ภาคผนวกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย...แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือพวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกมิจฉาสังกับปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ... พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ
พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาทิฏฐิ...พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสมาธิ (
หน้า๔๘๔,เล่ม ๒๖ มมร.)
ธาตุ ๔ ธาตุ ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
ธาตุที่เป็นที่ตั้ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ
ธาตุที่เอิบอาบ ชื่อว่า อาโปธาตุ
ธาตุที่ให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ
ธาตุที่เคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ (
เล่ม ๒๖,หน้า ๔๘๘)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ยังไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด สัตว์เหล่านั้นยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลศและวัฎฎะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อสัตว์เหล่านี้ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้นจากโลก พร้อฃมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ดังนี้ (เล่ม ๒๖, หน้า ๔๙๗
โนเจทสูตร)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ... อาโปธาตุนี้ ... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้จักมีสุขโดยส่วนเดียวอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก้ไม่พึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ อาโปธาตุนี้... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้... (เหมือนกับปฐวีธาตุ) ดังนี้ (
ทุกขสูตร เล่ม๒๖,หน้า๔๙๙)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ...ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ.. ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ... ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ... ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้ (
อภินันทนสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๐)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ... นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ ... นั่นเป้นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งอาโปธาตุ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ.... นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ (
อุปปาทสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ท่านสมณะพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ (
ปฐมสมณพราหมณสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๒)
ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ แดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป้นไปอยู่ บัณฑิตเรียกว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก
ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว...
ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุดูก่อนภิกษุ ก็
ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง
กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้
ดูก่อนภิกษุ ก็
อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้
ดูก่อนภิกษุ ก็
เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตนอาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไมใช่อัตตาเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้
ดุก่อนภิกษุ ก็
วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป้นไฉน ได้แก่สิ่งทีพัดผันไป
กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลมเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผ่าน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้
ดูก่อนภิกษุ ก็
อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก
ซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอากาสธาตุนั้น
ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาศธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ
วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ
ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป้นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะสัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไปย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่สัมผัสนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับย่อมเข้าไปสงบ (
ธาตุวิภังคสูตร เล่ม ๒๓, หน้า๓๓๖)