[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 06:43:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ไฟใต้ ทะลุทุกความขัดแย้งในไทย เปิดลักษณะเด่น 10 ประการอันมีผลต่อสันติภาพ  (อ่าน 36 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567 05:01:02 »

ไฟใต้ ทะลุทุกความขัดแย้งในไทย เปิดลักษณะเด่น 10 ประการอันมีผลต่อสันติภาพ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-24 13:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p style="margin:0in 0in 8pt">รายงาน: มูฮำหมัด ดือราแม</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt">ภาพปก: ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี - อัญชนา หีมมิหน๊ะ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ไฟใต้ ทะลุทุกความขัดแย้งในไทย นานที่สุดแต่ยังสูญเสียได้อีก แม้มีกระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข เผย 20 ปีความรุนแรงใน 4 ช่วงเวลา กับความแปรปรวนที่ท้าทายในช่วงท้าย จากปัญหาความยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เปิดลักษณะเด่น 10 ประการอันมีผลต่อสันติภาพในห้วง 2 ทศวรรษ และลักษณะเด่น 5 ประการของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ในบทความวิจัยพิเศษ “สองทศวรรษแห่งความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี; มุมมองเหตุการณ์ ประเด็นความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน” ผู้เขียนได้เปิดลักษณะเด่น 10 ประการอันมีผลต่อสันติภาพในห้วง 2 ทศวรรษ และ ลักษณะเด่น 5 ประการของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน</p>
<p>เป็นบทความที่เขียนขึ้นโดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่อย่างเข้มข้นมานาน </p>
<p>คือ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้/สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา</p>
<p>โดยบทความชิ้นนี้ได้สรุปและวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญในรอบ 20 ปี มีเนื้อหารวมถึงกระบวนการสันติภาพ และประเด็นความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ก่อนจะถอดออกมาเป็นลักษณะเด่นดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางสำคัญสำหรับกระบวนการพูดคุยและการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพในพื้นที่</p>
<p>อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ (https://cscd.psu.ac.th/th/node/561)</p>
<p>หากนับสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ 4 มกราคม 2547 จนถึงธันวาคม 2566 เป็นเวลา 20 ปีเต็มแล้ว ถือว่าได้ว่า เป็นความขัดแย้งที่กินเวลายาวนานที่สุดในประเทศไทย ยาวนานกว่าสงครามประชาชนระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กับรัฐบาลไทย ซึ่งใช้เวลาถึง 18 ปี (ปี 2508-2526) กว่าจะสิ้นสุดลง</p>
<p>“แต่เหตุการณ์ชายแดนใต้ยังถือว่าไม่ยุติลง แม้จะมีความริเริ่มกระบวนการสันติภาพแล้วก็ตาม”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหตุการณ์ไฟใต้ในห้วง 20 ปี 4 ช่วงเวลา</span></h2>
<p>ผู้เขียนได้แบ่งพัฒนาการของเหตุการณ์ไฟใต้ในห้วง 20 ปีที่สูงถึง 22,296 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 7,547 คน และบาดเจ็บอีก 14,028 คน ออกเป็น 4 ช่วงเวลาด้วยกัน</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2547-2550</strong></span></p>
<p>แค่ปี 2547 เพียงปีเดียว มีความรุนแรงมากถึง 1,472 ครั้ง ซึ่งมากกว่าจำนวนเหตุการณ์ในช่วง 10 ปีก่อนนั้นเสียอีก (ปี 2536-2546) ที่มีเหตุการณ์รวมกัน 748 ครั้ง โดยในช่วงแรกนี้มีเหตุการณ์ 6,685 ครั้ง</p>
<p>เหตุรุนแรงมีความเข้มข้นและต่อเนื่อง และมีแบบแผนกระจายทั่วพื้นที่อย่างเป็นระบบ แต่ในตอนแรกคนยังไม่ยอมรับว่า ฝ่ายก่อเหตุได้พัฒนาขบวนการต่อสู้ขึ้นมาอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายร่วมกันบางอย่าง  แต่ความรุนแรงที่สูงมากนั้น แสดงให้เห็นว่ามีองค์กรนำในการจัดการ ซึ่งองค์กรนี้ก็จะกลายเป็นตัวแสดงสำคัญในการสร้างสันติภาพในอีก 10 ปีต่อมา</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2551-2555</strong></span></p>
<p>ความรุนแรงเริ่มลดลงในระดับหนึ่ง เกิดจากยุทธวิธีของฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะฝ่ายทหารที่เร่งบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548) โดยระดมกำลังปิดล้อมพื้นที่ตามแผนยุทธการพิทักษ์แดนใต้เพื่อจับแกนนำผู้ก่อความไม่สงบ</p>
<p>มีการเพิ่มกำลังทหารและกองกำลังอื่น ๆ ถึง 60,000-70,000 คน โดยเฉพาะนโยบาย “หนึ่งกองทัพภาค คุมพื้นที่หนึ่งจังหวัด” มีการจัดตั้งกองกำลังทหารพรานอีก 30 กองร้อย เพิ่มกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดนอีกประมาณ 2,000 คน สร้างกองกำลังประชาชน โดยเพิ่มอัตราผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบจากเดิมหมู่บ้านละ 1 คน เป็นหมู่บ้านละ 5 คน และฝ่ายตำรวจก็ขยายกำลังพลและจัดตั้ง ‘ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้(ศชต.)’</p>
<p>ผลก็คือ เกิดการทำลายโครงสร้างขบวนการก่อความไม่สงบ มีคนถูกจับโดยเฉพาะจากฝ่ายทหารตั้งแต่ปี 2547 ถึงมิถุนายน 2552 มากกว่า 3,000 ราย</p>
<p>ถึงกระนั้น จำนวนการตายบาดเจ็บกลับไม่ได้ลดลงตามจำนวนการก่อเหตุ คล้ายกับว่าการโจมตีแต่ละครั้งทำให้เกิดการตายและบาดเจ็บมากขึ้น เป็น“ความรุนแรงเชิงคุณภาพ” และสถานการณ์กำลังจะเป็น “ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรัง” เกิดปฏิบัติการสำคัญหลายครั้งในปี 2555 ก่อนการเริ่มต้นกระบวนการพูดคุยสันติภาพอย่างเปิดเผยในปี 2556</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ช่วงที่ 3 ระหว่างปี 2556-2563</strong></span></p>
<p>ความรุนแรงและการสูญเสียลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 โดยมีสมมุติฐานคือการพูดคุยสันติภาพในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional-BRN) มีนัยสำคัญในการลดความรุนแรงนับจากนั้น</p>
<p>ตั้งแต่ปี 2556-2562 มีการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้มีความเห็นต่างจากรัฐ (BRN และ/หรือ MARA Patani) รวมประมาณ 25 ครั้งที่ประเทศมาเลเซีย</p>
<p>ในปี 2563 เริ่มการแพร่ระบาดของโควิด 19 BRN ประกาศยุติความรุนแรงฝ่ายเดียว เพื่อเปิดทางให้ประชาชนได้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และให้หน่วยงานสาธารณสุขได้ปฏิบัติงาน</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ช่วงที่4 ระหว่างปี 2564-2566</strong></span></p>
<p>ความรุนแรงลดลง แต่มีความแปรปรวนไม่แน่นอน ปฏิบัติการ “บังคับใช้กฎหมาย” ของเจ้าหน้าที่รัฐยังดำเนินต่อไป ทำให้เกิดการปิดล้อมตรวจค้นและปฏิบัติการทางยุทธวิธีหลายจุด มีการวิสามัญฆาตกรรมหลายกรณี จากนั้นระดับความรุนแรงจึงสูงขึ้นทุกเดือนในปี 2564 จากนั้นในช่วง 2-3 ปีหลัง มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ สูงขึ้นในระดับหนึ่ง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความแปรปรวนที่ท้าทาย</span></h2>
<p>ผลจากปฏิบัติการหลายครั้ง ทำให้ค่าความแปรปรวน (variations) ของเหตุการณ์รายเดือนสูงขึ้นอย่างชัดเจนในระหว่างปี 2564-2566 (ดูภาพที่ 7)</p>
<p>หมายความว่า หากมองในระยะยาวตลอด 20 ปี (2547-2566) ระดับความรุนแรงจะลดลงต่อไปเรื่อยๆ แต่ต้องระวังค่าความแปรปรวนระยะสั้นใน 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2566) ด้วยว่า จะแก้ปัญหาได้ด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ และกระบวนการทางการเมืองอื่น ๆ ได้อย่างไร? จะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันหรือไม่?</p>
<p>เพราะจะมีผลในการเปลี่ยนสถานการณ์ได้ ถ้าค่าความแปรปรวนยังมีความต่อเนื่อง และสิ่งที่ควรระวังคือ ความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ต่อการกระทำของรัฐ เช่น ประเด็นความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ดังนั้น ตัวแปรสำคัญที่น่าจะมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ก็คือ ความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพ ปัญหาความยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่โดยฝ่ายรัฐ</p>
<p>สันติภาพ/สันติสุข ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน</p>
<p>เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ความคาดหวังถึงสันติภาพจะมีความหมายอย่างไร? และมีแนวทางใดที่จะทำให้สันติภาพกลายเป็นเป้าหมายที่บรรลุผลได้มากขึ้นในท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังคงไม่แน่นอน</p>
<p>นักวิชาการสันติภาพ Johan Galtung ได้นำแนวคิดเรื่องสันติภาพมาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สันติภาพเชิงลบ และ สันติภาพเชิงบวก</p>
<p>ทั้ง 2 ประเภท สามารถอธิบายได้ง่ายที่สุดว่า สันติภาพเชิงลบ คือการไม่มีความรุนแรงทางตรง ทางกายภาพ การดำเนินการเพื่อให้บรรลุสันติภาพเชิงลบ คือการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายแค่ป้องกันหรือหยุดความรุนแรงทางกายภาพไม่ให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การไม่มีความรุนแรงทางตรงไม่ได้หมายความว่าสังคมจะสงบสุขเสมอไป</p>
<p>สันติภาพเชิงบวก มีนัยการพิจารณาถึงความยุติธรรมของสังคมและการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน ในรูปแบบของการกำจัดเงื่อนไขความขัดแย้งในระดับโครงสร้าง</p>
<p>ในจังหวัดชายแดนใต้ความรุนแรงที่เกิดจากระดับโครงสร้าง หรือการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม กลับยังผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดระยะเวลา 20 ปี สถานการณ์เป็นอย่างไร (อ่านคำอธิบายได้ในเนื้อหาฉบับเต็ม)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ลักษณะเด่น 10 ประการอันมีผลต่อสันติภาพในห้วงสองทศวรรษ</span></h2>
<p>บนความแปรผันของสถานการณ์ความขัดแย้งในรอบ 2 ทศวรรษของชายแดนใต้/ปาตานี ได้เกิดคุณลักษณะเด่นที่ก่อให้เกิดสันติภาพและแนวทางการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีอันพอจะสรุปได้ 10 ประเด็น คือ</p>
<p>1. ความรุนแรง/ความไม่สงบในพื้นที่มีระดับลดลง อันเป็นผลจากการพูดคุยสันติภาพฯในปี 2556 อาจจะประกอบกับอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ด้วย แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ชี้ชัดว่า เหตุไม่สงบลดลงอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี 2556</p>
<p>2. หลังจากปี 2556 เกิดกระบวนการพูดคุยสันติภาพ มีการก่อตัวของกลไกทางสถาบัน ระบบการทำงาน บุคลากร ระเบียบกฎหมายและคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ชัดเจนมาก สันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี กลายเป็นสภาวะในทางสถาบันทางการเมืองที่มีตัวตนชัดเจน แม้จะเปราะบาง</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>พื้นที่กลางที่ปลอดภัย</strong></span></p>
<p>3. ทั้งก่อนและหลังการพูดคุยสันติภาพ ได้เกิดการสร้าง ”พื้นที่กลาง” ที่ปลอดภัยในการพูดคุยเรื่องปัญหาความขัดแย้งและสันติภาพจากคนหลายกลุ่มหลายฝ่ายในพื้นที่ที่มีภูมิหลังที่แตกต่างและหลากหลาย จนกลายเป็นกระบวนการทางสังคมและการเมือง อาจเป็นสนามทางสังคมที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนในระยะยาว</p>
<p>4. ในพื้นที่กลางดังกล่าวได้เกิดพัฒนาการที่ตามมาคือ พื้นที่กลางทั้งทางราชการ รัฐ ภาคประชาสังคมและพื้นที่กลางของนักวิชาการ</p>
<p>ในด้านหนึ่ง ภาครัฐสร้างได้คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) ขึ้น รวมทั้งพื้นที่กลางสันติภาพขนาดเล็กของ ศอ.บต. และยังมีพื้นที่ของภาควิชาการร่วมกับประชาชน เช่น Insider Peace builder Platform-IPP</p>
<p>ในอีกด้านหนึ่ง เกิดการพูดคุยโดยตรงอย่างไม่เปิดเผยระหว่างขบวนการผู้เห็นต่างฯกับกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่</p>
<p>สภาพดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพื้นที่สันติภาพเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งฝ่ายรัฐ คนพุทธและมุสลิม และผู้เห็นต่างจากรัฐ นี่คือการเกิดภาวะการแข่งขันกันเอง (contestation) ของพื้นที่และบทสนทนาสันติภาพซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และคู่ขัดแย้ง</p>
<p>มีการเปิดสนามการพูดคุยกันเองของฝ่ายต่างๆ เช่น ในเดือนตุลาคม 2565 มาราปาตานี จัดประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 4 ณ รัฐตรังกานู มาเลเซีย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสเชิญตัวแทนองค์กรประชาสังคมและวิชาการด้านความขัดแย้งและสันติภาพในพื้นที่ปาตานีเข้าร่วมงานด้วย</p>
<p>ส่วนทางฝ่าย BRN ก็มีการนัดพบปะกับภาคประชาสังคม ทั้งคนมลายูและคนไทยพุทธ หลายครั้งในดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน มิติใหม่คือทุกฝ่ายได้มีโอกาสคุยกันแทนที่จะก่อความรุนแรงอย่างเดียว</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>พัฒนาการขององค์ความรู้</strong></span></p>
<p>5. การมี “พื้นที่กลาง” ส่งผลให้เกิด พัฒนาการ “องค์ความรู้และทักษะในการจัดการในพื้นที่กลาง“ อย่างมีความน่าเชื่อถือด้วยทักษะการจัดกระบวนการกลุ่ม การบริหารจัดการพลวัตในการประชุม การพัฒนาวิธีสนทนากลุ่ม วิทยากรกระบวนการที่สร้างสรรค์ศักยภาพและทักษะในการสร้างเครือข่ายสังคมที่ประสานงานกัน หรือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่ข้ามกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน</p>
<p>ภาคประชาสังคมปีกความคิดที่ต่างกันหันมาคุยกัน เครือข่ายของคนมลายูมุสลิมร่วมมือกับคนไทยพุทธ พัฒนาการดังกล่าวคือการขับเคลื่อนสันติภาพด้วยความรู้</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>การพัฒนากลุ่มประชาสังคม</strong></span></p>
<p>6. เกิดการพัฒนากลุ่มประชาสังคม และร่วมกันพัฒนากระบวนการทางสังคมและการเรียนรู้เพื่อสันติภาพ มีการการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น กระบวนการในวง IPP วง สล.3 วงสภาประชาสังคมฯ วงสมัชชาประชาสังคมฯ (CAP) เดอะปาตานี บุหงารายา เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ เครือข่ายผู้หญิง ฯลฯ</p>
<p>บังเกิดผลกระทบต่อความรู้สันติภาพในพื้นที่ที่มีความซับซ้อนมากกว่าเดิม และทำให้เกิดการสร้างบทสนทนาและแลกเปลี่ยนในความรู้วิชาการสันติภาพในด้านลึกและซับซ้อน ความรับรู้เรื่องสันติภาพของผู้นำภาคประชาสังคมหลายฝ่ายมีการยกระดับมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน</p>
<p>7. พัฒนาการบทบาทและสถานภาพขององค์กรฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับรู้สถานะขบวนการ BRN, PULO หรือ MARA Patani ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา</p>
<p>มีการกล่าวถึงชื่อฝ่ายขบวนการฯ มากขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เช่น การรายงานในสื่อสารมวลชน การพูดในสื่อสาธารณะและการสนทนาของประชาชนในพื้นที่ ในกลุ่มคนต่าง ๆ ในเวทีสาธารณะ รายงานข่าว และรายงานการวิจัยทางวิชาการ</p>
<p>ทั้งนี้ ขัดกับแนวทางของฝ่ายความมั่นคงก่อนหน้านี้โดยเฉพาะผู้นำกองทัพที่ต้องการไม่ให้กล่าวถึง BRN ในสาธารณะเลย แต่ในทุกวันนี้คำว่า BRN เป็นคำที่คนจำนวนมากรู้จักและกล่าวถึงอย่างเปิดเผย</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ศักยภาพบุคลากรที่สร้างสันติภาพ</strong></span></p>
<p>8. ความรู้และกระบวนการสันติภาพทำให้เกิด “พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่สร้างสันติภาพ” ผู้นำภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่รู้เรื่องกระบวนการสันติภาพ โดยผ่านงานวิชาการ การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพจากสถาบันวิชาการที่มาจากทั้งในและต่างประเทศ</p>
<p>ผลกระทบอีกด้านหนึ่งก็คือ การพัฒนาบุคลากร/ทีมผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานเลขานุการคณะพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขของรัฐในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งฝ่ายผู้มีความเห็นต่างจากรัฐ เช่น BRN, PULO ฯลฯ ซึ่งก็ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในเรื่องสันติภาพ และฝึกอบรมการเคารพสิทธิมนุษยชนจากองค์กรระหว่างประเทศด้วย</p>
<p>9. การเปิดพื้นที่ให้กับองค์กร ผู้ชำนาญการและสถาบันในต่างประเทศให้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการสันติภาพปาตานี</p>
<p>ในช่วงระหว่างความรุนแรงสูงในปี 2547-2555 บทบาทของต่างประเทศในการเข้ามาติดตามปัญหาความขัดแย้งมีมากขึ้นตามระดับของเหตุการณ์ เช่น ในช่วงแรกมีนักข่าวต่างประเทศและนักวิชาการต่างประเทศ เข้ามามากมาย ทำให้ในระยะต่อมา เจ้าหน้าที่การทูต บุคลากรและองค์กรต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในพื้นที่กับประชาชนและสถาบันวิชาการมากขึ้นในเรื่องการสร้างสันติภาพ/การพูดคุยสันติภาพ</p>
<p>ทั้งนี้ ในระยะแรก รัฐบาลไทยปฏิเสธและปิดกั้นด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่ต้องการยกระดับความขัดแย้งให้เป็นสากล แต่ท่าทีการยอมรับบทบาทตัวแสดงบทบาทจากต่างประเทศของรัฐก็ได้มีการปรับตัวอยู่ด้วย แม้ว่าจะต้องใช้เวลาพอสมควร จนกระทั่งในที่สุด ในปี 2562 มีกระบวนการความริเริ่มเบอร์ลิน (Berlin Initiative) โดยองค์กรระหว่างประเทศ ผลก็คือมีการพิจารณาให้มีผู้สังเกตการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้าร่วมในโต๊ะพูดคุยสันติสุขฯ ในฐานะผู้สังเกตการณ์</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>มิติในทางบวกของการขยายพื้นที่ทางการเมือง</strong></span></p>
<p>10. มิติในทางบวกของการขยายพื้นที่ทางการเมือง</p>
<p>ในปี 2566 หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป สภาผู้แทนราษฎรได้เสนอตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสภาผู้แทนราษฎร โดยผ่านญัตติที่เสนอโดยทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล</p>
<p>คณะกรรมาธิการวิสามัญมีอนุกรรมาธิการอันมีองค์ประกอบมาจากนักวิชาการและภาคประชาสังคมในพื้นที่ เป็นการเพิ่มบทบาทการกำกับดูแลของรัฐสภา (Parliamentary Oversight) ต่อกระบวนการสันติภาพอย่างมีนัยสำคัญ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ลักษณะเด่น 5 ประการของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน</span></h2>
<p>ในด้านความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนอันจะมีผลต่อสันติภาพ ในห้วงสองทศวรรษ มีลักษณะเด่น 5 ประการ คือ</p>
<p>1. มีการประกาศยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในหลายพื้นที่ และทดแทนด้วยการนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาใช้มากขึ้น</p>
<p>2. รัฐบาลมีการการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ส่งผลให้มีกลไกการติดตาม ตรวจสอบการกระทำทรมานและอุ้มหายมากขึ้นโดยเฉพาะหน่วยงานอัยการ</p>
<p>3. หน่วยงานด้านความมั่นคงมีการอบรมและนำหลักสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติใช้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565</p>
<p>4. การนำคนผิดมาลงโทษกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีพลทหารวิเชียร เผือกสม ที่มีคำพิพากษาจากศาลทหารลงโทษทหารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และกรณียิงชาวบ้านที่เขาตะเว อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ที่อัยการจังหวัดนราธิวาสได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ทหาร 2 คน ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2567</p>
<p>5. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งได้มีความพยายามในการตรวจสอบและทำงานเชิงป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>การละเมิดสิทธิจะกระทบต่อกระบวนการสันติภาพ</strong></span></p>
<p>            แต่ว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสันติภาพ และการแก้ปัญหาในอนาคต คือ</p>
<p>1. การบังคับเก็บสารพันธุกรรม (DNA) ที่เป็นทั้งการเลือกปฏิบัติและวิธีการคุกคามประชาชนผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยเฉพาะเด็กและสตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด</p>
<p>2. การวิสามัญฆาตกรรมที่มีจำนวนมากขึ้นในปี 2563-2565 ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปยังกลุ่มเยาวชนและผู้คน ดังจะเห็นได้จากการแสดงออกถึงการให้ความเคารพและยกย่องผู้เสียชีวิตจากการวิสามัญฆาตกรรม</p>
<p>3. การควบคุมการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกจากการชุมนุมและแสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ หน่วยงานความมั่นคงดำเนินการฟ้องร้องประชาชน นักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นในกรณีการชุมนุมที่อำเภอสายบุรีและกรณีพ่อบ้านใจกล้า จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อสันติภาพ</p>
<p>เมื่อพิจารณาประเภทของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลให้ความรุนแรงยืดเยื้อเรื้อรังก็คือรัฐพยายามที่จะขจัดความรุนแรงโดยละเลยปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความไม่เท่าเทียม ความอยุติธรรม และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนจึงขาดไม่ได้ที่จะต้องสร้างความร่วมมือในการจัดการแก้ปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แทนที่จะเน้นความรุนแรงทางตรงอย่างเดียว และควรส่งเสริมให้เกิดการสร้างสันติภาพเชิงบวกและเชิงลบ เพื่อเป็นการหนุนเสริมให้สังคมมีสงบสุขความยุติธรรมและปราศจากความรุนแรงอย่างแท้จริง</p>
<p>20 ปีที่ผ่านมา แม้จะยังมีปัญหาอุปสรรคหลายอย่าง ดังที่กล่าวข้างต้น แต่เรายังมีความหวังต่อกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108197
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 400 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 413 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 314 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 316 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 238 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.235 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 02:34:39