[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 00:07:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 75 76 [77] 78 79 ... 1127
1521  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สงครามรัฐยะไข่ทวีความรุนแรง AA ยันบุกต่อ กองทัพพม่าโต้ ยกระดับการโจมตีทางบก-ทิ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 17:05:52
สงครามรัฐยะไข่ทวีความรุนแรง AA ยันบุกต่อ กองทัพพม่าโต้ ยกระดับการโจมตีทางบก-ทิ้งระเบิด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-23 13:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ทหารอาระกันอาร์มี (AA) ถ่ายภาพหน้าสถานีตำรวจเมืองเจ้าก์ต่อ หลังสามารถยึดกุมเมืองเจ้าก์ต่อได้สำเร็จ (ที่มา: AA)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สงครามในรัฐยะไข่ ระหว่างกองกำลังอาระกันอาร์มี AA และกองทัพพม่า ทวีความรุนแรง ขณะที่กองทัพพม่ายกระดับการโจมตีทางอากาศ ควบคู่การโจมตีทางบก และทัพเรือ ด้าน AA บุกต่อ จนกว่ากองทัพพม่าจะยอมแพ้</p>
<p> </p>
<p>เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (11-17 ก.พ. 2567) สงครามในรัฐยะไข่ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังกองกำลังอาระกันอาร์มี (Arakan Army - AA) ยกระดับการโจมตีเผด็จการทหารพม่าในเมืองชายฝั่ง 3 แห่ง คือ มองดอ รามรี และระเต่ดอง</p>
<p>ด้านเผด็จการทหารกำลังพยายามป้องกันฐานทัพที่เหลืออยู่ใน 3 เมือง โดยการทิ้งระเบิดรอบๆ ผสานการใช้กองทัพบก, กองทัพเรือ, และกองทัพอากาศ </p>
<p>อย่างไรก็ตาม AA ระบุว่า พวกเขาจะยังคงเดินหน้าโจมตีกองทัพพม่าต่อไปจนกว่ากองทัพที่อยู่ภายในสถานที่เป้าหมายเหล่านี้จะยอมแพ้</p>
<p>กองทัพพม่าก็ยังคงทิ้งระเบิดใส่เมืองรามรี จากทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งทาง AA ระบุว่า 'รามรี' กลายเป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดหนักที่สุดในรัฐยะไข่ </p>
<p>นอกจากนี้ กองทัพเผด็จการพม่าได้ยกระดับการทิ้งระเบิดทางอากาศ ผนวกการโจมตีทางบก และทางทะเล ในเมืองระเต่ดอง ทำให้เมืองดังกล่าวถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดรองลงมาจาก ‘รามรี’ ในรัฐยะไข่</p>
<p>ทั้งนี้ การปะทะกันในเมืองระเต่ดอง รัฐยะไข่ เมื่อ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ทาง AA ยังได้โจมตีฐานที่มั่น </p>
<p>ระหว่างการโจมตีอย่างหนักที่เมืองระเต่ดอง เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา อาระกันอาร์มี AA ยังได้โจมตีฐานที่มั่น 'Bawdhi Kone' ของเผด็จการทหารใกล้กับหมู่บ้านชื่อเดียวกันในเมืองมองดอ ราว 6.20 น. ในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ฐานที่มั่นแห่งนี้เป็นฐานที่มั่นที่มีกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 4 ประจำอยู่</p>
<p>อาระกันอาร์ AA กล่าวว่า พวกเขากำลังเพิ่มความพยายามในการยึดฐานที่มั่น ในขณะที่เผด็จการทหารกำลังป้องกันฐานที่มั่นโดยการทิ้งระเบิดที่อาศัยยุทโธปกรณ์จากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ</p>
<p>อาระกันอาร์มี เปิดเผยว่า กองทัพเผด็จการทหารยังคงตั้งเป้าหมายโจมตีพลเรือนรัฐยะไข่ต่อไป กองเรือจากฐานทัพเรือ Danyawaddy ในเมืองเจ้าผิวก์ ได้ยึดเรือจับปลา 3 ลำในแม่น้ำ Thanzit เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการจับกุมชาวประมงจากหมู่บ้าน Pauk Nat Chay แล้วก็ส่งตัวไปยังฐานทัพ</p>
<p>อาระกันอาร์มีเป็นหนึ่งในกองทัพชาติพันธุ์ของพันธมิตรภราดรภาพที่เป็นผู้เริ่มปฏิบัติการ 1027 ทางตอนเหนือของรัฐฉานเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566</p>
<p>ในวันที่ 13 พ.ย. 2566 อาระกันอาร์มีได้เปิดฉากปฏิบัติการโจมตีต่อเป้าหมายเผด็จการทหารทั่วภาคเหนือของรัฐยะไข่และเมืองปาเลตวาในรัฐชีนที่อยู่ใกล้เคียง</p>
<p>หลังจากที่สร้างความอับอายให้กับเผด็จการทหารทางตอนเหนือของรัฐฉาน อาระกันอาร์มีก็ทำแบบเดียวกันในรัฐยะไข่ พวกเขายึดฐานทัพและฐานที่มั่นของเผด็จการทหารมากกว่า 170 แห่ง รวมถึงยึดเมืองในยะไข่ได้ 6 เมือง คือ เป้าก์ต่อ (Pauk-taw), เจ้าก์ต่อ (Kyauk-taw), มี่น-บย่า (Minbya), มเย้าก์อู (Myauk U), ตองพโยเหล่ตเว่ (Taungpyoletwe) และ มะหย่าโปง (Myabon) และเมืองหนึ่งในรัฐชิน คือ 'ปาเลตวา'</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>Myanmar’s Military on The Defensive in Rakhine State: Brotherhood Alliance, Irrawaddy, 16-02-2024</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108181
 
1522  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าว ไอที] - รีวิว “ASUS Zenbook 14 OLED” UX3405MA เบาและฉลาด เริ่มต้น 42,990 บาท เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 16:08:55
รีวิว “ASUS Zenbook 14 OLED” UX3405MA เบาและฉลาด เริ่มต้น 42,990 บาท
         


รีวิว “ASUS Zenbook 14 OLED” UX3405MA เบาและฉลาด เริ่มต้น 42,990 บาท" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ASUS Zenbook 14 OLED” (UX3405MA-PP735WS) อัลตร้าบุ๊กที่บางเฉ๊ยบสเปกมาแบบจัดเต็มแบบนี้ในงบเริ่มต้น 42,990 บาท
         

https://www.sanook.com/hitech/1597535/
         
1523  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - กรมคุมประพฤติ เข้าพบ "ทักษิณ" ย้ำ 5 ข้อห้ามระหว่างพักโทษ เป็นที่ปรึกษาทางการเ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 15:52:55
กรมคุมประพฤติ เข้าพบ "ทักษิณ"  ย้ำ 5 ข้อห้ามระหว่างพักโทษ เป็นที่ปรึกษาทางการเมืองได้
         


กรมคุมประพฤติ เข้าพบ &quot;ทักษิณ&quot;  ย้ำ 5 ข้อห้ามระหว่างพักโทษ เป็นที่ปรึกษาทางการเมืองได้" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;กรมคุมประพฤติ เข้าพบ "ทักษิณ" ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ย้ำข้อห้าม 5 ข้อระหว่างพักโทษ แต่เป็นที่ปรึกษาทางการเมืองได้
         

https://www.sanook.com/news/9257094/
         
1524  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สหรัฐฯ ตั้งข้อหาหัวหน้ายากูซา-1 คนไทย สมคบคิดค้าวัสดุนิวเคลียร์ หวังขายต่ออิหร เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 15:35:49
สหรัฐฯ ตั้งข้อหาหัวหน้ายากูซา-1 คนไทย สมคบคิดค้าวัสดุนิวเคลียร์ หวังขายต่ออิหร่าน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-23 15:08</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: สำนักงานใหญ่กระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา (ที่มาวิกิพีเดีย)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สหรัฐฯ ตั้งข้อหาหัวหน้าแก๊งยากูซาญี่ปุ่น และ 1 คนไทย ฐานสมคบคิดลักลอบค้าวัสดุนิวเคลียร์จากพม่าผ่านไทย หวังขายให้อิหร่านไปผลิตอาวุธนิวเคลียร์</p>
<p>23 ก.พ. 2567 วานนี้ (22 ก.พ.) หลายสำนักข่าวต่างประเทศรายงานตรงกันกรณีสหรัฐฯ ตั้งข้อหา “ทาเคชิ เอบิซาวะ” หัวหน้าแก๊งยากูซาชาวญี่ปุ่น วัย 60 ปี และ “สมภพ สิงห์ศิริ” ชายสัญชาติไทยวัย 61 ปี ฐานสมรู้ร่วมคิดลักลอบค้าวัสดุนิวเคลียร์จากพม่าผ่านไทยให้อิหร่าน</p>
<p>ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน เม.ย. ปี 2565 มติชนออนไลน์รายงานอ้างสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า ตำรวจสหรัฐฯ จับกุม ทาเคชิ เอบิซาวะ หัวหน้าแก๊งยากูซาชาวญี่ปุ่น พร้อมด้วยคนไทยอีก 3 คน ได้แก่ สมภักดิ์ รักษ์สราณี สัญชาติไทย, สมภพ สิงห์ศิริ สัญชาติไทย และ สุขสันต์ จุลนันท์ สัญชาติไทย-อเมริกัน ในย่านแมนฮัตตันของมหานครนิวยอร์ก ฐานลักลอบขนยาเสพติดและค้าอาวุธ</p>
<p>สำหรับผลการสอบสวนล่าสุด บีบีซีไทยรายงานว่า เอบิซาวะ ไม่ได้ลักลอบค้ายาเสพติดและอาวุธสงครามเท่านั้น แต่เขายังพยายามขายแร่ยูเรเนียม และพลูโตเนียม ที่เชื่อว่าจะไปตกถึงมืออิหร่าน เพื่อสร้างระเบิดนิวเคลียร์</p>
<p>บีบีซีไทยรายงานด้วยว่า ย้อนไปเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2563 เอบิซาวะได้ติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ (Drug Enforcement Administration หรือ DEA) ที่แฝงตัวแสร้งทำตัวเป็นพ่อค้ายาเสพติดและอาวุธสงคราม ที่มีเส้นสายถึงนายพลอิหร่าน เพื่อหวังขายวัตถุดิบนิวเคลียร์ให้</p>
<p>ต่อมาในเดือน ก.ย. 2563 เอบิซาวะ ติดต่อเจ้าหน้าที่คนเดิมด้วยอีเมล จ่าหน้าชื่อบริษัทเหมือง โดยเสนอขายแร่ยูเรเนียม และทอเรียม ซึ่งล้วนเป็นแร่นิวเคลียร์ รวม 50 ตัน ในราคา 6.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 245,000 ล้านบาท ในอีเมลฉบับนั้น เอบิซาวะได้แนบรูป “วัตถุหินสีดำ” วางคู่กับเครื่องนับไกเกอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดระดับกัมมันตภาพรังสี</p>
<p>นอกจากนี้ บีบีซีไทยอ้างคำพูดจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ที่เปิดเผยว่า ในปี 2565 เอบิซาวะ และพรรคพวกคนไทยก็ได้ “นำตัวอย่างวัตถุนิวเคลียร์ให้เจ้าหน้าที่ดู โดยนัดดูของกันที่ประเทศไทย”</p>
<p>ขณะที่ไทยพีบีเอสรายงานด้วยว่า เอบิซาวะ ยังถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดขายวัสดุนิวเคลียร์เกรดอาวุธ และยาเสพติดร้ายแรงจากเมียนมา เพื่อนำเงินไปซื้ออาวุธในนามของกบฏติดอาวุธกลุ่มหนึ่งในเมียนมา</p>
<p>โดยทางการสหรัฐฯ ระบุว่า จะดำเนินคดีทั้งสองคนในข้อหาค้ายาเสพติดข้ามชาติ และความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ซึ่งทั้งคู่เคยถูกตั้งข้อหาเมื่อปี 2565 หากถูกตัดสินว่ากระทำผิดจริง อาจต้องรับโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108182
 
1525  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ปราบ" ลูกชาย "สู่ขวัญ-โชค บูลกุล" กลับจากเรียนเมืองนอก หล่อเท่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 15:27:39
"ปราบ" ลูกชาย "สู่ขวัญ-โชค บูลกุล" กลับจากเรียนเมืองนอก หล่อเท่ขึ้นเรื่อยๆ
         


&quot;ปราบ&quot; ลูกชาย &quot;สู่ขวัญ-โชค บูลกุล&quot; กลับจากเรียนเมืองนอก หล่อเท่ขึ้นเรื่อยๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ปราบ บูลกุล ลูกชายคนเดียวของ สู่ขวัญ-โชค บูลกุล หลังเหินฟ้าไปเรียนต่อนิวซีแลนด์ กลับมาอีกทีหล่อเท่กว่าเดิมจริงๆ  


         

https://www.sanook.com/news/9257170/
         
1526  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - กทม. จับมือ อิชิตัน สร้าง "สวน 50 สุข" เพิ่มพื้นที่สีเขียว เชื่อมโยงกับคนในชุมชน เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 12:51:14
กทม. จับมือ อิชิตัน สร้าง "สวน 50 สุข" เพิ่มพื้นที่สีเขียว เชื่อมโยงกับคนในชุมชน
         


กทม. จับมือ อิชิตัน สร้าง &quot;สวน 50 สุข&quot; เพิ่มพื้นที่สีเขียว เชื่อมโยงกับคนในชุมชน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;กรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขตคลองเตย, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบมจ.อิชิตัน กรุ๊ป ร่วมมือกันปรับปรุงพื้นที่ในเขตทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณซอยสุขุมวิท 50 เขตคลองเตย เป็นสวนสาธารณะ “สวน 50 สุข”
         

https://www.sanook.com/news/9257038/
         
1527  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ชีวิตผู้ลี้ภัยซูดานในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่ 3 คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พั เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 12:33:55
ชีวิตผู้ลี้ภัยซูดานในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่ 3 คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พัทลุง’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 22:14</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ทีมข่าวศิลปวัฒนธรรม สัมภาษณ์/เรียบเรียง </p>
<p>ถ่ายภาพ: อันนา หล่อวัฒนตระกูล</p>
<p>บทสัมภาษณ์นี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พัทลุง’ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน) ที่เล่าเรื่องชีวิตประจำวันของครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวซูดานที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่สามอย่างไร้จุดหมาย เมื่อไทยเป็นที่พักพิงชั่วคราวได้แต่ยังไม่ใช่บ้าน</li>
<li>Hours of Ours (รอวัน) เข้าโรงแล้ววันนี้ 22 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ที่ Doc Club &amp; Pub. และ House Samyan </li>
</ul>
</div>
<p>“ตอนที่เขา (ครอบครัวอิบราฮิม) เจอเรา เราถือกล้อง เราถ่ายคนม้งเวียดนามอยู่แล้ว เขามารู้จักเราพร้อมกับกล้องเรา เพราะฉะนั้นเขาก็รู้ว่าไอ้เด็กคนนี้มันมีกล้อง มันถ่ายอะไรซักอย่างอยู่”</p>
<p>คมน์ธัช ณ พัทลุง ผู้กำกับภาพยนตร์ Hours of Ours (รอวัน) เล่าให้เราฟังถึงที่มาที่ไปของการได้ไปรู้จัก ‘ครอบครัวอิบราฮิม’ ซึ่งเป็นครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวซูดานที่หนีออกจากประเทศมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอลี้ภัยไปประเทศที่สาม </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53527304632_fb9a8904fb_b.jpg" /></p>
<p>เขาเกิดที่ไทย แต่เติบโตแบบย้ายไปย้ายมาระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาด้วยหน้าที่การงานของคุณพ่อ หลังจากเรียนจบสาขาวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เขาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ลอสแอนเจลิสราวๆ 1 ปี และมีโอกาสได้ไปร่วมเวิร์คชอปที่คิวบากับ “อับบาส เคียรอสตามี” ผู้กำกับชั้นครูจากอิหร่าน จากนั้นเขาจึงตัดสินใจกลับเมืองไทย</p>
<p>แรกเริ่มเดิมทีเขาตั้งใจจะทำหนังเกี่ยวกับคนม้งเวียดนามในกรุงเทพฯ และได้แวะเวียนไปทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกับเอ็นจีโออยู่เรื่อยๆ พร้อมกับกล้องในมือ จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาก็ได้พบครอบครัวอิบราฮิมที่เข้ามาร่วมกิจกรรมที่เอ็นจีโอจัด</p>
<p>มิตรภาพก็เริ่มต้นขึ้นจากการที่เขาช่วยพาคุณแม่ไปหาหมอ หลังจากนั้นครอบครัวอิบราฮิมชวนเขาไปทานข้าวและดื่มกาแฟที่บ้าน จนก่อเกิดเป็นไอเดียในการทำหนังเพื่อบันทึกชีวิตขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่สาม ไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จุดหมายปลายทาง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545560399_349fc891ed_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้ายไปอยู่อเมริกาตั้งแต่เมื่อไหร่</span></h2>
<p>มีช่วงหนึ่งในชีวิตที่เราต้องย้ายไปย้ายมาระหว่างไทยกับอเมริกา เราเกิดที่ไทย ตอนที่เราอายุ 3 ขวบ คุณพ่อได้ไปทำงานที่ลุยเซียนา เราก็ย้ายไปอยู่ที่นั่น 2-3 ปี จนเรา 5 ขวบก็กลับมาไทย เข้าโรงเรียนที่ไทยและอยู่ที่นี่ 10 ปี</p>
<p>พออายุ 15 ปี เราก็ย้ายไปที่เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส เรียนมัธยมปลาย 2 ปี แล้วก็เรียนต่อมหาวิทยาลัยอีก 4 ปี แล้วก็พอเรียนจบ เราก็ไปอยู่ลอสแอนเจลิส (แอลเอ) หนึ่งปี แล้วหลังจากแอลเอก็รู้สึกว่าไม่เอาแล้วกลับมาไทยดีกว่า</p>
<p>เรื่องที่เป็นปมในใจอย่างหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราปรับตัวเองยากประมาณหนึ่งเพราะสังคมที่มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันเป็นอีกขั้วหนึ่งเลย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมถึงอยากกลับไทย</span></h2>
<p>คิดหนักเหมือนกัน เพราะว่าการอยู่ที่นี่ (แอลเอ) เรื่องหน้าที่การงานค่อนข้างดีแต่เรารู้สึกว่าไปต่อไม่ถูก เป็นการทำงานเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร แต่เราไม่สามารถมีเวลาให้งานที่เรารู้สึกว่าเป็นงานครีเอทีฟส่วนตัว</p>
<p>เรื่องราวที่เราอยากจะพูดถึงอยู่ที่ไทยหมดเลย ตอนที่เราอยู่แอลเอ เราไม่ได้มีเรื่องราวที่อเมริกาที่เราอยากจะพูดถึง เราไม่ได้รู้สึกว่าเราคอนเนกต์กับที่อเมริกา</p>
<p>มันอยู่สบาย มันน่าอยู่แหละ แต่ว่ามันแพงมากๆ ที่แอลเอ ซึ่งทำให้เราหมดพลังไปกับการทำงาน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อยู่แอลเอทำงานอะไรบ้าง</span></h2>
<p>เราไปทำงงจังเป็นผู้ช่วยในออฟฟิศของ ริดลีย์ สก็อตต์ (Ridley Scott) อยู่ช่วงหนึ่ง แล้วเราก็ออกกอง เป็นผู้ช่วยช่างภาพ, DIT (Digital Imaging Technician หรือ คนจัดการข้อมูลภาพ ณ กองถ่าย) ให้กองหนังสั้น คอมเมอเชียล กองเว็บซีรีส์บ้าง</p>
<p>เราคิดอยู่นานว่าจะกลับมาดีไหม เพราะในช่วงนั้นวีซ่าก็จะใกล้หมดแล้ว ต้องรีบคิดว่าถ้าจะอยู่ต่อจะเอายังไงต่อไป เผชิญว่าช่วงนั้นได้ไปงานเวิร์คชอปที่คิวบา เป็นเวิร์คชอปกับ “อับบาส เคียรอสตามี” (Abbas Kiarostami) ผู้กำกับดังของอิหร่าน </p>
<p>เขามีโจทย์ให้เราพยายามทำหนังสั้นให้เสร็จใน 10 วัน ซึ่งเราก็ไปโดยที่ยังไม่มีไอเดียอะไรมาก ซึ่งมันเป็นพลังงานที่ขาดหายไปตอนที่เราอยู่แอลเอ เป็นพลังงานที่เราคิดถึง ก็เลยตัดสินใจว่ากลับไทยดีกว่า อยากจะกลับไปทำหนังของตัวเอง</p>
<p>หลังจากที่อยู่แอลเอมานาน พอเราไปถึงที่คิวบาแล้วรู้สึกเหมือนประเทศไทยมากๆ ทั้งสภาพอากาศ ภูมิทัศน์ติดทะเล ต้นไม้ ผู้คนน่ารัก มีบิลบอร์ดของฟิเดล คาสโตร ติดเต็มไปหมด มันก็เหมือนกับรูปที่มีทุกบ้าน ทำให้เรารู้สึกคิดถึงประเทศไทยมากๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พอกลับมาไทยแล้วไปคอนเนกต์กับครอบครัวนี้อย่างไร</span></h2>
<p>ช่วงที่เราอยู่อเมริกา ก็จะมีบางช่วงที่เรากลับมาไทยเพื่อเยี่ยมครอบครัว เยี่ยมเพื่อนช่วงซัมเมอร์ ช่วงนั้นเพื่อนเราก็เข้าเรียนกันหมด เราก็ว่างๆ เลยได้ติดต่อกับอาจารย์คนหนึ่ง เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่เรารู้จักสมัยที่เรียนอยู่ที่ไทย เขาก็บอกว่าเขากำลังเปิดเอ็นจีโอ เข้าไปในพื้นที่ของ คนที่ถูกมองข้ามในกรุงเทพฯ ซึ่งในตอนแรกโฟกัสของเขาคือชุมชนตามรางรถไฟแถวๆ พญาไท เราก็เข้าไปทำงานกับเขา</p>
<p>ไปๆ มาๆ เขาเปลี่ยนโฟกัสไปทำงานกับกลุ่มผู้ลี้ภัย แล้วก็ชวนเราเข้าไปในชุมชนม้งเวียดนามแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตอนแรกเราไม่ได้รู้จักกับครอบครัวอิบราฮิม แต่อยู่มาวันหนึ่งเราก็เห็นครอบครัวนี้เข้ามาร่วมกิจกรรมที่เอ็นจีโอจัด </p>
<p>ปกติเอ็นจีโอจะจัดกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ สอนทำอาหาร รวมถึงซัพพอร์ตครอบครัวในพื้นที่นั้น ซึ่งเวลาจัดกิจกรรมก็เจอครอบครัวนี้มาร่วมด้วย ตอนแรกเราไม่ได้คิดอะไรมาก แต่ไปๆ มาๆ ก็ได้รู้จักกับเขา </p>
<p>ความที่มีกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ แต่ว่าเราเป็นคนที่สอนอะไรไม่เป็น เราก็เลยเสนอตัวว่าจะช่วยเหลือเขาในรูปแบบอื่น เช่น ติดต่อคนนั้นคนนี้ คุณแม่อยากจะไปหาหมอ เขาก็ถามว่าเราช่วยเขาคุยกับหมอได้ไหม เขากลัวเขาสื่อสารไม่ครบ ซึ่งเราช่วยเขาในลักษณะนี้ได้ ทำให้เราได้เริ่มรู้จักกับครอบครัวนี้ หลังจากที่ไปเจอหมอ เขาก็ชวนเราไปกินข้าวกินกาแฟที่บ้านเขา ไปหาเขาอยู่เรื่อยๆ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545560024_7b54d20dd8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีบางซีนที่ฟุตเทจเอียงๆ</span> </h2>
<p>ตั้งใจ (ตอบทันที)</p>
<p>โปรเจคสารคดีม้งเวียดนาม เราตั้งใจ setting (ออกแบบ) ตั้งใจ constructed (สร้าง) ทั้งหมด แล้วช่วงแรกๆ ที่เราถ่ายครอบครัวนี้ เราก็พยายามที่จะทำอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ก็รู้สึกว่า…มันไม่ใช่วิธีที่เราอยากจะทำ </p>
<p>หลังจากนั้นเราก็เปลี่ยนวิธีการทำงานของเราด้วย เราก็เลยตัดสินใจว่าเราจะไม่สร้างระยะห่างระหว่างเรากับครอบครัวนี้</p>
<p>จะมีโมเมนต์ที่ว่าเราถ่ายๆ อยู่แล้วความเป็นตากล้อง ก็จะคอยดูเฟรมตลอด แต่เวลาเราดูเฟรม เราก็ไม่สามารถคอนเนกต์กับคนที่เรากำลังคุยอยู่ด้วย</p>
<p>โมเมนต์ที่เราพูดคุยกับเขา เราก็ต้องไม่สนใจกล้อง เพื่อให้ได้โมเมนต์นี้ไปเรื่อยๆ กล้องนี้มันก็ถ่ายของมันไป ได้อะไรมาก็ค่อยว่ากัน แล้วมันก็…ได้อย่างที่เห็น (หัวเราะ)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สารคดีที่ไม่ได้ดรามาสุดทางแบบนี้ ขอทุนยากไหม</span></h2>
<p>ยากเหมือนกัน เพราะว่าเราก็ต้องไปขอทุนจากศูนย์มานุษฯ (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) อย่างศูนย์มานุษฯ ยังดีเพราะว่าเขาเก็ตวิธีการทำงานของเรา ไม่เหมือนกับช่องข่าวทีวีต่างประเทศ เพราะว่าช่องพวกนี้เขาต้องการดรามา ต้องการบริบท เขาอยากที่จะรู้ว่าตอนนี้โลกมันโหดร้ายแค่ไหน แต่ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอในรูปแบบนั้น </p>
<p>เราต้องการที่จะนำเสนอครอบครัวนี้ในรูปแบบ greatful resilience (ความอดทนและความมีศักดิ์ศรี) ของเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นและเราแค่อยากนำเสนอสิ่งที่เราเห็น อย่างน้อยศูนย์มานุษฯ เขาก็เก็ต เขามองประเด็นต่างๆ ด้วยสายตาของความเป็นมนุษย์ </p>
<p>แล้วก็สำหรับที่อื่นๆ อย่าง Purin Pictures หรือสิงคโปร์ เขาก็ซัพพอร์ตอะไรที่เกี่ยวกับภาพยนตร์อยู่แล้ว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เคสครอบครัวซูดานแบบนี้ มีอีกเยอะมั้ยในไทย</span></h2>
<p>ในไทยไม่ค่อยมี เหมือนจากซูดานนี่มันต้องแยกด้วยว่าซูดาน หรือซูดานใต้ เพราะมันไม่เหมือนกัน แต่ที่เรารู้จักมีอยู่ไม่กี่คน มีน้อย ส่วนใหญ่จะมาจากปากีสถาน โซมาเลีย คองโก </p>
<p>อย่างปากีสถานในไทยนี่เยอะ ในกรุงเทพฯ </p>
<p>ปากีสถานที่หนีมาเพราะปัญหาเรื่องศาสนา ที่เรารู้จักส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์กัน ส่วนซูดานเป็นปัญหาความขัดแย้งภายใน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545567549_c4274c2113_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โมเมนต์ที่ประทับใจที่สุด</span></h2>
<p>มีโมเมนต์หนึ่งที่อยากใส่ในหนังแต่ใส่ไม่ได้เพราะว่ามันไม่เวิร์ค เป็นโมเมนต์ที่คุณแม่ให้เราช่วยดูการบ้านของน้อง เพราะพ่อแม่เขาอ่านการบ้านภาษาไทยไม่ออก คุณแม่เล่าให้เราฟังว่าอยากจะช่วยสอนการบ้านลูกแต่ว่าช่วยไม่ได้เพราะทุกอย่างเป็นภาษาไทยหมด </p>
<p> จริงๆ เรื่องภาษา เป็นเรื่องที่เราพยายามจะสื่อในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะเรารู้สึกว่ามันสำคัญสำหรับเรา ครอบครัวนี้เขาคุยกันด้วยภาษาอาหรับ แต่ว่าแม่เขาก็บ่นให้เราฟังว่าลูกๆ คุยกันเองเป็นภาษาไทย อะไรที่ไม่อยากให้แม่กับพ่อรู้ก็จะคุยกันเองเป็นภาษาไทย มีเราอยู่ด้วยเราจะได้ช่วยเล่าให้แม่เขาฟังว่าลูกคุยอะไรกัน</p>
<p>ตอนแรกเราไม่รู้ว่าลูกๆ เขาพูดภาษาไทยกัน โมเมนต์นี้เป็นจุดเริ่มต้นหลายๆ อย่างตอนที่เรารู้ว่าลูกเขาพูดภาษาไทยกันเอง มันทำให้เรานึกถึงสมัยที่เราอยู่อเมริกาตอนเด็กๆ เรากับน้องอยู่ๆ ก็ได้ภาษาอังกฤษขึ้นมาโดยที่พ่อกับแม่เราตั้งตัวไม่ทัน</p>
<p>ในครึ่งหลังของเรื่อง ถ้าเกิดสังเกตจดหมายจากพ่อกับแม่ (ที่ส่งมาหาลูกตอนที่พ่อแม่โดนกักตัวอยู่ที่ ตม.) จดหมายก็เป็นภาษาอังกฤษ เราก็ถามว่าทำไมถึงเป็นภาษาอังกฤษ แม่เขาก็เล่าให้ฟังว่าเพราะลูกๆ เขาอ่านภาษาอารบิกไม่ออก เวลาเขาจะเขียนอะไรให้ลูกๆ เขาจึงต้องเป็นภาษาอังกฤษ น้องๆ พูดอารบิกได้ แต่จะอ่านเขียนไม่ได้ เพราะจะได้ภาษาไทยมากกว่า  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ตอนที่ไปเจอ ครอบครัวนี้อยู่ไทยมากี่ปีแล้ว</span></h2>
<p>เขาอยู่มาหลายปีแล้ว แต่เราย้ายกลับมาไทยปี 2016 (พ.ศ. 2559) แล้วเราเจอเขา…น่าจะเริ่มถ่ายกับเขาประมาณปี 2017  (พ.ศ. 2560) ซึ่งเป็นตอนที่น้องๆ พูดไทยกันได้แล้ว</p>
<p>ตอนแรกเราคุยกับเขาเป็นภาษาอังกฤษเพราะเราไม่รู้ จนกระทั่งเราได้ยินพวกเขาคุยกันเองเป็นภาษาไทย แล้วเขาก็คุยกับเราเป็นภาษาอังกฤษแบบเกร็งๆ เขินๆ พอเราพูดไทยก็กลายเป็นว่าพวกเขาก็พูดกับเราเยอะเลย จากที่ก่อนหน้านั้นไม่ค่อยพูด</p>
<p>ครอบครัวนี้พาสปอร์ตหมดอายุ เข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ง่ายๆ ก็คือครอบครัวนี้อยู่เกินกำหนดวีซ่า</p>
<p>จริงๆ แล้วโรงเรียนอาจจะรับเข้าเรียนเพราะว่าพวกเขายังเด็ก ในแง่กฎหมาย เป็นสิทธิที่น้องๆ เขามีอยู่แล้ว เพราะว่าไทยเซ็นสัญญาปกป้องสิทธิเด็กของสหประชาชาติ</p>
<p>แต่ว่าประเทศไทยไม่ได้เซ็นสัญญาเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นพ่อกับแม่ หรือถ้าเด็กโตไปเป็นผู้ใหญ่ สิทธิเสรีภาพต่างๆ ก็จะหดน้อยลงไปเรื่อยๆ ยิ่งเราโตขึ้นมันก็จะยิ่งหดลง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545232806_d8cdd136b6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหมือนพ่อแม่จะอยู่แต่ในบ้าน</span></h2>
<p>พ่อแม่ส่วนมากอยู่แต่ในบ้าน มีไปทำธุระที่นั่นที่นี่บ้าง</p>
<p>ก่อนหน้านั้นเขาทำอาชีพอะไร เป็นเหตุผลที่ได้ไปแคนาดาด้วยไหม</p>
<p>อาจจะมีส่วน ครอบครัวนี้เขาน่าจะอยู่ในฐานะชนชั้นกลางประมาณหนึ่ง เพราะว่าพ่อกับแม่เป็นคนมีการศึกษา พ่อเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน ส่วนแม่ เรียนจบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับด้านปศุสัตว์การแพทย์</p>
<p>เราก็ยังคิดอยู่ในใจว่า 6 ปีที่เขาอยู่ในไทยเขาน่าจะได้ทำอะไรอย่างอื่นได้ ทำไมต้องมาอยู่แต่ในห้อง แต่พอย้ายไปแคนาดาได้สัก 1-2 ปี เขาก็มีอาชีพแล้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ในฐานะคนทำหนัง เรามีความคาดหวังอย่างไร</span></h2>
<p>เราคาดหวังกับการฉายในประเทศไทยมากที่สุด หลักๆ เลยเราทำหนังเรื่องนี้เพราะว่าเราอยากจะจินตนาการถึงอนาคต ความเป็นไปได้ใหม่ๆ สำหรับประเทศไทย</p>
<p>ในแง่ที่ว่าถ้าเด็กพวกนี้โตขึ้นมาแล้วต้องอยู่เมืองไทยตลอดไปจริงๆ ถ้าเกิดโดนปฏิเสธขึ้นมา ถ้า UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ปฎิเสธเคส 2-3 รอบ ก็คือโดนปฎิเสธไปเลย ก็คือไม่ได้มีทางเลือกอะไรอย่างอื่นแล้วนอกจากจะต้องอยู่ที่นี่หรือกลับประเทศตัวเอง   </p>
<p>การอยู่ที่นี่ก็เป็นสถานการณ์แบบนี้ เขาก็ต้องอยู่แบบนี้ ทั้งๆ ที่เขาก็จะซึมซับความเป็นไทย ภาษา วัฒนธรรม สภาพสังคม สภาพแวดล้อม ทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งตอนนี้ก็มีอยู่ เด็กคนอื่นๆ ที่เป็นคนม้งเวียดนามที่เรารู้จัก หรือว่าเด็กที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ตามพ่อแม่มาอยู่ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เราก็พยายามคิดถึงอนาคตว่าพวกเขาจะอยู่ยังไง เราจะสามารถเปิดให้พวกเขา หลอมรวมกับสังคมเราได้มากน้อยแค่ไหน</p>
<p>แล้วเราก็คิดไปถึงว่า ถ้าเกิดเราไปถึงจุดนั้นได้ หน้าตาของคนไทยสามารถเปลี่ยนไปด้วยได้ไหม เด็กแอฟริกันพวกนี้ก็คงไม่ต่างจากเด็กไทยทั่วไป ในหนังจะเห็นว่าพวกเขาก็เป็นเด็กไทยใช่ไหม </p>
<p>เราก็อยากจะตั้งคำถามว่าอะไรคือความเป็นไทย ขอบเขตของสิ่งนี้อยู่ตรงไหน และสามารถยืดหยุ่นได้หรือเปล่า หรือว่าทำลายขอบเขตของมันไปได้เลย เพื่อที่จะนับรวมคนอื่นๆ ได้</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>Hours of Ours (รอวัน) เข้าโรงแล้ววันนี้ 22 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ที่ Doc Club &amp; Pub. และ House Samyan</li>
<li>เมื่อปี 2566 ภาพยนตร์สารคดี รอวัน | Hours of Ours ออกฉายสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกในเทศกาลนานาชาติ Visions du Réel ที่จัดขึ้นที่เมืองนีออน (Nyon) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาได้ฉายในเทศกาลสารคดีนานาชาติ Beyond Borders Kastellorizo International Documentary Festival ครั้งที่ 8 ที่ประเทศกรีซ </li>
<li>รอวัน | Hours of Ours ฉายที่สมาคมฝรั่งเศส (Alliance Française) ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา ในโปรแกรมพิเศษที่ชื่อว่า Focus Sudan</li>
<li>ภาพยนตร์สารคดี รอวัน | Hours of Ours ฉายครั้งแรกในเอเชียที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ SGIFF ครั้งที่ 34 ต่อมาได้ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์สารคดี Festival Film Dokumenter ที่เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นจึงเข้ามาฉายที่ไทย</li>
</ul>
</div>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108177
 
1528  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - อัตราว่างงานในกลุ่มประเทศอาหรับยังสูง สวนทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 11:03:21
อัตราว่างงานในกลุ่มประเทศอาหรับยังสูง สวนทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-23 10:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ชี้ว่าอัตราว่างงานในกลุ่มประเทศอาหรับยังคงสูง สวนทางกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แนะต้องเพิ่มความหลากหลายและการสร้างงานที่มีคุณค่าในภาคส่วนต่าง ๆ ให้มากขึ้น</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#f39c12;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543136439_fe3c6ce296_o_d.png" />
ที่มาภาพ: ILO</span></p>
<p>รายงานฉบับใหม่โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สำนักงานภูมิภาคอาหรับ เผยว่าอัตราการว่างงานในภูมิภาคอาหรับคาดว่าจะยังคงสูงอยู่ที่ 9.8% ในปี 2024 ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคโควิด-19 ระบาด สาเหตุนี้สะท้อนถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานในภูมิภาคนี้ เช่น การแบ่งแยก ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ความขัดแย้ง ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่อ่อนแอ และแรงกดดันด้านประชากรศาสตร์</p>
<p>รายงาน 'Arab States Employment and Social Outlook - Trends 2024: Promoting social justice through a just transition' ยังคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในภูมิภาคอาหรับมีแนวโน้มเติบโต 3.5% ในปี 2024 โดยกลุ่มประเทศสมาชิกสภาความร่วมมืออ่าวเปอร์เซีย (GCC) มีการเติบโตที่เร็วกว่าประเทศนอกกลุ่ม GCC (3.7% เทียบกับ 2.6%)</p>
<p>อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของตลาดแรงงานหลังโควิด-19 ยังคงตามหลังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และยังขาดแคลนตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับประชากรวัยทำงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่าประเทศในกลุ่ม GCC มีการแบ่งแยกระหว่างชาวต่างชาติกับผู้อยู่อาศัย และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ส่วนประเทศนอกกลุ่ม GCC มีปัญหาความไม่มีสเถียรภาพ ความขัดแย้ง ภาวะวิกฤต ภาคเอกชนที่อ่อนแอ และแรงกดดันด้านประชากรศาสตร์ ในปี 2023 ILO ประมาณการว่ามีผู้คนในภูมิภาคอาหรับ 17.5 ล้านคน ที่ต้องการทำงานแต่หางานไม่ได้ ส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ที่ 23.7%</p>
<p>“เนื่องในวันความยุติธรรมทางสังคมโลก เราจึงเปิดตัวการวิเคราะห์นี้เกี่ยวกับแนวโน้มการจ้างงานและตลาดแรงงานในภูมิภาค และระบุวิธีส่งเสริมการทำงานที่เหมาะสมและความยุติธรรมทางสังคมในภูมิภาคของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันและการคุ้มครองแรงงาน” ราบา จาราดัต (Ruba Jaradat) ผู้อำนวยการ ILO ภูมิภาคอาหรับ กล่าว</p>
<p>“สถานการณ์ตลาดแรงงานในกลุ่มประเทศอาหรับซับซ้อนและต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เราหวังว่ารายงานนี้จะแนะนำแนวทางแก้ไข ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงานที่ดีขึ้น แต่ยังรวมถึงสันติภาพและเสถียรภาพทั่วภูมิภาคของเราด้วย” จาราดัต กล่าว</p>
<p>เนื่องจากกลุ่มประเทศอาหรับเผชิญกับความท้าทายสองประการ ได้แก่ การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานที่มีคุณค่ามากขึ้น รายงานระบุว่าจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามในการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เผชิญกับความผันผวนของราคาน้ำมัน และสร้างงานในภาคส่วนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและความไม่มั่นคง</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ความท้าทายด้านตลาดแรงงาน</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543371365_b60ec73e0e_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: ILO</span></p>
<p>รายงานยังระบุถึงปัญหาการจ้างงานหลายอย่างในภูมิภาคนี้ ที่ฝังรากมาจากปัญหาการสร้างงานที่มีคุณค่าให้เพียงพอต่อประชากรวัยทำงาน คนทำงานกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในรูปแบบไม่เป็นทางการและไม่มั่นคง ไม่มีหลักประกันทางสังคมหรือสวัสดิการอื่น ๆ งานที่ไม่คงส่งผลกระทบต่อแรงงาน 7.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.6% ของการจ้างงานทั้งหมดในปี 2023 นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคสำคัญด้านอุปทาน ระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดปัญหาทักษะที่คนทำงานมีไม่ตรงกับทักษะที่นายจ้างต้องการ สิ่งเหล่านี้ทำให้อัตราการว่างงานในภูมิภาคอาหรับมีสูงมาก แม้กระทั่งในกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาระดับสูง แต่ถ้าเป็นผู้หญิง คนหนุ่มสาว และแรงงานต่างชาติ ก็ยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบในตลาดแรงงาน</p>
<p>รายงานยังเน้นย้ำถึงวิกฤตผู้ลี้ภัยในภูมิภาค ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อตลาดแรงงาน แม้ว่าซีเรียจะเป็นแหล่งส่งออกผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เลบานอนและจอร์แดนก็เป็นประเทศผู้รับผู้ลี้ภัยรายใหญ่ด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวนผู้ลี้ภัยต่อหัวสูงที่สุดในโลก ผู้ลี้ภัยประสบความยากลำบากในการหางานในประเทศที่รองรับพวกเขา ซึ่งพวกเขาต้องแข่งขันกับคนท้องถิ่น หลายคนจึงหันไปทำงานแบบไม่เป็นทางการ</p>
<p>สิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือ การเพิ่มขึ้นของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศอันเกิดจากความขัดแย้ง ความรุนแรง และภัยธรรมชาติ ซีเรีย เยเมน อิรัก และปาเลสไตน์ เผชิญกับวิกฤตการพลัดถิ่นภายในประเทศ ก่อให้เกิดความตึงเครียดอย่างมากต่อทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขา</p>
<p>ภูมิภาคอาหรับยังเผชิญกับทั้งความท้าทายและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ รายงานพบว่า ด้วยนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคนี้ สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างงานได้อีก 2 ล้านตำแหน่งภายในปี 2050 อย่างไรก็ตาม ต้องมีการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ก้าวไปข้างหน้า</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---arabstates/---ro-beirut/documents/image/wcms_913036.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: ILO</span></p>
<p>"การส่งเสริมการสร้างตำแหน่งงานที่มีคุณค่าในเศรษฐกิจสีเขียว มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม ขจัดการเลือกปฏิบัติ และสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นด้านอายุ เพศ สัญชาติ หรือศาสนา" คำพูดนี้กล่าวโดยทาริก ฮัส (Tariq Haq) ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการจ้างงานของ ILO และหัวหน้าหน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมประจำภูมิภาคอาหรับ ซึ่งเป็นผู้นำในการจัดทำรายงานฉบับนี้ </p>
<p>"ความพยายามร่วมมือกันและการบูรณาการ จำเป็นต้องพิจารณาทั้งด้านอุปทานและอุปสงค์ของตลาดแรงงาน รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองด้าน รายงานฉบับนี้นำเสนอชุดคำแนะนำเชิงนโยบายเพื่อบรรลุสิ่งนี้" ฮัส กล่าว</p>
<p>คำแนะนำต่าง ๆ ในรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย </p>
<ul>
<li>การออกแบบและดำเนินนโยบายมหภาคและนโยบายภาคเศรษฐกิจที่สนับสนุนการจ้างงานที่ครอบคลุม </li>
<li>การสร้างปัจจัยเอื้อต่อการเติบโตของภาคการผลิตและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง </li>
<li>การปรับปรุงระบบทักษะและการศึกษารวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต </li>
<li>คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจนอกระบบไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นทางการ </li>
<li>การปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเพศ </li>
<li>การปรับปรุงข้อมูลตลาดแรงงาน </li>
<li>การแก้ไขความไม่เท่าเทียม และปกป้องสิทธิแรงงาน </li>
<li>มาตรการเฉพาะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรม</li>
</ul>
<p>อนึ่งประเทศที่ทำการศึกษาในรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ปาเลสไตน์ โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
High unemployment rates to worsen despite optimistic economic outlook in Arab States (ILO, 20 February 2024)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108180
 
1529  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ประวัติ "พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว" ผู้ไม่เกรงกลัวอิทธิพล และเคยบุกค้น "ชาดา เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 10:21:05
ประวัติ "พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว" ผู้ไม่เกรงกลัวอิทธิพล และเคยบุกค้น "ชาดา ไทยเศรษฐ์"
         


ประวัติ &quot;พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว&quot; ผู้ไม่เกรงกลัวอิทธิพล และเคยบุกค้น &quot;ชาดา ไทยเศรษฐ์&quot;" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เปิดประวัติ “พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว” นายตำรวจที่มีภารกิจปราบผู้มิอิทธิพลโดยไม่เกรงกลัว และล่าสุดได้บุกจับ “ลูกเขยชาดา” กรณีเรียกรับสินบน 6 แสนบาท

         

https://www.sanook.com/news/9080970/
         
1530  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - มาแล้ว! ทะเบียนรถป้ายแดง สมเด็จฮุนเซน เข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เยี่ยมทักษิณ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 09:50:31
มาแล้ว! ทะเบียนรถป้ายแดง สมเด็จฮุนเซน เข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เยี่ยมทักษิณ
         


มาแล้ว! ทะเบียนรถป้ายแดง สมเด็จฮุนเซน เข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เยี่ยมทักษิณ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ส่องทะเบียนป้ายแดงเลขสวย "สมเด็จฮุนเซน" ประธานคณะองคมนตรีกัมพูชา นั่งเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เข้าเยี่ยม "ทักษิณ ชินวัตร"
         

https://www.sanook.com/news/9249806/
         
1531  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "หนุ่ม สันติสุข" ย้อนเล่าอดีตความรัก "จินตหรา" เปิดใจ! ตำนานเจ้าชู้ตัวพ่อยุ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 07:49:48
"หนุ่ม สันติสุข" ย้อนเล่าอดีตความรัก "จินตหรา" เปิดใจ! ตำนานเจ้าชู้ตัวพ่อยุค 80's
         


&quot;หนุ่ม สันติสุข&quot; ย้อนเล่าอดีตความรัก &quot;จินตหรา&quot; เปิดใจ! ตำนานเจ้าชู้ตัวพ่อยุค 80" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"หนุ่ม สันติสุข" ย้อนเล่าอดีตความรัก "จินตรา" เปิดใจ! แบบหมดเปลือก ตำนานเจ้าชู้ตัวพ่อยุค 80's ก่อนจะหยุดเพราะเจอรักแท้
         

https://www.sanook.com/news/9254178/
         
1532  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เริ่มแล้วภารกิจกู้ซาก "เรือหลวงสุโขทัย" เผยสภาพใต้ทะเล หลังอับปางนานกว่า 1 ปี เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 05:19:09
เริ่มแล้วภารกิจกู้ซาก "เรือหลวงสุโขทัย" เผยสภาพใต้ทะเล หลังอับปางนานกว่า 1 ปี
         


เริ่มแล้วภารกิจกู้ซาก &quot;เรือหลวงสุโขทัย&quot; เผยสภาพใต้ทะเล หลังอับปางนานกว่า 1 ปี" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เริ่มแล้วปฏิบัติการกู้ซาก "เรือหลวงสุโขทัย" กองทัพเรือไทยและกองทัพสหรัฐฯ ร่วมกันปฏิบัติภารกิจ เผยภาพใต้น้ำหลังอับปางนานกว่า 1 ปี  
         

https://www.sanook.com/news/9255438/
         
1533  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: เพราะรักจึงสลักอักษรา? เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 05:00:23
กวีประชาไท: เพราะรักจึงสลักอักษรา?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 21:16</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>กาลเวลานิรันดร์นี้มีปลาบปลื้ม
ถูกลืมถูกจำดื่มด่ำสูญ
สังคมมนุษย์สุดเศร้าเงาอาดูร
ความจำรูญกูลเกื้อเหลือรอคอย</p>
<p>การต่อสู้แก่งแย่งแข่งขันดั่งพันผูก
ตรงข้ามปลูกฝังรักก็ไม่ท้อถอย
สงครามตามด้วยสันติมิไร้รอย
ทุกอย่างค่อย ๆ ผ่านกับกาลเวลา</p>
<p>ใหม่แล้วเก่าเคล้าคลุกสมบุกสมบัน
มหัศจรรย์การสรรค์สร้างวางคอยท่า
ดีและชั่วกลั้วเกลือกเลือกตีตรา
บันทึกว่าค่าของคนผลจากอะไร?</p>
<p>ตัวอักษรแต่อ้อนแต่ออกหมายบอกเล่า
อย่าลืมเราผู้เขียนขีดกรีดหินไว้
ครั้งหนึ่งเคยมาบั่นบุกในยุคสมัย
วาดภาพใส่แผ่นผาจารึกนาม</p>
<p>ยามสงบสงัดจัดความคิด
พลันลิขิตอักขระยากจะถาม
เกิดภาษาสารพันอันหมายความ
เดินทางข้ามกาลเวลามาหาเธอ</p>
<p>กันลืมเลือนครั้งหนึ่งซึ่งมี"ฉัน"
แถวนั้นบันทึกไว้ให้เห็นเสมอ
อย่าลืมนั้นบรรพบุรุษขุดค้นเจอ
ขีดเขียนเพ้อฝันไว้ในวารวัน</p>
<p>การเดินทางกลางกาลผ่านพื้นโลก
มีทั้งโชคและเคราะห์เพราะผกผัน
จากภาพวาดทุกวิญญาบนผาชัน
บันทึกมันไว้ให้เธอเผลอเงยมอง</p>
<p>ครั้งหนึ่งเคยมี"เรา"เข้ามาที่นี่
ชีวีที่มีลมหายใจไปเกี่ยวข้อง
อักขระและภาพหมายฉายแสงส่อง
ครั้งหนึ่งของที่นี่,ที่นั่น ใช่บรรพชน</p>
<p>กาลเวลานิรันดร์นี้อาจมีลืม
ความด่ำดื่มปลื้มปลาบอาบลมฝน
อักขระจะเพียรชี้วิถีคน
ที่หมุนวนในวัฏฏะจักรวาล</p>
<p>ใช้บันทึกทุกเรื่องราวการก้าวย่าง
ใช้สะสางสื่อประเด็นเห็นแก่นสาร
พลังใดริเริ่มแฝงแรงบันดาล?
เพื่อส่งผ่านสาระประทับใจ</p>
<p>ไม่ลืมหลง....คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย......
เพราะจุดหมายที่ใฝ่ฝันนั้นยิ่งใหญ่
บนดาวโลกโชค,เคราะห์สะเดาะได้
ก้าวใกล้หรือไกลก็ไม่ครณา</p>
<p>จงรักในมนุษยธรรมนำลึกซึ้ง
ภักดีซึ่งพันธะปรารถนา
เสรีภาพเสมอภาคใต้ฟากฟ้า
และภราดรภาพตราบนิรันดร์</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108175
 
1534  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - รวมมาให้ครบทุกคัน! ทะเบียนขบวนรถ "ฮุนเซน" เข้าเยี่ยม "ทักษิณ" ที่บ้านจันทร์ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 03:42:00
รวมมาให้ครบทุกคัน! ทะเบียนขบวนรถ "ฮุนเซน" เข้าเยี่ยม "ทักษิณ" ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า
         


รวมมาให้ครบทุกคัน! ทะเบียนขบวนรถ &quot;ฮุนเซน&quot; เข้าเยี่ยม &quot;ทักษิณ&quot; ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp; มาถึงแล้ว! "ฮุนเซน" นั่งรถหรูทะเบียนสวย เข้าเยี่ยม "ทักษิณ" ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า


         

https://www.sanook.com/news/9249910/
         
1535  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ทานตะวัน' ถูกส่งตัวเข้า รพ.ธรรมศาสตร์ หลังอดอาหาร-น้ำวันที่ 9 ยืนข้อเรียกร้อ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 03:10:07
'ทานตะวัน' ถูกส่งตัวเข้า รพ.ธรรมศาสตร์ หลังอดอาหาร-น้ำวันที่ 9 ยืนข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 21:32</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: แมวส้ม ประชาไท</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>'ทานตะวัน' ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ หลังเธออดอาหารและน้ำประท้วง 9 วันติดต่อกัน เจ้าตัวยืนยันไม่รับการรักษา เดินหน้าประท้วงต่อ ยืนข้อเรียกร้อง 3 ข้อ</li>
<li>ด้านศาลยกร้องขอประกัน 'ทานตะวัน-ณัฐนนท์' ระบุไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง</li>
</ul>
</div>
<p> </p>
<p>22 ก.พ. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานวันนี้ (22 ก.พ.) เมื่อ 15.15 น. ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมอิสระ ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี หลังนักกิจกรรมคนดังกล่าวอดอาหารและน้ำประท้วง 9 วันติดต่อกัน เรียกร้อง 3 ข้อ 1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 2. ต้องไม่มีการคุมขังผู้เห็นต่างทางการเมือง และ 3. ไทยไม่สมควรได้เป็นคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน แห่งองค์การสหประชาชาติ</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/oqsRGpQgG2c?si=BZVUSQsHbikR0ABH" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">ด่วน! #ตะวัน ถูกย้ายตัวจาก รพ.ราชทัณฑ์ ไปยัง รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติแล้วเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (22 ก.พ.) หลังอดอาหารและน้ำประท้วงเข้าสู่วันที่ 9 เพื่อ 3 ข้อเรียกร้อง ซึ่งได้แก่</p>
<p>1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. ต้องไม่มีคนติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองอีก
3.… pic.twitter.com/cyfTtMvpIG</p>
<p>— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014) February 22, 2024</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p>
<p>จากการเข้าเยี่ยมของทนายความในเช้าวันนี้ (22 ก.พ.) พบว่า ทานตะวัน ดูอ่อนแรงและเหนื่อยล้ามาก ไม่มีการขับถ่ายแล้ว ปัสสาวะออกเพียงนิดเดียว มีความรู้สึกพะอืดพะอมตลอดเวลา รู้สึกร้อนมากจากข้างในร่างกาย ซูบผอมมาก จนเห็นกระดูกไหปลาร้า ช่วงหน้าอกเห็นกระดูก หน้าตอบจนเห็นสันกราม ใต้ตาคล้ำ ผิวหน้าดูโทรมคล้ำ และปากแห้งแตกจนลอกออก</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ทานตะวัน ยืนยันจะไม่รับการรักษา รวมถึงยืนยันที่จะเดินหน้าอดน้ำและอาหารประท้วงต่อไปเช่นเดิมตาม 3 ข้อเรียกร้องที่ได้ประกาศไว้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545530344_9b23e6f7be_h.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้ ศูนย์ทนายฯ รายงานก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 14.25 น. อัพเดทอาการของ ณัฐนนท์ ที่อดอาหารและน้ำประท้วงวันเดียวกับทานตะวัน โดยณัฐนนท์ แจ้งกับทนายความว่า เขารู้สึกทรมานมาก เหนื่อยมาก และเกือบยอมแพ้ อยากนอนแต่ไม่สามารถนอนได้ เพราะรู้สึกทรมาน</p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">Update การอดอาหารและน้ำประท้วง
ของ ตะวัน - แฟรงค์ วันที่ 9 (22 ก.พ)</p>
<p>แฟรงค์ผลเลือดน่าเป็นห่วง หายใจลำบาก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ตะวันซูบผอม รู้สึกทรมานมาก นอนไม่หลับเลย แต่ยังยืนยันเดินหน้าประท้วงตาม #3ข้อเรียกร้อง</p>
<p>#ตะวัน</p>
<p>ตะวันบอกว่า “ไม่ไหวแล้ว ทรมานมาก”… pic.twitter.com/suwi045aeF</p>
<p>— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014) February 22, 2024</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p>
<p>ณัฐนนท์ แจ้งทนายความ ระบุว่า ทุกครั้งก่อนนอนต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนผ่านทางจมูก แต่ต่อให้ใช้เครื่องช่วยหายใจก็ไม่สามารถนอนได้ เพราะเครียด และเป็นห่วงทานตะวันมาก </p>
<p>ศูนย์ทนายฯ ระบุต่อว่า เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (22 ก.พ.) ณัฐนนท์ อาเจียนออกมาเป็นน้ำใส รสเปรี้ยว ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่าเป็นน้ำย่อยหรือไม่ มีความรู้สึกำะอืดพะอม คอแห้งมาก และหายใจลำบาก</p>
<p>แพทย์ได้แจ้งว่า ผลตรวจเลือดของณัฐนนม์น่าเป็นห่วงมาก โดยเฉพาะค่าคีโตนในเลือดที่อยู่ในระดับอันตราย รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำ</p>
<p>อาการของณัฐนนท์ จากศูนย์ทนายฯ ระบุเพิ่มว่า ตอนนี้ไม่มีการขับถ่าย ปัสสาวะออกน้อย ใบหน้าตอบจนเห็นสันกราม ช่วงตาลึกจนเห็นเป็นโครงกะโหลก เห็นไหปลาร้าและซี่โครงชัดเจนมาก ปากแห้งแตกจนลอก</p>
<p>ณัฐนนท์ ฝากข้อความถึงทานตะวัน เผยว่า "จะสู้ต่อไป ไม่เป็นไร จะอยู่เคียงข้างเสมอ ขอให้จำวันที่เราสู้อยู่บนรถด้วยกัน ถึงมันจะเหนื่อยและท้อบ้าง ก็จะสู้ต่อไป" </p>
<p>ทั้งนี้ ณัฐนนท์ ยังคงอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เช่นเดียวกับ 'เนติพร' (สงวนนามสกุล) หรือ บุ้ง กลุ่มทะลุวัง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยกคำร้องขอประกัน ทานตะวัน และ ณัฐนนท์</span></h2>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายางานบนสื่อโซเชียลมีเดีย เมื่อเวลา 15.58 น. ทนายยื่นประกันตัว ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ นักกิจกรรมอิสระ ข้อหามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมฯ วางเงิน 70,000 บาท กรณีถ่ายคลิปบีบแตรขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">วันนี้ (22 ก.พ.) ทนายความยื่นประกัน #ตะวัน - #แฟรงค์ ต่อศาลอาญา ด้วยหลักทรัพย์คนละ 70,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของพ่อและแม่ตะวัน</p>
<p>แต่ศาล #ยกคำร้อง ไม่ให้ประกันทันที โดยให้เหตุผลว่า ที่ผู้ร้องอ้างว่าระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำผู้ต้องหา อดข้าว อดน้ำ และไม่รับการรักษา… pic.twitter.com/nnHol2FjqT</p>
<p>— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014) February 22, 2024</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p>
<p>ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยทันที โดยให้เหตุผลว่าที่ผู้ร้องอ้างว่าระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำผู้ต้องหา อดข้าว อดน้ำ และไม่รับการรักษา จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหานั้น </p>
<p>ศาลเห็นว่าเป็นอำนาจและดุลยพินิจของกรมราชทัณฑ์ ในการดูแลส่งตัวไปรักษาตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 55 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ กรณีนี้จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง </p>
<p>สำหรับคดีของทานตะวัน และณัฐนนท์ ทั้งคู่ถูกออกหมายจับกุมตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 2567 และถูกควบคุมหน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก ในข้อหา ม.116 และ พ.ร.บ.คอมฯ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากที่ทานตะวัน ถ่ายคลิปบีบแตรขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา</p>
<p>ทานตะวัน และณัฐนนท์ ถูกจับกุมและถูกฝากขัง 1 วันที่ สน.ฉลองกรุง และได้ประกาศอดอาหารและน้ำคืนนั้นทันที เพื่อประท้วงและเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนากรยุติธรรม ยุติการคุมขังผู้เห็นต่างทางการเมือง และเรียกร้องให้ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน แห่งองค์การสหประชาชาติ </p>
<p>วันที่ 14 ก.พ. 2567 ตำรวจได้นำตัวทานตะวัน และณัฐนนท์ ฝากขังต่อศาลอาญา รัชดาฯ ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังเป็นเวลา 12 วัน และอนุญาตไม่ปล่อยตัวชั่วคราวชั้นสอบสวน นับตั้งแต่วันที่ 14-25 ก.พ. 2567</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ตำรวจแสดงหมายจับหน้าศาลอาญา‘ตะวัน-แฟรง’ คดีบีบแตรขบวนเสด็จ ‘สายน้ำ’ คดีพ่นสีกำแพงวัง</li>
<li>ศาลอนุญาตฝากขัง 'ตะวัน-แฟรงค์' คดีบีบแตรขบวนเสด็จ ทนายกำลังยื่นขอประกันตัว</li>
<li>‘ณัฐนนท์’ - ‘ทานตะวัน’ ถูกส่งตัวไป รพ. ราชทัณฑ์ หลังอดอาหาร-น้ำ 6 วัน พบการใช้ความรุนแรงในเรือนจำ</li>
<li>‘บุ้ง-ตะวัน-แฟรงค์’ อดอาหาร-น้ำต่อเพิ่มข้อเรียกร้อง ไทยไม่ควรถูกเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิฯ UN</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108176
 
1536  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 02:46:44
โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ!
         


โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอคนดราม่าสงสารช้าง ทรมานสัตว์ ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ เรียกน้องขึ้นจากน้ำยากสุดๆ
         

https://www.sanook.com/news/9255770/
         
1537  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ชีวิตผู้ลี้ภัยซูดานในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่ 3 คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พั เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 01:39:14
ชีวิตผู้ลี้ภัยซูดานในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่ 3 คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พัทลุง’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 22:14</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ทีมข่าวศิลปวัฒนธรรม สัมภาษณ์/เรียบเรียง </p>
<p>ถ่ายภาพ: อันนา หล่อวัฒนตระกูล</p>
<p>บทสัมภาษณ์นี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>คุยกับ ‘คมน์ธัช ณ พัทลุง’ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน) ที่เล่าเรื่องชีวิตประจำวันของครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวซูดานที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่สามอย่างไร้จุดหมาย เมื่อไทยเป็นที่พักพิงชั่วคราวได้แต่ยังไม่ใช่บ้าน</li>
<li>Hours of Ours (รอวัน) เข้าโรงแล้ววันนี้ 22 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ที่ Doc Club &amp; Pub. และ House Samyan </li>
</ul>
</div>
<p>“ตอนที่เขา (ครอบครัวอิบราฮิม) เจอเรา เราถือกล้อง เราถ่ายคนม้งเวียดนามอยู่แล้ว เขามารู้จักเราพร้อมกับกล้องเรา เพราะฉะนั้นเขาก็รู้ว่าไอ้เด็กคนนี้มันมีกล้อง มันถ่ายอะไรซักอย่างอยู่”</p>
<p>คมน์ธัช ณ พัทลุง ผู้กำกับภาพยนตร์ Hours of Ours (รอวัน) เล่าให้เราฟังถึงที่มาที่ไปของการได้ไปรู้จัก ‘ครอบครัวอิบราฮิม’ ซึ่งเป็นครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวซูดานที่หนีออกจากประเทศมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอลี้ภัยไปประเทศที่สาม </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53527304632_fb9a8904fb_b.jpg" /></p>
<p>เขาเกิดที่ไทย แต่เติบโตแบบย้ายไปย้ายมาระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาด้วยหน้าที่การงานของคุณพ่อ หลังจากเรียนจบสาขาวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เขาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ลอสแอนเจลิสราวๆ 1 ปี และมีโอกาสได้ไปร่วมเวิร์คชอปที่คิวบากับ “อับบาส เคียรอสตามี” ผู้กำกับชั้นครูจากอิหร่าน จากนั้นเขาจึงตัดสินใจกลับเมืองไทย</p>
<p>แรกเริ่มเดิมทีเขาตั้งใจจะทำหนังเกี่ยวกับคนม้งเวียดนามในกรุงเทพฯ และได้แวะเวียนไปทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกับเอ็นจีโออยู่เรื่อยๆ พร้อมกับกล้องในมือ จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาก็ได้พบครอบครัวอิบราฮิมที่เข้ามาร่วมกิจกรรมที่เอ็นจีโอจัด</p>
<p>มิตรภาพก็เริ่มต้นขึ้นจากการที่เขาช่วยพาคุณแม่ไปหาหมอ หลังจากนั้นครอบครัวอิบราฮิมชวนเขาไปทานข้าวและดื่มกาแฟที่บ้าน จนก่อเกิดเป็นไอเดียในการทำหนังเพื่อบันทึกชีวิตขณะ ‘รอวัน’ ย้ายไปประเทศที่สาม ไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จุดหมายปลายทาง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545560399_349fc891ed_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้ายไปอยู่อเมริกาตั้งแต่เมื่อไหร่</span></h2>
<p>มีช่วงหนึ่งในชีวิตที่เราต้องย้ายไปย้ายมาระหว่างไทยกับอเมริกา เราเกิดที่ไทย ตอนที่เราอายุ 3 ขวบ คุณพ่อได้ไปทำงานที่ลุยเซียนา เราก็ย้ายไปอยู่ที่นั่น 2-3 ปี จนเรา 5 ขวบก็กลับมาไทย เข้าโรงเรียนที่ไทยและอยู่ที่นี่ 10 ปี</p>
<p>พออายุ 15 ปี เราก็ย้ายไปที่เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส เรียนมัธยมปลาย 2 ปี แล้วก็เรียนต่อมหาวิทยาลัยอีก 4 ปี แล้วก็พอเรียนจบ เราก็ไปอยู่ลอสแอนเจลิส (แอลเอ) หนึ่งปี แล้วหลังจากแอลเอก็รู้สึกว่าไม่เอาแล้วกลับมาไทยดีกว่า</p>
<p>เรื่องที่เป็นปมในใจอย่างหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราปรับตัวเองยากประมาณหนึ่งเพราะสังคมที่มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันเป็นอีกขั้วหนึ่งเลย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมถึงอยากกลับไทย</span></h2>
<p>คิดหนักเหมือนกัน เพราะว่าการอยู่ที่นี่ (แอลเอ) เรื่องหน้าที่การงานค่อนข้างดีแต่เรารู้สึกว่าไปต่อไม่ถูก เป็นการทำงานเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร แต่เราไม่สามารถมีเวลาให้งานที่เรารู้สึกว่าเป็นงานครีเอทีฟส่วนตัว</p>
<p>เรื่องราวที่เราอยากจะพูดถึงอยู่ที่ไทยหมดเลย ตอนที่เราอยู่แอลเอ เราไม่ได้มีเรื่องราวที่อเมริกาที่เราอยากจะพูดถึง เราไม่ได้รู้สึกว่าเราคอนเนกต์กับที่อเมริกา</p>
<p>มันอยู่สบาย มันน่าอยู่แหละ แต่ว่ามันแพงมากๆ ที่แอลเอ ซึ่งทำให้เราหมดพลังไปกับการทำงาน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อยู่แอลเอทำงานอะไรบ้าง</span></h2>
<p>เราไปทำงงจังเป็นผู้ช่วยในออฟฟิศของ Brittany Scott อยู่ช่วงหนึ่ง แล้วเราก็ออกกอง เป็นผู้ช่วยช่างภาพ, DIT (Digital Imaging Technician หรือ คนจัดการข้อมูลภาพ ณ กองถ่าย) ให้กองหนังสั้น คอมเมอเชียล กองเว็บซีรีส์บ้าง</p>
<p>เราคิดอยู่นานว่าจะกลับมาดีไหม เพราะในช่วงนั้นวีซ่าก็จะใกล้หมดแล้ว ต้องรีบคิดว่าถ้าจะอยู่ต่อจะเอายังไงต่อไป เผชิญว่าช่วงนั้นได้ไปงานเวิร์คชอปที่คิวบา เป็นเวิร์คชอปกับ “อับบาส เคียรอสตามี” (Abbas Kiarostami) ผู้กำกับดังของอิหร่าน </p>
<p>เขามีโจทย์ให้เราพยายามทำหนังสั้นให้เสร็จใน 10 วัน ซึ่งเราก็ไปโดยที่ยังไม่มีไอเดียอะไรมาก ซึ่งมันเป็นพลังงานที่ขาดหายไปตอนที่เราอยู่แอลเอ เป็นพลังงานที่เราคิดถึง ก็เลยตัดสินใจว่ากลับไทยดีกว่า อยากจะกลับไปทำหนังของตัวเอง</p>
<p>หลังจากที่อยู่แอลเอมานาน พอเราไปถึงที่คิวบาแล้วรู้สึกเหมือนประเทศไทยมากๆ ทั้งสภาพอากาศ ภูมิทัศน์ติดทะเล ต้นไม้ ผู้คนน่ารัก มีบิลบอร์ดของฟิเดล คาสโตร ติดเต็มไปหมด มันก็เหมือนกับรูปที่มีทุกบ้าน ทำให้เรารู้สึกคิดถึงประเทศไทยมากๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พอกลับมาไทยแล้วไปคอนเนกต์กับครอบครัวนี้อย่างไร</span></h2>
<p>ช่วงที่เราอยู่อเมริกา ก็จะมีบางช่วงที่เรากลับมาไทยเพื่อเยี่ยมครอบครัว เยี่ยมเพื่อนช่วงซัมเมอร์ ช่วงนั้นเพื่อนเราก็เข้าเรียนกันหมด เราก็ว่างๆ เลยได้ติดต่อกับอาจารย์คนหนึ่ง เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่เรารู้จักสมัยที่เรียนอยู่ที่ไทย เขาก็บอกว่าเขากำลังเปิดเอ็นจีโอ เข้าไปในพื้นที่ของ คนที่ถูกมองข้ามในกรุงเทพฯ ซึ่งในตอนแรกโฟกัสของเขาคือชุมชนตามรางรถไฟแถวๆ พญาไท เราก็เข้าไปทำงานกับเขา</p>
<p>ไปๆ มาๆ เขาเปลี่ยนโฟกัสไปทำงานกับกลุ่มผู้ลี้ภัย แล้วก็ชวนเราเข้าไปในชุมชนม้งเวียดนามแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตอนแรกเราไม่ได้รู้จักกับครอบครัวอิบราฮิม แต่อยู่มาวันหนึ่งเราก็เห็นครอบครัวนี้เข้ามาร่วมกิจกรรมที่เอ็นจีโอจัด </p>
<p>ปกติเอ็นจีโอจะจัดกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ สอนทำอาหาร รวมถึงซัพพอร์ตครอบครัวในพื้นที่นั้น ซึ่งเวลาจัดกิจกรรมก็เจอครอบครัวนี้มาร่วมด้วย ตอนแรกเราไม่ได้คิดอะไรมาก แต่ไปๆ มาๆ ก็ได้รู้จักกับเขา </p>
<p>ความที่มีกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ แต่ว่าเราเป็นคนที่สอนอะไรไม่เป็น เราก็เลยเสนอตัวว่าจะช่วยเหลือเขาในรูปแบบอื่น เช่น ติดต่อคนนั้นคนนี้ คุณแม่อยากจะไปหาหมอ เขาก็ถามว่าเราช่วยเขาคุยกับหมอได้ไหม เขากลัวเขาสื่อสารไม่ครบ ซึ่งเราช่วยเขาในลักษณะนี้ได้ ทำให้เราได้เริ่มรู้จักกับครอบครัวนี้ หลังจากที่ไปเจอหมอ เขาก็ชวนเราไปกินข้าวกินกาแฟที่บ้านเขา ไปหาเขาอยู่เรื่อยๆ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545560024_7b54d20dd8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีบางซีนที่ฟุตเทจเอียงๆ</span> </h2>
<p>ตั้งใจ (ตอบทันที)</p>
<p>โปรเจคสารคดีม้งเวียดนาม เราตั้งใจ setting (ออกแบบ) ตั้งใจ constructed (สร้าง) ทั้งหมด แล้วช่วงแรกๆ ที่เราถ่ายครอบครัวนี้ เราก็พยายามที่จะทำอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ก็รู้สึกว่า…มันไม่ใช่วิธีที่เราอยากจะทำ </p>
<p>หลังจากนั้นเราก็เปลี่ยนวิธีการทำงานของเราด้วย เราก็เลยตัดสินใจว่าเราจะไม่สร้างระยะห่างระหว่างเรากับครอบครัวนี้</p>
<p>จะมีโมเมนต์ที่ว่าเราถ่ายๆ อยู่แล้วความเป็นตากล้อง ก็จะคอยดูเฟรมตลอด แต่เวลาเราดูเฟรม เราก็ไม่สามารถคอนเนกต์กับคนที่เรากำลังคุยอยู่ด้วย</p>
<p>โมเมนต์ที่เราพูดคุยกับเขา เราก็ต้องไม่สนใจกล้อง เพื่อให้ได้โมเมนต์นี้ไปเรื่อยๆ กล้องนี้มันก็ถ่ายของมันไป ได้อะไรมาก็ค่อยว่ากัน แล้วมันก็…ได้อย่างที่เห็น (หัวเราะ)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สารคดีที่ไม่ได้ดรามาสุดทางแบบนี้ ขอทุนยากไหม</span></h2>
<p>ยากเหมือนกัน เพราะว่าเราก็ต้องไปขอทุนจากศูนย์มานุษฯ (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) อย่างศูนย์มานุษฯ ยังดีเพราะว่าเขาเก็ตวิธีการทำงานของเรา ไม่เหมือนกับช่องข่าวทีวีต่างประเทศ เพราะว่าช่องพวกนี้เขาต้องการดรามา ต้องการบริบท เขาอยากที่จะรู้ว่าตอนนี้โลกมันโหดร้ายแค่ไหน แต่ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอในรูปแบบนั้น </p>
<p>เราต้องการที่จะนำเสนอครอบครัวนี้ในรูปแบบ greatful resilience (ความอดทนและความมีศักดิ์ศรี) ของเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นและเราแค่อยากนำเสนอสิ่งที่เราเห็น อย่างน้อยศูนย์มานุษฯ เขาก็เก็ต เขามองประเด็นต่างๆ ด้วยสายตาของความเป็นมนุษย์ </p>
<p>แล้วก็สำหรับที่อื่นๆ อย่าง Purin Pictures หรือสิงคโปร์ เขาก็ซัพพอร์ตอะไรที่เกี่ยวกับภาพยนตร์อยู่แล้ว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เคสครอบครัวซูดานแบบนี้ มีอีกเยอะมั้ยในไทย</span></h2>
<p>ในไทยไม่ค่อยมี เหมือนจากซูดานนี่มันต้องแยกด้วยว่าซูดาน หรือซูดานใต้ เพราะมันไม่เหมือนกัน แต่ที่เรารู้จักมีอยู่ไม่กี่คน มีน้อย ส่วนใหญ่จะมาจากปากีสถาน โซมาเลีย คองโก </p>
<p>อย่างปากีสถานในไทยนี่เยอะ ในกรุงเทพฯ </p>
<p>ปากีสถานที่หนีมาเพราะปัญหาเรื่องศาสนา ที่เรารู้จักส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์กัน ส่วนซูดานเป็นปัญหาความขัดแย้งภายใน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545567549_c4274c2113_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โมเมนต์ที่ประทับใจที่สุด</span></h2>
<p>มีโมเมนต์หนึ่งที่อยากใส่ในหนังแต่ใส่ไม่ได้เพราะว่ามันไม่เวิร์ค เป็นโมเมนต์ที่คุณแม่ให้เราช่วยดูการบ้านของน้อง เพราะพ่อแม่เขาอ่านการบ้านภาษาไทยไม่ออก คุณแม่เล่าให้เราฟังว่าอยากจะช่วยสอนการบ้านลูกแต่ว่าช่วยไม่ได้เพราะทุกอย่างเป็นภาษาไทยหมด </p>
<p> จริงๆ เรื่องภาษา เป็นเรื่องที่เราพยายามจะสื่อในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะเรารู้สึกว่ามันสำคัญสำหรับเรา ครอบครัวนี้เขาคุยกันด้วยภาษาอาหรับ แต่ว่าแม่เขาก็บ่นให้เราฟังว่าลูกๆ คุยกันเองเป็นภาษาไทย อะไรที่ไม่อยากให้แม่กับพ่อรู้ก็จะคุยกันเองเป็นภาษาไทย มีเราอยู่ด้วยเราจะได้ช่วยเล่าให้แม่เขาฟังว่าลูกคุยอะไรกัน</p>
<p>ตอนแรกเราไม่รู้ว่าลูกๆ เขาพูดภาษาไทยกัน โมเมนต์นี้เป็นจุดเริ่มต้นหลายๆ อย่างตอนที่เรารู้ว่าลูกเขาพูดภาษาไทยกันเอง มันทำให้เรานึกถึงสมัยที่เราอยู่อเมริกาตอนเด็กๆ เรากับน้องอยู่ๆ ก็ได้ภาษาอังกฤษขึ้นมาโดยที่พ่อกับแม่เราตั้งตัวไม่ทัน</p>
<p>ในครึ่งหลังของเรื่อง ถ้าเกิดสังเกตจดหมายจากพ่อกับแม่ (ที่ส่งมาหาลูกตอนที่พ่อแม่โดนกักตัวอยู่ที่ ตม.) จดหมายก็เป็นภาษาอังกฤษ เราก็ถามว่าทำไมถึงเป็นภาษาอังกฤษ แม่เขาก็เล่าให้ฟังว่าเพราะลูกๆ เขาอ่านภาษาอารบิกไม่ออก เวลาเขาจะเขียนอะไรให้ลูกๆ เขาจึงต้องเป็นภาษาอังกฤษ น้องๆ พูดอารบิกได้ แต่จะอ่านเขียนไม่ได้ เพราะจะได้ภาษาไทยมากกว่า  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ตอนที่ไปเจอ ครอบครัวนี้อยู่ไทยมากี่ปีแล้ว</span></h2>
<p>เขาอยู่มาหลายปีแล้ว แต่เราย้ายกลับมาไทยปี 2016 (พ.ศ. 2559) แล้วเราเจอเขา…น่าจะเริ่มถ่ายกับเขาประมาณปี 2017  (พ.ศ. 2560) ซึ่งเป็นตอนที่น้องๆ พูดไทยกันได้แล้ว</p>
<p>ตอนแรกเราคุยกับเขาเป็นภาษาอังกฤษเพราะเราไม่รู้ จนกระทั่งเราได้ยินพวกเขาคุยกันเองเป็นภาษาไทย แล้วเขาก็คุยกับเราเป็นภาษาอังกฤษแบบเกร็งๆ เขินๆ พอเราพูดไทยก็กลายเป็นว่าพวกเขาก็พูดกับเราเยอะเลย จากที่ก่อนหน้านั้นไม่ค่อยพูด</p>
<p>ครอบครัวนี้พาสปอร์ตหมดอายุ เข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ง่ายๆ ก็คือครอบครัวนี้อยู่เกินกำหนดวีซ่า</p>
<p>จริงๆ แล้วโรงเรียนอาจจะรับเข้าเรียนเพราะว่าพวกเขายังเด็ก ในแง่กฎหมาย เป็นสิทธิที่น้องๆ เขามีอยู่แล้ว เพราะว่าไทยเซ็นสัญญาปกป้องสิทธิเด็กของสหประชาชาติ</p>
<p>แต่ว่าประเทศไทยไม่ได้เซ็นสัญญาเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นพ่อกับแม่ หรือถ้าเด็กโตไปเป็นผู้ใหญ่ สิทธิเสรีภาพต่างๆ ก็จะหดน้อยลงไปเรื่อยๆ ยิ่งเราโตขึ้นมันก็จะยิ่งหดลง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53545232806_d8cdd136b6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพจากภาพยนตร์สารคดี Hours of Ours (รอวัน)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหมือนพ่อแม่จะอยู่แต่ในบ้าน</span></h2>
<p>พ่อแม่ส่วนมากอยู่แต่ในบ้าน มีไปทำธุระที่นั่นที่นี่บ้าง</p>
<p>ก่อนหน้านั้นเขาทำอาชีพอะไร เป็นเหตุผลที่ได้ไปแคนาดาด้วยไหม</p>
<p>อาจจะมีส่วน ครอบครัวนี้เขาน่าจะอยู่ในฐานะชนชั้นกลางประมาณหนึ่ง เพราะว่าพ่อกับแม่เป็นคนมีการศึกษา พ่อเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน ส่วนแม่ เรียนจบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับด้านปศุสัตว์การแพทย์</p>
<p>เราก็ยังคิดอยู่ในใจว่า 6 ปีที่เขาอยู่ในไทยเขาน่าจะได้ทำอะไรอย่างอื่นได้ ทำไมต้องมาอยู่แต่ในห้อง แต่พอย้ายไปแคนาดาได้สัก 1-2 ปี เขาก็มีอาชีพแล้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ในฐานะคนทำหนัง เรามีความคาดหวังอย่างไร</span></h2>
<p>เราคาดหวังกับการฉายในประเทศไทยมากที่สุด หลักๆ เลยเราทำหนังเรื่องนี้เพราะว่าเราอยากจะจินตนาการถึงอนาคต ความเป็นไปได้ใหม่ๆ สำหรับประเทศไทย</p>
<p>ในแง่ที่ว่าถ้าเด็กพวกนี้โตขึ้นมาแล้วต้องอยู่เมืองไทยตลอดไปจริงๆ ถ้าเกิดโดนปฏิเสธขึ้นมา ถ้า UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ปฎิเสธเคส 2-3 รอบ ก็คือโดนปฎิเสธไปเลย ก็คือไม่ได้มีทางเลือกอะไรอย่างอื่นแล้วนอกจากจะต้องอยู่ที่นี่หรือกลับประเทศตัวเอง   </p>
<p>การอยู่ที่นี่ก็เป็นสถานการณ์แบบนี้ เขาก็ต้องอยู่แบบนี้ ทั้งๆ ที่เขาก็จะซึมซับความเป็นไทย ภาษา วัฒนธรรม สภาพสังคม สภาพแวดล้อม ทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งตอนนี้ก็มีอยู่ เด็กคนอื่นๆ ที่เป็นคนม้งเวียดนามที่เรารู้จัก หรือว่าเด็กที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ตามพ่อแม่มาอยู่ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เราก็พยายามคิดถึงอนาคตว่าพวกเขาจะอยู่ยังไง เราจะสามารถเปิดให้พวกเขา หลอมรวมกับสังคมเราได้มากน้อยแค่ไหน</p>
<p>แล้วเราก็คิดไปถึงว่า ถ้าเกิดเราไปถึงจุดนั้นได้ หน้าตาของคนไทยสามารถเปลี่ยนไปด้วยได้ไหม เด็กแอฟริกันพวกนี้ก็คงไม่ต่างจากเด็กไทยทั่วไป ในหนังจะเห็นว่าพวกเขาก็เป็นเด็กไทยใช่ไหม </p>
<p>เราก็อยากจะตั้งคำถามว่าอะไรคือความเป็นไทย ขอบเขตของสิ่งนี้อยู่ตรงไหน และสามารถยืดหยุ่นได้หรือเปล่า หรือว่าทำลายขอบเขตของมันไปได้เลย เพื่อที่จะนับรวมคนอื่นๆ ได้</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>Hours of Ours (รอวัน) เข้าโรงแล้ววันนี้ 22 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ที่ Doc Club &amp; Pub. และ House Samyan</li>
<li>เมื่อปี 2566 ภาพยนตร์สารคดี รอวัน | Hours of Ours ออกฉายสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกในเทศกาลนานาชาติ Visions du Réel ที่จัดขึ้นที่เมืองนีออน (Nyon) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาได้ฉายในเทศกาลสารคดีนานาชาติ Beyond Borders Kastellorizo International Documentary Festival ครั้งที่ 8 ที่ประเทศกรีซ </li>
<li>รอวัน | Hours of Ours ฉายที่สมาคมฝรั่งเศส (Alliance Française) ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา ในโปรแกรมพิเศษที่ชื่อว่า Focus Sudan</li>
<li>ภาพยนตร์สารคดี รอวัน | Hours of Ours ฉายครั้งแรกในเอเชียที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ SGIFF ครั้งที่ 34 ต่อมาได้ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์สารคดี Festival Film Dokumenter ที่เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นจึงเข้ามาฉายที่ไทย</li>
</ul>
</div>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108177
 
1538  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: เฉลยใจในวัยเกษียณ เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 00:09:04
กวีประชาไท: เฉลยใจในวัยเกษียณ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 22:32</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>อวัยวะไฉนถูกใจกำหนด
สั่งให้คดหรือตรงบ่งบอกสาร
ทั้งใบหน้าท่าทางสร้างเหตุการณ์
ให้เปรียบปานสถานใดในเลว,ดี</p>
<p>บนใบหน้าสรรพสัตว์ให้ตัดสิน
ตาปากลิ้นคิ้วจมูกอยู่ถูกที่
หูขวาซ้ายไม่ย้ายข้างอย่างที่มี
แสงเสียงสีรสกลิ่นดินน้ำลมไฟ</p>
<p>ทั้งหมดรวมศูนย์ใส่เข้าในสมอง
กะโหลกป้องประคองมีศรีษะใส่
จมูกดมผสมลมเข้าไป
สู่หัวใจให้เต้นเป็นตัวตน</p>
<p>ชวนสับสนบนใบหน้ามีสารพัด
อารมณ์จัดตามจิตคิดเหตุผล
สลับซับซ้อนย้อนยอกหลอกลวงจน
คนกับคนด้วยกันไม่ทันเกม</p>
<p>ภาษาคนน่าสนใจในความคิด
อำมหิตไม่น่าใช่ในหน้าเข้ม
ขณะปากเอ่ยเอื้อนเหมือนเกษม
แววตาเปรมเอมโอษฐ์โคตรไพเราะ</p>
<p>ยิ่งภาษานำพาไปใช้ชิวหา
ชื่อดาราพาใช้ให้เสนาะ
บนนภาคณานับฤกษ์กับเคราะห์
ชื่อพ้องเพราะกับราศีเคราะห์ดีร้าย</p>
<p>สะเดาะเคราะห์ซะดีไหมใช้เก็บตะวัน
ชวนพรึงพรั่นหวั่นไหวในที่หมาย
เยาวชนคนรุ่นใหม่หนาวใจกาย
สบถสยายสยดสยองการมองเห็น</p>
<p>พูดยิ้มๆ ดูแววตามาฝีปาก
สัมผัสรากหฤโหดได้โดดเด่น
ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ขาดกระเด็น
มืดมนเป็นสมองใครไม่เกษียณเลย!</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108179
 
1539  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ขนลุก หนุ่มโพสต์ภาพ "หางหมู" เจอตุ่มนูนสีดำเพียบ แม่ค้ามาเฉลยแล้ว มันคืออะไร เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 00:04:19
ขนลุก หนุ่มโพสต์ภาพ "หางหมู" เจอตุ่มนูนสีดำเพียบ แม่ค้ามาเฉลยแล้ว มันคืออะไร
         


ขนลุก หนุ่มโพสต์ภาพ &quot;หางหมู&quot; เจอตุ่มนูนสีดำเพียบ แม่ค้ามาเฉลยแล้ว มันคืออะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ขนลุก หนุ่มโพสต์ภาพ "หางหมู" เจอตุ่มนูนสีดำเพียบ สงสัยว่าน้องเป็นอะไร แม่ค้ามาเฉลยแล้ว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
         

https://www.sanook.com/news/9255642/
         
1540  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 22:37:15
เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 22:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ขอออกตัวก่อนว่าผู้เขียนมีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้โดยตรงในฐานะที่ลงชื่อร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์คัดค้านนโยบายที่ไม่สมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ จนได้รับการดูแคลนด้วยวาทกรรม `นักโบราณคดีทางเศรษฐมิติ’ ในขณะที่อีกแง่มุมหนึ่ง ผู้เขียนก็มีส่วนร่วมจ่ายภาษีเช่นคนไทยทุกคนผ่านการบริโภคและรายได้ จึงต้องช่วยกันรับผิดชอบจ่ายคืนชดใช้หนี้เงินกู้ที่ความจริงแล้วสามารถมีทางเลือกอื่นที่คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ได้มากกว่าประชานิยมระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ ผู้เขียนก็ควรจะมีความกล้าหาญในการนำเสนอความรู้และข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการ</p>
<p>เหตุผลหลักในแถลงการณ์คัดค้านก็คือ เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นการบริโภค ควรเน้นการลงทุนสร้างศักยภาพระยะยาว โดยเงินงบประมาณมีจำกัด ควรใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า เพื่อเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ สร้าง digital infrastructure ยิ่งไปกว่านั้น เงิน 560,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อย ไม่คุ้มค่า เพราะ `ตัวทวีคูณทางการคลัง’ (fiscal multiplier) ต่ำ อีกทั้งเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น จะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะ และ ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นในอนาคต รวมทั้งเราควรจะมี `พื้นที่ว่างทางการคลัง’ (fiscal space) เพื่อรองรับวิกฤติในอนาคต เตรียมรับสังคมสูงวัย เป็นการใช้เงินอย่างคุ้มค่า และ รักษาวินัยการคลัง ตลอดจนระบบ blockchain ช้า ไม่เหมาะกับระบบซื้อขายทั่วไป </p>
<p>รายงาน Thailand Economic Monitor December 2023 ของธนาคารโลกได้วิเคราะห์ว่า โครงการแจกเงินดิจิทัล คิดเป็นงบประมาณ 2.7% ของ GDP จะช่วยเศรษฐกิจขยายตัว 0.5-1.0% ของ GDP ในช่วงระยะเวลา 2 ปี และ อาจทำให้ขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้น 4-5% ของ GDP ใกล้ระดับเฉลี่ยช่วงวิกฤตโควิดในปี 2563-2565 ในขณะที่หนี้สาธารณะอาจสูงขึ้นเป็น 65-66% ของ GDP จาก 62% ณ สิ้นไตรมาสสามของปี 2566 ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนโควิดถึง 21% ดังนั้น จึงขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านสรุปความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณขนาด 2.7% ของ GDP เพื่อเพิ่มเศรษฐกิจขนาด 0.5-1.0% ของ GDP </p>
<p>อีกรายงานของธนาคารโลก (Policy Research Working Paper 9796) สำรวจและสรุปบรรดางานวิจัยที่ใช้เทคนิคเศรษฐมิติขั้นสูงทางเศรษฐศาสตร์มหภาคในประเด็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของ `ตัวทวีคูณทางการคลัง’ (fiscal multiplier) เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งผู้เขียนได้ใช้ประกอบการบรรยายหัวข้อการลงทุนสาธารณะของวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้นให้นักศึกษาปริญญาตรี โดยสรุปของรายงานนี้ คือ หากพิจารณาประเภทของตัวทวีคูณ คือ ก.การใช้จ่ายภาครัฐ ข.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ค.การลดภาษี และ ง.การโอนเงิน (เช่น กรณีแจกเงินดิจิทัล) พบว่า ตัวทวีคูณจากการลงทุนมีค่าสูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น ผลของตัวทวีคูณในการกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย จะสูงกว่าในสภาวะเศรษฐกิจเติบโตปานกลางหรือขยายตัวดี โดยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจมหภาคที่เอื้อต่อประสิทธิผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ระบบเศรษฐกิจแบบไม่ค้าขายกับใคร สภาวะเศรษฐกิจถดถอย หนี้สาธารณะต่ำ และ อัตราดอกเบี้ยต่ำมากคือติดลบ ซึ่งล้วนไม่ใช่สถานะของเราในขณะนี้ อนึ่ง ผลของตัวทวีคูณสามารถติดลบได้ หมายความว่า มีความเป็นไปได้ที่การกระตุ้นทางการคลังอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจ</p>
<p>เมื่อพิจารณาด้วยข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่เราใช้คำนวณความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และลักษณะของครัวเรือนและประชากรสำหรับประเทศไทย โดยผู้เขียนได้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2002-2021 เพื่อศึกษา `สัดส่วนการใช้จ่ายบริโภคจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น' (marginal propensity to consume: MPC) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดขนาดของ `ตัวทวีคูณทางการคลัง’ พบว่า MPC ของครัวเรือนไทยมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 0.1-0.2 (ขึ้นกับการเพิ่มตัวแปรอธิบายเพื่อ control observable heterogeneity) แต่ถ้าใช้เฉพาะข้อมูลปี 2021 ซึ่งเป็นปีล่าสุดของประเทศที่มีข้อมูลตัวแปรรายได้ และผู้เขียนใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาวิชาเศรษฐมิติเบื้องต้นได้ฝึกใช้วิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ จะพบว่า MPC มีขนาดประมาณ 0.2-0.3 หมายความว่า ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน MPC ไม่น่าจะสูงขนาด 60.8 หากคำนวณย้อนกลับสำหรับผลตัวทวีคูณต่อเศรษฐกิจมูลค่า 100,000 ล้านบาท ตามที่ได้โฆษณา (ดูบทความ ข้อคิดต่อตัวคูณทวีทางการคลังและภาษีที่ได้จาก ‘นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล’ โดยท่านอาจารย์ ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม) ทั้งนี้ หากคำนวณด้วยวิธี Recentered Influence Functions สำหรับ Unconditional Quantile Regression (Firpo, Fortin, and Lemieux, 2018) จะพบว่า หากเรียงครัวเรือนไทยตั้งแต่จนสุดไปจนถึงรวยสุด พบว่า กลุ่มที่ MPC ต่ำสุด คือ กลุ่มครัวเรือนจนสุด 40% ล่าง มีค่า MPC ไม่ถึง 0.1 หากอธิบายโดยบริบทหนี้ครัวเรือนไทยปัจจุบัน คือ หากรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะ “เอาไปจ่ายหนี้” คือ ชดเชยการออมที่ติดลบนั่นเอง </p>
<p>ในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองก็น่าสนใจ เพราะค่อนข้างชัดเจนถึงความไม่สมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ อีกทั้งมีทางเลือกอื่นที่คุ้มค่าและสำคัญกว่า ทำให้คนไทยที่ยังไม่ลืมเรื่อง “จำนำข้าว” ก็น่าจะค้นคว้างานวิจัยเรื่อง "การทุจริตกรณีการศึกษา : โครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ด" จาก TDRI โดยท่านอาจารย์ ดร.อัมมาร สยามวาลา และคณะ สามารถแสดงให้เห็นขนาดของความเสียหายจากการทุจริตคอรัปชั่นในกระบวนการระบายข้าวรวมทั้งหมดราว 1 แสนล้านบาท โดยยังไม่รวมความเสียหายอื่นที่ทั้งวัดได้และไม่สามารถวัดได้ แม้โครงการจำนำข้าวจะมีผลประโยชน์สุทธิ แต่ก็เป็นผลตอบแทนส่วนเกิน หรือ `ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ’ (economic rent) มีมูลค่าสูงถึง 5.85 แสนล้านบาท จึงได้ระบุไว้ในบทคัดย่อของรายงานวิจัยว่า “เป็นการถลุงทรัพยากรแท้จริงของประเทศ และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ”</p>
<p>ในที่สุดแล้ว หากรัฐบาลจะไม่ฟังนักเศรษฐศาสตร์ว่า เป็นนโยบายประชานิยมระยะสั้นที่ไม่คุ้มค่า เหมือนสมัยนโยบายจำนำข้าวไม่ยอมฟังคำเตือนของท่าน ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ก็คงอยากจะขอร้องให้รัฐบาล ช่วยพิจารณาแจกเงินแบบ “มีเงื่อนไข” หรือ conditional cash transfer เช่น คนที่จะได้เงิน หรือ ร้านค้าที่จะรับเงิน จะต้องเข้ามาอยู่ในระบบฐานข้อมูลและรายงานรายได้ โดยกำหนดห้ามไม่ให้ร้านค้ารับเฉพาะเงินสดเท่านั้น เป็นต้น</p>
<p><strong>ยิ่งไปกว่านั้น conditional cash transfer สามารถที่จะมุ่งเป้าหมายไปที่การเตรียมรับมือกับความท้าทายแห่งยุคสมัยของประเทศและมนุษยชาติ ทั้งสังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การแทนที่แรงงานด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ในขณะที่ในด้านทางเลือกอื่นสำหรับแหล่งที่มาของงบประมาณการแจกเงินดิจิทัล แทนที่จะกู้เต็มจำนวน หากจะใช้วิธี 1.ปฏิรูปภาษีให้ลดความเหลื่อมล้ำ และ 2.ปฏิรูปงบประมาณให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ตรงต่อประชาชน ก็คงจะช่วยลดเสียงต่อต้านลงได้ ซึ่งหากทำจริงจังในเรื่องแหล่งที่มาของเงิน คือ ปฏิรูปภาษีและปฏิรูปงบประมาณ แทนที่จะกู้ทั้งหมด ก็จะสามารถหาเงินได้หลายแสนล้านบาท และเป็นคุณูปการระยะยาวสำหรับประเทศ</strong></p>
<p> </p>
<p><strong>หมายเหตุ:</strong> เหตุผล ทัศนะ หรือข้อสรุปใด ๆ ในบทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน 
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108178
 
หน้า:  1 ... 75 76 [77] 78 79 ... 1127
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.903 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 10 พฤศจิกายน 2566 21:57:20