[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: phonsak ที่ 29 ตุลาคม 2553 14:24:39



หัวข้อ: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ตุลาคม 2553 14:24:39
ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?


ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า...

...ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?...

อัตตา แตกต่างจาก อัตตานุทิฏฐิ อย่างไร?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า... ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?...๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ

1. อัตตา จึง = สิ่งใดที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา


นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร


จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน 2.   พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปฯลฯ ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "


สรุป


อัตตา คือ  สิ่งใดที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา

อัตตานุทิฏฐิ คือ   สิ่งใดที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ

อนัตตา คือ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา  จึงไม่ควรหรือไม่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา = อนัตตา


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 29 ตุลาคม 2553 16:55:31
5555555555

อาโดร่ ติดปรินาจนได้


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 30 ตุลาคม 2553 08:19:45
สงสัยน้ำท่วมครับ

ฮ่า ๆ ๆ


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 30 ตุลาคม 2553 11:37:58
ท่านที่เคารพทั้งหลาย


ถ้าต้องการฟังธรรมจากเรา  เราก็จะชี้แนะท่าน

อัตตา นั้นคือ อมตะ หรือ เที่บง      ความอมตะเกิดขึ้นได้อย่างไร

 “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ" .

+++ ถ้าพวกเธอยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ  กายของเธอ ไม่ว่าจะเป็นกายมนุษย์ เทวดา พรหม แม้แต่อรูปพรหม ก็ยังได้ชื่อว่า "อนัตตา"   

+++ ถ้าพวกเธอปฏิบัติได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ  กายของเธอ จะเป็นกายอรหันต์ หรือวิสุทธเทพ กายอรหันต์นี้แหละได้ชื่อว่า "อัตตา"


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 30 ตุลาคม 2553 11:44:26

อ้างถึง

ท่านที่เคารพทั้งหลาย

ถ้าต้องการฟังธรรมจากเรา  เราก็จะชี้แนะท่าน




เห้ยอย่ามาซี้ซั๊วนะไอ้เจ้ามารศาสนา phonsak

ไม่เห็นมีใครสักคนเค้าบอกว่าต้องการฟังธรรมจากคนหยั่งเอ็งเลย

อย่ามาซี้ซั๊วหาเรื่องโพสท์ง่าย ๆ แบบนี้สิฟะ

เห็นมีแต่คนเค้ารำคาญเอ็ง เบื่อหน่ายเอ็ง บักผีบ้า



หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 30 ตุลาคม 2553 12:17:55

คือ เราแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นทางธรรมกันน่ะค่ะ ที่คุณป๋าพอลเห็น
อาจไม่ใช่ที่เราเห็น
แต่ที่สุดน่ะพระพุทธองค์ท่านว่าสรรพเพธรรมาอนัตตานะคะ...
 


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 30 ตุลาคม 2553 22:56:22
พระพุทธองค์ท่านว่าสรรพเพธรรมาอนัตตานะคะ.

ผมเห็นแต่พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์พูดถึง สังขาร เป็นอนัตตา  ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา  ผมยังไม่เคยเห็นที่พระพุทธองค์บอกว่า นิพพานเป็นอนัตตาเลยแม้แต่ครั้งเดียว


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 30 ตุลาคม 2553 22:58:26
พระอวโลกิเตศวร : ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน พระพุทธเจ้า : ธรรมกาย เป็น อัตตา


อ้างอิง 1. [ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า[/color]


" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "


อ้างอิง 2.[ ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."


อ้างอิง 3. [จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร [/color]


  ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------

จิตบริสุทธิ์พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวธรรม  เป็นสัจจะธรรม คือ นิโรธสัจจ์ คู่กับ ทุกขสัจจ์นั้น และเป็นอัตตาตัวตน   ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
ธมฺมทีปา วิหรถ ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า
ท่านทั้งหลาย จงมีตนเป็นที่เกาะกุม มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   ดังนี้

ตน คือ ธรรม / ธรรม ก็คือ ตน
ธรรม คือ จิตที่บริสุทธิ์  เป็นวิมุตติจิต เป็นอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย หรือนิพพาน ก็ได้.


สรุป


อายตนะนิพพาน คือ ธรรมกาย คือ จิตบริสุทธิ์ คือ ธรรม คือ นิพพาน คือ วิมุตติจิต


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 30 ตุลาคม 2553 23:08:46

สรุปแล้วเอ็งมันบ้า

ป้าแป๋มนี่ใจเมตตาช่วยอธิบาย เอ็งยังไปแว้งกัดเค้า

ไอ้บักผีบ้าเอ้ยยยย...


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 05:54:59

"จตุกโกณะ" เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จตุกโกฏิ" (สี่ขั้วความคิด) คือ
วิธีการพูดและวิธีการถามปัญหา
โดยจัดลำดับของคำตอบออกเป็น 4 มุม ได้แก่

1. ยืนยัน เช่น โลกมีที่สุด
2. ปฏิเสธ เช่น โลกไม่มีที่สุด
3. ทั้งยืนยันและปฏิเสธ เช่น โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
4. ไม่ใช่ทั้งยืนยันและปฏิเสธ เช่น จะว่าโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

ที่มา:
1. พุทธศาสนามหายาน, สุมาลี มหณรงค์ชัย, กรุงเทพฯ, ศยาม, 2546, 81-83
2. อัพยากตปัญหา ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์, ฐานิสรา ประชาราษฎร์นิกร,
กรุงเทพฯ, ศยาม, 2552, 21

นำมาแบ่งปันค่ะ ใดๆก็ตามการศึกษาธรรมะเป็นไปเพื่อ  การปฏิบัติเพื่อ ละ-วาง ตัวตน
เป็นไปเพื่อทางพ้นทุกข์.. ขอบพระคุณ คุณน้องป๋าพอลนะคะ ยินดีที่ได้สนทนาธรรมค่ะ


หัวข้อ: Re: ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 02 พฤศจิกายน 2553 19:52:31
ลามะ เขียน: "เขาสูง อย่างดีก็แค่เสียดฟ้า แต่อัตตาสูงเสียดจักรวาล"


อัตตาสูงเสียดจักรวาล = อัตตานุทิฏฐิ  หรือจิตที่มีความทะยานอยาก เป็นความยึดมั่นถือมั่น

อัตตา = จิตที่ว่างจากกิเลส จิตจากความทะยานอยาก ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

" สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา