไปมากก็เป็นได้ ยิ่งที่เป็นพระเนื้อชินก็คงผุกร่อนไปเสียหมดตามสภาพและอายุกาล

พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่อยู่ในความนิยมตั้งแต่ในอดีต แต่ก็อย่างที่บอกครับ เป็นพระที่หายากอย่างหนึ่งของพระตระกูลนี้ ด้วยจำนวนที่มีพบน้อย พระกําแพงกลีบจําปาคุณลักษณะของเนื้อดินก็จะเป็นแบบเดียวกับพระตระกูลทุ่งเศรษฐี คือมีเนื้อที่ละเอียดหนึกนุ่ม ผิวของพระมักจะปรากฏราดำหรือรารักจับอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี พุทธศิลปะ ก็อ่อนช้อยพลิ้วไหวงดงาม

ในด้านพุทธคุณก็ครบเครื่อง ทั้งเมตตามหานิยม เจริญก้าวหน้า โชคลาภโภคทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกันพระกำแพงเม็ดขนุน แต่เป็นพระหายากสักหน่อย สนนราคาก็สูงอยู่ครับ พระปลอมแปลงเลียนแบบนั้นก็มีทำกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมและราคาสูง เวลาจะเช่าหาก็ควรที่จะพิจารณาดูดีๆ สักหน่อย

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกำแพงกลีบจำปา จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมเพื่อเป็นการอนุรักษ์พระกรุ พระเก่าที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28506344763768_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
พระร่วงหลังลายผ้า พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนหลังลายผ้าเป็นพระที่พบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นพระที่จัดอยู่ชุดพระยอดขุนพล นอกจากพระพิมพ์ใหญ่ที่เราพบเห็นในรูปอยู่บ่อยๆ แล้วยังมีพบที่เป็นแบบพิมพ์เล็กปะปนอยู่ด้วยในกรุนี้ ความนิยมก็เป็นรองพระพิมพ์ใหญ่ ลงมาเล็กน้อย พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงยืนพิมพ์ใหญ่

พระร่วงหลังลายผ้าเป็นพระร่วงยืนที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีเป็นพระร่วงยืนสนิมแดง กรุแรกที่พบในเมืองไทย ประมาณปี พ.ศ.2430 มีคนแอบขุดกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ได้พบ พระเครื่องแบบต่างๆ มากมาย และพระร่วงยืนเนื้อชินสนิมแดงก็พบปะปนอยู่ในกรุนี้ด้วย ต่อมาก็ยังมีการขุดพบอีก 2-3 ครั้งในปีต่อๆ มาเฉพาะพระร่วงยืนเนื้อชินสนิมแดงที่พบด้านหลังจะมีรอยคล้ายผ้าหยาบๆ อยู่ที่ด้านหลัง จึงตั้งชื่อกันในสมัยนั้นว่าพระร่วงหลังลายผ้า นอกจากจะพบพระพิมพ์ใหญ่แล้วก็ยังพบพระที่มีลักษณะเดียวกันแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กกว่า ก็เรียกกันว่าเป็นพิมพ์เล็ก เนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกัน

สำหรับพระร่วงยืนพิมพ์เล็กนั้นส่วนใหญ่จะพบว่าด้านหน้าของพระส่วนด้านบนสุด จะมีติ่งเนื้อเกินเป็นตุ่มอยู่ที่ปลายยอดแหลม บ้างก็เลยเรียกว่าพระร่วงยืนพิมพ์เล็กปลายติ่ง พระร่วงยืนพิมพ์เล็กบางองค์ที่ไม่มีปลาย เป็นติ่งก็มี แต่ส่วนใหญ่จะพบว่ามีปลายเป็นติ่งอยู่ปลายด้านบน พระร่วงยืนพิมพ์เล็ก ในส่วนของพระพักตร์จะดูเสี้ยมๆ กว่าพระพิมพ์ใหญ่

พระร่วงหลังลายผ้านี้นอกจากพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วต่อมาก็ยังมีผู้พบที่กรุช่างกลอีกด้วยแต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระของกรุช่างกลจะบางๆ กว่าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพิมพ์ของพระก็เหมือนๆ กัน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมๆ กันแต่อาจจะแยกบรรจุก็เป็นได้

พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรีนั้นพุทธคุณจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาด อำนาจบารมี ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก สนนราคาก็ค่อนข้างสูง สำหรับพระพิมพ์ใหญ่ก็เป็นรองพระร่วงหลังรางปืนไม่มากนัก ส่วนพิมพ์เล็กก็ย่อมเยา ลงมาจากพระพิมพ์ใหญ่ แต่ก็หายาก เช่นกันครับ

พระร่วงยืนหลังลายผ้าเป็นพระที่มีศิลปะแบบขอม อายุการสร้างสันนิษฐานว่าตรงกับยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของอาณาจักรขอมโบราณ ประมาณศตวรรษที่ 18 พระร่วงหลังลายผ้าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่ก็หาแท้ๆ ยากสักหน่อย ในส่วนของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว และมีหลากหลายฝีมือ การเช่าหาก็ควรมีที่ศึกษาหาข้อมูลและควรมีที่ปรึกษาหรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ จะได้ไม่ผิดหวังครับ เรื่องพระจริงพระปลอม พระแท้ พระไม่แท้นี้มีปัญหากันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็ตาม ดังนั้นสำหรับผู้ที่จะหาเช่าบูชาก็ต้องดูให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังลายผ้าพิมพ์เล็กกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13431375349561_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระโคนสมอเนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระโคนสมอส่วนใหญ่เท่าที่เราพบนั้นจะเป็นพระเนื้อดินเผา จนนึกไปว่าพระโคนสมอมีแต่เนื้อดินเผา แต่ความจริงที่เป็นเนื้อชินเงินก็มี แต่พบน้อยมาก สันนิษฐานว่าน่าจะชำรุดผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงพบที่เป็นเนื้อชินเงินน้อยมาก และพระเนื้อชินเงินก็จะมีขนาดเล็กกว่าพระเนื้อดินเผามาก ขนาดสามารถนำมาห้อยคอได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาในอดีต แต่ก็มีพบน้อย สนนราคาก็สูงกว่าพระเนื้อดินเผามาก

ทำไมถึงเรียกว่าพระโคนสมอ และพระโคนสมอที่แท้จริงเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยใด หลายๆ ท่าน ก็อาจจะทราบดี แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมา

ผมจึงขออนุญาตเล่าเรื่องพระโคนสมออีกครั้งนะครับ ในปี พ.ศ.2430 เมื่อคราวที่ราชการจะตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เป็นแม่กองซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เจ้าคุณวรพงศ์ฯ ได้พบพระเป็นจำนวนมากประมาณ 13 ปี๊บ อยู่บนเพดานท้องพระโรงพระที่นั่งศิวโมกข์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ของพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้สั่งให้ชะลอพระทั้งหมดมาพักไว้ ณ โคนต้นสมอพิเภก ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล พระดังกล่าวได้ถูกทิ้งไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกเป็นเวลานานพอสมควร จนต่อมาทางการจึงได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ และมีพระบางส่วนที่มีการแบ่งให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งใกล้ชิดเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล และการที่มีผู้มาพบพระ ดังกล่าวที่โคนต้นสมอพิเภก ซึ่งท่านเจ้าคุณวรพงศ์นำพระไปชะลอไว้ จึงเรียกชื่อของพระตามสถานที่พบว่า "พระโคนสมอ" นอกจากนี้ในครั้งหลังๆ ที่มีการขุดซ่อมแซมต่างๆ ภายในพระราชวังบวรสถานมงคลก็ยังได้พบพระโคนสมอที่เป็นแบบเนื้อดินอยู่อีกเนืองๆ

ที่มาที่ไปของพระโคนสมอนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนำพระดังกล่าวมาจากวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคราวที่พระองค์ท่านเสด็จไปปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราม เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในส่วนที่พบในครั้งอื่นๆ ก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกหลายวัดในองค์พระเจดีย์ และที่ในกรุงเทพฯ ก็มีพบบ้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการชะลอมาจากพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน แต่โดยส่วนมากจะพบแต่พระโคนสมอแบบเนื้อดินแทบทั้งสิ้น ซึ่งพระที่พบแบบเนื้อดินนั้นจะเป็นพระปางประจำวันเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่และพบพระที่มีการลงรักปิดทองล่องชาดกับพระที่ไม่ได้ปิดทองก็มี แต่พระที่มีการลงรักปิดทองจะมีภาษีกว่าในด้านสนนราคา

พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินนั้น เท่าที่รู้มาจะพบที่พระราชวังสถานมงคลเพียงแห่งเดียว ที่อื่นๆ นั้นยังไม่ทราบข้อมูล และพระเนื้อชินจะมีขนาดย่อมกว่าพระเนื้อดินมากโขอยู่เหมือนกันครับ ความนิยมจะนิยมพระเนื้อชินมากกว่าพระเนื้อดิน ในส่วนของศิลปะเท่าที่เห็นนั้น สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะแบบอยุธยายุคปลาย สังเกตง่ายๆ จากซุ้มของพระโคนสมอจะเห็นทำเป็นคล้ายเจดีย์ย่อมุมไม่สิบสอง ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาครับ พุทธคุณของพระโคนสมอนั้น ที่ประจักษ์กันมาก็ในด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระโคนสมอเนื้อชินเงินพิมพ์ห้อยพระบาท ซึ่งเป็นพิมพ์นิยม จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44460551357931_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหล่อหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พูดถึงเหรียญหล่อของวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ที่นิยมพระเครื่องก็คงจะ รู้จักกันดีว่าเป็นพระของหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาวได้สร้างไว้ ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนักและยังพอหาได้ แต่พุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ ชื่อวัดนางสาวก็เป็นชื่อที่น่าสนใจว่าทำไมจึงมีชื่อนี้ และก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจครับ

วัดนางสาวเป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในตอนที่เสียกรุง ครั้งที่ 2 ชาวบ้านที่หนีภัยสงครามได้มาอาศัยหลบภัยอยู่ภายในโบสถ์แห่งนี้ ในจำนวนนั้นมีสองสาวพี่น้องได้มาหลบทหารพม่าที่ออกลาดตระเวนอยู่เช่นกัน และได้อธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าถ้ารอดไปได้จะช่วยกันบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้ให้ดีขึ้น พร้อมจะสร้างวัดขึ้นใหม่ ปรากฏว่าพวกทหารพม่าก็จากไปโดยไม่ได้เข้ามาที่โบสถ์เลย หลังจากหมดภัยสงครามแล้วทั้งสองก็ได้สร้างบ้านเรือนอยู่ในบริเวณแถบนั้น และทำมาหากินจนพอมีหลักฐานมั่นคงแล้ว หญิงสาวผู้น้องจึงคิดจะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้ตามคำอธิษฐาน ส่วนพี่สาวคัดค้านว่าโบสถ์เก่าชำรุดทรุดโทรมมากคงจะซ่อมแซมไม่ไหว สร้างวัดขึ้นใหม่ดีกว่า แต่น้องสาวก็ยืนยันว่าจะซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่า

ต่อมาผู้เป็นพี่ได้แต่งงานและย้ายไปอยู่ที่อื่น และได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อวัด "กกเตย" ปัจจุบันไม่มีแล้วเนื่องจากน้ำกัดเซาะพังทลายไปหมด ฝ่ายน้องสาวยังครองตัวเป็นโสดและตั้งสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ยอมแต่งงานจนกว่าจะได้บูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่าให้สำเร็จ พร้อมกับสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ ต่อมาจึงได้ซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่าจนแล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงพร้อมใจให้ชื่อวัดว่า "พรหมจารี" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หญิงสาวผู้น้อง แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า "วัดน้องสาว" และต่อมากลายเป็นชื่อ "วัดนางสาว" จนกระทั่งปัจจุบัน

สำหรับโบสถ์เก่าของวัดนางสาวนั้น เป็นโบสถ์มหาอุดฐานสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบโบสถ์ในสมัยอยุธยา โบสถ์มหาอุดนั้นจะมีประตูทางเข้าในตัวโบสถ์เพียงด้านเดียวไม่มีหน้าต่าง แต่อากาศภายในตัวโบสถ์ก็จะเย็นสบายดี และมีแสงสว่างเพียงพอ โบสถ์มหาอุดนี้ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมากในเมืองไทย ภายในโบสถ์มีพระประธานคือหลวงพ่อมหาอุตม์ ประดิษฐานอยู่คู่กับวัดนี้

ที่วัดนางสาวนี้เมื่อครั้งที่หลวงพ่อแก้วเป็นเจ้าอาวาส ได้มีการสร้างพระหล่อแบบเหรียญหล่อไว้ เป็นที่นิยมและหวงแหนของชาวบ้านในแถบนี้ มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และเป็นที่นิยมของผู้นิยมพระเครื่องทั่วไป ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ สนนราคาก็ยังไม่แพงนัก อยู่ที่หลักพัน ของปลอมเลียนแบบก็มีนะครับ เวลาจะเช่าหาก็ควรศึกษาให้ดี หรือปรึกษาท่านผู้รู้ก่อนที่จะเช่าหาก็จะได้ไม่ผิดหวัง อะไรก็ตามที่มีราคารองรับก็ย่อมมีผู้ที่ไม่หวังดีทำปลอมเป็นธรรมดา

พระของหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว มีทั้งเป็นแบบพระปิดตา แบบ พระหลวงพ่อโต และแบบพระพุทธชินราช ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อแบบต่างๆ ของวัดนางสาวมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49258846706814_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นพระเนื้อดินเผาองค์เล็กๆ ในสมัยก่อนคนโบราณมักนิยมอมไว้ในปาก เวลาไปไหนมาไหนก็จะอมพระเม็ดน้อยหน่าไปด้วย ประสบการณ์ของพระเม็ดน้อยหน่าว่ากันว่าเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ตามแบบพระเมืองพิจิตรที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ คนรุ่นเก่าจะหวงแหนกันมาก

จังหวัดพิจิตรมีพระกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ส่วนมากก็จะพูดกันถึงพระที่มีขนาดเล็กจิ๋ว เรียกว่าเล็กพริกขี้หนูพุทธคุณคับแก้ว เด่นทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด และมักจะรู้จักกันดีก็คือพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พิมพ์ต่างๆ ซึ่งเป็นพระเนื้อชิน ที่มีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แต่พระกรุอีกอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาคู่กัน แต่เป็นเนื้อดินเผา ก็คือพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู คนในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการเลี่ยมพระแพร่หลายนัก พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู ซึ่งเป็นพระขนาดเล็กมาก จึงนิยมที่จะนำพระมาอมไว้ในปาก เวลาเดินทางไปไหนต่อไหนก็จะอมพระเม็ดน้อยหน่าไปด้วย แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ

พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู พบที่กรุเดียวกัน ที่กรุท่าฉนวน พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อพระมักเป็นสีดำสนิท ส่วนที่เป็นเนื้อออกแดงก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เนื้อพระของกรุนี้จะละเอียดหนึกนุ่ม ในเรื่องของพิมพ์พระนั้นพระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูจะพบน้อยกว่ามาก พระทั้งสองชนิดมีขนาดเท่าๆ กัน ผิดกันที่องค์พระ พระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูนั้นจะมีองค์พระผอมเรียวกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าอย่างเห็นได้ชัด พระเศียรเรียวแหลม จนเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ส่วนพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า จะมีลักษณะเล็กเรียวและมีสีดำคล้ายๆ กับเม็ดน้อยหน่า จึงเรียกกันมาแต่โบราณว่าพระเม็ดน้อยหน่า นอกจากพบที่กรุท่าฉนวนแล้ว ยังขุดพบที่กรุมะละกออีกด้วย พิมพ์พระจะคล้ายกัน พระของกรุมะละกอจะอวบอ้วนกว่าเล็กน้อย เนื้อพระของกรุมะละกอจะแกร่งกว่าของกรุท่าฉนวน และสีก็มักจะเป็นสีแดงอมเหลืองเป็นส่วนมาก

พระเม็ดน้อยหน่านี้นอกจากจะพบที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังพบที่จังหวัดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น กรุทางจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย และกรุทางอยุธยาก็เคยพบ พระเม็ดน้อยหน่าของจังหวัดอื่นๆ มักจะพบเป็นพระเนื้อดินเผาสีออกมาทางแดงเป็นส่วนใหญ่ องค์พระก็มีพุทธลักษณะคล้ายกัน แต่จะไม่เหมือนกันนัก เนื่องจากต่างแม่พิมพ์กันครับ

พระเม็ดน้อยหน่าที่มีชื่อเสียงนั้นเริ่มมาจากของกรุท่าฉนวนของพิจิตรก่อนเป็นปฐม เมื่อพบพระที่มีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเรียกว่าพระเม็ดน้อยหน่าตามๆ กันมา แต่จะมีชื่อกรุหรือจังหวัดนั้นๆ ต่อท้ายเพื่อให้รู้ว่าเป็นของกรุใด พระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูพบที่กรุท่าฉนวนเพียงแห่งเดียว ซึ่งปัจจุบันหายากและหวงแหนกันมากในคนยุคเก่าๆ เนื่องจากเชื่อกันว่านอกจากจะมีพุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังถือว่าดีทางด้านกันงูเงี้ยวเขี้ยวขออีกด้วยครับ และจำนวนพระที่มีน้อยกว่าจึงหายากมากในปัจจุบัน นานๆ จะได้พบเห็นกันสักที ส่วนมากก็จะอยู่กับคนรุ่นเก่าๆ ครับ

พุทธคุณคนรุ่นเก่าๆ ยกย่องว่าเป็นเลิศนัก และมักจะหวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู กรุท่าฉนวน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63367443945672_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
 พระร่วงกรุวัดปู่บัว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงโดยส่วนใหญ่มักจะนึกถึงพระประทับยืนปางประทานพร ที่เป็นพระปางประทับนั่งก็มี พระร่วงยืนของจังหวัดสุพรรณฯ ก็มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายกรุ และพระร่วงส่วนใหญ่ของจังหวัดนี้ก็จะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระร่วงยืนกรุหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเป็นเนื้อชินสนิมแดง ก็คือพระร่วงกรุวัดปู่บัว

วัดปู่บัวอยู่ที่ตำบลพิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี การพบพระของกรุนี้ก็พบโดยบังเอิญ โดยเมื่อราวปี พ.ศ.2475-2476 พระอาจารย์ใย เจ้าอาวาสวัดปู่บัวในสมัยนั้น มีความประสงค์จะทำทางเดินจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญให้สะดวกสบายขึ้น จึงขอแรงชาวบ้านตลอดจนพระเณรช่วยกันขุดดินทำทางให้ราบเรียบระหว่างทางมีเนินดินเล็กๆ อยู่เนินหนึ่ง จึงขุดให้ราบเรียบ พอขุดไปได้ไม่มากนักก็พบทรายจำนวนมาก ก็ช่วยกันขนออกไป หลังจากนั้นก็พบแผ่นหินปูอยู่ด้านล่างหลายแผ่น พองัดแผ่นหินขึ้นก็พบว่าภายใต้แผ่นหินมีพระพุทธรูปปางนาคปรกแกะจากหินทรายสีขาวอยู่หลายองค์ ลักษณะการวางเรียงเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อมลงมาประมาณ 40 องค์ ตรงกลางอยู่ในวงล้อมของพระพุทธรูป มีไหอยู่ใบหนึ่ง ภายในบรรจุพระเครื่องเป็นพระร่วงเนื้อชินสนิมแดงอยู่ประมาณ 300-400 องค์ได้

พระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบเป็นศิลปะแบบบายน งดงามมาก แต่พระเกือบทั้งหมดก็อันตรธานหายไปจากวัดปู่บัว กระจัดกระจายไปอยู่ที่ต่างๆ หลงเหลืออยู่ที่วัดประมาณ 4 องค์ ในส่วนของพระเครื่องก็มีชาวบ้านแบ่งๆ กันไปใครมาก็แจกๆ กันไป พระร่วงที่พบในไหจะมีอยู่ประมาณ 4 พิมพ์ คือพิมพ์เศียรโต พิมพ์แบบลพบุรี พิมพ์รัศมี และพิมพ์พระเนตรโปน

พระพิมพ์เศียรโต จะมีพบคล้ายๆ กันอีกหลายกรุในจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น กรุวัดราชเดชะ กรุวัดท่าเสด็จ เป็นต้น

พระพิมพ์แบบลพบุรี ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับของกรุลพบุรี

พระพิมพ์รัศมี ก็จะมีพบในกรุอื่นเช่นกัน คล้ายๆ กับของกรุหนองแจง

ส่วนพิมพ์พระเนตรโปนนั้นก็เรียกกันตามพุทธลักษณะที่เห็น และพระพิมพ์นี้จะพบเพียงแค่ของกรุวัดปู่บัวเท่านั้น

พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง คือมีไขขาวปกคลุม เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบสนิมแดงสีเข้มออกเลือดหมูอมลูกหว้าจับผิวเกือบทั้งองค์ สวยงาม ในส่วนของพุทธคุณเท่าที่สอบถามชาวบ้านที่มีประสบการณ์ต่างบอกว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน พระร่วงกรุวัดปู่บัวเป็นพระที่หวงแหนของชาวสุพรรณบุรีอีกอย่างหนึ่ง คนเฒ่าคนแก่หวงกันมาก

ในปัจจุบันพระร่วงกรุวัดปู่บัวนั้นหาแท้ๆ ยากแล้วครับ พระที่ทำปลอมเลียนแบบก็มีมาก หลากหลายฝีมือ เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ มีอะไรผิดพลาดจะได้คืนกันได้ไม่เสียใจภายหลังครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุวัดปู่บัว พิมพ์รัศมี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 04 มีนาคม 2563 15:57:29

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36180926942162_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่แสง รุ่นสุดท้าย

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านแก้ง ต.เขมราฐ มี พระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาด้านวิทยาคม อักขระ เลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลังเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัด กลับมาสู่มาตุภูมิจำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูอุดมรังสี

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา และยังเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองในห้วงเวลานั้น

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 109 ปี พรรษา 89

วันที่ 10 ก.พ.2563 นายชุติมันต์ พลบำรุง มีศักดิ์เป็นเหลน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นศรัทธาสร้างบารมี รุ่นสุดท้าย ก่อนปิดการสร้าง เพื่อรักษาธาตุขันธ์

เนื่องในโอกาสฉลองอายุวัฒนมงคล 109 ปี ในวันที่ 10 มี.ค.2563

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 99 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 199 เหรียญ, เนื้อนวโลหะเต็มสูตร (ลุ้นตอก 9 รอบ 29 เหรียญ) 199 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าลงยา (สีวันเกิด 7 สี คละสีละ 49 เหรียญ) 343 เหรียญ, เนื้อปลอกลูกปืน (ลุ้นตอก 9 รอบ 99 เหรียญ) 999 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวไฟ (ลุ้นตอก 9 รอบ 149 เหรียญ)

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนบาง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส

ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม ตรงกลางเหรียญมีอักขระ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์คาถารวมคาถา ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า รุ่นสร้างบารมี พ.ศ.๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ หลวงปู่แสงปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 20 ก.พ. หลังวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่จึงจะนำออกมาให้เช่าบูชา
   ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61629341708289_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นก้นลายเซ็น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะให้ความเคารพนับถือมาก และเชื่อมั่นในพุทธคุณที่จะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวงได้ จากประสบการณ์ต่างๆ ที่มีการบอกเล่ากัน ต่อๆ มาจนเป็นที่ประจักษ์ว่ามีผู้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ แล้วแคล้วคลาดปลอดภัยมาโดยตลอด และเขาเหล่านั้นก็ห้อย พระหลวงปู่ทวดไว้ในคอไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด วัดไหน ก็แคล้วคลาดปลอดภัยเช่นกัน หลวงปู่ทวดจึงเป็นพระที่มีคนศรัทธากันมากไม่เสื่อมคลาย

ในบรรดาพระเครื่องที่เป็นรูปหลวงปู่ทวดนั้นที่นิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นพระที่ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปลุกเสกไว้ โดยเฉพาะของวัดช้างให้ ซึ่งก็มีหลายรุ่นหลายพิมพ์ สนนราคาก็สูงเกือบทุกรุ่น ยิ่งพระสวยๆ ก็ยิ่งแพง พระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ที่พระพุทธรูปเหมือนชนิดห้อยคอที่นิยมและราคาสูงที่สุดก็คงจะไม่พ้นพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นเลขใต้ฐาน ที่ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นผู้ที่ดำริสร้างไว้ และขออนุญาตท่านอาจารย์ทิมสร้างและปลุกเสกให้ในปี พ.ศ.2505 จำนวนการสร้างประมาณหนึ่งพันองค์ เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสร้างพระวิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดที่วัดพุทธาธิวาส อ.เบตง ปัจจุบันราคาสูงมาก จำนวนจำกัด

ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มีความประสงค์ที่จะสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ท่านจึงสร้างพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดขึ้น โดยทำเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวดนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย และด้านใต้ฐานขององค์พระได้มีการเจาะเพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง พระรุ่นนี้จึงเป็นพระรูปเหมือนกริ่งเป็นรุ่นแรกของวัดช้างให้ และที่ใต้ฐานจะตอกอักษรไว้ 3 แถว บรรทัดที่หนึ่งตอกคำว่า "วิสัย โสภณ" ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ของท่านอาจารย์ทิม ลักษณะเป็นลายเซ็นของท่าน บรรทัดต่อมาเป็นคำว่า "หลวงปู่ทวด" บรรทัดสุดท้ายตอกคำว่า "วัดช้างให้" บางองค์ที่ตอกติดแค่ 2 บรรทัดก็มี เนื้อของพระรุ่นนี้เป็นเนื้อโลหะผสมแก่ทองแดง จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 องค์ พระรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อมอบตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนในการสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ

พระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นนี้มีจำนวนมากหน่อยจึงมีผู้ที่ได้รับมาบูชากันทั่วหน้าในปัตตานี เป็นพระรูปเหมือนที่นิยมรองลงมาจากรุ่นก้นลายเซ็น ปัจจุบันหายากแล้วและมีของปลอมระบาดอยู่พอสมควร แต่ก็ปลอมได้ไม่เหมือนนัก ตัวตอกอักษรของพระรุ่นนี้ ถือเป็นโค้ดได้เป็นอย่างดี และไม่สามารถปลอมได้เหมือนครับ พระรุ่นนี้จึงสามารถแยกแยะพระที่แท้กับพระไม่แท้ได้ชัดเจน พระสวยผิวเดิมๆ ราคาสูงมากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นก้นลายเซ็น วัดช้างให้ ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86914058940278_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระลีลาวัดถ้ำหีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นศิลปะที่งดงามมาก พระที่พบในจังหวัดสุโขทัยส่วนใหญ่จะพบเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่และงดงามมาก แต่ที่เป็นพระเครื่องกลับพบน้อย ส่วนใหญ่พระเครื่องปางลีลาจะพบในจังหวัดอื่นๆ เสียมากกว่า

พระเครื่องปางลีลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุโขทัยก็คือพระลีลากรุวัดถ้ำหีบ ซึ่งเป็นพระปางลีลาที่มีศิลปะงดงาม แต่ก็มีขนาดค่อนข้างเขื่อง พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่เป็นพระเนื้อชินเงินก็มีพบบ้างแต่จำนวนไม่มากนัก เราก็จะรู้จักพระลีลาวัดถ้ำหีบที่เป็นพระเนื้อดินเผาเสียมากกว่า ส่วนพิมพ์พระก็จะมีพิมพ์ที่พบเห็นทั่วๆ ไป แต่ก็มีอีกพิมพ์หนึ่งที่ด้านข้างขององค์พระมีเม็ดไข่ปลาอยู่รอบๆ องค์พระพระพิมพ์นี้จะพบน้อยมาก เราจะเคยชินกับพระลีลาวัดถ้ำหีบที่เป็นแบบพิมพ์ธรรมดาเสียเป็นส่วนใหญ่

พระลีลาถ้ำหีบนอกจากที่พบที่วัดถ้ำหีบแล้วก็ยังมีการพบที่วัดอื่นอีกบ้างเช่น พบที่วัดเจดีย์งาม วัดเขาพระบาทน้อย เป็นต้น แต่ก็พบจำนวนไม่มากนัก พระลีลาถ้ำหีบส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผาเนื้อค่อนข้างละเอียด องค์พระส่วนใหญ่ก็จะติดพิมพ์ชัดเจน มีรายละเอียดของพระพักตร์ หูตาปากคิ้วคางชัดเจนสวยงาม ในส่วนของพระหัตถ์ก็จะปรากฏนิ้วคมชัดสวยงามทั้ง 2 ข้าง องค์พระห่มจีวรแนบเนื้อปรากฏริ้วจีวรงดงาม ประทับยืนบนฐานเขียงเรียบๆ ถ้าถามว่าพระเครื่องลีลาที่สวยงามแสดง ออกทางด้านศิลปะสุโขทัยเต็มรูปแบบก็ต้องพระลีลาวัดถ้ำหีบนี่แหละครับ

พระลีลาถ้ำหีบเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเขื่องหน่อย ส่วนสูงประมาณ 80 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม.ในสมัยก่อนนิยมนำมาเลี่ยมห้อยคอกันครับ พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม ต่อมาในยุคหลังๆ มักจะนิยมพระขนาดเล็กๆ ไม่ค่อยเห็นใครนำมาห้อยคอกันเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่ก็จะเก็บบูชาไว้กับบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล

ในปัจจุบันก็ไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ นะครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควร ส่วนของพระปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้วเช่นกัน เนื่องเป็นพระที่นิยมกันมาแต่โบราณ แต่ก็ทำได้ไม่ค่อยเหมือนเท่าไรนัก พระลีลาวัดถ้ำหีบเป็นพระที่มีรายละเอียดคมชัดสวยงาม และลายเส้นของริ้วจีวรจะเล็กละเอียดพลิ้วงดงาม ของปลอมก็จะทำได้ไม่เหมือน ส่วนใหญ่พระปลอมจะไม่มีรายละเอียดของริ้วจีวร เพราะถอดพิมพ์ไม่ติดหรือทำก็แข็งเกินไป เพราะลีลาวัดถ้ำหีบบางองค์ที่ผิวสมบูรณ์ก็ดูคล้ายๆ กับพระใหม่ แต่ความจริงสังเกตดูดีๆ ใช้แว่นขยายสัก 10 เท่าก็พอจะมองเห็นความเสื่อมของผิวพระตามธรรมชาติได้ แต่ของปลอมจะดูตึงๆ และดูใหม่ ไม่เห็นความเสื่อมของผิวพระ

พระลีลาวัดถ้ำหีบเป็นพระเก่าที่มีศิลปะสุโขทัยที่งดงามทรงคุณค่าแก่การเก็บรักษา และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระลีลากรุวัดถ้ำหีบจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มีนาคม 2563 14:23:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72064147061771_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระกรุวัดสำปะซิว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อดินเผากรุหนึ่งของสุพรรณบุรีที่มีชื่อเสียง คือ กรุวัดสำปะซิว ที่มีการขุดพบโดยบังเอิญ พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาค่อนข้างแกร่ง ต่อมามีผู้นำไปใช้ห้อยคอเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็ค่อนข้างหายากพอสมควรครับ

วัดสำปะซิวนี้ เป็นชื่อเรียกพระกรุกรุหนึ่งว่าพระกรุวัดสำปะซิว ซึ่งความเป็นจริงการพบพระกรุนี้ไม่ได้พบภายในวัดสำปะซิว แต่มีผู้ขุดพบพระเครื่องที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ผู้ที่พบก็คือ นายดี มาแสง บ้านอยู่ไปทางทิศเหนือของวัดสำปะซิว ได้ขุดดินบริเวณตรงริมรั้วบ้านของตัวเอง และบังเอิญไปพบพระเครื่องเนื้อดินเผาเข้าจำนวนหนึ่ง ในส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งหลายหนเช่นกัน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเคยเป็นแหล่งชุมชนสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน สาเหตุที่เรียกพระกรุเนื้อดินกรุนี้ว่า "กรุวัดสำปะซิว" ก็เนื่องจากหลังที่พบพระเครื่องดังกล่าว และมีการนำพระออกมาสู่นักสะสมและถามถึงที่มา ก็มักจะตอบว่า "พระกรุวัดสำปะซิว" ซึ่งเป็นย่านที่มาของการพบพระเครื่อง พระเครื่องของกรุนี้จึงเป็นชื่อเรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

พระเครื่องที่พบในครั้งนั้นมีพระพิมพ์ต่างๆ คือ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระพิมพ์ท่ามะปรางค์หรือบางท่านในสมัยก่อนเรียกว่า นางสำปะซิวก็มี พระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ เป็นต้น พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อหยาบมักปรากฏเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระ เป็นพระประเภทเนื้อแกร่ง สีที่พบมักจะเป็นสีอิฐ สีนวลๆ และสีดำซึ่งเป็นสีที่พบน้อยกว่าสีอื่นๆ

พระกรุวัดสำปะซิว ที่พบเห็นกันมากหน่อย และเป็นพิมพ์นิยมของกรุนี้ก็คือ พิมพ์ซุ้มนครโกษา ลักษณะคล้ายๆ กับพระซุ้มนครโกษาของลพบุรี สันนิษฐานว่าคงสร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งที่นิยมก็คือพิมพ์ท่ามะปรางค์ พุทธลักษณะก็คล้ายกับพระท่ามะปรางค์ ของทางจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร แต่จะมีพุทธลักษณะต้อๆ กว่าของกรุอื่นๆ ส่วนมากมักจะมีปีกกว้างออกมา ส่วนพิมพ์ซุ้มปรางค์และพิมพ์นารายณ์ทรงปืนก็สร้างล้อศิลปะลพบุรีเช่นกัน พิจารณาศิลปะโดยรวมของพระกรุนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในตอนปลายสมัยสุโขทัยต่ออยุธยาตอนต้น

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระกรุนี้มากนัก นับวันค่อนข้างจะหายากพอสมควรครับ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนักครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกรุสำปะซิว พิมพ์ซุ้มนครโกษาและพิมพ์ท่ามะปรางค์จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74123781546950_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระขุนแผน หลวงปู่เสวียน

หลวงปู่เสวียน จารุธัมโม เจ้าอาวาสวัดกระมัลพัฒนา ต.โพธิ์วงศ์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์อีสานใต้

ปัจจุบันสิริอายุ 76 ปี พรรษา 56

มีนามเดิมว่า เสวียน จอมรัตน์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 ก.พ.2487 ชาว ต.โพธิ์วงศ์ อ.ขุนหาญ โดยกำเนิด

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อ พ.ศ.2506 ขณะอายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดอรุณสว่าง ต.ไพร อ.ขุนหาญ มีพระครูวิภัชธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาจันทร์ ขันติธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการทรัพย์ ปารคามี พระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาที่วัดบ้านเกิดนาน 2 ปี จึงออกธุดงค์มุ่งสู่กรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดศรัทธาธรรม ได้ระยะหนึ่ง ก่อนเดินธุดงค์ไปประเทศเพื่อนบ้านชายแดนกัมพูชา พบกับฆราวาสผู้มีวิชาอาคมในสมัยนั้น จึงขอเล่าเรียนวิชาด้วย

ช่วงที่จำพรรษาที่วัดศรัทธาราม ย่านสาธุประดิษฐ์ ศึกษาข้อวัตรและธรรมวินัยจากเจ้าคุณพระมงคลโสภิต วัดรัตโสภณ จ.ไพลิน ประเทศกัมพูชา เดินทางไปที่วัดดังกล่าวในพ.ศ.2511

จำพรรษาที่กัมพูชานานกว่า 30 ปี พ.ศ.2545 จึงธุดงค์กลับมาตุภูมิ สร้างวัดกระมัลพัฒนา ซื้อที่ดิน 30 ไร่ สร้างอุโบสถ พัฒนาวัดเจริญสืบมา

เดือน ก.พ.2563 คณะศิษย์ "กล้วยอุบล พระใหม่" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นพระขุนแผน รุ่นพรายแม่เศรษฐี (แม่หญิง) เพื่อสร้างซุ้มประตูโขงวัดกระมัลพัฒนาให้แล้วเสร็จ

จัดสร้างมีเนื้อบูชาครูลองพิมพ์ 39 องค์, ขุนแผนลุ้นเซอร์ไพรส์ เนื้อทูโทนราชพฤกษ์ 99 องค์, เนื้อนากกระยาสารท, เนื้อเทาเทวา, เนื้อแดงสุริยะ, เนื้อเหลืองจันทรา, เนื้อเขียวมรกต, เนื้อม่วงเผือก, เนื้อฟ้าเทอร์ควอยส์, เนื้อดำนิลกาฬ, เนื้อขาวสมเด็จ ชนิดละ 199 องค์, เนื้อรวมมวลสาร 1,109 องค์ และลูกอมเศรษฐีพรายแม่หญิง 399

ด้านหน้า มีพระพุทธในท่านั่งขัดสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ผสมมวลสาร อาทิ ผงขี้เถ้า 7 เมรุ, ดิน 7 โป่ง, ขี้ตะไคร้ 7 โบสถ์, เพชรหน้าทั่ง, ผงเถ้ากระดูกแม่พรายหญิง, พลอยแดงเสกหลายวาระ, เม็ดพระธาตุ, ว่าน 108 และเม็ดมวลสารหลากสี เป็นต้น

ด้านหลัง มีรูปเหมือนเครื่องอัฐบริขาร บาตร ร่ม กาน้ำ ถัดมามียันต์อักขระสลักไว้ ด้านล่างสุดฝังตะกรุดแผ่นทอง มีนัมเบอร์และตอกโค้ดเป็นรูปบาตร 1 คู่

มีพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ วาระแรก ที่พุทธอุทยานธรรมวัดพระธาตุจังเกา พระธาตุวิหาร 959 ปี อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ มีพระเกจิชื่อดัง 5 รูปอธิษฐานจิต ก่อนที่หลวงปู่เสวียนเสกเดี่ยวนาน 7 วัน 7 คืน วาระสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ก.พ.
    ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22626533152328_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่ผอง อุชุจาโร

หลวงปู่ผอง อุชุจาโร วัดป่าแสงธรรม อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร พระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 39

เกิดเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2476 ที่ ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ย่างเข้าวัยหนุ่มนุ่งขาวห่มขาวปฏิบัติธรรมอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี นานหลายปี ซึ่งหลวงปู่ขาว เมตตาอบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางสายพระป่าให้จนมีความชำนาญ

จนถึงปี พ.ศ.2524 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พระอุโบสถวัดพิศาลรัญญาวาส ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมีพระครูศรีธรรมคุณาราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิเศษธรรมาภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระทวีศักดิ์ สิริธมฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "อุชุจาโร" แปลว่าผู้ประพฤติเที่ยงตรง

จำพรรษาปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่กับหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล 1 พรรษา ก่อนกราบลาหลวงปู่ขาว ผู้เป็นพระอาจารย์ออกวิเวกตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน มีโอกาสฝึกฝนกัมมัฏฐานกับพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลายรูป

ย่างเข้าช่วงปัจฉิมวัย เดินทางกลับมา จ.สกลนคร บ้านเกิด บรรดาญาติโยมชาวบ้านดงยาง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร กราบนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่ารกร้างใกล้หมู่บ้าน ปัจจุบัน คือ วัดป่าแสงธรรม โดยร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านพัฒนาสถานที่แห่งนี้จนได้รับการยกฐานะจากที่พักสงฆ์ขึ้นเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ในปี พ.ศ.2562 วัดป่าแสงธรรมมีโครงการจัดสร้างพระสีวลีสูงกว่า 2 เมตร และศาลาสำหรับประดิษฐานพระสีวลี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมากญาติโยมและคณะศิษย์หลวงปู่ผอง ที่มีจิตอันเป็นกุศล นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ผองเพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างพระสีวลีและศาลาให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่ผอง อุชุจาโร

ด้านหลังบนสุดเขียนว่าศิษย์สร้างถวาย บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปพระสีวลี ส่วนบริเวณพื้นเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขลำดับการสร้าง พร้อมตอกตัวอักษรคำว่า รวย ที่ใต้รูปพระสีวลี มีตัวเลข ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่ขอจัดสร้าง

จำนวนสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงินลงยาแดง 31 เหรียญ อัลปาก้าลงยาน้ำเงินจีวรเหลือง 69 เหรียญ อัลปาก้า 39 เหรียญ ทองแดงแจกในพิธี 500 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นเมื่อเดือนม.ค.2563 โดยพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียง
    ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86715939765175_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมมีอยู่หลายพิมพ์ที่มีลักษณะพิมพ์คล้ายๆ กับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ซึ่งคล้ายกันมากจนแทบจะเหมือนกันเลย แล้วจะแยกได้อย่างไรว่าเป็นพระของวัดไหนกันแน่ ถ้าพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมที่เป็นพระกรุเก่าและไม่มีคราบกรุเลย

ครับเรื่องการพิจารณาพระว่าใช่หรือไม่โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมกับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ นั้น เขามีหลักในการพิจารณาที่ระบุได้แน่ชัดเช่นเดียวกันกับการพิจารณาว่าเป็นพระแท้ใช่หรือไม่ ด้วยการพิจารณาร่องรอยการผลิต พระสมเด็จฯของทั้ง 2 วัดเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ทั้งสิ้น และก็มีระยะเวลาการสร้างก็ไล่เลี่ยกัน แม่พิมพ์บางแม่พิมพ์ก็คล้ายกันมาก แต่ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่ในขั้นตอนการผลิต จึงทำให้สามารถแยกแยะได้ชัดเจน

พระสมเด็จของกรุวัดบางขุนพรหมนั้นเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นพระที่สร้างบรรจุกรุ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่มักจะปรากฏให้เห็นก็คือคราบกรุ ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ ไม่ได้ถูกบรรจุกรุแต่สมมติพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ที่ไม่มีคราบกรุจับที่ผิวของพระล่ะและโดยเฉพาะพระสมเด็จบางขุนพรหม บางแม่พิมพ์ที่มีพิมพ์คล้ายๆ กัน เท่าที่ทราบพระสมเด็จของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีการลักลอบนำออกมาจากองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้ไม่นาน ที่เรียกกันว่า "ตกเบ็ด" ผมคงยังไม่อธิบายรายละเอียดของการตกเบ็ดในวันนี้นะครับ และนอกจากนี้ก็ยังมีการลักลอบเจาะองค์พระเจดีย์เพื่อนำพระออกมาอีก มีกันหลายครั้ง พระสมเด็จที่ออกมาจากกรุในครั้งแรกๆ จะไม่มีคราบกรุ ผิวพระก็จะเหมือนๆ กับพระของวัดระฆังฯ แม้แต่เนื้อหาของพระก็จะคล้ายๆ กัน ต่อมาหลังจากน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2485 วัดบางขุนพรหมก็ถูกน้ำท่วมด้วย องค์พระเจดีย์ก็ถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน ทำให้พระที่อยู่ในองค์พระเจดีย์มีน้ำท่วมขังและพระแช่น้ำพระที่ถูกลักลอบนำออกจากเจดีย์ก็จะปรากฏคราบกรุขึ้นหนาที่ผิวพระที่ขึ้นจากกรุหลังจากปี พ.ศ.2485 จึงมีคราบกรุจับที่ผิวพระเห็นได้ชัดเจนจนถึงปี พ.ศ.2500 ได้มีการเปิดกรุนำพระออกมาเป็นทางการ พระเหล่านี้ก็มักจะเรียกกันว่าพระกรุใหม่แยกกันโดยคราบกรุ

ทีนี้เรามาพูดกันถึงพระกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุและเนื้อหาจัดแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ โดยเฉพาะพระที่มีแบบพิมพ์คล้ายๆ กันนั้น จะแยกได้อย่างไร สำหรับพระสมเด็จบางขุนพรหมที่มีแบบพิมพ์เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นมีไม่กี่พิมพ์นัก คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซมบางแม่พิมพ์ และพิมพ์เกศบัวตูมหนึ่งแม่พิมพ์เท่าที่มีการศึกษาแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจากท่าน ผู้อาวุโสของสังคมพระเครื่องสืบต่อกันมานั้น สามารถแยกได้ชัดเจน เนื่องจากพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้น ขอบแม่พิมพ์จะยกสูงขึ้นกว่าของวัดระฆังฯ อย่างเห็นได้ชัดทุกแม่พิมพ์ ซึ่งก็ได้เปรียบเทียบดูหลายๆ องค์หลายๆ พิมพ์ก็เป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าสิ่งที่เห็นนี้เป็นขั้นตอนการผลิตอย่างหนึ่งในตอนนั้น ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าการสร้างพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้นมีเวลาการสร้างจำกัดเพื่อนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ และให้ทันกำหนดสมโภชพระเจดีย์ จึงมีการแกะแม่พิมพ์เพิ่ม และตกแต่งแม่พิมพ์เดิมบ้างบางแม่พิมพ์

ขั้นตอนการพิมพ์พระสมเด็จในสมัยนั้น เมื่อนำพระออกจากแม่พิมพ์แล้วต้องตัดขอบอีกครั้ง ดังนั้นจึงทําเส้นขอบให้เห็นได้ชัดเพื่อให้การตัดขอบเรียบร้อยและเร็วขึ้น จึงเซาะขอบแม่พิมพ์ให้ลึกทำให้พอพิมพ์พระออกมาก็จะเห็นว่าเป็นเส้นสันนูนชัดเจนเพื่อสะดวกในการกำหนดในการตัดขอบ ในสมัยก่อนท่านผู้อาวุโสจะสอนว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมจะมีขอบปลิ้นมาด้านหน้า ก็เป็นจุดสังเกตร่องรอยการผลิตได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง นอกจากร่องรอยการผลิตที่เห็นได้จากพระสมเด็จบางขุนพรหมที่กล่าวมาเพียงจุดเดียวนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าร่องรอยการผลิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของการพิจารณาพระ แต่พระสมเด็จบางขุนพรหมนั้นก็ไม่ได้มีเพียงจุดเดียวที่ใช้ในการพิจารณาว่าใช่หรือไม่ ยังมีอีกมากที่เป็นร่องรอยการผลิตเรียกว่าก็มีเกือบทั้งองค์ครับ

ผมยกตัวอย่างมาเพียงจุดเดียวก็เพื่อให้เห็นว่าการพิจารณาพระเครื่องนั้นเขาพิจารณาพระว่าใช่หรือไม่ จากร่องรอยการผลิต และก็ใช้กับพระทุกประเภททุกชนิด แต่ร่องรอยการผลิตนั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละอย่างไป การพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือไม่นั้นมีเหตุและผลประกอบเสมอ และสามารถพิสูจน์ได้จากหลักความเป็นจริงไม่ใช่ยกขึ้นมาลอยๆ หรืออุปโลกน์ขึ้นมาโดยไร้เหตุผลหรือขัดจากความเป็นจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จากการศึกษาฝึกฝนใช้เหตุผล ศึกษาจากผู้ที่มีความรู้จริงที่เขาแนะนำให้

การศึกษาเรื่องพระเครื่องในการพิจารณาพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้น ต้องศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ ถ้าไม่เคยเห็นองค์พระจริงตามที่ศึกษามา ก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าตามทฤษฎีที่เรียนรู้มานั้นเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดกรุวัดบางขุนพรหม แม่พิมพ์ที่คล้ายกับของวัดระฆังฯ มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 เมษายน 2563 16:02:02
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20962173160579_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระปรุหนัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินของอยุธยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังชนิดหนึ่งก็คือพระปรุหนัง และปรุหนังก็เป็นพระชนิดหนึ่งที่หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ ท่านเคยกล่าวกับลูกศิษย์ของท่านว่าเชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นกับตามาแล้ว ปัจจุบันจะหาพระปรุหนังแท้ๆ ที่สมบูรณ์ยากมากครับ

พระปรุหนังเป็นพระที่พบแต่เนื้อชินเท่านั้น กรุที่พบก็มีอยู่ด้วยกันหลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดพุทไธศวรรย์ กรุวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุวัดปราสาท เป็นต้น และพระทั้งหมดที่พบก็เป็นเนื้อชินเพียงอย่างเดียว การที่ตั้งชื่อพระปรุหนังนั้นก็เนื่องจากองค์พระเป็นแบบเนื้อชินที่เทบางมาก และองค์พระจะโปร่งเป็นลายฉลุตามลวดลายสวยงาม ซึ่งองค์พระจะมีส่วนประกอบของซุ้ม และมีพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ยืนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ระหว่างลวดลายต่างๆ จะทะลุโปร่งสวยงาม คล้ายการฉลุลายของหนัง ก็เลยเรียกกันว่า พระปรุหนัง

พระปรุหนังก็มีการพบอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ที่นิยมที่สุดก็คือพิมพ์บัวเบ็ด ที่ฐานบัวจะเป็นเส้นปลายโค้งคล้ายตะขอเบ็ด ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งฐานบัวจะเป็นเพียงขีดเส้นเฉยๆ ก็เรียกกันว่าเป็นพิมพ์ก้างปลา ค่านิยมจะเป็นรองพิมพ์บัวเบ็ด นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์ขนมต้มที่พบของกรุวัดปราสาทอีกแต่ก็พบน้อย พิมพ์ปรุหนังเดียว คือจะมีเพียงองค์พระประธานเท่านั้น ไม่มีพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร พระปรุหนังที่เป็นแบบปางลีลาก็มีแต่หายากมากพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น

พระปรุหนังแม้จะพบอยู่หลายกรุก็ตาม แต่พระที่พบส่วนใหญ่จะชำรุดเสียหาย เนื่องจากผุพังด้วยสนิมกัดกินบ้าง หักเสียหายไปบ้างเนื่องจากองค์บางมาก และยังฉลุโปร่งอีกจึงทำให้พระชำรุดไปเสียมากตั้งแต่พบในกรุแล้ว ส่วนที่นำมาใช้กันก็ทำให้พระชำรุดไปอีกก็มาก คนในสมัยก่อนคิดวิธีรักษาไม่ให้พระชำรุดเวลานำมาห้อยคอ ด้วยการนำไม้แผ่นมาเจาะลงไปให้เป็นรูปองค์พระ และนำมาติดฝังลงไปในไม้ที่แกะไว้ และยึดด้วยยางไม้ พบเห็นพระที่เจาะฝังในไม้ในภายหลังจากคนโบราณทำไว้ก็มี

พระปรุหนังเป็นพระที่มีศิลปะอู่ทองยุคปลายหรืออยุธยายุคต้น และเป็นพระที่โชว์ฝีมือการเทเนื้อโลหะชั้นสูงทีเดียว เนื่องจากเป็นการเทโลหะที่บางมาก และเป็นลวดลายฉลุโปร่งอีกด้วย ถ้าฝีมือไม่ถึงโลหะจะวิ่งไม่เต็มพิมพ์ ดังนั้นต้องใช้ฝีมือชั้นสูงในการเทโลหะ สำหรับพระปรุหนังแม้ว่าจะเป็นที่เทบางมาก แต่ก็มีรายละเอียดขององค์พระชัดเจนไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของพระพักตร์ เส้นจีวร เส้นซุ้ม ฐานบัว คมชัดเจนทุกสัดส่วน นับว่าเป็นพระที่มีศิลปะสวยงามฝีมือการเทโลหะชั้นเยี่ยมทีเดียวครับ

นอกจากศิลปะองค์พระจะสวยงามแล้ว พุทธคุณของพระปรุหนังนั้นก็ถือว่ายอดเยี่ยมเช่นกัน เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ขนาดหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติออกมารับรองว่าเชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นมากับตา ก็นับว่าไม่ธรรมดาแน่ครับ นอกจากนั้นประสบการณ์ต่างๆ ของผู้ที่เคยห้อยพระปรุหนังต่างก็ว่าสุดยอดเช่นกันครับ

ปัจจุบันพระปรุหนังแท้ๆ ที่สวยสมบูรณ์นั้นหายากมากครับ สนนราคาสูง ส่วนใหญ่มักชำรุดบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้ผมนำรูปพระปรุหนังพิมพ์บัวเบ็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19551371865802_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่เฉลิม

พระครูวินิตปัญญาคุณ หรือ หลวงปู่เฉลิม ผลปัญโญ รองเจ้าคณะอำเภอเขาฉกรรจ์ และเจ้าอาวาสวัดพวงนิมิต ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เทพเจ้าแห่งเขาฉกรรจ์

สิริอายุ 76 ปี พรรษา 51

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อทอง รัตนสาโร อดีตเจ้าคณะอำเภอสระแก้ว วัดสระแก้ว ต.บ้านแกง อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี

มีนามเดิมว่า ฉลอง ของนา เกิดวันที่ 28 ธ.ค.2487 เป็นชาวบ้าน ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์

อายุ 24 ปี พ.ศ.2512 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดราษฎร์นิมิต อ.เมือง จ.สระแก้ว มีหลวงพ่อทอง รัตนสาโร หรือ พระครูรัตนสราธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทอง อุปัชฌาย์นาน 7 ปี จนแตกฉานและช่ำชอง ก่อนไปเรียนวิชามหาอุดกับหลวงพ่อมี วัดราชนิมิต (หนองปรือ) ซึ่งเรียนทำปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋ พระเกจิชื่อดังวัดสัตหีบ

พ.ศ.2518 จำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านหนองอีพวง ป่ารกทึบไม่มีพระสงฆ์ ศึกษาสรรพวิชาที่วัดเขาฉกรรจ์

พ.ศ.2534 ก่อตั้งวัดพวงนิมิต

พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ในราชทินนามที่ พระครูวินิต ปัญญาคุณ

ด้านวัตถุมงคลลูกศิษย์จัดสร้างหลายรุ่นมาแต่ปี 2519 ล้วนมีประสบการณ์

เดือน ก.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใส "ภูวนัฏฐ์ จิโรชอัครหิรัญ" ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงปู่เฉลิม รุ่นแสนล้าน

เพื่อสมทบสร้างศาลาการเปรียญวัดพวงนิมิต

จัดสร้างมีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ (แถมเนื้อเงินหน้ากากทองคำ 1 เหรียญ), เนื้อเงินขุ้ยพื้นลงยาเขียว 69 เหรียญ, ลงยาน้ำเงิน 99 เหรียญ, ลงยาแดง 129 เหรียญ, เนื้อนวโลหะ 99 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากเงิน 9 หน้ากากทองทิพย์ 49), เนื้อ 3 กษัตริย์ 299 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากทองคำ 5 เหรียญ) เนื้ออัลปาก้าขุ้ยพื้นลงยาแดง น้ำเงิน เขียว 299 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากทองแท้ 15 เหรียญ) และ(ลุ้นพิเศษ) มีเนื้อทองคำ 1 เหรียญ (ลุ้นเลขท้าย 3 ตัวรางวัลที่ 1), เนื้อเงินลงยาราชาวดี 19 เหรียญ, เนื้อเงินขุ้ยพื้นยาแดง น้ำเงิน เขียว ชนิดละ 50 เหรียญ, เนื้อชนวนมวลสารหน้ากาก อัลปาก้า 40 เหรียญ, ทองทิพย์ 59 เหรียญ, เนื้อปลอกลูกปืนขุ้ยพื้นลงยาสีแดง 500 เหรียญ, สีเหลือง ชมพู สีเขียว 300 เหรียญ, สีส้ม สีฟ้า สีม่วง ชนิดละ 200 เหรียญ

ลักษณะเป็นหรียญนั่งพาน ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญส่วนในมีใบช่อระกาขนาบข้าง ปลายบนสุดมีพระพุทธ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิบนพาน ขนาบข้างด้วยไก่ 2 ตัว ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า เฉลิมแสนล้าน

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ขอบเหรียญส่วนในมีรูปเหมือนมังกรทอง 1 คู่ขนาบข้าง ปลายบนสุดมีพระพุทธ ตรงกลางเหรียญมียันต์หนุนดวงมังกรล้อมทรัพย์ ใต้ยันต์สลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า ฉลองอายุครบรอบ ๗๕ ปี ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ล่างสุดสลักคำว่า วัดพวงนิมิต

มีพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 19 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา ที่วัดพวงนิมิต จ.สระแก้ว มีพระเกจิชื่อดังหลายรูปนั่งปรกอธิษฐานจิต
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47298531275656_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
ใช้มาตรฐานอะไรมาตัดสินว่า พระแท้หรือไม่แท้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน บรรดาเซียนพระเอาอะไรมาตัดสินว่าพระองค์นั้นองค์นี้แท้ไม่แท้ แล้วพระเก่าๆ เช่นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม มีใครเกิดทันหรือ? จึงรู้ว่าพระองค์นั้นๆ ใช่ไม่ใช่ มีพิมพ์แบบนั้นแบบนี้ เนื้อแบบนั้นแบบนี้

ครับเรื่องการศึกษาและเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีการศึกษากันมานานเป็นร้อยๆ ปีมาแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมีการศึกษาและบันทึกไว้ ยกตัวอย่างเรื่องของพระสมเด็จก็มีการบันทึกไว้เป็นร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยบันทึกจากผู้ที่ทันในสมัยที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ยังมีชีวิตอยู่และมีพระสมเด็จที่ได้รับมาจากมือเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา มีการค้นคว้าศึกษายืนยันและมีเหตุผลรองรับจนเป็นที่เชื่อถือและพิสูจน์ได้ ทำไมจึงมีการบันทึก ในสมัยนั้นรู้หรือว่าวันหนึ่งพระสมเด็จจะมีมูลค่า สูงมากๆ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนนับถือศรัทธาในตัวท่านสูงมากตั้งแต่ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ประวัติของท่านก็มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตามที่เราได้เห็นและศึกษากันต่อมา ในส่วนของเรื่องพระเครื่องนั้นก็มีการทำปลอมกันตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้เพียงปีเดียว (ตามที่มีการบันทึกไว้) ก็แสดงให้เห็นว่าพระสมเด็จนั้นก็มีความนิยมเสาะหาและมีมูลค่ามาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว จึงมีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าและบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะใครเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระ เนื้อหาวัสดุคืออะไร และมีบันทึกไว้ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหมโดยละเอียดชัดเจน

จนเป็นที่เชื่อถือยอมรับของสังคมซึ่งก็มีมูลค่ารองรับกันมาโดยตลอด

ดังนั้น ความเชื่อถือโดยสังคมยอมรับนั้นเขาก็ต้องมีเหตุผลรองรับจนเป็นที่แน่ใจพิสูจน์ได้ การพิจารณาว่าใช่หรือไม่ก็ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่ชัดเจน ถ้าถูกต้องตามนั้นก็คือใช่ ถ้าไม่ถูกต้องก็คือไม่ใช่ และข้อสำคัญที่สุด ถ้าพระสมเด็จองค์ใดสังคมยอมรับว่าใช่ก็จะมีคุณค่ารองรับ โดยพระที่สมบูรณ์ไม่หักซ่อมก็จะมีมูลค่าตั้งแต่ล้านบาทขึ้นไป จะกี่ล้านก็ว่ากันไป เป็นมูลค่าที่สูงมากนะครับ

ดังนั้น จะมามั่วๆ อุปโลกน์กันเอาเองไม่ได้แน่ครับ ไอ้ที่ว่าแท้อยู่คนเดียวก็คงขายไม่ได้ หรือขายได้ก็คงมีปัญหาตามมาภายหลัง ครับ พระแท้ตามที่สังคมยอมรับนั้นเมื่อไหร่ๆ ก็แท้ตลอดกาล ไม่ใช่แท้วันนี้พรุ่งนี้ไม่แท้ อย่างนี้คงปวดขมับน่าดูนะครับ

ที่ผมยกตัวอย่างพระสมเด็จก็เนื่องจากมีการทำปลอมโดยมีหลักฐานชัดเจนนั้นมีมาเป็นร้อยปีมาแล้ว และในปัจจุบันก็ยังมีการทำปลอมกันอยู่ตลอด มีการปรับปรุงแก้ไขการทำปลอมให้ดูดียิ่งขึ้นมากมาย ที่ร้ายยิ่งไปกว่านั้นมีการสร้างนิยายประกอบมีการสร้างเรื่องราวต่างๆ มาประกอบในการขายพระปลอมมากมาย และก็มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกกันมา พอนำพระมาแห่ในสังคมพระจึงรับรู้ความจริง ว่าไม่ใช่ไม่มีมูลค่ารองรับสังคมเขาไม่ยอมรับ เมื่อนำไปคืนกันก็เกิดปัญหาตามมาต่างๆ นานา

ครับที่ผมเขียนมานี้ก็เพราะเป็นห่วงนะครับ เล่นหาตามมาตรฐานสังคมเถอะครับ เอาที่มีมูลค่ารองรับจะสบายใจกว่าครับ เวลามีปัญหาขัดสนก็สามารถนำไปให้เขาเช่าต่อได้ มีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม ซึ่งมีมูลค่ารองรับ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สำหรับแม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ฐานแซมใหญ่ หายากกว่าแม่พิมพ์อื่นของพิมพ์ฐานแซมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17528541510303_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระนาคปรกกรุวัดลาวทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดลาวทอง สุพรรณบุรี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกว้างขวาง จากพระนาคปรก เนื้อชินสนิมแดง ซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ปรกแบน พิมพ์ชีโบ พิมพ์ปรกผมเม็ดและพิมพ์ปรกเล็ก เป็นต้น แต่ที่กรุนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระนารายณ์สี่กร และพระซุ้มนครโกษา อีกด้วย แต่ด้วยจำนวนพระนาคปรกมีจำนวนมากกว่า และมีพิมพ์พระที่สวยงามจึงทำให้ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายด้วยพระพิมพ์นาคปรก

วัดลาวทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เดิมเรียกกันว่าวัดเลา ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เข้ากับเรื่องในวรรณคดีเป็น "วัดลาวทอง" ทั้งนี้ฝั่งตรงข้ามมีวัดเก่าอยู่หลายวัด เช่น วัดพลายชุมพล วัดศรีมาลา วัดพลายงาม เป็นต้น จึงเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งนางลาวทองเป็นตัวละครในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน

ในสมัยประมาณปี พ.ศ.2504 ตาป้อมภารโรงของโรงเรียนวัดลาวทอง จะปลูกบ้านใหม่ภายในบริเวณโรงเรียน ขณะขุดหลุมเสาอยู่ก็พบโอ่งใบหนึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ตาป้อมและลูกชายจึงเปิดปากโอ่งดู ก็พบว่าภายในโอ่งมีพระเครื่องกับพระบูชาเป็นจำนวนมาก ตาป้อมก็ค่อยลำเลียงพระไปไว้บนบ้าน ต่อมาตาป้อมก็ค่อยๆ นำพระออกไปขายในตลาด ในตอนแรกๆ ไม่ค่อยมีใครสนใจนัก มีครูคนหนึ่งได้ซื้อไว้บ้าง 2-3 องค์ พอแกเดินทางมาที่กรุงเทพฯ ก็ได้นำพระไปขายที่สนามวัดมหาธาตุ ปรากฏว่าเซียนแย่งกันซื้อ ครูคนนั้นแกจึงกลับมาสุพรรณฯ และซื้อพระที่ตาป้อมอีกหลายองค์ นำเข้ามาขายในกรุงเทพฯ ได้กำไรไปหลายบาทอยู่

ต่อมาทางการเริ่มรู้ข่าวเรื่องพระแตกกรุ ก็มีข่าวว่าจะจับกุมตาป้อม ตาป้อมจึงได้นำพระที่เหลือทั้งหมดไปฝากไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระและเป็นญาติกับตาป้อม โชคไม่ดีของตาป้อม พระที่เป็นญาติกันนั้นได้เอาพระกรุวัดลาวทองของตาป้อมไปขายจนหมด เมื่อตาป้อมจะไปเอาคืนปรากฏว่าหมดไปเสียแล้ว เหลือเงินคืนให้ตาป้อมเล็กน้อยเท่านั้น

พระที่พบโดยตาป้อมนั้น มีพระบูชาศิลปะลพบุรี และพระเครื่องพิมพ์นาคปรก ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของพระกรุนี้ เช่น พระนาคปรกแบน พระนาคปรกพิมพ์ชีโบ พระนาคปรกพิมพ์ผมเม็ดและพิมพ์ปรกเล็ก พระนารายณ์สี่กร พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พิมพ์มารวิชัย และพิมพ์สมาธิ พิมพ์ซุ้มนครโกษา พระเครื่องทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง สนิมของพระกรุนี้บางองค์เป็นสนิมสีน้ำเงินลักษณะคล้ายกับสนิมแดงแต่เป็นสีน้ำเงินเข้ม แต่ก็พบน้อยมาก ก็สวยไปอีกแบบหนึ่ง พระกรุนี้จะมีสนิมไขขาวปกคลุมหนามากทุกองค์ ต้องล้างสนิมไขขาวออกบ้างจึงจะเห็นเนื้อสนิมชั้นในสวยงามได้ และเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ จะมีคราบผิวสีน้ำตาลอ่อน มีความแห้งผากจับอยู่บนชั้นนอกสุดและมีทรายเกาะติดแน่นกับสนิมไขขาว ก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุลาวทองครับ

พระเครื่องนาคปรกเนื้อชินสนิมแดง ก็ต้องยกให้พระกรุวัดลาวทองนี้เป็นพระที่มีความสวยงามที่สุดทั้งพิมพ์และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงหากรุอื่นเทียบยากครับ เมื่อพูดถึงพระกรุวัดลาวทอง ผู้นิยมพระเครื่องทั้งหลายจะนึกถึงพระนาคปรก วันนี้ผมจึงนำรูปพระนาคปรกของกรุวัดลาวทอง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยหลายๆ พิมพ์มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91990737327271_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระผงกลีบบัวพระครูใบฎีกาเกลี้ยง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเครื่องเนื้อผงขนาดเล็ก ที่ถูกลืมหรือถูกย้ายวัดกันไปด้วยความเข้าใจผิด หรือได้รับจากสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับมา เป็นต้น พระที่จะพูดถึงคือ พระผงกลีบบัว พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์

พระครูใบฎีกาเกลี้ยง เป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง) แห่งวัดสุทัศน์ เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และท่านพระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านเก่งทางด้านทำผงและการลงยันต์พุทธซ้อน ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ก็ยังเรียนกับพระครูใบฎีกาเกลี้ยง และหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองก็ได้เรียนกับพระครูใบฎีกาเกลี้ยงเช่นกัน ในด้านการทำผงวิเศษ ประกอบด้วยผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช ตรีนิสิงเหนั้น ผงของพระครูใบฎีกาเกลี้ยงแห่งวัดสุทัศน์เจ้านี้ได้รับคำยกย่องมาก เล่าขานกันว่าผง ที่ท่านลบอยู่ในกระดานนั้น ขณะที่ ท่านบริกรรมปลุกเสกจะเดินได้ประหนึ่งมดปลวกที่มีชีวิต และผงวิเศษต่างๆ ที่ท่านสำเร็จดังกล่าวนี้แหละ ท่านได้รวบรวมแล้วนำมาสร้างเป็นพระรูปกลีบบัว

ท่านอาจารย์หนู (นิรันดร์ แดงวิจิตร) ได้เล่าให้ฟังว่า พระครูใบฎีกาเกลี้ยงขณะที่อยู่ที่วัดสุทัศน์นั้น ท่านได้สร้างพระผงกลีบบัว ประมาณปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2480 กว่าเป็นระยะเวลานานมาก การสร้างพระพิมพ์นี้ไม่ได้สร้างครั้งเดียวเสร็จ ท่านค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ มีพระเณรในวัดสุทัศน์ช่วยท่านทำ แม้แต่ท่านอาจารย์หนูก็ยังไปช่วยท่านทำด้วยตามโอกาส ท่านอาจารย์หนูเล่าต่อว่า เนื้อของพระกลีบบัวพิมพ์นี้เป็นเนื้อผงขาวปูนเปลือกหอย และน้ำมันตั้งอิ้ว มีสีต่างๆ เช่น เหลือง เทา เขียว และดำนั้นได้ตบแต่งด้วยสีฝุ่น จำนวนที่ท่านสร้างน่าจะประมาณ 84,000 องค์ เนื่องจากใส่โอ่งมังกรขนาดใหญ่ถึง 2 โอ่ง

ต่อมาเมื่อมีวัดใดจะสร้างโบสถ์หรือบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีการบรรจุพระลงพระเจดีย์มาขอ ท่านก็จะมอบให้แห่งละจำนวนมากๆ และอาจจะด้วยเหตุนี้กระมัง พระผงกลีบบัวพิมพ์นี้ จึงมีแจกอยู่แพร่หลายและหลายสำนักด้วยกัน เช่น ที่หลวงพ่อท้วม วัดไชยนาวาส หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ วัดบางหัวเสือ วัดยอด และอีกหลายวัดในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อย่างไรก็ตามพระกลีบบัวพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์และเป็นพระที่พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านสร้างไว้ครับ และเป็นพระที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วยกันหลายครั้งในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ พระผงกลีบบัวของพระครูใบฎีกาเกลี้ยงเด่นทางด้านเมตตามหานิยม

พระผงกลีบบัวตามรูปที่ผมเอาลงให้ชมนี้ หากท่านพบเห็นที่ใดก็พึงรู้ไว้ได้เลยว่าเป็นของดีราคาถูก เด่นทางเมตตามหานิยมสูงมาก ตอนนี้ยังไม่แพงครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23532587662339_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ กับวัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม บางพิมพ์ก็แทบจะเป็นแม่พิมพ์เดียวกันเลย อย่างเช่นพิมพ์ทรงเจดีย์ทั้งของวัดบางขุนพรหม ดูรายละเอียดแม่พิมพ์แล้วให้สันนิษฐานได้ว่าน่าใช้แม่พิมพ์เดียวกัน แล้วถ้าพระของวัดบางขุนพรหมที่เป็นพระกรุเก่าและไม่มีคราบกรุจะแยกได้อย่างไรว่าเป็นของวัดไหน พิจารณาจากรายละเอียดของพิมพ์ได้ไหม

ครับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ของทั้ง 2 วัดรายละเอียดของพิมพ์แทบจะเป็นพิมพ์เดียวกันเลย แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างอยู่บ้าง เนื่องจากเท่าที่สังเกตดูแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหมจะมีการตกแต่งแม่พิมพ์เพิ่มอยู่นิดหน่อย เช่น ที่เห็นได้ชัดก็คือ เส้นกรอบแม่พิมพ์พระสมเด็จของวัดระฆังฯ จะเป็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ธรรมดา แต่ในส่วนของเส้นกรอบแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหม เท่าที่สังเกตดูทุกแม่พิมพ์จะเห็นได้ว่ามีการเน้นเส้นกรอบแม่พิมพ์ไว้ชัดเจนกว่า โดยจะสังเกตเห็นว่าเส้นกรอบแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหมจะเห็นเส้นนูนขึ้นมาเล็กน้อยเห็นได้ชัดเจนทุกแม่พิมพ์

สันนิษฐานว่าน่าจะทำไว้เพื่อให้สังเกตได้ง่ายเพื่อการตัดขอบ และบางแม่พิมพ์ซึ่งอาจจะใช้แม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ มาใช้ก็มีการเซาะเส้นกรอบแม่พิมพ์ให้ลึกลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เป็นเส้นที่เห็นได้ชัดขึ้น ก็สะดวกในการสังเกตเพื่อการตัดขอบพระ

ครับที่ผมกล่าวมานี้ก็ได้จากการสังเกตดูจากพระหลายๆ องค์หลายๆ พิมพ์ ก็ทำให้สันนิษฐานได้ตามนี้ แล้วก็สันนิษฐานได้ว่าเป็นขั้นตอนการผลิต และทำให้เราใช้เป็นจุดสังเกตขั้นตอนการผลิตได้เช่นกัน ในสมัยก่อนคนเก่าคนแก่ก็ได้สอนให้สังเกตดูเป็นปริศนาไว้ว่า วัดระฆังฯ ตัดหลังไปหน้า วัดบางขุนพรหมตัดหน้าไปหลัง และด้านหลังของทั้ง 2 วัดก็ยังมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย และก็มีปริศนากล่าวสนับสนุนไว้เช่นกัน

สำหรับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ทั้งของ วัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ถ้าเรามาพิจารณาดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ก็จะเหมือนกัน จุดสังเกตก็มีเหมือนๆ กัน ตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่ที่เดียวกันเหมือนกัน มิติต่างๆ ก็เหมือนกันจึงทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้แม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่มีการตกแต่งแม่พิมพ์ที่เป็นเส้นกรอบแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นเท่านั้น และทำให้สามารถสังเกตขั้นตอนการผลิตชี้ชัดได้เป็นอย่างดี

ในสมัยก่อนพระสมเด็จของทั้ง 2 วัดบางพิมพ์ที่มีพิมพ์หรือแม่พิมพ์ที่เหมือนกัน พระบางองค์ที่เป็นของบางขุนพรหมกรุเก่าที่ขี้กรุบางๆ และผ่านการใช้มาบ้างเนื้อจัดบางองค์ก็ยังถูกตีให้เป็นพระสองคลอง หมายความว่าเป็นพระวัดระฆังฯ ที่นำมาบรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหม ทีนี้ราคาก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเป็นพระวัดระฆังฯ แต่มาพบที่วัดบางขุนพรหม ในสมัยก่อนก็มีคำว่า "พระสองคลอง" เกิดขึ้น ก็ต้องมาศึกษากันต่อไปครับ

สำหรับส่วนตัวผมผู้ใหญ่ที่สอนผมดูและมีพระองค์จริงมาให้ดูและศึกษาหลายๆ องค์ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ก็สังเกตได้ว่ามีการแตกต่างกันตั้งแต่แม่พิมพ์ด้านหน้า และจุดสังเกตด้านหลังพระด้วย เรื่องจุดสังเกตด้านหลังพระของทั้ง 2 วัด ท่านแรกที่แยกแยะให้ฟังก็คือ พี่ลิใหญ่ (มะลิ สงวนเรือง) ท่านเป็นผู้ที่บอกได้ทันทีว่าเป็นของวัดไหน แท้หรือไม่ จากการดูด้านหลังของพระสมเด็จฯ เพียงอย่างเดียว ในสมัยนั้นก็สงสัยกันมากว่ารู้ได้อย่างไร แต่ก็พิสูจน์กันหลายครั้งท่านก็ไม่เคยพลาดเลย แต่ท่านก็ไม่ได้สอนทุกคนนะ ท่านจะเลือกคนที่จะสอนและบอกเคล็ดลับให้ด้วยเหตุและผล ท่านหนึ่งที่สอนผมก็คือเฮียเธ้า ท่าพระจันทร์ (วิโรจน์ ใบประเสริฐ)

การสอนของท่านอาวุโสรุ่นเก่าๆ นั้นท่านจะสอนให้เป็นปริศนาเสมอ และให้เราไปขบคิดเอาเอง จนกว่าจะคิดออกว่าน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ใช่หรือไม่ และมีคำถามกลับมาถาม ท่านจึงจะสอนต่อ และอธิบายเหตุผลให้ฟัง แต่ถ้าเราไม่นำปริศนาไปขบคิดและไม่มีคำถามมาถามต่อก็จะได้ไปแค่นั้น แสดงว่าเราไม่ได้สนใจศึกษาให้รู้จริง แต่ถ้าเราสนใจจริงจะมีคำถามมีข้อสงสัยกลับมาถามเสมอ ท่านก็จะค่อยๆ สอนและให้ไปทำการบ้านและกลับมาตอบท่าน เมื่อท่านสอนให้แล้วก็จะมีพระแม่พิมพ์นั้นๆ มาให้ดู และสังเกตสิ่งที่ท่านบอกไว้ว่าเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่

ผมโชคดีที่สมัยนั้นยังพอมีพระองค์จริงให้ได้ดู นอกจากพระของท่านที่มีอยู่หรือ เพิ่งเช่ามาได้ท่านก็จะให้ดู และพระองค์ดังๆสวยๆ ของผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านก็จะพาไปขออนุญาตนำมาให้ผมได้ดู แล้วก็ให้สังเกตสิ่งที่ท่านสอนไว้ว่าเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ มีคำถามสงสัยก็ถามท่านอีกทีหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างในการศึกษาพิมพ์ของพระนั้นต้องมีเหตุมีผล พระที่ออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันก็จะต้องมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กัน ตำแหน่งและมิติก็ต้องเหมือนกัน และร่องรอยการผลิตก็ต้องเหมือนกัน

เรื่องเส้นขอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ กับพระสมเด็จบางขุนพรหมก็เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นจุดสังเกตได้ครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62819117804368_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระวัดใหม่ปากบาง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อผงของอยุธยากรุหนึ่งคือพระกรุวัดใหม่ปากบาง เป็นพระเครื่องชนิดของดีราคาถูกที่น่าสนใจ พุทธคุณก็มีประสบการณ์ ผู้ที่ใช้ห้อยคออยู่หลายราย ทั้งด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ

วัดใหม่ปากบางตั้งอยู่ที่อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วัดแห่งนี้มีการพบพระเครื่องเนื้อผง โดยถูกขโมยเจาะเจดีย์เมื่อประมาณปี พ.ศ.2498 พระเครื่องส่วนหนึ่งจึงออกมาสู่สายตานักสะสมพระเครื่อง พระที่ออกจากกรุครั้งนี้เรียกกันว่าพระกรุ เก่าซึ่งเนื้อพระจะไม่ค่อยมีขี้กรุจับ เนื้อพระหนึกนุ่มประเภทเนื้อจัด หลังจากนั้นก็มีการแอบเข้าไปขุดพระกันอีกครั้งสองครั้ง จนในที่สุดปี พ.ศ.2510 พระครูสถิตธรรมโสภิต เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงต้องตัดสินใจเปิดกรุนำพระออกมา และนำไปรักษาไว้

ส่วนหนึ่งได้เปิดให้ประชาชนที่สนใจเช่าหา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะวัดต่อไป ในการเปิดกรุอย่างเป็นทางการครั้งนั้นได้พระประมาณ 2,000 องค์ได้ พระที่เปิดกรุครั้งนี้เรียกกันว่าพระกรุใหม่ เนื่องจากเป็นการเปิดครั้งสุดท้าย พระที่พบส่วนมากจะมีขี้กรุจับที่ผิวพระเป็นคราบสีหลืองๆ มีเม็ดผุดขึ้นตาม ผิวพระ บางองค์ก็จะเห็นเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระคล้ายพระวัดเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์ของพระเท่าที่แยกได้มี พระพิมพ์ยืนประทานอภัย พระพิมพ์ลีลา พระพิมพ์นางกลีบบัว พระพิมพ์นางพญาแบบสามหลี่ยม พระพิมพ์เล็บมือ มีทั้งฐานชั้นเดียวและสามชั้น

พระวัดใหม่ปากบางใครป็นผู้สร้างไว้ เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อทรัพย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่ปากบาง เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ ประวัติของหลวงพ่อทรัพย์ไม่ได้มีการบันทึกไว้นัก มีเพียงคำบอกเล่ากันว่า หลวงพ่อทรัพย์เคยบวชเป็นสามเณรที่วัดบางขุนพรหม และต่อมาได้มาได้อุปสมบทที่วัดระฆังฯ ได้เป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลังจากนั้นท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ปากบาง และได้สร้างพระเนื้อผงไว้ในปี พ.ศ.2430 เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดใหม่ปากบาง

ครับก็เป็นประวัติของหลวงพ่อทรัพย์และการสร้างพระเนื้อผงไว้เท่าที่พอสรุปได้จากการบอกเล่าสืบต่อกันมา พระวัดใหม่ปากบางเมื่อครั้งที่ออกจากกรุใหม่ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไรนัก องค์ละไม่กี่สิบบาท ต่อมาในปี พ.ศ.2509 พระวัดใหม่ปากบางเริ่มมีประสบการณ์เด่นทางด้านเมตตามหานิยมโชคลาภ ราคาก็เริ่มขยับขึ้นไป จนทางวัดเปิดกรุออกมาในปี พ.ศ.2510 ก็ได้เปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 100 บาท

พอพระหมดไปจากวัดราคาก็ขยับขึ้นไปเป็น 400-500 บาท องค์สวยๆ ก็อาจจะแพงกว่านี้ และก็เป็นหลักพันในที่สุด ในองค์สวยๆ ก็อาจจะแพงกว่านี้ พอพระมีราคาก็มีการทำปลอมไปตามระเบียบ เวลาเช่าหาก็ควรต้องพิจารณาให้ดีๆ เช่นกันครับ

พระวัดใหม่ปากบางพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยมโชคลาภ ปัจจุบันก็ยังพอหาได้อยู่ครับ นับว่าเป็นพระดีราคาไม่สูง และน่าสนใจครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระวัดใหม่ปากบางพิมพ์เล็บมือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 เมษายน 2563 16:15:00
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14218761068251_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญมหาเศรษฐี หลวงปู่สีลา

หลวงปู่สีลา สีลคุโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองคล้าใต้ ต.โสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ พระสุฏิปันโน ที่ชาวอีสานใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันอายุ 81 ปี พรรษา 30

เป็นศิษย์สืบธรรมหลวงพ่อสาย ยสชาโต ที่สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อคง สุวัณโณ พระเกจิดังในอดีต

ถือกำเนิดวันศุกร์ ตรงกับปีวอก เดือน ก.ค.2482 เป็นชาวตาสุด ต.จะกง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

อายุ 21 ปี เป็นทหารเกณฑ์ประจำชายแดนเขมร มีการสู้รบกันกับเขมรแดง หลังกลับจากค่าย พี่ชายเป็นอาจารย์สักชื่อดัง จับสักยันต์เต็มตัวและถ่ายทอดวิทยาคม

หลังปลดประจำการ เดินทางไป จ.ชลบุรีเป็นผู้ติดตามกำนันชื่อดังคนหนึ่ง จนชาวบ้านเรียก "เสือสีลา" ยุคนั้น

ต่อมากลับใจเข้าสู่ร่มกาวสาวพัสตร์ ขณะอายุ 49 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดกลางขุขันธ์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูบริหารสุขบท เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ 7 ปี ธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดกระเฉด จ.เพชรบูรณ์ นั่งวิปัสสนานาน 3 ปี ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิชื่อดังหลายรูป

กลับถิ่นเก่า จ.ชลบุรี ศึกษาวิชาสมุนไพรที่สำนักปฏิบัติธรรมเขาน้อย 7 ปี ธุดงค์ต่อตะเข็บชายแดนภาคตะวันออก สร้างวัดวังน้ำใส อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา นาน 8 ปี ได้พบกับหลวงพ่อสาย ยสชาโต วัดชำป่างาม ศิษย์หลวงพ่อคง สุวัณโณ เกจิดัง อยู่ร่ำเรียนวิทยาคม

พ.ศ.2547 จึงธุดงค์กลับมาตุภูมิ สร้างวัดบ้านหนองคล้าใต้ พัฒนาเสนาสนะเจริญรุ่งเรือง พ.ศ.2251 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบมา รักษาผู้คนจนมีชื่อเสียงขจรไกล

เดือน ต.ค.2562 คณะศิษย์ นำโดย "กล้วยอุบลพระใหม่" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรุ่นแรก รุ่นมหาเศรษฐี ฉลองอายุวัฒนมงคลครบ 80 ปี

เพื่อจัดหารายได้สมทบเทพื้นคอนกรีตรอบเมรุวัดหนองคล้าใต้

จัดสร้าง มีเนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ, เนื้อเงินลุ้นลงยา 88 เหรียญ, เนื้อนวโลหะ 168 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 399 เหรียญ, เนื้อทองแดง 2,999 เหรียญ, เนื้อชนวน 111 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร 1,999 เหรียญ และตะกรุดมหากันรุ่นแรก 300 ดอก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์หน้าตรง บริเวณด้านซ้ายลำคอตอกโค้ด "ส" ในเปลวแฉก ด้านขวาลำคอมีนัมเบอร์ของเหรียญ ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สีลา สีลคุโณ

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า ครบรอบ ๘๐ ปี ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์แคล้วคลาด มีอักขระ 4 ตัวกำกับอ่านว่า นะ มะ อะ อุ ถัดมามีอักขระอ่านว่า นะโมพุทธายะ ตามด้วยรุ่นแรก มหาเศรษฐี บรรทัดล่างสุดตามส่วนโค้งของเหรียญ สลักตัวหนังสืออ่านว่า วัดบ้านหนองคล้าใต้ ต.โสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วาระแรก ที่วัดบ้านหนองคล้าใต้ มีหลวงปู่ทอง ปภากโร เกจิชื่อดังวัดบ้านคูบ จ.ศรีสะเกษ นั่งอธิษฐานจิต วาระสอง วันที่ 28 ธ.ค.2562 วาระ 3 วันที่ 30 ม.ค.2563 หลวงปู่สีลา อธิษฐานจิตเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90303718878163_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระคง ลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเล่นๆ เรื่อยเปื่อยนะครับ เรื่องที่จะคุยกันก็คือเรื่องพระคงลำพูนหรือที่คนโบราณเรียกว่าพระลำพูน ในสมัยก่อนผมก็สงสัยว่าทำไมจึงเรียกว่าพระลำพูนเนื่องจากพระกรุในลำพูนเองก็มีอยู่หลายกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มานึกดูอีกทีอาจจะเป็นเพราะพระคงนั้นมีจำนวนมากและพบเห็นได้บ่อยก็อาจเป็นได้ จึงเรียกพระคงว่าพระลำพูนเป็นตัวแทนพระของลำพูนไปเลย

ในสมัยก่อนผมเคยได้ยินผู้ใหญ่เรียก พระลําพูนดํา พระลําพูนแดง ก็หมายถึงพระคงต่อท้ายด้วยสีของพระ ครับพระคงอย่าดูถูกว่าเป็นพระพื้นๆ ที่หาง่ายราคาถูกนะครับ ในปัจจุบันนั้นราคาไม่ถูกแล้ว สวยๆ หูตากะพริบก็ต้องว่าด้วยหลักแสนครับ แถมในปัจจุบันพระปลอมก็ไม่เบาพอสนนราคา เริ่มสูงคนทำปลอมก็พัฒนาให้มีฝีมือสูงขึ้น ทำพิมพ์และเนื้อได้ดีทีเดียวอย่าประมาท เผลอเป็นโดนครับ

สมัยผมเล่นพระใหม่ๆ พระคงนี่แหละที่ผมดูพระเนื้อดินเป็นชนิดแรกเลย แต่กว่าจะดูเป็นก็โดนซะอ่วมไปไม่น้อย เนื่องจากสมัยนั้นก็ยังไม่ประสีประสาอะไร พอเริ่มชอบพระเครื่องก็เสาะหาพระที่เขานิยมกันไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จฯ พระเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา แถมเงินทองก็ไม่ค่อยจะมีหรอกเพราะยังเรียนหนังสืออยู่แต่ก็ใจรัก เก็บออมค่าขนมหาเงินที่พอจะหาได้มาเช่าหา ก็คิดอย่างเดียวเผื่อฟลุก อยากได้ของดีราคาถูก ดูก็ยังไม่เป็นได้แต่แอบดูของคนอื่นเขาแอบจำแล้วไปเช่าหา ก็โดนซะ ต่อมาผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็แอบบอกว่าหัดดูพระคงก่อนสิ หาได้ง่ายและหัดจดจำศึกษาพิมพ์และเนื้อคราบกรุความเก่าให้เข้าใจก่อน ก็มาหาพระคงมาดูศึกษาก็โดนอีก เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องพิมพ์พระ และที่สำคัญหาของถูกๆไว้ก่อนเช่าพระองค์สิบยี่สิบบาทก็เจอแต่ของปลอม (ในสมัยนั้นพระคงก็ยังไม่แพง ราคาพระแท้ๆ ก็แค่ 60-80 บาทในสภาพที่ดีพอสมควร) แต่ผมก็ยังคิดหาของดีราคาถูกอยู่ จึงโดนซ้ำอีกจนยอมไปหาเช่าพระแท้ๆ จากเซียนในราคา 60 บาทมาศึกษา ถามผู้หลักผู้ใหญ่บางตำราบ้างก็พอจะเข้าใจ ตำราที่ทำให้เข้าใจได้ดีก็คือหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 3 พระรอด และพระเครื่องฯ สกุลลำพูน ของอาจารย์ตรียัมปวาย นอกจากนี้ก็สอบถามผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง จนพอเข้าใจและจดจำได้ ก็เริ่มหาเช่าพระคงอีกต่อไปจนเรียกว่าผ่าน ก็เช่าหามาหลายองค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจนเข้าใจและเช่าพระสวยๆ มาเรื่อยๆ

จากการศึกษาพระคงก็ทำให้รู้ว่า การจะพิสูจน์พระใดๆ ก็ตามว่าแท้หรือไม่ ต้องศึกษาพระนั้นๆ ให้ถ่องแท้ ที่สำคัญต้องศึกษาจากพระแท้ที่สังคมยอมรับเท่านั้น อย่าออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด และก็ไม่ต้องไปหาพระปลอมมาศึกษาเปรียบเทียบให้เสียเวลาเปล่าๆ เพราะพระปลอมนั้นมีทำออกมาเรื่อยๆ หลากหลายฝีมือศึกษาเพียงพระแท้เท่านั้น ที่ไม่เหมือนไม่ใช่ก็คือพระปลอมครับ ถ้าจะยกตัวอย่างก็คือมีฝาแฝดคู่หนึ่ง สมมติคนหนึ่งชื่อ ก. คนที่สองชื่อ ข. ถ้าเรารู้จักกับ ก. คุ้นเคยกันดี ก็จะจำ ก. ได้ พอเราไปเจอ ข. เราก็จะสังเกตได้ว่าไม่ใช่ ก. ก็เหมือนพระแท้กับพระปลอมเมื่อจำพระแท้ได้ อีกองค์หนึ่งที่ไม่ใช่ก็คือพระปลอมแน่ครับ

ข้อสำคัญคือ เราต้องศึกษาและรู้จักพระแท้แบบนั้นเสียก่อน เราก็จะแยกแยะพระแท้กับพระปลอมในชนิดนั้นๆ ได้ ที่สำคัญ อย่าหลงฟังนิยายต่างๆ ที่คนขายพระปลอมสร้างขึ้นมา พวกมิจฉาชีพนั้นต้องพยายามสร้างนิยายต่างๆ ให้เราหลงเชื่อและตกหลุมพรางของเขา เรื่องจริงย่อมพิสูจน์ได้ ในส่วนของพระเครื่องก็ต้องฟังและเชื่อถือตามที่สังคมเขายอมรับและมีคุณค่ารองรับเท่านั้น

กลับมาเรื่องพระคง ลำพูน พระคงในปัจจุบันที่สวยๆ นั้นราคาสูงแล้ว ที่ไม่ค่อยสวยก็ต้องหลักหมื่น ดังนั้นปัจจุบันก็มีพระคงที่ทำปลอมฝีมือดีๆ อยู่ให้เห็น เวลาจะเช่าหาก็ไม่หมูเหมือนเมื่อก่อน ต้องระวังไว้หน่อย ไม่อย่างนั้นอาจเจอพระปลอมฝีมือดีจะเสียทั้งเงินและเสียใจในภายหลังครับ

วันนี้ผมนำรูปพระคงแท้ๆ สภาพพอสวยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62461315881874_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระปิดตาเจ้าคุณผล วัดหนัง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ท่านเจ้าคุณผลเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง บางขุนเทียน ชาวบ้านแถวฝั่งธนฯ เคารพนับถือท่านมาก และท่านก็สร้างพระเครื่องทั้งเครื่องรางของขลังไว้แจกแก่ศิษย์หลายอย่างพร้อมทั้งมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นที่เชื่อถือได้ครับ

ท่านเจ้าคุณผล เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2473 ที่บ้านโคกขาม สมุทรสาคร โยมบิดาชื่อแก้ว โยมมารดาชื่อยืน ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาอยู่ที่บางขุนเทียนใกล้ๆ วัดหนัง จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดหนังโดยมีหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดหนังศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่เอี่ยมมาโดยตลอด และได้รับถ่ายทอดวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านเจ้าคุณผลมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาและฝึกฝนจริง จนหลวงปู่เอี่ยมเอ่ยปากชม

พอบวชได้ 9 พรรษาเจ้าคุณผลจึงขออนุญาตหลวงปู่เอี่ยมออกธุดงค์ ท่านได้ธุดงค์ไปในป่าเขาพบสิ่งลี้ลับมากมายอยู่หลายปี และได้ปฏิบัติธรรมหาที่สงบวิเวกฝึกฝนจิตใจจนแน่วแน่ หลังจากนั้นก็ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนังตามเดิม พอหลวงปู่เอี่ยมมรณภาพ ท่านเจ้าคุณวิเชียรได้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนถึงปีพ.ศ.2503 ท่านเจ้าคุณวิเชียรก็มรณภาพอีก ชาวบ้านและคณะสงฆ์ได้อาราธนาเจ้าคุณผลเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังต่อจากท่านเจ้าคุณวิเชียร

ชาวบ้านแถบนั้นต่างก็ทราบกันอยู่แล้วว่าท่านเจ้าคุณผลนั้นมีวิทยาคมแก่กล้า จึงได้ขอให้ท่านช่วยสร้างเครื่องรางของขลังให้ ท่านก็เมตตาทำให้ มีทั้งหมากทุยซึ่งก็ได้ทำตามแบบหลวงปู่เอี่ยม แต่หมากทุยนั้นทำยากมาก ต้องหาหมากทุยตามตำราซึ่งก็หายาก อีกทั้งวิธีเก็บหมากทุยจากต้นนั้นก็มีกรรมวิธีที่ทำได้ไม่มากต่อครั้ง หมากทุยของท่านจึงมีน้อยและหายาก หมากทุยรุ่นเก่าๆ ของท่านบางคนเอามาตีเป็นหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยมเลยก็มี และหมากทุยของเจ้าคุณผลก็ใช้ได้ผลไม่ต่างจากหมากทุยของอาจารย์เลย

ชาวบ้านและลูกศิษย์ก็อยากได้ของขลังจากเจ้าคุณผลมาก จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านก็ได้รับความนิยมจากชาวบ้านมาก มีประสบการณ์ นอกจากนี้ท่านก็ยังสร้างพระปิดตาตามแบบหลวงปู่เอี่ยมอีกด้วยเช่น พระปิดตาเนื้อตะกั่ว เป็นพิมพ์ปิดตานะหัวเข่า พิมพ์พระปิดตาท้องอุ ด้านหลังจะมีจาร และพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น ด้านหลังจะมีฝังแผ่นโลหะและมีจาร พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นของเจ้าคุณผลจะมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากผงหัวบานเย็นจะทำยาก กว่าจะเก็บรวบรวมได้พอก็ใช้เวลามาก

พระปิดตาของเจ้าคุณผลนั้นมีประสบการณ์มาก มีผู้ถูกทำร้ายอยู่หลายรายแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เรียกว่าเหนียวจริงๆ ชาวบ้านในแถบวัดหนังต่างรู้ดี และหวงกันมาก ใครหาพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมไม่ได้ก็จะหาพระปิดตาของเจ้าคุณผลใช้แทนก็ได้ผลดีเช่นกัน

ปัจจุบันพระปิดตาเจ้าคุณผลก็ไม่ใช่จะหาแท้ได้ง่าย คนที่มีก็จะหวงส่วนของปลอมก็เริ่มมีแล้วต้องพิจารณาดีๆ พระปิดตาของเจ้าคุณผลสนนราคาก็ไม่แพงน่าจะอยู่ที่หลักพัน แต่ก็ไม่ใช่จะหาง่ายนะครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อตะกั่วพิมพ์นะหัวเข่า และพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41920835897326_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พระกริ่งจุติ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งอีกรุ่นของวัดสุทัศน์ ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านได้สร้างไว้ และสร้างในปี พ.ศ.2483 ซึ่งได้เข้าพิธีเดียวกับพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนมายุพระกริ่งรุ่นนี้คือพระจุติครับ

พระกริ่งจุติมีความเป็นมาดังนี้ครับ ในท้องถิ่นอำเภอเมืองสมุทรปราการมีครอบครัวชาวประมงผู้มีฐานะดีครอบครัวหนึ่ง มีบ้านช่องไม่ห่างจากวัดกลางเท่าใดนัก หัวหน้าครอบครัวคือโยมแดง ภรรยาคือโยมฮุ่น ครอบครัวนี้มีความสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่ง โยมแดง ถึงกับได้ยกบุตรชายให้เป็นบุตรบุญธรรมในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ชื่อสอิ้ง ได้บวชเรียนอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

สืบต่อมาพระใบฎีกาสอิ้งได้ลาสิกขาเข้ารับราชการในกระทรวงศึกษาฯ ครั้งนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้ประทานนามสกุลให้พระใบฎีกาสอิ้งว่า "แพรัตกุล" เป็นอนุสรณ์ถึงพระเดชพระคุณท่านสืบมา

ในปี พ.ศ.2483 โยมแดงได้เสียชีวิต ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้กำหนดฌาปนกิจโยมแดง ณ วัดกลาง สมุทรปราการ ในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ พอถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2483 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เสด็จไปยังวัดกลางพร้อมด้วยท่านคุณศรี (สนธิ์) กำหนดการฌาปนกิจโยมแดงนั้นเป็นเวลาเที่ยงตรง พระองค์เป็นผู้จุดไฟพร้อมกับได้ฤกษ์เทพระกริ่งไปพร้อมกัน เข้าใจว่าเป็นการเทพระเพื่อเป็นพุทธบูชาและอุทิศส่วนกุศลในการเทพระครั้งนี้ให้แก่โยมแดง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งจุติ" หลังจากที่พระองค์ทรงเททองพระกริ่งที่มีพิธีเทหล่อในคืนวันเดียวกัน

ขบวนการเทหล่อพระกริ่งจุตินั้นถูกต้องตามตำราครบครัน จำนวนการสร้างประมาณ 108 องค์ เนื้อโลหะ ประกอบด้วยชนวนโลหะงานพิธีสำคัญๆ ของวัดสุทัศน์หลายพิธี ครับพระกริ่งจุตินี้ในตอนแรกๆ ผมเองก็ยังงงๆ อยู่เกี่ยวกับเรื่องชื่อของพระ พอได้ค้นดูข้อมูลจึงได้ทราบความเป็นมา พระกริ่งจุตินี้จึงเป็นพระกริ่งที่น่าสนใจรุ่นหนึ่ง ที่ทำพิธีเททองในวันเพ็ญเดือน 12 และทำพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับพระกริ่งฉลองพระชนม์อีกด้วยครับ

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระกริ่งจุติ สภาพเดิม มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36465590364403_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระพิจิตรกรุบ้านตาก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดตากเคยเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยโบราณ และก็มีวัดเก่าแก่และมีพระกรุอยู่เช่นกัน เราอาจจะไม่ค่อยคุยกับพระเครื่องของจังหวัดตากนัก เนื่องจากในสมัยโบราณเมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ วัดวาอารามก็คงมีไม่มากนัก พระเครื่องที่พบก็ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชิน มีทั้งเป็นเนื้อชินเงินและพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

บ้านตากแต่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองตากเก่า ต่อมาได้มีการย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตัวจังหวัดปัจจุบัน เมืองเก่าจึงลดสถานะลงมาเป็นเพียงอำเภอบ้านตาก แต่ก็ยังพบซากเมืองเก่าและพระเครื่องอยู่บ้าง พระเครื่องต่างๆ ที่พบที่บ้านตากนั้นเป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยอยุธยา เท่าที่พบจะเป็นพระเครื่องเนื้อชิน ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่ว ส่วนพิมพ์ที่พบก็จะเป็นพระซุ้มยอ พระร่วงนั่ง พระงบน้ำอ้อย พระพิจิตร พระยอดขุนพลซุ้มเรือนแก้ว

พระเครื่องของกรุบ้านตากนั้นมีจำนวนที่พบไม่มากนัก พระส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่กับชาวบ้านเมืองตากเป็นส่วนใหญ่ มีเข้ามาในส่วนกลางบ้างไม่มากนัก ส่วนใหญ่ที่เห็นพระเข้ามาในส่วนกลางจะเป็น พระซุ้มยอ และพระร่วง พระงบน้ำอ้อย ส่วนพระพิจิตรไม่ค่อยพบเห็นเข้ามาในส่วนกลาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะชาวบ้านต่างเก็บไว้ใช้เอง องค์พระพิจิตรกรุบ้านตากมีขนาดเล็กมากลักษณะเรียวๆ เนื้อจะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง รายละเอียดขององค์พระไม่มีอะไรนัก เป็นพระนั่งปางสมาธิ ตัดชิดองค์พระ เท่าที่สอบถามคนเฒ่าคนแก่เมืองตากดู จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหนียวเด็ดนัก ก็คือเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน คนเก่าคนเก่าเล่าว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก เวลาจะไปไหนมาไหนก็มักจะอมไว้ในปากเดินทางไป ก็รอดพ้นภัยแคล้วคลาดมาตลอด บางรายถูกฟันจังๆ เสื้อผ้าขาดหมด แต่ไม่เข้าเลย เป็นแค่รอยเป็นทางยาวเท่านั้น คนเก่าคนแก่เมืองตากเล่าให้ฟังและรับรอง นอกจากนี้ตนเมืองตากก็ห่วงกันมาก

พระพิจิตรกรุบ้านตากมีขนาดเล็กลักษณะคล้ายๆ กับพระของเมืองพิจิตรจึงยืมชื่อมาตั้งชื่อพระ โดยยืมชื่อมาใช้นำหน้าและต่อท้ายด้วยชื่อกรุพระ ก็เลยเป็น "พระพิจิตรกรุบ้านตาก" แถมพุทธคุณก็เด่นเช่นเดียวกันอีกด้วย พระพิจิตรกรุบ้านตากปัจจุบันนั้นหายากครับ คนทั่วไปก็อาจจะไม่ค่อยรู้จักแต่คนเมืองตากเอง รู้จักกันดีและหวงแหนกันมาก จำนวนพระก็มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่ก็จะตกทอดกันในหมู่ลูกหลาน ในส่วนกลางแทบจะไม่ค่อยได้เห็นกันเลย เรียกว่าเป็นพระหายากชนิดหนึ่ง

พิจิตรกรุบ้านตาก มีของปลอมหรือเปล่าผมเองก็ยังไม่เคยเห็น อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนรู้จักมากนักก็เป็นได้ แต่ก็นั่นแหละครับเวลาจะเช่าหาอะไรก็ตาม พิจารณาให้รอบคอบจะดีกว่า พิจิตรกรุบ้านตากจะเป็นพระเนื้อตะกั่ว มีสนิมแดงขึ้นประปราย และมีสนิมไขขึ้นอยู่เป็นจุดๆ ลักษณะของสนิมขึ้นคล้ายๆ กับพระของ กรุศาลเจ้าราชบุรี องค์พระเล็กมากเล็กกว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าของพิจิตรเล็กน้อย ลักษณะเรียวๆ ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก สนนราคาก็ยังไม่สูงแต่ก็หายากครับ เผื่อไปพบเห็นก็รู้ได้เลยว่าเป็นพระพิจิตรกรุบ้านตาก ของดีที่ถูกลืมครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรกรุบ้านตากจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36943547137909_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระกำแพงซุ้มยอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องสกุลกำแพงเพชรนั้น โดยส่วนใหญ่จะตั้งชื่อเรียกง่ายๆ ตามรูปทรงของพระเป็นที่ตั้ง เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระกำแพงซุ้มกอ พระนางกำแพงกลีบบัว พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา พระกำแพงซุ้มยอ เป็นต้น

พระกำแพงเม็ดขนุน ถ้าเราสังเกตดูดีๆ ก็จะเห็นว่ารูปทรงกรอบนอกขององค์พระก็คล้ายๆ กับเม็ดขนุนครับ อย่างพระกำแพงพลูจีบ ก็คล้ายกับพลูที่จีบไว้ หรือกำแพงกลีบจำปารูปทรงกรอบนอกก็คล้ายๆ กับกลีบจำปา กำแพงซุ้มกอ ถ้าเราดูเฉพาะกรอบนอกก็เป็นวงโค้งแบบตัว ก.ไก่ สิ่งเหล่านี้คนโบราณก็นำมาตั้งชื่อพระเครื่องที่พบ พระอีกอย่างหนึ่งคือพระกำแพงซุ้มยอ ก็เช่นกัน ทรงกรอบซุ้มหยักเว้าตรงกลางเส้นซุ้มจึงเรียกกันต่อๆ มาว่า พระกำแพงซุ้มยอ

พระกำแพงซุ้มยอ เป็นพระที่พบตามกรุต่างๆ ในบริเวณทุ่งเศรษฐีและทางฝั่งจังหวัดกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย และบริเวณกรุในทุ่งเศรษฐีอีกหลายกรุ พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อดิน ที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อย แต่ที่พบน้อยที่สุดก็คือพระเนื้อว่าน และพระว่านหน้าเงิน หน้าทอง สำหรับพระเนื้อชินเงินนั้นจะพบมากที่สุด และก็เป็นเนื้อที่นิยมที่สุดของพระกำแพงซุ้มยอ

กรุของพระซุ้มยอที่นิยมกันมากก็คือกรุวัดบรมธาตุ เนื้อชินเงินของพระกรุนี้ สังเกตได้จากผิวของพระกรุนี้จะมีผิวเป็นสีดำหม่นๆ ปกคลุมเนื้อพระอยู่ ส่วนพระกำแพงซุ้มยอกรุทางฝั่งจังหวัด เช่น กรุวัดอาวาสน้อยนั้น ผิวของพระมักจะมีคราบปรอทจับขาวอยู่ตามซอกขององค์พระ ส่วนพระเนื้อดินเผา ก็จะมีหน้าที่ละเอียด หนึกนุ่มตามแบบพระสกุลกำแพงเพชรครับ

พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระประทับนั่งเหนือฐานบัว สองชั้น และอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว มองดูแล้วคล้ายๆ กับพระยอดขุนพลย่อส่วนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ด้วยขอบซุ้มเรือนแก้วมีส่วนเว้าโค้งตรงกลางซุ้มจึงทำให้มองดูตามรูปขอบซุ้มเหมือนกับตัว ย.ยักษ์ จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกว่า "พระกำแพงซุ้มยอ" ศิลปะก็เป็นแบบสุโขทัย อายุราว 600 ปี

ในสมัยก่อนคนกำแพงหวงแหนพระกำแพงซุ้มยอมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด พอมาถึงปัจจุบันก็แทบไม่ค่อยได้พบเห็นพระกำแพงซุ้มยอแท้ๆ กันอีกเลย จนอาจทำให้หลายๆ คนลืมเลือนพระกำแพงซุ้มยอไปบ้าง สนนราคาในปัจจุบันก็ยังย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นๆของพระกำแพงเพชรอยู่มาก แต่ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

พระกำแพงซุ้มยอจึงเป็นพระที่น่าสนใจ ทั้งพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา สนนราคาก็ไม่แพงอย่างพระพิมพ์อื่นๆ เป็นพระดีของกรุกำแพงเพชรเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกำแพงซุ้มยอ เนื้อชินเงิน กรุวัดบรมธาตุ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30779290695985_view_resizing_imagesSYMXD9DQ_3.jpg)
พระมเหศวร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมเหศวรเป็นพระเนื้อชินที่จัดอยู่ในพระเบญจภาคีชุดยอดขุนพล 4 ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก มีความนิยมมาก ของปลอมเลียนแบบก็มีมากเช่นกัน เนื่องจากมีความนิยมกันมาตั้งแต่อดีต

พระมเหศวรถูกขุดพบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุเดียวกับพระผงสุพรรณ พุทธลักษณะของพระมเหศวรนั้นแปลกจากพระเครื่องอื่นๆ คือทำเป็นแบบสองหน้า พระทั้งสองด้านจะเป็นรูปพระประทับนั่งปางมารวิชัย องค์พระจะนั่งสวนทางกัน คือ ถ้าเราดูอยู่ด้านหนึ่งแล้วพลิกกลับมาอีกด้านหนึ่งนั้น เศียรของพระจะไม่ตรงกันแต่สวนทางกัน คือด้านหนึ่งเศียรขึ้นด้านบน อีกด้านหนึ่งจะคว่ำลง ในสมัยแรกๆ ที่พบพระนั้นก็มักจะเรียกกันว่าพระสวน ตามลักษณะของพระที่มีเศียรสวนทางกัน ต่อมาก็ตั้งชื่อเรียกกันใหม่ให้ไพเราะเป็น พระมเหศวร และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

พระมเหศวรที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แยกออกเป็นหลายพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ใหญ่ ในส่วนของพิมพ์ใหญ่ยังแยกออกได้เป็นพิมพ์ใหญ่ต้อ พิมพ์ใหญ่เศียรโต พิมพ์ใหญ่ฐานสูง พระพิมพ์กลาง พระพิมพ์เล็ก พระแบบสวนเดี่ยว คือมีพิมพ์ด้านหน้าอย่างเดียวไม่มีด้านหลัง พิมพ์สวนตรง คือเป็นพระสองหน้า แต่เศียรพระตรงกัน พระ 2 พิมพ์หลังนี้จะไม่มีปีกด้านข้าง พระมเหศวรทั้งหมดพบแต่ที่เป็นเนื้อชิน

พระเนื้อชินทั้งหมดของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่เป็นเนื้อชินเงิน นอกจากพระลีลากำแพงศอกก็พระมเหศวรนี่แหละครับ ที่นิยมที่สุดและมีสนนราคาสูง เนื่องจากคนที่เคยมีประสบการณ์จากพระมเหศวรนั้นมีมากมายตั้งแต่โบราณมาแล้วว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ในสมัยก่อนคนแถบสุพรรณฯ ต่างก็หาพระมเหศวรมาห้อยคอกันแทบทั้งสิ้น พุทธคุณเลื่องลือกันไปทั่ว แต่ก็ไม่ใช่หาง่ายๆ มาตั้งแต่สมัยก่อนมาแล้ว ของปลอมก็มีกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว แต่พระปลอมในสมัยก่อนนั้นแบบพิมพ์นั้นทำไม่ค่อยดี ไม่ค่อยเหมือน จึงแยกแยะได้ไม่ยากนัก แต่พระปลอมในสมัยปัจจุบันจะทำกันได้ดี พิมพ์ค่อนข้างจะเหมือน แต่เนื้อหาก็ยังไม่ได้ ไม่มีความเก่าของพระตามอายุ ดังนั้น การจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ยิ่งพระมเหศวรมีอยู่หลายพิมพ์ก็ต้องศึกษาเป็นพิมพ์ๆ ไป หรือหาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความเชื่อถือได้

พระมเหศวรปัจจุบันมีราคาสูงมาก การจะเช่าหาก็ควรจะต้องรอบคอบหน่อยครับ ไม่อย่างนั้นเวลามีปัญหาต้องคืนพระกันจะลำบาก ทางที่ดีอย่าเช่าเปะปะ อย่าคิดเพียงได้ของ แพงในราคาถูก ไม่มีแล้วครับในสมัยปัจจุบัน พระแท้ย่อมมีมาตรฐานมูลค่ารองรับตลอดกาล ถ้านำไปแห่ขายไม่มีคนสนใจก็เท่ากับเป็นพระนอกมาตรฐานที่สังคมยอมรับก็น่าจะเป็นพระปลอมแน่ พระแท้พระปลอมพิสูจน์ง่ายๆ ด้วยมูลค่ารองรับของสังคมครับ ไม่ต้องเถียงกันให้เสียเวลาเจ็บคอเปล่าๆ

พระมเหศวรปัจจุบันราคาสูงมากครับ โดยเฉพาะพระสวยๆ และหาเช่ายาก ส่วนใหญ่คนที่มีก็ไม่ยอมให้เช่าต่อง่ายๆ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระมเหศวรจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย พิมพ์ใหญ่ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75469047865933_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญนาคปรกเศรษฐี อุดมทรัพย์

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 109 ปี พรรษา 90

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่ คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้าน ดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคมอักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคม ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฯลฯ

สำหรับวัตถุมงคลมีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจวันที่ 26 มิ.ย.2562 ทีมงาน 11 เสือ "ป๊อบ วีระพล" ขออนุญาตหลวงปู่แสง จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญนาคปรกหลวงปู่แสง รุ่นเศรษฐีอุดมทรัพย์

เพื่อสมทบเข้ากองทุนอาพาธ และใช้ในประโยชน์ของวัดโพธิ์ชัย

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ (ลุ้นตอก 9 รอบ) 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ (ลุ้นตอก 9 รอบ) 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา 7 สี (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 89 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 108 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 3K (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 234 เหรียญ เป็นต้น

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญ 2 ชั้นลดหลั่น ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระมหาจักรพรรดิ องค์ปฐมพระพุทธเจ้าต้นวงศ์ ซึ่งเป็นปางนำมาจากองค์พระธาตุพนม ปรกพญานาค 9 เศียร บริเวณฐานบัวหงาย มีอักษรตัว "ส" ในวงกลม ข้างขอบเหรียญด้านซ้ายแนวตั้งสลักตัวหนังสือคำว่า มหาบารมี ด้านขวาสลักคำว่า มหาบารมี 9 รอบ

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญด้านนอกมีเส้นสันนูนหนา มีเส้นบางชั้นในอีกชั้น ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า เศรษฐีอุดมทรัพย์ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระปิดตาภควันใต้ฐานพระปิดตาสลักอักขระยันต์หัวใจ 84,000 พระธรรมขันธ์ที่หลวงปู่แสงมอบให้

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 4 วาระ วาระแรกวันที่ 12 ต.ค.2562 ที่วัดประสิทธิ์ชัย อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ วาระ 2 วันที่ 13 ต.ค.2562 ที่วัดป่าศิลาอาสน์ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ วาระที่ 3 วันที่ 13 ต.ค.2562 ช่วงบ่าย ที่วัดเดียวกัน และวาระที่ 4 วันที่ 18 ต.ค.62 ที่วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม มีหลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 เมษายน 2563 12:35:27

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15085848296681_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระร่วงทิ้งดิ่ง กรุเจดีย์สูง สุโขทัย

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทย ดังนั้น จึงมีวัดวาอารามมากมาย และเมื่อมีวัดเก่าแก่มากแล้วก็ย่อมจะมีพระเครื่องที่สร้างบรรจุไว้มากมายเช่นกัน พระเครื่องของจังหวัดสุโขทัยมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายกรุ เช่น พระร่วงยืนหลังรางปืน พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และอื่นๆ อีกมากพระอีกกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องมากก็คือ วัดเจดีย์สูง

วัดเจดีย์สูง ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ไปทางทิศตะวันออก อยู่ใกล้ๆ กับวัดตะพังทองหลาง วัดเจดีย์สูงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่ง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ แต่เดิมคงเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในสมัยสุโขทัย ด้วยเหตุที่องค์พระเจดีย์มีขนาดสูงใหญ่จึงมักจะเรียกกันว่า วัดเจดีย์สูง มาจนทุกวันนี้

วัดเจดีย์สูงเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยตอนปลาย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมทรงสูง แล้วจึงเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์แบบนี้อาจจะเป็นต้นเค้าของเจดีย์ตอนต้นกรุงศรีอยุธยา (อโยธยา) ของภาคกลางก็เป็นได้

บริเวณด้านหน้าของพระเจดีย์สูง พบฐานพระอุโบสถ และพบร่องรอยพระเจดีย์รายอยู่ด้านหลัง ปัจจุบันเหลือเพียงองค์พระเจดีย์สูงเพียงองค์เดียว

มีการพบพระเครื่องของวัดเจดีย์สูงมากมาย ทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระที่พบมากที่สุดจะเป็นพระร่วงยืนปางเปิดโลก มีแบบพิมพ์ต่างๆ มากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน นอกจากนี้ก็พบพระนางแขนอ่อน ที่มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน พระนางแขนอ่อนที่พบที่วัดเจดีย์สูงนี้ยังมีพบที่กรุวัดมหาธาตุ และกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งมีพิมพ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้ยังพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นหินแก้วจุยเจียสีขาว และพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นเนื้อว่านหน้าทองอีกด้วย แต่พบน้อยมาก

พระร่วงเปิดโลกกรุวัดเจดีย์สูงนี้คนในสมัยก่อนมักจะเรียกว่าพระร่วงทิ้งดิ่ง เนื่องจากพระบาทของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้เท้าจะค่อนข้างจิกงุ้มลงมาด้านล่างมากกว่าของกรุอื่นๆ และปลายมือทั้งสองข้างวางทอดทิ้งลงมาตรงๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้ครับ

พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26077686250209_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระรูปเหมือนหลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณบุรีเคารพนับถือรูปหนึ่ง หลวงพ่อคำเป็นพระสงฆ์ที่ถือสันโดษ ใจดี ท่านมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณ มีชาวบ้านมาขอให้ท่านช่วยรักษาอยู่เนืองๆ

หลวงพ่อคำ จันทโชโต หรือพระครูสุวรรณวรคุณ เป็นชาวพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เกิดเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2430 โยมบิดาชื่อฮั้ว โยมมารดาชื่อจันทร์ พออายุได้ 15 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2451 ที่วัดมะนาว โดยมีพระครู วินยานุโยค วัดอู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดบุญมีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระช้างเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว

ต่อมาเมื่อพระอาจารย์บุญมาซึ่งเป็นญาติของท่าน ได้ย้ายมาจากวัดภาวนาภิตาราม กทม. มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูรในปี พ.ศ.2452 จึงได้ชวนให้หลวงพ่อคำ มาช่วยกันพัฒนาวัดหน่อพุทธางกูร หลวงพ่อคำได้ศึกษาพระธรรมวินัยและอักขระขอมกับพระอาจารย์บุญมาจนแตกฉาน

หลวงพ่อคำช่วยพัฒนาวัดหน่อพุทธางกูรจนเจริญรุ่งเรืองและได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูง ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา หลวงพ่ออบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และประชาชนให้มีความประพฤติดีประพฤติชอบอยู่เสมอ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในแถบนั้นมาก นอกจากนี้เรื่องวิชาแผนโบราณของท่านยังช่วยเหลือชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นนิจ ใครเดือดร้อนเรื่องอะไรก็มักจะไปขอความช่วยเหลือจากท่านตลอด ในสมัยนั้น หน้าร้อนก็มักจะมีโรคพิษสุนัขบ้าอยู่เป็นประจำ เนื่องจากในสมัยนั้นเรื่องวัคซีนแก้โรคสุนัขบ้านั้นยังไม่มีแพร่หลาย สุนัขเถื่อนมักจะติด โรคนี้และถ้ามีใครผ่านไปเจอก็มักจะโดนกัดและติดเชื้อกันเป็นประจำถ้ารักษาไม่ทันก็จะเสียชีวิต ชาวบ้านในแถบนั้นถ้ามีใครถูกสุนัขบ้ากัดก็จะมาขอให้หลวงพ่อคำรักษาให้ ท่านก็ช่วยรักษาให้หายทุกรายไป จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่วว่าชะงัดนัก มีชาวบ้านเมืองสุพรรณไปให้ท่านช่วยรักษากันมากมาย และหายได้ทุกรายไป จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ในปี พ.ศ.2498 ลูกศิษย์และชาวบ้านมาขออนุญาตสร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริง ท่านก็อนุญาตโดยมัคนายกวัดหน่อฯ ได้ติดต่อช่างปั้นชื่อนายชิ้น มาปั้นรูปเหมือนของท่าน ในการนี้ก็ได้สร้างพระรูปเหมือนองค์เล็ก และสร้างเหรียญรูปอาร์มขึ้นด้วย รูปเหมือนองค์เล็กขนาดห้อยคอนี้สร้างประมาณ 1,000 องค์ มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์สังฆาฏิยาวและพิมพ์สังฆาฏิสั้น พิมพ์สังฆาฏิยาวนั้นผ้าสังฆาฏิจะยาวลงมาจนลอดใต้มือลงมา

ส่วนพิมพ์สังฆาฏิสั้นจะไม่ยาวลอดมือ จะอยู่ที่มือของหลวงพ่อพอดี ส่วนเหรียญรูปอาร์มเป็นแบบไม่มีหูเหรียญใช้เจาะรู ที่ตัวเหรียญ นอกจากนี้ก็ยังมีสร้างรุ่น 2 รุ่น 3 ต่อมาอีก รวมทั้งเหรียญรุ่นต่อมา อีกด้วย

ปัจจุบันรูปเหมือนรุ่นแรกหายากแล้วครับ ใครมีก็หวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหมือนรุ่นแรก พิมพ์สังฆาฏิยาว มาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74309535283181_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญมังกร หลวงปู่หา

พระญาณวิสาลเถร หรือ หลวงปู่หา สุภโร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าอาวาสวัดป่าสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองน้ำดำ ที่มีชาวพุทธให้ความเลื่อมใส

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ สิริอายุ 95 ปี พรรษา 76

มีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ 2 ก.ค.2486 ปีฉลู ชาวบ้านนาเชือก ต.เว่อ ต.นาเชือก อ.ยางตลาด (ปัจจุบัน อ.เมือง) จ.กาฬสินธุ์

อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่สิมน้ำวัดสว่างนิวรณ์นาแก ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ มีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จ.กาฬสินธุ์อยู่ 1 ปี และต่อมาจึงมีญัตติมหานิกายเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำวัดหนองโจด จ.กาฬสินธุ์ มีพระครูสมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังญัตติเสร็จจำพรรษาที่วัดสุวรรณศรีมุ่งมั่นจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก อุปัฏฐากรับใช้สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ด้วยใฝ่รู้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับพระธรรมมงคลญาณ ที่วัดธรรมมงคล และกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ ที่วัดบรมนิวาส

ก่อนกลับสู่มาตุภูมิพัฒนาวัดป่าสักกะวัน จนมีความเจริญรุ่งเรือง กระทั่งก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปี ได้รับพระราชทานนามว่า "พิพิธภัณฑ์ สิรินธร"

ชาวบ้านจึงเรียกขานท่านว่า หลวงปู่ไดโนเสาร์

เดือน มี.ค.2563 คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใส "อ๊อฟ วิโดว์" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหล่อมังกร รุ่นรวยมหาเศรษฐี เพื่อจัดหารายได้บำรุงวัด

โดยจัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนำฤกษ์สังฆวานร เนื้อนำฤกษ์นวะเทดินไทย เนื้อเงินหน้ากากทองคำลงยาชนิดละ 59 เหรียญ เนื้อเงินลงยาแดง 79 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 111 เหรียญ เนื้อนวะหน้ากากเงินขอบเงินลงยา 199 เหรียญ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 239 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 299 เหรียญ เนื้อชุบทองลงยา 399 เหรียญเนื้ออัลปาก้าลงยา 559 เหรียญ เนื้อสัมฤทธิ์ 999 เหรียญ เนื้อทองระฆัง 1,111 เหรียญ และเนื้อทองแดง 2,222 เหรียญ เป็นต้น

ลักษณะเป็นเหรียญคล้ายหัวมังกร หูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญชั้นนอกมีเส้นสันนูนหนา มีลวดลายกนกและมีเส้นสันบางล้อมรอบอีกชั้น ตรงกลางมีรูปเหมือน ด้านบนมีเสมาธรรมจักร ส่วนด้านข้างมีมังกร 2 ตัวขนาบข้าง

ด้านหลังเหรียญ แบนราบ ใต้หูเชื่อมมียันต์อุณาโลม หัวใจของคาถา ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ อ่านว่า อิสวาสุ หมายถึง หัวใจพระรัตนตรัย ด้านล่างมีตัวหนังสืออ่านว่า รวยมหาเศรษฐี ด้านข้างของเหรียญด้านซ้ายไปขวา สลักตัวหนังสือ เขียนคำว่า หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ.๒๕๖๓ ประกบด้วยดอกจัน

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ได้นำชนวนมวลสาร ตะปูสังฆวานรสลักโบสถ์วิหารวัดระฆัง โฆสิตารามวรมหาวิหาร และวัดโสธรวรารามวรมหาวิหาร หล่อนำฤกษ์ จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก เดือน พ.ค.2563  
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24428697716858_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระเนื้อชินเขียว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราๆ ท่านๆ ผู้นิยมพระเครื่องก็คงจะเคยได้ยินเนื้อพระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเนื้อชินเขียวมาบ้างแล้ว และโดยส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยม เนื่องจากเท่าที่พบเป็นพระปลอมประเภทหนึ่งที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่มีใครสนใจและพระปลอมประเภทนี้ก็มักจะกล่าวอ้างว่าเป็นพระกรุพะเยา หมายถึงเป็นพระของกรุทางจังหวัดพะเยา ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่มีพระกรุทางพะเยาที่เป็นแบบนี้เลย หาที่มาที่ไปไม่ได้ แล้วพระกรุที่เป็นเนื้อชินเขียวมีจริงหรือไม่ ก็ต้องมาหาคำตอบกันครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่า และสร้างด้วยเนื้อโลหะก็มีอยู่หลายประเภท เช่น เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่ว สำหรับเนื้อชินเงินก็ยังแยกออกเป็นชินต่างๆ อีกแล้วแต่การผสมสัดส่วนของโลหะ และก็มีเนื้อชินอีกประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่าชินเขียว ที่เป็นพระแท้มีไหม มีครับและก็มีอยู่หลายกรุเหมือนกัน แต่เนื้อชินเขียวที่เคยออกมาอาละวาดจนคนขยาดไม่กล้าเล่นพระชินเขียวจนคิดว่าพระเนื้อชินเขียวเป็นพระปลอมเสียทั้งหมด ก็เมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อนนั้น มีขบวนการปลอมพระกลุ่มหนึ่งได้ทำพระเนื้อชินเขียวขึ้นมา โดยทำแบบพระที่นิยมกันหลายๆ อย่าง ขบวนการแรกทำกันที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดแพร่ หมู่บ้านเชตวัน อำเภอเมือง พระเหล่านี้เมื่อหมักให้เกิดสนิมขึ้นบ้างแล้วก็นำมาขายในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ เมื่อมีคนถามก็ว่าแตกกรุมาจากจังหวัดพะเยา จึงเป็นที่มาของพระชินเขียวพะเยา ซึ่งความจริงทำกันที่แพร่ ต่อมาก็มีคนทำกันอีกหลายที่ทั้งที่กรุงเทพฯ เองก็ทำ และก็อ้างว่าเป็นพระกรุทางพะเยาเช่นเดิม ต่อมาก็มีคนนำความมาเปิดเผยจนรู้กันทั่วไปว่าเป็นพระปลอม แล้วผู้ที่ดูพระเป็นเล่นพระได้ ก็ดูออกก็รู้แต่แรกแล้วว่าเป็นพระที่ยังไม่เก่าอายุไม่ได้ เขาก็ดูจากสนิมต่างๆ ที่องค์พระก็พอรู้ได้ว่าเป็นพระปลอมอายุไม่เก่า

อ้าวแล้วทำไมต้องทำเป็นพระเนื้อชินเขียวด้วย ครับก็พระเนื้อชินเขียวนั้นของเก่าเขาก็มีจริงๆ และพุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันเสียด้วย จึงมีคนนิยมกันมาก เช่น พระยอดอัฏฐารส กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก พระร่วงทรงเกราะของสุโขทัย เป็นต้น สนนราคาสูงมาแต่โบราณเนื่องจากพุทธคุณเด่นชัดและมีประสบการณ์มากมาย มีคนเสาะหากันมาก่อนปี พ.ศ.2500 นอกจากนี้ เนื้อชินเขียวยังพบที่ทำเป็นเงินพดด้วงโบราณสมัยสุโขทัย และยังพบในกรุสมัยอยุธยาอีก เช่นตะปูสังฆวานรที่ใช้เป็นสลักตอกตรึงในการสร้างพระอุโบสถวิหาร และพบที่อยู่ในกรุเจดีย์สมัยอยุธยายังพบเครื่องรางรูปช้างที่เป็นเนื้อชินเขียว ที่นิยมนำมาเป็นเครื่องรางของขลังอีกด้วย ตะปูสังฆวานรที่พบในกรุหรือตามซากโบราณสถานนั้นเป็นที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะมักพบอยู่ตามซากโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าผ่านการสวดมนต์มานับครั้งไม่ถ้วน นิยมนำมาเป็นเครื่องรางของขลัง และนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อโลหะต่างๆ ถือว่าเป็นของอาถรรพณ์ เป็นต้น

ทีนี้เมื่อในยุคหนึ่งที่มีการนิยมชินเขียวมากจึงมีนักปลอมแปลงหาผลประโยชน์ทำเนื้อชินเขียวปลอมขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ ส่วนมากจะทำเป็นรูปพระเครื่องที่นิยมกันอยู่แล้วหลายๆ อย่างมาหลอกขาย แต่ก็ไปไม่รอด ทำความเก่าหรือสนิมที่มีความเก่าแก่ในตัวอย่างของแท้ไม่ได้ ก็เลิกๆ ทำกันไปแต่ในปัจจุบันก็ยังมีพวกที่นำพระเนื้อชินเขียวปลอมรุ่นเก่ามาหลอกขายกันอยู่เหมือนกัน แต่เนื้อและสนิมก็ยังไม่รอดอยู่ดี ถ้าศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องสนิมและความเก่าได้ก็จะพอรู้ได้ครับ

สรุปว่าพระเนื้อชินเขียวของแท้เขามีจริงครับ แต่ก็หายากและราคาสูงด้วยครับ สนิมของเนื้อชินเขียวนั้นจะเรียกกันว่าสนิมไข่แมงดา เนื่องจากจะขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ คล้ายไข่แมงดา มีสีแบบสนิมไขของเนื้อชินตะกั่วมีสีขาวอมเหลืองขึ้นสลับซับซ้อน ในส่วนที่ลึกลงไปจะมีพื้นเป็นสีดำสนิท ตัวเนื้อโลหะเองก็จะเป็นสีเทาอมเขียว พอมองดูภาพรวมผิวสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนแล้วจะมีความใสเป็นมันวาว มองดูคล้ายๆ กับเนื้อของสบู่กรดในสมัยก่อน ภาพรวมก็จะเป็นสีออกอมเขียวๆ จึงเรียกกันว่าชินเขียว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว ซึ่งเป็นพระพิมพ์สองหน้า จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58377682417631_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญย้อนยุค หลวงปู่ฝั้น

"วัดดอยเทพเนรมิต" ตั้งอยู่บนเกาะกลางลำน้ำอูน บ้านนาเลา ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร มีเนื้อที่กว่า 300 ไร่ หากยืนบนสันเขื่อนน้ำอูน มองไปทางที่ตั้งวัดจะเห็นพระพุทธรูปลีลา "ภูมินพคุณ" โดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา

ปัจจุบันมี พระครูวรธรรมโชติ หรือ หลวงปู่สุดใจ อนุตตโร เป็นเจ้าอาวาส

แต่เดิมวัดแห่งนี้เป็นที่พักสงฆ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์เดินทางมาจากภูเขาควาย ประเทศ สปป.ลาว มาสร้างเป็นที่พักสงฆ์ปฏิบัติธรรมที่นี่ ต่อมาได้กลายเป็นที่พักสงฆ์ร้าง

หลายปีต่อมา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ธุดงค์

ปฏิบัติธรรมที่นี่ เห็นว่าเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ท่านจึงมอบหมายให้หลวงปู่ศรี มหาวีโร พัฒนาที่พักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัด ช่วงแรกเรียกว่า วัดดอย ต่อมาหลวงปู่สมัย วัดป่าโนนแสงทอง เดินทางมาจำพรรษาปกครองที่นี่และเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดดอยเทพเนรมิต"

หลวงปู่สมัยย้ายกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าโนนแสงทอง จึงมอบหมายให้หลวงปู่สุดใจ อนุตตโร จากวัดศรีจำปาชนบท อ.พังโคน พัฒนาวัดนี้ในปี พ.ศ.2538 อาทิ สร้างถนนขึ้นวัด สร้างกุฏิ เป็นต้น

นับแต่นั้นมา หลวงปู่สุดใจ อนุตตฺโร ก็จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2563 วัดดอยเทพเนรมิต มีโครงการวางท่อระบบประปา ระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร สูบน้ำด้วยระบบโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และปรับปรุงเทพื้นศาลาการเปรียญ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

"แท็กสกล พระใหม่" พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ที่มีจิตอันเป็นกุศล ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญย้อนยุครุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร" เพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมบริจาคทำบุญพัฒนาวัด

จำลองพุทธศิลป์มาจากเหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร จึงอาศัยบุญบารมีของท่านช่วยพัฒนาวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เอียงข้างห่มจีวรเฉียง ด้านล่างเขียนว่า พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ด้านหลังบนสุดใต้หูเหรียญเขียนว่า วัดดอยเทพเนรมิต บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์เขียนว่า ๒๕๖๓ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และล่างสุดจากด้านขวาของเหรียญวนไปด้านซ้ายเขียนว่า รุ่นแรกศิษย์สร้างถวาย พร้อมกับตอกโค้ดและหมายเลขเรียงลำดับ

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 29 เหรียญ เนื้อเงินขาวลุ้นหลังเรียบจารมือ 99 เหรียญ อัลปาก้า 499 เหรียญ ทองแดงผิวโบราณ 3,000 เหรียญ เป็นต้น พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นบนเรือกลางเขื่อนน้ำอูน เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา  
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15202995099955_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระร่วงนั่งกรุคอกควาย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "พระร่วงนั่งกรุคอกควาย" ผมได้ยินชื่อในครั้งแรกๆ ก็เกิดความสงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่าคอกควายตามหลังชื่อพระ น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องเป็นแน่ ก็ลองหาชมองค์พระและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระร่วงนั่งชนิดนี้

พระร่วงนั่งกรุคอกควาย เป็นพระที่พบในจังหวัดชัยภูมิ มีศิลปะแบบขอม เนื้อชินสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ มีที่เป็นเนื้อชินเงินบ้างแต่พบน้อย เมื่อศึกษาถึงเมืองชัยภูมิดูก็พบว่าเป็นแหล่งชุมชนมาเก่าแก่ และเป็นเมืองที่ขอมมีอิทธิพลมาก่อน โดยมีโบราณสถานประเภทปรางค์กู่อยู่หลายแห่งเช่น ปรางค์กู่ในตัวเมืองชัยภูมิ ปรางค์กู่ที่อำเภอบ้านแท่น ที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองไปทางเหนือ เป็นต้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเก่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 พร้อมๆ กับเมืองพิมาย และคงมีการติดต่อค้าขายกันมาและเชื่อมต่อกับเมืองในแถบนี้ เช่น เมืองเสมา เมืองโคราฆะปุระ

ต่อมาเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงจนมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนี้ก็เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และได้มีชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้มีบุรุษหนึ่งนามว่าท้าวแล ได้พาครอบครัวและสมัครพรรคพวกและครอบครัวอพยพมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองนี้ และได้มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย จนเป็นชุมชนใหญ่ ดังปรากฏชื่อบ้านแสนพัน (ต่อมากลายเป็นบ้านสัมพันธ์ในปัจจุบัน)

โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ของเมืองชัยภูมิ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลศิลปะขอม ได้แก่ ปรางค์กู่ เทวรูป พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ การค้นพบก็จะพบบริเวณปราสาทเก่า ภูพระ ภูเขียว คอนสวรรค์ เป็นต้น ส่วนที่เป็นพระเครื่องก็มีพบบ้างแต่ไม่มากนัก และที่รู้จักกันดีก็คือพระร่วงนั่งกรุคอกควาย

พระร่วงนั่งกรุคอกควายพบที่บ้านโศกพริก เมื่อปี พ.ศ.2505 มีชาวบ้านผู้หนึ่งได้ขุดหลุมเพื่อปักเสาทำคอกควาย เผอิญได้พบพระเครื่องเป็นพระเนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางสมาธิ ทรงเทริด มีกรองพระศอ และกำไลแขน ตัดขอบชิดองค์พระ ศิลปะแบบขอม จึงเรียกชื่อกันว่าพระร่วงนั่ง ส่วนคำว่าคอกควายก็มาจากสถานที่พบพระ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "พระร่วงนั่งกรุคอกควาย" การพบพระครั้งแรกก็พบพระจำนวนไม่มากนัก แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2541 ก็มีผู้พบพระลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ในบริเวณที่เดิมที่เคยพบพระ ได้พระจำนวนประมาณ 40 องค์ สันนิษฐานว่าคงจะตกค้างอยู่หลังจากนำพระขึ้นไปในครั้งแรก พระที่พบทั้ง 2 ครั้งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ มีพระเนื้อชินเงินบ้างเล็กน้อย พระส่วนมากจะมีคราบไขขาวจับอยู่ตามผิวพระ เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบสนิมแดงสีเข้ม ส่วนพระเนื้อชินเงินก็จะมีผิวสีดำ

ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุคอกควายไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ในวันนี้ผมได้นำรูปจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28081696853041_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญสมโภชหุ้มทองคำ ยอดพระธาตุพนม

พระธาตุพนม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ชาวพุทธไทย-ลาว สองฝั่งโขงประดิษฐานที่วัดพระธาตุพนมวรมหา วิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี สร้างใน พ.ศ.8 โดยเจ้าพญาทั้ง 5 มีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน พร้อมพระอรหันต์ 500 รูป

เป็นพระมหาธาตุเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร มีความสูง ถึงยอดฉัตร 57 เมตร บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) พระพุทธเจ้า

บูรณปฏิสังขรณ์ 7-10 ครั้ง ย้อนไปวันที่ 11 ส.ค. เวลา 19.09 น. พระธาตุพนมได้หักครืนพังทลายลงมา สร้างความเศร้าสลดให้ชาวพุทธทั่วประเทศ

รัฐบาลในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อสร้างโดยเงินบริจาคของประชาชน จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2522

กาลเวลาล่วงเลยมา 40 ปี สำนักศิลปากรที่ 10 อุบลราชธานี ได้พิจารณาให้บูรณปฏิสังขรณ์ทาสีใหม่และปิดทองเปลว

วันที่ 22 ก.ค.2562 วัดแจ้งไปที่กรมศิลปากร จะหุ้มยอดเม็ดน้ำค้างและทองคำบริสุทธิ์ ใช้เวลาบูรณปฏิสังขรณ์นาน 1 เดือนจึงแล้วเสร็จ

วันที่ 28 ม.ค.2563 นายปฐมพงศ์ ณ จำปาศักดิ์ ขออนุญาตทางวัดจัดสร้างวัตถุมงคล ที่ระลึกเนื่องในวาระสมโภชยกทองคำหุ้มยอด พระธาตุพนม

วัตถุประสงค์สร้างถวายแจกในพิธีดังกล่าว (ไม่มีการจำหน่ายแต่อย่างใด)

จัดสร้างเป็นเหรียญสมโภชสี่เหลี่ยม เนื้อทองคำ 18 เหรียญ, เนื้อเงิน 108 เหรียญ, เนื้อทองสำริด 4,200 เหรียญ, เหรียญสมโภชวงรี เนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงิน 2 เหรียญ, เนื้อทองสำริด 2,200 เหรียญ, เหรียญสมโภชวงรีหลังบรรจุผงกรุพระธาตุ เนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงิน 119 เหรียญ และเนื้อทองสำริด 103 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีหูห่วง มีขอบเส้นสันนูนบาง ขอบเหรียญด้านในมีหยักคล้ายฟันปลา ตรงกลางเหรียญประดิษฐานองค์พระธาตุพนม เหนือฉัตรมีเปลวรัศมีแฉก ด้านข้างองค์พระธาตุพนมมีดอกบัวหงายคล้ายคบเพลิงประกบข้างซ้ายขวา ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า พระธาตุพนม

ด้านหลังเหรียญ มีสันขอบนูนหนา วงรอบเส้นในมีจุดไข่ปลาล้อมรอบอีกชั้น ใต้หูห่วงสลักอักขระ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนคล้ายปลียอด ด้านล่างสลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า สมโภชหุ้มทองคำ ยอดพระธาตุบรมเจดีย์ 7 กันยายน 2562

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระธาตุพนม วันที่ 6 ก.ย.2562 มีพระภิกษุสามเณร 300 รูปสวดเจริญพระพุทธมนต์

มีพระเกจินั่งปรก 3 วาระ อาทิ พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม, พระวิบูลย์ธรรมาภรณ์ จ.อุบลราชธานี, พระครูพิพัฒน์วิทยาคม วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี, หลวงปู่กลม อภิลาโส อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

เป็นอีกเหรียญที่มีประสบการณ์ และค่อนข้างหายากไปแล้ว  
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95176172835959_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เหรียญหล่อหลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดสามไถ เป็นพระเกจิอาจารย์ของอยุธยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นที่เคารพนับถือมากของชาวบ้านสามไถ ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปท่านไว้รุ่นหนึ่ง ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากครับพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งมีประสบการณ์มากมายเชื่อถือได้

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอดเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรหลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา จึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้ เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถมรณภาพทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้าห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่า แผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลาย แล้วเมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมด หลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืน ที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อของท่าน จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 พฤษภาคม 2563 16:15:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62191445918546_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระผงหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระผงพุทธคุณอีกองค์หนึ่ง คือพระของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์ หลวงพ่อผึ่งได้สร้างพระเนื้อผงไว้อยู่หลายพิมพ์ ซึ่งเป็นพระที่น่าสนใจมากองค์หนึ่งแถมปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนักและสนนราคาก็ไม่แพง ด้วยครับ

หลวงพ่อผึ่งเกิดที่บ้านไผ่หมู่ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ หร่าย โยมมารดาชื่อปุ๋ย อาชีพชาวนา ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน ต่อมาบิดามารดาได้แยกทางกัน หลวงพ่อผึ่งอยู่กับมารดา จึงต้องช่วยทำนาตั้งแต่เด็ก มารดาของหลวงพ่อต้องการให้หลวงพ่อผึ่งอ่านออกเขียนได้จึงนำไปฝากเรียนกับหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก หลวงพ่อผึ่งเป็นคนขยันหมั่นเพียร เล่าเรียนหนังสือไทยและขอม สามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วแตกฉานตลอดจนบทสวดมนต์ ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ในปี พ.ศ.2488 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้องโดยมีพระปลัดบุญยัง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อ เหนี่ยง อินทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโหน่ง อินฺทวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อผึ่งบวชได้หนึ่งพรรษา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ซึ่งเป็นคนสองพี่น้องก็มาบวชที่วัดสองพี่น้องจำพรรษาอยู่กุฏิเดียวกันกับหลวงพ่อผึ่งและหลวงพ่อหอม ทั้งสามองค์สนิทสนมกันมากออกธุดงค์ด้วยกันและใฝ่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน ได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปลื้ม สำนักวัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เมื่อศึกษาแล้วก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม ส่วนหลวงพ่อสดมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ต่อมาหลวงพ่อผึ่งมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.บ้านกุ่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2462 มีขบวนแห่มาอย่างครึกครื้น หลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อสด และหลวงพ่อหอม ก็มาส่งด้วย ท่านมาถึงก็เริ่มก่อสร้างวัดสว่างอารมณ์ทันทีด้วยการขอแรงชาวบ้านช่วยกันขุดคูรอบวัด ปลูกมะพร้าวบนคันคู ขุดดินถมเป็นเนินเพื่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อผึ่งจะแจกพระผงของท่านให้แก่ญาติโยมที่มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด

หลวงพ่อผึ่งได้สร้างผงวิเศษขึ้นมานานแล้ว ท่านได้เขียนยันต์ด้วยดินสอพองในกระดานชนวน เสร็จแล้วลบ ท่านเขียนเป็นเวลาหลายปี เก็บไว้หลายปี๊บ ในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อสดยังมาขอผงวิเศษของหลวงพ่อผึ่งไปผสมสร้างพระของท่านเลย ในการสร้างพระของหลวงพ่อผึ่งท่านจะใช้สายสิญจน์ 108 เส้น วงรอบบริเวณที่จะทำพระ ผู้ที่จะพิมพ์พระจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด และถือศีล จึงจะเข้าร่วมพิมพ์พระของท่านได้ เมื่อสร้างพระเสร็จแล้วท่านก็จะนำพระทั้งหมดเข้าไว้ในพระอุโบสถ ให้พระสวดมนต์เช้าเย็น และกลางคืน เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นท่านก็นำมาปลุกเสกเดี่ยวอีก จนครบไตรมาส

พระที่ท่านสร้างมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ประภามณฑล พิมพ์เชียงแสน พิมพ์อกร่อง พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ชินราช บางพิมพ์ก็เป็นพิมพ์แบบพระวัดท้ายตลาดก็มี เป็นต้น ในวันนี้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์อกร่องและพิมพ์ 7 ชั้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42748421513371_view_resizing_images_1_320x200.jpg)  
เหรียญพระศรีอริยเมตไตรย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลก์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดลพบุรี มีประชาชนเคารพศรัทธามาก มีการจัดงานประเพณีนมัสการองค์พระปีละ 3 ครั้ง

พระศรีอริยเมตไตรย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "พระศรีอาริย์" นั้นเป็นพระรูปหล่อแบบพระพุทธรูปแต่ไม่มีเปลวรัศมี (ไม่มีพระเกศ) นั่งสมาธิแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย สวยงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดไลก์ ในทางประวัติศาสตร์มิได้มีการระบุไว้ว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง คงมีแต่ตำนานกล่าวถึงการสร้างของทางวัด เกี่ยวกับเรื่องของอภินิหารเทพที่มีผู้วิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประชาชนโดยทั่วไปศรัทธาและไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการประจำปี โดยจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3

ครั้งที่ 2 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ครั้งนี้เป็นประเพณีใหญ่ เรียกว่างานแห่พระศรีอริยเมตไตรย จากวัดไลก์ไปถึงวัดท้องคุ้ง

ครั้งที่ 3 เริ่มงาน วันแรม 4-6 ค่ำ เดือน 11 แต่โบราณเป็นประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรยทางน้ำและได้ยกเลิกประเพณีแห่ทางน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 คงเพียงนมัสการภายในวัดเท่านั้น

งานประเพณีประจำปีแห่พระศรีอริยเมตไตรยในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ถือเป็นงานใหญ่ทางคณะกรรมการจัดงานและประชาชนจะอัญเชิญรูปหล่อพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นประดิษฐาน และจัดขบวนแห่ ด้วยให้ประชาชนที่มาร่วมขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ก็จะมีการสรงน้ำ และปิดทอง ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ประชาชนทั้งหลายที่มาร่วมขบวนจะจัดประดับตกแต่งช้างม้าบรรดามีของตนอย่างสวยงามตามที่จะจัดได้ แล้วนำมาร่วมขบวนแห่ นอกจากนี้ผู้ที่ไปร่วมขบวนก็มีศิลปิน นักแสดงต่างๆ เกาะกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมีทั้งเทิ้งบ้องกลองยาว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยและการเล่นต่างๆ ซึ่งแล้วแต่ผู้ใดจะถนัดการแสดงทางไหน ก็แสดงกันไปอย่างสนุกสนาน เป็นงานใหญ่ประจำปี ผู้คนต่างสนุกสนานครึกครื้นที่สุดตั้งแต่เริ่มขบวนแห่และเมื่อขบวนแห่กลับมาถึงวัดไลก์ ก็นำองค์พระศรีอริยเมตไตรยมาประดิษฐานที่ปะรำพิธี เพื่อเปิดงานนมัสการต่อไป

ปัจจุบันนี้พิธีแห่พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังกระทำเป็นประจำทุกปี และเป็นงานใหญ่ที่ประชาชนพยายามรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำสืบทอดกันต่อมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นงานสำคัญของจังหวัดลพบุรี

วัตถุมงคลของวัดไลก์ได้เริ่มสร้างมาในสมัยหลวงพ่อสุ่น ติสฺสโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ (2451-2472) ได้จัดสร้างเหรียญรูปพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ ผู้ที่มานมัสการพระศรีอริยเมตไตรยและร่วมทำบุญที่วัดไลก์ เหรียญที่สร้างในครั้งแรกนั้น สร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมาด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธชินราช อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย มีสร้างสองเนื้อ คือเนื้อทองแดงกะไหล่ทองและเนื้ออะลูมิเนียม สร้างประมาณปี พ.ศ.2460 อีกรุ่นหนึ่งเป็นรูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย ด้านหลังเป็นยันต์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างระบุปี  พ.ศ.2467 ทั้งสองรุ่นเป็นรุ่นนิยม เป็นเหรียญหายากที่สวยสมบูรณ์ราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย อีกด้านเป็นรูปพระพุทธชินราช เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79903955467873_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน "พระขุนแผน" ถ้านึกถึงพระขุนแผน ก็ต้องนึกถึงเมตตามหานิยม พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนก็มักจะชอบหาพระขุนแผนมาใส่ห้อยคอ เพราะนึกถึงความเจ้าชู้และมีเสน่ห์ของพระเอกขุนแผน แถมมีความเก่งกล้าในวิทยาคม จึงถูกใจชายหนุ่มในสมัยก่อนกันนัก

พระขุนแผน ของสุพรรณบุรี กรุที่มีชื่อเสียงก็จะเป็นกรุวัดพระรูปและกรุวัดบ้านกร่าง พระกรุ วัดบ้านกร่างนั้นมีมากมายหลายพิมพ์ และมีแบบคู่คือพระพลายคู่ ก็ยังมีอีกหลายพิมพ์เช่นกัน วัดบ้านกร่าง ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ ตรงข้ามตัวตลาดและที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พระกรุวัดบ้านกร่างนี้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้สร้างไว้หลังจากเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารที่เสียสละชีวิตในการศึกครั้งนั้น

พระกรุวัดบ้านกร่างแตกกรุออกมา ประมาณปี พ.ศ.2440 อาจจะเนื่องจากองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระล้มลง คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า เกิดมาก็เห็นพระบ้านกร่างนี้กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัด และเจ้าอาวาสในสมัยนั้นก็ได้ให้นำพระเครื่องทั้งหมดมากองรวมไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหาร และในวิหารหลังเก่าก็มีกองสูงถึงฐานชุกชี แสดงว่าจำนวนพระมีมากมาย คนในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครนำพระเครื่องจากวัดเข้าบ้าน จึงมีพระกองอยู่อย่างนั้น จะมีก็พวกเด็กแถววัดและเด็กวัด ที่นำเอามาร่อนลงน้ำให้กระท้อนกับพื้นน้ำเล่นว่าใครจะกระท้อนได้มากกว่ากัน หรือไม่ก็เอามาทอยกอง เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ ในสมัยนั้น แต่ก็ยังไม่มีใครกล้านำกลับไปบ้าน เพราะผู้ใหญ่จะดุเอา ห้ามเอาของวัดเข้าไว้ที่บ้าน (ในสมัย พ.ศ.2440) ต่อมาที่ท่าน้ำวัดบ้านกร่างมักมีชาวเรือที่นำข้าวของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมาพักจอดเรือที่ท่าน้ำวัดในหน้าแล้ง ส่วนมากเป็นชาวนครชัยศรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ก็เก็บกลับไปบ้านของเขาบ้าง บางคนเอาไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ ก็มาเอากันอีก พระก็เริ่มงวดลงไป ชาวบ้านก็จึงเริ่มเอาพระมาเก็บไว้บ้าง พวกหนุ่มๆ เอาพระพลายคู่ไปห้อยคอแล้วไปมีเรื่องกับคนต่างถิ่น ถูกฟันไม่เข้าก็จึงเริ่มมาหาพระที่วัดกันจนหมดไปในที่สุด สมัยก่อนผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า พระบ้านกร่างคู่นั้น สามารถแลกกับวัวได้คู่หนึ่งทีเดียว

ต่อมามีการตั้งชื่อพระพิมพ์ต่างๆ เช่นพระขุนแผนทรงพลใหญ่-เล็ก พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่-อกเล็ก พระขุนแผนใบมะยม พระขุนแผนใบพุทรา พระพิมพ์พระประธาน พิมพ์ซุ้มเหลือบ พิมพ์เถาวัลย์ พิมพ์ใบไม้ร่วง พิมพ์ซุ้มประตู และพลายคู่พิมพ์ต่างๆ ฯลฯ ทำไมต้องเป็นชื่อขุนแผน ก็เมืองสุพรรณนั้นตามวรรณคดีเป็นบ้านเกิดของขุนแผนตัวพระเอกของเรื่อง แม้แต่ถนนหนทางในสุพรรณฯ ยังตั้งชื่อตามวรรณคดีเลยครับ ชื่อพระกรุอื่นๆ ก็มีที่เป็นชื่อตามวรรณคดีทั้งนั้น ทีนี้พระที่มีชื่อว่าขุนแผน ผู้คนก็นึกเอาว่าคงจะเก่งกล้าสามารถและมีเสน่ห์เมตตามหานิยมตามพระเอกในเรื่องขุนแผนด้วย พวกชายหนุ่มวัยรุ่นก็มักจะนิยมเสาะหากันใหญ่

ความจริงพุทธคุณของพระกรุวัดบ้านกร่างนั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม แต่ร้อยทั้งร้อยคนที่หา พระขุนแผนนั้นชอบเจ้าชู้เกือบทั้งนั้นครับ ไม่ได้ว่าใครนะครับ แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเป็นอย่างนั้น ตัวผมเองเมื่อตอนวัยรุ่นก็ห้อยพระวัดบ้านกร่างเช่นกัน แหมใครจะไม่ชอบล่ะครับ แต่ปัจจุบันไม่ได้ห้อยแล้ว แม่บ้านไม่ให้ห้อยครับ สงสัยเขาจะอ่านวรรณคดีมากไปครับ

ครับโม้มามากแล้ววันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดบ้านกร่าง ที่นิยมกันมากคือพระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31441362284951_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหลวงปู่ธูป

หลวงปู่ธูป ญาณวโร หรือ พระครูสังฆรักษ์สมาน เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปี พรรษา 59

มีนามเดิม สมาน ใจเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2480 ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวบ้านลาดน้ำขาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทรงกระเทียม จ.สุพรรณบุรี แต่หลังจากบวชได้ 1 พรรษา ท่านจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาคอยดูแลบิดาที่ชราภาพ เมื่อบิดาเสียชีวิต ในปี พ.ศ.2504 เมื่อหมดภาระทางครอบครัวแล้ว จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ที่อุโบสถวัดบางซ้ายใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้ายใน) เจ้าคณะอำเภอบางซ้ายใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดเจริญ วัดบางซ้ายใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ทองหยด วัดบางซ้ายใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า ญาณวโร แปลว่า ผู้มีญาณอันประเสริฐ

พ.ศ.2509 จำพรรษาอยู่ที่วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี ตราบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์สมาน พระฐานานุกรมในพระเทพปริยัติกวี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

ย้อนไปในปี พ.ศ.2562 ในโอกาสที่อายุครบ 83 ปี คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "ภีม วังน้ำเขียว" ขออนุญาตหลวงปู่ธูป จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรูปเหมือน รุ่นมหามงคล 83 ปี เพื่อแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่ร่วมงานและหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างห้องน้ำให้กับวัดลาดน้ำขาว ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างรวม 8 ห้อง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูห่วงตัน

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ เขียนว่า หลวงปู่ธูป ญาณวโร วัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี พ.ศ.๒๕๖๒ ที่หน้าอกมีคำว่ามหามงคล และตอกโค้ด รูประฆังที่สังฆาฏิ

ด้านหลังเหรียญ บนสุดกำกับด้วยอักขระยันต์ตรงกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์เมตตาและยันต์แคล้วคลาด แถวต่อมาเป็นคาถาคงกระพันล่างสุดเขียนว่า อายุวัฒนมงคล ๘๓ ปี

จำนวนการสร้างน้อย อาทิ เนื้อทองคำ 1 เหรียญ เนื้อเงิน ปะหน้าทองคำ 9 เหรียญ ชุดกรรมการ นำฤกษ์ 20 ชุด เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 20 เหรียญ เนื้อเงินลงยาแดง 40 เหรียญ เนื้อเงิน 50 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 199 เหรียญ เนื้อทองแดง 1000 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2562 ฤกษ์มงคลโสฬส เสาร์ 5 พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี อาทิ หลวงปู่ธูป ญานวโร หลวงปู่สมบุญ ปิยธมฺโม วัดลำพันบอง จ.สุพรรณบุรี หลวงปู่ชม อลีนจิตโต วัดโปรดสัตว์ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อประเสริฐ โชติปญฺโญ วัดแก้ว จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อหอม เดชพโล วัดท่าโขลง จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อไกร วัดขุนไกร จ.สุพรรณบุรี

หลังเสร็จพิธีได้นำไปปลุกเสกเดี่ยวอีก 7 วัน เมื่อถึงวันมุทิตาสักการะอายุ 83 ปี วันที่ 16 ธ.ค.2562 จึงนำออกมาเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมงาน  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26828879200749_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์สายใต้กันดีกว่านะครับ พระเกจิอาจารย์ทางใต้นั้นมีอยู่มากมายหลายจังหวัด แต่วันนี้ผมจะมาคุยถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดตรัง คือพ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านจังหวัดตรังครับ

พระครูโอภาสวุฒิคุณ (หลวงพ่อแสง) วัดคลองน้ำเจ็ด ท่านเกิดที่บ้านพรุชี ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2429 โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อนุ่ม ในวัยเด็กบิดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับพระครูวินัยธร วัดแจ้ง ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ประมาณ 16 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดคลองน้ำเจ็ด อยู่ได้ 2 พรรษา ท่านก็ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ พอท่านอายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2450 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดคลองน้ำเจ็ด โดยมีพระครูบริสุทธิศีลาจารย์ (ลบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิมลศิละขัน (หนู) วัดแจ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อช้วน วัดคลองน้ำเจ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ยโสธโร"

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง เล่าเรียนพระธรรมวินัย และวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อหนู 4 พรรษา ซึ่งหลวงพ่อหนูเก่งกล้าทางด้านวิทยาคม ต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อลบ อุปัชฌาย์ของท่าน และได้เรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อลบ ต่อมาได้เรียนกับหลวงพ่อวัน มานะโส และกับหลวงพ่อทุด วัดคลองน้ำเจ็ด

เมื่อหลวงพ่อทุด เจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ดมรณภาพ หลวงพ่อแสงก็ได้รับนิมนต์ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ดสืบแทน สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ คือ ปี พ.ศ.2467 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ด ปี พ.ศ.2469 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ปี พ.ศ.2498 ได้แต่งตั้งเป็นพระครูโอภาสวุฒิคุณ หลวงพ่อแสงเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง ผู้ใดมีความทุกข์โศกต่างๆ ท่านก็ช่วยบำบัดให้ทุกรายไป ท่านสั่งสอนธรรมให้แก่บรรดาศิษย์เสมอ ปกครองภิกษุ สามเณรด้วยความเสมอภาค เป็นที่เคารพของภิกษุ สามเณร เป็นที่พึ่งของทุกชนชั้น ดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้าน หลวงพ่อแสงมรณภาพ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2527 สิริอายุได้ 98 ปี พรรษาที่ 77

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ชาวบ้านและลูกศิษย์ที่เคารพนับถือมักจะมาขอปิดทองที่ตัวท่านอยู่เสมอ ท่านก็ไม่ว่าอะไร และจะมีผู้มาขอเอาทองที่ปิดที่ตัวท่านนำไปเก็บไว้เพื่อสักการบูชา ท่านก็อนุญาตให้ทุกครั้ง ต่อมาเมื่อท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูโอภาสวุฒิคุณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2498 ลูกศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญขึ้น จำนวนประมาณ 800 เหรียญ เพื่อแจกจ่ายให้แก่บรรดาศิษย์ที่มาแสดงมุทิตาจิตต่อท่าน

เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน และปัจจุบันก็หายาก ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ยิ่งคนตรังด้วยแล้วหวงมากครับ เหรียญรูปคล้ายๆ กันมีสร้างต่อมาอีกหนึ่งครั้ง แต่แกะแม่พิมพ์ใหม่ ต่างกันที่ด้านหลังเหรียญ จะมีคำว่า "ที่ระลึกในงาน..." ที่แตกต่างจากรุ่นแรกที่จะเขียนว่า "ไว้เป็นที่ระลึกในคราวฉลองสมณศักดิ์ ๒๔๙๘" เหรียญรุ่นแรกจึงนิยมเรียกกันว่า เหรียญ "ในคราว" ซึ่งบ่งบอกความหมายถึงเป็นเหรียญรุ่นแรกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกมาให้ชมกัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71329215955403_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
เหรียญหันข้างที่ระลึกสร้างโบสถ์

พระครูไตรสังวรกิจ หรือหลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ (ธ) แห่งสำนักสงฆ์บ้านอีกุด ต.กุสุมาลย์ อ.เมือง จ.สกลนคร พระเกจิสายป่า พระวิปัสสนากัมมัฏฐานชื่อดัง

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน ศิษย์เอกหลวงปู่คำดี ปัญโญภาส วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

ปัจจุบันสิริอายุ 60 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2503 เป็นชาวบ้านอีกุด ต.โพธิ์ไพศาล (ปัจจุบัน ต.กุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท อายุ 21 ปี เมื่อ พ.ศ.2524 ที่พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี ปัญโญภาส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากสร้างวัดไตรคามวาสี มีเนื้อที่ป่ากว่า 100 ไร่ ร่มรื่น มีสิงสาราสัตว์อยู่อาศัย ล่าสุดย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านอีกุด ถิ่นมาตุภูมิแล้ว

ปัจจุบันสร้างสำนักสงฆ์บ้านอีกุด อยู่ห่างจากวัดเดิม 1 กิโลเมตร

เดือน ต.ค.2562 คณะลูกศิษย์บ้านนาเดื่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหันข้างที่ระลึกสร้างโบสถ์ พระอาจารย์หอม รตินธโร

เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญเป็นที่ระลึกในการสร้างอุโบสถวัดนาเดื่อ ต.นาเดื่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

จัดสร้างมีเนื้อเงินบริสุทธิ์ 60 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าสอดไส้ทองฝาบาตร 200 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า เนื้อชนวน ชนิดละ 300 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร เนื้อทองแดงผิวไฟ ชนิดละ 500 เหรียญ เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 5,000 เหรียญ และเนื้อตะกั่วหลังจารยันต์ 19 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอมครึ่งองค์ ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า พระอาจารย์หอม รตินธโร ประกบด้วยสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดปิดหัวท้าย

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมมีตัวหนังสือ เขียนคำว่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ถัดลงมามีตัวหนังสือ 2 บรรทัด เขียนคำว่า ที่ระลึก รุ่นสร้างโบสถ์ กลางเหรียญมีอักขระยันต์ 2 บรรทัด บรรทัดแรกอ่านว่า นะมะ นะอะ นะอุ บรรทัดที่ 2 อ่านว่า อะระหัง มฺคฺยฺคฺ ถัดลงมาสลักตัวหนังสือคำว่า มหาโชค มหาลาภ ปิดหัวท้ายด้วยดอกจัน 2 บรรทัดสุดท้ายสลัก ๒๕๖๒ วัดนาเดื่อ รุ่นแรก

มีพิธี 2 วาระ วาระแรกนำฤกษ์วันที่ 29 พ.ย.2562 มีพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 30 พ.ย. ที่อุโบสถวัดไตรคามวาสี อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีหลวงพ่อหอมอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว  
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61749960150983_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เลือกเล่นพระแบบไหนแล้วแต่ใจปรารถนา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขึ้นหัวข้อแบบนี้ก็เพราะเวลานี้ได้เห็นการแสดงความคิดเห็นในโซเชี่ยลกันมากมายหลากหลายความคิด บ้างก็ตั้งทฤษฎีกันขึ้นมาเองว่าด้วยการตรวจสอบพระว่าแท้หรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะพระที่เป็นยอดนิยมเช่น พระเบญจภาคี เป็นต้น เนื่องจากว่าพระเบญจภาคีมีมูลค่าสูง และเป็นที่ปรารถนาของคนส่วนใหญ่ ก็ให้เหตุผลกันไปหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากมาตรฐานของคนส่วนใหญ่ที่มีมูลค่ารองรับของพระนั้นๆ

ครับพระชุดเบญจภาคีเป็นพระที่ผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ปรารถนากันแทบทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีมูลค่าสูงมากๆ ด้วยเช่นกัน แต่ก็เป็นธรรมดาที่พระที่มีมูลค่าสูงๆนั้นก็ย่อมจะหายาก มีผู้คนนิยมมากจึงทำให้มีมูลค่าสูง ด้วยเหตุนี้เองก็ย่อมทำให้มีคนที่คิดทำของเลียนแบบออกมา และก็มีมานานมากแล้ว ซึ่งในปัจจุบันเองก็ยังมีผู้ทำอยู่เนืองๆ ทีนี้ก็ย่อมมีคนที่ครอบครองพระแบบนี้ หรือได้รับตกทอดกันต่อๆ มา ย่อมคิดว่าพระเครื่ององค์นั้นๆ เป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานไปด้วยเช่นกัน แต่พอนำไปสอบถามหรือตรวจสอบดูกับกลุ่มที่เล่นหากันเป็นมาตรฐานที่มูลค่ารองรับก็มักจะได้รับการปฏิเสธว่าเป็นพระที่ถูกต้อง ก็มีคนที่ยอมรับและคนที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นนั้นๆ

เอาล่ะเรามาพูดถึงมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับนั้นเขามีมาตรฐานอย่างไร คนในสังคมพระเครื่องส่วนใหญ่นั้นเขาก็ได้รับการถ่ายทอดหลักการตรวจสอบว่าใช่หรือไม่อย่างไรที่สืบต่อกันมา โดยสังคมยอมรับและรับรองมูลค่า ซึ่งถามว่าแล้วจะมั่วๆ หรืออุปโลกน์กันขึ้นมาหรือเปล่า? ส่วนตัวผมเองในสมัยก่อนก็ได้ทดลองศึกษามามากมายหลายรูปแบบ และให้เหตุผลต่างๆ มาหักล้างแล้วจึงศึกษาดูก็เห็นว่าที่เขาเล่นหากันเป็นมาตรฐานนั้นถูกต้อง มีเหตุผลอธิบายได้จริง ซึ่งก็ต้องศึกษาหาความรู้เปรียบเทียบดูก็จะเห็นได้ว่ามีเหตุและผลที่พิสูจน์ได้ เพียงแต่ผู้ที่ยังศึกษาได้ไม่ถึงก็อาจจะงงอยู่ว่าเขาใช้เหตุผลอะไรมาพิสูจน์ และที่มองเห็นง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่มีเหตุผลแล้วสังคมส่วนใหญ่เขาก็คงไม่ให้มูลค่าแน่ๆ

พระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระประเภทใดก็ตาม ย่อมมีร่องรอยการผลิตพระชนิดนั้นๆ ขึ้นมา เช่น แบบพิมพ์ ถ้าเป็นพระเก่าๆ ยุคโบราณเราก็คงไม่ต้องถึงกับเห็นแม่พิมพ์หรือเกิดทันหรอกนะครับ เพราะวัตถุใดๆ ก็ตามที่ถูกผลิตขึ้นด้วยแม่พิมพ์ ร่องรอยของแม่พิมพ์นั้นๆ ก็จะมีให้เห็นได้ในชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรืออะไรก็ตาม อย่างพระเครื่องที่ออกมาจากพิมพ์อันเดียวกันก็ย่อมจะมีร่องรอยของตัวแม่พิมพ์นั้นๆ ปรากฏอยู่ในองค์พระเครื่อง ที่เรามักจะเรียกกันว่าตำหนิแม่พิมพ์ และร่องรอยของตัวแม่พิมพ์ อันเดียวกันก็ย่อมจะปรากฏในทุกๆ องค์ที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน มิติความตื้นลึกก็จะเป็นเช่นเดียวกัน และเกิดในตำแหน่งเดียวกันทุกองค์

นอกจากนี้ก็ยังมีร่องรอยการผลิตพระเครื่องนั้นๆ อีก คือกรรมวิธีการผลิตของพระเครื่องแต่ละอย่างแต่ละรุ่น คือด้านหลังองค์พระด้านข้างองค์พระแต่ละชนิดจะเกิดขึ้นเหมือนๆ กันในพระเครื่องที่ผลิตรุ่นเดียวกัน ยกตัวอย่างพระกรุวัดตะไกร จะเห็นร่องรอยการนำพระออกจากแม่พิมพ์ด้วยการใช้ไม้เสียบที่ใต้ฐานพระแล้วงัดเอาพระออกมาจากแม่พิมพ์ ดังนั้นพระกรุวัดตะไกรก็จะมีร่องรอยปรากฏเป็นรูที่ใต้ฐานทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใด นั่นก็เป็นร่องรอยการผลิตชนิดหนึ่ง พระเครื่องแบบอื่นๆ ก็มีร่องรอยการผลิตตามแบบของเขาเช่นกัน เพียงแต่แตกต่างกันไปในของแต่ละพระ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาหาความรู้เอา

ยกตัวอย่างพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ที่เราเห็นเขาเรียกพิมพ์กันว่า พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูมนั้น ตัวแม่พิมพ์มีแค่ 4 แม่พิมพ์เท่านั้นหรือ? ความจริงก็คือ แต่ละพิมพ์มีแม่พิมพ์แยกอีกหลายแม่พิมพ์ ผมคงยังไม่พูดถึงตรงนี้นะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่ายังมีตัวแม่พิมพ์แยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ แต่เขาจัดไว้เป็นหมวดๆ เท่านั้น ทีนี้เวลาเราศึกษาก็ต้องศึกษาทีละแม่พิมพ์ ทุกแม่พิมพ์ก็จะไม่งงและเข้าใจง่ายขึ้น ก็มายกตัวอย่างอีกครั้งที่พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ ตัวแม่พิมพ์ที่เห็นได้บ่อยที่สุดก็คือแม่พิมพ์อกวี แม่พิมพ์นี้จะมีอกเป็นรูปคล้ายตัววีในภาษาอังกฤษ (V) คือด้านบนของอกจะกว้างแล้วค่อยๆเรียวลงมา คล้ายตัววี จึงมักจะเรียกกันง่ายๆว่าแม่พิมพ์อกวี

พระสมเด็จแม่พิมพ์อกวีทุกองค์ก็จะมี ร่องรอยในส่วนต่างๆ เหมือนกันหมดทุกองค์เพราะเกิดมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์พระเกศ ฐานกรอบแม่พิมพ์ก็จะเหมือนกันหมดทุกองค์ มิติความตื้นลึกในส่วนต่างๆ ตำแหน่งก็จะต้องเหมือนกันหมด เพราะเกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน เมื่อนำพระแท้แม่พิมพ์เดียวกันมาเปรียบเทียบกันก็จะมีร่องรอยการผลิตที่เหมือนกันทุกองค์ ทีนี้มาว่ากันด้วยเนื้อหา พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ก็สร้างมาจากเนื้อผงปูนขาวที่ทำในสมัยนั้น ที่ว่ามีส่วนผสมอื่นๆ นั้นก็เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เนื้อหาหลักก็จะเป็นปูนขาวทั้งสิ้น พอเรามาดูพิสูจน์เปรียบเทียบก็จะเหมือนๆ กันหมด ในพระสมเด็จฯ ของวัดระฆังฯ สภาพความเสื่อมของอายุก็จะเหมือนๆ กันอีกเช่นกัน

ธรรมชาติการตัดขอบก็จะเป็นกรรมวิธีเดียวกัน ธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ด้านหลังก็จะออกมาแบบเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่ได้มีแม่พิมพ์ด้านหลัง แต่ร่องรอยของด้านหลังที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้างก็จะออกมาเหมือนๆ กันอย่างมีเหตุผล เพียงแต่เราจะศึกษาไปถึงหรือไม่ สามารถเปรียบเทียบได้หมด เมื่อมีการศึกษากันมาเป็นร้อยปี ศึกษาเปรียบเทียบต่อๆ กันมาจนเป็นมาตรฐานแล้ว เขาจึงยึดถือแบบการพิสูจน์ว่าถูกต้องตามนี้ และก็มีการรับรองมูลค่า จึงทำให้เป็นมาตรฐาน

ในส่วนการพิสูจน์แบบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็มีแบบต่างๆ มากมาย มีทั้งนั่งทางในหรือกำหนดรูปแบบต่างๆ กันขึ้นมาอีกเยอะมาก เพียงแต่ถ้ายังไม่ถูกต้องตรงกับมาตรฐานเขายังไม่ยอมรับเป็นมาตรฐาน พระแบบนี้ก็ยังไม่มีมูลค่ารองรับทางสังคม เมื่อนำมาขายต่อโดยเฉพาะในสถานที่เป็นมาตรฐานสังคมรับรองมูลค่าก็ยังขายไม่ได้ไม่มีมูลค่ารองรับ ถ้าแบบไหนพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ก็จะมีมูลค่า ในการแสดงทฤษฎีใหม่ๆ ในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้นก็คงต้องทำให้สังคมส่วนใหญ่ยอมรับเสียก่อนจึงจะเป็นมาตรฐานที่สังคมให้คุณค่า ถ้ายังก็คงต้องศึกษากันต่อๆ ไป ไม่ต้องไปต่อว่ากันต่างๆ นานา สิ่งสำคัญก็คือต้องทำให้สังคมยอมรับก่อนครับ

ผมคงไม่ไปว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิด มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นแบบสัตว์สังคม ก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของสังคมส่วนใหญ่ แต่ความคิดที่เป็นส่วนตัวก็เป็นของตัวเรา ไม่มีใครว่าเป็นสิทธิ์ส่วนตัว ในส่วนตัวผมนั้นยอมรับความเป็นมาตรฐานของสังคมที่มีมูลค่ารองรับครับ ส่วนที่ใครจะเลือกเชื่อแบบไหนก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลครับ ก็เลือกกันนะครับ

วันนี้ก็ขอนำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี ที่เป็นแบบมาตรฐานสังคมมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 พฤษภาคม 2563 16:18:51

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14569714872373_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระสมเด็จปรกโพธิ์ใหญ่ วัดทองนพคุณ

วัดทองนพคุณ ชื่อเดิม วัดสระทอง ตั้งอยู่บ้านปะหลาน หมู่ 2 เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จัดเป็นวัดเก่าแก่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2384 จนถึงปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 176 ปี อยู่คู่ชุมชนแห่งนี้ก่อนตั้งเมืองพยัคภูมิพิสัยถึง 38 ปี จึงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมายาวนานจวบจนปัจจุบัน

วัดทองนพคุณ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมีผลงานดีเด่น เป็นศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย หน่วยกำกับงานพระธรรมทูตอำเภอ และค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา เป็นต้น ปัจจุบันมีพระมหาประกิต ฐิตญาโณ รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

ย้อนอดีตไปในปี พ.ศ.2518 ช่วงที่พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสโก) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้มีโครงการก่อสร้างศาลาการเปรียญภายในวัดทองนพคุณ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงหารือกับญาติโยมและทุกภาคส่วนในการหาปัจจัยสมทบทุนสร้างศาลา

ผลการหารือได้มีมติข้อตกลงจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ เนื้อผงพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วม ทำบุญบริจาคเงินสร้างศาลาการเปรียญ

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว เป็นพระเนื้อผงลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดใหญ่กว่าพระสมเด็จทั่วไป ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้น พระศรีมหาโพธิ ภายในครอบแก้ว ด้านหลังมีตราประทับชื่อวัดทองนพคุณ เป็นการปั๊มใหม่เมื่อปี 2561 เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำหลังจากค้นเจอพระชุดนี้ภายในกุฏิของพระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ สำหรับจำนวนการสร้างตามบันทึกของวัดประมาณ 1 พันองค์ สร้างจากผงพุทธคุณ 108

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ภายในอุโบสถวัดทองนพคุณ เมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย.2518 โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรวมอธิษฐานจิต คือ หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น อธิษฐานจิตเดี่ยว จึงเชื่อถือได้ในความเข้มขลัง

หลังเสร็จพิธี วัดทองนพคุณนำออกให้ผู้สนใจร่วมทำบุญ เช่าบูชาในสมัยนั้นองค์ละ 5 บาท ปรากฏว่าได้รับความสนใจ อย่างล้นหลามทำให้การก่อสร้างศาลาการเปรียญสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
   ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14947297713822_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระกริ่งเชียงตุง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง วัดสุทัศน์ ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นที่นิยมสะสมของผู้นิยมพระเครื่องทุกรุ่น และมีอยู่รุ่นหนึ่งที่เรียกกันว่าพระกริ่งเชียงตุง ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486 และเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับว่าเป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่งที่หายากมากเช่นกันครับ

พระกริ่งเชียงตุงนั้น สร้างขึ้นมาเนื่องในโอกาสที่คณะสงฆ์ของไทยกำลัง จะเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาสาธารณรัฐเชียงตุง ในปี พ.ศ.2486 สมเด็จพระสังฆราชจึงดำริที่จะสร้างขึ้นเพื่อแจกให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คณะสงฆ์ในชุดนี้ โดยใช้แบบพิมพ์พระกริ่งใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้นภรรยาของท่านพระยาศุภกรได้พบแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ของพระยาศุภกร ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงนำแม่พิมพ์มาถวายให้แก่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ดูแม่พิมพ์แล้ว ทรงกล่าวว่าเป็นแม่พิมพ์ที่สวยสมบูรณ์ จึงได้รับสั่งให้ช่างใช้แม่พิมพ์นี้เทหล่อพระกริ่งเชียงตุงในปีนั้นเลย

พระกริ่งเชียงตุง เนื้อโลหะใช้ชนวนบนตำหนักสมเด็จฯ กับเนื้อชนวน พระกริ่ง รุ่นปี พ.ศ.2482 ได้นำโลหะที่ลงพระยันต์ 108 นะ ปถมัง 14 นะ กับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชของพุทธสมาคมผสมด้วย กระแสเนื้อมีอยู่กันสองกระแส คือกระแสเนื้อออก สีนากอ่อน แล้วกลับเป็นสีน้ำตาลและกระแสเนื้อออกสีเหลืองแกมขาว แล้วกลับเป็นสีเหลืองแกมเขียว จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 108 องค์ พระกริ่งรุ่นนี้เป็นการเทหล่อแบบกริ่งในตัว และบางองค์ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ตอกโค้ดไว้ที่ใต้ข้อศอกขวาด้านหลังขององค์

พระกริ่งที่มีกระแสเนื้อออกสีนากอ่อนหรือแดงนั้น มีจำนวนน้อย เข้าใจว่าจะเป็นพระที่เทในเบ้าแรกๆ ส่วนกระแสเนื้อที่ออกสีเหลืองจะมีจำนวนมากกว่า ช่างที่ตกแต่งพระกริ่งเชียงตุงมีทั้งช่างชม และช่างฮั้ว มีพระบางองค์ที่ผู้ได้รับไปแล้วนำมาให้อาจารย์หนู (นิรันตร์ แดงวิจิตร) ตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง และองค์ที่นำไปให้อาจารย์หนูท่านแต่งให้ ท่านก็จะตอกเลขไทย ๘๖ ที่ใต้ฐาน ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างพระ

พระกริ่งเชียงตุงเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องนิยมกันมาก ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้ถือเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายของสมเด็จฯ พระสังฆราช (แพ) และเป็นพระกริ่งที่สร้างเพื่อมอบให้แก่คณะสงฆ์ไทยที่ไปเผยแผ่พระศาสนาที่เมืองเชียงตุง จึงนิยมเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งเชียงตุง" กันจนถึงทุกวันนี้ครับ

ในปัจจุบันพระกริ่งเชียงตุงหายากมากพอสมควร และมีราคาสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดี ควรสอบถามจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ก่อนเช่าหาครับ

ครับและก็ไม่ลืมที่จะนำรูปพระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง พระองค์นี้ได้รับการตกแต่งเล็กน้อยโดยท่านอาจารย์ นิรันตร์ แดงวิจิตร (อาจารย์หนู) มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92207077849242_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
หลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐานวัดสะแก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดองค์หนึ่ง เราจะเห็นได้ว่ามีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกันอยู่หลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นทางภาคใต้หรือภูมิภาคใดก็ตาม เช่นใน กทม. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานมีสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันหมด เนื่องจากความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด กันมากนั่นเองครับ พระหลวงปู่ทวดของ วัดช้างให้ปัตตานีที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่ท่านอาจารย์ ทิมได้สร้างไว้ล้วนแต่มีความนิยมมาก สนนราคาก็สูงตามไปด้วย แต่ก็มีอีกหลายๆวัดที่เรายังสามารถเสาะหามาบูชาได้ไม่ยากนักอยู่เช่นกันครับ

ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งบางรุ่นนั้นก็มีความนิยมสูงและสนนราคาก็ค่อนข้างสูงเอาการอยู่ แต่ก็มีบางรุ่นที่ราคาไม่สูงนักและน่าบูชามาก ก็คือพระหลวงปู่ทวดของวัดสะแก อยุธยา ที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ดู่ (พรหมปัญโญ) ซึ่งท่านเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมากและมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อท่านนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหาหลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำท่านตลอด ดังนั้นพระเครื่องที่ท่านสร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

การแบ่งแยกรุ่นบางพิมพ์คงทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากท่านสร้างไว้มากมายหลายรุ่นหลายวาระ หลายพิมพ์ จึงอาจจะแบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้ ประเภทพระบูชา ประเภทพระเครื่องเนื้อผง ประเภทเหรียญ และพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดลอยองค์ เป็นต้น

พระเครื่องหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่รู้จักกันดี ก็คือเหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว สำหรับพระรุ่นนี้นั้นมีสนนราคาสูงมาตั้งแต่ในตอนที่พระออกใหม่ๆ แล้ว และในปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเป็นที่นิยม ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้วที่ผมจะกล่าวถึงสนนราคายังไม่สูงมากนักครับ ซึ่งเป็นพระหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกๆ ซึ่งหลวงปู่ทำแจก จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันในเรื่องพิมพ์นัก เมื่อท่านเห็นลูกศิษย์ของท่านแขวนพระหลวงปู่ทวด และท่านเห็นว่าสวยดีท่านก็จะขอมากดแม่พิมพ์ไว้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรุ่นใดหรือวัดใด

หลังจากนั้นท่านก็พิมพ์พระหลวงปู่ทวดด้วยเนื้อผงสีขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพศรัทธาไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐานกับท่านจะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงสีขาวทุกพิมพ์ว่า "พระผงกัมมัฏฐาน"

สำหรับพระหลวงปู่ทวดด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ พระดังกล่าวนี้เป็นพระที่ค้นพบภายในกุฏิของหลวงปู่ดู่ ภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่าไม่นานก็หมด พระเหล่านี้ทันยุคหลวงปู่ดู่อย่างแน่นอน บางองค์เป็นพระยุคแรกๆ ด้วยซ้ำไป

พระเครื่องของหลวงปู่ดู่ทุกรุ่นทุกพิมพ์ เป็นพระที่มีพุทธคุณสูงยิ่ง เนื่องจากท่านสนใจศึกษาทางด้านพุทธาคมจากหลายอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ทำให้ท่านมีความเข้มขลัง ต่อมาท่านเคร่งครัดทางด้านปฏิบัติวิปัสสนาและเชื่อกันว่าท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่พระของท่านเกิดประสบการณ์กับผู้ใช้บูชามากมาย และมีค่านิยมสูงขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะพระที่สร้างในรูปลักษณ์ขององค์หลวงปู่ทวดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงมากนัก และพอที่จะเสาะหากันได้มาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32970934816532_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด เขียนมาแค่นี้ท่านก็คงจะทราบว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา และเป็นเหรียญยอดนิยมในชุดเบญจภาคีเหรียญปั๊ม ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงมาก แล้วก็หาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน

ในสมัยก่อนตัวผมเองสนใจศึกษาเล่นหาพระเครื่องประเภทพระกรุ ซึ่งก็จะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเสียเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยนั้นก็ยังหาได้ไม่ค่อยยากนักและมีพระมากมายหลากหลายกรุให้เลือก แต่ตัวผมเองก็ศรัทธาในพระเกจิอาจารย์เช่นหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม ซึ่งก็เป็นเบญจฯ เหรียญนั้นแหละ ที่ผมศรัทธานั้นก็ได้ยินได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่าประวัติของท่านให้ฟังบ่อยๆ จึงเลื่อมใสศรัทธามาก แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องเหรียญของท่านเลย เมื่อ 40-50 ปีก่อนนั้นเหรียญของท่านก็แพงอยู่แล้ว แต่ผมก็สนใจที่จะศึกษาเรื่องพระกรุก่อน ต่อมาก็ได้เจอกับอาจารย์เภา ปรมาจารย์เหรียญ และท่านก็ใจดีที่จะสอนผมเรื่องเหรียญ ผมก็บอกกับอาจารย์เภาว่าผมอยากศึกษาเรื่องพระกรุ ท่านก็บอกว่ารู้ไว้ไม่เสียหลายจำไว้สักห้าเหรียญสิบเหรียญยอดนิยมนี่แหละ วันหนึ่งจะมีประโยชน์ได้เงิน เหรียญยอดนิยมนั้นขายง่ายได้ตังค์ ผมก็เรียนกับท่านมา ก็ได้ความรู้มาพอสมควรและเป็นประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ก็ยังจำคำของท่านได้เสมอ แต่ก็ยังไม่ได้เช่าหาเหรียญพระเกจิอาจารย์เลยสักเหรียญ

ต่อมาเมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้วจึงเริ่มมาทบทวนและเริ่มศึกษาเช่าหาเหรียญหลวงพ่อกลั่นและหลวงพ่ออื่นๆ เฉพาะเหรียญหลวงพ่อกลั่นก็เช่าหาเฉพาะเหรียญพิมพ์ขอเบ็ด เพราะเป็นเหรียญรุ่นแรก ก็เช่ามาอยู่หลายเหรียญ เป็นเหรียญที่มีสภาพดี และก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเหรียญจริงที่เรามีอยู่ ทบทวนที่อาจารย์เภาสอนมา และศึกษาเพิ่มเติม ทั้งตำหนิหน้าหลัง กรรมวิธีการสร้างในแต่ละยุค ด้านข้างของเหรียญ เท่าที่เรียนรู้มาก็มีข้างเหรียญอยู่หลายแบบ เช่น เหรียญข้างกระบอก เหรียญข้างเลื่อย เหรียญข้างปั๊มตัด ก็แล้วแต่ละยุคสมัยที่สร้างเหรียญนั้นๆ เครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างเหรียญเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาของขอบข้างเหรียญในแต่ละเหรียญ และเป็นเหตุผลของ ร่องรอยที่เราสามารถเห็นได้จากเหรียญนั้นๆ

เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกลั่น ลักษณะของขอบข้างของเหรียญจะเป็นแบบข้างกระบอกซึ่งนับว่าเป็นเหรียญข้างกระบอกเป็นรูปทรงเสมาเหรียญแรกๆ ของไทย เนื่องจากเหรียญข้างกระบอกส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญรูปไข่หรือเหรียญกลมเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกข้างและขั้นตอนการผลิตจะง่ายกว่า ส่วนหูของเหรียญข้างกระบอกยุคเก่าๆ ก็มักจะเป็นเหรียญหูเชื่อม คือมาเชื่อมทำหูเหรียญภายหลังจากการปั๊มเหรียญแล้ว แต่เหรียญหลวงพ่อกลั่นก็เป็นเหรียญหูในตัว ที่เป็นเหรียญข้างกระบอกในยุคแรกๆ ในสมัยที่สร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่นรุ่นแรกนั้น เครื่องปั๊มเหรียญจะเป็นแบบข้อเสือ คือใช้แรงคนเหวี่ยงลูกตุ้มในการปั๊มอัดขึ้นรูป ถ้าเราดูเหรียญรุ่นเก่าๆ ที่ใช้เครื่องปั๊มแบบข้อเสือจะเป็นเหรียญแบบนูนต่ำทั้งสิ้น เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยแบบปัจจุบัน จึงทำแม่พิมพ์แบบนูนต่ำเพื่อให้การปั๊มอัดขึ้นรูปผลิตง่ายขึ้น ขอบของเหรียญในยุคนั้นก็จะมีแบบข้างกระบอกและแบบข้างเลื่อย ในยุคนั้นยังไม่มีแบบข้างปั๊มตัด

เหรียญของหลวงพ่อกลั่นรุ่นแรกขอเบ็ดพื้นของเหรียญด้านหน้าก็ไม่เหมือนใคร พื้นเหรียญจะเป็นลอนคลื่น ถือเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นแรกขอเบ็ด เรื่องหูเหรียญของหลวงพ่อกลั่นจะมีร่องรอยการผลิตให้เห็นคือหูเหรียญจะมีวงรอบหูเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่หูเหรียญของหลวงพ่อกลั่นที่เป็นหูเชื่อมก็มีแต่น้อย สันนิษฐานว่าหูเหรียญอาจจะเสียตอนที่ปั๊มเหรียญออกมา จึงตัดออกและมาเชื่อมในภายหลัง ผมเองได้เคยเช่าเหรียญหลวงพ่อกลั่นสึกๆ (สึกมาก) หูเป็นแบบหูเชื่อม มาศึกษาดู ก็เห็นร่องรอยการผลิตที่ขอบเหรียญที่เหมือนกันกับเหรียญสวยๆ ที่เช่าหามาก่อน และเป็นเหมือนกันทุกเหรียญ จึงถือเป็นจุดร่องรอยการผลิตได้อย่างหนึ่ง ต่อมาก็ได้ยินว่าคุณเด่นอยุธยาเช่าเหรียญหลวงพ่อกลั่นพิมพ์ขอเบ็ดสึกๆ มาเหรียญหนึ่ง จึงเข้าไปขอดู ผมก็พยายามดูหาเหตุผลร่องรอยการผลิตที่ได้ศึกษามา เหรียญนี้สึกจนบางมาก ผมก็ดูโดยรอบแล้วก็พลิกดูข้างเหรียญ แล้วก็เห็นร่องรอยการผลิตที่บ่งบอกว่าเหรียญนี้แท้ และเป็นเหรียญขอเบ็ด คุณเด่นแกบอกว่าพี่เป็นนี่ ความจริงผมเองก็ไม่ได้ดูปงดูเป็นอะไรหรอกครับ เพียงแค่พอซื้อพระแท้ๆ เป็นเท่านั้นครับ

แสดงว่าร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมาก และจะมีเหมือนกันทุกเหรียญในรุ่นเดียวกัน และเป็นเหตุผลที่พิสูจน์ได้แม้เหรียญนั้นจะสึกจนมองแทบไม่เห็นอะไรแล้วก็ตาม และเซียนเขาก็จะใช้เหตุผลอันเดียวกันมาพิสูจน์เป็นมาตรฐานโดยมีมูลค่ารองรับ พระเครื่องทุกอย่างการพิจารณาจบสรุปสุดท้ายก็จะเป็นร่องรอยการผลิต ซึ่งจะมีเหมือนๆ กันในพระรุ่นเดียวกัน แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน กรรมวิธีการผลิตเดียวกัน ก็ย่อมจะทิ้งร่องรอยการผลิตไว้เหมือนๆ กันเสมอครับ

เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติรุ่นแรกขอเบ็ด แม้จะสึกจนแทบไม่เห็นอะไร เห็นเป็นเงาๆ ก็ยังซื้อ-ขายกันได้นะครับและมีราคาด้วย แล้วเขาเอาอะไรมาพิสูจน์ล่ะว่าใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ร่องรอยการผลิตที่มีให้เห็นอยู่ แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้นั้นก็แล้วแต่ว่าศึกษาถึงหรือไม่ และถ้าอยากจะรู้ก็ไม่ยากจนเกินไปครับ อยู่ที่ว่าถามเพราะอยากศึกษาจริงๆ หรือถามแบบท้าทาย ถ้าแบบอยากจะศึกษาหาเหตุผลจริงๆ ก็พอบอกกันได้ครับ ไม่ยากนักหรอกครับ แต่ก็ต้องศึกษาดูจากของจริงเปรียบเทียบหลายๆ องค์ครับ ถ้าพบร่องรอยการผลิตที่เหมือนกันทุกองค์ก็ใช้เป็นมาตรฐานได้ครับ

วันนี้ผมนำรูปเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พิมพ์ขอเบ็ดมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46556410110659_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญเม็ดแตงเศรษฐี หลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุข อดีตเจ้าคณะตำบลศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมช่วงที่ยังดำรงธาตุขันธ์ วัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย สมถะเรียบง่าย จึงอยู่ในศรัทธามาอย่างยาวนาน

เกิดในสกุลเหล่าทับ เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2469 ที่บ้านเลขที่ 8 บ้านศรีสุข ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัด สระทอง ต.นาสีนวล อ.กันทรวิชัย โดยมี พระอธิการชม โสภโณ เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง จังหวัดกาฬสินธุ์ สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

พ.ศ.2495 เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เรียนพระปริยัติธรรมควบคู่กันไปกับการเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดย พระมหาโชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9 และเจ้าคุณพระอุดมวิชาญาณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็นครูสอน และยังศึกษาเพิ่มเติมวิชาแพทย์แผนโบราณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จบหลักสูตรสาขาเภสัชกร และสาขาเวชกร

พ.ศ. 2504 เดินทางกลับมาตุภูมิเข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุข ช่วงนั้นหลวงปู่เสาร์ พระพี่ชายของท่าน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีสุข นอกจากจะศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เสาร์ ยังได้ช่วยงานปกครองและพัฒนาวัดแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน

หลังหลวงปู่เสาร์มรณภาพ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเป็นพระอุปัชฌาย์ รวมทั้งเจ้าคณะตำบลศรีสุข ตามลำดับ

ปี พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครู สัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามพระครูสิริสุขวัฒน์

ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

ในปี พ.ศ.2559 งานบุญกฐินของวัดศรีสุข วัดและญาติโยม รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญรูปเหมือนเม็ดแตงเศรษฐี" เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทำบุญสมทบงานบุญกฐิน โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวหนึ่งไตรมาส

วัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นเหรียญทรงรูปไข่เล็ก ยกขอบ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สิงห์ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง บริเวณพื้นเหรียญตอกโค้ดตัว ส.บาลี

ด้านหลังบนสุดเขียนว่า เศรษฐี บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ ล่างสุดเขียนว่า กฐิน ๕๙ จากด้านขวาของเหรียญลงไป ด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า มหาสารคาม หลวงปู่สิงห์ คมฺภีโร วัดศรีสุข

สร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงิน 90 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 290 เหรียญเนื้อทองแดง 2,000 เหรียญ เป็นต้น

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์เช่าบูชา เข้าศึกษาดูในเฟซบุ๊ก "กลุ่มบารมีหลวงปู่สิงห์ คัมภีโร วัดบ้านศรีสุข ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม"   
    ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มิถุนายน 2563 12:39:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97099380112356_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระนาคปรกกรุหนองแจง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุบ้านหนองแจง สุพรรณบุรี มีการขุดพบพระเครื่องโดยบังเอิญ ได้พบพระร่วงยืนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงทำให้อาจจะไม่ทราบว่ามีการพบพระพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย อีกทั้งพระร่วงยืนก็มิใช่มีแต่พิมพ์พระร่วงยืนพิมพ์รัศมี อย่างเดียว มีพระร่วงยืนพิมพ์อื่นอีกเช่นกัน ทั้งยังพบพระร่วงนั่งเทริด ขนนก และพระนาคปรกอีกด้วย

บ้านหนองแจง อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2508 มีชาวบ้านซึ่ง เช่าที่ดินทำไร่อยู่ ต่อมาได้มีการพบเศษกระเบื้องอยู่ในบริเวณไร่อยู่มาก จึงเกิดความสงสัยว่าน่าจะพบพระเครื่องหรือของมีค่าอื่นๆ อีก จึงได้ขุดแบบเดาสุ่มไปเรื่อยๆ ขุดไปลึกประมาณ 1 เมตร แต่ก็ไม่พบอะไร กำลังจะเลิกขุด พอดีมีเจ้าของร้านกาแฟ ที่เป็นเพื่อนกันมานั่งดูอยู่ด้วย จึงออกความเห็นว่าอย่าเพิ่งเลิกขุด ลองขุดไปดูทางใต้ อีกสักหน่อย ก็จึงลองขุดดูอีก ก็ได้พบ พระจริงๆ เป็นพระร่วงพิมพ์รัศมี ประมาณ 24 องค์

ต่อมาก็มีชาวบ้านรู้เรื่องการพบพระร่วงเข้า จึงได้เข้ามาขุดเป็นการใหญ่ โดยไม่สนใจผู้เช่าที่ดินเลย เจอเนินดินเป็นขุด จนบริเวณนั้นถูกขุดกันจนพรุนไปหมด และก็มีการพบพระอีกทางใต้ลงมาอีก 40 กว่าองค์ ซึ่งมีพิมพ์ต่างจากที่ได้พบครั้งแรก และก็ยังมีการขุดต่ออยู่อีกหลายวัน และก็พบไหอีกใบหนึ่ง แต่ไม่มีพระพบแต่เบี้ยจั่นเต็มไห มีผู้ที่ขุดไปทางเหนือ ก็พบไหบรรจุพระอีกใบหนึ่ง พบพระร่วงอีก 140 องค์ ต่อมาอีก 2-3 วัน ชาวบ้านก็มาขุดกันมากขึ้นจนเลยไปถึงบ้านยายแหร่มซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้นก็พบพระร่วงยืนอีกกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดิน

สรุปว่า มีการพบพระอยู่หลายครั้ง กระจัดกระจายอยู่บริเวณนั้นและใกล้เคียง พระที่พบเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงทั้งสิ้น แต่ก็มีอยู่หลายพิมพ์ แม้แต่พระร่วงยืนก็พบหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์รัศมี พิมพ์เศียรโต พิมพ์พระพักตร์เสี้ยม พิมพ์ยกพระหัตถ์ซ้าย พระร่วงนั่งเทริดขนนก พระร่วงนั่งพิมพ์สมาธิ และพระนาคปรกอีกด้วย พระของกรุนี้เป็นพระร่วงยืนมีจำนวนมากกว่าเพื่อน นอกนั้นก็เป็นพระอื่นๆ ซึ่งแต่ละพิมพ์มีจำนวนไม่มากนัก พระของกรุนี้ตอนขึ้นมาใหม่ๆ จะมีไขขาวปกคลุม อยู่ทั่วองค์ แต่พอล้างไขขาวออกบ้างก็จะเห็นสนิมแดงอยู่ภายในสวยงามมาก แดงทั่วทั้งองค์

ศิลปะของพระกรุนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระศิลปะอู่ทองสร้างล้อศิลปะลพบุรี ปัจจุบันพระของกรุนี้ค่อนข้างหายาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่ามีแต่พระร่วงพิมพ์รัศมี เพียงพิมพ์เดียว เนื่องจากพระพิมพ์อื่นๆ ยิ่งไม่ค่อยได้พบเห็นและพูดถึงกันเลย จึงอาจทำให้ข้อมูลถูกลืมเลือนกันไป ผมจึงได้นำพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจงมาบอกกล่าวครับ

พระนาคปรกของกรุนี้ ประทับนั่งอยู่บนขนดนาคสองชั้น พระเกศแบบผมหวี มีนาคปรกเจ็ดเศียร เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแซมไขขาว บางองค์ไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ต้องล้างไขขาวออกบ้างจึงจะเห็นผิวชั้นใน ซึ่งเป็นสนิมแดงจัดสวยงามมาก พระนาคปรกนี้แตกกรุออกมาพร้อมกับพระร่วงยืนของกรุนี้ แต่จำนวนที่พบนั้นมีน้อยมาก จึงหายากครับ พุทธคุณก็ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54811890257729_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
เหรียญเสมาหลวงปู่ฟู รุ่นมีฐานะ

พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงปู่ฟู อติภัทโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พระเกจิที่ได้รับสืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

อาทิ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทราหลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานนที จ.ชลบุรี, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี, หลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

เกิดในสกุล ดวงดารา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธ.ค.2465 ที่บ้านบางสมัคร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2485 โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาด้านคันถธุระที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานนที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมชั้นเอก

กระทั่งปี พ.ศ.2492 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ.2501 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เลื่อนอันดับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี

พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน

พัฒนาวัดจนเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง มีพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา อีกทั้งมุ่งเน้นด้านการศึกษา มาตลอด

ทั้งนี้ วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จัดสร้างเหรียญเสมา หลวงปู่ฟู รุ่นมีฐานะ

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2562 ในวาระก่อสร้างฐานพระกริ่งใหญ่มงคล หลวงปู่ฟู เมตตาปลุกเสกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว

เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่สวยงามในสายเหรียญเสมา มีความคมชัดเนื้อเหรียญโลหะตึง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ฟูนั่งสมาธิ

ด้านหลังเป็นยันต์นะโมพุทธายะ ด้านบนชื่อรุ่นมีฐานะ ด้านล่างเขียนคำว่า พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟู) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๕๖๒ ยันต์และตัวหนังสือเป็นตัว จมในเหรียญ มีโค้ด ฟู เเละหมายเลขกำกับทุกเหรียญ โดยเฉพาะชุดพิเศษ 9 เหรียญ 9 เนื้อ ในชุดเดียวกันหมายเลขเดียวกัน จัดสร้าง 200 ชุดเท่านั้น

ร่วมทำบุญบูชาชุดละ 2,000 บาท ตอนนี้ที่วัดยังพอมีเหลือบ้างเล็กน้อย

สอบถามได้ที่พระครูธรรมธรมนต์ชัย สารโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร โทร.08-9891-3887  
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37205590473280_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระร่วงหลังกาบหมาก กรุศรีโสฬส

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราๆ ท่านๆ ก็คงทราบดีเรื่องราวเกี่ยวกับวีรกรรมของวีรชนค่ายบางระจัน ที่เสียสละชีพเพื่อปกป้องบ้านเมือง ต่อสู้กับข้าศึกที่มารุกรานบ้านเมือง เมืองสิงห์บุรีมีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นที่ตั้งชุมชนมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงปัจจุบัน ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุและโบราณสถานหลายยุคหลายสมัย เรามารู้จักอดีตของเมืองสิงห์บุรีและพระเครื่องที่ขุดพบกันครับ

จังหวัดสิงห์บุรีเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยทวารวดี มีการขุดพบคูเมืองเก่าแก่ที่อำเภออินทร์บุรี และพบเศษภาชนะเครื่องถ้วยชามและลูกปัดต่างๆ ที่บ้านคูเมืองพบตุ้มหูดีบุก ลักษณะแบบเดียวกันกับที่พบในเมืองออกแก้ว ประเทศกัมพูชา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 8-10 สันนิษฐานว่าบ้านคูเมืองเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนัน นอกจากนี้นักโบราณคดียังขุดพบภาชนะดินเผาสมัยทวารวดีและเศษภาชนะเคลือบสมัยสุโขทัย และยังพบเครื่องทองสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นได้ว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยติดต่อกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

การขุดค้นของนักโบราณคดียังพบการตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดสิงห์บุรีอีกหลายแห่ง เช่น บ้านชีน้ำร้าย เขตอำเภอเมือง แหล่งโบราณคดีบ้านคีม อำเภอบางระจัน เป็นต้น ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง บริเวณใกล้กับวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งเป็นเมืองเก่าชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านหน้าพระลาน" สันนิษฐานว่า พระเจ้าไกรสร โอรสของพระเจ้าพรหม ผู้ครองเมืองฝาง ได้โปรดให้สร้างเมืองขึ้นมาในราว พ.ศ.1650 ต่อมาเมืองสิงห์บุรีก็ยังปรากฏชื่ออยู่ในสมัยกรุงสุโขทัย ฐานะเมืองหน้าด่าน เมืองสิงห์บุรีได้มีการย้ายเมืองถึง 4 ครั้ง

โบราณวัตถุของเมืองสิงห์บุรีถูกพบมีตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี จนถึงสมัยอยุธยา ในส่วนของพระเครื่องที่พบและมีชื่อเสียงได้แก่ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง ซึ่งเป็นศิลปะสมัยลพบุรี พระซุ้มนครโกษา กรุวัดสว่างอารมณ์ ศิลปะลพบุรี พระเครื่องที่โด่งดังมากและหายากก็คือพระร่วงยืนหลังกาบหมาก กรุศรีโสฬส เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง ที่มีศิลปะลพบุรีที่สวยงามมาก

พระร่วงกรุศรีโสฬส แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2522 ที่บริเวณวัดศรีโสฬส พระที่พบมีจำนวนน้อยมาก ที่สมบูรณ์พบประมาณ 50 องค์ ด้านหลังจะเป็นรอยคล้ายกาบหมาก เนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น เท่าที่พบมีพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ตอนที่ขึ้นจากกรุใหม่ๆ มีสนิมไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ เมื่อนำมาล้างไขขาวออกแล้วจะพบสนิมแดงสวยงามมาก

ปัจจุบันหาชมยากมากเนื่องจากพระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงทำให้มีคนทราบน้อยมาก ว่าเมืองสิงห์บุรีก็มีการพบพระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงด้วย สนนราคาของพระร่วงกรุศรีโสฬสนั้นสูงมากทีเดียวครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุศรีโสฬส พิมพ์ใหญ่ องค์ที่สวยสมบูรณ์มากเท่าที่ผมเองเคยเห็นมา และผมก็ได้นำรูปมาให้ท่านผู้อ่านได้ชมความงดงามกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31532987000213_1_320x200_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66539926951130_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

เหรียญหลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย

"หลวงพ่อพระใส" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อ.เมือง จ.หนองคาย วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ "เหรียญหลวงพ่อพระใส รุ่นแรก" จัดสร้างโดยพระเวทีวุฒิกร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เมื่อปี พ.ศ.2485 ลักษณะทรงสามเหลี่ยม มีหูห่วง เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ รูปหลวงพ่อพระใส บนพระแท่นมีคำว่า "พระใส" อยู่ที่ฐาน เส้นขอบซ้อนด้านในคมชัด เช่นเดียวกับเส้นซ้อนข้างศอกซ้าย จุดกลมและเส้นแตกข้างเข่าซ้าย เป็นสัญลักษณ์สำคัญของเหรียญรุ่นนี้ ด้านหลัง เส้นยันต์หนาใหญ่คมชัด มีจุดกลมข้างในหัวตัว อุ เป็นจุดสังเกตสำคัญ ด้วยความงดงามโดดเด่น ทำให้เป็นเหรียญที่มีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้มีไว้ครอบครองต่างก็หวงแหนยิ่ง "พระวิสุทธิสารเถร" หรือ "หลวงพ่อผ่อง ธัมมโชติโก" อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ สุดยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าย่านฝั่งธนบุรี วัตถุมงคลยอดนิยมคือ "พระสมเด็จเล็บมือ" มีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2457 ด้านหลังนูนเรียบ ส่วนรุ่นสองสร้างประมาณปี พ.ศ.2464 ด้านหลังจะปรากฏอุณาโลมประทับอยู่ สร้างทั้งสองรุ่นประมาณกันว่าไม่เกิน 5,000 องค์ พุทธลักษณะมีกรอบพิมพ์เป็นรูปคล้ายครอบแก้วหรือปลายนิ้วมือ มีรูปพระพุทธปางขัดสมาธิเพชรเห็นสังฆาฏิประทับอยู่เหนือฐาน ซึ่งเป็นขีดหนา เนื้อพระเป็นผงสีขาวนวล ละเอียดแห้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครองของชาวฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะชาวภาษีเจริญและใกล้เคียง ผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน "หลวงพ่อเสน่ห์ กตปุญโญ" หรือ "พระครูอุปกิจสารคุณ" เจ้าอาวาสวัดพันสี ต.ท่าโพ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี ในปี พ.ศ.2520 คณะศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อเสน่ห์ รุ่นแรก" เป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 4,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญรูปวงกลม ด้านบนเหรียญเป็นลายกนกทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เจาะหูห่วงที่ยอดกนก ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงพ่อเสน่ห์ครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหน้าเหรียญมีขอบ เหนือขอบล่างมีอักษรไทย เขียนว่า "เสน่ห์" ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ซุ้มเหรียญสามเหลี่ยมหน้าจั่วไม่มีลายกนก แต่มีอักษรไทย เขียนว่า "รุ่นแรก" และเหนืออักษรไทยมีอุณาโลมกำกับ ตรงกลางเหรียญมียันต์อักขระ "นะ" ซ่อนหัว หรือ "นะ" สำเร็จ ใต้ยันต์มีเลขไทย "๒๕๒๐" เหนือขอบเหรียญด้านล่างมีอักษรไทย เขียนว่า "วัดพันสี อุทัยธานี" กำกับด้วยลายกนก หัว-ท้าย เป็นอีกเหรียญหนึ่งที่มีอนาคตไกล ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างหอระฆังวัดโพธิ์ศรีธรรมาราม บ้านน้ำพุ ต.บ้านกลาง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ สอบถามที่ พระครูโพธิพัชรบวร เจ้าอาวาส โทร.08-6934-8779     ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22790521548853_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำแควอ้อม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อช่วง หรือพระครูวิมลศิลาจารย์ วัดปากน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ชาวแม่กลองเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังมาก ตะกรุดโทนของหลวงพ่อช่วง หลวงกล้ากลางสมรมือปราบในสมัยนั้นพกติดตัวอยู่ตลอด

หลวงพ่อช่วงเกิดเมื่อปี พ.ศ.2399 ที่ตำบลบางพรม อำเภออัมพวา โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อแจ่ม พออายุได้ 9 ขวบ บิดาได้นำมาฝากเรียนกับหลวงพ่อกลัด วัดบางพรม ต่อมาเมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดบางพรม โดยมีพระอธิการเพ็ง วัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลัด วัดบางพรม และพระอธิการขาว วัดปากน้ำ เป็นพระคู่สวด ได้รับนามฉายาว่า "อินทโชติ" และได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ ศึกษาทั้งมูลกัจจายน์ และพระธรรมวินัย ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับพระอธิการเพ็ง ต่อมาได้ออกธุดงค์กับพระอธิการเพ็งและหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ท่านได้ธุดงค์ไปจนถึงประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศพม่า

เมื่อกลับมาจากธุดงค์ หลวงพ่อช่วงก็ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ท่านก็ได้พัฒนาวัดปากน้ำจนเจริญรุ่งเรือง ได้สร้างโรงเรียนสำหรับลูกหลานชาวบ้านในแถบนั้นได้มีสถานศึกษา ในด้านการศึกษาของพระเณร หลวงพ่อช่วงก็ได้จัดหาครูจากวัดระฆังฯ มาเป็นผู้สอน การเรียนการสอนเจริญก้าวหน้ามาก ต่อมาก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิมลศิลาจารย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภออัมพวาในปี พ.ศ.2458

วัตถุมงคลของหลวงพ่อช่วงมีทั้งตะกรุด และเหรียญ ในปี พ.ศ.2463 หลวงพ่อช่วงได้สร้างเหรียญหล่อ เป็นรูปหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และเมื่อปี พ.ศ.2471 ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อช่วงได้ขออนุญาตหลวงพ่อช่วงสร้างเหรียญที่ระลึกในการทำบุญอายุหลวงพ่อช่วง อายุครบ 6 รอบ 72 ปี เป็นเหรียญปั๊มรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ด้านหลัง เป็นรูปพระปิดตา และมียันต์ล้อมรอบ ปัจจุบันค่อนข้างหายากแล้ว

พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุตม์ แคล้วคลาด และเมตตามหานิยมครับ คนเก่าคนแก่ในแถบนั้นต่างมีประสบการณ์มาแล้วมากมาย ขนาดหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ยังกล่าวชม

หลวงพ่อช่วงมรณภาพในปี พ.ศ.2478 สิริอายุได้ 79 ปี พรรษาที่ 59

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อช่วง เหรียญปั๊มรุ่นแรก จากหนังสือตามรอยตำนาน อมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46628548122114_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ชีวประวัติย่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มีนามเดิมว่า "โต" ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 ที่บ้านไก่จ้น อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นามโยมบิดาไม่ปรากฏชัดเจน โยมมารดาชื่อเกตุ โยมตาชื่อไชย ต่อมาโยมมารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ ต.ไชโย จ.อ่างทอง ครั้นพอท่านสอนเดิน มารดาได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ที่บ้าน ต.บางขุนพรหม กทม. ภายหลังท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ ณ ตำบลทั้งสามเป็นอนุสรณ์

การศึกษาอักษรสมัย เจ้าประคุณสมเด็จฯได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) แห่งวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ อายุได้ 12 ปีในปี พ.ศ.2343 ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (เดิมคือวัดบางลำพูบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เข้าใจว่าเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ท่านบรรพชาที่วัดอินทรวิหาร จนกระทั่งสามเณรโตย้ายสำนักมาอยู่ที่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระ ปริยัติธรรม กล่าวกันว่าท่านได้เล่าเรียนจากสำนักสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ เป็นพื้น และได้เรียนต่อกับสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุอีกด้วย สามเณรโตมักจะได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์ว่ามีความทรงจำดีเยี่ยม อีกทั้งมีปฏิภาณเป็นยอด นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนาธุระอีกด้วย

ครั้งเมื่ออายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชธุระให้เป็นนาคหลวงอุปสมบท ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (องค์มหาสังฆปริณายกที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่เคยมีปรากฏว่าสามัญชนได้รับพระกรุณาให้เป็นนาคหลวงและอุปสมบทได้ที่พระอารามหลวงในพระบรมมหาราชวังนี้ หลังจากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังได้ศึกษากัมมัฏฐานและมหาพุทธาคมจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ในสมัยที่ท่านยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

สมณศักดิ์ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ไม่ปรารถนายศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่ยอมรับฐานานุกรม เล่ากันว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านเกรงว่าจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ จึงมักหลบไปต่างจังหวัดอยู่เนืองๆ จนถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านจึงไม่ขัด กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าคุณธรรมของท่านยิ่งยอดเพียงใด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ อายุได้ 65 ปี ต่อมาอีก 2 ปี คือปี พ.ศ.2397 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี ครั้งต่อมาเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ มรณภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2407

ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าและมีการจดบันทึกโดยนายกนก สัชชุกร ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ร่วมสร้างในปีพ.ศ. 2409 และได้มีหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 ได้แกะแม่พิมพ์ถวาย และได้แนะนำให้ใช้น้ำมันตั้งอิ้วผสมเนื้อปูนเปลือกหอย ในการสร้างพระสมเด็จฯ ด้วย แม่พิมพ์ที่แกะถวายมีแม่พิมพ์หมวดพิมพ์ใหญ่หมวดพิมพ์ทรงเจดีย์ หมวดพิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2409 เรื่อยๆ มา

พระสมเด็จฯ ที่เป็นพิมพ์มาตรฐานเหล่านี้ เป็นพระสมเด็จฯ ที่มีผู้นิยมเป็นมาตรฐาน และมีมูลค่ารองรับ จากการจดบันทึกทำให้เรารู้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระเรื่อยๆ มาวันละเล็กละน้อย หลังจากที่ท่านฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว และมีผู้มาช่วยตำผสมเนื้อพระ กดพิมพ์พระไปเรื่อยๆ เมื่อได้พระจำนวนพอสมควร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะนำพระไปปลุกเสกของท่านเอง แล้วก็แจกพระของท่านไปเรื่อยๆ เช่น ออกไปบิณฑบาต ก็จะนำพระไปแจกด้วยเสมอ แล้วก็มีการสร้างพระต่อกันไปอีก พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ จึงไม่สามารถระบุจำนวนที่แท้จริงได้เนื่องจากไม่ได้กำหนดว่าจะสร้างจำนวนเท่าใด

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า เมื่อปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงได้บูรณะวัดบางขุนพรหม ใน (วัดใหม่อมตรส) และได้เข้ามากราบเรียนขอให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระให้เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ ที่กำลังจะสร้างขึ้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็อนุญาต และเริ่มสร้างพระเครื่องของวัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ดังนั้น พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ อาจจะหยุดสร้างในปี พ.ศ.2411 ก็อาจจะเป็นได้ ดังที่ได้กล่าวมา พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในปี พ.ศ.2413

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 เวลา 24.00 น. ณ หอสวดมนต์ วัดระฆังโฆสิตาราม สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 65

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ มาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49456708257396_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระกรุวัดเพชร สระบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพระกรุพระเก่าอยู่มากเช่นกัน วัดเพชร อ.เสาไห้ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง และมีกรุพระที่แตกกรุออกมาและมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เรามารู้จักพระกรุวัดเพชรกันครับ

วัดเพชรเป็นวัดเก่าวัดหนึ่งของจังหวัดสระบุรี สร้างมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลายหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรื่องเล่าอยู่สองนัยว่า นายเพชรกับนายไท สองพี่น้องเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ.2295 และมีการสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ อีกนัยหนึ่งว่า เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310 บรรดาขุนนางและชาวบ้านได้หลบหนีภัยสงครามมาทางเรือโดยขึ้นเหนือตามแม่น้ำป่าสักมาจนถึงบ้านยาง เห็นเป็นทำเลที่ตั้งดีจึงตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงที่ตั้งวัดเพชรปัจจุบัน

พระกรุวัดเพชรแตกก็เนื่องจากในปี พ.ศ.2491-2492 คณะกรรมการวัดเพชรได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ด้านหลังพระอุโบสถ ซึ่งพิจารณาดูว่าชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถที่จะบูรณะได้ จึงได้รื้อองค์พระเจดีย์และซากปรักหักพังออกปรับพื้นที่ให้เรียบ ก็ได้เจอพระเครื่องที่บรรจุในองค์พระเจดีย์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็เจอพระเครื่องเนื้อดินที่ใต้ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระแบบเดียวกับที่พบที่วัดดาวเสด็จอีกด้วย ในส่วนพระเครื่องที่อยู่ในเจดีย์หลังพระอุโบสถนั้นเป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน มีพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์อู่ทอง พิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์สมาธิ พิมพ์ลายกนก พิมพ์เพชรกลับ พิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นต้น

พระกรุเนื้อชินเงินนี้ในช่วงแรกๆ ชาวบ้านก็ไม่ได้สนใจสักเท่าไร เนื่องจากมีพระจำนวนมากและผิวของพระเป็นผิวปรอทขาวทั่วองค์ ชาวบ้านก็นึกว่าเป็นพระที่ยังไม่เก่านัก อีกทั้งยังมีพระจำนวนมากหาได้ไม่ยากนัก จึงขาดความสนใจ ต่อมามีคนที่นำพระกรุวัดเพชรไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ถูกฟันไม่เข้า ก็เริ่มมีคนสนใจและนำพระไปทดลองยิงดู ซึ่งแกเป็นกำนันของตำบลนั้น ปรากฏว่ากระสุนด้านยิงเท่าไรก็ไม่ออก

ต่อมาก็มีอีกรายนำไปทดลองยิงบ้างก็ปรากฏเช่นเดียวกันยิงเท่าไรก็ยิงไม่ออก ข่าวคราวเมื่อแพร่ออกไปก็เริ่มมีคนสนใจพระกรุวัดเพชรมากขึ้น จนพระกรุวัดเพชรหมดไปจากวัดในที่สุด นอกจากเรื่องอยู่ยงคงกระพันแล้วก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดพ้นภัยจากอุบัติเหตุอีกด้วย

พระกรุวัดเพชรที่เป็นพระเนื้อดินมีพิมพ์เดียวกับพระของวัดดาวเสด็จ ปัจจุบันก็เล่นหาเป็นของวัดดาวเสด็จกันหมด เนื่องจากแยกกันไม่ออก เพราะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน ส่วนพระเนื้อชินเงินก็แน่ชัดว่าเป็นของวัดเพชร ปัจจุบันก็เริ่มหายากสักหน่อย แต่ก็ยังพอหาได้อยู่ สนนราคาก็ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับพุทธคุณที่ปรากฏเด่นชัด และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายจากคนในพื้นที่

ครับก็เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดสระบุรีที่มากด้วยพุทธคุณ แต่สนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาได้ไม่ยากนัก ของปลอมก็ยังไม่ค่อยพบ เป็นพระประเภทของดีราคาถูกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องเนื้อชินของกรุวัดเพชรพิมพ์ต่างๆ มาให้ชมค
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19378682557079_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี วัตถุมงคลของท่านเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก พระเครื่องบางรุ่นก็มีสนนราคาสูง แต่บางรุ่นก็ยังพอหาได้ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักเช่นพระเนื้อผงของท่านครับ

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ เป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายรูป จากนั้นก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพร แถบภาคเหนือ ภาคอีสานเลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิม มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับ ชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้นด้วย ชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลท่านก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้ถูกนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนของหลวงพ่อแฉ่งรุ่นแรกมาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มิถุนายน 2563 12:42:49

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59138908982276_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระสุเมธาจารย์ (วอน) วัดปรมัยยิกาวาส

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่เกาะเกร็ดปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ มีสิ่งที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามเก่าแก่ ชุมชนชาวรามัญ (ชาวมอญ) ที่อยู่มาเก่าแก่มีการปั้นหม้อดินเผาและอาหารอร่อยๆ มากมาย การเดินทางก็โดยทางเรือและมาขึ้นเกาะที่วัดปรมัยฯ ซึ่งถ้าเรามองที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะเห็นเจดีย์เอียงอยู่ที่หัวเกาะเกร็ด เป็นสัญลักษณ์ประจำเกาะเกร็ด ก็คือวัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ที่วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งที่ชาวเกาะเกร็ดเคารพนับถือมาก คือพระสุเมธาจารย์บริหารธรรมขันธ์ รามัญสังฆนาธิบดี (วอน) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยฯ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2404 โยมบิดาคือสมิงสามปราบ โยมมารดาชื่อละเมอ (ภาษามอญแปลว่า ดอกมะลิ) ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดปรมัยฯ ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระคุณวงศ์ (จู) เจ้าอาวาสวัดปรมัยฯ สมัยนั้น พระสุเมธาจารย์ (วอน) ตั้งใจศึกษาเปรียญธรรมรามัญมาก สอบเปรียญธรรมรามัญได้ 3 ประโยค ซึ่งเปรียญสูงสุดของรามัญนั้นมี 4 ประโยค ซึ่งสอบยากมาก ท่านได้เป็นครูสอนเปรียญรามัญที่วัดปรมัยฯ นอกจากศึกษาเรื่องพระธรรมวินัยและเปรียญรามัญกับพระคุณวงศ์ (จู) แล้ว ท่านก็ยังได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน อีกทั้งวิทยาคมต่างๆ จากพระคุณวงศ์ (จู) จนหมดสิ้น เป็นที่ไว้ใจของพระคุณวงศ์มาก เมื่อพระคุณวงศ์ (จู) ชราภาพ ท่านก็ได้ให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ลงอักขระเลขยันต์ลงผ้าประเจียดแดงแทนแล้วท่านจึงมาปลุกเสกอีกทีหนึ่ง วิชาอยู่ยงคงกระพันของรามัญเด่นที่ผ้าประเจียดแดง ลงอักขระรามัญ ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า ตีหัวไม่แตก โด่งดังมากในสมัยนั้น

ต่อมาพระคุณวงศ์ (จู) ก็ให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ทั้งลงอักขระและปลุกเสกเอง ซึ่งก็เข้มขลังมากเช่นกัน จึงเป็นที่ไว้ใจของท่านพระคุณวงศ์ (จู) มาก และให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ทำต่อมาตลอด ภายหลังพระคุณวงศ์ (จู) มรณภาพ พระสุเมธาจารย์ (วอน) จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ภายในวัดปรมัยฯ ยังมีพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่พระสุเมธาจารย์ (วอน) เคารพนับถือมากคือ พระอาจารย์ละโว้ และท่านได้ศึกษาวิทยาคมจากพระอาจารย์ละโว้ด้วย ในช่วงที่พระคุณวงศ์ (จู) มรณภาพนั้น พระอาจารย์ละโว้ไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาส และให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

พระสุเมธาจารย์ (วอน) เป็นที่รักและเคารพของชาวบ้านมาก ใครมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอันใดก็จะไปให้ท่านช่วยเหลืออยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเคราะห์ร้ายใดๆ ท่านก็รดน้ำมนต์ให้หายทุกราย เรื่องเครื่องรางของขลังทั้งชาวเกาะเกร็ดและฝั่งอำเภอก็มาขอจากท่านกันมาก ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เมตตากรุณามากไม่ว่าคนหรือสัตว์ ต่อมาเมื่อท่านอายุครบ 6 รอบ บรรดาศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตจัดทำเหรียญรูปท่านเพื่อแจกไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็อนุญาตให้ จึงมีเหรียญรูปท่านในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหาชมยากแล้วครับ อีกเหรียญหนึ่งที่ท่านปลุกเสกไว้ก็คือเหรียญพระอาจารย์ละโว้ ที่สร้างเป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงของพระอาจารย์ละโว้ในปี พ.ศ.2478 อีกเหรียญหนึ่ง ปัจจุบันหายากเช่นกันครับ

พระสุเมธาจารย์ (วอน) อยู่เป็นเจ้าอาวาสและเป็นมิ่งขวัญของชาวบ้านเกาะเกร็ดจนถึงปี พ.ศ.2480 ท่านก็มรณภาพ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระสุเมธาจารย์ (วอน) รุ่นแรกมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21379903290006_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ ซึ่งท่านที่เพิ่งเข้ามาศึกษาเรื่องพระสมเด็จฯ ก็อาจจะนึกว่า พระพิมพ์นี้มีแม่พิมพ์อันเดียว ซึ่งโดยส่วนมากเราก็จะเห็นพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ อยู่แม่พิมพ์หนึ่งที่พบเห็นบ่อยๆ หรือจะเป็นภาพถ่ายก็ตาม แต่ความจริงแล้วแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์นั้นมีอยู่หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผมศึกษา แม่พิมพ์ที่เป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับนั้น มีอยู่ถึง 4 แม่พิมพ์ ซึ่งแต่ละแม่พิมพ์ก็มีความแตกต่างกันอยู่ครับ

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ เท่าที่มีการยอมรับและมีมูลค่ารองรับด้วยนั้น มีแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์ใหญ่ พระแม่พิมพ์นี้หายากมากๆ ในสังคมพระเครื่องเท่าที่มีการบันทึกภาพไว้มีเพียงแค่ 2 องค์เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 2 องค์นะครับ เพียงแต่เท่าที่มีการบันทึกภาพไว้แค่ 2 องค์ แม่พิมพ์ที่มีพบเห็นมากที่สุดก็คือแม่พิมพ์ อกวี หรือแม่พิมพ์ที่มีเส้นชายจีวร แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นภาพถ่ายมากที่สุด แม่พิมพ์เล็ก เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งที่พบเห็นไม่มากนัก ส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่ฐานมีเส้นแซม พระแม่พิมพ์นี้ตั้งแต่ใน สมัยก่อนอาจจะถูกยกไปอยู่ในพิมพ์เกศบัวตูมก็มี ซึ่งการแยกพิมพ์ก็มีอยู่ 2 กลุ่ม แต่การพิจารณาว่าใช่หรือไม่นั้นจะมีหลักการพิจารณาที่เหมือนกัน จึงไม่มีปัญหาอะไร ก็แตกต่างกันแค่การเรียกชื่อพิมพ์เท่านั้น

พระแม่พิมพ์นี้ในส่วนของกลุ่มที่จัดให้อยู่ในหมวดพิมพ์เกศบัวตูมก็จะแยกเป็นพิมพ์เกศบัวตูมแม่พิมพ์ฐานยาว ส่วนแม่พิมพ์เกศบัวตูมอีกแม่พิมพ์หนึ่งก็จะเรียกเป็นพิมพ์เกศบัวตูมแม่พิมพ์ฐานสั้น ในส่วนตัวผมที่ศึกษามาจากกลุ่มที่จัดแม่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ ก็ขอจัดให้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ก็แล้วกันนะครับ เหตุผลของแต่ละกลุ่มต่างก็มีเหตุผลด้วยกันทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งผมคงจะไม่กล่าวถึงนะครับ เนื่องจากหลักการพิจารณาต่างก็มีหลักการพิจารณาว่าใช่หรือไม่ไม่แตกต่างกัน คือพิจารณารายละเอียดของพระพิมพ์ เนื้อหา และธรรมชาติร่องรอยการผลิตจะเหมือนๆ กัน ซึ่งมีมาตรฐานมูลค่ารองรับเหมือนกัน

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์นี้จะพบน้อยมาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก แม้แต่ภาพถ่ายก็เช่นกัน สันนิษฐานว่าคงจะมีสร้างจำนวนไม่มากนักเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ใหญ่ ซึ่งพบน้อยมาก เพราะแม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ที่สวยงามมาก มองเห็นพระกรรณ (หู) ชัดเจนมาก ในส่วนของพระเกศ ที่ฐานพระเกศจะมีมุ่นมวยผมเหนือพระเศียร และต่อมาเป็นเส้นพระเกศตรงกลางมีขยัก เป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายกับดอกบัวตูม (ซึ่งอาจจะเป็นจุดนี้ที่กลุ่มหนึ่งจึงจัดไปอยู่ในพิมพ์เกศบัวตูม) แต่ปลายพระเกศจะยาวไปจรดเส้นซุ้มพอดี องค์พระล่ำสันอวบอิ่มสวยงาม หน้าตักแสดง รายละเอียดของขาทั้งสองข้าง ใต้หน้าตักระหว่างหน้าตักกับฐานชั้นบนจะมีเส้นแซม และระหว่างฐานชั้นบนสุดและฐานชั้นกลางก็จะมีเส้นแซมเห็นเป็นเส้นบางๆ ทั้งสองเส้น

พระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้จะหายาก พบน้อยมาก ธรรมชาติของร่องรอยการผลิตนั้นก็จะเห็นได้ว่าเป็นเช่นเดียวกับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ทุกองค์ ทั้งด้านหลังของพระก็จะเป็นเอกลักษณ์ของวัดระฆังฯ ด้านหลังของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือของวัดบางขุนพรหม จะมีเอกลักษณ์ซึ่งเป็นร่องรอยการผลิตปรากฏอยู่ และของทั้ง 2 วัด แต่ละวัดก็จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ครับเรื่องร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรก็ตาม อย่างด้านหลังของพระสมเด็จนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีแม่พิมพ์ด้านหลังก็ตาม แต่ร่องรอยการผลิตในการสร้างพระก็จะปรากฏให้เห็นได้ และจะมีเหมือนๆ กันในทุกๆ องค์ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้ซึ่งหายาก และมีมาตรฐานมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64970365208056_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดราชบุรี มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่หลายท่าน มีที่ท่านสร้างปิดตา เนื้อเมฆพัดไว้ และมีประสบการณ์สูงปัจจุบันหาชมยากเช่นกันครับ ท่านก็คือพระครูธรรมาภินันท์ (ปล้อง สุลีโล)

หลวงพ่อปล้องเป็นชาวตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี โยมบิดาชื่อแพง โยมมารดาชื่อหุ่น เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ในวัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือที่วัดบางลี่ ตำบลโคกหม้อ อยู่หลายปี แล้วได้ย้ายไปอยู่กับพระยอด น้าชาย ที่วัดกันมาตุยาราม กทม. จนอายุได้ 18 ปี จึงกลับมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุรชายาราม 1 พรรษา แล้วจึงลาเพศมาช่วยบิดามารดาทำนาจนอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทในปีพ.ศ. 2439 ที่วัดสุรชายาราม โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตร) วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยา วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเกิด วัดท่าโขลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ได้ศึกษาบาลีกับพระวินัยธร (เบี้ยว) วัดท่าโขลง จนมีความรู้แปลหนังสือได้

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2448 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมาภินันท์ หลวงพ่อปล้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน หลวงพ่อปล้องได้สร้างวัตถุมงคลเป็นพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด มีอยู่สองแบบคือ เป็นแบบพระปิดตา กับพระกลีบบัว เป็นการสร้างในปี พ.ศ.2471 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในการสร้างศาลาการเปรียญ และมีชื่อเสียงโด่งดังในครั้งสงครามอินโดจีน เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จากนั้นก็มีผู้คนและทหารเข้าขอพระเครื่องจากหลวงพ่อมากมาย พระเครื่องได้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ทางวัดได้จัดสร้างเพิ่มก็สร้างไม่ทัน ต้องทำผ้าประเจียดพิมพ์เป็นรูปพระปิดตาแล้วทำพิธีปลุกเสกแทนพระเครื่องทั้งหมดของหลวงพ่อปล้องแจกฟรีครับ

หลวงพ่อปล้องมรณภาพด้วยโรคอัมพาต ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2484 เวลา 10.35 น. สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 45

พระปิดตาของหลวงพ่อปล้องมีทั้งแบบลอยองค์และแบบพิมพ์ครึ่งซีก ที่เรียกว่าพิมพ์จั๊กจั่น และพระพิมพ์กลีบบัว เนื้อเมฆพัด ที่องค์พระหรือด้านหลังมักจะมีรอยจารด้วยลายมือหลวงพ่อปล้องแทบทุกองค์ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้องมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44754945445391_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
พระพุทธชินราชวัดป่าวังนํ้าเย็น

"วัดพุทธวนาราม" หรือวัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ที่บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน อายุ 41 ปี พรรษา 21 ดำรงตำแหน่งประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง จ.มหาสารคาม

หลายปีก่อน เดินทางกลับมหาสารคาม บ้านเกิด บรรดาญาติโยมที่มีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมบริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือบริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน ถวายให้สร้างวัด

จากนั้นร่วมแรงร่วมใจกับญาติโยมและคณะศิษย์ พัฒนาที่รกร้างว่างเปล่าผืนนี้ จนกลายสภาพเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ด้วยความศรัทธาจากทุกฝ่าย ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็น ลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม อุโบสถไม้ซุงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัด

สำหรับถาวรวัตถุที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและใกล้แล้วเสร็จ คือ อุโบสถไม้ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก คณะศิษย์ที่มีจิตอันเป็นกุศล นำโดย "บอล คำแคน ขอนแก่น" "ไอช์ ขอนแก่น" และ "โตโต้ ขอนแก่น" จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราช "โฆสปัญโญ มหาปรารถนา" เพื่อมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถไม้ซุงและพัฒนาปรับปรุงวัดในด้านอื่นๆ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ พุทธศิลป์จำลองจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก

พระพุทธชินราช "โฆสปัญโญ มหาปรารถนา" ด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายกับที่วัดอื่นเคยจัดสร้าง จะต่างกันที่บริเวณใต้ฐานพระพุทธชินราชรุ่นนี้จะตอกคำว่า "โฆสปัญโญ" และอักขระยันต์มหาปรารถนา รวมทั้งหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้าง มวลสารที่นำมาจัดสร้าง อาทิ เหล็กเปียก ที่มีคุณวิเศษเหมือนเหล็กไหล แผ่นอักขระยันต์เก่าของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ แผ่นอักขระยันต์พระอาจารย์สุริยันต์ เป็นต้น โดยใช้กรรมวิธีการหล่อโบราณ

จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดเกศาก้นทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ สร้าง 19 องค์ เนื้อเหล็กเปียกพระธาตุพนม สร้าง 49 องค์ เนื้อมหาชนวน สร้าง 400 องค์

พระอาจารย์สุริยันต์ประกอบพิธีเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2563

ติดต่อได้ที่วัดป่าวังน้ำเย็น 
    ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69550777019725_view_resizing_images_5_320x200.jpg) 
รู้ได้ไงว่าพระแท้-เก๊เกิดทันหรือ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า "รู้ได้ไงว่าพระแท้-เก๊ เกิดทันหรือ?" เป็นวลีที่เกิดขึ้นมานมนานแล้ว เมื่อ 50 ปี ก่อนนั้นผมเองก็เคยได้ยิน และยังเป็นวลีที่ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ส่วนมากก็เกิดจากความไม่พอใจในคำตอบที่ไม่สมหวังของผู้ที่เป็นเจ้าของพระ และที่สำคัญก็คือจะนำพระมาปล่อยให้เช่าแล้วเขาไม่เช่าก็ผิดหวังและไม่พอใจ พระเก่าๆ อย่างประเภทพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ก็ไม่ค่อยมีใครเกิดทันหรอกครับ แต่เขามีแบบอย่างที่ยอมรับกันในสังคมพระเครื่องว่าแบบนี้แท้ใช่ และมีมูลค่ารองรับคือขายได้มีราคา ส่วนที่ทำไม่เหมือนหรือคล้ายๆ ก็ขายไม่ได้ ไม่มีใครรับซื้อก็เท่านั้นเอง

ครับนอกจากพวกที่อยากขายแล้วก็มีพวกที่ขายพระเขาไปแล้ว แต่พอคนที่ซื้อไปนำไปขายหรือนำไปแห่ในสนามพระก็ขายไม่ได้ นำพระไปคืนคนขายก็โมโหจึงถามว่าคนที่ไม่ซื้อนั้นเกิดทันหรือจึงรู้ว่าไม่แท้ พระที่มีปัญหาบ่อยๆ ก็จะเป็นพระที่นิยมกันมากๆ สนนราคาสูงๆ เช่น พระสมเด็จฯ เป็นต้น จะมีปัญหาแบบนี้บ่อยมาก เรื่องของพระเครื่องนั้นเขาไม่ต้องเกิดทันการสร้างพระนั้นๆ หรอกครับ เขาเล่นหาซื้อ-ขายกันตามที่เขานิยมและเชื่อถือกันว่าใช่ และมีมูลค่ารองรับ คือพูดแบบชาวบ้านก็คือซื้อได้ขายได้ไงครับ ถ้าไม่ใช่ไม่เหมือนเขาก็ไม่ซื้อเพราะนำไปขายต่อไม่ได้ก็เท่านั้นง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก ในสังคมพระเครื่องคำว่าเก๊ก็คือไม่ใช่ตามที่เขาเล่นหากัน ส่วนใครจะว่าใช่แท้ก็แล้วแต่ เพียงเขาไม่ซื้อไม่เล่นหากัน ก็ต้องยอมรับสิ่งที่สังคมเขากำหนดครับ

ถ้าเราจะขายทองหรือขายเพชร เราจะไปขายที่ไหน? สิ่งแรกที่คิดก็คือขายทองไปร้านทอง ขายเพชรไปร้านเพชร เพราะเขารับซื้อ-ขายโดยตรงอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาไปขายแล้วเขาไม่รับซื้อล่ะ จะไปว่าเขาเกิดทันทองหรือทันเพชรไหม? ในทำนองเดียวกันจะขายพระก็คงต้องไปที่สนามพระ-ศูนย์พระ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมร้านค้าพระเครื่องต่างๆ ซึ่งเขาทั้งรับซื้อและขาย เมื่อนำพระที่ต้องการจะขายไปขายแล้วขายไม่ได้ ไม่มีใครซื้อ จะหมายความว่าไง? จะว่าเขาเกิดทันหรือเปล่า หรือจะว่าเขาเล่นแต่พระเก๊ของพวกมันเองหรือ ใช่เหรอ? พวกที่เป็นพ่อค้าพระเครื่อง หรือที่มักเรียกกันว่าเซียนพระเขามีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เขาจะไม่หาสินค้า ที่เขาขายได้เข้ามาในร้านเพื่อขายต่อหรือ? และถ้าคิดว่าเป็นการหลอกต้มกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย มันทำเก๊เอง อุปโลกน์กันเองซื้อขายกันเอง และอยู่ยงมาได้จนปัจจุบันหรือ? นอกจากนี้ยังมีสนนราคารองรับเป็นล้านๆ อย่างพระสมเด็จฯ นี่นะจริงเหรอ?

ส่วนที่มีความเห็นต่างก็ย่อมเป็นสิทธิส่วนบุคคล หรือส่วนกลุ่มของตนนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร เชื่ออย่างไรก็เชื่ออย่างนั้น ย่อมเป็นสิทธิของตนเอง ทำไมต้องไปกล่าวหา หรือว่าร้ายคนอื่นที่ไม่เชื่อตามที่ตนหรือกลุ่มของตนเชื่อ ถ้าเชื่อตามหลักฐานที่ตนมีก็เชื่อไปตามนั้นได้ ไม่ผิดอะไร แต่เมื่อนำไปขายแล้วเขาไม่ซื้อก็เป็นเรื่องของกลุ่มเขาเช่นกัน เพราะความเชื่อนั้นต่างกันก็เท่านั้นเอง ความเชื่อของกลุ่มเซียนพระเขาก็มีมาตรฐานของเขา ถ้าใช่เขาก็รับซื้ออยู่แล้ว หลักการของใครของมันก็ว่ากันไป เชื่อแบบไหนก็ซื้อกันไป เชื่อแบบไหนก็ซื้อแบบนั้นแล้วก็ไปขายกับกลุ่มที่เชื่อแบบนั้น ปัญหาก็ไม่น่าจะมีอะไร มาถกเถียงกันไปทำไม กล่าวหาว่าร้ายกันไปทำไม ไม่ได้ประโยชน์อะไร จริงไหมครับ

ถ้าเซียนพระหมายถึงคนที่มีอาชีพเป็นพ่อค้าพระซื้อมาขายไป ผมเองก็ไม่ใช่เซียน เพราะไม่เคยมีอาชีพนี้เลย แต่ถ้าถามว่าชอบศึกษาสะสมพระเครื่องไหม ก็ใช่ ก็เล่นหาศึกษาสะสมมาตั้งแต่สมัยสนามพระวัดมหาธาตุยุคปลายๆ จนย้ายมาที่วัดราชนัดดา และท่าพระจันทร์ จนมาถึงปัจจุบันถ้าว่างก็ไปเป็นประจำ ยังเช่าพระอยู่ไหมก็มีบ้าง เคยขายพระไหมก็เคย เวลาเช่าหาสะสมมามากๆ เข้า พระบางอย่างก็ให้เซียนเขาเช่าไปบ้าง เพื่อมาเช่าองค์ใหม่เข้า บางทีก็เช่าเซียนมานั่นแหละ เช่ามานานหลายปี ราคาพระขึ้นไปมาก เขาก็มาขอเช่าคืนไปโดยบวกกำไรให้พอสมควร พระบางอย่างผมเช่ามาจากชาวบ้านหมายถึงนอกสนาม เป็นพระหน้าใหม่ เมื่อนำมาดูกันเซียนเขาก็ขอเช่าต่อ โดยให้กำไรเช่นกัน ผมว่านะเขาก็มีมาตรฐานในการพิสูจน์ของเขานะ หมายถึงพวกเซียนน่ะ

ถ้าถามผมว่าดูพระเป็นมั้ย ผมก็ตอบว่าไม่เป็นครับ ผมก็ศึกษาตามพวกเซียนพระนี่แหละ ดูว่าเขาดูอย่างไรว่าใช่ไม่ใช่ แล้วก็ไปหาเช่ามา ในสมัยก่อนก็จากข้างนอกสนาม ตามบ้านบ้าง ตามต่างจังหวัดบ้าง แล้วก็เอามาพิสูจน์ที่สนามดูว่าใช่ไหม สอบได้หรือสอบตก ก็เอาไปอวดแล้วตีราคาให้สูงๆ หน่อย ถ้าเขาขอเช่าและต่อรองราคาก็แสดงว่าเราสอบได้เป็นพระแท้ ถ้าราคาพอใจก็ขายไป เป็นทุนไปหาใหม่สอบกันใหม่ให้แม่นยำก็เท่านั้น การเล่นหาสะสมไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็มีการซื้อขายกันทั้งนั้น เพียงแต่เราได้เล่นหาเป็นอาชีพหรือไม่ หรือว่าเล่นหาสะสมเป็นงานอดิเรก

ผมเองนั้นชอบเล่นหาสะสมแบบมีมูลค่ารองรับ เพราะเงินเราแท้ ก็ควรจะได้ของที่มีมูลค่ารองรับ เรื่องมันก็ง่ายๆ แค่นี้แหละ พระบางองค์ผมเช่าหามาเก็บไว้นาน ก็มีเซียนมาขอซื้อไปในมูลค่าเพิ่ม 20 เท่า ผมก็ให้เขาไปก็เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ผมก็ว่าเขาคงไม่มั่วทำเองขายเอง ไม่งั้นเขาจะมาง้อขอเช่าของผมทำไมไม่ไปทำเองใหม่ล่ะ เพราะเขาก็เป็นเซียนพระประเภทนั้นอยู่แล้วด้วย

ในวันนี้ผมนำพระสมเด็จวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง มาให้ชม พระแบบนี้มีมูลค่ารองรับของสังคมพระเครื่องครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59885574463340_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อตาด วัดบางวันทองเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคมมากของสมุทรสงคราม ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระสงฆ์ก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากหลายท่าน อาทิหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ เป็นต้น

ประวัติของหลวงพ่อตาด ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นทางการ แต่ก็มีการถ่ายทอดโดยการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า ดังนั้นชีวประวัติของท่านจึงไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะรวบรวมไว้ได้ดังนี้

หลวงพ่อตาดเป็นชาวเบิกไพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ที่วัดบ้านเกิดหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เรียนพระธรรมวินัย ท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ จนจบ แล้วก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ และวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์จนกล้าแกร่งจึงออกธุดงค์ ได้ศึกษาวิชาต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ท่านพบในป่ามากมาย

ท่านธุดงค์อยู่หลายพรรษาจนมาถึงแม่น้ำแม่กลอง มุ่งเข้ามาทางแควอ้อม มาหยุดพักจำพรรษาอยู่ที่วัดบางวันทอง ในปี พ.ศ.2438 ซึ่งวัดบางวันทองขนาดนั้นเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร เนื่องจากวัดบางวันทองขณะนั้นเป็นวัดร้างรกร้างรุงรัง เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านผู้คนอาศัยอยู่มากนัก ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางวันทองจนเจริญรุ่งเรืองกลับมาอีกครั้ง

เมื่อหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงพ่อตาดท่านก็จะออกธุดงค์อยู่เสมอ ท่านได้ไปเจอสมุนไพรต่างๆ มากมายก็นำกลับมาไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นยาแผนโบราณ ช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ที่มาให้ท่านรักษาโรคให้ ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆมาหาท่านก็ยินดีช่วยเหลือปัดเป่าให้คลายทุกข์ร้อนไปได้เสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้แก่ชาวบ้านมากมาย แม้ในจังหวัดใกล้เคียงก็ยังพาบุตรหลานมาบวชกับท่านมาก หลวงพ่อตาดมรณภาพในปี พ.ศ.2459 ด้วยโรคชรา คณะศิษย์และประชาชนจึงได้ปรึกษากันว่าจะตั้งสังขารไว้ที่กุฏิ เพื่อบำเพ็ญกุศลถวายจนครบ 1 ปีแล้วจะได้ประชุมเพลิงของท่าน

ศิษย์ผู้หนึ่งชื่อ นายพุก ได้ร่วมปรึกษากับศิษย์คนอื่นๆ พร้อมใจกันสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อไว้เป็นที่ระลึก ในงานประชุม พระเพลิงงท่าน โดยมีนายพุก เป็นผู้แกะพิมพ์ และบุตรช่วยกันสร้างมีทั้งหมดประมาณ 1,200 เหรียญ มีสามชนิด เนื้อทองคำประมาณ 50 เหรียญสำหรับผู้สั่งจอง เนื้อเงินประมาณ 200 เหรียญ นอกนั้นเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ทั้งหมด

เมื่อสร้างเสร็จได้ให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ หลวงพ่อคง วัดแก้วเจริญ หลวงพ่อปลั่ง วัดเพลง หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นต้น ปัจจุบันนับว่าเหรียญของท่านหาดูได้ยากครับ เหรียญของท่านนับว่าเป็นเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของแม่กลองครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37777608260512_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
พระท่ามะปรางสุพรรณฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางค์เป็นพระยอดนิยมแบบหนึ่ง และมีพบด้วยกันหลายกรุหลายจังหวัดทุกกรุล้วนนิยมทุกกรุ วันนี้เรามารู้จักกับพระท่ามะปรางอีกกรุหนึ่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อค่อนข้างแกร่ง มีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อพระ

วัดสำปะซิวเป็นชื่อเรียกพระกรุกรุหนึ่งว่าพระกรุวัดสำปะซิว ซึ่งความเป็นจริงการพบพระกรุนี้ไม่ได้พบภายในวัดสำปะซิว แต่มีผู้ขุดพบพระเครื่องที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ผู้ที่พบก็คือนายดี มาแสง บ้านอยู่ไปทางทิศเหนือของวัดสำปะซิว ได้ขุดดินบริเวณบ้านตรงริมรั้วบ้านของตัวเอง และบังเอิญไปพบพระเครื่องเนื้อดินเผาเข้าจำนวนหนึ่ง ในส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งหลายหนเช่นกัน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเคยเป็นแหล่งชุมชนสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน สาเหตุที่เรียกพระกรุเนื้อดินเผากรุนี้ว่า "กรุวัดสำปะซิว" ก็เนื่องจากหลังจากที่พบพระเครื่องดังกล่าว และมีการนำพระออกมาสู่นักสะสมและถามถึงที่มา ก็มักจะตอบว่า "พระกรุวัดสำปะซิว" ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่พบพระเครื่อง และที่ย่านนี้ก็มี วัดที่ชื่อวัดสำปะซิวอีกด้วย พระเครื่องของกรุนี้จึงเรียกกันต่อมาว่าเป็น "พระกรุวัดสำปะซิว" เป็นชื่อเรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

พระเครื่องที่พบในครั้งนั้นมีพระพิมพ์ต่างๆ คือ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระพิมพ์ท่ามะปราง หรือบางท่านในสมัยก่อนเรียกว่า นางสำปะซิวก็มี พรพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ เป็นต้น พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อหยาบมักปรากฏเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระ เป็นพระเนื้อแกร่ง สีที่พบมักจะเป็นสีอิฐ สีนวลๆ และสีดำซึ่งเป็นสีที่พบน้อยกว่าสีอื่นๆ

พระกรุวัดสำปะซิว ที่พบเห็นกันมากหน่อย ก็คือ พิมพ์ซุ้มนครโกษา ลักษณะคล้ายๆ กับพระซุ้มนครโกษาของลพบุรี สันนิษฐานว่าคงสร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งที่นิยมก็คือพิมพ์ท่ามะปรางพุทธลักษณะก็คล้ายกับพระท่ามะปราง ของทางจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชรแต่จะมีพุทธลักษณะต้อๆ กว่าของกรุอื่นๆ และส่วนมากมักจะมีปีกกว้างออกมา ส่วนพิมพ์ซุ้มปรางค์และพิมพ์นารายณ์ทรงปืนก็สร้างล้อศิลปะลพบุรีเช่นกัน พิจารณาศิลปะโดยรวมของพระกรุนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในตอนปลายสมัยสุโขทัยต่ออยุธยาตอนต้น

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระกรุนี้มากนัก นับวันค่อนข้างจะหายากพอสมควรครับ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนักโดยเฉพาะพิมพ์ท่ามะปราง ราคาก็จะสูงกว่าพิมพ์อื่นๆ หน่อย พระพิมพ์นี้ยังพบอยู่ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรีด้วยเช่นกัน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก พระของกรุวัดพระศรีฯ ส่วนมากจะพบเป็นพระเนื้อดินละเอียดกว่าของกรุ วัดสำปะซิว การเล่นหาก็จะมีค่านิยมสูงกว่าของกรุวัดสำปะซิว พระท่ามะปรางกรุวัด สำปะซิวก็หาพระแท้ๆ ยากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วเช่นกัน เพราะเป็นพระนิยมชนิดหนึ่งของสุพรรณฯ

ในวันนี้ผมนำรูปพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมด้วยครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 กรกฎาคม 2563 14:57:47
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29523554444312_1_320x200_.jpg)
เหรียญนาคปรกมหามงคล ทองหนึ่ง

"วัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุง" ต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม

วัดดังกล่าวมีพระพุทธรูปคือ หลวงพ่อแสนล้าน พระพุทธรูปโบราณอายุ 500 กว่าปี ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญให้สักการบูชา

ความเป็นมาของหลวงพ่อแสนล้านเริ่มจาก พระยาคูทองม่วน ชาวลาว ออกแสวงบุญจาริกปฏิบัติธรรมในละแวกเขตลาว ไทย พม่า ได้พบเจ้านครรัฐในสมัยโบราณของประเทศลาว และรับถวายพระพุทธรูปโบราณ 2 องค์คือ พระแสนกับพระล้าน ด้วยความศรัทธา

ต่อมา พระยาคูทองม่วนมอบหลวงพ่อพระแสนและหลวงพ่อพระล้าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแบบพระพุทธสิหิงค์จำลองให้กับพระอาจารย์ชัยยศ ชยสาโร (หงส์ยนต์) ที่เมืองอัตตะปือ

ครั้นพระยาคูทองม่วนดับขันธ์ธาตุ พระอาจารย์ชัยยศจึงนำพระพุทธรูปทั้งสองข้ามแม่น้ำโขง สักการบูชาที่กุฏิของท่าน ที่วัดศรีบุญเรือง ซ.รามคำแหง 107 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 6 ปี ท่านอาพาธ ก่อนมรณภาพท่านมอบหลวงพ่อพระแสนกับหลวงพ่อพระล้านให้พระอาจารย์แป๊ป ศิษย์ก้นกุฏิและผู้ติดตามธุดงค์ตามพระอาจารย์ยาคูทองม่วนและพระอาจารย์ชัยยศ

หลังพระอาจารย์แป๊ปมอบพระพุทธรูปโบราณทั้ง 2 องค์นี้ให้กับวัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุง ซึ่งเป็นภูมิลำเนาบ้านเกิดของท่าน ถวายเป็นพุทธบูชาสืบไป

นอกจากนี้ วัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุงกำลังก่อสร้างอุโบสถ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างประมาณร้อยละ 70

จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคทรัพย์ครั้งนี้ จะได้รับวัตถุมงคล "เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง"

ทั้งนี้ เหรียญดังกล่าวได้รับเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมาหลายวาระ สมทบทุนสร้างอุโบสถครั้งนี้

ประกอบด้วย เหรียญทองคำ เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะ และเหรียญทองแดง มอบให้เป็นที่ระลึก

เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ห่วงในตัว

ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร ตรีโลกเชษฐ์สิทธารถ (พระนาคปรก) ล้อมด้วยอักขระขอม ด้านล่างองค์พระเขียนคำว่า มหามงคล

ด้านหลังเหรียญ เป็นพระนารายณ์ ทรงครุฑประทับพระราหู ด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า ทองหนึ่ง บรรทัดต่อมาเขียน คำว่า พระพรหมมังคลาจารย์ เจ้าคุณธงชัย พ.ศ.2560

กล่าวได้ว่า เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง ออกแบบสร้างตามหลักโหราศาสตร์เพื่อแก้ไขอำนาจร้ายแห่งดวงดาว คือ พระราหูและพระเสาร์

สอบถามที่พระอธิการสาคร เจ้าอาวาสวัดประปุนราษฎร์บำรุง โทร.08-7021-3467, 08-1932-8067
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58817417422930_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
พระร่วงกรุวัดกลาง

ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ เท่าที่มีการขุดพบโบราณสถานต่างๆ ที่มีศิลปะทวารวดี และเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี มีการขุดพบสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปหินทรายอยู่หลายองค์ นอกจากนั้นพระเครื่องที่ขุดพบที่วัดกลาง ก็คือพระร่วงกรุวัดกลาง พระร่วงกรุนี้ปัจจุบันแทบไม่ค่อยจะมีพบเห็นกันนัก เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยมาก พระที่ขุดขึ้นมาจะชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากจะพบพระร่วงยืนแล้วก็ยังพบพระร่วงนั่งข้างรัศมีอีกพิมพ์หนึ่งด้วย

พระร่วงกรุวัดกลางถูกขุดพบที่เนินดินร้างปรักหักพังในปี พ.ศ.2496 ในการขุดครั้งนั้นมีการพบพระพุทธรูปและพระเครื่อง ในส่วนของพระเครื่องที่พบเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แต่ก็มีจำนวนพระที่สมบูรณ์ไม่มากนัก ประมาณร้อยกว่าองค์เท่านั้น พุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบทวารวดียุคปลาย พระร่วงยืนเป็นแบบพระพุทธรูปที่ไม่ทรงเครื่อง พระศกแบบผมหวี ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงแนบกับลำพระองค์ ห่มจีวรแบบห่มคลุม ที่เอวจะเห็นขอบสบงนูนเด่นชัดเจน การตัดขอบตาม ลำตัวชิดองค์คือเป็นแบบไม่มีปีก ส่วนพระร่วงนั่ง เป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐาน บัวตุ่ม ปีกด้านข้างจะมีเส้นรัศมีเป็นซุ้มโดยรอบ ด้านหลังของพระทั้ง 2 แบบเป็นแบบหลังแอ่งธรรมดา

พระทั้ง 2 แบบจะเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง มีไขขาวคลุมอยู่ด้านนอกเกือบทั้งองค์ พอล้างไขขาวออกจะปรากฏผิวสนิมแดงเข้ม ออกสีน้ำตาลเข้มอมม่วงสวยงาม มีการพบพระร่วงแบบวัดกลางที่แถวบริเวณเจดีย์เก่าใกล้ๆ กับพระประโทนอีกครั้ง แต่ก็ไม่มากนักและสนิมก็สู้ของวัดกลางไม่ได้ ถ้าเป็นของวัดกลางจะมีสนิมที่สวยเข้มจัด ในเรื่องพุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ปัจจุบันหายากมากไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ส่วนของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่พอสมควร แต่ทำสนิมได้ไม่เหมือนสังเกตดูดีๆ ก็พอจะแยกออกได้ไม่ยากนัก สนนราคาก็สูงพอสมควรเพราะเป็นพระที่หาแท้ๆ ยากมีจำนวนน้อย พระหลายๆ ชนิดที่หายากมากๆ ต่อมาก็กลายเป็นตำนานไป เนื่องจากไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ถ้าไม่เอามาเขียนลงรูปไว้ต่อไปก็คงไม่มีใครพูดถึงและลืมเลือนกันไป ยิ่งในปัจจุบันก็จะนิยมพระเกจิอาจารย์กันมากหน่อย พระกรุพระเก่าก็แทบจะลืมๆ กันไปหมด

ในวันนี้ผมจึงนำพระเก่าๆ มาแนะนำกันไว้นะครับ และนำรูปพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งกรุวัดกลางนครปฐม จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86403241381049_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พระสมเด็จฯ แท้ มีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันก็มีวงสนทนากันว่าพระแบบนี้แท้แบบนั้นแท้ โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เนื่องจากพระสมเด็จฯ นั้นมีมูลค่าสูง เป็นที่นิยมของคนส่วนมาก ต่างฝ่ายต่างก็อ้างข้อมูลของตนเองหลักฐานอ้างอิง เพื่อสนับสนุนว่าพระแบบที่ตนเองคิดนั้นเป็นพระแท้ถูกต้อง แล้วจะตัดสินว่าแบบใดถูกต้องก็เป็นปัญหาที่เห็นเขาถกเถียงกัน

ครับเรื่องพระสมเด็จฯ นั้นใครๆ ก็อยากให้พระที่ตัวเองถือครองนั้นเป็นพระแท้ ที่เห็นส่วนใหญ่ก็มาจากมีมูลค่าสูงมาก สนนราคาในตลาดพระเครื่องถ้าพระไม่หักไม่สึกมากจนเกินไป ทั้งสองวัดเห็นเซียนเขารับซื้อเข้าไม่ต่ำกว่าล้านบาทนะครับ แต่จะกี่ล้านก็ว่ากันไปตามพิมพ์และความสวยสมบูรณ์ ก็อย่างที่เราๆ เคยได้ยินนั้นบางองค์มูลค่าหลายๆ ล้านกันเลยทีเดียว เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ไม่ยากว่าขายได้จริง ผมว่าสมัยนี้ใครๆ ก็รู้นะครับ ว่าพระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีมูลค่าสูง แต่ก็มีพระรูปแบบพระสมเด็จฯ อีกไม่ใช่น้อย และมีมากกว่าพระที่มูลค่ารองรับมากมายก่ายกองที่เขาไม่รับซื้อ ซึ่งในตลาดสื่อกลางเขาอาจจะบอกว่าไม่ชอบ ไม่ถูกพิมพ์ หรืออะไรก็ตามแต่ที่จะปฏิเสธที่จะซื้อเข้า ก็อาจจะเป็นว่าพระของเราไม่ถูกต้องตามที่เขานิยมแบบมีมูลค่ารองรับก็เท่านั้น ในส่วนที่เราคิดว่าแท้ก็แท้ไปครับ เพียงเขาไม่รับเช่าหาก็เท่านั้น

เรื่องพระแท้ไม่แท้ เท่าที่เห็นถกเถียงมีปัญหากัน ส่วนใหญ่ก็เนื่องจากเรื่องที่จะขายมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่น่าจะต้องมาทะเลาะเบาะแว้งกัน เพื่อนผมคนหนึ่งมีพระสมเด็จฯ ที่ได้รับตกทอดมาจากปู่ของเขา และเขาก็เชื่อมั่นว่าเป็นพระแท้ วันหนึ่งเขาไปเที่ยวในสนามพระเครื่องกับเพื่อนที่ชอบพระเครื่อง ก็มีพวกผีสนาม(นายหน้าหรือหน้าม้า) เข้ามาสอบถามว่า พี่มีพระอะไรปล่อยไหม เขาก็นึกสนุก เอาพระสมเด็จฯ ที่ห้อยคออยู่ออกมาให้ดู หน้าม้าก็พาไปที่ร้านรับเช่าพระสมเด็จฯ ปรากฏว่าเซียนดูแล้วก็คืนพระมาให้โดยไม่ได้ถามอะไร เพื่อนที่ไปด้วยชอบเล่นพระก็คุยกับ คนที่มีพระสมเด็จฯ ว่า "สงสัยจะไม่แท้" เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของพระ ก็ไม่ได้ว่าอะไร ต่อมาได้มีโอกาสเจอกันกับผม เจ้าเพื่อนอีกคนที่ไปสนามพระในวันนั้นด้วยเห็นผมชอบเล่นพระเหมือนกันก็เลยเล่าเรื่องวันนั้นให้ผมฟัง แล้วถามผมว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร พร้อมกับให้เพื่อนอีกคนเอาพระสมเด็จฯ องค์นั้นให้ผมดู ผมก็เลยบอกกับพวกเขาว่า ก็คงไม่แท้นะ เพราะถ้าแท้ตามแบบที่เขาเล่นหากันมีมูลค่ารองรับ เขาก็คงต้องขอซื้อถามราคาและต่อรองไปแล้ว เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของพระก็ไม่ว่าอะไร แล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่า เป็นพระของปู่เขาตกทอดมาก็ห้อยไว้ตามเดิม ก็ไม่เห็นถกเถียงอะไรกันเลย เพราะเขาเองก็ไม่เคยคิดที่จะขาย ทุกวันนี้เขาก็ห้อยของเขาอยู่ตลอด

ครับเรื่องพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับนั้นก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ถ้าไม่พยายามที่จะให้คนยอมรับและให้มีมูลค่ารองรับ ถ้าเราคิดว่าแท้ก็แท้อยู่ของเรามันก็จบ แต่ถ้าคิดจะขายหรือให้สังคมยอมรับให้มีมูลค่าก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะอะไรหรือผลประโยชน์ไงครับ ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่มีปัญหาจริงไหมครับ ทองถ้าไปขายร้านทองไม่ได้เขาไม่ซื้อ ก็จบจะไปว่าเขาไม่ซื้อได้ด้วยหรือครับก็เขาไม่ซื้อก็ต้องมาคิดดูว่าทองที่เรามีนั้นไม่ตรงมาตรฐานที่เขาซื้อหากันหรือเปล่า? แต่ถ้าเราคิดว่าทองของเรานั้นแท้แต่ร้านทองไม่รับซื้อ เราก็ใส่ไว้เองเท่านั้นจบไม่มีปัญหาอะไรจริงไหมครับ ส่วนมากที่มีปัญหาก็เพราะต้องการให้เขาซื้อนั่นแหละ ทำอย่างไรเขาก็ไม่ซื้อไปที่ไหนก็ไม่มีใครซื้อ จึงโมโหโกรธา นู่นนี่นั่นตามมา ถ้าไม่คิดเรื่องผลประโยชน์ปัญหาก็ไม่เกิดจริงไหมครับ

ดังนั้นก็ง่ายๆ ครับ เล่นหาสะสมพระเครื่องแบบที่มีมูลค่ารองรับไปที่ไหนในสังคมพระเครื่องก็มีคนรับซื้อ คือมีมูลค่ารองรับแบบมีมาตรฐานมูลค่า เรื่องนี้ผมว่าตัดสินง่ายๆ นะครับ เมื่อนำเงินของเราไปแลกกับพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงก็ควรที่จะมีมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่องนะครับ

วันนี้เรามาดูพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ฐาน องค์ที่แท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับสูงมากอีกด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92860629864864_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
พระ 25 พุทธศตวรรษ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่เป็นของดีราคาถูก มีให้เช่าหาไม่ยากนัก คือพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 เพื่อจัดหาทุนในการซื้อที่ดินและสร้างพุทธสถาน "พุทธมณฑล" ในโอกาสฉลองครบกึ่งพุทธกาล ในการนี้ทางการจึงสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อจำหน่ายหาทุน โดยให้ข้าราชการและประชาชนเช่าเป็นที่ระลึก

พระ 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระเครื่องที่มีพิธีการสร้างและพุทธาภิเษกที่ดีมากๆ ถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่เคยมีมา พระที่สร้างมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อทองคำ เฉพาะพระชนิดเนื้อทองคำประมาณ 2,500 องค์ เฉพาะพระเนื้อทองคำจะต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา เท่าที่ทราบจำนวนการสร้างชนิดละ 250,000 กว่าองค์ เอาคร่าวๆ นะครับ และส่วนพระเนื้อดินเผา เนื้อชินได้จัดส่งไปตามจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้เช่าหาโดยทั่วถึง

ต่อมาเมื่อการสร้างพุทธมณฑลเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ทางสำนักงานพุทธมณฑลก็ได้เรียกพระเครื่องที่ยังเหลือตกค้างอยู่ตามจังหวัดต่างๆ กลับมาเก็บรักษาที่สำนักงานพุทธมณฑล ซึ่งก็จะมีแต่พระเนื้อดินเผาและเนื้อชินเท่านั้น ซึ่งก็มีเหลือตกค้างอยู่มากมายและทางสำนักงานก็เปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปเช่าหาบูชาได้ ในช่วงแรกๆ ผมเองก็ไปเช่าเก็บไว้เช่นกัน ช่วงนั้นพระยังเก็บอยู่ในตู้เหล็กเป็นลังๆ อยู่เลย ผมก็มาเปรียบเทียบกับพระที่คุณพ่อผมเช่าไว้ในช่วงปี พ.ศ.2500 ส่องดูก็เหมือนกันทุกอย่าง ทั้งเนื้อและพิมพ์พระ ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน

ตอนหลังๆ นี้เขาเล่นหาแยกแม่พิมพ์ ออกมาเยอะมาก ซึ่งก็เป็นธรรมดาว่าพระที่สร้างจำนวนเยอะขนาดนั้นก็ต้องมีแม่พิมพ์เยอะมาก แต่โดยรวมก็จะเหมือนๆ กัน สันนิษฐานว่าคงจะใช้วิธีการถอดพิมพ์จากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน แต่ก็จะมีผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ส่วนเนื้อหาทั้ง ดินเผาและเนื้อชินก็จะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ถ้าเราใช้หลักสังเกตจากร่องรอยการผลิตนั้นก็จะเหมือนกันหมด

เรื่องของพิมพ์นักเล่นหาเขาก็จะแยกกันละเอียดหน่อย ซึ่งพระเนื้อชินพิมพ์ที่มีเข็มใต้ฐานก็จะมีราคาสูงกว่าเพื่อนหน่อย ก็ว่ากันไปตามเรื่องของราคาการเล่นหา เนื่องจากบล็อกมีเข็มจะเป็นบล็อกแม่พิมพ์เดียวกับพระเนื้อทองคำ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็แท้เหมือนกัน เพียงแต่ราคาค่านิยมเป็นรองหน่อยเท่านั้น ในส่วนของเนื้อ เนื้อทองคำก็แพงกว่าเนื้ออื่นๆ ทั้งหมด เพราะจำนวนการสร้างมีน้อยกว่ามาก หายากกว่า เนื้อชินก็จะมีราคาสูงกว่าพระเนื้อดินเผาเล็กน้อย แต่สำหรับผมนั้นพุทธคุณผมว่าเหมือนกันหมด

มีเพื่อนผมคนหนึ่งในสมัยนั้นถูกส่งไปประจำอยู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เขาถามผมว่าถ้าจะหาพระเครื่องห้อยคอองค์เดียวที่ราคาไม่สูงนักควรจะห้อยพระอะไร ผมก็เลยแนะนำให้ห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษ เขาก็ถามผมว่าทำไม ผมก็บอกว่าเป็นพระที่มีพิธีสร้างดีมากหาไม่ยากราคาถูก และผมเคยเห็นประสบการณ์มาด้วยตนเอง เขาก็ให้เล่าให้ฟัง พระ 25 พุทธศตวรรษนั้นมีประสบการณ์มานมนานแล้วมากมาย เพียงแต่ว่าพระมีจำนวนมากและยังหาได้ง่าย จึงมีราคาไม่แพงนัก

ผมไม่กล่าวถึงพระเนื้อทองคำนะครับ เอาแค่พระเนื้อดินเผา และพระเนื้อชินเท่านั้น ในส่วนตัวผมนั้นในสมัยสงครามเวียดนาม ผมก็ได้เคยไปดูเขาทดลองยิงพระเครื่องกันหลายครั้ง เนื่องจากในสมัยนั้นมีการประกาศรับเช่าพระเครื่องที่ยิงไม่ออก มีกติกาว่า ต้องทดลองยิง 3 นัด ถ้าไม่ออกทั้ง 3 นัดก็เช่ากันไป มีสถานที่ทดสอบอยู่หลายแห่ง มีคนนำพระไปทดลองมากมาย เพราะเป็นพระอะไรก็ได้ ให้ราคาสูง ผมก็ไปดูกับเขาเหมือนกัน ก็เคยเห็นพระ 25 พุทธศตวรรษนี่แหละยิงไม่ออก

ต่อมาก็เล่าให้เพื่อนฟัง บางคนไม่เชื่อ พอดีเพื่อนผมคนหนึ่งห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษอยู่พอดี และเพื่อนๆ ผมกลุ่มนี้ก็ชอบทดลองยิงพระเครื่องกันเหมือนกัน (ในสมัยยุคสงครามเวียดนามนะครับ) ผมจึงขอยืมพระที่เพื่อนผมห้อยคอมาทดลองยิง ในสมัยนั้นผมเองก็ออกจะห่ามๆ อยู่หน่อย โดยผมเป็นคนยิงเอง และปรากฏว่ายิงไม่ออก นี่ก็เป็นเรื่องที่ผมเองประสบมากับตัวเอง ก็เล่าให้เพื่อนที่ถูกส่งไปเป็นสารวัตรที่ชายแดนใต้ฟังและเขาก็ห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษองค์เดียวอยู่จนเกษียณที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ครับ

ที่ผมเล่ามาไม่ได้จะมาปั่นราคาพระ 25 พุทธศตวรรษนะครับ เพียงเล่าสู่กันฟังว่าของดีราคาถูกก็ยังพอมีให้เช่าหามาห้อยคอ ราคาปัจจุบันทั่วๆ ไป ทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน ก็ประมาณองค์ละพันกว่าบาทบวกลบครับ และวันนี้ก็ได้นำรูปพระ 25 พุทธศตวรรษเนื้อชินมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62386005247632_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุพรรณฯ มีเหรียญหล่อรุ่นเก่าที่มีพุทธคุณสูง แต่โดยส่วนมากจะรู้จักกันแต่ในท้องถิ่น คือเหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้มวัดพร้าว ซึ่งปัจจุบันก็หายากมาก วันนี้ผมจึงได้นำเรื่องราวประวัติและพุทธคุณของเหรียญนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ

วัดพร้าว ตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบประวัติผู้สร้าง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ยังมีใบเสมาและพุทธคุณรูปหินทรายศิลปะอยุธยาอยู่หลายองค์ มีนิทานเก่าแก่เล่ากันว่า บริเวณวัดแห่งนี้มีต้นมะพร้าวอยู่ต้นหนึ่ง ออกลูกมาเป็นแก้วอยู่ลูกหนึ่ง ใครเห็นก็อยากได้ แต่ก็เป็นที่หวงห้าม ห้ามใครเก็บ ต่างก็เฝ้าระวังกัน

อยู่มาวันหนึ่งลูกมะพร้าวแก้วนั้นหล่นลงมาแล้วจมหายไปในดิน ผู้คนต่างเข้าไปขุดหาจนบริเวณนั้นลึกลงไปและกว้างเป็นสระน้ำจนทุกวันนี้ แต่ก็ไม่มีใครพบลูกมะพร้าวแก้วเลย สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยที่จะแห้งแม้จะเป็นในฤดูแล้งก็ตาม และกล่าวกันว่าชื่อของวัดก็เนื่องมาจากมะพร้าวแก้วลูกนั้นซึ่งเป็นเรื่องนิยายปรัมปราที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อๆ กันมาครับ

หลวงพ่อปลื้มเกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ที่บ้านตำบลโพธิ์พระยา ใกล้กับประตูน้ำโพธิ์พระยาปัจจุบัน โยมบิดาชื่อคุ้ม หลวงพ่อปลื้มอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี พ.ศ.2411 ที่วัดพร้าว โดยมีหลวงพ่อม่วงเป็น พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อปลื้มเป็นคนใฝ่เรียนและมีความจำดี มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมีเมตตาสูงทั้งกับญาติโยมและพระภิกษุสามเณร ใครนิมนต์ไปไหนท่านไม่เคยขัด เมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้ 80 ปี พ.ศ.2469 ญาติโยมและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อเพื่อสร้างพระรูปเหมือนของท่านเท่ากับองค์จริง หลวงพ่อก็ได้อนุญาต และในการนี้จึงได้สร้างเหรียญหล่อรูปท่านด้วย เป็นเหรียญหล่อทรงเสมา หลวงพ่อปลื้ม ปลุกเสกเดี่ยวด้วยท่านเองเหรียญนี้มีประสบการณ์มากมาย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็หวงแหนกันมาก จนแทบไม่มีเล็ดลอดออกมาที่อื่นเลย

ขอยกเรื่องหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นมานานแล้ว มีชายคนหนึ่งเกิดไปรักชอบพอกับหญิงสาวบ้านเดียวกันและในที่สุดได้พากันหนี ฝ่ายผู้ใหญ่ของหญิงสาวก็เลยให้ฝ่ายชายมาขอขมากันตามธรรมเนียม ก็ตกลงกันได้ โดยฝ่ายชายได้พาผู้ใหญ่ฝ่ายของตนไปสู่ขอที่บ้านของเจ้าสาว พิธีการกำลังดำเนินไป ด้วยดี ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มีเสียงดังแชะๆ ที่ด้านหลังของตัวฝ่ายชาย เป็นพี่ชายของฝ่ายหญิงยืนถือปืนอยู่ ก็เกิดการห้ามปรามและแย่งปืนกัน ในวันนั้นผู้ที่ถูกยิงห้อยเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้มเพียงองค์เดียวเท่านั้น

อีกเรื่องคือโกลี่ หรือคุณศิริ ด่านตระกูล เจ้าของโรงเลื่อยท่าเสด็จ ขับรถไปประสบอุบัติเหตุ ตีลังกาตกลงไปในน้ำ ขณะที่รถเกิดอุบัติเหตุนั้น โกลี่เล่าว่า นึกในใจว่าคงไม่รอดแต่แวบหนึ่งในความคิดได้นึกถึงเหรีย หลวงพ่อปลื้ม ขณะที่ดิ้นขลุกขลักเพื่อไม่ให้จมน้ำ ก็รู้สึกว่าประตูรถได้เปิดออกพร้อมกับมีมือมาฉุดตัวออกมานอกรถที่จมน้ำอยู่ เมื่อโผล่พ้นน้ำก็ยังงงๆ อยู่ แต่จำได้ว่ามีคนมาเปิดประตูและฉุดขึ้นมา แต่บริเวณนั้นไม่มีใครอยู่เลยแม้แต่คนเดียว

ครับก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านในแถบนั้นรู้เรื่องกันเป็นอย่างดี เหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็ค่อนข้างหายากครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อ รุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อปลื้ม มาให้ชมกันด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23425874734918_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระรอดกรุวัดมหาวันแบบมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนถ้าพูดแค่พระรอดลำพูนก็จะรู้กันเองว่าหมายถึงพระรอดกรุวัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระยอดนิยมมานมนานแล้วก่อนที่จะมีการจัดเป็นพระชุดสำหรับห้อยคอที่เรียกกันว่า "พระชุดเบญจภาคี" พระรอดกรุวัดมหาวันเป็นพระที่นิยมกันมาก ว่ากันว่าเด่นทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ในสมัยก่อนนั้นก็มีสนนราคารองรับสูงมานานแล้ว

ในสมัยก่อนตอนที่ผมเริ่มสนใจพระเครื่องใหม่ๆ ก็ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณของพระรอดมามาก และอยากได้มาก แต่ราคาในสมัยนั้นก็สูงมากไม่มีปัญญาที่จะหาเงินมาเช่าได้ แต่ก็ยังพยายามศึกษาว่าพระแท้ๆ นั้นเป็นอย่างไร คิดในใจว่าถ้าเราดูเป็นก็อาจจะไปพบได้ในราคาไม่แพง ในสมัยแรกๆ ก็ได้ยินคนบอกว่าพระรอดมหาวันนั้นมีหลายพิมพ์ มีพิมพ์อะไรบ้างก็ยังไม่รู้พอรู้แค่รูปร่างคร่าวๆ เท่านั้น

ฟังจากคนนอกวงการพระเขาก็บอกว่าพระรอดแท้ๆ นั้นเนื้อแข็งกลายเป็นหิน เพราะเป็นพระมีอายุเก่าแก่มาเป็นพันปี จนเนื้อกลายเป็นหิน ผมก็เชื่อเขาไว้ก่อน เนื่องจากเขาเป็นผู้ใหญ่มีอายุมากแล้ว เขาเคยเอาพระรอดของเขามาให้ดูและทดลองนำมากรีดกับกระจก ก็กรีดเข้าเป็นรอย เราเองก็เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง ก็หาพระรอดมากรีดกระจกดูก็กรีดเข้า จึงนึกว่าใช่แน่ เอาพระเข้าไปที่สนามพระวัดมหาธาตุให้เขาดู คำตอบก็คือปลอม ก็จึงต้องศึกษาสอบถามเซียนในสนามพระเพื่อจะได้ดูเป็นบ้าง ในสมัยนั้นผู้ใหญ่ในสนามพระคือเซียนพระเขาก็ดีมาก และพระก็ยังมีให้ดูเป็นครูได้ ท่านก็เอามาให้ส่องดู และแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องให้ก็ศึกษาเรื่อยมา และหาเหตุผลก็ถึงบางอ้อ เนื้อพระเก่าๆ นั้นไม่ได้กลายเป็นหินไปได้ตามเหตุผล วัสดุที่จะกลายเป็นหินเป็นฟอสซิลได้นั้นต้องมีองค์ประกอบที่พอดีจริงๆ จึงจะกลายเป็นหินได้ ไม่ใช่อะไรก็จะกลายเป็นหินไปหมด เรื่องพระเก่าเนื้อจะแข็งและกลายเป็นหินในปัจจุบันก็ยังมีคนอ้างถึงอยู่ แม้กระทั่งพระสมเด็จฯ โดยอ้างเหตุผลประกอบด้วยก็ขำๆ ดีนะครับ

พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในพระชุดเบญจภาคี มีพิมพ์อยู่ด้วยกัน 5 พิมพ์คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ต้อ และพระรอดพิมพ์ตื้น ตามที่ผมบอกมานี้คือพระรอดกรุวัดมหาวันที่นิยมกันเป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับนะครับ และร่องรอยการผลิตก็ถูกต้องตามมาตรฐาน เนื้อของพระเขาก็มีกำหนดตามมาตรฐานของเขา และพระมีหลายสี สีเป็นแบบพระเนื้อดินเผามีตั้งแต่สีออกขาวนวลๆ สีเหลืองอ่อนแก่ต่างกันไป สีแดงแบบแดงอิฐ สีเทา สีออกเขียว มีทั้งแบบเขียวหินครก เขียวคราบเหลืองคราบแดง เป็นต้น พระเนื้อกลุ่มสีเขียวเนื้อจะแกร่งมากที่สุด ไม่ค่อยจะสึกหรอง่าย จึงเป็นเนื้อที่นิยมมากที่สุด

ขอย้อนกลับมาที่เอาพระเนื้อดินเผามากรีดกระจกทำไมกรีดเข้าเป็นรอย ก็กระเบื้องนั้นจะมีความแข็งของผิวใกล้เคียงกับกระจก จึงสามารถกรีดกระจกเป็นรอย ซึ่งกระเบื้องทั่วๆ ไปก็กรีดกระจกเป็นรอยทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นการพิสูจน์ว่าพระเก่าอะไรเลย หรือเก่าจนกลายเป็นหิน ตามหลักความเป็นจริงของธรรมชาติ ยิ่งเก่าผ่านอายุมามากก็ยิ่งจะเสื่อมลง ยิ่งพระสมเด็จที่ทำจากเนื้อปูนขาว ยิ่งจะมีความเสื่อมของปูนเป็นธรรมดา ปูนขาวยิ่งเก่ายิ่งจะกลายเป็นหินมีที่ไหน หลักวิทยาศาสตร์ก็เป็นไปไม่ได้ นิยายพวกนี้ไม่ตั้งอยู่บนหลักความเป็นจริงตรงไหนเลย ปัจจุบันก็ยังได้ยินนำมา กล่าวอ้างกันอีก

พระรอดกรุวัดมหาวันลำพูนเป็นพระที่นิยมมาก มีคนอยากได้มาก จึงมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่พระก็มีจำนวนเท่าเดิม ใครมีก็ไม่ค่อยจะนำออกมาให้เช่า ยิ่งพระสวยๆ ก็ยิ่งหายากมากขึ้น ราคาจึงสูงมากเป็นหลักล้านในปัจจุบัน เล่นหาสะสมก็ต้องศึกษาเสียก่อน และเล่นหาแบบที่เขานิยมกันและมูลค่ารองรับจะดีกว่าครับ อย่าเล่นพระด้วยหูฟังเขาโม้ สิ่งที่พิสูจน์ได้ง่ายๆ ก็คือมูลค่ารองรับ คือเอาไปขายในส่วนกลางแล้วมีคนถามซื้อต่อรองราคาก็แท้แน่ ถ้าไม่มีมูลค่าไปขายที่ไหนก็ไม่รับซื้อ แล้วจะว่าแท้อย่างไรครับ

วันนี้ผมนำรูปพระรอดกรุวัดมหาวัน ลำพูน พิมพ์ตื้น องค์สวยที่นิยมเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ ถ้าพิมพ์ถูกต้องแบบนี้ เนื้อถูกต้องแบบนี้ มีมูลค่ารองรับ และถ้าสวยแบบนี้คงไม่ล้านเดียวนะครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83342783939507_view_resizing_images_4_320x200.jpg)
พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ผมนำเรื่องพระขุนแผนผงพรายกุมารมาพูดถึงในวันนี้ก็เนื่องจากมีผู้ที่สอบถามมาอยู่หลายคนว่า เขาเห็นในโซเชี่ยลมีเดีย (Social Media) เกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมารสร้างในปี 2515 และมีหลักฐานเป็นเอกสารโชว์ด้วย ตกลงพระขุนแผนผงพรายกุมารสร้างในปีไหนแน่?

ครับก็เลยนำมาเป็นประเด็นที่จะคุยกัน ความจริงเรื่องนี้มีประเด็นถกเถียงกันมานานพอสมควร และนำเรื่องมาเข้าประชุมกันที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โดยมีลูกศิษย์ตัวผู้ที่สร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ชำนาญด้านพระเครื่องหลวงปู่ทิมเข้าร่วมประชุมด้วย ก็มาเข้าประชุมเต็มห้องประชุมครับ ความจริงก็เชิญกลุ่ม 15 มาประชุมด้วยแต่ไม่มาครับ ผลก็ออกมาแน่ชัดยืนยันได้ว่า พระขุนแผนผงพรายกุมารนั้น สร้างในปลายปี พ.ศ.2516-2517 แน่นอนครับ ปัจจุบันบุคคลที่สร้างพระรุ่นนี้ถวายหลวงปู่ก็ยังมีชีวิตอยู่ครับ

เรื่องพระขุนแผนผงพรายกุมารที่เป็นเรื่องขึ้นมาเริ่มแรกก็เนื่องจากในช่วงนั้นมีผู้ให้เช่าหามา และจะนำส่งประกวดในงานประกวดพระ แต่กรรมการไม่รับ จึงเป็นเรื่องถกเถียงกัน ต่อมาจึงนำเรื่องมาเข้าที่ประชุมเพื่อหาข้อยุติ และได้เชิญบุคคลที่สร้างพระถวายมาเข้าประชุมเพื่อให้ข้อเท็จจริง ก็เป็นที่ชัดเจนและข้อยุติว่าพระขุนแผนผงพรายกุมารเริ่มสร้างในปลายปี พ.ศ.2516-2517 ความจริงเรื่องก็น่าจะจบ แต่ก็ไม่จบ เท่าที่ผมตามไปดูในโซเชี่ยล ก็พบว่ามีการบิดเบือนข้อความว่าทางองค์กรหรือกลุ่มก้อน "ว่าไม่มีพระที่สร้างในปี พ.ศ.2515" ที่ว่าไม่มีนั้นเขาหมายถึงเฉพาะพระพิมพ์ขุนแผนผงพรายกุมารเท่านั้น เพราะคนที่สร้างถวายก็ยังอยู่และยืนยันได้ คนที่รู้อยู่ในเหตุการณ์ก็ยังอยู่อีกหลายคน

ความจริงแล้วสังคมเล่นหาพระเครื่องของหลวงปู่ทิม และรู้ประวัติกันดีว่า เฉพาะพระเครื่องนั้นหลวงปู่ทิมสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 แล้ว ส่วนเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุดนั้นสร้างมาตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2500 แล้ว และเขาก็เล่นหากันสนนราคาสูงด้วย คนที่คิดปั่นให้เป็นเรื่องนั้น ผมเองก็ไม่รู้วัตถุประสงค์ของเขานะครับ

ครับพระเครื่องของหลวงปู่ทิม ปี พ.ศ.2503 เป็นพระเครื่องเนื้อผงโสฬสมหาพรหม มีอยู่หลายพิมพ์ ปี พ.ศ.2505 พระชุดนาคปรก สัตนาเค ปี พ.ศ.2508 สร้างเหรียญรุ่นแรก ปีพ.ศ.2515 สร้างพระเนื้อผงพรายกุมาร เป็นพิมพ์พระรูปเหมือนพิมพ์หัวโต พิมพ์พลายเดี่ยว พิมพ์พลายคู่ (พลายเพชรพลายบัว) พระสีวลีปี 2516 สร้างรูปเหมือน พิมพ์หัวเล็ก และพิมพ์ซุ้มคู่ และพระปิดตาพิมพ์บัวผุด พระทั้งหมดนี้นิยมเล่นหาเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับสูงนะครับ ไม่ใช่ว่าทางเซียนหรือสังคมเขาไม่เล่นและว่าไม่มีนะครับ

เอาล่ะ มาพูดกันถึงพิมพ์พระขุนแผนผงพรายกุมาร เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2516 ปลายๆ ปี และสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ.2517 มีทั้งพระพิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็ก โดยแยกออกเป็นบล็อกแรกหรือบล็อกหนึ่งและบล็อกสอง ที่เล่นหาเป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับค่อนข้างสูงครับ ในส่วนของพระขุนแผนผงพรายกุมาร ผู้ที่สร้างก็ยังมีชีวิตอยู่ยืนยันได้ครับ

ครับพระเครื่องรุ่นอื่นๆ ก็ยังมีอีกมากมายที่หลวงปู่ได้ปลุกเสกไว้ครับ ตัวผมเองก็ยังเช่าพระขุนแผนผงพรายกุมารและพระเครื่องอื่นๆ ของหลวงปู่ทิมตอนที่ออกใหม่ไว้หลายอย่างครับ ก็เกิดทันและอยู่ในเหตุการณ์ครับ ก็มาเล่าเพื่อความถูกต้องให้ฟังกันนะครับ ส่วนจะเชื่อแบบไหนก็เลือกเชื่อได้เลยครับ ในส่วนตัวผมเชื่อแบบที่ผมเล่ามาครับ เพราะผมเช่าหาไว้ตอนที่พระออกใหม่ๆ เลยครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2515 พิมพ์พลายเดี่ยว และพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2516-2517 พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็กบล็อกแรกมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 กรกฎาคม 2563 15:05:12


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69919008223546_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37364484783675_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
หลวงพ่อสุ่น วัดหนองปลาหมอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องประวัติพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ลึกๆ ที่อยู่ในต่างจังหวัด บางครั้งบางทีก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เลย จะมีเพียงจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาจากลูกศิษย์ลูกหาของท่าน และชาวบ้านในแถบนั้นๆ เล่าบอกต่อให้ลูกหลานฟังเท่านั้น ซึ่งทำให้ประวัติของท่านค่อนข้างเลือนรางลงไปเรื่อยๆ จึงเป็นการน่าที่จะสืบค้น และบันทึกเอาไว้ เพื่อเป็นการสืบต่อมิให้ประวัติของท่านเลือนหายไป ครับในวันนี้ผมขอนำเอาประวัติของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มาบอกเล่าตามที่ได้สืบค้นมาให้อ่านกันคร่าวๆ ครับ

วัดบางปลาหมอ เป็นวัดเก่าแก่ สืบค้นไม่ได้ว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งใด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อวัดบางปลาหมอนี้คงได้มาตามชื่อของชุมชนในสมัยนั้น ซึ่งเมื่อสร้างวัดแล้วก็มักจะเรียกชื่อวัดตามชื่อของชุมชนนั้นๆ และชุมชนแห่งนี้ ตามห้วยหนองคลองบึงคงจะมีปลาหมอชุกชุม จนขึ้นชื่อและเป็นที่มาของชื่อชุมชน และในสมัยที่หลวงพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากชาวบ้านและมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อสุ่นมาก จะมีคนมาฟังเทศน์ และมาให้หลวงพ่อช่วยบำบัดรักษา โรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ

ประวัติของหลวงพ่อสุ่น นั้นเลือนรางมาก มีแต่การเล่าต่อๆ กันมาอีกทีหนึ่ง ที่พอจะสันนิษฐานจากรูปถ่าย ปีพ.ศ.ที่ถ่ายไว้ และประมาณอายุของท่านในตอนที่ได้ถ่ายรูปนั้น ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าหลวงพ่อสุ่นน่าจะเกิดในราวปี พ.ศ.2358 หลวงพ่อสุ่นอาจจะเป็นพระญาติของสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ฝ่ายเจ้าจอมมารดาก็อาจเป็นได้ สืบเนื่องจากพระราชนิพนธ์ "ประพาสต้น" ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2449 ของพระพุทธเจ้าหลวง กล่าวถึงว่า "วันที่ 5 เช้าโมงหนึ่ง น้ำลดสะพานเดินได้ ขึ้นไปถ่ายรูปในมณฑป ที่พูดเมื่อวานนี้ มีพระป่าเลไลยก์ และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอ ที่เขาเรียกในคำจารึก แต่ว่าพระอาจารย์หมอ รูปร่างงาม ขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ"

จากพระราชนิพนธ์นี้ทำให้ได้เค้าข้อมูลบางอย่าง ประการแรก ในปี พ.ศ.2449 นั้น พระพุทธเจ้าหลวงทรงนิพนธ์ไว้ว่า ได้ถ่ายรูป รูปเจ้าอธิการ จารึกว่าฯ แสดงว่าหลวงพ่อสุ่น มรณภาพแล้ว และที่ว่าเป็นพระญาติของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ก็มาจากข้อมูลนี้ อีกทั้งรูปถ่ายของหลวงพ่อสุ่นนั้น ถ่ายคู่กับพัด ซึ่งมีจารึกไว้ที่พัดว่า เป็นที่ระลึกงานพระเมรุ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน (พระนามเดิม หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์) แสดงว่าหลวงพ่อสุ่นได้รับนิมนต์ในงานพระเมรุนั้นด้วยครับ จากหลักฐานที่ยังพอเหลืออยู่ก็ทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่า หลวงพ่อสุ่นน่าจะมรณภาพในราวปี พ.ศ.2447 สิริอายุราว 89-90 ปี หลวงพ่อสุ่นเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสคันธ์ และหลวงพ่อเนียม วัดน้อย

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านและหลวงพ่อฤๅษีลิงดำผู้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งได้รับการบอกเล่าต่อมาจากหลวงพ่อปาน ก็พอจะได้เค้าลางดังต่อไปนี้ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าในด้านวิทยาคม และวิชารักษาคนป่วยไข้ มีผู้มาบวชกับหลวงพ่อสุ่นอยู่มาก และหลวงพ่อสุ่นก็เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เมื่อหลวงพ่อปานมาบวชอยู่กับหลวงพ่อสุ่นแล้ว ท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อสุ่น ซึ่งหลวงพ่อสุ่นก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อปานจนหมดสิ้น หนึ่งในนั้นก็เป็นวิชารักษาคนเจ็บไข้ ซึ่งมีผู้คนเข้ามาให้หลวงพ่อสุ่นช่วยปัดเป่ามากแต่ละวัน เมื่อหลวงพ่อสุ่นเห็นว่าหลวงพ่อปานท่านพอที่จะรักษาคนป่วยได้แล้ว ท่านจึงให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ให้แก่คนไข้ หลวงพ่อปานก็เห็นว่าน้ำมนต์ในตุ่มเหลือน้อย หลวงพ่อปานก็กำลังจะไปตักน้ำเติมในตุ่มเพื่อทำน้ำมนต์ แต่หลวงพ่อสุ่นห้ามไว้ และให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์เลย เมื่อหลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งมีผู้คนมาให้รดน้ำมนต์ประมาณ 50 คน แต่น้ำมนต์ในตุ่มกลับลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานจึงถามหลวงพ่อสุ่นว่าทำไมน้ำมนต์ไม่ลดลงเลย หลวงพ่อสุ่นจึงบอกว่า "ฉันเอาใจตักแล้ว" จากนั้นหลวงพ่อสุ่นจึงได้สอนวิชาตักน้ำให้หลวงพ่อปาน

หลวงพ่อสุ่นเวลาที่จะรักษาคนไข้ท่านก็จะตรวจดูด้วยญาณก่อนเสมอ ว่าได้หรือไม่ ถ้าได้ท่านก็จะรักษาให้หายได้ทุกราย นอกจากคนที่ถึงฆาตแล้วจริงๆ เท่านั้น มีผู้คนทั้งไกลและใกล้จนถึงบางกอกทยอยเข้ามาให้หลวงพ่อสุ่นรักษาทุกๆ วันไม่ขาด และท่านก็เป็นที่รักเคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะสร้างสิ่งใดก็จะเข้ามาช่วยเหลือร่วมมือกันกระทำจนสำเร็จทุกเรื่อง หลวงพ่อสุ่นได้สร้างเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ วิหาร พระไสยาสน์ และองค์พระเจดีย์ วัดบางปลาหมอก็มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น ก่อนที่หลวงพ่อสุ่นจะมรณภาพ ท่านเคยบอกแก่หลวงพ่อปานว่าถ้าท่านสิ้นไปแล้ว ให้หลวงพ่อปานไปเรียนกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อยต่อ เนื่องจากท่านทั้งสองรูปนี้สนิทสนมกันมาก

วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นที่ท่านได้สร้างไว้ เท่าที่ทราบก็มีมีดหมอ ซึ่งมีน้อยหายากมากๆ ครับ และพระเครื่องเนื้อดินเผา บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดบางปลาหมอ ในปี พ.ศ.2494 องค์พระเจดีย์แตกร้าว และมีพระเครื่องพิมพ์กลีบบัวไหลออกมา ชาวบ้านก็มาเก็บกันไว้บูชา หลังจากนั้นทางวัดก็ได้เข้ามาเก็บ และแจกจ่ายให้เช่าบูชาในภายหลัง เพื่อนำมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่อไป และในปี พ.ศ.2528 มีการรื้อวิหารพระไสยาสน์เพื่อสร้างขึ้นใหม่ก็ได้พบพระเครื่อง พิมพ์กลีบบัวฟันปลาอีกครั้งหนึ่ง แต่พบพระไม่มากนักครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูป มีดหมอของหลวงพ่อสุ่น และพระเครื่องพิมพ์กลีบบัว จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22122674766513_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง ท่านมีเมตตากรุณาแก่ชาวบ้าน ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีทุกข์ร้อนป่วยไข้ท่านก็ช่วยรักษาช่วยเหลือให้ทุกราย

หลวงพ่อชุ่มเป็นชาวราชบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ.2422 โยมบิดาชื่อทุ้ม โยมมารดาชื่อลำไย เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงพ่อโต๊ะ วัดราชคาม พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร พออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดท่าสุวรรณ จากนั้นจึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดราชคาม และศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการพู่ และหลวงพ่อดำ วัดตาล หลวงพ่อชุ่มได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้พบกับพระเกจิอาจารย์ในป่า ได้ศึกษาวิชาและ พุทธาคมต่างๆ ครั้งหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปจนถึงจังหวัดชัยนาท ได้ไปศึกษากับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ต่อมาหลวงพ่อชุ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดราชคาม ต่อจากพระอธิการพู่ที่มรณภาพในปี พ.ศ.2458 เมื่อหลวงพ่อชุ่มได้เป็นเจ้าอาวาสก็ได้พัฒนาวัดราชคามจนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ โดยสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ รอยพระพุทธบาทจำลอง หอระฆัง ฌาปนสถาน ในด้านการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนเพื่อเป็นที่ศึกษาสำหรับลูกหลานชาวบ้านในละแวกนั้น คือโรงเรียนประชาบาลชุ่มประชานุกูล การช่วยเหลือวัดใหม่ต้นกระทุ่ม สร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อชุ่มได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะตำบลคุ้งน้ำวนตามลำดับ ในปี พ.ศ.2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน

ในปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อชุ่มได้อนุญาตให้ศิษย์สร้างเหรียญสี่เหลี่ยม เป็นแผ่นอะลูมิเนียมสกรีนรูปท่าน เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ช่วยสร้างพระอุโบสถ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม ปัจจุบันหายาก ต่อมาลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงพ่อชุ่มสร้างเหรียญรุ่นแรกของวัดราชคามในปี พ.ศ.2486 ซึ่งชาวราชบุรีต่างหวงแหนกันมาก นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้อีกหลายอย่าง เช่น พระรูปเหมือน และเหรียญรุ่นสอง เป็นต้น

หลวงพ่อชุ่มมรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 57

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของวัดราชคาม ปี พ.ศ.2486 มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


3/7


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 สิงหาคม 2563 16:22:32
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90149606184826_aaa_5_640x480_.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์กัน ซึ่งพระพิมพ์ทรงเจดีย์ของวัดระฆังฯ ก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ แต่แม่พิมพ์ที่เราพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ หรือเห็นมากกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ก็คือแม่พิมพ์ที่นำมาพูดคุยกันในวันนี้ และเป็นการพูดคุยถึงร่องรอยการผลิตที่เป็นแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับนะครับ

ตามรูปพระองค์ที่ 1 เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์ที่มีเกศขยักเป็นตุ่มอยู่ด้านหนึ่ง ซึ่งพระองค์นี้เป็นที่ยอมรับกันในสังคมว่าเป็นองค์ที่มีความสวยงามมากและติดแม่พิมพ์สมบูรณ์มาก นอกจากนี้องค์พระไม่ได้สึกหรออะไรเลย จึงทำให้เห็นศิลปะแม่พิมพ์ได้ครบถ้วน ถือเป็นองค์ที่ใช้ศึกษาแม่พิมพ์ได้เป็นอย่างดี พระองค์นี้แต่เดิมเป็นพระที่ถูกลงรักไว้หนามาก ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนมือ จึงถูกนำมาให้ช่างลอกรักออก โดยการลอกรักแบบชั้นครูจึงทำให้มองเห็นรายละเอียดแม่พิมพ์ได้อย่างชัดเจนเกือบทุกส่วนสัด

เรามาดูที่องค์พระกันครับ เท่าที่เห็นตามรูป เราจะมองดูเหมือนกับว่าองค์พระจะเล็กกว่าอีกองค์หนึ่งที่ผมนำมาลงเปรียบเทียบกัน แต่ความจริงแล้วองค์พระทั้ง 2 องค์มีขนาดเท่ากัน และเป็นพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ทำไมจึงมองดูเหมือนกับว่าองค์พระองค์หนึ่งจะเล็กกว่า ความจริงคือ พระองค์ที่ 1 เป็นพระที่สมบูรณ์ไม่ได้สึกหรออะไรเลย องค์พระเมื่อยังไม่สึกลงไป ตาเราจะเห็นส่วนที่สูงที่สุดขององค์พระ ซึ่งจะมีรูปทรงที่ค่อยๆ เรียวสูงขึ้นมาจากด้านล่าง ส่วนบนก็จะค่อยๆ เล็กลงมากว่าส่วนที่ต่ำลงไป เมื่อมองจากรูปถ่ายซึ่งเขาจะถ่ายเป็นมุมตั้งฉากจากด้านบน จึงทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าองค์เล็กกว่า แต่ความจริงจะมีขนาดเท่าๆ กัน และเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน

ครับ ทีนี้เรามาดูร่องรอยการผลิตกันว่าเขาดูกันอย่างไร การเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ควรจะศึกษาร่องรอยการผลิตจากแม่พิมพ์ก่อนเป็นอันดับแรก เวลาเราจะศึกษาแม่พิมพ์ก็หัดแบ่งองค์พระเป็น 2 ฝั่ง โดยแบ่งด้านซ้ายกับด้านขวา ลากเส้นจากบนตรงพระเกศผ่ากลางลงมาด้านล่าง วิธีนี้สามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ แต่ต้องศึกษาจากพระแท้ตามมาตรฐานมูลค่ารองรับเท่านั้นนะครับ

หลังจากนั้นเราก็พิจารณาดูว่าด้านซ้ายกับด้านขวานั้นมีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน ไล่จากบนลงล่างไป เอาแบบคร่าวนะครับ ดูที่พระเกศ เราก็จะเห็นได้ว่าเกศด้านซ้ายมือเรานั้นจะเป็นเส้นตรงเรียบลงมาหาเศียร ส่วนที่ด้านขวามือเราจะมีขยักตรงกลางพระเกศป่องออกมานิดนึง แล้วลองดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นเป็นเหมือนกัน ข้อนี้เป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ครับ ถ้าเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกันจะมีทุกองค์และจะมีความลับซ่อนอยู่ ถ้าได้ดูจากพระองค์จริงจึงจะเห็นครับ ใบหน้าหรือวงพระพักตร์ จะดูป้อมคางป้านกว่าพระพิมพ์ใหญ่ สังเกตดูดีจะเห็นเนินหูรางเลื่อนลงมาที่หน้าอก

ถ้าพระพิมพ์ทรงเจดีย์ที่ยังไม่สึกหรออะไรก็จะเห็นว่ามีเส้นสังฆาฏิ และชายจีวรสะบัดเข้าที่ใต้รักแร้ ในองค์ที่ติดชัดๆ แบบองค์ที่ 1 ส่วนองค์ที่ 2 จะมองไม่เห็นเนื่องจากองค์พระในส่วนนี้สึกลงไปแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกลงไปก็ยังคงจะเห็นรายละเอียดอยู่ ในส่วนที่ลึกที่สุดก็จะยังเห็นร่องรอยของแม่พิมพ์ได้เพราะยังสึกลงไปไม่ถึง ในซอกแขนของพระแม่พิมพ์นี้ในส่วนที่ลึกที่สุดมีความลับซ่อนอยู่ และจะมีทุกองค์ เพียงแต่เขายังไม่เปิดเผยกันง่ายๆ เพราะพวกมือผีรอจะทำปลอมอยู่ครับ แต่ถ้าทำก็ไม่เหมือนหรอกครับ เพราะเป็นการจงใจทำขึ้นใหม่ ไม่ได้เกิดจากแม่พิมพ์อันเดิม

เอาล่ะมาดูที่ซอกแขนกัน ซอกแขนซ้ายและขวาสังเกตดูดีๆ จะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน ต้องจดจำให้ดี ต่อมาก็ดูที่หน้าตักจะสังเกตเห็นว่าในองค์พระที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และยังไม่สึกลงไปจะเห็นรายละเอียดของหน้าตัก เห็นขาขวาทับขาซ้ายชัดเจน มาดูองค์ที่ 2 หน้าตักจะไม่เห็นรายละเอียดของการวางซ้อนขา แต่ร่องรอยของขอบหน้าตักก็จะมีเส้นสายที่เหมือนกัน เส้นสายรอบหน้าตักจะโค้งเว้าขยักรูปทรงเดียวกันทั้ง 2 องค์ ฐานชั้นบนสุดด้านซ้ายขวาหัวฐานทั้ง 2 ด้านจะไม่เหมือนกัน

มาดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นว่ามีรูปทรงเหมือนกันทั้ง 2 องค์ ฐานชั้นกลาง ให้ดูเปรียบเทียบซ้าย-ขวา แล้วมาดูกับอีกองค์ก็จะเป็นเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน ฐานชั้นล่าง หัวฐานทั้ง 2 ด้านเหมือนกันไหม แล้วดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นว่า พระทั้ง 2 องค์มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง ส่วนองค์ที่ 2 ที่ฐานชั้นล่างจะเห็นเป็นเส้นซ้อนนั้น เป็นการเขยื้อนจากการเอาออกจากแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์ ไม่เกี่ยวกับแม่พิมพ์ ซึ่งจะไม่มีให้เห็นในองค์อื่น กลับมาดูที่พระองค์ที่ 1 ดูที่เส้นซุ้มด้านซ้ายมือเรา ก็จะเห็นว่าเส้นซุ้มด้านซ้ายมือเราจะแป้วลงไป ก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์เช่นกัน ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกองค์และเป็นเฉพาะองค์เท่านั้น การศึกษาสังเกตร่องรอยการผลิตของแม่พิมพ์นั้นต้องดูเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ในแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน มีอะไรที่เหมือนกันบ้างในทุกองค์ อันนี้แหละเป็น

เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่เราควรศึกษาจดจำ และเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกันไหม รายละเอียดต่างๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง แต่ที่สำคัญที่สุดจะต้องหาแม่แบบองค์พระที่ของแท้ตามมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับมาศึกษาเปรียบเทียบกัน ก็จะรู้ได้ไม่ยาก ยิ่งมีผู้ให้คำปรึกษาด้วยก็จะรู้จริงได้เร็วขึ้น ทุกอย่างมีเหตุผลอธิบายทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องค่อยๆ ศึกษา และถ้ามีผู้ให้คำปรึกษาก็จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ

ก็พูดคุยกันได้เพียงคร่าวๆ นะครับ เพราะเนื้อที่หน้ากระดาษคงไม่พอ รูปถ่ายก็อาจจะเล็กไปหน่อย ก็ลองหารูปเปรียบเทียบดูนะครับ ดูหลายๆ องค์ในแม่พิมพ์เดียวกันยิ่งดีครับ จะหาเหตุผลได้เองครับ ในส่วนของด้านข้างด้านหลัง และเนื้อหาของพระก็ยังมีอีกมากที่จะเป็นร่องรอยการผลิตที่สามารถเป็นเหตุผลประกอบในการพิจารณาแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เดียวกัน ซึ่งพระทั้ง 2 องค์นี้เป็นพระที่มีมาตรฐานมูลค่ารองสูงมากทั้ง 2 องค์ มาให้ชมเปรียบเทียบกันเพื่อศึกษาร่องรอยการผลิต ลองศึกษาดูนะครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95194920276602_bud06p1_1_640x480_.jpg)
ระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จอีก ก็พอดีมีเพื่อนๆ ได้มาบอกว่าในโลกโซเชี่ยลมีการถกเถียงกันเป็นประเด็นมาก มีอยู่ 2 ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าพระของเขาแท้ อีกฝ่ายหนึ่งว่าปลอม ต่างก็อ้างเหตุผลของตัวเองมาสนับสนุน ผมก็เลยเข้าไปตามอ่านตามดูบ้าง ก็เห็นเขาถกเถียงกันมานานพอสมควร จึงนำมาเป็นเรื่องพูดคุยกัน

ครับเรื่องพระเครื่องก็มีอยู่ 2 ฝ่ายมานมนานแล้ว ซึ่งมีความคิดเห็นต่างกัน ฝ่ายหนึ่งมีการเล่นหาสะสมที่มีมูลค่ารองรับ ก็คือนำไปขายก็ขายได้ อีกฝ่ายหนึ่งเล่นหาสะสม ไม่เหมือนกัน

ที่สำคัญคือสังคมไม่ยอมรับ และนำไปขายก็ขายไม่ได้ จึงเกิดคำว่าเก๊-แท้เกิดขึ้น แท้ก็คือแบบที่สังคมยอมรับและมีมูลค่าราคา ส่วนเก๊ก็คือสังคมยังไม่ยอมรับขายก็ไม่ได้ จะให้ใช้คำศัพท์ใหม่ก็คือใช่และไม่ใช่

มาพิจารณาในฝ่ายที่เล่นหาสะสมแบบที่มีมูลค่ารองรับ ในฝ่ายนี้เขาก็เล่นหาสะสมกันมาแต่โบราณแบบนี้ และมีมูลค่ารองรับกันมาแต่โบราณเช่นกัน ฝ่ายนี้คนส่วนใหญ่ก็จะเรียกว่าพวกเซียนพระ คนพวกนี้โมเมเอา เองรึ? น่าจะใช่นะครับ เขาก็ศึกษากันมาตลอด ศึกษาประวัติความเป็นมาหรือไม่? ก็ตอบได้เลยว่าศึกษามาแน่ ตำรับตำราต่างๆ เขาหามาอ่านกันหรือไม่?

แน่นอนเขาก็หามาอ่านกันทั้งนั้น และน่าจะเยอะเสียด้วย ที่สำคัญของการศึกษาก็คือต้องศึกษาแบบวิเคราะห์ เนื่องจากหนังสือต่างๆ นั้นก็มีทั้งที่ผิดบิดเบือนหรือผิดพลาดไปบ้าง ก็ต้องศึกษาเปรียบเทียบมากพอสมควร ที่สำคัญอย่างยิ่งเขาก็ต้องศึกษาถึงร่องรอยการผลิต หรือที่มักเรียกง่ายๆ ว่าการศึกษาเรื่องพิมพ์ เรื่องเนื้อหา และธรรมชาติความเก่า

โดยการนำพระที่มีแม่พิมพ์อันเดียวกันมาเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ ดูซิว่าร่องรอยที่เกิดขึ้นกับพระพิมพ์นี้มีอะไรบ้างที่เหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน มิติเดียวกันร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนๆ กัน เนื้อหาคือวัสดุที่นำมาสร้างพระนั้นๆ มาจากวัสดุอะไร เหมือนๆ กันหรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาอายุการสร้างของพระนั้นประมาณอายุกาลเท่าใด จะมีการเสื่อมของวัสดุที่นำมาสร้างควรจะเป็นแบบไหน อย่างไรจึงนำมาสรุปออกมาเป็นมาตรฐาน ถ้าถามว่าบุคคลคนเดียวหรือที่ตั้งกฎเกณฑ์มาตรฐานนั้นขึ้น ตอบได้เลยว่าไม่ใช่

เนื่องจากต่างฝ่ายต่างก็ศึกษาหาเหตุผลของแต่ละคน ที่แปลกก็คือผลออกมาตรงกันแทบทุกข้อ ก็ของมันจริงเมื่อศึกษาอย่างมีเหตุผลก็ออกมาตรงกัน เท่านั้นเอง เมื่อได้ข้อสรุปที่ตรงกันและมีเหตุผลพิสูจน์ได้ก็เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีมูลค่ารองรับในการเล่นหา

มาพูดกันถึงพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เนื่องจากมีประวัติที่แน่นอนว่า เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้สร้างพระบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดนี้ และมีผู้คนที่อยากได้พระสมเด็จฯไว้บูชา จึงมีพวกหัวใสคิดการนำพระออกมาจากกรุองค์พระเจดีย์ในสมัยนั้นเรียกว่าการตกพระ โดยการใช้ไม้ไผ่ลำยาวๆ มาทะลวงปล้องออกให้สอดเชือกผ่านเข้าไปได้

แล้วปลายเชือกด้านหนึ่งก็ขมวดเป็นปมใหญ่ ส่วนปลายก็ทำเป็นพู่ แล้วใช้ดินเหนียวคลุกเคล้าจนเกาะติดดินเหนียวแน่น แล้วสอดลำไม้ไผ่เข้าไปในช่องระบายอากาศของพระเจดีย์ ปล่อยเชือกไปจนกระทบกับพื้นซึ่งมีพระสมเด็จบรรจุอยู่แล้วก็สาวเชือกขึ้นมา บางครั้งก็มีพระสมเด็จติดปลายเชือกขึ้นมาก็นำไปขาย ต่อมาก็มากันมากขึ้น

ก็มีทั้งคนตกและมีคนรอรับซื้ออยู่ที่องค์พระเจดีย์ ทางวัดทราบเรื่องก็ห้ามปรามกันไปแต่ก็ไม่อาจทนคนที่มาตกได้ มีการตกครั้งใหญ่ๆ อยู่ถึง 3 ครั้ง ครั้งย่อยๆ ไม่ต้องนับ

นอกจากนี้ก็ยังมีพวกแอบมาเจาะองค์พระเจดีย์เลยก็มี จนครั้งสุดท้ายก็มีการลงทุนจัดงานศพและตั้งเต็นท์ทำโรงครัวติดกับองค์พระเจดีย์ในปี พ.ศ.2500 ทำให้องค์พระเจดีย์ชำรุดจนทางวัดทนไม่ไหว จึงเปิดกรุเป็นทางการในปีพ.ศ.2500 ในปีเดียวกัน

ก็ว่ามาถึงพระที่ออกมาจากกรุเจดีย์วัดบางขุนพรหมพอประมาณ ทีนี้พวกนักเลงพระที่ไปรับซื้อพระเขาก็นำพระมาศึกษาดูตั้งแต่ในสมัยที่มีการตกพระในยุคแรกๆ เก็บรวบรวมศึกษาแม่พิมพ์ต่างๆ ตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2500 ที่เปิดกรุเป็นทางการ

ซึ่งทางวัดก็เปิดให้เช่าบูชาเพื่อนำปัจจัยมาซ่อมแซมบูรณะวัดบางขุนพรหม พระที่บรรดานักเลงพระในสมัยนั้นเขาเก็บรวบรวม ศึกษาทั้งแม่พิมพ์ เนื้อหาวัสดุ และสภาพธรรมชาติต่างๆ ของพระที่ออกจากกรุต่างเวลากัน รวบรวมมาเป็นองค์ความรู้ที่จะเป็นมาตรฐานกำหนดรู้ว่าอย่างไหนแท้ อย่างไหนปลอม หรืออย่างไหนใช่ อย่างไหนไม่ใช่ จนสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับด้วยเช่นกัน

สนนราคาก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะพระมีจำกัด แต่คนต้องการเสาะหากันมากขึ้น เหล่ามิจฉาชีพคนที่ทำพระปลอมก็ทำพระปลอมออกมาหลอกขายกันไปเรื่อยเช่นกันจนทุกวันนี้ แถมการขายก็ต้องเล่านิยายประกอบการขาย ซึ่งก็มีกันมานานแล้ว ตั้งแต่ผมเด็กๆ ก็ได้ยินได้ฟังมามากเช่นกัน แต่งนิยายกันจนเป็นลิเก เลอะเทอะกันไปหมด บิดเบือนประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ

อีกด้วยเพื่อให้นิยายของเขาขายได้ ก็มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อกันอยู่จนถึงในสมัยนี้ พระสมเด็จต้องแม่เหล็กดูดติด ขำกันกลิ้ง ก็เอาผงเหล็กผสมเข้าไปในเนื้อพระ พอเอาแม่เหล็กมาดูดก็ติดไง นิยายแบบนี้เขาทำกันมาเท่าที่เห็นก็ตั้งแต่ผมยังเด็กๆ เลย สมัยก่อนปาหี่ท้องสนามหลวงก็เคยเห็นมีทำ ใครเกิดทันก็คงจะเคยเห็นกันบ้าง

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ บางแม่พิมพ์ก็จะเกือบเหมือนกับ พระพิมพ์ใหญ่ของวัดระฆังฯ เลยทีเดียว สันนิษฐานว่าอาจจะนำแม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ มาตกแต่งนิดหน่อยแล้วก็นำมาใช้ แต่เขาก็มีข้อสังเกตร่องรอยการผลิตและแยกออกได้ว่าเป็นของกรุวัดบางขุนพรหม  เช่น พระกรุเก่าที่ไม่มีขี้กรุก็ยังแยกออกได้ว่าของวัดใด เพราะร่องรอยการผลิตนั้นจะไม่เหมือนกันทั้งสองวัด สามารถบอกได้ด้วยเหตุและผล และจะมีเหมือนๆ กันหมดทุกองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่แท้ๆ และสวยสมบูรณ์ ถูกต้องตามมาตรฐาน มีมูลค่ารองรับ สังคมยอมรับ มาให้ชมครับ พระแบบนี้มีมูลค่ารองรับเป็นล้านๆ นะครับ พิสูจน์ได้ง่ายๆ ครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98875375174813_bud07p1_2_640x480_.jpg)
พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชร นั้นมีอยู่มากมายหลายกรุ พระที่มีชื่อเสียงและคนส่วนมากจะนึกถึงก็คือพระประเภทเนื้อดิน ซึ่งพระเนื้อดินของกำแพงเพชรมีความหนึกนุ่ม มองดูแล้วสวยซึ้ง โดยเฉพาะพระของกรุทางทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นต้น

ในส่วนของพระปางลีลาแล้วพระกรุทุ่งเศรษฐีก็มีความนิยมกันมากและได้รับ คำยกย่องว่ามีพุทธศิลปะที่งดงามอ่อนช้อยยิ่งนัก และก็มีพระอยู่หลายอย่างทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน ประเภทพระเนื้อดินเผา เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา เป็นต้น ประเภทเนื้อชินก็มีพระกำแพงขาว พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด เป็นต้น

พระกำแพงลีลาพิมพ์ต่างๆ ของกำแพงเพชร จะมีพุทธศิลปะที่อ่อนช้อยแบบสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ซึ่งมีความพลิ้วไหวดุจดั่งองค์สมเด็จพุทธเจ้าเสด็จพระราชดำเนินลอยล่องอยู่ในอากาศ พระพุทธรูปปางลีลานั้นถือเป็นสุดยอด แห่งศิลปะของสุโขทัย

ครับ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดก็เป็นหนึ่งในพระกรุกำแพงเพชรที่มีความนิยมมากตั้งแต่ในอดีต ที่มาของชื่อนั้นเนื่องจากพุทธลักษณะปางลีลาเยื้องก้าวอันประกอบด้วยพระกรข้างซ้ายที่กรีดพลิ้วอยู่นั้นช่างอ่อนไหวอยู่ใกล้ๆ กับคางมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

คล้ายกับกำลังเชยคางอยู่ และที่กรอบซุ้มเรือนแก้วขององค์พระมีเม็ดไข่ปลาประดับอยู่รายรอบภายในซุ้มเรือนแก้ว จนได้ชื่อนามอันไพเราะว่า “พระกำแพงเชยคาง ข้างเม็ด”

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดถูกขุดพบครั้งแรกที่กรุวัดบรมธาตุ ต่อมาก็พบอีกที่วัดอาวาสน้อย วัดสี่อิริยาบถ พระที่พบเป็นพระเนื้อ ชินเงินเป็นส่วนใหญ่ ที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็มีบ้างแต่พบน้อยมาก

พระที่พบของกรุวัดบรมธาตุนั้นมักจะพบว่าผิวเนื้อจะเป็นสีออกดำอมเทา และมีไขขาวเกาะอยู่ ของกรุอาวาสน้อยบางองค์จะมีร่องรอยคราบปรอทจับอยู่บ้าง พระกำแพงเพชรเชยคาง ที่พบจะมีพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่จะพบน้อยมาก แทบไม่ค่อยได้เห็นนัก

พระพิมพ์กลางจะมีปริมาณที่มากกว่าทุกพิมพ์ จึงถือว่าเป็นพิมพ์มาตรฐาน ส่วนพิมพ์เล็กก็พบบ้างตามกรุต่างๆ

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด ในสมัยก่อนนั้นมีความนิยมสูงพอๆ กับพระกำแพง เม็ดขนุน ด้วยศิลปะที่สวยงดงาม ในด้านพุทธคุณก็เด่นทางด้านเมตตาโชคลาภ โภคทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกับพระเม็ดขนุน แต่ปัจจุบันนั้นก็พบหาได้ยากมาก และมีการปลอมแปลงกันมาตั้งแต่อดีต

จนทุกวันนี้แทบไม่มีใครได้พูดถึงหรือพบเห็นกันเลย แต่ก็ยอมรับครับว่าพระแท้ๆ หายากจริงๆ อาจจะเป็นเพราะเรื่องจำนวนอาจมีไม่มากนัก และอีกอย่างเนื่องจากเป็นพระเนื้อชินที่มีอายุความเก่าแก่ยาวนานถึงประมาณราว 600 ปีมาแล้ว

จึงทำให้มีการเสื่อมสภาพของเนื้อวัสดุ เกิดการแตกระเบิด ผุกร่อนไปตามกาลเวลาจึงทำให้เหลือองค์พระที่สมบูรณ์น้อยมาก ก็เป็นได้ จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยครับ

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมความงดงามของศิลปะ และเพื่อการอนุรักษ์พระกรุต่อไปครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28931052486101_bud05p1_3_640x480_.jpg)
เหรียญพระรัตนธัชมุนี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาพูดคุยกันถึงพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้พัฒนาการเรียนการศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราชทั้งของพระสงฆ์และของประชาชน สร้างโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช และในอีกหลายจังหวัดของภาคใต้ครับ

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 บิดาชื่อนายแก้ว มารดาชื่อทองคำ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านหมาก ต.บ้านเพิง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่ออายุได้ 15 ปีได้บวชเป็นสามเณร และศึกษากับพระครูการาม (จู) จนจบเปรียญ 3 ประโยค

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2416 จึงได้อุปสมบทที่วัดมเหยงคณ์ โดยมีพระครูการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาอยู่กับพระครูการาม 1 พรรษา ต่อมาพระครูการามได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ ท่านก็ติดตามมาอยู่ด้วย

ถึงปี พ.ศ.2432 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์ภาคใต้และได้สนทนาด้วย และเกิดพอใจ เมื่อเสด็จกลับจึงได้นำท่านเจ้าคุณเข้ามาที่กรุงเทพฯ และให้จำพรรษาอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริย์

ต่อมาจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย โดยมีท่านเจ้าคุณพรหมนุน (แฝง) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เล่าเรียนพระปริยัติจนสอบได้เปรียญ 4 ประโยคในปี พ.ศ.2433

พอถึงปี พ.ศ.2434 จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่นครศรีธรรมราช และได้เริ่มสอนพระปริยัติธรรมให้แก่พระภิกษุสามเณรในวัด ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของเมืองนครฯที่จัดให้มีการศึกษาแบบนวโกวาท และเมื่อออกพรรษาก็มีการสอบไล่ทุกปี

ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยขอพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลายๆ แห่งรวมทั้งในกรุงเทพฯ ด้วย เพื่อมาสอนให้แก่พระภิกษุสามเณรในนครศรีฯ ต่อมาท่านได้คิดถึงเด็กชาวบ้านไม่มีที่เรียน ท่านจึงได้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่กุลบุตรกุลธิดาในปี พ.ศ.2434 ด้วยเช่นกัน ชื่อโรงเรียนเชลยศักดิ์ ที่วัดท่าโพธิ์

ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ท่านได้เปิดโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อสุขุมาภิบาลวิทยา ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจนที่เรียนไม่เพียงพอ ท่านจึงเปิดโรงเรียนอีก ชื่อโรงเรียนศรีธรรมราช และได้โอนโรงเรียนให้ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ก็ได้สร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชเอง และที่จังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น ที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี

นอกจากนี้ ยังได้สร้างโรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณ อันเป็นศิลปะที่ล้ำค่าของเมืองนครฯ เกรงว่าจะสูญหาย จึงได้ตั้งโรงเรียนที่วัดท่าโพธิ์ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่ท่านเจ้าคุณได้รับแต่งตั้งคือ พระรัตนธัชมุนี

ตลอดชีวิตนั้นไม่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้ เพราะมุ่งพัฒนาการเรียนการศึกษาเสียเป็นส่วนมาก จนบรรดาศิษย์เห็นว่าชรามากแล้ว จึงขออนุญาตสร้างเหรียญเพื่อไว้เป็นที่ระลึก โดยจัดสร้างขึ้นในงานทำบุญฉลองพระอุโบสถที่ท่านซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.2476 หลังจากนั้นอีกหนึ่งปี คือ ในปี พ.ศ.2477 ตรงกับวันที่ 21 กันยายน ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 82 พรรษา 61

เหรียญที่ระลึกปีพ.ศ.2476 จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกและเหรียญเดียวที่สร้าง ไว้ครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75494616975386_bud10p1_4_640x480_.jpg)
เล่นพระตามมาตรฐาน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นเขาก็มีมาตรฐานของสังคมผู้นิยมพระเครื่องว่า พระแต่ละชนิดนั้นๆ เขานิยมกันแบบไหน มีกี่พิมพ์ที่นิยมกัน เนื้อหาของพระเป็นอย่างไร มีกี่อย่าง

มาตรฐานของพิมพ์ เช่นรายละเอียดของแม่พิมพ์แบบไหนที่เขานิยมกัน ซึ่งก็คือร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ ต้องถูกต้องตามที่เขามีมาตรฐานกำหนด และสังคมยอมรับซึ่งก็จะมีมูลค่าราคารองรับด้วยเช่นกัน

แต่ในส่วนที่เราจะเล่นหาหรือชมชอบไปอีกอย่างหนึ่งนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไร เป็นความเชื่อของส่วนบุคคลไม่มีปัญหา เรื่องความเชื่อส่วนบุคคลนั้น ผมขอยกตัวอย่างเช่นเราต้องการพระบูชาไว้บูชาที่บ้านสักองค์ ก็ไปซื้อมาจากร้านแถวเสาชิงช้า หรือในสนามพระที่มีวางขายเกลื่อนกลาด

โดยพระนั้นๆ ไม่ได้ผ่านพิธีอะไรเลย แล้วเรานำมาบูชาที่บ้านเพื่อระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ผิดอะไรเลย หรือเราจะไปเช่าหาพระเครื่องที่เขาทำขายกันเกลื่อนกลาดหรือทำปลอมเลียนแบบพระอื่นๆ นั้น แล้วนำมาห้อยคอ ก็ไม่ได้ผิดอะไร

สมมติว่าเราหาพระสมเด็จฯ แท้ๆ ไม่ได้ ก็ไปเช่าพระสมเด็จปลอมที่ขายกันเป็นกองๆ แล้วนำมาห้อยคอเพื่อระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่เรานับถือ ก็ไม่ผิดอะไรอีกเช่นกันครับ

ในสมัยผมเป็นวัยรุ่น ผมเคยเห็นผู้มีอายุท่านหนึ่งแต่งตัวดี ดูท่าทางน่าจะเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มาเช่าพระสมเด็จปลอมที่เขาวางขายเป็นกองๆ ท่านค้นเลือกหาอยู่นาน แล้วก็เช่าไปองค์หนึ่ง ผมก็เกิดสงสัยว่าท่านเช่าไปทำไม

พอดีผมว่างๆ อยู่และกำลังจะข้ามเรือไปที่วัดระฆังฯก็เจอท่านจะข้ามเรือไปที่วัดระฆังฯ เช่นกันพอไปถึงที่วัดระฆังฯ ผมเห็นท่านนำพระไปที่โบสถ์แล้วนั่งสวดมนต์ ผมก็เกิดความสนใจก็รอที่จะสอบถามท่านดู พอท่านสวดมนต์เสร็จท่านก็นำพระมาใส่กระเป๋าเสื้อ ผมก็ได้ไปคุยกับท่านว่าท่านเช่าพระปลอมมาทำไมท่านรู้หรือไม่ว่าเป็นพระปลอม

ท่านก็เล่าให้ผมฟังว่า ท่านศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะเช่าพระสมเด็จแท้ๆ หรอก แต่ท่านก็สวดพระคาถาชินบัญชรทุกวัน และวันนี้ท่านก็มาเช่าพระปลอมนี่แหละ แล้วก็ข้ามมาที่วัดระฆังฯ นำพระมาสวดชินบัญชรจนจบ

จากนั้นท่านก็จะนำพระไปเลี่ยมห้อยคอ ท่านบอกผมว่า เราศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ เราก็เอาพระแบบพระสมเด็จมาห้อยคอก็ใช้ได้เหมือนกัน อยู่ที่ใจเราศรัทธาและหมั่นทำความดี บุญก็จะรักษาเราได้ ก็เป็นคติหนึ่งที่ผมได้รับฟังจากผู้ใหญ่ท่านนี้ และก็ไม่ผิดอะไรเลย

การที่เราจะเชื่อหรือเลือกเชื่ออะไรก็ตามก็ไม่ผิดอะไรเลย เช่น เราคิดว่าพระสมเด็จแบบนั้นแบบนี้เป็นพระแท้ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่อย่าพยายามคิดที่จะนำไปขายเพื่อผลประโยชน์ เพราะนอกจากจะผิดตามกฎหมายแล้วก็ยังผิด ในเรื่องบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนอีก ข้อนี้เป็นบาปที่จะมีผลตามมาภายหลังแน่นอน

ผมมีเพื่อนในสมัยเรียนที่ชอบพระเครื่องเหมือนกันอยู่หลายคน ในกลุ่มเพื่อนก็มีที่เล่นหาถูกทาง และเพื่อนที่เล่นหาผิดทางมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ในกลุ่มที่เล่นหาถูกทางที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศก็มีอยู่หลายท่าน บอกก่อนนะครับว่าเพื่อนกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นพ่อค้าพระนะครับ แต่คนรู้จักกันทั้งประเทศ ผมขอไม่ไปเอ่ยชื่อของท่านนะครับ

ส่วนเพื่อนอีกกลุ่มที่ชอบเล่นหานอกมาตรฐานก็มีอีกหลายคน เขาก็เชื่อตามแบบของเขา ผมเองก็เคยเตือนว่าเล่นหาผิดทางนะ แต่พวกเขาก็ไม่เชื่อ และยังต่อว่าผมอีกด้วย ก็ต้องปล่อยกันไป แต่ก็ยังคบหากันอยู่ ไม่ได้โกรธเคืองอะไรกันและคบหากันมาจนทุกวันนี้

ต่อมาภายหลังอายุก็เริ่มมากกันแล้ว เพื่อนกลุ่มที่เล่นหาผิดทางกับมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับ เกิดมีปัญหาเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยความชรา ก็เริ่มโทร.มาหาผมให้ผมช่วยนำพระสมเด็จของเขาไปหาคนเช่าให้หน่อย เพราะจะนำเงินไปรักษาตัวผมก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรไม่ให้เสียน้ำใจกัน ก็เลยบอกว่าช่วงนี้ยังไม่มีคนเช่าหรอก

เขาก็บอกให้นำไปให้เพื่อนกลุ่มที่มีฐานะที่เล่นหาถูกทางเช่าไปหน่อย ผมก็บอกเขาว่าก็เป็นเพื่อนกันทำไมไม่บอกเขาเอง เพื่อนที่จะให้เช่าพระก็โกรธผม เพราะความจริงเขานำพระไปให้เช่าแล้วไม่มีใครเช่า ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือในสนามพระก็ตาม ทั้งๆ ที่เขาก็ไปออกใบรับรองพระแท้ของกลุ่มที่เล่นหาผิดทางนอกตำรามาแล้วก็ตาม ปัจจุบันเพื่อนผมคนนี้ก็ยังเคืองๆ ผมอยู่เลยครับ

นอกจากนี้ก็ยังมีเพื่อนกลุ่มที่เล่นหา ผิดทางอีกหลายคนที่ให้ผมช่วยนำพระของเขาไปให้เช่าให้หน่อย ผมเองก็ช่วยอะไร เขาไม่ได้ เพราะก็เป็นพระปลอมทั้งนั้น พระสมเด็จถ้าแท้ขายได้ไม่ยากครับ ขอให้ราคาสมควรก็มีคนเช่าเป็นล้านแน่นอน

วันก่อนพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดระฆังฯ หักครึ่ง แต่ชิ้นส่วนอยู่ครบ เรียกว่าเป็นพระดูง่าย เจ้าของพระเป็นคนนอกนำมาขายที่ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน เซียนรับเช่าไปล้านกว่าบาทครับ ผมได้ข่าวและเห็นรูปพระตามไปยังไม่ทัน มีคนเช่าต่อไปแล้ว

ครับพระสมเด็จแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับนั้น มีมูลค่ารองรับแน่นอนครับ แต่ถ้าเป็นพระสมเด็จนอกมาตรฐานสังคมก็เก็บไว้ได้ครับ เพียงแต่ยังขายไม่ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับครับ ทองแท้ก็ย่อมเป็นทองแท้ ทองชุบก็เป็นทองชุบวันยังค่ำครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม แม่พิมพ์หนึ่งในหลายแม่พิมพ์ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 กันยายน 2563 18:08:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75081412328614_bud10p1_2_1_640x480_.jpg)
พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมาพูดคุยถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์ที่เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ก็มีหลายๆ ท่านที่มาสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพระสมเด็จฯองค์ลุงพุฒ ซึ่งก็มีการกล่าวขวัญกันไปจนผิดเพี้ยนว่า ชื่อแม่พิมพ์ลุงพุฒ ซึ่งความจริงแล้วพระองค์นี้เป็นพระพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มของวัดระฆังฯ ที่มีการเรียกขานพระสมเด็จเฉพาะองค์นี้ว่าองค์ลุงพุฒนั้นก็มีการเรียกขานกันมานานแล้วก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก

เริ่มต้นนั้นก็มีคนที่ทราบว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มที่สวยสมบูรณ์มากๆนั้นลุงพุฒท่านเป็นเจ้าของและหวงแหนมากหลังจากนั้นตั้งแต่ก่อนปี 2500 มาแล้วก็มีผู้เพียรเข้าไปหาลุงพุฒเพื่อขอเช่าหา แต่ลุงพุฒแกก็ไม่ยอมให้เช่า อย่าว่าแต่ให้เช่าเลยขอดูยังยากเลยครับ ถ้าไม่รู้จักหรือผู้คุ้นเคยที่แกเกรงใจไม่พาไปขอชมก็ไม่มีทางที่จะได้เห็น

วิธีการที่จะได้ชมอย่างไรนั้นผมยังไม่ขอกล่าวในที่นี้ ไว้ให้พวกชอบโม้เขาฝอยกันไปก็แล้วกัน ขำๆ ดี ต่อมาเมื่อลุงพุฒอายุมากแล้วพระองค์นี้ก็เปลี่ยนมือมาอยู่กับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง แล้วก็มาเปลี่ยนมืออีกครั้งมาอยู่กับผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือและอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ก็หลายสิบปีแล้ว

การตั้งชื่อพระองค์นั้นองค์นี้เขาตั้งกันมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาตั้งกันเมื่อ 20 กว่าปีมานี้ อย่างที่ผู้ไม่รู้เอามาพูดกัน ที่เขาเรียกชื่อพระองค์นั้นองค์นี้ก็เนื่องจากกล่าวถึงพระองค์สวยๆ และมีผู้อยากได้กันมาก ก็พูดถึงกันว่าเป็นพระของใครจะได้รู้ว่าเป็นพระองค์นั้นองค์นี้ไม่ใช่เรียกเป็นชื่อพิมพ์ และก็เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของพระ ในสังคมวงการพระเมื่อพูดคุยกันก็ยกย่องพระองค์นั้นๆ ว่าเป็นพระที่สวยสมบูรณ์ จะได้รู้ว่าหมายถึงพระของใครองค์ใด ต่อมาในระยะหลังก็มีการตั้งชื่อ พระสมเด็จฯ องค์ต่างๆ กันอีกหลายองค์ บางองค์ก็มีการเปลี่ยนมือมาอยู่ที่ใครก็เรียกกันตามนั้นก็มี แต่สำหรับองค์ลุงพุฒนั้นมีการ ตั้งชื่อนี้มานานแล้ว ตั้งแต่ลุงพุฒยังหวงพระองค์นี้อยู่เลย ความจริงผมก็คงจะไม่พูดถึง แต่พอดีมีผู้ถามมาและได้ยินข้อมูลมาผิดๆ ก็เลยนำมาเล่าสิ่งที่ถูกต้องให้ฟังครับ

เอาล่ะทีนี้มาคุยกันถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มกันหน่อยดีกว่าครับ พระสมเด็จที่ผมนำรูปมาให้ชมนี้มี 2 องค์ เป็นพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน เพื่อให้ดูเปรียบเทียบกันเช่นเคย และองค์หนึ่งในนั้นคือพระสมเด็จองค์ลุงพุฒ สำหรับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้เรียกกันว่า “พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม” และเรียกกันมานมนานแล้ว เนื่องจากพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้พระเกศของพระจะยาวทะลุซุ้มครอบแก้วขึ้นไปจรดขอบแม่พิมพ์ ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น มีแม่พิมพ์อยู่หลายตัวจึงแยกเรียกเพื่อให้รู้ว่าเป็นแม่พิมพ์ใด ตามแนวทางการศึกษาร่องรอยการผลิตนั้นๆ ในส่วนของแม่พิมพ์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เนื่องจากสิ่งของใดๆ ก็ตามที่เกิดมาจากแม่พิมพ์ก็ย่อมจะมีอะไรๆ หรือร่องรอยของแม่พิมพ์ปรากฏอยู่ให้พิสูจน์ได้

สิ่งแรกที่สายตาเราเห็นก็คือรายละเอียดของพิมพ์ หน้า ตา หู คางเป็นเช่นไร ก็เหมือนกับเราเห็นคนคนหนึ่งเราจะเห็นอะไรก่อนเนื้อ หนัง ไฝ ฝ้า หรือที่เห็นเป็นอันดับแรกก็คือหน้าตารูปร่างนั่นแหละ พระก็คือพุทธลักษณะว่าเป็นอย่างไร ถ้าจะศึกษาอันดับแรกก็คือ รายละเอียดของพิมพ์ ต่อมาก็เนื้อหา หมายถึงวัสดุที่นำมาสร้างพระในยุคนั้นๆ รุ่นนั้นๆ ธรรมชาติความเก่า ตามอายุขัยของพระ ธรรมชาติยังแยกออกเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ธรรมชาติแปรเปลี่ยน ธรรมชาติปรุงแต่ง ธรรมชาติของการผลิต ทั้งหมดนี้สำคัญทุกเรื่องต้องถูกต้องทั้งหมด จึงจะแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับ ถ้าไม่ถูกต้องสังคมก็อาจจะไม่ยอมรับและไม่มีมูลค่ารองรับด้วยเช่นกัน

ทีนี้ให้ท่านผู้อ่านลองแบ่งครึ่งพระออกเป็น 2 ส่วน โดยลากเส้นจากบนลงล่างแบ่งจากพระเกศลงมาให้สัดส่วนเท่าๆ กัน แล้วก็ลองสังเกตดูว่าซ้าย-ขวามีอะไรที่น่าสังเกตบ้าง นี่เป็นหลักการศึกษาด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีครับ ให้สังเกตดูให้ละเอียดเส้นสายต่างๆ แล้วดูเปรียบเทียบทั้ง 2 องค์ว่าแม่พิมพ์ตัวเดียวกันนั้นมีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ต้องพยายามดูนะครับถ้าอยากจะรู้ ผมจะไม่บอกนำเพื่อให้ท่านที่อยากจะศึกษาจริง พิสูจน์และรู้ได้ด้วยตัวท่านเองครับ นอกจากเห็นในสิ่งที่เหมือนกันแล้วก็ดูในส่วนที่ต่างกันด้วย และก็มีแน่ครับ ในส่วนที่ต่างกันนั้นจะเป็นตำหนิเฉพาะองค์ คือมีเพียงองค์เดียวที่เป็นแบบนั้นจะเป็นเหมือนกัน 2 องค์ไม่ได้เด็ดขาด คนปลอมพระในสมัยนี้ไม่รู้ก็นำพระไปเป็นต้นแบบ ที่พยายามหน่อยก็เอาไปสแกนคอมพิวเตอร์เลย แล้วนำไปแกะแม่พิมพ์ ที่บอกว่าสแกนสามมิติบอกว่าทำได้

ผมไม่ได้เถียงนะครับว่าปัจจุบันมีเครื่องสแกนสามมิติทำได้ แต่ผมถามจริงๆ เหอะว่าได้นำพระองค์จริงไปสแกนหรือ? แล้วจะได้สามมิติได้อย่างไร ก็สแกนจากรูปถ่าย รูปถ่ายเป็นสองมิตินะจ๊ะ แถมยังไม่รู้อีกว่าพระน่ะมีตำหนิเฉพาะองค์อีก พอทำแม่พิมพ์ปลอมแล้วก็เลยติดตำหนิเฉพาะองค์เข้าไป เลยปล่อยไก่อีก เรื่องแบบนี้เขาทำกันมานานแล้ว ก็เป็นเรื่องตลกในสังคมพระที่เขาเล่นหากันเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับครับ

เอ้า มาที่เรื่องเนื้อพระ บอกว่าพอพิมพ์เหมือนแต่เนื้อพระมีสีต่างกันก็บอกว่าไม่แท้ใช่หรือ? พระนั้นมีหลายสีหลายเนื้อ เนื่องจากพระแต่ละครกนั้นส่วนผสมต่างกรรมต่างวาระก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้างได้ นี่อยู่ในหัวข้อธรรมชาติดั้งเดิม ต่อมาพระถูกนำมาใช้ห้อยคอบ้างไรบ้าง ผิวของพระก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสถานะ นี่ก็อยู่ในเรื่องธรรมชาติแปรเปลี่ยน ยังมีเรื่องของธรรมชาติปรุงแต่งอีกนะเขาไม่ได้ตัดสินกันที่สีผิวของพระหรอก แต่ธรรมชาติการผลิตนี่สิเปลี่ยนแปลงไม่ได้นะ

เรื่องของเนื้อพระเขาก็ต้องดูว่าการผลิตนั้นเขาใช้วัสดุอะไรบ้างมาทำเป็นองค์พระ อย่างพระสมเด็จก็มีมวลสารต่างๆ เขาก็ศึกษากันมานานแล้ว แล้ววัสดุหลักล่ะ พระสมเด็จก็คือปูนขาว ปูนขาวแบบไหน อย่างไรในสมัยนั้น นั่นแหละเนื้อหลัก แล้วผ่านอายุกาลมาร้อยกว่าปีควรเป็นเช่นไร ความเสื่อมของวัสดุควรเป็นเช่นไร ไม่ใช่ยิ่งเก่ายิ่งแข็งเป็นหินหรือกลายเป็นหิน หรือมีผลึกแคลไซต์ ลองไปศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ดูนะครับ เดี๋ยวนี้ถาม Google ดูก็ได้ครับ ว่าแคลไซต์มันคืออะไร มีกี่ชนิด และการเกิดของมัน อายุกาลของการเกิดพร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดครับ ผมคงไม่ต้องมากล่าวให้เปลืองหน้ากระดาษนะครับ

ท่านผู้อ่านลองดูรูปที่ผมนำมาให้ชมนะครับ ทั้ง 2 องค์มาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน มีอะไรบ้างที่เหมือนกันและคิดว่าเกิดมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ผมบอกได้เลยดูพระสิบองค์หรือร้อยองค์ในแม่พิมพ์อันเดียวจะมีเหมือนกันทุกองค์ครับ นั่นก็คือร่องรอยการผลิตในหัวข้อของรายละเอียดแม่พิมพ์ครับ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่มีหลายแม่พิมพ์นะครับ ต้องศึกษาให้หมดครับ แต่ก็ต้องศึกษาจากพระแท้ที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับนะครับ ส่วนพระที่เขาว่าแท้แต่สังคมไม่ยอมรับและไม่มีมูลค่ารองรับนั้นก็แล้วแต่ครับ เก็บรักษาไว้ได้ ยึดมั่นได้ครับไม่ผิดอะไร แต่ถ้านำไปขายให้ผู้อื่นก็ต้องไตร่ตรองหน่อยนะครับ

ก็เขียนมายาวแล้ว วันต่อไปจะนำมาพูดคุยกันอีกนะครับ วันนี้ก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มมาให้ชมเปรียบเทียบกัน 2 องค์ และหนึ่งในนั้นคือพระสมเด็จองค์ลุงพุฒครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69714680355456__1_640x480_.jpg)
เหรียญหล่อพระพุทธ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านแถบบางขุนเทียนวัตถุมงคลของท่านนั้นเป็นที่หวงแหนกันมาก อย่างเหรียญหล่อรุ่นแรกที่เรียกกันว่าเหรียญจอบนั้นสนนราคาสูงมาก และเป็นเหรียญหล่อเหรียญหนึ่งที่จัดอยู่ในชุดเบญจภาคี เหรียญหล่อพระเกจิอาจารย์ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ

หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในสมัยก่อนผู้คนต่างก็กล่าวกันว่าลูกศิษย์หลวงพ่อไปล่นั้นหนังดีมาก อยู่ยงคงกระพันชาตรี ในปี พ.ศ.2478 คณะศิษย์ร่วมกันทำบุญฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ก็ได้ขออนุญาตหลวงพ่อไปล่จัดสร้างเหรียญหล่อรูปท่านเพื่อแจกเป็นที่ระลึก ลักษณะคล้ายรูปจอบ จึงเรียกกันมาจนติดปากว่าเหรียญจอบ และยังมีเหรียญรูปไข่อีกส่วนหนึ่ง เนื้อเหรียญเป็นเนื้อโลหะผสม มีบางเหรียญเป็นเนื้อแบบสำริดก็มี แต่มีน้อยมาก

ในวันที่เทหล่อเหรียญนั้น ปรากฏว่าสายสิญจน์ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัยจี้อยู่จนหมดเวลาทำพิธี สายสิญจน์ก็ไม่ไหม้ไฟ เป็นที่ตื่นเต้นของผู้ที่อยู่ในพิธี ในขณะที่ทำพิธีนั้นหลวงพ่อไปล่นั่งปรกบริกรรมอยู่ในพิธี เป็นที่โจษจันกันมากในเวลานั้น หลังจากที่เทหล่อเหรียญเสร็จแล้วหลวงพ่อได้ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวของท่านอีกครั้งหนึ่ง

เหรียญนี้ผู้ที่ไปร่วมงานต่างก็ได้รับแจกกันไปคนละเหรียญ ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อก็ไปขอเหรียญจากหลวงพ่อจนหมด ใครได้ไปต่างก็นำไปห้อยคอ มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ที่เห็นกันชัดๆ ก็คืออยู่ยงคงกระพัน มีด ดาบ ปืน ต่างก็ทำอะไรคนที่มีเหรียญของหลวงพ่อไปล่ไม่ได้ เป็นที่โด่งดังไปทั่วย่าน ฝั่งธนฯ ในสมัยนั้นคนต่างถิ่นเข้าไปหาอยากได้เหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่ก็ไม่ได้ เนื่องจากคนในพื้นที่ต่างก็หวงแหนกันมาก และเหรียญหล่อรุ่นนี้ก็หมดไปจากที่วัดหมดแล้ว ที่หลวงพ่อไปล่ก็ไม่มีเหลือ

ต่อมาทางวัดกำแพงมีงานล้างป่าช้าของวัด ก็มีผู้คนและชาวบ้านต่างก็มา ช่วยเหลือกันมาก หลวงพ่อไปล่ก็ได้ให้สร้างเหรียญหล่อขึ้นมาเพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มา ช่วยงานอีกรุ่นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ด้านหลังเป็นยันต์ เหรียญหล่อรุ่นนี้หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวเช่นกัน หลวงพ่อก็แจกให้แก่ทุกคนที่มาช่วยงาน และชาวบ้านที่ไปขอก็ได้กันทุกคน เหรียญรุ่นนี้ก็มีไม่มากนักและหมดไปอย่างรวดเร็ว ใครที่ไม่ได้เหรียญหล่อรุ่นแรกก็มาขอเหรียญรุ่นนี้กันมากจนหมดในเวลารวดเร็ว เหรียญหล่อรูปพระพุทธนี้ก็มีประสบการณ์มากเช่นกัน พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรกเลยทีเดียวครับ

สมัยก่อนคนก็จะหาแต่เหรียญจอบรุ่นแรก ต่อมาเมื่อคนต่างถิ่นเริ่มรู้ว่ายังมีเหรียญรูปพระพุทธอีกรุ่นหนึ่งต่างก็เริ่มเสาะหากัน แต่ปัจจุบันก็หายากแล้วครับ เหรียญรุ่นนี้เป็นเนื้อโลหะผสม มีบางเหรียญหลอมโลหะไม่เข้ากันดี จะมีสีเงินๆ ปนอยู่บ้าง แต่ก็พบน้อยมาก ปัจจุบันเหรียญหล่อรูปพระพุทธของหลวงพ่อไปล่นั้นสวยๆ
สนนราคาก็อยู่ที่หลักแสนครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อพระพุทธของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง มาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97592406885491_bud13p1_2_1_640x480_.jpg)
เหรียญพระครูวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถฯ พระภิกษุรูปหนึ่งที่ชาวเมืองราชบุรีเคารพนับถือมาก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรก็มักจะมาขอให้ช่วยปัดเป่าเสมอ ท่านสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำจนชาวบ้านต่างก็ขนานนามท่านว่า “พ่อเฒ่าอินทร์เทวดา”

พระครูวินัยธรรม (อินทร์ ปัญญาทีโป) วัดสัตตนารถปริวัตร เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 บิดาชื่อ หลวงวิสาหภัคดี (เพชร) มารดาชื่อทิม เมื่อครั้งยังเด็กบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดพเนินพลู พออายุได้ 14 ปีก็ได้บรรพชา เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในคณะธรรมยุต จึงได้บรรพชาใหม่อีกครั้ง ในสำนักวัดตาล (วัดอมรินทร์) พอถึงปี พ.ศ.2421 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดตาล อำเภอเมืองราชบุรี โดยมีพระสมุทรมุนี เมื่อครั้งที่เป็นพระครูขันตยาคม (หน่าย) เจ้าอาวาสวัดตาล เป็นพระอุปัชฌาย์พระพุทธวิริยากร (จิตร) เมื่อครั้งยังเป็นพระสมุห์จิตรเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อถึงปี พ.ศ.2527 พระครูขันตยาคม (หน่าย) ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร แทนพระครูศีลคุณธราจารย์ (นิล) หลวงพ่ออินทร์จึงได้ย้ายตามพระครูขันตยาคมมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถฯ ด้วยในปี พ.ศ.2530 พระครูขันตยาคมก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสมุทรมุนี ตำแหน่งเจ้าคณะเมืองราชบุรี หลวงพ่ออินทร์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดอินทร์ ฐานานุกรมของพระสมุทรมุนี (หน่าย) ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในทินนาม “พระครูวินัยธรรม” ในปี พ.ศ.2437 พระสมุทรมุนีมรณภาพ พระพุทธ วริยากรได้มาเป็นเจ้าอาวาสแทน

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) ก็ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถฯ ในฐานะพระลูกวัดต่อไป หลวงพ่ออินทร์เป็นพระภิกษุที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านจะสนทนาธรรมกับอุบาสกอุบาสิกาที่มาเยี่ยมเยือนเสมอ และทำกิจวัตรกวาดลานวัดเป็นประจำ ในเทศกาลเข้าพรรษาจะคอยหาไม้กวาดแจกแก่พระภิกษุ สามเณร เพื่อกวาดลานวัดให้สะอาดอยู่เสมอ

นอกจากนี้ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนหรือมาให้ช่วยทำนายทายทักต่างๆ หรือมีปัญหาในเรื่องต่างๆ มาปรึกษา ท่านก็จะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอด ในเรื่องของวิทยาคมหลวงพ่ออินทร์ก็เข้มขลังมาก เป็นที่ประจักษ์ของชาวเมืองราชบุรี

ปี พ.ศ.2473 บรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเพื่อไว้แจกในงานทำบุญฉลองอายุ โดยเป็นเหรียญรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ด้านหลังมีอักขระขอม พร้อมระบุปี พ.ศ.2473 เหรียญชุดนี้ สังเกตที่ตัว พ.ศ.จะเป็นแถวตรง ซึ่งเป็นบล็อกนิยม มีจำนวนน้อย แจกในวันงาน ต่อมาในปีเดียวกันคณะศิษย์ได้จัดสร้าง เพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ตัวหนังสือ พ.ศ.จะเป็นตัวโค้ง

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 62

วันนี้ผมได้นำเหรียญพระครูวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรก พ.ศ. ตรง (นิยม) มาให้ชมครับ เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญที่หวงแหน ของชาวราชบุรีครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19973766886525_bud13p1_3_1_640x480_.jpg)
เซียนพระ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน คำว่าเซียนเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาจีน หมายถึงผู้สำเร็จ ผู้วิเศษ และใช้โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เก่งหรือมีฝีมือ ในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษจนเป็นที่เลื่องลือ และยอมรับในวงการนั้นๆ เช่น เซียนพระ เซียนหมากรุกเล่นกับใครก็ชนะขาดทุกกระดาน เซียนมวยรู้ความเคลื่อนไหวทางวงการการมวยทุกเรื่องเป็นต้น

เซียนพระในปัจจุบันมีการใช้คำนี้กันอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น คนที่ชอบดูหรือสะสมพระเครื่อง คนที่มีอาชีพค้าขายพระเครื่องโดยไม่ได้แยกว่าคนคนนั้น มีความรู้ความสามารถจนเป็นที่ยอมรับในวงการนั้นหรือไม่เช่น คนที่ขายพระปลอมใครที่ไหนก็ไม่รู้ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือความรู้เรื่องพระ ก็เหมาเรียกกันว่าเป็นเซียนพระกันไปหมดบางคนชั่วชีวิตยังไม่เคยเห็นพระสมเด็จฯ แท้ๆ เลยก็เหมาว่าเป็นเซียนพระสมเด็จฯ แถมบางคนก็อวดโม้อ้างว่ารู้ เล่าประวัติต่างๆ นานา บ้างก็เขียนเป็นตำราเลยก็มี หาเรื่องราวต่างๆ นานามายืนยัน บางคนก็อ้างว่านั่งทางในจับพุทธคุณได้ รู้ไปหมดนู่นนี่นั่นวนไปวนมาก็หลอกขายความเชื่อให้ซื้อพระสมเด็จฯ ปลอมจากตนหรือพวกของตนไป ล้วนเพื่อผลประโยชน์ทั้งสิ้น เมื่อมีผู้จับได้ไล่ทันก็โมโหโกรธา ว่าร้ายผู้ที่รู้ทัน

เซียนพระจริงๆ นั้นเขามีความรู้ความชำนาญ และค้นคว้าศึกษาทั้งจากตำราบันทึกเก่าแก่ต่าง อีกทั้งฝึกฝนการพิจารณาพิสูจน์ว่าอย่างไหนใช่อย่างไหนไม่ใช่จนเชี่ยวชาญ สามารถหาเหตุผลรองรับได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่แบบพิมพ์ ว่ามีอยู่กี่พิมพ์ เนื้อหาวัสดุที่นำมาใช้สร้างพระ อายุการสร้าง กรรมวิธีการสร้างจึงได้เหตุผลถึงร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ จนตกผลึก แล้วจึงนำมาสรุปเป็นหลักเหตุผลที่จะนำมาพิสูจน์พระนั้นๆ ว่าใช่หรือไม่

การประเมินผลโดยใช้ความรู้ความชำนาญจากประสบการณ์และแว่นขยาย เป็นตัวช่วยบางคนก็ประเมินผลได้เร็วหรือช้าต่างกันก็อยู่ที่ประสบการณ์และความรู้ที่มีการประเมินผลนั้นอาจจะมีผิดพลาดได้บ้างก็อยู่ที่ประสบการณ์และความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาของผู้นั้น

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษามามากนักก็อาจจะสงสัยว่าอะไรกันดูประเดี๋ยวเดียวก็บอกได้แล้วหรือ? ความจริงนั้นเขาได้ศึกษามามากมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์มาก ก็สามารถประเมิน ผลได้รวดเร็ว ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คล้ายๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีหน่วยความจำมาก มีตัวประเมินผลที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะประมวลผลออกมาได้เร็ว ส่วนเครื่อง คอมพ์ที่มีประสิทธิภาพต่ำก็ย่อมจะช้าหรือไม่สามารถที่จะประเมินผลออกมาได้

สำหรับพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้นั้น ผู้ที่ได้รับการยอมรับในสังคมพระเครื่องเขาก็ย่อมมีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์มาก เห็นพระแท้ๆ มามากเช่นกันส่วนจะเป็นเซียนขั้นไหนก็แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เซียนตัวจริงย่อมศึกษาทั้งประวัติและรูปแบบของพระสมเด็จฯ มาอย่างมากมาย แยกแยะตำราที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องออกจากกัน ตำราหรือหนังสือต่างๆ นั้น ก็มีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ต่างก็เขียนกันอย่างมากมาย ตามความเข้าใจของผู้ที่เขียนเอง หรือเขียนเพื่อผลประโยชน์แอบแฝง ก็ต้องศึกษา และหา เหตุผลมาประกอบในการศึกษา

อย่างเรื่องการสร้างพระสมเด็จฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น บางหนังสือเขียนกันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้เป็นแสนๆ ล้านๆ องค์ ก็ต้องใช้วิจารณญาณคิดดูว่าจะจริงหรือไม่ หาเหตุผลมาเชื่อหรือไม่เชื่อ ลองศึกษาดูหลายๆ ทิศทางหาเหตุผลมาประกอบ แล้วที่เขาเล่นหาซื้อ-ขายกันมีมูลค่าเป็นล้านๆ บาทนั้น เขาศึกษาหรือเล่นหากันแบบไหนก็ต้องลองศึกษาดูว่าแบบไหนน่าเชื่อถือกว่ากันแตกต่างกันอย่างไร และสำคัญที่สุดตัวเราเองเชื่อแบบไหน ก็เลือกด้วยตัวเอง เลือกแบบที่ไม่มีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานของสังคมก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตนเลือก เลือกในแบบที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับก็จะมีมูลค่ารองรับในสังคมตลอดไปครับ

ทุกอย่างในโลกมีทั้งขาวและดำ อยู่ที่ตัวเราเองจะเลือกเดินไปในทางไหน ถ้าเลือกผิดพลาดไปแล้วก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เราได้เลือกไปแล้ว แต่ก็สามารถหันกลับมาเลือกในสิ่งที่ถูกต้องได้เสมออยู่ที่ใจของเราว่าจะเลือกดำหรือขาวครับ

ในวันนี้ ผมได้นำรูปพระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม พิมพ์ อกครุฑองค์สวยๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม และมี มูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50508682553966_bud12p1_5_1_640x480_.jpg)
พระครูไชยคีรีสวัสดิ์ (เข็ม) วัดม่วง จังหวัดราชบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดราชบุรี คือ เหรียญของพระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (พระอุปัชฌาย์เข็ม) วัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง เรามาศึกษาเรื่องราวประวัติและเหรียญของท่านกันนะครับ

วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานจารึกเป็นอักษรมอญระบุไว้ ชุมชนชาวบ้านม่วงในสมัยก่อนนั้น คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวมอญ และมีคนไทย คนจีนคนลาวอาศัยอยู่ปะปนกัน ปัจจุบันยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมชาวมอญ และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านม่วง เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวมอญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคัมภีร์จารึกภาษามอญ โบราณวัตถุ เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจครับ

พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ หรือ พระอุปัชฌาย์เข็ม ประวัติของท่านเท่าที่สืบค้นได้ว่าท่านเป็นคนชาวบ้านม่วง เชื้อสายมอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี และเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดม่วงท่านเป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนากรรมฐาน และท่านได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดม่วง ซึ่งชาวบ้านทั้งมอญ ลาว ไทย จีนต่างก็ เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก

ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ก็มีคนมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งคนต่างจังหวัดก็มาขอบวชกับท่านมากมาย รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงก็ยังมาขอบวชกับท่านด้วย ถึงขนาดต้องอุปสมบทหมู่ เนื่องจากในแต่ละปีจะมีคนมาขอบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก นอกจากมาขอบวชแล้วก็ยังมีพระภิกษุที่บวชตามประเพณีจากที่ต่างๆ มาขอสึกกับท่าน ในตอนออกพรรษาอีกมากเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เข็มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นที่พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วงก็เจริญรุ่งเรืองมาก ได้มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญกำแพงวัดและโรงเรียน ทำให้วัดบ้านม่วงเป็นศูนย์กลางการเรียนการศึกษาพระธรรมในสมัยนั้นมีพระอาจารย์แปลบาลีมอญ และจารหนังสือไว้อย่างมากมาย หลวงปู่เข็มท่านเป็นพระสงฆ์ ที่มีเมตตาธรรมสูง ใครจะมานิมนต์ไปไหนก็ไม่เคยขัดศรัทธา เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาที่วัดม่วง และพระราชทานไตรแพรถวายแก่หลวงปู่เข็มด้วย

หลวงปู่เข็มยังมีวิชาแพทย์แผนโบราณช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ตลอดว่ากันว่ายาลูกกลอนของท่านศักดิ์สิทธิ์นักรักษาโรคได้หลายอย่าง เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ทำวัตร สวดมนต์ไม่เคยขาด ภายในวัดจะมีสัตว์ต่างๆ มาอาศัยบารมีของหลวงปู่อยู่มากมาย

ในปี พ.ศ.2464 มีการสร้างพระอุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบันหลวงปู่เข็มได้ออกเหรียญรูปท่านแจกให้เป็นที่ระลึกในการสร้างพระอุโบสถ มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงปัจจุบันก็หาชมได้ยากท้องถิ่นเขาหวงกันมากครับ

พระอุปัชฌาย์เข็มมรณภาพในปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53826290948523_bud05p1_12_1_640x480_.jpg)
พระกริ่งคลองตะเคียน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งที่เราเห็นนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระที่มีเนื้อโลหะ แต่ก็มีพระกริ่งเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่เป็นพระเนื้อดิน ก็คือพระกริ่งคลองตะเคียน พระกริ่งชนิดนี้เป็นพระที่พบกันมานานมากแล้ว ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2400 กว่าๆ และพบที่ตำบลคลองตะเคียน สถานที่พบไม่ปรากฏว่าเป็นโบราณสถานแล้ว เนื่องจากสถานที่พบนั้นเป็นโคกดินบริเวณท้องนา พบเพียงเศษอิฐสมัยอยุธยาเล็กน้อย พระที่พบก็กระจัดกระจายไป ทั่วๆ บริเวณแถบนั้น ในแถบตำบลคลองตะเคียนก็มีวัดเก่าแก่อยู่ 3 วัด แต่ก็ไม่ใช่กรุต้นที่พบพระกริ่งคลองตะเคียน พระกริ่งคลองตะเคียนจริงที่พบนั้น พบที่โคกดินท้องนาในแถบนั้น

พระที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ซึ่งถือว่าเป็นพิมพ์นิยมที่สุด พิมพ์สองหน้า พิมพ์หน้าเล็กและพิมพ์ฐานสองชั้น นอกจากนี้ ยังพบพระปิดตา ที่เรียกกันว่า พระปิดตาพิชัย พบทั้งพิมพ์ปิดตาหน้าเดียวพิมพ์ปิดตาสองหน้า พิมพ์ปิดตาสามหน้า และพิมพ์ปิดตาสี่หน้า เนื้อของพระจะเป็นเนื้อดินเผา สีส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเป็นมัน ที่พบเป็นสีแดงเลือดหมูก็พบบ้างแต่น้อย นอกจากนี้ก็ยังพบที่เป็นเนื้อสีเหลืองอมเขียวก็มี ที่สำคัญนั้นพระทั้งหมดจะมีรอยจารอักขระขอมไว้ทุกองค์ เป็นการจารเปียกตอนที่ขึ้นรูปเป็นองค์พระ และเนื้อยังไม่แห้งดีก่อนที่จะนำพระไปเผา อักขระนั้นจะมีหลากหลายแบบไม่ตายตัว

ในส่วนพระกริ่งนั้น จะมีการอุดกริ่งที่ก้นพระ สันนิษฐานว่าในการกดพิมพ์แล้วคงจะใช้ไม้เสียบที่ก้น เพื่อเอาพระออกจากพิมพ์ จากนี้ก็บรรจุเม็ดกริ่งที่ทำด้วยเนื้อดินเผาเช่นกัน เข้าไว้แล้วปิดรูบรรจุกริ่ง และตรงบริเวณนี้มักจะพบการจารเป็นตัวอุตรงรอยอุดกริ่ง

ส่วนพระปิดตานั้น จะพบมีจารอักขระเช่นเดียวกันแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ในสมัยก่อนก็มีการถกเถียงกันว่า พระปิดตาพิชัยกับพระกริ่งคลองตะเคียนเป็นพระคนละกรุกัน แต่ถ้าเราพิจารณาเนื้อหาของพระรอยจารแล้ว เราก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน และเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกัน ในสมัยก่อนนั้นก็มีการพบพระกริ่งคลองตะเคียนที่ด้านหลังเป็นพระปิดตาพิชัยด้วย แต่พบน้อยมาก จำได้ว่าของคุณเสถียร เถียรสุด ผู้อาวุโสในสังคมพระ ท่านเคยเก็บไว้อยู่องค์หนึ่ง และก็ยังพบอีกในสังคมพระเครื่องสองสามองค์เท่านั้น เรื่องนี้ก็เป็นที่ยุติได้ว่าเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกันครับ

พระเเบบพระกริ่งคลองตะเคียนที่สร้างในยุคหลังๆ ก็ยังมีอีกหลายวัดหลายครั้ง แต่พิมพ์ทรงและเนื้อหาก็ต่างกัน ปัจจุบันก็ยังมีการพยายามยัดเยียดให้เป็นพระยุคเดียวกันแต่ต่างกรุอีกก็มี โดยส่วนตัว ผมเองนั้นเคยตามท่าน ผศ.สัมพันธุ์ เลขพันธุ์ ซึ่งท่านเป็นคนอยุธยาไปสำรวจกรุต่างๆ ในอยุธยา และบริเวณที่พบพระกริ่งคลองตะเคียน และสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ท้องถิ่นด้วย

ดังนั้นผมเองจึงเล่นหาสะสมตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยโบราณท่านเล่นหากันมา โดยถือคติเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด จึงเล่นหาตามพิมพ์และเนื้อมาตรฐานของสมัยโบราณครับ

ในเรื่องประสบการณ์นั้น เยี่ยมยอดทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดและป้องกันเขี้ยวงา ขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติท่านยังกล่าวชม และผมเองก็เคยเห็นพุทธคุณมากับตาครับ ในวันนี้ก็นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก มาให้ชมกันด้วยครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 กันยายน 2563 18:13:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94644352172811_bud14p1_2_1_640x480_.jpg)
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ อกกระบอก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อีกแม่พิมพ์หนึ่งมาให้ชมครับ พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก อาจจะมีจำนวนน้อยหรือพระอาจจะยังไม่ได้ถ่ายรูปมากนัก จึงไม่ค่อยได้มีเผยแพร่กันสักเท่าไรนักครับ

ผมเคยบอกว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีอยู่หลายแม่พิมพ์ ไม่ใช่มีแม่พิมพ์เดียว จึงได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ มาให้ชมหลายแม่พิมพ์ แต่ที่เขาจัดให้อยู่ในหมวดของพระพิมพ์ใหญ่ก็เนื่องจากมีพุทธลักษณะหลายๆ อย่างที่เหมือนๆ กัน เพียงแต่มีรายละเอียดของพิมพ์แตกต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเท่าที่ในสังคมเขาศึกษากันมาก็มีเหตุผลพิสูจน์แล้วว่าทำไมจึงมีจึงเป็นเช่นนี้ ในส่วนของเนื้อหาหลักและธรรมชาติของการผลิตก็ยังคงเหมือนกันทั้งสิ้นครับ

เราลองมาดูที่พระทั้ง 2 องค์ดูครับ ก็ใช้สูตรเดียวกันกับพระองค์อื่นๆ คือแบ่งพระออกเป็น 2 ส่วน อย่างที่เคยแนะนำไปแล้วนะครับ เราก็จะเห็นว่าพระทั้ง 2 องค์ที่ออกมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกันก็จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กัน ลองเปรียบเทียบดูนะครับ ทั้งรายละเอียดขององค์พระ เส้นซุ้ม เส้นขอบ แม่พิมพ์

ข้อนี้สำคัญนะครับ เนื่องจากเส้นขอบแม่พิมพ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญของพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหมเลยทีเดียวครับ สำคัญอย่างไร? ก็เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง ที่พระปลอมในสมัยก่อนเขาไม่รู้ก็เลยทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ แต่พระปลอมที่ออกมาประมาณสัก 20 ปีมานี้เขาเริ่มทำกันแล้วครับ แต่ทำอย่างไรก็ไม่เหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ เนื่องจากความจริงในทุกๆ ส่วนของร่องรอยการผลิตนั้นมีความลับซ่อนอยู่แทบทุกจุดครับ

เอามาคุยถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อกกระบอกกันต่อครับ สังเกตดูนะครับ ที่หน้าอกของพระทั้ง 2 องค์จะเห็นว่าช่วงลำตัวจากใต้รักแร้ลงมาจนถึงมือที่ประสานกันจะลงมาเกือบตรงๆ ไม่ค่อยจะคอดเว้าอะไรเท่าไรลักษณะคล้ายทรงกระบอก จึงเรียกกันแบบนั้น สังเกตดูพระทั้ง 2 องค์ จะมีลักษณะเหมือนกัน นอกจากที่พระเกศหรือเส้นซุ้มด้านบนจะดูเหมือนเขยื้อนติดแม่พิมพ์ไม่ค่อยดี องค์ที่มีผิวค่อนข้างขาวจะติดแม่พิมพ์ได้ดีกว่าอีกองค์หนึ่งจึงเห็นว่าจุดเขยื้อนน้อยกว่า

อีกองค์เราจะเห็นว่ามีส่วนของการเขยื้อนเห็นได้ชัดโดยเฉพาะเส้นซุ้มด้านบน ซึ่งพระแม่พิมพ์นี้จะเป็นเช่นนี้ทุกองค์ แต่การเขยื้อนมากน้อยนั้นแล้วแต่องค์ครับ ก็เป็นตำหนิเฉพาะองค์ การเขยื้อนนี้อาจจะเป็นได้ว่าเนื่องมาจากตัวแม่พิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์นี้อาจจะมีตำหนิทุกองค์จึงสร้างออกมาน้อยกว่าแม่พิมพ์อื่น สิ่งเหล่านี้เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง

มาดูกันที่ผิวพระถ้าดูจากรูป จะเห็นว่าผิวของพระทั้ง 2 องค์ไม่เหมือนกันสีก็ไม่เหมือนกันนั้นก็อยู่ที่ธรรมชาติขององค์พระ องค์ที่มีผิวขาวนวล เป็นผิวพระแบบธรรมชาติดั้งเดิม ส่วนอีกองค์นั้นเป็นแบบธรรมชาติปรุงแต่ง พระองค์นี้เราจะเห็นสีเข้มๆ และมีจุดสีเข้มๆ ทั่วบริเวณองค์พระนั้นเนื่องมาจากพระองค์นี้มีการลงรักมาแต่ดั้งเดิม สันนิษฐานว่าน่าจะลงรักตั้งแต่ตอนที่สมัยการสร้างพระเลย ทำไม? ก็ให้สังเกตดูครับว่าพระองค์นี้มีการแตกลายงาที่พื้นผิว การแตกลายงานี้เกิดขึ้นจากการที่ลงรักมาแต่เดิมในสมัยที่สร้างพระใหม่ๆ พอผ่านกาลเวลาการหดตัวของผิวพระกับวัสดุที่เคลือบผิวไว้มีการหดตัวต่างกัน จึงมีความตึงผิวที่ต่างกันทำให้เกิดร่องรอยตามที่เห็นเมื่อเราลอกรักออก

ในตรงนี้ถ้าศึกษาลงไปลึกๆ ก็จะมีเหตุผลอธิบายได้ และพวกปลอมพระยังไม่รู้ว่าเป็นเช่นไรก็ทำปลอมพระแตกลายงาได้ไม่เหมือนครับ พระที่ลงรักมาก่อน แล้วลอกรักออกมาให้เห็นองค์พระชัดๆ ผิวของพระก็จะเป็นอย่างที่เห็นจะสวยซึ้งไปอีกแบบหนึ่ง เป็นผิวที่แตกลายงา มีเสน่ห์ไปอีกแบบครับ

ด้านหลังองค์พระของทั้ง 2 องค์ก็ทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ให้เห็นต้องลองสังเกตดูดีๆ ครับ อาจจะเห็นได้ครับ ผมขออนุญาตยังไม่บอกจุดนี้นะครับ เพราะพวกทำพระปลอมก็อยากจะรู้เหมือนกัน ลองสังเกตดูครับว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จวัดบางขุนพรหม ด้านหลังก็ทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ต่างกันครับ และทั้ง 2 วัดก็มีเอกลักษณ์ในร่องรอยการผลิตของเขาไว้ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อกกระบอกมาให้ชมเปรียบเทียบกัน 2 องค์ และที่สำคัญพระทั้ง 2 องค์นี้แท้ตามมาตรฐานสังคมนิยมและมีมูลค่าราคารองรับสูงครับ  
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38533082852760_bud05p1_1_640x480_.jpg)
พระหูยานเนื้อชินสนิมแดง

พระหูยานเนื้อชินสนิมแดง - สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานเป็นพระเนื้อชินยอดนิยม และมีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด หลายยุค แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน ทุกกรุ แต่ก็มีอยู่กรุเดียวที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง คือกรุสมอพลือ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพระที่หายากมีจำนวนน้อยมาก

เมืองเพชร มีการพบหลักฐานการเป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์แถบภูเขา ทางด้านตะวันตก เขตอำเภอท่ายาง ต่อมาในสมัยทวารวดีก็ยังพบหลักฐานการเป็น ที่ตั้งชุมชนในหลายพื้นที่ เช่นที่หนองปรง เขตอำเภอเขาย้อย กลุ่มบ้านหนองพระ กลุ่มบ้านลาด กลุ่มเขากระจิว เป็นต้น มีการพบธรรมจักรหินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชร แต่จากการสำรวจทางอากาศกลับไม่พบแนวคันคูเมืองแบบทวารวดีเลย ซึ่งคันคูเมืองแบบทวารวดีมักนิยมทำเป็นรูปแบบวงรีๆ คล้ายรูปเปลือกหอยกาบ สันนิษฐานว่าคงเป็นแค่แหล่งชุมชนเท่านั้น

ในสมัยที่ขอม (เขมร โบราณ) เรืองอำนาจ ชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำเพชรก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของขอมเข้ามา และมีการสร้างเมือง โดยการสำรวจทางอากาศพบผังแนวคันคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชร ซึ่งเริ่มนิยมสร้างในสมัยขอม อิทธิพลวัฒนธรรมขอมยังคงมีพบโบราณสถานที่วัดกำแพงแลง ซึ่งเป็นพระปรางค์ศิลาแลง 5 องค์ สถาปัตยกรรมและรูปเคารพที่พบจากบริเวณนี้เป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 สันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ ตามศิลาจารึกที่พบในนครธม และกล่าวถึงว่าคือ เมืองศรีชัยวัชรบุรี

หลักศิลาจารึกสมัยกรุงสุโขทัยก็ยังกล่าวถึงเมืองเพชรบุรีด้วย และมีการขุดพบเครื่องถ้วยเคลือบจีน สมัยราชวงศ์สุ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 และเมืองเพชรก็น่าจะเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งในสมัยกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองท่าต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากหลักฐานต่างๆ ที่พบนั้น ก็ยังมีการขุดพบพระเครื่อง ที่เป็นศิลปะขอมแบบบายน อีกหลายแห่ง เช่น ที่กรุสมอพลือ กรุเสมา สามชั้นและกรุวัดค้างคาว เป็นต้น พระเครื่องที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ทั้งหมดและพระของทั้งสามกรุก็เป็นพระ ที่นิยมกันมาก แต่ก็ค่อนข้างหายาก เนื่องจากพระที่พบสมบูรณ์ๆ มีจำนวนน้อยมาก ซึ่งพระส่วนใหญ่จะชำรุดเสียตั้งแต่ ในกรุ พระเครื่องของกรุสมอพลือ พระที่พบเป็นพระเครื่องแบบพระหูยาน มีส่วนคล้ายกับพระหูยานลพบุรีมาก แต่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และก็เป็นเพียงกรุเดียวเท่านั้น ที่พบพระหูยานเป็นเนื้อชินสนิมแดง รายละเอียดของพิมพ์พระหูยานของกรุ สมอพลือ แตกต่างกันกับพระหูยานลพบุรี ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือพระเกศของกรุสมอพลือจะเป็นเส้นวนรอบสามชั้นแบบผมมวย เส้นสังฆาฏิก็จะเล็กสั้น บางองค์ที่ชัดๆ ก็จะพอสังเกตเห็นว่ายาวพาดมาแค่เหนือพระถันเท่านั้น ไม่ยาวลงมาถึงท้องแบบพระหูยานลพบุรี ขนาดของพระหูยานกรุสมอพลือ จะเล็กกว่าของลพบุรี

พระหูยานกรุสมอพลือเป็นพระที่หายากมาก ว่ากันว่าพระที่สมบูรณ์ขึ้นจากกรุจำนวนหลักสิบเท่านั้นครับ พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดแบบเดียว กับของลพบุรี

วันนี้ผมนำรูปพระหูยานกรุสมอพลือจากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35663562681939_bud08p1_1_1_640x480_.jpg)
พระสมเด็จไกเซอร์ มีจริงหรือไม่?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีผู้สอบถามกันมากพอสมควรถึงเรื่องพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้น่ะมีพิมพ์ไกเซอร์หรือไม่อย่างไร และปัจจุบันมีการพูดถึงกันมาในสังคมออนไลน์ และมีความเห็นต่างๆ กันไป

ถ้าจะให้ผมตอบตามความจริงพระสมเด็จที่ขนานนามว่าพิมพ์ไกเซอร์นั้นมีจริงครับ ปัจจุบันเรียกหากันว่าพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ที่มีการขนานนามว่าไกเซอร์นั้นก็เนื่องจากมีเรื่องเล่ากันมาว่า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงนำติดตัวไปในช่วงที่เสด็จประพาสยุโรป และพระเจ้าไกเซอร์ทรงเห็นแสงเป็นประกายออกมาจากกระเป๋าเสื้อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถามว่าเป็นสิ่งใด และเป็นที่มาของชื่อพระสมเด็จพิมพ์นี้ในสมัยหนึ่ง

ครับก็เป็นเรื่องย่อๆ ที่เล่าสู่กันมา ทีนี้ก็มีปัญหาอีกว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์ใด ในสังคมพระเครื่องก็ว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร และมีมาตรฐานของพระพิมพ์นี้ในสังคมพระเครื่องว่ามีอยู่ 3 พิมพ์ทรง

ผมมีเรื่องที่จะเล่าสู่กันฟังอยู่เรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับตัวผมคือในสมัยที่ผมเรียนหนังสือนั้นผมได้มีโอกาสได้เรียนกับท่านที่มีคำนำหน้านามอยู่หลายท่าน เนื่องจากท่านเป็นราชสกุล ต่อมาเมื่อเรียนจบต่างคนต่างก็แยกย้ายกันแต่ก็มีโอกาสที่จะพบปะกันเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ

มีครั้งหนึ่งได้ไปทานข้าวกันหลายคนท่านหม่อมก็ไปด้วยและท่านเห็นว่าผมสนใจในพระเครื่อง ท่านจึงถามผมว่าเคยเห็นพระสมเด็จไกเซอร์ไหม และท่านก็บอกว่าไว้จะนำมาให้ดูในการนัดกันครั้งต่อไป ผมก็รับคำท่าน และคิดอยู่ในใจว่าจะเป็นพระแท้ตามมาตรฐานสังคมหรือไม่

เนื่องจากเท่าที่มีคนนำพระสมเด็จไกเซอร์มาให้ดูก็มักจะเป็นพระที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมแทบทั้งสิ้น และผมต้องคิดหาคำตอบกับท่านอย่างดีด้วยเพื่อไม่ให้เสียมารยาทถ้าหากว่าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม

ครั้งต่อมาเมื่อได้มีโอกาสได้พบกัน ท่านก็ไม่ลืมที่จะนำพระสมเด็จไกเซอร์มาให้ผมชม พอท่านหยิบพระมาให้ดูก็โล่งอกครับ ผมเห็นก็สบายใจเพราะเป็นพระสมเด็จอกครุฑพิมพ์ใหญ่แท้ดูง่าย ผมก็บอกท่านตามความจริงว่าแท้ดูง่าย ท่านก็เล่าให้ฟังว่าเป็นพระของตระกูลท่านและได้ตกทอดมาถึงท่าน ปู่ท่านบอกว่าเป็นพระสมเด็จไกเซอร์ตามที่คนโบราณเรียกหาพระพิมพ์นี้กัน

ครับก็เป็นการเรียกชื่อพระพิมพ์นี้กันอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมักเรียกกันว่าพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ พระพิมพ์นี้ส่วนใหญ่จะพบบรรจุอยู่ในกรุวัดบางขุนพรหม แต่ที่ไม่ได้บรรจุกรุนั้นมีไหม ผมเองเชื่อว่ามีแน่ครับ และพระส่วนหนึ่งอาจจะมีการแจกกันก่อนที่จะบรรจุกรุแล้ว และก็น่าจะมีอยู่หลายพิมพ์ที่ไม่ได้บรรจุกรุ แต่ก็คงจะมีอยู่ไม่มากนักครับ และคงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยนั้นที่ได้รับแจกก่อนที่จะบรรจุกรุ

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเท่าที่พบในกรุวัดบางขุนพรหมนั้นสามารถแยกได้เป็น 3 พิมพ์ มีพิมพ์อกครุฑใหญ่ พิมพ์อกครุฑ กลาง และพิมพ์อกครุฑเล็ก ในสมัยก่อนยังมีชื่อที่เรียกกันว่าพิมพ์อกครุฑเศียรบาตรเนื่องจากหน้าอกของพระนูนเด่นคล้ายๆ กับอกของครุฑ และเศียรของพระก็จะใหญ่กว่าพระสมเด็จทุกพิมพ์ฐาน ก็จะหนาทึบตันทั้ง 3 ชั้น ศิลปะก็แตกต่างจากพระสมเด็จพิมพ์ ทรงอื่นๆชัดเจน พระพิมพ์นี้ที่แตกต่างเห็นได้ชัดก็คือจะไม่มีฐานของซุ้มเรือนแก้วครับ

เรื่องของพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ก็น่าจะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนี่แหละครับ อย่างพระของท่านหม่อมก็ได้รับตกทอดมาจากตระกูลของท่าน และเรียกหาต่อกันมาว่าพระสมเด็จไกเซอร์ตามที่ผมเล่ามา นอกจากนี้ผมก็ยังได้เห็นพระของตระกูลเก่าแก่ที่เรียกหากันมาแบบนี้ และเป็นพระอกครุฑแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมอีกหลายองค์ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์อกครุฑเศียรบาตรแท้ๆ และเป็นพระพิมพ์เดียวกับที่ท่านหม่อมเพื่อนของผมนำมาให้ดู พระแบบนี้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับหลักล้านบาทครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91784789868526_bud11080963p1A_1_640x480_.jpg)
จำนวนพระสมเด็จฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคำถามมากมายพอสมควรว่า พระสมเด็จที่เจ้าประคุณเด็จฯ สร้างไว้มีจำนวนเท่าไร มีการบันทึกไว้หรือไม่? ครับเท่าที่ผมเองได้ศึกษามานั้นก็ไม่มีอะไรมายืนยันได้อย่างชัดเจนว่ามีจำนวนการสร้างกี่องค์ เราก็ยังไม่มีหลักฐานที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานชัดเจน แต่เอาเท่าที่พระสมเด็จฯ ที่เชื่อได้ว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ที่เป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับนั้น มีอยู่ 3 วัดคือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัดไชโยฯ ทั้ง 3 วัดนั้นนิยมเล่นหาสะสมเป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับ

พระของทั้ง 3 วัดที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับก็มีมาตรฐานแยกออกว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีกี่พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมมีอยู่กี่พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดไชโยฯ มีอยู่กี่พิมพ์ทรง ที่เชื่อได้ว่าเป็นพระที่สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯเนื่องจากแต่ละวัดก็ยังมีการสร้างกันต่อมาอีกในยุคหลังๆ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาว่า พระที่สร้างและปลุกเสกโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่มีหลักฐานชัดเจนนั้นมีอะไรบ้าง และเป็นที่ยอมรับของสังคมมีมูลค่ารองรับ

ส่วนในเรื่องของจำนวนในแต่ละวัดนั้นก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ในยุคนั้นเลย เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็สร้างแจกไปเรื่อยๆ อย่างพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ส่วนพระสมเด็จที่สร้างบรรจุในกรุพระเจดีย์ของวัดบางขุนพรหม ก็ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่าสร้างจำนวนเท่าไร มีเพียงบันทึกว่าในปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมใน และได้ขออาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระเพื่อบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ประธานที่จะสร้างขึ้นใหม่ เจ้าประคุณสมเด็จฯก็กรุณาอนุญาตและรับเป็นประธานในการสร้างพระ

สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มสร้างพระตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ.2413 องค์พระเจดีย์ก็แล้วเสร็จและได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกอีกว่ามีจำนวนพระทั้งหมดจำนวนเท่าไร แต่ก็น่าเชื่อได้ว่ามีจำนวนมากพอสมควร หลังจากที่ได้มีการลักลอบขุดนำพระออกมา และในช่วงที่เปิดกรุเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ก็พบพระเป็นจำนวนมากที่สมบูรณ์ที่วัดนำมาจำหน่ายให้ทำบุญก็ประมาณถึง 3,000 กว่าองค์แล้ว นอกจากพระที่สมบูรณ์แล้วก็ยังพบพระที่ชำรุดเสียหายและที่พระติดกันเป็นก้อนอีกจำนวนหลายปี๊บ ส่วนพระของวัดไชโยฯ นั้นก็ไม่มีการบันทึกไว้เช่นกันพระที่พบก็มาจากการพังทลายลงมาของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และทางการก็มีการเรียกให้ผู้ที่นำ พระไปตอนที่พระองค์ใหญ่พังทลายลงมานำพระมาคืน และแจกคืนให้ไปเป็นบางส่วน

ครับเรื่องจำนวนของพระทั้ง 3 วัดก็คือไม่มีใครทราบจริงๆ ว่ามีการสร้างพระไว้จำนวนเท่าไร ถ้าถามผม ในความคิดของผมเองนั้นก็ว่าทั้ง 3 วัดรวมกันน่าเชื่อได้ว่ามีจำนวนเป็นหมื่นๆ องค์ แต่เท่าไรแน่นั้นไม่ทราบจริงๆ ครับ แต่ที่ว่ามีเป็นแสนๆ ล้านๆ องค์นั้นผมไม่เชื่อนัก เนื่องจากการสร้างพระในสมัยโบราณนั้นสร้างได้ช้ามาก แม้จะมีคนมาช่วยกันหลายคนก็ยังสร้างไม่ได้จำนวนมหาศาลอย่างนั้น และการสร้างพระในสมัยโบราณก็สร้างแจก หรือสร้างบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา ที่ว่าจำนวน 8,400 องค์นั้นก็เป็นความเชื่อว่าน่าจะสร้างให้เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ ก็เป็นการสันนิษฐานเอาเองในภายหลังทั้งสิ้น

พระสมเด็จทั้ง 3 วัดที่สังคมยอมรับเป็นมาตรฐาน ผมเองก็เคยได้ดูจากผู้ที่ครอบครองไว้หลายองค์ส่วนใหญ่เป็นพระของผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองไทยหลายท่าน และเห็นที่อยู่ในสังคมพระเครื่องทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์อีกหลายร้อยองค์ ถ้าจะให้คาดคะเนพระสมเด็จฯ ที่อยู่ในสังคมพระเครื่องที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับน่ามีถึงหลักพันองค์ แต่พระที่อยู่กับตามบ้านที่ยังไม่เคยนำมาสู่สังคมก็น่าจะมีอีก เนื่องจากในสังคมพระเครื่องเราก็เห็นพระหน้าใหม่ที่นำมาถ่ายรูปบ้าง นำมาตีราคาบ้างก็มีให้เห็นอยู่เสมอ ดังนั้นก็น่าจะมีพระอีกหลายองค์ที่ยังไม่ปรากฏต่อสายตาของสังคมพระเครื่อง แต่จะให้เดาว่ามีพระจำนวนเท่าไรนั้นคงจะยากและตอบได้คำเดียวว่าไม่รู้ครับ

ส่วนพระปลอมเลียนแบบนั้น พระสมเด็จเป็นพระที่มีการปลอมมากที่สุด และมีนมนานแล้วและก็ยังมีการทำปลอมอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้ศรัทธาในตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯมาก จึงมีผู้ที่อยากได้ครอบครองพระที่ท่านสร้างไว้มาก มีทั้งที่ทำปลอมได้ใกล้เคียง คล้ายๆและปลอมแบบห่างๆ หรือสร้างแบบพิมพ์รูปแบบขึ้นใหม่เลย และสร้างนิยายประกอบการขายก็มากและเรื่องนิยายประกอบก็มีมานานแล้วเช่นกัน น่าจะเป็นร้อยปีหรือไม่ก็ใกล้เคียงมากมายหลายเรื่องหลายคนแต่ง เล่ากันเป็นตุเป็นตะเลยทีเดียว โดยนำเอาประวัติที่เกี่ยวเนื่องมาแต่งต่อเติมและก็ทำพระปลอมให้เข้า กับเรื่องนิยายนั้นๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขายพระ

แต่เท่าที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับนั้น ก็มีอยู่แค่ 3 วัดดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้นครับ และแบบพิมพ์ก็มีเท่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานของสังคม จึงจะมีมูลค่ารองรับ ส่วนตัวแม่พิมพ์นั้นก็มีอยู่หลายแม่พิมพ์อย่างของวัดระฆังฯ ก็ไม่ได้มีแม่พิมพ์แค่ 4 แม่พิมพ์ เนื่องจากยังสามารถแยกแม่พิมพ์ออกได้ในแต่ละหมวดพิมพ์อีก พระของวัดบางขุนพรหมก็เช่นกัน ในแต่ละหมวดเขาก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ ยกตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย ก็มีแม่พิมพ์อยู่ถึง 8 แม่พิมพ์ เป็นต้น ผู้ที่กำลังศึกษาต้องศึกษาดูว่าในแต่ละหมวดของพิมพ์นั้นมีแม่พิมพ์อยู่กี่ตัวอย่างไรบ้าง ที่สำคัญต้องศึกษาจากพระที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดไชโยฯ พิมพ์ 7 ชั้นนิยม ที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84944023688634_bud06p1_2_1_640x480_.jpg)
พระกรุมีแม่พิมพ์อันเดียวหรือ?  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สงสัยไหมครับว่าพระกรุบางชนิดทำไมจึงมีจำนวนพระอยู่มากมาย แต่รายละเอียด ของแม่พิมพ์มีรายละเอียดเหมือนกันหมด แล้วจะสร้างได้อย่างไรมีแม่พิมพ์ชิ้นเดียวหรือ? ครับในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาเล่นหา พระเครื่องใหม่ๆ ก็มีความสงสัยและรู้สึกขัดแย้งอยู่ในใจเช่นกัน จึงเริ่มศึกษาว่าความจริงเป็นอย่างไร

เรื่องของแม่พิมพ์พระกรุพระเก่านั้นมีการค้นพบกันอยู่ในกรุอยู่หลายกรุ ทั้งที่กรมศิลปากรค้นพบและนำมาแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เอง และที่ถูกนำมาขายโดยผู้ที่ลักลอบขุดบ้าง ในสมัยก่อนพอเห็นอยู่บ้างในสมัยสนามวัดมหาธาตุยุคปลายและที่สนามท่าพระจันทร์ยุคต้นๆ

ผมเองก็เคยเห็นอยู่หลายชิ้นแต่ก็ไม่ได้ซื้อหาไว้ เพราะหาแต่องค์พระ ก็มีเพื่อนบางคนซื้อหาไว้ก็มี มาศึกษาตัวแม่พิมพ์ของพระเก่าดูก็เห็นว่ากรรมวิธีการทำนั้นเขาถอดจากตัวต้นแบบมาทั้งสิ้น แม่พิมพ์มีทั้งที่เป็นดินเผา แม่พิมพ์สัมฤทธิ์ กรรมวิธีการสร้างนั้นก็ใช้การถอดจากต้นแบบเช่นเดียวกัน ดังนั้นรายละเอียดของแม่พิมพ์จึงมาจากต้นแบบอันเดียวกัน และมีรายละเอียดที่เหมือนกันในพระที่เป็นแม่พิมพ์เดียวกัน

จากการศึกษาเรื่องแม่พิมพ์ของพระ ก็พบว่าการสร้างพระในสมัยโบราณนั้น เขาสร้างต้นแบบเป็นองค์พระแบบที่เราเห็นกันนี่แหละครับ วัสดุที่นำมาทำตัวต้นแบบนั้นก็แล้วแต่จะนำมาใช้ แล้วนำมาแกะให้เป็นตัวต้นแบบแล้วจึงนำมามาถอดเป็นแม่พิมพ์ ซึ่งก็สามารถถอดแม่พิมพ์ออกมาได้หลายตัวเท่าที่ต้องการถ้าเป็นพระเนื้อดินเผาก็ใช้ดินที่นำมาสร้างพระนั่นแหละมาถอดพิมพ์ หลังจากนั้นก็นำไปเผาไฟเพื่อให้แม่พิมพ์แข็งตัวคงทน แล้วจึงนำไปพิมพ์พระออกมาได้มากมาย

ยกตัวอย่างพระกรุลำพูนที่เรียกกันว่าพระคง ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษามีพระจำนวนมากสนนราคาก็อยู่ที่หลักสิบ สวยๆ หน่อยก็แค่ร้อยกว่าบาท ผมได้เช่าหามาศึกษาดูและได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่เรื่องรายละเอียดของพิมพ์ ก็ลองสังเกตดูก็เห็นว่ามีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กันหมด ก็ศึกษาดูว่าจำนวนพระที่พบในบริเวณวัดพระคงนั้นมีมากน้อยแค่ไหนอย่างไรก็พบว่ามีจำนวนมากมาย

ยิ่งในปี พ.ศ.2518 ทางวัดได้บูรณะโบสถ์ใหม่ มีการขุดฐานรากใหม่ ก็พบพระคงจำนวนหลายพันองค์ และทางวัดเปิดให้เช่าบูชา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะวัดในครั้งนั้น พระที่พบในครั้งนั้นเรียกว่าพระกรุใหม่ เนื่องจากเป็นการพบในครั้งใหม่หลังสุด ผมก็ได้เช่ามาอยู่หลายองค์ นำมาศึกษาเปรียบเทียบกับพระกรุเก่าที่เช่าหามาก่อนหน้านั้น สังเกตดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ก็เหมือนกันทั้งสิ้น เนื้อหาก็เหมือนกัน ผิดกันอยู่ที่ผิวของพระที่เป็นแบบพระที่เพิ่งขึ้นจากกรุใหม่ๆ เท่านั้น

ดังนั้นเรื่องของรายละเอียดแม่พิมพ์จึง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือ ไม่เพราะสิ่งของหรือพระเครื่องก็ตามที่ สร้างขึ้นมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อม มีรายละเอียดของพระนั้นๆ ก็ต้องมี รายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกันหมด จะผิดเพี้ยนกันไม่ได้เด็จขาด หลังจากนั้นจึงพิจารณาเรื่องของเนื้อพระและธรรมชาติความเก่าตามอายุของพระ และธรรมชาติการผลิตต่างๆ ของพระนั้นๆ ก็จะเหมือนๆ กันหมด จึงจะสรุปได้ว่าใช่หรือไม่

ครับสำหรับพระคง ลำพูนที่นำมายกเป็นตัวอย่างนี้ ผมก็ได้นำรูปพระคงมาให้ชมเปรียบเทียบดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ว่าเหมือนกันหรือไม่อย่างไร สังเกตดูใบโพธิ์ต่างๆ ก็จะเหมือนกัน กิ่งโพธิ์ก็ต้องเหมือนกัน เส้นสายต่างๆ ก็จะเหมือนๆ กันไม่ผิดเพี้ยน รายละเอียดขององค์พระ ฐานที่ประทับ รอยเส้นพิมพ์แตกก็จะเหมือนกันทั้งหมด มิติความลึกตื้นในส่วนต่างๆ ก็จะต้องเหมือนกันด้วยเช่นกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48168648572431_bud06p1_3_1_640x480_.jpg)
ทำไมต้องเป็นพระสมเด็จ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พอดีมีผู้สอบถามมาและแนะให้ไปดูเรื่องพระสมเด็จที่มีการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับเรื่องพระสมเด็จ ผมก็ได้เขาไปดูและอ่านก็เห็นการมีการแสดงความคิดเห็นอยู่มากมาย มีทั้งที่แตกต่างกันบ้างและเหมือนกันบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องตัวองค์พระว่าแบบไหนใช่แท้ และแบบไหนที่ไม่ใช่ไม่แท้ ต่างก็ให้เหตุผลของในกลุ่มที่ตนเชื่อ และเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากกว่าพระชนิดอื่นๆ

ครับแล้วทำไมจึงต้องเป็นพระสมเด็จ ถ้าโดยส่วนตัวผมคิดว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระสงฆ์ที่มีคนเคารพศรัทธามาก และมีพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ แทบทุกคนก็อยากที่จะมีพระเครื่องของท่านไว้บูชา อีกอย่างหนึ่งก็คือมูลค่าราคาที่มีใน พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ เราก็เห็นๆ กันอยู่และก็ทราบกันดีว่ามูลค่าเป็นหลักล้านบาทที่เห็นมีผู้ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้พระมาบูชาจริงๆ ในส่วนนี้ก็มีบางท่านก็อยากจะได้ไว้เพราะมูลค่าใน องค์พระด้วย ถ้าพูดความจริงกันนะครับ หรือทั้งศรัทธากันจริงๆ กับมูลค่าด้วย บางท่านก็คิดว่าถ้าวันใดมีเหตุจำเป็นก็อาจจะนำไปให้เช่าเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายหรือแก้ไขปัญหาส่วนตัว แต่เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือจำนวนพระที่มีมูลค่าจริงๆ นั้นหายากมาก และปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเช่นกัน ไม่สามารถจะหากันได้ง่ายๆ แต่ความปรารถนาก็ยังไม่สิ้นสุดก็อยากจะหาไว้ เผื่อได้พบพระสมเด็จที่สนนราคาจับต้องได้บ้าง ก็คล้ายๆ กับคนที่ซื้อลอตเตอรี่ เผื่อถูก รางวัลที่หนึ่ง คงประมาณนั้น

ทีนี้มาพูดถึงเรื่องความเห็นที่แตกต่างของเรื่องแบบไหนใช่ไม่ใช่ และมีมูลค่า ซึ่งความจริงก็มีการถกเถียงกันมานาน แล้ว ก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก ก็มีผู้ที่ เขียนตำราต่างๆ มากมายเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงบ้างก็ว่ากันไป โดยทุกฝ่ายต่างก็อ้างบันทึกและเหตุผลต่างๆ กันไป เท่าที่สังเกตดูตำราต่างๆ นั้นก็มีการเขียนถึงประวัติและวิธีการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ แตกต่างกันไป มีทั้งพิมพ์ต่างๆ ก็เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้างแต่ที่สำคัญที่สุดก็ไม่มีใครที่เขียนตำราเกิดทันแม้แต่คนเดียว ต่างก็นำเอาคำบอกเล่าหรือที่บอกต่อกันมาทั้งสิ้น อ้างตำราต่างๆ ที่บันทึกไว้ ผมคงไม่ไปกล่าวถึงในส่วนนี้นะครับ เพราะสืบค้นความจริงไปแล้วต่างก็เกิดไม่ทันทั้งสิ้น

กลับมาที่ตำราใดที่บ่งบอกว่าพระองค์นั้นแบบนี้เป็นพระที่สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ จริงๆ ก็มีอยู่มากมายและแตกต่างกัน มีทั้งที่กล่าวอ้างว่าเป็นบันทึกเก่าแก่น่า เชื่อถือต่างๆ และวิธีพิสูจน์ว่าใช่ไม่ใช่ มีทั้งที่นำเอาการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์แบบที่เขาคิดว่าถูกต้อง มีทั้งที่ใช้วิธีจับพลังภายใน ก็ว่ากันไปครับ แต่ที่แน่ๆ อยู่แบบหนึ่งก็คือแบบ ที่มีมูลค่าราคา สามารถนำไปขายได้จริง ผมเองเห็นและอยู่ในเหตุการณ์อยู่หลายครั้ง ก็พอจะยืนยันได้ครับว่ามีการซื้อ-ขายกันจริงตามมูลค่านั้น ซึ่งก็เป็นล้านๆ บาทในปัจจุบัน ในคนกลุ่มคนที่เล่นหาและเชื่อตามมาตรฐานการพิสูจน์ในแบบที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็มีมานมนานแล้ว เขาก็มีมาตรฐานของเขาตามที่เขาเชื่อ เพราะเขาซื้อ-ขายกันเป็นล้านบาท ถ้าไม่มีมาตรฐานจริงก็คงไม่มีใครยอมจ่ายเงินจำนวนมากเช่นนั้น แล้วมาตรฐานการพิสูจน์นั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ก็คงต้องไปศึกษาไปขอคำแนะนำจากกลุ่มของเขานะครับ เท่าที่ผมเห็นเขาก็มีการจัดเผยแพร่เรื่องการศึกษา พระสมเด็จอยู่บ่อยๆ แม้แต่ที่ข่าวสดเองก็เคยจัดครับ และผมก็ได้เข้าไปฟังการอบรมด้วยซึ่งก็มีองค์พระจริงๆ มาแสดงให้ดูด้วย

ครับถ้าเราคิดว่าชอบแบบไหนแนวทางการศึกษาแบบไหนก็ไปศึกษาตามแบบนั้นๆก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ และผมไม่เห็นว่าจะต้องมาว่ากล่าวติเตียนกันเลย ชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นจริงไหมครับ และก็เล่นหาศึกษาตามกลุ่มที่เห็นตรงกันก็จบ จะเช่าหาซื้อ-ขายก็อยู่ในกลุ่มของเราจบ แต่ที่ไม่จบเท่าที่เห็นอยู่ก็คือฉันเชื่อแบบนี้ แล้วนำพระไปขายให้กับอีกกลุ่มที่มีความเชื่อต่างกัน แล้วเขาไม่ซื้อก็เลยโกรธโมโหโกรธาด่าว่านินทาทีหลัง ก็เชื่อแบบไหนก็ไปขายที่เชื่อเหมือนๆ กันสิครับแค่นั้นก็จบ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อแม้จะอยู่กลุ่มเดียวกันเชื่อแบบเดียวกันยังไม่ซื้อ ก็ต้องคิดดูเอาเองแล้วละครับว่าเป็นอย่างไร ความเชื่อเราชีวิตเราต้องเลือกเองครับว่าจะไปทางไหน คิดต่างกันได้ครับไม่มีปัญหา แต่อย่าให้คนที่เขาคิดต่างมายอมรับในสิ่งที่เราเห็นต่างครับ สังคมคงจะอยู่ยากนะครับ

เช่าหาพระสมเด็จมาแล้วจะนำไปขายในอีกกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่ซื้อก็จบเท่านั้น ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเราคิดว่าดีถูกต้องก็เก็บไว้เองครับไม่ต้องไปบังคับเขาให้ซื้อของเรานะครับ แบบนี้ไม่ถูกต้องครับ แล้วที่ว่าเอาพระขายแล้วเขาบอกว่าเก๊นั้น เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงเพราะผมเองก็เข้าไปตามศูนย์พระใหญ่ๆ อยู่บ่อยๆ ไม่มีหรอกครับ มีแต่ว่านำไปขายแล้วเขาจะซื้อหรือไม่เท่านั้นครับ ไม่มีการบอกว่าแท้หรือเก๊ครับ นี่เป็นความจริงพิสูจน์ได้ครับลองไปดูสิครับ จะเล่นหาพระแบบไหนก็ไปในกลุ่มที่เล่นหาเหมือนกันครับปัญหาจบครับ

ส่วนกลุ่มที่เขาเล่นหาที่มีมูลค่ารองรับเขาก็เล่นแบบของเขา ก็หาพระแบบที่เขาเล่นหากันไปขายเขาสิครับ ถ้าถูกต้องรับรองว่าได้เงินกลับบ้านแน่นอนครับ อย่าเอาแต่พูดว่าพระคนอื่นเก๊หมด มีแต่พระของพวกมันเท่านั้นที่แท้ หาแบบที่เขาต้องการไปขายเขาสิครับ ลองดูครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 19 กันยายน 2563 11:55:58
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78523065398136_bud07p1_3_1_640x480_.jpg)
พระกริ่งปุญญกาโม ๙๙

“หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม” วัดห้วยด้วน(ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึกวัดสระทะเล และ หลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ

วัดธารทหาร (วัดห้วยด้วน) สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2482 แต่เดิมเรียกว่า วัดห้วยด้วนตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากที่บ้านแห่งนี้มีลำคลองเล็กแยกมาจากห้วยน้ำสาดเหนือ และสิ้นสุดคลองลงที่นี้ จึงเรียกกันว่า ห้วยด้วน ต่อมาเปลี่ยนเป็นบ้านธารทหาร สืบต่อมาเท่าทุกวันนี้

มีนามเดิม พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒ และนางแก้ว นามสกุลเดิม (ฟุ้งสุข)

พออายุครบเกณฑ์ทหารถูกคัดเลือกเข้าไปเป็นทหารกองประจำการ แต่ขณะที่ จะหมดวาระปลดจากทหารเกณฑ์ กลับเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลก ครั้งที่ 2) ขึ้นเสียก่อน จึงทำให้ต้องเป็นทหารต่อไปจนอายุ 24 ปี ปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ.2489

จากนั้นเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม เริ่มเรียนนักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้นหลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียนพุทธาคมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ ฯลฯ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ย้ายมาพัฒนาวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวหนองบัวตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ ศาลาการเปรียญวัดธารทหาร สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2502 ซึ่งกาลเวลาผ่านมายาวนาน ทำให้ชำรุดทรุดโทรม

ในปี พ.ศ.2563 หลวงพ่อพัฒน์ มีอายุครบ 99 ปี จึงอนุญาตให้คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลพระกริ่งพยัคฆ์ ปุญญกาโม ๙๙ เพื่อนำปัจจัยสร้างศาลาการเปรียญ 100 ปี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมของพระสงฆ์และชาวบ้าน

วัตถุมงคลพระกริ่งพยัคฆ์ ปุญญกาโม ๙๙ รุ่นนี้พุทธศิลป์ปางมารวิชัย ออกแบบสวยงาม บริเวณบัลลังก์ด้านหลัง เขียนคำว่า “ปุญญกาโม” และตัวเลข “๙๙” ซึ่งหมายถึงอายุหลวงพ่อพัฒน์ พร้อมกับตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกองค์

สร้างขึ้นเพื่อตอบแทนผู้ร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ 100 ปี จัดสร้างเป็นพระกริ่งเนื้อนาก, พระกริ่งเนื้อเงิน และพระกริ่งเนื้อชนวนผสมเหล็กน้ำพี้ หุ้มเกศ ปิดก้นด้วยแผ่นทองคำ, แผ่นนาก, แผ่นเงิน และโลหะศักดิ์สิทธิ์ทุกเนื้อ
…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96677771831552_bud08p1_4_1_640x480_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ เป็นพระเกจิอาจารย์จังหวัดอ่างทองที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เรื่องเครื่องรางของขลัง เบี้ยเเก้ ตะกรุดนั้นหายากมาก นอกจากนี้เหรียญรูปท่านก็หายากมากเช่นกัน แทบจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย เนื่องจากจำนวนการสร้างนั้นมีจำนวนน้อย บางท่านเห็นแล้วก็อาจจะยังไม่รู้เลยว่าเป็นหลวงพ่ออะไร เนื่องจากไม่มีตัวหนังสือบอกอะไรเลย เป็นแค่รูปหลวงพ่อ ด้านหลังก็เป็นตัวยันต์ด้านบนจะเป็นอักษรขอมเขียนว่า พระอุปัชฌาย์พัก ถ้าเราอ่านอักษรขอมไม่ออกก็ไม่ทราบเลยครับ

หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี) บิดาชื่อถมยา มารดาชื่อพุก ในตอนเด็กๆ บิดาได้นำได้ไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปี ในปี พ.ศ.2445 จึงอุปสมบทที่วัดย้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีหลวงปู่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณี ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงษ์ กทม. เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ ศึกษาอยู่ 9 พรรษา หลวงพ่อพักท่านก็เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ โดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปี พ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ ญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทมและบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปี พ.ศ.2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์

หลวงพ่อพักมีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชาญเมืองอ่างทอง และสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมสูง ล่องหนหายตัวได้ ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้นโดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ อาจารย์ของหลวงพ่อพักอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่บุญ ผู้มีวิชาอาคมสูงจากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึง แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และได้ถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้แก่ หลวงพ่อพัก

หลวงพ่อพักได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น เหรียญรูปท่านที่มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่เป็นเหรียญที่ ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูงครับ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเป็นสิงห์งาแกะเมื่อนำติดตัวผ่านฝูงวัว ฝูงวัวเหล่านั้นถึงกับแตกตื่นวิ่งหนี และเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนนั้นก็มีคุณวิเศษ ถ้ารูดไปข้างหน้าจะเป็นมหาอุด รูดไปด้านซ้ายจะเป็นเมตตามหานิยม รูดไปด้านขวาเป็นมหาอำนาจ รูดไปด้านหลังศัตรูไม่สามารถตามทัน ตะโพนงาแกะของหลวงพ่อพัก ท่านสร้างไว้แจกพวกศิลปิน มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม เมื่อนำติดตัวจะเป็นมหานิยมแก่ผู้พบเห็น

ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลังที่มีพุทธคุณครบทุกด้านโดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง จากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่ง

การถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรัก และไม่จุ่มรักก็มี

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อพัก จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ
… แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87476580590009_bud11p1_4_1_640x480_.jpg)
รูปเหมือนปั๊ม หลวงปู่ธูป

หลวงปู่ธูป ญาณวโร หรือ พระครูสังฆรักษ์สมาน เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปีพรรษา 59

มีนามเดิม สมาน ใจเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2480 ภูมิลำเนาเป็นคนบ้านลาดน้ำขาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทรงกระเทียม จ.สุพรรณบุรี แต่หลังจากบวชได้ 1 พรรษา จำเป็นต้องลาสิกขาออกมาคอยดูแลบิดาที่ชราภาพ เมื่อบิดาเสียชีวิต ในปี พ.ศ.2504

เมื่อหมดภาระทางครอบครัวแล้ว จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ที่อุโบสถวัดบางซ้ายใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้ายใน) เจ้าคณะอำเภอบางซ้ายใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดเจริญ วัดบางซ้ายใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์ทองหยด วัดบางซ้ายใน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวโร แปลว่า ผู้มีญาณอันประเสริฐ

พ.ศ.2509 จำพรรษาอยู่ที่วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี ตราบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์สมาน พระฐานานุกรมในพระเทพปริยัติกวี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

ในปี พ.ศ.2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พุทธศาสนิกชนต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แม้กระทั่งวัดก็ไม่มีปัจจัยที่จะนำไปพัฒนา สำหรับวัดลาดน้ำขาวก็ได้รับผลกระทบหนักในช่วงนั้น คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส นำโดยพระอธิการศราวุธ สุนทโร, นายศักดิ์ดา ทองแน่นสิรินันท์ ร่วมขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก

วัตถุมงคลรุ่นนี้พุทธศิลป์ เป็นรูปเหมือนลอยองค์ ห่มจีวรเฉียงนั่งอยู่บนฐานเขียงในท่ากัมมัฏฐาน ที่บริเวณด้านหน้าฐานมีตัวอักษร เขียนว่า หลวงปู่ธูป ส่วนที่บริเวณอังสะทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีอักขระยันต์พุทธคุณเด่นทุกด้าน อาทิ เมตตา แคล้วคลาด โชคลาภ

ที่ใต้ฐานพระจะตอกตัวหนังสือเป็นภาษาบาลีอ่านว่าธูป

ในส่วนของมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาสร้าง อาทิ ระฆังยอดอุโบสถ เหรียญปั๊มรุ่นแรก เหรียญหล่อรุ่นแรก รูปหล่อรุ่นแรก เงินรางเก่า พานครูทองเหลืองที่จารอักขระ เป็นต้น

จำนวนการสร้าง อาทิ 1.ชุดพิเศษหลังเรียบ 2โค้ด เนื้อระฆัง เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า เนื้อระฆัง จำนวนสร้าง 10 ชุด 2.เนื้อระฆัง 799 องค์ 3.เนื้อระฆังหลังเรียบ 399 องค์ 4.เนื้อระฆัง หลังเรียบ 3 โค้ด 59 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ธูปอธิษฐานจิตเดี่ยวถึง 2 วาระ ประกอบด้วย วาระที่ 1 วันเสาร์ที่ 16 พ.ค.2563 วาระที่ 2 วันจันทร์ที่ 6 ก.ค.2563 จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99415322310394_bud10p1_5_1_640x480_.jpg)
เล่นหาพระสมเด็จ ตามตำราไหนดี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านครับ ปัจจุบันมีการหามาตรฐานในการพิสูจน์พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้กันหลากหลายวิธี ซึ่งความจริงก็มีการพิสูจน์ในเรื่องนี้นานมาแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร้อยปีมาแล้ว เนื่องจากมีความนิยมเสาะหาจนพระสมเด็จมีสนนราคามา หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้เพียงปีเดียวเท่านั้น และก็มีการทำปลอมเลียนแบบขึ้นมาจากพวกที่หวังในผลประโยชน์ตอบแทน

ครับเท่าที่รับรู้มาก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้นจึงมีกลุ่มที่เสาะหาพระสมเด็จอย่างจริงจังจึงต้องหาข้อยุติว่าแบบไหนจริงแบบไหนไม่จริง มีการค้นคว้าข้อมูลหลักฐานต่างๆ ในทุกๆ ด้านทั้งประวัติศาสตร์และหลักฐานจากพระองค์จริงที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นพระที่ได้รับมาจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมีการรวบรวมพิมพ์ของพระไว้เป็นหมวดหมู่ว่า พิมพ์อะไรบ้าง มีแม่พิมพ์กี่ตัวแบบไหนบ้าง เนื้อหามวลสารเป็นอย่างไร ก็ได้ความว่าเนื้อหาของพระเป็นไปในทางเดียวกันแบบนี้ และต่อมาก็มีการแอบตกพระ ก็คือการแอบขโมยพระจากองค์พระเจดีย์ของวัดบางขุนพรหม ก็มีผู้เสาะหาพระสมเด็จมาคอยรับเช่าพระจากผู้ที่ตกพระออกมาได้ และก็มีการจดจำและจดบันทึกไว้ว่าเป็นพิมพ์อะไรเนื้อหาเป็นอย่างไร

จนกระทั่งมีการเปิดกรุเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ในครั้งนั้นถือได้ว่าได้นำพระทั้งหมดออกจากองค์พระเจดีย์ พระที่พบก็มีหลากหลาย มีทั้งที่เป็นพระที่บรรจุในครั้งหลังต่อมาก็มี ทางวัดจึงตั้งคณะกรรมการจากของ วัดเอง และจากผู้ที่นิยมสะสมพระที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อคัดแยกพระออกมาว่าพระองค์ใดเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และมีการจดบันทึกไว้ว่ามีพิมพ์อะไรบ้าง แม่พิมพ์มีอย่างไรบ้าง ได้จดบันทึกไว้ชัดเจน รวมทั้งเนื้อหาของพระด้วย ซึ่งก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับของพระวัดระฆังฯ

พระสมเด็จที่เล่นหาและเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง ซึ่งมีมูลค่ารองรับจึงมีกำหนดมาตรฐานของพิมพ์พระ เนื้อหาของพระ ธรรมชาติการผลิต และธรรมชาติความเก่าขององค์พระควรเป็นเช่นไร จึงกำหนดเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์ว่าใช่หรือ

ไม่ ในพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจนเป็นที่ยอมรับของสังคมพระเครื่อง และมีมูลค่ารองรับในพระสมเด็จแท้ๆ นี่ก็เป็นมาตรฐานของพิสูจน์และเล่นหาพระสมเด็จตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ

ในส่วนของอีกแนวทางหนึ่งนั้น ก็เป็นแบบนอกมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ซึ่งก็มีอีกหลากหลายตำราหลายรูปแบบ ทั้งจากการอ้างตำราที่มีผู้เขียนไว้บ้าง จับพลังทางในบ้าง พิสูจน์ในการใช้น้ำยาหยด จากการใช้กล่องกำลังขยายสูงบ้าง และใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้ามาใช้ในการพิสูจน์บ้าง ใช้แม่เหล็กดูดบ้าง ก็มีหลากหลายวิธีการพิสูจน์ที่เขาเชื่อว่าใช้ในการพิสูจน์ได้ ผมเองคงไม่ชี้ว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิดนะครับ ก็ต้องใช้วิจารณญาณของแต่ละท่านเองครับ

ครับการพิสูจน์ก็แยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับ จะพูดว่าพุทธพาณิชย์หรืออะไรก็แล้วแต่นะครับ แต่สรุปว่า ถ้าถูกต้องตามมาตรฐานนี้ก็สามารถนำไปขายได้เงินแน่นอนครับ ส่วนที่นอกมาตรฐานไม่มีมูลค่ารองรับก็ไม่สามารถนำไปขายได้ในกลุ่มที่เขาเล่นหาเป็นมาตรฐานสังคมพระเครื่องครับ แต่พระสมเด็จประเภทนี้ก็อาจหาซื้อได้ในราคาถูกตามแผงทั่วไปเป็นร้อยเป็นพันองค์ ก็แล้วแต่ความเชื่อนะครับ เรื่องนี้เป็นเพียงความคิดเห็นที่แตกต่างเท่านั้น เชื่อและชอบแบบไหนก็เลือกเองได้ครับ เลือกในสิ่งที่เราคิดเห็นว่าถูกต้องก็เท่านั้นเองครับ

ในส่วนตัวผมก็เล่นหาศึกษาและสะสมมานานพอสมควร อ่านตำราแบบทุกตำรา โดยเฉพาะตำราเก่าๆ พิสูจน์ทดลองมาแทบทุกอย่าง ทั้งหัดนั่งสมาธิจับพลังและอื่นๆ พิสูจน์มามากพอสมควร ต่อมาศึกษาแบบที่มีมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับ ซึ่งในขณะนั้นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ สวยๆ ก็ราคาแสนกว่าบาท พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมก็หลักหมื่น เห็นด้วยตัวเองว่าเขาซื้อ-ขายกันจริงๆ และได้ศึกษาในแบบมาตรฐานนั้นจากผู้ใหญ่ในสังคมหลายท่าน จนพอรู้ได้ว่าเขาพิสูจน์กันอย่างไรด้วยเหตุและผลได้ศึกษาพระองค์จริงแบบมาตรฐานสังคมหลายองค์ ซึ่งก็ยอมรับว่ามีมาตรฐานในการพิสูจน์ที่เป็นจริงได้ชัดเจนครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
… แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 29 ตุลาคม 2563 12:38:59
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84026262784997_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
ปีระกาป่วงใหญ่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีโรคระบาดทั่วโลก และเมืองไทยเราเองก็ไม่พ้น เราต้องร่วมมือกันอยู่บ้านไม่ออกไปไหนโดยไม่จำเป็น รักษาสุขภาพตัวเองและครอบครัว เพื่อลดภาระให้กับทีมแพทย์และสังคม เมืองไทยเราก็เคยประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีเรื่องเกี่ยวกับพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คือปีระกาป่วงใหญ่ (ปีพ.ศ.2416) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้ 1 ปี

เรื่องปีระกาป่วงใหญ่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงจดหมายเหตุไว้ดังนี้

"ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน

เบาน้อยกว่าเก่า หกเท่าลดกัน มะโรงก่อนนั้น

แสนหนึ่งบาญชี เขาจดหมายไว้ ในสมุดปูมมี

มากกว่าครั้งนี้ หกเท่าเป็นไป

เกิดไข้ในวัดน้อย วันละคน

ตั้งแต่สองค่ำดล หกเว้น

ศิษย์พระวอดวายชนม์ ถึงสี่ เชียวนา

บางพวกไกลโรคเว้น ชีพตั้งยังเหลือฯ

จนเสร็จเผด็จสิ้น ปีระกา

โรคป่วงเกิดมีมา ทั่วด้าน

น้ำน้อยไม่เข้านา เสียมาก เทียวแฮ

ในทุ่งรวงข้าวม้าน ไค่กล้านาเสียฯ

ครับก็เป็นจดหมายเหตุที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ท่านได้ทรงจดหมายเหตุไว้

ในส่วนของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ก็เคยเล่าให้นายกนก สัชชุกรฟัง และบันทึกไว้ว่า "เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปเข้าฝันชาวบ้านบางช้าง ให้ใช้พระสมเด็จฯ ของท่านอาราธนาแช่น้ำ ทำประสะน้ำพระพุทธมนต์ ดื่มจะรักษาโรคระบาดครั้งนี้ได้ ผู้นั้นก็ปฏิบัติตามที่ฝัน ก็ได้ผลหายจากโรคร้ายได้อย่างอัศจรรย์ และได้แจกจ่ายน้ำมนต์ให้คนป่วยอื่นๆ รับประทาน ก็พากันรอดพ้นจากอันตรายของโรคกันทุกราย ข่าวเรื่องนี้ก็แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดยรวดเร็ว และผู้ปฏิบัติตามต่างก็สัมฤทธิผลทุกราย ความทราบถึงพระกรรณสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงพระราชทานแจกพระสมเด็จฯ ส่วนพระองค์แด่ข้าราชการเป็นการใหญ่ เพื่อให้อาราธนาทำน้ำพระพุทธมนต์แจกจ่ายชาวบ้านบำบัดโรคภัยครั้งนั้น และปรากฏผลว่าอหิวาตกโรคระบาดครั้งนั้นได้สงบลงอย่างรวดเร็ว จนปกติในที่สุด ด้วยอำนาจแห่งคุณวิเศษของพระสมเด็จฯ นี้"

ครับเรื่องที่ผมนำมาเล่าก็เป็นเพียงเรื่องเดียวที่เกี่ยวกับคุณวิเศษของพระสมเด็จฯ เกี่ยวกับการพิทักษ์และบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีการเล่าสืบต่อกันมา และมีการบันทึกไว้ หลังจากที่มีการโจษขานกันเรื่องนำพระสมเด็จฯ มาทำน้ำพระพุทธมนต์รักษาโรคได้นั้นก็มีการเสาะหาพระสมเด็จฯ กันมาก และมีการแลกเปลี่ยนกันเป็นมูลค่า จึงเป็นเหตุให้มีผู้ทำพระสมเด็จฯ ปลอมขึ้นในปีนั้นเอง (พ.ศ.2416) และก็มีการปลอมกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

ที่ผมนำมาเล่าสู่กันนั้นก็พอดีบ้านเมืองเราก็กำลังมีโรคระบาดอยู่ในช่วงนี้ แต่ก็มิได้จะให้ท่านเสาะหาพระสมเด็จฯ มาแช่น้ำทำน้ำพระพุทธมนต์นะครับ เพราะสนนราคามูลค่าพระสมเด็จฯ นั้นสูงมากในปัจจุบันหลักหลายๆ ล้านบาท คงไม่มีใครกล้านำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์กระมังครับ เป็นเพียงแต่เล่าสู่กันฟังนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่องแทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73275364066163_bud05p1_7_1_640x480_.jpg)
พระชุดกิมตึ๋ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่าที่มีการจัดชุดของพระกรุเนื้อดินที่มีมาแต่ในสมัยเก่า ที่เรียกกันว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” พระชุดนี้มีความเป็นมาอย่างไร และที่มาของชื่อพระที่เป็นชื่อของเครื่องถ้วยกระเบื้องเคลือบของจีน ทำไมมากลายเป็นชื่อของพระเครื่องชุดนี้

พระเครื่องชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วย พระ 4 องค์ คือพระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระนาคปรกหรือ พระปรกชุมพล รวมเป็นสี่องค์ พระชุดนี้เป็นพระกรุที่ถูกพบที่วัดร้างอยู่ติดกับเขตวัดพระรูป มีซากพระเจดีย์ที่พังทลายลงมานานแล้วตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2446 ไม่มีใครทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงอย่างไร เหลือแต่ฐานซึ่งกว้างมากประมาณ 50 เมตรนับว่าเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งทีเดียว บริเวณรอบๆ ฐานพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2446 มีพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ปะปนกับเศษอิฐกองอยู่เต็มไปหมด ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจกันนัก บ้างก็เห็นว่าเป็นของวัดไม่ควรนำมาไว้ที่บ้าน และอีกอย่างหนึ่งคือพระมีมากมายกองอยู่เต็มไปหมด

ต่อมามีพวกนักเที่ยวพวกวัยรุ่นคะนองสมัยนั้น เมื่อผ่านมาต่างก็หยิบพระไปคนละองค์สององค์ บ้างก็เอาผูกกับผ้าคาดแขน ไว้ บ้างก็อมไว้ในปาก แล้วไปเที่ยวตามถิ่นต่างๆ และเกิดกระทบกระทั่งกับเจ้าถิ่น เกิดมวยหมู่ ตะลุมบอนกัน ทั้งมีดทั้งไม้ ปรากฏว่าคนที่เอาพระกรุนี้ไปด้วยไม่มีใครเลือดตกยางออก ส่วนคนที่ไม่ได้เอาพระติดตัวไปปรากฏว่าได้เลือดกลับมา

หลังจากนั้นจึงทำให้ชื่อเสียงของพระกรุนี้โด่งดังไปทั่ว และมีประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว พระกรุนี้จึงเริ่มร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด

พระกรุชุดนี้มีรูปร่างสัณฐานใกล้เคียงกัน มี 4 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมาคือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล พระชุดนี้เป็นที่นิยมกันมาในสุพรรณบุรีต่างก็เสาะกันมากและพยายามหาให้ครบ 4 องค์และเรียกกันในสมัยนั้นว่า “พระชุดพลาย ชุมพละ” ต่อมาพระเครื่องชุดนี้ก็แพร่เข้ามาสู่เมืองกรุง และได้รับความนิยมกันมากเช่นกัน และก็มีผู้ตั้งชื่อกันใหม่ว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” แต่ก็สืบไม่ได้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ “กิมตึ๋ง” เป็นชื่อที่มีความเป็นมาอย่างไร

สืบสาวราวเรื่องก็พบว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชา อันประกอบด้วยชุดถ้วยกระเบื้องเคลือบ และชุดกระเบื้องเคลือบที่ได้รับรางวัล และมีชื่อเสียงได้รับคำยกย่องว่าสวยงามมากก็คือ ชุดกิมตึ๋งซึ่งเป็นเครื่องถ้วยที่พระยาโชฎึก ราชเศรษฐี ได้สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน มาจำหน่ายในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถ้วยที่ส่งมาได้ก้นประทับตราว่า “กิมตึ๋ง-ฮกกี่” แปลว่าเครื่องหมายอันวิเศษอย่างเต็มที่ ถ้วยที่ส่งมาชุดนี้ส่งมาเป็นชุด 4 ใบอาจจะเป็นเพราะพอดีกับพระชุดพลายชุมพลมี 4 องค์พอดี ก็อาจเป็นได้ และมีคุณวิเศษอยู่ด้วย จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกพระชุดนี้ในเวลาต่อมาว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” และเรียกกันมาจนทุกวันนี้ ส่วนชื่อกรุนั้นวัดพลายชุมพลซึ่ง เป็นวัดร้างติดกับวัดพระรูปจนกลายมาเป็นกรุวัดพระรูปไปโดยปริยายครับ

พระชุดกิมตึ๋งอาจจะไม่สวยงามอะไรนักเนื่องจากเป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ตื้นๆ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ แต่คุณวิเศษที่เลื่องลือกันมากในด้านอยู่ยงคงกระพันจนเป็นที่ยอมรับนี่เอง จึงอาจจะเป็นที่ยกย่องให้รับชื่อนี้ไป ในสมัยก่อนนู้น ใครมีพระชุดกิมตึ๋งครบชุดยังไม่ยอมแลกกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ เลย แสดงว่าพระชุดนี้ ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นครับ พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 องค์ เวลานำมาห้อยคอ จึงมักนำพระมาเพิ่มอีกองค์หนึ่งจะได้ครบ 5 องค์และมักจะนิยมนำพระขุนแผนไข่ผ่ามาห้อยไว้ตรงกลาง เป็นอันครบ 5 องค์ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระชุดกิมตึ๋ง ครบทั้ง 4 องค์จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26091718673705_bud12p1_4_1_640x480_.jpg)
รู้ได้ไงเก๊-แท้ใครเกิดทัน?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า “เกิดทันหรือ?” มีการพูดอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่สมัยก่อนนานมาแล้ว ซึ่งโดยส่วนมากที่เกิดวลีนี้มาจากผู้ที่นำพระมาขาย แต่ขายไม่ได้ไม่มีใครรับซื้อ ก็เกิดความไม่พอใจจึงกล่าววลีนี้ขึ้นมาจากความไม่พอใจที่ไม่มีใครซื้อ

ครับช่วงนี้มีกระแสนี้เกิดขึ้นจากเรื่องพระสมเด็จที่เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ การเล่นหาศึกษาก็แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พวกหนึ่งเล่นหาสะสมตามมาตรฐานสังคม มีมูลค่ารองรับ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เล่นหาแบบไม่มีมูลค่ารองรับ ส่วนใหญ่ก็ศึกษามาจากตำราบ้าง บอกต่อกันมาบ้างแล้วก็ตั้งมาตรฐานของกลุ่มตนเอง

ที่ศึกษาตามแบบตำราก็ไม่มีใครเกิดทันทั้งสิ้น และในปัจจุบันก็มีมากมายหลากหลายตำราที่อ้างว่าถูกต้องทั้งสิ้น แต่ก็มีแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็มี ตำราที่ว่าเก่าแก่ก็เป็นตำราที่ว่าเป็นฉบับ พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2473 ฉบับพระครูกัลยานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2492 ฉบับตรียัมปวาย ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2495 ฉบับฉันทิชัย ตีพิมพ์ พ.ศ.2495 เรามาดูกันว่าหนังสือเหล่านี้ใครเป็นผู้ที่เขียนแล้วเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จหรือไม่ เชื่อถือได้แค่ไหน

ฉบับแรกคือฉบับพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ซึ่งความจริงแล้วผู้เขียนคือ พระมหา ม.ล.สว่าง เสนีย์วงศ์ วัดสระเกษ ผู้ซึ่ง นายพร้อม สุดดีพงศ์ คนตลาดไชโย อ่างทอง เดินทางลงมาหาเพื่อขอให้สืบค้นเรื่องราวของสมเด็จโต เพราะชาวบ้านที่นั่นอยากรู้ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระมหา ม.ล.สว่างจึงพานายพร้อมไปยังวัดระฆังฯ นมัสการถามเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) อดีตผู้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็สรุปว่าผู้เขียนเองก็เกิดไม่ทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็รวบรวมจากคำบอกเล่า แล้วจึงนำมาเขียนเป็นหนังสือ โดยใช้ชื่อว่า “ฉบับเจ้าพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)” ซึ่งท่านเองก็ไม่ใช่ผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนี้

ฉบับ พระครูกัลยา นานุกูล วัดกัลยาณมิตร เขียนครั้งแรกและตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2492 ขณะยังเป็นพระมหาเฮง โดยนำเค้าโครงมาจากฉบับของพระยาทิพโกษาฯ มาเขียนใหม่ โดยแก้ไขบางตอน และได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากหลายท่านที่ได้รับคำบอกเล่ามาอีกที

ฉบับตรียัมปวาย นามปากกาของ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 และพิมพ์อีก 4 ครั้ง ตีพิมพ์ครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีข้อมูลจากการไปสอบถามจากหลายคน คนที่สำคัญที่สุดคือนายกนก สัชฌุกร ซึ่งเป็นผู้นิยมพระเครื่องท่านหนึ่ง และได้เข้าไปสอบถามจดบันทึกข้อมูลจากท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง)

ฉบับของฉันทิชัย อันเป็นนามปากกาของ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ผู้ที่เริ่มมีการออกอากาศรายการวิทยุในปี พ.ศ.2492 แล้วมาจัดพิมพ์ในนิตยสารตำรวจในปี พ.ศ.2495 แล้วรวมเล่มในปีเดียวกัน

(ข้อมูลหนังสือทั้ง 4 ฉบับได้รับการค้นคว้ามาจาก ม.ล.ชัยนิมตร นวรัตน ขอขอบคุณในข้อมูลความรู้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ)

ครับตำราต่างๆ นั้นก็ไม่มีใครเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั้งสิ้น เป็นการจดบันทึกจากการบอกเล่าทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ในตำราก็บอกถึงประวัติของเจ้าประคุณฯ สมเด็จฯ ซึ่งจะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่เป็นทางการ บางฉบับก็มีการกล่าวถึงการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ก็นั่นแหละครับผู้เขียนทั้งหมดก็ยังไม่มีใครที่เกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ

ทีนี้พระสมเด็จฯ ที่มีการสะสมศึกษาเล่นหากันนั้น ในปัจจุบันก็ไม่มีใครเกิดทันทั้งสิ้นเช่นกัน แต่ก็มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ได้ศึกษาจากองค์พระสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพไปได้ไม่นานนัก มีการสืบค้นหาหลักฐานและเหตุผลประกอบ จนเป็นที่ยอมรับของสังคมพระเครื่อง และมีมูลค่ารองรับมาจนทุกวันนี้ ไม่แค่นั้นมูลค่ายังสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลักล้านในปัจจุบัน

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็ศึกษาประวัติข้อมูลที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลังจากนั้นอีก ก็มีอีกหลายตำรา ส่วนมากก็จะกล่าวถึงเรื่ององค์พระสมเด็จเป็นหลัก วิธีการสร้างการดูพิสูจน์ ซึ่งผู้เขียนตำราก็ไม่มีใครเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั้งสิ้น ต่อมายังมีการกล่าวอ้างถึงสมุดข่อยโบราณเขียนบันทึกถึงการสร้างพระสมเด็จต่างๆ นานา กล่าวถึงจำนวนและแม่พิมพ์ด้วย ก็ว่ากันไปครับ

แต่ที่แน่ๆ ก็คือพระสมเด็จที่ถูกต้องมาตรฐานสังคมยอมรับนั้นมีมูลค่ารองรับสูงเป็นหลักล้านบาทและก็มีผู้รับซื้อหรือรอเช่าหาอยู่เสมอ เท่าที่ผมเห็นเองนะครับ ตอนนี้ถ้าใครซื้อพระสมเด็จที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมมาไว้นานแล้วยิ่งหลายสิบปียิ่งดี นำไปคืนรับรองว่าคืนได้เงินครบแน่นอน และผู้รับคืนก็ยินดีมาก เนื่องจากในปัจจุบันมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากจะได้เงินคืนครบแล้วยังได้มูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ ทดลองพิสูจน์ได้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น ทองคำก็ย่อมเป็นทองคำ เช่นใครซื้อทองคำในสมัยเมื่อทองคำบาทละ 400 มาขายตอนนี้ก็มีมูลค่าสูงขึ้นหลายเท่าตัวครับ พระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมก็เช่นกันครับ ถ้าคิดว่าเป็นการอุปโลกน์หลอกลวงก็คงไม่ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้ครับ นอกจากนี้ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดมาครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับหลักหลายล้านบาทมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44861624307102_bud13p1_1_640x480_.jpg)
เหรียญหล่อเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษมาลา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ซุ้ม ชินราชของท่านเจ้าคุณโพธิ์นั้นเป็นพระที่รู้จักกันดีและเป็นที่นิยม นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้ด้วย ซึ่งเป็นพระที่สนนราคาไม่สูงยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พุทธคุณยอดเยี่ยมและสร้างมาตั้งแต่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง และนำมาบรรจุไว้ที่เพดานโบสถ์วัดชัยพฤกษมาลา

วัดชัยพฤกษมาลา เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมคือวัดชัยพฤกษ ต่อมาได้รับบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4 ต่อมาโดยลำดับและได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโทและพระราชทานนามว่า วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร วัดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนชัยพฤกษ แขวงตลิ่งชัน กทม. มีเจ้าอาวาสองค์หนึ่งที่พัฒนาวัดชัยพฤกษฯ ให้เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดก็คือพระนันทวิริยะหรือที่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่าเจ้าคุณโพธิ์นั่นเองครับ

ท่านเจ้าคุณโพธิ์เป็นชาวบางอ้อยช้าง เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2394 โยมบิดาชื่อเมฆ เป็นเจ้ากรมในกรมหมื่นภูวดีราชหฤทัยโยมมารดาชื่ออ้น เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ได้ศึกษาอักษรสมัยในสำนักวัดบางอ้อยช้าง ครั้นอายุได้ 22 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดบางอ้อยช้าง ได้เล่าเรียน นักธรรมและบาลีต่อมาพรรษาที่ 8 ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง ในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูนนทปรีชาว่าที่เจ้าคณะแขวงพอถึงปี พ.ศ.2444 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

ในปีเดียวกันนี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดชัยพฤกษมาลาฯ ครั้นพอถึงปี พ.ศ.2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระนันทวิริยะ” และในปี พ.ศ.2459 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี

ครองวัดชัยพฤกษฯ นานถึง 26 ปี มรณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2465 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

(หมายเหตุ วัดชัยพฤกษมาลาฯ แต่เดิมนั้นขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กรุงเทพ มหานคร)

เหรียญหล่อพิมพ์ ชินราชของเจ้าคุณโพธิ์สร้างไว้ครั้งเมื่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดชัยพฤกษมาลาแล้วและเป็นที่นิยมมาก พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหายาก ของปลอมก็ไม่พลาด ทำเลียนแบบกันมานานแล้ว แต่ที่ปลอมในปัจจุบันนั้นทำได้ดีมากขึ้น เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ หรือปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรงจะดีกว่าครับ

ทั้งพระเนื้อดินและเหรียญหล่อเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมและน่าสนใจ แต่เหรียญหล่อจะหายากกว่าราคาสูงกว่าพระเนื้อดินเผา ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อของเจ้าคุณโพธิ์จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54678528755903_p19101063p1_1_640x480_.jpg)
เหรียญที่ระลึกฉลองเจดีย์หลวงปู่ทอง

หลวงปู่ทอง ปภากโร แห่งวัดบ้านคูบ หมู่ 3 ต.คูบ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์ที่ชาวอีสานใต้ จ.ศรีสะเกษ ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 115 ปี

ด้วยสังขารที่ร่วงโรย หลวงปู่ทอง จะรับกิจนิมนต์เฉพาะในวัด และเดินไม่ค่อยคล่องตัวนัก นอกวัดรับกิจสงฆ์ในบางครั้ง

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างจำนวนหลายรุ่น

คณะศิษย์ที่เลื่อมในศรัทธา นำโดย “กล้วยอุบล พระใหม่” ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญที่ระลึกฉลองเจดีย์บูรพาจารย์

วัตถุประสงค์จัดหารายได้สมทบจัดงานฉลองเจดีย์ดังกล่าว และค่าใช้จ่ายอื่น

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 99 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 599 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 2,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 3,999 เหรียญ และเนื้อทองฝาบาตร 2,999 เหรียญ(แจกวันงานฉลองเจดีย์ 25 ต.ค.)

ด้านหน้า เป็นเหรียญอาร์ม หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนาตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมมีดอกจัน ถัดลงมามีอักขระยันต์ประกบเหนือศีรษะ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่หน้าตรงครึ่งองค์ห้อยลูกประคำ เหนือไหล่ขวาของเหรียญและอังสะตอกโค้ดเจดีย์มีอักษรตัว ท บรรทัดล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่ทอง ปภากโร

ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญประดิษฐานเจดีย์บูรพาจารย์ มีอักขระ 5 ตัวประกบส่วนยอด โคนพระธาตุและใต้ฐาน ข้างองค์พระธาตุสลักตัวหนังสือแนวตั้งซ้ายขวาขอบเหรียญอ่านว่า ที่ระลึกฉลองเจดีย์ วัดบ้านคูบ จ.ศรีสะเกษ บรรทัดล่างสุดสลัก ๒๕๖๓

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดบ้านคูบ เวลา 13.09 น. วันที่ 25 ส.ค. มีหลวงพ่อพรชัย พุทธสโร (ทายาทธรรมหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดิน) วัดถ้ำน้ำย้อย จ.ศรีสะเกษ หลวงปู่เสวียน จารุธัมโม วัดกระมัลพัฒนา จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่วิเชียร วิมโล วัดบ้านเสมอใจ จ.ศรีสะเกษ และหลวงปู่ทอง นั่งปรกอธิษฐานจิต

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตไกล
   ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62563321532474_bud10p1_3_1_640x480_.jpg)
พระกรุวัดชายทุ่ง สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเก่าๆ ที่ไม่เคยได้พูดถึงกันในปัจจุบัน จึงทำให้อาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ยิ่งพระบางอย่างมีจำนวนน้อย และไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ก็ยิ่งจะทำให้ลืมเลือนกันไปครับ

ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อวัดชายทุ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกหม้อ ตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง สุพรรณบุรี ชาวบ้านดั้งเดิมในแถบนี้เป็นคนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ อพยพมาอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 3 ราวปี พ.ศ.2369-2370 เนื่องจากในสมัยนั้นมีเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามาตีเมืองไทย และกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยยังเมืองเวียงจันทน์ และได้ยกทัพเข้ามาจนถึงนครราชสีมา คุณหญิงโมได้รวบรวมคนไทยเข้าสู้รบกับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย แล้วตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ แล้วยกกองทัพบุกไปตีเวียงจันทน์พร้อมกวาดต้อนครัวชาวเวียงจันทน์กลับมาเมืองไทย ให้ไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ที่สุพรรณฯ ก็มีอยู่หลายแห่งเช่นที่บ้านโคกหม้อ บ้านโพธิ์หลวง บ้านสวนแตง บ้านไผ่ขวาง เป็นต้น


ชาวเวียงจันทน์เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็ทำมาหากินและตั้งหลักแหล่งอยู่ก็ไม่คิดจะ กลับไปเมืองเวียงจันทน์ ด้วยสถานที่อยู่มีความอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข ขนบธรรมเนียมประเพณีก็เหมือนกันแทบทั้งสิ้น ในขบวนชาวเวียงจันทน์ที่มาอยู่นั้น ก็มีพระภิกษุร่วมขบวนมาด้วย ที่บ้านโคกหม้อก็มีหลวงพ่ออุมงค์และหลวงพ่อสุข ท่านก็ได้สร้างวัดขึ้น เฉพาะที่บ้านโคกหม้อ มีอยู่ 2 วัดคือ วัดชายทุ่ง และวัดไทร ต่อมาได้สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้น ได้มีการนำเอาปืนคาบศิลา หอกดาบ หลาว แหลน รวมทั้งตะกรุด และพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์

เจดีย์องค์นี้ยืนยงมาจนถึงปี พ.ศ.2496 ได้มีฝรั่งกับคนไทยมาเที่ยวยิงนก มาเห็นนกพิราบเกาะที่เจดีย์วัดชายทุ่ง ฝรั่งก็ด้อมเข้าไปยิงนกที่เกาะอยู่ ปรากฏว่ากระสุนด้านเสียงดังแชะ เขาก็หักลำเปลี่ยนกระสุนใหม่แต่นกตกใจบินหนีไปหมด ฝรั่งโมโหจึงยิงปืนไปที่เจดีย์อีกเช่นเคย กระสุนด้านเสียงดังแชะ คนไทยที่ไปด้วยจึงบอกว่าเจดีย์องค์นี้เฮี้ยน ยิงไม่ออก แต่ฝรั่งไม่เชื่อ คนไทยจึงบอกให้ลองเอากระสุนลูกเดิมลองยิงไปที่อื่นดู ปรากฏว่า ยิงออกทั้ง 2 ลูก ทำเอาฝรั่งงงไปเลย

ต่อมาข่าวนี้ก็แพร่ออกไป จึงทำให้มีคนแอบเข้าไปขุดหาพระ เพราะเชื่อว่าในองค์เจดีย์ต้องมีของดี คืนหนึ่งเมื่อ เจ้าอาวาสไม่อยู่ก็ได้มีคนเข้าไปแอบขุดกรุ พบพระเครื่องเนื้อชินและเนื้อว่าน พร้อมกับเครื่องศัสตราวุธต่างๆ

พระเครื่องที่พบ มีพระพิมพ์เศียรโล้น เป็นพระเนื้อชินแบบลอยองค์ และพบพระพิมพ์หน้านกฮูก ซึ่งมีทั้งเนื้อชิน และเนื้อว่านปัจจุบันหาชมยากทั้ง 2 พิมพ์ พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์เศียรโล้น และพระพิมพ์หน้านกฮูก มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 01 ธันวาคม 2563 14:57:09
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49720265840490_bud0x271063p1_1_640x480_.jpg)
ประวัติเจ้าคุณศรี ฯ (สนธิ์)  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าเราจะกล่าวถึงพระกริ่งที่สร้างประเทศไทยแล้ว พระกริ่งสายวัดสุทัศน์เป็นพระกริ่ง ที่มีผู้นิยมกันมาก ตั้งแต่พระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) รองลงมาก็คือพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) วันนี้ผมขอกล่าวถึงประวัติของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) บางท่านอาจจะทราบดีอยู่แล้ว แต่สำหรับบางท่านยังไม่ทราบจะได้ศึกษาไปพร้อมๆ กันนะครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นามเดิมว่า สนธิ์เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2446 ที่ตำบลบ้านป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โยมบิดาชื่อสุข โยมมารดาชื่อทองดี เมื่อท่านเจ้าคุณฯ มีอายุได้ 11 ขวบโยมบิดาได้เสียชีวิตโยมมารดาจึงนำท่านเจ้าคุณฯ มาฝากพระภิกษุบุญ ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายโยมมารดา ที่วัดสุทัศน์คณะ 15 เพื่อศึกษาอักขระสมัยฝ่ายบาลีตามคตินิยมในยุคนั้น และเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2458 ท่านเจ้าคุณฯ มีอายุได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี จำพรรษาอยู่ในการอุปการะของพระภิกษุบุญ ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.2459 พระภิกษุบุญได้รับสถาปนาแต่งตั้งไปครองวัดกลางบางแก้วอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม หรือที่เรารู้จักกันดีคือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่ พระพุทธวิถีนายก

สามเณรสนธิ์จึงได้ติดตามหลวงปู่บุญ ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว พอถึงปี พ.ศ.2460 หลวงปู่บุญจึงเห็นสมควรให้สามเณรสนธิ์ได้กลับมาศึกษาต่อยังสำนักวัดสุทัศน์ ในวันที่เข้าไปกราบลาหลวงปู่บุญเพื่อเดินทางนั้น หลวงปู่บุญได้พิจารณาดูตามดวงชะตาของสามเณร แล้วจึงพูดว่า “ดวงอย่างเณรต้องเป็นอาจารย์คน”

เมื่อสามเณรสนธิ์กลับมาที่วัดสุทัศน์ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยต่อและได้เข้าสอบประโยคนักธรรมตรีได้เมื่อ พ.ศ.2464 และสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ.2465 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูปลัดสุวัฒนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (นาค) เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพกวี และยังสถิตอยู่ที่สุทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ยติธโร”

ปี พ.ศ.2467 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จนถึงปี พ.ศ. 2474 ก็สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยคตามลำดับสมณศักดิ์ที่ได้รับ ในปี พ.ศ.2468 เป็นที่พระครูธรรมรักขิต ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ) ปี พ.ศ.2469 เป็นที่พระครูวิจิตรสังฆการ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ) ปี พ.ศ.2471 เป็นที่ พระครูวินัยธร ปี พ.ศ.2481 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสัจญาณมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ ในปี พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระราชาคณะสามัญ ขึ้นเป็นพระราชา คณะชั้นราช ที่พระมงคลราชมุนีฯ

ชาวบ้านมักจะเรียกท่านจนติดปากว่า “เจ้าคุณศรีฯ ” จริยาวัตรของท่านเจ้าคุณศรีฯงดงาม เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ท่านเจ้าคุณฯ มีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านพุทธาคม โหราศาสตร์ ฤกษ์พานาทีและเป็นศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นแม่งานช่วยสมเด็จพระสังฆราชฯ ทุกงาน จนกระทั่งพระองค์รับสั่งกับศิษย์ใกล้ชิดว่า “พระมหาสนธิ์เขาจะมา สร้างพระกริ่งแทนฉัน”
 
ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างพระกริ่งอยู่หลายรุ่น ในขณะที่สมเด็จพระสังฆราชยังพระชนม์ชีพอยู่นั้นท่านเจ้าคุณจะนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชมาเป็นประธานในพิธีเสมอ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์อยู่หลายรุ่นล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้น จนถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2495 ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 49 ปีพรรษาที่ 29

ปัจจุบันพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีฯ นั้นหายากแล้วครับ และในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งหลักชัยหรือที่มักเรียกกันว่า พระกริ่งบาเก็ง 1 สร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 จำนวนสร้าง 162 องค์บรรจุกริ่งในตัว 2 รู มาให้ชมกันด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87808014162712_bud05p1_1_640x480_.jpg)
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง

ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย และเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อเนียมไว้วางใจมาก หลวงพ่อโหน่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ที่นิยมมากก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ค่านิยมสูงมาก

หลวงพ่อโหน่ง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อโต มารดาชื่อ จ้อย พออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบท ที่วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วจึงได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ มาอยู่จำพรรษาอยู่กับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เปรียญ 9 ประโยคเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ด้วยหลวงพ่อโหน่งเห็นความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของพระในกรุง และคิดว่าไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้น จึงกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จากนั้นก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน

ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงเดินทางมาศึกษาต่อกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้าจนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียม และให้ช่วยแนะนำพระรูปอื่นๆ แทนอยู่เสมอ เมื่อตอนที่หลวงพ่อปานวัดบางนมโคมาศึกษากับหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมยังบอกกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไร ก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้” แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อเนียมไว้วางใจหลวงพ่อโหน่งมาก

เมื่อศึกษาจากหลวงพ่อเนียมจนแตกฉานแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม วันหนึ่งหลวงพ่อโหน่งมีจิตใจวาบหวิวชอบกลท่านจึงได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเนียม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะพูดอะไร หลวงพ่อเนียมก็พูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งก็สบายใจขึ้น และก็เดินทางกลับไปที่วัดสองพี่น้อง ตามเดิม

ต่อมาหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้ จึงนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่ง ให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อโหน่งเมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน ท่านก็ฉันอาหารเจมาโดยตลอด ก่อนออกบิณฑบาตท่านจะนมัสการต้นโพธิ์ ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตร ถวายสังฆทาน หลวงพ่อโหน่งได้เอาโยมแม่ซึ่งชราภาพมากแล้วมาอยู่ที่วัดด้วย และปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม หลวงพ่อโหน่งเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอบรมสั่งสอน พระเณรและศิษย์วัดและชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ ไม่รับเงิน และท่านยังได้สร้างสาธารณูปการสงฆ์ขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเสมอ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปานจะมาหาโดยไม่บอกล่วงหน้า ท่านก็ยังสั่งศิษย์ไว้ก่อนว่าให้เตรียมจัดที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา หลวงพ่อโหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันจวบจนมรณภาพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุ 68 ปี พรรษาที่ 44

สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ เนื่องจากท่านสร้างจำนวนมากและมีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในประมาณปี พ.ศ.2461 เป็นต้นไป ท่านจะพุทธาภิเษกพระของท่านตอนที่เผาไฟ มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มาร่วมประกอบพิธีมากมาย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคก็มาร่วมในพิธีด้วย

พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีมากมายหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์สมเด็จฯ พิมพ์ลีลา พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์จันทร์ลอย เป็นต้น แต่นิยมและมีสนนราคาสูงก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่ายครับ ปัจจุบันหายากพอสมควรครับ

พุทธคุณนั้นเด่นทางเเคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม เรียกว่าดีครบเครื่องครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่งมาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60358190536498_bud12p1_1_640x480_.jpg)
พระกริ่ง วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองความจริงก็มีความรู้น้อยมากในเรื่องพระกริ่ง ก็สนใจอยู่นานแล้วแต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ศึกษามากนัก เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนก็ได้เคยเห็นพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ ในสนามพระ โดยมีผู้ใหญ่และเพื่อนๆ ที่เขาเล่นหาศึกษาสายพระกริ่งวัดสุทัศน์อยู่นำพระมาดูกัน ผมเองก็ได้มีโอกาสได้ฟังและส่องดูด้วย ก็เห็นว่าพระกริ่งรุ่นนี้มีเนื้อหากระแสโลหะสวยดี มีพรายเงินปรากฏขึ้นประปราย ก็เกิดความสนใจสอบถามเขาดู ต่อมาก็ยังได้เห็นอีกหลายองค์ในช่วงต่อๆ มาก็เห็นว่ามีกระแสโลหะเหมือนๆ กัน และก็มีความชื่นชอบในพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์มากและพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งของวัดสุทัศน์ก็คือ พระกริ่งหลักชัย หรือพระกริ่งบาเก็ง 1 ของท่านเข้าคุณศรี (สนธิ์) ก็เป็นความชอบส่วนตัวครับ

ต่อมาก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องพระกริ่งต่างๆ โดยเฉพาะพระกริ่งสาย วัดสุทัศน์ในรุ่นที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ ก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาส่องดูเนื้อหาของพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์อีกหลายองค์ และก็ได้รับคำแนะนำจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้เรื่องพระกริ่งวัดสุทัศน์อีกหลายท่าน โดยเฉพาะคุณสมชัย จงทวีทรัพย์ ก็ได้แนะนำความรู้ให้ผมอีกมาก และก็นำพระกริ่ง 79 มาให้ผมได้มีโอกาสศึกษารูปแบบและเนื้อหาของพระด้วย อีกทั้งข้อมูลของช่างที่แต่งพระกริ่งรุ่นนี้ สอนให้ดูและจดจำฝีมือของช่างที่เป็นช่างแต่งประจำรุ่น คือช่างประสาร ศรีไทย และยังมีฝีมือแต่งโดยอาจารย์นิรันตร์ แดงวิจิตร ซึ่งเป็นช่างที่มีเจ้าของพระนำไปให้ท่านได้ช่วยแต่งให้เป็นพิเศษต่างหาก เรื่องพระที่มีการตกแต่งนั้นก็มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ศึกษาพระกริ่ง เนื่องจากก็มีพระที่ได้รับการตกแต่งเป็นพิเศษต่างหากจากช่างแต่งประจำรุ่น ก็ต้องศึกษาให้รู้ไว้ด้วยเช่นกัน

พระกริ่ง 79 เท่าที่ผมได้ศึกษามา ก็ทราบว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างหุ่นขึ้นมาเป็นพิเศษ คือเป็นเอกลักษณ์ของพระกริ่งรุ่นนี้เลย ซึ่งในสมัยก่อนผมเองมองว่าพระกริ่งก็มีรูปลักษณ์เหมือนๆ กันหมด แต่พอมาศึกษาโดยละเอียดจึงทราบว่ามีหุ่นอยู่หลายแบบ ในส่วนของเนื้อหาของพระคือเป็นพระโลหะหล่อ ก็มีเอกลักษณ์ของกระแสเนื้อพระต่างกันแล้วแต่รุ่นแล้วแต่วาระ ซึ่งก็แล้วแต่ส่วนผสมโลหะแตกต่างกันตามวาระ ในส่วนของพระกริ่ง 79 นั้นเป็นพระกริ่งเนื้อนวโลหะ และมีส่วนผสมของเงินกลม (พดด้วง) อยู่มากจึงทำให้ผิวของพระเวลาส่องดูจะมีพรายเงินเป็นประกายอยู่ประปราย ซึ่งพอส่องด้วยแว่นขยายดูแล้วมีความรู้สึกว่าซึ้งดีครับ เนื้อหาก็เข้มข้นมาก กระแสของพระกริ่ง 79 มีเนื้อในแดงกลับขาวแล้วกลับดำแกมเทา พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งเทแบบกริ่งในตัว อุดกริ่งที่ฐานใต้สะโพกหนึ่งรู เฉียงไปทางด้านซ้ายมือเราซึ่งโลหะที่อุดเป็นโลหะชนิดเดียวกันกับพระ ผ่านกาลเวลามาจนปัจจุบันนี้แทบมองไม่เห็น ต้องพิจารณาดีๆ จึงสังเกตได้ครับ

พระกริ่ง 79 นี้ผมอยากได้มานานมาก แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เช่าหาเนื่องจากสนนราคาสูงมากมานานแล้ว และหาแท้ๆ ยากมาก บางช่วงพอเจอพระเจ้าของก็ไม่ให้เช่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 กว่าๆ ก็มีหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งนำพระมาให้เพื่อนผมดู ก็มีพระกริ่ง 79 ติดมาด้วยหนึ่งองค์ ผมก็เลยสอบถามดูเผื่อเขาจะให้เช่าในราคาไม่สูงมากนัก แต่เขาก็ไม่ได้ให้เช่า เขาบอกว่าเป็นพระของตาติดมาให้ดูเฉยๆ ครับก็อดไป และก็ได้เห็นพระกริ่ง 79 ต่อมาอีกหลายองค์ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เช่าหา ก็ได้เพียงศึกษาองค์พระกริ่ง 79 แท้ๆ จดจำเนื้อหาและฝีมือช่างไปเรื่อยๆ

ครับเรื่องการศึกษาพิมพ์ทรงในพระกริ่งหมายถึงรูปทรงของหุ่นเทียนที่นำไปเทหล่อ เนื้อหาหรือกระแสโลหะในแต่ละรุ่น กรรมวิธีการสร้าง เช่น การอุดกริ่ง ฝีมือช่างแต่งพระประจำรุ่น ตลอดจนอื่นๆ นั้นสำคัญมากในการพิสูจน์ทราบว่าเป็นพระกริ่งรุ่นนั้นๆ จริงหรือไม่ข้อสำคัญก็คือควรที่จะได้เห็นพระองค์จริงๆ ด้วย และถ้ามีผู้แนะนำที่ถูกต้องด้วยก็ยิ่งดี จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น และต้องหมั่นศึกษาและจดจำให้แม่นยำ เรื่องการดูพระ หรือพิสูจน์ว่าเป็นพระแท้หรือไม่ สามารถศึกษาได้ด้วยเหตุผลที่พิสูจน์ได้อย่างถูกต้องครับ

ในปัจจุบันพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์นั้นมีสนนราคาสูง องค์สวยๆก็ทะลุล้าน หย่อนสวยหน่อยก็หลายแสนใกล้ๆ ล้านครับ และใน วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ องค์ที่มีผิวเดิมๆ แต่งโดยช่างประสาร ศรีไทย ช่างแต่งประจำรุ่น มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13112609626518_bud09p1_3_640x480_.jpg)
สะสมพระเครื่องมาตรฐาน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมและศึกษาพระเครื่องนั้น ในสังคมพระเครื่องถ้าจะแยกก็จะแยกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือการเล่นหาสะสมแบบที่มีมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ ก็คือสามารถนำมาซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้โดยมีมูลค่าราคารองรับ ซึ่งมีผู้ที่เล่นหาแบบนี้คอยรับซื้ออยู่ จึงสามารถนำไปขายได้เมื่ออยากจะขายหรือมีเหตุจำเป็นบางประการที่จะนำพระเหล่านั้นไปขายเปลี่ยนเป็นเงินได้เสมอ

อีกแบบหนึ่งก็คือการเล่นหาสะสมแบบที่ชอบตามความพอใจหรือความเชื่อส่วนตัว ซึ่งก็แยกออกได้หลากหลาย รูปแบบมีทั้งที่เชื่อโดยการจับพลังพุทธคุณ เชื่อตามตำราที่ตัวเองเชื่อ ซึ่งรูปแบบของพระอาจจะไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของอีกสังคมหนึ่งที่เล่นหาโดยมีมูลค่ารองรับ

ครับการเลือกแบบไหนก็ย่อมเป็นสิทธิ์ที่แต่ละท่านจะเลือกเชื่อเลือกเล่นหาได้ตามความพอใจของตนเอง แต่ถ้าจะนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินกับกลุ่มที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับก็ต้องเล่นหาในแบบมาตรฐานของเขา ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ซื้อก็มีสิทธิ์ที่จะซื้อหาตามที่ตนเองเชื่อและชอบ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเขาก็มีมาตรฐานภายในกลุ่มของเขาเองว่า แบบไหนใช่หรือไม่ใช่ พระแบบไหนต้องมีมาตรฐานแบบไหนตามที่เขากำหนด จึงสามารถซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งก็จะเป็นสิทธิ์ของกลุ่มของเขาเช่นกัน เพราะเขาเป็นผู้ซื้อและเป็นผู้จ่ายเงิน

พระที่เคยซื้อกับกลุ่มที่เล่นหาแบบที่มีมูลค่ารองรับก็สามารถนำไปขายได้กับกลุ่มที่เล่นหาแบบนี้กับใครก็ได้ ซึ่งกลุ่มนี้ก็ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ มีอยู่ทั่วประเทศไทย หรือสามารถนำไปขายคืนให้กับผู้ที่เราซื้อหามาจากเขาก็ย่อมได้เช่นกัน ส่วนราคาก็ว่ากันไปตามความพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย การเล่นหาสะสมทั้ง 2 แบบใครชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามความพอใจของตนเอง แต่จะมาโทษว่าใครผิดใครถูกก็คงไม่ได้เช่นกันนะครับ

ประสบการณ์ของตัวผมเองนั้นตั้งแต่เริ่มสนใจศึกษาและสะสมพระเครื่องก็ไม่ต่ำกว่า 50 ปี ก็เห็นเขาเล่นหากันมีทั้ง 2 แบบตามที่เล่ามา ในตอนเริ่มแรกผมก็ศึกษาไปหมดทุกด้าน ก็เช่นหาพระเครื่องแบบไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับมาอยู่เช่นกัน พอนำไปขอคำปรึกษากับกลุ่มที่เขาเล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับก็ไม่ใช่ทุกที่ จึงเริ่มหันมาขอคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องท่านก็กรุณาแนะนำว่า ชอบหรือสนใจพระแบบไหน เช่น เหรียญ พระหล่อ พระเนื้อดิน พระเนื้อชิน พระเนื้อผง ก็ค่อยๆ ศึกษาพระนั้นๆ ไปทีละองค์ทีละแบบ เพราะพระเครื่องต้องศึกษาร่องรอยการผลิตให้ถ่องแท้ และจดจำทีละอย่าง ไม่มีสูตรสำเร็จที่ศึกษาแล้วจะดูพระเป็นเล่นพระได้ทุกอย่าง จะต้องศึกษาทีละพิมพ์ทีละชนิดไป และที่สำคัญจะต้องเคยเห็นพระแท้ๆ ด้วย จะให้ดีก็ต้องเช่าหาพระที่เรากำลังจะศึกษามาเป็นของตัวเองเพื่อที่จะได้ศึกษาดูและคุ้นเคยจนจำได้มั่นคง

ในครั้งแรกผมก็ชอบพระกรุเนื้อดินคือพระรอด วัดมหาวัน คิดในใจว่าจะศึกษาเป็นอย่างแรก แต่ก็ต้องเปลี่ยนใจเนื่องจากมีมูลค่าสูงมาก และไม่มีปัญญาที่จะเช่าหามาเป็นองค์ครูได้ จึงเปลี่ยนมาเป็นพระคงลำพูนที่มีของแท้อยู่มากมายในสมัยนั้น และราคา ถูกองค์พระไม่กี่สิบบาทก็พอมีกำลังซื้อมาศึกษาได้

ในตอนนั้นพระแท้สภาพพอสวยก็อยู่ ห้าหกสิบบาทก็เลยหาเช่ามาศึกษา อ่านหนังสืออาจารย์ตรีฯ เล่มพระสกุลลำพูนอยู่หลายเที่ยว ทั้งไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องอยู่เนืองๆ ค้นคว้าอยู่เป็นปี จนพอดูพระคงเป็นเล่นพระคงได้ ไปหาเช่าพระคงมาอีกหลายองค์และนำไปทดสอบดูในสนามพระเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องในสิ่งที่ศึกษามา ก็เป็นผลสำเร็จเรื่องพระคง ในใจก็คิดว่าดูพระคงเป็นก็สามารถดูพระรอดหรือพระสกุลลำพูนได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไปศึกษาพระบาง พระเลี่ยง พระรอด รายละเอียดของแม่พิมพ์และร่องรอยการผลิตนั้นต่างกัน แต่เนื้อและชนิดของดินก็เป็นแบบที่คล้ายกันแต่ก็มีข้อแตกต่างกันบางประการ

ซึ่งก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ง่ายขึ้นเพราะพอมีหลักในการศึกษามาบ้างแล้วในพระสกุลลำพูน ต่อมาก็ศึกษาอื่นๆ อีกเช่นพระเนื้อชินชนิดต่างๆ ทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินสนิมแดง พระเหรียญ พระประเภทหล่อต่างๆ รวมทั้งพระเนื้อผง จนมาได้ศึกษากับผู้ใหญ่อีกหลายท่าน ในพระชุดเบญจภาคี โดยมีเฮียเธ๊า ท่าพระจันทร์ ที่สอนผมมากที่สุด ในส่วนของตำราหรือหนังสือของอาจารย์ตรีฯ นั้นมีครบทั้ง 3 เล่ม คือพระสมเด็จฯ พระนางพญา พระรอด และหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย

ในปัจจุบันผมก็ยังต้องศึกษาและทบทวนอยู่เสมอ ตราบใดที่เรายังจะคิดว่าจะเช่าพระอยู่ ก็ต้องศึกษาอยู่ เพราะพระที่ทำเลียนแบบต่างก็พัฒนาในการเลียนแบบได้ใกล้เคียงขึ้นอยู่ตลอด และพระเครื่องอื่นๆ ที่เราชอบก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกเช่นกันครับ แต่ก็คงศึกษาในแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับครับ เพราะพระบางอย่างเราก็อาจจะต้องนำไปขายออกกับเซียนพระเพื่อนำเงินไปเช่าหาพระองค์ใหม่ หรือเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในยามจำเป็น ก็ขายได้พร้อมมูลค่าเพิ่มตลอด

การเล่นหาสะสมแบบมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับก็ดีอย่างนี้แหละครับ

วันนี้ผมนำรูปพระคง วัดพระคงฤๅษี ลำพูน กรุเก่ามาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13438812767465_bud12p1_3_640x480_.jpg)
ไต้ฮงกงโจวซือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องไต้ฮงกงโจวซือ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนในแผ่นดินใหญ่และชาวไทยเชื้อสายจีน อีกทั้งประชาชนคนไทยอย่างมากมายในประเทศไทยได้มีการก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการสงเคราะห์สาธารณภัยเพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ จนมีชื่อเสียงและรู้จักกันดีโดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิ ฮั่วเคี้ยวป่อเต๊กเซี่ยตึ้ง” หรือที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันนาม “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” เรามารู้จักประวัติโดยย่อของท่านและพระรูปเหมือนของท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2493 กันนะครับ

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้เกิดบุคคลสำคัญขึ้นท่านหนึ่ง แซ่ลิ้ม เป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน และมีสติปัญญาปราดเปรื่องสามารถสอบไล่ได้ตำแหน่ง “จิ้นสือ” และเข้ารับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มณฑลเจียะเจียง ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตสามารถปกครองราษฎรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตราชการ ท่านจึงได้สละลาภยศอันสูงเกียรติออกอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนานิกายมหายาน ณ วัดแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนได้รับฉายาว่า “ไต้ฮง” เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้หมั่นบำเพ็ญศาสนกิจ ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุธรรมอันวิเศษ

ท่านไต้ฮงพำนักอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต้องการออกโปรดสัตว์ ท่านจึงได้ออกธุดงควัตรจากเมืองฮกเกี้ยนไปตามเมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปนั้น เมืองใดที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ท่านก็จะช่วยขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ให้เมืองใดที่สร้างถนนหรือสะพาน ท่านก็จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ในบางแห่งที่มีโรคระบาด มีคนเจ็บและล้มตาย ท่านก็จะช่วยนำยารักษาโรคออกแจกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วย และออกบิณฑบาตไม้มาทำโลงศพและนำศพไปบรรจุฝังตามธรรมเนียม

พระภิกษุไต้ฮงออกธุดงค์โปรดสัตว์อยู่หลายปี จนกระทั่งผ่านมายังเมืองแต้จิ๋ว ก็มีพุทธศาสนิกชนนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งบนภูเขาปักซัว อำเภอเตี่ยนเอี้ย ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ด้วยความมีเมตตาธรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทำให้บรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านยังได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวจนกลายเป็นพระอารามใหญ่ เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ออกธุดงค์ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเมี่ยงอัง ตำบลฮั่วเพ้ง ห่างจากอำเภอเตี่ยนเอี้ยไปประมาณ 15 กิโลเมตร ที่หมู่บ้านนี้มีแม่น้ำเหลียงเจียงไหลผ่าน แบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก วัดเมี่ยงอังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ในสมัยนั้นแม่น้ำเหลียงเจียงเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวกรากมาก อีกทั้งมีความกว้างใหญ่และลึก ประชาชนจึงใช้เรือเป็นพาหนะ ยามเมื่อเกิดมรสุมมักจะเกิดเหตุเรือล่มบ่อยๆ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ท่านไต้ฮงจึงเกิดความเวทนาสงสารประชาชน จึงดำริที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหลียงเจียง เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรโดยสะดวก ท่านจึงได้บิณฑบาตวัสดุก่อสร้างต่างๆ อยู่หลายปีจนในปี พ.ศ.1671 มีพ่อค้าใหญ่เดินทางมานมัสการท่าน และทราบว่าท่านจะสร้างสะพาน จึงได้นำช่างก่อสร้างและวัสดุมาร่วมสร้างสะพานด้วย

ส่วนบริเวณที่จะสร้างสะพานนั้นท่านได้เลือกตรงหน้าศาลเจ้าหลักเมือง และดูฤกษ์ยามสำหรับการเริ่มงาน ในวันที่เริ่มสร้างสะพานสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดน้ำในแม่น้ำเกิดลดลงไปจนเกือบแห้งเป็นที่อัศจรรย์ บรรดาประชาชนและช่างต่างก็ก้มลงกราบท่านด้วยความศรัทธา ท่านกลับบอกว่าให้กราบฟ้าดินเถิด การครั้งนี้น้ำทะเลที่ปากแม่น้ำจะไม่ขึ้นลงเป็นเวลา 7 วัน เมื่อทราบเช่นนั้นพวกช่างจึงสร้างรากฐานสะพานและสร้างถ้ำสำหรับระบายน้ำจำนวน 19 ถ้ำ จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลา 7 วันพอดี วันต่อมาน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงก็ขึ้นลงตามปกติ การก่อสร้างสะพานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั่งเสร็จ จัดว่าเป็นสะพานหินที่มีความยาวมาก และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า “ฮั่วเพ็ง” หลังจากที่สร้างสะพานเสร็จท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพด้วยอาการสงบสิริอายุได้ 85 ปี ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลและฝังร่างของท่านไว้ ณ ภูเขาฮั่วเพ็งและยังสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือน ไต้ฮงกงโจวซือ ไว้สักการบูชา มีนามว่า “ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง” มาจนทุกวันนี้

ในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ. 2453 ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮง กงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิ ฮั่วเคี้ยวป่อเตกตึ้ง” หรือที่เรารู้จักกันในนาม “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย กทม.

ในโอกาสครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งมูลนิธิ ตรงกับวันที่ 1-15 มิถุนายน พ.ศ.2493 ทางมูลนิธิได้จัดสร้างรูปหล่อจำลองไต้ฮงกงโจวซือขนาดเล็กขึ้น หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธานำไปบูชา จำนวน 100,000 องค์ แบ่งออกเป็นแบบบรรจุเม็ดกริ่ง และไม่บรรจุเม็ดกริ่ง อย่างละ 50,000 องค์ โดยทำพิธีทางศาสนาทั้งฝ่ายหินยานและมหายาน มีสมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศเสด็จมาเป็นประธานเททอง และยังได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคกว่า 108 รูปมาร่วมปลุกเสก นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2497-2498 ทางมูลนิธิยังได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนไต้ฮงกงโจวซือขึ้น เป็นรูปลูกท้อ จัดเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ได้รับความนิยมมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหมือนรุ่นแรกของไต้ฮงกงโจวซือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 01 ธันวาคม 2563 14:59:27


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83193655519021_bud12p1_4_640x480_.jpg)
หลากหลายความคิด-ในพระองค์เดียวกัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ก็มีผู้ถามมาว่า มีบ้างไหมที่เซียนดูพระองค์เดียวกันแล้วมีความคิดเห็นต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วความจริงคืออะไรอย่างไร ทำให้ผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องงงกันไปหมด ถ้าถามผมพระองค์เดียวกันจะมีคำตอบเดียวคือ แท้ หรือไม่แท้เท่านั้นไม่มีอย่างอื่นครับ เพียงแต่ว่าเรานำพระไปถามใครแล้วเขามีความรู้เรื่องพระเครื่องชนิดนั้นๆแค่ไหนอย่างไร ถ้าผู้ที่ลงความเห็นว่าแท้หรือไม่นั้นมีความรู้เท่าๆ กัน และพูดความจริง คำตอบย่อมมีเพียงคำตอบเดียว คือแท้หรือไม่แท้เท่านั้นครับ

ส่วนใหญ่ในปัญหาที่ถกเถียงกันมักจะไม่ใช่พระอย่างอื่น จะเป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ในอดีตมีการพูดถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ บางองค์ว่ามีเซียนใหญ่หลายคนพิจารณาแล้วมีความเห็นที่แตกต่างกัน แล้วพระองค์นั้นจะเป็นพระแท้หรือพระไม่แท้กันแน่ เพราะพระองค์นี้มีการซื้อขายกันไปแล้ว

เรื่องความจริงนั้นต้องมีคำตอบเดียวคือใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น ผมขอยืนยัน เพราะเหตุผลในการพิสูจน์นั้นมีแน่ แต่อาจจะมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องจึงอาจทำให้มีการเห็นแย้งกันอยู่

นอกจากเรื่องแท้หรือไม่แท้แล้วก็ยังมีปัญหาอีกอย่างก็คือ พระสมเด็จบางขุนพรหมบางแม่พิมพ์อาจจะมีแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับของพระวัดระฆังฯ บางทีก็ยังมีปัญหาได้อีก บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจนึกว่าพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจะต้องมีคราบกรุทุกองค์ แต่ความจริงแล้วบางองค์ก็ไม่มีคราบกรุเลยก็มี แถมเนื้อหาก็จัดแบบวัดระฆังฯ อีกด้วย พระที่ไม่มีคราบกรุนี้เขาจะเรียกว่าพระกรุเก่า ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระที่ขึ้นจากกรุหลังจากที่บรรจุกรุได้ไม่นานนัก หรือพระที่ขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2485 ก่อนมีน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ พระประเภทนี้จะมีคราบกรุน้อยหรือไม่มีเลย เนื้อหาของพระก็ยังไม่ได้ถูกน้ำท่วมหรือแช่น้ำ เนื้อหาของพระก็จะจัดหนึกนุ่มแบบพระวัดระฆังฯ

พระของกรุบางขุนพรหมบางแม่พิมพ์ก็เป็นพิมพ์เดียวกับของวัดระฆังฯ และเป็นพระประเภทกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุก็อาจจะถูกขายออกไปเป็นพระวัดระฆังฯ ก็เป็นได้ เนื่องจากสนนราคาของวัดบางขุนพรหมนั้นจะถูกกว่าของวัดระฆังฯ แต่ก็เป็นพระแท้เช่นเดียวกัน ก็เคยมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ความจริงนั้นสามารถพิสูจน์แยกแยะออกมาได้ด้วยเหตุผลครับ และชัดเจนด้วย เพียงแต่จะพูดความจริงกันหรือเปล่า หรือความรู้ของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันก็อาจจะเข้าใจผิดได้ ที่สำคัญต้องอย่านำเอาผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และตัดสินด้วยความเป็นธรรมก็จะได้ความจริงครับ

ผมเคยศึกษาเรื่องพระสมเด็จฯ จากผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน และท่านเหล่านั้นก็อยู่คนละกลุ่มกัน และก็ได้ความกรุณาชี้แนะสอนให้ พร้อมทั้งอธิบายด้วยเหตุและผลถึงเรื่องแม่พิมพ์ เนื้อหาของพระและธรรมชาติของพระ ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นแบบนี้จนเข้าใจ และเหตุผลของแต่ละท่านก็มาตรงกันหมด มีวิธีและเหตุผลเหมือนกันหมดทั้งๆ ที่เล่นหาคนละกลุ่มกัน แต่เล่นหาแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับเช่นเดียวกัน หลักการในการพิสูจน์จะเหมือนกัน แต่อาจจะเรียงลำดับหรือเรียกสัญลักษณ์ต่างกันเท่านั้น แต่ผลสรุปออกมาได้เหมือนกัน และในหลักการของแต่ละท่านในการพิสูจน์พระนั้นถ้าถูกต้องตามมาตรฐานสามารถนำมาขายในสังคมพระเครื่องได้ทุกองค์ โดยมีมูลค่ารองรับครับ

การเล่นหาพระแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับนั้นมีเหตุผลที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน เพียงแต่ถ้าเราอยากจะศึกษาก็ต้องไปหาผู้ที่รู้จริงและสอนให้จริงๆ ตัวเราเองก็ต้องมีจิตใจที่อยากรู้จริงศึกษาจริง มีความตั้งใจจริงและบริสุทธิ์ใจจริง ก็จะได้รับความรู้จากท่านเหล่านั้นกลับมาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซมที่แทบจะไม่มีคราบกรุเลย เนื้อหาจัดแบบพระวัดระฆังฯ ศิลปะแม่พิมพ์ใกล้เคียงกับของวัดระฆังฯ มาก ที่สำคัญเป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมพระเครื่องและมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75690915476944_bud12p1_4_640x480_.jpg)
ปัญหาเกี่ยวกับพระเครื่อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราคงเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับปัญหาพระแท้-ไม่แท้กันมาบ้าง ยิ่งในโซเชี่ยลมีเดียนั้นก็มีเยอะ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็ถกเถียงกันความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีสิทธิ์ที่จะคิดเห็นในแนวทางที่ตนเชื่อได้ ไม่ผิดอะไร เพราะเราก็เห็นในด้านที่ตัวเองเชื่อว่าถูกต้อง ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร เพียงอย่าพยายามให้คนที่เห็นต่างนั้นเชื่อและเห็นด้วยกับฝ่ายของตนเองเท่านั้น ทุกฝ่ายก็สามารถเลือกเชื่อตามที่คนเห็นว่าถูกต้องเรื่องมันก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย

เท่าที่ผมเห็นส่วนมาก ฝ่ายหนึ่งก็อยากที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับและเชื่อในสิ่งที่ฝ่ายตัวเองเชื่อปัญหาจึงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ เอาแหละเราลองมาดูที่ปัญหา ก็คือ แท้-ไม่แท้ ซึ่งก็มีความเห็นแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม และการใช้มาตรฐานใดในการพิสูจน์ชี้ชัดและมีหลักการใดที่เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งต่างก็ถกเถียงกันอยู่ใน โซเชี่ยลมีเดีย สำหรับผู้ที่เริ่มเข้ามาศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ก็คงจะงงๆ อยู่บ้างไม่รู้ว่าจะเชื่อหรือใช้มาตรฐานของฝ่ายไหน ในส่วนตัวผมเองก็เป็นผู้ศึกษาพระเครื่องด้วยเช่นกัน

ผมก็ศึกษาตามแนวทางของทุกฝ่าย แม้ในปัจจุบันก็ยังติดตามศึกษาอยู่ในทุกด้านของทุกๆ ฝ่าย และนำมาวิเคราะห์ดูว่าข้อไหนของฝ่ายใดมีประโยชน์และน่าจะถูกต้องมากที่สุด ก็นำมาใช้ส่วนตัว การศึกษานั้นไม่มีวันจบหรือสิ้นสุดเพราะจะมีข้อมูลใหม่ๆ ที่เพิ่งค้นพบอยู่เสมอ แต่จะใช่หรือไม่ก็ต้องศึกษาและวิเคราะห์ดูด้วย ตัวเองครับ เราสามารถเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อและเห็นด้วยในทุกๆ ข้อความคิดเห็น

ความเชื่อหรือความคิดเห็นใดๆ นั้นสามารถเลือกได้ด้วยตัวเราเอง เช่นพระองค์นั้นแท้ หรือพระองค์นั้นๆ ไม่แท้ ด้วยเหตุผลส่วนตัวเราเอง เราก็ควรเคารพตัวเองเชื่อตัวเอง และก็ไม่ควรที่จะให้ใครมาเชื่อและมีความคิดเห็นตามที่เราคิด ถ้าเป็นเช่นนั้นปัญหาต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ที่เป็นปัญหาอยู่เท่าที่เห็นก็คือ การนำพระตามที่เราเชื่อว่าใช่แท้นั้นไปขายให้กับอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อและมีความเห็นแตกต่างกับตัวเรา เมื่อเขาไม่ซื้อหาตามที่เราต้องการก็เกิดความไม่พอใจ มีการกล่าวต่อว่าต่างๆ นานา

ซึ่งความจริงพระองค์นั้นๆ ที่เรานำไปขาย แต่เขาไม่ซื้อ ก็ย่อมเป็นสิทธิ์ของเขาควรเคารพสิทธิ์ของเขาเช่นกัน เมื่อเราก็มีกลุ่มที่มีความเชื่อเหมือนๆ กัน และเราต้องการที่จะขายก็นำไปขายในกลุ่มของเราเอง ปัญหาก็ไม่เกิดครับ เรื่องง่ายๆ แค่นี้เองครับ หรือถ้าเราจะนำพระของเราไปขอออกใบรับรองพระแท้ กลุ่มหนึ่งอาจจะบอกว่าไม่แท้ เราก็ไปขอออกใบรับรองจากอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเหมือนๆ กันกับเรา มันก็จบด้วยดีอีกเช่นกันครับ

ปัญหาจริงๆ ก็คือความต้องการที่จะให้คนกลุ่มอื่นๆ เชื่อและมีความเห็นแบบเดียวกับเรา เรื่องมันก็เลยมีปัญหา ในสังคมพระเครื่องก็มีหลากหลายกลุ่ม กลุ่มหนึ่งที่เห็นๆ กันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ก็คือกลุ่มศูนย์พระหรือสนามพระในสมัยก่อน เป็นกลุ่มที่มีอยู่ช้านาน เท่าที่ชีวิตผมเห็นมาก็ไม่ต่ำกว่า 60 ปี กลุ่มนี้ก็มีผู้ที่ทำอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องพระบูชา และผู้ที่นิยมพระเครื่องเข้ามาซื้อมาขายกันอยู่ตลอดมา กลุ่มนี้ก็เหมือนเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขาย พระเครื่องพระบูชา และกลุ่มนี้เขาก็มีมาตรฐานของเขาในการพิสูจน์ แท้-เก๊ หรือว่าใช่หรือไม่ใช่แบบของเขาเอง

แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทั้งหมดที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นเหมือนๆ กัน ซึ่งก็เหมือนกับเป็นมาตรฐานในการซื้อ-ขายแบบของเขา ความเห็นต่างในศูนย์กลางการซื้อ-ขายในสนามพระก็ไม่มีปัญหาอะไรหรือทะเลาะเบาะแว้งกันเลย เพราะต่างคนต่างเชื่อ ต่างคนต่างซื้อ-ขาย ก็เท่านั้นเอง

ในปัจจุบันมีการสื่อสารไร้พรมแดน มีโซเชี่ยลมีเดีย ก็น่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากมาย ซึ่งถ้าเราเคารพสิทธิ์ในการเชื่อซึ่งกันและกันในแต่ละกลุ่มก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง พระแบบนี้ขายได้ พระแบบนี้เขาไม่ซื้อก็น่าจะเป็นสิทธิ์ของเขาในสถานที่ของเขานะครับ เรื่องมันก็แค่นี้ง่ายๆ ปัญหาก็ไม่เกิดครับ ปัญหาเกี่ยวกับพระเครื่องต่างๆ ก็แก้ไขได้ง่ายนิดเดียวตามที่ผมกล่าวมาทั้งหมดถ้าเอาผลประโยชน์ออกไปครับ

ครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกตามมาตรฐานที่ เขาซื้อ-ขายกันได้ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งแน่นอนมีมูลค่ารองรับเป็นหลายล้านบาทครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64014562798870_bud11p1_6_640x480_.jpg)
พระกริ่งพรหมมุนี รุ่นศิษย์ถวายสำรับ 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระกริ่งสายวัดสุทัศน์เป็นส่วนใหญ่ และพระกริ่งยอดนิยมของวัดสุทัศน์ก็จะเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งมีจำนวนการสร้างไม่มากนักในแต่ละรุ่น แต่ละรุ่นก็จะพิถีพิถันมากในการสร้าง ทั้งในส่วนของพิธีการและส่วนผสมของโลหะ ผู้ที่เคารพศรัทธาในองค์สมเด็จฯ จึงนิยมเสาะหากันมาก มูลค่ารองรับนั้นสูงทุกรุ่นครับ

ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นศิษย์ถวายสำรับ ที่นักนิยมสะสมพระกริ่งมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งพรหมมุนี เนื่องจากในขณะที่ทรงสร้างพระกริ่งรุ่นนี้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี และพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชในคราวที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนีนั้นมีการสร้างพระกริ่งอยู่หลายรุ่น รวมทั้งตระกูลต่างๆ ที่เคารพศรัทธาในองค์สมเด็จฯ ก็ได้ขออนุญาตสร้างด้วยทุกปี

แต่ในรุ่นศิษย์ถวายสำรับนี้สมเด็จฯ ทรงอนุญาตให้สร้างขึ้นเพื่อประทานแก่ญาติและศิษย์ที่รับเป็นเจ้าภาพถวายสำรับคาวหวานโดยถวายหมดพร้อมทั้งภาชนะแด่พระเถรานุเถระที่นิมนต์มาฉันในการพิธีฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบของสมเด็จฯ ในวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2459

พระกริ่งรุ่นนี้สร้างทั้งหมดจำนวน 60 องค์ เท่าพระชนมายุ และเพิ่ม 1 ปี องค์รวมเป็น 61 องค์ หุ่นของพระกริ่งรุ่นนี้เป็นแบบพระกริ่งจีนใหญ่ การบรรจุกริ่งเป็นแบบกริ่งในตัว เนื้อเป็นเนื้อนวโลหะ โดยนำนวโลหะเชื้อเดิมมาผสม เติมทองแดงบริสุทธิ์ เงิน ทองคำ เพิ่มเข้าไป เนื้อในจะเป็นสีนากแก่ๆ กลับขาวแล้วกลับดำ เมื่อเนื้อกลับดำแล้วเนื้อจะดำสนิท พระกริ่งรุ่นนี้ถ้าจะเรียกเฉพาะก็คือพระกริ่งรุ่น “ศิษย์ถวายสำรับ” พระกริ่งรุ่นนี้ในปัจจุบันหายากมาก มูลค่าราคาอยู่ที่หลักล้าน แต่จะเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ของพระองค์พระประกอบ

ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องใหม่ๆ นั้น ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ก็มักจะพูดถึงพระกริ่งอยู่ไม่กี่รุ่น ถ้าเป็นพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ก็มักจะพูดถึงพระกริ่งพรหมมุนี ซึ่งหมายถึงพระกริ่งรุ่นศิษย์ถวายสำหรับ พระกริ่ง 79 หมายถึงพระกริ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2479 ครั้งที่สมเด็จฯ ดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต และพระกริ่ง 83 หมายถึงพระกริ่งที่สร้างในครั้งฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ.2483 และมักเรียกกันว่าพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนม์

ปัจจุบันพระกริ่งวัดสุทัศน์ทั้งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์หายากทุกรุ่น และมีมูลค่ารองรับสูง เนื่องจากมีจำนวนในแต่ละรุ่นไม่มากนัก ความศักดิ์สิทธิ์ในองค์พระกริ่งและความเคารพเสื่อมใสในองค์สมเด็จฯ และท่านเจ้าคุณศรีฯ นั้นมีมาก ผู้ที่ชื่นชอบพระกริ่งจึงเสาะแสวงหากันมาก แต่ก็หายากนะครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นก็มีอยู่มากเช่นกัน หลากหลายฝีมือ

เวลาจะเช่าหาสะสมควรศึกษาหาข้อมูลก่อนที่จะเช่าหา หรือเช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเรื่องกริ่งโดยเฉพาะจะปลอดภัยกว่าครับ
วันนี้ผมนำรูปพระกริ่ง พรหมมุนี รุ่นศิษย์ถวายสำรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11412850394844_bud05p1_9_640x480_.jpg)
หลวงพ่อสาย วัดรวก 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอำเภอพระประแดงเคารพเสื่อมใสมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อสาย วัดรวก ท่านมีเมตตาธรรมสูงช่วยเหลือและรักษาโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะวิชาต่อกระดูกมีชื่อเสียงมาก

หลวงพ่อสาย ท่านเกิดปี พ.ศ.2422 ที่บ้านตำบลบางผึ้ง สมุทรปราการ โยมบิดาชื่อแสง โยมมารดาชื่อวาย บิดามารดาท่านเป็นชาวสวนมีฐานะดี พอท่านอายุพอสมควรบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดรวก ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน พออายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดราวก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระปลัดน้อย วัดโปรดเกษเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์อ้น วัดโปรดเกษฯ กับพระอธิการบุญ วัดแจงร้อน เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “จนฺทสุวณฺโณ” เมื่อบวชแล้วท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัย บาลี และท่านยังสนใจวิปัสสนาธุระ โดยได้ตำราของเจ้าคุณพระญาณสังวร (ช้าง) พระอาจารย์วิปัสสนาชื่อดังของวัดโปรดเกษฯ เมื่อเรียนแล้วท่านก็ฝึกฝนมาตลอด

พอถึงปี พ.ศ.2455 วัดรวกว่างเจ้าอาวาสลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ท่านได้เอาใส่พัฒนาวัดปฏิสังขรณ์ของเก่าแก่ที่ชำรุดให้สมบูรณ์และก่อสร้างขึ้นใหม่หลายอย่างเช่นศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนประชาบาล และโบสถ์ นอกจากนี้ท่านก็ได้อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อสายท่านช่วยเหลือชาวบ้านทุกคนที่ทุกข์ร้อนและมาขอให้ช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ เนื่องจากท่านยังเชี่ยวชาญในเรื่องแพทย์แผนโบราณได้ประกาศนียบัตรแผนโบราณด้วย นอกจากนี้ท่านยังมีวิทยาคมสูงอีกด้วย มีผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อให้ท่านช่วยรักษามากมาย เรื่องผสานกระดูกท่านก็มีชื่อเสียงมาก เรื่องวิชาประสานกระดูกท่านได้ศึกษามาจากหลวงพ่อตึ๋ง วัดสร้อยทอง

หลวงพ่อสายท่านสนิทสนมกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงพ่อโม้ วัดสน ท่านได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวิชากัน จนได้รับคำชมจากพระอาจารย์ทั้งสอง มีชาวบ้านมาขอเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อสายเป็นประจำ เช่นตะกรุดโทน เด่นทางด้านมหาอุด และไหมเจ็ดสีถักเป็นตะกรุด 7 ดอก เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน และได้สร้างพระเนื้อดินเผาประมาณ 500 องค์ มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันหายากครับ พอถึงปี พ.ศ.2494 ท่านอายุได้ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้าน ได้พร้อมใจจัดงานทำบุญฉลองอายุ และจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านประมาณ 1,000 เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หลวงพ่อสายท่านปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้วก็ออกแจกจนหมด เหรียญนี้มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ชาวพระประแดงหวงแหนกันมาก จัดเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของพระประแดงครับ

หลวงพ่อสายท่านทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด และเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยท่านไม่สะสมทรัพย์ มีผู้มาถวายปัจจัยเท่าไรก็นำมาพัฒนาวัดหมดเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เมื่อถึงปี พ.ศ.2495 หลวงพ่อสายก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 73 ปี 49 พรรษา

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันด้วยครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 ธันวาคม 2563 17:35:29
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41834167101316_bud15p1_640x480_.jpg)
หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมนั้น มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์ ในวันนี้ผมจะคุยถึงพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง คือพระครูไพศาลธรรมวาที พอบอกอย่างนี้หลายท่านอาจจะงง แต่ถ้าบอกว่า หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด ก็ร้องอ๋อจริงไหมครับ หลวงพ่อห้อยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด

หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม หลวงพ่อห้อยเกิดเมื่อ วันที่ 2 7 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง ท่านอุปสมบทใน ปี พ.ศ.2435 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญญัสสะ” หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้ นอกจากนี้หลวงพ่อห้อย ยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย

หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่งเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อยผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า “วัดหอมกรุ่น” ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่าวัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมากท่านจึงปรึกษามัคนายกวัด ในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร

หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้ว ก็ได้เริ่มสร้างพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้นในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมีนายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า “ห้อยศึกษาลัย” จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อท่านจึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูธรรมไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยการร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า “โรงเรียนไพศาลประชานุกูล”

มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุ 68 ปี พรรษา 48

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุด เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น

ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อพระปิดตามาชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29002522553006_p20041263p1_640x480_.jpg)
พระกริ่งสุจิตโต

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งสุจิตโต หรือที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งบัวรอบ วัดบวรฯ เป็นพระกริ่งที่หายากมาก และเป็นพระกริ่งที่สร้างเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์และหม่อมเอม ประสูติเมื่อ พ.ศ.2415 มีพระนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ผนวชเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.2430 พระพรหมมุนี (สุมิตโต หมือน) วัดบรมนิวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2435 พระพรหมมุนี (กิตติสาโร แพง) วัดมกุฏฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ทรงดำรงสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
ปี พ.ศ.2439 เป็นพระญาณวราภรณ์
ปี พ.ศ.2446 เป็นพระญาณวราภรณ์ ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นพิเศษ
ปี พ.ศ.2455 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ.2464 เลื่อนเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งพระธรรมพิเศษ ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ.2471 เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
ปี พ.ศ2488 ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนาสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชพระอุปัธยาจารย์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และถวายพัดแฉกมหาสมณุตมาภิเษก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงปฏิบัติพระกรณีย์ที่สำคัญๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการพระศาสนาและประเทศชาติหลายประการ พระกรณีย์สำคัญประการหนึ่งก็คือ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคราวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่อีกหลายพระองค์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ เป็นต้น

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 38 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2501 พระชนมายุ 84 พรรษา

ในปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ จะมีพระชนมายุครบ 6 รอบ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ เวลา 09.08 น. สมเด็จทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อเวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า “พระกริ่งสุจิตโต” ตามพระนามฉายาของสมเด็จฯ แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า “พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร” เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะกันด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

พระกริ่งสุจิตโต เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสุจิตโตจากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ โดยคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมกันครับ
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78023563284012_bud12p1_2_1_640x480_.jpg)
เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด 2506

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้ผมได้รับคำถามบ่อยมากว่า ใส่พระหรือห้อยพระอะไรดี

คำถามนี้ โดยส่วนใหญ่ก็เพื่อจะหวังผลที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องค้าขายหรือโชคลาภเป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจเวลานี้ไม่ค่อยดี การค้าขายรายได้ลดลง แต่กลับกันค่าครองชีพกลับสูงขึ้นสวนทางกัน ซึ่งความจริงแล้วก็เป็นกันทั่วโลกคล้ายๆ กัน

ส่วนบ้านเราอาจจะกระทบมากหน่อย ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะจิตตกหาที่พึ่งทุกทางโดยเฉพาะทางใจ ชาวพุทธก็จะเข้าวัดเข้าวาฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรม ส่วนคนที่ชอบพระเครื่องก็หวังจะหาพระเครื่องเพื่อช่วยเป็นที่พึ่งต่างๆ

คำถามต่างๆ เหล่านี้ตอบได้ยากเหมือนกัน ความจริงแล้วก็ควรห้อยพระที่เราชอบและศรัทธาจะดีที่สุด พระอะไรก็ได้ครับ แต่อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เพียงอย่างเดียว ความจริงพระเครื่องก็เป็นที่พึ่งทางใจ ช่วยให้มีกำลังใจ มีจิตที่สงบลงมีสติไม่ร้อนใจ วุ่นวาย การห้อยพระเครื่องเป็นที่พึ่งนั้นตัวเราเองก็ต้องปฏิบัติด้วยจึงจะได้ผล คือประพฤติตนให้อยู่ตามหลักของศาสนา เช่น พยายามลดละเลิกกิเลสทั้งหลายลงบ้าง ประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกง ลดความโลภ โกรธ หลง ใช้จ่ายอย่างประหยัดพอเพียง ขยัน อดทน แน่นอนครับว่ามนุษย์เรามีกิเลสมากมาย มากน้อยแล้วแต่บุคคล ทุกศาสนาก็สอนให้เราลดละเลิกกิเลสลงเสียบ้างไม่มากก็น้อย หมั่นฝึกฝนให้เหลือน้อยลงก็จะค่อยๆ ดีขึ้นครับ พุทธคุณหรือพระเครื่องต่างๆ มีส่วนช่วยเราได้ ช่วยให้มีกำลังใจ ช่วยให้จิตใจสงบ และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ตัวเราเองก็ต้องช่วยตัวเองด้วย พยายามยืนให้ได้ด้วยตัวเอง มีสติแล้วปัญญาก็จะเกิดปัญหาต่างๆ มีไว้ให้แก้ แล้วทุกๆ อย่างก็จะผ่านพ้นไป

ในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ถ้าถามว่าในส่วนตัวผมเองคิดว่าน่าจะห้อยพระอะไร ผมเองว่าห้อยพระนิรันตรายแคล้วคลาดปลอดภัยครับ แคล้วคลาดจากทุกๆ อย่าง ในสภาวะแบบนี้มีทั้งภัยจากโจร ผู้ร้าย ในรูปแบบต่างๆ ภัยจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพงต่างๆ ขอให้แคล้วคลาดผ่านพ้นไปได้ ก็ถือว่าดีที่สุดแล้วครับ พระเครื่อง นิรันตรายก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระหลวงปู่ทวดทุกวัดทุกรุ่นใช้ได้หมดครับ ส่วนที่นิยมมากหน่อยก็ของวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ยิ่งเป็นรุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกยิ่งดีใหญ่ พูดง่ายๆ ก็คือก่อนปี พ.ศ.2513 ความจริงพระอาจารย์ทิมก็ได้ปลุกเสกไว้หลายวัดด้วยกันครับ

แต่ถ้าเป็นของวัดช้างให้รุ่นที่พระอาจารย์ทิมปลุกเสกก็จะนิยมมากกว่า ถึงแม้ว่าเราจะหาพระของวัดช้างให้ที่ท่านพระอาจารย์ทิมปลุกเสกไม่ได้ก็หาของวัดใดรุ่นใดก็ได้ครับ ขอให้ระลึกถึงหลวงปู่ทวด และพระอาจารย์ทิมก็ได้ผลเช่นกันครับ แต่อย่าลืมว่าตัวเราเองก็ต้องประพฤติตนให้เป็นคนดีด้วยนะครับจึงจะได้ผลดี พระไม่ช่วยคนเลวนะครับ ดีได้ไม่มากก็ขอให้พยายามดีบ้างก็ยังดีครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2506 พิมพ์หน้าผาก 4 เส้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมมาให้ชมครับ
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38065480606423_bud14p1_2_640x480_.jpg)
พระกริ่งนิรันตราย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักท่าน พระกริ่งนิรันตรายหลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา เป็นพระกริ่งรุ่นเก่าที่สนนราคายังไม่สูงมากนัก แต่เป็นพระกริ่งที่มีพุทธคุณสูง และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงเป็นประธานในพิธี และมีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ตอนทำพิธี ความเป็นมาเป็นอย่างไรลองมาติดตามกันครับ

วัดดอน แต่เดิมมีชื่อเดิมว่า “วัดดอนทวาย” ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของถนนเจริญกรุง ในท้องที่อำเภอยานนาวา กทม. ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงครองราชย์ (พ.ศ.2335) มังจันจ่าเจ้าเมืองทวาย (เมืองมอญ) ได้อพยพครอบครัวญาติสนิทมิตรสหายและบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้าทำนองหนีร้อนมาพึ่งเย็น

ต่อมามังจันจ่า ได้รับราชการมีความดีความชอบเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงโปรดพระราชทานที่หลวง ณ ตำบลคอกกระบือ อันเป็นบริเวณที่ตั้งวัดดอนปัจจุบันนี้ให้เป็นถิ่นพำนักของ มังจันจ่าและบริวาร และได้ลงหลักปักฐานเป็นปึกแผ่นมั่นคง และพากันเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านทวาย” โดยมีมัง จันจ่าเป็นหัวหน้าปกครองได้รับความร่มเย็นเป็นสุขสืบมา

โดยที่ชาวบ้านทวายเป็นพุทธศาสนิกชนผู้ถือเคร่งในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ในปี พ.ศ.2340 มังจันจ่าพระยาทวายจึงได้ชักชวนชาวทวายจัดสร้างวัดขึ้น ที่ด้านหลังหมู่บ้านทวาย ซึ่งเป็นที่ดอนสูงเด่น เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม และให้ชื่อว่า “วัดดอนทวาย” ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจสิบต่อมา กาลผ่านมาจะด้วยชื่อวัดยาวไปหรืออย่างไรไม่ทราบได้ แต่ชาวบ้านมักจะชอบเรียกสั้นๆ ว่า “วัดดอน” และเรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ พระอธิการที่ครองวัดดอนที่พอสืบได้ก็คือ ท่านปู่จั่น หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกท่านว่า ท่านปู่ใหญ่ เป็นพระเถระฝ่ายชาวทวาย ซึ่งอาราธนามาแต่เมืองทวาย ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทางปฏิบัติ ทางกสิณสมาธิภาวนา มีผู้ศรัทธาเสื่อมใสเป็นอันมากในขณะนั้น ท่านครองวัดดอนมาจนถึงปี พ.ศ.2464 ก็ถึงแก่มรณภาพ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์ (หลวงพ่อกึ๋น) ได้รับอาราธนาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อกึ๋นเป็นลูกบ้านทวายโดยกำเนิด เกิดที่หมู่บ้านทวาย อำเภอยานาวา ท่านก็เป็นผู้ทรงคุณในทางสมาธิภาวนาและมีอาคมแก่กล้า ท่านได้อุปสมบทและเล่าเรียนวิทยาคมสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อจั่น (ท่านใหญ่) และอาจารย์เปี่ยม วัดดอน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิทยาคมขลังอีกรูปหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2480 สมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นพระครูกึ๋น อยู่นั้น ก็เริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเอเชียบูรพา ชายไทยทุกคนต้องเข้ารับใช้ชาติ ในการนี้ท่านพระครูกึ๋นจึงดำริที่จะสร้างพระเครื่องขึ้นมา เพื่อแจกทหารที่มาลาไปทัพ จึงได้สร้างพระกริ่งนิรันตรายขึ้นมาโดยได้ทูลอาราธนาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งวัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ที่ท่านเคารพสูงสุดเสด็จไปเป็นประธานจุดเทียนชัย ขอแผ่นทองและทองชนวนพระกริ่งต่างๆ ตลอดจนกำกับการเททองหล่อจนเสร็จการ

เหตุการณ์ในขณะที่บัณฑิตกำลังบวงสรวงอัญเชิญปวงเทพมาร่วมโมทนาในพิธีเทพระกริ่งอยู่นั้นพลันอสุนีบาต ก็ฟาดลงมาท่ามกลางพิธี เป็นที่อัศจรรย์ ผู้คนต่างตื่นตะลึง แต่หามีผู้ใดได้รับอันตรายไม่ ต่อมาในขณะที่ทำพิธีเททองอยู่นั้น สายสิญจน์ได้ตกลงไปในเบ้าที่หลอมทอง แต่ทว่าสายสิญจน์หาได้ไหม้ไฟแม้แต่น้อย ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ และมีผู้รู้เห็นมากมายต่างก็โจษจันกันไปทั่ว แม้แต่พระนามของพระกริ่งที่ท่านพระครูกึ๋นตั้งว่า “พระกริ่งนิรันตราย” ยังพลอยเรียกกันว่า “พระกริ่งฟ้าผ่า”

พระกริ่งรุ่นนี้มีสร้างด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก โดยพระกริ่งพิมพ์ใหญ่สร้างประมาณ 108 องค์ ส่วนพระกริ่งพิมพ์เล็กสร้างประมาณ 300 องค์ พระกริ่ง วัดดอนนี้นับว่าเป็นพระกริ่งที่สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ท่านได้ทรงเป็นประธาน เททองอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าเก็บบูชามาก อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งนิรันตรายของวัดดอนพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22555076455076_bud13p1_3_640x480_.jpg)
พระกลีบบัว วัดลิงขบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกลีบบัว วัดลิงขบ ของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนักจึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบ หรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงทรงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรมขุน ธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า “วัดบวรมงคล”

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา ซึ่งอยู่มุมเขตด้านเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็ เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่ องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจแต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนี เจ้าอาวาสจึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุอย่าง เป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้าการขุด ได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุพระพุทธรูปพระเครื่องพิมพ์ต่างๆทั้งชนิดเนื้อชิน และเนื้อดินนอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวน เล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผามีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์ อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุตลอดจน พระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์ก็มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปใช้ ห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพันกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดีปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนักทั่วๆ ไปอยู่ที่พันแล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84734441712498_bud11p1_6_640x480_.jpg)
พระกริ่งฟ้าลั่นเจ้าคุณศรี(ประหยัด)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งของวัดสุทัศน์ รุ่นหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ก็เป็นพระกริ่งที่ดีมีคุณค่ามากองค์หนึ่งครับ ความเป็นมาของพระกริ่ง รุ่นเราจะมาคุยกันในวันนี้ครับ

พระกริ่งวัดสุทัศน์ที่เราส่วนมากรู้จักกันก็คือพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และพระกริ่งของท่านคุณศรี (สนธิ์) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทุกรุ่น สนนราคาก็ สูงมากตามครับ แต่ก็ยังมีท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) อีกรูปหนึ่งที่ท่านได้สร้างพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ แต่ท่านก็สร้างไว้ไม่มากรุ่นนักครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เช่นกัน และได้รับการถ่ายทอดการสร้างพระกริ่งจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อีกทั้งท่านก็ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดพิธีการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ด้วย และท่านก็เป็นผู้มีฝีมือในการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ด้วยเช่นกัน

การสร้างพระกริ่งรุ่นแรกของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) สร้างในปี พ.ศ.2486 และได้นำเข้าพิธีเดียวกับพระกริ่ง พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อันมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี พระกริ่งชุดนี้นับว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) กล่าวคือองค์พระกริ่งก็จะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ทั่วๆ ไป แต่ที่ฐานบัวจะมีความแตกต่างออกไปโดยที่ฐานบัวนั้นจะทำเป็นกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น ลักษณะของกลีบบัวจะทำเป็นแบบกลีบบัวจริงประกอบด้วยบัวคว่ำบัวหงาย ซ้อนกันสองชั้น ส่วนในชั้นล่างสุดเป็นกลีบบัวหงายอีกชั้นหนึ่ง และเป็นกลีบบัวรอบองค์พระสังเกตได้ง่าย เมื่อพบเห็นก็จะบอกได้เลยว่าเป็นพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ครับ

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) นั้นมีการสร้างพระกริ่งฟ้าลั่นเมื่อ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2517 โดยเทหล่อ ณ สนามหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ หล่อด้วยเนื้อนวโลหะวรรณะสีทองปนนาก ผิวสีน้ำตาลอมดำ พระกริ่งฟ้าลั่นได้ถอดพิมพ์จากพระกริ่ง รุ่น พ.ศ. 2479 ของสมเด็จ พระสังฆราชแพ พุทธลักษณะจึงคล้าย กัน แต่ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่าพระกริ่งรุ่น 79 เล็กน้อยเนื่องจากเป็นการถอดพิมพ์มา จึงทำให้องค์พระมีขนาดหดเล็กลงไปเล็กน้อย พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ย่อมเยา และยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งฟ้าลั่น ของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) มาให้ชมครับ
ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2564 20:16:01
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25814251518911_1_Copy_.jpg)
พระกริ่งตั๊กแตน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราพูดกันถึงพระกริ่งที่สร้างจากภายนอกประเทศกันมาถึง 4 องค์แล้ว ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ในวันนี้ผมก็จะขอกล่าวถึงพระกริ่งนอกอีกองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเช่นกัน เรียกว่าในสมัยก่อนรุ่นคุณปู่คุณตานั้นต่างก็ยกย่องว่าเป็นเจ้าแห่งกฤษฎาคม เป็นเลิศในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด และต่างก็เสาะหาพระกริ่งรุ่นนี้กันมาก พระกริ่งนี้ก็คือพระกริ่งตั๊กแตน

พระกริ่งตั๊กแตน หรือพระกริ่งเขมรนี้ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศกัมพูชา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ และได้สร้างกันต่อๆ มาหลายยุคหลายสมัย แต่ที่นิยมเสาะหากันนั้นเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นในยุคแรกๆ ซึ่งพระพักตร์ของพระกริ่งตั๊กแตนในยุคแรกๆ นั้น จะมีพระนาสิกใหญ่ พระเนตรจะเป็นรอยลึกลงไปในเนื้อพระ ที่มักเรียกกันว่าตาเจาะ

สันนิษฐานว่าเวลาสร้างหุ่นเทียนนั้นคงจะใช้วัสดุเซาะขีดลงไปในหุ่นเทียน พระโอษฐ์ก็เป็นการเซาะขีดลงไปในหุ่นเทียนเช่นกัน พระศกเป็นเม็ดกลมๆ พระเกศจะเป็นตุ้มกลมๆ เช่นกัน คนในสมัยก่อนคงจะเห็นลักษณะแปลกๆ คล้ายหน้าตั๊กแตนหรืออย่างไรไม่ทราบได้ จึงเรียกพระกริ่งชนิดนี้ว่า “พระกริ่งหน้าตั๊กแตน” และเป็น “พระกริ่งตั๊กแตน” ในที่สุด

พระกริ่งตั๊กแตนนี้เป็นการสร้างแบบปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ ดังนั้น พระแต่ละองค์จะไม่มีองค์ใดๆ เลยที่จะเหมือนกันเปี๊ยบ เนื่องจากไม่ได้ถอดหุ่นเทียนออกมาจาก แม่พิมพ์ จะมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันไปไม่มากก็น้อย การวางพระหัตถ์ก็จะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก กล่าวคือมีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย และปางมารวิชัยกลับด้าน หรือที่นิยมเรียกกันว่าปางสะดุ้งกลับ การถือสิ่งของในมือก็เช่นกัน มีทั้งแบบที่ไม่ถืออะไรเลย จนมีถือดอกบัวบ้าง ถือหม้อน้ำมนต์บ้าง ถือหอยสังข์บ้างก็มี พระทุกองค์จะมีประคำสวมใส่ที่คอทุกองค์ และบัวที่ฐานก็มีแบบต่างๆ เช่น บัวฟันปลา บัวตุ่ม บัวย้อย บัวเม็ดมะยม และบัวฟองมัน เป็นต้น

พระกริ่งตั๊กแตนเป็นพระกริ่งที่บรรจุกริ่งในตัว มีรอยอุดที่ด้านหลังแถวๆ สะโพก ที่ใต้ฐานมักทำเป็นลักษณะคล้ายเลขหนึ่งไทย ลักษณะการปั้นเป็นเส้นแบบขนมจีนและขดวางลงไปที่หุ่นเทียน มีความหมายถึงคำว่า “โอม” พบว่าบางองค์เป็นฐานเรียบๆ ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ก็มี ส่วนเนื้อหาพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ นั้นจะเป็นเนื้อสำริดแก่เงิน ผิวจะเป็นสีดำคล้ำๆ

ส่วนพระกริ่งในรุ่นต่อๆ มาเนื้อของพระมักจะเป็นสีออกเหลือง ผิวสีน้ำตาล และที่เป็นผิวอาบเมฆพัดก็มี ที่ใต้ฐานก็มักจะมีเส้นเป็นกากบาทและเลขหนึ่งไทย ส่วนบัวมักจะทำเป็นแบบบัวฟันปลา

พระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ นั้นเป็นที่นิยมมาก และหายากสนนราคาสูง พุทธคุณว่ากันว่า ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ซึ่งเป็นที่เกรียงไกรมานานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ มาให้ท่านได้ชมกันครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51725514191720_1_Copy_.jpg)
พระกริ่งพระพุทธชินสีห์

“ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายตั้งใจศึกษาธรรมะ อยากรู้ความจริงของธรรมะ คือต้องการรู้ความจริงของกายและใจ ของเรานั่นเอง” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“พระกริ่งพระพุทธชินสีห์” หรือพระกริ่ง 7 รอบ พระกริ่งที่มีค่านิยมสูงรุ่นหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร ด้วยเป็นการจำลองแบบมาจาก “พระพุทธชินสีห์” พระพุทธรูปองค์สำคัญในพระอุโบสถมูลเหตุการสร้างพระกริ่งพระพุทธชินสีห์ เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) พระราชอุปัธยาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดสร้างเมื่อวันที่ 3 พ.ย.2499

ในพิธีเททองหล่อพระกริ่งฯทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย มีจำนวนการจัดสร้างเพียง 500 องค์

“หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” วัดบางคลาน จ.พิจิตร พระเกจิอาจารย์ดังแห่งพิจิตร เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ เป็นอีกหนึ่งในตำนานของวงการพระเครื่องไทย โดยเฉพาะเหรียญจอบ เป็นที่นิยมจากบรรดาเซียนพระเป็นอย่างมาก มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์จอบเล็กและพิมพ์จอบใหญ่ เหรียญหล่อทั้ง 2 พิมพ์ เป็นเนื้อทองผสม พิมพ์จอบเล็ก-จอบใหญ่ เป็นพระหล่อที่ดูง่าย ไม่มีลวดลายพิสดาร ตะไบเห็นชัดเจน แต่ผิวพรรณรูปทรงองค์พระดูงดงาม

ลักษณะเป็นรูปคล้ายจอบเป็นสามเหลี่ยม มีหู ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปนั่งขัดสมาธิ ด้านหลังเหรียญ ผิวเรียบไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเหรียญหล่อโบราณ พิมพ์จอบเล็ก และพิมพ์จอบใหญ่ มีจำนวนสร้างไม่มาก มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน มีการเช่าหาที่ราคาสูงยิ่ง จึงนิยมเก็บไว้ในครอบครองและไม่ยอมปล่อยมือ ปัจจุบันเป็นที่นิยมและเป็นพระยอดนิยม

“หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณ” วัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ จ.สมุทรสงคราม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง จัดสร้าง “เหรียญงบน้ำอ้อย” หรือ “เหรียญอริยสัจ” เมื่อราวปี พ.ศ.2489-2490 แจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมงานทำบุญในวันฝังลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดเสด็จ ลักษณะเป็นเหรียญกลมหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปกลีบบัวบาน มีอักขระขอมกำกับแต่ละกลีบ ตรงกลางเป็นหัวใจอริยสัจว่า “ทุ สะ นิ มะ”

ด้านหลังเหรียญเป็นรูปธรรมจักร ตรงกลางมี “ยันต์เฑาะว์” ถัดมาเป็นพระปิดตา วงนอกสุดเป็นอักขระขอมโดยเหรียญงบน้ำอ้อย หรือเหรียญอริยสัจ มีความแตกต่างไปจากเหรียญพระคณาจารย์อื่น ซึ่งระบุชื่อพระเกจิ วัด และปี พ.ศ.ที่สร้าง ดังนั้น ผู้ที่ไม่อยู่ในวงการพระเครื่องหรือศึกษาเหรียญวัตถุมงคลจริงๆ จะไม่ทราบว่าเหรียญอริยสัจสร้างโดยหลวงปู่ใจ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89088448550966_1_Copy_.jpg)
หลวงปู่ชู วัดนาคปรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แถวย่านธนบุรีในอดีตมีพระเกจิอาจารย์ที่เก่งๆ มากมาย พระเกจิที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่งก็คือ หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านได้เคยพูดยกย่องอยู่เสมอว่า หลวงปู่ชูท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีญาณสมาธิสูงมาก

หลวงปู่ชูเป็นชาวนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เข้ามาสร้างบ้านเรือนมีครอบครัวอยู่ที่สวนหลังวัดนางชี ในขณะที่หลวงปู่ชูครองเพศฆราวาสอยู่นั้น ท่านเป็นผู้ใฝ่ในธรรม และชอบศึกษาวิทยาคม และแพทย์แผนโบราณ ได้ขึ้นไปศึกษาอยู่กับท่านอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดชีโพ้น) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านอาจารย์พลับมีชื่อเสียงปรากฏขจรขจายอยู่ในขณะนั้น

ต่อมาท่านก็ได้กลับมาอุปสมบทที่วัดนางชี โดยมีพระครูเปรม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดนางชี 1 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนาคปรกและได้เป็นเจ้าอาวาส

ในการย้ายมาอยู่ที่วัดนาคปรกนี้ปรากฏว่ามีพระภิกษุจากวัดนางชีได้ย้ายติดตามไปอยู่ที่วัดนาคปรกด้วยจำนวน 10 รูป ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาคปรกนั้น ท่านได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะตลอดจนกุฏิ วิหาร ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาอีกวาระหนึ่งประกอบด้วยชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่เป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงวัดนาคปรกเสมอมา

หลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านมาตลอดไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยมาให้ท่านช่วยรักษา ท่านก็ช่วยรักษาให้จนหายขาดทุกรายไป ด้วยคุณธรรมของหลวงปู่อันนี้แหละ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธาและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชนเป็นอย่างดี

ในวัดนาคปรกสมัยนั้นจะเต็มไปด้วย ว่านยา สมุนไพรต่างๆ มากมาย ยาดีของ หลวงปู่ชูขนานหนึ่งก็คือ ยาดองมะกรูด ยานี้ท่านจะทำใส่โอ่งตั้งไว้กลางแจ้งตากแดดตากน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้ใดต้องการท่านก็จะแจกให้ไป ยานี้เป็นยาดองที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ เป็นฝีหนอง มีอาการแพ้อักเสบต่างๆ เมื่อดื่มกินยาดอง น้ำมะกรูดของท่านแล้วส่วนมากจะหายทุกรายไป

สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้องค์หนึ่ง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนทั่วไป และท่านก็ได้สร้างพระเครื่องรูปหลวงพ่อโต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้าน ส่วนที่เหลือท่านก็ได้บรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโต นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเครื่องหลวงพ่อโตไว้อีกหลายรุ่น และมีเหรียญหล่อเป็นรูปเสมา เป็นพระพุทธรูปนั่งมารวิชัยประทับนั่งซ้อนกัน นิยมเรียกกันว่าพิมพ์พุทธซ้อน

ส่วนเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่หายากก็คือเหรียญรูปท่าน ซึ่งศิษย์ขออนุญาตท่านสร้างเป็นที่ระลึกในคราวทำบุญอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเหรียญเงินที่มีจำนวนน้อยมาก ด้านหลังเป็นรอยบุ๋มแบบหลังแบบ ปัจจุบันหายากมาก ราคาหลักแสนครับ หลวงปู่มรณภาพในปี พ.ศ.2475

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงพ่อโตมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67256481697161_1_Copy_.jpg)
พระปิดตา พระมหาอุตม์ หรือพระมหาอุด

ความหมายของพระปิดตาที่พระเกจิอาจารย์นำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล หรือพระเครื่องนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร มีการพูดถึงมาแต่โบราณต่างๆ นานา มีหลากหลายความคิดเห็นแล้วแต่จะได้ยินได้ฟังกันมาอย่างไร ประการแรกเราควรจะรู้ถึงความหมาย และพระปิดตาเป็นรูปเคารพซึ่งองค์แทนของพระพุทธเจ้า หรือพระอัครสาวกรูปใด

พระมหากัจจายนะ เราก็คงจะพอรู้จักกันนะครับ ว่าท่านก็คือพระอรหันต์รูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ณ กรุงอุชเชนี พระมหากัจจายนะท่านเรียนจบไตรเพท ของศาสนาพราหมณ์ ท่านได้พบกับสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับบริวารอีก 7 คน และได้รับฟังคำเทศนาครั้งนั้น จนบรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 8 คน จึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ครั้นพระมหากัจจายนะเถระได้อุปสมบทแล้วก็ได้ไปแสดงธรรมแก่พระเจ้าจัณตา ปัชโชติ ที่กรุงอัชเชนี และได้รับความเลื่อมใสจากพระเจ้าจัณตาปัชโชติและชาวเมือง เมื่อกลับมาสู่สำนักพระบรมศาสดาก็ได้รับคำยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า “พระมหากัจจายนะนั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร” พระมหากัจจายนะท่านเป็นพระเถระรูปงามผิวพรรณวรรณะงดงาม เป็นที่สร้างเสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปที่ใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญ

มีอยู่ครั้งหนึ่ง บุตรของเศรษฐีชื่อว่า โสเรยยะ เมื่อได้ประสบพบเห็นพระมหา กัจจายนะเถระเป็นผู้มีรูปงามผิวพรรณผุดผ่อง ด้วยความคึกคะนองใจยิ่งนัก และคิดเลยไปว่า ถ้าเราจักได้ภรรยารูปงามเช่นนี้ก็จะดี ด้วยอำนาจแห่งอกุศลจิตเพียงเท่านั้น เขาได้กลับกลายเป็นเพศสตรีในทันที และได้รับความอับอายจนต้องหนีไปอยู่ที่เมืองอื่น ภายหลังได้สำนึกผิด ได้มาขอขมา ท่านจึงได้ให้อภัย และได้กลับมาเป็นเพศชายดังเดิม

ด้วยความมีรูปกายงดงาม และแสดงพระธรรมได้ยอดเยี่ยมจึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธากันมาก และบางครั้งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นองค์พระบรมศาสดาเสียด้วยซ้ำ ท่านจึงได้รับสมญานามหนึ่งว่า “พระภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงเนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู มนุษย์และเทพยดาจะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป

ด้วยรูปลักษณ์ตอนที่เนรมิตกายดูอ้วนลงพุงอย่างอุดมสมบูรณ์นี้เอง ผู้ที่พบเห็นก็ยังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส มาสักการะด้วยข้าวของมากมาย ท่านจึงเข้านิโรธสมาบัติตัดกิเลสทั้งปวง มิให้เข้ามากล้ำกรายได้ ด้วยกิริยาปิดทวารทั้งเก้าปิดสนิท คืออาสวกิเลสต่างๆ ไม่อาจจะเข้ามาแผ้วพานได้เลย พระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณท่านจึงได้สร้างพระเป็นรูปพระปิดตา ปิดทวารทั้งเก้า เพื่อให้มองเห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า ตอนที่ทวารทั้งเก้าถูกปิดสนิทหมดนั้น เป็นตอนที่องค์พระภควัมปติกำลังเข้านิโรธสมาบัติ คือทวารทั้งเก้าปิดสนิทหรือดับสนิท ซึ่งถือว่าเวลานั้นเป็นเวลาที่วิเศษและบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง ดังนั้น พระมหากัจจายนะ หรือพระมหาสังกัจจายนะ และพระภควัมปติ หรือพระภควัมบดี นั้นก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกัน

ในสมัยโบราณมีบางท่านเข้าใจก็นึกเอาเองว่า พระปิดทวารทั้งเก้าเป็นมหาอุด ห้ามเก็บไว้ในบ้าน ขณะที่กำลังมีคนจะคลอดลูก จะคลอดไม่ออก เป็นต้น ซึ่งความจริงไม่เกี่ยวกันเลยครับ ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า ท่านก็คือพระอรหันต์พระมหากัจจายนะเถระนั่นเองครับ การบูชาพระอรหันต์ผู้ปราศจากอาสวกิเลสแล้วนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษสุด อันเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ ท่านบูชาพระมหาสังกัจจายน์กับพระปิดตา ปิดทวารก็คือการบูชาพระอรหันต์องค์เดียวกัน ซึ่งดลบันดาลให้ท่านอุดมด้วยโชคลาภ พระเกจิอาจารย์ท่านจะสร้างเป็นรูปพระปิดตาปิดเพียงใบหน้า หรือปิดทวารทั้งเก้าก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือหมายถึงพระอรหันต์สาวก “พระมหากัจจายนะเถระ”

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตามหาอุตม์ของหลวงพ่อทับ วัดทอง มาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12295660169588_1_Copy_.jpg)
พระกรุวัดอัมพวา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อผงที่มีอายุความเก่าแก่กรุหนึ่งของกรุงเทพฯ และในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยม แต่สนนราคายังไม่สูงมาก อีกทั้งก็ยังพอหาได้ไม่ยากนัก อาจจะเป็นเพราะประวัติความเป็นมายังไม่ค่อยมีการเผยแพร่กัน อีกทั้งจำนวนพระมีจำนวนมากพอสมควร สนนราคาจึงยังไม่สูง แต่ก็เป็นพระกรุอีกกรุหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ

วัดอัมพวา กทม. ตั้งอยู่ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่วัดแห่งนี้มีพระกรุเนื้อผงน้ำมันที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ ด้านหลังพระอุโบสถ และได้แตกกรุออกมาในปี พ.ศ.2484 ตอนที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาวะสงคราม เจ้าอาวาสวัดอัมพวาในสมัยนั้นคือ พระครูแป้น ได้เปิดกรุออกมา เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและทหาร ตำรวจ

พระกรุนี้ได้สร้างขึ้นเนื่องในงานปฏิสังขรณ์วัดอัมพวา ประมาณ พ.ศ.2440 กว่าๆ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณฯ เป็นประธานในการพุทธาภิเษก และได้บรรจุพระทั้งหมดไว้ในองค์พระเจดีย์ สำหรับพระพุทธโฆษาจารย์ฤทธิ์นั้น ท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านผงพุทธคุณ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก

ประวัติเท่าที่ทราบท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2380 เมื่ออายุได้ 10 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนกับพระมหาพลาย วัดนาคกลาง พออายุได้ 13 จึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาอยู่ที่วัดราษฎร์บูรณะ ขณะเป็นสามเณรสอบได้เหรียญ 3 ประโยค ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2400 จึงได้อุปสมบท และได้เข้าแปลบาลีได้เปรียญ 5 ประโยค ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระอมรโมลี ครองวัดบพิตรภิมุข ในปี พ.ศ.2442 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโพธิวงศาจารย์

ปี พ.ศ.2428 ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ พ.ศ.2437 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม พ.ศ.2441 ได้ รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพุฒาจารย์ ไปครองวัดอรุณฯ และปี พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และมรณภาพ ในปี พ.ศ.2456 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 55

สำหรับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) นั้น ท่านเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และด้านการทำผงพุทธคุณ เล่ากันว่าท่านเรียนมาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ศิษย์ของท่านต่อมามีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูป เช่น พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ พระอุปัชฌาย์คง วัดบางกะพร้อม หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นต้น

พระเนื้อผงกรุวัดอัมพวา เป็นพระเนื้อผงที่มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย นับว่าเป็นพระกรุที่น่าสนใจมาก อีกทั้งยังหาได้ไม่ยากนักครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงมาก บางพิมพ์อาจจะสูงหน่อยเช่นพิมพ์พระปิดตา เป็นต้น

ในวันนี้ผมได้นำพระปิดตากรุวัดอัมพวา พิมพ์จักจั่น ซึ่งหายากพอสมควรสำหรับพิมพ์นี้และเป็นพิมพ์นิยมพิมพ์หนึ่งของพระปิดตากรุนี้มาให้ชมกันครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96802143876751_1_Copy_.jpg)
พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราชวัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม วัดสามจีน ผิดกันที่ของวัดเสาธงทองเป็นเนื้อดิน ส่วนวัดสามจีนเป็นเนื้อชิน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองนี้มีพุทธคุณอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด โด่งดังมากในสมัยก่อน ในปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

วัดเสาธงทอง เป็นวัดโบราณมีอายุราว 600-700 ปี มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมา วัดเสาธงทองตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดพระบาท ด้วยเหตุที่มีรอยพระพุทธบาทสร้างด้วยศิลาแลง มีเรื่องเล่ากันว่า พระพุทธบาทนี้ลอยมาตามน้ำมาวนเวียนอยู่หน้าวัดนี้ ตาปะขาว 2 คนได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาและประดิษฐานยังวิหาร ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพระบาท

เรื่องพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองสุพรรณบุรี ได้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ และตรัสถามสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า “เชื่อหรือไม่ว่า ฝ่าพระพุทธบาทศิลาแลงนี้จะลอยน้ำได้จริง” สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทูลตอบว่า “เชื่อ” โบราณวัตถุวัดเสาธงทองที่สำคัญนอกจากรอยพระพุทธบาทศิลาแลง แล้วยังมีพระประธานซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมว่า “งามนัก”

วัดเสาธงทอง เคยรกร้างว่างเปล่าปราศจากการดูแลรักษามาก่อนอยู่ระยะหนึ่ง จนในที่สุดโบราณวัตถุเสนาสนะต่างๆ มีอันต้องปรักหักพังลงจนหมด ต่อมาในราวปี พ.ศ.2410 หลวงพ่ออยู่เป็นพระภิกษุรูปแรกได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุขึ้นใหม่ โดยเคยสร้างกุฏิสงฆ์ขนาดเล็ก 2-3 หลัง พอเป็นที่อาศัยแก่พระสงฆ์ ท่านครองวัดเสาธงทองได้ประมาณ 10 ปี ก็มรณภาพ

สืบต่อมาหลวงพ่อเพิ่มได้มาปกครองวัดแทนหลวงพ่ออยู่ ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ต่อเป็นการใหญ่โดยจัดสร้างพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ราวปี พ.ศ.2460 ท่านก็ได้สร้างพระเครื่องแจกเป็นครั้งแรกก็คือพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สร้างเป็นเนื้อดินเผา เนื้อละเอียด ถ้าผ่านการใช้จะมีเนื้อจัดมาก มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองและไม่ได้ลง หลังจากที่หลวงพ่อเพิ่มมรณภาพแล้ว พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองได้มีการแจกต่อมาในสมัยหลวงพ่อวอน และต่อมาถึงสมัยหลวงพ่อหรุ่น เนื่องจากหลวงพ่อเพิ่มท่านสร้างไว้จำนวนมาก

พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองได้แพร่หลายไปหลายจังหวัด และมีพระพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในสมัยก่อนก็รู้กันแค่เป็นพระของวัดเสาธงทอง ก็มีผู้เข้าใจผิดเป็นวัดเสาธงทอง ลพบุรีก็มี ซึ่งความเป็นจริงวัดเสาธงทองสุพรรณบุรี ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก แต่ปัจจุบันก็หาได้ไม่ง่ายนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราช วัดเสาธงทองมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19231858476996_1_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ซึ่งเป็นเหรียญหนึ่งที่นิยมกันมากและจัดเข้าชุดอยู่ในเบญจภาคีเหรียญเช่นกัน ปัจจุบันหายากมากๆ ครับ ประวัติความเป็นมาของเหรียญรุ่นนี้มีอย่างไร จะได้นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

หลวงพ่อพุ่ม (พระครูรัตนรังษี) วัดบางโคล่นอก เป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมสูงสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ให้ความเคารพหลวงพ่อพุ่มมาก กรมหลวงชุมพรฯ ท่านก็เป็นศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อพุ่มด้วยเช่นกัน

หลวงพ่อพุ่มเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2399 ที่บ้านหนามแดง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยเด็กท่านชอบแสวงหาศึกษาวิทยาคม พออายุได้ 12 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนามแดง ต่อมาจนอายุได้ 20 ปี ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดหนามแดง ได้รับฉายาว่า “จันทโชติ” เมื่อท่านได้บวชแล้วท่านก็สนใจศึกษาวิปัสสนาธุระและออกธุดงควัตร

ต่อมาหลวงพ่อพุ่มก็ได้รับอาราธนาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางโคล่นอก ในปี พ.ศ.2461 และได้รับสมณศักดิ์เป็นพระปลัดพุ่ม ต่อมาก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนรังษี และเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพุ่ม ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2489 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษาที่ 70

ในปี พ.ศ.2477 ศิษยานุศิษย์ของท่านได้ร่วมกันจัดบุญฉลองอายุของหลวงพ่อขึ้น และในงานนี้ พระครูวินัยธรสวัสดิ์ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพุ่มได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพุ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้ให้ทางโรงงานปั๊มเหรียญประดิษฐ์ภัณฑ์ เป็นผู้ปั๊มเหรียญ จำนวน 1,000 เหรียญ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญอายุในครั้งนั้น

เป็นเหรียญรูปไข่หูเชื่อม ข้างกระบอก ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้าทอง อักขระตัวบนสุดเป็นตัวอุณาโลม อักขระที่อยู่ในยันต์น้ำเต้าทองตัวบนเป็นตัวนะ แถวล่างเป็น มะ อะ อุ เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้ามี แม่พิมพ์เดียว

ส่วนด้านหลังมี 2 บล็อก รูปแบบตัวยันต์เหมือนกัน เพียงแต่บล็อกด้านหลังช่างต้องแกะไว้ 2 ตัว เนื่องจากพอปั๊มไประยะหนึ่งบล็อกด้านหลังมักจะชำรุด จึงต้องทำบล็อกด้านหลังไว้เป็น 2 ชุด ด้านหลัง จึงมี 2 แบบ แบบแรกคือยันต์จรดขอบ กล่าวคือตัวอักขระตัวอุณาโลมด้านบนจะมีหางยาวไปจรดขอบของเหรียญ ซึ่งบล็อกนี้เป็นแบบบล็อกนิยม สนนราคาสูงกว่าอีกบล็อกหนึ่ง คือ แบบยันต์ไม่จรดขอบ ตัวอักขระ อุณาโลมหางจะยาวไม่จรดขอบของเหรียญ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ครับ

ทั้ง 2 แบบนี้นิยมทั้ง 2 แบบ เพียงแต่แบบยันต์จรดขอบจะมีสนนราคาสูงกว่าเท่านั้นครับ เท่าที่ทราบเหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเพียงเนื้อทองแดงเนื้อเดียวเท่านั้นครับ

เหรียญหลวงพ่อพุ่มมีผู้ใช้คล้องคอเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาในปัจจุบันสูงมากเช่นกันครับ

ในวันนี้ก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อพุ่มมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80509594289792_1_Copy_.jpg)
พระครูนนทวุฒาจารย์ – หลวงปู่ช่วง

หลวงปู่ช่วง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 ที่บ้านในคลองบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โยมบิดาชื่อ สิงห์โต โยมมารดาชื่อ เฟี้ยม นามสกุล เพ็งแจ่ม เมื่อท่านอายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดขวิด (วัดแสงสิริธรรม) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในละแวกบ้านของท่าน ต่อมาเมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเขมาภิรตารามมีพระครูเขมา ภิมุขธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุ 19 ปี ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

พอปี พ.ศ.2424 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบางแพรกใต้ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดาของท่าน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2424 โดยมีพระอธิการทับ วัดนครอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการศรี วัดบางแพรกใต้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เสือ วัดนครอินทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทโชโต” เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดบางแพรกใต้ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่านทั้ง 3 องค์ อีกทั้งทางด้านพุทธาคมต่างๆ ซึ่งท่านทั้งสามองค์นี้ก็มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น

นอกจากนี้ก็ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงเรื่องวิชาโสฬสมงคลและไตรสรณคมน์ เรียนวิชาทำผ้าประเจียดและธงแดงจากพระธรรมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย เรียนวิชาทำผงวิเศษห้าประการจากพระครูนิโรธมุนี วัดตำหนักเหนือเรียนทางคงกระพันชาตรีกับหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

ในปี พ.ศ.2435 พระอาจารย์ศรี เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ได้มรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อแทน ต่อมาในปี พ.ศ.2450 หลวงปู่ช่วงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พอปี พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลส่วนใหญ่ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในระเบียบวินัยและมีเมตตาธรรมสูง หลวงปู่ช่วงจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ หอระฆัง เป็นต้น ทั้งเอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา จึงทำให้วัดบางแพรกใต้คืนสภาพจากความเสื่อมโทรมจนเจริญขึ้นเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ท่านเป็นพระอุปัชฌายะ บวชคนมาตั้งแต่บิดาจนถึงบุตรหลาน เหลน นับอยู่ในเกณฑ์ยาว ถึง 3-4 ชั้น แม้ในยามที่ท่านชราภาพ ท่านก็สงเคราะห์คนอื่นตลอดมา ใครไปหาไม่มีผิดหวังต้องการอะไรให้ทันที

ในเทศกาลออกพรรษาจะมีลูกศิษย์ของท่านมาให้ท่านช่วยลงกระหม่อม ท่านจะใช้ดินสอพองที่ได้ทำไว้มาลงให้ เรื่องวัตถุมงคลของท่านก็มีผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ตะกรุด พิสมร ซึ่งผู้ที่อยากได้จะนำวัสดุมาขอให้ท่านทำให้ ปัจจุบันหาดูได้ยากมากครับ ท่านเคยสร้างพระเครื่องเนื้อดินสอพองผสมผงวิเศษและใบแคอัดพิมพ์ ในคราวสงครามเอเชียบูรพา ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกันครับ ในปี พ.ศ.2488 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเป็นรุ่นแรกในการทำบุญฉลองอายุครบ 85 ปี ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาสูงและหายาก

ในปี พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูนนทวุฒาจารย์ ในปี พ.ศ.2496 วัดลานนาบุญได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ช่วงออกเป็นที่ระลึกในการจำลองพระคันธารราษฎร์ ปี พ.ศ.2497 วัดบางแพรกเหนือได้มีการยกเครื่องบนก่อสร้างพระอุโบสถในการนี้คณะกรรมการวัดผู้ดำเนินการได้ ขออนุญาตสร้างรูปท่านมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรูปอาร์มเหมือนเหรียญรุ่นแรก แต่ย่อขนาดลง

เหรียญรุ่นสุดท้ายเป็นแบบรูปสามเหลี่ยมสองหน้า ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธโสธร ด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ช่วง สร้างในปี พ.ศ.2497 แต่ทว่ายังไม่ได้ออกมาแจก จนกระทั่งท่านมรณภาพในปีต่อมาจึงนำมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงของท่าน

มรณภาพในปี พ.ศ.2498 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญหลวงปู่ช่วง ออกที่วัดลานนาบุญ ปี พ.ศ.2496 เป็นเหรียญรูปเสมา ซึ่งสนนราคายังไม่สูงนักมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์




หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2564 20:19:00

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30198342228929_1_Copy_.jpg)
หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีประชาชนเคารพศรัทธามาก ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานมากตั้งแต่สมัยอยุธยาก็ตาม แต่ก็ยังมีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาก

จนกระทั่งปี พ.ศ.2497 ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ได้เกิดนิมิตและสร้างพระเครื่องรูปหลวงปู่ทวดขึ้นเป็นครั้งแรก และเกิดอภินิหารประสบการณ์ต่างๆ มากมาย และมีการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันต่อมาอีกหลายรุ่นหลายวัดจนทุกวันนี้ก็ยังได้รับความเลื่อมใสศรัทธาโดยตลอด

วันนี้จะพูดถึงหลวงปู่ทวดของวัดประสาท บุญญาวาส กทม. ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2505 ก่อนอื่นขอกล่าวถึงที่มาที่ไปวัด ประสาทฯ ก่อนนะครับ วัดประสาทบุญญาวาส ตั้งอยู่ที่ถนนดาวข่าง แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

แรกเริ่มสร้างมีชื่อว่า “วัดคลองสามเสน” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดขวิด เนื่องจากในสมัยนั้นบริเวณวัดมีต้นมะขวิดขึ้นอยู่จำนวนมาก จนถึงปี พ.ศ.2487 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดประสาทบุญญาวาส”

ต่อมาปี พ.ศ.2498 สมัยที่พระสมุห์อำพลเป็นเจ้าอาวาส ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ เกิดความเสียหายมาก พระสมุห์อำพลจึงได้ระดมศรัทธาชาวบ้านเพื่อหาทุนก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ซึ่งพระอุโบสถมีความเสียหายมาก จึงดำริว่าจะสร้างวัตถุมงคลเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ในการนี้

ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ก็ได้นิมิตว่า “หลวงปู่ทวดได้บอกให้ท่านไปช่วยบูรณะวัดประสาทฯ ที่ถูกเพลิงไหม้” ท่านจึงได้เดินทางมาที่วัดประสาทฯ มาพบกับพระสมุห์อำพล ในปี พ.ศ.2502 โดยท่านได้นำพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด 3 พิมพ์มาให้ถอดพิมพ์ และได้มอบผงว่านจากวัดช้างให้มาให้จำนวนมาก ทั้งนี้พระเครื่องของวัดประสาทฯ ยังได้รับมอบผงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ที่ชำรุดในการเปิดกรุปี พ.ศ.2500 มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย

มีพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 14-16 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน โดยมีพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธี 108 รูป ดังจะนำมายกตัวอย่างดังนี้

พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปัตตานี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างนนทบุรี หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต กทม. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา

เจ้าคุณผล วัดหนัง กทม. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองสิงห์บุรี หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน เพชรบูรณ์ หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง กทม. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ กทม.

หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเชอ ชลบุรี หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ สุพรรณบุรี หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ปทุมธานี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง นนทบุรี หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ชลบุรี หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน ลพบุรี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง หลวงปู่เขียว วัดหรงมน นครศรีฯ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ พัทลุง หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี หลวงพ่อแดง วัดมะเดื่อ ปัตตานี หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว นครสวรรค์ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กทม. หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุพรรณบุรี หลวงพ่อเทียม วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี หลวงพ่อดี วัดเหนือ กาญจนบุรี หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี

พระเครื่องวัดประสาทฯ ที่สร้างในครั้งนี้มีอยู่หลายพิมพ์ หลายเนื้อ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะพระหลวงปู่ทวดเนื้อผง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีขาว เนื้อสีออกดำ และเนื้อ

สีออกเทาๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็ยังพอได้ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ เพียงแต่ต้องพิจารณากันดีๆ หน่อย หรือได้จากผู้ที่ไว้ใจได้เนื่องจากมีการทำปลอมกันมานานแล้วครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อขาวมาให้ชมกันด้วยครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82959976171453_2_Copy_.jpg)
ทำไมต้องเป็นพระสมเด็จฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เริ่มปีใหม่ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ช่วยคุ้มครองทุกท่านให้ปลอดภัยจากวิกฤตโรคระบาด และสิ่งไม่ดีทั้งหลายให้แคล้วคลาดผ่านพ้นไปด้วยดี ขอให้ท่านมีสุขภาพดี มีความสุขตลอดไปครับ วันนี้เรามาคุยกันเล่นๆ นะครับ ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรเหมือนกัน ก็ต้องยอมรับครับว่าอายุเริ่มมากขึ้นสมองและความจำก็เริ่มเสื่อมลงไปตามอายุร่างกายก็เริ่มเสื่อมลงเช่นกัน ต่อไปก็จะเขียนงานน้อยลงด้วยครับ

มาเริ่มกันเกี่ยวกับพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ทำไมประชาชนจึงศรัทธาในพระสมเด็จฯ กันมาก ก็ต้องบอกว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงาม เทศน์สั่งสอนได้ไพเราะและเข้าใจง่าย ประชาชนจึงเคารพศรัทธาในตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมาก และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เสื่อมคลาย

ตามประวัติของท่านก็ได้ทราบว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระเครื่องไว้ให้แก่ประชาชนและลูกศิษย์ เท่าที่มีหลักฐานแน่นอนและสืบค้นได้ก็มีพระที่สร้างและแจกที่วัดระฆังฯ พระที่สร้างบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม และที่บรรจุไว้ที่วัดไชโยวรวิหารอ่างทอง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้มรณภาพก็มีประชาชนอยากจะได้พระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมากเพื่อไว้เป็นสิริมงคลและคุ้มครองตัว

ต่อมาผู้ที่ได้มีพระสมเด็จฯ ก็ได้รับสิ่งดีๆ และคุ้มครองให้พ้นภัย แม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็ยิ่งมีการเล่าลือกันมากต่อๆ มา ดังนั้นจึงมีผู้ที่อยากได้พระสมเด็จฯ และเสาะหากันมาก จนกระทั่งมีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเป็นตัวเงินที่สูงมากตามลำดับ ในปัจจุบัน ถ้าองค์ที่ไม่หักไม่ซ่อมก็ต้องมีเป็นหลักล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากจำนวนพระที่แท้ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับนั้นมีน้อยต่อความต้องการมาก ในปัจจุบันแม้มีเงินพร้อมก็ยังไม่แน่ว่าจะได้พระสมเด็จฯ แท้ๆ ที่มีมาตรฐานไปครอบครอง

ครับเมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการทำปลอมแปลงกันมาก และมีการทำปลอมเพื่อหลอกลวงกันมานานมากแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปลอมซึ่งได้ทำขึ้นพร้อมนิยายที่แต่งขึ้นเองมา หลอกขายพระสมเด็จฯ กันมากเช่นกัน ยิ่งในปัจจุบันมูลค่าของพระสมเด็จฯ แท้ๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานนั้นสนนราคาเป็นหลักล้านบาทก็ยิ่งทำให้พวกมิจฉาชีพคิดทำปลอมและสร้างนิทานกันต่างๆ นานา มาล่อลวงให้หลงเชื่อ

เรื่องนี้พิสูจน์กันไม่ยากครับ ถ้าเป็นพระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับแน่นอน ไปขายที่ไหนก็มีคนอยากได้ และมีตัวเลขจำนวนเงินรองรับแน่นอนครับ แต่ถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานก็ไม่มีมูลค่ารองรับ เดินขายที่ไหนก็ไม่มีใครรับซื้อ เรื่องเหล่านี้พิสูจน์ไม่ยากเลย เพียงแต่ใช้เหตุผลความจริงในการพิจารณาเท่านั้น ก็จะทราบได้ด้วยตัวเอง อย่าไปมโนเอาเองหรือคิดเข้าข้างตัวเอง ไม่อย่างนั้นก็จะอยู่แต่ในความฝันไม่ได้อยู่ในความเป็นจริงครับ

คิดง่ายๆ ครับ อะไรก็ตามถ้ามีความต้องการมากกว่าจำนวนของที่มี ก็ย่อมมีมูลค่าสูงและหายาก ไปที่ไหนๆ ก็มีคนขอซื้อ ไม่มีหรอกที่จะแกล้งทำเป็นไม่ซื้อแล้วให้คนมาขอซื้อทีหลัง เพราะใครๆ ก็ต้องการ พอบอกว่าไม่ซื้อจะมีคนอื่นมาขอดูและขอซื้อในทันทีถ้าพระสมเด็จฯ องค์นั้นเป็นพระแท้ถูกต้อง แม้ว่าจะหักชำรุดก็ยังมีราคา อย่าว่าแต่หักชำรุดเลย มีเพียงเสี้ยวที่หักเพียงชิ้นเล็กชิ้นน้อยยังขายได้เลยครับถ้าแท้นะ

พระสมเด็จฯ เป็นพระยอดนิยมที่ใครๆ ก็อยากได้ ถ้ามีเข้ามาบอกขายก็แทบจะแย่งกันซื้อเลยครับ ขอให้แท้ถูกต้องตามมาตรฐานนะครับ ไม่ว่าจะซื้อมาเพื่อบูชาเอง หรือซื้อมาเพื่อนำไปขายต่อก็มีความต้องการสูงทั้งนั้นเพราะซื้อง่ายขายคล่อง มีส่วนต่างของผลกำไรทั้งสิ้น ในทางกลับกันถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคมก็ไม่มีใครสนใจเลย ไม่มีมูลค่ารองรับใดๆ ครับ

เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าเป็นทองคำแท้ไปร้านทองที่ไหนก็ได้เขารับซื้อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะนำมาขายเป็นกิโลเขาก็รับซื้อ แต่ถ้าเป็นทองไม่แท้เขาก็ไม่รับซื้อครับ เรื่องมันก็ง่ายๆ เท่านี้ครับ ในเรื่องของพระสมเด็จฯ ที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม ก็พิสูจน์ง่ายๆ เช่นกัน ในกลุ่มเดียวกันที่รับรองว่าแท้แน่นอนนั้น ก็นำไปขายในกลุ่มเลยครับ ดูซิว่าเขาจะรับซื้อไหม ราคาเท่าไร เรื่องนี้พิสูจน์ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองครับ

ครับก็คุยกันเล่นๆ แก้เหงานะครับ และก็ไม่อยากให้ท่านผู้อ่านไปถูกหลอกลวง ในปัจจุบันมีเยอะมากเท่าที่ผมเห็น และในวันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จ พิมพ์ฐานคู่ ของกรุวัดบางขุนพรหมมาให้ชม พระองค์นี้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับหลายล้านบาทครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41082861895362_1_Copy_.jpg)
พระนิลพัตร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ พระเก่าๆ ที่คนในสมัยก่อนเขานิยมและนำมาจัดชุดกัน เช่นเดียวกับพระเบญจภาคีที่ท่านอาจารย์ตรียัมปวายท่านได้จัดไว้ในการจัดชุดพระเบญจภาคีอันมีพระสมเด็จฯ พระนางพญา พระซุ้มกอ พระรอด และพระผงสุพรรณนั้น ความจริงก็มีท่านผู้กองสันทัดร่วมในการช่วยกันจัดพระชุดนี้ด้วย ท่านผู้กองสันทัด ท่านเป็นนายทหารอากาศ ยศนาวาอากาศโทและเป็นเพื่อนกับท่าน อาจารย์ศรีฯ แต่ใครๆ ก็มักจะเรียกท่านว่า ผู้กองสันทัดกันจนติดปากในสมัยนั้น

ผู้กองสันทัดท่านนี้ได้จัดพระชุดมังกรดำไว้ แต่ต่อมาท่านได้เสียชีวิตเสียก่อนที่จะ เผยแพร่ออกมา จึงไม่ค่อยได้มีใครทราบเรื่องการจัดชุดพระชุดนี้กันนัก นอกเสียจากท่านผู้อาวุโสที่เล่นหาสะสมพระในยุคบาร์มหาผัน อายุตอนนี้ก็น่าจะประมาณ 80 ปีขึ้นไป ผมเองได้รับการบอกเล่าจากผู้อาวุโส บอกเล่าให้ฟังในเรื่องการจัดพระชุดมังกรดำ จึงนำพระที่อยู่ในชุดนี้มาเล่าสู่กันฟัง ขอเริ่มด้วย “พระนิลพัตร”

ครับชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูนัก นอกจากจะเป็นคนรุ่นเก่าๆ พระนิลพัตรเป็นพระที่ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็นพระที่เด่นทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดในสมัยก่อน “พระนิลพัตร” ก็คือพระเชตุพนหน้าโหนกหรือพระร่วงนั่งหน้าโหนก แต่จะต้องเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีสีดำเท่านั้นครับ แต่ก็มีพระร่วงนั่งหน้าโหนกแบบเดียวกับของกรุวัดเชตุพน ที่พบในจังหวัดสุโขทัยอยู่หลายกรุ พระที่พบในสมัยสุโขทัยก็มักจะเรียกว่า “พระเชตุพนหน้าโหนก” เช่นเดียวกัน

พระเชตุพนหน้าโหนกหรือพระร่วงนั่งหน้าโหนกนั้น เนื่องจากการพบที่กรุวัดเชตุพนจังหวัดสุโขทัยเป็นปฐม จึงใช้ชื่อวัดเป็นชื่อเรียกพระเครื่องที่พบ และเหตุที่พุทธลักษณะขององค์พระนั้นมีพระพักตร์โหนกนูนเด่นชัด จึงนำเอาพุทธลักษณะที่เด่นชัดมาเป็นคำตามหลัง พระเชตุพนหน้าโหนกที่พบนั้นเป็นพระเครื่องขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. พระที่พบมีทั้ง 2 เนื้อคือเป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินเผา และพบทั้งแบบฐานเขียงชั้นเดียวกับพิมพ์ฐานบัว 2 ชั้น แต่พระที่เป็นเนื้อดินเผาและมีเนื้อพระเป็นสีดำนั้นมีน้อยมาก และก็หายากเช่นเดียวกับพระคงดำ พระเชตุพนหน้าโหนกมีพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ท่านผู้กองสันทัดจึงนำมาจัดชุดอยู่ในพระชุดมังกรดำ โดยเอาเฉพาะพิมพ์บัวชั้นเดียวที่เป็นเนื้อดินเผาสีดำเท่านั้น

นอกจากนี้พระแบบเดียวกันก็ยังพบที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายกรุ ชื่อเรียกก็มักจะเป็น “พระกำแพงหน้าโหนก” เนื่อง จากสถานที่พบนั้นพบที่จังหวัดกำแพงเพชร และพุทธลักษณะก็เหมือนกับของวัดเชตุพน สุโขทัย แต่พระพักตร์จะดูโหนกนูนกว่าของกรุของจังหวัดสุโขทัย มีการพบพระกำแพงหน้าโหนกอยู่หลายกรุของจังหวัดกำแพง เพชร เช่นที่กรุวัดอาวาสน้อย วัดอาวาสใหญ่ วัดพระนอน วัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดพระเเก้ว และวัดป่ามืด เป็นต้น การพบพระมีทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แต่พบน้อยและพระเนื้อดินเผา แต่พระเนื้อดินเผาที่เป็นสีดำสนิทนั้นก็พบน้อยมากเช่นกัน ขนาดขององค์พระก็เท่าๆ กับพระที่พบในจังหวัดสุโขทัย

พระร่วงนั่งหน้าโหนก ทั้งของสุโขทัยและกำแพงเพชร เฉพาะที่เป็นเนื้อดินเผาสีดำสนิท ถ้าผ่านการสัมผัสใช้มาก่อนก็จะมีสีดำมันเงาสวยงาม ปัจจุบันนั้นหายาก และมักเรียกกันอยู่ในยุคหนึ่งว่า “พระนิลพัตร” ท่านผู้กองสันทัดจึงได้นำมาจัดเป็นหนึ่งในพระชุดมังกรดำครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเชตุพน หน้าโหนกเนื้อดินเผาสีดำ กรุวัดเชตุพน สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44117499391237_bud05p1_2_Copy_.jpg)
พระรอดลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรอดลำพูน ถ้าเอ่ยคำคำนี้ในสมัยก่อนก็จะหมายถึงพระรอดของกรุวัดมหาวัน ที่จัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีเท่านั้น ซึ่งพระรอดเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของพระชุดนี้

เท่าที่มีการศึกษากันมาทำให้ทราบว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นในสมัยของพระนามจามเทวีขณะที่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ๆ นั้น ก็ได้มีการสร้างวัดสี่มุมเมืองเป็นจตุรพุทธปราการ เพื่อเป็นสิริมงคลและปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองและประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข วัดสี่มุมเมืองก็มี วัดพระคง วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้ และวัดมหาวัน ซึ่งตั้งอยู่ประจำทิศทั้ง 4 ทิศของเมือง

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระรอดกรุ วัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุดของพระในสกุลลำพูน ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อย แต่ก็เป็นพระที่มีความนิยมมากที่สุดของพระสกุลลำพูนสนนราคาก็สูงมากเช่นกัน พระรอดที่มีการขุดพบในวัดมหาวันมีการจดบันทึกไว้ตั้งแต่ต้นๆ ที่มีการขุดพบพระว่ามีพระอยู่กี่พิมพ์อะไรบ้าง เท่าที่มีการบันทึกและเป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานก็มีอยู่ 5 พิมพ์

คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์ต้อ พระที่พบก็เป็นพระเนื้อ ดินเผาทั้งสิ้นซึ่งเป็นพระที่มีเนื้อละเอียด หนึกแกร่ง มีมูลค่ารองรับ ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนกันมาแต่โบราณตั้งแต่มีการขุดพบพระแล้ว

ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก ยิ่งองค์ที่มีความสมบูรณ์และสวยๆ นั้นมูลค่าเป็นหลักล้านบาท พระรอดเป็นพระขนาดเล็กก็ตามแต่ศิลปะบนองค์พระที่ช่างแกะแม่พิมพ์ไว้นั้นงดงามมาก เป็นศิลปะแบบหริภุญชัย ซึ่งก็อยู่ในยุคของทวารวดีตอนปลาย อายุราว 1,200-1,300 ปี ซึ่งเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีศิลปะแบบพื้นถิ่น

ผสมผสานกับศิลปะแบบทวารดี ซึ่งมีกลิ่นอายของศิลปะแบบคุปตะปะปนอยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ถึงอายุยุคสมัยของโบราณวัตถุได้ว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ประกอบกับบันทึกจามเทวีวงศ์ และชินกาลลินี ก็พอจะปะติดปะต่อได้ถึงอายุของเมืองหริภุญชัย ทำให้รู้ได้ว่าพระเครื่องของเมืองลำพูนในยุคแรกๆ นั้นอยู่ในยุคของทวารวดี ตอนปลาย

พระรอด กรุวัดมหาวันก็เป็นพระที่อยู่ในยุคแรกของเมืองลำพูน รูปแบบพิมพ์พระเท่าที่บันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการขุดพบ และบันทึกศึกษากันต่อมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยกำหนดมาตรฐานของพิมพ์ไว้ว่ามีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น โดยเฉพาะพิมพ์ตื้นนั้น ยังแยกออกเป็น 2 แม่พิมพ์ ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยตรง รอยแตกของแม่พิมพ์ แต่ความนิยมเล่นหานั้นก็เท่าๆ กันทั้ง 2 แม่พิมพ์

พระรอดพิมพ์ตื้นนั้นในสมัยก่อน เมื่อ 40-50 ปีก่อน ก็ไม่ค่อยมีการลงรูปภาพกันสักเท่าไร จึงทำให้ไม่มีการทำปลอมกันนัก ยังได้พระแบบบังเอิญได้เสมอ แต่ในปัจจุบันนั้นมีการทำปลอมทุกพิมพ์ เวลาจะเช่าหาต้องระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบก่อนจ่ายเงินครับ

เอกลักษณ์ของพระรอดพิมพ์ตื้นนั้น จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 แม่พิมพ์ ตรงซอกแขนหรือร่องระหว่างหน้าตัก และร่องบริเวณฐานนั้นจะมีความตื้นกว่าทุกพิมพ์ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ แต่ในส่วนของพระเศียรและลำพระองค์กับผนังโพธิ์นั้นจะลึกเหมือนๆ กับพระพิมพ์อื่นๆ

พระรอดพิมพ์ตื้นที่มีอยู่ 2 แม่พิมพ์ก็เนื่องจากรอยแตกของแม่พิมพ์นั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ จะเป็นแม่พิมพ์ที่มีรอยแตกที่ข้างพระเศียรตรงหูซ้ายขององค์พระวิ่งไปหาผนังโพธิ์ กับรอยแตกที่บริเวณหัวไหล่ซ้ายขององค์พระ ลากยาวลงมาข้างแขนจนเกือบถึงข้อศอกของพระ

ส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่งนั้นรอยแตกของแม่พิมพ์จะมีรอยแตกตรงบริเวณเหนือพระเศียรด้านซ้ายขององค์พระเล็กน้อยวิ่งลากยาวลงมาบริเวณข้างหูขององค์พระ และอีกเส้นหนึ่งจะแตกที่บริเวณข้างหูซ้ายขององค์พระ วิ่งลงมาที่หัวไหล่ขององค์พระ พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นที่นิยม และเป็นมาตรฐานของสังคม ซึ่งมีมูลค่ารองรับ ซึ่งผมได้นำรูปมาให้ชมกันทั้ง 2 แม่พิมพ์ครับ

ครับลองศึกษาดูนะครับ เปรียบเทียบกันทั้ง 2 องค์ พระแบบนี้เป็นที่ยอมรับ เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับครับ ผมคงย้ำบ่อยๆ นะครับ เรื่องมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ เพราะเป็นเรื่องที่ยืนยันและพิสูจน์ได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนักครับ พระแบบนี้แท้และมีมูลค่าหลักล้านครับ
… ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กรกฎาคม 2564 16:34:07
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39156698104407_bud09p1_7_Copy_.jpg)
พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตร พิมุข) ผู้นิยมพระเครื่องต่างก็รู้จักกันดี พระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ล้วนเป็นที่ปรารถนาของผู้นิยมพระเครื่องมาก เช่น พระปิดตา และเหรียญของท่าน ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน และมีสนนราคาสูงมากๆ ครับ แต่ก็มีพระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ก่อนมรณภาพ และมีจำนวนพอสมควร สนนราคาก็ไม่สูงนัก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนทราบกันมากนักว่าเป็นพระเครื่องที่ท่านสร้างและทันท่าน

หลวงปู่ไข่เกิดที่ ต.ท่าไข่ จ.ฉะเชิงเทราเมื่อปี พ.ศ.2400 บวชเณรที่วัดแหลมใต้ และต่อมาได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดโสธรฯ และได้ย้ายมาจำพรรษาที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยต่อ และได้เข้ามาศึกษาต่อที่วัดใน กทม. และมาจำพรรษาอยู่ที่ จ.สมุทรสงคราม จนกระทั่งอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่ วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม หลวงปู่ไข่ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและธุดงค์ไปหลายจังหวัดจนกระทั่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดเชิงเลน กทม. เนื่องจากในสมัยนั้น ท่านเห็นว่าวัดเชิงเลนเป็นวัดที่เงียบสงบดี เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

เมื่อมาอยู่จำพรรษาที่วัดเชิงเลนแล้วก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาสช่วยเหลืออนุเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป และท่านได้พัฒนาวัดเช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมแซมพระพุทธรูปที่ชำรุด สร้างกุฏิ สร้างถนน สร้างสระน้ำ ถังรับน้ำฝน เป็นต้น หลวงปู่ไข่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่รักเคารพของประชาชนในแถบนั้นมาก

ลูกศิษย์ได้ขอให้สร้าง พระไว้บูชาคุ้มครองป้องกันตัว ท่านจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักตามตำราของพระปิดตาทางสายตะวันออกขึ้น ซึ่งปัจจุบันหายากมาก และมีสนนราคาสูงมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่ไข่จัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุของหลวงปู่ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญ พระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมากๆ ครับ

นอกจากวัตถุมงคลที่เป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก และเหรียญแล้ว พระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่าพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งทางวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาต จัดสร้างขึ้น และขออนุญาตหลวงปู่ไข่ในการสร้างครั้งนี้ ในการสร้างนั้นได้จัดสร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคารพศรัทธา ในตัวหลวงปู่ พระกลีบบัวอรหังในปัจจุบันยังพอได้

สนนราคาหลักหมื่นต้นๆ ซึ่งย่อมเยากว่าพระเครื่องอื่นๆ ของท่านมากเนื่องจากสมัยก่อนมีจำนวนมากหาได้ไม่ ยากนัก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก

นอกจากนี้หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดยังมีการสร้าง ขึ้นอีกครั้ง รูปลักษณ์คล้ายๆ กันแต่ก็เป็นคนละแม่พิมพ์กันโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ การเช่าหาสะสมจึงสับสนกันไปบ้างในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันแยกแยะกันได้ด้วยตัว แม่พิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัวอรหัง รุ่นแรกที่ทันหลวงปู่ไข่มาให้ชม เรียกได้ว่าเป็นของดีราคาไม่สูงมากครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55169644496507_bud12p1_2_Copy_.jpg)
พระปิดตา กรุวัดเงินคลองเตย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน  ถ้าเรากล่าวถึง วัดเงินคลองเตย เราก็จะนึกถึงพระเนื้อผงสีขาวๆ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง แต่พิมพ์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าในกรุวัดเงินคลองเตยก็มีพระปิดตาเนื้อผงสีเทาๆ อมดำอยู่ด้วย เนื่องจากมีจำนวนน้อยและค่อนข้างหายาก อีกประการหนึ่ง วัดเงินคลองเตยนั้นตั้งอยู่ที่แห่งใดใน กทม.

ครับ ก่อนอื่นก็คงต้องกล่าวถึงตำแหน่งของตัววัดและประวัติสักหน่อย เมื่อก่อนนี้วัดเงินคลองเตยก็อยู่ที่คลองเตยตรงบริเวณที่เป็นท่าเรือแห่งประเทศไทยนี่แหละครับ ณ บริเวณนี้มีวัดตั้งอยู่ถึงสามวัดครับ คือ วัดพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน วัดทั้งสามวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ

ต่อมาทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งวัดพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน เพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่รวมกันที่ถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า วัดธาตุทอง

ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกัน ชื่อวัดไผ่เงิน วัดพระธาตุและวัดทอง ในรื้อถอนไม่มีบันทึกว่าพบพระเครื่องแต่อย่างใด ส่วนวัดเงินพระเครื่องบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์จำนวนมากพอสมควร จนทำให้วัดเงินมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนทุกวันนี้ แต่น้อยคนนักที่จะสนใจประวัติว่าวัดเงินคลองเตยนั้นตั้งอยู่ ณ บริเวณใด

จากการรื้อถอนในครั้งนั้น ได้พบพระเครื่องบรรจุอยู่ในเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถเป็นจำนวนนับหมื่นองค์ พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาว มีอยู่หลายพิมพ์ทรง และนิยมทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก สนนราคาสูงกว่าทุกๆ พิมพ์สำหรับพระเนื้อผงสีขาว ส่วนพระปิดตาของกรุนี้พบบรรจุอยู่ที่ซุ้มคอระฆังในองค์พระเจดีย์ และในองค์พระประธาน ซึ่งพบมีจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อผงขาวทั่วๆ ไป ดังนั้นจึงทำให้บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า กรุวัดเงินคลองเตยก็มีพระปิดตา เนื้อผงใบลานด้วย

พระปิดตาของกรุวัดเงินคลองเตยเท่าที่พบมีอยู่ด้วยกันสามพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์รัศมี และพิมพ์เล็ก พระปิดตาของวัดเงินนี้จะมีรูปทรงสัณฐานมนโค้งด้านบน คล้ายซุ้มตัวกอไก่ ทุกพิมพ์ ชื่อเรียกก็เรียกตามขนาดขององค์พระ ส่วนพิมพ์รัศมีก็คือที่บริเวณพระเศียรจะมีเส้นรัศมีอยู่โดยรอบและตรงปลายเส้นรัศมีจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ เฉพาะพระปิดตาพิมพ์ใหญ่นี้ ที่พบเป็นเนื้อผงสีขาวก็มีอยู่บ้างแต่น้อยมาก นอกนั้น พระปิดตาของกรุนี้จะเป็นเนื้อผงใบลานสีเทาๆ ไปจนถึงสีเทาอมดำเป็นส่วนมากครับ

ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นพระปิดตาของกรุนี้นัก เนื่องจากมีจำนวนน้อยและหายาก สนนราคาก็ค่อนข้างสูงในปัจจุบันครับ พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาของกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์ใหญ่ และพระปิดตา พิมพ์รัศมี มาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81782120507624_bud11p1_5_Copy_.jpg)
พระกลีบบัว วัดลิงขบ

พระกลีบบัว วัดลิงขบ – สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในยุคข้าวยากหมากแพงนี้ ส่งผลกระทบกับประชาชนที่มีฐานะปานกลางจนถึงระดับล่างอย่างมาก อะไรๆก็แพงไปหมด ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันก็ลำบากมากขึ้น วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่สนนราคาไม่แพงนัก และเป็นพระที่มีพุทธคุณดีเยี่ยมกันดีกว่านะครับ

วัดบวรมงคล หรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า วัดลิงขบ นั่นเองครับ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องกับวัดราชาธิวาส ในเขตบางพลัด อำเภอบางกอกน้อย กทม. เดิมเป็นวัดราษฎร์โบราณอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมากขึ้น จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน

สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนา นุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็น พระอารามหลวง ถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวร ทรงปฏิสังขรณ์ทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดบวรมงคล”

ที่วัดแห่งนี้ได้มีการพบพระเครื่องเนื้อดินเผา แตกออกมาจากพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งอยู่ตรงมุมทางด้านเหนือ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาแต่เมื่อใด พระเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ชิดกับฝั่งแม่น้ำ มีบ้านเรือนของชาวบ้านล้อมรอบอยู่ ก่อนที่ทางวัดจะเปิดกรุนั้น มีเด็กๆ แถบนั้นได้ไปพบว่าองค์พระเจดีย์มีรอยร้าว และมีพระไหลออกมาตามแนวผุกร่อน จึงเก็บกันเอามา

ต่อมาข่าวก็รู้กันไปทั่ว ในที่สุดก็มีคนเข้าไปขุดเอาพระไปเป็นจำนวนมาก ทางวัดโดยพระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้แจ้งไปยังกรมการศาสนาเพื่อดำเนินการเปิดกรุ เพราะหากทิ้งไว้อย่างนี้ ไม่ช้าคงมีคนเข้าไปขุดกันจนองค์พระเจดีย์เสียหายแน่

ทางวัดได้ดำเนินการเปิดกรุเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือ จากเรือรบหลวงจันทบุรีให้ความช่วยเหลือ การเปิดกรุในครั้งนั้น ชั้นล่างพบพระพิมพ์กลีบบัวบรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ส่วนกรุชั้นบนตรงคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน และพระกลีบบัวอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังพบเหรียญเสี้ยวรัชกาลที่ 5 กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง

หลังจากที่ได้สำรวจจำนวนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ แล้ว เฉพาะพระพิมพ์กลีบบัวที่เหลืออยู่มีประมาณ 70,000 องค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ ต่อมาทางวัดจึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท พระกลีบบัวทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ ส่วนใหญ่มักจะมีคราบรารักติดอยู่ที่ผิวของพระ ในส่วนที่เป็นพระแบบลงรักน้ำเกลี้ยงและแบบทาชาดก็มีบ้างเล็กน้อย เข้าใจว่าน่าจะเป็นพระคะแนน

พระกลีบบัววัดลิงขบนั้น พุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี มีประสบการณ์มาแต่ในอดีต ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก อยู่ที่หลักพันต้นๆ ตามแต่ความสวยสมบูรณ์ขององค์พระ

ในวันนี้ได้นำรูปพระกลีบบัว วัดลิงขบ องค์สวยมีหน้ามีตา ซึ่งหาดูค่อนข้างยากมาให้ชมกันหนึ่งองค์ครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92644544483886_bud11p1_7_Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อห่วง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์สายนครปฐม ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เคารพและยกย่องว่าเก่งกว่าท่านก็คือ หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ ทั้งสามท่านนี้ในสมัยก่อนได้เคยออกธุดงค์ด้วยกันเสมอจึงสนิทสนมกันดี

“พระครูสิริวุฒาจารย์” หรือ “หลวงพ่อห่วง สุวัณโณ” วัดท่าใน จ.นครปฐม

เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2428 ที่บ้านตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ต่อมาจึงได้อุปสมบทที่ วัดทรงคะนอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2449 โดยมีพระอธิการรุ่ง วัดทรงคะนอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์มี และพระอธิการแจ่ม วัดทรงคะนอง เป็นพระคู่สวด

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดทรงคะนอง ครั้นออกพรรษาจึงได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่อันสงบในป่าเขาลำเนาไพร นานถึง 6 พรรษา ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระและวิทยาคมต่างๆ จากพระอาจารย์หลายองค์ที่พบในป่านั้น

ต่อมาท่านจึงได้มาปักกลดอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีสภาพทรุดโทรม ปรากฏว่าประชาชนในย่านนั้นต่างพากันเคารพศรัทธาเลื่อมใสในจริยวัตรของท่าน และพร้อมกันอาราธนาให้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งท่านก็มิได้ขัดข้องอนุโลมตามศรัทธาและความประสงค์ของชาวบ้าน

นับแต่นั้นมาท่านก็ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ประพฤติดีประพฤติชอบ และช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญขึ้นโดยลำดับจนทุกวันนี้ ด้วยศีลาจารวัตรอันน่าเลื่อมใส และวิริยอุตสาหะของท่าน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งดังต่อไปนี้

ปี พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดท่าใน พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา พ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสิริวุฒาจารย์ หลวงพ่อห่วงมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 78 ปี พรรษาที่ 57

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่ได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน และเชือกถักมงคล ซึ่งทำไว้ไม่มากนัก เนื่องจากท่านจะพิจารณาดูเสียก่อนว่าจะให้ใคร และผู้ที่ได้รับไปนั้นสัญญากับท่านก่อนว่าจะไม่ไปปล้นใคร

โดยท่านจะบอกว่า “มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ” มีลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่งต่อมาประพฤติไม่ดี ท่านก็เรียกมาพบและขอดูตะกรุด พอชายคนนั้นถอดตะกรุดให้ท่านดู ท่านก็กำเอาไว้ ตะกรุดดอกนั้นกลับละลายไปเลยแล้วท่านก็โยนทิ้งลงน้ำไป เจ้าของถึงกับร้องไห้

นอกจากนี้ยังได้สร้างพระเนื้อผงเกสรขณะนี้หาดูยากครับ พระผงนี้เมื่อกดพิมพ์และแห้งดีแล้ว ท่านจะใส่ไว้ในบาตรมี น้ำเต็ม จะบริกรรมปลุกเสกจนพระผงลอยน้ำขึ้นมาจึงจะใช้ได้ ส่วนองค์ไหนที่จม ท่านว่าเป็นพระเสียใช้ไม่ได้

เหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2499 จัดสร้างประมาณ 500 เหรียญ โดยศิษย์สร้างถวายเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหลังเป็นยันต์กระต่ายสามขาซ้อนกันสองชั้น

เป็นยันต์ทางคงกระพันชาตรีครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 31 กรกฎาคม 2565 20:16:54
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72426463125480_1_Copy_.jpg)

เหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ

“พระธัมม วิตักโกภิกขุ” หรือ “พระยานรรัตนราชมานิต” วงการพระเครื่องเรียกขานนามว่า “เจ้าคุณนรฯ” เป็นข้าราชสำนัก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตจึงได้บวชถวายเป็นพระราชกุศลตลอดชีวิต

สำหรับ เหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรก สร้างขึ้นในงานทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี เมื่อปี พ.ศ.2510

ลักษณะเป็นเหรียญหลังเต่า มีหู ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนท่านครึ่งองค์หันหน้าตรง มีเส้นขนแมวในหูเหรียญ ดวงตาคมชัด สันเหรียญมีร่องรอยการตัด ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ ๗๐” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นยันต์คมชัด พบว่ามี 2 แบบคือ แบบบล็อกเคลื่อนกับบล็อกไม่เคลื่อน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58786126681499_2_Copy_.jpg)

เหรียญพระครูนครธรรมโฆสิต (หลวงปู่นิล อิสสริโก)

“หลวงปู่นิล อิสสริโก” หรือ “พระครูนครธรรมโฆสิต” วัดครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท แต่ที่ได้รับความนิยมสูงคือ เหรียญหลวงปู่นิล รุ่นฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี สร้างเมื่อปี พ.ศ.2516

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ สร้างประมาณ 10,000 เหรียญ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปของท่านครึ่งองค์ เขียนว่า “พระครูนครธรรมโฆษิต” ด้านล่างเขียนว่า “วัดครบุรี” ด้านหลังเป็นยันต์สี่เหลี่ยม ด้านบนเขียนว่า “ครบ ๖ รอบ” ด้านล่างเขียนว่า “พ.ศ.๒๕๑๖” ซึ่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ผู้มีไว้ครอบครองก็ต่างหวงแหน
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84316056345899_4_Copy_.jpg)
“เหรียญโสฬสมงคล”  หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล

ย้อนไปปี พ.ศ.2520 พ.อ.แสวง อริยะกุล ขออนุญาตจัดสร้าง “เหรียญโสฬสมงคล” ถวาย “หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล” เจ้าอาวาสวัดศรีสวรรค์สังฆาราม หรือวัดถือน้ำ หลังค่ายจิรประวัติ มณฑลทหารบกที่ 31 นครสวรรค์ หารายได้สมทบทุนบูรณะวัด จัดสร้างเพียง 2 เนื้อ มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดงมันปู

ลักษณะเหรียญ ทรงกลมรูปไข่ หูห่วงยกซุ้ม ด้านหน้าเหรียญ รอบขอบเหรียญเป็นเกลียวเชือก ซุ้มหูห่วงเป็นลายกนก ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงพ่อสมควรครึ่งองค์ ด้านซ้ายและขวาหลวงพ่อมียันต์นูน “สุริยันจันทรา” ด้านล่างมีอักษรไทย “โสฬสมงคล”

ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ กลางเหรียญเป็นเส้นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก 16 ช่อง แต่ละช่องเป็น เลขไทย (ยันต์โสฬส) รอบๆ ตารางสี่เหลี่ยมใหญ่ มีอักขระขอม รอบเหรียญมีอักษรไทย เขียนคำว่า “พ.อ.แสวง อริยะกุล อนุโมทนา พระอาจารย์สมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์ สังฆาราม (ถือน้ำ) นครสวรรค์ ๒๕๒๐” เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นที่ได้รับการกล่าวขวัญ
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20055035708678_6_Copy_.jpg)

เหรียญหลวงปู่ฮุ่ง / พระสมเด็จหลังพระสีวลี / เหรียญหลวงพ่อจง

หลวงปู่ฮุ่ง ปคุณธัมโม อดีต เจ้าอาวาสวัดทุ่งหนองแวงสองคอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม วัตถุมงคลที่เป็นเหรียญรูปเหมือน สร้างออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความสนใจ คือ เหรียญกลมคล้ายหยดน้ำ ปี 2536 เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมคล้ายหยดน้ำ มีหูห่วง เป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ ด้านหน้า บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ฮุ่งครึ่งองค์หันหน้าตรง ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า“ลาภ ผล พูนทวี” ขอบด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนว่า “หลวงปู่ฮุ่ง ประคุณธมฺโม”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85856564715504_7_Copy_.jpg)

[ด้านหลัง ยกขอบ เริ่มจากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนไปด้านซ้าย เขียนว่า “ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม” จากด้านขวาโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนว่า “วัดทุ่งหนองแวงสองคอน พ.ศ. ๒๕๓๖” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15223308114541_p15210564p2_Copy_.jpg)

หลวงพ่อกวย ชุตินธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม(วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงหนึ่งในนั้นคือ “พระสมเด็จหลังพระสีวลี” เป็นพระเครื่องที่สร้างเอง ผสมเนื้อและกดพิมพ์สร้างเมื่อประมาณปี 2514-2515 กดพิมพ์เองที่วัดบ้านแค เป็นพระสมเด็จพิมพ์ฐาน 3 ชั้น หลังเป็นพระสีวลีแบ่งเป็นพิมพ์เอวเล็กและพิมพ์เอวใหญ่

จุดสังเกตในพระสมเด็จพิมพ์นี้ คือ เนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อผงผสมน้ำมันตั้งอิ้ว ที่เป็นเนื้อผงใบลาน และเนื้อผงอิทธิเจ ด้วยเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันนานหลายสิบปีแล้ว พระจึงแห้งผาก แต่ดูแกร่ง และบางองค์ปรากฏคราบกรุให้เห็น พิมพ์ทรงคมชัด เนื้อแกร่งเก่าได้อายุ ส่วนพระสีวลีด้านหลัง ทั้งพิมพ์เอวเล็กและเอวใหญ่ จะมีขอบสองขอบ และอักขระนะชาลีติ ปรากฏอยู่สี่มุม ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75103325107031_p15210564p3_Copy_.jpg)

หลวงพ่อจง พุทธสโร พระเกจิดังแห่งวัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายหลายอย่างและสร้างแจกทหาร-ตำรวจ ในสงคราม อินโดจีน ในช่วงปี 2483-2485 เป็นต้นมา มีทั้งเหรียญผ้ายันต์ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ ฯลฯ จนทำให้ทหารที่มีวัตถุมงคลไว้บูชารอดชีวิตกลับมา

เหรียญหลวงพ่อจง รุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2484 เพื่อแจกลูกศิษย์ในการร่วมสร้างหอสวดมนต์ เป็นเหรียญปั๊มแบบโบราณเนื้อเงินลงยา และเนื้อทองแดง ทรงข้าวหลามตัด ด้านหน้าเหรียญโหนกนูนมาก เป็นรูปหลวงพ่อจง ริ้วจีวรคมชัด มีชื่อ “หลวงพ่อจง” อยู่ข้างล่าง ด้านหลังเหรียญเป็นท้องกระทะ มีข้อความ “ที่รฤกในการสร้างหอสวดมนต์ พ.ศ.๒๔๘๔” อักขระยันต์คมชัด ขอบเหรียญปลิ้น เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายาก สนนราคาเล่นหาสูงมาก
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26576671749353_1_Copy_.jpg)

เหรียญพระครูปทุมวรกิจ (หลวงปู่บัวพันธ์ ปัญญาวโร)

หลวงปู่บัวพันธ์ ปัญญาวโร วัดขวัญเมืองระบือธรรม อ.บรบือ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ รุ่นจัดสร้างในปี 2539 ขณะดำรงสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูปทุมวรกิจ” เป็นที่ระลึกเนื่องในงานมุทิตาอายุครบ 65 ปี

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบ มีหูห่วง จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ เป็น เนื้อทองแดงอย่างเดียว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่บัวพันธ์ ครึ่งองค์ บริเวณใต้รูปเหมือนมีตัวอักษรเขียนว่า “พระครูปทุมวรกิจ” ด้านหลังเหรียญ จากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้ายเขียนว่า “วัดขวัญเมืองระบือธรรม” บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์นะโม พุทธายะ ใต้อักขระยันต์มีตัวเลข เขียนว่า “๒๕๓๙” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า “อ.บรบือ จ.มหาสารคาม” ราคาเช่าหายังไม่สูง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15387629138098_2_Copy_.jpg)

หลวงพ่อต่วน อินทปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังเมืองกรุงเก่า วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ “เหรียญหลวงพ่อต่วน รุ่นปี 2525” ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อต่วน รอบเหรียญยกขอบนูนขึ้น ที่ขอบเหรียญด้านซ้ายมีอักษรเขียนว่า “ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ” ขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า “วัดกล้วย จ.อยุธยา” ขอบล่างเขียนว่า “หลวงพ่อต่วน อินฺทปญฺโญฺ”

ด้านหลังเหรียญเรียบไม่ยกขอบมีรูปยันต์ตรงกลาง เขียนอักษรขอมใต้ยันต์มีอักษรเขียนว่า พ.ศ.๒๕๒๕ (เป็นเลขไทย) ปัจจุบันเหรียญ หลวงพ่อต่วน รุ่นปี 2525 กลายเป็นเหรียญที่หายาก ด้วยเป็นเหรียญที่หลวงพ่อต่วนได้นั่งอธิษฐานจิตเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมทำบุญ ในงานยกช่อฟ้าอุโบสถในครั้งนั้น


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63506006532245_4_Copy_.jpg)

ย้อนไปในปี พ.ศ.2531 “หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมอญ (สุวรรณโคตมาราม) อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท พระเกจิผู้สืบทอดวิทยาคมสาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ก่อสร้างวิหารหลวงปู่ศุข ที่วัดคลองมอญ ท่านจัดสร้าง “เหรียญหล่อโบราณ” เนื้อทองเหลือง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เป็นที่ระลึก

ลักษณะเป็นเหรียญจอบ ห่วงขวาง ด้านหน้ามีขอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อ มหาโพธิ์นั่ง มือทั้งสองข้าง วางบนเข่า ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นพื้นเรียบ ไม่มีขอบ หลวงพ่อมหาโพธิ์ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส พร้อมจารมือ “พุทธม้วนโลก” กำกับด้วย “อิติปิโส” เหรียญรุ่นนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของบรรดาเซียนพระ
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 มิถุนายน 2566 13:11:45
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91804303311639__2146_696x365_Copy_.jpg)
          (ซ้าย) หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร (ขวา) เหรียญกงจักร หลวงพ่อรุ่ง (หน้า-หลัง)

เหรียญกงจักร 16 แฉก หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร วัดโพธิ์พระใน เพชรบุรี

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2564

พระครูปุญญกรวิโรจน์” หรือ “หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร” วัดโพธิ์พระใน อ.เมือง จ.เพชรบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ชาวตำบลโพพระเคารพนับถือ

วัตถุมงคลได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ “เหรียญกงจักร 16 แฉก หลวงพ่อรุ่ง” มีทั้งหมด 3 รุ่น

รุ่น 1 สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2490 เพราะช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่เคยจัดสร้างแต่อย่างใด แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย

มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อรุ่งครึ่งองค์ หันหน้าตรง ในวงกลมด้านล่างมีอักษร เขียนคำว่า “พระครูปุญญกรวิโรจน์”

ด้านหลังเป็นเส้นยันต์มีอักขระขอม คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ อ่านว่า นะโมพุทธายะ ด้านล่างเป็นตัวเลขอารบิก “2490”

เหรียญกงจักร รุ่นที่ 2 สร้างในปี พ.ศ.2513 ลักษณะเหมือนกับเหรียญรุ่น 1 ทุกประการ มีข้อแตกต่างตรงด้านหลัง ใต้อักขระยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๑๓”

ส่วนรุ่นที่ 3 เหมือนกับเหรียญรุ่น 1 และรุ่นที่ 2 มีข้อแตกต่างตรงด้านหลัง ใต้อักขระยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๓๙” อีกทั้งยังจัดสร้างเหรียญแบบมีลงยาสีประจำวันด้วย

ทั้ง 3 รุ่น หลังจัดสร้างแล้วเสร็จ ได้รับความนิยมอย่างดี ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย ที่สร้างหลังมรณภาพไปแล้วก็ตาม  ผู้มีไว้ในครอบครองจึงเป็นที่หวงแหนกันมาก

มีนามเดิมว่า รุ่ง สุวรรณเพ็ชร เกิดที่ ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2425 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเมีย บิดา-มารดาชื่อ นายสว่างและนางเปี่ยม สุวรรณเพ็ชร

เมื่ออายุ 11 ปี นายสว่างผู้เป็นบิดา นำไปฝากเป็นศิษย์พระปลัดบุญ วัดชีว์ประเสริฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อรับการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาด้วยความอุตสาหวิริยะ จนสามารถอ่านเขียนได้คล่องทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม

ครั้นอายุ 15 ปี จึงกลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนตาล

พ.ศ.2448 ขณะนั้นอายุ 22 ปี เข้าสู่พิธีอุปสมบท ณ วัดปากทะเลนอก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากทะเลนอก เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการกรานต์ วัดโพธิ์พระใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อดิษฐ์ และเดินทางไปมาระหว่างวัดโพธิ์พระในกับวัดปากทะเลนอกอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์สุ่ม พระภิกษุสูงอายุที่วัดโพธิ์พระใน ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ และมีวิทยาคมสูงมาก ซึ่งหลวงพ่อรุ่งท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ไว้จนหมด

กระทั่งปี พ.ศ.2460 พระอธิการทิพย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์พระใน มรณภาพลง จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พร้อมเป็นเจ้าคณะหมวดในปีเดียวกัน

วัดโพธิ์พระใน ตั้งอยู่ที่ ต.โพพระ อ.เมือง จ.เพชรบุรี สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตอนปลายรุ่นราวคราวเดียวกับวัดเกาะ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ประวัติเท่าที่สืบค้นได้มีเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดอยู่ 7 รูป (ก่อนหน้านี้คาดว่ามีหลายรูป แต่ไม่สามารถสืบค้นประวัติได้) คือ 1.พระอธิการสงค์ 2.พระอธิการโต 3.พระอธิการกรานต์ 4.พระอธิการทิพย์ 5.พระครูปุญญกรวิโรจน์ (หลวงพ่อรุ่ง) พ.ศ.2460-2488 6.พระครูโพธิวรคุณ (หลวงพ่อพลัด) พ.ศ.2488-2541 7.พระครูบวรโพธิวิโรจน์ (หลวงพ่อสมจิต) พ.ศ.2541-ปัจจุบัน

วัดโพธิ์พระใน ผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมชำรุดเรื่อยมา หลวงพ่อรุ่งดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆ ที่เกือบสิ้นสภาพให้กลับคืนยังประโยชน์ดังเดิม พร้อมจัดการงานอันเป็นสิ่งสาธารณูปการต่างๆ อาทิ สร้างกำแพงล้อมรอบพระอาราม ขุดสระน้ำกักเก็บไว้เป็นสาธารณะ สร้างโรงเรียนประชาบาล สร้างศาลาการเปรียญ ตั้งโรงเรียนนักธรรมศึกษาปริยัติธรรม สร้างหอพระไตรปิฎก ฯลฯ

พ.ศ.2475 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2481 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน นามว่า พระครูรุ่ง

พ.ศ.2484 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร นามว่า “พระครูปุญญกรวิโรจน์”

ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2486 หลวงพ่อรุ่งได้เริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นอีก 1 หลัง กว้าง 11 เมตร ยาว 23 เมตร (แต่ไม่ทันเสร็จก็มรณภาพเสียก่อน)

วัตถุมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นของที่มีผู้มาขอให้ทำเฉพาะตัว เช่น ตะกรุดลูกอม ที่เป็นของท่านสร้างจริงๆ ก็มีแต่ผ้ายันต์ ทำขึ้นเพื่อแจกทหารในครั้งสงครามอินโดจีนเท่านั้น

ส่วนเหรียญนั้น หลวงพ่อพลัดเจ้าอาวาสรูปต่อมา เป็นผู้ดำเนินการสร้างขึ้น หลังมรณภาพไปแล้ว เพื่อแจกในงานฌาปนกิจ โดยนำแผ่นโลหะไปให้คณาจารย์ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรีลงอักขระแล้วนำมาหล่อหลอมรีดเป็นแผ่น แล้วนำไปจ้างโรงปั๊มเป็นเหรียญ เมื่อเรียบร้อยจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกโดยได้นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเพชรบุรีมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ช่วงบั้นปลายชีวิต เริ่มป่วยเป็นโรคลม แต่อาการของโรคประจำตัวนี้ หายบ้างเจ็บบ้างเป็นครั้งคราว ครั้นถึง พ.ศ.2488 โรคซึ่งเป็นประจำตัวนี้ได้เริ่มทำพิษบ่อยครั้งขึ้น ครั้นถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2488 อาการอาพาธทรุดหนักยิ่งขึ้น

เมื่อถึงวันที่ 4 กันยายน 2488 เวลา 01.15 น. จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ

สิริอายุ 61 ปี 7 เดือน 16 วัน





(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59702420483032_cover_2147_696x364_Copy_.jpg)
          (ซ้าย) หลวงปู่หนู ปัญญาโสโต
          (บนขวา) เหรียญหลวงปู่หนู รุ่นแรก (ล่างขวา) พระสมเด็จหลวงปู่หนู(หน้า-หลัง)

เหรียญ-พระสมเด็จ มงคล ‘หลวงปู่หนู’ เทพเจ้าแห่งเขาขลุง

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง- มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 ตุลาคม 2564
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2564


หลวงปู่หนู ปัญญาโสโต” หรือ “พระครูปัญญาวิภูษิต” อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่สามเกาะ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระเกจิชื่อดัง ได้รับการขนานนามว่า “เทพเจ้าแห่งเขาขลุง”

เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล-เครื่องราง ในวาระต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์

วัตถุมงคลที่ออกมาแต่ละรุ่น ได้รับความนิยมจากบรรดานักสะสมพระในตัวจังหวัดราชบุรีและใกล้เคียง คือ เหรียญรุ่นแรก และพระสมเด็จ ทั้งหมดจะนำรายได้สมทบทุนใช้ด้านสาธารณประโยชน์

เหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2515

สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ สร้างจำนวน 10,000 เหรียญ โดยบรรจุไว้ใต้อุโบสถจำนวน 3,000 เหรียญ และเนื้อทองแดงกะไหล่ไฟ สร้างจำนวน 5,000 เหรียญ

ออกให้บูชาในงานปิดทองผูกพัทธสีมา (ฝังลูกนิมิต) ในปี พ.ศ.2515

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ แบบมีหูในตัว ขนาดความกว้าง 2.1 เซนติเมตร ส่วนสูง 3 เซนติเมตร

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เขียนว่า “พระครูหนู ปัญญาโสโต” ถัดขึ้นไปเป็นอักขระเลขยันต์ 3 ตัว อ่านได้ว่า มะ อะ อุ ด้านบนเขียนว่า “วัดไผ่สามเกาะ อ.บ้านโป่ง”

ด้านหลัง ของเหรียญเป็นยันต์นะละลวย รายล้อมด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “จ.ราชบุรี ๒๕๑๕”

สำหรับพระสมเด็จ รุ่นแรก สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2520 เนื้อผงพุทธคุณที่มีเอกลักษณ์สามารถจดจำได้ง่าย ที่ระลึกให้กับลูกศิษย์ลูกหาที่บริจาคเงินเพื่อพัฒนาวัด โดยใช้เนื้อผงพุทธคุณที่รวบรวมและลบผงเองเป็นส่วนผสมหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระสมเด็จพิมพ์พระประธานฐาน 3 ชั้น ครอบซุ้มระฆัง ภายในครอบระฆังมีต้นไผ่เป็นสัญลักษณ์มีเอกลักษณ์สามารถจดจำได้ง่าย

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “วัดไผ่สามเกาะ อ.บ้านโป่ง ราชบุรี”

ปัจจุบัน วัตถุมงคลทั้งสองชิ้น เป็นที่เสาะแสวงหากันมากมาย จนสนนราคาเล่นหาขยับสูงขึ้นมาก

มีนามเดิม หนู กันขำ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2462 ที่บ้านไผ่สามเกาะ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วัยเด็กจบการศึกษาชั้น ป.4 ที่โรงเรียนเขาขลุง เมื่ออายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสระตะโก ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง มีพระครูเมธาธิการ (หลวงพ่อหวาน) เจ้าคณะตำบลหนองปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูบุญนาค สักการวโร วัดลำพยอม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ม่วง วัดไผ่สามเกาะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญาโสโต

หลังอุปสมบทย้ายมาอยู่จำพรรษาอยู่วัดไผ่สามเกาะ ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาด้านพุทธาคม วิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระเกจิชื่อดัง

ในปี พ.ศ.2486 เดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ฝากตัวเป็นศิษย์ขอศึกษาพุทธาคม

ได้รับความเมตตาสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้เป็นอันดับแรก สอนพระคาถากำบัง วิชามหาอุด และคงกระพันชาตรี ใช้เวลาศึกษาเป็นเวลา 1 ปี

พรรษาที่ 7 เดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอศึกษาเรียนพุทธาคม เช่น คาถาเสกหุ่น หนุนธาตุ คาถามหาอุด และการทำกสิณต่างๆ เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ และปัฐวีธาตุ จนสามารถบรรลุกสิณ 10

หลังจากนั้น ไปกราบนมัสการหลวงพ่อเต๋ คงทอง ที่วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ซึ่งหลวงพ่อเต๋เป็นศิษย์หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ด้วยเช่นกัน เข้าขอศึกษาและปรึกษารับการแนะนำในการใช้วิชาต่างๆ จากหลวงพ่อเต๋ ซึ่งเป็นศิษย์ผู้พี่และเป็นทั้งพระอาจารย์

พ.ศ.2490 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่สามเกาะ

พ.ศ.2512 เป็นพระอุปัชฌาย์

ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งปกครอง แต่หาได้หยุดนิ่งในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

อีกทั้งเป็นพระนักพัฒนา สร้างความเจริญให้กับชาวตำบลเขาขลุง ทั้งในด้านพระศาสนา ก่อสร้างอาคารศาสนสถาน

ในด้านการศึกษา มอบที่ดินวัดจำนวน 20 ไร่ สำหรับสร้างโรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) และยังได้ซื้อที่ดินบริจาคสร้างสถานีตำรวจชุมชนเขาขลุง สถานีอนามัยเขาขลุง และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง

ยังสงเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้นจากความแห้งแล้ง ด้วยการยกที่ดินของวัดจำนวน 5 ไร่ สำหรับขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคร่วมกัน

เป็นนักอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติ ด้วยการชักชวนชาวบ้านให้ปลูกต้นไม้นานาพันธุ์ บนเนื้อที่ 25 ไร่ ให้กลายเป็นผืนป่าที่สำคัญของชุมชน

เวลาใดปลอดญาติโยม จะเข้าอุโบสถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

หลักธรรมคำสอนเน้นในเรื่องของความเป็นผู้สันโดษ มักน้อย ใช้ชีวิตอย่างพอดี พอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ธรรมที่แสดงจึงเรียบง่าย ทุกคนได้ฟังแล้วมีความเข้าใจ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเวลา 12.02 น. วันที่ 20 สิงหาคม 2560 สิริอายุ 98 ปี พรรษา 76

ก่อนหน้านี้ มีอาการอาพาธตามวัย โดยอาการทรงและทรุดมาตลอด จนถึงวาระสุดท้าย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลซานคามิลโล อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ระบบทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว คณะแพทย์ไม่สามารถรักษาประคับประคองได้

สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 28 มิถุนายน 2566 13:06:18
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59171100416117_cover_2148_696x364_Copy_.jpg)

(ซ้าย) หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย (ขวา) เหรียญเสือยืน หลวงพ่อสมชาย

เหรียญเสือยืน วัดเขาสุกิม หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย เพื่อทหาร-คนไทยรักถิ่น

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 14 ตุลาคม 2564
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2564


พระวิสุทธิญาณเถร” หรือ “หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย” พระเถระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์พระป่า

เหรียญและวัตถุมงคลมีหลายรุ่น มีชื่อเสียงโด่งดังแทบทุกรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญรุ่นเสือยืน จัดสร้างโดยวัดเขาสุกิม เฉพาะเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 50,000 เหรียญ เหตุที่จัดสร้างรุ่นดังกล่าวและจำนวนมากนั้น มีเหตุว่า…

ในช่วงปี พ.ศ.2520 แถบชายแดนจันทบุรีและตราด ซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชา มีภัยสงคราม-ความไม่สงบเกิดขึ้นเป็นระยะ เหล่าทหารหาญ ข้าราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต่างต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นมิ่งขวัญแก่ตนเอง

คราวนั้น หลวงพ่อสมชายนำคณะศิษย์ออกให้กำลังใจบำรุงขวัญชาวบ้านอยู่เป็นประจำ ทุกครั้งที่หลวงพ่อเดินทางไปถึง ชาวบ้านมักจะขอวัตถุมงคลเป็นขวัญกำลังใจด้วย…

จึงอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกรุ่น โดยการจัดสร้างของวัดเขาสุกิม มีวัตถุประสงค์ว่า “สร้างเพื่อแจกทหารและคนไทยรักถิ่น”

ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย”

ด้านหลังเหรียญ ข้างบน เขียนคำว่า “วัดราษฎร์บูรณะคุณาราม (เขาสุกิม)” ตรงกลางเป็นรูปเสือยืนหันหน้าคำราม บนพื้นหญ้า ด้านล่างสุดมีตัวเลขไทย “๓. ๕.๑๕ ๒๕๒๐”

อธิษฐานจิต ในวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธศักราช 2520 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิด

จากนั้นจึงนำไปแจกแก่ผู้ที่เคารพศรัทธา หลายครั้งหลายโอกาส

ปัจจุบันวัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

มีนามเดิมว่า สมชาย มติยาภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2468 ที่หมู่บ้านเหล่างิ้ว ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 19 ปี บรรพชาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

ช่วงปลายปี พ.ศ.2487 ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปฝากตัวเป็นศิษย์ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร

ในระหว่างที่พำนักอาศัย ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ใช้ความเพียรต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างยิ่งยวด ตลอดจนอุปัฏฐากครูบาอาจารย์โดยไม่บกพร่อง

อายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดศรีโพน อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2489 มีพระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายา ฐิตวิริโย มีความหมายว่า ผู้ตั้งมั่นในความเพียร

ถือเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ครั้งหนึ่งเคยบีบนวดถวายหลวงปู่มั่นเป็นเวลานาน เกิดความคิดว่า “เราไม่ได้นอนมา 2 วัน 2 คืนแล้ว พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกลไปหนองคาย” ในขณะกำลังคิดอยู่นั้น หลวงปู่มั่นพูดสวนขึ้นมาว่า “จะไปพักก็ไปได้นะ สังขารร่างกายอย่าหักโหม พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกล” หลวงปู่สมชายแปลกใจว่าคำพูดของท่านตรงกับความคิดพอดี

ทำให้มั่นใจว่าหลวงปู่มั่นทราบวาระจิตด้วยสมาธิญาณ เกิดความปีติอิ่มเอิบ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง ตั้งหน้าตั้งตาบีบนวดหลวงปู่มั่น พลางคิดว่าเราจะต้องศึกษาวิชาแบบท่านให้ได้

พอท่านคิดจบ หลวงปู่มั่นพูดสวนความคิดขึ้นมาทันทีว่า “ตั้งใจเอาแน่หรือ” เมื่อได้ยินคำพูดหลวงปู่มั่นดังนี้แล้ว ทำให้เชื่อแน่ว่าอภิญญาสมาบัติมีจริง

วันรุ่งขึ้นได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกไปแสวงหาที่บำเพ็ญตามป่าเขาสถานที่ทุรกันดาร เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ด้วยความวิริยะและอดทนเป็นเลิศ

ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2501 หลวงปู่สมชายได้อยู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสายัณห์ โดยท่านไม่ได้ฉันภัตตาหาร 15 วันติดต่อกัน และถือเนสัชชิกังคะ คือยืน นั่ง เดิน โดยไม่เอนกายลงนอนทั้งคืน บางครั้งเป็นเดือน

ช่วงกลางวันยังสามารถช่วยงานทางวัดได้ สามารถแบกปูนครั้งละ 2 ลูกขึ้นไปบนเขาเพื่อสร้างโบสถ์วิหาร

จนกลายเป็นเรื่องน่าประหลาดว่าเอาเรี่ยวแรงมาจากไหน ถ้ามิใช่ผลแห่งสมาธิจิต

นอกจากจะเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านยังฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่สีลา อิสฺสโร และพระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป ด้วยความเป็นพระสงฆ์นักปฏิบัติ ออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรไปทั่วทุกหนแห่ง

กล่าวสำหรับวัดเขาสุกิมนั้น หลวงปู่สมชายบุกเบิกพัฒนา สร้างสรรค์วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ บนเนื้อที่กว่า 3,280 ไร่ ให้เป็นศาสนสถานอันร่มรื่น สวยงาม เป็นศรีแก่จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2507

แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่ารกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่า ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวได้แปรสภาพถูกจัดระเบียบกลายเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งภาคตะวันออก จนกลายเป็นที่กล่าวขานว่าใครไปเยือนเมืองจันท์ ถ้าไม่ได้ไปนมัสการวัดเขาสุกิมถือว่ายังไปไม่ถึงเมืองจันท์

ในปี พ.ศ.2542 หลวงปู่สมชายเริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคหัวใจ และต้องเข้ารับการรักษาอาการที่โรงพยาบาลศิริราช โดยคณะแพทย์ตรวจพบว่าหลวงปู่มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ และทำการรักษาอาการอาพาธจนดีขึ้น

ต่อมาสุขภาพทรุดหนักลงเป็นระยะต้องเข้าโรงพยาบาลวิชัยยุทธเป็นประจำ ในปี พ.ศ.2545 มีอาการอาพาธหนักจนคณะแพทย์ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ และล้างไตมาตลอด

กระทั่งปลายปี พ.ศ.2547 อาการอาพาธด้วยโรคหัวใจมีอาการทรุดหนักลง เหนื่อยหอบ และต้องล้างไตถี่ขึ้น

ท้ายที่สุด เวลา 10.40 น. วันที่ 18 มิถุนายน 2548 จึงมรณภาพลงอย่างสงบ ที่ห้องไอซียู ชั้น 7 โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

ด้วยวัย 80 ปี พรรษา 60






หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 กรกฎาคม 2566 12:06:47

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57407247109545__2_696x450_Copy_.jpg)
เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค พระเกจิสรรคบุรี-ชัยนาท

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564


“หลวงพ่อกวย ชุตินธโร” วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง นามขจรขจายไปทั่วภาคกลาง  วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังทุกประเภท ล้วนเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตสืบมาถึงปัจจุบัน

เหรียญหลังหนุมาน พ.ศ.2521 เป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งของหลวงพ่อกวย พุทธคุณเหมือนดังสักหนุมานกับหลวงพ่อทีเดียว

ด้วยความที่หลวงพ่อกวยเป็นอาจารย์สักยันต์ที่ขึ้นชื่อและนิยมกันอย่างมาก โดยเฉพาะยันต์ลายหนุมานเชิญธง

เหรียญรุ่นดังกล่าว จัดเป็นเหรียญรุ่น 3 หรือที่เรียกกันว่า “เหรียญรุ่นฝังลูกนิมิต” หรือ “เหรียญหลังหนุมาน” จัดสร้างเนื่องในโอกาสผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ.2521

จัดสร้างเนื้ออัลปาก้า จำนวนประมาณ 20,000 เหรียญ แบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองประมาณ 500 เหรียญ สมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคข้าวสาร 1 กระสอบในงานผูกพัทธสีมา จะได้รับเหรียญกะไหล่ทอง 1 เหรียญ ส่วนเหรียญที่เหลือเป็นเนื้ออัลปาก้า ออกให้ทำบุญเหรียญละ 100 บาท

ลักษณะเป็นเหรียญโล่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ มียันต์นะอุดปืนอยู่สองข้าง ใต้รูปเหมือนหลวงพ่อกวย เขียนคำว่า “หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม”

ด้านหลังเป็นรูปหนุมานเชิญธง ขอบด้านล่าง ระบุว่า “ที่ระลึกในงาน พ.ศ. ๒๕๒๑ ผูกพัทธสีมา”

ปัจจุบันหายากมากและราคาเช่าบูชาสูง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66382352304127__1_208x300.jpg)

หลวงพ่อกวย ชุตินธโร

เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ณ หมู่บ้านบ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท  ในช่วงวัยเยาว์มารดาได้นำมาฝากไว้กับหลวงปู่ขวด ที่วัดบ้านแค เพื่อให้เรียนหนังสือ  ครั้นเมื่อครบอายุบวช เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ที่วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร

อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ หัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อรักษาโรคระบาด หรือโรคห่าและโรคไข้ทรพิษ

พ.ศ.2472 เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลังกับหลวงพ่อศรี วิริยโสภิโต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

พ.ศ.2477 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ

ขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม มีพระภิกษุชื่อแจ่ม เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพ์แรงมาก จึงได้มาชักชวนให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้

จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า “ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น” ก่อนอัญเชิญตำรานั้นมาเก็บไว้

ครั้งหนึ่ง เมื่อไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นที่เป็นที่รู้จักกันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย

ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กลับมาอยู่วัดบ้านแค สักยันต์ให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดลงมือสักกันทั้งกลางวันกลางคืน

ในช่วงนั้น ข้าวยากหมากแพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะแถบภาคกลางตอนล่าง นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นแหล่งกบดานของโจรเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านแคได้อาศัยบารมีเพื่อคุ้มครองครอบครัวและทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด

จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่บ้านแค เล่าว่า พวกโจรเสือไม่มีใครกล้ามาลองดี มีอยู่รายหนึ่งเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านแคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก แต่ก็โดนตะพดจนต้องรีบพาสมุนกลับและก็ไม่มาแถวบ้านแคอีกเลย

เล่ากันว่าในสมัยนั้น เมื่อโจรเสือเดินผ่านวัด ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง

ลําดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน

ปี พ.ศ.2521 เข้ารับการรักษาอาพาธที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคขาดสารอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี

มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

ปัจจุบัน วัดโฆสิตาราม และบรรดาศิษย์ ยึดถือเอาวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศและรำลึกถึง




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42073443987303_cover_2156_696x364_Copy_.jpg)
(ซ้าย) หลวงพ่อสาย อัคควังโส (ขวา) เหรียญหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน รุ่นแรกทอง

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2513 หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2564


“พระครูสุวรรณเสลาภรณ์” หรือ “หลวงพ่อสาย อัคควังโส” วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี พระเกจิชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และรู้จักชื่อเสียงเป็นอย่างดี

เป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ รวมทั้งร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอยู่เสมอ

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญรุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัว สร้างเป็นเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง แบ่งออกเป็น 2 บล็อก คือ บล็อกนิยม และบล็อกเสริม สร้างประมาณ 1,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (สาย)”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ และมีอักขระภาษาไทย เขียนว่า “วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓”

นับเป็นเหรียญที่หายาก

มีนามเดิมว่า สาย ไกวัลศิลป์ เกิดวันอาทิตย์แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม 2457 ที่ ต.หลานหลวง เขตนางเลิ้ง กรุงเทพฯ บิดา-มารดาชื่อ นายเพิ่มและนางจันทร์ โกวัลศิลป์

ช่วงวัยเยาว์ บิดา-มารดาส่งเสียให้เรียนจนจบชั้น ม.8 และเข้ารับราชการในการรถไฟ จนเมื่อปี พ.ศ.2457 ขณะนั้นอายุย่าง 32 ปี ขณะที่ยังรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ป่วยเป็นฝีประคำขึ้นรอบคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่หาย

จึงเข้ากราบมอบตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ท่านเมตตารักษาจนหายขาด 

อันเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา จึงขอบวชเป็นพระภิกษุ

เข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2488 ที่พัทธสีมาวัดเขาทอง ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีพระครูนิรันตสีลคุณ เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์น้อย วัดหนองโพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ไชย วัดเขาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า อัคควังโส
 
จากนั้นย้ายมาจำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมจากหลวงพ่อเดิม ที่วัดหนองบัว เป็นเวลา 5 พรรษา จนเมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพลงในปี พ.ศ.2494 จึงออกเดินธุดงค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สำหรับวัดท่าขนุน ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในสมัยนั้นมีหลวงปู่พุก อุตตมปาโล ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาวมอญ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี บุกเบิกสร้างวัดและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 1 ของวัดท่าขนุน จนท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.2472

ต่อมาหลวงปู่เต๊อะเน็ง โอภาโส พื้นเพเป็นชาวพม่า ได้รับเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดท่าขนุนจนถึงปี พ.ศ.2494 ก่อนเดินทางกลับไปพม่า โดยไม่ได้กลับมาอีก

คณะสงฆ์ส่งพระภิกษุจากในเมืองกาญจน์มาช่วยดูแลวัดให้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็หนีกลับไป เพราะทนไข้ป่าไม่ไหว

วัดท่าขนุนจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง

กระทั่งวันที่ 26 ธันวาคม 2495 หลวงพ่อสายเดินธุดงค์มาจากนครสวรรค์ ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวณวัดท่าขนุน ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส จึงให้การอุปัฏฐากเป็นอย่างดี จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2496 จึงได้ลาชาวบ้าน เดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า

ครั้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2496 เดินธุดงค์กลับจากพม่ามาถึงวัดท่าขนุน และอยู่จำพรรษาอยู่จนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2496 ชาวบ้านซึ่งนำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก นิมนต์ให้อยู่ต่อเป็นเจ้าอาวาส

จึงแนะให้นายบุญธรรมนำคณะชาวบ้านไปกราบขอกับหลวงปู่น้อย เตชปุญโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์และเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแล จากนั้นจึงลาชาวบ้านเดินทางกลับไปที่วัดหนองโพธิ์

หลังออกพรรษา พ.ศ.2497 นายบุญธรรมจึงนำศรัทธาชาวบ้านเดินทางไปนครสวรรค์กราบหลวงปู่น้อย เพื่อขอตัวหลวงปู่สายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2497 และเริ่มบูรณะวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติ) วัดเหนือ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ตามหนังสือแต่งตั้งเลขที่ 1/2498 ลงวันที่ 1 มกราคม 2498

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ.2503 ได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตำบล

พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสุวรรณเสลาภรณ์

ท่านร่วมกับชาวบ้านที่ศรัทธา ช่วยกันพัฒนาวัดท่าขนุนเรื่อยมาจนกลับมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกวาระหนึ่ง จนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ.2516 อีกด้วย

หลวงพ่อสายมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 47

 


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 04 กรกฎาคม 2566 11:02:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55107627436518_cover_2157_2_696x364_Copy_.jpg)
(ซ้าย) หลวงพ่อพิณ อินทสาโร
(ขวาบน) เหรียญมหาปราบหลวงพ่อพิณ พ.ศ.2492 (ขวาล่าง) เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อพิณ


เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่น 1 หลวงพ่อพิณ วัดอุบลฯ พระเกจิดังดำเนินสะดวก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2564

พระครูประสิทธิ์สารคุณ” หรือ “หลวงพ่อพิณ อินทสาโร” อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุบลวรรณาราม ต.ศรีสุราษฎร์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

เป็นศิษย์ผู้ที่สืบทอดวิชามหาปราบจากหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

เหรียญและพระเครื่องล้วนมีประสบการณ์แคล้วคลาด ส่งผลให้ได้รับความนิยมสูง อาทิ เหรียญหล่อชินราช พิมพ์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม

ส่วนเหรียญปั๊มที่โด่งดัง คือ เหรียญมหาปราบ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2492

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ไม่มีหู จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ ด้านหน้า เป็นรูปหนุมานเชิญธงมีอักขระยันต์ต่างๆ ด้านหลัง เป็นรูปยันต์ ไม่มีอักขระภาษาไทย

สำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหู จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดง และเนื้ออัลปาก้าเท่านั้น ถือเป็นรุ่นแรกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ด้านหน้า เป็นรูปจำลองครึ่งบนห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เขียนคำว่า “หลวงพ่อวัดอุบลฯ”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่มีอักขระภาษาไทย

จัดเป็นเหรียญหายากและเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องและชาวราชบุรีเป็นอย่างมาก

มีนามเดิมว่า พิณ อิ้มสำราญ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2444 ที่บ้านคลองใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม บิดา-มารดาชื่อ นายหลงและนางพริ้ง อิ้มสำราญ

ในวัยเยาว์ พ่อนำไปฝากร่ำเรียนกับเจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ ต่อมาบิดาให้มาอยู่กับทนายสมบุญ ซึ่งสนิทสนมคุ้นเคยกัน เพื่อศึกษาในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ศึกษาจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 2 บิดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องออกมาช่วยมารดาประกอบอาชีพ

พ.ศ.2465 ขณะที่มีอายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบางช้างเหนือ จ.นครปฐม โดยมีหลวงพ่อใจ วัดเชิงเลน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อแหวน วัดบางช้างใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแหวน วัดบางช้างเหนือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อินทสาโร

จำพรรษาและเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดบางช้างเหนือ ต่อมาได้ศึกษาบาลี ที่สำนักเรียนวัดทองนพคุณ อ.คลองสาน กทม. ศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลี จนมีความรู้ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญ 5 ประโยค

จากนั้น สนใจทางนักเทศน์จนมีความรู้ความชำนาญในการแสดงพระธรรมเทศนา พร้อมทั้งร่ำเรียนวิชาโหราศาสตร์และพุทธาคมจนช่ำชอง

ต่อมาช่วยกิจการพระศาสนา โดยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี โดยเป็นพระครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดทองนพคุณ, วัดท่าล้อ จ.กาญจนบุรี, วัดอมรญาติสมาคม, วัดประสาทสิทธิ์ และวัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี ตามลำดับ

ในปี พ.ศ.2481 มาอยู่ประจำที่วัดประสาทสิทธิ์ (หลักห้า) อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โดยเปิดการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีเป็นแห่งแรกใน อ.ดำเนินสะดวก โดยเป็นผู้อำนวยการสอนด้วยตนเอง

นอกจากนี้ ท่านได้เห็นการขาดแคลนโรงเรียนแก่เด็กๆ ศึกษาไม่เพียงพอ ต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัด ท่านจึงได้ปรึกษาพระครูล้อม เจ้าอาวาสวัดประสาทสิทธิ์ เพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดประสาทสิทธิ์ ชื่อว่า “ศรีพรหมมินทร์” และได้ทำการฉลองโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.2484

ต่อมา ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอุบลวรรณาราม พระอธิการนิ่ม เจ้าอาวาสวัดอุบลวรรณาราม ปรึกษาหารือกันเพื่อที่จะสร้างโรงเรียนวัดอุบลวรรณาราม โดยขอร้องให้ช่วยเป็นกำลังหาทุนก่อสร้าง ก็เต็มใจช่วยเหลือจนสำเร็จ เป็นโรงเรียนอุบลวรรณาราม (นิ่มพิณมุขประชานุกูล)

นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างโรงเรียนอีกหลายโรงในแถบนั้น และยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหลายแห่ง เป็นพระธรรมกถึกนักเทศน์ มีญาติโยมนิยมการแสดงธรรม มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก

ในปี พ.ศ.2490 พระอธิการนิ่ม ลาสิกขา คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด พร้อมใจกันให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนับแต่นั้นมา

หลังจากดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้พัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดอุบลวรรณารามให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

นอกจากจะเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงแล้ว ด้านพุทธาคม มีประชาชนทั่วไปให้ความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ จะได้รับการอาราธนาให้ไปร่วมปลุกเสกอยู่เสมอ ใครมีเรื่องเดือดร้อนหรือมีทุกข์มาขอให้ท่านช่วยเหลือ จะเมตตาสงเคราะห์ช่วยเหลือทุกราย จึงเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ และประชาชนโดยทั่วไป

ชาวบ้านวัดอุบลวรรณารามจะรับรู้กันว่า เป็นพระที่มีบารมีสูงของอำเภอดำเนินสะดวก มีจิตใจโอบอ้อมอารี เก่งทางด้านพระธรรมและบาลี มองดูเผินๆ เป็นพระนักพัฒนาและเป็นครูสอนพระธรรมและบาลีธรรมดา แต่อีกนัยหนึ่งชาวบ้านอำเภอดำเนินสะดวกจะรู้กันดีว่า เก่งด้านการเทศน์และอาจารย์สอนพระธรรมและบาลี

เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่ชาวดำเนินสะดวกตลอดมาอย่างยาวนาน กระทั่ง พ.ศ.2520 เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ก่อนมรณภาพอย่างสงบ ในวันที่ 14 ธันวาคม 2520

สิริอายุ 77 ปี พรรษา 55




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46370489398638_cover_2159_696x364_Copy_.jpg)
(ซ้าย) หลวงปู่ดี พุทธโชติ
(ขวาบน) พระท่ากระดานหลังยันต์นะ หลวงปู่ดี (ขวาล่าง) พระอู่ทองหลังลิ่ม หลวงปู่ดี


เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 6 มกราคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2565


“พระเทพมงคลรังษี” หรือ “หลวงปู่ดี พุทธโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งที่ทรงกลับมาอุปสมบทที่วัดเหนือและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา

จากนั้น กลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำญัตติเป็นธรรมยุต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

วัตถุมงคลที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง มีทั้งพระบูชา ภปร, รูปหล่อ, พระกริ่ง, เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

โดยเฉพาะพระท่ากระดานหลังยันต์นะ และพระอู่ทองหลังลิ่ม

กล่าวสำหรับพระท่ากระดานหลังยันต์นะ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2481 โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ เป็นส่วนผสม โดยคัดแยกเอาเฉพาะเนื้อชินแข็ง มาจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร

พระพิมพ์นี้เป็นที่แสวงหากันมาก ด้วยมีชื่อในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างประมาณไม่เกิน 500 องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบเดียวกับพระท่ากระดานทั่วไป

ด้านหลัง มีตัวอักขระยันต์อ่านได้ว่า นะ

ส่วนพระอู่ทองหลังลิ่ม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2481 พร้อมกับพระท่ากระดานหลังยันต์นะ โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ เป็นส่วนผสมโดยคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นตะกั่วนม หรือชินนิ่ม มาทำการจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร จำนวนสร้างประมาณไม่เกิน 500 องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปแบบเดียวกับพระอู่ทองทั่วไป

ด้านหลัง มีร่องสำหรับเทหล่อชนวนโลหะ ภายในร่องมีอักขระยันต์ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์

เป็นพระที่หายากมากอีกรุ่น

อัตโนประวัติ เกิดที่บ้านทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2416 บิดา-มารดาชื่อ นายเทศ-นางจันทร์ เอกฉันท์

บรรพชาในปี พ.ศ.2434 ณ วัดทุ่งสมอ มีพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่ได้ 6 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาทำงานช่วยครอบครัว จนอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดทุ่งสมอ มีพระครูวิสุทธิรังษี (หลวงปู่ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการรอด และพระใบฎีกาเปลี่ยน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “พุทธโชติ”

จำพรรษาที่วัดทุ่งสมอ ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ โดยมีความชอบเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการสวดปาฏิโมกข์ จึงมีความมานะพยายาม จนที่สุดสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ในพรรษาที่ 2

ช่วงออกพรรษาท่านมักธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมเพิ่มเติมกับพระเกจิหลายรูป อาทิ พระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี, หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว ฯลฯ

ชะตาผกผัน ในพรรษาที่ 12 ที่มาจำพรรษาที่วัดรังษี ครั้งที่ 2 นั้น พบพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอาวาสวัดเหนือ ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในครั้งที่รับนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้

หลวงพ่อสุดทำหนังสือขอเดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงขออนุญาตเดินทางไปด้วย ตลอดทางทั้งไปและกลับ หลวงพ่อสุดเกิดอาพาธ ซึ่งหลวงปู่ดีคอยปรนนิบัติดูแลจนกลับถึงวัดเหนือ

หลวงพ่อสุดยังปรารภว่า “ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปด้วยกัน ท่านก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่”

หลวงปู่ดีกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ดังเดิม แต่ก็มีจดหมายไต่ถามทุกข์สุขกันเสมอมา บางครั้ง หลวงพ่อสุดลงมากรุงเทพฯ จะมาแวะพักพูดคุย จนช่วงหลังๆ ท่านอาพาธหนัก เดินทางไปไหนไม่ได้ จึงมีจดหมายถึงหลวงปู่ดีขอให้ไปเยี่ยมท่าน

จึงหาโอกาสขึ้นไปเยี่ยมที่วัดเหนือ หลวงพ่อสุดให้ศิษย์นิมนต์หลวงปู่ดีอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ แต่ท่านก็ไม่รับปาก แต่ได้ช่วยดูแลกิจการต่างๆ เช่น สวดปาฏิโมกข์ หรือเทศน์แทนท่าน เป็นต้น

คราหนึ่ง หลวงพ่อสุดให้หลายคนมาขอร้องให้เป็นสมภาร แต่ก็ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด

จนเมื่อหลวงพ่อสุดมรณภาพลง กรรมการและศิษย์วัดและชาวบ้านทั้งหลาย จึงนิมนต์ขอให้เป็นสมภารอีกครั้ง ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงต้องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดเหนืออย่างเต็มตัว

เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาจิต ท่านปรับปรุงและพัฒนาทุกอย่างในวัด ทั้งขนบธรรมเนียม ระเบียบพิธีการ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระทุกรูปมีวัตรปฏิบัติเรียบร้อย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับได้ว่า วัดเหนือได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่ชื่นชมศรัทธาของเหล่าสาธุชน แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ยังทรงยกย่องให้เป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลาย

ในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดเหนือ

มีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภปร จารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ของ “พระพุทธรูปปางประทานพร” ที่วัดจัดสร้างเพื่อนำปัจจัยมาบำรุงวัด ทั้งพระราชทานแผ่นทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้า อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง

ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลรังษี และเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี

มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2510

สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 กรกฎาคม 2566 17:56:09
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64356598630547_Pages_from_wk20220107_3_2_696x.jpg)
เหรียญรุ่นสิบตัง 2490 หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41248630939258_Pages_from_wk20220107_2_696x92.jpg)
หลวงพ่อเฟื่อง ธัมมปาโล
วัดอมรญาติสมาคม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
พระเกจิชื่อดังดำเนินสะดวก


เหรียญรุ่นสิบตัง 2490 หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ พระเกจิชื่อดังดำเนินสะดวก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 มกราคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2565


จังหวัดราชบุรี ดินแดนเมืองเก่า เทือกเขางูและถ้ำที่สลักภาพพระพุทธรูปลงบนผนังถ้ำสมัยทวารวดี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะของชาวบ้าน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่ขึ้นชื่ออย่างคลองดำเนินสะดวกและภาพชีวิตตลาดน้ำ

สำหรับอำเภอดำเนินสะดวก มีพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่ง คือ “พระครูอดุลสารธรรม” หรือ “หลวงพ่อเฟื่อง ธัมมปาโล” วัดอมรญาติสมาคม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงพุทธาวิทยาคมที่ชาวราชบุรีและชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียงเลื่อมใสศรัทธา วิทยาคมถือเป็นอันดับต้นในพื้นที่

สร้างวัตถุมงคลหลายรุ่น อาทิ เหรียญ พระปรก ฯลฯ ซึ่งวัตถุมงคลทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม

โดยเฉพาะ “เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ รุ่นสิบตัง” สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2490 กว่าๆ โดยผู้สร้างคือ ผู้ใหญ่สง่า ช่วงทอง สร้างถวายหลวงพ่อเฟื่อง ปลุกเสกแจกในงานเปิดป้ายโรงเรียนวัดอมรญาติฯ

ลักษณะเป็นรูปวงกลมขนาดเท่าเหรียญสิบสตางค์สมัยเก่า จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์นี้ สร้างด้วยเนื้อโลหะดีบุก และเนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเฟื่องครึ่งองค์ ห่มจีวรคลุมไหล่ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า “พระครูอดุลสารธรรม”

ด้านหลัง ปรากฏอักขระยันต์ตรีนิสิงเห ไม่มีอักขระภาษาไทยเลย

พุทธคุณวัตถุมงคลนั้น คนสมัยก่อนนับถือกันว่าไม่เป็นสองรองใคร เป็นที่ประจักษ์ชาวดำเนินสะดวกและคณะศิษย์มานักต่อนัก

จัดเป็นวัตถุมงคลที่หายากและมีราคา ผู้ใดครอบครองมักจะยิ่งหวงแหนเป็นยิ่งนัก

มีนามเดิมว่า เฟื่อง ภู่สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2420 ที่บ้านหมู่ที่ 3 ต.ท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายภู่ และนางมิ่ง ภู่สวัสดิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วิถีชีวิตในวัยเด็กของท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่ห่างไกลจากระบบการศึกษาในสมัยนั้น แต่ได้มาศึกษาร่ำเรียนต่อเมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว

เข้าพิธีอุปสมบทในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2440 ที่วัดโชติทายการาม มีพระครูวรปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทองอยู่ วัดโชติทายการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการโต เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จากนั้นได้อยู่จำพรรษาที่วัดโชติทายการามกับพระอุปัชฌาย์ พร้อมศึกษาวิทยาคมจากตำรับตำรา มีความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการปฏิบัติธรรมหรือวิทยาคม แม้เมื่อตอนที่บวชนั้นไม่อาจอ่านหนังสือออก หากก็พากเพียรร่ำเรียนอาศัยการท่องจำจากพระภิกษุด้วยกัน เพียงพรรษาแรกก็สามารถท่องจำบทสวดมนต์และพระปาติโมกข์ได้จนจบ

ทั้งยังไม่ปล่อยให้เวลาล่วงไปโดยปราศจากประโยชน์ หลวงพ่อเฟื่องได้พากเพียรต่อการเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอม สามารถจะอ่านออกเขียนได้ทั้งไทยและขอม สามารถเขียนยันต์ได้อย่างถูกต้อง

เคยกล่าวไว้ว่า “การเจริญกัมมัฏฐานทำให้เกิดปัญญาได้เหมือนกัน เพราะกัมมัฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งการงาน คือเป็นรากเหง้าของปัญญา ซึ่งเมื่อผู้ใดได้ฝึกกัมมัฏฐานก็เท่ากับ ฝึกจิตใจให้มีสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็โปร่งใส อ่านอะไรก็ทะลุปรุโปร่ง เพราะมีปัญญาที่อยู่เหนือกว่าปัญหาทั่วๆ ไป คือปัญญาของพระอริยะ”

ต่อมา ย้ายไปจำพรรษายังวัดไผ่ล้อม ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี ในห้วงระยะนั้นอุโบสถของวัดได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จนไม่สามารถที่จะทำสังฆกรรมอีกต่อไปได้

จึงได้ร่วมมือกับพระอธิการโต เจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ จัดการก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งกุฏิ วิหาร และศาลาการเปรียญ บูรณะวัดจนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อครั้งพระอธิการโตมรณภาพลงด้วยโรคชรา ก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน

เมื่อเจ้าอาวาสวัดอมรญาติสมาคม หรือหลวงพ่อน้อยมรณภาพ จึงได้รับนิมนต์ให้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ด้วยอีกวัดหนึ่ง จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด พ.ศ.2455 ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน จึงได้ย้ายมาจำพรรษายังวัดอมรญาติสมาคม

ด้วยความที่วัดกับบ้านเป็นที่พึ่งกันและกัน จึงได้พัฒนาทั้งวัดและบ้าน กล่าวคือ ไม่เพียงแต่จะพัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว ด้านการศึกษานั้นหาได้ปล่อยทิ้งละเลยไม่ ขณะนั้นย่านนั้นหาได้มีสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรไม่ จึงได้จัดสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมในปี พ.ศ.2473 และได้จัดหาครูมาสอนให้ด้วย กระทั่งมีพระภิกษุสามเณรมาศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างมากมาย

พ.ศ.2477 จัดสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ด้วยของเดิมคับแคบ

พ.ศ.2483 ดำเนินการสร้างโรงเรียนประชาบาลอมรวิทยาคาร ไม่เพียงพัฒนาวัดเท่านั้น หากยังได้ก่อสร้างถนนหลวงและสะพานข้ามคลองมอญ ย้ายโรงเรียนปริยัติธรรมมายังด้านทิศตะวันตก

ส่วนตำแหน่งหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2471

พ.ศ.2473 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอดุลสารธรรม

มรณภาพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2500 สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42786390624112_3._692x420_Copy_.jpg)
พระสมเด็จรุ่นวัวชน หลวงปู่กรับ วัดโกกราก

พระสมเด็จรุ่นวัวชน หลวงปู่กรับ วัดโกกราก พระเกจิชื่อดังมหาชัย

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2565


“พระครูธรรมสาคร” หรือ “หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก ต.โกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และอดีตเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2 พระเกจิทรงวิทยาคม และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวมหาชัย

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้น มีหลายรุ่นด้วยกัน ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะ “พระสมเด็จรุ่นวัวชน”

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2505 ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป เนื้อหามวลสารออกสีขาวอมน้ำตาล ซึ่งเป็นผงที่ทำขึ้นเอง

เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ลูกศิษย์ลูกหา โดยมีเรื่องเล่าขานว่า ผู้ที่พกติดตัวเกิดโดนวัวขวิดเข้าอย่างจัง จนตัวลอยกระเด็นไปหลายเมตร แต่กลับไม่เป็นอะไรแม้แต่น้อย จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นวัวชน

จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดว่าน่าจะน้อยมาก เนื่องจากลงมือทำพระด้วยตัวเองและพบเห็นหมุนเวียนในวงการน้อยมาก

ด้านหน้า จำลองรูปพระแบบพระสมเด็จ ฐานสามชั้น แบบทั่วไป

ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระยันต์ใดๆ

หลวงปู่กรับเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมสูง จนมีผู้กล่าวขวัญกันว่า “ถ้ามีวัตถุมงคลหลวงปู่กรับแขวนคอแล้ว จะแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ถึงจะตกระกำลำบากอยู่ที่ใด ก็จะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย”

จัดเป็นพระที่หายาก เพราะน้อยมาก อีกทั้งจำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79098416947656_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน

มีนามเดิมว่า กรับ เจริญสุข เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2436 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1255 สมัยรัชกาลที่ 5 ที่บ้านบางปิ้ง ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นบุตรนายไข่ และนางลอย ไข่ม่วง มีพี่น้องต่างมารดา 2 คน ร่วมมารดาเดียวกัน 11 คน

เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2456

มีพระครูสมุทรคุณากร วัดตึกมหาชยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการโต วัดโกรกกราก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชิด วัดราษฎร์รังสรรค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวัฑฒโน

จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดราษฎร์รังสรรค์ จากนั้นย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโกรกกราก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2463 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ริเริ่มพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และในปี พ.ศ.2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2

ต่อมาในปี พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนาม พระครูธรรมสาคร

กล่าวสำหรับวัดโกรกกราก สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่า มีมาแต่โบราณไม่ปรากฏชื่อ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2375 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2423 ตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 2

ในสมัยพระอธิการโต อดีตเจ้าอาวาส เกิดเพลิงไหม้เสนาสนะต่างๆ จนหมดสิ้น เหลือแต่อุโบสถเท่านั้น หลักฐานต่างๆ ของวัดจึงถูกเพลิงเผามอดไหม้ไปด้วย

เดิมบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีน สิ่งปลูกสร้างของวัดที่น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้คือ อุโบสถไม้สักหลังคาแอ่น คล้ายเก๋งจีน เสาระเบียงเฉียงออกทั้งสี่ด้าน

บริเวณด้านหน้ามีเจดีย์สององค์ มีเรือสำเภาจีนสร้างด้วยคอนกรีต องค์ละ 1 ลำ ลักษณะคล้ายกับเรือสำเภาจีนของวัดยานนาวาในกรุงเทพมหานคร แต่เล็กกว่า กาลต่อมา สูญหายไปหมดเหลือแต่องค์เจดีย์

ในจดหมายเหตุการเสด็จประพาสต้นของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปรากฏชื่อวัดโกรกกราก โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2448 เรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอดเทียบท่าวัดโกรกกราก เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นล่องเรือมาจากบ้านแหลม จ.เพชรบุรี แวะซื้ออาหารที่บ้านท่าฉลอมและนำมาปรุงที่ศาลาท่าน้ำวัดโกรกกราก

โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นมาบนวัดเพื่อให้พระรดน้ำมนต์ เนื่องจากเมาเรือ

วัดโกรกกรากมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ “หลวงพ่อปู่” ซึ่งประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวลุ่มน้ำมหาชัยและใกล้เคียงมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นเป็นที่กล่าวขวัญด้วยการสวมแว่นตาดำ

องค์พระพุทธรูปมีการใส่แว่น ทั้งแว่นดำ แว่นแฟชั่น และแว่นสายตา รวมทั้งรูปหล่อหลวงปู่กรับ อดีตเจ้าอาวาสก็สวมแว่นตาสีดำเช่นเดียวกัน

พระครูวิสุทธิ์สิทธิคุณ หรือหลวงพ่อพระมหาสัมฤทธิ์ วิสุทธสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บอกเล่าว่า การถวายแว่นแก้บน เกิดขึ้นเมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว เกิดโรคตาแดงระบาด ชาวบ้านจึงบนบานให้หายจากโรคตาแดง ปรากฏว่าหายป่วยทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงแห่กันมาปิดทองที่ดวงตาของหลวงพ่อปู่ เพื่อแก้บนกันยกใหญ่

อย่างไรก็ตาม หลวงปู่กรับ เกรงพระเก่าแก่จะเสียหายและขาดความสวยงาม ได้ออกอุบายนำแว่นตามาใส่แทน ชาวบ้านและผู้ศรัทธาเห็นเข้าก็ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา

ครั้งหนึ่ง มีคนร้ายได้เข้าไปลักลอบเจาะช่องท้องพระพุทธรูป หลวงปู่กรับลงไปทำวัตรในอุโบสถพบเข้าจึงนำทองคลุกยางรักอุดรอยเจาะนั้นไว้ และทำพิธีบวงสรวงสักการะ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1) และในวันนี้ของทุกปี

จึงเป็นที่มาของวันไหว้หลวงพ่อปู่ เรียกวันดังกล่าวว่า “วันแซยิดหลวงพ่อปู่” ทางวัดจัดงาน มีดนตรีและมหรสพให้ดูฟรีตลอดงานทุกปี

ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2517 สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61

วัดโกรกกราก หล่อรูปเหมือนไว้ให้ลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ โดยมีผู้นำแผ่นทองมาปิดจนเหลืองอร่าม และนำแว่นตามาถวายเช่นเดียวกับหลวงพ่อปู่

โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตา มีความเชื่อว่าจะช่วยให้ดีขึ้นด้วยบารมีของทั้งสองรูป





(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76893194682068__Copy_.jpg)
หลวงพ่อแง ปาสาทิโก
วัดบางไผ่เตี้ย บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร


พระสมเด็จ-พระหยดน้ำ หลวงพ่อแง วัดบางไผ่เตี้ย บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อแง ปาสาทิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม (วัดบางไผ่เตี้ย) หมู่ที่ 2 บ้านบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคมที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

สร้างวัตถุมงคลและเครื่อรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยม แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คือ “พระสมเด็จรุ่นแรก”

สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2507 แจกให้กับผู้ที่บริจาคสนับสนุนวัด ลักษณะเป็นพระพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยม เนื้อผงพุทธคุณสีขาว ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญ นอกจากมีผงวิเศษ และผงพุทธคุณต่างๆ แล้ว ยังมีผงที่หลวงพ่อแง ลบผงเองผสมอยู่อีกด้วย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49645800929930_wk202205_768x535_Copy_.png)
พระสมเด็จหลวงพ่อแง รุ่นแรก

ด้านหน้าจำลองเป็นรูปพระสมเด็จฐาน 3 ชั้น พื้นองค์พระส่วนใหญ่จะมีรอยจารอักขระยันต์มอญเป็นเอกลักษณ์

ด้านหลังเรียบ มีจารอักขระยันต์มอญ

นอกจากนี้ ยังมี “พระหยดน้ำ” ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2500 เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะเป็นพระหยดน้ำ เนื้อผงผสมใบลานและผงว่าน ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญนอกจากมีผงวิเศษ และผงพุทธคุณต่างๆ แล้ว ยังมีผงที่หลวงพ่อแง ลบผงเองผสมอยู่อีกด้วย จัดเป็นพระที่หายากของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68108905769056_wk20220520.pdf_A_768x535_Copy_.png)
พระหยดน้ำ หลวงพ่อแง

ด้านหน้าจำลองเป็นรูปพระพุทธปางสมาธิประทับภายในกลีบบัว 3 ชั้น เป็นเอกลักษณ์

ด้านหลังเรียบแบบหลังเต่า ไม่ปรากฏอักขระยันต์ใดๆ

ต่อมาได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันนับเป็นที่นิยมและหายากในพื้นที่



หลวงพ่อแง ปาสาทิโก

มีนามเดิมว่า แง รองทอง พื้นเพเป็นคนบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2442

พ.ศ.2477 อายุ 35 ปี เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้ตัดสินใจอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ราษศรัทธาธรรม) อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2477 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อคล้าย) วัดศิลามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เขียว เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และพระอาจารย์ยุทธ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปาสาทิโก

ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อคล้าย วัดศิลามูล แล้วจึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดดอนโฆสิตาราม ต.หนองบัว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และมีโอกาสสนิทสนมกับพระครูนาควุฒาจารย์ (หลวงปู่ตั้ง วัดใหม่เจริญราษฎร์), หลวงปู่แขก วัดบางปลา, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงปู่โน้ต วัดศิริมงคล

สำหรับวัดเจริญสุขาราม หรือวัดบางไผ่เตี้ย ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2448 วัดตั้งอยู่บริเวณริมคลองหมาหอน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยตระกูลปั้นอุดม และตระกูลมิลาวรรณ บริจาคที่ดินเพื่อสร้างสำนักสงฆ์ ทั้งหมด 5 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นี้มีไผ่ขนาดเล็กขึ้นเต็มพื้นที่

โดยมีพระมหาเล่า เป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรก ต่อมาเมื่อมรณภาพลง พระอาจารย์เปลี่ยน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสและปกครองสำนักสงฆ์ตลอดมากระทั่งมรณภาพ

พระอาจารย์อ่อน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต่อมา และในยุคนี้เอง ชาวบ้านเริ่มมีความศรัทธา เริ่มเข้าวัดมากขึ้น จึงได้ยกฐานะจากสำนักสงฆ์ ขึ้นเป็นวัดบางไผ่เตี้ย จวบจนสิ้นบุญของอาจารย์อ่อน

พระอาจารย์โอด ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และปกครองดูแลวัดจนท่านมรณภาพลง ชาวบ้านบางไผ่เตี้ยมีความศรัทธามากขึ้นจึงได้จัดพิธีปลงศพให้อย่างสมเกียรติ และในช่วงงานพิธีปลงศพของพระอาจารย์โอดนั้น หลวงพ่อแงเดินทางมาร่วมในงานปลงศพของหลวงพ่อโอดด้วย

หลังจากพิธีปลงศพอาจารย์โอดเสร็จสิ้น อุบาสกอุสิกกา ตลอดจนผู้มีศรัทธากับวัดบางไผ่เตี้ย เห็นศีลจริยาวัตรอันงดงามของหลวงพ่อแงไม่มีที่ติอันใด จึงพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อแงให้ช่วยรับหน้าที่ปกครองวัดบางไผ่เตี้ยไปก่อน

แม้ว่าหลวงพ่อแงจะปฏิเสธ ด้วยติดขัดเพราะสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ชาวบ้านก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคอันใด ถึงเวลาลงทำสังฆกรรมก็ต่างคนต่างทำสังฆกรรมในสังกัดของตนไป ก็อยู่ร่วมกันได้ไม่มีปัญหาอันใด จึงไม่มีเหตุให้ปฏิเสธได้ จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดสืบต่อมา

หลังจากรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการสร้างอุโบสถไม้สักแทนหลังเก่าที่ผุพัง นอกจากนี้ ยังเทศนาสั่งสอนและพัฒนาจิตใจของชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรมอีกด้วย

ปกครองวัดเรื่อยมา จนกระทั่งมรณภาพลง เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2511 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวันลอยกระทงในปีนั้นพอดี

สิริอายุ 69 ปี พรรษา 34 •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 สิงหาคม 2566 14:59:47
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61742973534597_bud01p1_6_Copy_.jpg)
พระสมเด็จ หลวงปู่หยอด

พระสมเด็จ-อกครุฑ รุ่นแรก ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

ที่มา -   มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2565


“หลวงปู่หยอด ชินวังโส” หรือ “พระครูสุนทรธรรมกิจ” อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นักบุญลุ่มน้ำแม่กลอง ศูนย์รวมศรัทธา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ ไหมเบญจรงค์ 5 สี ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ

เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตาและแคล้วคลาดจากภยันตราย นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคล เช่น พระสมเด็จ พระปิดตา เหรียญกว่า 100 รายการ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “พระสมเด็จ รุ่นแรก” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 หารายได้สร้างศาลาการเปรียญ

พระสมเด็จ หลวงปู่หยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม สร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง มีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆ ที่รวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ ยังมีผงพุทธคุณที่ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จอกครุฑ หูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง 5 ชั้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ มีซุ้มระฆังครอบสวยงาม ด้านหลังเรียบ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22095718276169_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่หยอด ชินวังโส

หลวงปู่หยอดมีนามเดิมว่า สุนทร ชุติมาศ ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2454 ที่บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ในวัยเยาว์ ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตได้เป็นกำลังช่วยมารดาค้าขาย แบ่งเบาภาระให้ครอบครัว

เมื่ออายุ 18 ปี ฝากตัวเข้าบรรพชากับพระครูเปลี่ยน สุวัณณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2472

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2474 มีพระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสุทธิสารวุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเปลี่ยน สุวัณณโชโต วัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ (พลบ) วัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานาม ชินวังโส มีหมายความว่า ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า

ศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะความรู้สามัญ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ดูแลปรนนิบัติพระครูเปลี่ยนซึ่งอาพาธอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตา จวบจนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2484

วันที่ 17 สิงหาคม 2484 พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) เจ้าคณะอำเภออัมพวา จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่

วัดแก้วเจริญ เป็นวัดโบราณของชาวรามัญ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรกร้างมาเป็นเวลานาน

มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านท่าใหญ่กรุงศรีอยุธยา อพยพหลบภัยพม่าเมื่อเสียกรุง พ.ศ.2310 มาถึงสถานที่แห่งนี้แล้วเห็นว่ามีทำเลเหมาะสม จึงช่วยกันแผ้วถางป่าลึกเข้าไปประมาณ 3 เส้น พบวัดร้าง มีซากอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแลงปางต่างๆ มากมาย และพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้ว มีใบเสมารอบอุโบสถ พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดไม่มีผ้าพาด

บริเวณวัดยังมีเจดีย์รามัญ 2 องค์ ชำรุดหักพังอยู่ ชาวบ้านเห็นว่าคงไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัยเพราะมีวัดร้างอยู่ จึงไปแผ้วถางสถานที่แห่งใหม่ ห่างจากวัดประมาณ 5 เส้น ตั้งเป็นหมู่บ้านท่าใหญ่ตามชื่อเดิมของผู้อพยพ

กระทั่งปี พ.ศ.2340 พระอธิการต่าย ปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพดีขึ้น โดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดแก้ว

ต่อมาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย และเห็นว่าควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย จึงฝังไว้ที่ใต้ฐานชุกชีของพระประธาน ปัจจุบันอยู่ภายนอกฐานชุกชี

วัดประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2375 ชื่อว่า “วัดแก้วเจริญ” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529

พ.ศ.2487 หลวงปู่หยอดได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่

หลังจากได้รับตำแหน่ง พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งการจัดการให้วัดเป็นสถานพยาบาลรักษาญาติโยมที่เดือดร้อนต่างๆ

แต่ที่โด่งดังมาก คือ การต่อกระดูก ประสานกระดูก เรียกว่าสมัยก่อนใครแขนหักขาหัก ไม่มีชาวบ้านคนไหนไปโรงพยาบาล แต่มารักษาที่วัดแก้วเจริญกันแทบทั้งสิ้น

ลําดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2491 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรธรรมกิจ

พ.ศ.2499 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการศึกษา เป็นเจ้าสำนักเรียนธรรมชั้นตรี-โท-เอก และเป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ อำเภออัมพวา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาและอุปสมบท ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณรและภิกษุในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตรและศาสนพิธี จัดเทศนาอบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ผลงานด้านสาธารณูปการ เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ สืบทอดตามเจตนารมณ์ของเจ้าอาวาสในอดีต

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2541

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38455696031451__cover_2189_696x443_Copy_.jpg)

เหรียญรุ่นแจกงานศพ หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว วัดสามจีน อ.บางคนที

ที่มา -  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว” หรือ “พระครูสุตสาร” อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีจินดาวัฒนาราม หรือวัดสามจีน ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านลุ่มน้ำแม่กลองต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์หลวงพ่อเพชร ปุญญวชิโร วัดไทรโยค พระเกจิดังผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก

สำหรับหลวงพ่อเล็ก เป็นผู้สร้างเหรียญนาคเกี้ยว อันโด่งดัง โดยนำเอายันต์นาคเกี้ยว ซึ่งเป็นยันต์ประจำวัดที่หลวงพ่อเพชร วัดไทรโยค ค้นพบในถ้ำที่รัฐไทยใหญ่ และคัดลอกมาในสมัยที่หลวงพ่อเพชรออกเดินธุดงค์

นอกจากนี้ เหรียญรูปเหมือนก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2510 เป็นเหรียญที่สร้างไว้แจกให้ศิษยานุศิษย์ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ปรากฏหน้าในเหรียญ มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83852886698312_2._._.2510_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อเล็ก พ.ศ.2510

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุตฺตสาร (เล็ก) ปุสฺสเทว วัดตรีจินดาวัฒนาราม สมุทรสงคราม” ที่คัดลอกมาจากถ้ำในรัฐไทยใหญ่โดยหลวงพ่อเพชรธุดงค์ไปพบเข้า

ด้านหลัง มีอักขระยันต์สาม ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ศิษย์สร้างบูชาคุณหลวงพ่อ ๒๕๑๐” ซึ่งคือปีที่สร้าง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15185978801713_3._._.2514_1024x680_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อเล็ก พ.ศ.2514

ยังมีอีกหนึ่งเหรียญ คือ เหรียญรุ่นแจกงานศพ สร้างขึ้นหลังจากละสังขารแล้ว จึงเป็นเหรียญตาย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 สร้างไว้แจกเป็นที่ระลึกผู้ที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุตสาร วัดตรีจินดาวัฒนาราม ๑๔ ก.พ.๑๔” ซึ่งคือวันที่มีพิธีพระราชทานเพลิง

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

จัดเป็นอีกเหรียญที่หายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39102442603972_1._762x1024_Copy_.jpg)
หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว

มีนามเดิม เล็ก รัตนไพศาล (แซ่ตัน) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2443 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปี ชวด บิดา-มารดาชื่อ นายฮวดและนางจี่ รัตนไพศาล ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.กระดังงา อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน

ช่วงเยาว์วัย ศึกษาที่โรงเรียนวัดสามจีน เรียนหนังสือใหญ่หรือที่ในสมัยปัจจุบันเรียกว่าภาษาขอม และเรียนต่อวิชามูลกัจจาญยนะที่วัดเกาะใหญ่ จนเมื่ออายุ 16 ปี บรรพชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว

อายุ 18 ปี สึกไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย

พ.ศ.2463 อายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสามจีน (วัดตรีจินดาวัฒนาราม) ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม มีหลวงพ่อเพชร ปุญญวชิโร วัดไทรโยค เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเหมือน วัดกลางเหนือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเลี้ยง วัดเกาะใหญ่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนเป็นระยะเวลา 2 พรรษา จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดใหม่ยายแป้น ธนบุรี เพื่อไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ จนได้นักธรรมชั้นตรี

เมื่อปี พ.ศ.2466 รับอาราธนาไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ที่วัดหวายเหนียว จ.กาญจนบุรี ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อปิ๋ว เป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ.2469 กลับมาเปิดสอนพระปริยัติธรรมขึ้นที่วัดสามจีน ซึ่งในระหว่างกลับมาที่วัดสามจีนนี้เอง จึงได้เริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นการบำเพ็ญตามสมณวิสัยของบรรพชิต โดยเดินทางไปตามป่าราชบุรี กาญจนบุรี ตาก เชียงราย ติดต่อไปจนถึงปี พ.ศ.2471 จึงกลับวัด

ในตอนนั้นหลวงพ่อเพชร พระอุปัชฌาย์ เริ่มอาพาธ และถึงมรณภาพลงในปี พ.ศ.2472 ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงได้อาราธนาให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2474

เมื่อขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของบุตรหลานรอบวัด

พ.ศ.2479 หลังเปิดการเรียนการสอนมาได้ 4 ปี จึงขอเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล (เฉลิมรัฐราษฎร์นุกูล)

พ.ศ.2483 เปลี่ยนนามวัดสามจีน เป็นวัดตรีจินดาวัฒนาราม รวมทั้งยังซ่อมอุโบสถและหอสวดมนต์ รวมทั้งสร้างสะพานข้ามคลองไทรโยค สร้างสะพานข้ามคลองวัดกลาง สร้างสะพานข้ามคลองบางน้อย ตรงข้ามวัดเกาะแก้ว

อัญเชิญพระประธานปูนปั้น ขนาดหน้าตัก 2.77 เมตร จากวัดกลางใต้ ประดิษฐานไว้ที่วิหาร และภายหลังจึงอัญเชิญมาเป็นพระประธานในอุโบสถ

พ.ศ.2488 สร้างหอพระไตรปิฎกชื่อ “หอพระไตรปิฏกเพชรรัตนไพศาลประชากุล” โดยซื้อบ้านของประชาชนมาสร้าง

พ.ศ.2498 อำนวยการสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนที่หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ในพื้นที่ที่ซื้อใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2499 และผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2500

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 เวลา 04.00 น. บันทึกไว้ว่า ท่านให้พระที่พยาบาลพยุงให้นั่ง แล้วถามว่า “สว่างหรือยัง” พระตอบว่า “ตี 5 แล้ว” จากนั้นก็มรณภาพอย่างสงบ

สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50 •





(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77358434763219__2192_696x443_Copy_.jpg)
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่โถม กัลป์ยาโณ

เหรียญรูปเหมือน 2520 หลวงปู่โถม กัลยาโณ พระเกจิชื่อดังสุโขทัย

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ - 19 สิงหาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2565


“พระมงคลสุนทร” หรือ “หลวงปู่โถม กัลยาโณ” อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยและอดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย เป็นพระเกจิชื่อดัง มีวิชาแก่กล้า รอบรู้ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและพุทธาคม แต่มักเก็บตัวและไม่แสดงออก

นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องของการปั้นพิมพ์และการหล่อพระแบบโบราณ

ปัจจุบันวัตถุมงคลที่อธิษฐานจิตปลุกเสกไว้ ได้รับความนิยมหลายรุ่น โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือน

พ.ศ.2520 ออกเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เพื่อหาทุนสร้างอุโบสถวัดธรรมปัญญาราม

ลักษณะกลม รูปไข่ มีหูห่วง สร้างไว้ไม่เกิน 5,000 เหรียญ

ด้านหน้า ขอบเหรียญเป็นจุดไข่ปลา ตรงกลางเป็นรูปเหมือนเต็มองค์นั่งขัดสมาธิ ขอบเหรียญถัดมาด้านในติดจุดไข่ปลา ล้อมรอบไปด้วยอักขระยันต์ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อเล็ก กลฺยาโณ (โถม ขำแย้ม)”

ด้านหลังเหรียญยกขอบ มีความเรียบ ตรงกลางเหรียญมียันต์ ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ดวงฤกษ์อุโบสถ” ใต้ยันต์เขียนว่า “วัดธรรมปัญญาราม อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ๑๒ พ.ค.๒๐”

ทุกวันนี้กลายเป็นเหรียญที่หาได้ยากมาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85631150131424_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่โถม กัลยาโณ

สําหรับอัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า โถม ขำแย้ม เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2464 ตรงกับเดือน 6 ปีระกา ที่หมู่ 3 ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย พ.ศ.2473

สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท วันที่ 17 เมษายน 2484 ที่พัทธสีมาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิด โดยมีพระครูคีรีมาศเมธี วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา กัลยาโณ

ภายหลังพิธีอุปสมบท พระโถมได้มุ่งมั่นตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแข็งขัน ในปี พ.ศ.2488 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักศาสนศึกษาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

สร้างคุณูปการไว้หลายด้านมากมาย อาทิ การพัฒนาด้านการพระศาสนา ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดทั้งสาธารณประโยชน์ต่างๆ

สนับสนุนส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันภายในชุมชน โดยให้ประชาชนร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ ทำนา ทำบุญกลางหมู่บ้าน ทอดกฐิน ผ้าป่า งานอุปสมบทหมู่

ส่งเสริมการจัดประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับและทุกรูปในเขตปกครอง ทุกวันขึ้น 7 ค่ำ ของทุกเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมกันแก้ไขและปรับปรุงงานคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นอกจากนี้ ยังได้สร้างศาลาการเปรียญ ก่อสร้างกุฏิ ก่อสร้างศาลาธรรมสังเวช ก่อสร้างอุโบสถ ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ หอสวดมนต์ หอระฆัง และกำแพงอุโบสถ ให้กับวัดต่างๆ ในพื้นที่ เป็นจำนวนมาก

รวมทั้งจัดให้ทุกวัดจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม โดยหากวัดแห่งใดไม่มีความพร้อมในการสอนได้ ก็จะให้พระภิกษุสามเณรไปเรียนกับสำนักเรียนที่มีการเรียนการสอน แบบเช้าไปเย็นกลับ ถ้าไม่สามารถส่งไปเรียนได้ ให้เจ้าคณะตำบลมอบหมายให้เจ้าอาวาสหรือพระภิกษุสามเณรผู้ที่มีความสามารถสอน จัดการเรียนการสอนขึ้นภายในวัดนั้นๆ แทน

ไม่เพียงแต่สั่งหรือให้นโยบายเท่านั้น แต่ออกตรวจเยี่ยมตามสำนักเรียนนักธรรมอยู่เป็นประจำ เพื่อคอยให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาแต่ละสำนักเรียนทุกเดือน พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์การเรียนการสอนเพิ่มเติมให้แก่สำนักเรียนที่ขาดแคลน

หลักธรรมความสามัคคี ออกแนะนำให้ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้รักใคร่ปรองดองสร้างสรรค์ประสานความสามัคคี โดยการไม่ให้เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัวและให้ช่วยเหลือผู้อื่นในคราวได้รับความเจ็บไข้ได้ทุกข์ และให้ความร่วมมือกันสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

หลวงปู่โถม เป็นพระที่สวดปาติโมกข์ได้อย่างไพเราะ เนื่องจากมีเสียงดังกังวาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของญาติโยมที่ได้สดับฟัง นอกจากนี้ ท่านยังมีความชำนาญในการปั้นพระพุทธรูปและการหล่อระฆัง โดยได้ปั้นพระพุทธรูปและหล่อระฆังมอบให้กับวัดทั้งในจังหวัดสุโขทัย และวัดในเขตพื้นที่ติดต่อกับสุโขทัยเป็นจำนวนมาก

ผลงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ หลวงปู่โถมได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 31 ไร่ 3 งาน สร้างโรงพยาบาลคีรีมาศ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ และยังจัดสร้างสถานีอนามัย พร้อมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ มอบให้กับทางโรงพยาบาลคีรีมาศ รวมทั้งจัดสร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน และสร้างถนนทางเดินระหว่างหมู่บ้านและวัดอีกหลายแห่ง

ลําดับงานปกครองของหลวงปู่โถม

พ.ศ.2490 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม

พ.ศ.2491 เป็นเจ้าคณะตำบลโตนด
พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง

พ.ศ.2516 เป็นเจ้าคณะอำเภอคีรีมาศ

พ.ศ.2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม

พ.ศ.2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

พ.ศ.2547 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

ลําดับสมณศักดิ์
พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษที่ พระครูพิลาศธรรมคุณ

พ.ศ.2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลสุนทร

ก่อนจะถึงวาระสุดท้าย ฝากให้คณะศิษย์ช่วยกันสะสางงานก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังคั่งค้าง ให้แล้วเสร็จด้วย

จากนั้น จึงได้หลับตาลง พร้อมท่องสวดมนต์เบาๆ ละสังขารด้วยอาการสงบ ใบหน้ามีรอยยิ้ม คล้ายดั่งกับคนนอนหลับตามปกติเท่านั้น

มรณภาพลงเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2548 สิริอายุ 84 ปี พรรษา 64 •



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 สิงหาคม 2566 11:38:57
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43072626988092_2_Copy_.png)

มงคลเหรียญกฐินต้น หลวงปู่ดี วัดเหนือ

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 กันยายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2565


“พระเทพมงคลรังษี” หรือ “หลวงปู่ดี พุทธโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวเมืองกาญจน์

อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งที่พระองค์กลับมาอุปสมบทที่วัดเหนือและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา จากนั้นกลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุตอีกครั้ง โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

วัตถุมงคลที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง มีทั้งพระบูชา ภปร, รูปหล่อหลวงปู่ดี, เหรียญพระพุทธชินราช, พระกริ่ง, เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

โดยเฉพาะ “เหรียญกฐินต้น” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2506 ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินและเททองหล่อพระพุทธรูปบูชา ภปร. ที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2506  เป็นครั้งแรกที่เสด็จมายัง จ.กาญจนบุรี

โดยให้กองกษาปณ์จัดทำเหรียญรุ่นนี้ขึ้น ลักษณะเป็นรูปทรงกลม แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระพุทธสุทธิมงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม เขียนคำว่า “พระพุทธสุทธิมงคล วัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง”

ด้านหลัง เป็นรูปช้างสามเศียรอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นเทวดา 2 องค์ มีภาษาไทยเขียนคำว่า “ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ๒๖ ต.ค.๒๕๐๖”

นับเป็นเหรียญที่หายากมากเหรียญหนึ่ง

 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17381912676824_1_Copy_.jpg)
หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

หลวงปู่ดี พุทธโชติ เกิดที่บ้านทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2416 บิด-มารดาชื่อ นายเทศ-นางจันทร์ เอกฉันท์

บรรพชาในปี พ.ศ.2434 ณ วัดทุ่งสมอ มีพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่ได้ 6 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยงานครอบครัว จนอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดทุ่งสมอ มีพระครูวิสุทธิรังษี (หลวงปู่ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการรอด และพระใบฎีกาเปลี่ยน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “พุทธโชติ”

จำพรรษาที่วัดทุ่งสมอ ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ชื่นชอบการสวดปาฏิโมกข์ จึงมีความมานะพยายาม จนที่สุด สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ในพรรษาที่ 2

ช่วงออกพรรษามักธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมเพิ่มเติมกับพระเกจิหลายรูป อาทิ พระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี, หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว ฯลฯ

ชะตาผกผัน ในพรรษาที่ 12 ที่มาจำพรรษาที่วัดรังษี ครั้งที่ 2 นั้น ท่านพบพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอาวาสวัดเหนือ ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้

หลวงพ่อสุดทำหนังสือเดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงขออนุญาตเดินทางไปด้วย ตลอดทางทั้งไปและกลับ หลวงพ่อสุดเกิดอาพาธ ซึ่งหลวงปู่ดีคอยปรนนิบัติดูแลจนกลับถึงวัดเหนือ หลวงพ่อสุดยังปรารภว่า “ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปด้วยกัน ก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่”

ต่อมาหลวงปู่ดีกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ดังเดิม แต่ก็มีจดหมายไต่ถามทุกข์สุขกันเสมอมา บางครั้ง หลวงพ่อสุดลงมากรุงเทพฯ จะมาแวะพักพูดคุย จนช่วงหลังๆ อาพาธหนัก เดินทางไปไหนไม่ได้ จึงมีจดหมายถึงหลวงปู่ดีขอให้ไปเยี่ยมเสมอ

จึงหาโอกาสขึ้นไปเยี่ยมที่วัดเหนือ หลวงพ่อสุดให้ศิษย์นิมนต์อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ซึ่งก็ไม่รับปาก แต่ได้ช่วยดูแลกิจการต่างๆ เช่น สวดปาฏิโมกข์ หรือเทศน์แทนท่าน เป็นต้น

คราหนึ่ง หลวงพ่อสุดให้หลายคนมาขอร้องให้เป็นสมภารจึงปฏิเสธอย่างเด็ดขาด

จนเมื่อหลวงพ่อสุดมรณภาพลง กรรมการและศิษย์วัดและชาวบ้านทั้งหลาย จึงนิมนต์ขอให้เป็นสมภารอีกครั้ง ซึ่งท่านไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงต้องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดเหนืออย่างเต็มตัว

เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาจิต ปรับปรุงและพัฒนาทุกอย่างในวัด ทั้งขนบธรรมเนียม ระเบียบพิธีการ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระทุกรูปมีวัตรปฏิบัติเรียบร้อย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับได้ว่า วัดเหนือได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่ชื่นชมศรัทธาของเหล่าสาธุชน แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ยังทรงยกย่องให้เป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลาย

ในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดเหนือ และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภปร จารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ของ “พระพุทธรูปปางประทานพร” ที่วัดจัดสร้างเพื่อนำปัจจัยมาบำรุงวัด ทั้งพระราชทานแผ่นทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้า อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง

ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลรังษี และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2510 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97765123761362__cover_2198_696x443_Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นแรก 2515 หลวงปู่มี กันตสีโล วัดดงส้มป่อย จ.มหาสารคาม

เหรียญรุ่นแรก 2515 หลวงปู่มี กันตสีโล

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 กันยายน - 6 ตุลาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2565



“หลวงปู่มี กันตสีโล” วัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) ต.แวงดง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม พระป่าสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมหาสารคาม มีเมตตาธรรมสูง มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามจึงขจรขจายไปทั่วภาคอีสาน

วัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม จัดสร้างเหรียญหลวงปู่มี เมื่อปี 2515 เป็นรุ่นแรก มอบให้ผู้บริจาคทำบุญสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ

เป็นเหรียญทองแดงรมดำทั้งหมด จำนวนการสร้าง 3,000 เหรียญ
 
เหรียญหลวงปู่มี ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่มี นั่งเต็มองค์ ด้านซ้ายมือของเหรียญเขียนชื่อ “หลวงพ่อมี กนฺตสีโล วัดป่าสันติธรรม” โค้งลงไปตามขอบเหรียญด้านล่างเลยไปถึงขอบเหรียญด้านขวา   ส่วนด้านหลัง จากขอบซ้ายโค้งลงไปด้านล่างไปถึงขอบเหรียญด้านขวา เขียนคำว่า “ต.ขามเรี่ยน” (ที่ถูกต้องเป็น ต.ขามเรียน ไม่มีไม้เอก ช่างแกะบล็อกผิด) อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม และใต้ขอบเหรียญด้านหลังจะเป็นคาถาเขียนว่า “จิ เจ รุ นิ ติ อุ ละ นะ เส ติ” ส่วนตรงกลางเหรียญจะเป็นคาถาหัวใจธาตุ 4 นะ มะ อะ อุ

รุ่นนี้ หลวงปู่มี ประกอบพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกเดี่ยว 1 ไตรมาส จัดเป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม

“หลวงปู่มี กันตสีโล” เป็นพระสงฆ์ในดวงใจชาวมหาสารคาม ผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย

ดำรงตนอย่างสมถะ มุ่งมั่นวิปัสสนากรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว แสวงหาความหลุดพ้น


 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50717556311024_1_Copy_.jpg)
หลวงปู่มี กันตสีโล

สําหรับอัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า มี ลุนศิลา ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2441 ที่บ้านปอพาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

บรรพชาเมื่ออายุได้ 12 ปี ที่วัดดงบัง มีพระครูจันดี เป็นพระอุปัชฌาย์

ได้โอกาสศึกษาวิชามูลกัจจายน์ควบคู่กับสรรพวิชาไสยเวทจนแตกฉาน

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าอุปสมบทที่วัดทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีพระครูจันทร สีตลคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูจันดี วัดดงบัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูบาทูล วัดดอนหลี่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ไปไกลถึงต่างแดนไม่ว่าจะเป็นลาว เขมร พม่า พร้อมกับเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมกับครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านไสยเวทศาสตร์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่พระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย หลวงปู่จันดา วัดทองนพคุณ หลวงปู่สา วัดบ้านเหล่า พระครูปลัดดำ พระอาจารย์ปี เป็นต้น

เป็นพระที่มีปฏิปทางดงาม พูดน้อย รักความสงบ กอปรด้วยเมตตาธรรม จนร่ำลือว่าสามารถล่องหนหายตัวหรือย่นระยะทางที่ไกลให้ใกล้ได้ แต่ไม่เคยแสดงอวดอิทธิฤทธิ์ให้ใครเห็น

สำหรับสหธรรมิกที่มีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดแวงน้อย จ.ขอนแก่น พระครูพิสัยนวกา (ดือ) วัดดงบังนาดูน สมัยบรรพชาเรียนด้วยกัน (ปัจจุบันมรณภาพ) พระครูพิสัยรังสี (แสง) วัดหัวช้างยางสีสุราช และหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เคยมาจำพรรษาเพื่อขอคำชี้แนะการวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดป่าสันติธรรมแห่งนี้

ในปี พ.ศ.2495 กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด และบุกเบิกสร้างวัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) จนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน

ด้วยชื่อเสียงโด่งดังมาก บรรดาญาติโยมทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางมารับฟังธรรมและขอปะพรมน้ำพุทธมนต์

สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคจากศรัทธา นำมาพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้วัด ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญด้านการศึกษาสงฆ์ สนับสนุนให้พระภิกษุ-สามเณร ศึกษาค้นคว้านำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบันทึกไว้เพื่อการศึกษา และท่านยังให้ทุนอุปถัมภ์การศึกษาแก่พระสงฆ์ รวมทั้งนักเรียนที่เรียนดี

บริจาคปัจจัยส่วนตัวเป็นเงินจำนวนมาก ก่อสร้างสาธารณประโยชน์หลายแห่ง

มรณภาพเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 สิริอายุ 100 ปี

ปัจจุบันสังขารบรรจุอยู่ในโลงแก้ว ตั้งอยู่ในมณฑปภายในวัดป่าสันติธรรม

ภายในมณฑป เก็บรวบรวมเครื่องอัฐบริขาร เครื่องใช้หนังสือผูกใบลานไสยเวทที่ใช้ศึกษาและพกพาติดตัวตลอดทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งประติมากรรมรูปเหมือน ตั้งแสดงไว้ด้วย

แม้จะละสังขารไปนานหลายปี แต่ช่วงวันหยุดหรือวันครบรอบวันมรณภาพ ยังคงมีคณะศิษยานุศิษย์เข้ามากราบไหว้เป็นประจำ

ครั้งหนึ่ง วัดป่าสันติธรรม จัดงานปฏิบัติธรรมรวม 7 วัน มีหลวงปู่เฉย วัดแวงน้อย จ.ขอนแก่น เป็นประธานจัดงาน และชาวบ้านร่วมกันสรงน้ำรูปเหมือนและเปลี่ยนจีวรใหม่ให้สังขารหลวงปู่มี

เป็นที่น่าอัศจรรย์ ด้วยสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อย แต่กลับมีเล็บและเส้นผมงอกออกมาทุกปี •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41928060559762_1_Copy_.jpg)
หลวงพ่อใหญ่ พระประธาน วัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

เหรียญหลวงพ่อใหญ่ พระประธานวัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2565


“วัดตาล” ตั้งอยู่เลขที่ 73 หมู่ที่ 3 ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินที่ตั้งวัด เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา

มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา อยู่ริมหมู่บ้านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

มีชื่อเต็มว่า “วัดตาลสราญรมณ์” แต่คนทั่วไปมักเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดตาล”

“หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.95 เมตร สูง 4.19 เมตร ประดิษฐานในวิหาร

ศิลปะแบบล้านช้าง คาดว่ามีอายุการสร้างมากว่า 600 ปี เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาว อ.หล่มเก่าและหล่มสัก อย่างยาวนาน

ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สักการบูชาเป็นที่พึ่งด้านจิตใจ ต่างพากันมากราบขอพร ขอให้คุ้มครองรักษาอำนวยพรให้ครอบครัวลูกหลานได้อยู่ดีมีสุข

มีตำนานเล่าขานปากต่อปากจากรุ่นปู่ย่าตายายถ่ายทอดสู่ลูกสู่หลานสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน บอกเล่าเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ว่า มีพระเถระผู้ใหญ่เดินทางนั่งเรือมาจากทางใต้ ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัด แล้วมานำพาประชาชนในละแวกนี้ พัฒนาวัดและสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ขึ้นมา

วันที่นำพาช่างและประชาชนปั้นแต่งพระเศียรพระพักตร์ของพระพุทธรูปนั้น ยังไม่ทันได้แต่งพระเศียร พระพักตร์ พระนาสิก พระเนตร ก็ได้เวลาพักเที่ยง พากันมาหุงหาอาหารกันที่ป่าไผ่ด้านตะวันออก (บริเวณต้นหางนกยูงปัจจุบัน)

ขณะนั้น พากันเห็นคนแก่นุ่งขาวห่มขาวเดินไปเดินมาระหว่างบ่อน้ำ (บริเวณใต้ต้นจันทร์ เป็นบ่อน้ำที่สร้างขึ้นมา พร้อมกับการสร้างหลวงพ่อใหญ่) กับพระพุทธรูป คือ หลวงพ่อใหญ่วัดตาล ที่กำลังได้รับการบูรณะในครั้งนั้น

หลังจากที่รับประทานอาหารกันเรียบร้อยพากันมาจะปั้นแต่งพระพุทธรูปกันต่อ แต่ปรากฏว่า พระพักตร์ พระเศียรของพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ ได้รับการปั้นแต่งพระพักตร์แล้วเสร็จบริบูรณ์งดงาม และบ่อน้ำแห่งนั้น ปรากฏว่ามีน้ำผุดขึ้นมาพร้อมกับการปั้นแต่งพระพักตร์ของหลวงพ่อใหญ่สำเร็จ

จึงพากันเข้าใจว่าเทวดามาช่วยสร้าง

ในปี พ.ศ.2516 คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อใหญ่ ออกมาหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ เหรียญสร้างวิหาร

วัตถุมงคลแต่ละรุ่นที่จัดสร้างออกมา ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก พากันไปเช่าหาบูชา ทำให้หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

ทุกรุ่น ล้วนหายากยิ่ง ไม่มีวางแผงในตลาดพระเครื่อง ด้วยทุกคนที่มีไว้ในครอบครอง จะเก็บไว้บูชาเองหรือเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลาน ที่หายากคือ “เหรียญหลวงพ่อใหญ่ ขวัญถุงเงินล้าน”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89326192066073_2_scaled_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดตาล (หน้า)

ลักษณะเป็นเหรียญปั้มทรงกลม ขนาด 3 เซนติเมตร ยกขอบ 2 ชั้น ภายในขอบจะมีจุดไข่ปลาโดยรอบ ตรงกลางเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อใหญ่ประดิษฐานบนตั่ง เหนือเศียรเขียนตัวหนังสือ เขียนคำว่า “เหรียญขวัญถุง” ใต้ฐานจารึกคำว่า “หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94268146447009_3_scaled_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดตาล (หลัง)

ด้านหลังเป็นอักขระ เขียนโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปถุงบรรจุเงิน และเขียนตัวเลขในถุงว่า “๑,๒๕๐,๐๐๐” ส่วนบนปากถุง เป็นตัว “นะเศรษฐี” ใต้ถุงเขียนตัวเลข “๒๕๑๖”

จัดสร้างจำนวนประมาณ 5,000 เหรียญ เพื่อสมทบทุนสร้างวิหารหลังใหม่ให้หลวงพ่อใหญ่

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือพระครูวิชิตพัชราจารย์ วัดพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ อดีตพระเกจิชื่อดังเมืองมะขามหวาน ขณะที่ปลุกเสกเหรียญนี้ จำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือก ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

เป็นเหรียญที่มีพุทธคุณเข้มขลัง เมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย ยังทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย ผู้ที่มีไว้ในครอบครองส่วนมากจะไม่มีใครปล่อย เพราะเป็นเหรียญที่หายาก

โดยเฉพาะหลวงพ่อทบปลุกเสกเดี่ยวด้วย จึงนับว่าหายากที่สุดๆ

กล่าวได้ว่า หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล ประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา มีความเชื่อว่า ใครที่ได้มากราบไหว้ขอพร จะบรรลุผลสำเร็จตามที่ได้อธิษฐานขอพร โดยเฉพาะเรื่องการทำมาค้าขาย คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก เมื่อได้มากราบขอพรหลวงพ่อใหญ่ จะได้บุตรสมปรารถนา

บางครั้งมีพ่อแม่ผู้ปกครอง พาบุตรหลานของตนที่ติดยาเสพติดมาสาบานต่อหน้าหลวงพ่อใหญ่ ว่าจะเลิกเสพยาเสพติด ผู้ที่ผิดคำสาบาน มักประสบเหตุร้ายเสมอ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง นิยมนำผู้ที่ติดยาเสพติดมาสาบานตน เพื่อให้เลิกยาเสพติดโดยเด็ดขาด

วัดแห่งนี้ จึงมีผู้คนเดินทางมาท่องเที่ยวกันอย่างไม่ขาดสาย จนเป็นอีกหนึ่งคำขวัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหล่มเก่า ที่ว่า “ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดตาล ทานขนมจีน นอนกางเต็นท์ภูทับเบิก”

วิหารหลวงพ่อใหญ่ เปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการบูชาได้ทุกวัน •



หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 06 กันยายน 2566 15:16:42
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41072814414898__2200_696x392_Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ

เหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ
วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ที่มา - คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง 
เผยแพร่ - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2565 วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระครูอุทัยธรรมกิจ” หรือ “หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี

พระเกจิอาจารย์ลุ่มน้ำสะแกกรัง ชื่อดังแห่งอุทัยธานี ศิษย์สายธรรมหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู และหลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาแต่ละรุ่น มีความโดดเด่น ไม่ว่าจะเมตตามหานิยม โชคลาภ และอยู่ยงคงกระพัน จึงเป็นที่นิยมเสาะหา

โดยเฉพาะเหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ ที่ระลึกที่เข้ามาทำบุญกับทางวัด รายได้ทั้งหมดบูรณะและฉลองวิหาร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49870395122302_2._000_2048x1450_Copy_.png)
เหรียญบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ตี๋ (หน้า)

รูปแบบทรงพิมพ์เป็นเหรียญปั๊มวงกลม ขนาด 4 เซนติเมตร ด้านหน้า มีรูปเหมือนหลวงปู่ตี๋ครึ่งร่าง หน้าตรง

ใกล้ขอบด้านบนมีตัวหนังสือ “พระครูอุทัยธรรมกิจ (หลวงปู่ตี๋) วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี อายุ ๘๗ ปี พ.ศ.๒๕๔๒” ขอบด้านล่างมีอักขระขอบกำกับ 1 แถว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27600229945447_3._000_1_2048x1408_Copy_.png)
เหรียญบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ตี๋ (หลัง)
 
ด้านหลังมียันต์เทพรัญจวนและยันต์นารายณ์แปลงรูป มีอักขระขอบล้อมรอบ 2 แถว คมชัดเป็นเหรียญปั๊ม ยันต์ดังกล่าว เป็นยันต์เดียวกับที่สักไว้ที่หลังของหลวงปู่ตี๋ ยันต์นี้ใช้แทนตะกรุดโทนได้ มีโค้ดตัว “นะ” อยู่เหนือบ่าซ้าย ด้านหน้า

จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน 186 เหรียญ และเนื้อทองเหลือง 2,000 เหรียญ ส่วนชนิดหลังไม่มียันต์เทพรัญจรและยันต์นารายณ์แปลงรูปปั๊ม ด้านหลังเหรียญจะเรียบใช้จารอักขระด้วยมือของหลวงปู่ตี๋

รุ่นนี้ หลวงปู่ตี๋อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา ยังประกอบพิธีพุทธาพิเษก โดยนิมนต์สุดยอดพระเกจิอาจารย์ดังเข้มขลังวิทยาคมยุคนั้น รวมพลังนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ, หลวงพ่อนะ วัดหนองบัว, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์, หลวงพ่อรัง วัดอมฤตวารี, หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค และหลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว

ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลใน จ.อุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียง ต่างออกปากว่าติดลมบนไปแล้วและหายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93637384060356_1._scaled_Copy_.jpg)
หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ

อัตโนประวัติ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า ตี๋ แซ่ตั้ง เกิดที่ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2455 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน บิดา-มารดา ชื่อนายก้าง และนางเหล็ง แซ่ตั้ง ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ช่วงวัยเยาว์ เรียนหนังสือที่โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ จ.อุทัยธานี จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3

หลังจากนั้น เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2476 ที่พัทธสีมาวัดธรรมโฆษก (โรงโค) มีพระสุนทรมุณี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณโสภโณ มีความหมายว่า ผู้มีจิตอันงดงาม

จากนั้น จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก

ต่อมาเมื่อเกิดไฟไหม้ตลาดอุทัยธานีครั้งใหญ่ ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อพูนที่วัดหนองตางู เป็นเวลา 2 พรรษา

ศึกษาวิทยาคม จนกระทั่งหลวงพ่อพูนมรณภาพลงในปี พ.ศ.2480 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษกอีกครั้ง

ในปี พ.ศ.2497 ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวงราชาวาส

พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัและได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูอุทัยธรรมกิจ

นอกจากได้รับการถ่ายทอดการฝึกจิตวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งวิทยาคมด้านอื่น จากหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู จ.อุทัยธานี

ยังได้ศึกษาจากตำราสมุดข่อยโบราณของหลวงพ่อแป้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส เกี่ยวกับยันต์เทพรัญจวน เป็นยันต์เดียวกับที่จารลงในตะกรุดโทน ซึ่งหลวงพ่อป๊อก อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโปสถารามใช้อยู่เป็นประจำ

ต่อมาจึงได้ให้ช่างหลี เป็นช่างตัดผมในตลาดอุทัยธานี สักยันต์เทพรัญจวนที่ตัวของท่านที่อกและหลังเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่อแป้น และเห็นว่าเป็นยันต์โบราณที่ใช้สืบทอดกันมา

ท่านยังได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระราชอุทัยกวี หรือท่านเจ้าคุณพุฒ วัดทุ่งแก้ว

ด้วยความสมถะและถือสันโดษมาตลอดระยะเวลาในชีวิตสมณเพศ ชอบศึกษาหาความรู้และอยู่อย่างเงียบๆ มีวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย ยึดมั่นในศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมสะสมกันในวงการพระเครื่อง

แต่ก็ยึดคำโบราณที่ว่า “ฆ้องดังเองไม่มีคนตี เรียกว่า ฆ้องอัปรีย์ ฆ้องที่ดีต้องมีคนตีถึงจะดัง”

วัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นเสือพุทธาคม ตะกรุดเทพรัญจวน เหรียญและรูปหล่อ สร้างขึ้นมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบการปลุกเสกเดี่ยวและใช้เวลายาวนานตลอดไตรมาส หรือ 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ จึงบังเกิดความเข้มขลังในพุทธคุณ จนเป็นที่เล่าลือโจษขานกันมากมาย

วันที่ 1 มีนาคม 2546 เวลา 11.57 น. ละสังขารลงด้วยอาการสงบ

สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71

ปัจจุบัน สรีรสังขารนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วโปร่งใส ที่วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27559624446762__cover_2201_696x392_Copy_.jpg)
เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย ที่ระลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทรงหล่อพระประธาน

เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย
ที่ระลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทรงหล่อพระประธาน

ที่มา - คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2565 วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระกรุกันทรวิชัย” เป็นพระกรุเนื้อดินเผา ขุดพบบริเวณโคกดอนพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ขุดพบรวม 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยปาลวะหรือคุปตะตอนปลาย ตรงกับสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ สมัยอาณาจักรทวารวดีกำลังรุ่งเรือง บริเวณที่ขุดพบพระมีหลักฐานทางศิลปะโบราณวัตถุ บ่งชี้ว่าเคยเจริญรุ่งเรืองเป็นชุมชนมาก่อน ชื่อเมืองคันธารราษฎร์

สำหรับพระกรุกันทรวิชัย องค์พระประทับนั่งในลักษณะแบบสมาธิเพชร พุทธศิลป์สวยงามมาก มีคุณค่าทางศิลปะอย่างสูงยิ่ง ฝีมือช่างประณีตเป็นพิเศษ พระพักตร์อิ่มเอิบบริสุทธิ์ แสดงถึงความหลุดพ้น ประทับบนดอกบัวหงาย อันหมายถึงปรัชญาอันเป็นญาณนำไปสู่นิพพาน

ส่วนเรือนแก้วด้านหลังองค์พระ แสดงถึงรูปคลื่นกิเลสตัณหาและไฟราคะ อันเป็นวัฏฏะของการเวียนว่ายตายเกิด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36004049248165_tinywow_2._6945187_Copy_.png)
เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย (หน้า)

นับแต่การขุดพบพระกรุกันทรวิชัยในครั้งนั้น ด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงาม พระพิมพ์นี้ได้กลายเป็นพุทธศิลป์เอกลักษณ์ประจำถิ่นของมหาสารคาม

ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จัดสร้างพระพุทธรูปพุทธศิลป์พระกันทรวิชัย ครั้งแรกในปี พ.ศ.2524 โดยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคามในปัจจุบัน)

นายอาคม วรจินดา ผอ.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ขณะนั้น เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบและปั้นหุ่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประติมากรรม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองมหาสารคาม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60833561254872_tinywow_3._6945262_Copy_.png)
เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย (หลัง)

เป็นพิธีการสร้างพระพุทธรูปที่ยิ่งใหญ่มาก เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททองหล่อ ณ พลับพลาพิธีข้างสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คือ ฝั่งด้านโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” สร้างจากเนื้อโลหะสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 82 นิ้ว พร้อมกับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร ไว้ ณ ผ้าทิพย์ด้านหน้าฐานพระพุทธรูป

ปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานในหอพระ บริเวณหน้าสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71655604988336_1._Copy_.jpg)
พระพุทธกันทรวิชัย

ครั้งนั้นยังได้มีการจำลองพระพุทธรูปกันทรวิชัย ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว จำนวน 99 องค์ พระพุทธกันทรวิชัยรุ่นนี้ จึงนับเป็นรุ่นแรก นับแต่นั้นมาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือหน่วยงานต่างๆ ได้มีการจัดสร้างพระพุทธกันทรวิชัย ออกมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับรูปแบบพระประธาน พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก ได้ประยุกต์จากต้นแบบพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบ ณ บ้านโนนเมือง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พุทธศิลปะสมัยทวารวดี หรือสมัยปาลวะของอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและปรัชญาสูงส่ง

ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก นั่งปรกทองที่จะใช้หล่อองค์พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก วันที่ 19 เมษายน 2524 มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมพิธี โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) เป็นประธานจุดเทียนชัย

ภายในพิธีนี้ ยังได้นำพระพุทธกันทรวิชัย จำลองเป็นพระบูชาและเหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วย

สําหรับ “เหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” จำนวนการสร้างประมาณ 40,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญจอบ ความสูง 4 เซนติเมตรเศษ ฐานกว้าง 2.5 เซนติเมตร เป็นเหรียญทองแดงรมดำไม่มีเนื้ออื่น

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธกันทรวิชัย ประทับนั่งบนดอกบัวหงาย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว

ด้านหลังเป็นภาพสถูปพระบรมสารีริกธาตุ มีตัวอักษรเขียนว่า “ที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธานกันทรวิชัย” โค้งไปตามด้านขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวา ส่วนด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า “ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มศว.มหาสารคาม 20 เมษายน 2524” เป็นชื่อย่อของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตมหาสารคาม และวันเดือนปีที่สร้าง

เหรียญที่ระลึกเกือบทั้งหมดตอกโค้ดหมายเลข 9 บริเวณภาพสถูปด้านหลังเหรียญ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตอกโค้ด

จากการสอบถามคณะกรรมการดำเนินงานในครั้งนั้น ทราบว่า ได้มีการระดมกำลังตอกโค้ดกันทั้งคืน แต่ไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม ได้นำเหรียญเข้าพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมด

หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก เปิดให้เช่าบูชาเหรียญละ 20 บาท

นับเป็นเหรียญสุดยอดวัตถุมงคลของเมืองมหาสารคาม ในวงการพระเครื่อง เรียกชื่อเหรียญนี้ว่า “เหรียญ มศว 24”

ด้วยความงดงามของรูปเหรียญ และพิธีใหญ่ จึงเป็นเหรียญยอดนิยม ที่ติดรายการประกวดพระของภาคอีสานมาโดยตลอด

เหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน “พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” จึงเป็นสุดยอดวัตถุมงคลอีกรุ่น ที่มีความน่าสนใจยิ่ง •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 กันยายน 2566 14:01:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94464585433403__001_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อเพชร อินทโชติ

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2470 หลวงพ่อเพชร อินทโชติ
วัดวชิรประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี


ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ -    วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระครูประกาศิตธรรมคุณ” หรือ “หลวงพ่อเพชร อินทโชติ” อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอาวาสรูปแรกวัดวชิรประดิษฐ์ บ้านเฉงอะ ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีเมตตาธรรมสูง มักน้อย และถือสันโดษ

วัตถุมงคลได้รับความนิยมแทบทุกชนิด เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหา นักนิยมสะสมพระทั่วไป และหาชมของแท้ ยังหาได้ยากยิ่ง

โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก จัดสร้างในปี พ.ศ.2470 จำนวนไม่ได้บันทึกไว้ แต่มีจำนวนน้อยมาก

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกระบอก รูปไข่ มีหูห่วง เนื้ออัลปาก้า

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนนั่งพับเพียบบนผ้าอาสนะ มือขวาวางบนตัก มีดอกไม้ 4 กลีบ อยู่ใต้ฐาน ด้านบนเขียนคำว่า “ให้ไว้เป็นที่ระลึก” ด้านล่างจารึกข้อความว่า “พระครูประกาศิตธรรมคุณ”

ด้านหลังเรียบ มีทั้งแบบจารอักขระ และไม่มีจาร

จัดอยู่ในทำเนียบเหรียญหลักของพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมของปักษ์ใต้ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11230027385883__003_Copy_.jpg)

หลวงพ่อเพชร อินทโชติ มีนามเดิมว่า เพชร แซ่ตั้น (ภายหลังมีพระราชบัญญัตินามสกุล ท่านใช้นามสกุลว่า ยี่ขาว) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปี ฉลู พุทธศักราช 2395 (ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ที่บ้านประตูไชย เหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

บิดา-มารดาชื่อ นายขาวและนางกิมล้วน แซ่ตั้น

ครั้นอายุ 8 ขวบ บิดามารดานำไปฝากศึกษาเล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของท่านพระครูการาม (จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

จนอายุ 13 ปี จึงลาอาจารย์ออกจากวัดมเหยงค์ ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระศิริธรรมบริรักษ์ (ขั้น) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระศิริธรรมบริรักษ์ ช่วยกิจการหลายอย่าง แต่ภารกิจที่สำคัญคือ ครั้งหนึ่งเกิดจีนฮ่อยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบจีนฮ่อที่มายึดเมืองไทรบุรี จนกระทั่งได้รับชัยชนะ จีนฮ่อแตกหนีไป

กระทั่งอายุ 30 ปี บิดา-มารดาถึงแก่กรรม หลังจากออกจากบ้านพระศิริธรรมบริรักษ์แล้ว ได้ประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่ที่บ้านของตน ในระหว่างนี้เองท่านได้ถือโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับท่านอาจารย์ ในด้านการอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ

ครั้นเมื่ออายุท่านได้ 42 ปี เกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้าน ตัดสินใจออกเดินทางจากบ้าน เพื่อไปเยี่ยมน้องชาย ซึ่งประกอบอาชีพอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เดินทางมาได้เพียงแค่ถึงบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ก็เกิดเจ็บป่วยลงอย่างกะทันหัน ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ได้เข้าไปขอพักอาศัยและรักษาตัวอยู่กับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทรจนกระทั่งหายป่วยเป็นปกติดี

เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้เปลี่ยนใจขอบรรพชาอุปสมบทที่วัดกลาง บ้านดอน มีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (หรือวัดโพธาวาส ในปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร บ้านดอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า อินทโชติ ซึ่งแปลว่า ผู้รุ่งเรืองดุจพระอินทร์

ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่กับพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นเวลาถึง 2 พรรษา

พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ ได้พากันนิมนต์ให้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดวชิรประดิษฐ์ (ขณะนั้นเรียกว่า วัดดอนตะเคียน)

ต่อมาจึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้วัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสและนิยมยกย่องของชาวบ้านเป็นอันมาก

พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะเป็นวัดตามกฎหมาย โดยมีชื่อว่า “วัดวชิรประดิษฐ์ ซึ่งหมายความว่า วัดที่ท่านหลวงพ่อเพชรเป็นผู้สร้างขึ้น”

ดำเนินการจัดการขอวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา และยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ และอุโบสถก็ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในปีเดียวกันนี้

พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์

พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูประกาศิตธรรมคุณ

เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรและพรหมวิหารธรรม มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาชอบช่วยเหลือแก่ประชาชนทั่วไป

ในช่วงบั้นปลายชีวิต ด้วยเหตุที่ชราภาพลงและมีอาการอาพาธเป็นประจำ จึงมรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2480 สิริรวมอายุ 85 ปี พรรษา 42

คณะศิษยานุศิษย์จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลศพเป็นเวลา 3 วัน ก่อนเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลตามประเพณีและได้จัดสวดพระอภิธรรมทุกวันธรรมสวนะ

จากนั้นได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2481 •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 กันยายน 2566 15:04:14
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25970782794886__cover_2203_696x443_Copy_.jpg)
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก พระเกจิ ‘หลวงพ่อคล้อย’ วัดถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2565


“หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม” หรือที่ชาวบ้านว่า “พ่อท่านคล้อย” วัดถ้ำเขาเงิน ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการกล่าวขาน ชาวชุมพรให้ความเลื่อมใสศรัทธา และรู้จักชื่อเสียงเป็นอย่างดี

เกียรติคุณความแก่กล้าในวิทยาคม ยังได้รับการกล่าวขานจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ปลุกเสกไว้ ล้วนเป็นที่ปรารถนา หลายรุ่นได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก อาทิ

พระกำแพงนิ้ว พิมพ์ใหญ่เนื้อว่าน ปี 2511 พระสีวลี รุ่นไตรมาส เนื้อเกสร ปี 2511 พระปิดตามหาลาภองค์น้อย เนื้อผงเกสร ปี 2533 พระสมเด็จขาโต๊ะ รุ่นเสาร์ห้า เนื้อผงผสมว่าน ปี 2536 พระปิดตาไม้แกะ ก้นอุดผงใต้ฐาน ปี 2537 พระปิดตามหาโภคทรัพย์ เสาร์ห้า เนื้อผงผสมว่าน ฝังตะกรุดทองแดง ปี 2536 เป็นต้น

โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2522” ซึ่งเป็นเหรียญยอดนิยมในปัจจุบัน

จัดสร้างในวาระครบ 60 ปี มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟและเนื้อนวโลหะ

เหรียญหลวงพ่อคล้อย (หน้า) ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระครูใบฎีกาคล้อย ฐานธัมโม”

ด้านหลังตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ขอบด้านล่าง เขียนว่า “วัดถ้ำเขาเงิน ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร ครบ 60 ปี”

เนื่องจากเป็นที่ต้องการในแวดวงพระเครื่องอย่างมาก จึงถูกจัดวางให้เป็นอันดับต้น เป็นเหรียญที่มีค่านิยมและราคาเช่าสูง

หลวงพ่อคล้อย เป็นชาวหลังสวนโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า คล้อย ทองเสมียน เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2463 ที่บ้านปากลา ต.ขันเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร บิดา-มารดาชื่อ นายพุ่ม และนางแจ้ม ทองเสมียน มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน

ในวัยเยาว์เป็นเด็กที่อยู่ใกล้ชิดวัดใกล้ชิดพระมาโดยตลอด เมื่อจบการศึกษาชั้น ป.4 ได้ไปศึกษาเรียนนอโม และอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบ สุวณฺโณ วัดปากสระอยู่นานหลายปี

ต่อมาพระธรรมจารีย์มุนีวงศาจารย์ (จันทร์ โกสโล) วัดขันเงิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร มาทำธุระที่วัดปากสระ เห็นลักษณะท่าทางดี ขยันศึกษาทางธรรม จึงชวนให้ไปอยู่วัดขันเงิน

ปรนนิบัติอยู่กว่า 10 ปี จึงตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดขันเงิน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2504 มีพระธรรมจารีย์มุนีวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ซุ่ม ติกขปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “ฐานธัมโม”

มุ่งมั่นในด้านปฏิบัติวิปัสสนาและสนใจศึกษาพระเวทวิทยาคม หากรู้ว่ามีพระอาจารย์ที่ไหนเก่งๆ จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอเรียนสรรพวิชาต่างๆ นอกจากศึกษานอโมและอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบแล้ว ยังได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อหลายรูป อาทิ พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา หลวงพ่อคง สิริมโต วัดบ้านสวน พระอาจารย์หมุน วัดเขาแดง

จากนั้นได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแดง ติสโส วัดแหลมสอ เรียนวิชาการประสานกระดูกกับพระครูอาทรธรรมวัตร วัดปากสระ

เมื่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำเงิน ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราของหลวงพ่อแดง พุทโธ อดีตเจ้าอาวาสที่เป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัยกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัย มีชื่อเสียงทางด้านการเป่าแผ่นทองซึมหายไปในหน้าผากหรือตามผิวหนัง ลูกศิษย์ต่างเชื่อมั่นและศรัทธาไปหาให้ทำพิธีให้จำนวนมาก

ด้วยความโดดเด่นในเรื่องนี้เอง ศรัทธาสาธุชนได้หลั่งไหลเข้าสู่วัดถ้ำเขาเงินมิได้ขาด ทำให้มีปัจจัยมาสร้างอุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ ตึกฐานธัมโม โรงพยาบาลหลังสวน สำเร็จลุล่วงสมความประสงค์ของท่าน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28064439114597_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม

นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแล้ว ยังเป็นพระนักพัฒนาที่สร้างคุณูปการแก่ชุมชนสังคมและสร้างความเจริญให้กับวัดและชุมชนมากมาย สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานต่างๆ ภายในวัดมากมาย จนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ และยังมีสาธารณประโยชน์ต่างๆ อีกหลายอย่างที่ตั้งใจจะสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์แก่สาธุชนและประชาชนทั่วไป

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงจุดเริ่มต้น ต้องมีที่สิ้นสุดเป็นปกติธรรมดาของโลกมนุษย์

หลังจากงานบูชาครูประจำปี 2539 เป็นต้นมา สุขภาพของท่านได้เสื่อมถอยลงตามลำดับด้วยโรคชรา

จวบจนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2539 จึงละสังขารลงอย่างสงบ •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46837274854381__cover_2206_696x443_Copy_.jpg)

เหรียญรูปเหมือนหลวงรุ่น 2 หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก พระเกจิชื่อดังมหาสารคาม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2565


หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ” หรือ “พระครูสุนทรสาธุกิจ” วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าเรืองวิทยาคม มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคอีสาน

วัตถุมงคลในห้วงที่ยังมีชีวิต จัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ซุน”

จัดสร้างรุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2500 ราคาเช่าหาบูชาสูงแตะถึงหลักหมื่นแล้ว

ต่อมา จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน รุ่น 2 สร้างปี พ.ศ.2502 ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้เหรียญรุ่นแรก

สำหรับเหรียญรุ่นปี พ.ศ.2502 คณะศิษย์บ้านเสือโก้กและบ้านสนาม ร่วมจัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานฉลองอายุครบรอบ 74 ปี ที่ระลึกผู้ที่มาร่วมงานได้เก็บไว้บูชา

ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนสร้าง 3,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระครูสุนทรสาธุกิจ” ด้านล่างสุดเขียนว่า “๒๕๐๒” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ด้านหลัง มีลักษณะเรียบ ไม่มีขอบ แกะรูปอักขระยันต์ อ่านว่า “มะ อะ อุ นะ จะ โล สะ นะ” เป็นคาถาตั้งธาตุ

สำหรับเหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ซุนประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานานนับเดือน เป็นที่โจษขานพุทธคุณรอบด้าน

ครั้นเมื่อถึงวันงานมุทิตาสักการะ ก็นำมามอบให้ผู้ที่มาร่วมงานทุกคน รวมทั้งผู้ที่บริจาคทำบุญก่อสร้างเสนาสนะภายในวัด

จัดเป็นเหรียญดังอีกรุ่นที่ค่อนข้างหายาก และกลายเป็นเหรียญยอดนิยม

เกิดในสกุลประสงคุณ เมื่อปี พ.ศ.2429 ที่บ้านเปลือย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19788644462823_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ

ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป

ต่อมาครอบครัวของหลวงปู่ได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินมาอยู่ที่บ้านเสือโก้ก ในช่วงวัยเยาว์ได้ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง ยามว่างจากทำไร่ทำนา จะคอยต้อนวัวออกไปเลี้ยงกลางทุ่งนา

เมื่ออายุได้ 18 ปี ในวันหนึ่ง ขณะที่กำลังเลี้ยงวัวควายตามปกติ ปรากฏว่ากระดิ่งแขวนคอวัวควายหล่นหาย จึงเกิดความกลัวว่าบิดาจะลงโทษ ประกอบกับเป็นคนใฝ่รู้และมีใจเอนเอียงเข้าหาพระธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ขอร้องบิดาของเพื่อนคนหนึ่ง ให้นำไปบรรพชาที่วัดบ้านเสือโก้ก เพื่อหนีความผิด

ครั้นบิดา-มารดาทราบว่าบุตรชายได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์เป็นที่เรียบร้อย ก็มิได้คัดค้านหรือตำหนิแต่อย่างใด อีกทั้งได้ร่วมอนุโมทนาบุญด้วย

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระอธิการสา เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันขันแข็ง

ด้วยความเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติสวดมนต์เช้าเย็นไม่เคยขาด หลังจากฉันภัตตาหารเพล ก็จะนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานภายในกุฏิ

นอกจากนี้ หลังออกพรรษาทุกปี ท่านจะออกเดินธุดงควัตรไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นตามป่าเขาลำเนาไพรในภาคอีสาน

รวมทั้งยังได้ไปศึกษาวิทยาคมจากสมเด็จลุน พระเกจิชื่อดังจากประเทศลาว ในด้านอักขระโบราณ ทำให้มีความรู้สามารถเขียนอักษรลาว-ขอม และอักษรไทยอย่างแตกฉาน

ในเวลาต่อมา ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรมและประพรมน้ำพุทธมนต์ และปรารถนาวัตถุมงคลตะกรุดโทน และตะกรุดคู่ที่เข้มขลังอย่างล้นหลาม

ยุคสมัยนั้น ราคาเช่าวัตถุมงคลตะกรุดหลวงปู่ซุน 1 ดอก เท่ากับทองคำหนักหนึ่งบาท

อย่างไรก็ดี มักจะพร่ำสอนญาติโยมอยู่ตลอดเวลาว่า “อย่าได้ประมาท และอย่าเบียดเบียนกันแล้วชีวิตจะพานพบแต่สิ่งดีงาม”

นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักการศึกษา ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเสือโก้ก ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทราบดีว่าการบวชเรียนเป็นหนทางหนึ่งของคนยากคนจนชาวอีสาน

ท่านรับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบ้านเสือโก้ก

พระภิกษุ-สามเณรที่เรียนกับท่านต้องเรียนหนักมาก บางวันเรียนไปจนถึง 3 ทุ่ม ทำให้สำนักเรียนบ้านเสือโก้กยุคนั้น มีชื่อเสียงโด่งดัง

แต่ละปีจะมีภิกษุ-สามเณรมาจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย จำนวน 100 รูป

พ.ศ.2461 อยู่จำพรรษาที่วัดเสือโก้ก จนถึงปี พ.ศ.2493 ท่านได้มาทำพิธีสรงน้ำที่ซากกู่เทวสถานสมัยขอม ภายในป่าโคกบ้านสนาม สถานที่ตั้งวัดกู่สุนทรารามปัจจุบัน

ชาวบ้านลือว่าในป่าโคกแห่งนี้ ผีดุมาก ไม่มีใครกล้าบุกรุกเข้าไป

มีความตั้งใจสร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงขอความร่วมมือจากชาวบ้านในการสร้างวัด

ก่อนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2500 วัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม”

นับแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ซุนอยู่จำพรรษาที่วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม มาโดยตลอด

บั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ซุน สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาพาธบ่อยครั้ง

สุดท้ายมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2504 สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56

แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่นามยังอยู่ในศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวเมืองสารคามไปตราบนานเท่านาน •

 


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 ตุลาคม 2566 16:29:16

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95926889073517__cover_2207_696x443_Copy_.jpg)
บน - เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก   ล่าง - เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นผูกพัทธสีมา

เหรียญรุ่นแรก-ผูกพัทธสีมา หลวงพ่อช่อ วัดโคกเกตุ พระเกจิชื่อก้องอัมพวา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2565


หลวงพ่อช่อ ปัญญาทีโป” วัดโคกเกตุบุญญศิริ ต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไว้หลายชนิด และโด่งดังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวอัมพวา ล้วนนับถือเลื่อมใส

วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24722070785032_2._Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 เพื่อเป็นที่ระลึกผู้ที่บริจาคสร้างเสนาสนะ มีเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองและเหรียญรมดำ

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสังวรานุโยค วัดโคกเกตุ”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ลาภผลพูนทวี ๒๕๑๓”

นอกจากนี้ ยังมีอีกเหรียญที่โด่งดังไม่แพ้กัน คือ เหรียญรุ่นผูกพัทธสีมา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519 ที่ระลึกผู้ที่บริจาคในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด สร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างรวมกันราว 20,000 เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นผูกพัทธสีมา  ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม มีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสังวรานุโยค”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ด้านบนของเหรียญ มีอักขระยันต์ใต้ยันต์ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดโคกเกตุ ๒๕๑๙”

กล่าวได้ว่า พระเครื่องล้วนมีประสบการณ์ไม่ธรรมดา ได้รับความนิยมอย่างสูง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77070677859915_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อช่อ ปัญญาทีโป

มีนามเดิมว่า ช่อ มุสสะ พื้นเพเป็นชาวเมืองเพชร เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2460 ที่บ้าน ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี

พ.ศ.2482 ท่านมีอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดกุฏิบางเค็ม ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี วันที่ 28 เมษายน 2482 มีหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์หงส์ วัดกุฏิบางเค็ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่น วัดโพธิ์บางเค็ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญาทีโป

อยู่จำพรรษาที่วัดกุฏิเค็ม เพื่อศึกษากัมมัฏฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม จากนั้น จึงเดินทางไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

พ.ศ.2495 พระอธิการวงศ์ นวลจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโคกเกตุ มรณภาพลง วัดไม่สามารถหาเจ้าอาวาสมาดำรงตำแหน่งแทนได้ เนื่องด้วยในสมัยนั้นวัดโคกเกตุเป็นวัดเล็ก ที่มีอุโบสถสร้างด้วยไม้ผุพังและมีน้ำท่วมทุกปี

พระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่จึงมีบัญชาแต่งตั้งหลวงพ่อช่อ ให้ไปครองวัดโคกเกตุ

วัดโคกเกตุบุญญศิริ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ใน ต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.2440 ภายในวัดมีต้นเกดใหญ่อยู่บนโคก จึงชื่อว่า “วัดโคกเกตุ” โดยพระอธิการบุญมี สายทอง เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างและได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นวัดในปีเดียวกัน

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและผูกพัทธสีมาอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 อุโบสถได้ก่อสร้างมาแล้ว 3 หลัง ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด ต่อมาได้ทรุดโทรมไป จึงสร้างใหม่ในสมัยพระอธิการวงศ์ นวลจันทร์ เป็นเจ้าอาวาส และขอวิสุงคามสีมา ผูกพัทธสีมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2478

อุโบสถหลังที่ 3 สมัยหลวงพ่อช่อ เมื่อปี พ.ศ.2519 วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา โดยเฉพาะในสมัยพระครูใบฎีกาช่อ หรือพระครูสังวรานุโยค

สิ่งสำคัญได้แก่ พระประธานในอุโบสถเป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัยคู่มากับวัด กุฏิสงฆ์ทรงไทย สำนักชีเกตุสันตินารี ซึ่งหลวงพ่อช่อเป็นผู้บริจาคปัจจัยส่วนตัว ซื้อที่ดินให้ วัดนี้พระยังพายเรือบิณฑบาตอยู่ เพราะหน้าวัดติดกับคลองขุดตากล่อม จึงมีพระบิณฑบาตทั้งทางบกและทางน้ำ

เมื่อหลวงพ่อช่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่ง ท่านจึงพัฒนาวัด โดยมีคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาช่วยกันอีกแรงหนึ่ง

หลวงพ่อช่อปรับพื้นดินบริเวณวัดที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังทุกปี ให้เป็นที่สูงพ้นน้ำ และเริ่มก่อสร้างอุโบสถ 4 มุก 2 ชั้น ในปี พ.ศ.2519 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านบาทเศษ

โดยเงินที่นำมาจัดสร้างทุกบาททุกสตางค์ ไม่เคยเรี่ยไร มาจากความศรัทธาของพระพุทธศาสนิกชนทั้งสิ้น

นอกจากจะพัฒนาวัดโคกเกตุจนเจริญรุ่งเรืองแล้ว ยังสร้างวัดบ้านกล้วย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ควบคู่ไปด้วย

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูสังวรานุโยค

ปกครองวัดเรื่อยมา จนถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551

สิริอายุ 91 ปี พรรษา 69 •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 19 ตุลาคม 2566 15:03:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37290443562798_2_Copy_.jpg)

เหรียญนิยม หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันพฤหัสที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2565


“พระครูนวการโฆษิต” หรือ “หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก” วัดหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองอุตรดิตถ์ จนได้รับฉายา “เทพเจ้าชาวหาดสองแคว”

ด้วยคณะศิษย์ต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะอย่างที่สุด กระทั่งคณะกรรมการวัดพร้อมใจขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลหลายครั้งแต่ก็บอกว่ายังไม่ถึงเวลา ในที่สุด เห็นในความจริงใจและศรัทธาจึงได้อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกขึ้นในปี พ.ศ.2491 มอบเป็นที่ระลึกแก่คณะศิษย์ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคสิ่งของช่วยเหลืองานวัดเป็นประจำ

พ.ศ.2520 เป็นปีที่อายุครบ 80 ปี พรรษา 58 คณะศิษย์ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคล เป็นที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถ ซึ่งการสร้างวัตถุรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ 7 รุ่นสุดท้าย

ประกอบด้วยเหรียญทองคำ จำนวน 10 เหรียญ เหรียญเงิน จำนวน 1,000 เหรียญ เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง จำนวน 2,000 เหรียญ เหรียญทองแดงรมดำ จำนวน 10,000 เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อจันทร์ (หน้า)  ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านบน เขียนคำว่า “หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก” ด้านล่าง เขียนคำว่า “อายุ ๘๐ ปี”

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์อุณาโลม มีอักขระด้านข้าง 4 ตัว คือ นะ ชา ลี ติ ยันต์น้ำ 3 บ่อ มะ อะ อุ อยู่ด้านล่างยันต์อุณาโลมขอเหรียญเขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตพระอุโบสถวัดหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ๔ มี.ค.๒๕๒๐”

ปัจจุบัน เริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65848719949523_1_Copy_.jpg)

หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์

มีนามเดิม จันทร์ ตรีพุฒ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2440 ตรงกับวันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ที่หมู่บ้านหาดสองแคว ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ บิดา-มารดาชื่อ นายกิและนางบัว ตรีพุฒ

ในวัยเด็ก เป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่เคยสร้างปัญหาให้บิดามารดา มีความเมตตาปรานีต่อเพื่อนและสัตว์ทั่วไป ถึงกับในบางครั้งครอบครัวต้องอดอาหาร เพราะแอบนำปลาที่บิดาจับไว้เป็นอาหาร นำไปปล่อยลงแม่น้ำน่านด้วยเพราะความสงสาร

พร้อมกับใช้เวลาว่างส่วนใหญ่เข้าวัดหัดเรียนเขียนอ่านท่องบทสวดมนต์กับพระภิกษุในวัดจนเย็น

สมัยก่อนไม่มีการศึกษาภาคบังคับเช่นปัจจุบัน การเรียนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองกับพระสงฆ์ในวัด แต่ด้วยเป็นผู้มีความสนใจในหนังสือไทยและตำราขอมตั้งแต่ยังเล็ก ว่ากันว่าสามารถสวดมนต์ร่วมกับพระได้อย่างคล่องแคล่ว

บิดามารดาเห็นถึงความตั้งใจ จึงนำเข้าพิธีบรรพชาเมื่อปี พ.ศ.2453 ขณะอายุ 13 ปี

เป็นที่กล่าวขานกันว่า สามารถท่องบทสวดปาติโมกข์ และพระคาถาชินบัญชรอย่างคล่องแคล่วแตกฉาน

เมื่ออายุครบบวช จึงอุปสมบท ณ วัดบ้านแก่งใต้ ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน เมื่อปี พ.ศ.2462 มีพระวิเชียรปัญญามุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัฌาย์, หลวงพ่อพุ่ม จันทสโร เจ้าอาวาสวัดคลึงคราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเมธาวรคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่งใต้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งบาลี สันสกฤต หาเวลาไปศึกษาและหัดเทศน์ธรรมกับหลวงพ่อพุ่มที่วัดคลึงคราช ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม กิตติศัพท์เป็นพระนักเทศน์มีชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์

พร้อมกับศึกษาวิทยาคมตำราภาษาขอม จากหลวงพ่อพุ่ม ร่วมกับหลวงพ่อทองคำ แห่งวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

ตามประวัติเล่ากันว่า หลวงพ่อพุ่ม และหลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม เคยร่วมเดินทางไปศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ส่วนหนึ่งศึกษาจากตำราภาษาขอมด้วย

มักกล่าวปรารภเสมอ ยามที่มีผู้ถามถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิทยาคม ว่า “ศึกษาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์”

กระทั่งท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว

ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร ทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก-อุบาสิกา มายาวนาน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรม จึงเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทำให้ชื่อเสียงอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูนวการโฆสิต

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น อาทิ เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2491 แจกแม่ครัว, เหรียญ พ.ศ.2504, เหรียญ พ.ศ.2516 รุ่นเสาร์ห้า, เหรียญ พ.ศ.2520 รุ่นแซยิด 80 ปี พร้อมวัตถุมงคลชนิดอื่น อาทิ ภาพถ่ายขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ขนาดโปสการ์ด ล็อกเก็ต รูปหล่อจำลองขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว กิเลนทองนำโชคตัวผู้ตัวเมียรุ่นสอง พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อเงิน พระสิวลี และแหนบติดกระเป๋า ฯลฯ

ตลอดชีวิตนำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาช่วยเหลือชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นสงฆ์ที่รักสันโดษ ครองบรรพชิตอย่างเรียบง่าย และไม่เคยโอ้อวดตนเอง

มรณภาพอย่างสงบ ที่วัดหาดสองแคว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 เวลา 24.40 น. สิริอายุ 82 ปี พรรษา 60 •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97463779937889_2_0000_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร.

เหรียญปืนไขว้หลวงพ่อแดง
ที่ระลึก 30 ปี-รุ่น12 นายทหาร-ตำรวจ ‘จปร.’

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อแดง รัตโต” หรือ “พระครูญาณวิลาศ” วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิที่มีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในเพชรบุรีเท่านั้น

สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ เป็นที่นิยมเสาะหากันแพร่หลาย

หลังสร้างเหรียญรุ่นแรก จนได้รับความนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปเหมือนอีกรุ่นที่ยอดฮิต ได้แก่ เหรียญรุ่นนายทหาร-ตำรวจ จปร. ปี พ.ศ.2513

สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี ในการรับราชการของคณะนายทหาร-นายตำรวจ รุ่นที่ 12 (รุ่น 12 ธันวาคม 2483) นำโดย พล.ท.ฉลาด หิรัญศิริ ประธานรุ่น เป็นผู้ขออนุญาตจัดสร้าง จากนั้นจึงดำเนินการ โดยมีการตั้งชื่อรุ่นว่า “จปร.”

เพื่อนำรายได้ทั้งหมดจากการสั่งจองเหรียญครั้งนั้น สร้างอุโบสถวัด 12 ธันวาราม หรือวัดหัวลำภูทอง จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อแดงปลุกเสกนาน 3 เดือน ก่อนนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศในยุคนั้นหลายรูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต จำนวนการสร้างครั้งนั้นประมาณ 60,000 เหรียญ แบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ เหรียญพิมพ์หนาและเหรียญพิมพ์บาง

วงการพระเครื่อง นิยมเรียกขานเหรียญรุ่นนี้ว่า “เหรียญปืนไขว้”

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ลักษณะเป็นเหรียญทรงรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปเหมือนหลวงพ่อแดงครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างรูปเหมือนหลวงพ่อแดง เขียนคำว่า “ที่ระลึกรับราชการครบ ๓๐ ปี” ตรงขอบเหรียญช่วงกลางฝั่งซ้ายและขวาเป็นรูปปืนไขว้ทั้ง 2 ฝั่ง

รอบเหรียญทางด้านบนจากซ้ายไปขวา เขียนคำว่า “พระครูญาณวิลาศ (แดง)” และขอบด้านล่างจากซ้ายไปขวา เขียนคำว่า “นายทหาร นายตำรวจ จปร. รุ่น ๑๒ ธันวาคม ๒๕๘๓”

ด้านหลังมีรูปยันต์ตรงบริเวณกึ่งกลางเหรียญ และมีเส้นลากยาวผ่านตรงยันต์ มีการตอกโค้ดคำว่า “แดง” โดยการนำลายมือของหลวงพ่อแดงไปแกะเป็นแม่พิมพ์ แล้วจึงทำการตอกโค้ด จากนั้น นำเหรียญออกให้เช่าบูชา ช่วงปลายปี พ.ศ.2512

ปัจจุบันค่อนข้างหายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65838619321584_5_Copy_.jpg)

หลวงพ่อแดง รัตโต
 
เกิดในสกุลอ้นแสง ที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2422

วัยเด็กช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ

ครั้นถึงวัยหนุ่ม พ่อแม่หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับพระอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีพระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า รัตโต

เคร่งครัดต่อพระวินัยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เป็นอย่างดี พระอาจารย์เปลี่ยนจึงเมตตสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิยาคมให้อย่างไม่ปิดบัง

เหตุนี้ทำให้มีความปีติเพลิดเพลินในการศึกษาวิชาความรู้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึกในรสพระธรรม ไม่มีความคิดลาสิกขาแต่อย่างใด จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีที่มีอาวุโสสูงสุด

กระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง จึงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 เป็นต้นมา และแม้จะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน

ไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิใดๆ แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ระหว่าง พ.ศ.2477-2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตาย สัตวแพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดสัตว์ให้

จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ ปรากฏว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตาย

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ มหาสงครามเอเชียบูรพา เมืองเพชรบุรีมีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด

และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูญาณวิลาศ พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ

เป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด เพราะทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

ก่อนสิ้นลม ได้ฝากฝังกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

พระปลัดบุญส่งรับปากและได้ทำตามประสงค์ไว้ทุกประการ

ทุกวันนี้ หลวงพ่อแดงยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาไม่เสื่อมคลาย •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 14 พฤศจิกายน 2566 15:33:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45088763245277__cover_2211_696x443_Copy_.jpg)
เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่น 3

เหรียญหลวงพ่อจุ่น วัดโคกบำรุงราษฎร์ พระเกจิดำเนินสะดวก

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2565 - 5 มกราคม 2566
 เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อจุ่น รตนลาโภ” หรือ “พระครูมงคลรัตนาภิรักษ์” วัดโคกบำรุงราษฎร์ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

นอกจากการปกครองพระ-เณร พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองแล้ว ยังช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมสั่งสอนธรรมะ อบรมให้กระทำแต่ความดี

ด้านวิทยาคมถือเป็นอันดับต้นในพื้นที่ดำเนินสะดวก ยุคนั้นร่ำลือกันว่า เมื่อครั้งที่วัดนักบุญอันตน ดอนมดตะนอย จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นวัดคริสต์ สร้างเหรียญนักบุญอันตน ยังต้องให้เป็นผู้เสก

ด้านวัตถุมงคล หลายรุ่นล้วนแต่ได้รับความนิยม

โดยเฉพาะเหรียญรุ่น 3 พ.ศ.2514 ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เหรียญรุ่นแรก

ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์และงานทำบุญอายุครบ 72 ปี สร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงรมดำ ไม่ได้บันทึกว่าสร้างจำนวนเท่าใด

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกลม มีหูห่วง ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนเขียนว่า “พระครูมงคลรัตนภิรักษ์” ด้านล่างเขียนคำว่า “วัดโคกบำรุงราษฎร์”

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ มีภาษาไทยล้อมรอบขอบว่า “งานฉลองสมณศักดิ์ทำบุญอายุครบ ๖ รอบ ๒๕๑๔”

จัดเป็นวัตถุมงคลที่หายากและมีราคา ผู้ใดครอบครองมักจะหวงแหน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30808824507726_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อจุ่น รตนลาโภ เกิดในสกุลใบบน ที่บ้านวัดแก้ว ต.วัดแก้ว อ.บางแพ จ.ราชบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 11 แรม 1 ค่ำ ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม 2442 บิดา-มารดาชื่อ นายทิมและนางลำใย ใบบน

ในสมัยเด็ก เรียนหนังสือกับพระอธิการแจ้ง วัดแก้ว จนอ่านได้ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอมตั้งแต่เด็ก ต่อมา ย้ายมาอยู่กับลุงและป้าที่ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก

อายุครบ 23 ปี ลุงกับป้าจัดบวชพระให้ ที่พัทธสีมาวัดโคกบำรุงราษฎร์ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้รับฉายาว่า รตนลาโภ โดยมีหลวงพ่อฮั้ว วัดกลางวังเย็น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการแจ้ง วัดโคกบำรุงราษฎร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ชม วัดกลางวังเย็น เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดโคกบำรุงราษฎร์นานถึง 10 พรรษา ต่อมาบิดาป่วย จึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแก้ว เป็นระยะเวลา 8 พรรษา เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดและดูแลบิดาจนสิ้นชีวิต

เมื่อจัดการงานศพเสร็จจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดโคกบำรุงราษฎร์ดังเดิม

พ.ศ.2486 พระอาจารย์เกิด อดีตเจ้าอาวาสลาสิกขาไป ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

วัดโคกบำรุงราษฎร์ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กๆ ในหมู่บ้านโคกตานาค ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก เป็นที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันก่อสร้างขึ้น เมื่อแรกก่อตั้งมีกุฏิ 2 หลัง ชาวบ้านนิมนต์พระภิกษุมาจำพรรษา

ต่อมาในราวปี พ.ศ.2454 เมื่อหลวงพ่อรัตน์จำพรรษา ทำนุบำรุงและก่อสร้างวัดขึ้นมาเป็นหลักเป็นฐาน มีการสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิเพิ่มเติม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2456

พ.ศ.2501 หลังจากที่หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติสมาคม มรณภาพลง จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่านัด

พ.ศ.2506 รับตำแหน่งพระครูชั้นประทวน

พ.ศ.2514 รับตำแหน่งพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูมงคลรัตนาภิรักษ์

เป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมเข้มขลัง กระทั่งหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ยังยกย่องว่าเก่งกาจหาใครเทียบได้ยาก

นอกเหนือจากเรียนวิชาอาคมกับพระอธิการวัดแก้วแล้ว ยังร่ำเรียนวิชาจากพระอธิการแจ้ง พระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งมีชื่อด้านการทำน้ำมนต์และมหาอุด เรียนวิชาการทำตะกรุดโทน เสื้อยันต์ และผ้ายันต์จากพระวินัยธรกล่อม วัดดีบอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เรียนวิชาคงกระพันชาตรีจากหลวงพ่อพวง วัดเอียน อ.บางแพ จ.ราชบุรี

ยังมีเรื่องราววัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขาน คือ “ธงกันฝน” ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์การหยุดลมหยุดฝน ธงกันฝนถือว่ายอดนักแล หลายต่อหลายครั้งที่แสดงให้คนได้เห็นว่าลมฝนมาแรงๆ ก็ให้เอาธงมาเสก เพียงไม่นานลมฝนหยุดทันตา

มีเรื่องเล่าว่า ตอนที่สร้างอุโบสถหลังใหม่เอาธงขึ้นไปแขวน ฝนไม่ตกบริเวณนั้นเป็นปี จนชาวบ้านเริ่มจะเดือดร้อน ลูกศิษย์ต้องมาขอร้องให้เอาธงลง ฝนถึงได้ตกตามปกติ

ศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนที่สร้างเหรียญเพื่อหาเงินทำบุญ ได้เดินทางไปด้วย โดยทำหน้าที่ขับรถให้ท่านเวลาไปไหนมาไหนอยู่เป็นประจำ

มีอยู่วันหนึ่งไปที่ปราณบุรีเพื่อหาผ้าป่า ชาวไร่สับปะรดถามว่า เหรียญท่านแน่จริงหรือ ท่านจึงให้ศิษย์แขวนเหรียญเอาไว้ แล้วให้ชาวไร่สับปะรด ลองเอาปืนมายิง ปรากฏว่าปืนยิงไม่ออก จนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ต่างพากันมาขอเหรียญหล่อ แต่ก็ไม่ให้ใครเลยสักเหรียญ และเดินทางกลับวัดเสียดื้อๆ

ปรากฏว่าวันงานผ้าป่าที่วัดมีคณะผ้าป่า เดินทางมาจากปราณบุรีด้วยกันถึงสองคันรถบัส เมื่อมาถึงชาวบ้านปราณบุรีเหล่านั้น ก็ได้ช่วยกันถากหญ้าพัฒนาวัด และร่วมทำบุญ เพื่อจะขอเหรียญเอาไปบูชา

เป็นพระเถระที่ให้ความสำคัญของการศึกษา จะรับเลี้ยงเด็กกำพร้าและส่งให้เรียนหนังสือจนจบ มีหลายคนที่ได้ดิบได้ดี ส่วนที่มาบวชเป็นพระมีอีกหลายรูปได้เป็นเจ้าอาวาส

แม้กระทั่งหลวงพ่อพร เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็คือเด็กกำพร้าหนึ่งในจำนวนมากที่ส่งเสียให้เรียนหนังสือ

มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2515

สิริอายุ 73 ปี พรรษา 50




เหรียญรุ่นเสือเผ่น-ผู้ชนะ หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6 - 12 มกราคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2566


พระครูจันทสโรภาส” หรือ “หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร” อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เจ้าตำรับตะกรุดหนังเสืออันลือลั่น

เป็นศิษย์และยังมีศักดิ์เป็นหลานพระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน) วัดใต้หรือวัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระเกจิชื่อดัง รวมทั้งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อีกทั้งมีความสนิทสนมอย่างมากกับหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม

ว่ากันว่าเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบกันในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เป็นวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2520 จัดเป็นเครื่องรางยุคแรกที่จัดสร้างและทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36682168849640_tinywow_2._000_1_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม รุ่นเสือเผ่น

นอกจากตะกรุดหนังหน้าผากเสือ กล่าวได้ว่า เหรียญรุ่นเสือเผ่น ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519 จัดสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ซึ่งเนื้อทองแดงนี้ ยังแบ่งออกเป็น เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยา และเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทยเขียนคำว่า “พระครูจันทสโรภาส(เที่ยง)”

ด้านหลัง มีรูปพัดยศ และรูปเสือเผ่นใต้เสือมีเลขไทย “๒๕๑๙” มีอักขระภาษาไทยเขียนคำว่า “วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี”



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68073607236146_tinywow_3._111_1_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม รุ่นผู้ชนะ

นอกจากนี้ ยังมีเหรียญรุ่นผู้ชนะ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2520 จัดสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงลงยาสีต่างๆ โดยทุกเหรียญจะตอกโค้ดที่ใต้อาสนะ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว โดยสร้างขึ้น ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเที่ยง นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคต มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม อายุ ๙๐” มีการตอกโค้ดไว้ใต้รูปหลวงพ่อ

ด้านหลัง เป็นรูปยันต์สามตรงกลาง ด้านบนเขียนคำว่า “ผู้ชนะ” ด้านล่างเขียนคำว่า “กาญจนบุรี”

จัดเป็นวัตถุมงคลหายากในปัจจุบัน

 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73520042333337_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร

มีนามเดิมว่า เที่ยง ท่านกเอี้ยง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2431 เป็นบุตรของนายเขียวและนางทองแคล้ว ท่านกเอี้ยง มีพี่น้องรวม 8 คน

ในวัยเด็ก มีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรรม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกัน ยกให้เป็นพี่ใหญ่

พ.ศ.2452 อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ กลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา

อายุ 24 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านถ้ำ อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง แล้วย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน

เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานอย่างมาก

หลังจากศึกษาพระปริยัติธรรม และพิธีกรรม จึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคม จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก

ชาวบ้านทั่วไปมักกล่าวขวัญว่า “ใครแขวนวัตถุมงคลของท่าน แมลงวันไม่ได้กินเลือด” หมายความว่า คนคนนั้นหนังเหนียว แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก

แม้กระทั่งหลวงปู่แย้ม พระเกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ยังกล่าวยกย่องว่าเก่งกล้า โดยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงปู่แย้ม) ซึ่งทั้งสองท่านต่างมีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

เป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษาที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณเป็นภาษาไทยแท้ๆ ฟังไม่เพราะหู แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ญาติโยมที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่านจะได้รับความเมตตาช่วยเหลือในทุกๆ เรื่องด้วยดี

จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าชอบกีฬาชกมวยอย่างมาก การละเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง เป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย

จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดัง

หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร ลงมือสร้างอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2484 ค่อยสร้างอุโบสถตามกำลังที่มี โดยไม่มีการเรี่ยไร เพราะไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้าน

ช่วงนั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองกาญจน์ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมาก ด้วยทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น

เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2494

มรณภาพด้วยอาการสงบ เวลา 09.00 น. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 ที่วัดม่วงชุม สิริอายุ 92 ปี พรรษา 69  




(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78766891691419__cover_2213_696x418_Copy_.jpg)

พระท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

ที่มา คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 มกราคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ.2566


พระโสภณสมาจาร” หรือ “หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) และอดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี

ได้ชื่อว่าเป็นศิษย์เอกใกล้ชิดและได้รับการสืบทอดวิทยาคมจาก “หลวงปู่ยิ้ม” เจ้าอาวาสรูปสำคัญของวัดหนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อันเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมสูง

ที่สำคัญ ยังได้เคยสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในด้านไสยเวทในยุคต่อมาอีกหลายรูป

นอกจากหลวงปู่เหรียญ ยังมีหลวงปู่ดี วัดเหนือ, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า, หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี, หลวงพ่อหัง วัดเหนือ, หลวงพ่อดอกไม้ วัดดอนเจดีย์, หลวงพ่อเหมือน วัดกลางเหนือ เป็นต้น

สร้างวัตถุมงคลและเครื่อรางไว้มากมาย อาทิ ตะกรุด ลูกอม ลูกอมแผง แหวนพิรอด พระปิดตา ซึ่งสร้างตามแบบของหลวงปู่ยิ้ม แต่มีขนาดย่อมกว่า สันนิษฐานว่าได้สร้างมาเรื่อยๆ ตามแต่จะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาขอและแจกเรื่อยมา

จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงบั้นปลายชีวิต บรรดาลูกศิษย์เห็นว่าวัตถุมงคลที่ได้รับแจกมามีประสบการณ์ ประกอบกับเห็นว่า หลวงปู่ชราภาพมากแล้ว จึงกราบขอให้จัดสร้างพระเครื่องวัตถุมงคล เพื่อไว้เป็นที่ระลึก

วัตถุมงคลทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะ พระท่ากระดาน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25660144413510_2._._.2497_000_1_Copy_.png)
พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ พ.ศ.2497

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 ลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว เล่ากันว่า วัดหนองบัว สมัยหลวงปู่เหรียญ เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ขณะที่รื้อซ่อมอุโบสถเก่า ได้พระท่ากระดานจำนวน 93 องค์ แต่ชำรุดเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เหลือสภาพสมบูรณ์เพียง 7 องค์เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบพระพิมพ์ต่างๆ ของหลวงปู่ยิ้มอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดถูกบรรจุรวมกันอยู่ภายในโถโบราณ หรือบาตรลูกหนึ่ง ตั้งอยู่บนเพดานพระอุโบสถ ตรงกับทับหลังของประตู ด้านหลังพระประธาน

พระท่ากระดานที่ชำรุดแตกหักเหล่านั้น นำมาหล่อหลอมรวมกับโลหะอื่นๆ สร้างเป็นพระท่ากระดานขึ้น โดยหลอมรวมกับตะกั่วโบราณ หรือเนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์นำมาถวาย จำนวนสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง องค์พระไม่ตัดชิดแบบพระท่ากระดานทั่วๆ ไป พระเกศขององค์พระแหลมแต่สั้นไม่โค้งงอ

ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระยันต์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77620784607198_3._._.2500_000_1_Copy_.png)
พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ พ.ศ.2500

นอกจากนี้ ในเวลาต่อมา ยังได้สร้างพระท่ากระดาน ในปี พ.ศ.2500 ลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว โดยรวบรวมตะกั่วโบราณ หรือเนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์นำมาถวายเป็นส่วนผสมหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เช่นกัน

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง แบบพระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ พระเกศขององค์พระโค้งงอไปทางขวาขององค์พระ

ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระยันต์

จัดเป็นเครื่องรางพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์ ที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30040003069572_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ มีนามเดิมว่า เหรียญ รัสสุวรรณ เป็นบุตรของชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2419 ตรงกับวันเสาร์ แรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ที่บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายโผ และนางแย้ม รัสสุวรรณ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 7 คน

ถึงแม้จะเกิดมาในตระกูลชาวนา-ชาวไร่ มีอาชีพที่เรียกว่าหาเช้ากินค่ำ ต้องช่วยบิดา มารดา หาเลี้ยงชีพตามวิสัยชาวชนบท

แต่กระนั้น ก็ยังสามารถเสาะแสวงหาความรู้ ด้วยความเอาใจใส่กับวิชาที่เล่าเรียน จนสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญยิ่งทั้งภาษาไทย และภาษาขอม เป็นที่พึ่งแก่คนทั่วไป นับได้ว่าควรแก่การสรรเสริญ จากนั้นท่านจึงได้กลับมาช่วยเหลือบิดา มารดา ทำไร่ไถนา เป็นการแบ่งเบาภาระตามความจำเป็นในยุคนั้น

อายุย่าง 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2440 มีเจ้าอธิการยิ้ม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสิงคิบุรณคณาจารย์ (คง ทองสุด) วัดเทวสังฆาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์อยู่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “สุวัณณโชติ”

อยู่จำพรรษาอยู่วัดศรีอุปลารามตลอดมา ครั้นมีพรรษาพอสมควร หลวงปู่ยิ้ม ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ มอบกิจการต่างๆ ให้ช่วยดูแล และเป็นพระกรรมวาจาจารย์สวดนาค

ระหว่างที่ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิทยาคมจนหมดสิ้น

เป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่ามีดี ให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ

พ.ศ.2454 พระครูวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินทสโร) วัดชัยชุมพลชนะสงคราม เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยพระครูสิงคิบุรคราจารย์ (สุด) วัดเทวสังฆาราม รองเจ้าคณะจังหวัด ตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสืบมา

ลําดับงานปกครอง

พ.ศ.2458 เป็นเจ้าคณะแขวงเมือง

พ.ศ.2473 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูนิวิฐสมาจาร

พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณสมาจาร

มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2503

สิริอายุ 84 ปี พรรษา 63 •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 25 ธันวาคม 2566 11:36:27
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94549028989341__cover_2114_696x418_Copy_.jpg)

เหรียญรุ่นแรก-รุ่น 2 หลวงพ่อแง วัดบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 - 26 มกราคม 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2566


“หลวงพ่อแง ปาสาทิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม (วัดบางไผ่เตี้ย) บ้านบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคมที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยม แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คือ “เหรียญรุ่นแรก”

ขึ้นในปี พ.ศ.2490 เพื่อหารายได้สร้างพระอุโบสถ สร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

เหรียญหลวงพ่อแง รุ่นแรก
ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้ามีจุดไข่ปลาล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระทศพลญาณ พระประธานศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย รอบองค์พระเขียนว่า “ที่ระลึกการสร้างพระอุโบสถของพระอธิการแง ปาสาทิโก วัดเจริญสุขาราม”

ด้านหลังไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์

เหรียญหลวงพ่อแง รุ่น 2
นอกจากเหรียญรุ่นแรกอันโด่งดัง ยังมีเหรียญรุ่น 2 ด้วย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2495 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกที่สามารถสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ สร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้าเหรียญ มีรูปจำลองพระทศพลญาณ พระประธานศักดิ์สิทธิ์ของวัดเจริญสุขาราม ประทับบนฐานชุกชีสวยงาม รอบองค์พระด้านบนมีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกสร้างโบสถ์วัดเจริญสุขาราม” ใต้รูปองค์พระ มีอักขระภาษาไทย เขียนว่า “พระทศพลญาณ”

ด้านหลัง เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแงครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระยันต์มอญอ่านได้ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ด้านบนของรูปมีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระอธิการแง(โกศล)”

ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันหายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59061155426833_1._1_Copy_Copy_.jpg)

หลวงพ่อแง ปาสาทิโก

มีนามเดิมว่า แง รองทอง พื้นเพเป็นคนบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2442

พ.ศ.2477 อายุ 35 ปี เกิดความเบื่อหน่ายจึงได้ตัดสินใจอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ราษศรัทธาธรรม) อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2477

มีพระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อคล้าย) วัดศิลามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เขียว เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และพระอาจารย์ยุทธ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปาสาทิโก

ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อคล้าย วัดศิลามูล แล้วจึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดดอนโฆสิตาราม ต.หนองบัว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และมีโอกาสสนิทสนมกับพระครูนาควุฒาจารย์ (หลวงปู่ตั้ง วัดใหม่เจริญราษฎร์), หลวงปู่แขก วัดบางปลา, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงปู่โน้ต วัดศิริมงคล

สําหรับวัดเจริญสุขาราม หรือวัดบางไผ่เตี้ย ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2448 วัดตั้งอยู่บริเวณริมคลองหมาหอน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยตระกูลปั้นอุดม และตระกูลมิลาวรรณ บริจาคที่ดินสร้างสำนักสงฆ์ ทั้งหมด 5 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นี้มีไผ่ขนาดเล็กขึ้นเต็มพื้นที่

มีพระมหาเล่า เป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรก ต่อมาเมื่อมรณภาพลง พระอาจารย์เปลี่ยน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสและปกครองสำนักสงฆ์ ตลอดมาจนถึงมรณภาพ

จากนั้น พระอาจารย์อ่อน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต่อมา และในยุคนี้เอง ชาวบ้านเริ่มมีความศรัทธา เริ่มเข้าวัดมากขึ้น จึงได้ยกฐานะจากสำนักสงฆ์ ขึ้นเป็นวัดบางไผ่เตี้ย จวบจนสิ้นบุญของอาจารย์อ่อน

พระอาจารย์โอด ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และปกครองดูแลวัดจนมรณภาพลง ชาวบ้านบางไผ่เตี้ยมีความศรัทธามากขึ้นจึงได้จัดพิธีปลงศพให้อย่างสมเกียรติ และในช่วงงานพิธีปลงศพนั้น หลวงพ่อแง เดินทางมาร่วมพิธีด้วย

หลังจากพิธีปลงศพอาจารย์โอดเสร็จสิ้น อุบาสกอุบาสิกาตลอดจนผู้มีศรัทธากับวัดบางไผ่เตี้ย เห็นศีลาจารวัตรอันงดงามของหลวงพ่อแง จึงพร้อมใจกันอาราธนาให้ช่วยรับหน้าที่ปกครองวัดบางไผ่เตี้ยไปก่อน

แม้ว่าจะปฏิเสธ ด้วยติดขัดเพราะสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ชาวบ้านก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค ถึงเวลาลงทำสังฆกรรมก็ต่างคนต่างทำสังฆกรรมในสังกัดของตนไป ก็อยู่ร่วมกันได้ไม่มีปัญหาอันใด จึงไม่มีเหตุให้ปฏิเสธได้ จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดสืบต่อมา

หลังจากรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการสร้างอุโบสถไม้สักแทนหลังเก่าที่ผุพัง

นอกจากนี้ ยังเทศนาสั่งสอนและกล่อมเกลาจิตใจของชาวบ้านให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมด้วย

ปกครองวัดเรื่อยมา จนกระทั่งมรณภาพลงเมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2511 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวัดลอยกระทงในปีนั้นพอดี

สิริอายุ 69 ปี พรรษา 34 •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มกราคม 2567 16:23:50
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24191807872719__cover_2216_696x418_Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นแซยิด-72 ปี มงคล ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

เหรียญรุ่นแซยิด-72 ปี มงคล ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“หลวงปู่หยอด ชินวังโส” หรือ “พระครูสุนทรธรรมกิจ” อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นักบุญลุ่มน้ำแม่กลอง

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ ไหมเบญจรงค์ 5 สี ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตาและแคล้วคลาดจากภยันตราย

นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลอื่น เช่น พระสมเด็จ พระปิดตา เหรียญกว่า 100 รายการ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “เหรียญรุ่นแรก”

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ในโอกาสฉลองอายุครบ 5 รอบ หรือ 60 ปี จัดสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดงและทองแดงกะไหล่ทอง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ในวงกลมรูปไข่ ด้านบนมีอักขระยันต์เฑาะว์ พร้อมรัศมีแฉกจากขอบบน

ด้านล่างเป็นโบ ภายในมีอักษรภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุนทรธรรมกิจ” ด้านขอบล่างเหรียญเป็นมุมขยัก

ด้านหลังพื้นเรียบ มีอักขระอักษรไทย เขียนคำว่า “วัดแก้วเจริญ อายุครบ ๕ รอบ ๒๕๑๔”

เหรียญหลวงปู่หยอด รุ่นแรก นอกจากนี้ ยังมีเหรียญรุ่น 2

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2526 ในโอกาสฉลองอายุครบ 6 รอบ หรือ 72 ปี เนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองนั่งสมาธิเต็มองค์บนพรม ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ

ด้านบนมีอักขระยันต์ อ่านได้ว่า อะ ระ หัง พุท โธ นะ โม พุท ธา ยะ ด้านล่างมีอักษรภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุนทรธรรมกิจ วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม”

ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักขระยันต์เฑาะว์ ตรงกลางเหรียญ มีอักขระอักษรไทย เขียนคำว่า “งานอายุครบ ๖ รอบ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖”

จัดเป็นเหรียญหายากและเป็นที่นิยมของชาวอัมพวา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32286990061402_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่หยอด ชินวังโส มีนามเดิมว่า สุนทร ชุติมาศ ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2454 ที่บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ในวัยเยาว์ ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตได้เป็นกำลังช่วยมารดาค้าขาย แบ่งเบาภาระให้ครอบครัว

เมื่ออายุ 18 ปี ฝากตัวเข้าบรรพชากับพระครูเปลี่ยน สุวัณณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2472

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2474 มีพระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสุทธิสารวุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเปลี่ยน สุวัณณโชโต วัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ (พลบ) วัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับนามฉายา ชินวังโส มีหมายความว่า ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า

การศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น วิริยะ อุตสาหะ สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะความรู้สามัญ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ดูแลปรนนิบัติพระครูเปลี่ยน ซึ่งอาพาธอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตา จวบจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2484

วันที่ 17 สิงหาคม 2484 พระราชมงคลวุฒาจารย์ เจ้าคณะอำเภออัมพวา จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่

วัดแก้วเจริญ เป็นวัดโบราณของชาวรามัญ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรกร้างมานาน

มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านท่าใหญ่กรุงศรีอยุธยา อพยพหลบภัยพม่า เมื่อเสียกรุง พ.ศ.2310 มาถึงสถานที่แห่งนี้แล้วเห็นว่ามีทำเลเหมาะสม จึงช่วยกันแผ้วถางป่าลึก เข้าไปประมาณ 3 เส้น พบวัดร้าง มีซากอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแลงปางต่างๆ มากมาย และพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้ว มีใบเสมารอบอุโบสถ พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดไม่มีผ้าพาด

บริเวณวัดยังมีเจดีย์รามัญ 2 องค์ ชำรุดหักพังอยู่ ชาวบ้านเห็นว่าคงไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัย เพราะมีวัดร้างอยู่ จึงไปแผ้วถางสถานที่แห่งใหม่ ห่างจากวัดประมาณ 5 เส้น ตั้งเป็นหมู่บ้านท่าใหญ่ตามชื่อเดิมของผู้อพยพ

กระทั่งปี พ.ศ.2340 พระอธิการต่าย ปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพดีขึ้น โดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วเป็นปูชนียวัตถุสำคัญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดแก้ว

ต่อมาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย และเห็นว่าควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย จึงฝังไว้ที่ใต้ฐานชุกชีของพระประธาน แต่ปัจจุบันอยู่ภายนอกฐานชุกชีแล้ว

ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2375 ชื่อว่า “วัดแก้วเจริญ” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529

พ.ศ.2487 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่

หลังจากได้รับตำแหน่ง พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งการจัดการให้วัดเป็นสถานพยาบาลรักษาผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ

แต่ที่โด่งดังมาก คือ การต่อกระดูก ประสานกระดูก เรียกว่าสมัยก่อนใครแขนหักขาหักมารักษาที่วัดแก้วเจริญกันแทบทั้งสิ้น

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2491 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรธรรมกิจ

พ.ศ.2499 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการศึกษา เป็นเจ้าสำนักเรียนธรรมชั้นตรี-โท-เอก และเป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ อำเภออัมพวา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาและอุปสมบท ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณรและภิกษุในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตรและศาสนพิธี จัดเทศนาอบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ผลงานด้านสาธารณูปการ เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ สืบทอดตามเจตนารมณ์ของเจ้าอาวาสในอดีต

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2541

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21996971054209__cover_2217_696x418_Copy_.jpg)

มงคลพระกริ่ง 3 พิมพ์ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 กุมภาพันธ์ 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


ในยุคสงครามอินโดจีน มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่ 4 รูป ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธามากมาย วัตถุมงคลเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะโดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เล่าลือกันปากต่อปากเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

พระเกจิอาจารย์นามพยางค์เดียว นิยมเรียกผูกติดกัน “จาด-จง-คง-อี๋”

ประกอบด้วย หลวงพ่อจาด คังคสโร วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี

“หลวงพ่อจาด คังคสโร” หรือ “พระครูสิทธิสารคุณ” พระเกจิเรืองวิทยาคมแห่งวัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมสะสม นอกจากเหรียญรุ่นแรก ที่ได้รับความนิยมแล้ว ยังมีพระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ออกที่วัดบางหอย อ.เมือง จ.นครนายก

พระกริ่งรุ่นนี้ ประกอบพิธีเททองที่วัดสุทัศนเทพวราราม โดยพระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) หรือ “ท่านเจ้าคุณศรี” (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบางหอย จ.นครนายก เมื่อ พ.ศ.2485

มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 9 รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต คือ 1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 2.หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม จ.ฉะเชิงเทรา 3.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี 4.หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 5.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี 6.หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 8.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม

ที่ขาดไม่ได้คือ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

กล่าวสำหรับพระกริ่งรุ่นนี้มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ทุกพิมพ์จะมีตัว “อุ” เป็นภาษาขอม หล่อติดอยู่ด้านหลังตรงฐานองค์พระทุกองค์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการระบุไว้

หลังเสร็จพิธีแล้ว หลวงพ่อจาดยังได้นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งที่วัดบางกระเบา ก่อนนำออกให้ทำบุญบูชา

ได้รับการยกย่องให้เป็นพระกริ่งยอดนิยม จ.ปราจีนบุรี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17475646941198_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อจาด คังคสโร มีนามเดิมว่า จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2415 ตรงกับวันอังคาร เดือนสี่ ปีวอก แรม 6 ค่ำ ที่บ้านดงน้อย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

ช่วงวัยเยาว์ บิดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

เมื่ออายุครบ 20 ปี บิดาบุญธรรมนำท่านไปฝากกับพระอาจารย์ที่วัดบ้านสร้าง เพื่อเรียนการขานนาค และการปรนนิบัติพระอาจารย์

เมื่อฝึกอบรมได้เป็นเวลาพอสมควร ในวันที่ 13 เมษายน 2436 พิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระครูปราจีนบุรี แห่งวัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เดินทางไปโปรดโยมบิดาที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ต.ดงน้อย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แล้วได้จำพรรษาที่วัดนี้

ขณะที่จำพรรษาที่วัดเวฬุวัน ได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระอาจารย์จัน (บางตำราว่าชื่อ พระอาจารย์จีน) ซึ่งเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และยังเป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ จึงได้ฝึกกรรมฐานจนแก่กล้า

ครั้นพรรษาที่สอง จึงได้ติดตามพระอาจารย์อ้วน ไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ บางกะปิ กทม. และเมื่อพรรษาที่ 4 จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบางกระเบา

หลังจากนั้นออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี ได้พบสหธรรมิกมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม เป็นต้น

ศึกษาวิชาหลายแขนง เช่น คาถาการปล่อยคุณไสย เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน

เมื่ออายุประมาณ 40 ปี จึงได้เดินทางกลับไปจำพรรษา ณ วัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

เป็นพระที่เชี่ยวชาญวิทยาคม โดยเฉพาะในด้านวิชามหาอุดอยู่ยงคงกระพัน แต่จะไม่แสดงตนอวดวิชา แต่จะใช้วิชาดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด จัดสร้างกันหลายครั้ง แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่และสร้างกันเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2483 ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมทั่วประเทศ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญ

ได้รับอาราธนาจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ร่วมประกอบปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว มีทั้งเนื้อเงินลงยาและทองแดง

เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดได้มาประจักษ์ขึ้น เมื่อเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

หลวงพ่อจาด ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

ลำดับสมณศักดิ์และงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2447 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระครูฐานานุกรม

พ.ศ.2457 เป็นเจ้าคณะแขวง อ.บ้านสร้าง

พ.ศ.2461 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูสิทธิสารคุณ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2499 สิริอายุรวม 85 ปี


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 มกราคม 2567 15:49:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55040376385052_2._Copy_.jpg)
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่รอด วัดสามไถ

เหรียญหล่อรูปเหมือน หลวงปู่รอด วัดสามไถ พระเกจิชื่อดัง-กรุงเก่า

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“หลวงปู่รอด อินทปัญญา” อดีตเจ้าอาวาสวัดสามไถ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อดีตพระเกจิเรืองนามแห่งกรุงเก่า เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เคารพนับถือ

ในปี พ.ศ.2467 มีการจัดงานยกช่อฟ้าอุโบสถ ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือน โดยมีคณะกรรมการ 12 คน ประกอบพิธีหล่อที่วัด โดยมีหลวงปู่รอดจารแผ่นโลหะให้

ลักษณะเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองผสม มีหูในตัว รูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปจําลององค์หลวงปู่รอดนั่งอยู่เหนือรูปเสือ ขอบเหรียญ เขียนคำว่า “ในการยกช่อฟ้าอุโบสถวัดสามไถ”

ด้านหลังเป็นยันต์แปด ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ที่ระฤก” ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนคำว่า “พ.ศ.๒๔๖๗”

รุ่นนี้เป็นที่กล่าวขานในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องว่า เป็นเหรียญหล่อพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองกรุงเก่า เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างขึ้น

มีเรื่องเล่าว่า ในขณะที่ช่างนำแผ่นโลหะมาหลอม ปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนหลวงปู่ว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่า หลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดู ปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว

หลังจากนั้น หลวงปู่รอดนำเหรียญทั้งหมดเข้าปลุกเสกในอุโบสถ โดยปลุกเสกเดี่ยวตลอดคืน ท่ามกลางเหล่าพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ตลอดเวลา

ปัจจุบัน หายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72535976105266_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่รอด อินทปัญญา มีชื่อเดิมว่า รอด เกิดปีขาล พ.ศ.2384 ณ บ้านสามไถ จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ มารดาชื่อแม่เฒ่ากา เป็นคนเชื้อสายลาว มีพี่น้อง 3 คน

เมื่ออายุ 7 ขวบ นำท่านไปฝากให้เรียนอักขระกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ

ต่อมา บรรพชาเมื่ออายุ 11 ขวบ เล่ากันว่ามีอุปนิสัยชอบหาความสงบวิเวก หลังจากศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระอธิการแดงได้ 4 ปี จึงกราบลาไปศึกษาพุทธาคมทางภาคอีสาน

ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้าพิธีอุปสมบท แต่จากประวัติไม่ทราบได้อุปสมบท ณ วัดใด และใครเป็นพระอุปัชฌาย์ เพียงทราบว่าหลังจากที่ศึกษาวิทยาคมจนเชี่ยวชาญ จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง

มีเรื่องกล่าวขานบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในกรุงเทพฯ ร่วมกับพระภิกษุรุ่นน้องเป็นคนอยู่บ้านเดียวกัน เมื่อทั้งสองรูปได้เรียนสำเร็จพระปริยัติธรรมแล้ว จึงเดินทางกลับภูมิลำเนา

ซึ่งการเดินทางกลับมาครั้งนี้ ได้มีคหบดีท่านหนึ่งชื่อ นายเทศ จัดงานเฉลิมฉลองเกียรติคุณให้แก่พระภิกษุทั้งสองรูปนี้ โดยจัดให้มีขบวนแห่ทางน้ำ ตั้งแต่อำเภอนครหลวง จนถึงอำเภอท่าเรือ ในขณะที่ประชาชนกำลังร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานอยู่กลางลำน้ำป่าสักนั้น เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก ทั้งที่ท้องฟ้าแจ่มใสและยังมีแดดจัด เม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้ประชาชนที่ร่วมขบวนแห่เปียกปอนไปตามกัน

แต่กับพระภิกษุทั้งสองรูป สายฝนกลับไม่สามารถทำให้เปียกแต่อย่างใด

ต่อมาคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถ เมื่อปี พ.ศ.2427 สืบต่อจากพระอธิการแดง ที่มรณภาพ

พ.ศ.2429 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะที่มีอายุได้ 45 ปี พรรษา 25

หลวงปู่รอด อินทปัญญา เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มงวดกวดขันความประพฤติของพระภิกษุที่อยู่ในความปกครองให้ถือปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด

เช่น การกำหนดให้พระภิกษุที่อยู่ในวัดสามไถต้องมาปลงอาบัติกับท่านเป็นการส่วนตัวในช่วงเวลาเช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน ฯลฯ

หากพระภิกษุรูปใดทำผิดพลาดความประพฤติ ท่านจะลงโทษด้วยไม้เรียวทันที ด้วยถือว่าผู้ที่เป็นพระภิกษุเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมวินัยมาแล้ว จึงสมควรที่จะต้องตั้งมั่นอยู่ในศีล

ด้วยเกียรติคุณที่แผ่ขยายออกไป ทำให้ได้รับความเคารพเลื่อมใส ต่างพาบุตรหลานที่มีอายุครบบวชมาอุปสมบทที่วัดสามไถ ซึ่งจากทัศนคติของท่านที่ว่า “การนำสาธุชนทั้งหลายเข้าสู่ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ในพระศาสนาทั้งสิ้น…”

ครั้งหนึ่งมีผู้ร้องเรียนถึงคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง โดยได้กล่าวหาว่าบรรพชาอุปสมบทให้พวกที่มีคดีติดตัวอยู่ เป็นเหตุให้พระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ขึ้นมายึดพัดอุปัชฌาย์และห้ามบวชนาคเป็นการชั่วคราว

ว่ากันว่าหลังจากที่พระญาณไตรโลกนาถยึดพัดอุปัชฌาย์จากหลวงปู่รอดไปแล้วยังไม่ถึง 7 วัน ก็เกิดความไม่สบายใจจนต้องนำพัดอุปัชฌาย์มาคืน ก่อนปรับความเข้าใจกัน พร้อมทั้งให้ความนับถือหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเดินทางมากราบนมัสการเป็นประจำทุกปี

มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา ที่กุฏิภายในวัด เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2480 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู

สิริอายุ 96 ปี พรรษา 75 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40590308648016__cover_2219_696x418_Copy_.jpg)

เหรียญรุ่นแรก-หลวงปู่ทวด มงคล ‘พระอาจารย์นอง’ วัดทรายขาว จ.ปัตตานี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“พระครูธรรมกิจโกศล” หรือ “พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต” อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นสหธรรมิกที่ใกล้ชิดกับพระอาจารย์ทิม โดยมีอายุน้อยกว่า 7 ปี

หากเอ่ยถึงวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด สุดยอดพระเกจิแห่งแดนใต้ วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ผู้สร้างตำนานศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือเหยียบน้ำทะเลจืด

ที่ได้รับความนิยมจะมีวัตถุมงคลพระหลวงปู่ทวดของ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร และพระอาจารย์นอง ธัมมภูโต วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานีเท่านั้น

พระครูวิสัยโสภณ หรือหลวงปู่ทิม ธัมมธโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดช้างให้ จ.ปัตตานี เป็นผู้สร้างตำนานพระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้

ส่วนพระอาจารย์นอง เป็นผู้ที่มีส่วนให้กำเนิดพระเครื่องหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นแรก ของวัดช้างให้ จึงทราบส่วนผสมที่ดีเยี่ยมเช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่า พระหลวงปู่ทวด วัดทรายขาว คือพระคู่แฝดของวัดช้างให้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นพระรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่

ยิ่งในยุคถัดมา ภายหลังจากพระอาจารย์ทิมมรณภาพ มีเพียงพระอาจารย์นองที่ได้รับการยอมรับว่าปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดได้เข้มขลัง และมีประสบการณ์

gหรียญพระอาจารย์นอง รุ่นแรก : วัตถุมงคลสร้างกันหลายรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2534 สร้างในวาระอายุครบ 6 รอบ (72 ปี)

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ขอบเหรียญเป็นลายกนก ด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อนอง”

ด้านหลังเป็นยันต์นารายณ์แปลงรูป มีเลขไทย “๒๕๓๔” ด้านบนมีตัวอักษรคำว่า “ครบรอบ ๗๒ ปี” ด้านล่างมีอักษรคำว่า “วัดทรายขาว จ.ปัตตานี”

เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นกูรอดตาย : ยังมีอีกเหรียญที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นกูรอดตาย ด้านหลังเป็นรูปพระอาจารย์นอง จัดสร้างในปี พ.ศ.2537

กล่าวขานกันว่า เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญที่อนุญาตให้จัดสร้างเหรียญขึ้นมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ หลังฟื้นจากอาการอาพาธ

ด้วยเหตุที่พระอาจารย์นองอาพาธหนัก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ท่านได้กล่าวปรารภว่า “ขอให้สร้างมณฑปเสร็จก่อน แล้วจะไป” ท่านจึงฟื้นมาอีกครั้ง อาการอาพาธของท่านค่อยดีขึ้นตามลำดับ จนหายเป็นปกติ ก่อนดำริให้ลูกศิษย์จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ โดยระบุคำว่า “กูรอดตาย”

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเต็มองค์นั่งขัดสมาธิ หน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อทวด วัดช้างให้”

ด้านหลังเป็นรูปเหมือนพระอาจารย์นองครึ่งองค์ หันหน้าไปด้านขวา รอบขอบเหรียญ เขียนคำว่า “พระธรรมกิจโกศล” (อ.นอง) รุ่นกูรอดตาย วัดทรายขาว ๓๐ พ.ค.๒๕๓๗”

ได้รับความนิยมมากอีกเหรียญเช่นกัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50226456299424_1._Copy_.jpg)

พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต  มีนามเดิม นอง หน่อทอง เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

ท่านเรียนจบชั้น ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเมื่ออายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ โดยมีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง

จนกระทั่งอายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง) วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวด

จำพรรษาอยู่ที่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์

ยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาล ซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ

แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบวัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก

ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น บอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มาก ประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาอารมณ์ดีจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง

พระอาจารย์นองเคยพูดให้ฟังเสมอว่า “คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกินวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไป เรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้น เป็นการสั่งสมบารมี ลดกิเลสลงไป”

ดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย พัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้า

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2542 ที่โรงพยาบาลโคกโพธิ์

สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24920426764421_3_000_Copy_.png)
พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว นครสวรค์ หลวงปู่ศุขปรกปลุกเสก

มงคลพระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว นครสวรค์ หลวงปู่ศุขปรกปลุกเสก

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2566


“พระครูวิมลคุณากร” หรือ “หลวงปู่ศุข เกสโร” วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคมแก่กล้า จนได้รับสมญา “เจ้าสำนักพุทธาคมยิ่งใหญ่แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา”

เป็นพระอาจารย์พุทธาคมรูปแรกของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ทรงให้ความเคารพนับถือและใกล้ชิด

ทั้งวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่สร้างล้วนเป็นที่นิยม ด้วยพุทธคุณเป็นเลิศ และยังคงเป็นที่กล่าวขานและแสวงหามาจวบจนปัจจุบัน อาทิ เหรียญรูปเหมือน พระพิมพ์สี่เหลี่ยมประภามณฑล พระปรกใบมะขาม ตะกรุด ประคำ ฯลฯ

อีกวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว” เป็นพระเครื่องที่หลวงปู่ศุขสร้างและปลุกเสกให้วัดส้มเสี้ยว สมณาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์บูรณะเสนาสนะวัดส้มเสี้ยว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

ขณะนั้น พระครูนิรุติธรรมธร หรือหลวงพ่อน้อย ธัมมโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว และมีความสนิทสนมกัน หลวงปู่ศุขจึงสร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมา เพื่อมอบให้หลวงพ่อน้อยนำไปแจกที่วัดส้มเสี้ยว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81842756643891_2._Copy_.jpg)

หลวงพ่อน้อย ธัมมโชโต

ประวัติหลวงพ่อน้อย นามเดิมภาษาจีนว่า “เก็งลี้” เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ที่บ้านส้มเสี้ยว บิดาชื่อ หย่วนเพียว มารดาชื่อ ปราง

วัยเยาว์ได้เรียนภาษาจีนที่โรงเรียนจีนบ้านสะแก เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์จง เคยเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษีอากรที่มีผู้ผูกขาดจากรัฐบาล

อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดบางตาหงาย

เคยจำพรรษาที่วัดบ้านแก่ง วัดโบสถ์ เมืองอุทัยธานี วัดสระเกศ กทม. และวัดระฆังฯ กทม.

ต่อมา กลับมาจำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว โดยเป็นเจ้าคณะหมวด วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2451 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิรุติธรรมธร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบรรพตพิสัย

มรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2480 สิริอายุ 71 ปี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิง ที่วัดส้มเสี้ยวเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2482

จากคำบอกเล่าของพระครูยุตธรรมศาสน์ (หลวงพ่อมหาแกร ฐาปโน) เจ้าอาวาสรูปถัดจากหลวงพ่อน้อย เล่าเรื่องพระพิมพ์สี่เหลี่ยมหลวงปู่ศุขให้ฟัง ว่า

“เมื่อครั้งนั้นหลวงพ่อน้อย มีดำริจะบูรณะและสร้างเสนาสนะของ วัดส้มเสี้ยว หลวงพ่อน้อยก็ได้ไปมาหาสู่หลวงปู่ศุขอยู่เสมอๆ จึงได้ไปปรึกษาและขอพระพิมพ์สี่เหลี่ยมจากหลวงปู่ศุข เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในครั้งนั้น หลวงปู่ศุขก็กรุณาจัดสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมพิมพ์นี้ขึ้น เพื่อมอบให้แก่หลวงพ่อน้อยไปแจกจ่ายหาทุนต่อไป”

พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่ว ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานสองชั้น ขอบด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว

ด้านหลังมีจารตัวพุทธ และมีเส้นล้อมรอบตามแบบรอยจารของหลวงปู่ศุข

ปัจจุบัน หายาก สนนราคสูงพอสมควร กำลังเป็นที่เสาะหาอย่างมาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24235430566800_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า

สําหรับหลวงปู่ศุข เกิดในสกุล เกษเวช (ภายหลังใช้เป็น เกษเวชสุริยา) เป็นชาวชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันคือ บ้านปากคลอง) ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

บิดา-มารดาชื่อ นายน่วม-นางทองดี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายและทำสวน มีพี่น้องรวมกัน 9 คน โดยท่านเป็นพี่ชายคนโต

ในวัยเด็กเป็นคนมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเชื่อมั่นในตัวเอง จึงมักถูกยกให้เป็นผู้นำของเด็กในย่านตลาดวัดสิงห์

ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ในแถบลำคลองบางเขน จ.นนทบุรี จนมีครอบครัวและมีบุตรชายหนึ่งคน ชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

แต่ด้วยจิตตั้งมั่นที่จะบวชทดแทนคุณบิดามารดา พออายุครบ 22 ปี จึงได้ลาไปอุปสมบท ที่วัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบัน คือวัดโพธิ์ทองล่าง) โดยมีหลวงพ่อเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่เป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่เคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง ทั้งเป็นผู้ทรงคุณด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมเข้มขลัง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากพระอุปัชฌาย์อย่างครบถ้วน

จากนั้น ก็เริ่มออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวกฝึกฝนวิทยาการต่างๆ พร้อมแสวงหาและศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูปในด้านพระกัมมัฏฐานและวิทยาคม อาทิ พระสังวราเมฆ ผู้เชี่ยวชาญพระกรรมฐานลำดับมัชฌิมาปฏิปทาในสมัยนั้น ที่สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม), หลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม ด้านการเล่นแปรธาตุและโลหะเมฆสิทธิ์ โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกัน ฯลฯ

จึงเป็นผู้รอบรู้และแตกฉานทั้งพระไตรปิฎก วิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ

เวลาล่วงเลยไป มารดาที่พำนักอยู่ที่บ้านมะขามเฒ่าก็แก่ชราลง จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า แล้วขยับขยายออกมาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่า จนเสร็จสมบูรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2447 โดยมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ เป็นกำลังสำคัญ

ที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยาน คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ และภาพเขียนสีน้ำมันรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มองค์และถือไม้เท้า ที่ยังคงรักษาไว้อย่างสมบูรณ์

สมณศักดิ์สุดท้ายป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิมลคุณากร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันคือเจ้าคณะอำเภอ) รูปแรกของ อ.วัดสิงห์ ก่อนมรณภาพลงในปลายปี พ.ศ.2466 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 50

ทุกวันนี้ผู้เคารพศรัทธายังขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลอย่างต่อเนื่อง

นาม “หลวงปู่ศุข” ยังทรงพุทธาคมมาจนถึงทุกวันนี้ •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 มกราคม 2567 11:57:39
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90019431586066_003_Copy_.jpg)

พระปิดตาเนื้อผง-คลุกรัก หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระเกจิดังรุ่นเก่า จ.ชลบุรี

ที่มา คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง    มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2566


“พระปิดตา” เป็นพระเครื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลปะเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากพระเครื่องประเภทอื่นๆ จนกลายเป็นความโดดเด่นและได้รับความนิยมอย่างสูง

ลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปทรงองค์พระที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักจะทำเป็นรูปมือ เพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก “โยงก้น”) อีกด้วย

ลักษณะเด่นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง “นัย” หรือ “ปริศนาธรรม” แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้

ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตา คือ การปิด “ทวาร” หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราเชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี “ทวาร” หมายถึงประตูแห่งการเข้าออก 9 ทาง ได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 รวมทั้งช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก 2

“การปิดกั้นทวารทั้ง 9” เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้าง “พระปิดตา” (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น

ในกระบวนพระปิดตาแต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระ มีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น

ที่อยู่ในความนิยมสูงสุด เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน พระปิดตาแร่บางไผ่ พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง, พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้, พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม, พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และอื่นๆ อีกหลายคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอดีต

กล่าวได้ว่า พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เป็นพระที่หายากที่สุด และจะเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่มีราคาแพงที่สุด เนื่องมาจากประสบการณ์และคำร่ำลือถึงเรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขาย และจำนวนพระที่มีจำนวนน้อยมาก ใครมีต่างก็หวงแหน

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์กลาง : ประวัติไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ซึ่งก็จะเหมือนกับพระสงฆ์ในอดีตอีกหลายรูปที่ไม่มีการบันทึกไว้ เนื่องจากการคมนาคมในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก จะมีการบันทึกไว้เพียงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้กับเมืองกรุงหรือพระเถระที่มีสมณศักดิ์สูงเพียงเท่านั้น

มีเพียงคำบอกกล่าวกันต่อๆ มาว่า ท่านเป็นชาวเพชรบุรี และออกธุดงค์มาเรื่อยๆ ผ่านมาหลายจังหวัด จนกระทั่งมาถึงเมืองชลบุรี และปักกลดอยู่ตรงบริเวณที่เป็นวัดเครือวัลย์ ชาวบ้านต่างเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้ว จึงนิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ ก็เมตตาอยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ขึ้นมา

มีการบอกเล่าถึงการสร้างศาลาการเปรียญว่า ชาวบ้านก็ช่วยกันหาไม้ในป่าและช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นจนสำเร็จ หลวงพ่อแก้วสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก เป็นการตอบแทน

ใช้มวลสารจากว่านมงคล 108 ชนิด อาทิ ไม้ไก่กุก กาฝากรัก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม ฯลฯ ผสมกับผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ นำมาบดเป็นผงแล้วกรอง จากนั้นใช้น้ำรักเป็นตัวประสาน และเม็ดรักซึ่งได้จากต้นรักที่เป็นมงคลนามตำผสมลงไป แล้วกดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระ

ดังนั้น เนื้อองค์พระจะละเอียด นอกจากนี้ มักปรากฏเม็ดสีน้ำตาล สีแดง ซึ่งเกิดจากว่านขึ้นประปราย และหากองค์พระสึกจะเห็นเนื้อในละเอียดเป็นสีน้ำตาลอมดำ

ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมโค้งคล้ายเล็บมือ องค์พระประธานประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ พระวรกายอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระเนตร ในลักษณะป้องทั้งพระพักตร์

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ด้านหลังจะมีทั้งหลังแบบและหลังเรียบ แต่ทุกพิมพ์จะหายากมาก

ซึ่งพิมพ์มาตรฐาน อาทิ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42389072519209_1._Copy_.jpg)

รูปหล่อเหมือน หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

มีเรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันหลากหลายเรื่อง เช่น มีลูกศิษย์วัดบางรายไปหลงรักสาว แต่สาวเจ้าไม่เล่นด้วย จึงนำผงของพระปิดตาไปแอบใส่น้ำให้สาวกิน แล้วก็ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน

ความทราบถึงหลวงพ่อแก้ว จึงประกาศว่าถ้าใครนำพระไปขูดเอาผงใส่น้ำให้ผู้หญิงกิน แล้วไม่รับเลี้ยงดู จะเป็นบ้าแล้วก็สั่งห้ามไว้ เรื่องเมตตามหานิยมนั้นมีมากมาย

จำพรรษาอยู่ที่วัดเครือวัลย์จวบจนมรณภาพ จากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งได้รับฟังมาจากบิดามารดาอีกทีหนึ่งว่ามรณภาพขณะอายุประมาณ 80 ปี

จากการสืบค้นข้อมูลการสำรวจคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรี (คณะสงฆ์ฝ่ายภาคตะวันออก) มีการทำบัญชีภิกษุสามเณรศิษย์วัดในเมืองแล แขวงเมืองชลบุรี รัตนโกสินทร์ศก 118 แนบท้ายรายงานจัดการศึกษา การศาสนามณฑลปราจีนบุรี ของพระอมราภิรักขิต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์-เจริญ ญาณวรเถร) ระบุว่า “วัดเครือวัลย์ ตำบลหนองต้นโพธิ์ อำเภอเมือง นามเจ้าอธิการ แจ่ม พรรษา 20 อายุ 40 พระ 3 เณร 4”

ความนี้จึงทำให้ทราบว่า ในปี พ.ศ.2442 หลวงพ่อแก้วมรณภาพแล้ว หลวงพ่อแจ่มเป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์อยู่ในปีนั้น •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40715793230467__768x592_Copy_.png)
พระกสิณเนื้อดิน หลวงพ่อพัฒน์ นารโท

พระ-เหรียญกสิณรุ่น 1 หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ พระเกจิดังสุราษฎร์ธานี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2566


“หลวงพ่อพัฒน์ นารโท” อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม (วัดใหม่) อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

จัดสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ล้วนแต่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้น คือ พระกสิณ มีทั้งเนื้อดินเผา เนื้อผงผสมว่าน และที่เป็นเหรียญ คือ เหรียญกสิณ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

พระกสิณ ทำมาจากผงกสิณ ผงที่เกิดจากพระเกจิอาจารย์เขียนอักขระกสิณลงไปบนกระดานชนวนหลายครั้ง แล้วนำมาผสมกับดินเพื่อเป็นพระเครื่องราง

สร้างพระกสิณ จากนิมิตสมาธิ เมื่อสร้างออกมา มีรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร รุ่นแรก ปลุกเสกโดยหลวงพ่อพัฒน์ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2467-2472

ลักษณะรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิขัดราบประทับนั่งบนดอกบัว ใต้ดอกบัวเป็นอักขระพระกสิณ รอบองค์พระพุทธมีเส้นรัศมีที่เกิดจากการเข้าพระกสิณ

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระพระกสิณ คล้ายตัว “อ” ล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 3 เส้น ด้านบนมีอักขระยันต์ขอมอุณาโลม ตรงด้านล่าง เขียนคำว่า “วัดใหม่”

ส่งผลให้มีสนนราคาสูงมาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57461640321546_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อพัฒน์ นารโท

หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เกิดในสกุล พัฒนพงศ์ เมื่อวันพุธ เดือน 6 ปีจอ พ.ศ.2405 ที่ตลาดบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยค ศึกษาเล่าเรียนตามเนื้อหาวิชาตามควรแก่วัยและตามภูมิพื้นความรู้ของผู้เป็นอาจารย์

ย่างเข้าวัยหนุ่ม สมรสกับนางละม่อม ต่อมา ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตรออกมาเป็นผู้หญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ให้โทมนัสเสียใจเป็นอันมาก จึงตัดสินใจหันหน้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่ออายุ 25 ปี ใน พ.ศ.2430 ที่อุโบสถวัดพระโยค มีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอธิการ วัดโพธิ์ ต.บ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ.119) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า “นารโท” จากนั้น อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา

ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ สงบเย็นเกื้อกูลความในพระธรรมวินัย พร้อมสร้างคุณูปการหลายประการให้แก่พระศาสนา เอาธุระจัดการ เอาใจใส่ในความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ลูกวัด ตลอดจนกิจวัตรทางศาสนาต่างๆ 

สําหรับวัดพัฒนาราม เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2439 โดยหลวงพ่อพัฒน์ชักชวนชาวบ้านหักร้างถางพงที่บริเวณวัดเดิมซึ่งเป็นป่าทึบ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือ หมี ค่าง และงูพิษ จนไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย แต่สามารถก่อสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอฉัน ในเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา สำเร็จขึ้นได้ และได้ผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.2444

วัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใน ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ 2 ชื่อ คือ “วัดใหม่” เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นหลังวัดอื่นๆ ในย่านตลาดเมืองสุราษฎร์ธานี และคำว่า “วัดใหม่” หลวงพ่อพัฒน์ได้จารึกหลังพระกสิณ ซึ่งท่านได้สร้างขึ้น

อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “วัดพัฒนาราม” ตั้งขึ้นหลังจากหลวงพ่อพัฒน์มรณภาพแล้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมา

นอกจากกิจการศาสนาแล้ว ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาด้วย โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งแรกอำเภอกาญจนดิษฐ์ เมื่อประมาณ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440)

เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอนอยู่ประมาณ 4-5 ปี แต่ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดติด จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง (อำเภอบ้านดอน-เดิม) เมืองไชยา และตำแหน่งอุปัชฌาย์ เพื่อออกไปธุดงค์

ด้านวิทยาคม ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระเกจิ อาจารย์มากมาย อาทิ พระครูสุวรรณรังษี ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกล่อม พระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ พระอนุสาวนาจารย์ ยังมีพระธุดงค์รูปหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากวัดเขาหัวลำภู แห่งเขาพระบาท อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช พระธุดงค์รูปนี้ เรียกขานกันว่า พระอาจารย์สุข

ทั้งนี้ พระอาจารย์สุข ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชา ทั้งด้านการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม เช่น การลงอักขระอาคมบนแผ่นเงิน แผ่นทอง ตะกรุด ผ้ายันต์ เป็นต้น

ในช่วงบั้นปลายชีวิต มอบภารกิจหน้าที่ของทางวัดไว้กับหลวงพ่อเจียว สิริสุวัณโณ พระภิกษุผู้เป็นน้องชายให้เป็นผู้ดูแล โดยใช้เวลานี้ไปหลบปลีกวิเวก โดยใช้ศาลาที่พักศพในป่าช้าเป็นที่พำนัก ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการ มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนาในพระสัทธรรม

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2485 หลวงพ่อพัฒน์ บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตั้งแต่หัวค่ำ ด้วยความสงบเย็น จนเวลาประมาณ 08.43 น. จึงละสังขารจากไปอย่างสงบ สร้างความเศร้าสลดและความอาลัยแก่ศิษยานุศิษย์ ญาติมิตร และพุทธบริษัทของวัดอย่างสุดซึ้ง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ด้วยมรณภาพในอิริยาบถนั่งสมาธิ และกาลเวลาผ่านไป 6-7 ปี แต่ปรากฏว่าสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อย •


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 เมษายน 2567 17:02:27
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15164646216564__cover_2228_696x418_Copy_.jpg)

พระกริ่งเจริญพร ยอดนิยม : หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก จ.ประจวบฯ

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ” หรือ “พระครูนิยุตธรรมสุนทร” วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไว้มากมายหลายชนิด วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก เด่นในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ทหารและตำรวจ

แต่ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ “พระกริ่งเจริญพร”

เคยมีคำกล่าวของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง กล่าวไว้ว่า “หากพูดถึงต้นแบบพระกริ่งชินบัญชร ต้องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ แต่หากกล่าวถึงต้นแบบพระกริ่งเจริญพร ต้องหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก”

เมื่อปี พ.ศ.2537 หลวงพ่อยิดอนุญาตให้พระไชยา ปัญญาธโร วัดหนองจอก จัดสร้าง “พระกริ่งเจริญพร พิมพ์อุบาเก็ง” เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ วัดหนองจอก และก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม สำนักสงฆ์ไร่เนิน

จัดสร้างมีเนื้อทองคำ 29 องค์ เนื้อเงิน 3,000 องค์ และเนื้อนวะ 5,000 องค์

ทุกองค์ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์ เป็นโค้ดหมายเลขไทย ชุดตัวใหญ่ ทุกเนื้อมีโค้ดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ที่ฐานด้านหลังพระกริ่ง มีอักษรไทยเขียนคำว่า “กริ่งเจริญพร ยิด จนฺทสุวณฺโณ”

พระกริ่งชุดนี้ หลวงพ่อยิดปลุกเสกตั้งแต่วันที่ 3-9 กรกฎาคม 2537 รวม 7 วัน ที่วัดหนองจอก

ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในประจวบคีรีขันธ์ กล่าวได้ว่า พระกริ่งเจริญพร หลวงพ่อยิด เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสม และเซียนพระต่างพากันกะเก็งว่าจะได้รับความนิยมสูง

อีกทั้งมีพุทธคุณเด่นทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด ปลอดภัย ราคาเช่าบูชาจึงขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ

นับเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่น ที่ควรค่าแก่การเช่าบูชา




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31138610632883_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน

มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 บิดา-มารดาชื่อ นายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ

อายุ 9 ขวบ บรรพชาในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระปริยัติธรรม กระทั่งอายุ 14 ปี จึงสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น

จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาล้มป่วย จึงเดินทางกลับมา ลาสิกขาออกมาดูแล และแต่งงานมีครอบครัว

ท้ายที่สุด เมื่อบิดา-มารดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก มีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้สร้างวัดขึ้น

ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่อง

วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิดจะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิดจะมอบวัตถุมงคลให้นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

สำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของหลวงพ่อยิด

แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง จึงมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30

แม้จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะและปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ส่งเสริมและสนับสนุนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24246478494670_2_depositphotos_bgremover_Copy.png)
เหรียญหนุมานแบกพระสาวก

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก พระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระอุปัชฌาย์คง หรือหลวงพ่อคง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เป็นพระเกจิอาจารย์ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอีกรูปที่วัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาไม่แพ้หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย

วัตถุมงคลโดยเฉพาะเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นับว่ายอดเยี่ยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยม

เหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกัน คือ เหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเสาะแสวงหา

ส่วนประเภทเหรียญหล่อก็เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสมัยโบราณคนท้องถิ่นนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม

สร้างแจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง คือ เหรียญหล่อหนุมานแบกพระสาวก

สร้างช่วงประมาณปี 2484-2485 ในยุคสงครามอินโดจีน เป็นเนื้อทองผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้บันทึกไว้

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางประทานพร มีรูปพระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร พระอัครสาวกอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ด้านล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนแบกพระอัครสาวกไว้อีกที ส่วนพระบาทของพระพุทธองค์ชิดติดกับศีรษะหนุมาน

ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

เหรียญหล่อพิมพ์นี้ หลวงพ่อคง เคยปรารภว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิฤทธิ์มาก

ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก ถ้าจะเช่าหาควรศึกษาให้ดี


 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68384393428762_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต เกิดในสกุล จันทร์ประเสิรฐ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2407 ณ ต.บางสำโรง อ.บางคนที จ.สุมทรสงคราม

บิดา-มารดา ชื่อ นายเกตุ และนางทองอยู่ จันทร์ประเสิรฐ

เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือนแพ จะต้องเป็นผู้ชายและครองสมณเพศเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต โดยบิดา-มารดาซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง

พออายุได้ 12 ปี บรรพชาที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรมีความสนใจในวิชาเมตตามหานิยม

กระทั่งอายุได้ 19 ปี ลาสิกขาเพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนสิงหาคม 2427 มีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม

จำพรรษาอยู่ที่วัดเหมืองใหม่ คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ ด้วยอุปนิสัยที่รักการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นฐาน ต่อมาได้ไปศึกษากับพระเถระชื่อดังในยุคนั้นอีกหลายรูป

ได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ กับอาจารย์นก ซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ยังสนใจการศึกษาวิทยาคม โดยร่ำเรียนกับพระเกจิชื่อดัง เริ่มแรกศึกษาคัมภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้นต่อมาเล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้า โดยเฉพาะวิชานะปัดตลอด

อีกทั้งยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ผู้เชี่ยวชาญในพระกัมมัฏฐาน

ในพรรษา 19 เกิดอาพาธ จึงหยุดพักผ่อน หันมาสอนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานลูกศิษย์ลูกหา

เอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็ปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยมือ

จนกระทั่งพรรษาที่ 21 ในปี พ.ศ.2448 ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นวัดบางกะพ้อมไม่มีสมภารปกครองวัด และวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม

ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น

พ.ศ.2464 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

แม้จะมีภาระงานปกครองวัด แต่ในเดือน 4 ของทุกปี จะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า รุกขมูลข้างวัด ชำระจิตใจให้สะอาด หลังจากยุ่งกับเรื่องราวทางโลกเกือบตลอดทั้งปี

ช่วงบั้นปลายชีวิตอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำ ด้วยเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2486 ขณะนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระพุทธรูปประธานองค์ใหม่ เมื่อสวมพระเกตุพระประธานแล้วเสร็จ ก็เกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่มีสติดี เอามือประสานในอิริยาบถนั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบ

คณะศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นาน จึงประคองร่างลงมาจากนั่งร้าน จึงรู้ว่ามรณภาพไปแล้ว

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58 •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87020087656047_2._0001_2048x1918_Copy_.png)   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หน้า)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79100742439428_3._0001_copy_2048x1961_Copy_.png)   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หลัง)

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระครูปทุมชัยกิจ หรือ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท จะมีอายุครบรอบ 103 ปี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและผู้เลื่อมใส จะได้ร่วมกันจัดงานมุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมหามงคล เป็นประจำทุกปี

เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป ทายาทศิษย์พุทธาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

ในปี พ.ศ.2531 อนุญาตให้ทางวัดจัดสร้าง “พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ)” เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะอุโบสถ

ลักษณะขององค์พระ เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ ด้านหน้าองค์พระ ตรงกลางเป็นรูปนูนพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนฐาน 3 ชั้น มีซุ้มครอบแก้ว ฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานขาสิงห์ ฝังพระธาตุ 1-3 เม็ด และเส้นเกศาหลวงปู่นะ

ส่วนด้านหลังองค์พระ ตรงกลางเป็นลายเส้นรูปเหมือนนั่งสมาธิเต็มองค์อยู่บนอาสนะ รอบรูปเหมือน มีอักขระขอม นะโมพุทธายะ และด้านล่างเขียนว่า “หลวงพ่อนะ วัดปทุมธาราม (หนองบัว)” พร้อมโรยผงตะไบที่รูปหลวงปู่นะ

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ) รุ่นนี้ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส (3 เดือน) และเนื้อพระผสมผงพุทธคุณที่นำมาจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป

สำหรับพระสมเด็จฐานสิงห์ ด้วยความที่มีพลังจิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีพระสมเด็จฐานสิงห์รุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ

นับเป็นพระดีอีกรุ่นหนึ่งของจังหวัดชัยนาท



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74811360902256_1._scaled_Copy_.jpg)

หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ  มีนามเดิมว่า โฉม เหล่ายัง เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2459 ที่บ้านขุนแก้ว ต.ดงขวาง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 9 คน ของนายแจกและนางตี่ เหล่ายัง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ในวาระแรกเกิด บิดา-มารดาตั้งชื่อให้ว่า “โฉม” ต่อมาเมื่ออายุ 5-6 ขวบ หมอเป้ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ และเป็นผู้มีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ด้วย เห็นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “นะ” อันเป็นมงคลนาม

ส่วนนามสกุล “เหล่ายัง” ต่อมาภายหลังเปลี่ยนเป็น “นาคพินิจ”

อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมา วัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2480

โดยมีพระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ชั้น เป็นพระกรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สำเนียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) พ.ศ.2483 เดินทางไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดหนองแฟบ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.2485 ได้ไปจำพรรษาที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) และในปี พ.ศ.2487 สามารถสอบได้สอบนักธรรมชั้นเอก

ขณะศึกษานักธรรม มีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไปด้วย

ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ วิทยฐานะนักธรรมชั้นเอก จึงมีความคิดก่อตั้งสำนักเรียนขึ้นมาใหม่ หลังจากซบเซาขาดหายไปนาน โดยรับหน้าที่เป็นผู้สอนเองทุกชั้น ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท และเอก จึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้หลายจังหวัด

ระหว่างนั้นหันมาให้ความสนใจศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม และเรียนวิทยาคม เลขยันต์พันคาถาควบคู่กันไป จากตำราที่พระปลัดปั่น เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ได้รับมอบจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และพระปลัดปั่น มอบตำราของหลวงปู่ศุขให้

ศึกษาเรียนรู้สรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคมอย่างดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ช่วยเหลือปัดเป่าทุกข์เหล่านั้นด้วยความเมตตา

ด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดเทศนาธรรมเป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชักชวนประชาชนให้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งเป็นครูสอนพระธรรมวินัย สำนักเรียนวัดปทุมธาราม (หนองบัว) เป็นครูสอนการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่พระภิกษุ-สามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป

ด้านการพัฒนาวัด นับตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธารามเป็นต้นมา ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการสร้างศาลาการเปรียญ โครงสร้างชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาเป็นกระเบื้องเกร็ด, สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม, สร้างฌาปนสถานแบบมาตรฐาน พร้อมเตาเผาอย่างดี, สร้างอาคารปริยัติธรรมภิกษุ-สามเณร ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากนี้ ยังสร้างวิหารหลวงปู่ศุข 1 หลัง ลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน ลายใบเทศ ประดับด้วยกระจก

ด้านวัตถุมงคล อาทิ ใบพลูใจเดียว, เหรียญนารายณ์ทรงครุฑ, สมเด็จบัวไขว้ข้างอุ เป็นต้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากสาธุชน
 
พ.ศ.2493 เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม

พ.ศ.2495 เป็นเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2

พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ “พระครูปทุมชัยกิจ”

พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง กลางดึกคืนวันที่ 10 มีนาคม 2563 หลวงปู่นะมีอาการหัวใจหยุดเต้น คณะศิษย์รีบนำส่งโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร คณะแพทย์พยายามยื้ออาการสุดความสามารถ แต่ด้วยความชราภาพ จึงมรณภาพอย่างสงบในเวลา 05.30 น. วันที่ 10 มีนาคม 2563

สิริอายุ 104 ปี พรรษา 83 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27309871340791_2._Copy_.jpg)
พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก

หลวงปู่ทวดผงกัมมัฏฐาน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สําหรับหลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค

ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ จ.ปัตตานี สร้างขึ้นโดยพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร

แต่ยังมีพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีความนิยมสูงและสนนราคาค่อนข้างสูงเอาการ คือ พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ปลุกเสกโดย “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” อดีตพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม

หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมาก และมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหา หลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำตลอด ดังนั้น พระเครื่องที่สร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

ที่รู้จักกันดี คือ เหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว

ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้ว สนนราคายังไม่สูงมากนัก หลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกแจกอย่างเดียว จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันเรื่องพิมพ์ทรง

พิมพ์พระหลวงปู่ทวด ด้วยเนื้อผงสีขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐาน จะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงสีขาวทุกพิมพ์ว่า “พระผงกัมมัฏฐาน”

ด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ

พระผงดังกล่าว ค้นพบภายในกุฏิหลวงปู่ดู่หลังมรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60036066050330_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ถือกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เกิดวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2447 ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บ้านข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพุดและนางพ่วง หนูศรี

มารดาถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเป็นทารก ต่อมาบิดาจากไปเมื่ออายุเพียง 4 ขวบ จึงอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวเป็นผู้ดูแล เริ่มศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

อายุ 21 ปี บรรพชาอุปสมบทที่วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พรรษาแรก ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม กับเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

ด้านการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น และหลวงพ่อเภา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา รวมทั้งตำรับตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จ.สุพรรณบุรี และสระบุรี

พรรษาที่ 3 เดินธุดงค์จากอยุธยามุ่งตรงสู่สระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉาย และรอยพระพุทธบาท จากนั้นไปยังสิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน กระทั่งอาพาธด้วยโรคเหน็บชาจึงพักธุดงค์

ทั้งนี้ ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์นอกวัด ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2490 และถือข้อวัตรฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 ต่อมาภายหลังในปี พ.ศ.2525 ศิษย์ต้องกราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อ

ปีหนึ่งๆ จะออกมาเพื่อลงอุโบสถเพียง 3 ครั้งเท่านั้น คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันโมทนากฐิน

เป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีผู้ปวารณาจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลย อันจะเสียสมณสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายเกิดความปลื้มปีติ ก่อนยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวม ข้าวของต่างๆ ที่เป็นสังฆทาน ถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะระบายออก จัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบทและยังขาดแคลน

ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ถึงกับเมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

หากลูกศิษย์คนใดสนใจขวนขวายในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ก็จะส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจ ที่สำคัญจะไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่นในเชิงลบหลู่ หรือเปรียบเทียบดูหมิ่น

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศ ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ด้านวัตถุมงคล มิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ สร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่อง ด้วยเห็นประโยชน์ เนื่องจากบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ เคยปรารภว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล”

พระเครื่องบูชาที่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้แล้วปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ แต่กุศโลบายที่แท้จริงคือ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ เป็นต้น

รับแขกโปรดญาติโยมไม่ขาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 จนปลายปี พ.ศ.2532 สุขภาพจึงทรุดโทรมลง แต่ใช้ความอดกลั้นอย่างสูง แม้จะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ก็สู้ออกโปรดญาติโยมเหมือนไม่เป็นไร บางครั้งถึงขนาดที่ต้องพยุงตัวเอง ก็ยังไม่เคยปริปากให้ใครต้องกังวล

เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2533 จึงมรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคหัวใจ สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65


4


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 เมษายน 2567 13:56:24
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67322790995240_2._0000_Copy_.png)
พระกริ่งสุจิตโต

มงคล ‘พระกริ่งสุจิตโต’ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ สุจิตโต) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกผนวชในปี พ.ศ.2499

เมื่อปี พ.ศ.2487 ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ 6 รอบ

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ ณ เวลา 09.08 น. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อ เวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า “พระกริ่งสุจิตโต” ตามพระนามฉายา

แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า “พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร” เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะก้นด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาสูง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14174739602539_1._Copy_.jpg)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ทรงเป็นโอรสของหม่อมเจ้าถนอมกับหม่อมเอม นพวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก จุลศักราช 1234

ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งเยาว์วัยทรงศึกษากับครูชมที่วังของพระชนก มีพระนิสัยโน้มเอียงในทางพระศาสนา กล่าวคือ ได้ตามเสด็จกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไปวัดอยู่เสมอ จึงทำให้ต่อมาได้บรรพชา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตโต) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2435 ทรงผนวช ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระนามฉายาว่า สุจิตฺโต

ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณศักดิ์เป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระสุคุณคณาภรณ์

พ.ศ.2446 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระญาณวราภรณ์ ได้รับพระราชทานตาลปัตรพื้นแพรปักทองเป็นพระเกียรติยศ

พ.ศ.2451 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์ ได้ถวายพระพรลาออกจากสมณศักดิ์ด้วยมีประสงค์จะลาสิกขา แต่ด้วยความอาลัยในสมณเพศ จึงได้ยับยั้งตั้งพระทัยบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป

พ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระญาณวราภรณ์ดังเดิม

พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2464 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ

พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พ.ศ.2488 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493

พ.ศ.2499 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นหลายครั้งและหลายสิ่ง เช่น สร้างหอสมุดของวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2497 สร้างตึกสถานศึกษาของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2498 สร้างตึกอุทิศนภวงศ์ด้วยทุนไวยาวัจกรส่วนพระองค์ สร้างตึกสามัคคีธรรมทาน ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดด้วยทุนที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุ 60 ปี

ทรงประพันธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง เช่น ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิดตายสูญ ทศพิธราชธรรม พุทธศาสนคติ ทรงชำระพระไตรปิฎกสยามรัฐ ฉบับพิมพ์ 2470 เล่ม 25-26 ทรงชำระอรรถกถาชาดกที่สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้ชำระ พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2501 พระชนมายุ 86 พรรษา พรรษา 66

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุสำหรับถวายพระเพลิง ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส

และต่อมาได้พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2503 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80553399895628_2._depositphotos_bgremover_Cop.png)
พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่ไข่

‘พระกลีบบัวอรหัง’ ที่ระลึกอายุวัฒนมงคล หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามขจรขจายไปไกล

ชื่อเสียงโด่งดังมาหลายทศวรรษ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีราคาเช่าบูชากันสูงมาก โดยเฉพาะ “พระกลีบบัวอรหัง”

ประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมาก

นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน

พระกลีบบัวอรหัง เป็นพระเครื่องพิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “อรหัง”

ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอม

พระกลีบบัวอรหัง จัดสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอแจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน ยังพอหาได้ เนื่องจากสมัยก่อน มีจำนวนมาก หาได้ไม่ยาก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20420048468642_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่ไข่ อินทสโร วัดเชิงเลน

อัตโนประวัติ เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดาชื่อ นายกล่อมและนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพลง เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่ออายุ 15 ปี พระอาจารย์จวง มรณภาพลง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น ได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจน์ แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณจึงเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก

ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุขฯ (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษามาตลอดมา

ระหว่างจำพรรษาปฏิบัติธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา

ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างพระเครื่อง พระปิดตาและเหรียญรูปเหมือน ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้เป็นจำนวนมากในประมาณปี พ.ศ.2470

เป็นพระที่สมถะสันโดษ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ มีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์มีทั้งไทย จีน และชาวซิกข์ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาให้ช่วยรักษา ซึ่งก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล

ราวปี พ.ศ.2470 เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายปรึกษาหารือกันว่า ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้อยู่สอนวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

ต่อมาเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 มกราคม 2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

เล่ากันว่าก่อนเวลาที่จะมรณภาพ ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการเสร็จแล้ว ก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ 15 นาที จนหมดลมหายใจ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวให้นอนราบลง •



4


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 เมษายน 2567 15:36:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57274691760539_2._000_Copy_.png)
เหรียญรัตโต หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

เหรียญหล่อรูปใบโพธิ์ หลวงพ่อดำ อินทสโร วัดตาลบำรุงกิจ ราชบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อดำ อินทสโร” วัดตาลบำรุงกิจ ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระเถราจารย์ยุคเก่าราชบุรี มีชื่อเสียงโด่งดัง และลูกศิษย์ลูกหามากมาย มิใช่เฉพาะเมืองราชบุรีเท่านั้น

วัตถุมงคลเป็นที่นิยมสูงเป็นอันดับต้น ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

วัตถุมงคลยุคแรก ทำเครื่องรางตะกรุด ครั้นเมื่อผู้ได้รับนำไปมีประสบการณ์จนเป็นที่กล่าวขวัญ ทำให้โด่งดังมาก มีชาวบ้านแห่มาขออยู่เป็นประจำ

แต่ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจหรือรูปใบโพธิ์ เป็นเหรียญหล่อพระเกจิที่เก่าแก่ที่สุดอีกเหรียญ

สร้างในปี พ.ศ.2459 ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ มีหูห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรแบบลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีช่อมะกอกผูกด้วยโบด้านล่าง ใต้รูปเหมือน มีตัวเลขไทย “๒๔๕๙” ระบุปีที่สร้าง

ด้านหลัง เป็นอักขระขอมอ่านได้ว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ”

มีคนเข้าไปขอกันมาก จนเหรียญหล่อหมด เป็นเหรียญพิเศษที่หายากยิ่ง ผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41333510975042_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อดำ อินทสโร

เกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี บิดาชื่อ นายปลิก มารดาชื่อ นางเหม

เป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็ก พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนักวัดตาล

เนื่องจากพระอาจารย์เล็ก เป็นญาติทางบิดา เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัว แต่เนื่องจากเป็นคนที่มีความตั้งใจสูงชอบศึกษาเล่าเรียน มีความอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้เกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนมีความรู้แตกฉาน

เมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชา และศึกษาพระปริยัติธรรมจนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2405 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดตาลบำรุงกิจ มีพระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ทอง วัดท่าสุวรรณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เล็ก วัดตาลบำรุงกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ต่อมา จึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา โดยออกธุดงค์ไปทั่วประเทศคราวละ 2-3 ปี ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ ยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ระหว่างที่ได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนหากมีเหตุให้ต้องช่วยเหลือชาวบ้านได้ ก็ช่วยอย่างเต็มกำลังเรื่อยไป จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และก่อสร้างวัดต่างๆ ณ จุดที่ธุดงค์ผ่านเรื่อยไป

จนกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลบำรุงกิจ ว่างลง ชาวบ้านและคณะสงฆ์เห็นควรนิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นวัดทรุดโทรมลงไปมาก จึงรับนิมนต์และได้จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา

วัดตาลบำรุงกิจ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เลขที่ 76 หมู่ 1 ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่

มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า นางตาล สร้างถวายเพื่อบำรุงพระศาสนา โดยบริจาคทรัพย์และที่ดิน วัดจึงตั้งชื่อวัดว่า วัดตาลบำรุง หรือเรียกสั้นๆ ว่าวัดตาล

ในอดีตมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วัดตาลล้อม เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินดินสูงมีต้นตาลรอบวัด หรือเรียกชื่อตามหมู่บ้านว่าวัดตาลสี่หมื่น

สมัยพระครูโสภณกิจจารักษ์ หรือหลวงพ่อเชย เจ้าอาวาสรูปถัดมา เห็นว่าชื่อห้วนเกินไป จึงเติมคำว่า “กิจ” เป็นวัดตาลบำรุงกิจ จนถึงปัจจุบัน

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วย มณฑป หรือชาวบ้านเรียกวิหารไห ลักษณะชั้นล่างเป็นไหโบราณก่อเป็นรูปภูเขา ชั้นบนเทคอนกรีต ปูพื้นด้วยหินอ่อน เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลม วิหารแบบทรงไทยโบราณไม่มีลวดลาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูทวีป (ปางรัตนโกสินทร์) หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว สูง 120 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ตรงข้ามแม่น้ำมีวัดราชคามตั้งอยู่

ด้วยความเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ครั้นเมื่อขอความร่วมมือจากชุมชน ชาวบ้านจะมาร่วมงานด้วยความเต็มใจ

อายุ 40 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2425 เจ้าคณะตำบล ตามลำดับ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ต่างก็มาเรียนวิชาจากท่านเสมอ

ปกครองวัดเรื่อยมา จนถึงแก่มรณภาพ ในปี พ.ศ.2475 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70 •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67009262947572_1_Copy_.jpg)
เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อแดง รัตโต” หรือ “พระครูญาณวิลาศ” วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิผู้มีชื่อเสียง ไม่เพียงแต่ในเพชรบุรีเท่านั้น

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ เป็นที่นิยมและเสาะหากันอย่างแพร่หลาย

หลังสร้างเหรียญรุ่นแรกจนได้รับความนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปเหมือนอีกรุ่นที่ยอดฮิต

ได้แก่ เหรียญรัตโต อันเป็นนามฉายา

จัดสร้างในปี พ.ศ.2516 โดยคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้รับการออกแบบจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ มีความสวยงาม โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่

แต่การสร้างในครั้งนั้น มีจำนวนที่ไม่เพียงพอ ถัดมาในปี พ.ศ.2517 จึงสร้างขึ้นอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่าปั๊มครั้งที่สอง

การสร้างเหรียญรัตโต ในปี พ.ศ.2516 มีจำนวน 3,400 เหรียญ เป็นเนื้อเงิน 400 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 3,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปเหมือนหันข้างแบบครึ่งองค์ กึ่งกลางด้านซ้ายรูปเหมือน เขียนอักษรคำว่า “รตฺโต” บรรทัดถัดลงมา เขียนคำว่า “พระครูญาณวิลาศ” และบรรทัดล่างสุด เขียนคำว่า “(หลวงพ่อแดง)”

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ มีขีด 2 ขีดเป็นรูปวงรีล้อมรอบอักขระยันต์ ด้านล่างใต้ยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๑๖” ซึ่งหมายถึงปี พ.ศ.ที่สร้าง ส่วนนอกวงรีมีอักขระล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

ปัจจุบันค่อนข้างหายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30079454307754_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อแดง รัตโต

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล อ้นแสง ที่บ้านสามเรือน หมู่ที่ 4 ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2422 บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องรวมกัน 12 คน ท่านเป็นคนที่ 5

วัยเด็กช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ

ครั้นถึงวัยหนุ่ม พ่อแม่หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับพระอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีพระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า รัตโต

เคร่งครัดต่อพระวินัยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เป็นอย่างดี พระอาจารย์เปลี่ยนจึงเมตตสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบัง

เหตุนี้ทำให้มีความปีติเพลิดเพลินในการศึกษาวิชาความรู้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึกในรสพระธรรม ไม่มีความคิดลาสิกขาแต่อย่างใด จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีที่มีอาวุโสสูงสุด

กระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง จึงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 เป็นต้นมา และแม้จะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน

ไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิใดๆ แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ระหว่าง พ.ศ.2477-2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตาย สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดสัตว์ให้

จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ ปรากฏว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตาย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวันมิได้ขาด

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ มหาสงครามเอเชียบูรพา เมืองเพชรบุรีมีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด

และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูญาณวิลาศ

เป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด เพราะทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

ก่อนสิ้นลม ได้ฝากฝังกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

พระปลัดบุญส่ง รับปากและได้ทำตามประสงค์ไว้ทุกประการ

ทุกวันนี้ ยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาไม่เสื่อมคลาย •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64434167121847__._._000_Copy_.png)
เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒

เหรียญรุ่น ร.ศ.๒๑๒ หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ พระเกจิชื่อดัง-อัมพวา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2566


“หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท” อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เล่ากันว่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เคยธุดงค์มาต่อวิชาด้วย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงเจ้าอาคมเป็นอย่างดี

สำหรับวัตถุมงคลเท่าที่ทราบ เป็นประเภทเครื่องรางส่วนใหญ่ ทั้งเชือกคาดเอว (ตะขาบไฟไส้หนุมาน) มีดหมอ พระเนื้อดิน และน้ำมนต์

สำหรับเหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒ สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2536

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างขึ้นหลังจากท่านละสังขารมานานแล้ว แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย เหรียญสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่” ที่เหรียญมีการตอกโค้ด อุณาโลม

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ อะระหัง” บนสุดมีตัวอุนาโลม ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “ร.ศ.๒๑๒” ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2536

ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย ที่สร้างหลังมรณภาพไปแล้วก็ตาม

สําหรับวัดประดู่ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าคงสร้างในราวปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2320 จากการค้นคว้าพอจะถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในย่านจังหวัดสมุทรสงคราม

ตามประวัติอดีตเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นมาที่วัด คือ หลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส มีผู้รู้ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า

ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต้นทางน้ำ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 โดยเรือพระที่นั่งผ่านคลองหน้าวัดประดู่ และทรงแวะทำครัวเสวย และพระกระยาหารเช้า พระองค์ทรงนึกแปลกพระทัยว่า เพราะเหตุใดชาวบ้านจึงได้มาชุมนุมกัน ณ ที่ศาลาท่าน้ำกันมาก จึงตรัสให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปสอบถามพวกชาวบ้านที่มาชุมนุมกัน

จึงได้ความว่าเจ้าอาวาสวัดนี้ เป็นพระที่มีวิชาอาคมสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่เลื่องชื่อที่สุดก็คือน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บุคคลใดที่โดนผีเข้าหรือโดนคุณไสยถ้าได้มารับน้ำมนต์แล้วจะได้ผลทุกรายไป ผีตัวใดก็ไม่อาจทนอยู่ได้

ส่วนยาศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เช่นกัน ทำขึ้นจากใบมะกาใช้คู่กับน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบความจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้ว พระองค์ท่านก็เสด็จออกจากวัดประดู่

จากนั้นมาไม่นาน ก็ได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชวัง เพื่อรักษาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศดำรงค์ศักดิ์

เมื่อถวายการรักษาเสร็จจนมีพระอาการดีขึ้น ทำให้ทรงเลื่อมใสในความสามารถ ก่อนจะลากลับจึงพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร เตียงบรรทม เก๋งเรือ ปิ่นโต ฯลฯ เป็นที่ระลึก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32877071615722_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท


พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมายังวัดประดู่ ตามประวัติศาสตร์นั้น พระองค์ทรงถวายเครื่องราชศรัทธาที่น่าสนใจไว้แก่วัดอีกหลายชิ้น

จึงได้รวบรวมสิ่งของที่ได้พระราชทานเหล่านั้นจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5 เพื่อเก็บดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ให้ทรงคุณค่าอยู่ตราบนานเท่านาน และเพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ชมได้ศึกษา รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับชาววัดประดู่ตลอดไป

ตามประวัติเล่ากันว่า หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูตผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มาจากหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ นี่เอง

รักษาคนด้วยตัวยาสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิด คือ ใบมะกากับข่าพร้อมคาถาเสก และต้มยาให้กิน

นอกจากยาใบมะกากับข่าเสกแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อเมื่อเอ่ยถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์”

เล่ากันว่า เมื่อรดใครแล้วหายจากโรคทุกคน ไม่ว่าจะถูกคุณไสย ลมเพลมพัด เป็นบ้าเสียสติอย่างไร เมื่อมารดน้ำมนต์ที่วัดประดู่กลับไปแล้วหายทุกคน

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แจ้งรับอาราธนาเข้าไปในวัง เมื่อเดินเข้าไปถึงที่ประตูวัง ประกอบกับท่านห่มจีวรเก่าๆ ทำให้ทหารยามที่ยืนเฝ้าปากประตูไม่ยอมให้ท่านเข้า จึงบอกว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 นิมนต์ จะเข้าไปสวดมนต์ ท่านว่า “ในหลวงนิมนต์ฉันมา ฉันจะเข้าไปสวดมนต์ ดูสิฉันยังเตรียมพัดมาด้วยเลย” พร้อมทั้งเปิดพัดให้ดู ทหารยามถึงกับตกตะลึง เพราะตาลปัตรที่หลวงปู่ถือ เป็นตาลปัตรมีตราประจำพระองค์ (พัดปักดิ้นทองตราพระนารายณ์ทรงครุฑ) ทหารยามคนนั้นจึงต้องรีบนำหลวงปู่ไปส่งถึงด้านใน

เมื่อไปถึงจึงสำนึกตัวเป็นพระผู้น้อย จึงขึ้นนั่งบนอาสนะหลังสุด สังฆการีเห็นเข้าก็กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นไปนั่งอันดับสองรองจากสมเด็จพระสังฆราช แต่ก็ได้นั่งหน้าสมเด็จพระราชาคณะหลายรูป

คาดว่ามรณภาพช่วงปี พ.ศ.2465-2472 สำหรับอัฐินั้น วัดประดู่ยังเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้

น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติไว้อย่างชัดเจน มีแต่เพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น •


4


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 เมษายน 2567 17:14:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94100454242693__Copy_.png)
พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-พระมอญแปลง-พระประคำรอบ-พระปรกชุมพล

พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-มอญแปลง ประคำรอบ-ปรกชุมพล

ที่มา -  คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อ งมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2566



จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกพื้นที่ที่มีการค้นพบพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีพุทธลักษณะที่หลากหลาย มีการตั้งชื่อเรียกเป็นเอกลักษณ์แตกต่างไปจากที่พบในแหล่งอื่นทั่วไป

ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว ที่เรียกว่า พระขุนแผน ซึ่งใช้ชื่อตัวละครเอกในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่อง ขุนช้างขุนแผน กำหนดเรียก และรู้จักกันในฐานะพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในด้านเมตตามหานิยม

สำหรับ “พระชุดกิมตึ๋ง” เป็นพระพิมพ์อีกหนึ่งของสุพรรณบุรีที่มีชื่อเรียก และพิมพ์ทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ


พระเครื่องชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วยพระ 4 องค์ คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระนาคปรก หรือพระปรกชุมพล รวมเป็นสี่องค์

พระชุดนี้เป็นพระกรุที่ถูกพบที่วัดพลายชุมพล ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ติดกับเขตวัดพระรูป มีซากพระเจดีย์ที่พังทลายลงมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2446 ไม่มีใครทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงอย่างไร เหลือแต่ฐานซึ่งกว้างมากประมาณ 50 เมตร นับว่าเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งทีเดียว บริเวณรอบฐานพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2446 มีพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ปะปนกับเศษอิฐกองอยู่เต็มไปหมด
 
ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจกันนัก บ้างก็เห็นว่าเป็นของวัด ไม่ควรนำมาไว้ที่บ้าน และอีกอย่างหนึ่งคือ พระมีมากมายกองอยู่เต็มไปหมด

ต่อมามีพวกนักเที่ยว พวกวัยรุ่นคะนองสมัยนั้น เมื่อผ่านมา ต่างก็หยิบพระไปคนละองค์สององค์ บ้างก็เอาผูกกับผ้าคาดแขนไว้ บ้างก็อมไว้ในปาก แล้วไปเที่ยวตามถิ่นต่างๆ และเกิดกระทบกระทั่งกับเจ้าถิ่น เกิดมวยหมู่ ตะลุมบอนกัน ทั้งมีดทั้งไม้

ปรากฏว่าคนที่เอาพระกรุนี้ไปด้วย ไม่มีใครเลือดตกยางออก ส่วนคนที่ไม่ได้เอาพระติดตัวไป ปรากฏว่าได้เลือดทั้งสิ้น

หลังจากนั้น จึงทำให้ชื่อเสียงของพระกรุนี้โด่งดังไปทั่ว และมีประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว พระกรุนี้จึงเริ่มถูกตามเก็บ จนร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด

พระกรุชุดดังกล่าว มีรูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกัน มี 4 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมา คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล

“พระสี่กร” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร ยอดบนค่อนข้างแหลมกว่าทุกองค์ องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย พระเกศสูงชะลูด พระพักตร์เลือนไม่ปรากฏรายละเอียด พระกรทั้งสองข้างเป็นคู่ตามชื่อเรียก เนื้อองค์พระส่วนมากหนึกแน่นและแกร่ง มีเม็ดทรายน้อย

“พระมอญแปลง” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีก มีทั้งพิมพ์ใหญ่ ความสูง 4-4.5 เซนติเมตร และพิมพ์เล็ก สูง 3 เซนติเมตร องค์พระแสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ไม่แน่นและแกร่งเท่าพระสี่กร

“พระประคำรอบ” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก แต่ค่อนข้างกลมกว่าทุกพิมพ์ องค์พระแสดงปางมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีลักษณะคล้ายดอกจิก รอบซุ้มมีเม็ดกลมลักษณะเป็นลูกประคำ ตามชื่อเรียก

“พระนาคปรก” หรือ “ปรกพลายชุมพล” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีกเช่นกัน มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก องค์พระประทับนั่งแสดงปางสมาธิ เศียรพญานาค 7 ตัวแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง พิมพ์ใหญ่เนื้อหยาบ ส่วนพิมพ์เล็กเนื้อค่อนข้างละเอียด

พิมพ์ด้านหลังพระชุดกิมตึ๋ง ทั้ง 4 องค์ มีลักษณะมนและขรุขระเล็กน้อย บางองค์มีรอยหยิบด้วยมือ บางองค์เป็นลายมือ

พระชุดนี้เป็นที่นิยมกันมากในสุพรรณบุรี ต่างก็เสาะกันมากและพยายามหาให้ครบ 4 องค์ และเรียกกันในสมัยนั้นว่า “พระชุดพลายชุมพละ”

ต่อมาพระเครื่องชุดนี้แพร่หลายเข้ามาสู่เมืองกรุง และได้รับความนิยมกันมากเช่นกัน และก็มีผู้ตั้งชื่อกันใหม่ว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” แต่ก็สืบค้นไม่ได้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ “กิมตึ๋ง” เป็นชื่อที่มีความเป็นมาอย่างไร

สืบสาวราวเรื่อง พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชา อันประกอบด้วย ชุดถ้วยกระเบื้องเคลือบ และชุดกระเบื้องเคลือบที่ได้รับรางวัล มีชื่อเสียงได้รับคำยกย่องว่าสวยงามมาก คือ ชุดกิมตึ๋ง ซึ่งเป็นเครื่องถ้วยที่พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน มาจำหน่ายในประเทศไทย ถ้วยที่ส่งมาใต้ก้นประทับตราว่า “กิมตึ๋ง-ฮกกี่” แปลว่าเครื่องหมายอันวิเศษอย่างเต็มที่

ถ้วยที่ส่งมาชุดนี้ ส่งมาเป็นชุด 4 ใบ อาจจะเป็นเพราะพอดีกับพระชุดพลายชุมพลมี 4 องค์พอดี และมีคุณวิเศษอยู่ด้วย จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกพระชุดนี้ในเวลาต่อมาว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

ส่วนชื่อกรุนั้น วัดพลายชุมพลซึ่งเป็นวัดร้างติดกับวัดพระรูป จนกลายมาเป็นกรุวัดพระรูปไปโดยปริยาย

บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง ให้ความเห็นว่า พระชุดกิมตึ๋งอาจไม่สวยงามนัก เนื่องจากเป็นศิลปะแบบนูนต่ำตื้น แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุดังกล่าว แต่คุณวิเศษที่เลื่องกันมากในด้านอยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่ยอมรับ และนิยมในหมู่ผู้ที่สะสมในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า ถ้าเอาพระสมเด็จวัดระฆัง มาแลกกับพระชุดกิมตึ๋งทั้งชุด รับรองว่าเจ้าของพระชุดกิมตึ๋ง ต้องไม่ยอมอย่างแน่นอน

อีกประการหนึ่ง พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 องค์ เวลานำมาห้อยคอ จึงมักนำพระมาเพิ่มอีกองค์หนึ่ง จะได้ครบ 5 องค์ และมักจะนิยมนำพระขุนแผนไข่ผ่ามาห้อยไว้ตรงกลาง เป็นอันครบ 5 องค์ •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27192830791075_2._000_Copy_.png)
พระลีลาทุ่งเศรษฐีหลวงพ่อนารถ

พระปางลีลาทุ่งเศรษฐี หลวงพ่อนารถ นาคเสโน วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2566



“พระครูโสภณประชานารถ” หรือ “หลวงพ่อนารถ นาคเสโน”  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง หมู่ 1 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปของเมืองกาญจน์

วิทยาคมไม่เป็นสองรองใครในยุคนั้น วัตถุมงคลได้รับความนิยมแทบทุกชนิด แต่บางอย่างหาชมของแท้ได้ยากยิ่ง

โดยเฉพาะ “พระลีลาทุ่งเศรษฐี” สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 จนถึงปี พ.ศ.2508

ลักษณะเป็นพระยืนปางลีลาทุ่งเศรษฐี โดยหลวงพ่อนารถ ผสมเนื้อและกดพิมพ์เองที่วัด โดยจะทยอยสร้างเรื่อยๆ ดังนั้น เนื้อพระจะมีสีอ่อนหรือเข้มแตกต่างกันไปตามแต่ส่วนผสมของมวลสารในครกนั้นๆ

เท่าที่พบเห็นสามารถแยกเนื้อพระออกเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อสีขาวอมชมพู (แก่ผง) และเนื้อสีน้ำตาลเข้ม (แก่ว่าน) โดยองค์พระมีทั้งที่ทาทอง และไม่ทาทอง

ในพระชุดนี้ สันนิษฐานว่าหลวงพ่อนารถฝังตะกรุดไว้ทุกองค์ (บางองค์จะเห็นตะกรุดโผล่ออกมาให้เห็น)

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางลีลาทุ่งเศรษฐี บนฐานบัวหงาย องค์พระมีเส้นรอบพิมพ์ ที่ยอดขององค์พระมีการติดชันโรงเสกของหลวงพ่อ ในบางองค์จะมีการทาบรอนซ์ทอง

ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ

พุทธคุณโดดเด่นด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี ปืนผาหน้าไม้ มีดหอกของแหลมไม่ระคายผิว ซึ่งผู้ที่มีวัตถุมงคลต่างมีประสบการณ์มากมาย

ได้รับความนิยมสูงและนับวันจะหายาก




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55784151578942_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อนารถ นาคเสโน


เดิมท่านมีชื่อว่า นารถ เพิ่มบุญ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2444 ที่ที่บ้านหมู่ 1 ต.หุน้ำส้ม อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายพิมพ์ และนางสมบุญ เพิ่มบุญ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แต่ด้วยที่ฐานะทางบ้านยากจน พอเรียนจนมีความรู้พออ่านออกเขียนได้ จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนาปลูกข้าว เลี้ยงครอบครัว

พ.ศ.2473 อายุครบ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2473 มีพระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูยติวัตรวิบูล (พรต)  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดจู วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า “นาคเสโน”

จำพรรษาอยู่ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อพรต และเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง พ.ศ.2488 สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังเดินทางไปศึกษาอาคมกับหลวงพ่อเปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อนาก  วัดท่าน้ำตื้น

ด้วยความศรัทธาในการศึกษาหาความรู้ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปศึกษากับหลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำ เกี่ยวกับวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชชาธรรมกาย โดยไปเรียนวิชาด้วยถึง 2 ครั้ง 2 ครา

ในส่วนของอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ไปศึกษาวิชาในทางแก้คุณไสยจากคุณแม่มูล และจากนายคำ สุขอุดม ศึกษาวิชาคงกระพัน และแก้คุณไสย จากนายขัน ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากนายหมุน ศึกษาตำรายาเกี่ยวกับโรคไตจากนางเลียบ

พ.ศ.2494 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโลหะฯ ว่างลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ

เป็นพระเถระที่มีบุคลิกเรียบร้อย พูดจาฟังง่าย เมตตาสูง และสิ่งหนึ่งที่ทำเป็นประจำไม่เคยขาด คือ การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน

ครั้งที่ยังมีพรรษาน้อย ชอบออกท่องธุดงค์ ศึกษาวิทยาคมต่างๆ ได้รู้จักและเป็นศิษย์กับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน

เชื่อกันว่า เป็นพระที่เก่งกล้าวิชาอาคมด้วยกันหลายแขนง โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาคงกระพัน และวิชาแก้คุณไสย

ปี พ.ศ.2519 หลวงพ่อนารถ พร้อมลูกศิษย์ขุดพบตะกั่วเก่า (ตะกั่วพันปี) จาก อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนหลายตัน หลอมเทเป็นก้อนขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับฝาขนมครก มีสนิมแดงเกาะอยู่ทั่วก้อนตะกั่ว เป็นตะกั่วชนิดเดียวกันกับพระท่ากระดาน กรุเก่า

เข้าใจว่า น่าจะเป็นตะกั่วที่หลอมเทไว้ทำพระท่ากระดานในสมัยโบราณยุคอู่ทอง ด้วยสถานที่ขุดพบ เป็นบริเวณเดียวกับที่พบกรุพระท่ากระดาน และภายในกรุที่ขุดพบพระท่ากระดาน ยังพบก้อนตะกั่ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน ลงอักขระขอมโบราณ กำกับไว้บนก้อนตะกั่วบรรจุไว้ด้วยกันอีกจำนวนหนึ่ง

พ.ศ.2519-2520 นำตะกั่วเก่าที่ขุดได้ มาจัดสร้างพระเครื่องออกจำหน่าย เพื่อเป็นทุนในการสร้างโบสถ์ และอีกส่วนหนึ่งจัดเป็นทุนให้ชาวบ้านนำไปบูรณะวัดในเขต อ.ศรีสวัสดิ์

ทั้งนี้ การสร้างพระเครื่องนั้น จะใช้ตะกั่วเก่ามารีด แล้วกดเป็นพิมพ์พระ (ไม่มีการหลอมตะกั่ว) ส่วนใหญ่เป็นรูปพิมพ์เลียนแบบพระท่ากระดาน ยุคเก่า พิมพ์รูปแบบอื่นมีบ้าง แต่ไม่มากนัก

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2498 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2507 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน

พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูโสภณประชานารถ

พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

มรณภาพโดยอาการสงบจากโรคชรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2530

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 57 •




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77993983320063_2_000_Copy_.png)
เหรียญเสมาหลวงปู่รอด

เหรียญเสมาเนื้อฝาบาตร หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน พระเกจิชื่อดังสมุทรสาคร

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2566

 
“หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ” วัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าวิทยาคมอีกรูป

สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น

ล้วนได้รับความเลื่อมใส นิยมนำไปคล้องคอติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญเสมา พ.ศ.2482 เนื้อฝาบาตรช้อนส้อม ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พระครูฐานานุกรมในปี พ.ศ.2482 อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นผู้รับมอบหมายและดำเนินการสร้าง

ลักษณะเป็นเหรียญเสมา มีลวดลายกนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่ ด้านล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า “พระครูรอด”

ด้านหลังเป็นอักขระภาษาขอมสี่แถว อักขระภาษามอญหนึ่งแถว อ่านได้ว่า “อะระหัง สัยยะ ยาวะเท อุเย อะเย เวี่ยเปี๊ยเที่ยจะ”

กล่าวขานกันว่าผู้ใดพกพาอาราธนาติดตัวว่าจะรอดพ้นจากภัยพิบัตินานัปการ ดลบันดาลให้มีความสุข ความเจริญ อายุยืนยาวนาน

ปัจจุบันนับเป็นที่นิยมและหายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72553783034284_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน พ.ศ.2406 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 บิดา-มารดา ชื่อ นายทองดี และนางเกษม บุญส่ง มีเชื้อสายรามัญ

ช่วงเยาว์วัย บิดา-มารดา นำมาฝากหลวงปู่แค เจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ให้เลี้ยงดู เนื่องจากเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก อ่อนแอ เป็นเด็กขี้โรค จึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมหลวงปู่แค ตั้งแต่นั้นมาก็หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หลวงปู่แคจึงตั้งชื่อให้ว่า “รอด”

อายุ 12 ปี เข้าพิธีบรรพชา ตรงกับปี พ.ศ.2418 ศึกษาพระปริยัติธรรม พร้อมทั้งศึกษาวิชาอาคม และวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่แค

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระอธิการแค เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แจ้ง วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปั้น วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสัณโฑ”

เรียนและฝึกวิปัสสนารวมถึงพุทธาคมจากพระอุปัชฌาย์ หลังหลวงปู่แคมรณภาพลง ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและคณะสงฆ์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

สําหรับวัดบางน้ำวน ตั้งอยู่เลขที่ 81 หมู่ที่ 4 ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 54 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ได้รับหนังสือรับรองสภาพวัด เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2528 โดยกรมการศาสนา

ตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายธนบุรี-ปากท่อ ก.ม.ที่ 40 จากกรุงเทพฯ อยู่ทางซ้ายมือ มีถนนเชื่อมต่อถึงวัดระยะทางประมาณ 1,600 เมตร บริเวณหน้าวัดติดกับคลอง ซึ่งเป็นแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน

วัดแห่งนี้ เป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2357 สร้างขึ้นโดยการนำของสามเณรและชาวมอญ ที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ตำบลนี้ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสุนทาน เป็นแหล่งบวชเรียนและศึกษาวิชาความรู้ของบุตรหลานชาวมอญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยพระอาจารย์แค เมื่อปี พ.ศ.2407 และผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน

ในอดีตวัดบางน้ำวน บริเวณหน้าวัดจะมีน้ำวนที่เชี่ยวกราก ผู้ใดที่ไม่รู้จักร่องน้ำในการเดินเรือ เรือจมกันมาหลายต่อหลายลำแล้ว จนกลายเป็นที่มาของชื่อวัด

ด้วยวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน ต่างพากันมาช่วยเป็นกำลังในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรือง เป็นลำดับ ถึงความเจริญจะเข้าสู่วัดบางน้ำวนแล้ว ท่านก็ยังมีเมตตาช่วยเหลือพัฒนาวัดต่างๆ ด้วย เช่น วัดบางกระเจ้า วัดบางสีคต วัดนาโคก วัดบางลำพู วัดบางจะเกร็ง วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ

นอกจากหลวงปู่รอดช่วยพัฒนาวัดวาอารามอื่นๆ แล้ว ยังช่วยพัฒนาในด้านการศึกษา จัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม และยังสร้างโรงเรียนประชาบาลไว้ให้กุลบุตร กุลธิดาได้ศึกษาเล่าเรียนกัน โดยมีชื่อของโรงเรียนว่ารอดพิทยาคม เพื่อเป็นอนุสรณ์

ออกธุดงค์ไปยังประเทศพม่าเป็นเวลาหลายปี ผ่านไปเมืองเมาะลำเลิง ซึ่งเป็นตระกูลกำเนิดปู่ย่าตายาย จากนั้นผ่านเมืองย่างกุ้ง ข้ามมาระนอง เข้าเมืองกาญจน์

ระหว่างออกธุดงค์นั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเมตตามหานิยม วิชาคงกระพันชาตรี วิชาทำผ้ายันต์บังไพร วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก วิชาเสกของหนักให้เบา วิชาแพทย์แผนโบราณ จากคณาจารย์ชาวมอญ พม่า กะเหรี่ยง

อีกทั้งสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นพิเศษ จึงจดจำตำรายาทุกชนิดได้อย่างแม่นยำ

เมื่อเข้าสู่วัยชรา ชาวบ้านจึงขอร้องให้โปรดญาติโยมประจำที่วัดและได้ตั้งกฎระเบียบทำวัตรปฏิบัติธรรมของวัดบางน้ำวน คือ จากสองทุ่มถึงสี่ทุ่มทุกคืน จนเป็นกิจวัตรของวัดบางน้ำวน และมีการตีกลอง ระฆังย่ำค่ำจนถึงปัจจุบัน

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2437 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน

พ.ศ.2447 เป็นเจ้าอธิการ (เจ้าคณะตำบล)

พ.ศ.2452 เป็นพระอุปัชฌาย์สามัญ

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2482 เป็นพระครูชั้นประทวน และพระครูกรรมการศึกษา

มรณภาพเมื่อเวลา 00.20 น.วันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ.2487

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61 •

 

4


หัวข้อ: Re: พระเครื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 เมษายน 2567 18:06:38
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47413900122046__000_Copy_.png)
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2460 หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก พระเกจิดัง สมุทรสงคราม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2566


กาลสมัยผ่านมาลุ่มน้ำแม่กลองถือเป็นแหล่งสรรพวิชา มากด้วยพระเกจิอาจารย์ นับเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่เคยขาดหาย

แต่ถ้าให้กล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ที่เป็นจุดหมายปลายทางของพระธุดงค์สมัยก่อน วัดช้างเผือก ถือเป็นแหล่งรวมพระธุดงค์มากมายหลายรูป

เนื่องจากมีพระเกจิอาจารย์ผู้มากวิชาโดดเด่น ด้านการทำน้ำมนต์ และวิชามหาอุตม์ นั่นก็คือ พระอธิการรุฬ หรือหลวงพ่อหรุ่นนั่นเอง

“หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร” วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

ช่วงบั้นปลายชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกและแจกให้ผู้ที่มาร่วมบุญ ทุกรุ่นล้วนแต่ได้รับความนิยม

“เหรียญรุ่นแรก” ได้รับความนิยมอย่างสูงไปด้วย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เพื่อแจกในงานศพของท่านเอง มีพระเกจิชื่อดังสมัยนั้นปลุกเสกเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกระพ้อม, หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต วัดช่องลม, หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย, หลวงพ่อช่วง อินทโชติ วัดปากน้ำ, หลวงพ่อใจ อินทสุวัณโณ วัดเสด็จ และลูกศิษย์อีกเป็นจำนวนมาก

มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง สร้างน้อยมาก

ด้านหน้า ขอบเหรียญมีลายกนก ตรงกลางมีรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ มีอาสนะรองรับ ระบุปี “พ.ศ.๒๔๖๐”

ด้านหลัง ด้านบนสุด เขียนคำว่า “วัดช้าง” ถัดลงมาเป็นยันต์ ความว่า “อะระหัง อะสัง วิสุโล ปุสะพุภะ”

แม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ก็หายาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69629554533296_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ที่บ้านไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายรุ่ง มารดาชื่อ นางล้อม มีอาชีพทำนาและค้าขาย

ครอบครัวฝ่ายมารดาเป็นชาวบางช้าง จ.สมุทรสงคราม บ้านใกล้กับวัดบางจาก เป็นญาติกับหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก ศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

ต่อมาบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอม ที่สำนักวัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่เป็นครู เรียนจนจบอ่านออกเขียนได้

พ.ศ.2492 อายุครบบวช จึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่ วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี กับพระอาจารย์อ่วม วัดไทร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า พุทธสโร

ศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องบทสวดมนต์จนจบ จำพระปาฏิโมกข์แม่นยำ ซึ่งถือว่าหาอาจารย์ที่แคล่วคล่องในระดับนี้ได้ยากมากสมัยนั้น

นอกจากนี้ ยังสนใจเรื่องธุดงควัตร จึงไปศึกษากับพระอาจารย์แสวง วัดบางปลาม้า ออกธุดงค์ไปหลายแห่งฝึกพลังจิตจนแก่กล้า

พรรษาที่ 6 เดินทางมาในงานศพนางแจ่ม ซึ่งเป็นยายที่บ้านใกล้วัดบางจาก จึงได้รู้จักกับพระอุปัชฌาย์เอี่ยม วัดบางจาก

หลวงพ่อเอี่ยม จึงชวนให้มาอยู่ด้วยกัน ต่อมาบิดาเสียชีวิตลง มารดาจึงชวนกันอพยพกลับมาอยู่ที่บางจาก ก็เลยมาจำพรรษาที่วัดบางจาก

ชอบออกธุดงค์แบกกลดเข้าป่าเป็นประจำ ได้ศึกษาพุทธาคม สมุนไพร แพทย์แผนโบราณ จากพระอาจารย์ในป่าลึก ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายจนเป็นที่พึ่งของภิกษุ สามเณร และชาวบ้านในแถบนั้น

ต่อมาวัดช้างเผือกว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาส ด้วยวัดช้างเผือกในขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก พอมาอยู่ที่วัดช้างเผือก ก็เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดเรื่อยมา มีพระและชาวบ้านมาขอเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยเป็นจำนวนมาก

เกิดความนิยมในหมู่พระสงฆ์ที่ออกธุดงค์ทั้งหลายว่า ต้องมาปักกลดที่วัดช้างเผือกเพื่อศึกษาวิชาด้วย จนทำให้พื้นที่ของวัดแน่นขนัดไปด้วยกลดจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านมาให้รักษาโรคแทบทุกวัน คนถูกผีเข้าเจ้าสิงก็มาให้รดน้ำมนต์กันจนแน่นวัด จนเป็นที่รู้จักกันทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง

ได้รับการถ่ายทอดวิชาทำผงวิเศษ 108 จากหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก

หลวงพ่อหรุ่นเป็นพระที่มีเมตตาไม่ปิดบังวิชา ใครมาขอเรียนด้วยก็ยินดีสอนให้ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อหรีด วัดเพลง, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี เป็นต้น

มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.2458 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26920462813642_2_depositphotos_bgremover_Copy.png)
เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36021271306607_3_depositphotos_bgremover_Copy.png)
เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อบ่าย

เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม ยอดพระเกจิลุ่มแม่กลอง

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566


พระเกจิอาจารย์สายลุ่มน้ำแม่กลอง อาวุโสรองจากหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย คือ “หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต” วัดช่องลม ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม วัตถุมงคลได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เป็นทั้งน้องและศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมากกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิชื่อดังในยุคเดียวกัน

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง อาทิ เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่เหรียญหล่อ สร้างปี พ.ศ.2460 คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรโล้น”

เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย 
ลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง องค์พระมีตัวอุ แทนเกศเปลวเพลิง จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา องค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษร อ่านว่า “วัจชังลม”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวอุ ใต้ตัวอุมีการผูกยันต์หัวใจพญาเสือโคร่ง “ภูภิภุภะ” และอักขระยันต์อื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีอีกเหรียญหล่อโบราณที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรแหลม”

เหรียญดังกล่าว สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษรอ่านว่า “วจชง”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวนะ ใต้ตัวนะมีพระคาถา 4 แถวเรียงลงมา อ่านว่า “กิ ริ มิ ทิ” “กุ รุ มุ ทุ” “เก เร เม เท” “กึ รึ มึ ทึ” ส่วนด้านล่วงสุดเป็นตัวอักษร “อ”

เป็นอีกวัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธาและเชื่อมั่นในพุทธาคม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24468117869562_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต

ชีวประวัติ หลวงพ่อบ่าย ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานน้อยมาก แต่เท่าที่สืบค้นมาได้ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับพุทธศักราช 2404 ที่บ้านครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

เป็นเด็กกำพร้าซึ่งพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี พี่ชายหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่ออายุ 10 ปี ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจากพระอาจารย์คล้ำ วัดสวนทุ่ง ก่อนบรรพชาเป็นสามเณร

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ มีหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พุก วัดสวนทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ เป็นอนุสาวนาจารย์

อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี

ด้านการศึกษาวิทยาคมนั้นเรียนกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ อีกทั้งยังได้เรียนเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม พร้อมกับเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานและพุทธาคมควบคู่กันไปด้วย ท่านจึงมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อแก้วเป็นอย่างยิ่ง

ปี พ.ศ.2437 ไปธุดงค์ที่จังหวัดสระบุรี เพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉาย โดยมีพระภิกษุติดตามไปด้วย 4 รูป คือ อาจารย์ไปล่ พระยา พระพลอย และโยมอุปัฏฐากหนึ่งคน ออกเดินทางในราวเดือน 12

เมื่อไปถึงและนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉายแล้ว พักแรมอยู่ประมาณเดือนเศษ ก่อนเดินทางต่อไปที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในราวเดือน 4 กลางเดือน พักแรมอยู่ที่พระแท่นดงรัง 7 วัน

ครั้นเสร็จภารกิจแล้ว ก็เดินกลับวัดช่องลม การไปธุดงค์ในครั้งนี้เป็นเวลา 4 เดือนเศษ

ขณะนั้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม แทนหลวงปู่แก้ว ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ในปี พ.ศ.2445

พ.ศ.2470 จึงย้ายที่ตั้งวัดใหม่ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งวัดช่องลม เดิมติดโค้งน้ำของแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดน้ำกัดเซาะตลิ่งพังไปทุกปี จนท้ายที่สุดน้ำกัดเซาะพังจวนจะถึงกุฏิ จึงย้ายมาตั้งในพื้นที่ปัจจุบัน

การก่อสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ นั้นไม่เคยบอกใคร ไม่เคยเรี่ยไรนอกวัด เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่าจะทำอะไร ก็จะมีผู้คนจำนวนมากมายมาร่วมทำบุญ บางรายถวายอิฐบ้าง บางรายถวายไม้บ้าง บางรายถวายกระเบื้องบ้าง บางรายไม่มีทรัพย์ก็เอาแรง บางรายถวายปัจจัยบ้าง สุดแต่ว่าใครมีอะไรก็นำมาตามกำลังศรัทธา

มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธฉาย (ถ้ำไห) ซึ่งรับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ด้วยการบอกบุญกับชาวบ้านขอไหต่างๆ และก่อสร้างโดยพระสงฆ์ ขอร้องให้จางวางสอน (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง และสร้างแพะไว้หน้าถ้ำ 1 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงพ่อบ่าย

ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลก พวกโจรมิจฉาชีพตัดหัวแพะ และถอดเอาตรีที่ปักยอดเจดีย์ไปเกือบหมด เพื่อหวังทรัพย์ จึงเหลืออยู่แต่ยอดบนๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ถือเป็นพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมเข้มขลังในยุคนั้น ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ เมื่อปี พ.ศ.2481 และงานพุทธาภิเษกใหญ่แทบทุกงาน

วัตถุมงคลที่จัดสร้างล้วนแต่มีพุทธคุณโดดเด่น เป็นที่ปรารถนา ทั้งประเภทเครื่องรางของขลัง เหรียญหล่อโบราณ พระพิมพ์ พระผง ฯลฯ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2485

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 60 •